โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

ผู้ประท้วงอียิปต์ไม่ยอมรับ นายกฯ ใหม่ที่สภาทหารแต่งตั้ง

Posted: 25 Nov 2011 11:08 AM PST

กองทัพอียิปต์ออกมากล่าวแสดงความเสียใจและขอขมาผู้ที่เสียชีวิต แต่ก็ยังขอให้ "พลเรือนผู้น่าภาคภูมิ" ช่วยจับตาผู้ชุมนุมไม่ให้บุกรุกที่ทำการกระทรวงมหาดไทย มีการแต่งตั้งนายกฯ คนใหม่โดยสภาทหาร แต่ก็ยังไม่ได้รับการยอมรับจากกลุ่มผู้ชุมนุม ด้านอัลจาซีร่าทำแบบสำรวจความเชื่อใจในกองทัพ พบว่าครึ่งหนึ่งของผู้ทำแบบสำรวจไม่เชื่อใจกองทัพ

เมื่อวันที่ 25 พ.ย. 2011 สื่อรัฐบาลอียิปต์รายงานว่าสภาทหารได้แต่งตั้งให้คามาล เอล กันซูรี เป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ของอียิปต์ ขณะที่มวลชนจำนวนมากยังคงออกมาชุมนุมประท้วงที่เรียกว่า "วันศุกร์แห่งโอกาสสุดท้าย"

กันซูรีเป็นนักเศรษฐศาสตร์ ผู้ที่เคยรับตำแหน่งนายกฯ มาก่อนในช่วงสมัยอดีตประธานาธิบดีมูบารัคระหว่างปี 1996-1999

หลังจากที่มีการประท้วงขับไล่มูบารัคในช่วงต้นปีที่ผ่านมา กันซูรีกล่าวให้สัมภาษณ์ทางโทรทัศน์ด้วยท่าทีแบบตีตัวออกห่างมูบารัค ทำให้นักกิจกรรมหลายคนแนะนำว่าเขาควรลงสมัครเลือกตั้งประธานาธิบดีในสมัยต่อไป

แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อสื่อเอกชนรายงานเรื่องการแต่งตั้งเขาในคืนวัน 24 พ.ย. ที่ผ่านมา ผู้ชุมนุมในจัตุรัสทาห์เรียที่ทราบข่าวก็พากันโห่ร้องอย่างโกรธแค้นว่า "พวกเราไม่ต้องการเขา"

และหลังจากที่ทางการประกาศแต่งตั้งกันซูรีอย่างเป็นทางการแล้ว อิหม่ามท่านหนึ่งก็นำมวลชนผู้นับถือศาสนาในจัตุรัสทาห์เรียสวดภาวนา เรียกร้องให้ สภาคณะทหารสูงสุดของอียิปต์ (Supreme Council of the Armed Forces) มอบอำนาจให้กับ "รัฐบาลผู้กอบกู้ชาติ"

ชีค มาซฮาร์ ชาฮิน กล่าวว่าผู้ปรัท้วงจะยังคงปักหลักชุมนุมอยู่ที่จัตุรัสจนหว่าข้อเรียกร้องจะได้รับการตอบสนอง

สภาทหารขอโทษผู้เสียชีวิตในเหตุรุนแรง

ตั้งแต่วันที่ 19 พ.ย. เป็นต้นมาจัตุรัสทาห์เรียก็กลายเป็นพื้นที่ปะทะกันระหว่างฝ่ายเจ้าหน้าที่และฝ่ายผู้ประท้วง จนกระทั่งสงบลงในวันที่ 24 พ.ย. ที่ผ่านมา รวมแล้วมีผู้เสียชีวิตจากเหตุปะทะทั้งนกรุงไคโรและเมืองอื่นๆ ของอียิปต์ 41 ราย มีผู้ได้รับบาดเจ็บอีก 3,200 ราย

ซึ่งจากเหตุการณ์นี้ทางสภาทหารก็ได้ออกมาขอโทษการสูญเสียของผู้ชุมนุมและสัญญาว่าจะยังคงจัดการเลือกตั้งส.ส. ตามเวลาที่กำหนดคือวันที่ 28 พ.ย. แม้จะมีนักกิจกรรมและพรรคการเมืองบางส่วนเรียกร้องให้มีการเลื่อนออกไป

แถลงการของสภาทหารในเฟสบุ๊คระบุว่า พวกเขาได้ "แสดงความเสียใจและขอขมาอย่างสุดซึ้งต่อความตายของเหล่าผู้พลีชีพซึ่งเป็นลูกหลานผู้ภักดีของอียิปต์ในเหตุการณ์ที่จัตุรัสทาห์เรียในช่วงที่ผ่านมา"

อย่างไรก็ตาม ทางสภาทหารของอียิปต์ก็ได้เรียกร้องให้ "พลเรือนผู้น่าภาคภูมิ" ออกมาปกป้องจัตุรัส โดยแยกผู้ชุมนุมออกจากตำรวจปราบจลาจลของที่ทำการกระทรวงมหาดไทย และจับตัวผู้ที่ดูน่าสงสัย ซึ่งบางคนเริ่มเป็นห่วงมากขึ้นว่า คำประกาศนี้ยิ่งเปรียบเสมือนเป็นการออกใบอนุญาตให้ใช้ความรุนแรงบนท้องถนนมากขึ้น

นอกจากนี้แล้วทางทหารยังได้ย้ำว่าจะมีการวางกำลังตรวจตราตามท้องถนนมากขึ้น เพื่อช่วยเหลือตำรวจในการรักษาความปลอดภัยช่วงที่มีการเลือกตั้ง และมีการตั้งกำแพงคอนกรีตสูงสองเมตรเป็นแนวกั้นตามถนนโมฮัมเมด มาห์มูด ซึ่งถนนดังกล่าวเป็นถนนที่นำไปสู่ที่ทำการกระทรวงมหาดไทย ซึ่งเป็นจุดที่มีการปะทะกันอย่างรุนแรงระหว่างผู้ประท้วงและเจ้าหน้าที่

ทางผุ้นำกองทัพกล่าวอีกว่าพวกเขาจะถ่ายโอนอำนาจมาสู่ประชาชน แต่กระบวนการเช่นนี้ไม่ควรเร่งรีบเนื่องจากจะทำให้เกิดความโกลาหล

ขณะที่สหรัฐฯ ซึ่งก่อนหน้านี้คอยสนับสนุนกองทัพของอียิปต์มายาวนาน ได้เรียกร้องให้ผู้นำกองทัพอียิปต์ลงจากอำนาจให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้และมอบอำนาจที่แท้จริงให้แก่รัฐสภาใหม่โดยทันที

"การถ่านโอนอำนาจมาสู่รัฐบาลพลเรือนควรดำเนินการให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยดำเนินการอย่างเป็นธรรม และในเชิงครอบคลุมอันจะตอบสนองต่อความต้องการโดยชอบธรรมของประชาชนชาวอียิปต์" เจย์ คาร์นี่ โฆษกทำเนียบขาวกล่าวในแถลงการณ์ โดยยังได้บอกอีกว่าทางสหรัฐฯ เชื่อมั่นว่ารัฐบาลใหม่ของอียิปต์ควรจะได้รับอำนาจการปกครองอย่างแท้จริงโดยทันที

ผลสำรวจระบุ ครึ่งหนึ่งไม่เชื่อในตัวกองทัพ

เมื่อวันที่ 25 พ.ย. สำนักข่าวอัลจาซีร่าได้รายงานผลสำรวจ Al Jazeera's Vote Compass ซึ่งระบุว่า ราวร้อยละ 51 ของผู้ทำแบบสำรวจไม่เชื่อในตัวกองทัพ ขณะที่อีกราวร้อยละ 40 บอกว่าพวกตนอยากให้กองทัพแทรกแซงทางการเมืองเพื่อรักษาระเบียบ

ผลสำรวจ Vote Compass ยังแสดงให้เห้นว่า ความเชื่อต่อกลุ่มธุรกิจ ตำรวจ และสื่อของรัฐก็แบ่งเป็นสองข้างในจำนวนคล้ายๆ กัน โดยร้อยละ 60 ของผู้ทำแบบสำรวจระบุว่าตนไม่เชื่อในสื่อของรัฐบาลอียิปต์

ทางฝ่ายศาลของอียิปต์ได้ยังได้รับคะแนนความน่าเชื่อถืออยู่มากจากผลสำรวจ โดยราวร้อยละ 80 ของผู้ทำแบบสำรวจระบุว่าตนเชื่อมั่นใจศาลของอียิปต์ ขณะที่ราวร้อยละ 63 ระบุว่าตนเชื่อมั่นในสื่อเอกชนของอียิปต์

ความเห็นด้านความน่าเชื่อถือต่อกองทัพยังแตกต่างกันตามกลุ่มผู้นิยมพรรคการเมืองอีกด้วย โดยร้อยละ 56 ของผู้ที่สนับสนุนพรรค Wafd ระบุว่าพวกตนสนับสนุนการแทรกแซงทางการเมืองของกองทัพ ซึ่งพรรค Wafd เป็นพรรคการเมืองอนุรักษ์นิยมที่ถูกกล่าวหาว่าทำงานใกล้ชิดกับอดีตประธานาธิบดีมูบารัค

ขณะที่มีผู้สนับสนุนพรรค Freedom and Justice ของกลุ่มภราดรภาพมุสลิมเพียงร้อยละ 36 เท่านั้นที่สนับสนุนการแทรกแซงของทหาร

อัลจาซีร่าเปิดเผยว่าในตอนนี้มีคนมากกว่า 43,000 คนแล้วที่ใช้เครื่องมือ Vote Compass ซึ่งเป็นเครื่องมือช่วยให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในอียิปต์ค้นหาว่าพรรคการเมืองใดเหมาะสมกับทัศนคติของตน

ผู้ตอบแบบสำรวจส่วนใหญ่เป็นประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตเมือง ซึ่งเป็นที่อยู่ของคนส่วนมากในอียิปต์ โดยหนึ่งในสามของผุ้ทำแบบสำรวจมาจากกรุงไคโร อีกร้อยละ 14 มาจากอเล็กซานเตรีย เมืองที่ใหญ่เป็นอันดับสองของอียิปต์ นอกจากนี้ยังมีอย่างน้อย 500 คนที่มาจากเมืองกีซา แมนซูรา และทันทา


ที่มา:

Crowds swell in Cairo as new PM appointed, Aljazeera, 25-11-2011
http://www.aljazeera.com/news/middleeast/2011/11/2011112510285039729.html

Survey shows declining trust in Egyptian army, Aljazeera, 25-11-2011
http://www.aljazeera.com/news/middleeast/2011/11/2011112583623231904.html

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

รายงาน: เปิดคำแถลงปิดคดี ‘อากง SMS’ ต่อจิ๊กซอว์จากเบอร์ต้นทางถึงชายแก่ปลายทาง

Posted: 25 Nov 2011 09:57 AM PST

คดีของอำพล (ขอสงวนนามสกุล) หรือ คดีอากง ดูจะเป็นที่สนใจสำหรับสาธารณชนมากเป็นพิเศษ มากกว่าคดีประเภทเดียวกันในช่วงหลายปีที่ผ่าน เพราะมีความย้อนแย้งในตัวหลายระดับ กระทั่งทำให้กระบวนการพิพากษา พิจารณาคดี ถูกทักถาม สอบทาน

ความรู้สึกสะเทือนใจทำให้ผู้คนอยากรู้ อยากเข้าใจต่อปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น คำถามว่าข้อความ ที่ว่าคืออะไร เป็นคำถามซึ่งหมดทางที่ใครจะให้คำตอบอย่างเป็นทางการได้ แต่คำถามว่าอากงโดนจับได้อย่างไร กระบวนการสอบสวนอันเกี่ยวเนื่องกับเทคโนโลยีโทรคมนาคมที่ซับซ้อนไล่จากไหนไปไหน อะไรคือข้อถกเถียงหลักๆ ในกระบวนการซับซ้อนดังกล่าว เป็นสิ่งที่อาจพอหาคำตอบ ปะติดปะต่อได้ จาก ‘คำแถลงปิดคดี’


เพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ (ขึ้นอีกเล็กน้อย)
‘ประชาไท’ ได้สรุปประเด็นข้อโต้แย้งสำคัญ รวมถึงกระบวนการสืบสวนของเจ้าหน้าที่ไว้โดยคร่าว อ้างอิงจากคำแถลงปิดคดี สำหรับกระบวนการสืบสวนจะแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ 1.เส้นทางการสืบสวนตามที่เจ้าหน้าที่ให้การต่อศาล 2.พยานเอกสารที่ตำรวจนำส่งต่อศาล ซึ่งคำแถลงปิดคดีระบุว่าไม่เรียงลำดับอย่างเป็นเหตุเป็นผลตามที่มีการเบิกความ ทำให้ขาดความน่าเชื่อถือในการเชื่อมโยงถึงจำเลย


และในส่วนล่างสุดจะเป็นคำแถลงปิดคดีฉบับเต็ม  

 

00000000

สรุปประเด็นสำคัญ

 

1.หมายเลขโทรศัพท์ซึ่งส่งข้อความ คือ xxxxx15 (ระบบเติมเงินของDTAC) และหมายเลขโทรศัพท์ของจำเลย คือ xxxxx27 (ระบบเติมเงินของ TRUE) เป็นคนละหมายเลขกัน แต่โจทก์กล่าวอ้างว่ามีหลายเลขอีมี่ตรงกัน

2.หมายเลขอีมี่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้เป็นเลขหมายใดก็ได้ และเมื่อแก้ไขเแล้วก็จะไปปรากฏยังระบบของผู้ให้บริการ การตรวจสอบและเชื่อมโยงการกระทำความผิดจากหมายเลขอีมีจึงไม่มีความน่าเชื่อถือในการนำมาใช้ลงโทษบุคคลใดบุคคลหนึ่งว่ามีการกระทำความผิดได้ เพราะหมายเลขอีมี่ไม่เหมือนดีเอ็นเอที่สามารถระบุความเป็นตัวตนของเครื่องโทรศัพท์ได้

     >พยานโจทก์ เจ้าหน้าที่ TRUE ได้ให้การว่า ข้าฯเคยได้ยินมาว่ามีการเปลี่ยนหมายเลขอีมี่กลางโดยการจ้างช่างโทรศัพท์เป็นเลขอีมีอย่างอื่นได้ และ อีมี่กลางนั้นสามารถใช้กับโทรศัพท์หลายๆ เครื่องได้

     >พยานโจทก์ เจ้าหน้าที่ ปอท. (กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี) ได้ให้การว่าหมายเลขอีมี่สามารถให้ช่างเครื่องซ่อมโทรศัพท์มือถือที่เชี่ยวชาญเปลี่ยนได้ ซึ่งจะทำให้หมายเลขอีมี่ที่ถูกเปลี่ยนนั้นไปปรากฏยังฐานข้อมูลของบริษัทผู้ให้บริการเปลี่ยนแปลงด้วย

      >เอกสารที่ทนายจำเลยนำส่งศาลระบุว่า มีความแพร่หลายในวิธีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขหมายเลขอีมี่ทั้งจากข้อมูลในอินเตอร์เน็ตและมีเปิดสอนหลักสูตรในโรงเรียนสอนซ่อมมือถือดังกล่าว เลขหมายอีมี่สามารถเปลี่ยนใหม่สำหรับเครื่องที่ถูกขโมยมาได้ และ 10% ของหมายเลขอีมี่ก็ไม่ได้มีเอกลักษณ์เฉพาะ

3. โจทก์ก็ไม่ได้แสดงพยานหลักฐานในการตรวจสอบอีมี่จากทั้ง 3 บริษัทของผู้ให้บริการโทรศัพท์ในประเทศไทย (ไม่ได้ตรวจของเอไอเอส) จึงไม่อาจอ้างได้ว่าอีมี่นี้มีผู้ใช้เพียงเบอร์เดียว  

 

4. กระบวนการสืบสวนตามพยานเอกสารที่นำส่งศาลไม่น่าเชื่อถือ เนื่องจากเริ่มต้นขอความร่วมมือจาก TRUE โดยนำเบอร์ xxxxx27 ของจำเลยมาตรวจสอบข้อมูลการโทร ทั้งที่ยังไม่ทันได้เลขอีมี่จากเบอร์ xxxxx15 ซึ่งเป็นเบอร์ใช้ก่อเหตุ แสดงให้เห็นว่าเป็นการเจาะจงขอข้อมูลจากหมายเลขโทรศัพท์ของจำเลยมาตั้งแต่ต้น โดยที่ยังไม่มีความเชื่อมโยงจากหมายเลขอีมี่เป้าหมายแต่อย่างใด และหมายเลขโทรศัพท์ของจำเลยก็ไม่ใช่หมายเลขที่ใช้ในการกระทำความผิด  

 

5. คดีนี้มีความผิดพลาดในการสอบสวน สืบสวน มีที่มาของพยานหลักฐานโดยมิชอบ เนื่องจากพยานหลักฐานส่วนใหญ่ในคดีเป็นพยานเอกสาร ซึ่งเอกสารที่ศาลจะสามารถรับฟังได้นั้นต้องมีความถูกต้อง น่าเชื่อถือ แต่พยานหลักฐานของโจทก์กลับขัดแย้งกับคำเบิกความของพยานโจทก์อย่างชัดแจ้ง ไม่เป็นไปตามขั้นตอนที่เบิกความ ซึ่งทำให้ไม่มีความสมเหตุสมผลในการเชื่อมโยง ติดตามหาตัวจำเลยว่าเป็นผู้กระทำผิด เนื่องจากเจ้าหน้าที่ทราบหมายเลขอีมี่ของหมายเลขที่กระทำความผิดเป็นลำดับท้ายสุด   

