โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันอังคารที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

เฟซบุ๊กเผย ภาพดาวเทียม ญี่ปุ่นก่อน-หลังสึนามิ เป็นข่าวที่ถูกแชร์มากที่สุดในรอบปี

Posted: 29 Nov 2011 12:08 PM PST

30 พ.ย. เฟซบุ๊กเผยรายชื่อ 40 ข่าวที่ผู้ใช้เฟซบุ๊กแชร์มากที่สุดในรอบปีที่ผ่านมา อันดับแรกคือภาพข่าวจากนิวยอร์กไทมส์ ซึ่งเปรียบเทียบพื้นที่ก่อนและหลังประสบภัยสึนามิในญี่ปุ่น ขณะที่อันดับสุดท้ายคือ รายงานเรื่องสิทธิบัตรของสตีฟ จ็อบส์ จากนิวยอร์กไทมส์เช่นกัน

สำหรับ 40 อันดับข่าวที่ผู้เล่นเฟซบุ๊กแชร์มากที่สุดมีดังนี้

1. Satellite Photos of Japan, Before and After the Quake and Tsunami (New York Times)

2. What teachers really want to tell parents (CNN)

3.No, your zodiac sign hasn't changed (CNN)

4. Parents, don't dress your girls like tramps (CNN)

5. (video) - Father Daughter Dance Medley (Yahoo)

6. At funeral, dog mourns the death of Navy SEAL killed in Afghanistan (Yahoo)

7. You'll freak when you see the new Facebook (CNN)

8. Dog in Japan stays by the side of ailing friend in the rubble (Yahoo)

9. Giant crocodile captured alive in Philippines (Yahoo)

10. New Zodiac Sign Dates: Ophiuchus The 13th Sign? (The Huffington Post)

11. Parents keep child’s gender under wraps (Yahoo)

12. How to Talk to Little Girls (The Huffington Post)

13. Stop Coddling the Super-Rich (New York Times)

14.Why Chinese Mothers Are Superior (Wall Street Journal)

15. (video) - Twin Baby Boys Have A Conversation! (Yahoo)

16. Man robs bank to get medical care in jail (Yahoo)

17. Why You're Not Married (The Huffington Post)

18. A Sister’s Eulogy for Steve Jobs (New York Times)

19. Ryan Dunn Dead: 'Jackass' Star Dies In Car Crash (The Huffington Post)

20. Scientists warn California could be struck by winter ‘superstorm’ (Yahoo)

21. Notes From a Dragon Mom (New York Times)

22. A Message to Women From a Man: You Are Not "Crazy" (The Huffington Post)

23. Obama’s and Bush’s effects on the deficit in one graph (Washington Post)

24. Penn State, my final loss of faith (Washington Post)

25. Golden-Voiced Homeless Man Captivates Internet (Yahoo)

26. The most typical face on the planet (Yahoo)

27. Widespread destruction from Japan earthquake, tsunamis (CNN)

28. Permissive parents: Curb your brats (CNN)

29. A father's day wish: Dads, wake the hell up! (CNN)

30. (video) - Laughing Baby Loves Ripping Paper! (Yahoo)

31. Epic Cover Letter: How To Get Hired For Your Dream Job (PICTURE) (The Huffington Post)

32. New Zodiac sign dates: Don't switch horoscopes yet (Washington Post)

33. Things Babies Born in 2011 Will Never Know (Yahoo)

34. The Psychology of Revenge: Why We Should Stop Celebrating Osama Bin Laden's Death (The Huffington Post)

35. (photo gallery) - ‘Where Children Sleep’ (New York Times)

36. Quake moved Japan coast 8 feet, shifted Earth's axis (CNN)

37. Steve Jobs, Apple founder, dies (CNN)

38. China's latest craze: dyeing pets to look like other wild animals (CNN)

39. Grant Hill’s Response to Jalen Rose (New York Times)

40. Steve Jobs’s Patents (New York Times)

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

Southern Peace Media : ภาษามลายู

Posted: 29 Nov 2011 09:51 AM PST

เรื่องราวของอนุรักษ์ เบ็ญโส๊ะ หรือไอดี เด็กหนุ่มมุสลิมที่เกิดและเติบโตในตัวเมืองปัตตานี ไอดีเป็นคนรุ่นใหม่ที่ใช้ภาษาไทยกลางเป็นภาษาหลักในการสื่อสาร เนื่องจากเขาเข้าใจและพูดภาษามลายูได้เพียงเล็กน้อย เช่นเดียวกับคนรุ่นใหม่ในเขตเมืองอีกเป็นจำนวนมากที่ใช้ภาษามลายูสื่อสารกันน้อยลง ในขณะที่ภาษามลายูเป็นภาษาหลักของคนในจังหวัดชายแดนใต้ เขาจึงต้องศึกษาภาษามลายูและเรียนรู้วิถีวัฒนธรรมท้องถิ่น เพื่อสืบทอดภาษาและอัตลักษณ์ของชาวมลายูเอาไว้ ดังภาษิตของชาวมลายูที่กล่าวถึงความสำคัญของภาษาไว้ว่า “เมื่อใดภาษาหายไป เมื่อนั้น...ชาติพันธุ์ก็สิ้นมลาย”

Southern Peace Media : ภาษามลายู

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

มาเลเซียประท้วงกม.ควบคุมการชุมนุม

Posted: 29 Nov 2011 09:28 AM PST

ทนายความมาเลเซียและผู้สนับสนุนนับพันเดินขบวนอยู่นอกรัฐสภามาเลเซียเพื่อต่อต้านการออกกฎหมายควบคุมการชุมนุมฉบับใหม่ แต่รัฐสภามาเลเซียยังลงมติคลอดกฎหมายฉบับดังกล่าว ท่ามกลางการวอล์คเอาท์ของฝ่ายค้าน

ที่มา: Malaysiakini.tv/youtube.com

วานนี้ (29 พ.ย.) สมาชิกสภาทนายความมาเลเซีย (Malaysian Bar Council) พร้อมผู้สนับสนุนนับพันคน รวมกันเดินขบวนจากเดอะรอยัลเลคคลับมายังรัฐสภามาเลเซีย เพื่อประท้วงร่างกฎหมายควบคุมการชุมนุมฉบับใหม่ "กฎหมายว่าด้วยการสมาคมโดยสันติ" หรือ "Peaceful Assembly Bill" ที่เตรียมลงมติในสภาในวันนี้

สำหรับกฎหมายว่าด้วยการสมาคมโดยสันติของมาเลเซีย กำหนดว่าการชุมนุมจะต้องแจ้งตำรวจมาเลเซียอย่างน้อย 30 วันล่วงหน้า และมีข้อห้ามไม่ให้ประท้วงบนถนน ห้ามชุมนุมใกล้ที่ทำการของรัฐบาล ศาสนสถาน และปั๊มน้ำมันด้วย

โดยก่อนหน้านี้ นายลิมกิตเสียง นักการเมืองฝ่ายค้านของมาเลเซียเคยให้สัมภาษณ์ประชดให้รัฐมนตรีมหาดไทยมาเลเซียไปดูงานที่พม่า เนื่องจากมีกฎหมายควบคุมการชุมนุมที่มีมาตรการใกล้เคียงกับที่มาเลเซียเตรียมใช้ (อ่านข่าวก่อนหน้านี้ [1])

ทั้งนี้นายนาจิป ราซัก นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย พยายามปกป้องกฎหมายควบคุมการชุมนุมฉบับใหม่ ซึ่งเขาอธิบายว่าเป็นการ “ปฏิวัติ” และเป็นก้าวสำคัญในการปรับปรุงเสรีภาพขั้นพื้นฐานของบุคคล และยืนยันด้วยว่ากฎหมายฉบับดังกล่าวพยายามควบคุมเสียยิ่งกว่ากฎหมายที่ใช้ในปัจจุบัน และเรียกร้องให้รัฐบาลถอนร่างกฎหมายฉบับดังกล่าวจากสภา

ทั้งนี้กฎหมายดังกล่าวจะถูกนำมาแทนที่มาตรา 27 ใน กฎหมายว่าด้วยตำรวจ ซึ่งเป็นหนึ่งในแผนการปฏิรูปที่นายนาจีปสัญญาไว้กับประชาชนในสุนทรพจน์ที่ เขากล่าวในวันมาเลเซีย เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา (อ่านข่าวก่อนหน้านี้ [2], [3])

ทั้งนี้ มาเลเซียกินี รายงานว่า ก่อนหน้าการลงมติกฎหมายดังกล่าวมีการอภิปรายในสภาโดย ส.ส. 6 คน เป็นเวลากว่า 4 ชั่วโมง และต่อมามีความวุ่นวายเกิดขึ้นเมื่อมีการวอล์คเอาท์โดย ส.ส. ฝ่ายค้านที่ไม่เห็นด้วยกับการผ่านกฎหมายดังกล่าว

อย่างไรก็ตามการวอล์คเอาท์ไม่เป็นผล โดยเมื่อเวลาประมาณ 16.00 น. ตามเวลามาเลเซีย รัฐสภามาเลเซียได้ลงมติผ่านกฎหมายดังกล่าวแล้ว

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

มติกกต.4-1ฟันจตุพรพ้นส.ส.เหตุไม่ไปเลือกตั้งในวันติดคุก

Posted: 29 Nov 2011 08:12 AM PST

กกต.ลงมติ 4 ต่อ 1 ชี้จตุพรขาดคุณสมบัติเป็นสมาชิกพรรคการเมืองตาม พ.ร.บ.พรรคการเมือง ส่งผลให้ขาดสมาชิกภาพ ส.ส. เนื่องจากไม่ได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง 3 ก.ค. เนื่องจากถูกขังในเรือนจำ

มติชนออนไลน์ รายงานวันนี้ (29 พ.ย.) ว่า ที่ประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ซึ่งนายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธาน กกต. เป็นประธานการประชุม มีการพิจารณากรณีคุณสมบัติของนายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ว่า การขาดคุณสมบัติการเป็นสมาชิกพรรคการเมือง ตาม พ.ร.บ.พรรคการเมืองมาตรา 20(3) จะส่งผลให้สมาชิกภาพของความเป็น ส.ส. สิ้นสุดลงตามมาตรา 106 หรือไม่จากกรณีที่นายจตุพรไม่ได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคมที่ผ่านมา เนื่องจากอยู่ในระหว่างถูกคุมขังในเรือนจำนั้น

นายสมชาติ เจศรีชัย รองเลขาธิการ กกต. ในฐานะรักษาการเลขาธิการ กกต. เปิดเผยภายหลังการประชุมว่า ที่ประชุม กกต.ได้มีมติ 4 ต่อ 1 เห็นว่า นายจตุพรขาดจากสมาชิกภาพความเป็น ส.ส. ตามมาตรา 106(4) และ (5) จึงสมควรที่ส่งเรื่องไปให้ประธานสภาผู้แทนราษฎร เพื่อยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญตามมาตรา 91 ของรัฐธรรมนูญ พิจารณาวินิจฉัยความสิ้นสุดลงของสมาชิกภาพต่อไป

ด้านนางสดศรี สัตยธรรม กกต.เปิดเผยว่า เป็น กกต.เสียงข้างน้อยที่เห็นว่าไม่ต้องส่งศาล เพราะเห็นว่านายจตุพรจะเข้าลักษณะตามมาตรา 106 ถ้าจะนำเอากฎหมายของ พ.ร.บ.มาใช้ประกอบการพิจารณาก็เห็นว่า ยังมีความขัดกันของกฎหมายอยู่

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

มายาคติและข้อสงสัยในการยกเลิกราชการส่วนภูมิภาค

Posted: 29 Nov 2011 07:34 AM PST

อนุสนธิการยกร่าง พรบ.ระเบียบบริหารราชการเชียงใหม่มหานครฯฉบับประชาชน เมื่อเดือนมกราคม2554 ที่ผ่านมา โดยจะเสนอเข้าสู่สภาประมาณกลางปีหน้า ซึ่งเสนอให้เชียงใหม่มีการบริหารราชการเฉพาะราชการส่วนกลางกับราชการส่วนท้องถิ่นเท่านั้น โดยยกเลิกราชการส่วนภูมิภาคเสีย กอปรกับอดีตคณะกรรมการปฏิรูป ซึ่งมีอดีตนายกฯอานันท์ ปันยารชุนเป็นประธานฯได้เสนอเรื่องการปฏิรูปโครงสร้างอำนาจ เมื่อวันที่ 18 เมษายน ที่ผ่านมา ก็ได้เสนอให้มีการยกเลิกการบริหารราชการส่วนภูมิภาคเช่นกัน แต่มิได้กำหนดระยะเวลาของการดำเนินการไว้

