โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันพุธที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

เอกยุทธ อัญชัญบุตร โพสต์ด่าสาวเหนือกระทบยิ่งลักษณ์

Posted: 02 Nov 2011 10:42 AM PDT

เจ้าของเว็บไซต์ไทยอินไซเดอร์ ด่ายิ่งลักษณ์ “ยายหน้าโง่” หน้าด้านเข้ามารับตำแหน่ง ให้ทบทวนอาชีพที่เหมาะกับตัวเอง ระบุสาวเหนือไร้การศึกษา ขี้เกียจ ด้อยปัญญา มักทำงานขายบริการ ขณะที่มีผู้ตั้งกลุ่มต่อต้านเอกยุทธในเฟซบุคเรียกร้องให้ออกมาขอโทษ

วันนี้ (2 พ.ย. 54) นายเอกยุทธ อัญชัญบุตร เจ้าของเว็บไซต์ไทยอินไซเดอร์ ได้โพสต์ข้อความในเฟซบุคว่า “ไม่อยากจะกล่าวคำแบบนี้ เพราะจะดูเสมือนดูถูกสตรี..แต่ในความเป็นจริงนั้น..สาวเหนือที่ไร้การศึกษาหรือขี้เกียจ และด้อยปัญญา จะมาทำงานสบายที่หญิงปกติไม่ทำกัน..หลักๆก็คือขายบริการ..ฉะนั้นสาวเหนือที่ไร้สติปัญญาและโง่เขลาขนาดหนักแต่หน้าด้านมารับตำแหน่ง ก็ควรจะรู้นะว่าอาชีพอะไรที่เหมาะแก่คุณ ?”

ekayuth

ekayuth2

โดยข้อความดังกล่าวมีผู้มาคลิกไลค์และวิพากษ์วิจารณ์จำนวนมาก ซึ่งนายเอกยุทธได้ตอบโต้ข้อวิพากษ์วิจารณ์ว่า

“ต้องขออภัยนะครับ หากทำให้บางท่านไม่ชอบใจ..แต่กรุณาอ่านข้อความให้ชัดเจนครับ..ไม่ได้กล่าวหาหรือดูถูกใคร แต่กล่าวในความเป็นจริง และน่าจะเข้าใจกันดีว่าหมายถึงใครครับ..ผมเคารพในสิทธิ์และทุกอาชีพ แต่ไม่ยอมรับพวกหน้าด้านที่ทำให้สังคมและประเทศเสียหายครับ..และหญิงบริการก็ไม่ได้สร้างความเดือนร้อนให้ใคร แต่คนบางคนที่ไม่มีสติปัญญาก้ไม่ควรอาสาเข้ามานี่ครับ..”

ekayuth3

ekayuth4

ekayuth5

ekayuth6

“คุณคุณหมายความว่า หากมีอาชีพขายบริการแล้วต้องยกย่องก็คงได้มั้งครับ..ผมคิดว่าหากเข้าใจความหมายต่างกัน ก้ไม่ใช่สิ่งที่น่ารังเกียจ แต่หากจะเอาความคิดตัวเองว่าวิเศษ เลอเลิศแล้วก็คงไม่ต้องมาแสดงความคิดเห็นกันครับ..ผมจะพูดอย่างไร ก้ต้องรับผิดชอบอยู่แล้ว ไม่ได้พล่ามและไร้สติ..ความหมายก้แล้วแต่ผู้อ่านจะคิดและตัดสินกันเอง..อย่าเอาความคิดตัวเองไปตัดสินคนอื่นครับ..และหากจะกล่าวว่าผมดูถูกก็ตามสบาย แต่บอกแล้วว่า ผมรังเกียจพวกเกียจคร้านแต่อยากสบายโดยวิธีง่ายๆ ก็เท่านั้น..ส่วนคุณจะชอบหรืออย่างไรก็ตามสบายคุณครับ..”

หลังจากนั้น นายเอกยุทธไม่ได้ตอบโต้ความเห็นในสเตตัสเดิม แต่ได้โพสต์สเตตัสใหม่ต่อเนื่องวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และผู้ที่เข้ามาแสดงความเห็นไม่พอใจต่อการโพสต์ข้อความของเขา

“ตำแหน่งนายกฯ นั้น ไม่ใช่ของครอบครัว..และไม่ใช่ที่ฝึกหัดงาน..หากไร้ปัญญาก็อย่าหน้าด้านมารับตำแหน่ง..”

“สื่อถามรัฐบาลและผู้ยิ่งใหญ่ทั้งหลายว่าต้องการความช่วยเหลือจากต่างประเทศเรื่องน้ำท่วมมั้ย ? คำตอบที่ได้คือ "เราช่วยตัวเอง" ได้...มิน่าถึงได้ยินบ่อยๆว่า"เอาอยู่ค่ะ"

ekayuth7

“รัฐบาล"มาร์ค" ไข่ชั่งโลขาย..แต่รัฐบาล"ปู"..ไข่ใบละ 8 บาท..อย่าไปกังวลมากรัฐบาล"ปูไข่" นั่นเอง...”

“รัฐบาลนี้ถนัดและเก่งอย่างเดียวคือการเป็น "นักกู้ " เริ่มจาก "กู้น้ำท่วม ".."กู้ความมั่นใจนักลงทุน ".." กู้เงิน"...ดีนะที่"ธิลิ้ม" ไม่ได้ร่วมรัฐบาล..ไม่งั้นต้อง "กู้ชาติ "อีกแล้ว....”

ekayuth8

“คนบางกลุ่มงมงายและหลงไหลในคนที่พล่ามและสร้างภาพและต้องตกอยู่ในสภาวะเป็นนักโทษหนีคุก..จะทนไม่ได้และไม่ยอมรับความจริงกับคนที่เอาความจริงมาพูดว่า"โง่แล้วอยากอาสามาทำงาน" เลยพล่านกันไปหมด..”

ทั้งนีเมื่อมีผู้โพสต์ลิงก์ “กลุ่มคนรักภาคเหนือ เรียกร้องให้ "เอกยุทธ อัญชันบุตร" ออกมากราบเท้าสาวเหนือคนเหนือ.....” นายเอกยุทธ์ กล่าวตอบว่า

“ทราบครับ..แต่ผมคิดว่าสิ่งที่พวกเค้าพยายามพูดถึงนั้น ไม่ตรงกับความหมายที่ผมสื่ออกไป..ตามสบายพวกเค้าครับ..คงเครียดกับ"ความโง่"ของคนที่พวกเค้าคลั่งมากมั่งครับ..”

ekayuth9

“จะอนาถหรือสงสารหรือเวทนาบรรดาสาวกทักษิณดีครับ ? พวกที่เข้ามาในบล๊อคผมและต่อว่าด้วยถ้อยคำที่พวกเสื้อแดงถ่อยๆบางคนใช้นั้น ก็คงไม่ต่างกับคนที่พวกเค้างมงายหรอก..ผมเป็น ปชช.ธรรมดาคนหนึ่งที่ไม่ยอมให้ตระกูลชั่วๆหรือพวกโง่เขลามานั่งเสนอหน้าบริหารประเทศหรอก..อายหมาว่ะ ++++”

ekayuth10

“หากจะมีคนเกลียดผมเพิ่ม 15 ล้านคน เพราะผมว่า"ยัยหน้าโง่" แล้ว ก็ยังสบายใจที่ยังมีอีก 50 ล้านคนที่ไม่ได้เกลียดหรือรัก...”

ekayuth11

สำหรับปฏิกิรยาตอบโต้กรณีที่นายเอกยุทธ์กล่าวพาดพิงผู้หญิงชาวเหนือนั้น ผู้เล่นเฟซบุ๊กจำนวนหนึ่งได้รวมตัวกันสร้างเพจ กลุ่มคนรักภาคเหนือ เรียกร้องให้ "เอกยุทธ อัญชันบุตร" ออกมากราบเท้าสาวเหนือ โดยเมื่อเวลา 22.20 มีผู้คลิกไลค์กลุ่มดังกล่าวแล้ว 695 คน โดยเพจดังกล่าวมีการแชร์ประวัติของนายเอกยุทธ์ซึ่งเคยต้องคดีฉ้อโกง และคดีกบฏจนต้องหลบหนีออกนอกประเทศ

ทั้งนี้ นายเอกยุทธ์เป็นเจ้าของเว็บไซต์ไทยอินไซเดอร์ ซึ่งต่อต้านรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ในอดีตเคยต้องคดีแชร์ชาร์เตอร์มีผู้เข้าร้องเรียนกับกองปราบเป็นจำนวนหลายพันคน ทางการประกาศอายัดทรัพย์สินของเอกยุทธ อัญชันบุตร บริษัท ชาร์เตอร์ และผู้ถือหุ้น เพื่อนำออกขายทอดตลาด และต้องคดีกบฏทหารนอกราชการ เมื่อ พ.ศ. 2528 และหลบคดีออกนอกประเทศ โดยเปลี่ยนชื่อเป็น จอร์จ ตัน และขอลี้ภัยการเมืองที่สวิตเซอร์แลนด์ จากนั้นจึงย้ายไปนิวยอร์ก และเริ่มทำธุรกิจในตลาดค้าหุ้นวอลล์สตรีท และทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ปัจจุบันมีธุรกิจหลักอยู่ในลอนดอน และกัวลาลัมเปอร์

นายเอกยุทธ์เพิ่งจะเดินทางกลับประเทศไทยหลังจากคดีหมดอายุความแล้วและกลับมาเป็นข่าวคราวอีกครั้งในกลางปี พ.ศ. 2547 เมื่อได้เข้าไปที่พรรคประชาธิปัตย์พร้อมกับ นายอัมรินทร์ คอมันตร์ เพื่อเจรจาทางการเมือง มีการกล่าวหาว่า นายเอกยุทธพยายามจะให้เงินสนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์เพื่อใช้ในการโค่นล้มรัฐบาล แต่ทางพรรคประชาธิปัตย์ได้แถลงข่าวปฏิเสธและว่าไม่ได้รับเงินไว้ จากนั้น นายเอกยุทธได้ร่วมกับกลุ่ม “ประชาชนเพื่อชาติและราชบัลลังก์” จัดปราศรัยขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ขึ้นที่ท้องสนามหลวงในเดือนกันยายนปี 2547 แต่มีผู้ร่วมชุมนุมไม่มากนัก จากนั้น นายเอกยุทธจึงได้ออกข่าวเป็นระยะ ๆ วิจารณ์และโจมตี พ.ต.ท.ทักษิณ เรื่อยมา และได้เปิดเว็บไซต์ส่วนตัว อีกทั้งในบางครั้งบางช่วงก็ได้วิพากษ์และโจมตี นายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำผู้หนึ่งของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยด้วย

ข้อมูลเพิ่มเติม

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เปรมศักดิ์ เพียยุระ: วิกฤตตกงานจากน้ำท่วมนับล้าน วาระแห่งชาติที่ต้องเร่งเยียวยา ข้อเสนอแผนฉุกเฉินถึงผ่าตัดใหญ่

Posted: 02 Nov 2011 09:41 AM PDT

เรื่องใหญ่ของน้ำท่วมใหญ่คราวนี้ก็คือมียอดผู้ใช้แรงงานได้รับผลกระทบระหว่าง 750,000 คน ไปถึง 1 ล้านคน และอาจต้องถูกเลิกจ้างมากกว่า 1 แสนคน แต่ปัญหาใหญ่กว่านั้นคือรัฐมนตรีแรงงานบอกว่า"ไม่มีผลกระทบอะไร เดี๋ยวน้ำลดก็ดีเอง" ผมเลยขอเสนอข้ามไปยังผู้นำรัฐบาลเลยแล้วกันว่า ได้โปรดยกเรื่องนี้ขึ่นเป็นวาระแห่งชาติให้ไว ดังนี้

1.มาตรการฉุกเฉินและบรรเทาทุกข์ ดูแลการดำรงชีพ
2.มาตรการเฉพาะหน้า ทำไมรัฐบาลไม่ลงทุนจ้างคนงานที่ว่างงานมาเร่งช่วยฟื้่นฟูประเทศ คนเหล่านี้คือมืออาชีพ ดีกว่าให้อาสาสมัครทำ อย่างเดียว เหมือนยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว แก้คนว่างงานด้วย ฟื้่นฟูประเทศให้ฟื้นตัวเร่งด่วนด้วย
3.มาตรการอุดหนุนโรงงานให้ฟื้นตัวโดยไว และหากจำเป็นรัฐอาจต้องลงทุนเพื่อจ้างงานเอง
4.มาตรการระยะยาว เพราะภูมิศาสตร์เศรษฐกิจพลิกโฉมแล้ว เมื่อไทยเสี่ยงภัยธรรมชาติติดอัีนดับโลก เราต้องกระจายความเสี่ยงเพื่อความยั่งยืนในการจ้างงานระยะยาว

ยอดคนงานได้รับผลกระทบน้ำท่วมยั
งไม่นิ่ง ได้รับผลกระทบตั้งแต่ 7.5 แสน-1 ล้านคน 
น้ำท่วมใหญ่เมืองไทยปี2554นี้กระทบไปทุกหย่อมย่านครับ หนักหนาสาหัสที่ตามมาก็คือคนตกงาน เพราะน้ำท่วมนิคมอุตสาหกรรม โรงงานย่อยยับจมหายไปกับสายน้ำ นี่ไม่รวมการค้าการขายพาณิชยกรรม และภาคบริการอีกไม่นับ ชีวิตของคนงานก็ต้องมาประสบเคราะห์กรรมตกงาน 

