ประชาไท | Prachatai3.info |
- รวันดา: ภายใต้กระบวนการยุติธรรมที่ปราศจากความยุติธรรม (9 )
- วิพากษ์รางวัลดีเด่นสิทธิมนุษยชน พ.ศ.2555
- พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์: พรรคเพื่อไทยกับขบวนคนเสี้อแดง
- กองทุนหลักประกันสุขภาพ ควรได้รับงบประมาณเพิ่มขึ้น
- กองทุนหลักประกันสุขภาพ ควรได้รับงบประมาณเพิ่มขึ้น
- ASEAN Weekly: เปิดมิติเนปิดอว์เมืองหลวงใหม่พม่า
- คุยกับ ‘จรัญ โฆษณานันท์’: เส้นทางวิบากของสิทธิมนุษยชน (แบบไทยๆ)
- 'ผู้สื่อข่าวไร้พรมแดน' เผยรายงานปี 2012 ชี้นักข่าวตายมากที่สุดในรอบ 15 ปี
- ซีพีทุ่มสามพันล้านเตรียมผลิตข้าวครบวงจรเพื่อการส่งออก
- มูลนิธิแมกไซไซออกจม.-‘จอน’ จี้อาเซียนกดดันลาวกรณี NGO หายตัวลึกลับ
- เส้นทางสู่มหาวิทยาลัยเพื่อสังคม (แบบไทยๆ)
- ‘ภรรยาเจ้าของรางวัลแมกไซไซ’ เผยมีภาพสามีที่ป้อมตำรวจก่อนหายตัวไป ร้องรัฐบาลลาวเร่งสอบ
- “ลูกเผด็จการ” VS ประธานาธิบดีหญิงคนแรกของเกาหลี: 2 ความทรงจำคู่ขนานของ ปัก กึน เฮ
- ไทยขื่นขัน อันหาที่สิ้นสุดมิได้ "เชิดชูเกลียด"
- TCIJ สัมภาษณ์ ‘นิธิ เอียวศรีวงศ์’: แก้รัฐธรรมนูญ…เราจะอยู่กันอย่างไร?
รวันดา: ภายใต้กระบวนการยุติธรรมที่ปราศจากความยุติธรรม (9 ) Posted: 20 Dec 2012 01:27 PM PST หลังจากสงครามกลางเมืองหลายฝ่ายเชื่อว่าความยุติธรรมจะเป็นก้าวแรกที่นำไปสู่กระบวนการประนีประนอมต่อกัน ดังนั้นในเดือนเมษายนปี 1995 ประมานหนึ่งปีหลังจากสงครามสิ้นสุดลง รัฐบาลใหม่ได้จับกุมประชาชนมากกว่า 7 หมื่นคนซึ่งเป็นพลเรือนในข้อหาเกี่ยวกับการเข้าไปเกี่ยวข้องในการกระทำรุนแรงต่อชีวิตของประชาชนโดยใช้ระยะเวลาเพียงเดือนเศษเท่านั้น แต่การจะลงโทษผู้ที่ถูกจับกุมกลายเป็นหนึ่งในอุปสรรคใหญ่ที่สุดที่ทำให้สถานการณ์ความขัดแย้งไม่อาจบรรเทาลงได้ เนื่องจากพลเรือนที่ถูกจับ 7 หมื่นคนไม่มีใครได้รับการพิจารณาคดีในศาล การพิจารณาโทษถูกเลื่อนออกไปอย่างต่อเนื่องและไม่มีกำหนด ทั้งนี้เพราะรัฐบาลก่อนหน้านี้ได้หลบหนีไปจากรวันดาพร้อมกับเงินตราของประเทศเป็นส่วนใหญ่ บุคลากรที่เคยมีก็อพยพหนีภัยไปต่างประเทศ ทำให้ขาดแคลนบุคลากรทางกฎหมาย และขาดแคลนงบประมาณในการจัดการดังกล่าว นอกจากนั้นรัฐบาลก็เริ่มลังเลใจที่จะเริ่มกระบวนการพิจารณา เพราะมีแนวโน้มว่าการจับกุมประชาชนซึ่งเกี่ยวข้องกับการสังหารหมู่ชาวตุ๊ดซี่และชาวฮูตูหัวไม่รุนแรงกลายเป็นหนึ่งในปัญหาหลักที่ผู้นำกลุ่มแนวหน้าผู้รักชาติรวันดา (Rwandan Patriotic Front-RPF) กังวลซึ่งอาจเป็นไปได้ว่ากระบวนการพิจารณาคดีจะยิ่งเป็นชนวนนำไปสู่การต่อสู้อีกครั้งหนึ่ง ดังนั้นผู้ต้องหาชาวฮูตูจึงได้ล้นที่คุมขังจำนวนมากมาก ในช่วงเวลาที่ชาวตุ๊ดซี่กลับมามีอำนาจอีกครั้งนั้นมีผู้พิพากษาเพียง 36 คนและอัยการอีก 14 คนและมีผู้ช่วยอัยการเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่พอจะสามารถรับมือกับคดีความได้ จากข้อมูลของการเฝ้าสังเกตของนักสิทธิมนุษยชนในแอฟริกา (Human Rights Watch/Africa – HRW/A) มีเพียงอัยการ 3 คนจากจำนวนที่มีอยู่ได้รับการฝึกฝนทางกฎหมายอย่างถูกต้อง ซึ่ง HRW/A คาดการณ์ว่าระบบตุลาการของรวันดาจะต้องการผู้พิพากษาจำนวน 700 คนเพื่อที่จัดการเรื่องเหล่านี้ให้สำเร็จลงได้ นอกจากนั้นการขาดแคลนพนักงานสอบสวนก็เป็นปัญหาในกระบวนการยุติธรรมเช่นเดียวกัน เพราะเมื่อเดือนเมษายน ปี 1995 ทั้งรวันดามีจำนวนพนักงานสอบสวน เพียง 26 คนเท่านั้น และไม่มีใครที่มีพาหนะที่จะใช้เดินทางไปยังที่เกิดเหตุเพื่อดำเนินการสอบสวนได้เลย HRW/A คาดว่าหากจะดำเนินการสอบสวนเรื่องดังกล่าวก่อนนำคดีไปฟ้องต่อศาลนั้น จำเป็นต้องมีพนักงานสอบสวนจำนวนประมาณ 750 คน ซึ่งแต่ละคนจะต้องมีพาหนะเพื่อเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่สอบสวนเหตุการณ์ดังกล่าวด้วย การที่ประชาชนจำนวนมากถูกจับเกิดสภาพผู้ถูกคุมขังล้นคุก กลายเป็นปัญหาที่น่ากังวลของทุกฝ่าย กลุ่มนักสิทธิมนุษยชนนานาชาติแนะนำว่าทนายความที่มีความสามารถควรจะเข้ามาทำหน้าที่ในกระบวนพิจารณา และยังแนะนำต่อไปอีกว่ากระบวนการยุติธรรมต่างๆที่เกิดขึ้นจะต้องเป็นไปอย่างรวดเร็วเพื่อให้สภาพการเป็นผู้ต้องขังพัฒนาเป็นนักโทษโดยเร็ว หรือหากเป็นผู้บริสุทธิ์จะได้ปล่อยตัวกลับบ้านโดยเร็วเช่นกัน ผู้สังเกตการณ์จำนวนมากกลัวว่าการจับกุมและการพิจารณาคดีที่ล่าช้าและปราศจากความยุติธรรมจะทำให้เกิดความรุนแรงครั้งใหม่ อย่างไรก็ตามยังมีการกล่าวกันว่าถึงแม้ว่าบุคคลใดที่ได้รับการพิจารณาแล้วว่าบริสุทธิ์จนได้รับการปล่อยตัวไปแล้ว พวกเขาก็ยังคงมีเป้าหมายในการล้างแค้นอยู่ องค์กรเอกชนหลายองค์กรได้เข้าตรวจสอบการระวังความปลอดภัยและสิทธิมนุษยชนของเด็กซึ่งถูกจับจากการมีส่วนร่วมในการก่อความรุนแรง เด็กเหล่านี้หลายคนที่ถูกคุมขังพร้อมๆกับพ่อแม่ญาติผู้ใหญ่ของตน HRW/A แนะว่าใครก็ตามที่อายุต่ำกว่า 16 ปี ควรจะอยู่ในที่คุมขังแยกต่างหากจากผู้ใหญ่เพื่อความปลอดภัย ขณะที่รัฐบาลรวันดาเป็นผู้รับผิดชอบในการจับกุมและคุมขังประชาชนจำนวน 7 หมื่นคน ส่วนศาลอาชญากรรมสหประชาชาติเพื่อรวันดา (UN's International Criminal Tribunal for Rwanda) เป็นผู้ดำเนินการพิจารณาลงโทษผู้นำทางทหารและนักการเมืองในข้อหาการสังหารหมู่ประชาชนและการกระทำอันละเมิดสิทธิมนุษยชน กลุ่มชาติผู้นำสหประชาชาติเชื่อว่าการก่อตั้งคณะกรรมการนานาชาติจะช่วยรวันดาแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างชนเผ่าลงได้ และเป็นการสื่อความหมายให้ทราบทั่วกันว่าการก่อความรุนแรงที่เกิดขึ้นต่อมนุษยชาติเป็นสิ่งที่นานาชาติไม่สามารถยอมรับได้อีก ศาลอาชญากรรมสหประชาชาติรวันดา ตั้งอยู่ที่แทนเซเนียและแยกต่างหากจากระบบตุลการของรวันดา เริ่มพิจารณาคดีเมื่อเดือนพฤศจิกายน ปี 1995 ซึ่งในช่วงแรกศาลยังไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีผู้นำทางทหาร ผู้นำทางการเมืองจำนวนน้อยที่ถูกนำขึ้นสู่การพิจารณา และศาลก็ไม่ประสบความสำเร็จในการลงโทษบุคคลที่เชื่อว่าก่อความรุนแรง กระบวนการพิจารณาดำเนินไปอย่างเชื่องช้าเพราะว่าสมาชิกหลายคนของรัฐบาลก่อนหน้านี้ได้หนีออกจากประเทศไปอยู่หลบอยู่ประเทศอื่นๆทั่วโลก HRW/A จึงแนะนำให้ประเทศทั้งหลายเหล่านั้นจับกุมผู้นำชาวรวันดาที่ต้องสงสัยว่าเป็นผู้ใช้อำนาจฝ่าฝืนสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรงกลับรวันดา เมื่อเดือนตุลาคม ปี 1995 HRW/A ประณามพฤติกรรมของประธานาธิบดีเคนยา นายดาเนียล อารับ มอย (Daniel Arap Moi )ที่ยอมให้ชาวรวันดาดังกล่าวลี้ภัยในเคนยา และยังอ้างว่ามอยได้ข่มขู่ที่จะจับกุมเจ้าหน้าที่ของศาลอาชญากรรมสหประชาชาติหากพวกเขาได้เดินทางเข้าเคนยาเพื่อสอบสวนหรือเข้ามาจับกุมผู้ต้องสงสัยชาวรวันดา แต่เมื่อถูกกดดันจากนานาชาติต่อมาเมื่อปี 1997 เคนยาเป็นหนึ่งในหลายประเทศที่ให้ความช่วยเหลือศาล โดยการจับกุมและส่งตัวผู้นำที่ต้องสงสัยว่ากระทำผิดรวมถึงนายกรัฐมนตรีของรัฐบาลรักษาการณ์ ชอง คามบานดา (Jean Kambanda)และผู้ต้องสงสัยอีก 7 คนกลับรวันดา ส่วนประเทศอื่นซึ่งช่วยเหลือในการจับกุมบุคคลที่เชื่อว่าใช้อำนาจละเมิดสิทธิมนุษยชนและสังหารหมู่ได้แก่ คาเมรูน สวิตเซอร์แลนด์ อเมริกา แซมเบียและเบลเยียม เมื่อต้นปี 1997 หลังจากที่รวันดาได้รับเงินช่วยเหลือนานาชาติมากขึ้น จึงมีเครื่องไม้เครื่องมือในกระบวนการยุติธรรมมากขึ้นและมีบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเข้ามาแทนที่ ศาลก็เริ่มที่จะทำงานได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เมื่อกลางปี 1997 มีหลายคดีที่ได้นำไปสู่การพิจารณา เมื่อเดือนพฤษภาคมปี 1998 ชอง คามบานดา (Jean Kambanda)สารภาพว่าได้กระทำผิดจริงในข้อหาสังหารหมู่และยินยอมที่จะให้การถึงบุคคลอื่นที่ช่วยเหลือในการวางแผนการสังหารเมื่อปี 1994 ด้วย ระบบตุลาการรวันดาถูกขยายและได้รับเงินช่วยเหลือยังคงเดินหน้าต่อไป เมื่อปี 1997 กรมตุลาการได้รับความช่วยเหลือจากต่างชาติและมีผู้พิพากษา 910 คนที่สามารถพิจารณาคดีได้ เมื่อกลางปี 1997 จากข้อมูลของ HRW/A ศาลรวันดาได้พิจารณาไป 142 คดีซึ่งมีบุคคลถูกตัดสินว่ากระทำผิดจริง 73 คนและถูกส่งไปจำคุก มีประชาชนจำนวน 61 คนถูกตัดสินว่ากระทำผิดและถูกลงโทษประหารชีวิต และ 8 คนที่ตัดสินว่าไม่มีความผิดและถูกปล่อยตัว การพิจารณาคดียังคงดำเนินต่อไปตลอดปี 1997 และ 1998 และเมื่อวันที่ 24 เมษายน 1998 รัฐบาลรวันดาได้เริ่มประหารชีวิตบุคคลที่ถูกตัดสินว่ามีความผิดในการมีส่วนร่วมในเหตุการณ์สังหารเมื่อปี 1994 ทั้งที่ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์จากประชาคมโลกเพราะเริ่มเห็นเค้าลางว่าการพิจารณาอาจไม่ชอบธรรม แต่ศาลก็ยังสั่งลงโทษและประชาชนจำนวน 22 คนก็ถูกประหารชีวิต การเพิ่มขึ้นของจำนวนบุคลากรในระบบตุลาการเป็นที่ต้องการและเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะว่ารัฐบาลรวันดายังดำเนินการจับกุมประชาชนอยู่อย่างต่อเนื่องซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวฮูตู นักโทษกว่า 1 แสนคนยังคงถูกคุมขังตลอดทั่วทั้งประเทศและอาจใช้เวลาเป็นสิบปีที่จะพิจารณาบุคคลที่ถูกจับทั้งหมด นอกเหนือจากนั้นจากการสังเกตการณ์ของประชาคมโลกพบว่าข้อผิดพลาดหลายอย่างได้เกิดขึ้นในระบบตุลาการของรวันดา การรายงานขององค์การนิรโทษกรรมสากลเมื่อปี 1998 พบว่าการละเมิดสิทธิมนุษยชนได้เกิดขึ้นหลายครั้งตลอดปี 1997 และ 1998 ภายใต้รัฐบาลรวันดา สมาชิกของกองทหารและเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลกลุ่มอื่นๆได้จับกุมประชาชนโดยไม่มีอำนาจทางกฎหมาย แต่รัฐบาลยังควบคุมตัวบุคคลเหล่านี้โดยใช้เวลานาน และไม่มีการตั้งข้อกล่าวหาไม่มีการพิจารณาคดี จากข้อมูลของ HRW/A เมื่อปลายปี 1997 ประชาชนจำนวน 40% ในคุกและ 80% ของบุคคลที่ถูกควบคุมตัวอยู่ในที่อื่นๆยังไม่ได้รับการตั้งข้อกล่าวหาใดๆ การเลื่อนการพิจารณาคดีอย่างต่อเนื่องในตัวมันเองเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนตามกฎหมายสิทธิมนุษยชนของนานาชาติ ยิ่งนักโทษชาวรวันดายังถูกจำคุกในสภาพทารุณโหดร้าย เช่น ในคุกที่นักโทษล้นหลามแออัดยัดเยียด และต้องทนทุกข์ทรมานจากการถูกทุบตี ความอดอยาก และการได้รับปฏิบัติอย่างไร้มนุษยธรรมอีกหลายรูปแบบ ทั่วทั้งประเทศได้หันมาใช้กระบวนการยุติธรรมที่ปราศจากความยุติธรรมในการจัดการกับชาวฮูตู หลายๆฝ่ายอาจคิดไปได้ว่านี่เป็นรูปแบบใหม่ที่สอดคล้องต่อกฎหมายในการจัดการกับชาติพันธ์ฮูตู ชนหมู่มากในรวันดา ที่มีสถานะเป็นชนชั้นล่างของสังคมมาอย่างยาวนานตามที่ชาวตุ๊ดซี่ยัดเยียดให้เป็น จากข้อมูลขององค์กรสิทธิมนุษยชนนานาชาติ บุคคลที่ถูกจับกุมหลายคนได้รับการพิจารณาอย่างไม่เป็นธรรม ซึ่งเป็นเรื่องผิดปกติเป็นอย่างมากที่บุคคลซึ่งถูกตั้งข้อหาสังหารหมู่ถูกดำเนินคดีโดยไม่มีทนายความ ช่วยเหลือในการแก้ข้อกล่าวหา เพราะรัฐบาลอ้างว่าไม่สามารถจัดหาทนายความและที่ปรึกษากฎหมายให้แก่ประชาชนทั้งหมดได้ และทนายความก็มีจำนวนไม่พอแก่ความต้องการ ประกอบกับการว่าความแก้ต่างให้บุคคลที่ถูกตั้งข้อหาว่าสังหารหมู่ประชาชนหรือละเมิดสิทธิมนุษยชน เป็นงานที่อันตราย เพราะทนายความคนหนึ่งได้หายไปเมื่อปี 1997 หลังจากตัดสินใจจะว่าความแก้ต่างให้แก่ผู้ต้องสงสัยว่าสังหารหมู่ นอกจากนั้นยังคงมีรายงานจากหลายพื้นที่ว่าประชาชนได้ขู่เข็ญ ทำร้ายผู้พิพากษาและพยานผู้รู้เห็นด้วย ฐานะของนักโทษ การคุมขังนักโทษในสภาพที่ไม่ถูกสุขลักษณะต้องทุกข์ทรมานจากสภาวะที่กลัวความตาย โรคภัยและจากความหิวโหย ภาวะนักโทษล้นคุกส่งผลให้นักโทษเสียชีวิตจำนวน 250 – 300 ต่อเดือน ผู้ต้องสงสัยจากการก่อความรุนแรงเมื่อปี 1994 จะถูกคุมขังรวมกับนักโทษในคดีความผิดสถานเบา เด็กกว่า 300 คนซึ่งต้องสงสัยว่าก่อการฆาตกรรมก็ถูกคุมขังที่เดียวกับผู้ใหญ่ ไม่ว่าจะมีองค์กรช่วยเหลือต่างๆเข้ามาทำการปรับปรุงสถานการณ์ที่เป็นอยู่ให้ดีขึ้น แต่เรือนจำในรวันดาก็ยังคงอยู่สภาพแออัดเหมือนเดิม จึงมีการกล่าวกันว่าสิ่งที่ชาวฮูตูได้รับคือกระบวนการยุติธรรมที่ปราศจากความยุติธรรม..........
*บทความแบ่งเป็น 10 ตอน โดยแปลสรุปจาก World in conflict. Rawanda : country torn apart. และนำมาเรียบเรียงใหม่เพิ่มเติมเนื้อหาบางส่วนเพื่อความเข้าใจง่ายขึ้น อ้างอิง : Bodnarchuk, Kari. World in conflict. Rawanda : country torn apart . Manufactured in the United States of America. By Lerner Publications Company ………………………………………………………………………
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
วิพากษ์รางวัลดีเด่นสิทธิมนุษยชน พ.ศ.2555 Posted: 20 Dec 2012 01:23 PM PST เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2555 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ได้มอบรางวัลสิทธิมนุษยชนแก่บุคคลหลายคน ในจำนวนนี้มีอยู่ 3 คนที่ผมเห็นว่าขัดสายตาเป็นอย่างมาก เพราะไม่ใช่เป็นผู้มีบทบาทเด่นด้านสิทธิมนุษยชนอย่างแท้จริง อย่างไรก็ตามผู้เขียนไม่ได้เห็นว่าผู้ได้รับรางวัลเป็นคนเลว ไม่สมควรได้รับ เพียงแต่ไม่ได้มีผลงานสมควรได้รับเท่านั้น กรณีพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี คำอธิบายคุณสมบัติในการรับรางวัลที่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนมีสั้นเพียงเท่านี้ ในความเป็นจริงคำสอนของพระทั้งหลายก็เกี่ยวข้องกับการสร้างสันติในใจคน การเคารพสิทธิซึ่งกันและกัน (ไม่เบียดเบียนกัน) อยู่แล้ว แต่ไม่มีอะไรที่เกี่ยวข้องกับนิยามสิทธิมนุษยชนแต่อย่างใด การตีความแบบครอบจักรวาลเช่นนี้ พระหรือบุคคลอื่นอีกมากมายที่มีผลงานการสอนธรรมะเด่นกว่าพระวุฒิชัยก็ควรมีสิทธิ์ได้รางวัล กรณีคุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ นอกจากนี้ยังบอกมีผลงานมากมายสุดท้ายก็ยกตัวอย่างมาได้แค่ "การพิสูจน์สารพันธุกรรมเพื่อหาความสัมพันธ์ทางครอบครัว การพิสูจน์บุคคลสูญหายและศพนิรนาม เป็นผู้ริเริ่มการจัดทำฐานข้อมูลสารพันธุกรรมชาติ ข้อมูลดีเอ็นเอ ฐานข้อมูลผู้เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนใต้" ซึ่งก็เป็นงานที่เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องก็ต้องทำ (ได้) ทั้งนั้น ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับสิทธิมนุษยชนเด่นชัด ส่วนเหตุผลสุดท้ายก็คือ "รวมทั้งร่วมกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติและวุฒิสภา จัดทำโครงการตรวจหาสารทางพันธุกรรมของผู้ไร้สัญชาติ . . ." ลำพังการร่วมงานกับคณะกรรมการสิทธิฯ ไม่น่าจะเป็นประเด็น ไม่เช่นนั้นอาจกลายเป็นประเด็นประโยชน์ทับซ้อน เลือกที่รักมักที่ชังไปหรือไม่ กรณีของนายวีระ สมความคิด นอกจากนั้นยังบอกว่า "และจากเหตุการณ์ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ ต้องหนีภัยการเมืองเข้าไปอยู่ในป่าได้อุปสมบทระยะหนึ่ง หลังจากออกจากป่าได้บวชเป็นเวลานานถึง ๕ ปี เมื่อเกิดเหตุการณ์พฤษภาทมิฬในปี ๒๕๓๕ ได้ร่วมกับสมาพันธ์ประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ รสช. ขับไล่รัฐบาล จนถูกจับคุมขังเป็นเวลา ๓ วัน และได้รับการปล่อยตัวในเวลาต่อมา" วีรกรรมข้างต้นไม่ได้เกี่ยวอะไรกับสิทธิมนุษยชนเลย ที่จงใจบิดเบือนก็คือ "เมื่อปี 2539 ได้ร่วมก่อตั้ง "กลุ่มพิทักษ์สิทธิเสรีภาพของประชาชน" ขึ้น เพื่อตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ เนื่องจากเห็นว่าผู้มีอำนาจใช้อำนาจรัฐ โดยไม่เคารพสิทธิคนและมีการทุจริต . . ." คำว่า "ไม่เคารพสิทธิคน" ที่เขียนไว้ข้างต้น เป็นภาษาฟุ่มเฟือย ภาษาขยะ ไม่ต้องมีก็อ่านเข้าใจได้ และเข้าใจได้ว่าไมได้เกี่ยวข้องกับเรื่องสิทธิมนุษยชนแต่อย่างใด นายวีระตั้งกลุ่มนี้เพราะเป็นศัตรูทางการเมืองของทักษิณต่างหาก ที่ตีความคำว่า "สิทธิมนุษยชน" อย่างบิดเบือนร้ายแรงที่สุดก็คือ การกล่าวว่า "ก่อตั้งองค์กรภาคประชาชนในนาม "เครือข่ายประชาชนต้านคอรัปชั่น" ได้ช่วยเหลือราชการตรวจสอบการคอรัปชั่นมากกว่า 1,500 เรื่อง สามารถป้องกันไม่ให้สูญเสียงบประมาณแผ่นดินได้จำนวนมาก เพราะถือว่าการทุจริตคอรัปชั่นเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน จนมีผลงานเป็นที่ประจักษ์แก่สาธารณชน" การตีความตีขลุมคำว่าสิทธิมนุษยชนแบบครอบจักรวาลนี้ เป็นสิ่งที่สมควรแล้วหรือ การพยายามตีขลุม ตีความคำว่าสิทธิมนุษยชนแบบครอบจักรวาลเพียงเพื่อหาทางมอบรางวัลแบบขัดสายตาประชาชนเช่นนี้ เป็นการทำลายแนวคิด "สิทธิมนุษยชน" ที่บริสุทธิ์ เพราะถูกใช้เป็นแค่เครื่องมือ นอกจากนี้ยังทำให้ผู้รับไม่สง่างาม ทำให้ผู้ให้และองค์กรที่ให้มัวหมอง และเสียชื่อเสียงประเทศชาติหรือไม่ โปรดพิจารณา
