โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันจันทร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2554

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์

ชาวกะเหรี่ยง 84,000 คน ลงชื่อร้อง “บันคีมุน” ช่วยหยุดการสู้รบในพม่า

Posted: 07 Mar 2011 10:49 AM PST

วันนี้ (8 มี.ค.54) กลุ่มเพื่อนพม่า (FOB) ส่งเอกสารแปล จากเอกสารของสำนักงาน กองบัญชาการสูงสุดแห่งสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง กอตูเล ลงวันที่ 28 ก.พ.54 ระบุ ชาวกะเหรี่ยง 84,000 คนได้เข้าชื่อในข้อร้องให้ เลขาธิการสหประชาชาติ นายบันคีมุน ใช้นโยบายที่มีประสิทธิภาพ เพื่อหยุดปัญหาเผด็จการทหารพม่าทำร้ายประชาชน และล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อพลเมืองทันที

ทั้งนี้ เอกสารดังกล่าวระบุเนื้อหาดังนี้

สำนักงาน กองบัญชาการสูงสุด
แห่งสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง กอตูเล

พลเมืองชาวกะเหรี่ยง 84,000 คนเรียกร้องต่อ บานคีมุน ให้ช่วยหยุดการสู้รบในพม่า

วันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

เมื่อวันจันทร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ 2554 ข้อเรียกร้องที่เข้าชื่อโดยพลเมืองชาวกะเหรี่ยงจำนวน 84,000 คนจะถูกยื่นให้แก่ เลขาธิการสหประชาชาติบานคีมุน และผู้นำระดับโลกรวมถึง นายกรัฐมนตรีของอังกฤษ เดวิด แคมเมอรอน และ นายกรัฐมนตรีของออสเตรเลีย จูเลีย กิลลาร์ด การยื่นข้อเรียกร้องนี้จะมีขึ้นใน 8 ประเทศ คือ ญี่ปุ่น, นอร์เวย์, เยอรมัน, สวีเดน และแคนนาดา ข้อเรียกร้องนี้เห็นพ้องโดยองค์กรกะเหรี่ยงจาก 15 ประเทศทั่วโลก และนี่ถือเป็นครั้งแรกของการยื่นข้อเรียกร้องของชาวกะเหรี่ยงต่อผู้นำระดับโลก

ชาวกะเหรี่ยง 84,000 คนได้เข้าชื่อข้อร้องนี้เรียกร้องให้ เลขาธิการสหประชาชาติบานคีมุนให้ใช้นโยบายที่มีประสิทธิภาพเพื่อหยุดปัญหาเผด็จการทหารพม่าทำร้ายประชาชน และล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อพลเมืองทันที

ข้อเรียกร้องนี้ได้ถูกจัดทำขึ้นโดยสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (เคเอ็นยู) ซึ่งองค์กรทางการเมืองที่ใหญ่ที่สุดที่เป็นตัวแทนของชาวกะเหรี่ยงในพม่า ที่มาจากความร่วมมือของผู้นำชุมชน และได้รับการสนับสนุนจากชุมชนกะเหรี่ยง และองค์กรทั่วโลก

ผู้ที่ร่วมลงนามในข้อเรียกร้องนั้นประกอบด้วยพลเมืองอายุ 16 ถึง 103 ปีเป็นผู้ซึ่งได้รับผลกระทบต่อการกระทำของทหารพม่า พลเมืองเหล่านี้ประสบปัญหาการล่วงละเมิดสิทธิต่างๆ เช่น การบังคับใช้แรงงาน, ปล้นสะดม, บังคับขู่เข็ญ, ทำลายที่อยู่อาศัย, หมู่บ้าน, พืชผล และไร่นา, บังคับให้ย้ายถิ่นฐาน, การฆ่านอกเขตบังคับใช้กฎหมาย มีทั้งผู้หญิง และเด็กที่ถูกทำร้าย, ทรมาน รวมทั้งการข่มขืนเด็ก และผู้หญิงอย่างเป็นระบบโดยทหารพม่ามาเป็นเวลาหลายสิบปี กว่า 3,600 หมู่บ้านในรัฐทางตะวันออกของพม่านั้นก็ถูกทำลายอย่างต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลา 15 ปีแล้ว เฉลี่ย 4 หมู่บ้านต่ออาทิตย์

ในปี พ.ศ.2554 ก่อนการเลือกตั้งในพม่าเมื่อเดือนพฤศจิกายน สหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยงนั้นได้เก็บข้อมูลการล่วงละเมิดสิทธิในหลายพื้นที่ในรัฐกะเหรี่ยง พบว่ามีพลเมืองที่ถูกฆ่าเป็นจำนวน 18 คน, ถูกทรมานเป็นจำนวน 38 คน, ทำร้ายร่างกายจำนวน 52 คน, ถูกจับโดยไม่มีข้อหา 2,336 คน และถูกใช้เป็นแรงงานทาส, บ้าน และโรงเรียนอีก 198 แห่งนั้นถูกทำลาย, ไร่นา และสวนอีกจำนวน 146 แห่งถูกทำลาย และพลเมืองอีกมากกว่า 3,000 คนจำต้องหลบหนีจากที่อยู่อาศัย และไปหลบอยู่ในป่า

การเลือกตั้งมีขึ้นในวันที่ 7 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2554 นั้นไม่ได้เป็นสิ่งที่จะนำมาซึ่งประชาธิปไตย, การปรองดอง หรือสันติภาพ และความมั่นคงในประเทศพม่า และมันจะไม่แก้รากแห่งปัญหา ซึ่งนั่นก็คือความไม่เท่าเทียมของกลุ่มชาติพันธุ์ และสิทธิมนุษยชน รัฐธรรมนูญนั้นเขียนขึ้นมาเพื่อรักษาการมีอยู่ของทหารโดยที่ไม่ให้สิทธิและปกป้องกลุ่มชาติพันธุ์ และนี่ถือเป็นปัญหาใหญ่ต่อกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในพม่า

สหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยงต้องการแก้ไขปัญหานี้โดยทำการเรียกร้องหลายต่อหลายครั้งต่อรัฐบาลทหารพม่าให้ตอบรับการเรียกร้องจากสมัชชาสหประชาชาติ, คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ, สหภาพยุโรป, สหรัฐอเมริกา และอื่น ๆ และให้เข้าร่วมการเจรจาไตรภาคีเพื่อการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น อย่างไรก็ตามรัฐบาลทหารพม่านั้นได้ปฏิเสธที่จะเข้าร่วม อีกทั้งยังจงใจทำร้ายพลเมืองของเรา

“นี่ถือเป็นการเรียกร้องที่เป็นประวัติการณ์ต่อสหประชาชาติจากชาวบ้านธรรมดาผู้ซึ่งประสบปัญหาจากการล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชน ทหารพม่าได้ทำผิดข้อหาอาชญากรรมสงคราม และอาชญากรรมต่อมนุษยชาติมานานแล้ว เราเรียกร้องให้เลขาธิการสหประชาชาติได้ใช้อำนาจเพื่อกดดันให้รัฐบาลทหารพม่าหยุดการทำสงคราม และล่วงละเมิดสิทธิพลเมืองทั้งในเขตรัฐ และพื้นที่กะเหรี่ยง” นอ ซิปโประ ซิน เลขาธิการใหญ่สหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง กล่าว

“เราขอเรียกร้องให้บานคีมุนร่วมมือกับรัฐบาลทั่วโลกให้มีการประกาศหยุดยิงทั่วประเทศ ช่วยเป็นผู้นำการเจรจาที่จะนำไปสู่การหันหน้าเข้าหากัน และร่วมกันก่อตั้งสหพันธรัฐแห่งพม่าที่มีความเท่าเทียมกันของชาติพันธุ์ และสิทธิมนุษยชน สหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยงนั้นทำงานเพื่อให้ได้มาซึ่งสันติภาพ, ความมั่นคง, ประชาธิปไตย และสหพันธรัฐแห่งพม่า”

รายชื่อองค์ที่ร่วมสนับสนุนข้อเรียกร้องนี้

  1. องค์กรออสเตรเลีย กะเหรี่ยง
  2. สมาคมอเมริกา กะเหรี่ยงแห่งยูทีก้า
  3. องค์กรเดนมาร์ก กะเหรี่ยง
  4. ชุมชนกะเหรี่ยงในเพนซิลเวเนียตะวันออก
  5. เครือข่ายกะเหรี่ยงยุโรป
  6. ชุมชนกะเหรี่ยงแห่งประเทศแคนนาดา
  7. ชุมชนกะเหรี่ยงแห่งอาริโซน่า
  8. สมาคมชุมชนกะเหรี่ยงแห่งไอร์แลนด์
  9. สมาคมชุมชนกะเหรี่ยงแห่งสหราชอาณาจักร
  10. ชุมชนกะเหรี่ยงแห่งนอร์เวย์
  11. ชุมชนกะเหรี่ยงแห่งสาธารณรัฐเชก
  12. ชุมชนกะเหรี่ยงแห่งแอตแลนติกกลาง
  13. ชุมชนกะเหรี่ยงแห่งมินนิโซต้า
  14. ชุมชนกะเหรี่ยงแห่งวิสคอนซิน
  15. ชุมชนชาวกะเหรี่ยงแห่งญี่ปุ่น
  16. ชุมชนชาวกะเหรี่ยงแห่งเยอรมัน
  17. ชุมชนชาวกะเหรี่ยงในเนเธอร์แลนด์
  18. ชาวกะเหรี่ยง
  19. สหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยงในญี่ปุ่น
  20. สหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยงในสหราชอาณาจักร
  21. ชุมชนชาวกะเหรี่ยงในสวีเดน
  22. องค์กรเยาวชนกะเหรี่ยง - เกาหลี
  23. องค์กรเยาวชนกะเหรี่ยง - กอตูเล
  24. กลุ่มเครือข่ายนักเรียนกะเหรี่ยง
  25. คณะทำงานครูกะเหรี่ยง
  26. กลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัยกะเหรี่ยง
  27. องค์กรผู้หญิงกะเหรี่ยง
  28. องค์กรกะเหรี่ยงแห่งมาเลเซีย
  29. องค์กรชาวกะเหรี่ยงในต่างประเทศ - ญี่ปุ่น
  30. องค์กรผู้ลี้ภัยกะเหรี่ยง
  31. ชุมชนชาวกะเหรี่ยงยูทีก้า

ประเทศ

  1. ออสเตรเลีย
  2. สหราชอาณาจักร
  3. เยอรมัน
  4. นอร์เวย์
  5. ไอร์แลนด์
  6. สวีเดน
  7. เดนมาร์ก
  8. สาธารณรัฐเชก
  9. แคนนาดา
  10. สหรัฐอเมริกา
  11. ญี่ปุ่น
  12. เกาหลีใต้
  13. พม่า
  14. ไทย
  15. มาเลเซีย
  16. เนเธอร์แลนด์

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

คปร.ออกจดหมาย 5 ข้อ แจงปมจำกัดถือครองที่ดิน 50 ไร่

Posted: 07 Mar 2011 10:37 AM PST

 

วานนี้ (7 มี.ค.54) คณะกรรมการปฏิรูป (คปร.) ที่มีนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธาน ได้ออกจดหมาย กรณี “การจำกัดเพดานถือครองที่ดินกับนิติบุคคล” ระบุ 5 ประเด็นตอบข้อซักถามของนายกรัฐมนตรีและหลายฝ่ายในสังคมว่า ข้อเสนอของ ครป.ที่ให้จำกัดการถือครองที่ดินไม่เกิน 50 ไร่ ดังกล่าว มีจุดมุ่งหมายที่จะส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้ที่ถือครองที่ดินทุกกลุ่มถือครองและใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการเกษตรอย่างแท้จริง ซึ่งจะส่งผลให้เกิดแรงจูงใจในการผลิต เพิ่มผลผลิตและลดความเหลื่อมล้ำระหว่างเกษตรกรรายย่อย รายใหญ่และกลุ่มธุรกิจการเกษตร ให้มีความสามารถในการแข่งขัน โดยไม่มีจุดประสงค์ที่จะทำให้บุคคลหรือองค์กรกลุ่มใดได้รับความเสียหาย

จดหมายระบุด้วยว่าการปฏิรูปการจัดการที่ดินเพื่อการเกษตรมุ่งเน้นกระจายการถือครองที่ดินเพื่อการเกษตรให้กับผู้ที่ทำการเกษตรด้วยตนเองอย่างเป็นธรรมและทั่วถึง ควบคู่ไปกับการส่งเสริมสนับสนุนการเกษตรทั้งระบบอย่างครบวงจรให้ประสบความสำเร็จ ด้วยการจำกัดเพดานการถือครองที่ดินให้เป็นมาตรฐานเดียว อย่างจริงจังไม่เลือกปฏิบัติ ไม่มีข้อยกเว้น ซึ่งต้องครอบคลุมนิติบุคคล องค์กร บริษัทขนาดเล็กขนาดใหญ่ต่างๆ ตลอดจนหน่วยงานของรัฐด้วย ในส่วนการทำการเกษตรขนาดใหญ่ในรูปสหกรณ์หรือบริษัท สามารถทำได้และพัฒนาได้ เพียงแต่จะต้องเสียภาษีในอัตราก้าวหน้า ตามที่คณะกรรมการปฏิรูปเสนอ

ทั้งนี้จดหมาย ตอบข้อซักถามถึงรัฐบาลดังกล่าว มีรายละเอียดดังนี้

การจำกัดเพดานถือครองที่ดินและนิติบุคคล
คณะกรรมการปฏิรูป

มีนาคม ๒๕๕๔

สืบเนื่องจากที่นายกรัฐมนตรีได้มีข้อซักถามถึงการนำมาตรการการจำกัดการถือครองที่ดินไม่เกิน 50 ไร่ ที่คณะกรรมการปฏิรูปเสนอจะมีผลบังคับใช้สำหรับนิติบุคคลหรือองค์กร รวมถึงมีหลายฝ่ายในสังคมก็ได้แสดงความเป็นห่วงเกี่ยวกับการถือครองที่ดินสำหรับการเกษตรขนาดใหญ่ คณะกรรมการปฏิรูป จึงขอนำเสนอคำตอบข้อซักถามของนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจำกัดเพดานถือครองที่ดินกับนิติบุคคล เพื่อให้สาธารณชนได้รับทราบและพิจารณาไปพร้อมกันด้วย โดยคำตอบข้อซักถามดังกล่าวมีเนื้อหาข้อความดังต่อไปนี้

  1. รูปแบบการถือครองที่ดินเพื่อการเกษตรในปัจจุบันมีหลายรูปแบบ ทั้งส่วนบุคคล สหกรณ์ บุคคลที่ทำพันธะสัญญากับบริษัท และบริษัทขนาดใหญ่ รวมทั้งหน่วยงานของรัฐด้วย ซึ่งที่กล่าวมาทั้งหมดนี้นี้มีทั้งเป็นนิติบุคคลและไม่เป็นนิติบุคคล
  2. ข้อเสนอจำกัดการถือครองที่ดินเพื่อการเกษตรครัวเรือนละไม่เกิน 50 ไร่ มีจุดมุ่งหมายที่จะส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้ที่ถือครองที่ดินทุกกลุ่มดังกล่าวข้างต้น ได้ทำการถือครองและใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการเกษตรอย่างแท้จริง อันจะส่งผลให้เกิดแรงจูงใจในการผลิต การเพิ่มผลผลิต การบริหารจัดการในระบบการผลิตและการตลาดที่ดี มีความก้าวหน้า มีความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำระหว่างเกษตรกรรายย่อย เกษตรกรรายใหญ่และกลุ่มธุรกิจการเกษตรให้เหลือน้อยลง และมีความสามารถในการแข่งขัน โดยมิประสงค์ที่จะไปทำให้บุคคลหรือองค์กรกลุ่มใดต้องเสียหาย โดยเฉพาะนิติบุคคลในรูปบริษัท สหกรณ์ หรือรูปแบบอื่นๆ ที่เขาทำดีอยู่แล้ว
  3. คณะกรรมการปฏิรูปเห็นว่าขนาดการถือครองที่ดินขนาดเล็กหรือใหญ่ มิได้บ่งชี้ถึงผลิตภาพการเกษตร และไม่ได้บ่งชี้ว่าประเทศจะขาดแคลนผลิตผลการเกษตรเพื่อส่งออกสร้างรายได้ แต่ความเข้มแข็งและความสามารถของเกษตรกรและภาคธุรกิจต่างหากที่จะนำไปสู่การเพิ่มผลผลิตทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ ซึ่งจะนำไปสู่ความมั่นคงทางอาหารและความมั่งคั่งของประเทศชาติในอนาคตอันใกล้
  4. การปฏิรูปการจัดการที่ดินเพื่อการเกษตรจึงมุ่งเน้นกระจายการถือครองที่ดินเพื่อการเกษตรให้กับผู้ที่ทำการเกษตรด้วยตนเองอย่างเป็นธรรมและทั่วถึง ควบคู่ไปกับการส่งเสริมสนับสนุนการเกษตรทั้งระบบอย่างครบวงจรให้ประสบความสำเร็จ ด้วยการจำกัดเพดานการถือครองที่ดินให้เป็นมาตรฐานเดียว และทำให้จริงจังไม่เลือกปฏิบัติ ไม่มีข้อยกเว้น
    ดังนั้นจึงจำเป็นต้องครอบคลุมนิติบุคคล องค์กร บริษัทขนาดเล็กขนาดใหญ่ต่างๆ ตลอดจนหน่วยงานของรัฐด้วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ มิฉะนั้นจะเป็นช่องว่างให้มีการหลบเลี่ยงได้ และการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรโดยรวมประเทศก็จะไม่ได้ผล
  5. การทำการเกษตรขนาดใหญ่ในรูปสหกรณ์หรือบริษัท ซึ่งมีอยู่จำนวนหนึ่งนั้น ก็สามารถกระทำได้และพัฒนาได้ เพียงแต่จะต้องเสียภาษีในอัตราก้าวหน้า ตามที่คณะกรรมการปฏิรูปเสนอ* หรือสามารถปรับปรุงวิธีการจัดการเสียใหม่ โดยแทนที่จะถือครองที่ดินจำนวนมากแล้วใช้วิธีจ้างเกษตรกรเป็นลูกจ้างทำแทนโดยจ่ายค่าแรงราคาถูก ก็สามารถปรับเปลี่ยนมาเป็นวิธีกระจายที่ดินออกไปให้เกษตรกรรายย่อยในท้องถิ่นเป็นผู้ถือครองที่ดิน แล้วบริษัทใช้หลักธุรกิจในการบริหารจัดการให้เกษตรกรรวมกลุ่มกัน เสนอแผนการผลิตการตลาดที่จูงใจเกษตรกรทำการผลิต ทำสัญญาว่าจ้างที่เป็นธรรมและไม่เอารัดเอาเปรียบ และได้ผลตอบแทนจากการผลิตและการตลาดที่เป็นธรรมด้วย

วิธีการใหม่นี้จะช่วยให้ทั้งบริษัทและเกษตรกรรายย่อยเป็นเจ้าของกิจการด้วยกัน ทำกิจการร่วมกัน รับภาระความเสี่ยงที่ทัดเทียมกัน และช่วยกันแก้ไขปัญหาอุปสรรค จะได้เติบโตก้าวหน้าไปพร้อมๆกัน ถึงจะเร็วบ้างช้าบ้างก็เป็นไปตามความรู้ความสามารถของตนแต่ไม่ใช่ร่ำรวยเพราะมีอำนาจเหนือผู้อื่นและใช้อำนาจนั้นอย่างไม่เป็นธรรม

ในกรณีสหกรณ์ซึ่งใช้หลักการบริหารจัดการร่วมกันอยู่แล้ว ก็สามารถใช้เพดานการถือครองที่ดินเป็นหลักในการจัดสรรที่ดินให้สมาชิกทำกินได้ ตัวอย่างเช่น หากสหกรณ์มีสมาชิกเกษตรกรทั้งหมด 2,000 คน แต่มีสมาชิกที่ทำกินในที่ดินด้วยตนเองจำนวน 100 คน ต้องการถือครองที่ดินเพื่อทำการเกษตรในนามสหกรณ์ สหกรณ์ก็จะถือครองที่ดินในนามสมาชิก 100 คนๆละ 50 ไร่ รวมกันได้ไม่เกิน 5,000 ไร่ เป็นต้น

เกณฑ์ที่เป็นมาตรฐานเดียวโดยไม่เลือกปฏิบัติลักษณะนี้เชื่อว่าจะทำให้การเกษตรทุกกลุ่ม ทั้งรายย่อยและรายใหญ่ เติบโตได้ โดยไม่เอารัดเอาเปรียบกัน เกษตรกรรายใหญ่หรือบริษัทขนาดใหญ่ไม่สามารถใช้อำนาจทุนและอำนาจรัฐเหนือในการจัดสรรทรัพยากรและอยู่เหนืออำนาจตลาด เกษตรกรรายย่อยมีอำนาจต่อรอง เพราะมีการกระจายที่ดินให้เกษตรกรผู้ผลิตเป็นเจ้าของที่ดิน กลุ่มธุรกิจการเกษตรหรือบริษัทการเกษตรขนาดใหญ่และเกษตรกรรายย่อยจะมีฐานะเป็นหุ้นส่วนเพื่อนร่วมงาน ซึ่งต่างจากสภาพนายจ้างลูกจ้างในไร่นาดังที่เคยเป็น จึงเป็นการส่งเสริมรูปแบบสหกรณ์หรือความร่วมมือกันเพื่อสร้างผลผลิตสร้างรายได้และกระจายรายได้ให้ทั่วถึงและเป็นธรรมทั่วหน้ากัน

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

แห่สมัคร “กสทช.” กว่า 40 คนแล้ว คาดโค้งสุดท้ายทะลุครึ่งร้อย

Posted: 07 Mar 2011 10:32 AM PST

วานนี้ (7 มี.ค.54) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การเปิดรับใบสมัครเพื่อเข้ารับการสรรหาเป็นคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงวิทยุ โทรทัศน์ และโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ณ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา อาคารสุขประพฤติ ถนนประชาชื่น จนถึงวัน 7 มี.ค.54 มีผู้ยื่นใบสมัครรวมแล้ว 41 ราย โดยการรับสมัครเริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 2 มี.ค.และจะสิ้นสุดลงในวันนี้ (8 มี.ค.)

โดยมีกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทช.) ปฏิบัติหน้าที่กรรมการ กสทช. ร่วมยื่นใบสมัครแล้ว 5 รายได้แก่ นายประสิทธิ์ ประพิณมงคลการ นายสุธรรม อยู่ในธรรม นายพนา ทองมีอาคม พันเอกนที ศุกลรัตน์ นายสุรนันท์ วงศ์วิทยกำจร รวมถึงนายฐากร ตัณฑสิทธิ์ ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการ กสทช. และนายรัฐชทรัพย์ นิชิดา ผู้ปฏิบัติงานประจำ กทช. และมีรายงานข่าวแจ้งด้วยว่า นายประเสริฐ อภิปุญญา ปฏิบัติหน้าที่แทนรองเลขาธิการ กสทช. จะยื่นใบสมัครในวันสุดท้ายด้วย

นอกจากนี้ยังมี ข้าราชการ ผู้บริหารระดับสูงของหลายองค์กร รวมถึงที่ปรึกษารัฐมนตรี อาทิ นายพงศ์ศักดิ์ เสมสันต์ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ฝ่ายข้าราชการประจำ ดร.รอมหิรัญพฤกษ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือกกต. นายอนันต์ วรธิติพงศ์ อดีตสมาชิกวุฒิสภา และนายกกิตติมศักดิ์ สมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ นายวสันต์ ภัยหลักลี้ รองผู้อำนวยการองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย(ไทยพีบีเอส)

และพลอากาศเอก พุฑฒิ มังคละพฤกษ์ รองปลัดกระทรวงกลาโหม นายแพทย์ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท.) นายธรรศ อุดมธรรมภักดี อดีตส.ส.สกลนคร นายสุรสีห์ โกศลนาวิน อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ นายกฤษณพร เสริมพาณิช อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ นายประยูร จันทรุสอน นายกสมาคมกิจการวิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์ นายจักรพันธ์ ยมจินดา ผู้ประกาศข่าว ททบ.5 และประธานบริหาร บริษัท แม็กซิม่า สตูดิโอ นายศรีรัตน์ นุชนิยม ผู้อำนวยการบริหารสมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ

นายชาญชัย โกศลธนากุล ผู้ช่วยทูตฝ่ายแรงงาน ณ.สถานอัครราชทูตไทย ณ.ประเทศซาอุดิอาระเบีย นายชัยนันท์ งามจรกุลกิจ อัยการจังหวัดพังงา นายสุพงษ์ ลิ้มธนากุล รองอธิการบดี ฝ่ายกิจกรรมพิเศษ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ นายไพโรจน์ ตั้งอาษาศิลป์ อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท วิน วิน เน็ต คอร์ปอเรชั่น จำกัด

สำหรับคณะกรรมการ กสทช.มี 11 คน แบ่งเป็นผู้ที่มีผลงานมีความรู้ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ในกิจการกระจายเสียง 1 คน โทรทัศน์ 1 คน โทรคมนาคม 2 คน กฎหมาย 2 คน เศรษฐศาสตร์ 2 คน คุ้มครองผู้บริโภค หรือการส่งเสริมสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ด้านการศึกษา วัฒนธรรม หรือการพัฒนาสังคม 1 คน

ส่วนการคัดเลือกจะทำโดยให้สมาคมวิชาชีพ สถาบันอุดมศึกษา และองค์กรเอกชน เสนอชื่อบุคคลผู้เหมาะสม (บัญชีที่ 1) และการสมัครเพื่อเข้ารับการสรรหา (บัญชีที่ 2) ซึ่งระหว่างวันที่ 29 มกราคม-27 กุมภาพันธ์ 2554 ที่ผ่านมา สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาได้เปิดให้องค์กรต่างๆ ขอขึ้นทะเบียนเพื่อมีสิทธิเสนอชื่อบุคคลที่เหมาะสมในบัญชี 1 ไปแล้ว

กระบวนการหลังจากนี้จะให้ผู้ได้รับการคัดเลือกจากบัญชีที่ 1 ประชุมคัดเลือกกันเองให้เหลือเพียง 22 คน ขณะที่ผู้สมัครในบัญชีที่ 2 คณะกรรมการสรรหา กรรมการ กสทช. ซึ่งมีนายจตุรงค์ ปัญญาดิลก ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานสรรหาคณะกรรมการ กสทช. จะประชุมเพื่อคัดเลือกผู้สมัครที่มีคุณสมบัติจำนวน 22 คน เรียงตามลำดับคะแนนสูงสุด

ก่อนที่เลขาธิการวุฒิสภาจะเสนอรายชื่อทั้ง 2 บัญชี รวม 44 คน เสนอต่อประธานวุฒิสภาภายใน 30 วัน เพื่อให้วุฒิสภาดำเนินการคัดเลือกต่อไป เนื่องจาก ตาม พ.ร.บ.กสทช. ระบุให้ต้องตั้ง คณะกรรมการ กสทช. จำนวน 11 คน ภายใน 180 วัน หรือราว ก.ย.นี้

ที่มา: มติชนออนไลน์

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ทีดีอาร์ไอ ชี้ “ผังเมือง” บอกอนาคตประเทศ แนะถึงเวลาจัด “โซนนิ่ง” พื้นที่เกษตร

Posted: 07 Mar 2011 10:07 AM PST

การวางผังเมืองเป็นการกำหนดทิศทาง คาดการณ์อนาคตการเติบโตของประเทศทั้งในระดับประเทศ ภาค อนุภาค และจังหวัด ซึ่งมีความสำคัญและเป็นสิ่งที่สาธารณชนควรรู้ แต่ที่ผ่านมายังไม่เห็นภาพที่ชัดเจนสำหรับประเทศไทยว่าจะก้าวไปในทิศทางใด

ดร.ยงยุทธ แฉล้มวงษ์ ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพัฒนาแรงงาน ฝ่ายการวิจัยทรัพยากรมนุษย์และ พัฒนาสังคม สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย เปิดเผยว่า จากการที่มีส่วนเข้าไปศึกษาเกี่ยวกับการจัดทำผังประเทศและผังภาคของประเทศไทยในอีก 50 ปีข้างหน้า โดยทีดีอาร์ไอได้มีส่วนทำการศึกษาผังภาคภาคอีสาน ผังกลุ่มจังหวัดชายแดน (มุกดาหาร สกลนคร นครพนม และสระแก้ว) และกลุ่มจังหวัดร้อย-แก่น-สาร-สินธุ์ (ร้อยเอ็ด ขอนแก่น มหาสารคาม และ กาฬสินธุ์) พบข้อน่าห่วงใยหลายประการ โดยเฉพาะด้านการเกษตรซึ่งจะมีการแข่งขันกันใช้ที่ดินค่อนข้างสูง ควรมีการจัดโซนนิ่งพื้นที่เพาะปลูกสำหรับพืชเกษตร 3 ส่วนหลักคือ พืชอาหาร พืชอาหารสัตว์ พืชพลังงาน ซึ่งควรมีการจัดสรรพื้นที่เพาะปลูกที่เหมาะสมและสมดุล ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและควรเน้นเป็นเกษตรปลอดภัย

โครงการศึกษาเพื่อจัดทำกรอบการพัฒนาและแผนปฏิบัติการพัฒนาเมืองชายแดน มุกดาหาร สกลนคร นครพนม และสระแก้ว โครงการวางผังข้อมูลของกลุ่มจังหวัด “ร้อย-แก่น-สาร-สินธุ์” คือ ร้อยเอ็ด ขอนแก่น มหาสารคาม และกาฬสินธุ์ เป็นกรณีตัวอย่างของการศึกษาเพื่อการวางผังกลุ่มจังหวัดและเมืองชายแดนสำหรับอนาคตประเทศว่าควรดำเนินการในทิศทางใดจึงสอดคล้องกับศักยภาพเฉพาะของแต่ละพื้นที่ มีการจัดทำแผนทั้งระยะสั้น (5 ปี) และแผนระยะกลาง (10-15 ปี )ที่ลงลึกถึงข้อมูลที่จำเป็น จัดทำฐานข้อมูลและกำหนดทิศทางการพัฒนาในรายละเอียด

ในส่วนของทีดีอาร์ไอดำเนินการในด้านเศรษฐกิจ ประเมินและมองทิศทางในอนาคต พบว่าต้องเป็นเศรษฐกิจแบบสีเขียวและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (clean and green) คือ เศรษฐกิจสร้างสรรค์และปลอดภัย มีการจัดโซนนิ่งจัดพื้นที่สำหรับอุตสาหกรรมไม่ให้กระจัดกระจายโดยทำในลักษณะนิคมอุตสาหกรรมหรือศูนย์อุตสาหกรรมขนาดเล็ก มีการจัดการสภาพแวดล้อมไม่ให้ส่งผลกระทบต่อผู้คนและสิ่งแวดล้อม มีการจัดโซนนิ่งพื้นที่ทางการเกษตรที่ชัดเจน ไม่ใช่ปล่อยไปตามธรรมชาติที่ใครมีที่ดินแล้วอยากทำอะไรก็ได้จนกระทบต่อโครงสร้างในการใช้ที่ดินซึ่งอาจจะส่งผลเสียต่อการเกษตรและเกษตรกรในภาพรวมในระยะยาว

ดร.ยงยุทธ กล่าวว่า จากการศึกษาในภาคอีสานทั้งกลุ่มจังหวัดชายแดนและกลุ่มจังหวัด “ร้อย-แก่น-สาร-สินธุ์” ทำให้เห็นแนวทางการพัฒนาบนพื้นฐานศักยภาพของพื้นที่ โดยเน้นการประพิจารณ์จากประชาชนในพื้นที่ว่าต้องการเห็นการเปลี่ยนแปลงอะไรในพื้นที่ในช่วงเวลาต่างๆ ทำให้ได้ภาพรวมด้านเศรษฐกิจ ที่ยังเน้นพื้นที่ปลูกข้าว อ้อย และยางพารา ซึ่งการปลูกยางพาราในภาคอีสานปัจจุบันมีความน่าวิตกและเห็นภาพชัดเจนขึ้นว่า อาจจะได้รับผลกระทบจากภาวะภัยแล้งที่ยาวนาน จนอาจทำให้ยางที่มีอายุการปลูก 2-3 ปี ยืนต้นตายนับแสนไร่ได้ และอาจส่งผลกระทบไปยังนโยบายใหม่ๆ ของรัฐที่จะเพิ่มพื้นที่ปลูกยางอีกกว่า 8-9 แสนไร่ในหลายพื้นที่ของภาคอีสาน

“ยางพาราเข้ามาในช่วงหลังและขยายตัวอย่างรวดเร็วจนมีภาพรวมของภาคอีสานมีพื้นที่ยางพาราราว 1.5 ล้านไร่แล้ว แต่การปลูกยางพาราในภาคอีสาน แม้มีการคัดเลือกพันธุ์ที่เหมาะสม แต่เมื่อเจอกับสภาพดิน (ไม่อุ้มน้ำ) และปัญหาความแห้งแล้งที่ยาวนาน (ต่างจากภาคใต้) ยางพาราเป็นพืชไม่มีรากแก้วจึงไม่สามารถดูดซับน้ำใต้ดินได้ลึกมากนัก ในกรณีที่มีภาวะแห้งแล้งมากกว่าปกติ อีกทั้งการกระจายของฝนก็ยังสู้ภาคใต้ไม่ได้”

นอกจากนี้ การแข่งขันกันในเรื่องการผลิตพืชอาหาร พืชอาหารสัตว์ และพืชพลังงาน ต้องมีการจัดการให้สมดุล เพราะการมีพืชชนิดใด ชนิดหนึ่งมากๆ ย่อมมีผลกระทบต่อใช้ประโยชน์จากพืชอื่น จึงต้องมีการวางแผนการจัดแบ่งพื้นที่การปลูกพืชอาหารและพืชพลังงานให้สมดุล ไม่ใช่ใครมีที่ดินแล้วอยากปลูกอะไรก็ปลูกโดยดูราคาในปัจจุบันเป็นหลัก แล้วก็ไปเสี่ยงต่อภาวะผลผลิตล้นตลาดราคาถูกเอาเองในอนาคตหรืออาจจะเกิดการขาดแคลนผลผลิตพืชบางตัวเช่นพืชอาหารสัตว์อย่างไรก็ตาม พื้นที่ปลูกพืชหลักของภาคอีสานคือ ข้าว มันสำปะหลังและอ้อยจะยังถูกแย่งพื้นที่กันเอง และต้องแข่งกับยางพาราและปาล์ม

ดร.ยงยุทธ กล่าวว่า การศึกษามีการกำหนดยุทธศาสตร์ตามศักยภาพความโดดเด่นของพื้นที่ในด้านต่างๆ เช่น เน้นการเป็นประตูการค้า อุตสาหกรรมที่สนับสนุนสินค้าที่จะส่งไปยังประเทศเพื่อนบ้าน รวมไปถึงอินโดจีน และจีนตอนใต้ เน้นการท่องเที่ยวที่เชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน แต่ภาคเกษตรยังเป็นส่วนสำคัญใหญ่สุดและควรสนับสนุนไว้ พร้อมกับแก้ปัญหาที่เป็นอุปสรรค ได้แก่ ภาวะน้ำแล้งและน้ำท่วม ไม่มีแหล่งน้ำเพียงพอสำหรับเกษตร และปัญหาสภาพดินเสื่อมคุณภาพและดินเค็ม

สิ่งที่งานศึกษาเสนอ คือ ฐานรายได้ของคนยังต้องเน้นเรื่องความแข็งแกร่งในด้านเกษตรเป็นหลัก ส่วนอุตสาหกรรมมีไม่มากและไม่เน้นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เน้นเรื่องการบริการและการค้าชายแดนเป็นหลัก เรื่องการท่องเที่ยวในอีสาน ควรส่งเสริมการท่องเที่ยวที่ให้มีการพักค้างแรมในพื้นที่และสนับสนุนการท่องเที่ยวเชื่อมโยงระหว่างในพื้นที่และพื้นที่ข้างเคียงจัดรูปแบบการท่องเที่ยวที่ให้นักท่องเที่ยวได้ใช้เวลาท่องเที่ยวได้เต็มวัน เต็มเวลา ซึ่งจะดึงดูดนักท่องเที่ยวได้ เช่น การท่องเที่ยวอิงธรรมชาติ การทำเส้นทางท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เป็นต้น

หากมองลึกในด้านเศรษฐกิจ จะเป็นอุตสาหกรรมการค้าและบริการเป็นหลัก ต้องมีการปรับโครงสร้างการผลิตพอสมควร เช่นการเกษตรต้องปรับใช้พืชพันธุ์ดีในการปลูก ไม่ว่าจะเป็น ข้าว อ้อย มันสำปะหลัง เน้นการทำเกษตรปลอดภัยมากขึ้น เพิ่มขีดความสามารถของเกษตรกร อุตสาหกรรมในภาคอีสานควรเป็นอุตสาหกรรมเอสเอ็มอี ผลิตสินค้าที่มีน้ำหนักเบา สะดวกในการขนย้าย เน้นส่งออกไปประเทศเพื่อนบ้าน

ดร.ยงยุทธ กล่าวว่า ในแง่การแข่งขันซึ่งประเทศไทยส่งออกสินค้าจำนวนมากมีสัดส่วนสูงราว 68 % ของจีดีพี แต่มีปัญหาประสิทธิภาพการแข่งขันที่ถดถอยลงไปมาก เมื่อเทียบกับหลายๆ ประเทศ จุดอ่อนอยู่ที่เรื่องโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีค่อนข้างต่ำ เราติดอยู่ในประเทศกำลังพัฒนามานานมากแล้ว แต่การก้าวไปสู่ประเทศพัฒนาแล้วได้ต้องมีการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ ที่ใช้จุดแข็งสิ่งที่เรามี คือ ฐานการผลิตด้านเกษตรเป็นตัวนำ เช่น เราส่งออกข้าวออกมากที่สุดในโลกโดยเฉพาะข้าวคุณภาพดี อย่างข้าวหอมมะลิ ไทยจะต้องใช้เทคโนโลยีในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวและ พัฒนาผลิตภัณฑ์จากข้าวที่จะช่วยเพิ่มมูลค่าข้าวให้มากขึ้น

“ทีนี้ก็มีปัญหาว่าในแง่ผังประเทศควรกำหนดว่าพื้นที่ปลูกข้าว 80 ล้านไร่นั้น จะต้องอนุรักษ์ไว้หรือไม่ ซึ่งขณะนี้พื้นที่ปลูกข้าวถูกรุกรานหลายอย่าง เราเสนอว่าในแง่ผังเมืองควรมีการจัดโซนสำหรับการปลูกข้าวเฉพาะ ต่อไปเราควรต้องมาคิดกันเรื่องพื้นที่ปลูกข้าวอย่างจริงจัง ว่าพื้นที่ตรงไหนเหมาะสมกับการปลูกอะไร”

ดร.ยงยุทธ กล่าวว่า สำหรับการจัดทำโซนนิ่งดังกล่าว หากทำตามแผนที่วางไว้ก็จะเป็นผลดีกับประเทศและเรื่องนี้สามารถทำได้ตลอด ตามขีดความสามารถที่จะรองรับ แม้บางช่วงจะมีปัญหาการเมืองมาสะดุดทำให้ล่าช้า แต่ก็ต้องทำต่อไป สำหรับในระยะ 10-15 ปีข้างหน้า สิ่งที่น่าจะเปลี่ยนไปแน่ๆ และต้องมีการจัดการให้สมดุลคือ การแบ่งพื้นที่สำหรับเป็นแหล่งผลิตพืชอาหารคน อาหารสัตว์ และพืชพลังงาน

ทั้งนี้ในประเทศไทยมีหน่วยงานที่ทำเรื่องการกำหนดผังประเทศ ผังภาค และอนุภูมิภาคคือ สภาพัฒน์ฯ และกรมโยธาธิการและผังเมือง ส่วนใหญ่สภาพัฒน์ฯ จะเน้นในภาพรวมระดับประเทศ ขณะที่กรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย มีการทำผังประเทศ ผังภาค ผังอนุภูมิภาค และผังกลุ่มจังหวัด ซึ่งปัจจุบันมีการดำเนินการความก้าวหน้ามากที่สุด โดยเป็นการมองไปในอนาคตข้างหน้าถึง 50 ปีซึ่งหน่วยงานทั้งสองนี้ควรจะต้องร่วมมือกันกำหนดทิศทางของประเทศในระยะยาวก่อนที่จะสายเกินแก

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

160 นักวิชาการใต้ จี้รัฐฯ อย่าซื้อเวลา เร่งแก้ปัญหาให้ “พีมูฟ”

Posted: 07 Mar 2011 10:01 AM PST

วานนี้ (6 มี.ค.54) เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสังคมและองค์กรชุมชนภาคใต้ ออกจดหมายเปิดผนึก ฉบับที่ 2 เรียกร้องให้รัฐบาลแสดงเจตนารมณ์และมุ่งมั่นในการแก้ไขปัญหาประชาชน โดยเร่งแก้ปัญหาตามข้อเสนอของขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.) หรือ พีมูฟ (P Move) พร้อมให้ทบทวนแผนพัฒนาภาคใต้ทั้งระบบ รวมทั้งโครงการเฉพาะหน้าที่มีแนวโน้มจะก่อผลกระทบต่อชุมชนและประชาชนในวงกว้าง จากกระบวนการวางแผนพัฒนาที่ไม่เคารพสิทธิชุมชนและความต้องการของประชาชน

จดหมายดังกล่าวระบุเนื้อหาดังนี้

จดหมายเปิดผนึกของเครือข่ายนักวิชาการเพื่อสังคมและองค์กรชุมชนภาคใต้
ฉบับที่ 2/2554

เรื่อง เรียกร้องให้รัฐบาลแสดงเจตนารมณ์และมุ่งมั่นในการแก้ไขปัญหาประชาชน
เรียน ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี

ตามที่ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.) ซึ่งเป็นขบวนการขององค์กรเกษตรกรและคนจนเมืองที่ได้รับผลกระทบอันจากนโยบายการพัฒนาประเทศ ได้ชุมนุมเรียกร้องให้มีการปฏิรูปที่ดิน การปฏิรูปการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมและสิทธิความเป็นมนุษย์ และการยอมรับสิทธิชุมชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อสร้างความเป็นธรรมในสังคม มาตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2554 นั้น

เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสังคมและองค์กรชุมชนภาคใต้ ดังรายนามแนบท้าย จำนวน 160 คน จาก 7 สถาบันการศึกษาอุดมศึกษาในภาคใต้ ได้ติดตามการเคลื่อนไหวของเครือข่ายประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรมมาโดยตลอด มีความเห็นว่ากระบวนการในการแก้ไขปัญหาของรัฐบาลมีเจตนาที่จะซื้อเวลา ไม่กล้าตัดสินใจ ทั้งที่ปัญหาเหล่านี้ล้วนมีรากฐานมาจากการพัฒนาที่ผิดพลาดของรัฐและก่อผลกระทบแก่ชุมชนท้องถิ่นมาอย่างยาวนาน ขณะเดียวกันมีแนวโน้มว่านโยบายการพัฒนาใหม่ของรัฐที่มาในนามของแผนพัฒนาที่ไม่เปิดโอกาสการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นจะสร้างปัญหาในอนาคต

เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสังคมและองค์กรชุมชนภาคใต้ จึงขอเรียกร้องดังนี้

  1. เรียกร้องให้รัฐบาลได้แสดงความมุ่งมั่นในเจตนารมณ์การแก้ไขปัญหา ตามข้อเรียกร้องของขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่ความเป็นธรรม โดยแสดงความกล้าหาญในการตัดสินใจ ไม่เบี่ยงเบนประเด็นปัญหา หรือซื้อเวลาเพียงเพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง เฉพาะกลุ่มเท่านั้น
  2. ขอเรียกร้องให้รัฐบาลทบทวนแผนพัฒนาภาคใต้ทั้งระบบ รวมทั้งโครงการเฉพาะหน้าที่มีแนวโน้มจะก่อผลกระทบต่อชุมชนและประชาชนในวงกว้าง จากกระบวนการวางแผนพัฒนาที่ไม่เคารพสิทธิชุมชนและความต้องการของประชาชน
  3. การชุมนุมเรียกร้องของขบวนการประชาชนเพื่อความเป็นธรรมในสังคมที่ผ่านมา ได้แสดงให้เห็นถึงการชุมนุมเรียกร้องอย่างสันติ ในฐานะขบวนการประชาชนจากรากหญ้าอย่างแท้จริง การกระทำใดๆ ที่บิดเบือนเจตนารมณ์ดังกล่าวจึงสมควรได้รับการประณามในทางการเมือง

เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสังคมและองค์กรชุมชนภาคใต้ ขอย้ำว่า การแก้ไขปัญหาประชาชนไม่เพียงสร้างความชอบธรรมในการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลเท่านั้น หากยังหมายถึงการสร้างความมั่นคงในระบอบประชาธิปไตยให้ลงหลักปักฐานในสังคมไทยอีกด้วย

 

เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสังคมและองค์กรชุมชนภาคใต้
6 มีนาคม 2554

 

AttachmentSize
รายชื่อ 160 นักวิชาการที่ร่วมลงนาม (PDF)82.96 KB
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

This posting includes an audio/video/photo media file: Download Now

AREA แถลงวันสตรีสากล 8 มีนาคม

Posted: 07 Mar 2011 09:44 AM PST

เนื่องในวันสตรีสากล 8 มีนาคม ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส แถลงเกี่ยวกับแรงงานสตรีในวงการอสังหาริมทรัพย์

ในวงการอสังหาริมทรัพย์ อาจมีแรงงานหญิงไม่มากนักโดยเฉพาะในวงการก่อสร้าง แม้แต่ผมทำงานประเมินค่าทรัพย์สิน มีเพื่อนร่วมงาน 150 คน ก็ใช้แรงงานหญิงน้อยกว่าแรงงานชาย แต่ในส่วนงานอื่น เช่น บัญชี การตลาด แรงงานชายมีน้อยกว่าแรงงานหญิงเช่นกัน เราจึงควรมาเรียนรู้การใช้แรงงานหญิงที่ถูกต้องตามกฎหมายในวงการอสังหาริมทรัพย์

แรงงานหญิง

แรงงานหญิงมีบทบาทอยู่ในแทบทุกสาขาอาชีพ ไม่เว้นแม้แต่อสังหาริมทรัพย์ แต่เพราะความแข็งแรงของสรีระต่อการทำงานหนักที่อาจแตกต่างจากชาย และการมีครรภ์ของหญิง ประเทศไทยจึงออกกฎหมายคุ้มครองแรงงานหญิงเป็นกรณีพิเศษ เพื่อไม่ให้ทำงานหนักเกินกำลัง และให้มีความปลอดภัยในการทำงาน

อย่างไรก็ตามในบางกรณีหญิงอาจมีความแข็งแรง และทนความเจ็บปวดได้มากกว่าชายโดยเฉพาะในกรณีการคลอดบุตรที่เจ็บปวดมาก ซึ่งจากการทดสอบทางวิทยาศาสตร์ หากเป็นชายก็คงเสียชีวิตไปแล้ว แต่หญิงทนได้ นอกจากนั้นหญิงที่เป็น “ทอม” ตามกฎหมายยังถือเป็นหญิงอยู่ จะปฏิบัติงานบางอย่างเช่นชายไม่ได้

งานที่ห้ามหญิงทำ

ในการใช้แรงงานหญิงในวงการอสังหาริมทรัพย์นั้น งานก่อสร้างหรืองานเหมืองแร่ที่ต้องทำใต้ดิน ใต้น้ำ ในถ้ำ ในอุโมงค์ หรือปล่องในภูเขา นั้นห้ามแรงงานหญิงทำ นอกจากนี้ยังมีงานที่ต้องทำบนนั่งร้านที่สูงกว่าพื้นดินตั้งแต่ 10 เมตรขึ้นไป และสำหรับในวงการอื่น ยังรวมถึงงานผลิตหรือขนส่งวัตถุระเบิดหรือวัตถุไวไฟ

ถ้าแรงงานหญิงในวงการอสังหาริมทรัพย์โดยเฉพาะการก่อสร้างที่ต้องเร่งรัด หากพบว่าแรงงานหญิงที่ทำงานในช่วง 24:00 - 06.00 น. และพนักงานตรวจแรงงานตรวจพบว่างานนั้นอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของหญิงนั้นให้รายงานต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายเพื่อพิจารณา และสามารถมีคำสั่งให้เปลี่ยนเวลาทำงานหรือลดชั่วโมงทำงานได้ ดังนั้นในช่วงเวลาดังกล่าวจึงไม่ควรใช้แรงงานหญิง

ความเท่าเทียมทางเพศ

ในวงการอสังหาริมทรัพย์ หรือทุกวงการ ตามกฎหมาย นายจ้างต้องปฏิบัติต่อแรงงานชายหญิงเท่าเทียมกันในการจ้างงาน แต่ไม่ใช่หมายความว่าทุกตำแหน่งงานต้องรับชายหญิงเท่า ๆ กัน เช่น งานประเมินค่าทรัพย์สิน ผู้ประเมินค่าทรัพย์สินส่วนมากจะเป็นชาย ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยในการไปตรวจสภาพบ้านหรืออสังหาริมทรัพย์ของลูกค้า ดังนั้นตามกฎหมายจึงมีข้อเว้นตามลักษณะของงาน

ตามกฎหมายแรงงาน ในด้านความเท่าเทียมยังกำหนดให้งานมีลักษณะและคุณภาพอย่างเดียวกัน และปริมาณเท่ากัน นายจ้างจะต้องกำหนดค่าจ้าง ค่าล่วงเวลาและค่าทำงานในวันหยุดให้ผู้ใช้แรงงานเท่าเทียมกันไม่ว่าผู้ใช้แรงงานนั้นจะเป็นชายหรือหญิงอีกด้วย อย่างไรก็ตามในกรณีเป็นสาว Pretty แนะนำสินค้าตามบูธของโครงการอสังหาริมทรัพย์ต่างๆ ก็สมควรที่จะจ่าย “ค่าความสวย” เพิ่มเติมกว่านักขายชายทั่วไปได้!!