ปฏิกิริยาที่มีต่อปรากฏการณ์ครั้งนี้มีทั้งการตอบรับและการต่อต้าน ปรากฏการณ์ตอบรับมีการกระจายไปทั่วประเทศ ประชาชนจังหวัดต่างๆถึง 45 จังหวัดประกาศตัวเป็นแนวร่วมโดยให้เชียงใหม่เป็นจังหวัดที่นำร่องไปก่อน บางจังหวัดถึงกับทำป้าย ทำเสื้อยืด เสื้อแจ็กเก็ตหรือแม้กระทั่งการขึ้นป้ายขอจัดการตัวเอง โดยเฉพาะในจังหวัดเชียงใหม่เองมีการรณรงค์จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นต่อร่าง พรบ.ฯในพื้นที่ทั้ง 25 อำเภอกันอย่างคึกคัก

แน่นอนว่าเรื่องใหญ่ๆเช่นนี้ ย่อมมีทั้งคนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยเพราะความเข้าใจว่าอาจจะกระทบต่อสถานภาพของตนเองหรือกังวลในผลที่จะตามมาเพราะความไม่ไว้วางใจในคุณภาพของคนไทยกันเอง ซึ่งในเรื่องของความเห็นนั้นเป็นธรรมดาที่อาจะเห็นแตกต่างกันได้ แต่เมื่อได้พูดคุยและทำความเข้าใจกันแล้ว หากไม่มีอคติจนเกินไปนักก็ย่อมที่จะเห็นด้วยต่อการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้

มายาคติและข้อสงสัย

1) เป็นการแบ่งแยกรัฐ
ไม่จริง เพราะแม้จะไม่มีราชการส่วนภูมิภาค รัฐก็ยังคงเป็นรัฐเดี่ยวเหมือน เช่น ญี่ปุ่น เป็นต้น อีกทั้งยังมีสถาบันกษัตริย์เป็นประมุขเช่นเดียวกันกับไทย และท้องถิ่นจะไม่ทำอยู่ 4 เรื่อง คือ การทหาร การต่างประเทศ ระบบเงินตรา และ ศาล

2) กระทบต่อความมั่นคง
ไม่จริง เพราะแม้แต่เกาหลีใต้ซึ่งไม่มีราชการส่วนภูมิภาคและยังอยู่ในสภาวะประกาศสงครามกับเกาหลีเหนืออยู่เลย ก็ไม่ได้มีปัญหาในเรื่องนี้แต่อย่างใด

3) รายได้ท้องถิ่นยังไม่เพียงพอ
ก็แน่นอนสิครับ เพราะปัจจุบันเปิดโอกาสให้ท้องถิ่นเก็บภาษีได้จิ๊บจ๊อย เช่น ภาษีป้าย ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีโรงเรือน ภาษีล้อเลื่อน ฯลฯ แล้วจะเอารายได้ที่ไหนมาเพียงพอ แต่ร่าง พรบ.ฯนี้กำหนดให้รายได้ที่เกิดขึ้นในท้องถิ่นทั้งหมดจะถูกจัดเก็บโดยท้องถิ่น แล้วจัดส่งไปส่วนกลาง 30 เปอร์เซ็นต์ เอาไว้ใช้ในท้องถิ่น 70 เปอร์เซ็นต์ ซึ่ง 30 เปอร์เซ็นต์นั้นก็จะไปช่วยเหลือที่อื่นที่ยากจน เช่น ญี่ปุ่นก็ส่งไปให้ฮอกไกโดหรือโอกินาวา เป็นต้น      

4) อบจ./อบต./เทศบาลจะมีอยู่หรือไม่
ในร่าง พรบ.ฯนี้กำหนดไว้ให้มีการปกครองท้องใน 2 ระดับ คือ ระดับเป็นชียงใหม่มหานคร ส่วนระดับล่างเป็นเทศบาล ซึ่งแตกต่างจากกรุงเทพมหานครเป็นการปกครองท้องถิ่นระ

ดับเดียวโดยรวมศูนย์อยู่ที่ศาลาว่าการกรุงเทพมหานครที่เดียว แต่ในรูปแบบใหม่นี้ อบจ.หรือองค์การบริหารส่วนจังหวัดจะหายไปกรณีของเชียงใหม่ก็จะมีเชียงใหม่มหานครเข้ามาแทน ซึ่งเป็นการปกครองท้องถิ่นในระดับบน ส่วนในระดับล่างก็เป็นเทศบาลเหมือนกันหมดไม่มีการแยกเป็นเทศบาลหรือ อบต.เพราะปัจจุบันบางตำบลมีทั้งเทศบาลและอบต.อยู่ในตำบลเดียวกัน ความสัมพันธ์ระหว่างระบนกับระดับล่างเป็นไปในลักษณะแบ่งหน้าที่กันทำ มิใช่การบังคับบัญชา

5) จะเอาข้าราชส่วนภูมิภาคไปไว้ไหน/นายอำเภอยังมีอยู่หรือไม่
ผู้ว่าราชการจังหวัดมาจากการเลือกตั้งมีวาระ 4 ปี ผู้ว่าราชการจังหวัดเดิมและข้าราชการส่วนภูมิภาคก็มีทางเลือกว่าจะกลับไปสังกัดกระทรวง ทบวง กรมที่ส่วนกลางก็ได้หรือเลือกจะอยู่ในพื้นที่ก็สังกัดเชียงใหม่มหานคร เป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่น ส่วนนายอำเภอที่มาจากการแต่งตั้งจากกรมการปกครองก็จะหมดไป มีผู้อำนวยการเขตซึ่งเป็นข้าราชการสังกัดเชียงใหม่มหานครทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงาน มิใช่เป็นเช่นผู้อำนวยการเขตแบบ กทม.ที่มีอำนาจล้นเหลือเช่นในปัจจุบัน

6) เขตพื้นที่อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน จะหายไป
ไม่จริง เขตการปกครองยังเหมือนเดิม แต่จะเรียกเป็น เขต แขวง แทน 

7) กำนันผู้ใหญ่บ้านยังคงมีอยู่หรือไม่  หากยังคงมีอยู่จะ

มีบทบาทอะไร
ยังคงมีอยู่ดังเช่นกรุงเทพมหานคร แต่บทบาทในด้านการพัฒนาจะหมดไปเพราะเป็นหน้าที่ของท้องถิ่นซึ่งมีงบประมาณเป็นของตนเอง แต่กำนันผู้ใหญ่บ้านจะมีบทบาทเพิ่มขึ้นในด้านการรักษาความสงบเรียบร้อยในฐานะหัวหน้าฝ่ายรักษาความสงบเรียบของตำบลและหมู่บ้านตามกรณี มีอำนาจจับกุมคุมขังตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

8) ประชาชนยังไม่พร้อม ยังไม่มีการศึกษาที่ดีพอ
ไม่จริง เพราะคำกล่าวที่ว่า “ประชาชนเป็นอย่างไร ผู้แทนเป็นอย่างนั้น” จะเห็นได้จากผู้แทนของคนกรุงเทพยังชกต่อยกันในสภาแต่ผู้แทนของคนจังหวัดอื่นยังไม่ปรากฏ และในตำบลหมู่บ้าน ตลาดสด เดี๋ยวนี้ชาวบ้านร้านค้าเขาไม่คุยกันแล้วเรื่องละครน้ำเน่า ถึงคุยก็คุยน้อย แต่คุยเรื่องการเมืองกันทั้งนั้น ที่สำคัญเป็นการเมืองนอกสื่อกระแสหลักเสียด้วยสิ

9) นักเลงครองเมือง
ไม่จริง ตัวอย่างผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่ละคนก็ไม่เห็นขี้เหร่สักคน(ถึงแม้ว่าจะมีคนขี้เหร่สมัครแต่ก็ไม่เคยได้รับการเลือกตั้ง) ที่สำคัญก็คือผู้ว่าราชการจังหวัดในปัจจุบันแต่ละคนล้วนแล้วมาจากการแต่งตั้งซึ่งในบางยุคถึงกับมี “แก๊งแต่งตั้ง”ซึ่งเข้าใจง่ายก็คือถูกแต่งตั้งมาจากนักเลงนั้นเอง แต่อย่างไรก็ตามแม้ว่าจะได้ผู้ว่าฯเป็นนักเลง อย่างน้อยก็ประชาชนเลือกตั้งเข้ามาด้วยมือของเขาเอง ไม่ได้ลอยมาจากไหนก็ไม่รู้เช่นในปัจจุบัน ถ้าเปรียบเทียบแล้วผู้ว่าฯที่มาจากการเลือกตั้งย่อมพบง่ายเข้าใจง่ายและต้องเอาใจประชาชนที่เลือกเขาเข้ามา มิใช่คอยเอาใจเจ้านายที่ส่วนกลางที่เป็นคนแต่งตั้งเขา 

10) ซื้อเสียงขายเสียงอาจจะจริง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าปัจจุบันนี้จะดีกว่า และก็มิใช่ว่าใครมีเงินมากกว่าแต่มิได้ทำคุณงามความดีอะไรเลย หิ้วกระเป๋าบรรจุเงินไปแล้วจะได้รับเลือกตั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่เขาจะต้องกุมชะตาชีวิตประจำวันเขาอย่างใกล้ชิด ที่สำคัญจะซื้อคนทั้งจังหวัดไหวหรือ 

11) ทุจริตคอรัปชัน/เปลี่ยนโอนอำนาจจากอำมาตย์ใหญ่ไปสู่อำมาตย์เล็ก
ร่าง พรบ.ฯนี้กำหนดให้มีสภาพลเมืองหรือลูกขุนพลเมือง(Civil Juries)คอยถ่วงดุลและตรวจสอบการทำงานของทั้งฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ แล้วชี้มูลหรือส่งฟ้องศาล ซึ่ง กทม.ไม่มีเช่นนี้ ฉะนั้น จึงมิใช่การถ่ายโอนอำนาจจากอำมาตย์ใหญ่ไปสู่อำมาตย์เล็ก เพราะปัจจุบันนี้ท้องถิ่นต่างๆก็ทำตัวเป็นอำมาตย์เล็กอยู่แล้วดังจะเห็นได้จากการขออนุมัติ อนุญาตต่าง ต้องเสียเบี้ยไบ้รายทางตลอด แต่เมื่อเรามีสภาพลเมืองหรือลูกขุนพลเมืองคอยตรวจสอบแล้ว สภาพเช่นนี้จะดีขึ้นกว่าปัจจุบันอย่างแน่นอน อีกทั้ง สตง., ปปช., ฯลฯ ก็ยังคงมีเหมือนเดิม

12) ผิดกฎหมาย
ไม่จริง เพราะเป็นการใช้สิทธิที่มีรัฐธรรมนูญมาตรา 281 ถึงมาตรา 290 รองรับไว้

โลกหมุนไปข้างหน้า นานาอารยประเทศ ไม่ว่าญี่ปุ่น เกาหลี อังกฤษ อเมริกา ฯลฯ ล้วนแล้วแต่ไม่มีราชการส่วนภูมิภาค  หากใครยังฝืนทวนกระแสโลก ก็ย่อมจะถูกกระแสแห่งโลกาภิวัตน์กวาดตกเวทีไปอย่างช่วยไม่ได้

 

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

‘ความอยุติธรรมทางศีลธรรม’ และกรรมของ ‘อากง’

Posted: 29 Nov 2011 07:20 AM PST

ในหมู่ชาวพุทธบ้านเรา เวลาเกิดปัญหาหรือเรื่องร้ายๆ ในชีวิตและสังคม ผู้คนมักจะพูดว่าเป็นเรื่องของ “กรรม” ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของทักษิณที่ต้องระหกระเหินไปอยู่ต่างประเทศก็บอกว่าเป็นเรื่องของกรรม อาจจะเป็นทั้งกรรมในชาติปัจจุบัน หรืออดีตชาติก็ว่ากันไป ความขัดแย้งแบ่งสีก็บอกเป็นกรรมของสังคม น้ำท่วมใหญ่ก็บอกเป็นกรรมที่มนุษย์ทำกับธรรมชาติ ฯลฯ

