โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันพุธที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2554

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์

พันธมิตรฯ ชี้อภิสิทธิ์เลวกว่าทักษิณ 3 เท่า

Posted: 09 Mar 2011 10:11 AM PST

"สนธิ" ชี้ "อภิสิทธิ์" ขายชาติ ทำประเทศเสียดินแดน ปล่อยฟิลลิปมอร์ริสเลี่ยงภาษี จวกเห่อฝรั่ง แนะอย่าเพิ่งคืนสัญชาติให้ไปอยู่อังกฤษเลย ด้าน “ประพันธ์” อัดเลวกว่าทักษิณ 3 เท่า ถ้าเจิมศักดิ์ถ้าหาความดีอภิสิทธิ์เจอช่วยเอามาบอกหน่อย 

สนธิ” อัด “อภิสิทธิ์” ขายชาติ ทำประเทศเสียดินแดน

เอเอสทีวีผู้จัดการออนไลน์ รายงานว่า เมื่อเวลา 21.05 น. วันที่ 8 มี.ค.นายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ขึ้นกล่าวปราศรัยที่เวทีสะพานมัฆวานว่า ตนไม่สงสัยว่าทำไมนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ต้องมี 2 สัญชาติ ไม่ยอมไปยกเลิกสัญชาติอังกฤษ ก็เพราะต่อไปเขาจะไม่ได้อยู่เมืองไทยแน่นอน เพราะเขาทั้งขายชาติ ที่ทำให้ประเทศเสียดินแดน และโกงชาติกรณีปล่อยให้บริษัทฟิลลิป มอร์ริส เลี่ยงภาษีบุหรี่

นายสนธิกล่าวด้วยว่า กรณีบริษัทฟิลลิปมอร์ริสเลี่ยงภาษีนำเข้าบุหรี่นั้น ได้อ้างกติกาขององค์กรการค้าโลกที่ไม่ให้ประเทศสมาชิกกีดกันทางการค้า ซึ่งถ้าเราห้ามนำเข้าบุหรี่เราก็ผิด แต่กรณีนี้เราให้นำเข้าตามกติกาการค้าโลกแล้ว แต่เมื่อเราให้นำเข้ามาก็ต้องทำตามกฎหมายไทยคือต้องเสียภาษี แต่บริษัทนี้จะไม่เสียภาษีหรือเสียภาษีน้อยที่สุด จึงตั้งราคาให้ต่ำที่สุดและต่ำกว่าความเป็นจริง เพราะเป็นบุหรี่ของเขาเอง เมื่อตั้งราคาต่ำก็คำนวณภาษีจากฐานราคาที่ต่ำคือ 7 บาท ขณะที่บริษัทอื่นก็นำเข้าเหมือนกันแต่คำนวณจากฐานต้นทุนคือ 20 กว่าบาท เมื่อเป็นเช่นนี้ กรมสรรพสามิตจึงประเมินภาษีใหม่ ตั้งแต่นำเข้ามาปรากฏว่ายังค้างภาษีอยู่ 6 หมื่นกว่าล้านบาท ฟิลลิป มอร์ริส ต้องเสียภาษีจำนวนนี้ ถ้าไม่เสียต้องขึ้นศาล

นายสนธิกล่าวว่า กรณีนี้นายอภิสิทธิ์มีปัญหาอะไร เวลาศาลเขมรจับคนเราไปขึ้นศาล ไม่พูดสักคำ แต่พอฝรั่งจะขึ้นศาลไทยก็กลัวฝรั่งโกรธ ไม่ให้ขึ้นศาล บอกว่าสั่งไม่ฟ้อง แสดงว่านายอภิสิทธิ์เห่อฝรั่ง เห็นฝรั่งเป็นพ่อเป็นแม่ แต่คนไทยถูกจับขณะเหยียบอยู่บนแผ่นดินไทยกลับไม่เหลียวแล เพราะฉะนั้น ขอให้นายอภิสิทธิ์อย่าเพิ่งคืนสัญชาติอังกฤษ ให้ไปอยู่ที่อังกฤษเลย อยู่ทำไมเมืองไทย ทำความเดือดร้อนให้คนทำมาหากินในซอยทำไม คนที่รู้จักรักประเทศไปไหนมาไหนมีรถคุ้มกัน 30 คันยังไม่พอยังไปปิดซอยอีก แล้วยังไปตั้งส้วมในซอยเพื่อให้ตำรวจเข้าห้องน้ำ แล้วเทศกิจทำไมไม่ไปรื้อ มารื้อทำไมส้วมของประชาชนที่ต่อสู้เพื่อแผ่นดินเพื่อบ้านเพื่อเมือง แล้วตำรวจเหล่านั้นก็ไปรักษาความปลอดภัยบ้านนายกฯ ทำไมไม่ให้เข้าส้วมบ้านายกฯ เลย หรือไม่ก็ไปสร้างส้วมในบ้านนายกฯ ให้ตำรวจเข้าในนั้น

 

ประพันธ์โจมตีอภิสิทธิ์ชั่วกว่าทักษิณ 3 เท่า

เอเอสทีวีผู้จัดการออนไลน์ ยังรายงานด้วยว่า ด้านนายประพันธ์ คูณมี โฆษกพันธมิตรฯ ปราศรัยว่า ขอยืนยันว่านายอภิสิทธิ์เป็นนายกฯ เลวที่สุดที่ประเทศไทยเคยมีมา โคตรเลวกว่าทุกคน มีคอลัมน์นิสต์ นักจัดรายการบางคนประจบสอพลอ เป็นปากกระบอกเสียงให้นายอภิสิทธิ์ เพื่อให้ได้พื้นที่ในการเขียนคอลัมน์ ให้ได้เวลาในการจัดรายการ

ที่บอกว่านายอภิสิทธิ์ไม่เลวกว่านายทักษิณ ตนขอบอกว่าโคตรเลวกว่าทักษิณอีก แค่เรื่องฟิลลิป มอร์ริส ก็โคตรเลวกว่าทักษิณแล้ว นายทักษิณโกงบ้านกินเมืองแต่วันนี้ก็ถูกยึดทรัพย์แล้ว แต่วันนี้ความเลวของนายอภิสิทธิ์นั้นเฉพาะคดีนี้คดีเดียว ทำประเทศไทยสูญเสียรายได้ไม่น้อยกว่า 68,881 ล้านบาท และจากเรื่องนี้มันจะลามไปคดีอื่นๆ มันจะมีบริษัทอื่นเอาอย่างหมด ต่อไปประเทศจะสูญเสียภาษีเป็นแสนๆ ล้าน นี่ยังไม่รวมกับเงินที่พรรคร่วมรัฐบาลช่วยกันโกงกินอีก 3-5 แสนล้าน นี่แค่ 2 ปีเอง นายทักษิณอยู่ในอำนาจ 5 ปี เอาไป 3-4 แสนล้าน สร้างความร่ำรวยให้ตัวเอง 4.6 หมื่นล้านและก็รับใช้กรรมด้วยการถูกยึดทรัพย์แล้ว แต่นายอภิสิทธิ์กับพวกยังไม่ได้รับกรรม ความชั่วเลยมากกว่า นี่อยู่แค่ 2 ปี ทำความชั่วมากกว่าไปแล้ว 3 เท่า

นายประพันธ์กล่าวอีกว่า วันนี้นายอภิสิทธิ์ และนายเกียรติ ออกมาแก้ตัวกันพัลวันว่าไม่ได้แทรกแซงคดี แต่ตนขอยืนยันว่าเรื่องนี้เกี่ยวกับนายกฯและคนของนายกฯ โดยตรง เมื่อเช้านายเจิมศักดิ์พยายามแก้ตัวให้นายอภิสิทธิ์ผ่านรายการวิทยุว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องเก่าตั้งแต่สมัยนายทักษิณ ขอบอกว่าตอแหลประชาชน เรื่องนี้เป็นเรื่องเก่าก็จริงเป็นเรื่องการนำเข้าบุหรี่ LM กับมาร์ลโบโร บริษัทแม่อยู่อเมริกา บริษัทลูกอยู่ที่ไทย แต่สำแดงราคาเท็จว่ามาร์ลโบโรซองละ 7 บาท 76 สตางค์ L&M ซองละ 5 บาท 58 สตางค์ สำแดงต่ำกว่าความเป็นจริง ขณะที่คิงเพาเวอร์แจ้งมาร์ลโบโรซองละ 27 บาท 46 สตางค์ และ L&M 16 บาท 81 สตางค์

ดีเอสไอดำเนินคดี โดยให้ตั้งกรรมการตรวจสอบ ตั้งในสมัยรัฐบาลทักษิณจริง แต่ตั้งเมื่อ 10 สิงหาคม 2549 ก่อนนายทักษิณถูกปฏิวัติ 1 เดือน กรรมการประกอบด้วย ดีเอสไอ สรรพากร ศุลกากร ผู้แทนอัยการ 3 คน เรื่องเกิดสมัยนายทักษิณก็จริงแต่สอบสวนแล้วสรุปสำนวนส่งฟ้องเมื่อ 2 กันยายน 2552 เป็นช่วงที่นายอภิสิทธิ์เป็นนายกฯ แต่ก่อนส่งฟ้องฟิลลิป มอร์ริส วิ่งเต้นมาตลอด แต่ไม่สำเร็จ ไม่มีใครกล้ารับเพราะเป็นภาษีจำนวนมาก เป็นธุรกิจบาป ใครรับถือเป็นการฆ่าผ่อนส่งประชาชน เป็นตราบาปไปตลอดชีวิต

คนที่แก้ตัวให้นายอภิสิทธิ์ ลองแก้ตัวสิว่าเกิดในรัฐบาลก่อนแต่ทำไมรัฐบาลก่อนไม่มีใครช่วยเลย แล้วทำไมรัฐบาลนี้ถึงช่วย ทำไมไม่อธิบาย แล้วใครที่ช่วยล่ะ การตรวจสอบ 6 ปี นอกจากฟิลลิป มอร์ริส จะวิ่งเต้นแล้วยังพยายามร้องเรียนหอการค้าระหว่างประเทศ ให้มาบีบคั้นรัฐบาลทุกยุคทุกสมัย เพราะบริษัทบุหรี่มีอิทธิพลกับรัฐบาลในอเมริกามาก แต่ก็ไม่มีใครยอมจนมาถึงรัฐบาลนี้

 

 

อัดอภิสิทธิ์แทรกแซงคดีบุหรี่ LM

อภิสิทธิ์บอกว่าตัวเองไม่ได้แทรกแซง เรื่องนี้อภิสิทธิ์แทรกแซงโดยตรง เพราะพอบริษัทนี้ไปร้องเรียนองค์การการค้าโลก (WTO) ก็ตาม ฟ้องหอการค้าต่างประเทศก็ตาม แทนที่จะมอบเรื่องนี้ให้กรมเจราจาการค้าของกระทรวงพาณิชย์ เพราะกรมนี้ทำเรื่องนี้มาตลอดก่อนมีองค์การการค้าโลก และมีหน้าที่เจรจาต่อรองดูแลผลประโยชน์ของประเทศไทย แต่ดันมอบให้นายเกียรติ สิทธิอมร ซึ่ง เป็นผ้แทนการค้าที่นายกฯตั้ง ก็คือเป็นลูกน้องนายกฯโดยตรงนั่นเอง ปัญหาคือบริษัทบุหรี่นี้มาร้องเรียนขอความเป็นธรรม นายอภิสิทธิ์น่าจะเห็นว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ประเทศได้ประโยชน์ คณะกรรมการก็มีคำสั่งส่งฟ้องแล้ว ดันทะลึ่งไปยุ่งอีก ไม่ปล่อยไปตามกระบวนการยุติธรรม” นายประพันธ์กล่าว

นายประพันธ์กล่าวอีกว่า นายอภิสิทธิ์แทรกแซงด้วยวิธีการ ให้สำนักนายกฯทำหนังสือเชิญ ดีเอสไอ อัยการ สรรพากร ศุลกากร และ อัยการ 3 คน ที่อยู่ในกรรมการคณะแรกที่เห็นควรสั่งฟ้องไปแล้ว โดยหนังสือเชิญก็ระบุว่าเป็นบัญชาของนายกฯ และนายกฯ มีท่าทีอยากให้ความเป็นธรรมบริษัทนี้ ก็เท่ากับว่าฝ่ายการเมืองส่งสัญญาณให้ข้าราชการไปทบทวนคดีนี้ มันก็คือการแทรกแซงให้กลับคำฟ้องนั่นเอง เพราะการให้ความเป็นธรรมมันคืออะไรล่ะ จากตอนแรกสั่งฟ้องให้ความเป็นธรรมก็คือไม่ฟ้องนั่นเอง

