โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันพุธที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2554

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์

ศาลยกฟ้องคดี "ผู้จัดการ" ฟ้องหมิ่นประมาท "มติชน"

Posted: 23 Mar 2011 02:31 PM PDT

คดี "เอเอสทีวีผู้จัดการ" ฟ้องกลับหมิ่นประมาท "มติชน" หลังจากที่ก่อนหน้านี้ "มติชน" ฟ้อง "เอเอสทีวีผู้จัดการ" และศาลยกฟ้องไปแล้วนั้น ล่าสุดศาลพิพากษายกฟ้องคดีใหม่ ชี้ที่ "มติชน" ฟ้องคราวก่อนเนื่องจากใช้สิทธิโดยสุจริต เพื่อความชอบธรรมป้องกันตนเองหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรม จึงไม่ผิดฐานหมิ่นประมาท พิพากษายกฟ้อง

เว็บไซต์หนังสือพิมพ์ข่าวสด ฉบับวันที่ 23 มี.ค. 54 รายงานว่า เมื่อวันที่ 21 มี.ค.ที่ผ่านมา ศาลอาญา อ่านคำพิพากษาคดีระหว่าง บริษัท เอเอสทีวีผู้จัดการ จำกัด กับพวก เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายสุวพงศ์ จั่นฝังเพ็ชร บรรณาธิการผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา หนังสือพิมพ์มติชน กับพวก เป็นจำเลยที่ 1-4 ในคดีคดีหมิ่นประมาทตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ โดยฟ้องว่า เมื่อวันที่ 4 มิ.ย.2553 จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ประกอบกิจการด้านธุรกิจสิ่งพิมพ์และสื่อสิ่งพิมพ์ จัดพิมพ์หนังสือพิมพ์ชื่อมติชน และเป็นผู้ควบคุมดูแลบริหารจัดการเว็บไซต์ www.matichon.co.th เผยแพร่ข้อความผ่านเว็บไซต์ในหัวข้อเรื่อง "มติชนฟ้องเอเอสทีวีผู้จัดการยกก๊วน ป้ายสีกล่าวเท็จล้มกษัตริย์ล้มเจ้า" นอกจากนี้ ยังนำข้อความบางส่วนของคำฟ้องคดีอาญาหมายเลขคดีดำที่ 1795/2553 ของศาลอาญา ซึ่งจำเลยที่ 2 ฟ้องโจทก์ทั้ง 3 ในข้อหาหมิ่นประมาทมาใส่ไว้ในเนื้อหาใส่ความโจทก์ที่ 2 ว่าเขียนเรื่องเท็จ และโจทก์ที่ 1 ว่าชอบนำเสนอข่าวเท็จ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย

ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า เหตุคดีนี้สืบเนื่องจากการที่โจทก์ที่ 2 เขียนบทความเรื่อง "มติชนกับการล้มกษัตริย์" มีเนื้อหาพาดพิงถึงจำเลยที่ 2 เพราะเมื่อบุคคลทั่วไปได้อ่านข้อความตั้งแต่คำขึ้นต้นที่ว่า "มติชนกับการล้มกษัตริย์" ประกอบกับเนื้อความทั้งหมดแล้ว อาจทำให้เข้าใจไปได้ว่าจำเลยที่ 2 มีพฤติกรรมที่มุ่งร้ายต่อสถาบันกษัตริย์ แต่จากบทความที่จำเลยที่ 2 ลงเผยแพร่ในเว็บไซต์มติชนออนไลน์ คงมีเพียงข้อความว่า เรือนจำที่ใช้ขัง พ.ต.ท.ทักษิณ จะถูกคนเสื้อแดงบุกไปล้อมแบบคุกบาสตีล เท่านั้น ไม่มีข้อความตอนใดเลยที่กล่าวถึงการโค่นล้มระบอบกษัตริย์ โจทก์ที่ 2 เองกลับเขียนบทวิเคราะห์ให้ผู้อ่านข้อความเข้าใจไปได้ว่าจำเลยที่ 2 มีเจตนาที่จะล้มระบอบกษัตริย์ของไทย ซึ่งเป็นข้อกล่าวหาที่ร้ายแรง จนเป็นเหตุให้มีผู้เข้ามาแสดงความคิดเห็นในเว็บไซต์ที่โจทก์ที่ 1 เผยแพร่ในเชิงตำหนิจำเลยที่ 2 จำนวนมาก

การที่จำเลยที่ 2 ยื่นฟ้องโจทก์ทั้ง 3 เพราะเหตุดังกล่าวต่อศาลอาญา ตลอดจนการนำเนื้อหาของคำฟ้องไปลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ และเผยแพร่ในเว็บไซต์ของจำเลยที่ 2 เองมีข้อความพาดหัวข่าวว่า "มติชนฟ้องเอเอสทีวีผู้จัดการยกก๊วน ป้ายสีกล่าวเท็จล้มกษัตริย์ เจตนามุ่งร้ายใส่ความ ไม่ได้ติชมด้วยความเป็นธรรม" และลงข้อความรายละเอียดของคำฟ้องทั้งหมดด้วยนั้น จึงเป็นกรณีที่จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพหนังสือพิมพ์ และเป็นผู้ได้รับผลกระทบจากการเผยแพร่บทวิเคราะห์ของโจทก์ทั้ง 3 โดยตรง ใช้สิทธิของตนโดยสุจริต เพื่อความชอบธรรมป้องกันตนเองหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรม จำเลยทั้ง 4 ย่อมไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท และนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอม หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ คดีโจทก์ทั้ง 3 ไม่มีมูล พิพากษายกฟ้อง

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

มติพันธมิตรฯ ให้ “โนโหวต” จี้ “กมม.” งดส่งคนลงเลือกตั้ง

Posted: 23 Mar 2011 02:01 PM PDT

สนธิ” เผยมติแกนนำ พธม. ให้โนโหวตทั้งประเทศ ห้าม “การเมืองใหม่” ส่งคนลงเลือกตั้ง ขู่ตัดหางปล่อยหากมีมติพรรคสวนจะลงเลือกตั้ง ย้ำเป็นมติแกนนำขอให้ “สุริยะใส” รับทราบ ลั่นการเมืองใหม่จะใหญ่กว่าพันธมิตรฯ ได้ไง พร้อมแนะ “ประยุทธ์” ถ้ารักชาติต้องบอกให้อภิสิทธิ์หยุดเล่นการเมือง 3 ปี และขอพระราชทานนายกฯ และ ครม. 

 

ในการชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่เวทีสะพานมัฆวานรังสรรค์ เมื่อคืนวานนี้นั้น (23 มี.ค. 54) นายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กล่าวปราศรัยในเวลาประมาณ 21.00 น. มีรายละเอียดดังนี้

 

สนธิ” ลั่นผมนี่แหละไม่อยากให้มีการเลือกตั้ง

โดยนายสนธิกล่าวว่า กรณีที่นายเทพไท เสนพงศ์ โฆษกประจำตัวหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์บอกว่ามีคนอยู่บางประเภทไม่อยากให้มีการเลือกตั้งนั้น เขาพูดไม่ผิดหรอกครับ ผมนี่แหละเป็นคนหนึ่งที่ไม่อยากให้มีการเลือกตั้ง และวันนี้ผมจะเล่าให้ฟังว่า อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้ผมมองว่าการมีนักการเมืองเข้ามาปกครองประเทศ ในช่วงที่โลกวิกฤตนี้ มีแต่จะทำให้ประเทศไทยพินาศฉิบหายอย่างแน่นอน เดี๋ยวนี้เราจะมองเฉพาะประเทศไทยประเทศเดียวไม่ได้แล้ว ต้องมอบรอบโลก ทั่วโลก ซึ่งมีผลกระทบกับประเทศไทย

วันพรุ่งนี้ตนจะเอานำรายละเอียดมาเล่าให้ฟังว่า ถ้าชาติบ้านเมืองไม่มีผู้บริหารที่กล้าหาญ กล้าตัดสินใจ และที่สำคัญที่สุดทำเพื่อส่วนรวมแล้ว ประเทศไทยฉิบหายแน่นอน และการแก้ไขวิกฤติของชาติจากนี้ไปจะแก้ด้วยการเมืองไม่ได้ ต้องใช้ความซื่อสัตย์ จริยธรรมที่สูง และความกล้าหาญเข้ามาแก้ ที่สำคัญที่สุดต้องแก้เพื่อส่วนรวม ไม่ใช่เพื่อสนองตัณหาคนอยากเป็นนายกฯ และความโลภของคนอยากเป็นรัฐมนตรี

 

เคยหวัง อภิสิทธิ์” เป็นแสงสว่างในห้องมืด แต่เป็นแค่สิ่งประดิษฐ์ของป้อม – ป๊อก – ตู่

นายสนธิกล่าวต่อว่า ผมบอกมาตลอดว่าอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะคือความหวังสุดท้ายของการเมือง วันที่อภิสิทธิ์ขึ้นมานั้น เราก็หวังว่าเขาเป็นเหมือนแสงสว่างในห้องที่มืดมิด และแสงอันนี้ ถ้าเขาดำรงอยู่เหมือนเทียนเล่มหนึ่งที่เขาจุดขึ้นมา พวกเราก็จะเอาเทียนไปจุดต่อเพื่อให้ห้องนั้นสว่าง แต่ปรากฏว่าเทียนของเขาจุดแค่วูบเดียวให้เราเห็นหลงดีใจก็ดับมืดไป เป็นห้องที่มืดอยู่เหมือนเดิม คำว่าอภิสิทธิ์ คือนักการเมืองคนหนึ่งที่ไม่ต่างจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นั้น เป็นคำกล่าวที่ ณ วันนี้ ไม่ผิดเลยแม้แต่นิดเดียว

อยากจะเรียนให้ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา และ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ทราบ ว่านายอภิสิทธิ์ คือสิ่งที่พวกคุณประดิษฐ์ขึ้นมาเพื่อหวังว่า พล.อ.ประวิตรจะได้เป็นรัฐมนตรีกลาโหม และหวังว่าจะได้มาช่วยน้องชายคือ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ และขณะเดียวกันจะได้ให้คุณ พล.อ.อนุพงษ์ได้เกษียณอายุราชการลงอย่างสวยงามโดยไม่ต้องสนใจเรื่องเปลี่ยนแปลงบ้านเมือง และให้ พล.อ.ประยุทธ์ ได้ตีกินต่อไปอย่างที่ทำอยู่ทุกวันนี้”

เพราะฉะนั้นแล้ว การสร้างนายอภิสิทธิ์และพรรคประชาธิปัตย์ขึ้นมาของทหารทั้ง 3 คน ที่เอาพรรคฝ่ายค้าน พรรคร่วมรัฐบาลไปคุยกันในราบ 11 แล้วไปขู่ว่าถ้าไม่ร่วมกับอภิสิทธ์แล้วทหารจะปฏิวัติ นี่คือผลพวงที่ทำให้เกิดการเสียดินแดนขึ้นมา เพราะฉะนั้นแล้ว ถ้าประเทศไทยเสียดินแดนขึ้นมา ทหารทั้ง 3 คนจะปฏิเสธความรับผิดชอบอันนี้ไม่ได้เด็ดขาด

 

ย้อนอภิสิทธิ์บอกว่าทุกอย่างต้องเป็นตาม รธน. แล้วทำไมเคยขอมาตรา 7

พี่น้องครับ อภิสิทธิ์ชอบพูดตลอดเวลา ว่าทุกอย่างต้องเป็นไปตามกระบวนการรัฐธรรมนูญ กระบวนการรัฐธรรมนูญที่ต้องเป็นไป มีคำถามตั้งให้คุณ 3 คำถาม คำถามแรก ศาลรัฐธรรมนูญมีคำพิพากษาเรื่องเอ็มโอยู.2543 แล้ว ทำไมไม่ปฏิบัติตามศาลรัฐธรรมนูญล่ะ ข้อที่สอง สมัยที่ทักษิณ ชินวัตร ครองอำนาจอยู่ และไม่มีแนวโน้มที่จะล่มสลายลงไป คุณเป็นคนเสนอมาตรา 7 ใช่ไหม เขาเลยเรียกมาร์คมาตรา 7 ไง แสดงว่าตอนนั้นคุณเห็นเหมือนกับที่พวกเราเห็นตอนนี้เช่นกัน ว่าการเมืองแบบนี้ไปไม่รอด เมื่อไปไม่รอดแล้ว คุณเสนอมาตรา 7 นั่นคือคุณกำลังบอกว่า ถ้าอย่างนั้นให้การเมืองหยุดเทอมยาวไปเลย ใช่ไม่ใช่ เพราะว่าคุณทนไม่ได้ที่จะให้ทักษิณ ชินวัตร ใช้ความสามารถในการทำงานของเขา ความสามารถในการที่จะทำกรณีโฆษณาชวนเชื่อ แล้วก็บี้คุณ บี้คุณ จนพวกคุณไม่มีสิทธิ์มีเสียง แล้วคุณต้องไปนั่งอยู่ในมุมๆ หนึ่ง ต่างกันวันนี้ใช่ไหมพี่น้อง

 

อ้างที่สุราษฎร์มีการปล่อยข่าวว่าหลังเลือกตั้งเพื่อไทยกับ ปชป. จะจับมือกัน

แล้ววันนี้ พี่น้อง คนที่สุราษฎร์ธานีเขาบอกว่า หัวคะแนนของนายสุเทพ เทือกสุบรรณไปพูดกับคนสุราษฎร์ธานี เขาบอกว่า หลังการเลือกตั้ง […] เขาพูดอย่างนี้ […] บอกว่าอยากให้ประเทศชาติสงบ หลังการเลือกตั้งก็อยากจะให้พรรคประชาธิปัตย์กับพรรคเพื่อไทยจับมือกันเป็นรัฐบาล ผมจะเรียนให้พ่อแม่พี่น้องชาวใต้ ผมพูดมานานแล้วว่ามีการแอบจับมือกันมาตลอด เพราะฉะนั้นแล้ว นี่คือการเริ่มพูดแล้วไง ก่อนการเลือกตั้ง แล้วในที่สุดแล้วจะจับมือกันตั้งรัฐบาลโดยอ้างว่า […] ต้องการเช่นนั้น

นี่แหละคือพรรคประชาธิปัตย์ที่ทำได้ทุกอย่างขอให้ตัวเองมีอำนาจต่อไป เพราะว่าวันนี้ไม่ใช่พรรคประชาธิปัตย์เหมือนเดิมอีกแล้ว พี่น้องจึงเห็นได้ชัดว่าการเมืองมันคืออะไร การเมืองคือการทำทุกอย่าง ไร้จริยธรรม ไร้ศีลธรรม ก็ไม่สนใจ ขอให้ตนเองได้อยู่ในอำนาจ เพราะฉะนั้นแล้วนายอภิสิทธิ์จึงกลายเป็นหัวหน้าโจรโดยสมบูรณ์แบบ ผมอยากจะพูดให้พี่น้องชาวใต้ได้ฟัง ที่ดูเอเอสทีวีอยู่ที่ภาคใต้ ให้จำคำพูดนี้ไว้ วันนั้นมาถึงน้ำตาจะได้ไม่ตกใน และมันเกิดขึ้นแน่นอน เพราะนายสุเทพ นายอภิสิทธิ์สะกดคำว่าคุณธรรม และจริยธรรมไม่เป็นแล้ว สะกดเป็นอย่างเดียวคือคำว่า อำนาจ ขอให้ตัวเองมีอำนาจได้ทั้งสิ้น

 

อัดกระบวนการ รธน. คือให้นักการเมืองไปซื้อเสียง แล้วมายกมือในสภา

กระบวนการรัฐธรรมนูญที่มีอยู่ทุกวันนี้ คือกระบวนการของการให้นักการเมืองลงไปซื้อเสียง เอาเสียงมาเพื่อสร้างความชอบธรรมให้นักการเมือง ให้ไปยกมือในสภา แล้วอภิสิทธิ์จะได้พูดว่าทุกสิ่งทุกอย่างให้ตกลงกันในสภา วันที่ทักษิณ ชินวัตร มีอำนาจ เฉลิม อยู่บำรุง เป็นคนพูด บอกว่า มีอะไรให้สภาเป็นคนตัดสิน ถ้าคุณอภิสิทธิ์เห็นด้วยกับช่วงที่เฉลิมพูดตอนนั้น ทำไมคุณอภิสิทธิ์จะต้องออกมา แล้วพาพรรคพวกมาร่วมกับพวกเราล่ะ เพราะวันนั้น คุณอภิสิทธิ์ไม่มีอำนาจ คุณอภิสิทธิ์ก็เลยต้องมาห้อยโหนพวกเรา เพื่อใช้พลังประชาชนล้มรัฐบาลชุดนั้นไป แล้วคัวเองจะได้มีอำนาจไงล่ะ

 

รับเกิดมาจากท้องพ่อท้องแม่ยังไม่เคยเห็นใครตอแหลเก่งเท่านี้

พอวันนี้ ตัวเองมีอำนาจ ตัวเองก็บอกว่าให้ทุกอย่างต้องเป็นไปตามกระบวนการรัฐธรรมนูญ ผมเกิดมาจากท้องพ่อท้องแม่ ยังไม่เคยเห็นใครโกหกตอแหลได้เก่งเท่าคุณอภิสิทธิ์เลย

เฉลิม อยู่บำรุง พร้อมพงษ์ นพฤทธิ์ หรือใครก็ตาม หรือจตุพร พรหมพันธุ์ เมื่อวานพูดอย่างวันนี้พูดอีกอย่าง ผมยังพอทำใจได้ เพราะนี่คือสันดานเดิมของเขา แต่พอเป็นนายอภิสิทธิ์ที่มีชาติตระกูล ชาติวุฒิ คุณวุฒิ ไม่มีใครคิดว่าจะเป็นเช่นนี้ได้ วันนี้อภิสิทธิ์กลับทำทุกสิ่งทุกอย่างไม่ต่างจาก จตุพร ทำ เฉลิม ทำ หรือพร้อมพงษ์ทำ เหมือนกันหมดทุกประการ

ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดทุกวันนี้ ที่ชาติบ้านเมืองล่มสลายทุกวันนี้ไม่ใช่เพราะประชาชน แต่เป็นเพราะนักการเมืองทั้งสิ้น วันนี้พิสูจน์ชัดเจนแล้วว่า ไม่ว่าพรรคการเมืองพรรคไหนก็ไม่มีวันที่จะทำเพื่อส่วนรวม ทุกอย่างทำเพื่อเงินและอำนาจทุกอย่าง

 

เผยมติแกนนำให้โนโหวตทั้งประเทศ พร้อมสั่ง การเมืองใหม่” อย่าส่งคนลงเลือกตั้ง

เพราะฉะนั้น ด้วยเหตุนี้ในการประชุมแกนนำพันธมิตรฯ เราได้มีมติว่า ครั้งนี้ เราจะเชิญชวนให้ประชาชนทุกคน ถ้ามีการเลือกตั้ง ให้โนโหวตกันทั้งประเทศ และเราในฐานะที่พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเป็นผู้ให้กำเนิดพรรคการเมืองใหม่ ใช่ไม่ใช่ เราก็แจ้งให้พี่สมศักดิ์ โกศัยสุข หัวหน้าพรรคและนายสุริยะใส กตะศิลา เลขาธิการพรรคการเมืองใหม่ทราบอย่างเป็นทางการว่าเป็นมติของแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ว่าในเมื่อการเมืองมันเน่า การเมืองมันเลวแบบนี้ แกนนำมีมติเสนอให้พรรคการเมืองใหม่อย่าส่งคนลงเลือกตั้ง (ผู้ชุมนุมโห่ร้อง) แต่เมื่อพรรคการเมืองใหม่มีกติกาของกติกาทางการเมือง พันธมิตรฯ ไม่ว่ากัน ไปประชุมกัน ถ้าประชุมแล้ว หัวหน้าสาขาพรรคหลายคนอยากลงเลือกตั้ง เพราะคิดว่าตัวเองลงแล้วจะได้ ก็ให้บอกมา ถ้ายืนยันว่าจะลงเลือกตั้ง ถ้าอย่างนั้นเราจะประชุมแกนนำอีกครั้งหนึ่ง เพื่อประกาศชัดเจนว่าจะยังมีสายสัมพันธ์กับพรรคการเมืองใหม่อยู่ หรือตัดพรรคให้ขาดออกไปเลย เพราะว่านี่คือพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (ผู้ชุมนุมโห่ร้อง)

