โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันเสาร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2554

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์

"สนธิ" เรียกร้องให้ปิดเมืองไทย 3-5 ปี เพื่อให้รัฐบาลแต่งตั้ง "เช็ดล้างกวาดสิ่งสกปรก"

Posted: 19 Mar 2011 02:07 PM PDT

สนธิ ลิ้มทองกุลชี้บ้านเมืองพังจนไม่มีอะไรเหลือแล้ว เรียกร้องให้เมืองไทย "ปิดเทอม" 3-5 ปี ลั่น พธม.ชุมนุมคือการฝึกจิตที่ยิ่งใหญ่ นั่งกันอยู่ได้เพราะมีธรรมอันสูงสุดคือสู้เพื่อแผ่นดิน เชื่อขณะนี้ "สิ่งศักดิ์สิทธิ์" กำลังทดสอบ ลั่นถ้าไม่มี พธม. ไม่รู้ชาติบ้านเมืองอยู่ไหน

เมื่อเวลา 21.30 น. คืนวานนี้ (19 มี.ค. 54) เอเอสทีวีผู้จัดการออนไลน์ รายงานว่า นายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้กล่าวปราศรัยบนเวทีสะพานมัฆวานรังสรรค์ ว่าเป็นเรื่องที่น่าเศร้าสลดที่ระบบการเมืองไทยขณะนี้เป็นระบบที่ทำลายชาติบ้าน เมือง เป็นที่ชัดเจนว่า ถึงเวลาที่เมืองไทยต้องหยุดพักเพื่อให้สังคมไทยได้ชะล้างทำความสะอาดสิ่ง สกปรก คนที่เข้ามาเล่นการเมืองต้องเข้ามาด้วยความเสียสละ แต่คนที่เข้ามาเล่นการเมืองทุกวันนี้กลายเป็นวัวควายที่เจ้าของส่งสมัคร ส.ส.แล้วให้เงินไปใช้ในการเลือกตั้ง

นายสนธิ กล่าวว่า ถ้าจะพิสูจน์ว่าการเมืองไทยพัฒนาแค่ไหนก็ดูได้จากการอภิปรายไม่ไว้วางใจ รัฐบาล ไม่ว่าฝ่ายค้านจะมีข้อมูลดีอย่างไร แต่ ส.ส.ฝ่ายรัฐบาลก็ยกมือให้ผ่านอยู่ดี ไม่ว่าจะเป็นยุคที่พรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาล หรือยุคที่ทักษิณ ชินวัตรเป็นรัฐบาล การเมืองไม่ได้เล่นกันด้วยเหตุผลข้อเท็จจริงหรือหลักฐาน หรือเล่นด้วยหิริโอตัปปะ แต่ใช้ความหน้าด้านเข้ามาเล่น เหตุผลไม่ต้องพูดถึง หลักฐานไม่ต้องสนใจ แล้วยังใช้วาจาสามหาว และที่สำคัญที่สุด นักการเมืองทุกคนแม้กระทั่งนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยังภูมิใจในระบบรัฐสภาชั่วๆ แบบนี้อีก เป็นเรื่องที่น่าเสียใจมาก คำให้สัมภาษณ์ของนายอภิสิทธิ์ทุกครั้งในที่สุดแล้วคือการปกป้องผลประโยชน์ นักการเมือง นายอภิสิทธิ์จึงเป็นตัวแทนนักการเมืองชั่วๆ ที่นักการเมืองชั่วๆ พวกนั้นชูขึ้นมาเพื่อปกป้องอาชีพของเขา คนพวกนี้มีอาชีพลงทุนทางการเมืองเพื่อก้าวเข้าสู่การมีอำนาจ แล้วโกงกินขายชาติขายบ้านเมือง พรรคการเมืองอย่างประชาธิปัตย์ก็ไม่ต่างกันเลยกับเพื่อไทย เมื่อมีการเลือกตั้งหากพรรคเพื่อไทยขึ้นมา มันก็คือความชั่วกลับข้าง มันไม่มีความดีแล้ว ส่วนพรรคประชาธิปัตย์ก็จะกลับตัวมาเป็นคนดี เพราะตัวเองไม่มีอำนาจแล้ว แต่พอมีอำนาจก็ไปทำเรื่องสถุลอย่างที่ทำอยู่ทุกวันนี้ ไม่สนใจเรื่องการเสียดินแดนให้เขมร เพราะมัวเมาแต่การโกงชาติกินบ้านกินเมือง

นายสนธิ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ในสภายังมี ส.ส.หญิงคนหนึ่งของพรรคเพื่อไทย ที่บอกว่า ดินแดนที่ทะเลาะกันเป็นของเขมรไปแล้ว นี่คือนักการเมืองเมืองไทย นอกจากสถุล ขายชาติ ดีเอ็นเอ.เป็นสัตว์นรกแล้ว ยังบัดซบอีกต่างหาก

นายสนธิกล่าวต่อว่า เมืองไทยต้องปิดเทอม 3-5 ปี พวกนักการเมืองต้องคืนอำนาจให้ประชาชน แล้วให้รัฐบาลที่เลือกสรรเข้ามาจัดระเบียบเช็ดล้างกวาดสิ่งสกปรก เพราะมันพังทลายหมดแล้ว ตำรวจ ทหารก็พัง อัยการก็พัง ศาสนาบางส่วนก็พังแล้ว บ้านเมืองพังจนไม่มีอะไรจะเหลือแล้ว

พูดตรงไปตรงมาเมืองไทยมันชิบหายไปแล้ว สาเหตุ 70% มาจากสื่อ โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ สื่อต้องเป็นตะเกียงส่องทางให้ประชาชนรู้ว่าทางออกบ้านเมืองอยู่ทางไหน แต่ถ้าสื่อทำตัวอ้างว่าเป็นกระจก คนที่อยู่ในห้องมืดๆ มันมองไม่เห็น สื่อต้องเป็นตะเกียงส่องทางให้ถูก เมื่อส่องทางไม่ได้ ก็ต้องหาทาง อย่างน้อยที่สุดถ้าไม่มีตะเกียงก็หาเทียนไขก็ยังดี เหมือนที่ตนเป็นคนแรกที่จุดเทียน แม้จะลำบากและเจ็บปวดเพราะต้องอดทนกับแรงพายุที่พัดมา และมีก้อนหินก้อนอิฐมากระทบ แต่ก็ต้องเอาหลังบังไว้ เพื่อให้เทียนไม่ดับ จนพี่น้องเห็นเทียนจุดติดแล้วก็มาช่วยกันจุดต่อจนกลายเป็นเทียนพรรษาที่ส่อง สว่าง ลองหลับตาคิดย้อนหลัง ถ้าไม่มีพวกเรา วันนี้ชาติบ้านเมืองไม่รู้จะอยู่ที่ไหน

นายสนธิ กล่าวอีกว่า ทุกคนที่รักชาติรักแผ่นดินที่มาต่อสู้ร่วมกันต้องเอาธรรมนำหน้า และสู้เพื่อทดแทนคุณแผ่นดิน วันนี้พิสูจน์ชัดว่าพ่อแม่ครูบาอาจารย์หลวงตามหาบัวทดแทนคุณแผ่นดินด้วยการ ทำผ้าป่าช่วยชาติ ส่วนพวกเราก็ทดแทนด้วยการต่อสู้เพื่อปกป้องแผ่นดิน บุญที่เราทำกับบุญที่หลวงตาทำจึงเหมือนกันทั้งหมด เราเริ่มออกมาสู้ตั้งแต่ปี 2548 ผ่านมา 6 ปี เรายังออกมาต่อสู้อีก ขอให้พี่น้องอย่าท้อ เพราะนี่คือการฝึกจิตที่ยิ่งใหญ่ จิตเป็นประภัสสร คือความสว่างจ้าเห็นความถูกต้อง จิตมั่นคงคือไม่ท้อ และจิตสงบเมื่อเห็นว่าสิ่งที่เราทำนั้นถูกต้อง เพราะฉะนั้นจิตประภัสสร มั่นคง และสงบ คือธรรมที่นำหน้าเรา และเราไม่ทำบนพื้นฐานการโกหกเหมือนนายอภิสิทธิ์ เราทำบนพื้นฐานของความจริง อะไรที่พูดออกมาในอดีตนั้นเป็นความจริงทุกอย่าง เราสู้มาตั้งแต่ปี 2548 วันนี้สิ่งศักดิ์สิทธิ์กำลังทดสอบเรา ถ้าเรายังไม่เชื่อมั่น จะมานั่งอยู่ที่นี่ได้อย่างไร แต่เป็นเพราะเราเชื่อมั่นศรัทธาในสิ่งที่เราสู้อยู่ นั่นคือธรรมสูงสุด ไม่มีอะไรยิ่งใหญ่ไปกว่าการสู้เพื่อแผ่นดินอีกแล้ว

“การไล่ทักษิณ สมัคร สมชาย อภิสิทธิ์ ยังเล็กน้อย เทียบไม่ได้กับการสู้เพื่อเแผ่นดิน เพราะทักษิณ สมัคร สมชาย อภิสิทธิ์ ไม่เทียบเท่ากับคุณค่าของแผ่นดิน พวกเขามีคุณค่าต่ำว่าเศษขี้หมาด้วยซ้ำ” นายสนธิกล่าว

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ตำรวจจับคนขายซีดีก่อนตั้งหาหมิ่นฯ พร้อมขวางไม่ให้พบทนาย

Posted: 19 Mar 2011 01:49 PM PDT

เจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมคนขายซีดีระหว่างชุมนุมที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย พร้อมตั้งหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ โดยนำไปสอบสวนที่ สน.ชนะสงคราม โดยไม่ยอมให้พบทนาย

ระหว่างที่มีการชุมนุมคนเสื้อแดงที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เมื่อคืนวานนี้ (19 มี.ค.) นั้น สำนักกฎหมายราษฎรประสงค์ แจ้งว่า เมื่อเวลาประมาณ 20.30 น. ตำรวจชุดสืบสวนได้บุกจับกุมนายเสถียร รัตนวงค์ คนขายซีดี ชาว จ.สระแก้ว อายุ 50 ปี ที่บริเวณหน้าศึกษาภัณฑ์พาณิชย์ ถนนราชดำเนิน โดยตำรวจกล่าวหาว่านายเสถียรมีซีดีอันมีลักษณะหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ จำนวน 20 แผ่น โดยตำรวจยึดไว้เป็นของกลาง

โดยตำรวจได้เดินทางไปตรวจค้นที่ห้องพักเพื่อขยายผล แต่ไม่พบสิ่งผิดกฎหมายใด โดยขณะนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.ชนะสงคราม ได้ควบคุมตัวเพื่อดำเนินคดี

สำนักกฎหมายราษฎรประสงค์ยังแจ้งว่า ภายหลังจากถูกจับกุมทางทนายความและกลุ่มเสื้อแดงผู้มาคอยติดตามข่าว ไม่ได้รับอนุญาตให้พบตัวผู้ต้องหา รวมทั้งเมื่อลูกชายของผู้ต้องหาได้เดินทางมาถึงสถานีตำรวจก็ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจไล่กลับบ้านไป

ทางทนายความระบุว่า ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ปฏิบัติหน้าที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และขัดรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้จากพฤติการณ์ที่ล็อกห้องสอบสวนโดยไม่ยอมให้ผู้ต้องหาพบทนายความหรือผู้ไว้วางใจ อันจะได้ดำเนินการทางกฎหมายต่อไป

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

"เสื่อม"

Posted: 19 Mar 2011 09:31 AM PDT

เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมาคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการแนวทางการดำเนิน งานส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมข้าราชการและประชาชนทั่วไป ได้แก่ การเข้าวัดปฏิบัติธรรมทุกวันพระหรือวันอาทิตย์ การสวดมนต์หน้าโต๊ะหมู่บูชาและพระบรมสาทิสลักษณ์ก่อนการประชุม การถวายสัตย์ปฏิญาณว่าจะปฏิบัติตามพระราชดำรัส การสวดมนต์ก่อนเข้าชั้นเรียนทุกวันและหลังเลิกเรียนในวันศุกร์ ฯลฯ ซึ่งเสนอโดยกระทรวงวัฒนธรรมเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะ ทรงมีพระชนมายุครบ 7 รอบในปลายปีนี้

ข้อเสนอดังกล่าววางอยู่บนสมมติฐานที่ว่าคุณธรรมและจริยธรรมของคนไทยใน ปัจจุบันตกต่ำเพราะความที่มีชีวิตห่างไกลจากพุทธศาสนาและไม่ปฏิบัติตามพระ ราชดำรัส (ซึ่งวางอยู่บนพุทธศาสนาเช่นกัน) จึงต้องแก้ไขด้วยการให้คนไทยได้ “เข้าวัดเข้าวา” และมีพันธะกรณีกับพระราชดำรัสเพิ่มมากขึ้น ซึ่งหากปฏิบัติได้ก็จะเป็นผลดีไม่เฉพาะกับตัวผู้ปฏิบัติ หากแต่หมายถึงสังคมไทยโดยรวม จึงเป็นการ “ทำความดีถวายในหลวง” อีกทางหนึ่ง            

อย่างไรก็ดี ข้อสมมติฐานนี้บิดเบือนชีวิตทางศาสนาของคนไทยในปัจจุบัน รวมทั้งยังอำพรางความสัมพันธ์ระหว่างพุทธศาสนากับการเมืองไทยอย่างสำคัญ เพราะหากหมายความศาสนาในความหมายกว้าง เช่น ระบบความเชื่อและระเบียบศีลธรรม จะพบว่าคนไทยส่วนใหญ่ยังคงมีชีวิตใกล้ชิดกับศาสนา หลายคนตื่นเช้าขึ้นมาก็บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ จะเดินทางไปไหนหรือติดต่อธุระอะไรก็ต้องดูฤกษ์ยาม จะเปิดร้านหรือทำบุญขึ้นบ้านใหม่ก็ต้องนิมนต์พระมาสวดและเจิมให้ และนอกจากหลักธรรมคำสอนของพุทธศาสนาเช่นบุญกรรม คนไทยจำนวนมากยังเคารพศรัทธาในระบบความเชื่อและระเบียบศีลธรรมอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นผี เทพ หรือบุรพกษัตริย์ไทยเช่น “เสด็จพ่อ ร.๕” ชีวิตประจำวันของคนไทยจึงรายล้อมไปด้วยศาสนาเต็มไปหมด                

นอกจากนี้ นัยของศาสนาเหล่านี้ก็ไม่ได้เป็นเพียง “ความเชื่อส่วนบุคคล” หรือเป็นการถอยร่นของศาสนาเข้าสู่ปริมณฑลส่วนตัวของปัจเจกบุคคลท่ามกลางการ ขยายตัวของความทันสมัยอย่างที่พวกนักคิดสายเรื่องทางโลกชวนให้เชื่อ ตรงกันข้าม ศาสนากลับยังเป็นพลังสำคัญในพื้นที่สาธารณะหรือว่ามีส่วนในการจัดความ สัมพันธ์ระหว่างผู้คนในสังคมไทยร่วมสมัยอย่างสำคัญ เปรียบว่าธรรมกายสามารถสร้างเครือข่ายญาติธรรมที่ต้องการบรรลุธรรมด้วยวิธี การเฉพาะในยุคเครือข่ายไร้สายได้ฉันใด สันติอโศกก็สามารถสร้างกองทัพธรรมที่ต้องการทวงเขาพระวิหารหรือเขตแดนคืนใน ยุคโลกไร้พรมแดนได้ฉันนั้น              

ในทางกลับกัน การที่คนไทยในปัจจุบันมีความสนใจในชีวิตทางศาสนาก็ไม่ได้เป็นเรื่องของการ ฟื้นตัวของศาสนาอย่างที่เกิดขึ้นในศาสนาคริสต์และอิสลามหลังจากเผชิญกับ กระแสการตื่นรู้ ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ และการเกิดขึ้นของรัฐชาติ เพราะในสังคมไทย ศาสนาพุทธไม่เคยเพลี่ยงพล้ำให้กับการท้าทายทางปรัชญาและหลักธรรมคำสอนโดย วิทยาศาสตร์ แต่สามารถจัดความสัมพันธ์ให้อยู่ในสถานะที่เหนือกว่าได้ วิทยาศาสตร์อาจดูล้ำเลิศ แต่ก็เป็นเพียงโลกียธรรม เทียบไม่ได้กับโลกุตรธรรมอย่างพุทธศาสนา ขณะเดียวกันพุทธศาสนาก็ไม่เคยสถาปนาศาสนจักรขึ้นแข่งขันหรือท้าทายอำนาจ อาณาจักรเหมือนกับที่เกิดขึ้นในกรณีของศาสนาคริสต์ แต่กลับโยงใยกันอย่างแนบแน่น การวางผังการปกครองดินแดนในสมัยสุโขทัยและอยุธยาวางอยู่บนคติความเป็น กษัตริย์ในพุทธศาสนา และตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 เป็นต้นมากษัตริย์ไทยอยู่ใต้คติธรรมราชาแทนที่จะเป็นเทวราชาตามคติฮินดู นอกจากนี้ การสร้างรัฐชาติไทยอาศัยพุทธศาสนาในหลายลักษณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือการหมายความโดยพฤตินัยให้ศาสนาพุทธเป็นหนึ่งในสามของ อุดมการณ์รัฐควบคู่กับชาติและพระมหากษัตริย์ ทั้งนี้ยังไม่นับรวมการรื้อฟื้นสถานภาพและบทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์ ตั้งแต่ต้นทศวรรษ 2500 เป็นต้นมาที่อาศัยพิธีกรรมความเชื่อในพุทธศาสนาอย่างเข้มข้น พุทธศาสนาจึงไม่เคยจางหายจากพื้นที่สาธารณะในสังคมไทย และคนไทยก็ไม่ได้มีชีวิตห่างจากศาสนาอย่างที่มักถูกทำให้เชื่อกัน            

