ประชาไท | Prachatai3.info |
- เอนิเมชั่นน่ารักจากชาวญี่ปุ่น ‘เตาปฏิกรณ์ปวดท้อง’ (แค่ตดยังไม่ได้อึ)
- ความผิดฐานหมิ่นประมาทกษัตริย์ขัดกับเสรีภาพในการแสดงออกซึ่งความคิดเห็น: กรณีหมิ่นประมาทกษัตริย์สเปน
- สหรัฐเชื่อวิกฤตกัมมันตรังสีร้ายแรงกว่าที่ญี่ปุ่นยอมรับ
- จดหมายรักจากพ่อ: บทบันทึกก่อนถูกตัดสินจำคุก 13 ปีในคดีหมิ่นสถาบัน
- เคเอ็นยูพร้อมรบกับกองทัพรัฐบาลพม่า
- “วินมอเตอร์ไซค์” ร้องเรียนสภา เดือดร้อนจากนโยบายประชาวิวัฒน์
- ศาลอาญามีคำสั่งปล่อยตัวชั่วคราว แนวร่วม นปช. 3 คน
- ศาลอาญามีคำสั่งปล่อยตัวชั่วคราว แนวร่วม นปช. 3 คน
- พลาดไม่ได้ : เว็บ ‘ม.เที่ยงคืน’ คืนชีพ โฉมใหม่เจตนาเดิม
- ชาวพม่าจำนวนมากยังไม่สามารถเดินทางออกจากญี่ปุ่น เหตุหนังสือเดินทางหมดอายุ
- คนไม่มีศาสนา : พวกบ้าและไร้ศีลธรรม
- ICEM เผยสหภาพแรงงานไทยเผชิญความขัดแย้งกับบรรษัทข้ามชาติสองแห่งพร้อมกัน ลินเด้และแอร์ลิควิด
- ICEM เผยสหภาพแรงงานไทยเผชิญความขัดแย้งกับบรรษัทข้ามชาติสองแห่งพร้อมกัน ลินเด้และแอร์ลิควิด
- ศาลยุโรปชี้ ศาลสเปนลงโทษจำคุกคดีหมิ่นเป็นการละเมิดหลักเสรีภาพในการแสดงความเห็น
- ใจ อึ๊งภากรณ์: ข้อเสนอรูปธรรม ในการรณรงค์ให้ยกเลิก 112
เอนิเมชั่นน่ารักจากชาวญี่ปุ่น ‘เตาปฏิกรณ์ปวดท้อง’ (แค่ตดยังไม่ได้อึ) Posted: 17 Mar 2011 12:11 PM PDT ผลงานการ์ตูนเอนิเมชั่นของ "คาซูฮิโกะ ฮายาชิ" (Kazuhiko Hachiya) ศิลปินสื่อ (media artist) โพสต์ในยูทูป ได้รับการเผยแพร่อย่างกว้างขวาง ทั้งนี้ แปลบทบรรยายเป็นภาษาไทย โดยผู้ใช้นามแฝงว่า "สาคุรัมโบ" โพสต์
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||
ความผิดฐานหมิ่นประมาทกษัตริย์ขัดกับเสรีภาพในการแสดงออกซึ่งความคิดเห็น: กรณีหมิ่นประมาทกษัตริย์สเปน Posted: 17 Mar 2011 11:31 AM PDT เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2011 ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปได้วินิจฉัยคดีที่น่าสนใจ คือ คดี Otegi Mondragon v. Spain ในคดีนี้ ศาลฯยืนยันว่าการที่ศาลภายในแห่งรัฐสเปนพิพากษาลงโทษบุคคลในความผิดฐานหมิ่นประมาทกษัตริย์นั้นเป็นการละเมิดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นตามที่อนุสัญญาสิทธิมนุษยชนยุโรปรับรองไว้ในมาตรา 10 Juan Carlos VS Otegi Mondragon วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2003 กษัตริย์สเปนได้รับการเชื้อเชิญและต้อนรับจากหัวหน้ารัฐบาลของประชาคมปกครองตนเองบาสก์ในพิธีเปิดโรงไฟฟ้า ณ เมือง Biscaye ในวันเดียวกันนั้น นาย Arnaldo Otegi Mondragon โฆษกของกลุ่มชาตินิยมบาสก์ Sozialista Abertzaleakในสภาผู้แทนราษฎร ได้นัดสื่อมวลชนเปิดแถลงข่าวเกี่ยวกับกรณีดังกล่าว ในระหว่างการตอบคำถามผู้สื่อข่าว เขาได้พูดว่าการเสด็จมายังเมือง Biscaye ของกษัตริย์ฆวน คาร์ลอสนั้นน่าเวทนาและน่าสลดใจ การที่ผู้นำฝ่ายบริหารของแคว้นบาสก์ไปร่วมพิธีเปิดโรงไฟฟ้ากับกษัตริย์ฆวน คาร์ลอส นับเป็น “นโยบายอันน่าละอายอย่างแท้จริง” และ “ภาพๆเดียวแทนคำพูดนับพัน” เขาแสดงความเห็นต่อไปว่า “จะเป็นไปได้อย่างไรที่วันนี้เราต้องไปถ่ายรูปที่เมือง Bilbao กับกษัตริย์สเปน ในขณะที่กษัตริย์สเปนเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดของกองทัพสเปน นั่นคือ เป็นผู้รับผิดชอบการทรมานผู้ต้องหา คือกษัตริย์นี่แหละที่ปกป้องการทรมาน และระบอบราชาธิปไตยของกษัตริย์ได้บังคับประชาชนด้วยวิธีการทรมานและรุนแรง” นาย Otegi Mondragon ถูกดำเนินคดีอาญาในข้อหาหมิ่นประมาทกษัตริย์ ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ต่อมาศาลฎีกาพิพากษาว่านาย Otegi Mondragon มีความผิดฐานหมิ่นประมาทกษัตริย์ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 490 วรรคสาม ต้องรับโทษจำคุก 1 ปี นาย Otegi Mondragon ใช้ช่องทางร้องทุกข์ต่อศาลรัฐธรรมนูญต่อไปแต่ไม่สำเร็จ เขายังไม่ยอมแพ้ เดินหน้าร้องต่อศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป เสรีภาพการแสดงความคิดเห็น VS การปกป้องเกียรติยศชื่อเสียงของบุคคล ในสังคมประชาธิปไตย จะเห็นได้ว่ามาตรา 10 วรรคแรกรับรองเสรีภาพการแสดงออกซึ่งความคิดเห็นไว้ ส่วนวรรคสองเป็นการจำกัดเสรีภาพดังกล่าว โดยต้องเป็นไปตามเงื่อนไข 3 ประการ ดังนี้ 1. การจำกัดเสรีภาพนั้นกำหนดโดยกฎหมาย 2. การจำกัดเสรีภาพนั้นต้องเป็นมาตรการจำเป็นในสังคมประชาธิปไตย 3. การจำกัดเสรีภาพนั้นเป็นไปเพื่อ “ความมั่นคงแห่งชาติ การบูรณาการดินแดน ความปลอดภัยสาธารณะ การรักษาระเบียบ การป้องกันอาชญากรรม การคุ้มครองสุขภาพและศีลธรรม การคุ้มครองชื่อเสียงหรือสิทธิของบุคคลอื่น เพื่อมิให้มีการเปิดเผยข้อมูลลับ หรือเพื่อประกันอำนาจหน้าที่และความเป็นอิสระขององค์กรตุลาการ” ศาลฯได้พิจารณาว่าการกระทำของรัฐสเปน (ศาลฎีกาสเปนพิพากษาลงโทษนาย ในฐานความผิดหมิ่นประมาทกษัตริย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 490 วรรคสาม) เป็น “การแทรกแซงของเจ้าหน้าที่รัฐ” ต่อเสรีภาพแสดงออกซึ่งความคิดเห็น ประเด็นจึงอยู่ที่ว่าการแทรกแซงดังกล่าวจะกระทำได้หรือไม่ ซึ่งการแทรกแซงจะกระทำได้และชอบด้วยอนุสัญญาฯมาตรา 10 ก็ต่อเมื่อเข้าเงื่อนไขข้อจำกัดเสรีภาพ 3 ประการตามมาตรา 10 วรรคสอง ศาลฯพิจารณาเงื่อนไขข้อจำกัดไปทีละประการ ดังนี้ ประการแรก การจำกัดเสรีภาพนั้นกำหนดโดยกฎหมายหรือไม่? ศาลฯเห็นว่ากรณีนี้ศาลสเปนได้ตัดสินพิพากษาลงโทษนาย โดยอาศัยประมวลกฎหมายอาญามาตรา 490 วรรคสาม ประการที่สอง การจำกัดเสรีภาพนั้นเป็นไปเพื่อ “ความมั่นคงแห่งชาติ การบูรณาการดินแดน ความปลอดภัยสาธารณะ การรักษาระเบียบ การป้องกันอาชญากรรม การคุ้มครองสุขภาพและศีลธรรม การคุ้มครองชื่อเสียงหรือสิทธิของบุคคลอื่น เพื่อมิให้มีการเปิดเผยข้อมูลลับ หรือเพื่อประกันอำนาจหน้าที่และความเป็นอิสระขององค์กรตุลาการ” หรือไม่? ศาลฯเห็นว่าบทบัญญัติมาตรา 490 วรรคสามของประมวลกฎหมายอาญา และคำพิพากษาของศาลสเปน เป็นไปเพื่อคุ้มครองชื่อเสียงหรือสิทธิของบุคคลอื่น ซึ่งในกรณีนี้คือกษัตริย์สเปน ประการที่สาม การจำกัดเสรีภาพนั้นต้องเป็นมาตรการจำเป็นในสังคมประชาธิปไตยหรือไม่? ในส่วนนี้ ศาลฯพิจารณาว่า การจำกัดเสรีภาพการแสดงความเห็นในกรณีนี้ไม่เป็นมาตรการจำเป็นในสังคมประชาธิปไตย โดยได้เหตุผลไว้ 2 ประเด็นสำคัญ ประเด็นแรก ศาลฯเห็นว่า “ไม่มีที่ให้กับการจำกัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นในการถกเถียงทางการเมือง” และการแสดงความเห็นเพื่อประโยชน์สาธารณะนั้นย่อมได้รับความคุ้มครอง กรณีนี้ Otegi Mondragon ได้แสดงความเห็นในเรื่องการเมือง ในประเด็นสาธารณะ และเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ แต่ประเด็นนี้ไม่สำคัญเท่ากับประเด็นที่สองที่ศาลฯยืนยันว่า “การวิจารณ์อันอาจยอมรับได้ต่อบรรดานักการเมืองและบุคคลสาธารณะต้องมีขอบเขตที่กว้างขวางกว่าบุคคลธรรมดา” อีกนัยหนึ่ง คือ บรรดาบุคคลสาธารณะจำต้องอดทนอดกลั้นต่อคำวิจารณ์มากกว่าบุคคลทั่วไป แน่นอน บุคคลสาธารณะย่อมมีสิทธิในการปกป้องชื่อเสียงเกียรติยศของตน แต่ต้องพิจารณาประกอบกันไปด้วยว่าการคุ้มครองชื่อเสียงนั้นต้องสมดุลกับประโยชน์สาธารณะที่ได้จากการถกเถียงทางการเมืองและวิจารณ์บุคคลสาธารณะนั้น ศาลฯยอมรับว่าคำพูดของนาย Otegi Mondragon มีลักษณะยั่วยุและดูหมิ่น แต่การถกเถียงทางการเมืองและการอภิปรายสาธารณะ ท่ามกลางบรรยากาศดุเดือดเช่นนี้ อาจเป็นไปได้ที่ผู้พูดจะหลุดคำพูดลักษณะยั่วยุจึงเป็นเรื่องที่ต้องอดทนยอมรับและลดความเข้มข้นในการพิจารณาว่าหมิ่นประมาทหรือไม่ลง และคำพูดของนาย Otegi Mondragon เป็นการกล่าวถึงกษัตริย์ในฐานะสถาบัน และศาลฯเห็นว่าไม่ได้ประทุษร้ายหรือแสดงการเกลียดชังหรือยั่วยุให้ใช้ความรุนแรง ศาลฯยังพบอีกว่าบทบัญญัติมาตรา 490 วรรคสามของประมวลกฎหมายอาญาที่ศาลภายในของรัฐสเปนนำมาใช้ตัดสินลงโทษนาย Otegi Mondragon นั้นเป็นกฎหมายที่มีลักษณะพิเศษและแตกต่างจากกฎหมายกำหนดความผิดฐานหมิ่นประมาทบุคคลทั่วไป ความข้อนี้ย่อมไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของอนุสัญญาสิทธิมนุษยชนยุโรปดังที่ศาลฯเคยวินิจฉัยไปแล้วในคดีก่อนๆว่าการกำหนดความผิดฐานหมิ่นประมาทประมุขของรัฐต่างประเทศและหมิ่นประมาทประธานาธิบดีให้แตกต่างจากความผิดฐานหมิ่นประมาทบุคคลทั่วไปนั้นไม่ชอบ แม้อ้างว่ามีความแตกต่างระหว่างประธานาธิบดีกับกษัตริย์อยู่ แต่แนวคำวินิจฉัยบรรทัดฐานนี้ก็ต้องนำมาใช้ทั้งสิ้นไม่ว่าประเทศนั้นจะมีประมุขของรัฐเป็นประธานาธิบดีหรือเป็นกษัตริย์ การอ้างว่ากษัตริย์ทรงเป็นกลางทางการเมือง เป็นสัญลักษณ์ของความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชาติไม่อาจทำให้กษัตริย์หลบอยู่ภายใต้หลืบเงาเพื่อหลีกหนีการวิพากษ์วิจารณ์ไปได้ โดยเฉพาะในคดีนี้เป็นการวิจารณ์กษัตริย์ในฐานะสถาบัน วิจารณ์กษัตริย์ในการปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นทางการ วิจารณ์กษัตริย์ในฐานะผู้แทนของชาติ และท้าทายถึงความชอบธรรมของโครงสร้างระบบการเมืองการปกครองตามรัฐธรรมนูญของรัฐ รวมทั้งการวิจารณ์ระบอบราชาธิปไตย ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปยังได้ให้เหตุผลที่น่าสนใจอย่างยิ่งและอาจส่งผลกระทบกระเทือนถึงระบบรัฐธรรมนูญของประเทศประชาธิปไตยที่อนุญาตให้กษัตริย์เป็นประมุขได้ในอนาคต ศาลฯเห็นว่า “ข้อเท็จจริงที่ว่ากษัตริย์ไม่ต้องรับผิดตามรัฐธรรมนูญสเปน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทางอาญานั้น ไม่เป็นเครื่องขัดขวางต่อการถกเถียงอย่างอิสระในประเด็นที่เกี่ยวกับความรับผิดชอบของกษัตริย์ทั้งในฐานะสถาบัน ทั้งในฐานะสัญลักษณ์ ตามตำแหน่งประมุขของรัฐ เว้นแต่เป็นกรณีที่ต้องเคารพต่อเกียรติยศชื่อเสียงของกษัตริย์ในฐานะบุคคลคนหนึ่ง” นั่นหมายความว่า แม้รัฐธรรมนูญกำหนดว่ากษัตริย์ไม่ต้องรับผิดและไม่อาจถูกละเมิดได้ก็ตาม เราก็ยังสามารถวิจารณ์กษัตริย์ได้ในฐานะที่กษัตริย์เป็นสถาบันการเมือง ในส่วนของโทษที่ศาลภายในสเปนกำหนดนั้น ศาลฯเห็นว่าไม่ได้สัดส่วนกับการกระทำ เพราะโทษจำคุก 1 ปีนั้นถือว่ามากเกินไปเมื่อเทียบกับการกระทำอันเป็นความผิด อาจกล่าวได้ว่า ในการวิจารณ์ประเด็นการเมือง ผู้วิจารณ์ไม่ควรต้องรับโทษจำคุก เป็นอันว่าศาลสิทธิมนุษยชนโดยมติเอกฉันท์วินิจฉัยว่าการที่ศาลภายในของรัฐสเปนพิพากษาให้นาย Otegi Mondragon จำคุก 1 ปีในความผิดฐานหมิ่นประมาทกษัตริย์ เป็นการละเมิดมาตรา 10 ของอนุสัญญาฯ ให้รัฐสเปนชดใช้ค่าสินไหมทดแทนทางจิตใจให้แก่นาย Otegi Mondragon เป็นจำนวนเงิน 20,000 ยูโร และชดใช้ค่าธรรมเนียมศาลและค่าใช้จ่ายจากการดำเนินคดีในศาลเป็นจำนวนเงิน 3,000 ยูโร กาลอวสานของ Lèse Majesté ในยุโรป? ดังปรากฏให้เห็นจากผลต่อเนื่องจากคดี Colombani et autres c. France ภายหลังจากศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปวินิจฉัยว่าการที่ศาลภายในของฝรั่งเศสพิพากษาลงโทษนาย Colombani ในความผิดฐานหมิ่นประมาทประมุขของรัฐต่างประเทศนั้นเป็นการละเมิดเสรีภาพในการแสดงออกซึ่งความคิดเห็น ต่อมาเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2004 รัฐสภาฝรั่งเศสได้ลงมติให้ความเห็นชอบแก้ไขรัฐบัญญัติลงวันที่ 29 กรกฎาคม 1881 ว่าด้วยเสรีภาพสื่อมวลชน โดยยกเลิกบทบัญญัติมาตรา 36 ความผิดอาญาฐานหมิ่นประมาทประมุขของรัฐต่างประเทศ (โปรดดูบทความของผู้เขียน http://www.onopen.com/piyabutrs/09-06-11/4851) เมื่อคำวินิจฉัยนี้ได้กล่าวอย่างตรงไปตรงมาว่ากฎหมายกำหนดความผิดฐานหมิ่นประมาทกษัตริย์ขัดกับเสรีภาพในการแสดงออกซึ่งความคิดเห็น และกรณีที่รัฐธรรมนูญสเปนกำหนดให้กษัตริย์ไม่ต้องรับผิดและไม่อาจถูกละเมิดไม่อาจกีดขวางการวิจารณ์กษัตริย์ เช่นนี้แล้ว ก็น่าคิดต่อไปว่า ในอนาคตสเปนจะมีการผลักดันให้แก้ไขหรือยกเลิกความผิดฐานหมิ่นประมาทกษัตริย์หรือไม่ และประเทศอื่นๆในยุโรปที่เป็นประชาธิปไตยอันอนุญาตให้กษัตริย์เป็นประมุขจะดำเนินการแก้ไข-ยกเลิกกฎหมายหมิ่นประมาทกษัตริย์หรือไม่ คดี Otegi Mondragon v. Spain มีความสำคัญต่อระบบกฎหมายของประเทศในยุโรป ต่อระบอบการเมืองการปกครองของประเทศในยุโรป โดยเฉพาะประเทศที่ประมุขของรัฐเป็นกษัตริย์ และเป็นหมุดหมายสำคัญหมุดหมายหนึ่งของประวัติศาสตร์ ด้วยเหตุผล ดังนี้ 1. เป็นคำวินิจฉัยแรกที่กล่าวถึงอย่างตรงไปตรงมาว่ากฎหมายกำหนดความผิดฐานหมิ่นประมาทกษัตริย์ขัดกับเสรีภาพการแสดงความเห็น จากเดิมที่เคยวินิจฉัยเฉพาะกรณีความผิดฐานหมิ่นประมาทประมุขของรัฐที่เป็นประธานาธิบดี และกรณีความผิดฐานหมิ่นประมาทประมุขของรัฐต่างประเทศ (ทั้งที่เป็นกษัตริย์และเป็นประธานาธิบดี) ขัดกับเสรีภาพการแสดงความเห็น และจากคดีนี้ ศาลฯยอมรับแล้วว่า ความผิดฐานหมิ่นประมาทกษัตริย์ไม่ได้มีความวิเศษไปกว่าความผิดฐานหมิ่นประมาทบุคคลทั่วไป 2. เป็นคำวินิจฉัยที่แสดงให้เห็นถึงแนวทางของศาลฯว่าโน้มเอียงมาทางเสรีภาพการแสดงความเห็นมากกว่าการคุ้มครองเกียรติยศและชื่อเสียงของบุคคล 3. เป็นคำวินิจฉัยที่อาจส่งผลสะเทือนถึงระบบรัฐธรรมนูญของประเทศประชาธิปไตยที่อนุญาตให้กษัตริย์เป็นประมุขในยุโรปว่า ในอนาคต บทบัญญัติเกี่ยวกับการคุ้มครองเป็นพิเศษแก่กษัตริย์นั้น จะเอาอย่างไรต่อไป คงเดิม? ลดความเข้มข้น? ยกเลิก? ที่เล่ามาทั้งหมดนี้ เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วในราชอาณาจักรสเปน
(โปรดอ่านบทความเรื่องนี้แบบละเอียดและพิสดารได้ในวารสารฟ้าเดียวกันเล่มถัดไป) สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||
สหรัฐเชื่อวิกฤตกัมมันตรังสีร้ายแรงกว่าที่ญี่ปุ่นยอมรับ Posted: 17 Mar 2011 11:11 AM PDT เว็บไซต์เดอะ นิวยอร์ก ไทมส์ รายงานว่าประธานคณะกรรมการกำกับดูแลนิวเคลียร์ของสหรัฐอเมริกา ได้ประเมินถึงสถานการณ์วิกฤติโรงงานนิวเคลียร์เมื่อวันพุธ (16 มี.ค.) ว่า เจ้าหน้าที่อเมริกันเชื่อกันว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นกับเตาปฏิกรณ์อย่างน้อยหนึ่งเครื่องมีความร้ายแรงกว่าที่ญี่ปุ่นยอมรับ และเขายังได้แนะนำชาวอเมริกันว่าให้อยู่ห่างจากโรงงานนิวเคลียร์ไกลกว่าพื้นที่ที่ทางการญี่ปุ่นได้กำหนดไว้ ประกาศอันใหม่นี้แสดงให้เห็นถึงลางไม่ดีต่อความพยายามวิศวกรชาวญี่ปุ่นที่พยายามควบคุมเตาปฏิกรณ์ทั้ง 6 เตา หลังจากระบบทำความเย็นเสียหายจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและซึนามิ ทั้งยังเผยให้เห็นถึงความแตกแยกอย่างรุนแรงระหว่างสหรัฐอเมริกาและพันธมิตรในเอเชียที่ใกล้ชิดอย่างญี่ปุ่นท่ามกลางสภาวะที่อ่อนไหวเช่นนี้ การให้การโดยเกรกอรี่ แจซโค ประธานคณะกรรมการฯ เป็นครั้งแรกที่คณะทำงานของโอบามาได้ประเมิณสภาพโรงงานนิวเคลียร์ จากข้อมูลที่ปรากฏผสมจากข้อมูลที่ได้รับจากญี่ปุ่นและข้อมูลที่คณะกรรมการฯ ได้ดำเนินการค้นหาเอง การยืนยันที่น่าตกใจที่สุดของแจซโคคือ ตอนนี้แทบไม่มีน้ำหรือมีน้ำน้อยในบ่อเก็บน้ำสำหรับเตาปฏิกรณ์ที่ 4 ที่โรงงานนิวเคลียร์ฟุกุชิมา - ไดอิจิ ส่งผลให้เกิดการรั่วไหลของกัมมันตรังสีขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ ต่อมาโฆษกของสำนักงานนิวเคลียร์และความปลอดภัยทางอุตสาหกรรม โยชิทากะ นากายามา กล่าวว่า “เพราะเราไม่สามารถเข้าถึงที่เกิดเหตุได้ เราไม่สามารถยืนยันได้ว่ามีน้ำเหลืออยู่ในเตาปฏิกรณ์ที่ 4 หรือไม่” ในเวลาเดียวกัน เจ้าหน้าที่ได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับเตาปฏิกรณ์อีก 2 แห่ง คือ เตาที่ 5 และเตาที่ 6 พวกเขากล่าวว่าสองเตานั้นมีอุณหภูมิที่สูงขึ้นเล็กน้อย คืนวันพุธ(17 มี.ค.)ที่ผ่านมา แจซโคและตัวแทนคณะกรรมการในประเทสญี่ปุ่นยืนยันว่าไม่มีน้ำเหลือในบ่อเก็บน้ำที่เตาปฏิกรณ์ที่ 4 เจ้าหน้าที่ด้านพลังงานในโตเกียวและเจ้าหน้าที่อื่นๆ ในญี่ปุ่นต่างก็กล่าวเป็นเสียงเดียวกัน อีกทั้งยังวิตกกับปริมาณกัมมันตรังสีที่สูงขึ้นส่งผลให้เจ้าหน้าที่นั้นทำงานบริเวณเตาปฏิกรณ์ได้ยากลำบากขึ้นอีกด้วย หากคำวิเคราะห์ของสหรัฐอเมริกาถูกต้องและเจ้าหน้าที่ที่ทำงานบริเวณนั้นไม่สามารถทำให้เตาปฏิกรณ์ที่ต้องการน้ำหล่อเลี้ยงอยู่ตลอดเวลาให้เย็นลงได้ ระดับกัมมันตรังสีที่เพิ่มขึ้นอาจจะไม่เพียงแต่ทำให้การแก้ไขปัญหาที่เตาปฏิกรณ์หมายเลข 4 ยากขึ้น แต่ยังหมายถึงการแก้ไขปัญหาที่เตาปฏิกรณ์อื่นๆด้วย และในกรณีที่แย่ที่สุด ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า คนงานอาจจะถูกสั่งให้ออกจากโรงงานนิวเคลียร์ทั้งหมด และปล่อยให้แท่งเชื้อเพลิงที่อยู่ภายในเตาปฏิกรณ์หลอมละลายนำไปสู่การรั่วไหลครั้งใหญ่ของสารกัมมันตรังสี เมื่อเช้าวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา กองกำลังป้องกันตนเองของญี่ปุ่นเริ่มต้นโปรยน้ำจากเอลิคอปเตอร์ไปยังเตาปฏิกรณ์หมายเลข 3 หลายครั้ง พวกเขาวางแผนจะทำเช่นเดียวกันนี้กับเตาปฏิกรณ์หมายเลข 4 เจ้าหน้าที่พลังงานของโตเกียวทำงานอย่างหนักเพื่อส่งพลังงานเข้าไปยังโรงงานนิวเคลียร์ เพื่อฟื้นการทำงานของระบบทำความเย็น สถานทูตอเมริกาในโตเกียวแนะนำชาวอเมริกันว่าให้อยู่ออกห่างจากโรงงานนิวเคลียร์ฟูกุยามา ประมาณ 50 ไมลส์ คำแนะนำต่อชาวอเมริกันในญี่ปุ่นนี้กระตุ้นให้ระมัดระวังในความเสี่ยงมากกว่าคำเตือนของรัฐบาลญี่ปุ่นเอง ซึ่งรัฐบาลญี่ปุ่นได้ให้คำแนะนำว่าให้อพยพจากบริเวณโรงงานในระยะ 20 กิโลเมตร หรือประมาณ 12 ไมลส์ และในระยะ 20-30 กิโลเมตรให้อยู่ในที่กำบัง ในขณะที่แผนที่รัศมีของการระเบิดของกัมมันตรังสีแสดงให้เห็นว่าฝุ่นควันของรังสีจะฟุ้งข้ามมหาสมุทรแปซิฟิค เจ้าหน้าที่ของอเมริกากล่าวว่าเมื่อฝุ่นควันเหล่านั้นมาถึงชายฝั่งทางด้านตะวันตกของสหรัฐอเมริกาฝุ่นควันเหล่านั้นจะไม่ส่งผลต่อสุขภาพแต่อย่างใด แพทริก เคเนดี้ รองปลัดกระทรวงมหาดไทยทางด้านการบริหารกล่าวว่าจะไม่มีใครถูกสั่งให้ออกนอกประเทศ เจ้าหน้าที่ของสถานทูตและทหารจะอยู่ปฏิบัติงานของพวกเขา แต่รัฐบาลจะให้ความร่วมมือสำหรับเที่ยวบินเช่าเหมาลำสำหรับผู้ที่ต้องการออกนอกประเทศ แดเนียล บี. โพนแมน รองเลขาธิการกระทรวงพลังงานกล่าวว่าสหรัฐอเมริกายังสนับสนุนอุปกรณ์ตรวจจับความนิวเคลียร์ และบางส่วนถูกส่งไปกับสายการบินอเมริกัน "เราดำเนินงานกันวันต่อวัน นาทีต่อนาที เพื่อให้ทันต่อสถานการณ์” เขากล่าว ไม่เป็นที่แน่ชัดเท่าใดนักว่ามีผู้อาศัยอยุ่รอบบริเวณโรงงานนิวเคลียร์เป็นจำนวนเท่าใด แต่เจ้าหน้าที่สหรัฐฯเชื่อว่าบริเวณนั้นผู้คนควรถูกอพยพออก บริเวณนั้นอยู่ใกล้กับเมืองเซนได เมืองที่มีประชากรมากกว่าหนึ่งล้านคน อีกทั้งยังได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เจ้าหน้าที่อเมริกันที่ได้รับการติดต่อกับญี่ปุ่นรายงานว่าผู้นำทางการเมืองและระบบราชการของญี่ปุ่นได้อยู่ในภาวะแช่แข็ง พวกเขาไม่เต็มใจที่จะสื่อสารอย่างชัดเจนเกี่ยวกับขอบเขตของปัญหาและในบางกรณีไม่เต็มใจที่จะยอมรับความช่วยเหลือจากภายนอกเจ้าหน้าที่อเมริกันสองคนยังกล่าวว่าอีกว่าพวกเขาเชื่อว่ารัฐบาลญี่ปุ่นเองไม่ได้รับภาพรวมที่ชัดเจนจาก บริษัท Tokyo Electric Power เจ้าหน้าที่กองทัพอากาศอเมริกันประกาศเมื่อวันพุธว่า ทางกองทัพจะขับเครื่องบินเฝ้าระวังจากระยะไกลไปทั่วประเทศญี่ปุ่นเพื่อช่วยให้รัฐบาลประเมินความเสียหายจากแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิ และทางเพนตากอนได้กล่าวอย่างเป็นทางการว่าฝูงบินนี้จะเดินทางไปที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์อีกด้วย เจ้าหน้าที่อเมริกันยังได้ระวังที่จะนำเสนอการเปรียบเทียบ อุบัติเหตุทางนิวเคลียร์ที่ผ่านมากับโรงงานนิวเคลียร์ที่ฟุกุชิมา สิ่งที่เกิดขึ้นที่เกาะทรีไมล์ในมลรัฐเพนซิลวาเนียมีรังสีน้อยมากที่รั่วไหลออกจากเครื่องปฏิกรณ์ที่เสีย ความพยายามตอนนี้คือการทำให้วิกฤติของญี่ปุ่นไม่เหมือนกับเหตุการณ์ที่เกิดกับเชอร์โนบิล แม้ว่าเตาปฏิกรณ์จะหยุดการทำงานโดยอัติโนมัติหลังจากเกิดแผ่นดินไหว แต่สึนามิที่ตามมาก็ทำให้ระบบทำความเย็นที่ต้องหล่อเลี้ยงแท่งพลังงานเสียหาย บ่อเชื้อเพลิงที่ใช้แล้วสามารถมีอันตรายมากกว่าแท่งพลังงาน เพราะพวกมันไม่ได้ถูกห่อหุ้มอย่างหนาแน่นเหมือนแกนปฏิกรณ์ มันจะสัมผัสกับอากาศภายนอก เกราะเซอร์โคเนียมในแท่งพลังงานจะลุกไหม้ และสารกัมมันตรังสีจะกระจายออกสู่ชั้นบรรยากาศ สิ่งที่น่าวิตกคือสาร Cesium-137มีครึ่งชีวิตที่ 30 ปี และมันจะปนเปื้อนกับอาหารและการสูดดม บรรดามาตรการฉุกเฉินถูกดำเนินการโดยทีมเล็ก ๆ ของคนงานและนักผจญเพลิง เพื่อยับยั้งไม่ให้แท่งพลังงานหลอมละลาย นำไปสู่ระดับรังสีที่สูงขึ้นมากของสารกัมมันตรังสีในอากาศ แจซโคได้ให้ความเห็นว่าทางเลือกของญี่ปุ่นคือ ส่งคนงานเข้าไปในพื้นที่เสี่ยงเพื่อพยายามทำให้น้ำครอบคลุมแท่งปฏิกรณ์ให้ได้ หรือจะป้องกันคนงาน แต่ความเสี่ยงที่จะทำให้เตาปฏิกรณ์หลอมละลายมีเพิ่มมากขึ้น ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าคนงานที่โรงงานนิวเคลียร์อาจจะไม่สามารถเข้าถึงบ่อเก็บน้ำที่แห้งได้ เพราะปริมาณกัมมันตรังสีสูงเกินไป แตกต่างจากบ่อที่มีปริมาณน้ำปกติที่นอกจากจะรักษาความเย็นไว้แต่ยังเป็นโล่ป้องกันคนงานจากรังสีแกมม่าอีกด้วย ในวันก่อนหน้านี้ทางการญี่ปุ่นได้ประกาศการขยายตัวของวิกฤตที่ไดอิจิ พวกเขากล่าวว่าเตาปฏิกรณ์ตัวที่สองที่โรงงานที่สาม อาจจะได้รับความเสียหายต่อโครงสร้างหลัก และกำลังปล่อยไอกัมมันตรังสีออกมาอีกด้วย แปลและเรียงเรียงจาก : U.S. Calls Radiation ‘Extremely High;’ Sees Japan Nuclear Crisis Worsening สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||
จดหมายรักจากพ่อ: บทบันทึกก่อนถูกตัดสินจำคุก 13 ปีในคดีหมิ่นสถาบัน Posted: 17 Mar 2011 10:18 AM PDT เปิดจดหมายที่ ‘ธันย์ฐวุฒิ ทวีวโรดมกุล’ นักโทษคดีหมิ่นสถาบัน (มาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์) เขียนถึงลูกชายวัย 10 ขวบ นับตั้งแต่เขาถูกจับในเดือนเมษายนปีที่แล้ว และมีความจำเป็นต้องฝากลูกไว้กับคนรู้จักนานนับปี ก่อนจะถูกตัดสินจำคุก 13 ปีไปเมื่อวันที่ 15 มี.ค.ที่ผ่านมา หมายเหตุ เว็บไซต์สำนักกฎหมายราษฎร์ประสงค์ ประชาสัมพันธ์การบริจาคค่าใช้จ่ายสำหรับเลี้ยงดูลูกชายของธันย์วุฒิผ่านบัญชีของลูกชายโดยตรง ที่ ธนาคารกสิกรไทย สาขา คาร์ฟูร์ แจ้งวัฒนะ เลขที่บัญชี 583-2-07692-0 (เนื่องจากเกรงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับเด็กจึงขอปิดชื่อบัญชี สามารถโทรสอบถามชื่อบัญชีได้ที่ 0-2690-2711)
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||
เคเอ็นยูพร้อมรบกับกองทัพรัฐบาลพม่า Posted: 17 Mar 2011 08:29 AM PDT นายทหารเคเอ็นยูเผยกองกำลังพร้อมรบกับทหารพม่า ชี้หากลงนามหยุดยิงนานาชาติต้องรับรู้ พร้อมเรียกร้องการเข้ามาแสวงหาทรัพยากรในรัฐกะเหรี่ยง ประชาชนต้องมีส่วนร่วมตัดสินใจอย่างแท้จริง (17 มี.ค. 54) เมื่อเร็วๆ นี้ นายจอมู ผู้ช่วยผู้บัญชาการกองกำลังปลดปล่อยแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNLA) ภายในสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง หรือ KNU เปิดเผยถึงสถานการณ์การสู้รบบริเวณชายแดนว่า ขณะนี้กองกำลัง KNU อยู่ในสภาพพร้อมรบ และตัดเส้นทางการขนเสบียงอาหารมาให้กับทหารพม่าที่เข้ามาตรึงกำลังบริเวณรอยต่อรัฐกะเหรี่ยงแล้ว แต่การบุกยึดพื้นที่เข้าไปคงยังไม่ทำ เพราะหากยึดพื้นที่ได้ก็ไม่สามารถควบคุมพื้นที่ในระยะยาวได้ เพราะทหารพม่ายังมีกองกำลังเสริมที่สามารถเคลื่อนพลมาเสริมได้ภายใน 2-3 วัน และไม่ต้องการให้ชาวบ้านเดือดร้อน จอมู เผยอีกว่า กำลังพลของส่วนทหารพม่าที่เข้ามาบริเวณชายแดนรัฐกะเหรี่ยงมีพอๆ กัน และยังมีกำลังเสริมอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งขณะนี้ KNU ได้มีการร่วมมือกับกองกำลังกลุ่มชาติพันธุ์อื่นที่ไม่เห็นด้วยหลังการเลือกตั้งของรัฐบาลทหารพม่า ทั้งไทใหญ่ คะฉิ่น คะเรนนี ชิน เป็นต้น เพื่อร่วมกันต่อสู้กับทหารพม่า ซึ่งหากรัฐบาลทหารพม่าต้องการให้หยุดยิง ต้องมีการทำสัญญาร่วมกันที่นานาชาติต้องรับรู้ และการเข้ามาแสวงหาทรัพยากรในพื้นที่ต่างๆ ชาวบ้านต้องมีส่วนร่วมตัดสินใจอย่างแท้จริง ตามระบอบประชาธิปไตย ทั้งนี้ ตั้งแต่หลังการเลือกตั้งในพม่า 7 พ.ย. 53 มีรายงานการปะทะระหว่างทหารพม่า กับกองกำลังกะเหรี่ยงพุทธประชาธิปไตย หรือ DKBA กองพลน้อยที่ 5 ซึ่งเดิมเป็นกลุ่มหยุดยิงแต่ปฏิเสธแปรสถานะเป็นกองกำลังพิทักษ์ชายแดน หรือ BGF ภายในสังกัดกองทัพพม่า โดย DKBA กองพลน้อยที่ 5 นี้ยังกลับร่วมเป็นพันธมิตรฯ กับกองกำลังกะเหรี่ยง KNU ต้านทหารรัฐบาลพม่าในพื้นที่รัฐกะเหรี่ยงด้วย โดยการปะทะระหว่างกองกำลังกะเหรี่ยง DKBA กองพลน้อยที่ 5 กับทหารพม่า นับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนปีที่ผ่านมา จนถึงปัจจุบัน ทำให้มีผู้อพยพจากฝั่งรัฐกะเหรี่ยงจำนวนมากหนีภัยสงครามเข้ามาในฝั่งไทยหลายระลอก อย่างไรก็ตามมักถูกทหารไทยผลักดันกลับ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||
