ประชาไท | Prachatai3.info |
- แอมเนสตี้ชี้ต่ออายุ พรก.สถานการณ์ฉุกเฉิน ทำให้การแก้ปัญหาสิทธิมนุษยชนในภาคใต้ของไทยชะงักงัน
- สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ: ประชามติหรือคือทางออก
- ยูเอ็นเรียกร้องทุกประเทศจัดหลักประกันสุขภาพให้ประชาชน ยกไทยต้นแบบความสำเร็จ
- เวทีรับฟังความเห็นเหมืองทองทุ่งคำ เกณฑ์ตำรวจ-ทหาร 2,000 กีดกันชาวบ้านไม่ให้เข้าร่วม
- 'จาตุรนต์' แนะไม่ควรจัดลงประชามติแก้ รธน. ตาม ม.165 ชี้สำเร็จยาก
- รายงานสถานการณ์ละเมิดสิทธิผู้บริโภคปี 2555
- พฤกษ์ เถาถวิล: การเปลี่ยน (ไม่) ผ่านของการจัดการแรงงานข้ามชาติ (1)
- พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์
- เครือข่ายปฏิบัติงานผู้หญิงไทใหญ่เดินสายหารือกับประชาชนทั่วรัฐฉาน
- "พล.อ.เปรม" เตือนภาคอีสานมีความแตกแยกชัดเจนมากขึ้น
แอมเนสตี้ชี้ต่ออายุ พรก.สถานการณ์ฉุกเฉิน ทำให้การแก้ปัญหาสิทธิมนุษยชนในภาคใต้ของไทยชะงักงัน Posted: 23 Dec 2012 10:41 AM PST เมื่อวันที่ 21 ธ.ค. 55 ที่ผ่านมา แอมเนสตี้อินเตอร์เนชั่นแนล ได้ออกแถลงการณ์ "การต่ออายุกฎหมายในสถานการณ์ฉุกเฉินทำให้การแก้ปัญหาสิทธิมนุษยชนในภาคใต้ของไทยชะงักงัน" โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 0 0 0
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ: ประชามติหรือคือทางออก Posted: 23 Dec 2012 10:23 AM PST แม้ว่ารัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.๒๕๕๐ ที่เป็นที่ใช้กันอยู่ในขณะนี้นั้น ขึ้นชื่อว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่มีปัญหา และมีผู้ที่ต่อต้านไม่ยอมรับจำนวนมาก โดยเฉพาะในข้อโจมตีว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นประชาธิปไตย แต่เป็นเรื่องที่น่าแปลกใจว่า เมื่อใดก็ตาม ที่ฝ่ายพลังประชาธิปไตยจะพยายามผลักดันการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ก็กลายเป็นเรื่องยากทุกครั้ง ความไม่เป็นประชาธิปไตยในรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ที่ถูกโจมตีมีหลายประเด็น ตั้งแต่เรื่อง การขยายอำนาจตุลาการมากเกินไป จนครอบงำองค์กรอิสระทั้งหมด การให้สิทธิตุลาการในการยุบพรรคการเมืองและลงโทษกรรมการพรรคการเมืองที่ไม่ได้ทำความผิด การกำหนดให้มีวุฒิสมาชิกลากตั้งครึ่งสภา ที่มีอำนาจเท่าเทียมวุฒิสมาชิกเลือกตั้ง การมีบทเฉพาะกาลต่ออายุตุลาการ และการมีมาตรา ๓๐๙ รับรองความชอบธรรมของคณะรัฐประหารตลอดกาล แต่กลุ่มพลังที่สนับสนุนรัฐธรรมนูญ กลับเห็นว่า มาตราเหล่านี้เป็นความถูกต้อง จึงคัดค้านการแก้ไขเสมอ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ยูเอ็นเรียกร้องทุกประเทศจัดหลักประกันสุขภาพให้ประชาชน ยกไทยต้นแบบความสำเร็จ Posted: 23 Dec 2012 09:55 AM PST สมัชชาสหประชาชาติมีมติเอกฉันท์รับรองวาระหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เรียกร้องทุกประเทศจัดหลักประกันสุขภาพ ป้องกันไม่ให้ประชาชนต้องล้มละลายและยากจนจากการจ่ายค่ารักษาพยาบาลเอง ยกตัวอย่างไทยประเทศกำลังพัฒนาที่ทำสำเร็จ เป็นต้นแบบ ให้จีน อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ สร้างหลักประกันสุขภาพ
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
เวทีรับฟังความเห็นเหมืองทองทุ่งคำ เกณฑ์ตำรวจ-ทหาร 2,000 กีดกันชาวบ้านไม่ให้เข้าร่วม Posted: 23 Dec 2012 09:40 AM PST ชาวบ้านกลุ่ม "ฅนรักษ์บ้านเกิด" ต.เขาหลวง อ.วังสะพุง จ.เลย และนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่นและมหาวิทยาลัยมหาสารคามกว่า 700 คน ถูกกันไม่ให้เข้าร่วมเวทีรับฟังความคิดเห็นเพื่อกำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ จากเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารกว่า 2,000 นาย
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
'จาตุรนต์' แนะไม่ควรจัดลงประชามติแก้ รธน. ตาม ม.165 ชี้สำเร็จยาก Posted: 23 Dec 2012 09:16 AM PST 23 ธ.ค. 55 - นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทยได้แสดงความเห็นกรณีประชามติและการแก้รัฐธรรมนูญ ลงในโปรแกรมทวิตเตอร์ของตนเอง https://twitter.com/chaturon โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
