ประชาไท | Prachatai3.info |
- ศาลอุทธรณ์ไม่ให้ประกัน ‘ดา ตอร์ปิโด’
- มาเลเซีย: วรรณกรรมในหลักสูตรการศึกษากำลังสร้างปัญหาระหว่างเชื้อชาติ
- ศาลไม่อนุญาติให้ประกัน 22 ผู้ต้องหาแดงอุดร
- สร.ไทยอินดัสเตรียลแก๊สยื่นข้อเรียกร้อง – นายจ้างยื่นสวนทันที
- กรรมการสิทธิหวั่นเสื้อแดงทำให้สถานการณ์การเมืองรุนแรง
- เผย "ชาลี ดีอยู่" ยังไม่ได้รับการเยียวยา
- พีมูฟจี้นายกเร่งสั่งการแก้ปัญหา
- ทัพพม่าเสริมกำลังกว่า 10 กองพัน กดดันไทใหญ่ "เหนือ"
- "สมช." ยันจัดเจ้าหน้าที่ดูแลชุมนุมใหญ่ "นปช." ได้ ด้าน "พธม.ภูเก็ต" อนุญาต "นปช." สัมมนาได้
- ครม.อนุมัติงบรักษาความสงบจากการชุมนุม 94 ล้านบาท
- เสียงก้องกรณีเหตุเกิดที่มติชน: สัญญาณความเสื่อมและความเสี่ยง
- ครม.อนุมัติงบช่วยแรงงานไทยกลับจากลิเบียคนละ 15,000 บาท
- จำคุกตำรวจขอมีเพศสัมพันธ์ชาวพม่าแลกอิสรภาพ
- พม่าจับ 2 ชาวต่างชาติ สงสัยเป็นสายลับซีไอเอ
- ต่อรองกับปีศาจ : เมื่อการปฏิวัติโลกอาหรับส่งผลดีต่อการต้านการก่อการร้าย
ศาลอุทธรณ์ไม่ให้ประกัน ‘ดา ตอร์ปิโด’ Posted: 01 Mar 2011 12:37 PM PST ศาลอุทธรณ์ไม่ให้ประกันตัว "ดารณี ชาญเชิงศิลปกุล" ยกความผิดที่ถูกฟ้องมีโทษสูง คดีกระทบความจงรักภักดีและเคารพเทิดทูนของประชาชนต่อสถาบันกษัตริย์ หากปล่อยชั่วคราวไปเชื่อว่าจะเกิดความเสียหาย-จำเลยจะหลบหนี เมื่อวันที่ 1 มี.ค.54 นายประเวศ ประภานุกูล ทนายความของนางสาวดารณี ชาญเชิงศิลปกุล หรือ ดา ตอร์ปิโด พร้อมด้วยนายกิตติชัย ชาญเชิงศิลปกุล พี่ชายของดา เดินทางมายังศาลอาญา รัชดา เพื่อฟังคำสั่งศาลอุทธรณ์ กรณีที่เมื่อวันที่ 23 ก.พ.ที่ผ่านมา ทนายความได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่ "พิเคราะห์แล้ว เห็นว่าความผิดที่ถูกฟ้องมีอัตราโทษสูง พฤติการณ์แห่งคดีเป็นเรื่องร้ายแรง อันกระทบความจงรักภักดีและเคารพเทิดทูนของประชาชนที่มีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ หากปล่อยชั่วคราวไปเชื่อว่าจะเกิดความเสียหายและจำเลยจะหลบหนี ส่วนที่จำเลยอ้างว่ามีเหตุจำเป็นต้องรับการรักษาอาการป่วยด้วยแพทย์เฉพาะทางภายนอกเรือนจำนั้น เห็นว่าจำเลยสามารถดำเนินการได้ตามระเบียบราชทัณฑ์ กรณีจึงยังไม่มีเหตุสมควรปล่อยชั่วคราวในระหว่างพิจารณา คำสั่งศาลชั้นต้นชอบแล้ว ให้ยกคำร้อง แจ้งคำสั่งไม่อนุญาตปล่อยชั่วคราวให้จำเลยทราบเป็นหนังสือโดยเร็ว" สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
มาเลเซีย: วรรณกรรมในหลักสูตรการศึกษากำลังสร้างปัญหาระหว่างเชื้อชาติ Posted: 01 Mar 2011 12:16 PM PST เมื่อผู้ประท้วงชาวมาเลเซียเชื้อสายอินเดียแสดงความไม่พอใจการนำวรรณกรรมซึ่งมีเนื้อหาเหยียดชาวอินเดียบรรจุอยู่ในหลักสูตรการศึกษา ขณะที่ตำรวจมาเลเซียได้เข้าขัดขวางการรวมตัวที่ถือว่า “ผิดกฎหมาย” และได้จับกุมผู้ประท้วงไปนับร้อย ตำรวจมาเลเซียตรึงกำลังทั่วกรุงกัวลาลัมเปอร์ รับมือผู้ประท้วงชาวมาเลเซียเชื้อสายอินเดีย ที่เตรียมประท้วงการบรรจุวรรณกรรมเรื่อง “อินเตอร์ลก” อยู่ในหลักสูตร (ที่มาของภาพ: Malaysiakini) ตำรวจจับกุมแกนนำผู้ประท้วงวรรณกรรม “อินเตอร์ลก” เมื่อ 27 ก.พ. ที่ผ่านมา (ที่มาของภาพ: Malaysiakini)
ตำรวจจับผู้นำพรรคสิทธิมนุษยชน (Human Rights Party - HRP) นายอุทยากุมาร (P. Uthayakumar) ระหว่างร่วมชุมนุมต่อต้านวรรณกรรม “อินเตอร์ลก” เมื่อ 27 ก.พ. ที่ผ่านมา (ที่มา: Malaysiakini.tv)
ผู้ประท้วงกลุ่มฮินดราฟพยายามรวมตัวชุมนุมที่บริเวณวัดปูดู ซึ่งเป็นวัดในศาสนาฮินดู ก่อนถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจสลายการชุมนุมและจับกุมผู้ร่วมการชุมนุม (ที่มา: Malaysiakini.tv)
ผู้ประท้วงกลุ่มฮินดราฟพยายามรวมตัวชุมนุม ก่อนถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจสลายการชุมนุมและจับกุมผู้ร่วมการชุมนุม (ที่มา: Malaysiakini.tv)
ผู้สนับสนุนนายอุทยากุมาร แห่งพรรค HRP รวมตัวกันเรียกร้องให้ปล่อยตัวนายอุทยากุมาร ก่อนที่ตำรวจจะเข้าจับกุมผู้ประท้วงเพิ่มเติม (ที่มา: Malaysiakini.tv)
นายอุทยากุมารให้สัมภาษณ์นักข่าวพลเมืองมาเลเซีย (CJ.MY) หลังได้รับการปล่อยตัวเมื่อเวลา 20.00 น. ของวันที่ 27 ก.พ. 54 (ที่มา: Malaysiakini.tv)