ถ้านายกฯ ไม่สั่งให้ไปยุ่งเกี่ยว ป่านนี้ก็ดำเนินไปตามกฎหมายแล้ว แต่รัฐบาลที่ผ่านมาไม่มีใครทำ เลวหาที่ติไม่ได้จริงๆ แม่ว่าบริษัทนี้จะอ้างองค์การการค้าโลก (WTO) ตนจะบอกให้ว่าคำวินิจฉัยองค์การการค้าโลกไม่มีผลต่อกฎหมายไทย เพราะไทยมีเอกราช มีอธิปไตย แม้สินค้านี้จะปล่อยให้ทั่วโลกเอาเข้ามา แต่ไม่ได้ให้แจ้งราคาตามอำเภอใจ เพราะฉะนั้นเรื่องนี้ไม่มีเหตุผลและข้ออ้างเลยที่จะยื่นมือเข้าไปช่วย วันนี้นายอภิสิทธิ์ทำผิดแบบไม่น่าให้อภัย

 

จวกเจิมศักดิ์ถ้าหาความดีอภิสิทธิ์เจอช่วยเอามาบอกหน่อย

ผมพูดเรื่องนี้เพื่อตอกย้ำว่ามันเป็นเรื่องใหญ่ และรัฐบาลยังชี้แจงประชาชนไม่ได้เลย ถ้ามีเหตุผลข้อเท็จจริง ต้องตอบประชาชนเรื่องนี้ให้ได้ นอกจากทำให้ประเทศไม่ได้ภาษีแล้ว ต่อไปเอาบุหรี่นอกเข้ามาดัมพ์ราคาแค่ครั้งเดียว โรงงานยาสูบไทยเตรียมปิดได้เลย เรื่องผลประโยชน์ที่ควรได้ก็ไม่ทำ แผ่นดินแทนที่จะไม่เสียก็ให้ต่างชาติมารุกราน ข้าวยากหมากแพงก็ปล่อยให้นายทุนขูดรีดประชาชน งบประมาณแผ่นดินที่มีน้อยอยู่แล้วแทนที่จะได้เงินนี้มาช่วยหนุนก็ไม่ได้ จะไม่เรียกว่าชั่วกว่ารัฐบาลอื่นๆ ได้ไง” นายประพันธ์กล่าว

พี่น้องทหารหาญที่เคารพรัก ช่วยจับผู้บังคับบัญชาของท่านที่ทรยศต่อชาติ ต่อแผ่นดิน ออกไปด้วย วันนี้ทหารหมดศักดิ์ศรีแล้วถ้ายังให้ผู้นำบางคนเกาะแข้งเกาะขาอยู่กับนักการ เมืองเลวอยู่แบบนี้ มาถึงวันนี้นายอภิสิทธิ์เลวกว่านายทักษิณแบบหาที่ติไม่ได้เลย ถ้านายเจิมศักดิ์ หาความดีนายอภิสิทธิ์เจอช่วยเอามาบอกผม และพี่น้องหน่อย” นายประพันธ์กล่าว

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สุเทพชี้ไม่เคยใช้กำลังตำรวจทหารสลายการชุมนุม แต่ที่ตายเพราะวิ่งเข้ามาใส่

Posted: 09 Mar 2011 09:45 AM PST

เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์กล่าวต่อเยาวชนพรรคว่าพรรคพยายามปรองดองตลอด คนทั้งสภาเลือกอภิสิทธิ์เป็นนายกฯ แต่ก็บอกว่าโกง หาเรื่องทุกวันทำสภาล่ม มีการชุมนุมตลอด พกอาก้า เอ็ม 16 เอ็ม 79 ร่วมชุมนุม ทำให้มีคนตายแล้วมาหาว่าเราเป็นต้นเหตุ ลั่นในการอภิปรายไม่ไว้วางใจตนจะซัดให้

เว็บไซต์เอเอสทีวี รายงานข่าว นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวตอนหนึ่งระหว่างบรรยายในหัวข้อ "อุดมการณ์ประชาธิปัตย์" ระหว่างร่วมโครงการอบรม "รุ่นใหม่ อนาคตไทย" โดยมีผู้เข้าร่วมกว่า 200 คน เมื่อวันที่ 5 มี.ค. ที่ผ่านมา

โดยตอนหนึ่ง นายสุเทพกล่าวว่า "ผมสัญญาไว้ว่า ถ้าพรรคประชาธิปัตย์ได้ 300 เสียง จะไม่เอาใครมาร่วมรัฐบาล แต่ถ้าได้ 172 เสียง ก็ต้องยืมมือเนวิน บรรหาร สุวัจน์ สุวิทย์ ก็ต้องมาแน่ ถ้ายึดกรอบสีเหลี่ยมคงเป็นฝ่ายค้านตลอดชาติ แต่เป็นฝ่ายค้านมันไม่ได้รังเกียจเพราะพวกเราเป็นพวกผีเจาะปากให้พูด แต่การเป็นฝ่ายค้านมันน่าเสียดาย ที่ไม่สามารถนำนโยบายมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้"

นายสุเทพ กล่าวว่า ที่ผ่านมาเป็นความขมขื่นของพรรคประชาธิปัตย์ เพราะพยายามประคองสถานการณ์ ใช้แนวทางปรองดอง เสนอแนวทางออก เรื่องของเรื่องคือ พ.ต.ท.ทักษิณ ผิดหวังที่ไม่สามารถรักษาอำนาจไว้ได้ เมื่อออกไปแล้วยังให้นายสมัคร สุนทรเวช และนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ มาสืบทอดอำนาจแทน แต่เมื่อพ้นจากนายสมชาย ก็อยากเอาคนของเขามาอีก แต่แพ้เรา คนทั้งสภาเลือกนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี แต่มันก็บอกว่าโกง หลังจากนั้น เขาก็แกล้งเรา หาเรื่องเราทุกวัน เข้าประชุมสภาก็ไม่ยอมแสดงตน ตั้งใจให้องค์ประชุมล่ม เพื่อให้เห็นว่ารัฐบาลไปไม่รอด มีการเคลื่อนไหวชุมนุมตลอด ล่าสุดถึงขนาดพกอาก้า เอ็ม16 เอ็ม 79 มาร่วมชุมนุม ทำให้มีคนตาย แล้วพยายามกล่าวหาว่าเราเป็นต้นเหตุ ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจครั้งนี้ อย่ากระพริบตา ตนจะซัดให้ เราจะสู้ตามความเป็นจริง เราไม่คิดเข่นฆ่าประชาชน ไม่เคยใช้กำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจทหารเข้าสลายการชุมนุม แต่ที่ตาย เพราะวิ่งเข้ามาใส่

นายสุเทพ ได้ตอบคำถามผู้เข้าอบรมที่ว่า จะทำอย่างไรให้พรรคประชาธิปัตย์ลงพื้นที่หาเสียงทั่วประเทศได้ โดยไม่ถูกต่อต้าน นายสุเทพ กล่าวติดตลกว่า วิธีที่ดีที่สุดคือพกพระไว้ก่อน และตนขอให้ ส.ส. ช่วยกันจัดอบรมสัมมนาประชาชนในเขตเลือกตั้ง เพื่อเล่าสถานการณ์ความเป็นจริง ให้ได้รับรู้อย่างถูกต้อง เพราะเวลานี้สื่อแต่ละสีก็พูดเข้าข้างตัวเอง แม้แต่สื่อที่ไม่มีสีก็พยายามหาสีใส่กับเขาด้วย เลอะเทอะกันไปหมดทำให้ประชาชนสับสน

ทั้งนี้ข่าวดังกล่าวถูกเผยแพร่ในเว็บไซต์ของ Robert Amsterdam ด้วย

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สืบพยานคดีเผาศาลากลางมุกดาหาร “นักข่าว-อส.-สารวัตรสืบสวน”

Posted: 09 Mar 2011 05:44 AM PST

นักข่าว-อส.-สารวัตรสืบสวน เบิกความเป็นพยานโจทก์คดีเผาศาลากลางมุกดาหาร พยานทั้ง 4 รับว่าไม่ได้อยู่ในที่เกิดเหตุขณะศาลากลางไฟไหม้ หรืออยู่ในระยะไกลห่างกว่า 200 ม. อีกทั้งไม่มีใครเห็นว่าจำเลยทั้งหมดเป็นผู้ร่วมก่อเหตุ

เมื่อวันที่ 7 มี.ค. 54 ที่ผ่านมา จำเลยในคดีบุกรุกและเผาศาลากลางจังหวัดมุกดาหาร ซึ่งได้รับการประกันตัวออกมาแล้วทั้ง 29 คน พร้อมทนายจำเลย 5 คน จากสำนักกฎหมายราษฎรประสงค์และพรรคเพื่อไทย เดินทางมาพร้อมกันที่ศาลจังหวัดมุกดาหาร ห้องพิจารณาคดีที่ 1 ตามที่ศาลได้นัดสืบพยานโจทก์เป็นนัดที่ 4

พยานโจทก์ที่อัยการเบิกตัวมาขึ้นให้การในนัดนี้มีทั้งสิ้น 4 ปาก เป็นผู้สื่อข่าวท้องถิ่น 2 ปาก เจ้าหน้าที่กองอาสารักษาดินแดน(อส.) มุกดาหาร  และสารวัตรสืบสวน สภ.เมืองมุกดาหาร

นายไกรสมุทร นามโพธิ์ไทร พยานที่ขึ้นเบิกความคนแรก เป็นผู้สื่อข่าวท้องถิ่นของหนังสือพิมพ์สยามรัฐ และแนวหน้า  อีกทั้งเป็นลูกจ้างของบริษัท ชิโนทัย ทำงานที่ ร.พ.มุกดาหารด้วย  พยานให้การว่าในวันเกิดเหตุ(19 พ.ค.53) ทราบข่าวว่ามีการชุมนุมและเผายางที่ข้างศาลากลาง จึงเดินทางไปยังที่เกิดเหตุเพื่อบันทึกภาพ  พยานกลับไปทำงานที่ ร.พ.เป็นระยะๆ ไม่ได้อยู่ในที่เกิดเหตุตลอดเวลา   ดังนั้น พยานจึงไม่เห็นว่าใครเป็นคนเผาศาลากลาง  เห็นแต่เพียงมีบางกลุ่มกลิ้งยางเข้าไปเผา บางกลุ่มก็กลิ้งยางออกมา  ขณะเพลิงลุกไหม้ พยานเห็นมีเจ้าหน้าที่และผู้ชุมนุมบางคนเข้าไปห้ามปราม แต่ไม่มีการจับกุม  การบันทึกภาพของพยานเป็นการถ่ายในระยะไกลทั้งหมด  และเป็นการถ่ายภาพเหตุการณ์โดยรวม ในภาพที่พยานถ่ายก็ไม่มีภาพที่เห็นคนจุดไฟเผาศาลากลางชัดเจน  เมื่อตำรวจขอความอนุเคราะห์มายังสื่อทุกคน พยานจึงได้นำภาพถ่ายทั้งหมดไปมอบให้ โดยไม่ได้เปิดดูก่อน และไม่มีการตัดต่อ

พยานปากที่ 2 เป็นผู้สื่อข่าวท้องถิ่นของ นสพ.เดลินิวส์ ชื่อนายอนุศักดิ์ แสนวิเศษ  พยานให้การว่าในวันที่ 19 พ.ค.53 พยานเข้าไปในที่เกิดเหตุเพื่อบันทึกภาพในฐานะผู้สื่อข่าว พยานเห็นว่าในศาลากลางมีทั้งคนเสื้อแดงที่มาชุมนุมและประชาชนทั่วไป  พยานถ่ายภาพในระยะไกล โดยใช้ซูมภาพเอา  พยานออกไปรายงานข่าวเป็นระยะๆ จึงไม่ได้อยู่ในที่เกิดเหตุตลอดเวลา โดยเฉพาะในช่วงที่มีการเผาศาลากลาง  แต่ในช่วงสลายการชุมนุม พยานอยู่ในศาลากลาง และถ่ายภาพผู้ต้องหาที่ตำรวจจับกุมจากที่อื่นเข้ามา  พยานไม่ทราบว่าคนที่ตำรวจจับมาอยู่ในศาลากลางหรือกระทำผิดหรือไม่  เมื่อพยานนำภาพถ่ายไปให้กับตำรวจ ไม่ได้มีการสอบปากคำพยานไว้