แน่นอนว่าเรื่องของ “อากง 20 ปี” ก็ไม่พ้นที่จะพูดกันว่าเป็นเรื่องของ “กรรม” เช่น อากงเองก็พูดถึงการติดคุก 20 ปี ของตนเอง (ขออนุญาตนำข้อความบนสเตตัสของ คุณอานนท์ นำภา มาเผยแพร่ต่อ) ดังข้างล่างนี้

 

ขณะที่เลขานุการของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็บอกว่าที่ตนต้องแจ้งความ เพราะจำเป็นต้องเลือก “ความถูกต้อง” และกรณีนี้มันก็เป็นเรื่อง “กรรมใดใครก่อ”

บางคนอาจมองว่าเรื่องความเชื่อ หรือ “คำทางศาสนา” ไม่ควรนำมาเกี่ยวโยงกับเรื่องทางสังคมการเมืองเพราะมันมีความหมายเฉพาะสำหรับใช้กับชีวิตทางศาสนามากกว่า แต่ถ้าเรามองตามข้อเท็จจริง “คำทางศาสนา” ไม่ได้ลอยอยู่ในอากาศ หากแต่ถูกหยิบมาใช้ในบริบททางสังคมการเมือง หรือถูกตีความรับใช้สภาพสังคมการเมืองในยุคสมัยต่างๆ มากบ้าง น้อยบ้างเสมอ ไม่เช่นนั้นความเชื่อหรือคำทางศาสนาอาจหายไปจากโลกแล้วก็ได้

โดยเฉพาะในสังคมไทย “คำทางศาสนา” เข้ามาป้วนเปี้ยนกับการเมืองแทบในทุกมิติ ตั้งแต่เรื่องดี ชั่วของตัวบุคคลทางการเมือง เรื่องน่าพึงประสงค์ไม่พึงประสงค์ของระบบการเมือง ไปจนถึงเรื่อง “ชะตากรรม” ของบ้านเมืองเป็นต้น ฉะนั้น การตั้งคำถาม หรือวิพากษ์การใช้คำทางศาสนาในทางสังคมการเมืองจึงมีความจำเป็นอยู่ไม่น้อย

กล่าวเฉพาะคำว่า “กรรม” ที่นิยมใช้กันในบ้านเรามักใช้ในความหมายประมาณนี้ เช่น

1) ใช้เจาะจงกับเรื่องราว หรือเหตุการณ์ร้ายๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตและสังคม เช่น มันเป็นกรรมของอากง เป็นเวรกรรมของแผ่นดิน เป็นกรรมของสังคมไทย ฯลฯ

2) ใช้อธิบายความเป็นไปของชีวิตในปัจจุบันและอนาคตว่าถูกกำหนดอย่างแน่นอนตายตัวโดย “กรรมเก่า”

3) ใช้อธิบายว่า มันยุติธรรมแล้วที่เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ เช่น “กรรมใดใครก่อ”

4) ใช้ปลอบใจตัวเอง (และคนอื่น) ให้ยอมรับชะตากรรม หรือยอมจำนน เช่น “มันเป็นกรรมของเราเอง”

5) ใช้ปฏิเสธความรับผิดชอบทั้งของตนเอง เช่น อ้างว่า “กรรมใดใครก่อ” เพื่อปฏิเสธความรู้สึกผิดที่ตนเองไปแจ้งความ ทำใช้ชายแก่คนหนึ่งต้องติดคุก 20 ปี (ทั้งที่ถ้าเขามีความเข้าใจว่ากฎหมายไม่ยุติธรรม และข้อความนั้นก็เป็นเพียง “ข้อความ” ที่ปรากฏในโทรศัพท์มือถือส่วนตัวของเขาเท่านั้น เขาก็ย่อมแสดงความรับผิดชอบต่ออิสรภาพของคนอื่นได้ด้วยการไม่ไปแจ้งความ) และปฏิเสธที่จะเรียกร้องความรับผิดชอบจากคนอื่นที่กระทำผิดต่อตนเอง เช่น ลูกถูกรถชนตายก็ไม่เรียกร้องความรับผิดชอบทางกฎหมายจากคู่กรณีอย่างเต็มที่ นึกเสียว่าเป็นการ “ใช้เวรใช้กรรมที่เคยมีต่อกัน” จะได้จบๆ ไม่จองเวรจองกรรมกันอีกต่อไป

การใช้กรรมในความหมายดังกล่าวเป็นต้นนี้ ไม่น่าจะตรงกับที่พระพุทธเจ้าใช้ หากศึกษาจากคำสอนเรื่องกรรมในพระไตรปิฎก เราจะพบว่า การใช้คำสอนเรื่องกรรมมีการใช้ภายใต้หลักคิดสำคัญประมาณนี้ เช่น

1) ใช้ปฏิเสธระบบชนชั้น ที่ถือว่าความประเสริฐไม่ประเสริฐของมนุษย์ถูกกำหนดเอาไว้แล้วอย่างตายตัวโดยชนชั้นที่คนได้มาโดยกำเนิด เช่น คุณเป็นผู้ประเสริฐโดยชาติ (การเกิด) ถ้าคุณเกิดในวรรณะกษัตริย์ หรือวรรณะพราหมณ์ เป็นสามัญชนถ้าเกิดในในวรรณะแพศย์ และเป็นคนชั้นต่ำถ้าเกิดในวรรณะศูทร สถานะทางชนชั้นโดยการเกิดนี้ถูกกำหนดโดยการเกิดจากพระพรหมอีกที เช่น พราหมณ์เกิดจากปาก กษัตริย์เกิดจากแขน แพศย์เกิดจากสะดือ ศูทรเกิดจากเท้า ของพระพรหม จึงมีสถานะสูง-ต่ำลดหลั่นกันตามโครงสร้างทางร่างกาย (Organism) ของพระพรหม

พระพุทธเจ้าไม่เห็นด้วยกับความเชื่อนี้ จึงใช้เหตุผลโต้แย้ง (arguments) อย่างตรงไปตรงมา สรุปสาระสำคัญได้ 3 ประการ คือ (1) พระพรหมไม่มีจริงเพราะไม่มีใครเคยเห็นพระพรหม (2) คนทุกวรรณะต่างเกิดจากโยนีของมารดา (3) ระบบวรรณะเกิดจากวิวัฒนาการทางสังคม เริ่มจากสังคมก่อนสังคมการเมืองมาเป็นสังคมการเมือง และมีการแบ่งบทบาทหน้าที่ทางสังคม มีการสร้างความเชื่อสร้างจารีตประเพณีขึ้นมากำกับความคงอยู่ของระบบวรรณะ

จะเห็นว่าพระพุทธเจ้าอ้าง “ข้อเท็จจริงเชิงประจักษ์” หรือใช้เหตุผลแบบ “ประสบการณ์นิยม” (empiricism) เพื่อปฏิเสธระบบชนชั้น แล้วจึงเสนอว่า “ความประเสริฐไม่ประเสริฐ” หรือคุณค่าของคนขึ้นอยู่กับ “กรรม” หรือการกระทำของคนแต่ละคน

2) ใช้ “กรรม” เพื่อยืนยันความยุติธรรม ตามหลักคิดเรื่องกฎแห่งกรรมที่ว่า “ทำกรรมเช่นใด ย่อมได้รับผลเช่นนั้น” ความยุติธรรมตามความหมายนี้มีสาระสำคัญ 2 ประการ คือ (1) ไม่ว่าใครก็ตามเมื่อกระผิดหรือถูกในสิ่งเดียวกัน ก็ย่อมผิดหรือถูกเสมอภาคกัน เช่น กษัตริย์ฆ่าคน ศูทรฆ่าคนก็ผิดศีลข้อ “ปาณาติบาต” เหมือนกัน เป็นต้น ความยุติธรรมในความหมายนี้เป็นการปฏิเสธ “ระบบอภิสิทธิชนทางศีลธรรม” ของระบบชั้นนั้น และถือว่ามนุษย์มี “ความเสมอภาคทางศีลธรรม” (2) การกระทำสิ่งที่ผิดน้อยย่อมได้รับโทษเบา ทำผิดมากย่อมได้รับโทษหนัก

หากพิจารณาตามความหมายของความยุติธรรม 2 ประการตามหลักคิดเรื่อง “กฎแห่งกรรม” ดังกล่าว การออกกฎหมายที่กำหนดให้ชนชั้นใดชนชั้นหนึ่งมีอภิสิทธิ์เหนือเพื่อมนุษย์คนอื่น ย่อมเป็นกฎหมายที่ไม่ยุติธรรม การตัดสินลงโทษคนตามกฎหมายเช่นนั้น เช่น กรณีตัดสินจำคุก 10-20 ปี สำหรับ “กรรมเบา” หรือการกระทำทางศีลธรรมที่มีความผิดเบามาก อย่าง “กรรมทางวาจา” (วจีกรรม) ที่หมิ่นประมาทบุคคลอื่น จึงเป็นการตัดสินที่ไม่ยุติธรรมตามกฎแห่งกรรม หรือเป็นการตัดสินที่ “ไม่ยุติธรรมในทางศีลธรรม”

พึงตระหนักว่า เมื่อพระพุทธเจ้าใช้หลัก “กรรม” ปฏิเสธระบบวรรณะ” ย่อมมีความหมายสำคัญว่าระบบวรรณะไม่ใช่ระบบที่มีความยุติธรรมตามทัศนะของพระองค์ หลักที่ยุติธรรมกว่าคือหลักกรรม ฉะนั้น สังคมที่มีความยุติธรรมกว่าสังคมระบบชนชั้น คือสังคมที่สร้างกติกาการอยู่ร่วมกันให้สอดคล้องกับความยุติธรรมตามกฎแห่งกรรมทั้ง 2 ประการดังกล่าว

คำถาม ณ ที่นี้คือ ทำไมสังคมไทยที่อ้างว่าสังคมตนเองเป็นสังคมพุทธ และถึงขนาดบัญญัติในรัฐธรรมนูญว่า “พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะ” จึงมีกฎหมาย เช่น ม.112 เป็นต้น ที่ขัดแย้งกับหลักความยุติธรรมตามคำสอนของพระพุทธเจ้า และมีการใช้กฎหมายนั้นลงโทษประชาชนอย่างขัดต่อ “หลักความยุติธรรมทางศีลธรรม” ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า สังคมนี้ควรเลิกประกาศว่าเป็น “สังคมพุทธ” หรือควรยกเลิกกฎหมายที่ขัดกับคำสอนของพุทธศาสนาดี!