 

ในการสืบจำเป็นต้องทราบหมายเลขอีมี่ก่อนจึงจะทำการตรวจสอบได้ แต่เอกสารดังกล่าวชี้ให้เห็นว่ามีการตรวจสอบจากหมายเลขของจำเล (xxxx27) ซึ่งไม่ใช่หมายเลขในการส่งข้อความโดยตรง พยานหลักฐานดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าการสืบสวนสอบสวนมุ่งโดยตรงมาที่จำเลยตั้งแต่ต้นโดยไม่ได้ตรวจสอบมาจากอีมี่ตั้งแต่แรกตามที่โจทก์กล่าวอ้าง    

 

(รายละเอียดขั้นตอนที่ขัดแย้งกันระหว่างพยานเอกสารกับคำเบิกความ กรุณาดูผังด้านล่าง)

 

6. บันทึกคำให้การผู้ให้ถ้อยคำของบุตรสาวจำเลย ก่อนจะมีการจับกุมตัวจำเลยก็ไม่ปรากฏหมายเลขอีมี่    

 

7. หนังสือแจ้งผลการตรวจข้อมูลโทรศัพท์จากดีแทคระบุวันที่ไม่ตรงกับวันเกิดเหตุ “ทางบริษัทได้แจ้งข้อมูลการโทรให้ทราบแล้ว แต่ยังมีประเด็นเรื่องรหัสประจำเครื่อง(IMEI)ที่ขณะนั้นยังไม่สามารถตรวจสอบได้   บริษัทได้ทำการตรวจสอบแล้วพบว่าในช่วงวันที่ 10-15 มิถุนายน 2553 โทรศัพท์เคลื่อนที่หมายเลข xxxxx15 ใช้คู่กับโทรศัพท์(IMEI)หมายเลข  xxxxxxxxxxxxxx 0” เจ้าหน้าที่บริษัทให้การว่าใส่วันที่ผิด แต่พบข้อพิรุธว่า มีการระบุว่า “ยังตรวจสอบไม่ได้” , ไม่มีการแนบข้อมูลการโทรมีเพียงการระบุอีมี่ อีกทั้งในการส่งเอกสารมาครั้งแรกไม่มีการเซ็นรับรองเอกสาร แต่เพิ่งมาเซ็นรับรองเอกสารในครั้งที่สอง จึงไม่มีความน่าเชื่อถือ

 

8. โจทก์ยังไม่มีพยานหลักฐานใดที่จะแสดงได้ว่าจำเลยเป็นคนกดข้อความ หรือส่งข้อความดังกล่าวไม่มีพยานเอกสารหรือพยานบุคคลใดยืนยันได้ว่าจำเลยซึ่งอายุหกสิบเอ็ดปีแล้ว สามารถส่งข้อความได้ มีเพียงพยานเอกสารซึ่งพยายามเชื่อมโยงว่าเครื่องโทรศัพท์ที่ใช้ส่งข้อความความและเครื่องโทรศัพท์ของจำเลยเป็นเครื่องเดียวกัน

 

9. คำให้การพยานโจทก์จากทรู ยังให้การต่อศาลว่า “จากข้อมูลการใช้โทรศัพท์  [หมายเลข xxxxx27 ซึ่งเป็นของนายอำพล-ประชาไท] ไม่ปรากฏว่ามีการส่งข้อความ sms จากเครื่องโทรศัพท์ดังกล่าว”

 

10. โจทก์ยังไม่มีหลักฐานใดที่แสดงให้เห็นว่าจำเลยเป็นบุคคลที่ก้าวร้าว ไม่จงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ มีมูลเหตจูงใจในการกระทำความผิในทางตรงกันข้ามจำเลยไม่เคยมีประวัติอาชญากร มีความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์และแสดงออกโดยไปลงนามถวายพระพรอยู่เสมอทุกครั้งที่มีโอกาส รวมทั้งได้ไปร่วมงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนาด้วย

 

 

ทำความเข้าใจเบื้องต้น กระบวนการสืบสวนคดี อากง

 

1.เรียงลำดับจากคำเบิกความของเจ้าหน้าที่ต่อศาล

 

 

1.     เบอร์ xxxxx15   >    เลขานุการนายกฯ อภิสิทธิ์ [ได้รับ SMS 4 ครั้ง ระหว่างวันที่ 9,11,12,22 ..]

2.     เลขาฯ             >    ตำรวจ  [แจ้งความ]

3.     ตำรวจ             >    [ตรวจสอบข้อมูลพบเป็นเบอร์ของ DTAC ไม่จดทะเบียน จึงไม่สามารถตรวจสอบชื่อ

                             เจ้าของเบอร์ได้ว่าเป็นใคร]

4.     ตำรวจ             >    DTAC [ตรวจสอบพบว่าเบอร์ xxxxx15 ไม่มีการใช้งานตั้งแต่ 23 พ.ค.53]

5.     ตำรวจ             >    DTAC  [ขอ log file ของเบอร์ xxxxx15 เพื่อตรวจสอบหาหมายเลขเครื่อง(EMEI) และ

                             การติดต่อกับบุคคลอื่น ทั้งนี้ ใน log file จะประกอบด้วย

                            รายการโทรเข้าออก วันที่ เวลา ระยะเวลาการโทร EMEI ที่ตั้งเสาสัญญาณ ฯ ]

6.     ตำรวจ             >    DTAC, AIS, TRUE [แขวน EMEI หมายถึงการนำอีมี่เป้าหมาย ในกรณีนี้คืออีมี่ของ

                            เครื่องเบอร์ xxxxx15 ไปให้ทุกบริษัทตรวจสอบในระบบของแต่

                            ละค่ายว่าพบเบอร์อื่นใดที่มี EMEI หรือเลขประจำเครื่องตรงกันหรือไม่]

7.     ตำรวจ             >    TRUE  [พบว่ามีอีมี่เป้าหมายที่บริษัททรู คือ หมายเลข xxxxx27]

8.     ตำรวจ             >    TRUE [ขอ log file ของเบอร์ xxxxx27 และพบว่ามีการติดต่อกับเบอร์ต่างๆ โดยมีเบอร์

                             xxxxx00  โทรเข้าบ่อย และเบอร์ดังกล่าวเป็นเบอร์จดทะเบียน]

9.     ตำรวจ             >    เจ้าของเบอร์ xxxxx00  [เรียกเจ้าของเบอร์ (ซึ่งเป็นลูกสาวนายอำพล) มาสอบถามได้ความว่าเบอร์ xxxxx15 เป็นเบอร์ของอำพล/บิดา]                         

10.  ตำรวจ             >    อำพล  [เจ้าหน้าที่กว่า 10 นายจากหลายหน่วยงาน บุกจับกุมตัวจำเลยที่บ้านเช่าย่านสำโรง พร้อมกองทัพนักข่าว]

 

2. เรียงลำดับจากพยานเอกสารที่เจ้าหน้าที่นำส่งศาล

 

1.     เบอร์ xxxxx15   >    เลขานุการนายกฯ อภิสิทธิ์ [ได้รับ SMS 4 ครั้ง ระหว่างวันที่ 9,11,12,22 ..]

2.     เลขาฯ             >     ตำรวจ  [แจ้งความ]

3.     ตำรวจ             >     ทรู  [ตรวจสอบการใช้ของหมายเลข xxxxx27 ซึ่งเป็นเบอร์ไม่จดทะเบียน และพบว่ามี

                              การติดต่อกับเบอร์ต่างๆ โดยมีเบอร์ xxxxx00  โทรเข้าบ่อย และเบอร์ดังกล่าวเป็น

                              เบอร์จดทะเบียน]

4.     ตำรวจ             >     เจ้าของเบอร์ xxxx00 [ เรียกมาให้การ ได้ความว่าเบอร์ xxxxx27 เป็นอำพล/บิดา]

5.     ตำรวจ             >     DTAC  [ตรวจสอบพบว่า เบอร์ xxxxx15 ไม่มีการใช้งานตั้งแต่ 23 พ.ค.53]

6.     ตำรวจ             >     DTAC  [ ขอ log file หมายเลข xxxxx15 และทำให้ทราบเลขอีมี่]

7.     ตำรวจ             >     อำพล  [เจ้าหน้าที่กว่า 10 นายจากหลายหน่วยงาน บุกจับกุมตัวจำเลยที่บ้านเช่าย่าน

                              สำโรง พร้อมกองทัพนักข่าว]

 

หมายเหตุ : ขอขอบคุณข้อมูลจาก พูนสุข พูนสุขเจริญ ทนายจำเลย และ ยิ่งชีพ อัฌชานนท์ จากโครงการอินเตอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw)



000000000

 

คำแถลงปิดคดี

 

 

ข้อ ๑.คดีนี้สืบพยานจำเลยเสร็จในวันที่  ๓๐ กันยายน ๒๕๕๔ และศาลนัดฟังคำพิพากษาวันที่  ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ จำเลยมีความประสงค์ขอยื่นคำแถลงปิดคดีต่อศาลเพื่อประกอบการพิจารณาคดี เนื่องจากพยานหลักฐานและคำเบิกความของพยานโจทก์ขัดแย้งกันเองหลายประการ  มีข้อพิรุธ น่าสงสัย และมีน้ำหนักน้อยไม่น่ารับฟัง ไม่อาจนำมาสู่การลงโทษจำเลยซึ่งไม่ได้กระทำความผิดได้ โดยจำเลยขอเรียนพยานหลักฐาน ต่อศาลเพื่อประกอบการพิจารณาใช้ดุลพินิจในการทำพิพากษาของศาลดังต่อไปนี้

ข้อ ๒.การใช้หมายเลขประจำเครื่องโทรศัพท์(IMEI) เชื่อมโยงการกระทำความผิดไม่น่าเชื่อถือในการระบุเครื่องที่ใช้กระทำความผิด เนื่องจากหมายเลขประจำเครื่องโทรศัพท์(IMEI)สามารถปลอมแปลงได้ และสามารถซ้ำกันได้

            จำเลยขอเรียนต่อศาลว่าคดีนี้โจทก์เชื่อมโยงการกระทำความผิดมาถึงตัวจำเลยได้โดยใช้หมายเลขประจำเครื่องโทรศัพท์(IMEI) ซึ่งการใช้โทรศัพท์ครั้งหนึ่งทั้งการโทรศัพท์ หรือการรับส่งข้อความจะปรากฎข้อมูลการโทรที่ผู้ให้บริการ  ซึ่งจะปรากฎรายละเอียดทั้งวันที่ เวลา หมายเลขโทรศัพท์ รวมถึงหมายเลขประจำเครื่องโทรศัพท์ หรือ IMEI (ต่อไปขอเรียกว่าหมายเลขอีมี่)  ซึ่งในกรณีดังกล่าวหมายเลขโทรศัพท์ซึ่งส่งข้อความ และหมายเลขโทรศัพท์ของจำเลยเป็นคนละหมายเลขกัน แต่โจทก์กล่าวอ้างว่ามีหลายเลขอีมี่ตรงกัน กล่าวคือโจทก์กล่าวอ้างว่ามีการส่งข้อความจากโทรศัพท์เครื่องเดียวกันกับของจำเลย

อย่างไรก็ตามแม้โดยหลักการแล้วหมายเลขอีมี่จะเปรียบเสมือนบัตรประจำตัวประชาชน ซึ่งแต่ละเครื่องจะมีเลขอีมี่ประจำของตนและจะไม่ซ้ำกัน   แต่ในทางปฏิบัติซึ่งทราบกันอยู่ทั่วไปว่าหมายเลขอีมี่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้และพยานหลักฐานของโจทก์ก็ยอมรับถึงข้อเท็จจริงดังกล่าว  กล่าวคือ

จากบันทึกข้อความในการส่งของกลางตรวจพิสูจน์เอกสารหมายจ.๑๑ ข้อ ๙.๑ ได้ขอให้ตรวจพิสูจน์ว่า โทรศัพท์ของกลางข้อ ๘.๑ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือไม่ หากมีการเปลี่ยนแปลงหมายเลขเดิมเป็นหมายเลขใด

จากคำให้การของพยานโจทก์ปากนายXXXXXXXXXXX เจ้าหน้าที่บริษัท ทรูมูฟ จำกัด หน้าที่ ๓ ได้ให้การว่า ข้าฯเคยได้ยินมาว่ามีการเปลี่ยนหมายเลขอีมี่กลางโดยการจ้างช่างโทรศัพท์เป็นเลขอีมีอย่างอื่นได้ และ อีมี่กลางนั้นสามารถใช้กับโทรศัพท์หลายๆเครื่องได้

จากคำให้การพยานโจทก์พ.ต.อ.ศิริพงษ์ ติมุลา หน้าที่ ๔ ได้ให้การว่าหมายเลขอีมี่สามารถให้ช่างเครื่องซ่อมโทรศัพท์มือถือที่เชี่ยวชาญเปลี่ยนได้ ซึ่งจะทำให้หมายเลขอีมี่ที่ถูกเปลี่ยนนั้นไปปรากฏยังฐานข้อมูลของบริษัทผู้ให้บริการเปลี่ยนแปลงด้วย

  รวมทั้งข้อมูลตามเอกสารหมายล.๖ และล.๗ ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามีความแพร่หลายในวิธีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขหมายเลขอีมี่ทั้งจากข้อมูลในอินเตอร์เน็ตและมีเปิดสอนหลักสูตรในโรงเรียนสอนซ่อมมือถือดังกล่าว และข้อความตามเอกสารหมายล. ยังระบุถึงข้อจำกัดของหมายเลขอีมี่ว่า  เลขหมายอีมี่สามารถเปลี่ยนใหม่สำหรับเครื่องที่ถูกขโมยมาได้ และ 10% ของหมายเลขอีมี่ก็ไม่ได้มีเอกลักษณ์เฉพาะ

จากพยานเอกสารของโจทก์และคำให้การของพยานโจทก์ รวมถึงพยานเอกสารของจำเลยที่กล่าวมาข้างต้นย่อมสรุปได้ว่า หมายเลขอีมี่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ โดยสามารถแก้ไขเปลี่ยนเป็นเลขหมายใดก็ได้ และเมื่อแก้ไขเปลี่ยนแปลงแล้วก็จะไปปรากฏยังผู้ให้บริการ ทำให้หมายเลขอีมี่ไม่มีความน่าเชื่อถือเพราะเมื่อหมายเลขอีมี่สามารถแก้เปลี่ยนแปลงได้ย่อมไม่สามารถที่จะระบุเครื่องโทรศัพท์ได้อย่างแน่นอน   การตรวจสอบและเชื่อมโยงการกระทำความผิดจากหมายเลขอีมีจึงไม่มีความน่าเชื่อถือในการนำมาใช้ลงโทษบุคคลใดบุคคลหนึ่งว่ามีการกระทำความผิดได้  เพราะหมายเลขอีมีไม่เหมือนดีเอ็นเอที่สามารถระบุความเป็นตัวตนของเครื่องโทรศัพท์ได้

ประกอบกับโจทก์ก็ไม่ได้แสดงพยานหลักฐานในการตรวจสอบจากทั้งสามบริษัทของผู้ให้บริการโทรศัพท์ในประเทศไทย ว่ามีการตรวจสอบแล้วครบทั้งสามบริษัทพบหมายเลขอีมี่ที่ปรากฏใช้เพียงหมายเลขเดียว มีเพียงคำให้การกล่าวอ้างลอยๆว่าได้ทำการแขวนอีมี่กับทั้งสามเครือข่ายผู้ให้บริการ โดยไม่มีพยานหลักฐานใดมาแสดง  มีเพียงข้อมูลการใช้โทรศัพท์ของบริษัท ดีแทค จำกัด และบริษัท ทรูมูฟ จำกัด ตามเอกสารหมายจ.๕และจ.๖ เท่านั้น         

นอกจากนี้พยานโจทก์ยังให้การขัดแย้งกันเองกล่าวคือพยานโจทก์ปากร.ต.อ.ศักดิ์ชัย ไกรวีระเดชาชัย  พ.ต.อ.ศิริพงษ์ ติมุลา และพ.ต.ท.ธีรเดช ธรรมสุธีร์ ได้ให้การว่าตรวจสอบจากทั้งสามบริษัทแล้ว ในขณะที่พ.ต.ท.ณรงค์  แม้นเหมือนซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนเจ้าของสำนวน ได้ให้การในหน้าที่ ๒ วรรคสุดท้ายว่า คณะทำงานได้มีหนังสือไปยังค่ายดีแทคและค่ายทรูมูฟเพื่อขอข้อมูลเกี่ยวกับการใช้โทรศัพท์ตามเอกสารหมายจ. ๕ และ จ.๖ ซึ่งไม่ได้พูดถึงการตรวจสอบจากบริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอวิส จำกัด แต่อย่างใด  และแม้พ.ต.ท.ณรงค์  แม้นเหมือน จะให้การขัดแย้งกับพยานโจทก์รายอื่นแต่กลับให้การสอดคล้องกับพยานเอกสารซึ่งมีเพียงข้อมูลจากสองบริษัท จึงทำให้คำให้การพยานของพ.ต.ท.ณรงค์  แม้นเหมือน มีน้ำหนักมากกว่าพยานปากอื่นๆ