พยานปากที่ 3 คือ นายวิไล  เมืองโคตร  นายหมู่ใหญ่ประจำกองอาสารักษาดินแดน (อส.) จังหวัดมุกดาหาร   นายวิไลให้การต่อศาลว่า วันเกิดเหตุเข้าเวรรักษาการณ์อยู่ที่ป้อมยามข้างประตูด้านทิศตะวันออก  เห็นกลุ่มคนเสื้อแดงเผายางรถยนต์อยู่ที่ถนนนอกรั้วศาลากลาง หน้าประตูด้านทิศตะวันตก ซึ่งอยู่ห่างจากบริเวณที่พยานอยู่ประมาณ 400 ม.  ต่อมาประมาณ 10 โมงเช้า กลุ่มคนเหล่านั้นก็พังประตูรั้วด้านทิศตะวันตกเข้ามาในบริเวณศาลากลาง รวมตัวกันอยู่บริเวณหน้ามุขอาคารหลังเก่า  มีคนกลุ่มหนึ่งกลิ้งยางรถยนต์มากองไว้บริเวณมุมด้านตะวันออกของมุข 2 กอง ห่างจากพยานราว 200 ม.  ประมาณ 11 โมง ผู้ชุมนุมก็เผายางที่กองไว้  สักพัก ก็มีคนสวมหมวกกันน็อคกลิ้งยางที่ติดไฟเข้าไปในอาคารบริเวณคลังจังหวัดจนเกิดเพลิงไหม้  มีรถดับเพลิงวิ่งเข้ามา แต่ผู้ชุมนุมสกัดเอาไว้ พร้อมทั้งใช้ไม้ทุบรถ จนกระจกหน้ารถแตก และพนักงานขับรถต้องทิ้งรถหนีออกไป  บ่ายสามโมง กลุ่มวัยรุ่นพยายามจุดไฟเผาอาคารศาลากลางหลังใหม่บริเวณทางเข้าด้านทิศตะวันออก ซึ่งเป็นห้องเก็บวัสดุไฟฟ้า กำลังตำรวจจึงผลักดันผู้ชุมนุมออกมาทางป้อมยามที่พยานยืนรักษาการณ์อยู่ตลอด  พยานเห็นวันรุ่นคนหนึ่งวิ่งหนีตำรวจจากบริเวณต้นไม้ข้างอาคารหลังใหม่ซึ่งอยู่ห่างจากพยานประมาณ 200 ม. มาล้มที่หน้าป้อม  จึงควบคุมตัวเอาไว้  ตำรวจที่ตามมาจึงเข้าจับกุมและมัดแขนขาชายคนดังกล่าวไว้  พยานรับว่าเห็นชายคนที่พยานจับได้วิ่งออกมาจากกลุ่มผู้ชุมนุมจริง แต่ไม่รู้ว่าเขาได้ร่วมเผาหรือไม่  พยานจำหน้าชายคนนั้นไม่ได้ จำไม่ได้ว่าใส่เสื้อสีอะไรด้วย  รูปที่พนักงานสอบสวนนำมาให้พยานชี้ ก็เป็นรูปที่จำเลยคนดังกล่าวนอนคว่ำหน้าอยู่  นอกจากนี้ พยานยังรับว่าคำให้การในชั้นสอบสวนและในศาลไม่ตรงกัน

พ.ต.ท.พุทธินันท์ บำรุง ขึ้นให้การเป็นคนสุดท้าย โดยเกี่ยวข้องเป็นผู้จับกุมตามหมายจับ ซึ่งในขณะนั้นดำรงตำแหน่งสารวัตรสืบสวน สภ.เมืองมุกดาหาร  ในวันเกิดเหตุได้รับมอบหมายให้ดูแลทรัพย์สินของเอกชนด้านนอกศาลากลาง  พยานจึงไม่ได้อยู่เหตุการณ์ที่มีการเผาศาลากลาง และไม่รู้ว่าใครเป็นคนเผา  หลังเหตุการณ์ พยานได้รับมอบหมายให้สืบหาคนร้ายตามภาพถ่ายในหมายจับ   ซึ่งพยานได้ทำการสืบและเข้าจับกุมผู้ต้องหาทั้งสิ้น 4 คน ทั้งนี้ พยานรับว่า ภาพถ่ายที่เป็นหลักฐาน ไม่ปรากฏชัดว่าจำเลยที่พยานตามจับกุมมาเป็นผู้จุดไฟเผาศาลากลาง เป็นเพียงภาพขณะจำเลยกลิ้งยางหรือยืนข้างกองยางเท่านั้น  อีกทั้ง พยานก็ไม่รู้ด้วยว่าจำเลยที่มีภาพกลิ้งยางนั้น เป็นการกลิ้งเข้าไปกองเพื่อจุด หรือกลิ้งออกมา  หรือที่ยืนข้างกองยางนั้นกำลังห้ามปรามผู้ชุมนุมไม่ให้จุดไฟเผาหรือไม่  ภาพถ่ายในหมายจับที่ยังจับไม่ได้อีก 30 กว่าหมายก็เป็นในลักษณะเดียวกัน   นอกจากนี้  เมื่อจำเลยถูกจับกุมและให้เซ็นรับรองว่าเป็นภาพถ่ายของตนเองนั้น พยานให้จำเลยเซ็นในขณะที่จำเลยยังไม่มีทนายความ     
 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ยอดสมัคร กสทช.ล้นหลาม 90 คน

Posted: 09 Mar 2011 04:35 AM PST

บุคลากรหลากหลายสาขา แห่สมัคร กสทช. ล้นหลาม โดยเฉพาะ 8 มี.ค. วันที่ปิดรับสมัครพุ่ง 49 คน สรุปยอด 7 วัน รวมทั้งสิ้น 90 คน

9 มี.ค. 54 - รายงานข่าวแจ้งว่า การรับสมัครบุคคล เพื่อเข้ารับการสรรหาเป็นกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) โดยวิธีการสรรหา ซึ่งจัดขึ้นวันนี้ (8 มี.ค.) เป็นวันสุดท้ายหลังจากเปิดรับสมัครมาตั้งแต่วันที่ 2 มี.ค.2554 ณ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา อาคารสุขประพฤติ ถนนประชาชื่น ปรากฎว่า ตลอดทั้งวันที่ผ่านมา มีผู้สนใจสมัครเข้ารับการสรรหากว่า 49 คน ซึ่งมากที่สุดนับตั้งแต่การรับสมัครตลอด 7 วัน โดยก่อนหน้ามีผู้สมัครไปแล้ว 41 คน รวมมีผู้สมัครทั้งสิ้น 90 คน

ผู้เข้าสมัครทั้งหมดมีผู้บริหาร คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ปฎิบัติหน้าที่ กสทช. ร่วมด้วย คือ นายประเสริฐ อภิปุญญา รักษาการรองเลขาธิการ กสทช. และนายสุพจน์ เธียรวุฒิ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรม (ทริดี้) รวมทั้งยังมีข้าราชการ อาจารย์มหาวิทยาลัย ผู้บริหารหน่วยงานต่างๆ สมัครเข้ารับการสรรหาอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้จากการรับสมัครตลอด 7 วันที่ผ่านมา กรรมการ กทช. ปฏิบัติหน้าที่กรรมการ กสทช.ที่เหลืออยู่ 5 คนได้เดินทางมาสมัครเข้ารับการสรรหาทั้งหมด และเมื่อแยกตามประเภทที่สมัคร พบว่า มีผู้สมัครเข้า รับการสรรหาเป็นกรรมการด้านโทรคมนาคมกว่า 26 คน ซึ่งมากที่สุดจากสาขากรรมการด้านต่างๆ ตามด้วยด้านกฎหมาย 19 คน ด้านการศึกษา 15 คน ด้านพัฒนาสังคม 15 คน ด้านกิจการโทรทัศน์ 13 คน ด้านกิจการกระจายเสียง 11 คน ด้านเศรษฐศาสตร์ 8 คน ด้านคุ้มครองผู้บริโภคโทรคมนาคม 7 คน ด้านส่งเสริมสิทธิเสรีภาพกระจายเสียงและโทรทัศน์ 6 คน ด้านส่งเสริมสิทธิเสรีภาพโทรคมนาคม 3 คน และด้านคุ้มครองผู้บริโภคกระจายเสียงและโทรทัศน์ 2 คน โดยมีผู้สมัครบางรายเลือกสมัครเข้าเป็นกรรมการในหลายประเภทอีกด้วย

การสรรหากรรมการ กสทช. จะมีทั้งหมด 11 คน ประกอบด้วย ผู้ที่มีผลงานหรือมีความรู้ และมีความเชี่ยวชาญ หรือประสบการณ์ ด้านกิจการกระจายเสียง 1 คน / กิจการโทรทัศน์ 1 คน / กิจการโทรคมนาคม 2 คน/ด้านกฎหมาย 2 คน / ด้านเศรษฐศาสตร์ 2 คน / ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค หรือ ด้านการส่งเสริมสิทธิและเสรีภาพของประชาชน สำหรับกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ 1 คน และ กำกับดูแลกิจการโทรคมนาคม 1 คน / และด้านการศึกษา วัฒนธรรมหรือการพัฒนาสังคม 1 คน

ส่วนการคัดเลือกจะทำโดยให้สมาคมวิชาชีพ สถาบันอุดมศึกษา และองค์กรเอกชน เสนอชื่อบุคคลผู้เหมาะสม ซึ่งถือเป็นบัญชีที่ 1 โดยสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาได้เปิดให้องค์กรต่างๆ ขอขึ้นทะเบียนเพื่อมีสิทธิเสนอชื่อบุคคลที่เหมาะสมในบัญชีที่ 1 ไปแล้วตั้งแต่วันที่ 29 มกราคม-27 กุมภาพันธ์ 2554 โดยมีหน่วยงานเสนอรายชื่อกว่า 144 แห่ง และการสมัครเพื่อเข้ารับการสรรหา ซึ่งเปิดรับสมัครตั้งแต่วันที่ 2-8 มีนาคม ถือเป็นบัญชีที่ 2

กระบวนการหลังจากนี้จะให้ผู้ได้รับการคัดเลือกจากบัญชีที่ 1 ประชุมคัดเลือกกันเองให้เหลือเพียง 22 คน ขณะที่ผู้สมัครในบัญชีที่ 2 คณะกรรมการสรรหา กรรมการ กสทช. ซึ่งมีนายจตุรงค์ ปัญญาดิลก ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานสรรหาคณะกรรมการ กสทช. จะประชุมเพื่อคัดเลือกผู้สมัครที่ มีคุณสมบัติจำนวน 22 คน เรียงตามลำดับคะแนนสูงสุด ก่อนที่เลขาธิการวุฒิสภาจะเสนอรายชื่อทั้ง 2 บัญชี รวม 44 คน เสนอต่อประธานวุฒิสภาภายใน 30 วัน เพื่อให้วุฒิสภาดำเนินการคัดเลือกต่อไปภายใน 60 วัน

เนื่องจาก ตาม พ.ร.บ. กสทช. ระบุให้ต้องตั้ง คณะกรรมการ กสทช. จำนวน 11 คน ภายใน 180 วัน นับตั้งแต่พ.ร.บ.กสทช.มีผลบังคับใช้ หรือภายในเดือนกรกฎาคมนี้ หากวุฒิสภาไม่สามารถคัดเลือกได้ตามกำหนด นายกรัฐมนตรีจะให้คณะรัฐมนตรีเป็นผู้แต่งตั้งกรรมการ กสทช.แทน ภายใน 30 วันนับจากประธานวุฒิสภาแจ้ง หรืออย่างช้าที่สุดภายในเดือนกันยายน 2554 จากนั้นผู้ได้รับการคัดเลือกทั้ง 11 คน จะประชุมเพื่อคัดเลือกประธานและรองประธาน 2 คน ก่อนนำขึ้นโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งต่อไป

รายชื่อผู้สมัครกสทช.รวมตลอดเวลาที่เปิดรับสมัครมีทั้งสิ้น 90 คน ประกอบด้วย วันแรก 2 มี.ค.1.นายพงศ์ศักดิ์ เสมสันต์ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ฝ่ายข้าราชการประจำ ม.6 (5) 2.นายเผ่าพงศ์ ภูมิวิชิต วิศวกร บริษัทเอกชน ม.6 (2) 3.นายชาญชัย โกศลธนากุล ผู้ช่วยทูตฝ่ายแรงงาน ณ สถานอัครราชทูตไทย ประจำประเทศซาอุดิอาระเบีย ม.6 (3) 4.นายวสันต์ ภัยหลักลี้ รองผู้อำนวยการองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ไทยพีบีเอส) ม.6(1) 5.พลเอกธนศักดิ์ สุทธิเทศ ข้าราชการบำนาญ (ตุลาการศาลทหารกลาง) ม.6(2)

6.นายชัยนันท์ งามจรกุลกิจ อัยการจังหวัดพังงา ม.6(2) (4) (5) 7.พันตำรวจเอกมนัส ศัตรูลี้ รองผู้บังคับการกองบัญชาการตำรวจนครบาล 1 ม.6 (3) (5) 8.นายประยูร จันทรุสอน นายกสมาคมกิจการวิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์ ม.6(1) และ 9.นายธรรศ อุดมธรรมภักดี ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต นักวิชาการอิสระ และอดีตส.ส.สกลนคร ม.6 (1) (2) (3) (5)

วันที่ 3 มี.ค. 2554 1.นายสุพงษ์ ลิ้มธนากุล รองอธิการบดี ฝ่ายกิจกรรมพิเศษ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ม.6(3) 2.พันเอกนที ศุกลรัตน์ กรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ปฏิบัติหน้าที่กรรมการ กสทช. ม.6(2) 3.นายจักรพันธ์ ยมจินดา ผู้ประกาศข่าว ททบ.5 และประธานบริหาร บริษัท แม็กซิม่า สตูดิโอ ม.6(1) รายชื่อผู้สมัครเข้ารับการสรรหาเป็นกรรมการ กสทช.