3) ใช้ “กรรม” ปฏิเสธ “ลัทธิกรรมเก่า” (ปุพฺเพกตวาท) ที่เชื่อว่าความเป็นไปทุกอย่างของชีวิตในปัจจุบันและอนาคตถูกกำหนดเอาไว้แล้วอย่างแน่นอนตายตัวโดย “กรรมเก่า” พระพุทธเจ้าถือว่าความหมายสำคัญของหลักกรรมอยู่ที่คนแต่ละคนมีเสรีภาพในการเลือกกระทำ และเวลาปัจจุบันคือเวลาที่เราแต่ละคนมีอำนาจตัดสินใจเลือกมากที่สุดว่าจะทำอะไร เช่น องคุลีมาลย์มีอำนาจตัดสินใจเลือกว่าจะฆ่าคนต่อไป หรือจะเลือกทางชีวิตแบบพระภิกษุ เป็นต้น ฉะนั้น การกระทำในปัจจุบันคือสิ่งสำคัญที่สุดที่กำหนดความเป็นไปในปัจจุบันและอนาคตของชีวิต (และสังคม) ของเรา

จะเห็นว่าการยืนยันความสำคัญของ “กรรมปัจจุบัน” ย่อมสอดคล้องกับที่พระพุทธเจ้าอ้างเหตุผลเชิงประจักษ์ หรือ “ข้อเท็จจริงที่พิสูจน์ได้” เพื่อปฏิเสธระบบวรรณะ

ฉะนั้น ถ้าพระพุทธเจ้าปฏิเสธว่าพระพรหมไม่มีเพราะไม่มีใครเคยเห็น แต่กลับยืนยันว่าชีวิตปัจจุบันและอนาคตขึ้นอยู่กับ “กรรมเก่า” ที่ไม่มีใครมองเห็น ย่อมเป็นการยืนยันที่ขัดแย้งในตัวเอง ด้วยเหตุนี้พระองค์จึงปฏิเสธ “ลัทธิกรรมเก่า” และยืนยืนความสำคัญของ “กรรมปัจจุบัน” ที่พิสูจน์ความเป็นเหตุเป็นผลได้ในเชิงประจักษ์

แต่การสอนเรื่องกรรมในยุคต่อมา รวมทั้งที่นิยมสอนกันมากในบ้านเราเช่นเรื่อง “แก้กรรม” เป็นการสอนตาม “ลัทธิกรรมเก่า” ที่พระพุทธเจ้าเคยปฏิเสธมาก่อน

4) ใช้กรรมเพื่อยืนยัน “ความรับผิดชอบ” โดยปฏิเสธ “ลัทธิอ้อนวอนสิ่งศักดิ์สิทธิ์” หรือ “ลัทธิรอผลดลบันดาล” พระพุทธเจ้าเรียกตนเองว่าเป็น “กรรมวาที” คือผู้ยืนยันว่าการกระทำด้วยความเพียรของตนเองคือสิ่งที่ทำให้บรรลุความสำเร็จ กรรมในความหมายนี้มีลักษณะ active คือลักษณะของความเป็น “ผู้กระทำ” เพื่อกำหนดการเปลี่ยนแปลงชีวิต (และสังคม) ให้ก้าวหน้าไปในทางที่ดีขึ้น ซึ่งตรงกันข้ามกับลักษณะ passive คือความเป็น “ผู้ถูกกระทำ” หรือถูกกำหนดชะตากรรมโดยสิ่งศักดิ์สิทธิ์ (หรืออำนาจกรรมเก่า) ตามลัทธิรอผลดลบันดาล

ความเป็น “กรรมวาที” หรือความเป็นผู้ริเริ่มกระทำสิ่งที่ดีเพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิต (และสังคม) ให้ดีขึ้นแสดงถึง “ความรับผิดชอบ” ต่อชีวิต (และสังคม) นี่คือสาระสำคัญของคำสอนเรื่อง “กรรม” ในพุทธศาสนา แต่ในบ้านเรากลับอ้างคำสอนเรื่องกรรมเพื่อปฏิเสธความรับผิดชอบ มันจึงกลับตาลปัตรกับที่พระพุทธเจ้าสอน

ฉะนั้น ในกรณีของ “อากง” หากเรามีความรับผิดชอบ (หรือมีความเป็น “กรรมวาที” ตามแบบอย่างที่พระพุทธเจ้าเป็น) ความรับผิดชอบนั้นย่อมแสดงออกด้วยการคัดค้านการลงโทษที่อยุติธรรมแก่อากง ด้วยการเรียกร้องให้ยกเลิก ม.112 และยกเลิกกฎหมายใดๆ ก็ตาม ที่สนับสนุนความอยุติธรรมทางชนชั้นซึ่งขัดกับหลัก “ความยุติธรรมทางศีลธํรรม” ตามคำสอนเรื่องกรรมโดยพื้นฐาน

ปัญหาคือ เมื่อเรายืนยันว่าคนส่วนใหญ่ในสังคมนี้เป็นชาวพุทธ และสังคมนี้เป็นสังคมประชาธิปไตย เราพร้อมที่จะเป็นชาวพุทธตามที่พระพุทธเจ้าสอน และพร้อมที่จะเปลี่ยนสังคมให้เป็นประชาธิปไตยอย่างอารยประเทศหรือยัง? หรือจะอยู่กันแบบนี้ ซาบซึ้งกับ “การหลอกตัวเอง” เช่นนี้ไปชั่วกัลปาวสาน!

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ครม.ให้ ศอ.บต.คุมงานเยียวยา ประชุมกรรมการนัดแรก 2 ธันวา

Posted: 29 Nov 2011 07:12 AM PST

นางอังคณา นีละไพจิตร กรรมการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบสืบเนื่องจากความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เปิดเผยว่า ในเวลา 10.00 น. วันที่ 2 ธันวาคม 2554 ที่ทำเนียบรัฐบาล จะมีการประชุมคณะกรรมการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบสืบเนื่องจากความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นครั้งแรกในรัฐบาลชุดปัจจุบัน โดยมีพล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานคณะกรรมการ

นางอังคณา เปิดเผยต่อไปว่า การประชุมครั้งนี้ มีวาระที่สำคัญคือ แจ้งเพื่อทราบ เรื่องที่คณะรัฐมนตรีมีมติ เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2554 ให้ถ่ายโอนภารกิจการให้ความช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ จากสำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีไปเป็นของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.)

นางอังคณา เปิดเผยอีกว่า ส่วนวาระอื่นๆ ได้แก่ เรื่องการสรุปผลการช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบสืบเนื่องจากผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบ ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2547 – ปี พ.ศ.2554 การกำหนดหลักเกณฑ์ แนวทางและกลุ่มเป้าหมายในการเยียว การแต่งตั้งอนุกรรมการที่เกี่ยวข้อง งบประมาณ และการจัดทำระบบฐานข้อมูลการเยียวยา

นอกจากนี้ ยังมีวาระเรื่องการสรุปข้อมูลเหตุการณ์และการให้ความช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากความไม่สงบ ผู้ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์ กรือเซะ ตาบใบ มัสยิดไอร์ปาแยและผู้สูญเสียที่ไม่ได้รับรองจากเจ้าหน้าที่ 3 ฝ่าย คือ ตำรวจ ทหาร ฝ่ายปกครองว่า ได้รับผลกระทบจากเหตุไม่สงบ

สำหรับคณะกรรมการเยียวยาสืบเนื่องจากสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนใต้ชุดนี้ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรับมนตรี ได้ลงนามในสำคั่งแต่งตั้งเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2554 ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 197/2554

คณะกรรมการชุดนี้ มีพล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธาน นายบัณฑูร สุภัควณิช เลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นรองประธาน

ส่วนกรรมการ ประกอบด้วย พล.ต.อ.สวัสดิ์ อมรวิวัฒน์ นายพระนาย สุวรรณรัฐ นายกิตติพงษ์ กิตยารักษ์ ศาสตราจารย์พิเศษ ธงทอง จันทรางศุ พล.อ.ขวัญชาติ กล้าหาญ รองศาสตราจารย์โคทม อารียา นางจิราพร บุนนาค นายเจริญ หมะเห นายถิรชัย วุฒิธรรม

นาวาอากาศตรี นายแพทย์บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปิยะ กิจถาวร แพทย์หญิงเพชรดาว โต๊ะมีนา นางเมตตา กูนิง รองศาสตราจารย์รัตติยา สาและ นายวงศ์ศักดิ์ สวัสดิ์พาณิชย์ นายวรวีร์ มะกูดี นางสาวศุภวรรณ พึ่งรัศมี พลตำรวจเอกอดุลย์ แสงสิงแก้ว นายแพทย์อนันต์ชัย ไทยประทาน นางอังคณา นีละไพจิตร นายอิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา

นอกจากนี้ ยังมีประธานกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสงขลา ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นกรรมการ โดยมีเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นกรรมการและเลขานุการ

ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นกรรมการและเลขานุการร่วม นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ และกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ จำนวนไม่เกิน 3 คน ที่เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้แต่งตั้ง

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ร้องตัวแทนไทยใน “คณะมนตรีแม่น้ำโขง” คงความเห็นกรณี “เขื่อนไซยะบุรี”

Posted: 29 Nov 2011 07:01 AM PST

เครือข่ายประชาชน 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขง แจงข้อกังวลโครงการเขื่อนไซยะบุรี ร้องผู้แทนประเทศไทยยืนยันความเห็น “เปิดเผยข้อมูลไม่เพียงพอ- ควรพิจารณาข้อกังวลของสาธารณะ” ในที่ประชุมคณะมนตรีแม่น้ำโขง 7-9 ธ.ค.นี้ ที่กัมพูชา

 
 
วันนี้ (29 พ.ย.54) เครือข่ายประชาชน 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขง เข้ายื่นจดหมายถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะสมาชิกคณะมนตรีแม่น้ำโขง เรื่องข้อกังวลเกี่ยวกับเขื่อนไซยะบุรี และการประชุมคณะมนตรีแม่น้ำโขง ชี้โครงการสร้างเขื่อนไซยะบุรีกั้นแม่น้ำโขงสายหลักในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชนลาว (สปป.ลาว) ยังไม่มีการเปิดเผยข้อมูลให้ได้รับทราบอย่างรอบด้าน ขณะที่โครงการกลับมีความคืบหน้าอย่างรวดเร็ว สร้างความกังวลใจ โดยเฉพาะในประเด็นผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
 
จดหมายดังกล่าวระบุว่า เครือข่ายประชาชน 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขง อันประกอบด้วยจังหวัดเชียงราย เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี ได้ทำงานติดตามกรณีเขื่อนไซยะบุรี บนแม่น้ำโขง ในพื้นที่ มาโดยตลอด ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ประชาชนริมแม่น้ำโขงได้รับรู้ถึงผลกระทบของการสร้างเขื่อน 4 แห่งในประเทศจีน ที่แม้จะอยู่ห่างไกลแต่ได้สร้างผลกระทบต่อคนลุ่มน้ำโขงตอนล่างอย่างชัดเจน และหากมีการสร้างเขื่อนไซยะบุรีสำเร็จ เชื่อว่าจะเกิดผลกระทบประชาชนในประเทศลาว กัมพูชา เวียดนาม และไทย รวมถึงคนริมฝั่งแม่น้ำสาขาของแม่น้ำโขง อีกจำนวนมาก
 
แม้เขื่อนจะตั้งอยู่ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว แต่โครงการเขื่อนไซยะบุรีก็เกี่ยวข้องกับประเทศไทยโดยตรง เนื่องจากมีบริษัท ช.การช่างของไทยเป็นผู้พัฒนาโครงการ โดยได้รับการสนับสนุนเงินทุนจาก 4 ธนาคารของไทย ขณะที่ผู้รับซื้อไฟฟ้าเกือบทั้งหมดคือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
 
จดหมายยังได้ระบุข้อเรียกร้อง ให้ผู้แทนประเทศไทยในฐานะสมาชิกคณะมนตรีแม่น้ำโขง ยืนยันข้อคิดเห็นเดิมตามวันที่ 19 เม.ย.54 ที่ระบุว่า กระบวนการเปิดเผยข้อมูลยังไม่เพียงพอ และควรมีการพิจารณาข้อกังวลของสาธารณะอย่างถี่ถ้วน ในการประชุมคณะมนตรีแม่น้ำโขง ซึ่งจะมีการอภิปรายถึงกรณีเขื่อนไซยะบุรี ในวันที่ 7-9 ธ.ค.54 ที่ประเทศกัมพูชา
 
อีกทั้ง ขอให้ชะลอการลงนามซื้อขายไฟฟ้าระหว่างประเทศไทย โดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และผู้พัฒนาโครงการ คือ บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) จนกว่ากระบวนการตามข้อตกลงแม่น้ำโขงจะลุล่วง และเป็นที่ยอมรับ พร้อมทั้งมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน โดยเฉพาะประชาชนผู้พึ่งพาทรัพยากรแม่น้ำโขงในการดำรงชีวิต
 
ทั้งนี้จดหมายดังกล่าวมีรายละเอียด ดังนี้
           
 
 
 
ศูนย์ประสานงานเครือข่ายประชาชน 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขง
อาคารที่ทำการอำเภอเมืองหนองคาย (หลังเก่า)
ถ.ประจักษ์ อ.เมือง จ.หนองคาย 43000
 
 
 
29 พฤศจิกายน 2554
 
เรื่อง ข้อกังวลเกี่ยวกับเขื่อนไซยะบุรี และการประชุมคณะมนตรีแม่น้ำโขง
เรียน ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะสมาชิกคณะมนตรีแม่น้ำโขง
 
ในนามของเครือข่ายประชาชน 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขง อันประกอบด้วยจังหวัดเชียงราย เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี ได้ทำงานติดตามกรณีเขื่อนไซยะบุรี บนแม่น้ำโขง ในพื้นที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชนลาว (สปป.ลาว) มาโดยตลอด
 