ตัวเลขเวลานี้ยังไม่นิ่งครับ เมื่อตอนวันที่ 18 ตุลาคมที่ผ่านมา นายอาทิตย์ อิสโม อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ได้รับรายงานจากสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด ซึ่งเป็นข้อมูล ณ วันที่ 18 ตุลาคมที่ผ่านมา เวลา 12.00 น. พบว่าใน 20 จังหวัด มีลูกจ้างได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม 663,218 คน และสถานประกอบการได้รับผลกระทบ 14,172 แห่ง 

ในจำนวนนี้ เฉพาะในส่วนของจังหวัดปทุมธานีที่เดียวมีแรงงานได้รับผลกระทบ 218,474 คน สถานประกอบการที่ได้รับผลกระทบ 3,326 แห่ง โดยในส่วนของนิคมอุตสาหกรรมนวนครที่ถูกน้ำท่วมเต็มพื้นที่ไปแล้วมีลูกจ้างได้รับผลกระทบกว่า 1.75 แสนคน จากสถานประกอบการ 227 แห่ง ทำให้สถานประกอบการต้องหยุดกิจการชั่วคราวและลูกจ้างต้องหยุดงาน 

ต่อมาในวันที่ 1 พฤศจิกายน อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เปิดเผยเพิ่มเติมว่า ตั้งแต่เกิดปัญหาน้ำท่วมจนถึงขณะนี้มีลูกจ้างได้รับผลกระทบทั้งสิ้น 752,439 คน จากสถานประกอบการ 19,251 แห่ง และมีลูกจ้างกว่า 3,000 คน ที่ถูกเลิกจ้างใน 2 จังหวัด คือปทุมธานี 4 แห่ง และพระนครศรีอยุธยา 6 แห่ง 

นอกจากนี้ ปัญหายังลุกลามไปยังสถานประกอบการในพื้นที่กรุงเทพฯเพิ่มขึ้นอีก 5 เขต มีโรงงานได้รับผลกระทบกว่า 1,855 แห่ง ลูกจ้างกระทบจนต้องหยุดงาน 23,166 คน โดยนายจ้างในกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่ยังยืนยันยังไม่เลิกจ้าง และยังคงจ่ายค่าจ้างให้เต็มจำนวน และบางส่วนจ่าย 75% 

ขณะเดียวกัน ยังคงยืนยันตัวเลขคาดการณ์ของลูกจ้างที่อาจจะถูกเลิกจ้างมากกว่า 1 แสนคน เพราะมีการส่งสัญญาณจากนายจ้างเข้ามามากขึ้น โดยการโทรมาสอบถามที่ กสร.ถึงกรณีหากต้องประกาศเลิกจ้างพนักงานจะต้องทำอย่างไร และรัฐบาลจะช่วยดูแลอย่างไร ซึ่งส่วนใหญ่เมื่อโทร.เข้ามาถามลักษณะอย่างนี้ไม่นานก็จะประกาศเลิกจ้างทุกราย

ขณะที่ภาคเอกชนพ่อค้าใหญ่อย่างนายสันติ ภิรมย์ภักดี กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บุญรอดบริวเวอร์รี่ จำกัด เปิดเผยว่า จากปัญหาอุทกภัยน้ำท่วมที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ถือว่ารุนแรงมากที่สุดตั้งแต่เริ่มดำเนินธุรกิจในรอบ 78 ปี แม้ว่าก่อนหน้านี้จะเกิดวิกฤติน้ำท่วมใหญ่กรุงเทพฯ เกิดขึ้นบ้าง ไม่ว่าจะเป็นปี 2485 หรือปี 2538 แต่ก็ไม่ถือว่ารุนแรงมากหากประเมินมูลค่าด้านความเสียหายทางเศรษฐกิจ เนื่องจากในช่วงเวลาดังกล่าวยังไม่มีแหล่งอุตสาหกรรม จึงไม่สามารถนำมาเปรียบเทียบหรือประเมินมูลค่าด้านความเสียหายได้

เพราะจากนิคมอุตสาหกรรมหลายแห่งที่ต้องจมน้ำรวมประมาณ 1,000 โรงงาน ส่งผลให้หลังน้ำลดอาจมีพนักงานตกงานไม่ต่ำกว่า 1 ล้านคน ซึ่งจากผลกระทบที่เกิดขึ้นดังกล่าวคาดว่าจะใช้ระยะเวลาในการฟื้นฟูเศรษฐกิจและโรงงานที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วมประมาณ 2 ปี เนื่องจากเครื่องจักรบางตัวต้องใช้ระยะเวลาในการซ่อมบำรุง

ยังช่วยเหลือได้แค่หลักหมื่นจากผู้ได้รับกระทบนับล้าน
ขณะที่สถานการณ์การจ้างงานในช่วงวิกฤตขณะนี้ อธิบดีกสร.เปิดเผยว่า มีสถานประกอบการจำนวน 320 แห่ง ใน 38 จังหวัด ได้แจ้งความประสงค์ที่จะรับผู้ใช้แรงงานที่ประสบอุทกภัยเป็นการชั่วคราว 42,090 อัตรา ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดนครปฐม สมุทรปราการ สมุทรสาคร กรุงเทพมหานคร และชลบุรี

โดยประเภทตำแหน่งงานส่วนใหญ่เป็นพนักงานฝ่ายการผลิต พนักงานคลังสินค้า ช่างเชื่อม ช่างไฟ ช่างก่อสร้าง ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ อาหารสำเร็จรูป วิศวกร และ สิ่งทอ เป็นต้น ซึ่งล่าสุดมีนายจ้างในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาตอบรับเข้ามาว่าจะส่งต่อลูกจ้างจำนวน 2,800 คน ไปทำงานชั่วคราวตามโครงการนี้

หนักสุดคือลูกจ้างรายวันที่ต้องตกงานกลับบ้าน เร่งบรรเทาทุกข์
นายชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) กล่าวว่า จากเหตุการณ์น้ำท่วมในหลายจังหวัดเบื้องต้นประเมินว่ามีลูขณะนี้สถานประกอบการยังจ่ายค่าจ้างอยู่ ซึ่งมีอัตราตั้งแต่ 100% 75% และ 50% ของเงินเดือน 

ขณะที่คนงานที่หนีตายออกมาจากโรงงานท่วมนิคมอุตสาหกรรมนวนครหลายรายกล่าวด้วยน้ำตานองหน้าว่า จำนวนมากที่เป็นลูกจ้างรายวัน และเมื่อโรงงานน้ำท่วมก็โดนเลิกจ้างโดยปริยาย ไม่มีจ่ายเงินชดเชยใดๆ ต้องกลับบ้านต่างจังหวัดเท่านั้่น

ตอนนี้ผู้ใช้แรงงานได้จัดตั้งเครือข่ายแรงงานไทยช่วยภัยน้ำท่วมขึ้น ระดมขอรับบริจาคอาหาร สิ่งของของใช้ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต อาทิ อาหารแห้ง น้ำดื่ม ยารักษาโรค หรืองบประมาณเพื่อจัดซื้อสิ่งของที่จำเป็น ตามศูนย์แรงงานกลุ่มย่าน สหพันธ์แรงงาน และสมาพันธ์แรงงาน จำนวน 10 ศูนย์ ก็ขอเชิญชวนพี่น้องคนไทยช่วยสนับสนุนด้วยครับนี่คือคนกลุ่มใหญ่มากนับแสนคนที่ได้รับผลกระทบ(ดูรายละเอียดที่ http://voicelabour.org/?p=6997)

จี้รัฐมีมาตรการแก้ไขปัญหาทั้งบรรเทาทุกข์ฉุกเฉิน และระยะยาว แต่รมต.แรงงานบอกไม่กระทบ
เครือข่ายแรงงานไทยช่วยภัยน้ำท่วมได้เรียกร้องต่อรัฐบาลว่า ควรมีมาตรการช่วยเหลือเยียวยาเฉพาะหน้า รวมทั้งมีมาตรการระยะยาวในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งต่อผู้ใช้แรงงานและผู้ประกอบการ อาทิ นโยบายส่งเสริมการฟื้นฟูสถานประกอบการและการชดเชยรายได้แก่ผู้ใช้แรงงาน หากรัฐบาลไม่มีมาตรการที่ชัดเจน ก็มีแนวโน้มว่าผู้ใช้แรงงานจำนวนมากอาจจะถูกเลิกจ้างจากการปิดโรงงานของผู้ประกอบการ อันจะส่งผลสูญเสียต่อภาพรวมระบบเศรษฐกิจภายในประเทศ

 
ปัญหาเฉพาะหน้าเวลานี้ที่คนไม่รู้คือเจ้าของโรงงานที่เสียหายจากน้ำท่วมมีประกันภัยไว้เป็นส่วนใหญ่ แต่คนงานไม่มีหลักประกันใดๆ
 
นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ให้สัมภาษณ์กับ สำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น. ว่า การช่วยเหลือแรงงานในนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ นั้น จะให้การช่วยเหลืออย่างดีที่สุด ทั้งแรงงานไทยและแรงงานชาวต่างด้าว ส่วนปัญหาเรื่องการว่างงานนั้น ตนเองมองว่า เมื่อสถานการณ์ดีขึ้นแล้ว ปัญหาดังกล่าวจะไม่เกิดขึ้น เพราะแรงงานไทยเป็นแรงงานที่มีฝีมือ ขณะนี้ทางโรงงานอุตสาหกรรมของประเทศญี่ปุ่น ก็ได้ติดต่อให้แรงงานไทยไปทำงานที่ประเทศญี่ปุ่นแล้วกล่าว 3,000 คน และจากการพูดคุยกับเจ้าของกิจการโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ก็จะยังคงดำเนินกิจการในประเทศไทยต่อไป 

ฟังท่านรัฐมนตรีแล้วก็เหนื่อยใจแทนคนงานครับ ท่านไม่ได้มองว่าเป็นปัญหาอะไรใหญ่โตเลย ไม่ต้องแก้อะไร เหมือนเป็นไข้หวัด เดี๋ยวก็หายเอง รัฐบาลไม่ต้องเยียวยาอะไร...

โครงการ New Thailand อย่าลืมแรงงาน ถึงรมต.แรงงานของท่านทำทองไม่รู้ร้อน 
ต้องหวังกับรัฐบาลนายกฯยิ่งลักษณ์ครับที่ว่า กำลังจะแจ้งเกิดโปรแกรมการวางแผนประเทศไทยใหม่ หรือ “New Thailand” โดยคาดว่าจะใช้งบประมาณทั้งหมดประมาณ 6-8 แสนล้านบาท เสนอแผนฟื้นฟูสองระยะ คือ 

ระยะแรกภายใน 1 ปีหลังจากน้ำลด จะใช้งบประมาณ 1 แสนล้านบาทเข้าไปฟื้นฟู เช่น การฟื้นฟูนิคมอุตสาหกรรม ซึ่งจะช่วยเรื่องเศรษฐกิจและอัตราการว่างงาน 

ส่วนในแผนระยะยาวก็มีความจำเป็นอย่างมาก เพราะหากประเทศไทยประสบกับภาวะวิกฤติลักษณะนี้อีก จะเป็นเรื่องใหญ่ ฉะนั้นต้องมีการแก้ไขปัญหาระบบน้ำของประเทศทั้งหมด เพื่อพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส ซึ่งขณะนี้ได้มีประเทศต่างๆ เช่น สหรัฐอเมริกา เนเธอร์แลนด์ ญี่ปุ่น ได้เสนอแผนฟื้นฟูประเทศไทยเป็นแบบแพ็กเกจมาแล้ว ทั้งเงินทุนและวิทยาการ 

ในเวลาที่บ้านเมืองเจอภัยพิบัติขนาดนี้ เรื่องปัญหาการว่างงานต้องยกระดับขึ้่นมาเป็นวาระแห่งชาติแล้วครับ และนอกจากการบรรเทาทุกข์ฉุกเฉินแล้ว การจะไปรอฟื้นฟูหลังน้ำลดเพื่อให้เอกชนกลับมาจ้างงานกันได้แบบรอฟ้ารอฝนนั้นคงไม่ได้

แนวทางแก้ไขปัญหานั้นผมว่า ควรปัดฝุ่นตำราเศรษฐศาตร์ของนักเศรษฐศาสตร์เลื่องชื่อ คือ จอห์น เมอร์นาด เคนส์ (John Maynard Keynes) มากอบกู้โดยไว นั่นก็คือ เมื่อยามเศรษฐกิจของประเทศถดถอย เจอภัยพิบัติอย่างนี้ เอกชนขาดความเชื่อมั่น ไม่กล้าลงทุน รัฐบาลจะต้องเป็นผู้ลงทุน เพื่อสร้างการหมุนเวียนของเงินในระบบเศรษฐกิจ เช่นการลงทุนในโครงการที่สร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระยะยาว เช่น โครงสร้างพื้นฐาน ถนนหนทาง รถไฟฟ้า เขื่อน หรือการฟื้นฟูโรงานที่ได้รับความเสียหายขึ้นมาใหม่ โครงการเหล่านี้จะส่งผลต่อการจ้างงานในระบบเศรษฐกิจอย่างน้อยสองถึงสามปีแบบต่อเนื่อง 