เมื่อโจทก์ก็ไม่ได้แสดงพยานหลักฐานว่ามีการตรวจสอบจากบริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอวิส จำกัด หรือมีหนังสือตอบกลับมาจากบริษัทดังกล่าวว่าไม่มีผู้ใช้บริการของบริษัทดังกล่าวใช้หมายเลขอีมี่ที่ตรงกับเครื่องซึ่งใช้ส่งข้อความ ทั้งที่การตรวจสอบและการยื่นพยานหลักฐานสามารถกระทำได้โดยง่าย หากโจทก์ได้ทำการตรวจสอบจริงก็สมควรยื่นหลักฐานดังกล่าวเข้ามาเพื่อแสดงความชัดเจนและความบริสุทธิ์ใจในการสืบสวน จึงน่าเชื่อว่าการสืบสวนสอบสวนคดีดังกล่าวไม่มีการตรวจสอบจากบริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอวิส จำกัดจริง

นอกจากนี้จำเลยขอเรียนว่าเอกสารข้อมูลการใช้โทรศัพท์ของบริษัททรูมูฟจำกัดตามเอกสารหมายจ.๖ แผ่นที่ ๖ถึงแผ่นที่ ๑๓ นั้นไม่น่าเชื่อถือ และไม่อาจเรียกว่าเป็นการแขวนอีมี เพราะหากเป็นการแขวนอีมี่นั้น โดยเหตุผลแล้วการตรวจสอบจากบริษัททรูมูฟจำกัด ต้องเริ่มตรวจสอบจากหมายเลขอีมี่ แล้วจึงพบเบอร์โทรศัพท์ของจำเลยใช้คู่กับหมายเลขอีมี่ดังกล่าว แต่จากข้อความในเอกสารหมายจ.๖ แผ่นที่ ๖ ซึ่งมีข้อความว่า ตามที่กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยีมีหนังสือตามที่อ้างถึงให้บริษัท ทรูมูฟ จำกัด (บริษัท)ดำเนินการตรวจสอบข้อมูลการใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่หมายเลข ๐๘๕ ๘๓๘ ๔๖๒๗..... แสดงให้เห็นว่าเป็นการเจาะจงขอข้อมูลจากหมายเลขโทรศัพท์ของจำเลยมาตั้งแต่ต้น โดยที่ยังไม่มีความเชื่อมโยงจากหมายเลขอีมี่เลย และหมายเลขโทรศัพท์ของจำเลยก็ไม่ใช่หมายเลขที่ใช้ในการกระทำความผิด พยานหลักฐานของโจทก์จึงไม่น่าเชื่อถือพอที่จะรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีนี้ได้  และไม่สามารถใช้ยืนยันได้ว่าในเครือข่ายของบริษัททรูมูฟจำกัดนั้นมีเบอร์โทรศัพท์ซึ่งใช้กับหมายเลขอีมี่นี้หมายเลขเดียว

จำเลยขอเรียนต่อศาลว่านอกจากความไม่น่าเชื่อถือในการนำหมายเลขอีมี่มาตรวจสอบแล้ว โจทก์ยังนำเสนอพยานหลักฐานไม่ครบถ้วนพอที่จะแสดงให้เห็นว่ามีหมายเลขอีมี่ดังกล่าวหมายเลขเดียวที่ใช้ในประเทศไทย  การสืบสวนสอบสวนตามความเชื่อทางทฤษฎีว่าหมายเลขอีมี่เป็นหมายเลขประจำเครื่องไม่มีทางซ้ำกันนั้น ทำให้โจทก์ผิดหลงในการสืบสวนสอบสวนมาตั้งแต่ต้น  หากโจทก์ทำการตรวจสอบครบถ้วนจริง โจทก์ก็ต้องแสดงพยานหลักฐานในการตรวจสอบตั้งแต่ต้น แต่โจทก์กลับไม่แสดงพยานหลักฐานให้ศาลสิ้นสงสัยในพยานหลักฐานของโจทก์ได้  มีเพียงคำกล่าวอ้างลอยๆซึ่งขัดแย้งกับพยานหลักฐานของโจทก์เอง

ข้อ ๓.การสืบสวน สอบสวนของเจ้าพนักงานมุ่งไปที่ตัวจำเลยโดยตรง ไม่ได้เชื่อมโยงจากหมายเลขประจำเครื่องโทรศัพท์ (หมายเลขอีมี่) และคำเบิกความของพยานโจทก์ขัดแย้งกับพยานเอกสารอย่างชัดแจ้ง 

จำเลยขออนุญาตชี้ประเด็นให้ศาลพิจารณาว่าคดีนี้มีความผิดพลาดในการสอบสวน สืบสวน มีที่มาของพยานหลักฐานโดยมิชอบ เนื่องจากพยานหลักฐานส่วนใหญ่ในคดีเป็นพยานเอกสาร ซึ่งเอกสารที่ศาลจะสามารถรับฟังได้นั้นต้องมีความถูกต้อง น่าเชื่อถือ แต่พยานหลักฐานของโจทก์กลับขัดแย้งกับคำเบิกความของพยานโจทก์อย่างชัดแจ้งกล่าวคือ

 .๑ วันที่ตามพยานเอกสารหมายจ. ๕ และจ.๖ ขัดแย้งกับลำดับขั้นตอนในการสืบสวนสอบสวนตามคำเบิกความของพยานโจทก์

            ในการสืบสวน สอบสวนเชื่อมโยงการกระทำความผิดจากเอกสารหมาย จ.๗ และจากคำให้การพยานโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานได้ให้การตรงกันคือ ในการสืบสวนสอบสวนจะมีลำดับขั้นตอนดังนี้

๑.      มีผู้กระทำความผิดซึ่งส่งข้อความโดยเบอร์ ๐๘๑XXXXXXXXXXX๑๕ ไปยังเบอร์ ๐๘๑ XXXXXXXXXXX๙๙  ของนายสมเกียรติ ครองวัฒนสุข เลขาฯส่วนตัวนายอภิสิทธ์ เวชาชีวะ เป็นจำนวนสี่ครั้งในวันที่  ๙ ,๑๑, ๑๒ และ ๒๒  พฤษภาคม ๒๕๕๓

๒.      ตรวจสอบหมายเลขผู้ส่ง ๐๘๑XXXXXXXXXXX๑๕ พบว่าเป็นหมายเลขเติมเงินไม่จดทะเบียนของบริษัท DTAC  มีหมายเลขเครื่อง(IMEI)  ๓๕๘๙๐๖๐๐๐๒๓๐๑๑ ๐ ใช้งานในเขตสมุทรปราการ

๓.      ตรวจสอบหมายเลขผู้ส่ง ๐๘๑XXXXXXXXXXX๑๕ พบว่าไม่มีการใช้งานตั้งแต่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๓

๔.     นำหมายเลขประจำเครื่องโทรศัพท์  ๓๕๘๙๐๖๐๐๐๒๓๐๑๑ ๐ ไปตรวจสอบกับผู้ให้บริการโทรศัพท์ทั้งสามบริษัทพบว่า ปัจจุบันเครื่องโทรศัพท์ดังกล่าวใช้กับหมายเลข ๐๘๕XXXXXXXXXXX๒๗ ของบริษัท TRUMOVE จำกัดเป็นหมายเลขไม่จดทะเบียน

๕.     พนักงานสอบสวน  ตรวจสอบข้อมูลการใช้หมายเลข ๐๘๕ XXXXXXXXXXX๒๗ และสืบจากหมายเลขโทรเข้าออกซึ่งเป็นเบอร์จดทะเบียนของบุตรเขยจำเลย โดยนางxxxxxxxxxxxxxx บุตรสาวจำเลยเป็นผู้ใช้อยู่ ทำให้ทราบว่าหมายเลข๐๘๕ XXXXXXXXXXX๒๗เป็นของนายอำพล ตั้งนพกุล

จากแผนผังดังกล่าวจะเห็นได้ว่า การตรวจสอบพยานหลักฐานดังกล่าวต้องทำเป็นขั้นตอนตามลำดับ  จึงจะสามารถเชื่อมโยงมายังหมายเลขโทรศัพท์ของจำเลยได้ ไม่สามารถกระทำข้ามขั้นตอนลำดับใดลำดับหนึ่งได้        

อย่างไรก็ตามข้อเท็จจริงที่ปรากฎในคดีตามเอกสารหมายล.๑  และเอกสารหมาย จ.๑๙ ซึ่งเป็นเอกสารฉบับเดียวกันคือคำให้การของนางxxxxxxxxxxxxxxกลับระบุว่าได้มาให้การต่อเจ้าพนักงานในวันที่  ๒๓  มิถุนายน ๒๕๕๓ ซึ่งทำให้ทราบว่าผู้ใช้หมายเลขโทรศัพท์ ๐๘๕ XXXXXXXXXXX๒๗ คือนายอำพล ตั้งนพกุล เมื่อเทียบกับขั้นตอนด้านบนจะเป็นลำดับที่ ๕

การตรวจสอบข้อมูลการโทรหมายเลข ๐๘๑XXXXXXXXXXX๑๕ จากบริษัทดีแทคจำกัดพบว่าไม่มีการใช้งานตั้งแต่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๓ ตรวจสอบได้ข้อมูลในวันที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๕๓ ตามเอกสารหมาย จ.๕ ซึ่งเป็นลำดับขั้นตอนที่ ๓

ในขณะที่การตรวจสอบข้อมูลการโทรของหมายเลข ๐๘๕ XXXXXXXXXXX๒๗ บริษัททรูมูฟจำกัดได้มีหนังสือแจ้งข้อมูลการโทรของหมายเลขดังกล่าวในวันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๕๓ ถึงพันตำรวจเอกศิริพงษ์ ติมุลา ตามเอกสารหมายจ.๖แผ่นที่ ๖ ซึ่งเป็นลำดับขั้นตอนที่ ๔  

การตรวจสอบหมายเลขอีมี่ซึ่งใช้คู่กับหมายเลขโทรศัพท์ ๐๘๑XXXXXXXXXXX๑๕ กับบริษัทดีแทคจำกัด ในการส่งข้อความพบว่าเป็นหมายเลขอีมี่ ๓๕๘๙๐๖๐๐๐๒๓๐๑๑ ๐ ตรวจสอบได้ในวันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๕๓ ตามเอกสารหมายจ.๖ แผ่นที่ ๒ ซึ่งเป็นลำดับขั้นตอนที่ ๒

จากข้อมูลดังกล่าวซึ่งเป็นพยานหลักฐานของโจทก์เองและพยานโจทก์ทุกปากให้การยอมรับการตรวจสอบตามเอกสารหมายจ.๕และจ.๖ จะพบว่าลำดับขั้นตอนหากนำมาเรียงตามลำดับวันที่แล้วจะได้เป็น

วันที่  ,๑๑,๑๒ และ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๓ ลำดับที่ ๑ มีผู้กระทำความผิดซึ่งส่งข้อความโดยเบอร์ ๐๘๑-XXXXXXXXXXX๑๕ ไปยังเบอร์ ๐๘๑ XXXXXXXXXXX๙๙  ของนายสมเกียรติ ครองวัฒนสุข เลขาฯส่วนตัวนายอภิสิทธ์ เวชาชีวะ เป็นจำนวนสี่ครั้งในวันที่  ๙ ,๑๑, ๑๒ และ ๒๒  พฤษภาคม ๒๕๕๓

วันที่      ๒๓  มิถุนายน ๒๕๕๓      ลำดับที่ ๕  พนักงานสอบสวน  ตรวจสอบข้อมูลการใช้หมายเลข ๐๘๕ ๘๓๘ ๔๖๒๗ และสืบจากหมายเลขโทรเข้าออกซึ่งเป็นเบอร์จดทะเบียนของบุตรเขยจำเลย โดยนางปรวรรณ โชติพิชิตชัย บุตรสาวจำเลยเป็นผู้ใช้อยู่ ทำให้ทราบว่าหมายเลข๐๘๕XXXXXXXXXXX๒๗เป็นของนายอำพลXXXXXXXXXXX(ยังไม่ทราบหมายเลขอีมี่)      

วันที่      ๒๙ มิถุนายน ๒๕๕๓        ลำดับที่ ๓  ตรวจสอบหมายเลขผู้ส่ง ๐๘๑-XXXXXXXXXXX๑๕ พบว่าไม่มีการใช้งานตั้งแต่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๓(ยังไม่ทราบหมายเลขอีมี่)         

วันที่      ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๕๓ ลำดับที่ ๔

ทราบข้อมูลการโทร ๐๘๕ XXXXXXXXXXX๒๗ จากบริษัททรูมูฟ จำกัด (ยังไม่ทราบหมายเลขอีมี่)

วันที่       ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๕๓    ลำดับที่ ๒  ตรวจสอบหมายเลขผู้ส่ง ๐๘๑XXXXXXXXXXX๑๕ พบว่าเป็นหมายเลขเติมเงินไม่จดทะเบียนของบริษัท DTAC  มีหมายเลขเครื่อง(IMEI)  ๓๕๘๙๐๖๐๐๐๒๓๐๑๑ ๐ ใช้งานในเขตสมุทรปราการ (ทราบหมายเลขอีมี่)

            กล่าวคือหากเรียงตามลำดับวันที่เอกสารของโจทก์แล้ว โจทก์ใช้วิธีการดำเนินการสอบสวนตามลำดับคือ -๕-๓-๔-๒ ซึ่งขัดแย้งกับลำดับขั้นตอนที่โจทก์กล่าวอ้างว่าได้ดำเนินการตามขั้นตอน ๑-๒-๓-๔-๕    ดังนั้นในวันที่ เจ้าหน้าที่ได้ทำการสอบปากคำนางปรวรรณ โชติพิชิตชัย เจ้าหน้าที่ตำรวจยังไม่ทราบหมายเลขอีมี่ซึ่งใช้เชื่อมโยงเครื่องที่ใช้กระทำความผิดเลย แม้กระทั่งวันที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๕๔ ซึ่งทางบริษัทดีแทคจำกัดแจ้งข้อมูลการโทรของหมายเลขโทรศัพท์ ๐๘๑XXXXXXXXXXX๑๕ ที่ใช้กระทำความผิดมา ก็ยังไม่ทราบหมายเลขอีมี่จนทางดีแทคต้องตรวจสอบและแจ้งหมายเลขอีมี่ในวันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๕๓  อีกทั้งหนังสือตอบกลับของบริษัททรูจำกัด ในวันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๕๓ ตามเอกสารหมายจ.๖ แผ่นที่ ๖ นั้นก็เป็นการสอบถามจากหมายเลข ๐๘๕ XXXXXXXXXXX๒๗ ของจำเลยไม่ได้ตั้งต้นจากหมายเลขอีมี่ซึ่งการจะตรวจสอบจากบริษัททรูมูฟ จำกัดนั้นจำเป็นต้องทราบหมายเลขอีมี่ก่อนจึงจะทำการตรวจสอบได้ แต่เอกสารดังกล่าวชี้ให้เห็นว่ามีการตรวจสอบจากหมายเลขของจำเลยซึ่งไม่ใช่หมายเลขในการส่งข้อความโดยตรง พยานหลักฐานดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าการสืบสวนสอบสวนมุ่งโดยตรงมาที่จำเลยตั้งแต่ต้นโดยไม่ได้ตรวจสอบมาจากอีมี่ตั้งแต่แรกตามที่โจทก์กล่าวอ้าง    

            จำเลยขอเรียนว่าเอกสารตามหมายจ.๖ แผ่นที่ ๖ – ๑๓ ซึ่งเป็นข้อมูลการใช้โทรศัพท์ของจำเลยเป็นเอกสารฉบับแรกในคดีนี้ที่มีหมายเลขอีมี่ปรากฏในวันที่  ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๕๓  และปรากฏโดยไม่มีความเชื่อมโยงกับหมายเลขที่ใช้ในการกระทำความผิดมาก่อนเพราะเป็นหมายเลขอีมี่ที่ปรากฏจากเบอร์ของจำเลย  ในขณะที่ตามบันทึกคำให้การผู้ให้ถ้อยคำนางxxxxxx  xxxxxxxx วันที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๕๓ เอกสารหมายจ.๑๙   ก็ไม่ปรากฏหมายเลขอีมี่   ประกอบกับบันทึกคำให้การในชั้นสอบสวนXXXXXXXXXXXเจ้าหน้าที่บริษัทดีแทคจำกัด ลงวันที่ ๒๐กรกฎาคม ๒๕๕๓ เอกสารหมายจ.๑๖ ซึ่งเป็นผู้ตรวจสอบข้อมูลการใช้โทรศัพท์หมายเลข ๐๘๑ XXXXXXXXXXX๑๕ ที่ใช้ในการกระทำความผิดและเป็นพยานปากสำคัญที่จะใช้เชื่อมโยงหมายเลขอีมี่ไปถึงหมายเลขอีมี่เครื่องจำเลยได้ แต่กลับไม่ปรากฏคำให้การในชั้นสอบสวนที่กล่าวถึงหมายเลขอีมี่อันจะเชื่อมโยงไปถึงจำเลยได้ แต่กลับปรากฎการแจ้งหมายเลยอีมี่ของเบอร์โทรศัพท์ ๐๘๑ XXXXXXXXXXX๑๕ ในวันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๕๓ เอกสารหมาย จ.แผ่นที่ ๒ ตามที่จำเลยได้เรียนแล้วนั้น จะเห็นได้ว่าพยานหลักฐานอื่นๆซึ่งเชื่อมโยงหมายเลขอีมี่จากบริษัทดีแทคจำกัดไปยังหมายเลขอีมี่ของจำเลยล้วนเกิดขึ้นหลังเจ้าหน้าที่ได้ทราบหมายเลขอีมี่ของจำเลยแล้วทั้งสิ้น