รายงานสถานการณ์ละเมิดสิทธิผู้บริโภคปี 2555 Posted: 23 Dec 2012 08:34 AM PST มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคร่วมกับเครือข่ายผู้บริโภคแถลงข่าว "รายงานสถานการณ์ความทุกข์ของผู้บริโภคประจำปี 2555" พร้อมทั้งขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องบังคับใช้กฎหมายให้เข้มงวดและจริงจัง ประกาศย้ำหากมีองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคทุกข์ของประชาชนจะลดลงอย่างแน่นอน เมื่อวันที่ 21 ธ.ค. 55 ที่ผ่านมา ที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค พร้อมเครือข่ายองค์กรผู้บริโภค 6 ภูมิภาค ร่วมแถลงข่าว "รายงานสถานการณ์ความทุกข์ของผู้บริโภคประจำปี 2555" พร้อมยื่นข้อเสนอกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องให้ความเป็นธรรมและเร่งคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้บริโภคไทย โดยนางสาวสารี กล่าวว่า จากการรับเรื่องร้องเรียนของมูลนิธิฯและเครือข่ายผู้บริโภคที่ผ่านมา พบว่าปัญหาที่ได้รับร้องเรียนมากที่สุดของศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค อันดับที่หนึ่ง คือด้านบริการสุขภาพและสาธารณสุข โดยปัญหาที่ผู้บริโภคร้องเรียนสูงสุดในหมวดนี้คือ ศูนย์ออกกำลังกายที่ปิดบริการโดยไม่แจ้งให้ทราบ หรือยังมีการรับสมัครสมาชิกตลอดชีพทั้งที่ไม่สามารถเปิดให้บริการได้แล้ว เมื่อสถานออกกำลังกายนี้ผิดสัญญาไม่สามารถให้บริการกับสมาชิกได้ก็ยังไม่คืนเงินค่าสมาชิกให้กับลูกค้าอีกด้วย ปัญหาข้อสัญญาไม่เป็นธรรม ทำแล้วต้องใช้บริการให้ครบ 1 ปีจึงจะสามารถบอกเลิกสัญญาได้ ทั้งนี้ศูนย์บริการส่วนใหญ่จะหักเงินบัตรเครดิตผู้บริโภคทันทีในคราวแรก หรือบางรายต้องจ่ายค่าใช้บริการอื่นเพิ่มจากการชักชวนของพนักงานขายเช่น ครูฝึกส่วนตัว โปรแกรมเสริมที่หลากหลาย ซึ่งมีผู้บริโภคมาร้องเรียนถึง 680ราย มูลค่าความเสียหายกว่า 30 ล้านบาท ปัญหาสายการบิน พบปัญหา สายการบินโลคอสท์ ยกเลิกเที่ยวบิน ไม่แจ้งหรือแจ้งกระชั้น , กระเป๋าสัมภาระหาย, ซื้อตั๋วผ่านอินเทอร์เน็ตถูกหักเงินจากบัตรเครดิตซ้ำ 2 ครั้ง อันดับที่ห้าคือด้านสื่อและโทรคมนาคม พบว่ามีลักษณะของการได้รับซิมฟรีแล้วถูกเรียกเก็บเงินภายหลัง ทั้งที่ไม่ได้เปิดใช้บริการคือปัญหาสูงสุดในขณะนี้ รองลงมาคือปัญหาวันหมด แต่เงินไม่หมด แต่ไม่สามารถใช้งานโทรศัพท์ได้ซึ่งถือว่าเป็นความหละหลวมในการบังคับใช้กฎหมายของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
พฤกษ์ เถาถวิล: การเปลี่ยน (ไม่) ผ่านของการจัดการแรงงานข้ามชาติ (1) Posted: 22 Dec 2012 09:12 PM PST ในเดือนธันวาคมนี้ มีเหตุการณ์สำคัญเกี่ยวกับเรื่องแรงงานข้ามชาติอย่างน้อย 2 เรื่อง เรื่องหนึ่งคือในเดือนนี้มีวันครบรอบวันแรงงานข้ามชาติสากล และอีกเรื่องหนึ่งคือในวันที่ 14 ธันวาคม 2555 ที่ผ่านมา เป็นวันครบกำหนดเส้นตายการพิสูจน์สัญชาติ แรงงานจากพม่า ลาว และกัมพูชา ที่หลบหนีเข้าเมืองและได้ขึ้นทะเบียนผ่อนผันแล้ว หากไม่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติจะต้องถูกจับกุมส่งกลับประเทศของตน ข้อเท็จจริงปรากฏแล้วว่า จากแรงงานที่จะต้องเข้าสู่กระบวนการพิสูจน์สัญชาติ 8 แสนกว่าคน ได้ผ่านการพิสูจน์สัญชาติแล้ว 5 แสนกว่าคน คงเหลืออีก 3 แสนกว่าคน ที่ไม่ผ่านกระบวนการ ยังคิดไม่ออกว่าการจับกุมและผลักดันแรงงานจำนวนมากมายจะทำอย่างไร แต่ผู้เขียนเชื่อดังที่ผู้เชี่ยวชาญด้านแรงงานย้ายถิ่นท่านหนึ่งแสดงความเห็นว่า การจับกุมส่งกลับ อาจทำให้เกิดการจับกุมแรงงานข้ามชาติแบบไม่เลือกหน้า และอาจถูกเรียกสินบน เพื่อแลกกับการปล่อยตัว ในกรณีที่ถูกส่งกลับไปแล้วพวกเขาก็จะลักลอบกลับเข้ามาอีกอยู่ดี สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือแรงงานอาจเสียเงินค่านายหน้าและเป็นหนี้เป็นสินมากขึ้นเพื่อกลับเข้ามา ในที่สุดก็ไม่แก้ไขปัญหาอะไร[1] เรื่องนี้ดูจะเป็นปัญหาพายเรือในอ่างรอบใหม่ แต่ผู้เขียนเห็นว่ายังมีแนวโน้มความเปลี่ยนแปลง และบทเรียนน่าสนใจบางประการ หากเราจับภาพความเปลี่ยนแปลงนโยบายแรงงานข้ามชาติ ตั้งแต่ยุครัฐบาลพรรคไทยรักไทย เข้าบริหารประเทศครั้งแรก ต้องยอมรับว่ามีความเปลี่ยนแปลงวิธีคิดการจัดการอย่างมีนัยสำคัญ รัฐบาลยอมรับอย่างเป็นทางการว่าแรงงานข้ามชาติจำเป็นต่อเศรษฐกิจไทย มีความพยายามสร้างกลไกการจัดการอย่างเป็นระบบ และยอมรับสิทธิมนุษยชนและสิทธิแรงงานมากขึ้น ในขณะที่การยึดมั่นในหลักความมั่นคงแห่งชาติอย่างสุดโต่งถูกลดความสำคัญลง[2] รูปธรรมจะเห็นได้จาก การเปิดจดทะเบียนแรงงานเข้าเมืองผิดกฎหมายและทำงานโดยไม่มีใบอนุญาตอย่างกว้างขวางทุกพื้นที่ทุกกิจการ เพื่อทราบข้อมูลที่แท้จริงสำหรับจัดระบบแรงงานกลุ่มนี้ การให้สิทธิรักษาพยาบาลในระบบประกันสุขภาพ การจดทะเบียนผู้ติดตามแรงงานข้ามชาติและให้สิทธิการรักษาพยาบาล การจัดตั้งคณะกรรมการบริหารแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง (กบร.) เพื่อบูรณาการการกำหนดนโยบาย ตัดสินใจแก้ไขปัญหา ติดตามและอำนวยการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การกำหนดยุทธศาสตร์การบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติทั้งระบบ และการทำข้อตกลงความร่วมมือด้านการจ้างแรงงาน ในรูปแบบบันทึกความเข้าใจ (MOU) กับประเทศเพื่อนบ้าน คือ ลาว พม่า และกัมพูชา หากมองปฏิบัติการทั้งหมดให้ปะติดปะต่อกัน โดยมียุทธศาสตร์การบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติเป็นแกน จะเห็นภาพการจัดการอย่างเป็นระบบ โดยกำหนดให้มีการขออนุญาตนำเข้า และนำเข้าตามที่จำเป็น MOU จะเป็นกลไกการนำเข้าอย่างเป็นขั้นเป็นตอน เมื่อทำงานเสร็จมีกระบวนการส่งแรงงานกลับบ้าน มีการคุ้มครองสิทธิตามกฎหมาย ในขณะเดียวกันก็มีการสกัดกั้นการลักลอบเข้ามาทำงานตามแนวชายแดน การปราบปรามจับกุมแรงงานผิดกฎหมาย และนายจ้างที่จ้างแรงงานผิดกฎหมาย รวมทั้งกระบวนการผลักดันกลับแรงงานผิดกฎหมายที่ถูกจับกุม ส่วนการพิสูจน์สัญชาติ จะเป็นเครื่องมือจัดการกับแรงงานหลบหนีเข้าเมืองที่ลักลอบทำงานอยู่แล้ว ซึ่งคาดว่ามีอยู่หลายแสนคน ผู้ที่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติ และขอใบอนุญาตทำงานแล้ว จะถือว่ามีสถานภาพแรงงานถูกกฎหมาย มีสถานะและได้รับการคุ้มครอบแบบเดียวกับแรงงานตาม MOU หากทำทั้งหมดนี้ได้ ก็เชื่อว่าการจัดการแรงงานข้ามชาติของไทยจะเปลี่ยนผ่านเข้าสู่การจัดการอย่างเป็นระบบ ตามหลักกฎหมาย และมีเหตุมีผล โดยส่วนตัวผู้เขียนเห็นด้วยกับยุทธศาสตร์การจัดการนี้ และเชื่อว่าผู้เกี่ยวข้องกับเรื่องแรงงานข้ามชาติส่วนใหญ่ก็คงจะเห็นด้วย แต่ปัญหาก็คือ ในทางปฏิบัติยุทธศาสตร์นี้จะสำเร็จได้อย่างไร ไม่เพียงแต่แรงงานตกค้างการพิสูจน์สัญชาติกว่า 3 แสนคนในเวลานี้ แต่ยังมีปัญหาใหญ่กว่านั้นที่ไม่อนุญาตให้ยุทธศาสตร์ไปถึงเป้าหมาย ซึ่งเป็นสิ่งที่รัฐต้องตระหนัก และต้องมีคำตอบว่าจะทำอย่างไร ขอกล่าวถึงปัญหาสำคัญๆเป็นประเด็นดังนี้ ประการแรก MOU ไทยกับประเทศเพื่อนบ้านด้านการจ้างแรงงาน ที่หวังให้เป็นกลไกนำเข้าแรงงานอย่างถูกกฎหมาย มีปัญหาทางปฏิบัติอย่างมาก เป็นที่ทราบกันดีว่าค่าใช้จ่ายของนายจ้างในการนำเข้าแรงงานอยู่ที่ 17,000 – 25,000 บาท/คน ใช้เวลาประมาณ 2-6 เดือน ตัวเลขนี้ไม่จูงใจนายจ้าง ซึ่งมีธรรมชาติที่ต้องการลดต้นทุนและภาระการจัดการ ผู้เขียนพบว่าการนำเข้าแรงงานตาม MOU เป็นประโยชน์แก่ผู้ประกอบการบางกลุ่ม คือกิจการขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีการบริหารจัดการกิจการอย่างเป็นระบบ และการผลิตที่คงเส้นคงวา หรือขยายตัว ต้องการแรงงานที่ทำงานต่อเนื่อง ผู้ประกอบการกลุ่มนี้พร้อมจะลงทุนนำเข้าแรงงานตาม MOU ในขณะที่ผู้ประกอบการรายย่อยทั้งหลาย ที่ประกอบการในลักษณะธุรกิจครัวเรือนหรือไม่เป็นทางการ มียอดการผลิตสินค้าไม่แน่นอน หรือตามฤดูกาล เช่นในกิจการเกษตร ประมง ต่อเนื่องประมงทะเล ก่อสร้าง หรืองานรับใช้ในที่ต่างๆ พวกเขาไม่พร้อมจะจ้างงานตาม MOU กลุ่มหลังนี้รวมๆกันแล้วน่าจะมีขนาดใหญ่กว่ากลุ่มแรก