ประชาไท | Prachatai3.info |
- "ดีเอสไอ" ยังสรุปไม่ได้ใครก่อเหตุรุนแรง"บ่อนไก่-สีลม"
- อ.กันทรลักษ์ สรุปค่าจากการปะทะกว่า 2 พันล้าน เดินหน้ายื่นฟ้องศาลโลก
- สภาฯ รับหลักการร่าง พ.ร.บ.ชุมนุมที่สาธารณะแล้ว
- กก.สิทธิยื่นมือช่วย นร.ถูกตัดสิทธิสอบเรียนหมอ
- จี้ รบ.ไทย ตอบรับการเยือนของคณะทำงาน UN หวังหยุด "คุมตัวตามอำเภอใจ-คนหาย"
- รายงาน: โครงการเขื่อน 3 แห่งในรัฐคะเรนนี จะทำให้เกิดคลื่นผู้อพยพระลอกใหม่
- "อดิศร เพียงเกษ" มอบตัวคดีก่อการร้าย ดีเอสไอให้ประกัน
- พันธมิตรฯ ระดมใหญ่ 15 มีนาคม
- ทบทวนนโยบาย “บ้านมั่นคง”
- จากสยามยุคปฏิรูปประเทศถึงสังคมไทยสมัยโลกาภิวัตน์: ผู้หญิงไทยยังคงเหมือนเดิม?
- "ธิดา"ชี้สัญญาณไม่น่าไว้ใจ ผู้นำทหารสักการะศาลหลักเมือง คล้ายก่อน รปห.49
- พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์: ความท้าทายเบื้องหน้า นปช. “แดงทั้งแผ่นดิน”
- บนรถไฟสายเชียงใหม่-เชียงราย
- รายงาน: ก้าวแรก “บำนาญเกษตรกร” ในประเทศจีน
- โป๊ปเตรียมออกทีวีให้คนตั้งคำถามครั้งแรกในประวัติศาสตร์
"ดีเอสไอ" ยังสรุปไม่ได้ใครก่อเหตุรุนแรง"บ่อนไก่-สีลม" Posted: 10 Mar 2011 11:40 AM PST
ห้องประชุม 1 สำนักงานคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) เมื่อวันที่ 8 มี.ค. ที่ผ่านมา มีการประชุมโครงการ Public Hearing ครั้งที่ 6 โดยมีนายรัษฎา มนูรัษฎา อนุกรรมการตรวจสอบและค้นหาความจริง คอป. เป็นประธานที่ประชุม ในกรณีความรุนแรงบริเวณบ่อนไก่-สีลม ช่วงเวลา 22 เมษายน-19 พฤษภาคม 2553 จนเป็นเหตุให้ผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก โดยที่ประชุมได้เชิญเจ้าหน้าที่ทหารจากกองพลทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์ ที่ควบคุมพื้นที่บริเวณสีลม และพนักงานสอบสวนจากกรมสอบสวนคดีพิเศษ เข้าชี้แจง พ.อ.ไตรเทพ ศรีพันธุ์วงศ์ รองผู้บังคับการกองพลทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์ ชี้แจงว่าได้ตั้งจุดตรวจแข็งแรงที่บริเวณแยกศาลาแดงจนถึงสีลม ตั้งแต่วันที่ 20 เมษายน-22 พ.ค.2553 โดยจุดประสงค์ของการตั้งด่านเพื่อไม่ให้เพิ่มกำลังสนับสนุนของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) จนกระทั่งเกิดความรุนแรงขอกระชับพื้นที่คืนจากคำสั่งของ ศอฉ. ในระหว่างปฏิบัติการทหารได้ยิงเสียงปืนเอ็ม 79 ประทัด ตะไล อาก้า เอ็ม 16 อยู่ตลอดเวลา ซึ่งทหารที่เข้าประจำการจะถือปืนลูกซองที่มีกระสุนจริงและกระสุนยาง ซึ่งเหตุความรุนแรงที่เกิดขึ้นในวันที่ 19 พ.ค.2553 ทางทหารได้แบ่งผู้ก่อเหตุไว้ 3 ระดับ คือ 1.นปช.ที่มาชุมนุมกัน 2.ผู้ก่อเหตุรายวันที่ยิงลูกแก้ว และน๊อตใส่ทหารและผู้ชุมนุม และ 3.กลุ่มผู้ก่อการร้าย ที่ปฏิบัติการต่างด้วยความรุนแรง รองผู้บังคับการกองพลทหารม้าที่ 2 ชี้แจงเพิ่มเติมว่าในวันที่ 19 พ.ศ. 2553 มีการขอคืนพื้นที่ราชประสงค์ ทางทหารได้วางจุดตรวจแข็งแรงเช่นเดิม และได้เคลื่อนกำลังพลศาลาแดง สีลม ไปราชดำริ โดยใช้รถสายพานลำเลียงพลเพื่อเป็นเกราะกำลังผู้ปฎิบัติหน้าที่ เพราะขณะนี้มีการใช้อาวุธสงครามเอ็ม 79 กับเจ้าหน้าที่ทหารโดยตลอด ทำให้ทหารกองพลนี้หยุดการเคลื่อนไหวตรงจุดราชดำริเท่านั้น เนื่องจากมีทหารได้รับบาดเจ็บ 6 นายและเสียชีวิต 1 นาย นอกจากนี้ยังยิงลูกแก้วมาหน่วยทหารเป็นระยะๆ ส่วนการตอบโต้ทหารใช้ปืนลูกซองกระสุนยางและกระสุนจริงยิงตอบโต้ แต่ว่าการยิงเป็นไปด้วยความลำบากเนื่องจากติดตอม่อรถไฟฟ้า BTS ซึ่งตลอดทั้งคืนวันที่ 19 ไม่มีการเคลื่อนไหว พอวันที่ 20 พ.ค. เข้าไปเคลียร์พื้นที่ ซึ่งไม่มีผู้ชุมนุมแล้ว รวมทั้งบริเวณสวนลุมพินี ก็ไม่มีผู้ชุมนุม หรือผู้ออกกำลังกายเช่นกัน พบแต่ลูกปืนขนาด 7.62 มม, 5.56 มม. ระเบิดขวด ปิงปอง ตะไล โดยส่งมอบให้ดีเอสไอแล้ว สำหรับกลุ่มผู้ก่อการร้าย ผู้แทนจากกองพลทหารม้าที่ 2 บอกว่าไม่เห็นอย่างชัดเจนว่าแต่งกายอย่างไร แต่ใช้อาวุธหนักคือ เอ็ม 79 และอาก้า ยิงใส่เจ้าหน้าที่ โดยวิ่งหลบตามเต้นท์ที่ตั้งเป็นแนวยาวจากฝั่งสวนลุมพินีถึงแยกราชประสงค์ ซึ่งเป็นแหล่งที่พักของผู้ชุมนุม แต่เห็นจากโทรทัศน์ว่าแต่งกายชุดสีดำ แต่ไม่มีใส่เสื้อสีแดง อนุกรรมการสอบถามการใช้พื้นที่ในตึกเพื่อตรวจสอบสถานการณ์ ตัวแทนกองพลทหารม้าฯ ชี้แจงในตอนแรกว่าไม่ได้เข้าประจำการ มีเพียงตึกธนิยะเท่านั้นที่เข้าไปตรวจการเท่านั้น แต่ช่วงหลังเจ้าหน้าที่จากกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ได้สอบสวนทราบว่า มีทหารคนหนึ่งที่อยู่ในตึกแห่งหนึ่งที่อยู่ตรงกันข้ามสนามมวย ถูกปืนอาก้ายิงได้รับบาดเจ็บ แต่ดีเอสไอยังไม่ได้สอบปากคำทหารนายนี้เพิ่มเติมว่าอยู่ไหนที่แน่ชัด ซึ่งตัวแทนกองพลทหารม้าฯ ชี้แจงเพิ่มเติมว่ามีบางจุดที่ทหารเข้าไปในบริเวณแต่ไม่สามารถมองเห็นผู้ชุมนุมได้ เนื่องจากควันไฟจากยางรถยนต์ที่ผู้ก่อเหตุเผา แต่บางตึกย่านซอยงามดูพลี จะเข้าไปสังเกตการณ์เส้นทาง ส่วนทหารที่ถูกยิงทราบมาว่าถูกยิงจากตึกสูงในละแวกเดียวกัน ด้าน พ.ต.ท.ชลภัทร ปานสกุณ พนักงานสอบสวนคดีพิเศษ ชำนาญการพิเศษ ชี้แจงว่า ขณะนี้ได้มีการสอบสวนคดีที่ถูกยิงบริเวณดังกล่าว 5 ศพผู้เสียชีวิตถูกอาวุธร้ายแรงยิงด้วยความเร็ว ซึ่งแพทย์ยังไม่ระบุว่าเป็นปืนชนิดใด และได้เรียกญาติ พ่อแม่ ผู้เสียชีวิตมาสอบสวนแล้วแต่บางรายกำลังดำเนินการ ซึ่งผู้เสียชีวิตรายหนึ่งเป็นเสื้อหลากสี ถูกยิงด้วย เอ็ม 79 แนววิถีกระสุนมาจากจุฬา ซึ่งทางโรงพยาบาลยืนยันว่าในตึกไม่มีใครขึ้นอย่างแน่นอน ตอนนี้ยังสรุปไม่ได้ว่าฝ่ายใดเป็นผู้กระทำ ส่วนคดีเอ็ม 79 ตรงสะพานอื้อจือเหลียง มีตำรวจเสียชีวิต 1 นาย ยังไม่ทราบว่าแนววิถีกระสุนมาจากแยกศาลาแดง หรือสวนลุมพินี ยังไม่สามารถตรวจแนววิถีกระสุนได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ยังมี รปภ.บ่อนไก่ ถูกยิงเสียชีวิตกระสุนเข้าด้านหลัง แนวกระสุนน่าจะมาจากสวนลุมพินี ซึ่งแนวกระสุนผู้เสียชีวิตมาจากอาคารสูง มีอำนาจรุนแรงแต่ละศพกระสุนทะลุร่างออกไป ส่วนอีกคนเป็นกลุ่มคนเสื้อแดงอยู่บริเวณตึกอื้อจือเหลียง ถูกยิงจากด้านหน้า ขณะเคลื่อนที่จากสะพานไทย-เบลเยี่ยมมุ่งหน้าไปด่านทหาร ซึ่งผู้เสียชีวิตได้รับการเยียวยาจากกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และกรมคุ้มครองสิทธิ กระทรวงยุติธรรมแล้ว พ.ต.ท.นิพนธ์ เศรษฐวัฒน์ เจ้าหน้าที่กรมสอบสวนคดีพิเศษชี้แจงว่า รับผิดชอบ 2 คดี ทั้ง 2 ศพ กระสุนทะลุหลัง รายแรกเป็น นปช. มีอาชีพขับแท็กซี่ ญาติแจ้งว่ามีบัตร นปช. และรูปติดอยู่ในบัตร ส่วนรายที่สอง มีหนังสติ๊กห้อยคอ อยู่ระหว่างการสอบสวน ยังไม่พบว่าใครเป็นผู้กระทำผิด จากการสอบถาม ผู้บังคับบัญชาทหารยืนยันว่าน่าจะโดนสะเก็ดระเบิดเอ็ม 79 แต่ทางกองพิสูจน์หลักฐาน คาดการณ์ว่าน่าจะถูกกระสุนปืนอาก้า ซึ่งจะต้องตรวจสอบรายละเอียดอีกครั้ง สำหรับ ศพผู้เสียชีวิตแต่ละราย ไม่มีการตรวจสอบเขม่าดินปืนที่มือว่ามีหรือไม่ เนื่องจากสถานการณ์ช่วงนั้นมีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก จึงละเลยในจุดนี้ นอกจากนี้ยังมีผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากการชุมนุมคือ นายภัคพล มีสุข ที่ถูกกระสุนยิงจากหัวไหล่ทะลุหลัง หลังจากไปแจ้งความที่ สน.ลุมพินี เนื่องจากถูกทหาร 4 นายทำร้ายร่างกาย และขณะนี้ตกงาน เนื่องจากการพักรักษาตัวนานเกิน 3 เดือน จึงออกมาเรียกร้องให้ผู้ที่ก่อเหตุออกมารับผิดชอบ เพราะสิ่งที่ต้องการตอนนี้คือการได้งานกลับคืนมา แม้ว่าจะได้รับเงินชดเชยมา 60,000 บาทแต่ก็ไม่คุ้ม ในช่วงท้ายของการแสดงความคิดเห็น พันโทอุดม แก้วมหา จากกองพลทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์ แสดงความเห็นเรื่องการปรองดองสมานฉันท์ว่า หากคนรู้จักหน้าที่ของตนก็จะไม่เกิดเหตุร้ายครั้งนี้ ส่วน พ.ต.ท. มนตรี บุญยโยธิน จากดีเอสไอ แสดงความเห็นว่าเรื่องที่เกิดขึ้นมาจากการแย่งชิงอำนาจ และมีการคอร์รัปชั่นหาผลประโยชน์หากออกกฎหมายผู้ให้ไม่ผิด คนรับผิด จะมีคนจำนวนมากยอมให้ข้อมูลเพื่อเอาคนที่คอร์รัปชั่นมาลงโทษ และต่อไปอาจไม่ต้องมี ป.ป.ช. ด้วยซ้ำ สำหรับการประชุมครั้งหน้า วันที่ 15 มีนาคม เป็นการเปิดฟังความคิดเห็นกรณีการเสียชีวิตของพลตรีขัตติยะ สวัสดิผล ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 13 พ.ค. 2553 ณ สำนักงาน คอป.
ที่มา: มติชนออนไลน์
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
อ.กันทรลักษ์ สรุปค่าจากการปะทะกว่า 2 พันล้าน เดินหน้ายื่นฟ้องศาลโลก Posted: 10 Mar 2011 11:12 AM PST เมื่อวันที่ 10 มีนาคม ที่ห้องประชุมที่ว่าการ อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ นายวีรยุทธ ดวงแก้ว กำนัน ต.เสาธงชัย อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ พร้อมด้วยคณะกำนันผู้ใหญ่บ้านในเขต 7 ตำบล อ.กันทรลักษ์ ที่ได้รับผลกระทบจากการยิงปะทะกันระหว่างทหารกัมพูชากับทหารไทย ระหว่างวันที่ 4-16 กุมภาพันธ์ ร่วมประชุมสรุปความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการที่ถูกทหารกัมพูชายิงปืนใหญ่และจรวดบีเอ็ม 21 ถล่มบ้านเรือนไร่นาของชาวบ้านที่อาศัยอยู่ตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชาด้านเขาพระวิหารได้รับความเสียหาย นายวีรยุทธกล่าวว่า การจัดเตรียมเอกสารสรุปความเสียหายทั้งหมดของชาวบ้านทุกคนได้เสร็จแล้ว จะยื่นเอกสารฟ้องศาลโลกเพื่อเรียกร้องค่าเสียหายทั้งหมดผ่านทางนายอำเภอกันทรลักษ์ เพื่อเสนอต่อไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ ให้เสนอเรื่องฟ้องร้องผ่านไปยังกระทรวงการต่างประเทศและนายกรัฐมนตรี เพื่อให้ช่วยดำเนินการฟ้องศาลโลกเรียกร้องค่าเสียหายที่เกิดขึ้นให้กับชาวบ้าน สำหรับการคำนวณจากจำนวนประชาชนในเขต 7 ตำบลที่ได้รับผลกระทบ ประมาณ 50,000 คน คิดค่าเสียหายค่าขาดรายได้จากการทำกินวันละ 100 บาทต่อคน 30 วัน ค่าไร่นาเสียหายจำนวนประมาณ 600 ไร่ ไร่ละ 15,000 บาท ค่าบ้านเรือนเสียหายไฟไหม้ทั้งหลัง จำนวน 7 หลัง หลังละ 1,000,000 บาท ค่าบ้านเรือนเสียหายบางส่วนหลังละ 300,000 บาท และค่าชีวิตที่ชาวบ้านเสียชีวิต 1 ราย เป็นเงิน 1,500,000 บาท รวมเป็นเงินค่าเสียหายทั้งสิ้น 2,239,905,000 บาท ที่มา: มติชนออนไลน์ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
สภาฯ รับหลักการร่าง พ.ร.บ.ชุมนุมที่สาธารณะแล้ว Posted: 10 Mar 2011 10:32 AM PST สภาฯ มีมติรับร่าง พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะและการเดินขบวน วาระหนึ่ง ด้วยคะแนนเสียง 229-85 ไม่ลงคะแนน 7 ด้านพรรคเพื่อไทยบอยคอต ไม่เสนอ กมธ.วิสามัญร่วม เว็บไซต์มติชนออนไลน์รายงานว่า เมื่อเวลา 12.10 น. วันที่ 10 มีนาคม ที่รัฐสภา ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. .... เสนอโดยคณะรัฐมนตรี (ครม.) นายสามารถ แก้วมีชัย รองประธานสภาคนที่ 2 เป็นประธาน เป็นการพิจารณาต่อจากการพิจารณาในช่วงดึกวันที่ 9 มีนาคม ซึ่งนายชัย ชิดชอบ ประธานสภา ได้เลื่อนการลงมติมาเป็นวันที่ 10 มีนาคม ทั้งนี้ ที่ประชุมรับหลักการในวาระแรกด้วยคะแนน 229 ต่อ 85 เสียง พร้อมแต่งตั้ง กมธ.วิสามัญเพื่อแปรญัตติจำนวน 36 คน อย่างไรก็ตาม หลังมีการเสนอสัดส่วน กมธ.วิสามัญในส่วนของ ครม. จำนวน 5 คน และเข้าสู่ขั้นตอนการเสนอ กมธ.ในสัดส่วนพรรคฝ่ายค้านจำนวน 12 คน ได้เกิดความวุ่นวายขึ้น เมื่อนายสุนัย จุลพงศธร ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทยลุกขึ้นชี้แจงไม่ขอเสนอผู้ร่วมเป็น กมธ. โดยนายสุนัยกล่าวว่า พรรคเพื่อไทยมีมติไม่สังฆกรรมด้วย เพราะเห็นว่ากฎหมายฉบับนี้ดึงโครงสร้างของศาลมาเสียหายด้วย และมีแนวโน้มการใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือในการปราบปราม เพราะกำลังจะมีการเลือกตั้ง เกรงว่าจะมีการนำไปใช้กับการชุมนุม และกฎหมายฉบับนี้ได้ถูกเรียกว่าเป็น พ.ร.บ.สุเทพ เทือกสุบรรณไปแล้ว นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ ฝ่ายความมั่นคง ชี้แจงทันทีว่า ให้เกียรตินายสุนัยได้พูดพาดพิงหลายหนแล้ว ยืนยันว่าไม่มีใครที่จะเสนอกฎหมายเป็นชื่อตัวเอง และเชื่อว่าเจตนาของนายสุนัยไม่ใช่เจตนาดีแต่เป็นเจตนาร้าย ขอยืนยันว่ารัฐบาลนี้ไม่ปราบปรามการชุมนุม ไม่มีเจตนาแอบแฝง พิจารณาตามข้อเท็จจริง ทำให้นายสมคิด บาลไธสง ส.ส.หนองคาย พรรคเพื่อไทย ประท้วงระบุ ไม่เชื่อคำพูดของนายสุเทพ พร้อมย้อนถามว่า แล้วใครฆ่าประชาชน 91 ศพ ถ้าไม่ใช่รัฐบาล ผู้สื่อข่ายรายงานว่า จากนั้นมีการประท้วงกันไปมาระหว่าง ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ และพรรคเพื่อไทย โดยฝ่าย ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ได้ตำหนิการไม่เสนอชื่อเข้าร่วมเป็น กมธ.ของฝ่ายค้าน และหลังจากถกเถียงกันที่ประชุมมีมติตั้ง กมธ.วิสามัญตามสัดส่วนเดิมจำนวน 36 คน โดยให้เว้นว่างในสัดส่วนฝ่ายค้าน 12 คนเอาไว้ ที่มา: มติชนออนไลน์ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