ฉะนั้น หากศีลธรรมของคนไทยตกต่ำจริงก็ไม่น่าจะเป็นเพราะคนไทยอยู่ห่างศาสนา (โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพิจารณาประกอบกับข้อเท็จจริงที่ว่าไม่เคยมีผู้กระทำ ผิดหรือ “ผู้ร้าย” ในสังคมไทยคนไหนต่อต้านศาสนาหรือว่าบอกว่าตัวเองไม่มีศาสนา) และเพราะเหตุดังนั้นการบังคับให้คนไทย “เข้าวัดเข้าวา” หรือปฏิบัติวัตรทางศาสนามากขึ้นก็ไม่น่าจะเกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหา ศีลธรรมของคนไทยตกต่ำ ถ้าอย่างนั้นข้อเสนอของกระทรวงวัฒนธรรมมีเป้าหมายหรือนัยสำคัญอะไร            

ข้อแรก ผมคิดว่าข้อเสนอของกระทรวงวัฒนธรรมต้องการกอบกู้พุทธศาสนาเชิงสถาบันที่อยู่ ในสภาวะง่อนแง่น เพราะในด้านหนึ่งสถาบันพุทธศาสนาประสบปัญหาภายในไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมของพระ นอกรีตจำพวกมั่วสีการวมทั้งเสพและค้ายาเสพติด การเมืองและการแย่งชิงผลประโยชน์ภายในวัด หรือว่าการที่วัดมีลักษณะเป็นสถานประกอบการเชิงพาณิชย์เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ขณะที่อีกด้านพุทธศาสนาเผชิญกับ “คู่แข่ง” ที่แข็งแกร่งและมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะในกลุ่มของเทพองค์ ต่างๆ ซึ่งไม่ได้สังกัดพุทธศาสนา ซึ่งหากปล่อยให้สถานการณ์เป็นเช่นนี้ต่อไปเรื่อยๆ พุทธศาสนาจะสูญเสียความสามารถในการเป็นสถาบันหรือกลไกจัดระเบียบความเชื่อ และศีลธรรมในสังคมให้กับรัฐไทย มาตรการกระชับศีลธรรมคนไทยผ่านวัดและพิธีกรรมจึงถูกเข็นออกมาโดยมีความต้อง การเสริมความแข็งแกร่งให้พุทธศาสนาเชิงสถาบันเป็นเหตุผลอยู่เบื้องหลัง            

ข้อสอง วิกฤติการเมืองไทยร่วมสมัยยิ่งทำให้ต้องเร่งเสริมความแข็งแกร่งของสถาบัน พุทธศาสนาเพิ่มมากขึ้น เพราะอย่างที่เขียนไว้ข้างต้น สถาบันพุทธศาสนาไม่ได้เป็นปฏิปักษ์กับอาณาจักรสยามและรัฐไทย แต่ให้ความเกื้อหนุนอย่างสลับซับซ้อน โดยเฉพาะในช่วงที่สถาบันการเมืองจารีต (ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของรัฐไทย) เผชิญความเปลี่ยนแปลงและการท้าทาย ฉะนั้น การที่ส่วนสำคัญของวิกฤติการเมืองไทยในปัจจุบันอยู่ที่ความเปลี่ยนแปลงรวม ทั้งความไม่มั่นคงแน่นอนของสถาบันการเมืองจารีตประการหนึ่ง กับการก้าวขึ้นมาของพลังทางการเมืองที่มีจินตนาการทางการเมืองต่างออกไปอีก ประการ ก็ส่งผลให้ความเสื่อมของสถาบันพุทธศาสนาไม่อาจถูกทิ้งให้เป็นเรื่องในความ รับผิดชอบของกรมศาสนาแต่เพียงหน่วยงานเดียวอีกต่อไปได้ หากแต่ต้องทำให้กลายเป็น “วาระแห่งชาติ” เพื่อจะช่วยให้สถาบันพุทธศาสนาสามารถทำหน้าที่เสริมความแข็งแกร่งให้กับ สถาบันการเมืองจารีตได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกทาง ดังที่กระทรวงวัฒนธรรมระบุไว้อย่างชัดเจนว่าจะกระชับศีลธรรมของข้าราชการและ ประชาชนคนไทยในครั้งนี้เพื่อสิ่งใด 

อย่างไรก็ดี ผมไม่คิดว่ามาตรการเหล่านี้จะบรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้ เพราะในด้านหนึ่งพุทธศาสนาเสื่อมก็เพราะถูกนำไปใช้เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ ทางการเมืองมากเกินไป การที่มาตรการดังกล่าวเจริญรอยตามแนวทางนี้ก็จะยิ่งส่งผลให้พุทธศาสนาเสื่อม ลงไปอีก ขณะที่อีกด้านความผุกร่อนของสถาบันการเมืองจารีตแฝงนัยเชิงจริยธรรมด้วย การอาศัยกลวิธีทางการเมืองที่มีความเสื่อมเชิงจริยธรรมในตัวจะยิ่งทำให้ความ ผุกร่อนที่ว่านี้รุนแรงขึ้นอีก

 

(ตีพิมพ์ในคอลัมน์ คิดอย่างคน หนังสือรายสัปดาห์ มหาประชาชน ประจำวันที่ 11-17มีนาคม 2554)

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เผยกองทัพเบิกกระสุนมาใช้ช่วงชุมนุม นปช. ปี 53 เกือบ 6 แสนนัด

Posted: 19 Mar 2011 09:06 AM PDT

กรรมาธิการทหาร สภาผู้แทนราษฎร เผยบัญชียอดเบิกกระสุนจากคลังแสงทหารบกกว่า 597,500 นัด ส่งคืน 479,577 นัด ใช้ไป 117,923 นัด เผยมีการเบิกกระสุนปืนซุ่มยิง 3,000 นัด คืนเพียง 880 นัด ขณะที่เบิกกระสุนซ้อมเพียง 10,000 นัด ส่งคืน 3,380 นัด

สำนักข่าวไทย รายงานเมื่อวันที่ 18 มี.ค. ว่า พ.ต.ท.สมชาย เพศประเสริฐ ส.ส.นครราชสีมา พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการทหาร สภาผู้แทนราษฎร ได้นำรายงานบัญชีสรุปรายการเบิกจ่ายกระสุนจากหน่วยคลังแสง สรรพาวุธทหารบก เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.)  ระหว่างการดูแลความเรียบร้อยในช่วงที่มีการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงระหว่าง วันที่ 11 มีนาคม 2553 จนเสร็จสิ้นการชุมนุม มาแสดงต่อสื่อมวลชน

ทั้งนี้ พ.ต.ท.สมชาย กล่าวว่า มีการรายงานการเบิกจ่ายกระสุนทั้งสิ้น 597,500 นัด มีการส่งคืน 479,577 นัด  และมีการใช้กระสุนไปทั้งสิ้น 117,923 นัด ถือว่าเป็นจำนวนที่สูงมากสำหรับการควบคุมการชุมนุมของประชาชน จึงอยากตั้งข้อสังเกตถึงการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ที่อาจทำให้เกิดการเสีย ชีวิตของประชาชน ขณะเดียวกัน จำนวนกระสุนที่เบิกจ่ายไปเป็นกระสุนที่ใช้สำหรับการซุ่มยิง 3,000 นัด มีการส่งคืนเพียง 880 นัด ถือเป็นเครื่องยืนยันได้ว่า ในระหว่างที่มีการชุมนุมมีการซุ่มยิงจริง นอกจากนี้ ยังมีการกระสุนซ้อมเพียง 10,000 นัดและมีการส่งคืน 3,380 นัด
 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เผยกองทัพเบิกกระสุนมาใช้ช่วงชุมนุม นปช. ปี 53 เกือบ 6 แสนนัด

Posted: 19 Mar 2011 09:06 AM PDT

กรรมาธิการทหาร สภาผู้แทนราษฎร เผยบัญชียอดเบิกกระสุนจากคลังแสงทหารบกกว่า 597,500 นัด ส่งคืน 479,577 นัด ใช้ไป 117,923 นัด เผยมีการเบิกกระสุนปืนซุ่มยิง 3,000 นัด คืนเพียง 880 นัด ขณะที่เบิกกระสุนซ้อมเพียง 10,000 นัด ส่งคืน 3,380 นัด

สำนักข่าวไทย รายงานเมื่อวันที่ 18 มี.ค. ว่า พ.ต.ท.สมชาย เพศประเสริฐ ส.ส.นครราชสีมา พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการทหาร สภาผู้แทนราษฎร ได้นำรายงานบัญชีสรุปรายการเบิกจ่ายกระสุนจากหน่วยคลังแสง สรรพาวุธทหารบก เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.)  ระหว่างการดูแลความเรียบร้อยในช่วงที่มีการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงระหว่าง วันที่ 11 มีนาคม 2553 จนเสร็จสิ้นการชุมนุม มาแสดงต่อสื่อมวลชน

ทั้งนี้ พ.ต.ท.สมชาย กล่าวว่า มีการรายงานการเบิกจ่ายกระสุนทั้งสิ้น 597,500 นัด มีการส่งคืน 479,577 นัด  และมีการใช้กระสุนไปทั้งสิ้น 117,923 นัด ถือว่าเป็นจำนวนที่สูงมากสำหรับการควบคุมการชุมนุมของประชาชน จึงอยากตั้งข้อสังเกตถึงการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ที่อาจทำให้เกิดการเสีย ชีวิตของประชาชน ขณะเดียวกัน จำนวนกระสุนที่เบิกจ่ายไปเป็นกระสุนที่ใช้สำหรับการซุ่มยิง 3,000 นัด มีการส่งคืนเพียง 880 นัด ถือเป็นเครื่องยืนยันได้ว่า ในระหว่างที่มีการชุมนุมมีการซุ่มยิงจริง นอกจากนี้ ยังมีการกระสุนซ้อมเพียง 10,000 นัดและมีการส่งคืน 3,380 นัด
 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ชาวเมืองเมียวดีลือ “กะเหรี่ยงดีเคบีเอ” เตรียมบุกรอบใหม่

Posted: 19 Mar 2011 09:01 AM PDT

เกิดข่าวลือในเมืองเมียวดีว่ากองกำลังกะเหรี่ยงดีเคบีเอเตรียมโจมตีทหารพม่ารอบใหม่ ขณะที่ทหารดีเคบีเอยืนยันวางแผนโจมตีในเร็วๆนี้ แต่ต้องเลื่อนเนื่องจากเกิดฝนตกนอกฤดู ยันหากมีการโจมตี จะเป็นการโจมตีเฉพาะที่ตั้งทหารพม่า

เว็บไซต์อิระวดี รายงานเมื่อวานนี้ (18 มี.ค. 54) ว่าผู้อาศัยอยู่ที่เมืองเมียวดี เมืองชายแดนตรงข้าม อ.แม่สอด จ.ตาก เริ่มออกจากพื้นที่ตั้งแต่เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา ท่ามกลางข่าวลือว่า กองกำลังกะเหรี่ยงพุทธประชาธิปไตย หรือ ดีเคบีเอ กลุ่มที่แยกตัวออกมา เตรียมการบุกโจมตีฐานทหารพม่าในเมือง
 
แหล่งข่าวท้องถิ่นระบุว่า ขณะที่ประชาชนบางส่วนพากันย้ายไปอยู่ที่เมืองกอกะเร็ก ประชาชนส่วนใหญ่ในเมืองเมียวดีต่างอยู่แต่ในบ้านเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกจับเหมือนกับช่วงที่ทหารพม่ากับทหารกะเหรี่ยงดีเคบีเอปะทะกันเมื่อเดือนพฤศจิกายนปีก่อน
 
“เจ้าหน้าที่รัฐบาลที่นี่ บอกว่า เป็นแค่ข่าวลือ แต่ครอบครัวของพวกเจ้าหน้าที่รัฐบาลเป็นกลุ่มแรกที่เริ่มออกจากเมือง” ชาวบ้านคนหนึ่งกล่าว
 
ขณะที่ พันเอกซาน อ่อง นายทหารดีเคบีกอง กองพลน้อยที่ 5 ซึ่งเป็นกลุ่มที่ปะทะกับรัฐบาลเมื่อปีก่อน ยืนยันรายงานว่า ดีเคบีเอ มีแผนโจมตีเมืองเมียวดีเร็วๆ นี้ แต่ต้องเลื่อนออกไปเนื่องจากเกิดฝนตกนอกฤดู
 
เขาเตือนให้ประชาชนในเมืองเดินทางด้วยความระมัดระวัง แต่รับรองว่าดีเคบีเอจะโจมตีเฉพาะเป้าหมายทางทหารเท่านั้น
 
“ขอประชาชนอย่าได้วิตกกังวลเกินไป เพราะเราโจมตีเฉพาะเป้าหมายทางทหารเท่านั้น” เขากล่าว และยังบอกด้วยว่า กลุ่มของเขาพร้อมที่จะประกาศการโจมตีรอบใหม่ หลังการสอบปลายภาคของนักเรียนมัธยมสิ้นสุดในเดือนนี้
 
ประชาชนในเมืองเมียวดีกล่าวว่า พวกเขาให้คอยติดตามสถานการณ์ล่าสุดเนื่องจากรัฐบาลทหารพม่าเพิ่งโจมตีกองทัพรัฐฉาน “เหนือ” (SSA-N) เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา
 
ผู้ขับรถโดยสารในเมืองเมียวดีกล่าวว่า เมื่อไม่กี่วันมานี้ มีทหารพม่าสามนายถูกฆ่าระหว่างการลอบซุ่มโจมตีโดยทหารดีเคบี ที่ถนนระหว่างเมืองเมียวดีกับกอกะเร็ก ซึ่งเป็นถนนการค้าสำคัญระหว่างไทยกับพม่า
 
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน ปีก่อน ซึ่งเป็นวันที่รัฐบาลพม่าจัดการเลือกตั้งเป็นครั้งแรกในรอบ 20 ปี ได้เกิดการปะทะกันขึ้นระหว่างทหารกะเหรี่ยงดีเคบีเอ กับ ทหารรัฐบาลพม่า ซึ่งทำให้มีผู้อพยพนับหมื่นข้ามแม่น้ำเมยมายัง อ.แม่สอด จ.ตาก
 
 
ที่มา: แปลและเรียงเรียงจาก
Myawaddy Braces for Attack, By THE IRRAWADDY, Friday, March 18, 2011

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เกิดอาฟเตอร์ช็อค 6.1 ริกเตอร์ ที่ญี่ปุ่น

Posted: 19 Mar 2011 08:18 AM PDT

มีรายงานการเกิดอาฟเตอร์ช็อคขนาด 6.1 ริคเตอร์ในพื้นที่จังหวัดอิบารากิ ประเทศญี่ปุ่น แต่ไม่มีรายงานความเสียหาย หรือการเตือนภัยคลื่นสึนามิ ส่วนสถานการณ์ที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะ-ไดอิชิ // บริษัทเท็ปโก้คาดการณ์ว่า เตาปฏิกรณ์หน่วยที่ 2 จะจ่ายกระแสไฟฟ้าได้ในวันพรุ่งนี้ยอดคนตายกว่าเจ็ดพัน สูญหายนับหมื่น

มีรายงานการเกิดอาฟเตอร์ช็อคขนาด 6.1 ริกเตอร์ที่บริเวณนอกชายฝั่งจังหวัดอิบารากิ ประเทศญี่ปุ่น โดยแรงสั่นสะเทือน ทำให้อาคารสูงหลายแห่งในกรุงโตเกียวสั่นไหว อย่างไรก็ตาม ทางการไม่ประกาศเตือนภัยคลื่นสึนามิ หรือรายงานความเสียหาย

สถานีโทรทัศน์ เอ็นเอชเค รายงานว่าอาฟเตอร์ช็อคครั้งนี้ อาจสร้างความตระหนกให้กับชาวญี่ปุ่น เนื่องจากเกิดใกล้กับพื้นที่ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะ-ไดอิชิ ที่อยู่ระหว่างการควบคุมสารกัมมันตรังสีรั่วไหล

นอกจากนี้ในจังหวัดอิบารากิเอง ก็มีโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์อยู่เช่นกัน แต่เบื้องต้น ยังไม่มีรายงานความเสียหายใดๆเกิดขึ้นกับโรงงานนิวเคลียร์ในพื้นที่นี้

ขณะที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะ-ไดอิชิ มีสถานการณ์ดีขึ้นเป็นลำดับ ล่าสุดบริษัทผลิตพลังงานโตเกียว หรือเท็ปโก้ คาดการณ์ว่าเตาปฏิกรณ์หน่วยที่ 2 จะสามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าไปยังเตาปฏิกรณ์หน่วยที่ 1 ได้ภายในวันพรุ่งนี้

หลังจากการจ่ายกระแสไฟฟ้าผ่านสายเคเบิ้ลที่พ่วงต่อไปยังเตาปฏิกรณ์เพื่อเปิดระบบหล่อเย็นในวันนี้ ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ

ขณะ ที่นายยูกิโอะ เอดาโนะ เลขาธิการคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น ยืนยันว่ามีการพบการปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีในตัวอย่างน้ำนมที่จังหวัดฟูกูชิมะ และ ผักโขมจากจังหวัดอิบารากิ แต่อยู่ในระดับที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพแต่อย่างใด

โดยนายเอดาโนะขอให้ประชาชนอย่าตื่นตระหนก พร้อมอธิบายว่า แม้จะบริโภคนมที่ปนเปื้อนรังสีในอัตราที่ตรวจพบ ติดต่อกันเป็นเวลาถึง 1 ปี ก็จะเท่ากับการได้รับรังสีจากการทำซีทีสแกน 1 ครั้งเท่านั้น

