ประชาไท | Prachatai3.info |
- โอปป้า พันล้าน "กังนัม สไตล์" ยอดชมในยูทูบทะลุ 1,000 ล้านครั้งแล้ว
- ศาลปล่อยตัวชั่วคราว "ก่อแก้ว" เพื่อทำหน้าที่ ส.ส. จนถึงปิดสมัยประชุมสภา
- ครูชนบทลาวไม่ได้รับเงินเดือนกว่าสามเดือน
- การลงมติยุติโทษประหารชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องขณะที่ไทยงดออกเสียงเป็นครั้งที่สอง
- การลงมติยุติโทษประหารชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องขณะที่ไทยงดออกเสียงเป็นครั้งที่สอง
- ใบตองแห้ง: ประชามติ หลักการกับ ‘การเมือง’
- จดหมายเปิดผนึกถึงโฆษกศาลยุติธรรม, อธิบดีกรมศิลปากร, และผู้สนใจ กรณีรื้อกลุ่มอาคารศาลฎีกา
- จดหมายเปิดผนึกถึงโฆษกศาลยุติธรรม, อธิบดีกรมศิลปากร, และผู้สนใจ กรณีรื้อกลุ่มอาคารศาลฎีกา
- รำลึกถึง ทรง นพคุณ เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยตลอดกาล
- รอง ผบ.ตร. แจง อนุฯ สอบสลายม๊อบ เสธ.อ้าย วุฒิสภา ยันทำตามหลักสากล-ไม่มีคำสั่งทำร้ายสื่อ
- สหภาพแรงงานธนาคารกรุงเทพประท้วงโบนัสไม่สอดคล้องกับผลกำไร
โอปป้า พันล้าน "กังนัม สไตล์" ยอดชมในยูทูบทะลุ 1,000 ล้านครั้งแล้ว Posted: 21 Dec 2012 12:53 PM PST 1 พันล้านวิวภายใน 5 เดือนเศษของกังนัม สไตล์ เบียดคลิปของจัสติน บีเบอร์ แชมป์เก่าขึ้นครองอันดับ 1 ในยูทูบตั้งแต่เดือนที่แล้ว พบคลิปล้อเลียนและแฟลชม็อบจำนวนมากหนุนกระแส ไทยมีตั้งแต่งานศพยันในคุก เมื่อวันที่ 21 ธ.ค.55 (ตามเวลาไทย) วีดีโอคลิป "PSY - GANGNAM STYLE (강남스타일) M/V " ซึ่งเป็น MV เพลงกังนัมสไตล์ของไซ หรือ ปาร์ค แจซัง (Psy, Park Jae-Sang)นักร้องชาวเกาหลีใต้ใช้เวลาเพียง 5 เดือนเศษ มียอดผู้เข้าชม 1,000 ล้านครั้งแล้ว โดยวีดีโอคลิปดังกล่าวถูกโพสต์เมื่อวันที่ 15 ก.ค. 55 และยังมียอดการแสดงความคิดเห็นประกอบวีดีโอนี้ถึง 4,249,783 ความคิดเห็น การกดถูกใจประมาณ 6 ล้าน และไม่ถูกใจประมาณ 4 แสนกว่า ยอดผู้เข้าชมวีดีโอคลิปนี้ มากกว่าคลิป "Justin Bieber - Baby ft. Ludacris" ของ จัสติน บีเบอร์ ครองอันดับ 1 ยอดการเข้าชมบนยูทูบมานานจนกระทั้งถูกแซงเมื่อวันที่ 24 พ.ย. ที่ผ่านมา ซึ่งวีดีโอคลิปของบีเบอร์ ถูกอัพโหลดมาตั้งแต่ 19 ก.พ. 53 และ ล่าสุดมียอดเข้าชมถึง 813,378,917 ครั้ง กังนัม สไตล์ เป็นวีดีโอคลิปที่มีการล้อเลียน(parody)จำนวนมากและหลากหลาย เช่น จากกองทัพอังกฤษ กองทัพเรือไทย เป็น TRANSFORMERS เป็น LEGO เป็น GUNMAN STYLE Deadpool SLENDER MAN ฮิตเลอร์สไตล์ Farmer Style ตัวละครในเกมส์อย่าง Skyrim Annoying Orange (ส้มพูดได้) คอสเพลย์ Mortal Kombat ผู้ร่วมเข้าประกวดนางงามของเกาหลี เปียงยาง เกาหลีเหนือ รวมไปถึงภาษาต่างๆ เช่น ภาษาฮีบรู แม้กระทั้ง "ชอมสกี้ สไตล์" ที่นักศึกษา MIT หรือสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ ชวน "นอม ชอมสกี้" เข้าฉาก MV ล้อ "กังนัมสไตล์" รวมไปถึงบริทนีย์ สเปียร์ส โพสต์ลงทวิตเตอร์ว่าอยากเรียนเต้น "กังนัมสไตล์" และต่อมารายการ The Ellen DeGeneres Show ต้องเชิญปาร์ก แจซังมาสอนบริทนีย์ในรายการแล้ว ยังมีคนดังนำท่ากังนัมสไตล์ไปเต้น ทั้งอีริก ชมิตต์ ผู้บริหาร Google ที่เต้นระหว่างเยือนเกาหลีใต้ เดวิด คาเมรอน นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ที่ถูกอ้างถึงโดยบอริส จอห์นสัน นายกเทศมนตรีลอนดอนว่าได้เต้น "กังนัมสไตล์" ด้วยกัน อ้าย เหว่ย เหว่ย ศิลปินจีนที่ต่อต้านรัฐบาลปักกิ่งก็ออกมาทำเอ็มวีล้อ รวมไปถึง เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ บัน คีมุน ที่ปาร์ก แจซังไปสอนเลขาธิการยูเอ็นเต้นกังนัมสไตล์ กันถึงที่ทำการยูเอ็นกันเลยทีเดียว หรือแม้กระทั้งมีวีดีโอล้อเลียนโอบาม่า ประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา ใน "Obama Gangnam Style" และมิตต์ รอมนีย์ นอกจากนี้ทั้งเพลงและท่าม้าย่องเป็นท่าเต้นประจำเพลงนี้ ยังถูกนำไปทำเป็นแฟลชม็อบ(Flash Mob) ในที่ต่างๆด้วย เช่น มหาวิทยาลัยคอร์เนล มหาวิทยาลัยโอไฮโอสเตต ที่อินโดนีเซีย ที่สวีเดน ที่ มิลาน ที่ โรม อิตาลี ที่ ปารีส ฝรั่งเศส ที่บังกาเลีย ซิดนีย์ เมลเบิร์น ออสเตรเลีย ที่สิงคโปร์ ไต้หวัน หรือแม้กระทั้ง หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ที่เป็นหนึ่งในกิจกรรมงานครบรอบ 10 ปี คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นต้น สำหรับในไทยถือได้ว่าเป็นที่นิยมอย่างมากจนกระทั้งมีการนำมาล้อเลียนโดยวีดีโอที่มียอดผู้เข้าชมมากที่สุดคือ กำนันสไตล์ ของ เสือร้องไห้ ที่ขณะนี้มีผู้เข้าชมกว่า 24 ล้านครั้ง นอกจากนี้ยังมี กำนันสิตาย ของ เมย์เดย์, โอป่ะ ? Thailand Style โดย วู้ดดี้ วุฒิธร มิลินทจินดา พิธีกรชื่อดังและ แจ๊ค แฟนฉัน, เกรียนนัมสไตล์ โดย Bie The Ska, ทับทิม จากรายการ VRZO, คลิปล้อเลียนนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ รวมไปถึงการ เต้นกังนัมสไตล์กลางงานศพ และเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร จัดโครงการประกวดเต้นกังนัมสไตส์"คุก" ทั้งนี้เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมาเว็บยูทูบก็ได้ทำคลิปลิปซิงก์เพลงกังนัมสไตล์และ Call Me Maybe สรุปเทรนด์คลิปวิดีโอปี 2012 ที่กำลังจะผ่านไป โดยมีนักร้องเกาหลีใต้ ไซ ซึ่งเพลงของเขา มีคนดูมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ในยูทูบ พร้อมบรรดาคนดังในยูทูบร่วมแสดงด้วย(ดู ยูทูบ สรุป 10 คลิปแห่งปีที่มีผู้เข้าชมมากที่สุด) ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ศาลปล่อยตัวชั่วคราว "ก่อแก้ว" เพื่อทำหน้าที่ ส.ส. จนถึงปิดสมัยประชุมสภา Posted: 21 Dec 2012 05:26 AM PST ศาลอนุมัติคำสั่งปล่อยตัวชั่วคราว "ก่อแก้ว พิกุลทอง" จากเรือนจำชั่วคราวหลักสี่ เพื่อออกไปปฏิบัติหน้าที่ ส.ส. เปิด-ปิดสมัยประชุมสภา โดยหลังจากนั้นต้องมาอยู่ในการคุมขังของหมายศาลอาญาอีกครั้ง เว็บไซต์เดลินิวส์ รายงาน เมื่อเวลา 10.00 น. วันนี้ (21 ธ.ค.) ที่เรือนจำชั่วคราวหลักสี่ สโมสรตำรวจ ถนนวิภาวีรังสิต หลังจากศาลอาญารัชดาภิเษกได้อนุมัติคำสั่งปล่อยตัวชั่วคราว นายก่อแก้ว พิกุลทอง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย และแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือ นปช.จำเลยในคดีก่อการร้าย เพื่อออกไปปฏิบัติหน้าที่ ส.ส.ในการเปิดสมัยประชุมสภาเป็นวันแรกนั้น ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศบริเวณด้านหน้าเรือนจำชั่วคราวหลักสี่มีกลุ่มแนวร่วม นปช.ทยอยเดินทางมารอคอยการปล่อยตัว นอกจากนี้ยังพบสื่อมวลชนจากหลายสำนักที่ให้ความสนใจมาปักหลักเพื่อติดตามสถานการณ์ด้วย ทั้งนี้ หมายปล่อยตัวได้หมายเหตุไว้ว่า การปล่อยชั่วคราวตามรัฐธรรมนูญ ให้มีผลบังคับตั้งแต่วันเริ่มเปิดสมัยประชุมสภา จนถึงวันที่มีการปิดสมัยประชุมสภา ดังนั้นเมื่อถึงวันปิดสมัยประชุมสภา นายก่อแก้วจะต้องมาอยู่ในการคุมขังของหมายศาลอาญาอีกครั้ง นอกเสียจากนายก่อแก้วจะได้รับการปล่อยชั่วคราวตามประมวลวิธีพิจารณาความอาญาในการยื่นประกันใหม่ หรือการยื่นอุทธรณ์คำสั่งขอปล่อยชั่วคราว อย่างไรก็ตาม นายก่อแก้วถูกศาลมีคำสั่งเพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราว เมื่อวันที่ 30 พ.