ประชาชนทั้ง 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขงส่วนใหญ่มองว่าโครงการสร้างเขื่อนไซยะบุรียังไม่มีการเปิดเผยข้อมูลให้ได้รับทราบอย่างรอบด้าน ขณะที่โครงการกลับมีความคืบหน้าอย่างรวดเร็ว จึงรู้สึกกังวลใจ โดยเฉพาะในประเด็นผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
 
ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ประชาชนริมแม่น้ำโขง ได้รับรู้ถึงผลกระทบของการสร้างเขื่อน 4 แห่งในประเทศจีนซึ่งกั้นแม่น้ำโขง ที่แม้จะอยู่ห่างไกลกว่าโครงการเขื่อนไซยะบุรี แต่ได้สร้างผลกระทบต่อคนลุ่มน้ำโขงตอนล่างอย่างชัดเจน   และหากมีการสร้างเขื่อนไซยะบุรีสำเร็จ ประชาชนลุ่มน้ำโขงเชื่อว่าจะเกิดผลกระทบกับพี่น้องชาวลาว กัมพูชา เวียดนาม และไทย รวมถึงคนริมฝั่งแม่น้ำสาขาของแม่น้ำโขง อีกจำนวนมาก
 
ผลกระทบสำคัญซึ่งคาดการณ์ว่าจะเกิดขึ้นหากมีการสร้างเขื่อนไซยะบุรีคือ การปิดกั้นเส้นทางอพยพของปลาโดยเฉพาะปลาบึก   การทำลายระบบนิเวศทั้งระบบของแม่น้ำโขง   การสูญเสียพื้นที่เกษตรกรรมริมฝั่งโขง  ซึ่งจะกลายเป็นภาพใหญ่ในผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ฯลฯ อันเป็นการทำลายวิถีชีวิตของคนริมฝั่งโขงโดยตรง
 
แม้เขื่อนจะตั้งอยู่ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว แต่โครงการเขื่อนไซยะบุรีก็เกี่ยวข้องกับประเทศไทยโดยตรง เนื่องจากมีบริษัท ช.การช่างของไทยเป็นผู้พัฒนาโครงการ โดยได้รับการสนับสนุนเงินทุนจาก 4 ธนาคารของไทย ขณะที่ผู้รับซื้อไฟฟ้าเกือบทั้งหมดคือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
 
เราจึงใคร่ขอแสดงความกังวลเป็นอย่างยิ่ง ต่อขั้นตอนการแจ้งข้อมูล ปรึกษาหารือล่วงหน้า และข้อตกลง (Procedures for Notification, Prior Consultation, and Agreement - PNPCA) ของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (Mekong River Commission: MRC) ในกรณีโครงการเขื่อนไซยะบุรี ซึ่งยังไม่ได้รับฉันทามติจากประเทศสมาชิกทั้ง 4 นอกจากนี้ ตามความตกลงแม่น้ำโขง 2538 การตัดสินใจใด ๆ เกี่ยวกับทรัพยากรในแม่น้ำ ควรจะอยู่บนพื้นฐานการให้ความสำคัญร่วมกัน
 
ประเทศไทย กัมพูชา และเวียดนาม ยังได้แสดงความกังวลในที่ประชุมสมัยพิเศษของคณะกรรมการร่วมของ MRC เมื่อวันที่ 19 เมษายน ปีนี้ เกี่ยวกับความจำเป็นที่ต้องมีการศึกษาและปรึกษาหารือเพิ่มเติมเกี่ยวกับ เขื่อนไซยะบุรีก่อนจะตัดสินใจ และเนื่องจากบรรดาประเทศสมาชิกขาดซึ่ง “โอกาสอย่างพอเพียง...ที่จะอภิปรายและประเมินถึงประโยชน์ที่จะได้รับ” ด้วยเหตุดังกล่าว ย่อมถือว่า กระบวนการแจ้งข้อมูลยังไม่เสร็จสิ้นสมบูรณ์
 
เราจึงใคร่ขอเรียกร้องมายังท่านในฐานะสมาชิกคณะมนตรีแม่น้ำโขง ให้ผลักดันเพื่อเรียกร้องให้ประเทศสมาชิก ปฏิบัติตามกฎหมายระหว่างประเทศ และปฏิบัติตามกระบวนการ PNPCA อย่างแท้จริง ตามความตกลงแม่น้ำโขงปี 2538 และต้องถือว่า ยังไม่มีข้อสรุปใด ๆ เกี่ยวกับสถานะของโครงการเขื่อนแห่งนี้
 
ก่อนหน้าที่จะถึงการประชุมคณะมนตรีแม่น้ำโขง ในวันที่ 7-9 ธันวาคม 2554 ณ ประเทศกัมพูชา ซึ่งจะมีการอภิปรายถึงกรณีเขื่อนไซยะบุรี เราขอเรียกร้องให้ท่านยืนยันข้อคิดเห็นเดิมตามวันที่ 19 เมษายน ที่ระบุว่า กระบวนการเปิดเผยข้อมูลยังไม่เพียงพอ และควรมีการพิจารณาข้อกังวลของสาธารณะอย่างถี่ถ้วน
 
ในฐานะสมาชิกคณะมนตรีแม่น้ำโขงของประเทศไทย เราใคร่ขอให้ท่านชะลอการลงนามซื้อขายไฟฟ้าระหว่างประเทศไทย โดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และผู้พัฒนาโครงการ คือ บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) จนกว่ากระบวนการตามข้อตกลงแม่น้ำโขงจะลุล่วง และเป็นที่ยอมรับ พร้อมทั้งมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน โดยเฉพาะประชาชนผู้พึ่งพาทรัพยากรแม่น้ำโขงในการดำรงชีวิต
           
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาและดำเนินการโดยเร่งด่วน
 
ขอแสดงความนับถือ
 
เครือข่ายประชาชนไทย 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขง
 
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

อียิปต์เลือกตั้งนัดแรกหลังมูบารัคสิ้นอำนาจ

Posted: 29 Nov 2011 06:56 AM PST

การเลือกตั้ง ส.ส. นัดแรกของอียิปต์นับตั้งแต่อดีตประธานาธิบดีถูกขับไล่ มีผู้มีใช้สิทธิหนาแน่น ผู้นำสภาทหารกำชับไม่ยอมให้ใครป่วนการเลือกตั้ง เผยมีมือต่างชาติคอยชักใยเหตุวุ่นวายในบ้าน

28 พ.ย. 2554 - ชาวอียิปต์ได้เข้าคูหาเลือกตั้ง ส.ส. เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ที่ประธานาธิบดี ฮอสนี มูบารัค ถูกโค่นล้มเมื่อช่วงเดือน ก.พ. ที่ผ่านมา

สำนักข่าวอัลจาซีร่ารายงานว่า ตั้งแต่ช่วงเช้ามีผู้มาใช้สิทธิ์ยืนรอคิวมากมายที่หน้าหน่วยเลือกตั้ง แม้ว่าจะมีการจัดกำลังรักษาความปลอดภัยคุ้มกันอย่างแน่นหนาก็ตาม มีชาวอียิปต์จำนวนมากที่ยังกังวลว่าอาจจะเกิดความรุนแรงขึ้นที่หน่วยเลือกตั้ง ขณะที่อีกส่วนหนึ่งกังวลว่าประเทศจะยังคงมีการแบ่งขั้วกันแม้แต่หลังจากการเลือกตั้งแล้ว

ปัญหาขลุกขลัก กับการละเมิดกฏเลือกตั้งโจ่งแจ้
ในบางพื้นที่ของประเทศอียิปต์มีปัญหาเรื่องการขนส่งอุปกรณ์ทำให้หน่วยเลือกตั้งยังไม่สามารถเปิดทำการได้จนกว่าจะผ่านไปหนึ่งช่วงโมงหลังจากเวลาที่กำหนดไว้ เนื่องจากบัตรลงคะแนนและหมึกที่ใช้ปั้มลายนิ้วมือยังมาไม่ถึง โดยผู้สื่อข่าวอัลจาซีร่ารายงานว่า นอกจากปัญหาบัตรเลือกตั้งแล้ว บางหน่วยเลือกตั้งกรรมการการเลือกตั้งมาสายหรือกระทั่งไม่มาทำการเลย

แม้ว่าจะมีส.ส. บางพรรคฝ่าฝืนกฏการห้ามรณรงค์หาเสียงที่หน่วยเลือกตั้งโดยการแจกใบปลิว แต่ผู้สื่อข่าวก็รายงานว่า "บรรยากาศเป็นไปด้วยดี ฉันไม่เคยเห็นผู้เข้าร่วมลงคะแนนจำนวนมากขนาดนี้มาก่อน"

ขณะที่สำนักข่าวเดอะ การ์เดียน ของอังกฤษ ได้รายงานการเลือกตั้งของอียิปต์ในแบบรายงานสด โดยศูนย์เพื่อสิทธิมนุษยชนของอียิปต์รายงานว่ามีการร้องเรียนการทำผิดกฏการเลือกตั้ง 391 รายการ ในการเลือกตั้งครั้งนี้ ขณะที่กกต. ของอียิปต์ได้รับแจ้งมากกว่า 70 รายการ ซึ่งจากคำแถลงของศูนย์เพื่อสิทธิมนุษยชนอียิปต์ระบุว่า "แม้จะมีการวางกำลังผู้รักษาความปลอดภัยแน่นหนา แต่ก็มีผู้สมัครฯ จำนวนมากที่มาจากพรรค Freedom กับพรรค Freedom and Justice รวมถึงผู้สมัครฯ อิสระ ได้กระทำการขัดต่อกฏหมายเลือกตั้งหน้าหน่วยเลือกตั้งโดนตรง บางรายมีการซื้อเสียงด้วย"

ขณะเดียวกันอับเดล โมเอซ อิบราฮิม หัวหน้ากกต. ของอียิปต์กล่าวโทษว่าการที่มีการละเมิดกฏการเลือกตั้งเกิดขึ้นนั้น เป็นปัญหาของกรรมการและกระทรวงมหาดไทย เนื่องจากกรรมการหน่วยเลือกตั้งจำสถานที่ผิดหรือรถติดจนไปถึงหน่วยเลือกตั้งไม่ทัน รวมถึงบัตรและหีบเลือกตั้งไปถึงไม่ทันเวลา ซึ่งหัวหน้ากกต. บอกว่า การส่งอุปกรณ์เหล่านี้เป็นหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทยไม่ใช่ของ กกต.