ตำรวจกัวลาลัมเปอร์จับผู้ประท้วงร่วมร้อย เมื่อวันอาทิตย์ที่ 27 ก.พ. ที่ผ่านมา ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย มีผู้ถูกจับทั้งหมด 109 ราย จากการประท้วงของกลุ่มพลังปฏิบัติการเพื่อสิทธิชาวฮินดู หรือ ฮินดราฟ (HINDRAF - Hindu Rights Action Force หรือ Barisan Bertindak Hak-Hak Hindu) ซึ่งเตรียมการประท้วง เรียกร้องให้ถอนวรรณกรรมเรื่อง "อินเตอร์ลก" (Interlok) ออกจากการเป็นตำราเรียน และประท้วงการเหยียดเชื้อชาติโดยพรรคอัมโน โดยผู้ถูกจับ 109 รายนี้ ประกอบด้วย แกนนำ 8 ราย สตรี 8 คน และผู้สื่อข่าว 2 ราย ผู้บัญชาการตำรวจกรุงกัวลาลัมเปอร์ ดาโต๊ะ ปาลาวัน ซูคลิฟิ อับดุลลาห์ (Datuk Pahlawan Zulkifli) กล่าวระหว่างแถลงข่าวว่า ผู้ชุมนุมถูกจับเนื่องจากเป็นการรวมตัวกันอย่างผิดกฎหมาย ตามมาตรา 27 วรรค 5 ของรัฐบัญญัติตำรวจ และผู้นำ 8 คน มาจากกลุ่มที่ตำรวจถือว่าเป็น “กลุ่มนอกกฎหมาย” ทั้งนี้จะมีการสอบสวนโดยรัฐบัญญัติว่าด้วยการสมาคม มาตรา 45 วรรค 1 ส่วนผู้สื่อข่าวสองคน ซึ่งเป็นผู้สื่อข่าวของสำนักข่าวทางเลือก ผู้บัญชาการตำรวจกรุงกัวลาลัมเปอร์กล่าวว่า จะตั้งข้อหาตามมาตรา 186 ของกฎหมายอาญาในข้อหาขัดขืนคำสั่งเจ้าพนักงาน ทั้งนี้ ผู้ถูกจับกุมมีอายุระหว่าง 18 ถึง 66 ปี ถูกจับกุมจากจุดตรวจหลายแห่งทั่วเมือง ทั้งบริเวณตึกเคแอลซีซี โรงแรมมายา โรงแรมเรอแนสซอง และวัดปูดู ซึ่งเป็นวัดตามศาสนาฮินดู
ตำรวจจับเพราะชุมนุมโดยไม่ได้รับอนุญาต ผู้บัญชาการตำรวจกรุงกัวลาลัมเปอร์ว่ากล่าวว่า “แม้ว่าคำขออนุญาตจัดการชุมนุมของพวกเขาจะถูกปฏิเสธไปแล้ว แต่ก็ยังพยายามจะรวมตัวและจัดการชุมนุม ดังนั้นจึงต้องมีปฏิบัติการตอบโต้” ทั้งนี้ มีผู้ชุมนุมหลายร้อยคนพยายามรวมตัวกันในหลายพื้นที่ ในช่วงเช้าของวันอาทิตย์ เพื่อประท้วงวรรณกรรม “อินเตอร์ลก” ซึ่งถูกบรรจุเป็นตำราเรียน และประณามพรรคอัมโน ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลว่าเป็นเหยียดเชื้อชาติ อย่างไรก็ตามการประท้วงถูกขัดขวางจากเจ้าหน้าที่ตำรวจซึ่งตั้งจุดตรวจรอบเมือง อย่างไรก็ตามกลุ่มจัดการประท้วงได้ย้ายการรวมตัวไปที่วัดปูดู ของศาสนาฮินดูในช่วงบ่าย และได้เดินขบวนกินระยะทางราว 1 กิโลเมตร มุ่งหน้าสู่ที่ทำการตำรวจ และรวมตัวกันที่นั่นเรียกร้องให้ปล่อยตัวแกนนำการชุมนุม โดยซูคลิฟิ ผู้บัญชาการตำรวจกรุงกัวลาลัมเปอร์ แจ้งระหว่างการแถลงข่าวว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจมีอำนาจในการควบคุมผู้ประท้วงเป็นเวลา 24 ชั่วโมงเพื่อทำการสอบสวน แต่ในที่สุดเมื่อเวลาประมาณ 20.00 น. ของวันที่ 27 ก.พ. เจ้าหน้าที่ตำรวจก็ยอมปล่อยแกนนำการประท้วง
“อินเตอร์ลก” สำหรับวรรณกรรม "อินเตอร์ลก" เขียนในปี 1971 โดยนักประพันธ์ชาวมาเลเซีย อับดุลลาห์ ฮุสเซน วรรณกรรมดังกล่าวถูกกำหนดในหลักสูตรวิชาวรรณกรรม โดยเป็นหนังสือภาคบังคับที่ต้องอ่าน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ทั่วมาเลเซีย “อินเตอร์ลก” กลายเป็นประเด็นวิพากษ์วิจารณ์ โดยผู้คัดค้านระบุว่าวรรณกรรมดังกล่าวบรรจุคำดูแคลนคนมาเลเซียเชื้อสายอินเดีย เช่น คำว่า “pariah” หรือคนชั้นต่ำ และ “black people” หรือคนดำ ทั้งนี้พรรคการเมืองใหญ่ที่สุดของคนมาเลเซียเชื้อสายอินเดีย คือ พรรคมาเลเซียอินเดียคองเกรส (MIC) เคยเรียกร้องให้ยกเลิกวรรณกรรมนี้ในชั้นเรียนมาแล้ว เรื่องราวใน “อินเตอร์ลก” เขียนถึงมาเลเซียในช่วงต้นทศวรรษที่ 1900 สมัยที่อังกฤษปกครองแหลมมลายู มีตัวละครสามตัวหลัก ชื่อ เซอมัน (Seman) ชิน โอ (Chin Huat) และ มาเนียม (Maniam) ชื่อเรื่อง “อินเตอร์ลก” มาจากคำในภาษาอังกฤษที่ว่า “Interlock” ที่แปลว่าเชื่อมต่อกัน ซึ่งสอดคล้องกับบทสุดท้ายของวรรณกรรมดังกล่าว ที่สามตัวละครหลักต้องใช้ชีวิตอย่างเชื่อมโยงกัน ผู้เขียนเรื่องนี้ คืออับดุลลา ฮุสเซน ยืนยันว่างานเขียนของเขา และตัวเขา ไม่ได้มีเจตนาดูถูกชาวอินเดีย และงานของเขาเกิดความเข้าใจผิดขึ้น ที่จริงเขามีเจตนาอธิบายความมีเอกภาพของสามเชื้อชาติหลักในคาบสมุทรมลายา คือมาเลย์ จีน และอินเดีย มีการถอนหนังสือ “อินเตอร์ลก” ออกจากหลักสูตรเมื่อวันที่ 15 ม.ค. ที่ผ่านมา หลังการหารือระหว่างรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการของมาเลเซียกับสถาบันวรรณกรรมและภาษามลายู (Dewan Bahasa dan Pustaka) อย่างไรก็ตามมีการทบทวนคำสั่งดังกล่าวเมื่อ 28 ม.ค. และต่อมามีการหารือระหว่างนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย นาจีฟ ราซัค (Najib Razak) ประธานพรรค MIC ของชาวอินเดีย นายปาลันนิเวล (G. Palanivel) และรองประธานพรรค MIC นายสุบรามาเนียม (S. Subramaniam) และรองนายกรัฐมนตรีนายมูฮิดดิน ยัสซิน (Muhyiddin Yassin) โดยการตัดสินใจล่าสุดคือยังมีผลให้ “อินเตอร์ลก” เป็นวรรณกรรมในหลักสูตรการศึกษา แต่ส่วนหนึ่งของวรรณกรรมที่มีประเด็นละเอียดอ่อนต่อประชาคมชาวอินเดียจะต้องได้รับการแก้ไข ทำให้ต่อมาเกิดการประท้วงเมื่อวันอาทิตย์ที่ 27 ก.พ. ที่ผ่านมา จนมีผ
ที่มา: แปลและเรียบเรียงจาก