และถ้าวันนั้นมติแกนนำมีออกมา ก็ขอให้พ่อแม่พี่น้องทั่วประเทศไทย ที่ยังรักเรา ที่ยึดถืออุดมการณ์ของเรา ที่เห็นว่าการเมืองน้ำเน่าแบบนี้ ไม่ควรจะร่วมสังฆกรรมด้วย ก็อย่าได้ลงคะแนนเสียง ไม่ว่าจะเป็นพรรคไหนก็ตาม ถ้าใครเห็นด้วย ปรบมือ วันนี้เป็นเรืองของอุดมการณ์ ไม่ใช่การสนองตัณหาของใครบางคนที่อยากจะลงเลือกตั้ง ถ้าคนบางคนในพรรคการเมืองใหม่คิดว่าจะอยู่ได้โดยไม่มีพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยก็ให้มันรู้ไป

 

ลั่นเป็นมติแกนนำขอให้ สุริยะใส” รับทราบ - “กมม.” จะใหญ่กว่า “พธม.” ได้ไง

และผมก็บอกพี่สมศักดิ์และสุริยะใสไปว่า ถ้าพรรคมีมติให้ส่งคนลงเลือกตั้ง พี่สมศักดิ์และสุริยะใสต้องประกาศตัวชัดเจนว่าจะอยู่กับพันธมิตรฯ หรือจะอยู่พรรคการเมืองใหม่ ถ้าจะอยู่กับพันธมิตรฯ ก็ขอให้ลาออกจากพรรคการเมืองใหม่มา (ผู้ชุมนุมโห่ร้อง) พี่น้อง ชัดเจนไหม (ผู้ชุมนุมตอบว่า ชัดเจน) พวกเราที่อยู่บนเวทีนี้ ทั้งผม พี่ลอง พี่พิภพ อาจารย์สมเกียรติ และผมยังให้เกียรติพี่สมศักดิ์ อีกคนหนึ่ง จุดยืนชัดเจนไม่เคยเปลี่ยนแปลง อยากจะให้คุณสุริยะใสรับทราบเอาไว้เรื่องนี้ พี่น้องครับ ถ้าเห็นด้วยกับผม ให้ปรบมือดังๆ (ผู้ชุมนุมปรบมือ) เราพูดมากี่ครั้งแล้วว่าพรรคการเมืองใหม่ก็คือเครื่องมือของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ใช่ไม่ใช่ พรรคการเมืองใหม่จะใหญ่กว่าพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้ไง”

พี่น้องครับ หอมปากหอมคอนะวันนี้ พี่น้องครับ พี่น้องดูการเมืองให้ดีๆ วันนี้ คำพูด ชุดภาษาของนายอภิสิทธิ์และพวกว่า “คืนอำนาจให้ประชาชน” ผมถามว่าตั้งแต่มีการเมือง เลือกตั้งเมืองไทยมา ประชาชนเคยมีอำนาจที่ไหน คุณไม่ได้คืนอำนาจให้ประชาชน คุณกำลังเปิดโอกาสให้พวกคุณเอาเงินเอาทองไปซื้อเสียงประชาชนที่ไม่รู้เรื่อง เพื่อมาสร้างความชอบธรรม ให้คุณเข้ามาโกงกินชาติ โกงกินบ้านโกงกินเมืองต่อไป ใช่ไม่ใช่พี่น้อง

 

ถามแม่ทัพภาค 2 อยากรู้ว่าเลือกตั้งคราวก่อน ใครส่งทหารไปปิดล้อมหมู่บ้านแถวอีสานใต้

คุณไม่ได้คืนอำนาจประชาชนนะ คุณกำลังเปิดโอกาสให้พวกคุณ เข้ามากอบโกย และเงินทอง ที่คุณเอามาซื้อเสียงกัน ตลอดจนใช้อำนาจรัฐ ไม่ว่าจะเป็นตำรวจทหาร คือเอาคนมาลงคะแนนเสียงให้คุณ เพื่อให้คุณสร้างความชอบธรรมให้คุณมาทำความฉิบหายให้ชาติบ้านเมือง แล้วทหารที่บอกว่า ทหารวางตัวเป็นกลาง คำพูดสวยหรู ก็กองทัพภาค 2 อยากถามว่าในการเลือกตั้งคราวที่แล้วใครเอาทหารไปปิดล้อมหมู่บ้านแถวอีสานใต้ แล้วซื้อกันทั้งหมู่บ้าน ถ้าไม่ใช่ทหารภาค 2 เพราะฉะนั้นแล้วคำพูดสวยหรูเหลือเกิน

 

เสี้ยม ประยุทธ์” ลิสต์ทหารสลายม็อบอยู่ในมือ “ดีเอสไอ” ใครจะไปให้ได้ถ้าไม่ใช่ “สุเทพ”

แล้วผมถาม ผบ.ทบ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา สิ ถามตรงๆ เลย รู้สึกอะไรหรือไม่ที่ พล.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม ถูกยิงตาย วันนี้คุณแสดงอะไรบ้างไหม ให้ทหารเขาเห็นว่าคนซึ่งเสี่ยงเป็นเสี่ยงตายเพื่อพวกคุณแล้วถูก “พวกโน้น” ยิงตาย คุณปกป้องอะไรเขาบ้าง นอกจากคำพูดสวยหรูตอนรับตำแหน่งใหม่ๆ แต่หลังจากนั้นคุณโดนพวกการเมืองเอาส้นตีนถีบหน้าคุณตลอดเวลา คุณรู้สึกอะไรมั่ง ที่ดีเอสไอทำเรื่องทำราวสืบออกมา มีชื่อ พ.ท. คนนั้น พ.ต. คนนี้ พ.อ. คนนั้น อยู่ตรงจุดนู้นจุดนี้ ผมถามคุณคำหนึ่ง ถ้าคุณมีสติปัญญาคุณคงคิดออก ไอ้รายชื่อพวกนี้เนี่ย ถ้าไม่ใช่สุเทพ เทือกสุบรรณ ให้กับดีเอสไอ ใครจะให้ไปได้ ใช่ไม่ใช่พี่น้อง

นี่คือการเมืองกำลังเล่นทหาร แล้วแทนที่คุณจะลุกขึ้นมายืนหยัดว่าการเมืองแบบนี้ไปต่อไม่ได้แล้ว แล้วผมถามคุณคำถามหนึ่ง วันนี้เนี่ย คุณมีวุฒิภาวะมากพอที่จะเข้าใจปัญหาของบ้านเมืองหรือยัง หรือคุณคิดว่าบ้านเมืองทุกวันนี้มันสงบ คำพูดที่คุณบอกว่าคุณสามารถเป็น ผบ.ทบ.ของรัฐบาลชุดไหนก็ได้ แสดงว่าไม่ต่างจากนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะเลยแม้แต่นิดเดียว ที่ยึดถือตำแหน่งตลอดเวลา ใช่ไม่ใช่พี่น้อง คุณไม่รู้หรือว่าเขากำลังโกงชาติกินบ้านกินเมืองไปขนาดไหน และไม่รู้เลยหรือว่าประเทศไทยจะเสียดินแดน ขอบคุณแม้เพิ่งจะมาบอกว่าไม่ยอมรับแผนที่ 1 ต่อ 2 แสน คำถามมีอยู่ว่า ทำไมเพิ่งมาพูดตอนนี้ คุณน่าจะพูดมาตั้งนานแล้ว จุดยืนทหารต้องไม่ยอมให้เสียดินแดนเลยแม้แต่ตารางนิ้วเดียว และคุณก็รู้ ไม่ว่าจะเป็นจากแผนที่ของกรมยุทธศาสตร์ทหารบกว่าพื้นที่ตรงไหนเป็นของไทย

 

ชี้การทำลายศักดิ์ศรีทหาร คือการทำลายสถาบันฯ โดยปริยาย

คุณน่าจะเริ่มพูดตั้งแต่วันแรกที่ทหารเขมรเข้ามายึดพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร แล้วคุณไม่อายหรือที่มีเพื่อนเป็นแม่ทัพภาคที่ 2 รุ่น 12 คุณไม่อายมั่งเหรอ ชื่อเสียงเพื่อนของคุณดีขนาดไหนชาวบ้านทางอีสานเหนือ อีสานใต้เขารู้หมดเลยว่าเพื่อนคุณเป็นคนอย่างไร และคุณไม่คิดหรือว่าลักษณะนี้คือการทำลายศักดิ์ศรีของทหาร และเป็นการทำลายศักดิ์ศรีทหาร คือการทำลายสถาบันฯ โดยปริยาย ใช่ไม่ใช่พี่น้อง

คุณพูดตลอดเวลาว่า พรรคการเมืองไหนที่จาบจ้วงสถาบันคุณก็ไม่ร่วม ไอ้พรรคการเมืองที่ไม่จาบจ้วงสถาบัน แต่กำลังทำงานที่มีโอกาสล้มล้างสถาบันฯ ก็คือพรรคประชาธิปัตย์ และรัฐบาลชุดนี้นี่เอง

อย่าให้ผมต้องพูดว่า ประชาชนเขาผิดหวังคุณแค่ไหน เมื่อกิ้อาจารย์ปานเทพ บอกว่าขอบคุณที่คุณไปล้อมรั้วบริเวณ 4.6 ตร.กม. มันไม่ช้าไปหน่อยหรือ ผบ.ทบ. มันช้าไปหน่อยหรือ มันช้าไปหน่อยแล้ว หรือว่าจำเป็นต้องพูดตรงนี้เพื่อแสดงออกถึงอะไรบางอย่าง ผมไม่สบายใจ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เพราะมีข่าวว่านักการเมืองจ่ายเงิน 200 ล้านบาทให้ทหารบางคน ข้อมูลนี้เขารู้กันมานานแล้ว วันนี้นักการเมืองกำลังกลัวทหารปฏิวัติ ทำไมนักการเมืองถึงกลัว เพราะนักการเมืองกลัวว่าตัวเองจะไม่ได้เข้ามาผูกขาดเล่นการเมืองแล้วมีอำนาจเข้าไปกอบโกย ใช่ไม่ใช่พี่น้อง

 

แนะ ประยุทธ์” ต้องบอกให้อภิสิทธิ์หยุดเล่นการเมือง 3 ปี และขอพระราชทานนายกฯ

วันนี้ถ้าคุณเป็นห่วงชาติ เป็นห่วงบ้าน เป็นห่วงเมือง คุณน่าจะบอกอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะได้ คุณน่าจะบอก พล.อ.ประวิตร ซึ่งเป็นรุ่นพี่คุณ บอกว่าพี่ป้อม ผมขอเถอะพี่ ชาติบ้านเมืองต้องมาก่อนความสัมพันธ์พี่น้อง

คุณต้องบอกนายอภิสิทธิ์ว่า คุณอภิสิทธิ์ในความเห็นของผมแล้ว ผมอยากให้พวกคุณหยุดเล่นการเมืองสัก 3 ปี แล้วก็เสนอขอพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ขอใช้พระราชทานมาตรา 7 เอานายกฯ และคณะรัฐมนตรีที่มีความรู้ความสามารถ ที่ไม่โกงกินชาติ โกงกินบ้านโกงกินเมือง มาจัดระเบียบชาติบ้านเมืองเสียใหม่ เมื่อพร้อมอีก 3 ปี 5 ปีข้างหน้า จะเล่นการเมืองเมื่อมันสะอาดกว่านี้ มันก็ยังดีกว่าให้ความเน่ามันหมักหมมต่อไป เพราะว่ายุบสภาเลือกตั้งมา ก็จะได้สัตว์นรกเข้ามาตามเดิม

 

เย้ยประยุทธ์ต้องออกมาพูดเรื่องแผนที่เพราะรุ่นน้องกดดัน - เรียกร้องหยุดตีกิน

นี่คือความกล้าหาญของชาติบ้านเมือง ไม่ใช่คุณออกมาบอก คุณเป็นทหารทำตามนโยบายรัฐบาล ถ้ารัฐบาลให้เสียพื้นที่ให้กับเขมร คุณก็ต้องทำตามใช่ไม่ใช่ ถ้าคุณทำตามนโยบายรัฐบาล ทำไมคุณออกมาพูดละ ว่าคุณไม่ยอมแผนที่ 1 ต่อ 2 แสน ใช่ไม่ใช่ ถ้าคุณทำตามรัฐบาล คุณก็ออกมาพูดสิ ผมเห็นด้วยกับรัฐบาลทุกอย่าง ทำไมคุณไม่กล้าพูดล่ะ มีเรื่องทันทีใช่ไม่ใช่ เพราะทหารระดับระดับล่างที่ไม่เห็นด้วยกับเรื่องนี้ เขากำลังกดดันคุณใช่ไหม คุณเลยต้องบอกว่าคุณไม่เห็นด้วยกับแผนที่ 1 ต่อ 2 แสน แล้วคุณกลับมาบอกว่า คุณเป็นทหารคุณทำตามนโยบายรัฐบาล มันขัดแย้งกันในคำพูด ใช่ไม่ใช่พี่น้อง แสดงว่าคุณโดนเพื่อนร่วมรุ่นคุณ ทหารรุ่นน้องๆ เขากดดันคุณอยู่ใช่ไม่ใช่ ถึงเวลาหรือยังที่คุณจะแสดงออกถึงความเป็นทหารในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

คุณอย่าตีกินเหมือนรุ่นพี่คุณ อนุพงษ์ เผ่าจินดา หยุดตีกินได้แล้วประยุทธ์ วันนี้คุณได้เป็นใหญ่ทุกวันนี้ เพราะบารมีของ […] ทั้งสิ้น

โอเคหรือยัง โอเคละนะ มา (ร้องเพลง) หนักแผ่นดินกัน

(จากนั้นผู้ชุมนุมและนายสนธิ ร่วมกันร้องเพลงหนักแผ่นดิน)

 

ที่มา: เรียบเรียงจาก เอเอสทีวี

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

แจงคอป. นักข่าวต่างประเทศยัน สามเหลี่ยมดินแดง-รางน้ำ กระสุนมาจากทหาร

Posted: 23 Mar 2011 05:55 AM PDT

 
คณะกรรมการอิสระ ตรวจสอบ และค้นหาความจริงเพื่อความปรองดองแห่งชาติ (คอป.) โดยคณะอนุกรรมการตรวจสอบและค้นหาข้อเท็จจริง ซึ่งมีนายสมชาย หอมลออ เป็นประธานเปิดโอกาสให้หน่วยงานและบุคคลที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) บริเวณสามเหลี่ยมดินแดงและซอยรางน้ำ ระหว่างวันที่ 13 – 19 พฤษภาคม 2553 โดยเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรมสอบสวนคดีพิเศษ ตัวแทนกองทัพภาคที่ 1 กองพลที่ 1 รักษาพระองค์ ช่างภาพที่อยู่ในเหตุการณ์ ผู้เสียหายและหน่วยกู้ชีพ เข้าให้ข้อมูล
 
โดยพ.อ. เอกรัตน์ ช้างแก้ว รองผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ ตัวแทนจากกองทัพซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบและควบคุมสถานการณ์ในพื้นที่เกิดเหตุ ชี้แจงภารกิจในพื้นที่สามเหลี่ยมดินแดง ประตูน้ำ ถนนราชปรารภ ซอยรางน้ำ ว่าได้ตั้งจุดตรวจแข็งแรงขึ้นมาเพื่อป้องกันการซุกซ่อนอาวุธเข้าไปในพื้นที่การชุมนุม และคัดแยกผู้ชุมนุมไม่ให้เข้าพื้นที่ ร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยภารกิจเริ่มตั้งแต่วันที่ 8-13 พ.ค. 2553 ซึ่งในวันที่ 12 พ.ค. 2553 มีเหตุการณ์ยิง M-79 ใส่แอร์พอร์ตลิ้งค์ และวันที่ 15 พ.ค. 2553 ผู้ชุมนุมได้ขโมยกระสอบทรายบังเกอร์ของทหารไป และตอนบ่ายมีการชุมนุมกันมากขึ้นที่ประตูน้ำ สะพานจตุรทิศ จึงได้ขอกำลังสนับสนุนเพิ่มคลี่คลายสถานการณ์ และได้ส่งรถน้ำมา แต่ระหว่างทางถูกผู้ชุมนุมยึดรถน้ำสีเขียวไป รถทหารถูกเผาไป 1 คัน และได้ยึดปืนจากทหารไป 2 กระบอก ต่อมาได้คืนมา 1 กระบอกจากผู้ชุมนุมราชประสงค์ และมีนายทหารได้รับบาดเจ็บ 3 นาย จากนั้นจึงได้วางกำลัง 2 จุดหลังปั๊มเอสโซ่สองข้างถนน พอตกตอนค่ำลงจะมีเสียงปืนดังขึ้นเป็นระยะ เป็นเสียงปืนเล็กยาว ยิงเข้ามาในฐานบัญชาการ และมีเสียงระเบิด M-79 เข้ามาตอนเช้า และมีนายทหารคนหนึ่งถูกยิงที่ขาด้วย RPG บริเวณโรงแรมอินทรา แต่ลูกปืนไม่ทำงาน
 
รองผู้บัญชาการ กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ กล่าวต่อว่า ในช่วงปฏิบัติการณ์มีแหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นในตอนเที่ยงคืนของวันที่ 14 พ.ค. 2553 มีรถตู้เช่าวิ่งฝ่าด่านแนวเครื่องกีดขวาง บริเวณโรงแรมอินทรา ทางเจ้าหน้าที่ทหารได้ทำการเตือน แต่รถตู้ไม่ยอมหยุด ทหารจึงได้ปฏิบัติการใช้กำลัง ด้วยการยิงที่ล้อ แต่ทางรถตู้ก็ไม่หยุด จนกระทั่งมีการใช้กระสุนจริง M 16 ยิงยับยั้ง จนคนขับรถได้รับบาดเจ็บ ซึ่งต่อมานายสมร ไหมทอง คนขับรถตู้ ให้การว่าไม่ทราบว่ามีการตั้งด่านของทหาร จากเหตุการณ์นี้มีผู้เสียชีวิต 2 ราย และตลอดทั้งคืนจนถึงรุ่งเช้ามีเสียงปืนดังตลอดเวลา
 
พล.อ.เอกรัตน์ยืนยันว่าเป็นไปตามขั้นตอน แม้จะมีการประกาศเป็นพื้นที่ใช้กระสุนจริง แต่เป็นเพียงการประกาศเพื่อป้องปรามไม่ให้กลุ่มผู้ชุมนุมเข้ามาในบริเวณดังกล่าวเท่านั้น โดยเจ้าหน้าที่จะพิจารณาจากเจตนาของผู้ที่เข้ามาในพื้นที่ซึ่งหากเป็นประชาชนที่อยู่ในบริเวณดังกล่าว รวมถึงผู้ชุมนุมที่ไม่มีเจตนาเข้ามาทำร้าย เจ้าหน้าที่ก็จะอำนวยความสะดวกให้ แต่หากพบว่ามีเจตนาเข้ามาก่อกวน เจ้าหน้าที่จะยิงกระสุนยางเพื่อเตือนก่อนและจะดำเนินการตามขั้นตอน คือหากใช้กระสุนยางเตือนแล้วยังไม่หยุดการกระทำก็จะใช้กระสุนจริงยิงเพื่อให้หยุดไม่ใช่การยิงเพื่อให้ถึงแก่ชีวิต พร้อมทั้งย้ำว่าทหารไม่มีเจตนาทำร้ายประชาชน
 
