ประชาไท | Prachatai3.info |
- TCIJ: ตัวแทน สกต.พบหัวหน้าป่าไม้-ส.ป.ก.จังหวัดสุราษฏร์ฯ หวังเจรจาปัญหาที่ดิน
- ประวิตร โรจนพฤกษ์: พลานุภาพการเปรียบกษัตริย์เป็น “พ่อ” ของประชาชน
- กระทรวงไอซีทีต่อยอดโครงการลูกเสือไซเบอร์ เพิ่มหลักสูตรผู้นำ-ผู้บริหาร
- สุภิญญา กลางณรงค์: ใต้หมวก กสทช. กับการจัดสรรคลื่นความถี่ภาคปฏิบัติ
- วันเอดส์โลก 1 ธ.ค.- เครือข่ายผู้ติดเชื้อฯ ร้องไทยจริงจังลดการติดเชื้อ-อัตราการตาย
- เอไอชี้ความสำเร็จในการเยือนพม่าของนางคลินตันควรวัดจากสถานการณ์สิทธิมนุษยชน
- เริ่มแล้ว รวบรวมชื่อออนไลน์ ‘ยกลิก ม.112’ ปล่อยนักโทษการเมือง
- ยุติธรรม เมตตาธรรม ตุลาการ
- พิพากษาพรุ่งนี้! 7 จำเลยเสื้อแดงปล้นทรัพย์ CTW
- จดหมายเปิดผนึกจาก ใจ อึ๊งภากรณ์ ข้อเสนอเพื่อสร้างจุดยืนร่วมของ “แดงก้าวหน้า”
- ความหวาดกลัวที่ไม่มีจุดจบ: ชีวิตของผู้คนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
- 'สนนท.' ย้ำต้องแก้ไขกม.หมิ่นฯ -ปฏิรูประบบตุลาการ
- กวีตีนแดง:อากง...คือก้านไม้ขีดไฟ
- เจ้าฟ้าชายอากิชิโนแห่งญี่ปุ่น
- เจ้าชาย “อากิชิโน” มีพระดำริให้กำหนด “อายุเกษียณ” สำหรับจักรพรรดิญี่ปุ่น
TCIJ: ตัวแทน สกต.พบหัวหน้าป่าไม้-ส.ป.ก.จังหวัดสุราษฏร์ฯ หวังเจรจาปัญหาที่ดิน Posted: 30 Nov 2011 11:33 AM PST สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ส่งตัวแทนเข้าพบหัวหน้าป่าไม้จังหวัดสุราษฏร์ธานีทวงถามกรณีนายทุนรุกป่า รุกถามตั้งกรรมการตรวจสอบแต่ไร้ความคืบหน้า ก่อนเข้าเจรจากรอบการจัดสรรที่ดินกับ ส.ป.ก.ยืนยันหลักการโฉนดชุมชน วันที่ 30 พ.ย.54 เมื่อเวลา13.00 น.ตัวแทนสมาชิกสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ (สกต.) จำนวน 30 คน จาก 5 ชุมชนได้ขอเข้าพบนายคนิต สังขนิตย์ หัวหน้าป่าไม้จังหวัดสุราษฏร์ธานีเพื่อถามกรณีบริษัท สหอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน จำกัด เข้าไปยึดครองพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่ป่าในเขต ต.บางสวรรค์ อ.พระแสง จ.สุราษฏร์ธานี มาเป็นเวลากว่า 30 ปี สมาชิกสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ ชี้แจงว่าหน่วยงานป่าไม้ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบพื้นที่ไม่ได้เข้าตรวจสอบหรือดำเนินการใดๆ กับบริษัท ทั้งที่ก่อนหน้านี้กรมสอบสวนคดีพิเศษได้ตรวจสอบแล้วว่าบริษัทได้เอกสารสิทธิ น.ส.3ก.มาโดยมิชอบ และเอกสารสิทธิ์มีเนื้อที่เพียงแค่ 300 ไร่แต่อีก 1,100 ไร่ยังเป็นสิทธิของป่าไม้อยู่ แต่เมื่อชาวบ้านเข้าไปตรวจสอบและขอใช้สิทธิทำประโยชน์ในพื้นที่ทำการเกษตรกลับถูกฟ้องร้องดำเนินคดีอาญาข้อหาบุกรุกอสังหาริมทรัพย์ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อถูกตั้งคำถามจากกลุ่มตัวแทนสมาชิก สกต.ถึงเรื่องการตั้งคณะกรรมการเข้าตรวจสอบพื้นที่นายคนิตได้แสดงท่าทีไม่พอใจ และบอกว่าไม่ทราบว่าตอนนี้เรื่องไปถึงไหนแล้ว ให้ไปถามกับผู้ว่าราชการจังหวัดเพราะเป็นประธานกรรมการตรวจสอบ ตนเองไม่สามารถบอกอะไรได้ ทำให้กลุ่มตัวแทน สกต.ต้องพากันกลับโดยไม่ได้รับความกระจ่างใดๆ ทั้งนี้ คดีดังกล่าวที่ชาวบ้านถูกฟ้องร้อง ศาลชั้นต้นได้ตัดสินจำคุก 1 ปี 6 เดือนโดยไม่รอลงอาญา และขณะนี้กำลังอยู่ในชั้นของการอุทธรณ์ หลังจากนั้นเวลา 14.00 น.ตัวแทนสมาชิก สกต.ชุดเดียวกันได้เดินทางไปเข้าพบ นายฉลอง มณีโชติ หัวหน้า ส.ป.ก.จังหวัดสุราษฏร์ธานี เพื่อเจรจาเรื่องกรอบการจัดสรรที่ดินและคุณสมบัติของเกษตรกรที่จะได้รับการจัดสรรพื้นที่ทั้ง 3 ชุมชนซึ่งตัวแทนสมาชิกสหพันธ์ได้ยืนยันหลักการโฉนดชุมชน สิทธิและผลประโยชน์ของสมาชิกเป็นหลักสำคัญ อีกทั้ง เสนอแนวทางในการแก้ปัญหาระหว่างคนกับพื้นที่ว่า ส.ป.ก. ควรหาพื้นที่ว่างเปล่า หรือพื้นที่ที่ถูกกลุ่มทุนเข้าครอบครองทำประโยชน์โดยมิชอบเข้าทำการตรวจสอบ แล้วนำกลับมาปฏิรูปให้กับเกษตรกรผู้ไร้ที่ดินทำกินต่อไป ผู้สื่อขาวรายงานว่า ผลจากการเจรจาทางหน่วยงาน ส.ป.ก.รับปากจะจัดตั้งคณะกรรมการชุดใหญ่ และคณะอนุกรรมการเข้าดำเนินการจัดสรรพื้นที่โดยคัดเลือกจากบุคคลที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ในที่ดิน “เราไม่ได้เอาที่ดินเป็นของเราแต่ให้เป็นของชุมชนเราแค่ขอใช้ประโยชน์ในที่ดินเท่านั้น” นายบุญฤทธิ์ ภิรมณ์ หนึ่งในตัวแทนสมาชิกกล่าว สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
ประวิตร โรจนพฤกษ์: พลานุภาพการเปรียบกษัตริย์เป็น “พ่อ” ของประชาชน Posted: 30 Nov 2011 10:14 AM PST “วันนี้ลูกทุกคนอยากบอกพ่อว่า ‘ลูกรักและขอเดินตามรอยพ่ “ถ้าเกลียดพ่อ ไม่รักพ่อแล้ว จงออกไปจากที่นี่ซะ เพราะที่นี่คือบ้านของพ่อ” พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง, นักแสดง, 16 พฤษภาคม 2553 ในงานประกาศผลและมอบรางวั “พระมหากษัตริย์เป็นพ่อใหญ่แม่ “It gradually became apparent that this was a religion. To North Koreans, Kim Il-sung was more than just a leader. He showered his people with fatherly love.” คำแปล: “มันชัดขึ้นเรื่อยๆ ว่านี่คือศาสนา สำหรับชาวเกาหลีเหนือ คิม อิล ซุง เป็นมากกว่าผู้นำ เขามอบความรักดั่งบิดาให้แก่ หากมาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญา ทำให้การวิพากษ์วิจารณ์สถาบั ประชาชนผู้เชื่อว่า กษัตริย์คือพ่อหลวงของพวกเขา มองความสัมพันธ์ระหว่างกษัตริย์ การใช้กลไกทางวัฒนธรรมเช่นนี้ เอาเข้าจริงอาจมีอานุภาพมากกว่ กฎหมายเปลี่ยนแปลงได้ แต่ความรู้สึกแบบพ่อลูกนั้น หยั่งรากลึกถึงก้นบึ้งของจิตใจ และเมื่อประชาชนเชื่อว่าเป็นจริ สื่อกระแสหลักและกระแสรองส่ นอกจากนี้ การเปรียบกษัตริย์เป็นพ่ นี่ยังไม่รวมถึงการพึ่งพาทางสติ หากพิจารณาดูให้ดีแล้ว จะเห็นได้ว่า การถ่ายโอน (transplant) ลักษณะความสัมพันธ์พ่อ-ลูก สู่ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองกั สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
กระทรวงไอซีทีต่อยอดโครงการลูกเสือไซเบอร์ เพิ่มหลักสูตรผู้นำ-ผู้บริหาร Posted: 30 Nov 2011 09:13 AM PST ไอซีทีประกาศเดินหน้าโครงการต่อ ขยายหลักสูตรครอบคลุมผู้นำและผู้บริหารลูกเสือไซเบอร์ อบรมให้ผู้บริหารของกระทรวงฯเอง ด้านมัลลิกาเดินหน้า FightBadWeb ชวนเด็ก 11 ขวบท่องเว็บ แจ้งเว็บผิดกฎหมายทั้งมั่นคง ลามก การพนัน ยาเสพติดและหมิ่นสถาบัน
เว็บไซต์ blognone รายงานว่า หลังจากกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ได้อบรมอาสาสมัคร "ลูกเสือไซเบอร์" ไปแล้วจำนวนหนึ่ง ล่าสุด น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีที ประกาศเดินหน้าโครงการนี้ต่อ โดยขยายหลักสูตรให้ครอบคลุมผู้นำและผู้บริหารลูกเสือไซเบอร์ด้วย น.อ.อนุดิษฐ์ ให้ข้อมูลผ่านหน้าเว็บไซต์กระทรวงไอซีทีว่าหลักสูตรใหม่ 2 หลักสูตรคือ หลักสูตรผู้บังคับบัญชาลูกเสือระดับผู้นำ ขั้นความรู้ชั้นสูง (A.T.C) และ หลักสูตรผู้บริหารลูกเสือไซเบอร์ (Executive Cyber Scout) จะอบรมแก่ผู้บริหารของกระทรวงไอซีทีเอง เพื่อนำความรู้ด้านการลูกเสือมาปรับใช้กับการทำงานการบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้รับตำแหน่งผู้ช่วยผู้ตรวจการลูกเสือประจำ สำนักงานลูกเสือแห่งชาติ มีสิทธิได้ประดับเครื่องหมายวูดแบดจ์ 2 ท่อน และเพื่อให้เป็นแกนนำในการบริหารจัดการเครือข่ายลูกเสือไซเบอร์ (Cyber Scout) อนึ่ง โครงการ Cyber Scout หรือ "ลูกเสือไซเบอร์" เป็นโครงการของกระทรวงไอซีที ที่ริเริ่มในรัฐบาลที่แล้ว โดยมีจุดประสงค์เพื่อสร้างเครือข่ายอาสาสมัครออนไลน์เพื่อ "ส่งเสริมและปกป้องให้สังคมไทยเกิดความตระหนักในการรับรู้และใช้งานข้อมูลข่าวสารบนโลกออนไลน์อย่างเหมาะสมและสร้างสรรค์"
"มัลลิกา" ชวนเด็ก 11 ขวบท่องเว็บ แจ้งเว็บผิดกฎหมายทั้งมั่นคง ลามก การพนัน ยาเสพติดและหมิ่นสถาบัน ขณะที่ มัลลิกา บุญมีตระกูล รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ยังคงเดินหน้าโครงการ "Fight Bad Web" โดยวันนี้ (30 พ.ย.54) ได้ทวิตเชิญชวนแนวร่วมให้แจ้งเว็บไปยังเจ้าหน้าที่และแจ้งไปยังอีเมลของโครงการ โดยมีการอ้างว่ามีเด็ก อายุ 11 ขวบเข้าร่วมกิจกรรม "นักรบไซเบอร์ฝ่ายคุณธรรม" ซึ่งเธอได้ชวนให้เปลี่ยนจากการเล่นเกมมาเป็นช่วยกันแจ้งเว็บผิดกฎหมาย ทั้งมั่นคง ลามก การพนัน ยาเสพติดและหมิ่นสถาบัน (คลิกที่ # เพื่อไปสู่ทวีตต้นฉบับ)
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
สุภิญญา กลางณรงค์: ใต้หมวก กสทช. กับการจัดสรรคลื่นความถี่ภาคปฏิบัติ Posted: 30 Nov 2011 09:11 AM PST คุยยาวๆ กับ ‘สุภิญญา กลางณรงค์’ อดีตเอ็นจีโอปฏิรูปสื่อ ในบทบาทใหม่ ‘กสทช.’ ถึงขั้นตอนการเรียกคืนคลื่นความถี่ จะขอคืนจากกองทัพสำเร็จไหม จะจัดสรรใหม่อย่างไร กินเวลาแค่ไหน การเปลี่ยนผ่านระบบคลื่นความถี่จากอนาล็อกไปสู่ดิจิตอลจะแก้ปัญหาได้หรือไม่ ฯลฯ 00000 ถูกจับตามองตั้งแต่กระบวนการสรรหากระทั่งการเข้าสู่ตำแหน่ง สำหรับ 11 กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ด้วยความหวังว่าจะเข้ามาทำหน้าที่จัดสรรคลื่นความถี่ของประเทศนี้ใหม่ ให้เป็นทรัพยากรของสาธารณะที่ประชาชนทุกหมู่เหล่ามีสิทธิใช้และครอบครองได้ ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ 1 เดือนกับการทำงาน หลังตอบโจทย์แรกในการกำหนดสูตรคืนคลื่น “5-10-15” สงครามระหว่างเจ้าของคลื่นเดิม กับขององค์กรอิสระเกิดใหม่ จะค่อยๆ เข้มข้นขึ้น จากกระแสร้อนชิมลางการจัดระเบียบคลื่นใหม่กรณี “กรีนเวฟ” ภารกิจการจัดสรรคลื่นความถี่ทั้งหมดยังเป็นเรื่องที่ต้องเฝ้าดูกันอย่างใกล้ชิด “ประชาไท” สัมภาษณ์ สุภิญญา กลางณรงค์ หนึ่งใน กสทช.และบอร์ดเล็กด้านวิทยุโทรทัศน์ อดีตเอ็นจีโอที่ทำงานในประเด็นการปฏิรูปสื่อมาอย่างยาวนาน รวมทั้งมีส่วนร่วมในการร่างกฎหมายคลื่นความถี่ตั้งแต่ยุคแรกเริ่ม ว่าด้วยเรื่องโครงสร้างการทำงาน และอนาคตของคลื่นความถี่ในกำมือ กสทช. คลิกที่หัวข้อเพื่ออ่าน ... (2) … (3) … (4) ... (5) … 00000 การเรียกคืนคลื่น ภาคปฏิบัติเพื่อไปสู่การจัดสรรคลื่นความถี่ กระบวนการที่หน่วยงานรัฐต้องแจ้งข้อมูลการถือครองคลื่นได้เริ่มแล้ว ? กสทช.บอร์ดเล็กเพิ่งมีมติไปเมื่อวันจันทร์ (15 พ.ย.54) และกำลังจะเข้าบอร์ดใหญ่ว่าจะเริ่มทำกระบวนการภายใน 1 ปี ให้มีการมาลงทะเบียนเปิดเผยตัวเอง แล้ว กสทช.จะเริ่มให้ใบอนุญาตรับรอง คืออันไหนที่ได้รับการรับรอง นั่นหมายความว่าคุณเข้าเกณฑ์สาธารณะ อันไหนไม่รับรองแสดงว่ามีปัญหา ซึ่งกระบวนการนี้มันอาจไม่เสร็จภายใน 1 ปี แต่จะต้องเห็นเป็นรูปธรรมภายใน 1 ปี โดยกลางเดือนหน้า (ธ.ค.) กสทช.จะนัดประชุมหน่วยงานรัฐทั้งหมดที่เป็นเจ้าของคลื่นความถี่ ซึ่งรวมทั้ง 1ปณ.ด้วย กระบวนการนี้ทำได้เลยไม่ต้องรอแผนแม่บท จะมีการเปิดเผยข้อมูลเหล่านี้ต่อสาธารณะหรือไม่ อย่างไร ? ท้ายที่สุดแล้วก็ต้องเปิด ตอนนี้คนอยากรู้มากว่า ใครถือครองอะไร หลังจากแจ้ง (declare) แล้ว เราจะรู้ว่าใครถือครองอะไรเท่าไหร่ เอาไปทำอะไร มีสัญญาติดกับใครอย่างไร ข้อมูลนี้จะต้องเปิดเผยต่อสาธารณะ อย่างน้อยก็ต้องเปิดเผยข้อมูลดิบ อาจจะไม่ได้ลงรายละเอียดว่าใครสัญญากับใครอย่างไร แต่ใครถือครองเท่าไหร่แล้วจะเก็บไว้เท่าไหร่ ตัวเลขนี้ต้องออกไป มีการจับตาเรื่องบอร์ด กสทช.ซึ่งมีสัดส่วนของทหารเยอะ มีผลต่อการตัดสินใจหรือการทำงานหรือไม่ ? ส่วนตัวคงไม่ไปก้าวล่วงการตัดสินใจของท่านอื่น แต่ทุกคนมีที่มาที่ไปยึดโยงกับกลุ่มต่างๆ ก็คงมีผลส่วนหนึ่งที่เราต้องคำนึง แต่อย่างที่บอกว่าบางท่านเป็นทหาร หรือเอ็นจีโอมา พอมาทำหน้าที่ตรงนี้แล้ว มันก็มีโจทย์ว่าต้องตัดสินใจอย่างเป็นอิสระ ถ้าเกิดการตัดสินใจไม่เป็นอิสระ ไม่มีที่มาที่ไป สาธารณะก็จะตรวจสอบเอง แต่ก็ไม่สนับสนุนให้จี้บางคน หรือแบ่งเป็นก๊ก เพราะจะส่งผลให้ทำงานไม่เป็นเอกภาพ เมื่อไหร่องค์กรไม่เป็นเอกภาพจะสู้ศึกข้างนอกยาก แต่การทำให้เป็นเอกภาพและเห็นสอดคล้องกันโดยไม่ขัดหลักการ ยากมาก เราเป็นเอ็นจีโอมาก็ไม่ใช่ว่าไม่มีเรื่องที่จะต้องกังวล คนก็จับตาดูอยู่ว่าคุณจะตัดสินเพื่อพวกพ้องเอ็นจีโอหรือเปล่า มันก็มีทุกคนแหละ ทุกคนก็ต้องพิสูจน์ตัวเองว่าจะตัดสินใจอย่างเป็นอิสระระดับหนึ่ง แต่ไม่ใช่ว่าไม่ฟังคนอื่น หรือต้องมีเหตุมีผลเพียงพอ กสทช.