ผู้ประกอบการกลุ่มหลังที่ประสงค์จะจ้างแรงงานข้ามชาติ แต่ไม่ต้องการจ้างงานตาม MOU มีทางออกคือ การใช้บริการของนายหน้าจัดหาแรงงานผิดกฎหมาย เสียค่าใช้จ่ายประมาณ 3,000 -5,000 บาท/คน และเมื่อแรงงานมาทำงานก็ให้หลบซ่อนตัว และจ่ายส่วยแก่เจ้าหน้าที่ 300-500 บาท/คน/เดือน โดยเงินส่วนหนึ่งหักมาจากค่าแรงของแรงงาน ในปี 2549 ผู้ประกอบการกลุ่มนี้เหมือนถูกหวย เมื่อรัฐบาลเริ่มการพิสูจน์สัญชาติอย่างจริงจัง โดยแรงงานที่ขึ้นบัญชีผ่อนผันที่ทำงานกับพวกเขา จะได้รับการพิสูจน์สัญชาติ กลายเป็นแรงงานถูกกฎหมายในสถานะเดียวกับแรงงานนำเข้าตาม MOU จึงหมายความว่าพวกเขาลงทุนน้อย แต่ได้แรงงานสถานภาพเดียวกับ MOU มาเป็นลูกจ้างของตน และเมื่อการพิสูจน์สัญชาติล่าช้า รัฐบาลก็จะยืดเวลาการพิสูจน์สัญชาติ ให้กับกลุ่มที่ขึ้นทะเบียนไว้แล้วแต่ยังไม่ได้พิสูจน์สัญชาติไปเรื่อยๆ ดังที่เป็นมาหลายปี จนถึงปัจจุบัน จึงเท่ากับว่าด้วยข้ออ้างการพิสูจน์สัญชาติล่าช้า พวกเขาก็ได้ประโยชน์จากการจ้างงานแรงงานผ่อนผันมาได้เรื่อยๆ สำหรับนายจ้างที่จ้างแรงงานกลุ่มที่หลบซ่อนทำงานอยู่ โดยไม่ได้ไปขึ้นทะเบียนผ่อนผัน นายจ้างเหล่านี้ก็ไม่ต้องทุกข์ร้อนอะไร เพราะในบางพื้นที่ระบบส่วยที่ทำกันมานาน มีความมั่นคง พอจะปกป้องการจ้างงานผิดกฎหมายของพวกเขาได้ ในขณะที่ในความเป็นจริงก็ยังมีแรงงานลักลอบเข้าเมืองเข้ามาเรื่อยๆ ด้วยการทำงานที่แข็งขันของธุรกิจนายหน้า และประสบการณ์ก็บอกพวกเขาว่า เมื่อมีแรงงานผิดกฎหมายอยู่จำนวนมากขึ้นๆ รัฐก็จะเปิดการจดทะเบียนผ่อนผันครั้งใหญ่ ทั้งกลุ่มที่ขึ้นทะเบียนผ่อนผันอยู่แล้วให้มาต่อทะเบียน และกลุ่มที่ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียน ดังที่เกิดขึ้นในปี 2544 2547 2548 และครั้งล่าสุดปี 2552 ที่ผ่านมา ซึ่งก็หมายความว่าพวกเขาก็จะมีโอกาสเข้าสู่ระบบกฎหมายในที่สุด สำหรับแรงงาน การจ้างงานตามแนวทาง MOU เป็นทางที่ไม่น่าเลือกนัก ด้วยค่าใช้จ่ายจำนวนมาก (ค่าใช้จ่ายในการจ้างงานนายจ้างจ่ายไปก่อน แต่จะหักคืนจากแรงงานภายหลัง) และการใช้เวลารอคอยที่ยาวนาน เทียบกับการจ่ายเงินให้นายหน้าในราคาที่ต่ำกว่ามาก และไม่ต้องรอนาน เมื่อมาทำงานแม้จะเสี่ยงถูกจับกุม ไม่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย ต้องจ่ายส่วย แต่ก็รู้สึกมีอิสระในบางเรื่อง เช่นการเปลี่ยนนายจ้าง กรณีแรงงานที่เข้ามาตาม MOU เท่าที่ผ่านมาการเข้าถึงสิทธิในเรื่องสำคัญ เช่นสิทธิการประกันสังคม ยังมีปัญหาในทางปฏิบัติอย่างมาก ทั้งที่พวกเขาต้องถูกหักเงินสมทบทุกเดือน[3] ยิ่งบั่นทอนแรงจูงใจการเข้ามาทำงานตามแนวทางนี้มากขึ้นอีก การที่นายจ้างต้องการจ้างแรงงานผิดกฎหมาย ฝ่ายแรงงานก็ชอบจะมาทำงานโดยวิธีนี้ กลายเป็นเรื่องสมประโยชน์ของทั้งสองฝ่าย ที่ไม่ว่าจะรัฐจะมีมาตรการจูงใจ หรือบังคับให้โทษอย่างไร ก็ไม่สามารถทำให้พวกเขาเข้าสู่การควบคุมตามกฎหมาย ประการที่สอง แรงงานข้ามชาติเป็นเรื่องผลประโยชน์ ผู้เกี่ยวข้องเป็นกลุ่มอิทธิพลทั้งภายใต้กฎหมายและเหนือกฎหมาย กลุ่มผู้ประกอบการที่ได้ประโยชน์จากแรงงานข้ามชาติเป็นกลุ่มใหญ่ ดังได้กล่าวไปแล้วว่าผู้ประกอบการเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นกิจการขนาดกลางถึงขาดเล็ก มักเป็นกิจการแบบครัวเรือน หรือการผลิตตามฤดูกาล ผู้ประกอบการเหล่านี้กระจุกตัวในพื้นที่บางแห่งบางกิจการ ขณะเดียวกันก็กระจายตัวทั่วไปทุกพื้นที่ด้วย ในเชิงปริมาณพวกเขาจึงมีจำนวนมากพอจะเป็นกลุ่มกดดันทางนโยบาย ให้รัฐมีนโยบายเอื้อประโยชน์แก่พวกเขา สำหรับในกิจการบางประเภท หรือผู้ประกอบการในบางพื้นที่ มีการรวมตัวเป็นรูปสมาคม ทำให้พวกเขามีอำนาจต่อรองสูง ดังข่าวที่ปรากฏบ่อยครั้งว่าผู้ประกอบการเหล่านี้ยกกำลังเข้าเจรจากับรัฐ และรัฐก็มักจะตัดสินใจไปตามแรงกดดันของกลุ่มผลประโยชน์เหล่านี้ นายหน้า เป็นอีกส่วนหนึ่งที่สำคัญ ในพื้นที่การผลิตหลายแห่ง นายหน้าทำงานเป็นขบวนการ นายหน้าทำงานทั้งในเรื่องเล็กๆ ถึงเรื่องใหญ่ๆ ทั้งที่ถูกและผิดกฎหมาย จึงมีนายหน้าหลายประเภท เช่นนายหน้าหาที่พัก นายหน้าพาไปหาหมอ นายหน้าเคลียปัญหากับเจ้าหน้าที่ นายหน้าส่งเงินกลับบ้าน นายหน้าพาไปทำเอกสาร นายหน้าจัดหางาน ฯลฯ ขบวนการนายหน้ากลายเป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจในพื้นที่ มีการศึกษาในพื้นที่อุตสาหกรรมแห่งหนึ่ง พบว่าขบวนการนายหน้าเป็นวงการผลประโยชน์ขาดใหญ่ มีเงินทองที่หมุนเวียนในขบวนการนายหน้าในพื้นที่แห่งนี้ปีละไม่ต่ำกว่าหมื่นล้านบาท นายหน้ามีเครือข่ายข้ามพื้นที่จากประเทศต้นทาง มาจนถึงปลายทาง ขบวนการนายหน้าจึงประกอบด้วยคนหลายกลุ่ม ทั้งต่างชาติ คนไทย คนมีอิทธิพล ไม่มีอิทธิพล มีสี และไม่มีสี ฝ่ายการเมือง และไม่ใช่ฝ่ายการเมือง ต่างสมคบร่วมมือกันอย่างซับซ้อน[4] ประเด็นที่อยากจะเน้นก็คือ ในขบวนการเหล่านี้ มีเจ้าหน้าที่รัฐบางส่วนเข้าไปเกี่ยวข้องด้วย ในหลายรูปแบบ หลายระดับ ในพื้นที่อุตสาหกรรมข้างต้น เจ้าหน้าที่ฝ่ายปราบรามคือตัวละครสำคัญในขบวนการนายหน้า กล่าวกันว่า สำหรับเจ้าหน้าที่บางคนการได้ย้ายไปอยู่ในพื้นที่ประเภทนี้คือโอกาสที่ดีของชีวิต และก็เป็นที่ทราบกันว่าทุกครั้งที่มีนโยบายเข้มงวดป้องกันและปราบปรามแรงงานข้ามชาติ ก็จะเป็นเวลาที่แรงงานข้ามชาติต้องอกสั่นขวัญแขวน ต้องเสียค่าส่วยสูงขึ้น ธุรกิจในวงการนายหน้าคึกคักขึ้น และเจ้าหน้าที่บางคนก็มีโอกาสมีเงินเป็นกอบเป็นกำหรือได้เบี้ยบ้ายรายทางมากขึ้น ประการที่สาม คณะกรรมการบริหารแรงงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง (กบร.) ซึ่งตั้งใจให้ทำหน้าที่กำหนดนโยบาย ตัดสินใจแก้ไขปัญหา ติดตามและอำนวยการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีโครงสร้างประกอบด้วยนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายเป็นประธาน ประกอบด้วยตัวแทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งฝ่ายแรงงาน ฝ่ายเศรษฐกิจ ฝ่ายความมั่นคง และอื่นๆ ตัวแทนหน่วยงานเหล่านี้คือข้าราชการประจำในระดับผู้บังคับบัญชาหรือรองผู้บังคับบัญชาของหน่วยงานนั้นๆ ผู้เขียนเห็นด้วยกับการบูรณาการหน่วยงานรัฐในการตัดสินใจและแก้ไขปัญหา ซึ่งถูกวิจารณ์มานานว่าไม่มีเอกภาพในการทำงาน แต่ปัญหาที่ยังมีอยู่ก็คือ ในภาวะที่เรื่องแรงงานขามชาติเป็นเรื่องผลประโยชน์ และยังประกอบด้วยแนวคิดในการแก้ไขปัญหาที่แตกต่างกันด้วย เราจะไว้วางใจการตัดสินใจของ กบร. ได้เพียงใด การวิจัยทำให้ทราบว่า ใน กบร. เจ้าหน้าที่ฝ่ายข้าราชการประจำ มีแนวโน้มที่จะยึดหลักการการจัดระบบอย่างเคร่งครัด พวกเขาเห็นว่าต้องบังคับใช้กฎหมายที่มีอยู่อย่างจริงจัง ไม่ควรผ่อนผันยืดหยุ่นอีกต่อไป เจ้าหน้าที่ฝ่ายนี้มักจะทัดทานมติผ่อนผันให้แรงงานหลบหนีเข้าเมืองทำงานได้ ที่รัฐบาลมักใช้เป็นทางออก ต้องการให้ยึดมั่นการนำเข้าแรงงานตาม MOU และการพิสูจน์สัญชาติ เป็นเครื่องมือสำคัญ สำหรับฝ่ายการเมือง ในฐานะที่นั่งหัวโต๊ะ และมีอำนาจตัดสินใจในขั้นสุดท้าย กลับมีแนวโน้มที่จะใช้มาตรการผ่อนผันเป็นทางออก และก็เชื่อได้ว่าการตัดสินใจอาจจะไม่ได้มีเหตุผลทางวิชาการรองรับ แต่เป็นไปตามการลอบบี้หรือกดดันของกลุ่มนายจ้างผู้ได้ประโยชน์จากแรงงานข้ามชาติ กล่าวเช่นนี้ผู้เขียนไม่ต้องการดิสเครดิต หรือเชียร์ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด แต่ประเด็นก็คือ ในเมื่อแรงงานข้ามชาติเป็นเรื่องใหญ่ ซับซ้อน มีกลุ่มผลประโยชน์หลายฝ่ายเกี่ยวข้อง แต่สังคมได้มอบอำนาจการตัดสินใจให้กับรัฐแต่ฝ่ายเดียว ในขณะที่กลุ่มผลประโยชน์ที่มีอำนาจบางฝ่าย (บรรดาผู้ประกอบการ) สามารถเข้าถึงการตัดสินใจของรัฐได้มากกว่า แต่สำหรับภาคประชาสังคม และแรงงานข้ามชาติ กลับไม่สามารถเข้าถึงได้ คำถามก็คือ ถ้าเป็นเช่นนี้อะไรจะตรวจสอบ ทัดทาน การตัดสินใจในแต่ละครั้งของ กบร. และปัญหาที่เห็นต่อหน้าก็คือ อะไรจะตรวจสอบ หรือเรียกร้องให้แสดงความรับผิดชอบของฝ่ายความมั่นคง ที่เน้นการป้องกันและปรายปราม แต่กลับกลายเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาเสียเอง ประการสุดท้าย ในขณะที่รัฐได้แสดงเจตนาจะปกป้องคุ้มครองสิทธิแรงงาน แต่ในทางปฏิบัติเราได้เห็นว่ารัฐไม่ได้ให้ความสำคัญต่อเรื่องนี้เท่าที่ควร ดังกรณีการเข้าถึงสิทธิการประกันสังคมอย่างยากลำบากที่กล่าวมาข้างต้น