“วินมอเตอร์ไซค์” ร้องเรียนสภา เดือดร้อนจากนโยบายประชาวิวัฒน์ Posted: 17 Mar 2011 07:41 AM PDT “นายกสมาคมผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์รับจ้าง” ร้องนโยบายประชาวิวัฒน์ที่ให้ขึ้นทะเบียนวินมอเตอร์ไซค์ แต่ขณะนี้มีนักการเมืองท้องถิ่นและเจ้าหน้าที่รัฐตั้งวินแข่งกับคนขับเดิม แถมขู่ทำร้ายร่างกาย เว็บไซต์วิทยุรัฐสภา รายงานวันนี้ (17 มี.ค. 54) ว่า สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร พรรคเพื่อไทย รับเรื่องร้องเรียนจากนายกสมาคมวินมอเตอร์ไซด์รับจ้าง ระบุเดือดร้อนจากนโยบายประชาวิวัฒน์ของรัฐบาล พร้อมชี้ นโยบายดังกล่าวไม่ได้ทำให้เศรษฐกิจดีขึ้นแต่สร้างความเดือดร้อนให้กับ ประชาชนมากขึ้น นายวิชาญ มีนชัยนันท์ ส.ส.กทม. พรรคเพื่อไทย รับหนังสือร้องเรียนจากนายกสมาคมผู้ขับขี่มอเตอร์ไซด์รับจ้าง (วินมอเตอร์ไซด์) ที่ร้องเรียนว่าได้รับความเดือดร้อนจากนโยบายประชาวิวัฒน์ของรัฐบาลในข้อที่ กำหนดให้ขึ้นทะเบียนมอเตอร์ไซด์รับจ้างให้ถูกต้องตามกฎหมาย โดยนายกสมาคมฯ กล่าวว่า ขณะนี้มีนักการเมืองท้องถิ่นและเจ้าหน้าที่ของรัฐตั้งวินมอเตอร์ไซด์ขึ้นมา แข่งกับ วินมอเตอร์ไซด์เดิมที่มีอยู่แล้ว นอกจากนี้ยังข่มขู่ ทำร้ายร่างกายมอเตอร์ไซด์รับจ้างด้วย โดยหลังจากรับเรื่องร้องเรียน นายวิชาญ กล่าวว่า รู้สึกเห็นใจต่อผู้ประกอบอาชีพมอเตอร์ไซด์รับจ้างเป็นอย่างมาก เพราะหากไม่ได้รับความเดือดร้อนจริงก็คงไม่มาร้องเรียนเพื่อความช่วยเหลือ ทั้งนี้นโยบายประชาวิวัฒน์ของรัฐบาลที่ประกาศ 9 ข้อ ว่าจะทำให้เศรษฐกิจดีขึ้นนั้น ตนเห็นว่ากลับทำความเดือดร้อนให้กับประชาชนมากกว่า นายวิชาญ ยังกล่าวอีกว่า นอกจากนโยบายการขึ้นทะเบียนมอเตอร์ไซด์รับจ้างแล้ว อีก 6 เดือนข้างหน้าจะมีนโยบายปล่อยเงินกู้ให้กับผู้ประกอบอาชีพแท็กซี่ที่ต้องการ ซื้อรถเป็นของตนเอง ซึ่งตนขอทำนายว่าจะเกิดปัญหาขึ้นมาอีกอย่างแน่นอน สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||
ศาลอาญามีคำสั่งปล่อยตัวชั่วคราว แนวร่วม นปช. 3 คน Posted: 17 Mar 2011 07:31 AM PDT 17 มี.ค. 54 - ศาลอาญามีคำสั่งให้ปล่อยตัวชั่วคราว แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือ นปช. 3 คน ที่ตกเป็นจำเลยในคดีก่อการร้าย ประกอบด้วย นายอร่าม แสงอรุณ นายมานพ ชาญช่างทอง และนายสมพงษ์ บางชม ด้วยวงเงินประกันคนละ 6 แสนบาท รวมไปถึง นายเดชพล พุทธจง และ นายกำพล คำคง จำเลย 2 คน ในคดีลอบวางระเบิดหลังที่ทำการพรรคภูมิใจไทย ด้วยวงเงินประกันคนละ 5 แสนบาท โดยศาลได้กำหนดเงื่อนไขในการปล่อยตัวชั่วคราวเหมือนกับแกนนำ และ แนวร่วม นปช. คนอื่นๆ คือ ห้ามไม่ให้ยั่วยุปลุกปั่น ปลุกระดม เพื่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง นายวิญญัติ ชาติมนตรี ทนายความ นปช. เปิดเผยว่า จำเลยชุดดังกล่าวถือเป็นชุดสุดท้ายในคดีก่อการร้าย ที่ได้ดำเนินการยื่นขอปล่อยตัวชั่วคราวออกมา ทั้ง 5 คนจะได้รับการปล่อยตัว ในเย็นของวันที่ 17 มี.ค. 54 สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||
ศาลอาญามีคำสั่งปล่อยตัวชั่วคราว แนวร่วม นปช. 3 คน Posted: 17 Mar 2011 07:31 AM PDT 17 มี.ค. 54 - ศาลอาญามีคำสั่งให้ปล่อยตัวชั่วคราว แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือ นปช. 3 คน ที่ตกเป็นจำเลยในคดีก่อการร้าย ประกอบด้วย นายอร่าม แสงอรุณ นายมานพ ชาญช่างทอง และนายสมพงษ์ บางชม ด้วยวงเงินประกันคนละ 6 แสนบาท รวมไปถึง นายเดชพล พุทธจง และ นายกำพล คำคง จำเลย 2 คน ในคดีลอบวางระเบิดหลังที่ทำการพรรคภูมิใจไทย ด้วยวงเงินประกันคนละ 5 แสนบาท โดยศาลได้กำหนดเงื่อนไขในการปล่อยตัวชั่วคราวเหมือนกับแกนนำ และ แนวร่วม นปช. คนอื่นๆ คือ ห้ามไม่ให้ยั่วยุปลุกปั่น ปลุกระดม เพื่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง นายวิญญัติ ชาติมนตรี ทนายความ นปช. เปิดเผยว่า จำเลยชุดดังกล่าวถือเป็นชุดสุดท้ายในคดีก่อการร้าย ที่ได้ดำเนินการยื่นขอปล่อยตัวชั่วคราวออกมา ทั้ง 5 คนจะได้รับการปล่อยตัว ในเย็นของวันที่ 17 มี.ค. 54 สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||
พลาดไม่ได้ : เว็บ ‘ม.เที่ยงคืน’ คืนชีพ โฉมใหม่เจตนาเดิม Posted: 17 Mar 2011 06:41 AM PDT 17 มีนาคม 2554 มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน โดย รศ.สมชาย ปรีชาศิลปกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เปิดเผยว่า เว็บไซต์ ม.เที่ยงคืน ได้กลับมาดำเนินการใหม่แล้วใน URL เดิมคือ www.midnightuniv.org หลังจากปิดดำเนินการชั่วคราวมาตั้งแต่ รศ.สมเกียรติ ตั้งนโม อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเสียชีวิต ทั้งนี้ รศ.สมชาย แจ้งว่า ภายหลังการจากไปของสมเกียรติ ตั้งนโม เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน มีอันต้องชะงักลงไปด้วย โดยการดำเนินการครั้งนี้ มีกองบรรณาธิการประกอบด้วยนักวิชาการจากหลากหลายสาขา รวมทั้งนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน โดยระยะแรกตนเองจะทำหน้าที่เป็นบรรณาธิการไปพลางก่อน “พวกเราในมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนตระหนักว่า การเผยแพร่และถกเถียงแลกเปลี่ยนความรู้ผ่านเทคโนโลยีสมัยใหม่มีความจำเป็น และด้วยความช่วยเหลือจากเพื่อนหลายคน จึงได้ร่วมกันเดินหน้าเว็บไซต์แห่งนี้ต่อไป แม้อาจมีการเปลี่ยนหน้าตาเว็บไซต์จากเดิมไป แต่ยังคงยืนอยู่บนฐานความคิดในแบบซึ่งเคยทำให้เกิดเว็บไซต์นี้ขึ้น คือการนำเสนอความรู้ทางเลือก แง่มุมการมองที่เปิดสายตาให้กว้างขวาง ไม่จำกัดกรอบสาขาวิชา และเพื่อประโยชน์ต่อสาธารณะ" เว็บไซต์ ‘ม.เที่ยงคืน’ สมารถเข้าชมได้ที่ URL เดิม คือ www.midnightuniv.org ซึ่งยังคงมีคลังข้อมูลและบทความเก่าเพื่อการค้นคว้า และมีบทความใหม่อัพเดทอย่างต่อเนื่อง โดยบทความใหม่ อาทิ เรื่อง “มองอนาคตการเมืองไทยผ่านสายตาคนนอก” โดย เบน แอนเดอสัน เป็นต้น สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||
ชาวพม่าจำนวนมากยังไม่สามารถเดินทางออกจากญี่ปุ่น เหตุหนังสือเดินทางหมดอายุ Posted: 17 Mar 2011 06:38 AM PDT ขณะที่รัฐบาลหลายประเทศได้เรียกประชาชนของตนกลับประเทศ เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับการรั่วไหลของสารกัมมันตรังสี หลังโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ในเขตฟูกุชิมะ ของญี่ปุ่นได้รับความเสียหายจากเหตุแผ่นดินไหวเมื่อสัปดาห์ก่อน อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่า ชาวพม่าเป็นจำนวนมากยังไม่สามารถเดินทางออกจากประเทศญี่ปุ่นได้ เนื่องจากไม่ได้ต่อวีซ่าและอยู่ในญี่ปุ่นอย่างผิดกฎหมาย ขณะที่บางส่วนหนังสือเดินทางหมดอายุ ทั้งนี้ มีตัวเลขชาวพม่าอยู่ในประเทศญี่ปุ่นราว 1 หมื่นคน มีรายงานว่า หนังสือเดินทางของชาวพม่าหลายคนได้หมดอายุและยังไม่ได้ต่อใหม่ เนื่องจากไม่สามารถจ่ายเงินจำนวน 1 หมื่นเยนที่ทางสถานทูตพม่าในกรุงโตเกียวเรียกเก็บ ซึ่งทางสถานทูตพม่าอ้างว่าเป็นเงินภาษี “ทางสถานทูตบอกกับพวกเราว่า เราสามารถต่ออายุหนังสือเดินทางได้ก็ต่อเมื่อเราจ่ายเงินภาษีให้กับพวกเขา นี่กำลังเป็นปัญหาใหญ่ให้กับหลายๆคนที่ยังไม่ได้จ่ายเงินภาษีให้กับทางสถานทูต วันนี้ผมเพิ่งกลับจากสถานทูต ที่นั่นดูวุ่นวายมาก ” เขากล่าว ขณะที่ชาวพม่าบางส่วนเปิดเผยว่า ยังไม่มีแผนที่จะเดินทางออกจากญี่ปุ่นในเร็วๆนี้ แต่ยอมรับว่า หากรัฐบาลญี่ปุ่นไม่สามารถควบคุมสถานการณ์การรั่วของสารกัมมันตรังสีได้จริงๆก็จะตัดสินใจเดินทางออกจากญี่ปุ่น มีรายงานด้วยว่า ชาวพม่าบางส่วนได้เรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัยในฟูกุชิมะ ด้านกลุ่ม Myanmar Cultural and Welfare Association (MCWA) ซึ่งทำงานด้านวัฒนธรรมและสวัสดิภาพภาพของชาวพม่า ซึ่งเป็นองค์กรที่ไม่เกี่ยวข้องกับรัฐบาลพม่าได้มีความพยายามออกเงินช่วยเหลือบางส่วนให้กับชาวพม่าที่ต้องการเดินทางออกจากญี่ปุ่น แต่อย่างไรก็ตาม กลุ่ม MCWA จะไม่สามารถช่วยเหลือชาวพม่าที่อยู่ในญี่ปุ่นอย่างผิดกฎหมายได้ หากสถานการณ์โรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ในญี่ปุ่นวิกฤติหนัก ในอีกด้านหนึ่ง มีกระแสข่าวออกมาว่า เอกอัครราชทูตพม่าและครอบครัวที่ประจำอยู่ในกรุงโตเกียวได้เดินทางออกจากญี่ปุ่นแล้ว แต่ข่าวนี้ยังไม่มีการยืนยันที่แน่ชัด Irrawaddy 16 มีนาคม 2554 แปลและเรียบเรียงโดย สาละวินโพสต์ "สื่อทางเลือกเพื่อแบ่งปันความเข้าใจสู่เพื่อนบ้าน"อ่านข่าวและบท ความอื่นๆ อีกมากมายได้ที่เว็บไซต์ www.salweennews.org เฟซบุ๊คhttp://www.facebook.com/Salweenpost ทวิตเตอร์http://twitter.com/salweenpost สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||
