โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

ศาลปกครองสงขลาสั่งชดใช้ 5 แสน ทหารคุมตัวเกินอำนาจกฎอัยการศึก

Posted: 23 Nov 2011 10:53 AM PST

เมื่อเวลา10.00 น.วันที่ 22 พฤศจิกายน 2554 ที่ห้องพิจารณาคดี 1 ศาลปกครองสงขลา นายสมยศ วัฒนภิรมย์ ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองสงขลาออกนั่งบัลลังก์อ่านคำพิพากษา คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย ระหว่างนายอิสมาแล เตะและนายอามีซี มานาก ผู้ฟ้องคดี 1,2 กับกองทัพบกและกระทรวงกลาโหม ผู้ถูกฟ้องที่ 1, 2 คดีหมายเลขดำที่187/ 2554 คดีหมายเลขแดงที่ 235/2554 และคดีหมายเลขดำที่ 188/2554 คดีหมายเลขแดงที่ 236/2554

คำพิพากษาสรุปว่า ให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ชำระเงินแก่ผู้ฟ้องคดีที่ 1จำนวน 255,000 บาท และผู้ฟ้องที่ 2 จำนวน 250,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี ตั้งแต่วันที่ 14 มกราคม 2552 ซึ่งเป็นวันฟ้องคดี ภายใน 60 วัน นับตั้งแต่มีคำพิพากษาถึงที่สุด

คำพิพากษาระบุสรุปว่า เนื่องจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารได้ใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ. 2457 ควบคุมตัวผู้ฟ้องคดีทั้งสองไว้เป็นเวลา 9 วัน ตั้งแต่ 27 มกราคม 2551 และปล่อยตัวไปในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2551 ซึ่งเกินกว่าที่พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ. 2457 ให้อำนาจในการควบคุมตัว ซึ่งตามมาตรา 15 ทวิ ของพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ. 2457 กำหนดให้เจ้าหน้าที่สามารถกักไว้ได้ไม่เกิน 7 วัน จึงเป็นการกักตัวไว้โดยไม่ชอบด้วย

“ส่วนค่าเสียหายจากการถูกควบคุมตัวที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายอันเป็นการละเมิด ผู้ฟ้องคดีทั้งสองได้เรียกความเสียหายจากผู้ถูกฟ้องคดี เป็นเงิน 500,000 บาท ถือว่าสูงเกินไป เพราะผู้ฟ้องคดีทั้งสอง ไม่ได้ถูกควบคุมในเรือนจำและไม่ใช่ในฐานะจำเลยหรือผู้กระทำความผิด จึงเห็นควรลดเหลือกึ่งหนึ่งจำนวน 250,000 บาท” คำพิพากษาระบุ

“...การการกระทำดังกล่าวเป็นการกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของบุคคล ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 บัญญัติรับรองไว้ อีกทั้งเมื่อเป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายพิเศษ อันเป็นกฎหมายที่ลิดรอนสิทธิของบุคคลอื่น จึงควรต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง และต้องแก้ไขเยียวยาความเสียหายให้แก่บุคคล ซึ่งรับผลดังกล่าวตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติไว้” คำพิพากษาระบุ

คำพิพากษาระบุสรุปอีกว่า สำหรับค่าเสียหายของผู้ฟ้องคดีทั้งสองจากการรักษาพยาบาล กรณีเจ้าหน้าที่ใช้กำลังทำร้ายผู้ฟ้องคดีทั้งสองในระหว่างการจับกุมและควบคุมตัว ผู้ฟ้องคดีที่ 1 ได้ยื่นพยานหลักฐาน ได้แก่ สำเนาเวชระเบียนบันทึกตรวจโรค เลขที่ 0516385 ของโรงพยาบาลยะลา ประกอบกับภาพถ่ายบาดแผลที่สอดคล้องกัน จึ่งน่าเชื่อว่า บาดแผลตามที่แพทย์วินิจฉัยไว้เกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ ซึ่งเป็นกระทำการละเมิดตามมาตรา 420 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังนั้นผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 จึงต้องรับผิดชอบชดใช้ค่ารักษาพยาบาลให้แก่ผู้ฟ้องที่ 1 จำนวน 5,000 บาท ส่วนผู้ฟ้องคดีที่ 2 ไม่ปรากฏพยานหลักฐานใดๆ ว่าถูกการกระทำร้ายร่างกาย ศาลจึงไม่อาจกำหนดค่าเสียหายในส่วนนี้ได้

ส่วนคำขออื่นให้ยก และให้ยกฟ้องผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ทั้งนี้นายอิสมาแล เตะ และนายอามีซี มานาก ถูกทหารควบคุมตัวขณะยังเป้นนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

รายงานพิเศษ: ทำไมต้องฆ่าครูชายแดนใต้

Posted: 23 Nov 2011 10:49 AM PST

ปัง ปัง ปัง... !

สิ้นเสียงปืนรัว ร่างครูก็ร่วงลงกองบนพื้น รถยนต์มีแต่รูพรุน ผู้บาดเจ็บร้องโอดโอย กลุ่มชายฉกรรจ์ในเครื่องแบบผู้ลั่นไก ก็หนีไป

ไม่ทันเจ้าหน้าที่ตัวจริงจะมาถึง ชาวบ้านก็ช่วยประคองร่างเหยื่อส่งโรงพยาบาลไปแล้ว จากนั้นก็เป็นภารกิจของหลายหน่วยงาน ส่วนพวกเพื่อนครูและนักเรียนเรียนก็ขวัญผวาตามๆ กันไป

ภาพความโกลาหลเช่นนี้ มีมาตลอด 7 ปีต่อเนื่องกันของความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยครูตกเป็นเป้าหมายหนึ่งที่ถูกหมายเอาชีวิต

แต่ครูก็ยังต้องอยู่ในพื้นที่ต่อไป

เหตุการณ์ล่าสุดที่เกิดขึ้นกับครู เกิดขึ้นเมื่อช่วงบ่ายแก่ๆ ของวันที่ 17 พฤศจิกายน 2554 เมื่อคณะครูโรงเรียนบ้านละหาน ตำบลสามัคคี อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส 11 คน ถูกกลุ่มคนร้ายดักยิงถล่มด้วยอาวุธสงครามบริเวณสามแยกเปาะลามะ หมู่ที่ 2 ตำบลรือเสาะออก อำเภอรือเสาะ ขณะเดินทางกลับบ้านด้วยรถยนต์ 2 คัน

ครั้งนี้ มีครูได้รับบาดเจ็บ 5 คน สาหัส 3 ราย หนึ่งในนั่น คือ นายสิทธิชัย วรรณจิตจรูญ อายุ 51 ปี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านละหาน

วันรุ่งขึ้น โรงเรียนบ้านละหานประกาศหยุดสอนทันที 1 วัน ตามมาด้วยกลุ่มโรงเรียนสุวารี-สามัคคีรวม 8 โรงเรียนประกาศหยุดการเรียนการสอนชั่วคราวเป็นเวลา 10 วัน หรือจนถึงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2554

ขณะที่นายฮานาปี แวมิง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านดือแลหะยี ตำบลสุวารี ในฐานะประธานกลุ่มโรงเรียนสุวารี-สามัคคี พร้อมผู้อำนวยการโรงเรียนและคณะครูในอำเภอรือเสาะ 40 โรงเรียน ประมาณ 300 คน รวมกันตัวกันที่อาคารชมรมข้าราชการผู้สูงวัยอำเภอรือเสาะเพื่อหารือมาตรการรักษาความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่

ส่วนพล.ต.สุภัช วิชิตการ รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า (รอง ผอ.รมน.ภาค 4 สน.) ได้เรียกตัวแทนครูใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประชุมกับหน่วยงานด้านความมั่นคง ที่อาคารกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) ภาค 4 ส่วนหน้า ค่ายสิรินธร ตำบลเขาตูม อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี

กระทั่งได้ข้อสรุป 6 ข้อ โดยมีข้อสำคัญ คือ ในช่วงปิดภาคเรียนที่ผ่านมามีการถอนกำลังหน่วยพัฒนาสันติออกจากพื้นที่อำเภอรือเสาะ ถึง 19 หน่วย ทำให้มีกำลังทหารไม่พอสำหรับการดำเนินแผนรักษาความปลอดภัยครู

โดยเหตุผลหนึ่งของการการถอนกำลังทหารออกจากบริเวณโรงเรียนตั้งแต่เปิดเทอม เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2554 เป็นต้นมา คือ ไม่ต้องการให้นักเรียนเห็นเจ้าหน้าที่ถืออาวุธสงคราม

กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) ภาค 4 ส่วนหน้า จึงจะเพิ่มกำลังทหารพรานอีก 1 กองร้อยในพื้นที่อำเภอรือเสาะ ทำหน้าที่นำหน้าขบวนครูทั้งไปและกลับจากโรงเรียนทั้ง 44 โรงเรียนในอำเภอรือเสาะ

ต่อมาวันที่ 19 พฤศจิกายน 2554 นายบุญสม ทองศรีพลาย ประธานสมาพันธ์ครู 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประชุมสมาพันธ์ครู 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อรวบรวมข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับมาตรการการรักษาความปลอดภัยครูใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ สวัสดิการที่เหมาะสมเพื่อให้ครูอยู่ในพื้นที่ต่อไป และแนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในพื้นที่ เพื่อเสนอต่อรัฐบาลผ่าน พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้

อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา สมาพันธ์ครู 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ประชุมแผนวางกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาตลอดก่อนเปิดภาคเรียนทุกครั้ง และมีการประชุมร่วมกับแม่ทัพภาคที่ 4 เดือนละ 1 ครั้ง เรื่องมาตรการคุ้มครองครูด้วย

นายบุญสม ระบุว่า ทุกครั้งที่เกิดเหตุใหญ่ๆ ครูรู้สึกขวัญผวาเช่นกัน ไม่เฉพาะเหตุที่เกิดกับครูอย่างเดียว เช่น เหตุปะทะจะมีผู้เสียชีวิต เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงต้องแจ้งเตือนครูด้วย เพราะมักจะตามมาด้วยการก่อเหตุกับครู แต่อย่างไรก็ตาม วันนี้ครูก็ยังต้องอยู่ในพื้นที่ ด้วยอุดมการณ์ของความเป็นครู

 

รายงานพิเศษ: ทำไมต้องฆ่าครูชายแดนใต้

 

ทำไมยังทำร้ายครู

ถามว่า ทำไมกลุ่มก่อความไม่สงบถึงยังต้อทำร้ายครู นายบุญสม ระบุว่า มี 4 ประเด็น คือ ขบวนการก่อความไม่สงบไม่สามารถกระทำต่อเป้าหมายหลัก คือ ทหารและตำรวจได้มากนัก จึงเลือกเป้าหมายที่อ่อนแอกว่า นั่นคือครู ในฐานะที่เป็นคนของรัฐเช่นกัน

ประเด็นที่ 2 ครูเป็นสัญลักษณ์ของรัฐ การทำร้ายครูเปรียบเสมือนการทำลายรัฐ เพราะครูเป็นบุคลากรทางศึกษา ประเทศจะเจริญได้ ประชากรก็ต้องมีการศึกษา ดังนั้นการทำร้ายครู คือ การทำลายความเจริญของรัฐ

ประเด็นที่ 3 เป็นความขัดแย้งส่วนบุคคล และประเด็นสุดท้าย คือ การทำร้ายครู สามารถสร้างภาพความเลวร้ายแรงและน่ากลัวได้มาก

ขณะที่นักวิชาการอย่าง ดร.ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี ผู้อำนวยการสถานีวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เมื่อไม่นานมานี้ ได้กล่าวถึง “ชุดของความรุนแรง” ที่มักจะเริ่มด้วยการฆ่าครู จากนั้นตามมาด้วยเหตุการณ์อื่นๆ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศรีสมภพ มองว่า ครูโรงเรียนสามัญ โดยเฉพาะครูไทยพุทธเปรียบเสมือนสัญลักษณ์และตัวแทนความเป็นรัฐไทย การยิงครู เป็นการทำลายตัวแทนรัฐไทยที่นำนโยบายรัฐไทยมาทำลายสังคมมลายู การฆ่าครูเป็นการเร่งสถานการณ์ให้เป็นกระแสข่าว ให้มีการเร่งเจรจาระหว่างรัฐบาลไทยกับขบวนการ

สอดคล้องกับที่นายสงวน อินทร์รักษ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านตาบา อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส ในฐานะประธานอนุกรรมการเฉพากิจภาคใต้ประจำจังหวัดนราธิวาส คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ตั้งคำถามเวทีสาธารณะ วาระประชาชน : ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ที่ห้องห้องประชุมอาคารวิทยนานาชาติ วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) วิทยาเขตปัตตานี เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2554 ว่า ครูถูกฆ่าเพราะอะไร ความจริงถ้าจะฆ่าครูวันหนึ่งเป็นร้อยคนก็ได้ ทำไมเขาต้องฆ่าทีละคน ถามว่าทำไมวันนี้ ต้องฆ่าประชาชน วันนี้ฆ่าครู วันนี้ระเบิดทหาร วันนี้ฆ่าพระ ต้องวิเคราะห์ให้ได้ คนไม่หวังดีต้องการอะไร

“ผมเชื่อว่า คนไม่หวังดีมี 10% อีก 90% เป็นคนที่ต้องการความสงบ เพราะคน 90% ต้องผลักดัน ต้องเสนอข้อเรียกร้องต่อรัฐให้ได้ หลายคนบอกผู้นำในรัฐว่า เจรจากันเถอะ เจรจากันเถอะ วันนี้ตำรวจและผู้นำบอกว่า ไม่รู้จะเจรจากับใคร ผมไม่เชื่อ” คือคำยืนยันของนายสงวน

ขณะที่ พล.ท.อุดมชัย ธรรมสาโรรัชต์ แม่ทัพภาคที่ 4 บอกว่า เชื่อว่ากลุ่มก่อความไม่สงบยิงครูเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลเจรจา แต่ไม่มีผลเพราะมวลชนส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับการทำร้ายครูและผู้บริสุทธิ์

ส่วนในมุมมองของเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติอย่าง พ.อ.วิชา สิงห์สุรศักดิ์ รองผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจ(ฉก.)ปัตตานี มองว่า เพราะภาพเหตุการณ์ที่เกิดกับครูทำให้สื่อมวลชนสนใจและให้ความสำคัญทันที ต่างจากชาวบ้านทั่วไป

“เมื่อครูถูกทำร้าย สื่อมวลชนก็จะวิเคราะห์ถึงความสามารถของเจ้าหน้าที่รัฐตกต่ำ เพราะรัฐดูแลบุคคลทางการศึกษาไม่ดี ไม่สามารถปกป้องคุ้มครองความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สินของบุคคลเหล่านี้ได้ เป็นเหตุผลที่ครูตกเป็นเป้าหมายของเหตุการณ์ องค์กรครูต่างๆ เกิดความไม่พอใจและเกิดการประท้วงตามมา”

ถึงกระนั้น พ.อ.วิชา ก็ยังระบุ บางเหตุการณ์ที่เกิดกับครู อาจมาจากปัญหาส่วนตัวของครูอยู่ด้วย

โชคดีที่เหตุลอบยิงคณะครูครั้งล่าสุด ไม่ได้เพิ่มสถิติครูและบุคลากรทางการศึกษาที่เสียชีวิตจากความไม่สงบอยู่ที่ 149 ราย เชื่อว่าคงไม่มีใครต้องการเช่นนั้น เมื่อเสียงปืนสงบลงไปสิ้น ความโศกเศร้าเสียใจก็คงมลายหายไปด้วย แต่ครูก็ยังอยู่ในชายแดนใต้

 

ฉก.ปัตตานี เปิดมาตรการคุ้มครองครู

พ.อ.วิชา สิงห์สุรศักดิ์ รองผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจ(ฉก.)ปัตตานี อธิบายถึงการรักษาความปลอดภัยครู ดังนี้

“การรักษาความปลอดภัยครู เป็นหน้าที่ที่ต้องเน้นเป็นพิเศษกว่าการดูแลรักษาความปลอดภัยคนทั่วไป เริ่มจากขั้นเตรียมการ ได้แก่ การสำรวจจำนวนครูในพื้นที่ก่อนว่ามีกี่คน โดยจัดทำบัญชีชื่อครูและที่อยู่ ซึ่งเจ้าหน้าที่ทุกคนต้องทราบ รวมถึงรายละเอียดอื่นๆ ได้แก่ เส้นทางที่ใช้เดินทางและยานพาหนะที่ใช้ในกาเดินทาง

เมื่อได้ข้อมูลทั้งหมดแล้ว จะมีการประชุม 4 ฝ่าย คือทหาร ตำรวจ ฝ่ายปกครองและครู เพื่อกำหนดมาตรการรักษาความปลอดภัยที่ทุกฝ่ายพอใจและรับได้ จากนั้นจะทำบันทึกความเข้าใจ (MOU) ร่วมกัน โดยมีการแบ่งเขตรับผิดชอบให้แต่ละหน่วยกำลังให้ดูแล เช่น ฉก.ปัตตานี 21 รับผิดชอบเขตอำเภอยะรังและอำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี ฉก.ปัตตานี 22 รับผิดชอบเขตอำเภอปะนาเระและอำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี เป็นต้น จากนั้นจะมีการซ้อมแผนเผชิญเหตุ ทั้งระหว่างการเดินทางและระหว่างครูกำลังสอน

มาถึงขั้นปฏิบัติ สิ่งแรกที่เจ้าหน้าที่ต้องทำคือ ทำพื้นที่ให้ปลอดภัยก่อน ได้แก่ ตรวจสอบเส้นทาง โดยการเดินลาดตระเวน หากเป็นพื้นที่อันตรายเจ้าหน้าที่จะเข้ารักษาความปลอดภัยตลอด 24 ชั่วโมง

หลังจากส่งครูถึงที่หมายแล้ว เจ้าหน้าที่ก็จะเข้าประจำที่จุดตรวจ ระหว่างครูสอนอยู่ จะมีเจ้าหน้าที่จะเข้าไปพบปะกับประชาชนในพื้นที่ เพื่อสานสัมพันธ์และหาข้อมูล เพื่อนำมาใช้ในการวางแผนอยู่ตลอดเวลา โดยมีกองกำลังประชาชน เช่น ชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) อาสาสมัครรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (อรบ.) ร่วมรักษาความปลอดภัยด้วย

เมื่อเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานจนครบรอบของการปฏิบัติงานแล้ว จะเปลี่ยนเจ้าหน้าที่ชุดใหม่เข้ามารับหน้าที่ต่อไป สิ่งที่เป็นปัญหา คือ เนื่องจากมีเส้นทางอยู่มาก การเฝ้าระวังอาจไม่เพียงพอ ทำให้คนร้ายสามารถก่อเหตุกับครูได้

ข้อสำคัญของบันทึกความเข้าใจคือ เมื่อครูจะไปไหนต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบ เพื่อให้เจ้าหน้าที่เข้าไปคุ้มครอง แต่ส่วนใหญ่ครูหรือบุคลากรบางคนขี้เกรงใจ ไม่ยอมบอกเจ้าหน้าที่ ซึ่งเป็นเรื่องอันตรายมาก แม้ครูที่มักออกนอกเส้นทางตามที่ตกลงไว้ หรืออกไปไหนโดยไม่แจ้งให้ทราบไม่ค่อยมี แต่ถ้ามีก็ตกเป็นเป้าได้ง่าย และบางกรณีที่เกิดเหตุกับครู ก็เกิดในช่วงที่ครูเดินทางไปทำธุระส่วนตัว

สำหรับครูที่อาศัยอยู่นอกพื้นที่รับผิดชอบ จะมีการบันทึกประวัติบุคคล ยานพาหนะ เส้นทางที่เดินทางและหมายเลขโทรศัพท์ติดต่อไว้ด้วย เพื่อจะได้ประสานกับหน่วยที่จะรับช่วงต่อในการดูแลรักษาความปลอดภัยครูได้

นอกจากนี้ ครูทุกคนต้องมีหมายเลขโทรศัพท์ของผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจในเขตรับผิดชอบด้วย บางหน่วยจะทำเป็นพวงกุญแจแจกให้ครูติดตัวตลอดเวลา หรือเป็นแผนผับแสดงพื้นที่รับผิดชอบของหน่วยไหน รวมทั้งยังพื้นที่ปลอดภัย หรือ SAFE Zone สำหรับการนัดพบเจ้าหน้าที่คุ้มครองครูระหว่างเดินทางไปโรงเรียน

ส่วนครูเองก็ต้องให้ข้อมูลแก่เจ้าหน้าที่อย่างสม่ำเสมอ และต้องแจ้งสถานการณ์ประจำวัน หากเกิดเหตุร้ายก็จะมีแนวทางที่จะให้ครูปฏิบัติ ซึ่งทุกฝ่ายให้ความร่วมมือและมีการทำตามแผน เหตุก็ไม่น่าจะเกิดขึ้นกับครูได้”

 

เปิดรายชื่อครูเหยื่อไฟใต้
185 ชีวิตบุคลากรทางการศึกษา

กาลเวลาผ่านเลยจนลุล่วงเกือบทศวรรษ เสียงกึกก้องกัมปนาทอันน่าสะพรึงกลัว ยังคงดังหวีดหวิวแสยงหัวใจของผู้ได้ยินอยู่ย่างต่อเนื่อง พร้อมเสียงร่ำไห้ระงมและหยาดน้ำตาของผู้สูญเสีย....

เหตุการณ์ได้เกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่ากังบุคคลที่ได้ชื่อว่าปูชนียบุคคลของชาติหรือครูของแผ่นดิน ศพแล้วศพเล่า มันตอกย้ำถึงความรู้สึกเจ็บปวดรวดร้าว ความข่มขื่นและความสูญเสียมิอาจลืมเลือนของผู้อยู่เบื้องหลัง....

คำบรรยายที่เหมือนกลั่นออกมาจากความรู้สึกเบื้องลึกเหล่านี้ คือส่วนหนึ่งของคำบรรยายความเป็นมาของงานรำลึกคุรุวีรชน ครั้งที่ 3 ที่จัดโดยสมาพันธ์ครูสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อรำลำถึงคุณงามความดีของคุรุวีรชนผู้ล่วงลับและเป็นการเยียวยาให้กำลังใจผู้ได้รับผลกระทบ เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2554 ที่ผ่านมา ที่โรงแรมซี.เอส.ปัตตานี

เป็นการรำลึกถึงครูและบุคลากรทางการศึกษาที่เสียชีวิตรวม 137 คน ณ ขณะนั้น ปัจจุบันสถิติครูและบุคลากรทางการศึกษาที่เสียชีวิตจากความไม่สงบก็พุ่งไปถึง 149 คนแล้ว แต่หากรวมนักเรียนไปด้วยแล้ว ยอดพุ่งไปอยู่ที่ 185 กว่าคน

รายชื่อครูเสียชีวิตจากความไม่สงบในชายแดนใต้

หมายเหตุ : ข้อมูลครูที่ได้รับผลกระทบกรณีเสียชีวิตจากสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ข้อมูล ณ วันที่ 7 กันยายน 2553 จากหนังสืองานรำลึกคุรุวีรชน ครั้งที่ 3 ที่จัดโดยสมาพันธ์ครูสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อรำลำถึงคุณงามความดีของคุรุวีรชนผู้ล่วงลับและเป็นการเยียวยาให้กำลังใจผู้ได้รับผลกระทบ เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2554