นายพงษ์ไทย วัฒนาวณิชย์ ช่างภาพหนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ ชี้แจงถึงเหตุการณ์ในวันที่ 15 พ.ค. 2553 ว่า ตนได้ออกปฏิบัติหน้าที่ในตอนเที่ยง พร้อมกับนายไชยวัฒน์ พุ่มพวง (ช่างภาพเดอะเนชั่นที่ถูกยิงที่ขา) ออกตระเวนถ่ายภาพบริเวณสามเหลี่ยมดินแดง จนกระทั่งเวลาประมาณ 15.00 น. ผู้ชุมนุมมีการรวมตัวกันประมาณ 20 คน โดยมีการนำยางรถยนต์มาวางเป็นแนวบังเกอร์ขวางตามถนน แต่เนื่องจากไม่มีแกนนำในการสั่งการ ส่งผลให้ผู้ชุมนุมต้องย้ายยางรถยนต์ไป 2-3 จุด ซึ่งจุดสุดท้ายตั้งอยู่บนถนนหน้าปั๊มน้ำมันเชลล์ จนกระทั่งเวลา 16.00 น. เสียงปืนนัดแรกก็ดังขึ้น ทุกคนเริ่มชะงัก หลังจากนั้นมีเสียงปืนดังเป็นชุดๆ ทำให้ทุกคนวิ่งหาที่หลบ บางคนวิ่งเข้าไปที่ปั๊มน้ำมันเชลล์ บางคนอยู่ที่บังเกอร์ยางรถยนต์ ซึ่งจำเป็นต้องอยู่นิ่ง เพราะหากมีการเคลื่อนไหวเสียงปืนก็จะดังขึ้นทันที ในส่วนของตนหลบอยู่บริเวณกำแพงข้างถนน จนกระทั่งทราบว่า นายไชยวัฒน์ ถูกยิง จึงพยามติดต่อประสานงานให้นำรถพยาบาลเข้ามาช่วยเหลือ
 
นายพงษ์ไทย กล่าวต่อว่า เมื่อเวลาผ่านไปประมาณ 20 นาที ก็ไม่มีใครเข้ามาช่วย จนกระทั่งเห็นทหารชุดหนึ่งเข้ามาในพื้นที่จึงเอากล้องวางลงพื้นและเขี่ยออกไปแนวกำแพงที่บังอยู่พร้อมกับตะโกนว่า เป็นสื่อมวลชน หลังจากนั้นมีเสียงนักข่าวหลายคนส่งเสียงมา ซึ่งทหารสั่งให้หมอบลง จากนั้นทหารได้ช่วยเหลือคนเจ็บเบื้องต้น ส่วนช่างภาพคนอื่นถูกไล่ไปอยู่ที่ตั้งศูนย์บัญชาการของทหาร ระหว่างนั้นมีการวิทยุบอกส่วนหน้าว่า นักข่าววิ่งไปอย่ายิงซึ่งก็ได้รับการดูแลให้น้ำให้อาหาร หลังจากนั้นตนได้ไปดูแลเพื่อนที่ถูกยิงที่โรงพยาบาลพญาไท 1 ต่อ จากประสบการณ์การทำงานข่าวมานาน 10-20 ปีทราบดีว่า แนวกระสุนมาจากทิศทางใด ส่วนผู้ชุมนุมนั้นไม่มีอาวุธร้ายแรงขึ้นมาต่อสู้เจ้าหน้าที่รัฐแต่อย่างใด
 
นายนิก นอสติทซ์ (Nick Nostitz) นักข่าวอิสระชาวเยอรมัน ชี้แจงถึงเหตุการณ์วันที่ 15 พ.ค. 2553 ว่า ช่วงเวลาประมาณ 15.00 น. ยังไม่มีเหตุการณ์ร้ายแรง บนถนนราชปรารภ มีทหารตั้งแนวรั้วลวดหนาม ทางผู้ชุมนุมได้มีการนำเอารถน้ำ รวมทั้งยางรถยนต์เข้ามาในพื้นที่ และบางคนถือหนังสติ๊ก ในที่นี้รวมถึงนายชาญณรงค์ พลศรีลา ผู้ชุมนุมเสื้อแดง ซึ่งเสียชีวิตในเหตุการณ์ครั้งนี้ ได้บอกกับตนว่า ตัวเขาเองมีแต่หนังสติ๊กเท่านั้น หลังจากนั้นไม่นานมีเสียงปืนดังขึ้นจำนวนมาก แล้วนายชาญณรงค์ถูกยิงที่แขน ตนบอกให้วิ่งหลบเข้าห้องน้ำในปั๊มน้ำมันเชลล์ และระหว่างที่วิ่งไปก็ถูกยิงที่ขา ในช่วงนั้นมีผู้ชุมนุมวิ่งไปที่ห้องน้ำหลายคน ตนเองพยายามออกจากปั๊มน้ำมันโดยการปีนออกมายืนอยู่หลังกำแพง ในช่วงที่ทหารเข้ามาเคลียร์พื้นที่ ได้ยิงเสียงทหารเรียกให้ผู้ชุมนุมออกมา โดยผู้ชุมนุมบอกว่ายอมแล้วๆ จากนั้นตนจึงตัดสินใจออกจากที่กำบัง โดยได้บอกว่าตนเป็นสื่อมวลชน เพื่อป้องกันทหารเข้าใจผิด แล้วได้ร้องขอให้ทหารช่วยนายชาญณรงค์ออกจากที่นอนอยู่ในห้องน้ำ แล้วทหารก็ดึงนายชาญณรงค์โดยดึงแขนที่ถูกยิงขึ้นมา พร้อมกับบอกว่า ควรตายที่นี่มากกว่าไปตายที่โรงพยาบาลจากนั้นนายชาญณรงค์ก็แน่นิ่งไป รวมเวลาที่นายชาญณรงค์ติดอยู่ในปั๊มน้ำมันประมาณ 4 ชั่วโมงและเสียชีวิตในเวลาต่อมา
 
นักข่าวอิสระชาวเยอรมัน ยืนยันว่า เสียงปืนดังมาจากซอยรางน้ำ ซึ่งเป็นแนวของทหารอย่างเดียว ไม่มีมาจากสามเหลี่ยมดินแดงที่ผู้ชุมนุมอยู่เลย
 
 
เรียบเรียงจาก เว็บไซต์มติชน และเว็บไซต์กรมประชาสัมพันธ์
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เครื่องจำหน่ายผักสดอัตโนมัติมีแล้วในชุมชนมณฑลซีอาน

Posted: 23 Mar 2011 03:30 AM PDT

 ในซีอาน ประเทศจีน มีเครื่องจำหน่ายผักสดอัตโนมัติให้บริการ โดยมีผักให้เลือกกว่า 15 ชนิด บริการตลอด 24 ชม. ช่วยชุมชนซื้อผักได้ง่ายขึ้น ในราคาถูกกว่าซื้อที่ซูเปอร์ฯ

ปลายปีที่แล้ว ที่ประเทศจีน เริ่มมีการติดตั้งเครื่องจำหน่ายผลไม้อัตโนมัติในสถานีรถไฟใต้ดินของเมืองเซี่ยงไฮ้ ผลตอบรับถือว่าขายได้ดี มีทั้งคนชอบและคนไม่ชอบ คนที่ชอบบอกว่า ช่วยให้ซื้อผลไม้ได้สะดวก ส่วนคนที่ไม่ชอบก็บอกว่า ผลไม้วางอยู่ในตำแหน่งที่ค่อนข้างสูง ทำให้เมื่อกดซื้อ ผลไม้ตกลงมาเกิดรอยช้ำ


คนในชุมชนรอซื้อผัก ขณะเจ้าหน้าที่กำลังเปลี่ยนผักและเพิ่มเติมผักใหม่

ล่าสุด (21 มี.ค.) เว็บไซต์สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า มีการให้บริการเครื่องจำหน่ายผักสดอัตโนมัติในมณฑลซีอาน โดยบริษัทจัดจำหน่ายผักผลไม้แห่งหนึ่งในมณฑลซีอานได้ติดตั้งเครื่องจำหน่ายผักสดอัตโนมัติใน 3 ชุมชนๆ ละเครื่องเมื่อวันที่ 18 มี.ค.ที่ผ่านมา เครื่องจำหน่ายผักสดอัตโนมัตินี้สร้างสรรค์โดยบริษัทผักผลไม้เส่าหว้างจำกัด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยแก้ปัญหากรณีคนในชุมชนบางพื้นที่ซื้อผักไม่สะดวก

เจ้าหน้าที่ของบริษัทจะล้างผักให้สะอาดและนำไปบรรจุใส่กล่องพลาสติก จากนั้นจะขนส่งผักไปไว้ในเครื่องในเวลา 8.00น. และจะเปลี่ยนผักที่ไม่ได้ขายออก พร้อมเพิ่มเติมผัก ในเวลา18 .00น. ทั้งนี้ เครื่องจำหน่ายผักสดอัตโนมัติจะรักษาอุณหภูมิในเครื่องให้อยู่ที่ -2 ถึง- 8องศาเซลเซียส ซึ่งจะช่วยให้เก็บรักษาผักสดได้ดี

ในเครื่องมีผัก 15 ชนิดให้เลือก โดยเปิดบริการ 24 ชั่วโมง ทำให้คนในชุมชนซื้อผักได้ตลอดเวลา ที่สำคัญผักทั้งหมดก็มาจากไร่ในเมืองซีอานเอง ไม่ต้องจ่ายค่าขนส่ง ราคาก็ถูกกว่าในซูเปอร์มาร์เก็ต ขั้นตอนของการใช้เครื่องซื้อผักก็ง่าย โดยเลือกหมายเลขของผักที่ต้องการ ใส่เงินเข้าไป ก็จะได้ผักที่ต้องการ


หน้าตาของเครื่อง มี 7 ชั้น ผัก 15 ชนิด

 

ผู้จัดการบริษัทเส่าหว้างกล่าวว่า เครื่องจำหน่ายผักเพิ่งทดลองใช้มาไม่นาน ยังมีปัญหาที่ซับซ้อน เช่น จะทำอย่างไรให้การเรียกเก็บกล่องบรรจุผัก เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ ง่ายและรวดเร็วขึ้น ทั้งนี้ จะมีการปรับปรุงเครื่องนี้ต่อไปในอนาคต


คนที่กำลังซื้อผัก

ผู้สื่อข่าวซินหัวได้สัมภาษณ์ความเห็นของประชาชนในชุมชนที่มีการติดตั้งเครื่องจำหน่ายผักสดอัตโนมัติ โดยส่วนใหญ่ ชอบ เพราะทำให้พวกเขาสะดวกขึ้น เพราะผักไม่สามารถเก็บในตู้เย็นได้นานเท่ากับเนื้อสดที่ใส่ในตู้เย็นเป็นเวลานานก็ไม่มีปัญหา ทำให้พวกเขาไม่ต้องไปตลาดบ่อยๆ ขณะที่แม่บ้านบางส่วนบอกว่า พวกเขาไม่ค่อยเข้าใจวิธีการใช้เครื่องดังกล่าว บางทีกดผิด ผักก็ออกมาแล้ว อยากคืนหรือเปลี่ยนก็ทำไม่ได้ แต่ก็แสดงความเห็นว่า ชอบ เพราะบางทีฝนตกหนัก ไปตลาดไม่สะดวก ก็ซื้อผักจากเครื่องได้

แปลและเรียบเรียงจาก
http://news.xinhuanet.com/politics/2011-03/20/c_121209232_2.htm

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

"ประยุทธ์" ขอโทษกรณี "กรือเซะ" ทบทวนย้ายฐานทหารรือเสาะ ลั่นต้องฟังเสียงประชาชน

Posted: 23 Mar 2011 03:09 AM PDT

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา สั่งทบทวนย้ายฐานทหารออกจาก อ.รือเสาะ ลั่นต้องฟังเสียงประชาชน ขอโทษกรณี "กรือเซะ" ชี้ เรื่องต่าง ๆ ผ่านกระบวนการยุติธรรมแล้วมีการเยียวยาและต้องไม่ให้เกิดขึ้นอีก ระบุหากคิดอะไรไม่ออกให้นึกถึงเพลงชาติกับเพลงสรรเสริญพระบารมี

23 มี.ค. 54 - พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก เปิดโอกาสให้ประธานชมรม “ทำดี มีอาชีพ” ประธานสภาสันติสุขตำบล และเยาวชนจากพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่เข้าร่วมโครงการ “ทำดี มีอาชีพ” เข้าพบที่สโมสรทหารบก ถ.วิภาวดีรังสิต พร้อมกล่าวตอนหนึ่งว่า โครงการ “ทำดี มีอาชีพ” เป็นโครงการพัฒนาศักยภาพที่มีอยู่ในตัวเยาวชน ซึ่งจะเป็นพลังให้ประเทศชาติเจริญเติบโตได้ และยังเป็นการลดความเสี่ยง ที่เยาวชนจะถูกชักจูงให้กระทำความผิด นอกจากนี้ ยังทำให้เยาวชนได้ประสบการณ์โดยไม่รู้ตัว จากการได้พบกับสังคมใหม่ ๆ ที่มีความแตกต่างไปจากเดิม และจะได้เห็นว่าการอยู่ร่วมกันในความแตกต่างด้วยสันติ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้

พล.อ.ประยุทธ์ ยังกล่าวถึง 6 ยุทธศาสตร์ที่ใช้แก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งประกอบด้วย  1. การพัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ให้มีอาชีพ รายได้และการศึกษาที่ดีขึ้น 2. การลดปัญหาจากภัยแทรกซ้อน ซึ่งนำไปสู่ความรุนแรงในพื้นที่ ทั้งจากปัญหายาเสพติด การค้าของเถื่อน อิทธิพล 3. การดำเนินคดีตามกระบวนการยุติธรรม การดูแลด้านสิทธิมนุษยชน ถ้าเจ้าหน้าที่ทหารทำความผิด จะต้องถูกลงโทษ 4. การรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 5. การสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง โดยเฉพาะประวัติศาสตร์ ที่เราต้องมีประวัติศาสตร์เดียวกัน อดีตเป็นสิ่งที่เราจะนำมาภาคภูมิใจ เป็นตัวอย่างที่ดี และอะไรไม่ดีก็ต้องไม่ให้เกิดขึ้นอีก และ 6. การให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม

“เหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นในอดีต ที่มัสยิดกรือเซะ อ.ตากใบ จ.นราธิวาส เป็นเรื่องที่ผมไม่สบายใจ แต่จำเป็นต้องพูด ผมต้องขอโทษแทน แม้จะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นไปแล้ว อาจจะเกิดจากความไม่เข้าใจ ความประมาท การไม่ดูแล ไม่เอาใจใส่ ผมไม่อยากรื้อฟื้น แต่มันถูกเอามาอ้างทุกวัน ผมจึงอยากบอกว่า เรื่องต่าง ๆ ผ่านกระบวนการยุติธรรมแล้ว มีการเยียวยา และเราก็ต้องไม่ให้มันเกิดขึ้นอีก ทุกฝ่ายต้องช่วยกันทั้งประชาชนและรัฐ” พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว

พลเอกประยุทธ์ กล่าวว่า การแก้ไขปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ ไม่ได้มีแต่ทหารที่มีหน้าที่แก้ไข แต่รัฐบาล กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) และศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ร่วมกันแก้ไข และทำงานร่วมกันอย่างเป็นเอกภาพ โดยทหารเป็นกลไกหนึ่งในการขับเคลื่อน 6 ยุทธศาสตร์และนโยบายของรัฐบาล โดยใช้การเมืองนำการทหาร และใช้มาตรา 21 ให้ผู้ที่หลงผิดเข้ามอบตัว ทั้งนี้ จากการตรวจสอบพบว่า จำนวนการก่อเหตุรุนแรงลดลง และประมาณครึ่งหนึ่งของคดีทั้งหมด ไม่ใช่เหตุรุนแรง แต่เกี่ยวกับยาเสพติด และการค้าของผิดกฎหมาย

“บ้านเมืองเราต้องช่วยกันดูแลแก้ไขปัญหา เราต้องลดปัญหาภายในของเราให้เหลือน้อยที่สุด ถ้าทุกคนเอาปัญหาของตัวเองมาพูด ก็ไม่มีโอกาสพูดถึงปัญหาของส่วนรวม ประเทศชาติบ้านเมืองจะต้องมาก่อน ถ้าคิดกันเช่นนี้ เราจะทำอะไรได้มากขึ้น และพร้อมจะช่วยเหลือบ้านเมือง แก้ไขปัญหาส่วนรวม เวลาคิดอะไรไม่ออก ขอให้นึกถึงเพลงชาติกับเพลงสรรเสริญพระบารมี แล้วเราจะรู้ว่า เราควรทำอะไร” พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว

"ผบ.ทบ." สั่งทบทวน ย้ายฐานทหารออกจาก อ.รือเสาะ ลั่นต้องฟังเสียงประชาชน

วันเดียวกันนี้พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวกับสื่อมวลชนถึงกรณีมีประชาชนในพื้นที่ อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส ไม่เห็นด้วยที่ทหารจะย้ายฐานออกจากพื้นที่ว่า กำลังให้แม่ทัพภาคที่ 4 ทบทวน โดยมอบนโยบายว่าต้องมองระยะยาวว่า จะทำอย่างไรให้สามารถดูแลพื้นที่ให้ปลอดภัยได้ทั้งหมด ขณะเดียวกันต้องให้ประชาชนมีความมั่นใจและพอใจ

“เราไม่สามารถให้กำลังของกองทัพภาคที่ 1 ลงไปอยู่ตลอดไป จึงต้องสร้างความเข้มแข็งให้กับกองพลทหารราบที่ 15 ซึ่งรับผิดชอบพื้นที่โดยตรง เพื่อให้เป็นเอกภาพ แต่ทุกอย่างต้องขึ้นอยู่กับความพอใจของประชาชนด้วย” พล.อ.ประยุทธ์กล่าว และว่า สำหรับแผนการปฏิบัติที่ใช้ดูแลแต่ละพื้นที่นั้น ไม่ได้ใช้แผนเดียวทำงาน หากพื้นที่ใดมีความรุนแรง มีปัญหาหนัก ก็ต้องใช้แผนยุทธวิธีดูแล และใช้กำลังส่วนใหญ่ดูแลป้องกัน แต่ถ้าพื้นที่ใดสงบแล้วก็ใช้การพัฒนาเข้าไป

ที่มาข่าวเรียบเรียงจาก: มติชนออนไลน์

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ทัพพม่าส่งม้านับร้อยขนเสบียง-อาวุธปราบกองกำลังไทใหญ่ "เหนือ"

Posted: 23 Mar 2011 02:51 AM PDT

การสู้รบระหว่างทหารพม่ากับกองกำลังไทใหญ่ "เหนือ" ขณะนี้เบาบางลงมีเพียงการปะทะประปราย ด้านกองทัพพม่าส่งม้านับร้อยตัวเข้าพื้นที่ คาดใช้ขนเสบียง-อาวุธเตรียมกวาดล้างใหญ่

มีรายงานจากแหล่งว่า เมื่อวันที่ 21 มี.ค. ที่ผ่านมา กองทัพรัฐบาลทหารพม่าส่งได้ม้ากว่าร้อยตัวเข้าไปในพื้นที่เคลื่อนไหวกองกำลังไทใหญ่ "เหนือ" (SSA / SSPP) โดยส่งไปกับรถบรรทุกจำนวน 23 คัน จากเมืองเชียงตุง รัฐฉานภาคตะวันออก ไปยังเมืองสู้ รัฐฉานภาคเหนือ ซึ่งเชื่อว่าจะนำไปใช้ในการลำเลียงเสบียงและอาวุธในการลาดตระเวณปราบปรามกองกำลังไทใหญ่ "เหนือ" (SSA / SSPP)