ต่างที่มาอาจจะมีวาระของตัวเองในใจ แต่สิ่งที่หลอมรวมทุกคนไว้ด้วยกันคือทุกคนรู้ว่าเราเกิดมาในยุคที่ทุกคนถูกจับตา ไม่ได้ชิลๆ เหมือนก่อนหน้านี้ ทุกคนคาดหวังผลงาน และสิ่งที่ทุกคนอยากมีเหมือนกันคืออยากมีผลงานออกไปให้สาธารณะยอมรับเราระดับหนึ่งว่าเราทำงานโปร่งใสตรงไปตรงมา นี่คือจุดเกาะเกี่ยวกันเพื่อหาจุดตรงกลาง คิดว่าอยากจะรักษาสภาพตรงนี้ไปเรื่อยๆ แต่ก็ไม่รู้เพราะองค์กรยังใหม่ๆ ไปๆ มาๆ อาจมีขั้วก็ได้ เหมือน ส.ว.ยังมีกลุ่ม 40 -20 แต่ไม่อยากให้เกิด อยากให้มีการคานดุลกัน เถียงกันได้เต็มที่ และสุดท้ายถ้าเราเป็นเสียงข้างน้อยก็เคารพ ก็คือให้บันทึกไปว่าเป็นเสียงข้างน้อย แต่เรื่องใหญ่ๆ ส่วนใหญ่น่าจะหาจุดวิน-วินให้ได้จึงจะทำให้งานมีเอกภาพ ไม่อย่างนั้นจะทำให้องค์กรไปคนละทางสองทาง เราไม่สามารถสร้างอะไรในองค์กรเราได้ แล้วเราจะไปกำกับคนอื่นเขาจะได้ยังไง การขอคืนคลื่นจากทหารจะเป็นไปได้แค่ไหน ? ท้ายที่สุด เราก็ต้องไปกำกับเขา ต่อให้ กสทช.มีองค์ประกอบของอดีตนายทหารเยอะ แต่กฎหมายบังคับว่าเราจะต้องทำตามกติกา ถ้ากองทัพไม่มีเหตุผลในการครองคลื่นไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ เขาก็ต้องคืน ถ้า กสทช.ไม่เข้ม เราก็จะโดนอีกฟากหนึ่งตรวจสอบเราเอง เพราะฉะนั้นเราก็ต้องยืนหยัด ทั้งนี้มองว่า ถ้าเขาขอว่าคงไว้ 200 คลื่น ทำเพื่อประโยชน์สาธารณะ ไม่แสวงหากำไรเลย คงเป็นเรื่องยาก แล้วเขาก็จะทำเองยากด้วย ขณะเดียวกันเขาคงคืนร้อยเปอร์เซ็นต์ยาก ถึงบอกว่ามันต้องวิน-วิน สมมติมี 200 คืน 100 ก็ดีใจแย่แล้ว ที่เหลือเราก็ไปดูว่าทำเพื่อสาธารณะไหม ถ้าเรากล้าพอที่จะฟันธงว่าไม่ตรง แต่อันแรกสังคมก็ต้องทวงถามเขาก่อนว่า จะเก็บไว้ 200 จริงหรือ ถ้าเก็บไว้แค่ 100 แล้วแจ้งว่าทำเพื่อสาธารณะ กสทช.ก็มาดูไปตามหลักการว่าทำเพื่อสาธารณะจริงไหม หรือเข้าเกณฑ์ความมั่นคงเข้าไหม ถ้าไม่เข้า เราก็ต้องกล้าฟันธงว่าไม่เข้า และคืนสู่กองกลาง มาตรการบังคับเพื่อการคืนคลื่นคืออะไร ? สู้กันที่ศาล หรือทางการเมือง อาจสัญญากันแบบลูกผู้ชาย คือใช้การเมืองนำก่อน เช่น ถ้าเขาขอมา 100 คลื่นเป็นเพื่อสาธารณะ กสทช.บอกให้ได้แค่ 50 คลื่น อีก 50 คลื่นไม่เข้า เขาอาจจะไปฟ้องศาล แล้วให้ศาลชี้กันไปว่าเข้าไม่เข้า ก็ยื้อกัน ใช้กระบวนการทางกฎหมาย ซึ่งก็จะอยู่ที่ศาลแล้ว กสทช.ก็จะทำหน้าที่ของเราในการยืนยันเจตนารมณ์ว่าไม่เข้า เราไม่ให้ใบอนุญาตเพราะฉะนั้นคุณต้องคืน ถ้าเขาฟ้องแล้วบอกว่าเข้า แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น กสทช.ก็ต้องกล้าหาญวินิจฉัยก่อนด้วยนะว่าเข้าไม่เข้า เมื่อสู่กระบวนการเรียกคืนคลื่น แล้วคลื่นที่เช่าช่วงต่อจากหน่วยงานรัฐจะต้องเป็นอย่างไร ? อาจจะคงสภาพเหมือนเดิม แต่ในปีหน้าเราจะเริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงแล้วว่าหน่วยงานรัฐทั้งหลายอาจจะค่อยๆ ดึงกลับมาทำเอง ถ้าเขาไม่ทำเอง ตามเงื่อนไขเขาก็ต้องคืน เขาอาจจะค่อยๆ คืน หรือต้องเตรียมไปบอกกับเอกชนคู่สัญญาแล้วว่ามันมีความไม่แน่นอนตรงนี้ แล้วเราจะเริ่มรู้ว่ามันจะเหลือคลื่นสำหรับการจัดสรรเท่าไหร่ ทั้งนี้ไม่ใช่ว่าสิ้นปีนี้จะคืนทันที แต่หมายถึงว่าปีหน้ามันจะเริ่มเห็นกระบวนการเปลี่ยนแปลง สอดคล้องกับที่แผนแม่บทน่าจะเสร็จ แต่ถ้าแผนแม่บทเสร็จอย่างเดียวมันไม่พอ มันจะต้องมีการวางตารางย่านคลื่นความถี่ด้วย ซึ่งเราคิดกันในแผนแม่บทว่าเราอาจจะปรับย่านคลื่นความถี่ในประเทศไทยครั้งใหญ่ อันนี่เป็นงานใหญ่งานยักษ์คือว่าตอนนี้อยู่กันสะเปะสะปะ ต่อไปเราอาจจะจัดโซนนิ่งเหมือนตลาด ตอนนี้เปรียบเหมือนในตลาดมีคนจับจองแผงลอย แล้วบางทีผลไม้ ผัก ปลา กับเสื้อผ้า รองเท้า มันอยู่โซนเดียว เกยกันไปเกยกันมา ต่อไปเราอาจจะโซนนิ่งว่า คลื่นที่ไม่แสวงหากำไรหรือที่เรียกว่าวิทยุชุมชนอาจจะอยู่โซนเดียวกันแบบเป็นล็อตเดียว แล้วธุรกิจอาจจะแยกออกมา ซึ่งการกำหนดย่านตารางคลื่นความถี่นี่จะทำได้ก็ต่อเมื่อเรารู้แล้วว่าหน่วยงานรัฐจะยังถือครองไว้เท่าไหร่ แล้วที่เหลือมาทั้งหมดเราสามารถจะไปจัดสรรประมูลให้ภาคธุรกิจเท่าไหร่ รวมถึงให้ภาคประชาชน 20 เปอร์เซ็นต์ตามกฎหมาย สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้น คือเราต้องสำรวจอุปสงค์และอุปทานก่อน แล้วก็สำรวจว่ารัฐจะเก็บไว้เท่าไหร่ และสุดท้ายจะต้องเหลือมาจัดสรรใหม่เท่าไหร่ แล้วเมื่อนั้นเราจะได้วางตารางย่านได้ ว่าย่านมันจะต้องอยู่ตรงไหน เหลือสล็อตเท่าไหร่ 20 เปอร์เซ็นต์ของภาคประชาชนอยู่ตรงไหน แล้วก็จะเกิดกระบวนการจัดสรรที่เป็นรูปธรรม แล้วเอกชนก็จะได้เริ่มประมูล การกำหนดตารางย่านความถี่จะรู้ผลได้ภายในเมื่อไหร่ ? ตามกฎหมายเขาให้เวลาเราทำแผนแม่บท 1 ปี แต่ว่าเราตั้งใจอยากทำให้เร็วกว่านั้น เพราะว่ามันติดเรื่องโทรคมนาคมด้วย คนรอกันไม่ได้ อย่างเรื่อง 3G ถ้ามัวแต่รอทำแผนแม่บท กว่าจะได้ประมูล 3G คงปีมะโว้ ซึ่งมันคงไม่ทันการ ประกอบกับที่ กทช.ได้ร่างแผนแม่บทมาไว้ให้แล้วด้วย ซึ่งตรงนี้ตัวเองมีส่วนร่วมร่างโดยอยู่ในฐานะอนุฯ มันทำให้เราเร็วขึ้นและไม่ต้องนับหนึ่งใหม่ นั่นคือนำร่างเดิมมาคุยกันใน 11 คนให้ลงตัว ถ้าไม่ได้มติเอกฉันท์ ก็อาจจะสงวนไว้เป็นเสียงข้างน้อย เสียงข้างมาก แล้วก็รับฟังความเห็น พอรับฟังความเห็น สุดท้ายกลับมา กสทช.ก็ต้องตัดสินใจเรื่องที่มันเป็นประเด็นหลักจริงๆ เช่น กี่ปี ความยากไม่ใช่ถ้อยคำที่สวยหรูนะ ความยากคือ KPI คือตัวชี้วัดว่าเราจะทำมันให้เสร็จภายในกี่ปี และเรื่องช่วงเวลาแต่ละเรื่องทำช่วงไหน อย่างการประมูลคนก็อยากจะเริ่มรู้แล้วว่าภายในกี่ปีจะได้เห็น หรือการคืนคลื่นความถี่ภายในกี่ปีจะได้เห็น ภายในชุดนี้หรือชุดหน้า นี่คือสิ่งที่ต้องอยู่ในแผนแม่บททั้งนั้น ที่ยังตัดสินใจกันไม่ได้ก็เพราะเงื่อนเวลา KPI นี่แหละ เพราะถ้าถ้อยคำงดงามมันก็เขียนแป๊บเดียวก็เสร็จ ทุกคนก็เขียนได้ มันก็เหมือนลอกรัฐธรรมนูญ ลอกกฎหมายมา แต่แผนแม่บทมันไม่ใช่แค่นั้น แผนแม่บทมันต้องบอกเรา เหมือนนโยบายที่รัฐบาลแถลงต่อสภานั่นแหละว่าเขาจะทำค่าจ้าง 300 บาทภายในเท่าไหร่ แล้วคนจะได้มาทวงถามได้ไงว่าทำไมยังไม่ 300 บาท อันนี้ก็เหมือนกัน ถ้าเราประกาศไปแล้วแต่พอถึงเวลาเราไม่ทำคนจะได้มาทวงถามเราได้ว่าที่บอกที่สัญญาไว้ทำไมคุณไม่ทำ ที่ประชุม กสทช. มีมติวันที่ 23 พ.ย. เห็นชอบร่างแผนแม่บทบริหารคลื่นความถี่ และจะเริ่มประกาศในเว็บไซต์ระยะเวลา 30 วัน หลังจากนั้นจะเปิดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ หรือ ประชาพิจารณ์ คาดว่าจะเป็นต้นปีหน้าและสามารถประกาศใช้ได้ในเดือน เม.ย. แผนแม่บทดังกล่าวกำหนดให้เรียกคืนคลื่นความถี่ที่อยู่ในครอบครองจากหน่วยงานรัฐทั้งหมด กำหนดระยะเวลา 5 ปี สำหรับกิจการกระจายเสียง 10 ปีสำหรับกิจการโทรทัศน์ และ 15 ปีสำหรับกิจการโทรคมนาคม โดยความถี่ที่เรียกคืนนั้นเป็นความถี่ที่อยู่นอกเหนือสัญญาสัมปทาน ช่วงสุญญากาศระหว่างการเปลี่ยนผ่าน จะมีการจัดการอย่างไร ? ตอนนี้ช่วงสุญญากาศจะเป็นช่วงที่มีปัญหามาก ย้อนกลับไปนิดหนึ่งคือเราต้องทำแผนแม่บท 3 ฉบับ และต้องทำตารางย่านความถี่ฯ ซึ่งช่วงนี้อาจจะใช้เวลาค่อนข้างนาน อาจจะ 1-2 ปี แต่ในขณะเดียวกัน 1-2 ปีนี้ไม่ใช่ว่าเราทำอะไรไม่ได้เลย อย่างที่บอกว่าสื่อของรัฐเองเขาก็ต้องปรับตัว ถ้าเขาทำไม่เข้าข่ายเราก็สามารถไม่ให้ใบอนุญาตเขาได้ และคลื่นมันจะค่อยๆ ทยอยกลับมา และในขณะเดียวกันเราสามารถสร้างเงื่อนไขการกำกับดูแลได้ หรือว่าภาคเอกชนที่ติดสัมปทานอยู่ ระหว่างนี้ก็ไม่ใช่ว่าจะทำอะไรไม่ได้ กสทช.สามารถกำหนดเกณฑ์กติกาเรื่องผังรายการ อย่างที่ไปฟังคนหูหนวกมา เขาบอกอยากให้มีภาษามือ สิ่งเหล่านี้ทำได้ คือสามารถกึ่งๆ ออกประกาศแล้วให้เอกชนทำ ระหว่างนี้ทำไปได้ก่อน ช่วงสุญญากาศที่จะต้องแก้ปัญหา มีอยู่ 2 หน่วย คือ 1) คลื่นของรัฐเดิม รวมทั้ง 1ปณ.ด้วย ในส่วนที่ให้เช่าช่วงว่าจะทำอย่างไร ระหว่างที่ยังประมูลไม่ได้ 2) วิทยุชุมชน นี่คือเรื่องใหญ่ที่หนักหนากว่าอีก เพราะว่าวิทยุชุมชนตอนนี้เขาอยู่ในช่วงสุญญากาศจริงๆ (ล่าสุด บอร์ดเล็ก กสทช. ประกาศขยายเวลาทดลองออกอากาศอีก 300 วัน- ประชาไท 29 พ.ย.54) แล้ววิทยุชุมชนที่เราเข้าใจก็ไม่ได้เป็นวิทยุชุมชนกว่า 8,000 แห่ง จริงๆ มันคือวิทยุธุรกิจท้องถิ่น ซึ่งต้องเข้าสู่การประมูลเหมือนกัน ส่วนกระบวนการที่จะแบ่งประเภทว่าอะไรคือวิทยุชุมชน อะไรคือวิทยุธุรกิจ อะไรคือวิทยุสาธารณะก็ต้องรอเกณฑ์ก่อน เพราะฉะนั้นตอนนี้โจทย์ยากของ กสทช.คือต้องมีนโยบายให้ชัดว่าจะเอาอย่างไร จะคุ้มครองเขาไปก่อนแบบนี้เหมือนเดิม ซึ่งแนวโน้มก็อาจจะต้องเป็นอย่างนั้น แต่ว่าคลื่นวิทยุที่เกิดใหม่ทุกวันเราจะเอาอย่างไร จะสั่งคุมกำเนิด ห้าม บอกว่าต่อจากนี้จะโดนจับแล้วนะ อันนี้คือความยากเพราะว่าถ้าไม่ทำอะไรเลยคนก็จะหาว่าเราไม่ทำอะไร มีแล้วก็ยังเปิดใหม่ทุกวันแล้วคลื่นกวนกัน ส่วนตัวก็รู้สึกว่าอยากให้ทุกคนได้ทำ แต่ว่าเมื่อมาอยู่ตรงนี้แล้วมันก็จะมีคนร้องเรียนเยอะว่าคลื่นมันกวนกัน คลื่นใหม่ๆ มันก็ไม่ได้ทำชุมชนจริง มีโฆษณามีอะไร ถ้าเราไม่เข้มให้เขาหยุดคุมกำเนิดมันก็จะเกิดเต็มไปหมด อันนี้คือมันเป็นเรื่องสิทธิเสรีภาพด้วยแต่ในขณะเดียวกันมันก็เป็นเรื่องการกำกับดูแลด้วย ถ้าเราไม่ทำอะไรเดี๋ยวเป็นสองหมื่นก็ฟังกันไม่รู้เรื่องเราก็จะซวยเหมือนกัน คือถ้าไม่มีสุญญากาศปุ๊บเปิดประมูลพรุ่งนี้อาจจะง่าย ก็คือว่ามาประมูล ใครไม่เข้าข่ายประมูลแจกให้เลยเป็นวิทยุชุมชน แต่เนื่องจากเราไม่สามารถทำอย่างนั้นได้ เพราะรอแผนแม่บท พอรอแผนแม่บทเราต้องมีเกณฑ์อีกว่าจะประมูลอย่างไร อาจจะปีหรือสองปี เพราะฉะนั้น กสทช.จะต้องมีนโยบายเหมือนเรื่อง 1ปณ.เร็วๆ นี้ว่า เราจะเอาอย่างไรช่วงสุญญากาศ พูดถึงวิทยุชุมชน เหมือนมองว่าจะจัดการได้ยากกว่ากลุ่มอื่นๆ เพราะอะไร ? วิทยุชุมชน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเยอะกว่า เป็นพันเป็นหมื่น กระทบหมด ซื้อเครื่องมาแล้ว ทำมาหากินแล้ว แต่ส่วนใหญ่ก็พร้อมที่จะเข้าสู่กติกา เพราะอยากทำมาหากิน แต่แน่นอนที่มีบางกลุ่มอยากจะขบถ ไม่ขอใบอนุญาต เป็นคลื่นโจรสลัด ทุกประเทศก็มี สหรัฐก็มี ซึ่งก็อยู่ที่ว่า กสทช. จะเอาอย่างไร ส่วนตัวคิดว่าต้องเข้ม แต่อยากให้ดำเนินการทางแพ่ง ไม่ค่อยอยากดำเนินการทางอาญา จากประสบการณ์ที่ทำงาน คปส. (คณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ) ก็เห็นว่า เป็นคดีที่เป็นภาระต่อศาล จากสถิติ คนที่ถูกจับส่วนใหญ่เป็นชาวบ้าน คนที่เป็นรายใหญ่จริงๆ จะไม่อยู่ที่สถานีแล้ว เหลือแค่ชาวบ้านเฝ้าเครื่อง ขึ้นศาลส่วนใหญ่ครั้งแรกก็ถ้ารอลงอาญา ชาวบ้านก็จะมีประวัติไปเปล่าๆ เว้นแต่ติด 20 ครั้ง รายเดิมตั้งใจป่วนจริงจัง ก็โอเค ร้ายแรง ต้องเอาจริงแล้ว ซึ่งก็อีกเรื่องหนึ่ง ถ้าใช้แนวของเมืองนอกก็คือปรับ-จับ-ยึดเครื่อง ต่อไปเราเองก็อาจต้องสร้างโกดังเก็บเครื่อง ยึดเครื่อง ซื้อใหม่ก็ยึด ปรับพันห้าพันหมื่นอะไรก็ปรับไป คือมันไม่มีทางออกอื่น ถ้าเราไม่ทำอะไร คนที่จะทำธุรกิจก็มีจริง ที่จะหาประโยชน์แล้วไม่อยู่ในกติกาไปรบกวนคนอื่น คลื่นไม่ได้คุณภาพ มันก็ทำให้คนอื่นเขากระทบ แต่ส่วนตัวมองว่าไม่ใช่ความผิดทางอาญาที่ต้องติดคุก การกำกับหรือลงโทษทางแพ่งน่าจะเป็นจุดตรงกลางที่ลงตัว แต่ไม่รู้แนวทางนี้จะเป็นผลไหม แต่แนวทางในการใช้ก็ต้องคุยในบอร์ดใหญ่อีกที เรื่องคลื่นที่ได้สัมปทานยาวนาน เช่น ช่อง 3 ช่อง 7 กสทช.ดำเนินการอะไรได้บ้าง ? กรณีวิทยุโทรทัศน์ที่สัญญาสัมปทานยังไม่หมด โดยได้รับความคุ้มครองสัมปทานตามรัฐธรรมนูญและบทเฉพาะกาลนั้น มีบางส่วนที่สัญญาสัมปทานมีปัญหา ตรงนี้กฎหมายเปิดช่องให้ กสทช.สามารถตรวจสอบสัญญาสัมปทานได้ โดยอาจตั้งคณะอนุกรรมการตรวจสอบ อย่างไรก็ตาม พูดไว้เลยว่ากระบวนการมันก็จะยาว สมมติเราตรวจสอบมาแล้ว คิดแบบในแง่สุดขั้วว่า กสทช.