ด้านรัฐบาลญี่ปุ่น จีน และเกาหลีใต้ ตกลงในหลักการร่วมกันพัฒนาระบบเตือนภัยพิบัติ และความร่วมมือด้านนิวเคลียร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก หลังจากเกิดเหตุแผ่นดินไหวทั้งในจีนและญี่ปุ่นต่อเนื่องกันเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งส่งผลกระทบต่อทั้งภูมิภาค

ขณะที่ภารกิจค้นหาผู้สูญหายและ ศพผู้เสียชีวิตในพื้นที่ประสบภัยยังคงดำเนินต่อไป โดยยอดผู้เสียชีวิตอยู่ที่ 7,348 ราย และยังคงสูญหายอีก 10,947 คน ขณะที่สภาพอากาศในเขตพื้นที่ประสบภัย เริ่มอุ่นขึ้นเล็กน้อย โดยทางกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นได้รายงานว่า ในวันพรุ่งนี้ อาจมีฝนตกได้ในบางพื้นที่

ที่มา:วอยซ์ทีวี
 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 13 - 19 มี.ค. 2554

Posted: 19 Mar 2011 07:45 AM PDT

เตือนแรงงานไทย คิดไปทำงานลาว

นายพิชิต นิลทองคำ จัดหางานจังหวัดชลบุรี เผยว่า กรมการจัดหางาน ได้รับแจ้งจากกรมการกงสุลว่าสถานกงสุลใหญ่ ณ แขวงสะหวันบะเขตได้ช่วยเหลือแรงงานไทยที่เข้าไปทำงานที่แขวงอัตตะปือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จำนวน 115 คน ที่เดินทางไปทำงานกับบริษัทเอแอลพี พัฒนาครบวงจรและก่อสร้างชลประทาน จำกัด ประสบปัญหานายจ้างค้างค่าจ้าง ปัจจุบันยังมีการชักชวนเพื่อนำแรงงานไทยเข้าไปทำงานกับบริษัทดังกล่าว โดยแรงงานไทยจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนเงินที่สูงมากแต่ไม่มีสัญญาจ้าง และไม่ผ่านกระบวนการที่ถูกต้องของกรมการจัดหางาน บริษัทจะให้พนักงานของตนเข้าไปติดต่อแรงงานไทยโดยตรง ทำให้ยากลำบากต่อการดำเนินการป้องกันและช่วยเหลือ ขณะนี้สถานกงสุลใหญ่ฯ ได้รับแจงว่าบริษัทฯ ได้ว่าจ้างแรงงานไทยชุดใหม่จำนวนประมาณ 20 คนเข้าไปทำงานอีก

สำนักงานจัดหางานจังหวัดชลบุรี ขอแจ้งเตือนให้คนหางานและประชาชนได้ทราบว่าหากมีผู้มาชักชวนให้เกิดทางไปทำ งานต่างประเทศ โปรดอย่างหลงเชื่อ ควรตรวจสอบข้อมูลจากกรมการจัดหางานก่อนเพื่อมิให้ถูกหลอกลวง และเพื่อป้องกันคนหางานรายใหม่ที่อาจจะลักลอบเดินทางไปทำงานที่สาธารณรับ ประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยไม่ผ่านขั้นตอนของกรมการจัดหางาน ขอให้สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่สำนักงานจัดหางานจังหวัดชลบุรี เลขที่ 199 หมู่3 ถนนนารถมนตเสวี ตำบลเสม็ด อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี โทร 086-51652203 หรือ 038-398051

(สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์, 13-3-2554)

จี้แรงงานเร่งสร้างอำนาจต่อรองทางการเมือง ในวาระใกล้ยุบสภาฯ

(13 มี.ค.54) โครงการพิพิธภัณฑ์แรงงานไทยสัญจร สอนประวัติศาสตร์ สร้างสำนึกประชาธิปไตย มูลนิธิแรงงานไทย สนับสนุนโดยสภาพัฒนาการเมือง จัดการเสวนาหัวข้อ "ยุบสภา! เลือกตั้งใหม่! เล่น(กับ)การเมืองอย่างไร? ให้แรงงานไทยมีอำนาจต่อรอง" ที่โรงแรมรัตนโกสินทร์

ถามแรงงานซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ทำไมกำหนดการเมืองไม่ได้
ลัดดาวัลย์ ตันติวิทยาพิทักษ์ รองประธานสภาพัฒนาการเมือง ปาฐกถาในหัวข้อ "สภาพัฒนาการเมืองกับแนวทางส่งเสริมสิทธิแรงงาน" ว่า ในวาระที่อาจมีการยุบสภาเร็วๆ นี้ มีคำถามท้าทายว่า ผู้ใช้แรงงานซึ่งเป็นกลุ่มที่มีขนาดใหญ่ในสังคมได้ใช้ขบวนใหญ่ในทางการเมือง มากเพียงใด ได้เอาความคิดของผู้ใช้แรงงาน สมาชิกสหภาพแรงงาน เพื่อโยงกับการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นเพียงใด

ลัดดาวัลย์เปรียบเทียบว่า ก่อนหน้านี้ สภาพัฒนาการเมืองสนับสนุนเรื่องจังหวัดจัดการตนเอง เพื่อให้คนในหมู่บ้านมีบทบาทตัดสิน ใจนโยบายในชุมชน เช่นการทำถนน การดูแลป่า เพื่อสร้างฐานให้ชุมชนเข้มแข็ง ชุมชนแรงงานก็เช่นกัน ควรมีสหภาพที่เข้มแข็ง จัดการตนเองได้ มีสมาชิกที่ช่วยคิดทำให้สหภาพเข้มแข็ง โดยขณะที่ชุมชน มีบทบาทไปถึงระดับท้องถิ่น แรงงานก็ควรมีบทบาทในพื้นที่โรงงาน โดยให้เจ้าของโรงงาน ผู้เกี่ยวข้องกับการผลิตทุกคน มีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียมกัน เพราะการใช้แรงงานเป็นเรื่องที่มีคุณค่า ต้องไม่ให้ค่าสมองมากกว่าค่าแรงงานซึ่งเป็นผู้ก่อให้เกิดผลผลิต เมื่อนั้น โรงงานก็น่าจะเติบโต

ลัดดาวัลย์ กล่าวว่า อยากให้แรงงานตระหนักถึงคุณค่าของตนเอง และตั้งคำถามว่า ทำไมคนงานถึงปล่อยให้คนบางคนมาตัดสินใจแทน ทั้งที่เรามีจำนวนความคิดมากกว่า รวมถึงอยากเห็นพรรคแรงงาน ผู้ใช้แรงงานที่โดดเด่นเข้าไปนั่งใน สภาฯ เพื่อทำให้แรงงานเข้มแข็งขึ้น ให้ขบวนแรงงานขับเคลื่อนไปได้ ก้าวให้พ้นเรื่องค่าแรง สวัสดิการไปเรื่องอื่นๆ ให้มากขึ้น รวมถึงเกิดภาคีอื่นๆ มาร่วมกับแรงงาน

ชี้มีสัญญาณเตือนภัย ไม่มั่นใจมีเลือกตั้ง
ศักดินา ฉัตรกุล ณ อยุธยา นักวิชาการด้านแรงงาน แสดงความเห็นว่า ยังไม่มั่นใจนักว่าจะมีการเลือกตั้ง เนื่องจากมองว่ามีสัญญาณเตือนภัย เช่น เมื่อพูดเรื่องการรัฐประหาร เป็นเรื่องที่มีโอกาสอยู่เสมอ เพราะดูเหมือนคนจำนวนไม่น้อยในสังคมไทยยินดีให้ใช้การรัฐประหารเป็นเครื่อง มือแก้ปัญหาทางการเมือง นอกจากนี้ มองว่าหลังการเลือกตั้งแล้ว ความขัดแย้งจะไม่หายไป เพราะผู้ช่วงชิงอำนาจไม่มีฝ่ายใดมั่นใจว่าการเลือกตั้งจะนำมาซึ่งชัยชนะเด็ด ขาด และไม่มั่นใจกับกระบวนการเลือกตั้ง

ด้านคู่ขัดแย้งทางการเมือง ศักดินากล่าวว่า กลุ่มเสื้อเหลืองพูดเรื่องการเมืองแบบเก่า มองหาอำนาจพิเศษมาเริ่มต้นการ เมืองใหม่ ส่วนกลุ่มเสื้อแดง พูดถึงการโค่นล้มระบอบเก่า สร้างรัฐไทยใหม่ มีการพูดถึงโมเดลอียิปต์พอสมควร ขณะที่ในการชุมนุมเมื่อคืน (12 มี.ค.) แกนนำมีสัญญาณว่าจะใช้ฐานเสื้อแดงลงเลือกตั้ง อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดนี้คงขึ้นกับสถานการณ์ว่าจะพัฒนาไปอย่างไร

นักวิชาการด้านแรงงาน กล่าวต่อว่า แรงงานไทย 37 ล้านคนเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ในแง่การจัดสรรผลประโยชน์แล้ว สังคมผู้ใช้แรงงานควรมีรัฐบาลเป็นของตัวเอง แต่ในไทยยังไม่มี โดยยกตัวอย่างประเทศที่คนงานมีอำนาจตัดสินใจทางการเมืองว่า มีเงื่อนไขเรื่องระบบการเมืองที่เป็น ประชาธิปไตย โดยแบ่งหยาบๆ ได้ สามแบบคือหนึ่ง เสรีนิยม แบบมือใครยาวสาวได้สาวเอา แบบที่ไทยเป็น สอง ประชาธิปไตยรวมศูนย์ ที่ใช้ในประเทศคอมมิวนิสต์ และสาม สังคมประชาธิปไตย ซึ่งคำนึงถึงความยุติธรรมทางสังคม ถ้าอยากให้คนงานมีส่วนทางการเมือง คนงานควรมีสิทธิเลือกว่าต้องการประชาธิปไตยแบบไหน ทั้งนี้ สังคมต้องเปิดต่ออุดมการณ์ที่เอื้อต่อชนชั้นแรงงาน รวมถึงมีขบวนการแรงงานที่เข้มแข็ง เป็นเอกภาพ ผู้ใช้แรงงานต้องมีจิตสำนึกทางชนชั้น ความตื่นตัวทางการเมือง

ศักดินายกตัวอย่างการเข้าไปมีอิทธิพล ทางการเมืองของผู้ใช้แรงงานสองแบบ โดยแบบแรกคือเข้าไปเกี่ยวพันกับพรรคการเมืองโดยตรง เช่น อังกฤษ สอง โดยอ้อม ทั้งนี้ไม่ว่าแบบไหน ล้วนแต่มีขบวนการแรงงานที่เข้มแข็ง มีสมาชิกจำนวนมาก เพื่อแข่งกับพรรคฝ่ายทุนได้ ขณะที่ไทยมีข้อจำกัด ทั้งประชาธิปไตยที่เราใช้เป็นแบบ เสรีนิยมที่เอื้อต่อทุน กำหนดโดยคนส่วนน้อย ทำให้คนงานทำได้แค่ผลักดัน ล็อบบี้ เรียกร้องบนท้องถนน ซึ่งเป็นไปอย่างจำกัด เพราะการเมืองบนท้องถนนก็กำลังถูกกีดกันด้วยกฎหมายการชุมนุมที่กำลังจะออก ด้านอำนาจต่อรอง ไม่มีจุดเชื่อมโยงกับพรรคการเมือง รวมถึงไม่มีการรวมตัวที่เข้มแข็งด้วย โดยมีคนงานเป็นสมาชิกสหภาพฯ 1.3% ขณะที่เดนมาร์ก มีคนงานเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานมากถึง 90%

นอกจากนี้ มองว่ายังไม่มีอุดมการณ์ร่วมที่จะเรียกร้องผู้ใช้แรงงานให้เป็นหนึ่ง เดียวกัน ขาดขบวนการสามประสาน ไม่มีวิสัยทัศน์ กลายเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะจุด และที่สำคัญ คนงานไม่ตื่นตัวทางการเมือง มองไม่เห็นความสำคัญของการเข้าไปมีอำนาจทางการเมือง

สำหรับข้อเสนอระยะสั้น ศักดินาแนะนำว่า ต้องสร้างสายสัมพันธ์ เมื่อไม่มีพรรคของตัวเอง ก็ต้องสนับสนุนผู้ใช้แรงงานที่เข้าสู่การเมือง ส่วนข้อเสนอระยะยาว ต้องมีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน ขยายการจัดตั้ง เชื่อมขบวนการผู้ใช้แรงงานและเครือข่ายต่างๆ เข้าด้วยกัน คิดเรื่องรูปแบบความสัมพันธ์ว่าจะเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างไร

สุดท้าย ศักดินาย้ำว่า ไม่มีทางลัดหรือเส้นทางพิเศษสำหรับผู้ใช้แรงงาน มีเพียงการทำขบวนการแรงงานให้เข้มแข็ง ซึ่งต้องใช้ความอดทนและมุ่งมั่นเท่านั้น

สุนี ไชยรส นักสิทธิมนุษยชน กล่าวว่า ไม่ว่ามีการเลือกตั้งหรือไม่ การเมืองก็ต้องเดินหน้าต่อไป เพราะการเมืองเป็นเรื่องกำหนด นโยบาย แม้ไม่มีการเลือกตั้ง แรงงานต่อสู้ทางการเมือง โดยใช้พลังของแรงงานทุกรูปแบบ พร้อมยกตัวอย่างว่า ในอดีต ยุคเผด็จการแรงงานก็เคลื่อนไหวได้

สุนีเสนอว่า ยังต้องต่อสู้แบบ "สามประสาน" ด้วยคือ การต่อสู้ร่วมกันของแรงงาน ชาวนาและปัญญาชน เพราะสังคมไทยไม่ใช่อุตสาหกรรมร้อยเปอร์เซ็นต์ ยังต้องคาบเกี่ยวกับแรงงานภาคชนบท ถ้าไม่แก้ไขทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจที่เอื้อต่อทุนทั้งระบบ จะส่งผลให้ผู้ใช้แรงงานในเมืองมีอำนาจต่อรองน้อยลง รวมถึงฝากว่าในวันแรงงานที่จะถึงนี้ ขบวนการแรงงานควรจะมีข้อเสนอต่อทุกพรรคการเมืองเพื่อกำหนดนโยบายในการเลือก ตั้งที่กำลังจะมาถึงด้วย

ขณะที่ นิติรัตน์ ทรัพย์สมบูรณ์ แสดงความเห็นกรณีที่ให้เลือกตัวแทนของแรงงานด้วยกันเพื่อเข้าสู่การเมืองว่า คนเหล่านั้นจะต้องผูกโยงกับขบวนการแรงงานด้วย โดยทำพันธสัญญาต่อกัน มิเช่นนั้นจะกลายเป็นลัทธิพรรคพวกไป

(ประชาไท, 13-3-2554)

กฟน.จี้รบ.เร่งเงินเดือน 5% พร้อมขรก. 1เม.ย.

วันนี้ (14 มี.ค.) ที่ทำเนียบรัฐบาล นายประจวบ คงเป็นสุข ประธานสหภาพรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้านครหลวง(กฟน.) พร้อมคณะ 10 คน เดินทางเข้ายื่นหนังสือถึงนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นยกรัฐมนตรีผ่านทางนายวิทยา แก้วภราดัย ประธานวิปรัฐบาล  เพื่อขอให้รัฐบาลเร่งดำเนินการตามติขอคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจ สัมพันธ์(ครส.) กระทรวงแรงงานเมื่อวันที่ 21 ก.พ.54 ที่ให้ปรับขึ้นเงินเดือน 5 % .ให้กับพนักงานรัฐวิสาหกิจ 3 กลุ่ม รวมทั้งปรับโครงสร้างของเงินเดือน   เนื่องจากก่อนหน้านี้รัฐบาลประกาศขึ้นเงินเดือนให้ข้าราชการในวันที่ 1 เม.ย.นี้แล้วทำให้ค่าครองชีพปรับตัวสูงขึ้นตามไปด้วย ดังนั้นทางสหภาพฯจึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งพิจารณาและดำเนินการให้เงิน เดือนของพนักงานรัฐวิสาหกิจให้มีผลพร้อมกับข้าราชการเพื่อให้สอดคล้องกับค่า ครองชีพ

(เดลินิวส์, 14-3-2554)

ลูกจ้างกรมส่งเสริมการส่งออกโวยถูกเอาเปรียบ

ผู้สื่อข่าวรายงานจากกระทรวงพาณิชย์ ว่า คณะลูกจ้างกรมส่งเสริมการส่งออกประมาณ 200 ราย ได้ทำหนังสือถึงนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และนางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เพื่อขอให้ช่วยแก้ไขปัญหาลูกจ้างกรมส่งเสริมการส่งออกที่ได้รับความเดือด ร้อนจากการกระทำของผู้บริหารที่ได้ปรับเปลี่ยนระบบการจ้างจากลูกจ้างรับ เหมาบริการมาเป็นลูกจ้างตามระเบียบพัสดุ ทำให้ความมั่นคงในอาชีพหมดไป

เพราะไม่รู้ว่าจะถูกเลิกจ้างวันไหน เนื่องจากสัญญาจ้างทำเป็นแบบปีต่อปี จึงเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีและ รมว.พาณิชย์เข้ามาช่วยดูแล เพราะรัฐบาลดูแลแรงงานทั้งประเทศได้ แต่แรงงานของภาครัฐกลับไม่มีการดูแล ทั้งนี้ ในหนังสือระบุว่า เดิมการจ้างงานลูกจ้างจะได้รับเงินเดือนขั้นต่ำตามระเบียบ ก.พ. และปรับฐานเงินเดือนขึ้นได้ตามวุฒิการศึกษา และปรับเงินเดือนขึ้นประจำปีละ 5% มีประกันสังคม ประกันชีวิตหมู่ และมีค่าปฏิบัติงานล่วงเวลา แต่เมื่อปรับระบบการจ้างทำให้ลูกจ้างเดือดร้อนกันทั่วหน้าไม่มีสิทธิ์ได้รับ ค่าตอบแทนอื่นๆ นอกเหนือจากเงินค่าจ้าง