ย. เนื่องจากเห็นว่านายก่อแก้วได้กระทำการเข้าข่ายผิดเงื่อนไขการประตัว จากการแถลงข่าวที่อาคารรัฐสภาเป็นถ้อยคำที่มุ่งเน้นส่งผลร้ายต่อศาลรัฐธรรมนูญ มีลักษณะข่มขู่ คุกคาม และกดดันศาล และแสดงให้เห็นถึงการยุยง ปลุกปั่น ปลุกระดมประชาชน ซึ่งไม่ใช่การคาดการณ์หรือแสดงความคิดเห็น ด้านนางธิดา ถาวรเศรษฐ์ ประธานนปช.ซึ่งเดินทางมารับตัวนายก่อเเก้ว กล่าวว่า จะรับตัวนายก่อเเก้วเพื่อไปร่วมงานคอนเสิร์ตเสื้อเเดงรณรงค์เเก้ไขรัฐธรรมนูญที่โบนันซาเขาใหญ่ในวันพรุ่งนี้ ซึ่งจะระมัดระวังการพูดนบเวทีให้มากขึ้น เพื่อไม่ให้ผิดเงื่อนไขศาล ต่อมาเมื่อเวลา 10.30 น. นายก่อแก้วก็ได้รับการปล่อยตัว เดินออกมาจากเรือนจำหลักสี่ พร้อมให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนว่า ขอขอบคุณพี่น้องเสื้อแดงที่มาให้กำลังใจและเยี่ยมเยียนและพี่น้องเสื้อแดงคนอื่นที่อยู่ในเรือนจำหลักสี่จำนวน 23 คน ถือเป็นน้ำหล่อเลี้ยงให้ตนที่อยู่ในความทุกข์ได้มีความสุข เป็นกำลังใจให้ยืนหยัดต่อสู้ ทั้งนี้ ขอยืนหยัดต่อสู้ต่อไปโดยไม่แข็งกร้าว เพราะติดคุกมาแล้ว 2 รอบน่าจะพอแล้ว เพราะก็ติดมาเท่าเทียมคนอื่นเขา ทั้งๆ ที่อายุน้อยกว่า เลยไม่อยากติดคุกล้ำหน้าคนอื่นเขา ชีวิตนี้ไม่คิดร้ายต่อใคร ไม่ทำผิดกฎหมาย แต่หากพูดแล้วไม่ถูกต้องต่อไปก็จะระมัดระวังมากขึ้น เมื่อได้พูดออกไปแล้วก็พร้อมรับผิดชอบ และพูดไปอย่างบริสุทธิ์ใจ แต่หากศาลมองอีกมิติหนึ่งก็ยินดีน้อมรับ พร้อมแก้ไขและระมัดระวังมากขึ้น "ขอให้ทุกฝ่ายไม่ต้องห่วงเพราะผมเป็นแกนนำที่ประนีประนอม ยืนหยัดในหลักการ ทั้งนี้ผมขอให้เสื้อแดงทุกคนต่อสู้เพื่ออุดมการณ์ความถูกต้องของบ้านเมืองนี้ ขอให้ร่วมกันแก้ไขไม่ใช่แก้แค้น ให้ประเทศได้เดินหน้าหลังจากติดหล่มมากว่า 6 ปี และขอฝ่ายค้านช่วยประเทศไทยไม่ให้เสียเวลา ขอให้ก้าวข้ามทักษิณเช่นกัน ทางเสื้อแดงก็ขอให้ก้าวข้ามอภิสิทธิ์ เพื่อประเทศไทยและลูกหลาน" นายก่อแก้ว กล่าว ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ครูชนบทลาวไม่ได้รับเงินเดือนกว่าสามเดือน Posted: 21 Dec 2012 04:52 AM PST ครูอาจารย์ในชนบทยังไม่ได้รับเงินเดือนตามปกติมาเป็นเวลาเกือบ 3 เดือนมาแล้ว ถึงแม้ว่ารัฐบาลลาวจะอนุมัติการปรับขึ้นเงินเดือนนับตั้งแต่เดือนตุลาคมเป็นต้นมาก็ตาม เจ้าหน้าที่ชั้นสูงในกระทรวงการเงินยอมรับว่า แผนงบประมาณประจำปี 2012-2013 ที่เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคมที่ผ่านมานั้น ยังไม่สามารถจัดตั้งเบิกจ่ายได้ตามปกติจนถึงเวลานี้ ทั้งนี้เนื่องจากว่า รัฐบาลลาวได้อนุมัติแผนการปรับขึ้นเงินเดือนให้แก่รัฐกรทั่วประเทศ และให้มีผลบังคับใช้นับแต่เดือนตุลาเป็นต้นมานั้น สมทบกับความยุ่งยากในการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดเอเชีย-ยุโรป ครั้งที่ 9 ซึ่งต้องใช้จ่ายงบประมาณจำนวนมาก ทำให้รัฐบาลขาดสภาพคล่องทางงบประมาณรายจ่ายในเวลานี้ ยิ่งไปกว่านั้น การปรับขึ้นเงินเดือนให้แก่รัฐกรทั่วประเทศดังกล่าว ยังเป็นปัจจัยที่ทำให้รัฐบาลลาวจะต้องจัดหารายรับเข้างบประมาณปี 2012-2013 ให้ได้เพิ่มขึ้นจากระยะแผนการ 2011-2012 คิดเป็นสัดส่วนไม่ต่ำกว่า 30.35% อีกด้วย ทำให้รัฐบาลลาวต้องประสบปัญหาขาดสภาพคล่องทางการเงินมากขึ้นไปอีก ปัญหาดังกล่าวจึงส่งผลกระทบต่อเนื่องถึงการจ่ายเงินเดือนให้แก่รัฐกรอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะรัฐกรที่เป็นครูอาจารย์ในเขตชนบทนั้นได้รับผลกระทบมากที่สุด ทั้งนี้ก็เนื่องจากว่ารัฐบาลลาว ได้ขึ้นเงินเดือนให้แก่บรรดาครู-อาจารย์ทั่วประเทศในอัตราเฉลี่ยสูงกว่ารัฐกรในภาคส่วนอื่นๆ ด้วยหวังว่าจะทำให้ครูอาจารย์มีสภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น อันจะส่งผลต่อเนื่องไปถึงการพัฒนาเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของลาวให้ดีขึ้นอีกด้วย นอกจากนี้ คณะรัฐบาลลาวยังคาดหวังด้วยว่าการปรับขึ้นเงินเดือนให้แก่ครูอาจารย์เป็นกรณีพิเศษในครั้งนี้ จะเป็นปัจจัยที่ช่วยดึงดูดเอาบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถให้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของลาวให้ได้มาตรฐานของกลุ่มอาเซียนด้วยกัน และได้มาตรฐานสากล ทั้งนี้ ในปัจจุบันทั่วประเทศลาวมีจำนวนครูทั้งหมดมากกว่า 63,000 คน ในจำนวนนี้เป็นครูประจำโรงเรียนรัฐบาล 37,000 คน และที่เหลือเป็นครูในสถานศึกษาเอกชนที่ไม่ยอมไปประจำอยู่โรงเรียนของรัฐบาลในเขตชนบท เพราะไม่ต้องการจะเผชิญปัญหาไม่ได้รับเงินเดือนตามปกติดังกล่าว เพราะฉะนั้น การที่รัฐบาลลาวจะสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้อย่างเป็นรูปธรรมนั้น ก็ต้องจัดเก็บรายรับและจัดการหาความช่วยเหลือจากต่างประเทศในแผนงานประจำปี 2010-2013 นี้ให้ได้ไม่น้อยกว่า 1,992,700 ล้านกีบ หรือคิดเป็น 24.96% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ(GDP)ที่ได้คาดการณ์ไว้ ซึ่งหมายความว่า รัฐบาลลาวจำเป็นต้องได้รับเงินช่วยเหลือจากต่างชาติไม่น้อยกว่า 587 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
แปลและเรียบเรียงจาก http://lao.voanews.com/content/laos-teachers-in-rural-schools-have-no-salaries-since-october-until-now/1564748.html
เกร็ดภาษาลาว ລັດຖະກອນ - (ลัดถะกอน) : รัฐกร, พนักงานของรัฐ, government officer ภาษาลาวใช้คำเรียกชื่อพนักงานของรัฐว่า ລັດຖະກອນ หรือรัฐกร ซึ่งรัฐกรนี้ได้รับเงินเดือนจากภาครัฐค่อนข้างต่ำ คือประมาณ 400-2000 บาท/เดือน ในขณะที่ค่าครองชีพในประเทศลาวพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เป็นเหตุให้อัตราการฉ้อราษฎร์บังหลวง กินสินบนในวงรัฐการพุ่งสูงขึ้น และทำให้บุคคลที่มีความสามารถไม่ต้องการเป็น ລັດຖະກອນ รัฐบาลลาวพยายามปิดแก้ไขปัญหานี้ด้วยการเพิ่มเงินเดือนให้แก่ ລັດຖະກອນ แต่ก็ประสบปัญหางบประมาณไม่เพียงพอดังข่าว ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
การลงมติยุติโทษประหารชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องขณะที่ไทยงดออกเสียงเป็นครั้งที่สอง Posted: 21 Dec 2012 04:39 AM PST องค์กรนิรโทษกรรมสากลแถลงแรงสนับสนุนจากทั่วโลกเพื่อยุติ โดยการลงมติครั้งนี้นับป็นการลงมติครั้งที่ 4 ที่ผ่านการรับรองในที่ประชุมสมั 111 รัฐลงคะแนนเสียงสนับสนุนมติดั "การลงมติในวันนี้ช่วยตอกย้ำให้ "ถึงแม้มติของที่ประชุมสมั "โทษประหารชีวิตเป็นการลงโทษที่ ผลการลงคะแนนรวม มีเสียงสนับสนุน 111 เสียง คัดค้าน 41 เสียง และงดออกเสียง 34 เสียง
หมายเหตุ: สำหรับรั ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
การลงมติยุติโทษประหารชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องขณะที่ไทยงดออกเสียงเป็นครั้งที่สอง Posted: 21 Dec 2012 04:38 AM PST องค์กรนิรโทษกรรมสากลแถลงแรงสนับสนุนจากทั่วโลกเพื่อยุติ โดยการลงมติครั้งนี้นับป็นการลงมติครั้งที่ 4 ที่ผ่านการรับรองในที่ประชุมสมั 111 รัฐลงคะแนนเสียงสนับสนุนมติดั "การลงมติในวันนี้ช่วยตอกย้ำให้ "ถึงแม้มติของที่ประชุมสมั "โทษประหารชีวิตเป็นการลงโทษที่ ผลการลงคะแนนรวม มีเสียงสนับสนุน 111 เสียง คัดค้าน 41 เสียง และงดออกเสียง 34 เสียง
หมายเหตุ: สำหรับรั ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ใบตองแห้ง: ประชามติ หลักการกับ ‘การเมือง’ Posted: 21 Dec 2012 04:21 AM PST พรรคร่วมรัฐบาลมีมติให้ลงประชามติ ก่อนรับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 วาระสาม ตามบัญชา "นายใหญ่" นี่เป็น "เกม" ที่ชาญฉลาดของทักษิณและทีมกุนซือพรรคเพื่อไทย กล่าวได้ว่าอ่านสถานการณ์ขาด ถึงแม้จะไม่เป็นไปตามหลักการเสียทีเดียว เพราะการทำประชามติก่อนไม่จำเป็น มวลชนเสื้อแดงและผู้รักประชาธิปไตยที่เลือดลมร้อนแรงอาจเห็นว่า รัฐสภาควรเดินหน้าลงมติรับร่างวาระ 3 ไปเลย ไม่ควรทำตาม "คำแนะนำ" ของศาลรัฐธรรมนูญ บางส่วนก็ไม่พอใจ โวยว่านี่เป็นการ "ซื้อเวลา" อยู่ในเก้าอี้ไปเรื่อยๆ ของรัฐบาล โดยไม่จริงใจที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญ บางส่วนก็กลัวว่าจะไม่ชนะ เพราะฝ่ายค้าน ปชป.พธม.จะสั่งคนฝ่ายตนเบี้ยวไม่มาลงประชามติ ฯลฯ ประเด็นอยู่ที่เรามองในมิติไหน มองวิธีการที่จะนำไปสู่เป้าหมายประชาธิปไตยอย่างไร อย่างที่ผมเขียนมาหลายครั้ง สถานการณ์เปลี่ยนไปแล้ว จากเมื่อเดือนมิถุนายน ที่รัฐสภายอมให้ศาลรัฐธรรมนูญก้าวล่วงเข้ามาใช้อำนาจโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ตอนนั้นพรรคเพื่อไทยกลายเป็นเพื่อถอย ถอยร่นไม่กล้าลงมติรับร่างวาระ 3 ทั้งที่กระแสประชาธิปไตย ประชาชน นักวิชาการ หนุนหลังพร้อมพรั่ง ได้เปรียบทุกอย่างในทางหลักการและเหตุผล แต่ไปยอมจำนนในเกมวัดใจ จึงกลายเป็นต้องนับหนึ่งใหม่ ซึ่งส่วนหนึ่งก็ต้องโทษความโง่บัดซบของใครบางคน ที่กำลังแก้ไขรัฐธรรมนูญอยู่ดีๆ ดันยัดร่าง พ.ร.บ.ปรองดองเข้ามาซะนี่ เสียกระบวนหมด แต่หลังศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย แบบที่กระแสสังคมถอนหายใจ "โล่งอก" สถานการณ์ก็เปลี่ยนไป ภายหลังความตึงเครียดกดดัน "กระแสรักสงบ" ที่เบื่อหน่ายความขัดแย้งยืดเยื้อมา 6 ปี ได้กลายเป็นผนังทองแดงกำแพงเหล็ก สกัดกั้นสงครามระหว่างสี โดยมีผลทั้งสองด้าน คือปกป้องรัฐบาล แต่ก็ไม่ต้องการให้รุกล้างอำมาตย์ "กระแสรักสงบ" ไม่อยากเห็นรัฐประหาร แช่แข็งประเทศ ยุบพรรค ถอดถอน ตัดสิทธิ ล้มรัฐบาลด้วยกองทัพหรือศาลอีกแล้ว แม้บางส่วนไม่ได้ชอบรัฐบาล แต่ก็ยังมองหาทางออกไม่เจอ นอกจากยอมให้อำนาจจากการเลือกตั้งอยู่ไปเรื่อยๆ กระนั้น อีกด้านหนึ่ง "กระแสรักสงบ" ก็ไม่ต้องการเห็นรัฐบาลพรรคเพื่อไทยเป็นฝ่ายรุกแก้รัฐธรรมนูญแบบหักหาญ เอาทักษิณกลับบ้าน ฯลฯ เพราะกลัวจะเกิดม็อบยึดทำเนียบยึดสนามบินอีก นี่คือสถานการณ์ที่ค้างคาอยู่ และเป็นขั้นทางยุทธศาสตร์ที่ต้องช่วงชิงกัน ระหว่างรัฐบาล Vs. ฝ่ายค้านและพวกแช่แข็ง ใครจะช่วงชิงคนตรงกลางได้มากกว่ากัน แน่นอนยื้อกันไปอย่างนี้รัฐบาลได้เปรียบ กระแสรักสงบที่สะท้อนออกทางโพลล์ เช่น เอแบคโพลล์ เป็นตัวแทนพลังเงียบที่เบรกม็อบแช่แข็งหัวทิ่ม แต่รัฐบาลก็เผด็จศึกไม่ได้เช่นกัน เพราะพอบอกว่าจะเดินหน้าวาระ 3 โพลล์ก็สะท้อนทันทีว่ายังมีคนจำนวนมากไม่เห็นด้วย แม้ในนั้นมีความไม่เข้าใจ ไม่ตระหนักถึงปัญหาที่เกิดจากรัฐธรรมนูญรัฐประหาร (ว่าแท้จริงคือต้นตอของความไม่สงบ) แต่ประการสำคัญก็คือความกลัวว่าสถานการณ์การเมืองจะรุนแรงอีก ในสถานการณ์เช่นนี้ การทำประชามติจึงเป็นทางออกให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญเดินหน้าต่อไป โดยไม่เร่งร้อนหักหาญ ซึ่งการไม่เร่งร้อนหักหาญไม่ว่าอย่างไรรัฐบาลก็ได้เปรียบอยู่ดี (เวลาอยู่กับเรา) ประเด็นจึงอยู่ที่เรามองการไปสู่เป้าหมาย หรือ "ชัยชนะ" อย่างไร "ชัยชนะ" บางครั้งก็ไม่ใช่การ "เอาชนะ" หรือ "รบชนะ" เป้าหมายของประชาธิปไตย อาจไม่จำเป็นต้องเป็นการยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับเสียแต่เดี๋ยวนี้ (ซึ่งความจริงรัฐธรรมนูญ 2556 ที่จะร่างตาม ม.291 ก็โหลยโท่ยเพราะพรรคเพื่อไทยไปยอมรับข้อจำกัดตั้งแต่แรกว่าห้ามแตะหมวดนั้นหมวดนี้) "ชัยชนะ" ในการรณรงค์เคลื่อนไหวทางการเมือง บางครั้งก็บรรลุได้ด้วยการโน้มน้าว จูงใจ ดึงคนส่วนใหญ่มาเป็นพวก "ชัยชนะ" บางครั้งอาจดูเหมือนผู้แพ้ แต่ชนะใจคน เรียกคะแนนสงสาร เห็นใจ หรือเห็นว่าเป็นฝ่ายที่ชอบธรรม นี่ต่างหากคือเป้าหมายที่เราควรตั้งในการทำประชามติ ทำให้ประชามติเป็นการเคลื่อนไหวรณรงค์ ที่ทั้งให้เนื้อหาประชาธิปไตยผ่านการดีเบท ถกเถียงด้วยเหตุผล ขณะเดียวกันก็ทำให้สังคมเห็นว่าใครกันแน่เป็นฝ่ายต้องการความสงบ ยอมยืดหยุ่น เพื่อเห็นแก่ส่วนรวม ใครกันแน่ ที่หักหาญ ดื้อรั้น ตีรวน สามัคคีฝ่ายก้าวหน้า ช่วงชิงคนเป็นกลาง โดดเดี่ยวพวกล้าหลัง ทำให้พวกสุดขั้วสุดโต่งถูกปฏิเสธจากสังคม ท่องคำสอนประธานเหมาไว้ ยังเอามาใช้ได้เสมอ ยกตัวอย่างข้อที่มวลชนเสื้อแดงวิตกกันมาก ว่าการลงประชามติต้องมีผู้ออกมาใช้สิทธิเกินกึ่งหนึ่ง คือ 23-24 ล้านเสียง หากฝ่ายตรงข้ามไม่ยอมออกมาจะทำอย่างไร พรรคร่วมรัฐบาลคงไม่สามารถระดมคะแนนเสียงได้ถึง 23 ล้านเสียง ถามว่าถ้าพรรคร่วมรัฐบาลสามารถรณรงค์ให้คนออกมาใช้สิทธิ 17 ล้านเสียงต่อศูนย์ แต่ประชามติล้มไป จริงๆ แล้วใครชนะ ผู้ที่มองเพียงเป้าหมายโดดๆ ก็จะคิดว่าแพ้ แต่ถ้ามองในเชิงการรณรงค์ทางการเมือง มองในเชิงการช่วงชิงความชอบธรรม ใครเป็นนางเอก ใครเป็นผู้ร้าย พวกกลัวแพ้แล้วตีรวน มุดชายผ้าถุงซุกมดลูกแม่ไม่กล้าออกมาสู้ ยังจะลอยหน้าลอยตาได้อยู่หรือ ถ้าพูดแบบนักการเมืองอาจพูดได้ว่านี่คือเกม แต่ถ้าพูดแบบนักเคลื่อนไหว นี่ก็คือการรณรงค์ทางการเมือง ลากฝ่ายตรงข้ามให้มาต่อสู้บนเวที มาดีเบทด้วยเหตุผล ไม่เปิดช่องให้ก่อม็อบ ไม่เปิดโอกาสให้อำนาจนอกระบบแทรกแซง พวกเขาซึ่งอ่อนเหตุผลอยู่แล้ว ก็จะต้องตีรวน เล่นบท "ผู้ร้าย" หรือ "ตัวอิจฉา" ให้เสียหายเอง โดยรัฐบาลและพรรคเพื่อไทยจะต้องเล่นบทแฟร์ที่สุด สวมบท "นางเอ๊กนางเอก" ผู้แสนดี ยอมประนีประนอมแล้วยังถูกรังแก ปัญหาคือนักการเมืองพรรคเพื่อไทย พรรคร่วมรัฐบาล มีความเข้าใจและเชื่อมั่นในแนวทางนี้อย่างเป็นเอกภาพหรือไม่ เพราะเดี๋ยวก็จะอดไม่ได้ อยากเล่นบท "ตัวโกง" ตามสันดานอีก นางเอกอย่าปาหี่เมื่อเชื่อมั่นในหลักการประชาธิปไตยเป็นหลังพิง รัฐบาลก็จะต้องจัดการลงประชามติอย่างแฟร์ที่สุด เปิดโอกาสให้มีการดีเบทถกเถียงให้มากที่สุด กว้างขวางที่สุด อย่าไปไขว้เขว ว่าจะไม่ทำประชามติ จะทำประชาเสวนา อย่าไปไขว้เขว ว่าจะทำประชามติแบบขอคำปรึกษา ตามการชี้ช่องเห่ยๆ ของเจ๊สด เพราะเมื่อจะทำประชามติต้องให้แฟร์ อย่ากลัวแพ้ กลัวผู้ออกมาใช้สิทธิไม่ถึงกึ่งหนึ่ง ดังกล่าวแล้ว เพราะขืนเป๋ไม่ทำประชามติตรงๆ จะโดนโห่เอา กลายเป็น "ปาหี่" ที่เผลอๆ ก็ไม้เอกหาย สิ่งที่ควรทบทวน คือการให้กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม ไปจัดประชาเสวนา เพราะกระทรวงมหาดไทยก็จะทำป้ายแบบ "น้ำเป็นของปลา ฟ้าเป็นของนก นายกฯ เป็นของเปรม" ยัดเยียดประชามติให้ชาวบ้านแบบสุกเอาเผากิน กลายเป็นใช้อำนาจรัฐโฆษณาชวนเชื่อ ถ้าเชื่อมั่นในหลักการประชาธิปไตย ก็ให้องค์กรอื่น (ที่ไม่ใช่องค์กรกลาง-ฮา) เช่น กกต.