โดยสรุปแล้วในงานวิชาชีพหรือวิชาการเช่นงานประเมินค่าทรัพย์สิน และงานเกี่ยวกับการสำรวจ การขุดเจาะ การกลั่นแยกและการผลิตผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียม หรือปิโตรเคมี แรงงานหญิงก็มีสิทธิทำงานเหล่านี้ได้ จะกีดกันไม่ได้ ถ้าสภาพหรือลักษณะของงานนั้นไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือต่อร่างกายของแรงงานหญิง

การจ้างหญิงมีครรภ์

นายจ้างในวงการอสังหาริมทรัพย์หรืออื่นใด พึงทราบว่า กฎหมายได้ห้ามแรงงานซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์ทำงานในช่วง 22:00 - 06:00 น. โดยเฉพาะงานที่เกี่ยวกับเครื่องจักร หรือเครื่องยนต์ที่มีความสั่นสะเทือน หรืองานที่เกี่ยวกับการยก แบก หาม หาบ ทูน ลาก หรือเข็นของหนักเกิน 15 กิโลกรัม ทั้งนี้ในวงการอื่นยังรวมถึงงานที่ทำในเรือ งานขับเคลื่อนหรือติดไปกับยานพาหนะ และงานอื่น ๆ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

ที่สำคัญที่สุดก็คือ นายจ้างจะเลิกจ้างแรงงานหญิงเพราะเหตุมีครรภ์ไม่ได้เด็ดขาด และหญิงมีสิทธิการลาคลอดและการทำหมัน โดยลาคลอด ก่อนและหลังคลอดได้ครรภ์หนึ่งไม่เกิน 90 วัน โดยให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างไม่เกิน 45 วัน และถ้ามีใบรับรองแพทย์แสดงว่าทำงานในหน้าที่เดิมต่อไม่ได้ แรงงานหญิงมีสิทธิขอให้นายจ้างพิจารณาเปลี่ยนงานที่เหมาะสมให้เป็นการชั่วคราวก่อนหรือหลังคลอดได้ด้วย

อย่างไรก็ตามหญิงมีครรภ์สามารถทำงานในตำแหน่งผู้บริหาร งานวิชาการ งานธุรการ รวมทั้งงานเกี่ยวกับการเงินหรือบัญชี รวมทั้งยังสามารถทำงานล่วงเวลาในวันทำงานได้ ทั้งนี้เพราะถือว่าเป็นงานวิชาชีพและไม่ได้ใช้แรงงานหนัก (ทางกาย)

การล่วงเกินทางเพศ

กฎหมายกำหนดไว้ชัดเจนว่า “ห้ามมิให้นายจ้างหรือผู้ซึ่งเป็นหัวหน้างาน ผู้ควบคุมงาน หรือผู้ตรวจงานกระทำการล่วงเกินทางเพศต่อแรงงานหญิง” แรงงานหญิงในวงการอสังหาริมทรัพย์มีความเสี่ยงในกรณีนี้ ตั้งแต่กรรมกรก่อสร้างหญิงในสถานที่ทำงาน และสถานที่พักอาศัยที่นายจ้างจัดให้ ดังนั้นนายจ้างในวงการอสังหาริมทรัพย์จึงต้องให้ความสนใจในเรื่องนี้เป็นพิเศษ

ในส่วนของนักวิชาชีพอาจไม่มีเรื่องเกี่ยวกับการล่วงละเมิดทางเพศที่เด่นชัดนัก แต่ในส่วนที่เกี่ยวกับการขาย การแนะนำสินค้า ที่อาจต้องใช้แรงงานหญิงที่มีหน้าตาดีเป็นพิเศษ อาจมีกรณีเรื่องอื้อฉาวเกิดขึ้น แต่มักไม่เป็นปัญหาทางด้านแรงงาน แต่เป็นปัญหาครอบครัว (แตกแยก) มากกว่า (ไม่รู้จะ “ฮา” หรือ “ฮือ” ดี)

ประเด็นสำคัญของการล่วงละเมิดทางเพศนั้น นายจ้างชายในวงการอสังหาริมทรัพย์หรือวงการอื่นใดก็ตาม ควรให้ความสำคัญเป็นพิเศษ เพราะหากเกิดเรื่อง “ผิดลูกเมียคนอื่น” ขึ้นมา ก็จะเสียชื่อเสียง เสีย “แบรนด์” ที่สั่งสมมาได้

ขอฝากกลอนบทหนึ่งเกี่ยวกับสตรีไว้ดังนี้ (จากวงดนตรีไทยต้นกล้า)

“หญิงงามใช่ว่างามเรือนร่าง นวลนางมิใช่นวลหน้ามน
หญิงงามต้องงามอย่างคน กล้าผจญสรรค์สร้างเคียงร่างเคียงไหลกัน
สู้ด้วยกันตายด้วยกัน ไม่มีชั้นมาแบ่งชน
หญิงเอยเจ้าเกิดเป็นคน ทุกข์ทนทำไมให้เขาเอาเปรียบแรง
หญิงเอยเจ้าจงสำแดง สองมือคือแรงเลี้ยงโลกตลอดมา”

 

ผู้แถลง: ดร.โสภณ พรโชคชัย (sopon@area.co.th) ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส หรือAREA (www.area.co.th): ซึ่งเป็นองค์กรที่มีฐานข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ภาคสนามขนาดใหญ่ที่สุดและปรับปรุงให้ทันสมัยที่สุดในประเทศไทย และดำเนินการเก็บข้อมูลต่อเนื่องมาตั้งแต่ พ.ศ.2537 เป็นศูนย์ข้อมูลที่มีความเป็นกลางทางวิชาการ และเป็นอิสระทางวิชาชีพ โดยไม่ถูกครอบงำโดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียใด ๆ สมาชิกของศูนย์ข้อมูลฯ ได้รับข้อมูลที่เป็น First-hand information ในเวลาเดียวกัน

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

แปลงเพศ เอื้ออาทร... เพื่อใครกันแน่!!

Posted: 07 Mar 2011 09:38 AM PST

ในโลกยุคสันนิวาสนี้อะไร อะไรก็เกิดขึ้นได้เพียงเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ตั้งแต่ระดับความต้องการขั้นพื้นฐาน ความต้องการมั่นคงปลอดภัย ความต้องการความรัก การยอมรับ ไล่เรียงไปถึงความต้องการสำเร็จ ความสมบูรณ์ของชีวิต ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่ต้องอาศัยความเป็นคนที่อยู่บนพื้นฐานของความอยาก ความต้องการเป็นที่ตั้งหลัก และฉันเองก็เป็นคนที่ยังวนเวียนอยู่กับการตอบสนองความอยากของฉันเองเฉกเช่นผู้อื่นเช่นกัน

แต่ฉันเริ่มสังเกตตัวฉันเองอย่างหนึ่งเมื่ออายุอานามลามเข้าวัยกลางคน ฉันเริ่มสำเหนียกความต้องการของฉันว่าสิ่งที่ฉันต้องการนั้นแท้จริงฉันต้องการ หรือคนอื่น หรือสังคมต้องการ เพียงแต่มีฉันเป็นร่างทรงของความต้องการทางสังคมเหล่านั้น ฉันเริ่มตระหนักว่าความต้องการของฉันนั้นมันดีสำหรับฉันแต่มันเลวร้ายสำหรับคนอื่นหรือไม่ อย่างไร ความต้องการฉันมันทำให้ฉันรอด แต่คนอื่นก็อาจจะล่มจมก็ได้ และยิ่งกว่านั้นถ้าความต้องการนั้นมันถูกโฆษณาชวนเชื่อสู่สาธารณะอย่างที่มวลชนเหล่านั้นไม่รู้เท่าทันหรือมีข้อมูลไม่รอบด้านอะไรจะเกิดขึ้นกับสังคมโดยรวม ซึ่งไม่ว่าความต้องการนั้นจะสร้างสรรค์ ดีงาม และชั่วร้ายเพียงใด ย่อมต้องมีพื้นที่ให้กับคนที่เขาไม่ต้องการ หรือสูญเสียประโยชน์จากความต้องการของใครบางคน ให้เขามีโอกาสพูด สื่อสาร มากกว่านำเสนอเพียงมุมที่ผู้สื่อสารและสารหลักต้องการเท่านั้น

และถ้าคุณผู้อ่านได้ติดตามข่าวเล็กๆ แต่สร้างความฮือฮาพอสมควรทางสื่อโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ (เล็กน้อย) ในวงการแปลงเพศ และวงการของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศที่มุ่งไปยังกลุ่มชายที่ใคร่จะเป็นหญิง แล้วประกาศตนเป็นผู้หญิงข้ามเพศ เราคงได้ยินเรื่อง การแปลงเพศเอื้ออาทร หรือบางท่านก็ตั้งชื่อให้น่ารักว่า “จิ๋ม” เอื้ออาทร

ในเบื้องต้นฉันสนใจ คำว่า “เอื้ออาทร” มากกว่าคำว่า “จิ๋ม” (คงไม่ต้องบอกเหตุผลว่าทำไม) คำว่า “เอื้ออาทร” นี้เกิดขึ้นในยุครัฐบาลทักษิณ ภายใต้แนวคิดประชานิยมที่มุ่งทำงานกับคนยากคนจน หรือคนระดับล่างของสังคม โดยมีจุดประสงค์ทางการพัฒนา หรือคือให้คนเข้าถึงโอกาส (อันน้อยนิด) และเข้าถึงทรัพยากร (อันจำกัด) และมีจุดประสงค์ทางการเมือง คือสร้างฐานกำลังทรัพยากรบุคคลอันเป็นฐานเสียงแห่งสรรค์ รวมทั้งมีจุดประสงค์อื่นๆ แอบแฝงอีกมากกว่านั้นแต่มิขอเอ่ยถึง เกรงจะระคายเคืองเบื้องบาทของใครบางคน และพลอยให้ไม่อ่านบทความของฉันให้จบ (ซึ่งเป็นความต้องการของฉัน)

คำนี้มีนัยยะทั้งทางการเมือง และนัยยะทางชนชั้นทางสังคม ที่กำลังบอกถึงคุณภาพของผู้รับบริการว่าเป็นเช่นไร อีกทั้งยังสะท้อนถึงความสัมพันธ์ และการผูกพันของผู้ให้กับผู้รับอย่างที่ไม่เท่าเทียมและเสมอภาค หากแต่เป็นแนวคิดแบบสังคมสงเคราะห์ หรือประชาสงเคราะห์ และถ้าท่านติดตามเรื่องนี้แล้วก็ผูกโยงไปถึงธุรกิจการศัลยกรรมทางการแพทย์ที่ว่าด้วยการแปลงเพศ ซึ่งมีบริษัทเอกชนในคราบโรงพยาบาลให้การสนับสนุน และทรงร่างผ่านม้าขี่ (ม้าขี่ เป็นภาษาเหนือ หมายถึงร่างทรง หรือคนทรงเจ้า) ที่มีชื่อว่า กลุ่มผู้หญิงข้ามเพศ และสร้างวาทกรรมของการพัฒนาสังคมและตัวตนทางเพศมากมาย เพื่อสร้างความชอบธรรมต่อการสื่อสารกับมวลชน

สิ่งที่กลุ่มดังกล่าวพยายามอธิบายตัวตนทางเพศของเขาว่า พวกเขาก็คือผู้หญิงแต่มีความผิดปรกติคือเกิดมามีร่างเป็นชายซึ่งต้องได้รับการรักษาเพราะความผิดปรกตินั้นถูกบอกว่าเป็น โรคชนิดหนึ่ง และย้ำอยู่เสมอว่าเป็นหญิงตั้งแต่เกิด ซึ่งประเด็นนี้ก็ทำให้ฉันสับสนเข้าอย่างจังว่า เธอรู้ได้อย่างไร เพราะตอนคลอดหมอคงไม่สับสนเครื่องเพศขนาดเห็นจู๋ แล้วบอกว่าเป็นจิ๋ม แต่ฉันเชื่อว่าการเป็นชาย เป็นหญิง เป็นกะเทย เป็นเกย์ หรือเป็นเพศภาวะอื่นๆ มันมีส่วนของสังคมสร้างมันขึ้นมา พูดง่ายๆ คือเป็นกระบวนการสังคม ที่เรียกว่า สิ่งแวดล้อมทางสังคม สร้างและขัดเกลาขึ้นมากอปรพันธุ์กรรม ซึ่งก็เป็นอิทธิพลที่มนุษย์ทุกคนประสบอยู่แล้ว และกลุ่มดังกล่าวนี้ก็ไม่ได้ประกาศตัวตนของการเป็นผู้หญิงข้ามเพศตั้งแต่เด็ก ๆ ซึ่งก็มาประกาศตัวมาไม่กี่ปีมานี้แล้วจะบอกว่ารู้ตั้งแต่เด็กอย่างไร

หากแต่พวกเธอก็อยู่ในช่วงกระบวนทางสังคมต่อตัวตนทางเพศของเธอแล้วกำหนดอัตลักษณ์ทางเพศดังกล่าวในช่วงหลังไม่ใช่หรือ และใช้โอกาสทางสังคมสร้างพื้นที่ให้ตัวเองในการอธิบายตัวตนทางเพศของตนเองใหม่กับสังคม ซึ่งต้องบอกว่าเป็นการอธิบายอย่างอัตวิสัย หรือ ตอบสนองความอยากของตนเองอย่างมิไยดีต่อผลกระทบทางสังคมและชีวิตอื่น เพราะความเป็นจริงยังมีกะเทย ที่มีร่างเป็นชายแล้วแต่งตัวเป็นหญิง และบางนางก็ไม่ได้ผ่าตัดแปลงเพศแต่อย่างใด ซึ่งเธอเหล่านั้นก็ภูมิใจในความเป็นอัตลักษณ์ทางเพศแบบนั้น แต่วันดีคืนดีมีคนบอกว่าเธอเหล่านั้นผิดปรกติ เพราะไม่เหมือนพวกฉันที่รู้ว่าฉันผิดปรกติเพราะมีร่างและมีอวัยวะเพศชายแต่ฉันเป็นผู้หญิง จึงจำเป็นต้องรักษาด้วยการแปลงให้เหมือนหญิงเลยแล้วความผิดปรกติก็จะมลายหายไปเป็นคนปรกติ และอย่างไรถ้ากะเทยอีกคนที่ก็บอกว่าตนเองก็เป็นหญิงแต่ไม่ได้ผ่าตัดแปลงเพศ เธอจะกลายเป็นวัตถุต้องสงสัยไปเลยหรือเปล่าว่าผิดปรกติ บางท่านก็บอกว่ามันเป็นขบวนการของจิตใต้สำนึกที่ลึกๆ คิดว่าตนเองเป็นหญิง ซึ่งฉันก็บอกว่ามันก็ไม่ผิดที่จะคิดอย่างนั้น แต่ต้องไม่ทำให้จิตใต้สำนึกมันวิปริต วิปลาสขนาดที่ทำให้ผู้อื่นเขาสับสน และสยองขวัญกับคำอธิบายภายใต้วาทกรรมแห่งโรค และความผิดปรกติ

กล่าวคือถ้ากลุ่มดังกล่าวจะอธิบายหรือกำหนดอัตลักษณ์ทางเพศของตนเองตามความพึงใจของตนก็ทำไปแต่อย่าไปบอกว่าพวกมึง คนอื่นวิปริต ผิดปรกติ ถ้ามึงเป็นชายแล้วแต่งหญิง หรือพวกกะเทยที่ไม่แปลง ซึ่งถึงแม้นว่ากลุ่มดังกล่าวจะไม่บอกกล่าวตรงๆ ว่ากะเทยไม่แปลงผิดปรกติ แต่ด้วยนัยยะมันถูกอธิบายอย่างนั้น และในขณะเดียวคนทำงานด้านความหลากหลายทางเพศเองก็มีความประสงค์ที่จะสร้างการรับรู้ทางสังคมเรื่องอัตลักษณ์ทางเพศ ตัวตนทางเพศ รสนิยมทางเพศ ที่หลากหลายในสังคมนั้นเป็นเรื่องที่ไม่ได้ผิดปรกติ หรือแปลกประหลาดอย่างไร ถ้าไม่ไปทำให้ใครเดือดร้อน และพยายามทำให้เห็นความหลากหลายดังกล่าวว่ามีอยู่จริงและควรให้ความเคารพต่อความต่างนั้นๆ แต่การที่ผู้หญิงข้ามเพศเหล่านั้นกำลังส่งเสริมแนวคิดดังกล่าวมันกลายเป็นการผลิตซ้ำความคิดแบบคู่ตรงข้าม ที่ว่าด้วยหญิงกับชาย คือถ้าคุณไม่อยากเป็นชาย คุณก็กระโดดมาฝั่งผู้หญิงและสร้างรูปลักษณ์ใหม่ให้สอดคล้องกับผู้หญิง และความเป็นผู้หญิง

กล่าวคือถึงที่สุดก็ไม่พ้นจากกรอบหญิงชาย และรากฐานของกรอบดังกล่าวก็มีระบอบปิตาธิปไตย หรือชายเป็นใหญ่ในสังคมที่ควบคุมและแทรกซึมทุกระบบของสังคมจนเห็นเพศอื่นด้อยกว่าเพศตน ซึ่งนี่ก็เหมือนกลับไปหาจุดฐานความคิดเก่าที่ไปไม่พ้นจากกรอบหญิงชาย และสิ่งหนึ่งที่น่าสนใจคือกลุ่มนี้พยายามยกเหตุผลของการเป็นผู้หญิงข้ามเพศที่มาจากการอธิบาย ขององค์การอนามัยโลก ที่ว่าด้วยเรื่องบัญชีแยกโรค (ICD 10) ที่กล่าวว่า Transexualism นั้นยังเป็นโรค หรือผิดปรกติอยู่ และทางสมาคมจิตแพทย์อเมริกาเองก็ยังคงคำนี้ว่าเป็นโรคเช่นกัน ทางเครือข่ายคนทำงานด้านคนรักเพศเดียวทั้งระดับสากลและระดับประเทศก็มีเครือข่ายเพื่อนกะเทยไทยพยายามรณรงค์ที่จะถอดถอนคำนี้ออกจากบัญชีรายชื่อโรคนี้ ซึ่งคำอธิบายเหล่านั้นเป็นคำอธิบายทางการแพทย์ที่ทรงอำนาจหากแต่อ่อนด้อยปัญญาทางสังคมอยู่ เพราะการเป็นกะเทยนั้นมิได้เป็นโรค หรือจิตวิปริต หรือผิดปรกติ

หากเป็นเช่นนั้นคนเหล่านี้ก็ไม่สามารถดำรงตนในสังคมอย่างปรกติหรือมีคุณภาพเช่นที่เห็นกัน คำว่า ผู้หญิงข้ามเพศนั้น เหตุตั้งแต่ทางเครือข่ายความหลากหลายทางเพศพยายามที่จะเข้าไปร่วมรณรงค์เรื่องการใช้คำนำหน้านามของผู้หญิง ซึ่งมีการพูดกันว่าถ้ากะเทยจะใช้สิทธิ์ทางกฎหมายเรื่องนี้ร่วมกับกลุ่มผู้หญิงก็ต้องเปลี่ยนแปลงร่างกายให้เป็นหญิงทั้งกายและใจถึงจะใช้สิทธิ์ได้ แต่กระนั้นก็ยังไม่เป็นที่สิ้นสุดต่อเรื่องดังกล่าวว่ากะเทยจะใช้คำนำหน้า นาง นางสาวได้จนปัจจุบัน ในระดับสากลคำว่า male to female , Transfemale , Transwomen ก็มีการนำมาเป็นถ้อยคำในเชิงสัญญะ ของการขับเคลื่อนทางการเมืองเรื่องเพศ และกลุ่มดังกล่าวก็เลือกที่ใช้คำว่า ผู้หญิงข้ามเพศ (Transwomen) มาอธิบายตัวตน และเป็นประเด็นในการขับเคลื่อนทางกฎหมาย

นัยยะของการเปลี่ยนคำนำหน้านามดังได้กล่าวข้างต้น หากแต่ฉันเองไม่ติดใจต่อการเคลื่อนด้วยยุทธวิธีของกลุ่มนี้ แต่สิ่งที่กลุ่มต้องสำเหนียกและคำนึงถึงว่าการเคลื่อนนั้นต้องคำนึงถึงมวลชนโดยร่วมด้วย การเคลื่อนต้องไม่สร้างการละเมิดสิทธิ์ การกีดกัน การตีตราซ้ำซ้อน หรือทำให้คนอื่นกลายเป็นชายขอบแล้วตัวเองเสวยแท่นอยู่ศูนย์กลางแต่เพียงกลุ่มเดียว กล่าวง่ายๆ คือ กรุณาอย่าเหยียบหัวชาวบ้านขึ้นไป อย่าลืมว่าถึงแม้นเราพยายามจะเปลี่ยนแปลงกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับใดๆ ให้สอดคล้องกับอัตลักษณ์ วิถีเพศ และชีวิตของเรา แต่หากสังคมยังไม่เปลี่ยนทัศนคติที่ถูกต้องต่อความเป็นเพศของแต่ละบุคคลแล้วนั้น การมีกฎหมายก็เปล่าประโยชน์ เพราะสังคมไม่ได้ดำรงอยู่ด้วยกฎหมายเท่านั้น

เพราะฉะนั้นกลุ่มผู้หญิงข้ามเพศควรที่จะแสวงหาโอกาสในการทำงานด้านทัศนคติ ความคิด ความเชื่อของสังคม แล้วจับมือร่วมกับมวลชน แสวงหาแนวร่วมผู้สนับสนุนมากกว่าสร้างผู้คัดค้านด้วยเหตุแห่งความไม่ประสีประสาทางสังคม สร้างความรู้ที่สอดคล้องกับความจริง ศึกษาวิจัยในเรื่องนี้กับสังคม มากกว่าที่จะออกมาให้ข้อมูลเชิงทรรศนะที่ขาดวิ่น แต่ควรเปิดเสียงและคำพูดของทั้งผู้เห็นด้วยและเห็นต่างที่มิได้มุ่งแต่การทำโฆษณาชวนเชื่อ แสวงประสบการณ์ของผู้หญิงข้ามเพศ กะเทยทั้งที่ได้รับผลกระทบจากการแปลงและไม่แปลงต่างกันอย่างไรในการดำรงชีวิตประจำวัน

อะไรคือตัวตนที่แท้จริง และความเป็นตัวเองของผู้หญิงข้ามเพศ การออกมาสู่สาธารณะชนผ่านสื่อมวลชนอย่างหาสาระดีๆ ฟัง มากกว่าภาพกะเทยแย่งกันพูดในทีวี จังหวะในการก้าวเดินควรมียุทธวิถีที่สร้างสรรค์กว่านี้ มากกว่าทำให้มันเป็นปัญหา หรือประเด็นทางสังคมแล้วเดินกลับบ้านส่วนใครจะเดือดร้อนก็ช่างหัวมัน เห็นทีกลุ่มดังกล่าวควรทำการบ้านมากกว่าทำโฆษณา เพราะคุณไม่พูดความจริงทั้งหมด หากคุณเลือกที่จะพูดบางส่วน ซึ่งถ้าเป็นเช่นนี้ เรื่องนี้ เรื่องแปลงเพศเอื้ออาทร เพื่อใครกันแน่!!!

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ประชุม กมธ.วิสามัญร่างประกันสังคมไม่คืบ เตรียมจัดเวทีชำแหละ 12 มี.ค.นี้

Posted: 07 Mar 2011 09:28 AM PST

วันที่ 7 มีนาคม 54 คณะกรรมการผลักดันนโยบาย ร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ... (ฉบับที่..) ได้มีการประชุมเพื่อรับฟังการสรุปการประชุมของตัวแทนแรงงานในคณะกรรมาธิการวิสามัญร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. … ซึ่งมีนายชัยสิทธิ์ สุขสมบูรณ์ นางสาววิไลวรรณ แซ่เตีย และทีมที่ปรึกษา

นางสาววิไลวรรณ แซ่เตียเล่าว่า จากการประชุมคณะกรรมาธิการฯ 2ครั้งพบว่า การประชุมร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคม (สปส.)มีการพิจารณาไวมาก และไม่มีการหยิบร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคมที่ได้มีการรับหลักการพร้อมๆ กันอีก 3 ร่างมาพิจารณาไปพร้อมๆกันไปด้วยแม้ว่าทางตัวแทนแรงงานและที่ปรึกษาจะพยายาม ยกมือขออภิปราย ประธานที่ประชุมก็จะทำเป็นมองไม่เห็นทำให้รู้สึกว่าเหมือนกับกรรมาธิการฯชุด นี้จะเร่งให้ร่างมีการพิจารณาจบลงอย่างรวดเร็วอาจด้วยเหตุผลว่าใกล้จะมียุบสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้นำเสนอข่าวเรื่องกฎหมายประกันสังคมในการให้ความคุ้มครองครอบครัวผู้ ประกันตน สามี หรือภรรยา และบุตร ซึ่งประเด็นนี้ในส่วนของกรรมาธิการฯฝ่ายแรงงานยังขอแขวนไว้ เพราะเห็นว่าระบบประกันสังคมเองยังมีปัญหาทั้งโครงสร้างการบริหาร และการบริการ รวมถึงประเด็นที่มีการเสนอให้นำงบประมาณจากกองทุนสำนักงานหลักประกันสุขภาพ (สปสช.) หากไม่มีความพร้อมการโอนคน 5 ล้านคนมาอยู่ในระบบประกันสังคมก็จะมีปัญหา

นายชัยสิทธิ์ สุขสมบูรณ์ กล่าวว่า การที่จะมีการขยายความคุ้มครองครอบครัวผู้ประกันตนอาจต้องคิดเช่นกัน เพราะชีวิตของคนงานไม่แน่นอนเกิดการเลิกจ้าง หรือเสียชีวิต สิทธิครอบครัวจะเป็นอย่างไร ยังคงอยู่ในระบบประกันสังคมหรือว่าขาดสิทธิ แล้วจะกลับไปใช้สิทธิของสปสช.ได้หรือไม่เพราะทางสำนักประกันสังคมนำเงินมา จากกองทุนสปสช. เรื่องโครงการและการบริหารจึงจำเป็นต้องปรับให้เกิดความสอดคล้อง

ส่วนการบริการหลายประเด็น สปสช.ดีกว่า สปส.ด้วยอันนี้ต้องมีการปรับระบบซึ่ง เป็นงานบริหาร ซึ่งบางประเด็นในร่างพ.ร.บ.ประกันสังคมฉบับรัฐบาลนี้ ยังมีการเพิ่มอำนาจข้าราชการในการบริหาร เช่นเรื่องของการขยายการคุ้มครองลูกจ้างในระบบข้าราชการ มีการเปิดให้สามารถออกเป็นกฤษฎีกาเพื่อยกเว้นในการที่จะนำลูกจ้างของรัฐเข้า สู่ระบบประกันสังคม ให้หน่วยงานรัฐเป็นผู้ตัดสินใจว่าจะให้เข้าสู่ระบบหรือไม่ ข้อสังเกตที่ตนเห็นคือ 1. ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์เข้ามาเป็นกรรมาธิการมีบทบาทน้อยมากในการแสดงความคิด เห็นต่อร่างพ.ร.บ. ประกันสังคม 2. ไม่มีการบันทึกข้อเสนอที่ขัดแย้งของฝ่ายกรรมาธิการฯ ฝ่ายแรงงานอันนี้เป็นที่น่าสงสัยว่าทำไมไม่บันทึกข้อความเพื่อให้เกิด ความเห็นต่าง และประเด็นการขอแขวนบางมาตรา ประธานที่ประชุมจะเสนอให้สงวนความคิด ซึ่งบอกว่าไม่ต่างกับการแขวนร่างบางมาตรา ทั้งที่การแขวนไว้เพื่อการนำมาพิจารณาใหม่อีกครั้งกับการสงวนสิทธิการ อภิปรายหมายถึงผู้ที่สงวนต้องเข้าไปอภิปรายชี้แจงในที่ประชุมสภา จึงสร้างความไม่สบายใจให้กับตัวแทนแรงงานที่เข้าไปเป็นกรรมาธิการฯอย่างมาก เพราะที่ปรึกษาที่เข้าไปยกมือเท่าไร ประธานที่ประชุมก็แสดงท่าทีชัดเจนว่ามองไม่เห็นจนบางครั้งเราต้องยกมือบอก ประธานให้ที่ปรึกษาได้เสนอความคิดเห็น เวทีเหมือนให้ตัวแทนแรงงานนำเสนอ และให้ตัวแทนรัฐที่เป็นเลขาสำนักงานประกันสังคมคอยที่จะต้านทางความคิดโดยมี ประธานคอยตัดบทให้ร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคมผ่านๆ ไปก่อนเท่านั้น