โดยเมื่อช่วงเช้าของวันที่ 22 มี.ค. ม้าทั้งหมดซึ่งมีกว่า 130 ตัว ถูกต้อนจากเมืองสู้ออกไปทางดอยนาย อยู่ห่างจากเมืองออด ซึ่งเป็นพื้นที่สู้รบกันก่อนหน้านี้ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 8 กม. โดยมีทหารพม่าคอยให้การดูแลม้าเฉลี่ย 2 นาย ต่อม้า 3 ตัว ซึ่งหลายฝ่ายเชื่อว่า กองทัพพม่ากำลังเตรียมการกวาดล้างกองทัพรัฐฉาน "เหนือ" ครั้งใหญ่

แหล่งข่าวรายงานว่า หลังจากมีกำลังทหารพม่าเข้าไปรวมตัวที่บ้านดอยนายเป็นจำนวนมาก ทำให้ประชาชนในพื้นที่ต่างแตกตื่นเกรงว่าจะเกิดการสู้รบใหญ่ ทำให้บางส่วนได้ขนข้าวของอพยพออกพื้นที่ไปทางเมืองสู้ ขณะที่ในตัวเมืองเมืองสู้ ซึ่งเป็นเมืองแห่งอัญมนีและเคยคึกคักไปด้วยผู้คน แต่หลังจากเกิดการสู้รบและมีผู้อพยพเข้าไปอยู่เป็นจำนวนมาก ทำให้บรรยากาศในเมืองเงียบเหงาลง เนื่องจากผู้คนต่างเก็บตัวอยู่ในบ้านและปิดประตูบ้านนอนกันแต่หัวค่ำ ขณะที่ตลาดค้าขายในตัวเมืองก็ปิดตัวเร็วกว่าปกติ

ส่วนสถานการณ์การสู้รบเมื่อวานนี้ (22 มี.ค.) ทั้งสองฝ่ายไม่มีการสู้รบกันแบบเผชิญหน้านานนับชั่วโมงเช่นหลายวันที่ผ่านมา มีเพียงการปะทะกันประปรายในบางพื้นที่ และมีรายงานว่า เมื่อวันที่ 18 มี.ค. มีทหารพม่าที่ได้รับบาดเจ็บจากการสู้รบถูกนำตัวส่งไปรักษาที่โรงพยาบาลทหารในกองทัพภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในเมืองล่าเสี้ยว รัฐฉานภาคเหนือ จำนวน 38 นาย มีนายทหารรวมอยู่ด้วยหลายนาย

มีรายงานด้วยว่า ก่อนหน้านี้แม่ทัพภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และผบ.บก.ควบคุมยุทธการพม่าประจำเมืองไหย๋ ได้ร้องขอให้พล.ต.หลอยมาว อดีตผู้บัญชาการกองทัพรัฐฉาน "เหนือ" ที่ได้นำกำลังกองพลน้อยที่ 3 และ 7 ตั้งเป็นหน่วยพิทักษ์ชายแดน BGF ให้นำกำลังร่วมออกลาดตระเวนกับทหารพม่า แต่ทางพล.ต.หลอยมาว ปฏิเสธโดยให้เหตุผลว่าเกรงจะมีทหารหนีทัพไปร่วมกองทัพรัฐฉาน "เหนือ" (SSA / SSPP) อย่างไรก็ตาม ล่าสุดเมื่อวันที่ 17 – 18 มี.ค. กองทัพพม่ากลับมีคำสั่งห้ามไม่ให้ทหารอดีตกองทัพรัฐฉาน "เหนือ" ยุ่งเกี่ยวการสู้รบครั้งนี้

ชมภาพ / อ่านข่าวย้อนหลังได้ที่
http://www.khonkhurtai.org/

 

"คนเครือไท" เป็นศูนย์ข่าวภาคภาษาไทยเครือข่ายสำนักข่าวอิสระไทใหญ่ หรือ สำนักข่าวฉาน (SHAN – Shan Herald Agency for News) มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารจากเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในรัฐฉาน สหภาพพม่า ตลอดจนตามแนวชายแดนไทย ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับองค์กรการเมือง / การทหารกลุ่มใด สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ shan_th@cm.ksc.co.th หรือ ติดตามอ่านข่าวสารภาคภาษาอังกฤษได้ที่ www.shanland.org ภาคภาษาไทใหญ่ที่ www.mongloi.org และภาคภาษาไทยที่ www.khonkhurtai.org

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

พม่าจับชาวโรฮิงยา อ้างเชื่อมโยงกับกลุ่มตาลีบัน

Posted: 23 Mar 2011 02:05 AM PDT

เจ้าหน้าที่พม่าจับกุมชายมุสลิมโรฮิงยากว่า 100 คน ในเมืองมงดอว์ รัฐอาระกัน ทางภาคตะวันตกของประเทศเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา โดยทางการพม่ากล่าวหาว่ากลุ่มคนที่ถูกจับนั้นพบว่าเชื่อมโยงกับกลุ่มตาลีบัน ของประเทศอัฟกานิสถาน

ทั้งนี้ตามรายงานข่าวระบุว่า ทั้งหมดถูกจับหลังจัดประชุมในหมู่บ้านกาหม่องเซะ เพื่อเตรียมก่อการร้าย โดยทางการพม่าสามารถยึดเอกสารและหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า ชายที่ถูกจับทั้งหมดนั้นเป็นสมาชิกของกลุ่มตาลีบัน แต่ไม่พบว่ามีอาวุธสงครามอยู่ในครอบครองแต่อย่างใด ซึ่งขณะนี้ผู้ที่ถูกจับทั้งหมดถูกนำตัวไปสอบสวนยังค่ายทหารในพื้นที่

ด้านสำนักข่าวนริจารา ซึ่งเป็นสำนักข่าวอิสระของชาวอาระกันรายงานว่า ก่อนหน้านี้เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา นายโมลีวี ฮารัน ซึ่งรู้จักกันในฐานะนักรบของกลุ่มตาลีบันได้เดินทางเข้ามาในพม่า โดยได้ฝึกอบรมด้านการรบและการทำระเบิดให้กับชาวบ้านอย่างลับๆในป่าลึกทางตอน เหนือของเมืองมงดอว์ ซึ่งอยู่ใกล้กับชายเดนบังกลาเทศ โดยจนถึงขณะนี้ยังไม่มีรายงานว่านายฮารันถูกจับ แต่เชื่อว่าเขาน่าจะหลบหนีไปยังฝั่งบังกลาเทศแล้ว

อย่างไรก็ตาม นับตั้งแต่เกิดเหตุ รัฐบาลพม่าได้เพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวด และจำกัดการเดินทางของประชาชนในพื้นที่

“รัฐบาลพม่าได้ประกาศเคอร์ฟิว โดยเฉพาะในเขตชนบทและตามหมู่บ้านในเมือง มงดอว์ตั้งแต่อาทิตย์ที่แล้ว ชาวบ้านอาจถูกยิงตาย หากออกจากบ้านหลังสี่ทุ่ม” ชาวบ้านรายหนึ่งกล่าว

ส่วนหนึ่งในผู้ที่ถูกจับคือนายเส่งวิน อดีตผู้ใหญ่บ้านของหมู่บ้านกาหม่องเซะ และนายซอวิน น้องชายของนายเส่งวิน ก่อนหน้านี้ก็เคยมีรายงานว่า ทั้งสองเป็นผู้ที่สนับสนุนการเคลื่อนไหวของเครือข่ายติดอาวุธในพื้นที่

ขณะที่ชาวมุสลิมโรฮิงยาอาศัยอยู่ในเมืองมงดอว์เป็นจำนวนมาก โดยชาวโรฮิงยาเป็นชนกลุ่มน้อยกลุ่มเดียวที่ไม่ได้รับการยอมรับจากรัฐบาลพม่า ในฐานะพลเมืองของประเทศ 

(Narinjara / Irrawaddy 22 มีนาคม 54)

แปลและเรียบเรียงโดย สาละวินโพสต์ "สื่อทางเลือกเพื่อแบ่งปันความเข้าใจสู่เพื่อนบ้าน"อ่านข่าวและบท ความอื่นๆ อีกมากมายได้ที่เว็บไซต์ www.salweennews.org เฟซบุ๊คhttp://www.facebook.com/Salweenpost ทวิตเตอร์ http://twitter.com/salweenpost

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ทีดีอาร์ไอชี้สถานการณ์เด็กไทยดีขึ้น ภาคอีสานด้อยโอกาสสุด

Posted: 23 Mar 2011 01:35 AM PDT

 
22 มี.ค.54 สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศไทย (TDRI) จัดการประชุมเพื่อเสนอผลการศึกษาและรับฟังข้อเสนอแนะโครงการศึกษาและจัดทำ Child Deprivation Indices ปี 2006 และ 2008 นำเสนอผลการศึกษาโดย ดร.สมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพัฒนาเศรษฐกิจส่วนรวมและการกระจายรายได้ ณ ห้องประชุมชั้น 2 มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
 
 
ผลโครงการศึกษาและจัดทำดัชนีชี้วัดสภาพเด็กด้อยโอกาส (Child Deprivation Indices) ดังกล่าวได้ข้อสรุปว่า สถานการณ์ความเป็นอยู่ของเด็กไทยระหว่างปี 2006 – 2008 โดยรวมดีขึ้นในทุก ๆ ภูมิภาคทั่วประเทศ โดยอยู่ในระดับด้อยโอกาสเพียงเล็กน้อย (Mildly Deprived) มากที่สุด จากตัวบ่งชี้สถานการณ์ด้านต่าง ๆ ที่สอดคล้องกันระหว่างสองโครงการสำรวจที่ประกอบใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ด้านสุขภาพเด็ก ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านพัฒนาการของเด็ก ด้านการศึกษา ด้านความเปราะบาง และด้านการติดเชื้อ HIV และโรคเอดส์
 
การศึกษานี้อิงสภาพฐานะการเงินของครอบครัวในการวิเคราะห์จึงได้ข้อสรุปกว้างๆ ว่า พบสภาพความด้อยโอกาสของเด็กในกลุ่มครัวเรือนที่ยากจนมากกว่ากลุ่มครัวเรือนที่ไม่ยากจน หรืออีกนัยก็คือถ้าพ่อแม่มีเงินก็สามารถเลี้ยงดูลูกให้สมบูรณ์กว่านั่นเอง
 
ผลการศึกษาสภาพด้อยโอกาสต่อครัวเรือนของเด็กไทยเมื่อเปรียบเทียบระดับภูมิภาคพบว่า กรุงเทพมหานครเป็นพื้นที่ที่เด็กมีคุณภาพชีวิตดีที่สุด (Not Deprived) รองลงมาคือภาคกลางและภาคใต้ ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือน้อยที่สุด และในทางกลับกันเมื่อดูที่ระดับความด้อยโอกาสที่รุนแรงที่สุด (Severely Deprived) ก็พบว่าภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีมากที่สุด และเมื่อดูรายละเอียดระดับจังหวัดพบว่าจังหวัดแม่ฮ่องสอนมีเด็กยากจนและอยู่ในสภาพด้อยโอกาสมากที่สุด จึงเป็นเป้าหมายของหลาย ๆ องค์กรที่จะเข้าไปช่วยเหลืออยู่ในขณะนี้
 
สำหรับรายละเอียดของแต่ละกลุ่มดัชนีชี้วัดทั้ง 6 ประเภท สามารถสรุปภาพรวมได้ว่า
 
ด้านสุขภาพเด็ก อาศัยพฤติกรรมการใช้เชื้อเพลิงแข็งในครัวเรือนเพื่อการหุงหาอาหาร (Solid Fuels) เช่น ถ่านไม้ ฟืน เป็นตัววัด จากปี 2006-2008 ทุกภาคมีพฤติกรรมการใช้ลดลงคือหันไปใช้แก๊สหุงต้มมากขึ้นยกเว้นภาคอีสานที่เพิ่มขึ้นจาก 67.2 % เป็น 67.4 %
 
ด้านสิ่งแวดล้อม อาศัยตัววัดจากการมีน้ำดื่ม น้ำใช้ในครัวเรือนพบว่าทุกภาคมีน้ำดื่มน้ำใช้ดีขึ้น แต่ตัววัดจากการอาศัยในชุมชนแออัดในเมือง พบว่าทุกภาคมีเพิ่มขึ้นยกเว้นภาคใต้ สาเหตุหลักเกิดจากการอพยพเข้ามาในเขตเมืองของคนในชนบท
 
ด้านพัฒนาการของเด็ก อาศัยตัววัดจากการที่พ่อแม่ได้ช่วยเหลือเด็กกระตุ้นการเรียนรู้ เช่นการอ่านหนังสือให้ฟัง โดยรวมดีขึ้นโดยแม่ยังคงเป็นหลักในการส่งเสริมพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็ก
 
ด้านการศึกษา พบว่าเด็กได้เข้ารับการศึกษาในโรงเรียนมากขึ้นและมีแนวโน้มอายุน้อยลงกล่าวคือ เด็กอายุ 6 ขวบศึกษาชั้นประถมศึกษาที่ 1 เป็นจำนวนมากกว่ายุคก่อน และเด็กโตก็อยู่ในระบบการศึกษาไปตามลำดับอย่างค่อนข้างมั่นคง
 
ด้านความเปราะบาง อาศัยตัววัดจากการที่เด็กอายุ 0- 17 ปี ไม่ได้อาศัยอยู่กับพ่อแม่ผู้ให้กำเนิด โดยรวมเพิ่มขึ้น อาจเป็นไปได้ว่าเด็กถูกพ่อแม่ส่งไปเรียนต่างถิ่นมากขึ้น เช่นเข้ามาเรียนในเมือง หรือในมหาวิทยาลัยในกรุงเทพฯ ส่วนตัวจากการที่เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี อาศัยอาศัยอยู่กับพ่อหรือแม่เพียงคนเดียว (กำพร้าพ่อหรือแม่) โดยรวมลดลง ส่วนตัวชี้วัดจากการที่เด็กมีพ่อแม่ป่วยก็ลดลง เนื่องจากการเข้าถึงการรักษาพยาบาลที่ดีขึ้น
 
ด้านการติดเชื้อ HIV และโรคเอดส์ อาศัยตัววัดจากการที่ผู้หญิงอายุ 15-24 ปีมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องต่อการหลีกเลี่ยงการติดเชื้อและปฏิเสธ 3 ข้อเข้าใจผิดเกี่ยวกับการติดต่อของเชื้อ HIV พบว่าโดยรวมลดลงจาก 68.1% เป็น 56.2%
 
หลังจบการนำเสนอผลโครงการศึกษาฯมีผู้เข้าร่วมประชุมได้เสนอแนะว่าเนื่องจากโครงการเป็นการศึกษาในช่วงระยะเวลา 2 ปี จึงอยากให้มองโครงการนี้ในระยะยาว 5-10 ปีต่อไปด้วย และผู้เข้าร่วมประชุมบางท่านเสนอแนะว่าไม่ควรจำกัดกรอบการวิเคราะห์จากฐานะการเงินของกลุ่มประชากรเพียงอย่างเดียว เพราะอาจจะทำให้มองไม่รอบด้าน ควรเพิ่มตัวชี้วัดอื่นเช่น ความสุขมวลรวม เป็นต้น
 
ดร.สมชัย จิตสุชน นำเสนอโครงการศึกษาและจัดทำ Child Deprivation Indices ปี 2006 และ 2008กล่าวว่า งานวิจัยครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการแก้ปัญหาหรือไม่ก็อยู่ที่ผู้กำหนดนโยบายจากรัฐบาล เช่น กระทรวง ทบวง กรม ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องจะนำไปใช้ และอีกด้านหนึ่งก็อยากให้สังคมในวงกว้างได้รับรู้ผลการศึกษานี้ เพราะสังคมจะได้ช่วยกันขับเคลื่อนการแก้ปัญหาด้วยตัวเองได้ดีขึ้น
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

“สมดุลยวิถี” เครื่องมือสลายความเหลื่อมล้ำสังคมไทย

Posted: 23 Mar 2011 01:29 AM PDT

ความขัดแย้งทางสังคมหลายๆ ประเทศ นั้นมีมายาวนานต่อเนื่องและส่วนใหญ่เป็นความขัดแย้งทั้งทางชาติพันธุ์และศาสนา เช่น ระหว่างชาวเซิร์บและชาวโครแอธ ในบอสเนีย ระหว่างชาวไอริชนิกายคาทอลิก กับโปรเตสแตนท์ในไอร์แลนด์เหนือ ระหว่างชาวมุสลิมอุยกูร์และชาวจีนฮั่น ในมณฑลซินเจียงของจีน หรือ ระหว่างชนเผ่า ฮูตู กับ ทุตซี ในรวันดา ความแตกต่างเหล่านี้นำไปสู่การปฏิบัติที่เหลื่อมล้ำทุกมิติในสังคม นอกเหนือจากความแตกต่างทางชาติพันธุ์และศาสนาแล้ว ในทุกสังคมมักจะปรากฏร่องรอยของความไม่เสมอภาคทั้งทาง สังคม เศรษฐกิจ และการเมือง ตามมาเสมอโดยผู้กุมอำนาจรัฐเป็นกลไกสำคัญที่เป็นบ่อเกิดของความเหลื่อมล้ำจนนำไปสู่ความขัดแย้งของคนในสังคม ขัดแย้งรุนแรงขึ้น และต่อเนื่องจนไม่อาจหาข้อยุติได้

ความขัดแย้งในสังคมไทยก็เช่นกันแม้ว่าความหวาดวิตกภัยคุกคามจากลัทธิคอมมิวนิสต์หมดไป แต่แล้วความขัดแย้งในสังคมไทยได้เคลื่อนตัวออกจากประเด็นของอุดมการณ์ พัฒนาสู่ปัญหาใหม่ภายใต้บริบทของการพัฒนา เมื่อความต้องการของมนุษย์สวนทางกับความยั่งยืนของธรรมชาติโดยมีรัฐเป็นกลไกจัดการทรัพยากร รวมทั้งเป็นผู้กำหนดนโยบายสาธารณะต่างๆ ส่งผลให้เกิดปัญหาความขัดแย้งเกี่ยวกับสิทธิและอำนาจในการจัดการทรัพยากร นำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างการคงวิถีความเป็นอยู่ดั้งเดิม กับทิศทางการพัฒนาประเทศ ส่งผลให้เกิดปัญหาสาธารณะที่ไม่สามารถจัดการได้ ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในยุคปัจจุบันจึงเป็นความขัดแย้งที่เป็นผลพวงจากการแย่งชิงและการจัดการทรัพยากร อันเกิดจากการจัดการของรัฐที่ไม่มีดุลยภาพภายใต้โครงสร้างอำนาจนิยม(Authoritarianism) คนยากจนมักจะถูกเบียดขับจากโอกาสทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง ไม่อาจเข้าถึงสิ่งเหล่านี้ จนกระทั่งโอกาสในการดำรงชีวิตอย่างปกติ

ความขัดแย้งเพิ่มมากขึ้นซับซ้อนมากขึ้น ทั้งได้พัฒนาและขยายตัวไปพร้อมๆ กับยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศซึ่งเน้นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ในขณะที่โครงสร้างอำนาจนิยม(Authoritarianism) ยังไม่เปลี่ยนแปลง ดังนั้นแนวโน้มการแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างภาครัฐกับประชาชนจึงหลีกไม่พ้นเรื่องการใช้อำนาจ ด้วยรูปแบบต่างๆ ตลอดมา เช่น เหตุการณ์นองเลือด 14 ตุลาคม 2516 เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 และพฤษภาทมิฬ 2535 กระทั่งหลังสุดเหตุการณ์นองเลือดที่ราชประสงค์ ซึ่งล้วนแล้วเกิดจากโครงสร้างอำนาจนิยม(Authoritarianism)ทั้งสิ้น
   