ดังนั้นจะพยานหลักฐานที่โจทก์นำมาใช้พิสูจน์ว่าจำเลยกระทำความผิดหมายจ. ๕ และจ.๖ซึ่งพยานโจทก์ทุกปากให้การตามเอกสารดังกล่าว ขัดแย้งกับคำให้การพยานโจทก์เองอย่างชัดแจ้ง พยานหลักฐานดังกล่าวจึงไม่น่าเชื่อถือ และเป็นไปไม่ได้ตามหลักของเหตุผลที่โจทก์ใช้ในการตรวจสอบและไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้องจริง

.๒ พยานหลักฐานโจทก์ เอกสารหมายจ.๖ แผ่นที่ ๒ ไม่ได้ระบุเอกสารแนบและระบุเลขวันที่ใช้ในการตรวจสอบหมายเลขอีมี่ผิดจากวันที่ส่งข้อความ

            กล่าวคือพยานเอกสารหมายจ.๖ แผ่นที่ ๒   ซึ่งเป็นหนังสือแจ้งผลการตรวจข้อมูลโทรศัพท์จากบริษัทดีแทคจำกัดถึงพ.ต.อ.ศิริพงษ์ ติมุลาในวันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๕๓ นั้น    ระบุว่า ทางบริษัทได้แจ้งข้อมูลการโทรให้ทราบแล้ว แต่ยังมีประเด็นเรื่องรหัสประจำเครื่อง(IMEI)ที่ขณะนั้นยังไม่สามารถตรวจสอบได้   บริษัทได้ทำการตรวจสอบแล้วพบว่าในช่วงวันที่ ๑๐-๑๕ มิถุนายน ๒๕๕๓ โทรศัพท์เคลื่อนที่หมายเลข ๐๘๑XXXXXXXXXXX๑๕ ใช้คู่กับโทรศัพท์(IMEI)หมายเลข ๓๕๘๙๐๖๐๐๐๒๓๐๑๑ ๐

            ซึ่งมีข้อสังเกตว่าเหตุใดทางบริษัทจึงไม่สามารถตรวจสอบได้ และวันที่ตามหนังสือดังกล่าวก็ไม่ตรงกับวันทีเกิดเหตุ ในเรื่องนี้แม้XXXXXXXXXXX เจ้าหน้าที่ธุรการฝ่ายกฎหมายและXXXXXXXXXXX ผู้จัดการฝ่ายกฎหมายให้การว่าเป็นเรื่องผิดหลง แต่หนังสือฉบับดังกล่าวกลับข้อพิรุธถึงสามจุดคือ

๑.      ผิดหลงในเรื่องการตรวจสอบ ซึ่งหากในคราวแรกไม่ได้ตรวจสอบ หนังสือฉบับนี้ควรแจ้งให้ถูกต้องไม่ใช่แจ้งว่าไม่สามารถตรวจสอบได้

๒.      ระยะเวลาในการตรวจสอบของหนังสือดังกล่าวเป็นช่วงเดือนมิถุนายนไม่ตรงกับระยะเวลาที่เกิดเหตุในช่วงเดือนพฤษภาคม

๓.      หนังสือดังกล่าวเป็นเพียงการแจ้งหมายเลขอีมี่ไม่ได้ระบุว่ามีเอกสารแนบเป็นข้อมูลการโทร

ซึ่งโดยหลักแล้วพยานเป็นเจ้าหน้าที่และผู้จัดการฝ่ายกฎหมายทำงานมาเป็นระยะเวลานาน  การทำการตรวจสอบดังกล่าวเกี่ยวข้องกับกฎหมายและเสรีภาพของบุคคล พยานย่อมต้องมีความระมัดระวังรอบคอบในการทำงาน แต่หนังสือดังกล่าวกลับมีข้อพิรุธถึงสามจุด อีกทั้งเอกสารหมายจ.๕ ที่พยานได้แจ้งผลการตรวจสอบมาในคราวแรกนั้นก็ไม่มีการเซ็นรับรองพยานเอกสาร ซึ่งต่างจากเอกสารแนบในการส่งมาครั้งที่สองนั้นมีการเซ็นรับรอง แสดงให้เห็นถึงการทำงานซึ่งไม่อาจเป็นมาตราฐาน ไม่มีความน่าเชื่อถือของพยานโจทก์ และไม่อาจทำให้จำเลยเชื่อได้ว่าหนังสือดังกล่าวทำขึ้นมาด้วยความสุจริตจริง

ข้อ ๔. โจทก์ไม่มีประจักษ์พยานหรือพยานเอกสารใดสามารถยืนยันว่าจำเลยเป็นคน กดข้อความและส่งข้อความตามที่โจทก์กล่าวอ้างเลย

            จำเลยขอเรียนต่อศาลว่านอกจากพยานเอกสารของโจทก์น่าสงสัย และขัดแย้งกับคำให้การของพยานโจทก์เองแล้ว โจทก์ยังไม่มีพยานหลักฐานใดที่จะแสดงได้ว่าจำเลยเป็นคนกดข้อความ หรือส่งข้อความดังกล่าวไม่มีพยานเอกสารหรือพยานบุคคลใดยืนยันได้ว่าจำเลยซึ่งอายุหกสิบเอ็ดปีแล้ว สามารถส่งข้อความได้ มีเพียงพยานเอกสารซึ่งพยายามเชื่อมโยงว่าเครื่องโทรศัพท์ที่ใช้ส่งข้อความความและเครื่องโทรศัพท์ของจำเลยเป็นเครื่องเดียวกัน จำเลยได้เรียนให้ศาลพิจารณาถึงความไม่น่าเชื่อถือของเอกสารดังกล่าวแล้ว และโจทก์ก็ไม่พบเบอร์โทรศัพท์ที่ใช้กระทำความผิดที่จำเลย ประกอบกับคำให้การพยานโจทก์นายXXXXXXXXXXX เจ้าหน้าที่บริษัททรู หน้าที่สาม บรรทัดที่ ๑๒ ยังให้การต่อศาลว่า จากข้อมูลการใช้โทรศัพท์หมาย จ.๖ แผ่นที่ ๗ ถึง ๑๔ ไม่ปรากฎว่ามีการส่งข้อความ sms จากเครื่องโทรศัพท์ดังกล่าว และจากบันทึกคำให้การนางxxxxxxxxxxxxxxx วันที่ ๖ สิงหาคม ๒๕๕๓ เอกสารหมาย จ.๒๑ แผ่นที่ ๓ บรรทัดที่ ๖ยังให้การต่อพนักงานสอบสวนว่าพยานทราบว่านายอำพลฯส่งข้อความไม่เป็น และไม่เคยเห็นว่านายอำพลส่งข้อความ  ซึ่งตรงกับคำให้การพยานจำเลยเด็กหญิงXXXXXXXXXXXในหน้าที่ ๒ ซึ่งให้การว่า ข้าฯไม่เคยเห็นจำเลยส่งข้อความให้กับผู้ใด และจำเลยปฏิเสธว่าไม่ได้กระทำความผิดมาตั้งแต่ต้น ตั้งแต่ชั้นจับกุม สอบสวนและชั้นพิจารณา  พยานหลักฐานดังกล่าวย่อมแสดงให้ศ่าลเห็นว่าไม่เพียงจำเลยไม่ใช่ผู้กระทำความผิด แต่ไม่มีความสามารถในการกระทำความผิดด้วยซ้ำเนื่องจากจำเลยไม่สามารถส่งข้อความได้

นอกจากนี้โจทก์ยังไม่มีหลักฐานใดที่แสดงให้เห็นว่าจำเลยเป็นบุคคลที่ก้าวร้าว ไม่จงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ มีมูลเหตจูงใจในการกระทำความผิด มีเพียงพยานหลักฐานซึ่งขัดแย้งกันเอง ไม่น่าเชื่อถือ นำมากล่าวอ้างว่าจำเลยกระทำความผิดต่อพระมหากษัตริย์จึงเป็นการกล่าวหาอย่างร้ายแรงและไม่สามารถรับฟังเป็นพยานหลักฐานเพื่อลงโทษจำเลยได้

ในทางตรงกันข้ามจำเลยไม่เคยมีประวัติอาชญากร มีความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์และแสดงออกโดยไปลงนามถวายพระพรอยู่เสมอทุกครั้งที่มีโอกาส รวมทั้งได้ไปร่วมงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนาด้วย  ซึ่งตรงกับคำให้การพยานจำเลยเด็กหญิงสิตางค์ ตั้งนพกุล หลานสาวของจำเลยซึ่งจำเลยเคยพาไปลงนามถวายพระพรที่โรงพยาบาลศิริราชให้การยืนยันตามคำให้การหน้าที่ ๑ ว่า จำเลยเคยพาข้าฯไปถวายพระพรพระเจ้าอยู่หัวที่โรงพยาบาลศิริราช ในช่วงปิดเทอมปี ๒๕๕๒

ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้นถึงความไม่น่าเชื่อถือของพยานโจทก์ซึ่งให้การขัดแย้งกับพยานเอกสาร และพยานเอกสารของโจทก์ซึ่งขัดแย้งกันเอง และเป็นไปไม่ได้โดยหลักของเหตุผลที่จะใช้ในการตรวจสอบ  การสอบสวนที่มุ่งโดยตรงมาที่จำเลยตั้งแต่ต้นประกอบกับพฤติการณ์และความเป็นไปได้ที่จำเลยจะกระทำความผิดซึ่งไม่สามารถมีได้เลย จำเลยจึงขอให้ศาลพิจารณาข้อเท็จจริงด้วยหลักการของเหตุผลดังกล่าว และโปรดพิจารณาปล่อยจำเลยไป

 

 

                                                                                       ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด

                                                                ลงชื่อ                                                           จำเลย

                              คำร้องฉบับนี้ข้าพเจ้านางสาวพูนสุข พูนสุขเจริญ ทนายความจำเลยเป็นผู้เรียงและพิมพ์

                                                         ลงชื่อ                                             ผู้เรียงและพิมพ์

           

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

พิภพ อุดมอิทธิพงศ์: ว่าด้วยความอยู่รอดของระบอบกษัตริย์ในโมร็อคโค

Posted: 25 Nov 2011 09:38 AM PST

ผลพวงจากการลุกฮือเรียกร้องประชาธิปไตยในตะวันออกกลางและแอฟริกา หรือที่เรียกกันว่า Arab Spring เป็นเหตุให้โมร็อคโค ประเทศในแอฟริกาเหนือที่มีประชากรประมาณ 30 ล้านและมีกษัตริย์เหมือนไทย กำลังเข้าสู่โหมดการเลือกตั้งภายหลังมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อถ่ายโอนอำนาจจากกษัตริย์มาสู่ฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติที่มาจากการเลือกตั้ง

เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2554 ที่ผ่านมา กษัตริย์โมฮัมเหม็ดที่ 6 (King Mohamed VI) แห่งโมร็อคโคได้มีพระราชดำรัสเสนอให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองของโมร็อคโค จากเดิมที่กษัตริย์ทรงมีพระราชอำนาจเหนือกิจการต่าง ๆ ของประเทศ ทั้งในทางบริหาร นิติบัญญัติและตุลาการ ให้มีการถ่ายโอนอำนาจและมีการจัดการเลือกตั้งอย่างเป็นประชาธิปไตยขึ้น ข้อเสนอที่สำคัญมีห้าข้อได้แก่ (http://moroccansforchange.com/2011/03/09/king-mohamed-vi-speech-3911-full-text-feb20-khitab/)

  • ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอย่างเสรีและเป็นธรรม และให้สส.มีบทบาทหน้าที่มากขึ้นในการทำงานด้านนิติบัญญัติและควบคุมกำกับการบริหารรัฐกิจ
  • ให้มีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง
  • กษัตริย์มีหน้าที่เพียงลงนามรับรองการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี ซึ่งต้องมาจากพรรคการเมืองที่ชนะการเลือกตั้งได้รับที่นั่งสูงสุด
  • กำหนดให้นายกรัฐมนตรีมีอำนาจอย่างแท้จริงในฐานะผู้นำฝ่ายบริหาร
  • ให้ยึดเอาหลักการตามรัฐธรรมนูญเป็นใหญ่

ในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมามีการลงประชามติและประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับปฏิรูปที่มีการแก้ไขให้ตอบสนองเจตนารมณ์ข้างต้น และในวันนี้ (ศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน 2554) จะเป็นวันที่ประชาชนผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียง 13.6 ล้านคนในโมร็อคโคจะออกมาเลือกตั้งสส.ซึ่งจะทำหน้าที่จัดตั้งรัฐบาล

นับเป็นครั้งแรกที่กษัตริย์ของโมร็อคโคต้องลงนามแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีที่มาจากพรรคการเมืองที่ชนะการเลือกตั้ง ไม่สามารถเสนอชื่อบุคคลใดก็ได้อย่างในอดีต

นักประวัติศาสตร์ท่านหนึ่งที่มหาวิทยาลัยราบัดบอกว่า “เป็นครั้งแรกในโมร็อคโคที่มีการวิพากษ์วิจารณ์องค์พระมหากษัตริย์อย่างเปิดเผย และพวกเขาไม่ยิงประชาชน”

ตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ อย่างเช่นใน มาตรา 46 ระบุว่า กษัตริย์ไม่ได้เป็น “ผู้ศักดิ์สิทธิ์” อีกต่อไป แต่ก็มีบูรณภาพที่ไม่อาจล่วงละเมิดได้ (The king is no longer "sacred" but the "integrity of his person" is "inviolable") เดิมกษัตริย์โมร็อคโคเป็นทั้งผู้นำทางการเมืองและศาสนา ประกาศตนเป็นตัวแทนของพระศาสดา และมีการใช้พิธีกรรมต่าง ๆ เพื่อสถาปนาและหนุนเสริมสถานะแห่ง “สมมติเทวะ” ของตน

กษัตริย์องค์ก่อนคือกษัตริย์ฮัสซันที่สอง (Hassan II) ซึ่งเป็นพระราชบิดาของกษัตริย์องค์ปัจจุบันได้เคยปกครองประเทศมุสลิมแห่งนี้อย่างโหดร้ายตั้งแต่ปี 2504 จนถึงปี 2542 ในช่วงเวลาดังกล่าวมีการทรมานและปราบปรามผู้ประท้วงอย่างโหดร้าย ว่ากันว่าในสมัยนั้นถึงขั้นที่รัฐมนตรีมหาดไทยซึ่งเป็นทหารขึ้นเฮลิคอปเตอร์และยิงกราดใส่ฝูงชนด้วยตนเอง

มีรายงานว่าการเปลี่ยนแปลงไปสู่ประชาธิปไตยในครั้งนี้ ซึ่งปรากฏในรูปของการถ่ายโอนอำนาจจากกษัตริย์ไปสู่ระบอบตัวแทนของประชาชนเป็นทางออกอย่างหนึ่งเพื่อความอยู่รอดของสถาบันกษัตริย์ในประเทศแห่งนี้ แต่คงต้องจับตาดูกันต่อไปว่าจะเป็นการผ่องถ่ายพระราชอำนาจอย่างแท้จริง หรือทำกันพอเป็นพิธีเพื่อความอยู่รอดของสถาบัน

 

รายละเอียดเพิ่มเติม อ่านได้จาก Why has Morocco’s king survived the Arab Spring?  Aidan Lewis http://www.bbc.co.uk/news/world-middle-east-15856989

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ระดมนักโลจิสติกส์ทั่วประเทศวางแผนรับมือภัยพิบัติ

Posted: 25 Nov 2011 09:25 AM PST

25 พ.ย. 54 - อุทกภัยครั้งใหญ่ที่กำลังเกิดขึ้นในหลายพื้นที่ทั่วประเทศสะท้อนให้เห็นว่า ประเทศไทยยังขาดความรู้ด้านการจัดการด้านโลจิสติกส์เพื่อรับมือภัยพิบัติ  รศ.ดร. ดวงพรรณ กริชชาญชัย ผู้อำนวยการศูนย์โลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ทุกครั้งที่เกิดภัยพิบัติ ประเทศเรามักแก้ปัญหาเฉพาะหน้า และแก้เป็นส่วนๆ ดังนั้นเป็นความจำเป็นเร่งด่วนที่รัฐต้องเตรียมแผนจัดการภัยพิบัติในสามระยะ ตั้งแต่ระยะก่อนเกิดภัยพิบัติ (pre-disaster) ระยะเกิดภัยพิบัติ (occurrence) และระยะฟื้นฟู-เยียวยา (rehabilitation)