สำหรับลูกจ้างทั้งหมดจะ ถูกกรมส่งเสริมการส่งออกยกเลิกการเป็นลูกจ้างกับประกันสังคม และผลักภาระให้ไปจ่ายเอง สวัสดิการต่างๆ ก็ยกเลิก และยังมีแนวโน้มว่าผู้บริหารของกรมส่งเสริมการส่งออกจะทำการปรับลดเงินเดือน ให้เหลือตามวุฒิ ตามระเบียบการจ้างใหม่ ซึ่งเท่ากับว่าคนทำงานมาเป็น 10-20 ปี จะกลับมามีเงินเดือนขั้นต่ำ 7,940 บาท ทำให้ได้รับความเดือดร้อนอย่างมาก เพราะค่าครองชีพปัจจุบันนี้สูงขึ้นมาก นอกจากนี้ลูกจ้างตามระบบใหม่ยังได้รับผลกระทบจากการที่เงินเดือนออกไม่ตรง เวลา บางครั้ง 2 เดือนแล้วถึงจะออก

รวมทั้งยังมีความเสี่ยงจากการปรับ ระบบการจ้างใหม่ โดยสิ้นเดือน มี.ค.นี้จะหมดสัญญาจ้าง ซึ่งกรมส่งเสริมการส่งออกก็ยังไม่มีความชัดเจนว่าจะดำเนินการอย่างไร จะถูกจ้างต่อหรือเลิกจ้างหรือไม่ แต่ขณะเดียวกันสำหรับลูกจ้างที่ต้องการขอหนังสือรับรองการทำงานเพื่อนำไป สมัครงานหรือเรียนต่อ แต่กรมส่งเสริมการส่งออกก็ไม่ยอมออกหนังสือรับรองการทำงานให้ โดยระบุว่าหากอยากได้ก็ให้ที่ทำงานใหม่แจ้งความประสงค์ขอหนังสือรับรองแนบ ประกอบคำขอเข้ามาถึงจะทำให้ ทั้งนี้ผู้บริหารได้ให้เหตุผลว่า ที่ต้องทำแบบนี้เพราะมีการขอหนังสือรับรองจำนวนมาก การออกให้ทำให้ต้องเสียเวลามาก

(บ้านเมือง, 14-3-2554)

แรงงานไทยกลับจากลิเบียรวมกว่า 10,000 คน อีก 2,000 คน ไม่ขอกลับ

ก.แรงงาน 15 มี.ค.- นายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวถึงความคืบหน้าของการอพยพแรงงานไทยกลับจากประเทศลิเบีย ว่า  ล่าสุดจนถึงเช้าวันนี้ซึ่งเป็นวันสุดท้ายตามตารางการการอพยพคนงานกลับ มีแรงงานไทยเดินทางกลับมาถึงประเทศไทยแล้วจำนวน 10,107 คน โดยมาถึงในช่วงเช้า 47 คน ขณะที่ในช่วงบ่ายจะมีแรงงานไทยเดินทางมาอีกจำนวน 57 คน ซึ่งถือเป็นเที่ยวสุดท้ายของแรงงานไทยที่อพยพไปอยู่ที่เมืองตูนิส ประเทศตูนีเซีย  ตามตารางที่กระทรวงการต่างประเทศจัดไว้

อย่างไรก็ตาม คาดว่ายังมีแรงงานไทยบางส่วน ที่เดินทางไปทำงานกับนายจ้างด้วยตนเอง ทยอยเดินทางกลับถึงไทย  จึงยังคงเปิดศูนย์ช่วยเหลือแรงงานที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบใน ต่างประเทศที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิไว้ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับแรงงาน โดยคาดว่ายังมีแรงงานไทย ทำงานอยู่ในพื้นที่ทางภาคกลางของประเทศลิเบียที่ไม่มีสถานการณ์การสู้รบและ ไม่ประสงค์จะเดินทางกลับอีกกว่า 2,000 คน

(สำนักข่าวไทย, 15-3-2554)

ประกันสังคมช่วยลูกจ้างพีซีบีเซ็นเตอร์

รายงานข่าวจากสำนักงานประกันสังคม (สปส.) เปิดเผยว่า สำนักงานประกันสังคม ได้ดำเนินการให้ความช่วยเหลือแก่ลูกจ้างบริษัท พีซีบี เซ็นเตอร์ จำกัด จำนวน 492 คน ซึ่งถูกเลิกจ้างกะทันหันเป็นการเร่งด่วน หลังบริษัทดังกล่าวประสบเหตุเพลิงไหม้โรงงานเสียหายอย่างหนัก ทำให้พนักงานร้องขอความช่วยเหลือเงินชดเชย ค่าจ้างบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าจ้างวันหยุดพักผ่อนประจำปี ค่าจ้างค้างจ่าย กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างได้อนุมัติเงินชดเชย และเงินค่าจ้างค้างจ่ายทั้งสิ้นประมาณ 13 ล้านบาท ซึ่งลูกจ้างจะได้รับเงินงวดแรกในเดือนมีนาคมนี้ สำนักงานประกันสังคมได้อำนวยความสะดวกในเรื่องของการมารายงานตัว เพื่อรับเงินชดเชยและเงินค่าจ้างค้างจ่ายดังกล่าว พร้อมทั้งเข้ารับอบรมฝีมือแรงงานตามความต้องการของผู้ถูกเลิกจ้างจากกรม พัฒนาฝีมือแรงงาน และได้รับเบี้ยเลี้ยงวันละ 120 บาท ที่สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดชลบุรี และได้ตั้งคณะทำงานเพื่อติดตามการให้ความช่วยเหลือพนักงานเหล่านี้ ตลอดทั้งได้ทำการขายทรัพย์สินของบริษัท พีซีบี เซ็นเตอร์ จำกัด เพื่อนำมาดำเนินการให้ความช่วยเหลือพนักงานที่ถูกเลิกจ้างต่อไป

มีข้อสงสัยสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ สายด่วนประกันสังคม 1506 ติดต่อระบบโทรศัพท์ตอบรับอัตโนมัติให้บริการทุกวันตลอด 24 ชั่วโมงหรือติดต่อเจ้าหน้าที่โดยตรงให้บริการทุกวันไม่เว้นวันหยุด

(โพสต์ทูเดย์, 15-3-2554)

ขยายตลาดแรงงานไต้หวันได้อีก 3,000 อัตรารองรับแรงงานกลับจากลิเบีย

นายสุธรรม นทีทอง โฆษกกระทรวงแรงงาน เปิดเผยถึงผลการเดินทางไปเยือนไต้หวันของนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ระหว่างวันที่ 12-14 มีนาคมที่ผ่านมาว่า ได้มีการหารือกับคณะกรรมการแรงงานของไต้หวัน หรือ CLA ในการขยายตลาดแรงงานเพื่อรองรับแรงงานไทยที่เดินทางกลับจากลิเบีย และผู้ที่ต้องการเดินทางไปทำงานในต่างประเทศ โดยสามารถหาตำแหน่งงานว่างสำหรับแรงงานไทย ได้เพิ่มอีกกว่า 3,000 อัตรา ส่วนใหญ่เป็นงานก่อสร้าง และพนักงาน ควบคุมเครื่องจักรในโรงงาน ทั้งกึ่งฝีมือและฝีมือ ซึ่งผู้สนใจสามารถติดต่อขอไปทำงานได้ที่สำนักงานจัดหางานจังหวัดทุกจังหวัด

นอกจากนี้ คณะของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานยังเข้าไปช่วยดูแลปัญหาของแรงงานไทยใน ไต้หวันที่ล่าสุดมีจำนวนกว่า 65,000 คน ทั้งในส่วนของปัญหาการเรียกเก็บค่าหัวคิวสูงเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ซึ่งไม่ควรเกิน 68,000-70,000 บาท โดยยังพบว่าแรงงานไทยบางส่วนยังถูกเรียกเก็บมากกว่า 100,000 บาท ซึ่งเตรียมให้ CLA จัดหาตำแหน่งงานจากนายจ้างและแจ้งกรมการจัดหางานโดยตรง รวมถึงปัญหาอื่นๆ เช่น การเก็บเงินค่าล่าม ค่าภาษีล่วงหน้า สวัสดิการที่พัก และอาหาร ไม่เป็นไปตามสัญญา ซึ่งทาง CLA จะตกลงจะเข้าไปช่วยดำเนินการแก้ไข

นายสุธรรม กล่าวอีกว่า กระทรวงแรงงาน ยังมีแนวคิดที่จะช่วยเหลือแรงงานไทยที่ถูกกักกันในไต้หวันเพื่อรอการส่งกลับ ซึ่งมีอยู่ประมาณ 80 คนโดยช่วยเหลือในการสู้คดี ให้ได้รับการปล่อยตัวโดยเร็ว เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 84 พรรษาด้วย

(สำนักข่าวไทย, 15-3-2554)

เร่งให้ความช่วยเหลือแรงงานไทยในเมืองเซนได

นางจิราภรณ์ เกษรสุจริต รองปลัดกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า นายกมล สวัสดิ์ชูแก้ว อัครราชทูตที่ปรึกษา (ฝ่ายแรงงาน) สำนักงานแรงงานไทยในประเทศญี่ปุ่น (สนร.ญี่ปุ่น) รายงานสถานการณ์แผ่นดินไหวที่ประเทศญี่ปุ่น ว่า สนร.ญี่ปุ่น โดย นางเมทิกา สัตตานุสรณ์ ที่ปรึกษา (ฝ่ายแรงงาน) ได้ร่วมกับสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว (สอท. ณ กรุงโตเกียว) เดินทางไปยังเมืองเซนได จังหวัดมิยากิ เพื่อให้การช่วยเหลือแก่คนไทยและคนงานไทยอาศัยอยู่ที่ในจังหวัดมิยากิ ที่อยู่ใกล้ศูนย์กลางแผ่นดินไหว โดยมีร้านอาหารไทยล้านนา ที่เมืองเซนได เป็นศูนย์กลางติดต่อกัน และให้การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน จากการเยี่ยมคนไทย พบว่า ที่เมืองเซนได มีพ่อครัวไทย 3 คน ซึ่งอาศัยอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่นมานานแล้ว และมีนักเรียนไทยประมาณ 30-40 คน และได้พบคนงานไทยที่นายจ้างจากประเทศไทยพาไปทำงานด้วยตนเอง 2 คน คือ นายวิษณุ เทียบถึง และ นายพิทักษ์ บุญกลาง ซึ่งทาง สอท.ณ กรุงโตเกียว ได้จัดเตรียมส่งรถไปรับคนไทยทั้งหมดกลับมายังกรุงโตเกียว ในวันที่ 15 มี.ค.2554 ณ ขณะนี้ยังไม่มีรายงานคนไทยได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากเหตุการณ์ที่เกิด ขึ้น
      
จากการตรวจสอบเพิ่มเติมกับกรมการจัดหางาน ทราบว่า ในเมืองมิยากิ ยังมีนายจ้างชื่อบริษัท Auto Cs Engineering ตั้งอยู่ที่จังหวัดชลบุรี พาลูกจ้างไปทำงานด้วยตนเองอีก 2 คนชื่อ นายสนอง บุญครอง และ นายคะนึง ทัศนเศรษฐ์ ซึ่งจากการสอบถามนายจ้างทราบว่าหลังเกิดแผ่นดินไหวได้รับแจ้งจากโรงงานที่มิ ยากิว่าทุกคนปลอดภัยดี แต่หลังจากนั้นไม่สามารถติดต่อกันได้ ซึ่งทาง สนร.ญี่ปุ่น จะทำการตรวจสอบเพื่อให้ความช่วยเหลือต่อไป สำหรับแรงงานไทย/คนไทยที่พำนักอยู่ในประเทศญี่ปุ่น หากต้องการติดต่อขอความช่วยเหลือ หรือแจ้งข่าว ติดต่อ ศูนย์ให้การช่วยเหลือและบริการสอบถามข้อมูล ณ สถานเอกอัครราชทูต ตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่ง สอท.ณ กรุงโตเกียว ร่วมกับ สนร.ญี่ปุ่น และสำนักงานอื่นๆ ร่วมดำเนินการโดยติดต่อได้ที่ฝ่ายกงสุล โทร.090-4435-7812 หรือ ที่ สนร.ญี่ปุ่น 03-6272-5021-2
      
นอกจากนี้ นางจิราภรณ์ เผยถึงข้อมูลด้านการอพยพแรงงานไทยจากประเทศลิเบียไปยังสถานที่ปลอดภัยในต่าง ประเทศล่าสุด ณ วันที่ 13 มีนาคม 2554 ของศูนย์ประสานงานช่วยเหลือคนไทยในลิเบีย กระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงแรงงาน มีจำนวนแรงงานถึงประเทศไทยแล้ว 9,730 คน อยู่ในที่ปลอดภัยในต่างประเทศ 2,154 คน รวมทั้งสิ้น 11,884 คน และในวันที่ 14-15 มี.ค.2554 มีประมาณการคนไทยจะกลับมายังประเทศไทยจำนวน 548 คน ญาติพี่น้องแรงงานไทยทั้งกรณีลิเบียและสถานการณ์แผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่น ติดต่อสอบถามได้ที่สายด่วนแรงงาน 1694 กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน พร้อมช่วยเหลือแรงงานไทย

(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 15-3-2554)

องค์การลูกจ้างร้องปลัดแรงงานหาทางออกสิทธิรักษาพยาบาลผู้ประกันตน

องค์การแรงงานแห่งประเทศไทย ประกอบด้วย 7 สภาองค์การลูกจ้าง และสหพันธ์แรงงงานรัฐวิสาหกิจ เข้ายื่นหนังสือกับ นายสมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการประกันสังคม ให้มีการเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องหารือในกรณีที่มีการรณรงค์ให้ผู้ประกันตนหยุด ส่งเงินสมทบในส่วนของค่ารักษาพยาบาล สร้างความสับสนกับผู้ประกันตน

นายมนัส โกศล ประธานสภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ข่าวที่เกิดขึ้นสร้างความสับสนให้กับผู้ประกันคนเกรงว่าจะส่งผลเสียกับกอง ทุนประกันสังคม หากมีการหยุดส่งเงินสมทบจริง ซึ่งที่ผ่านมาได้รับการสอบถามจากผู้ประกันตนซึ่งเป็นสมาชิกขององค์การ ลูกจ้างจำนวนมาก และเห็นว่าเรื่องนี้สำนักงานประกันสังคม (สปส.) ต้องเร่งหาทางออก โดยเสนอให้ปลัดกระทรวง ทำหนังสือเชิญผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น ชมรมพิทักษ์สิทธิผู้ประกันตน สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค สภาองค์การนายจ้างลูกจ้าง และคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ร่วมประชุมหาทางออกกับกรณีที่เกิดขึ้น

นายมนัส กล่าวว่า สภาองค์การลูกจ้างฯ ได้เสนอทางออกให้ สปส.สร้างโรงพยาบาลต้นแบบในนิคมอุตสาหกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาการรักษาพยาบาล ซึ่งที่ผ่านมาผู้ประกันตนเข้าไม่ถึงในกรณีที่เป็นโรคร้ายแรง หรือประสบอุบัติเหตุ เพราะสิทธิรักษาพยาบาลด้อยสิทธิกว่า สปสช.หรือแนวคิดหาทางลดเงินสมทบ หากผู้ประกันตนไม่ได้ใช้สิทธิรักษากับ สปสช.

ด้านนายสมเกียรติ กล่าวเห็นด้วยกับแนวคิดดังกล่าว เตรียมเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องหารือร่วมกันต่อไป ส่วนการที่มีองค์กรรณรงค์หยุดส่งเงินสมทบนั้น ในแง่กฎหมายหากไม่มีการเปลี่ยนแปลง เมื่อหยุดส่งเงินสมทบจะมีความผิดตามกฎหมาย จึงขอฝากถึงกลุ่มนี้ด้วยว่าให้มองในระยะยาว หากให้รัฐอุดหนุนทั้งหมดจะเป็นการสร้างภาระแก่รัฐในอนาคต เพราะเงินที่มาอุดหนุนเป็นเงินภาษีทุกคน ไม่ส่งผลดีและไม่เป็นประโยชน์ต่อประเทศ

(สำนักข่าวไทย, 16-3-2554)

แรงงานลิเบียชาวลำปางโวยไม่ได้รับเงินช่วย

นางสาวรัตนา อุทัยรัตน์ จัดหางานจังหวัดลำปาง เปิดเผยว่าช่วงเช้าที่ผ่านมา บรรยากาศที่ สำนักงานจัดหางาน เป็นไปอย่างคึกคัก โดยในวันนี้ตลอดทั้งวัน มีแรงงานชาวไทย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวอำเภอเถิน และอำเภอสบปราบ ที่ไปทำงานที่ประเทศลิเบีย ทยอยเดินทางกลับมาที่จังหวัดลำปาง แล้วเดินทางมาเพื่อขอรับเงินสงเคราะห์ หลังได้รับผลกระทบจากการเดินทางไปทำงานต่างประเทศ ซึ่งยอดรวมแรงงานเดินทางเข้ามาติดต่อขอรับเงินรวมแล้ว กว่า 363 รายแล้ว

ขณะเดียวกัน เจ้าหน้าที่ ต้องทำงานกันอย่างหนัก เนื่องจากต้องตรวจเอกสารอย่างละเอียด พร้อมแนะนำให้ประชาชนที่เดินทางกลับ ต้องบันทึกคำร้องด้วยตัวเอง

อย่างไรก็ตาม แรงงานกว่า 363 ราย ทั้งหมด ที่มายื่นเรื่องขอรับเงินสงเคราะห์นั้น ยังไม่ได้รับเงินช่วยเหลือ แม้แต่รายเดียว เพราะทาง กรมการจัดหางาน ได้แจกจ่ายเงินตามจังหวัดที่มีแรงงานจำนวนน้อย ให้รับเงินไปก่อน ส่วนจังหวัดที่มีแรงงานเป็นจำนวนมากจะได้เงินภายหลัง

(ไอเอ็นเอ็น, 16-3-2554)

ลำพูนหวั่นสึนามิถล่มญี่ปุ่นกระทบจ้างงานไทย

นายสันติสุข วีรพันธ์ รองประธานหอการค้าจังหวัดลำพูน เปิดเผยว่าช่วงบ่ายวันนี้ จะเรียกคณะกรรมการร่วมภาครัฐ และเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ หรือ กรอ.จังหวัดลำพูน เพื่อติดตามสถานการณ์เหตุภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่น ว่า จะส่งผลต่อภาวะการลงทุนของนักลงทุนญี่ปุ่นในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนืออย่างไร

สำหรับประเด็นการหารือเร่งด่วนคือ การหาทางช่วยเหลือผู้ประสบภัยชาวญี่ปุ่น ผ่านทางนักลงทุนญี่ปุ่นในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ และขอรับทราบข้อมูลรายงานผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับการลงทุนในนิคมอุตสาหกรรม เพื่อเตรียมรับมือกับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น

ทั้งนี้ หากเหตุการณ์ในญี่ปุ่นกระทบต่อการจ้างแรงงานในโรงงานของนักลงทุนญี่ปุ่น เชื่อว่ายังสามารถรับมือได้ เนื่องจากมีประสบการณ์ในช่วงเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในอเมริกา และลุกลามไปทั่วยุโรป แต่โรงงานในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือยังมีการเลิกจ้างแรงงานน้อยกว่า เมื่อเทียบกับโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่อื่น.