เมื่อการใช้สิทธิและอำนาจตามกฎหมายของรัฐมิได้ใช้อย่างเปิดเผย ชอบธรรม และยุติธรรมด้วยหลักนิติรัฐ รวมทั้งตรวจสอบได้ตามหลักธรรมาภิบาล(good governance) หากแต่มีแนวโน้มที่มีวาระซ่อนเร้น (hidden agenda) ซุกซ่อนเป็นประโยชน์ทับซ้อน(conflict of interest)เสมอ รัฐกับประชาชนจึงกลายเป็นคู่กรณี(actor) คู่เอกของความขัดแย้งสาธารณะ(Public conflict) การมีส่วนร่วมทางการเมือง(Political Participation) ในหลายมิติที่รัฐพยายามกล่าวถึง ไปๆ มาๆ เป็นเพียงวาทกรรมทางการเมืองของผู้ปกครองเท่านั้น

ความเหลื่อมล้ำในหลายมิติล้วนนำไปสู่ความขัดแย้งที่ได้รุกฆาตวิถีชีวิตของคนในสังคมตลอดมา ทั้งนี้มีสาเหตุที่นำไปสู่ความขัดแย้งจึงประกอบด้วยเงื่อนไขสำคัญ 3 ประการ กล่าวคือ

เงื่อนไขเชิงภาวะวิสัย (Objective Condition )ซึ่งเกี่ยวข้องกับสภาพปัญหาความทุกข์ยากเดือดร้อนของประชาชนอันเนื่องมาจากความเหลื่อมล้ำทั้งทางสังคม การเมือง และเศรษฐกิจ ที่ก่อให้เกิดความแตกต่างเป็นอย่างมาก ระหว่าง คนรวยกับคนจน คนเมืองกับคนชนบท ซึ่งเป็นเรื่องระหว่างการมีอำนาจกับไม่มีอำนาจ คนไม่มีอำนาจมักจะถูกเอารัดเอาเปรียบเสมอมา ทั้งจากรัฐและระบบเศรษฐกิจทุนนิยม

เงื่อนไขเชิงอัตวิสัย (Subjective Condition ) ที่เป็นทั้งความเชื่อแนวคิดหรืออุดมการณ์ทางชนชั้น ที่ตระหนักถึงความไม่เป็นธรรม ความไม่เสมอภาค รวมทั้งปฏิเสธการรัฐประหารทุกรูปแบบเพื่อนำสังคมไทยไปสู่ประชาธิปไตย เป็นการปะทะทางอุดมการณ์ระหว่างประชาชนที่ต้องการความเสมอภาคกับรัฐที่มีโครงสร้างเชิงอำนาจนิยม อันเป็นความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่ประชาชนตกเป็นเบี้ยล่างเสมอมา

และเงื่อนไขเสริม ( Facilitating Condition) ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่เอื้ออำนวยให้เกิดการรวมกลุ่มเรียกร้องเข้าสู่ขบวนการทางสังคม ไม่ว่าความอ่อนแอของรัฐบาล การแย่งชิงอำนาจของกลุ่มการเมือง การเกิดผู้นำที่ได้รับศรัทธาและมีความสามารถในการรวบรวมมวลชน การนำเสนอข้อมูลข่าวสาร    รวมทั้งการสนับสนุนจากแนวร่วมกลุ่มอื่นๆ ดังที่เราได้เห็นมาแล้วในช่วงที่ผ่านมา

ซึ่งทั้งสามเงื่อนไขดังกล่าวนี้ ได้ผลักดันให้เกิดการรวมตัวและเคลื่อนไหวจนนำไปสู่ความขัดแย้งแตกแยก และความรุนแรงในสังคมไทยตามมา การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งจึงต้องเข้าใจบริบททางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ที่เป็นเงื่อนไขนำไปสู่ความขัดแย้ง หากที่ผ่านมาปัญหาความขัดแย้งนำไปสู่การเข่นฆ่าทำลายล้างต่อกันได้เตือนอะไรให้สังคมไทยได้บ้างนั้น จุดเริ่มต้นคือคนไทยทุกคนต้องช่วยกันป้องกันมิให้เงื่อนไขแห่งความขัดแย้งเกิดขึ้นและช่วยกันชักฟืนออกจากไฟ รัฐและกลไกของรัฐในฐานะผู้ปกครองต้องเริ่มปรับเปลี่ยนโครงสร้างอำนาจนิยม โดยเปิดพื้นที่ให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ให้ประชาชนได้กำหนดนโยบายสาธารณะตามวิถีของชุมชนเพื่อลดช่องว่างของความเหลื่อมล้ำลงและสิ่งสำคัญที่สุดทุกฝ่ายต้องร่วมกันสร้างดุลยภาพให้เกิดขึ้นในสังคมทุกๆมิติ เพื่อนำสังคมไปสู่ “สมดุลยวิถี” เป็นเครื่องมือสลายความเหลื่อมล้ำและขับเคลื่อนสังคมไทยออกจากความขัดแย้งไปสู่ความสันติสุขและสมานฉันท์ต่อไป
 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

"การเมืองใหม่" จี้ กกต.ลดเงินหาเสียง

Posted: 23 Mar 2011 01:15 AM PDT

"การเมืองใหม่" ยื่นหนังสือขอ กกต.ลดวงเงินหาเสียง จาก 1.5 ล้าน เหลือ 3 แสนบาทต่อคน ลั่นส่งผู้สมัครในพื้นที่เขตเมือง และ กทม. แต่จะมีการสอบถามประชาชนในพื้นที่ก่อนถึงความเหมาะสมในการที่จะส่งใครลงสมัคร ไม่หวั่นชื่อแคนดิเดตนายก

เมื่อเวลา 10.30 น. วันที่ 23 มี.ค. นายสมศักดิ์ โกศัยสุข หัวหน้าพรรคการเมืองใหม่ ได้เดินทางมายื่นหนังสือถึงประธาน กกต. เพื่อขอให้พิจารณาดำเนินการที่เข้มงวดให้เกิดความเที่ยงธรรม และลดวงเงินค่าใช้จ่ายที่พรรคการเมืองส่งผู้สมัครเข้ารับเลือกตั้ง ส.ส. เนื่องจากว่าสถานการณ์ปัจจุบัน ประเทศไทยอยู่ในภาวะวิกฤติศรัทธาทางการเมืองอย่างรุนแรง และในความรู้สึกของประชาชนที่ได้รับข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ สรุปว่าสถาบันที่ประชาชนรังเกียจ เบื่อหน่ายที่สุด ทั้งนักการเมืองและพรรคการเมือง ต่างเชื่อกันว่า เต็มไปด้วยความทุจริตและคอร์รัปชั่น เริ่มตั้งแต่การเข้าสู่อำนาจ โดยผ่านการเลือกตั้งที่ไม่โปร่งใส ซื้อเสียง เพื่อเข้าสู่อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหารและแสวงหาผลประโยชน์ของตัวเองแลพวกพ้อง

นายสมศักดิ์ กล่าวต่อว่า กกต.บางคนพูดผ่านสื่อฯ ว่าการเลือกตั้งทั่วไปที่จะถึงจะมีการซื้อเสียงกันมาก รวมทั้งสื่อมวลชนก็ได้ตีพิมพ์ว่าจะมีการใช้เงินคนละประมาณ 60 ล้านบาท เมื่อ กกต.ทราบอย่างนี้แล้วจึงควรจะมีมาตราการและกติกาควบคุมการเลือกตั้งให้เกิดความสุจริตเที่ยงธรรมอย่างแท้จริง ทั้งนี้เห็นว่าควรลดวงเงินค่าใช้จ่ายของผู้สมัคร ส.ส.จาก 1.5 ล้านบาท ให้เหลือคนละไม่เกิน 3 แสนบาท รวมทั้งขอให้ออกมาตราการเข้มงดจริงจังกับผู้สมัครที่มีพฤติกรรมซื้อเสียงอย่างเด็ดขาดหรือพรรคที่ส่อไปในทางที่ไม่สุจริต โดยการแจกใบแดงมากกว่าใบเหลือง

นายสมศักดิ์ ยังกล่าวด้วยว่า ในการเลือกตั้งครั้งนี้ พรรคการเมืองใหม่มีความพร้อมในการลงสมัครรับเลือกตั้ง  เพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งให้กับประชาชน ซึ่งทางพรรคจะส่งผู้สมัครในพื้นที่เขตเมือง และ กทม. แต่จะมีการสอบถามประชาชนในพื้นที่ก่อนถึงความเหมาะสมในการที่จะส่งใครลงสมัคร อย่างไรก็ตามการลงสมัครรับเลือกตั้งครั้งนี้ทางพรรคไม่ได้มีการวางตัวหรือหวังว่าจะต้องเป็นนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรี อย่างที่หลาย ๆ พรรคเปิดตัวกันแล้ว และไม่กังวลกับบุคคลที่พรรคต่าง ๆ ได้เปิดว่าจะมาชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พรรคกังวลเพียงเรื่องเดียวคือเรื่องของการใช้เงินมาซื้อสิทธิ์ขายเสียง เพราะประชาชนต้องการสร้างการเมืองแบบใหม่

ผู้สื่อข่าวถามถึงนายสมธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรฯ ว่าจะลงสมัคร ส.ส.ครั้งนี้ในนามของพรรคการเมืองใหม่ เพื่อสู้กับพรรคอื่น ๆ หรือไม่ นายสมศักดิ์ กล่าวว่า ขณะนี้นายสนธิ ยังไม่ได้สมัครเป็นสมาชิกพรรค ส่วนในอนาคตจะมาสมัครเป็นสมาชิกหรือไม่ ยังไม่ทราบ รวมทั้งแกนนำพันธมิตรคนอื่น ๆ ด้วยก็ไม่ทราบเช่นกัน อย่างไรก็ตามนายสมศักดิ์ ไม่ได้ระบุเจนว่าพรคจะชูใครเป็นนายกฯ เพื่อหาเสียงแข่งขันกับพรรคการเมืองอื่น เพราะมั่นใจนโยบายของพรรค

ที่มาข่าว: เว็บไซต์เดลินิวส์

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ค่าแรงสูงขึ้นก่อให้เกิดความกังวลต่อเงินเฟ้อในกลุ่มเศรษฐกิจเกิดใหม่

Posted: 23 Mar 2011 12:26 AM PDT

กลุ่มเศรษฐกิจเกิดใหม่ซึ่งได้แก่ ละตินอเมริกาและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พร้อมจ่ายค่าแรงพนักงานในอัตราที่สูงขึ้นในปีนี้ ทำให้เกิดความหวั่นเกรงว่าอัตราเงินเฟ้อจะเพิ่มสูงขึ้น โดยข้อมูลดังกล่าวมาจากรายงานผลการสำรวจธุรกิจนานาชาติของแกรนท์ ธอร์นตัน หรือ The Grant Thornton International Business Report (IBR) ล่าสุด

ส่วนหนึ่งของการเก็บข้อมูลการสำรวจคือการสอบถามธุรกิจเอกชน (Privately Held Business) จำนวน 5,700 บริษัทจาก 39 กลุ่มเศรษฐกิจทั่วโลกถึงอัตราการเพิ่มค่าแรงในปี 2011 (หากว่าบริษัทมีการวางแผนไว้)
โดย 23% ของเจ้าของกิจการในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (25% ในประเทศไทย) วางแผนเพิ่มค่าจ้างให้สูงกว่าอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งเป็นระดับที่สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ และ 17% ของเจ้าของกิจการในละตินอเมริกาก็มีแผนการเช่นเดียวกัน

เอียน แพสโค กรรมการบริหาร แกรนท์ ธอร์นตัน ประเทศไทย กล่าวว่า “ลูกจ้างที่ประสงค์จะได้รับค่าแรงสูงขึ้นควรหันมามองประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือละตินอเมริกา ซึ่งมีแนวโน้มสูงที่จะได้รับการขึ้นค่าแรงให้สูงกว่าอัตราเงินเฟ้อ อันอาจมีสาเหตุมาจากตลาดแรงงานที่มีอยู่จำกัด  โดยแรงงานที่มีฝีมือนั้นมีอยู่ไม่มากนักแต่เป็นที่ต้องการอย่างมากในประเทศเหล่านี้ ดังนั้น สำหรับผู้จ้างงานแล้ว แรงงานที่มีฝีมือจึงมีคุณค่าอย่างยิ่ง   เห็นได้จากการวางแผนขึ้นค่าแรงในอัตราที่สูงมาก”

“ในขณะเดียวกัน เศรษฐกิจของภูมิภาคเหล่านี้มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยเศรษฐกิจของบราซิลมีการเติบโตเกือบ 8% เมื่อปีที่ผ่านมา ส่วนมาเลเซียและไทยขยายตัวราว 7% ทั้งนี้ เมื่อ GDP สูงขึ้น เจ้าของกิจการก็สามารถขึ้นค่าแรงให้แก่พนักงานได้”

“อย่างไรก็ตาม การที่เศรษฐกิจมีการขยายตัวอย่างรวดเร็วเช่นนี้เป็นที่น่าหวั่นเกรงสำหรับรัฐบาล   เพราะการที่เจ้าของธุรกิจยังคงยินดีที่จะขึ้นค่าแรงครั้งใหญ่จะเพิ่มความกดดันต่อเศรษฐกิจของประเทศในขณะเดียวกัน เนื่องจากว่าอยู่ระหว่างการต่อสู้กับอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นอยู่แล้ว ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อของบราซิลเพิ่มขึ้นเป็น 5% เมื่อปีที่แล้ว, อาร์เจนตินาเป็น 10.5%, และสิงคโปร์มีการดีดตัวขึ้นจาก -0.5% เป็น 4.6% ดังนั้น รัฐบาลในกลุ่มเศรษฐกิจเกิดใหม่ต้องแน่ใจว่าจะไม่ตกอยู่ในวงจรของปัญหาราคาสินค้าและค่าแรงที่สูงขึ้น”

ข้อมูลเพิ่มเติมจากรายงานผลการสำรวจธุรกิจนานาชาติของแกรนท์ ธอร์นตัน เผยว่าเมื่อเปรียบเทียบแล้ว มีเพียง 11% ของกลุ่มประเทศที่ใช้สกุลเงินยูโรและเจ้าของกิจการชาวยุโรปที่วางแผนขึ้นค่าจ้างให้สูงกว่าอัตราเงินเฟ้อในอีก 12 เดือนข้างหน้า อย่างไรก็ดี มีเพียงหนึ่งในห้าโดยประมาณ (18%) ของเจ้าของกิจการในอเมริกาเหนือที่วางแผนดังกล่าวไว้

การขาดแคลนแรงงานที่มีฝีมือยังคงเป็นปัญหาในกลุ่มเศรษฐกิจเกิดใหม่

รายงานดังกล่าวยังเปิดเผยว่า เมื่อเปรียบเทียบระดับภูมิภาคแล้ว มีจำนวน 42% (เพิ่มสูงขึ้น 17% จากปีที่แล้ว) ของธุรกิจในกลุ่มเศรษฐกิจ BRIC (บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน) เชื่อว่าการขาดแคลนแรงงานที่มีฝีมือจะเป็นข้อจำกัดของธุรกิจในการขยายตัวในปีนี้ และเป็นข้อจำกัดที่ได้รับการพูดถึงมากที่สุดต่อการขยายตัวของธุรกิจในกลุ่มประเทศเหล่านี้ ส่วนในละตินอเมริกาก็ประสบปัญหาเช่นเดียวกัน โดย 43% (เพิ่มสูงขึ้น 20% จากปีที่แล้ว) ของธุรกิจระบุว่าการขาดแคลนแรงงานฝีมือเป็นข้อจำกัดต่อการเติบโตของกิจการ

เมื่อเปรียบเทียบเป็นรายประเทศ เจ้าของธุรกิจในอินเดีย (51%) และบราซิล (49%) มีความกังวลว่าการขาดแคลนแรงงานฝีมือจะเป็นข้อจำกัดต่อการขยายตัวของธุรกิจในปีนี้ ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญในจีน (40%), ไทย (46%) และแอฟริกาใต้ (37%) เช่นเดียวกัน

เอียน แพสโค กล่าวเสริมว่า “การขาดแคลนแรงงานที่มีฝีมือจะส่งผลต่อระดับความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการในกลุ่มเศรษฐกิจเกิดใหม่ รวมถึงในประเทศไทยด้วย ความต้องการแรงงานที่มีฝีมืออย่างยิ่งยวดนั้นส่งผลต่อการขึ้นค่าจ้าง และส่งผลให้ราคาสินค้าสูงขึ้น และอาจทำให้ความสามารถในการแข่งขันธุรกิจลดลง”

“ข้อจำกัดในเรื่องแรงงานดังกล่าวเป็นสาเหตุให้เกิดการว่าจ้างแรงงานทั้งที่มีฝีมือและด้อยฝีมือจากต่างชาติ ยกตัวอย่างเช่น ในประเทศไทยมีการใช้แรงงานชาวพม่าเพิ่มมากขึ้นในอุตสาหกรรมการก่อสร้าง ดังนั้นในการแก้ไขปัญหาระยะยาว รัฐบาลจะต้องเน้นแก้ปัญหาด้านการศึกษา ต้องให้การอบรมทักษะฝีมือแก่ประชากรเพื่อกระตุ้นการเติบโตของเศรษฐกิจ”

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ถก “พ.ร.บ.ชุมนุม” กฤษฎีกาเชื่อช่วยสอนคนไทยรู้จักหน้าที่-“ปริญญา” ชี้ให้อำนาจนายกฯ มากไป

Posted: 22 Mar 2011 10:46 PM PDT

 

วานนี้ (22 มี.ค.54) สถาบันสัญญา ธรรมศักดิ์ เพื่อประชาธิปไตย จัดเสวนาเรื่อง “การชุมนุมทางการเมืองตามระบอบประชาธิปไตย” ที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เพื่อนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมายชุมนุมในประเทศต่างๆ วิเคราะห์ร่าง พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. ... และรับทราบมุมมองต่างๆ รวมทั้งร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากผู้มีประสบการณ์ทั้งในส่วนของภาคเจ้าหน้าที่ ตำรวจ พลเมือง นักวิชาการ และสื่อมวลชน
 
โดยมี นายปริญญา เทวานฤมิตรกุล กรรมการสถาบันสัญญา ธรรมศักดิ์ เพื่อประชาธิปไตย พล.ต.ต.ประวุฒิ ถาวรศิริ โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ นายชาย ศรีวิกรม์ ผู้แทนเครือข่ายรณรงค์ประชาธิปไตย ไม่ละเมิด (กลุ่มผู้ค้าย่านราชประสงค์) และนายปกรณ์ นิลประพันธ์ กรมการร่างกฎหมายประจำ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ร่วมเสวนา
 
แจงเห็นใจ “คนจน” ที่มาชุมนุม แต่การประท้วงต้องมีลิมิต
 
นายชาย แสดงความเห็นว่า ภาคเอกชนเป็นผู้ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมมาโดยตลอด ตั้งแต่การปิดสนามบินของกลุ่มพันธมิตรฯ มาถึงการชุมนุมที่ราชประสงค์ ภาคเอกชนจำเป็นต้องเข้ามาร่วมมือกันและร่วมกันแก้ไขปัญหา ทั้งนี้เขายังกล่าวว่า ผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนส่วนใหญ่คือระดับชนชั้นแรงงาน ไม่ใช่นายทุน ยกตัวอย่างในสมัยที่กลุ่มพันธมิตรฯ ปิดสนามบินที่ภูเก็ต หลายโรงแรมหยุดทำงาน พนักงานโรงแรม ขาดรายได้ 50-60% จนมาถึงกรณีในย่านราชประสงค์มีคนตกงานหลายพันคน ซึ่งพนักงานเหล่านั้นไม่มีหน่วยงานใดเข้ามาดูแลและช่วยเหลือ
 
“การยกระดับการชุมนุมคือการแย่งอำนาจทางการเมือง และทุกครั้งก็นำมาสู่ความรุนแรง การชุมนุมจึงต้องมีกติกามาควบคุม ชุมชนที่อยู่ที่ราชดำเนิน กับชุมชนย่านเศรษฐกิจมันแตกต่างกัน คนส่วนใหญ่แถวราชดำเนินเป็นข้าราชการซึ่งไม่ถูกลดเงินเดือน แต่ที่ราชประสงค์ไม่ใช่ จึงต้องเกิดการออกมาเรียกร้อง ทำให้ถูกกล่าวหาว่าเป็นสีนั้นสีนี้ ประเทศไทยอยู่ได้เพราะมีคนอย่างพวกเราอยู่” ผู้แทนเครือข่ายรณรงค์ประชาธิปไตย ไม่ละเมิด กล่าว
 