ทั้งนี้ที่ประชุมเห็นว่าควรมีการจัดแถลงข่าวเพื่อชำแหละกรรมาธิการวิสามัญ ร่างพ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ. … ให้สาธารณชนได้รับทราบผลการประชุมร่างพ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ. … ในฐานะตัวแทนแรงงานที่เข้าไปเป็นก รรมาธิการวิสามัญ ในวันที่ 12 มีนาคม 2554เวลา 10.00น. ณ ห้องประชุมศุภชัย ศรีสติ มูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย ถนนมักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

วันสตรีสากล: การต่อสู้เพื่อสิทธิของผู้ใช้แรงงาน เสรีภาพและประชาธิปไตย

Posted: 07 Mar 2011 07:48 AM PST

 

“ผู้หญิงคือปรปักษ์ของการกดขี่ ผู้หญิงนี่แหละที่ต่อสู้อย่างเข้มข้นที่สุดเสมอมา”        
ปรามูเดีย อนันตา ตูร์ นักเขียนชาวอินโดนีเซีย

 

วันที่ 8 มีนาคม ค.ศ.1857 กรรมกรหญิงในโรงงานทอผ้า รัฐนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกาได้พากันลุกฮือประท้วงให้นายจ้างเพิ่มค่าจ้าง และเรียกร้องสิทธิของพวกเธอ แต่สุดท้ายกลับมีผู้หญิงถึง 119 คนต้องเสียชีวิตจากเหตุการณ์นี้ ด้วยการที่มีคนลอบวางเพลิงเผาโรงงานที่พวกเธอนั่งชุมนุมกันอยู่

ในปี ค.ศ.1907 กรรมกรหญิงในโรงงานทอผ้าที่เมืองชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกาทนไม่ไหวต่อการเอารัด เอาเปรียบ กดขี่ ทารุณ ของนายจ้างที่ใช้งานพวกเธอเยี่ยงทาส เนื่องจากกรรมกรหญิงเหล่านี้ต้องทำงานหนักถึงวันละ 16-17 ชั่วโมง โดยไม่มีวันหยุด ไม่มีประกันการใช้แรงงานใดๆ เป็นผลให้เกิดความเจ็บป่วยล้มตายตามมาในระยะเวลาอันรวดเร็ว แต่กลับได้รับค่าแรงเพียงน้อยนิด และหากตั้งครรภ์ก็ถูกไล่ออก

จึงมีการเคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์คืนมา และมี "คลาร่า เซทคิน" นักการเมืองสตรีสายแนวคิดสังคมนิยม ชาวเยอรมัน เป็นผู้นำสำคัญในการเคลื่อนไหว

บทบาทของ "คลาร่า เซทคิน" นั้น เป็นแกนนำสำคัญในการต่อต้านอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ แห่งพรรคนาซี และต่อต้านการใช้อำนาจเผด็จการ โดยเธอได้กล่าวสุนทรพจน์โจมตีอดอล์ฟ ฮิตเลอร์อย่างรุนแรง จนถึงปี ค.ศ.1933 พรรคนาซีเยอรมันเข้ารวบอำนาจได้อย่างเบ็ดเสร็จ

เมื่อ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์มีอำนาจในการปกครองอย่างเด็ดขาด ทำให้คลาร่า เซทคิน ต้องยุติบทบาทนักการเมืองสายแนวคิดสังคมนิยม ก่อนถูกรัฐบาลตามล่ากวาดล้างจนต้องลี้ภัยไปใช้ชีวิตที่ประเทศรัสเซียแทน และถึงแก่กรรมในปีเดียวกัน

คลาร่า เซทคิน มีบทบาทสำคัญในการเรียกร้องสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคให้กับสตรี อีกทั้งยังทำงานเพื่อสตรีมาโดยตลอด ทำให้คลาร่าได้รับการขนานนามจากกลุ่มองค์กรสตรีนานาชาติว่าเป็น "มารดาแห่งการเคลื่อนไหวสตรีสากล"

ในการเคลื่อนไหวของคนงานหญิง ได้มีการนัดหยุดงานในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ.1907 พร้อมกับเรียกร้องให้นายจ้างลดเวลาการทำงานลงเหลือวันละ 8 ชั่วโมง อีกทั้งให้ปรับปรุงสวัสดิการทุกอย่าง และให้สตรีมีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งด้วย

อย่างไรก็ตามแม้การเรียกร้องครั้งนี้ จะไม่ประสบผลสำเร็จ เนื่องจากมีแรงงานหญิงหลายร้อยคนถูกจับกุม แต่ก็ทำให้สตรีทั่วโลกสนับสนุนการกระทำของ "คลาร่า เซทคิน" และเป็นการจุดประกายให้สตรีทั่วโลกเริ่มตระหนักถึงสิทธิของตัวเองมากขึ้น

ต่อมาในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ.1908 มีแรงงานหญิงกว่า 15,000 คน ร่วมเดินขบวนทั่วเมืองนิวยอร์ก เรียกร้องให้ยุติการใช้แรงงานเด็ก โดยมีคำขวัญการรณรงค์ว่า "ขนมปังกับดอกกุหลาบ" ซึ่งหมายถึงการได้รับอาหารที่พอเพียงพร้อมๆ กับคุณภาพชีวิตที่ดีนั่นเอง

จนกระทั่งในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ.1910 ความพยายามของกรรมกรสตรีกลุ่มนี้ก็ประสบผลสำเร็จ เมื่อมีตัวแทนสตรีจาก 17 ประเทศ เข้าร่วมประชุมสมัชชาสตรีสังคมนิยมครั้งที่ 2 ณ เมืองโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก โดยในที่ประชุมได้ประกาศรับรองข้อเรียกร้องของบรรดากรรมกรสตรี ในระบบสาม 8 คือ ยอมให้ลดเวลาทำงานเหลือวันละ 8 ชั่วโมง ให้เวลาศึกษาหาความรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพของตัวเองอีก 8 ชั่วโมง และอีก 8 ชั่วโมงเป็นเวลาพักผ่อน พร้อมกันนี้ยังได้ปรับค่าแรงของแรงงานหญิงให้เท่าเทียมกับแรงงานชาย และยังมีการคุ้มครองสวัสดิการสตรีและแรงงานเด็กอีกด้วย

ทั้งนี้ ยังได้รับรองข้อเสนอของ "คลาร่า เซทคิน" ด้วยการกำหนดให้วันที่ 8 มีนาคม ของทุกปีเป็นวันสตรีสากล

ย้อนมองสังคมไทย ประวัติศาสตร์การต่อสู้ของผู้ใช้แรงงานในสังคมไทย ซึ่งมีผู้หญิงจำนวนมากในโลกทุนนิยม ก็หาได้ยอมจำนนต่อระบบทุนนิยมที่เอารัดเอาเปรียบผู้ใช้แรงงาน ซึ่งทำให้แรงงานกลายเป็นเพียงสินค้า เป็นเพียงปัจจัยการผลิตเสมือนหุ่นยนต์ตัวหนึ่งในสายพานการผลิต ผู้ใช้แรงงานก็ต่อสู้เพื่อความยุติธรรมเสมอมา ทั้งเรื่องการปรับปรุงสภาพการจ้าง การคุ้มครองหลักประกันสังคม ความปลอดภัยในการทำงาน ฯลฯ และมีผู้ใช้แรงงานจำนวนไม่น้อยที่ก้าวสู่การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยด้วยเช่นกัน

การต่อสู้ของผู้ใช้แรงงานนั้น เป็นการต่อสู้ทั้งระดับชีวิตประจำวัน และปัญหาทางโครงสร้างนโยบายกฎหมาย โดยมีทั้งระดับปัจเจกชน ระดับกลุ่ม ทั้งรูปแบบสหภาพแรงงาน และรูปแบบอื่นๆ เช่น กลุ่มย่านต่างๆ

เมื่อวันที่ 6 มีนาคม ที่ผ่านมา ผู้ใช้แรงงานหญิงสหภาพแรงงานไทรอัมพ์ ผู้ประสบชะตากรรมถูกนายจ้างไล่ออกจากงาน ในฐานะไม่เชื่อฟัง คำสั่งของนายจ้าง และมักต่อรองกับนายจ้างไม่ให้เอาเปรียบพนักงานเสมอมา ก็ได้เปิดโปงการปลิ้นปล้นหลอกลวงของนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ “ที่ดีแต่พูด” “มือเปื้อนเลือด” และแก้ปัญหาให้นายทุนมากกว่าผู้ใช้แรงงาน เชื่อกลไกราชการมากว่าการฟังเสียงผู้ใช้แรงงาน

เช่นเดียวกัน การต่อสู้กับระบอบอำมาตยาธิปไตย เพื่อประชาธิปไตย ในสังคมไทยห้วงปัจจุบัน จะเห็นได้ว่า มีผู้หญิงจำนวนมากหลากหลายฐานะ อาชีพ ชนชั้น ตลอดทั้งผู้ใช้แรงงานบางส่วน

โดยมีเป้าหมายเดียวกัน “อำนาจอธิปไตยต้องเป็นของประชาชน” มีความเชื่อว่า “ทุกคนเท่ากัน” “ไพร่ก็มีหัวใจ” ได้ต่อสู้อย่างอดทน เผชิญกับความยากลำบาก อย่างไม่ท้อถอยในนาม “คนเสื้อแดง”

100 ปีวันสตรีสากล จึงมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ ให้ความทรงจำกับผู้หญิงผู้ถูกกดขี่ทั่วโลกได้ตระหนักการต่อสู้เพื่อชีวิตที่ดีกว่า เพื่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เพื่อสิทธิเสรีภาพ เพื่อความเสมอภาคและเพื่อประชาธิปไตย

สำหรับสังคมไทยแล้ว วันสตรีสากลในปีนี้ ย่อมทำให้ต้องตระหนักว่า สิทธิของผู้ใช้แรงงาน และระบอบประชาธิปไตย เป็นสิ่งที่ไม่อาจแยกออกจากกันได้

เฉกเช่นการต่อสู้ของ “คลาร่า เซทคิน” มารดาแห่งการเคลื่อนไหวสตรีสากล ผู้ได้ต่อสู้เพื่อสิทธิผู้ใช้แรงงาน และคัดค้านอำนาจนิยมเผด็จการฮิตเลอร์เพื่อเสรีภาพและประชาธิปไตย

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

บทความอัลจาซีร่า : การปฏิวัติสตรีนิยมในตะวันออกกลาง

Posted: 07 Mar 2011 07:42 AM PST

เมื่อวันที่ 4 มี.ค.ที่ผ่านมา อัลจาซีร่าเผยแพร่บทความชื่อ "การปฏิวัติสตรีนิยมในตะวันออกกลาง" โดย นาโอมิ วูล์ฟ นักกิจกรรมทางการเมืองและนักวิจารณ์ผู้เคยเขียนหนังสือเกี่ยวกับการปฏิวัติอเมริกา โดยในบทความชิ้นนี้พูดถึงบทบาทของสตรีในโลกตะวันออกกลาง เนื้อหาของบทความมีดังนี้

.....

ภาพเหมารวมอย่างหนึ่งที่ชาวตะวันตกมักจะจินตนาการเวลาพูดถึงประเทศมุสลิมคือเรื่องเกี่ยวกับลักษณะของผู้หญิงมุสลิม ว่ามีดวงตาใสซื่อไร้เดียงสา, สวมผ้าคลุมหน้า, และมีท่าทีอ่อนน้อม, เงียบในแบบเอ็กโซติก, อยู่ในที่โปรงๆ สภาพเหมือนฮาเรมในจินตนาการ, ซ่อนตัวภายใต้บทบาททางเพศที่เข้มงวด แล้วผู้หญิงเหล่านี้อยู่แห่งหนใดในตูนีเซียและอียิปต์

ทั้งสองประเทศที่กล่าวมานี้ ผู้ประท้วงที่เป็นสตรีไม่ได้มีอะไรเหมือนเช่นภาพเหมารวมของชาวตะวันตกเลย พวกเขาอยู่แนวหน้าและแนวกลางในคลิปข่าวและในกระทู้ของเฟซบุ๊ก บางคนถึงขั้นมีบทบาทแกนนำ ในจัตุรัสทาห์เรียของอียิปต์ อาสาสมัครที่เป็นสตรี บางคนมาพร้อมกับลูกๆ ทำงานแข็งขันเพื่อสนับสนุนการการประท้วง ทั้งการช่วยเหลือในเรื่องความปลอดภัย, การสื่อสาร และการจัดหาที่พัก มีนักวิจารณ์หลายคนแสดงความชื่นชมสตรีและเด็กจำนวนมากที่มีส่วนในการสร้างความสงบในการชุมนุมแม้จะเป็นช่วงที่ต้องเผชิญกับการยั่วยุก็ตาม

นักข่าวพลเมืองในจัตุรัสทาร์เรีย (หรือใครก็ตามที่มีโทรศัพท์มือถือก็จัดเป็นนักข่าวพลเมืองได้) กล่าวถึงการประท้วงที่มีมวลชนผู้หญิงเป็นกลุ่มประชากรที่ครอบคลุมทั่วการชุมนุม หลายคนสวมฮิญาบ และสิ่งอื่นๆ ที่เป้นสัญลักษณ์แทนความอนุรักษ์นิยมทางศาสนา ขณะที่อีกหลายคนก็แสดงความมีเสรีภาพจากการสูบบุหรี่หรือจูบกับเพื่อนในที่สาธารณะ

 

ผู้นำและผู้สนับสนุน
แต่สตรีในการประท้วงระลอกนี้ก็ไม่ได้แค่ทำหน้าที่เป็นเพียงฝ่ายสนับสนุนซึ่งเป็นบทบาทประจำที่พวกเขามักจะได้รับในการเคลื่อนไหวมาโดยตลอด ตั้งแต่การประท้วงยุคซิกซ์ตี้ (1960s) มาจนถึงการประท้วงของนักเรียนนักศึกษาในอังกฤษเมื่อไม่นานมานี้ แต่ผู้หญิงชาวอียิปต์ยังมีบทบาทในการจัดตั้ง, การวางยุทธศาสตร์ และการรายงานสถานการณ์อีกด้วย บล็อกเกอร์อย่าง Leil Zahra Mortada ต้องเสี่ยงตายทุกวันเพื่อที่จะรายงานภาพการชุมนุมให็โลกได้รับรู้

บทบาทของสตรีในการลุกฮือของประชาชนในประเทศตะวันออกกลางนั้นอยู่นอกสายตาอย่างมาก สตรีในอียิปต์ไม่ได้แค่ "เข้าร่วม" การประท้วง พวกเขาเป็นพลังการนำสำคัญต่อวิวัฒนาการทางวัฒนธรรมที่ทำให้การประท้วงเกิดขึ้นอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยง และสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในอียิปต์ในแง่นี้ก็ยังเกิดขึ้นกับประเทศต่างๆ ในโลกอาหรับด้วย ไม่ว่าจะอยู่ในระดับมากหรือน้อยกว่าก็ตาม เมื่อผู้หญิงเริ่มเปลี่ยนแปลงทุกสิ่งทุกอย่างก็เปลี่ยนตาม และผู้หญิงในโลกมุสลิมกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างพลิกฝ่ามือ

สิ่งที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือเรื่องการศึกษา เมื่อสองรุ่นที่แล้วมีเพียงลูกสาวของกลุ่มชนชั้นนำจำนวนน้อยนิดเท่านั้นที่มีโอกาสเรียนต่อถึงระดับมหาวิทยาลัย ในทุกวันนี้ในประเทศอียิปต์มีนักศึกษาที่เป็นผู้หญิงอยู่เกินครึ่ง พวกเขาได้รับการฝึกฝนที่จะใช้พลังในแบบที่รุ่นยายของพวกเขานึกจินตนาการไม่ออก เช่นการตีพิมพ์หนังสือพิมพ์อย่าง ที่ Sanaa el Seif ทำ ซึ่งเป็นการท้าทายอำนาจการสั่งปิดของรัฐบาล มีการรณรงค์การนำโดยกลุ่มนักศึกษา การหาทุนสำหรับองค์กรนักศึกษา และการพบปะหารือ

มีสตรีรุ่นใหม่จำนวนหนึ่งในอียิปต์และประเทศอาหรับที่เริ่มมีความคิดเชิงวิพากษ์ภายใต้สภาพแวดล้อมที่มีความหลากหลายทางเพศ และบ้างก็แสดงท่าทีท้าทายต่ออาจารย์ผู้ชายต่อหน้าชั้นเรียน จะเป็นการง่ายกว่านี้มากสำหรับการปกครองแบบทรราชย์หากครึ่งหนึ่งของประชากรเป็นผู้ไม่มีการศึกษาและถูกฝึกให้ยอมจำนน แต่สิ่งที่ชาวตะวันตกควรเรียนรู้จากประวัติศาสตร์ของตนเองคือ เมื่อผู้หญิงมีการศึกษาแล้ว การเคลื่อนไหวปลุกปั่นในเชิงประชาธิปไตยก็จะเกิดขึ้นร่วมกับการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมครั้งใหญ่ที่ตามมา

นอกจากนี้ยังมีการใช้ประโยชน์จากธรรมชาติของสื่อเครือข่ายทางสังคม (Social Media) ในการทำให้ผู้หญิงกลายเป็นแกนนำการประท้วง โดยส่วนตัวผู้เขียนบทความเองเคยเป็นผู้สอนเรื่องทักษะความเป็นผู้นำมามากกว่าสิบปีแล้ว จึงทราบดีว่ามันยากลำบากเพียงใดในการทำให้พวกเขาลุกขึ้นพูดในองค์กรที่มีลำดับขั้น ปกติแล้วผู้หญิงมักจะหลีกเลี่ยงสถานะหัวหอกซึ่งในการประท้วงตามแบบฉบับมักจะยกให้กับนักกิจกรรมที่เป็นชายหนุ่มเลือดร้อนถือเครื่องขยายเสียง

 

ฉายภาพพลังอำนาจ
ในบริบทที่มีเวที, แสงสปอตไลท์ และผู้ปราศรัย ผู้หญิงมักจะหลบลี้ไปจากบทบาทผู้นำ แต่จากลักษณะของสื่อเครือข่ายทางสังคมได้เปลี่ยนความหมายของความเป็นผู้นำอย่างที่เห็นกันอยู่ทุกวันนี้ เฟซบุ๊กลอกเลียนวิธีการที่ผู้หญิงใช้ในการรับรู้เรื่องราวจากสังคม ผ่านการเชื่อมโยงระหว่างผู้คนที่มีความสำคัญเท่ากันในแง่การนำหรือการควบคุมโดยปัจเจกบุคคล

คุณสามารถกลายเป็นผู้นำที่มีพลังได้ เพียงแค่คุณสร้าง "เรา" ที่ตัวใหญ่ๆ ขึ้นมาให้ได้ หรือคุณอาจจะทำตัวขนาดเท่าๆ กับทุกๆ คน ในหน้าเพจ หมายถึงคุณไม่จำเป็นต้องแสดงอำนาจหรือการนำก็ย่อมทำได้ โครงสร้างของหน้าเฟซบุ๊ก ได้สร้างสิ่งที่สถาบันแบบต้องอาศัยอาคารสถานที่ (Brick-and-Mortar) ไม่อาจทำให้เกิดขึ้นได้แม้จะมีการกดดันจากนักสตรีนิยมมากว่า 30 ปีแล้ว นั่นคือบริบทที่ผู้หญิงมีความสามารถจะสร้าง "เรา" ที่เข้มแข็งและร่วมเป็นผู้นำในการสนับสนุนเสรีภาพและความยุติธรรมทั่วโลก

แน่นอนว่าเฟซบุ๊ก ไม่ได้ช่วยลดความเสี่ยงในการประท้วงลงได้ แต่ไม่ว่าจะเกิดความรุนแรงขึ้นในตะวันออกกลางเร็วๆ นี้หรือไม่ อย่างไรก็ตาม จากประวัติศาสตร์แสดงให้เห็นว่าเมื่อผู้หญิงที่ได้รับการศึกษาเข้าร่วมการเคลื่อนไหวเพื่อเสรีภาพ ผู้ที่ต้องการให้การปกครองด้วยกำลังยังคงอยู่จะต้องพ่ายไป

เมื่อฝรั่งเศสเกิดการปฏิวัติในปี 1789 แมรี่ โวลสโตนคราฟ ผู้ที่เห็นเหตุการณ์เขียนแถลงการณ์ในเรื่องของการปลดปล่อยสตรี หลังจากที่กลุ่มสตรีในสหรัฐอเมริกาช่วยเหลือการต่อสู้เพื่อการเลิกทาส พวกเขาก็ต่อสู้ในประเด็นต่อไปคือเรื่องสิทธิในการเลือกตั้งของผู้หญิง หลังจากที่ในช่วงยุค 1960s พวกเขาถูกบอกว่า "สถานะของผู้หญิงในการเคลื่อนไหวนั้นต่ำเรี่ยติดดิน" พวกเขาก็ก่อรูปการเคลื่อนไหวสตรีนิยม "คลื่นลูกที่ 2" การเคลื่อนไหวที่มาจากทักษะใหม่ๆ และจากความไม่พอใจเก่าๆ

ในครั้งนี้ก็เช่นกัน เมื่อผู้หญิงช่วยคนอื่นต่อสู้เพื่อเสรีภาพแล้ว พวกเขาก็จะเคลื่อนไปสู่การต่อสู้เรียกร้องสิทธิของตนเอง และเนื่องจากสตรีนิยมเป็นส่วนเสริมที่สอดคล้องกันกับประชาธิปไตย เผด็จการตะวันออกกลางก็ต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่ไม่เหลือความเป็นไปได้เลยในการหักห้ามไม่ให้ผู้หญิงตาสว่างเหล่านี้เลิกต่อสู้เพื่อเสรีภาพ ทั้งของพวกเธอเองและของชุมชน

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สบท.เผย “กฎหมายโทรคมนาคม” ถูกละเมิดเพียบ

Posted: 07 Mar 2011 07:36 AM PST

นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท.) เปิดเผยว่า ตามประกาศ กทช. เรื่อง มาตรฐานสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ.2549 ข้อ 25 ให้ความคุ้มครองผู้บริโภคในการระงับใช้บริการชั่วคราวได้ โดยแจ้งให้บริษัททราบล่วงหน้า 3 วัน โดยบริษัทจะกำหนดระยะเวลาขั้นต่ำสุดหรือสูงสุดที่ยินยอมให้ระงับการใช้บริการชั่วคราว ที่สำคัญคือ บริษัทไม่มีสิทธิเรียกเก็บค่าใช้จ่าย ในกรณีที่ผู้บริโภคขอระงับบริการชั่วคราว เมื่อครบกำหนดการขอระงับใช้บริการ บริษัทต้องเปิดบริการให้ผู้บริโภคทันทีโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย

นายประวิทย์ กล่าวด้วยว่า สิทธิในการระงับบริการชั่วคราว จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้บริโภค ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องระงับบริการชั่วคราว เช่น เดินทางไปต่างประเทศ หรือมีเหตุจำเป็นที่ทำให้ไม่สามารถใช้บริการได้ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง โดยทำให้สามารถเก็บเลขหมายของตนเองไว้ได้โดยไม่จำเป็นต้องยกเลิกบริการ

อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบข้อมูลของ สบท. พบว่า ในทางปฏิบัติ มีเพียงผู้ให้บริการรายเดียวที่เปิดให้ผู้บริโภคสามารถระงับบริการชั่วคราวได้ 2 ปี โดยไม่คิดค่าบริการ 30 วันแรก หลังจากนั้นคิดค่ารักษาเลขหมายเดือนละ 60 บาท ขณะที่ผู้ให้บริการที่เหลือไม่ได้ให้สิทธิผู้บริโภคในการระงับบริการชั่วคราวตามกฎหมาย หากมีการระงับบริการชั่วคราวต้องจ่ายค่าบริการตามปกติ หรือสมัครใช้โปรโมชั่นที่ราคาต่ำสุด หรือบางรายที่เป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์บ้านและมีบริการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วย ให้สิทธิในการระงับบริการชั่วคราวโทรศัพท์บ้านได้ แต่ต้องจ่ายค่ารักษาคู่สายโทรศัพท์ และกรณีสมัครใช้บริการอินเทอร์เน็ตไว้ด้วย ไม่สามารถระงับการใช้บริการชั่วคราวได้ ต้องยกเลิกบริการเท่านั้น อีกทั้งหากระงับบริการชั่วคราวโทรศัพท์บ้านจะไม่สามารถโทรออกหรือรับสายได้ ทำให้สัญญาณอินเทอร์เน็ตถูกตัดไปโดยอัตโนมัติ หากไม่ยกเลิกบริการ ก็จะต้องจ่ายค่าบริการรายเดือนให้กับการใช้บริการอินเทอร์เน็ตต่อไป

ผอ.สบท. กล่าวต่อไปว่า โดยข้อเท็จจริงผู้ให้บริการจะยึดผลกำไรเป็นหลักไม่ใช่กฎหมายเป็นหลัก ดังนั้นในแง่ของการปฏิบัติตามกฎหมายโทรคมนาคมจึงพบว่า มีหลายประเด็นที่ผู้ให้บริการไม่ได้ปฏิบัติตามกฎหมาย เช่น ที่ชัดเจนก็คือ ระบบเติมเงินต้องไม่มีการกำหนดวันหมดอายุ หรือ การต้องส่งอัตราค่าบริการให้ กทช. ดูก่อน 30 วัน แต่ส่วนใหญ่ก็ออกโฆษณาไปก่อนจึงส่งมาให้ตรวจสอบ เป็นต้น หากฝ่ายกำกับดูแลไม่มีศักยภาพในการติดตาม ก็จะเป็นเหมือนเขียนกฎหมายให้เป็นกระดาษ ดังนั้นจึงต้องมีการพัฒนาระบบติดตามตรวจสอบว่าผู้ให้บริการปฏิบัติตามกฎหมายหรือไม่