ลำดับ วันเกิดเหตุ รายชื่อครูที่เสียชีวิต สังกัด สาเหตุ
1 7 มิ.ย.2547 นายใจ อินกะโผะ สพท.ปัตตานี เขต 2 ถูกลอบยิงเสียชีวิต
2 9 พ.ย.2547 นายอรุณ เพ็ญบูรณ์ สพท.ยะลา เขต 3
3 25 พ.ย.2547 นายหะยีสะมะแอ หะยีดานิง สพท.ยะลา เขต 1
4 30 พ.ย.2547 นายอัดนันท์ สะแลแม็ง สพท.ยะลา เขต 1
5 14 ธ.ค.2547 นายภิญโญ วงศ์ฤคเวช สพท.นราธิวาส เขต 2
6 21 ธ.ค.2547 นายมนูญ คชอ่อน สพท.ปัตตานี เขต1
7 21 ธ.ค.2547 นายสุธี มีศรีสวัสดิ์ สพท.ปัตตานี เขต 2
8 28 ธ.ค.2547 นายประทีป สุพงษ์ สพท.ยะลา เขต 1
9 29 ธ.ค.2547 นายสุรศักดิ์ พันธ์ศรีโรจน์ สพท.นราธิวาส เขต 2
10 14 ม.ค.2548 นายต่วนแม โกตาบารู สพท.ยะลา เขต 2
11 17 ม.ค.2548 นายมานะ สาแม สพท.ปัตตานี เขต1
12 2 ก.พ.2548 นายสุธรรม สุขไพบูลย์ สพท.ยะลา เขต 1
13 14 มี.ค.2548 นายรังษี จินดารัตน์ สพท.ปัตตานี เขต1
14 10 พ.ค.2548 นายวิโรจน์ วรรณเสน สพท.ปัตตานี เขต1
15 30 พ.ค.2548 นายสมชาย จันทสุวรรณ์ สพท.ปัตตานี เขต1
16 3 มิ.ย.2548 นายเริ่ม สิงหะโรจน์ สพท.ปัตตานี เขต 2
17 17 มิ.ย.2548 นายกมล ชูเนตร สพท.ปัตตานี เขต1
18 19 มิ.ย.2548 นายนิวัติ ชูแก้ว สพท.ยะลา เขต 1
19 24 มิ.ย.2548 น.ส.กอบกุล รัญเสวะ สพท.นราธิวาส เขต 2
20 15 ก.ค.2548 นายมานะ แซ่ภู่ สพท.นราธิวาส เขต 2
21 15 ก.ค.2548 นายพงศา พิทักษ์วงศ์ สพท.นราธิวาส เขต 2
22 18 ก.ค.2548 นายดุสิต เหล่าสิงห์ สพท.ปัตตานี เขต1
23 16 ก.ค.2548 นายปราโมทย์ แก้วพรหมรัตน์ สพท.นราธิวาส เขต1
24 14 ส.ค.2548 นายวาส โอชาอัมพวรรณ สพท.ปัตตานี เขต 2
25 19 ส.ค.2548 นายเชิดชัย ดาแก้ว สพท.นราธิวาส เขต 2
26 24 ส.ค.2548 นายวิเชียร สุวรรณมณี สพท.ปัตตานี เขต 2
27 28 ส.ค.2548 นายอับดุลมาน๊ะ เจะซอ สพท.ยะลา เขต 1
28 1 ก.ย.2548 นายอับดุลเลาะ มะลี สพท.ยะลา เขต 1
29 27 ก.ย.2548 นายสุรเสน มามะ สพท.ปัตตานี เขต 2
30 12 พ.ย.2548 นายมะรีเป็ง แมดิงแว สพท.นราธิวาส เขต1
31 29 ธ.ค.2548 นายวินิจ ชูมณี สพท.ยะลา เขต 1
32 21 ม.ค.2549 นายทิพย์วารี ศรีพลอย สพท.ยะลา เขต 1
33 27 ม.ค.2549 นายมาหะมะตายีดิง กลาแต สพท.ยะลา เขต 2  
34 3 ก.พ.2549 นายทศพร นนทิการ สพท. สงขลา เขต 3
35 7 ก.พ.2549 ว่าที่ ร.ต.รังกฤษฎ์ ดอกไม้ สพท.ยะลา เขต 1
36 19 ก.พ.2549 นายเฉลิมเกียรติ ฝั้นขุ่น สพท.ยะลา เขต 1
37 15 มี.ค.2549 นายมะดาโอ๊ะ ยะลาแป สพท.ยะลา เขต 1
38 19 เม.ย.2549 น.ส. ฮัสนีย์ สุโขบุตร สพท.นราธิวาส เขต1 ถูกสะเก็ดระเบิด
39 20 เม.ย.2549 นายลุกมาน สาแม กศน.นราธิวาส
40 9 พ.ค.2549 นายประดิษฐ์ ทองแดง กศน.ปัตตานี ถูกลอบยิงเสียชีวิต
41 10 พ.ค.2549 นางเบญจวรรณ พรหมมณี สพท.ปัตตานี เขต1 ถูกสะเก็ดระเบิด
42 10 พ.ค.2549 น.ส.นันทนิษฐ์ สิตะหิรัญ สพท.ปัตตานี เขต1
43 24 ก.ค.2549 นายประสาน มากชู สพท.นราธิวาส เขต1 ถูกคนร้ายบุกยิงในห้องเรียน
44 9 พ.ค.2549 นายปราบ แสงดารา สพท.ปัตตานี เขต1 ถูกยิงเสียชีวิต
45 13 พ.ค.2549 นายรอฮิง ดือราเต๊ะ สพท.ยะลา เขต 1
46 15 พ.ค.2549 ว่าที่ ร.ต.หญิง กุลธิดา อินจำปา สพท.นราธิวาส เขต1
47 23 พ.ค.2549 นายสุรเดช วาสแสดง สพท.ปัตตานี เขต 2
48 24 พ.ค.2549 นายนนท์ ไชยสุวรรณ สพท.ปัตตานี เขต2 ถูกยิงเสียชีวิต และเผารถยนต์
49 2 ธ.ค.2549 น.ส.วรรณา องค์พลานุพัฒน์ สพท.นราธิวาส เขต1 ถูกกราดยิงเสียชีวิตในบ้านพัก
50 21 ธ.ค.2549 นางชุติมา รัตนสำเนียง สพท.ปัตตานี เขต1 ถูกยิงเสียชีวิต
51 29 ธ.ค.2549 นางจำนง   ชูพัฒนพงษ์ สพท.ยะลา เขต 1
52 29 ธ.ค.2549 นายมนูญ ศรแก้ว สพท.ยะลา เขต 1
53 8 ม.ค.2550 น.ส.จูหลิง ปงกันมูล สพท.นราธิวาส เขต1 ถูกทำร้ายร่างกาย
54 10 ม.ค.2550 น.ส.ไซนะ มะยาแม สพท.ปัตตานี เขต1 ถูกยิงเสียชีวิต
55 11 ม.ค.2550 นายจำนง เล็มมณี สพท.ยะลา เขต 1
56 20 กุ.พ.2550 นางพรทิพย์ ติยัพเสน สพท.นราธิวาส เขต 2
57 20 กุ.พ.2550 นายอำเซาะ ยาการียา สพท.นราธิวาส เขต
58 25 พ.ค.2550 นายจิระ ชัยมงคล อศจ. ปัตตานี ถูกลอบยิง อาการสาหัส
59 11 มิ.ย.2550 นางทิพย์ภาภรณ์ ทรรศโนภาส สพท.นราธิวาส เขต1 ถูกยิงในห้องสมุดโรงเรียน
60 11 มิ.ย.2550 น.ส.ยุพา เซ่งวัส สพท.นราธิวาส เขต1 ถูกยิงในห้องสมุดโรงเรียน
61 11 มิ.ย.2550 นายสมหมาย เหล่าเจริญสุข สพท.นราธิวาส เขต3 ถูกถล่มยิง
62 11 มิ.ย.2550 นายอับดุลละหมาด สะหมะ สช. ถูกยิงเสียชีวิต
63 15 ก.ค.2550 นายมันโซ โซ๊ะปาเน๊าะ สช.
64 21 ก.ค.2550 นายหามะ หะยีบากา สช.
65 24 ส.ค.2550 นายนอง บุญศักดิ์ สพท.ปัตตานี เขต 2 ถูกยิงและเผาเสียชีวิต
66 27 ส.ค.2550 นางเกศินี ทิมเทพ สพท.ปัตตานี เขต 3 ถูกยิงเสียชีวิต
67 1 ก.ย.2550 นายสุวิชช วงศ์สนิท อศจ.ปน.
68 2 ก.ย.2550 นายฉลอง อาภากร สพท.ปัตตานี เขต 3 ถูกยิงเสียชีวิต หน้าบ้านพัก
69 23 ก.ย.2550 น.ส.กามาเรีย มะลี สพท.ปัตตานี เขต 3 ถูกยิงเสียชีวิต
70 25 ก.ย.2550 นายสมโชค ครองราชย์ อบจ.ปัตตานี
71 1 ต.ค.2550 นายยะโก๊ะ สาและ สพท.ปัตตานี เขต 3
72 6 พ.ย.2550 นายสุวัจชัย เอกธนานนท์ สพท.นราธิวาส เขต1
73 6 พ.ย.2550 นายมนตรี จารงค์ สพท.นราธิวาส เขต1
74 19 พ.ย.2550 นายอิสเฮาะ   หะยีสามะ สพท.ยะลา เขต 1
75 24 ม.ค.2551 นายสุวิท บุญสนิท สพท.ปัตตานี เขต 2
76 6 พ.ค.2551 นายอับดุลมานะ มะแซ สพท.ยะลา เขต 1
77 20 พ.ค.2551 นายสะอารอนิง สาเมาะ สพท.ยะลา เขต 1
78 10 มิ.ย.2551 นายหฤทธิ์ สะอิ สพท.ยะลา เขต 2
79 1 ก.ค.2551 นายเรวัติ แววสง่า สพท.ปัตตานี เขต 1
80 2 ก.ค.2551 นายวีระ เหมือนจันทร์ สพท.ยะลา เขต 1
81 24 ก.ค.2551 นายซัมรี เจ๊ะแว สพท.ปัตตานี เขต 2
82 31 ก.ค.2551 นายอาคม สุวรรรณวงศ์ สพท.ปัตตานี เขต 2
83 24 ส.ค.2551 น.ส.สุวรรณี สาแล๊ะ สช.นธ.2
84 1 ก.ย.51 นายทศทิศ สมิตะมุสิค กศน.
85 18 ต.ค.2551 นายรอฮะ บิลเฮ่ม สพท.ปัตตานี เขต 1
86 5 ธ.ค.2551 นายอดุลย์ แวอูเซ็ง สพท.นราธิวาส เขต3 ถูกสะเก็ดระเบิด
87 3 ก.พ.2552 นายไซกตรีย์ เจ๊ะเต๊ะ สพท.นราธิวาส เขต1 คนร้ายใช้อาวุธปืนลอบยิง
88 26 มี.ค.2552 นายภูวนาถ ยีจิ สพท.ปัตตานี เขต 2 คนร้ายลอบยิงเสียชีวิต
89 19 พ.ค.52 นายนัฐพล จะแน สพท.ยะลา เขต 2
90 2 มิ.ย.2552 นางวารุณี นะวะกะ สพท.นราธิวาส เขต3
91 2 มิ.ย.2552 นางอัจราพร เทพษร สพท.นราธิวาส เขต3
92 6 มิ.ย.2552 นายมะตอแฮ ยามา สพท.นราธิวาส เขต1
93 8 มิ.ย.2552 นายอาสรี เจ๊ะโน๊ะ สพท.นราธิวาส เขต3 คนร้ายกราดยิง
94 16 ก.พ.2552 น.ส.ฟารีด๊ะ สาเมาะ สพฐ.
95 16 มิ.ย.2552 น.ส.เลขา อิสระ สพท.ยะลา เขต 1 ถูกคนได้ร้ายประกบยิงเสียชีวิต
96 28 มิ.ย.2552 นางสุณี แก้วคงธรรม สพท.นราธิวาส เขต3 ถูกทำร้ายร่างกายด้วยของแข็ง
97 8 ก.ย.2552 นายอิสมาแอ สาและ สพท.ปัตตานี เขต 1 ถูกคนร้ายประกบยิงเสียชีวิต
98 5 ส.ค.2552 นายสิทธิชัย จันทร์อภิบาล สพท.ยะลา เขต 1 ถูกยิงได้รับบาดเจ็บ
99 12 พ.ย.2552 นายพิชัย รัตน้อย สพท.ปัตตานี เขต 2 ถูกลอบยิงเสียชีวิต
100 8 ก.พ.2553 นายสัมฤทธิ์ พันธเดช สพท.ปัตตานี เขต 3 ถูกลอบยิงและเผา
101 24 เม.ย.2553 นายยงยุทธ วัชราภินชัย สพท.นราธิวาส เขต1 ถูกคนร้ายลอบยิง
102 7 พ.ค.2553 นายภาส ลาภเจือจันทร์ สพท.ปัตตานี เขต 2
103 3 มิ.ย.2553 นายบุญนำ ยอดนุ้ย สพท.ปัตตานี เขต 2
104 12 มิ.ย.2553 นายสุนันท์ แก้วรัตน์ สพท.ยะลา เขต 1 ถูกสะเก็ดระเบิด
105 ก.ค.2553 นายวีระ ปานทน อศจ.ปน. ถูกยิงเสียชีวิต
106 17 ก.ย.2553 นายพิชัย เสือแสง สพท.ปัตตานี เขต 1
107 17 ส.ค.2553 นายสรรค์ชัย อัครพงษ์พันธุ์ สพท.ปัตตานี เขต 1
108 7 ก.ย.2553 นายวิลาศ เพชรพรหม สพท.นราธิวาส เขต1
109 7 ก.ย.2553 นางคมขำ เพชรพรหม สพท.นราธิวาส เขต1

หลังวันที่ 7 กันยายน 2553 ยังมีครูเสียชีวิตจากเหตุไม่สงบอีก 6 คน ดังนี้

1 15 ม.ค.2554 นายมาโนช ชฏารัตน์ ครูโรงเรียนเดชะปัตตนยานุกูล จ.ปัตตานี ถูกลอบยิงเสียชีวิต
2 9 ก.ค.2554 นายประหยัด ชูเพชร ครูโรงเรียนพัฒนาอิสลามวิทยา บ้านลำใหม่ อ.เมือง จ.ยะลา
3 3 ส.ค.2554 นายนพดล ศศิมณฑล ครูโรงเรียนบ้านตันหยงลูโละ อ.เมือง จ.ปัตตานี ถูกประกบยิงเสียชีวิต
4 9 ส.ค.2554 นายสมบูรณ์ จองเดิม ครูโรงเรียนกองทัพบกอุทิศบ้านดอนยาง อ.หนองจิก จ.ปัตตานี ถูกลอบยิงเสียชีวิต
5 6 ก.ย.2554 นายคณิต ลำนุ้ย พนักงานราชการโรงเรียนบ้านกือเม็ง อ.รามัน จ.ยะลา ถูกยิงแล้วเผา
6 6 ต.ค.2554 นายสกุล เอียดทอง ผู้อำนวยการโรงเรียนร่มเกล้า อ.ยี่งอ จ.นราธิวาส ถูกลอบยิงเสียชีวิต

 

บุคลากรทางการศึกษาเสียชีวิตจากความไม่สงบในชายแดนใต้

หมายเหตุ : ข้อมูล ณ วันที่ 6 กันยายน 2553จากหนังสืองานรำลึกคุรุวีรชน ครั้งที่ 3 ที่จัดโดยสมาพันธ์ครูสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อรำลำถึงคุณงามความดีของคุรุวีรชนผู้ล่วงลับและเป็นการเยียวยาให้กำลังใจผู้ได้รับผลกระทบ เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2554

ลำดับ วันเกิดเหตุ รายชื่อผู้เสียชีวิต สังกัด สาเหตุ
1 16 มิ.ย.2547 นายมงคล สายแก้ว สพท.นราธิวาส เขต1 ถูกลอบยิงเสียชีวิต
2 30 ก.ย.2547 นายธีรศักดิ์ สุวรรณกิจ สพท.ปัตตานี เขต 2
3 28 มิ.ย.2548 นายถนัด นิลวิสุทธิ์ อาชีวศึกษา
4 19 ก.ค.2548 นายบือราเฮง เจ๊ะโด สพท.นราธิวาส เขต2
5 9 ส.ค.2548 นายมาหะมะ เมทารงค์ สพท.นราธิวาส เขต2
21 ก.ย.2548 นายอภิเศก บุญทักษ์ สพท.ยะลา เขต 2
7 5 ธ.ค.2548 นายอาแซ ดอเลาะ สพท.ปัตตานี เขต 1
8 23 ม.ค.2549 นายรุ่ง แซ่สิม สพท.ปัตตานี เขต 2
9 23 ก.ค.2549 นายจิตต์ พวงบูระ สพท.ปัตตานี เขต 2
10 27 ก.ย.2549 นายอำนวย นิลน้ำ สพท.ปัตตานี เขต 2 ถูกจ่อยิงบนรถโดยสารประจำ
11 7 พ.ย.2549 นายมะลาเฮ็ม เจ๊ะโซ๊ะ สพท.นราธิวาส เขต 1 ถูกลอบยิงเสียชีวิต
12 5 ธ.ค.2549 นายเชาวโรจน์ กิ่งรัตนะ สพท.ยะลา เขต 1 ถูกสะเก็ดระเบิด
13 9 ม.ค.2550 นายสิทธิชัย   ฟุ้งนาครมรกต สพท.ยะลา เขต 2 ถูกลอบยิงเสียชีวิต
14 11 ม.ค.2550 นายสุรีร์ ลิมปิษเฐียร กศน.ปัตตานี
15 9 พ.ค.2550 นายฮาลิม สาระ สพท.ยะลา เขต 2
16 17 ก.ย.2550 นายอับดุลรอซิน เจ๊ะนะ สพท.นราธิวาส เขต 2
17 9 ก.ย.2550 นายพินันท์ คงศรีรอด สพท.นราธิวาส เขต 3
18 21 ม.ค.2550 นายอัครเดช จือนือแร สพท.นราธิวาส เขต 1
19 9 ก.พ.2551 นายมูซอ ลาโฮยา สพท.ยะลา เขต 2
20 8 ก.ย.2551 นายสัญญา อนุบุตร สพท.ปัตตานี เขต 1
21 5 พ.ย.2551 นายอัสนี กูเด็ง สพท.ยะลา เขต 1
22 30 พ.ย.2551 นายดวง จันทร์แก้ว สพท.ปัตตานี เขต 3
23 7 มี.ค.2552 นายอรุณ สุดมาฐ สพท.ปัตตานี เขต 1
24 5 มิ.ย.2553 นายอรรถพร จันทรทอง อาชีวะปัตตานี
25 15 มิ.ย.2553 นายพร้อม วิเชียรรัตน์ สพท.ปัตตานี เขต 3
26 23 มี.ค.2553 นายเชาว์ ทองพับ สช.ปัตตานี
27 11 ส.ค.2553 นายสายัณห์ ซุ้นสุวรรณ สพท.ปัตตานี เขต 1
28 6 ก.ย.2553 นายมาหะมะ สาและ สพท.ปัตตานี เขต 3

 

นักเรียน/นักศึกษาที่เสียชีวิตจากความไม่สงบในชายแดนใต้

หมายเหตุ : ข้อมูล ณ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2553จากหนังสืองานรำลึกคุรุวีรชน ครั้งที่ 3 ที่จัดโดยสมาพันธ์ครูสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อรำลำถึงคุณงามความดีของคุรุวีรชนผู้ล่วงลับและเป็นการเยียวยาให้กำลังใจผู้ได้รับผลกระทบ เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2554

ลำดับ วันที่เกิดขึ้น ชื่อ-นามสกุล สังกัด สาเหตุ
1 24 ก.ค.2548 นายณรงค์ ดีบุญธรรม อาชีวะ  
2 12 มิ.ย.2548 นายทวีวัฒน์ หวานจิตต์ อาชีวะ  
3 16 ต.ค.2548 นายหาญณรงค์ คำอ่อง กศน.ปน.  
4 16 พ.ย.2548 ด.ญ.ซูปียา อาแวบือซา นธ.1  
5 28 พ.ย.2548 ด.ช.เจนนิพัฒน์ รัตนนิยม นธ.1  
6 4 ก.พ.2548 ด.ช. วัยวุฒิ แซ่ม่า ยะลา2  
7 15 มี.ค.2548 ด.ช.อีรฟาน ยะลาแป ยะลา1  
8 27 มิ.ย.2548 นาสุทธิพงศ์ ยิ้มประเสริฐ อศจ.  
9 27 พ.ย.2548 นายศักดา รักชนม์ นราธิวาส 2  
10   นายธนากร ขันดำ อศจ.ยะลา  
11   ด.ช.ธัญวิทย์ ทองบัว นธ.1  
12   นายเกรียงศักดิ์ มีแวว อศจ.ยะลา ถูกยิงเสียชีวิต
13   น.ส.กนกกาญจน์ คุ้มแว่น อศจ.ยะลา
14   น.ส.สุกาญดา ศรีจันทร์ อศจ.ยะลา
15 14 มี.ค.2550 น.ส.วิลาสินี ชมพูทอง สพท.ยล.2 ถูกยิงบนรถตู้โดยสาร
16 14 มี.ค.2550 น.ส.กีรติ   แซ่ลู่ สพท.สข.2
17 30 เม.ย.2550 นายพันธ์พงษ์ โสภาศรี สกอ. ถูกสะเก็ดระเบิด
18 30 เม.ย.2550 ด.ช.ดุสิต นวลทอง สพท.ปัตตานี เขต 2 ถูกทุบด้วยของแข็ง
19 20 พ.ย.2550 นายวิชล สมใจ อศจ.ยะลา ถูกยิงเสียชีวิต
20 29 พ.ย.2550 ด.ญ.อมรทิพย์ ดังศรีเทศ สพท.สข.3 ถูกแรงระเบิด
21 17 มิ.ย.2550 นายวรรธนพงศ์ ทองคุปต์ สพท.นธ.2 ถูกยิงในบ้านพัก
22 27 มิ.ย.2550 น.ส.ณัชชา ขันทอง  สพท.ยล.1 ถูกสะเก็ดระเบิด
23 4 ก.ย.2550 นายปิยรงค์ เพ็ชรเงิน สกอ. ถูกยิงเสียชีวิต
24 30 ต.ค.2550 ด.ญ.ปัทมา ปินชัย สพท.ยะลา1
25 1 พ.ย.2550 นายอิสมาแอ มะและ สพท.ยะลา1
26 7 พ.ย.2550 นายมันเดร์ สะเตาะ สพท.ยะลา1
27 4 ธ.ค.2550 ด.ช.กฤษดา พรมแก้ว สพท.ปัตตานี เขต 1 ถูกสะเก็ดระเบิด
28 16 ธ.ค.2550 นายมาอูเซ็น โสะ สช. ถูกยิงเสียชีวิต
29 12 ส.ค.2551 ด.ญ.อำพรศิริ แก้วเมฆ สพท.นธ.1
30 22 ก.ย.2551 นายสิริพงษ์ สมบัติ สพท.นธ.2 ถูกทำร้ายเสียชีวิต
31 5 ธ.ค.2551 ด.ช.ซารีฟ มะรอดิง สพท.นธ.3 ถูกสะเก็ดระเบิด
32 2 ก.ย.2552 ด.ช.กามารูดิง นิยามา ปัตตานี เขต 1 ถูกคนร้ายกระหน่ำยิง
33 6 ต.ค.2552 ด.ช.พีมพส อภิบาละนกิจ กทม. กลุ่มคนร้ายกราดยิง
34 9 ธ.ค.2552 น.ส.อารยา สะมะแอ สพท.นธ.2 ถูกสะเก็ดระเบิด
35 31 ม.ค.2553 ด.ช.อับดุลซาลาม วามะ สพท.ปัตตานี เขต 1 ถูกยิงเสียชีวิต
36 14 ก.พ.2553 ด.ญ. จีรภัทร แดงประเทศ สพท.ปัตตานี เขต 1

 

 

สรุปข้อมูลครู บุคลากรทางการศึกษา นักเรียน นักศึกษาที่ได้รับผลกระทบจากความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้

หมายเหตุ : ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2547 ถึง 24 ตุลาคม2553 จากหนังสืองานรำลึกคุรุวีรชน ครั้งที่ 3 ที่จัดโดยสมาพันธ์ครูสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อรำลำถึงคุณงามความดีของคุรุวีรชนผู้ล่วงลับและเป็นการเยียวยาให้กำลังใจผู้ได้รับผลกระทบ เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2554

บุคลากร ผลกระทบ จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา จังหวัดสงขลา(3อำเภอ) รวม ร้อยละ
เสียชีวิต ครู/อาจารย์ 36 43 31 1 109 21.25
บุคลากร 7 15 6 28 5.46
นักเรียน 10 12 12 2 36 7.02
รวม 51 70 49 3 173 33.72
บาดเจ็บ ครู/อาจารย์ 33 30 37 3 103 20.08
บุคลากร 3 8 8 19 3.70
นักเรียน 62 37 63 162 31.58
รวม 98 75 108 3 284 55.36
ทรัพย์สินเสียหาย ครู/อาจารย์ 18 6 10 1 35 6.82
บุคลากร 3 18 21 4.09
รวม 21 6 28 1 56 10.92
รวมครูและบุคลากร เสียชีวิต 41 58 37 1 137 26.71
บาดเจ็บ 36 38 45 3 122 23.70
ทรัพย์เสียหาย 21 6 28 1 56 10.92
รวม 98 102 110 5 315 61.40
นักเรียน/นักศึกษา เสียชีวิต 10 12 12 2 36 7.02
บาดเจ็บ 62 37 63 162 31.58
รวม 72 49 75 2 198 38.60
รวมทั้งหมด 170 151 185 7 513 100.00
ร้อยละ 33.14 29.43 36.06 1.36 100.00  

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

รมว.ไอซีทีเผย ขอเฟซบุ๊กปิดเพจหมิ่นฯแล้วกว่าหมื่นยูอาร์แอล

Posted: 23 Nov 2011 08:30 AM PST

รมว.ไอซีทีแจงขอความร่วมมือไปสนง.ใหญ่เฟซบุ๊ก ปิดเพจหมิ่นฯ แล้วกว่าหมื่นยูอาร์แอล นักข่าวสำนักข่าวไทยระบุไอซีทียันสาวถึงตัวได้ ส่วนโลกโซเชียลเน็ตเวิร์คผุดแคมเปญ "หยุด Like" "หยุดด่า" "หยุดเม้น" "หยุดแชร์" ชวนกดรายงานเพจหมิ่นฯ พร้อมนัดปฏิบัติการ Bomb Report กดรายงานเพจรัวๆ

(23 พ.ย.54) เว็บไซต์สำนักข่าวไทย รายงานว่า น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เปิดเผยว่า กระทรวงไอซีทีขอความร่วมมือไปยังเฟซบุ๊กสำนักงานใหญ่ เพื่อขอให้ปิดหน้าเฟซบุ๊ก (URL) ที่เป็นต้นตอการโพสต์รูปภาพและข้อความหมิ่นสถาบันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว พบเป็นการกระทำจากต่างประเทศ ทำให้การปิดเว็บเป็นไปด้วยความลำบาก แต่สั่งปิดแล้วกว่า 10,000 URL หากใครพบเห็นการโพสต์ข้อมูลและข้อความหมิ่นสถาบัน กรุณาอย่ากด Like หรือคอมเมนต์ เพราะจะเป็นการเผยแพร่ทางอ้อม ยอมรับ 2-3 วันที่ผ่านมามีการหมิ่นสถาบันการกระจายรวดเร็วมาก หากช่วยเผยแพร่จะเข้าข่ายผิด พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ทันที

วันเดียวกัน พีรพล อนุตรโสตถิ์ ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวไทย ทวีตผ่านทวิตเตอร์ส่วนตัว @yoware ระบุว่า "เผยเบื้องหลังกำจัดเพจหมิ่น ไอซีทีประสานตรง Facebook ช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ปิดไปแล้วกว่า 50 รายการ" "
ส่วนการตามตัวมือโพสต์หมิ่น แม้ facebook ไม่สามารถเปิดเผยไอพีให้ได้ตามกฎ แต่ไอซีทียืนยันสาวถึงตัวได้" "...ตามกฎ facebook ให้ ip คนเปิดเพจไม่ได้ แต่ยอมถอดเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมให้ครับ ซึ่งดำเนินการให้เร็วขึ้นกว่าเมื่อก่อนมาก"
(อ้างอิง 1, 2, 3)

 

 

ทั้งนี้ เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา มีการสร้างเพจ "สมาคม Report แห่งประเทศไทย" ในเฟซบุ๊ก โดยระบุในคำอธิบายว่า "เพจนี้ไม่มีนโยบายเผยแพร่การหมิ่นสถาบันให้เกิดความเสื่อมเสีย เราเผยแพร่เพื่อป้องกันภัยคุกคามทางโลกออนไลน์ทั้งนี้ และไม่มีนโยบายให้พูดในเรื่องการเมือง, พระมหากษัตริย์, หรือกล่าวอ้างบุคคลใด ร่วมกันป้องกันภัยคุมคามทาง Facebook แจ้งมาที่ reportthailand@gmail.com" โดยมีการระบุว่า จะป้องกัน สแปมโฆษณา, บัญชีปลอม การกลั่นแกล้ง, ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา, เนื้อหาที่ผิดศีลธรรม, เพจที่มีเนื้อหารุนแรง, และเพจที่หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

เพจดังกล่าวมีการรณรงค์ให้ "หยุด Like" "หยุดด่า" "หยุดเม้น" "หยุดแชร์" และ "รายงาน! ผู้ดูแล" โดยมีการเผยแพร่วิธีแจ้งรายงาน ให้เลือก "Hate Speech (การพูดที่ทำให้หมิ่นประมาท, ทำให้เกิดความเกลียดชัง)" และเลือก "Targets a race or ethnicty (พุ่งเป้าไปยังราชวงศ์, ชนชาติ, มนุษยชาติ หรือเชื้อชาติ)" รวมถึงมีปฏิบัติการ Bomb Report หรือนัดเวลากันเพื่อกดรายงานหน้าเพจหนึ่งๆ ไปยังผู้ดูแลระบบของเฟซบุ๊กเป็นระยะๆ ด้วย

 

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

นักปรัชญาชายขอบ: ความอยุติธรรมตามกฎหมาย

Posted: 23 Nov 2011 08:13 AM PST

“สังคมที่มีความเจริญทางจิตใจสูงขึ้นมากว่าระดับพื้นๆ ของสัตว์เดรัจฉาน ไม่จำคุกคน 10-20 ปี เพียงเพราะ "คำ" ข้ออ้างที่ว่า เพราะ "คำ" เหล่านั้น ทำร้าย "ความรู้สึก" ของ "คนส่วนใหญ่" [?] ก็ต้องถามว่า "ความรู้สึก" ดังกล่าว จะมีคุณค่าอะไร ถ้าต้องใช้วิธีป่าเถื่อนเช่นนี้มาคอยปกป้องรักษาไว้?”