รศ.ดร. ดวงพรรณ ในฐานะผู้ประสานงานชุดโครงการโลจิสติกส์และซัพพลายเชนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) กล่าวว่า  เมื่อเกิดภัยพิบัติ จะพบว่า มีเรื่องการจัดการด้านโลจิสติกส์เข้าไปเกี่ยวข้องมากมาย เร็วๆ นี้ สกว. จึงจะระดมพลนักโลจิสติกส์ทั่วประเทศมาร่วมกันวางแผนโลจิสติกส์เพื่อการจัดการภัยพิบัติในแต่ละขั้นตอน เพื่อเตรียมรับมือกับภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้นได้อีกในอนาคต  เช่น ในระยะก่อนเกิดภัยพิบัติ เป็นช่วงที่จะเกิดความต้องการสินค้าอุปโภคบริโภคในปริมาณมากกว่าปรกติ และสินค้าขาดแคลน ต้องมีการวางแผนของผู้ผลิตในการกระจายสินค้าและบริหารจัดการสินค้าคงคลัง  เมื่อถึงระยะเกิดภัยพิบัติจะต้องมีแผนปฏิบัติการในการอพยพประชาชนและลำเลียงสิ่งของบรรเทาทุกข์ เช่น รัฐต้องทราบจำนวนครัวเรือนทั้งหมดในแต่ละเขต จำนวนครัวเรือนที่อพยพ และจำนวนครัวเรือนที่ยังคงอยู่ในพื้นที่ ต้องทราบเส้นทางลำเลียง เพื่อจัดการความช่วยเหลือต่างๆ เช่น เรื่องอาหาร และการดูแลด้านสาธารณสุขและการแพทย์ได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ

ทั้งนี้ รศ.ดวงพรรณกล่าวว่า เราจะต้องมีกระบวนการค้นหา (search) และให้ความช่วยเหลือ (rescue) ไม่ใช่มีแต่การให้ความช่วยเหลืออย่างเดียว ทำให้บางจุดได้รับความช่วยเหลือมาก ในขณะที่บางจุดไม่ได้รับความช่วยเหลือเลย ไม่มีความสมดุลกันระหว่างความช่วยเหลือกับความต้องการ และเมื่อผ่านพ้นภัยพิบัติ ก็ต้องมีแผนการเข้าไปฟื้นฟูและเยียวยา ซึ่งทุกขั้นตอนล้วนเกี่ยวข้องกับโลจิสติกส์ทั้งสิ้น  

สำหรับงบประมาณที่จะใช้ในการวิจัยประเด็นเหล่านี้ คาดว่าจะมาจากงบวิจัยเร่งด่วนที่สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จะจัดสรรมาให้ รศ.ดร. ดวงพรรณ กล่าวย้ำด้วยว่า ระบบปฏิบัติการโลจิสติกส์ที่จะแก้ปัญหาภัยพิบัติในแต่ละช่วงได้ จะต้องอาศัยการบูรณาการการทำงานขององค์กรรัฐทั้งหมด จะอาศัยแต่เฉพาะองค์กรที่เกี่ยวข้องกับเรื่องน้ำอย่างเดียวไม่ได้  การแก้ปัญหาโลจิสติกส์นี้จะเกิดขึ้นได้ ผู้มีอำนาจขับเคลื่อนจะต้องมอง “ระบบ”  เป็นสำคัญ”     

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เผย 'เลขาอภิสิทธิ์' โพสต์เฟซบุ๊กระบุไม่แน่ใจสังคมไทยจะแตกแยกเพราะคดี 'อากง' ยันตนเองทำสิ่ง 'ถูกต้อง'

Posted: 25 Nov 2011 08:00 AM PST

25 พ.ย. 54 - เว็บล็อกไทยอีนิวส์รายงานว่า จากกรณีนายอำพล (สงวนนามสกุล) หรือ "อากง" ถูกศาลพิพากษาให้จำคุก 20 ปี ฐานกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และพระราชบัญญัติการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มาตรา 14 อนุ 2 และ 3 โดยข้อกล่าวหาว่าส่งเอสเอ็มเอสที่มีข้อความหมิ่นพระบรมเดชานุภาพไปยังโทรศัพท์มือถือของนายสมเกียรติ ครองวัฒนสุข ขณะดำรงตำแหน่งเลขานุการส่วนตัวของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี
 
ล่าสุดนายสมเกียรติ ได้โพสต์ข้อความเกี่ยวกับกรณีดังกล่าวลงในเฟซบุ๊กส่วนตัว มีเนื้อหาว่า
 
วันนี้เพื่อนสมัยเรียนมหาวิทยาลัยซึ่งเขาเรียนนิติศาสตร์ เคยทำงาน ITV และชื่นชมทักษิณ แต่เราไม่คุยกันมา 5 ปีแล้ว
 
เขาส่ง sms มาว่า "คุณ...ด้วยความเคารพ ผมว่าเรื่องนี้ (คงหมายถึงเรื่องที่อากงส่ง sms หมิ่นสถาบันโดนศาลตัดสินติดคุก 20 ปี) อาจนำมาซึ่งความคิดขัดแย้งครั้งใหญ่กว่าที่เคยมีมานะ คุณยังพอแก้ไขอะไรได้มั้ย"
 
เห็นข้อความที่ส่งมาแล้วรู้สึกสงสารประเทศไทยที่คนเรียนจบกฎหมาย แต่มีความคิดแบบนี้
 
เข้าใจว่าเป็นห่วงไม่อยากเห็นความขัดแย้งในสังคม แต่ไม่เห็นถามถึงความรุนแรงของ sms ที่หมิ่นสถาบัน หรือไม่สนใจเหตุผลว่าทำไมถึงโดนติดคุกถึง 20 ปี ซึ่งเขาส่ง sms มา 4 ครั้ง ศาลก็นับเป็น 4 กระทงๆ ละ 5 ปี รวมเป็น 20 ปี นี่คือข้อเท็จจริง
 
ส่วนเรื่องที่เค้าติดคุก ผมก็ไม่ได้เป็นคนไปทำให้เขาติด ถ้าเขาไม่ได้ส่งจริงก็สามารถหาหลักฐานมาหักล้างได้ ผมเคยถูกศาลเรียกให้ไปเป็นพยานโจทก์ ผมก็แค่เล่าไปตามข้อเท็จจริง ว่ามีคนส่ง sms หมิ่นสถาบันแบบนี้ ไม่เคยรู้จักคนส่ง ไม่ทราบถึงเหตุผล แล้วผมก็ไม่ได้ไปเกี่ยวข้องอะไรในคดีอีกเลย เป็นเรื่องของทางศาล
 
แน่นอนว่า คนเสื้อแดงก็พยายามจะนำคดีนี้มาใช้ประโยชน์ในการจุดประเด็นความขัดแย้ง ทั้งอ้างว่า อากงแก่ขนาดนี้ส่ง sms ไม่เป็นบ้าง คดีฆ่าคนตายยังติดคุกไม่ถึง 20 ปี ฯลฯ แล้วก็พยายามจุดชนวนไปถึงว่า ควรยกเลิก ม.112
 
ตกลงสังคมไทยไม่ได้อยู่กันด้วยเหตุผล ด้วยหลักฐาน และด้วยความถูกต้องแล้วหรือ
 
แต่ใครที่พยายามจะใช้กฎหมู่อยู่เหนือกฎหมาย แล้วก็ทำให้คนในสังคมกลัว เราก็ต้องยอมศิโรราบไปเสียหมดเลยหรือ
 
ผมไม่สามารถคาดเดาได้ว่า สังคมไทยจะขัดแย้งหรือแตกแยกกันครั้งใหญ่กว่าที่เคยมีมา โดยมีสาเหตุจากคดีนี้หรือเปล่า
 
แต่หากมันจะเกิดขึ้นจริง พวกเราก็น่าจะพึงสังวรณ์ได้ว่า ผมไม่ได้เป็นคนจุดชนวน แต่เพราะคนจำนวนไม่น้อยที่ไม่เคารพกฎหมาย และพยายามจะใช้กฎหมู่อยู่เหนือกฎหมาย
 
อะไรมันจะเกิดมันก็ต้องเกิดครับ ทุกสิ่งทุกอย่างมันมีเหตุผลและที่มาที่ไป เพียงแต่เราจะยอมรับความจริงกันได้หรือเปล่า และบ่อยครั้งที่ความจริงมักทำให้เราเจ็บปวด
 
ถ้า sms ที่ส่งมาเตือนผมเพื่อให้กลัวเหตุการณ์ความรุนแรงที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต แล้วให้ผมไปบอกตำรวจหรือศาลว่า ผมแจ้งความเท็จ ทั้งๆ ที่มีหลักฐานที่ส่งมาอย่างชัดเจน โดยที่เรื่องการสืบสวนหาคนผิดไม่ใช่หน้าที่ผม ผมก็ไม่สามารถไปยับยั้งอะไรได้ ผมคงไม่สามารถทำเช่นนั้นได้
 
ถ้าผมจะกลัว ก็กลัวที่ตัวเองจะไม่ทำในสิ่งที่ถูกต้องมากกว่า
 
ใครทำเช่นไร ก็ย่อมได้รับกรรมเช่นนั้น
 
และถ้าผมเลือกที่จะทำในสิ่งที่ถูกต้องแล้ว แต่ไม่ถูกใจใครหลายคนรวมถึงคุณ
 
แม้อาจจะเป็นเหตุให้คุณเลิกคบผมเป็นเพื่อน
 
ผมก็ขอบอกไว้ตรงนี้เลยว่า
 
"ยังไงผมก็เลือกที่จะยืนอยู่ข้างความถูกต้อง แม้จะต้องเจ็บปวดกับสิ่งที่เลือก"
 
ที่มา: มติชนออนไลน์
 
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์

Posted: 25 Nov 2011 07:09 AM PST

อันนี้มันคือภาษาความยุติธรรม ภาษาประชาธิปไตย ภาษาสากลจำนวนมาก ซึ่งถ้าเราคุยกันนี่ผมว่ามันน่าอับอายกว่าการที่คุณจะบอกว่านายกรัฐมนตรีพูดภาษาอังกฤษกระท่อนกระแท่นนะ คือประเทศนี้พูดภาษาประชาธิปไตยและความยุติธรรมได้อย่างกระท่อนกระแท่นมาก

กล่าวถึงคดีอากง SMS

สุรพศ ทวีศักดิ์: จริยธรรมสลิ่ม

Posted: 25 Nov 2011 06:35 AM PST

 

ระยะหลังมานี้มีการพูดถึง “สลิ่ม” ในแง่มุมต่างๆ มาก ผมคิดว่าแง่มุมหนึ่งที่ทำให้เรามองเห็น “ความเป็นสลิ่ม” ได้ชัดขึ้น คือ “มาตรฐานทางจริยธรรมแบบสลิ่ม” หมายถึงมาตรฐานหรือเกณฑ์ (criterion) ในการตัดสินถูกผิดแบบสลิ่ม ซึ่งผมขอสรุปจากปรากฏการณ์จริงให้เห็นบางส่วน ดังนี้

 

1. มาตรฐานเสียงส่วนใหญ่ สลิ่มถือว่า ม.112 ไม่ควรแก้ไข ไม่ควรให้มีเสรีภาพวิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์ โดยอ้างว่าประชาชนส่วนใหญ่รักสถาบันกษัตริย์ การวิพากษ์วิจารณ์สถาบันย่อมกระทบกระเทือนต่อความรู้สึกของคนส่วนใหญ่ จึงเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้

 

แต่ในเรื่องการเลือกตั้ง สลิ่มย้ำเสมอว่ามันคือประชาธิปไตยสี่วินาที ไม่ใช่ว่าแค่เลือกตั้งแล้วจะถือว่าเป็นประชาธิปไตย เพราเสียงส่วนใหญ่กับความถูกต้องเป็นคนละเรื่องกัน ประชาธิปไตยที่ตัดสินด้วยเสียงส่วนใหญ่ตามวิธีการเลือกตั้งนั้นไม่ใช่ระบบที่ดีอีกต่อไป มันเป็นการเมืองเก่าที่แก้ปัญหาไม่ได้ จำเป็นต้องเพิ่มระบบการสรรหาโดยคนส่วนน้อยที่มีการศึกษาดี มีคุณธรรมดีกว่า เพราะเสียงส่วนน้อยที่มีการศึกษาดี มีคุณธรรมดีกว่าเป็นเสียงที่มีคุณภาพมากกว่า และหากจะให้ดีควรเป็นประชาธิปไตยภายใต้ธรรมาธิปไตย(?) และควรเพิ่มพระราชอำนาจ

 

ฉะนั้น แม้รัฐบาลที่ผ่านมาและปัจจุบันจะมาจากเสียงส่วนใหญ่ แต่ก็เป็นเสียงส่วนใหญ่ที่ด้อยคุณภาพ เพราะอาจถูกซื้อหรือถูกหลอกก็ได้ ความอยู่รอดของรัฐบาลจึงไม่ได้ขึ้นอยู่กับจำนวนเสียงสนับสนุน แต่อยู่ที่ว่ารัฐบาลปฏิบัติสอดคล้องกับมาตรฐานความพึงพอใจของเสียงส่วนน้อยที่มีคุณภาพกว่าหรือไม่ หากไม่ เสียงส่วนน้อยย่อมมีสิทธิ์ล้มรัฐบาลนั้นได้ และล้มโดยวิธีใดก็ได้ แม้แต่ “วิธีรัฐประหาร”

 

หมายความว่า สำหรับสลิ่มแล้ว “ความรู้สึก” ของประชาชนส่วนใหญ่จำเป็นต้องได้รับการปกป้องด้วยกฎหมายที่เข้มงวดอย่างยิ่ง เช่น ม.112 แม้ว่ากฎหมายนี้จะละเมิดเสรีภาพในการตรวจสอบบุคคลสาธารณะของประชาชนก็ตาม แต่ “รัฐบาล” ที่ประชาชนส่วนใหญ่เลือกต้องถูกกำหนดความอยู่รอด-ไม่รอดโดยเสียงส่วนน้อย (ที่มีคุณภาพกว่า?)  

 

2. มาตรฐานความยุติธรรมโดยภาพรวมของสังคม สลิ่มไม่แคร์ว่าจะต้องออกมาเรียกร้องอย่างจริงจังให้ผู้ฆ่าและผู้สั่งฆ่านักศึกษา ประชาชน ในเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ 14 ตุลา 6 ตุลา พฤษภา 35 และเมษา-พฤษภา 53 ต้องรับผิดชอบทางกฎหมาย แต่ “ทักษิณ” ที่เซ็นชื่อให้เมียซื้อที่ดินต้องกลับมาติดคุกให้ได้ และยอมรับได้กับการที่ชายชราคนหนึ่งถูกศาลตัดสินจำคุก 20 ปี ด้วยข้อหาหมิ่นสถาบันกษัตริย์โดยการส่ง “ข้อความ” ทางโทรศัพท์มือถือ

หมายความว่า สำหรับสลิ่มแล้ว ใครจะฆ่านักศึกษา ประชาชนที่เรียกร้องประชาธิปไตยไปกี่ร้อยศพก็ไม่สำคัญเท่า หรือไม่ควรถูกประณามสาปแช่ง หรือควรถูกนำมาลงโทษให้สาสมเท่า “ใครด่าพ่อด่าแม่กรู”

3. มาตรฐานหลักนิติรัฐ สลิ่มไม่แม้แต่จะตั้งคำถามว่า รัฐประหารฉีกรัฐธรรมนูญมีโทษถึงขั้นประหารชีวิตหรือไม่ รัฐประหารล้มระบอบประชาธิปไตยเป็นการล้มหลักนิติรัฐหรือไม่ ฝ่ายทำรัฐประหารนิรโทษกรรมแก่ตนเองมีหลักนิติรัฐรองรับหรือไม่ แต่สลิ่มยืนกระต่ายขาเดียวว่า รัฐบาลเพื่อไทย (ที่มาจากการเลือกตั้ง)จะออกกฎหมายนิรโทษกรรมทักษิณ (ที่ถูกทำรัฐประหาร) ย่อมเป็นการทำลายหลักนิติรัฐของบ้านเมือง ถึงอย่างไรก็ยอมรับไม่ได้ ต้องสู้อย่างถึงที่สุด

หมายความว่า หลักนิติรัฐของสลิ่มมีได้ในรัฐบาลที่ได้อำนาจรัฐมาด้วยวิธีรัฐประหาร และการนิรโทษกรรมโดยรัฐบาลเช่นนั้นก็มีความชอบธรรม แต่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งไม่มีความชอบธรรมที่จะออกกฎหมายนิรโทษกรรมแก่นักการเมืองที่ถูกทำรัฐประหาร เพราะไม่มีหลักนิติรัฐอ้างอิงให้ทำเช่นนั้นได้

4. มาตรฐานการรักษากฎหมาย สลิ่มย้ำเสมอว่ากฎหมายต้องศักดิ์สิทธิ์ บ้านเมืองต้องปกครองด้วยกฎหมาย ต้องยึดหลักนิติรัฐ นิติธรรม และสลิ่มเห็นว่าเป็นความชอบธรรมแล้วที่รัฐบาลรักษากฎหมายให้ศักดิ์สิทธิ์แม้ต้องฆ่าประชาชนที่เรียกร้องประชาธิปไตยร่วมร้อยศพ และชอบธรรมแล้วที่จำคุกชายชราอายุ 61 ปี โทษฐานหมิ่นประมาทประมุขของรัฐด้วยการส่ง “ข้อความ” ทางโทรศัพท์มือถือ 4 ครั้ง เป็นเวลา 20 ปี แต่สลิ่มไม่เคยแคร์ หรือไม่ออกมาต่อต้านอย่างจริงจังเลยในกรณีฉีกรัฐธรรมนูญ