มีคำวินิจฉัยว่าสัญญาสัมปทานนั้นผิด เอกชนเขาก็ต้องไปฟ้องศาลปกครองอยู่ดี แล้วกระบวนการก็จะไปจบที่ศาลปกครอง ก็จะกินเวลายาวนานไปเรื่อยๆ อาจใช้เวลาเกือบครึ่งของสัญญาสัมปทาน อย่างไรก็ตาม เราก็มีสิทธิตรวจสอบและควรจะต้องทำ ตรงนี้เกี่ยวข้องกับเรื่องโทรคมนาคมด้วย อย่างเรื่อง TRUE CAT อะไรที่ค้างคากันมาอยู่ อะไรที่เขาไปมีเงื่อนไขสัญญากัน เหล่านี้อยู่ในอำนาจ กสทช.สามารถวินิจฉัยได้ แต่วินิจฉัยแล้วเราไม่ใช่เป็นคำตอบสุดท้าย เอกชนเขาสามารถใช้สิทธิฟ้องศาลปกครองได้ทุกเรื่อง แม้กระทั่งเรื่องอื่นๆ การออกประกาศ เรื่องเกี่ยวกับหน่วยงานรัฐที่ว่ามา แม้แต่ 1 ปณ. วิทยุชุมชน ได้หมด 1 ปณ.: แรงสั่นสะเทือนจากหินถามทาง กรณี 1 ปณ.เป็นบทเรียนอย่างไร ? กรณี 1 ปณ. จริงๆ เป็นการส่งสัญญาณจาก กสทช.ต่อคลื่นรัฐอื่นว่า กสทช.นับหนึ่งแล้วว่าคุณจะต้องปรับตัวแล้ว คิดว่าตอนนี้ อสมท. กองทัพ เขาก็ต้องกลับไปคุยแล้วล่ะ ว่าจะทำอย่างไร อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่าเราอาจไม่ทันได้ประเมินมวลชน แต่เราตรงไปตรงมาตรงที่ว่าพอเข้ามาทำงานปุ๊บ เราเห็นรายงานอยู่ตรงหน้าว่ารายได้ของ กสทช.ที่เข้าสำนักงานมันมาจากที่นั่นที่นี่ และมันก็มีจาก 1ปณ.ด้วย แล้วกลายเป็นว่ามันก็กลายเป็นเผือกร้อนที่บอร์ด กทช.เขาก็ปล่อยช่องว่างไว้ให้เราตัดสินใจ เนื่องจากว่าประวัติศาสตร์ของ 1 ปณ.คือมันเป็นวิทยุภายใต้การกำกับของกรมไปรษณีย์โทรเลขมาตั้งแต่โบราณ กรมไปรษณีย์โทรเลขก็มีสถานะคล้ายกับ อสมท. กองทัพ กรมประชาสัมพันธ์ ที่สมัยก่อนก็ได้รับการจัดสรรคลื่น คือสมัยก่อนไม่มี กสทช. ตอนนั้นทหารได้เยอะหน่อย 200 กว่าคลื่น กรมประชาสัมพันธ์ได้ 140 กว่า อสมท.ได้ 60 กว่า มหาวิทยาลัยโน่นนี่ แล้วกรมไปรษณีย์ก็ได้กับเขามาด้วย ที่มันเป็นมรดกมา เขาก็ให้เอกชนเช่าช่วงเป็นวัฒนธรรมกันมาเหมือนทุกอัน เพียงแต่พอมี กทช. กรมไปรษณีย์โทรเลขก็ถูกยุบ กลายเป็นส่วนหนึ่งของ กทช. ทรัพย์สิน 1 ปณ.มันก็เลยกลายมาเป็นทรัพย์สินของสำนักงาน กทช.ด้วย ซึ่งในสมัยนั้น กทช.เขาตีความว่าเขาเป็นองค์กรกำกับด้านโทรคมนาคม เพราะฉะนั้นการที่เขาจะให้เอกชนมาทำ “สัญญาร่วมผลิตรายการ” นั้นไม่น่าจะขัดหลักการ ซึ่งส่วนตัวมองว่ามันก็ขัดตั้งแต่ตอนนั้น เพราะว่าเป็นองค์กรกำกับดูแลคุณควรจะต้องเคลียร์เรื่องนี้ไปตั้งแต่แรก แต่ว่าเขาก็ตีความว่าเขาเป็นองค์กรกำกับโทรคมนาคม ถ้าสำนักงานจะไปให้เอกชนเช่าทำวิทยุมันก็อาจจะไม่ขัด เขาก็เลยให้ทำเรื่อยมาซึ่งบริษัทที่ทำเรื่อยมาก็คือบริษัท GMM เป็นสัญญาร่วมผลิตรายการตามภาษาทางการ แต่พูดง่ายๆ เป็นภาษาชาวบ้านก็คือมาเช่า ลักษณะของสัญญาที่ทำเป็นอย่างไร ? ให้คำตอบตรงนี้ยาก เพราะส่วนตัวไม่เคยมีส่วนรู้เห็น ได้อ่านแค่สัญญาสุดท้ายที่มันหมดปี 53 ก่อนนั้นมา ตัวเองก็ดูคร่าวๆ ซึ่งก็คิดว่ามันมีอะไรที่แปลกๆ อยู่ แต่ก็ไม่อยากไปแสดงความเห็นในสิ่งที่เกิดก่อนหน้านี้ และเท่าที่ทราบก็มีคนไปร้องไปอะไรอยู่ในเรื่องสัญญานี้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับ ปปช.เหมือนกัน แต่ไม่เห็นรายละเอียดว่าเขาร้องเรื่องอะไร ซึ่งการฟ้องนี้อาจยังไม่ได้สรุปเพราะมันยังไม่ได้ตัดสิน แต่โอเคล่ะมันก็มีประเด็นอยู่ เพราะฉะนั้นเราก็ไม่อยากไปแตะมาก ถ้าเกิดต่อไปมันเป็นเรื่องเป็นราวอะไรขึ้นมามันก็ไม่ได้เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับเรา 1 ปณ.มันอยู่ตรงหน้าเรา แล้วเราก็รู้อยู่ว่ายังรับเงินค่าร่วมผลิตรายการกับเอกชนทุกเดือน มันก็เลยเป็นประเด็นว่า เราควรจะคุยกันว่าเราควรจะมีนโยบายเรื่องนี้อย่างไร เพราะถ้าเราปล่อยไปคนก็จะตั้งคำถามและมีข้อครหาต่อเราได้ เพราะว่าตอนนี้เราเป็น กสทช.แล้วไม่ใช่แต่ กทช. คือเราเป็นหน่วยงานกำกับด้านวิทยุกระจายเสียงแล้ว มันเข้าข่ายชัดเจนว่ามันอาจจะเข้าข่าย “ความขัดกันของหน้าที่” แม้ว่าจริงๆ คนเซ็นสัญญาเป็นสำนักงาน ไม่ใช่บอร์ด แต่บอร์ดกับสำนักงานมันก็แยกหน้าที่แต่มันไม่ได้แยกความรับผิดชอบ เราก็กำกับสำนักงาน สำนักงานเราไม่ใช่ อสมท.แต่เป็นสำนักงานที่ทำงานให้เรา เพราะฉะนั้นความใกล้ชิดมันมากกว่าหน่วยงานรัฐอื่นๆ เอกชนวิจารณ์ว่าทำไมจึงไม่มีการแจ้งเขาก่อน ? จริงๆ มันไม่ได้เป็นหน้าที่ กสทช. เพราะว่าคนที่จะต้องแจ้งคือสำนักงาน และสมมติว่ามติเราออกวันพุธที่ 9 แล้วเราจะไปแจ้งวันที่ 8 ก็ไม่ได้ เพราะเรายังไม่รู้ว่าบอร์ด 11 คนจะลงมติอย่างไร เพราะฉะนั้นโดยธรรมชาติการทำงานของบอร์ด กสทช.แจ้งมติล่วงหน้าไม่ได้อยู่แล้ว เพราะฉะนั้นสื่อมวลชนหรือทุกคนก็รู้มติพร้อมกันหลังประชุม หลักการก็คือ หลังจากมติออกไปแล้ว สำนักงานก็จะต้องเอาอันนี้ไปทำจดหมายส่งเอกชน แล้วถ้าเอกชนไม่เห็นด้วยเขาก็จะทำจดหมายค้านออกมา แล้วก็ถึงเกิดการเจรจา และมันควรจะเป็นการเจรจาระหว่างสำนักงานกับเอกชน เพราะว่าเขารู้กันอยู่ เขาทำสัญญา เขาต่อกันมา เขารู้อยู่ว่าอะไรเป็นอะไร สิ่งที่เรารับรู้คือตัวสัญญาหลักมันหมดไปตั้งแต่สิ้นปี 2553 แล้ว กทช.ไม่ได้ต่อสัญญาโดยระบุวันเวลาหมดอายุที่ชัดเจน เพราะเขารู้ว่าเขาต้องให้เรามาตัดสินใจ สมมติว่าเขาต่อให้อายุไปอีก 2 ปี แต่เราเข้ามาทำงานก่อนเร็วกว่า 2 ปี ถ้าสัญญามันลงระบุเวลาอย่างชัดเจน กสทช.ก็จะแทบไม่สามารถทำอะไรได้ เขาถึงปลายเปิดไว้ว่าสัญญามันหมดอายุแล้ว แต่เป็นข้อตกลงทำไปเรื่อยๆ จนกว่าสำนักงานจะหาคนมาทำใหม่ได้ หรือจนกว่า กสทช.จะเอาคลื่นนี้มาบริหารใหม่ และเอกชนเองก็เซ็นต์รับ ทั้ง 9 คลื่นสัญญาปลายเปิดเหมือนกัน เขียนไว้ในเงื่อนไขแล้วว่าเมื่อไหร่ที่สำนักงานต้องการให้มีคนมาทำใหม่ หรือต้องการนำไปบริหารใหม่ตามกฎหมาย ก็ถือว่าให้สัญญายุติลง โดยที่เอกชนต้องรับเงื่อนไขตรงนี้ คือเขารู้อยู่แล้ว เขาอยู่บนความไม่แน่นอนอยู่แล้ว จัดการอย่างไรกับความทับซ้อนของ กสทช.ที่บอร์ดมีหน้าที่ในการกำกับดูแล ส่วนตัวสำนักงาน กสทช.มีคลื่นอยู่ในมือ ? โดยหลักการแล้วจริงๆ แล้วเราไม่ควรจะมีเลย คลื่นนี้เราควรจะต้องคืนส่วนกลาง หรือพูดภาษาบ้านๆ คือ ถวายวัด แต่ไม่ได้ถวายวัดจริงๆ นะ คือหมายถึงว่าเหมือนกับใครสักคนมีมรดก แล้วก็รู้สึกว่ามรดกนั้นไม่ได้เป็นของตัวเอง ไม่อยากเก็บไว้ ก็เอาไปบริจาคมูลนิธิหรือเอาไปถวายวัด ในระยะยาวจะต้องปล่อย แต่ว่าตอนนี้ ถ้าเกิดจะปล่อยตอนนี้ก็ไม่รู้จะให้ใคร ส่วนตัวมองว่า ต่อไปอาจจะต้องคืนส่วนกลางไปประมูล หรือแบบโหดร้ายกว่านั้นคือแบบปิดสถานี ปิดคลื่นไปเลย แต่หากทำอย่างนั้นคนก็อาจจะมองว่าเสียประโยชน์ หมายความว่าบอร์ดยังไม่มีแนวทางชัดเจนว่าจะทำอย่างไร ? บอร์ดต้องให้สำนักงานเป็นคนคิด คือ สำนักงานตอนนี้เขาก็ต้องทำตัวเหมือน อสมท.กับกองทัพ คืออย่างที่บอกหมวกมันทับซ้อน ถ้านับ สำนักงาน กสทช.เป็น อสมท. เราแค่ให้นโยบายไปว่า 1 ปี ต้องปรับตัว เขาก็จะไปคิดเอง โดยที่เราไม่สามารถจะไปชี้นำ หรือบอกเขาได้ แต่สำนักงาน กสทช.ขวามือเขาก็ทำตัวเหมือนเขาเป็น อสมท.หรือกองทัพ แต่ซ้ายมือเขาก็คือสำนักงานที่ต้องทำงานให้เรา มันวนไปวนมา มันก็ต้องกลับมาที่บอร์ดอยู่ดี แต่ว่าบอร์ดคงไม่สามารถชี้นำ คือเราสามารถให้แนวทางได้แต่สุดท้ายสำนักงานต้องไปคิดโจทย์นี้มา โดยสิ่งที่ทำได้คือสำนักงานจะต้องไปคิดในลักษณะของการร่วมกันทำงานนี่แหละ เพียงแต่ร่วมผลิตตอนนี้มันจะไม่ได้ร่วมผลิตในเชิงเอกชนแล้ว มันจะเป็นการร่วมผลิตในเชิงสาธารณะ ความเห็นของบอร์ดเล็กที่จะนำเสนอบอร์ดใหญ่ก็คือว่าให้สำนักงานไปทำการบ้าน ภายใน 6 เดือน คุณไปคิดมาว่าถ้าคุณอยากจะเก็บคลื่นนี้ไว้คุณจะทำอะไรให้สอดคล้องกับกฎหมายใหม่ก็คือบริการสาธารณะ (ล่าสุด (23 พ.ย.54) บอร์ด กสทช.มีมติให้บอร์ดเล็กพิจารณาทบทวนกรอบระยะเวลาใหม่ ซึ่งจะทราบผลในวันที่ 7 ธ.ค.นี้ - ประชาไท) ก่อนหน้านี้ที่บอร์ดเล็กมีมติ 6 เดือน เป็นการถอยให้กับกระแสหรือเปล่า ? เราอาจจะผ่อน แต่ไม่ถึงกับถอย เป็นการผ่อนเพื่อการสร้างความชัดเจนให้กับตัวเราเองด้วย ก็ต้องยอมรับว่าตอนที่เรามีมติระงับนี้ สำนักงานเองเขาก็ไม่ได้คิดแผนสำรองไว้ พอคนถามปุ๊บว่าจะไปบริหารใหม่อย่างไร สำนักงานเองก็คงมึนๆ เหมือนกัน สิ่งที่ควรจะเป็นคือควรคิดไว้ตั้งแต่ก่อนมี กสทช.แล้ว และเนื่องจาก กสทช.ก็ยังไม่มีแผนสำรอง 2 เดือนก็อาจจะเร็วไปสำหรับการคิดให้รอบคอบ เพราะฉะนั้น ก็ถือเป็นการผ่อนให้สำนักงานเราเองมากกว่า แต่เผอิญมันก็กลายเป็นการผ่อนให้เอกชนได้ปรับตัวเองด้วย คือมันเป็นทั้งในเชิงการเมืองและในเชิงหลักการด้วย พูดง่ายๆ ว่าเราก็ไม่อยากให้เกิดเดธแอร์ เพราะคนก็ถามกันเยอะ สมมติยุติสิ้นปีก็ยุติได้ ในเชิงหลักการกฎหมายเราทำได้ แต่ถามว่าแล้ว 1 ม.ค.จะออกอากาศอะไร ยิ่งเมื่อสำนักงานยังไม่พร้อม มันก็จะกลายเป็นว่าสาธารณะก็จะจับตาดู เพราะฉะนั้นการยืดหรือผ่อน มันก็คือการให้เวลาสำนักงานไปคิดให้รอบคอบ แล้วเตรียมความพร้อมว่าพอเขาหยุดปุ๊บรายการในช่วงนี้ต่อไปคืออะไรในช่วงเปลี่ยนผ่าน กระแสกดดันของมวลชนมีผลไหม ? ถ้าพูดตรงไปตรงมา กระแสกดดันของมวลชนก็มีส่วน มันก็ต้องมีอยู่แล้วล่ะ แต่ว่ามันมีส่วนทำให้เราได้คิดในภาพที่ครบขึ้นด้วย คือการกดดันของมวลชน หรือว่าการถามมาของกลุ่มกรีนเวฟ มันทำให้เราได้คิดโจทย์ใหญ่ไปด้วย เพราะเขาถามมาว่าคลื่นอื่นล่ะ คือจริงๆ แล้วอย่างที่บอกคลื่นอื่นเราเตรียมที่จะพูดอยู่แล้ว เพียงแต่ 1 ปณ.มันออกมาก่อน ทีนี้ก็มีคนถามว่าทำไมถึงไม่ให้ 1 ปณ. 1 ปี ไปด้วย ซึ่งถ้าเราให้ไปถึง 1 ปีก็เท่ากับว่าเราผ่อนมากไป เพราะว่าความจริงเราอยากจะจัดระเบียบบ้านเราก่อน เราถึงเริ่มมาตั้งแต่ตอนแรก แต่ประจวบเหมาะว่าคนถามไปถึงคลื่นอื่นมันก็เลยทำให้ไปคิดสำหรับมติในรอบที่แล้ว คือ 1 ปี สำหรับคลื่นรัฐอื่น การผ่อนเวลาไป 6 เดือน มันก็ได้ทั้ง 2 ฝ่าย คือสำนักงานเราก็ได้เวลาไปคิดให้รอบคอบ แล้วก็เอกชนเอง มวลชนเองเขาก็จะได้รู้สึกว่าเราไม่โหดร้ายกับเขาเกินไป เพราะว่าคลื่นวิทยุโทรทัศน์ที่จริงๆ สำหรับเอกชนแล้วเราต้องเข้มกับเขา แต่สำหรับมวลชนหรือผู้ฟังเราก็ต้องฟังเขาบ้าง เพราะว่าเขาก็เป็นผู้บริโภคเหมือนกัน เราก็ต้องเข้าใจว่าเขาฟังคลื่นของเขามานานต้องใช้เวลาในการทำใจบ้าง ถ้ารู้สึกว่า 2 เดือนน้อยไป จะปรับเป็นอะไรที่มันไม่ขัดหลักการมาก 6 เดือนมันก็เมคเซ้นส์ในการที่จะทำใจ หรือขยับขยายไปคลื่นใหม่ อย่างไรก็ตาม อันนี้ก็จะเป็นบรรทัดฐานต่อไป ถ้าจัดระเบียบวิทยุชุมชน และเกิดมีเรื่องมวลชนบ้าง อันนี้เป็นมาตรฐานสำหรับทุกอัน ไมใช่ว่าเราจะฟังแต่รายใหญ่ ถ้าต่อไปชาวบ้านหรือรายเล็กที่เป็นวิทยุชุมชน ขอให้ฟังบ้าง เราก็ต้องฟัง จะได้เป็นแนวเดียวกันว่า กสทช.มีจุดตรงนี้ เกิดว่ามีมวลชนมา เราฟังแล้วถอยไปแค่นี้ แต่ว่าเราไม่ถอยไปกว่านี้แล้วนะ ทั้งนี้ ชี้แจงว่า ไม่ว่าเรื่องอะไรก็ต้องมีมติออกไปก่อน โยนหินถามที่เราคิดอย่างอิสระว่ามันใช่ที่สุดแล้ว แล้วพอออกไปแล้ว มวลชน คนไม่เห็นด้วย นักกฎหมายมาว่ากัน โดยที่กระบวนการเจรจาก็ต้องโปร่งใส สาธารณะรับรู้ ตรงไปตรงมา เพราะมติบอร์ดมันยังไม่สิ้นสุด สามารถทวนมติได้ จะมีผลสุดท้ายจริงๆ ก็ต่อเมื่อเป็นประกาศ นี่คือกระบวนการทำงาน การเจรจาหรือฟังมวลชน เป็นแนวทางของบอร์ดทั้งหมดหรือเฉพาะของตัวเอง ? เรายังไม่ได้คุยเรื่องยุทธศาสตร์ (Strategy) โดยละเอียดเพราะที่ผ่านมาคุยเรื่องเนื้อหาและงานที่จะทำมากกว่า แต่อย่างที่บอกกรณีเรื่อง 1 ปณ. เป็นการส่งสัญญาณของเราด้วยว่างาน กสทช. ไม่ได้มีแค่ตัวกฎหมายล้วนๆ นะ มีมวลชน มีมนุษย์ มีเสียง และมันเป็นความคิดเห็นของตัวเองและบอร์ดเล็กด้วย ทุกคนรู้ดีอยู่แล้วว่ามันจะต่างจากเรื่องโทรคมนาคม ที่ยากไปอีกแบบ เพราะตรงนั้นต้องดีลกับยักษ์ใหญ่สามเจ้าบวกรัฐวิสาหกิจ ยักษ์ใหญ่ก้าวขยับทีสะเทือนทั้งประเทศ แต่บอร์ดวิทยุโทรทัศน์ เจอหน้าประชาชนทั้งนั้นเลย ทุกสื่อมีคนฟัง-คนดูหมด ถ้าทีวีมีเป็นล้านกว่านี้จะทำอย่างไรได้ ต่อไปอาจต้องมีมติเตือนรายการนั้นรายการนี้ สมมติถ้ามีก็เป็นเรื่องแล้ว อันนี้ส่งสัญญาณให้เราต้องฟังมวลชน บอร์ดเล็กรู้ว่าเราต้องเจอเรื่องนี้ เพราะงานบอร์ดเล็กดีลกับสื่อมวลชน และเราต้องเจอกับสื่อมวลชน มีเรื่องสิทธิเสรีภาพ มีเรื่องผู้ฟังผู้ชม ไม่ใช่เป็นแค่เรื่องคลื่นความถี่ มือถือ สแปม เอสเอ็มเอส มันมีมิติที่ละเอียดอ่อนไปอีกแบบกว่าโทรคมนาคม สรุปจากกรณี 1 ปณ. ได้เห็นอุปสรรคอะไรในการไปต่อ ? มีทั้งอุปสรรคภายใน คือกระบวนการตัดสินใจหลายอย่างมาจากบอร์ดซึ่งมีความเห็นหลากหลาย ความท้าทายก็คือว่า บอร์ดจะเป็นเอกภาพได้อย่างไรโดยหาจุดที่ลงตัว พอมีเรื่อง 1 ปณ.