จัดดีเบทว่าควรแก้รัฐธรรมนูญหรือไม่ รัฐธรรมนูญ 2550 มีข้อเสียตรงไหน ท้าอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มาดีเบทกับจาตุรนต์ ฉายแสง ยกทีม ปชป. มาดีเบทกับณัฐวุฒิ จตุพร หรือองอาจ คล้ามไพบูลย์ Vs ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ (ฮา) จัดดีเบทให้ถี่ยิบ ใช้สื่อของรัฐถ่ายทอดสดแฟร์ๆ ประชาชนจะได้เห็นว่าใครแถ ถ้าเป็นไปได้ ก็เชิญ อ.วรเจตน์มาดีเบทกับจรัญ ภักดีธนากุล หรือสมคิด เลิศไพฑูรย์ แต่กลัวจะอ้างตำแหน่งหน้าที่ในปัจจุบันหนีการดีเบททั้งคู่เสียมากกว่า รัฐบาลไม่จำเป็นต้องใช้วิธีปิดปากฝ่ายค้านหรือฝ่ายต่อต้าน อยากพูดได้พูดไป แล้วค่อยไล่วิพากษ์ ปชป. พธม.ยิ่งต่อต้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญยิ่งเข้าตาจน มีแต่เสียกับเสีย เหมือนอภิสิทธิ์ อยู่ๆ ก็เขียนจดหมายเปิดผนึก เอาคดีที่ตัวเองตกเป็นจำเลยมาพันการแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ไงไม่ทราบ ถูกข้อหาสั่งสลายม็อบฆ่าคนตาย กลับโวยวายว่ารัฐบาลจะยกเลิกมาตรา 309 ช่วยทักษิณพ้นผิด เข้าใจว่าจะทำตัวเป็นพระเอก ยอมถูกประหารชีวิต ไม่ยอมให้แก้รัฐธรรมนูญ ผมเลยงัดบทสัมภาษณ์ที่เคยลงไทยโพสต์มาแฉ (เงื้อไว้นานแล้ว 555) เดี๋ยว พธม.ออกมาก็ต้องงัดคำประกาศสมัชชาประชาชนเพื่อปฏิรูปการเมือง (สปป.) ยัดปาก ยังจำได้แม่นยำ วันลงประชามติ พันธมิตรในนาม สปป.นั่งเรียงหน้าสลอน พี่พิภพ ธงไชย, สมศักดิ์ โกศัยสุข, สมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์, สุริยะใส กตะศิลา แถลงว่ารับร่างก่อน แล้วจะผลักดันให้มีการแก้ไขเร่งด่วน เรื่องที่มาวุฒิสมาชิก (ลากตั้ง) กระบวนการสรรหาองค์กรอิสระ และไม่เอา 309 เพราะเป็นการนิรโทษกรรม คมช. อ้าว ตอนนี้มาบอกว่าไม่ยอมให้ยกเลิก 309 เพราะช่วยให้ทักษิณพ้นผิด พรรคเพื่อไทยมีกำลังคนมีทุนทรัพย์ น่าจะไล่ขุดค้นข้อมูลย้อนหลังให้หมดนะครับ ค้นหนังสือพิมพ์รายวันในหอสมุดแห่งชาติตั้งแต่ปี 2535 ชวน อภิสิทธิ์ พูดหลักการประชาธิปไตยไว้อย่างไร พวกแกนนำพันธมิตร สื่อ นักวิชาการ คอลัมนิสต์ สมัยปี 35 สมัยปี 40 หรือสมัยทักษิณ เคยพูดหลักการประชาธิปไตยไว้อย่างไร ถ้าบิดพลิ้วไปมาจะได้ประจานลิ้นสองแฉก (โดยเฉพาะสื่อนี่แหละตัวสำคัญ คิดว่าเขียนหนังสือพิมพ์รายวันพรุ่งนี้คนก็ลืม) เรื่องนี้ไม่ต้องห่วงว่าฝ่ายตรงข้ามจะขุดมาย้อนเหมือนกัน เพราะทักษิณไม่เคยพูดหลักการประชาธิปไตย (ฮา) ประชามติไม่ผ่านแล้วไงอันที่จริงความกลัวของพวก ปชป.พธม.และสลิ่ม ที่ว่าจะแพ้ประชามติ และเตรียมจะรณรงค์ให้มวลชนฝ่ายตัวไม่ออกมาลงคะแนนนั้น เป็นปมทางจิต เพราะกลับไปดูตัวเลขผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง 2554 แล้วไม่ได้แปลว่าพรรคร่วมรัฐบาลจะชนะเด็ดขาด การเลือกตั้งเมื่อปี 2554 มีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 46,921,682 คน มาใช้สิทธิ (บัญชีรายชื่อ) 35,203,107 คน พรรคเพื่อไทยได้ 15,744,190 พรรคชาติไทยพัฒนาได้ 906,656 พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน 494,894 พรรคพลังชล 178,110 ขี้เกียจนับ 2 พรรคเล็ก แต่รวมแล้วคือพรรคร่วมรัฐบาลได้คะแนนราว 17.5 ล้านจาก 35.2 ล้าน ยังเหลืออีกตั้ง 17.7 ล้าน จริงไหม เพียงแต่ฝ่ายค้านได้ไปราว 14-15 ล้าน เพราะมีบัตรเสีย 1,726,051 ใบ โหวตโน 958,052 คน ซึ่งฐานเสียงที่ว่านี้อาจแปรไปมา เพราะนี่เป็นการลงประชามติ ไม่ใช่เลือกรัฐบาล บางคนก็ขี้เกียจมา ฉะนั้น รัฐบาลน่าจะหืดขึ้นคอเหมือนกัน ไม่ใช่จะเอา 17 ล้านเสียงได้ง่าย แต่อย่างว่า คนเราพอไม่อยู่ฝ่ายที่มีความชอบธรรมก็ใจหวาด กลายเป็นปมทางจิต คิดว่าแพ้แน่ ตั้งท่ารณรงค์ไม่ให้ไปลงคะแนนตั้งแต่ต้น (รู้ตัวเลขแล้วเหยียบไว้นะ อย่าให้พวก ปชป.พธม.สลิ่มรู้ เดี๋ยวจะกลับใจมาสู้ 555) ผมคิดว่าถ้าพวกเขาสู้ยิบตา ยังน่ากลัวกว่าไม่มาลงคะแนน เผลอๆ จะคู่คี่สูสีหรือชนะได้ด้วยซ้ำ เพราะคนแพ้เลือกตั้งมักมีแรงขับดัน พวกที่เลือกเพื่อไทย ถ้าไม่ใช่แดงเข้าไคล ชนะไปแล้วก็หย่อนยาน การมาลงประชามติจะไม่คึกคักเหมือนตอนเลือกตั้ง แต่ถ้าเป็น 16 ล้านต่อศูนย์ 17 ล้านต่อศูนย์ ไม่มีอะไรน่ากลัว ประชามติล้มไป แต่รัฐบาลและพลังประชาธิปไตยได้ความชอบธรรม ถามว่าถ้าประชามติล้ม รัฐบาลจะทำอย่างไร ผมเป็นงงที่มีคนเสนอให้รัฐบาลยุบสภาหรือลาออก มันเกี่ยวกันตรงไหน เออ ถ้าแพ้ 15 ต่อ 17 ล้าน แบบนั้นอาจต้องยุบสภา แต่ถ้า 17 ล้านต่อศูนย์ ก็ไม่เห็นมีอะไร รัฐสภาก็ลงมติไม่รับร่างแก้ไขมาตรา 291 วาระสาม แล้วหันไปแก้รัฐธรรมนูญรายมาตรา ฝ่ายค้านอย่ามาอ้างว่าประชามติผูกมัด ห้ามแก้รัฐธรรมนูญ 2550 ชั่วกัลปาวสาน ห้ามแตะแม้แต่ตัวอักษร เพราะประชามตินี้ถามว่าต้องการให้แก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ โดยการเลือกตั้ง สสร.ตามร่าง ม.291 หรือไม่ ไม่ได้ถามว่าต้องการให้แก้ไขรัฐธรรมนูญหรือไม่ การแก้ไขรายมาตราไม่ต้องถามประชามติ เพราะรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ก็ทำมาแล้ว ประเด็นสำคัญคือ มติ 16 ล้านต่อศูนย์ หรือ 17 ล้านต่อศูนย์ มีความชอบธรรมที่จะเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตรา เพราะนอกจากฝ่ายตรงข้ามจะมุดผ้าถุงแม่แล้ว ยังเป็นคะแนนสูงกว่าประชามติรับร่างเมื่อปี 2550 ที่ 14,727,306 เสียง แม้อันที่จริง ประชามติ 2550 ถือเป็นประชามติเทียม แก้รัฐธรรมนูญรายมาตรา ที่จริงก็ไม่ต้องตรงตามหลัก เพราะถ้ายึดหลักแบบนิติราษฎร์ ต้องยกร่างใหม่ทั้งฉบับ พร้อมบทบัญญัติลบล้างผลพวงรัฐประหาร ซึ่งไม่มีทางเป็นไปได้ รัฐธรรมนูญในอุดมคติไม่มีทางเกิดขึ้นในระยะใกล้ แม้แต่ที่พรรคร่วมรัฐบาลจะแก้ไขตามมาตรา 291 ก็ออกมาเป็นหัวมงกุฎท้ายมังกืออยู่แล้ว การแก้รัฐธรรมนูญรายมาตรา เป็นวิธีการหรือยุทธวิธีที่ให้สังคมกินข้าวทีละคำ เข้าใจและเห็นคล้อยตามทีละประเด็น ซึ่งง่ายกว่ามีประโยชน์กว่า ในแง่ของการรณรงค์ทางการเมือง การให้ความรู้ประชาชน ขณะที่การรณรงค์ทั้งก้อน กินข้าวทั้งจาน เป็นเนื้อหาที่มากมายซับซ้อน ชวนให้สับสน ต้องกินข้าวทีละคำจนจะหมดจาน จึงกระโดดไปสู่การยกร่างใหม่ทั้งฉบับ ตลอดกระบวนการนี้ในทางการเมืองก็คือการโดดเดี่ยวพวกแช่แข็งให้แห้งตายไปทีละน้อย ที่พูดมาทั้งหมด เหมือนประชาชนผู้รักประชาธิปไตยต้องเดินตามเกมของพรรคเพื่อไทย ซึ่งจะสามารถยื้อเวลาอยู่ในอำนาจต่อไปเรื่อยๆ แล้วพลังประชาธิปไตยได้อะไร ผมคิดว่านั่นคือจุดร่วม ทั้งการรณรงค์วิพากษ์วิจารณ์รัฐธรรมนูญ 2550 ทั้งการโดดเดี่ยวพวกแช่แข็ง ปิดโอกาสการแทรกแซงของอำนาจนอกระบบ ขั้วอนุรักษ์นิยมซึ่งกำลังกระวนกระวายเพราะเวลาไม่อยู่ข้างพวกเขา