โปรแกรมฉุกเฉินเปิดรับคนตกงานมาร่วมฟื้นฟูประเทศโดยด่วน ลงทุน 1 ได้ 2
หรือแม้แต่ระยะฉุกเฉินนี้แทนที่จะปล่อยให้คนตกงานหลายแสนเกือบล้านอยู่ว่างๆ และระทึกใจว่าจะได้กลับไปทำงานหรือจะตกงานยาว? รัฐบาลควรต้องจ้างคนเหล่านี้แหละครับเข้ามาเป็นมืออาชีพในการฟื้นฟูประเทศ แทนมืออาสาสมัคร หรือมือสมัครเล่นทั้งหลาย (ซึ่งนับวันจะหาได้ยาก) อยากได้คนกรอกทราย คนแพ็กของบริจาค คนขับรถบรรทุก ขับเรือไปช่วยเหลือผู้บริจาค คนสร้างศูนย์พักพิงผู้ประสบภัย คนซ่อมแซมก่อสร้างบ้าน ซ่อมโรงงาน ซ่อมแซมสาธารณูปโภค ถนนหนทางสารพัด รวมทั้งคนที่จะซ่อมบ้านซ่อมเมือง ทำไมไม่ลงทุนจ้างคนตกงานเหล่านี้ไปเลยครับ คนเหล่านี้ล้วนมีทักษะฝีมือ

ตั้งโต๊ะรับเลยครับให้คนมาแห่สมัครงานจะ7แสนกว่าคนแบบอธิบดี กสร.ว่า หรือนับล้านแบบเจ้าของเบียร์สิงห์ว่าก็ต้องทำ แล้วเชิญรัฐมนตรีแรงงานมาดูว่ามากมายมหาศาลขนาดไหน อย่าไปนั่งในห้องแอร์สัมภาษณ์สื่อว่า"ไม่มีผลกระทบอะไร"

ทำแบบนี้เหมือนยิงกระสุนนัดเดียวได้นกสองตัวครับ คนตกงานก็แก้ได้ บ้านเมืองก็ฟื้นฟูได้ไว

ระยะยาวต้องการกระจายความเสีี่ยง ภูมิศาสตร์เศรษฐกิจถึงคราวต้องเปลี่ยน
หากไม่มีเหตุภัยน้ำท่วมใหญ่ คนไทยก็คงยังเข้าใจผิดๆตลอดไปว่าเราเป็นดินแดนแห่งความสุข ไม่มีปัญหาพิบัติภัยใหญ่ๆต้องเจอเหมือนที่อื่นเขา แต่จากรายงานของธนาคารโลกล่าสุดบอกว่าเมืองไทยเรา มีความเสี่ยงด้านภัยธรรมชาติอยู่อันดับที่ 13 ของโลก โดยเขาคิดจากคิดจากความเสียหายโดยรวมต่อGDP เป็น % หากเกิดภัยพิบัติขั้นร้ายแรงที่สุดขึ้นจริงมากกว่า 2 เหตุการณ์ (ดูที่นี่ครับรายละเอียด http://www.whereisthailand.info/2011/10/haz-nature-gdp/)

โดยสำหรับประเทศไทย หากเกิดภัยพิบัติรุนแรง ซึ่งประเมินว่าจะเกิดจากอุทกภัยเพียงอย่างเดียวนั้น จะทำลายพื้นที่ 47.8% ของประเทศ และส่งผลกระทบต่อประชาชน 70.1% ของจำนวนประชากรทั้งหมด ถือว่าเป็นประเทศในกลุ่มที่มีอัตราความเสี่ยงสูงมาก

ตัวเลขแบบนี้คงเป็นปัญหากระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติแน่ครับ รายที่เคยลงทึนอยู่ก็คิดหนักว่าจะอยู่ต่อไหม หรือย้ายฐาน รายที่จะไปกวักมือเรียกเขามาใหม่ เขาก็ต้องคิดเรื่องความเสี่ยงตรงนี้ จากเดิมคิืดว่าเมืองไทยคงไม่มีปัญหาเรื่องนี้

วิธียกเครื่องระยะยาวต้องมีการกระจายความเสี่ยง สามารถทำได้ทั้งในเชิงภูมิศาสตร์ เช่น กระจายความเจริญให้ทั่วพื้นที่มากกว่าให้กระจุกตัวอยู่ในเมืองใหญ่ไม่กี่แห่ง อย่างกรุงเทพฯ ปทุมธานี อยุธยา โดนน้ำท่วมเข้าไปโครมเดียวก็วูบไปเลย

 
ต้องกระจายฐานผลิตไปยังภาคตะวันออก ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ ภาคอีสาน เพราะหากเกิดปัญหาที่โซนใดโซนหนึ่ง โซนอื่นก็ยัีงไปต่อได้ ไม่ใช่โครมเดียวพังครืนแบบนี้
 
นี่ก็จะเป็นหลักประก้นระยะยาวสำหรับผู้ใช้แรงงานอย่างแท้จริงครับ
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สื่อมวลชนกับ hate speech พึงสังวรไว้

Posted: 02 Nov 2011 09:25 AM PDT

ช่วงที่ขัดแย้งทางการเมืองที่ผ่านมา หลายขั้วการเมืองและสื่อมวลชนได้ใส่ไคล้กันมากมาย มีการพูดจาทำลายศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์กัน ยุยงให้กระทำความรุนแรงต่อกัน เอาชื่อเอาแซ่ เอาที่อยู่มาประจานกันทางอินเตอร์เน็ต เว็บบอร์ด โดยหารู้ไม่ว่าการทำเช่นนั้นเป็น “ความผิดทางอาญา” ในสากลโลก

เอาเฉพาะกฎบัตรสิทธิมนุษยชนหลัก การใช้ hate speech เป็นความผิดต่อ ข้อ 20 ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights-ICCPR)* และข้อ 4 ของอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ (International Convention on the Elimination of All Forms of Racial Discrimination-ICERD)**

นอกจากนี้ ศาลโลกยังเคยติดสินลงโทษสื่อมวลชนที่กระพือ hate speech เพื่อสร้างความเกลียดชังให้คนเข่นฆ่าสังหารกันมาแล้ว ถ้ายังจำได้ระหว่างเดือนเมษายน-กรกฎาคม 2537 ที่ประเทศรวันดาในแอฟริกากลาง ชนเผ่าฮูตูที่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศได้ใช้อาวุธนานัปการเข่นฆ่าสังหารชาวตุตซี่ที่เป็นชนกลุ่มน้อยไปถึงครึ่งล้าน ภายหลังการโหมโฆษณาชวนเชื่อทั้งสื่อของรัฐและเอกชน โจมตี ดูถูกเหยียดหยามชาวตุตซี่ว่าเป็นพวกเลวร้าย

ในปี 2540 ศาลสหประชาชาติว่าด้วยอาชญากรรมนานาชาติกรณีรวันดา (United Nations International Criminal Tribunal for Rwanda - ICTR) ได้รับพิจารณาคำฟ้องต่อเจ้าของสื่อมวลชนในรวันดาสามคนในข้อหา “สังหารล้างเผ่าพันธุ์มนุษย์” (genocide) ประกอบด้วย Hassan Ngeze ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้ง ผู้พิมพ์ผู้โฆษณา และบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ Kangura (Wake Others Up!) ของฝ่ายฮูตู และในช่วงไม่กี่เดือนก่อนการสังหารหมู่ชาวตุตซี่ หนังสือพิมพ์หัวสีของเขาได้ตีพิมพ์บทความดูถูกเหยียดหยามชาวตุตซี่ว่าเป็น “แมลงสาบ” บ้าง แม้จะไม่ได้เรียกร้องชาวฮูตูให้สังหารชาวตุตซี่โดยตรงก็ตาม Ferdinand Nahimana และ Jean-Bosco Barayagwiza เป็นผู้ก่อตั้งสถานีวิทยุ Radio Télévision Libre des Milles Collines (RTLM) ซึ่งมีการเรียกร้องทั้งทางตรงและทางอ้อมให้มีการสังหารหมู่ประชาชนชาวตุตซี่ มีการให้ชื่อและที่อยู่ของคนที่จะถูกฆ่าด้วย

ในเดือนธันวาคม 2546 ศาล ICTR มีคำสั่งลงโทษบุคคลทั้งสามในข้อหายุยงโดยตรงและเปิดเผยให้มีการสังหารล้างเผ่าพันธุ์ ส่วนหนึ่งของคำสั่งศาลระบุว่า

“แม้จะไม่มีอาวุธปืน ไม่มีมีดดาบ หรืออาวุธใด ๆ พวกคุณ (สื่อมวลชน) ได้ทำให้พลเมืองที่บริสุทธิ์นับล้าน ๆ คนต้องตายไป”

“คดีนี้ชี้ให้เห็นหลักการสำคัญเกี่ยวกับบทบาทของสื่อมวลชน ซึ่งยังไม่มีการพิจารณาถึงเลยตั้งแต่การไต่สวนคดีที่นูเร็มเบิร์ก*** อำนาจของสื่อในการสร้างและทำลายคุณค่าพื้นฐานของมนุษย์มาพร้อมกับความรับผิดชอบที่ยิ่งใหญ่ คนที่ควบคุมสื่อต้องรับผิดชอบต่อผลการกระทำที่เกิดขึ้นด้วย”

“Without a firearm, machete or any physical weapon, you caused the deaths of thousands of innocent civilians.”

“This case raises important principles concerning the role of the media, which have not been addressed at the level of international criminal justice since Nuremberg. The power of the media to create and destroy fundamental human values comes with great responsibility. Those who control the media are accountable for its consequences.”

 

*ข้อ 20(2) การสนับสนุนให้เกิดความเกลียดชังในชาติ เผ่าพันธุ์ หรือศาสนา ซึ่งยั่วยุให้เกิดการเลือกปฏิบัติ การเป็นปฏิปักษ์ หรือการใช้ความรุนแรง เป็นสิ่งต้องห้ามตามกฎหมาย

**ข้อ 4 (a) จะประกาศให้การเผยแพร่ความคิดที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเหนือกว่าทางเชื้อ ชาติ หรือความเกลียดชังอันเกิดจากความแตกต่างทางเชื้อชาติ การช่วยกระตุ้นให้เกิดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ และการกระทำรุนแรงหรือกระตุ้นให้เกิดการกระทำรุนแรงนั้นต่อชนเชื้อชาติหนึ่ง เชื้อชาติใดหรือกลุ่มบุคคลที่มีสีผิวอื่นหรือเผ่าพันธุ์กำเนิดอื่น ตลอดจนการให้ความช่วยเหลือหรือสนับสนุนทางการเงินต่อกิจกรรมชาตินิยม เป็นการกระทำที่ต้องได้รับโทษตามกฎหมาย

***หลังสงครามโลกครั้งที่สองกรณีนาซี

 

อ่านรายละเอียดได้จาก http://www.ushmm.org/wlc/en/article.php?ModuleId=10007839

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

น้ำท่วม : โอกาสในวิกฤติ

Posted: 02 Nov 2011 07:39 AM PDT

ในวิกฤติน้ำท่วมปี พ.ศ.2554 นี้ ใครจะก่นด่า คร่ำครวญ โยนความผิดให้คนนั้นคนนี้ว่าเป็นเหตุให้ได้รับความเดือดร้อนจากอุทกภัยก็ตาม แต่ผมกลับมองเห็นโอกาสในวิกฤตินี้ เพราะหากเราสังเกตให้ดี การผจญอุทกภัยในครั้งนี้คนไทยเราค่อนข้างจะมีสติและรับสภาพที่เกิดขึ้นได้ค่อนข้างดีเลยทีเดียว บางคนอาจจะมองว่าอาจจะเป็นเพราะความเชื่อในคำสอนของพุทธศาสนา แต่ไม่จริงทีเดียวนักเพราะน้ำท่วมในครั้งนี้ท่วมไปหมดไม่ว่าจะเป็นบ้านสวนไร่นาของพี่น้องชาวพุทธ ชาวคริสต์ หรืออิสลาม(โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่อยุธยาและหลายพื้นที่ในกรุงเทพฯ) ซึ่งอาจสรุปได้ว่าเป็นลักษณะพิเศษของคนไทยใน พ.ศ.นี้โดยเฉพาะที่คนไทยเราส่วนใหญ่แล้วยังเป็นคนมองโลกในแง่ดีอยู่

เราอาจจะไม่มีระเบียบวินัยอย่างเคร่งครัดดังเช่นชาวญี่ปุ่นที่ประสบภัยสีนามิ แต่ในเรื่องของน้ำใจ ผมเชื่อว่าคนไทยที่มีให้กันไม่ได้ด้อยกว่าแน่นอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาพของขอทานที่ควักเงินออกจากกระป๋องใส่ตู้บริจาคตีพิมพ์ลงหน้า 1 ของหนังสือพิมพ์ The Sydney Morning Herald ของออสเตรเลียที่เผยแพร่ไปทั่วโลก ที่ไม่ค่อยมีน้ำใจให้กันเท่าใดนักก็เว้นแต่ฝ่ายค้านกับรัฐบาลที่ฉวยโอกาสทุกท่าที่จะโจมตีกันและกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งในโซเชียลเน็ตเวิร์คและสื่อทั่วไป โดยฝ่ายค้านก็ว่าฝ่ายรัฐบาลบริหารไม่เป็น ยักยอกของบริจาค ฝ่ายรัฐบาลก็โจมตีฝ่ายค้านว่ามัวแต่เล่นการเมืองไม่ช่วยกันแก้ปัญหาน้ำท่วม มิหนำซ้ำหัวหน้าพรรคฝ่ายค้านยังดอดหนีไปเที่ยวมัลดีฟเสียอีก ฯลฯ ซึ่งก็ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดาของการเมืองแบบน้ำเน่าที่ควรจะหายไปกับกระแสน้ำในครั้งนี้ได้แล้ว