เข้ามา มีแรงเสียดทานเข้ามา มันกระทบหลายคนต่างกันไป มีทั้งคนที่คิดว่าต้องถอย คนที่คิดว่าต้องแรง ถ้าเกิดบอร์ด 11 คนแย้งกันเองทะเลาะกันเอง จะทำให้เราไม่เป็นเอกภาพ กลายเป็นว่า ต่อไปจะไปกำกับคนอื่น เขาก็จะรู้จุดอ่อน พูดง่ายๆ ว่าทำให้บอร์ดแตกแยก เห็นไม่เหมือนกัน พูดไม่ตรงกัน ข้อดี อาจจะเห็นว่าบอร์ดแต่ละคนมีความเป็นตัวของตัวเอง แต่ข้อเสียคือองค์กรก็จะขาดความเป็นเอกภาพ จะพูดทำอะไรในอนาคตจะกระทบต่อความน่าเชื่อถือได้ แต่ความยากคือ การที่ยังคงให้เป็นเอกภาพแล้วได้มติเอกฉันท์ที่ไม่ขัดหลักการ ตัวเองก็อยากได้มติเป็นเอกภาพ ไม่อยากเป็นเสียงข้างมากหรือเสียงข้างน้อยตลอดไป มันต้องมีมติที่อธิบายต่อสังคมได้ จึงต้องคุยกันมากขึ้น และละลายน้ำแข็ง เพราะ 11 ท่านมีที่มาจากหลายภูมิหลัง มีความเกร็ง ระแวง ไม่รู้จักกันมาก่อน อาจมีกำแพง บทเรียนก็คือเราต้องคุยกันนอกรอบให้มากขึ้น บนพื้นฐานของหลักการตรงกลาง ปรับทัศนคติกัน นี่เป็นบทเรียนที่เราต้องคุยกันเพื่อให้เกิดความผิดพลาดน้อยลง เพื่อให้เกิดความเป็นเอกภาพในการตัดสินใจ อุปสรรภายนอกคือ เราต้องประเมินมวลชน ผลกระทบ แต่บอร์ด กสทช.ต้องตัดสินใจเป็นอิสระ หน้าที่ขององค์กรอิสระคือตัดสินใจอย่างเป็นอิสระ ไม่ว่าจากกลุ่มทหาร ทุน เอ็นจีโอ กลุ่มสีสันต่างๆ ที่อาจจะกดดันเราอยู่ ท้ายที่สุด บอร์ดก็ต้องตัดสินใจอย่างเป็นอิสระบนฐานของหลักการและเหตุผล บนฐานที่ไม่กลัวว่ามวลชนจะไม่รักหรือเกลียดเรา แต่ว่าแน่นอนที่สุด เราทำงานในประเด็นที่ละเอียดอ่อน เราก็คงไม่ต้องแข็งกร้าว แต่เราก็คงไม่อ่อนปวกเปียกจนเกินไป เพราะฉะนั้น บทเรียนของเรื่อง 1 ปณ.ก็คือต้องคาดการณ์ผลกระทบเรื่องมวลชนด้วย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องไม่กระทบต่อการตัดสินอย่างเป็นอิสระ ไปสู่ดิจิตอล อนาคตอันใกล้ (?) ของคลื่นความถี่ไทย ณ ตอนนี้ มีงานวิจัยไหมว่าคลื่นทั้งหมดมีอยู่เท่าไหร่ และจะจัดสรรอย่างไร ? ต้องทำหลังจากนี้ ดูความเป็นจริง เนื่องจากตอนนี้เราจัดสรรอยู่บนตลาดแผงลอยที่เต็มถนนแล้ว เราไม่สามารถคิดบน clean sheet หรือ white sheet ได้ ไม่สามารถลบแล้วคิดจากกระดาษเปล่าๆ ว่าจะให้คลื่นสาธารณะเท่าไหร่ มันต้องดูความเป็นจริง ว่าตอนนี้หน่วยงานรัฐมีอยู่ 500 คลื่นหลัก แล้วต่อไปเขาบอกว่าเขาจะแจ้งว่าเขาจะเก็บไว้เท่าไหร่ เราจะเริ่มรู้ว่ามันเหลือคืนมาเท่าไหร่ แล้วเราอาจจะดูว่าคลื่นอีกแปดพันแห่งที่ได้มาเป็นซอยย่อยๆ เหลืออีกปริมาณเท่าไหร่ อันไหนจะเข้าเป็นธุรกิจ พูดง่ายๆ ว่าไม่ได้สามารถทำบน clean sheet แต่ทำบนตลาดที่คนจับจองหมดแล้ว เราค่อยๆ ปรับโซนนิ่ง เพราะฉะนั้น ขาใหญ่เช่น หน่วยงานรัฐหนึ่งอาจจะครองอยู่ 200 แผงลอย ประเด็นคือเราค่อยๆ ลดแผงลอยเขาลง อาจจะเหลือสัก 50 แผงลอยที่ได้รับใบอนุญาตในการขายอะไรสักอย่างที่ไม่แสวงหากำไร แล้วที่เหลือร้อยกว่าแผงลอย เราก็จะค่อยๆ จัดโซนว่า ค่อยๆ จัดประมูลในอนาคต เพราะฉะนั้นมันอาจจะตอบแบบเป็น clean sheet ยาก อย่างแปดพันกว่าแห่งจะทำอย่างไร มันก็ต้องดูจากความเป็นจริงว่าจากแปดพันกว่าแห่ง อะไรเป็นธุรกิจโฆษณา อะไรเป็นวิทยุชุมชนจริงๆ แล้วเราถึงจะได้รู้ว่าความต้องการจริงๆ มันอยู่ตรงไหน และคลื่นที่มีมีอยู่แค่ไหน เราไม่สามารถดูบนกระดาษเปล่า เพราะกระดาษมันเต็มไปด้วยของจริงหมดแล้ว ก็ต้องดูจากของจริง แล้วจากนั้นจึงจะมาจัดตารางย่านความถี่ เว้นแต่ว่า กสทช. ตัดสินใจเด็ดขาดจะปรับเข้าสู่ดิจิตอล ก็นับถอยหลัง ทุกคนก็เตรียมเข้าสู่ระบบใหม่หมดเลย การไปสู่ดิจิตอลในทางปฏิบัติสามารถทำได้เลยในช่วงเปลี่ยนผ่านนี้หรือไม่ ? ตัวเองไม่มีความรู้เรื่องเทคโนโลยีเลย แต่หลายคนบอกว่ามันทำพร้อมกันได้ นี่เป็นไอเดีย เช่น ดร.นที (พ.อ.ดร.นที ศุกลรัตน์ รองประธาน กสทช.ด้านกิจการกระจายเสียง) ก็บอกว่าเราอาจจะเอาคลื่นวิทยุธุรกิจเข้าดิจิตอลก่อน แล้วคลื่นอนาล็อกก็เอาไว้สำหรับชุมชน พูดง่ายๆ ว่าเอาบางส่วนที่อยู่กันแออัดเป็นบ้านจัดสรรขึ้นคอนโดก่อน ทีนี้บ้านจัดสรรก็จะเริ่มว่าง หรือดีไม่ดีอาจจะต้องมาทำเป็นสวนสาธารณะ เป็นอะไร มันก็จะหายใจกันได้มากขึ้น คือมันทำไปคู่กัน ตอนนี้มันเริ่มแออัดยัดทะนาน เรากำลังคิดกันว่าถ้าเราเริ่มแนะนำระบบดิจิตอล แต่อนาล็อกก็ไม่ใช่ว่ายกเลิก แล้วธุรกิจพร้อมจะลงทุน มีระบบส่งแบบดิจิตอล แล้วคนฟังก็พร้อมที่จะซื้อเครื่องฟังที่มันฟังชัดเจน อาจเอาคลื่นที่จะประกอบการธุรกิจขึ้นคอนโดก่อน ซึ่งมันจะมีเยอะเป็นพันห้องก็อยู่กันไป บ้านจัดสรรที่ว่างอาจเป็นที่ทางของสาธารณะชุมชน ชาวบ้าน อนาล็อกคู่ขนานกันไปก่อน ทางเทคนิคเขาบอกว่าทำได้ เพียงแต่ว่าในทางปฏิบัติการจริงก็อาจจะอลหม่านระดับหนึ่ง เพราะย้ายคนจากบ้านจัดสรร ขึ้นคอนโด เปลี่ยนบ้านเลขที่ จัดข้าวของ เดินชนกันไปมา มันจะมีช่วงที่อลหม่านกันอยู่ในการจัดคลื่นความถี่ อาจจะเป็นช่วงที่หยุดประเทศไทยสักระยะ คลื่นมันจะต้องมีการนัวเนียกัน ถ้าเราเอาจริงคิดว่าทำได้ แต่อย่างที่บอกว่า แผนทุกแผนมันต้องถูกคานดุล มันต้องสู้กันทีละสเต็ปๆ ส่วนตัวมองว่าดิจิตอลจะแก้ปัญหา เพราะเรามีแปดพันกว่าแห่ง แล้วมันก็จะเกิดขึ้นอีก กองทัพก็อาจจะไม่อยากคืน เอกชนก็อยากประมูลเยอะๆ ถ้าอยู่คอนโดร้อยชั้นก็อยู่กันเต็มที่เลย แล้วมันจะตอบโจทย์ได้ทุกเรื่อง เพียงแต่มันอาจจะไม่ง่ายอย่างที่ใจคิด เพราะมันมีปัจจัยเรื่องเครื่องรับ แต่ถ้าไปได้ มันจะตอบโจทย์ได้หมด เรื่องระบบดิจิตอลในเมืองไทยตอนนี้อยู่ในขั้นไหน ? ตอนนี้ดิจิตอลของไทยยังไม่ได้เริ่มเลย เพราะรอ กสทช.อยู่ ส่วนตัวอยากทำมาก เพราะมันตอบโจทย์หลายเรื่อง ประเทศอื่นอาจจะยังไม่พร้อม แต่ประเทศไทย คลื่นความถี่มันเต็มหมดแล้ว ทุกตารางทุกย่านถูกใช้หมดเลย แล้วมันก็ฟังกันไม่ชัด ทั้งนี้สำหรับโทรทัศน์นั้นคงต้องไปทางดิจิตอลแน่ๆ เพราะมันมีแนวของมันมาแล้ว โดยอาเซียนสัญญากันว่าจะต้องเป็นดิจิตอล ตามที่สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) บอก คือปี 2015 เพราะ ITU รับรองถึงแค่ 2020 โดยหลัง 2020 พวกเครื่องอนาล็อกจะตกตลาดแล้ว กระแสโลกเขาจะไม่รับประกันคุณภาพคลื่น เพราะฉะนั้นมันคือเดทไลน์ของการเข้าสู่ดิจิตอลเต็มขั้น อย่างไรเราก็ต้องไป ส่วนตัวก็อยากให้วิทยุไปด้วย ซึ่งในรายละเอียดเรื่องอุปกรณ์ต่างๆ ก็เป็นโจทย์ที่รัฐบาลและ กสทช.จะต้องช่วยกันคิด เพราะตรงนี้คาบเกี่ยวกับนโยบายรัฐบาล ไม่เช่นนั้นจะเป็นแบบ 3G อีก เกิด กสทช.จะไปดิจิตอล แต่รัฐบาลอาจจะรู้สึกไม่พร้อม ติดกระทรวงนั้นๆ ไประงับกันที่ศาลปกครอง ก็จะจบ มันจะต้องคุยกันตั้งแต่แรกว่าเราจะไปด้วยกัน กสทช.ทำส่วนของเรา รัฐบาลทำส่วนของรัฐบาล ทั้งนี้ ไม่ได้เปลี่ยนหมดทันทีทันใด อย่างที่บอกถ้าจะเป็นดิจิตอลจริง ต้องเริ่มมีการให้ใบอนุญาต ใบที่หนึ่ง ใบที่สอง แต่คนฟัง จะฟังได้ร้อยเปอร์เซ็นต์อาจจะต้องเป็นสมัยหน้า แต่แค่เริ่มให้ส่งพร้อมเพรียงเป็นความฝันของหลายคน แต่บางคนกลัวว่าถ้าทำไม่ได้ กลัวตกม้าตาย แต่นี่เป็นงานที่ท้าทายของ กสทช. ส่วนตัวคิดว่า พอเอาโจทย์เทคโนโลยีเป็นตัวตั้งจะแก้ปัญหาทางการเมืองได้ด้วย ไม่เช่นนั้น ฝ่ายเก่าก็ไม่อยากคืน ฝ่ายใหม่ก็อยากเกิดขึ้นเรื่อยๆ และก็ย้ายตลาด ทีนี้ถ้าจะย้ายตลาด แทนที่จะย้ายเล็กๆ ก็ขึ้นคอนโดเลย สร้างคอนโดให้เสร็จ สวยงาม เป็นเงื่อนไขว่าเราต้องเปลี่ยนสู่เทคโนโลยีใหม่ เรื่องการทำให้เป็นดิจิตอลจะแก้ปัญหาตลาดเกยกันไปมา แยกแผงซอยกัน ฟังไม่รู้เรื่อง และมีแนวโน้มว่าห้ามการเกิดไม่ได้ เพราะฉะนั้นก็เอาเข้ามาเป็นจุดหนึ่ง แล้วก็แข่งกันที่คุณภาพ ว่ารายการใครใครอยากฟังกว่ากัน เหมือนเว็บไซต์ แข่งกันที่คุณภาพแต่ไม่จำกัดการใช้พื้นที่ ต้องใช้คอนเซ็ปท์สื่อใหม่มาจับกับบรอดแคสท์จะได้ลดปัญหาการตีกัน ขาใหญ่ก็ต้องปรับตัว ถ้าเปลี่ยนระบบใหม่ จะขึ้นคอนโดแล้วเขายังยึดแผงลอยในตลาด เขาก็จะตกขบวน ตลาดเดิมก็เป็นชาวบ้าน ชุมชน ให้เขาใช้ไป ประกาศงานบวชงานแต่งอะไรไป ส่วนธุรกิจก็ไปแข่งกันในคอนโด กสทช.101: โครงสร้างของ ‘องค์กรอิสระ’ หัวหมู่ทะลวงฟันเพื่อ ‘การปฏิรูปสื่อ’ โครงสร้างการทำงาน กสทช.เป็นอย่างไร ? กสทช.ถูกเลือกมา 11 คน ในลักษณะของบอร์ด มีวาระ 6 ปี ซึ่งความจริงในวาระของบอร์ดก็คือ วางแนวนโยบาย ใช้ดุลยพินิจ และตัดสินใจ และมีสำนักงาน กสทช. เป็นฝ่ายปฏิบัติการ ที่จะส่งหนังสือเตือน หนังสือขอความร่วมมือ และดูแลงบประมาณและบุคลากร หน้าที่ของบอร์ดหลักๆ คือการใช้ดุลยพินิจ และที่สำคัญ การที่บอร์ดมี 11 คน ก็จะเห็นได้ว่าจะไม่มีการใช้ดุลยพินิจเบ็ดเสร็จเหมือนกับอำนาจบริหารปกติที่มีคนคนหนึ่งตัดสินใจ เป็นรัฐมนตรีหรืออะไร แต่จะต้องผ่านมติของบอร์ด ที่นี้มันก็อยู่ที่ว่าผ่านแบบ consensus (เอกฉันท์) หรือว่าเสียงข้างมาก หรือเสียงข้างน้อย ในการทำงาน ตามกฎหมายแบ่งโครงสร้างมาให้ว่า ให้มีประธานอยู่ตรงกลาง 1 ท่าน และแบ่งเป็นบอร์ดเล็กด้านวิทยุโทรทัศน์ 5 คน และด้านโทรคมนาคม 5 คน รวมกันเป็น 11 คน บางท่านถูกออกแบบมาแล้วตั้งแต่ตอนสมัคร แต่มีบางท่านที่สมัครเข้ามาเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านกฎหมายหรือเศรษฐศาสตร์ซึ่งเขามา 2 คน ตอนที่แรกเข้าไม่ได้ให้แยก เพิ่งมาตกลงกันเองตอนที่ได้รับแล้ว โดยการตกลงกันได้ด้วยดีบ้าง ด้วยการจับฉลากบ้าง การจัดแบ่งหน้าที่การทำงาน ขณะนี้ยังมีปัญหาอะไรบ้าง ? ภายในเรายังหาข้อสรุปเรื่องการทำงานยังไม่ค่อยลงตัว เพราะกฎหมายให้แบ่งงานกันทำแต่ว่าให้รับผิดชอบร่วมกัน ทีนี้มันก็มีปัญหากระบวนการทำงาน เช่น กรณีบอร์ดชุดเล็กจะต้องตัดสินเรื่อง 1 ปณ.ก็ดี วิทยุชุมชนก็ดี สรุปกันในบอร์ดเล็กแล้วเพราะกฎหมายแบ่งอำนาจมาแล้ว แต่ถามว่ามันต้องเข้าบอร์ดใหญ่เพื่อให้ความเห็นชอบด้วยไหม โดยหลักการมันก็เหมือนกับว่าจะต้องเป็นอย่างนั้น แต่ว่าในเชิงปฏิบัติถ้าต้องเป็นอย่างนั้นในทุกเรื่อง มันก็จะช้ามาก ในด้านโทรคมนาคมก็เช่นกัน สมมติจะมีการให้ใบอนุญาต 3G มีการพิจารณากัน 5 ท่านเสร็จแล้ว แล้วถ้าต้องเข้าบอร์ดใหญ่ เราต้องให้บอร์ดเล็กมาโต้แย้งได้ทุกเรื่องไหม กว่าจะอนุมัติได้สักเรื่องมันช้ามาก โดยเฉพาะหากมีเรื่องร้องเรียน ตรงนี้ ยังไม่ชัดเจนว่าจะทำอย่างไรให้งานเดินเร็ว แต่ขณะเดียวกันก็มีการตรวจสอบและถ่วงดุลกัน เพราะว่าบอร์ดใหญ่มีการประชุมสัปดาห์ละครั้ง ซึ่งวาระวันหนึ่งประชุม 09.30-16.30น. วาระมีเป็นตั้งอย่างนี้ (ยกเอกสารให้ดู) ถ้าต่อไปมีเรื่องใหญ่ๆ ขึ้นมามากๆ เข้ามันจะทันไหม แต่ถ้าให้บอร์ดเล็กตัดสินใจไปเลยทุกเรื่องแล้วให้บอร์ดใหญ่สแตมป์อย่างเดียว ถ้าผิดพลาดขึ้นมาก็มีคำถามว่าทำอย่างไร อย่างไรก็ตาม ตอนนี้ยังใช้วิธีเข้าบอร์ดเล็กแล้วเข้าบอร์ดใหญ่ เพียงแต่ว่ามันเป็นเรื่องแผนแม่บท เนื่องจากว่าแผนแม่บทมันเป็นเรื่องที่กฎหมายให้เวลาเราทำและทุกคนต้องรู้ร่วมกัน แต่ว่าในแผนแม่บทภาพรวม คุยร่วมกัน 11 คน การบริหารคลื่นความถี่จะต้องมีแผนแม่บท 3 ฉบับ คือแผนบริหารคลื่นความถี่ แผนด้านวิทยุโทรทัศน์ และแผนด้านโทรคมนาคม โดยแผนบริหารคลื่นความถี่คุยรวมกัน 11 คน แต่แผนด้านวิทยุโทรทัศน์และแผนด้านโทรคมนาคมบอร์ดเล็กแบ่งกันไปทำเป็นการบ้าน แล้วมาเข้ารวม ในเรื่องนี้อาจไม่ได้ยากมาก แต่เรื่องต่อไปที่จะมีมา คือเรื่องร้องเรียน ซึ่งตามกฎหมายบอกว่าจะต้องมีคำวินิจฉัยเรื่องร้องเรียนภายใน 30 วัน โดยในกฎหมายออกแบบว่าให้มีอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคขึ้นมาด้วย 2 ชุด ซึ่งก็เปิดให้คนนอกที่เป็นผู้เชี่ยวชาญเข้ามาช่วยเรา คล้ายเป็นคนสกรีนเรื่องเบื้องต้น โดยตัวเองกับคุณหมอประวิทย์ (นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา) ก็ได้รวบรวมชื่อเสนอไปแล้ว ตอนนี้อยู่ในกระบวนการแต่งตั้ง ชุดละ 11 คน ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นผู้เชี่ยวชาญที่ทำงานมาก่อน อนุกรรมการที่จัดตั้งขึ้นโดยองค์กรอิสระทำงานในส่วนไหน อย่างไร ? อนุกรรมการควรจะทำงานอย่างเป็นอิสระ บอร์ด กสทช.