กก.สิทธิยื่นมือช่วย นร.ถูกตัดสิทธิสอบเรียนหมอ Posted: 10 Mar 2011 10:30 AM PST (10 มี.ค.54) นายปริญญา ศิริสารการ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ แถลงข่าวกรณีนักเรียนที่สมัครสอบคัดเลือกเข้าเรียนแพทย์ กสม. เห็นว่าการกระทำของ กสพท. มีมูลเป็นการละเมิดสิทธิของผู้ สำหรับกรณีนายภาณนฯ ซึ่งประธาน กสม. มอบหมายให้สำนักวินิจฉัยและคดี ทั้งนี้ นายปริญญา ศิริสารการ กล่าวว่า จะติดตามกรณีของนายภาณนฯ ต่อไปว่า กสพท. ได้ปฏิบัติตามคำสั่งคุ้มครองชั่ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
จี้ รบ.ไทย ตอบรับการเยือนของคณะทำงาน UN หวังหยุด "คุมตัวตามอำเภอใจ-คนหาย" Posted: 10 Mar 2011 10:25 AM PST อังคณา นีละไพจิตร ในนามคณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล เรียกร้องให้คณะทำงานฯ ยูเอ็น ร่วมมือกับรัฐบาลไทยยุติการควบคุมตัวตามอำเภอใจ โดยให้รัฐบาลไทยตอบรับการมาเยือนอย่างเป็นทางการของคณะทำงานยูเอ็น พบยังมีกรณีผู้สูญหายกว่า 50 กรณี ห่วงการคุมตัวใต้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ขัดมาตรา 9 ของกติกาสากลระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมือง และสิทธิทางการเมือง เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2554 นางอังคณา นีละไพจิตร ประธานมูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพ ในนามคณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล (International Commission of Jurists–ICJ) ได้แถลงด้วยวาจาระหว่างการเสนอรายงานร่วมของคณะทำงานด้านการบังคับสูญหายโดยไม่สมัครใจ และคณะทำงานด้านการควบคุมตัวตามอำเภอใจ ขององค์การสหประชาชาติ ในที่ประชุมคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ นครเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์ เรียกร้องให้คณะทำงานฯ ร่วมมือกับรัฐบาลไทยยุติการควบคุมตัวตามอำเภอใจ และให้ความกระจ่างถึงชะตากรรมของบรรดาผู้ถูกบังคับให้สูญหาย โดยให้รัฐบาลไทยตอบรับการมาเยือนอย่างเป็นทางการของคณะทำงานของสหประชาชาติ ทั้งนี้เมื่อ 2 ปีที่แล้ว ในการประชุมครั้งที่ 10 ของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากลได้แสดงความยินดีต่อรัฐบาลไทยในการให้การรับรองว่าผู้กระทำผิดในการทำให้นายสมชายสูญหายจะต้องถูกนำเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม แต่จนปัจจุบันยังไม่มีมาตรการอย่างเป็นรูปธรรมที่จะหาตัวผู้รับผิดชอบต่อการสูญหายของนายสมชาย นีละไพจิตร ในขณะที่ครอบครัวยังต้องเผชิญกับการข่มขู่ คุกคาม โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่จะมีการอ่านคำพิพากษา นางอังคณายังกล่าวถึงกรณีผู้สูญหายอื่นๆ ในประเทศไทยว่า คณะทำงานด้านการบังคับสูญหายโดยไม่สมัครใจของสหประชาชาติได้รับกรณีผู้สูญหาย 57 กรณีและได้ส่งคำถามถึงรัฐบาลไทย พบว่ามี 54 นอกจากนี้ คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากลยังได้แสดงความกังวลเรื่องการควบคุมตัวประชาชนตามอำเภอใจ ภายใต้พระราชกำหนดการบริหารราชการณ์ในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ในประเทศไทย โดยกล่าวว่า พระราชกำหนดฯ ฉบับนี้ ได้กัดกร่อนหลักนิติธรรม ทั้งนี้ ดร.เจรามี ซาร์กิน ประธานคณะทำงานด้านการบังคับสูญหายโดยไม่สมัครใจของสหประชาชาติ ได้แถลงเรียกร้องให้รัฐต่างๆ พัฒนาให้มีกฎหมายภายในรัฐต่างๆ กำหนดให้การบังคับสูญหายเป็นอาชญากรรม ในขณะที่ประธานคณะทำงานด้านการควบคุมตัวตามอำเภอใจของสหประชาชาติได้เรียกร้องต่อรัฐบาลไทยตอบรับการมาเยือนอย่างเป็นทางการของคณะทำงานฯ เพื่อตรวจสอบสถานการณ์การควบคุมตัวบุคคลโดยไม่เป็นไปตามกฎหมาย และกติกาสากลระหว่างประเทศ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
รายงาน: โครงการเขื่อน 3 แห่งในรัฐคะเรนนี จะทำให้เกิดคลื่นผู้อพยพระลอกใหม่ Posted: 10 Mar 2011 10:07 AM PST นักวิจัยชาวคะเรนนีเผยแพร่รายงาน “หยุด การโจมตีด้วยเขื่อนต่อชาวคะเรนนี” เผยบริษัทจีนลงนามกับรัฐบาลทหารพม่าเตรียมสร้างเขื่อนผลิตไฟฟ้า 3 แห่งในแม่น้ำสาละวินและแม่น้ำสาขา ในรัฐคะเรนนี ซึ่งเคยเป็นพื้นที่บังคับอพยพประชาชนหลายหมื่นคนในช่วงปี 2539 มาก่อน หวั่นหากมีการสร้างเขื่อน ทหารพม่าจะเข้ามาในพื้นที่เพิ่ม และจะเกิดคลื่นผู้อพยพระลอกใหม่ หน้าปกรายงานเรื่อง “Stop the Dam Offensive against the Karenni” หรือ “หยุด การโจมตีด้วยเขื่อนต่อชาวคะเรนนี” ซึ่งเผยแพร่โดยนักวิจัยชาวคะเรนนี เผยผลกระทบที่จะเกิดขึ้นหากรัฐบาลทหารพม่าดำเนินโครงการก่อสร้างเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้า 3 แห่งในพื้นที่ พื้นที่ก่อสร้างเขื่อนยวาติ๊ด 1 ใน 3 ของโครงการก่อสร้างเขื่อนในรัฐคะเรนนี ประเทศพม่า โดยล่าสุดนักวิจัยชาวคะเรนนีเผยว่าเริ่มมีนักสำรวจจากบริษัทจีนเข้ามาในพื้นที่เพื่อสำรวจแล้ว และเริ่มมีการก่อสร้างที่พักสำหรับนักสำรวจชาวจีนด้วย (ที่มาของภาพ: Burma Rivers Network / Karenni Development Research Group) แผนที่จากรายงาน “Stop the Dam Offensive against the Karenni” เส้นทึบสีแดง สามจุด คือพื้นที่ก่อสร้างเขื่อน 3 แห่งในรัฐคะเรนนี ซึ่งพบว่าพื้นที่ก่อสร้างเขื่อน 2 แห่ง อยู่ในพื้นที่สีเทา ซึ่งทหารพม่าเคยสั่งอพยพประชาชนออกจากพื้นที่เป็นจำนวนกว่า 37,000 คน จากหมู่บ้าน 212 แห่ง เมื่อปี 2539 ขณะที่จุดสีดำกลางแผนที่คือเขื่อนลอปิตา ซึ่งสร้างหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จากเงินปฏิกรรมสงครามของญี่ปุ่น ก็เคยทำให้เกิดผู้อพยพนับหมื่นในพื้นที่มาแล้ว
เผยพม่าเตรียมผุดเขื่อนผลิตไฟฟ้า 3 แห่งในรัฐคะเรนนี กำลังรวม 800 เมกะวัตต์ โครงการก่อสร้างเขื่อนทั้ง 3 แห่งประกอบด้วย เขื่อนยวาติ๊ด (Ywathit Dam) หรือในภาษาท้องถิ่นคือเขื่อนจ็อกจิน หรือ หินแดง (Kyauk Kyin or Red Stone) เป็นเขื่อนขนาดใหญ่สามารถผลิตไฟฟ้าได้ 600 เมกะวัตต์ ตั้งอยู่บนแม่น้ำสาละวิน อยู่ห่างจาก อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน ประมาณ 60 กิโลเมตร หากโครงการก่อสร้างเขื่อนสำเร็จ น้ำจะท่วมพื้นที่กว้างจากสันเขื่อนขึ้นไปทางทิศเหนือจนถึงรัฐฉาน โดยนักวิจัยเชื่อว่า จะเป็นเครื่องมือคุกคามประชากร ท่ามกลางการโจมตีจากกองทัพทหารพม่าต่อประชาชนในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง โครงการก่อสร้างเขื่อนแห่งที่สองคือ โครงการเขื่อนแม่น้ำปอน (Pawn Dam) กำลังผลิตไฟฟ้าขนาด 130 เมกะวัตต์ ซึ่งแม่น้ำปอนเป็นแม่น้ำไหลผ่านใจกลางรัฐคะเรนนีก่อนไหลลงสู่แม่น้ำสาละวิน โดยนักวิจัยกลุ่มนี้ระบุว่าโครงการสร้างเขื่อนจะมีผลกระทบต่อชาวยินตาเลโดยตรง ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีประชากรเหลืออยู่เพียง 1,000 คนเท่านั้น นอกจากนี้รัฐบาลทหารพม่า ยังมีแผนการสร้างเขื่อนในแม่น้ำตะเบต (Thabet Dam) ซึ่งจะผลิตกระแสไฟฟ้า 110 เมกะวัตต์ เขื่อนอยู่ที่ตอนเหนือของรัฐคะเรนนี และเมืองลอยก่อ ซึ่งเป็นเมืองหลวงของรัฐคะเรนนีอีกด้วย
เผยนักสำรวจจากบริษัทจีนมาแล้ว ชาวบ้านห้ามเข้าพื้นที่ นอกจากนี้ยังมีการนำซิเมนต์เข้ามาจากชายแดนไทยเพื่อใช้ก่อสร้างที่พักให้กับคณะสำรวจของบริษัทจีน มีการตัดไม้สำหรับก่อสร้างที่พักของคณะสำรวจ มีการซ่อมถนนที่เป็นเส้นทางมุ่งสู่พื้นที่ก่อสร้างเขื่อน โดยเจ้าหน้าที่รัฐบาลให้เหตุผลว่าเป็นการซ่อมแซมเพื่อประโยชน์ส่วนรวม นักวิจัยกลุ่มเคดีจีอาร์ยังเปิดเผยด้วยว่า เริ่มมีข่าวลือเกิดขึ้นในชุมชนว่าจะมีการย้ายหน่วยทหารพิทักษ์ชายแดน หรือ BGF ออกจากพื้นที่ และจะมีทหารพม่าเข้ามาประจำการแทน
นักวิจัยแจงข้อกังวล 6 ประการในการสร้าง ติงสร้างเขื่อนไม่ศึกษาผลกระทบ สอง การเดินหน้าโครงการอย่างเป็นความลับ แม้ว่าวิศวกรอยู่ระหว่างสำรวจพื้นที่โครงการเขื่อน แต่ชาวบ้านในพื้นที่ยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับโครงการเขื่อน และไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าไปใกล้โครงการที่ผ่านมาไม่มีการเปิดเผยผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม สังคม หรือสุขภาพ อันเนื่องมาจากเขื่อนยวาติ๊ด และเขื่อนแม่น้ำปอน ไม่มีการสำรวจขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับแม่น้ำสาละวินในพม่า อันเป็นผลมาจากการสู้รบที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
หวั่นส่งผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพในแม่น้ำสาละวิน สี่ ผลผลิตด้านเกษตรที่ลดลง ทั้งนี้แม่น้ำสาละวินมีตะกอนมากและเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญสำหรับเรือกสวนไร่นาตามริมฝั่งน้ำเป็นระยะทางหลายร้อยกิโลเมตรด้านท้ายน้ำ และเป็นอู่ข้าวอู่น้ำของประชาชนเกือบครึ่งล้านที่อาศัยอยู่บริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำสาละวินในรัฐมอญ ซึ่งเป็นแหล่งผลิตข้าวสำคัญ เขื่อนที่สร้างจะปิดกั้นไม่ให้ตะกอนไหลไปถึงเรือกสวนไร่นาด้านท้ายน้ำ ทำให้ผลผลิตลดลงและกระทบต่อความมั่นคงด้านอาหาร
หวั่นการสร้างเขื่อนจะทำให้เกิดการอพยพประชาชนในพื้นที่ หก การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของระดับน้ำและการขาดแคลนน้ำ โดยการเก็บและปล่อยน้ำหลังเขื่อนจะเป็นไปตามความต้องการด้านกระแสไฟฟ้า แต่ไม่ได้ตอบสนองความปลอดภัยหรือความต้องการด้านเกษตรของผู้อยู่ท้ายน้ำเลย การเพิ่มและลดของระดับน้ำอย่างรวดเร็วทำให้เรือติดและเกิดอุบัติเหตุ การขาดแคลนแหล่งน้ำทำให้เกิดโอกาสน้ำกร่อยเข้ามาในบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ นักวิจัยกลุ่มนี้ยังหวั่นว่า โครงการก่อสร้างเขื่อนซึ่งตั้งอยู่ในแนวแผ่นดินไหวซึ่งอาจทำให้เกิดเขื่อนแตกและเกิดน้ำท่วม
เผยพื้นที่สร้างเขื่อน เคยเป็นพื้นที่บังคับอพยพประชาชนร่วม 37,000 คน นักวิจัยเคดีอาร์จียังระบุด้วยว่า ยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่าไฟฟ้าจากเขื่อนแห่งใหม่ในรัฐคะเรนนีจะถูกส่งไปให้กับพื้นที่ใด แต่จากลักษณะที่เกิดขึ้นกับโครงการเขื่อนอื่นๆ ในพม่า มีความกลัวว่าจะนำไฟฟ้าไปขายให้กับไทยหรือจีน หรือตอบสนองด้านวงการกองทัพพม่าและแวดวงเป็นหลัก
เรียกร้องให้ยุติโครงการสร้างเขื่อนในรัฐคะเรนนีและแม่น้ำสาละวินทันที “ถ้ามีการสร้างเขื่อน ผลโยชน์จากการสร้างเขื่อน ย่อมมาจากเลือดเนื้อชาวคะเรนนี” นายคูตอเหร่ นักวิจัยกลุ่มวิจัยเพื่อการพัฒนาชาวคะเรนนี กล่าว
พบ บ.ก่อสร้าง เข้าโครงการยูเอ็น และจ่อเอ็มโอยูอีก 2 เขื่อนในแม่น้ำโขง ทั้งนี้ จากรายงานในหนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 13 ก.ค. 2553 ยังเปิดเผยด้วยว่า บริษัทต้าถัง ยังอยู่ในระหว่างการทำสัญญาลงนามบันทึกความเข้าใจเบื้องต้น หรือ MOU ในการก่อสร้างเขื่อนปากแบ่ง กำลังผลิต 1,230 เมกะวัตต์ ในลาว และการก่อสร้างเขื่อนสานะคาม บริเวณพรมแดนไทย-ลาว ซึ่งมีกำลังผลิต 1,200 เมกะวัตต์ด้วย 000 บทเรียนจากเขื่อนใหญ่ในรัฐคะเรนนี