หมายเหตุ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์: พรรคเพื่อไทยกับขบวนคนเสี้อแดง Posted: 20 Dec 2012 01:18 PM PST ในระยะปีกว่ามานี้ นับแต่พรรคเพื่อไทยชนะเลีอกตั้งได้จัดตั้งรัฐบาล แนวโน้มประการหนึ่งในหมู่คนเสื้อแดง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คนเสื้อแดงปัญญาชนในเมือง คือความไม่พอใจ กระทั่งผิดหวังต่อรัฐบาลพรรคเพื่อไทยที่มิได้ดำเนินมาตรการต่อสู้กับฝ่ายจารีตนิยมอย่างแข็งขันดังที่เคยตั้งความหวังไว้ ความไม่พอใจหลายประการที่มีต่อพรรคเพื่อไทยนั้น มีเหตุผลสมควร เช่น การที่พรรคเพื่อไทยยอมถอย ไม่เดินหน้าประชุมสภาลงมติวาระ 3 แก้ไขรัฐธรรมนูญ ม.291 เพื่อให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ การไม่แสวงหาความจริงอย่างถึงที่สุดเกี่ยวกับการฆ่าหมู่ประชาชนเมื่อเมษายน-พฤษภาคม 2553 การผลักดัน พ.ร.บ.ปรองดองแห่งชาติที่มุ่ง "นิรโทษกรรมเหมาเข่ง" โดยไม่แยกแยะ การไม่ดำเนินการอย่างเต็มที่เพื่อช่วยเหลือนักโทษการเมืองตาม ป.อาญา ม.112 เป็นต้น ทั้งหมดนี้สะท้อนถึงความอ่อนแอ โลเล และหวาดกลัวของแกนนำพรรคเพื่อไทย แต่ความไม่พอใจหลายประการต่อพรรคเพื่อไทยเป็นความเข้าใจผิดในหมู่คนเสื้อแดง อันเป็นผลสะเทือนทางลบของวาทกรรม "นักการเมืองชั่ว" ที่เผยแพร่โดยพวกจารีตนิยม อิทธิพลของอุดมการ์ณสังคมนิยมในอดีต และความไม่เข้าใจในขีดจำกัดของพรรคเพื่อไทยภายใต้ระบอบรัฐธรรมนูญ 2550 พวกจารีตนิยมได้ระดมโฆษณาชวนเชื่อ ตอกย้ำวาทกรรม "นักการเมืองชั่ว" มานานหลายสิบปี ให้ผู้คนเชื่อว่า ความเลวร้ายทั้งปวงในประเทศไทยเกิดจากนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง ที่ใช้เงินซี้อเสียงจากประชาชนผู้โง่เง่า แล้วเข้ามาเสวยอำนาจ ทุจริตคอรัปชั่น ทำลายชาติบ้านเมือง ปัญหาทั้งปวงในปัจจุบันล้วนชี้นิ้วไปที่ "นักการเมืองชั่ว" ทั้งนี้ก็เพื่อเน้นให้เห็นด้านตรงข้ามว่า พวกจารีตนิยมต่างหากที่เป็น "คนดี ขาวสะอาด สูงส่ง" เป็นที่พึ่งแต่เพียงประการเดียวของสังคม ผู้ปกครองและผู้บริหารบ้านเมืองจึงต้องเป็นกลุ่มคนที่มาจาก "คนดี" ที่พวกจารีตนิยมส่งมาเพื่อแก้ไขปัญหาบ้านเมือง อุดมการณ์สังคมนิยมยุค 2520 ก็สอดคล้องกับวาทกรรมดังกล่าวของพวกจารีตนิยมอย่างพอดิบพอดี ด้วยความเกลียดชังระบบทุนนิยมและชนชั้นนายทุนโดยรวม ในระบอบรัฐสภาและการเมืองแบบเลือกตั้ง พรรคการเมืองขนาดใหญ่ล้วนเป็นพรรคของนายทุน อุดมการณ์สังคมนิยมมองว่า ชนชั้นนายทุนเป็นพวกโลเล เดิน "แนวทางปฏิรูป" ไม่อาจไว้ใจได้และทรยคหักหลัง พวกสังคมนิยมจึงเต็มไปด้วยความเกลียดชังและหวาดระแวงนายทุน และถือว่า "เป็นศัตรูในขั้นสุดท้าย"ก่อนบรรลุประชาธิปไตยและสังคมนิยม" อารมณ์ความคิดดังกล่าวยังคงมีอิทธิพลในหมู่คนเสื้อแดงปัญญาชนปัจจุบันจำนวนหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พวกที่เคยเป็น "คนเดือนตุลาฯ" อารมณ์เกลียดชังนักการเมืองดังกล่าวสะท้อนออกในหมู่คนเสื้อแดงปัญญาชนบางส่วนที่เสนอแนวคิดสุดขั้วถึงขั้นถือเอาพรรคเพื่อไทยเป็นศัตรู เช่น ความเชื่อที่ว่า "พรรคเพื่อไทยทรยศหักหลังขายคนเสื้อแดงไปแล้ว" "พรรคเพื่อไทยรับงานพวกเผด็จการมาปราบคนเสื้อแดง" "คนเสื้อแดงจะต้องต่อสู้ขับไล่พรรคเพื่อไทย" หรือ "คนเสื้อแดงต้องจัดตั้งพรรคการเมืองของตนเอง" เป็นต้น อารมณ์ความเกลียดชังนายทุนของพวกสังคมนิยมนี้เองที่เป็นคำอธิบายสำคัญประการหนึ่งว่า เหตุใดปัญญาชนเดือนตุลาฯส่วนข้างมากในปัจจุบันจึงเลือกอยู่ข้างเผด็จการจารีตนิยม สำหรับคนพวกนี้แล้ว แม้อุดมการณ์สังคมนิยมจะได้ล่มสลายไปแล้ว แต่ความเกลียดชังทุนนิยมและนายทุนก็ยังคงอยู่ จึงได้ถือเอาพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรและเครือข่ายเป็นตัวแทนของ "นายทุน" ที่พวกเขาเกลียดชังอยู่นั่นเอง ที่สำคัญ คนเสื้อแดงจำนวนมากไม่เข้าใจในขีดจำกัดของแกนนำพรรคเพื่อไทย ในเบื้องต้น ทั้ง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรและเครือข่ายล้วนเติบโตทางเศรษฐกิจและการเมืองขึ้นมาภายใต้อิทธิพลของพวกจารีตนิยม พวกเขาต้องแบ่งปันผลประโยชน์และประนีประนอมกับพวกจารีตนิยมมาตลอดหลายปี รวมทั้งถูกครอบงำทางความคิดและจิตสำนึกอย่างลึกซึ้งมาเช่นเดียวกับบุคลากรทั้งหลายในกลไกอำนาจรัฐ คนพวกนี้แม้จะขัดแย้งกับกลุ่มจารีตนิยมสักเพียงไร แต่ก็ไม่เคยคิดที่จะตัดขาดหรือแตกหักเลยแม้แต่น้อย แนวทางของพวกเขาจึงเป็นการ "สู้เพื่อบีบให้ต่อรอง" ไปทีละขั้นเท่านั้น ยิ่งกว่านั้น เครื่องมือต่อสู้ที่สำคัญที่สุดของพวกเขาก็ยังเป็นพรรคการเมืองภายใต้ระบบการเมืองแบบเลือกตั้งภายใต้โครงครอบของจารีตนิยมอีกด้วย ซึ่งในปัจจุบันก็คือ ระบอบรัฐธรรมนูญ 2550 พรรคเพื่อไทยเป็นพรรคการเมืองที่จดทะเบียนภายใต้กฎหมายพรรคการเมืองในกรอบรัฐธรรมนูญ 2550 ถูกมัดมือมัดเท้าด้วยกฎหมายและองค์กรต่าง ๆ ที่มุ่งแยกสลายพรรคการเมืองให้อ่อนแอและไม่เป็นอันตรายต่อพวกจารีตนิยม เป้าหมายหลักของพรรคเพื่อไทยจึงเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ 2550 คือหาเสียงและชนะเลือกตั้ง พรรคเพื่อไทยจึงไม่ใช่ "พรรคปฏิวัติ" ดังที่ใครหลายคนต้องการ ความคาดหวังหลายประการของคนเสื้อแดงบางส่วนต่อพรรคเพื่อไทยจึง "เกินจริง" เช่น การแก้ไขรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ การปฏิรูปกฎหมายป.อาญา ม.112 แม้กระทั่งการลงนามในอนุสัญญาว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ เพราะสิ่งเหล่านี้ล้วนเกินกว่าระบอบรัฐธรรมนูญ 2550 ทั้งสิ้น และยิ่งไม่มีทางกระทำได้ภายใต้สภาวะที่พวกจารีตนิยมยังคงกุมอำนาจรัฐที่แท้จริงอยู่ ภาระหน้าที่ของพรรคเพื่อไทยจึงไม่ใช่การ "เปลี่ยนระบอบ" แต่เป็นการชนะเลือกตั้ง เข้ากุมอำนาจบริหาร ดำเนินนโยบายเท่าที่จะทำได้ที่เป็นคุณต่อประชาธิปไตยทั้งเฉพาะหน้าและระยะยาว เปิดพื้นที่ให้ขบวนประชาธิปไตยได้มีที่ยืนและขยายตัวโดยสะดวกในภาวะสันติ ต้านหรือชะลอการรุกของพวกเผด็จการที่จะทำลายขบวนประชาธิปไตยเท่าที่จะทำได้ รวมทั้งปฏิรูปแก้ไขกฎหมายและรัฐธรรมนูญไปในทิศทางประชาธิปไตยมากขึ้นตามดุลกำลังทางการเมืองที่เป็นจริง ขบวนคนเสื้อแดงควรเข้าใจว่า ประชาธิปไตยที่แท้จริงนั้นจะได้มาก็ด้วยความทุ่มเทและอดทนของขบวนคนเสื้อแดงที่เป็นพลังหลัก ดำเนินการต่อสู้นอกสภาด้วยกำลังของตนเอง ประสานกับการต่อสู้ในสภาผ่านพรรคเพื่อไทย แต่จากประสบการณ์ในประวัติศาสตร์ทั่วโลก การบรรลุประชาธิปไตยที่แท้จริงนั้นจะได้มาก็ด้วยชัยชนะขั้นเด็ดขาดภายนอกสภาเป็นเงื่อนไขเบี้องต้น ส่วนการแก้ไขกฎหมายและปฏิรูปรัฐธรรมนูญนั้น ก็เป็นเพียงการทำให้ชัยชนะนอกสภานั้น กลายเป็นรูปแบบทางการของระบอบการเมืองเท่านั้น ดังนั้น ท่าทีของขบวนคนเสื้อแดงต่อพรรคเพื่อไทยจึงต้องมีลักษณะที่เข้าใจขีดจำกัดของพวกเขาและมีความยืดหยุ่นตามสถานการณ์ที่เป็นจริง ซึ่งก็คือ ต้องสนับสนุนให้พวกเขายืนหยัดต้านพวกเผด็จการ ดำเนินมาตรการทุกประการที่เป็นคุณต่อขบวนประชาธิปไตยเท่าที่จะทำได้ และวิพากษ์วิจารณ์ความอ่อนแอ โลเลและขี้ขลาดของพรรคเพื่อไทยไปพร้อมกัน เปิดโอกาสให้ขบวนประชาธิปไตยได้เติบใหญ่และตระเตรียมกำลังเพื่อการชัยชนะเด็ดขาดที่จะมาถึง
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
กองทุนหลักประกันสุขภาพ ควรได้รับงบประมาณเพิ่มขึ้น Posted: 20 Dec 2012 01:11 PM PST ส่งท้ายปี 2555 รัฐบาลกำลังใช้จ่ายงบประมาณอย่างเมามัน จ่ายทุกอย่างทั้งลดภาษีคนซื้อรถคันแรกทะลุล้านคันแล้ว จ่ายให้จำนำข้าว จ่ายให้กองทุนสตรี อาจมีเซอร์ไพรส์จ่ายเบี้ยยังชีพให้คนสูงอายุ คนพิการเพิ่มขึ้นอีกก็ได้ ทั้งหมดทั้งมวลนี้เป็นการใช้จ่ายงบประมาณจากภาษีประชาชนแบบเป็นนโยบาย แต่ยังไม่มีหลักประกันว่าจะมีการใช้จ่ายอย่างนี้ในปีต่อไปหรือจะยั่งยืนเพียงใด ขณะที่มีเรื่องหนึ่งที่มีกฎหมายรองรับคือ กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่รัฐบาลพยายามจะจำกัดการใช้จ่าย ผลักภาระให้ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศรับไป นั่นคือ การไม่เพิ่มค่าใช้จ่ายรายหัวในการรักษาพยาบาลให้กับกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ทั้งที่เป็นสิ่งที่รัฐดำเนินการมาได้เป็นอย่างดีตลอด 10 ปีตั้งแต่เมื่อ 2545 อ้างว่าเงินเท่าเดิมยังรักษาได้ ซึ่งไม่จริงเลย ยังมีอีกหลายบริการสุขภาพที่ต้องการเพิ่มสิทธิประโยชน์ เช่น สุขภาพผู้หญิง สุขภาพเยาวชน และชุดสิทธิประโยชน์สำหรับผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นประชากรกลุ่มใหญ่ที่อยู่ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อความเป็นธรรมกับประชาชนทุกคน กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจำเป็นต้องจัดให้ผู้หญิงและเยาวชนได้รับบริการด้านสุขภาพทางเพศที่เป็นมิตร ขยายบริการสุขภาพทางเพศให้ครอบคลุมเยาวชน บริการคุมกำเนิด การให้บริการปรึกษาสุขภาพจิต การได้รับการเยียวยาเมื่อได้รับความรุนแรงทางกายหรือการละเมิดทางเพศอย่างรวดเร็ว เป็นมิตร รักษาความลับ ไม่ประทับตรา ตลอดจนการบริการสุขภาพเชิงรุกให้ผู้สูงอายุในครอบครัว ในชุมชน ซึ่งกองทุนหลักประกันสุขภาพจำเป็นต้องได้รับงบประมาณค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น รวมถึงการบริหารระบบแบบเฉลี่ยทุกข์ เฉลี่ยสุข ของกลุ่มคนทุกอายุมาเฉลี่ยกัน รัฐไม่ควรต้องแบกรับภาระเฉพาะกลุ่มเด็ก และสูงอายุ ควรให้วัยแรงงานเข้ามาร่วมเฉลี่ยด้วย ตามที่รัฐกำลังจะช่วยพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศที่จะให้กองทุนหลักประกันสุขภาพดูแลจัดหลักประกันสุขภาพให้ โดยงบประมาณเป็นภาษีที่ท้องถิ่นได้รับอยู่แล้ว หรืออีกแง่หนึ่งคือ รัฐรับผิดชอบจัดบริการหลักประกันสุขภาพให้กลุ่มพนักงานเหล่านี้โดยกันเงินภาษีเท่ากับค่าใช้จ่ายรายหัวของคนเหล่านี้ไว้ก่อนจ่ายให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่นเดียวกัน รัฐควรรับผิดชอบจ่ายให้ผู้ประกันตนในประกันสังคมไปด้วยเลย เพื่อเป็นการให้ความเป็นธรรมและเท่าเทียมกันกับประชาชนทุกคน และจัดบริการชุดสิทธิประโยชน์การรักษาพยาบาลมีมาตรฐานเดียวกัน มีความเท่าเทียมกัน ครอบคลุม และเป็นธรรมกับทุกกลุ่มอายุ เพศ เพศสภาพ เพศวิถี ที่มีความต้องการดูแลสุขภาพที่แตกต่างและเฉพาะเจาะจง นั่นคือ รัฐใช้งบประมาณปีละ 1 แสน 5 หมื่นล้าน ไปจนถึง 2 แสน 5 หมื่นล้านต่อปีในอนาคต เพื่อดูแลรักษา สร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ซึ่งเกิดประโยชน์ต่อสุขภาพของประชาชนทุกคนที่สามารถมีผลิตภาพในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในฐานะแรงงานที่มีสุขภาพ มีคุณภาพ เป็นการลงทุนที่คุ้มค่ามากกว่าการลดภาษีรถคันแรก อย่างแน่นอน เพราะผลประโยชน์ตกกับประชาชนแต่ละคนอย่างแท้จริง เป็นผลระยะยาว ยั่งยืน การมีรถมากขึ้น รังแต่จะส่งผลกระทบเชิงลบในด้านพลังงาน ด้านสิ่งแวดล้อมในระยะยาวมากกว่า ซึ่งจะต้องใช้กว่า 1 แสนล้านในการคืนภาษี
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
กองทุนหลักประกันสุขภาพ ควรได้รับงบประมาณเพิ่มขึ้น Posted: 20 Dec 2012 01:10 PM PST ส่งท้ายปี 2555 รัฐบาลกำลังใช้จ่ายงบประมาณอย่างเมามัน จ่ายทุกอย่างทั้งลดภาษีคนซื้อรถคันแรกทะลุล้านคันแล้ว จ่ายให้จำนำข้าว จ่ายให้กองทุนสตรี อาจมีเซอร์ไพรส์จ่ายเบี้ยยังชีพให้คนสูงอายุ คนพิการเพิ่มขึ้นอีกก็ได้ ทั้งหมดทั้งมวลนี้เป็นการใช้จ่ายงบประมาณจากภาษีประชาชนแบบเป็นนโยบาย แต่ยังไม่มีหลักประกันว่าจะมีการใช้จ่ายอย่างนี้ในปีต่อไปหรือจะยั่งยืนเพียงใด ขณะที่มีเรื่องหนึ่งที่มีกฎหมายรองรับคือ กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่รัฐบาลพยายามจะจำกัดการใช้จ่าย ผลักภาระให้ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศรับไป นั่นคือ การไม่เพิ่มค่าใช้จ่ายรายหัวในการรักษาพยาบาลให้กับกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ทั้งที่เป็นสิ่งที่รัฐดำเนินการมาได้เป็นอย่างดีตลอด 10 ปีตั้งแต่เมื่อ 2545 อ้างว่าเงินเท่าเดิมยังรักษาได้ ซึ่งไม่จริงเลย ยังมีอีกหลายบริการสุขภาพที่ต้องการเพิ่มสิทธิประโยชน์ เช่น สุขภาพผู้หญิง สุขภาพเยาวชน และชุดสิทธิประโยชน์สำหรับผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นประชากรกลุ่มใหญ่ที่อยู่ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อความเป็นธรรมกับประชาชนทุกคน กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจำเป็นต้องจัดให้ผู้หญิงและเยาวชนได้รับบริการด้านสุขภาพทางเพศที่เป็นมิตร ขยายบริการสุขภาพทางเพศให้ครอบคลุมเยาวชน บริการคุมกำเนิด การให้บริการปรึกษาสุขภาพจิต การได้รับการเยียวยาเมื่อได้รับความรุนแรงทางกายหรือการละเมิดทางเพศอย่างรวดเร็ว เป็นมิตร รักษาความลับ ไม่ประทับตรา ตลอดจนการบริการสุขภาพเชิงรุกให้ผู้สูงอายุในครอบครัว ในชุมชน ซึ่งกองทุนหลักประกันสุขภาพจำเป็นต้องได้รับงบประมาณค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น รวมถึงการบริหารระบบแบบเฉลี่ยทุกข์ เฉลี่ยสุข ของกลุ่มคนทุกอายุมาเฉลี่ยกัน รัฐไม่ควรต้องแบกรับภาระเฉพาะกลุ่มเด็ก และสูงอายุ ควรให้วัยแรงงานเข้ามาร่วมเฉลี่ยด้วย ตามที่รัฐกำลังจะช่วยพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศที่จะให้กองทุนหลักประกันสุขภาพดูแลจัดหลักประกันสุขภาพให้ โดยงบประมาณเป็นภาษีที่ท้องถิ่นได้รับอยู่แล้ว หรืออีกแง่หนึ่งคือ รัฐรับผิดชอบจัดบริการหลักประกันสุขภาพให้กลุ่มพนักงานเหล่านี้โดยกันเงินภาษีเท่ากับค่าใช้จ่ายรายหัวของคนเหล่านี้ไว้ก่อนจ่ายให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่นเดียวกัน รัฐควรรับผิดชอบจ่ายให้ผู้ประกันตนในประกันสังคมไปด้วยเลย เพื่อเป็นการให้ความเป็นธรรมและเท่าเทียมกันกับประชาชนทุกคน และจัดบริการชุดสิทธิประโยชน์การรักษาพยาบาลมีมาตรฐานเดียวกัน มีความเท่าเทียมกัน ครอบคลุม และเป็นธรรมกับทุกกลุ่มอายุ เพศ เพศสภาพ เพศวิถี ที่มีความต้องการดูแลสุขภาพที่แตกต่างและเฉพาะเจาะจง นั่นคือ รัฐใช้งบประมาณปีละ 1 แสน 5 หมื่นล้าน ไปจนถึง 2 แสน 5 หมื่นล้านต่อปีในอนาคต เพื่อดูแลรักษา สร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ซึ่งเกิดประโยชน์ต่อสุขภาพของประชาชนทุกคนที่สามารถมีผลิตภาพในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในฐานะแรงงานที่มีสุขภาพ มีคุณภาพ เป็นการลงทุนที่คุ้มค่ามากกว่าการลดภาษีรถคันแรก อย่างแน่นอน เพราะผลประโยชน์ตกกับประชาชนแต่ละคนอย่างแท้จริง เป็นผลระยะยาว ยั่งยืน การมีรถมากขึ้น รังแต่จะส่งผลกระทบเชิงลบในด้านพลังงาน ด้านสิ่งแวดล้อมในระยะยาวมากกว่า ซึ่งจะต้องใช้กว่า 1 แสนล้านในการคืนภาษี
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ASEAN Weekly: เปิดมิติเนปิดอว์เมืองหลวงใหม่พม่า Posted: 20 Dec 2012 11:54 AM PST ASEAN Weekly ตอนพิเศษ จากวงเสวนา "เปิดมิติเนปิดอว์เมืองหลวงใหม่พม่า: ที่มา ที่ไป และที่เป็น" ซึ่งจัดที่ห้องระชุมจุมภฏ-พันทิพย์ อาคารประชาธิปก-รำไพพรรณี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเมื่อวันที่ 19 มิถุนายนที่ผ่านมา โดยการเสวนาดังกล่าวเพื่อเป็นการแนะนำหนังสือ "เนปิดอว์: ปราการเหล็กแห่งกองทัพพม่า (Naypyidaw: The Iron Fortification of Myanmar Armed Forces (Tatmadaw)" ผลงานโดยดุลยภาค ปรีชารัชช ซึ่งปรับปรุงจากงานวิจัยของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย หรือ สกว. เรื่อง "เนปิดอว์: ราชธานีใหม่กับการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง" อนึ่งอาจารย์พรพิมล ตรีโชติ นักวิจัยเชี่ยวชาญเรื่องพม่า ประจำสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาฯ ผู้ล่วงลับได้เขียนบทนำให้กับหนังสือเล่มนี้ด้วย ตอนหนึ่งกล่าวว่า "ประเด็นที่น่าทึ่งสำหรับงานชิ้นนี้อยู่ที่การอธิบายลักษณะทางภูมิศาสตร์ บทบาทความสำคัญของเมืองหลวงใหม่ "เนปิดอว์" อันสัมพันธ์กับนโยบายความมั่นคงของกองทัพพม่าได้อย่างละเอียด จนทำให้เข้าใจระบบคิดของกองทัพพม่าเกี่ยวกับการป้องกันประเทศ ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้ข่าวลือที่ว่าพม่าย้ายเมืองหลวงเพราะเชื่อหมอดู กลายเป็นข่าวลือที่ไม่น่าใส่ใจนักเมื่อเทียบกับการวิเคราะห์ของอาจารย์ดุลยภาค ว่าเนปิดอว์มีความเหมาะสมทางด้านภูมิศาสตร์และยุทธศาสตร์อย่างไรสำหรับกองทัพพม่า นอกจากนี้ ผู้อ่านยังจะได้ตื่นตาตื่นใจไปกับโครงข่ายเมืองใต้ดินและการวางขุมกำลังใต้ดินเพื่อการป้องกันประเทศ ตลอดจนการวางระบบเครือข่ายโทรคมนาคมเพื่อการข่าวทางทหาร ซึ่งถือเป็นเทคโนโลยีขั้นสูงที่หลายคนยังคงคิดไม่ถึงว่าพม่าจะไปได้ไกลถึงเพียงนี้..." โดยก่อนหน้านี้ ประชาไทได้นำเสนอ การอภิปรายโดยวิทยากรจากการเสวนาดังกล่าวได้แก่ ปาฐกถานำ เรื่อง "เมืองหลวงใหม่พม่าในมิติความมั่นคง" โดย พลเอกนิพัทธ์ ทองเล็ก ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนกลาโหม กระทรวงกลาโหม และ "การย้ายราชธานีของพม่าก่อนยุคเนปิดอว์" โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยตอนนี้เป็นการนำเสนอ การอภิปรายหัวข้อ "จากกลุ่มอำนาจเนปิดอว์ถึงประชาคมอาเซียน" โดยเกียรติชัย พงษ์พาณิชย์ คอลัมนิสต์และสื่อมวลชนอิสระ ผู้เขียน "พม่าผ่าเมือง" และการอภิปราย "เนปิดอว์ในบริบทยุทธศาสตร์ของกองทัพพม่า" โดยดุลยภาค ปรีชารัชช คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เกียรติชัย พงษ์พาณิชย์: จากกลุ่มอำนาจเนปิดอว์ถึงประชาคมอาเซียนในพม่ามีคำกล่าวคำหนึ่งพูดมาแต่โบราณว่า "เสือย้ายป่า" คือลักษณะของเสือที่เริ่มมองหาที่ตาย ผมได้เขียนวิเคราะห์การย้ายจากย่างกุ้งไปในเนปิดอว์ ในบทความชิ้นหนึ่งชื่อว่า "เสือย้ายป่า พม่าย้ายเมือง" รายละเอียดของการย้ายเมืองท่านทั้งหลายคงทราบมาแล้ว แต่สิ่งเหล่านี้มีสัญญาณมาให้เห็นมาตั้งแต่ปี 1989 จากการเปลี่ยนชื่อเมืองหลวง ถนนหนทาง เพื่อให้หลีกพ้นจากอำนาจเจ้าอาณานิคมอังกฤษเดิม ทั้งหมดนี้เป็นสัญญาณของการเปลี่ยนแปลงต่อมา ส่วนปัจจัยการย้ายเมืองหลวงของพม่า ประกอบด้วย ปัจจัยหนึ่ง เป็นเรื่องทางยุทธศาสตร์ เพราะตรงจุดกลางของเนปิดอว์ อยู่ระหว่างกลางของย่างกุ้ง และมัณฑะเลย์ ปัจจัยที่สอง ที่ทำให้การย้ายเมืองหลวงมีความจำเป็นก็คือแรงกดดันจากนานาชาติ ระหว่างนั้นจะเห็นว่าการต่อสงครามแบบเอกภาคีที่สหรัฐอเมริกาทำในอิรักและหลายประเทศในตะวันออกกลาง เป็นยุทธศาสตร์หนึ่งซึ่งทำให้เกิดความกลัวว่า ลักษณะอันเดียวกันนั้นจะทำล่วงเลยมาถึงพม่า และปัจจัยที่สาม เป็นเรื่องไสยศาสตร์ ซึ่งหนีไม่พ้นกับการเมืองของพม่ามาโดยตลอด เห็นได้ชัดช่วงปี 1988 แนวคิดไสยศาสตร์มีส่วนเข้ามากำหนดทิศทางการเมืองพม่า ความวุ่นวาย ยุ่งเหยิงในย่างกุ้ง ทำให้กลุ่มอำนาจในย่างกุ้ง ทาสีบ้านทุกบ้านในย่างกุ้งเป็นสีขาว เพื่อลบล้างความมืดดำ เป็นเหตุผลทาไสยศาสตร์ มีเหตุผลด้านไสยศาสตร์มาปรับเปลี่ยนหลายสิ่งหลายอย่างเช่นกรณีการสร้างเขื่อนของจีน ที่รัฐคะฉิ่นที่เมืองผาหม่อ รัฐคะฉิ่น แล้วหยุดชะงัก เป็นเรื่องไสยศาสตร์ หาใช่มาจากคำอธิบายเรื่องการคัดง้างผลประโยชน์ของจีน เพราะปรากฏว่าเมื่อสร้างแล้ว เจองูตัวใหญ่มากเลย เป็นงูเจ้าที่ไม่ยอมให้สร้างเขื่อนนี้ ความเชื่อทางไสยศาสตร์ของพม่าคือจะก่อสร้างไม่ได้ ส่วนคนงานก็เอางูกลับประเทศจีน โดยท่านทั้งหลายอาจไม่รู้ว่าตานฉ่วยและเต็ง เส่ง เกิดวันเดียวกัน และแห่ไปไหว้พระที่พุทธคยาหลังเจองูดังกล่าว สิ่งที่เป็นสัญญาณที่ก่อตัวมาแต่ปี 1989 ก็คือเรื่องเศรษฐกิจ มีการสร้างกฎหมายเพื่อยกเลิกระบบเศรษฐกิจสังคมนิยม และสิ่งหนึ่งที่ต้องทำความเข้าใจคือ นี่เป็นเรื่องเข้าใจได้ไม่ยากนักว่ากลุ่มอำนาจเนปิดอว์เกิดได้อย่างไร เพราะเหตุว่าเราเห็นพม่าในรูปแบบเผด็จการทหารมาแต่ต้น ทั้งนี้หลังจากรับอิสรภาพจากอังกฤษวันที่ 4 มกราคม 1948 เป็นประชาธิปไตยภายใต้การนำของอูนุเพียง 14 ปี และเหตุการณ์ทางการเมืองที่สุดแล้วนำมาซึ่งการปฏิวัติเนวินวันที่ 2 มีนาคม 1962 เปลี่ยนถ่ายอำนาจผ่านช่วงรุ่นต่างๆ ภายใต้ระบอบเผด็จการทหาร มาสู่ซอ หม่อง และตาน ฉ่วย วันที่ 2 เมษายน 1992 นี่คือการก่อตัวของกลุ่มอำนาจเนปิดอว์ จากนั้นแล้วเราจะเห็นการต่อสู้แย่งชิงอำนาจกัน หลังตาน ฉ่วย เข้ามามีอำนาจ และขจัดกลุ่มอำนาจของขิ่น ยุ้นต์ ในปี 2004 สิ่งที่ผมมองการย้ายเมืองจากย่างกุ้งไปเนปิดอว์ คือการ Consolidate (รวบ) กลุ่มอำนาจและฐานอำนาจของตาน ฉ่วย ให้เข้มแข็งมั่นคงขึ้น ปัจจัยทางยุทธศาสตร์ แรงกดดันของนานาชาติ และปัจจัยทางไสยศาสตร์ มีส่วนสำคัญทำให้เกิดการย้ายเมืองหลวงจากย่างกุ้งไปเนปิดอว์ แต่ว่าการสร้างเมืองเนปิดอว์มีผลกระทบอยู่ไม่น้อยกับบางประเทศที่ให้การค้ำจุนกลุ่มอำนาจตานฉ่วยที่เนปิดอว์ เพราะเมื่อย้ายเมืองในปี 2005 กรุงย่างกุ้งและกลุ่มอำนาจเนปิดอว์ไม่ได้บอกต่างประเทศให้รู้เรื่องเหล่านี้เลย พอสร้างเสร็จแล้วก็ประกาศให้เขาย้ายตาม ทำให้จีนไม่พอใจ ในทัศนะของจีนมองด้วยว่าเนปิดอว์ ไม่ได้รับความชอบธรรมอย่างมากมาย ทั้งนี้พม่าจะต้องพึ่งพาจีนอยู่มากในด้านต่างประเทศ เพราะจีนมีสิทธิวีโต้ในสมัชชาความมั่นคงสหประชาชาติ สิ่งที่ทำให้เห็นถึงการรวบรวมอำนาจของเนปิดอว์มาได้แก่ หนึ่ง การร่างรัฐธรรมนูญที่ร่างเสร็จปี 2008 จัดการเลือกตั้งในวันที่ 7 พฤศจิกายน 2010 และปล่อยออง ซาน ซูจีในสัปดาห์ต่อมา การเลือกตั้งทั่วไปของพม่าจะแสดงทิศทางใหม่ที่จะเกิดหลังจากนั้น และเราเห็นว่าการจัดการเลือกตั้งและดำเนินการตามโรดแมปขั้นตอนต่างๆ เป็นส่วนหนึ่งที่จะขจัดการถูกโดดเดี่ยวและเข้ามาสู่ส่วนหนึ่งของชุมชนโลก ส่วนหนึ่งก็คือการเข้ามาเป็นสมาชิกประชาคมอาเซียนในปี 1997 สองเพื่อลดแรงกดดันจากนานาชาติ การจัดการเลือกตั้ง และปล่อยซูจี เป็นเป้าหมายนี้มากกว่า ที่เกิดจากการร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้วมีการเลือกตั้ง คือการมองว่าประชาธิปไตยพม่าจะพัฒนาได้อย่างไร ส่วนการที่ออง ซาน ซูจี ชนะเลือกตั้งซ่อมเมื่อ 1 เม.