แต่ก็มีจุดต่างที่ต้องสอดแทรก นั่นคืออุดมการณ์ประชาธิปไตยต้องนำเสนอรัฐธรรมนูญที่ไปไกลกว่าพรรคเพื่อไทย และสอดแทรกอุดมคติเข้าไปในการรณรงค์ สมมติเช่น นิติราษฎร์อาจยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับอุดมคติ นักวิชาการรัฐศาสตร์อาจเสนอแนวคิดเรื่องการลดอำนาจรัฐ กระจายอำนาจ ปฏิรูปประชาธิปไตยในระบบราชการ ฯลฯ พร้อมไปกับการล้างอำนาจอำมาตย์ ซึ่งเป็นเรื่องที่พรรคเพื่อไทยไม่อยากเห็นนักหรอก แต่หลายเรื่องก็เป็นความต้องการที่ตรงกับพวกเสื้อเหลือง (หมอประเวศพูดเรื่องกระจายอำนาจอีกแล้ว) ซึ่งก็ต้องถามพวกเขาว่าถ้าไม่แก้ไขรัฐธรรมนูญ แล้วจะไปสู่เป้าหมายที่ต้องการได้อย่างไร 2พันล้านเพราะศาลขอแถมประเด็นย่อยว่า รัฐบาลต้องมุ่งรณรงค์ให้ประชาชนเข้าใจตั้งแต่แรกว่า การทำประชามติก่อนแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่จำเป็น แต่ต้องทำ เพราะศาลรัฐธรรมนูญให้คำแนะนำ หากไม่ทำ ก็จะมีตัวป่วนไปฟ้องศาล หรือออกมาก่อม็อบ สร้างความไม่สงบ เกิดวิกฤตรอบใหม่ขึ้นอีก รัฐบาลจึงต้องทำประชามติ เพื่อให้ผู้คัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญออกมาแสดงความคิดเห็นกันเต็มที่ จัดเวทีให้ประชันกันอย่างสันติ รัฐบาลไม่ค่อยพูดเรื่องนี้เลย ฟังไปฟังมาชาวบ้านจะเข้าใจว่าต้องเสีย 2 พันล้านเพราะความกระสันของรัฐบาล ซึ่งไม่ใช่ แต่เพราะศาลติดเบรกไว้ ทั้งที่ความจริงศาลไม่มีอำนาจ เป็นอำนาจของรัฐสภา ณ ตอนนี้ รัฐสภาจะลงมติรับร่างวาระ 3 เลยก็ได้ แต่เห็นแก่ความสงบของสังคมจึงให้ลงประชามติ รัฐบาลต้องชี้แจงว่าการลงประชามติก่อนแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่จำเป็น แม้อ้างว่ารัฐธรรมนูญ 2550 มาจากการลงประชามติ เพราะการแก้ไขมาตรา 291 เพียงบัญญัติให้มี สสร.จากการเลือกตั้ง มายกร่างรัฐธรรมนูญอีกฉบับ เพื่อนำมาเปรียบเทียบ ระหว่าง สสร.ยกร่าง รัฐธรรมนูญ 2550 ก็ยังใช้อยู่ ยังไม่ได้ยกเลิก จนเมื่อยกร่างฉบับใหม่แล้วจึงนำมาให้ประชาชนลงประชามติ ว่าจะเอาฉบับไหน การลงประชามติก่อนยังมีปัญหาด้วยซ้ำ เพราะถ้าถามประชาชนเห็นด้วยกับการรับร่างวาระ 3 เพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับหรือไม่ สมมติประชามติชนะ แปลว่าอะไร แปลว่ารัฐธรรมนูญ 2550 กลายเป็นรัฐธรรมนวยไปโดยสมบูรณ์ เพราะถูกประชาชนปฏิเสธ แต่ประเทศไทยก็ยังต้องใช้รัฐธรรมนวยต่อไปจนกว่าจะร่างรัฐธรรมนูญใหม่เสร็จ การลงประชามติยังไม่สามารถบอกได้ว่า จะแก้รัฐธรรมนูญอย่างไร เพราะมาตรา 291 เปิดกว้างให้ สสร.ยกร่าง รัฐบาลและรัฐสภาไม่สามารถกำหนดประเด็นได้เพราะจะกลายเป็นบล็อกโหวต สิ่งที่ทำได้จึงมีแต่วิพากษ์วิจารณ์ว่ารัฐธรรมนูญ 2550 มีปัญหาอย่างไร แต่รัฐบาลก็ต้องชี้ว่านี่เป็นเพราะศาลรัฐธรรมนูญยัด "คำแนะนำ" เข้ามาไว้ในคำวินิจฉัย ทั้งที่ไม่อยู่ในประเด็นของคดี และไม่ใช่เสียงส่วนใหญ่ของตุลาการด้วยซ้ำ กระนั้นถ้ารัฐบาลและรัฐสภาไม่ทำตามคำแนะนำ ก็ไม่ทราบว่าจะเกิดอะไรขึ้น ในเมื่อศาลรัฐธรรมนูญก็แทงกั๊ก ไม่บอกว่ารับร่างวาระ 3 แล้วถูกหรือผิด ถูกถอดถอนตัดสิทธิกันระนาวหรือไม่ หนำซ้ำยังมีพวกแช่แข็งคอยก่อความวุ่นวาย รัฐบาลจึงจำใจต้องทำประชามติทั้งที่เสียเปรียบ เพราะถูกบีบให้ทำประชามติระหว่างรัฐธรรมนูญ 2550 กับรัฐธรรมนูญในอนาคต ในโอกาสนี้ รัฐบาลต้องชี้ด้วยว่า ประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญ 2550 ก็ไม่ชอบธรรม ฝ่ายไม่รับเสียเปรียบ เพราะประชาชนไม่รู้ว่าถ้าไม่รับ คมช.จะเอารัฐธรรมนูญฉบับไหนมาใช้ ไม่มีตัวเปรียบเทียบ เป็นประชามติระหว่างรัฐธรรมนูญ 2550 กับรัฐธรรมนูญผี ขณะที่ สสร.ก็ใช้งบประมาณของรัฐโหมโฆษณาว่าให้รับไปก่อน จะได้มีการเลือกตั้งโดยเร็ว เหล่านี้คือประเด็นที่จะต้องโพนทนา ก่อนเข้าสู่การรณรงค์ประชามติ ใบตองแห้ง 20 ธ.ค.2555 ............. ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
จดหมายเปิดผนึกถึงโฆษกศาลยุติธรรม, อธิบดีกรมศิลปากร, และผู้สนใจ กรณีรื้อกลุ่มอาคารศาลฎีกา Posted: 21 Dec 2012 04:07 AM PST เรียน โฆษกศาลยุติธรรม และ อธิบดีกรมศิลปากร ตามที่ได้รับฟังคำสัมภาษณ์ของอธิบดีกรมศิลปากรตามสื่อต่างๆ ที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2555 และคำชี้แจงของโฆษกศาลยุติธรรม เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2555 ต่อกรณีการรื้อถอนกลุ่มอาคารศาลฎีกาที่กำลังดำเนินการอยู่ ณ ปัจจุบัน ผมมีประเด็นที่อยากสอบถามและแลกเปลี่ยนความเห็นใน 5 ข้อดังต่อไปนี้ 1. ความชอบธรรมทางกฏหมาย: กรณีความสูงอาคาร 32 เมตร กฏหมายเรื่องความสูงอาคารที่บังคับใช้ในพื้นที่นี้ ห้ามสร้างอาคารใหม่ที่มีความสูงเกิน 16 เมตรโดยเด็ดขาด กฏหมายนี้ประกาศใช้มาเกือบ 30 ปี และยังคงถูกบังคับใช้อยู่ ณ ปัจจุบัน. อาคารหน่วยราชการทุกแห่งปฏิบัติตามข้อกฏหมายดังกล่าวอย่างเคร่งครัดเสมอมา. แต่กลุ่มอาคารศาลฎีกาใหม่กลับได้รับอนุมัติเป็นกรณีพิเศษให้สามารถสร้างได้ถึง 32 เมตร ด้วยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อ พ.ศ. 2531. ดังนั้น แม้จะไม่ผิดกฏหมาย (เพราะได้รับอนุมัติพิเศษ) แต่ย่อมเป็นการปฏิบัติที่ขาดซึ่ง "ความชอบธรรม" เป็นอย่างยิ่ง และที่น่าเสียดายที่สุด คือ เป็นการขอละเว้นกฏหมาย โดยหน่วยงานที่ควรจะเป็นต้นแบบของการปฏิบัติตามกฏหมายอย่างเคร่งครัดที่สุด. หากปล่อยให้มีการสร้างจริง กฏหมายข้อนี้จะยังคงเหลือความศักดิ์สิทธิ์หรือชอบธรรมในการบังคับใช้ต่อไปในอนาคตได้หรือไม่? โฆษกศาลที่ได้กล่าวถึงความสูง 32 เมตร ที่มาจากการคำนวณความสูงโดยเฉลี่ยของกลุ่มอาคารภายในพระบรมมหาราชวังนั้น อยากเรียนว่า มิใช่ประเด็นที่จะนำมาเป็นเหตุผลในการละเมิดกฏหมายเรื่องความสูงอาคารในพื้นที่ได้. เพราะหากยอมรับในเหตุผลนี้ หน่วยราชการใดจะอ้างอิงบรรทัดฐานจากคำชี้แจงของศาลดังกล่าว ไปใช้ในการก่อสร้างอาคารสูง 32 เมตรในพื้นที่นี้ก็ย่อมทำได้ ใช่หรือไม่? และหากเป็นเช่นนั้นจริง กฏหมายกำหนดความสูง 16 เมตรก็ควรถูกยกเลิกไปเสีย เพื่อให้เกิดความเสมอภาคในการบังคับใช้กฏหมาย 2. ความเป็นโบราณสถานของกลุ่มอาคารศาลฎีกา โฆษกศาลได้ชี้แจงว่า กลุ่มอาคารศาลฎีกามิได้จดทะเบียนขึ้นเป็นโบราณสถาน โดยกรมศิลปากร. ซึ่งเป็นการชี้แจงที่ถูกต้อง เพราะยังไม่มีอาคารหลังใดในพื้นที่ศาลฎีกาได้รับการจดทะเบียนขึ้นเป็นโบราณสถาน. แต่โฆษกศาลมิได้กล่าวถึง จดหมายด่วนที่สุด ที่ วธ. 0403/3323 เรื่อง การก่อสร้างอาคารที่ทำการศาลฎีกาหลังใหม่ ลงวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ที่ลงนามโดยอธิบดีกรมศิลปากร และส่งไปถึงประธานศาลฎีกา ณ ขณะนั้น ทีมีใจความสำคัญว่า อาคารส่วนที่ 1 (หลังอนุสาวรีย์) และ อาคารส่วนที่ 2 ฝั่งด้านคลองคูเมืองเดิม (ซึ่งกำลังโดนรื้อถอนอยู่ในขณะนี้) มีลักษณะเป็น "โบราณสถาน" ตามที่กำหนดในมาตรา 4 วรรคหนึ่ง ของพระราชบัญญัติโบราณสถานฯ ดังนั้น ห้ามมีการรื้อถอน ต่อเติม ทำลาย เว้นแต่จะได้รับการอนุญาตเป็นหนังสือจากอธิบดีกรมศิลปากร อีกทั้ง จากคำสัมภาษณ์ของอธิบดีกรมศิลปากรเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2555 ตามสื่อต่างๆ อธิบดีก็ยังยืนยันเหมือนข้อความที่ปรากฏในจดหมายที่ส่งไปยังศาลฎีกาเมื่อ พ.