จะไม่ได้เข้าไปนั่งในอนุฯ เพื่อให้เป็นด่านหน้า เช่น คนหนึ่งร้องเรียนเรื่องละครตีกัน คนหนึ่งเรื่องความมั่นคง คนหนึ่งเรื่องโฆษณาน้ำผลไม้ในเคเบิลทีวี ร้อยแปดพันประการ หรือบางคนร้องเรียนเรื่องมีการกล่าวหาหมิ่นประมาทกันซึ่งเป็นเรื่องส่วนตัว บางทีมันมีเป็นพันประเด็น บางเรื่องมันไม่เข้าในขอบข่ายงานของ กสทช.อย่างเรื่องเว็บไซต์ ฉะนั้นจึงต้องมีการคัดกรองก่อน แต่ถ้ามันเป็นเรื่องที่มันละเอียดอ่อนเทาๆ เช่นเรื่องเนื้อหา ร้องเรียนว่าข่าวช่องนั้นบิดเบือน ร้องเรียนว่าละครเรื่องนี้กระทบศีลธรรมอันดี อันนี้ก็จะเป็นปัญหาแล้ว เพราะว่าจะวินิจฉัยอย่างไรที่มันจะอยู่ตรงกลาง เพราะฉะนั้นมันก็ต้องมีอนุฯ และอาจต้องมีอนุฯ อีกชุดหนึ่ง มาดูแลและทำเกณฑ์เรื่องเนื้อหา การที่ กสทช.จะมีวินิจฉัยไปทางใดทางหนึ่งเราต้องมีเกณฑ์ที่ชัดเจนก่อน ซึ่งเกณฑ์ที่ว่านี้ก็ต้องมีผู้ทรงคุณวุฒิจากหลายภาคส่วนที่เข้าใจมาช่วยคิด ช่วยกลั่นกรอง คือถ้าเป็นส่วนของงานผู้บริโภคก็จะมีกลไกอนุฯ มาช่วยเป็นด่านหน้าที่จะช่วยเราคิด และพอด่านหน้ากรองแล้วก็จะเข้ามา กสทช.สุดท้ายการใช้อำนาจตัดสินใจใดๆ ก็ต้องเป็น กสทช.อยู่ดี แผนแม่บทที่จะจัดทำจะมีกระบวนการเรียกคืนคลื่นและการจัดสรรอย่างไร ? แผนบริหารคลื่นความถี่จะต้องพูดรวมกันระหว่าง 2 งาน (1.กิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ 2.กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ) และแผนบริหารคลื่นความถี่นี้ ใจความสำคัญคือการบอกว่าหน่วยงานรัฐจะต้องคืนคลื่นภายในกี่ปี มาตรา 10 ของ พ.ร.บ.การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ 2551 ซึ่งเป็นกฎหมายลูกของ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 (พ.ร.บ.กสทช.) กำหนดให้ใบอนุญาตประกอบกิจการแบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1. ใบอนุญาตกิจการบริการสาธารณะ ซึ่งแบ่งย่อยออกเป็น 3 ประเภท ประกอบด้วย ก.กิจการสาธารณะเพื่อส่งเสริมความรู้ การศึกษา คุณภาพชีวิต ข.กิจการสาธารณะเพื่อความมั่นคง และ ค.กิจการสาธารณะเพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างรัฐบาลกับประชาชนและ รัฐสภากับประชาชน 2. ใบอนุญาตกิจการบริการชุมชน ซึ่งต้องเป็นประโยชน์ตามความต้องการของชุมชนหรือท้องถิ่นที่รับบริการ 3. ใบอนุญาตกิจการทางธุรกิจ ซึ่งแบ่งย่อยออกเป็นอย่างน้อย 3 ประเภท ประกอบด้วย ก.ใบอนุญาตประกอบกิจการระดับชาติ ข.ระดับภูมิภาค และ ค.ระดับท้องถิ่น กระบวนการให้ใบอนุญาตแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ส่วนพวกที่ได้สัมปทานคุ้มครอง ต้องปล่อยให้สัมปทานหมด เว้นแต่ว่ามีการวินิจฉัยสัญญาแล้วศาลก็ตัดสินว่าสัญญานั้นไม่ชอบ ก็อาจจะนำไปสู่การยุติได้เร็วขึ้น แต่ถ้าไม่เป็นเช่นนั้นก็อยู่ไปจนกว่าสัมปทานหมด ยกตัวอย่างโทรทัศน์ช่อง 7 และ ช่อง 3 จะเข้าข่ายนี้ แต่วิทยุจะไม่ค่อยเข้าข่ายนี้มากเพราะว่าวิทยุตอนนี้สัญญาหมดเร็ว ก็คือปีต่อปี ไม่เกิน 2 ปี ประเด็นที่ 2 หน่วยงานรัฐที่ยังคงอยากจะครอบครองคลื่นความถี่ไว้ กฎหมาย พ.ร.บ.ประกอบกิจการฯ กับ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นฯ ค่อนข้างให้อภิสิทธิ์กับหน่วยงานรัฐ คือไม่ได้บอกว่าคุณต้องคืนหมด จะเก็บไว้ก็ได้ แต่ก็ต้องพิสูจน์ได้ว่าการเก็บไว้นั้นคุณประกอบกิจการด้วยตนเองและเพื่อบริการสาธารณะ (ข้อ 1) พูดง่ายๆ ว่า อสมท. กองทัพ 1 ปณ. หรือ กรมประชาสัมพันธ์ ที่ถือครองคลื่นอยู่ทุกวันนี้แล้วเอาไปให้เช่าช่วง เขายังมีสิทธิจะครองคลื่นไว้ได้ แต่เขาต้องพิสูจน์ให้ กสทช.เห็นว่าการครองคลื่นนั้นเข้าข่ายการบริการสาธารณะ ซึ่งกฎหมายให้ กสทช.ทำเกณฑ์ว่าอะไรคือเกณฑ์ที่หน่วยงานรัฐสามารถถือครองคลื่นไว้ได้ แล้วเราก็ให้ใบอนุญาต ซึ่งกระบวนการนี้สามารถทำได้เลย ไม่ต้องรอแผนแม่บท เพราะว่ารัฐเขาเป็นเจ้าของคลื่นอยู่แล้ว แต่ถ้ามีการพิสูจน์กันแล้วว่าคลื่นที่เขาขอมานั้นไม่ได้เข้าข่ายในการที่จะบริการสาธารณะ หรือว่าเขาครอบครองอยู่ 100 คลื่น อาจจะเข้าข่ายบริการสาธารณะแค่ 50 คลื่น 50 คลื่นที่เหลือนี้จะต้องเข้าสู่ กระบวนการจัดสรรใหม่ต่อไป โดยอาจเข้าสู่การประมูลเป็นสื่อธุรกิจ หรือจัดสรรเพื่อชุมชนหรือเพื่อสาธารณะ อันนี้ต้องรอแผนแม่บท เพราะว่าการประมูลต้องรอแผนแม่บท ทั้งนี้ พ.ร.บ.กสทช. มาตรา 82-83 ให้ช่องไว้ว่าคลื่นรัฐที่มีอยู่เดิมจะต้องมาเปิดเผยต่อ กสทช.ตามที่ได้มีมติบอร์ดเล็กว่าจะทำภายในหนึ่งปี ก็คือให้หน่วยงานรัฐมาลงทะเบียนกับเรา แจ้งว่าคุณถืออะไรอยู่ และอันไหนคุณจะขอไว้ อันไหนคุณจะคืน แต่ทีนี้ระยะเวลาในการคืนทั้งหมดจริงๆ คืนแบบเข้ากองกลาง หมดกรรมสิทธิ์กันเลย จะต้องระบุในแผนแม่บทบริหารคลื่นความถี่ ซึ่งรวมทั้งโทรคมนาคมด้วย คลื่นที่อยู่กับ CAT TOT คลื่นที่อยู่กับวิทยุ โทรทัศน์ทั้งหมด ตรงนี้เป็นเงื่อนที่ค่อนข้างใหญ่มาก ทุกภาคส่วนของหน่วยงานรัฐจะจับตาแผนแม่บทบริหารคลื่นความถี่อันนี้ สุภิญญา กลางณรงค์: อดีตเอ็นจีโอที่ชูธง “ปฏิรูปสื่อ” กับบทบาท 1 ใน 11 กสทช. เมื่อภาคทฤษฎีต้องมาลงมือปฏิบัติเอง จากการทำงานเอ็นจีโอมาสู่การเป็น กสทช. มีความต่างกันอย่างไร? กว่าจะรู้ตัวก็ผ่านมาหนึ่งเดือนแล้ว รู้สึกว่ายังคิดยังพูดเหมือนเดิม เพียงแค่เปลี่ยนบทบาท อย่างกรณี 1 ปณ. ถ้าเราไม่ได้เป็น กสทช. เราก็คิดแบบนี้ พอเรามาเป็น กสทช. เราก็ทำแบบที่เราคิด ความยากคือการยืนจุดยืนเดิมที่เราเชื่อมั่น ขณะเดียวกัน เป็น กสทช. ที่ทุกคนคาดหวังกับเรา และเอกชนรู้สึกว่าคุณไม่ใช่เอ็นจีโอ ต้องให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย เราแบกภาระมากกว่าคนอื่นในแง่ที่ว่าทำงานใน คปส. มาหลายปี และพูดมาหมดแล้วว่าหลักการควรจะเป็นอย่างไร ทีนี้ถ้าเรามาทำเองแล้วไม่ทำตามหลักการ คนก็จะบอกว่ามีโอกาสแล้วทำไม่ได้ เราก็ต้องยืนจุดนี้ แต่ถ้ายืนจุดนี้มาก คนก็จะหาว่าเราแรงและไม่ฟังคนอื่น แต่ถ้าเราไม่แรง แล้วประนีประนอมมากก็จะเสียจุดยืน ความยากของตัวเองคือยังไม่ลงตัวนัก ก็ต้องปรับนิดนึง ในเชิงแนวคิด ไม่ได้เปลี่ยนมาก เพราะคิดและพูดเหมือนเดิม เพียงแต่ว่าเปลี่ยนจากคนที่ไม่มีอำนาจมาเป็นมีอำนาจ เรากลายเป็นคนใช้อำนาจแล้ว เพราะฉะนั้น มุมนี้ทำให้เราต้องฟัง กลุ่มธุรกิจที่เราเคยวิจารณ์เขา ตอนนี้กลับมาเป็นฝ่ายที่ได้รับผลกระทบจากการใช้ดุลพินิจ มติ และอำนาจของเรา ฉะนั้นเขาก็มีสิทธิจะฟ้อง มีสิทธิวิจารณ์ว่าเรามีผลประโยชน์แอบแฝงไหม มีวาระซ่อนเร้นไหม อันนี้ก็เป็นสิ่งที่เราต้องเจอ ประการที่สอง การประสานความขัดแย้งทางความคิดกันอย่างเข้มข้นในบอร์ด 11 คน ที่ต้องทำงานกันอีก 6 ปี เจอหน้ากันทุกอาทิตย์ ห้องอยู่ใกล้กัน เป็นความยากอีกแบบหนึ่งว่าเราจะทำตรงนี้อย่างไรให้เป็นมืออาชีพ เถียงกันแล้วจบแต่ไม่มาติดค้างในใจ ก็ต้องฝึกตัวเอง เมื่อก่อนตอนทำงานอยู่ข้างนอก ไม่ต้องเจอหน้าเขา ก็แค่แถลงข่าวจบกลับบ้าน แต่นี่ไม่ใช่ เถียงกับท่านอื่นในห้องประชุม ออกจากห้องต้องเจอกัน เดินสวนกันหน้าลิฟต์ กินข้าวกัน มันยากกว่าแบบเดิมเพราะคือการทำงานของจริง เจอหน้า แล้วตัวเองมีจุดอ่อนว่า เวลาเราเจอหน้าคน ก็จะซอฟต์ลงกว่าปกติอยู่แล้ว เราเห็นเขาเชื่ออย่างนั้นด้วยใจจริง ก็จะมีความอ่อนตรงนี้อยู่ มันก็จะยากกว่าการพูดอยู่ข้างนอกแบบเดิม เรื่องการใช้ทวิตเตอร์ มีทั้งคนบอกว่าดี โปร่งใส เข้าถึงง่าย บางคนบอกว่าทำเกินบทบาท ไม่ควรทวีตบ่อย หรือโต้เถียงตลอดเวลา ตอนนี้ก็เลยระมัดระวัง ทวีตเรื่องแต่งานหรือมติ ไม่ทวีตสายลมแสงแดด หรืออะไรที่พร่ำเพรื่อ ที่มันจะผูกมัด เพราะอาจจะมีผลได้ แต่ให้หยุดไปเลยคงไม่ได้เพราะเป็นความชอบส่วนตัวและเป็นการสื่อสารกับสาธารณะ เขาเข้าถึงเราง่าย แม้ว่าจะมีบ้างที่เครียด เพราะถ้าไม่ตอบคนถามว่าหายไปไหน ตอบมากกลายเป็นโต้ตอบ ทั้งที่เขาถามมาเราก็ต้องตอบ อย่างไรก็ตาม ต่อไปถ้ามีอะไรแรงๆ ขึ้น สิ่งที่ทวีตอาจจะกลายเป็นหลักฐาน ก็ยังเกร็งๆ ตรงนี้อยู่ นอกนั้นเป็นเรื่องส่วนตัวทั่วๆ ไป เช่น การวางตัว กิจกรรมที่ทำ หรือการเดินทางที่ต้องต่างไปจากเดิม ท้ายที่สุด ต้องทำงานตรงนี้ 6 ปี ก็ยังไม่รู้ว่าเราจะทำงานได้ครบวาระไหม เพราะว่ามันมีปัจจัยหลายอย่างที่กดดันเราอยู่ เพราะฉะนั้นระหว่างที่เราได้ทำงาน ก็อยากจะทำให้ดีที่สุด พอทำจนหมดวาระแล้วก็ยังไม่รู้จะทำไรต่อ เพราะอายุยังกลางๆ ถ้าทำงานนี้เละ ไปทำเอ็นจีโอต่อก็ไม่มีใครรับ หรือจะทำงานการเมือง ก็ไม่มีต้นทุนแล้ว ดังนั้น ไม่ว่าจะไปทำอะไร 6 ปีนี้คือต้นทุนของเรา เป้าหมายของการทำงาน 6 ปี คืออะไร ? อย่างน้อย 6 ปี อยากให้สังคมไทยเห็นว่า กสทช. สร้างการเปลี่ยนแปลงได้จริงในเชิงระบบและโครงสร้าง อาจไม่ร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่เริ่มเห็นโครงคอนโด มีทิศทาง ส่วนเรื่องการกำกับเนื้อหา อยากหาจุดตรงกลางให้สังคมในเรื่องเสรีภาพในการแสดงความเห็นและความมั่นคงของรัฐ และศีลธรรมอันดี และส่งเสริมให้คนด้อยโอกาสและภาคประชาสังคมได้ใช้คลื่น นอกจากนี้ก็คือการสร้างมาตรฐานการทำงานอย่างโปร่งใสของคนในบทบาทนี้ คิดว่า การใช้ทวิตเตอร์ โซเชียลมีเดีย ทำให้เจ้าหน้าที่รัฐและประชาชนใกล้ชิดกัน ตรวจสอบกันได้ ได้เล่าว่าเราทำอะไร เขาได้บอกเราว่าไม่เห็นด้วย และมันง่าย เร็ว เป็น Open Government คือทำอะไรประชาชนรู้ไปพร้อมกับเรา มันน่าจะเป็นบรรทัดฐานอันดีของหน่วยงานองค์กรรัฐหลายหน่วยงาน โดย กสทช. ในฐานะที่ทำเรื่องเทคโนโลยี เรื่องปฏิรูปสื่อ น่าจะเป็นแบบอย่างให้หน่วยงานอื่นในการใช้สารสนเทศในการให้ประชาชนเข้าถึง และทำทุกอย่างให้โปร่งใส สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
วันเอดส์โลก 1 ธ.ค.- เครือข่ายผู้ติดเชื้อฯ ร้องไทยจริงจังลดการติดเชื้อ-อัตราการตาย Posted: 30 Nov 2011 08:44 AM PST เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ฯ เรียกร้องไทยเอาจริงเอาจังในการลดอัตราการติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ รวมถึงลดอัตราการตายจากเอดส์ลงให้ได้ เนื่องในวันเอดส์โลก 1 ธันวา เนื่องในวันเอดส์โลก ซึ่งตรงกับวันที่ 1 ธันวาคม ของทุกปี เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทย ส่งจดหมายเปิดผนึกถึงสื่อมวลชน โดยระบุว่า ถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทยจะต้องเอาจริงเอาจังในการลดอัตราการติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ และลดอัตราการตายจากเอดส์ลงให้ได้ เครือข่ายผู้ติดเชื้อฯ ระบุด้วยว่า ปัจจุบัน มีผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ 10,853 ราย หรือวันละประมาณ 30 ราย และยังมีผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากเอดส์ ปีละประมาณ 1,000 ราย ทั้งๆ ที่ระบบสวัสดิการด้านสุขภาพทุกระบบของประเทศ สามารถให้การดูแลรักษาผู้ติดเชื้อฯ /ผู้ป่วยเอดส์ได้ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ไม่ว่าจะเป็นระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า สวัสดิการประกันสังคม และสวัสดิการข้าราชการและรัฐวิสาหกิจ เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทย และมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ เล็งเห็นความสำคัญในเรื่องดังกล่าว ด้วยเห็นว่า หากคนทั่วไปรู้ผลเลือดของตนเอง กรณีผลเลือดลบ ก็จะนำไปสู่การประเมินและลดความเสี่ยง รวมทั้งป้องกันตนเองจากการติดเชื้อเอชไอวี ซึ่งจะส่งผลต่อการลดอัตราการติดเชื้อฯ รายใหม่ลง และถ้ามีผลเลือดบวก หากรู้ได้เร็ว ก็จะทำให้เข้าสู่บริการสุขภาพได้เร็ว ทั้งการป้องกันรักษาโรคฉวยโอกาส ที่ทุกโรครักษาให้หายได้ และจะได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอชไอวีอย่างทันท่วงที โดยไม่ต้องรอให้ป่วย ทำให้มีสุขภาพแข็งแรง ใช้ชีวิตตามปกติได้ รวมถึงลดอัตราการตายจากเอดส์ลงในที่สุด ในกรณีคนที่ยังไม่รู้ว่าติดเชื้อฯ หรือไม่ สิทธิประโยชน์ของระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ครอบคลุมให้คนไทยทุกคน ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการรับเชื้อเอชไอวี ไม่ว่าจะอยู่ในระบบหลักประกันสุขภาพระบบใดก็ตาม ขอรับบริการให้คำปรึกษา และตรวจเลือดหาการติดเชื้อเอชไอวีด้วยความสมัครใจได้ปีละ ๒ ครั้ง โดยสามารถเข้ารับบริการที่โรงพยาบาลของรัฐ และเอกชนที่เข้าร่วมระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าทุกแห่ง โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ด้านนายอภิวัฒน์ กวางแก้ว ประธานเครือข่ายผู้ติดเชื้อฯ กล่าวว่า จากประสบการณ์ของเขา และเพื่อนๆ ในเครือข่ายผู้ติดเชื้อฯ ขอย้ำว่า เอดส์ รู้เร็ว รักษาได้ “เราขอเชิญชวนให้สังคม ให้ทุกคนตื่นตัว ในการรู้ผลการติดเชื้อฯ ของตัวเอง และถ้าเห็นว่าตัวเองมีความเสี่ยงจากการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้ป้องกัน หรือใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน ให้เข้ารับบริการให้คำปรึกษาและตรวจเลือด แต่สิ่งที่เราไม่อยากเห็น คือการละเมิดสิทธิการตรวจเลือดเอชไอวีที่ยังมีปัญหาอยู่ เช่น การตรวจสุขภาพประจำปีของสถานประกอบการ การรับเข้าทำงานใหม่ การเข้าเรียนในสถานศึกษา ที่เป็นไปในลักษณะบังคับตรวจ ซึ่งถือเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล และแสดงให้เห็นถึงความไม่เข้าใจเรื่องเอดส์ในสังคมไทย” ประธานเครือข่ายผู้ติดเชื้อฯ กล่าว สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