                                                                                    สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล (ที่มา: ประชาไท)

 
นั่นคือปฏิกิริยาหนึ่ง หลังจากทราบข่าวกรณีศาลพิพากษาคดีที่นายนายอำพล (สงวนนามกุล) อายุ 61 ปี หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า “อากง” ซึ่งถูกฟ้องว่ากระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 โดยข้อกล่าวหาว่าส่งเอสเอ็มเอสที่มีข้อความหมิ่นพระบรมเดชานุภาพไปยังโทรศัพท์ของเลขานุการของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี ดัง “คำพิพากษา” ตอนหนึ่งว่า 

“โดยข้อความดังกล่าวมีลักษณะดูหมิ่น แสดงความอาฆาตมาดร้าย และเป็นการใส่ความหมิ่นประมาททำให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่และสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ทรงเสื่อมเสียพระเกียรติยศ ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง อันเป็นการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 นอกจากนี้การส่งเอสเอ็มเอสจะต้องส่งผ่านระบบคอมพิวเตอร์ก่อนประมวลผลไปถึงโทรศัพท์เคลื่อนที่ปลายทาง ซึ่งข้อความดังกล่าวไม่เป็นความจริง ประกอบข้อเท็จจริงเป็นที่ประจักษ์โดยทั่วไปว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถทรงเปี่ยมไปด้วยพระเมตตา ทรงห่วงใยประชาชนทุกหมู่เหล่า ทรงประกอบพระราชกรณียกิจนานัปการเพื่อปวงชนชาวไทย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการนำเข้าสู่ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ และเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร

จำเลยจึงมีความผิดตาม มาตรา 112 ของประมวลกฎหมายอาญา และ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2551 มาตรา 14 (2) และ (3) การกระทำของจำเลยมีหลายกรรมต่างกันให้ลงโทษทุกกรรม แต่ให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ซึ่งเป็นโทษหนักสุด ให้จำคุกกระทงละ 5 ปี ความผิด 4 กระทง รวมโทษจำคุกทั้งหมด 20 ปี” (ประชาไท, 23 พ.ย.54)

ผมเองไม่ได้มีความรู้ทางกฎหมาย แต่ก็เข้าใจว่ากฎหมายคือเครื่องมือรักษา “ความยุติธรรม” ทว่าหลังจากศาลตัดสินจำคุก “อากง” 20 ปี และมานึกย้อนไปถึงกรณีจำคุก ดา ตอร์ปิโด 18 ปี เรื่อยมาถึงคดีเสื้อแดงระดับชาวบ้านธรรมดาๆ เผาศาลากลางจังหวัดที่ถูกตัดสินจำคุกไปแล้ว 20 ปี บ้าง 30 ปี บ้าง ผมชักไม่แน่ใจว่าบ้านเรามีกฎหมายเอาไว้เพื่อรักษา “ความยุติธรรม” จริงหรือไม่

“ความยุติธรรม” (justice) คืออะไร? แน่นอนว่าในทางทฤษฎีมันอาจจะเถียงกันได้มาก แต่ถ้าถามอย่างตรงไปตรงมา ทำไม “ความยุติธรรมตามกฎหมาย” ของประเทศนี้จึงขัดแย้งกับ “ความยุติธรรมตามสามัญสำนึกของมนุษย์” ได้ขนาดนี้? นั่นคือมันเป็นไปได้อย่างไรที่คนสั่งและคน “ใช้ปืนยิง” นักศึกษา ประชาชน ที่ออกมาต่อสู้เรียกร้องเสรีภาพ ความเสมอภาคในความเป็นคน ความเป็นธรรม ประชาธิปไตย ตั้งแต่ยุค 14 ตุลา 6 ตุลา พฤษภา 35 พฤษภา 53 จึงไม่เคยติดคุกแม้แต่วินาทีเดียว แต่คนที่ใช้ “คำพูดหมิ่นประมาท” จึงต้องติดคุกถึง 20 ปี  

โดยเฉพาะชายชราอายุ 61 ปี ที่สุขภาพแย่ เป็นแค่ชาวบ้านตาสีตาสาคนหนึ่ง ถามจริงๆ เถอะในสังคมที่มีลำดับชนชั้นสูง-ต่ำอยู่จริงเช่นนี้ มีการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรักพระมหากษัตริย์และพระราชินีทุกวัน วันละหลายเวลาเช่นนี้  ”คำหมิ่นประมาท” ของชายชราผู้ต่ำต้อยติดดินขนาดนี้ จะส่งผลสะเทือนใดๆ ต่อสถานะอันศักดิ์สิทธิ์สูงส่งของพระมหากษัตริย์และพระราชินีได้จริงหรือ? จะก่อให้เกิดความเกลียดชังแก่ท่านทั้งสองได้จริงหรือ? จะส่งผลกระทบใดๆ ต่อความมั่นคงของประเทศนี้ได้จริงหรือ?

ผมไม่ได้บอกว่า “คำหมิ่นประมาท” นั้นไม่ผิด แต่ผมเชื่อเกินล้านเปอร์เซ็นว่า สถานะอันศักดิ์สิทธิ์สูงส่งของพระมหากษัตริย์และพระราชินี และความมั่นคงของประเทศนี้ไม่ได้ “เปราะบาง” ขนาดนั้น แค่คำพูดของตาสีตาสาคนหนึ่งโดย “ความเป็นจริง” แล้ว ไม่มีทางที่มันจะทำให้สถานะของพระมหากษัตริย์และพระราชินีต้องลดความศักดิ์สิทธิ์ลง หรือจะทำให้ประเทศนี้จะต้องตกอยู่ในสถานการณ์ความไม่มั่นคง จนประชาชนในสังคมนี้สมควรที่จะลงโทษเขาด้วยการจำคุกถึง 20 ปี (หากอำนาจตุลาการหมายถึงอำนาจ 1 ใน 3 ของประชาชน)

หากอำนาจตุลาการเป็นอำนาจหนึ่งของประชาชน และกฎหมายก็คือเครื่องมือรักษา “ความยุติธรรม” แก่ประชาชนอย่างเสมอภาค และ “ดุลพินิจของศาล” ก็มีความหมายต่อการบังคับใช้กฎหมายเพื่อรักษาความยุติธรรม แต่ปรากฏการณ์ของการตัดสินจำคุก “อากง” 20 ปี จำคุก ดา ตอร์ปิโด 18 ปี เรื่อยมาถึงคดีเสื้อแดงระดับชาวบ้านธรรมดาๆ เผาศาลากลางจังหวัดที่ถูกตัดสินจำคุกไปแล้ว 20 ปี บ้าง 30 ปี บ้าง ทำให้ผมนึกถึงข้อสังเกตของนักวิชาการบางคนว่า

ผู้พิพากษาและนักกฎหมายในบ้านเราอาจเก่งในเรื่องการตีความ “ตัวบท” และ “เทคนิค” ทางกฎหมายก็จริง แต่พวกเขาเหล่านั้นไม่เข้าใจ “ความยุติธรรม” เพราะพวกเขาไม่ได้เรียนอย่างจริงจัง ไม่สนใจอ่านงานประเภทนิติปรัชญา ปรัชญาการเมือง ไม่สนใจเรื่องรัฐศาสตร์ สังคมวิทยา หรือความเป็นมนุษย์ในมิติที่หลากหลาย ฉะนั้น พวกเขาจึงมองความยุติธรรมจากทัศนะที่คับแคบ ยึดความยุติธรรมตามตัวอักษร ตามอำนาจนำหรืออำนาจของฝ่ายชนะทางการเมืองเป็นหลัก

ฉะนั้น บางครั้งโดยการใช้กฎหมายแทนที่จะอำนวยความยุติธรรมกลับเป็นการอำนวย “ความอยุติธรรม” หรือสร้าง “ความอยุติธรรมตามกฎหมาย” ขึ้นมา เพราะความไม่เข้าใจความเป็นมนุษย์ บริบททางสังคมการเมืองที่หมุนไปตามความเปลี่ยนแปลงของโลกที่นับวันจะให้คุณค่ามากขึ้นแก่สิทธิมนุษยชน

ผมคิดว่าหากจะมีการปฏิรูประบบตุลาการในอนาคต ข้อสังเกตข้างต้นเป็นเรื่องที่น่านำมาพิจารณาอย่างยิ่ง แต่มันมีคำถามเฉพาะหน้าที่ผมคิดว่า หากเราช่วยกันคิดอย่างจริงจังแล้วจะช่วยให้สังคมเรามีความเป็นประชาธิปไตยและมีความยุติธรรมมากขึ้น คือ

1. สังคมเราจะเปลี่ยนแปลงในทางที่เป็นอารยะมากขึ้น ถ้าเราจริงจังกับการตั้งคำถามว่า “ทำไมคนสั่งและใช้ปืนยิงนักศึกษา ประชาชน ที่ออกมาต่อสู้เรียกร้องเสรีภาพ ความเสมอภาคในความเป็นคน ความเป็นธรรม ประชาธิปไตย จึงไม่เคยติดคุกแม้แต่วินาทีเดียว แต่คนที่ใช้คำพูดหมิ่นประมาทจึงต้องติดคุกถึง 20 ปี?”

หากสังคมเราไม่เห็นว่าปัญหาเช่นนี้เป็น “ปัญหาที่ซีเรียสที่สุด” ไม่ร่วมกันคิดหาทางออกจนได้ข้อสรุปร่วมกัน ปัญหาความขัดแย้งแตกแยกจะไม่มีวันสิ้นสุด คำขวัญประเภท รู้รักสามัคคี ปรองดอง สมานฉันท์ ฯลฯ ไม่มีทางแก้ปัญหาความขัดแย้งที่เป็นอยู่ และที่อาจมีต่อไปในอนาคตได้

2. อะไรคือเหตุผลรองรับว่า สถาบันกษัตริย์ต้องวิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบไม่ได้?

ตามรัฐธรรมนูญพระมหากษัตริย์ไทยเป็น “พุทธมามกะ” แปลตรงตัวว่า “ผู้นับถือพระพุทธเจ้า” ซึ่งหมายความว่าพระพุทธเจ้ามีสถานะทางศีลธรรมสูงกว่าพระมหากษัตริย์ แต่ตามหลักพระธรรมวินัยและข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ พระพุทธเจ้าถูกวิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบได้ แม้กระทั่งมีคนด่าพระพุทธเจ้าต่อเนื่องกันถึง 7 วัน ก็ไม่ปรากฏว่าคนเหล่านั้นได้รับโทษทางกฎหมาย ถูกประณามว่าเป็นคนบาป หรือ “ถูกล่าแม่มด” แต่อย่างใด ฉะนั้น หากแม้แต่พระพุทธเจ้าที่พระมหากษัตริย์นับถือยังถูกวิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบได้ เหตุใดพระมหากษัตริย์ซึ่งมีสถานะทางศีลธรรมต่ำกว่าพระพุทธเจ้าจึงถูกวิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบไม่ได้

ไม่ว่าจะเป็นหลักทศพิธราชธรรม จักรวรรดิวัตร หรือหลักธรรมใดๆ ในพุทธศาสนาที่พระพุทธเจ้าสอนว่า ถ้ากษัตริย์มีคุณธรรมนั้นๆ แล้วจะได้รับความเคารพนับถือจากผู้ใต้ปกครอง ก็ไม่มีหลักธรรมใดๆ เลยที่อาจใช้เป็นเหตุผลรองรับสถานะที่วิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบไม่ได้ของสถาบันกษัตริย์ที่เป็นพุทธมามกะ ฉะนั้น สถานะศักดิ์สิทธิ์ที่ตรวจสอบไม่ได้จะต้องมีที่มาจากอุดมการณ์อื่น ไม่ใช่อุดมการณ์พุทธศาสนา

อุดมการณ์อื่นที่ว่านี้คือ “อุดมการณ์สมบูรณาญาสิทธิราชย์” นั่นเอง แต่จากคำบอกเล่าของอาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์ (ถ้าคลาดเคลื่อน ท่านผู้รู้โปรดทักท้วงด้วย) ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์คดีหมิ่นพระบรมราชานุภาพมีโทษจำคุกสูงสุดไม่เกิน 3 ปี โทษจำคุก 15 ปี ตามมาตรา 112 เพิ่งถูกกำหนดขึ้นภายหลังเหตุการณ์ 6 ตุลา 19 โดยรัฐบาลเผด็จการธานินทร์ กรัยวิเชียร ฉะนั้น คำถามที่เราต้องถามอย่างจริงจังก็คือ

“ทำไมในระบอบประชาธิปไตย คดีหมิ่นฯ จึงมีโทษสูงกว่าสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และทำไมเมื่อเปลี่ยนการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตยแล้ว สถาบันกษัตริย์จึงถูกวิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบไม่ได้?”

นี่เป็นอีกปัญหาซีเรียสที่สังคมจำเป็นต้องหาคำตอบร่วมกันให้ได้ ไม่อย่างนั้นก็หาความชัดเจนในความหมายของ “ความเป็นประชาธิปไตย” ไม่พบ

3. หากคนส่วนใหญ่ (?) รักสถาบันกษัตริย์ ก็มีคำถามว่า ยุติธรรมหรือไม่ที่เราจะปกป้องสถาบันที่เรารักจาก “คำหมิ่นประมาท” ด้วยการจับคนขังคุก 10-20 ปี หรือยุติธรรมหรือไม่ที่เราจะอ้างเหตุผลว่าเพราะ “คำหมิ่นประมาท” ของใครก็ตามที่ “กระทบกระเทือนต่อความรู้สึกของคนส่วนใหญ่ (?)” เราจึงควรจับเขาขังคุก 10-20 ปี

“อากง” คือชายชราชาวบ้านธรรมดาๆ คนหนึ่ง แต่เขาคือ “คน” ที่มีความเป็นคนเท่าเทียมกับความเป็นคนของพระมหากษัตริย์ พระราชินี และเขาคือ “ประชาชน” ที่เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย เจ้าของประเทศนี้เท่าเทียมกับประชาชนทุกคน สิทธิ เสรีภาพ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของเขาจึงต้องได้รับการปกป้องอย่างเท่าเทียมกับคนอื่นๆ

และหากวันนี้อากงถูกจำคุก 20 ปี หมายถึงเขาได้รับ “ความอยุติธรรม” เราต้องตระหนักอย่างชัดแจ้งว่า นั่นคือ “ความอยุติธรรมของเราทุกคน” ที่เป็นประชาชนคนธรรมดาเช่นเดียวกับอากง!

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

'ใบตองแห้ง' ออนไลน์: คำท้าทายถึงชนชั้นกลาง

Posted: 23 Nov 2011 08:03 AM PST

เงื้อค้างกันไปอย่างน่าเสียดายทั้งเสื้อแดงเสื้อเหลืองและสลิ่ม ที่เตรียมทำสงครามหนุน-ต้าน พระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ หลังจากทักกี้ร่อนสารจบกระแส “ไม่ขอรับอภัยโทษ”

เสียดาย ทักษิณไม่น่าใจเร็วด่วนตัดไฟ น่ารอวัดใจม็อบพันธมิตรวันจันทร์เสียก่อน ว่าจะมีคนมากี่มากน้อย น่าจะวัดกระแสไปถึงวันเสาร์ ก่อนฝ่ายค้านอภิปรายไม่ไว้วางใจ พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก ค่อยประกาศ “ไม่ขอรับอภัยโทษ” ทำให้พรรคแมลงสาบไปไม่เป็น กระแสช็อต ไฟตกวูบ จอดับ

แกนนำพันธมิตรคงทั้งเสียดายและทั้งโล่งอก ที่เสียดายคือพันธมิตรทุกวันนี้เหมือนปลากระดี่จมปลัก อ้าปากผงาบๆ รอน้ำใหม่ไหลมาชุบชีวิต พรฎ.อภัยโทษเปรียบเหมือน “ษิณเจริญเชิญแขก” ที่อาจช่วยให้ได้เงินบริจาคต่อค่าเช่าช่องสัญญาณ แต่ขณะเดียวกันก็โล่งอก เพราะกลัวอยู่เหมือนกันว่า ขนาดถอยมานัดชุมนุมที่ถนนท่าพระอาทิตย์ (ไม่ยักยึดราชดำเนิน) จะเหลือที่ว่างให้เตะตะกร้อเป็นร้อยวง ถ้าเรียกคนไม่ได้ดังคำคุย สถานภาพที่เป็นเสือกระดาษอยู่แล้วก็จะกลายเป็นเสือกระบากเข้าไปใหญ่

โถ ดูอย่างหมอตุลย์นัดชุมนุมที่สวนลุมเมื่อวันศุกร์สิครับ มีคนไปมากกว่าปกติตั้ง 10 เท่า คือจากปกติราว 100 คน เพิ่มเป็น 1,000 คน คริคริ

เปล่า ไม่ได้เยาะเย้ยหมอตุลย์ เพราะยังไงผมก็ยังนับถือหมอตุลย์เป็นส่วนตัว การที่หมอตุลย์นัดชุมนุมครั้งไรมีคนไปแค่หลักร้อยเนี่ย แสดงว่าหมอตุลย์แกบริสุทธิ์ใจ ไม่มีใครหนุนหลัง ไม่มีม็อบจัดตั้ง ไม่มีตังค์จ้างใคร

แต่การชุมนุมครั้งนี้ไม่ใช่แค่หมอตุลย์ ได้ข่าวว่ามีตั้ง 32 องค์กร รวมเหล่าดาวกระจุยที่ว่างงานเหงาปากมานาน อาทิเช่น ประสาร มฤคพิทักษ์, วสันต์ สิทธิเขตต์, พล.ท.นันทเดช เมฆสวรรค์, นิติธร ล้ำเหลือ, สุริยันต์ ทองหนูเอียด ฯลฯ และ อ.แก้วสรร อติโพธิ ที่เคารพรักของผมอีกคน สมทบกับ สว.ลากตั้งอย่าง สมชาย แสวงการ, พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม

ขนาดนั้นยังมีมิตรรักแฟนเพลงบางตา ไม่ยักสามารถเชิญแขกเท่าไหร่เลย เห็นมีแค่พวก “เก่งแต่นิ้ว” คือมีนิ้วไว้กด like ทางเฟซบุค โลกยุคโซเชียลเนตเวิร์คได้สร้างคนรุ่นใหม่ ที่แย่เสียกว่า “เก่งแต่ปาก” เพราะเก่งแต่ปากอย่างน้อยก็ยังกล้าเผยตัว แต่พวกเก่งแต่นิ้ว มีนิ้วไว้กด like เป็นแสนๆ ตัวจริงหดหัว เอาเข้าจริงสังคมออนไลน์แบบไทยๆ ก็เป็นแค่วงนินทาด่าคนลับหลัง อย่าหวังว่าจะเป็นพลังสร้างสรรค์แบบ “การปฏิวัติดอกมะลิ” ในโลกอาหรับ

ผมกล้าท้าเลยว่าต่อให้ทักษิณตัวเป็นๆ กลับเมืองไทยมานั่งหัวโต๊ะประชุม ครม. ก็ไม่มีทางเกิดม็อบพันธมิตรเรือนแสนที่สยามสแควร์ เพราะพลังของชนชั้นกลาง (ทางวัฒนธรรม ตามคำกล่าวของสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล) กลายเป็นสิ่งชำรุดทางประวัติศาสตร์ไปแล้ว เป็นได้แค่อีแอบในเฟซบุค หมกมุ่นอยู่กับอคติและความเกลียดชัง ไร้ทิศทาง มองไม่เห็นทางออก ขังตัวเองอยู่ในกรงแคบๆ กลัวน้ำเสียจนบางครั้งก็กัดกันเอง

พลังแห่งการทำลาย
ผลงานชิ้นโบแดงของพวกสลิ่มเฟซบุคในช่วงมหาอุทกภัย คือพวกเขาสามารถบ่อนทำลายเครดิตของ ศปภ.จนยอดเงินบริจาคตกต่ำน่าใจหาย กล่าวได้ว่าแทบจะไม่มีใครบริจาคช่วยผู้ประสบภัยผ่าน ศปภ.อีก 

แน่นอนว่าด้านหนึ่ง ศปภ.ทำตัวเอง ด้วยการทำงานไม่เป็นระบบ ขาดประสิทธิภาพ “มั่ว” รวมทั้งมีข้อกังขา (มีมูลเสียด้วย) เรื่องทุจริตจัดซื้อถุงยังชีพ แต่ข้อบกพร่องหรือความไม่โปร่งใสดังกล่าว ถ้ามีอยู่ 30% พวกสลิ่มก็ตีปี๊บให้เป็น 100% ถ้ามีอยู่ 60% ก็ตีปี๊บเป็น 200% และสรุปกันเรียบร้อยก่อนจะรู้ข้อเท็จจริงด้วยซ้ำ อย่างเช่นคลิปที่อ้างว่า ศปภ.ทิ้งของบริจาคไว้เต็มดอนเมืองวันที่ 29 ตุลา พวกสลิ่มเชื่อโดยไม่ต้องพิสูจน์ ทั้งที่หลังเป็นข่าว นักข่าวหลายสำนักไปดู ก็พบว่า ศปภ.ขนของออกมาหมดแล้ว (ในคลิปมีของมูลนิธิไทยคมด้วย โห ใครจะกล้าเอาของมูลนิธิไทยคมไปทิ้ง)

เรื่องทุจริตจัดซื้อถุงยังชีพ เท่าที่ได้ข้อมูลเป็นเรื่องจริง ซึ่งรัฐบาลต้องจัดการเด็ดขาด “นิ้วไหนร้ายตัดนิ้วนั้นทิ้ง” เพราะไม่เช่นนั้นก็จะไม่เป็นธรรมกับคนของพรรคเพื่อไทยเอง หรือคนของรัฐบาล ที่ส่วนใหญ่ทำงานจริงจัง เหนื่อยยาก ทนถูกด่า แล้วยังต้องมาแบกหม้อก้นดำ ปลาเน่าตัวเดียวเหม็นทั้งข้อง

แต่เรื่องถุงยังชีพที่จุดประเด็นขึ้นในเฟซบุค เกิดจากพวกฟังไม่ได้ศัพท์จับไปกระเดียด หาว่าถุงที่รวมของบริจาค เป็นถุงจัดซื้อราคา 800 บาท ต่อมา ศปภ.จึงชี้แจงว่ามีถุง 3 ราคา คือ 300,500,800 แล้วฝ่ายค้านก็จับพิรุธได้ว่าถุงราคา 800 น่าจะแพงเกินเหตุ (ไม่ใช่อะไรหรอก เพราะร้านโชว์ห่วยที่ขายถุงยังชีพให้ ปภ. 4 หมื่นถุง 32 ล้านบาท คือร้านเดียวกับที่ขายให้รัฐบาลที่แล้ว 25 ล้านบาท เข้าตำราไก่เห็นตีนงู

กระนั้น เรื่องที่ตามหลังมาพวกสลิ่มไม่สนใจหรอก เพราะเชื่อกันตั้งแต่แรกแล้วว่า ศปภ.โกง เอาเงิน 800 มาซื้อถุงยังชีพราคาแค่ 2-300 ต่อให้ไม่มีการทุจริต พวกสลิ่มก็เชื่อว่าทุจริตอยู่ดี

ประเด็นคือ ถ้าพวกสลิ่มรณรงค์ให้คนบริจาคกับสภากาชาด หรือมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ หรือองค์กรอื่นๆ ก็ไม่ว่ากัน แต่เท่าที่เห็นไม่ได้เป็นอย่างนั้นสิครับ ส่วนใหญ่เป็นแค่พวกโรคจิตดิสเครดิต ศปภ.ได้ก็หัวร่อสะใจ โดยไอ้พวกนี้ไม่เคยควักสตางค์ช่วยผู้ประสบภัยซักบาท ขณะที่พวกเสื้อแดงซึ่งเมริงกล่าวหาเขา ยังแยกวงจาก ศปภ.มาจัดขบวนรถออกช่วยเหลือประชาชนต่อเนื่อง

พวกสลิ่มใช้เฟซบุคเพื่อการจ้องจับผิดและทำลาย แม้กระทั่งโพสต์ภาพอาสาสมัคร ศปภ.เล่นเฟซบุค เขาชี้แจงก็ไม่ฟัง แต่ไปๆ มาๆ เจออาสามัคร มธ.เข้าเป็นไงล่ะ “ฉันรักธรรมศาสตร์ เพราะธรรมศาสตร์สอนให้ฉันลัก Dapper ประชาชน” (อ.ปริญญายังออกมาชี้แจงข้างๆ คูๆ แย่ยิ่งกว่า ศปภ.ชี้แจงเสียอีก)

ที่พูดนี่ไม่ได้ว่าเสื้อเหลืองทั้งหมด เพราะพวกเสื้อเหลืองดีๆ มีจิตอาสาก็ไม่น้อยเหมือนกัน อย่างเช่นกลุ่ม “สยามอาสา” นี่เหลืองจ๊าดๆ เลยนะครับ แต่เขาไม่ได้เอาสีเสื้อเข้ามาเกี่ยวข้องกับการช่วยเหลือผู้ประสบภัย (เหมือนๆ มูลนิธิกระจกเงา ที่ช่วยภัยพิบัติแม้ในยุครัฐบาล ปชป.) เออเฮ้ย เหลืองแบบนี้สิน่าเคารพจิตใจ เป็นคนที่สามารถร่วมมือกันได้เพื่อสร้างสรรค์อนาคตที่ดีกว่า

เวลาประณาม “สลิ่ม” ยังต้องแยกออกจากคนที่เขาเคารพเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างบริสุทธิ์ใจ และยึดถือเป็นแบบอย่างในการทำความดี ตัวอย่างเช่น ดนัย จันทร์เจ้าฉาย ผู้เขียนหนังสือ “ธรรมดีเพื่อพ่อ” นำทีมปั้น EM Ball ช่วยเหลือผู้ประสบภัย คุณดนัยมีพลังในการโน้มน้าวผู้คนให้ทำความดี โดยไม่แบ่งสีเลือกข้าง ดังนั้น คำว่า “สลิ่ม” ถ้าบัญญัติให้ชัดเจนก็คือพวกอ้างความ “รักในหลวง” มาสร้างความเกลียดชัง

คุณ Faris Yothasamuth บัญญัติคุณลักษณะของสลิ่มไว้ครบถ้วน สะใจ สลิ่มคือพวกที่มีความรู้เฉพาะด้านตามมาตรฐานการศึกษาไทย แต่ไม่รู้จักใช้หัวคิด จบปริญญาโทปริญญาเอก กลับไปหลงงมงายศาสดาโกเตกซ์ ครั้นพอรู้ไส้ศาสดา (คือเพิ่งรู้ว่าตัวเองโง่) ก็ไม่กล้าใส่เสื้อเหลือง กระนั้นยังคงความเชื่อง่ายและใช้ความรักความเกลียดชี้นำ แบบว่าพอเกจินู้ดด่ายิ่งลักษณ์ เกจินู้ดก็เป็นฮีโร่ (ทั้งที่พวกนี้อ้างว่ามีศีลธรรม รุมประณามสาวเต้นเปลือยอก) เก่ง การุณ ถีบสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ เก่งเป็นผู้ร้าย แต่พอมัลลิกา บุญมีตระกูล ถีบเก่งเข้าบ้าง มัลลิกาเป็นนางเอก กด like กันสนั่นหวั่นไหวใน You Tube

สลิ่มเป็นพวกเชื่อง่าย ถ้าใจอยากเชื่อ ประทับใจง่าย ถูกหลอกง่าย เหมือนสาวกค่ายกรีนเวฟหัวกลวง หลงคำคร่ำครวญว่า กสทช.ยึด “คลื่นเพื่อสังคม” แต่เอาเข้าจริงก็เก่งแต่พูดฉอดๆ อยู่วงนอก เขาท้าไปออกทีวีประจัญหน้า เอาสัญญามาแฉกัน ก็ไม่กล้าไป

ฉันใดฉันนั้น เหมือนพวกเชื่อเว็บการกุศลช่วยน้ำท่วมด้วยจิตอาสา (แต่พอไม่ได้ดังใจก็ฟาดงวงฟาดงาด่าเสื้อแดง) หารู้ไม่ว่าทันทีที่คุณคลิกเข้าไปดูข่าว เขาก็เชื่อมลิงก์เข้าเว็บแม่ ได้เรตติ้งเพิ่มค่าโฆษณา (รอบหน้าคงขายเว็บได้อีกหลายร้อยล้าน) ใครว่าการกุศลไม่ได้ผลประโยชน์ ธุรกิจสมัยใหม่ต้องทำควบคู่ไปกับการสร้างภาพ เพิ่มมูลค่าให้ตัวเอง รับเงิน สสส.มาทำงานเพื่อสังคม เพียงแต่บางครั้งก็ผิดพลาดบ้าง โปรดอภัย (เช่น ใช้ถ้อยคำอนาจารหลอกล่อ “ดักควาย” เข้าไปดูเว็บตัวเอง แล้วอ้างว่าเป็นฝีมือนักศึกษาฝึกงาน คริคริ)

นี่แหละคือสลิ่ม ซึ่งดูถูกชาวบ้านเสื้อแดง ว่าถูกแกนนำหลอกใช้ แต่ตัวเองถูกจูงจมูกง่ายยิ่งกว่าชาวบ้านผู้ไร้การศึกษา แล้วยังมีหน้ามาเรียกร้องว่าควรให้ผู้จบปริญญาตรีเท่านั้นมีสิทธิเลือกตั้ง