คนไม่มีศาสนา : พวกบ้าและไร้ศีลธรรม Posted: 17 Mar 2011 06:14 AM PDT “I am against religion because it teaches us to be satisfied with not understanding the world.” - Richard Dawkins [1] “เด็กเอ๋ยเด็กดี ต้องมีหน้าที่สิบอย่างด้วยกัน เด็กเอ๋ยเด็กดี ต้องมีหน้าที่สิบอย่างด้วยกัน หนึ่ง นับถือศาสนา สอง รักษาธรรมเนียมมั่น สาม เชื่อพ่อแม่ครูอาจารย์ สี่ วาจานั้นต้องสุภาพอ่อนหวาน...” จากเนื้อเพลง “หน้าที่ของเด็ก [2]” ที่ยกมาเกริ่นนำข้างต้นนั้นจะเห็นได้ว่า “ศาสนา” มีความสำคัญในสังคม และมีการปลูกฝังให้เด็กๆนั้น นับถือศาสนา ฯลฯ แต่ในปัจจุบันนี้ เด็กและวัยรุ่นเติบโตมากับเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์อันล้ำหน้า หรือที่เรียกว่า “เด็กยุคดิจิตอล” บางคนนั้นเมื่อได้ยินเพลงนี้ อาจจะเกิดการตั้งคำถามขึ้นว่า “จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องมีศาสนา?” นอกจากเพลงที่ใช้ในการปลูกฝังเด็กและเยาวชนแล้วรัฐยังมีวลีเด็ดที่ใช้ในการครอบงำทางความคิด หรือเพื่อใช้ต่อเป็น “สร้อย” เป็นประโยคสรุปของการกระทำต่างๆ คือวลีที่ว่า “...เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์” [3] แต่พวกเขานั้น “เชื่อ” ในความเป็นศาสนานั้นจริงๆหรือไม่? อีกทั้งในสังคมไทยนั้นเมื่อพูดถึงคนที่ไม่มีศาสนาหรือเมื่อต้องกรอกข้อมูลลงช่อง “ศาสนา” ณ ที่ว่าการอำเภอ ก็อาจจะได้พบกับสีหน้าประดักประเดิดและเต็มไปด้วยเครื่องหมายคำถามว่า “ทำไมไม่มีศาสนา?” เพราะคนไม่มีศาสนาคือคนไม่มีศีลธรรม (?) ในบทความนี้จะพูดถึงคำกล่าวอ้างของศาสนิกชนว่าทำไมจึงต้องมีศาสนา อเทวนิยม (Atheism) นั้นมีมาตั้งแต่เมื่อใด? คนไม่มีศาสนาคืออะไร? คุณธรรมที่พวกศาสนิกกล่าวอ้างนั้นเป็นคุณธรรมจริงหรือไม่? แล้วความดีของพวกอศาสนาคืออะไร? คำกล่าวอ้างของศาสนิกชน ศาสนาและความเชื่อต่างๆเกิดขึ้นและอยู่คู่กับมนุษย์มาเนิ่นนาน แต่เพราะเหตุใดศาสนาจึงมีความสำคัญต่อชีวิต? จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องมีศาสนา? กลุ่มศาสนิกต่างๆจึงตอบคำถามนี้ว่า เพราะมนุษย์มีความจำเป็นต้องมีเกณฑ์ตัดสินที่จะวัดหรือจำแนกแยกแยะว่าอะไรดีอะไรชั่ว อะไรถูก อะไรผิดอะไรควร อะไรไม่ควร มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มิได้มีความต้องการทางด้านวัตถุแต่เพียงอย่างเดียว แต่มนุษย์ยังมีความคิดและจิตใจที่จำเป็นจะต้องได้รับการสนองตอบความต้องการอีกด้วย ชีวิตคืออะไร ตัวเขามาจากไหน เขาเกิดมาทำไม ตายแล้วจะไปไหน ชีวิตหลังความตายเป็นอย่างไร ใครเป็นคนสร้างโลก และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งเรื่องเหล่านี้วิทยาศาสตร์ยังไม่อาจหาคำตอบให้เป็นที่พอใจแก่เขาได้ มนุษย์จำเป็นต้องมีกฎระเบียบทางสังคมตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับประเทศไปจนถึงระดับระหว่างประเทศ มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่ต้องการที่พึ่งพิงทางจิตใจและต้องการหลักประกันในการกระทำของตนเอง เช่นเดียวกับมนุษย์ต้องการสิ่งตอบแทนในการทำงานของตนในเรื่องคุณธรรมและศีลธรรมก็เช่นกัน หากไม่มีสิ่งตอบแทนให้แก่ผู้ที่ปฏิบัติความดีแล้ว แน่นอน คงไม่มีใครอยากที่จะทำความดี แต่ในทุกวันนี้ที่ยังมีคนทำดีอยู่ก็เพราะศาสนาได้ให้หลักประกันในการทำความดีแก่มนุษย์นั่นเอง หรือแม้กระทั่งเชื่อว่าการมีศาสนาทำให้มนุษย์แตกต่างไปจากสัตว์เดรัจฉาน ว่าด้วยความเสแสร้งในทางคุณธรรมและความกลัว แต่หากพิจารณาการให้เหตุผลเหล่านั้นแล้ว พบว่าความเชื่อเกี่ยวกับ “ผู้มีคุณธรรม” เป็นรูปแบบหนึ่งของความเสแสร้ง เมื่อผู้คนกล่าวว่า “คุณธรรมเป็นสิ่งจำเป็น” แท้จริงแล้วเขากำลังพูดว่าเขาต้องการ สังคมที่สงบ เป็นระเบียบ และปลอดภัยมากกว่า “ผู้มีคุณธรรม” ผู้คนต่างพร่ำสอนให้ผู้คนมีศีลธรรม และเชื่อฟังคำสอนของศาสนา แต่เบื้องหลังความคิดเหล่านั้น คือ “ความกลัว” ความกลัวในการกระทำของตนเอง การเสี่ยงภัย การต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเอง การค้นหาโชคชะตาของตนเอง และการเผชิญหน้ากับความล้มเหลว (ลอเรน เกน 2005 [4])
กำเนิดอเทวนิยม (Atheism) อเทวนิยมเริ่มเกิดขึ้นเมื่อเริ่มมีวิทยาศาสตร์ เพราะวิทยาศาสตร์หาคำอธิบายปรากฎการณ์ทางธรรมชาติด้วยสิ่งธรรมชาติด้วยกันได้ดีกว่าศาสนา ซึ่งเริ่มมีมานานแล้วตั้งแต่ปรัชญากรีก ก่อนหน้านี้พระเจ้า “ถูกใช้” อธิบายปรากฏการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น เช่น โครงสร้างที่ซับซ้อนและน่าอัศจรรย์ของสิ่งมีชีวิตอย่างพืชและสัตว์ ก็ยังมีการอธิบายว่าสิ่งมีชีวิตเหล่านี้เป็นผลงานออกแบบของพระเจ้า ดังนั้นแม้ว่าวิทยาศาสตร์ธรรมชาติจะเจริญขึ้น แต่จุดยืนที่ยังใช้พระเจ้าอธิบายจักรวาล และปรากฏการณ์ทางธรรมชาติก็ยังคงอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการอธิบายสิ่งมีชีวิต อย่างไรก็ตาม ในที่สุดแล้วการอ้างเหตุผลเชิงออกแบบ (Design Argument) ได้ถูกล้มล้างโดยทฤษฎีของชาร์ลส์ ดาร์วิน (Charles Darwin) และอัลเฟรด รัสเซล วอลเลซ (Alfred Russel Wallace) ในศตวรรษที่ 19 จึงไม่น่าแปลกใจว่า ทำไมอเทวนิยมเฟื่องฟูเต็มที่ในศตวรรษที่ 19-20 โดยมีนักปรัชญาอย่าง ฟอยเออร์บาค นิทเช่ มาร์กซ์ ฟรอยด์ รัสเซลล์ และซาร์ตร์ เป็นผู้นำ (สารานุกรมปรัชญาออนไลน์ฉบับสังเขป [5]) คนไม่มีศาสนาคืออะไร? “ส.ส.ใต้ปชป ประณามพวกไม่มีศาสนายิงกราดมัสยิด เป็นเหตุให้ชาว มุสลิมเสียชีวิต-บาดเจ็บ จำนวนมากแนะพี่น้อง 3 จ.ใต้ อย่าตกเป็นเหยื่อ-เชื่อข่าวลวง จี้ จนท.หาตัว “ผู้ก่อการ”โดยเร็ว หวั่น ชาวบ้านเข้าใจผิดเป็นไฟลามทุ่ง” พาดหัวข่าวจากคมชัดลึกออนไลน์ (9 มิ.ย. 2552) ในปัจจุบัน ”คนไม่มีศาสนา” ถูกใช้เรียกแทนผู้ที่กระทำความชั่วอย่างแสนสาหัสกระทั่งไม่มีศาสนาใดยอมรับเข้าอยู่ในศาสนาของตนเอง หรือพวกที่ไร้ศีลธรรมจรรยาเพราะไร้ซึ่งศาสนาสั่งสอน ที่คำว่า “คนไม่มีศาสนา” ถูกใช้ไปในแนวทางนี้นั้น เพราะศาสนานั้นฝังรากลึกในสังคมมนุษย์จนเมื่อบอกว่า “ไม่มีศาสนา” ก็แปลว่า “ไม่มีศีลธรรม” แต่ “คนไม่มีศาสนา” หรือ “อเทวนิยม” (Atheism) ในที่นี้มีความหมายที่แตกต่างจากความหมายข้างต้น กล่าวคือ อเทวนิยม คือ ทัศนะที่ไม่เชื่อการมีอยู่ของพระเจ้า และพวกอเทวนิยมจึงมิใช่เพียงสงสัยความเชื่อ หากแต่ปฏิเสธความเชื่อในพระเจ้าด้วย (สารานุกรมปรัชญาออนไลน์ฉบับสังเขป [6]) อีกประการหนึ่งคือ คำว่า “ไม่มีศาสนา” กับ “ไม่มีศีลธรรม” นั้นเป็นคนละเรื่องกันโดยสิ้นเชิง คนไม่มีศาสนาสามารถเป็นคนดีได้เช่นกัน และคนมีศาสนาก็ยังสามารถทำเรื่องชั่วร้ายได้ โศกนาฏกรรมส่วนใหญ่ในโลกตั้งแต่เริ่มแรกของอารยธรรมมนุษย์มาล้วนเกิดมาจากคำว่า “ศาสนา” ความเกลียดชังของมนุษย์นั้นน่ากลัว และน่ากลัวกว่าเดิมหลายเท่าเมื่อมีการเชื่อมโยงศาสนาเป็นเครื่องมือในการทำสงคราม ผูกศาสนาเข้ากับลัทธิชาตินิยม หรือการสั่งสอนว่า สงครามศาสนาคือสงครามศักดิ์สิทธิ์ เช่น สงครามครูเสด เป็นต้น คุณธรรมเป็นคุณธรรมจริงหรือไม่? นิทเช่ นักปรัชญาเยอรมันมองว่า คนที่มีคุณธรรมหรือเป็นคนดี จะได้รับการสรรเสริญจากคนอื่นก็ต่อเมื่อเขาได้ทำสิ่งที่ดีให้แกพวกเขา (คนอื่น) ตามความจริงแล้ว คุณธรรมต่างๆไม่ว่าจะเป็นการเชื่อฟัง การรักษาความบริสุทธ์ ความยุติธรรม ความอุตสาหะ ฯลฯ กลับจะทำอันตรายคนที่ยึดถือมันต่างหาก “หากว่าท่านยึดถือคุณธรรมข้อหนึ่งข้อใดแล้ว ...ท่านก็คือเหยื่อของมัน!” ที่เราสรรเสริญคุณธรรมของบุคคลอื่น ก็เพราะเราได้ประโยชน์จากมันนั่นเอง (ลอเรน เกน 2549 : 53) ดังนั้น ความเชื่อเรื่องศีลธรรมจึงเป็นความเชื่อของกลุ่ม และถือว่ากลุ่มมีความสำคัญกว่าปัจเจกบุคคลที่มีความเห็นขัดแย้งกับกลุ่ม “ในแง่ของศีลธรรม ปัจเจกบุคคลจะสร้างคุณค่าให้แก่ตัวเองได้ก็เพียงในฐานะที่เป็นกลไกอันหนึ่งของฝูงเท่านั้น” ความคิดเรื่องฝูงนี้ ต่อมาได้กลายเป็นความคิดหลักของนิทเช่ในการคิดถึงเรื่องต้นกำเนิดของศีลธรรม การตำหนิติเตียนการควบคุมทางศีลธรรมจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมันผ่านความเห็นพ้องของสังคมแล้วเท่านั้น มันแสดงให้เห็นภาพของคนซึ่งจะอ่อนแอเมื่ออยู่ในฐานะปัจเจก แต่จะเข้มแข็งเมื่ออยู่ร่วมกัน (พวกเขาหวังว่า) กฎศีลธรรมจะปกป้องพวกเขา รวมทั้งให้เหตุผลในสิ่งที่พวกเขาทำและวิถีชีวิตของพวกเขา ความดีของพวกอศาสนา “ถ้าพวกคุณไม่มีศาสนา แล้วคุณยึดถืออะไร?” นี่เป็นคำถามยอดนิยมของพวกศาสนิก หากไม่มีคุณธรรมและศีลธรรมให้ยึดถือเป็นหลักปฏิบัติแล้ว อศาสนิกนับถืออะไร? คำตอบของอศาสนานิกคือ มนุษย์ยึดถือ “ความอยู่รอด” ของตนเองเป็นหลัก ความเห็นอกเห็นใจและการช่วยเหลือกันของมนุษย์นั้นเป็นไปตามธรรมชาติของการเป็นเครือญาติทางพันธุกรรม มนุษย์พร้อมเสมอเพื่อช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน และเสียสละต่อตนเองต่อสิ่งที่ดีที่ยึดถือร่วมกันเพื่อความอยู่รอดของตนเอง โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งศีลธรรมของศาสนา ดังที่ ริชาร์ด ดอส์กินส์ ได้กล่าวถึง 4 เหตุผลหลักที่ทำให้เราเห็นอกเห็นใจ หรือมี “ศีลธรรม” ในแบบของพวกอศาสนาไว้ว่า “We now have four good Darwinian reasons for individuals to be altruistic, generous or ‘moral’ towards each other. First, there is the special case of genetic kinship. Second, there is reciprocation : the repayment of favours given, and the giving of favours in ‘anticipation’ of payback. Following on from this there is, third the Darwinian benefit of acquiring a reputation for generosity and kindness. And forth, if Zahavi is right, there is the particular additional benefit of conspicuous generosity as a way of buying unfakeably authentic advertising.” (Richard Dawkins 2007 : 251 [7])