นอกจากโครงการก่อสร้างเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้าแห่งใหม่จำนวน 3 แห่ง ในรัฐคะเรนนีแล้ว ก่อนหน้านี้เมื่อ พ.ศ. 2493 มีการสร้างเขื่อนลอปิตา (Lawpita Dam) ในรัฐคะเรนนี ซึ่งเป็นค่าปฏิกรรมสงครามหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จากญี่ปุ่น โดยเขื่อนดังกล่าวสามารถมีกำลังผลิตไฟฟ้าคิดเป็น 1 ใน 4 ของกำลังการผลิตไฟฟ้าจากกระแสน้ำทั้งหมดทั่วพม่า แต่การสร้างเขื่อนดังกล่าวทำให้ประชาชนกว่า 12,000 คนต้องอพยพ และมีการส่งทหารหลายพันนายเข้ามาคุ้มครองโครงการ โดยจากข้อมูลของเครือขายแม่น้ำในพม่า ระบุว่าการสร้างเขื่อนแห่งนี้ได้นำไปสู่การละเมิดสิทธิประชาชนในท้องถิ่น มีการบังคับเกณฑ์แรงงาน ความรุนแรงทางเพศ และการสังหารนอกกระบวนการกฎหมาย ในปัจจุบันมีการประมาณการว่ามีกับระเบิด 18,000 อัน ถูกฝังกระจายอยู่รอบโรงไฟฟ้าและเสาไฟฟ้าของโครงการดังกล่าว นอกจากนี้ยังการจำกัดให้ใช้น้ำเพื่อประโยชน์ของโรงไฟฟ้าเป็นหลัก ทำให้เกิดการขาดแคลนน้ำและเป็นเหตุให้เกิดอุทกภัยที่ทำลายพืชผล โดยปัจจุบันร้อยละ 80 ของประชาชนในพื้นที่ยังไม่มีไฟฟ้าใช้ เนื่องจากไฟฟ้าที่ผลิตจากโครงการดังกล่าวถูกส่งไปที่ภาคกลางของพม่า นอกจากนี้ยังเคยมีรายงานข่าวเมื่อเดือนมกราคมปี 2553 ว่า กองกำลังของพรรคก้าวหน้าแห่งชาติคะเรนนี หรือ เคเอ็นพีพี (Karenni National Progressive Party - KNPP) ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยต่อต้านรัฐบาล ได้ลอบวางระเบิดทำลายเสาไฟฟ้าแรงสูง ในพื้นที่รัฐคะยาห์ ซึ่งเชื่อมระหว่างเขื่อนลอปิตา และเมืองตองอู ผลของการวางระเบิดทำให้ไม่สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้ พล.ต.ปี่ทู ผู้บังคับบัญชาการทหาร กองกำลัง KNPP ได้ชี้แจง สาเหตุการทำลายเสาไฟฟ้าแรงสูงดังกล่าวว่า “แม้โรงงานผลิตกระแสไฟฟ้า จะตั้งอยู่ในเขตรัฐคะเรนนี แต่ประชาชนชาวคะเรนนี กลับไม่มีสิทธิ์ได้ใช้ไฟฟ้าเหล่านี้ แม้แต่ในเมืองหลวงหลอยก่อของเรา ก็ได้ใช้กระแสไฟฟ้าในปริมาณที่จำกัด หลอดไฟแทบจะไม่ติดด้วยซ้ำ ในยามค่ำคืน ประชาชนส่วนมากยังต้องพึ่งแสงสว่างจากแสงเทียน กระแสไฟฟ้าที่ผลิตจากรัฐคะเรนนีนี้ ทหารพม่าส่งป้อนเข้าไปใช้ตามโรงงานผลิตอาวุธ และภาคธุรกิจต่างๆ ในเขตพม่าเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ เราจึงระเบิดโค่นทำลายเสาไฟฟ้าแรงสูงเหล่านี้ทิ้งเสีย” ดาวน์โหลด:
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
"อดิศร เพียงเกษ" มอบตัวคดีก่อการร้าย ดีเอสไอให้ประกัน Posted: 10 Mar 2011 08:23 AM PST (10 มีนาคม 2554) ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) นายวัฒนา เมืองสุข อดีต.รมว.พานิชย์ ได้นำตัวนายอดิศร เพียงเกษ แกนนำนปช.ที่หลบหนี คดีก่อการร้าย เข้ามอบตัวกับพนักงานสอบสวน คดีอาญาพิเศษ ดีเอสไอ โดยทางเจ้าหน้าที่ได้นำตัวนายอดิศร ไปพบนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดี ดีเอสไอ ที่ห้องทำงานชั้น 11 ก่อนนำตัวไป ให้ปากคำกับทางพนักงานสอบสวน หลังจากใช้เวลาสอบสวนนานกว่า 2 ชั่วโมง นายอดิศร ก็ได้เดินออกมาจากห้องสอบสวน และให้สัมภาษณ์ กับผู้สื่อข่าวว่าตนได้ให้การปฏิเสธ ในทุกข้อกล่าวหาพร้อมขอประกันตัว โดยใช้เงินสด จำนวน600,000 บาท ซึ่งทางพนักงานสอบสวนก็อนุญาตให้ประกันตัวได้ และนัดสอบปากคำเพิ่มเติมอีกครั้ง ในวันที่ 28 มี.ค.นี้ สำหรับการขอประกันตัว พนักงานสอบสวนพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้ผู้ต้องหาได้ติดต่อเข้ามอบตัวต่อพนักงานสอบสวนด้วยตนเอง ทั้งศาลอาญาได้มีคำสั่งให้ประกันตัวแกนนำคนอื่นๆ แล้ว ดังนั้น ในชั้นนี้กรมสอบสวนคดีพิเศษจึงอนุญาตให้ประกันตัวโดยพิจารณาหลักทรัพย์เช่น เดียวกับศาลในวงเงินประกัน 600,000 บาท และกำหนดเงื่อนไขการประกันตัวเช่นเดียวกับศาลและข้อห้ามเช่นเดียวกับศาล คือ ห้ามมิให้จำเลยดังกล่าวกระทำ การอันเป็นการยั่วยุ ปลุกปั่น ปลุกระดม เพื่อให้เกิดความปั่นป่วนหรือ กระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน อันที่จะทำให้เกิดความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักรหรือให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน และห้ามจำเลยดังกล่าวเดินทางออกนอกราชอาญาจักร เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากศาล และเนื่องจากคดีนี้กรมสอบสวนคดีพิเศษได้ส่งสำนวนไปยังสำนักงานอัยการคดีพิเศษแล้วจึงนัดส่งตัวนายอดิศร ให้อัยการในวันที่ 29 มีนาคม 2554 นายอดิศร ให้สัมภาษณ์ว่า การที่ตนเดินทางมามอบตัวนั้น เพราะเห็นว่าบ้านเมืองเริ่มคลี่คลายสู่แนวทางปรองดองแล้วจึงมามอบตัว และก็ไม่ได้หลบหนีไปประเทศเพื่อนบ้านอย่างที่เป็นข่าวด้วย ส่วนแกนนำคนอื่นๆ ที่ยังหลบหนีอยู่ จะเข้ามอบตัวเพิ่มอีกหรือไม่นั้นตนไม่ทราบ แต่ความเห็นส่วนตัวของตน คาดว่าน่าจะเข้ามามอบตัวเพื่อสู้คดี ดีกว่า และหลังจากนี้ ตนขออยู่เงียบๆ ไปก่อน ส่วนในวันที่ 12 มี.ค.ที่จะเข้าร่วมชุมนุมกับ นปช.หรือไม่นั้น ไม่ขอตอบ ภายหลังให้สัมภาษณ์นายอดิศร พร้อมนายวัฒนา และทนายความได้รีบเดินทางกลับไปอย่างรวดเร็ว ต่อมา ที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล(บช.น.) นายอดิศร ได้เดินทางเข้าพบ พล.ต.ท.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผบช.น พล.ต.ต.อำนวย นิ่มมะโน รอง ผบช.น. และ พล.ต.ต.วิชัย สังข์ประไพ ผบก.น.1 เพื่อมอบตัวสู้คดีหมิ่นประมาทนายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ ที่ส่งทนายเข้าแจ้งความไว้กับพนักงานสอบสวน สน.ชนะสงคราม โดย นายอดิศรให้การปฏิเสธ และแจ้งว่าจะเข้าให้การเพิ่มเติมในภายหลัง ก่อนใช้หลักทรัพย์ 200,000 บาท ประกันตัวกลับไป ที่มา: เดลินิวส์ออนไลน์ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
Posted: 10 Mar 2011 07:56 AM PST “จำลอง” ชี้ตำรวจทำหนังสือขอให้ออกจากพื้นที่ใน 15 มี.ค. เพื่อใช้จัดงานกาชาด เป็นข้ออ้างสลายชุมนุม ลั่นให้พันธมิตรฯ หน้าจอมาชุมนุมด่วน ด้าน “ปฐมพงษ์” ถือว่า 15 มี.ค. เป็นวันแตกหักขับไล่พวก “ตอแหลสร้างภาพ” และจะสรรหารัฐบาลชุดใหม่ที่ทำหน้าที่ปกป้องอธิปไตย ส่วน “ประพันธ์” ยืนยันอภิสิทธิ์เลวกว่าทักษิณ เพราะอภิสิทธิ์ขายแผ่นดินให้กัมพูชา เอเอสทีวีผู้จัดการออนไลน์ รายงานว่า วันนี้ (10 มี.ค.) พล.ต.จำลอง ศรีเมือง แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้กล่าวว่า กรณีเจ้าหน้าที่ตำรวจได้มีหนังสืออย่างเป็นทางการ แจ้งให้ผู้ชุมนุมพันธมิตรฯ ออกจากพื้นที่ตรงนี้ภายในวันที่ 15 มี.ค.นี้โดยใช้ข้ออ้างว่าเพื่อจัดงานกาชาด โดยที่ประชุมคณะกรรมการปกป้องราชอาณาจักรไทย เชื่อว่า เป็นข้ออ้างเพื่อต้องการสลายการชุมนุมเท่านั้น ซึ่งถือว่ารัฐบาลได้เป่านกหวีดแล้ว ดังนั้น หากเจ้าหน้าที่ใช้กำลังสลายการชุมนุมเมื่อไหร่ ขอให้พันธมิตรฯหน้าจอ ระดมกันออกมาที่ชุมนุมแห่งนี้โดยด่วน พล.อ.ปฐมพงษ์ เกษรศุกร์ อดีตประธานที่ปรึกษากองบัญชาการกองทัพไทย กล่าวว่า ในที่สุดธาตุแท้ของรัฐบาลนี้ ได้ปรากฏออกมาแล้ว โดยต้องการที่จะใช้กำลังสลายการชุมนุม ตั้งแต่บีบบังคับขอคืนพื้นที่ 2 เลนบ้าง จะมายึดส้วม จนกระทั่งสั่งให้ ตร.ขับไล่ให้ประชาชนออกไปจากพื้นที่ตรงนี้ ถือว่า พันธมิตรฯและรัฐบาลอภิสิทธิ์ ถึงจุดแตกหักแล้ว ขอถามว่า รัฐบาลนี้ยังมีจิตสำนึกที่จะบริหารประเทศต่อไปอีกหรือ ที่ประกาศใช้กฎหมายความมั่นคง ที่ยกทัพไปปิดถนน ปกป้องบ้านนายกฯเพียงคนเดียว ทำให้บ้านเรือนประชาชนและผู้ประกอบการย่านดังกล่าวต้องเดือดร้อนกันไปถ้วนหน้า “เมื่อรัฐบาลมีแนวคิดขับไล่การชุมนุม พันธมิตรฯก็ขอประกาศขับไล่รัฐบาล โดยไม่เหลือซากความดีต่อกันอีกต่อไป ขอฝากความหวังให้การชุมนุมแห่งนี้ ช่วยกันขับไล่รัฐบาล และสรรหารัฐบาลชุดใหม่ ที่จะออกมาทำหน้าที่ปกป้องอธิปไตยไทยที่เสียไปแล้ว วันที่ 15 มี.ค.จึงถือเป็นวันแตกหัก เพื่อขับไล่พวกตอแหล สร้างภาพไปให้พ้นเสียที” พล.อ.ปฐมพงษ์ กล่าว ด้านนายปราโมทย์ นาครทรรพ นักวิชาการอิสระ ยกคำกล่าวของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช อดีตนายกรัฐมนตรี กรณีรัฐบาลสั่งให้ตำรวจใช้กำลังสลายการชุมนุมก่อนวันที่ 15 มี.ค.นี้ ว่า “กูไม่กลัวมึง” การชุมนุมของพันธมิตรฯ ถือเป็นมวลชนปฏิบัติการผู้รักชาติ จึงขอเรียกร้องให้พลังมวลชนที่รักชาติ ทั้งในต่างประเทศ ต้องลุกฮือต่อต้านรัฐบาล ที่ลุแก่อำนาจ ขลาดเขลา กล้าแต่กับคนดี ขี้ขลาดกับพวกอันธพาล รัฐบาลนี้นอกจากจะไม่เข้าใจประชาธิปไตยแล้วยังไม่เข้าใจรัฐธรรมนูญ หากปล่อยให้บริหารต่อไป มีแต่จะทำลายชาติ มัวแต่ปรองดองกับพวกหางแดง และจับมือกับทหารบางกลุ่มเอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มทุนเพื่อขอทุนคืน” นายปราโมทย์ กล่าวและเตือน พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ผบ.ตร.ว่า กำลังหลงผิด เห็นสุนัขเป็นเทวดา แนะกลับไปศึกษารัฐธรรมนูญก่อนจะใช้อำนาจมาขับไล่การชุมนุมที่สันติ และอสิงหา ด้านนายประพันธ์ คูณมี ปราศรัยเมื่อเวลา 21.30 น. ว่า ขอถามแม่ยกที่ยังงมงายลูบไข่อภิสิทธิ์ อภิสิทธิ์เป็นแบบนี้ขอเรียกว่าเลวบัดซบที่สุดของความเป็นคน ไม่เคยมีนักการเมืองคนใดเลวได้ขนาดนี้ รัฐบาล นายกรัฐมนตรีที่ผ่านมาทุกคน แม้จะชั่ว โกงชาติ กินเมือง แต่ก็ไม่มีใครขายชาติขายแผ่นดินเหมือนอภิสิทธิ์ มีหลายท่านบอกว่าคุณประพันธ์ทำไมเอามาพูดว่าอภิสิทธิ์เลวกว่าทักษิณ ขออธิบายว่า รัฐบาลไหนก็ทุจริต โกงชาติ และปราบปรามประชาชนทุกรัฐบาล รัฐบาลทักษิณทำ รัฐบาลอภิสิทธิ์ทำ รัฐบาลอื่นทำ แต่ก็ยังไม่เคยมีรัฐบาลไหนก็ยังไม่เคยขายแผ่นดินให้กับกัมพูชา แล้วคุณจะมาเถียงผมได้ยังไงว่าอภิสิทธิ์ไม่โกงกว่าคนอื่น สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
Posted: 10 Mar 2011 07:51 AM PST กรณีศึกษา “บ้านมั่นคง” ต้นแบบแห่งหนึ่งเป็นชุมชนแออัดบุกรุกบนที่ดินริมคลองชลประทานในกรุงเทพมหานคร และวันหนึ่งก็มีหน่วยงานราชการเข้าไปช่วยสร้างบ้านให้ใหม่ ให้เงินกู้ แถมด้วยสัญญาเช่าที่ดินในราคาถูกระยะยาวเพื่อให้ได้อยู่อย่างถูกต้องตามกฎหมาย จากนั้นก็มีการอัดฉีดงบประมาณเข้าไปในดำเนินการอีกหลายโครงการ อย่างไรก็ตาม ชุมชนแห่งนี้อาจเป็น:
ชุมชนลักษณะนี้จึงไม่อาจเป็นต้นแบบที่จะประสบความสำเร็จ การเข้าใจผิดจะทำให้การพัฒนาชุมชนแออัดและมหานครหลงทิศผิดทางไปใหญ่ การใช้ที่ดินที่ขาดประสิทธิภาพ ชุมชนแห่งนี้มีประชากรประมาณ 250 หลังคาเรือนบนพื้นที่ประมาณ 10 ไร่ ที่ดินนี้หากนำมาพัฒนาตามมาตรฐานทั่วไป จะสามารถใช้สอยสุทธิได้ราว 80% หรือ 8 ไร่ ที่เหลือก็คือถนนหรือสาธารณูปโภค สาธารณูปการต่าง ๆ ที่ดิน 8 ไร่ หากนำมาสร้างอาคารแบบแฟลต 5 ชั้น ก็จะสามารถสร้างได้ประมาณ 64,000 ตารางเมตร โดยคิดจากที่ดิน 8 ไร่ หรือ 12,800 ตารางเมตร คูณด้วย 5 ชั้น พื้นที่ก่อสร้าง 64,000 ตารางเมตรนี้ สามารถใช้สอยสุทธิเพียง 80% หรือ 51,200 ตารางเมตร โดยที่เหลือก็คือทางเดิน บันได และอื่น ๆ หากคิดจากแฟลตเอื้ออาทร 32 ตารางเมตรก็จะสามารถจัดหาที่อยู่อาศัยได้ถึง 1,600 หน่วย หรือประมาณ 6.4 เท่าของจำนวนบ้านเดิมในชุมชน กรณีนี้รัฐสามารถจัดหาที่อยู่อาศัยแก่ผู้มีรายได้น้อยอื่นในละแวกนั้น เข้ามาอยู่อาศัยได้อีก 1,350 ครัวเรือน หรือหากรัฐใจดีแจกให้ชาวบ้าน 250 ครัวเรือนนี้คนละ 2 ห้องไปเลย ก็ยังเหลือห้องให้ผู้มีรายได้น้อยแถวนั้นได้เข้ามาอยู่อีก 1,100 ครัวเรือน แต่รัฐกลับเอาที่ดินของหลวงทั้งผืนไปแบ่งเช่าให้เฉพาะกับผู้อยู่อาศัยเดิม ประชาชนที่ด้อยโอกาสอื่น โดยเฉพาะผู้ที่ไม่มีกระทั่งบ้านในที่ดินบุกรุกเป็นของตนเอง ก็ไม่สามารถกระทั่งเข้ามาเช่าบ้านแบบแฟลตได้เลย ความไม่คุ้มค่าทางเศรษฐกิจ ถ้าสร้างเป็นแฟลต แล้วให้คนอีก 1,350 ครัวเรือนเข้ามาอยู่ หากคิดค่าเช่าหน่วยละ 2,000 บาท ก็จะได้เงินถึงปีละ 32.4 ล้านบาท แต่ในกรณีนี้ นอกจากรัฐจะไม่ได้เงินแล้ว ยังต้องเจียดงบประมาณแผ่นดินไปช่วยชุมชนนี้อีกต่างหาก ความไม่คุ้มค่าทางเศรษฐกิจอีกแง่หนึ่งก็คือ นอกจากรัฐจะไม่ได้เงินจากการใช้ที่หลวงแล้ว ยังต้องจ่ายให้กับผู้อยู่อาศัยในชุมชนนี้ถึงครัวเรือนละประมาณ 80,000 บาท (แรกเริ่ม 65,000 บาท) นัยเพื่อเป็นทุนประเดิมสำหรับครัวเรือนในการสร้างชุมชนใหม่ นี่เป็นเงินประมาณ 20 ล้านบาท ที่มาจากภาษีอากรของประชาชนทั่วประเทศ นอกจากนี้รัฐยังให้กู้เงินดอกเบี้ยต่ำอีกจำนวนหนึ่งเพื่อให้ชาวบ้านสร้างบ้านของตนเอง เช่น ประมาณ 100,000 บาท โดยในขณะนี้ ชาวบ้านก็ยังผ่อนใช้คืนอยู่ตามปกติ รวมทั้งอัดฉีดเงินอีกมากมาย แต่จากประสบการณ์โครงการแบ่งปันที่ดิน (Land Sharing) ในอดีตที่ผ่านมา ปรากฏว่าชาวบ้านขาดการผ่อนส่งกันแทบทั้งชุมชน จนทางราชการต้องยกหนี้ให้ บางแห่งผ่อนเพียงตารางวาละ 1 บาทต่อเดือน ก็ยังติดค้าง คงเพราะถือว่าเป็นเงินหลวง ไม่ใช่หนี้นอกระบบ ค่าเช่าที่ดินถูก ที่ดิน 10 ไร่ติดคลองชลประทานใหญ่ดังกล่าว เมื่อก่อนคงแทบไม่มีราคา แต่ตามสภาพที่เป็นชุมชนแออัดในปัจจุบัน หากขายได้คงเป็นเงินตารางวาละไม่เกิน 15,000 บาท หากรัฐขอ ‘ไถ่’ คืนจากชาวบ้าน ณ ราคาข้างต้น รัฐก็ควรจ่ายเงินแก่ชาวบ้านรวม 60 ล้านบาท หรือหลังละ 240,000 บาท แล้วต่างคนก็ต่างแยกย้ายกันไป ซึ่งในแง่หนึ่งชาวบ้านก็น่าจะดีใจที่ได้อยู่ฟรีกันมา 40-80 ปี (2-4 ชั่วรุ่น) แล้ว