หมายความว่า ในบ้านเมืองที่ยืนยันหลักนิติรัฐ นิติธรรมแบบสลิ่ม การรักษา พรก.ฉุกเฉิน (ที่ละเมิดเสรีภาพขั้นพื้นฐานตามรัฐธรรมนูญ) ที่แลกด้วยชีวิตประชาชนจำนวนมาก และการรักษา ม.112 (ที่ขัดแย้งกับหลักเสรีภาพและหลักความเสมอภาคตามระบอบประชาธิปไตย) ที่แลกด้วย "ความเป็นคน" ของประชาชน สำคัญกว่าการรักษา “รัฐธรรมนูญ” จากการทำรัฐประหาร

5. มาตรฐานจริยธรรมทางการเมือง สลิ่มมีความกระตือรือร้นอย่างยิ่งในการแสดงออกทางการเมือง ไม่ว่าจะผ่านสื่อ เวทีเสวนา การเมืองบนท้องถนน และนิสัยประจำตัวของพวกเขาคือมักจะอ้างจริยธรรม อ้างคนดี ความดี ใน concept “ธรรมะชนะอธรรม” อยู่เสมอ หรืออ้างธรรม อ้างความเสียสละ อ้างความดีนานาประการนำหน้าในการต่อสู้ทางการเมือง ในทางตรงข้ามก็ประณามอีกฝ่ายว่าไร้จริยธรรม เป็นคนเลว เป็นคนขายชาติ เป็นภัยต่อสถาบันกษัตริย์ และความมั่นคงของประเทศ

แต่จริยธรรมของพวกเขาคืออะไร ธรรมะที่พวกเขาอ้างถึงคืออะไร แม้แต่พวกเขาเองก็ยังดูจะสับสนอยู่ ยกตัวอย่างสลิ่มตัวพ่ออย่างจำลอง ศรีเมือง ให้สัมภาษณ์รายการตอบโจทย์ทีวีไทย เมื่อเร็วๆนี้ สรุปใจความสำคัญได้ว่า “ตัวเอง”เป็นคนที่ไม่ต้องการอะไร ไม่ว่าจะเป็นผลประโยชน์ ตำแหน่งทางการเมือง ไม่ยึดติดเรื่องโลกธรรม ที่ยอมลำบากนานัปการมานอนมากินกลางถนนหลายๆ ครั้งในการก่อม็อบแบบ “มืออาชีพ” ที่ผ่านมานั้น เพราะต้องการทำความดีใช้หนี้แผ่นดิน เนื่องจาก “ตัวเอง” เรียนโรงเรียนหลวงมาตลอด เจริญก้าวหน้ามาเพราะบุญคุณของแผ่นดิน จึงต้องการต่อสู้เพื่อให้การเมืองดีขึ้นตามความคิดของ “ตัวเอง” คือ การเมืองเก่าแบบเลือกตั้งอย่างเดียวถึงทางตัน ต้องมีระบบอื่นที่นอกเหนือจากการเลือกตั้งด้วย

จะเห็นว่ามาตรฐานจริยธรรมทางการเมืองของสลิ่ม คือการยึด “ตัวเองเป็นศูนย์กลาง” คือยึดว่าตัวเองเป็นคนดี เป็นคนได้ประโยชน์จากแผ่นดินมาก่อนจึงต้องใช้หนี้แผ่นดินด้วยการต่อสู้ทางการเมืองตามแนวทางของตัวเองคือ ต้องสร้างการเมืองใหม่ที่ไม่ให้ความสำคัญกับระบบการเลือกตั้งอย่างยอมรับความเสมอภาคของสิทธิทางการเมืองคือ “1 คน เท่ากับ 1 เสียง”  

ดูเผินๆ เหมือนสลิ่มเคร่งศาสนา มีจริยธรรมสูงส่ง เสียสละ ปล่อยวาง ไม่มีตัวกู ของกู ไม่ต้องการลาภยศชื่อเสียงใดๆ ต้องการทำเพื่อชาติบ้านเมืองเท่านั้น แต่ถ้าดูให้ชัดๆ ในทุกขั้นตอนของสลิ่มมันมี “ตัวกูเป็นศูนย์กลาง” ตลอด คือมี “ตัวกูที่เป็นคนดี” (ตามนิยามของพวกกู) มาทำ “หน้าที่ของตัวกู” คือตอบแทนบุญคุณแผ่นดิน (ของใคร? ไม่รู้ว่าประชาชนอยู่ไหน?) ด้วยการทำการเมืองตาม “แนวคิดของตัวกู” (เสียงส่วนใหญ่เรียกร้องให้เดินตามครรลองประชาธิปไตยตัวกูไม่สน)

(จะว่าไปแล้ว นักต่อสู้ทางการเมืองที่ไม่อ้างศาสนา อ้างธรรมะ หรืออ้างว่าตนเองเป็นคนดี เช่น จิตร ภูมิศักดิ์ เป็นต้น เขาต่อสู้โดยไม่มีตัวกูด้วยซ้ำ เพราะตัวตนของเขาถูกละลายเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับอุดมการณ์ประชาธิปไตยและความเป็นธรรมทางสังคม เขาจึงไม่เคยยกความเป็นคนดี ยกความมีศีลธรรมสูงส่งของตนเองข่มคนอื่น ฝ่ายอื่น แล้วตั้งหน้าประณามว่าคนอื่นเลวทราม ไร้จริยธรรม ทว่าเขาต่อสู้ด้วยความคิด เหตุผล หลักการ อุดมการณ์เพื่อปวงชนอย่างชัดเจน)

6. มาตรฐานการยืนยันประชาธิปไตย สลิ่มระดับอธิการบดีมหาวิทยาลัยชั้นนำ นักวิชาการแถวหน้า นักกฎหมาย สื่อมวลชน ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าที่รับเป็น คตส. (คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำอันก่อให้เกิดความเสียหายต่อรัฐ) เป็นสมาชิก สนช. (สมาชิกสภานิติบัญํติแห่งชาติ) และเป็นสมาชิก สสร.(สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ) ในรัฐบาลที่มาจากรัฐประหาร ไม่ใช่ว่า “มีความอยาก” ในตำแหน่ง แต่เห็นว่ายังไงรัฐประหารก็เกิดแล้วแม้ไม่อยากให้เกิด ฉะนั้น ควรถือโอกาสเข้าไปพลิกวิกฤตด้วยการช่วยกันคิดช่วยกันทำให้บ้านเมืองมีความเป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ขึ้น ส่วนผลงานของพวกเขาเป็นอย่างไรก็คงไม่ต้องบรรยาย ที่แน่ๆ คือทั้งรัฐธรรมนูญ 2550 และกระบวนการตุลาการภิวัตน์ ล้วนแต่ทำให้ระบบอำมาตย์เข้มแข็ง และทำให้สถาบันการเมืองอ่อนแอ

หากจะพูดอย่างตรงไปตรงมา ถ้าไม่มีมวลชนสลิ่มเรียกร้องและสนับสนุนรัฐประหารทั้งในที่ลับและที่แจ้ง อำมาตย์ก็ไม่มีทางกล้าทำรัฐประหาร และหากไม่มีนักวิชาการแถวหน้า สื่อมวลชนสลิ่มร่วมสังฆกรรมกับรัฐบาลที่มาจากรัฐประหาร ก็คงไม่มีทางที่อำมาตย์ และพรรคการเมืองสมุนอำมาตย์จะย่ามใจกล้าสั่งให้ใช้กระสุนจริงสลายการชุมนุมจนทำให้ประชาชนบาดเจ็บล้มตายจำนวนมากในปีที่ผ่านมา

แต่มันเป็นเรื่อง “ตลกร้าย” อย่างยิ่งที่สลิ่มพวกนี้กระตือรือร้นที่จะทำทุกอย่างที่ว่ามาด้วยข้ออ้างว่าจะแก้ปัญหาวิกฤต พัฒนาประชาธิปไตยให้สมบูรณ์ขึ้น แต่พวกเขากลับดาหน้าออกมาปฏิเสธข้อเสนอของ “กลุ่มนิติราษฎร์” ที่ให้รัฐบาลออกกฎหมายล้างผลพวกของรัฐประหาร หากมีการรัฐประหารเกิดขึ้นอีกให้เอาผิดกับรัฐประหารได้เมื่อบ้านเมืองกลับสู่ความเป็นประชาธิปไตย

จึงหมายความว่า การยืนยันประชาธิปไตยของบรรดานักวิชาการแถวหน้า นักกฎหมาย สื่อสลิ่มเหล่านี้ คือการยินดีเข้าร่วมสังฆกรรมกับฝ่ายทำรัฐประหาร แต่ปฏิเสธ คัดค้านข้อเสนอของฝ่ายต่อต้านรัฐประหาร

7. มาตรฐานการตรวจสอบอำนาจสาธารณะ สลิ่มเรียกร้องให้วิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบนักการเมืองได้อย่างเต็มที่ แต่ไม่สนับสนุนให้วิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบสถาบันกษัตริย์ กระนั้นพวกเขายังชอบนำนักการเมืองไปเปรียบเทียบกับสถาบันกษัตริย์เสมอ เพื่อขับเน้นภาพความดีของสถาบันและภาพความเลวร้ายของนักการเมือง หมายความว่าพวกเขามีทัศนะต่อความดีและความชั่วดังกล่าวนี้ในลักษณะโรแมนติกอย่างยิ่ง ประมาณว่าเพียงเอ่ยคำว่า “บ้านของพ่อ” ก็ซาบซึ้งน้ำตาไหลได้ง่ายๆ ทว่าเพียงแต่เอ่ยถึง “นักการเมือง” ก็สะดุ้ง ขยะแขยงความเลวได้ง่ายๆ โดยเฉพาะเมื่อเอ่ยชื่อ “ทักษิณ” ก็ก็แทบจะหาน้ำบ้วนปากแทบไม่ทัน

 

ทั้งหมดนี้เป็นเพียงตัวอย่างของมาตรฐานตัดสินถูก-ผิดแบบสลิ่ม ที่ส่วนใหญ่เป็นคนชั้นกลาง มีการศึกษา และฐานะการงานดี และมีอิทธิพลชี้นำสังคม  

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

กลุ่มทนายรักในหลวงขอนแก่น จี้นายกสภาฯ ฟ้องรัฐบาลเพิกเฉยเว็บหมิ่น

Posted: 25 Nov 2011 05:44 AM PST

กลุ่มทนายความจังหวัดขอนแก่นรักในหลวงยื่นหนังสืจี้นายกสภาทนายความ ให้ฟ้องร้องดำเนินคดีรัฐบาล เจ้าหน้าที่รัฐ กรณีเพิกเฉยไม่ได้ดำเนินการใดใดต่อกลุ่มบุคคลที่กระทำการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพบนสื่อสังคมออนไลน์

25 พ.ย. 54 - ASTV ผู้จัดการออนไลน์รายงานว่ากลุ่มทนายความจังหวัดขอนแก่นรักในหลวง และตัวแทนภาคประชาชนจังหวัดขอนแก่น ได้เข้ายื่นหนังสือถึง นายสัก กอแสงเรือง นายกสภาทนายความผ่านสภาทนายความจังหวัดขอนแก่น เพื่อขอให้สภาทนายความดำเนินการฟ้องร้องดำเนินคดีต่อรัฐบาลและเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องกรณีเพิกเฉยไม่ได้ดำเนินการใดๆ ต่อกลุ่มบุคคลที่กระทำการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพบนสื่อสังคมออนไลน์

นายอุดมการณ์ วรกิจ ตัวแทนกลุ่มทนายความจังหวัดขอนแก่นรักในหลวง กล่าวว่า ขณะนี้ได้มีกลุ่มบุคคลกระทำการเขียนข้อความ บทความที่มีเนื้อหาและรูปภาพ ซึ่งมีการตกแต่งต่อหรือเติมอันถือว่าเป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เข้าข่ายหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อสถาบันพระมหากษัตริย์บนสื่อสังคมออนไลน์ เช่น ใน FACEBOOK และ TWITTER อย่างแพร่หลาย ประชาชนคนไทยรวมทั้งชาวจังหวัดขอนแก่น มีความไม่สบายใจและทุกข์ในเป็นอย่างมากที่ได้พบการกระทำดังกล่าวบนสื่อสังคมออนไลน์
       
การกระทำดังกล่าวถือเป็นการกระทำอันไม่บังควรต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ เนื่องจากเป็นการกล่าวให้ร้าย กล่าวความเท็จ และนอกจากนั้น ยังพบอีกว่า มีการตกแต่ง ต่อหรือเติมแต่งภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชินี และราชวงศ์หลายพระองค์ โดยบุคคลที่กระทำดังกล่าวมีเจตนาที่จะทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์เสื่อมเสียและเสียพระเกียรติ
       
นายอุดมการณ์ กล่าวอีกว่า ตนในนามกลุ่มทนายความจังหวัดขอนแก่นรักในหลวง และประชาชนชาวจังหวัดขอนแก่น ซึ่งมองไม่เห็นใครที่จะเป็นที่พึ่งได้ในสภาวการณ์เช่นนี้ นอกจากสภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ อันเป็นองค์กรที่ดำรงไว้ซึ่งความยุติธรรมเป็นที่พึ่งของประชาชนคนไทยและอีกทั้งสภาทนายความ ยังประกอบด้วย บุคลากรในฐานะที่เป็นประชาชนคนไทย ซึ่งมีหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ ฉบับปี พ.ศ.2550 มาตรา 70 ที่บัญญัติให้คนไทยทุกคนมีหน้าที่พิทักษ์รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ และการปกครองระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
       
ดังนั้น ตามรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว พวกตนจึงอยากเรียกร้องให้ นายสัก กอแสงเรือง ในฐานะนายกสภาทนายความ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาดูแลตรวจสอบและดำเนินอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อให้รัฐบาลและเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องทุกๆ ฝ่ายดำเนินคดีเอาความผิดกับกลุ่มผู้กระทำความผิดบนสื่อสังคมออนไลน์ที่เจตนานำข้อความหรือเนื้อหาและภาพอันถือว่าหมิ่นพระบรมเดชานุภาพทำให้เสียพระเกียรติ สถาบันพระมหากษัตริย์อันเป็นที่รักของปวงชนชาวไทย และทรงมีพระมหากรุณาธิคุณอย่างใหญ่หลวงต่อปวงชนชาวไทยตามตลอดระยะเวลาที่ทรงครองราชย์
       
ทั้งนี้ หากรัฐบาลและเจ้าหน้าที่รัฐผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องทุกๆฝ่ายไม่ดำเนินการภายในเวลาอันควร เพื่อไม่ให้ปรากฏข้อความ เนื้อหาหรือภาพอันถือเป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพบนสื่อสังคมออนไลน์ดังกล่าว ขอให้สภาทนายความดำเนินการฟ้องร้องดำเนินคดีต่อรัฐบาลและเจ้าหน้าที่ผู้มีส่วนรับผิดชอบทุกๆคน ในข้อหาละเว้นปฏิบัติหน้าที่
       
“อยากให้พี่น้องประชาชนคนไทยช่วยกันออกมาแสดงพลังปกป้องสถาบันร่วมกัน ปรากฏการณ์หมิ่นพระบรมฯบนสื่อออนไลน์ทุกวันนี้ ถือว่าเลวร้ายและเหิมเกริมกันมาก พวกเราต้องไม่รักสถาบันแค่ปากพูด หรือยืนถวายความภักดีเฉพาะตอนได้ยินเสียงเพลงสรรเสริญพระบารมีเท่านั้น”
       
ด้าน นายสุรพงศ์ บุษบรรณ์ ตัวแทนสภาทนายความจังหวัดขอนแก่น กล่าวว่า หลังจากนี้ ทางสภาทนายความจังหวัดขอนแก่น จะส่งหนังสือร้องเรียนของกลุ่มทนายความจังหวัดขอนแก่น รักในหลวงและประชาชนชาวขอนแก่นไปถึงท่านนายกสภาทนายความเพื่อดำเนินการต่อไป ตนเองก็ทนไม่ได้เช่นกันที่เห็นพฤติการณ์หมิ่นพระบรมเดชานุภาพบนสื่อออนไลน์ที่นับวันจะแพร่หลายมากขึ้น

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

'สหภาพแรงงาน อสมท.' จี้บอร์ดชุด 'สุรพล นิติไกรพจน์' ลาออก

Posted: 25 Nov 2011 04:55 AM PST

สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บมจ.อสมท ออกจดหมายเปิดผนึกจำนวน 2 ฉบับ วอนประธานบอร์ด อสมท. และคนอื่นๆ ลาออกยกชุด หวังช่วย อสมท. เสียหายน้อยที่สุด