วันที่ 4 มี.ค. 1.นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ม.6(3) 2.นายอนันต์ วรธิติพงศ์ อดีตสมาชิกวุฒิสภา และนายกกิตติมศักดิ์ สมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ม.6(2) 3.นายสุรนันท์ วงศ์วิทยกำจร กทช. ปฏิบัติหน้าที่กรรมการ กสทช. ม.6(3) 4.นายรัฐชทรัพย์ นิชิดา ผู้ปฏิบัติงานประจำ กทช. ม.6(2) 5.นายประสิทธิ์ ประพิณมงคลการ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ กสทช. ม.6(2) 6.พลตรีอนุธัช บุนนาค รองประธานคณะกรรมการนโยบาย โครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3 G ม.6(1)

วันที่ 5 มี.ค. 1.นายนายพนา ทองมีอาคม กรรมการ กทช. ปฏิบัติหน้าที่กรรมการ กสทช. ม.6(1)

วันที่ 6 มี.ค. 1.นายสุรสีห์ โกศลนาวิน อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ม.6(4) 2.นายถาวร จุลตามระ อดีตผู้อำนวยการสถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา ม.6(1) 3.พลอกาศเอกพุฑฒิ มังคละพฤกษ์ รองปลัดกระทรวงกลาโหม ม.6(5) 4.นายแพทย์ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม หรือ สบท. ม.6(4) รายชื่อผู้สมัครเข้ารับการสรรหาเป็นกรรมการ กสทช.

วันที่ 7 มี.ค. 1.นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการ กสทช. ม.6(1) (3) (4) 2.พลเอกฉัตรชัย หิรัญเรือง ข้าราชการบำนาญ / อดีตหัวหน้าฝ่ายเสนาธิการประจำกองบัญชาการทหารสูงสุด ม.6(2) 3.พลเรือเอกไพโรจน์ แก่นสาร ข้าราชการบำนาญ / อดีตผู้บัญชาการสถาบันวิชาการทหารเรือชั้นสูง ม.6(2)

4.นายสุธรรม อยู่ในธรรม กรรมการ กทช. ปฏิบัติหน้าที่กรรมการ กสทช. ม.6(2) (3) (5) 5.นายกฤษณพร เสริมพาณิช อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ ม.6(1) 6.นายนิมิตร์ เทียนอุดม ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ ม.6(4) 7.พลเอกมนตรี ศุภาพร ข้าราชการบำนาญ / อดีตจเรทหารทั่วไป ม.6(2) 8.นางจรยพร ธรณินทร์ กรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม หรือ กพค. ระดับผู้ทรงคุณวุฒิ ม.6(5)

9.นายศรีรัตน์ นุชนิยม ผู้อำนวยการบริหารสมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ ปี 2551-2553 ม.6(1) 10.นายสุรชัย ดนัยตั้งตระกูล ที่ปรึกษากฎหมาย สำนักกฎหมายสิงห์ เกรียงศักดิ์ และสุรชัย ม.6(3) 11.นายไพโรจน์ ตั้งอาษาศิลป์ อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท วิน วิน เน็ต คอร์ปอเรชั่น จำกัด ม.6(2) 12.นายเรวัติ วิศรุตเวช อธิบดีกรมการแพทย์ ม.6(3) (4) (5)

13.นายวิชัย โถสุวรรณจินดา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ม.6(3) 14.นายศุภิชัย ตั้งใจตรง กรรมการกิจการพลังงาน ม.6(4) 15.นายณัฐเมศร์ เรืองพิชัยพร นักวิชาการอิสระ ม.6(3) (5) 16.นายเชี่ยวชาญ พันต์ธนพานิช รักษาการผู้อำนวยการศูนย์วิศวกรรมกรุงเทพฯ บมจ.อสมท. ม.6(1) (2) 17.พลอากาศเอกธเนศ ปุณศรี ประธานกรรมการบริหาร สาถบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ ม.6(2) 18. นายรอม หิรัญพฤกษ์ กรรมการผู้จัดการร่วม บริษัท วิทยาการตลาดทุนเพื่อสังคม และที่ปรึกษานายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที ม.6(2)

วันที่ 8 มี.ค. 1.นายสุภาพ กาละปลูก อดีตเจ้าหน้าที่วิทยาลัยอินเตอร์เขตลำปาง ม.6(5) 2.ศาสตราจารย์ ดร.นันทวัฒน์ บรมานันท์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ม.6(2) 3.พันตำรวจโทหญิงศิริวรรณ อนันต์โท ผู้ช่วยศาสตราจารย์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ม.6(5) 4.นายสมพล วณิถพันธุ์ รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร์ ม.6(3)

5.นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กรรการบริหารหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) ม.6(4) 6.นายพิษณุ เหรียญมหาสาร รองอธิการบดีและคณบดี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ม.6(3) 7.นายประเสริฐ อภิปุญญา ปฏิบัติหน้าที่รองเลขาธิการ กสทช. ม.6(2) 8.ผศ.ดร.อัศวิน เนตรโพธิ์แก้ว คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต ม.6(1) 9.นายสุพจน์ เธียรวุฒิ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรม ม.6(2) 10.นางศรีวิการ์ เมฆธวัชชัยกุล ข้าราชการบำนาญ /ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการพัฒนาการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน กระทรวงศึกษาธิการ ม.6(5)

11.นายธานีรัตน์ ศิริปะชะนะ รองปลัดกระทรวงไอซีที ม.6(2) (5) 12.นางจันทิมา สิริแสงทักษิณ ที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ กรมสรรพสามิต ม.6(3) 13.ดร.ชัชวลิต สรวารี กรรมการบริหาร สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (องค์การมหาชน) ม.6(2) 14.นายเทิดศักดิ์ แพทยานันท์ ข้าราชการบำนาญ /อดีตผู้ตรวจราชการกระทรวงไอซีที ม.6(1)(2)(3) 15.นายชาติพฤษภา พงษ์อมาตย์ ภาคเอกชน บริษัท วอเตอร์บู /อดีตที่ปรึกษากฎหมายเครือข่ายธนาคารหมู่บ้านตามแนวพระราชดำริ ม.6(5)

16.นายเธียรชัย ณ นคร อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มสธ.ม.6(3) 17.นายวุฒิกร ทิวะศศิธร อดีตกรรมการ หจก.เชคเทค ม.6(1)(2)(3) 18.เรือตรีวีรทัศน์ ศรีเมือง ธุรกิจส่วนตัว/อดีตผู้บังคับตอนสื่อสาร กองพันทหารปืนใหญ่ กองกำลังป้องกันชายแดนจันทบุรี-ตราด ม.6(4) 19.นายนิพนธ์ โพธิ์พัฒนชัย รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ม.6(5) 20.ผศ.ดร.จันทจิรา เอี่ยมมยุรา ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิเศษ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ม.6(3)(4)(5)

21.นายสุทธิพร ปทุมเทวาภิบาล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ม.6(2) 22.นายพิเชียร อำนาจวรประเสริฐ อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ปี 2550 ม.6(1) 23.นายจีรศักดิ์ ปรีชาวีรกุล อาจารย์สาขาเทคโนโลยีการโทรทัศน์ และ วิทยุกระจายเสียง คณะเทคโนโลยีการโทรทัศน์และวิทยุกระจายเสียง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ม.6(5) 24.นายสมยศ เลี้ยงบำรุง อาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยราชภัฎเทพสตรี และ ที่ปรึกษากฎหมายอิสระ ม.6(3)

25.นายสันต์ พัธโนทัย ที่ปรึกษาสมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย ม.6(5) 26.นายณพศิษฎ์ จักรพิทักษ์ อาจารย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ม.6(5)27.นายณัฐพัชร์ จัตุพรหงษ์ทอง หุ้นส่วนผู้จัดการ หจก.ดับเบิลยูเออาร์ ม.6(2) 28.พลโทสุจินดา สุทธิพงศ์ ข้าราชการบำนาญ ม.6(4) 29.นางสาวจีระภา จิตรแสวง ข้าราชการบำนาญ/ผู้เชี่ยวชาญภารกิจรับข้อมูลข่าวสาร และวิเคราะห์ข้อมูลภัยพิบัติ ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กระทรวงไอซีที ม.6(2) 30.นางสาวลักษมี ศรีสมเพ็ชร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ศรีสมเพ็ชร (2533) จำกัด ม.6(1)

31.นายสัมพันธ์ เสริมชีพ กรรมการบริษัท ที่ปรึกษาธรรมรัฐ จำกัด (ที่ปรึกษากฎหมาย) ม.6(3) 32.นายประภัสร์ จงสงวน ที่ปรึกษา บริษัท สิงห์ คอเปอร์เรชั่น จำกัด และอดีตผู้ว่าการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ม.6(3)(5) 33.นายสงขลา วิชัยปัทคะ รองเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ม.6(3) 34.นายณัฐศิลป์ จงสงวน ที่ปรึกษาการเงิน บริษัท พริ้นซิเพิล เวนเจอร์ ประเทศไทย จำกัด ม.6(3) 35.นายสุรพงษ์ ศรีวินิจ ศึกษานิเทศก์ 8 กระทรวงศึกษาธิการ ม.6(5) 36.นางอัญชลาภรณ์ ศิริวรรณ ข้าราชการบำนาญ ม.6(1) 37.นายคัมภีร์ ดิษฐากรณ์ รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร์ ม.6(1)

38.นายเถกิง สมทรัพย์ อดีตรองผู้อำนวยการไทยพีบีเอส ม.6(1) 39.นายสุทธินันท์ จันทระ สมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ม.6(3) 40.นายสมภพ โคตรวงษ์ อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ม.6(4) 41.นางสุวรรณา จิตประภัสสร์ กรรมการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ม.6(4) 42.พลตำรวจตรีจิรวัฒน์ ทรงนิติธรรม ข้าราชการบำนาญ/อดีตผู้บังคับการกองตรวจสอบภายใน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ม.6(3)

43.นายจารึก เฮงรัศมี ที่ปรึกษาสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ม.6(4) 44.นายทวี เส้งแก้ว ทนายความสำนักงานกฎหมายนิติธาดา ม.6(1) 45.นายชัยรัตน์ ลิขิตเจริญพงษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เม็ดดิน จำกัด ม.6(1) 46.ดร.ยุทธ์ ชัยประวิตร ม.6(2)(3)(4)(5) 47.นายอรรถชัย บุรกรรมโกวิท ข้าราชการบำนาญ และที่ปรึกษาธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ม.6(3)(5) 48.ดร.เฉลิมพร อุ่นแก้ว อาจารย์พิเศษ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ม.6(2)(3)(5) 49.นายณรัชต์พงศ์ ตุงคะมณี นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ โรงพยาบาลศูนย์สระบุรี ม.6(5)
 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เปิดตัว กลุ่ม “ประชาธิปไตย…ไม่ละเมิด”

Posted: 09 Mar 2011 04:31 AM PST

9 มี.ค. 54 - กลุ่มเครือข่ายภาคประชาชน เปิดตัวกลุ่ม " ประชาธิปไตย ไม่ละเมิด " ซึ่งเป็นการรวมตัวของกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมทางการเมือง อาทิ กลุ่มผู้ประกอบการราชประสงค์ ประตูน้ำ และสีลม โดยมีจุดยืนหลักเพื่อต้องการเห็นการชุมนุมเรียกร้องสิทธิ์ทางการชุมนุม ตั้งอยู่บนพื้นฐานการเคารพสิทธิ์และไม่ละเมิดสิทธิ์ของผู้อื่น ไม่ก่อให้เกิดความเดือดของสังคม โดยมีวัตประสงค์ผลักดันให้เกิดพระราชบัญญัติการชุมนุมในที่สาธารณะโดยการ ผนวกความคิดเห็นของทุกภาคส่วน เพื่อกำกับดูแลการชุมนุมให้มีความชัดเจนในเรื่องของสิทธิ์ผู้ชุมนุม วางกรอบรูปแบบอันเหมาะสมและการปฎิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่