เอไอชี้ความสำเร็จในการเยือนพม่าของนางคลินตันควรวัดจากสถานการณ์สิทธิมนุษยชน Posted: 30 Nov 2011 08:18 AM PST แอมเนสตี้ชี้ความสำเร็จของการเดินทางเยือนพม่าของรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ควรตัดสินจากข้อเท็จจริงที่ว่าทางการพม่ามีการตอบสนองโดยทันที อย่างเช่นการผลักดันการปฏิรูปด้านสิทธิมนุษยชนอย่างจริงจังและกว้างขวางหรือไม่
หมายเหตุ: แอมเนสตี้อินเตอร์เนชั่นแนล ได้ออกแถลงการณ์เมื่อ 29 พ.ย. ต่อกรณีที่นางฮิลลารี คลินตัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ เดินทางเยือนพม่าเป็นเวลาสองวัน นับเป็นการเยือนครั้งแรกในรอบ 50 ปีของผู้มีตำแหน่งทางการเมืองระดับสูงของสหรัฐฯ โดยแถลงการณ์ดังกล่าวมีรายละเอียดดังนี้ 000 แถลงการณ์แอมเนสตี้อินเตอร์เนชันแนล พม่า: ความสำเร็จในการเดินทางเยือนพม่าของนางคลินตัน ความสำเร็จของการเดินทางเยือนพม่าของรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ควรตัดสินจากข้อเท็จจริงที่ว่าทางการพม่ามีการตอบสนองโดยทันที อย่างเช่นการผลักดันการปฏิรูปด้านสิทธิมนุษยชนอย่างจริงจังและกว้างขวางหรือไม่ แอมเนสตี้อินเตอร์เนชันแนลกล่าวในแถลงการณ์วันนี้ นางฮิลลารี คลินตัน (Hillary Clinton) จะเริ่มการเดินทางไปเยือนพม่าเป็นเวลาสองวัน นับเป็นการเดินทางเยือนพม่าเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 50 ปีของเจ้าหน้าที่ระดับสูงสุดจากสหรัฐฯ
“ที่ผ่านมาสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนในพม่าดีขึ้นเพียงเล็กน้อยในบางด้าน แต่ในด้านอื่น ๆ กลับเลวร้ายลงมาก” เบนจามิน ซาวัคกี้ (Benjamin Zawacki) ผู้เชี่ยวชาญเรื่องพม่า แอมเนสตี้อินเตอร์เนชันแนลกล่าว “การเดินทางไปเยือนพม่าของรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ นับเป็นการท้าทายอย่างชัดเจนเพื่อให้รัฐบาลพม่าต้องตอบสนองด้วยการดำเนินมาตรการอย่างจริงจังและกล้าหาญ รวมทั้งการปล่อยตัวนักโทษด้านความคิดที่เหลืออยู่ทุกคนและยุติการทารุณพลเรือนที่เป็นชาติพันธุ์กลุ่มน้อย โดยต้องทำอย่างจริงจังและทันที” พม่าได้ปล่อยตัวนักโทษการเมืองอย่างน้อย 318 คนในปีนี้ แต่ยังมีนักโทษการเมืองอีกกว่าพันคนที่ยังคงถูกจองจำ หลายคนถือได้ว่าเป็นนักโทษทางความคิด การปล่อยตัวคนเหล่านี้ไม่ควรเป็นเพียงส่วนหนึ่งของ “กระบวนการ” ตามคำพูดของเจ้าหน้าที่รัฐบาลพม่าหลายท่าน แต่ควรเป็นสิ่งที่กระทำโดยทันทีและโดยไม่มีเงื่อนไข ในพื้นที่ชนชาติพันธุ์กลุ่มน้อยหลายแห่ง ในบางส่วนของรัฐ กะเหรี่ยง กะฉิ่น และฉาน ยังคงมีการสู้รบที่เริ่มขึ้นเมื่อปีที่แล้วหรือมีความเข้มข้นมากขึ้น ในขณะที่กองทัพพม่ายังคงละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อพลเรือนอย่างกว้างขวางและเป็นระบบต่อไป “นางคลินตันควรแสดงอย่างชัดเจนต่อทางการพม่าว่า ในเบื้องต้นมีความคาดหวังที่จะเห็นการปล่อยตัวนักโทษการเมือง และการคุ้มครองพลเรือนที่เป็นชนชาติพันธุ์กลุ่มน้อย” เบนจามิน ซาวัคกี้กล่าว รัฐบาลสหรัฐฯ ได้สนับสนุนการจัดตั้งคณะกรรมาธิการสากลเพื่อไต่สวนกรณีอาชญากรรมสงครามและอาชญากรรมต่อมนุษยชาติที่กระทำต่อพลเรือนชนชาติพันธุ์กลุ่มน้อยในพม่ามาเป็นเวลานาน มาตรา 445 ของรัฐธรรมนูญพม่าบัญญัติความคุ้มครองให้เจ้าพนักงานไม่ต้องถูกดำเนินคดีในข้อหาละเมิดสิทธิมนุษยชนสำหรับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมาในอดีต “นางคลินตันควรเน้นย้ำเจตจำนงของสหรัฐฯ เพื่อให้เกิดการตรวจสอบได้ในพม่า ทั้งนี้โดยผ่านคณะกรรมาธิการไต่สวนสากล หากทางการพม่ายังคงไม่ต่อต้านการลอยนวลพ้นผิดที่เกิดขึ้นมากว่าทศวรรษ” เบนจามิน ซาวัคกี้กล่าว ในช่วงที่ผ่านมา รัฐบาลพม่าประสบความสำเร็จในการอ้างถึงการมาเยือนประเทศของรัฐบาลจากต่างประเทศและหน่วยงานสากล เพื่อเป็นหลักฐานยืนยันความก้าวหน้าด้านสิทธิมนุษยชนหรือการตอบสนองต่อข้อกังวลด้านสิทธิมนุษยชน “สหรัฐฯ จะต้องไม่ปล่อยให้พม่าบิดเบือนภาพของการเดินทางมาเยือนของนางคลินตันว่าเป็นเหมือนการให้รางวัลกับพวกเขา แต่ควรถือเป็นความท้าทายอย่างหนึ่ง เหมือนกับสหรัฐฯ กำลังเดิมพัน แต่ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจะขึ้นอยู่กับความพยายามอย่างต่อเนื่องของสหรัฐฯ เองเพื่อกดดันให้เกิดความก้าวหน้าด้านสิทธิมนุษยชนในพม่า” เบนจามิน ซาวัคกี้กล่าว
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
เริ่มแล้ว รวบรวมชื่อออนไลน์ ‘ยกลิก ม.112’ ปล่อยนักโทษการเมือง Posted: 30 Nov 2011 08:08 AM PST
กลุ่มแอคชั่นเพื่อประชาธิปไตย (ACT4DEM) นำโดยจรรยา ยิ้มประเสริฐ นักกิจกรรมด้านแรงงานและสิทธิมนุษยชน ได้เปิดรณรงค์ทางเฟซบุ๊คให้ประชาชนร่วมลงชื่อในข้อเรียกร้อง "ให้รัฐบาลยกกเลิกมาตรา 112 ปล่อยตัวนักโทษการเมือง และนักโทษการเมืองทุกคน” โดยเริ่มรณรงค์ตั้งแต่วันที่ 25 พ.ย.ที่ผ่านมา อันเป็นวันยุติความรุนแรงต่อเด็กและสตรี และเป็นวันครบรอบ 3 ปี การยึดสนามบินสุวรรณภูมิ ความคืบหน้าล่าสุด มียอดผู้ลงชื่อมีกว่า 900 ราย รวมถึง 40 องค์กรจากนานาชาติ และขณะนี้ได้เปิดให้การลงชื่อทำได้ง่ายขึ้นด้วยการจัดทำให้ลงชื่อออนไลน์ http://www.ipetitions.com/petition/petition-on-abolition-of-the-thai-law-of-lese/ โดยตั้งเป้าไว้ที่ 11,135 รายชื่อ เพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งตัวเลขผู้เสียชีวิตเพราะการเมืองไทยตลอด 60 ปี ภายในวันที่ 9 ธ.ค.นี้ เพื่อนำเสนอต่อรัฐบาลในวันรัฐธรรมนูญ วันที่ 10 ธ.ค.54
000000
ภาษาไทย http://www.ipetitions.com/ English http://www.ipetitions.com/ French http://www.ipetitions.com/ Petition in German and Spanish ready soon! ข้อเสนอถึง เรียกร้องให้ และเรียกร้องให้ ข้อ เสนอแนะฉบับนี้ จัดทำโดยประชาชนและองค์กรที่รู้สึกวิตกกังวลมากขึ้นเรื่อยๆ เกี่ยวกับอนาคตแห่งประชาธิปไตยของประเทศไทยและของกลุ่มประเทศอาเซียน ใน ปี พ.ศ. 2554 ประเทศถูกองค์กรสากลหลายสำนักจัดระดับเป็น “ไม่มีสิทธิและเสรีภาพด้านสื่อและเน็ต” นักข่าวไร้พรมแดนได้ลดอันดับความมีสิทธิ เสรีภาพในการรับข่าวสารของประเทศไทย จากลำดับที่ 59 ไปอยู่ที่ลำดับ 153 หลังจากการรัฐประหารปี พ.ศ. 2549 มีผู้คนที่ถูกดำเนินคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เพิ่มมากขึ้นหลายเท่าตัว จากไม่เกิน 10 คนต่อปีเป็น 100 คนต่อปี และในปี 2553 จำนวนผู้ต้องหาคดีหมิ่นฯ ได้เพิ่มสูงขึ้นกว่า 500 คน ทุกวันนี้ ไม่มีใครรู้ว่ามีคนที่ต้องติดคุกด้วยคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพกี่ร้อยคน หรือถูกดำเนินคดีกี่คนขนาดนักกฏหมายก็ไม่รู้ข้อมูลเหล่านี้ แต่ที่แน่ๆ นักโทษคดีหมิ่นฯ ถูกละเมิดสิทธิ คุกคามทำร้ายและบีบคั้นทางจิตใจในทุกด้านทั้งในและนอกห้องขัง หลังจากเหตุการณ์การที่กองกำลังของกองทัพไทยเคลื่อนเข้าปราบปรามและสังหารหมู่ ประชาชนเมื่อเดือนเมษายน และพฤษภาคม พ.ศ.2553 ซึ่งส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 93 คน และ บาดเจ็บ 2,000 คน กฏหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ได้ถูกนำมาใช้รุนแรงมากขึ้น เพื่อทำให้ผู้คนที่รู้สึกสุดทนมากขึ้นเรื่อยๆ กับความไม่มียุติธรรมใน ประเทศไทยเกิดความกลัวและไม่กล้าแสดงความคิดเห็นใดๆ ข้อเรียกร้องฉบับนี้ พุ่งเป้าถึงต้นตอของวิกฤติการเมืองไทยในปัจจุบัน นั่นก็คือผลกระทบที่เกิดจากความน่าสะพรึงกลัวของกฏหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่มีต่อพัฒนาการของระบอบประชาธิปไตย ข้อเรียกร้องฉบับนี้ เปิดให้ทั้งองค์กรและประชาชนทั่วไปร่วมลงชื่อ และจะเปิดให้มีการลงชื่อต่อไปจนกว่านักโทษและผู้ต้องหาในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพทุกคน จะได้รับการปล่อยตัวและมีการยกเลิกกฏหมายมาตรา 112 นี้ เพื่อทันกิจกรรมยื่นข้อเรียกร้องนี้เป็นครั้งแรกต่อรัฐบาลไทยในวันที่ 10 ธันวาคม 2554 คณะผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่าภายในวันที่ 9 ธันวาคม จะมีผู้ร่วมลงชื่อ จำนวน 11,135 รายชื่อ เพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งตัวเลขผู้เสียชีวิตเพราะการเมืองไทยตลอด60 ปี แห่งการกดขี่และคุกคามสิทธิและเสรีภาพในประเทศไทย นับตั้งแต่เปิดให้ลงชื่อในเฟสบุ๊คเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2554 จนถึงขณะนี้ มีผู้ร่วมลงชื่อในนามองค์กร 40 กลุ่ม และในนามส่วนบุคคลมากกว่า 900 คน อำนาจอธิปไตยของประเทศไทยนั้นอยู่ในอุ้มมือของประชาชน การต่อสู้ของภาคประชาชน เพื่อขจัดพลังอำนาจที่ฉ้อฉล ที่จำกัดศักยภาพของพวกเขาในการตระหนักถึงสิทธิตามครรลองประชาธิปไตยใน ประเทศไทย จำต้องได้รับพลังสมานฉันท์จากคนไทยและจากนานาชาติ ขอเชิญชวนทุกท่านร่วมลงชื่อในข้อเรียกร้องฉบับนี้ ขอขอบพระคุณอย่างสูง กลุ่มแอ็คชั่นเพื่อประชาธิปไตยในประเทศไทย * * * * * * * * * * -คุณ ดารณี ชาญเชิงศิลปกุล ผู้สื่อข่าวที่ออกมาร่วมประท้วงหลังการรัฐประหาร พ.ศ. 2549 เธอถูกจับขังคุกตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2552 และกำลังมีปัญหาด้านสุชภาพ แต่เธอไม่ได้รับอนุญาตให้ได้รับการรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ แต่กระนั้นเธอก็ยืนหยัดต่อสู้เพื่อความเป็นธรรม - ธันย์ฐวุฒิ ทวีวโรดมกุล พ่อม่ายและนักออกแบบเว็บไซด์เสื้อแดง ถูกตำรวจกลุ่มหนึ่งบุกจับที่บ้านและถูกขังคุกทันที ตำรวจกล่าวหาว่าเว็บไซด์ นปช.ยูเอสเอ เป็นภัยต่อสถาบันกษัตริย์ เขาเขียนจดหมายจากคุกถึงลูกชายวัย 10 ขวบของเขาว่า … สิ่งเดียวในตอนนี้ที่ป๊าหวังมากที่สุดนั่นคือการได้ออกไปอยู่กับน้องเว็บอีก ครั้งโดยเร็ว“น้องเว็บต้องรู้ไว้เสมอนะว่าป๊าไม่ได้ฆ่าคนตาย ป๊าไม่ได้คดโกงใคร ไม่ได้ขายยาเสพติด หรือหลอกลวงใคร ป๊าก็แค่ทำงานช่วยเหลือเพื่อนๆในสิ่งที่ป๊าสามารถทำได้เท่านั้น แล้วก็ถูกจับ” -คุณสุรชัย แซ่ด่าน แกนนำเสื้อแดงวัย 68 ปี ป่วยเป็นโรคต่างๆ มากมาย และกำลังอดอาหารประท้วงในคุก เขาถูกจับเข้าคุกเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 เขาเขียนข้อความส่งออกมาจากคุกถึงคนเสื้อแดงว่า อย่ายอมแพ้ จงสู้ต่อไป - คุณสมยศ พฤกษาเกษมสุข บรรณาธิการนิตยสาร เรดพาวเวอร์ และนักสิทธิแรงงาน ถูกจับที่ชายแดนไทย-กัมพูชาเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2554 เขาส่งจดหมายจากคุกในชื่อหัวจัดหมาย "เหยี่ออธรรม" โดยระบุว่า "ผมจะสู้ให้ได้รับเสรีภาพตราบจนลมหายใจสุดท้าย ผมยอมเสียอิสระภาพ แต่จะไม่ยอมเสียความเป็นคนอย่างแน่นอน" คุณสมยศถูกกลั่นแกล้งและบีบบังคับมากมายเพื่อให้สารภาพผิด รวมทั้งถูกบังคับให้ยืนในรถผู้ต้องขังย้ายไปขึ้นศาลยังเรือนจำจังหวัดต่างๆ ทั้งสระแก้ เพชรบูรณ์ นครสวรรค์และสงขลา -คุณเลอพงศ์ วิชัยคำมาศ (โจ กอร์ดอน) ชาวอเมริกาเชื้อชาติไทย กลับเมืองไทยเพื่อรับการรักษาโรค เขาถูกล้อมจับด้วยตำรวจดีเอสไอร่วม 20 คน ด้วยข้อหาโพสลิ้งค์ของหนังสือ "กษัตริย์ไม่เคยยิ้ม" ในเว็บบอร์ดในปี พ.ศ. 2551-2552 และถูกโยนเข้าห้องขังทันทีเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม - อำพล ตั้งนพคุณ อากงอายุ 61 ปี ถูกตัดสินจำคุก 20 ปี เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2554 สำหรับข้อกล่าวหาว่าส่ง SMS ที่มาดร้ายต่อองค์สมเด็จพระนางเจ้า ไปยังมือถือของสมเกียรติ คล่องวัฒนาสุข เลขานุการส่วนตัวของอดีตนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อำพล ที่ทุกข์ทรมานจากโรงมะเร็งที่ลิ้น และไม่สามารถเข้าถึงการรักษาที่ถูกต้องได้ในระหว่างที่อยู่ในคุก ปฏิเสธอย่างจริงจังว่าไม่ได้เป็นคนส่งข้อความเหล่านี้ และอีกหลายร้อยชีวิตที่ไม่ทราบชะตากรรม ลงชื่อได้ ที่นี่