ศ. 2552. แต่จากการชี้แจงของโฆษกศาลในวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2555 กลับยืนยันว่า การรื้อถอนครั้งนี้ได้รับความยินยอมแล้วจากกรมศิลปากร ดังนั้น ประเด็นสำคัญที่อยากเรียนถามและร้องขอ จึงมีดังต่อไปนี้ 2.1 อธิบดีกรมศิลปากร จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องออกมาชี้แจงให้สาธารณะได้รับทราบถึงข้อเท็จจริงที่ยังมีความขัดแย้งกันอยู่ ว่า สรุปแล้วกลุ่มอาคารศาลฎีกาที่กำลังรื้ออยู่ ณ ตอนนี้ เข้าข่ายเป็นโบราณสถานหรือไม่ อย่างไร? 2.2 หากโฆษกศาลยืนยันว่าได้รับความเห็นชอบจากกรมศิลปากรแล้ว อยากเรียกร้องให้ศาลได้เผยแพร่จดหมายอนุญาตจากกรมศิลปากรต่อสาธารณะ เนื่องจาก การอนุญาตจะต้องมีการส่งอย่างเป็นทางการและเป็นลายลักษณ์อักษร 2.3 หาก จดหมายด่วนที่สุด จากอธิบดีกรมศิลปากร เมื่อ พ.ศ. 2552 มิได้มีผลบังคับใช้ตามกฏหมายจริง แสดงว่า นับตั้งแต่นี้ หากในอนาคต อธิบดีกรมศิลปากรทำจดหมายในลักษณะดังกล่าวส่งไปยังหน่วยงานอื่นๆ ที่กำลังรื้อถอนสิ่งก่อสร้างที่กรมศิลปากรถือว่าเป็น "โบราณสถาน" (แต่ยังมิได้ทำการขึ้นทะเบียน) ก็ย่อมสามารถถือปฏิบัติได้ในแบบเดียวกับที่ศาลกำลังปฏิบัติอยู่ ใช่หรือไม่? 3. ปัญหาว่าด้วยความเสื่อมสภาพของกลุ่มอาคารศาลฎีกา ในการชี้แจ้งของโฆษกศาล ตลอดจนการเผยแพร่ข้อมูลจากหลายๆ ฝ่ายที่สนับสนุนการรื้อ ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ประเด็นสำคัญประการหนึ่ง คือ การเสื่อมสภาพของกลุ่มอาคารศาลฎีกา ในระดับที่ไม่สามารถใช้งานได้อีกต่อไป และจะเป็นอันตรายในระดับที่อาจจะมีการพังถล่มลงมาได้ไม่วันใดก็วันหนึ่ง. แต่จากงานวิจัย "โครงการศึกษาวิเคราะห์สภาพปัญหาอาคารศาลฎีกาและอาคารบริเวณรอบศาลฎีกา" ที่ทำโดย ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ได้ทำขึ้นเมื่อก่อนการอนุมัติรื้อเมื่อปี พ.ศ. 2550 ไม่นาน และเป็นงานวิจัยที่ทางศาลได้เป็นผู้ว่าจ้างด้วยตนเองด้วยนั้น หากอ่านในส่วนที่ว่าด้วยการสำรวจและวิเคราะห์สภาพอาคาร แม้งานวิจัยจะแสดงให้เห็นถึงปัญหาการเสื่อมสภาพของอาคารอันเนื่องมาจากอายุการใช้งาน แต่งานวิจัยก็ไม่ได้สรุปไปในทิศทางที่แสดงให้เห็นเลยว่า กลุ่มอาคารศาลฎีกาเสื่อมสภาพในระดับที่อาจจะพังถล่มโดยเร็ว และเกินกว่าการบูรณะซ่อมแซมแต่อย่างใด. อย่างไรก็ตาม เพื่อความชัดเจนในประเด็นนี้ อยากเรียกร้องให้มีการเข้าไปสำรวจสภาพอาคารโดยผู้เชี่ยวชาญโดยตรง เพื่อความชัดเจนในประเด็นดังกล่าว 4. ประเด็นว่าด้วยรูปแบบทางสถาปัตยกรรม โฆษกศาลได้ชี้แจงว่า การออกแบบอาคารศาลฎีกาใหม่ ทำโดยผู้เชี่ยวชาญทางด้านสถาปัตยกรรมไทยมากมายหลายท่าน ถูกระเบียบแบบแผนทางสถาปัตยกรรมไทย และสอดรับกับความสง่างามของพระบรมมหาราชวัง ผมอยากเรียนชี้แจงว่า ประเด็นสำคัญในกรณีนี้มิได้อยู่ที่ว่า หน้าตาอาคารเป็นไทยดีแล้ว ออกแบบโดยผู้เชี่ยวชาญดีแล้ว และส่งเสริมความสง่างามของพระบรมมหาราชวัง แต่อย่างใด. เพราะประเด็นสำคัญคือ การได้มาซึ่งอาคารใหม่นั้น ทำลายอาคารที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ลง และ มีความสูงเกินกว่าที่กฏมายกำหนด (แต่ถูกกฏมายเพราะได้รับสิทธิพิเศษ) ดังนั้น ไม่ว่าใครจะเป็นผู้ออกแบบและหน้าตาอาคารจะสวยงามแค่ไหน ย่อมไม่ใช่สาระสำคัญ 5. อาคารใดบ้างที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกในเรื่องการได้มาซึ่งเอกราชสมบูรณ์ทางการศาล โฆษกศาลได้ชี้แจงว่า ตามแบบที่จะสร้างใหม่ ได้ตกลงเก็บอาคารด้านหลังอนุสาวรีย์เอาไว้เพียงหลังเดียว เพราะอาคารดังกล่าวคืออาคารที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงการได้มาซึ่งเอกราชสมบูรณ์ทางการศาล เมื่อ พ.ศ. 2481. แต่ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ ซึ่งได้มาจากเอกสารในหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ระบุเอาไว้อย่างชัดเจนเมื่อแรกสร้างว่า อาคารที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงเอกราชทางการศาลนั้น มิใช่มีเพียงหลังเดียวที่อยู่ด้านหลังอนุสาวรีย์เท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงอาคารด้านที่ติดคลองคูเมือง (ซึ่งกำลังถูกรื้อถอนอยู่ในปัจจุบัน) ด้วย ฉะนั้น การอนุรักษ์เพียงอาคารเดียว จึงเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนในเชิงประวัติศาสตร์ อย่างไรก็ตาม การเก็บรักษาไว้ ย่อมมิได้หมายถึงการรักษาในลักษณะแช่แข็ง ห้ามทำอะไรเลย ก็หาไม่. ความก้าวหน้าในเชิงเทคโนโลยีสมัยใหม่ และหลักการด้านการอนุรักษ์ที่ก้าวหน้าขึ้นมากมายในโลกปัจจุบัน สามารถที่จะทำการอนุรักษ์อาคารเก่าโดยที่สามารถตอบสนองการใช้สอยสมัยใหม่ได้อย่างเต็มที่ ดังนั้น การรื้อถอนและสร้างใหม่ เพราะเชื่อว่าจะทำให้สามารถใช้สอยพื้นที่ได้ดีกว่านั้น จึงไม่ใช่ความคิดที่ถูกต้องอีกแล้วในโลกปัจจุบัน. จากเหตุผลที่กล่าวมา อยากเรียกร้องให้ศาลพิจารณาระงับการรื้อถอนอาคารออกไปก่อน เพื่อให้เกิดความชัดเจนในประเด็นต่างๆ และอยากเรียกร้องให้อธิบดีกรมศิลปากรออกมาให้ความกระจ่างในประเด็นต่างๆ ที่ยังขัดแย้งกันอยู่ระหว่างคำชี้แจงของศาลกับคำสัมภาษณ์ของอธิบดีกรมศิลปากร สุดท้ายนี้ หวังว่า กรณีการรื้อถอนกลุ่มอาคารศาลฎีกา จะนำมาสู่การศึกษาเรื่องคุณค่าของงานสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ (Modern Architecture) ที่สัมพันธ์สอดคล้องกับพัฒนาการทางสถาปัตยกรรมในโลกสากล และคุณค่าในเชิงประวัติศาสตร์ของงานสถาปัตยกรรมรูปแบบนี้ที่ถูกนำเข้ามาใช้ในสังคมไทยในยุคหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 โดยกลุ่มคณะราษฎร เพื่อสะท้อนถึงอุดมคติอย่างใหม่ในระบอบประชาธิปไตย ในระดับที่สูงมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การก้าวพ้นเพดานความคิดในเชิงประวัติศาสตร์และอนุรักษ์ที่คับแคบของสังคมไทยในปัจจุบัน ด้วยความนับถือ ชาตรี ประกิตนนทการ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2555 ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