ส่วนเวที เสวนา ในหัวข้อ "สังคมและการชุมนุม..จะอยู่ร่วมกันได้อย่างไร" อาจารย์ ปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้ความเห็นบนเวทีเสวนา ในหัวข้อ "สังคมและการชุมนุม..จะอยู่ร่วมกันได้อย่างไร" ว่า ปัญหาการชุมนุมที่เกิดขึ้นในขณะนี้ไม่ใช่เพราะบ้านเมืองไม่มีกฎหมายควบคุม แต่เป็นเพราะไม่มีการบังคับใช้กฎหมายที่มีอยู่

ทั้งนี้ กฎหมายรัฐธรรมนูญ มาตรา 28 ระบุไว้ว่าบุคคลจะใช้สิทธิเสรีภาพของตนได้ ต้องไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของคนอื่น โดยเชื่อว่าการจะอยู่ในระบอบประชาธิปไตยได้นั้น ต้องไม่ละเมิดสิทธิ์ของคนผู้อื่น

ด้านนายชาย ศรีวิกรม์ นายกสมาคมผู้ประกอบวิสาหกิจย่านราชประสงค์ เห็นว่า การชุมนุมที่ผ่านมาไม่ได้เป็นการเรียกร้องสิทธิ์ตามระบอบประชาธิปไตย แต่เป็นการแย่งอำนาจทางการเมือง ด้วยการนำความเดือดร้อนของประชาชนมาใช้เป็นเครื่องมือ จึงอยากให้เจ้าหน้าที่รัฐช่วยกันดูแลเพื่อไม่ให้เกิดความเดือดร้อนและความ เกลียดชังในสังคมเพิ่มมากขึ้น

ขณะที่นายแพทย์ แท้จริง ศิริพานิช กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เห็นว่าที่ผ่านมา แม้ตัวกฏหมายต่างๆจะมีความเข้มแข็ง แต่ผู้ควบคุมกฏเกณฑ์ต่างๆ ไม่มีบังคับใช้อย่างจริงจัง จึงทำให้เกิดปัญหาตามมา และเห็นว่า ร่างพรบ.ชุมนุมในที่สาธารณะที่กำลังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของสภา ไม่สามารถแก้ปัญหาการชุมนุมได้ หากไม่มีความเด็ดขาดในการบังคับใช้

ที่มาข่าว: VOICE TV
 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เราเป็นมนุษย์ก่อนจะมีศาสนา

Posted: 09 Mar 2011 04:21 AM PST

 
 
เรื่องเล่าต่อไปนี้เป็นเรื่องสมมติ แต่ผมคิดว่าอาจตรงกับเรื่องจริงที่เกิดขึ้นในสังคมนี้ก็ได้
 
ครูสอนวิชาพุทธศาสนาคนหนึ่ง เธอเลี้ยงลูกสาวเพียงลำพังเนื่องจากสามีเธอเสียชีวิตไปนานแล้ว แม้เธอจะศึกษาคำสอนของพุทธศาสนามาพอสมควร แต่เมื่อชะตาชีวิตต้องเผชิญกับความทุกข์อย่างแสนสาหัส เธอกลับพบว่าพุทธศาสนาไม่ได้ช่วยอะไรได้มากอย่างที่คิด
 
ความทุกข์แสนสาหัสที่เธอประสบคือ ลูกสาวที่กำลังเรียนมัธยมปลายของเธอถูกคนงานกะเหรี่ยงขี้เมาข่มขืนและตั้งครรภ์ หมอแนะนำว่ายังอยู่ในระยะที่สามารถทำแท้งได้ และในกรณีที่ตั้งครรภ์เพราะถูกข่มขืน กฎหมายก็อนุญาตให้ทำแท้งได้ แต่เธอและลูกบอกหมอว่าขอเวลาคิดดูก่อน
 
ในห้วงเวลาแห่งความทุกข์ของสองแม่ลูก เธอต้องการคำอธิบายทางศีลธรรมเพื่อประกอบการตัดสินใจว่าจะทำอย่างไรกับปัญหานี้ต่อไป จึงไปขอคำปรึกษาจากพระที่เธอเคยเห็นท่านเทศน์ออกทีวีบ่อยๆ แต่คำตอบที่ได้รับคือ...
 
...การทำแท้งเป็นบาปแน่นอน จะว่าไปแล้วมันเป็นผลกรรมเก่า ลูกสาวโยมอาจจะไปทำกรรมอะไรไว้ในชาติก่อน ชาตินี้จึงทำให้ถูกข่มขืน ถ้าเราไปทำแท้งอาจทำให้ต้องจองเวรจองกรรมไม่สิ้นสุด แต่ถ้ายอมรับถือว่าใช้กรรมเก่าไป ไม่ทำแท้ง ไม่ทำบาปใหม่อีก กรรมนี้ก็จะสิ้นสุด ...พอดีอาตมามีงานยุ่ง ต้องขอตัวก่อน หากโยมยังไม่เข้าใจ ให้ซื้อซีดีที่อาตมาเทศน์ออกทีวีไปเปิดฟังก็ได้ อาตมาอธิบายไว้ละเอียดแล้ว จะได้เข้าใจจนหมดสงสัย
 
เธอกราบลาหลวงพ่อด้วยความรู้สึกผิดหวัง ไม่ได้ซื้อซีดี และรู้สึกตำหนิตัวเองที่ตัดสินใจมาหาพระรูปนี้ ระหว่างนั้นเธอนึกถึงครูสอนวิชาพุทธศาสนาที่โรงเรียนเดียวกันคนหนึ่งอดีตเคยบวชเรียนมา เธอจึงชวนเขามาทานข้าวเย็นที่บ้าน และเล่าเรื่องดังกล่าวให้ฟัง คำแรกที่อดีตมหาเปรียญพูดขึ้น คือ
 
พี่ไม่น่าไปหาพระรูปนั้นเลย...ปัญหานี้มันเป็นความทุกข์ร่วมกันของพี่กับลูกสาว พี่กับลูกสาวต้องตัดสินใจเอง แต่ต้องเอาความเชื่อทางศีลธรรมที่พระรูปนั้นสอนออกไปจากจิตใจก่อน
 
ตามหลักศีลธรรมของพุทธศาสนา การทำแท้งเป็นปาณาติบาตมิใช่หรือ มันเป็นบาปมิใช่หรือ เธอถามเสียงดัง!
 
ใช่ครับ พระสอนอย่างนั้น คัมภีร์ทางศาสนาสอนอย่างนั้น แต่เรามีสิทธิ์ที่จะเชื่อหรือไม่ก็ได้มิใช่หรือ...ที่จริงศาสนามาทีหลังมนุษย์ ในยุคที่ยังไม่มีศาสนานามนุษย์ก็ยังดำรงชีวิตอยู่ได้ แม้ปัจจุบันบางคนเขาไม่นับถือศาสนาอะไรเขาก็มีชีวิตที่ดีงามได้ ศาสนาเกิดขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือแก้ปัญหาบางอย่างของมนุษย์ ศาสนาไม่ใช่เครื่องมือแก้ปัญหาทุกอย่าง หรือมีคำตอบสำเร็จรูปให้กับทุมิติของชีวิตเรา
 
ท่านมหาเล่าต่อว่า
 
...ผมคิดว่าศีลธรรมที่พระพุทธเจ้าสอน ไม่ใช่กฎระเบียบแข็งทื่อสำหรับนำมากล่าวอ้างเพื่อตัดสินการกระทำ หรือข่มขู่ป้องปรามให้คนกลัวหรือรู้สึกผิดที่จะทำสิ่งนั้นสิ่งนี้ ศีลธรรมของพุทธศาสนาต้องอธิบายได้ด้วยเหตุผล
 
ปาณาติบาตที่เป็นบาป ต้องเป็นการฆ่าจากความโกรธ ความเกลียดชัง ความลุ่มหลง หรือความมัวเมาในอำนาจ เช่น สั่งฆ่าประชาชนที่เรียกร้องเสรีภาพ เป็นต้น
 
แต่ในบางกรณี เช่น ม้าขาหักในทะเลทรายไม่สามารถเดินต่อไปได้ มันดิ้นทุรนทุรายเจ็บปวดด้วยความทุกข์ทรมาน เจ้าของม้าตัดสินใจยิงม้าตายด้วยความสงสาร มันย่อมไม่ใช่การทำบาปที่ร้ายแรง เหมือนปาณาติบาตที่ฆ่าประชาชนเพราะหลงอำนาจ
 
โดยความเป็นมนุษย์เราทุกคนย่อมรักตัวเองและปรารถนาที่จะมีชีวิตที่ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ หากลูกสาวพี่ตัดสินใจทำแท้ง พี่และลูกสาวอาจเจ็บปวดเพราะรู้สึกผิดในทางศีลธรรมตามที่ถูกปลูกฝังมา แต่พี่ลองคิดดูพุทธศาสนาสอนให้เรามองความจริงของชีวิตคือความทุกข์ และให้เราจัดการกับความทุกข์ในชีวิตเราอย่างเหมาะสม
 
เวลานี้พี่กับลูกสาวประสบทุกข์ในสิ่งที่ตัวเองไม่ได้ก่อขึ้น มันยุติธรรมแล้วหรือหากเราต้องยอมจำนนต่อความทุกข์โดยข้ออ้างเรื่อง กรรมเก่า ที่ไม่มีใครพิสูจน์ได้ แม้แต่พระที่สอนท่านจะเชื่อตามที่ตัวเองสอนจริงๆ หรือเปล่ายังไม่รู้เลย ลูกสาวของพี่ยังต้องเรียนหนังสือ มีการศึกษา มีงานทำ เธอยังมีโอกาสจะพบผู้ชายดีๆ มีครอบครัวที่อบอุ่น มีลูกที่น่ารัก มีชีวิตที่ปกติสุขเช่นเดียวกับคนอื่นๆ
 
แต่หากไม่ยอมทำแท้ง เพียงเพราะเหตุผลว่าสมควรชดใช้กรรมเก่า ยอมแบกความทุกข์ที่ตนเองไม่ได้ก่อขึ้นเอาไว้ตลอดชีวิต ผมก็ไม่แน่ใจว่านี่เป็นวิธีการจัดการกับความทุกข์อย่างเหมาะสมตามคำสอนที่แท้จริงของพระพุทธเจ้าหรือไม่
 
มีหลายเรื่องครับที่ผมเองก็อดสงสัยไม่ได้เกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นในสังคมพุทธบ้านเรา เช่น มติมหาเถรสมาคม (มส.) ห้ามนักเรียนมุสลิมคลุมญิฮาบเข้าไปในโรงเรียนวัด ห้ามตัดคำว่า วัด ออกจากชื่อโรงเรียน หรือมีชาวพุทธมาเรียกร้องรัฐบาลห้ามออกกฎหมายอนุญาตทำแท้ง ห้ามมีหวยถูกกฎหมาย ฯลฯ เพราะอ้างว่าผิดศีลธรรมทางพุทธศาสนา
 
ผมคิดว่า ถ้าบังเอิญพระพุทธเจ้ามาพบปรากฏการณ์ดังกล่าว พระองค์คงไม่เห็นด้วย พระพุทธเจ้าจำพรรษาอยู่แคว้นโกศลกว่า 20 พรรษา สนิทสนมกับพระเจ้าปเสนทิโกศลมาก แต่พระองค์ไม่เคยเสนอให้บัญญัติไว้ในกฎมณเฑียรบาลว่า ผู้ที่เป็นกษัตริย์จะต้องเป็นพุทธมามกะ
 
พระพุทธเจ้าไม่ต้องการเสนอ ศีลธรรมบังคับ แต่เป็น ศีลธรรมเหตุผล ชี้เหตุชี้ผลให้คนฟังเข้าใจ แล้วแต่เขาจะเชื่อหรือไม่เชื่อ ตถาคตเป็นแต่เพียงผู้บอกทาง ส่วนเรื่องเดินทางเป็นอิสระของแต่ละบุคคล
 
ผมคิดว่าศีลธรรมแบบให้ยอมจำนนต่อความทุกข์อย่างไร้เหตุผล เช่นข้ออ้างเรื่องกรรมเก่า หรือการอ้างศีลธรรมทางพุทธศาสนาเพื่อกดดันหรือบีบบังคับให้ออกหรือไม่ออกกฎหมายให้ประชาชนปฏิบัติ ไม่น่าจะตรงกับเจตนาในการสอนศีลธรรมของพระพุทธเจ้า
 
หลักกาลามสูตรนั่นไงครับ คือหลักที่สอนให้เรามีอิสระอย่างเต็มที่ในการตัดสินถูกผิดด้วยตนเอง ยิ่งเมื่อพิจารณาตามหลักอริยสัจ 4 ยิ่งชัดว่า ตัวเราแต่ละคนคือผู้ที่จะเข้าใจความทุกข์ของตนเองได้ดีที่สุด และสามารถจัดการกับความทุกข์นั้นได้ด้วยวิธีที่เหมาะสมที่สุด
 
ผมคิดว่า พี่กับลูกสาวควรนึกถึงตนเองในฐานะที่เป็นมนุษย์ผู้ปรารถนาการมีชีวิตที่ดีให้มากที่สุด นึกถึงความทุกข์ของตนเองเป็นตัวตั้ง หาทางแก้ทุกข์นั้นด้วยวิถีทางที่...คือหากมันหลีกเลี่ยงความเจ็บปวดไม่ได้ เราย่อมมีความชอบธรรมที่จะเลือกวิถีทางที่มันเกิดความเจ็บปวดกับตนเองและคนอื่นให้น้อยที่สุด...
 