สลิ่มมีความสามารถในการบ่อนทำลาย แต่ไม่มีความสามารถในการสร้างสรรค์ มีความสามารถในการปลุกความเกลียดชัง แต่ไม่สามารถนำเสนอสิ่งที่ดีกว่า นั่นคือสาเหตุ ที่ทำให้พวกเขาได้แต่ทำลายคนอื่นและทำลายตัวเอง สื่อสลิ่มปลุกคนให้บ้า โดยไม่สามารถหาทางออก สุดท้ายคนอ่านก็กลายเป็นพวกโรคจิต มีแต่ความไม่พึงพอใจสังคมที่ดำรงอยู่ แต่ไม่รู้จะทำให้ดีขึ้นอย่างไร

เหมือนการต่อต้าน “ระบอบทักษิณ” โดยหันไปพึงรัฐประหารตุลาการภิวัตน์ พอรัฐประหารล้มเหลว ก็ฝากความหวังกับ “ระบอบแมลงสาบ” พอแมลงสาบล้มเหลว ก็พยายามวาดภาพฝัน ยึดเอา “ระบอบรักในหลวง” เป็นที่พึ่ง ซึ่งไม่ทราบว่าจะเอาอย่างไรแน่ ไม่มีความชัดเจน ไม่มีทิศทาง ไม่รู้ว่าจะนำพาประเทศไปอย่างไร

มีไหม พลังที่มีเหตุผล
สลิ่มเฟซบุคส่วนใหญ่ เป็นผลิตผลของระบบการศึกษาไทยยุคหลัง 2520 ซึ่งเน้นผลิตบุคลากรมารับใช้ความเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยถูกตัดขาดจากความรู้ด้านวิทยาศาสตร์สังคม และประวัติศาสตร์การต่อสู้ประชาธิปไตยตั้งแต่ 2475 ถึง 6 ตุลา 2519 คนพวกนี้ถูกเสี้ยมสอนให้เป็นเครื่องจักรที่ดีของสังคม รู้จักเข้าคิว อ่อนน้อมถ่อมตน เคารพผู้หลักผู้ใหญ่ ยึดมั่นในพระบรมราโชวาท ไม่เหมือนคนยุคแสวงหา ยุคซิกซ์ตี้ ที่มักจะมีวิญญาณกบฎ 

ในทางวัฒนธรรรมพวกนี้ก็เติบโตมากับหนังแอคชั่นของอาร์โนลด์ ชวาเซนเนกเกอร์, ซิลเวสเตอร์ สตาลโลน หนังมหาลัยวัยหวานของศุภักษร หรือมีเทสต์ขึ้นมาหน่อยก็ละครตลกของซูโม่สำอาง (มีเทสต์จนดูถูกคนไร้การศึกษา)

พอโตมาอย่างสมองกลวง จึงไม่น่าประหลาดใจที่คนจบปริญญาโทปริญญาเอก ไปหลงงมงายศาสดาโกเตกซ์ ต่อให้ไม่เกิดพันธมิตร พวกนี้ก็จะแสวงหาศาสดาต่างๆ เป็นที่พึ่ง ทั้งไสยศาสตร์ พุทธศาสตร์ ลัทธิประหลาด ลัทธิจานบิน แสงทิพย์โยเร ฯลฯ บางทีก็ดูเหมือนจะยึดถือศาสดาที่ดี คำสอนมีเหตุผล เช่นไปนั่งสมาธิสายหลวงพ่อชา หรืออ่านหนังสือพุทธทาส แต่เอาเข้าจริงก็เข้าไม่ถึง บางคนมีหนังสือพระเต็มตู้แต่ก็ตะกายอยู่กับโมหะ ไม่ได้อ่านหนังสือพระเพื่อปล่อยวาง แต่อ่านหนังสือพระเพื่อเสริมความหลงผิดคิดว่าตัวเองดีวิเศษกว่าคนอื่น

ดูง่ายๆ พวกที่ไปปฏิบัติธรรมตามสำนักสงฆ์ต่างๆ ล้วนแต่เป็นคนมีปัญหาทั้งนั้น คนไม่มีปัญหาชีวิตเขาไม่ต้องไปปฏิบัติธรรมกันหรอก เพราะเขาสามารถประสานฆราวาสธรรมให้เข้ากับการดำรงชีวิตตามปกติอยู่แล้ว 

คนที่ควรตำหนิมากกว่าสลิ่มผู้น่าสงสารคือพวกเสแสร้งเป็นสลิ่ม แต่มีอิทธิพลชักนำสลิ่ม ซึ่งก็คือพวกที่เคยเป็นนักเคลื่อนไหวประชาธิปไตยสมัย 14 ตุลามาจนถึงพฤษภา 35 บางคนก็เข้าป่า ออกป่า มามีบทบาทในภาคประชาสังคม ในแวดวงธุรกิจ วิชาการ ในสื่อ และในทางศิลปวัฒนธรรม

คนพวกนี้ (อย่างที่สมศักดิ์กล่าวถึง) ไม่ได้เป็นสลิ่มโดยธรรมชาติ แต่เสแสร้งเป็นสลิ่ม อย่างมี Agenda คือรู้ทั้งรู้ว่าหาทางออกไม่ได้แต่ก็ชักนำพลังสลิ่มไปใช้เพื่อทำลาย

หลังเลือกตั้ง เวลาเจออดีตเพื่อนพ้องน้องพี่เหล่านี้ ผมบอกเสมอว่ารัฐบาลเพื่อไทย (ที่ผมเลือกเนี่ย) มันแย่ มันไปไม่รอดหรอกนะ มันไม่สามารถนำพาประเทศไปสู่การปฏิรูปครั้งใหญ่ตามที่เราต้องการ แต่ปัญหาคือถ้าคุณไล่รัฐบาลแล้วจะนำไปสู่อะไร รัฐประหารก็ไม่มีใครเขาเอาแล้ว แมลงสาบก็ไม่มีใครเขาเอาแล้ว รัฐบาลพระราชทานก็ไม่ใช่คำตอบ ถ้าพวกคุณไม่มีทางออกให้สังคม ผมก็ต้องสนับสนุนระบอบที่มาจากเสียงข้างมากของประชาชนไว้ก่อน

สิ่งที่ผมอยากเห็นคือ มีไหม พลังของคนชั้นกลางที่มีสติ มีเหตุผล ที่จะมาตรวจสอบ ถ่วงดุล คานอำนาจรัฐบาลชุดนี้ โดยไปให้พ้นจากความบ้าคลั่ง ไร้สติ ไปให้พ้นจากพันธนาการเดิมๆ ของพันธมิตร ไม่หวนหารัฐประหาร ไม่ผูกติดกับผลพวงรัฐประหาร ตุลาการภิวัตน์ ไม่อ้างสถาบันพระมหากษัตริย์มาขัดขวางพัฒนาการประชาธิปไตย และไม่ผูกตัวเองไว้กับพรรคการเมืองที่เก่งแต่ให้ร้ายป้ายสี

ถ้าสร้างพลังอย่างนี้ไม่ได้ รัฐบาลห่วยๆ ก็จะทำอะไรได้ตามอำเภอใจ เพราะพลังที่คัดค้านต่อต้าน ไร้สติเสียยิ่งกว่า และมุ่งแต่จะหาทางโค่นล้มอำนาจอธิปไตยของปวงชน ไม่ใช่แค่ล้มรัฐบาล

น้ำท่วมครั้งนี้พูดได้เต็มปากว่ารัฐบาลทำงานด้อยประสิทธิภาพ แถมยังมีเรื่องฉาวโฉ่ถุงยังชีพ ถ้าฝ่ายตรงข้ามวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลอย่างมีเหตุผล ว่าตามเนื้อผ้า ไม่ใช้วิธีการของแมลงสาบและสลิ่ม รัฐบาลแย่แน่ครับ แต่พวกเมริงนั่นแหละ หารู้ไม่ว่าช่วยอุ้มรัฐบาลด้านกลับ เดี๋ยวก็ด่าผู้หญิงเหนือ เดี๋ยวก็วิจารณ์การใช้ภาษาอังกฤษ เดี๋ยวก็หาว่าบีบน้ำตาแสดงความอ่อนแอ ให้ร้ายป้ายสีกันให้เว่อร์เข้าไว้ พวกเสื้อแดงปทุม อยุธยา นนทบุรี โดนน้ำท่วมมิดหัวเพราะความไม่เอาไหนของรัฐบาลที่ตัวเองเลือกมา จึงต้องชูนิ้วกลางให้สลิ่มและแมลงสาบไว้ก่อน

พลังของชนชั้นกลางตอนเริ่มต้นไล่ทักษิณเมื่อ 5 ปีก่อน แม้จะเป็นกระแสอารมณ์แต่ก็ยังอยู่ในวิถีประชาธิปไตยที่มีเหตุผล จนมาเป๋เมื่อขอ ม.7 และออกบัตรเชิญรัฐประหาร จำได้ไหมว่าเลือกตั้ง 2 เมษา คะแนน Vote No รวมบัตรเสีย สูงถึง 13 ล้าน ไม่ใช่แค่คะแนน ปชป.หรือพรรคชาติไทยด้วย เพราะหลายจังหวัดในภาคเหนือภาคอีสาน Vote No ชนะ

แต่ 5 ปีผ่านไปพลังของชนชั้นกลางทำลายตัวเอง ไม่ใช่แค่ปีกที่ยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตยแตกออกมาเป็น “สองไม่เอา” (ซึ่งสุดท้ายก็ถูกผลักเป็นเสื้อแดงอยู่ดี) แต่พวกเสื้อเหลืองและสลิ่มก็แตกคอกันเอง กลายเป็นโรคจิต 500 จำพวก แม้แต่พรรคการเมืองใหม่ก็ยังแตกคอกับพันธมิตร คนบางส่วนอาจแตกไปเพราะผลประโยชน์ แต่หลักๆ เป็นเพราะความคิดสับสน ไร้แนวทาง กระทั่ง “การเมืองใหม่” ภาพสังคมในอุดมการณ์ ก็ยังไม่สามารถอธิบายให้เห็นภาพได้ว่ามันคืออะไร จะไปสู่จุดนั้นได้อย่างไร

คนนอกอาจจะแปลกใจที่เห็นสมศักดิ์ โกศัยสุข แตกคอกับพันธมิตร แล้วเล่นกันแรงถึงขั้นฟ้องร้องยะใส แต่ผมไม่แปลกใจ พคท.ตอนขัดแย้งกันรุนแรงใกล้ป่าแตกก็เป็นอย่างนี้ หลายๆ เขตถึงขั้นจะยิงกัน จะฆ่ากัน (ทางใต้บางเขตได้ข่าวว่าฆ่ากันจริงๆ) ทั้งที่เป็นมิตรร่วมรบ ร่วมเป็นร่วมตายทุกข์ยากลำบากมาด้วยกัน

แต่คนที่คลั่งอุดมการณ์เวลาขัดแย้งก็จะเห็นกันเป็นศัตรูได้ถึงเพียงนั้น เหมาเจ๋อตุงถึงได้ฆ่าหลิวเซ่าฉี สตาลินถึงส่งคนตามฆ่าทรอตสกี้

ที่พูดนี่เพราะผมตั้งข้อสังเกตว่าพวก “ซ้ายเก่า” ทั้งในเสื้อเหลืองและเสื้อแดงยังติดเชื้อพิษจากพรรคคอมมิวนิสต์ในอดีต (แบบว่าแกนนำเสื้อแดงบางคนก็พยายามเอารูปการจัดตั้งเข้ามายัดเยียดให้ นปช.ใครไม่เห็นด้วยก็ด่าเขา แต่เอาไว้วันหลังค่อยพูดอีกที เดี๋ยวจะนอกเรื่องไป)

ผมไม่ได้บอกว่าพลังเสื้อแดง พลังคนชั้นล่างหรือคนชั้นกลางชนบท เป็นพลังประชาธิปไตยที่งามพร้อมสมบูรณ์ แต่อย่างน้อยพวกเขาก็มีทิศทางที่ก้าวไปข้างหน้า ขณะที่พลังของชนชั้นกลางกลับถอยหลัง

ใครจะมองไปข้างหน้าก่อนกัน
สิ่งที่ชนชั้นกลางสลิ่มพึงสังวรณ์คือมันมีเค้าลางปรากฏการณ์ที่ชนชั้นนำฝ่ายอำมาตย์ อาจเกี้ยเซี้ยกับชนชั้นนำฝ่ายทักษิณ หาทางอยู่ร่วมกันโดยแบ่งปันอำนาจระหว่างสองฝ่าย 

ถ้ามันเกิดขึ้นจริง กระบวนการ “เกี้ยเซี้ย” จะทำให้รัฐบาลลดเงื่อนไขการแก้รัฐธรรมนูญ ปฏิรูปประชาธิปไตย ไม่แตะต้องกองทัพ ไม่แตะต้องอะไรหลายๆ เรื่อง (เป็นสันดานนักการเมืองอยู่แล้วที่ต้องการแค่อำนาจ) แลกกับการให้ทักษิณกลับบ้าน (แลกแม้กระทั่งยอมให้อากง SMS ติดคุก 20 ปี)

ถึงกระนั้นพวกสลิ่มก็ยังคงออกมาต่อต้านแค่ตัวบุคคล ยึดติดกับทักษิณ ยึดติดกับความเกลียดชัง ขณะที่พลังฝ่ายประชาธิปไตย พลังเสื้อแดงส่วนที่เรียกร้องต้องการประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์ พร้อมจะ “ก้าวข้ามทักษิณ” ไปสู่เนื้อหาที่แท้จริง (ถ้าเขาเกี้ยเซี้ยกันจริง ก็จะเป็นจุดตัดระหว่างเสื้อแดงประชาธิปไตยกับเสื้อแดงที่ผูกติดทักษิณ)

สมมตินะครับ สมมติว่าเขาเกี้ยเซี้ยกันจริง ก็ประชาชนนั่นแหละที่ผิดหวังทั้งสองฝ่าย แต่คุณจะแปรความผิดหวังให้เป็นพลังที่พัฒนาไปข้างหน้าอย่างไร หรือเป็นแค่พลังที่โวยวาย ไม่เอา ไม่ยอม เรียกหารัฐประหาร ทหารก็ไม่เล่นด้วยแล้ว เรียกหาอำมาตย์ อำมาตย์ก็รู้แล้วว่ามีแต่เปลืองตัว สุดท้าย สลิ่มก็ได้แต่คลั่งอยู่ในกะลา

ภาระหน้าที่ของชนชั้นกลางมันควรจะก้าวหน้ากว่านั้น ภาระหน้าที่ของนักเคลื่อนไหว NGO นักวิชาการ นักคิด อธิการบดี ศิลปินแห่งชาติ ศาสตราจารย์เสื้อกั๊ก ที่มีเกียรติคุณเป็นนักต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยมา 40 ปี ควรจะมีสติปัญญาหาทางออกให้สังคมไทย มากกว่าการยึดติด “ระบอบรักในหลวง”

อะไรคือการพัฒนาประชาธิปไตยไปข้างหน้า ถ้าต้องการให้ก้าวข้าม “ระบอบทักษิณ” ถึงวันนี้ “ระบอบทักษิณ” ไม่มีอะไรน่ากลัวหรอก มันพร้อมจะล้มทุกเมื่อ ขอเพียงมี “โมเดล” ที่ชัดเจนมาแทนที่

ในทัศนะผม มันหมดยุคแล้วที่จะคิดเรื่อง “ยึดอำนาจรัฐ” ไม่ว่าอำนาจรัฐเป็นของทักษิณ เป็นของแมลงสาบ เป็นของอำมาตย์ เป็นของทหาร ล้วนไม่ใช่คำตอบสำหรับประชาชน

เราจะต้องสร้างโมเดลของการ “ลดอำนาจรัฐ เพิ่มอำนาจประชาชน” แต่เป็นโมเดลที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม ไม่ใช่พูดเจื้อยแจ้วแล้วลงท้ายต่อต้านนักการเมืองจากการเลือกตั้ง อย่างหมอประเวศ วะสี การลดอำนาจรัฐไม่ใช่แค่ลดอำนาจนักการเมือง แต่ยังต้องลดอำนาจระบบราชการ ลดอำนาจทหาร ตำรวจ อัยการ ลดอำนาจศาล องค์กรอิสระ ลดอำนาจศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายให้เป็นอำนาจที่ตรวจสอบวิพากษ์วิจารณ์ได้ และมีอำนาจโดยจำกัด ใช้อำนาจแล้วต้องรับผิดชอบ

คุณกล้าสร้างโมเดลนี้ไหมล่ะ ลดศูนย์กลางอำนาจรัฐให้เล็ก กระจายอำนาจให้ประชาชนจริงๆ (ไม่ใช่หลอกให้เข้าชื่อ 1 หมื่นชื่อโดยไร้ความหมาย) กระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น สู่การปกครองขนาดเล็ก ยกเลิกผู้ว่าฯแบบเก่า เลือกตั้งผู้ว่าฯแบบใหม่ ชำแหละระบบราชการ แยกส่วน ปฏิรูปใหม่หมด ให้ยึดโยงกับประชาชน กระจายอำนาจสู่ข้าราชการชั้นผู้น้อย ตรวจสอบกันได้ตั้งแต่ล่างถึงบน ไม่ใช่รวมศูนย์อำนาจ รวมศูนย์การใช้ดุลพินิจ อยู่ที่ปลัดพันล้าน ปฏิรูปฐานความคิด  ความเชื่อเรื่องบุญหนักศักดิ์ใหญ่ ค่านิยมเชิงพิธีกรรม หัวโขน อนุรักษ์นิยม ซึ่งทำให้คนกลัวหงอไม่กล้าต่อต้านคอรัปชั่น ฯลฯ

ผมไม่ได้เป็นนักคิดนักวิชาการ ศาสตราจารย์ ผู้มากความสามารถ เป็นแค่คอลัมนิสต์ ก็คิดได้แค่นี้ แต่ขอฝากคำท้าทาย ถึงชนชั้นกลางทางวัฒนธรรมทั้งหลาย ว่าพวกคุณมีความสามารถที่จะคิดสร้างสรรค์ คิดไปข้างหน้าได้ไหม หรืออย่างน้อยก็คิดร่วมกัน ไม่ใช่เราคิดแล้วพวกคุณเอาแต่ต่อต้าน โดยอ้างทักษิณ

ถ้าคิดไม่ได้ก็ยุติบทบาทตัวเองไปเสียเถอะ เพราะไอ้ที่ทำๆ กันอยู่ อย่างเช่นการเข้าชื่อของอาจารย์มหาลัย ทุกวันนี้ไม่มีใครยอมรับแล้วว่าอาจารย์มหาลัยรู้ทุกเรื่อง รู้ดีกว่าชาวบ้าน ถ้าพูดอะไรไม่มีเหตุผล ไม่มีตรรก ไม่มีหลักการ อาจารย์เข้าชื่อกัน 100 คนก็ไม่ต่างจากแม่ค้าท่าพระจันทร์เข้าชื่อกัน 100 คน เผลอๆ แม่ค้า 100 คนยังมีประโยชน์กว่าอาจารย์สลิ่ม 100 คนด้วยซ้ำ 

                                                                                    

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เกรียงศักดิ์ ธีระโกวิทขจร: “สลิ่ม” กับการต่อสู้เชิงวัฒนธรรมและการเมืองภายในชนชั้น (กลาง)

Posted: 23 Nov 2011 07:56 AM PST

 
สลิ่ม คืออะไร?? ผมเคยพยายามเทียบเคียงคำนี้กับภาษาอังกฤษ เพื่ออธิบายให้ชาวต่างชาติเข้าใจ ปรากฎว่าหาไม่เจอ คอนเซอร์วาตีฟหรอ? ก็พบว่าไม่ใช่ 
 
ในแง่ของภาษาและการกำหนดความหมาย เราสามารถเข้าใจความหมายของ “คอนเซอร์วาตีฟ” โดยวางมันเทียบเคียงกับ “เสรีนิยม” พวกเรารู้ดี เรามักสร้างอัตลักษณ์หนึ่งจากการสร้างความเป็นอื่น ไม่ใช่ความเหมือน ให้กับอัตลักษณ์แบบอื่น แล้วสลิ่มหละ เราคงจะต้องทำความเข้าใจคำว่าสลิ่ม จากสิ่งที่วางอยู่ตรงข้าม นั่นคือความไม่เป็นสลิ่ม
 
ข้อสังเกตที่สำคัญคือ เกือบจะร้อยเปอร์เซ็นต์ คำว่า “สลิ่ม” ถูกใช้โดยคนในเมืองที่มีการศึกษา หรือโดยชนชั้นคอปกขาว เพื่อคนในชนชั้นคอปกขาว  พูดง่ายๆ มันถูกใช้ภายในชนชั้นกลางด้วยกันเอง เราแทบไม่พบคนชนชั้นแรงงานใช้คำนี้เรียกขานกลุ่มเดียวกัน (อาจจะมีกรณียกเว้น ก็สำหรับกลุ่มผู้นำแรงงานหรือกลุ่มที่อยู่บริเวณรอยต่อระหว่างชนชั้นทางเศรษฐกิจ ) ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
 
แท้จริงแล้ว คำว่า “สลิ่ม” สะท้อนรสนิยมทางการเมืองรูปแบบหนึ่ง  ไม่ว่าจะคลุมเครือแค่ไหน ผู้พูดมักกำลังสื่อถึงท่าทีหรือจุดยืนทางการเมืองที่ไร้รสนิยมทางการเมืองจากสายตาของผู้พูด
 
นักสังคมวิทยาประดิษฐ์คำว่า “รสนิยม” ขึ้นใช้ครั้งแรกกับคนชั้นกลางที่เป็นสัตว์สังคมทุนนิยมไม่ใช่หรือ ในบริบททางเศรษฐกิจ คนชนชั้นแรงงานมีกำลังทางเศรษฐกิจจำกัด จึงบริโภคเพียงสิ่งที่จำเป็นก่อนเสมอ อันนี้รวมถึงสินค้าทางการเมืองอย่างเช่นนโยบายของพรรคการเมืองด้วย (จะเห็นว่าคนจำนวนมากจึง “รักทักษิณ” เพราะประโยชน์ที่ได้รับจากนโยบาย ก่อนที่จะรักตัวคุณทักษิณและพรรคมากขึ้นภายหลังจากถูกรัฐประหาร)
 
จะสังเกตเห็นอีกด้วยว่าคนชั้นกลางเจ้าของวาทกรรม “สลิ่ม” นั้นมักเป็นกลุ่มคนที่เชื่อมโยงกับ “โลกภายนอก”หรือสังคมเมืองภายนอกประเทศ โดยเฉพาะสังคมตะวันตกหรือประเทศอุตสาหกรรมอย่างสูง
 
ชนชั้นกลางกลุ่มนี้จึงมักมีบุคลิกลักษณะ ท่าทีและจุดยืนทางการเมืองที่เป็น “สากล” เพราะพวกเขาเชื่อมโยงกับสังคมเมืองทั่วโลกผ่านระบบทุน การค้าและการบริโภคที่พวกเขามีปฏิสัมพันธ์อยู่ทุกวัน รวมถึงพวกเขาพบว่าตัวเองมีความคิดเห็น รวมถึงจุดยืนทางการเมืองใกล้เคียงกับคนชั้นกลางในประเทศอื่น มากกว่าชนชั้นอื่นภายในประเทศตัวเอง
 
อย่างไรก็ตาม ฐานะทางเศรษฐกิจ การเชื่อมโยงกับโลกภายนอกผ่านการศึกษาในตะวันตกและระบบทุนก็เป็นเพียงเงื่อนไขที่จำเป็นเท่านั้น  หากแต่ความเชื่อในเรื่องความยุติธรรม สิทธิมนุษยชน รวมถึงการสนับสนุนประชาธิปไตยแบบตัวแทนและระบบเลือกตั้งเป็นเงื่อนไขที่เพียงพอที่ทำให้พวกเขาต่างจากชนชั้นกลางที่พวกเขาเรียกว่า “สลิ่ม”
 
การสร้าง “สลิ่ม” แท้จริงเป็น political project ของคนชั้นกลางฝ่ายหนึ่งที่ต้องการหาพื้นที่ของตนเองท่ามกลางการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายทางการเมือง ท่ามกลางการกำหนดขั้ว การหาพันธมิตรและศัตรู เพื่อบอกให้คนกลุ่มอื่นรู้ว่าพวกเขามีที่ทางตรงไหน  เหินห่างหรือตั้งตระหง่านอยู่เคียงข้างใคร
 
พูดแบบวิชาการ มันจึงเป็นส่วนหนึ่งของการเมืองเรื่องอัตลักษณ์ภายในชนชั้นกลาง
 
สลิ่มจึงเป็นซับเซ็ตหนึ่งภายในชั้นกลางและมีลักษณะแบ่งแยกมากกว่าจะรวมใครเข้าหากัน นอกจากนี้ เนื่องจากเราสามารถเพิ่มรายละเอียดความเป็นสลิ่มเข้าไปในรายการได้ไม่รู้จบ การแตกแยกย่อยเฉดสีของความเป็นสลิ่มจึงสามารถเกิดขึ้นได้ไม่รู้จบเช่นกัน
 
ประเด็นสำคัญที่ควรจะกล่าวถึงต่อไปก็คือ ความสัมพันธ์ระหว่างคนชั้นกลางกลุ่มนี้กับคนชนชั้นอื่น ก็ยังคงมีลักษณะเป็นแนวดิ่งหรือมี hierarchy ไม่ต่างจากเดิมนัก ประเด็นนี้เป็นประเด็นที่ผู้เขียนคิดว่าน่าสนใจมาก เพราะเกี่ยวข้องกับรูปแบบและผลสำเร็จของการสร้างแนวร่วมเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยในสังคมไทย แต่ไม่อาจกล่าวถึงได้ในบทความสั้นๆ ชิ้นเดียว
 
 
*ผู้เขียนจึงอยากจะขอเชิญชวนร่วมถกเถียงในประเด็น "สลิ่ม" นี้ ในวันที่ 2 ธ.ค. 54 ที่จังหวัดเชียงใหม่ ณ ร้าน 9 บรรทัด
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

องค์กรนิรโทษกรรม และสหรัฐฯ ประณามการใช้กำลังเกินกว่าเหตุในอียิปต์

Posted: 23 Nov 2011 07:43 AM PST

ชาวอียิปต์ยังคงปักหลักชุมนุมที่จัตุรัสทาห์เรียเพื่อประท้วงสภาทหาร แม้ผู้นำสภาทหารจะออกมากล่าวรอมชอม ด้านสหรัฐฯ ก็ออกมาประณามความรุนแรง แต่ยังถูกมองว่ามีท่าทีกำกวมต่อเหตุการณ์

23 พ.ย. 2011 - ชาวอียิปต์ยังคงชุมนุมอย่างต่อเนื่องตามท้องถนนของเมืองหลวงและตามเมืองต่างๆ เพื่อแสดงความไม่พอใจต่อการที่ทหารถ่ายโอนอำนาจมาสู่ประชาชนอย่างเชื่องช้า แม้ว่าสภาทหารของอียิปต์จะเริ่มรอมชอมด้วยแล้วก็ตาม

ผู้ชุมนุมกว่าหมื่นคนปักหลักชุมนุมกันที่จัตุรัสทาห์เรีย ใจกลางกรุงไคโร จนถึงเมื่อคืนวันอังคาร (22) ที่ผ่านมา มีการตะโกนไล่ "ออกไป! ออกไป!" หลังจากที่จอมพล มูฮัมเมด ฮุสเซน ทันทาวี หัวหน้าสภาคณะทหารสูงสุดของอียิปต์ (Supreme Council of the Armed Forces - SCAF) กล่าวปราศรัยสั้นๆ ผ่านทางสื่อรัฐบาล