จดหมายเปิดผนึกถึงโฆษกศาลยุติธรรม, อธิบดีกรมศิลปากร, และผู้สนใจ กรณีรื้อกลุ่มอาคารศาลฎีกา Posted: 21 Dec 2012 04:02 AM PST เรียน โฆษกศาลยุติธรรม และ อธิบดีกรมศิลปากร ตามที่ได้รับฟังคำสัมภาษณ์ของอธิบดีกรมศิลปากรตามสื่อต่างๆ ที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2555 และคำชี้แจงของโฆษกศาลยุติธรรม เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2555 ต่อกรณีการรื้อถอนกลุ่มอาคารศาลฎีกาที่กำลังดำเนินการอยู่ ณ ปัจจุบัน ผมมีประเด็นที่อยากสอบถามและแลกเปลี่ยนความเห็นใน 5 ข้อดังต่อไปนี้ 1. ความชอบธรรมทางกฏหมาย: กรณีความสูงอาคาร 32 เมตร กฏหมายเรื่องความสูงอาคารที่บังคับใช้ในพื้นที่นี้ ห้ามสร้างอาคารใหม่ที่มีความสูงเกิน 16 เมตรโดยเด็ดขาด กฏหมายนี้ประกาศใช้มาเกือบ 30 ปี และยังคงถูกบังคับใช้อยู่ ณ ปัจจุบัน. อาคารหน่วยราชการทุกแห่งปฏิบัติตามข้อกฏหมายดังกล่าวอย่างเคร่งครัดเสมอมา. แต่กลุ่มอาคารศาลฎีกาใหม่กลับได้รับอนุมัติเป็นกรณีพิเศษให้สามารถสร้างได้ถึง 32 เมตร ด้วยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อ พ.ศ. 2531. ดังนั้น แม้จะไม่ผิดกฏหมาย (เพราะได้รับอนุมัติพิเศษ) แต่ย่อมเป็นการปฏิบัติที่ขาดซึ่ง "ความชอบธรรม" เป็นอย่างยิ่ง และที่น่าเสียดายที่สุด คือ เป็นการขอละเว้นกฏหมาย โดยหน่วยงานที่ควรจะเป็นต้นแบบของการปฏิบัติตามกฏหมายอย่างเคร่งครัดที่สุด. หากปล่อยให้มีการสร้างจริง กฏหมายข้อนี้จะยังคงเหลือความศักดิ์สิทธิ์หรือชอบธรรมในการบังคับใช้ต่อไปในอนาคตได้หรือไม่? โฆษกศาลที่ได้กล่าวถึงความสูง 32 เมตร ที่มาจากการคำนวณความสูงโดยเฉลี่ยของกลุ่มอาคารภายในพระบรมมหาราชวังนั้น อยากเรียนว่า มิใช่ประเด็นที่จะนำมาเป็นเหตุผลในการละเมิดกฏหมายเรื่องความสูงอาคารในพื้นที่ได้. เพราะหากยอมรับในเหตุผลนี้ หน่วยราชการใดจะอ้างอิงบรรทัดฐานจากคำชี้แจงของศาลดังกล่าว ไปใช้ในการก่อสร้างอาคารสูง 32 เมตรในพื้นที่นี้ก็ย่อมทำได้ ใช่หรือไม่? และหากเป็นเช่นนั้นจริง กฏหมายกำหนดความสูง 16 เมตรก็ควรถูกยกเลิกไปเสีย เพื่อให้เกิดความเสมอภาคในการบังคับใช้กฏหมาย 2. ความเป็นโบราณสถานของกลุ่มอาคารศาลฎีกา โฆษกศาลได้ชี้แจงว่า กลุ่มอาคารศาลฎีกามิได้จดทะเบียนขึ้นเป็นโบราณสถาน โดยกรมศิลปากร. ซึ่งเป็นการชี้แจงที่ถูกต้อง เพราะยังไม่มีอาคารหลังใดในพื้นที่ศาลฎีกาได้รับการจดทะเบียนขึ้นเป็นโบราณสถาน. แต่โฆษกศาลมิได้กล่าวถึง จดหมายด่วนที่สุด ที่ วธ. 0403/3323 เรื่อง การก่อสร้างอาคารที่ทำการศาลฎีกาหลังใหม่ ลงวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ที่ลงนามโดยอธิบดีกรมศิลปากร และส่งไปถึงประธานศาลฎีกา ณ ขณะนั้น ทีมีใจความสำคัญว่า อาคารส่วนที่ 1 (หลังอนุสาวรีย์) และ อาคารส่วนที่ 2 ฝั่งด้านคลองคูเมืองเดิม (ซึ่งกำลังโดนรื้อถอนอยู่ในขณะนี้) มีลักษณะเป็น "โบราณสถาน" ตามที่กำหนดในมาตรา 4 วรรคหนึ่ง ของพระราชบัญญัติโบราณสถานฯ ดังนั้น ห้ามมีการรื้อถอน ต่อเติม ทำลาย เว้นแต่จะได้รับการอนุญาตเป็นหนังสือจากอธิบดีกรมศิลปากร อีกทั้ง จากคำสัมภาษณ์ของอธิบดีกรมศิลปากรเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2555 ตามสื่อต่างๆ อธิบดีก็ยังยืนยันเหมือนข้อความที่ปรากฏในจดหมายที่ส่งไปยังศาลฎีกาเมื่อ พ.ศ. 2552. แต่จากการชี้แจงของโฆษกศาลในวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2555 กลับยืนยันว่า การรื้อถอนครั้งนี้ได้รับความยินยอมแล้วจากกรมศิลปากร ดังนั้น ประเด็นสำคัญที่อยากเรียนถามและร้องขอ จึงมีดังต่อไปนี้ 2.1 อธิบดีกรมศิลปากร จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องออกมาชี้แจงให้สาธารณะได้รับทราบถึงข้อเท็จจริงที่ยังมีความขัดแย้งกันอยู่ ว่า สรุปแล้วกลุ่มอาคารศาลฎีกาที่กำลังรื้ออยู่ ณ ตอนนี้ เข้าข่ายเป็นโบราณสถานหรือไม่ อย่างไร? 2.2 หากโฆษกศาลยืนยันว่าได้รับความเห็นชอบจากกรมศิลปากรแล้ว อยากเรียกร้องให้ศาลได้เผยแพร่จดหมายอนุญาตจากกรมศิลปากรต่อสาธารณะ เนื่องจาก การอนุญาตจะต้องมีการส่งอย่างเป็นทางการและเป็นลายลักษณ์อักษร 2.3 หาก จดหมายด่วนที่สุด จากอธิบดีกรมศิลปากร เมื่อ พ.ศ. 2552 มิได้มีผลบังคับใช้ตามกฏหมายจริง แสดงว่า นับตั้งแต่นี้ หากในอนาคต อธิบดีกรมศิลปากรทำจดหมายในลักษณะดังกล่าวส่งไปยังหน่วยงานอื่นๆ ที่กำลังรื้อถอนสิ่งก่อสร้างที่กรมศิลปากรถือว่าเป็น "โบราณสถาน" (แต่ยังมิได้ทำการขึ้นทะเบียน) ก็ย่อมสามารถถือปฏิบัติได้ในแบบเดียวกับที่ศาลกำลังปฏิบัติอยู่ ใช่หรือไม่? 3. ปัญหาว่าด้วยความเสื่อมสภาพของกลุ่มอาคารศาลฎีกา ในการชี้แจ้งของโฆษกศาล ตลอดจนการเผยแพร่ข้อมูลจากหลายๆ ฝ่ายที่สนับสนุนการรื้อ ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ประเด็นสำคัญประการหนึ่ง คือ การเสื่อมสภาพของกลุ่มอาคารศาลฎีกา ในระดับที่ไม่สามารถใช้งานได้อีกต่อไป และจะเป็นอันตรายในระดับที่อาจจะมีการพังถล่มลงมาได้ไม่วันใดก็วันหนึ่ง. แต่จากงานวิจัย "โครงการศึกษาวิเคราะห์สภาพปัญหาอาคารศาลฎีกาและอาคารบริเวณรอบศาลฎีกา" ที่ทำโดย ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ได้ทำขึ้นเมื่อก่อนการอนุมัติรื้อเมื่อปี พ.ศ. 2550 ไม่นาน และเป็นงานวิจัยที่ทางศาลได้เป็นผู้ว่าจ้างด้วยตนเองด้วยนั้น หากอ่านในส่วนที่ว่าด้วยการสำรวจและวิเคราะห์สภาพอาคาร แม้งานวิจัยจะแสดงให้เห็นถึงปัญหาการเสื่อมสภาพของอาคารอันเนื่องมาจากอายุการใช้งาน แต่งานวิจัยก็ไม่ได้สรุปไปในทิศทางที่แสดงให้เห็นเลยว่า กลุ่มอาคารศาลฎีกาเสื่อมสภาพในระดับที่อาจจะพังถล่มโดยเร็ว และเกินกว่าการบูรณะซ่อมแซมแต่อย่างใด. อย่างไรก็ตาม เพื่อความชัดเจนในประเด็นนี้ อยากเรียกร้องให้มีการเข้าไปสำรวจสภาพอาคารโดยผู้เชี่ยวชาญโดยตรง เพื่อความชัดเจนในประเด็นดังกล่าว 4. ประเด็นว่าด้วยรูปแบบทางสถาปัตยกรรม โฆษกศาลได้ชี้แจงว่า การออกแบบอาคารศาลฎีกาใหม่ ทำโดยผู้เชี่ยวชาญทางด้านสถาปัตยกรรมไทยมากมายหลายท่าน ถูกระเบียบแบบแผนทางสถาปัตยกรรมไทย และสอดรับกับความสง่างามของพระบรมมหาราชวัง ผมอยากเรียนชี้แจงว่า ประเด็นสำคัญในกรณีนี้มิได้อยู่ที่ว่า หน้าตาอาคารเป็นไทยดีแล้ว ออกแบบโดยผู้เชี่ยวชาญดีแล้ว และส่งเสริมความสง่างามของพระบรมมหาราชวัง แต่อย่างใด. เพราะประเด็นสำคัญคือ การได้มาซึ่งอาคารใหม่นั้น ทำลายอาคารที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ลง และ มีความสูงเกินกว่าที่กฏมายกำหนด (แต่ถูกกฏมายเพราะได้รับสิทธิพิเศษ) ดังนั้น ไม่ว่าใครจะเป็นผู้ออกแบบและหน้าตาอาคารจะสวยงามแค่ไหน ย่อมไม่ใช่สาระสำคัญ 5. อาคารใดบ้างที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกในเรื่องการได้มาซึ่งเอกราชสมบูรณ์ทางการศาล โฆษกศาลได้ชี้แจงว่า ตามแบบที่จะสร้างใหม่ ได้ตกลงเก็บอาคารด้านหลังอนุสาวรีย์เอาไว้เพียงหลังเดียว เพราะอาคารดังกล่าวคืออาคารที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงการได้มาซึ่งเอกราชสมบูรณ์ทางการศาล เมื่อ พ.