109 detained in ‘Interlok’ protest, By Clara Chooi, themalaysianinsider, February 27, 2011 http://www.themalaysianinsider.com/malaysia/article/109-detained-in-interlok-protest/ Interlok, Wikipedia [เข้าถึงเมื่อ 28 ก.พ. 54] http://en.wikipedia.org/wiki/Interlok HRP leaders detained under Police, Societies Act, Abdul Rahim Sabri, Malaysiakini, Feb 27, 11 http://malaysiakini.com/news/157184 Uthaya, 108 others arrested to quash HRP rally, Malaysiakini, Feb 27, 2011, http://malaysiakini.com/news/157150 Hindraf anti-Umno racism rally - Jayadass arrested, Malaysiakini.tv, Feb 27, 2011 http://www.malaysiakini.tv/video/21112/hindraf-anti-umno-racism-rally---jayadass-arrested.html Uthaya, 108 others arrested to quash HRP rally, Malaysiakini.tv, Feb 27, 2011 http://www.malaysiakini.tv/video/21114/uthaya-108-others-arrested-to-quash-hrp-rally.html Hindraf anti-racism/Interlok rally: more arrests, Malaysiakini.tv, Feb 27, 2011 http://www.malaysiakini.tv/video/21113/hindraf-anti-racisminterlok-rally-more-arrests-.html HRP supporters demand release of P. Uthayakumar, Malaysiakini.tv, Feb 27, 2011 http://www.malaysiakini.tv/video/21129/hrp-supporters-demand-release-of-p-uthayakumar-.html P Uthayakumar finally released, Malaysiakini.tv, Feb 27, 2011 http://www.malaysiakini.tv/video/21120/p-uthayakumar-finally-released.html สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
ศาลไม่อนุญาติให้ประกัน 22 ผู้ต้องหาแดงอุดร Posted: 01 Mar 2011 08:03 AM PST เมื่อวันที่ 28 ก.พ. 54 ที่ผ่านมา นางขนิษฐา รัฐกาญจน์ ทนายความของจำเลย 22 รายจังหวัดอุดรธานีในข้อหาคดีร่วมกันเป็นผู้ร่วมโฆษณาประกาศแก่บุคคลทั่วไปให้กระทำความผิดร่วมกันวางเพลิงเผาทรัพย์โรงเรือนอันเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดิน,มั่วสุมกันตั้งแต่สิบคนขึ้นไปโดยใช้กำลังประทุษร้าย,กระทำการให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง,ฝ่าฝืนประกาศที่ห้ามมิให้มีการชุมนุมหรือมั่วสุมกันตั้งแต่ห้าคนขึ้นไปหรือกระทำการใดอันเป็นการยุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย,ต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน ได้ยื่นคำร้องขอประกันตัวชั่วคราวของจำเลยทั้ง 22 รายโดยเตรียมวงเงินใช้ในการวางหลักทรัพย์รายละ 5 แสนบาททั้งหมดเป็นจำนวน 11 ล้านบาท แต่ศาลไม่อนุญาติให้ประกัน โดยในวันนี้ (1 มี.ค. 54) มารดานายกิตติพงษ์ ชัยกัง ผู้ต้องหาอายุ 18 ปี ได้เข้าเยี่ยมลูกชายหลังจากศาลไม่อนุญาติวานนี้ให้สัมภาษณ์ว่า "มันพูดไม่ออกคาดหวังไว้สูง คิดว่าแกนนำได้ประกันแล้วเราก็น่าจะได้บ้าง คนอยู่ข้างในกำลังใจไม่ดีเมื่อวานยังหน้าตาสดใส วันนี้เขาบอกว่าเหนื่อยมากเหมือนสิ้นหวังไปแล้ว บางคนยังร้องให้อยู่" ต่อคำถามที่ว่าหากยังไม่ได้รับประกันจะทำอย่างไรกันต่อไป มารดานายกิตติพงษ์ กล่าวว่า "ถ้าประกันไม่ได้เราก็จะลงมาเรียกร้องกับแกนนำหรือพรรคหรือคนที่จะช่วยเหลือเราได้ให้มาดูแลเราบ้าง" โดยในวันจันทน์ที่ 7 มีนาคม 2554 ทนายความจะยื่นอุทธรณ์การประกันตัวอีกครั้งหนึ่ง สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
สร.ไทยอินดัสเตรียลแก๊สยื่นข้อเรียกร้อง – นายจ้างยื่นสวนทันที Posted: 01 Mar 2011 07:26 AM PST 1 มี.ค. 54 - สหภาพแรงงานไทยอินดัสเตรียลแก๊ส ได้ยื่นข้อเรียกร้องจำนวน 16 ข้อต่อนายจ้างและได้มีการเจรจากันเป็นนัดแรก ซึ่งยังเป็นขั้นตอนการอธิบายข้อเรียกร้องเท่านั้น โดยทั้งสองฝ่ายได้นัดเจรจาครั้งต่อไปวันที่ 14 มีนาคม 2554 เวลา 13.00 น. ข้อเรียกร้องของสหภาพแรงงานไทยอินดัสเตรียลแก๊ส
ในขณะเดียวกันนายจ้างได้ยื่นข้อเรียกร้องสวนกลับจำนวน 6 ข้อ แต่ทางสหภาพฯ ระบุว่า ยังไม่ได้ทำการนัดเจรจาเช่นกัน เพียงแต่รับข้อเรียกร้องไว้เท่านั้น ข้อเรียกร้องของนายจ้าง
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
กรรมการสิทธิหวั่นเสื้อแดงทำให้สถานการณ์การเมืองรุนแรง Posted: 01 Mar 2011 06:15 AM PST 1 มี.ค. 54 - นางอมรา พงศาพิชญ์ ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวถึงกรณีที่ศาลให้ประกันตัวแกนนำเสื้อแดง ซึ่งหลายฝ่ายเกรงจะทำให้สถานการณ์ทางการเมืองรุนแรงขึ้นว่า ขอฝากไปยังแกนนำเสื้อแดงทั้ง 7 คน ที่ถูกปล่อยตัวมาครั้งนี้ หากจะทำอะไรควรคิดให้รอบคอบ ต้องมีการวางแผนการให้ดี อย่าให้เกิดความรุนแรงเกิดขึ้น เพราะตนคิดว่าในไม่ช้านี้อาจจะมีการเลือกตั้ง ซึ่งจะทำให้เสียคะแนนนิยมได้ ตนเชื่อว่าแกนนำคงไม่อยู่เฉยเพราะออกมาก็ต้องมีการเคลื่อนไหวให้รู้ว่ายัง อยู่ แต่ก็ขึ้นอยู่กับรัฐบาลว่าจะยุบสภาเมื่อไหร่ ซึ่งรัฐบาลก็ต้องประเมินให้ดีด้วย และเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่ต้องดูแลไม่ให้เกิดความรุนแรง เมื่อถามว่าความรุนแรงของการชุมนุมของคนเสื้อแดง จะเป็นเหมือนในตะวันออกกลางและแอฟริกาหรือไม่ นางอมรา กล่าวว่า คิดว่าคนละแบบกัน เนื่องจากผู้นำชาติเหล่านั้น มีอำนาจมาเป็นเวลายาวนาน แต่ต่างจากประเทศไทย และหากเทียบเหตุการณ์กันแล้ว ของเขาเปรียบได้กับการเกิดเหตุการณ์เมื่อครั้ง 14 ตุลาของเรา ประเทศไทยเลยจุดนั้นมานานแล้ว และเป็นประเทศที่มีประชาธิปไตยไปมากแล้ว ที่มาข่าว: สำนักข่าวไทย สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