ย. ที่ผ่านมาเป็นสิ่งที่บ่งชี้ว่าอย่างน้อยมีจุดเล็กๆ ที่จะเกิดจากการเปลี่ยนถ่าย หรือพัฒนาประชาธิปไตยที่เกิดขึ้น แต่นักวิเคราะห์มองว่ามันเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ยาก กับผู้ได้รับเลือกตั้งเพียง 48 ที่นั่งทำอะไรไม่ได้ ยิ่งดูข้อกำหนดในรัฐธรรมนูญพม่า และเห็นในรัฐธรรมนูญที่พม่าร่างขึ้นทั้งปี 1947 ปี 1974 และปี 1989 ทำให้เห็นว่า ความคาดหวังที่ออง ซาน ซูจีจะเข้าไปพัฒนาหรือแก้ไขระบบการเมืองให้พ้นจากระบอบเผด็จการทหารที่ครอบงำอยู่ ซึ่งข้อกำหนดในรัฐธรรมนูญคงคาดหวังได้ยาก คงต้องรอไปถึงสมัยหน้าที่จะมีการเลือกตั้งครั้งใหญ่ คาดหวังว่าพรรคของออง ซาน ซูจี เข้ามาเป็นเสียงข้างมาก จึงจะเกิดการเปลี่ยนแปลงแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่กว่าที่จะเกิดเลือกตั้งครั้งใหม่ การแข่งขันเพื่อแย่งชิงมวลชนในพม่าจะเกิดอย่างเข้มข้น การเดินทางของออง ซาน ซูจีมาไทย บอกสิ่งเหล่านี้ชัดว่าไม่ได้เดินทางผ่านกระทรวงการต่างประเทศไทย ไม่ได้มีเจ้าหน้าที่สถานทูตพม่าต้อนรับขับสู้ สิ่งที่ออง ซาน ซูจีทำก็คือเข้ามาเจอมวลชนในไทย ผลของการมาประชุม World Economic Forum ที่ไทย ทำให้เห็นความแตกแยกในทัศนะเรื่องการพัฒนาระหว่างออง ซาน ซูจีกับกลุ่มอำนาจเนปิดอว์ เราจะสังเกตสุนทรพจน์ที่เธอพูดในการประชุม ที่พูดเรื่องชะลอการยับยั้งชั่งใจในการลงทุนใหม่ในพม่า เพราะเหตุว่าทั้งหมดล่วงรู้ว่าการเข้าไปลงทุนในพม่าว่าเบี้ยบ้ายรายทางที่เกิดขึ้นกับการลงทุนจะเกิดกับอำนาจเนปิดอว์ที่ครอบงำรัฐบาลในร่างพลเรือน และจะไม่มีประโยชน์ในการพัฒนาประเทศเท่าไหร่นัก และการเยือนของออง ซาน ซูจี สร้างความขุ่นเคืองทำให้ประธานาธิบดีเต็ง เส่ง เลื่อนการเดินทางมาเยือนไทยทั้งที่มีข้อตกลง 7 เรื่องที่ต้องทำต่อกัน รวมทั้งโครงการท่าเรือทวายสู่เส้นทางหลักใหญ่ของไทย และไปสู่ท่าเรือการค้าส่งออกทั้งอาเซียนและส่งออกนอกประเทศ เพราะฉะนั้นการหันมาเล่นการเมืองแบบมวลชนก่อนเลือกตั้งจะเป็นไปอย่างเข้มข้นมากขึ้น ทั้งนี้การที่กลุ่มอำนาจเนปิดอว์สามารถรวบอำนาจ และครอบงำเงื่อนไขกฎเกณฑ์ต่างๆ รวมทั้งข้อกำหนดในรัฐธรรมนูญได้นั้น ทำให้เกิดความมั่นใจจนถึงกับเปิดประเทศ และปิดตัวเองจากสังคมโลกไม่ได้ และกระแสเศรษฐกิจของพม่าก็ไม่ได้อยู่ในกระแสเศรษฐกิจของโลก นี่เป็นส่วนหนึ่งที่มีผลที่ทำให้เห็นว่าถึงเวลาต้องเปิดประเทศและเอาออง ซาน ซูจีมาเชื่อมกับสิ่งเหล่านี้ ซึ่งความพยายามเหล่านี้มีมาแต่แรก เช่น เข้าไปเป็นสมาชิกอาเซียน ซึ่งทำให้พม่า ต้องผูกพันกับจรรยาบรรณภูมิภาคในเรื่องต่างๆ ทีเกี่ยวข้อง ทั้งในเรื่องบูรณภาพดินแดน เรื่องการแก้ขัดแย้งโดยสันติวิธี พม่าย่อมมองเห็นประโยชน์ในการเปิดประเทศ ในระยะต่อไปซึ่งจะต้องเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน พม่าน่าจะคิดถึงยุทธศาสตร์เตรียมตัวเข้าสู่ AEC เพราะพม่าในทางยุทธศาสตร์อยู่ระหว่างกลางเชื่อมจีน อินเดีย พม่าจะเป็นตัวแข่งสำคัญของไทยบริเวณอาเซียนตอนบน ในระยะต่อไปในแง่การสร้างศูนย์ Logistic หลังการเป็นประชาคมอาเซียน โดยอาเซียนตอนบนในระยะต่อไปจะเริ่มพัฒนาหลังพม่าเปิดประเทศ อาเซียนมีตัวเชื่อมสำคัญที่จะได้จากการเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ไม่เพียงแต่การขยายตัวและนโยบายการพัฒนาคุนหมิงของจีน ถนนที่เชื่อมจีนจากคุนหมิง มาจ่อที่ อ.เชียงของ จ.เชียงราย และจะเชื่อมไปที่สิงคโปร์กับมาเลเซียแล้ว ซึ่งพม่าได้ประโยชน์จากตรงนี้ และพม่ามองเห็นความสำคัญของการเปิดประเทศ เปิดตัว และเข้าร่วมอยู่ในประชาคมอาเซียน อย่างโครงการทวายก็เกิดแล้ว นอกจากนี้ในอนาคตเราจะเห็นโครงการพัฒนาบนลุ่มแม่น้ำโขง และแม่น้ำคงคาซึ่งพม่าเป็นตัวเชื่อมสำคัญในทางยุทธภูมิศาสตร์ และพม่าจะได้ประโยชน์จากความร่วมมือบนรูปแบบต่างๆ ของภูมิภาคที่ตั้งอยู่บนอ่าวเบงกอล
ดุลยภาค ปรีชารัชช: เนปิดอว์ในบริบทยุทธศาสตร์ของกองทัพพม่ามีความสนใจเรื่องเนปิดอว์และยุทธศาสตร์การทหารของพม่า สมัยที่เป็นนิสิตปริญญาโท สาขาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยช่วงเวลานั้นมีข่าวย้ายเมืองหลวงพม่าใหม่ๆ ในปลายปี 2005 รู้สึกฉงนใจที่แหล่งข่าวในเมืองไทยและในสหรัฐอเมริกาไม่ค่อยให้อรรถาธิบายมากนัก เกี่ยวกับรูปร่างหน้าตาของเมืองหลวงใหม่ แม้กระทั่งสมมติฐานที่มีระบบความน่าเชื่อถือเกี่ยวกับการย้ายเมืองหลวงของรัฐบาลพม่า แรงบันดาลใจขั้นต้นทำให้ผมได้บุกเบิกงานวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท ซึ่งโชคดีที่มีอาจารย์สุเนตร ชุตินทรานนท์ และพรพิมล ตรีโชติเป็นที่ปรึกษา แนวการศึกษาจะไม่ได้เน้นยุทธศาสตร์ทหารโดยรวม เพราะอาจจะยากเกินไปและมีข้อจำกัดด้านเวลา แต่ศึกษาเชิงสหวิทยาการ ดูเหตุปัจจัยแห่งการย้ายเมืองหลวงหลายมิติ ไม่ว่าจะเป็นประวัติศาสตร์ การเมือง การทหาร การพัฒนาประเทศ หรือแม้กระทั่งโหราศาสตร์บางมิติ เลยออกมาเป็นหนังสือในปี 2009 พิมพ์โดยสำนักพิมพ์ White Lotus เกี่ยวกับเนปิดอว์ เมืองหลวงใหม่ของพม่า เมื่อเป็นอาจารย์ของธรรมศาสตร์ก็ขอทุน สกว. ทำเรื่องเนปิดอว์ โดยเน้นเฉพาะยุทธศาสตร์การเมืองและการทหารของกองทัพพม่า มาบัดนี้งานชิ้นนี้ก็เสร็จเรียบร้อย ได้รับการตีพิมพ์โดยความกรุณาของอาจารย์สุเนตร ออกมาเป็นหนังสือ เนปิดอว์: ปราการเหล็กแห่งกองทัพพม่า ในความเป็นจริงแล้วค่อนข้างสวนกระแส กับความรู้ความเข้าใจที่เรามีต่อกระแสพม่าฟีเวอร์ เพราะว่าตอนนี้สื่อมวลชนต่างพุ่งไปที่เศรษฐกิจการค้า การลงทุนพม่า วัฒนธรรมพม่า การยกระดับพม่าเป็นประเทศที่มีมาตรฐานสากล พม่ากับสหประชาชาติ ภาพลักษณ์พม่าดูดีหมด แต่ขณะที่กระแสพม่าในเทรนด์นี้มาแรง แต่เรื่องความมั่นคงถูกตีตกไป รวมถึงสิ่งที่รัฐมนตรีกลาโหมพม่าได้พูดว่ากองทัพพม่าลดระดับความสัมพันธ์กับเกาหลีเหนือเรียบร้อยแล้ว สิ่งเหล่านี้ทำให้ประเด็นเรื่องความมั่นคง ที่นักการทหารควรจะรู้ถูกซุกอยู่ใต้พรม และตีตกกระแสไป แต่ความเป็นจริงนั้นประเด็นนี้มีความหมาย มีความสำคัญต่อยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศพม่า โดยเฉพาะสมัยรัฐบาลทหารชุด SLORC (สภาฟื้นฟูกฎหมายและระเบียบแห่งรัฐ) และ SPDC (สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ) หลัง 1988 เป็นต้นมา เพียงแต่ภาพมายาที่เราเห็นคือมาวันนี้เนปิดอว์เปิดตัวสู่โลกภายนอก ทุกคนอยากไปเที่ยวเนปิดอว์ แต่โซนความมั่นคง โซนกองทัพที่กันส่วนไว้ด้านเทือกเขาฉานจะมีสักกี่คนที่ได้ยล กองทัพภาคเนปิดอว์จะมีสักกี่คนที่ได้เห็น ซึ่งนี่เป็นตัวตนของเนปิดอว์ปราการเหล็กแห่งกองทัพพม่า การทำความเข้าใจเหตุปัจจัยการย้ายเมืองหลวง ต้องเข้าใจเหตุกดทับภายใน และแรงกดดันจากภายนอก โดยใช้จุดตัดในช่วงปี 1988 ซึ่งมีการลุกฮือ 8888 ช่วงเวลานั้นมีความหมายต่อโลกทัศน์ทางยุทธศาสตร์ของกองทัพพม่าอย่างสูง สืบเนื่องจากว่าช่วงปี 1988 ผังเมืองของกรุงย่างกุ้งเริ่มทำพิษในการจัดการม็อบ หรือการบริการความขัดแย้ง ฝูงชนจำนวนมากตะลุมบอนเข้าปิดล้อมสถานที่ราชการ และมีฐานซ่องสุมกำลังอยู่ใกล้กับสถานที่ราชการ จึงสุ่มเสี่ยงต่อการจารกรรมข้อมูล ช่วงเวลานั้นกองทัพตกอยู่ในสภาวะคับขันทางยุทธศาสตร์ แม้กระทั่ง บก.กลาโหมที่ย่างกุ้งก็ถูกปิดล้อมเป็นปฐมบทแห่งความน่ากลัวของเหตุการณ์ 8888 สัมพันธ์กับช่วงเวลาเดียวกันนายพลซอว์ หม่อง กล่าวถึงการปรากฏตัวของเรือบรรทุกเครื่องบินของสหรัฐอเมริกาพร้อมเรือรบอีก 4 ลำในเขตอ่าวเมาะตะมะ นับจากเหตุการณ์นั้นเป็นต้นมาดูเหมือนภัยคุกคามทั้งภายในและภายนอกเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้รัฐบาลพม่าจัดวางหรือสร้างผลิตผลทางยุทธศาสตร์ความมั่นคงเพื่อรับมือกับภัยคุกคามที่ไม่พึงปรารถนาเป็นห้วงๆ ไม่ว่าจะเป็นการปรับภูมิทัศน์ผังเมืองของกรุงย่างกุ้งใหม่ มีการย้ายวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยย่างกุ้งเข้าไปอยู่ชานเมืองเพื่อตัดขาดกิจกรรมระหว่างนักศึกษาและประชาชน มีการสร้างสะพานลอยหลายแห่งหลังจากนั้นไม่นานมีการลุกฮือของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยเป็นระลอก แต่ฝูงชนก็ต้องตกใจเมื่อเห็นทหารพม่ายืนอยู่บนสะพานลอยและเล็งปืนเข้าใส่ฝูงชน นี่คือผลิตผลของปราการเหล็กที่ปรับไว้ที่ย่างกุ้ง ขณะเดียวกันกองทัพพม่าก็ปรับหลักนิยมและยุทธศาสตร์หลายประการ มีทั้งการให้ความสำคัญกับ Conventional warfare หรือสงครามตามแบบ และ Asymmetric warfare หรือสงครามอสมมาตร มีการกำหนดหลักนิยมเน้นป้องกันประเทศ ใช้กองทัพบก เรือ อากาศ ระดมสรรพกำลังขับไล่ข้าศึก แต่ก็มีการให้ความสำคัญกับสงครามจรยุทธ์ในการตีขับหน่วงข้าศึกจนข้าศึกย่นระย่อและถอยออกไป ให้ความสำคัญกับการป้องกันแนวลึกเพื่อรับมือกับข้าศึก โดยเฉพาะหากมีการรุกทางทะเล ขณะเดียวกันในช่วงทศวรรษ 1990 ลงมามีปัญหาในการสร้างรัฐ สร้างชาติ โดยเฉพาะยุทธศาสตร์การพัฒนาในพื้นที่ชนบทและพื้นที่ชายแดนซึ่งเต็มไปด้วยฐานที่มั่นของกองกำลังชนกลุ่มน้อย แน่นขนัด อุ่นหนาฝาคั่ง และทำให้อำนาจในส่วนกลางที่ย่างกุ้งโบกสะบัดไปไม่ถึง ด้วยเงื่อนไขแรงกดจากภายใน และแรงบีบคั้นทางยุทธศาสตร์จากภายนอกนี้เองเป็นผลิตผลอย่างหนึ่งให้พม่าหรือกองทัพพม่าปรับเปลี่ยนและสร้างนวัตกรรมทางภูมิรัฐศาสตร์ หนึ่งในนั้นคือการเบิกหาศูนย์อำนาจแห่งใหม่ที่กรุงเนปิดอว์ เหตุผลการย้ายเมืองหลวงไปเนปิดอว์หากมองในเชิงของนักการทหารเราจะพบได้เลยว่ากรุงย่างกุ้ง สภาพผังเมืองมีความสุ่มเสี่ยงแม้รัฐบาลพม่าจะจัดระเบียบหลายระลอก แต่จะเห็นว่ามรดกจากเหตุการณ์ 8888 ยังคงดำรงอยู่ในกลุ่มทหาร การเกิดการปรากฏตัวของสถานทูตหลายแห่ง การตั้งสถานีข่าวกรองทางการสื่อสารในสถานทูตตะวันตกบางแห่ง และสถานทูตเหล่านี้เชื่อมต่อกับนักข่าวต่างประเทศทำให้การจัดเก็บข้อมูลรั่วไหลออกสู่ภายนอก และประชาชนหรือฝูงชนมักตั้งถิ่นฐานสะเปะสะปะกับสถานที่ราชการ การพบปะระหว่างราชการกับประชาชนนั้นถือว่ามีความหลากหลวมไม่รัดกุมแน่นหนาเท่าไหร่นัก นี่อาจเป็นเหตุผลหนึ่งในการเปิดพื้นที่ใหม่ วางเลย์เอาท์ผังเมืองใหม่ วางระบบความมั่นคงเข้าไปใหม่ รวมถึงการใส่ประชากรเช่น ข้าราชการ พลเรือน ประชากร และกองทัพ ที่แยกส่วนพอสมควร เพื่อให้ง่ายต่อการควบคุมหรือสั่งการ นี่กระมังเป็นการเกิดขึ้นของกรุงเนปิดอว์ขึ้นมา ระยะแรกการย้ายเมืองหลวงผ่านไปอย่างเงียบเชียบ ทูตตะวันตกก็แทบจะไม่ค่อยรู้ถึงการย้ายเมืองอย่างจริงจัง จนกระทั่งเวลาผ่านมาแล้ว นี่ก็ประมาณเกือบ 7 ปี เนปิดอว์ถึงค่อยเปิดสู่โลกภายนอก เพราะฉะนั้นลับลวงพราง 7 ปีย้อนหลัง สะท้อนยุทธศาสตร์ของพม่าได้พอสมควรทีเดียว ในเรื่องของการป้องกันการลุกฮือ เราได้เห็นผังเมืองของเนปิดอว์ ที่ถูกเนรมิตอย่างวิจิตรพิสดาร มีการสร้างโซนอพาร์ทเมนท์เพื่อให้ข้าราชการอยู่อาศัยและง่ายต่อการควบคุมและสั่งการ ตอนนี้ทุกคนเริ่มไปเที่ยวเนปิดอว์ได้ แต่ส่วนกองทัพหรือ บก.กระทรวงกลาโหมแยกไปในโซนตะวันออกของเนปิดอว์ มีการ สร้างคลังสรรพาวุธเก็บในภูเขา เพราะฉะนั้นเราจะเห็นการแบ่งโซนของกรุงเนปิดอว์ชัดเจนว่าส่วนที่เป็นศูนย์ราชการคล้ายเมืองปุตราจายาจะอยู่ทิศตะวันตก ส่วนเขตเมืองเก่าที่พลเมืองเป็นเกษตรกรจะอยู่ที่เมืองเปียงมะนา ส่วนโซนทหารอยู่ติดทะเลสาบเขื่อนเยซิน เราจะเห็นการสร้างถนนขนาด 8 ถึง 20 เลน ซึ่งมีคุณค่าทางยุทธศาสตร์ นักสถาปนิกชาวอินเดียที่เดินทางไปเยือนเนปิดอว์ได้กล่าวชื่นชอบในการวางถนน แม้เมืองนี้จะมีลักษณะเป็นผีหลอกไม่ค่อยมีประชากรแน่นขนัด เหมือนกรุงย่างกุ้ง หรือการาจีที่ปากีสถานก่อนย้ายไปยังอิสลามาบัด แต่การแบ่งถนนมากมายขนาดนี้ การประท้วงหรือลุกฮือที่เนปิดอว์คงสร้างความเหนื่อยยากให้ฝูงชนอย่างยิ่งยวด ประชาชนไม่สามารถปิดล้อมถนนได้อย่างที่ทำได้ที่ย่างกุ้ง แต่ประชาชนจะถูกล้อมกรอบด้วยกองพลรถถังที่มีอัตราเคลื่อนที่เร็ว เหตุการณ์นี้เห็นได้ชัดในปี 2007 ฝูงชนประท้วงที่ย่างกุ้ง แต่รัฐบาลพม่าไม่ล้ม พล.อ.อาวุโส ตาน ฉ่วย นอนสบายอยู่ที่กรุงเนปิดอว์ปลอดภัยจากฝูงชนที่เป็นคู่ปรปักษ์ทางการเมือง ในเชิงยุทธศาสตร์ทางการทหาร ควรเข้าใจแรงกดทับจากภายนอก ในช่วงทศวรรษ 1990 พม่าดำรงสภาพเป็นระบอบเผด็จทหาร ช่วงนั้นมีเสียงกดดันจากการรุกรานจากต่างประเทศพอสมควร ไม่ว่าจะเป็นผู้ปกครองซาอุดิอาระเบียเรียกร้องให้สหประชาชาติส่งกำลังล้มระบอบทหารพม่า เพราะโรฮิงยาถูกขับจากรัฐอาระกัน ด้านประธานาธิบดีจอร์จ บุช ของสหรัฐอเมริกาบอกว่าพม่าเป็นรัฐนอกคอก มีพฤติกรรมที่คุกคามพม่าผ่านสถานการณ์ในอิรักและอัฟกานิสถาน ตรงนี้สัมพันธ์กับหลักนิยมทางทหารของกองทัพพม่าที่ให้ความสำคัญกับการตั้งรับในแนวลึก คือการย้ายฐานบัญชาการทางทหารบริเวณเขตชายฝั่ง กลับเข้าไปสู่พื้นที่ตอนในโอบล้อมด้วยขุนเขาและแนวป่า เหมือนสมัยสงครามเวียดนามที่มีการใช้อุโมงค์กู๋จีรบกับสหรัฐอเมริกา ใช้เป็นตัวตั้งมั่นแล้วเปิดโหมดสงครามจรยุทธ์ เราจะเห็นได้ชัด ภาพถ่ายดาวเทียมกรุงเนปิดอว์ยิ่งใหญ่อลังการมาก ผมคิดว่าบางทีอาจจะตกเป็นเป้าหมายการโจมตีจากภายนอกได้ง่าย แต่สำหรับ โซนทหารกลับมีการถอนกอง บก. และสิ่งก่อสร้างทางการทหารเข้า ไปในเขตเทือกเขาฉาน เจาะถ้ำ ชั้นผาแล้วใส่คลังสรรพาวุธ และสิ่งก่อสร้างทางทหารเข้าไป แสดงให้เห็นหลักนิยมทางการทหารที่กองทัพพม่าให้ความสำคัญกับสงครามจรยุทธ์พอสมควร หากพม่ารุกทางทะเล การรุกนั้นแม้ช่วงเวลาก่อนปี 2005 สหรัฐอเมริกาจะเน้นหนักในสมรภูมิอิรักและอัฟกานิสถาน แต่ความพึงระวังทางยุทธศาสตร์ก็เป็นสิ่งที่เสนาธิการทหารพม่าคิดไว้ ทำเลของมันพิสูจน์ได้พอสมควร หามีการยกพลขึ้นบกจากรัฐอาระกัน ต้องเดินทัพผ่านเมืองอาร์ม ซึ่งพม่าย้ายกอง บก. ทางทหารจากซิตตะเหว่ เข้าไปในเมืองอาร์ม ไกลจากชายฝั่ง แม้กระทั่งหากข้าศึกพิชิตเมืองนี้ได้ ก็ต้องข้ามเทือกเขาอาระกัน แม่น้ำอิระวดี และเจอแนวเทือกเขาพะโคอีก ก่อนจะเหยียบเนปิดอว์ได้ หากรุกมาทางใต้แป๊บเดียวก็ยึดย่างกุ้งได้ แต่การแสดงชัยชนะขั้นเด็ดขาดคือส่งกองทหารราบเข้าเมืองหลวง คือกองกำลังพิเศษต้องเดินทัพผ่านเขตลุ่มน้ำสะโตง และเสี่ยงต่อการถูกซุ่มตีจากเทือกเขาพะโค และเทือกเขาฉาน ตั้งแต่เมืองตองอู ไล่ขึ้นไปยังกรุงเนปิดอว์ นี่เป็นเหตุผลทางยุทธศาสตร์ที่มีความหมาย แต่ผมตั้งข้อสังเกตว่าทำไมพม่าตั้งเมืองหลวงลึกเข้าไปอีกเช่นเหนือมัณฑะเลย์ขึ้นไปหากกลัวภัยคุกคามทางทะเล แต่ผมคิดว่ายิ่งสมัยปัจจุบันภัยคุกคามน่าจะย้ายมาสู่ชายแดนด้านตะวันออกเช่น จีน เพราะฉะนั้นการย้ายเมืองหลวงมาอยู่ตรงกลาง จะมีคุณค่าหลายประการโดยเฉพาะการใช้โลจิสติกตอนกลางโบกสะบัดอำนาจเข้าสู่ตอนกลางประเทศ ตอนแรกนั้นพม่าสนใจตั้งเมืองหลวงใหม่ที่ตองอู แต่ที่ราบตองอูแคบเกินไปเมื่อเทียบกับเปียงมะนา ฉะนั้นเมืองเปียงมะนาสร้างได้หลายฟังก์ชั่น ทั้งสร้างเมืองขนาดใหญ่เพื่อพัฒนาประเทศ หรืออย่างที่อาจารย์สุเนตร (ชุตินธรานนท์) บอกคือให้ภายนอกได้ประจักษ์ถึงความงดงามและยิ่งใหญ่ พื้นที่การสร้างเมือง 7,000 ตารางกิโลเมตร เขตหุบเขาสะโตงตอนบนของเปียงมะนารับไหว สุดท้าย เรื่องคุณค่าในทางยุทธศาสตร์ทางการทหาร การเติบโตของเนปิดอว์กระทบเป็นผลลูกโซ่กับเมืองยุทธศาสตร์รายรอบพม่า ซึ่งจะมีความสัมพันธ์ที่เกื้อหนุนกับเนปิดอว์ด้วย หากวาดแผนที่พม่าจะพบว่าตำแหน่งศูนย์กลางอยู่ที่เนปิดอว์ ซึ่งมีคุณค่าในการพัฒนา Logistic สมัยก่อนการไปรัฐอาระกันต้องนั่งเรือไป มาวันนี้มีถนนจากเนปิดอว์ตัดเข้าไปในอาระกัน เข้าไปที่เมืองซิตตะเหว่ด้วย นอกจากนี้การทำความเข้าใจเนปิดอว์ ต้องทำความเข้ใจเมืองยุทธศาสตร์หรือเมืองบริวารรายรอบว่าเอื้อต่อการสร้างปราการเหล็กให้กับเนปิดอว์แค่ไหน เช่น ย่างกุ้ง ตองอู ตองจี มิตถิลา มัณฑะเลย์ เมเมียวหรือปยิน อู ลวิ่น ย่างกุ้งปัจจุบันเป็นเมืองทางเศรษฐกิจ เมืองท่าสำคัญ การย้ายเมืองหลวงไปเนปิดอว์ ไม่ได้หมายความว่า ย่างกุ้งจะถูกละทิ้งคุณค่าทางยุทธศาสตร์ ในทางตรงกันข้ามกองทัพเรือพม่ามีการสร้างฐานที่มั่นมากขึ้นเข้มแข็งกว่าเดิมที่ย่างกุ้ง ขึ้นไปอีก 70 ไมล์จะพบกับเมืองตองอู เป็นเมืองยุทธศาสตร์แห่งสงครามกองโจร เป็นเมืองที่กองทัพพม่าใช้เป็นฐานเข้าไปรบในรัฐกะเหรี่ยงและรัฐคะยาห์ไม่ไกลจากขุนยวม แม่ฮ่องสอน เป็นเมืองในเขตลุ่มน้ำสะโตง เป็นด่านหน้าก่อนถึงเนปิดอว์ ถัดจากเนปิดอว์ขึ้นไป รัฐบาลพม่าสร้างทางหลวงสายพิเศษคือปินโหลง-ตองจี ผ่านเมืองยุทธศาสตร์คือเมืองกะลอ อองปันในเขตที่ราบสูงฉาน และเข้าไปบรรจบกับตองจี ตองจีคือเมืองหลวงในรัฐฉาน เป็นฐานที่มั่นกองทัพภาพตะวันออกของพม่าใช้ระดมกำลังเพื่อรบกับชนกลุ่มน้อยในเขตที่ราบสูงฉาน มาวันนี้รัฐบาลพม่าสร้างทางหลวงพิเศษตัดตรงจากเนปิดอว์เข้าตองจี ขึ้นแนวระเบียงยุทธศาสตร์ไปด้านบนจะพบกับเมืองขนาดใหญ่คือมิตถิลา ศูนย์กลางกองทัพอากาศ เครื่องบินรบ MIG-29 ปรับย้ายจากฐานทัพอากาศมิงกะลาดง (ทางตอนเหนือของย่างกุ้ง) เข้ามาที่นี่ เมืองนี้ไม่ไกลจากเนปิดอว์มีการสร้างทางหลวงพิเศษและทางรถไฟพิเศษเชื่อมกับเนปิดอว์ ขยับขึ้นไปด้านบนคือมัณฑะเลย์ เมืองใหญ่อันดับสองของกองทัพพม่าเป็นที่ตั้งของกองบัญชาการกองทัพภาคกลางของพม่า เป็นเมืองที่เต็มไปด้วยประชากรพม่า เป็นฐานของกองทหารราบพม่าหลายโซน แม่ทัพที่คุมกองทัพภาคกลางจะมีทหารในสังกัด 17-18 และเรื่อยมาจะมีเมืองสุดท้ายที่อยากกล่าว นี่คือ "West Point" ของกองทัพพม่า จปร. ของพม่า คือเป็นที่ตั้งของวิทยาลัยป้องกันประเทศ และล่าสุดมีการสร้างเมืองไซเบอร์คล้ายกับซิลิกอนวัลเลย์ในบังกาลอร์ของอินเดีย หรือไซเบอร์ จายาของมาเลเซีย แต่เป็นโครงสร้างทางการทหาร นั่นคือเมืองเมย์เมียว หรือปยิน อู ลวิ่น 67 กม.