“ตามกฎหมายผู้ให้บริการจะต้องรายงานเรื่องร้องเรียนทุก 6 เดือน ซึ่งผลจากการรายงานพบว่า เรื่องร้องเรียนทั้งปีจากลูกค้า 10 กว่าล้านราย มีผู้ร้องเรียนแค่ 100 กว่าราย ดังนั้นจึงต้องมีการพัฒนาระบบตรวจสอบการรายงานด้วย ตัวช่วยที่จะทำให้กฎหมายเป็นจริงมากขึ้นก็คือ การลงทุนด้านเทคโนโลยีเพื่อติดตามคุณภาพการให้บริการของผู้ประกอบการ เช่น มีการบล็อกสัญญาณปิดกั้นสัญญาณหรือไม่ โทรเข้าโทรออกสำเร็จหรือไม่ ประการที่สองคือ ต้องให้ผู้ใช้บริการมีส่วนร่วมในการติดตามตรวจสอบ โดยเปิดช่องทางให้เขาแจ้งเหตุว่ามีการฝ่าฝืนกฎหมาย เพื่อให้ฝ่ายที่ถือกฎหมายดำเนินการต่อไป” นายประวิทย์กล่าว

ผอ.สบท.กล่าวต่อไปว่า กฎหมายด้านโทรคมนาคม เป็นกฎหมายที่มีโทษทางปกครองเท่านั้น ต่างจากกฎหมายของ สคบ. เช่น ถ้า สคบ. แจ้งให้เข้าร่วมประชุม หรือมีหนังสือเชิญ หรือแจ้งให้ต้องส่งเอกสาร ถ้าฝ่าฝืนถือเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มีโทษทางอาญา บริษัทก็จะถือปฏิบัติ แต่ตามกฎหมายโทรคมนาคมมีความผิดแค่ทางปกครอง บริษัทก็จะให้ความเคารพน้อยกว่า

“ทางออกจึงต้องมีการสร้างความร่วมมือกับผู้ประกอบการด้วย คือ ให้ผู้ประกอบการตรวจสอบกันเอง และสร้างศักยภาพให้ผู้บริโภคมีส่วนร่วมในการตรวจสอบได้ ผู้บริโภคมีข้อมูลเพียงพอในการเลิกใช้หรือยกเลิกบริการได้ โดยให้มีการเผยแพร่ข้อมูลเพื่อให้เกิดพลังกดดัน และผู้บังคับใช้กฎหมายต้องเอาจริงเอาจังมากกว่านี้ จึงถือว่าถ้าไม่มีการแจ้งเหตุแสดงว่าไม่มีการทำผิดกฎหมายคงไม่ถูก เพราะบางครั้งการทำผิดกฎหมายเกิดขึ้นต่อหน้าต่อตา เป็นความผิดซึ่งหน้า ไม่ต้องรอหมายจับก็จับได้เลย” ผอ.สบท. กล่าว

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

“การลอบสังหาร” ในการเมืองท้องถิ่นไทย: ในรอบทศวรรษ (พ.ศ.2543- 2552)

Posted: 07 Mar 2011 06:38 AM PST

หมายเหตุ:

  1. ชื่อบทความเดิม - “การลอบสังหาร” ในการเมืองท้องถิ่นไทย: บทสำรวจ ‘ตัวเลข’ ขั้นต้นในรอบทศวรรษ (พ.ศ.2543-พ.ศ.2552)
  2. นำเสนอครั้งแรกในการประชุมวิชาการรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์แห่งชาติ ครั้งที่ 11 (พ.ศ.2553) วันที่ 25 พฤศจิกายน 2553 ณ วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ด้วยชื่อบทความเดียวกัน

 

บทนำ

แม้สังคมไทยจะยังไม่เคยผ่านประสบการณ์ ความรุนแรงทางการเมือง (Political Violence) ถึงขั้นลุกลามจนกลายเป็นสงครามกลางเมือง (Civil War) กระทั่งการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (Genocide) อย่างที่เกิดขึ้นในประเทศอื่นๆ รวมถึงในประเทศเพื่อนบ้าน ทว่าสังคมไทยกลับเต็มไปด้วยการใช้ความรุนแรงทางการเมืองในลักษณะที่หลากหลาย และได้อุบัติขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นความรุนแรงโดยรัฐ (State Violence), การก่อการจลาจล (Riot), การก่อการร้าย (Terrorism) รวมถึงการลอบสังหาร (Assassination) [1] จนบางเรื่องผู้คนรู้สึกว่าปกติธรรมดาในชีวิตประจำวันไปแล้ว

แต่หากกล่าวถึงภาพเล็กสุดเฉพาะกรณีการ ‘ฆ่า’ ด้วยหวังผลทางการเมือง สำหรับประวัติศาสตร์การเมืองไทยสมัยใหม่ [2] ภายหลังปี 2475 เป็นต้นมา ไม่เคยปรากฏว่ามีผู้นำสูงสุดในฝ่ายบริหารของประเทศ คือ “นายกรัฐมนตรี” แม้แต่คนเดียว (จากทั้งหมด 27 คน) ที่ต้องถึงแก่อสัญกรรมเนื่องจากถูกลอบสังหาร คงมีแต่เพียงความพยายามที่ล้มเหลวหลายๆ ครั้งเกิดขึ้นกับนายกรัฐมนตรีบางท่านเท่านั้น เช่น พลเอกเปรม ติณสูลานนท์, พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นต้น [3]

ถึงกระนั้น หากพิจารณาให้กว้างขวางและย้อนหลังไปมากยิ่งขึ้นก็จะกลับพบเห็นอย่างมากมายไม่เคยว่างเว้น โดยเฉพาะในสมัยเผด็จการทหาร ดังที่เกิดในช่วงต้นทศวรรษ 2490 กรณี 4 อดีตรัฐมนตรี คือ นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์, นายจำลอง ดาวเรือง, นายถวิล อุดล และนายทองเปลว ชลภูมิ์ ถูก ‘ยิงทิ้ง’ โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจพร้อมกัน ว่ากันว่าการใช้มาตรการรุนแรงในการกำจัดฝ่ายตรงข้ามที่ไม่ลงรอยกับฝ่ายกุมอำนาจเช่นนี้ เป็นผลให้นักการเมืองแถวหน้ายุคนั้นถึงกว่า 20 คน (นอกเหนือจากที่ได้เอ่ยนามมาแล้ว) ต้องจบชีวิตลง ไม่ว่าจะเป็นนายเตียง ศิริขันธ์, นายทวี ตะเวทิกุล, นายบรรจงศักดิ์ ชีพเป็นสุข, นายโผน อินทรทัต, นายหะยี สุรง ฯลฯ [4] หรือในห้วงปลายทศวรรษ 2510 (ช่วง 14 ตุลาคม 2516 ถึง 6 ตุลาคม 2519) ก็ปรากฏการสังหารผู้นำกรรมกร ผู้นำชาวนา ผู้นำนักศึกษาหลายสิบคน โดยคดีส่วนใหญ่ไม่สามารถจับคนร้ายได้ [5]

ข้างต้นเป็นตัวอย่างความรุนแรงทางการเมืองที่ชัดเจนมาก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบริบทการเมืองภาพใหญ่แต่ละห้วงเวลา ซึ่งค่อยๆ คลี่คลายบรรเทาเบาบางลงตามบรรยากาศบ้านเมืองที่เริ่มเปลี่ยนแปลงไปในห้วงหลัง แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีเอาเสียเลย ดังเห็นได้จากการที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.), สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) หลายต่อหลายคน ตลอดวงศ์วานว่านเครือ รวมถึงหัวคะแนนของท่านๆ เหล่านั้นต้องมาจบชีวิตจากการถูกลอบฆ่านั่นเอง

กระนั้นต้องไม่ลืมด้วยว่าระบอบประชาธิปไตยมี สอง ระดับ ได้แก่ส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น แต่มุมมองที่ผ่านมามักเสนอให้พิจารณาระบอบประชาธิปไตยเป็นภาพรวม โดยถือเอาประชาธิปไตยระดับชาติ (National Democracy) เป็นจุดหลักของการศึกษา ให้น้ำหนักน้อยต่อประชาธิปไตยระดับท้องถิ่น (Local Democracy) และการเมืองท้องถิ่น (Local Politics) [6]

อาจกล่าวได้ว่าพลวัตรของการกระจายอำนาจ (Decentralization) ในประเทศไทยนั้น ได้เริ่มก่อรูปขึ้นพร้อมๆ กับกระแส ‘ปฏิรูปการเมือง’ (Political Reform) ส่วนบน ภายหลังจากเหตุการณ์เดือนพฤษภาฯ ปี 2535 โดยเน้นย้ำถึงทิศทางของการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในลักษณะที่ให้ความสำคัญกับการเลือกตั้งในระดับท้องถิ่น การกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่น และความเป็นอิสระของท้องถิ่นในทุกๆ มิติมากยิ่งขึ้น ฯลฯ

ความเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ข้างต้นเกิดขึ้นในทศวรรษสำคัญของการเมืองไทย (พ.ศ.2540) ถือเป็นก้าวย่างครั้งใหญ่ที่สุดของการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นในรอบศตวรรษเลยก็ว่าได้ และถึงแม้การเมือง ‘ส่วนบน’ จะเกิดความ ‘พลิกผัน’ มหาศาลภายหลังรัฐประหาร 19 กันยาฯ แต่ใช่ว่าจะส่งผลกระทบต่อการเมือง ‘ข้างล่าง’ มากนัก [7]

ขณะที่เหตุผลในการ ‘คัดค้าน’ การเร่งรัดการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นในสังคมไทยกลับยังคงดำรงอยู่แข็งขัน เป็นต้นว่าอาจจะนำมาซึ่งความแตกแยกรุนแรงในท้องถิ่น ประชาชนยังไม่พร้อม หรือไม่ก็กลัวว่าเจ้าพ่อจะชนะการเลือกตั้ง กอปรกับได้มีข่าวคราวเกี่ยวกับอาชญากรรมรุนแรงที่เกิดกับเหล่านักการเมืองท้องถิ่นปรากฏอยู่บนหน้าหนึ่งหนังสือพิมพ์รายวันอยู่โดยตลอด ชวนให้ผู้คนเห็นคล้อยตามเป็นอย่างยิ่ง ด้วยเหตุนี้เองการเมืองท้องถิ่น ณ เวลานี้จึงเต็มไปด้วย ‘เลือด’ ในสายตาของหลายๆ คน [8]

ตัวอย่างพาดหัวข่าวของหนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่ห้วง 4-5 ปีมานี้ อาทิเช่น

  • ยิงนายกอบต.หัวคะแนนชาติไทยหวิดดับ [มติชน, 4 ก.พ. 48]
  • รัวฆ่าคาห้องประชุมนายก-ปลัด [ข่าวสด, 1 ธ.ค. 48]
  • ปธ.สภาคลั่งยิงนายกเล็กคาโต๊ะประชุม [ไทยรัฐ, 25 ม.ค. 49]
  • มือปืนจ่อยิงหัวนายกเทศมนตรีท่าแพดับสยอง [ไทยรัฐ, 8 ต.ค. 49]
  • ยิงหัวนายกไข่ดอ ศพยังกำไมค์คาราโอเกะ [ไทยรัฐ, 9 ส.ค. 49]
  • ตั้งปมสังหารสองสามีภรรยาท้องถิ่น ขัดแย้งการเมืองเลาขวัญ-ครอบครัว [คมชัดลึก, 23 ต.ค. 49]
  • ยิงพรุนนายกเล็กห้วยใหญ่ดับอนาถ ปมขัดแย้งธุรกิจถมที่ดินเมืองชลบุรี [คมชัดลึก, 16 พ.ย. 49]
  • ดักกระหน่ำยิงโหดประธานอบต.ตงฉิน [ไทยรัฐ, 28 ม.ค. 50]
  • ถล่มฆ่าอุกอาจนายกเล็กคนดังศาลายา [ไทยรัฐ, 1 ก.พ. 50]
  • ใต้บึมนายกอบต.ฉีก 2 ท่อน เป็นศพคาปิกอัพ [ไทยรัฐ, 10 เม.ย. 50]
  • นาทีดวลดับ-ตายสยอง 2 ศพ กำนันดัง-นายกอบต.พัทลุงนัดมายิงกันที่ห้างฟิวเจอร์ฯ [ข่าวสด, 17 พ.ค. 50]
  • มือปืน357 ฆ่านายกฯอบต.นคร [ข่าวสด, 19 พ.ค. 50]
  • บุกฆ่าในศาลาวัด นายกอบต.ยิงขึ้นฟ้าขู่-ห้ามตาม [ข่าวสด, 21 พ.ค. 50]
  • ยิงนายกเล็กคาเวที-หลังอวยพรบ่าวสาว [ข่าวสด, 6 มิ.ย. 50]
  • คดียิงนายกอบต.ตาสิทธิ์ ตร.มุ่งการเมืองท้องถิ่น [คมชัดลึก, 4 ส.ค. 50]
  • เอ็ม16 ถล่มคาถนนร่างพรุน ดับนายกเทศมนตรี [ไทยรัฐ, 7 ส.ค. 50]
  • ควงเอ็ม16 ถล่มนายกอ่าวลึก ใจแข็งขับรถถึงร.พ.รอดหวุดหวิด [มติชน, 19 ก.ย. 50]
  • เมืองกำแพงฯดุ คนร้ายบุกยิงนายกฯ-ปลัดอบต.-ขรก.คาเวทีมอบรางวัลกีฬา [ผู้จัดการออนไลน์, 21 ก.ย. 50]
  • อาก้าถล่มนายกอบต.บูกิตดับ เมีย-ญาติบาดเจ็บสาหัส [ไทยรัฐ, 10 ต.ค. 50]
  • การเมืองแปดริ้วร้อนระอุฆ่านายกอบต.-หัวคะแนนพปช. [คมชัดลึก, 28 ต.ค. 50]
  • ล่องเรือหางยาวรัวอาก้าสังหารนายกอบต.เกาะหมากดับ [คมชัดลึก, 29 ต.ค. 50]
  • มือปืนสุพรรณฆ่านายกอบต. ซัดลูกซองทะลุปาก มุ่งขัดแย้งท้องถิ่น [ข่าวสด, 12 ต.ค. 51]
  • คนร้ายยิงถล่มนายกอบต.กรุงเก่าดับหน้าบ้าน [คมชัดลึก, 4 ก.ย. 51]
  • ยิงสนั่นงานศพ ดับนายกอบต. [ข่าวสด, 4 ม.ค. 51]
  • สยองสนง.เทศบาล ยิงดะ5ศพ รองนายกเล็กคลั่ง [ข่าวสด, 4 ก.ย. 51]
  • ยิงนายกอบต.บ่อกรูด ญาติผวาตามเก็บถึงรพ. [คมชัดลึก, 5 เม.ย. 51]
  • โจรใต้ยิงดับนายกฯอบต.ตันหยงมัสคาสนามฟุตบอล [โพสต์ทูเดย์, 5 มิ.ย. 51]
  • รองนายกยิงดับนายกอบต.-รัวแหลก3ศพ [ข่าวสด, 13 ก.พ. 51]
  • โจรใต้ยิงดับนายกอบต.ยะลา [ข่าวสด, 1 พ.ค. 52]
  • หาดใหญ่เดือด รัวถล่มฆ่านายกคลองแห [ข่าวสด, 18 พ.ค. 52]
  • เอ็ม16-เอชเค 100 นัด ฆ่า 5 ศพ นายกเขาหัวช้าง [ข่าวสด, 26 พ.ค. 52]
  • ฯลฯ

แต่เหตุการณ์ที่สำคัญและน่าเศร้าเป็นอย่างยิ่ง นั่นคือ คราวของ นายแพทย์ชาญชัย ศิลปะอวยชัย นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ ถูกมือปืนกระหน่ำยิงจนเสียชีวิต ขณะกำลังวิ่งออกกำลังกายอยู่บริเวณข้างสระว่ายน้ำภายในสนามกีฬากลางเมืองแพร่ เมื่อเช้าวันจันทร์ที่ 22 ตุลาคม 2550 นับเป็นการสูญเสียครั้งใหญ่หลวงของแวดวงท้องถิ่น เพราะเขาคนนี้ถือเป็นนายกฯ ที่โดดเด่นที่สุดคนหนึ่งของประเทศในขณะนั้นก็ว่าได้ [9]

 

ที่มา: ไทยรัฐ, (24 ตุลาคม 2550)

อย่างไรก็ตาม ปรากฏการณ์บนหน้าหนังสือพิมพ์ทำนองนี้ ชวนให้ผู้วิจัยเกิดความสงสัยเป็นอย่างยิ่งว่าเอาเข้าจริงแล้ว ‘ความตาย’ เหล่านี้มีมากมายก่ายกองเช่นที่หลายฝ่ายกำลังวิตกหรือไม่ ฤาเป็นแค่จำนวนอันน้อยนิดในจำนวนนักการเมืองท้องถิ่นทั้งหมดทุกประเภท ในแต่ละปีๆ [10] มีคดีความเหล่านี้มากน้อยเพียงใด แล้วพบเฉพาะบางพื้นที่หรือเกิดขึ้นอย่างกระจัดกระจายทั่วทั้งประเทศ ตลอดทั้งที่ผ่านมาแนวโน้มเป็นเช่นไร เพิ่มขึ้นหรือลดลง

การศึกษาถึงเรื่องนี้ย่อมเป็นประโยชน์อย่างมาก เฉกเช่นที่ เกล็น ดี เพจ เจ้าของผลงาน “รัฐศาสตร์ไม่ฆ่า” ผู้ที่พยายามตั้งคำถามและเพียรหาคำตอบว่า แล้วการเมืองที่ปราศจากความรุนแรงและวิชารัฐศาสตร์ที่ปราศจากความรุนแรงนั้นเป็นไปได้หรือไม่? เห็นว่า การฆ่าคือประเด็นใจกลางในการศึกษาและแก้ปัญหาที่ต้องเอาใจใส่อย่างจริงจัง นัยของการวิจัยทางรัฐศาสตร์ในความหมายนี้จึงได้แก่การทำความเข้าใจสาเหตุของการฆ่า และทำความเข้าใจลักษณะของสังคมที่ปราศจากการฆ่าอย่างถึงที่สุด [11]

แน่นอน เหตุผลสำคัญของงานศึกษาเรื่องนี้ สืบเนื่องมาจากความหวั่นเกรงที่ว่าหากขาดแคลนข้อมูลจากการวิจัยแบบจริงจัง สำหรับใช้อธิบายปรากฏการณ์ดังกล่าว อาจส่งผลให้ไปเข้าทางฟากฝั่งที่มีทัศนะนิยมส่วนกลาง (Centralism) ซึ่งดูถูกท้องถิ่นอยู่แล้ว ทำให้การกระจายอำนาจล่าช้าดังเดิมก็เป็นได้

นี่คงเป็นก้าวเดินเล็กๆ หรือจุดเริ่มต้นแรกๆ ของความพยายามที่จะบุกเบิกเข้าไปในโลกของ ‘การเมืองท้องถิ่นไทย’ ซึ่งใครต่อใครหลายคนพากันเชื่อว่า ‘อันตราย’ ยิ่งนัก

 

วัตถุประสงค์การศึกษา

(1) เพื่อทราบตัวเลขจำนวนของนักการเมืองท้องถิ่นซึ่งถูกลอบสังหารระหว่างปี พ.ศ.2543 ถึง พ.ศ.2552

(2) เพื่อประเมินระดับความรุนแรงของการลอบสังหารนักการเมืองท้องถิ่นที่เกิดขึ้นในแต่ละปี และในพื้นที่แต่ละภาคโดยเปรียบเทียบกัน

 

วิธีดำเนินการศึกษา

การศึกษาครั้งนี้จัดเป็น “การวิจัยเชิงปริมาณ” (Quantitative Research) เนื่องจากเป็นวิธีการวัดระดับ (Measurement) ความรุนแรงของปัญหาที่เป็นรูปธรรมที่สุด ครอบคลุมช่วงระยะเวลาตั้งแต่ปี พ.ศ.2543-2552 โดยจะทำการเก็บข้อมูลรายงานข่าวเหตุการณ์เกี่ยวกับคดีฆาตกรรม “นักการเมืองท้องถิ่น” [12] ทั้งที่บรรลุผลและไม่บรรลุผล (แต่ก็จะมิใช่คดีทำร้ายร่างกาย การข่มขู่ที่ไม่ได้ประสงค์ต่อชีวิต หรือในทำนองอื่นใกล้เคียงกัน) ของพื้นที่ทั่วทั้งประเทศซึ่งถูกนำเสนอใน “หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ” ตั้งแต่ฉบับวันที่ 1 ม.ค. 43 จนถึง 31 ธ.ค. 52 (ซึ่งได้รับการเย็บเล่มรวบรวมไว้ ณ หอสมุดแห่งชาติ) ร่วมกับฐานข้อมูลออนไลน์จากอีก 2 แหล่งสำคัญ ได้แก่ “ห้องสมุดข่าวมติชน” (http://www.matichonelibrary.com) กับ “กฤตภาคข่าว ออนไลน์” (http://www3.iqnewsclip.com) เข้าผ่านหน้าเว็บไซต์ของทางกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น) ที่ระบุรายละเอียดเหตุการณ์ บุคคล สถานที่ ลักษณะเรื่องราวที่เกิดในแต่ละกรณี มีรายงานการเสียชีวิตและบาดเจ็บ รวมทั้งข้อสันนิษฐานถึงสาเหตุเบื้องต้น

จากนั้นจะนำข้อมูลต่างๆ ที่ได้มาจัดระเบียบพร้อมตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูลแล้วจึงแปลงค่าเป็นตัวเลข ก่อนที่จะบันทึกและประมวลผลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ SPSS for Windows โดยใช้วิธีการทางสถิติ (Statistics) ทั้งแบบตัวแปรเดี่ยว (Univariate) คือ ค่าความถี่ (Frequencies) ดูค่าร้อยละและค่าเฉลี่ย และแบบตัวแปรคู่ (Bivariate) คือ การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย (Crosstab) ด้วยค่า Chi Square ซึ่งกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติไว้ที่ 0.05 มาทำการวิเคราะห์

 

ผลการศึกษา

เมื่อพิจารณาจากภาพรวมทั้งหมดในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา กล่าวคือ ระหว่างปี พ.ศ.2543 ถึง 2552 พบเหตุการณ์ความรุนแรงในรูปของ “ลอบสังหาร” [13] เกิดขึ้นกับนักการเมืองท้องถิ่น (นับรวมตำแหน่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง และปลัดฯ เข้าไว้ด้วย) รวมทั้งสิ้น 481 ราย หรือคิดเป็น 459 กรณี ด้วยกัน เนื่องด้วยบางกรณีก็เกิดขึ้นกับหลายๆ รายพร้อมกันในคราวเดียว

โดยกรณีที่มีนักการเมืองท้องถิ่นเสียชีวิตพร้อมกันมากที่สุดจากเหตุการณ์เดียวกัน คือ เหตุการณ์ที่นายมีลาภ เทพฉิน ประธานกรรมการบริหาร อบต.ปากแตระ อ.ระโนด จ.สงขลา ซึ่งโกรธที่ถูกรุมอภิปรายเรื่องการทุจริตงบประมาณในโครงการจัดซื้อถังขยะและเสาไฟฟ้าที่ตนเองรับผิดชอบอยู่ ได้ใช้อาวุธปืนขนาด 11 มม.จ่อยิงประธานสภา และสมาชิกสภา อบต.ทีละคน เสียชีวิตรวม 3 ศพ เหตุเกิดกลางที่ประชุมสภา เมื่อ 13 ก.พ. 2544 [ไทยรัฐ, 15 ก.พ. 44]

แน่ละ มีมากถึง 362 ราย จากทั้งหมด 481 ราย หรือคิดเป็น 75.3% เลยทีเดียวที่ต้องมาจบชีวิตลงด้วยเหตุนี้ ขณะที่ผู้ที่รอดชีวิต แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่บาดเจ็บ-สาหัส 101 ราย (21.0%) กับกลุ่มที่ปลอดภัย-ไม่เป็นอะไรเลยอีก 18 ราย (3.7%)

 


แผนภูมิที่ 1 แสดงผลลัพธ์ของการถูกลอบสังหาร

ในปีหนึ่งๆ จึงมีเหตุเกิดขึ้นเฉลี่ยปีละ 48.1 ราย และมีผู้เสียชีวิตเฉลี่ย 36.2 คน ต่อปี ซึ่งก็นับว่าน้อยมาก เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับ หนึ่ง จำนวนนักการเมืองท้องถิ่นทั้งหมดทุกประเภท (ที่มีมากกว่า 160,000 คนขึ้นไป ดังได้แจกแจงไว้แล้ว) และ สอง ค่าเฉลี่ยของคดีฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาที่เกิดขึ้นแต่ละปีทั่วราชอาณาจักร (ซึ่งตัวเลขกลมๆ จะอยู่ที่เกือบ 4,700 คดีต่อปี [14]) เพราะคิดแล้วไม่ถึงร้อยละ 1 ทั้งคู่ด้วยซ้ำ

ข้อมูลสะท้อนชัดว่าผู้ถูกลอบสังหารแทบทั้งหมดเป็น ผู้ชาย จำนวน 467 คน (หรือมากถึง 97%) ขณะที่ผู้หญิงนั้นมีเพียง 14 รายเท่านั้น อายุโดยเฉลี่ย (ค่า Mean) อยู่ที่ 45.23 ปี โดยกลุ่มอายุช่วงระหว่าง 41-59 ปีพบมากที่สุด (ร้อยละ 54.1) รองลงมาคือกลุ่มอายุต่ำกว่า 40 ปี (ร้อยละ 28.7) และกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป (ร้อยละ 5.4) ตามลำดับ