แน่นอนว่าคนก็คือคนไม่ว่าจะเป็นไทยหรือคนชาติอื่น ที่ยังมีการลักเล็กขโมยน้อย มีการเบียดบังเอาของบริจาคไปให้พรรคพวกของตนหรือเข้ากระเป๋าตนเองก็คิดว่าคงจะมีบ้าง เพราะพวกนี้คือสัตว์นรกในร่างคนที่ไม่ต้องรอให้ตายไปก่อน ผลกรรมย่อมตามสนองให้เห็นทันตาอยู่แล้ว แต่เหนืออื่นใดคือการมองโลกในแง่ดีของคนไทยที่แม้ว่าในตอนแรกอาจจะเครียดอยู่บ้างเพราะการบริหารจัดการที่ไม่เป็นมวยเพราะต้องคอยตามแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเป็นวันๆ และเครียดที่ต้องคอยลุ้นว่าเมื่อใดน้ำจะมาถึงตนเสียที แต่เมื่อน้ำท่วมเข้ามาจริงๆแล้วกลับไม่มีการจลาจลหรือเกิดความวุ่นวายกันมากนัก อาจมีบ้างประปรายในเรื่องของคันกั้นน้ำที่ต่างฝ่ายต่างไม่ต้องการให้อีกฝ่ายสร้างเพราะจะไปท่วมเฉพาะที่ของตนเอง แต่ในที่สุดก็ไม่ลุกลามใหญ่โตแต่อย่างใดเพราะน้ำท่วมเสมอหน้ากันไปหมด

หากเราจะเปลี่ยนวิกฤติเป็นโอกาสด้วยการมองโลกในแง่ดี ด้วยการคิดเสียว่าน้ำท่วมครั้งนี้

1) เป็นการเปิดโอกาสให้พระโพธิสัตว์หรือผู้ใจบุญได้ปฏิบัติหน้าที่ เช่น คนจนได้ช่วยแรง คนรวยได้ช่วยเงิน เป็นต้น

2) เราได้มีโอกาสอยู่พร้อมกันทั้งบ้าน หลังจากไม่ได้ดูทีวีด้วยกันมานานแล้ว ใช้ชีวิตช้าลง ไม่ต้องออกไปไหน

3) ทำให้เรารู้ว่าสิ่งของต่างของเรานั้นสิ่งไหนมีความจำเป็นที่แท้จริงกับเรา เพราะเวลายกสิ่งของขึ้นสูงเราจะเลือกสิ่งนั้น อันไหนไม่สำคัญก็เอาไว้ยกทีหลังเพราะมันหนักและขี้เกียจ แต่หากจำเป็นต้องอพยพ เราจะนึกออกว่าอะไรคือของจำเป็นจริงๆกับเรา หรือเราคิดถึงสิ่งใดบ้างเมื่อต้องสละบ้านเรือนมา

4) หากไม่ได้อพยพไปไหนก็ทำให้เราเป็นอิสระในการทำกิจกรรมต่างๆ ไม่ต้องกลัวข้างบ้านรำคาญเพราะเสียงดัง ด้วยเหตุว่าข้างบ้านอพยพไปหมดแล้ว

5) ทำให้เราเรียนรู้วิธีใช้น้ำอย่างฉลาด เช่นใช้น้ำกันน้ำได้ เพราะเราสามารถใช้ถุงพลาสติกใส่น้ำวางได้ และถ้าต้องลุยออกจากบ้าน เราก้เอาถุงพลาสติกเล็กๆมัดรวมกันหลายถุงแล้วใส่ถุงใหญ่มัดอีกที แล้วทำเป็นทุ่นเกาะ ออกมาปากทางหมู่บ้านได้

6) ทำให้รู้วิธีซักผ้าเองด้วยมือ เพราะเครื่องซักผ้าถูกยกขึ้นที่สูงไปแล้วเพื่อหนีน้ำ และทำให้รู้คุณค่าของเสื้อผ้าแต่ละชุดที่จะใส่อีกด้วย

7) ได้ออกกำลังกายหลังจากที่ไม่ได้ออกกำลังมานาน เพราะจะต้องวันๆได้แต่ยกของ กรอกน้ำ วิดน้ำ ฯลฯ

8) ได้อยู่กับบ้านมากขึ้น เพราะต้องเฝ้าระวัง ต้องกับสิ่งของที่มี ออกไปช็อปปิงเพิ่มก็ไม่ได้ ทำให้เรารู้ว่าสมบัติข้าวของที่เรามีนั้นมากมายเกินกว่าจะระวังได้ทั่วถึง ในทางกลับกันก็เป็นช่วงระยะเวลาที่ดีที่เราจะต้องโละสิ่งของที่ไม่จำเป็นทิ้งไปบ้าง หรือเลือกที่จะเก็บอะไรไว้

9) ข้อดีที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือเราได้รอดพ้นภัยของซองกฐิน ผ้าป่า ที่ทำให้จิตใจเราต้องขุ่นมัวเมื่อถูกยัดเยียดหรือถูกบังคับโดยอ้อมให้ทำบุญในสิ่งที่เราไม่อยากทำ และเราจะไม่ต้องได้บาปเพิ่มขึ้นเพราะไม่ต้องก่นด่าในใจต่อผู้ที่เอาซองมาให้

10) ทำให้มีความรู้เพิ่มขึ้นกับการดูแผนที่แม่น้ำคูคลอง ทั้งจากการศึกษาด้วยตนเองและจากการดูโทรทัศน์(สำหรับบ้านที่ยังดูได้) อีกทั้งยังทำให้เรารู้ที่มาออกๆรายการกันนั้นน่ะ ใครมีกึ๋นหรือไม่มีกึ๋น

11) ทำให้เรารู้สึกตัวเป็นผู้ตื่นอยู่เสมอ เพราะต้องระวังภัยและศึกษาวิธีเอาตัวรอดจากสัตว์ร้ายต่างๆ เช่น งู จระเข้ ปลิง ยุง ฯลฯ

12) เป็นช่วงเวลาที่ได้ทบทวนทักษะการว่ายน้ำหลังจากเรื้อไปนาน

13) ทำให้ได้บรรยากาศหรือประสบการณ์ใหม่ๆ โดยเปลี่ยนจากขึ้นรถมาลงเรือแทน

14) ทำให้ปัสสาวะง่ายขึ้น คือ ฉี่ลงน้ำ(กรณีอยู่บนบ้าน)หรือฉี่ในน้ำเสียเลย(กรณีลุยน้ำ)

15) ทำให้สวนที่บ้านเลิกรก เพราะตอนที่น้ำท่วมก็ราบเรียบโล่งตา หลังจากน้ำลดก็ต้องจัดใหม่ ซึ่งแน่นอนว่าต้องสวยกว่าเก่า(ถ้ายังไม่หมดตัวเสียก่อน)

16) ทำให้เรารู้จักตัวเองมากขึ้น(อันนี้ดีมาก) กรณีที่ต้องอยู่เงียบๆคนเดียวเป็นเวลานานๆ

17) ทำให้เราได้รู้จักผู้คนมากขึ้นในกรณีที่ต้องไปอยู่ที่ศูนย์อพยพฯ แม้ว่าบางคนโทรศัพท์มือถือจะหายก็ตาม ก็ถือเสียว่าอย่างน้อยที่ชาร์จแบตเตอรียังอยู่ คราวต่อไปซื้อโทรศัพท์เครื่องใหม่รุ่นเดียวกันจะได้มีที่ชาร์จ 2 อัน

18) ทำให้หมดปัญหาเรื่องความขัดแย้งระหว่างสีต่างๆ ไม่ว่าสีเหลือง สีแดง หรือสีซ่าหริ่ม เพราะไม่มีเวลามาคิดเรื่องพวกนี้ ทำให้ต้องหันหน้าเข้าหากันโดยอัตโนมัติ (ยกเว้นไอ้พวกที่ไม่ถูกน้ำท่วมที่ยังหลงละเมอเพ้อพกอยู่ แต่ก็น้อยแล้ว)

จากที่กล่าวมานี้เป็นเพียงส่วนเล็กน้อยที่นึกขึ้นได้ และผมเชื่อว่าในวิกฤติย่อมมีโอกาสเสมอ อยู่ที่เราจะสามารถมองเห็นและนำไปปรับใช้ให้เข้ากับชีวิตเราได้มากน้อยแค่ไหน เพียงได ใช่ไหมครับ

 

-------------------

หมายเหตุ เผยแพร่ครั้งแรกในกรุงเทพธุรกิจฉบับประจำวันพุธที่ 23 พฤศจิกายน 2554

 

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ชาวอียิปต์ชุมนุมประท้วงร้องปล่อยตัวบล็อกเกอร์ที่ถูกทหารจับ

Posted: 02 Nov 2011 07:30 AM PDT

เอล ฟาตาร์ บล็อกเกอร์ชื่อดังของอียิปต์ถูกทหารจับข้อหายุยงให้เกิดความรุนแรงในกรณีสังหารหมู่มาสปิโร เมื่อต้นเดือน ต.ค. ที่ผ่านมา โดยจะถูกนำตัวขึ้นศาลทหาร ขณะเดียวกันกลุ่มนักสิทธิมนุษย์ชนและนักกิจกรรมอียิปต์และตูนีเซียต่างเรียกร้องให้ปล่อยตัว และมีการสืบสวนจากหน่วยงานอิสระ เนื่องจากทหารก็มีส่วนในเหตุรุนแรงดังกล่าว

1 พ.ย. 2011 - ชาวอียิปต์ออกมาชุมนุมให้กำลังใจ อะลา อับดฺ เอล ฟาตาห์ บล็อกเกอร์และนักกิจกรรมที่ถูกกุมขังเป็นเวลา 15 วันแล้ว หลังจากที่ทหารได้ตั้งข้อกล่าวหาว่าเขาเป็นผู้ยุยงให้เกิดเหตุรุนแรงในวันที่ 9 ต.ค. หรือที่เรียกว่าเหตุการสังหารหมู่ มาสปิโร
 
เอล ฟาตาห์ ถูกทหารจับกุมตัวแต่ก็ไม่ได้ตอบคำถามใดๆ แต่ขอร้องให้มีการสืบสวนคดีในชั้นศาลพลเรือน และบอกอีกว่าการที่กองทัพเข้ามาสืบสวนคดีที่ตนมีส่วนเกี่ยวข้องขัดกับหลักกฏหมาย
 
เอล ฟาตาห์ และนักกิจกรรมรายอื่นๆ บอกอีกว่าพวกเขาถูกจับเป็นแพะรับบาป และทหารมีส่วนเกี่ยวข้องกับการสังหารประชาชนอย่างน้อย 27 ราย และเป็นเหตุให้อีกมากกว่า 200 รายได้รับบาดเจ็บ นอกจากเอล ฟาตาห์ แล้ว ยังมีนักกิจกรรมอีกรายหนึ่งคือ บาฮาร์ ซาเบอร์ ก็ถูกทหารตั้งข้อหายุยงให้เกิดความรุนแรงเช่นกัน
 
เหตุการณ์สังหารหมู่มาสปิโรเกิดขึ้นในวันที่ 9 ต.ค. ที่ผ่านมา โดยกลุ่มชาวอียิปต์ราว 10,000 คนได้ชุมนุมอย่างสงบก่อนที่จะถูกล้อมโดยทหารและรถถังของกองทัพอียิปต์ เมื่อมีเสียงปืนดังขั้นทหารก็ยิงกราดมั่วและมีการนำรถถังแล่นทับประชาชน มีรายงานว่ามีกลุ่มนักเลงติดอาวุธเข้ามามีส่วนในเหตุชุลมุนครั้งนี้ด้วย แต่ทางผู้เห็นเหตุการณ์ก็เล่าว่าทหารยอมให้กลุ่มคนติดอาวุธผ่านเข้ามาในพื้นที่
 
วาเอล แอบบาส บล็อกเกอร์ที่มีชื่อเสียงอีกคนหนึ่งของอียิปต์ เพื่อนของเอล ฟาตาห์ บอกว่าเขาต่อต้านการนำพลเรือนขึ้นศาลทหารมาตั้งแต่คดีแรกเกิดขึ้นแล้ว
 
"ตอนนี้คุณก็เห็นแล้วว่า ทุกคนถูกดำเนินคดีโดยกองทัพกันหมด รวมถึงนักข่าวและบล็อกเกอร์ด้วย" วาเอลกล่าว "ผมคิดว่าสภากองทัพเริ่มทำตัวเป็นฝ่ายต่อต้านการปฏิวัติเข้าไปทุกที"
 