(โพสต์ทูเดย์, 16-3-2554)

ลูกจ้าง บ.อาหารกระป๋องที่กระบี่ ก่อหวอดสไตรค์หลังไม่ได้ค่าแรง

เมื่อเวลา 09.30 น.วันที่ 16 มี.ค.  พนักงานบริษัทกูร์เมซเซ่ เวิลด์ จำกัด ตั้งอยู่เลขที่ 165 ม.8 ต.ปกาสัย อ.เหนือคลอง จ.กระบี่ ประมาณ 200 คน นำโดยนายวีรดล คงนคร อายุ 38 ปี ผู้จัดการฝ่ายคลังสินค้าของบริษัท นายประเสริฐ คงขำ หัวหน้าฝ่ายคลังสินค้า ได้มารวมตัวกันที่บริเวณประตูทางเข้าโรงงาน พร้อมถือป้าย ข้อความโจมตีเจ้าของโรงงาน และทวงเงินค่าแรง หลังไม่ได้รับค่าแรง มานานกว่า 1 เดือนเศษ พร้อมถือป้ายกระดาษข้อความประท้วงต่างๆ การประท้วงผ่านไปนาน 1 ชั่วโมง ยังไม่มีตัวแทนของทางบริษัท ดังกล่าวออกมาเจรจาพูดคุยกับกลุ่มผู้ประท้วงแต่อย่างใด

นายวีรดล คงนคร ผู้จัดการฝ่ายคลังสินค้า บริษัทกูร์เมซเซ่ เวิลด์ จำกัด กล่าวว่า บริษัทดังกล่าว เปิดเป็นโรงงานแปรรูอาหารทะเลส่งออก ประเทศญี่ปุ่น เปิดทำการมานานเกือบ 4 ปีแล้ว โดยมีเจ้าของและหุ้นส่วนใหญ่เป็นชาวญี่ปุ่น การที่พนักงานพากันหยุดงานและออกมาประท้วงในวันนี้ สืบเนื่องจาก ทางบริษัท ไม่ได้จ่ายค่าจ้างพนักงาน มาเป็นเวลานานกว่า 1 เดือนเศษแล้ว โดยตลอดระยะเวลา 8 เดือนที่ผ่านมา ทางบริษัทเลื่อนการจ่ายค่าแรงพนักงานงานมาโดยตลอดจากปกติกำหนดจ่ายทุกวันที่ 1 ของเดือน แต่ระยะหลังเลื่อนเวลาจากเดิมออกไปเป็น 10 วัน บ้าง 15 วันบ้าง ทำให้พนักงานเดือดร้อน เพราะต้องกินต้องใช้

ผจก.ฝ่ายคลังสินค้า บริษัทกูร์เมซเซ่ฯ กล่าวต่อว่า ล่าสุดนัดจ่ายเงินในวันที่ 10 มี.ค.2554 ที่ผ่านมา แต่พอถึงเวลาก็ขอเลื่อนออกไปอีก 15 วัน และขอให้พนักงานทำงานต่อจนถึงสิ้นเดือน โดยทางเจ้าของบริษัทอ้างว่า ตั้งแต่เปิดบริษัทมาขาดทุนมากว่า 500 ล้านบาทแล้ว ซึ่งตนเห็นว่าไม่มีความชัดเจน ตนและพนักงานคนอื่นๆ ไม่สามารถรอได้อีกต่อไป จึงได้นัดหยุดงานและมาประท้วงในวันนี้ หลังมีการประท้วงผ่านไป นานกว่า 1 ชั่วโมง ทางบริษัทยังไม่มีการส่งตัวแทนออกมาเจรจาแต่อย่างใด

นายวีรดล กล่าวอีกว่า ขณะนี้ ได้ประสานไปยังแรงงานสัมพันธ์ กทม.เข้ามาช่วยเจรจาอีกทางหนึ่ง หากไม่สำเร็จ ทางบริษัทยังไม่มีคำตอบให้ในวันนี้ ทางพนักงานอาจจะเดินทางไปแจ้งความที่สถานีตำรวจภูธรเหนือคลอง เพื่อดำเนินการกับบริษัทดังกล่าวตามกฎหมาย ส่วนจะมีการชุมนุมยืดเยื้อหรือไม่นั้นต้องรอหารือจากแรงงานสัมพันธ์อีกครั้ง โดยจะเดินทางมาในช่วงเที่ยงวันนี้

รายงานข่าวแจ้งว่า ต่อมาเวลา 11.00 น.วันเดียวกัน ทางสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดกระบี่ ได้เดินทางไปยังบริษัทดังกล่าว และนำตัวแทนพนักงานบริษัทขึ้นหารือกับทางผู้บริหารของโรงงาน โดย ขณะนี้ ยังไม่ได้ข้อสรุปว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป

(ไทยรัฐ, 17-3-2554)

ผู้ตรวจการแผ่นดินชี้ พ.ร.บ.ประกันสังคมขัดรัฐธรรมนูญ

นายปราโมทย์ โชติมงคล ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน เปิดเผยภายหลังการเชิญผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการรักษาพยาบาลผู้ ประกันตน อาทิ สำนักงานประกันสังคม (สปส.) สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สภาองค์การนายจ้าง และชมรมพิทักษ์สิทธิผู้ประกันตน มาชี้แจงข้อเท็จจริง กรณีที่มีการร้องเรียนว่าการจัดเก็บเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมเพื่อนำไป เป็นค่ารักษาพยาบาล ขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ว่า ผลการหารือได้ข้อสรุปว่า กฎหมายประกันสังคมในส่วนของการเก็บเงินสมทบจากผู้ประกันตนไปเป็นค่าดูแล สุขภาพ เป็นกฎหมายที่ไม่เป็นธรรม เลือกปฏิบัติ และขัดต่อเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญมาตรา 30 ที่ระบุถึงการได้รับความเสมอภาคทางด้านสุขภาพของบุคคล เพราะในขณะที่ สปส.เก็บเงินส่วนหนึ่งของผู้ประกันตนไปเป็นค่ารักษาพยาบาล แต่ สปสช.ดูแลสุขภาพคนทั้งประเทศในมาตรฐานเดียวกันโดยไม่ต้องจ่าย

ส่วนคำถามที่ว่าจะเป็นการสร้างภาระงบ ประมาณให้กับประเทศในอนาคตเพราะรัฐต้องจ่ายเงินค่าดูแลสุขภาพให้ผู้ประกันตน เกือบ 10 ล้านคนหรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่ง เพราะรัฐธรรมนูญระบุไว้อย่างชัดเจน ซึ่งหากในอนาคตประสบปัญหาเกี่ยวกับภาระงบประมาณ ก็อาจจะต้องมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญต่อไป

นายปราโมทย์ กล่าวอีกว่า หลังจากนี้จะเร่งทำหนังสือแสดงผลการวินิจฉัยถึงนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานในฐานะผู้รับผิดชอบโดยเร็วที่สุด เพื่อให้มีการพิจารณาแก้ไขกฎหมายประกันสังคม เนื่องจากขณะนี้กำลังมีการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคมฉบับแก้ไขอยู่ในสภา อย่างไรก็ตาม หากผู้เกี่ยวข้องยังเพิกเฉยก็จะพิจารณาส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อ พิจารณาวินิจฉัยให้มีสภาพบังคับต่อไป

ด้านนายประสิทธิ์ จงอัศญากุล ประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ค้าและบริการเครื่องอุปโภคบริโภค ในฐานะผู้ยื่นคำร้องกล่าวว่า คำวินิจฉัยของผู้ตรวจการแผ่นดินชัดเจนว่ากฎหมายประกันสังคมขัดกับรัฐธรรมนูญ เพราะผู้ประกันตนเป็นคนกลุ่มเดียวที่ต้องจ่ายเงินค่ารักษา อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่หารือกันไม่เกี่ยวกับว่าจะให้หน่วยงานใดเป็นผู้ดูแลการรักษา พยาบาลผู้ประกันตน เพราะเป็นเรื่องของการบริหารจัดการของรัฐ ตนในฐานะที่เป็นคณะกรรมการประกันสังคม เพียงอยากเห็นความเป็นธรรมของผู้ประกันตนเท่านั้น พร้อมเสนอให้นำเงินในส่วนของค่ารักษาพยาบาลที่ไม่ต้องจ่ายไปเพิ่มสิทธิ ประโยชน์ด้านอื่น เช่น เงินบำนาญชราภาพให้ผู้ประกันตนแทน

(สำนักข่าวไทย, 17-3-2554)

"แรงงาน" ตื่นสั่งห้ามส่งคนงานไปญี่ปุ่นชั่วคราว

วันนี้ (17 มี.ค.) ที่กระทรวงแรงงาน นายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ อธิบดีกรมการจัดหางาน (กกจ.) กล่าวว่า ขณะนี้ทาง กกจ.ได้มีคำสั่งให้หยุดการจัดส่งแรงงานไปทำงานสถานประกอบการขนาดกลางและขนาด เล็ก ประเทศญี่ปุ่น หรือ ไอเอ็มเอ็ม เป็นการชั่วคราว สืบเนื่องจากเหตุภัยพิบัติที่ญี่ปุ่นประสบอยู่ โดยให้รอดูสถานการณ์ให้ผ่านเดือน เม.ย.ไปก่อน และวันที่ 23 มี.ค.นี้ ประธานไอเอ็มเอ็มญี่ปุ่น จะเดินทางมาเยือนไทย ซึ่งทางการไทยก็จะได้ขอรายงานเรื่องคนไทยในญี่ปุ่นว่ามีความเป็นอยู่อย่างไร และมีความประสงค์ที่จะเดินทางกลับประเทศไทยหรือไม่

นายจีรศักดิ์ กล่าวต่อว่า การจะนำกลับแรงงานไทยที่ทำงานอยู่ในประเทศญี่ปุ่นมี 2 แนวทาง คือ อายุการทำงานที่ทำไปแล้วไม่ถึงครึ่งหรือทำไปแล้วครึ่งหนึ่งของสัญญา และแรงงานที่ทำงานไป 80% ของสัญญาให้เดินทางกลับมาประเทศไทยก่อนจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย และจะได้รับเงินตามสัดส่วนเวลาที่เหลือของสัญญา ในขณะนี้มีคนไทยบางส่วนติดต่อขอกลับประเทศไทยมีทั้งผู้ที่เดินทางไปเอง นักศึกษา แรงงาน ซึ่งทางการไทยได้ส่งเครื่อง ซี 130 ไปรับวันนี้ (17 มี.ค.) คาดว่าจะออกเดินทางในเวลา 22.00 น. โดยจะนำคนไทยที่ไม่มีเงินจ่ายค่าตั๋วเครื่องบินกลับมาพร้อมกลับเครื่อง ซี 130 ด้วย ทั้งนี้ทราบว่ามีแรงงานไทย 7 คนที่ไปทำงานเป็นพ่อครัวร้องขอกลับแล้ว

นายจีรศักดิ์ ยังกล่าวถึงแรงงานไทยที่กลับจากประเทศลิเบียว่า กระทรวงแรงงานจะดำเนินการปิดศูนย์ช่วยเหลือที่สนามบินสุวรรณภูมิในวันที่ 18 มี.ค. ทั้งนี้ได้มีการอนุมัติจ่ายเงินช่วยเหลือแรงงานไทยที่เดินทางกลับจากประเทศ ลิเบีย 15,000 บาทไปแล้ว 1,710 คน เป็นเงิน 25 ล้านบาท และที่อยู่ระหว่างการตรวจสอบหลักฐานอีก 5,369 คน สำหรับเงินค่าเดินทางกลับภูมิลำเนา 1,500 บาท อนุมัติจ่ายไปแล้ว 6,427 คน เป็นเงิน 9,640,500 บาท ส่วนกรณีความไม่สงบทางการเมืองในประเทศแถบตะวันออกกลาง นายจีรศักดิ์ กล่าวว่า ขณะนี้มีประเทศที่ต้องเฝ้าระวัง เช่น อิหร่าน บาห์เรน เยเมน ซาอุดิอาระเบีย โดยเฉพาะประเทศบาห์เรนสถานการณ์น่าเป็นห่วงเพราะมีแรงงานไทยทำงานอยู่เป็น จำนวนมากประมาณ 3,000 กว่าคน ซึ่งทางการไทยจะติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง.

 (เดลินิวส์, 17-3-2554)

เฉลิมชัยเตรียมหาช่องแก้ กม.ให้ผู้ประกันตนเลือกระบบรักษาพยาบาล

วันนี้ (18 มี.ค.) นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่ นายปราโมทย์ โชติมงคล ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน เสนอให้พิจารณาแก้ไขกฎหมายประกันสังคม ในส่วนของการเก็บเงินสมทบไปเป็นค่ารักษาพยาบาล ซึ่งถือเป็นกฎหมายที่ไม่เป็นธรรมกับผู้ประกันตน และขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 30 ว่า ทางกระทรวงแรงงานมีแนวคิดที่จะแก้ไขปัญหาความไม่เป็นธรรมที่เกิดขึ้นอยู่ แล้ว โดยก่อนหน้านี้ ประมาณ 2 สัปดาห์ได้มอบหมายให้ นายปั้น วรรณพินิจ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) หารือกับคณะกรรมการกฤษฎีกา ในการหาช่องทางแก้กฎหมาย หรือ อาจออกเป็นพระราชกฤษฎีกา โดยเสนอแนวคิดให้ผู้ประกันตนสามารถเลือกรักษาในระบบใดก็ได้
      
นายเฉลิมชัย กล่าวว่า การที่จะให้เสนอแก้ไขกฎหมาย ในฐานะที่ตนเป็นประธานคณะกรรมการวิสามัญแก้ไขกฎหมายประกันสังคมอยู่ในขณะนี้ ไม่สามารถทำได้ เพราะถือว่าเป็นกฎหมายที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติในอีกหลักการ ทั้งนี้ ข้อเสนอของประธานผู้ตรวจการแผ่นดินเป็นเพียงความคิดเห็น ส่วนกฎหมายประกันสังคมนั้นจะขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ศาลรัฐธรรมนูญจะเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด
      
ด้านนายสมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการประกันสังคม(บอร์ด) กล่าวว่า หากได้รับหนังสือจากประธานผู้ตรวจการแผ่นดินก็จะมอบให้ฝ่ายกฎหมายดำเนินการ ตามลำดับชั้น อย่างไรก็ตาม กฎหมายประกันสังคมได้มีการพิจารณากันเสร็จสิ้นตั้งแต่ปี 2533 ซึ่งก่อนหน้านั้น ก็พูดถึงกันมา 30-40 ปี และผ่านความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฏรโดยที่ไม่มีใครคัดค้านเลย เพราะถือว่าเป็นระบบสากลที่มุ่งเน้นให้ดูแลตัวเองและรับผิดชอบต่อสังคม
      
เรายึดแนวทางนี้มาโดยตลอด ตอนหลังเมื่อมีรัฐธรรมนูญ ซึ่งในมาตรา 51 ระบุในทำนองว่าผู้ยากไร้ต้องได้รับบริหารด้านสาธารณสุข โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่เอาเข้าจริงๆ ระบบของ สปสช.ก็เอาคนเข้ามาทั้งหมด ไม่ใช่แค่ผู้ยากไร้ การที่บอกว่าระบบประกันสังคมทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมอาจเป็นช่องทางให้นาย จ้างไม่ต้องรับผิดชอบจ่ายค่าประกันตนให้ลูกจ้างด้วยซ้ำนายสมเกียรติ กล่าว
      
ผู้สื่อข่าวถามถึงข้อเสนอของฝ่ายลูกจ้างที่ให้สร้างความเท่าเทียม กัน โดยรัฐจ่ายเงินสนับสนุนให้ผู้ประกันตนเท่ากับผู้รับบริการของ สปสช.นายสมเกียรติ กล่าวว่า ถ้าเป็นไปได้ก็ดี เพราะจะได้นำเงินในส่วนที่นายจ้างและลูกจ้างจ่ายไปใช้ต่อยอดในด้านอื่นๆ แต่ตนไม่แน่ใจว่ารัฐบาลจะมีงบประมาณมากพอที่จะทำเช่นนั้นหรือไม่
      
นายชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย กล่าวว่ารัฐบาลไม่ควรปล่อยให้ศาลรัฐธรรมนูญมีการตัดสิน เพราะเป็นปัญหาที่เหลื่อมล้ำมานานมาก ควรที่จะพิจารณาแก้ไขโดยทันที โดยรัฐบาลต้องนำเงินมาสมทบให้ผู้ประกันตนในส่วนของการรักษาพยาบาลเพื่อให้มี สิทธิเท่าเทียมกัน เหตุใดผู้ประกันตนต้องจ่ายเพิ่มในส่วนของการรักษาพยาบาล ในขณะที่คน 47 ล้านคนของ สปสช.ไม่ต้องจ่ายค่ารักษาในส่วนดังกล่าว ทั้งที่อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญเดียวกัน

(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 18-3-2554)

ปลัด ก.แรงงาน พร้อมส่งเรื่องให้ฝ่ายกฎหมาย ก.แรงงาน พิจารณาหากมีการตีความว่ากฎหมายประกันสังคมขัดรัฐธรรมนูญจริง

นายสมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวถึงกรณีที่ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน เสนอให้กระทรวงแรงงานพิจารณาแก้ไขกฎหมายประกันสังคม ในส่วนของการเก็บเงินสมทบเป็นค่ารักษาพยาบาลเพราะถือว่าเป็นการเลือกปฏิบัติ กับผู้ประกันตน และอาจขัดต่อรัฐธรรมนูญ ว่า ยังไม่ได้รับหนังสือการพิจารณาจากประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน แต่หากได้รับหนังสือก็จะส่งเรื่องให้ฝ่ายที่ปรึกษากฎหมายของกระทรวงแรงงาน พิจารณา ซึ่งหากได้ข้อยุติว่า พ.ร.บ.ประกันสังคม มีข้อบกพร่องก็พร้อมพิจารณาแก้ไข และหากศาลรัฐธรรมนูญมีหนังสือเชิญเข้าชี้แจงก็พร้อมเข้าชี้แจง แต่ในเบื้องต้นมีขั้นตอนการพิจารณาแก้ไขกฎหมายอยู่แล้ว ขณะเดียวกันการใช้กฎหมายประกันสังคมมีตั้งแต่ปี 2533 ซึ่งผ่านความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎร โดยไม่มีข้อโต้แย้ง ขณะที่กฎหมายรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 51 ได้กำหนดเรื่องการรักษาพยาบาล ว่า ผู้ยากไร้มีสิทธิ์รักษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย จึงไม่แน่ใจว่ากฎหมายของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ สปสช.ในการรักษาพยาบาลให้กับประชาชนทุกกลุ่มตรงกับกฎหมายรัฐธรรมนูญหรือไม่ ส่วนการที่ระบุว่าระบบประกันสังคมทำให้เกิดความไม่เท่าเทียม อาจเป็นช่องทางให้นายจ้างไม่ต้องจ่ายเงินสมทบให้กับลูกจ้างด้วย

ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวอีกว่า หากมีความเป็นไปได้ที่รัฐบาลสนับสนุนงบประมาณในส่วนของการรักษาพยาบาลให้กับ ผู้ประกันตนเท่ากับจ่ายให้ สปสช.ได้จริง ก็เป็นเรื่องที่ดี สปส.จะได้นำเงินในส่วนที่ผู้ประกันตนและนายจ้างจ่ายในส่วนรักษาพยาบาลไป ต่อยอดด้านอื่นๆ ให้มีสิทธิประโยชน์เพิ่มขึ้นและดีกว่าระบบ สปสช. ทั้งนี้ยังไม่แน่ใจว่ารัฐบาลจะมีงบประมาณมาอุดหนุนในส่วนนี้หรือไม่

(สำนักข่าวแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์, 18-3-2554)

จี้อาชีวะปรับปรุงภาษาก่อนโดนแย่งงาน

นายพันธุ์ศักดิ์ โรจนากาศ รองเลขา ธิการคณะกรรมการอาชีวศึกษา (สอศ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ สอศ.ได้ร่วมมือกับสำนัก งานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เพื่อต้องการแลกเปลี่ยนกระบวนการการเรียนรู้พัฒนาคุณภาพของงานวิจัย อาชีวศึกษา ซึ่งจะเป็นกลยุทธ์ในการพัฒนาการจัดการอาชีวศึกษาให้เข้มแข็ง นำไปสู่การต่อยอด นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ที่เกิดจากการคิดค้นของนักเรียนและครู ทั้งนี้ สิ่ง ประดิษฐ์ที่ผ่านมาของเด็กนักเรียนอาชีว ศึกษาเป็นสิ่งประดิษฐ์เชิงทดลองที่ผลิตได้แค่ชิ้นแรก แต่ผลิตชิ้นต่อไปไม่ได้ ดังนั้นจึงต้องมีความร่วมมือระหว่างผู้ผลิตและผู้วิจัย ซึ่งที่ผ่านมาทาง สอศ.เคยร่วมมือกับ สกว.มาแล้วผ่านโครงการ อาทิ การสร้างครูนักจัดกระบวนการเรียนรู้ และโครงการสร้างและพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ เป็นต้น

"ตอนนี้ต้องคิดว่าจะทำอย่างไรให้นัก เรียนอาชีวศึกษาสื่อสารภาษาอังกฤษได้อย่างรวดเร็ว เพราะแรงงานต่างประเทศพูดภาษาอังกฤษได้กันเกือบหมดแล้ว ต่อไปถ้ามีการทำหลักสูตรก็ต้องเปลี่ยนวิธีการ และถ้ามีงบก็ต้องทำการวิจัยเพื่อออกแบบหลักสูตรเพื่อพัฒนานักเรียน อาชีวศึกษาต่อไป"

ด้านนายวีรวัฒน์ วรรณศิริ นายกสมาคมโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ขณะนี้โรงเรียนอาชีวศึกษาภาคเอกชนได้วางแผนรองรับกับการที่จะมีประชาคม เศรษฐกิจอาเซียนไว้แล้ว โดยร่วมมือกับกรมพัฒนาฝีมือแรงงานเพื่อพัฒนาภาษาของแรงงานอาชีวศึกษา อาทิ ภาษาอังกฤษ ภาษาญี่ปุ่น และภาษาจีน ผ่านชุดการสอนต่างประเทศ และกิจกรรมที่สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน ซึ่งจะเริ่มปฏิบัติได้ในปีการศึกษา 2554 ที่จะถึง โดยจะเน้นนักเรียน ปวช. และ ปวส.ชั้นปีที่ 1 คาดว่าเมื่อนักเรียนเรียนจบตามหลักสูตรก็สามารถออกไปทำได้เลย

"ที่ผ่านมาเรียนตามโครงสร้างมากเกิน ไปทำให้เด็กเรารู้แต่พูดไม่ได้ ทำให้เด็กมองว่าถ้าเราไม่มีการพัฒนาด้านภาษาก็จะเสียเปรียบในเวทีอาเซียนได้ เพราะแรงงานจากต่างประเทศมีความสามารถด้านภาษามากกว่า ทั้งๆ ที่ฝีมือแรงงานของเราฝีมือและความสามารถดีกว่า อย่างไรก็ดี ขณะนี้มีแผนจะตั้งองค์กรขึ้นมาเพื่อพัฒนา ซึ่งเป็นองค์กรมหาชน ทำหน้าที่เพิ่มความสามารถให้วิชาชีพทั้งฝีมือและภาษาให้แรงงาน เบื้องต้นอยู่ในขั้นตอนการรับรองของการกฤษฎีกา และวางโครงสร้างและบุคลากรอยู่" นายวีรวัฒน์กล่าว

(ไทยโพสต์, 19-3-2554)

ส.อ.ท.หนุนลดภาษีนิติบุคคลแลกขึ้นค่าแรง

นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ผู้ประกอบการรับได้กับแนวคิดของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ที่จะลดการจัดเก็บภาษีนิติบุคคล เพื่อแลกกับการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ โดยหากมีการปรับลดภาษีที่อยู่ในระดับใกล้เคียงกับประเทศเพื่อนบ้าน ที่ร้อยละ 18-20 ก็จะทำให้เกิดความสมดุลระหว่างการปรับขึ้นค่าแรง โดยการปรับขึ้นค่าแรงนั้น ควรมีการพิจารณาผ่านกลไกของไตรภาคี อีกทั้งเห็นด้วยที่รัฐบาลจะมีการปรับองค์กฎหมาย เพื่อดูแลแรงงานต่างด้าวให้เกิดความถูกต้อง นอกจากนี้ เห็นด้วยที่รัฐบาลจะมีการยกเลิกการควบคุมราคาสินค้าเพื่อให้เกิดการแข่งขัน ทางด้านกลไกตลาดที่ถูกต้อง

(ไอเอ็นเอ็น, 19-3-2554)

นายกฯ หว่านเอกชนลดภาษีเงินได้แลกกับขึ้นค่าแรง หวังสานนโยบายที่จะขึ้น 25% ใน 2 ปี

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานกล่าวปากฐถาพิเศษในการร่วมประชุมสภาอุตสาหกรรม 5 ภาค หัวข้อ "ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรมระหว่างภาครัฐและเอกชน" ณ โรงแรมเฟลิกซ์ ริเวอร์แคว รีสอร์ท อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี

โดยตอนหนึ่งนายกฯ กล่าวย้ำนโยบายขึ้นค่าแรง 25% ภายในสองปี ขณะที่พรรคเพื่อไทยจะขึ้นค่าแรงเป็น 300 บาทว่า ตนขออธิบายแนวคิดของตนและไม่ขออธิบายให้เพื่อไทย ทั้งนี้เหตุผลที่ต้องการทำเรื่องค่าแรงถ้าดูสัดส่วนของค่าจ้างต่อร่ายได้ของ ประเทศ ถือว่าประเทศไทยยังมีสัดส่วนค่าจ้างค่อนข้างต่ำทำให้เรื่องโครงสร้างความ เป็นธรมมีช่องว่างตรงนี้ ซึ่งของไทยเกือบแย่ที่สุดในหลายๆภูมิภาค

นายกฯ กล่าวอีกว่า มีคนบอกว่าค่าจ้างจะสูงได้คุณภาพแรงงานต้องดีก่อน แต่ในวันที่ประชุมหน่วยงานด้านการศึกษาพบว่าขณะนี้การผลิตงานกับการสร้างคน ไม่ตรงกัน ซึ่งเรื่องอัตราค่าจ้างมันก็เป็นเหมือนไก่กับไข่ แต่ตนคิดว่าต้องปรับตรงนี้

นายกฯ กล่าวอีกว่า อีกปัญหาที่คนวิจารณ์มากคือเรื่องของแพง เวลาเราพูดเรื่องของแพงแล้วเราต้องควบคุมผู้ประกอบการตลอดเวลาซึ่งผู้ประกอบ การก็ไม่สามารถทำได้ ถ้าเรามาเจรจากันตลอดว่าตลาดเท่านั้นเราต้องควบคุมเท่านั้นก็ทำให้กลไก ธุรกิจเดินไม่ได้  อย่างเรื่องน้ำมันปาล์มที่ขาดตลาดเพราะการตกลงราคาไม่สอดคล้องกับต้นทุนจึง ไม่มีใครอยากขายขาดทุน ฉะนั้นถ้าเราบอกว่านี่เป็นปัญหาที่รัฐบาลจะต้องมีกลไกควบคุมชัดเจน

"ต้องเอาระบบการแข่งขันมาเป็นตัว ควบคุม เพราะถ้ามีการแข่งขันจริงก็เอารัดเอาเปรีบไม่ได้ แต่ชาวบ้านนั้นรายได้ต้องเพิ่มขึ้น ถ้าเราขึ้นค่าแรงได้การควบคุมราคาสินค้าก็จะลดลง ต้องนั่งเจรจาเรื่อย เช่น เรื่องน้ำตาลในตอนนี้ที่จะส่งเงินเข้ากองทุนหรือจะยังไงก็เถียงกันไป มา"นายกฯ กล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าจากนั้นนาย อภิสิทธิ์ กล่าวอีกตอนหนึ่งว่า ดังนั้นเราต้องลดต้นทุนด้านอื่น คือลดภาษีเงินได้นิติบุคคล ซึ่งทันทีที่นายกฯกล่าวประโยคนี้จบทำให้สมาชิกสภาอุตสาหกรรมที่นั่งฟังใน ห้องประชุมพากันปรบมือถือให้กับแนวทางนี้ ทำให้นายอภิสิทธิ์ กล่าวต่อทันทีว่า "ปรบมือผมถือว่าท่านยอมเรื่องค่าแรงแล้วนะครับ"

นายกฯ กล่าวต่อไปว่า จะต้องทำไปด้วยกันคือต้องดูนโยบายและผลกระทบให้ทุกฝ่ายอยู่ได้ ควบคู่กันไปเราจะให้ผู้ใช้แรงงานมีสวัสดิการหลักประกันความมั่นคง

(แนวหน้า, 19-3-2554)

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

แนวร่วมชนกลุ่มน้อยประณามเหตุทหารพม่าโจมตีกองทัพรัฐฉานเหนือ

Posted: 19 Mar 2011 07:45 AM PDT

กองกำลังชนกลุ่มน้อยในพม่า 8 กลุ่ม ร่วมกันออกแถลงการณ์ประณามกองทัพพม่าโจมตีฐานชนกลุ่มน้อยในรัฐฉาน ด้าน “กองทัพรัฐฉาน-เหนือ” เผยกำลังถูกทัพพม่า “ตัดสี่” ขณะที่ “กองทัพรัฐฉาน-ใต้” กำลังติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด

สถานีโทรทัศน์เสียงประชาธิปไตยแห่งพม่า หรือ ดีวีบี รายงานเมื่อวานนี้ (18 มี.ค.) ว่า แนวร่วมประชาธิปไตยแห่งชาติ หรือ เอ็นดีเอฟ (the National Democratic Front - NDF) ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มกันของกองกำลังชนกลุ่มน้อย ได้ประณามเหตุโจมตีที่เกิดขึ้นโดยกองทัพพม่าในพื้นที่ขัดแย้งในรัฐฉาน
 
โดยทหารพม่าโจมตีกองทัพรัฐฉานเหนือ (Shan State Army-North – SSA-N) และพรรคก้าวหน้ารัฐฉาน (Shan State Progressive Party - SSPP) เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา พร้อมกับการยื่นคำขาดให้กองทัพรัฐฉานเหนือ ถอนกำลังออกจากฐานที่มั่นภายในวันที่ 20 มี.ค. และให้วางอาวุธทั้งหมดภายในวันที่ 1 เม.ย.
 
โดยแถลงการณ์ของ เอ็นดีเอฟ กล่าวว่า การโจมตีที่เกิดขึ้น ขัดแย้งกับสิ่งที่รัฐบาลพลเรือนประกาศว่าจะ “เดินไปตามเส้นทางประชาธิปไตย” ทั้งนี้ รัฐบาลทหารพม่ามักจะประกาศอย่างเป็นทางการซ้ำไปมาว่าพม่ากำลังเปลี่ยนผ่านไปสู่การปกครองโดยพลเรือนหลังจากการเลือกตั้งเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา
 
ทั้งนี้ การโจมตีเริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 13 มีนาคม ที่บ้านหลวงเมืองออด อำเภอเมืองสู้ ซึ่งมีรายงานว่า “สูญเสียทั้งสองฝ่าย” โดยแถลงการณ์ของกองทัพรัฐฉานเหนือยังระบุด้วยว่า “ขณะนี้เป็นที่ชัดแจ้งสำหรับเราว่า ทหารพม่าเตรียมการใช้ ‘ยุทธวิธีตัดสี่’”
 
สำหรับยุทธวิธีตัดสี่ เป็นศัพท์ของสภาเพื่อสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ (State Peace and Development Council - SPDC) อธิบายวิธีการโดดเดี่ยวและปิดล้อมกองกำลังกบฏ ซึ่งกองกำลังกบฏมักได้รับความสนับสนุนจากประชาชนท้องถิ่น ซึ่งฝ่ายตรงข้ามกองทัพพม่าอธิบายยุทธวิธีของกองทัพพม่าว่าเหมือนกับการเผาให้ราบ
 
แถลงการณ์ของเอ็นดีเอฟ ยังระบุว่า ยุทธวิธีของกองทัพพม่า “เป็นสาเหตุทำให้ ประชาชนกลุ่มชาติพันธุ์ทั้งหลายต้องเผชิญกับความยากลำบากอย่างไม่สิ้นสุด เนื่องมาจากการกระทำอันเลวร้ายของคณะรัฐบาลทหารพม่า”
 
ทั้งนี้ เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (14 มี.ค.) กองทัพพม่าจากกองพลทหารราบเบาที่ 33 ภายใต้กองทัพภาคตะวันออก บัญชาการโดย พล.ต.ซาน อู ได้โจมตีฐานทหารกองทัพรัฐฉานเหนือ ที่บ้านหัวน้ำ
 
ต่อมาในวันพุธที่ 16 มี.ค. มีรายงานว่า ทหารพม่าสามารถยึดพื้นที่ของกองทัพรัฐฉานเหนือที่บ้านน้ำเลา เมืองต้างยาน ซึ่งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองล่าเสี้ยว โดยทหารพม่าโจมตีฐานของทหารกองทัพรัฐฉานเหนือหลายแห่ง ซึ่งทหารกองทัพรัฐฉานเหนือระบุว่าเป็นการโจมตีอย่างหนักหน่วงโดยทหารพม่า โดยมีการระดมยิงปืนใหญ่ด้วย และยังมีรายงานว่ากระสุนปืนใหญ่ตกใกล้กับวัด ทำให้มีพระสงฆ์ 4 รูปมรณภาพ
 