จากมัณฑะเลย์ นี่เป็นแนวปราการเหล็กป้องกันกองทัพพม่าที่มีศูนย์กลางที่เนปิดอว์ หากจำลองสถานการณ์ขึ้นมา หากมีเหตุการณ์ไม่สงบเกิดขึ้น ย่างกุ้งจะเป็นปราการด่านหน้ารับศึกทางทะเล ตองอูจะเป็นจุดยันไม่ให้ข้าศึกล่วงมายังเขตหุบเขาสะโตง เป็นฐานในการรบกับกะเหรี่ยง กองทัพของกลุ่มชาติพันธุ์จะถูกบล็อกด้วยเมืองตองจี ขณะเดียวกันฐานทัพอากาศที่มิตถิลาจะปกป้องน่านฟ้าของเนปิดอว์เพราะอยู่ไม่ไกลกัน ยังไม่นับมัณฑะเลย์ และศูนย์ส่งวิทยาการสารสนเทศที่เมเมียว นอกจากนี้ยังมีการก่อตัวของเมืองอุตสาหกรรมผลิตอาวุธของกองทัพอย่างเมืองแปร ไม่ไกลจากตองอูหรือเนปิดอว์ นี่คือภาพสะท้อนของปราการเหล็กแห่งกองทัพพม่า นั่นคือรัฐบาลพม่าย้ายเมืองนี้ขึ้นไปเพราะตระหนักในคุณค่าทางยุทธศาสตร์ และการโตของเนปิดอว์ทำให้เกิดการโตของเส้นทางการลำเลียงยุทธปัจจัย การส่งกำลังบำรุงจากเนปิดอว์เชื่อมไปเมืองสำคัญต่างๆ สุดท้ายแนววงแหวนทางยุทธศาสตร์จะจำกัดวงและสร้างปราการเหล็กเป็นชั้นๆ เพื่อปกป้องเนปิดอว์ในยามศึกสงคราม ดังนั้นก่อนที่พม่าจะจัดการเลือกตั้งและเปิดประเทศ พล.อ.อาวุโส ตาน ฉ่วย ได้วางแนวปราการเหล็ก ลงหลักปักฐานไว้เรียบร้อยแล้วโดยมีดินแดนหัวใจของกองทัพพม่าอยู่ที่เนปิดอว์ เพราะฉะนั้นการเปิดประเทศของพม่า นัยยะของนักการทหารคือมันจำเป็นต้องเปิด เพราะโลกเปลี่ยน พม่าต้องเปลี่ยน แต่การเปลี่ยนแปลงของพม่านั้นกองทัพต้องคุมได้เพื่อจัดระเบียบอย่างค่อยเป็นค่อยไป ไม่ให้สะเปะสะปะ แต่การเปิดประเทศพม่า มีทั้งคุณทั้งโทษ โทษสำหรับกองทัพพม่าก็คือมหาอำนาจจะรุกเข้าพม่ามากขึ้น ดังการปรากฏตัวของข่าวจากรัฐคะฉิ่น รัฐฉาน รัฐอาระกัน ซึ่งสหประชาชาติเข้าไปจับตาสถานการณ์ เพราะฉะนั้นในอนาคตพม่าต้องเผชิญปัญหาพวกนี้เยอะ แต่สิ่งที่จะทำให้พม่าจัดระเบียบ วางยุทธศาสตร์ได้อย่างแหลมคมคือการมีปราการเหล็กหรือกล่องดวงใจที่เข้มแข็งที่ยากต่อการต่อรบและชิงชัยนั่นคือการเนรมิตกรุงเนปิดอว์ขึ้นมา เพราะฉะนั้นในอนาคตผมคิดว่ามหาอำนาจเข้าพม่าเยอะ พม่าอาจจะปั่นป่วน พม่าจะได้ประโยชน์มากมายมหาศาลในระยะแรกๆ แต่ระยะหลังๆ ความสุ่มเสี่ยงจะเกิดขึ้น แต่คุณค่าทางยุทธศาสตร์ที่จะตีโต้หรือรั้งตรึงก็คือการมีปราการเหล็กที่กรุงเนปิดอว์
ที่มาของภาพปก: map.google.com และ http://www.flickr.com/photos/axelrd/7826623684/ (flickr.com) ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คุยกับ ‘จรัญ โฆษณานันท์’: เส้นทางวิบากของสิทธิมนุษยชน (แบบไทยๆ) Posted: 20 Dec 2012 11:00 AM PST
ตลอดห้วงความขัดแย้งทางการเมือง มีโวหารทางการเมืองหลายอย่างที่ถูกสร้างเสริมเติมแต่งขึ้นเพื่อให้ผู้พูดมีที่ยืนในสนามการเมืองอย่างชอบธรรม คำว่า 'สิทธิมนุษยชน' ก็เป็นหนึ่งในนั้น มันเป็นถ้อยคำที่เราได้ยินบ่อยๆ จากหลายๆ ภาคส่วนทั้งนักวิชาการ เอ็นจีโอ ข้าราชการ กระทั่งรัฐบาลหลายๆ รัฐบาล ไม่เว้นแม้แต่รัฐบาลที่มาจากการรัฐประหาร
ประเทศไทยเริ่มมีการพูดถึงหรือมีแนวคิดเรื่อง สิทธิมนุษยชน ตั้งแต่เมื่อไร เริ่มชัดเจนตั้งแต่สมัยปรีดี พนมยงค์ ใช่หรือไม่ จรัญ : ถือว่าสมัยปรีดีมีส่วนอย่างมากที่ทำให้แนวคิดนี้เฟื่องฟู แต่จะขอเท้าความนิดหนึ่งว่า แนวความคิดเกี่ยวกับเรื่องสิทธิ หรือศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ในบ้านเราเริ่มปรากฏสมัย ร.4 ร.5 มาทีละน้อยๆ ตอนนี้ไทยพีบีเอสมีละครอำแดงเหมือนกับนายริด อำแดงเหมือนเป็นตัวอย่างหนึ่งที่แสดงถึงการต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนของผู้หญิง เพียงแต่อำแดงเหมือนไม่ได้พูดคำว่าฮิวแมนไรท์ แต่เขาเริ่มมีสำนึกตรงนี้แล้ว เพียงแต่ไม่รู้ภาษาถ้อยคำในการเรียกร้อง ถือเป็นจุดเริ่มต้นหนึ่งทำให้เกิดประโยคที่ว่า 'ผู้หญิงเป็นควายผู้ชายเป็นคน' แสดงว่าตั้งแต่สมัย ร.4 ก็มีมุมมองต่อเรื่องสิทธิมนุษยชนแล้ว อาจพูดอย่างนั้นก็ได้ นักประวัติศาสตร์บางคนก็มองว่า รัชกาลที่ 4 เป็นเหมือนบิดาแห่งเสรีภาพของไทย บางคงอาจจะมองว่าเป็นการโปรเจ้าหรือเปล่า ประชาธิปไตยก็มาจากรัชกาลที่ 7 แต่ต้องยอมรับว่า รัชกาลที่ 4 ท่านมีแนวคิดตรงนี้แม้จะยังมีแบบจำกัด อย่างเรื่องสิทธิในการเลือกคู่ครอง ผู้หญิงเฉพาะตระกูลต่ำหรือไพร่เท่านั้นที่เลือกคู่ครองเองได้ แต่หญิงในตระกูลสูงศักดิ์ไม่มีสิทธิเลือก ต้องให้พ่อแม่เป็นคนจัดการให้ เพราะเขากลัวผู้หญิงสูงศักดิ์จะใฝ่ต่ำ จะไปเลือกไพร่มาเป็นคู่ครอง เพราะฉะนั้นมันก็มีสองมาตรฐาน มาตรฐานระหว่างผู้หญิงไพร่กับผู้หญิงสูงศักดิ์ พอมองแบบนี้ก็เริ่มเกิดการวิพากษ์วิจารณ์รัชกาลที่ 4 ว่าท่านเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์แบบไม่เท่าเทียมกันเท่าไร แต่ก็ต้องยอมรับว่าท่านเป็นกษัตริย์ที่พยายามผลักดันเรื่องทำนองนี้ นอกจากนี้ยังมีกรณีอำแดงจั่น ซึ่งเป็นการร้องเรียนเกี่ยวกับเรื่องสิทธิในเนื้อตัวร่างกาย พ่อแม่ขายเป็นทาส แกก็ร้องเรียนแล้วก็ต่อสู้จนสำเร็จ มีการแก้ไขเรื่องกฎหมายทาส อันนี้ก็เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นในสมัย ร.4 เหมือนกัน สมัยนี้มีการเปิดเรื่องสิทธิเสรีภาพมากขึ้น ประตูหน้าต่างที่เคยปิดเวลาพระมหากษัตริย์เสด็จผ่าน ก็ยกเลิกให้เปิดได้ หรือว่าเสรีภาพในการนับถือศาสนา เรื่องเกี่ยวกับคติเทวราชาซึ่งถ้ามองในแง่สิทธิมนุษยชนมันก็ผิดที่มองว่ากษัตริย์เป็นเทพเพราะละเมิดความเท่าเทียมของมนุษย์ ร.4 ก็เริ่มที่จะไม่เอาตรงนี้ ถามว่าเป็นเพราะอะไร ท่านคิดขึ้นเองหรือเปล่า จริงๆ เรื่องนี้ก็มีปัจจัยหลายอย่าง ด้านหนึ่งก็อาจจะเป็นเพราะท่านศึกษาเรื่องเหล่านี้ ท่านบวชอยู่นาน 27 ปี ใกล้ชิดกับฝรั่ง ศึกษาตำราฝรั่ง สัมผัสกับแหม่มแอนนา (Anna Leonowens) เริ่มมีการถ่ายทอดความคิดกัน ที่สำคัญมหาอำนาจฝรั่งเริ่มเข้ามาหลังจากมีสนธิสัญญาเบาว์ริง ความคิดทั้งหลายของฝรั่งก็เข้ามา ทำให้ผู้นำไทยเริ่มเปลี่ยน อีกอย่างหนึ่งเป็นเรื่องการเมืองในราชสำนักด้วย ร.4 ไม่ได้มีอำนาจเด็ดขาดเป็นเจ้าชีวิต แต่มีกลุ่มขุนนางพวกตระกูลบุนนาค เหมือนกับเข้ามาครอบอีกที ทำให้พระมหากษัตริย์ไม่กล้าแสดงตัวเป็นเทพ เป็นเทวราชาอะไรต่างๆ ทำให้ ร.4 หันมองแนวคิดเรื่องเสรีภาพ เป็นจุดเริ่มต้นของการปูพื้นที่เรื่องเสรีภาพจากชนชั้นนำ แสดงว่าสังคมเราเริ่มสนใจเรื่องสิทธิมนุษยชนเพราะเหตุผลทางการเมืองเป็นหลัก เป็นไปได้ เป็นการปรับตัวให้เข้ากับกระแสโลกตะวันตกด้วย กระแสนี้สืบเนื่องต่อมายัง ร.5 มีการเลิกทาส เลิกธรรมเนียมหมอบคลานกราบไหว้ เพราะฝรั่งโจมตีหาว่าป่าเถื่อน ตรงนี้ถ้ามองในแง่สิทธิมนุษยชนมันก็มีเซ้นส์เรื่องนี้อยู่เยอะ ให้คนเริ่มเท่าเทียมมากขึ้น เป็นจุดที่โดดเด่น แต่มันก็เป็นจุดเริ่มต้นที่จำกัด ในยุคสมัย ร.5 มีความพยายามที่จะเคลื่อนไหวให้มีการปฏิรูปบ้านเมืองที่เรียกว่ากรณี รศ.103 กรณีพวกเจ้านาย ข้าราชการ ขุนนางผู้ใหญ่ที่อยู่ต่างประเทศร่วมลงชื่อถึง ร.5 ให้มีการปฏิรูปบ้านเมือง ให้มี Constitutional Monarchy หรือกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ เพื่อให้มีลักษณะสมัยใหม่เป็นประชาธิปไตย แต่ก็ไม่ถึงกับเลือกตั้งนะ เพียงพยายามปรับอะไรต่างๆ ยอมรับเรื่องความเท่าเทียม แต่ก็ไม่สำเร็จ สะท้อนให้เห็นว่าแนวคิดเกี่ยวกับเรื่องการมีส่วนร่วมอะไรต่างๆ หรือเรื่องเสรีภาพ สำหรับ ร.5 ก็ยังอีหลักอีเหลื่อหรือยังมีความหวงแหนในอำนาจ บางคนก็มองว่านี่เป็นความผิดพลาดของ ร.5 ที่ไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง กลายเป็นภาระตกมาถึง ร.6 ร.7 ตอนนั้น ร.5 ก็เหมือนจะให้ ร.6 เป็นคนเสนอผลักดันเรื่องการเปลี่ยนแปลง มีคำพูดทำนองว่า ฉันจะให้ลูกวชิราวุธมอบของขวัญแก่พลเมืองทันทีที่ขึ้นราชบัลลังก์ จะให้ Parliament ให้ Constitution อันนี้ก็เป็นปณิธานของ ร.5 สุดท้าย ร.6 กลับไม่เอาด้วย หันกลับไปสร้างความคิดแบบชาตินิยม ราชาชาตินิยม พยายามรื้อฟื้นความคิดในแบบเทวราชาขึ้นมา มีนักประวัติศาสตร์อ้างว่า ร.6 เคยพูดในทำนองว่า พระเจ้าแผ่นดินจะทรงบันดาลให้คนเป็นเทวดาก็ได้ เป็นหมาก็ได้ ฟังแล้วก็เหมือนกลับไปหายุคเทวราชา อันนี้ก็เป็นจุดชะงักหนึ่ง เป็นจุดชะงักที่สำคัญที่ทำให้เกิด รศ.130 กบฏหมอเหล็ง ที่พยายามผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงให้เป็นประชาธิปไตย แต่ก็ไม่สำเร็จ ในขณะที่ ร.6 ก็พยายามสร้างแนวคิดราชาชาตินิยม ชาติกับกษัตริย์เป็นหนึ่งเดียวกัน เป็นเรื่องเดียวกัน เกิดประโยคว่าถ้าหากจงรักภักดีต่อกษัตริย์ จึงเป็นไทยแท้ แล้วประเด็นนี้ตอนหลังก็นำมาอ้างกันในสมัยปัจจุบัน คุณประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็บอกว่า ไอ้พวกเสนอแก้ 112 มันไม่ใช่ไทยแท้ หรือว่าแบบไม่จงรักภักดีก็ไปอยู่ต่างประเทศซะ เหล่านี้ล้วนขยับมาจากแนวความคิดพวกนี้ เป็นความชะงักงันของแนวคิดเกี่ยวกับเรื่องการมีส่วนรวม ประชาธิปไตย ที่พันไปถึงเรื่องสิทธิเสรีภาพของคน ตรงนี้ชะงักมาเรื่อยจนถึง ร.7 ก็ยังไม่สำเร็จ เหมือนมีความพยายามที่จะให้ประชาธิปไตย หรือสร้างรัฐธรรมนูญขึ้นมา แต่ก็เป็นร่างรัฐธรรมนูญที่มองว่าในที่สุดอำนาจก็อยู่ที่พระมหากษัตริย์ มีกระแสความไม่พอใจขับเคลื่อนเรื่อยมาจนนำไปสู่ปฏิวัติ 24 มิ.ย. 2475 แล้วก็เป็นจุดที่เริ่มต้นที่สำคัญ มีประกาศคณะราษฎร เกิดหลัก 6 ประการอะไรพวกนี้ ประกาศคณะราษฎรก็มีนักวิชาการบางท่านบอกว่าเป็นเสมือนคำประกาศว่าด้วยสิทธิเสรีภาพ เป็นคำประกาศสิทธิพลเมืองและความเป็นคนครั้งแรกของไทย น่าจะ อ.ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ ที่วิเคราะห์ไว้อย่างนั้น คงเทียบเคียงกับคำประกาศของฝรั่งเศสในการปฏิวัติปี 1789 แต่ผมก็ไม่เห็นด้วย เพราะหลังมีคำประกาศไม่กี่วัน บรรดาคณะราษฎรก็ต้องเข้าเฝ้าในหลวงขอขมาว่าถ้อยคำในประกาศเป็นคำรุนแรงจาบจ้วง มันจึงดูเหมือนไม่ใช่คำประกาศที่แท้จริง ในแง่การยืนหยัดหรือมุ่งมั่นในหลักการที่เขียนไว้ ถ้าคุณเชื่อมั่นตรงนั้นก็ต้องยืนยันในสิ่งที่ประกาศ นี่เป็นจุดเริ่มต้นของการประนีประนอมในช่วงที่พยายามที่จะเริ่มสร้างสิทธิเสรีภาพ ถ้าถามว่าเราเริ่มพูดเรื่องสิทธิมนุษยชนกันเมื่อไร ในแง่บทบาทชนชั้นนำก็มีความสำคัญระดับหนึ่ง แต่ว่าในระดับล่างเราก็จะเห็นการขับเคลื่อนความคิดแบบนี้ ตัวอย่างเช่นความคิดของเทียนวรรณ ก.ศ.ร.กุหลาบ เทียนวรรณพูดถึงเรื่องสาธารรัฐบ้าง เรื่องเกี่ยวกับการปกครองด้วยกฎหมายบ้าง และเริ่มให้ความสำคัญกับเรื่องคุณค่า บทบาทของราษฎร พูดเรื่อง The Rule of Law หรือหลักนิติธรรม แต่ไม่ได้ใช้คำว่าหลักนิติธรรมนะ แกใช้คำว่าระบบการปกครองด้วยกฎหมาย ตรงนี้แสดงให้เห็นว่าคนระดับล่างก็เริ่มผลักดันเรื่องพวกนี้มา เรียกว่าประสานกับข้างบน แบบกึ่งไพร่บางส่วน แต่แนวคิดเรื่องของสิทธิมนุษยชนในแง่ของความเป็นนักกฎหมาย ผมคิดว่ามันเคยปรากฏถ้อยคำที่ใกล้เคียงหรืออาจจะเป็นคำเดียวกันก็ได้ ก็คือคำว่า 'อำนาจธรรมดา' แนวคิดเรื่องอำนาจธรรมดาของพระยานิติศาสตร์ไพศาลย์ ซึ่งเขียนบทความเมื่อปี 2466 เรื่องอำนาจธรรมดา คำนี้ผมตีความว่ามันมาจากคำว่า Natural Rights หรือสิทธิธรรมชาติ ซึ่งสิทธิมนุษยชนเดิมทีมันคือคำว่าสิทธิธรรมชาติ แล้วพระยานิติศาสตร์ไพศาลย์ท่านก็เขียนบทความพูดถึงข้อโต้แย้งเกี่ยวกับอำนาจธรรมดาว่านักปรัชญาอย่าง เจเรมี เบนเธม (Jereme Bentham) ซึ่งเป็นนักปฏิรูปกฎหมายในสายที่เรียกว่า ปฏิฐานนิยม (Positivism) เขาปฏิเสธสิทธิธรรมชาติว่าเป็นเรื่องไร้สาระบ้าง เป็นเรื่องที่สับสนบ้าง พระยานิติศาสตร์ไพศาลย์ก็กล่าวว่าอำนาจธรรมดาอาจจะโยงกับความยุติธรรมตามธรรมดา แล้วท่านก็บอกว่าถ้ายุติธรรมธรรมดามีจริง ก็ต้องยอมรับว่ามีสิ่งที่เรียกว่าอำนาจธรรมดา ผมเข้าใจว่าคำว่าอำนาจธรรมดาในสมัยนั้นมันก็คือฮิวแมนไรท์ในปัจจุบัน สิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างคือ พระยานิติศาสตร์ไพศาลย์เป็นนักกฎหมายที่อยู่ฝ่ายเดียวกับคณะราษฎร ตอนหลังก็เป็นมือกฎหมายของคณะราษฎร มีการตั้งสมาคมคณะราษฎร มีแกเป็นหัวหน้า แล้วยังมีส่วนรวมในการร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับ 10 ธันวาคม คือเป็นนักกฎหมายฝ่ายประชาธิปไตย หลังจากที่ท่านพูดเรื่องอำนาจธรรมดา หรือสิทธิธรรมชาติแล้วก็ปรากฏถ้อยคำที่ชัดเจนมากขึ้น โดยในคำอธิบายกฎหมายปกครองของปรีดีปี 2474 ปรีดีเริ่มพูดถึงเรื่อง "สิทธิของมนุษย์ชน" คือสิทธิของมนุษย์ชนเป็นหลักกฎหมายทั่วไป เป็นพื้นฐานของกฎหมายปกครอง ถ้าจะไล่ประวัติศาสตร์ของภาษาถ้อยคำ ตรงนี้จะเป็นจุดเริ่มที่สำคัญ คือสิทธิของมนุษย์ชนเริ่มปรากฏมาอย่างเป็นทางการ แนวคิดนี้ของปรีดีก็ซึมเข้าไปแถลงการณ์ของคณะราษฎร ในหลัก 6 ประการ หลังจากนั้น สิทธิมนุษยชนของไทยก็พัฒนามาเรื่อยๆ ? มันก็พัฒนามาเรื่อย แต่ว่าก็มีข้อจำกัดของมัน ข้อจำกัดก็คือ หลังจากปฏิวัติ 2475 แล้ว ในแง่หนึ่งคือพยายามจะประกาศเป็นความเป็นมนุษย์ ยอมรับเรื่องการเลือกตั้ง รัฐธรรมนูญที่ให้สิทธิอะไรต่างๆ แต่ว่าก็มีความชะงักงันหรือจะเรียกว่ามีอุปสรรคหลายอย่างขึ้นมา ส่วนสำคัญมาจากการตอบโต้ของฝ่ายกษัตริย์นิยม กรณีกบฏบวรเดช กบฏพระยาทรงสุรเดช ทำให้เกิดการปะทะขัดแย้งกัน คณะราษฎรก็ไปจัดการกับพวกต่อต้าน เช่น ออกกฎหมายพิเศษ กฎหมายจัดตั้งศาลพิเศษลงโทษพวกนี้ ออก พ.ร.บ.จัดการป้องกันรักษารัฐธรรมนูญ 2476 ขึ้นมา ซึ่งก็เป็นกฎหมายที่มีปัญหาในแง่ของสิทธิเสรีภาพ ทำให้ดูเหมือนว่าการผลักดันเรื่องสิทธิเสรีภาพชะงักไป หรืออาจจะมีรอยด่าง เพราะมันมีความพยายามที่จะจัดการอีกฝ่ายหนึ่ง และทำให้การใช้อำนาจนั้นมีปัญหาบางส่วน เรียกได้ว่าการต่อสู้ทางการเมืองขณะนั้น ทำให้คณะราษฎรใช้กฎหมายที่ละเมิดสิทธิเสียเอง ? มันก็มองได้อย่างนั้น มันถูกวิจารณ์ได้อย่างนั้น เช่นการตั้งศาลพิเศษไปจัดการอีกฝ่าย หรือจัดการเนรเทศ แต่ว่าตรงนี้ก็มีบางคนพยายามจะชี้แจงอยู่เหมือนกันว่าที่ต้องทำอย่างนั้นเพราะว่าศาลไปเข้าข้างฝ่ายเจ้า ปัญหาอีกอย่างคือในหมู่คณะราษฎรเองก็มีการแข่งๆ กันอยู่ ปีกก้าวหน้าของปรีดี กับ ปีกของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งเป็นปีกอำนาจทหารนิยม นี่ก็เป็นตัวปัญหาอีกอย่างหนึ่ง แล้วก็มาเจ็บหนักหลังจากเกิดรัฐประหาร 2490 ซึ่งทำให้เกิดการถอยหลังครั้งใหญ่ แต่ต่อมาในปี 2491 เราก็ลงนามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ไม่ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรเลยหรือ ? ตอนที่เราไปลงนามกับเขาเมื่อปี 2491 เป็นการลงนามหลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศไทยช่วงนั้นก็ลูกผีลูกคน ไม่รู้สถานะจะเป็นผู้แพ้สงครามหรือเปล่า แก้กันไปแก้กันมา อาศัยข้อกฎหมายต่างๆ พ.ร.บ.อาชญากรสงครามบ้าง ใช้เรื่องการประกาศสงครามไม่ชอบเนื่องจากเซ็นชื่อไม่ครบอะไรต่างๆ บ้าง แล้วที่สุดก็ทำให้ประเทศไทยไม่เป็นผู้แพ้สงคราม ผมคิดว่าเรื่องของสถานะของประเทศตรงนี้เป็นตัวหนึ่งที่ทำให้ไทยต้องพยายามเดินตามกระแสโลก กระแสตะวันตก กระแสอเมริกา เพราะฉะนั้นการลงนามครั้งนี้เป็นการลงนามด้วยความจำเป็นของกระแส ไม่ใช่เพราะความชื่นชมศรัทธาต่อเรื่องสิทธิมนุษยชน อย่าลืมว่ามันเกิดขึ้น 2491 ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากปฏิวัติ 2490 ซึ่งเป็นยุคที่เราเรียกว่าเป็นยุคเริ่มต้นของระบอบอำมาตยาธิปไตย เป็นยุคของทหาร จุดเริ่มต้นของการลงนามเริ่มในยุคทหาร ไม่ได้เริ่มในยุคประชาธิปไตย แล้ว 2490 ที่เราพูดถึงมันก็เป็นจุดที่ทำให้เกิดระบอบระบอบอำมาตยาธิปไตยหรือใช้คำของ เสนีย์ ปราโมช ก็ได้ว่า Liberal Royalism หรือเสรีราชานิยม ผมคิดว่าแนวคิดเรื่องเสรีราชานิยมเป็นระบบคิดแบบหนึ่งของฝ่ายเจ้าที่เน้น Royalism เป็นหลัก และ Liberal เป็นรองหรือเป็นคำขยาย นั่นหมายความว่าคุณจะมีเสรีภาพอะไรก็แล้วแต่ ต้องอย่าไปกระทบระบบกษัตริย์นิยม ตรงนี้น่าจะเป็นพิมพ์เขียวของเขาในเรื่องเสรีภาพ แล้วมันก็ตกทอดมาถึงปัจจุบัน ปัจจุบันที่หลายฝ่ายพายายามจะแก้ 112 แต่ดูเหมือนการแก้ 112 ก็ไปกระทบหลัก Liberal Royalism การลงนามเมื่อ 2491 เกิดในยุคเผด็จการทหาร ยุคเสรีราชานิยม ในบริบทดังกล่าวไม่ได้เอื้อที่จะส่งเสริมสิทธิมนุษยชนอย่างจริงจัง แต่ก็โอเคที่ปี 2492 เรามีรัฐธรรมนูญซึ่งหลายฝ่ายมองว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่มีสิทธิเสรีภาพเยอะ แน่นอน เพราะมันพึ่งลงนาม 2491 มา ก็ต้องเอาอกเอาใจตะวันตกหรือสากล แต่รัฐธรรมนูญปี 2492 ก็เป็นรัฐธรรมนูญที่ปรีดีเรียกว่าเป็นรัฐธรรมนูญอำมาตยาธิปไตย เป็นรัฐธรรมนูญที่ให้อำนาจสถาบัน องคมนตรีแต่งตั้งวุฒิสมาชิกอะไรต่างๆ ถามว่าลักษณะโครงสร้างกฎหมายที่มีลักษณะอำมาตยาธิปไตยตรงนี้ขัดกับหลักสิทธิมนุษยชนหรือเปล่าในแง่เสรีภาพ ความเท่าเทียมกัน คือ มันก็แสดงให้เห็นแล้วว่าหลัง 2491 เราไม่ได้ขยับไปในทิศทางที่สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชนเท่าไร หลังจากนั้นก็มีการใช้อำนาจเผด็จการทหาร สังหารพวกผู้นำการเมือง 4 รัฐมนตรี ชุดนายเตียง ศิริขันธ์ เกิด พ.