อัลจาซีร่ารายงานว่า ภาพการประท้วงในคราวนี้ ชวนให้นึกถึงการประท้วง 18 วัน เมื่อเดือนก.พ. ที่ทำให้ประธานาธิบดีฮอสนี มูบารัค ต้องถูกขับออกจากตำแหน่ง ผู้ชุมนุมในจัตุรัสพากันเปล่งเสียงร่วมกันว่า "ประชาชนต้องการโค่นล้มจอมพล"

ด้านจอมพลทันทาวี กล่าวว่ากองทัพไม่ได้ต้องการอยู่ในอำนาจ พร้อมให้คำมั่นว่าจะมีการจัดการเลือกตั้งประธานาธิบดีใหม่ภายในเดือน ก.ค. 2012 ซึ่งจะเป็นการมอบอำนาจการปกครองสูงสุดจากมือของทหารไปอยู่ในมือผู้นำคนใหม่ ซึ่งนี่เป็นครั้งแรกที่ผู้นำทหารของอียิปต์กำหนดเส้นตายวันเลือกตั้งประธานาธิบดี

ทันทาวีกล่าวให้ความเชื่อมั่นอีกว่าจะยังคงมีการเลือกตั้งส.ส. ในวันที่ 28 พ.ย. ตามกำหนด เขายังเสนออีกวาอาจจะมีการสำรวจทำประชามติในประเด็นการปกครองของสภาทหาร ซึ่งเป็นไปได้ว่าหากประชาชนโหวตลงประชามติไม่เห็นด้วยกับสภาทหาร กองทัพก็จะยอมกลับค่ายทหารไป

"พวกเราต้องการให้มีการเลือกตั้งอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรม พวกเราต้องมาทำงานในช่วงยุคที่มีความเฉพาะเจาะจงมาก พวกเราไม่สนใจว่าใครจะลงสมัครเลือกตั้งบ้าง แล้วใครจะได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดี แต่พวกเราก็ยังถูกกล่าวหาว่ามีอคติอยู่ดี" ทันทาวีกล่าว

การประท้วงครั้งล่าสุดนี้ดำเนินมาถึงวันที่ 4 แล้ว มีรายงานผู้เสียชีวิต 33 ราย ส่วนใหญ่น่าจะถูกสังหารโดยกระสุนปืนจริง อีกกว่า 2,000 รายทั่วประเทศอียิปต์ได้รับบาดเจ็บ

รัฐบาล 'ผู้กู้วิกฤติชาติ'
เหตุรุนแรงจากการประท้วงครั้งนี้เริ่มขึ้นเมื่อตำรวจได้ใช้กำลังในการสลายการชุมนุมที่จัตุรัสทาห์เรียในวันเสาร์ (19) ที่ผ่านมา ทำให้ท่าทีของผู้ประท้วงแข็งกร้าวขึ้น จนพวกเขาเรียกร้องให้มีการจัดตั้งรัฐบาลพลเรือน "ผู้กู้วิกฤติชาติ" และเรียกร้องให้สภาทหารสละอำนาจ

จามาล ผู้สื่อข่าวของอัลจาซีร่ารายงานจากกรุงไคโรว่า การใช้ยุทธวิธีปราบปรามประชาชนเหมือนกับที่เคยกระทำมาก่อนในช่วงสมัยรัฐบาลมูบารัค ยิ่งทำให้ประชาชนโกรธแค้นมากขึ้น และทำให้พวกเขาสูญเสียความนับถือศรัทธาในตัวกองทัพ

ทางด้านอดีตรัฐบาลรักษาการที่ประกาศสละอำนาจ และได้รับการรับรองจากสภาทหารในวันที่ 22 ที่ผ่านมา พวกเขาก็โพสท์ข้อความในเฟสบุ๊คประกาศว่าเจ้าหน้าที่รักษาความสงบจะถอนกำลังจากเขตจัตุรัสทาห์เรีย

แต่ข้อความของอดีตรัฐบาลรักษาการหรือคำปราศรัยของทันทาวีต่างก็ไม่สามารถทำให้การปะทะกันตามท้องถนนจบลงได้ การปะทะยังคงมีขึ้นตั้งแต่ข้างถนนของจัตุรัสทาห์เรียยาวไปจนถึงที่ทำการกระทรวงมหาดไทย

ตำรวจปราบจลาจลจากหน่วยงานกลางด้านการรักษาความสงบ เสริมด้วยกำลังทหาร ยิงแก็สน้ำตาและกระสุนยางเพื่อสลายการชุมนุม ขณะที่กลุ่มวัยรุ่นได้ใช้ก้อนหินและระเบิดเพลิงโจมตีเพื่อฝ่าแนวกั้นไปยังสถานที่ทำการของกระทรวง

ในอเล็กซานเดรีย เมืองที่ใหญ่เป็นอันดับสองของอียิปต์ก็เกิดเหตุการณ์คล้ายคลึงกัน เมื่อผู้ประท้วงต่อสู้กับเจ้าหน้าที่เพื่อบุกเข้าไปที่สำนักงานตำรวจในท้องที่ ผู้สื่อข่าวอัลจาซีร่ารายงานว่า เขาได้ยินเสียงการใช้ปืนช็อตไฟฟ้า (stun gun) ที่พยายามช็อตใส่เหล่าผู้ชุมนุมอย่างชัดเจนเมื่อเหล่าผู้ชุมนุมเข้าล้อมตำรวจ

อัมร์ การ์เบีย นักกิจกรรมเรียกร้องประชาธิปไตยให้ความเห็นว่า คำพูดของทันทาวีไม่ได้ทำให้สถานการณ์เปลี่ยนไปมากนัก

"ทันทาวีใช้เวลา 80 ถึง 90 เปอร์เซนต์ไปกับการบอกว่ากองทัพสามารถดำเนินการเปลี่ยนผ่านทางอำนาจได้ดีเพียงใด แต่พวกเขาไม่ได้พูดเกี่ยวกับการดำเนินคดีกับกองทัพ หรือผู้ที่กำลังถูกดำเนินคดีเลย" การ์เบียกล่าว "ไม่มีการพูดถึงการสืบสวนปฏิบัติการทางทหารบนท้องถนน การกระทำของทหารต่อการเคลื่อนไหวของสหภาพแรงงานและการเคลื่อนไหวของนักเรียนนักศึกษา"

'ชุมนุมเดินขบวนล้านคน'
ผู้ประท้วงจำนวนมากออกมาชุมนุมที่จัตุรัสทาห์เรียตลอดวันโดยเรียกร้องให้ประชาชนล้านคนออกมาร่วมชุมนุมต่อต้านการปกครองของรัฐบาลทหาร

มีแหล่งข่าวให้ข้อมูลแก่อัลจาซีร่าว่าสภาทหารได้ขอให้โมฮัมเมด เอล-บาราดีย์ นักการเมืองฝ่ายต่อต้านมาเป็นผู้จัดตั้งรัฐบาลรักษาการใหม่ แต่บาราดีย์ก็ยังไม่ได้ให้การตอบรับใดๆ ต่อสาธารณะ และตอบปฏิเสธการเข้าร่วมประชุมหารือระหว่างสภาทหารกับกลุ่มการเมืองเสมอมา มีคนบอกว่าเขาอาจจะลังเลเรื่องที่ว่าเขาจะได้รับการรับรองให้มีอำนาจเลือกรัฐมนตรีของตัวเองหรือไม่

ประชาชนที่มาชุมนุมมาจากหลากหลายขั้วแนวคิดทางการเมือง แต่กลุ่มภราดรภาพมุสลิมเป็นกลุ่มทางการเมืองกลุ่มใหญ่ก็ประกาศว่าจะไม่เข้าร่วมการชุมนุมในวันอังคาร (22) จากคำแถลงระบุว่าพวกเขาไม่ต้องการเข้าร่วมการประท้วงที่จะทำให้การเลือกตั้ง ส.ส. ต้องล่าช้าออกไปอีก

โดยชาวอียิปต์จำนวนมาก รวมถึงนักวิเคราะห์จากต่างประเทศเชื่อว่าพรรคการเมือง Freedom and Justice ของภราดรภาพมุสลิมจะเป็นพรรคที่ชนะคะแนนเสียงข้างมาก หรืออย่างน้อยก็ได้รับคะแนนเสียงอย่างท่วมท้น

องค์กรนิรโทษกรรมและสหรัฐฯ ประณามการใช้กำลังเกินกว่าเหตุ
องค์กรนิรโทษกรรมสากลกล่าวประณามสภาทหารของอียิปต์ว่า ทหารได้ใช้กำลังเกินกว่าเหตุและในบางกรณีรุนแรงกว่าช่วงสมัยของอดีตประธานาธิบดีมูบารัคเสียอีก

โดยองค์กรนิรโทษกรรมสากลยังได้ออกรายงานเมื่อวันที่ 22 พ.ย. ระบุว่าผู้นำทหารของอียิปต์ไม่สามารถปฏิบัติตามคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้กับประชาชนชาวอียิปต์ในแง่พัฒนาการด้านสิทธิมนุษยชน

"ขณะที่รัฐบาลอียิปต์มีหน้าที่ธำรงไว้ซึ่งกฏระเบียบ แต่พวกเขาเองก็ไม่ควรใช้กำลังเกินกว่าเหตุในการปราบปรามการชุมนุมอย่างสันติ ซึ่งการกระทำเช่นนี้เป็นภัยต่อสิทธิในการชุมนุมของชาวอียิปต์และเป็นภัยต่อเสรีภาพในการแสดงออก" รายงานขององค์กรนิรโทษกรรมสากลระบุไว้

ทางด้านสหรัฐฯ เจย์ คาร์นียฺ์ โฆษกทำเนียบขาวก็กล่าวถึงเหตุรุนแรงในอียิปต์ว่าเป็นเรื่อง 'น่าตำหนิ' และเรียกร้องให้มีการเลือกตั้งตามภายในเวลาที่กำหนดไว้

ขณะที่วิกเตอเรีย นูแลนด์ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐฯ ก็กล่าวประณามการใช้กำลังเกินกว่าเหตุของเจ้าหน้าที่และเรียกร้องให้รัฐบาลอียิปต์ใช้ความอดทนอย่างถึงที่สุด เพื่อเป็นการปกป้องสิทธิและเสรีภาพในการแสดงออก

โดยสำนักข่าวเดอะ การ์เดียน รายงานว่า ผู้ประท้วงรู้สึกไม่พอใจกับคำแถลงของสหรัฐฯ ที่มีความกำกวม และไม่ยอมวิพากษ์วิจารณ์ทหารอย่างตรงไปตรงมา มีหลายคนรู้สึกโกรธแค้นเมื่อทราบว่าแก็สน้ำตาที่ยิงใส่พวกเขาถูกผลิตในสหรัฐฯ

เดอะ การ์เดียน รายงานอีกว่าที่ผ่านมาสหรัฐฯ ก็ลังเลในการแสดงท่าทีต่อการประท้วงขับไล่มูบารัค รัฐบาลสหรัฐฯ เห็นว่ากองทัพของอียิปต์เป็นส่วนสำคัญในการควบคุมการเปลี่ยนผ่านทางอำนาจ โดยเชื่อว่าอย่างน้อยการเคลื่อนไหวของกองทัพก็สามารถลดกำลังของพรรคการเมืองอิสลามได้ นักวิเคราะห์มองว่าสหรัฐฯ ให้ความสำคัญกับเสถียรภาพของอียิปต์เนื่องจากต้องการให้อียิปต์ยังคงมีสันติภาพอย่างเย็นชาต่ออิสราเอล

ที่มา
Egypt protesters reject military concessions, Aljazeera, 23-11-2011
http://www.aljazeera.com/news/middleeast/2011/11/201111222246740429.html 

Egypt: military rulers must rein in security forces, Amnesty, 21-11-2011
http://www.amnesty.org.uk/news_details.asp?NewsID=19812

US condemns Egypt's military rulers amid exasperation among protesters, The Guardian, 23-11-2011
http://www.guardian.co.uk/world/2011/nov/23/us-egypt-military-rulers-protesters?intcmp=239

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

อ่านอัลกุรอาน (2) : พรมแดนของการวิจารณ์โลกศักดิ์สิทธิ์?

Posted: 23 Nov 2011 07:39 AM PST

กรณีความขัดแย้งเรื่องการเผาอัลกุรอานและนิยายเรื่อง Satanic Verses ดังกล่าวนำมาสู่คำถามซึ่งชัยวัฒน์ทิ้งท้ายไว้ให้ผู้ร่วมเสวนาคิดต่อคือ การวิพากษ์วิจารณ์ควรมีขอบเขตหรือไม่  ชัยวัฒน์คิดว่า หากตอบง่ายๆ คือ “ไม่ควรมี”เพราะการวิพากษ์วิจารณ์เป็นสิทธิและเป็นการท้าทายอำนาจ ก็อาจจะถูก  แต่เขากลับเห็นว่าปัจจุบันโลกประกอบด้วยซีกสองซีก ซีกหนึ่งเป็นซีกของคนที่เชื่อว่ายังมีความศักดิ์สิทธิ์อยู่ และอีกซีกหนึ่งเป็นซีกของคนที่โลกของเขาไม่มีความศักดิ์สิทธิ์แล้ว  เราอยู่ในโลกใบนี้ โลกที่ไม่ได้เป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง โลกซึ่งเผชิญหน้ากันอยู่  คำถามคือถ้าเป็นเช่นนี้ เราจะจัดวางสิทธิหรือปฏิบัติการของการวิพากษ์วิจารณ์ไว้ตรงไหนในโลกสองโลกที่ปะทะกัน


สำหรับชัยวัฒน์ สิทธิของการวิจารณ์น่าจะอยู่ระหว่างโลกสองชนิดนี้ กล่าวอีกอย่างหนึ่งคือ โดยการ “อ่าน” ความหมายของอัลกุรอานให้ผู้ร่วมเสวนาฟัง  ชัยวัฒน์กำลังชี้ให้เห็นว่า ในโลกนี้ยังมีคนที่เชื่อว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ และดังนั้นแล้ว เขาจึงตั้งคำถามว่า อะไรคือเส้นของการวิพากษ์วิจาณ์ของศักดิ์สิทธิ์เหล่านี้  ถึงกับเผาอัลกุรอานหรือเขียน Satanic Verses เชียวหรือ?  หรือเรามีวิธีอื่นที่ดีกว่าในการดีลกับโลกที่ซับซ้อนแบบนี้? 



ในช่วงสนทนาแลกเปลี่ยน นิธิ เอียวศรีวงศ์ ขอให้ชัยวัฒน์ขยายความข้อเสนอเรื่องท่าทีหรือจุดยืนที่พอดีของการวิพากษ์วิจารณ์ระหว่างโลกที่มีความศักดิ์สิทธิ์กับโลกที่ไม่มีความศักดิ์สิทธิ์ 

ชัยวัฒน์ตอบว่า แม้เขาคิดเรื่องนี้มาตลอด แต่ก็ไม่เคยมีคำตอบ เขาได้แต่สงสัยว่าจะมีกระบวนการทำให้มีอารยะขึ้นของการวิพากษ์วิจารณ์ (civilization process of critique) ได้ไหม  กระบวนการวิจารณ์ที่ยังเน้นความคม เน้นความถูกต้อง เน้นการเอาความจริงมาเผยแพร่ แต่ขณะเดียวกันยังรักษามารยาทของการวิพากษ์วิจารณ์ไว้ได้ด้วย หรือมีความเข้าใจว่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของอีกฝ่ายหนึ่งที่เราวิพากษ์วิจารณ์นั้นต่างจากเรา และมีความหมายสำหรับเขา            

“ผมอยู่ในโลกอีกโลกหนึ่ง ผมรู้ว่ามีข้อจำกัดสำหรับตัวผมเอง วันนี้ก็วิจารณ์ในแบบที่ตัวผมเป็น ให้ผมวิจารณ์อัลกุรอานอย่างที่ผมวิจารณ์หนังสืออื่นๆ ผมก็บอกตรงๆ ว่าผมทำไม่ได้ เหตุผลก็คือเพราะว่าผมมีตัวตนของผมในฐานะคนมุสลิม และผมเชื่อในตัวตนนั้นของผม  ผมคิดว่ามีคนแบบผมคือเชื่อเล่มโน้นเชื่อเล่มนี้ ทีนี้เราจะสัมพันธ์กับคนเหล่านั้นอย่างไร  ผมไม่อยากเห็นโลกที่มีแต่การหน้าไหว้หลังหลอกหรือพูดชมอย่างเดียว  แต่ผมก็ไม่อยากเห็นการวิพากษ์วิจารณ์ที่มันไม่คมคาย เพราะผมคิดว่ามันน่าเบื่อ  นั่นหมายความว่าคนที่สนใจศิลปะของการวิพากษ์วิจารณ์จะต้องพัฒนาศิลปะของตนเอง โดยเพิ่มองค์ประกอบอย่างนี้เข้าไป ซึ่งเป็นโจทย์ที่ยาก ทำอย่างไรจะไม่ลดความคม ความแม่นยำ ความจริง แต่ขณะเดียวกันก็เคารพคนอื่นได้ด้วย  เหมือนตลก ตลกมีหลายแบบ บางแบบผมไม่รู้สึกขำเลย เพราะมันหยาบ แต่มีตลกบางแบบที่ผมคิดว่าเก่งเป็นบ้า เพราะมันพาเราไปอีกที่หนึ่ง แต่มันไม่ได้เหยียดเพศ ไม่ได้เหยียดเชื้อชาติ มันทำงานอีกแบบหนึ่ง แล้วมันก็เสียดสีด้วย ผมคิดว่าศิลปะการวิจารณ์มันอยู่ในที่แบบนั้น” 



ต่อจากนั้น ภัควดี วีระภาสพงษ์ ได้ขอให้ชัยวัฒน์แสดงความคิดเห็นเรื่องการนำศาสนามาใช้ในการเมืองการปกครอง เช่น รัฐอิสลาม หรือการนำพุทธศาสนามาใส่ไว้ในรัฐธรรมนูญของไทย และตั้งข้อสังเกตว่า ขณะที่ชัยวัฒน์พูดเรื่องสถาบันและความศักดิ์สิทธิ์ ไม่ทราบว่าชัยวัฒน์พยายามพูดเรื่องสถาบันศักดิ์สิทธิ์อย่างอื่นในสังคมไทยด้วยหรือไม่ ซึ่งถ้าใช่ ดูเหมือนชัยวัฒน์อาจจะพยายามบอกว่า ในการวิจารณ์ต้องคำนึงถึงคนที่ยังรักสถาบันฯ อยู่ด้วย  ถึงแม้ภัควดีจะเห็นด้วยกับองค์ประกอบเรื่องความคมคายในการวิจารณ์ แต่คำถามสำคัญที่ภัควดีถามคือ

“อย่างที่อาจารย์เบน แอนเดอร์สัน เคยพูดไว้ว่าในช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลง บางทีเราจะเห็นว่ามีการใช้คำหยาบกันมาก และคำหยาบเป็นเครื่องมือของคนที่ไม่มีอำนาจ ไม่มีเครื่องมืออื่นในการต่อสู้กับอำนาจนอกจากคำหยาบ แล้วเราจะเปิดหูไว้ฟังเขาบ้างหรือไม่ โดยไม่ตัดเขาทิ้งไป เพราะมันไม่ต้องรสนิยมของเรา  ถ้าในนามของความเมตตา (แบบอิสลาม) เราก็ต้องฟัง เพราะก็เป็นเสียงร้องแห่งความเจ็บปวดเหมือนกัน เป็นเสียงของการเรียกร้องอะไรบางอย่างเหมือนกัน”

ต่อคำถามที่สอง ชัยวัฒน์อธิบายว่า ข้อเรียกร้องไม่ได้อยู่ที่คนฟัง แต่อยู่ที่คนพูด  สมมติคนฟังเรียกร้องให้คนพูดพูดอีกอย่าง อาจจะเรียกร้องจากคนละสถานะ เขาเองก็รู้สึกว่าการเรียกร้องคนที่เสียเปรียบอยู่แล้วเป็นสิ่งที่แย่  เช่น การเรียกร้องให้คนที่ถูกน้ำท่วมต้องทนกับความทุกข์ทรมานในนามของอะไรบางอย่าง เขาเองก็ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง  สำหรับเขา ข้อเรียกร้องจึงไม่ใช่ข้อเรียกร้องกับคนที่เสียเปรียบ แต่กลับกันคือ ต้องถามว่าคนที่ยังแห้งอยู่ต้องจ่ายอะไรบ้าง เป็นข้อเรียกร้องที่ไม่ใช่ข้อเรียกร้องคนฟัง แต่เรียกร้องกับคนวิจารณ์ คนวิจารณ์ต้องเรียกร้องกับตัวเองว่าอะไรคือมาตรฐานการวิจารณ์ที่ตัวเองต้องไปให้ถึง  ชัยวัฒน์เห็นด้วยกับอาจารย์เบนว่าคำหยาบก็มีความหมาย โดยในโลกของวิชาสันติวิธี คำหยาบ คำนินทา ก็เป็นเครื่องมือของการต่อสู้  เขาเข้าใจว่าคนจำนวนหนึ่งต้องใช้คำหยาบ และเขาเองไม่ได้เรียกร้องกับคนเหล่านั้น แต่เรียกร้องกับคนอื่นที่น่าจะมีวิธีอย่างอื่น เพราะเขาอยากเห็นการพัฒนาศิลปะของการวิพากษ์วิจารณ์ไปอีกระดับหนึ่งในบริบทโลกซึ่งมีคนนับถือของหลายอย่าง

ส่วนคำถามแรก “คิดอย่างไรกับการนำศาสนามาใช้ในการเมืองการปกครองและคิดอย่างไรกับรัฐอิสลาม”  ชัยวัฒน์อธิบายว่า ในศาสนาอิสลามไม่มีตรงไหนที่พูดเรื่องรัฐอิสลาม เพราะรัฐเป็นแนวคิดที่เกิดขึ้นใหม่ เพิ่งจะมีคนพัฒนาแนวคิดเรื่องรัฐอิสลามในยุค 40-50 แต่ถ้าถามว่าสังคมอิสลามมีไหม ก็ต้องตอบว่ามี และต้องเห็นความแตกต่างระหว่าง state (รัฐ) กับ society (สังคม)


ท้ายที่สุด ชัยวัฒน์เห็นว่าการนำศาสนามาโยงกับการเมือง โดยเฉพาะศาสนาที่เป็นสถาบันนั้น ก่อให้เกิดอันตรายสูงมาก และเกณฑ์ในการวัดความรุนแรงข้อหนึ่งที่เขาใช้พิจารณาคือ institutionalized religion หรือศาสนาที่มีการจัดสถาบันกับอำนาจรัฐ  ยิ่งใกล้เท่าไร ความขัดแย้งยิ่งรุนแรงเพิ่มขึ้น เพราะมันกำลังทำให้รัฐซึ่งไม่ควรศักดิ์สิทธิ์กลับมีความศักดิ์สิทธิ์ ศาสนาเป็นของมีคุณค่าแต่ก็อันตรายมากเช่นกัน  เวลานี้เราอยู่ในโลกอย่างนั้น คือโลกที่ทำของบางอย่างซึ่งไม่ควรศักดิ์สิทธิ์ให้มีความศักดิ์สิทธิ์ขึ้นมา 



  ........................................................................

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ซินเจียงกับการแก้ไขความขัดแย้ง

Posted: 23 Nov 2011 07:32 AM PST

1. สภาพทั่วไป
สาธารณรัฐประชาชนจีนมีพื้นที่กว้างใหญ่ มีประชากรกว่า 1,300 ล้านคน มีชนกลุ่มน้อย 55 กลุ่มรวมกันประมาณ 130 ล้านคน ขนาดมากน้อยลดหลั่นกันไป ชนกลุ่มน้อยมักมีความขัดแย้งกับชาวจีนฮั่นซึ่งเป็นชนกลุ่มใหญ่ที่สุด โดยเฉพาะในมณฑลซินเจียงอดีตในปี 2493 ประชากรในซินเจียงประกอบด้วยชนเผ่าพื้นเมืองชาวอุยกูร์มากที่สุดถึง 3.2 ล้านคน ส่วนชาวจีนฮั่นมีเพียง 1.4 แสนคน

แม้ชนกลุ่มน้อยได้รับสิทธิในฐานะพลเมือง แต่กลับยากจนกว่า และได้รับการศึกษาน้อยกว่าชาวฮั่น ชนกลุ่มน้อยไม่มีโอกาสได้ทำงานในพรรคคอมมิวนิสต์ หรือเข้าเป็นข้าราชการระดับสูง เพราะโอกาสส่วนใหญ่ถูกผูกขาดในหมู่ชาวฮั่นตลอดมา ส่งผลทำให้ชนกล่มน้อยไร้พลังต่อรองทั้งทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง โดยเฉพาะชาวอุยกูร์มุสลิมในซินเจียง

มณฑลซินเจียง มีพื้นที่ทั้งหมด 1.66 ล้านตารางกิโลเมตร อยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของสาธารณรัฐประชาชนจีน ห่างจากกรุงปักกิ่งประมาณ 4,000 กิโลเมตร เมืองหลวงคือกรุงอุรุมชี เป็นเมืองขนาดใหญ่มากอาจจะพอๆกับกรุงเทพมหานครของเราก็ว่าได้ ซินเจียง มีพรมแดนติดกับ 8 ประเทศ ได้แก่ ได้แก่ คาซัคสถาน คีร์กีซสถาน อุซเบกิสถาน ทาจิกิสถาน (อดีตเคยเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต) ตลอดจนมองโกเลีย อัฟกานิสถาน ปากีสถาน และอินเดีย จึงไม่มีทางออกทะเล

พื้นที่ส่วนใหญ่ในอดีตทุรกันดารเพราะตั้งอยู่บริเวณที่ราบสูงปาร์มีและทะเลทรายโกบี ( ทากลามากัน) หากมองจากสภาพภูมิศาสตร์ อาจคิดกันว่าซินเจียงเป็นดินแดนที่ปราศจากความเจริญทั้งทางด้านสังคม และเศรษฐกิจ ไร้ผู้คนและด้อยความสำคัญไปทุกๆด้าน แต่ที่จริงแล้วซินเจียงมีความสำคัญต่อจีนอย่างยิ่งในทางเศรษฐกิจ เพราะเป็นที่ตั้งของแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติขนาดใหญ่ที่สุดของจีน รวมทั้งเป็นแหล่งผลิตไฟฟ้าจากพลังลมที่สำคัญที่สุด

บ่อน้ำมันและก๊าซธรรมชาติในซินเจียงมีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 74,000 ตารางกิโลเมตร มีทรัพยากรน้ำมันปิโตรเลียม 20,800 ล้านตัน และทรัพยากรก๊าซธรรมชาติมากกว่า 10 ล้านล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 30% ของทรัพยากรน้ำมันปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติทั้งหมดของจีน ปัจจุบันนี้รัฐบาลจีนได้ส่งก๊าซธรรมชาติจากเขตซินเจียงผ่านท่อส่งก๊าซไปยังนครเซี่ยงไฮ้และเขตปกครองอื่นๆ ในภาคตะวันออกของจีน ส่วนปริมาณทรัพยากรถ่านหินในซินเจียงมีประมาณ 2 ล้านล้านตัน คิดเป็น 40% ของถ่านหินทั้งหมดของจีน[1]

บริเวณชานกรุงอุรุมชี จะเห็นปล่องไฟขนาดใหญ่จำนวนมากซึ่งก็คือโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยถ่านหิน ซึ่งบริเวณดังกล่าวนั้นจะสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจนว่าโรงงานดังกล่าวปล่อยควันพิษเงาดำทะมึนเหนือท้องฟ้าอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันก็มีการปล่อยน้ำเสียมาตามสายน้ำจำนวนมาก[2]

ซึ่งยังไม่รู้ว่ารัฐบาลจีนจะแก้ปัญหามลพิษที่เกิดขึ้นกับชาวซินเจียงอย่างไร

อย่างไรก็ตามนอกเหนือจากจะมีโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยถ่านหินแล้ว ซินเจียงยังมีโรงงานผลิตพลังไฟฟ้าด้วยกำลังลมตั้งอยู่ในเมืองต๋าป๋าเฉิน[3]