อีกทั้งยังปล่อยให้มีการออกกฎระเบียบที่ขัดกับหลักสิทธิมนุษยชน โดยอ้างเหตุผลเรื่องความมั่นคง เช่น การห้ามเปลี่ยนนายจ้างโดยพลการ ห้ามออกจากสถานประกอบการหรือที่พักอาศัยยามวิกาล ห้ามเป็นเจ้าของโทรศัพท์มือถือ ห้ามเป็นเจ้าของรถยนต์ ห้ามข้ามเขตจังหวัด การต้องขออนุญาตและมีใบรับรองจากนายจ้างในการเข้าร่วมกิจกรรม สมาคม หรือการชุมนุม และการมีดำริจะส่งตัวแรงงานหญิงที่ตั้งครรภ์กลับไปคลอดบุตรที่บ้าน เป็นต้น ในอีกด้านหนึ่ง ดังเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่า การจะทำให้แรงงานข้ามชาติเข้าถึงสิทธิได้มากขึ้น ก็ต้องส่งเสริมให้พวกเขามีความเข้มแข็งที่จะดูแลตัวเอง หรือสามารถต่อรองให้ได้รับการปฏิบัติตามกฎหมาย แต่การรวมกลุ่มของแรงงานในรูปแบบต่างๆยังมีอุปสรรคมาก การเข้าเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานเป็นเรื่องยาก การก่อตั้งสหภาพแรงงานข้ามชาติยังไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย และเรื่องพื้นฐานที่รัฐไทยกลับปล่อยให้ค้างคาสวนกระแสโลก ก็คือ การรับรองอนุสัญญาขององค์กรแรงงานข้ามชาติ ( ILO) ที่ 87 และ 98 เพื่อส่งเสริมสิทธิการรวมตัว การจัดตั้งสหภาพ และการยื่นข้อเรียกร้องของแรงงาน ซึ่งจะเป็นผลดีต่อความเข้มแข็งแรงงาน ทั้งแรงงานไทย และแรงงานข้ามชาติ จากเรื่องราวที่กล่าวมาทั้งหมด ขอเรียนย้ำในตอนท้ายนี้ว่า กรณีแรงงานตกค้างการการพิสูจน์สัญชาติ หากรัฐตัดสินใจใช้แนวทางเข้มงวดจับกุมผลักดันกลับ จะไม่แก้ปัญหาอะไร แรงงานข้ามชาติซึ่งเป็น "เหยื่อ" ของปัญหา จะตกในสถานการณ์ที่เลวร้ายยิ่งขึ้นอีก ในขณะที่คนบางกลุ่มอาจได้ประโยชน์จากความทุกข์ร้อนนี้ แต่หากรัฐตัดสินใจขยายเวลาการพิสูจน์สัญชาติออกไป วงจรปัญหาเดิมๆก็จะยังคงยืดยาวออกไปอีก ผู้เขียนสนับสนุนแนวทางการจัดการแรงงานข้ามชาติอย่างเป็นระบบ แต่ประเด็นปัญหาทั้ง 4 ประการที่ยกมาคืออุปสรรคขัดขวาง หากไม่สามารถแก้ไขปัญหา หรือมีคำตอบที่ชัดเจนต่อเรื่องที่ยกมานี้ ยุทธศาสตร์การจัดการแรงงานข้ามชาติก็เปล่าประโยชน์ สถานการณ์ชี้ให้เห็นแล้วว่า รัฐยังมีการบ้านข้อใหญ่ หรือไม่ก็ต้องปรับเปลี่ยนวิธีคิดในการจัดการอีกครั้งหนึ่ง ในตอนหน้าเราจะมาเข้าใจ ธรรมชาติและข้อจำกัด ที่ทำให้รัฐตกอยู่ในสถานการณ์กลืนไม่เข้าคายไม่ออกเช่นนี้
หมายเหตุ: บทความนี้เรียบเรียงจากการวิจัยที่ผู้เขียนทำรวมกับ คุณสุธีร์ สาตราคม เรื่อง "ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการตามข้อตกลงความร่วมมือระหว่างประเทศด้านการจ้างแรงงาน : กรณีศึกษาความร่วมมือไทย-ลาว" ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ซึ่ง สกว. ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับบทความนี้ สำหรับผู้สนใจบทความเกี่ยวกับแรงงานข้ามชาติของผู้เขียนสามารถเข้าดูได้จาก https://sites.google.com/site/pruektt/home/bthkhwam-thang-wichakar-my-articles
ภาคผนวก
คำอธิบายแผนภาพ
[2] อดิศร เกิดมงคล. 2555. "พัฒนาการนโยบายการจัดการแรงงานข้ามชาติ" [3] บุษยรัตน์ กาญจนดิษฐ์. 2554. "เมื่อประกันสังคมแรงงานข้ามชาติไร้ค่า : "งานที่มีคุณค่า" จะเกิดขึ้นได้อย่างไร ?" ใน [4] มูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน. 2553. ร่างผลการศึกษาสถานการณ์การย้ายถิ่น และ ผลกระทบจากการถูกละเมิดสิทธิและการค้ามนุษย์ในกลุ่มแรงงานข้ามชาติ. (เอกสารอัดสำเนา)
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
Posted: 22 Dec 2012 08:42 PM PST ขอฝากถึงแม่ทัพภาคที่ 2 ให้ไปบอกผู้ที่มีหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในการดูแลพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ว่า เดี่ยวนี้ความแตกแยกชัดเจนมากขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องของความเชื่อที่แตกต่างกัน ความเห็นที่แตกต่างกันจะต้องมีในชาติบ้านเมือง แต่ไม่ใช่อุปสรรคที่จะทำให้การพัฒนาประเทศชาติ ดังนั้นขอให้ช่วยกันสร้างความรักสามัคคี ขอให้ทำความเข้าใจกับผู้ที่มีความคิดแตกต่างกัน กล่าวเนื่องในโอกาส เปิดบ้านให้ผู้ว่าราชการจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หัวหน้าส่วนราชการ ทหาร ตำรวจเข้าเยี่ยมคารวะและขอพรเนื่องในโอกาสเทศกาลปีใหม่ 2556 |