24 พ.ย. 54 - เว็บไซต์ข่าวสดรายงานว่าสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บมจ.อสมท ออกจดหมายเปิดผนึกจำนวน 2 ฉบับ โดยฉบับแรกถึงประธานกรรมการ บมจ.อสมท (สุรพล นิติไกรพจน์) และกรรมการ บมจ.อสมท มีหัวข้อว่า " วอน!!! เสียสละ ละวาง เพื่อ อสมท องค์กรของประชาชน " มีเนื้อหาว่า สืบเนื่องจากกรณีปัญหาความขัดแย้งระหว่างคณะกรรมการ บมจ.อสมท (บอร์ด) และกระทรวงการคลังในฐานะผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ที่ปรากฏอยู่ในขณะนี้ ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของ อสมท อย่างหนัก จากการที่ต่างฝ่ายมีข้อโต้แย้งทางกฎหมายและมีแนวโน้มว่าจะสามารถหาข้อยุติ ได้ในการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ในวันที่ 9 ธันวาคมนี้

ที่ผ่านมาสหภาพ บมจ.อสมท ได้รับฟังเหตุผลความจำเป็นทั้งของบอร์ด อสมท ฝ่ายการเมืองที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนผู้บริหาร อสมท ที่พยายามใช้การเจรจา เพื่อหาทางออกที่จะมีผลกระทบต่อ อสมท ให้น้อยที่สุด จึงไม่ได้ออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้องกดดัน เพราะเห็นว่าผู้เกี่ยวข้องล้วนเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ มีชื่อเสียงทั้งในแวดวงราชการและสังคม แค่ปรากฏว่า เหตุผลสำคัญที่ทำให้การเจรจาต่างๆ ไม่เป็นผล กลับเป็นเหตุผลส่วนตัวของประธานกรรมการ บมจ.อสมท ที่เห็นว่าวิธีการของกระทรวงการคลังเป็นการไม่ให้เกียรติกัน ขณะที่ภายในองค์กรเกิดปัญหาความไม่แน่นอนในเชิงบริหาร ตลอดจนแผนงานที่ต้องแข่งขันทางธุรกิจในอนาคต สำคัญที่สุดคือเสียงสะท้อนจากนักลงทุน พันธมิตรทางธุรกิจ และสาธารณชน ที่เห็นว่า อสมท เป็นแดนสนธยาจากปัญหาเกมการเมืองที่ไม่จบสิ้น

จดหมายยังระบุว่า ในฐานะตัวแทนพนักงานสหภาพ บมจ.อสมท ไม่ประสงค์ให้ อสมท กลายเป็นเวทีประลองกำลังทางการเมืองของใครใดๆ ทั้งสิ้น เนื่องจาก อสมท เป็นรัฐวิสาหกิจและบริษัทมหาชนเพียงแห่งเดียว ที่ทำหน้าที่สื่อสารมวลชนให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชน เพื่อรักษาบทบาทหน้าที่สื่อและสมบัติชาติที่มีมูลค่าสินทรัพย์กว่าหมื่นล้าน บาทแห่งนี้

สหภาพ บมจ.อสมท ขอความกรุณามายังบอร์ด อสมท ทุกท่าน โปรดละวางความรู้สึกส่วนตัวและเสียสละเป็นครั้งสุดท้ายด้วยการลาออกเพื่อ พิทักษ์องค์กรแห่งนี้ และยอมรับการเปลี่ยนแปลงตามวิถีทางการเมือง เช่นเดียวกับนายธีรศักดิ์ สุวรรณยศ ที่แสดงสปิริตลาออกจากบอร์ด อสมท โดยไม่ยึดติดกับผลประโยชน์ส่วนตัว รวมถึงบอร์ด อสมท คนอื่นที่ลาออกไปก่อนหน้านี้

สหภาพ บมจ.อสมท ขอยืนหยัดการทำหน้าที่ตรวจสอบและพิทักษ์ผลประโยชน์ของ อสมท อย่างเข้มข้น กับบอร์ด อสมท ทุกชุด และกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.อสมท ทุกคน ไม่ว่าจะมาจากรัฐบาลชุดใดก็ตาม

ส่วนฉบับที่สองถึง รมว.คลัง มีเนื้อหาว่า จากกรณีการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น บมจ.อสมท ซึ่งบอร์ด อสมท ได้เลื่อนวันประชุมจากเหตุอุทกภัยออกไปเป็นวันที่ 9 ธันวาคม 2554 โดยจะมีวาระการพิจารณาถอดถอนบอร์ด อสมท ด้วยนั้น ในฐานะที่กระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ สหภาพแรงงาน บมจ.อสมท ใคร่ขอความกรุณาช่วยหาทางหลีกเลี่ยงปัญหาข้อขัดแย้งที่จะบานปลายเป็นประเด็น ทางการเมือง โดยหาข้อยุติกับบอร์ด อสมท ในแนวทางที่เกิดผลกระทบต่อ อสมท และพนักงานให้น้อยที่สุด

ขณะเดียวกันสหภาพ บมจ.อสมท ได้ทำจดหมายเปิดผนึก ขอให้บอร์ด อสมท เสียสละลาออกจากตำแหน่งเพื่อเป็นการยุติปัญหาอีกทางหนึ่งแล้ว

จดหมายฉบับที่สองปิดท้ายว่า สำหรับการพิจารณาบอร์ด อสมท ชุดใหม่ ตลอดจนกระบวนการสรรหาผู้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.อสมท นั้น สหภาพ บมจ.อสมท ขอเรียกร้องให้กระทรวงการคลังมีความโปร่งใส และสรรหาบุคคลโดยยึดหลักธรรมาภิบาล มีความรู้ความสามารถในงานสื่อสารมวลชนและเชิงธุรกิจ พร้อมขอให้พิจารณาเปิดโอกาสให้สหภาพ บมจ.อสมท ได้ร่วมสังเกตการณ์ในกระบวนการสรรหาผู้ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.อสมท เพื่อให้ได้บุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสม สามารถสร้างควานน่าเชื่อถือและความเจริญเติบโตให้แก่ บมจ.อสมท อันเป็นรัฐวิสาหกิจและบริษัทมหาชนด้านสื่อสารมวลชนแห่งเดียวของรัฐบาลต่อไป

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สรุปคำพิพากษาศาลปกครองสงขลา: คดีทรมานและทำร้ายร่างกายนักศึกษายะลา

Posted: 25 Nov 2011 04:41 AM PST

เมื่อวันที่ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ เวลา ๑๐.๐๐ น. ศาลปกครองสงขลาได้นัดฟังคำพิพากษาคดีหมายเลขดำที่ ๑๘๗/๒๕๕๒  ระหว่างนายอิสมาแอ เตะ ที่ ๑ นายอามีซี  มานาก ที่ ๒ ผู้ฟ้องคดี  กับ กองทัพบก ที่ ๑ กระทรวงกลาโหมที่ ๒ ผู้ถูกฟ้องคดี  โดยมีรายละเอียดและสรุปผลคำพิพากษาดังต่อไปนี้    
 
ผู้ฟ้องคดีเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เป็นคณะทำงานในสมาพันธ์นิสิตนักศึกษายะลา(สนย.) เมื่อวันที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๕๑ ทหารพรานและทหารจากหน่วยเฉพาะกิจที่ ๑๑ ได้เข้าตรวจค้นบ้านซึ่งผู้ฟ้องคดีทั้งสองกับเพื่อนเช่าพักอาศัยอยู่ โดยเจ้าหน้าที่มิได้แจ้งเหตุเข้าตรวจค้น พร้อมทั้งใช้กำลังบุกเข้าไปและใช้อาวุธปืนจี้บังคับผู้ฟ้องคดีทั้งสอง กับเพื่อนให้ออกจากที่พัก จากนั้นได้ทำการรื้อค้นทรัพย์สินภายในบ้านพักและยังใช้กำลังทำร้ายผู้ฟ้องคดีทั้งสองและเพื่อนจนได้รับบาดเจ็บที่ริมฝีปาก จากนั้นเจ้าหน้าที่ได้คุมตัวผู้ฟ้องคดีทั้งสองและเพื่อนรวม ๗ คน พร้อมยึดทรัพย์สินและเอกสารขึ้นรถยนต์ไปหน่วยเฉพาะกิจที่ ๑๑  เมื่อไปถึง เจ้าหน้าที่ได้สอบถามประวัติและใช้ของแข็งทุบตี และทรมานผู้ฟ้องคดีกับเพื่อน หลังจากนั้นได้นำไปฝากขังที่ค่ายอิงคยุทธบริหาร โดยไม่ได้แจ้งข้อกล่าวหา และไม่ได้รับอนุญาตให้ติดต่อญาติ ต่อมาวันที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๕๑ เจ้าหน้าที่ได้นำผู้ฟ้องคดีทั้งสองไปสอบปากคำและให้ยอมรับว่าเป็นเจ้าของคอมพิวเตอร์ แต่ผู้ฟ้องคดีปฏิเสธ จึงถูกจับถอดเสื้อปิดตาซ้อมและ เอาไปนั่งบริเวณที่ความเย็นจากเครื่องปรับอากาศตกลงมากว่าชั่วโมง วันที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๕๑ เจ้าหน้าที่ได้นำตัวผู้ฟ้องคดีมาสอบปากคำและบังคับให้ยอมรับว่าเป็นเจ้าของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ แต่ผู้ฟ้องคดีปฎิเสธจึงถูกซ้อมและนำไปนั่งตากเครื่องปรับอากาศอีก เมื่อปฎิเสธก็ตบซ้ำ เป็นเวลากว่าชั่วโมง จากนั้นได้บังคับผู้ฟ้องคดีลงชื่อในเอกสารและนำตัวไปขัง จากนั้นวันที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ ญาติของผู้ฟ้องคดีจึงยื่นคำร้องข้อปล่อยตัวต่อศาลจ้งหวัดปัตตานี ผู้ฟ้องคดีจึงถูกปล่อยตัวในคืนวันดังกล่าว
 
การกระทำของเจ้าหน้าที่เป็นการกระทำที่ขัดต่อกฎหมายอันเป็นการละเมิดทำให้ผู้ฟ้องคดีทั้งสองได้รับความเสียหายแก่กายและทรัพย์สิน ผู้ฟ้องคดีทั้งสองขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง ดังนี้
 
๑. ให้ผู้ถูกฟ้องคดีชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้ฟ้องคดีที่ ๑ เป็นเงินจำนวน ๑,๗๓๖,๐๐๐ บาท และแก่ผู้ฟ้องคดีที่ ๒ เป็นเงินจำนวน ๑,๗๑๗,๐๐๐ บาท พร้อมดอกเบี้ย อัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป
 
๒. ให้ผู้ถูกฟ้องจัดการให้ชื่อเสียงของผู้ฟ้องคดี กลับคืนดีดังเดิม โดยประกาศในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นอย่างน้อย สองฉบับ ฉบับละสามวันติดต่อกัน หรือหนังสือชี้แจงหรือหนังสือเวียนถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะหน่วยงานในสังกัดของผู้ถูกฟ้องคดีในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้และสี่อำเภอในจังหวัดสงขลาและมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
 
๓. ให้ผู้ถูกฟ้องคดีชำระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความให้แก่ผู้ฟ้องคดี
 
ประเด็นที่ศาลต้องวินิจฉัยมี ๒ ประเด็นคือ ประเด็นแรก ผู้ฟ้องคดีทั้งสองเป็นผู้มีสิทธิฟ้องคดีหรือไม่ ประเด็นที่สอง การใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่เป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ หากไม่ชอบเป็นการกระทละเมิดต่อผู้ฟ้องคดีทั้งสองหรือไม่ และผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองต้องรับผิดหรือไม่ เพียงใด
 
ประเด็นที่ ๑ ศาลพิเคราะห์ว่าตามกฎหมายนั้นหน่วยงานรัฐต้องรับผิดชอบต่อการกระทำที่เจ้าหน้าที่ที่สังกัดในหน่วยงานของตนกระทำนอกเหนือจากอำนาจ หากเจ้าหน้าที่ไม่มีสังกัด จะฟ้องให้เจ้าหน้าที่รับผิดฐานกระทำนอกเหนืออำนาจไม่ได้ แต่เมื่อพิจารณาแล้วปรากฎว่าเจ้าหน้าที่ซึ่งกระทำการดังกล่าวเป็นเจ้าหน้าที่ซึ่งสังกัดในหน่วยงานของผู้ถูกฟ้องคดี ผู้ฟ้องคดีจึงมีสิทธิฟ้องคดีได้
 
ประเด็นที่ ๒ กรณีที่เจ้าหน้าที่บุกค้นบ้านพักและคุมตัวผู้ฟ้องคดี ศาลมีความเห็นว่าเป็นการปฏิบัติงานโดยชอบด้วยกฎหมายตาม พรบ.กฎอัยการศึก แต่ในกรณีของการควบคุมตัวตามกฎอัยการศึกกำหนดให้ควบคุมตัวได้ ๗ วัน แต่เจ้าหน้าที่กลับคุมตัวไว้ถึง ๙ วัน ถือเป็นการปฏิบัติที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้ถูกฟ้องคดีจึงมีความผิดในมูลคดีละเมิด ในส่วนอื่นนั้น ศาลเห็นว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่อันควรแก่เหตุ จึงไม่ถือเป็นการกระทำที่นอกเหนือจากอำนาจ
 
ศาลจึงพิพากษาให้ผู้ถูกฟ้องต้องรับผิดชำระค่าเสียหายในมูลละเมิดแก่ผู้ฟ้องคดีที่ ๑ เป็นเงินจำนวน  ๒๕๕,๐๐๐ บาท และ ที่ ๒ จำนวน ๒๕๐,๐๐๐ บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปี ตั้งแต่วันรที่ ๑๔ มกราคม ๒๕๕๒ จนกว่าจะชำระเสร็จ ทั้งนี้ภายใน ๖๐ วันนับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุด ส่วนคำขออื่นให้ยก และให้ยกฟ้องผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒
 
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สมบุญ สีคำดอกแค: สถาบันความ (ไม่) ปลอดภัย...

Posted: 25 Nov 2011 03:31 AM PST

 

สถาบันความปลอดภัยฯ ที่จะต้องจัดตั้งขึ้นตาม พรบ.ความปลอดภัยและอาชีวอนามัยฯ พ.ศ. ๒๕๕๔ กำลังสะท้อนให้เห็นถึงการต่อสู้อย่างแหลมคม ระหว่างฝ่ายอนุรักษ์นิยมที่ฝังตัวอยู่ในระบบราชการของกระทรวงแรงงาน กับ ภาคประชาชนที่ต้องการให้การจัดตั้งสถาบันความปลอดภัยฯเกิดจากการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย และมีความเป็นอิสระในการดำเนินงาน

ทั้งสองฝ่ายมีความเห็นร่วมกันว่า สถาบันความปลอดภัยฯ จะทำหน้าที่ทางวิชาการในการสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยราชการ ที่จะใช้อำนาจในการกำกับ ตรวจสอบ ป้องกัน การดำเนินงานในเรื่องที่เกี่ยวกับความปลอดภัยของคนงาน การดำเนินงานของสถาบันฯ จะอยู่ภายใต้การกำกับ ควบคุมของรัฐมนตรี

ปัญหาเกิดจากการตีความ คำว่า “วิชาการ” และ “การกำกับของรัฐมนตรี”

ภาคประชาชนเชื่อว่า การค้นคว้าความรู้ทางวิชาการ การจำแนกแยกแยะปัญหา การค้นหาสาเหตุที่แท้จริง เกี่ยวกับปัญหาความปลอดภัยในแง่มุมต่างๆ ตลอดจนการบูรณาการความรู้ เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาที่ต้องเชื่อมโยงกับประเด็นต่างๆที่ซับซ้อน สถาบันฯจำเป็นต้องเข้าถึงข้อมูลทั้งทางตรงและทางอ้อม

ดังนั้น นอกเหนือจากการค้นคว้าวิจัยความรู้ต่างๆเช่นเดียวกับที่สถาบันการศึกษาจำนวนมากได้ดำเนินการอยู่แล้ว จึงควรมีอำนาจในการเข้าถึงข้อมูลทางตรง โดยการรับเรื่องราวร้องทุกข์จากผู้ที่ได้รับความเดือดร้อน และมีอำนาจใน การเข้าไปในสถานประกอบการ เพื่อศึกษาและตรวจสอบเรื่องราวต่างๆ อย่างถี่ถ้วน

ทั้งหมดนี้จะนำไปสู่ข้อเสนอแนะต่อหน่วยราชการที่มีอำนาจในการกำกับ ควบคุม ดูแล ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามกฎหมาย หรือตามนโยบายของรัฐ ข้อเสนอแนะที่เกิดจากการค้นพบใหม่ๆ อาจนำไปสู่ การพัฒนา ปรับปรุง ระเบียบ กฎหมายที่ล้าสมัย รวมทั้งนโยบายความปลอดภัย ที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาที่ซับซ้อนในปัจจุบัน

แต่โดยอุดมคติของสถาบันความปลอดภัยฯ ย่อมไม่ฝากความหวังของการแก้ปัญหาที่ใหญ่โต มโหฬาร นี้ไว้กับหน่วยราชการ และโดยที่หน่วยราชการล้มเหลวในการปกป้องชีวิตและทรัพย์สินของผู้ใช้แรงงาน ด้วยจำนวนคนงานที่เสียชีวิตในระหว่างการทำงานเฉลี่ยปีละเกือบพันคน และบาดเจ็บ พิการ ในรอบสิบปีกว่าล้านคน สถาบันฯจึงต้องมีภารกิจที่สำคัญในการสร้างการรับรู้ และความตระหนักในประเด็นความปลอดภัยในการทำงาน ให้กับคนในสังคมทุกภาคส่วน