เผย "ชาลี ดีอยู่" ยังไม่ได้รับการเยียวยา Posted: 01 Mar 2011 05:47 AM PST สืบเนื่องจากกรณีนายชาลี ดีอยู่ เเรงงานข้ามชาติซึ่งบาดเจ็บจากการทำงาน ถูกนายจ้างทอดทิ้ง ถูกตำรวจและสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองควบคุมตัวเพื่อรอการผลักดันกลับประเทศพม่า โดยถูกล่ามโซ่ไว้กับเตียงผู้ป่วยทั้งที่ยังบาดเจ็บสาหัส ต่อมาเมื่อตรวจสอบพบว่าใบอนุญาตทำงานของนายชาลียังไม่หมดอายุ ศาลจึงได้มีคำสั่งให้ปล่อยตัวนายชาลีและให้สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองเยียวยาความเสียหายเนื่องจากจากการควบคุมตัวไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ ปัจจุบันนายชาลียังคงพักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลตำรวจ ประเมินการรักษาว่าจะใช้เวลาอีก 3 เดือน โดยเฉพาะอาการสะโพกและกระดูกต้นขาขวาหัก ซึ่งยังคงสาหัสและสร้างความเจ็บปวดให้นายชาลีเป็นอย่างมาก มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนเเละการพัฒนา (มสพ.) ขอเเจ้งความคืบหน้าเกี่ยวกับกรณีนายชาลี ดีอยู่ ดังนี้ 1.นายชาลียังไม่สามารถดำเนินการต่อใบอนุญาตทำงานได้อย่างสมบูรณ์ เนื่องจากการบาดเจ็บจึงไม่สามารถเดินทางไปตรวจสุขภาพเพื่อนำใบรับรองเเพทย์เป็นหลักฐานในการต่อใบอนุญาตทำงานและเพื่อประกันตนกับหลักประกันสุขภาพเเรงงานข้ามชาติ เเม้ว่าก่อนหน้านี้ มูลนิธิฯ จะได้ร้องเรียนไปยังกระทรวงเเรงงานและกระทรวงสาธารณสุขและได้รับคำมั่นจากปลัดกระทรวงเเรงงานว่าจะรับดำเนินการเกี่ยวกับการต่อใบอนุญาตทำงานของนายชาลีแล้วก็ตาม (หนังสือร้องเรียนเอกสารเเนบที่ 1) แต่ระหว่างการดำเนินการต่อใบอนุญาตทำงานของนายชาลีนั้น มูลนิธิฯกลับไม่ได้รับการติดต่อจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่ออำนวยความสะดวกเกี่ยวกับการตรวจสุขภาพและต่อใบอนุญาตทำงานสำหรับนายชาลีแต่อย่างใด อีกทั้งยังพบว่า ระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการต่อใบอนุญาตทำงานเของเรงงานข้ามชาติ ยังขาดความชัดเจนเกี่ยวกับกรณีการต่อใบอนุญาตทำงานสำหรับเเรงงานข้้ามชาติที่ได้รับบาดเจ็บจากการทำงาน ถูกทอดทิ้งโดยไม่มีนายจ้าง และถูกละเมิดสิทธิอย่างเช่นนายชาลี ซึี่งเป็นกรณีตัวอย่างของเเรงงานข้ามชาติอีกจำนวนมากซึ่งเป็นเหยื่อของระบบการจัดการเเรงงานข้ามชาติที่ล้มเหลว อย่างไรก็ตามกรมการจัดหางานได้อนุโลมต่อใบอนุญาตทำงานให้นายชาลี มีอายุถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2555เป็นกรณีพิเศษ แต่นายชาลียังคงไม่สามารถประกันตนตามหลักประกันสุขภาพเเรงงานข้ามชาติได้ 2. ค่ารักษาพยาบาลของนายชาลีนับตั้งเเต่ประสบอุบัติเหตุในวันที่ 9 มกราคม 2554 จนถึงปัจจุบัน และต่อเนื่องไปอีกไม่น้อยกว่า 3 เดือน ซึ่งยังไม่มีผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน ตลอดจนค่าทดเเทนความเสียหายอื่น ๆ จากการบาดเจ็บจากการทำงาน ซึ่งเเม้ว่ามูลนิธิฯ จะได้มีหนังสือร้องเรียนไปยังสำนักงานประกันสังคมซึ่งรับผิดชอบดูเเลกองทุนเงินทดเเทนซึ่งมีหน้าที่ตามกฎหมายเกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาลเเละค่าทดเเทนสำหรับลูกจ้างที่บาดเจ็บจากการทำงาน (หนังสือร้องเรียนเอกสารเเนบที่ 2) ตลอดจนกระทรวงเเรงงาน และกระทรวงสาธารณสุขแล้วก็ตาม แต่กลับยังไม่ได้รับคำตอบใด ๆ ที่ชัดเจนอย่างเป็นทางการ ดังนั้นเพื่อสอบถามเเนวทางที่ชัดเจนเกี่ยวกับการต่อใบอนุญาตทำงาน การตรวจสุขภาพ และการประกันสุขภาพสำหรับเเรงงานข้ามชาติที่ได้รับบาดเจ็บจากการทำงาน และทวงถามการดำเนินการเกี่ยวกัับสิทธิเกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาลและค่าทดเเทนความเสียหายสำหรับชาลี มสพ. จึงได้ยื่นหนังสือสอบถามไปยังกระทรวงสาธารณสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเเรงงาน และเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม ลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2554 ที่ผ่านมา สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