ร.บ.คอมมิวนิสต์ 2495 แล้วก็เกิดรัฐประหารเรื่อยมาเป็นวงจรอุบาทว์ ผมคิดว่ามันเป็นการเคลื่อนไหวที่ดูแล้วไม่สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชนเท่าไร หลายครั้งตัวปฏิญญาก็ถูกใช้เป็นข้ออ้าง เหมือนมีคณะปฏิวัติบางคนพูดว่าเราจะใช้อำนาจไม่ให้ไปขัดแย้งกับหลักปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน หรือจะไม่ยอมให้ใครอ้างปฏิญญานี้เข้ามาละเมิด ทำลายความมั่นคง คณะปฏิวัติที่ยึดอำนาจก็ยังกล้าอ้างปฏิญญา ทั้งๆ ที่การยึดอำนาจมันละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง การรัฐประหารเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงอย่างไร ? โดยหลักในระบอบประชาธิปไตยแล้ว อำนาจปกครองเป็นของประชาชน ซึ่งโยงมาถึงเรื่องสิทธิเสรีภาพทางการเมือง สิทธิในการมีส่วนรวม สิทธิในการเลือกตั้ง สิทธิในการกำหนดเจตจำนงตัวเอง หรือ Self-Determination มนุษย์ต้องมีสิทธิในการกำหนดอนาคต วิถีชีวิต กำหนดแนวทางสังคมของตัวเอง ถ้าคุณไปล้มล้างคุณก็ไปละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรง คณะปฏิวัติก็ไม่รู้จะเรียกว่า หน้าด้าน หรือเปล่าที่อ้างเรื่องสิทธิมนุษยชนมาพูด กลายเป็นคำพูดที่เอามาใช้เพื่อตกแต่งให้ดูดี การปฏิวัติเกิดเรื่อยมาท่ามกลางการยึดมั่นในปฏิญญาสากลในสิทธิมนุษยชนหรืออ้างว่ายึดมั่นในปฏิญญา พฤษภาทมิฬ 14 ตุลา หรือ 6 ตุลา ตรงนี้ก็น่าสนใจ คือ ในช่วง 14 ตุลาหรือ 6 ตุลา มีการวิเคราะห์กันว่ามีกระแสเคลื่อนไหวของประชาชนผลักดันเรื่องสิทธิมนุษยชนแล้วหรือยัง จุดนี้ก็มีนนักวิชาการบอกว่าสิทธิมนุษยชนไม่ใช่ประเด็นหลัก ขบวนการนักศึกษาชูประเด็นเรื่องเอกราช ประชาธิปไตย และความเป็นธรรมในสังคมมากว่า นี่เป็นข้อสังเกตของ อ.เกษียร เตชะพีระ ซึ่งผมคิดว่าก็โอเค เพราะจริงๆ ในช่วงนั้นขบวนการนักศึกษาออกแนวทางไปทางฝ่ายสังคมนิยมมากกว่าจะชูประเด็นสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นแนวคิดของฝ่ายเสรีนิยม อันนี้ก็เป็นปัญหาอย่างหนึ่ง แนวคิดเรื่องสิทธิมนุษยชน ผมคิดว่ามันอาจจะมาเริ่มเติบโตโดยเฉพาะในยุคหลังวิกฤตศรัทธาที่มีต่อพรรคคอมมิวนิสต์ ซึ่งขบวนการนักศึกษาที่เคยเข้าป่าไปแล้วก็เริ่มเห็นถึงความล้มเหลวของอุดมการณ์สังคมนิยม ผมคิดว่านับจากช่วงปี 2521, 2522 เรื่อยมา แนวคิดเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนบ้านเราก็เริ่มมีการผลักดันอย่างจริงจัง ในช่วงปี 2518-2519 ก็เริ่มมีองค์กรสิทธิมนุษยชนโผล่ขึ้นมา สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.) กลุ่มประสานงานศาสนาเพื่อสังคม ฯ ดูเหมือนจะผลักดันเรื่องสิทธิมนุษยชนขึ้นมา กลายเป็นองค์กรที่มีบทบาทแข็งขัน หลังเหตุการณ์ 6 ตุลา ที่มีการจับนักโทษการเมืองพวกรุ่นสุธรรม แสงประทุม กลุ่มพวกนี้ก็พยายามเรียกร้องต่อสู้เรื่องสิทธิของนักโทษ โดยอ้างเรื่องของสิทธิมนุษยชน ผมคิดว่านี่เป็นจุดที่เรื่องของสิทธิมนุษยชนเริ่มมีการพูดถึงกันมากขึ้น โดยเฉพาะในส่วนของภาคของประชาชน พฤษภาทมิฬก็เป็นจุดสำคัญหลังจากการต่อสู้เรียกร้อง คุณอานันท์ ปันยารชุน ก็เป็นคนหนึ่งที่พยายามจะผลักดันเรื่องสิทธิมนุษยชน แล้วรัฐบาลอานันท์ก็เป็นรัฐบาลที่มีมติให้เราลงนามรับรองกติการะหว่างว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ซึ่งเป็นเสมือนกฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนที่สำคัญ ถ้าเรามอง 2491 ว่าเราเริ่มลงนามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน แต่มันไม่มีสถานะเป็นกฎหมาย ไม่มีสภาพบังคับทางกฎหมาย ปฏิบัติหรือไม่ก็ได้ แต่กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองนั้นมีสถานะเป็นกฎหมาย แล้วรัฐบาลคุณอานันท์ก็เริ่มผูกมัดตัวเองเข้ากับเรื่องสิทธิมนุษยชนมากขึ้น หลังยุคของพฤษภาทมิฬ มีการลงนามกันอย่างแท้จริงในยุคของคุณบรรหาร ศิลปอาชา แล้วก็คุณชวน หลีกภัย คือคุณชวนมาลงนามเป็นภาคีกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม อันที่จริงมีมีกติการะหว่างประเทศที่สำคัญ 2 ฉบับ กติกาว่าด้วยสิทธิพลเมืองและการเมือง และก็อันที่ 2 คือกติกาว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม จะเห็นว่ารัฐบาลไทยหลังพฤษภาทมิฬเริ่มเรื่องนี้เป็นลูกโซ่เรื่อยมา กระแสตรงนี้ขยายมาเรื่อยจนเกิดรัฐธรรมนูญ 2540 แล้วรัฐธรรมนูญ 40 ก็เป็นรัฐธรรมนูญที่เริ่มการจัดตั้งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติขึ้นมา จะเห็นว่ากระแสเรื่องสิทธิมนุษยชนมันขยับขึ้นมาเรื่อย แต่ก็ชะงักจากวิกฤตการณ์ปี 2548-49 ยุคทักษิณ ชินวัตร กับพันธมิตรฯ แล้วก็ทำให้เกิดรัฐประหาร 19 กันยา 2549 วิกฤตทางสังคมปรากฏเด่นชัดขึ้นมาอีกกรณีพฤษภาคม 2553 ความรุนแรงนั้นกลายเป็นรอยแผลสำคัญให้เห็นถึงการละเมิดสิทธิมนุษยชน แต่บางคนอาจจะบอกว่าเป็นเรื่องของผัวเมียตีกัน ก็แล้วแต่ ถ้าจะให้ผมสรุปภาพรวม ถามว่าจากปี 2491 ที่เราลงนามรับรองปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิฯจนถึงปัจจุบัน เรียกว่าสำเร็จไหม สำเร็จแค่ไหน ขอตอบว่ามันก็มีการพัฒนามาตลอด สำเร็จระดับหนึ่งโดยเฉพาะในเชิงปริมาณ เรื่องของการยอมรับเรื่องของสิทธิต่างๆ เริ่มมีการพูดถึงกันมากขึ้น การปฏิบัติก็ได้ระดับหนึ่ง แต่อาจจะเป็นประเด็นในเชิงปริมาณมากว่าคุณภาพ หมายถึงในแง่ของการยอมรับอย่างจริงจัง ในแง่ของการประเมินความสำเร็จในเรื่องของสิทธิมนุษยชน จุดมุ่งหมายที่สำคัญของมันคือให้เกิดอิสรภาพ ความยุติธรรม และสันติภาพ ต้องประเมินจากตรงนี้ว่ามันบรรลุเป้าหมายแค่ไหน คนในสังคมมีอิสรเสรีภาพมากขึ้นไหม มีความยุติธรรม มีสันติภาพมากขึ้นไหม วันนี้สังคมไทยมีตรงนี้มากหรือเปล่า แล้วอาจารย์เห็นอย่างไรในเรื่อง อิสรภาพ สันติภาพในสังคมไทย ? เราอยู่ในยุคแห่งความกลัว อย่างมาตรา 112 ก็เป็นต้นเหตุแห่งความกลัว พวกอำนาจนอกระบบ อำนาจคณะปฏิวัติ มีคนกล่าวถึงอยู่เรื่อยๆ กรณีแช่แข็งประเทศก็ยังมีคนกล้าพูดอยู่ มีคนเชื่อว่ามีอำนาจนอกระบบที่จะทำได้อยู่ ถ้ามองในแง่สันติภาพ มันก็ต้องมีความรัก แต่สังคมไทยตอนนี้เกลียดกัน ล่าสุดก็มีการจะสาดกาแฟกัน มีเสื้อเหลือง เสื้อแดง เสื้อสีต่างๆ ส่วนความยุติธรรมถามว่ามีแค่ไหน ปัจจุบันเราพูดถึงเรื่องสองมาตรฐาน ถ้ายุติธรรมมันก็ต้องไม่สองมาตรฐาน และที่สำคัญต้องมีความยุติธรรมทางสังคม คือ ความไม่เหลื่อมล้ำ แต่สังคมไทยปัจจุบันนี้เป็นสังคมที่มีความเหลื่อมล้ำสูง วัดจากเกณฑ์นี้แล้วสังคมไทยยังมีปัญหาอยู่เยอะ ยังห่างไกลความสำเร็จอยู่เยอะ มองสถานการณ์เรื่องสิทธิมนุษยชน หลังมีการรวมอาเซียนอย่างไร ปฏิญญาสิทธิมนุษยชนอาเซียนเป็นความหวังไหม ? ผมเองไม่ได้คาดหวังมาก อาเซียนไม่ได้เข้มแข็งนัก ไม่ได้เป็นองค์กรที่ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อสิทธิมนุษยชน ในกลุ่มอาเซียนเองก็ค่อนข้างอ่อนแอในเรื่องนี้ แล้วก็ยังมีความหลากหลายในแง่ของความคิด อุดมการณ์ต่างๆ มีทั้งอิสลาม พุทธ ทั้งคอมมิวนิสต์ คอมมิวนิสต์กับสิทธิมนุษยชนก็ไม่ค่อยไปด้วยกันอยู่แล้ว คุณจะไปบอกเวียดนามกับลาวให้มาส่งเสริม รณรงค์สิทธิมนุษยชน ผมก็คิดว่ามันยาก ในความซับซ้อนตรงนี้ทำให้ไม่คาดหวังมากนัก ต้องใช้เวลาอยู่มากในการพัฒนา แต่ในตัวปฏิญญาสิทธิมนุษยชนอาเซียน ก็เป็นความพยายามแรกเริ่มที่จะทำให้ภูมิภาคนี้มีตราสารหรือเอกสารเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนขึ้นมา ถ้ามองไปยังภาพรวมใหญ่ เอเชียก็ยังไม่มีนะ ไม่รู้จะเรียกว่าอับอายได้หรือเปล่า ถ้าเทียบกับยุโรปเขามีปฏิญญา มีอนุสัญญาสิทธิมนุษยชนต่างๆ ลาตินอเมริกาหรืออย่างแอฟริกาที่เราดูว่าเขาป่าเถื่อน ล้าหลัง หรือยากจน เขาก็มีแล้ว มีศาลสิทธิมนุษยชนแล้ว แต่ของเอเชียที่ดูเป็นแหล่งอารยธรรมกลับยังไม่มี อาเซียนของเราเป็นส่วนย่อยหนึ่งที่สร้าง Declaration ตรงนี้ขึ้นมา แต่ก็มีข้อวิตกหรือบกพร่องหลายประการ เช่น มีการพูดถึงว่าภาษาถ้อยคำที่เขียนอาจจะมีลักษณะคลุมเครือหรือเปิดกว้างให้รัฐตีความไปในทางที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนได้ง่าย เช่น ความมั่นคง ความปลอดภัย (security and stability) หรือ สิทธิมนุษยชนจะต้องมีความสมดุลกับหน้าที่ (The enjoyment of human rights and fundamental freedoms must be balanced with the performance of corresponding duties as every person has responsibilities to all other individuals, the community and the society where one lives) มันก็เหมือนเปิดกว้างให้มีการละเมิดโดยอ้างเรื่องหน้าที่ขึ้น ปัญหาก็คือว่าอะไรคือคำว่าสมดุล และท้ายสุดก็อยู่ที่องค์กรที่จะตีความ อิสระเป็นกลางแค่ไหน เข้าใจเรื่องสิทธิมนุษยชนแค่ไหน ประเด็นเรื่องหน้าที่ก็เป็นประเด็นที่มีนำหนักอยู่ในตัว ถึงแม้ว่าบ่อยครั้งเราอาจจะรู้สึกว่าพวกเผด็จการ อนุรักษ์นิยมชอบอ้างคำว่าหน้าที่อยู่เรื่อยๆ แต่ในเชิงหลักการมันก็มีน้ำหนักอยู่ คือคุณจะมาใช้สิทธิอย่างเดียวโดยไม่คำนึงถึงหน้าที่มันก็ไม่ใช่ แต่หลายฝ่ายพยายามจะอ้างเรื่องหน้าที่เพื่อที่จะบดบังเรื่องสิทธิ เอามาเป็นข้ออ้างที่จะจำกัดสิทธิ ก็เป็นการปรับใช้ที่อาจจะบิดเบือนเรื่องสิทธิมนุษยชนแฝงอยู่ ซึ่งก็ต้องถกเถียงกัน การพูดเรื่องหน้าที่ จริงๆ แล้วเป็นเรื่องปกติ ถ้าเราเทียบอย่างในแอฟริกา ฝ่ายที่คัดค้านก็อาจจะพูดเรื่องหน้าที่ในลักษณะมาลบล้างเรื่องของสิทธิ หรือว่าเรื่องเกี่ยวกับสิ่งที่เป็นเสมือนวิถีอาเซียน ความจริงประเด็นนี้เป็นเรื่องที่ถกเถียงกันอยู่มากในแง่สิทธิมนุษยชนว่า จริงๆ แล้วสิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องที่สากลสมบูรณ์ หรือเราอาจจะต้องยอมรับว่ามันมีความยืดหยุ่น มีความเหมือนหรือความต่างกันในแต่ละท้องถิ่น นักสิทธิมนุษยชนอาจจะเน้นเรื่องของความเป็นสากลแบบสมบูรณ์ เพราะฉะนั้นคุณจะมาอ้างเรื่องเฉพาะ เรื่องท้องถิ่นหรือวัฒนธรรมไม่ได้ แต่ผมยังมองว่าความคิดแบบนั้นอาจจะสุดขั้วเกินไป ในบางกรณีเราอาจจะต้องยอมรับว่ามันอาจจะมีวัฒนธรรมเฉพาะของท้องถิ่น ที่การตีความสิทธิมนุษยชนอาจจะมีความยืนหยุ่นได้ แต่ว่าสิ่งที่เป็นข้ออ้างลักษณะเฉพาะหรือสิ่งที่เป็นวัฒนธรรมเฉพาะตรงนั้นจะต้องพิจารณากันอีกทีว่าแค่ไหน แบบใดที่สมดุล ซึ่งอาจจะต้องคิดว่ามันอาจจะเป็นวัฒนธรรมที่มีการปฏิบัติสั่งสมกันมานานแค่ไหน ประชาชนมีส่วนร่วมในการสร้างมาแค่ไหน แล้วก็มีกระบวนการบังคับรุนแรงหรือไม่รุนแรง ความหมายว่าถ้ามันเป็นวัฒนธรรมเฉพาะที่คุณอ้าง แล้วมันมีกระบวนการบังคับที่รุนแรง อันนั้นก็อาจจะเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ สรุปก็คือประเด็นเรื่องลักษณะเฉพาะหรือวัฒนธรรมเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันได้ ไม่ใช่เป็นประเด็นแบบรับไม่ได้โดยสิ้นเชิง โดยการที่จะถกเถียงกันได้ ก็ขึ้นอยู่กับว่าในภาคประชาสังคมมีความเข้มแข็งแค่ไหน รัฐในแต่ละแห่งหรือในอาเซียนมีความจริงจังแค่ไหนที่จะมาช่วยอธิบายลักษณะเฉพาะให้เป็นที่ยอมรับกัน ล่าสุดยุโรปได้รับรางวัลโนเบลสันติภาพ แสดงว่าเขามีกลไกดูแลเรื่องนี้ในระดับภูมิภาค ? ก็ต้องเข้าใจว่ายุโรปนั้นเขาพัฒนามานาน ต้องเข้าใจว่ายุโรปเป็นดินแดนที่ให้กำเนิดเรื่องของสิทธิมนุษยชนต่างๆ เพราะฉะนั้นประวัติศาสตร์ของเขา การต่อสู้ การสั่งสม ทำให้เขาสามารถพัฒนาแนวความคิดกลไกของเรื่องสิทธิมนุษยชนมาจนมั่นคง แต่ว่าก่อนที่เขาจะพัฒนามาจนมั่นคงมันก็ผ่านกระบวนการต่อสู้มายาวนาน ไม่ใช่อยู่ๆ ก็เกิดขึ้นมา มันเป็นความเข้มแข็งที่เกิดมาจากการเติบโตทางวัฒนธรรมและการต่อสู้ของเขา การเสียเลือดเสียเนื้ออะไรต่างๆ ที่ทำให้แนวคิดตกผลึกมากขึ้น แล้วก็ทำให้เกิดการสร้างสิ่งที่เป็นกลไกสำคัญต่างๆ ในขณะที่ของเรามันยังห่างไกล ถ้าเราดูในแง่เปรียบเทียบ ผมคิดว่าอาเซียนมีจุดเริ่มต้นที่ไม่ได้เน้นเรื่องสิทธิมนุษยชน ถ้าเราย้อนกลับไปดูปฏิญญาอาเซียน ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นก่อนจะมาเป็นกฎบัตรอาเซียน มันไม่ได้กล่าวถึงเรื่องสิทธิมนุษยชนอยู่ในตัว แต่มันเน้นเรื่องจุดมุ่งหมายของการก่อตั้งในเรื่องสันติภาพ ความมั่นคง การเติบโตทางเศรษฐกิจมากกว่าที่จะไปพูดเรื่องของสิทธิมนุษยชนโดยตรง เพราะฉะนั้นจุดเริ่มต้นของมันจึงไม่ใช่เป็นองค์กรที่จะมาขับเคลื่อนเรื่องของสิทธิมนุษยชน ความคิดเรื่องสิทธิมนุษยชนเริ่มในกฎบัตรอาเซียนที่พึ่งมาประกาศใช้เมื่อปี 2551 ไม่กี่ปีนี้เอง กฎบัตรอาเซียนพูดถึงเรื่องความสำคัญของประชาธิปไตย นิติธรรม สิทธิมนุษยชนอะไรต่างๆ แล้วก็มีการจัดตั้งองค์กรสิทธิมนุษยชนขึ้นมา ที่เรียกว่าคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน แต่ในกฎบัตรอาเซียนที่พูดถึงเรื่องสิทธิมนุษยชนนั้นก็ไม่มีมาตรการบังคับโดยตรงว่าหากไม่ปฏิบัติตามกฎบัตรจะมีอะไรเกิดขึ้น แล้วก็ไม่มีตราสารที่เป็นเสมือนอนุสัญญาสิทธิมนุษยชนต่างๆ ที่เป็นเรื่องสิทธิมนุษยชนของอาเซียนที่มีฐานะเป็นกฎหมายโดยตรง ไม่เหมือนกับยุโรปหรือของอเมริกา ในยุโรป อเมริกา หากไม่ปฏิบัติตามกติกาในเรื่องสิทธิมนุษยชน จะเป็นอย่างไร ? คือเขาสามารถที่จะร้องเรียน ฟ้องศาลสิทธิมนุษยชนได้ แต่ของเราไม่มี เพราะว่ากลไกของเราขณะนี้คือกฎบัตรอาเซียน มีแค่กรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชนซึ่งทำหน้าที่หลักเรื่องการส่งเสริมมากกว่าการคุ้มครอง และไม่มีอำนาจรับเรื่องร้องเรียน หรืออำนาจที่จะไปตรวจสอบ ฉะนั้นกลไกมันอ่อนมาก ที่สำคัญคืออาเซียนมีหลักคิดที่เน้นเรื่อง การไม่แทรกแซงกิจการภายในของรัฐ ถ้าหากมีละเมิดสิทธิภายในรัฐหนึ่ง รัฐอื่นในอาเซียนก็จะไม่ยุ่งเกี่ยว เพราะถือเป็นการไปแทรกแซงกิจการภายใน อันนี้เขาเรียกว่าเป็น นโยบายความเกี่ยวพันเชิงสร้างสรรค์ จากดัชนีชี้วัดหลักนิติธรรม ปี 2012 ของ The World Justice Project ในดัชนีชี้วัดก็มีการแบ่งภูมิภาคต่างๆ เอเชีย ยุโรป แล้วก็มีการจัดอันดับเรื่องความสำเร็จของหลักนิติธรรม ตัวชี้วัดก็มีหลายตัว หนึ่งในตัวชี้วัดคือ สิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐาน ข้อมูลที่ออกมาก็คือว่า ในเอเชียตะวันออกรวมทั้งเอเชียแปซิฟิกที่เขาสำรวจ 14 ประเทศ รวมออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ แล้วประเทศที่เป็นอันดับ 1 ในเรื่องของนิติธรรม คือ นิวซีแลนด์ อันดับ 2 ออสเตรเลีย ส่วนอันดับหนึ่งด้านสิทธิเสรีภาพก็คือนิวซีแลนด์ แต่ถ้าดูอันดับเรื่องสิทธิเสรีภาพเฉพาะในกลุ่มอาเซียน ประเทศที่อยู่ในอันดับหนึ่งด้านสิทธิเสรีภาพของอาเซียน คือ สิงคโปร์ ดูแล้วอาจจะแปลก ดูภาพลักษณ์ของสิงคโปร์เป็นเผด็จการ แต่ผมมองว่าเขาคงมองเรื่องสิทธิเสรีภาพหลายๆ อย่าง ไม่ได้มองเรื่องสิทธิทางการเมืองอย่างเดียว มีเรื่องสังคม เศรษฐกิจด้วย บวก ลบ คูณ หารแล้วเขามองว่าสิงคโปร์อันดับหนึ่ง ส่วนไทยอยู่อันดับที่สอง แต่ก็ถือว่าไทยก็เป็นประเทศชั้นนำด้านสิทธิเสรีภาพ แต่ไม่ได้หมายว่าไทยโดดเด่นด้านสิทธิฯ แต่พูดถึงในเชิงเปรียบเทียบในอาเซียนที่มีความไม่เข้มแข็งด้านสิทธิ และถึงแม้จะรวมกันขึ้นมาก็ไม่ทำให้สถานภาพของไทยโดดเด่นขึ้นมาเท่าไร ในที่สุดแล้วผมก็ไม่คิดว่าประชาคมอาเซียนจะมีผลกระทบเท่าไรกับเรื่องของการพัฒนาสิทธิมนุษยชนของไทย ผมคิดว่าการพัฒนาเรื่องสิทธิของบ้านเรามันน่าจะมาจากภายในของเรามากกว่าที่จะไปมองเรื่องอิทธิพลจากภายนอก โดยเฉพาะกรณีของอาเซียน เราเองก็มีกลไกคุ้มครองสิทธิ คือ ศาล กรรมการสิทธิฯ สังคมก็พยายามที่สร้างหรือผลักดันกลไกพวกนี้ขึ้นมา รัฐธรรมนูญ 40 ก็เป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญที่สร้างกลไกต่างๆ อย่างกรรมการสิทธิฯ ผู้ตรวจการ มององค์กรเหล่านี้อย่างไร มีปัญหาหรือจุดอ่อนไหม ? แน่นอน ถ้ามันไม่มีจุดอ่อน ก็คงไม่เกิดภาวะวิกฤตเรื่องสิทธิมนุษยชนอย่างที่เป็นอยู่ ถ้าเราเริ่มไล่มาดูศาล หลายคนก็มองว่า จริงๆ แล้วศาลก็เป็นตัวปัญหาเรื่องความล้าหลังของสิทธิมนุษยชนไทย ผมคิดว่าศาลไทยจะปัญหาเรื่องข้อจำกัดในการรับรู้หรือยอมรับเรื่องสิทธิมนุษยชน เคยมีการสัมภาษณ์ผู้พิพากษาเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชน ผู้พิพากษาซึ่งก็เป็นผู้พิพากษาชั้นนำ มีชื่อเสียงนะ เขาก็บอกว่าศาลไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องสิทธิมนุษยชน ปัญหาความยากจนหรือความเป็นธรรมในสังคมไม่เกี่ยวกับศาล เป็นเรื่องของรัฐบาล นักเศรษฐศาสตร์ ศาลมีหน้าที่ใช้กฎหมาย อันนี้ก็จะเป็นประเด็นที่ชี้ให้เห็นว่าศาลไทยจะมีวิสัยทัศน์เรื่องสิทธิมนุษยชนที่จำกัด ซึ่งมันโยงไปถึงเรื่องการศึกษา เรื่องการอบรมอะไรต่างๆ โยงไปถึงตั้งแต่ยุคเริ่มต้นโรงเรียนกฎหมายไทย เราก็ถูกออกแบบมาให้เป็นเสมือนโรงเรียนปิดข้าราชการ รับใช้รัฐมากกว่าที่จะมารับใช้สังคม ต่อสู้ปกป้องเรื่องของสิทธิมนุษยชน ก็ไม่แปลกที่ว่าศาลที่ผ่านมาของไทยเวลาที่มีการปฏิวัติก็ไปรับรองการปฏิวัติหมด ก็คือยอมรับอำนาจคณะปฏิวัติ ยอมรับว่าประกาศคณะปฏิวัติถือเป็นกฎหมายมาตลอด ศาลไทยก็รับรองมาตลอด แทนที่จะปฏิเสธ อาจเพราะศาลก็ตกอยู่ในสภาพจำยอมหรือเปล่า คณะปฏิวัติมีปืน มีรถถัง ? เดิมก็มักจะมีการพูดถึงว่าการที่ศาลไทยไปรับรองอำนาจคณะปฏิวัติ เพราะว่าศาลไทยเชื่อในทฤษฎีคำสั่งรัฏฐาธิปัตย์ ใครยึดอำนาจได้เป็นรัฏฐาธิปัตย์ คนนั้นก็ออกกฎหมายได้ ทฤษฎีนี้ก็คือทฤษฎีปฏิฐานนิยมทางกฎหมาย ในวงการนิติศาสตร์ก็มักอ้างว่าศาลไทยยึดติดในทฤษฎีปฏิฐานนิยมทางกฎหมาย ก็เลยรับรองอำนาจของคณะปฏิวัติมาตลอด ผมเองก็เคยเชื่ออย่างนั้น หนังสือที่ผมเขียนก็เขียนทำนองนั้นว่าศาลไทยอยู่ใต้การครอบงำของทฤษฎีปฏิฐานนิยมทางกฎหมาย แต่ตอนหลังผมคิดว่าน่าจะเป็นความเข้าใจคลาดเคลื่อน ผมรู้สึกว่ามันเป็นการไปอธิบายความสำคัญของนิติปรัชญามากเกินไป ผมคิดว่าศาลไทย นักกฎหมายไทยไม่ได้ยึดมั่นในทฤษฎีเท่าไร ไม่ใช่นักทฤษฎี นักนิติปรัชญาอะไรหรอก อันนี้ก็เป็นประเด็นที่โยงไปถึงเรื่องความเข้มแข็งขององค์ความรู้ด้านนิติปรัชญาบ้านเราว่าอ่อนแอ ไม่ได้เข้มแข็งขนาดมีอำนาจชี้นำศาลได้ แล้วอะไรหรือที่อยู่เบื้องหลังคำตัดสินนั้น ที่คุณบอกว่าศาลกลัว ความกลัวก็เป็นอย่างหนึ่ง เป็นอคติของมนุษย์ แต่ความกลัวมันอาจจะเป็นความรักด้วยก็ได้ อคติ 4 มีเรื่อง รัก หลง โกรธ กลัว ผมคิดว่าศาลอาจจะรักชอบมากกว่ากลัว ตรงนี้ก็เป็นคำอธิบายอย่างหนึ่งในทางทฤษฎีกฎหมายได้ คือ ถ้าอ่านทฤษฎีแนวสัจนิยมทางกฎหมาย มันมีการวิเคราะห์ว่าคำพิพากษาของศาลบ่อยครั้งตัดสินไปอย่างมีอคติ ความรู้สึกส่วนตัว ไม่ได้ตัดสินความหลัก ตามตัวบท ตอนหลังผมก็อธิบายหลักเบื้องหลังคำตัดสินของศาล เรื่องรับรองประกาศคณะปฏิวัติว่า 1.