เป็นโรงงานผลิตพลังไฟฟ้าด้วยกำลังลมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศจีน ปัจจุบันโรงงานผลิตพลังงานไฟฟ้าด้วยกำลังลมได้ผลิตและส่งกระแสไฟฟ้าไปยังหลายเมืองในประเทศจีนอย่างต่อเนื่อง และได้เข้าไปทดแทนการผลิตไฟฟ้าด้วยถ่านหินไปมากแล้วเช่นกัน และนี่คืออาจเป็นวิธีการหนึ่งที่ธรรมชาติให้มาเพื่อแก้ปัญหามลพิษที่เกิดขึ้นกับชาวซินเจียง

2.สภาพปัญหาความขัดแย้ง
ความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลจีนและชาวมุสลิมอุยกูร์ในซินเจียงไม่ใช่สิ่งใหม่ แต่เป็นปัญหาที่มีรากเหง้าหยั่งลึกมาจากประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน ซินเจียงเคยเป็นที่ตั้งของอาณาจักรโบราณมาตั้งแต่เมื่อสองพันปีก่อน การที่ซินเจียงเป็นจุดเชื่อมจีนเข้ากับเอเชียกลางและเอเชียใต้ ทำให้ซินเจียงมีความเจริญรุ่งเรืองสูงสุดในยุคการค้าเจริญรุ่งเรืองบนเส้นทางสายไหม ศาสนาอิสลามเผยแพร่เข้ามาผ่านพ่อค้ามุสลิมตั้งแต่ศตวรรษที่ 9 ครั้นถึงศตวรรษที่ 10 ชาวอุยกูร์ทั้งหลายก็กลายเป็นมุสลิมทั้งสิ้นซิน เจียง กลายเป็นเมืองที่มีความเจริญสูงยิ่งทั้งด้านเศรษฐกิจและการเป็นศูนย์กลางของอารยะธรรมอิสลาม จนถึงช่วงศตวรรษที่ 14 บรรดาสุลต่านแห่งนครทั้งหลายในแถบนี้ ก็เรียกดินแดนแถบนี้อย่างรวมๆ ว่า “เตอร์กิสถานตะวันออก”

ความเป็นเตอร์กิสถานตะวันออกเป็นการรวมมุสลิมเชื้อสายเตอร์กที่มีอัตตลักษณ์เดียวกัน ทั้งประเพณี วัฒนธรรม และสังคม ในจีนเข้าไว้ด้วยกันกลายเป็นกลุ่มคนที่ถูกร้อยรัดทางความรู้สึกไว้อย่างเหนียวแน่น รัฐบาลจีนได้เข้าครอบงำทั้งทางสังคม การเมือง และเศรษฐกิจ เพื่อดูดกลืนวัฒนธรรมชาวอุยกูร์ให้เลือนหายเพื่อผนวกรวมเป็นส่วนหนึ่งสังคมจีนโดยมีวิธีการหลากหลายรูปแบบ ทั้งการส่งเสริมและสนับสนุนให้ชาวจีนฮั่นย้ายถิ่นฐานเข้าไปอาศัยและทำการค้าในซินเจียงจำนวนมาก ส่งเสริมปัจจัยการผลิตทุกๆด้าน แม้กระทั่งสนับสนุนด้านเงินทุนเป็นกรณีพิเศษ[4]

ส่งผลให้เศรษฐกิจซินเจียง เริ่มมีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง แต่การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจจำเป็นต้องใช้กำลังแรงงานในการผลิตจำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่ของกำลังแรงงานกลายเป็นชาวฮั่น รัฐบาลไม่ได้ส่งเสริมให้ชาวอุยกูร์ได้ทำงานในถิ่นของตน ชาวอุยกูร์จำนวนมากต้องเดินทางไปทำงานแดนไกลในมณฑลอื่นๆ[5]

ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่ารัฐบาลจีนมีเป้าหมายแยกคนในสังคมอุยกูร์ออกจากกันทั้งนี้เพื่อให้เกิดความอ่อนแอสะดวกต่อการครอบงำ การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจผลประโยชน์ส่วนใหญ่กับชาวฮั่นเป็นส่วนใหญ่ แต่ไม่ได้ช่วยเพิ่มรายได้ให้ชาวอุยกูร์เท่าที่ควร ทั้งๆที่ทั้งวัตถุดิบและทรัพยากรล้วนแต่เป็นของชาวอุยกูร์ซึ่งเป็นชาวท้องถิ่นดั้งเดิม

สถานที่ตั้งของซินเจียงถือว่าเป็นบริเวณที่เป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญ คือ เป็นเขตเชื่อมต่อระหว่างจีนกับเพื่อนบ้านอีก 8 ประเทศ การที่อยู่ใกล้ชิดกับประเทศในเอเชียกลางหลายประเทศซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นชาวมุสลิม ประกอบกับประเทศเหล่านั้นได้แยกตัวเป็นอิสระแล้วทั้งสิ้น ยิ่งเป็นแรงบันดารใจกระตุ้นให้ประชากรพื้นเมืองของซินเจียงเชื้อสายเตอร์ก (อุยกูร์) ซึ่งเป็นมุสลิมที่มีวัฒนธรรม ประเพณี เป็นของตนเอง จึงต้องการแบ่งแยกดินแดนซินเจียงออกไปเป็นอิสระเพื่อปกครองตนเองแบบรัฐมุสลิมในชื่อว่า “เตอร์กิสถานตะวันออก” ส่งผลให้เกิดความขัดแย้งกับรัฐบาลจีนมาอย่างยาวนาน

3.เงื่อนไขนำไปสู่ปัญหาความขัดแย้ง
จากสภาพปัญหาความขัดแย้งในมณฑลซินเจียงที่รุนแรง ต่อเนื่องและยาวนาน มีสาเหตุมาจากการตั้งข้อสมมุติฐานสำคัญอันเนื่องมาจากเงื่อนไข 3 ประการ ที่ผลักดันให้เกิดการเคลื่อนไหวของประชาชนชาวอุยกูร์ กล่าวคือ เงื่อนไขเชิงอัตตวิสัย (Subjective Condition )เงื่อนไขเชิงภาวะวิสัย (Objective Condition )และเงื่อนไขเสริม ( Facilitating Condition)

เงื่อนไขเชิงอัตตวิสัย (Subjective Condition ) ซึ่งหมายถึงความเชื่อแนวคิดหรืออุดมการณ์สร้างชาติของชนชั้นที่ถูกปกครอง ที่ตระหนักถึงความไม่เป็นธรรม ความไม่เสมอภาคทางสังคม และกฎหมาย จึงต้องหาวิธีแก้ไขสภาวการณ์ดังกล่าวให้ลุล่วงโดยสร้างอุดมการณ์ขึ้นมาต่อสู้กับอุดมการณ์หลักของรัฐ ด้วยการปลุกเร้าให้เกิดความตื่นตัวในความเป็นมนุษย์และสังคม เพื่อความเป็นอิสระของบุคคลภายในสังคมซึ่งถูกครอบงำโดยรัฐให้ปลอดจากการครอบงำซึ่งกระทำโดยการเคลื่อนไหวเรียกร้อง

นับแต่ศตวรรษที่ 16 เป็นต้นมาดินแดนซินเจียงแถบนี้ตกเป็นของรัฐจีนซึ่งในเวลานั้นทั้งประชาชนชาวจีนและชาวมุสลิมอุยกูร์อยู่ร่วมกันอย่างปกติและสันติสุข เพราะจักรพรรดิจีนมีนโยบายที่จะปกครองชาวมุสลิมอย่างผ่อนปรน ให้ชาวมุสลิมปกครองกันเอง และให้เสรีภาพเต็มที่ในการนับถือศาสนา แต่ในศตวรรษที่ 18 รัสเซียแผ่อิทธิพลเข้ามาในเอเชียกลาง จีนจึงมีนโยบายเพิ่มความเข้มข้นในการปกครองซินเจียง เพื่อแสดงความเป็นเจ้าของ

ในศตวรรษที่ 19 ประเทศในแถบยุโรปโดยเฉพาะประเทศอังกฤษเริ่มแผ่อิทธิพลเข้ามาในเอเชียใต้และเอเชียกลางด้วย ส่งผลให้จีนต้องแสดงความเป็นเจ้าของซินเจียงอย่างจริงจัง เพื่อทัดทานกับการล่าอาณานิคมของอังกฤษ ดังนั้นเส้นเขตแดนระหว่างจีนกับประเทศอื่นๆจึงถูกเขียนและกำหนดขึ้นและล้อมรอบอาณาจักรจีนเอาไว้ การแบ่งพื้นที่กำหนดขึ้นโดยอาศัยภูมิศาสตร์ไม่ได้คำนึงถึงถิ่นที่อยู่ของชนเผ่าที่ปรากฏตามธรรมชาติ ส่งผลให้ซินเจียงถูกตัดขาดจากประเทศมุสลิมทั้งหลายในเอเชียกลางอื่นๆ ซึ่งเป็นการตัดขาดชาวมุสลิมในซินเจียงกับมุสลิมในเอเชียกลางออกจากกันโดยมีอำนาจรัฐเป็นตัวกีดกั้น หลังจากนั้นอำนาจปกครองซินเจียงจึงถูกรวบไปรวมศูนย์อยู่ที่กรุงปักกิ่ง ซินเจียงจึงมีลักษณะแปลกแยกจากวัฒนธรรมของประชาชนจีนกลุ่มอื่นๆ เหลือสถานะเพียงดินแดนชายขอบของอาณาจักรจีน อารยะธรรมที่เคยรุ่งเรืองก็กลายเป็นสิ่งที่แปลกแยก ซินเจียงจึงค่อยๆหมดความสำคัญทางการค้าลง เศรษฐกิจตกต่ำลงเรื่อยๆ กลายเป็นดินแดนที่ยากจน

ต่อมาจีนได้ส่งขุนนางไปปกครองซินเจียงแทนการให้ชาวมุสลิมปกครองกันเองแต่ขุนนางที่ส่งไปส่วนใหญ่เป็นขุนนางที่ถูกลงโทษเพื่อให้ไปอยู่ห่างไกลพบกับความยากลำบาก การอยู่ไกลจากเมืองหลวง ได้เปิดช่องให้ผู้ปกครองเหล่านั้น ฉกฉวยโอกาสเอารัดเอาเปรียบ กดขี่ ข่มเหง ขูดรีดประชาชน การทุจริต และที่สำคัญคือการไม่เคารพต่อประเพณีและวัฒนธรรมมุสลิมที่สั่งสมกันมา การปกครองของขุนนางได้สร้างความทุกข์ยากเดือดร้อนให้แก่ชาวมุสลิมตลอดมา ซึ่งกลายเป็นมูลเหตุที่ทำให้ชาวมุสลิมเกลียดชังและเคียดแค้นรัฐบาลจีน นำไปสู่การก่อเหตุสู้รบต่อต้านรัฐนับครั้งไม่ถ้วน บางยุคสมัยใช้นโยบายการปราบปรามอย่างเฉียบขาด ทำให้ชาวมุสลิมล้มตายไปเป็นจำนวนมาก ความเคียดแค้นเกลียดชังเพิ่มทบทวีมากขึ้น ยิ่งกระพือปัญหาให้ลุกลาม จนรัฐจีนไม่สามารถแก้ปัญหาความขัดแย้งให้ลุล่วงลงได้

ในปี 1949 (พ.ศ.2492)[6]

เมื่อจีนเปลี่ยนแปลงการปกครองไปเป็นคอมมิวนิสต์ เพื่อแสวงหาความเป็นธรรมให้กับสังคมและสร้างเศรษฐกิจที่เน้นการเฉลี่ยกระจายแบบสังคมนิยม ตามหลักการพื้นฐานที่ว่า “ทุกคนทำตามความสามารถ ต่างแบ่งปันไปตามการใช้แรงงาน” ภายใต้เงื่อนไขผลประโยชน์ของส่วนตัว ผลประโยชน์ของรวมหมู่ และผลประโยชน์ของประเทศเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันโดยพื้นฐาน เพื่อเข้าไปแทนที่คำว่า “ทุกคนทำตามความสามารถ ต่างแบ่งปันไปตามความต้องการ”(ของผู้มีอำนาจ) หลายๆคนคิดกันว่าแนวทางของเหมาเจ๋อตงผู้นำการปฏิวัติในยุคปฏิวัติวัฒนธรรม ที่พยายามสรรหาวาทกรรมปลุกเร้าความรู้สึกมวลชนด้วยวลีที่ว่า “ ที่ไหนมีการกดขี่ ที่นั่นย่อมมีการต่อสู้” เพื่อสร้างสังคมให้มีความเสมอภาคลดเหลื่อมล้ำในทุกๆด้านนั้น สัจธรรมข้อนี้กระตุ้นให้ประชาชนลุกฮือทั่วแผ่นดิน จนพรรคคอมมิวนิสต์จีนประสบความสำเร็จในการยึดอำนาจรัฐและ สถาปนารัฐคอมมิวนิสต์ขึ้นมาด้วยความหวังว่าจะเกิดความเสมอภาคในสังคม แต่การเปลี่ยนแปลงการปกครองมิได้ช่วยลดการกดขี่ชาวมุสลิมลงแต่ประการใด รัฐคอมมิวนิสต์ยิ่งสร้างปัญหาให้กับชาวอุยกูร์มากขึ้นทับทวี ปัจเจกทั้งหลายไม่มีสิทธิในการเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตอีกต่อไป ผลิตผลทั้งหลายก็ตกเป็นของรัฐนโยบายทุกนโยบายถูกกำหนดจากส่วนกลางคือพรรคคอมมิวนิสต์ ความทุกข์อยากเดือดร้อนของชาวอุยกูร์มิได้ถูกปลดเปลื้องให้หมดไปความเหลื่อมล้ำในทุกๆ ด้านยังดำรงอยู่ การต่อต้านจากกลุ่มชาวมุสลิมก็ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง วลีที่ว่า “ ที่ไหนมีการกดขี่ ที่นั่นย่อมมีการต่อสู้” จึงยังคงนำมาใช้ได้ จนถึงปัจจุบัน

ช่วงแรกรัฐบาลคอมมิวนิสต์แก้ปัญหาโดยใช้นโยบายควบคุมชาวมุสลิมอย่างเข้มงวด พิธีกรรมทางศาสนาถือเป็นสิ่งงมงายและกลายเป็นสิ่งต้องห้าม มัสยิดถูกทำลายหรือไม่ก็เปลี่ยนเป็นพิพิธภัณฑ์ ห้ามสอนพระคัมภีร์อัลกูรอาน และที่เลวร้ายที่สุดคือการสั่งปิดโรงเรียนสอนศาสนาอิสลามรวมทั้งสั่งห้ามคนอายุน้อยกว่า 50 ปีไปประกอบพิธีกรรมทางศาสนาที่มัสยิด นอกจากนั้นยังปิดกั้นไม่ให้ชาวมุสลิมสืบทอดประเพณีดั้งเดิมของตน จนไม่สามารถใช้ภาษาตัวเอง[7]

นโยบายการควบคุมชาวมุสลิมดังกล่าวนี้เองได้ส่งผลให้ชาวอุยกูร์ถูกกีดกันจากนโยบายของบาลรัฐจีนหลายๆด้าน ทั้ง การศึกษา เศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ตลอดมากลายเป็นคนชายขอบของสังคม

ความขัดแย้งในช่วงดังกล่าวมีการสังหารชาวมุสลิมที่ต่อต้านรัฐบาลหลายแสนคน แต่นโยบายการปราบปรามก็ไม่ก่อให้เกิดความเกรงกลัวหรือยำเกรงสงบราบคาบลงตามที่รัฐคอมมิวนิสต์คาดหวัง เพราะนโยบายต่อต้านศาสนาของรัฐกลับยิ่งทำให้ชาวอุยกูร์สมัครสมานสามัคคีมากยิ่งขึ้น เกิดขบวนการก่อการร้ายมุสลิมกลุ่มใหม่ๆ มากมายและต่อเนื่อง จนนำไปสู่การก่อตั้งกลุ่ม “องค์การปลดปล่อยเตอร์กิสถานตะวันออก” (East Turkistan Liberation Organization : ETLO) และกลุ่ม “ขบวนการอิสลามแห่งเตอร์กิสถานตะวันออก” (East Turkistan Islamic Movement : ETIM[8]

เงื่อนไขเชิงภาวะวิสัย (Objective Condition )จะเกี่ยวข้องกับสภาพปัญหาความทุกข์ยากเดือดร้อนอันเนื่องมาจากโครงสร้างทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม

เมื่อเกิดการต่อต้านจากชาวอุยกูร์มากขึ้นและต่อเนื่องรัฐบาลจีนต้องหาทางลดแรงกดดันด้วยการประกาศให้ซินเจียงเป็นเขตปกครองตนเองชนชาติอุยกูร์ซินเจียง โดยตั้งนครอูรุมชี เป็นเมืองหลวงในปี 1955 แต่การตั้งเขตปกครองตนเองเป็นเพียงวาทกรรมทางการเมืองเพื่อความสวยหรูในด้านจิตวิทยาเท่านั้น เพราะในทางปฏิบัติรัฐบาลจีนก็ยังคงใช้ความเด็ดขาดในการปกครองและควบคุมชาวมุสลิมอย่างเข้มงวดเช่นเดิม[9]

ปัญหาความขัดแย้งในซินเจียงจึงไม่หมดไป ความขัดแย้งในซินเจียงจึงเป็นปัญหาความมั่นคงที่จีนต้องเผชิญอย่างต่อเนื่อง การก่อการร้ายในซินเจียงเกิดขึ้นหลายๆรูปแบบ ตั้งแต่การวางระเบิดสถานที่ราชการและสถานีรถโดยสาร การลอบสังหารเจ้าหน้าที่รัฐทั้งด้วยปืนและมีด การบุกโจมตีที่ทำการเทศบาลและสถานีตำรวจ การเผาโรงงานที่เป็นทุนนิยมโดยรัฐ และของชาวจีนฮั่น นอกจากนั้นยังมีการฝึกปฏิบัติการใช้อาวุธและก่อวินาศกรรมหลายสิบแห่ง

วาทกรรมทางการเมืองในการตั้งเขตปกครองตนเองจึงไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ถูกทาง รัฐบาลจีนก็หันไปเลือกใช้นโยบายให้เสรีภาพในนับถือศาสนา การปฏิบัติศาสนกิจเพิ่มขึ้น โดยในปี 1983 รัฐบาลได้ยกเลิกกฎระเบียบต่างๆ ที่เคยประกาศไว้ตั้งแต่ปี 1949 ที่มีลักษณะกีดกันชาวมุสลิมอุยกูร์ แล้วหันไปทำนุบำรุงมัสยิดที่ถูกปิดร้าง ส่งเสริมสนับสนุนการตั้งสมาคมชาวมุสลิม รวมทั้งส่งเสริมบทบาทของผู้นำศาสน[10]

แต่กระนั้นชาวมุสลิมในซินเจียงก็ยังมองรัฐบาลจีนไม่สู้ดีนัก เพราะเห็นว่าผู้นำศาสนาที่รัฐบาลจีนส่งเสริมนั้น ล้วนมีแต่บุคคลที่ฝักใฝ่ทางการเมืองกับต้องการตำแหน่งในพรรคคอมมิวนิสต์เท่านั้น ซึ่งไม่ใช่ผู้คนที่ประชาชนมุสลิมเคารพนับถืออย่างแท้จริง นอกจากนั้นรัฐยังมีพฤติกรรมการกีดกันมุสลิมคนอื่นๆที่เป็นผู้นำโดยธรรมชาติที่ชาวอุยกูร์ให้การยอมรับและนับถือไม่ให้มีส่วนร่วมในกิจกรรมดังกล่าว ความไม่เป็นธรรมยิ่งสั่งสมมากยิ่งขึ้นตามลำดับ วาทกรรมการตั้งเขตปกครองตนเองจึงไม่ประสบผลสำเร็จ

ต่อมาในทศวรรษที่ 1990 รัฐบาลจีนเชื่อมั่นว่าปัญหาผู้ก่อการร้ายมุสลิมในซินเจียง เกิดจากปัญหาทางเศรษฐกิจ จากการที่ชาวมุสลิมยากจนและล้าหลัง ดังนั้นรัฐบาลจึงใช้นโยบายพัฒนาซินเจียงอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ซินเจียงมีความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ลดความยากจนและล้าหลัง ด้วยการบรรจุแผนการพัฒนาซินเจียงไว้ในแผนพัฒนาประเทศปี 199[11]

เพื่อแก้ปัญหาผู้ก่อการร้ายมุสลิม นับแต่นั้นมาจีนได้พัฒนาซินเจียงในทุกๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นการสร้างเส้นทางคมนาคมขนส่งที่ทันสมัย เพื่อนำความเจริญจากโลกภายนอกไปสู่ซินเจียง การส่งเสริมการลงทุนและอุตสาหกรรม การส่งเสริมการท่องเที่ยว

แต่แผนพัฒนาดังกล่าวได้แอบแฝงไปด้วยการพยายามครอบงำซินเจียงโดยใช้นโยบายสร้างความเป็นจีนกับซินเจียง ด้วยการส่งเสริมให้คนจีนฮั่นซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ เข้าไปตั้งถิ่นฐานหรือทำงานในซินเจียงเพื่อสร้างเศรษฐกิจให้เจริญก้าวหน้า รัฐบาลได้ส่งเสริมทางการเงินเป็นกรณีพิเศษพิเศษแก่ชาวฮั่นที่ไปลงทุนและตั้งรกรากในซินเจียง นอกจากนี้ยังได้พยายามใช้นโยบายสร้างความเป็นจีน โดยสั่งห้ามสอนภาษาเตอร์กให้กับเยาวชนที่อายุต่ำกว่า 18 ปี          ห้ามจัดตั้งโรงเรียนสอนศาสนา แม้จะมีการตั้งมหาวิทยาลัยในซินเจียงถึง 14 แห่งเพื่อให้การศึกษาแก่คนรุ่นใหม่ แต่ก็เป็นไปตามแนวทางที่ทางรัฐบาลจีนเป็นผู้กำหนดเพื่อดูดกลืนวัฒนธรรมอุยกูร์และสอดแทรกวัฒนธรรมจีน[12]

ซึ่งไม่ได้เป็นการส่งเสริมประเพณี วัฒนธรรมของชาวอุยกูร์ แต่ประการใด

แผนพัฒนาดังกล่าว ส่งผลให้ซินเจียงเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว แต่โครงสร้างทางเศรษฐกิจมิได้เปลี่ยนแปลง เพราะการกระจายโอกาสให้กับประชาชนเป็นไปอย่างไม่ทั่วถึงและไม่เสมอภาค ประกอบกับเจ้าหน้าที่ของรัฐทุจริต ความมั่งคั่งจึงตกอยู่ในมือผู้นำ ผู้มีอิทธิพล และชาวจีนฮั่นซึ่งเป็นผู้เข้ามาอยู่ใหม่เท่านั้น แม้บางส่วนที่น้อยนิดอาจตกถึงมือชาวมุสลิมบ้างก็เป็นมุสลิมที่อยู่ในเมืองใหญ่ ซึ่งมีความสามารถในการปรับตัวเข้ากับระบบเศรษฐกิจและสังคมแบบใหม่ได้ดีกว่า ซึ่งโดยรวมรัฐบาลจีนยังละเลยต่อสภาพปัญหาทั้งโครงสร้างการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมของชาวอุยกูร์

นอกจากนั้นตำแหน่งงานส่วนใหญ่ตกเป็นของบัณฑิตจบใหม่ชาวจีนฮั่นเพราะได้รับการการสนับสนุนจากรัฐให้ได้รับการศึกษา ในขณะที่ชาวมุสลิมส่วนใหญ่ที่ยังไม่ได้รับการสนับสนุนทางการศึกษา ไม่มีโอกาสในตำแหน่งงานดีๆ ยังคงว่างงานและยากจนทุกข์ยากต่อไป แม้จะมีการพัฒนาทางเศณษฐกิจนำไปสู่การจ้างงานจำนวนมากแต่ชาวอุยกูร์ก็ไม่มีโอกาสได้ทำงานเพราะถูกกีดกันทางการศึกษามาตั้งแต่ต้น หากจะทำงานต้องเป็นแรงงานรับจ้างที่ต้องไปทำงานแดนไก[13]

ความด้อยโอกาสทางการศึกษาเพราะถูกกีดกันส่งผลให้การพัฒนากลายเป็นปัญหาทางโครงสร้างสังคมเป็นการเปิดขยายช่องว่างทางสังคมและเพิ่มความแตกต่างของคนในสังคมมากยิ่งขึ้น สิ่งเหล่านี้เองเป็นตัวกระตุ้นให้ประชาชนในชนบทหันไปร่วมกับกลุ่มแบ่งแยกดินแดนมุสลิมที่ต้องการสร้างรัฐของตน และก่อเหตุรุนแรงเพิ่มขึ้นตามลำดับ

ปี 2000 ซึ่งกระแสอุดมการณ์อิสลามนิยมและลัทธิก่อการร้ายแพร่กระจายไปทั่วโลก ในปี 2001 จีนสามารถเจรจาให้สหรัฐฯที่ต้องการปราบการก่อการร้ายทั่วโลก ขึ้นบัญชี องค์การปลดปล่อยเตอร์กิสถานตะวันออก (ETIM) เป็นขบวนการก่อการร้ายสากล แต่ก็ไม่ส่งผลในการแก้ปัญหามากนัก เพราะหลังจากนั้นในปี 2002 ก็เกิดเหตุการณ์ที่นักการทูตระดับสูงของจีนถูกสังหารอย่างอุกอาจกลางถนนในกรุงบิชเกค ของประเทศคีร์กิซสถานพร้อมกับนักธุรกิจสัญชาติจีน

เงื่อนไขเสริม ( Facilitating Condition) ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่เอื้ออำนวยให้เกิดการรวมกลุ่มเรียกร้องเข้าสู่ขบวนการทางสังคม เช่น การเกิดผู้นำที่ได้รับศรัทธาและมีความสามารถในการรวบรวมมวลชน               

หลังจากเหตุการณ์จลาจลนองเลือดที่กรุงอุรุมชี ในปี 2552 ทำให้ทั้งโลกได้รู้จักสตรีนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตยชาวอุยกูร์ นามเรบิยา คาเดียร์ ซึ่งเป็นชาวมุสลิมอุยกูร์ ผู้นำพลัดถิ่นอุยกูร์ที่ลี้ภัยไปอยู่ในสหรัฐอเมริกา อีกทั้งยังเป็นประธานสภาโลกชาวอุยกูร์ และเคยเป็นนักธุรกิจจีนระดับมหาเศรษฐีพันล้าน ขณะนี้รัฐบาลจีนกล่าวหาว่าเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการจลาจลนองเลือด แต่เรบิยา คาเดียร์ ได้ปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าว[14]

อย่างไรก็ตามสำหรับประชาชนชาวอุยกูร์ เรบิยา คาเดียร์ คือบุคคลที่เป็นพี่น้องร่วมเผ่าพันธุ์เดียวกัน และเป็นลูกสาวที่ดีที่สุดของชาวอุยกูร์[15]

แต่ในสายตารัฐบาลจีน เรบิยา คาเดียร์ อาจจะเป็นศัตรูหมายเลขหนึ่งก็ตาม ก่อนหน้านี้เรบิยา คาเดียร์ เคยถูกทางการจีนจับตัวและขังคุกเกือบ 6 ปีด้วยข้อหาเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของรัฐ เพราะไปวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล ต่อมาได้รับการปล่อยตัวและเธอต้องขอลี้ภัยไปสหรัฐ