เครือข่ายปฏิบัติงานผู้หญิงไทใหญ่เดินสายหารือกับประชาชนทั่วรัฐฉาน Posted: 22 Dec 2012 05:30 PM PST ระบุชุมชนในรัฐฉานแสดงความโกรธเคืองต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนซึ่งเกิดขึ้นระหว่างกระบวนการสันติภาพ หลายพื้นที่กองทัพมีการใช้ความรุนแรงทางเพศ มีการเวนคืนที่ดิน ชาวบ้านระบุข้อมูลที่ถูกเปิดเผยเป็นแค่ยอดภูเขาน้าแข็ง ยังมีอีกหลายกรณีที่ไม่ถูกบอกเล่า เครือข่ายปฏิบัติงานผู้หญิงไทใหญ่ (SWAN) เผยแพร่รายงานเมื่อเร็วๆ นี้ ระบุว่า ชุมชนต่างๆ ที่เข้าร่วมการประชุมซึ่งจัดขึ้นทั่วรัฐฉานเมื่อเร็วๆ นี้ แสดงความโกรธเคืองต่อการละเมิดสิทธิที่ยังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าในช่วงกว่าหนึ่งปีที่ผ่านมา มีความพยายามส่งเสริมกระบวนการสันติภาพ การประชุมเพื่อสร้างความไว้วางใจและสันติภาพ จัดขึ้นที่ย่างกุ้งระหว่างวันที่ 26-28 พ.ย.(ที่มาของภาพ: เครือข่ายปฏิบัติงานผู้หญิงไทใหญ่) ทั้งนี้เครือข่ายปฏิบัติงานผู้หญิงไทใหญ่ ได้เป็นเจ้าภาพร่วมจัดงาน "การประชุมเพื่อสร้างความไว้วางใจและสันติภาพ" ที่กรุงย่างกุ้งระหว่างวันที่ 26-28 พฤศจิกายน โดยความริเริ่มของพรรคสันนิบัติเพื่อประชาธิปไตยไทใหญ่ (Shan Nationalities League for Democracy - SNLD) โดยมีกลุ่มประชาสังคมหลายกลุ่มจากรัฐฉานเป็นผู้ร่วมจัดงานสัมนา โดยหลังจากนั้นสมาชิกของเครือข่ายปฏิบัติงานผู้หญิงไทใหญ่ ได้เดินทางเพื่อพบปะชุมชนต่างๆ ในรัฐฉานเกือบสามสัปดาห์ ทั้งที่เมืองตองจี หนองเขียว จ็อกแม สี่ป้อ ล่าเสี้ยว เกซี แสนหวี, ก๊ดขาย น้ำคำ หมู่แจ้ และเชียงตุง แม้จะถูกหน่วยงานทหารจับตามองอย่างใกล้ชิด ทั้งนี้โดยมีชาวบ้านหลายร้อยคนในแต่ละเมืองได้มาเข้าร่วมการประชุมซึ่งจัดขึ้นโดยสมาชิกพรรค พรรคสันนิบาตเพื่อประชาธิปไตยไทใหญ่ (พรรคหัวเสือ) (Shan Nationalities League for Democracy – SNLD) พรรคประชาธิปไตยเพื่อชาติพันธุ์ (พรรคเสือเผือก) (Shan Nationalities Democratic Party - SNDP) และสมาคมวรรณกรรมและวัฒนธรรมแห่งรัฐฉาน (Shan Literature and Culture Associations) โดยจากการหารือชาวบ้านแสดงข้อกังวลเกี่ยวกับการเวนคืนที่ดินและความเสื่อมโทรมด้านสิ่งแวดล้อมอันเป็นผลมาจากการลงทุนในโครงการต่าง ๆ การสู้รบที่ยังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องแม้จะมีข้อตกลงหยุดยิง และการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างต่อเนื่องโดยกองทัพพม่า รวมทั้งการใช้ความรุนแรงทางเพศ ผู้หญิงเหล่านี้ต่างกระตุ้นให้เครือข่ายปฏิบัติงานผู้หญิงไทใหญ่เผยแพร่ข้อมูลต่อไป เกี่ยวกับกรณีที่ทหารพม่าก่อความรุนแรงทางเพศแต่กลับไม่ต้องรับโทษ "ข้อมูลการข่มขืนกระทำชำเราตามรายงานของเครือข่ายปฏิบัติงานผู้หญิงไทใหญ่ เป็นแค่ยอดของภูเขาน้าแข็ง ยังมีอีกหลายกรณีที่ไม่มีการบอกเล่า เราต้องการทำงานกับเครือข่ายปฏิบัติงานผู้หญิงไทใหญ่เพื่อให้เกิดความยุติธรรมกับประชาชนของเรา" สตรีผู้หนึ่งจากเมืองจ็อกมีกล่าว นอกจากนี้ชาวบ้านหลายคนพูดถึงโครงการสร้างท่อส่งก๊าซและน้ำมันของจีนในเขตที่ดินของตนทางตอนเหนือของรัฐฉาน ผู้หญิงซึ่งกระเสือกระสนหาทางเลี้ยงดูครอบครัวบรรยายให้ฟังว่า พวกเธอต้องหลบ ๆ ซ่อน ๆ ปลูกพืชผลในที่ดินซึ่งถูกทางการเวนคืนไปแล้ว พิธีสวดมนต์ที่บ้านบ่อเกลือ เมืองสี่ป้อ เมื่อวันที่ 5 ธ.ค. เพื่อประท้วงโครงการท่อส่งก๊าซที่ส่งผลกระทบด้านความปลอดภัยในบริเวณพื้นที่ทำนาเกลือของชาวบ้าน ทั้งนี้ชาวบ้านต้องซ่อมแซมพื้นบ้านที่ถูกเกลือกัดเซาะทุกปี และกลัวว่าท่อก๊าซเส้นนี้อาจได้รับผลกระทบจากการกัดเซาะของเกลือ (ที่มาของภาพ: เครือข่ายปฏิบัติงานผู้หญิงไทใหญ่) ที่เมืองบ่อเกลือ เมืองสี่ป้อ เครือข่ายปฏิบัติงานผู้หญิงไทใหญ่ยังได้เข้าร่วมพิธีสวดมนต์ร่วมกับชาวนาและเกษตรกรกว่า 300 คน พร้อมพระภิกษุและ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสภาพม่า ซึ่งจัดขึ้นที่บ้านบ่อเกลือ เมืองสี่ป้อ เมื่อวันที่ 5 ธ.