องค์กรต่างชาติเช่นองค์กรนิรโทษกรรมสากลและคณะกรรมการเพื่อการคุ้มครองผู้สื่อข่าว (CPJ) ก็สงสัยในแง่นี้เช่นกัน โดยเมื่อวันจันทร์ (1 พ.ย.) ที่ผ่านมาองค์กรนิรโทษกรรมสากลก็เรียกร้องให้รัฐบาลอียิปต์หยุดจับกุมตัวประชาชนขึ้นศาลทหาร โดยยังเปิดเผยอีกว่ามีประชาชนอีก 28 รายที่ถูกจับกุมและตั้งข้อกล่าวหาในแนวเดียวกัน คือถูกโยงเข้าไปเกี่ยวกับเหตุการณ์มาสปิโร
 
"กองทัพอียิปต์เองก็มีส่วนในการใช้ความรุนแรงในเหตุการณ์มาสปิโร แต่ยังทำการสืบสวนการนองเลือดในครั้งนี้เสียเอง" ฟิลิปส์ ลูเธอร์ รักษาการผู้อำนวยการขององค์กรนิรโทษกรรมสากลหน่วยงานตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือกล่าว เขายังบอกอีกว่า กองทัพอียิปต์ควรอนุญาตให้มีการสืบสวนโดยหน่วยงานอิสระต่อกรณีเหตุการณ์สังหารประชาชนในวันนั้นถ้าหากกองทัพจริงจังกับการจับผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมจริง
 
ด้านคณะกรรมการเพื่อการคุ้มครองผู้สื่อข่าว (CPJ) เรียกร้องให้มีการปล่อยตัว เอล ฟาตาห์ โดยทันทีและอย่างไม่มีเงื่อนไข โดยยังได้กล่าวเน้นถึงการวิพากษ์วิจารณ์กองทัพในบล็อกของเขาด้วย ในบทความที่ลงหนังสือพิมพ์เอกชน อัล-โชรุค เมื่อวันที่ 20 ต.ค. ที่ผ่านมา เอล ฟาตาห์เขียนเกี่ยวกับช่วงเวลาที่อยู่ในห้องเก็บศพกับครอบครัวของผู้ที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์ 9 ต.ค.
 
โมฮัมเม็ด อับเดล ดาเยม ผู้ประสานงาน CPJ หน่วยงานตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือกล่าวว่า นี้เป็นการเสแสร้งของสภากองทัพอียิปต์ที่ทำตัวเป็นผู้ปกป้องการปฏิวัติ โดยการพยายามใช้ศาลทหารข่มขู่เสียงวิพากษ์วิจารณ์และวางแผนจับดำเนินคดี แทนที่จะตอบคำถามสำคัญที่มีคนสงสัยเกี่ยวกับตัวพวกเขา
 
สภาคณะทหารสูงสุดของอียิปต์ (SCARF) ได้หันเหความสนใจมาสู่กลุ่มผู้ชุมนุม แทนที่จะตรวจสอบบทบาทของเจ้าหน้าที่ในการสังหารผู้ชุมนุม ภาพวิดิโอเหตุการณืวันนั้นแสดงให้เห็นชัดว่ายานยนต์ของทหารได้แล่นทับกลุ่มผู้ชุมนุม และเจ้าหน้าที่ก็เปิดฉากยิงเข้าใส่ผู้ชุมนุมด้วย
 
กลุ่มผู้ชุมนุมหลายพันคนออกมาชุมนุมสนับสนุนบล็อกเกอร์รายนี้ในวันจันทร์ (31 ต.ค.) ที่ผ่านมา และสัญญาว่าจะยังคงออกมาชุมนุมตราบใดที่เขายังคงถูกกุมขังอยู่
 
ไม่เพียงแค่ในอียิปต์เท่านั้น ในตูนีเซียก็มีประชาชนหลายสิบคนออกมาชุมนุมหน้าสถานฑูตอียิปต์ในวันจันทร์ (31 ต.ค.) ซึ่งเหล่านักกิจกรรมโลกไซเบอร์ของอียิปต์กับตูนีเซียต่างก็มีการแลกเปลี่ยนกันในเรื่องแรงจูงใจ
 
มีเพื่อนและนักกิจกรรมทั้งในและนอกประเทศต่างเปลี่ยนรูปอวาตาร์ในทวิตเตอร์โดยการติด "ทวิบบิน" และใช้แฮชแท็ค #FreeAlaa ในการณรงค์ปล่อยตัวบล็อกเกอร์รายนี้
 
มีบล็อกเกอร์อีกรายที่ถูกจับขึ้นศาลทหารในช่วงบ่ายวันอังคาร (1 พ.ย.) ที่ผ่านมา คือ ไมเคล นาบิล ผู้ที่คัดค้านการที่กองทัพใช้สิทธิดำเนินคดีประชาชน แต่รายนี้ได้รับความสนใจจากนักกิจกรรมน้อยกว่า นาบิล ยังได้เคยอดอาหารประท้วงเป็นเวลา 70 วันด้วย
 
"พวกเราหวังว่ากองทัพจะคอยอยู่ข้างๆ และสนับสนุนการปฏิวัติของพวกเรา" นาบิล เขียนในคำแถลงของเขาในเฟสบุ๊ค เมื่อวันที่ 1 พ.ย. "แต่โชคร้ายที่กองทัพเลือกจะกดทับการปฏิวัติแของพวกเรา และต่อสู้ปราบปรามเหล่านักปฏิวัติ"
 
วาเอล อับบาส เปิดเผยว่าเหตุที่นักกิจกรรมรายอื่นๆ รั้งรอและไม่ค่อยให้การสนับสนุนนาบิล เนื่องจากมุมมองต่อกรณีอิสราเอลของเขา
 
  
ที่มา
Egyptians protest over blogger's arrest, Aljazeera, 02-11-2011
http://english.aljazeera.net/news/middleeast/2011/11/201111145540459856.html

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

จาก ‘One No, Many Yeses’ ถึง ‘We are the 99%’ : หนังโป๊ม้วนเก่าเอามาฉายใหม่

Posted: 02 Nov 2011 06:49 AM PDT

หนึ่งเดือนหลังการ “ยึดวอลล์สตรีท” (Occupy Wall Street) ได้เริ่มต้นขึ้น ดูเหมือนกระแสตื่นเต้น ตื่นตาตื่นใจ และ ตื่นตูม กับขบวนการ “ยึดวอลล์สตรีท” นับวันก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้น ตามแต่ว่าผู้สังเกตการณ์จะเป็นฝ่ายใด ในขณะที่ฝ่ายขวาอเมริกันหลายคนเลือกที่จะตื่นตูมกับขบวนการนี้จนล่าสุดถึงกับต้องเข็นโครงการ ‘We are the 53%’ มาสู้กับสโลแกน‘We are the 99%’ ของขบวนการยึดวอลล์สตรีท บรรดาแอคทิวิสต์หลายต่อหลายคนก็ยังคงกระแสตื่นเต้นกับการยึดวอลล์สตรีทกันต่อไป และแน่นอน นักวิชาการชื่อดังหลายคนต่างก็เข้าร่วมวงอวยชัยให้แก่การยึดวอลล์สตรีทตามๆกันไปด้วย [อาทิ บทความของ Zizek และ Wallerstein ในประชาไท]

สิ่งที่น่าสังเกตในการวิเคราะห์อวยชัยของนักวิชาการบางท่านคือ แนวคิดที่นำเสนอการยึดวอลล์สตรีทว่า เป็นปรากฏการณ์ใหม่ เป็นอุบัติการณ์ใหม่ เช่น Zizek อธิบายการยึดวอลล์สตรีทว่าเป็นการเริ่มต้นที่เราจะจินตนาการถึงโลกอื่นที่มิได้ครอบงำด้วยทุนนิยม เรากำลังจะติดอาวุธด้วยหมึกแดงหมึกน้ำเงิน ฯลฯ ในขณะที่วอลเลอชไตน์ถึงกับเรียกการยึดวอลล์สตรีทครั้งนี้ว่า เป็นอุบัติการณ์ทางการเมืองในสหรัฐฯที่ยิ่งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ ปี 1968 เลยทีเดียว

ตามจริงแล้ว มิใช่เฉพาะปูชณียปัญญาชนเหล่านี้ที่เน้นย้ำถึงความ “ใหม่” ของขบวนการยึดวอลล์สตรีท บรรดาแอคทิวิสต์ร่วมเจตนารมณ์และผู้สนใจต่างๆจำนวนมากก็อยู่ในบรรยากาศของความคิดที่ว่า เรากำลังพบเห็นการประท้วงแบบ “ใหม่” อยู่เช่นกัน อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนต้องการเสนอว่า วัฒนธรรมการเมืองของขบวนการยึดวอลล์สตรีท ไม่ว่าจะเป็นยุทธวิธี การอ้างความชอบธรรม แนวคิด ฯลฯ มิใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใดเลย หากแต่เป็นหนังโป๊เรื่องเก่าตั้งแต่ยุค 1990s จนถึงต้น 2000s กลับมาฉายซ้ำใหม่ในเวลาสิบปีให้หลังเท่านั้น

ขบวนการต่อต้านโลกาภิวัฒน์ และ ขบวนการยึดวอลล์สตรีท คล้ายกันอย่างไรบ้าง?
หลังสงครามเย็นสิ้นสุดลง บรรดาแอคทิวิสต์ฝ่ายซ้ายเริ่มเปลี่ยนเข็มทิศการต่อสู้ จากการต่อต้านจักวรรดินิยมอเมริกันและทุนนิยมในสภาวะโลกสองขั้ว กลายมาเป็นการรวมตัวเพื่อต้านสิ่งที่พวกเขาเรียกว่า “โลกาภิวัฒน์” ซึ่งเป็นการเบนเข็มทิศมาหาศัตรูที่มีลักษณะคลุมเคลือ (vague) และคลอบคลุมความหมายกว้าง (broad) ยิ่งไปกว่าจักรวรรดินิยมอเมริกันในยุคสงครามเย็นอีก สิ่งที่น่าสนใจคือ การต่อต้าน “โลกาภิวัฒน์” ในโลกหลังสมัยใหม่ (postmodernist) นี้ คลุมเครือเกือบๆ เท่ากับโลกาภิวัฒน์ของพวกเขาเลยทีเดียว ตามจริงแล้ว ความคลุมเครือนี้เองคือธีม (theme) สำคัญของขบวนการเคลื่อนไหวในโลกหลังสมัยใหม่มาตลอด ตั้งแต่การต่อต้านโลกาภิวัฒน์ยันการยึดครองวอลล์สตรีท

ขบวนการต่อต้านโลกาภิวัฒน์มักจะมีเป้าหมายที่เรียงกันยาวเกือบจะเป็นย่อหน้าหนึ่งๆได้ เช่น สิทธิแรงงาน การรักษาไว้ซึ่งวิถีชีวิตของชุมชนชนบท สิทธิของชาวบ้านท้องถิ่นและ “คนชายขอบ” สิทธิของคนร่วมเพศ สิทธิผู้หญิง สิทธิของคนผิวสี นอกจากนี้ ยังมีแนวคิดสนับสนุนสิ่งแวดล้อม สนับสนุนความหลากหลายทางวัฒนธรรม ฯลฯ ผู้เขียนขอยกตัวอย่างแถลงการณ์ต่อต้านทุนนิยมฉบับหนึ่งของซาปาติสต้า ซึ่งบรรดานักต่อต้านโลกาภิวัฒน์ถือว่าเป็นขบวนการต่อต้านโลกาภิวัฒน์ “ตัวพ่อ” นั้น ในแถลงการณ์นั้นประกาศยืดยาวว่าซาปาติสต้ายืนอยู่เคียงข้าง องค์กรทางการเมือง, นักศึกษา, ชนเผ่า, ปัญญาชน, นักดนตรี, กรรมาชน, ครูบาอาจารย์, ชาวนา, คนหนุ่มคนสาว, สื่อทางเลือก, ผู้รักสิ่งแวดล้อม, เลสเบี้ยน, คนรักร่วมเพศ, นักสิทธิสตรี, และผู้ต่อต้านสงคราม…

นี่คือตัวอย่างความคลุมเครือและกว้างขวางอย่างมหาศาลของขบวนการต่อต้านโลกาภิวัฒน์ พวกเขาชื่นชอบที่จะอ้างว่าขบวนการของตนประกอบด้วยคนหลายต่อหลายกลุ่มที่มาร่วมกันต่อต้านศัตรูตัวเดียวกัน เป็นการรวมกันโดยการสร้างศัตรูร่วมกันมากไปกว่าจะสร้างเป้าหมายหรือข้อเรียกร้องร่วมกัน ผลที่ได้คือขบวนการที่เต็มไปด้วยตัวแทนหลายกลุ่มและหลายข้อเรียกร้อง – คล้ายกับขบวนการยึดวอลล์สตรีท ที่โฆษณาความหลากหลายของขบวนการของตนมาตลอด

นอกจากนี้ ขบวนการต่อต้านโลกาภิวัฒน์ยังมีแนวคิดที่คล้ายกับขบวนการยึดวอลล์สตรีทอีกประการหนึ่งคือ การอ้างว่าตนเองคือคนทั้งโลก