ส่วนตำแหน่งที่ตกเป็นเป้าหมายมากที่สุด ได้แก่ สมาชิกสภาฯ จำนวน 206 ราย (42.8%) แบ่งเป็นสมาชิกสภา อบจ. (หรือที่เรียกจนติดปากว่า ส.จ.) 34 ราย สมาชิกสภาเทศบาล 25 ราย สมาชิกสภา อบต. 147 ราย, นายกฯ รวม 139 ราย (28.9%) แยกเป็นนายก อบจ. 5 ราย นายกเทศมนตรี 35 ราย และนายก อบต. (หรือในชื่นอื่นคือประธานกรรมการบริหาร อบต.) 99 ราย, รองนายกฯ (หรือตำแหน่งในฝ่ายบริหารในอดีต ได้แก่ เทศมนตรีและกรรมการบริหาร อบต.) 65 ราย (13.5%), ประธานสภาฯ 27 ราย (5.6%) แยกเป็นประธานสภา อบจ. 2 ราย ประธานสภาเทศบาล 3 ราย ประธานสภา อบต. 22 ราย, ปลัดฯ 24 ราย (5.0%) โดยที่เกือบทั้งหมดคือ 20 รายสังกัด อบต. และผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งอย่างเป็นทางการแล้ว 20 ราย (4.2%) ดังแผนภูมิแท่งข้างท้ายนี้

 

แผนภูมิที่ 2 แสดงระดับความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับผู้ที่ดำรงตำแหน่งต่างๆ

ข้อสรุปสั้นๆ ในประเด็นนี้คือ ถ้าลองคิดเป็นสัดส่วนดูแล้ว ตำแหน่งผู้บริหารท้องถิ่น (นายกฯ) นับว่ามีความเสี่ยงสูงต่อการถูกลอบสังหารในการเมืองระดับท้องถิ่น อาจด้วยเป็นตำแหน่งที่มีอำนาจมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านของการบริหารงานบุคคล และการจัดสรรงบประมาณต่างๆ นั่นเอง

อย่างไรก็ตาม ความรุนแรงลักษณะเช่นนี้พบมากที่สุดในองค์กรปกครองท้องถิ่นรูปแบบ องค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 349 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 72.6 ตามมาด้วยเทศบาล 83 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 17.3 แยกเป็นเทศบาลนคร 3 ราย (0.6%) เทศบาลเมือง 7 ราย (1.5%) เทศบาลตำบล 73 ราย (15.2%) และองค์การบริหารส่วนจังหวัด 49 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 10.2 จากข้อมูลคงพอสรุปคร่าวๆ ได้ว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดเล็กมักมีปัญหาการใช้ความรุนแรงมากกว่าขนาดใหญ่ ถึงแม้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่หลายแห่งจะปรากฏข่าวคราวความขัดแย้งอย่างรุนแรง แต่กลับพบว่ามักใช้แนวทางกฎหมายมาต่อสู้กันมากกว่า

ถ้าแยกพิจารณาเป็นรายจังหวัด โดยเรียง 10 ลำดับแรกที่ประสบปัญหาดังกล่าวมากที่สุด ผลจะออกมาดังนี้


อันดับ

จังหวัด

จำนวน

คิดเป็นร้อยละ

1

นราธิวาส

34

7.1

2

ปัตตานี

31

6.4

3

พัทลุง

30

6.2

4

ยะลา

24

5

5

สงขลา

20

4.2

6

นครศรีธรรมราช

18

3.7

7

นครปฐม

16

3.3

7

เพชรบูรณ์

16

3.3

9

นครราชสีมา

13

2.7

10

เชียงใหม่

12

2.5

10

สุพรรณบุรี

12

2.5

 

ตารางที่ 1 แสดงรายชื่อจังหวัด 10 อันดับแรกซึ่งมีการลอบสังหารนักการเมืองท้องถิ่นมากที่สุด

ที่น่าสนใจคือ 6 จังหวัดใน 11 จังหวัดข้างต้นล้วนอยู่ภาคใต้ทั้งสิ้น โดยที่ 4 จังหวัด คือ นราธิวาส ปัตตานี และยะลา และสงขลา (บางอำเภอ) จัดว่าเป็นพื้นที่ซึ่งมีสถานการณ์ความไม่สงบเกิดขึ้นมายาวนาน ถ้าหากไม่เอ่ยถึง 4 จังหวัดนี้แล้วละก็ จังหวัดพัทลุงจะกลายเป็นจังหวัดที่มีความถี่ของปัญหาสูงที่สุด ตามมาด้วยนครศรีธรรมราช, นครปฐม, เพชรบูรณ์, นครราชสีมา เชียงใหม่ และสุพรรณบุรี โดยไม่มีจังหวัดจากภาคตะวันออก และภาคตะวันตก ติดอยู่ใน 10 อันดับแรกนี้ด้วยแต่อย่างใด

สำหรับท้องถิ่นบางแห่งของทั้ง 10 จังหวัดดังกล่าวก็เกิดซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนน่าตกใจ ตัวอย่างเช่นที่ อบต.เกาะหมาก จ.พัทลุง ในรอบ 2 ปีนายกฯ ถึง 3 คนล้วนถูกยิงตายทั้งหมด เชื่อกันว่าสาเหตุเกี่ยวเนื่องกับความขัดแย้งผลประโยชน์ทางธุรกิจรังนกนางแอ่นในพื้นที่ [15] เทศบาลตำบลท่าแพ จ.นครศรีธรรมราช นับแต่ยกฐานะเป็นเทศบาล นายกฯ ทั้ง 2 รายก็ถูกลอบยิงเสียชีวิตทั้งคู่ และพบว่าน่าจะมาจากเรื่องขัดแย้งการเมืองท้องถิ่น

นอกเหนือจากนี้ พื้นที่ที่พบความรุนแรงบ่อยครั้ง ได้แก่ อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช, อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม, อ.วิเชียรบุรี จ.เพชรบูรณ์, อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา, อ.เลาขวัญ และ อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี เป็นอาทิ

กล่าวตามความจริง จากข้อมูลที่ได้ยังพบอีกว่า ที่ผ่านมามีเพียง 5 จังหวัดเท่านั้นที่ไม่เคยปรากฏความรุนแรงในทำนองนี้เลยแม้แต่ครั้งเดียว ได้แก่ กรุงเทพมหานคร, มุกดาหาร, แม่ฮ่องสอน, ยโสธร และร้อยเอ็ด โดยที่ 3 ใน 5 จังหวัดนี้ เป็นจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

และเมื่อทำการพิจารณาแบบรายภาค ซึ่งแบ่งออกเป็น 6 ภาคตามเกณฑ์ของทางราชบัณฑิตยสถาน [16] ก็จะยิ่งเห็นถึงความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัด ตัวเลขของ ภาคใต้ มาเป็นอันดับ 1 คือมากถึงร้อยละ 42.2 (203 ราย) เลยทีเดียว อันดับ 2 เป็นภาคกลาง 26.4% (127 ราย) อันดับ 3 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 10.8% (52 ราย) อันดับ 4 ภาคเหนือ 8.3% (40 ราย) อันดับ 5ภาคตะวันตก 6.2% (30 ราย) และสุดท้าย อันดับ 6 ภาคตะวันออก 6.0% (29 ราย) จากข้อมูลตรงนี้จึงสรุปได้ว่าการใช้ความรุนแรงแต่ละที่มีความต่างกันอย่างมิต้องสงสัย

 

แผนภูมิที่ 3 แสดงระดับความรุนแรงที่เกิดขึ้นในแต่ละภาค

ค่อนข้างสอดคล้องกับผลการสำรวจของศูนย์ประชามติ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยรามคำแหง เมื่อปี 2545 ที่ได้เคยทำการสำรวจความคิดเห็นของคณะกรรมการองค์การบริหารส่วนตำบลเกือบพันคนจากทุกภาคทั่วประเทศเกี่ยวกับปัญหาอิทธิพลของการเมืองในท้องถิ่น ซึ่งบ่งชี้ว่าภาคใต้เป็นภาคที่มีปัญหาการฆาตกรรมเพราะสาเหตุทางการเมืองมากที่สุด รองลงมาเป็นภาคกลางและตะวันออก ส่วนภาคเหนือกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้น ถือว่าพบปัญหานี้น้อยที่สุด [17]

ส่วนเพราะเหตุใดจึงเกิดในพื้นที่ภาคใต้มากกว่าภูมิภาคอื่นๆ และขึ้นอยู่กับเงื่อนไขปัจจัยใดเป็นพิเศษบ้างนั้น เป็นเรื่องที่ผู้ที่สนใจและคุ้นเคยกับพื้นที่ภาคใต้อย่างดีควรจะหันมาทำการศึกษาวิจัยอย่างลึกซึ้งในภายภาคหน้า หรืออาจจะเป็นอย่างที่อาคม เดชทองคำ เคยสรุปไว้ในหนังสือของเขา (ซึ่งก็นำมาจากงานวิจัยที่ได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์ในสื่อสารมวลชนช่วงนั้นอย่างหนัก) เรื่อง “หัวเชือกวัวชน” หรือไม่?

เพราะข้อค้นพบบางประการจากผลงานชิ้นดังกล่าวได้สะท้อนถึงบุคลิกภาพของคนปักษ์ใต้ (โดยเฉพาะคนนครศรีธรรมราช) โดยมองผ่านทางวัฒนธรรมการชนวัว อาทิเช่น “…ผู้ที่เป็นนักเลงวัวชนจะต้องกล้าได้ กล้าเสีย และมีวิญญาณของนักพนันเสี่ยงโชคอยู่ในหัวใจ ยิ่งผู้ที่ต้องการจะยกตนเองขึ้นถึงขั้น “นักเลงระดับนายหัว” หรือ “พ่อขุนอุปถัมภ์” จะต้องเป็นคนห้าวหาญ เด็ดเดี่ยว มือเติบ ใจถึง น่าเชื่อถือ ทระนงในเกียรติ และศักดิ์ศรีของตน จนถึงขั้นที่กล้าใช้ระบบศาลเตี้ยมาจัดการแก้ปัญหาได้โดยไม่เกรงกลัวกฎหมายใดๆ...” เป็นต้น [18]

ในแง่ความสัมพันธ์ระหว่างภูมิภาคกับตัวแปรตามอื่นๆ ค้นพบว่ามีความเกี่ยวพันทางสถิติกับทั้งรูปแบบองค์กรปกครองท้องถิ่น (ค่า Sig = 0.000) และสาเหตุความไปเป็นไปแห่งคดี (ค่า Sig = 0.039) อย่างมีนัยสำคัญ อธิบายเป็นข้อๆ ดังนี้ 1.อบจ.ในภาคกลางและภาคใต้ประสบปัญหานี้ค่อนข้างรุนแรงกว่าที่พบในภาคอื่น (จำนวน 18 ราย และ 14 รายตามลำดับ) 2.การลอบสังหารพบมากในระดับ อบต.ของทางภาคใต้ (167 ราย) มากกว่า อบต.ของภาคอื่นๆ อย่างเห็นได้ชัด หรือเท่ากับ 48% ของตัวเลขภาพรวมเลยทีเดียว 3.ภาคใต้เป็นพื้นที่ที่ไม่สามารถติดตามจับกุมตัวผู้ก่อเหตุได้คิดเป็นสัดส่วนสูงสุดสูงถึงร้อยละ 88 รองลงมาคือภาคตะวันออก (86%), ภาคเหนือ (82%), ภาคตะวันตก (76%), ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (75%), ภาคกลาง (74%) ตามลำดับ

ส่วนตารางข้างท้ายนี้เป็นตารางแสดงรายชื่อ 5 จังหวัดที่มีสถิติการลอบสังหารนักการเมืองท้องถิ่นสูงที่สุดของแต่ละภาค กล่าวคือ ภาคเหนือสูงสุด ได้แก่ เชียงใหม่ 12 ราย ภาคกลางสูงสุดเท่ากัน คือ นครปฐมกับเพชรบูรณ์ จำนวน 16 ราย ภาคตะวันออกสูงสุด คือ ชลบุรี จำนวน 10 ราย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือสูงสุด คือ นครราชสีมา จำนวน 13 ราย ภาคตะวันตกสูงสุด คือ กาญจนบุรี จำนวน 11 ราย และภาคใต้สูงสุด คือ นราธิวาส จำนวน 34 ราย

ตารางที่ 2 แสดงรายชื่อจังหวัด 5 อันดับแรกของแต่ละภาคซึ่งมีการลอบสังหารนักการเมืองท้องถิ่นมากที่สุด

ภาคเหนือ

ภาคกลาง

ภาคตะวันออก

ภาคตะวันออก

เฉียงเหนือ

ภาคตะวันตก

ภาคใต้

1.เชียงใหม่ (12)

1.นครปฐม (16)

1.ชลบุรี (10)

1.นครราชสีมา (13)

1.กาญจนบุรี (11)

1.นราธิวาส (34)

2.เชียงราย (11)

1.เพชรบูรณ์ (16)

2.ปราจีนบุรี (5)

2.ขอนแก่น (5)

2.ประจวบคีรีขันธ์ (8)

2.ปัตตานี (31)

3.น่าน (4)

3.สุพรรณบุรี (12)

2.ระยอง (5)

2.สุรินทร์ (5)

3.ตาก (4)

3.พัทลุง (30)

3.แพร่ (4)

4.นครสวรรค์ (11)

4.ฉะเชิงเทรา (4)

4.บุรีรัมย์ (4)

3.ราชบุรี (4)

4.ยะลา (24)

5.ลำปาง (3)

5.พระนครศรีอยุธยา (9)

5.จันทบุรี (3)

4.เลย (4)

5.เพชรบุรี (3)

5.สงขลา (20)

5.อุตรดิตถ์ (3)

5.สระบุรี (9)

 

 

 

 

เมื่อมองโดยภาพรวมของแต่ละปี สิ่งที่น่าสนใจก็คือ ความถี่ของบางปีสูงขึ้นมาชนิดโดดเด่น เช่นปี 2543 จำนวน 55 ราย (11.4%), 2546 จำนวน 64 ราย (13.3%), ปี 2548 จำนวน 68 ราย (14.1%) และ 2550 จำนวน 57 ราย (11.9%) ส่วนปีที่ความถี่ค่อนข้างน้อย คือ ปี 2544 จำนวน 38 ราย (7.9%), 2551 จำนวน 37 ราย (7.7%) และ 2552 จำนวน 29 ราย (6.0%) โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วง 2 ปีหลัง สถานการณ์ความรุนแรงได้มีแนวโน้มลดลงชนิดที่ไม่เคยเป็นมาก่อนตลอด 8 ปีก่อนหน้า

 

แผนภูมิที่ 4 แสดงระดับความรุนแรงที่เกิดขึ้นในแต่ละปี

เป็นไปได้มากว่าขึ้นอยู่กับบริบทแวดล้อมภายนอกท้องถิ่น (สืบเนื่องจากปัญหาระดับชาติที่ถูกพูดถึงอย่างมากในแต่ละห้วงเวลา) เช่นปี 2546 เป็นปีที่รัฐบาลขณะนั้นได้มีนโยบายประกาศสงครามกับยาเสพติดตั้งแต่ช่วงต้นปีจนมาประกาศชัยชนะเหนือยาเสพติดในช่วงปลายปี ซึ่งมาพร้อมๆ กับจำนวนผู้เสียชีวิตตลอดทั้งปีนี้ที่มากถึง 2,500 ราย [19] ส่วนใหญ่เชื่อว่าเกิดจากการ ‘ฆ่าตัดตอน’ ระหว่างผู้ที่อยู่ในแวดวงยาเสพติดด้วยกันเอง ขณะที่หลายฝ่ายเห็นว่านโยบายนี้ถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง, นับแต่ พ.ศ.2547 เป็นต้นมา สถานการณ์สามจังหวัดชายแดนใต้ก็เริ่มทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นและดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง นับแต่เหตุการณ์บุกเข้าโจมตีปล้นปืนทหารเป็นต้นมา นอกจากนี้ความรุนแรงยังแสดงออกมาในรูปของการฆ่า ลอบยิง วางระเบิด วางเพลิง และการก่อเหตุร้ายด้วยวิธีการต่างๆ อนึ่ง ข้อมูลชี้ให้เห็นว่าปริมาณความรุนแรงพุ่งสูงขึ้นอย่างรุนแรงฉับพลันชัดเจนในปี 2547 และปี 2548 โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับสถานการณ์ ‘ความไม่สงบ’ ในรอบหลายสิบปีก่อนหน้านั้น [20] เป็นอาทิ

ขณะที่บางฝ่ายเชื่อว่าการเมืองระดับชาติส่งผลโดยตรงต่อระดับความรุนแรงลักษณะนี้ในหลายพื้นที่ หรือพูดง่ายๆ สำหรับบางจังหวัด (ส่วนใหญ่เป็นจังหวัดในภาคกลาง) เช่น นครปฐม, นครสวรรค์, พระนครศรีอยุธยา, ลพบุรี, สุพรรณบุรี, อุทัยธานี, ระยอง, นครราชสีมา, ราชบุรี, แพร่ เป็นอาทิ การลอบสังหารนักการเมืองท้องถิ่น (ซึ่งก็มักจะเป็น “หัวคะแนน” ให้กับนักการเมืองในระดับที่สูงขึ้นไป) มาเกิดขึ้นมากมายระหว่างช่วงที่มีการเลือกตั้งระดับชาติ (ทั้งก่อนและหลังการเลือกตั้ง) ไม่ว่าจะเป็นการเลือกตั้ง ส.ว. หรือ ส.ส. ก็ตาม ซึ่งในรอบ 10 ปีนี้มีการเลือกตั้งทั่วไปรวมแล้ว 7 ครั้งด้วยกัน แยกเป็นการเลือกตั้ง ส.ว. 3 ครั้ง เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2543, 19 เมษายน 2549 และล่าสุดเมื่อ 2 มีนาคม 2551 กับการเลือกตั้ง ส.ส.อีก 4 ครั้ง เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2544, 6 กุมภาพันธ์ 2548, 2 เมษายน 2549 และล่าสุดเมื่อ 23 ธันวาคม 2550 แต่จากการศึกษาในภาพรวมยังคงไม่สามารถยืนยันสมมติฐานดังกล่าวได้อย่างเด็ดขาดนัก

ในอีกด้านหนึ่ง ถ้าหันกลับมามองที่ปัจจัยภายในการเมืองท้องถิ่นเองบ้าง พบว่ามีจุดเปลี่ยนสำคัญๆ อย่างน้อย 2-3 ประการนั่นคือ ประการแรก ช่วงระหว่าง พ.ศ.2542-2543 ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายต่างๆ เกี่ยวกับการปกครองท้องถิ่นขนานใหญ่ รวมถึงได้มีการตรากฎหมายใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการกระจายอำนาจอีกหลายฉบับ เช่น พ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 ฯลฯ เพื่อเป็นไปตามรัฐธรรมนูญปี 2540 พร้อมกับที่กระทรวงมหาดไทย ยกเลิกการเข้าดำรงตำแหน่งของทั้งผู้ว่าฯ ใน อบจ. นายอำเภอในสุขาภิบาล ตลอดจนกำนัน ผู้ใหญ่บ้านใน อบต. อย่างสิ้นเชิง ทำให้เข้าใกล้ความเป็นการปกครองท้องถิ่นที่แท้จริงยิ่งขึ้น

ประการที่สอง พ.ศ.2546 คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เริ่มเข้ามาควบคุมดำเนินการจัดการเลือกตั้งท้องถิ่นทุกประเภทแทนกระทรวงมหาดไทย ตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 ซึ่งให้อำนาจ กกต.วินิจฉัยสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ (ใบเหลือง) หรือเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง (ใบแดง) แก่ผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นได้ เป็นต้น

ประการที่สาม ในปี 2546 เช่นกัน ได้มีการเร่งรัดปรับปรุงโครงสร้าง อปท.ทุกประเภทให้เป็นมาตรฐานแบบเดียวทั้งหมด นั่นคือ รูปแบบ นายก-สภา (Mayor-Council Form) ซึ่งกำหนดให้ผู้บริหารเข้มแข็ง (Strong Mayor) พร้อมทั้งทยอยยกเลิกคณะผู้บริหารที่มาจากมติของสภาท้องถิ่นด้วยการกำหนดให้นายก อบจ. นายกเทศมนตรี ตลอดจนนายก อบต.มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน และกำหนดรายละเอียดกลไกความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายบริหารกับฝ่ายสภาให้มีความชัดเจนขึ้น ตามมาด้วยการเลือกตั้งนายก อบจ. โดยตรงครั้งแรก พร้อมกัน 74 จังหวัดทั่วประเทศ ในวันที่ 14 มีนาคม 2547 ก่อนหน้าที่จะมีการเลือกตั้ง อบต.ครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 10 ปีนี้ พร้อมกัน 3,499 แห่ง เมื่อ 31 กรกฎาคม 2548 แน่ล่ะ ความเป็นไปทั้งหมดข้างต้นน่าจะมีอิทธิพลต่อระดับความรุนแรงในการเมืองท้องถิ่นแต่ละห้วงเวลาไม่มากก็น้อย

เป็นที่น่าสังเกตด้วยว่าสถานการณ์ในสองปี คือ ปี 2546 และปี 2548 ที่มีแนวโน้มของความรุนแรงพุ่งสูงขึ้นนั้น อาจจะมาจากทั้งสาเหตุที่เป็นปัจจัยภายในและภายนอก เป็นต้นว่าปี 2546 เป็นปีที่รัฐบาลใช้นโยบายประกาศสงครามยาเสพติดอย่างจริงจัง และทาง กกต.เริ่มเข้ามาจัดการการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ซึ่งก็มาพร้อมปัญหาการร้องเรียนของคู่แข่ง การรับรองผลการเลือกตั้ง การสั่งให้ใบเหลือง-ใบแดง (กรณีหลังนอกจากผู้กระทำผิดจะต้องถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งและถูกดำเนินคดีอาญาแล้ว ยังจะต้องชดใช้ค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งใหม่) ส่วนปี 2548 เป็นปีที่มีการเลือกตั้ง ส.ส.ตอนต้นปีซึ่งนำมาสู่รัฐบาลพรรค (ไทยรักไทย) เดียว กลางปีก็ได้มีการเลือกตั้ง อบต.ครั้งใหญ่ทั่วประเทศ ประกอบกับสถานการณ์รุนแรงสามจังหวัดชายแดนใต้ปรากฏให้เห็นตลอดทั้งปีอีกด้วย

อนึ่ง สถิติบ่งชี้ว่าช่วง เดือนมีนาคม ปี พ.ศ.2546 เป็นช่วงที่มีเหตุเกิดยอดสูงสุด รวมทั้งสิ้น 15 รายด้วยกัน หรือเป็นหนึ่งเดือนภายหลังที่มีการประกาศสงครามกับยาเสพติดอย่างเป็นทางการนั่นเอง

เมื่อลองวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างสถานะตำแหน่งกับปีที่เกิดเหตุดูก็จะพบว่าตัวแปรทั้งสองมีความสัมพันธ์กัน (ค่า Sig = 0.000) นั่นคือ ตัวเลขลอบสังหารนักการเมืองท้องถิ่นของแต่ละตำแหน่งในแต่ละปีมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ กล่าวคือ แม้นหลายปีน้ำหนักจะอยู่ที่ฝ่ายสภามากกว่าอย่างชัดเจน ทว่าบางปีน้ำหนักก็จะไปอยู่ที่ตำแหน่งฝ่ายบริหารมากกว่า คือ ปี 2552 ขณะที่บางปีก็ออกมาค่อนข้างไล่เลี่ยกัน คือ ปี 2547, 2549, 2550, 2551 หรือหากพิจารณาในอีกแง่หนึ่งก็จะพบว่าตำแหน่งนายกฯ ถูกลอบสังหารสูงที่สุด 20 ราย ในปี 2550 (หลายคนเป็นนายกฯ 2 สมัยขึ้นไป), สมาชิกสภาฯ ถูกลอบสังหารสูงที่สุด 40 ราย ในปี 2546 (ส่วนใหญ่มีประวัติพัวพันค้ายาเสพติดและอยู่ในบัญชีดำของเจ้าหน้าที่), ปลัดฯ ถูกลอบสังหารสูงที่สุด 7 ราย ในปี 2548 (ซึ่ง 5 ใน 7 รายนี้อยู่ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้)

 

แผนภูมิที่ 5 แสดงระดับความรุนแรงของแต่ละภาคในรอบ 10 ปี

กล่าวโดยสรุป ‘ภาค’ กับ ‘ปี’ ที่เกิดเหตุ สัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญ (ค่า Sig = 0.000) ความถี่ในแต่ละภาค ความถี่ในแต่ละปี มีความแตกต่างชัดเจน อย่างน้อยๆ 1.ภาคเหนือเกิดขึ้นมากสุดในปี 2546 ทว่าไม่มีเลยในปี 2549 และ 2552 2.ปี 2546 พบมากในภาคกลางเสียยิ่งกว่าภาคใต้ 3.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมาพบมากที่สุดเมื่อปี 2546 เช่นกัน 4.พ.ศ.2548 และ พ.ศ.2550 เกิดเหตุมากสุดในพื้นที่ภาคใต้ สอดคล้องกับสถานการณ์ในสามจังหวัดที่พุ่งรุนแรงขึ้นช่วง 2 ปีนั้นด้วย

อย่างไรก็ตาม เมื่อเอ่ยถึงลักษณะวิธีการของการลอบสังหาร วิธีการซึ่งถูกนำมาใช้มากที่สุด ได้แก่ การยิงด้วยอาวุธ ปืน ซึ่งมากถึงร้อยละ 93.1 (448 ครั้ง) เลยทีเดียว นอกนั้นเป็นการลอบวางระเบิดอีกร้อยละ 3.1 (15 ครั้ง) ส่วนวิธีอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นการลอบทำร้าย วางยา เอามีดแทง วางเพลิง ทำให้ขาดอากาศหายใจ จงใจให้เกิดอุบัติเหตุ ฯลฯ ปรากฏน้อยมาก คือรวมกันแค่ร้อยละ 3.7 (18 ครั้ง) เท่านั้น