ค. เพื่อประท้วงโครงการท่อส่งก๊าซที่ส่งผลกระทบด้านความปลอดภัยในบริเวณพื้นที่ทำนาเกลือของชาวบ้าน ชาวบ้านต้องซ่อมแซมพื้นบ้านที่ถูกเกลือกัดเซาะทุกปี และกลัวว่าท่อก๊าซเส้นนี้อาจแตกและระเบิดออกมาได้ "ประชาชนในรัฐฉานต่างตั้งคำถามต่อสันติภาพที่เกิดขึ้น เพราะมันกลับทำให้พวกเขาต้องสูญเสียที่ดินและหนทางทำมาหากินมากยิ่งขึ้น" หญิงหาญฟ้า โฆษกเครือข่ายปฏิบัติงานผู้หญิงไทใหญ่กล่าว เสียงของชาวบ้านเหล่านี้เน้นให้เห็นความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องยุติการตรึงกำลังของทหารพม่าในพื้นที่รัฐต่างๆ ของกลุ่มชาติพันธุ์ และเรียกร้องให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการสันติภาพอย่างเสรี หลายคนยังสะท้อนข้อเรียกร้องจาก "การประชุมเพื่อสร้างความไว้วางใจและสันติภาพ" เพื่อให้มีการจัดตั้งเป็นสหพันธรัฐเพื่อประกันความเท่าเทียมและความสงบสุขอย่างแท้จริงในพม่าด้วย ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
"พล.อ.เปรม" เตือนภาคอีสานมีความแตกแยกชัดเจนมากขึ้น Posted: 22 Dec 2012 04:43 PM PST ฝากถึงแม่ทัพภาค 2 ให้ผู้เกี่ยวข้องในการดูแลพื้นที่ช่วยกันสร้างความรักความสามัคคี ขอให้ทำความเข้าใจกับผู้ที่คิดแตกต่างกันให้มีจุดหมายเดียวกันคือพัฒนาประเทศชาติบ้านเมือง อย่าให้ความขัดแย้งมาเป็นอุปสรรคในการทำงาน และขอให้ทำความเข้าใจกับผู้ที่ดูแลความสงบสุขของบ้านเมืองให้มีความซื่อสัตย์และเชิดชูสถาบัน พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ (แฟ้มภาพ/http://site2.generalprempark.com/) เว็บไซต์รัฐสภาไทย รายงานเมื่อวานนี้ (22 ธ.ค.) ว่า ที่บ้านแม่ทัพ หรือบ้านไร้กังวล อ.เมือง จ.นครราชสีมา พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ เปิดบ้านให้ผู้ว่าราชการจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หัวหน้าส่วนราชการ ทหาร ตำรวจเข้าเยี่ยมคารวะและขอพรเนื่องในโอกาสเทศกาลปีใหม่ 2556 โดยมีผู้เข้าร่วมอวยพรประมาณ 100 คน นำโดย พล.ท.จีระศักดิ์ ชมประสพ แม่ทัพภาคที่ 2 นายวินัย บัวประดิษฐ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา พล.ต.ท.เชิด ชูเวช ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 3 นพ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล หัวหน้าพรรคชาติพัฒนา เป็นต้น พล.อ.เปรม กล่าวว่า ในสภาวะปัจจุบันที่มีความขัดแย้งอย่างชัดเจน ขอฝากถึงแม่ทัพภาคที่ 2 ให้ไปบอกผู้ที่มีหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในการดูแลพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ว่า เดี่ยวนี้ความแตกแยกชัดเจนมากขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องของความเชื่อที่แตกต่างกัน ความเห็นที่แตกต่างกันจะต้องมีในชาติบ้านเมือง แต่ไม่ใช่อุปสรรคที่จะทำให้การพัฒนาประเทศชาติ ดังนั้นขอให้ช่วยกันสร้างความรักสามัคคี ขอให้ทำความเข้าใจกับผู้ที่มีความคิดแตกต่างกัน ให้มีจุดหมายเดียวกันคือ พัฒนาประเทศชาติบ้านเมือง อย่าให้ความขัดแย้งมาเป็นอุปสรรคในการทำงาน ขอให้ทำความเข้าใจกับผู้ที่ดูแลความสงบสุขของชาติบ้านเมือง ให้มีความซื่อสัตย์สุจริต เชิดชูสถาบัน ให้มีความเข้าใจตรงกันว่า จะทำอย่างไรให้ประเทศชาติพัฒนาในสภาพของความแตกแยก และขอให้ทำความเข้าใจกับผู้ที่มีความเห็นแตกต่างจากเราให้มีความเข้าใจตรงกันว่า อย่าเอาความแตกต่างมาเป็นเครื่องทำลายความสามัคคีในชาติ อย่าให้คนที่มีความเห็นไม่ตรงกันมาเป็นอุปสรรคในการทำงาน เพื่อพัฒนาประเทศชาติ และขอให้ขยายความเข้าใจตรงนี้ให้เป็นที่เข้าใจอย่างกว้างขวาง ความคิดที่แตกต่างไม่ใช่ปัญหาที่ว่าจะต้องมาเป็นศัตรูกัน ซึ่งหากแม่ทัพภาคที่ 2 ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องสามารถทำความเข้าใจตรงนี้ได้อย่างกว้างขวางก็จะสร้างความสงบสุขให้ประเทศชาติบ้านเมืองได้อย่างแน่นอน เมื่อกล่าวจบ พล.อ.เปรม ได้เดินทางกลับบ้านสี่เสาเทเวศน์ กทม. โดยมีกำหนดเปิดบ้านอีกครั้งวันที่ 27 ธ.ค. ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น