บรรดาผู้ต่อต้านโลกาภิวัฒน์ในยุคปลาย 1990s และต้น 2000s มักถือเอาแนวคิด “จักรวรรดิ ปะทะ มหาชน” อันบุกเบิกโดยสองนักคิด Hardt และ Negri เป็นแนวคิดสำคัญในการอธิบายการต่อสู้ของพวกตนต่อโลกาภิวัฒน์

แนวคิด “จักรวรรดิ ปะทะ มหาชน” นี้พัฒนาขึ้นจากงานของ Michael Hardt และ Antonio Negri อันโด่งดังที่ชื่อ Empire (จักวรรดิ) ตีพิมพ์ในปี 2000 ซึ่ง จักวรรดิ ตีความโลก (ในยุคสมัยนั้น) ว่าคือโลกที่แบ่งด้วยการต่อสู้ของคนสองกลุ่ม ฝ่ายหนึ่งเรียกว่า “จักวรรดิ” (Empire) อันประกอบด้วยมหาอำนาจทุนนิยมและบรรษัททุนนิยมทั้งหลายรวมกัน แต่จักรวรรดินี้ถือเป็นส่วนน้อย เพราะอีกฝ่ายหนึ่งคือ “มหาชน” (Multitude) อันประกอบด้วยประชาชนทั้งโลกนั่นเอง “มหาชน” นี้ก็คือผู้ที่อยู่ภายใต้ระบอบจักรวรรดิทุนนิยมและต่อต้านระบอบนั้นๆ ประกอบด้วยคนหลายชาติและหลายกลุ่ม

แนวคิดแบบ “โลกสองขั้ว” ว่าตนเองคือตัวแทนประชาชนทั้งโลกที่กำลังต่อสู้กับอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเป็นตัวแทนมหาอำนาจจักรวรรดิทุนนิยมนั้น จึงก่อให้เกิดสโลแกนของบรรดาแอคทิวิสต์ต่อต้านโลกาภิวัฒน์ในสมัยนั้นว่า “One No, Many Yeses – หนึ่งเสียงที่ไม่เอา(ความเปลี่ยนแปลง) หลายเสียงที่เอา (ความเปลี่ยนแปลง” และ “We Are Everywhere – พวกกูอยู่ทุกที่” สโลแกนที่ขบวนการต่อต้านโลกาภิวัฒน์เหล่านี้ใช้เวลาไปประท้วงกลุ่มประเทศ G8 ก็ใช้คำว่า “You are G8. We are Six Billion – พวกมึงเป็นแค่แปดจี พวกกูคือคนหกพันล้าน”

โปรดสังเกตความเหมือนกันในการอ้างตนว่าคือคนทั้งโลกของทั้งสองขบวนการ สำหรับขบวนการยึดวอลล์สตรีทเองก็มีสโลแกนที่โด่งดังไปทั่วแล้วตอนนี้ว่า “We are the 99% - พวกกูคือคน 99%”

นอกจากการอ้างพวกของทั้งสองขบวนการแล้ว ยุทธวิธีของขบวนการต่อต้านโลกาภิวัฒน์ยังคล้ายคลึงกับขบวนการยึดวอลล์สตรีทด้วยเช่นกัน คือ ยึด

การยึดในที่นี้ของขบวนการต่อต้านโลกาภิวัฒน์ส่วนใหญ่คือการยึดพื้นที่เมื่อมีการประชุมของสถาบันการเงินหรือกลุ่มองค์การที่เกี่ยวข้องกับระบบทุนนิยมข้ามชาติต่างๆ เช่น องค์การการค้าโลก (WTO) หรือกลุ่มประเทศอุตสาหกรรม 8 ประเทศ (Group of 8 หรือ G8) การยึดของขบวนการต่อต้านโลกาภิวัฒน์ก็ประกอบด้วยการจัดให้มีห้องสมุดประชาชนหรือห้องเรียนประชาชนไม่ต่างจากที่ขบวนการยึดวอลล์สตรีทกำลังทำอยู่ในปัจจุบัน

แม้แต่แนวคิดการประท้วงโดยไม่มีอำนาจส่วนกลาง ไม่มีพรรคการเมือง ไม่มีส่วนชี้นำ ไม่มีสามัคคีภาพใดๆทั้งสิ้นในเชิงองค์กร ก็มีเหมือนกันในทั้งขบวนการต่อต้านโลกาภิวัฒน์และขบวนการยึดวอลล์สตรีท มิใช่เรื่องใหม่หรืออุบัติการณ์แห่งทศวรรษเราแต่อย่างใด

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เหมือนกันมากที่สุด – และมีปัญหาที่สุดในความเห็นของผู้เขียน – ระหว่างขบวนการต่อต้านโลกาภิวัฒน์และขบวนการยึดวอลล์สตรีทคือ ความสามารถ(?)ในการเชื่อมโยงจุดต่างๆที่ไม่เกี่ยวกันให้เป็นรูปภาพได้เสมอ พวกเขาทั้งสองขบวนมีความสามารถในการเชื่อมโยงเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองที่เกิดขึ้นเป็นหย่อมๆทั่วโลก ให้เป็นเนื้อเรื่องเดียวกันได้ คือ การปฏิวัติทั่วโลกอันเป็นหนึ่งเดียว

ในขณะที่ขบวนการต่อต้านโลกาภิวัฒน์ตีความว่า โลกกำลังปะทุด้วยการต่อต้านจักวรรดิทุนนิยมจากมหาชน เห็นได้จาก การจลาจลที่ Seattle การเรียกร้องของบรรดาแรงงาน ไปจนถึง การต่อสู้ของซาปาติสต้า ขบวนการยึดวอลล์สตรีทก็กำลังอ้างว่า โลกกำลังปะทุด้วย “โลกาปฏิวัติ” (Global Revolution) โดยอ้างเนื้อเรื่องที่ประกอบด้วยการเชื่อมโยงของการประท้วงในสเปนไปจนถึงการปฏิวัติอาหรับและอัฟริกาเหนือ โดยไม่ต้องสนเนื้อหาสาระและความแตกต่างของแต่ละเหตุการณ์ ขอให้อ้างเป็นหนึ่งเดียวได้ก็พอ บางคนที่สนับสนุนแนวคิด “โลกาปฏิวัติ” ถึงกับนับการจลาจลและปล้นสดมภ์ที่ลอนดอนเข้าไปด้วยว่าเป็นอีกหนึ่งการต่อต้านทุนนิยม ชวนให้ผู้เขียนนึกสงสัยว่าถ้าหากประเทศยังอยู่ในช่วงที่พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยออกมาต่อต้านรัฐบาลทักษิณ ผู้สนับสนุนการยึดวอลล์สตรีทอาจจะสรรเสริญไปด้วยกระมังว่า เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของการต่อต้านทุนนิยมสามานย์ (!)

ความสามารถแบบพิศดารของทั้งสองขบวนการนั้น ผู้เขียนขอเรียกว่าคือการ “เห็นผี” ชนิดหนึ่งที่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า “พาไรโดเลีย – Pareidolia” การ “เห็นผี” แบบพาไรโดเลียนั้น กล่าวกันว่าเป็นการเห็นผีที่พบบ่อยที่สุด กล่าวคือ เป็นการเห็นหน้าคนโดยอัตโนมัติในที่ที่ไม่มีหน้าคนอยู่ เพียงแค่มีจุดไม่กี่จุด สมองของเราก็ปะติดปะต่อเป็นหน้าคนแล้ว ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตคงคุ้นเคยดีกับอิโมติค่อน : - ) ที่เราเห็นเป็นหน้าคนยิ้ม ทั้งที่ความเป็นจริง เป็นเพียงเครื่องหมายวรรคตอนเรียงติดกันเท่านั้น นอกจากนี้ ภาพถ่ายกลุ่มควันขณะที่ Central World ถูกเผาเมื่อปีที่แล้วก็มีคนมองเห็นหน้าคน(หรือหน้าปีศาจ)ในกลุ่มควันดังกล่าว และที่โด่งดังไปทั่วโลกคือ “ใบหน้าบนดาวอังคาร” ซึ่งความจริงแล้วเป็นเพียงมุมกล้องและแสงเงาที่เล่นตลกทำให้เราเห็นหน้าคนบนพื้นดาวอังคารเท่านั้น

ทำไมปรากฏการณ์พาไรโดเลียจึงเกิดขึ้น? หลายท่านอธิบายว่าเป็นเพราะสมองของมนุษย์ในฐานะที่เป็นผู้ถูกล่าในสมัยดึกดำบรรพ์ถูกบังคับให้ต้องมองหาใบหน้าของผู้ล่าเสมอ ไม่ว่าจะในร่มไม้ตามป่ารกชัฎหรือในความมืด แค่มีจุดเล็กน้อยที่เราปะติดปะต่อว่าเป็นใบหน้า สมองของเราก็สังเกตเห็นแล้ว (ผู้ที่สมองไวไม่พอที่จะปะติดปะต่อใบหน้าได้ ถูกจับกินจนหมดสิ้นไปนานแล้ว)

ปรากฏการณ์ “เห็นผี” ของแอคทิวิสต์และผู้ที่สนับสนุนแนวคิด “โลกาปฏิวัติ” ซึ่งนำโดยการยึดครองวอลล์สตรีทนี้ ก็ไม่ต่างจากแอคทิวิสต์ที่ตื่นเต้นกับขบวนการต่อต้านโลกาภิวัฒน์เมื่อสิบปีที่แล้ว สำหรับบางคนแล้ว สมองของพวกเราถูกบังคับให้ดิ้นรนหาใบหน้าของโลกใหม่ที่พวกเขาอยากเห็นตามแฟนตาซีที่พวกเขามีเสมอ

ทั้งขบวนการต่อต้านโลกาภิวัฒน์และขบวนการยึดวอลล์สตรีท จึงเป็นเสมือนหนังโป๊ที่กลับมาฉายใหม่ เพื่อตอบสนองแฟนตาซีของคนกลุ่มนี้ได้เรื่อยๆนั่นเอง

ตอนแรกผู้เขียนตั้งใจจะจบการแสดงความเห็นตรงนี้ แต่ผู้เขียนเริ่มได้ยินคำถามบ้างแล้วว่า ขบวนการยึดวอลล์สตรีทครั้งนี้จะลงเอยอย่างไร เนื่องจากผู้เขียนเห็นว่าขบวนการยึดวอลล์สตรีทก็ไม่ต่างจากขบวนการต่อต้านโลกาภิวัฒน์ ผู้เขียนจึงอยากชี้ให้เห็นว่าขบวนการต่อต้านโลกาภิวัฒน์ลงเอยด้วยการหมดบทบาทลงเรื่อยๆ ในการประท้วงการประชุมกลุ่ม G8 ในปี 2001 นั้น มีผู้เข้าร่วมการประท้วงถึง 250,000 คน ในขณะที่ประท้วง FTA ที่เมืองไมอามี่ในปี 2003 หรือเพียงไม่กี่ปีให้หลัง มีผู้เข้าร่วมการประท้วงเหลือเพียง 10,000 และในการประท้วงแต่ละครั้งหลังจากนั้น ก็เริ่มลดจำนวนลงเรื่อยๆ ขณะเดียวกัน การเคลื่อนไหวต่างๆก็มิได้เป็นไปตลอด หรือยิ่งใหญ่จนนำไปสู่การล่มสลายของโลกาภิวัฒน์ตามที่ได้เคยวาดฝันกันไว้ จนในปัจจุบันเหลือเป็นเพียงการรวมตัวเพื่อประท้วงการประชุม G8 หรือ WTO เป็นครั้งคราว จนมีผู้เรียกกลุ่มนี้ว่าเป็น “ตั๊กแตนที่กระโดดไปตามที่ประชุม” (summit-hopper) เท่านั้น

ถ้าขบวนการยึดวอลล์สตรีทไม่ต่างนักจากขบวนการต่อต้านโลกาภิวัฒน์ตามที่ผู้เขียนวิเคราะห์จริง จุดจบก็คงคล้ายกัน คือลดบทบาทกลายเป็นเงาที่คอยหลอกหลอนระบบทุนนิยมที่ยังตั้งตระหง่านอยู่ต่อไปเท่านั้น

คำพูดของนักปราชญ์เยอรมันท่านหนึ่งที่เคยกล่าวไว้ว่า เมื่อประวัติศาสตร์ซ้ำรอยนั้น เหตุการณ์ครั้งแรกคือโศกนาฎกรรรม ครั้งที่สองคือเรื่องโปกฮาแป้กๆ ก็คงกลับมาหลอกหลอนหลายคนอีกครั้ง

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

"สุกำพล" คาดวางกระสอบทรายยักษ์เสร็จ 5 พ.ย. หวังกั้นน้ำเข้า กทม. ทิศเหนือ

Posted: 02 Nov 2011 05:35 AM PDT

รมว.คมนาคมเผยวางกระสอบทรายยักษ์ไปแล้วราว 2 กม. คาดจะวางครบ 6 กม. ภายใน 5 พ.ย. นี้ คาดจะทำให้ลดปริมาณน้ำเข้าคลองเปรมประชากร และดอนเมือง ทำให้บริหารจัดงานน้ำใน กทม. ทิศเหนือ-ตะวันออกได้ดีขึ้น