ข่าวสารบนหน้าหนังสือพิมพ์ยังคงสะท้อนให้เห็นว่าคดีฆาตกรรมที่เกิดขึ้นกับนักการเมืองท้องถิ่นส่วนใหญ่มากถึง 395 ราย (82.1%) ไม่ (ปรากฏเป็นข่าวว่า) สามารถติดตามจับกุมตัวผู้ก่อเหตุมาดำเนินคดีตามกฎหมายได้ ขณะที่สำหรับกรณีที่จับได้ 86 ราย (17.8%) นั้น เป็นที่น่าสังเกตว่า ‘สาเหตุ’ หลักแห่งคดีหลากหลากใกล้เคียงกัน ไม่ว่าจะเป็นประเด็นขัด ‘ผลประโยชน์’ ในกิจการต่างๆ ขององค์กรท้องถิ่นนั้นๆ เอง (26 ราย) หรือเป็นเรื่องของ ‘อำนาจ’ เกี่ยวกับการเลือกตั้ง และช่วงชิงตำแหน่งการเมือง (18 ราย) กระทั่งเพราะ ‘เรื่องส่วนตัว’ ชู้สาว แก้แค้น ปมธุรกิจ มรดก ถูกชิงทรัพย์ (25 ราย) รวมถึงยังมีหลายกรณีที่ไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดและเนื่องจากถูกลูกหลงอีกด้วย (17 ราย)

ข้อสังเกตส่วนนี้ คือ 1.การลอบวางระเบิดโอกาสบรรลุผลน้อยมากๆ (หรือแทบไม่มีเลย) ขณะที่การใช้อาวุธปืนยิงจะประสบผลสำเร็จมากกว่า คิดง่ายๆ ถ้าใช้ปืนยิงจาก 100 คนส่งผลให้เป้าหมายเสียชีวิตถึง 78 คนเลยทีเดียว ขณะที่ใช้ระเบิดจาก 100 คนจะมีเพียง 13 คนเท่านั้นที่ต้องตาย 2.ถ้าสาเหตุเกิดจากเรื่องตำแหน่งการเมืองโดยตรง (ฆ่าเพื่อที่จะแทนที่หรือไม่ให้ใครมาแทนที่) วิธีการที่ใช้สถานเดียวได้แก่การยิง 3.การลอบวางระเบิดยากต่อการสืบทราบจับกุม ฝ่ายเจ้าหน้าที่ไม่สามารถจับกุมคนร้ายที่เลือกใช้ยุทธวิธีนี้มาดำเนินคดีได้แม้แต่รายเดียว 4.ตำแหน่งนายกฯ ถูกลอบสังหารด้วยสาเหตุทางการเมืองมากที่สุด ส่วนตำแหน่งประธานสภาฯ ไม่พบว่ามีสาเหตุมาจากประเด็นดังกล่าวแม้แต่รายเดียว ส่วนตำแหน่งสมาชิกสภาฯ จะมีสาเหตุมาจากเรื่องส่วนตัวมากที่สุด 5.ในบรรดาคดีความส่วนน้อยที่สามารถติดตามจับกุมตัวคนร้ายมาได้ (เฉพาะกรณีที่เป็นการฆ่าในลักษณะไตร่ตรองไว้ก่อน) มักจะสืบไปไม่ถึงตัวผู้บงการหรือเอาผิดกับผู้บงการที่แท้จริงไม่ได้

 

บทสรุป

ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นถึงข้อค้นพบที่น่าสนใจหลายประการ สามารถสรุปออกเป็นข้อๆ ได้ดังนี้

หนึ่ง ผลจากสถิติของการลอบสังหารนักการเมืองท้องถิ่นที่ได้ นับว่าเป็นตัวเลขที่น้อยมาก คิดแล้วยังไม่ถึงร้อยละ 1 เลยด้วยซ้ำ โดยเฉพาะเมื่อนำไปเทียบเคียงกับจำนวนนักการเมืองท้องถิ่นทั้งหมดทุกประเภท และค่าเฉลี่ยของคดีฆ่าคนตายที่เกิดขึ้นแต่ละปี ทั้งนี้อาจด้วยเพราะสื่อสารมวลชนมีการนำเสนอเป็นข่าวใหญ่เสมอ ย่อมทำให้การรับรู้ในแง่ประชาชนโดยทั่วไปออกมาสวนทางกับข้อเท็จจริงที่ปรากฏ

สอง ความรุนแรงลักษณะเช่นนี้เกิดขึ้นอย่างกระจัดกระจายทั่วประเทศ คือมีให้เห็นในทุกภาคและเกือบทุกจังหวัด แต่เฉพาะกับบางจังหวัดบางภาคเท่านั้นที่จัดได้ว่าสถานการณ์เข้าขั้นรุนแรง เนื่องจากเกิดขึ้นอยู่เป็นประจำทุกปี ได้แก่หลายๆ จังหวัดในพื้นที่ภาคใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสามจังหวัดชายแดนใต้ที่มีสถานการณ์ความไม่สงบมาอย่างยาวนาน

สาม แนวโน้ม 10 ปีที่ผ่านมา ตลอด 8 ปีแรก ทิศทางค่อนข้างเป็นไปอย่างไม่แน่นอน บางปีสูง บางปีต่ำ สลับกันไปมา แต่ทว่าในช่วง 2 ปีหลัง ระดับความรุนแรงของปัญหาเริ่มมีแนวโน้มค่อยๆ ลดลงเป็นลำดับ และเป็นดังนี้ในแทบจะทุกพื้นที่ด้วย ทำให้พอคาดการณ์ได้ว่าในอนาคตความรุนแรงชนิดนี้น่าจะบรรเทาเบาบางลงกว่าที่เป็นอยู่

สี่ ปัจจัยจากภายนอกท้องถิ่นส่งผลต่อสถานการณ์รุนแรงโดยรวมที่พุ่งสูงขึ้นในบางปีอย่างเห็นได้ชัด ไม่ว่าเป็นนโยบายทำสงครามกับยาเสพติดในปี 2546 หรือสถานการณ์รุนแรงในสามจังหวัดชายแดนใต้ช่วงปี 2548 ขณะที่ประเด็นเกี่ยวกับการเลือกตั้งระดับชาติกลับไม่มีผลเชื่อมโยงชัดแจ้งเท่า

ห้า คาดได้ว่าสาเหตุเบื้องหลังการกระทำจริงๆ แล้วหาใช่มาจากความขัดแย้งเรื่องการเมืองในเชิง ‘อำนาจ’ เป็นหลักอย่างที่เข้าใจมาตลอด หากแต่มีความหลายหลากและซับซ้อนกว่านั้น ทั้งสืบเนื่องจากความขัดแย้งในเรื่อง ‘ผลประโยชน์’ หรือไม่ก็เป็นเรื่องส่วนตัวต่างๆ นานา หลายกรณีก็ผสมปนเปกันจนยากชี้ชัดให้เด็ดขาดลงได้

แน่นอนที่สุด งานครั้งนี้ยังมีข้อจำกัดบางประการที่สำคัญ กล่าวคือ ข้อมูลชั้นต้นที่ผู้วิจัยใช้ นำมาจากข่าวที่ปรากฏบนหน้าหนังสือพิมพ์เป็นหลัก ซึ่งเป็นไปได้ว่าอาจจะมีบางเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทว่ากลับไม่เป็นข่าวก็ได้ กอปรกับในกรณีที่บุคคลหนึ่งๆ มาถูกลอบสังหารหลายครั้ง ผู้วิจัยมีความจำเป็นต้องลงบันทึกข้อมูลเพียงครั้งเดียว คือ ครั้งหลังสุดเท่านั้น อีกทั้งนักการเมืองท้องถิ่นในที่นี้ก็ไม่ได้กินความกว้างขวางรวมไปถึงคนที่เป็นอดีตนักการเมืองท้องถิ่น หรือเคยลงสมัครรับเลือกตั้งมาก่อน ตลอดจนผู้ที่ดำรงตำแหน่งกำนัน, ผู้ใหญ่บ้านแต่อย่างใด ฉะนั้น การใช้ข้อมูลก็ควรจะตระหนักถึงขีดจำกัดดังกล่าวด้วย

อย่างไรก็ดีเนื่องจากงานชิ้นนี้มิได้ถูกออกแบบมาให้เป็นแผนการแก้ปัญหาที่เป็นรูปธรรมโดยตรง แต่เป็นบทสำรวจในเชิงสถิติเบื้องต้น และงานบุกเบิกในการทำความเข้าใจข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการลอบสังหารในการเมืองระดับท้องถิ่นแค่นั้น จำเป็นต้องมีการต่อยอดศึกษาในเชิงลึกอีกมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามพื้นที่ต่างๆ ที่ประสบปัญหานี้เข้าขั้นรุนแรง เพื่อที่จะตอบคำถามให้ได้ว่าเอาเข้าจริงๆ แล้ว สาเหตุขึ้นอยู่กับเงื่อนไขปัจจัยใด มีกลุ่มใดที่เป็นคู่ขัดแย้งหลักๆ ตลอดทั้งส่งผลกระทบต่อความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในพื้นที่นั้นๆ หรือไม่ อย่างไร ฯลฯ เนื่องจากที่ผ่านมา การศึกษาและการพยายามทำความเข้าใจประเด็นนี้ ด้วยมุมมองจากฟากฝั่งวิชาการมีน้อยมาก หรือเรียกว่าแทบไม่มีเลยก็ว่าได้

จะว่าไปแล้วก็เปรียบเป็นการสำรวจผืนป่าทั้งป่าจากบนที่สูง ซึ่งคงพอทำให้เห็นได้ว่า ณ จุดใดกำลังมีปัญหาเกิดขึ้นบ้าง ก่อนที่ผู้ซึ่งคุ้นเคยพื้นที่จะได้เข้าป่าเพื่อที่จะแก้ไขปัญหา ณ ยังจุดนั้นต่อไป ชั้นนี้ผู้วิจัยคงทำได้มากที่สุดเพียงชี้ให้เห็นถึงระดับความรุนแรงของปัญหาในแต่ละพื้นที่และในแต่ละปี ซึ่งทั้งภาครัฐและภาคท้องถิ่นย่อมสามารถนำไปใช้ประกอบการพิจารณาสถานการณ์ของตนได้ตามสมควร บนพื้นฐานของการสร้างสังคมการเมืองที่ปราศจากการฆ่าให้บังเกิดจริงๆ

 

 

อ้างอิง:

  1. อ่านรายละเอียดต่าง ๆ เพิ่มเติมได้จากหัวข้อ “ภูมิทัศน์วิชาการว่าด้วยความรุนแรงทางการเมือง” ของประจักษ์ ก้องกีรติ ใน รายงานพิเศษ “ความรุนแรง: “ซ่อน-หา” สังคมไทย,” ฟ้าเดียวกัน ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม 2551, หน้า 68-76.
  2. อ่านความเป็นมา-เป็นไปของรูปแบบ-ลักษณะการฆาตกรรมในบริบทการเมืองไทยสมัยใหม่แต่ละยุคได้จาก Benedict Anderson, Murder and Progress in Modern Siam, New Left Review, 181 (May-June 1990), pp. 33-48.
  3. โปรดดู ย้อนรอยคดีลอบสังหาร ใครจะเป็นรายถัดไป?, มติชน (9 เมษายน 2552), หน้า 11 กับ พลิกตำนาน "ลอบสังหาร" บุคคลสำคัญจาก "เปรม" ถึง "ทักษิณ" ในสถานการณ์ระอุ "เรื่องจริง" หรือ "ปาหี่", มติชนออนไลน์ (9 เมษายน 2552), http://203.151.20.17/news_detail.php?newsid=1239200860
  4. สรุปจาก ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ (บรรณาธิการ), ปรีดี พนมยงค์ และ 4 รัฐมนตรีอีสาน +1, (กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2544), คำนำ: หน้า 5-14.
  5. สามารถดูรายละเอียดการลอบยิงและทำร้ายกรณีต่างๆ ในห้วงดังกล่าวได้จาก ใจ อึ๊งภากรณ์, สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ และคณะ, อาชญากรรมรัฐในวิกฤตการเปลี่ยนแปลง, (กรุงเทพฯ: คณะกรรมการรับข้อมูลและสืบพยานเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519, 2544), หน้า 32-34.
  6. ธเนศวร์ เจริญเมือง, การปกครองท้องถิ่นกับการบริหารจัดการท้องถิ่น อีกมิติหนึ่งของอารยธรรมโลก ภาคแรก: จากยุคกรีกถึงยุคทุนนิยมตะวันตก, (กรุงเทพฯ: โครงการจัดพิมพ์คบไฟ, 2550), หน้า 19.
  7. โปรดดู ณัฐกร วิทิตานนท์, “รัฐประหารหนึ่งขวบปีกับทิศทางการกระจายอำนาจในสังคมไทย,” เอกสารประกอบการประชุมวิชาการรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์แห่งชาติ ครั้งที่ 8 (พ.ศ.2552).
  8. เป็นต้นว่าในสายตาของบริษัทประกันชีวิต จะไม่พิจารณารับประกันชีวิตให้แก่ผู้ที่เป็นนักการเมือง (โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับนักการเมืองท้องถิ่น) เพราะจัดเป็นอาชีพเสี่ยงตามกฎเกณฑ์ของทางบริษัทฯ เช่นเดียวกับบางอาชีพอย่างตำรวจตระเวนชายแดน, ตำรวจ (ฝ่ายปราบปรามและงานจราจร) กับตำแหน่งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน
  9. อ่านเหตุผลสนับสนุนมากมายจาก บทบรรณาธิการ, เอากันจริงเสียที, มติชน (25 ตุลาคม 2550), หน้า 2; เรืองชัย ทรัพย์นิรันดร์, อาลัยคุณหมอชาญชัย, มติชน (26 ตุลาคม 2550), หน้า 6; ธเนศวร์ เจริญเมือง, คารวะ อาลัย นายแพทย์ชาญชัย ศิลปอวยชัย การสูญเสียที่ยิ่งใหญ่ของท้องถิ่น, สยามรัฐ (31 ตุลาคม 2550), หน้า 15; ตลอดทั้งวิพากษ์ท้องถิ่น, เสียงปืน!!! ที่แพร่ ความสูญเสียอีกครั้งของคนท้องถิ่น, (26 ตุลาคม 2550) ใน http://www.banpoonam.co.th
  10. ข้อมูลจำนวนองค์กรปกครองท้องถิ่นล่าสุด ระบุว่า อบจ.มีทั้งสิ้น 75 แห่งเท่ากับจำนวนจังหวัด จึงมี นายก อบจ. 75 คน และมีจำนวนสมาชิกสภา อบจ. ประมาณ 2,000 คน แต่ อบต. มีอยู่ 5,770 แห่ง แยกเป็นนายก อบต. จำนวน 5,770 คน กับสมาชิกสภา อบต. ราวๆ 130,000 คน สำหรับเทศบาลยอดรวม 2,006 เทศบาล แบ่งออกได้เป็นเทศบาลนคร 23 แห่ง นายกเทศมนตรี 23 คน สมาชิกสภาเทศบาล 552 คน เทศบาลเมือง 142 แห่ง นายกเทศมนตรี 142 คน สมาชิกสภาเทศบาล 2,556 คน และเทศบาลตำบล 1,841 แห่ง นายกเทศมนตรี 1,841 คน สมาชิกสภาเทศบาล 22,092 คน จำนวนนักการเมืองท้องถิ่นรวมแล้วจึงมากกว่า 160,000 คน ทั้งนี้ยังมิได้นับรวมถึงตำแหน่งที่มาจากการแต่งตั้งอื่นๆ เช่น รองนายกฯ, ที่ปรึกษานายกฯ และเลขานุการนายกฯ ด้วยซ้ำ ข้อมูล ณ วันที่ 15 ธันวาคม 2552 จากเว็บไซต์ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น http://www.thailocaladmin.go.th/work/apt/apt.jsp
  11. เกล็น ดี เพจ (เขียน), ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ (แปล), รัฐศาสตร์ไม่ฆ่า, (กรุงเทพฯ: คบไฟ, 2552), หน้า 175.
  12. อนึ่ง “นักการเมืองท้องถิ่น” ตามความหมายของงานชิ้นนี้ ได้แก่ตำแหน่งต่างๆ ดังต่อไปนี้เท่านั้น
    (1) ฝ่ายบริหาร นายก อบจ., นายกเทศมนตรี, นายก อบต. (หรือเดิมเรียกประธานกรรมการบริหาร อบต.), รองนายก อบจ., รองนายกเทศมนตรี (หรือเดิมเรียกเทศมนตรี), รองนายก อบต. (หรือเดิมเรียกรองประธานกรรมการบริหาร อบต.) รวมถึงตำแหน่งกรรมการบริหาร อบต.ในช่วงก่อนหน้านี้ด้วย
    (2) ฝ่ายสภา ประธานสภา อบจ., ประธานสภาเทศบาล, ประธานสภา อบต, รองประธานสภา อบจ., รองประธานสภาเทศบาล, รองประธานสภา อบต., สมาชิกสภา อบจ. (เดิมเรียก ส.จ.), สมาชิกสภาเทศบาล (ส.ท.), สมาชิกสภา อบต.
    (3) ฝ่ายประจำ ปลัด อบจ., ปลัดเทศบาล, ปลัด อบต.
    และ (4) ผู้สมัครรับเลือกตั้ง (เฉพาะอย่างเป็นทางการ) ในตำแหน่งต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น
    แน่นอนว่าในที่นี้ไม่กินความกว้างรวมไปถึงตำแหน่งกำนัน, ผู้ใหญ่บ้าน (ซึ่งก็ตกเป็นเป้าสังหารมิใช่น้อยๆ อยู่) เพราะจัดว่าเป็นการบริหารราชการส่วนภูมิภาค ตลอดทั้งยังมิพักรวมถึง ‘อดีต’ ผู้ดำรงตำแหน่งต่างๆ เหล่านี้แต่อย่างใด แต่ถ้าเป็น ‘อดีต’ นายกฯ คนเดิมที่กำลังลงสมัครรับเลือกตั้งอีกสมัย หรือ ‘ว่าที่’ นายกฯ คนใหม่ ซึ่งอยู่ระหว่างรอประกาศรับรองผลจากทางคณะกรรมการการเลือกตั้ง จัดว่าอยู่ในขอบเขตของการศึกษาครั้งนี้
  13. ปัจจุบัน “การลอบสังหาร” ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า Assassination แต่ยังมีอีกคำที่มักจะถูกใช้ปะปนกันคือ Murder หรือที่เรียกว่า “การฆาตกรรม” ซึ่งกินความกว้างกว่ามาก ถ้าคำหลังครอบคลุมการฆ่าผู้อื่นถึงแก่ความตายทั้งหมด คำแรกคงจำกัดเฉพาะแต่การฆ่า บุคคลสาธารณะ (Public Figure) เป็นแก่นแกน พิจารณาตามนิยามที่ปรากฏในเว็บไซต์พจนานุกรมออนไลน์หลายๆ แหล่ง (ไม่ว่าจะเป็น The American Heritage Dictionary, WebDictionary, Collin Dictionary เป็นต้น) ขณะที่คำในภาษาไทยกลับชี้ชวนให้หมายถึง “การแอบฆ่าโดยไม่ให้ใครรู้” ทั้งที่ก็แตกต่างจากความหมายในภาษาอังกฤษค่อนข้างชัดเจน โปรดดู ณัฐกร วิทิตานนท์, ““การลอบสังหาร” ในประวัติศาสตร์การเมืองโลก: สู่ทฤษฎีทั่วไปว่าด้วย “สาเหตุ” ของการลอบสังหารทางการเมือง,” เอกสารประกอบการประชุมวิชาการรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์แห่งชาติ ครั้งที่ 10 (พ.ศ.2552).
  14. ประมวลจากข้อมูลสถิติคดีอาญา 5 กลุ่มโดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ทาง http://statistic.ftp.police.go.th/dn_main.htm
  15. งานวิจัยที่น่าสนใจยิ่งเกี่ยวกับเรื่องนี้คืองานของ เกษม จันทร์ดำ, รังนกแอ่น: อำนาจ ความขัดแย้ง และความมั่งคั่ง, (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2550).
  16. ตามเกณฑ์ด้านภูมิศาสตร์ ได้แก่ ภาคเหนือ (9 จังหวัด), ภาคกลาง (มีกรุงเทพมหานคร และอีก 21 จังหวัด), ภาคตะวันออก (7 จังหวัด), ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (19 จังหวัด), ภาคตะวันตก (5 จังหวัด) และภาคใต้ (14 จังหวัด) ซึ่งถือเป็นการแบ่งที่ใช้อย่างเป็นทางการ และมีใช้ทั่วไปในแบบเรียน ดู http://www.royin.go.th/th/knowledge/detail.php?ID=1378
  17. ข้อมูลข้างต้นจาก อิทธิพลของการเมืองในท้องถิ่น: ภาคใต้ฆาตกรรมเพราะการเมืองมากที่สุด, ศูนย์ประชามติ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยรามคำแหง http://www.ru.ac.th/rupoll/a6.htm
  18. อ่าน อาคม เดชทองคำ, หัวเชือกวัวชน, (กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, 2543).
  19. ซึ่งในปีนี้เองตัวเลขของคดีฆ่าคนตายในภาพรวมก็ได้พุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ด้วย สถิติคดีอาญาประเภทฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาในแต่ละปี ตามปกติจะอยู่ที่ระหว่าง 4,000-5,000 คดี ทว่าในปี 2546 ตัวเลขกลับเพิ่มขึ้นสูงมากถึง 6,434 คดี ดู http://statistic.ftp.police.go.th/dn_main.htm
  20. ในปี พ.ศ. 2547 เกิดเหตุการณ์ความรุนแรง 1,843 ครั้ง และในปี พ.ศ. 2548 เกิดเหตุ 1,703 ครั้ง ดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี, ความรุนแรงเชิงโครงสร้างหรือโครงสร้างความรุนแรงในจังหวัดชายแดนใต้ สถานการณ์ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ในรอบ 2 ปี (พ.ศ.2547-2548), ศูนย์เฝ้าระวังเชิงองค์ความรู้สถานการณ์ภาคใต้ http://www.deepsouthwatch.org/node/16
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

จิตรา คชเดช: เบื้องหลังป้าย “ดีแต่พูด” ผ่ากลางวง ‘อภิสิทธิ์’

Posted: 07 Mar 2011 05:42 AM PST

 
  
หมายเหตุ - เมื่อวันที่ 6 มี.ค.54 ที่ห้องประชุม ชั้น 3 อาคารอเนกประสงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ขณะที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กำลังร่วมประกาศเจตนารมณ์ "ผู้หญิงทำงาน สู้เพื่อคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืนของทุกคน" ในวาระการเฉลิมฉอง 100 ปี วันสตรีสากล 8 มีนาคม จิตรา คชเดช อดีตผู้นำแรงแรงสหภาพไทรอัมพ์ พร้อมทั้งเพื่อนแรงงานร่วมกันชูป้ายประท้วงอภิสิทธิ์กลางห้องประชุมกรณีการสลายการชุมนุมเมื่อเดือนเมษายน-พฤษภาคมปีที่ผ่านมา
 

เป็นบันทึกที่เขียนใส่สมุดไว้หลังจากชูป้ายให้นายอภิสิทธิ์

วันนี้ฉันเผชิญหน้า ผู้ชายคนหนึ่ง ฉันโกรธ ฉันตะโกนออกไป ฆาตกร ฆาตกร

ฉันอยากร้องไห้ เมื่อฉันนึกถึงพี่น้องเสื้อแดงที่ถูกฆ่าตาย "ฉันตะโกนอีกครั้ง "มือเปื้อนเลือด" ฉันหยิบปากกาเมจิก เอากระดาษA4 (คือแถลงการณ์ของงานวันนี้)ใช้ด้านที่ว่างเขียนว่า "มือใคร?" ฉันเอามือฉันทาบลงไปแล้วเขียนตาม ฉันค้นหาเมจิกสีแดงเพื่อทาเป็นสีเลือด ฉันถามคนอื่นไม่มีใครมี ฉันรีบตัดสินใจเขียนว่า "เปื้อนเลือด"ไปบนฝ่ามือ ฉันเขียนสองแผ่นประกบกันแล้วพับมุมนั้นมุมนี้

ในขณะนั้นมันกำลังให้นโยบายเกี่ยวกับวันสตรีสากล ฉันชูกระดาษขึ้น ไม่มีใครได้ยินเสียงฉัน เพราะบนเวทีเขากำลังหน้าบานกันดีใจ ซึ่งคนละอารมณ์กับฉันมาก

เขาตอบมาทันที ว่าวันนี้วันสตรีไม่เกี่ยวกับการเมืองให้ฟังว่าใครมือเปื้อนเลือดชี้แจงในสภา ฉันชูป้ายเด็ดสำหรับฉัน"เหรอ...." และตามด้วย "ดีแต่พูด"

ฉันถูกกีดกันจากตำรวจ เพื่อแย่งแผ่นป้าย ฉันถาม แผ่นป้ายมีปัญหาอะไร เหรอ...,ดีแต่พูด,มือใคร?เปื้อนเลือด มันมีปัญหาตรงใหน ด่าใคร หยาบคายหรือเปล่า ตำรวจบอก ว่ามือใคร?เปื้อนเลือด ฉันถามว่าแล้วเปื้อนจริงเหรอถึงเดือดร้อน

และเพื่อนของฉันก็ชูป้าย "ดีแต่พูด"ขึ้นด้านหน้าฉันขึ้นไปอีกสามแถว จึงกลายเป็นเหตุให้การเตรียมการพูดตั้งแต่

11.30น.-13.15น.ต้องยุติลงเลยเที่ยงเล็กน้อย

เราไม่ได้สบตากันเลยระหว่างฉันกับผู้ชายคนนั้นเพราะเขาหลบหน้าฉันและหนีฉันด้วยการรีบไปและให้ตำรวจกักตัวฉันไว้กับเพื่อนๆ