สรุป จากเนื้อหาทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นนี้จะเห็นได้ว่าการมีศาสนาไม่ใช่เรื่องสำคัญ คุณธรรมและศีลธรรมที่แท้จริงนั้นขึ้นกับการปฏิบัติต่อบุคคลอื่นอย่างเพื่อนมนุษย์ ไม่ใช่การใช้ศาสนาเป็นเครื่องมือหรือครอบงำทางความคิด มนุษย์มีเสรีภาพในการ “เลือก” ที่จะเชื่อหรือไม่เชื่อสิ่งใดได้ ตราบเท่าที่ยังเชื่อในเสรีภาพของตนเอง เชิงอรรถ [1] : a British ethologist and evolutionary biologist : นักสัตววิทยาและนักชีววิทยาวิวัฒนาการชาวอังกฤษ [2] เพลง หน้าที่ของเด็ก แต่งโดย ชอุ่ม ปัญจพรรค์ ในปี พ.ศ. 2498 [3] เริ่มใช้ในสมัยรัชการที่ 6 โดยได้พื้นฐานมาจาก “God, King and Country” จากประเทศอังกฤษ [4] ลอเรน เกน. 2005. นิทเช่ : นักปรัชญาชาวเยอรมันผู้กบฏต่ออารยธรรมตะวันตก (เทพทวี โชควศิน, แปล), กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มูลนิธิเด็ก, 2549, 53 [5] สารานุกรมปรัชญาออนไลน์ฉบับสังเขป. อเทวนิยม, เข้าถึงเมื่อ 2 มีนาคม 2554, เข้าถึงจาก http://www.philospedia.net/atheism.html [6] เรื่องเดียวกัน [7] Richard Dawkins. The God Delusion, London : Black Swan , 2007, 251 อ้างอิง ยอร์จ ทอมสัน. 1954. ความเรียงว่าด้วยศาสนา (จิตร ภูมิศักดิ์, แปล), กรุงเทพฯ : ชมรมหนังสือแสงตะวัน, 2519 ลอเรน เกน. 2005. นิทเช่ : นักปรัชญาชาวเยอรมันผู้กบฏต่ออารยธรรมตะวันตก (เทพทวี โชควศิน, แปล), กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มูลนิธิเด็ก, 2549. สารานุกรมปรัชญาออนไลน์ฉบับสังเขป. อเทวนิยม, เข้าถึงเมื่อ 2 มีนาคม 2554, เข้าถึงจาก http://www.philospedia.net/atheism.html Richard Dawkins. The God Delusion, London : Black Swan , 2007 สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||
ICEM เผยสหภาพแรงงานไทยเผชิญความขัดแย้งกับบรรษัทข้ามชาติสองแห่งพร้อมกัน ลินเด้และแอร์ลิควิด Posted: 17 Mar 2011 05:45 AM PDT สหภาพแรงงานไทยอินดัสเตรียลแก๊สกำลังเผชิญปัญหาด้านสิทธิแรงงานกับบรรษัทข้ามชาติสองแห่งที่อยู่ในประเทศไทยคือ บริษัทลินเด้ที่มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ประเทศเยอรมัน และบริษัทแอร์ลิควิดที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ประเทศฝรั่งเศส สหภาพแรงงานกำลังต่อสู้เพื่อให้บริษัททั้งสองแห่งรับคนงานซึ่งถูกเลิกจ้างจากการเข้าร่วมการดำเนินงานของสหภาพแรงงาน ได้กลับเข้าทำงาน สหภาพแรงงานไทยอินดัสเตรียลแก๊ส เป็นสมาชิกของของสหพันธ์แรงงานปิโตรเลียมและเคมีภัณฑ์แห่งประเทศไทย ซึ่งในระดับสากล อยู่ในสังกัดของสหพันธ์แรงงานนานาชาติในกิจการเคมี พลังงาน เหมืองแร่และคนงานทั่วไป (ICEM) โดยสหภาพแรงงานไทยอินดัสเตรียลแก๊สกำลังต่อสู้เพื่อประกันสิทธิสหภาพแรงงานของคนงานในอุตสาหกรรม แก๊สอุตสาหกรรม (industrial gases) ซึ่งใช้ในกระบวนการผลิตและในอุตสาหกรรมอาหาร กรณีบริษัทลินเด้ สหภาพแรงงานไทยอินดัสเตรียลแก๊สกำลังอยู่ในระหว่างการเจรจาข้อตกลงสภาพการจ้างฉบับใหม่ เนื่องจากข้อตกลงฯ ฉบับที่ใช้อยู่ปัจจุบันจะสิ้นสุดลงตามเงื่อนเวลาที่ได้ตกลงกันไว้ในวันที่ 21 มีนาคม 2554 ในการเจรจาครั้งนี้ สหภาพแรงงานมีข้อเรียกร้องหลักๆ ก็คือ การเปิดเผยข้อมูล การบรรจุคนงานเหมาค่าแรงเป็นพนักงานประจำ และให้บริษัทรับนาย วสันต์ เรืองลอยขำ สมาชิกสหภาพแรงงานที่ถูกเลิกจ้าง กลับเข้าทำงาน ในขณะเดียวกัน ทางบริษัทลินเด้ (ประเทศไทย) ต้องการยกเลิกข้อตกลงสภาพการจ้างปัจจุบันในเรื่องของการให้สหภาพแรงงานเข้าร่วมสังเกตการณ์และทบทวนในการพิจารณากรณีที่มีการลงโทษทางวินัยลูกจ้าง ซึ่งสหภาพแรงงานได้ทำข้อตกลงนี้กับบริษัทเมื่อปี 2551 สหภาพแรงงานไทยอินดัสเตรียลแก๊สต้องการให้ผู้จัดการบริษัทใช้แนวปฏิบัติที่เรียกว่า Golden Rule ซึ่งเป็นหลักของความรับผิดชอบทางสังคมของบริษัท (CSR) ของบริษัทลินเด้ ในการพิจารณาข้อกล่าวหาของบริษัทลินเด้ (ประเทศไทย) ต่อนายวสันต์ว่ามีความผิดโดยละเมิดกฎระเบียบการทำงาน โดยที่สหภาพแรงงานมีส่วนร่วมในการพิจารณาร่วมกับผู้จัดการ วสันต์ เรืองลอยขำ ถูกเลิกจ้างเมื่อวันที่ 23 กันยายน 2553 สหภาพแรงงานไทยอินดัสเตรียลแก๊สเรียกร้องวันลาหยุดของคนงานที่เป็นบิดาเพื่อการช่วยเหลือภรรยาในการดูแลบุตรแรกเกิด และการจ้างงานประจำให้กับคนงานเหมาค่าแรง และคนขับรถบรรทุกแก๊สที่ทำงานนานกว่า 3 ปี พรพิษณุ พื้นผา และ สุรชัย สิงห์ปัสสา หลังจากที่บริษัทไทยอินดัสเตรียลแก๊สได้รับข้อเรียกร้องจากสหภาพแรงงานแล้ว ทางฝ่ายผู้จัดการของบริษัทก็ได้ยื่นข้อเรียกร้องของตนเองไปที่สหภาพแรงงาน ยกตัวอย่างเช่น บริษัทลินเด้ในประเทศไทยต้องการยกเลิกข้อตกลงที่ได้ทำไว้กับสหภาพแรงงานอันเป็นเรื่องสำคัญต่อชีวิตการทำงานของลูกจ้างทุกคน ยกตัวอย่างเช่น ข้อตกลงว่าด้วยการมีส่วนร่วมของสหภาพแรงงานในการเข้าร่วมสังเกตการณ์และทบทวนในการพิจารณาการลงโทษทางวินัยกับลูกจ้าง พร้อมทั้งขอยกเลิกข้อตกลงในเรื่องของการจัดอบรมในหัวข้อเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ของลูกจ้าง ซึ่งบริษัทได้ตกลงกับสหภาพแรงงานไว้ว่า จะจัดให้มีการอบรมดังกล่าวกับพนักงานทุกคนไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมงต่อคนต่อปี กรณีบริษัทแอร์ลิควิด สาขาหนองแค จังหวัดสระบุรี ได้เลิกจ้างคนงานจำนวน 5 คนทันทีที่พวกเขาแจ้งกับบริษัทว่า พวกเขาเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานไทยอินดัสเตรียสแก๊ส เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2554 โดยบริษัทกล่าวหาว่า คนงานร่วมกันปลุกปั่นให้เกิดความแตกแยก ต่อในกรณีดังกล่าวนี้ บริษัทได้นัดหมายให้มีการประชุมกับสหภาพแรงงานพร้อมกับคนงานที่ถูกเลิกจ้าง 5 คน เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2554 ที่สำนักงานแรงงานจังหวัดสระบุรี แต่ก่อนถึงเวลาที่จะมีการประชุม ผู้จัดการบริษัทได้ส่งโทรสารแจ้งว่า เขาจะไม่มาเข้าร่วมการประชุม และยืนยันการเลิกจ้างสมาชิกสหภาพแรงงานเหล่านั้น สหพันธ์แรงงานสากล ICEM ได้คัดค้านการปฎิบัติดังกล่าวของบริษัทแอร์ลิควิด โดยในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ แมนเฟรด วาดา เลขาธิการ ICEM ได้ส่งจดหมายไปยังกรรมการผู้จัดการบริษัทแอร์ลิควิด ในประเทศไทย ประณามว่า บริษัทแอร์ลิควิดกำลังละเมิดแนวปฏิบัติของตนเองที่บริษัทได้ประกาศใช้ทั่วโลก โดย ICEM ได้อ้างอิงถึง ความรับผิดชอบทางสังคมหรือ CSR ของบริษัทแอร์ลิควิดเอง ซึ่งได้ระบุไว้ว่า บริษัทแอร์ลิควิดให้ความสำคัญต่อการเจรจาต่อรองร่วมและการปรึกษาหารือกับสหภาพแรงงาน ตลอดจนเคารพในสิทธิมนุษยชน และศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ของคนงาน ICEM จะดำเนินการอย่างต่อเนื่องในการติดตามการเจรจาต่อรองร่วมที่บริษัทลินเด้ พร้อมทั้งจะดำเนินการเพื่อให้บริษัทแอร์ลิควิดแก้ไขปัญหาการการกระทำที่ก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคมที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ให้เกิดความถูกต้อง หมายเหตุ ICEM หรือ สหพันธ์แรงงานนานาชาติในกิจการเคมี พลังงาน เหมืองแร่และคนงานทั่วไป เป็นสมาพันธ์แรงงานระดับโลกที่เป็นตัวแทนคนงานในอุตสาหกรรมเคมี พลังงาน เหมืองแร่และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องซึ่งรวมถึงอุตสาหกรรมซีเมนต์ แก้วและเซรามิก ICEM มีสมาชิก 472 องค์กร สหภาพแรงงานอุตสาหกรรมใน 132 ประเทศ และมีสมาชิกที่เป็นคนงานในอุตสาหกรรมเหล่านี้ประมาณ 20 ล้านคนทั่วโลก แปลจาก “Thai Union at Odds with Linde in Talks; Dispute Air Liquide’s Sackings” จาก ICEM inBrief สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||