มติชนออนไลน์ รายงานวันนี้ (2 พ.ย. 54) ว่า พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม แถลงความคืบหน้าการวางแนวกระสอบทรายยักษ์ ป้องกันน้ำเหนือไหลบ่าเข้ากรุงเทพฯด้านเหนือ ว่า ขณะนี้ได้วางแนวกระสอบยักษ์จากประตูระบายน้ำจุฬาลงกรณ์ ได้แล้วราว 2 กิโลเมตร ซึ่งวันเดียวกันนี้ได้ขนกระสอบทรายเพิ่มอีก 400 ใบ ไปทางรางรถไฟสายอยุธยา เพื่อนำกระสอบทรายไปวางตามแนวขนานกับรางรถไฟ โดยล่าสุดทางกระทรวงคมนาคมจะมีการปิดกั้นน้ำระยะทาง 6 กิโลเมตร จากประตูระบายน้ำจุฬาลงกรณ์ถึงสถานีรถไฟดอนเมือง

ซึ่งคาดว่าจะใช้กระสอบทรายยักษ์ราว 6,000 ลูก และกระสอบทรายขนาดเล็กราว 600,000 ลูก ในการกั้นน้ำไม่ให้ไหลเข้าพื้นที่ทางเหนือของกรุงเทพฯ ทั้งนี้คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในวันที่ 5 พฤศจิกายนนี้ หากสำเร็จไม่มีอุปสรรคใดจะทำให้ปริมาณน้ำในคลองเปรมประชากรลดลง และลดปริมาณน้ำเข้าทางดอนเมืองด้วย ซึ่งหลังจากนั้นกรุงเทพมหานคร (กทม.) จะบริหารจัดการฝั่งกรุงเทพฯเหนือและกรุงเทพฯตะวันออกได้ดีขึ้น

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

'สมานฉันท์แรงงานไทย' แนะมาตรการช่วยคนงาน จี้รัฐบาล อย่าลอยแพ

Posted: 02 Nov 2011 02:06 AM PDT

(2 พ.ย.54) คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) โดยชาลี ลอยสูง ประธาน คสรท. แถลงข่าวข้อเสนอมาตรการช่วยเหลือแรงงาน โดยให้ข้อมูลว่า จากสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ 20 จังหวัด ทำให้ผู้ใช้แรงงานได้รับผลกระทบ 752,439 คน สถานประกอบการโรงงานได้รับความเสียหาย 19,251 แห่ง นิคมอุตสาหกรรมน้ำท่วม 7 แห่ง ได้แก่ นิคมสหรัตนนคร จ.อยุธยา นิคมโรจนะ จ.อยุธยา นิคมไฮเทค จ.อยุธยา นิคมบางปะอิน จ.อยุธยา นิคมแฟคตอรี่แลนด์ จ.อยุธยา นิคมนวนคร จ.ปทุมธานี นิคมบางกะดี จ.ปทุมธานี

ชาลีระบุว่า วิกฤตการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นนี้จะต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย การวางมาตรการในการแก้ไขปัญหาผู้ใช้แรงงานในภาคอุตสาหกรรมแรงงานนอกระบบ เกษตรกร คนจนเมือง จะต้องได้รับการช่วยเหลืออย่างเป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ ผู้ใช้แรงงานและองค์กรแรงงานควรมีส่วนร่วมในทุกระดับ ครอบคลุมแรงงานในทุกภาคส่วน มีผลบังคับใช้ต่อนายจ้างที่เป็นผู้ประกอบการโดยตรง และนายจ้างรับเหมาค่าแรง โดย คสรท. มีข้อเสนอต่อการกำหนดนโยบายและมาตรการผลกระทบจากน้ำท่วม ดังต่อไปนี้

1. ข้อเสนอต่อมาตรการของกระทรวงแรงงาน สำนักงานประกันสังคม และสภาอุตสาหกรรม

มาตรการ
สภาพปัญหา
ข้อเสนอ
1.1 การช่วยเหลือผู้ใช้แรงงานในสถานประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย เดือนละ 3,000 บาท (กระทรวงแรงงาน)
 
1. ผู้ใช้แรงงานขาดหลักประกันการว่างงาน
2. ผู้ใช้แรงงานขาดหลักประกันในอัตราค่าจ้าง
 
1. ผู้ใช้แรงงานต้องได้รับค่าจ้างเต็ม
2. นายจ้างจะต้องไม่เลิกจ้างในช่วงประสบภัย
1.2 โครงการเพื่อนช่วยเพื่อน (กระทรวงแรงงาน)
1. สถานประกอบการแห่งใหม่มีสิทธิประโยชน์และสภาพการจ้างไม่ช้ดเจน
2. สถานประกอบการแห่งใหม่บางแห่งมีเงื่อนไขบังคับให้ลาออกจากที่เดิม
3. สถานประกอบการแห่งใหม่ไม่มีที่พัก เดินทางไกล ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น
 
1. ผู้ใช้แรงงานที่เข้าร่วมโครงการต้องได้รับค่าจ้าง และสิทธิประโยชน์ต่างๆ เท่าเดิม
1.3 เงินกู้เพื่อซ่อมแซมที่อยู่อาศัยของผู้ประกันตนที่ถูกน้ำท่วม 50,000 บาท (สำนักงานประกันสังคม)
1. หลักเกณฑ์เงินกู้จำกัดเฉพาะเรื่องการซ่อมแซมอยู่อาศัย
1. ควรขยายหลักเกณฑ์การกู้ยืม สำหรับค่ายานพาหนะ ทรัพย์สินอื่นๆ ไม่จำกัดเฉพาะที่อยู่อาศัย
1.4 มาตรการการประกันว่างงาน (สำนักงานประกันสังคม)
1. ผู้ใช้แรงงานเกิดความสับสน อาจทำให้เสียสิทธิประโยชน์ในการประกันการว่างงาน และอาจทำให้คนงานตกงาน
 
1. สปส. และหน่วยราชการกระทรวงแรงงาน ต้องชี้แจงและประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตนให้ชัดเจน
 
1.5 นโยบายงดส่งเงินสมทบกองทุนประกันสังคม 1 ปี (ข้อเสนอสภาอุตสาหกรรม)
1. ระยะเวลายาวนานเกินไป
2. หลักเกณฑ์การบังคับใช้ครอบคลุมสถานประกอบการที่ไม่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมหรือไม่
1. หลักเกณฑ์การบังคับใช้ครอบคลุมโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบและโรงงานที่เป็นอุตสาหกรรมเกี่ยวเนี่อง
2. ตั้งคณะกรรมการไตรภาคีระดับชาติกรณีภัยพิบัติน้ำท่วม โดยมีตัวแทนแรงงานที่ได้รับผลกระทบเป็นกรรมการ
3. งดส่งเงินสมทบ 3 เดือน
 
1.6 นโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท เลื่อนไปปี 2556
(ข้อเสนอจากฝ่ายนายจ้าง)
1. ผู้ใช้แรงงานมีรายได้น้อย
1. รัฐบาลต้องทำตามนโยบายที่ได้หาเสียงไว้ คือ ค่าแรง 300 บาท เท่ากันทั่วประเทศ
 
 
2. ข้อเสนอแรงงานในระบบ
มาตรการ
สภาพปัญหา
ข้อเสนอ
2.1 สภาพการจ้าง และความมั่นคงในการทำงาน
ลูกจ้างขาดความมั่นคงในการทำงาน
 
1. สถานประกอบการที่ขอรับมาตรการสนับสนุนของรัฐบาล อาทิ การงดส่งเงินสมทบการประกันสังคม ความช่วยเหลือด้านสินเชื่อ ต้องทำสัญญากับภาครัฐในการไม่เลิกจ้างผู้ใช้แรงงาน
 
2.2 การควบคุมราคาสินค้า
 
ค่าครองชีพสูง ราคาสินค้า
1. มาตรการควบคุมราคาสินค้าอุปโภคบริโภคอย่างจริงจัง
2. มีมาตรการพิเศษสำหรับผู้มีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาท อาทิ การมีคูปองส่วนลดสินค้า
 
2.3 หนี้สินคนงานที่ได้รับผลกระทบ
คนงานมีหนี้สินมาก
1. ให้รัฐกำหนดนโยบายและมาตรการพักชำระหนี้สำหรับคนงานที่ได้รับผลกระทบ 6 เดือน ครอบคลุมธนาคารของรัฐ ธนาคารพาณิชย์ สถาบันการเงินอื่น(บัตรเครดิต) รวมทั้งหนี้นอกระบบ
 
2.4 เงินกู้ยืมแก่ผู้ใช้แรงงาน 50,000 บาท
1. ผู้ใช้แรงงานได้รับความเสียหายทางทรัพย์สิน และการสูญเสียรายได้ ที่เกิดขึ้นจากอุทกภัย
 
1. รัฐต้องหาแหล่งเงินกู้ปลอดดอกเบี้ยแก่ผู้ใช้แรงงาน
2. ไม่ควรมีผู้ค้ำประกัน
3. หลักเกณฑ์การกู้เงินสำหรับผู้ที่ได้รับความเสียหายทางทรัพย์สิน และสูญเสียรายได้
 
2.5 การงดจ่ายเงินสมทบประกันสังคม 3 เดือน
 
งดจ่ายเงินสมทบประกันสังคม 3 เดือน ในพื้นที่น้ำท่วม เมื่อจ่ายเงินแล้วให้คงสิทธิประโยชน์เดิม
 
2.6 การรักษาพยาบาลของผู้ประกันตน
การเดินทางกลับต่างจังหวัด เป็นจำนวนมาก
 
ผู้ประกันตนเข้ารักษาพยาบาลได้ทุกโรงพยาบาล
2.7 กองทุนประกันความเสี่ยง
การเลิกจ้างแล้วไม่ยอมจ่ายเงินชดเชยตามกฎหมาย
กองทุนประกันความเสี่ยง โดยหักจากนายจ้างและรัฐร่วมสมทบ
 
2.8 การทำงานในสถานประกอบการ
ผู้ใช้แรงงานไม่สามารถทำงานในสถานประกอบการเพราะน้ำท่วม จึงไปทำงานในสถานประกอบการอื่นชั้วคราว
ให้รัฐผ่อนผันการทำงานในสถานประกอบการอื่น และยังคงสภาพการจ้างงานเดิม
 
2.9 การมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและการวางมาตรการช่วยเหลือ
องค์กรด้านนโยบายที่เกี่ยวข้องกับผู้ใช้แรงงานไม่มีกระบวนการรับฟังความเห็นจากแรงงาน
นโยบายภาครัฐในการแก้ไขปัญหาจะต้องมีผู้ใช้แรงงานและองค์กรแรงงานมีส่วนร่วม
 
 
3. ข้อเสนอแรงงานนอกระบบ
มาตรการ
สภาพปัญหา
ข้อเสนอ
3.1. หนี้สินในระบบ
แรงงานนอกระบบไม่สามารถประกอบอาชีพตามปกติ เช่น เย็บผ้า ซาเล้ง แท็กซี่
 
1. พักชำระหนี้สินในระบบ 3 ปี
2. ให้แรงงานนอกระบบเข้าถึงแหล่งทุนตามนโยบายของรัฐ และการส่งเสริมการประกอบอาชีพ
 
3.2. เงินทุนฟื้นฟูอาชีพปลอดดอกเบี้ย
ไม่มีรายได้ดูแลครอบครัว กู้ยืมหนี้ในระบบและหนี้นอกระบบมา ประกอบอาชีพและดำรงชีพได้
1. เงินทุนฟื้นฟูอาชีพปลอดดอกเบี้ย เพื่อใช้ชำระหนี้สินนอกระบบและเป็นเงินหมุนเวียนในการประกอบอาชีพ
3.3. กองทุนจัดการความเสี่ยง สำหรับแรงงานนอกระบบ
 
1. จัดตั้งกองทุนช่วยเหลือในการจัดการความเสี่ยง สำหรับแรงงานนอกระบบที่ประสบภัย
 
4. ข้อเสนอแรงงานข้ามชาติ
มาตรการ
สภาพปัญหา
ข้อเสนอ
4.1 สิทธิแรงงานข้ามชาติ
ไม่ได้รับความช่วยเหลือ ถูกเลือกปฏิบัติ ถูกส่งกลับ
การเข้าถึงสิทธิแรงงาน การให้ความช่วยเหลือ ถุงยังชีพ
การเข้าถึงข้อมูลมีข้อจำกัด
รัฐควรให้ข้อมูลข่าวสารอย่างทั่วถึง
การเดินทางออกนอกพื้นที่ถูกจับกุม และถูกเจ้าหน้าที่รีดไถ
 
รัฐต้องออกประกาศรับรองการเดินทางออกนอกพื้นที่อย่างปลอดภัย ไม่เรียกเก็บเงิน
ความชัดเจนในการเข้าไปอยู่ในศูนย์พักพิง
1. รัฐต้องให้ข้อมูลและเคารพในการอยู่ที่พักพิง
2. รัฐต้องออกประกาศให้ชัดเจนในกรณีการนำแรงงานไปทำงานต่างจังหวัด ต้องได้รับสิทธิแรงงานทางกฎหมาย
4.2 เอกสารสำคัญ และค่าจ้างค้างจ่าย
นายจ้างยึดบัตรเอกสารสำคัญ และไม่จ่ายค่าจ้างค้างจ่าย
1. รัฐควรมีมาตรการให้นายจ้างคืนบัตร เอกสารสำคัญให้คนงาน เพื่อเข้าถึงการช่วยเหลือ และหางาน
2. รัฐควรมีมาตรการให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างค้างจ่ายให้แรงงานข้ามชาติ
4.3 การเดินทางกลับภูมิลำเนา
แรงงานข้ามชาติเดินทางกลับจำนวนมาก
รัฐต้องเปิดลงทะเบียนแรงงานข้ามชาติที่กลับบ้าน เมื่อน้ำลดสามารถกลับมาได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
 