ผมขอจบเรื่องเล่าห้วนๆ แบบนี้แหละ สวัสดีสังคมพุทธไทยภายใต้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข!
 
 
หมายเหตุ : ผมได้แง่คิดในการเขียนเรื่องเล่านี้จากการอ่านเรื่องสั้นขนาดยาวของ ศ.ดร.สมภาร พรมทา ใน วารสารปัญญา วารสารออนไลน์ที่ให้ดาวโหลดฟรีทั้งบทความวิชาการ เรื่องสั้น นวนิยาย และหนังสือปรัชญา/พุทธศาสนา ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ ผู้สนใจโปรดเข้าไปอ่านได้ที่ http://www.stc.arts.chula.ac.th/WisdomMag/index.html
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ครม. ส่งเสริมข้าราชการ-ประชาชนปฏิบัติธรรมทุกวันพระ-วันอาทิตย์

Posted: 09 Mar 2011 04:08 AM PST

คณะรัฐมนตรีเตรียมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมสำหรับข้าราชการ ประชาชน นักเรียน นักศึกษา ทหาร ตำรวจทุกเหล่าทัพ ด้วยการเข้าวัดปฏิบัติธรรมทุกวันพระและวันอาทิตย์ จัดโต๊ะหมู่บูชาทุกหน่วยงาน และเล็งใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ประชาสัมพันธ์ด้วย ทั้งนี้เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระเจ้าอยู่หัวครบ 7 รอบ
 
หมายเหตุ: ที่มา: ผลการประชุมคณะรัฐมนตรี การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมสำหรับข้าราชการและประชาชน เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554” จากที่ประชุมคณะรัฐมนตรีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ วันที่ 8 มีนาคม 2554
 
เรื่อง การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมสำหรับข้าราชการและประชาชน เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554
 
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบหลักการแนวทางการดำเนินงานส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมสำหรับข้าราชการและประชาชน เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 และมอบหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำแนวทางการดำเนินงานดังกล่าวไปปฏิบัติด้วย ตามที่กระทรวงวัฒนธรรมเสนอ
 
กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) รายงานว่า
 
1. ในการประชุมคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2554 เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2554 รองนายกรัฐมนตรี (นายสุเทพ เทือกสุบรรณ) ประธานกรรมการ ได้มีดำริให้ดำเนินการส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมสำหรับข้าราชการและประชาชน เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 โดยได้มอบหมายให้ วธ. นำเรื่องนี้เสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
 
2. วธ. ได้พิจารณาเห็นว่า การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมสำหรับข้าราชการและประชาชน เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 มีประเด็นปัญหาที่สำคัญ ดังนี้
 
2.1 สภาพปัญหาของชาติในปัจจุบันพบว่า ปัญหาด้านสังคม โดยเฉพาะการขาดคุณธรรมจริยธรรมนับเป็นปัญหาระดับชาติ เนื่องจากบริบทของสังคมปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปยึดวัตถุนิยมและบริโภคนิยมตามกระแสแนวทางของโลกาภิวัตน์ในทุกมิติ ส่งผลให้เกิดปัญหาด้านพฤติกรรมทำให้ประชาชนในทุกภาคส่วนของสังคมไทยห่างไกลศาสนา ขาดการนำหลักธรรมคำสอนของศาสนาไปประพฤติปฏิบัติในชีวิตประจำวันกลายเป็นสังคมที่ละเลยคุณธรรมจริยธรรม ซึ่งนับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้น
 
2.2 เนื่องจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทยในอดีตให้ความสำคัญกับวันธรรมสวนะหรือวันพระที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ และในปัจจุบันพุทธศาสนิกชนก็ยังคงให้ความสำคัญกับวันดังกล่าวอยู่ แต่รัฐบาลได้กำหนดวันทำงาน คือ วันจันทร์ถึงวันศุกร์ และกำหนดวันหยุด คือ วันเสาร์และวันอาทิตย์ โดยไม่ได้กำหนดให้วันธรรมสวนะเป็นวันหยุด เมื่อเป็นเช่นนี้ทำให้ประชาชนส่วนหนึ่งไม่มีโอกาสไปวัดในวันธรรมสวนะ เพื่อเข้าวัดฟังธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้มาแต่ครั้งสมัยพุทธกาลอันเป็นวิถีชีวิตของพุทธศาสนิกชนที่ทุกคนควรปฏิบัติ วธ. จึงได้กำหนดโครงการเข้าวัดปฏิบัติธรรมวันอาทิตย์เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนได้ใกล้ชิดพระพุทธศาสนา ได้พบพระภิกษุสงฆ์ ได้รับฟังหลักธรรมคำสอน และได้พบความสุขทั้งของตนเอง ครอบครัว และญาติมิตร และเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 ที่จะมาถึงนี้เป็นโอกาสที่พุทธศาสนิกชนที่ยึดมั่นในสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ จะได้ประกอบกิจกรรมทาง       พระพุทธศาสนา เจริญจิตภาวนา รักษาศีล เป็นพุทธศาสนิกชนที่ดี เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมอย่างยั่งยืนต่อไป
 
3. วธ. ได้กำหนดแนวทางการดำเนินงานส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมสำหรับข้าราชการและประชาชน ในโอกาสงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง และเน้นการเสริมสร้างพลังของข้าราชการและประชาชนที่ต้องดำเนินการอย่างจริงจังและต่อเนื่องเพื่อให้เกิดผลอย่างยั่งยืน ดังนี้
 
หน่วยงาน /การดำเนินงาน
 
1. ส่วนราชการระดับกระทรวง ระดับกรมทุกแห่ง   
1. คัดเลือกวัดที่มีความเหมาะสม และเชิญชวนข้าราชการ บุคลากรในสังกัดที่นับถือพระพุทธศาสนาเข้าวัดปฏิบัติธรรมในทุกวันธรรมสวนะ หรือวันอาทิตย์ตลอดปี 2554 เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 และสนับสนุนให้ข้าราชการและบุคลากรที่นับถือศาสนาอื่นได้ปฏิบัติศาสนกิจตามหลักธรรมคำสอนในศาสนาที่ตนนับถือ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลในคราวเดียวกันด้วย
 
2. จัดพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณ เพื่อปฏิบัติตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่พระราชทานแก่ประชาชนชาวไทย เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2549 ประกอบด้วย เมตตาธรรม สามัคคีธรรม สุจริตธรรม และเที่ยงธรรม
 
3. จัดโต๊ะหมู่บูชา พร้อมธงชาติ และพระบรมฉายาลักษณ์/พระบรมสาทิสลักษณ์ ประจำห้องประชุมกระทรวง กรม และมีพิธีจุดธูป เทียนบูชาพระรัตนตรัย และไหว้พระสวดมนต์เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 ทุกครั้งที่มีการประชุมของกระทรวง กรม ยกเว้นพื้นที่ที่มีผู้นับถือศาสนาอื่น
 
2. กระทรวงวัฒนธรรม
1. เสนอมหาเถรสมาคมเห็นชอบให้คณะสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ทุกวันธรรมสวนะถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554
 
2. ประสานการดำเนินงานกับคณะสงฆ์และผู้นำศาสนาต่าง ๆ เพื่อขับเคลื่อนโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมสำหรับข้าราชการและประชาชนให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย
 
3. กระทรวงศึกษาธิการ
1. ให้โรงเรียนและสถานศึกษาจัดกิจกรรมนำนักเรียน นักศึกษาเข้าวัดปฏิบัติธรรม ณ วัดที่เป็นที่ตั้งของโรงเรียนและสถานศึกษานั้น ๆ หรือวัดใกล้เคียงในทุกวันธรรมสวนะหรือวันอาทิตย์ที่ตรงกับวันเปิดภาคเรียน ยกเว้นพื้นที่ที่มีผู้นับถือศาสนาอื่น
 
2. ให้โรงเรียนและสถานศึกษาทุกแห่งจัดให้มีการสวดมนต์ไหว้พระก่อนเข้าเรียนภาคเช้าทุกวัน และสวดมนต์เต็มรูปแบบในทุกวันศุกร์ก่อนเลิกเรียน ยกเว้นพื้นที่ที่มีผู้นับถือศาสนาอื่น
 
4. กระทรวงมหาดไทย
1. ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด นายอำเภอทุกอำเภอ เชิญชวนข้าราชการ บุคลากรในสังกัดที่นับถือพระพุทธศาสนาเข้าวัดปฏิบัติธรรม ตามรายชื่อวัดที่เข้าร่วมโครงการเข้าวัดวันอาทิตย์กับกรมการศาสนาในทุกวันธรรมสวนะหรือวันอาทิตย์ ตลอดปี 2554 เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 และสนับสนุนให้ข้าราชการและบุคลากรที่นับถือศาสนาอื่นได้ปฏิบัติศาสนกิจตามหลักธรรมคำสอนในศาสนาที่ตนนับถือ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลในคราวเดียวกันด้วย
 
2. จัดพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณเพื่อปฏิบัติตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่พระราชทานแก่ประชาชนชาวไทย เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2549 ประกอบด้วย เมตตาธรรม สามัคคีธรรม สุจริตธรรม และเที่ยงธรรม
 
3. จัดโต๊ะหมู่บูชา พร้อมธงชาติ และพระบรมฉายาลักษณ์/พระบรมสาทิสลักษณ์ประจำห้องประชุมจังหวัด ห้องประชุมอำเภอ และมีพิธีจุดธูป เทียน บูชาพระรัตนตรัย และไหว้พระสวดมนต์ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 ทุกครั้งที่มีการประชุมของจังหวัดและอำเภอ ยกเว้นพื้นที่ที่มีผู้นับถือศาสนาอื่นเป็นจำนวนมาก
 
4. ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดประสานการดำเนินงานกับคณะสงฆ์และส่วนราชการทั้งในระดับส่วนกลาง ระดับจังหวัด และระดับท้องถิ่น เพื่อขับเคลื่อนโครงการเข้าวัดวันธรรมสวนะหรือวันอาทิตย์สำหรับข้าราชการและประชาชนในจังหวัด ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ เป้าหมายและตัวชี้วัดในภาพรวมของจังหวัด พร้อมทั้งดำเนินการติดตามประเมินผลการดำเนินงานและรายงานผลให้ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีทราบ
 
5. กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
1. ให้สถานศึกษาในสังกัดทุกแห่งจัดกิจกรรมนำนักเรียน นักศึกษา เข้าวัดปฏิบัติธรรม ณ วัดใกล้เคียงในทุกวันธรรมสวนะวันอาทิตย์ที่ตรงกับวัดเปิดภาคเรียน โดยนักเรียน นักศึกษาที่นับถือศาสนาอื่นให้พิจารณาการปฏิบัติศาสนกิจในศาสนาที่แต่ละคนนับถือได้ตามความเหมาะสม
 
2. คัดเลือกวัดที่มีความเหมาะสม และเชิญชวนข้าราชการบุคลากรในสังกัดที่นับถือพระพุทธศาสนาเข้าวัดปฏิบัติธรรมในทุกวันธรรมสวนะหรือวันอาทิตย์ ตลอดปี 2554 เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 และสนับสนุนให้ข้าราชการและบุคลากรที่นับถือศาสนาอื่นได้ปฏิบัติศาสนกิจตามหลักธรรมคำสอนในศาสนาที่ตนนับถือ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลในคราวเดียวกันด้วย
 
3. จัดพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณ เพื่อปฏิบัติตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่พระราชทานแก่ประชาชนชาวไทย เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2549 ประกอบด้วย เมตตาธรรม สามัคคีธรรม สุจริตธรรม และเที่ยงธรรม
 