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
Posted: 30 Nov 2011 07:42 AM PST จะกล่าวย้อนไปถึงหลักที่เหล่ และเปรียบเทียบว่า ผู้พิพากษาตุลาการที่ตัดสินคดี นอกจากนี้ผู้พิพากษาตุลาการต้ หลักอินทภาษจึงแฝงไว้ทั้งหลั หลักดังกล่าวภายใต้หลักคิดแบบฮิ การปฎิบัติหน้าที่ของตุลาการนั้ บทบัญญัติตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227 มีความหมายว่า ในการพิจารณาพิพากษาคดีอาญาทั้ แต่ทั้งนี้มิได้หมายความว่ เหมือนหลักที่นักศึกษาวิ อีกประเด็นที่ที่ควรคำนึงถึงหลั ในคราวที่ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานั ในคราวนั้นผู้พิพากษากำลังพิ ประชาชนได้พากันมาฟังความจนล้ ตามคำฟ้องของอัยการปรากฎว่า จำเลยได้ขโมยห่วงกุ ศาลจึงพิพากษาจำคุกจำเลย 6 เดือน พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานั ในการที่ทรงพิพากษาตัดสินครั้ นางผู้เป็นจำเลย ได้คลานเข้าไปกราบที่บัลลังก์ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานั พระราชกิจครั้งนั้นยั (ข้อมูลจากหนังสือ อานันทมหิดล ยุวกษัตริย์พระองค์ ผู้เขียนเองนั้นไม่ได้มี แต่นานๆไปคำสอนเหล่านี้อาจพร่
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
พิพากษาพรุ่งนี้! 7 จำเลยเสื้อแดงปล้นทรัพย์ CTW Posted: 30 Nov 2011 07:23 AM PST
30 พ.ย.54 ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุสลายการชุมนุมเดือน เม.ย.-พ.ค.53 (ศปช.) แจ้งข่าวว่าในวันพรุ่งนี้ (1 ธ.ค.54) เวลา 10.00 น. ที่ศาลอาญากรุงเทพใต้ จะมีการพิพากษาคดีที่อัยการเป็นโจทย์ยื่นฟ้องนายพินิจ จันทร์ณรงค์ และพวกรวม 7 คน ในข้อหาร่วมกันปล้นทรัยพ์โดยมีและใช้อาวุธปืนร่วมกันตั้งแต่สามคนขึ้นไปขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่โดยขู่เข็ญว่าจะใช้กำกำลังประทุษร้ายโดยมีและใช้อาวุธปืน ร่วมกันตั้งแต่ห้าคนขึ้นไปฝ่าฝืนประกาศข้อกำหนดตามพระราชกำหนดการบริการราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินห้ามมิให้มีการชุมนุมหรือมั่วสุม ทั้งนี้ จำเลยทั้ง 7 ถูกจับกุมตัวในวันที่ 19 พ.ค.53 หลังแกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ประกาศสลายการชุมนุมในช่วงบ่าย และทั้งหมดถูกควบคุมตัวในเรือนจำ ไม่ได้รับการประกันตัวจนปัจจุบัน หนึ่งในจำนวนนี้เป็นผู้หญิง ขณะนี้จำเลยที่ 1 คือ นายพินิจ จันทร์ณรงค์ ยังเป็นจำเลยในคดีเผา CTW ร่วมกับนายสายชล แพบัว ซึ่งจะมีการนัดสืบพยานกันต่อในปีหน้า นอกจากนี้ยังมีเยาวชนชายอายุ 17 ปีอีก 2 คนที่ถูกฟ้องในคดีปล้นทรัพย์ และเผา CTW เช่นกัน แต่แยกพิจารณาที่ศาลเยาวชน และมีการนัดสืบพยานต่อในปีหน้า สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
จดหมายเปิดผนึกจาก ใจ อึ๊งภากรณ์ ข้อเสนอเพื่อสร้างจุดยืนร่วมของ “แดงก้าวหน้า” Posted: 30 Nov 2011 07:15 AM PST ท่ามกลางการหักหลังวีรชนเสื้ 1. รัฐบาลพรรคเพื่อไทยนี้ไม่ใช่รั 2. ในการต่อต้านรัฐบาลเพื่อไทย เราจะไม่เปิดทางให้สลิ่ม ประชาธิปัตย์และทหารได้ประโยชน์ 3. “เสื้อแดงก้าวหน้า”มีเป้าหมายร่ 4. “เสื้อแดงก้าวหน้า” ต้องการให้มีการริเริ่ 5. “เสื้อแดงก้าวหน้า” ขอสนับสนุนข้อเสนอของคณะนิติ 6. “เสื้อแดงก้าวหน้า” เข้าใจความสำคั ประเด็นเหล่านี้ไม่ได้จารึกในหิ ในการเคลื่อนไหวต่อสู้ เราไม่สามารถพึงพอใจกับการอ่ อนาคตของประชาธิ ประชาชนจงเจริญ
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
ความหวาดกลัวที่ไม่มีจุดจบ: ชีวิตของผู้คนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ Posted: 30 Nov 2011 06:51 AM PST
เที่ยงวันหนึ่งขณะที่หลายคนกำลังกลับจากถอนกล้าและดำนาในช่วงเช้า บางส่วนแวะซื้้อหากับข้าวสำหรับมื้อเที่ยง เสียงปืนราว 10-12 นัดดังรัวขึ้นจากใกล้ๆ พวกเราในร้านกับข้าวต่างตกตะลึง เด็กหนุ่มวัยรุ่นสองคนในบ้านใกล้กับที่เกิดเหตุกระโดดและวิ่งข้ามถนนด้วยความตกใจมาที่ร้าน พร้อมกับบอกพวกเราว่า “บือเดๆ ดี อบต.” (มีการยิงเกิดขึ้นที่ อบต.) เหตุการณ์นี้เป็นการรัวปืนอาก้าประกบยิง มีเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ชาวไทยพุทธ 2 คนเสียชีวิตทันทีคารถยนต์กะบะ ก่อนหน้านี้เพียงหกวันก็มีพ่อค้าชาวจีนถูกยิงตายกลางตลาดนัดที่นี่ต่อหน้าผู้คนที่กำลังจับจ่ายซื้อของ นี่เป็นเพียงสองเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นแทบทุกเดือนตลอดระยะเวลาเกือบหนึ่งปีที่ฉันได้เข้ามาศึกษาและเก็บข้อมูลภาคสนามในหมู่บ้านของชาวมลายูมุสลิมแห่งนี้ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งยังไม่รวมหลายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนหน้าการเข้ามาของฉัน ที่ผ่านมาผู้เสียชีวิตที่นี่มีทั้งหญิงและชาย ทั้งไทยพุทธและมลายูมุสลิม มีการสันนิษฐานถึงสาเหตุของแต่ละกรณีกันไปต่างๆ นาๆ อาทิ ความเกี่ยวข้องกับธุรกิจยาเสพติด การเป็นสายข่าวให้กับเจ้าหน้าที่ของเหยื่อผู้เสียชีวิต ความขัดแย้งส่วนตัว และการสร้างสถานการณ์ เป็นต้น แม้จำนวนยอดผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตที่ชายแดนจะเพิ่มมากขึ้นทุกขณะ แต่เหตุการณ์ในลักษณะนี้ในปัจจุบันมักปรากฏเป็นเพียงข่าวสั้นๆ ที่แทบจะไม่มีความสำคัญนักในสื่อต่างๆ แต่สำหรับผู้คนที่นั่น หลายปีมาแล้วที่ชีวิตของพวกเขาต้องอยู่กับความหวาดกลัวและความประหวั่นพรั่นพรึงอย่างมากต่อภยันตรายจากสถานการณ์ความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นกับตนได้ทุกขณะ อย่างไรก็ดี ชีวิตยังคงต้องดำเนินต่อไป ไม่ว่าจะเป็นชีวิตการทำมาหากิน ชีวิตทางสังคม และชีวิตทางศาสนา ผู้คนในหมู่บ้านที่ฉันศึกษาเลือกใช้วิธีการที่หลากหลายเพื่อสร้างความปลอดภัยในชีวิตของตน อาทิ การปรับเวลากรีดยางจากเช้ามืดให้สายขึ้น การออกเดินทางไปกรีดยางหรือไปทำนากันเป็นกลุ่ม การหลบเลี่ยงที่จะต้องพบเจอ เผชิญหน้า และตอบคำถามทั้งของเจ้าหน้าที่และของ “ขบวนการ” ฯลฯ ขณะที่หากอันตรายและความสูญเสียมาเยือน คำสอนทางศาสนาก็จะเป็นที่พึ่งในการบรรเทาความทุกข์ความเศร้าโศกเสียใจนั้น ชีวิตที่ยากลำบากมากขึ้นเนื่องจากสถานการณ์ความรุนแรงในภาคใต้ ไม่เพียงแต่ถูกละเลยจากสื่อเท่านั้น แต่ยังถูกบดบังด้วยการครอบงำของความรู้และความเข้าใจกระแสหลักที่อยู่ในกรอบความมั่นคงของรัฐ เหตุการณ์ความไม่สงบถูกเหมารวมว่าเกิดจากน้ำมือของผู้เป็นภัยต่อรัฐและจำเป็นจะต้องขจัดด้วยวิธีการต่างๆ โดยมีกองทัพเป็นหัวหอก ขณะที่ข้อเสนอในทางศาสนาและวัฒนธรรมและแนวทางในการดำเนินชีวิตของชาวมลายูมุสลิม อาทิ การเสนอให้ใช้ภาษามลายูเป็นภาษาหลักในพื้นที่ การให้มีระบบศาลที่ยึดโยงกับศาสนาอิสลาม ถูกมองว่าเป็นภัยคุกคามต่อความเป็นเอกรัฐและจำเป็นจะต้องยับยั้ง ทั้งนี้ ที่ผ่านมาชนชั้นนำไทยประสบความสำเร็จในการแสดงให้เห็นว่าพวกเขาปกป้องและมีผลประโยชน์ร่วมกันกับประชาชนส่วนใหญ่ไม่ว่าจะเป็นในเชิงศาสนาหรือชาติพันธุ์ ทำให้ผู้ที่แตกต่างต้องกลายเป็น “คนอื่น” ที่ยากจะเข้าใจ น่าสงสัย และจะต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของศูนย์กลางอย่างเข้มงวด ขณะเดียวกันก็ไม่แน่นักว่าคำอธิบายและข้อเสนอที่ฟังดูคุ้นหูจากอีกฝากหนึ่งโดยนักวิชาการและกลุ่มประชาสังคมในเรื่องนี้ จะช่วยให้เกิดความรู้ความเข้าใจต่อปัญหาชายแดนใต้ได้ดีขึ้นมากน้อยแค่ไหน เนื่องจากคำอธิบายของฝ่ายนี้ที่มักเน้นไปที่การครอบงำกลืนกลายของรัฐไทยและการกดทับอัตลักษณ์ทางศาสนาและวัฒนธรรม จนนำมาสู่การสร้างความรุนแรงเพื่อตอบโต้โดย “ขบวนการ” นั้น ก็ดูเหมือนว่าจะได้ไปลดทอนความสลับซับซ้อนของชีวิตชาวมลายูมุสลิมให้เหลือแต่เพียงภาพของผู้คนที่ถูกกระทำและถูกกดทับในทางศาสนา วัฒนธรรม และการเมือง อันแตกต่างไปจากภาพชีวิตจริงที่รุ่มรวยและมีสีสันยิ่งของพวกเขา ท่ามกลางความหวาดหวั่นและสะพรึงกลัว ชาวมลายูมุสลิมในพื้นที่ศึกษาของฉันก็มีชีวิตแบบคนธรรมดาที่ไม่ต่างไปจากเราๆ ท่านๆ พวกเขาและเธอทำมาหากิน กรีดยาง ทำนา หาปลา เลี้ยงวัวควาย ค้าขาย รับจ้าง โดยหวังจะมีเงินทองจับจ่ายใช้สอย มีฐานะทางเศรษฐกิจที่ดี มีสิ่งอำนวยความสะดวก มีชีวิตที่มีความสุข นอกจากนั้นในขณะที่มีวัตรปฏิบัติในทางศาสนาที่เคร่งครัด ทั้งการละหมาดตามเวลา การทำบุญ การถือศีลอด การเข้ากลุ่มและชั้นเรียนทางศาสนาเป็นกิจวัตร พวกเขาและเธอก็ดูทีวี ชมกีฬา ติดละคร หากเป็นผู้หญิงก็ชื่นชอบดารา สนใจความสวยความงาม แฟชั่น ผ้าคลุมศีรษะ เครื่องสำอาง เครื่องประดับ ฯลฯ ในขณะที่ข้อเสนอกลุ่มนักวิชาการและภาคประชาสังคม ไม่ว่าจะเป็นการเสนอให้เปิดการเจรจา การยกเลิก พรก.ฉุกเฉิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อเสนอเรื่องเขตปกครองพิเศษ ดูจะเป็นความหวังต่อแก้ปัญหาชายแดนภาคใต้ อย่างไรก็ดี สำหรับผู้คนจำนวนไม่น้อยในหมู่บ้านที่ฉันศึกษา ประเด็นเหล่านี้ดูจะห่างไกลจากชีวิตประจำวันและการคิดคำนึงของพวกเขา ข้อเสนอเรื่องเขตปกครองพิเศษดูจะมีความสำคัญน้อยกว่าการขึ้นลงของราคายางพาราประจำวัน เช่นเดียวกับการลงคะแนนเลือกตั้ง สส. ครั้งที่ผ่านมา ที่นอกจากสายสัมพันธ์ส่วนตัวกับผู้สมัครแล้ว ความวิตกกังวลว่านโยบายการประกันรายได้จะถูกยกเลิกหรือไม่ ดูจะมีน้ำหนักต่อการตัดสินใจลงคะแนนมากกว่านโยบายว่าด้วยจังหวัดชายแดนภาคใต้ของแต่ละพรรคการเมือง ทั้งนี้ มิใช่เป็นเพราะว่าพวกเขาหูหนวกตาบอด หรือให้ความสำคัญเฉพาะแต่กับผลประโยชน์เฉพาะหน้า หากแต่เหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นรอบๆ ตัวนั้น ส่วนใหญ่ดูมืดดำ ลึกลับ และมีเงื่อนงำต่างๆ นาๆ อยู่เบื้องหลัง ยากที่จะรู้ชัดว่าอะไรกำลังเกิดขึ้นกันแน่ ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจที่หลายคนบอกกับฉันอย่างสิ้นหวังว่า “สถานการณ์ภาคใต้ไม่มีทางจบ ไม่มีทางแก้ได้ เราก็ต้องทนอยู่กันไปอย่างนี้ ขออันตรายอย่าเกิดกับเราและครอบครัวก็พอ” ฉันมีความหวังว่าเพื่อนๆ และผู้คนในพื้นที่ศึกษาของฉันจะสามารถมีชีวิตที่เป็นปกติสุข ไม่ต้องอยู่กับหวาดกลัว มีฐานทรัพยากรและการประกอบอาชีพที่มั่นคง รวมทั้งสามารถดำรงชีวิตได้ตามแนวทางที่พวกเขารู้สึกภาคภูมิใจทั้งในทางโลกและทางศาสนา อย่างไรก็ดี ความหวังเหล่านี้ดูยากที่จะเป็นจริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งตราบเท่าที่ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวปัญหาชายแดนภาคใต้ยังอยู่ภายใต้ในกรอบของความมั่นคงของรัฐ ตราบเท่าที่ปัญหาชายแดนภาคใต้ยังไม่ถูกเชื่อมโยงว่าเป็นเรื่องเดียวกับปัญหาการเมืองระดับชาติ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอำนาจของกองทัพและสถาบันหลัก ปัญหาความไม่เท่าเทียมเป็นธรรมในการบังคับใช้กฎหมายและในกระบวนการยุติธรรม ที่ได้เกิดขึ้นกับผู้ด้อยโอกาสกลุ่มอื่นๆ ในประเทศไทยด้วย ตลอดจนตราบเท่าที่ชุดการอธิบายและข้อเสนอทางออกของนักวิชาการและภาคประชาสังคมยังมิได้หมายรวมถึงเรื่องราวและความรู้สึกนึกคิด และความมุ่งหวังในชีวิตของชาวมลายูมุสลิมที่รุ่มรวย หลากหลาย และซับซ้อน อันพ้นไปจากภาพชาวมลายูมุสลิมที่ถูกลดทอนความซับซ้อนให้เป็นเพียงแบบใดแบบหนึ่งเท่านั้น [บทความนี้ตีพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกในคอลัมน์ คิดอย่างคน ในหนังสือรายสัปดาห์ มหาประชาชน ประจำวันที่ 25 พฤศจิกายน - 1 ธันวาคม 2554] สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