มาจากอคติ เป็นไปได้ด้วยความรัก ความชอบ 2.มาจากวัฒนธรรมของสังคมไทย อิทธิพลของวัฒนธรรมที่มีต่อการใช้กฎหมาย วัฒนธรรมในเชิงอำนาจนิยม วัฒนธรรมไทยเรื่องความเป็นไทยที่ในด้านหนึ่งมีแนวคิดเชิงอำนาจนิยม แนวคิดในเรื่องของความเหลื่อมล้ำ เรื่องของที่ต่ำที่สูง แนวคิดแบบนี้ก็นำไปสู่การรับรอง รวมทั้งเรื่องของความสำเร็จในการยึดอำนาจด้วย ผมคิดว่าวัฒนธรรมไทยตั้งแต่ดั้งเดิมมีวัฒนธรรมเชิงอำนาจนิยมมาตลอด ถ้าเป็นสมัยโบราณเวลายึดอำนาจกันเขาไม่เรียกปฏิวัติ แต่เรียกปราบดาภิเษก ชิงราชสมบัติกันเสร็จก็ปราบดาภิเษกตัวเองขึ้นมาเป็นกษัตริย์องค์ใหม่ วัฒนธรรมปราบดาภิเษกมันเป็นวัฒนธรรมที่มั่นคงในสังคมไทย ยึดอำนาจสำเร็จก็ถือว่าเป็นผู้ปกครองคนใหม่ แน่นอนว่าออกกฎหมายได้ ศาลจะไปปฏิเสธได้อย่างไร ถ้ามองในแง่นี้ วัฒนธรรมเชิงอำนาจในเชิงปราบดาภิเษกมันฝังลงลึกแล้ว มันไม่เกี่ยวกับทฤษฎีปฏิฐานนิยม หรือรัฏฐาธิปัตย์ คือศาลก็อาจจะเขียนขึ้นมาอย่างนั้น เวลาเขียนก็เขียนไป แต่เบื้องหลังจริงๆ มันอยู่ตรงนี้ เป็นวัฒนธรรมที่ฝังลึกมานานแล้ว นอกจากเรื่องวัฒนธรรมก็มีเรื่องการเมืองเบื้องหลังศาล โดยเฉพาะการเมืองที่เราวิเคราะห์กันว่าเป็นการเมืองแบบอํามาตยาธิปไตย ผมคิดว่าโดยทั่วไป ศาลไทยใกล้ชิดกับระบอบอํามาตยาธิปไตย ศาลไทยจะเป็นเครือข่ายสถาบันกษัตริย์หรือไม่ก็น่าคิด เครือข่ายสถาบันกษัตริยนั้นหมายถึง การมีความยึดโยงกันอยู่ระหว่างสถาบันชั้นสูงกับสถาบันกษัตริย์ เป็นไปได้ยิ่งที่สถาบันศาลก็อยู่ในความสัมพันธ์เชิงเครือข่ายอันนี้ บวกกับอิทธิพลความคิดแบบอํามาตยาธิปไตย ราชาชาตินิยม ศาลไทยตั้งแต่ยุคหลังปฏิวัติ 2490 ก็เลยรับรองเรื่องอำนาจคณะปฏิวัติมาตลอด แล้วก็กลายเป็นต้นแบบเดินตามมาตลอด ผมคิดว่าตรงนี้เป็นปัญหาสำคัญของศาลไทย ช่วงหลังก็ขยับมาเรื่อย กลายเป็นเรื่องตุลาการภิวัฒน์ เป็นตัวปัญหาใหญ่ของเรื่องสิทธิมนุษยชน เรื่องความยุติธรรมสองมาตรฐาน สิทธิมนุษยชนมันต้องไม่สองมาตรฐาน ถ้าเคารพในสิทธิมนุษยชน ต้องเท่าเทียม ตัดสินคดีและใช้กฎหมายอย่างเสมอภาค แล้วอาจารย์มองบทบาทกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) อย่างไร มีการวิจารณ์พอสมควรเรื่องการออกและไม่ออกมาของกสม. เทียบระหว่างกรณีชุมนุมเสธ.อ้าย กับ ชุมนุมเสื้อแดง อ.จรัญ : กสม. เริ่มกำเนิดจากรัฐธรรมนูญ 40 มีชุดทำงานชุดแรกคือชุดของ อ.เสน่ห์ จามริก ก็โอเคนะ เป็นชุดที่พยายามที่จะทำงานด้านสิทธิมนุษยชน แต่ว่าปัญหาของ กสม. ชุดแรกอาจจะเริ่มจากเรื่องการไม่สามารถรักษาความสมดุลในเรื่องบทบาทขององค์กรที่ต้องมีบทบาทอยู่กึ่งกลางระหว่างรัฐกับภาคประชาชน คือไม่เข้าใกล้รัฐหรือประชาชนมากเกินไป รักษาระยะห่าง ถ้าเข้าใกล้รัฐมากก็กลายเป็นเครื่องมือของรัฐ ห่างจากรัฐมากไปก็กลายเป็นฝ่ายค้าน ก็จะถูกรัฐวิพากษ์วิจารณ์โจมตี พอ กสม. ชุดแรกรักษาระยะห่างไม่ดี ก็เลยถูกโจมตีว่าเป็นเสมือนเอ็นจีโอระดับชาติ และก็เหมือนไล่จับผิดรัฐบาลอยู่เรื่อย กลายเป็นคู่ขัดแย้งกัน การที่จะตรวจสอบและทำงานโดยที่ได้รับการร่วมมือจากรัฐบาลก็ไม่ค่อยได้เกิดขึ้น ในขณะเดียวกันก็มีความเป็นนักทฤษฎีดีมากกว่านักบริหาร มีข้อจำกัดด้านการบริหารซึ่งอาจจะมาจากการที่พึ่งเริ่มก่อตั้ง ไม่รู้จะจัดระบบงานอย่างไร งานก็เลยสับสนวุ่นวาย ลองอ่านบทความ 11 ปีกรรมการสิทธิฯ อะไรนั้นดู เขาก็พูดประเด็นพวกนี้ว่ามันมั่วไปหมด แล้วงานก็ออกช้ามาก คั่งค้างสะสมมาเรื่อย นอกจากนั้นก็มีประเด็นเรื่องความขัดแย้งภายใน ซัดกันเองบ้าง ประธานกับเลขาธิการบ้าง กรรมการก็ยังซัดกันเอง ร้องถอดถอนกันเอง จะเรียกว่าเป็นปัญหาปุถุชนก็ได้ ทั้งที่กรรมการชุดแรกนั้น ตัวบุคคลที่คัดมาผมคิดว่าดีนะ มีชื่อเสียงในแง่คุณภาพ แต่ว่าพอเข้าไปแล้วก็เกิดปัญหา ไม่รู้จะเหมือนพรรคคอมมิวนิสต์หรือพวกที่เข้าป่าหรือเปล่า ก็เรียกกันว่าเป็นนักอุดมการณ์ ก็ฝันว่าพวกเข้าป่าจะเป็นนักอุดมการณ์รับใช้ประชาชน แต่เข้าไปแล้วมันก็ซัดกันแหลก ผมคิดว่ากรรมการสิทธิฯ ก็มีปรากฏการณ์แบบนี้ ยิ่งช่วงหลังมีปัญหาเรื่องเกี่ยวกับวิกฤตทักษิณ พันธมิตรฯ อะไรต่างๆ มันก็เหมือนกับแบ่งข้าง กสม.บางคนก็พันธมิตรฯ บ้าง บางคนก็เป็นฝ่ายรัฐบาล ทำให้เกิดความขัดแย้งต่างๆ จนเกิดรัฐประหาร 49 ทำให้เหมือนกรรมการสิทธิฯแตก อ.จรัล ดิษฐาอภิชัย ก็ถูกถอดเพราะไปเคลื่อนไหวกับ นปช. ขณะที่ประธานที่กรรมการสิทธิก็ไม่ปฏิเสธการรัฐประหาร ประนีประนอม ก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์ แต่ยังคงองค์กรเอาไว้ ยังไม่ยอมสลายตัว ถ้าเป็นองค์ที่ต่อสู้เรื่องสิทธิมนุษยชนจริงๆ ผมคิดว่ามันน่าจะมีปฏิกิริยาต่อการปฏิวัติ ออกแถลงการณ์ ต่อต้าน คัดค้าน ลาออก แต่ว่านี่ก็ไม่ อยู่ต่อ จนตอนหลังก็เกือบจะถูกเขาจะไล่ด้วยซ้ำว่าทำไมอยู่นานนัก มีการฟ้องศาลปกครอง อันนี้ก็เป็นปัญหาซึ่งทำให้การขับเคลื่อนขององค์กรในแง่การส่งเสริมสิทธิมนุษยชนมันมีปัญหามากเหลือเกิน พอมาชุดที่สอง ชุดที่สองมาจากรัฐธรรมนูญ 50 แล้วก็มาจากกระบวนการสรรหาต่างๆ ซึ่งคณะกรรมการสรรหาก็มาจากภาคตุลาการส่วนใหญ่ เรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชนถูกทิ้งไป ก็เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นเสมือนกรรมการสิทธิฯ ภายใต้ตุลาการภิวัฒน์ กรรมการสิทธิฯ ก็ถูกมองว่าไม่มีความเป็นอิสระ ไม่เป็นกลางอย่างแท้จริง แล้วก็ทำให้การแสดงบทบาทดูเหมือนไม่เป็นอิสระ เลือกข้างบ้าง ผมคิดว่าอันนี้คือปัญหาซึ่งมาจากบริบททางการเมืองที่อยู่เบื้องหลังการเปลี่ยนแปลงกระบวนการสรรหา เพราะฉะนั้นมันก็ไม่แปลกที่ทำไมจึงมีการเคลื่อนไหวหลายๆ อย่างที่มันดูแปลกๆ อย่างรายงานเกี่ยวกับพฤษภา 53 ตอนนี้ก็ยังไม่ออก ถามว่าทำอะไรกันอยู่ ถึงที่สุด เรื่องสิทธิมนุษยชนอาจจะไม่ใช่เรื่องใหญ่หรือเปล่า อย่างจีนเขาก็ยังอยู่ได้โดยไม่สนใจเรื่องนี้ ? ในแง่ของบรรทัดฐานสากลเราก็ยอมรับว่าสิทธิมนุษยชนเป็นบรรทัดฐานที่สำคัญของโลกปัจจุบันในเชิงจริยธรรม ถ้าหากว่าประเทศไทยมีภาพลักษณ์ไม่ดีตรงนี้ มันก็จะถูกบีบ กดดัน sanction อะไรต่างๆ เหมือนอย่างพม่าในสมัยก่อน แต่ขณะเดียวกันก็ต้องเข้าใจว่าในประเด็นของแรงบีบ มาตรการต่อเรื่องภาพลักษณ์ก็มีเรื่องการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง การเมืองตะวันตก บางทีมันก็ไม่ได้จริงใจกับสิทธิมนุษยชน หลายครั้งเอาสิทธิมนุษยชนเป็นเครื่องมือ อ้างว่าภาพลักษณ์ดีไม่ดีอะไรต่างๆ อันนี้ก็เป็นประเด็นเรื่องการเมืองระหว่างประเทศ ซึ่งผมคิดว่าอันนี้ก็คงต้องรู้เท่าทันสากลโลกตะวันตกด้วย ประเด็นเรื่องฝรั่งหรือตะวันตกมันก็ทั้งบวกทั้งลบ มีทั้งบทบาทด้านบวกด้านลบ แต่ในขณะเดียวกันเราก็อาจจะตั้งคำถามว่าทำไมอาเซียนมันไม่พัฒนาทั้งๆที่อาเซียนเกือบทั้งหมดเคยเป็นประเทศอาณานิคมฝรั่ง ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดสิทธิมนุษยชน คำตอบที่ผมค้นพบก็คือว่าพวกฝรั่งไม่พยายามเผยแพร่สิทธิมนุษยชนต่างๆ อันนี้เป็นการวิเคราะห์ของนักสิทธิมนุษยชนของตะวันตกด้วยกันว่าพวกมหาอำนาจตะวันตก อังกฤษ ฝรั่งเศสที่เที่ยวไปยึดครองไม่เผยแพร่สิทธิมนุษยชนเพราะกลัวว่าถ้าพูดเรื่องสิทธิมนุษยชนหรือเผยแพร่ความคิดนี้ออกไป ต่อไปประเทศที่ถูกยึดครองจะเอาเรื่องสิทธิมนุษยชนมาต่อสู้เรียกร้อง เอกราช อิสรภาพ เสรีภาพ อ้างศักดิศรีความเป็นมนุษย์ต่างๆ นี่คือการเมืองสิทธิมนุษยชน ตะวันตกใช้สิทธิมนุษยชนใช้เพื่อประโยชน์ต่างๆ แต่บางครั้งก็ไม่พูด ไม่อยากให้รู้ ถ้ารู้มากเดี๋ยวตัวเองโดนกลับ ผมว่าอันนี้ก็เป็นประเด็นที่ต้องรู้เท่าทัน ผมคิดว่าจีนฉลาด เขาก็รู้ว่าตะวันตกก็เล่นเรื่องแบบนี้ ในขณะที่ฝรั่งก็ไม่กล้าเล่นจีนมากเพราะมีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจกับประเทศจีน กรณีกรือเซะ ตากใบ หรือการสลายการชุมนุมของเสื้อแดงปี 53 เราควรมีท่าทีอย่างไร และรัฐบาลควรต้องดำเนินการอย่างไรต่อกรณีเหล่านี้ ? ปัจจุบันก็มีการเยียวยาไป ก่อนหน้าก็มีการขอโทษกันในยุคสมัยรัฐบาลสุรยุทธ์ จุลานนท์ ก็โอเค เพียงแต่ว่าเราอาจจะเน้นเรื่องของกระบวนการทางด้านทรัพย์สินมากคือ ให้เงิน แต่เรื่องความยุติธรรมก็ยังมีปัญหา เอาง่ายๆ ก็คือคนที่ทำผิดยังไม่ถูกลงโทษ อย่างกลุ่มทหารที่เป็นคนรับผิดชอบก็ไม่ได้ถูกลงโทษอะไรจริงจัง แค่สั่งย้ายกันนิดหน่อย หรือแม้กระทั่งศาล ศาลที่มีการไต่สวนการตายกรณีตากใบก็บอกว่าตายเพราะขาดลมหายใจ คือไม่ได้ชี้ว่าทหารทำไม่ดี ทำไม่ถูกต้อง มันก็เป็นประเด็น เกิดข้อกังขาและความไม่พอใจว่าเขาไม่ได้รับความยุติธรรม ซึ่งเป็นจุดหมายสำคัญของสิทธิมนุษยชน มองกรณีล่าสุดที่ คุณอภิสิทธิ์ให้สัมภาษณ์ BBC กรณีสลายการชุมนุมว่าอย่างไร ? เบื้องต้นเราต้องยอมรับว่าคุณอภิสิทธิ์ก็เป็นมนุษย์ มีสิทธิมนุษยชน มีสิทธิที่จะพูด สิทธิที่จะแสดงออก สิทธิในการต่อสู้คดีอะไรต่างๆ ผมคิดว่าอย่าพึ่งไปโกรธเกลียดเขาเร็วเกินไป ก็ต้องยอมรับศักดิ์ศรีความเป็นคนของเขา เขามีสิทธิที่จะพูดแสดงออกปกป้องตัวเอง ก็เป็นปุถุชนที่มีความกลัว และแน่นอนก็มีเหตุผล ถ้าเรามองในแง่ของหลักสิทธิมนุษยชน ขณะเดียวกันในแง่ของความเป็นพุทธเราอาจจะต้องมีพรหมวิหาร ถึงเมตตากรุณาจะทำไม่ได้ แต่ก็ควรจะมีอุเบกขา คือวางใจเป็นกลาง แม้ฟังจะไม่สบอารมณ์ก็ต้องพยายามวางใจให้เป็นกลาง แล้วก็ดูว่าสิ่งที่เป็นคำพูดของเขามันถูกต้องหรือเปล่า มันเป็นไปตามหลักกฎหมายไหม คือในที่สุดก็ต้อยยอมรับว่าเรื่องสิทธิมนุษยชนกับกฎหมายมันไปด้วยกัน สิทธิมนุษยชนก็ต้องมีกฎหมายเข้ามาเป็นตัวชี้วัดพิสูจน์มัน เพราะฉะนั้นคุณอภิสิทธิ์ก็มีสิทธิที่จะชี้แจง แล้วเราก็ต้องฟังเขา ผมคิดว่าสิ่งที่เขาพูดก็พยายามอิงรายงานของ คอป. ปฏิเสธความรับผิดชอบต่างๆ มันก็เป็นธรรมดาของมนุษย์เรา ส่วนจะผิดหรือถูกก็มีศาลยุติธรรมเป็นผู้ชี้ขาด แต่หลักของเขาที่อิงรายงาน คอป. ซึ่งก็อ้างถึงชายชุดดำเป็นหลักในทำนองที่บอกว่า ถ้าไม่มีชายชุดดำ ก็ไม่มีการสูญเสีย มันเหมือนกับไปเอาประเด็นชายชุดดำเป็นตัวตั้ง เป็นตัวหลักของปัญหา ซึ่งผมไม่คิดว่านั้นเป็นตัวหลัก เป็นส่วนย่อยมากกว่า เขาพยายามที่จะขยายส่วนย่อยให้กลายเป็นด้านหลักขึ้นมา แต่ถึงแม้จะมีชายชุดดำ ซึ่งผมคิดว่าก็เป็นไปได้ จากที่เราเห็นจากภาพถ่าย และถึงแม้จะยอมรับว่ามีชายชุดดำ แต่โดยหลักแล้วถามว่าทหารที่สิทธิหรือเปล่าในการใช้ความรุนแรงกับคนส่วนใหญ่ที่ไม่ใช่ชายชุดดำ ภาพที่เราเห็น หลักฐานที่ปรากฏบ่งบอกว่าคนที่ถูกยิงมันไม่ใช่ชายชุดดำ ถ้าเขาบอกว่าเป็นการกระทำที่ตอบโต้ชายชุดดำเพราะชายชุดดำแอบแฝงมา ก็ต้องหาหลักฐานพิสูจน์ให้เห็นว่าคนที่ถูกยิงตายเขาเป็นชายชุดดำจริงหรือเปล่า มีอาวุธติดตัวด้วยหรือเปล่า ที่ทำให้ทหารต้องต่อสู้ป้องกันตัว ตอบโต้ อย่างกรณีที่ศาลวินิจฉัย เรื่องนายพัน คำกอง เขาเป็นชุดดำหรือเปล่า คุณอภิสิทธิ์ก็พยายามจะบอกว่านายพันไม่ใช่ผู้เข้าร่วมชุมนุมนะ แต่เหมือนแว๊บเข้ามาดู แต่โชคร้าย แต่ไม่ว่าอะไรก็แล้วแต่ สิ่งที่พิสูจน์ได้ก็คือนายพันไม่ใช่ชายชุดดำ ตรงนี้คือสิ่งที่ผมว่าคุณอภิสิทธิ์ต้องไปพิสูจน์กับศาล เพราะโดยหลักแล้วถ้าคุณจะอ้างว่าคุณใช้ความรุนแรงเพื่อป้องกันตนเองและผู้อื่น เขาพยายามจะชี้ประเด็นนี้ว่าที่ให้ใช้กระสุนจริงเพื่อป้องกันตัวเองและผู้อื่น นี่เป็นหลักทั่วไปของกฎหมายเรื่องความยุติธรรม คืออำนาจของรัฐตำรวจ ทหารต่างๆ โดยหลักแล้วคุณจะยิงคนฆ่าคนคือต้องเป็นกรณีป้องกันตัวเอง ตำรวจจะไปวิสามัญก็ต้องเป็นลักษณะป้องกันตัวเอง ผู้ร้ายต่อสู้ขัดขืน ตำรวจจึงมีสิทธิที่จะยิง ไม่ใช่ว่าผู้ร้ายนอนอยู่ คุณเอาปืนไปยิงเขา คุณมีความผิดฐานฆ่าคนตายนะ มันเป็นหลักที่จะเรียกว่าหลักสิทธิมนุษยชนอย่างหนึ่งก็ได้ สิทธิธรรมชาติ สิทธิในการป้องชีวิตตัวเอง เพราะฉะนั้นการใช้ความรุนแรงมันก็ต้องอยู่บนพื้นฐานที่ถูกต้อง การใช้รุนแรงที่ชอบธรรมทำมันก็ตั้งบนพื้นฐานของการป้องกันตัวเอง ถ้าเกินไปกว่านี้ผมคิดว่ามีปัญหาแล้ว ไม่ใช่ความชอบธรรมแล้ว แล้วกรณีของทหารที่ไปยิง ล้อมปราบมันป้องกันตัวเองหรือเปล่า อันนี้คือสิ่งที่คุณอภิสิทธิ์ต้องไปพิสูจน์ ถ้าป้องกันกันตัวเองหมายความว่าต้องถูกยิงตอบโต้ แล้วก็ยิงทำให้เขาตายไป ต้องพิสูจน์ว่าคนที่ตายเป็นคนที่ใช้อาวุธยิงทหาร นี่คือปัญหา เพราะว่าจากผู้เสียชีวิตทั้งหลาย เราไม่พบว่าเป็นชายชุดดำ ไม่ได้พบว่ามีอาวุธติดตัว เพราะฉะนั้นผมว่าการอ้างหลักเรื่องป้องกันตรงนี้ของคุณอภิสิทธิ์มีปัญหา เพราะไม่น่าจะเป็นเรื่องป้องกันตัว แต่ถึงแม้จะเป็นการป้องกันตัว แต่โดยหลักแล้วป้องกันก็ต้องสมควรแก่เหตุด้วย เหมาะสม ภยันตรายมันใกล้จะถึงตัวเอง ถ้าเป็นการป้องกันที่ไม่พอสมควรแก่เหตุเขาถือมีดถือไม้ธรรมดา คุณยิงหัวเขา แทนที่จะยิงมือยิงขา มันก็ผิด ผมคิดว่าตรงนี้เป็นปัญหาที่คุณอภิสิทธิต้องไปพิสูจน์กับศาล
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
'ผู้สื่อข่าวไร้พรมแดน' เผยรายงานปี 2012 ชี้นักข่าวตายมากที่สุดในรอบ 15 ปี Posted: 20 Dec 2012 08:31 AM PST ส่วนใหญ่มาจากสงครามในซีเรีย โซมาเลียและอัฟกานิสถาน ทำห้ยอดนักข่าวที่เสียชีวิตในรอบปีเพิ่มขึ้น 33% ในขณะที่พลเมืองเน็ตและนักข่าวพลเมืองที่เสียชีวิตเพิ่มขึ้น 840% 20 ธ.ค. 55 - องค์กรผู้สื่อข่าวไร้พรมแดน (Reporters without Borders) เผยแพร่รายงานประจำปี 2012 ระบุเป็นปีที่โหดเหี้ยมที่สุดสำหรับนักข่าว โดยมียอดตัวเลขนักข่าวผู้เสียชีวิตในขณะปฏิบัติงาน 88 คน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 66 คน ในขณะที่นักข่าวพลเมืองและพลเมืองเน็ตเสียชีวิตทั้งหมด 47 คนจากในปีที่แล้ว 5 คน ส่วนใหญ่จากเหตุสู้รบในซีเรีย การเป็นเป้าของกลุ่มติดอาวุธและรัฐบาลท้องถิ่นในโซมาเลีย ปากีสถาน รวมถึงในเม็กซิโกและบราซิล ซึ่งการรายงานเรื่องคอร์รัปชั่น การค้ายาเสพติด และกลุ่มอาชญากร ทำให้นักข่าวเสี่ยงต่อการถูกสังหาร สถิติดังกล่าว นับว่าเป็นสถิติที่การเสียชีวิตของนักข่าวทั่วโลกที่เลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่องค์กรผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนได้จัดทำรายงานประจำปีเมื่อปี 2538 โดยในปี 2554 มีนักข่าวเสียชีวิตในขณะปฏิบัติงานทั่วโลก 67 คน ในปี 2553 มี 58 คน และในปี 2552 มี 75 คน "ที่มาของสถิติจำนวนนักข่าวที่เสียชีวิตในปี 2555 ส่วนใหญ่มาจากสงครามในซีเรีย ความวุ่นวายในโซมาเลีย และความรุนแรงในปากีสถาน" คริสตอฟ เดลัวร์ เลชาธิการองค์กรผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนกล่าว "การงดเว้นการรับผิดของผู้ที่รับผิดชอบต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ทำให้การละเมิดสิทธิเหล่านี้ยังคงดำเนินอยู่" ทั้งนี้ ในการรวบรวมสถิติดังกล่าว ผู้สื่อข่าวไร้พรมแดน ได้รวบรวมข้อมูลเฉพาะที่เกี่ยวกับนักข่าว หรือพลเมืองเน็ตที่ถูกสังหารจากการรวบรวมและส่งต่อข้อมูลข่าวสารเท่านั้น มิได้รวมถึงนักข่าวหรือพลเมืองเน็ตที่ถูกสังหารจากความเกี่ยวข้องทางการเมืองและสังคม หรือเหตุผลอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูลข่าวสาร รายงานดังกล่าว ระบุว่า จำนวนนักข่าวผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 33 โดยจากในปี 2554 มีนักข่าวเสียชีวิต 66 คน ส่วนในปี 2555 มี 88 คน ส่วนนักข่าวพลเมืองและพลเมืองเน็ต เสียชีวิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 840 จากในปีที่แล้ว 5 คน เสียชีวิตในปีนี้ 47 คน โดยในซีเรีย มีนักข่าวเสียชีวิตจากการรายงานข่าวอย่างน้อย 17 คน และนักข่าวพลเมืองเสียชีวิต 44 คน จากการเป็นเป้าของรัฐบาลระบอบบาชาร์ อัล อัสซาด รวมถึงการตกเป็นเป้าของกลุ่มติดอาวุธ ซึ่งพร้อมจะมองนักข่าวว่าเป็น 'สปาย' หากไม่รายงานตามมุมมองของพวกเขา นอกจากนี้ ในโซมาเลีย มีนักข่าวถูกสังหารในปีนี้ 18 คน จากความไม่มีเสถียรภาพและการสู้รบในรัฐที่ล้มเหลวนี้ โดยในเดือนกันยายนเพียงอย่างเดียว มีนักข่าว 7 คนเสียชีวิต มีคนหนึ่งถูกยิงสังหารและคนหนึ่งถูกตัดหัว ผู้ที่รับผิดชอบต่อการสังหารนี้ มักเป็นกลุ่มติดอาวุธ อัล-ชีบาบ หรือเจ้าหน้าที่รัฐที่ต้องการจะปิดปากสื่อมวชน ส่วนในอัฟกานิสถาน เม็กซิโก และบราซิล มีนักข่าวถูกสังหารในระหว่างปฏิบัติงาน 9 คน 6 คน และ 5 คนตามลำดับ ยังเป็นปีที่นักข่าวถูกจำคุกมากที่สุด โดยเฉพาะในตุรกีและจีน ในปี 2555 มีนักข่าวทั้งหมด 193 คนทั่วโลกถูกจำคุกจากการรายงานข่าว ในขณะที่มีพลเมืองเน็ตถูกจำคุกอย่างน้อย 130 คน จากการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร โดยในตุรกี นับว่าเป็นคุกที่ใหญ่ที่สุดสำหรับนักข่าว โดยมีนักข่าวอย่างน้อย 42 คน และคนทำงานสื่อ 4 คน ถูกจำคุก ส่วนใหญ่จากกฎหมายที่อนุญาตให้จับกุมและค้นนักข่าวได้อย่างง่ายดาย ด้วยเหตุผลของรัฐในการอ้างว่าต่อสู้กับการก่อการร้าย ส่วนในประเทศจีน มีนักข่าวถูก 30 คน และพลเมืองเน็ต 69 คน ถูกจำคุก ซึ่งถูกตั้งข้อหาจากการเป็นกบฎ หรือเปิดเผยความลับของรั ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ซีพีทุ่มสามพันล้านเตรียมผลิตข้าวครบวงจรเพื่อการส่งออก Posted: 20 Dec 2012 07:47 AM PST
ที่มา : http://www.thairath.co.th/content/edu/314415 ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