ICEM เผยสหภาพแรงงานไทยเผชิญความขัดแย้งกับบรรษัทข้ามชาติสองแห่งพร้อมกัน ลินเด้และแอร์ลิควิด Posted: 17 Mar 2011 05:28 AM PDT สหภาพแรงงานไทยอินดัสเตรียลแก๊สกำลังเผชิญปัญหาด้านสิทธิแรงงานกับบรรษัทข้ามชาติสองแห่งที่อยู่ในประเทศไทยคือ บริษัทลินเด้ที่มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ประเทศเยอรมัน และบริษัทแอร์ลิควิดที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ประเทศฝรั่งเศส สหภาพแรงงานกำลังต่อสู้เพื่อให้บริษัททั้งสองแห่งรับคนงานซึ่งถูกเลิกจ้างจากการเข้าร่วมการดำเนินงานของสหภาพแรงงาน ได้กลับเข้าทำงาน สหภาพแรงงานไทยอินดัสเตรียลแก๊ส เป็นสมาชิกของของสหพันธ์แรงงานปิโตรเลียมและเคมีภัณฑ์แห่งประเทศไทย ซึ่งในระดับสากล อยู่ในสังกัดของสหพันธ์แรงงานนานาชาติในกิจการเคมี พลังงาน เหมืองแร่และคนงานทั่วไป (ICEM) โดยสหภาพแรงงานไทยอินดัสเตรียลแก๊สกำลังต่อสู้เพื่อประกันสิทธิสหภาพแรงงานของคนงานในอุตสาหกรรม แก๊สอุตสาหกรรม (industrial gases) ซึ่งใช้ในกระบวนการผลิตและในอุตสาหกรรมอาหาร กรณีบริษัทลินเด้ สหภาพแรงงานไทยอินดัสเตรียลแก๊สกำลังอยู่ในระหว่างการเจรจาข้อตกลงสภาพการจ้างฉบับใหม่ เนื่องจากข้อตกลงฯ ฉบับที่ใช้อยู่ปัจจุบันจะสิ้นสุดลงตามเงื่อนเวลาที่ได้ตกลงกันไว้ในวันที่ 21 มีนาคม 2554 ในการเจรจาครั้งนี้ สหภาพแรงงานมีข้อเรียกร้องหลักๆ ก็คือ การเปิดเผยข้อมูล การบรรจุคนงานเหมาค่าแรงเป็นพนักงานประจำ และให้บริษัทรับนาย วสันต์ เรืองลอยขำ สมาชิกสหภาพแรงงานที่ถูกเลิกจ้าง กลับเข้าทำงาน ในขณะเดียวกัน ทางบริษัทลินเด้ (ประเทศไทย) ต้องการยกเลิกข้อตกลงสภาพการจ้างปัจจุบันในเรื่องของการให้สหภาพแรงงานเข้าร่วมสังเกตการณ์และทบทวนในการพิจารณากรณีที่มีการลงโทษทางวินัยลูกจ้าง ซึ่งสหภาพแรงงานได้ทำข้อตกลงนี้กับบริษัทเมื่อปี 2551 สหภาพแรงงานไทยอินดัสเตรียลแก๊สต้องการให้ผู้จัดการบริษัทใช้แนวปฏิบัติที่เรียกว่า Golden Rule ซึ่งเป็นหลักของความรับผิดชอบทางสังคมของบริษัท (CSR) ของบริษัทลินเด้ ในการพิจารณาข้อกล่าวหาของบริษัทลินเด้ (ประเทศไทย) ต่อนายวสันต์ว่ามีความผิดโดยละเมิดกฎระเบียบการทำงาน โดยที่สหภาพแรงงานมีส่วนร่วมในการพิจารณาร่วมกับผู้จัดการ วสันต์ เรืองลอยขำ ถูกเลิกจ้างเมื่อวันที่ 23 กันยายน 2553 สหภาพแรงงานไทยอินดัสเตรียลแก๊สเรียกร้องวันลาหยุดของคนงานที่เป็นบิดาเพื่อการช่วยเหลือภรรยาในการดูแลบุตรแรกเกิด และการจ้างงานประจำให้กับคนงานเหมาค่าแรง และคนขับรถบรรทุกแก๊สที่ทำงานนานกว่า 3 ปี พรพิษณุ พื้นผา และ สุรชัย สิงห์ปัสสา หลังจากที่บริษัทไทยอินดัสเตรียลแก๊สได้รับข้อเรียกร้องจากสหภาพแรงงานแล้ว ทางฝ่ายผู้จัดการของบริษัทก็ได้ยื่นข้อเรียกร้องของตนเองไปที่สหภาพแรงงาน ยกตัวอย่างเช่น บริษัทลินเด้ในประเทศไทยต้องการยกเลิกข้อตกลงที่ได้ทำไว้กับสหภาพแรงงานอันเป็นเรื่องสำคัญต่อชีวิตการทำงานของลูกจ้างทุกคน ยกตัวอย่างเช่น ข้อตกลงว่าด้วยการมีส่วนร่วมของสหภาพแรงงานในการเข้าร่วมสังเกตการณ์และทบทวนในการพิจารณาการลงโทษทางวินัยกับลูกจ้าง พร้อมทั้งขอยกเลิกข้อตกลงในเรื่องของการจัดอบรมในหัวข้อเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ของลูกจ้าง ซึ่งบริษัทได้ตกลงกับสหภาพแรงงานไว้ว่า จะจัดให้มีการอบรมดังกล่าวกับพนักงานทุกคนไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมงต่อคนต่อปี กรณีบริษัทแอร์ลิควิด สาขาหนองแค จังหวัดสระบุรี ได้เลิกจ้างคนงานจำนวน 5 คนทันทีที่พวกเขาแจ้งกับบริษัทว่า พวกเขาเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานไทยอินดัสเตรียสแก๊ส เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2554 โดยบริษัทกล่าวหาว่า คนงานร่วมกันปลุกปั่นให้เกิดความแตกแยก ต่อในกรณีดังกล่าวนี้ บริษัทได้นัดหมายให้มีการประชุมกับสหภาพแรงงานพร้อมกับคนงานที่ถูกเลิกจ้าง 5 คน เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2554 ที่สำนักงานแรงงานจังหวัดสระบุรี แต่ก่อนถึงเวลาที่จะมีการประชุม ผู้จัดการบริษัทได้ส่งโทรสารแจ้งว่า เขาจะไม่มาเข้าร่วมการประชุม และยืนยันการเลิกจ้างสมาชิกสหภาพแรงงานเหล่านั้น สหพันธ์แรงงานสากล ICEM ได้คัดค้านการปฎิบัติดังกล่าวของบริษัทแอร์ลิควิด โดยในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ แมนเฟรด วาดา เลขาธิการ ICEM ได้ส่งจดหมายไปยังกรรมการผู้จัดการบริษัทแอร์ลิควิด ในประเทศไทย ประณามว่า บริษัทแอร์ลิควิดกำลังละเมิดแนวปฏิบัติของตนเองที่บริษัทได้ประกาศใช้ทั่วโลก โดย ICEM ได้อ้างอิงถึง ความรับผิดชอบทางสังคมหรือ CSR ของบริษัทแอร์ลิควิดเอง ซึ่งได้ระบุไว้ว่า บริษัทแอร์ลิควิดให้ความสำคัญต่อการเจรจาต่อรองร่วมและการปรึกษาหารือกับสหภาพแรงงาน ตลอดจนเคารพในสิทธิมนุษยชน และศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ของคนงาน ICEM จะดำเนินการอย่างต่อเนื่องในการติดตามการเจรจาต่อรองร่วมที่บริษัทลินเด้ พร้อมทั้งจะดำเนินการเพื่อให้บริษัทแอร์ลิควิดแก้ไขปัญหาการการกระทำที่ก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคมที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ให้เกิดความถูกต้อง หมายเหตุ ICEM หรือ สหพันธ์แรงงานนานาชาติในกิจการเคมี พลังงาน เหมืองแร่และคนงานทั่วไป เป็นสมาพันธ์แรงงานระดับโลกที่เป็นตัวแทนคนงานในอุตสาหกรรมเคมี พลังงาน เหมืองแร่และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องซึ่งรวมถึงอุตสาหกรรมซีเมนต์ แก้วและเซรามิก ICEM มีสมาชิก 472 องค์กร สหภาพแรงงานอุตสาหกรรมใน 132 ประเทศ และมีสมาชิกที่เป็นคนงานในอุตสาหกรรมเหล่านี้ประมาณ 20 ล้านคนทั่วโลก แปลจาก “Thai Union at Odds with Linde in Talks; Dispute Air Liquide’s Sackings” จาก ICEM inBrief สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||
ศาลยุโรปชี้ ศาลสเปนลงโทษจำคุกคดีหมิ่นเป็นการละเมิดหลักเสรีภาพในการแสดงความเห็น Posted: 17 Mar 2011 05:17 AM PDT 15 มีนาคม 2554 ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปตัดสินกรณีที่ศาลสเปนลงโทษนายอาร์นัลโด โอเตกี มอนดรากอน โฆษกพรรคชาตินิยมบาสก์ ให้รับโทษจำคุกฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพว่าเป็นการละเมิดหลักเสรีภาพในการแสดงความเห็น อาร์นัลโด โอเตกี มอนดรากอน โฆษกพรรคชาตินิยมบาสก์ นายมอนดรากอน วัย 55 ปี โฆษกพรรคชาตินิยมบาสก์ถูกตัดสินจำคุกด้วยความผิดฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์สเปนระหว่างที่เสด็จอย่างเป็นทางการเยือนจังหวัดบิสเคย์ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ปี พ.ศ. 2546 โดยตอบคำถามผู้สื่อข่าวว่าการเสด็จมาในพิธีเปิดโรงไฟฟ้าของกษัตริย์สเปนคือ "ความอัปยศอดสูทางการเมืองอย่างแท้จริง” ทั้งยังกล่าวว่า กษัตริย์ในฐานะที่เป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดของตำรวจ เป็นผู้ที่ดำรงฐานะที่ต้องรับผิดชอบในการสั่งการให้เจ้าหน้าที่ตำรวจกระทำการทารุณกรรมและก่อความรุนแรงต่อประชาชน รวมถึงในปฏิบัติการจับกุมประชาชนเพื่อจัดกับกับหนังสือพิมพ์ Egunkaria ทั้งจับกุมบรรณาธิการและผู้เกี่ยวข้องไปคุมขังอย่างปิดลับจำนวน 10 คน ซึ่งภายหลังมีข้อร้องเรียนด้วยว่ามีการทารุณกรรมในระหว่างการควบคุมตัว ทั้งนี้ หนังสือพิมพ์ Egunkaria เป็นหนังสือพิมพ์ฉบับเดียวที่ตีพิมพ์เป็นภาษาบาสก์ และถูกสั่งปิดเพราะต้องสงสัยว่าเกี่ยวข้องกับการก่อการร้าย นายมอนดรากอน ถูกศาลฎีกาตัดสินจำคุกเป็นเวลา 1 ปี และตัดสิทธิเลือกตั้งระหว่างจำคุก ในความผิดฐานหมิ่นประมาทอย่างร้ายแรงต่อพระมหากษัตริย์ ศาลสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรประบุว่า แม้กษัตริย์สเปนทรงดำรงความเป็นกลางทางการเมือง ทรงเป็นสัญลักษณ์ของประเทศ แต่ก็ไม่อาจปกป้องพระองค์จากการถูกวิพากษ์วิจารณ์โดยชอบด้วยกฎหมาย และแม้ข้อเท็จจริงปรากฏว่าภายใต้รัฐธรรมนูญสเปนนั้น