'สนนท.' ย้ำต้องแก้ไขกม.หมิ่นฯ -ปฏิรูประบบตุลาการ Posted: 30 Nov 2011 06:34 AM PST 'สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย' ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 2 แจงแนวทางแก้ไขกฎหมายหมิ่นฯ ร้องผู้อำนาจต้องเปิดพื้นที่ให้มีการถกเถียงอย่างกว้างขวางในสาธารณะ พร้อมยกเลิกการให้ข้อมูลแก่ประชาชนเพียงด้านเดียว เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2554 สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) ได้ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 2 เกี่ยวกับแนวทางแก้ไขกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ โดยเรียกร้องให้มีการทำประชาพิจารณ์เกี่ยวกับกฎหมายดังกล่าว รวมทั้งตั้งคณะกรรมการที่มาจากประชาชนเพื่อทบทวนและแก้ไขกฎหมายอาญามาตรา 112 นอกจากนี้ สนนท. ยังชี้ว่าต้องให้มีการปฏิรูประบบตุลาการเพื่อให้มีความโปร่งใสและมีอำนาจที่ยึดโยงกับประชาชนมากขึ้นด้วย 0000 แถลงการณ์ฉบับที่ ๒ ด้วยสภาพปัญหาของกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในปัจจุบัน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๑๒ซึ่งได้บัญญัติไว้ว่า “ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี องค์รัชทายาทหรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี” ซึ่งเกิดจากการแก้ไขเพิ่มเติมในช่วงหลังเหตุการณ์ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ โดยคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินฉบับที่ ๔๑ นำมาสู่การนำไปใช้ทำลายคู่ต่อสู้การเมือง และนำไปสู่ความขลาดของระบบตุลาการจนเกิดเหตุการณ์ที่เรียกว่าตุลาการภิวัฒน์ในที่สุด จนละเลยหลักการประชาธิปไตยสากล จากสภาพการณ์ของประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๑๑๒ ดังกล่าว พวกเราได้มองเห็นปัญหาดังนี้มีปัญหาดังต่อไปนี้ ๑. ปัญหาที่มาของกฎหมาย ดังที่กล่าวมาแล้วว่ากฎหมายนี้เกิดมาจากคำสั่งคณะปฎิรูปการปกครองในปี ๒๕๑๙ บ่งบอกว่ากฎหมายดังกล่าวไม่ได้มีความเป็นประชาธิปไตยเลยแม้แต่น้อย เนื่องมาจากหนึ่งกฏหมายนี้ถูกบัญญัติโดยกลุ่มคนที่กระทำรัฐประหารซึ่งเห็นได้ชัดว่าเป็นการกระทำที่ผิดหลักประชาธิปไตย ไม่มีประเทศใดในโลกที่ยอมรับการยึดอำนาจของประชาชนเช่นนี้ ๒. การแช่แข็งปัญหาเรื่อยมาของตัวกฎหมาย อันนำมาสู่การใช้ข้อหานี้มาโจมตีผู้ที่เห็นต่างทางการเมือง เสมือนเป็นเครื่องมือเพื่อรับใช้ระบอบเก่า และสิ่งเหล่านี้ถูกทำให้รับรู้แต่เพียงวงแคบในสังคมทำให้กฎหมายนี้ถูกนำมาใช้กลั่นแกล้งผู้ที่เห็นต่างอย่างไม่เป็นธรรม โดยในสภาพปัจจุบันที่ความคิดของผู้คนมีความหลากหลายจนเกิดการตั้งคำถามและวิพากษ์วิจารณ์กฎหมายหมิ่นฯ ยิ่งเป็นผลให้กฎหมายดังกล่าวถูกนำไปใช้ในการปิดหูปิดตาและปิดปากคนเหล่านี้ยิ่งขึ้น อันเห็นได้จากสถิติการพิพากษาคดีด้วยมาตราดังกล่าวในรอบ ๕ ปีที่มีจำนวนสูงกว่า ๕๐๐ คดี ๓. ปัญหาความไร้เสถียรภาพ อันนำมาสู่ความอ่อนแอและความขลาดของระบบตุลาการในประเทศไทย เมื่อกระบวนการได้มาของตัวแทนประชาชนในการพิพากษาคดีไม่ได้มีความยึดโยงกับประชาชน จึงทำให้ระบบตุลาการถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือโดยกลุ่มคนเพียงบางกลุ่มที่สถาปนาตัวเองให้มีอำนาจเหนือกว่าประชาชน สิ่งเหล่านี้ทำให้ระบบตุลาการไร้เสถียรภาพในด้านการบริหารงานของตัวผู้พิพากษาที่จะพิจารณาคดีด้วยความโปร่งใส นำมาสู่ความอ่อนแอของตุลาการไทย ที่ไม่มีความกล้าในการทำให้คดีมีความโปร่งใสและยุติธรรม อันนำมาซึ่งการตีความของศาลที่ไม่เป็นไปตามหลักสากล ๔. การละเลยหลักการประชาธิปไตยสากลของกฎหมายอาญามาตรา ๑๑๒ เพราะองค์ประกอบของหลักประชาธิปไตยนั้นต้องประกอบไปด้วย หลักอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน หลักความเสมอภาค หลักสิทธิเสรีภาพ หลักนิติรัฐ และหลักการเสียงข้างมากแต่ต้องเคารพเสียงส่วนน้อย หลักการเหล่านี้เป็นหลักสากลที่มนุษย์ทุกคนพึงมี แต่กฎหมายหมิ่นฯมาตรา ๑๑๒ ได้ละเลยหลักการดังกล่าวไปอย่างสิ้นเชิง เห็นได้จากการกำหนดโทษของกฎหมายที่สูงเกินจริง และการตีความของกฎหมายที่มีลักษณะครอบจักรวาล อีกทั้งกระบวนการประกันตัวก็ยังครุมเครือและไม่เท่าเทียม
ด้วยสภาพปัญหาดังกล่าว ทางสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) จึงขอเสนอแนวทางเพื่อแก้ไขปัญหาและหาทางออกให้กับสังคมไทยเพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้งอันนำไปสู่เหตุการณ์นองเลือดอย่างที่เคยเกิดขึ้นแล้วในประวัติศาสตร์ ดังนี้ ๑. เราขอเรียกร้องให้มีการทบทวนและแก้ไขกฎหมายอาญามาตรา ๑๑๒ อย่างจริงจัง ทั้งนี้การทบทวนและแก้ไขควรมีการทำประชาพิจารณ์จากภาคประชาสังคม และควรตั้งคณะกรรมการที่ประกอบด้วยตัวแทนจากทางภาครัฐและภาคประชาชน โดยผู้ที่จะมาเป็นตัวแทนดังกล่าว ต้องมาจากการทำประชามติโดยประชาชนทั้งประเทศ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความโปร่งใสในกระบวนการทบทวนและแก้ไขกฎหมาย อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้เกิดบรรยากาศอันเป็นประชาธิปไตยที่แท้จริงในสังคมไทย ๒. เราขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายเร่งเร้าและผลักดันให้ปัญหานี้ออกสู่สาธารณะชนอย่างกว้างขวางโดยเร็ว เนื่องด้วยการกดขี่ของผู้ที่ใช้อำนาจนอกระบบยังดำเนินอยู่ในสังคมไทยอย่างไม่ลดละ ทำให้เกิดความแตกแยกในหมู่ประชาชนอย่างรุนแรง การใช้กฎหมายอาญามาตรา ๑๑๒ มาโจมตีผู้ที่มีความคิดเห็นต่างทางการเมืองนับวันยิ่งทวีเพิ่มมากขึ้น เราได้ตระหนักถึงปัญหาเหล่านี้และเห็นควรว่าถ้าปัญหาเหล่านี้ไม่ถูกเปิดเผยออกสู่สาธารณะโดยเร็ว ปัญหาเหล่านี้จะยิ่งทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นจนยากเกินจะแก้ไขเยียวยา และอาจนำไปสู่การนองเลือดอย่างที่เคยเกิดขึ้นแล้วในประวัติศาสตร์ไทยครั้งแล้วครั้งเล่า การผลักดันปัญหาเหล่านี้ให้เป็นไปตามข้อที่หนึ่งจึงมีความจำเป็นยิ่ง เพื่อลดความขัดแย้งของสังคมไทยที่นับวันจะยิ่งเพิ่มมากขึ้น ๓. เราขอเรียกร้องให้มีการปฏิรูประบบตุลาการ โดยการทำให้ระบบตุลาการมีความยึดโยงกับประชาชนอย่างแท้จริง ทั้งกระบวนการสรรหาและการตีความทางกฏหมายของระบบตุลาการต้องคำนึงหลักสิทธิเสรีภาพสากล และต้องมีความโปร่งใสในการที่จะตรวจสอบได้อย่างบริสุทธิ์ยุติธรรมอีกทั้งต้องตั้งอยู่บนหลักนิติรัฐนิติธรรม มิใช่ตัดสินโดยใช้อคติส่วนตัวโดยไม่คำนึงถึงหลักสากล ทั้งนี้รวมไปถึงสิทธิการประกันตัว และสิทธิอื่นๆที่ผู้ต้องหาพึงได้รับ ๔. เราขอเรียกร้องให้ผู้มีอำนาจ เปิดพื้นที่ทางความคิดเพื่ออภิปรายประเด็นปัญหาอันแหลมคมนี้อย่างกว้างขวางทั้งในสื่อ และวงการการศึกษากระแสหลัก เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และตระหนักรู้ถึงปัญหา อีกทั้งยังจะช่วยให้เกิดการถกเถียงอภิปรายอย่างเป็นรูปธรรมในทางสาธารณะ มิใช่เอาแต่ปิดกั้นและริดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชน และขอให้เลิกการให้ข้อมูลข่าวสารเพียงด้านเดียวอันจะนำไปสู่ความแตกแยกของสังคมไทย การนำประเด็นปัญหาเหล่านี้ออกสู่สาธารณะจะเป็นการเปิดพื้นที่ทางความคิด เสริมสร้างการเรียนรู้ทางด้านสิทธิเสรีภาพและหน้าที่พลเมือง อันจะนำไปสู่ความร่วมมือร่วมใจในการแก้ไขปัญหาในสังคมไทยอย่างแท้จริง สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) หวังเป็นอย่างยิ่งว่าปัญหาและข้อเสนอข้างต้นจะได้รับการพิจารณาจากทางภาครัฐและภาคประชาชนทุกภาคส่วนต่างๆ เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในสังคมไทยอย่างจริงจัง และนำไปสู่เส้นทางแห่งประชาธิปไตยอย่างแท้จริง มิใช่การการปิดกั้นเสรีภาพทางความคิดอย่างที่ดำเนินอยู่ในปัจจุบัน มิใช่การจำกัดสิทธิพลเมืองและไร้ซึ่งความโปร่งใสของกระบวนการยุติธรรม ความยุติธรรมที่ตั้งอยู่บนหลักสิทธิเสรีภาพสากลจะต้องบังเกิดในประเทศที่อ้างว่าปกครองระบอบประชาธิปไตยเสียที ด้วยจิตคารวะ สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
กวีตีนแดง:อากง...คือก้านไม้ขีดไฟ Posted: 30 Nov 2011 06:24 AM PST อากงสู้...พวกเราก็จะสู้ รอยัลลิสต์ไม่มีหัวใจ รอยัลลิสต์ไม่มีหัวใจ อากง...ยืนยันสู้ด้วยใจซื่อ เพียงชายชราสามัญ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
Posted: 30 Nov 2011 05:13 AM PST | |
เจ้าชาย “อากิชิโน” มีพระดำริให้กำหนด “อายุเกษียณ” สำหรับจักรพรรดิญี่ปุ่น Posted: 30 Nov 2011 03:23 AM PST เจ้าชาย "อากิชิโน" พระราชโอรสในสมเด็จพระจักรพรรดิ ทรงเสนอให้กำหนดอายุเกษียณ เนื่องมาจากพรรษาที่มากขึ้นและพลานามัยที่อ่อนแอของพระจักรพรรดิ หลายฝ่ายมองว่า เป็นวิธีหนึ่งเพื่อรักษาสถาบันกษัตริย์ให้อยู่ได้ในโลกสมัยใหม่ วันนี้ (30 พ.ย. 54) ผู้จัดการออนไลน์รายงานจากเอเอฟพีว่า เจ้าฟ้าชายอากิชิโนแห่งญี่ปุ่นทรงพระดำริให้กำหนดอายุเกษียณสำหรับพระจักรพรรดิ หลังจากพระราชบิดาทรงพระประชวร และต้องประทับรักษาพระองค์ที่โรงพยาบาลเป็นเวลาหลายวัน เจ้าชายอากิชิโน พระราชโอรสองค์รองในสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะและจักรพรรดินีมิจิโกะ ทรงมีพระดำรัสพระราชทานต่อผู้สื่อข่าว ก่อนจะถึงวันคล้ายวันประสูติครบ 46 พรรษา “ข้าพเจ้าคิดว่าเป็นสิ่งจำเป็น” พระองค์ตรัสตอบ เมื่อผู้สื่อข่าวทูลถามเกี่ยวกับพระดำริที่ให้กำหนดอายุเกษียณสำหรับจักรพรรดิญี่ปุ่น พระดำรัสของเจ้าชายอากิชิโนที่เผยแพร่ผ่านสื่อญี่ปุ่นในวันนี้ (30 พ.ย.) มีขึ้น หลังจากที่พระจักรพรรดิซึ่งมีพระชนมายุ 77 พรรษา ทรงหายจากอาการประชวร และกลับมาปฏิบัติพระราชกรณียกิจได้อีกครั้ง เจ้าชายตรัสว่า “คนเราเมื่อวัยล่วงเลยมาถึงระดับหนึ่ง ก็ยากที่จะทำหลายสิ่งหลายอย่างได้ ข้าพเจ้าคิดว่านั่นคือประเด็นสำคัญ” ที่สมควรให้มีการกษียณอายุสำหรับพระมหากษัตริย์ และทรงแนะให้ทุกฝ่ายหารือเรื่องนี้โดยละเอียด ไม่บ่อยนักที่พระบรมวงศานุวงศ์ญี่ปุ่นจะมีพระดำรัสต่อสาธารณชนในเรื่องการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกิจการที่เกี่ยวเนื่องกับพระราชวงศ์เอง อย่างไรก็ดี พระดำรัสของเจ้าชายอากิชิโนนับว่าประจวบเหมาะกับช่วงเวลาที่ญี่ปุ่นกำลังแสวงหาวิธีปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ให้ดำรงอยู่ได้ในโลกยุคใหม่ เจ้าชายฮิซาฮิโตะ โอรสของเจ้าชายอากิชิโนในวัย 5 ชันษา ทรงเป็นทายาทชายเพียงพระองค์เดียวที่ประสูติในราชวงศ์อิมพีเรียลในรอบหลายทศวรรษ ซึ่งสร้างความหวั่นวิตกแก่กลุ่มอนุรักษ์นิยมที่ยึดถือการสืบสันตติวงศ์ผ่านรัชทายาทที่เป็นชาย หลังจากสถานะเทวราชาของจักรพรรดิสูญสิ้นไปพร้อมกับสงครามโลกครั้งที่ 2 จักรพรรดิญี่ปุ่นจึงทรงมีบทบาทแต่ในเชิงพิธีการในฐานะที่ทรงเป็นประมุขรัฐ แม้กระนั้นชาวญี่ปุ่นก็ยังถวายความเคารพต่อสถาบันพระจักรพรรดิอย่างลึกซึ้งเสมอมา เดือนที่แล้ว จักรพรรดินีมิจิโกะทรงแสดงความกังวลเกี่ยวกับพระพลานามัยของพระจักรพรรดิ แต่ก็ตรัสด้วยว่า ทรงยืนเคียงข้างพระราชสวามีระหว่างที่คณะแพทย์ถวายคำแนะนำ จักรพรรดิอากิฮิโตะทรงรับการผ่าตัดมะเร็งพระอัณฑะ เมื่อปี 2003 และปัจจุบันก็ยังทรงรับการรักษาอยู่เป็นระยะ พระองค์มิได้เสด็จฯออกในพิธีต้อนรับกษัตริย์และราชินีแห่งภูฏานเมื่อกลางเดือนที่ผ่านมา ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่ไม่ทรงร่วมงานเลี้ยงต้อนรับแขกของรัฐบาล นับตั้งแต่ทรงขึ้นครองราชย์ต่อจากจักรพรรดิฮิโรฮิโตะ เมื่อปี 1989
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
You are subscribed to email updates from ประชาไท To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น