มูลนิธิแมกไซไซออกจม.-‘จอน’ จี้อาเซียนกดดันลาวกรณี NGO หายตัวลึกลับ Posted: 20 Dec 2012 07:27 AM PST มูลนิธิรางวัลแมกไซไซรวบรวมกว่า 30 รายชื่อ ร้องรัฐบาลลาวสืบสวนการหายตัวไป-รับประกันความปลอดภัย 'นายสมบัด สมพอน' เจ้าของรางวัลแมกไซไซ ด้าน 'จอน อึ๊งภากรณ์' หนุนออกกฎหมายให้สอดคล้องกับอนุสัญญาฯ ป้องกันการถูกบังคับให้สูญหาย 20 ธ.ค.55 นายจอน อึ๊งภากรณ์ อดีตวุฒิสมาชิกกรุงเทพมหานคร และเจ้าของรางวัลรามอน แมกไซไซ สาขาบริการรัฐกิจ ประจำปี พ.ศ.2548 กล่าวถึงกรณีการหายตัวไปของนายสมบัด สมพอน (Sombath Somphone) เจ้าของรางวัลแมกไซไซ สาขาบริการชุมชนในปีเดียวกันว่า ขณะนี้ผู้ได้รับรางวัลรางวัลแมกไซไซ ได้ร่วมกับคณะกรรมการ เจ้าหน้าที่ และพนักงานมูลนิธิรางวัลแมกไซไซ จำนวนกว่า 30 คนได้ร่วมกันลงนามในจดหมายเปิดผนึกถึงนายกรัฐมนตรี และหน่วยงานต่างๆ ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) เรียกร้องให้สืบสวนการหายตัวไปและรับประกันความปลอดภัยของนายสมบัดอย่างเร่งด่วน สืบเนื่องจากกรณีที่ นายสมบัด นักพัฒนาอาวุโสของลาว ผู้ก่อตั้งศูนย์อบรมร่วมพัฒนา (PADETC) ได้หายตัวไปตั้งแต่เวลาประมาณ 17.00 น.ของวันเสาร์ที่ 15 ธ.ค.55 และมีข้อมูลว่าในวันดังกล่าวนายสมบัดถูกตำรวจเรียกให้หยุดรถระหว่างทางกลับบ้านก่อนที่จะหายตัวไป นายจอน กล่าวว่าจดหมายเปิดผนึกดังกล่าวจะถูกนำส่งให้รัฐบาลลาวผ่านกระทรวงการต่างประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งคาดว่าจะมีการเร่งดำเนินการเพราะกรณีนี้ถือเป็นกรณีเร่งด่วน และคิดว่าจะเป็นตัวอย่างของหน่วยงานอื่นๆ "คุณสมบัดเป็นคนรักประเทศ รักประชาชนของตนเอง และไม่ใช่คนที่ใช้ความรุนแรงในการเคลื่อนไหว เขาเป็นคนสุภาพ" นายจอนกล่าวถึงนายสมบัดผู้ได้รับรางวัลแมกไซไซในปีเดียวกัน เขากล่าวด้วยว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับนายสมบัดจะมีผลทำให้ภาคประชาสังคมเกิดความหวาดกลัวในการที่จะเคลื่อนไหว เนื่องจากมีการคาดการณ์ว่าอาจมีความเกี่ยวข้องกับทางการลาว ซึ่งนั่นไม่ได้แปลว่าทุกหน่วยงานของลาวจะต้องรับรู้ แต่ข้อมูลเช่นการที่นายสมบัดถูกกักตัวที่ด่านของตำรวจทำให้เชื่อได้ว่ามีหน่วยงานของลาวเกี่ยวข้องอยู่ แต่จะเป็นหน่วยงานไหนหรือรัฐบาลจะมีส่วนเกี่ยวข้องด้วยหรือไม่นั้นไม่สามารถทราบได้ สำหรับสถานการณ์ในขณะนี้ นายจอนแสดงความคาดหวังว่านายสมบัดจะยังคงมีชีวิตอยู่ แต่หากเหตุการณ์เลวร้ายก็อาจออกมาในทำนองเดียวกับกรณีของทนายสมชาย นีละไพจิตร นักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนไทย (หายตัวไปเมื่อวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ.2547 ในช่วงสมัยรัฐบาลทักษิณ 1) และทนง โพธิ์อ่าน ผู้นำแรงงานซึ่งหายตัวไปหลังรัฐบาล รสช.เรียกไปรายงานตัว (หายสาบสูญไปเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2534) ทั้งนี้ ยิ่งเวลาผ่านไปนานโอกาสที่ว่านายสมบัดจะยังมีชีวิตอยู่ยิ่งน้อยลง เจ้าของแมกไซไซวิเคราะห์ด้วยว่า ขณะนี้ความปลอดภัยของนายสมบัดอยู่ที่การกดดันของต่างประเทศซึ่งไม่ใช่อเมริกาหรือจีน แต่เป็นจากประเทศอาเซียน และทางการลาวก็คงไม่ฟังเสียงของเอ็นจีโอ ดังนั้นรัฐบาลประเทศอาเซียนควรต้องแสดงท่าทีถึงความไม่สบายใจในเรื่องนี้ นายจอน กล่าวถึงประเด็นที่น่าสนใจจากกรณีที่เกิดขึ้นอีกว่า สปป.ลาวได้ลงนามในอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการถูกบังคับให้สูญหายโดยไม่สมัครใจ ขององค์การสหประชาชาติ (The Convention for Protection of all Persons from Enforced Disappearance) ซึ่งในอาเซียนมี สปป.ลาว อินโดนีเซีย และไทย (23 พ.ย.2553) ลงนามในอนุสัญญาดังกล่าวแล้ว แต่ไม่มีผลบังคับใช้ เนื่องจากไม่มีกฎหมายในประเทศรองรับ ทำให้เรื่องเช่นนี้ยังเกิดขึ้นและในไทยเองก็เช่นเดียวกัน ส่วนการแก้ปัญหาในระยะยาว ควรต้องมีการเคลื่อนไหวให้มีการออกกฎหมายให้สอดคล้องกับอนุสัญญาฯ ผ่านสภา ซึ่งเท่ากับจะเป็นการนำมาสู่การปฏิบัติ แม้ว่าจะไม่ได้รับประกัน 100 เปอร์เซ็นต์ แต่ก็ทำให้ผู้มีอำนาจต้องหาข้อเท็จจริงโดยเร่งด่วน หากมีการจับตัวโดยเจ้าหน้าที่รัฐต้องมีการเปิดเผยข้อมูลโดยทันทีต่อญาติและครอบครัวผู้ถูกควบคุมตัว
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เส้นทางสู่มหาวิทยาลัยเพื่อสังคม (แบบไทยๆ) Posted: 20 Dec 2012 06:53 AM PST ข้อกล่าวหาที่ได้ยินกันบ่อยในเมืองไทยคือการโจมตีนักวิชาการหรือปัญญาชนที่ไม่ทำอะไรเพื่อสังคมว่าเป็นนักวิชาการประเภท "หอคอยงาช้าง"
เผยแพร่ครั้งแรกใน : มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับประจำวันที่ 30 พฤศจิกายน - 6 ธันวาคม, 7-13 ธันวาคม และ 14-20 ธันวาคม 2555 ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
‘ภรรยาเจ้าของรางวัลแมกไซไซ’ เผยมีภาพสามีที่ป้อมตำรวจก่อนหายตัวไป ร้องรัฐบาลลาวเร่งสอบ Posted: 20 Dec 2012 03:48 AM PST คู่สมรสของ 'นายสมบัด สมพอน' ทำหนังสืออุทธรณ์ต่อรัฐบาลลาว เผยพบภาพจากกล้องวงจรปิดชี้สามีอยู่ที่ป้อมตำรวจก่อนถูกพาตัวหายไปทั้งคนและรถ พร้อมร้องให้สอบสวนคดีการหายตัวไปอย่างเร่งด่วน นายสมบัด สมพอน (Sombath Somphone) นักพัฒนาอาวุโสของลาว เจ้าของรางวัลแมกไซไซ ปี พ.ศ.2548 ซึ่งหายตัวไปกลางกรุงเวียงจันทน์ เมื่อวันที่ 15 ธ.ค.ที่ผ่านมา วันนี้ (20 ธ.ค.55) ผู้สื่อข่าวรายงานความคืบหน้ากรณีนายสมบัด สมพอน (Sombath Somphone) นักพัฒนาอาวุโสของลาว เจ้าของรางวัลแมกไซไซ ปี พ.ศ.2548 หายตัวไป ระหว่างการขับรถกลับบ้านพักในกรุงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ในช่วงระหว่าง 17.00-18.00 น.ของวันเสาร์ที่ 15 ธ.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งต่อมาเอ็นจีโอไทยและระหว่างประเทศกว่า 60 องค์กรได้ร่วมลงนามในจดหมายส่งถึงรัฐบาลลาว เรียกร้องให้เร่งติดตามหาการหายตัวไปดังกล่าว ล่าสุดเมื่อวันที่ 19 ธ.ค.ที่ผ่านมา นางอ๋อง ชุย เม็ง คู่สมรสของนายสมบัด สมพอน ได้ทำหนังสืออุทธรณ์ต่อรัฐบาลสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยกล่าวถึงเหตุการณ์การหายตัวไปของนายสมบัดว่าพบภาพจากกล้องวงจรปิดชี้ว่าอยู่ที่ป้อมตำรวจก่อนถูกพาตัวหายไป และได้พยายามติดตามตัวซึ่งจนถึงปัจจุบันยังไม่ได้รับข่าวคราวใดๆ พร้อมเรียกร้องต่อรัฐบาลฯ ให้ทำการสอบสวนคดีการหายตัวไปของนายสมบัดอย่างเร่งด่วน รวมทั้งให้เปิดเผยข้อมูลตำแหน่งที่อยู่ของเขาและให้รับรองความปลอดภัย หนังสืออุทธรณ์ดังกล่าวระบุเนื้อหาดังนี้ ข้าพเจ้าชื่อ นาง อ๋อง ชุย เม็ง คู่สมรสของนายสมบัด สมพอน ข้าพเจ้าพบสามีของข้าพเจ้าครั้งสุดท้ายเมื่อเขาขับรถจี๊ปตามหลังรถของข้าพเจ้าเมื่อวันเสาร์ที่ 15 ธันวาคม 2555 เรากำลังเดินทางกลับบ้านเพื่อไปรับประทานอาหารเย็น รถจี๊ปของเขาขับตามหลังข้าพเจ้าเมื่อเวลาประมาณ 18.00 น. ใกล้กับป้อมตำรวจบนถนนท่าเดื่อ (กม.3) หลังจากนั้นข้าพเจ้าไม่ได้พบเห็นเขาอีกเลย เมื่อกลับมาถึงบ้านและพบว่าเขายังไม่กลับมา ข้าพเจ้าพยายามโทรศัพท์ติดต่อเขาแต่พบว่าโทรศัพท์มือถือถูกปิดไปแล้ว เมื่อเวลาประมาณ 1.30 น.ในคืนเดียวกัน เราออกตามหาเขาบริเวณใกล้ๆ สถานที่สุดท้ายที่พบเขา และยังสอบถามยังโรงพยาบาลต่างๆ ในเมืองแต่ก็ไม่เป็นผล เช้าวันที่ 16 ธันวาคม เราได้แจ้งความการหายตัวไปของเขากับเจ้าหน้าที่รัฐฯ ในหมู่บ้านและตำรวจ พร้อมได้ออกตามหายังโรงพยาบาลต่างๆ อีกครั้ง เช้าวันที่ 17 ธันวาคม เราเดินทางไปยังสถานีตำรวจนครบาลเวียงจันทร์เพื่อขอตรวจสอบเทปจากกล้องวงจรปิดที่ถ่ายไว้เมื่อเวลา 18.00 น.ของวันเกิดเหตุ เราพบว่ารถของสามีข้าพเจ้าหยุดที่ป้อมตำรวจท่าเดื่อเมื่อเวลา 18.03 น. จากนั้น เราพบเขาลงจากรถและถูกพาเข้าไปในป้อมตำรวจ หลังจากนั้น เราพบว่ามีชายขี่รถจักรยานยนต์มาจอดทิ้งไว้ที่ข้างถนนและขับรถจี๊ปของสามีข้าพเจ้าออกไป จากนั้น มีรถกระบะขับมาจอดหน้าป้อมตำรวจและมีชายสองคนพาสามีข้าพเจ้าเข้าไปในรถคันนั้นและขับออกไป วันที่ 17 ธันวาคม ข้าพเจ้ายื่นจดหมายต่อหัวหน้าคณะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงป้องกันความสงบอธิบายเหตุการณ์ที่เห็นทางกล้องวงจรปิดพร้อมร้องขอความช่วยเหลือในการสืบสวน วันที่ 18 ธันวาคม ข้าพเจ้ายื่นหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสันติบาลเพื่ออุทธรณ์ขอข้อมูลการหายตัวไปของสามี ขณะนี้เป็นเกือบ 4 วันแล้วนับตั้งแต่สามีข้าพเจ้าหายตัวไป และยังไม่ได้รับข่าวคราวใดถึงสถานที่อยู่ของเขาเลย ข้าพเจ้าจึงขอเรียกร้องต่อรัฐบาลสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวให้ทำการสอบสวนคดีการหายตัวไปของสามีข้าพเจ้าอย่างเร่งด่วน รวมทั้งให้เปิดเผยข้อมูลตำแหน่งที่อยู่ของเขาและให้รับรองความปลอดภัยแก่สามีข้าพเจ้า ภาพเหตุการณ์ในช่วงเวลาที่นายสมบัดหายตัวไป ซึ่งมีการนำมาเผยแพร่ในยูทูป
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
“ลูกเผด็จการ” VS ประธานาธิบดีหญิงคนแรกของเกาหลี: 2 ความทรงจำคู่ขนานของ ปัก กึน เฮ Posted: 20 Dec 2012 02:51 AM PST ความลักลั่นของปัก กึน เฮ ว่าที่ ประธานาธิบดีหญิงคนแรกของเกาหลีใต้ ขณะที่เพศสภาพหญิงนั้นเป็นประเด็นหนึ่งที่ชี้วัดว่าสังคมเปิดให้กับความเท่าเทียมทางเพศเพียงใด แต่ในอีกทางหนึ่ง ในฐานะ "ทายาทเผด็จการ" ที่โลกจดจำ ความเป็นมาของเธอจึงถูกวิพากษ์และต่อต้านจากนักประชาธิปไตยในเกาหลีไม่น้อย พลันที่ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสาธารณรัฐเกาหลีใต้ประกาศออกมาอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 19 ธ.ค. ที่ผ่านมา ความประดักประเดิดก็เกิดขึ้น เมื่อ ปักกึนเฮ กำลังจะก้าวสู่การเป็น "ประธานาธิบดีหญิง" คนแรกของประเทศ แต่ประวัติความเป็นมาของเธอนั้นกลายเป็นสิ่งที่ลำบากใจต่อการบอกว่า นี่คือความก้าวหน้าของสังคมการเมืองเกาหลี ปัก กึน เฮ ว่าที่ประธานาธิบดีหญิงคนแรกของเกาหลีใต้ ปัก กึน เฮ วัย 60 ปี เป็นบุตรสาวคนโตของปักจุงฮี เผด็จการที่ครองอำนาจอยู่นานถึง 18 ปี (พ.ศ. 2504- พ.ศ. 2521) ในยุคแห่งการพัฒนาด้านเศรษฐกิจด้วยการวางรากฐานแห่งการพัฒนาอุตสาหกรรมและการส่งออก ก่อนจะถูกลอบสังหาร ในปี 2521 เธอเคยทำหน้าที่สตรีหมายเลขหนึ่งในฐานะบุตรสาวของประธานาธิบดี เนื่องจากแม่ของเธอที่ถูกลอบสังหาร เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2517 และสิ้นสุดการทำหน้าที่เมื่อพ่อลูกลอบสังหารในวันที่ 26 ตุลาคม 2521 ปัก กึน เฮ เคยดำรงตำแหน่งประธานพรรคแกรนด์แนชันแนล (GNP) พรรคฝ่ายอนุรักษนิยมของเกาหลีใต้ (พ.ศ. 2554-2555) และเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเกาหลีใต้ 4 สมัย ระหว่างปีพ.ศ. 2541-2555 ประวัติศาสตร์ "ก้าวหน้า" หรือ "ถอยหลัง" "Who said, history is 'progress'? Welcome to the backward society! A daughter of the dictator became the first 'female' Korean president,, Oh..my..." – "ใครพูดว่าประวัติศาสตร์ "ก้าวหน้า", ขอต้อนรับสู่สังคมถอยหลัง เมื่อลูกสาวเผด็จการกลายมาเป็น 'ประธานาธิบดีหญิงคนแรก' ของเกาหลี" นักวิชาการรุ่นใหม่ของเกาหลีใต้รายหนึ่ง โพสต์ในเฟซบุ๊กแสดงความผิดหวังต่อผลการเลือกตั้ง สะท้อนแรงต่อต้านจากแง่มุมประวัติศาสตร์ ก่อนการลงคะแนนเสียง เครือข่ายนักวิชาการสายประชาธิปไตย มีการออกจดหมายเปิดผนึก และเรียกร้องให้ร่วมลงชื่อเพื่อต่อต้านบุตรสาวของอดีตเผด็จการ "ปัก กึน เฮ ไม่ได้เพียงแต่แสดงบทบาทลูกสาวของผู้เผด็จการเท่านั้น แต่เธอยังทำหน้าที่ 'สตรีหมายเลขหนึ่ง' แทนแม่ของเธอที่ตายไปด้วย เธอก้าวสู่เส้นชัยในการเป็นผู้ชิงตำหน่งประธานาธิบดีด้วยการชี้ให้ผู้ลงคะแนนเห็นความสำเร็จของระบอบปักจุงฮี และยังเรียกร้องให้ฟื้นฟูเกียรติภูมิของระบอบดังกล่าว เธอจะกลายมาเป็นตัวเลือกให้กับฝ่ายคณาธิปไตยที่โหยหาระบอบเผด็จการปักจุงฮี" (อ่านจดหมายเปิดผนึกจากไฟล์แนบ) จดหมายเปิดผนึกที่ส่งถึงนักวิชาการและสื่อในเอเชีย ให้ร่วมลงชื่อเพื่อต่อต้านเธอในการชิงตำแหน่งประธานาธิบดีของเกาหลีใต้ใช้ถ้อยคำวิพากษ์เธออย่างรุนแรง พร้อมย้ำถึงช่วงเวลาภายใต้การปกครองระบอบเผด็จการว่าเป็นช่วงเวลาแห่งความทุกข์ของชาวเกาหลี ปัก จุง ฮี เผด็จการผู้เป็นพ่อของว่าที่ประธานาธิบดีหญิงคนแรกของเกาหลี ภาพจาก วิกิพีเดีย อย่างไรก็ตาม คนเกาหลีก็จดจำ ปัก จุง ฮี ในสองบทบาท คือ ผู้กุมอำนาจสูงสุดในยุคมืดดำของระบอบประชาธิปไตย และ ผู้วางรากฐานการพัฒนาประเทศเกาหลีให้เป็นอุตสาหกรรม และด้วยอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาด การพัฒนาเศรษฐกิจในยุคสมัยของปัก จุง ฮี ก็อยู่ในความทรงจำของคนเกาหลีด้วย ขณะที่ในด้านความเป็นประชาธิปไตยและประเด็นสิทธิมนุษยชนนั้นก็เป็นไปในทางตรงข้าม "ความมั่นคงของชาติ" คือความสำคัญอันดับแรก สื่อภาคภาษาอังกฤษหลายฉบับรายงานโดยอ้างอิงจาก สำนักข่าวเอพี พาดหัวไปในทิศทางดียวกันว่า "ลูกสาวเผด็จการชนะเลือกตั้งประธานาธิบดี" ขณะที่สื่อในเกาหลีภาคภาษาอังกฤษจับตาดูนโยบายของเธอ และเธอก็ประกาศแล้วว่า เธอให้ความสำคัญกับประเด็นความมั่นคงของประเทศมาเป็นอันดับแรก เพื่อตอบสนองกับสถานการณ์ร้อนๆ ในคาบสมุทรเกาหลี โดยระบุว่า การยิงมิสไซล์ของเกาหลีเหนือก่อนหน้านี้เป็นสิ่งที่แสดงให้ชาวเกาหลีเห็นได้ชัดเจนถึงสถานการณ์ด้านความมั่นคงที่ตึงเครียดซึ่งคนเกาหลีจะต้องเผชิญ เธอกล่าวด้วยว่า แนวทางของเธอเน้นการสร้างความปรองดอง ความร่วมมือ และสันติภาพ "บนพื้นฐานความเข้าใจประวัติศาสตร์ที่ถูกต้อง" "ดิฉันจะยึดมั่นในคำสัญญาต่อประชาชนว่าดิฉันจะเปิดศักราชใหม่ของคาบสมุทรเกาหลี ด้วยนโยบายความมั่นคงของชาติและนโยบายการทูตบนพื้นฐานของความไว้เนื้อเชื่อใจ" ปักกึนเฮ กล่าว ปักกึนเฮ ชนะเลือกตั้งด้วยคะแนนโหวต 51.6 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่คู่แข่งของเธอ คือมุน แจ อิน ได้ 47.9 เปอร์เซ็นต์ มุน แจ อิน มุน แจ อิน วัย 59 คู่แข่งผู้พ่ายตำแหน่งให้กับปัก กึน เฮ เป็นนักกฎหมายด้านสิทธิมนุษยชนและเคยเป็นหัวหน้าคณะทำงานของอดีตประธานาธิบดี โน มู ฮยอน พ่อของเขาเป็นชาวเกาหลีเหนือที่อพยพมาตั้งรกรากในเกาหลีใต้
อ้างอิง Dictator's daughter wins South Korea presidency Park vows to put top priority on national security http://en.wikipedia.org/wiki/Park_Geun-hye http://en.wikipedia.org/wiki/Park_Chung-hee
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai This posting includes an audio/video/photo media file: Download Now | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ไทยขื่นขัน อันหาที่สิ้นสุดมิได้ "เชิดชูเกลียด" Posted: 20 Dec 2012 01:57 AM PST | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
TCIJ สัมภาษณ์ ‘นิธิ เอียวศรีวงศ์’: แก้รัฐธรรมนูญ…เราจะอยู่กันอย่างไร? Posted: 20 Dec 2012 01:42 AM PST
'นิธิ เอียวศรีวงศ์' ชี้ต้องแก้รัฐธรรมนูญ ระบุความขัดแย้งในสังคมไทย เพราะยังหากติกาการอยู่ร่วมกันไม่พบ ขณะที่รัฐธรรมนูญปี 2550 ให้อำนาจชนชั้นนำมากเกินไป กีดกันชนชั้นกลางระดับล่างซึ่งเป็นคนกลุ่มใหม่ ต้องเพิ่มอำนาจตรวจสอบแก่สังคม ทำให้อำนาจประชาชนมีความหมาย ถ้าทักษิณพ้นผิดก็เลี่ยงไม่ได้ เชื่อระยะยาวความขัดแย้งจะทุเลา ถ้าได้กติกาที่ทุกฝ่ายรับได้ ประเด็นร้อนอย่างการแก้ไขรัฐธรรมนูญในสายตาของนักวิชาการอย่าง ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ ซึ่งให้สัมภาษณ์ ศูนย์ข่าว TCIJ หากสำรวจทัศนคติที่ผ่านมาของเขา คงเดาได้ไม่ยากว่าเขาคิดอย่างไรกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทว่า เรื่องนี้เกี่ยวพันกับการช่วยคนไกลกลับบ้าน ซึ่งเป็นประเด็นละเอียดอ่อน ที่พร้อมจุดชนวนความขัดแย้งครั้งใหม่ได้เสมอ มันจึงไม่ง่ายอย่างที่คิด แต่ดูเหมือนนิธิจะไม่ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องหยุมหยิมนี้สักเท่าไร เอาเข้าจริง ๆ แล้ว เรื่องของคนไกลบ้านเป็นเพียงเศษเสี้ยวหนึ่งของโครงสร้างการจัดสรรอำนาจทางการเมืองไทย ผ่านรัฐธรรมนูญปี 2550 ที่ยังไม่ลงตัว และไม่สอดรับกับการเกิดขึ้นของกลุ่มพลังใหม่ในสังคม ซึ่งก็คือชนชั้นกลางระดับล่าง ที่พึ่งพอใจกับนักการเมืองที่สามารถกระจายทรัพยากรของรัฐ ให้ตกถึงมือได้ชนิดที่ไม่เคยเกิดขึ้นก่อนหน้าการมาถึงของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ทะเลาะเบาะแว้งกันอยู่ทุกวันนี้ มองแบบผิวเผินอาจสรุปว่าเป็นเรื่องของความคิดต่างทางการเมือง แต่นิธิชี้ให้เห็นว่า เป็นเรื่องของการพยายามแสวงหากติกาการอยู่ร่วมกันที่ทุกฝ่ายพอใจ ซึ่งทุกวันนี้ยังไม่เกิดขึ้น การแก้รัฐธรรมนูญจึงไม่อาจเลี่ยงได้ คำถามจึงอยู่ที่ว่าจะแก้อย่างไรและแก้ในส่วนไหน สำรวจโครงสร้างความขัดแย้งของสังคมไทย และหนทางการสร้างกติกาผ่านมุมมองของนิธิ เอียวศรีวงศ์ สังคมไทยต้องการกติกาในการอยู่ร่วมกันนิธิกล่าวกล่าวในเบื้องต้นว่า การจะเข้าใจรัฐธรรมนูญปี 2550 และกระแสการสนับสนุน-คัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ดำรงอยู่ ณ ขณะนี้ ไม่ควรมองในแง่หลักการประชาธิปไตยหรือในแง่กฎหมายเพียงอย่างเดียว แต่จะต้องมองลงไปถึงโครงสร้างทางการเมืองของประเทศไทย นิธิฉายภาพประวัติศาสตร์การเมืองไทยให้เห็นว่า อดีต รัฐธรรมนูญหาได้มีความหมายมากมายเช่นปัจจุบัน ฉีกทิ้ง-ร่างใหม่ หมุนวนไปตามวัฏจักรของการรัฐประหาร ยิ่งในช่วงการครองอำนาจของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ต่อเนื่องถึงยุคของจอมพลถนอม กิตติขจร และจอมพลประพาส จารุเสถียร ประเทศไทยปกครองโดยไม่มีรัฐธรรมนูญยาวนานถึง 12 ปี จวบจนเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 เป็นต้นมาสภาวะเช่นนี้จึงแปรเปลี่ยน สังคมไทยต้องการกติกาบางอย่างในการอยู่ร่วมกัน แม้ว่าผู้ร่างจะร่างตามใจชอบเพียงใด จะบิดเบี้ยวหรือเที่ยงตรง แต่อย่างน้อยก็จำเป็นต้องมีกติกา "ระบอบการปกครองที่จอมพลสฤษดิ์จัดเอาไว้ ที่จะมีผู้ถืออำนาจโดยไม่ต้องมีกติกาเลย เป็นไปไม่ได้อีกแล้ว หลังจากที่ชนชั้นกลางและนักธุรกิจอุตสาหกรรมที่อยู่ในเมืองใหญ่ ๆ ประสบความสำเร็จในการเข้ามาขอส่วนแบ่งพื้นที่ทางการเมืองเพิ่มขึ้น จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะไล่พวกเขาออกไปอีก เพราะคนกลุ่มนี้ไม่ต้องการกลับไปสู่ระบอบการปกครองที่มีกองทัพเป็นผู้กำกับดูแลไปหมดทุกเรื่อง ฉะนั้น ความฝันที่จะกลับไปสู่ระบอบแบบนั้น สำหรับทหารที่ไม่ไร้เดียงสาทางการเมืองเกินไปนักจะไม่มีใครคิดอีกแล้ว" ดังนั้นสิ่งที่สังคมกำลังทะเลาะถกเถียงกันอยู่เวลานี้จึงไม่ใช่การทะเลาะเกี่ยวกับตัวเอกสารรัฐธรรมนูญ แต่กำลังทะเลาะกันเกี่ยวกับข้อตกลงบางประการที่ทุกฝ่ายในสังคมไทยจะยอมรับและอยู่ร่วมกันได้