ไม่นานมานี้เรบิยา คาเดียร์ ได้รับเชิญจากรัฐบาลของญี่ปุ่นและออสเตรเลียในฐานะแขกของรัฐบาลและเรบิยา คาเดียร์ ได้เดินทางไปตามคำเชิญของรัฐบาลทั้งสองประเทศ ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้กับรัฐบาลจีนอย่างมาก เรบิยา คาเดียร์ เคยให้สัมภาษณ์ว่า “หากรัฐบาลจีนยังประสงค์ที่จะเป็นผู้นำยิ่งใหญ่ที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก รัฐบาลจีนควรเรียนรู้ในการเคารพสิทธิมนุษยชนของประชาชนบ้าง”

อย่างไรก็ตามก่อนหน้าที่จะเกิดผู้นำอย่างเรบิยา คาเดียร์ ชาวมุสลิมอุยกูร์ในมณฑลซินเจียงก็มีการก่อตั้งกลุ่ม “องค์การปลดปล่อยเตอร์กิสถานตะวันออก” (East Turkistan Liberation Organization : ETLO) และกลุ่ม “ขบวนการอิสลามแห่งเตอร์กิสถานตะวันออก” (East Turkistan Islamic Movement : ETIM) เพื่อต้องการปลดปล่อยชาวอุยกูร์ออกจากพันธนาการของรัฐจีน และกลุ่มดังกล่าวนี้ก็ยังเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันนี้และยังไม่มีแนวโน้มว่าจะคลี่คลายลงแต่ประการใด

4.แนวทางแก้ไขปัญหาของรัฐบาลจีน
รัฐบาลจีนยุคปัจจุบันได้หันกลับไปพิจารณานโยบายแก้ปัญหาความขัดแย้งที่ผ่านมา แล้วพบว่าไม่มีวิธีใดที่แก้ปัญหาความขัดแย้งให้ยุติลงได้ ทุกๆนโยบายต่างมีจุดอ่อนและสร้างปัญหาขึ้นมาใหม่ ทั้งนี้มีการกล่าวกันว่า เพราะที่ผ่านมาจีนมองข้ามสาเหตุที่สำคัญที่สุด 2 ประการ คือ ปัญหาพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่รัฐที่ทุจริตกดขี่ข่มเหง และปัญหาการปิดกั้นอัตลักษณ์ หรือความเป็นตัวตนและสำนึกทางวัฒนธรรมของชาวมุสลิม การพยายามทำให้ทุกคนอยู่ใต้วัฒนธรรมจีนเป็นเรื่องที่ฝืนต่อความเป็นจริงตามธรรมชาติ ยิ่งส่งผลให้ผู้คนดิ้นรนและโหยหาความเป็นตัวตนของชาติพันธุ์

รัฐบาลจีนจึงดำเนินนโยบายแก้ปัญหาที่รากเหง้า โดยเริ่มตรวจสอบ สอบสวนและลงโทษเจ้าหน้าที่ของรัฐในซินเกียง ที่ทุจริตหรือมีพฤติกรรมที่กดขี่ข่มเหง ในขณะ เดียวกันก็เล็งเห็นว่า อัตลักษณ์และสำนึกทางประเพณีและวัฒนธรรมของชาวอุยกูร์มีพลังและศักยภาพ ที่จะสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาซินเจียง และเกิดประโยชน์อย่างมหาศาลกับประเทศจีนได้

ดังนั้นในปี 2002 จีน และรัสเซีย และประเทศคาซัคสถาน ทาจิกิสถาน คีร์กิซสถาน และอุสเบกิสถาน ซึ่งล้วนเป็นประเทศมุสลิม ร่วมกันก่อตั้งองค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้ (Shanghai Cooperation Organization : SCO)[16]

ซึ่งเป็นองค์การความร่วมมือของประเทศในภูมิภาคเอเชียกลาง ที่จีนหวังจะใช้นโยบายยกระดับความสำคัญของซินเจียงและวัฒนธรรมมุสลิม ด้วยการส่งเสริมบทบาทให้ชาวมุสลิมในซินเจียงทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของจีน ในการร่วมมือและติดต่อกับประเทศสมาชิกดังกล่าว

จีนอาศัยลักษณะพิเศษของชาวซินเจียงที่มีเชื้อสาย ภาษา และศาสนา เหมือนกับคนในประเทศเอเชียกลางให้เป็นประโยชน์ในการร่วมมือทางเศรษฐกิจ โดยฟื้นฟูเส้นทางการค้าชายแดน ส่งเสริมให้ซินเจียงเป็นเขตอุตสาหกรรมผลิตอาหารฮาลาล เพื่อส่งออกไปยังเอเชียกลาง รวมทั้งส่งเสริมให้ซินเจียงมีบทบาทในการติดต่อด้านการค้าและการลงทุนกับอิหร่าน และประเทศอื่นๆ ในตะวันออกกลางด้วย และด้วยความหวังว่านโยบายดังกล่าวจะทำให้ชาวมุสลิมมีส่วนร่วมในการสร้างระบบเศรษฐกิจให้เจริญเติบโตและแบ่งปันความมั่งคั่ง เพื่อทำให้คุณภาพชีวิตชาวซินเจียงดีขึ้น

หลังจากนั้นในระยะเกือบ 3 ปี ที่ผ่านมา ปัญหาความขัดแย้งในซินเจียงลดลง การทำลายทรัพย์สินของรัฐยังมีปรากฏอยู่บ้าง ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจจึงไม่ได้ทำให้ความขัดแย้งในซินเจียงยุติลง เพราะเมื่อต้นเดือน กรกฎาคม 2552 นครอุรุมช[17]

เมืองหลวงของเขตปกครองตนเองซินเจียงกลายเป็นสมรภูมิสงครามอีกครั้ง เมื่อเกิดเหตุจลาจลและปะทะนองเลือดระหว่าง ชาวอุยกูร์ กับ ชาวจีนฮั่น จนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตเกือบ 200 ศพ บาดเจ็บมากกว่า 1,600 คน[18]

และถูกจับกุมกว่า 1,500 คน และหลายคนถูกประหารชีวิต ซึ่งถือเป็นความรุนแรงทางชาติพันธุ์ที่เลวร้ายในรอบหลายทศวรรษของจีน

การลุกฮือขึ้นต่อสู้และแก้แค้นกันเองระหว่างชาวมุสลิมอุยกูร์และชาวจีนฮั่นสะท้อนให้เห็นถึงความไม่เสมอภาคของโครงสร้างทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม รวมทั้งความไม่ไว้วางใจต่อกันของประชาชนที่มีความแตกต่างทางชาติพันธ์ และที่สำคัญคือความไม่ไว้วางใจต่อประสิทธิภาพของรัฐ จากประชาชนทั้งสองฝ่าย โดยเฉพาะชาวอุยกูร์ ที่ถูกครอบงำทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม จากรัฐบาลจีนตลอดมา สถานการณ์ในซินเจียงปัจจุบัน มีความขุ่นเคืองเคียดแค้นต่อกันและมีความความรุนแรงที่เกิดขึ้นและดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับอำนาจรัฐที่ไม่เป็นธรรมยิ่งส่งผลให้คนต่างประเพณี และต่างวัฒนธรรมหวาดระแวงต่อกัน มีการแยกเขาแยกเรา ผลักให้อีกฝ่ายเป็นศัตรูและแยกห่างจากกันมากขึ้น

ความขัดแย้งในซินเจียง ส่งผลให้ประธานาธิบดีหูจินเทา ขณะเตรียมการประชุม G-8 ที่ประเทศอิตาลี ต้องรีบกลับไปนครอุรุมชีเพื่อคลี่คลายเหตุการณ์จลาจลทางชาติพันธุ์[19]

ปัจจุบันปัญหาความขัดแย้งทางชาติพันธ์ก็มิได้สงบลงแต่ประการใดยังรอวันที่จะคุกรุ่นขึ้นมาในทันทีหากสถานการณ์และเงื่อนไขต่างๆเอื้ออำนวย 

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 19 สิงหาคม 2553เกิดเหตุวางระเบิดโจมตีในพื้นที่ของเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์อีกครั้งหนึ่งเกิดขึ้นบนรถสามล้อที่สะพานในเมืองอักซู ซึ่งห่างจากอุรุมชี ราว 650 กิโลเมตร และอยู่ใกล้พรมแดนที่ติดกับประเทศคีร์กีซสถานมีผู้เสียชีวิต 7 ศพ บาดเจ็บ 14 ราย[20]

เหตุการณ์รุนแรงในซินเจียงอาจขยายตัวเป็นสงครามกลางเมืองหรือสงครามล้างเผ่าพันธุ์ ซึ่งอาจมีความละม้ายคล้ายคลึงกับเหตุการณ์ในยูโกสลาเวียในอดีต ที่ทำให้ประธานาธิบดีสโลโบดานมิโลเชวิค กลายเป็นอาชญากรสงครามและการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์

สรุป หากยังจำกันได้ในยุคปฏิวัติวัฒนธรรม ประธานเหมาเจ๋อตง ได้ปลุกเร้ามวลชนด้วยวลี ที่ไหนมีการกดขี่ ที่นั่นย่อมมีการต่อสู้ สัจธรรมข้อนี้ทำประชาชนชาวจีนลุกฮือทั่วแผ่นดินจีน จนพรรคคอมมิวนิสต์จีนได้รับชัยชนะยึดอำนาจรัฐ สถาปนารัฐคอมมิวนิสต์ขึ้นมาจวบจนถึงวันนี้กว่า 60 ปีแล้ว แต่การกดขี่ข่มเหง การเอารัดเอาเปรียบ ยังคงดำรงอยู่ ความไม่เป็นธรรมวันนี้อาจส่งผลให้เกิดการต่อต้านอำนาจรัฐอย่างต่อเนื่องและรุนแรงยิ่งขึ้น กองกำลังที่ปราบปรามประชาชนที่เพรียกหาเสรีภาพ โดยอ้างว่าเพื่อรักษาความสงบนั้น[21]

 เป็นความโหดร้ายคนจำนวนไม่น้อยเริ่มสงสัยว่าทำไมนโยบายของรัฐบาลจีนจึงสวนทางกับอุดมการณ์ที่เคยเกิดขึ้นในสมัยประธานเหมาอย่างสิ้นเชิง โดยไม่ใส่ใจต่อวลี ที่ว่า “ที่ไหนมีการกดขี่ ที่นั่นย่อมมีการต่อสู้”

ดังนั้นการที่รัฐบาลจีนหันกลับไปแก้ปัญหาความขัดแย้งโดยคำนึงถึงรากเหง้าของปัญหาอย่างแท้จริง เริ่มตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของจ้าหน้าที่รัฐ สอบสวนและลงโทษผู้กระทำความผิด กระทั่งผู้ปกครองที่มีพฤติกรรมกดขี่ข่มเหง และเริ่มให้ความสำคัญกับอัตลักษณ์และสำนึกทางประเพณีวัฒนธรรมของชาวมมุสลิมอุยกูร์ และที่สำคัญคือเริ่มสร้างความเสมอภาค มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางเศรษฐกิจโดยกระจายผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจให้ถึงมือประชาชนในทุกๆ กลุ่ม มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจในซินเจียงอย่างต่อเนื่อง หลังจากนั้นในระยะ 3 ปี ที่ผ่านมา ปัญหาความขัดแย้งในซินเจียงเริ่มลดลงตามลำดับแม้จะไม่หมดสิ้นไป

 



* ในระหว่างวันที่ 4- 10 เดือนสิงหาคม 2553 ผู้เขียนซึ่งเป็นหนึ่งในคณะนักศึกษาเสริมสร้างสังคมสันติสุข สถาบันพระปกเกล้า รุ่นที่ 2 เดินทางไปศึกษาดูงานความขัดแย้งในมณฑลซินเจียง สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้าเป็นหัวหน้าคณะ โอกาสในการหาข้อเท็จจริงยากยิ่งเพราะกลไกที่เป็นองคาพยพของสาธารณรัฐประชาชนจีนไม่เอื้ออำนวยในการให้ข้อเท็จจริง

 

อ้างอิง

[1] ThaiBiz in China Thailand Business Information Center in China

[2]ในระหว่างวันที่ 4- 10 เดือนสิงหาคม 2553 ผู้เขียนซึ่งเป็นหนึ่งในคณะนักศึกษาเสริมสร้างสังคมสันติสุข สถาบันพระปกเกล้า เดินทางไปศึกษาดูงานความขัดแย้งในมณฑลซินเจียง ได้สังเกตเห็นบริเวณรอบรอบกรุงอุริมชี ซึ่งเป็นเมืองหลวงของมณฑล มีโรงงานปล่อยควันพิษจำนวนมาก และสังเกตเห็นแม่น้ำลำคลองหลายสายมีการปล่อยนำเสียลงลำน้ำ.

[3]ขณะนั่งรถผ่านทะเลทรายโกบีจะเห็นกังหันลมสำหรับเปลี่ยนพลังงานลมเป็นพลังงานไฟฟ้าเต็มไปหมด แต่เดิมรัฐบาลจีนนำเทคโนโลยีมาจากเยอรมัน แต่ต่อมารัฐบาลจีนได้ปรับปรุงเทคโนโลยีใหม่ให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่เพราะที่นี่ลมแรงมากและมีตลอดทั้งปี โดยไม่ต้องกังวลว่าบางฤดูจะไม่มีลม ระหว่างการเดินทางเราจะเห็นว่ามีรถพ่วงบรรทุกขนาดใหญ่จำนวนมากทำการลำเลียงปีกใบพัดกังหันลมขนาดใหญ่รวมทั้งอุปกรณ์จำเป็นอื่นๆเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง

[4] ไกด์ท้องถิ่น ที่รับผิดชอบและบริการในการศึกษาดูงานในระหว่างวันที่ 4- 10 เดือนสิงหาคม 2553.สัมภาษณ์, 5 สิงหาคม 2553

[5] พ่อค้าผลไม้สดในตลาดถนนคนเดิน. พูดคุยเชิงสัมภาษณ์, 5 สิงหาคม 2553

[6] นฤมิตร สอดสุข, ประวัติศาสตร์สาธารณรัฐประชาชนจีนจนถึงยุคสี่ทันสมัย:ผลกระทบต่อ พคท.,โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์, 27: 2538

[7] โต๊ะอิหม่ามและผู้นำศาสนาที่มัสยิดเอ๋อหมิ่นเมืองทู่หลู่ฟาน. .พูดคุยเชิงสัมภาษณ์, 7 สิงหาคม 2553

[8] ไกด์ท้องถิ่น ที่รับผิดชอบและบริการในการศึกษาดูงานในระหว่างวันที่ 4- 10 เดือนสิงหาคม 2553.สัมภาษณ์, 6 สิงหาคม 2553

[9] โต๊ะอิหม่ามและผู้นำศาสนาที่มัสยิดเอ๋อหมิ่นเมืองทู่หลู่ฟาน. พูดคุยเชิงสัมภาษณ์, 7 สิงหาคม 2553

[10] คนเฝ้ามัสยิดเถิงเก๋อหลีซื่อ. พูดคุยเชิงสัมภาษณ์, 9 สิงหาคม 2553 ที่นี่มัสยิดต้องเปิดปิดตามเวลาเฉพาะที่ละหมาดเท่านั้นเป็นไปตามที่รัฐบาลสั่งการและควบคุมมีทหารและตำรวจคอยเฝ้าตลอดเวลา จะมีตัวแทนของรัฐคอยสอดส่องดูความเคลื่อนไหวของบุคคลที่ไปมาหาสู่มัสยิดตลอดเวลา คณะจึงได้แต่เยี่ยมชมเพียงภายนอกเท่านั้น เพราะต้องคอยระวังตัวทั้งฝ่ายเราและผู้นำศาสนา

[11]เมื่อเติ้งเสี่ยวผิงกลับเข้ามามีอำนาจอีกครั้งใน ปี 1977ได้ผลักดันให้ประกาศใช้นโยบายสี่ทันสมัยเพื่อพัฒนาประเทศให้เป็นประเทศที่ทันสมัยใน4ด้านคือเกษตรกรรม อุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และการป้องกันประเทศ หลังจากที่ดำเนินการไปได้เพียง 2 ปีก็มีปัญหาต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย เป็นเพราะความเร่งรีบขาดการเตรียมการ ขาดการปรับปรุงการจัดองค์การ ขาดบุคลากรที่มีความรู้ความชำนาญ ขาดระบบการเงินการธนาคารที่ทันสมัยเพื่อรองรับการลงทุนที่ขยายตัว

ดังนั้นในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1980 จึงมีการประกาศใช้ "แผนปรับปรุงทางเศรษฐกิจระยะ 3 ปี ค.ศ. 1981-1983" เพื่อบรรเทาปัญหาต่างๆ และตั้งแต่ปี 1981 เป็นต้นมาผู้นำจีนต่างก็มิได้เอ่ยถึงคำว่า "สี่ทันสมัย" อีกต่อไป เพราะหลังจากนั้นเป็นช่วงแห่งการปฏิรูปทางเศรษฐกิจ ดังนั้นการพัฒนาซินเจียงจึงเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ แต่มิใช่มีเป้าหมายหลักในการพัฒนาซินเจียงเป็นการโดยเฉพาะ

[12] พนักงานขายของที่ระลึกที่พิพิธภัณฑ์เขตปกครองตนเองอุยกูร์ซินเจียง.พูดคุยเชิงสัมภาษณ์, 5 สิงหาคม 2553

[13]พ่อค้าแม่ค้าขายของพื้นเมืองชาวอุยกูร์ในตลาดต้าปาจา. .พูดคุยเชิงสัมภาษณ์, 8 สิงหาคม 2553

[14] เจ้าหน้าที่สถานกงสุลไทยในนครเฉินตู. พูดคุยเชิงสัมภาษณ์, 4 สิงหาคม 2553

[15] พ่อค้าแม่ค้าขายอาหารพื้นเมืองในตลาดถนนคนเดินใกล้โรงแรมรามาดา โฮเต็ล อุรุมชี . .พูดคุยเชิงสัมภาษณ์, 8 สิงหาคม 2553

[16] ไกด์ท้องถิ่น ที่รับผิดชอบและบริการในการศึกษาดูงานในระหว่างวันที่ 4- 10 เดือนสิงหาคม 2553.พูดคุยเชิงสัมภาษณ์, 6 สิงหาคม 2553

[17]http: // www.thairath.co.th / content / oversea / 17732

[18] นายอัสการ์ คาน รองประธานสภาอุยกูร์โลกซึ่งมีสำนักงานอยู่ในเยอรมนี กล่าวว่า ได้รับรายงานว่ามีผู้เสียชีวิตสูงถึง 600-800 ราย โดยตัวเลขคาดการณ์นี้ได้จากผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ ซึ่งแตกต่างจากยอดที่ทางการจีนระบุว่ามียอดผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บน้อยมากและไม่ได้ระบุว่าผู้เสียชีวิตเป็นชาวอุยกูร์ ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยชาวมุสลิมกี่คน และเป็นชาวฮั่นหรือชาวจีนซึ่งเป็นชนส่วนใหญ่ของประเทศกี่คน

[19] คมชัดลึกรายวัน. วันที่ 10 กรกฎาคม 2552

[20] เดลินิวส์รายวัน .วันศุกร์ ที่ 20 สิงหาคม 2553

[21] ปัจจุบันนี้เรายังเห็นกองกำลังทหารตรึงกำลังในเขตเมืองอุรุมชี เป็นระยะ โดยเฉพาะในเขตตลาดต้าปาจาซึ่งเป็นตลาดการค้ารองรับนักท่องเที่ยวมาซื้อสินค้า แลเขตดังกล่าวนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นของความขัดแย้งจนนำไปสู่การปราบปรามอย่างเด็ดขาด ในปี 2552 ในวันที่ 6 สิงหาคม 2553 ระหว่างคณะดูงานกำลังนั่งจะ สังเกตเห็นบริเวณดังกล่าวและใกล้เคียงจะมีทหารมายืนเฝ้าระวังมีทั้งรถหุ้มเกราะล้อยางจอดเรียงรายหลายคัน

 

                                                                       

 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ตีความให้ถูก อย่าคิดว่าประชาชนเลว ชมชอบทุจริต

Posted: 23 Nov 2011 07:15 AM PST

ข่าวที่ว่าประชาชนยอมรับการทุจริตหากตนได้ประโยชน์ด้วยนั้น อาจทำให้ตีความผิด ๆ ไปว่าประชาชนชมชอบการทุจริต และจะยิ่งเป็นอันตรายหากพาลป้ายสีว่า ประชาชนเป็นคนเลว ไร้ปัญญา เชื่อถือไม่ได้ ให้ปกครองกันแบบประชาธิปไตยไม่ได้!

เมื่อเร็ว ๆ นี้ มีผลการสำรวจ* บอกว่า “ โพลชี้ ‘คนรุ่นใหม่’ ทัศนคติอันตราย รับได้ รบ. โกงแต่ตัวเองได้ประโยชน์” ทั้งนี้เป็นกรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทั่วไปใน 17 จังหวัด ระหว่างวันที่ 14-19 พฤศจิกายน 2554 โดยพบว่า “ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 64 ในเดือนมกราคม และส่วนใหญ่หรือร้อยละ 64.6 ในเดือนพฤศจิกายน . . . กลุ่มเยาวชนอายุต่ำกว่า 20 ปี มีสัดส่วนสูงสุดคือร้อยละ 73.3 และร้อยละ 73.7 ในกลุ่มอายุระหว่าง 20-29 ปี ที่มีทัศนคติยอมรับรัฐบาลทุจริตคอร์รัปชั่น. . . กลุ่มนักเรียนนักศึกษาน่าเป็นห่วงที่สุด รองลงมาคือกลุ่มพนักงานบริษัทเอกชน และค้าขายส่วนตัว โดยมีสัดส่วนร้อยละ 72.8 ร้อยละ 68.1 และร้อยละ 64.7 ตามลำดับ . . .”

ในความเป็นจริงคนส่วนใหญ่คงไม่เห็นผิดเป็นชอบ เพียงแต่พวกเขาเห็นว่าการทุจริตมีอยู่ทั่วไปในประเทศไทย  แม้แต่รัฐบาลทหารที่อ้างว่ามาล้างทุจริต ก็ยังมีข้อครหาต่าง ๆ ว่าไม่สุจริตเสียเอง  วันก่อนผมไปฟังคำบรรยายของคุณโสภณ จันเทรมะ ประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) ท่านยังบอกว่ารัฐประหารแต่ละครั้ง ผู้ทำได้เงินไปนับร้อย ๆ ล้านบาท (คงใช้อำนาจเบิกจากคลังหลวง)  ผมเข้าใจว่าคงเก็บไว้เผื่อหนีหากไม่สำเร็จหรือเมื่อสำเร็จก็เอาไว้เป็นรางวัล  ดังนั้นในประวัติศาสตร์ไทยจึงพบว่าแม้แต่รัฐประหารล้างทุจริตก็ยังทุจริตกันเสียเองตั้งแต่แรก

แล้วอย่างนี้จะให้ประชาชนคนเล็กคนน้อยไปต่อกรกับการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการได้อย่างไร  ท่านเชื่อหรือไม่ว่าการตั้งหน่วยงานขึ้นมาปราบปรามการทุจริตนั้น อาจทำให้คิดคลาดเคลื่อนไปด้วยความหวังว่าไทยจะพ้นจากทุจริต  แต่นี่อาจเป็นเพียงการสร้างภาพด้วยการละลายงบประมาณไปกับการรณรงค์ทำดี หรือการเล่นปาหี่ที่ปราบแต่ปลาซิวปลาสร้อยหรือปราบแต่ฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง

ผมเชื่อว่าประชาชนส่วนใหญ่ไม่โกง เพียงแต่ปุถุชนย่อมมีกิเลส  แม้แต่นักบวชก็ยังมีอิจฉานินทา ยังยึดติดกับยศและตำแหน่ง  แล้วเราจะไปเหยียดประชาชนว่าเลวได้อย่างไร  ในทางตรงกันข้าม ผลสำรวจนี้ถือเป็นการตบหน้าพวก “คนดี” ผู้มีคุณธรรมจอมปลอมต่างหากว่า ถ้ารัฐบาลอื่นไม่โกงหรือโกงน้อยกว่ารัฐบาลทักษิณที่ว่าโกงสะบั้นหั่นแหลกแล้วไซร้  ประชาชนก็น่าจะได้ประโยชน์ที่พึงได้มากกว่ารัฐบาลทักษิณ

ผลสำรวจนี้ถือเป็นเสียงสะท้อนความไม่พอใจต่ออำนาจของเจ้าหน้าที่รัฐที่กดขี่ขูดรีดประชาชนมาชั่วนาตาปี  ดังนั้นในผลสำรวจจึงระบุเหตุผลและความรู้สึกของประชาชนว่า “ผู้ใหญ่ในสังคมหลายคนได้ดีมีหน้ามีตาร่ำรวยก็มาจากการจ่ายเงินใต้โต๊ะ มีอำนาจทางการเมืองก็รับเงินซื้อขายตำแหน่ง จะก้าวหน้าได้เลื่อนชั้นยศเลื่อนตำแหน่งก็ต้องจ่ายเงิน และจะทำธุรกิจทำเลทองก็ต้องจ่ายให้เจ้าหน้าที่รัฐ”  ประชาชนส่วนใหญ่คงเป็นได้แค่พยานความชั่วช้าเหล่านี้ คงไม่คิดหรือแม้คิดแต่ก็ไม่มีโอกาสประกอบกรรมชั่วเสียเองแต่อย่างใด

ที่ร้ายที่สุดก็คือ หากเราตีความผลการสำรวจผิดเพี้ยน เราก็อาจมองว่าประชาชนนิยมชมชอบการทุจริต เลยนึกเหยียดว่าประชาชนต่ำ เลว ไร้ปัญญา เป็นแค่ “ฝุ่นเมือง” ไม่สามารถให้ปกครองกันเองโดยระบอบประชาธิปไตยสากลได้  สมควรถูกปกครองโดย “คนดี” ซึ่งมักไม่ดีจริงแต่ถูกอุปโลกน์ขึ้นมาโดยพวกเผด็จการทรราชที่ปูทางมาจากรัฐประหารกระมัง

 

...........................................
* ข่าวมติชน “โพลชี้ ‘คนรุ่นใหม่’ ทัศนคติอันตราย รับได้ รบ. โกงแต่ตัวเองได้ประโยชน์”:  http://www.matichon.co.th/daily/view_news.php?newsid=01p0105211154&sectionid=0101&selday=2011-11-21

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล

Posted: 23 Nov 2011 04:24 AM PST

สังคมที่มีความเจริญทางจิตใจสูงขึ้นมา กว่าระดับพื้นๆ ของสัตว์เดรัจฉาน ไม่จำคุกคน 10-20 ปี เพียงเพราะ "คำ" ข้ออ้างที่ว่า เพราะ "คำ" เหล่านั้น ทำร้าย "ความรู้สึก" ของ "คนส่วนใหญ่" [?] ก็ต้องถามว่า "ความรู้สึก" ดังกล่าว จะมีคุณค่าอะไร ถ้าต้องใช้วิธีป่าเถื่อนเช่นนี้มาคอยปกป้องรักษาไว้?