เกือบครึ่งชั่วโมง

ฉันไม่มีเรื่องโกรธเกลียดกันเป็นการส่วนตัว แต่ฉันไม่ชอบระบบที่เขาใช้อยู่ ฉันต้องการระบบประชาธิปไตย คนเท่ากันหนึ่งคน หนึ่งสิทธิ์ หนึ่งเสียง ทุกคนมาจากการเลือกตั้ง ทุกสถาบันตรวจสอบได้

ฉันไม่ต้องการคนดี คนหล่อ ฉันต้องการการตรวจสอบเปิดเผย โปร่งใส

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เสวนาวันสตรีสากล “เปิดสถานการณ์แรงงานหญิงข้ามชาติ”

Posted: 07 Mar 2011 03:16 AM PST

แรงงานข้ามชาติหญิงขอรัฐบาลควรยืดระยะเวลาการต่ออายุบัตรให้นานขึ้นเป็น 2 ปี มีเจ้าหน้าที่ของรัฐแนะนำ ตัดระบบนายหน้าออกจากตลาดแรงงานต่างชาติ และมีบทลงโทษที่จริงจังกับนายหน้าที่เอารัดเอาเปรียบแรงงานต่างชาติ
 
 
 
 
 
เมื่อวันที่ 6 มี.. 54 ที่ผ่านมา เครือข่ายปฏิบัติการเพื่อแรงงานข้ามชาติ (ANM), หน่วยพัฒนาและบรรเทาทุกข์แห่งประเทศไทย (ADRA), คณะกรรมการรณรงค์ประชาธิปไตยในพม่า, โรงเรียนเดียร์เบอร์ม่า, โครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย (TLC), มูลนิธิร่วมมิตรไทย-พม่า, มูลนิธิตุ้มครองแรงงานด้านเอดส์, มูลนิธิ MAP, มูลนิธิรักษ์ไทย และมูลนิธิเพื่อนหญิง ได้จัดงานเสวนา “100 ปี สตรีสากล 8 มีนา เปิดสถานการณ์แรงงานหญิงข้ามชาติ” ณ ห้องโถงใหญ่ สำนักงานกลางนักเรียนคริสเตียน
 
วันทนา บ่อโพธิ์ เลขานุการคณะกรรมาธิการการแรงงานสภาผู้แทนราษฎร ได้กล่าวเปิดงาน รวมทั้งอธิบายว่าการเรียกร้องความไม่เป็นธรรมจากลูกจ้างโดยใช้ช่องทางของสื่อในการการประชาสัมพันธ์หรือเผยแพร่ข่าวสารต่าง ๆ ทำให้กลุ่มแกนนำของลูกจ้างไม่ได้รับความเป็นธรรม หรือถูกกลั่นแกล้ง ดังนั้นลูกจ้างจึงควรรวมกลุ่มกันสร้างเครือข่ายเพื่อต่อสู้เรียกร้องสิทธิของตนเอง
 
บัณฑิต แป้นวิเศษ หัวหน้าฝ่ายป้องกันการค้ามนุษย์และแรงงานข้ามชาติ มูลนิธิเพื่อนหญิง กล่าวถึงปัญหาที่แรงงานสตรีจำนวนมากกำลังเผชิญปัญหาที่สำคัญหลายประการ คือ 1. ปัญหาเรื่องการห้ามมีผู้ติดตามของรัฐบาล ซึ่งผู้ติดตามของแรงงานเหล่านั้นก็คือบุคคลในครอบครัว เช่น พ่อ แม่ ลูก หรือญาติ โดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นผู้สูงอายุ และเด็ก 2. ปัญหาห้ามแรงงานหญิงท้องในขณะทำงาน 3. ปัญหาแรงงานหญิงถูกคุกคามทางเพศจากนายจ้าง แต่ไม่มีการร้องเรียนใด ๆ เนื่องจากความรู้สึกกังวลเรื่องความไม่ปลอดภัย หรือถูกกลั่นแกล้งจากนายจ้าง และ 4. ปัญหาเรื่องสุขภาพ จากการเจ็บป่วยจากการทำงาน ซึ่งนายจ้างมักจะไม่ให้แรงงานลาป่วยเพื่อไปรักษาตัว หรือไม่จ่ายค่าชดเชย
 
Hay Mar Hnin หรือ Amy ตัวแทนแรงงานหญิงข้ามชาติพม่า ได้เล่าประสบการณ์ของตัวเอง โดยเริ่มเข้ามาทำงานที่ประเทศไทยโดยผ่านทางนายหน้าเมื่อปี ค..2005 เพื่อต้องการหาเงินไปส่งเสียแม่และน้องที่อยู่ประเทศพม่า ทำงานหลายชนิดไม่ว่าจะเป็นแม่บ้าน พนักงานร้านอาหาร และงานก่อสร้าง ก่อนหน้านี้ถูกโกงเงินเดือนที่ฝากไว้กับนายจ้าง และถูกนายจ้างทำร้ายร่างกายจนบาดเจ็บ ปัจจุบันเป็นพนักงานฝ่ายบุคคลของบริษัทแห่งหนึ่ง คอยดูแลช่วยเหลือแรงงานพม่าในบริษัทประมาณ 1,000 คน โดย Amy เสนอว่ารัฐบาลไทยควรให้สิทธิทางกฎหมายในด้านต่าง ๆ แก่แรงงานหญิงข้ามชาติ เช่น สวัสดิการระหว่างการทำงาน และระบบสวัสดิการสังคมต่าง ๆ ที่ควรได้รับ
 
คุณสุชิน บัวขาว ตัวแทนแรงงานหญิงไทย เล่าว่าเธอเริ่มงานแม่บ้านตั้งแต่อายุ 14 ปี ถูกนายจ้างกดขี่ห้ามลาหยุด/ลาป่วย และใช้งานเกินเวลา (18 ชั่วโมงต่อวัน : ตีสี่ – สี่ทุ่ม) จึงรวมตัวกับกลุ่มเพื่อนไปฟ้องศาลแรงงาน แต่ล้มเหลวเนื่องจากขาดความรู้ความเข้าใจในสิทธิของตนเอง โดยสุชินเสนอว่ารัฐบาลควรให้สิทธิทางกฎหมายในด้านต่าง ๆ แก่แรงงานหญิงข้ามชาติ เช่น สวัสดิการระหว่างการทำงาน และระบบสวัสดิการสังคมต่าง ๆ ที่ควรได้รับ      
 
ทั้งนี้ในการเสวนายังมีกิจกรรมกลุ่มย่อย 5 กลุ่ม ร่วมกันคิดและระดมสมองเกี่ยวกับปัญหาและข้อเสนอแนะวิธีการแก้ไขปัญหาของแรงงานหญิง โดยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในกลุ่ม หลังจากนั้นนำเสนอต่อกลุ่มใหญ่เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น กำหนดหัวข้อสภาพปัญหาต่าง ๆ ของแรงงานหญิง และแนวทางในการแก้ไขปัญหา ซึ่งสามารถทำการสรุปความคิดเห็นได้ ดังนี้
 
ปัญหา
 
1. นายจ้างเอาเปรียบ/ข่มขู่ แรงงานที่ต้องการลาออก และยึดพาสปอร์ต/บัตรประจำตัวไว้
2. สภาพแวดล้อมในที่ทำงานทำให้รู้สึกไม่มีความสุขในขณะทำงาน
3. นายจ้างไม่อนุญาตให้มีวันหยุด/วันลา
4. นายจ้างยึดพาสปอร์ต และบัตรประจำตัวของแรงงาน โดยไม่ให้แรงานเก็บไว้เอง ทำให้แรงงานมีโอกาสถูก
    รีดไถจากเจ้าหน้าที่ของรัฐสูง
5. เมื่อมีปัญหา นายจ้างไม่ให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นใด ๆ แก่แรงงาน เช่น แรงงานถูกตำรวจจับ
6. แรงงานที่ทำงานบ้านสัมผัสกับสารเคมีในบ้านเป็นประจำ เช่น น้ำยาล้างห้องน้ำ โดยที่ไมมีอุปกรณ์ต่าง ๆ
    ป้องกัน เช่น ถุงมือยาง   ผ้าปิดจมูก
7. นายจ้างใช้งานเกินเวลา โดยไม่มีเงินล่วงเวลาชดเชย
8. เจ้าหน้าที่ของรัฐข่มขู่/รีดไถ (กรณีที่ไม่มีบัตรแรงงานต่างด้าว)
9. แรงงานถูกกดค่าแรง/จ่ายค่าแรงไม่ครบตามที่ตกลงกันไว้
10. แรงงานหญิงถูกนายจ้างข่มขืนจนตั้งครรภ์ และไล่ออกจากงาน
 
ข้อเสนอแนะ
1. รัฐบาลควรดูแลเรื่องการทำบัตรต่าง ๆ ของแรงงานโดยที่ไม่ให้มีการดำเนินงานผ่านนายหน้า เพื่อป้องกัน
    การเรียกเก็บเงินเป็นจำนวนมาก และการล่วงละเมิดทางเพศเพื่อเป็นข้อแลกเปลี่ยน รวมไปถึงการมี 
    บทลงโทษที่จริงจังกับนายหน้าที่เอารัดเอาเปรียบแรงงานต่างชาติ
2. รัฐบาลควรยืดระยะเวลาการต่ออายุบัตรให้นานขึ้นเป็น 2 ปี
3. รัฐบาลควรจัดให้มีเจ้าหน้าที่คอยแนะนำ/ให้คำปรึกษาแก่แรงงาน เมื่อต้องการไปต่อบัตรเอง
4. รัฐบาลควรเปิดจดทะเบียนแรงงานเพิ่มเติมให้กับแรงงานตกค้างที่ยังไม่มีบัตร เพื่อให้แรงงานมีสิทธิต่าง ๆ
    เท่าเทียมกับแรงงานถูกกฎหมาย
5. รัฐบาลควรควบคุมราคาสินค้าอุปโภค บริโภคในท้องตลาดไม่ให้มีราคาสูง เนื่องจากรายรับของแรงงานไม่พอกับการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน
 
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เสวนา: "คน ศิลปะ การเมือง" ในงานภาพถ่ายขาว-ดำ Gray "Red-Shirt"

Posted: 07 Mar 2011 02:33 AM PST

วงคุยเรื่อง"คน ศิลปะ การเมือง" ที่ร้านเล่า จ.เชียงใหม่ มองวัฒนธรรมเสื้อแดงขาดพื้นที่ในสื่อหลัก ซ้ำถูกสร้างภาพให้ดูรุนแรง ระบุเมื่อ "การปั้นแต่งมติมหาชน" โดยรัฐไม่ได้ผล รัฐจึงต้องใช้กฏหมายลิดรอนเสรีภาพ

 

วันที่ 5 มี.ค. 2554 ที่ร้าน 'เล่า' จ.เชียงใหม่มีการจัดพิธีเปิดนิทรรศการภาพถ่ายขาว-ดำ Gray "Red-Shirt" พร้อมการเสวนาเรื่อง "คน ศิลปะ การเมือง" โดยมีผู้ร่วมเสวนาคือ รศ.ดร. ไชยันต์ รัชชกูล อาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, วันรัก สุวรรณวัฒนา อาจารย์จากคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และพิภพ อุดมอิทธิพงศ์ นักแปลอิสระ บรรยากาศภายในงาน มีการถกเถียงแลกเปลี่ยนอย่างเป็นกันเอง


ภาพบางส่วนในนิทรรศการภาพถ่ายขาว-ดำ Gray "Red-Shirt" 
(แฟ้มภาพ ประชาไท)


วัฒนธรรมเสื้อแดงขาดพื้นที่ในสื่อหลัก

วันรัก กล่าวถึงประเด็น "ศิลปะกับการเมืองและการเมืองในศิลปะ" โดยตั้งข้อสังเกตว่า หลังการสลายการชุมนุมกลุ่มคนเสื้อแดงวันที่ 19 พ.ค. 2553 ทางฝ่ายรัฐรณรงค์โดยอาศัยแรงทางด้านศิลปะและวัฒนธรรม มีการใช้ศิลปินเพลงป็อบ การจัดนิทรรศการภาพถ่ายมาช่วยรณรงค์พร้อมกับคำจำพวก "หยุดทำร้ายประเทศไทย" "คืนรอยยิ้มให้สยาม" โดยมีการเน้นการใช้คำว่า "รอยยิ้ม" และ "ความรัก" รวมถึงการแสดงภาพความเป็นศาสนาพุทธ ขณะเดียวกันก็มักจะแสดงภาพของผู้ชุมนุมเสื้อแดงไปในทางที่ดูรุนแรง ภาพของการใช้อาวุธ แม้ว่าบางภาพของเสื้อแดงจะไม่ได้รุนแรงเลยแต่ก็พยายามทำให้ดูรุนแรงด้วยวิธีการนำเสนอ

วันรัก ยังตั้งข้อสังเกตอีกว่างานด้านวัฒนธรรมของฝ่ายอนุรักษ์นิยมเหล่านี้ มีการใช้รูปแบบที่ดูไม่เชย ทำให้ดูเท่ ดูแนวได้ รัฐไทยจึงสามารถดึงความสนใจของวัยรุ่น-คนรุ่นใหม่ได้ ถือว่าประมาทอำนาจทางสุนทรียตรงนี้ไม่ได้เลย

ด้านไชยันต์ รัชชกูล ตั้งคำถามว่าเหตุใดฝ่ายอนุรักษ์นิยม ถึงไม่ยอมมาต่อสู้ในพื้นที่ของการใช้ปัญญา (Intelletual Force) ซึ่งโดยส่วนตัวไชยันต์คิดว่ากลุ่มอนุรักษ์นิยมไม่สนใจในเรื่องการใช้สติปัญญาถกเถียงกัน ถ้าไม่สนใจฟังก็จะใช้กำลัง หรืออีกวิธีคือการอาศัยพื้นที่ด้านศิลปวัฒนธรรมดังที่กล่าวมาก่อนหน้านี้

วันรักเองก็เห็นด้วยว่ากลุ่มอนุรักษ์นิยมไม่สนใจต่อสู้ในพื้นที่ของการใช้ปัญญาแต่หันมาใช้วัฒนธรรมสื่อกระแสหลัก (Mass Media Culture) ทำให้เกิด "การสำแดงทางวัฒนธรรม" (Cultural Manifestation) พอกล่าวถึงประเด็นนี้ ไชยันต์ก็ให้ความเห็นว่าฝ่ายเสื้อแดงเองก็มีสื่อศิลปะของตนเอง เช่น เพลงของคนเสื้อแดง ที่ไม่มีพื้นที่ในสื่อกระแสหลัก แต่มีการเปิดฟังกันเองในหมู่คนเสื้อแดงผ่านวิทยุชุมชน ซึ่งขณะเดียวกันการขาดช่องทางในการสื่อสารทางวัฒนธรรมก็ทำให้การต่อสู้ในเชิงวัฒนธรรมลำบาก


"การปั้นแต่งมติมหาชน" โดยรัฐไม่ได้ผล จึงต้องใช้กฏหมายลิดรอนเสรีภาพ

ด้านพิภพ บอกว่าเท่าที่เขาเห็นมาฝ่ายขวามักจะสร้างวาทกรรมว่าเสื้อแดงมีความเป็นลูกทุ่ง และการที่ศิลปะของเสื้อแดงเช่นเพลงของเสื้อแดงไม่มีพื้นที่แสดงออกในสื่อวิทยุทั่วไปเนื่องจากถูกตีตราว่าไม่ใช่วัฒนธรรมคนเมือง ไม่ใช่วัฒนธรรมปัญญาชน นอกจากนี้ยังตั้งข้อสังเกตการนำเสนอเรื่องของเสื้อแดงในสื่อกระแสหลักว่ามักจะไม่ถ่ายภาพประชาชนผู้ชุมนุม และหากมีการนำเสนอก็มักมีแต่ภาพลบ ขณะที่เสื้อเหลืองจะมีภาพประชาชนผู้ชุมนุมที่กำลังร้องเล่นเต้นรำอย่างสนุกสนานเฮฮา

"เหมือนคนรวยเท่านั้นที่มีสิทธิเต้นรำได้ ขณะที่คนจนๆ มาเต้นรำแล้วไม่น่าดู" พิภพกล่าว และว่าความพยายามของรัฐในการทำให้เกิด "การปั้นแต่งมติมหาชน" (Manufacturing Consent) นั้นไม่ค่อยเกิดผลเท่าไหร่ รัฐถึงต้องอาศัยมาตรการทางกฏหมายเช่นการใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ , พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ รวมถึงการใช้กฏหมายมาตรา 112 เพราะใช้การขับกล่อมทางวัฒนธรรมไม่ได้ผล สาเหตุที่ไม่ได้ผลคงต้องไปถามคนเสื้อแดงดูเอง การแสดงความคิดเห็นของเสื้อแดงจึงถูกการใช้อำนาจเหล่านี้กดทับ ซึ่งถือเป็นเรื่องการละเมิดเสรีภาพในการแสดงออก (Freedom of Speech) ของพลเมืองซึ่งเป็นหลักการสากล

วันรัก กล่าวถึงกิจกรรมทางศิลปวัฒนธรรมของเสื้อแดง โดยยกตัวอย่างงานคอนเสิร์ตระดมทุนที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จนนำมาซึ่งการถกเถียงกันซึ่งถือเป็นเรื่องที่ดี โดยสำหรับเสื้อแดงแล้วจุดนี้เหมือนการยกระดับการทำกิจกรรมในพื้นที่ชุมนุมขึ้นมาบนเวที

กรณีที่สื่อของเสื้อแดงถูกปิดช่องทางการแสดงออกนั้น วันรักมองว่าการที่สื่อกระแสหลักผูกขาดทุกอย่างทำให้ต้องช่วยกันตั้งคำถามว่าจะสร้างพื้นที่ได้อย่างไร เนื่องจากเรื่องราวของเสื้อแดงเป็นเรื่องเล่า (Narrative) กระแสรองอยู่แล้ว เช่นเดียวกับในยุค 14 ตุลาฯ เรื่องราวในตอนนั้นช่วงแรกๆ ก็ยังเป็นเรื่องเล่าในกระแสรองอยู่ วิธีการคือเราต้องช่วยกันสร้างเรื่องเล่ากระแสรองขึ้นมาเรื่อยๆ แล้ววันหนึ่งมันจะซึมซับเข้าไปในจิตใจคน เนื่องจากเรื่องราวเหล่านี้มีความเป็นประวัติศาสตร์ในตัวมันอยู่แล้ว

ด้านไชยันต์ร่วมตั้งคำถามว่าศิลปะของฝ่ายรัฐมีผลกระทบกระเทือนมากขนาดไหน ขณะเดียวกันก็ตั้งคำถามว่าเราจะแยกได้อย่างไรว่าอะไรเป็นกระแสหลัก-กระแสรอง โดยไชยันต์ตั้งข้อสังเกตว่าจากนิยามแล้วสื่อกระแสหลักน่าจะหมายถึงสิ่งที่ส่งไปถึงผู้คนส่วนมาก โดยไม่จำกัดที่ลักษณะของสื่อก็เป็นได้

ขณะที่วันรักเตือนว่า เราต้องระวังการประเมินตนเกินจริง (Overestimate) ในเรื่องจำนวน และอย่าคิดว่าสิ่งที่ส่งผ่านให้กันดูจะสามารถมีผลกระเทือนทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางการเมืองได้ทันที เราอาจจะให้ความหวังตัวเองได้ แต่สิ่งที่คนข้างนอกวงเราไม่ได้เห็นอย่างที่เราเห็น ขณะที่เรื่องความเป็นกระแสหลัก-กระแสรองนั้นพิภพมองว่า งานภาพถ่าย Gray "Red Shirt" ในวันนี้น่าจะนับเป็นกระแสหลักได้ แม้จะไม่ตรงตามความหมายของสื่อมวลชนก็ตาม

พิภพมองว่าการที่มีกลุ่มทางการเมืองที่ขัดแย้งกันเป็นเรื่องปกติในระบอบประชาธิปไตย จึงไม่เห็นด้วยกับการที่มีคนบอกว่าปัญหาในประเทศที่เกิดขึ้นมาจากการที่คนไทยแบ่งแยกกันออกเป็นฝักฝ่าย และการแบ่งแยกเช่นนี้ถือเป็นสิ่งที่ดีเพราะมันคือสิ่งที่บ่งชี้เรื่องความหลากหลายทางความคิด เช่นที่สหรัฐอเมริกา ก็มีการแบ่งขั้วทางการเมืองอย่างชัดเจน 2 ฝ่ายคือฝ่ายสนับสนุนพรรครีพับลิกัน กับฝ่ายเดโมแครต เพียงปัญหาในประเทศไทยอยู่ตรงที่สนามของฝ่ายที่ขัดแย้งกันสองฝ่ายมีระดับไม่เท่ากัน สนามของอีกสีมักจะสูงกว่าอีกสี สิ่งที่ควรแก้คือการทำให้สนามเท่ากัน

"ปัญหาที่แท้จริงตอนนี้คือการที่ฝ่ายรอยัลลิสต์ไม่ยอมให้คนที่เชื่อต่างจากตนมีชีวิตอยู่" พิภพกล่าว


ศิลปะคือการกระแทกกระทั้น บ่อนเซาะ ความจริงที่ถือว่าเป็นธรรมชาติ

วันรักกล่าวว่า ศิลปะที่มีการนำเสนออุดมการณ์ทางการเมืองชัดเจนจะเรียกว่า โฆษณาชวนเชื่อ (Propaganda) เช่นศิลปะแนวสัจจสังคมนิยมรัสเซีย จีน แต่งานภาพถ่ายชุดนี้เป็นสิ่งที่มีเรื่องเล่า (Narrative) ในตัวเองและเป็นเรื่องเล่าที่เป็นสิ่งที่เราอยู่กับมันทุกวัน โดยที่มันเป็นส่วนหนึ่งของอำนาจทางศิลปะ ที่อยากชวนผู้ชมช่วยกันมองว่าเรื่องเล่าที่พวกเราได้รับเป็นเรื่องเล่าแบบใด เราเอาตัวเองไปผูกกับมันได้แค่ไหน มันสะท้อนอะไร และจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงหรือไม่

ไชยันต์กล่าวถึงรูปภาพในงานนี้โดยตั้งคำถามว่า งานชุดนี้แตกต่างจากภาพอื่นๆ ที่ถ่ายกันอย่างไร อะไรที่ทำให้ภาพเหล่านี้กลายเป็นชิ้นงานศิลปะ (Object of Art) ขึ้นมาได้ โดยส่วนตัวไชยันต์เห็นว่ารูปในงานนี้มีความเป็นศิลปะมากจากการที่มัน "ลดทอนความจริงที่เราคุ้นเคย" (Defamiliarize Reality) เทียบกับรูปที่ลงตามหนังสือพิมพ์ ซึ่งเป็นเหมือนการไปก็อปปี้ภาพความจริงมา แต่ภาพในงานนี้เป็นการทำให้เกิดความจริงใหม่ที่เราไม่คุ้นเคย โดยจะสังเกตเห็นว่ารูปที่นำเสนอมีอยู่เพียงรูปเดียวที่แสดงให้เห็นรูปในระดับผู้นำ และไม่ได้แสดงให้เห็นความอลังการ (Grandeur) ของเสื้อแดง แต่เน้นรูปของบุคคลเป็นคนๆ ไป ต่างจากภาพของ 14 ตุลาฯ รวมถึงพฤษภาทมิฬ ซึ่งมักแสดงให้เห็นความยิ่งใหญ่ รูปของขบวนการนักศึกษา แต่ไม่มีรูปของบุคคลธรรมดาเหล่านี้

"รูปเหล่านี้ต่างจากศิลปะแนว Propaganda" ไชยันต์กล่าว "แนว Propaganda คือการที่พูดอยากมาอย่างนั้นมันก็ต้องเป็นอย่างนั้น แต่ภาพเหล่านี้ไม่ได้มี Narrative ในตัวมัน เป็นหน้าที่ของคนดูที่ต้องต่อเติมเอง"

ด้านวันรัก ซึ่งให้ความหมายของ "เรื่องเล่า" จากคำว่า "Narrative" ว่าหมายถึงชุดความคิดที่เล่ากันมาอย่างตายตัว เช่น "เราต้องรักพ่อแม่" "เราต้องเป็นผู้หญิงแบบนี้" ฯลฯ และศิลปะเท่านั้นที่ทำให้เกิดการบ่อนเซาะ ตั้งคำถามกับ Narrative และนำไปสู่การแลกเปลี่ยนถกเถียง ซึ่งในประเทศไทยยังขาดกระบวนการแลกเปลี่ยนถกเถียงกันในแวดวงศิลปะ "ศิลปะคือการกระแทกกระทั้น บ่อนเซาะ ความจริงที่ถือว่าเป็นธรรมชาติ" วันรักกล่าว

วันรักยังได้ตอบคำถามผู้เข้าร่วมเสวนาท่านหนึ่งซึ่งแสดงความเห็นว่าศิลปะแนวเพื่อชีวิต เพื่อการเมืองในปัจจุบันลดลงไปหรือเปล่า ว่า ศิลปะไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องแนวเพื่อชีวิตซีเรียส ศิลปะต้องทำให้มันตลก เช่นที่ บก.ลายจุด ได้รับความนิยมเนื่องจากมีอารมณ์ขันและเป็นอารมณ์ขันแบบที่บ่อนเซาะหรือตั้งคำถาม


คนเสื้อแดงเป็นศิลปินในตัวเอง

ขณะที่พิภพกล่าวว่า ศิลปะสำหรับเขาแล้วคือการแสดงออก (Expression) ซึ่งทำให้คนเสื้อแดงเองมีความเป็นศิลปินอยู่ในตัว เช่น เมื่อตอนที่เขาได้ไปอยู่ในที่ชุมนุมก็จะพบคำขวัญใหม่ๆ ทุกวัน และต้องตีความว่าเขาพูดถึงอะไรกัน และศิลปะจากคนเสื้อแดงนั้นมีความหลากหลายมาก ภาพของคนเสื้อแดงจึงไม่ใช่เป็นแค่วัตถุ (object) ทางศิลปะอย่างเดียว แต่พวกเขาเป็นศิลปินในตัวเองด้วย
 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น