พีมูฟจี้นายกเร่งสั่งการแก้ปัญหา Posted: 01 Mar 2011 04:26 AM PST 1 มี.ค. 54 - ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.) ออกแถลงการณ์ “๑๔ วัน การชุมนุมคนจน การแก้ไขปัญหาไม่คืบหน้า ถึงเวลานายกต้องสั่งการ” โดยมีเนื้อหาดังต่อไปนี้
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
ทัพพม่าเสริมกำลังกว่า 10 กองพัน กดดันไทใหญ่ "เหนือ" Posted: 01 Mar 2011 02:56 AM PST กองทัพพม่าส่งกำลังทหารกว่า 10 กองพันเข้ากดดันกองกำลังไทใหญ่ "เหนือ" เผยสถานการณ์ค่อนข้างตึงเครียด ขณะที่ประชาชนในพื้นที่เดือดร้อนหนักจากราคาสินค้าแพงหลังทหารพม่าปิดเส้นทาง แหล่งข่าวเจ้าหน้าที่ระดับสูงกองกำลังไทใหญ่ "เหนือ" Shan State Army 'North' เปิดเผยว่า ขณะนี้รอบพื้นที่เคลื่อนไหวกองกำลังไทใหญ่ "เหนือ" ซึ่งมีตั้งกองบัญชาการใหญ่อยู่บ้านไฮ เขตเมืองเกซี ในรัฐฉานภาคเหนือ มีกำลังทหารพม่าถูกส่งเข้าไปเคลื่อนไหวไม่ต่ำกว่า 10 กองพัน และมีกำลังทหารรวมไม่ต่ำกว่า 1 พันนาย นอกจากยังมีกองพันปืนใหญ่และหน่วยยานเกราะรวมอยู่ด้วย เจ้าหน้าที่ SSA "North' กล่าวว่า แม้ขณะนี้สถานการณ์จะดูค่อนข้างตึงเครียด แต่ในส่วนของกองกำลังไทใหญ่ "เหนือ" ยังคงยึดแนวทางสันติอย่างที่เคยเป็นมา แต่หากเมื่อใดทหารพม่าเปิดศึกใช้กำลังปราบปราม ทาง SSA 'North' ก็จำเป็นต้องปกป้องตัวเองและขณะนี้ก็มีการเตรียมพร้อมรับมืออยู่ ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ SSA 'North' คนเดิมยังได้เปิดเผยถึงกรณีกองทัพพม่าปิดเส้นทางเข้าออกพื้นที่ของ SSA 'North' ว่า ได้ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตราษฎรในพื้นที่อย่างมาก ซึ่งไม่สามารถทำมาค้าขายได้ อีกทั้งพืชผลที่เก็บเกี่ยวได้ก็ไม่สามารถส่งออกขายนอกพื้นที่ ขณะที่นักเรียน นักศึกษาที่ไปศึกษาอยู่ต่างเมือง ก็ไม่สามารถเดินทางกลับบ้านได้ ตั้งแต่วันที่ 20 ก.พ. 2554 ที่ผ่านมา กองทัพรัฐบาลทหารพม่าได้มีคำสั่งปิดเส้นทางรถยนต์ทุกเส้นทางที่เข้าสู่เขต พื้นที่บ้านไฮ ของเมืองเกซี (รัฐฉานภาคเหนือ) ซึ่งเป็นที่ตั้งกองบัญชาการใหญ่กองกำลังไทใหญ่ "เหนือ" SSA 'North' อดีตกองกำลังหยุดยิงที่ปฏิเสธจัดตั้งหน่วยพิทักษ์ชายแดน (BGF) ใต้กำกับของรัฐบาลทหารพม่า โดยเส้นทางที่ถูกปิดคือ เส้นทางสายเมืองหนอง - เมืองต้างยาน และเส้นทางสายเมืองเกซี – เมืองสู้ ซึ่งเป็นเส้นทางเชื่อมเมืองทั้งสี่ด้าน อย่างไรก็ตาม การปิดเส้นทางของทหารพม่ายังส่งผลให้ราคาสินค้า โดยเฉพาะข้าวสารพุ่งสูงขึ้น ก่อนหน้านี้ราคาข้าวสารตกกระสอบละ 5 หมื่นจั๊ต ขณะนี้พุ่งขึ้นเป็น 6 หมื่นจั๊ต นอกจากนี้ค่าเหมารถเดินทางก็พุ่งถึง 1 เท่าตัว โดยก่อนหน้านี้การเดินทางจากเมืองล่าเสี้ยว – เมืองสู้ อยู่ที่ประมาณ 12,500 จั๊ต แต่เดี๋ยวนี้ต้องจ่ายถึง 25,000 จั๊ต แถมยังต้องใช้เวลาเดินทางนานกว่า 12 ชั่วโมง เนื่องจากต้องใช้เส้นทางอ้อม ขณะที่มีรายงานว่า ประชาชนในพื้นที่เมืองสู้ อยู่ทางทิศตะวันออกของบ้านไฮ ต่างอยู่กันอย่างหวาดผวาและไม่กล้าให้บุตรหลานที่เป็นผู้หญิงออกบ้านในยามค่ำคืน เหตุเนื่องจากมีการพูดกันอย่างหนาหูถึงกรณีที่มีทหารพม่าหลายนายพูดว่า ทหารพม่าไม่ต้องการกำลังพล หรือ อาวุธของกองกำลังไทใหญ่ "เหนือ" หากแต่ต้องการเพียงควบคุมพื้นที่และต้องการหญิงไทใหญ่เท่านั้น ชมภาพ / อ่านข่าวย้อนหลังได้ที่ "คนเครือไท" เป็นศูนย์ข่าวภาคภาษาไทยเครือข่ายสำนักข่าวอิสระไทใหญ่ หรือ สำนักข่าวฉาน (SHAN – Shan Herald Agency for News) มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารจากเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในรัฐฉาน สหภาพพม่า ตลอดจนตามแนวชายแดนไทย ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับองค์กรการเมือง / การทหารกลุ่มใด สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ shan_th@cm.ksc.co.th หรือ ติดตามอ่านข่าวสารภาคภาษาอังกฤษได้ที่ www.shanland.org ภาคภาษาไทใหญ่ที่ www.mongloi.org และภาคภาษาไทยที่ www.khonkhurtai.org สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
"สมช." ยันจัดเจ้าหน้าที่ดูแลชุมนุมใหญ่ "นปช." ได้ ด้าน "พธม.ภูเก็ต" อนุญาต "นปช." สัมมนาได้ Posted: 01 Mar 2011 02:29 AM PST "สมช." ยันจัดเจ้าหน้าที่ดูแลชุมนุมใหญ่ "นปช." ได้ ด้าน พันธมิตรฯภูเก็ตออกแถลงการณ์ จะไม่มีการเคลื่อนไหวต่อต้านการสัมมนาของกลุ่ม นปช. ในวันที่ 3 มีนาคม ที่จังหวัดภูเก็ต แต่ขอให้กลุ่ม นปช.