อยู่ ๆ ก็ยังได้เงิน ‘ค่าทำขวัญ’ หรือ ‘โบนัส’ อีกต่างหาก เมื่อที่ดินแปลงนี้สามารถนำมาพัฒนาในทางอื่นที่เป็นประโยชน์มากขึ้น ราคาที่ดินก็อาจสูงขึ้นถึงตารางวาละ 50,000 บาท หรือไร่ละ 20 ล้านบาท รวมเป็นเงิน 200 ล้านบาท หากให้เอกชนเช่า ณ 4% ของราคาตลาด รัฐก็จะได้เงินถึง 8 ล้านบาทต่อปี รัฐสามารถนำเงินส่วนนี้ไปพัฒนาประเทศหรือช่วยเหลือชุมชนแออัดอื่นได้อีก โดยรัฐไม่ต้องเอาภาษีอากรของประชาชนมาใช้แต่อย่างใดเลย ถ้าคิดว่าอย่างน้อยครอบครัวหนึ่งได้ที่ดินเกือบฟรีข้างต้นเป็นเงิน 240,000 ต่อหลังคาเรือน แล้วยังได้บ้านในราคาอีก 200,000 บาท ที่ผ่อนเงินกู้ถูกกว่าเช่า แถมยังมีโครงการอัดฉีดเข้ามาพัฒนาชุมชนอีกสมมติให้หลังละ 60,000 บาท ก็เท่ากับว่าครอบครัวเหล่านี้ได้เงินจากรัฐประมาณ 500,000 บาทต่อหลังคาเรือน หรือรวมเป็นเงินถึง 125 ล้านบาท เพียงเพื่อพัฒนาชุมชนแออัดแห่งนี้ที่มีอยู่ 250 หลังคาเรือน ผิดหลักนิติธรรม บางท่านอาจมีความคิดว่า การที่ชาวบ้านบุกรุกกันอยู่อย่างผิดกฎหมายนั้นไม่ดี จึงพยายามทำให้ถูกกฎหมายด้วยการให้เช่า จะได้อยู่เย็นเป็นสุขเสียที แต่ในความเป็นจริง ชาวบ้านเหล่านี้อยู่ฟรีโดยไม่เสียเงินซื้อหรือไม่เสียค่าเช่ามานาน หากรายใดอยู่มานานถึง 50 ปี และมีต้นทุนการอยู่อาศัย 2,000 บาทต่อเดือนตามมาตรฐานห้องเช่าเล็ก ๆ ก็เท่ากับได้อยู่ฟรีมาเป็นเงินถึง 1.2 ล้านบาทแล้ว แล้วรัฐยังจะทุ่มเทงบประมาณลงไปอีก หากเราถือว่าคนที่อยู่ในชุมชนแออัดต้องอยู่กันที่เดิม ย้ายไปไหนไม่ได้ บ้านเมืองของเราก็คงจะย่ำแย่ และส่งผลกระทบเชิงลบอย่างรุนแรงต่อประชาชนทั่วประเทศในอนาคต สำหรับชุมชนแออัดใจกลางเมืองประเทศต่าง ๆ จะจัดหาที่อยู่อาศัยให้ใหม่ และนำที่ดินมาพัฒนาให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศชาติ ไม่ใช่ให้ผู้บุกรุกนั่งทับที่อยู่เพื่อประโยชน์เฉพาะกลุ่ม หลักคิดที่ไม่เป็นจริง มีการประชาสัมพันธ์ว่า โครงการนี้สำเร็จเพราะชาวบ้านช่วยกันออมทรัพย์ (ไมใช่เพราะรัฐทุ่มงบประมาณ) ลองตรองดูให้ดี ครัวเรือนหนึ่งออมวันละ 5 บาท ปีละ 1,825 บาท ถ้าเป็นเช่นนี้จริง ก็คงต้องออมถึง 22 ปี จึงจะพอมีเงินสัก 40,000 บาท เพียงเพื่อมาตบแต่งต่อเติมแบบสุดประหยัดสำหรับบ้านที่สร้างขึ้นใหม่ แต่ในทางปฏิบัติ ชุมชนดังกล่าว ออมอยู่ไม่นาน ก็บอกว่ามีสิทธิที่จะกู้เงินมาสร้างบ้านได้แล้ว การจัดหาที่อยู่อาศัยแก่ประชาชนนั้น ไม่จำเป็นต้องให้สิทธิเป็นเจ้าของบ้าน ถ้าเขาไม่ได้อาบเหงื่อต่างน้ำมาจนมีเงินพอหาซื้อได้เอง เขาก็อาจไม่มีภูมิคุ้มกัน ไม่มี Sense of Belonging ไม่มีความตั้งใจและความสามารถในการรักษาบ้านนั้นไว้ วันหนึ่งก็อาจขายไป เซ้งไป หรือปล่อยให้คนอื่นมาเช่าต่อ การมีแนวคิด (กึ่ง) ให้ที่ดินและบ้านแก่ชาวบ้านทั้งชุมชนแบบ ‘มาด้วยกัน ไปด้วยกัน เลือดสุพรรณ’ จึงเป็นสิ่งที่ควรทบทวนอย่างยิ่ง ข้อคิดส่งท้าย การช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยเป็นหน้าที่ของรัฐ แต่การจะอำนวยประโยชน์เฉพาะกลุ่มเป็นการสร้างความไม่เท่าเทียมที่ผู้มีรายได้น้อยอื่นเข้าร่วมด้วยไม่ได้ แทนที่รัฐจะช่วยเหลือเช่นนี้ ควรที่จะจัดหาที่อยู่ให้ใหม่ นำพื้นที่มาพัฒนาให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม หาไม่แล้ว งบประมาณแผ่นดินก็ถูกใช้ไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพ เพื่อการใช้ที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อประโยชน์สุขต่อประชาชนในมหานครและแก่ประเทศชาติโดยรวม เราต้องพัฒนาที่ดินเพื่อส่วนรวมเชิงรุก ไม่ใช่ปล่อยให้ชุมชนแออัดอยู่ตามยถากรรมหรือเพียงปรับปรุงตัวบ้านและชุมชนเป็นสำคัญ โดยไม่นำพาต่อการพัฒนาเมืองโดยรวม แต่สำหรับคนจนจริง ๆ สังคมต้องไม่ทอดทิ้ง และให้การช่วยเหลือกันตามอัตภาพ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
จากสยามยุคปฏิรูปประเทศถึงสังคมไทยสมัยโลกาภิวัตน์: ผู้หญิงไทยยังคงเหมือนเดิม? Posted: 10 Mar 2011 07:42 AM PST ในสมัยปฏิรูปเข้าสู่รัฐสมัยใหม่ของสยามตั้งแต่รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น ความคิด วัฒนธรรม ประเพณี ได้ถูกปรับเปลี่ยนและสร้างขึ้น ภายใต้การทำให้เป็น "ประเทศสมัยใหม่" ที่เจริญทัดเทียมกับชาติตะวันตก สิ่งเหล่านี้ได้เพิ่มความเข้มข้นในยุคถัดมาคือรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และยังคงสืบเนื่องมาจนถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเช่นกัน อาจกล่าวได้ว่าในช่วงนี้สยามประเทศได้เข้าสู่ความเปลี่ยนแปลงอย่างมหาศาลทั้งทางสังคม เศรษฐกิจ การเมืองจากทั้งปัจจัยภายนอกและภายในสยามเอง ดังจะเห็นได้จากงานศึกษาหลายชิ้น ที่ให้ความสนใจกับความเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้มาก่อน เช่น งานของอาจารย์ธงชัย วินิจจะกูล [1] งานของชาตรี ประกิตนนทการ [2] งานของอรรถจักร สัตยานุรักษ์ [3] เป็นต้น เช่นเดียวกับการพยายามที่จะกำหนดพรมแดนของรัฐชาติสมัยใหม่ไปพร้อมกับการสถาปนาอำนาจของรัฐจากส่วนกลาง รัฐได้พยายามเข้าควบคุมและจัดระเบียบคนในสังคมเช่นกัน การสร้างให้คนแต่ละกลุ่มเป็นไปตามที่รัฐต้องการจึงเกิดขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางสังคมของสยามเองที่สืบเนื่องมาจากสมัยต้นรัตนโกสินทร์ การเกิดขึ้นของชนชั้นพ่อค้า วัฒนธรรมกระฏุมพี ทำให้ชนชั้นสูงจำเป็นที่จะต้องกำหนดกฎเกณฑ์และเส้นแบ่งระหว่างกลุ่มคนขึ้น และยังสืบเนื่องต่อมาถึงเรื่องความเข้มแข็งของรัฐดังที่เปรียบกันว่าคนในแต่ละกลุ่มก็เป็นแต่ละอวัยวะที่ประกอบกันขึ้นมาและมีหน้าที่ที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้น "หน้าที่" จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ทุกคนจะต้องยึดถือเอาไว้เพื่อเริ่มต้นทำให้ชาติมั่นคง การสร้างความเป็น "ผู้หญิง" ก็ถูกรวมอยู่ในการจัดการของรัฐเช่นกัน ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว การสถาปนาตนเองเป็น "ผู้รู้" ที่ติดต่อกับชาวตะวันตกมาตั้งแต่สมัยพระองค์ยังทรงผนวช และด้วยเงื่อนไขเรื่องอำนาจภายในสยามเอง ที่ทำให้พระองค์ต้องการแสดงความมี "อารยะ" ผ่านทางประชุมประกาศต่างๆ ผู้หญิงก็เป็นอีกกรณีหนึ่งเช่นกัน ได้กลายมาเป็นเครื่องแสดงว่าพระองค์ให้อิสรภาพและความเท่าเทียมกันระหว่างผู้หญิงกับผู้ชาย ดังจะเห็นได้จากประกาศทรงอนุญาตให้นางในกราบบังคมทูลลาออกจากราชการเพื่อไปแต่งงานได้หรือกลับไปอยู่ที่บ้านได้ [4] และยังเปิดโอกาสให้ผู้หญิงในราชสำนักได้ออกมาพบปะกับชาวต่างประเทศในบางโอกาสเพื่อแสดงว่าพระองค์นั้นมีความคิดก้าวหน้า แต่ขณะเดียวกัน ในพระราชบัญญัติลักพาก็ได้กำหนดไว้อย่างชัดเจนหากผู้หญิงที่มีศักดินามากกว่า 400 ไร่ ไปมีบุตรกับผู้ชายที่มีศักดินาต่ำกว่า บุตรนั้นจะต้องเป็นของฝ่ายหญิง และบิดาของผู้หญิงเหล่านี้ยังมีอำนาจเต็มที่ที่จะจัดการไม่ให้บุตรสาวของตนไปคบค้าสมาคมกับคนในชนชั้นต่ำกว่าอีกด้วย [5] พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยังได้มีการประกาศห้ามตามมาอีกมากมาย และพระบรมราโชวาทของพระองค์ก็แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าพระองค์มีพระราชประสงค์ที่จะขีดแบ่งชนชั้นระหว่าง "เจ้า" กับ "ไพร่" อย่างชัดเจน โดยมีผู้หญิงเป็นเงื่อนไขสำคัญที่ต้องถูกควบคุมเพื่อไม่ให้ไพร่มาปะปนกับเจ้านายได้ และจากพระราชดำรัสของพระองค์เองที่ได้ปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจนตอนคราวที่เจ้าเมืองตราดส่งผู้หญิงมาถวาย ความว่า “ประกาศเรื่องพระยาพิพิธฤทธิเดชผู้สำเร็จราชการเมืองตราดส่งหญิงเข้ามาถวาย 3 คน อนึ่งหญิงบ้านนอกคอกนาเป็นลูกเลกไพร่หลวงไพร่สมทาสขุนนางในหลวงไม่เอาเป็นเมียดอก เกลือกมีลูกออกมาจะเสียพระเกียรติยศ แต่เมื่อผู้นำเอาหญิงงามๆมาให้ก็ดีใจอยู่ด้วยจะให้มีกิตติศัพท์เล่าลือว่ายังไม่ชราภาพนักจึงมีผู้หาเมียให้เท่านั้นดอกจึงรับไว้” [6] นับว่าเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ต้องการจะแบ่งแยกความเป็นเจ้าออกมาจากไพร่อย่างแรงกล้า แม้ว่างานศึกษาจำนวนมากจะอ้างว่าผู้หญิงในสมัยนี้มีสิทธิเสรีภาพมากขึ้น จากวรรคทองที่ว่า "ผู้หญิงเป็นควาย ผู้ชายเป็นคน" หรือจากประกาศพระราชบัญญัติลักพาที่ให้โอกาสผู้หญิงได้เลือกแต่งงานกับผู้ชายที่พึงพอใจกันได้เอง และประกาศพระราชบัญญัติเรื่องผัวขายเมีย บิดามารดาขายบุตร [7] แต่นี่ก็จำกัดอยู่เพียงอิสรภาพของผู้หญิงชนชั้นล่างและผู้หญิงที่ไม่ได้อยู่ในวงจรการเชื่อมโยงของกลุ่มชนชั้นสูงเท่านั้น สิทธิเสรีภาพที่ผู้หญิงกลุ่มนี้ได้รับจึงแทบจะไม่ได้สร้างความแตกต่างอย่างใดกับสถานภาพที่เคยมีมาก่อนหน้านี้เลย เพราะผู้หญิงชนชั้นล่างนั้นเป็นตัวค้ำจุนทางเศรษฐกิจของครอบครัวที่ต้องออกไปค้าขายในสังคมและมีอิสระที่จะตัดสินใจได้เองอยู่แล้ว ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สถานภาพของผู้หญิงได้รับการเน้นให้สำคัญยิ่งขึ้นในฐานะของเพื่อนคู่คิดและภรรยาที่สามารถช่วยเหลือสามีได้ ดังที่เห็นได้ชัดในกรณีของสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถที่ได้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์คราวที่เสด็จประพาสยุโรป เช่นเดียวกับในหนังสือที่นิพนธ์โดยสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพเรื่อง "คนดีที่ข้าพเจ้ารู้จัก" ชีวประวัติของผู้หญิงทุกคนล้วนแล้วแต่ได้รับการเน้นในฐานะของภรรยาและมารดา และผู้หญิงที่อุทิศตนเพื่อชาติทั้งสิ้นจนแทบจะไม่แตกต่างกัน นอกจากนี้โรงเรียนที่เปิดสอนให้กับผู้หญิงก็ได้ถูกริเริ่มขึ้นในสมัยนี้เช่นกัน โดยมีจุดมุ่งหมายสำคัญที่จะฝึกฝนผู้หญิงให้มีความรู้ในการออกรับแขก เข้าสมาคม และการเป็นแม่บ้านแม่เรือน ผู้หญิงในสมัยนี้จึงมีลักษณะภายนอกที่สอดคล้องกับค่านิยมตะวันตก คือสามารถสมาคมออกรับแขกได้ มีความรู้พื้นฐานมากพอที่จะรับฟังปัญหาของสามีได้ อันเนื่องมาจากบริบทของสยามเอง ที่ตกอยู่ภายใต้ค่านิยมแบบวิคตอเรียน การแสดงพระองค์ว่ามีความศิวิไลซ์เช่นเดียวกับฝรั่งของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงไม่อาจจะหลีกเลี่ยงการสร้างมาตรฐานของผู้หญิงให้ออกมาในลักษณะดังกล่าวได้ แต่อย่างไรก็ตามบทบาทของผู้หญิงได้เริ่มถูกจำกัดและลดทอนให้เหลือเพียงสถานะของภรรยา มารดา และผู้หญิงที่อุทิศตนเพื่อชาติไปโดยปริยาย และในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ครอบครัวเดี่ยวที่พระองค์พยายามจะเน้นมาตลอดทั้งรัชสมัยนั้นก็ทำให้ผู้หญิงกับผู้ชายมีหน้าที่ของตนเองทั้งสิ้น และหน้าที่ที่สำคัญที่สุดก็คือหน้าที่ต่อชาตินั่นเอง ในสมัยนี้ผู้หญิงได้รับการสนับสนุนให้ออกนอกบ้านมาทำงานทัดเทียมกับผู้ชายมากขึ้น แม้ในตอนแรกจะจำกัดอยู่ในอาชีพที่ผู้หญิงมีทักษะมาก่อน เช่น นางพยาบาล ครู ช่างตัดเสื้อ แต่ต่อมาก็ได้เริ่มขยายอาชีพออกไปมากขึ้น ซึ่งก็สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงของโลก อย่างไรก็ตามคุณลักษณะของผู้หญิงในสมัยนี้ได้ถูกเน้นให้เป็นผู้หญิงในแบบไทย ที่มีความเป็นกุลสตรีและยึดเอาธรรมะจากพุทธศาสนาเป็นที่ตั้ง วัฒนธรรมตะวันตกเป็นสิ่งที่ไม่พึงปรารถนาและไม่น่าเอาเยี่ยงอย่าง พระบรมราโชวาทและพระราชนิพนธ์ต่างๆ ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวล้วนแล้วแต่เน้นหน้าที่ต่อชาติโดยมีคุณธรรมและคุณลักษณะแบบไทยเป็นหลักนั่นเอง จะเห็นได้ว่าผู้หญิงที่ชาติต้องการจึงเป็นผู้หญิงในสถานะของ "ภรรยา" "มารดา” และผู้หญิงของชาติ ทั้งสิ้น แม้จะแตกต่างกันบ้างในรายละเอียด แต่เนื้อหาหลักล้วนสืบเนื่องต่อกันมา และผู้หญิงที่สามารถปฏิบัติตัวได้ตามนี้ก็ดูจะได้รับการยกย่องมาในทุกสมัย กรอบความคิดเช่นนี้ก็ยังคงสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ที่แม้ว่าสังคมจะเปลี่ยนไปมากเพียงใดก็ตาม แต่ความคิดเช่นนี้ก็ได้รับการตอกย้ำอยู่เสมอมา ผู้หญิงไทยจำนวนมากจึงมุ่งหวังที่จะบรรลุเป้าหมายดังกล่าวไม่ว่าจะโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม ในด้านของการประสบความสำเร็จของผู้หญิงในสถานภาพของภรรยาและมารดานั้น ความเป็นแม่บ้านแม่เรือนที่สามารถจัดการงานภายในบ้านให้เรียบร้อยที่เคยชื่นชมกันมาในยุคก่อนหน้า ไม่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ชายที่จะใช้เลือกผู้หญิงมาเป็นคู่ชีวิตได้อีกต่อไปในโลกยุคโลกาภิวัตน์ที่ผู้ชายและผู้หญิงต่างก็ออกมาทำงานนอกบ้านด้วยกันทั้งคู่ "ความสวย" จึงได้กลายมาเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ผู้หญิงทุกคนพยายามจะไขว่คว้า ไม่ว่าจะต้องผ่านกระบวนการต่างๆมากมายเพียงใดที่เริ่มตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้า ก็ดูจะไม่มีผู้หญิงคนใดยอมแพ้กับอุปสรรคดังกล่าว จึงไม่เป็นเรื่องน่าแปลกใจที่เราจะเห็นพวกเธอเหล่านี้เปลี่ยนแปลงตัวเองไปตามที่สมัยนิยมตลอดเวลา ทั้งนี้เนื่องมาจาก "ต้นทุน" ของชนชั้นกลางรุ่นใหม่ต่างจากกลุ่มชนชั้นสูงในอดีต ที่มีทั้งต้นทุนทางสังคม สถานภาพที่ติดตัวมาแต่กำเนิด และยังรวมไปถึงทรัพย์สินจำนวนมาก แต่ในปัจจุบัน ชนชั้นกลางที่ปราศจากมรดก สินทรัพย์ที่ดิน และไม่มีสายตระกูลที่สามารถนับขึ้นไปได้หลายสิบหรือหลายร้อยปี จึงมีแต่ต้นทุนทางร่างกายเท่านั้นที่เป็นแรงดึงดูดสำคัญต่อเพศตรงข้าม ผมที่ยาวสลวยเหยียดตรงหรือดัดหยิกเป็นลอนสวย ผิวขาวอมชมพูเปล่งปลั่ง ใบหน้าเรียบเนียนไร้รอบด่างดำ วงแขนขาวเนียนไม่แพ้ใบหน้า ขนอันไม่พึงปรารถนาที่มีอยู่ตามแขนและขาถูกกำจัดทิ้งอย่างไร้ที่ติ นี่ยังไม่นับรวมอุปกรณ์ภายนอกที่สามารถเพิ่ม "ความสวย" ให้กับผู้หญิงอย่างสมบูรณ์แบบไม่ว่าจะเป็นขนตาปลอม วิกผม เครื่องสำอางที่สามารถเปลี่ยนผู้หญิงให้กลายเป็นอีกคนได้ในพริบตา เสื้อผ้า และรองเท้าส้นสูง (เป็นอุปกรณ์ที่นับว่าทรมานผู้หญิงอย่างยิ่งที่ต้องพยายามทรงตัวบนส้นแหลมๆตลอดทั้งวันนัยว่าเพื่อเสริมบุคลิกให้ดียิ่งขึ้น) จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่พาผู้หญิงบรรลุเป้าหมายที่จะหาผู้ชายสักคนแต่งงานและร่วมกันทำฝันของตนเองให้สำเร็จตามที่รัฐได้ปลูกฝังมา ไม่ว่าจะเป็นความสวยหรือการเป็นแม่บ้านแม่เรือน เป็นกุลสตรีที่วางตัวอย่างเหมาะสม สิ่งที่ผู้หญิงพยายามจะไล่ล่าให้ทันอาจเปลี่ยนแปลงไปได้เสมอ แต่จุดมุ่งหมายสูงสุดในชีวิตของผู้หญิงไทยก็ยังคงย่ำเท้าอยู่กับที่เดิมเหมือนกับเมื่อหลายสิบหลายร้อยปีก่อน เหมือนกับยุคที่ผู้หญิงไม่อาจจะเป็นเจ้าของทรัพย์สินใดๆ ได้และยังต้องพึ่งพาการตัดสินใจจากผู้ชายเช่นเดิม นี่จึงเป็นเรื่องที่ลักลั่นต่อความรู้สึกของผู้หญิงเองอย่างยิ่ง ความเป็นสมัยใหม่ในปัจจุบันได้ทำให้ผู้หญิงสามารถยืนด้วยขาของตนเองได้ในที่สุด การออกมาทำงานนอกบ้านและหาเลี้ยงตนเองได้ทำให้มุมมองของผู้หญิงต่อโลกเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง ประสบการณ์ที่ผู้หญิงได้เรียนรู้ มีส่วนร่วมและพบเห็นมาทำให้ผู้หญิงไม่จำเป็นที่จะต้องมีเป้าหมายเพียงแค่การเป็นภรรยาหรือเป็นมารดาอีกต่อไป แต่ยังสามารถที่จะเลือกเป็นบทบาทอื่นที่ต้องการได้ตามที่ตนเองต้องการ ไม่ว่าจะเป็นบทบาทของนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ เป็นคุณแม่ที่เลี้ยงลูกเพียงคนเดียวไม่พึ่งพาผู้ชาย หรือแม้แต่เลือกที่จะรักเพศเดียวกัน แต่ภายใต้กรอบคิดว่าด้วยความเป็น "ผู้หญิง" ของไทยที่จำกัดให้ผู้หญิงอยู่ในสถานะของภรรยา มารดาและผู้หญิงของชาติยังถูกนำมาเล่าใหม่ซ้ำแล้วซ้ำเล่าไม่รู้จักจบนั้นไม่ตอบรับกับความเปลี่ยนแปลงของสังคมได้อีกแล้ว จึงทำให้ผู้หญิงใจหนึ่งก็ต้องการที่จะเป็นอิสระ ไม่เห็นความจำเป็นที่จะต้องเป็นแม่บ้านแม่เรือนหรือสวยเพื่อใคร แต่อีกใจหนึ่ง ค่านิยมบางส่วนที่ครอบงำอยู่ก็ทำให้ผู้หญิงยังคงคิดว่าจุดสุดท้ายในชีวิตของพวกเธอก็คือการแต่งงานอยู่วันยังค่ำ ผู้หญิงไทยในปัจจุบันจึงเป็นผู้หญิงที่ไม่ใช่ทั้งความเป็นสมัยใหม่ ในขณะเดียวกันก็ไม่ใช่ผู้หญิงไทยแบบเดิมที่เรียบร้อยราวกับผ้าพับไว้และยึดคติที่ว่า "สามีเป็นฉัตรกั้นเกศ" อีกต่อไป เป็นผู้หญิงที่ไม่อาจจะเดินหน้าไปได้อย่างมั่นใจ และก็ไม่ใช่ผู้หญิงที่หยุดนิ่งไม่เปลี่ยนแปลง จึงไม่แปลกที่เราจะเห็นผู้หญิงในสังคมจำนวนมากที่ต้องรับบทหนักทั้งภาระนอกบ้านและในบ้านไม่ให้ขาดตกบกพร่อง ยอมเหน็ดเหนื่อยด้วยความเต็มใจอย่างยิ่งที่จะได้เป็นทั้งผู้หญิงเก่งและผู้หญิงที่ดีไปพร้อมกัน เราจะเห็นผู้หญิงที่พยายามจะทำตัวให้เป็นสมัยใหม่ แต่ก็ไปได้ครึ่งๆกลางๆ มิหนำซ้ำยังถูกค่อนขอดว่าไม่มีความเป็นไทย และยังเห็นผู้หญิงเกือบทั้งประเทศพยายามอย่างเอาเป็นเอาตายเพื่อไล่ล่าความสวยและผู้ชายให้อยู่หมัด ทั้งๆที่ความคิดดังกล่าวที่ถูกสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยปฏิรูปประเทศนั้นมีเป้าหมายหลักเพื่อใช้กับผู้หญิงชนชั้นสูง เพื่อควบคุมบังคับไม่ให้ชนชั้นสูงลงไปปะปนกับชนชั้นล่าง และเป็นไปเพื่อปกป้องผลประโยชน์ระหว่างกลุ่มชนชั้นสูงเอง แต่ความคิดดังกล่าวกลับถูกนำมาใช้กับผู้หญิงทุกกลุ่มในสังคมไทยสืบตามาอีกเกือบร้อยปี โดยที่เราลืมไปอย่างสิ้นเชิงว่าทั้งบริบทและเงื่อนไขของสังคมมันย่อมเปลี่ยนไปตามกาลเวลา ยิ่งไม่ต้องพูดถึงเงื่อนไขของผู้หญิงในแต่ละกลุ่มเองที่แตกต่างออกไปอีก ในสังคมย่อมไม่ได้มีแต่ผู้หญิงชนชั้นกลางเท่านั้น แต่ยังแยกออกไปอีกว่าชนชั้นกลางในเมืองหรือในชนบท ผู้หญิงที่ใช้แรงงาน ผู้หญิงที่รักผู้หญิงเหมือนกัน จึงไม่แปลกที่ว่าเราจะยกย่องเชิดชูผู้หญิงชนชั้นกลางในฐานะที่สามารถทำตัวให้เป็น "ผู้หญิงที่ดี" ของรัฐได้เสมอมา ฐานที่ว่าพวกเธอเหล่านี้ทุ่มเทอย่างเต็มที่ที่จะไปให้ถึงความฝันของการเป็น "เมีย" และ "แม่" ที่ดี ในขณะเดียวกันก็ยังจงรักภักดีต่อชาติอย่างสุดหัวใจ และมองว่าผู้หญิงชนชั้นล่าง ผู้หญิงชนชั้นแรงงาน ผู้หญิงที่รักผู้หญิง คือ ผู้หญิงที่ทำให้สังคมไทยเสื่อมเสีย ไม่ทำตัวเป็นกุลสตรี ไม่รักนวลสงวนตัว มองไม่เห็นคุณค่าของการเป็นภรรยาและมารดาที่ดีกลายเป็นผู้หญิงที่สมควรถูกตราหน้าว่าเป็นผู้หญิงที่ไม่พึงปรารถนา และพร้อมที่จะเบียดให้ผู้หญิงกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ไม่มีสิทธิมีเสียงในสังคมไปโดยปริยาย ปัญหาในเรื่องของผู้หญิงในตอนนี้ก็คือว่า ผู้หญิงควรจะสามารถกำหนดตำแหน่งแห่งที่ของตนเองในสังคมขึ้นมาได้ใหม่ สามารถต่อรองกับรัฐได้ว่าสิ่งที่พวกเธอต้องการจะเป็นคืออะไร และพร้อมที่จะสลัดคุณค่าของผู้หญิงในแบบที่รัฐสร้างให้ออกไปหากพวกเธอไม่พอใจ และถ้าหากผู้หญิงต้องการที่จะปฏิเสธกรอบกฎเกณฑ์ที่สังคมเคยกำหนดเอาไว้ให้ นั่นก็เป็นเรื่องที่สมควรจะยอมรับเช่นกัน เพราะอย่างน้อยที่สุด ผู้หญิงควรจะมีสิทธิที่จะตัดสินใจได้เองว่าเป้าหมายในชีวิตของพวกเธอคืออะไรโดยที่รัฐไม่มีสิทธิเข้ามายุ่งวุ่นวายอีกต่อไป ที่สำคัญคือ ในแต่ละกลุ่มที่หลากหลายของผู้หญิงก็ย่อมที่จะมีสิทธิในตัวของพวกเธอเองเช่นกัน ไม่ใช่ผู้หญิงกลุ่มเดียวที่จะมีสิทธิตัดสินใจว่าความเป็น "ผู้หญิง" ที่จริงแล้วควรจะเป็นอย่างไร กรณีของผู้หญิงเป็นแค่เรื่องราวหนึ่งในสังคมไทยปัจจุบันที่แสดงให้เห็นว่ากรอบคิดเดิมหลายอย่างในสังคมไม่อาจจะอธิบายกลุ่มคนและสังคมโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปได้อย่างครอบคลุม การตั้งคำถามต่อชีวิต ความสัมพันธ์จึงเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้และไม่อาจจะหลีกเลี่ยง และยิ่งไม่ควรที่เราจะยอมทนอยู่กับสิ่งเหล่านี้ในสภาพที่แม้แต่ตัวของเราเองก็ยังไม่รู้ว่าจุดสุดท้ายมันจะออกมาในทิศทางใดกันแน่
อ้างอิง:
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
"ธิดา"ชี้สัญญาณไม่น่าไว้ใจ ผู้นำทหารสักการะศาลหลักเมือง คล้ายก่อน รปห.49 Posted: 10 Mar 2011 06:54 AM PST ธิดา แจง กก.ติดตามสถานการณ์ฯ วุฒิสภา จวกกระบวนการยุติธรรมมีปัญหาตั้งแต่ขั้นแรก ฝากบอก "ประเวศ-อานันท์" เสื้อแดงต้องการแก้ความอยุติธรรม ไม่ใช่ความเหลื่อมล้ำ ชี้สัญญาณไม่น่าไว้ใจ ผู้นำทหารสักการะศาลหลักเมือง คล้ายก่อน รปห.ปี 49 ยันหลักฐานที่จตุพรเตรียมแฉ ของจริง (10 มี.ค. 54) เมื่อเวลา 13.30 น. ที่รัฐสภา มีการประชุมคณะกรรมการติดตาม สถานการณ์บ้านเมือง วุฒิสภา มีนายจิตติพจน์ วิริยะโรจน์ ส.ว.ศรีสะเกษ ประธานคณะกรรมการ เป็นประธานการประชุม เชิญนางธิดา ถาวรเศรษฐ์ ประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ชี้แจงกรณีการดำเนินคดีอาญาที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุมเดือนเมษายน-พฤษภาคม 53 โดยนางธิดา กล่าวว่า การทำงานของตนยึดถือว่า ไม่คำนึงถึงใครเป็นพิเศษ ไม่ว่าจะเป็น พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ แกนนำคนเสื้อแดง หรือคนเสื้อแดง แต่คำนึงประโยชน์ของประชาชนและประเทศเป็นหลัก ซึ่งเมื่อตนเข้ามา ก็พบปัญหาการดำเนินคดีกับคนเสื้อแดง เช่น ที่เชียงใหม่ มีคนถูกตัดสินตั้งแต่ปี 51 โทษจำคุก 20 ปี และขอความช่วยเหลือมาว่า การตัดสินดังกล่าวไม่มีหลักฐานที่ชัดเจน เพราะเมื่อเทียบกับคดีที่มีคนเคยขับรถทับตำรวจแล้วถอยหลังก ลับมาซ้ำยังเพียงรอลงอาญา หรืออย่างกรณีช่างภาพญี่ปุ่น ตอนนี้ยังมาถกเถียงกันอยู่ว่า ปืนอะไร ใครเป็นผู้ยิง แต่ก็ตั้งข้อกล่าวหาใส่กันเสียแล้ว นางธิดา กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ สัมพันธภาพระหว่างคนในที่ชุมนุมกับคนที่อยู่ราชประสงค์ ผู้สื่อข่าวเป็นพยานได้ว่า ผู้ชุมนุมมีอาวุธหรือไม่มีอาวุธ ถูกจ้างมาหรือไม่ กระจกของห้างร้านไม่มีรอยขูดแม้แต่น้อยตลอด 3 เดือน แต่การตั้งข้อหาเกลื่อนไปหมดทั้งที่มีแค่ผู้เชี่ยวชาญมาดูแค่รูกระสุนแล้วบอกว่า เป็นอาก้านั้นมันไม่มีอะไรชัดเจน เหมือนกรณีหน้าสภาที่คนโดนแก๊ซน้ำตาแล้วบอกว่า ขาขาดมือขาด ฉะนั้นตำรวจต้องทำความชัดเจนก่อน แต่นี่ไม่ทำแล้วยังตั้งข้อหา จุดนี้ชัดเจนว่า กระบวนการยุติธรรมมีปัญหาตั้งแต่แรกสุดคือ ตั้งข้อหาไม่ถูกต้อง หลักฐานพยานก็ไม่ชัดเจน หรืออย่างคดีเผาศาลากลางในต่างจังหวัดแค่มีรูปยืนๆ อยู่ ณ ที่นั้น แต่หลักฐานอื่นไม่มี หรือการตั้งข้อหาก่อการร้ายกับแกนนำ ที่เกินความเป็นจริง นี่คือปัญหาความไม่ยุติธรรมที่เกิดกับประชาชน เป็นกระบวนการลงโทษคน ไม่ใช่ใช้การพิสูจน์เพื่อลงโทษคน ฝากบอก "ประเวศ-อานันท์" เสื้อแดงต้องการแก้ความอยุติธรรม ไม่ใช่ความเหลื่อมล้ำ นางธิดา กล่าวว่า การใช้การทหารมาแก้การเมือง ทำให้คนตายจำนวนมาก ไม่ใช่วิสัยของอารยประเทศ คนเสื้อแดงชุมนุมทางการเมืองต่อสู้เพื่อยกเลิกกติกาทั้งหลายที่ไม่เป็นธรรม ให้ยุบสภาคืนอำนาจให้ประชาชน ตำรวจ กอ.รมน. นักวิจัย เข้าพื้นที่ชุมนุมได้ แต่ที่การ์ดต้องจับบางคนเพราะพกอาวุธเข้าที่ชุมนุม ฉะนั้นยืนยันว่า เจตนาการชุมนุมเพื่อให้ประเทศมีประชาธิปไตย ก้าวหน้า มองเห็นคนเท่าเทียมกัน ได้รับความยุติธรรมเท่าเทียมกัน แต่ปรากฏว่า กลับโดนสไนเปอร์ยิง อ้างว่า ป้องกันตนเองทั้งที่ยิงมาจากระยะไกล ถามว่า เป็นการป้องกันตัวเองตรงไหน ทั้งนี้ การตรวจสอบคน ต้องตรวจสอบจากการปฏิบัติ ไม่ใช่ตรวจสอบจากคำพูด นางธิดา กล่าวว่า ก่อนวันที่ 19 พฤษภาคม 53 แกนนำคุยกับตัวแทนรัฐบาลหลายรอบ แต่เห็นว่า ไม่ไหวแล้วจึงเชิญ ส.ว.เข้าไปช่วยคุยด้วย น่าจะเป็นทางออกที่ดี และแกนนำพร้อมจะรับข้อเสนอของ ส.ว.ทุกประการ ตนเห็นว่า มี ส.ว.เข้าไปประสานคุย ก็คิดว่า น่าจะมีบทบาทหยุดยั้งทหารได้แม้จะเพียงชั่วคราว แต่ปรากฏว่า ส.ว.ไม่ได้รับเกียรติจากรัฐบาล รัฐบาลแค่เล่นละครคุยด้วยแต่ไม่เห็นวุฒิสภาในสายตาและตารางวันเวลาสลายชุมนุมยังเหมือนเดิม มีการตายรอบนอกพื้นที่มากกว่ารอบ ในพื้นที่ เช่น ที่วัดปทุมวนาราม แถมพยาบาลโดนยิง หรือนักข่าวโดนยิง คำถามคือ เจตนายิงเพื่อไม่ให้ถ่ายรูป ไม่ให้เข้าไปช่วยทางการแพทย์หรือไม่ เป็นการทหารป่าเถื่อนมาก ซึ่งตอนแรกความเชื่อยังบดบังความจริงในการรับรู้ของสังคม เวลาต่อมา ความจริงเริ่มเผยทีละน้อย จึงมีคนมาร่วมเสื้อแดงมากขึ้น ขณะที่ฝ่ายที่ใช้กำลังจัดการประชาชน แม้มีนักวิชาการหรืออภิสิทธิ์ชนจำนวนหนึ่งหนุนหลัง แต่แทบไม่มีประชาชนหนุนอยู่อีกแล้ว ตอนนี้บอกได้เลยว่า 24 ล้านคนที่เป็นแรงงานนอกระบบ เป็นคนเสื้อแดงเกือบหมด ชี้สัญญาณไม่ดี ทหารไปศาลหลักเมือง เหมือนก่อนรัฐประหาร 49 อย่างไรก็ดี นางธิดากล่าวว่า เสื้อแดงก็จะพยายามสู้ให้ได้เสียงข้างมากในการเลือกตั้งให้ได้ แต่ถ้าแพ้ก็ยอมรับ แต่ นปช.ก็จะยังอยู่ แต่ชนชั้นกลาง และปัญญาชนก็มีผลกับการชนะหรือไม่ชนะด้วย เพราะถ้าออกมาร่วมสู้ ก็จะมีพลังมากขึ้น แต่เกรงว่า จะไม่ออกมา เพราะมีตำแหน่งแห่งที่ในสังคมแล้ว ยันหลักฐานจตุพร "ของจริง" สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์: ความท้าทายเบื้องหน้า นปช. “แดงทั้งแผ่นดิน” Posted: 10 Mar 2011 06:34 AM PST การให้ประกันตัวแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) “แดงทั้งแผ่นดิน” พร้อมกับการจับกุมนายสุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ในข้อหา “หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ” (ป.อาญา ม.112) เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ได้ก่อให้เกิดการถกเถียงทางความคิด แนวทางนโยบาย และยุทธศาสตร์ยุทธวิธีอย่างกว้างขวางภายในขบวนประชาธิปไตย จึงสมควรที่จะอภิปรายกันอย่างสร้างสรรค์และเป็นมิตร เพื่อผลักดันให้ขบวนประชาธิปไตยยกระดับคุณภาพทางความคิดและการจัดตั้งไปสู่ขั้นตอนใหม่