พื้นที่การโจมตีของกองทัพพม่า นับเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ ไม่เพียงแต่จะเป็นการต่อต้านกองทัพรัฐฉานเหนือ แต่ยังเป็นปฏิบัติการทางทหารเพื่อต่อต้านกลุ่มที่มีกำลังมากกว่าอย่างกองทัพสหรัฐว้า (United Wa State Army - UWSA) ด้วย ทั้งนี้ รัฐบาลทหารพม่าเกรงว่ากองทัพสหรัฐว้าจะร่วมมือกับกองทัพรัฐฉานอีกกลุ่มคือ กองทัพรัฐฉานใต้ (SSA–South) เพื่อช่วยเหลือกองทัพรัฐฉานเหนือ
 
จายหลาวแสง โฆษกกองทัพรัฐฉานใต้ กล่าวกับผู้สื่อข่าวดีวีบีว่า ทหารพม่าเข้ามาลาดตระเวนในเส้นทางที่กองทัพรัฐฉานใต้สามารถเข้าไปในพื้นที่กองทัพรัฐฉานเหนือได้ เช่นกัน พื้นที่ของว้าซึ่งข้ามไปอีกฟากของแม่น้ำสาละวิน ทหารพม่าก็ปิดกั้นเส้นทางที่จะข้ามจากเขตว้าเข้าไปในพื้นที่รัฐฉานเหนือเช่นกัน
 
ทั้งนี้กองทัพสหรัฐว้า มีกำลังราว 30,000 นาย ซึ่งมีรายงานว่ากองทัพสหรัฐว้าสามารถผลิตอาวุธขนาดเบาใช้เองได้ ถือเป็นกองกำลังชนกลุ่มน้อยที่ปราบได้ยากสุดสำหรับกองทัพพม่า ขณะที่กองทัพรัฐฉานใต้ ซึ่งแยกตัวจากกองทัพรัฐฉานเหนือ ก็เป็นกลุ่มที่มีกำลังพลสนับสนุนขนาดใกล้เคียงกับกองทัพสหรัฐว้า
 
จายหลาวแสง ยังกล่าวด้วยว่า กองทัพรัฐฉานใต้ซึ่งนำโดย พล.ท.เจ้ายอดศึก กำลังหารือถึงการช่วยเหลือกองทัพรัฐฉานเหนือ อย่างไรก็ตามจายหลาวแสงระบุว่า ขณะนี้ยังเร็วเกินไปที่กล่าวถึงเรื่องนี้
 
สถานีโทรทัศน์ดีวีบี รายงานเพิ่มเติมว่า ก่อนหน้านี้ เคยมีการเจรจากันระหว่างกองกำลังชนกลุ่มน้อยที่ต่อต้านรัฐบาลพม่าหลายครั้ง อย่างไรก็ตามความช่วยเหลือทางการทหารในทางปฏิบัติยังคงล้มเหลว โดยการโจมตีกองทัพรัฐฉานเหนือล่าสุด จะกลายเป็นการชี้วัดว่ากองกำลังของชนกลุ่มน้อยต่างๆ จะมีเอกภาพเพียงพอที่จะต่อต้านกองทัพพม่าที่มีกำลังมากกว่าหรือไม่
 
แถลงการณ์ของเอ็นดีเอฟ ซึ่งใช้ถ้อยคำที่แข็งกร้าว ยังเตือนรัฐบาลทหารพม่าด้วยว่าการโจมตีจะเป็นการบีบให้กองกำลังชนกลุ่มน้อยร่วมมือกันต่อต้านและจะเกิดสงครามกลางเมืองขึ้นที่เลวร้ายในพม่า ทั้งนี้นับเป็นความพยายามที่จะแสดงให้โลกเห็นความเป็นเอกภาพของกองกำลังชนกลุ่มน้อยในพม่า อย่างไรก็ตามผลในการปฏิบัติการทางทหารร่วมกันของกองกำลังชนกลุ่มน้อยยังไม่ปรากฏให้เห็น
 
ทั้งนี้กองทัพของรัฐบาลพม่า ซึ่งได้รับการสนับสนุนรถหุ้มเกราะเบาซึ่งผลิตจากยูเครนและจีน มีกำลังพลราว 500,000 นาย ขณะที่ตัวเลขกำลังพลของกองกำลังชนกลุ่มน้อยทั้งหมดรวมกันยังห่างจากจำนวนทหารพม่าอย่างมาก
 
ทั้งนี้กองทัพรัฐฉานเหนือถูกกดดันอย่างหนักมาหลายเดือนแล้ว และมีการเคลื่อนกำลังของตนเข้าไปในพื้นที่ป่าของรัฐฉาน ซึ่งเป็นพื้นที่ซึ่งสามารถต่อต้านอำนาจการยิงที่เหนือกว่าของทหารพม่าได้ และสามารถตอบโต้ทหารด้วยวิธีจรยุทธ์
 
ทั้งนี้ สำนักข่าวฉาน ยังรายงานว่าผู้หญิงและเด็กในพื้นที่ปะทะได้ย้ายไปอยู่ในเมืองข้างเคียงแล้ว ขณะที่ผู้ชายได้รับการร้องขอให้ช่วยกองทัพรัฐฉานเหนือต่อต้านการรุกของกองทัพพม่า
 
สำหรับแนวร่วมประชาธิปไตยแห่งชาติ หรือ เอ็นดีเอฟ ประกอบด้วยกองกำลังกลุ่มชาติพันธุ์ในพม่า 8 กลุ่ม ได้แก่ พรรคปลดปล่อยอาระกัน (Arakan Liberation Party (ALP) แนวร่วมแห่งชาติชิน (Chin National Front - CNF) สหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (Karen National Union - KNU) สหภาพประชาธิปไตยลาหู่ (Lahu Democratic Union - LDU) พรรคมอญใหม่ (New Mon State Party - NMSP) องค์กรปลดปล่อยประชาชนปะโอ (Pa-O People’s Liberation Organization - PPLO) แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติปะหล่อง (Palaung State Liberation Front - PSLF) และองค์กรแห่งชาติว้า (Wa National Organization - WNO)
 
 
ที่มาของข่าว: แปลและเรียบเรียงจาก
Burmese army in ‘heinous’ Shan assault, By JOSEPH ALLCHIN, DVB, 18 March 2011

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ยอเกียรติ VS วิจารณ์ “พระ ว.วชิรเมธี”

Posted: 19 Mar 2011 07:36 AM PDT


อ่านข้อเขียนของ เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ชื่อ “คารวะพระ ว.วชิรเมธี” ในมติชนสุดสัปดาห์ (18-24 ก.พ.54) รู้สึกเหมือนได้อ่าน “บทยอเกียรติพระ” โดยเฉพาะบทกวีสรุปท้ายบทความที่ว่า

“พระผู้สร้างกุศลธรรมนำครรลอง                  พระผู้ครองสันโดษสมถะ
พระถึงพร้อมวิชชาจรณะ                             คารวะ พระ ว.วชิรเมธี
 
แน่นอนว่าธรรมชาติของ “บทยอเกียรติ” หรือ “ยอพระเกียรติ” ย่อมมีลักษณะ “เกินจริง” ดังบทเทศนายอพระเกียรติกษัตริย์ ของ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระวชิรญาณวโรรส ที่ว่า
 
“สมเด็จพระบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า เสด็จอวตารมาสู่สยามภพพอเหมาะแก่กาลสมัย ราวกับเรื่องพระประถมสมโพธิว่า เหล่าเทวดาสันนิษฐานเห็นเป็นเวลา จึงพร้อมกันไปทูลเชิญอาราธนาพระโพธิสัตว์เพื่อจุติจากดุสิตพิภพมาอุบัติในมนุษยโลก แลยังสัตว์นิกรผู้มีอุปนิสัยให้ข้ามพ้นโอฆสงสารฉะนั้นฯ...” (อ้างใน ปฐม ตาคะนานันท์.คณะสงฆ์สร้างชาติ สมัยรัชกาลที่ 5. [กรุงเทพฯ: มติชน, 2551], หน้า 28)
 
เช่นเดียวกันข้อความว่า “พระถึงพร้อมวิชชาจรณะ” ในบทกวีข้างต้น ชาวพุทธย่อมรู้ว่าข้อความนี้เป็นคำแปลมาจากภาษาบาลีว่า “วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน” ซึ่งเป็นบทสวดสรรเสริญ “พระพุทธคุณ” ที่ระบุว่าคุณลักษณะของพระพุทธเจ้าประการหนึ่งคือ “ทรงถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ” (หมายถึงมีปัญญาดับทุกข์สิ้นเชิงและมีความประพฤติบริสุทธิ์สะอาด)
 
การยอเกียรติพระไม่น่าจะเป็นเรื่องที่นิยมทำกันในสมัยพุทธกาล แม้จะปรากฏในคัมภีร์ทางพุทธศาสนาอยู่บ้างว่า มีอุบาสกบางคนเปล่งวาจาสรรเสริญพระพุทธคุณหลังจากฟังพระพุทธองค์แสดงธรรมจบลงและเขาเกิดความปลื้มปีติในธรรม
 
ส่วนการยกย่องคุณความดีของพระสาวกก็เป็นเรื่องที่พระพุทธองค์ทรงประกาศยกย่องให้เป็นแบบอย่าง โดยพิจารณาจากความสามารถตามที่เป็นจริงของพระสาวกรูปนั้นๆ ดังที่ทรงยกย่องพระสาวกเป็น “เอตทัคคะ” หรือมีความเป็นเลิศด้านต่างๆ เช่น พระสารีบุตรมีความเป็นเลิศด้านสติปัญญา เป็นต้น
 
การยอเกียรติพระในสังคมไทยน่าจะนิยมทำกันในยุคสมัยที่ “พระกับเจ้า” ถูกผนึกรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันจนเกิดประเพณีแต่งตั้ง “สมณศักดิ์” หรือศักดินาของพระ ทำให้พระสงฆ์เข้าไปอยู่ในระบบความสัมพันธ์เชิงอำนาจและผลประโยชน์อย่างเต็มรูปแบบ ดังข้อเขียนของ จิตร ภูมิศักดิ์ ในหนังสือ “โฉมหน้าศักดินาไทย” ที่ว่า
 
“ศักดินา (กษัตริย์) แบ่งปันที่ดินให้แก่ทางศาสนา แบ่งปันข้าทาสให้แก่วัดวาอาราม ยกย่องพวกนักบวชให้เป็นขุนนางมีลำดับยศ มีเครื่องประดับยศ มีเบี้ยหวัดเงินปีและแม้เงินเดือน...ศาสนามีหน้าที่สั่งสอนให้ผู้คนเคารพยำเกรงกษัตริย์ พวกนักบวชทั้งหลายกลายเป็นครูอาจารย์ที่ให้การศึกษาแก่กุลบุตรกุลธิดา ซึ่งแน่นอนแนวทางการจัดการศึกษาย่อมเป็นไปตามความปรารถนาของศักดินา”
 
ในหนังสือเล่มดังกล่าว จิตรยังอธิบายต่อไปว่า ข้าทาสที่ศักดินาแบ่งปันให้แก่วัด เรียกว่า “เลกวัด” หรือ “ข้าพระโยมสงฆ์” และในกฎ “พระอัยการตำแหน่งทหารและพลเรือน” ซึ่งพระบรมไตรโลกนาถ ประกาศใช้เมื่อ พ.ศ.1998 นอกจากจะกำหนดให้บรรดาเจ้าขุนมูลนายตามชั้นยศต่างๆ ได้รับผลประโยชน์จากที่ดินแล้ว ยังจัดส่วนแบ่งผลประโยชน์ดังกล่าวให้แก่พระสงฆ์ด้วย ตามอัตราส่วนดังนี้

พระครูรู้ธรรม                   เสมอนา              2,400 ไร่
พระครูไม่รู้ธรรม               เสมอนา              1,000 ไร่
พระภิกษุรู้ธรรม                เสมอนา              600 ไร่
พระภิกษุไม่รู้ธรรม            เสมอนา              400 ไร่
สามเณรรู้ธรรม                 เสมอนา              300 ไร่
สามเณรไม่รู้ธรรม             เสมอนา              200 ไร่
 
แน่นอนว่า การพูดถึงข้อเท็จจริงของ “เจ้ากับพระ” ในท่วงทำนองแบบจิตร ย่อมเป็นที่ “แสลงหู” ชาวพุทธไทย แต่สำหรับผู้เขียนแล้วนึกถึงคำสำคัญในพุทธศาสนาคำหนึ่ง คือ “ธรรมานุสสติ” หมายถึงการระลึกถึงธรรม หรือการตระหนักรู้ ตื่นรู้ใน “ธรรม” คือความจริงความถูกต้อง
 
แต่คำถามคือ บทยอเกียรติพระ กับบทวิจารณ์พระ (เช่น ที่จิตร ภูมศักดิ์ ทำ) อะไรคือสิ่งที่กระตุ้นให้เราเกิด “ธรรมานุสสติ” ได้แจ่มชัดกว่า!
 
คงจำกันได้ว่า เมื่อปี 53 คำ ผกา วิจารณ์ท่าน ว.วชิรเมธี (ผ่านการให้สัมภาษณ์ วิจักขณ์ พานิช) ค่อนข้างแรงว่า
 
“งานของท่าน ว.วชิรเมธี มันเป็นยากล่อมประสาท หลอกขายกันไปวันๆ ไม่ได้ทำให้คนตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม มันเป็นการเอาตัวรอดคนเดียว...แขกเลยมองว่ามันเป็นการมอมเมาทางปัญญา สอนให้คนหลีกหนีปัญหา แล้วก็ทำให้มืดบอดต่อปัญหาของคนอื่นในสังคมด้วย คำพูดของ ว.วชิรเมธี มีอะไรที่ลึกซึ้งบ้าง ไม่มี แต่ทำไมคนถึงให้ความสำคัญ เพราะมันออกมาจากพระที่บอกว่าตัวเองอ่านพระไตรปิฎกเจนจบ เป็นศิษย์พุทธทาส (มติชนออนไลน์ 19 ส.ค.53)
 
คำวิจารณ์ดังกล่าวท้าทายจารีต “ยอเกียรติพระ” อย่างจัง แต่จริงๆ แล้วการวิจารณ์เช่นนี้วิจารณ์จากจุดยืนวัฒนธรรมประชาธิปไตยที่ถือว่า “ทุกคนมีความเป็นคนเท่าเทียมกัน” แม้สถานะทางสังคมจะต่างกัน โดยเฉพาะบุคคลสาธารณะย่อมควรแก่การวิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบ
 
ในทางพุทธศาสนาพระพุทธองค์ก็ยอมรับการถูกวิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบ ดังที่พระองค์วางหลักปฏิบัติแก่ชาวพุทธว่า “หากมีใครติเตียนพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ชาวพุทธไม่ควรโกรธ ควรรับฟังอย่างมีสติ และจี้แจงไปตามความเป็นจริง”
 
ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นมานานในบ้านเราคือ เวลาเกิดปัญหาทางพุทธศาสนา หรือแม้แต่ปัญหาบ้านเมือง สังคมมักนึกถึงพระสงฆ์ แต่ไม่ได้นึกถึงพระสงฆ์ที่เป็น “องค์กรสงฆ์” มักนึกถึงพระสงฆ์ที่เป็นปัจเจกบุคคล เช่นเมื่อสมัย 6 ตุลา 19 ในยุคที่รัฐปราบปรามนักศึกษาด้วยข้อกล่าวหาว่าเป็น “คอมมิวนิสต์” สื่อมวลชนก็ไปสัมภาษณ์ กิตติวุฑฺโฒภิกขุ ทำนองว่าฆ่าคอมนิสต์บาปหรือไม่ ท่านก็ตอบว่า “ฆ่าคอมมิวนิสต์ได้บุญมากกว่าบาป”
 
ในยุคปัจจุบันไม่รู้ว่าสื่อไปสัมภาษณ์ท่าน ว.วชิรเมธี อย่างไร ถึงมีการนำเสนอคำตอบออกมาว่า “ฆ่าเวลาบาปมากกว่าฆ่าคน” แต่เท่าที่ผู้เขียนมีโอกาสสัมภาษณ์ท่านได้รับคำอธิบายว่าท่านพูดประโยคนี้ในบริบทการสนทนาเรื่อง “การรู้คุณค่าของเวลา” โดยในการสนทนานั้นไม่ได้มีการพูดถึงปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองใดๆ ทั้งสิ้น แต่เมื่อสื่อนำไปเสนอกลับนำเอาไปโยงกับการสลายการชุมนุมคนเสื้อแดง
 
แต่อย่างไรก็ตาม ข้อวิจารณ์ของคำ ผกา ที่ว่า “คำพูดของ ว.วชิรเมธี มีอะไรที่ลึกซึ้งบ้าง...” ผู้เขียนคิดว่าคำวิจารณ์นี้อาจนำไปตั้งคำถามกับการแสดงทัศนะทางการเมืองในบางประเด็นของท่าน ว.วชิรเมธี ได้ เช่นที่ท่านเคยให้สัมภาษณ์ทีวีไทย (ช่วงปลาย ปี 51) ตอนหนึ่งว่า
 
“เมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง เราเอาแต่พระราชอำนาจมา แต่ไม่เอาทศพิธราชธรรมมาด้วย” หรือ“ประชาธิปไตยอำนาจเป็นของประชาชน แต่เราลืมไปว่าประชาชนมีศักยภาพในการใช้อำนาจหรือยัง” หรือ“ทหารพยายามเข้ามาแก้ปัญหาคอร์รัปชัน” เป็นต้น
 