กษัตริย์ “ไม่ต้องรับผิด” โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรับผิดตามกฎหมายอาญา ก็ไม่อาจจะป้องกันการอภิปรายอย่างเปิดเผยเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่สถาบันจะต้องรับผิด แต่การวิพากษ์วิจารณ์นั้นก็ต้องอยู่ภายใต้ขอบเขตของการเคารพในศักดิ์ศรีในฐานะปัจเจกบุคคล ศาลสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรปชี้ว่า คำวิพากษ์วิจารณ์ของนายมอนดรากอนนั้นมิได้มุ่งร้ายต่อตัวบุคคลในฐานะที่เป็นปัจเจกบุคคล หรือมุ่งทำลายชื่อเสียงในฐานะปัจเจกบุคคล หากแต่เป็นการวิพากษ์วิจารณ์ถึงความรับผิดในฐานะเป็นสถาบันตามรัฐธรรมนูญ เป็นประมุขและสัญลักษณ์ของประเทศ การตัดสินลงโทษจำเลย คือนายมอนดรากอน ด้วยการจำคุกและตัดสิทธิทางการเมืองในระหว่างจำคุกจึงไม่สมควรแก่เหตุ และเป็นการละเมิดสิทธิในการแสดงความเห็น ผู้สื่อข่าวชาวสเปนรายหนึ่งให้ความเห็นกับประชาไทว่า การฟ้องร้องนายมอนดรากอนนั้น น่าจะมีนัยยะเกี่ยวข้องกับพรรคชาตินิยมบาสก์มากกว่าจะเป็นการดำเนินคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพตามปกติ เพราะโดยปกติแล้ว ไม่ค่อยมีการฟ้องร้องด้วยข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในประเทศสเปน มีกรณีการวิพากษ์วิจารณ์กษัตริย์อย่างรุนแรงก่อนหน้านั้นโดยบุคคลอื่นที่ไม่ใช่กลุ่มชาตินิยมบาสก์ แต่ก็ไม่มีการดำเนินคดีแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม ผู้สื่อข่าวรายนี้ระบุว่า สื่อกระแสหลักของสเปนส่วนใหญ่เซ็นเซอร์ตัวเองในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสถาบันกษัตริย์ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||
ใจ อึ๊งภากรณ์: ข้อเสนอรูปธรรม ในการรณรงค์ให้ยกเลิก 112 Posted: 17 Mar 2011 05:17 AM PDT กฏหมายมาตรา 112 เป็นกฏหมายที่ขัดกับประชาธิปไตยและสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกในทุกรูปแบบและเป็นกฏหมายที่เป็นอุปสรรคในการสร้างความโปรงใสและการตรวจสอบอำนาจรัฐ ตรงนี้ผู้รักประชาธิปไตยจำนวนมากเข้าใจดี และถ้าเราดูประเทศที่เป็นประชาธิปไตยจริง ที่มีกษัตริย์เป็นประมุข โดยเฉพาะในยุโรป เราจะพบว่าหลายประเทศยกเลิกกฏหมายนี้นานแล้ว หรือประเทศที่ยังมี ไม่มีการใช้กฏหมายในรูปธรรมในปัจจุบัน และที่สำคัญคือไม่มีการใช้เพื่อปิดปากคนที่มีความเห็นต่างทางการเมือง อันนี้คือความจริงไม่ว่านักวิชาการเสื้อเหลืองจะแอบอ้างมาอย่างไร ดังนั้นการรณรงค์ให้ยกเลิกกฏหมาย 112 เป็นสิ่งที่หลายฝ่ายทำได้ ทั้งคนที่สนับสนุนให้มีประมุขเป็นกษัตริย์ หรือคนที่ต้องการระบบสาธารณรัฐ ปัญหาที่เราต้องมาร่วมกันคิดคือ เราจะรณรงค์ให้ยกเลิกกฏหมายนี้อย่างไร ผมในฐานะผู้หนึ่งที่โดนกฏหมาย 112 ในปี 2551 มีข้อเสนอดังนี้ กฏหมาย 112 เป็นกฏหมายที่ใช้ปกป้องเผด็จการ โดยเฉพาะทหาร และลูกน้องของทหารเช่นนักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์ หรือศาลเป็นต้น การรณรงค์ให้ยกเลิก 112 จึงแยกไม่ออกจากการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย ในเมื่อการยกเลิกกฏหมาย 112 เป็นเรื่องเดียวกับการสร้างประชาธิปไตย เราควรจะมองเห็นชัดเจนว่าผู้ที่กำลังต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย มวลชนคนเสื้อแดงนั้นเอง เป็นผู้ที่สามารถรณรงค์ให้ยกเลิก 112 ได้ ถ้าเขาตัดสินใจร่วมกันที่จะสู้ตรงนี้ ซึ่งแปลว่าถ้าเราต้องการรณรงค์ให้ยกเลิกกฏหมาย 112 เป้าหมายหลักคือการชักชวนมวลชนเสื้อแดงของ นปช. แดงทั้งแผ่นดิน ให้หันมาร่วมรณรงค์กับเรา เราไม่ต้องไปหวังพึ่งนักวิชาการที่ไม่ใช่เสื้อแดง เพราะพวกนี้ประกาศนานแล้วในงานเสวนาต่างๆ ว่าไม่อยากให้ยกเลิก 112 ไปหมด อย่างมากก็พูดว่าควร “ปฏิรูป” หรือ “ลดโทษ” ซึ่งเท่ากับปกป้องคงไว้กฏหมายที่กีดกันสิทธิเสรีภาพ แต่ในขณะเดียวกัน เราต้อง “เข้าใจ” มวลชนเสื้อแดงส่วนใหญ่ เพราะเรื่อง 112 ล้อมรอบด้วยความกลัว หลายคนอาจคิดว่าเป็นการยกระดับการต่อสู้และเขาอาจไม่แน่ใจว่าเขาพร้อมหรือไม่ ส่วนแกนนำ นปช. แดงทั้งแผ่นดิน ซึ่งประกาศตัวอย่างซื่อสัตย์ว่าเป็นแนวปฏิรูปในโครงสร้าง อาจยังไม่พร้อมและอาจกลัวว่าจะโดนป้ายสีว่าเป็นพวก “ล้มเจ้า” ซึ่งเป็นข้ออ้างของอำมาตย์ไทยเพื่อเข่นฆ่าปราบปรามประชาชนมาตั้งแต่ ๖ ตุลาจนถึงวันนี้ สรุปแล้วเวลาเรารณรงค์เพื่อให้ยกเลิก 112 ในขบวนการเสื้อแดง เราต้องเป็นมิตรกับมวลชนที่อาจยังไม่เห็นด้วยกับเรา เราต้องใจเย็นในการอธิบายและชักชวน แต่เราต้องชักชวนอย่างต่อเนื่องให้มวลชนรากหญ้าของ นปช. แดงทั้งแผ่นดินหันมาต่อต้านกฏหมาย 112 ซึ่งเป็นวิธีสำคัญที่จะกดดันแกนนำให้เปลี่ยนใจด้วย และไม่แน่... เราอาจกดดันต่อไปสู่พรรคเพื่อไทยในอนาคตก็ได้ แต่เราหวังพึ่งพรรคเพื่อไทยไม่ได้อยู่ดี ผู้ที่สนใจแต่จะชี้หน้าด่าคนที่คิดต่างในแกนนำ นปช. หรือกล่าวหาคนเหล่านั้นว่า “ไม่แน่จริง (เหมือนกู)” หรือป้ายร้ายว่า “ถูกซื้อตัว” หรือ “มีสัญญาลับเรื่องการปรองดอง” เป็นผู้ที่สนใจแต่จะพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตนเอง และสนใจแต่จะแยกตัวปลีกตัวออกจากมวลชนผู้มีพลังจริงในการสร้างประชาธิปไตย เพื่อไปสร้าง “กองกำลังปฏิวัติแท้” ซึ่งไม่มีวันบรรลุอะไรได้ นักปฏิวัติอย่างเลนินกับมาร์คซ์ พูดเสมอว่าต้องทำงานกับมวลชนที่ยังไม่พร้อม เพื่อถกเถียงชักชวนให้เขาขยายความคิดและเปลี่ยนความคิด และเขาพูดอีกว่าเราไม่ควรโกหกมวลชนด้วยนิยายเท็จ หลายคนทราบดีว่าเมื่อวันที่ 12 มีนาคมที่ผ่านมา มีการ์ด นปช. จับสาวคนหนึ่งที่แจกใบปลิว แล้วส่งคนนี้ให้ตำรวจ ในด้านหนึ่งเราเข้าใจความหวาดกลัวของการ์ดหรือคนบนเวที แต่ไม่ว่าจะอย่างไรมันเป็นสิ่งที่ไม่ควรเกิดขึ้น และไม่ควรเกิดขึ้นอีก แต่มีใครสักกี่คนในแวดวงไซเบอร์ที่ยอมรับว่า ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ออกมาพูดตรงๆ ว่ามันเป็นสิ่งที่ไม่ควรจะเกิดขึ้น? นอกจากการรณรงค์ให้ยกเลิก 112 จะแยกไม่ออกจากการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยแล้ว เราควรเข้าใจอีกเรื่องหนึ่งคือ ผู้ที่ใช้และปกป้องกฏหมายนี้สุดหัวใจคือทหาร ทหารต้องการปกป้องกฏหมายนี้เพราะมันให้ความชอบธรรมในการแทรกแซงทางการเมือง ซึ่งปกติแล้วทหารไม่มีความชอบธรรมตรงนี้ การที่คดี 112 เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วหลังรัฐประหาร ๑๙ กันยา เป็นเพราะนายทหารชั้นผู้ใหญ่สั่งมา และสั่งลูกน้องอย่างอภิสิทธิ์หรือนักการเมืองประชาธิปัตย์อื่นๆ อีกด้วย ลองย้อนกลับไปพิจารณาพระราชดำรัสเดือนธันวาคมปี 2548 มีการตรัสว่าการที่คนบอกว่า... “กษัตริย์ทำอะไรไม่ผิดนั้นเป็นการดูถูกกษัตริย์ เพราะทำไมกษัตริย์จึงจะทำผิดไม่ได้ เพราะแสดงให้เห็นว่าพวกเขามองกษัตริย์ไม่ใช่มนุษย์” .... “สมมติว่าเราพูดอะไรผิด เพราะไม่ตระหนัก นั่นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่ทำผิดโดยไม่ตระหนัก และมาตระหนักว่ามันผิด มันไม่ดีที่จะทำผิดโดยตระหนักว่าทำผิด แต่บางครั้งก็ไม่ได้ตระหนัก ก็ต้องขอโทษ ถ้าพูดโดยไม่ตระหนัก การไม่ตระหนักคือการไม่ระวัง ภายหลังก็จะเสียใจ” ... “ถ้าถือคำวิพากษ์วิจารณ์ทั้งหมดว่าเป็นการหมิ่น พระเจ้าอยู่หัวก็จะเสียหาย” เราอาจตีความพระราชดำรัสนี้ได้หลายด้าน แต่สำหรับผม พออ่านแล้วชวนให้ผมเชื่อว่าคนที่ยังผลักดันการใช้กฏหมาย 112 คือทหาร เพื่อปกป้องทหารและพรรคพวกเอง ด้วยเหตุนี้เราควรมองว่าอุปสรรค์สำคัญในการยกเลิกกฏหมาย 112 และการสร้างประชาธิปไตย คือกองทัพ ซึ่งแปลว่าเราต้องมีข้อเรียกร้องให้ปฏิรูปกองทัพอย่างถอนรากถอนโคนด้วย และเราต้องชักชวนให้มวลชนเสื้อแดงมาร่วมรณรงค์เรื่องกองทัพกับเรา ในระยะสั้น 1. เราควรแจกใบปลิว และเก็บลายเซ็นในจดหมายเปิดผนึกเพื่อยกเลิกกฏหมาย 112 ในมวลชนเสื้อแดง นปช. แดงทั้งแผ่นดิน ในทุกโอกาส ทุกชุมชน 2. เราควรเปิดโปงและกดดันองค์กรต่างๆ เช่น คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และ Amnesty International ที่เผิกเฉยกับนักโทษ 112 หรือถึงกับสนับสนุนการใช้กฏหมายนี้ เราควรไปยื่นหนังสือและยืนประท้วง 3. เราควรรณรงค์สนับสนุนและไม่ลืมนักโทษ 112 ทุกคน อย่างที่มีการทำมาหลายปีแล้วแต่ควรขยายไปสู่มวลชนจำนวนมากกว่านี้ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
You are subscribed to email updates from ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์ To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น