ศ. 2481. แต่ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ ซึ่งได้มาจากเอกสารในหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ระบุเอาไว้อย่างชัดเจนเมื่อแรกสร้างว่า อาคารที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงเอกราชทางการศาลนั้น มิใช่มีเพียงหลังเดียวที่อยู่ด้านหลังอนุสาวรีย์เท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงอาคารด้านที่ติดคลองคูเมือง (ซึ่งกำลังถูกรื้อถอนอยู่ในปัจจุบัน) ด้วย ฉะนั้น การอนุรักษ์เพียงอาคารเดียว จึงเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนในเชิงประวัติศาสตร์ อย่างไรก็ตาม การเก็บรักษาไว้ ย่อมมิได้หมายถึงการรักษาในลักษณะแช่แข็ง ห้ามทำอะไรเลย ก็หาไม่. ความก้าวหน้าในเชิงเทคโนโลยีสมัยใหม่ และหลักการด้านการอนุรักษ์ที่ก้าวหน้าขึ้นมากมายในโลกปัจจุบัน สามารถที่จะทำการอนุรักษ์อาคารเก่าโดยที่สามารถตอบสนองการใช้สอยสมัยใหม่ได้อย่างเต็มที่ ดังนั้น การรื้อถอนและสร้างใหม่ เพราะเชื่อว่าจะทำให้สามารถใช้สอยพื้นที่ได้ดีกว่านั้น จึงไม่ใช่ความคิดที่ถูกต้องอีกแล้วในโลกปัจจุบัน. จากเหตุผลที่กล่าวมา อยากเรียกร้องให้ศาลพิจารณาระงับการรื้อถอนอาคารออกไปก่อน เพื่อให้เกิดความชัดเจนในประเด็นต่างๆ และอยากเรียกร้องให้อธิบดีกรมศิลปากรออกมาให้ความกระจ่างในประเด็นต่างๆ ที่ยังขัดแย้งกันอยู่ระหว่างคำชี้แจงของศาลกับคำสัมภาษณ์ของอธิบดีกรมศิลปากร สุดท้ายนี้ หวังว่า กรณีการรื้อถอนกลุ่มอาคารศาลฎีกา จะนำมาสู่การศึกษาเรื่องคุณค่าของงานสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ (Modern Architecture) ที่สัมพันธ์สอดคล้องกับพัฒนาการทางสถาปัตยกรรมในโลกสากล และคุณค่าในเชิงประวัติศาสตร์ของงานสถาปัตยกรรมรูปแบบนี้ที่ถูกนำเข้ามาใช้ในสังคมไทยในยุคหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 โดยกลุ่มคณะราษฎร เพื่อสะท้อนถึงอุดมคติอย่างใหม่ในระบอบประชาธิปไตย ในระดับที่สูงมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การก้าวพ้นเพดานความคิดในเชิงประวัติศาสตร์และอนุรักษ์ที่คับแคบของสังคมไทยในปัจจุบัน ด้วยความนับถือ ชาตรี ประกิตนนทการ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2555 ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
รำลึกถึง ทรง นพคุณ เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยตลอดกาล Posted: 21 Dec 2012 03:40 AM PST จันทร์ที่ 3 ธันวาคม 2555, ผมได้ไปร่วมงานศพ ทรง นพคุณ (2461-2555) บรรพชนผู้เสียสละ และวีรชนผู้กล้าหาญในประวัติ ทรง นพคุณ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2555 ด้วยวัย 94 ปี ท่ามกลางตำนานแห่งการต่อสู้ ประวัติศาสตร์ความเป็นมาโดยสั ทรง นพคุณ เกิดที่จังหวัดนครราชสีมา แม่เป็นคนไทย พ่อเป็นคนจีนแต้จิ๋วที่เป็นถึ ในปี 2488 ทรง นพคุณ และ วิรัช อังคถาวร (จางเยวี่ยน) เดินทางลงใต้ไปประสานงานกั ในระหว่างสงครามนั้นเอง ทรง นพคุณ ได้ชักชวนให้อัยการหนุ่ม 2 คนในกรุงเทพฯ คือ อัสนี พลจันทร์ (นายผี) และ มาโนช เมธางกูร (ประโยชน์) อดีตอัยการ ให้เข้าร่วมขบวนการด้วย รวมถึง พ.ท.พโยม จุลานนท์ ก่อนที่ พ.ท.พโยม จุลานนท์ จะถูกรัฐบาลบังคับให้นำทหารไปร่ ทรง นพคุณ หรือ 'สหายบา' ผู้ซึ่งเคยเป็นผู้รับผิดชอบสู ต่อมาเมื่อรัฐบาลไทยมีนโยบาย 66/23 นักศึกษาที่เคยเข้าป่าร่วมต่อสู แต่ ทรง นพคุณ มิได้เลือกหนทางยุติการต่อสู้ 8 ปีในเขตงานภาคกลางของหมอ 'หมอกิ่ง' จนถึงวันที่ต้องออกจากป่ากันอย่ ขณะที่อดีตสหายของพรรคคอมมิวนิ ขอรำลึกถึง ทรง นพคุณ และจิตใจนักต่อสู้ของ 'สหายบา' มา ณ โอกาสนี้.
เผยแพร่ครั้งแรกที่: หนังสือพิมพ์เนชั่นสุดสัปดาห์ ฉบับที่ 1072-1073 ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
รอง ผบ.ตร. แจง อนุฯ สอบสลายม๊อบ เสธ.อ้าย วุฒิสภา ยันทำตามหลักสากล-ไม่มีคำสั่งทำร้ายสื่อ Posted: 21 Dec 2012 03:28 AM PST 21 ธ.ค.55 - ในการประชุมคณะอนุกรรมาธิการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐทำร้ายสื่อมวลชนและประชาชนในการชุมนุมเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2555 โดยมีนายสมชาย แสวงการ เป็นประธาน ในการประชุมครั้งนี้ได้มีการเชิญผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ซึ่งได้มอบหมายผู้แทนคือ พล.ต.อ.วรพงษ์ ชิวปรีชา รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รอง ผบ.ตร.) และตัวแทนผู้บัญชาการตำรวจนครบาล คือ พล.ต.ต.ฉันทวิทย์ รามสูต รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (รอง ผบช.น.) เป็นตัวแทน จากกรณีที่นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ ร้องต่อคณะกรรมาธิการกรณีเจ้าหน้าที่ของสำนักข่าวถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจทำร้าย ทรมารผู้ถูกจับกุม และประชาชนซึ่งเป็นการทำร่วมกันของคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพและการคุ้มครองผู้บริโภคกับคณะกรรมาธิการตรวจสอบเสริมสร้างธรรมาภิบาล ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
สหภาพแรงงานธนาคารกรุงเทพประท้วงโบนัสไม่สอดคล้องกับผลกำไร Posted: 20 Dec 2012 10:43 PM PST ตัวแทนสหภาพฯ ร้องแบงก์มีผลกำไรมหาศาลโบนัสต้องเท่าเทียมกับองค์กรอื่นๆ ขอปรับเงินเดือนพนักงานในทุกแผนกอย่างเท่าเทียมกัน ด้านผู้บริหาร ยันดูแลพนักงานด้วยความเท่าเทียมและเป็นมาตรฐานเดียวกับธนาคารอื่น 21 ธ.ค. 55 - เว็บไซต์โพสต์ทูเดย์ รายงานว่า เมื่อเวลา 11.00 น. กลุ่มสหภาพแรงงานธนาคารกรุงเทพจำนวน 20-30 คน ได้เดินทางมายื่นข้อเรียกร้องต่อผู้บริหารธนาคาร ณ บริเวณด้านหน้าอาคารสำนักงานใหญ่ สีลม เรื่องการได้รับผลตอบแทนและการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมของพนักงานใน 4 ประเด็นหลัก คือ 1.การจ่ายเงินโบนัสที่ไม่สอดคล้องกับผลกำไรของธนาคาร โดยเรียกร้องให้มีการจ่ายโบนัสประจำปีเพิ่มเติมอีก 1 เท่าหรือเพิ่มจาก 2 เดือนเป็น 4 เดือน 2.เรื่องการจ่ายเงินช่วยเหลือหลังการเกษียณอายุของพนักงานที่ในปีนี้มีการปรับลดลงจากเดิม 4.5 แสนบาทต่อคน เหลือเพียง 3 แสนบาทต่อคน ซึ่งทำให้พนักงานรู้สึกขาดความมั่นคง จึงอยากเรียกร้องให้กลับไปใช้อัตราเดิม 3.สหภาพต้องการให้ธนาคารเพิ่มเงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ(Provident fund) ให้กับพนักงาน พร้อมปรับเปลี่ยนเงื่อนไขการจ่ายเงินสมทบที่ปัจจุบันคำนวณตามอายุงานโดยแบ่งเป็นชั้น(Tier) ให้กลับมาคิดคำนวณในอัตราเดียวกันทั้งหมดตามเดิม 4.สหภาพต้องการให้ธนาคารพิจารณาปรับเงินเดือนพนักงานในทุกแผนกอย่างเท่าเทียมกัน เนื่องจากปัจจุบันธนาคารให้ความสำคัญกับพนักงานด้านการตลาดมากกว่าพนักงานสินเชื่อหรือเงินฝาก "แบงก์มีผลกำไรมหาศาลเราต้องการให้ผู้บริหารเหลียวแลพนักงานบ้าง เมื่อกำไรดีโบนัสต้องเท่าเทียมกับองค์กรอื่นๆ ขณะที่เรื่องเงินช่วยเหลือหลังเกษียณจะต้องเป็นธรรม พนักงานวัยเกษียณส่วนใหญ่อยู่กับแบงก์มากว่า 30 ปี" ผู้แทนสหภาพแรงงาน ธนาคารกรุงเทพ กล่าว ทั้งนี้ผู้แทนสหภาพแรงงาน ธนาคารกรุงเทพ ระบุว่า หากข้อเสนอของสหภาพไม่ได้รับการพิจารณาจากผู้บริหาร กลุ่มสหภาพจะเดินทางต่อไปยังกระทรวงแรงงาน เพื่อยื่นเรื่องเป็นข้อพิพาทและร้องขอให้กระทรวงแรงงานเข้ามาทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการไกล่เกลี่ยต่อไป ด้านผู้บริหารธนาคารกรุงเทพ กล่าวว่า การเรียกร้องต่างๆถือเป็นสิทธิ์ที่พนักงานสามารถทำได้ โดยเรื่องนี้จะอยู่ในความรับผิดชอบของตัวแทนในการเจรจาที่ได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารซึ่งคงต้องพิจารณาตามความเป็นจริง อย่างไรก็ดี ยืนยันว่าปัจจุบันธนาคารได้ดูแลพนักงานด้วยความเท่าเทียมและเป็นมาตรฐานเดียวกับธนาคารอื่นๆ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น