1. กลยุทธ์ปล่อยตัว นปช. ปราบปราม “แดงสยาม” เป็นที่ชัดเจนว่า ฝ่ายปกครองเผด็จการต้องการตอกลิ่มความแตกแยกให้ขยายกว้างขึ้นระหว่างแกนนำ นปช. “แดงทั้งแผ่นดิน” กับแกนนำคนเสื้อแดงกลุ่มอื่นๆ โดยหวังผลสองด้าน คือ ในด้านหนึ่ง ให้แกนนำ นปช. เกิดอาการหลงทิศผิดทาง ยึดติดอยู่กับแนวทางการต่อสู้และการจัดตั้งแบบเก่าที่เชื่อว่า สามารถต่อรองทำให้พวกตนได้รับการปล่อยตัว รวมทั้งให้มวลชนเกิดการระแวงสงสัยในตัวแกนนำ นปช. ซึ่งก็คือ กลยุทธ์ “ปล่อยตัวแกนนำ นปช.เพื่อทำลาย” ส่วนในอีกด้านหนึ่ง ผู้ปกครองเผด็จการก็พุ่งปลายหอกแห่งการปราบปรามมาที่แกนนำกลุ่มคนเสื้อแดงย่อย ๆ ที่ไม่ได้สังกัด นปช. ที่พวกเขาเชื่อว่า “เป็นแดงล้มเจ้า” โดยหันมาใช้อาวุธข้อหา “หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ” อย่างเอาการเอางาน โดยเชื่อว่า นปช. จะไม่เคลื่อนไหวต่อต้านเนื่องจากแกนนำ นปช.ไม่ต้องการ “ติดเชื้อโรคแดงล้มเจ้า” ฉะนั้น จังหวะก้าวและท่าทีของแกนนำ นปช. “แดงทั้งแผ่นดิน” ต่อการเคลื่อนไหวอิสระของเสื้อแดงกลุ่มอื่นๆ ที่ไม่สังกัดนปช. และต่อการกวาดล้าง “แดงสยามและแดงอื่นๆ” ของฝ่ายปกครองจึงมีความสำคัญยิ่งที่จะกำหนดว่า แกนนำ นปช. จะยังดำรง “ภาวะการนำ” และ “ความเชื่อมั่น” ในหมู่มวลชนไว้ได้หรือไม่ ในเบื้องต้น จะต้องเข้าใจว่า การให้ประกันตัวชั่วคราวนี้เป็นกลยุทธ์หลอกลวงของฝ่ายปกครองหลังจากที่ปราบปรามคนเสื้อแดงทั้งด้วยอาวุธและกฎหมายมายาวนานและเป็นที่ชัดเจนว่า ไม่ประสบความสำเร็จ นี่เป็นการรุกทางการเมืองที่แหลมคมที่มุ่งทำลายทั้งแกนนำ นปช.และแกนนำคนเสื้อแดงอื่นๆ โดยตรง แกนนำ นปช. จะต้องรับมืออย่างถูกต้องด้วยการสามัคคีกับแกนนำเสื้อแดงกลุ่มต่างๆ ร่วมกันเคลื่อนไหวต่อต้านการปราบปรามรอบใหม่ด้วยเครื่องมือ ม.112 ของฝ่ายปกครองอย่างจริงจัง เพื่อยุติความกังวลสงสัยในหมู่มวลชน และพัฒนายกระดับการนำของขบวนประชาธิปไตย อย่างไรก็ตาม การสามัคคีร่วมมือระหว่างแกนนำ นปช. “แดงทั้งแผ่นดิน” และกลุ่มเสื้อแดงอื่นๆ จะต้องยืนอยู่บนความเข้าใจร่วมกันในหลักการสำคัญจำนวนหนึ่ง
2. ลักษณะเฉพาะของมวลชนคนเสื้อแดง การประชุมแกนนำเสื้อแดงภาคตะวันตก 7 จังหวัดเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2554 ได้ตกผลึกทางความคิดและการจัดตั้งที่สำคัญ เป็นการบรรลุเอกภาพอย่างเป็นไปเองโดยปราศจากการชี้นำจาก นปช. “แดงทั้งแผ่นดิน” และคาดได้ว่า แกนนำเสื้อแดงในภาคอื่น ๆ จะทยอยกันบรรลุเอกภาพในลักษณะเดียวกัน ทั้งหมดนี้ เป็นเครื่องหมายแสดงว่า การรวมตัวทางความคิดและจัดตั้งของมวลชนคนเสื้อแดงในท้องที่ทั่วประเทศกำลังเกิดการยกระดับคุณภาพครั้งสำคัญอย่างเป็นไปเอง ขบวนประชาธิปไตยเสื้อแดงเป็นขบวนการเคลื่อนไหวของมวลชนที่ยิ่งใหญ่ไพศาลที่สุดเท่าที่เคยมีมา มีความหลากหลาย เป็นประชาธิปไตย และเป็นอิสระอย่างสูง ประกอบด้วยชั้นชนต่าง ๆ หลากอาชีพ อายุ เพศ ศาสนา และมีหลายขนาด ตั้งแต่กลุ่มเล็กไม่ถึงสิบคน ไปจนถึงกลุ่มขนาดใหญ่กลุ่มละหลายพันคน กระจายกันหลายพันกลุ่มในเกือบทุกจังหวัดของประเทศไทย นปช. “แดงทั้งแผ่นดิน” เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญยิ่งของขบวนประชาธิปไตยเสื้อแดง กลุ่ม นปช.นั้นประกอบด้วยแกนนำจำนวนหนึ่งและมวลชนเสื้อแดงจำนวนมาก แต่ก็ไม่ครอบคลุมขบวนคนเสื้อแดงทั้งหมด ความจริงที่ว่า การชุมนุมใหญ่ของ นปช.ทุกครั้ง มีผู้คนเข้าร่วมมากกว่าการจัดกิจกรรมของกลุ่มเสื้อแดงอื่นๆ มิได้หมายความว่า มวลชนเสื้อแดงที่มาร่วมทั้งหมดขึ้นต่อ นปช. มวลชนคนเสื้อแดงนั้นไม่ยึดติดว่า ต้องเป็น นปช.หรือไม่ แต่ที่พวกเขามาร่วมชุมนุมกับแกนนำ นปช.อย่างสม่ำเสมอเป็นจำนวนมากนั้น เพราะลักษณะของมวลชนคนเสื้อแดงคือ ความเป็นประชาธิปไตยและเสรีชน ในด้านความเป็นประชาธิปไตย พวกเขาได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงของตนเองว่า อุปสรรคสำคัญที่ขัดขวางประชาธิปไตยในประเทศไทยคืออะไร การสังหารหมู่เมื่อเมษายน-พฤษภาคม 2553 ทำให้พวกเขาตกผลึกชัดเจนว่า พวกเขาไม่ต้องการสิ่งที่เรียกว่า “ระบอบประชาธิปไตยจารีตนิยม” ซึ่งเปลือกนอกอาจเป็นเผด็จการทหารหรือเป็นระบอบรัฐสภาหุ่นเชิด แต่มีเนื้อในเป็นเผด็จการของพวกจารีตนิยม พวกเขาต้องการระบอบประชาธิปไตยเสรีนิยมที่อำนาจอธิปไตยที่แท้จริงเป็นของปวงประชามหาชนในลักษณะเดียวกันกับที่มีแพร่หลายอยู่แล้วในบรรดาประเทศที่เป็นอารยะ เพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าว มวลชนคนเสื้อแดงจึงสนับสนุนการเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดงทุกกลุ่ม เห็นคนเสื้อแดงทุกกลุ่มเป็นดั่งพี่น้อง เห็นแกนนำทุกกลุ่มประดุจญาติสนิท แต่พวกเขารู้ว่า ในกลุ่มต่าง ๆ นั้น แกนนำ นปช.มีศักยภาพมากที่สุดในทางบุคลากร ความสามารถส่วนบุคคล ทรัพยากร ตลอดจนความสัมพันธ์กับทักษิณ ชินวัตรและพรรคเพื่อไทย สามารถสร้างผลสะเทือนทางการเมืองและมีอิทธิพลต่อสื่อมวลชนกระแสหลักได้ยิ่งกว่าแกนนำกลุ่มอื่นๆ จึงมีโอกาสมากกว่าที่จะผลักดันการต่อสู้ให้ก้าวไปในทิศทางใหญ่ที่พวกเขาต้องการ พวกเขาจึงหนุนช่วยแกนนำ นปช. อย่างเอาการเอางาน นัยหนึ่ง มวลชนคนเสื้อแดงกำลัง “ใช้งาน” แกนนำ นปช. ไปบรรลุจุดประสงค์ของตนแม้จะรู้ว่า แกนนำ นปช. มีขีดจำกัดทางเป้าหมายและทางความคิดที่สำคัญ ในขณะเดียวกัน มวลชนคนเสื้อแดงก็เป็นเสรีชน จึงมีการเรียนรู้เป็นของตนเอง บทเรียนอันเจ็บปวดเมื่อเมษายน-พฤษภาคม 2553 ทำให้พวกเขายกระดับความคิดขึ้นสู่ขั้นใหม่ สุกงอมและชัดเจนในเป้าหมาย พวกเขาจึงตรวจสอบ ประเมิน และวิจารณ์ แกนนำนปช.และแกนนำกลุ่มอื่น ๆ อย่างสม่ำเสมอ และในเมื่อ นปช. “แดงทั้งแผ่นดิน” เป็นกลุ่มที่มีผลสะเทือนมากที่สุด แกนนำ นปช.จึงต้องถูกประเมินวิจารณ์มากที่สุดด้วยทั้งจากมวลชนและจากแกนนำกลุ่มอื่นๆ นี่คือ “ภาระของการเป็นแกนนำใหญ่” ที่ควรแบกรับไว้ด้วยความอดทน อดกลั้น อ่อนน้อมถ่อมตน และใจกว้าง วาทกรรม “แดงเทียม” “แดงเสี้ยม” ที่ใช้กล่าวหากันระหว่างกลุ่มต่างๆ นั้นจึงสะท้อนถึงความไม่เป็นประชาธิปไตย เป็นการทำลายความสามัคคี สมควรยุติ เพราะในขบวนประชาธิปไตยไม่มี “แดงแท้” ไม่มี “แดงเทียม” ไม่มี “แดงเสี้ยม” มีแต่ “แดง” เท่านั้น ความเป็นเสรีชนของคนเสื้อแดงยังหมายความว่า ไม่มีใครเป็นเจ้าของพวกเขา ไม่มีใครเป็น “ครูสั่งสอน” ของพวกเขา และที่สำคัญคือ ไม่มีใครไป “จัดตั้ง” พวกเขา พวกเขาเรียนรู้เอง เติบโตเอง รวมทั้ง “จัดตั้งตนเอง” ในรูปแบบและจังหวะก้าวที่ช้าเร็วของพวกเขาเองอีกด้วย วิธีการที่เอาความคิดสูตรสำเร็จรูปและการจัดตั้งแบบรวมศูนย์จากบนสู่ล่างไปยัดเยียดให้กับพวกเขา จึงขัดกับธรรมชาติของคนเสื้อแดงที่เป็นเสรีชน มีแต่จะทำลายความหลากหลายและริเริ่มสร้างสรรค์ของพวกเขา
3. ขบวนการมวลชนประชาธิปไตยแห่งศตวรรษที่ 21 ประสบการณ์ในการต่อสู้เผด็จการทั่วโลกช่วงไม่กี่ปีมานี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กระแสคลื่นการลุกขึ้นสู้ของประชาชนในตะวันออกกลาง ได้แสดงให้เห็นว่า ขบวนการมวลชนประชาธิปไตยสมัยใหม่มีลักษณะที่แตกต่างจากการเคลื่อนไหวประชาธิปไตยในศตวรรษที่ 19-20 และกลุ่มคนเสื้อแดงก็คือ แบบอย่างแรกสุดของขบวนการมวลชนสมัยใหม่นี้เอง ขบวนการมวลชนสมัยใหม่นี้เกิดขึ้นในระบอบเผด็จการที่ฝังรากลึกมายาวนาน ผู้ปกครองมีเครือข่ายอำนาจและผลประโยชน์ที่กว้างขวางหยั่งลึก แทรกแซงควบคุมองค์กรสังคมและสื่อสารมวลชนทุกส่วนอย่างเบ็ดเสร็จ การต่อสู้ของมวลชนจึงต้องใช้การจัดตั้งและเครื่องมือที่ผู้ปกครองควบคุมได้น้อยที่สุดคือ การรวมตัวจัดตั้งในรูปสภาหรือสมัชชาประชาชนในแนวนอนและจากล่างสู่บน ที่ไม่มีแกนนำหรือ มี “หลายแกนนำ” ใช้สื่อสารไร้สาย เครือข่ายสังคมอินเทอร์เน็ต และสื่อดิจิตอลเป็นเครื่องมือสื่อสาร โฆษณาเผยแพร่ข้อมูล และรณรงค์ต่อสู้กับผู้ปกครองเผด็จการ ประสานกับการต่อสู้บนท้องถนนไปสู่ชัยชนะ สมบัติ บุญงามอนงค์ เป็นคนแรกที่เข้าใจลักษณะของการเคลื่อนไหวมวลชนสมัยใหม่นี้และเรียกชื่อได้อย่างสวยงามว่า การเคลื่อนไหวแบบ “แกนนอน” ขบวนคนเสื้อแดงได้พัฒนาเข้าสู่การเคลื่อนไหวมวลชนลักษณะดังกล่าวอย่างชัดเจนภายหลังเหตุการณ์พฤษภาคม 2553 ที่ซึ่งคนเสื้อแดงแต่ละกลุ่มคือ “แกนนอน” ที่รวมตัวกัน ริเริ่มสร้างสรรค์และเคลื่อนไหวอย่างอิสระ ด้วยเครื่องมือดิจิตอลหลากหลายในมือ แม้แต่นักรบไซเบอร์ที่มีอยู่หลายพันคนในปัจจุบัน แต่ละคนก็เป็นเสมือน “แกนนอนออนไลน์” ในตัวเอง แกนนำไม่ว่ากลุ่มใดจะต้องเข้าใจลักษณะเฉพาะในขั้นตอนใหม่นี้ของคนเสื้อแดง ความพยายามที่จะ “ดึงมวลชนกลับ” ให้เข้ามาอยู่ในกรอบความคิดสูตรสำเร็จและการจัดตั้งแนวดิ่งที่ตายตัวอันเป็นลักษณะของการเคลื่อนไหวในศตวรรษที่ 19-20 นั้นขัดกับธรรมชาติของมวลชน และจะถูกมวลชนปฏิเสธ ที่ผ่านมา แกนนำ นปช.เป็นหนี้ต่อการเคลื่อนไหวแบบแกนนอนนี้เอง ที่ประสานหนุนช่วยในยามที่ถูกคุมขัง แน่นอนว่า นปช. มีลักษณะจำเพาะที่ไม่ใช่ “แกนนอน” แต่ก็สามารถเป็นกำลังสำคัญผลักดันการก้าวไปของขบวนเสื้อแดงแห่งศตวรรษที่ 21 ด้วยการสนับสนุนส่งเสริม ร่วมมือและประสานกัน สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
Posted: 10 Mar 2011 06:20 AM PST
(1) Time: 7.45 Destination: Chiang Rai - Train on arriving - เป็นข้อความบนป้ายแอลอีดีสีสันสวยงามที่ผมแหงนมองมันกระพริบได้ไม่ทันไร รถไฟหัวมนราวกับจรวดก็พุ่งเข้าเทียบชานชาลาอย่างเงียบเชียบมาหยุดอยู่ตรงหน้า เพื่อให้แน่ใจ ผมหยิบตั๋วที่อยู่ในมือขึ้นมาดูอีกที ที่ตั๋วระบุด่วนพิเศษ ขบวนที่ 3 หมายเลขนั่ง A2 ผมเข็นกระเป๋าเดินทางใบเล็กๆ จูงขึ้นมาบนรถ มองหาที่นั่งจนเจอ จึงยกกระเป๋าขึ้นเก็บบนชั้นเหนือที่นั่ง ในเช้าจันทร์แรกของเดือนพฤศจิกายนเช่นนี้ อากาศเริ่มเย็นลงเห็นได้ชัด ทำให้ตื่นสายกว่าปกติ วันนี้ผมจึงเปลี่ยนใจมารอขึ้นรถที่สถานีดอยสะเก็ดแทนที่จะเป็นสถานีต้นทางคือสถานีเชียงใหม่อย่างทุกครา พื้นที่ตัวเมืองเชียงใหม่ในชั่วโมงเร่งด่วนช่วงเช้าช่วงเย็น รถติดขนาดไหนคงไม่ต้องบรรยาย ยิ่งวันนี้เป็นวันเปิดเทอมวันแรกอีกด้วยแล้ว พ่อแม่ผู้ปกครองคงพากันไปส่งลูกหลานถึงที่โรงเรียนกันเยอะ ถ้าให้ฝ่าฟันเข้ามาถึงในเมืองคงเสียเวลาโข ภายในตู้รถไฟที่ผมนั่งวันนี้เต็มไปด้วยผู้คน กลุ่มใหญ่น่าจะเป็นพนักงานรัฐกับนักศึกษามหาลัย มีที่เห็นบ้างเป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติ ไม่นานก็มีพนักงานชายสูงวัยคนหนึ่ง สวมสูทสีกรมท่าทางใจดี เดินมาตรวจตราไถ่ถาม “ทุกอย่างเรียบร้อยดีนะครับ” ระหว่างที่ผมกำลังก้มหน้าก้มตาเช็คข่าวผลการเลือกตั้งผู้ว่าฯ หลายๆ จังหวัดในภาคเหนือที่เพิ่งจะเลือกกันไปเมื่อวานจากเครื่องคินเดิ้ลคู่ใจ ผมเงยหน้าขึ้นยิ้มให้แก โดยไม่ได้พูดอะไรตอบ จากนั้นพนักงานสาวในชุดพื้นเมืองล้านนาก็เข็นรถที่เต็มไปด้วยอาหารกล่อง อาหารว่าง และเครื่องดื่มสำเร็จรูป รวมทั้งของที่ระลึกเล็กๆ น้อยๆ มาจำหน่ายค่อยๆ ผ่านข้างตัวผมไป ผู้โดยสารคนหนุ่มที่นั่งข้างๆ นั่งเล่นโน๊ตบุ๊ค (เหลือบไปเห็นสัญญาณไวไฟเต็มที่ด้วย) ไม่สนใจเหมือนกัน ความเร็วที่ระบุตรงป้ายไฟเล็กๆ กลางทางเดินขึ้นๆ ลงๆ ตัวเลขสูงสุดอยู่ที่ 222 กิโลเมตรต่อชั่วโมง รถไฟวิ่งผ่านอุโมงค์หลายต่อหลายแห่ง ตลอดสองข้างทางเป็นป่าเขาหนาแน่น มองไปเห็นสีเขียวของแมกไม้สบายตา จนรถมาหยุดจอดอีกครั้งที่สถานีแม่ขะจาน ช่วงนี้หมอกหนาจัด แล่นฉิวผ่านทุ่งนาเขียวขจี บ้านเรือนอยู่ไกลลิบๆ ไม่ทันไรก็มาถึงสถานีเวียงป่าเป้า แม่สรวย แม่ลาว และมาถึงที่สถานีเชียงรายตามลำดับ ข้อมูลจากแผ่นพับที่อยู่ตรงหน้าที่นั่งบอกอีกไม่นานโครงการขยายเส้นทางรถไฟแยกไปถึงแม่สาย-เชียงแสน-เชียงของจะเปิดให้บริการได้ นึกในใจเอาเอง ถึงตอนนั้นอาจจองตั๋วยากขึ้น เพราะคงมีบริษัททัวร์ นักท่องเที่ยวแบ็คแพคเกอร์ที่จะเข้าไปเที่ยวต่อในจีน พม่า ลาว ใช้รถไฟเส้นทางนี้กันเยอะ หลังลงจากรถ ผมหยิบมือถือขึ้นมาดู เวลา 9 โมง 15 พอดี เดินไปที่จอดรถรวมขับรถไปถึงที่ทำงานไม่น่าเกิน 20 นาที...