กลุ่มนิกายคอปต์มาใช้สิทธิจำนวนมาก
ขณะที่อัลจาซีร่ารายงานว่ามีชาวคริสต์นิกายคอปต์มาใช้สิทธิเป็นจำนวนมาก โดยชุมชนนิกายคอปต์ (Copts) ในอียิปต์มีประชากรอยู่ราว 8 ล้านคน ซึ่งถือว่ามากที่สุดในตะวันออกกลาง พวกเขาเคยบอกว่าเป็นกลุ่มคนทีถูกเลือกปฏิบัติและถูกโจมตีทางความเชื่อ แล้วในตอนนี้พวกเขาก็กังวลว่าพรรคการเมืองอิสลามจะได้รับเสียงข้างมากและอียิปต์จะกลายเป็นรัฐอิสลาม

"ในช่วงสมัยมูบารัค พรรคการเมืองทั้งหมดรวมถึงพรรคอิสลามต่างโดนกดทับ" ซามี กล่าว เขาทำงานอยู่ในโบสท์เซนต์จอร์จ เมืองอเล้กซานเตรีย "แต่ในตอนนี้พวกเขาเป็นอิสระแล้ว ผู้คนเริ่มหันมากลัวว่าพรรคอิสลามจะชนะการเลือกตั้ง ไม่เพียงแค่พรรค Hizb al-Nour (ของนิกายย่อยซาลาฟี) แต่รวมถึงกลุ่มภราดรภาพมุสลิมด้วย"

'ประชาธิปไตยในเชิงปฏิบัติ'
อัมร์ มูสซา หนึ่งในผู้ลงสมครเลือกตั้งของอียิปต์ กล่าวย้ำว่าการเลือกตั้งนี้เป็นความปรารถนาประชาธิปไตยอย่างแท้จริงในอียิปต์

"นี่เป็นจุดเริ่มต้นของอียิปต์ยุคใหม่ เป็นประชาธิปไตยเชิงปฏิบัติ ไม่ใช่แค่ในเชิงทฤษฎี แต่เป็นการปฏิบัติจริง" มุสซากล่าว

จากแผนภาพของเว็บไซต์อัลจาซีร่าได้แสดงกระบวนการเลือกตั้งซึ่งแบ่งตามเขตการปกครองต่างๆ ตามลำดับเวลา โดยการเลือกตั้งในวันที่ 28 พ.ย. นี้ เป็นการเลือกตั้งสภาล่าง ในเขตการปกครองไคโร , คาฟร์ เอล-ชีค, พอร์ท ซัลด์ และดามเลตตา 

การเลือกตั้งในวันดังกล่าวถือเป็นขั้นแรกที่จะได้ส.ส.ที่ได้รับเลือก 168 ราย จากที่จะได้รับเลือกทั้งหมด 498 ราย มีพรรคการเมืองลงชิงชัยมากกว่า 50 พรรค รวมถึงผู้ลงสมัครอิสระอีกหลายพันคน โดยการเลือกตั้งของเขตการปกครองอื่นจะมีขึ้นอีกในวันที่ 14 ธ.ค. 2011 และ 3 ม.ค. 2012 ต่อจากนั้นจึงจะมีการเลือกตั้งสภาสูงในช่วงต้นปีหน้า

แผนภาพการเลือกตั้งของอียิปต์ยังระบุอีกว่า จะมีการแบ่งสัดส่วนที่นั่ง ส.ส. ตามกลุ่มวิชาชีพอย่างละครึ่ง ระหว่างกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ (Professional) และกลุ่มชาวนา/กรรมกร (Worker/Farmer)  ซึ่งหากส.ส. ที่มีคะแนนเสียงมากที่สุดสองรายมาจากกลุ่มวิชาชีพเดียวกัน ก็จะมีการปัดให้ตัวแทนที่มีคะแนนสูงสุดจากอีกกลุ่มวิชาชีพหนึ่งขึ้นมาเป็นอันดับรองแทน

สภาทหารกำชับไม่ยอมให้ใครป่วนการเลือกตั้ง
ทางด้านฝ่ายผู้นำทหารออกมากล่าวเตือนว่า ประเทศจะตกอยู่ในสภาพเลวร้ายหากไม่สามารถผ่านวิกฤติในครั้งนี้ไปได้

จอมพล ฮุสเซน ทันทาวี หัวหน้าสภาคณะทหารสูงสุดของอียิปต์ (SCAF)  กล่าวผ่านสถานีโทรทัศน์ของรัฐบาลเมื่อวันที่ 27 พ.ย. ว่า ทางสภาทหารจะยังไม่ลงจากตำแหน่งโดยทันที และเตือนว่าเหตุการณ์วุ่นวายในครั้งนี้มี "มือจากต่างประเทศ" คอยชักใย อย่างไรก็ตามทันทาวีสัญญาว่าจะมีการตั้งคณะที่ปรึกษา 50 คนในการให้คำปรึกษาแก่สภาทหารแทน

"สภาทหารในตอนนี้เปรียบเสมือนไขสันหลังของอียิปต์ พวกเขาเป็นผู้นำในกระบวนการการถ่ายโอนอำนาจ มีคนพวกอื่นในอียิปต์ที่ไม่ได้สนับสนุนแนวคิดของผู้ประท้วงในทาร์เรีย" อีหมัด โมห์เซน กล่าว เขาเป็นสมาชิกของกลุ่มที่เรียกตัวเองว่ากลุ่มพลังเงียบของคนส่วนใหญ่และอดีตรัฐมนตรีกระทรวงสารสนเทศ 

ทันทาวีกล่าวอีกว่าทางกองทัพจะยังคงปฏิบัติตามแผนแนวทางการถ่ายโอนอำนาจ และจะไม่ยอมให้ "ผู้ก่อปัญหา" รายใดสร้างความวุ่นวายในการเลือกตั้ง อย่างไรก็ตามสภาทหารยังไม่ได้กำหนดวันเลือกตั้งประธานาธิบดีที่แน่ชัด ซึ่งจะถือเป็นการเปลี่ยนผ่านทางอำนาจอย่างแท้จริง แต่ก็เคยสัญญาว่าจะมีขึ้นภายในเดือนมิ.ย. 2012

 

ที่มา เรียบเรียงจาก
Egyptians cast ballots in post-Mubarak polls, Aljazeera, 28-11-2011
http://www.aljazeera.com/news/middleeast/2011/11/201111285426716706.html

Egypt Election - live update, The Guardian, 28-11-2011
http://www.guardian.co.uk/world/middle-east-live/2011/nov/28/egypt-elections-live-updates

แผนภาพการเลือกตั้งในอียิปต์ปี 2011-2012
http://www.aljazeera.com/indepth/interactive/2011/11/20111121104852168402.html

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

‘อานันท์’ รับ กฎหมายหมิ่นฯ รุนแรงไป เสนอแก้กระบวนการฟ้องร้องและบทลงโทษ

Posted: 29 Nov 2011 06:51 AM PST

เปิดตัวหนังสือ“King Bhumibol Adulyadej: A Life’s Work” ที่สมาคมนักข่าวตปท. อานันท์ ปันยารชุน ยอมรับ กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพมีปัญหาการใช้ที่รุนแรงเกินไป แนะควรแก้ไขที่กระบวนการฟ้องร้องและบทลงโทษให้เหมาะสม

เมื่อวันที่ 29 พ.ย. 2554 ที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย มีการเปิดตัวหนังสือชีวประวัติของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฉบับภาษาอังกฤษโดยสำนักพิมพ์ Editions Didier Millet ชื่อ “King Bhumibol Adulyadej: A Life’s Work” โดยมีอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกฯ เป็นที่ปรึกษากองบรรณาธิการ ซึ่งในงานดังกล่าวได้รับความสนใจแก่ชาวต่างชาติและผู้สื่อข่าวต่างประเทศเป็นอย่างมาก

อานันท์ ปันยารชุน ประธานคณะกรรมการที่ปรึกษากองบรรณาธิการหนังสือเล่มนี้ กล่าวว่า งานเขียนซึ่งมีความยาวกว่า 500 หน้านี้ เป็นการรวบรวมบทความและข้อเท็จจริงที่ผ่านการถกเถียงระหว่างผู้เขียนที่หลากหลายโดยประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญไทยและต่างประเทศ โดยเขาหวังว่าจะสามารถให้ข้อมูลที่เป็นอิสระ เป็นกลางและรอบด้านแก่ผู้อ่านมากที่สุด

หนังสือดังกล่าวยังได้รวบรวมประเด็นอันเป็นที่ถกเถียงอยู่ในปัจจุบัน เช่น กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และการสืบรัชทายาทด้วย

ธีรวัต ณ ป้อมเพชร อดีตอาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ จุฬาฯ หนึ่งในคณะกรรมการที่ปรึกษากองบรรณาธิการ กล่าวในงานแถลงข่าวว่า หนังสือเล่มนี้เป็นการรวมบทวิเคราะห์ทางประวัติศาสตร์ การเมือง และวัฒนธรรมในช่วงการปกครองสมัยรัชกาลที่ 9 โดยตั้งใจให้เป็นคล้ายหนังสืออ้างอิงเชิงประวัติศาสตร์นิพนธ์ของรัชกาลที่ 9 ที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านชาวต่างชาติที่ต้องการเข้าใจประเทศไทยดีขึ้น

ทั้งนี้ ในช่วงท้ายของงาน ผู้สื่อข่าวถามว่า อานันท์เห็นด้วยหรือไม่กับการแก้ไขกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชนสากล เนื่องจากหนังสือดังกล่าวได้ระบุถึงปัญหาของกฎหมายอาญาม. 112 ด้วย ซึ่งอดีตนายกฯ ได้ตอบว่า แท้จริงแล้วกฎหมายนี้ต้องพิจารณาในบริบทของประเทศไทย ซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันกษัตริย์ไทยกับประชาชนเป็นเอกลักษณ์จากที่อื่นๆ ในโลก อย่างไรก็ตาม เขาเห็นว่า การบังคับใช้ของกฎหมายนี้รุนแรงเกินไปโดยเฉพาะในแง่ของการฟ้องร้องที่เปิดโอกาสให้ใครก็ได้สามารถกล่าวโทษ ทั้งนี้ เขาเสนอแนะว่า อาจมีการตั้งหน่วยงานที่ทำหน้าที่สั่งฟ้องโดยเฉพาะ เพื่อป้องกันไม่ให้กฎหมายดังกล่าวถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง รวมถึงพิจารณาลดบทลงโทษให้ผ่อนคลายลงกว่าเดิมด้วย

ผู้สื่อข่าวจากนิตยสารฟอร์บส์ ได้ถามอานันท์ว่า คิดว่ากรณีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเช่น คดี ’อากง’ หรือคดี ‘โจ กอร์ดอน’ จะทำให้ความรับรู้ของต่างชาติเกี่ยวกับสถาบันไปในทางลบ ซึ่งแตกต่างจากสิ่งที่หนังสือเล่มนี้ได้พยายามนำเสนอหรือไม่ ซึ่งเขาได้ตอบว่าไม่ได้สนใจมากนักว่าสื่อต่างชาติจะมองอย่างไร เขาเพียงต้องการให้หนังสือเล่มนี้นำเสนอข้อมูลที่เป็นกลาง และให้คนอ่านได้ตัดสินด้วยตัวเอง

นอกจากนี้ ผู้สื่อข่าวจากสำนักข่าวรอยเตอร์ ได้ตั้งคำถามในงานแถลงข่าวว่า จริงหรือไม่ที่หนังสือเล่มนี้ตั้งใจพิมพ์ออกมาเพื่อต้านกับหนังสือต้องห้าม “The King Never Smiles” ของพอล แฮนด์ลีย์ ซึ่งเป็นชีวประวัติของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ที่เป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งอานันท์ได้ตอบว่า หนังสือเล่มนี้มิได้มีวาระแอบแฝงใดๆ เพียงแต่เป็นการผลิตเนื้อหาที่น่าสนใจและรอบด้านเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์เพิ่มขึ้นให้กับสาธารณะเท่านั้น
 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

กสท.ต่อเวลาทดลองออกอากาศวิทยุชุมชน อีก 300 วัน

Posted: 29 Nov 2011 05:09 AM PST

บอร์ดกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) ใน กสทช. มีมติขยายระยะเวลาการทดลองออกอากาศในลักษณะชั่วคราวของสถานีวิทยุ จำนวน 6,601 สถานี ต่อไปอีก 300 วัน รอออกหลักเกณฑ์ใบอนุญาต

 
วันนี้ (29 พ.ย.54) นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ คณะกรรมการ กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะโฆษก กสทช.กล่าวว่า คณะกรรมการกิจการ กระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ หรือ กสท.ใน กสทช.มีการประชุมครั้งที่ 7/2554 เมื่อวันจันทร์ที่ 28 พ.ย.54 ณ สำนักงาน กสทช. และมีมติให้ขยายระยะเวลาการทดลองออกอากาศ ในลักษณะชั่วคราวสำหรับกลุ่มผู้แจ้งความประสงค์จะประกอบกิจการกระจายเสียงและได้รับสิทธิทดลองออกอากาศในลักษณะชั่วคราวที่ผ่านมา จำนวน 6,601 สถานี ให้สามารถทดลองออกอากาศ ในลักษณะชั่วคราวต่อไปอีก 300 วัน นับตั้งแต่วันที่ 11 ม.ค.55 หรือจนกว่า กสทช. จะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น
 
ทั้งนี้ การขยายระยะเวลาดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมการให้กลุ่มผู้ทดลองออกอากาศในลักษณะชั่วคราวดำเนินการตามกรอบ กติกา หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการอนุญาตให้ประกอบกิจการภายใต้พระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 โดย กสท.จะเร่งรัดให้มีการดำเนินการในเรื่องดังกล่าวโดยเร็วต่อไป
 