ทัศนะทางการเมืองดังที่ยกตัวอย่าง (เป็นต้น) นี้ย่อมหลีกเลี่ยงการวิจารณ์ “แบบ คำ ผกา” ไม่ได้อย่างแน่นอน เพราะใครที่เคยอ่าน “ประกาศคณะราษฎร ฉบับที่ 1” ลงวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ฉบับเต็มย่อมทราบว่า ประกาศฉบับดังกล่าวโจมตีการคอร์รัปชันและการกดขี่ของระบบกษัตริย์อย่างรุนแรง
ส่วนคำถามถึงศักยภาพการใช้อำนาจของประชาชน หรือวาทกรรม “ประชาชนยังไม่พร้อม” ก็เป็นวาทกรรมที่ ท่านรัฐบุรุษปรีดี พนมยงค์ วิจารณ์มานานแล้ว (ทำนอง) ว่า “เป็นคำพูดที่ชนชั้นนำชอบดูถูกประชาชน”
 
ยิ่งวาทกรรม“ทหารพยายามเข้ามาแก้ปัญหาคอร์รัปชัน”  ยิ่งไม่ต้องพูดถึงว่าเป็นวาทกรรมที่ไร้ความหมายแค่ไหน
 
และข้อเท็จจริงในปัจจุบันยิ่งชี้ชัดว่า ประชาชนที่ถูกดูถูกว่าโง่ ไม่รู้ประชาธิปไตย ถูกซื้อ ฯลฯ กลับเป็นฝ่ายที่เรียกร้องการเลือกตั้ง หรือยืนยัน “เสรีภาพในการปกครองตนเอง” แต่ฝ่ายที่อ้างว่า มีการศึกษาดี มีศีลธรรมสูงส่ง กลับเป็นฝ่ายที่เรียกร้อง “อำนาจนอกระบบ” หรืออำนาจที่ไม่ได้เชื่อมโยงกับ “เจตจำนงทั่วไป” ของประชาชน
 
ฉะนั้น เมื่อพระพูดการเมืองก็เป็นเรื่องที่ชาวบ้านอย่างเราๆ มีสิทธิ์วิจารณ์ “คำพูด” ของพระได้เช่นกัน จะให้นั่งพนมมือสาธุๆ!! หรือเอาแต่ “ยอเกียรติพระ” ไปทุกเรื่องคงไม่ดีแน่ๆ

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

I Am Liu Xiaobo (ฉันคือหลิวเสี่ยวโป) งานแสดงออกทางศิลปะเพื่อเสรีภาพในการแสดงออก

Posted: 19 Mar 2011 05:06 AM PDT

ค่ำวานนี้อากาศหนาวกำลังดี 18 มีนาคม 2554 WTF Gallery & Café จัดงาน I Am Liu Xiaobo (ฉันคือหลิวเสี่ยวโป) นักเขียนและนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนที่ทั่วโลกรู้จัก ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ แต่ไม่สามารถเดินทางไปรับรางวัลได้เนื่องจากยังถูกคุมขังอยู่ในสาธารณรัฐประชาชนจีน


บรรยากาศภายในร้าน

สมรัก ศิลา เจ้าของร้าน WTF Gallery & Café เล่าให้ฟังว่า การเฉลิมฉลองที่ WTF ครั้งนี้ถูกจัดขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของงานที่เกิดขึ้นทั่วโลก 84 ประเทศ เพื่อสร้างความรับรู้เกี่ยวกับกรณีของหลิวเสี่ยวโปและประเด็นเรื่องอิสรภาพในการแสดงออกทางศิลปะ ซึ่งทั่วโลกร่วมกันจัดขึ้นในวีคเอนด์นี้ สำหรับที่เมืองไทย WTF ร่วมมือกับ Amnesty International องค์กรเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศจัดงานนี้ขึ้นมาภายใต้คีย์เวิร์ด Freedom of Expression, Freedom of Speech และ Human Rights

ในงานจะมีศิลปินหลากหลายสาขา ไม่ว่าจะเป็นนักดนตรี นักเขียน กวี จิตรกร ดีเจ มาร่วมแสดงผลงานที่ได้รับแรงบันดาลใจจากการต่อสู้ของ Liu เพื่ออิสรภาพในการแสดงออกทางความคิด สำหรับงานในคืนแรกนี้เปิดเทศกาลเฉลิมฉลองด้วยศิลปิน 3 ท่าน คือ วสันต์ สิทธิเขตต์ นักเขียน กวี รุ่นใหญ่ ขวัญชัย ลิไชยกุล ศิลปินรุ่นใหม่สาขาศิลปะไทยจากรั้วศิลปากรผู้ผลิตงานศิลปะที่ได้รับแรงบันดาลใจจากความฝันและจินตนาการ และมีเนื้อหาเกี่ยวกับความไม่แน่นอนของการเมือง ศาสนา สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม และดีเจ Maft Sai ดีเจไทยผู้เติบโตมากับเพลงลูกทุ่ง และหมอลำเก่าๆ จึงสามารถเปิดเพลงถ่ายทอดถึงจิตวิญญาณของชนบทที่ปะทะกับความเป็นเมืองได้เป็นอย่างดี


ดีเจ Maft Sai

งานคืนนี้มีคนมาร่วมคับคั่งทั้งไทยและฝรั่ง สองทุ่มครึ่งตามกำหนดการ ดีเจ Maft Sai หมุนแผ่นดิสก์บนจาน เสียงแนวลูกทุ่งสมัยเก่าในจังหวะดนตรีที่พอโยกได้ดังแน่นร้าน พร้อมๆ กับที่ขวัญชัยและวสันต์ก็เริ่มตวัดปลายพู่กัน อุปกรณ์ของวสันต์ละลานไปด้วยพู่กันเรียงขนาดและสีอะครีลิกหลายสี ขณะที่ขวัญชัยมีเพียงปากกาเมจิกดำด้ามเดียว

“เราต้องการให้มีความแตกต่าง ระหว่างลีลาการวาดของขวัญชัยที่ละเอียดลออ กับลีลาของวสันต์ที่โฉ่งฉ่างกว่า” พี่สมรักกระซิบบอกเรา

ภายใต้เสียงเพลงลุกทุ่งหมอลำและขับกลอนหนังโนราที่ร่ายเรียงกันไปตามการควบคุมของดีเจ Maft Sai ผู้ชมก็เลือกชมเอาตามถูกใจระหว่างท่วงท่าการปาดป้ายสีที่วูบไหวร้อนแรงของวสันต์ กับการนั่งจรดลายเส้นราวสลักจิตรกรรมฝาผนังของขวัญชัย แต่เราคิดว่ามันเป็นความแตกต่างที่ลงตัว

นานนับหลายเพลง วสันต์วางพู่กันและร้องบอกแขกเหรื่อว่า “เสร็จแล้ว” ภาพวาดสีสันร้อนแรงปรากฏโฉม วสันต์ให้ชื่อภาพว่า “The Face of Freedom” หรือโฉมหน้าของเสรีภาพ อธิบายภาวะของมนุษย์ที่ถูกแรงขับของเสรีภาพทึ้งดึงไปในทิศทางต่างๆ นานา ดังนั้นใครมีแรงมากก็สามารถควบคุมเสรีภาพของตัวได้มาก “ใครมีแรงน้อยก็ตายห่า” วสันต์อธิบาย


วสันต์ สิทธิเขตต์กำลังวาดภาพ

และนับอีกไม่กี่เพลงต่อมางานของขวัญชัยก็เสร็จ เป็นภาพวาดลายเส้นคล้ายการ์ตูน เขาให้ชื่อภาพว่า “กองทัพยักษ์บ้าอำนาจ” ที่ประกอบไปด้วยยักษ์เขี้ยวโง้งสี่ห้าตนแต่งกายด้วยชุดแบบข้าราชการเหรียญตราเต็มอก ในมือบ้างถือกระบอง บ้างถือปืน บ้างกำผู้หญิงเปลือยกาย และบ้างก็นั่งมาในรถถัง เป็นการเอายักษ์มาเปรียบกับผู้มีอำนาจในสังคมให้เกิด image of powerfulเนื่องจากยักษ์เป็นสิ่งที่คนไทยยำเกรง เมื่อมาอยู่ในร่างของผู้มีอำนาจราชการก็ยิ่งทรงพลังเหนือคนตัวเล็กๆ ในสังคม สังคมจึงโดนเอารัดเอาเปรียบจากยักษ์พวกนี้


ขวัญชัย ลิไชยกุลกับภาพกองทัพยักษ์บ้าอำนาจ

พี่สมรัก ศิลา กล่าวว่าผลงานจิตรกรรมทั้งสองชิ้นจะนำออกประมูลราวปลายเดือนเมษายน ในโอกาสครบรอบ 1 ปีของร้าน WTF รายได้ก็จะแบ่งกันระหว่างศิลปินกับองค์กร Amnesty เพื่อสนับสนุนงานด้านสิทธิมนุษยชน

สำหรับงานในวันนี้ (เสาร์ 19 มีนาคม) งานจะมีเวลา 20.00 น.ที่ WTF Gallery & café เช่นเดิม ตุล & ปั้ม วงอพาร์ตเมนท์คุณป้าจะแสดงดนตรี improvise งานใหม่ๆ ร่วมกับกวีคนอื่นๆได้แก่ ซะการีย์ยา อมตยา กวีซีไรต์ ปี 2553 มงคล เปลี่ยนบางช้าง สมพงษ์ ทวี และศิลปินต่างชาติอีก 2 คนจะมาอ่านบทกวีที่เขาได้รับบันดาลใจมาจากการต่อสู้เพื่อ Freedom of Speech ของหลิวเสี่ยวโป และในวันอาทิตย์จะมีการฉายหนัง Insect in The Backyard พร้อมพบผู้กำกับ ธัญวารินทร์ สุขะพิศิษฐ์ด้วย งานยังมีอีก 2 วันใครสนใจสามารถเดินทางไปร่วมงานได้ที่ WTF Gallery & Café สุขุมวิท ซอย 51 ร้านอยู่ในซอยเล็กซอยแรกด้านซ้ายมือ.

ข้อมูลเพิ่มเติมที่ wtfbangkok.com/

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

คนจากโตเกียวแห่เข้าพักในโอซาก้า หนีกัมมันตรังสี

Posted: 19 Mar 2011 04:49 AM PDT

แปลและเรียบเรียงจาก "Osaka hotel occupancy rate surges as people flood in from Tokyo"
The Japan Times/Bloomberg 19 มี.ค. 2554

http://search.japantimes.co.jp/cgi-bin/nb20110319n1.html

โรงแรมในโอซาก้ากำลังเป็นที่ต้องการอย่างสูง เนื่องจากผู้พักอาศัยและบริษัทต่างๆ เดินทางออกจากโตเกียวเพื่อหาที่พักชั่วคราว ด้วยเป็นห่วงการรั่วไหลของรังสี หลังแผ่นดินไหวที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น

โรงแรมเซนต์เรจิสโอซาก้า ซึ่งสัปดาห์นี้ราคาห้องพักต่อวันเริ่มต้นที่ 70,000 เยน (ประมาณ 26,200 บาท) ถูกจองเต็มทั้งสัปดาห์ ในขณะที่ห้องจัดเลี้ยงของโรงแรมสวิสโซเทล นันไก ถูกแปลงเป็นสำนักงานชั่วคราว เซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ที่ดิวิโอโอซาก้าก็ถูกจองเต็มทั้งเดือน

ความเป็นห่วงการรั่วไหลของรังสี ที่โรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมา ซึ่งเสียหายหลังแผ่นดินไหวและสึนามิเมื่อ 11 มี.ค. ส่งผลให้พนักงานของบริษัทอย่างแบล็คสโตนกรุ๊ป ที่ปรึกษาการลงทุนชั้นนำ และ บีเอ็นพี พาริบาส กลุ่มธนาคารที่ใหญ่ที่สุดในโลก ต้องออกจากเมืองหลวง

ระดับรังสียังอยู่ในระดับปกติที่โอซาก้า ซึ่งห่าง 600 ก.ม. จากโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะหมายเลขหนึ่ง ทำให้มันกลายเป็นที่พักพิงแห่งใหม่ของบรรดาบริษัทและผู้พำนักจากโตเกียว

"เราเห็นการเพิ่มขึ้นของผู้เข้าพักจากโตเกียว" คูมิโกะ ฟูกูชิมะ โฆษกหญิงของโรงแรมเซนต์เรจิสกล่าว และเสริมว่าเป็นครั้งที่โรงแรมถูกจองเต็มทั้งสัปดาห์ นับตั้งแต่เปิดโรงแรมในเดือนตุลาคม "การสอบถามเพิ่มขึ้นมากจากทั้งบริษัทญี่ปุ่นและบริษัทต่างชาติ ถึงห้องพักสำหรับพนักงานของพวกเขา" ปกติห้องพักที่โรงแรมนี้มีอัตราเข้าพักร้อยละ 70-80 จากทั้งหมด 160 ห้อง และระยะเข้าพักเฉลี่ยได้เพิ่มขึ้นเป็น 4-5 คืน จากเดิม 2-3 คืน เธอกล่าว

ที่โรงแรมสวิสโซเทล นันไก บริษัทการเงินของยุโรปแห่งหนึ่งที่ปฏิเสธจะเปิดเผยชื่อ ได้ตั้งสำนักงานชั่วคราวขึ้นในห้องจัดเลี้ยง มิชิโกะ ฟูจิกะวะ โฆษกหญิงของโรงแรมบอกว่าห้องพักทั้ง 548 ห้องถูกจองเต็มโดยบริษัทจากโตเกียว และห้องพักถูกจัดสรรมากถึง 60 ห้องสำหรับแต่ละบริษัท "ทันทีหลังจากแผ่นดินไหว เราได้รับการยกเลิกการเข้าพักจำนวนมาก" "แต่ตอนนี้เรามีห้องไม่พอ"

การตรวจวัดโดยสถาบันปฏิกรณ์นิวเคลียร์ของมหาวิทยาลัยโตเกียว ชี้ว่ารังสีในเมืองโอซาก้าอยู่ในระดับปกติ

เอสเอพี บริษัทซอฟต์แวร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก เปิดเผยว่า บริษัทได้สำรองห้องพัก 520 ห้องในโอซาก้าและโกเบ เพื่อให้พนักงานของบริษัทและครอบครัวใช้ได้

สำนักข่าวแห่งชาติออสเตรียรายงานว่า เอกอัครราชทูตออสเตรียประจำญี่ปุ่น ย้ายออกจากโตเกียวเนื่องจาก "ความคาดการณ์ไม่ได้" ของเตาปฏิกรณ์ และจะทำงานจากโอซาก้า ส่วนรัฐบาลเยอรมนีก็กล่าวว่า กำลังย้ายการดำเนินงานบางส่วนของสถานทูตไปที่โอซาก้า

โรงแรมขนาด 292 ห้อง ริทซ์-คาร์ลตัน โอซาก้า มี "อัตราเข้าพักในโรงแรมสูงขึ้นอย่างมาก" มัตซึโกะ อาเกซะกะ โฆษกหญิงของโรงแรมกล่าว "แขกจำนวนมากของเรา เป็นครอบครัวที่มีลูก จากเขตมหานครโตเกียว"

การพุ่งสูงขึ้นของผู้มาเยือน อาจช่วยสนับสนุนโอซาก้า ซึ่งกำลังอยู่ในช่วงอสังหาริมทรัพย์เติบโตมากที่สุดในรอบสองทศวรรษ มีการสร้างอาคารพาณิชย์และช็อปปิ้งคอมเพล็กซ์อีก 557,000 ตร.ม.

โอซาก้าเคยเป็นศูนย์กลางทางการค้าของญี่ปุ่น บริษัทหลักทรัพย์โนมูระ บริษัทนายหน้าแห่งแรกของญี่ปุ่นก่อตั้งขึ้นที่นี่ แม้บริษัทขนาดใหญ่หลายแห่งจะย้ายสำนักงานใหญ่ไปอยู่โตเกียวแล้วก็ตาม แต่บริษัทชั้นนำอื่นๆ อย่าง พานาโซนิค ชาร์ป ซันโย ก็ยังอยู่ในโอซาก้า เช่นเดียวกับตลาดหลักทรัพย์โอซาก้าและตลาดซื้อขายล่วงหน้าชั้นนำหลายแห่ง ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา บริษัทต่างๆ รวมถึง เรโซนาโฮลดิ้งส์ (กลุ่มธุรกิจการเงินการธนาคารใหญ่อันดับ 4 ของญี่ปุ่น), กลุ่มธุรกิจธนาคารของบริษัทมิตซูบิชิ ยูเอฟจี ไฟแนนเชียลกรุ๊ป และซูมิโตโมะ มิตซุย ไฟแนนเชียลกรุ๊ป (อันดับ 1 และ 2 ของญี่ปุ่น) ได้ย้ายสำนักงานใหญ่ของบริษัท จากโตเกียวมาโอซาก้า

"บริษัทต่างๆ จะต้องหาทางจัดสรรตัวเองให้อยู่ในที่หลากหลาย" โทโมฮิโกะ ซาวายานะงิ ผู้อำนวยการบริหารกลุ่มโรงแรมโจนส์แลงลาซาลซึ่งมีฐานอยู่ที่โตเกียว กล่าว "บริษัทจำนวนมากอาจต้องการที่จะทำงานต่อได้ในโอซาก้า ถ้าเกิดมีเหตุกาณ์อะไรแบบนี้เกิดขึ้นอีก"

ดิวิโอโอซาก้า ได้รับ "การสอบถามที่พักมากกว่าปกติ" ตั้งแต่ 15 มี.ค. ฮารูกะ นากะทานิ ผู้จัดการเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์กล่าว โดยห้องพักทั้ง 14 ห้องถูกจองเต็มจนถึงเดือนเมษายน เทียบกับอัตราการเข้าพักปกติที่ 70%

"การสอบถามจำนวนมากมาจากครอบครัวที่มีลูก และบางครั้งก็มีสัตว์เลี้ยงด้วย" นากะทานิบอกกับเรา "เราจำเป็นต้องบอกปฏิเสธพวกเขาไป"

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น