จากเฟซบุ๊ก

หมอชูชัยยื้อขอลาออกเอง

Posted: 23 Nov 2011 01:26 AM PST

 

รายงานข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติแจ้งว่า ตามที่คณะกรรมการสิทธิฯ มีมติย้าย น.พ.ชูชัย ศุภวงศ์ เลขาธิการสำนักงาน ไปเป็นนักบริหารระดับสูง ระดับ 11 เมื่อวันที่ 22 พ.ย.โดยมีมติเกือบเอกฉันท์ ยกเว้น น.พ.แท้จริง ศิริพานิช คนเดียวที่ “วอล์คเอาท์”

ภายหลังการประชุมเมื่อคืนวันอังคาร เจ้าหน้าที่บริหารกลางได้ทำร่างคำสั่งตามไปให้ นางอมรา พงศาพิชญ์ ประธาน กสม.ลงนามที่สนามบินสุวรณภูมิ ก่อนเดินทางไปประชุมที่กรุงปราก สาธารณรัฐเชก ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ได้นำคำขอร้องจาก นพ.ชูชัยไปแจ้งนางอมราว่า อย่าเพิ่งเซ็นคำสั่ง นพ.ชูชัยจะลาออกเองในวันที่ 30 พ.ย.นี้ แต่นางอมราโทรกลับมาปรึกษากรรมการแล้ว ยืนยันให้เซ็นคำสั่ง นางอมราจึงเซ็น

อย่างไรก็ดี ในช่วงเช้าวันพุธ ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่บริหารกลางยังหน่วงเหนี่ยวกระบวนการให้ล่าช้า ไม่ยอมนำคำสั่งมามอบให้ พล.ต.อ.วันชัย ศรีนวลนัด ซึ่งทำหน้าที่รักษาการประธาน กสม.ระหว่างนางอมราไม่อยู่ รับทราบเพื่อลงนามแต่งตั้งรองเลขาธิการอาวุโสสูงสุด มารักษาการแทน นพ.ชูชัย

ขณะที่ นพ.ชูชัยได้เรียกประชุมเจ้าหน้าที่ที่ห้องทำงาน เพื่อให้กำลังใจ และชี้ว่ากรรมการที่เป็นตัวตั้งตัวตีให้ย้ายได้แก่ พล.ต.อ.วันชัย ศรีนวลนัด, นายปริญญา ศิริสารการ และ น.พ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ

ทั้งนี้หลังจาก “ประชาไท” เสนอข่าวเมื่อคืนวันที่ 22 พ.ย. ในช่วงเช้าก็มีผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์หลายฉบับไปเกาะติดสถานการณ์ และกรรมการบางคนกำลังจะให้สัมภาษณ์สื่ออย่างเป็นทางการ

นพ.ชูชัย ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการเคลื่อนไหวภาคประชาสังคมมาตลอด รวมทั้งเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงตรวจสอบทุจริตยา ในรัฐบาลชวน 2 ได้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการ กสม.ในคณะกรรมการชุดแรกที่มีนายเสน่ห์ จามริก เป็นประธาน แต่ก็มีปัญหาความขัดแย้ง จนถูกคณะกรรมการสั่งย้ายไปเป็นที่ปรึกษาระดับ 11 ในปี 2546 นพ.ชูชัยฟ้องศาลปกครองได้รับตำแหน่งคืน ก่อนลาออกในเวลาต่อมา

หลังจากเกิดรัฐประหาร 2549 นพ.ชูชัยได้เข้ารับตำแหน่งรองประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ 2550 ได้รับเลือกเป็นเลขาธิการ กสม.ด้วยมติ 5 ต่อ 2 เมื่อต้นปี 2553 แต่ก็ถูกคำสั่งย้ายอีกครั้งเนื่องจากกรรมการเห็นว่าปฏิบัติหน้าที่ไม่เหมาะสม ทำเกินหน้าที่เสมือนเป็นกรรมการอีกคนหนึ่ง

เมื่อเร็วๆ นี้ นพ.ชูชัยยังเพิ่งแจ้งความดำเนินคดีเครือหนังสือพิมพ์มติชน ต่อ สภ.ปากเกร็ด นนทบุรี ฐานหมิ่นประมาท เปิดเผยจดหมาย นพ.วิชัย โชควิวัฒน์ ถึงนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ สนับสนุนให้ นพ.ชูชัยเป็นปลัดกระทรวงสาธารณสุข

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

(เพิ่มเติม) ตัดสินคดี sms ‘อากง’ ผิดคดีหมิ่น+พ.ร.บ.คอมพ์ จำคุก 20 ปี

Posted: 22 Nov 2011 08:15 PM PST


(แฟ้มภาพ: วันสืบพยานสุดท้าย 30 ก.ย.54)

 

ผู้สื่อข่าวรายงานจากศาลอาญา รัชดา วันนี้ศาลนัดฟังคำพิพากษาคดีที่นายนายอำพล (สงวนนามกุล) อายุ 61 ปี หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า “อากง” ซึ่งถูกฟ้องว่ากระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 โดยข้อกล่าวหาว่าส่งเอสเอ็มเอสที่มีข้อความหมิ่นพระบรมเดชานุภาพไปยังโทรศัพท์ของเลขานุการของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี

ศาลพิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดจริงตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และพระราชบัญญัติการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มาตรา 14 อนุ 2 และ 3 ลงโทษจำคุก 20 ปี

ทั้งนี้ ศาลใช้วิธีอ่านคำพิพากษาผ่านระบบวีดีโอคอนเฟอรเรนซ์ เนื่องไม่สามารถนำตัวจำเลยมาฟังคำพิพากษาได้เพราะน้ำท่วมเรือนจำ หลังฟังคำพิาพากษา ภรรยา ลูกและหลานๆ ของนายอำพลพากันร่ำไห้ ขณะที่มีประชาชนผู้สนใจคดีดังกล่าวร่วมฟังคำพิพากษาราว 30 คน

สำหรับรายละเอียดการพิพากษา ผู้สื่อข่าวรายงานว่า

ผู้พิพากษา ชนาธิป เหมือนพะวงศ์ ขึ้นบังลังค์เวลา 10.25 น. ที่ห้องเวรชี้ ชั้นล่างของศาลอาญา

ศาลพิพากษาว่า ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ที่โจทก์ได้จาก DTAC และ TRUE นั้นเป็นหลักฐานที่ผู้ให้บริการมีหน้าที่ต้องจัดเก็บโดยระบบคอมพิวเตอร์ตามที่กฎหมายกำหนด หากผู้ให้บริการจัดเก็บไม่ถูกต้องลูกค้าย่อมไม่เชื่อถือ อาจเสียประโยชน์ทางธุรกิจได้ ดังนั้นจึงถือว่าหลักฐานข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์ที่ได้รับถือเป็นเอกสารที่ น่าเชื่อถือ

สำหรับประเด็นสำคัญในคดีที่จำเลยตั้งประเด็นว่า หมายเลขอีมี่ หรือรหัสประจำเครื่องโทรศัพท์อาจถูกปลอมแปลงได้นั้น จำเลยไม่สามารถหาตัวผู้เชี่ยวชาญมายืนยันได้ ส่วนประเด็นที่ว่า เอกสารในสำนวนฟ้องที่หมายเลขอีมี่หลักที่ 15 ไม่ตรงกับหมายเลขอีมี่ในเครื่องโทรศัพท์ คือในเอกสารบางจุดแสดงว่าเป็นเลข 0 บางจุดแสดงว่าเป็นเลข 2000 ขณะที่ในเครื่องโทรศัพท์จริงๆ เป็นเลข 6  ศาลวิเคราะห์ว่า หมายเลขอีมี่ 14 หลักแรกเท่านั้นที่มีความสำคัญ ตามที่พ.ต.อ.ศิริพงษ์ ติมุลา จากกองบังคับการปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี เบิกความและได้พิสูจน์ด้วยการใช้เว็บไซต์สำหรับตรวจสอบเลขอีมี่แสดงให้เห็นในศาลแล้วว่า เมื่อพิมพ์รหัส 14 หลักแรกตามด้วยรหัสสุดท้ายหมายเลข 6 จะปรากฏข้อมูลว่าเป็นเครื่องโทรศัพท์ยี่ห้อโมโตโรล่า ซึ่งเป็นรุ่นเดียวกับโทรศัพท์ของกลาง แต่ถ้าเปลี่ยนเป็นเลข 0-5 และ 7-9 ทั้งที่ควรปรากฏว่าเป็นเครื่องรุ่นอื่น แต่จากการทดสอบในเว็บดังกล่าวกลับไม่ปรากฏว่าเป็นรุ่นใดเลย จึงยิ่งชี้ให้เห็นชัดว่าหมายเลข 14 หลักแรกเท่านั้นที่ใช้ในการระบุตัว ตามที่โจทก์กล่าวอ้าง

นอกจากนี้ เนื่องจากหมายเลขอีมี่ในคดีนี้ตรงกับหมายเลขอีมี่ของโทรศัพท์ยี่ห้อ โมโตโรล่าที่นายอำพลใช้ และรับว่าใช้อยู่ผู้เดียว จึงยากที่จะมีผู้อื่นนำไปใช้ได้ และพบว่ามีการใช้โทรศัพท์เครื่องนี้กับซิมการ์ด 2 เลขหมาย ซึ่งจากหลักฐานชี้ชัดว่า ซิมการ์ดทั้งสองหมายเลขถูกใช้ในเวลาที่ใกล้เคียงกัน แต่ไม่เคยถูกใช้งานในเวลาที่ซ้ำกัน จึงเชื่อได้ว่าผู้กระทำความผิดได้นำซิมการ์ดมาสลับใช้อย่างที่เจ้าหน้าที่ตำรวจตั้งสมมติฐานไว้ นอกจากนี้ข้อมูลการจราจรยังระบุว่าข้อความถูกส่งโดยเสาสัญญาณจากย่านที่จำเลยพักอาศัยอยู่ด้วย
     
การที่จำเลยอ้างว่า โทรศัพท์มือถือของจำเลยเสียจึงนำไปซ่อมที่ร้านในห้างอิมพีเรียลสำโรง ศาลเห็นว่าจำเลยให้ข้อมูลที่คลาดเคลื่อน กล่าวคือ จำเลยแจ้งในชั้นจับกุมว่าโทรศัพท์มือถือเคยเสียและนำไปซ่อมเมื่อเดือนพฤษภาคม 2553 แต่แจ้งในศาลว่านำไปซ่อมเมื่อเดือนเมษายน 2553 อีกทั้งยังจำร้านที่นำโทรศัพท์ไปซ่อมไม่ได้ ทั้งที่การนำไปซ่อมต้องไปที่ร้านถึง 2 ครั้งคือตอนนำไปซ่อม และไปรับคืน จึงถือว่าข้อมูลส่วนนี้ไม่มีความน่าเชื่อถือ

ศาลเห็นว่า ข้ออ้างของจำเลยที่กล่าวอ้างว่า ส่งSMS ไม่เป็น และไม่รู้จักเบอร์โทรศัพท์ของนายสมเกียรติ ครองวัฒนสุข เลขานุาการส่วนตัวของนายอภิสิทธิ์ นั้น มีแต่จำเลยเท่านั้นที่รู้เห็น เป็นการง่ายที่จะกล่าวอ้าง

แม้โจทก์จะไม่สามารถนำสืบพยานให้เห็นได้อย่างชัดแจ้งว่าจำเลยเป็นผู้ที่ส่งข้อความตามฟ้องจากโทรศัพท์เคลื่อนที่เครื่องดังกล่าว ไปยังโทรศัพท์เคลื่อนที่ของนายสมเกียรติ แต่ก็เพราะเป็นการยากที่โจทก์จะสามารถนำสืบได้ด้วยประจักษ์พยาน เนื่องจากจำเลยซึ่งเป็นผู้กระทำความผิดดังกล่าวย่อมจะต้องปกปิดการกระทำของตนมิให้บุคคลอื่นได้ล่วงรู้ จึงจำเป็นต้องอาศัยเหตุผลประจักษ์พยานแวดล้อมที่โจทก์นำสืบเพื่อชี้วัดให้เห็นเจตนาที่อยู่ภายใน

ศาลอ่านคำพิพากษาเสร็จสิ้นเวลา 10.43 น. รวมระยะเวลา 18 นาที พิพากษาให้จำเลยมีความผิดในการส่งข้อความสั้นตามฟ้อง โดยข้อความดังกล่าวมีลักษณะดูหมิ่น แสดงความอาฆาตมาดร้าย และเป็นการใส่ความหมิ่นประมาททำให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่และสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ทรงเสื่อมเสียพระเกียรติยศ ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง อันเป็นการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 นอกจากนี้การส่งเอสเอ็มเอสจะต้องส่งผ่านระบบคอมพิวเตอร์ก่อนประมวลผลไปถึงโทรศัพท์เคลื่อนที่ปลายทาง ซึ่งข้อความดังกล่าวไม่เป็นความจริง ประกอบข้อเท็จจริงเป็นที่ประจักษ์โดยทั่วไปว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถทรงเปี่ยมไปด้วยพระเมตตา ทรงห่วงใยประชาชนทุกหมู่เหล่า ทรงประกอบพระราชกรณียกิจนานัปการเพื่อปวงชนชาวไทย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการนำเข้าสู่ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ กระทบต่อความมั่นคงของประเทศ และเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร

จำเลยจึงมีความผิดตาม มาตรา 112 ของประมวลกฎหมายอาญา และพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2551 มาตรา 14 (2) และ (3) การกระทำของจำเลยมีหลายกรรมต่างกันให้ลงโทษทุกกรรม แต่ให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ซึ่งเป็นโทษหนักสุด ให้จำคุกกระทงละ 5 ปี ความผิด 4 กระทง รวมโทษจำคุกทั้งหมด 20 ปี

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อศาลอ่านคำพิพากษาเสร็จสิ้น เจ้าหน้าที่ซึ่งนั่งอยู่กับนายอำพลที่เรือนจำในห้องฟังคำพิพากษาได้กล่าว ผ่านระบบคอนเฟอร์เรนซ์ถามว่าคำพิพากษาว่าอย่างไร เพราะตลอดการฟังคำพิพากษาได้ยินเสียงไม่ชัด เจ้าหน้าที่ศาลจึงแจ้งอย่างสั้นๆ ไปว่า “ลุงติดคุก 20 ปี"

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมอีกว่า ภายหลังฟังคำตัดสิน ครอบครัวนายอำพล ซึ่งประกอบด้วยภรรยา บุตรสาว 3 คน หลานสาว 4 คน อายุตั้งแต่ 4-11 ปี ได้เดินทางไปเยี่ยมนายอำพลที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ และได้สอบถามเจ้าหน้าที่เรือนจำได้ความว่า เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ไม่มีอำนาจควบคุมผู้ต้องขังที่โทษสูงกว่า 15 ปี ดังนั้นจึงต้องมีการส่งตัวผู้ต้องขังไปยังเรือนจำคลองเปรม ซึ่งเป็นที่คุมขังนักโทษเด็ดขาด ไม่อนุญาตให้บุคคลภายนอกเข้าเยี่ยม ยกเว้นญาติและทนายความ และมีความเป็นไปได้ว่าจะย้ายภายในวันศุกร์ที่ 25 พ.ย.นี้

 

0000000

รายละเอียดคดี

ที่มา: ilaw.or.th

 

ชื่อคดี : คดี "ลุง sms"

โจทก์ : พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 7 สำนักงานอัยการสูงสุด

จำเลย :
อำพล (สงวนนามสกุล)

ข้อหา: 
มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112, พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 14(2), (3)

หมายเลขคดี :
คดีหมายเลขดำที่ อ. 311/2554

ข้อมูลพื้นฐาน :

จำเลย ถูกกล่าวหาว่าใช้โทรศัพท์มือถือ หมายเลข 081-349-3615 ส่งข้อความอันอาจเป็นการดูหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ และหมิ่นประมาทใส่ความให้ร้ายสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ทั้งหมด 4 ครั้งไปยังโทรศัพท์มือถือหมายเลขโทรศัพท์ 081-425-5599 ของนายสมเกียรติ  ครองวัฒนสุข  ขณะดำรงตำแหน่งเลขานุการส่วนตัวของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี เมื่อเดือนพฤษภาคม 2553

3 สิงหาคม 2553 จำเลย วัย 61 ปี ถูกจับกุมในข้อหากระทำความผิดตามมาตรา 14 (2), (3) พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ และมาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญา และคำสั่งคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น ประมุข (คปค.) ฉบับที่ 41 โดยข้อความดังกล่าวมีลักษณะหยาบคาย เข้าข่ายจาบจ้วง ดูหมิ่น อาฆาตมาดร้ายต่อพระมหากษัตริย์ และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ

จำเลยให้การปฏิเสธ ตั้งแต่ชั้นจับกุม โดยกล่าวว่าไม่รู้จักวิธีการส่ง SMS และหมายเลขโทรศัพท์ที่ใช้ส่งนั้นก็ไม่ใช่ของตน ขณะที่เจ้าหน้าที่ตำรวจเชื่อว่าผู้ส่งข้อความหักซิมการ์ดทิ้งไปแล้ว จึงสืบเบาะแสจากหมายเลขประจำเครื่อง (IMEI)

จำเลยเคยประกอบ อาชีพขับรถส่งของ ปัจจุบันไม่ได้ประกอบอาชีพอะไรแล้วเนื่องจากอายุมากและพูดไม่ถนัดหลังการ ผ่าตัดมะเร็งใต้ลิ้นตั้งแต่ปี 2550 ทุกวันนี้อาศัยอยู่กับภรรยาในห้องเช่าราคาเดือนละ 1,200 บาท ย่านสำโรง จังหวัดสมุทรปราการ และอยู่ได้ด้วยเงินที่ได้รับจากลูกๆ อีกเล็กน้อย แต่ละวันมีหน้าที่ต้องเลี้ยงหลาน 3-4 คน

หลังถูกจับกุมเมื่อ วันที่ 3 ส.ค.53 เขาถูกคุมตัวในเรือนจำนวน 63 วัน และได้ประกันตัวเมื่อวันที่ 4 ต.ค.53 หลังจากนั้น ในวันที่ 18 ม.ค. 54 อัยการมีคำสั่งฟ้องคดี จำเลยจึงต้องถูกควบคุมตัวอีกครั้ง ซึ่งศาลไม่อนุญาตให้ประกันตัวโดยให้เหตุผลว่า ข้อเท็จจริงตามข้อหาการกระทำความผิดตามฟ้องกระทบต่อความรู้สึกของประชาชนและ ความมั่นคงของประเทศอย่างร้ายแรง คดีอยู่ในชั้นพิจารณา หากผลการพิจารณาสืบพยานมีหลักฐานมั่นคงจำเลยอาจหลบหนี ศาลไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว

นายสมเกียรติ ครองวัฒนสุข ผู้กล่าวหาในคดีนี้ ขณะเกิดเหตุดำรงตำแหน่งเลขานุการส่วนตัวของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี แจ้งความต่อกองบังคับการปราบปรามอาชญากรรมความผิดทางเทคโนโลยี หลังจากได้รับ SMS จากเบอร์โทรศัพท์หมายเลข 0813493615 ที่ส่งมายังเครื่องของตนในวันที่ 9, 11, 12, 22 พ.ค. 2553 รวมจำนวน 4 ข้อความ

นายสมเกียรติ ครองวัฒนสุข เป็นเลขานุการส่วนตัวของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี และเมื่อวันที่ 18 ม.ค. 54 มติคณะรัฐมนตรีได้แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่าย การเมือง

หลังการแจ้งข้อกล่าวหา กองบังคับการปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยียื่นขอคำสั่งศาล ให้ออกหมายจับศาลอาญา รัชดา ที่ 1659 /2553 ลงวันที่ 29 ก.ค.53 ข้อหาหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท ตาม ป.อาญา มาตรา 112 มีโทษจำคุก 3-15 ปี

3 สิงหาคม 2553 เวลา 7.00 น. เจ้าหน้าที่ตำรวจ 15 นาย นำโดย พล.ต.ท.ไถง ปราศจากศัตรู ผบช.ก. พ.ต.อ.สุพิศาล ภักดีนฤนาถ รรท.ผบก.ป. พ.ต.อ.พรศักดิ์ สุรสิทธิ์ ผกก.1 บก.ป. พ.ต.ท.ธีรเดช ธรรมสุธีร์ รอง ผกก.1 บก.ป. และ พ.ต.ท.สุทธิเวท บุญยรัตกลิน สว.กก.1 บก.ป. พร้อมด้วยสื่อมวลชน เข้าจับกุม นายอำพล ตั้งนพกุล ที่บ้านเลขที่ 52 หมู่ที่ 1 ต.คลองสวน อ.บางบ่อ จ.สมุทรปราการ โดยจับกุมได้ที่ห้องเช่าไม่มีเลขที่ ตั้งอยู่ระหว่างซอยวัดด่านสำโรง 17/1 และซอยวัดด่านสำโรง 19 หมู่ที่ 4 ต.สำโรงเหนือ อ.เมือง จ.สมุทรปราการ พร้อมของกลางโทรศัพท์มือถือยี่ห้อโมโตโรล่า 2 เครื่อง และยี่ห้อเทเลวิซ อีก 1 เครื่อง ซุกซ่อนอยู่ในตู้เสื้อผ้า

จำเลยปฏิเสธข้อหา ตั้งแต่ชั้นจับกุม โดยกล่าวว่าไม่รู้จักวิธีการส่งข้อความสั้นบนโทรศัพท์มือถือ ไม่เคยส่งเอสเอ็มเอสเลย เพราะส่งไม่เป็น มีโทรศัพท์ไว้สำหรับโทรออกอย่างเดียว และเขากล่าวด้วยว่าเบอร์โทรศัพท์ที่ใช้ส่ง SMS นั้นไม่ใช่เบอร์ของเขา และโทรศัพท์เครื่องที่จำเลยใช้งานอยู่นั้นเคยเป็นของลูกเขย ซึ่งให้เขาเอามาใช้อีกทีหนึ่ง

พล.ต.ท.ไถง กล่าวผ่านหนังสือพิมพ์มติชนว่า ผู้ต้องหาให้การปฏิเสธว่าไม่ได้ส่งข้อความตามที่ถูกกล่าวหา แต่ยอมรับว่า โทรศัพท์ทั้งหมดเป็นของตนจริง แต่ได้เลิกใช้ไปนานแล้ว ทั้งนี้ผู้ต้องหาไม่มีอาชีพเป็นหลักแหล่ง จึงไม่เชื่อว่าจะทราบเบอร์โทรศัพท์มือถือของบุคคลสำคัญของประเทศและส่ง ข้อความที่ไม่เหมาะสมได้ จึงเชื่อว่าจะมีผู้สนับสนุนหรืออยู่เบื้องหลัง และยังเชื่อว่าจำเลยเป็นฮาร์ดคอร์กลุ่มคนเสื้อแดง จ.สมุทรปราการ ที่ กอ.รมน. ขึ้นบัญชีดำไว้ด้วย

จำเลยถูกจับกุมโดยไม่ได้รับการประกันตัวเป็นเวลา 63 วัน จากนั้นในวันที่ 29 ก.ย.53 ทนายความยื่นประกันตัวครั้งที่สอง โดยใช้ที่ดินของญาติเป็นหลักทรัพย์ และเมื่อวันที่ 4 ต.ค.53 ศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ประกันตัว โดยให้เหตุผลว่า หลักประกันน่าเชื่อถือได้ว่าจำเลยจะไม่หลบหนี

18 ม.ค. 54 อัยการมีคำสั่งฟ้องนายอำพลเป็นจำเลยในคดีที่มีการส่งข้อความหมิ่นเบื้องสูง ไปยังนายกรัฐมนตรีและบุคคลสำคัญ มีความผิดตามมาตรา 14 (2),(3) ตามพ.ร.บ.การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวตเตอร์ฯ และมาตรา 112 ตามประมวลกฎหมายอาญา

หลังมีคำสั่งฟ้อง ทนายความยื่นขอประกันตัวอีกครั้งโดยใช้โฉนดที่ดินเป็นหลักทรัพย์ คำร้องของทนายความส่วนหนึ่งระบุว่า ผู้ร้องไม่มีพฤติการณ์ในการหลบหนีใดๆ เลย เนื่องจากผู้ต้องหาเป็นเพียงชายสูงอายุธรรมดาอาศัยอยู่กับภรรยา ลูกสะใภ้ และหลาน 3 คนในห้องเช่าในจังหวัดสมุทรปราการ ผู้ร้องไม่ได้ประกอบอาชีพใดๆ เพราะอายุมากแล้ว ผู้ร้องยังชีพด้วยเงินที่บุตรของผู้ร้องส่งให้เดือนละประมาณ 3,000 บาท และใช้สิทธิการรักษาตามหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ นอกจากนี้ผู้ร้องยังเป็นโรคมะเร็งช่องปากซึ่งต้องไปพบแพทย์เฉพาะทางที่ โรงพยาบาลราชวิถีอย่างสม่ำเสมอตั้งแต่ปี พ.ศ.2550 ก่อนถูกจับกุมหากผู้ร้องมีหน้าที่รับส่งหลานๆไปยังโรงเรียน หากออกไปทำธุระนอกบ้านผู้ร้องก็ต้องกลับมาอาศัยที่บ้านเสมอ และในขณะจับกุมผู้ร้องซึ่งมีอายุ 60 ปี ถูกจับกุมโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ 15 นายพร้อมกับสื่อมวลชนจำนวนหนึ่ง ผู้ร้องและบุคคลในครอบครัวผู้ร้องยังมีอาการตระหนกตกใจ และผู้ร้องก็ไม่มีพฤติการณ์จะหลบหนีหรือขัดขืนการจับกุมใดๆ ทั้งนี้เมื่อผู้ร้องได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวในชั้นสอบสวนผู้ร้องก็มา รายงานตัวต่อศาลอย่างสม่ำเสมอ เมื่อพนักงานอัยการนัดหมายมาฟ้องคดีผู้ร้องก็รีบเตรียมเอกสารและหาหลัก ประกันโดยเร็วให้ทันนัดหมายของพนักงานอัยการเพื่อไม่ให้เนิ่นช้าออกไป ด้วยเหตุที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้นย่อมแสดงให้เห็นว่าผู้ร้องไม่เคยมี พฤติการณ์ใดๆและไม่มีความสามารถซึ่งจะทำให้ศาลอาญาเกรงว่าผู้ร้องจะหลบหนี ได้

คำร้องของทนายความยังอ้างว่า การควบคุมตัวผู้ร้องระหว่างการพิจารณาจะกระทบต่อสิทธิเสรีภาพในชีวิตและ ร่างกายโดยตรงของผู้ร้องและไม่เป็นประโยชน์ใดๆต่อการพิจารณาคดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ร้องมีปัญหาทางสุขภาพ มีโรคร้ายประจำตัว และผู้ร้องซึ่งยังไม่ได้ถูกศาลพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทำความผิดจึงมีสิทธิใน การได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 39 วรรคสอง วรรคสาม มาตรา 40(7)

ศาลมีคำสั่งไม่อนุญาต ให้ปล่อยตัวชั่วคราวโดยให้เหตุผลว่า พิเคราะห์ความหนักเบาของข้อหา ตลอดจนพฤติการณ์แห่งคดีเป็นการกระทำต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินีและองค์รัชทายาท นับเป็นเรื่องร้ายแรงและกระทบความรู้สึกของปวงชนชาวไทย หากให้จำเลยปล่อยตัวชั่วคราวเกรงว่าจะหลบหนี จึงไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว จึงยกคำร้อง
 

จำเลยถูกควบคุมตัวจนปัจจุบัน ระหว่างช่วงเวลาที่ถูกจับกุม ทนายความยื่นเรื่องขอประกันตัวอีกหลายครั้ง แต่ศาลไม่อนุญาต

6 ตุลาคม 2554 หลังการสืบพยานทุกปากเสร็จเรียบร้อย ทนายความยื่นขอประกันตัวอีกครั้ง ด้วยหลักทรัพย์เป็นที่ดินของญาติจำเลย ที่ศาลอาญารัชดา แต่ศาลไม่ให้ประกันเนื่องจาก ไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม

ระหว่างการพิจารณาคดี ศาลได้นัดหมายให้ทำการสืบพยานโจทก์ และสืบพยานจำเลย ดังนี้

 

23 กันยายน 2554 (สืบพยานโจทก์ ศาลอาญา ห้อง 801)

27 กันยายน 2554 (สืบพยานโจทก์ ศาลอาญา ห้อง 801)
28 กันยายน 2554 (สืบพยานโจทก์ ศาลอาญา ห้อง 801)
30 กันยายน 2554 (สืบพยานจำเลย ศาลอาญา ห้อง 801)
 
 
 
 

 

หมายเหตุ ประชาไทมีการเพิ่มเติม-แก้ไขเนื้อหา เมื่อเวลา 15.10 น. 23 พ.ย.54

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไhttp://www.prachatai3.info/node/37991/editหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น