นายชายยังเสริมด้วยว่า อีกฝ่ายหนึ่งที่ต้องเรียนรู้คือเจ้าหน้าที่ฝ่ายรัฐและนักการเมือง ต้องเข้าใจความเดือดร้อนของชุมชน ทุกคนต่างเสียภาษี เป็นหม้อข้าวหม้อแกงขอสังคม ช่วยสร้างประเทศ ช่วยแข่งขันกับต่างชาติ แต่ไม่มีฝ่ายไหนมาช่วยเหลือดูแล นี่เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะดูแลตรงนี้มากขึ้น ต้องมีกระบวนการในการจัดการระหว่างการจัดการการชุมนุมและความเดือดร้อนของประชาชนทั่วไปด้วย
 
“เราขีดเส้นแยกการเมืองกับเศรษฐกิจมานานเกินไป แต่ผมคิดว่ามันแยกกันไม่ได้ ประชาชนต้องเข้ามารับรู้และร่วมกันออกความเห็นว่าอะไรรับได้และอะไรรับไม่ได้” นายชายให้ความเห็น
 
นายชายยังกล่าวอีกว่า โจทย์ยากที่สุดคือการผลักดัน พ.ร.บ.การชุมนุม เขาได้คุยกับฝ่าย NGOs และนักเคลื่อนไหวทางสังคม แต่พวกเขาไม่ตกลง และอยากให้สื่อทำความเข้าใจ พ.ร.บ.นี้ให้มากขึ้น ใจความสำคัญของพ.ร.บ.นี้ คือการ “แจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบ” ว่าจะมีการชุมนุม ไม่ใช่การ “ขออนุญาต”
 
“แต่เขาก็ให้ความคิดเห็นที่น่าสนใจว่า กรุงเทพฯ ไม่มีที่ให้เขาชุมนุม ต่างจากในต่างประเทศ เพราะการมาชุมนุมชุมนุมแต่ละกลุ่มก็ต้องอยากให้มีเสียง มีน้ำหนัก ให้คนได้ยิน การชุมนุมเลยต้องมีการละเมิดผู้อื่นบ้าง แต่นิดหน่อยพอรับได้ เพราะเขาเป็นผู้ด้อยโอกาส เขาก็ไม่มีเงินในการจัดการการชุมนุม เขามาเพราะเดือดร้อนจริงๆ” นายชายกล่าว
 
ตำรวจโอดกำลังคนน้อยทำงานลำบาก ชี้ “แจ้งให้ทราบก่อน” ช่วยให้แยกถูก-ผิดได้ง่าย
 
พล.ต.ต.ประวุฒิ กล่าวว่า โครงสร้างของตำรวจในเมือง (หน่วยสวาท หน่วยอรินทราช ฯลฯ) ไม่ได้ถูกออกแบบให้มาควบคุมการชุมนุมขนาดใหญ่ และมีแค่พันกว่านายเท่านั้น เวลามีการชุมนุมใหญ่จึงต้องมีการระดมตำรวจมาจากต่างจังหวัดหลายร้อยกองร้อย หรือประมาณสามหมื่นคน ซึ่งเป็นตำรวจที่ไม่ได้ผ่านการฝึกการควบคุมการชุมนุม บางนายอายุมาก บางนายเป็นพนักงานพิมพ์ดีด เมื่อถูกดึงกำลังมาคุมม็อบพื้นที่เดิมก็จะถูกทิ้ง เกิดความรู้สึกกดดัน การชุมนุมตลอด 3-4 ปีที่ผ่านมาเป็นแบบนี้มาตลอด อาชญากรรมในชุมชนจึงเริ่มสูงขึ้น
 
“ผมได้รับคำบ่นว่าตำรวจใส่เกียร์ว่าง แต่ไม่รู้ว่าจะทำอะไรจริงๆ ถ้าผมนำกำลังเข้าไปจับแกนนำ แต่ผมทำคนตาย 40 คนมันก็ไม่ได้” พล.ต.ต.ประวุฒิ กล่าว
 
โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวเสริมว่า พ.ร.บ.การชุมนุมนี้ จะช่วยแยกแยะว่าการชุมนุมนั้นๆ เกิดขึ้นอย่างถูกต้องหรือไม่ ตลอดเวลาที่ผ่านมา มีการใช้กฎหมายอาญา มาตรา 215 (ผู้ใดมั่วสุมกันตั้งแต่สิบคนขึ้นไป ใช้กำลังประทุษร้าย ขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย หรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดการวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง) ในการฟ้องต่อศาล แต่อัยการไม่สั่งฟ้อง ยกเว้นกรณีเดียวคือการชุมนุมหน้าบ้านพลเอกเปรม มีเจตนาก่อให้เกิดความไม่สงบอย่างชัดเจน แต่เหตุการณ์ที่อยู่กลางๆ เราทำอะไรไม่ได้ ทั้งที่จริงต้องทำ
 
พล.ต.ต.ประวุฒิ ระบุด้วยว่า ถ้ามีกฎหมายนี้มาเจ้าหน้าที่จะแยกแยะความถูกผิดได้ชัดเจนขึ้น “ต้องมีการแจ้งก่อน” ที่จะมีการชุมนุม เพื่อการเตรียมความพร้อมเพื่ออำนวยการสะดวก และดูแลชุมชนด้วย กฎหมายที่มีอยู่มีแต่ “เบาไป” กับ “หนักไป” เจ้าหน้าที่สามารถใช้ พ.ร.บ.มั่นคงได้ก็จริงอยู่ แต่เหมือนล้อมไฟไม่ให้ลุกลามเท่านั้นเอง ไม่สามารถดับไฟหรือแก้ไขปัญหาจริงๆ ที่เกิดขึ้นได้
 
ชี้กฏหมายเปิดช่องใช้เครื่องมือควบคุมฝูงชนตามคำสั่งนายกฯ ให้อำนาจมากเกินไป
 
นายปริญญา กล่าวว่า ขอค้านที่โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติกล่าว คือเราไม่มี “เบา” เรามีแต่ “หนัก” คือนองเลือดไปเลย มีการใช้เครื่องมือการปราบจลาจล อย่างการชุมนุมหน้ารัฐสภาของคนงานไทรอาร์ม ที่มีการนำอุปกรณ์ปราบจลาจลไปใช้ในการปราบ คือ เครื่องหูดับหรือ LRAD ทั้งที่การชุมนุมครั้งนั้นอยู่ในเงื่อนไขที่สงบและปราศจากอาวุธอย่างชัดเจน
 
ประเทศเสรีประชาธิปไตยที่มีกฎหมายควบคุมการชุมนุมนั้นใช้ระบบ “แจ้งให้ทราบ” บางประเทศไม่มีกฎหมายการชุมนุม เช่น อเมริกา แต่สามารถควบคุมได้ กับประเทศที่มีกฎหมายการชุมนุม แบ่งเป็น “ขออนุญาต” (จีน ซึ่งไม่ใช่ประชาธิปไตย) กับ “แจ้งให้ทราบ” (เกาหลีใต้และฟิลิปปินส์) หากมีการแจ้งให้ทราบแล้วเป็นการชุมนุมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย คือ สถานที่ไม่พร้อม เจ้าหน้าที่ก็จะสั่งห้ามชุมนุม หากประชาชนไม่เห็นด้วย ก็ส่งเรื่องไปที่ศาลปกครอง เช่นในเยอรมันและฝรั่งเศส
 
“กระบวนการจึงใช้เวลาไม่มาก อย่างในฟิลิปปินส์นี่น่าสนใจ เพราะศาลต้องพิจารณาให้เสร็จภายใน 24 ชม.ของเรา 72 ชั่วโมง ผมคิดว่า 72 ชม.นั้นยาวไป” กรรมการสถาบันสัญญา ธรรมศักดิ์ เพื่อประชาธิปไตย กล่าว
 
นายปริญญา กล่าวด้วยว่า กฎหมายฉบับนี้จึงมีข้อจำกัดเรื่องสถานที่ เวลา และการกำหนดอำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ มันอาจจะขาดความสมบูรณ์ไป สถานที่ที่ห้ามไม่ให้ชุมนุมของประเทศอื่นคือ สถานที่พักของกษัตริย์ รัฐสภา สถานที่ที่มีการจราจรขนส่ง ศาสนสถาน และสถานทูต แต่ของเราคือ “ห้ามกีดขวางทางเข้าออก” เฉยๆ ซึ่งถือว่าผ่อนผันมาก ผู้ประสงค์จะชุมนุมต้องไปแจ้งหัวหน้าสถานีตำรวจในท้องที่นั้นๆ ถ้าไม่แจ้งคือปรับแค่ 1,000 บาท อีกประการหนึ่งที่เป็นปัญหา คือ หากเจ้าหน้าที่เห็นว่าเห็นว่าการชุมนุมในที่นั้นขัดต่อกฎหมายก็จะแจ้งต่อศาล ให้ศาลมีคำสั่งห้ามชุมนุม ซึ่งเป็นเรื่องแปลกที่เราไม่ใช้ “ศาลปกครอง” ทั้งที่เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการปกครองทั้งหมด กลับไปใช้ “ศาลแพ่ง”
 
“เท่าที่ผมทราบไม่เห็นประเทศไหนให้ศาลสั่งห้าม มีแต่ตำรวจสั่งห้ามเองโดยตรง ในระหว่างที่รอคำสั่งศาล ศาลอาจใช้เวลาหลายวัน หากผู้ชุมนุมเกิดทนไม่ไหวแล้วชุมนุมก็จะกลายเป็นการชุมนุมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไป ตรงนี้ก็จะเป็นจุดที่น่าสับสน” ผศ.ดร.ปริญญา เสริม
 
สิ่งที่ยังไม่ชัดเจนในร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้คือ หากใครยังอยู่ในพื้นที่ที่ให้ย้ายออก ก็จะ “ดำเนินการให้เลิกการชุมนุม” คำใหม่อีกคำหนึ่งของคำว่า “การสลายการชุมนุม” กล่าวคือ มีการจับกุม ตรวจค้น หรือยึดทรัพย์สิน สุดท้ายหากคนมาก ควบคุมไม่ได้แล้ว ก็ต้องประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินหรือเปล่า
 
ข้อที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ เจ้าพนักงานต้องผ่านการฝึกอบรม ให้อดทนต่อสถานการณ์ ต้องแต่งเครื่องแบบ และอาจใช้เครื่องมือควบคุมฝูงชนได้ตามคำสั่งของนายกฯ ต้องมีการใส่รายละเอียดมากกว่านี้ เพราะอาจเป็นการให้อำนาจนายกฯ มากเกินไป
 
“สมมติว่าร่างกฎหมายนี้ถูกประกาศใช้ กฎหมายที่มีอยู่ยังบังคับใช้ไม่ได้เลย กฎหมายที่ออกใหม่จะใช้ได้ไหม? ขนาดศาลมีคำสั่งให้เลิกชุมนุมหลายครั้งยังไม่เลิก กฎหมายใหม่จะได้ผลหรือ? ด้วยความเคารพ”
 
พ.ร.บ.นี้ จะช่วย “สอน” ให้คนไทยรู้จัก “หน้าที่” มากขึ้น
 
นายปกรณ์ กล่าวว่า เมื่อมีคนใช้สิทธิเราก็ต้องยอมเดือดร้อนบ้าง นั่นเป็นการพูดอย่างมักง่าย การใช้สิทธิที่เดือดร้อนถึงผู้อื่นมันคือการไม่ชอบด้วยกฎหมาย หลักนี้มีมานานแล้ว แต่เราถูกสอนให้รู้จักแต่ตัวเอง รู้จักแต่สิทธิแต่ไม่รู้จักหน้าที่ ทั้งนี้ หลักในการร่างกฎหมายฉบับนี้คือการป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดจากการชุมนุม ครอบคลุมการชุมนุมทุกพื้นที่ในประเทศ แต่หากมีอะไรที่รุนแรงจริงๆ กฎหมายนี้ก็เอาไม่อยู่ กฎหมายอะไรก็คุมไม่อยู่ พ.ร.ก.ฉุกเฉินก็เอาไม่อยู่ หลักจริงๆ คือเราพยายามสอนให้คนรู้จักหน้าที่ในการชุมนุม ซึ่งเราไม่เคยมีการสอนคนในเรื่องนี้
 
กรมการร่างกฎหมายประจำสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา กล่าวด้วยว่า กฎหมายนี้เน้นไปที่ ผู้จัดการชุมนุม ผู้ชุมนุม และเจ้าหน้าที่ของรัฐ ในการอำนวยการสะดวกและควบคุมการชุมนุม ต้องแจ้งให้ตำรวจได้รับรู้เพื่ออำนวยความสะดวกและดูแล นอกเหนือจากนั้นก็เป็นหน้าที่ของ “ศาลแพ่ง” ที่เป็นหน้าที่ของศาลแพ่ง เพราะมีอยู่ทุกจังหวัด
 
ผู้จัดการการชุมนุมต้องชุมนุมอย่างสงบและปราศจากอาวุธ ไม่ขัดขวางประชาชนอื่นที่จะใช้สถานที่สาธารณะ และผู้จัดการการชุมนุมต้องอยู่ที่ชุมนุมตลอด เพื่อคอยเตือนผู้ชุมนุมให้อยู่ในกรอบกฎหมายอยู่ตลอดเวลา รัฐต้องมีหน้าที่ดูแลการชุมนุมให้เป็นไปโดยเรียบร้อย ก่อนการชุมนุมตำรวจต้องประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับรู้ว่าจะมีการชุมนุม และตำรวจจะไม่เข้าไปยุ่งในการชุมนุมเว้นเสียแต่ว่าผู้ชุมนุมจะเป็นผู้ร้องขอ
 
ร่วมแสดงความคิดเห็น ชี้กม.ให้ต้องตอบคำถาม เรื่อง “สิทธิ” และ “เสรีภาพ”
 
นายวรัญชัย โชคชนะ นักเคลื่อนไหวทางการเมือง กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยกับการนำความบกพร่องของการชุมนุมของเสื้อแดงและเสื้อเหลืองมาเป็นที่มาของกฎหมาย เราปกครองระบอบประชาธิปไตย ไม่ใช่พม่า เสรีภาพคือการชุมนุม ไม่ใช่สิทธิ มองว่ากฎหมายที่จะออกมาใหม่นั้น ในทางปฏิบัติแล้วทำไม่ได้จริง และจะใช้ได้กับผู้ชุมนุมกลุ่มเล็กๆเท่านั้น แต่กับฝูงชนที่มีจำนวนมาก กฎหมายนี้ทำไม่ได้แน่นอน และยังเสนอว่าเมื่อมีการชุมนุมใดๆ รัฐบาลต้องรีบลงมาเจรจาแก้ไขปัญหาทันที ถ้าลงมาเจรจาเร็ว เขาก็เลิกเร็ว แต่เมื่อไม่มีการเจรจา การชุมนุมค้างคืนก็ต้องมีอยู่
 
ด้าน นางสาวพรนภา มีนะ ตัวแทนจากสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน กล่าวว่า ด้านคณะกรรมการสิทธิฯ มีการพูดคุยกันถึงเรื่องกฎหมายนี้และไม่ได้มีการคัดค้าน แต่เห็นว่ากฎหมายฉบับนี้มีประเด็นปัญหาอยู่มาก ตั้งแต่การให้คำนิยามหลายๆ คำ เมื่ออ่านแล้วก็จะเห็นถึงความไม่ปกติของ อย่างเช่น คำว่า “ที่สาธารณะ” หรือคำว่า “ทางหลวง”
 
อีกประเด็นหนึ่งคือการให้ศาลแพ่งเข้ามายุ่งเกี่ยว เพราะศาลแพ่งมีทุกจังหวัดนั้นเหตุผลไม่พอเรื่องนี้เป็นเรื่องของการปกครอง วิธีพิจารณาความแตกต่างกัน ข้อสังเกตอีกข้อหนึ่งคือ ในมาตรา 7 (2) คือ การชุมนุมต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย สงสัยว่าต้องเป็นกฎหมายฉบับใดเพราะเพราะมีกฎหมายอยู่มาก
 
นอกจากนั้นก็มีข้อบกพร่องอีกมากมาย กฎหมายฉบับนี้ควรมีการเปิดให้ประชาชนได้ออกมาแสดงความคิดเห็น เราควรจะแยกการชุมนุมทางการเมืองกับการชุมนุมของชาวนาหรือคนตัวเล็กตัวน้อยที่ไม่มีอำนาจการต่อรองทางการเมืองหรือไม่ การพิจารณากฎหมายฉบับนี้ควรเป็นไปด้วยความรอบคอบ
 
ส่วนประเด็นที่กระทบต่อสิทธิมนุษยชนนั้น คือ เหตุแห่งการให้เลิกหรือสลายการชุมนุม ความร้ายแรงของความผิดที่จะสามารถสั่งให้สลายการชุมนุมนั้นต้องมีความรุนแรงแค่ไหน และการกำหนดให้เจ้าหน้าที่ของรัฐยึดทรัพย์สินได้ในฐานะผิดซึ่งหน้า เป็นอำนาจที่มากเกินไป

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ภัควดี ไม่มีนามสกุล: ศาสนาไม่เกี่ยวกับการทำให้คนเป็นคนดี

Posted: 22 Mar 2011 10:02 PM PDT

ความเชื่อที่ฝังหัวในสังคมไทยว่า ศาสนาเป็นสิ่งที่ดีเพราะทำให้คนเป็นคนดี ทำให้เกิดหลักปฏิบัติและนโยบายแปลก ๆ ไร้สาระขึ้นมามากมาย แม้จะไม่ประกาศออกมาตรง ๆ แต่รัฐไทยก็กลายเป็นรัฐศาสนาแบบแอบแฝงหรือโดยพฤตินัยมากขึ้นทุกที ๆ การบังคับสอนศาสนาในโรงเรียน การบังคับให้เยาวชนเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนา ตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงมหาวิทยาลัย การห้ามขายสุราในวันพระ การเทศน์ทางวิทยุและโทรทัศน์หรือผ่านหอกระจายเสียงในหมู่บ้าน แม้กระทั่งความพยายามที่จะผลักดันให้ระบุว่าศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติหรือระบุศาสนาลงในบัตรประชาชน ฯลฯ ทั้งหมดนี้คืออาการเข้าใกล้ความคลั่งศาสนาเข้าไปทุกที ๆ ผู้เขียนจะไม่แปลกใจเลยหากในอนาคตเกิดสงครามศาสนาขึ้นมาในสังคมไทย

ทั้งหลายทั้งมวลนี้ล้วนกระทำลงไปด้วยข้ออ้างเจตนาดี ด้วยความเชื่อว่าความเสื่อมทรามทางศีลธรรมของประชาชน โดยเฉพาะในหมู่วัยรุ่น (ผู้เขียนไม่เคยเข้าใจว่าทำไมต้องพุ่งเป้าไปที่วัยรุ่นอยู่เรื่อย) จะได้รับการแก้ไขหากมีศาสนามากล่อมเกลาจิตใจ คนไทยถูกฝังหัวมาตั้งแต่เกิดว่า ศาสนาดีหมดทุกศาสนาเพราะทำให้คนเป็นคนดี หลักจริยธรรมแบบพื้น ๆ ตามสามัญสำนึกของมนุษย์อย่างศีลห้าในพุทธศาสนา ถูกยกย่องจนเลิศเลอราวกับไม่มีมนุษย์คนไหนคิดออกก่อนเจ้าชายสิทธัตถะ หรือไม่มีมนุษย์ชาติไหนคิดได้นอกจากชาวเนปาล/อินเดียเมื่อสองพันกว่าปีก่อน