การเปิดให้ทดลองออกอากาศในลักษณะชั่วคราวข้างต้น สืบเนื่องจากประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตการประกอบ กิจการบริการชุมชนชั่วคราว (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) ซึ่งประกาศตามความในบทเฉพาะกาลของพระราชบัญญัติการประกอบ กิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 มาตรา 78 ที่กำหนด ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ดำเนินการเพื่อให้ผู้ประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงชุมชนรับใบอนุญาตเป็นการชั่วคราว ในระหว่างที่การจัดตั้งองค์กรที่ทำหน้าที่จัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 47 ยังไม่แล้วเสร็จ
 
ที่ผ่านมา กทช.ได้ขยายเวลาการทดลองออกอากาศไปแล้ว จำนวน 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อ 21 พ.ค.53 และครั้งที่สองเมื่อ 17 มี.ค.54 ซึ่งจะสิ้นสุดการคุ้มครองการทดลองออกอากาศในลักษณะชั่วคราวในวันที่ 10 ม.ค.55 ที่จะถึงนี้ อย่างไรก็ตามการขยายระยะเวลาทดลองออกอากาศข้างต้นถือว่าเป็นครั้งแรกนับแต่ กสทช.เข้ามารับตำแหน่ง เมื่อ 7 ต.ค.ที่ผ่านมา
 
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า กสท.เตรียมจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการกลุ่มย่อยระดับภูมิภาค เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจต่อผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ เกี่ยวกับเรื่องการเรียกคืนคลื่นความถี่ โดยกำหนดระยะเวลา 5 ปี สำหรับวิทยุ 10 ปี สำหรับโทรทัศน์ และ 15 ปี สำหรับโทรคมนาคม โดยจะเริ่มที่ตรังเป็นจังหวัดแรกในวันที่ 1 ธ.ค.นี้ จากนั้นวันที่ 22 ธ.ค.54 ที่ จ.เชียงใหม่ 12 ม.ค.55 ที่ จ.ขอนแก่น และ 24 ม.ค.55 ที่ จ.กรุงเทพ
 
ส่วนคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม หรือ กทค. เตรียมจัดเสวนาร่างหลักเกณฑ์การกำหนดข้อห้ามการกระทำที่มีลักษณะเป็นการครอบงำกิจการ โดยคนต่างด้าว พ.ศ.2554 ในวันที่ 2 ธ.ค.นี้
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เหตุใดกษัตริย์แห่งโมร็อกโกยังต้านทานกระแสธารแห่งการปฏิวัติอาหรับได้

Posted: 29 Nov 2011 03:57 AM PST

บทความแปลจากบีบีซี วิเคราะห์ว่าเหตุใดสถาบันกษัตริย์ในโมร็อกโก ยังคงสามารถยืนหยัดต่อกระแสปฏิวัติที่ไหลอย่างเชี่ยวกรากอยู่ในตะวันออกกลางในขณะนี้ โดยผู้เขียนชี้ว่า การปฏิรูปที่ริเริ่มโดยกษัตริย์แบบครึ่งๆ กลางๆ นี่เอง ที่ทำให้ผู้ปกครองยังคงรักษาอำนาจนำในสังคมอยู่ได้

0000

ชนชั้นปกครองโมร็อกโกมั่นใจว่าตนเองมีความสามารถมากพอในการรับมือกระแสธารแห่งการปฏิวัติที่ถาโถมไปทั่วโลกอาหรับได้ โดยการเสนอวิสัยทัศน์แห่งการเปลี่ยนแปลงที่นุ่มนวลและสันติกว่ามาก

หลังการเลือกตั้งเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา จะเป็นครั้งแรกที่สมเด็จโมฮัมเหม็ดที่หกทรงโปรดเกล้าฯแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีจากพรรคการเมืองที่ใหญ่ที่สุด แทนที่จะทรงโปรดเกล้าฯเลือกใครก็ได้แล้วแต่พระประสงค์ ตามธรรมเนียมที่เคยปฏิบัติมาตลอด

อย่างไรก็ตาม ประชาชนที่ออกมาเดินขบวนประท้วงบนท้องถนนเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาหลายคนกลับรู้สึกว่า การปฏิรูปของโมร็อกโกนี้ยังห่างไกลจากข้อเรียกร้องของพวกเขาที่ต้องการเห็นสถาบันพระมหากษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญอันเป็นประชาธิปไตยมากนัก และได้เรียกร้องให้ประชาชนบอยคอตการเลือกตั้งดังกล่าว

ถ้าหากจำนวนผู้มาใช้สิทธิในการเลือกตั้งรัฐสภามีน้อย ความชอบธรรมของสมเด็จโมฮัมเหม็ดในการปฏิรูปประเทศก็จะลดน้อยลงมาด้วยเช่นกัน และอาจจะนำไปสู่ปัญหาในอนาคตด้วย

ในขณะที่โมร็อกโกเข้าใกล้สู่วันเลือกตั้งในวันที่ 25 กันยายน บรรยากาศเงียบสงบในกรุงราบัตถูกแทรกด้วยการเดินขบวนประท้วงเป็นครั้งคราวของบรรดานักศึกษาที่ไม่มีงานทำ แต่ดูเหมือนว่าสถาบันกษัตริย์อันทรงพลังของโมร็อกโกและระบบที่เป็นฐานอำนาจสถาบันนั้น ยังปราศจากซึ่งการท้าทายอำนาจที่รุนแรงแต่อย่างใดในขณะนี้


สัญลักษณ์แห่งอำนาจ

อายุอันยืนยาวคือพลังสำคัญแห่งสถาบันกษัตริย์โมร็อกโก ราชวงศ์อลาอุยครองราชย์มาตั้งแต่ปี 1664 และอ้างว่าสืบเชื้อสายมาจากศาสดาโมฮัมหมัดอีกด้วย

“องค์พระมหากษัตริย์ทรงมีทุนทางศาสนาและการเมืองขนานใหญ่ ไม่ใช่แค่พระองค์เท่านั้น แต่หมายถึงทั้งสถาบันการเมืองทั้งหมดอีกด้วย” โมฮัมเหม็ด ดาดาอุยกล่าวให้สัมภาษณ์ เขาเป็นผู้ประพันธ์หนังสือเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์และระบบอุปถัมภ์ภายในชนชั้นปกครองของโมร็อกโก ที่ออกวางขายเมื่อเร็วๆ นี้

สมเด็จโมฮัมเหม็ดมีเครื่องมือโฆษณาชวนเชื่อมโหฬารเป็นอาวุธ พระบรมฉายาลักษณ์ของพระองค์ติดอยู่เต็มถนนและตามร้านค้า ทั่วแผ่นดินโมร็อกโก

พิธีกรรมเชิงสัญลักษณ์ต่างๆ เสริมพระราชอำนาจให้แก่พระองค์ด้วย ในพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณประจำปีที่ถ่ายทอดสดผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจโมร็อกโก บรรดาข้าราชการต่างโค้งคำนับพระองค์ท่านขณะเสด็จผ่านบนม้า

ประชาชนโมร็อกโก ซึ่งส่วนใหญ่มีฐานะยากจน ไม่รู้หนังสือ และอาศัยในชนบท “เชื่อว่าองค์พระมหากษัตริย์มีพระบารมีที่นำมาซึ่งพรได้ และพวกเขารู้สึกว่าพวกเขามีความผูกพันทางจิตใจกับพระองค์ท่าน” ดาดาอุย กล่าวกับบีบีซี

อย่างไรก็ตาม ทั้งที่เต็มไปด้วยองค์ประกอบทางประเพณีเช่นนี้ สถาบันกษัตริย์ภายใต้พระราชาที่มีพระชนมายุ 48 พรรษาพระองค์นี้ได้เริ่มหันมาใช้ภาพลักษณ์ที่สมัยใหม่และหัวปฏิรูปมากขึ้น

พระราชบิดาของพระองค์ หรือสมเด็จฮัสซันที่สอง เป็นพระประมุขแห่งคณะปกครองอันโหดร้ายระหว่างปี 1961-1999 ผู้ต่อต้านต่างถูกทรมานและปราบปรามตามๆ กัน

ในปี 1965 นายพลโมฮัมเหม็ด อุฟเคียร์ ที่ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีมหาดไทยในขณะนั้น เป็นผู้สั่งการการปราบปรามการเดินขบวนในเมืองคาซาบลังก้าจากเฮลิคอปเตอร์ และมีเรื่องเล่าว่าเขาใช้ปืนกลกราดยิงผู้ประท้วงจากเฮลิคอปเตอร์ด้วยตัวเองอีกด้วย

แต่กระบวนการปฏิรูปอย่างค่อยเป็นค่อยไปได้เริ่มขึ้นในปีท้ายๆ ของรัชสมัยสมเด็จฮัสซัน และดำเนินต่อมาจนถึงพระประมุของค์ปัจจุบัน

ตัวอย่างของการปฏิรูปคือ กฏหมายครอบครัวที่ให้สิทธิสตรีมากขึ้น และคณะกรรมการสืบหาข้อเท็จจริงที่สอบสวนการใช้พระราชอำนาจไม่เป็นธรรมภายใต้รัชสมัยของสมเด็จฮัสซัน อย่างไรก็ตาม ไม่มีการดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดแต่อย่างใด


แหวกม่านแห่งการต้องห้าม

การลงจากอำนาจของผู้นำในตูนิเซียและอียิปต์ต้นปีที่ผ่านมาดูเหมือนจะจู่โจมชนชั้นปกครองของโมร็อกโกโดยไม่ทันตั้งตัว ในขณะที่การปฏิรูปเริ่มเข้าระดับเกียร์ว่างพอดี

เมื่อขบวนการประท้วงในโมร็อกโกเริ่มก่อตัว ม่านแห่งการต้องห้ามก็เริ่มถูกแหวก

“นี่เป็นครั้งแรกในโมร็อกโกที่มีการวิจารณ์กษัตริย์อย่างเปิดเผย แล้วไม่โดนยิงทิ้ง” มาติ โมนจิบ นักประวัติศาสตร์การเมืองจากมหาวิทยาลัยกรุงราบัตกล่าว

ในทางตรงกันข้าม สถาบันกษัตริย์กลับรับมือด้วยการสัญญาที่จะนำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลง รวมทั้งการรับรองสิทธิประชาชนและให้อำนาจรัฐสภามากยิ่งขึ้น ทั้งหมดนี้ได้รับการบรรจุในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่เพิ่งผ่านประชามติเมื่อเดือนกรกฎาคม

พรรคยุติธรรมและพัฒนาอิสลาม - พีเจดี (Islamist Justice and Development Party) อันเป็นพรรคหัวกลางและได้รับประโยชน์จากการปฏิรูปในระยะหลังที่ผ่านมา ประกอบกับชัยชนะของกลุ่มนิยมอิสลามอื่นๆ ในภูมิภาค อาจจะชนะการเลือกตั้งและนำมาซึ่งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ได้

แต่พรรคพีเจดีนี้ก็ใช่ว่าจะมีสิทธิชนะอย่างหมูๆ

เช่นเดียวกับพรรคเอนนาฮ์ดาในตูนิเซีย และพรรคยุติธรรมและพัฒนา -เอเคพี (Justice and Development Party) ในตุรกี พรรคพีเจดีวางตัวอยู่ในขบวนการร่วมสมัย โดยการผสมผสานอิสลามกับประชาธิปไตย

ดาดาอุยกล่าวว่า กลุ่มพรรคนิยมเจ้าและมีลักษณะที่ปราศจากอิทธิพลศาสนาต่างๆ ได้พยายามกำจัดพรรคพีเจดี และกลุ่มนิยมอิสลามก็ประสบกับความยากลำบากในการที่จะท้าทายอำนาจของพระมหากษัตริย์ เพราะพระองค์มีฐานะเป็น “ศาสนูปถัมภก” หลายคนมองว่านี่เป็นอีกหนึ่งทุนทางอำนาจของพระราชสำนัก

“พีเจดีพยายามนำเสนอ ‘ทางเลือกที่สาม’ ในโมร็อกโกระหว่างการปฏิวัติกับความไม่แน่นอนของระบบที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน” มุสตาฟา คัลฟี่ หัวหน้าฝ่ายนโยบายของพรรคพีเจดี กล่าว

“เราต้องการนำเสนอทางที่จะปฏิรูปประเทศ โดยหลีกเลี่ยงการสูญเสียความมั่นคงและความสามัคคีของชาติ แต่ในขณะเดียวกันเราก็ต้องผลักดันประชาธิปไตยให้เดินหน้าในโมร็อกโก”