ชุมนุมอย่างสงบ อยู่ภายใต้กรอบของกฎหมาย ไม่ปลุกระดมและจาบจ้วงล่วงละเมิดสถาบันพระมหากษัตริย์ ที่ทำเนียบรัฐบาล นายถวิล เปลี่ยนศรี เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) กล่าวเมื่อ วันที่ 1 มีนาคม ถึงการชุมนุมใหญ่ของกลุ่มคนเสื้อแดง ในวันที่ 12 มีนาคม ว่า คิดว่าเจ้าหน้าที่ดูแลได้ เพราะดูแลกันมาหลายครั้งแล้ว ตนคาดว่าไม่น่าจะมีอะไร อย่างไรก็ตาม หากมีการชุมนุมยืดเยื้อเราก็ต้องดูแล ส่วนการขอพื้นที่การจราจรเพิ่มเติมจากกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) คงอยู่ในแผนของศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.) ด้านกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จังหวัดภูเก็ต นำโดยนางสาวอาภารัตน์ ชาติชุติกำจร แกนนำฯ ออกแถลงแถลงการณ์เรื่องการสัมมนาทางการเมืองของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อ ต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือ นปช. ที่ จังหวัดภูเก็ตในวันที่ 3 มีนาคม 2554 นี้ ที่มาข่าวเรียบเรียงจาก: มติชนออนไลน์, ASTV ผู้จัดการออนไลน์
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
ครม.อนุมัติงบรักษาความสงบจากการชุมนุม 94 ล้านบาท Posted: 01 Mar 2011 02:15 AM PST นายวัชระ กรรณิการ์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยวันที่ 1 มีนาคม ว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติเงินสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2554 งบกลาง รายการสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น วงเงินทั้งสิ้น 94,212,560 บาท ตามที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เสนอเป็นค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในการรักษาความสงบเรียบ ร้อยจากเหตุการณ์การชุมนุมเรียกร้องทางการเมือง ในระยะเวลา 12 วัน ระหว่างวันที่ 9-20 กุมภาพันธ์ โดยแบ่งให้หน่วยงานต่างๆ ดังนี้ 1.สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 91,034,960 บาท 2.กองทัพบก 446,400 บาท 3.กองทัพเรือ 158,400 บาท 4.กองทัพอากาศ 158,400 5.กรุงเทพมหานคร 2,414,400 บาท ที่มาข่าว: มติชนออนไลน์ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
เสียงก้องกรณีเหตุเกิดที่มติชน: สัญญาณความเสื่อมและความเสี่ยง Posted: 01 Mar 2011 01:01 AM PST ได้อ่านเรื่อง "เหตุเกิดที่มติชน: เสียงเรียกร้องแด่เพื่อนร่วมวิชาชีพ” ในเว็บไซต์ประชาไทประกอบกับเสียงที่ดังเซ็งแซ่ ในแวดวงผู้สื่อข่าวถึงเรื่องที่เกิดขึ้นในหนังสือพิมพ์ที่อ้างว่า เป็นหนังสือพิมพ์คุณภาพ เพื่อคุณภาพของประเทศแล้ว เกิดความรู้สึกว่า หนังสือพิมพ์ฉบับนี้จะมีคุณภาพได้อย่างไร ถ้าพนักงานของบริษัท รวมทั้งผู้สื่อข่าว ยังถูกเอารัดเอาเปรียบ ไม่มีทางปกป้องตนเองจากการกดขี่แรงงานของเจ้าของและนายทุน บทความดังกล่าวระบุว่า เมื่อเดือนมกราคม 2554 ที่ผ่านมา บริษัท มติชน จำกัด(มหาชน)ซึ่งจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯได้ออกระเบียบเปลี่ยนแปลงข้อ ตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างว่าด้วยการเกษียณอายุพนักงานโดยการตัดบำเหน็จ พนักงานที่บริษัทออกระเบียบไว้เมื่อปี 2547 ทิ้งทั้งมดและให้จ่ายเฉพาะเงินชดเชยตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานเท่านั้น การตัดเงินบำเหน็จดังกล่าวทำให้พนักงานที่เกษียณอายุ 60 ปีและทำงานมานานกว่า 30 ปี(รวมถึงพนักงานอายุ 55 ปีที่ขอเกษียณก่อนกำหนดด้วย) ควรมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จและเงินค่าชดเชยสูงสุดกว่า 30 เดือน (นำระยะเวลาการทำงานคูณด้วยอัตราเงินเดือนเดือนสุดท้าย )เหลือเพียงเงินชดเชยเพียง 10 เดือนเท่านั้น เช่น พนักงานคนหนึ่งทำงานมานาน 30 ปี จนเกษียณอายุ มีเงินเดือน(รวมเงินอื่นๆ เช่น ค่าครองชีพ ที่จ่ายเป็นรายเดือน 50,000บาท) ก็ได้จะบำเหน็จ จากบริษัทรวมทั้งสิ้น 1.5 ล้านบาทก็จะเหลือเงินชดเชยเพียง 500,000 บาท ระเบียบที่ออกมาใหม่ดังกล่าวได้สร้างความปั่นป่วนและบั่นทอนกำลังใจพนักงาน มติชนอย่างมากโดยเฉพาะพวกที่อายุใกล้ 50 อายุ 50 กว่าหรือ ใกล้ 60 ปี เพราะ คนเหล่านี้ต้องการเงินก้อนนี้(เงินบำเหน็จ)ในการดำรงชีพในช่วงบั้นปลายของ ชีวิตและเป็นแรงจูงใจสำคัญที่ทำให้พวกเขาทุ่มเททำงานให้มติชนมานานนับสิบปี ไม่เคยมีใครนึกว่า จู่ๆ บริษัทจะออกระเบียบมาฉกฉวยเอาเงินก้อนนี้ไปจากชีวิตในบั้นปลายของพวกเขา ไม่มีใครรู้ว่า เจ้าของและนายทุนมีเหตุผลอย่างไรในการออกมาระเบียบมาตัดบำเหน็จของพนักงานออกทั้งหมด ถ้าเป็นเหตุผลทางธุรกิจเพื่อประหยัดรายจ่ายหรือเพื่อให้บริษัทมีกำไรและเงินปัน ผลสำหรับเจ้าของเพิ่มขึ้นแล้วละก็ เจ้าของและนายทุนกำลังคิดผิดเพราะการกระทำดังกล่าวกำลังนำพาบริษัทไปสู่ความ เสี่ยงและอาจต้องจ่ายเงินก้อนใหญ่มากขึ้น การที่บริษัทมติชนออกระเบียบว่าด้วยการเกษียณอายุพนักงานฉบับใหม่(เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2554)ตัดบำเหน็จพนักงานตามระเบียบที่เคยออกไว้เมื่อเดือนสิงหาคม 2547 นั้น ได้รับทราบจากพนักงานว่าเป็นการแก้ไขหรืออกระเบียบบริษัทโดยที่พนักงานไม่ ทราบมาก่อน แต่เป็นการออกระเบียบมาบังคับฝ่ายเดียว การออกระเบียบดังกล่าวจึงเป็นการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ไม่เป็นคุณหรือเป็นโทษกับลูกจ้างโดย ไม่มีการยื่นข้อเรียกร้องขอแก้ไขข้อตกลงสภาพการจ้างแก่ลูกจ้างและไม่ได้รับ ความยินยอมจากลูกจ้างตามขั้นตอนของกฎหมาย จึงเป็นการแก้ไขที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 การแก้ไขระเบียบดังกล่าวจึงไม่มีผลบังคับตามกฎหมาย ต้องบังคับตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเดิม คดีในลักษณะดังกล่าวมีการนำขึ้นสู่ศาลแรงงานเป็นจำนวนมาก และศาลฎีกาพิพากษาออกมาเป็นแนวทางเดียวกันคือ นายจ้างเป็นฝ่ายแพ้ ต้องจ่ายเงินบำเหน็จให้แก่พนักงานพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ดังนั้นถ้าบริษัทดื้อดึงสู้คดีซึ่งอาจกินเวลานานหลายปี ก็ต้องเสียดอกเบี้ยเป็นจำนวนมากและในอัตราที่สูงกว่าดอกเบี้ยเงินฝากของ ธนาคารพาณิชย์ เข้าทำนองเสียน้อยเสียยากเสียมากเสียง่าย ลองนึกดูว่าถ้ามีพนักงานสัก 50 คนยื่นฟ้องบริษัท เรียกค่าบำเหน็จคนละ 1 ล้านบาท รวม 50 ล้านบาท ถ้าใช้เวลา 1 ปีในการพิจารณาคดีก็ต้องเสียดอกเบี้ยรวมเป็นเงินถึง 3.75 ล้านบาท แต่คดีส่วนใหญ่กว่าจะตัดสินในศาลฎีกาอาจนานถึง 5 ปี บริษัทจะเสียดอกเบี้ยถึง 18.75 ล้านบาท ที่สำคัญบริษัทต้องนำเงินค่าบำเหน็จบวกดอกเบี้ยไปวางเป็นประกันที่ศาลแรงงาน ทันทีที่แพ้คดีในระหว่างอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาและขอทุเลาการบังคับคดี การแพ้คดีดังกล่าว นอกจากสร้างความเสียหายให้แก่บริษัทมหาศาลแล้วยังเสื่อมเสียชื่อเสียง เกียรติคุณของหนังสือพิมพ์มติชนที่สร้างสมมานานกว่า 30 ปีให้พังทลายลงในพริบตา หรือถึงที่สุดแล้ว เมื่อผลประโยชน์เข้าตา จริยธรรมคุณธรรมที่เคยห่อหุ้มร่างกายก็ปริแตกและละลายหายวับไปกับสายลม สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
ครม.อนุมัติงบช่วยแรงงานไทยกลับจากลิเบียคนละ 15,000 บาท Posted: 01 Mar 2011 12:45 AM PST 1 มี.ค. 54 -ที่ประชุม ครม.อนุมัติในหลักการตามที่ ก.แรงงาน และ ก.ต่างประเทศ ขอในเรื่องเงินช่วยเหลือแรงงานไทยที่ประสบภัยในลิเบียจนต้องเดินทางกลับ ประเทศ เบื้องต้นรัฐบาลจะให้ความช่วยเหลือคนละ 15,000 บาท นายวัชระ กรรณิการ์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ระบุ ก.ต่างประเทศ ได้เสนอของบ 403 ล้านบาท ในการเคลื่อนย้ายอพยพแรงงานไทยในลิเบีย ขณะที่ ก.แรงงาน เสนอของบ 343 ล้านบาท ช่วยเหลือแรงงานไทยที่เดินทางกลับมา โดยที่ประชุม ครม.อนุมัติในหลักการและให้ทั้งสองกระทรวงไปหารือกับสำนักงบประมาณ ซึ่งเบื้องต้นรัฐบาลจะให้ความช่วยเหลือคนละ 15,000 บาท สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
จำคุกตำรวจขอมีเพศสัมพันธ์ชาวพม่าแลกอิสรภาพ Posted: 01 Mar 2011 12:39 AM PST วันนี้ (1 มี.ค. 54) ที่ศาลอาญากรุงเทพใต้ ถนนเจริญกรุง ศาลได้มีคำพิพากษาในคดีที่ ด.ต.ไพรัตน์ หรือสุรพัศ ศรีบัวสวน อายุ 45 ปี อดีตตำรวจสายตรวจ สน.พลับพลาไชย 1 เป็นจำเลยฐานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ข่มขืนกระทำชำเราหญิงอื่นซึ่งอยู่ความความควบคุม เรียกรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดเพื่อตนเพื่อไม่กระทำการตามหน้าที่ โดยเหตุเกิดเมื่อวันที่ 25 ก.ค. 52 จำเลยเป็นตำรวจสายตรวจ สน.พลับพลาไชย 1 มีหน้าที่ออกตรวจจับผู้กระทำความผิดกฎหมาย ได้พบหญิงชาวไทใหญ่ สัญชาติพม่า อายุ 27 ปี บริเวณคลองมหานาค เขตป้อมปรามศัตรูผ่าย กทม. แล้วได้เรียกขึ้นรถโดยไม่นำตัวไปส่งพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดี แต่ได้ขอร่วมหลับนอนกับนางนิดเพื่อแลกกับไม่ต้องถูกส่งตัวดำเนินคดี นางนิดจึงจำยอมให้ร่วมประเวณี 1 ครั้ง แล้วปล่อยตัวไป จึงเป็นการข่มขืนชำเราหญิงอื่นโดยอยู่ในอำนาจควบคุม และการกระทำของจำเลยเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตาม ป.อาญามาตรา 149, 157, 276 จำเลยให้การปฏิเสธ ศาลพิเคราะห์พยานหลักฐานที่ทั้งสองฝ่ายนำสืบแล้วเห็นว่า การกระทำของจำเลยไม่เป็นการข่มขืนกระทำชำเรา แต่เป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่กระทำการสืบสวนจับกุม เรียกรับประโยชน์เพื่อตน เพื่อไม่กระทำการตามหน้าที่ ตาม ป.อาญามาตรา 149 จึงให้ลงโทษจำคุก 6 ปี เมื่อเป็นความผิดตามมาตรา 149 แล้ว จึงไม่ต้องปรับบทมาตรา 157 อันเป็นบททั่วไปอีก. ที่มา: เรียบเรียงจาก เว็บไซต์เดลินิวส์ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