(2) เป็นเช้าอีกวัน ผมตื่นขึ้นมาเจอข่าวอุบัติเหตุใหญ่ เผยชื่อ 13 ผู้เสียชีวิต-17 คนเจ็บ บัสครูเชียงรายตกเขาเมืองน่าน ที่เพื่อนในเฟซบุ๊กหลายคนเอามาแชร์ต่อๆ กัน ทุกคนถือโอกาสแสดงความเสียใจ (สั้นๆ เช่น RIP) แนบลิงก์ไปด้วย ความเห็นต่อท้ายที่มีก็เป็นไปในทำนองเดียวกัน อ่านข่าวจึงทราบ รถคันที่ประสบอุบัติเหตุเป็นรถบัสของคณะครูโรงเรียนบ้านด้ายเทพกาญจนาอุปถัมภ์ อ.แม่สาย จ.เชียงราย ซึ่งเดินทางไปส่งครูบรรจุใหม่ที่โรงเรียนบ้านมณีพฤกษ์ อ.ทุ่งช้าง จ.น่าน เหตุเกิดบนเส้นเชียงราย-น่าน ช่วง อ.สองแคว จ.น่าน ซึ่งเป็นทางลงเขาโค้งหักศอก เมื่อวันที่ 21 ก.พ.ที่ผ่านมา คนเคยใช้เส้นทางนี้ทราบดีว่าหฤโหดขนาดไหน ลองนึกภาพตาม ถนนสองเลนรถวิ่งสวนกัน คดเคี้ยวและสูงชันแทบจะโดยตลอด บนระยะทางกว่า 270 กิโลเมตร (เชียงราย-เทิง-เชียงคำ-ปง-สองแคว-ท่าวังผา-น่าน) แน่นอนนี่ไม่ใช่อุบัติเหตุครั้งแรก แต่เป็นครั้งที่เท่าไหร่แล้วก็ไม่รู้ ครั้งหนึ่งที่ผมพอจำได้ ครั้งนั้นเกิดขึ้นกับคณะ รมช.มหาดไทย (นายประชา มาลีนนท์) คนขับรถบัสตัดสินใจพุ่งชนเขาข้างทางหลังควบคุมรถไว้ไม่อยู่ ทั้งที่ก็มีรถตำรวจนำขบวนไป ผลคือเจ็บกันถ้วนหน้า เตชะบุญไม่มีคนตาย เส้นเชียงใหม่-เชียงราย คืออีกเส้นทางที่เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง ภายในรอบ 5-6 ปีมานี้ มีหนักๆ เลย 3 ครั้งด้วยกันที่มีผู้เสียชีวิตร่วม 10 คนขึ้น โดยครั้งร้ายแรงสุดเกิดแถวสะพานโค้งหักศอกบ้านปางแฟน รถทัวร์ซึ่งพาคณะครูจาก อ.โป่งน้ำร้อน จ.จันทบุรี มาทัศนศึกษาภาคเหนือ และมุ่งไปต่องานพืชสวนโลก ประสบอุบัติเหตุคว่ำตกลงไปในลำธารข้างทาง ครานั้นมีผู้เสียชีวิตมากถึง 20 กว่าราย อีก 2 ครั้งเกิดที่ทางลงดอยนางแก้ว และช่วงรอยต่อ อ.เวียงป่าเป้า-อ.แม่สรวย นับแค่เฉพาะ 3 ครั้งนี้มีผู้เสียชีวิตรวมกันเกือบๆ 50 คนเลยทีเดียว ไม่ว่าครั้งใดก็เห็นสังคม (โดยเฉพาะสื่อ) แสดงอาการโศกเศร้าซะทุกครั้ง พร่ำพูด “ขอให้ครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้ายๆๆ” แต่ไม่เคยพยายามแสวงหาคำตอบ หรือกระทั่งเสนออะไรที่จริงจังออกมา ย้อนนึกถึงครั้งยังเด็กที่ใช้เส้นลำปาง-เชียงใหม่ พบเห็นอุบัติเหตุอยู่ประจำ บ่อยครั้งเกิดขึ้นกับญาติหรือคนรู้จัก หลายคนเสียชีวิต ตอนนี้ทุกครั้งที่ผมค่อยๆ ขับผ่านศาลเจ้าพ่อขุนตาล ผมจะยกมือขึ้นไหว้และนึกถึงเรื่องนี้เสมอ ว่าหลังจากที่ได้รับการขยายเป็นถนนขนาด 4 ช่องจราจรในปี 2544 แล้ว (จากเดิม 2 ช่องทางรถวิ่งสวนกัน) แน่นอน ผมยังคงใช้เส้นทางนี้ แต่ก็ไม่เจอะอุบัติเหตุรายทางมากมายดังเช่นแต่ก่อน และไม่เคยต้องไปร่วมงานศพใครที่ต้องจากไปบนถนนเส้นนี้อีกเลย
(3) ถ้าจะให้พูดถึงประเทศต้นแบบที่พัฒนาระบบการเดินทาง-ขนส่งภายในประเทศ “ทางบก” ได้อย่างยอดเยี่ยม คงหนีไม่พ้นต้องเอ่ยถึงสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น แต่สองประเทศนี้เลือกหนทางพัฒนากันคนละแบบ อเมริกาไปทางถนน ญี่ปุ่นเน้นมุ่งระบบราง ลองสืบค้นพบว่าเดิมทีอเมริกาก็ให้ความสำคัญต่อการสัญจรทางรถไฟมาก่อน ตั้งแต่ห้วงต้นศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา มีทั้งเส้นทางสายยาวข้ามประเทศ และเส้นทางสั้นๆ ระหว่างภูมิภาค ขณะนั้นดำเนินการโดยเอกชนเป็นหลัก (ตอนหลังสภาคองเกรสออกกฎหมายให้กิจการรถไฟเป็นรัฐวิสาหกิจ โดยจัดตั้ง National Railroad Passenger Corporation ที่รู้จักกันในชื่อ Amtrak ขึ้น) จุดเปลี่ยนที่ทำให้อเมริกาหันไปพัฒนาระบบถนน และละเลยทางรถไฟ (ที่อเมริกาไม่มีรถไฟความเร็วสูง เพิ่งจะมาพูดถึงกันเมื่อไม่นานนี่เอง) สืบเนื่องจากการเติบโตของอุตสาหกรรมรถยนต์ โดยเฉพาะแรงผลักดันจากบริษัทยักษ์ใหญ่ทั้งหลายของตน และเหตุผลทางการทหารในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 อีกทั้งน่าจะเป็นเพราะอเมริกาได้ค้นพบแหล่งน้ำมันสำรองปริมาณมหาศาล สหรัฐอเมริกามีเนื้อที่ขนาดใหญ่ ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบกว้าง ระบบถนนหลักที่มี ได้แก่ Interstate Highway เป็นโครงข่ายถนนที่เชื่อมทุกรัฐเข้าด้วยกัน (ยกเว้น อลาสก้ากับฮาวาย) ริเริ่มสมัยประธานาธิบดีดไวท์ ดี ไอเซนฮาว (Dwight D. Eisenhower) ตั้งแต่ปี 1921 ก่อนที่จะเป็นรูปเป็นร่างจริงจังในปี 1956 ใช้งบของรัฐบาลกลางรวมกับที่ได้จากแต่ละมลรัฐ ถนน Interstate มาตรฐานขั้นต่ำอย่างน้อย 4 ช่องทาง แบ่งทิศไปกลับ ไม่มีสัญญาณไฟจราจรระหว่างทาง มีทางเข้า-ออกเป็นระยะๆ (พูดง่ายๆ คือไม่มีจุดตัดเลยแม้แต่น้อย) สภาพถนนมีคุณภาพสูง เส้นทางไม่ชันไม่โค้งเกินไป ขีดจำกัดอัตราเร็วสูงสุดอยู่ที่ประมาณ 65-80 ไมล์ต่อชั่วโมง เป็นต้น รวมความยาวทั้งสิ้น 46,876 ไมล์ (หรือ 75,440 กิโลเมตร) ถือเป็นระบบถนนไฮเวย์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ก็ยังมี United States Highway ที่เป็นโครงข่ายถนนระหว่างรัฐเช่นเดียวกัน แต่มาตรฐานไม่สูงเท่า รวมถึง State Route ถนนของมลรัฐระดับพื้นฐาน ใช้เชื่อมระหว่างเมืองต่างๆ ภายในรัฐ ซึ่งจะว่าไปแล้ว Interstate Highway เมื่อเทียบกับระยะทางถนนทั้งหมด (ซึ่งก็มีถนนของท้องถิ่นต่างๆ อีกไม่รู้เท่าใด) คิดเป็นแค่ไม่กี่เปอร์เซ็นต์เท่านั้น โดยมีหน่วยงานที่ดูแลคือ Federal Highway Administration สังกัดกระทรวงคมนาคมสหรัฐฯ เมื่อเป็นดังนี้ บวกกับการที่รถยนต์มีราคาถูก (หมายถึงกรณีรถนำเข้าด้วย เทียบรุ่นเดียวกันกับที่มีในไทยราคาขายที่อเมริกาจะถูกกว่าราว 1-2 เท่าตัว) คนอเมริกันจึงนิยมใช้รถส่วนตัวในการเดินทาง ถ้าท่องเที่ยวระยะไกลก็จะใช้รถ RV กัน มีจุดจอดรถ RV บริการเป็นระยะ ประมาณกันว่าเฉพาะประเทศนี้ประเทศเดียวมีรถยนต์มากถึง 250 ล้านคันทีเดียว หรือคิดง่ายๆ 2 ใน 3 ของคนอเมริกามีรถใช้
ส่วนญี่ปุ่น ระบบรถไฟเริ่มขึ้นปลายศตวรรษที่ 19 (ก่อนหน้ารถไฟไทยราวๆ 20 ปี ตรงสมัยรัชกาลที่ 5) แม้นช่วงแรกรัฐบาลจะเป็นผู้ลงทุนเอง แต่การต่อขยายเส้นทางเป็นไปอย่างเชื่องช้า นำไปสู่การจัดตั้งบริษัท Nippon Railway กระทั่งภายหลังสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น ภาครัฐต้องการควบคุมเบ็ดเสร็จ จึงได้ทำการซื้อกิจการรถไฟจาก 17 บริษัทเอกชนมาเป็นของภาครัฐ (Nationalization) โดยยอมให้ภาคเอกชนยังสามารถลงทุนในทางรถไฟสายรองได้ เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุด ญี่ปุ่นตกเป็นผู้แพ้สงคราม อเมริกาได้เข้ามามีส่วนตัดสินใจจัดตั้ง Japanese National Railway ในรูปบริษัทมหาชนขึ้น ต่อมาได้เติบโตอย่างรวดเร็ว อนึ่ง สิ่งที่ส่งผลให้ระบบรถไฟญี่ปุ่นโดดเด่นยิ่งกว่าประเทศใดในโลก นั่นคือ รถไฟความเร็วสูง หรือชินกันเซ็น (Shinkansen) เป็นประเทศแรกที่มีรถไฟความเร็วสูงวิ่งให้บริการมาตั้งแต่ 1964 โดยพยายามที่จะก่อสร้างเครือข่ายรถไฟด่วนชนิดนี้ออกไปทั่วประเทศ ทว่าอีกด้านหนึ่งก็นำมาซึ่งการขาดทุนต่อเนื่องอีกหลายสิบปี กระทั่งต้องมีการแปรรูปกิจการรถไฟ (Privatization) ครั้งใหญ่ในปี 1987 ด้วยการแบ่งออกเป็นบริษัทย่อยๆ หลายบริษัท มีชื่อเรียกรวมๆ ว่า JR Group เปิดดำเนินการตามภูมิภาคต่างๆ แทน บางบริษัทก็เป็นของเอกชนเต็มรูป บางบริษัทก็มีรัฐบาลเป็นเจ้าของ กล่าวเฉพาะชินกันเซ็นที่เหมาะสำหรับการเดินทางในระยะไกลที่เชื่อมเมืองใหญ่ๆ เป็นหลักก่อน ปัจจุบันมีความยาวทั้งสิ้นประมาณ 2,600 กิโลเมตร (1,600 ไมล์) สร้างเส้นทางเป็นเส้นตรง คดเคี้ยวน้อย มีอุโมงค์ลอดหรือสะพานข้ามเมื่อเจอสิ่งกีดขวาง บางขบวนในบางเส้นทางจึงวิ่งด้วยความเร็วสูงสุดได้ถึง 300 กิโลเมตร/ชั่วโมง แต่ถ้ารวมเส้นทางของ JR Group ทั้ง 6 บริษัทที่ส่วนใหญ่เป็นรถไฟแบบธรรมดาด้วย ตัวเลขจะเข้าใกล้ 20,000กิโลเมตร (12,400 ไมล์) นอกจากนี้ ยังมีเส้นทางรถไฟแยกย่อยที่เอกชนเป็นผู้ดำเนินการ (เรียกรวมๆ ว่า Third Sector) อีกเกือบ 3,400กิโลเมตร (2,100 ไมล์) (เปรียบเทียบกับไทยที่มีระยะทางรวมกันไม่ถึง 4,000 กิโลเมตร) ภายใต้การดูแลของหน่วยงานอิสระที่ชื่อ The Japan Railway Construction, Transport and Technology Agency
เมื่อเดินทางด้วยรถไฟเป็นเรื่องง่ายๆ สะดวกสบาย ตรงเวลา รวดเร็ว และปลอดภัย เนื่องจากมีเส้นทางเชื่อมโยงติดต่อครอบคลุมทุกมุมเมือง ชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่จึงนิยมใช้รถไฟ ไม่จำเป็นต้องใช้รถยนต์ส่วนตัว เกิดวัฒนธรรมอันเกี่ยวเนื่องกับรถไฟชนิดไม่เหมือนใครขึ้น ชินกันเซ็นบางสายปีหนึ่งๆ มีคนใช้บริการมากถึง 150 ล้านคน แม้นจะเป็นถึงประเทศผลิตรถยนต์รายใหญ่ของโลกแท้ๆ อีกประการหนึ่งที่ขอพูดถึง คือ ที่ญี่ปุ่นมีมาตรการจำกัดอายุของรถที่วิ่งบนท้องถนนด้วย กฎหมายบังคับให้ต้องมาทดสอบสมรรถนะทุกปี (น่าจะ) ตั้งแต่ปีที่ 5 เป็นต้นไป ถ้าไม่ผ่านจะไม่รับอนุญาตให้ใช้งานได้อีก เช่น ปล่อยคาร์บอนฯ หรือเสียงดังเกินเกณฑ์มาตรฐาน เป็นต้น เหตุที่ญี่ปุ่นเน้นพัฒนาการเดินทางระบบราง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะข้อจำกัดด้านภูมิประเทศ ซึ่งประกอบด้วยเกาะน้อยใหญ่และเต็มไปด้วยภูเขา และข้อสำคัญคือไม่มีแหล่งน้ำมันภายในประเทศ ถ้ามุ่งพัฒนาถนนระยะยาวค่อนข้างลำบากกว่า ประกอบกับไม่มีแหล่งน้ำมันภายในประเทศนั่นเอง
(4) สำหรับผม เหตุการณ์ร้ายแรงที่เกิดกับคณะครูเชียงรายคราวนี้ จึงไม่ใช่แค่อุบัติเหตุ หรือมาจากความประมาท หรือแค่เพราะความเมาอย่างที่สื่อชอบให้ร้ายไว้ก่อน แต่ผมเห็นปัญหาใหญ่หลวงของประเทศนี้อยู่ในนั้น 4.1 หน้าที่ในการพัฒนาระบบคมนาคมขนาดใหญ่ ย่อมเป็นเรื่องของรัฐบาลระดับชาติแน่นอน แต่ที่ผ่านมาเป็นอย่างไร พูดอย่างหยาบที่สุด ก็คือ รัฐบาลที่ “เป็นของ” ประชาชนคนส่วนใหญ่จริงๆ ไม่เคยมี จะให้มาคิดอะไรๆ ที่มองไกลออกไปถึงอนาคตข้างหน้า (เช่นเรื่องโลกร้อน, พลังงานทดแทน เป็นต้น) จึงเป็นเรื่องยาก อยู่ได้หรือไม่ รัฐบาลหาใช่ขึ้นอยู่กับความต้องการของประชาชน หากแต่เป็นเพราะ? นโยบายที่ก้าวหน้า ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงแรงๆ จึงคิดได้ แต่ไม่มีทางทำได้ เพราะอาจจะไปกระทบกับเครือข่ายชนชั้นปกครองเข้าอย่างจัง ไม่มียอมง่ายๆ ดังนั้น การ “หยุด” ความเปลี่ยนแปลงเช่นว่าด้วยการลากเอารถถังออกมา จึงมีให้คนกลุ่มน้อยได้ยิ้มอยู่ตลอด ยกตัวอย่าง ถ้าเราจะพัฒนาระบบรางจริงจัง กลุ่มทุนใหญ่ บริษัทข้ามชาติ นักการเมือง ผู้รับเหมา และพวกพ้องที่เกี่ยวข้องกับการสร้างถนน-ผลิตรถยนต์ ก็ย่อมได้รับผลกระทบโดยตรง ถ้ามีรถไฟ รถยนต์ก็จำเป็นน้อยลง คิดกันง่ายๆ แค่นี้ หลายคนอาจจะเถียงได้ว่าข้างต้นไม่เกี่ยวกับความเป็นประชาธิปไตย ดูอย่างจีน ซึ่งประชาชนไม่มีสิทธิเสรีภาพทางการเมืองนัก ก็มีระบบถนนที่ดีมากๆ มีรถไฟความเร็วสูงที่ทั้งเร็วและยาวที่สุดในโลก (ล่าสุดประกาศที่จะสร้างสนามบินใหม่อีก 56 แห่งทั่วประเทศภายใน 5 ปีข้างหน้า) แต่นั่นคงเป็นข้อยกเว้นสำหรับบางประเทศที่ไม่เป็นประชาธิปไตยเท่านั้นที่อุดมการณ์แบบสังคมนิยมถูกระลึกถึงและยังทำงานอยู่ รวมถึงการมีผู้บริหารประเทศที่มองการณ์ไกลออกไป 4.2 ด้วยหลายหลากเหตุผล โดยเฉพาะในเชิงโครงสร้างการเมืองการปกครองแบบรวมศูนย์ เราจึงเป็นประเทศที่ “ปรนเปรอ” เมืองหลวงมากเกินไป ทั้งประเทศจึงมีที่นี่ที่เดียวที่มีระบบรางภายในเมือง ทั้งรถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟใต้ดิน (MRT) แต่ไม่มีเอกภาพเท่าไหร่ แบบแรกเป็นของ รฟม. แบบหลังเป็นของ กทม.ที่ให้เอกชนเข้ามาดำเนินการ ต่างก็ว่ากันไปไม่เกี่ยวกัน ไหนจะมีแอร์พอร์ตเรลลิงก์อีก ถนนดีๆ ทางยกระดับ มอเตอร์เวย์ มีแต่จากเส้นกรุงเทพฯ ไปยังจังหวัดบริวาร แต่ไม่มีถนนดีๆ ระหว่างจังหวัดสำคัญในภูมิภาคต่างๆ เลย หรือไม่เช่นนั้น หากจังหวัดใดสามารถ “เข้าถึง” ศูนย์กลางอำนาจได้ก็ได้ไป (มากกว่าที่ควรจะเป็น) อย่างสุพรรณบุรี ที่มีถนนกว้างใหญ่จนใครต่อใครเอาไปเอ่ยถึงด้วยความชื่นชม (ทั้งๆ ที่ควรถูกตำหนิเพราะไปเบียดบังจากที่อื่นมา) หรืออาจจะหมายรวมถึงบุรีรัมย์ในปัจจุบัน มีข้อมูลน่าตกใจที่คุณภัควดี (ไม่มีนามสกุล) เคยพูดถึงในรายการคมชัดลึกไว้ว่า “...รายได้ของเชียงใหม่ประมาณแสนกว่าล้าน ส่งรายได้แผ่นดินให้กรุงเทพ กรุงเทพส่งเงินกลับมาให้พัฒนาเชียงใหม่สี่หมื่นล้าน หายไปไหนกว่าครึ่ง..." จึงไม่แปลกเลยที่ทุกวันนี้ คนเชียงรายยังเคลื่อนไหวเรียกร้องให้มี “เส้นทางรถไฟสายเด่นชัย-เชียงราย” กันอยู่ ทั้งๆ ที่เรื่องนี้ถูกพูดมาตั้งแต่สมัยจอมพล ป. ปี 2496 โน่นแล้ว ในขณะที่คนกรุงเทพฯ กำลังจะได้ “ซุปเปอร์สกายวอล์ค” ทางเท้าลอยฟ้ามูลค่า 10,000 ล้านบาท (จากเงินภาษีของคนไทยทั้งประเทศ) ส่วนคนเชียงใหม่กำลังจะได้ “กองพลทหารราบที่ 7” (พล.ร.7) รับผิดชอบพื้นที่ภาคเหนือ ด้วยงบลับกระทรวงกลาโหมกว่า 2,000 ล้านอยู่รอมร่อ ถ้าเปิดโอกาสให้คนเชียงใหม่เลือกได้เอง เค้ายังอยากจะเห็นค่ายทหารมาลงกระนั้นหรือ? 4.3 อีกข้อที่เห็นนั่นคือ การเดินทางคราวนี้ไปเพื่อที่จะส่งครูบรรจุใหม่คนหนึ่ง (ซึ่งเสียชีวิตด้วย) ก็เกี่ยวกับปัญหาการ “กระจายอำนาจ” ที่น้อยเกินไป ถ้ายอมให้ท้องถิ่นดูแลตัวเองได้ในระดับพื้นฐาน (เช่น ด้านการศึกษา, สาธารณสุข, จราจร ฯลฯ) ไม่ต้องพึ่งพิงส่วนกลางมากอย่างที่เป็นอยู่ ครูคงไม่ต้องย้ายโรงเรียนบ่อย ปัญหาขาดแคลนครูในพื้นที่ห่างไกลก็น่าจะหมดไป รูปธรรม ถ้าโรงเรียนเป็นของท้องถิ่น ใครอยากสอนที่ไหนต้องไปสมัครสอบคัดเลือกกับโรงเรียนนั้นโดยตรง จะทำให้ได้คนที่มีความผูกพันกับท้องถิ่น ขณะที่ระบบส่วนกลางมีสอบทีไร คนแห่กันไปสอบทีหลายหมื่นหลายแสนคน ผู้ที่สอบได้มักไม่มีโอกาสได้เลือกที่ลง หลายคนได้ไปสอนที่ห่างไกล บ้างไม่เอา หลายคนยอมไป แต่ก็เพื่อจะรอวันย้ายภายหลัง แน่นอนคนที่มีอุดมการณ์ก็มี แต่ไม่มีหลักประกันเลยว่าเมื่อถึงวันหนึ่งเขาจะไม่คิดถึงบ้าน กรณี “จ่าเพียร” (พ.ต.อ.สมเพียร เอกสมญา) ซึ่งสังคมและสื่อสะเทือนอกสะเทือนใจอย่างยิ่ง (แต่กลับไม่แตะต้นตอของปัญหาจริงๆ ในเชิงโครงสร้างเลย) ก็สืบเนื่องมาจากปัญหานี้เฉกเช่นกัน การที่ พ.ต.อ.สมเพียร ร้องขอให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาย้ายตัวเองจากผู้กำกับการ สภ.บันนังสตา จ.ยะลา กลับไปเป็นผู้กำกับการ สภ.กันตัง จ.ตรัง หลังปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้มาเกือบจะทั้งชีวิตราชการ แต่ไม่สำเร็จ กระทั่งต่อมาได้ถูกลอบวางระเบิดจนเสียชีวิตนั้น เพื่อที่จะกลับไปอยู่กับครอบครัว (ก่อนหน้าที่จะเกษียณในอีก 1 ปีข้างหน้า) แต่คนที่มีอิทธิพลจริงๆ ในการจัดทำโผ “ตรงกลาง” ไม่เอาตามนั้น เปลี่ยนจากที่ทางตำรวจภูธรภาค 9 ได้เสนอขึ้นไป (ตามข่าว) “วิ่ง” “ตั๋วนักการเมือง” “ตั๋ว ผบ.(ตร.)” จึงเป็นคำที่คนในแวดวงสีกากีคุ้นชินเป็นอย่างดี เพราะการตัดสินใจขั้นสุดท้ายอยู่ที่ “ข้างบน” ไม่ใช่จากพื้นที่นั่นเอง อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ผมฝันถึงในช่วงต้นจะไม่มีทางเป็นจริงได้เลย ตราบใดที่ยังไม่มีความเปลี่ยนแปลงใหญ่เกิดขึ้นกับประเทศนี้ และถ้ายังเป็นเช่นนั้นจริง ไอ้ผมก็คงทำได้แค่ “ฝันตุ้ย*” ไปวันๆ... ต่อไป...