การขับเคลื่อนพลังของสังคม ที่จะช่วยปกป้องเหล่าคนงาน โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย จึงเป็นภารกิจโดยตรงของสถาบันฯ แต่สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ ย่อมมาจากฐานความรู้ที่ถูกต้อง และฐานความรู้ที่ถูกต้อง ย่อมมาจากการเข้าถึงแหล่งข้อมูลที่ถูกต้อง

ซึ่งทั้งหมดนี้ ย่อมหวังอะไรไม่ได้จากระบบราชการ( ไม่ใช่เพราะเกรงว่า ราชการจะปกปิดข้อมูล แต่ตัวราชการเอง ไม่มีความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลต่างๆ) เหมือนกับที่เราหวังอะไรไม่ได้ในระบบไตรภาคี

นอกจากนั้น โดยลำพังของความรู้ที่ถูกต้อง ย่อมไม่อาจเปลี่ยนเป็นพลังการขับเคลื่อนของสังคมได้ สถาบันความปลอดภัย จึงต้องเป็นสถาบันฯที่มีความเป็นกลางและเป็นอิสระ ปลอดพ้นจากการครอบงำ

คณะกรรมการสถาบันฯ ต้องได้รับการสรรหาและเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย คณะกรรมการสถาบันฯ จะต้องมีองค์ประกอบที่มีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย โดยคำนึงถึงสัดส่วนจากภาคฝ่ายต่างๆอย่างเหมาะสม ที่สำคัญ จะต้องมีส่วนที่มาจากราชการไม่มาก และต้องไม่เป็นประธานคณะกรรมการฯ เนื่องจากสถาบันฯจะต้องให้ความเห็น ตรวจสอบ และเสนอแนะต่อฝ่ายราชการอย่างตรงไปตรงมา

และเพื่อให้เป็นองค์กรที่ดำเนินการได้อย่างอิสระที่แท้จริง การสรรหาคณะกรรมการสถาบันฯ จึงต้องปลอดจากอิทธิพลของฝ่ายการเมือง

รัฐมนตรี มีหน้าที่ กำกับ และตรวจสอบการดำเนินงานของสถาบันฯ เมื่อไม่เห็นด้วยกับการดำเนินการใดๆของสถาบันฯ ย่อมใช้อำนาจในการยับยั้งได้ โดยให้รัฐบาล หรือสาธารณะเป็นผู้ตัดสินต่อไป

ทั้งการรับเรื่องราวร้องทุกข์ และความเป็นอิสระที่ปลอดจากอิทธิพลของฝ่ายการเมือง และข้าราชการประจำ เป็นข้อเสนอของภาคประชาชน ที่ฝ่ายผู้มีอำนาจไม่อาจยอมรับได้โดยสิ้นเชิง

การรับเรื่องราวร้องทุกข์ ซึ่งไม่เคยเป็นภารกิจที่สำคัญของฝ่ายราชการ กลายเป็นจุดอ่อนที่สำคัญ ที่ฝ่ายอนุรักษ์นิยมจะยอมให้ไม่ได้อย่างถึงที่สุด อนุกรรมการร่างกฎหมายจัดตั้งสถาบันฯ ซึ่งเป็นตัวแทนภาคประชาชน ต่างรู้สึกแปลกใจกับการที่ฝ่ายราชการคัดค้านประเด็นการรับเรื่องราวร้องทุกข์ อย่างที่เรียกได้ว่า ไม่มีการประนีประนอมโดยเด็ดขาด แม้ว่าข้อเสนอของตัวแทนภาคประชาชน จะพยายามประนีประนอมด้วยการลดบทบาทของสถาบันฯให้กระทำการ “ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง” (ทำด้วยตัวเองไม่ได้) แต่ก็ได้รับการคัดค้านอย่างเหนียวแน่น

ที่น่าผิดหวังเป็นที่สุด คือ ฝ่ายการเมืองที่นั่งเป็นประธานในการแก้ไขปัญหา ซึ่งเป็นพรรคที่ได้รับความคาดหวังว่า จะเข้าใจสถานการณ์ของคนยากจน และจะเป็นตัวช่วยให้เกิดการคลี่คลาย กับดำเนินบทบาทเสมือนหนึ่งผู้ปกป้องฝ่ายราชการ

เช่นเดียวกับ “ความเป็นอิสระ” ที่ฝ่ายอนุรักษ์นิยม ไม่อาจจะยอมให้ได้โดยสิ้นเชิง คณะกรรมการสถาบันฯ ต้องมาจาก คณะกรรมการสรรหา ที่แต่งตั้งโดยรัฐมนตรี ข้าราชการเป็นประธานคณะกรรมการได้ ใช้ระบบไตรภาคีในการเลือกผู้แทนฝ่ายลูกจ้าง และนายจ้าง จึงเป็นข้อสรุปสุดท้ายที่ฝ่ายราชการจะต้องผลักดันต่อไปให้ถึงที่สุด

หัวใจสำคัญของการจัดตั้งสถาบันความปลอดภัย เพื่อทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตรงตามเจตนารมณ์ของเหล่าผู้ใช้แรงงาน คือ ความเป็นอิสระ และ กระบวนการมีส่วนร่วม

 

หมายเหตุ : ปัจจุบันสถาบันฯผ่านการพิจารณาของอนุกรรมการยกร่างนำผ่านที่ประชุมคณะกรรมการความปลอดภัยแห่งาชาติเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2554 สภาเครือข่ายฯและเครือข่ายพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานได้คัดค้านต่อ รัฐมนตรีเผดิมชัย สะสมทรัพย์ จนมีการแต่งตั้งคณะทำงานพิจารณาข้อหารือของสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยฯโดยให้มีการทบทวนในเนื้อหาของกฎหมาย พรฎ.จัดตั้งสถาบันฯของผู้ใช้แรงงานที่เดินทางยาวนานถึง19 ปี จากข้อเสนอเรียกร้องของสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วย ฯสมัชชาคนจน และมาเข้าสภาฯโดยพลังของสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วย คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย เครือข่ายพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน และวันที่ 27 พย.2554 นี้ทางสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยโดยการสนับสนุนงบประมาณของแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน จะได้จัดเวทีชำแหละเวทีชำแหละร่าง พรฏ .สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย ฉบับ กระทรวงแรงงานก่อนสู่ขบวนการคลอดเป็นกฎหมาย วันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ (เวลา ๐๙.๐๐-๑๒.๓๐ น.)สถานที่ ณ ห้อง Peridot -๓ ชั้น ๓โรงแรมริชมอนด์ จังหวัดนนทบุรีจึงขอเรียนเชิญสื่อมวลชนที่สนใจเข้าร่วมงานทำข่าวต่อไป ขอขอบคุณล่วงหน้ามา ณ.โอกาสนี้ 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

@PravitR: ทวีตนี้แด่อากง SMS

Posted: 24 Nov 2011 08:10 PM PST

วันนี้ (24 พ.ย. 54) ข่าวคราวเรื่องอากง SMS หรือ คุณอำพล ขอสงวนนามสกุล (ที่ผมไม่เคยรู้จักหรือเห็นหน้ามาก่อน) โดยตัดสินจำคุก 20 ปี ภายใต้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 หรือ กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 ทำให้ผมรู้สึกสลดใจมาก แต่แทนที่ผมจะหลบไปดูหนังเพื่อให้ลืมสภาพสังคมไทยยุคสองพันห้าร้อยกว่าปีหลังพุทธกาล ผมกลับตัดสินใจลุกขึ้นมาสื่อสารกับโลกภายนอกผ่านทางทวิตเตอร์ ต่อผู้ที่เห็นด้วย เห็นต่าง หรือมองไม่เห็นอะไรเลย จึงขอคัดมาบางส่วนเพื่อให้ผู้อ่านประชาไทลองพิจารณาดูว่า บ้านเมืองนี้สภาพเป็นจริงเรื่องเสรีภาพในการแสดงออกเป็นอย่างไร

1. คิดว่าลูกหลานอากง SMS คงตาสว่างเลิกซาบซึ้งไป 7 ชั่วโคตร
2. คุณไม่สามารถทำให้คนมารักและเคารพผู้อื่นโดยการขู่ขังเขาได้
3. Big Bag ก็ไม่ต่างจาก ม.112 เท่าไหร่ คุณจะรู้สึกดีและซาบซึ้ง หากคุณอยู่ฝั่งที่ได้ประโยชน์ อีกฝั่งเป็นไงไม่สน
4. จะอีเกีย (IKEA) หรืออากง พวกคลั่งเจ้าก็ยังคงคลั่งได้เสมอต้นเสมอปลาย
5. พวกคลั่งเจ้าเคยถามตนเองไหมว่า การโยนคนเข้าคุกจะทำให้คน ‘รัก’ ในหลวงมากขึ้นได้อย่างไร
6. จะสอนคิดวิเคราะห์ไปได้ไกลแค่ไหน ในเมื่อสังคมบอกคุณว่า การคิดวิเคราะห์บางเรื่องเป็นอาชญากรรม
7. ผมพบว่า การถกเถียงเรื่องสถาบันฯ บนทวิตเตอร์ สะท้อนความเป็นจริงหลากมุมมอง ต่างจากภาพที่ถูกควบคุมโดยสื่อกระแสหลักอย่างสิ้นเชิง
8. หากคุณขอให้เขาเคารพสิทธิในความเป็นมนุษย์ของคนที่เห็นต่างไม่ได้ คุณจะขออะไรได้เล่า
9. เมื่อคุณห้ามไม่ให้คนคิดวิเคราะห์เรื่องอะไรบางอย่าง สังคมมันจะเติบโตด้วยสมองของตนเองได้อย่างไร
10. อากง SMS ติดคุก 20 ปี เป็นอีกสัญญาณที่บอกว่า คนไทยไม่ควรมีสิทธิแสดงความเห็นต่างเกี่ยวกับสถาบัน
11. ทุกคนในสังคมไทย ต้องรักและไม่ตั้งคำถามต่อสถาบันกษัตริย์หรือ?
12. ม.112 เป็นหัวข้อที่ “ละเอียดอ่อน” สำหรับผู้ที่ไม่มีความละเอียดอ่อนเรื่องความยุติธรรมและเสรีภาพในการแสดงออก
13. ส่ง SMS หยาบๆ สี่ครั้ง โดนคุก 20 ปี ประเทศนี้เขาคำนวณความยุติธรรมกันอย่างไร
14. ผมไม่รู้จักอากง SMS แต่ไม่ว่า อากงหรือากู๋ ไม่มีใครสมควรต้องติดคุกเพราะการใช้โทรศัพท์มือถือ
15. ที่ต้องมาทวีตเรื่อง ม.112 เพราะสื่อกระแสหลักมักไม่กล้าวิเคราะห์ ลองถามอดีตอดีตนายกสมาคมนักข่าวฯ @Prasong_Lert ดูสิครับ
16. จงมั่นใจว่า สุดท้าย ความเงียบที่ยัดเยียดให้ผู้เห็นต่าง จะนำมาซึ่งแสงสว่างทางปัญญาแก่ผู้อื่นอีกมากมาย
17. คุณทำให้เขาเงียบได้ แต่คุณทำให้เขาหยุดคิดไม่ได้
18. เรื่อง ม.112 คือการถกเถียง ต่อสู้ขั้นพื้นฐาน ว่ามนุษย์ ไม่ว่าจะรวย จน ไพร่ หรือเจ้า ควรได้สิทธิแสดงออกอย่างเท่าเทียมกันตามกฎหมายไหม
19. ทุกหนึ่งเสียงที่ถูกทำให้เงียบ จะปลุกคนอีกร้อยพันให้ “ตาสว่าง”
20. ขอเรียกร้องให้ทั้งสองฝ่ายที่ถกเถียงเรื่องเจ้ากับ ม.112 ละเว้นการใช้คำหยาบ เหยียดหยาม และหันมาใช้เหตุผลมากขึ้น
21. ผมขอร้องให้ royalist เปิดใจให้กว้าง และมองให้เห็นว่า คนคิดเท่าทันสถาบันฯ มีอยู่มากในสังคม และควรพูดคุยกันอย่างสันติและสุภาพ
22. ผมขอร้องให้ผู้เห็นต่างเรื่องสถาบันฯ ละเว้นการด่าทอ และการใช้ข้อมูลที่พิสูจน์ไม่ได้ แล้วพยายามพูดคุยกับ royalist ด้วยเหตุผล
23. พวกคลั่งเจ้า อำนาจลดลงเยอะในทวิตเตอร์ เพราะพวกเขาไม่สามารถตะโกนกลบเสียงที่เห็นต่างได้
24. พอพวกคลั่งเจ้าบางคนโกรธ เขาจะหยุดใช้เหตุผล แล้วด่าพ่อล่อแม่ ผมสงสัยว่า ปกติเขาใช้เหตุผลหรือไม่
25. คุณยิ่งขัง ประชาชนเขายิ่งคิด
26. จะอยู่กันอย่างไร? คนกลุ่มหนึ่งบอก ต้องการพื้นที่เพื่อพูดเท่าทันสถาบันฯ คนอีกกลุ่มบอก จงเข้าตารางไป
27. Royalist เลิกหลอกตัวเองว่า คนไทย “ทุกคน” รักในหลวงเถอะครับ หากจงยอมรับและกล้าพูดว่า หากใครไม่รักในหลวง ควรติดตาราง
28. การโยนคนเข้าตารางเพียงเพราะคนคิดเท่าทันสถาบันฯ รังแต่จะทำให้คนตาสว่างมากขึ้น
29. เมื่อคุณกักขังคนที่เห็นต่างได้ คุณก็คงไม่ได้มองเขาเป็นมนุษย์ เพราะมนุษย์กับการคิดแยกกันไม่ออก
30. เหตุผลของการทำให้คนเห็นต่างต้องเงียบและกลัวคือ การไม่ต้องการให้คนคิดเป็นเหตุเป็นผล
31. มีอะไรไม่ชอบมาพากลในสังคมหรือ คุณถึงอยากให้ผู้เห็นต่างต้องเงียบ
32. คุณขังกายคนได้ แต่ขังใจเขาไม่ได้
33. ประชาชนไม่ได้โง่ พวกเขาคิดเองได้ ถึงแม้บางคนจะถูกจองจำเพราะข้อหาคิด “ตรง” เกินไป
34. ทักษิณไปเรียนรู้เรื่องการป้องกันน้ำท่วมที่เกาหลีใต้ พวกคลั่งเจ้าควรไปเรียนรู้อะไรที่เกาหลีเหนือ
35. ท่านผู้นำเกาหลีเหนือคงทึ่ง ที่เมืองไทยจัดการกับผู้เห็นต่างได้อย่างรวบรัดดี
36. คนไทยจะไม่ตกเป็นเครื่องมือใคร หากมีข้อมูลโปร่งใส ถกในสาธารณะได้ โดยไม่ต้องติดตาราง
37. คุณอยากให้เด็กคิดเองเป็น แต่คุณบอกให้เขาจงเชื่อ และยัดเยียดข้อมูลด้านเดียวให้ตลอดทุกๆ วัน
38. อย่าไปหวังว่า คนจำนวนมากจะคิดเป็น หากไม่สามารถคิดเป็นเหตุเป็นผลเรื่องสถาบันฯอย่างเปิดเผยได้
39. หรือเอาเข้าจริง เขาไม่ต้องการความรัก หากอยากสร้างความกลัว
40. ฝรั่งถาม: ทวีตเป็นชั่วโมงซ้ำๆ เรื่อง ม. 112 ได้อย่างไร?
ผมถามกลับ: คุณทนฟังข้อมูลด้านเดียวเรื่องสถาบันฯ ทุกๆ วันผ่านทุกสื่อได้อย่างไร?
41. ฝรั่งที่ถามผมเรื่องทวีตเยอะๆ เรื่องม.112 อึ้ง และตอบไม่ได้ เมื่อผมถามกลับว่า ทนฟังข้อมูลประจบเจ้าผ่านสื่อทุกวันได้ไง
42. อากงโดน 20 ปี หากใครจะพูดเรื่องปัญหา ม.112 ไปอีก 20 ปีก็ไม่เห็นแปลก

ปล. หลังจากที่ผมทวีตไปได้หลายชั่วโมง ก็มีผู้ใช้ทวิตเตอร์คนนึงบอกให้ผมไปกินยานอนหลับแล้วตายซะ (เขาใช้คำว่า “แดกยานอนหลับ แล้วไปตายซะ”) แถมบอกด้วยว่า จะคอยสาปแช่งให้พ่อผมซึ่งเขาเรียกว่าควายให้ตายเร็วๆ วันละสามเวลา ซึ่งผมก็ทวีตบอกอีกคนหนึ่งว่า นี่แหละครับ ผลของสังคมที่ถูกยัดเยียด ห้ามไม่ให้ใช้เหตุผล

พอตกเย็น ผู้ใช้ทวิตเตอร์อีกคนหนึ่งชื่อ คำนูณ สิทธิสมาน ผู้เป็น ultra-royalist ตัวพ่อ ตัดสินใจมาติดตามบัญชีทวิตเตอร์ผม ผมจึงทวีตไปว่า ประตูมีหู ทวิตเตอร์มีตา
ส่วนตาใครจะสว่างหรือไม่ ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น