4. จัดโต๊ะหมู่บูชา พร้อมธงชาติ และพระบรมฉายาลักษณ์/พระบรมสาทิสลักษณ์ประจำห้องประชุมของหน่วยงานในสังกัดทุกแห่ง และมีพิธีจุดธูป เทียน บูชาพระรัตนตรัย และไหว้พระสวดมนต์เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 ทุกครั้งที่มีการประชุมของหน่วยงาน
 
6. กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ดำเนินการทางระบบบริการเครือข่ายสังคม (Social network)
1. เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ งาน กิจกรรม และความเคลื่อนไหวในวงการพระพุทธศาสนาและศาสนาอื่น ๆ
2. ถ่ายทอดสด เชื่อมโยงสัญญาณการจัดงานพระพุทธศาสนาและศาสนาอื่น ๆ ไปยังกลุ่มเป้าหมาย
 
7. สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
เป็นหน่วยประสานการดำเนินงานกับทุกภาคส่วน เพื่อขับเคลื่อนโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมสำหรับข้าราชการและประชาชนให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และตัวชี้วัดในภาพรวม
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สืบพยานโจทก์คดีบุกบ้านสี่เสาฯ - นปช. ย้ำชุมนุมใหญ่เสาร์นี้ "ทักษิณ" วิดีโอลิงก์

Posted: 09 Mar 2011 04:03 AM PST

แกนนำ นปช.และแนวร่วม ที่ตกเป็นจำเลยบุกบ้านพักสี่เสาเทเวศร์ มาฟังการสืบพยานโจทก์ปากแรกอย่างพร้อมเพรียง แกน นำ นปช.ย้ำชุมนุมใหญ่ 12 มี.ค.ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย แกนนำที่เพิ่งได้รับการประกันตัวขึ้นเวทีปราศรัยทุกคน พร้อมการวิดีโอลิงก์ของพ.ต.ท.ทักษิณ

9 มี.ค. 54 - ศาลอาญานัดสืบพยานโจทก์ คดีที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 10 เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายวีระ มุสิกพงศ์ นพ.เหวง โตจิราการ  นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ นายมานิตย์ จิตจันทร์กลับ และแนวร่วม รวม 7 คน ในความผิดฐานมั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ก่อความวุ่นวายในบ้านเมือง สืบเนื่องจากกรณีบุกบ้านสี่เสาเทเวศร์ เมื่อช่วงเดือนกรกฎาคม  2550 โดยวันนี้ เป็นการสืบพยานโจทก์ปากแรก ซึ่งพนักงานอัยการโจทก์ไม่ได้ยื่นขอสืบพยานลับ ทำให้จำเลยทั้งหมดต้องมาฟังการพิจารณาคดี ส่วนการสืบพยานจำเลยจะเริ่มในเดือนพฤษภาคม

ขณะที่ พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย หรือ ศอ.รส. กล่าวถึงกรณีการออกประกาศ ศอ.รส. ห้ามใช้เส้นทางโดยรอบบ้านพักนายกรัฐมนตรี ย่านสุขุมวิท ว่า ไม่ใช่การทำเพื่อเอาใจนายกรัฐมนตรี หรือเพราะมีข่าวการจ้องปองร้ายผู้นำประเทศ แต่เป็นการออกประกาศเพื่อให้มีการบังคับใช้กฎหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ยืนยันว่านายกรัฐมนตรี ไม่เคยมีคำสั่งให้เจ้าหน้าที่จับกุมคนที่มาชูป้ายประท้วง เพราะนายกฯ รับสภาพได้  จึงขอย้ำว่าประชาชนยังสัญจรไป-มาได้ตามปกติ เว้นแต่กรณีที่มีข่าวว่าจะมีการมาชุมนุมประท้วง ที่ตำรวจต้องตั้งด่านตรวจค้นเข้มงวดเท่านั้น

ย้ำชุมนุมใหญ่เสาร์นี้/ทักษิณวิดีโอลิงก์

นางธิดา ถาวรเศรษฐ์ รักษาการประธาน นปช.ยืนยันว่าคนเสื่อแดงจะชุมนุมใหญ่ตามกำหนดการเดิมในวันที่ 12 มีนาคมนี้ ที่อนุสาวรีย์ประชาธืปไตย ตั้งแต่เวลา 15.00 น.ป็นต้นไป โดยจะยุติการชุมนุมเมื่อแกนนำที่เพิ่งได้รับการประกันตัวทุกคนได้ขึ้นเวที ปราศรัยครบถ้วน รวมทั้งจะมีวิดีโอลิงก์ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร  ด้วย

ส่วนการชุมนุมครั้งต่อไปจะนัดชุมนุมอีกครั้งในวันที่ 19 มีนาคม ที่สี่แยกราชประสงค์ ก่อนที่จะเคลื่อนขบวนไปตั้งเวทีปราศรัยที่อนุสาวรีย์ประชาธิไตยเช่นเดิม นอกจากนี้จะจัดคอนเสิร์ตคนเสื่อแดงที่โบนันซา เขาใหญ่ ในวันที่ 26 มีนาคม โดยใช้ชื่อว่า รุ่งอรุณแห่งความยุติธรรม ฟรีคอนเสิร์ต

สำหรับเดือนเมษายน จะมีการจัดโรงเรียนสำหรับตัวแทนทำงานในฐานะแกนนำทุกจังหวัดทั่วประเทศ กว่า 1 พันคน จากนั้นจะจัดชุมนุมใหญ่ครบรอบ 1 ปีสลายการชุมนุมสี่แยกคอกวัวในวันที่ 10 เมษายน

ทางด้าน นายจตุพร พรหมพันธ์ แกนนำ นปช.และ ส.ส.สัดส่วนพรรคเพื่อไทย ตอบโต้นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี โดยยืนยันว่าไม่มีการตัดต่อคลิปเหตุการณ์สลายการชุมนุมที่จะใช้ในการอภิปราย ไม่ไว้วางใจอย่างแน่นอน ย้ำการอภิปรายฯในสัปดาห์หน้า จะเห็นชัดเจนว่าใครเป็นคนเผาห้างฯเซ็นทรัลเวิลด์ ยืนยันว่ามีรายละเอียดต่างๆ ครบถ้วนเกิน 90 เปอร์เซนต์ โดยเป็นภาพจากทุกมุม พร้อมกับบอกว่าทีมที่จะอภิปรายเรื่องนี้มีทั้งหมด 7 คน อาทิ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ นายวิเชียร ขาวขำ และ นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล เป็นต้น โดยทุกคนสามารถสลับสับเปลี่ยนกันอภิปรายได้ตลอดเวลา หากมีการประท้วงเกิดขึ้น

ที่มาข่าวเรียบเรียงจาก: สำนักข่าวไทย, ครอบครัวข่าว
 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ทำไมควรยกเลิกวันสตรีสากล

Posted: 09 Mar 2011 03:54 AM PST

การมีวันนี้ ดูเหมือนกับเรายอมรับว่า ปัญหาการกดขี่ ความไม่เสมอภาคกันระหว่างชายหญิง เกิดจากการไม่เสมอภาค ทางเพศ ทั้งที่จริงแล้ว เราจะเห็นว่า ในสังคม ความเป็นเพศไม่ได้ทำให้เกิดความไม่เสมอภาค เราจะเห็นว่ารอบตัวเรา มีคนงานชายมากมายมีเจ้านายเป็นผู้หญิง มีผู้หญิงมากมายกดขี่ผู้ชาย และมีผู้ชายผู้หญิงมากมายกดขี่กันเอง ถ้าความเป็นเพศกดขี่ได้จริง ทำไมผม ไปกดขี่ ดารานักร้องสาวสวยไม่ได้

ในอดีต ต้องยอมรับว่าการใช้แรงงานส่วนใหญ่ใช่แรงงานชาย จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ชายจะเป็นใหญ่เป็นส่วนมาก ผู้หญิงมีหน้าที่ดูแลบ้าน เลี้ยงลูกและสนองอารมณ์ ทางเพศของชายเท่านั้น แต่ความเป็นจริงแม้แต่ในอดีตก็ตาม ครอบครัวแต่ล่ะครอบครัว ก็มีระดับการกดขี่สตรีที่ต่างกัน ครอบครัวที่ทางฝ่ายชายและฝ่ายหญิงมีอำนาจทางเศรษฐกิจที่พอๆ การกดขี่ระหว่างเพศจะเกิดน้อยมาก แต่ที่มีการกดขี่สตรีในอดีตส่วนใหญ่เกิดจาก การกดขี่ของฝ่ายชายที่ เป็นเจ้าขุนมูลนาย ซึ่งมีอำนาจทางเศรษฐกิจ แทบทั้งสิ้น หากเจ้าขุนมูลนายเป็นผู้หญิง ผู้หญิงก็สามารถกดขี่ทาสที่เป็นชายได้เช่นกัน ถ้าความเป็นเพศ ทำให้อีกเพศกดขี่อีกเพศได้จริง คงเห็นทาสชาย ลุกขึ้นมาจับ เจ้านายผู้หญิงทำเมีย

ปัจจุบัน ระบบการผลิตทำให้ผู้หญิงอยู่ในกระบวนการผลิตมากขึ้น ผู้หญิงในความเป็นจริง มีความเสมอภาคกับชายในระดับหนึ่งแล้ว เพียงแต่ว่า ความรู้สึกของผู้หญิงบางส่วนเอง ยังรู้สึกว่าตัวเอง ต่ำต้อยกว่าชาย ทั้งที่ หากมองเรื่องเศรษฐกิจ หญิงกับชายอาจมีอำนาจไม่ต่างกัน ผู้หญิงเองก็หลงไหลกับความเป็นผู้หญิง ที่ซากวัฒนธรรมยุคทาส เหลือทิ้งไว้ให้ เพราะผู้หญิงบางคน ยังคิดว่าต้องหาผัวรวยๆ มาเลี้ยงดู ทั้งๆ ที่ตัวเองก็มีความสามารถเลี้ยงดูตัวเองได้ ผู้หญิงบางส่วนเองก็ยินดีที่จะรับประโยชน์ จากระบบที่คุณเรียกว่าชายเป็นใหญ่ (อันที่จริงไม่ว่าชายหรือหญิงมันก็อยากได้เมียรวยกันทั้งนั้น) ผู้หญิงเหล่านี้ ต้องลองตั้งคำถามกับตัวเองว่า ในความเป็นจริงมีแต่เพศหญิงที่ถูกกดขี่ หรือ ถูกกดขี่เพราะมีอำนาจทางเศรษฐกิจที่ต่ำกว่าอีกฝ่ายที่เป็นชาย และที่ผู้หญิงบางกลุ่ม ออกมาพูดว่าไม่เสมอภาคกับเพศชายอยู่นี้ ก็เพื่อเพียงต้องการประโยชน์ ที่คุณใช้ความเป็นเพศหญิงมาอ้าง เพื่อที่จะหาข้อได้เปรียบจากการที่เป็นเพศหญิง เท่านั้น

หากจะทำให้มี ความเสมอภาคระหว่างเพศ จริงๆ ผู้หญิงเองก็ต้องลุกขึ้นมาสู้ และทำให้เหมือนชาย โดยไม่ต้องสนใจจารีตโบราณ เช่น ผู้หญิงอาจจะต้องมาขอผู้ชายแต่งงาน หรือ จีบผู้ชาย หรือ มีเซ็กส์กับผู้ชายโดยไม่เรียกร้องทรัพย์สิน (ยกเว้นอาชีพบริการ) หรือ ในครอบครัว ผู้หญิงอาจจะต้อง ลองบังคับผู้ชายเมื่อต้องการเซ็กบ้าง หรือกล้าที่จะบอกว่า กูไม่มีอารมณ์

และที่สำคัญผู้หญิงต้อง เรียกร้องให้มีการแก้กฏหมายให้มีความเสมอภาค รวมทั้งกฎจารีต อย่างเช่น ความเชื่อทางศาสนา ไม่ว่าการบวช หรือ สิทธิอื่นๆ ที่มีการยอมรับให้แต่ฝ่ายชาย ไม่ใช่มาแค่มา ตะโกนว่า "กูถูกผู้ชายกดขี่นะคะ"

จะทำให้มีความเสมอภาคจริง เราต้องสู้มากกว่า เรื่องเพศ เราต้องสู้ให้เรามีอำนาจทางเศรษฐกิจ ควบคู่ไปด้วย และเราควรยกระดับการต่อสู้ เป็นการต่อสู้ เพี่อความเสมอภาค ของ "มนุษย์" เพราะคนอ่อนแอไม่ได้มีแต่เพศหญิง เพศชายหรือเพศที่3 ดังนั้น “วันสตรีสากล” ควรเปลี่ยน เป็นวัน “มนุษย์สากล” ได้แล้วครับ