คนไทยจำนวนมากคิดว่า คนไม่มีศาสนามีแนวโน้มจะเป็นคนชั่วหรือนิยมวัตถุมากกว่าคนมีศาสนา ผู้เขียนเคยอ่านบทความในนิตยสารฉบับหนึ่ง ซึ่งสัมภาษณ์ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นแฟนพันธุ์แท้ประเทศเกาหลีใต้ (จำไม่ได้ว่าชนะการแข่งขันมาหรือถูกอุปโลกน์มาอย่างไร) แฟนพันธุ์แท้ผู้นี้กล่าวว่า คนเกาหลีใต้มักมีแนวโน้มบริโภคนิยมและนิยมวัตถุเพราะไม่มีศาสนา แต่ข้อกล่าวอ้างของเขาพิสูจน์ในเชิงประจักษ์ไม่ได้เลย เพราะประเทศที่มีศาสนาและค่อนไปข้างคลั่งศาสนา อาทิเช่น ประเทศไทย สหรัฐอเมริกา ฟิลิปปินส์ ฯลฯ ก็ขึ้นชื่อลือชาในด้านการช้อปปิ้งและบ้าคลั่งการบริโภค น่าจะหนักข้อยิ่งกว่าประเทศที่ไม่มีศาสนาอย่างญี่ปุ่นหรือเนเธอร์แลนด์ด้วยซ้ำไป ประเทศไทยนั้นพิเศษยิ่งกว่าประเทศอื่น ตรงที่ศาสนาพุทธในประเทศไทยเองก็มีลักษณะพาณิชย์นิยมอย่างสามานย์ พระสงฆ์ มัคนายก อุบาสกอุบาสิกา พุทธมามกะทั้งหลายล้วนคลั่งไคล้ในวัตถุอย่างชนิดหาที่เปรียบมิได้ในโลก

ผู้เขียนอยากเสนอทัศนะประการหนึ่ง กล่าวคือ โดยเนื้อแท้แล้ว ศาสนาไม่ได้มีหน้าที่ทำให้คนเป็นคนดี คำว่า “คนดี” ในที่นี้คงต้องตีความกันวุ่นวายพอสมควร แต่ผู้เขียนนิยาม “คนดี” ง่าย ๆ ว่า คนที่สามารถดำเนินชีวิตอย่างปรกติในสังคมโดยไม่ฝ่าฝืนระเบียบสังคมนั้นจนถึงขั้นก่อความวุ่นวายหรือสร้างความเดือดร้อนแก่คนอื่น การฝ่าฝืนระเบียบสังคม เช่น การฆ่า การลักขโมย การฉ้อโกง การเอาเปรียบอย่างเกินขอบเขต การข่มขืน ฯลฯ อาจกล่าวได้ว่า ศีลห้าในศาสนาพุทธเป็นระเบียบสังคมอย่างหนึ่ง แต่เป็นระเบียบที่ค่อนข้างตื้นเขินผิวเผิน อาทิเช่น ศีลห้าไม่ได้แตะต้องเรื่องความเหลื่อมล้ำทางสังคมและไม่ได้พูดถึงความเสมอภาคของมนุษย์ เป็นต้น ในระเบียบสังคมของชุมชนยุคบุพกาลหลาย ๆ แห่งยังมีความแยบยลและครอบคลุมมากกว่าศีลห้าด้วยซ้ำไป

มีแต่คนโง่เขลาหรือจงใจปิดหูปิดตาเท่านั้นที่จะเชื่อว่า ก่อนมีศาสนาเกิดขึ้นในโลก มนุษย์ไม่สามารถอยู่ร่วมกันเป็นสังคมอย่างปรกติสุข ต้องรอจนศาสนาเกิดขึ้นก่อนจึงจะมีความสันติสุขเกิดขึ้น ถ้าหากเพียงแค่ศีลห้ายังคิดไม่ได้ มนุษยชาติที่ก่อเกิดดำรงอยู่มานานหลายพันหลายหมื่นปีคงฆ่ากันตายจนเจ้าชายสิทธัตถะไม่ได้เกิด การศึกษาด้านประวัติศาสตร์อารยธรรมโลกและด้านมานุษยวิทยาสังคมวิทยาบอกให้เรารู้ว่า มนุษย์อยู่กันเป็นสังคมปรกติสุขมากบ้างน้อยบ้างมาโดยตลอด จะมีศาสนาหรือไม่มี จะนับถือผีฟ้าตาเถนหรือเทพเจ้าก็ตามที แต่สังคมมนุษย์ดำรงอยู่ก่อนจะเกิดศาสนา และการที่สังคมมนุษย์จะดำรงอยู่ได้ คนส่วนใหญ่ที่ประกอบกันขึ้นเป็นสังคมก็ต้องเป็น “คนดี” กันในระดับหนึ่ง ไม่อย่างนั้นสังคมก็ต้องพังทลายกันไปตั้งแต่ยุคนีแอนเดอร์ธัลแล้ว

มนุษย์เป็นสัตว์สังคม นี่เป็นการพูดให้ฟังดูเพราะ พูดตรง ๆ อีกอย่างหนึ่งก็คือ มนุษย์เป็นสัตว์รวมฝูง ไม่ต่างจากสุนัขหรือแกะ นับตั้งแต่มีมนุษย์เกิดขึ้น มนุษย์ก็ดำเนินชีวิตในชุมชน (ผู้เขียนใช้คำนี้โดยไม่มีความหมายแบบพวกลัทธิชุมชนนิยมใด ๆ ทั้งสิ้น) มโนทัศน์ที่วาดภาพปัจเจกมนุษย์ยุคโบราณดำเนินชีวิตโดดเดี่ยวในป่าเขาลำเนาไพรก็เป็นนิยายอีกเรื่องหนึ่งที่หาความจริงใด ๆ ไม่ได้ มนุษย์ต้องอยู่ในชุมชนในฐานะสัตว์รวมฝูง และชุมชนใด ๆ จะดำรงอยู่ได้ก็ต้องมีกติกา พฤติกรรมมนุษย์จึงถูกกำกับด้วยชุมชนหรือสังคมที่เขาอาศัย นอกเหนือจากคนส่วนน้อยที่มีพฤติกรรมเบี่ยงเบนเนื่องจากสาเหตุต่าง ๆ มนุษย์ปรกติส่วนใหญ่มักยอมรับกติกาและประพฤติปฏิบัติตามกติกา กล่าวอีกอย่างหนึ่งคือ มนุษย์ส่วนใหญ่เป็น “คนดี” เพราะมันเป็นพื้นฐานของสัญชาตญาณสัตว์รวมฝูง

ดังนั้น ความเป็น “คนดี” ของมนุษย์จึงขึ้นอยู่กับการมีกติกาของชุมชนหรือสังคมกำกับเอาไว้ การเป็นคนดีไม่เกี่ยวกับศาสนาใด ๆ ทั้งสิ้น หากเข้าใจข้อนี้แล้ว เราก็สามารถเข้าใจเหตุการณ์มากมายในประวัติศาสตร์ “ความชั่ว” ครั้งมโหฬารในประวัติศาสตร์มนุษย์มักเกิดจากการขาดการกำกับดูแลของสังคม ในศตวรรษที่ 15 เมื่อชาวสเปนค้นพบ “โลกใหม่” ที่ทวีปอเมริกา ชาวสเปนในยุคนั้นขึ้นชื่อว่าเป็นคนคลั่งไคล้เข้าขั้นงมงายในศาสนาคริสต์ แต่เหตุใดคนเหล่านี้จึงสามารถฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวพื้นเมืองอย่างเหี้ยมโหดผิดมนุษย์พร้อมกับทำไม้กางเขนไปด้วย? นักประวัติศาสตร์บางคนอธิบายว่า เพราะนักแสวงโชคที่เดินเรือไปกับโคลัมบัสหรือปิซาร์โรเป็นพวกโจรสลัดเดนมนุษย์ ถ้าเช่นนั้น คนเหล่านี้ถือได้ว่าเป็น “คนนอก” อยู่แล้วในสังคมชุมชนของตน เมื่อเดินทางไปถึงทวีปอเมริกา พวกเขาจึงยิ่งไม่มีกติกาอะไรมากำกับดูแลพฤติกรรมของตน ดังนั้นต่อให้มีศาสนาในใจ รักพระเจ้าอย่างสุดซึ้งและห้อยไม้กางเขน แต่ก็ไม่มีอะไรมาสกัดกั้นไม่ให้พวกเขาโยนเด็กทารกให้สุนัขกิน

ตัวอย่างข้างต้นอาจถูกแย้งว่า เพราะนักแสวงโชคพวกนี้ไร้การศึกษาป่าเถื่อนอยู่แล้ว เราลองดูอีกตัวอย่างหนึ่ง ในสมัยที่อินโดนีเซียตกเป็นอาณานิคมของดัทช์ ชาวดัทช์ที่เข้ามาปกครองอาณานิคมหมู่เกาะอินดีสตะวันออกนี้ก็มีพฤติกรรมโหดร้ายทารุณไม่แพ้นักแสวงโชคของโคลัมบัส แต่ต่างกันที่ชาวดัทช์เหล่านี้มีการศึกษา มีหน้ามีตามีสถานะสูงในสังคมของตนที่ยุโรป และเวลาอยู่ในยุโรปก็ถือเป็น “คนดี” ของสังคม แต่เหตุใดเมื่อพวกเขามาปกครองอาณานิคมในเอเชีย พฤติกรรมของพวกเขาจึงเปลี่ยนไปชนิดหน้ามือเป็นหลังเท้า? ทั้งนี้ก็เพราะเมื่อเข้ามาอยู่ในดินแดนอาณานิคม พวกเขาดำรงสถานะ “คนนอก” และ “เหนือกว่า” พร้อมกันไป กติกาของชุมชนชวาหรือหมู่เกาะโมลุกกะย่อมไม่สามารถเอื้อมเข้าไปกำกับดูแลพฤติกรรมของชาวดัทช์เหล่านี้ได้ เมื่อหลุดพ้นจากกติกาและการกำกับดูแลของสังคม มนุษย์ที่เคยเป็น “คนดี” ในสังคมอื่นก็กลับกลายเป็นคนใจดำอำมหิตทันที

ความชั่วอย่างมโหฬารมักเกิดขึ้นในกลุ่มคนที่อยู่ในสถานะที่ไม่ถูกกำกับดูแลหรือตรวจสอบ เช่น ผู้นำเผด็จการ ผู้นำฟาสซิสต์หรือนาซี แม้แต่ผู้นำประเทศปฏิวัติสังคมนิยมอย่างจีนหรือรัสเซีย กษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ก็ขึ้นชื่อไม่น้อยในเรื่องของความโหดเหี้ยม ความวิปริตและสำส่อนทางเพศ การมีเพศสัมพันธ์ในพี่น้อง ความฟุ้งเฟ้อในวังขณะที่ประชาชนอดอยาก ลองนึกถึงจักรพรรดิจีน จักรพรรดิโรมัน จักรพรรดิฝรั่งเศส ความชั่วที่เกิดขึ้นไม่ใช่เรื่องสันดานหรือสายเลือด แต่เป็นเพราะมนุษย์เหล่านี้อยู่พ้นจากการกำกับดูแลและกติกาของสังคม พวกเขาจึงทำอะไรก็ได้โดยไม่ต้องกริ่งเกรงต่อการถูกประณามหรือลงโทษ ส่วนราชวงศ์กษัตริย์ในยุคสมัยใหม่ที่อยู่ภายใต้การตรวจสอบจากประชาชนและสื่อ วิพากษ์วิจารณ์หรือกระทั่งติเตียนได้ กษัตริย์และราชนิกูลก็ต้องปรับตัวและมีพฤติกรรมตามหลักจริยธรรมพื้นฐานของสังคม ลดความฟุ้งเฟ้อลง หรือกระทั่งพยายามทำตัวให้มีประโยชน์ต่อสังคม ตัวอย่างก็มีเช่น พระราชินีของเนเธอร์แลนด์ เป็นต้น

ในเมื่อการมีศาสนาไม่เกี่ยวกับการเป็นคนดี ศาสนาจึงแก้ปัญหาสังคมไม่ได้ และไม่ควรนำศาสนามาแก้ปัญหาสังคมด้วย ทั้งนี้เพราะบทบัญญัติทางศาสนามักมีลักษณะบังคับไม่เปิดกว้าง เช่น ศีลข้อห้าในเรื่องการงดเว้นสุราและของมึนเมา แต่สุราเป็นสิ่งที่ดำรงอยู่ในสังคมมนุษย์ยาวนาน ทั้งยังไม่ปรากฏว่าสุราก่อให้เกิดสงครามสุรา แต่ศาสนาก่อให้เกิดสงครามศาสนาได้ การบังคับแบบศาสนาไม่ใช่เรื่องผิด แต่มันควรใช้กับผู้มีศรัทธาในศาสนาเท่านั้น หากนำบทบัญญัติทางศาสนามาบังคับสังคม มันจะทำลายหรือจำกัดเสรีภาพทั้งทางความคิดและการดำเนินชีวิตของมนุษย์ในหลายแง่มุมเลยทีเดียว อีกทั้งก็ไม่มีหลักประกันด้วยว่าจะทำให้คนในสังคมเป็นคนดี ศาสนาไม่แก้ปัญหาทางเศรษฐกิจ เพราะการสอนให้รักพระเจ้าหรือรู้จักพอไม่ช่วยแก้ปัญหาท้องหิว หลายครั้งศาสนามักขูดรีดมูลค่าส่วนเกินจากการผลิตของประชาชนด้วยซ้ำ ในภาคเหนือ เช่น ในจังหวัดเชียงใหม่นั้น วัดเป็นตัวดูดซับมูลค่าส่วนเกินของประชาชน ทั้งในรูปของการสร้างวัด พิธีกรรม งานศพ งานบุญ ฯลฯ ยังไม่มีการวิเคราะห์ว่าความยากจนของชาวบ้านในจังหวัดเชียงใหม่เป็นผลมาจากวัดมากน้อยแค่ไหน

ถ้าเช่นนั้น ศาสนาดำรงอยู่ในสถานะอะไร? ในทัศนะของผู้เขียน ศาสนามีไว้เพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของปัจเจกบุคคลที่ต้องการเครื่องยึดเหนี่ยวเท่านั้นเอง สำหรับคนที่มีความทุกข์เพราะไม่พอใจบางสิ่งบางอย่างในชีวิต มีความกลัว เช่น กลัวความไม่แน่นอน กลัวความตาย เป็นต้น หรือสำหรับคนที่ไม่มีปัญหาอะไรในชีวิต แค่อยากมีศาสนาเฉย ๆ ศาสนาเป็นเรื่องของปัจเจกบุคคลล้วน ๆ จึงไม่ควรนำศาสนามาอยู่ในโรงเรียน ในรัฐธรรมนูญหรือในกฎหมาย รัฐกับศาสนาควรแยกจากกันอย่างเด็ดขาด ไม่ควรยัดเยียดศาสนาให้ประชาชนอย่างที่รัฐไทยทำอยู่ทุกวันนี้ ยิ่งการพยายามนำศาสนามาแก้ปัญหาสังคมอย่างที่กระทำกันอยู่ นับเป็นเรื่องโง่เขลาและเปล่าประโยชน์โดยแท้ นอกจากแก้ปัญหาไม่ได้แล้ว ลงท้ายก็ยิ่งเปิดโปงให้เห็นความเปล่าประโยชน์ของศาสนา ดังที่มีรายงานว่าทุกวันนี้ในประเทศไทยมีคนบวชเป็นภิกษุสามเณรน้อยลงทุกที ๆ นี่มิใช่ความผิดของประชาชนไทย แต่เป็นความพลาดของบุคคลในวงการศาสนาของประเทศไทยเองต่างหากที่ไม่รู้จักสถานะที่ถูกต้องของศาสนา

การลากศาสนามาเกี่ยวข้องกับกติกาสังคมจะยิ่งทำลายศาสนาลง หากคนในวงการศาสนาต้องการให้ศาสนาดำรงอยู่อย่างมั่นคง พวกเขาควรตระหนักว่า ศาสนาเป็นแค่เครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจและเป็นแค่เครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของปัจเจกบุคคลเท่านั้น ไม่มีอะไรมากกว่านั้น
 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ชำนาญ จันทร์เรือง: สื่อต้องทำหน้าที่

Posted: 22 Mar 2011 09:52 PM PDT

 

ใครจะว่าอย่างไรก็แล้วแต่ จากการติดตามการอภิปรายไม่ไว้วางใจในระหว่างวันที่ 15-19 มีนาคมที่ผ่านมา ผมเห็นว่าดีขึ้นและมีประโยชน์ขึ้น ถึงแม้ว่าจะมี ส.ส.บางคนแสดงธาตุแท้หรือสันดานเดิมออกมาด่าคนอื่นว่า “พ่อมึงเหรอ” “ไอ้นั่น” ฯลฯ และถึงแม้ว่ากองเชียร์ของแต่ละฝ่ายต่างก็ไม่เปิดใจกว้างรับข้อมูลของอีกฝ่ายก็ตาม และที่สำคัญผมไม่เชื่อโพลต่างๆที่ออกมาว่าใครแพ้ ใครชนะ หรือการอภิปรายครั้งนี้ก็เหมือนๆเดิม หรือไม่มีข้อมูลใหม่ เพราะผมไม่เชื่อกลุ่มตัวอย่างที่สำนักโพลทั้งหลายสำรวจมานั้นจะฟังการอภิปรายกันทุกคนและเกือบตลอดเวลาการอภิปราย เผลอๆกลุ่มตัวอย่างก็ฟังเอาจากสื่อต่างๆหรือจากการพูดคุยกันเท่านั้นเอง

แต่ที่แน่ๆผมเห็นว่าการอภิปรายไม่ไว้วางใจทุกครั้งเป็นการเรียนรู้ทางการเมืองที่ดีอย่างหนึ่งแม้ว่าอาจจะได้ตัวอย่างที่ไม่ดีจาก ส.ส.บางคนก็ตาม ส่วนผลการลงคะแนนเสียงนั้นก็เป็นที่รู้ๆกันอยู่แล้วว่าผลจะออกมาเป็นอย่างไร แต่ก็เป็นที่น่าสังเกตว่า ผู้ที่ถูกอภิปรายแล้วแก้ข้อกล่าวได้แย่ที่สุดกลับได้คะแนนมากที่สุด ซึ่งก็เป็นเรื่องของหมากกลทางการเมืองที่น่าศึกษาว่าวิชามารต่างๆในทางการเมืองย่อมมีเล่ห์เหลี่ยมใหม่ๆอยู่เสมอ

จากข้อมูลที่นำมาใช้ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจในครั้งนี้ ทั้งฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาลต่างฝ่ายต่างตีความเข้าข้างตนเอง เช่น กรณีการเผาห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเวิลด์ คนที่อยู่กลางๆฟังข้อมูลทั้งสองฝ่ายแล้วไม่สามารถบอกได้ว่าใครพูดจริง ใครพูดเท็จ เพราะต่างฝ่ายต่างนำเสนอข้อมูลที่เป็นประโยชน์เข้าข้างตนเอง แต่ในด้านข้อมูลด้านข้าวของราคาแพง หรือเรื่องน้ำมันปาล์มนั้นต้องยอมรับว่าฝ่ายค้านทำการบ้านมาค่อนข้างดี แต่ก็ยังไม่ดีถึงที่สุดเพราะไม่สามารถสืบสานถึงต้นตอตัวบุคคลที่ทำการทุจริตจนสร้างความเดือดให้แก่ชาวบ้านได้ มีแต่ใช้ตัวย่ออ้อมไปอ้อมมา

แล้วเราควรจะทำอย่างไรต่อไป

ถึงแม้ว่าการอภิปรายไม่ไว้วางใจในครั้งนี้จะไม่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง แต่ก็ทำให้เราได้รู้อะไรมากขึ้น ถึงแม้ว่าจะไม่มากเท่าไหร่ก็ตาม แต่มันมีประเด็นที่ทำให้ชวนติดตามให้กระจ่าง มิใช่ปล่อยให้ผ่านเลยไปเหมือนทุกครั้งที่ผ่านๆมา การค้นหาความจริงเราจะหวังพึ่งจากภาครัฐนั้นเป็นไปได้ยาก ฉะนั้น จึงเหลือแต่เพียงการค้นหาความจริงจากภาคประชาชนและสื่อสารมวลชนที่เป็นอิสระ