พม่าจับ 2 ชาวต่างชาติ สงสัยเป็นสายลับซีไอเอ Posted: 01 Mar 2011 12:36 AM PST มีรายงานว่า 2 ชาวต่างชาติที่ทำงานเป็นอาสาสมัครให้กับโรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่งในย่างกุ้งถูกจับเมื่อช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยถูกทางการพม่าตั้งข้อหาว่าเป็นสายลับให้กับหน่วยงานซีไอเอ อย่างไรก็ตาม จนถึงขณะนี้ ยังไม่ทราบว่า ทั้ง 2 คนที่ถูกจับ เป็นคนชาติใดและเป็นใคร ทั้งนี้ชาวต่างชาติทั้งสองคนทำงานเป็นอาสาสมัครให้กับโรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่งในย่างกุ้ง ซึ่งเจ้าของโรงเรียนดังกล่าวคือดอกเตอร์จายจ่ามทุน ขณะที่จายจ่ามทุนปฏิเสธที่จะให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับเรื่องนี้ ด้านสถานทูตอเมริกาเองก็ยังไม่สามารถให้รายละเอียดใดๆในขณะนี้เช่นกัน ขณะที่ชาวต่างชาติที่ทำงานอยู่ในพม่า ทั้งเจ้าหน้าที่ทูตและเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานเอ็นจีโอต่างถูกทางการพม่าจับตามองและถูกควบคุมอย่างใกล้ชิด โดยนับตั้งแต่การประท้วงของพระสงฆ์เมื่อปี 2550 ที่ผ่านมา รัฐบาลพม่ายิ่งจับตามองชาวต่างชาติที่ทำงานอยู่ในประเทศมากยิ่งขึ้น มีรายงานด้วยว่า เจ้าหน้าที่หน่วยงานเอ็นจีโอชาวต่างชาติที่ออกนอกเขตเมือง เพื่อลงพื้นที่ทำงานวิจัยก็มักจะถูกติดตามจากเจ้าหน้าที่พม่าอยู่เป็นประจำ เช่นเดียวกับเมื่อปีที่แล้วก็พบว่า ครูสาวชาวต่างชาติรายหนึ่ง ซึ่งทำงานให้กับศูนย์อเมริกันในย่างกุ้งถูกเนรเทศให้ออกจากประเทศ หลังจากที่รัฐบาลพม่าพบว่า ครูสาวรายนี้ได้พูดคุยเกี่ยวกับประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมกับสมาชิกพรรคเอ็นแอลดีในเมืองมัณฑะเลย์ (Irrawaddy 28 ก.พ.54) แปลและเรียบเรียงโดย สาละวินโพสต์ "สื่อทางเลือกเพื่อแบ่งปันความเข้าใจสู่เพื่อนบ้าน"อ่านข่าวและบทความอื่นๆ อีกมากมายได้ที่เว็บไซต์ www.salweennews.org เฟซบุ๊คhttp://www.facebook.com/Salweenpost ทวิตเตอร์http://twitter.com/salweenpost สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
ต่อรองกับปีศาจ : เมื่อการปฏิวัติโลกอาหรับส่งผลดีต่อการต้านการก่อการร้าย Posted: 01 Mar 2011 12:28 AM PST อดีต CIA เขียนบทความลงอัลจาซีร่าในชื่อ "การต่อต้านการก่อการร้ายกับการปฏิวัติในโลกอาหรับ" ถึงการลุกฮือในประเทศโลกอาหรับ ว่าเหตุใดมันถึงเป็นข่าวร้ เมื่อวันที่ 27 ก.พ. 2554 มีบทความในอัลจาซีร่าเผยแพร่ ในตอนนั้นเปลวเพลิงในตูนีเซียยั ในวินาทีนั้น ผมไม่เข้าใจว่าเขาหมายถึงอะไร และแทนที่จะรู้สึกไม่พอใจ ผมกลับรู้สึกตื่นเต้นเช่นเดี นี่เป็นสิ่งที่ผมเคยร่วมพัฒนามั ช่างเป็นความกล้าหาญ ความมีวินัย ความน่ายกย่อง ที่ประช่ แต่ไม่นานนักผมก็ฉุกคิดถึ ความพึงพอใจที่ผมได้เห็นการริ ต่อรองกับปีศาจ* ในความเป็นจริงสำหรับผู้ที่ต่ หากจะเริ่มทำความเข้าใจกั มันเป็นการต่อรองกับปีศาจที่ตั ในสงคราม คนเราก็ต้องแสวงหาความช่วยเหลื และอย่างน้อย ใครก็ตามที่ทำสัญญาต่อรองกับปี การแก้ปัญหาในวงกว้าง ในกรณีของสิ่งที่เรียกว่ ทางออกสำหรับปัญหาการก่อการร้ ความท้าทายที่แท้จริงอยู่ที่ สำหรับบางคนแล้วมันเป็นความเห็ หากจะมีการต่อต้านความรู้สึกชื่ หากชาวตะวันตกต้องการเข้าร่ นโยบายเหนือการประชาสัมพันธ์ ผมจำภาพตอนที่ผมเข้าร่วมประชุ ในฐานะที่ในตอนนั้นผมเป็นเจ้ ผมชี้ให้เห็นหนทางหลักๆ คือการปฏิรูปประชาธิปไตยซึ่งเป็ ผมจำได้เป้นอย่างดีเช่นเดียวกั ในทำเนียบขาวสมัยรัฐบาลบุช เป็นข้อห้ามหากจะพูดถึง "รากฐานสาเหตุ" ของปัญหาการก่อการร้าย เพราะมันจะเป็นการเพิ่ และในเชิงการต่อรองกับปีศาจ ไม่มีใครยอมรับว่าพวกเราได้ทำมั สงครามเชิงอุดมการณ์ หากจะมีความพยายามบ้างละก็ พวกเขาก็พยายามอย่างแกนๆ ในการใช้วิธีประชาสัมพันธ์ โดยเน้นการใช้ข้อความที่ไม่ได้ และไม่ว่าในสมัยของรัฐบาล จอร์จ บุช จะเลวร้ายเพียงใดในแง่นี้ ในสมัยของรัฐบาลโอบามา ประธานาธิบดีผู้มีสำนวนโวหารนุ่ ความจริงแล้ว แม้อเมริกันจะพยายามทำ "สงครามเชิงอุดมการณ์" อย่างแข็งขันในโลกมุสลิม แต่ก็จะสร้างความแตกต่างได้ การต่อต้านอุดมการณ์ของผู้ก่ ณ ที่เหล่านี้และทั่วทั้งตะวั บิน ลาเดน ตกกระป๋อง สิ่งที่ชาวอาหรับกำลังแสดงให้ การเสริมกำลังทางด้านประชาธิ การต่อสู้ยังไม่ถือว่าจบลง จริงๆ แล้วมันเพิ่งเริ่มต้นเท่านั้น ตรรกะของมันยังทำหน้าที่ในส่ ขณะเดียวกันคำมั่นสั อย่างไรก็ตาม โลกอาหรับในเช้าวันนี้ ทั้งโอซามา บิน ลาเดน และ อัยมาน ซาวาฮิรี ควรจะต้องกลัวกระแสในครั้งนี้ ที่มา Counter-terrorism and Arab revolt, Aljazeera, 27-02-2011 * ต้นฉบับใช้คำว่า Faustian Bargains
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
You are subscribed to email updates from ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์ To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น