‘การปฏิวัติอันนุ่มนวล’

สารที่เน้นย้ำถึงการผลักดันประชาธิปไตยและปฏิรูปนี้ นับเป็นที่พึงพอใจสำหรับพันธมิตรของโมร็อกโกในสหรัฐอเมริกาและยุโรป

“โลกอาหรับกำลังอยู่ในกระบวนการเปลี่ยนแปลง” วาฮิด คูจา สมาชิกอาวุโสของพรรคจิตวิญญาณแท้และความสมัยใหม่ - พีเอเอ็ม (Party of Authenticity and Modernity) กล่าว ซึ่งพรรคพีเอเอ็มนี้ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2008 โดยอดีตรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยและเป็นพระสหายของพระมหากษัตริย์อีกด้วย

“เรายังไม่รู้ว่าผลลัพธ์จะออกมาเป็นอย่างไร และอะไรจะเกิดขึ้นกับอียิปต์ ตูนิเซีย ซีเรีย หรือเยเมน แต่เราจะแสดงให้ตะวันตกเห็นว่าโมร็อกโกสามารถนำมาซึ่งการปฏิวัติที่นุ่มนวลและประชาธิปไตยที่แท้จริงได้”

ตามจริงแล้ว มีการวิเคราะห์ว่าการปฏิรูปที่รับรองมาในปีนี้ล้วนแล้วแต่เป็นผักชีโรยหน้าทางการเมืองเท่านั้น และไม่มีการรับรองเลยว่าจะมีการนำไปปฏิบัติจริง

พระมหากษัตริย์ยังคงไว้ซึ่งพระราชอำนาจเด็ดขาด และถึงแม้รัฐสภาจะมีอำนาจมากขึ้น แต่พรรคการเมืองยังคงอ่อนแอ

“การเลือกตั้งในโมร็อกโกไม่เคยถึงขนาดชี้ชัดได้หรอก” โมนจิบกล่าว

“รู้ไหมว่าทำไม ก็เพราะว่าระบบเลือกตั้งถูกสร้างมาเพื่อไม่ให้มีใครชนะขาดได้เพราะฉะนั้นไม่มีทางที่ใครจะได้ที่นั่งเกิน 20% ในสภา และนี่คือเหตุผลว่าทำไมสถาบันกษัตริย์ยังสามารถครอบงำการเมืองอยู่ได้”

เขาชี้ว่าการปู้ยี้ปู้ยำระบบพรรคการเมืองเช่นนี้เป็นเพียงยุทธวิธีคร่ำครึหนึ่งที่ถูกใช้เพื่อรักษาไว้ซึ่งอำนาจเก่าเท่านั้น

ระหว่างการฉลองอิด ซึ่งเป็นวันสำคัญในศาสนาอิสลามที่ผ่านมา มีการแจกแกะให้แก่ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง และในช่วงไม่กี่เดือนผ่านมา ขบวนการประท้วงต้องถูกโจมตีป้ายสี จับกุม และข่มขู่โดยกลุ่มอันพาลมือมืดนิยมเจ้ามาตลอด

ในการเลือกตั้งปี 2007 มีผู้มาใช้สิทธิเพียง 37% และตัวเลขที่น้อยขนาดนั้นถูกมองว่าเป็นภัยโดยตรงต่อความน่าเชื่อถือของคณะปกครองโมร็อกโก

โจ สตอร์ก รองผู้อำนวยการแผนกตะวันออกกลางและอัฟริกาเหนือ แห่งองค์การฮิวแมนไรท์ วอทช์ เปิดเผยว่า ผู้ที่เรียกร้องการบอยคอตเลือกตั้งถูกข่มขู่โดยเจ้าหน้าที่รัฐ โดยมีผู้ถูกเรียกไปให้ปากคำเกือบร้อยคนแล้วในเดือนที่ผ่านมา

นี่ยิ่งทำให้บรรดาผู้ประท้วงบางส่วนมีจิตใจมุ่งมั่นในการเรียกร้องความเปลี่ยนแปลงที่เป็นรูปธรรมเข้าไปอีก แต่ก็สามารถช่วยให้เกิดความแตกแยกในหมู่ผู้ประท้วงได้ โดยที่องค์พระมหากษัตริย์ที่ทรงได้รับสถานะอยู่เหนือการเมืองอันวุ่นวายในชีวีตประจำวัน ยังทรงอยู่ยั้งยืนยงต่อไป

ที่มา: แปลจาก Aidan Lewis. Why has Morocco’s king survived the Arab Spring?, BBC. 24/11/54.

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ปชป.ปัดเสนอปิดเฟซบุ๊ก-ยูทูป

Posted: 29 Nov 2011 01:10 AM PST

อภิสิทธิ์-ชวนนท์ ดาหน้า ปัดตกข้อเสนอมัลลิกา บุญมีตระกูล

เมื่อเวลา 14.31น. อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) โพสต์ข้อความในเพจส่วนตัว ระบุว่า "ผมยืนยันว่าพรรคประชาธิปัตย์ไม่มีนโยบายที่จะปิดเฟสบุ๊คหรือยูทูปครับ"

ขณะที่ก่อนหน้านี้ เวลาประมาณ 13:30น. ชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ เผยแพร่คลิปผ่านเพจเฟซบุ๊กส่วนตัว ระบุว่า ช่วง3-4 วันที่ผ่านมามีความพยายามในการบิดเบือนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับนโยบายปราบปรามเว็บหมิ่นของ ปชป. ยืนยันว่า ปชป. ต่อต้านการใช้เว็บไซต์หรือเครื่องมือสื่อสารอื่นๆ ในการกล่าวร้าย ให้ร้าย โดยเฉพาะใช้ในการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ขณะเดียวกัน เราไม่เคยมีนโยบายปราบปรามเว็บไซต์ที่มีการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ เป็นปกติ รวมทั้งเว็บไซต์ต่างๆ ซึ่งเป็นประโยชน์ในการเป็นช่องทางให้กับพี่น้องประชาชนในการพูดคุยและแลกเปลี่ยนความเห็นซึ่งกันและกัน ซึ่งเป็นสิทธิตามรัฐธรรมนูญ และเป็นสิทธิเสรีขั้นพื้นฐานของประชาชนทุกคน

ทั้งนี้ โฆษก ปชป. ระบุต่อว่า ขอยืนยันว่า ไม่เคยมีนโยบายปราบปรามหรือปิดเว็บไซต์ไม่ว่าจะเป็นเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ หรือยูทูป เพียงแต่ขอความร่วมมือจากพี่น้องประชาชน ถ้าใครเห็นพฤติกรรมอันไม่เหมาะสม การใช้เว็บไซต์เหล่านี้โจมตีผู้อื่นหรือสถาบันอันเป็นที่รัก ได้โปรดแจ้งมายังพรรคประชาธิปัตย์ตามช่องทางที่จะมีการเปิดต่อไป
 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ฟ้องแล้ว! โปรแกรมเมอร์ถูกกล่าวหาสร้างเพจหมิ่นในเฟซบุ๊ก

Posted: 29 Nov 2011 12:50 AM PST

 

วานนี้ (28 พ.ย.54) นายอานนท์ นำภา ทนายความของนายสุรภักดิ์ (ขอสงวนนามสกุล) แจ้งว่า สำนักงานพิเศษฝ่ายคดีอาญา 6  อัยการได้ยื่นฟ้องนายสุรภักดิ์แล้วในวันที่ 25 พ.ย.ที่ผ่านมา โดยกล่าวหาเป็นเจ้าของอีเมล์  dorkao@hotmail.com ซึ่งจัดทำเพจในเฟซบุ๊กชื่อว่า “เราจะ.......โดยทำรัฐประหาร” และกระทำการโพสต์ข้อความที่เข้าข่ายความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112  พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 3,14,17  

คำฟ้องระบุว่า จำเลยทำการโพสต์ข้อความที่เข้าข่ายความผิดดังกล่าวในวันที่ 4 พ.ค.54, 18 มิ.ย.54, 22 มิ.ย.54, 16 ส.ค.54  ในเฟซบุ๊ก และในวันที่ 2 ก.ย.54 เจ้าหน้าที่ได้จับกุมตัวจำเลยได้พร้อม คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก 1 เครื่อง แอร์การ์ด 1 อัน ซิมการ์ดทรูมูฟ 2 อัน ซิมการร์วันทูคอล 1 อัน แผ่นซีดี บรรจุในกระเป๋าซีดี จำนวน 52 แผ่น โมเดมเร้าเตอร์ 1 เครื่อง คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ 1 เครื่อง แผงวงจรไฟฟ้า 1 ตัว จึงได้ยึดเป็นของกลาง ในชั้นสอบสวนจำเลยให้การปฏิเสธ ระหว่างสอบสวน จำเลยถูกควบคุมตัวตั้งแต่วันที่ถูกจับตลอดมาจนถึงปัจจุบัน

คำฟ้องยังระบุเหตุผลในตอนท้าย เพื่อคัดค้านการขอประกันตัวของจำเลยด้วยว่า “อนึ่ง จำเลยเป็นคนไทย อาศัยอยู่บนผืนแผ่นดินไทย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ทรงมีพระกรุณาธิคุณต่อชาติบ้านเมือง และพสกนิกรเป็นล้นพ้น จำเลยนอกจากไม่สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณทรงมีต่อพสกนิกรเสมอมาแล้ว ยังบังอาจแสดงความอาฆาตมาดร้าย มุ่งล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ อันเป็นที่เคารพสักการะของปวงชนชาวไทย เป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติที่ประชาชนชาวไทยไม่อาจยอมรับได้ พฤติกรรมของจำเลยไม่มีเหตุอันควรปราณี ไม่ว่าในทางใด สมควรได้รับโทษสถานหนัก จำเลยกระทำผิดร้ายแรง อันป็นภัยต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร หากจำเลยได้รับการปล่อยชั่วคราว อาจหลบหนีหรือไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือก่อภัยในลักษณะดังกล่าวขึ้นมาอีก หากจำเลยขอปล่อยตัวชั่วคราว โจทก์ขอคัดค้านการปล่อยตัวชั่วคราวของจำเลย”

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า  สุรภักดิ์ วัย 40 ปี เป็นโปรแกรมเมอร์ นักพัฒนาซอฟท์แวร์ให้กับบริษัทเอกชน รัฐวิสาหกิจหลายแห่ง เพิ่งเปิดบริษัทใหม่ได้ไม่ถึงเดือน เจ้าหน้าที่จากกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมาทางเทคโนโลยี (ปอท.) นับสิบนายบุกเข้าจับกุม ซึ่งตามข่าวระบุว่าเป็นวันที่ 1 ก.ย.ที่ผ่านมา และในการตรวจค้นและยึดคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ 2 เครื่อง และคอมพิวเตอร์แบบพกพาอีก 1 เครื่องนั้น สุรภักดิ์พยายามติดต่อพยานเพื่อมาดูและกระบวนการดังกล่าว รวมทั้งขอติดต่อทนายความ แต่เจ้าหน้าที่ปฏิเสธและยึดโทรศัพท์มือถือไป กระทั่งนำตัวมาสอบสวนที่ ปอท. จึงได้พบทนายความ เขาระบุอีกว่าเจ้าหน้าที่ไม่มีหลักฐานอย่างชัดเจนในการกล่าวหาเขาแต่อย่างใด เพียงแต่ระบุว่า มีนักศึกษาไปร้องทุกข์กล่าวโทษเกี่ยวกับเพจนี้ แล้วจากนั้นก็มีพยานอีก 1 คนที่ระบุเชื่อมโยงตัวเขาเข้ากับเพจดังกล่าว

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา

Posted: 29 Nov 2011 12:22 AM PST

แทบจะพูดได้ว่า ต่อไปนี้ไม่อาจทิ้งมือถือไว้ห่างตัวเลย แม้เพียงช่วงเดินไปเข้าห้องน้ำก็ไม่ควรวางมือถือไว้ที่โต๊ะทำงาน เพราะหากถูกผู้อื่นนำไปใช้ในทางที่ผิดก็จะกลายเป็นความรับผิดชอบของผู้เป็นเจ้าของ

กสทช.ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคฯ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น