'ทักษิณ' นายกฯอุดมคติของชนชั้นกลางรัฐธรรมนูญปี 2540 ก็คือปฏิกิริยาจากสิ่งที่นิธิกล่าวข้างต้น เพราะเป็นรัฐธรรมนูญที่เกิดจากความคิดที่ไม่ต้องการให้ประเทศกลับไปอยู่ภายใต้ระบอบทหารเป็นใหญ่อีกต่อไป ผู้ที่สนับสนุนรัฐธรรมนูญปี 2540 จึงมีตั้งแต่นักธุรกิจอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่อยู่ในเมือง คนชั้นกลางคอปกขาว คนที่อยู่ในชนบทไม่ว่าจะในภาคเกษตรหรือภาคแรงงาน ถึงกระนั้น คนกลุ่มนี้ก็ไม่ได้ไว้ใจนักการเมือง "ถามว่านักการเมืองเหล่านี้มาจากไหน มองให้ดี ๆ จะพบว่าการเลือกตั้ง ตั้งแต่ประมาณปี 2520 กว่า ๆ เป็นต้นมา คนที่เข้ามาเป็น ส.ส. และรัฐมนตรีคือกลุ่มคนที่เป็นเจ้าพ่อ เป็นนักธุรกิจต่างจังหวัดหรือเครือข่าย คนกลุ่มนี้แหละที่นักธุรกิจอุตสาหกรรม ขุนนาง ตุลาการ ทหาร และกลุ่มอื่น ๆ ที่เหลือไม่ค่อยไว้วางใจ ด้วยเหตุนี้รัฐธรรมนูญปี 2540 จึงออกมาอย่างน่าสนใจ คือด้านหนึ่งพยายามสร้างกลไกกำกับไม่ให้นักการเมืองมีอำนาจมากนัก มีองค์กรอิสระเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก มีการบังคับให้ต้องทำประชาพิจารณ์ มีการประกาศสิทธิชุมชนท้องถิ่น ทั้งหมดนี้คือกลไกในการคานอำนาจนักการเมือง ซึ่งที่จริงก็คือนักธุรกิจชนบทที่มาจากต่างจังหวัดนั่นเอง" รัฐธรรมนูญปี 2540 ทำให้กลุ่มบุคคลที่สนับสนุนคาดหวังว่าจะได้นายกรัฐมนตรีที่ยอมรับได้ และ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ก็คือบุคคลคนนั้น นิธิกล่าวว่า ในช่วงแรก พ.ต.ท.ทักษิณ ได้รับการสนับสนุนสูงมากจากกลุ่มคนข้างต้น เนื่องจากเป็นนายกรัฐมนตรีที่ตรงตามอุดมคติ คือเป็นนักธุรกิจอุตสาหกรรม ที่อยู่ในเมือง ถึงกระนั้น ฐานคะแนนที่แท้จริงของพรรคไทยรักไทยกลับเป็นกลุ่มธุรกิจต่างจังหวัด เป็นเหตุให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ต้องให้การสนับสนุนทั้งสองฝ่ายคือทั้งนักธุรกิจอุตสาหกรรมในเมืองและกลุ่มธุรกิจต่างจังหวัด "อย่าลืมนะครับว่าคุณทักษิณยอมเสียเงินในการกอบกู้ธุรกิจที่อยู่ในเมือง หลังวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 มากกว่าที่คุณทักษิณเอาไปลงทุนกับ 30 บาทรักษาทุกโรค กองทุนหมู่บ้าน และอื่น ๆ อีก ซึ่งไม่ค่อยมีคนพูดถึงว่า เราเสียเงินให้แก่อุตสาหกรรมในเมืองมากกว่าที่คุณทักษิณเอาไปโปรยลงไปในต่างจังหวัดด้วยซ้ำไป" อย่างไรก็ตาม พ.ต.ท.ทักษิณก็ได้ทำให้กลุ่มคนที่เรียกว่าคนชั้นกลางระดับล่าง ซึ่งเป็นกลุ่มคนหน้าใหม่ในสังคมไทยและมีจำนวนมากขึ้น จากการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย รู้สึกพออกพอใจพ.ต.ท.ทักษิณ ทักษิณสร้างศัตรู-จึงเลือกไว้ใจชนชั้นนำผลพวงจากนโยบายของ พ.ต.ท.ทักษิณ กลายเป็นที่ชื่นชอบของคนต่างจังหวัดและสมาชิกพรรค ที่เป็นเครือข่ายของธุรกิจในต่างจังหวัด ความแข็งแกร่งทางการเมืองของพ.ต.ท.ทักษิณ ทำให้อำนาจในการต่อรองของกลุ่มคนที่เคยสนับสนุนรัฐธรรมนูญปี 2540 ลดลง การแปรรูปรัฐวิสาหกิจเป็นตัวอย่างหนึ่งซึ่งส่งผลกระทบต่อกลุ่มแรงงานรัฐวิสาหกิจ และแปรเปลี่ยนเป็นคนกลุ่มนี้เป็นศัตรูทางการเมืองของ พ.ต.ท.ทักษิณ การแทรกแซงสื่อก็เป็นอีกเหตุผลหนึ่ง ที่ทำให้คนกลุ่มหนึ่งของคนงานคอปกขาวยอมรับรัฐธรรมนูญปี 2540 ได้ยาก เพราะเปิดช่องให้ พ.ต.ท.ทักษิณ คุกคามเสรีภาพของสื่อซึ่งถือเป็นอาวุธของคนกลุ่มนี้ นิธิกล่าวว่าคนงานคอปกขาวสามารถต่อรองทางการเมืองได้ ก็โดยอาศัยสื่อ การที่ พ.ต.ท.ทักษิณ แทรกแซงสื่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการซื้อสถานีวิทยุโทรทัศน์ไอทีวี จึงเป็นเรื่องที่กระทบกระเทือนทางการเมืองต่อ พ.ต.ท.ทักษิณ อย่างมาก ซึ่งในทัศนะของนิธิถือเป็นความเพลี่ยงพล้ำทางการเมืองต่อกลุ่มชนชั้นกลางคอปกขาว เมื่อผสมโรงกับข้อกล่าวหาเกี่ยวกับการทุจริตจำนวนมาก รัฐประหารปี 2549 จึงเกิดขึ้น "มีคนจำนวนไม่น้อยในกลุ่มอื่น ๆ ของสังคมไทยที่มองว่า ระหว่างชนชั้นนำที่กินหัวประเทศไทยมาเป็นเวลาหลายร้อยปี กับนักการเมืองต่างจังหวัดที่กินแบบไม่อาย จะไว้ใจใครดี คำตอบคือไว้ใจชนชั้นนำมากกว่า" รัฐธรรมนูญปี 50 จัดสรรอำนาจไม่ลงตัวคือที่มาของความขัดแย้งรัฐธรรมนูญปี 2550 จึงวางอยู่บนความไม่ไว้วางใจนักการเมือง ต้องการลดอำนาจของนักการเมืองลง และกันนักการเมืองออกไป แต่ถึงตอนนี้นักการเมืองต่างจังหวัด กลับได้ชนชั้นกลางระดับล่างในต่างจังหวัดเป็นฐานเสียงเสียแล้ว โอกาสที่จะแพ้การเลือกตั้ง จึงเป็นไปได้ยาก รวมถึงโอกาสที่จะไม่ยอมให้มีการเลือกตั้งในสังคมไทยก็ยากมากด้วยเช่นกัน ไม่ว่าเนื้อหารัฐธรรมนูญกับสภาพทางการเมืองของไทย จะไม่สอดคล้องกันเพียงใด ในความคิดของคนจำนวนหนึ่งที่เป็นนักธุรกิจในเมือง ข้าราชการ ทหาร คนงานคอปกขาว และกลุ่มแรงงาน กลับรู้สึกว่ารัฐธรรมนูญปี 2550 สามารถจัดดุลอำนาจได้เหมาะสมที่สุด คือไม่ปฏิเสธการเลือกตั้ง แต่ขณะเดียวกันก็ติดอาวุธนานาชนิดในการกำกับนักการเมืองได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งดูเป็นการแบ่งอำนาจที่ลงตัวพอดี "แต่ถามว่าลงตัวจริงหรือไม่ เมื่อจำนวนคนที่สนับสนุนนักการเมืองต่างจังหวัด คือพวกคนชั้นกลางระดับล่างซึ่งมีเป้าหมาย ไม่ใช่ว่าเขาจะเลือกใครก็ได้นะครับ แต่ต้องเป็นนักการเมืองต่างจังหวัดที่จะกระจายทรัพย์สินของรัฐลงไปยังต่างจังหวัดด้วย คนกลุ่มนี้มีจำนวนเยอะมาก ผมจึงคิดว่ายังไม่ลงตัว มันจึงทะเลาะกัน แต่ที่มันลงตัวจะเป็นการกลับไปใช้รัฐธรรมนูญปี 2540 หรือเป็นรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยเต็มที่หรือไม่ ผมไม่ทราบ" นิธิขมวดให้เห็นว่า ความขัดแย้งทางการเมืองเวลานี้ ก็คือความขัดแย้งระหว่างกลุ่มคนที่คิดว่า รัฐธรรมนูญปี 2550 คือจุดที่ลงตัวที่สุด สำหรับการจัดสรรอำนาจ กับอีกกลุ่มหนึ่งที่คิดว่าอำนาจไม่ได้ถูกจัดสรรอย่างสมดุลและอยากจะแก้ให้เกิดสมดุล
ฟันธงต้องแก้รัฐธรรมนูญปี 50 เพราะสงวนอำนาจให้ชนชั้นนำ"ปัญหาในรัฐธรรมนูญปี 2550 ที่คนส่วนใหญ่มองเห็นคือการสงวนอำนาจไว้กับกลุ่ม ที่อาจเรียกได้ว่าชนชั้นนำ ที่ประกอบไปด้วยขุนนาง กองทัพส่วนหนึ่ง และข้าราชการฝ่ายตุลาการไว้ค่อนข้างสูงมาก" การสงวนอำนาจดังกล่าว สะท้อนผ่านการให้ฝ่ายตุลาการเป็นผู้กำหนด และคัดเลือกคณะกรรมการองค์การอิสระและสมาชิกวุฒิสภา ซึ่งไม่มีความสัมพันธ์เกี่ยวโยงกับประชาชนแต่อย่างใด เมื่อถามตรง ๆ ถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญ นิธิออกตัวก่อนว่า "ประการแรกคือผมมีอคติ ผมเข้าข้างฝ่ายชนชั้นกลางระดับล่าง เหตุดังนี้ผมจึงเห็นว่าควรแก้และต้องแก้ ประเด็นที่ 2 คือ แล้วจะแก้อย่างไร"
ต้องสร้างกลไกทางสังคมตรวจสอบรัฐบาล อย่าหวังพึ่งแต่องค์กรอิสระนิธิวิเคราะห์รัฐธรรมนูญปี 2540 ที่ต้องการสร้างฝ่ายบริหาร หรือรัฐบาลที่เข้มแข็ง เป็นหลักการที่ถูกต้อง แต่ข้อผิดพลาดประการสำคัญ ในเชิงหลักการของรัฐธรรมนูญปี 2540 คือการไว้วางใจให้การกำกับควบคุมฝ่ายบริหารอยู่ในมือองค์กรอิสระมากเกินไป แม้ว่าองค์กรอิสระจำเป็นต้องมี แต่ผู้ที่จะควบคุมตรวจสอบฝ่ายบริหารได้ดีที่สุดคือสังคม นิธิคิดว่ารัฐธรรมนูญปี 2540 ให้อำนาจสังคมไว้น้อยเกินไป เมื่อองค์กรตรวจสอบต่าง ๆ ล่มสลายลงในยุครัฐบาลทักษิณ จึงไม่เหลือกลไกใด ๆ ไว้ตรวจสอบ กำกับ ควบคุมรัฐบาลอีกเลย "รัฐบาลที่รัฐธรรมนูญปี 2540 อยากเห็นคือรัฐบาลที่มีอำนาจมากพอจะเปลี่ยนแปลงประเทศ ทำนโยบายได้โดยไม่ต้องต่อรองกับพรรคร่วมรัฐบาลขนาดเล็กต่างๆ ปรากฏว่าพอได้รัฐบาลที่เข้มแข็งจริงอย่างที่ต้องการ กลับเลยเถิดจนองค์กรอิสระก็ควบคุมไม่ไหว"
ทำอำนาจประชาชนให้มีความหมายส่วนเนื้อหาในรัฐธรรมนูญปี 2540 ที่ควรถูกนำกลับมาในมุมมองของนิธิ คือเนื้อหาว่าด้วยการได้มาขององค์กรอิสระและวุฒิสภา ที่จะต้องเชื่อมโยงกับประชาชน นิธิยังเห็นว่าควรมีการกำหนดระยะเวลา และบทลงโทษที่ชัดเจน ในการออกกฎหมายลูก ที่ระบุไว้ตามรัฐธรรมนูญ เนื่องจากที่ผ่านมาทุกรัฐบาลละเลยสิ่งนี้ เช่น ถ้ารัฐบาลไม่ทำตามก็ต้องพ้นจากการเป็นรัฐบาลทันที เป็นต้น เหล่านี้ยังไม่นับเหลี่ยมคูต่าง ๆ ของนักการเมืองที่มักใช้ยื้อร่างกฎหมายที่ประชาชนเสนอ ซึ่งทำให้อำนาจที่ประชาชนได้รับมาไร้ความหมาย "ผมอยากให้คนที่จะร่างรัฐธรรมนูญ ศึกษาประสบการณ์ของคนไทยที่ผ่านมา กับรัฐธรรมนูญปี 2540 และปี 2550 ให้ดี เพราะอำนาจที่ให้ประชาชนเอาไว้ มันไม่มีความหมายเยอะมาก" ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์-ระบุอำนาจให้ชัดเจน ไม่คลุมเครือนอกจากการเพิ่มอำนาจตรวจสอบให้แก่สังคม และทำให้อำนาจของประชาชนมีความหมายอย่างแท้จริงแล้ว รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ควรต้องปฏิรูป 3 สถาบันหลักในสังคม หนึ่ง-ปฏิรูประบบตุลาการ สอง-ปฏิรูปกองทัพ และสาม-ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ นิธิขยายความว่า "การปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ คือต้องกำหนดพระราชอำนาจที่ชัดเจนว่าคืออะไร อย่าทิ้งให้คลุมเครือเป็นอันขาด อำนาจตามกฎหมายจริง ๆ ของสถาบันพระมหากษัตริย์คืออะไร ส่วนจะใช้อำนาจทางวัฒนธรรมอย่างไร นั่นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง" นิธิยกตัวอย่างความคลุมเครือจากคำว่า 'ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข' ซึ่งแต่เดิมใช้คำว่า 'ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตย' วรรคและตามด้วย 'มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข' เมื่อเชื่อมสองประโยคนี้เข้าด้วยกัน ความหมายจึงเปลี่ยนเป็นว่า ระบอบประชาธิปไตยของไทยไม่เหมือนกับที่อื่น คำถามคือประโยคนี้แปลว่าอะไร นิธิตั้งข้อสังเกตว่า ประโยคนี้ทำให้เกิดความหมายใหม่ขึ้นว่า มีระบอบการปกครองชนิดใหม่ขึ้นที่เรียกว่า "ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" "เมื่อไม่กี่วันนี้อาจารย์ไชยันต์ ไชยพร กล่าวว่า จริง ๆ แล้วระบบ Constitution Monarchy ถ้าดูจากยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศแถบสแกนดิเนเวีย ก็อาจจะเป็นระบอบการปกครองอีกชนิดหนึ่งเหมือนกันที่ไม่ได้สืบทอดมาจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช แล้วก็เสื่อมลงมาเป็นระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ ถ้ามองในรูปนี้ คำถามที่ตามมาทันทีคือว่า แล้วระบอบการปกครองของไทยกับสแกนดิเนเวียเหมือนกันหรือไม่ "ถ้าบอกว่าเป็นส่วนหนึ่ง ก็หมายความว่าระบอบการปกครองของไทยกับสแกนดิเนเวียเหมือนกัน แต่นี่ไม่เหมือน ฉะนั้น ผมจึงคิดว่าที่ใช้คำว่า ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เพื่อทำให้เกิดอำนาจการนิยามใหม่ (เน้นเสียง) เหตุดังนี้จึงอาจจะขอพระราชทานอำนาจในมาตรา 7 เป็นครั้งเป็นคราว ให้พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีก็ได้ นี่คืออำนาจในการนิยาม" นิธิกล่าว
เพราะกระบวนการยุติธรรม สะท้อนความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยส่วนการปฏิรูปสถาบันตุลาการ นิธิขยายความโดยเอ่ยถึงภาพรวมของกระบวนการยุติธรรมทั้งระบบว่า การที่กระบวนการยุติธรรมไทยดำรงอยู่ได้ ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 จนถึงปัจจุบัน หัวใจสำคัญอยู่ที่กลุ่มต่าง ๆ ในสังคมสามารถจัดการกับกระบวนการยุติธรรมได้ตามอำนาจที่ตนเองมีอยู่ "ถ้าคุณมีอำนาจน้อย คุณก็จัดการได้น้อย ลักษณะการกระจายอำนาจการใช้ประโยชน์จากกระบวนการยุติธรรมมันสะท้อนอำนาจความเป็นจริงของสังคมไทย คำพูดง่าย ๆ ที่ทุกคนรู้กันอยู่คือ รวยซะอย่าง ไม่ติดคุกหรอก จริงหรือไม่ จริง ซึ่งถ้าจริงก็แปลว่า เราให้ความรวยแก่คนที่มีอำนาจ แล้วเราก็ให้อำนาจแก่คนที่รวย" สิ่งนี้สะท้อนภาพความเป็นจริงของสังคมไทย ทุกคนจึงพอใจที่จะกล่าวว่า ศาลคือที่พึ่งสุดท้าย เพราะสามารถหลบหนีกฎหมายได้ ตั้งแต่ต้นทางของกระบวนการยุติธรรม ถ้ามีเงินและอำนาจ คำถามก็คือ เมื่อสังคมไทยเปลี่ยน การจัดการกับกระบวนการยุติธรรมไทยทั้งระบบในแบบเดิมจะดำรงอยู่ต่อไปได้หรือไม่ นิธิคิดว่าไม่ได้ และนี่คือเหตุผลที่พบว่า เวลานี้ กระบวนการยุติธรรมไทยตั้งแต่ตำรวจ ศาล ไปจนถึงเรือนจำ กำลังถูกตั้งคำถามตัวใหญ่ เพราะยังมีคนที่ไม่มีเงินและอำนาจที่ต้องการกระบวนการยุติธรรมอีกชนิดหนึ่งที่ไม่สะท้อนความเหลื่อมล้ำที่มีอยู่ในสังคมไทย แม้จะดูเหมือนว่าการปฏิรูปสถาบันทั้ง 3 แทบจะเป็นไปไม่ได้เลย แต่หากไม่นับสถาบันกษัตริย์แล้ว นิธิเชื่อว่า การที่สถาบันตุลาการและทหารจะดำรงอยู่ได้ ต้องเกิดจากการยอมรับของสังคม เมื่อใดที่สังคมตั้งคำถามต่อสถาบันทั้งสองนี้มากขึ้น ๆ นิธิเชื่อว่าในที่สุด ทั้งสองสถาบันนี้จะต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองแม้จะไม่ได้เขียนไว้ในรัฐธรรมนูญก็ตาม
รัฐบาลดัน สสร. หวังผ่านประชามติเมื่อต้องแก้รัฐธรรมนูญ ประเด็นสำคัญอยู่ที่กระบวนการ ว่าจะเปิดให้ทุกภาคส่วนในสังคมมีส่วนร่วมได้อย่างไร จุดนี้นิธิกล่าวว่า ประเทศไทยปัจจุบันนี้ไม่สามารถแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ โดยไม่มีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) อีกทั้งในทางการเมือง นิธิคิดว่าพรรคเพื่อไทย จำเป็นต้องให้มี สสร. เพื่อให้ได้คะแนนเสียงมากพอในการลงประชามติ ถ้าผ่าน รัฐบาลก็จะใช้วิธีแก้รัฐธรรมนูญโดยกระบวนการ สสร. ไม่ใช่การแก้ไขทีละมาตรา เมื่อถึงจุดนั้นก็ไม่มีใครสามารถคัดค้านได้อีกต่อไป แม้แต่อำนาจนอกระบบ ซึ่งส่วนนี้นิธิมองว่าเป็นเรื่องของเกมการเมือง ที่พรรคเพื่อไทยจะต้องเดินเกม อย่างไรก็ตาม ความวิตกของสังคมก็คือถึงที่สุดแล้ว สสร. อาจเป็นเพียงร่างทรงของนักการเมือง นิธิกล่าวว่า "ยังไง ๆ คุณก็ต้องมี สสร. เมื่อตอนปี 2540 มีความเชื่ออย่างหนึ่งในการเลือกตั้งวุฒิสภาว่า ถ้าจัดเขตเลือกตั้งให้เป็นจังหวัดก็ยาก ที่จะมีพรรคการเมืองหรือเจ้าพ่อคนใดคนหนึ่งคุมได้ทั้งจังหวัด ซึ่งปรากฎว่าไม่จริง ความคิดแบบรัฐธรรมนูญปี 2540 อาจจะผิดพลาด เพราะประเมินกำลังเจ้าพ่อผิด ก็คิดใหม่สิครับ เช่น แทนที่จะเลือกทั้งจังหวัด คุณเสนอมา 100 รายชื่อ แล้วให้เลือกทั้งประเทศ เป็นต้น อุปสรรคมันมี แต่มันคิดวิธีแก้ได้" นิธิเชื่อว่า ถ้าสสร.มีจำนวน 100 คน เต็มที่ที่คนของพรรคเพื่อไทยจะเข้ามาได้น่าจะไม่เกิน 25 คน จะเห็นได้ว่า สสร. น่าจะมีความหลากหลายค่อนข้างมาก และ สสร. เองก็จำเป็นต้องฟังเสียงประชาชน เพราะสุดท้ายแล้วประชาชนจะต้องลงมติ ว่าจะรับหรือไม่รับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ สสร. จึงไม่สามารถฝืนเขียนรัฐธรรมนูญที่ประชาชนไม่ยอมรับได้ "ส่วนวิธีที่สังคมจะกดดัน เพื่อสอดแทรกเนื้อหาที่ตนต้องการ ก็ทำอย่างที่ทำอยู่ทุกวันนี้ เริ่มตั้งแต่บทความในหนังสือพิมพ์ ไล่ไปจนถึงการชุมนุม ทำไปเลย แทนที่จะประท้วงกับรัฐบาลก็ประท้วงกับ สสร. แทน ซึ่งผมคิดว่า สสร. อ่อนไหวกว่ารัฐบาล เพราะสุดท้ายต้องลงประชามติว่ารับหรือไม่รับ"
แก้บทเฉพาะกาลทำทักษิณพ้นผิด เป็นเรื่องเลี่ยงไม่ได้ประเด็นที่ละเอียดอ่อนที่สุด ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญและอาจลุกลามเป็นความขัดแย้งครั้งใหญ่คือ หมวดที่ว่าด้วยสถาบันพระมหากษัตริย์ และการนำ พ.ต.ท.ทักษิณ กลับประเทศโดยไม่มีความผิด แน่นอนว่ารัฐบาลจะไม่แตะต้องประเด็นแรก แม้จะเป็นประเด็นที่นิธิคิดว่าควรต้องปฏิรูป แต่ประเด็นที่สองรัฐบาลไม่เคยปฏิเสธ นิธิมองว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 2550 เลี่ยงที่จะไม่ยุ่งกับการช่วย พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ได้ เพราะบทเฉพาะกาล มาตรา 309 ระบุให้การกระทำทั้งก่อนและหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญปี 2550 ของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) เป็นการกระทำที่ถูกต้องตามกฎหมาย ถ้ายกเลิกมาตรานี้เมื่อใด ย่อมเท่ากับ พ.ต.ท.ทักษิณจะพ้นผิด ซึ่งนิธิคิดว่าเป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้ เพราะถ้าไม่แตะต้องบทเฉพาะกาล การแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 2550 ก็ไร้ความหมาย "ผมเข้าใจว่าอย่างนั้น แต่นักกฎหมายอาจจะบอกว่าไม่หลุดก็ได้ เพราะมีคำพิพากษาแล้ว แต่คำพิพากษาที่มาจากคำฟ้องซึ่งไม่ชอบด้วยกฎหมาย ยังจะดำรงอยู่หรือเปล่า" นิธิตั้งคำถาม
นิธิเชื่อมีเจรจาแลกเปลี่ยนผลประโยชน์พาทักษิณกลับบ้านนิธิประเมินว่า จะไม่เกิดความขัดแย้งรุนแรงดังที่คิด โดยให้เหตุผลว่า หากจะผลักดันการแก้ไขรัฐธรรมนูญซึ่งผูกพ่วงด้วยการปลดบ่วงคดีของพ.ต.ท.ทักษิณ เชื่อว่ารัฐบาลจะต้องเปิดการเจรจากับทุก ๆ กลุ่มผลประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นกองทัพ นักธุรกิจอุตสาหกรรม หรือกลุ่มข้าราชการ "ผลประโยชน์ของพวกคุณผมจะไม่แตะ แต่ครั้งนี้ขอเรื่องนี้เรื่องเดียว จะแลกกับอะไร นี่คือวิธีวิเคราะห์และแก้ปัญหาของนักการเมือง ที่ไม่ได้ยึดหลักการ แต่เป็นเรื่องของการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์กันมากกว่า เพราะฉะนั้นอย่าเพิ่งไปมองว่าจะไปไม่รอด มันจะไปไม่รอดถ้าไม่สามารถเจรจากันได้ ไม่มีวันที่คุณจะเจอรัฐบาลไทยที่ไม่คอยเอาใจกลุ่มขุนนาง ทหาร ตุลาการ ไม่มีหรอก อย่างน้อยที่สุด ก็ต้องไม่เหยียบแข้งเหยียบขากัน แม้แต่คุณทักษิณเอง" นิธิวิเคราะห์ อย่างไรก็ตาม นิธิเชื่อว่าหากรัฐธรรมนูญฉบับใหม่สามารถสร้างดุลแห่งอำนาจที่ทุกคนยอมรับได้ และถูกทดลองใช้ไปสักระยะหนึ่ง ความขัดแย้งในสังคมน่าจะทุเลาลง แต่ก็อาจต้องแลกด้วยความไม่ชัดเจนในเนื้อหาของรัฐธรรมนูญดังเช่นที่ผ่าน ๆ มา เป็นเพราะ... "รัฐธรรมนูญที่จะผ่านได้จากคนทุก ๆ กลุ่มในสังคมต้องคลุมเครือ" คือข้อสรุปของนิธิ
ที่มา: http://www.tcijthai.com/tcijthai/view.php?ids=1709 ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น