ลำพังแต่เพียงภาคประชาชนย่อมเป็นไปได้ยากเพราะข้อมูลต่างๆล้วนแล้วแต่อยู่ในการครอบครองของฝ่ายรัฐและสื่อมวลชนที่มีทั้งบุคคลากรและเทคโนโลยีที่ใช้ในการบันทึกข้อเท็จจริง ที่สำคัญสื่อสารมวลชนมีความเป็นมืออาชีพมากกว่าประชาชนธรรมดาอย่างแน่นอนในการค้นหาความจริง แต่ประเด็นก็คือว่าสื่อจะทำหน้าที่หรือไม่ทำเท่านั้นเอง

จากบทบาทของสื่อในช่วงหลังจากการรัฐประหารในปี 49 ที่ผ่านมาพบว่าสื่อถูกสร้างขึ้นมาอย่างมากมาย และถูกนำมาใช้เพื่อบรรลุเป้าหมายทางการเมืองได้นำเสนอความคิดเห็นและความเชื่อมากกว่าความจริง ไม่ได้นำเสนอข้อเท็จจริงที่มีข้อมูลอย่างรอบด้าน ในทางตรงกันข้าม มีการนำเสนอข่าวด้านเดียวในลักษณะโฆษณาชวนเชื่อ มีความลำเอียง มีอคติ ยั่วยุให้เกิดความขัดแย้ง แตกแยก เกลียดชัง จนถึงขั้นทำลายล้างต่อฝ่ายที่มีจุดยืนและความคิดเห็นที่แตกต่างกับฝ่ายของตัวเอง



แต่ก็เป็นเข้าใจว่าที่สื่อไม่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างอิสระนั้นสืบเนื่องมาจากถูกแทรกแซงโดยอำนาจทุนและอำนาจรัฐ ตลอดจนในยุคบริโภคนิยมก็ทำให้สื่อต้องนำเสนอข่าวสารตามความต้องการของผู้บริโภค เกิดการนำเสนอข่าวที่เน้นถึงความรุนแรง จนก่อให้เกิดความขัดแย้งมากกว่าการให้สาระความรู้หรือข้อเท็จจริงในเรื่องนั้นๆ ขณะที่รายได้หลักของสื่อมาจากการโฆษณาของหน่วยงานรัฐและเอกชน ซึ่งส่วนใหญ่ตกอยู่ภายใต้การควบคุมนักการเมือง ที่ยิ่งทำให้สื่อถูกครอบงำได้ง่ายขึ้น

มิหนำซ้ำผู้สื่อข่าวหรือ Reporter นั้นแทนที่จะมีหน้าที่นำเสนอข่าวเพียงอย่างเดียวกลับใส่ความเห็นเข้าไปในข่าวจนไม่รู้ว่าอันเป็นข้อเท็จจริงอันไหนเป็นความเห็น ซึ่งการแสดงความเห็นนั้นควรเป็นหน้าที่ของผู้เชี่ยวชาญในด้านนั้นๆ ผู้สื่อข่าวบางคนไม่ได้จบการศึกษาในด้านสื่อสารมวลชนมา(หรือแม้ว่าจะจบมาก็ตาม) จึงทำให้ไม่ตระหนักถึงบทบาทและจริยธรรมในวิชาชีพ แม้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะมีการฝึกอบรมและให้ความรู้ในเรื่องนี้บ้างก็ตาม แต่ก็ไม่เพียงพอและไม่ทั่วถึง


ที่ผ่านมาคู่ขัดแย้งทางการเมืองแต่ละฝ่ายได้ใช้ สื่อเพื่อสร้างสงครามการเมือง ส่งผลให้สังคมมองบทบาทสื่อมวลชนโดยรวมว่าเป็นสื่อที่นำไปสู่วิกฤตการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองและนำมาซึ่งปัญหาความยุ่งยากในปัจจุบัน


สื่อกระแสหลักเลือกที่จะเสนอความจริงเพียงบางส่วน บางแง่บางมุม ข่าวสารการบ้านการเมืองโดยสื่อของรัฐที่เคยถูกสังคมวิพากษ์วิจารณ์กันมาอย่างไร ก็ยังคงเป็นเช่นนั้นอยู่จนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสื่อของกรมประชาสัมพันธ์และ อสมท.ที่ถูกฝ่ายรัฐบาลทุกรัฐบาล เอามาใช้โฆษณาชวนเชื่อเพื่อโจมตีฝ่ายตรงข้ามโดยไม่มีความละอายใจเลยแม้แต่น้อย ว่าการกระทำเช่นนั้นกระทบต่อการทำหน้าที่ของวิชาชีพสื่ออย่างร้ายแรง

บทบาทของสื่อของรัฐกระแสหลักเหล่านี้ เวลาเสนอข่าวจะเลือกเสนอเพียงบางประเด็นที่คิดว่าจะไม่ทำให้รัฐบาลขุ่นข้อง หมองใจหรือโกรธเคือง นั่นคือเรื่องราวของฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลจะถูกตัดทิ้งไป ไม่นำเสนอหรือหากจะเสนอก็เสนออย่างเสียไม่ได้ เป็นต้นว่าพูดสรุปสั้นๆ ไม่ลงรายละเอียด ไม่มีภาพประกอบ หรือให้ดูภาพประกอบแต่ไม่ปล่อยเสียงคนพูดให้ผู้ชมได้ยิน ไม่พูดถึงสาเหตุ         ที่แท้จริงของปัญหา ผลกระทบเป็นอย่างไรก็ไม่กล่าวถึง ทางออกของปัญหาควรจะเป็นอย่างไรก็ไม่สนใจ

ฉะนั้น จึงเป็นอันว่าสิ้นหวังกับสื่อภาครัฐซึ่งเปรียบเสมือนหนึ่งว่าได้ตายไปแล้วจากความเป็นสื่อตามตามอุดมการณ์ของการเป็นสื่อที่แท้จริง ที่เหลืออยู่ที่จึงเป็นสื่อที่มิใช่สื่อของรัฐ และรวมไปถึงสื่อทางเลือกหรือสื่อออนไลน์ยุคใหม่ที่สามารถสร้างผลกระทบต่อสังคมได้อย่างมหาศาลที่ภาคประชาชนจะต้องให้ความร่วมมือหรือให้ข้อมูลเพื่อที่ความจริงทั้งหลายจะได้ถูกเปิดเผยออกมาให้จงได้ ถึงแม้ว่าจะใช้ระยะเวลายาวนานสักเพียงใดก็ตาม

-------------------

หมายเหตุ เผยแพร่ครั้งแรกในกรุงเทพธุรกิจฉบับประจำวันพุธที่ 23 มีนาคม 2554

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สุรีรัตน์ ตรีมรรคา: ประกันสังคม VS หลักประกันสุขภาพ

Posted: 22 Mar 2011 09:45 PM PDT

เห็นข่าวรายวันในสื่อกระแสหลักต่อเนื่องมา 3 สัปดาห์ว่าด้วยการกดดันของชมรมพิทักษ์สิทธิผู้ประกันตนในกองทุนประกันสังคมออกมาเรียกร้องให้เปิดโอกาสให้มีสิทธิเลือกรับบริการสุขภาพ บริการสาธารณสุขจากระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้ อันเนื่องจากพบว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมที่ต้องเป็นผู้ร่วมจ่ายเพียงกลุ่มเดียว ในขณะที่ประชาชนทั่วไปและข้าราชการไม่ต้องร่วมจ่ายเพราะรัฐได้จัดให้เป็นสวัสดิการที่เสมอภาค เป็นธรรม และทั่วถึง คือใช้ระบบภาษีมาจัดการให้ ประกอบกับช่วงนี้เป็นช่วงที่กำลังแปรญัตติกฎหมายประกันสังคมในคณะกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎรว่าด้วยการเปิดช่องให้กองทุนประกันสังคมรับสมาชิกที่เป็นคู่สมรสและบุตรของผู้ประกันตนให้เข้ามาอยู่ในกองทุนประกันสังคมได้

โดยจะได้รับสิทธิประโยชน์ 3 ประการคือ 1) รักษาพยาบาล 2) ทุพพลภาพ 3) ฌาปนกิจ โดยจำนวนคนทีคาดว่าจะรับเข้ามากลุ่มนี้อยู่ที่ประมาณ 4 - 5 ล้านคน โดยไม่มีการพูดว่าผู้ประกันตนต้องจ่ายเงินสมทบรายเดือนเพิ่มขึ้นด้วยหรือไม่เมื่อต้องจัดสวัสดิการเพิ่มให้ครอบครัว 3 ประการนี้ นอกจากบอกว่ารัฐบาลต้องนำเงินที่จ่ายให้คนเหล่านี้ในบัตรทองมาให้กองทุนประกันสังคมแทน ก็ต้องพิจารณาว่าจะต้องนำเงินมาเท่าไรเพราะรัฐบาลเป็น 1 ใน 3 ของหุ้นส่วนจ่ายเงินสมทบในกองทุนประกันสังคมอยู่แล้ว หากมาอยู่ภายใต้ประกันสังคมก็จำเป็นต้องคำนวณแบบหาร 3 และผู้ประกันตนต้องร่วมจ่ายให้ครอบครัวด้วย ใครมีลูกหลายคนก็ต้องจ่ายมากขึ้น

จังหวะนี้ ชมรมพิทักษ์สิทธิผู้ประกันตน ก็ออกมาเรียกร้องเรื่องความไม่เป็นธรรมในการต้องจ่ายซ้ำซ้อนเพื่อรับสิทธิประโยชน์เดียวกันกับประชาชนทั่วไป โดยไม่ต้องร่วมจ่ายในเรื่องรักษาพยาบาลจะขอไปใช้ระบบบัตรทองแทน ส่วนเงินสมทบรายเดือนตามกฎหมายประกันสังคมจะขอจ่ายเท่าเดิมไม่ลดลงแต่ให้นำไปเพื่อเพิ่มสิทธิประโยชน์ด้านชราภาพ (บำนาญ) เมื่อออกจากงาน หยุดทำงาน เมื่ออายุครบ 55 ปี ซึ่งจะทำให้ได้รับบำนาญรายเดือนในจำนวนเงินที่มากขึ้นกว่าเดิมเพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพเมื่อชรา

สิ่งเหล่านี้ทำให้มีข่าวรายวันในสื่อกระแสหลักทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยต่อข้อเรียกร้องของชมรมพิทักษ์สิทธิผู้ประกันตน โดยให้เหตุผลว่าการประกันสุขภาพไม่ว่าจะจัดให้โดยประกันสังคม ประกันสุขภาพ หรือข้าราชการ ต้องยืนอยู่บนหลักการ “ เฉลี่ยทุกข์ เฉลี่ยสุข” และการมีส่วนร่วมของประชาชน ทั้งนี้อาจมีการแปรความคลาดเคลื่อนกันไปในเรื่อง “เฉลี่ยทุกข์ เฉลี่ยสุข” ว่าหมายถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนนั้นไม่ถูกต้อง ในที่นี้คือการทำระบบหลักประกันสุขภาพเป็นระบบซื้อประกัน คนที่ไม่ป่วยก็ไม่ต้องใช้เงิน คนที่ป่วยก็ได้ใช้เงิน บนความเป็นจริงที่ว่าทุกคนไม่ป่วยในเวลาเดียวกัน มีบางคนป่วยหนัก บางคนป่วยเล็กน้อย บางคนไม่ป่วยเลย กองทุนประกันสุขภาพก็เฉลี่ยค่าใช้จ่ายไป แต่มีหลักประกันว่าทุกคนเมื่อป่วยต้องได้รับการรักษา การเฉลี่ยทุกข์สุขในระบบประกันสุขภาพมีปัจจัยสำคัญประการหนึ่งคือเรื่อง “อายุ”ของคนในกองทุน เพราะคนที่ป่วยมากต้องรักษาในโรงพยาบาลเป็นเวลานานคือเด็กและผู้สูงอายุ ดังนั้นกองทุนประกันสุขภาพจึงต้องมีการเฉลี่ยอายุคนในกองทุนให้เหมาะสม เพื่อให้กองทุนไม่ต้องยากลำบากเกินไปในการบริหาร

กองทุนสุขภาพจึงจำเป็นต้องมีสมาชิกเป็นคนที่มีอายุมากน้อยเฉลี่ยกันอย่างเหมาะสม ไม่ใช่เลือกเอาเฉพาะคนวัยแรงงานไปไว้ในกองทุนหนึ่ง เหลือคนที่มีโอกาสป่วยมากกว่าไปไว้อีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งรัฐบาลในฐานะผู้ดูแลรับผิดชอบทั้งหมดต้องพิจารณาในเรื่องเหล่านี้อย่างลึกซึ้งและเกลี่ยให้เหมาะสมหรือจัดการรวมกองทุน ในขณะที่เรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชน ไม่ได้หมายถึง ร่วมจ่ายแต่เพียงอย่างเดียว แต่หมายถึงร่วมกำหนดนโยบาย กำหนดแนวทางปฏิบัติ ร่วมปกป้องคุ้มครองระบบ และร่วมพัฒนาคุณภาพมาตรฐานบริการ ซึ่งควรมีส่วนร่วมในทุกระดับตั้งแต่ในระดับตำบล จังหวัด และระดับชาติ ทั้งนี้ กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มีการมีส่วนร่วมของประชาชนในทุกระดับดังกล่าวมาแล้ว ส่วนการร่วมจ่ายนั้น ในระบบภาษีที่เอามาใช้กับกองทุนคือการร่วมจ่ายของประชาชนอยู่แล้ว นั่นคือประชาชนทั้งหมดจ่ายภาษีทั้งทางตรงและทางอ้อม รัฐมีหน้าที่จัดสวัสดิการรักษาพยาบาลเป็นหลักประกันให้ทุกคนอย่างทั่วถึง ถ้วนหน้า และได้มาตรฐานคุณภาพเดียวกันโดยการใช้ภาษีนั้นอย่างคุ้มค่ามีประสิทธิภาพและรับประกันสิทธิด้านสุขภาพของประชาชน

การร่วมจ่ายของผู้ประกันตนในกองทุนประกันสังคมในส่วนที่เกี่ยวกับการรักษาพยาบาลจึงเป็นการจ่ายซ้ำซ้อน ก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมต่อผู้ประกันตน ข้อเรียกร้องของชมรมพิทักษ์สิทธิผู้ประกันตนจึงมีมูล และแสดงให้เห็นว่าช่องทางการสื่อสารไปยังกองทุนประกันสังคมผ่านตัวแทนลูกจ้างที่เข้าไปเป็นคณะกรรมการประกันสังคมไม่เป็นที่พึ่งได้

นอกจากนี้สื่อกระแสหลักยังมีข่าวของกองทุนประกันสังคมอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับการเพิ่มสิทธิประโยชน์ด้านการรักษาพยาบาลให้ผู้ประกันตนเพื่อให้ทัดเทียมกับคนในระบบบัตรทองที่ได้รับมากกว่าดังข้อมูลที่มีนักวิชาการได้ออกมานำเสนอเปรียบเทียบชุดสิทธิประโยชน์ระหว่างประกันสังคมกับประกันสุขภาพ ในอีกด้านหนึ่งก็แสดงให้เห็นว่าการเรียกร้องของชมรมพิทักษ์สิทธิผู้ประกันตน ส่งผลให้กองทุนประกันสังคมขยับตัวลุกขึ้นมาเพิ่มสิทธิประโยชน์ หลังจากทำตัวเป็นผู้ปกป้องกองทุนแบบไม่ลืมหูลืมตาไม่ยอมเพิ่มสิทธิประโยชน์ใดใดรวมถึงการจำกัดสิทธิประโยชน์ด้วย เช่น กรณีการตั้งครรภ์การคลอด ที่ต้องรอให้ส่งเงินเข้ากองทุนประกันสังคมไม่ต่ำกว่า 7 เดือน การจำกัดการรักษาไตวายเรื้อรัง สำหรับคนที่เป็นก่อนเข้ามาสู่ระบบประกันสังคม การจำกัดค่าใช้จ่ายดูแลเรื่องฟัน สายตา มาตลอด เป็นต้น

ในเรื่องนี้อยากเสนอให้ประชาชน และคนงานที่เป็นผู้ประกันตนพิจารณากันให้ดี เรื่องนี้มีกฎหมาย 2 ฉบับรับรองและบังคับใช้ คือกฎหมายประกันสังคม และกฎหมายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กฎหมายประกันสังคมบังคับใช้ก่อนในสมัยที่ไม่มีระบบประกันสุขภาพใดใด แต่กฎหมายหลักประกันสุขภาพบังคับใช้ภายหลังแต่มุ่งเน้นชัดเจนเรื่องเดียวคือการรักษาพยาบาล การส่งเสริมและป้องกันโรค จึงควรพิจารณาว่าคนงานผู้ประกันตนสมควรมาใช้กองทุนประกันสุขภาพนี้หรือไม่ ส่วนกองทุนประกันสังคม ควรประกันในเรื่องอื่นๆ และใช้หลักการร่วมจ่าย 3 ฝ่าย เหมือนเดิม

นอกจากนี้ยังมีนักวิชาการบางส่วนก็เสนอว่าน่าจะแยกเรื่อง บำนาญชราภาพ ออกมาจากกองทุนประกันสังคมไปด้วยเลยเนื่องจากรัฐไม่ได้ร่วมจ่ายเข้าในส่วนนี้อยู่แล้ว เมื่อเวลาเปลี่ยนไป บทบาทหน้าที่ของรัฐได้รับการดำเนินการมากขึ้น สิทธิประโยชน์ของประชาชนมีความซ้ำซ้อนกัน ก็เป็นเหตุที่ประชาชนและรัฐจะทบทวนได้ว่าจะจัดระบบอย่างไรให้มีประสิทธิภาพที่สุด และคุ้มครองสิทธิภายใต้รัฐธรรมนูญได้รอบด้านอย่างแท้จริง

เรื่องโรงพยาบาลเอกชนที่ผู้ประกันตนบางส่วนรู้สึกว่าจะไม่ได้ไปใช้บริการหากย้ายมาอยู่ในระบบหลักประกันสุขภาพนั้น ก็ต้องพิจารณาตามข้อเท็จจริงคือโรงพยาบาลเอกชนอยู่ได้ด้วยเงินจากการซื้อประกันสุขภาพของกองทุนประกันสังคม และกองทุนประกันสุขภาพ ขึ้นอยู่กับว่ากองทุนจะต่อรองกับโรงพยาบาลเอกชนได้เพียงใดในฐานะผู้ซื้อบริการ ไม่ใช่ให้โรงพยาบาลเอกชนผู้ขายบริการมาต่อรองว่าจะขายบริการให้ใคร ราคาเท่าไร เพราะโรงพยาบาลเหล่านี้เป็นธุรกิจเต็มตัว บริหารเพื่อให้มีผลกำไรต่อผู้ถือหุ้น อย่างไรต้องพร้อมจะเจรจากับกองทุนประกันสุขภาพทุกกองทุนอยู่แล้ว โดยเฉพาะกองทุนขนาดใหญ่ ขอให้ประชาชนได้แสดงความเห็นว่าจะขอรับประโยชน์ด้านสุขภาพแบบใดกันออกมาให้มากๆ ด้วยโดยเฉพาะประชาชนที่อยู่ในระบบบัตรทองควรต้องตระหนักว่าจะให้คนในครอบครัวที่เป็นผู้ประกันตนได้รับสิทธิอย่างไร ต้องร่วมจ่ายหรือไม่ อย่างไรน่าจะมีการพูดคุยแลกเปลี่ยนกันด้วยในบรรยากาศเช่นนี้
 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น