*ฝันตุ้ย เป็นภาษาเหนือ แปลว่าเพ้อฝัน
ข้อมูลประกอบการเขียน:
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
รายงาน: ก้าวแรก “บำนาญเกษตรกร” ในประเทศจีน Posted: 10 Mar 2011 04:24 AM PST เมื่อวันที่ 8 มีนาคมที่ผ่านมา ยี่เว่อหมิน รัฐมนตรีกระทรวงทรัพยากรบุคคลและประกันสังคม และ หูเสี่ยวยี่ รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ร่วมงานแถลงข่าว เรื่อง “การจ้างงานและการสร้างระบบประกันสังคม” หนึ่งในเรื่องที่พูดถึงคือเรื่องระบบประกันบำนาญของเกษตรกรสูงอายุ ซึ่งเป็นระบบใหม่ที่เพิ่งเริ่มขึ้นในประเทศจีนช่วงปีสองปีที่ผ่านมาและกำลังเป็นที่จับตามอง เพราะการสร้างระบบประกันบำนาญของสังคมชนบทรูปแบบใหม่นี้นับเป็นเรื่องใหญ่ในประวัติศาสตร์ของระบบประกันสังคมของประเทศจีน ประเทศซึ่งมีประชากรกว่า 1.3 พันล้านคน และกว่าครึ่งหนึ่งเป็นเกษตรกรในชนบท แม้ข้าราชการในจีนจะเกษียณตอนอายุ 60 ปีสำหรับผู้ชาย 55 ปีสำหรับผู้หญิง แต่ภายใต้ระบบนี้ เกษตรกรทั้งชายและหญิงที่อายุ 60 ปีขึ้นไปจึงจะได้รับเงินบำนาญจากรัฐอย่างน้อย 55 หยวนต่อเดือน หรืออาจได้มากกว่านี้แล้วแต่งบประมาณในแต่ละท้องที่ หลังผ่านการอนุมัติของคณะมนตรี ระบบนี้ก็เริ่มทดลองครั้งแรกในปี 2552 ใน 838 อำเภอและได้รับกระแสตอบรับอย่างดี บางเมืองที่ยังไม่ได้ถูกเลือกเข้าไปในแผนพื้นที่ต้นแบบของรัฐ รัฐบาลท้องถิ่นก็ยอมออกเงินเองในการทดลองระบบนี้ ดังนั้น ถ้านับรวมทั้งหมดก็จะมีเกษตรกร 143 ล้านคนที่เข้าร่วมในโครงการทดลองระบบบำนาญเกษตรกร ในจำนวนนี้เกษตรกรอายุเกิน 60 ปีกว่า 40 ล้านคนจะได้รับบํานาญขั้นพื้นฐานทันทีโดยไม่ต้องซื้อประกัน โดยจะได้รับเงินไม่น้อยกว่า 55 หยวนต่อเดือน ( 1 หยวนเท่ากับ 5 บาทโดยประมาณ) โดยรัฐเป็นผู้จ่ายให้ แต่หากอายุยังไม่ถึงเกณฑ์ก็สามารถเข้าร่วมได้โดยการซื้อประกันเพื่อเป็นเงินออมในยามชรา การสร้างระบบเช่นนี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความคิดของชาวชนบทจีนที่มีมาเป็นพันปีเกี่ยวกับการให้ความสำคัญกับลูกชายเพื่อหวังเป็นที่พึ่งยามแก่ตัว และได้รับการสนับสนุนอย่างดีของกลุ่มชาวนา รัฐมนตรีกระทรวงทรัพยากรบุคคลและประกันสังคมผู้รับผิดชอบเปิดเผยว่ามีเสียงเรียกร้องในทุกพื้นที่ให้เร่งสร้างพื้นที่ต้นแบบ ซึ่งคณะรัฐมนตรีตัดสินใจว่าจะขยายพื้นที่ทดลองระบบใหม่นี้ถึง 40 เปอเซ็นย์ของทั้งประเทศในปีนี้ และกระทรวงฯ กำลังดำเนินงานที่เกียวข้องกับพื้นที่ทดลองตามมติคณะรัฐมนตรี “เราเสนอให้เพิ่มความสนใจแก่ เขตประชาชาติน้อย เขตยากจน เพื่อทำให้พวกเขาสามารถแบ่งปันผลประโยชน์ของการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ และสามารถนำไปรวมในระบบประกันสังคมได้” รัฐมนตรีกล่าว นอกจากนี้ยังมีการเร่งประชาสัมพันธ์ในพื้นที่อย่างขนานใหญ่ เพราะเรื่องนี้เป็นสิ่งใหม่สำหรับชาวนา และยังมีการจัดองค์กรให้คำแนะนำแก่เกษตรกรวัยหนุ่มสาวหรือวัยกลางคนที่ต้องการซื้อประกันตั้งแต่ตอนนี้เพื่อสะสมทุนไว้เป็นสวัสดิการยามชรา ทั้งนี้ เงินบำนาญต่อเดือนในส่วนของเกษตรกรที่ซื้อประกัน = จำนวนเงินที่ฝากในบัญชีส่วนบุคคล / 139 +ดอกเบี้ยธนาคาร + เงินบำนาญขั้นพื้นฐานของรัฐ+เงินอุดหนุนของส่วนรวม (ถ้ามี) ส่วนเกษตรกรอายุ 16 ขึ้นไป (ไม่รวมนักเรียน) และไม่ได้อยู่ในระบบประกันขั้นพื้นฐานสำหรับแรงงาน สามารถเข้าร่วมในการประกันบำนาญของชนบทรูปแบบใหม่นี้ได้โดยสมัครใจ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
โป๊ปเตรียมออกทีวีให้คนตั้งคำถามครั้งแรกในประวัติศาสตร์ Posted: 09 Mar 2011 08:38 PM PST ครั้งนี้เป็น ‘ครั้งแรก’ ที่สามัญชนธรรมดาได้รับอนุญาตให้ ‘ตั้งคำถาม’ ถึงสมเด็จพระสันตะปาปา ผู้ถูกยกย่องว่าเป็น ‘ตัวแทนแห่งพระเจ้า’ ‘โรซาริโอ คาร์เรลโล’ ผู้ดำเนินรายการประจำสถานีโทรทัศน์ RAI ของอิตาลี เปิดเผยข่าวใหญ่สำหรับชาวคริสต์ผู้นับถือนิกายโรมันคาทอลิคทั่วโลก เมื่อวันที่ 9 มี.ค.2554 โดยระบุว่าสมเด็จพระสันตะปาปาหรือ ‘โป๊ป’ เบเนดิกต์ที่ 16 ประมุขแห่งคริสตจักรโรมันคาทอลิคพระองค์ปัจจุบัน จะปรากฏตัวในรายการ ‘In His Image’ ซึ่งจะออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ช่องเครือข่ายของ RAI เนื่องในวัน ‘แบล็ค ฟรายเดย์’ (Black Friday) หรือวันที่ 22 เม.ย.2554 ซึ่งเป็นวันศุกร์สุดท้ายก่อนจะถึงวันอีสเตอร์ และเป็นวันที่มีขึ้นเพื่อรำลึกถึงวันที่พระเยซูถูกตรึงบนไม้กางเขน การปรากฏตัวเข้าร่วมรายการโทรทัศน์อิตาลีของประมุขคริสตจักรและนครรัฐวาติกันครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรก เพราะสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอล ที่ 2 ประมุขคริสตรจักรพระองค์ก่อน ได้เคยเข้าร่วมในรายการเดียวกันนี้เมื่อปี 2542 แต่ครั้งนี้เป็น ‘ครั้งแรก’ ที่สามัญชนธรรมดาได้รับอนุญาตให้ ‘ตั้งคำถาม’ ถึงพระสันตะปาปา ผู้ถูกยกย่องว่าเป็น ‘ตัวแทนแห่งพระเจ้า’ สำนักวาติกันออกแถลงการณ์ชี้แจงเพิ่มเติมว่าสถานีโทรทัศน์ RAI จะเปิดให้คนทั่วโลกส่งเรื่องที่ต้องการถามโป๊ปเบเนดิกต์ ที่ 16 มายังเว็บไซต์ RAI Weekly ตั้งแต่วันที่ 13 มี.ค.เป็นต้นไป จากนั้นผู้จัดรายการจะคัดเลือกคำถามที่มีผู้ถามมากที่สุด 3 ข้อ เพื่อนำไปถามต่อโป๊ปเบเนดิกต์ ที่ 16 ซึ่งจะเป็นผู้ตอบข้อสงสัยทั้ง 3 ข้อด้วยตัวเอง และทางผู้จัดรายการเชื่อมั่นว่าจะมีผู้คนจากทั่วโลกส่งคำถามมาเข้าร่วมอย่างล้นหลาม ขณะที่สถิติเฉลี่ยของผู้ชมรายการในช่วงเวลาปกติมีประมาณ 7 ล้านคนทั่วประเทศ สื่อที่เป็นตัวแทนชาวคริสต์สรรเสริญว่าการปรากฎตัวออกสื่อโทรทัศน์ของโป๊ปเบเนดิกต์ที่ 16 เพื่อตอบคำถามของประชาชน ถือเป็นความกรุณาปราณีของผู้นำสูงสุดแห่งคริสตจักรที่พยายามเข้าถึงจิดใจชาวคริสต์ทั่วโลก ทั้งยังเป็นพัฒนาการที่สำคัญเมื่อเทียบกับเหตุการณ์ในอดีตซึ่งการตั้งคำถามต่อผู้เป็นตัวแทนแห่งพระเจ้าถูกมองว่าเป็นสิ่งที่ ‘ผิดมหันต์’ ไม่เว้นแม้แต่การตั้งสมมติฐานหรือการเผยแพร่แนวคิดที่ขัดแย้งกับความเชื่อหรือคำสั่งสอนของคริสตจักรในสมัยโบราณ หลักฐานทางประวัติศาสตร์จำนวนมากบ่งชี้ว่าผู้ที่คิดแตกต่างจากคริสตจักรในหลายศตวรรษที่ผ่านมาต้องเผชิญกับชะตากรรมอันเลวร้าย ไม่ว่าจะเป็นการล่าแม่มดในช่วงยุคกลางของยุโรป หรือกระทั่งการสั่งกักขัง ‘กาลิเลโอ กาลิเลอิ’ นักคณิตศาสตร์และนักดาราศาสตร์คนสำคัญของอิตาลี ในปี ค.ศ.1633 โทษฐานที่เสนอทฤษฎีขัดแย้งกับความเชื่อของคริสตจักรว่า ‘โลกไม่ได้เป็นศูนย์กลางของจักรวาล’ อย่างไรก็ตาม ในทัศนะของสื่อเสรีนิยมในซีกโลกตะวันตกจำนวนหนึ่ง กลับมองว่าการเปิดโอกาสให้คนตั้งคำถามกับประมุขแห่งคริสตจักรในครั้งนี้อาจเป็นเพียง ‘เครื่องมือในการประชาสัมพันธ์’ เพราะในช่วงเวลาไล่เลี่ยกับที่โป๊ปเบเนดิกต์ ที่ 16 จะไปปรากฏตัวในรายการโทรทัศน์ ทางคริสตจักรได้เตรียมจัดพิธีเปิดตัวหนังสือรวบรวมทัศนะของโป๊ปที่มีต่อประเด็นทางสังคมต่างๆ เป็นเล่มที่ 2 หลังจากที่มีการจัดพิมพ์หนังสือเล่มแรกไปเมื่อปีที่แล้ว ส่วนประเด็นที่ถูกโจมตีอีกประการหนึ่งคือเรื่อง ‘ความจริงใจ’ ในการเปิดโอกาสให้คนตั้งคำถาม เพราะประเด็นที่โป๊ปเบเนดิกต์ ที่ 16 จะ ‘ไขข้อข้องใจ’ ถูกกำหนดว่าจะต้องเป็นเรื่องเกี่ยวกับพระประวัติของพระเยซูเท่านั้น ส่วนคำถามในประเด็นอื่นๆ นอกเหนือจากนี้จะไม่ได้รับการพิจารณาแต่อย่างใด ที่สำคัญคือการตอบคำถามของโป๊ปจะเป็นการบันทึกเทปล่วงหน้า 1 วัน ซึ่งแม้แต่คณะผู้จัดรายการก็ไม่อาจระบุได้ว่าเวลาในการดำเนินรายการจะเป็นไปตามที่วางไว้คือประมาณ 80 นาทีหรือไม่ เพราะมีความเป็นไปได้ว่าช่วงเวลาตอบคำถามอาจมากกว่าหรือน้อยกว่าเวลาที่วางไว้ ทั้งนี้ ในปี 2553 ทั้งคริสตจักรโรมันคาทอลิคและโป๊ปเบเนดิกต์ที่ 16 ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักจากกลุ่มเหยื่อผู้ถูกล่วงละเมิดทางเพศในวัยเด็กทั้งจากประเทศไอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ ออสเตรีย สวิตเซอร์แลนด์ สหรัฐอเมริกา รวมถึงเยอรมนีซึ่งเป็นบ้านเกิดของโป๊ป โดยเหยื่อทั้งหมดระบุว่าผู้ก่อเหตุคือพระและนักบวชนิกายโรมันคาทอลิค ซึ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตมีการร้องเรียนต่อทางคริสตจักรอยู่เป็นระยะ แต่กลับไม่มีผู้ใดในคริสตจักรดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงหรือหาตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษ นอกจากนี้ รัฐบาลไอร์แลนด์ได้เปิดเผยข้อมูลการสอบสวนพระและผู้เกี่ยวข้องกับคริสตจักรโรมันคาทอลิคทั่วประเทศในปี 2553 ที่ผ่านมา พบว่ามีพระและนักบวชผู้ก่อเหตุล่วงละเมิดทางเพศผู้เยาว์ในความดูแล ระหว่างปี ค.ศ.1930-1990 จำนวนกว่า 200 ราย ส่งผลให้รัฐบาลไอร์แลนด์เตรียมหาทางดำเนินคดีตามกฎหมายกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการก่อเหตุทั้งหมด แม้โป๊ปเบเนดิกต์ ที่ 16 ได้ออกมากล่าวแสดงความเสียใจต่อเหยื่อที่ถูกพระคาทอลิคล่วงละเมิดอย่างไม่เป็นทางการในเดือนมีนาคม 2553 รวมถึงประณามผู้ก่อเหตุในไอร์แลนด์ว่าทรยศต่อพระผู้เป็นเจ้า แต่ก็ต้องเผชิญกับเสียงโต้แย้งจากผู้เสียหายว่าเรื่องที่เกิดถือเป็นความรับผิดชอบของคริสตจักรและโป๊บองค์ปัจจุบันด้วยเช่นกัน ที่ไม่กระทำการใดๆ เพื่อหยุดยั้งความเลวร้ายที่เกิดขึ้น นอกจากนี้ยังมีหลักฐานยืนยันเป็นลายลักษณ์อักษรด้วยว่าสมัยโป๊ปเบเนดิกต์ที่ 16 ยังดำรงตำแหน่งพระคาร์ดินัลโจเซฟ แรตซิงเกอร์ ในปี 2544 ได้มีการส่งจดหมายในนามคริสตจักรถึงบิชอปทั่วโลกไม่ให้เอ่ยถึงการล่วงละเมิดทางเพศที่เกิดขึ้นโบสถ์คาทอลิคในความดูแล แต่ให้ดำเนินการคว่ำบาตรพระหรือนักบวชผู้ก่อเหตุอย่างเงียบๆ เพื่อจะได้ดำรงไว้ซึ่งความสงบสุขและดีงามของคริสตจักร แต่ในความเห็นของเหยื่อผู้ถูกกระทำถือว่านั่นคือความพยายาม ‘ปกปิดความผิด’ ที่ไร้ความเป็นธรรมและหยามหมิ่นพระผู้เป็นเจ้า ผู้โจมตีโป๊ปเบเนดิกต์ที่ 16 อย่างรุนแรงด้วยการเขียนจดหมายเปิดผนึกส่งถึงสื่อมวลชนในสหรัฐฯ คือ ‘ซินเนด โอ’คอนเนอร์’ นักร้องหญิงชาวไอริช ซึ่งเคยก่อเหตุประท้วงอดีตสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอล ที่ 2 เมื่อ 18 ปีก่อน ระหว่างร้องเพลงถ่ายทอดสดในรายการ Saturday Night Live ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งโอ’คอนเนอร์ได้ร้องเพลง War ของบ็อบ มาร์ลีย์ ที่มีเนื้อหาเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับผู้คน รวมถึงการเผชิญหน้ากับปัญหาการล่วงละเมิดและทารุณเด็ก และได้ฉีกรูปภาพของโป๊ปจอห์น ปอล ที่ 2 และกล่าวทิ้งท้ายว่า “จงต่อสู้กับศัตรูที่แท้จริง” และการประท้วงอดีตพระสันตะปาปาในครั้งนั้นทำให้โอ’คอนเนอร์ถูกกีดกันจากการแสดงคอนเสิร์ตหลายงานในสหรัฐฯ ขณะที่จดหมายฉบับล่าสุดที่เขียนขึ้นในเดือน มี.ค.ปีที่แล้วของโอ’คอนเนอร์ ระบุว่าเธอมีประสบการณ์ที่เลวร้ายจากการถูกส่งตัวเข้ารับการดัดสันดานในศูนย์เยาวชนหญิงประจำโบสถ์คาทอลิคในไอร์แลนด์ ซึ่งใช้แรงงานเด็กเกินกว่าเหตุ และออกความเห็นว่าปัญหาการล่วงละเมิดและทารุณเด็กโดยพระหรือนักบวชในโบสถ์คาทอลิคเกิดขึ้นเป็นเวลานาน และเป็นผลจากระบอบการปกครองของศาสนจักรที่ไม่เปิดโอกาสให้คนธรรมดาตั้งคำถามหรือตรวจสอบ ‘ผู้รับใช้พระเจ้า’ ส่วนเสียงตอบรับในการเตรียมการตั้งคำถามที่จะออกอากาศที่สถานีโทรทัศน์ RAI ในวันที่ 22 เม.ย.นี้ มีผู้วิพากษ์วิจารณ์เช่นกันว่าหากประมุขคริสตจักรโรมันคาทอลิคต้องการเปิดโอกาสให้ประชาชน ‘ตั้งคำถาม’ อย่างแท้จริง แต่เหตุใดกลับห้ามพูดถึง ‘บาดแผล’ หรือประวัติศาสตร์ที่รอการชำระสะสางของคริสตจักร และสิ่งนี้จะเรียกว่าเป็น ‘การเยียวยา’ ได้อย่างไร
1. To Sinead O'Connor, the pope's apology for sex abuse in Ireland seems hollow. The Washington Post. March 28, 2010 2. Pope Watch: Vatican May Issue Formal Apology for Abuse Scandal in June. Beliefnet. April 29, 2010 3. Pope Benedict to answer Italian TV viewers' questions in papal first. The Guardian. March 8, 2011 4. Papal first as Pope prepares to answer viewers' questions for religious TV show. The Daily Mail. March 9, 2010 สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
You are subscribed to email updates from ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์ To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น