ชาลี กล่าวด้วยว่า รัฐบาลภายใต้การนำของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ควรวางมาตรการช่วยเหลือผู้ใช้แรงงานด้วยความเป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติช่วยเหลือเพียงผู้ประกอบการโรงงาน แต่ปล่อยให้ลูกจ้างถูกลอยแพจากการเลิกจ้าง และขอเรียกร้องให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานแสดงบทบาทในการช่วยเหลือเยียวยาแรงงานเฉพาะหน้า และการวางมาตรการเชิงนโยบายในระยะยาวดังที่พรรคเพื่อไทยได้เคยหาเสียงไว้กับประชาชน

นอกจากนี้ ประธาน คสรท. แสดงความกังวลเรื่องการย้ายฐานการผลิตที่อาจเกิดขึ้นอันอาจทำให้คนงานตกงาน จำนวนมาก โดยย้ำว่า รัฐต้องสร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนว่าจะไม่เกิดปัญหาขึ้นอีก โดยเตรียมการป้องกันด้านอุทกภัยและวาตภัย เพื่อแสดงให้เห็นว่ามีความปลอดภัยด้วย

บัณฑิต แป้นวิเศษ ผู้ประสานงาน "เครือข่ายช่วยเหลือแรงงานข้ามชาติผู้ประสบภัยน้ำท่วม" กล่าวว่า แรงงานข้ามชาติเกือบสองแสนคนในสามจังหวัดย่านอุตสาหกรรม ขณะนี้ ประสบปัญหาการเข้าถึงถุงยังชีพ เพราะต้องแสดงเอกสารสำคัญ ซึ่งบางส่วนถูกยึดนายจ้างยึดไว้ บางส่วนจมหายไปกับน้ำ อยากเรียกร้องว่าไม่ว่าจะมีบัตรหรือไม่ พวกเขาควรต้องได้รับถุงยังชีพ โดยอาจใช้วิธีให้ลงทะเบียนเข้าชื่อไว้

บัณฑิต เรียกร้องว่า การให้ข้อมูลการออกจากพื้นที่ประสบภัยแก่แรงงานข้ามชาติต้องทำให้ชัดเจน การจะส่งกลับต้องเป็นไปโดยสมัครใจ เพราะแรงงานข้ามชาติส่วนใหญ่ยังไม่อยากกลับประเทศ ต้องการเพียงพักพิงชั่วคราวเท่านั้น การให้ข้อมูลไม่ชัดเจนหรือส่งกลับกึ่งบังคับ ทำให้มีแรงงานบางส่วนเริ่มหลบหนีจากศูนย์พักพิงแล้ว ซึ่งอาจประสบปัญหาการค้ามนุษย์ตามมาได้ นอกจากนี้ ขอให้องค์การแรงงานระหว่างประเทศ หรือไอแอลโอ ให้การสนับสนุนองค์กรแรงงานที่มีหน่วยประสานงานในพื้นที่อยู่แล้วเพื่อทำงานร่วมกันอย่างบูรณาการ
 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไทยขื่นขัน อันหาที่สิ้นสุดมิได้ "ธรรมะคือธรรม"

Posted: 02 Nov 2011 02:05 AM PDT

ไทยขื่นขัน อันหาที่สิ้นสุดมิได้ "ธรรมะคือธรรม"

สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์ยันน้ำท่วมไม่กระทบเตาปรมาณูที่ ถ.วิภาวดี

Posted: 02 Nov 2011 02:02 AM PDT

รอง ผอ.สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์ฯ ชี้เตาปฏิกรณ์ฯ ที่ สนง.ปรมาณูเพื่อสันติ ถ.วิภาวดี สูงกว่าถนนถึง 8.7 เมตร แถมล้อมด้วยผนังคอนกรีต 1 เมตร ตัวอาคารอยู่สูงกว่่า ถ.วิภาวดี ยันน้ำต้องสูงจากถนนเกิน 8 เมตรจึงจะล้นเข้ามาได้

สถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม TNN รายงานว่า วันนี้ (2พ.ย.54) นายชัยวัฒน์ ต่อสกุลแก้ว เลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ กล่าวยืนยันว่า จะไม่เกิดเหตุสารกัมมันรังสีรั่วไหลปนเปื้อนลงสู่บริเวณพื้นที่น้ำท่วมใน ถ.วิภาวดีรังสิต อย่างแน่นอนตามที่มีหลายฝ่ายแสดงความกังวลว่าจะเกิดเหตุการณ์สารกัมมันตรังสีรั่วไหล

ก่อนหน้านี้ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติได้ทำหนังสือถึงสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ ที่อยู่ในการกำกับดูแลให้หามาตรการป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ที่ทุกคนเป็นห่วง ซึ่งล่าสุดสถานการณ์ยังเป็นปกติและขณะนี้พื้นที่ของสถาบันเทคโนโลยี นิวเคลียร์ฯ ยังไม่ถูกน้ำท่วม

ด้านนางสิรินาฏ เลาหะโรจนพันธ์ รองผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ กล่าวว่า มีความมั่นใจ 100% ว่าเครื่องปฏิบัติการปรมาณูเพื่อการวิจัยจะไม่ได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วม ในครั้งนี้ โดยยืนยันว่าสามารถรองรับสถานการณ์ได้อย่างแน่นอน เนื่องจากเตาปฏิกรปรมาณูเพื่อการวิจัยได้อยู่ในสระน้ำบนพื้นที่สูงกว่าถนน วิภาวดีฯ ถึง 870 ซม. และยังล้อมรอบด้วยผนังคอนกรีตหนักหนา 1 เมตร สามารถรับแรงดันน้ำได้ 2-3 ตัน อีกทั้งขณะนี้เตาปฏิกรปรมาณูได้หยุดเดินเครื่องมาตั้งแต่สัปดาห์ที่ผ่านมา แล้ว เพระไม่สามารถขนส่งได้

นางสิรินาฎ กล่าวอีกว่า ตัวอาคารก็สูงกว่าถนนวิภาวดีถึง 170 ซม.ตอนนี้น้ำก็ยังไม่ท่วม ขณะที่ขอบบ่อเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูสูงถึง 870 ซม. ต้องให้น้ำจากถนนวิภาวดีสูงเกิน 8 เมตร ถึงจะล้นเข้ามาได้ มั่นใจ 100% ว่าจะไม่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ขสมก.ยังให้บริการได้ 80-90%

Posted: 02 Nov 2011 12:27 AM PDT

มติชนออนไลน์ รายงานวันนี้ (2 พ.ย.) ว่า นายโอภาส เพชรมุณี ผู้อำนวยการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันรถโดยสารของ ขสมก.คงให้บริการได้ประมาณ 80-90% เนื่องจากบางพื้นที่ถนนถูกน้ำท่วมสูง ขสมก.จึงจำเป็นต้องงดให้บริการ เช่น สาย 556 เส้นทางพุทธมณฑล-รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ แต่ส่วนใหญ่จะเป็นการปรับเปลี่ยนเส้นทางหรือลดระยะทางเดินรถ โดยจะให้เดินรถเข้าถึงพื้นที่มากที่สุด

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ ขสมก.จะให้บริการได้ไม่เต็ม 100% แต่พบว่ารายได้ค่าโดยสารเฉลี่ยต่อวันเพิ่มขึ้นอยู่ที่ประมาณวันละ 10 ล้านบาท จากปกติช่วงนี้ ซึ่งเป็นช่วงปิดเทอมจะมีรายได้ค่อนข้างต่ำประมาณวันละ 7-8 ล้านบาทเท่านั้น แสดงว่าปริมาณผู้โดยสารเพิ่มขึ้น เนื่องจากรถโดยสารสาธารณะอื่นๆ ให้บริการลดลง

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ผู้สื่อข่าวเชิงสืบสวนดังใช้ภาพประกอบผิดในเฟซบุค

Posted: 01 Nov 2011 09:48 PM PDT

โซเชียลเน็ตเวิร์คฮือฮา หลังผู้สื่อข่าวเชิงสืบสวนสอบสวนอาวุโสโพสต์กลอน ผู้ประสบอุทกภัยไม่ได้รับถุงยังชีพ เพราะไม่มีบัตรประชาชน แต่ใช้ภาพประกอบผิดเหตุการณ์ ตรวจสอบพบที่แท้เป็นภาพคนเสื้อแดงปาดน้ำตาหลังเจอแก๊สน้ำตาระหว่างสลายการชุมนุม 10 เมษาปี 53

ตั้งแต่คืนวันที่ 1 พ.ย. 54 ประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ ผู้สื่อข่าวเชิงสืบสวนสอบสวน อดีตรองบรรณาธิการอำนวยการหนังสือพิมพ์มติชน ปัจจุบันเป็นผู้บริหารเว็บไซต์ประสงค์ดอตคอม ได้โพสต์กลอน ซึ่งแต่งโดย ปิยะโชติ อินทรนิวาส ลงในเฟซบุคโดยตั้งค่าการเข้าถึงแบบสาธารณะ รายละเอียดของกลอนมีดังนี้

"ในวิกฤต มีวิกฤต ซ้อนวิกฤต
บาดชีวิต บาดรู้สึก บาดลึกล้ำ
น้ำท่วมบ้าน น้ำตาบ่ามาหนุ...นนำ
มาท่วมซ้ำซ้อนทบทับถมใจ
แค่บัตรหาย ไร้บัตร ยังบอกบ่ง
เธอยังคงสิทธิ์ข้น ไม่หล่นหาย
เธอยังคงคือไทย ใช่ไทยมลาย
เธอยังคงค่าหมายคือ “มนุษย์”"

ทั้งนี้มีคำอธิบายต่อท้ายกลอนว่า "เธอไม่ได้รับแจกถุงยังชีพ เพียงเพราะไม่มีบัตรประชาชน ช่วงหนึ่งของรายการคนค้นคนที่ไปถ่ายทำถึงผู้ประสบภัยน้ำท่วม ทำให้เราได้รับรู้ถึงความเดือดร้อน และที่น่าเศร้าใจคือ มีผู้หญิงคนหนึ่งบ้านอยู่ที่อุบลฯนั่งร้องให้อยู่ บอกว่าบัตรประชาชนหาย เธอไปขอรับถุงยังชีพ แต่เขาไม่ยอมแจกให้ เพราะเธอไม่มีบัตรประชาชน -- ภาพประกอบจากเน็ต ข้อมูลจากรายการคนค้นคน"

อย่างไรก็ตามผู้ใช้เฟซบุครายอื่นได้แชร์โพสต์ดังกล่าวต่อๆ กันจำนวนมาก และยังมีข้อสังเกตว่าภาพที่ใช้ประกอบคำกลอนไม่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ผู้ประสบภัยไม่ได้รับแจกถุงยังชีพ เพราะไม่มีบัตรประชาชนอย่างที่ประสงค์ระบุ และอาจเป็นรูประหว่างการชุมนุมคนเสื้อแดง

โดยผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า หลังการตรวจสอบภาพประกอบที่นายประสงค์นำโพสต์ดังกล่าว พบว่าเป็นภาพจากเหตุการณ์ที่ผู้ประท้วงเสื้อแดงคนหนึ่งกำลังเช็ดน้ำตาหลังถูกแก๊สน้ำตา ระหว่างการประท้วงเมื่อ 10 เมษายน 2553 เป็นภาพถ่ายโดย สุกรี สุขปลั่ง ช่างภาพของสำนักข่าวรอยเตอร์ โดยภาพนี้ยังเคยถูกตีพิมพ์ใน ABC News ของออสเตรเลียด้วย

ผู้สื่อข่าวยังรายงานเพิ่มด้วยว่า จากท้ายกลอนที่ระบุว่า เป็นเหตุการณ์ที่ผู้ประสบภัยไม่ได้รับถุงยังชีพ เพราะไม่มีบัตรประชาชนโดยข้อมูลมาจากรายการคนค้นฅนนั้น พบว่าเป็นข้อมูลจากรายการคนค้นฅนจริง ซึ่งออกอากาศเมื่อ 25 ต.ค. 54 ทางช่อง 9 อสมท. โดยช่วงหนึ่งของรายการได้สัมภาษณ์ผู้ประสบอุทกภัยที่ไม่ได้รับแจกสิ่งของช่วยเหลือเนื่องจากไม่ได้นำบัตรประชาชนติดตัวไปด้วย (ชมคลิปที่นี่)

ล่าสุดเวลาประมาณ 13.20 น. ประสงค์ได้ชี้แจงในวอลล์แล้วว่า "ถ้าผิดพลาดก็ขอโทษด้วยที่นำเเรื่องและภาพของคนอื่นมาแชร์ต่อโดยมิได้ตรวจสอบภาพเนื่องจากเห็นว่า เรื่องประเภทนี้ไม่จำเป็นต้องนำเรื่องเท็จมาขยายหรือมาหลอกลวงกัน"

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น