เชิญร่วมแลกเปลี่ยนครับ เนื่องในวันสตรีสากล

ปล.การเขียนบันทึกนี่ กลับบ้านจะโดนคนที่บ้านตบกระบาลหรือป่าววะนี่ 5555

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ฝ่ายค้านขอถอนร่างพ.ร.บ.จัดระเบียบการชุมนุมในที่สาธารณะ ออกจากการพิจารณา

Posted: 09 Mar 2011 03:47 AM PST

การประชุมสภาผู้แทนราษฎร วันนี้ (9 มี.ค. 54) ในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมในที่สาธารณะ พ.ศ... ซึ่งมีการเสนอ 5 ฉบับ โดยนายพีระพันธ์ พาลุสุข และนายสถาพร มณีรัตน์ ส.ส.เพื่อไทย ได้ขอถอนร่างที่ตนเองเสนอออกไป โดยให้เหตุผลว่า ร่างพระราชบัญญัติที่เสนอโดยรัฐบาลขัดกับหลักการตามรัฐธรรมนูญทำให้เหลือ ร่างกฎหมายพิจารณาเพียง 3 ฉบับ

จากนั้นนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคง ได้ชี้แจงเหตุผลว่า ร่างพระราชบัญญัติฉบับที่รัฐบาลเสนอเพื่อใช้ในการควบคุมการชุมนุมสาธารณะ ซึ่งแกนนำผู้ชุมนุมต้องแจ้งให้ตำรวจพื้นที่ทราบก่อนล่วงหน้า 72 ชั่วโมง หากผู้ชุมนุมไม่เห็นด้วยก็สามารถร้องขอต่อศาลเพื่อให้มีคำสั่งชี้ขาดได้ หากศาลมีคำสั่งว่าการชุมนุมไม่ชอบด้วยกฎหมาย เจ้าหน้าที่สามารถประกาศให้พื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ควบคุมและให้ผู้ ชุมนุมออกจากพื้นที่โดยเร็ว หากฝ่าฝืนมีโทษตามกฎหมาย พร้อมยืนยันว่า ร่างพระราชบัญญัติที่รัฐบาลพิจารณาอย่างรอบคอบและสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญทุก ประการ

อย่างไรก็ตามการพิจารณาต้องสะดุดอีกครั้งและเกิดความวุ่นวาย เมื่อนายจุมพฏ บุญใหญ่ ส.ส.พรรคเพื่อไทย พยายามอ่านหลักการและเหตุผล ฉบับที่ตนเองเสนอ แต่ ส.ส.พรรคเพื่อไทยหลายคนได้ขอถอนรายชื่อออกจากผู้เสนอ ออกจากร่างดังกล่าวเพราะนายจุมพฏ ได้ย้ายออกจากพรรคเพื่อไทยไปแล้ว ทำให้เกิดการโต้เถียงกันระหว่าง ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ กับ ส.ส.พรรคเพื่อไทย จนนายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน ส.ส.พรรคเพื่อไทย ขอนับองค์ประชุมแบบขานชื่อ

ที่มาข่าวเรียบเรียงจาก: สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์
 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ครม.ตีกลับงบเหมาจ่ายบัตรทอง 1.66 แสนล้าน

Posted: 09 Mar 2011 03:09 AM PST

ครม.ตีกลับงบเหมาจ่ายบัตรทอง 1.66 แสนล้าน – 3,249 บาท / คน เหตุสำนักงบติงอนุมัติให้แค่ 2,800 บาท/คน โยนสปสช. - สำนักงบ ถกใหม่

เมื่อวันที่ 8 มี.ค. 54 ที่ผ่านมานายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รมว.สาธารณสุข เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีว่า ทาง ครม.ได้พิจารณาวาระงบประมาณหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า อัตราเหมาจ่ายรายหัว ประจำปี 2555 แต่ยังไม่ได้ข้อยุติ โดยทาง ครม.ได้มอบให้ทางคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ไปหารือร่วมกับสำนักงบประมาณ กระทรวงการคลังก่อนเพื่อให้ได้ข้อสรุป เนื่องจากยังมีหลายความเห็นที่ยังแตกต่างและไม่สอดคล้องกัน โดยสำนักงบประมาณยังไม่เห็นด้วยกับงบประมาณที่ทาง สปสช.เสนอขึ้นมา ซึ่งมีการปรับเพิ่มในทุกกองทุน ส่วนจะมีประเด็นใดที่ไม่เห็นด้วยนั้นยังไม่มีรายละเอียด ทั้งนี้ในปี 2554 สปสช. ได้รับงบประมาณ 1.3 แสนล้านบาท หรือ 2,546.48 บาทต่อคนต่อปี และในปี 2555 ขอเพิ่มเป็น 1.6 แสนล้านบาท หรือ 3,249.94 บาทต่อคนต่อปี โดยเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 20

“ไม่ได้เรียกว่าเป็นการตีกลับ เพราะว่าเป็นเรื่องปกติที่ฝ่ายของบประมาณและฝ่ายที่คุมงบประมาณจะมีความเห็น ที่ไม่ตรงกัน ดังนั้นจึงให้ไปหาข้อสรุปร่วมกันและนำเข้าพิจารณาใหม่ในวันที่ 14 มี.ค.ต่อไป” รมว.สาธารณสุข กล่าว

ต่อข้อซักถามว่า ในงบประมาณดังกล่าวรวมค่าตอบแทนบุคลากรทางการแพทย์ของกระทรวงสาธารณสุขที่ขอ เพิ่มเติมไปด้วย มีการปรับลดในส่วนนี้ด้วยหรือไม่ นายจุรินทร์ กล่าวว่า ค่าตอบแทนเป็นส่วนหนึ่งที่ได้เสนอขอเพิ่มไป แต่ในรายละเอียดนั้นคงต้องให้มีการหารือกันก่อน

ด้าน นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่า ในการนำเสนองบเหมาจ่ายรายหัวทุกปีจะมีข้อเสนอจากสำนักงบประมาณก่อนเข้า พิจารณาใน ครม. แต่คราวนี้เป็นการนำงบเหมาจ่ายที่ทาง สปสช.เสนอเข้า ครม.เลย โดยในที่ประชุม ครม.สำนักงบประมาณได้เสนอให้งบเหมาจ่ายรายหัวอยู่ที่กว่า 2,800 บาทเท่านั้น จากที่ สปสช.เสนอ ขอไป 3,249 . 94 บาท ซึ่ง ดร.อัมมาร สยามวาลา กรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ไม่เห็นด้วย และไม่รู้ว่างบ 2,800 บาท คำนวณอย่างไร ไม่มีรายละเอียด และไม่รู้ว่ารวมค่าตอบแทนหรือไม่ ดังนั้นทาง ครม.จึงให้ทางสำนักงบประมาณและ สปสช.ไป หารือร่วมกัน โดยเชิญนายไตรรงค์ สุวรรณคีรี รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน และให้หารือได้ข้อสรุปภายในสัปดาห์นี้เพื่อเสนอต่อที่ประชุม ครม.ในครั้งต่อไป

ที่มาข่าว: กรุงเทพธุรกิจ
 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ชำนาญ จันทร์เรือง: การใช้อำนาจตุลาการอันเป็นอิสระกับการกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม

Posted: 09 Mar 2011 02:59 AM PST

จากกรณีที่มีผู้ร้องเรียนต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติหรือ ป.ป.ช.ว่าหลังจากที่ศาลปกครองกลางมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวมิให้นำมติคณะรัฐมนตรีที่สนับสนุนการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกของเขมร ซึ่ง ครม.และกระทรวงการต่างประเทศได้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อศาลปกครองสูงสุด ซึ่ง   นายอักขราทร จุฬารัตน ในฐานะประธานศาลปกครองสูงสุดในขณะนั้นได้สั่งให้จ่ายสำนวนคดีดังกล่าวให้แก่องค์คณะที่ ๒

ต่อมาองค์คณะดังกล่าวได้มีมติ ๓ ต่อ ๒ ให้กลับคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวของศาลปกครองชั้นต้น แต่ในขณะที่ยังมิได้ลงนามในร่างคำสั่งฯ นายอักขราทรได้มีคำสั่งเปลี่ยนองค์คณะไปเป็นองค์คณะที่ ๑ ซึ่งมีนายอักขราทรเป็น    หัวหน้าคณะเป็นผู้พิจารณาแทน และมีคำสั่งเมื่อวันที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๕๑ ยืนตามคำสั่งของศาลปกครองกลาง

ประเด็นจึงมีอยู่ว่าการสั่งเปลี่ยนองค์คณะดังกล่าวชอบด้วยรัฐธรรมนูญและระเบียบวิธีพิจารณาคดีของศาลปกครองหรือไม่ หากไม่ชอบจะเป็นการแทรกแซงความเป็นอิสระของตุลาการหรือไม่ และที่สำคัญก็คือเข้าข่ายการกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรมที่อยู่ในอำนาจการไต่สวนของ ป.ป.ช.ตามมาตรา ๘๔ ของ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและการทุจริต พ.ศ.๒๕๔๒ หรือไม่

ในประเด็นที่ว่าด้วยการสั่งเปลี่ยนองค์คณะดังกล่าวชอบด้วยรัฐธรรมนูญและระเบียบวิธีพิจารณาคดีของศาลปกครองหรือไม่ นั้น พิจารณาจากข้อเท็จจริงแล้วเห็นว่าในกรณีดังกล่าวนั้นไม่ปรากฏเหตุว่าตุลาการหรือองค์คณะดังกล่าวมีพฤติการณ์ที่กระทบกระเทือนต่อความยุติธรรมหรือถูกคัดค้าน หรือมีสำนวนคั่งค้างเป็นจำนวนมากจนกระทบต่อการพิจารณาคดีนี้แต่อย่างใด ดังปรากฏในข้อเท็จจริงว่าองค์คณะได้พิจารณาเสร็จสิ้นจนมีมติออกมาแล้ว ที่แน่ๆก็คือว่ามีผู้เห็นแย้งกับการสั่งเปลี่ยนองค์คณะดังกล่าวและเชื่อว่าต้องเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องในสำนวนคดีนี้เอง ถึงแม้ว่าคำร้องต่อ ป.ป.ช.จะไม่ระบุชื่อผู้ร้องก็ตาม แต่คำร้องมีรายละเอียดขั้นตอนการดำเนินการในศาลปกครองอย่างละเอียดแบบ   มืออาชีพ และยังชี้ให้เห็นว่าการเปลี่ยนองค์คณะตุลาการในกรณีนี้เป็นการใช้อำนาจหน้าที่แทรกแซงความเป็นอิสระของตุลาการ

ถึงแม้ว่าในเวลาต่อมา นายหัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุลประธานศาลปกครองสูงสุดคนปัจจุบันจะออกมาให้สัมภาษณ์ต่อกรุงเทพธุรกิจออนไลน์เมื่อ ๔ มี.ค.ว่าเป็นการสละคืนสำนวนขององค์คณะด้วยเหตุว่ามีสำนวนคั่งค้างอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งก็ฟังดูพิกลๆอยู่ เพราะตามข้อเท็จจริงนั้นองค์คณะได้มีมติไปแล้ว

ส่วนประเด็นที่ว่าเข้าข่ายการกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรมที่อยู่ในอำนาจการไต่สวนของ ป.ป.ช.ตามมาตรา ๘๔ ของ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและการทุจริตฯหรือไม่ นั้น เห็นว่า ป.ป.ช.มีอำนาจการไต่สวนตุลาการศาลปกครองตามรัฐธรรมนูญมาตรา ๒๗๐ ที่ให้อำนาจ ป.ป.ช.ในการไต่สวนตุลาการหรือผู้พิพากษาที่ส่อว่ากระทำผิดต่อต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการหรือต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม ประกอบกับมาตรา ๘๔ ของ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตฯ

ฉะนั้น ป.ป.ช.จึงมีมติรับเรื่องนี้ไว้พิจารณาเมื่อวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ และ ป.ป.ช.ได้อาศัยอำนาจตามมาตรา ๒๕(๑) ของพ.ร.บ.ดังกล่าวเรียกเอกสารหรือหลักฐานใดใดเพื่อประโยชน์ในการไต่สวนข้อเท็จจริงไปยังสำนักงานศาลปกครอง หากฝ่าฝืนมีโทษทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งคณะกรรมการตุลาการศาลปกครอง(ก.ศป.)ได้มีการพิจารณาเรื่องดังกล่าวเมื่อวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา

แต่เป็นที่น่าเสียดายที่ ก.ศป.ไม่ได้มีมติใดๆออกมาเพราะในที่ประชุมมีความเห็นแตกเป็นสองฝ่าย โดยฝ่ายหนึ่งเห็นว่าเป็นการใช้อำนาจตุลาการโดยแท้ สำนักงานศาลปกครองไม่จำเป็นต้องชี้แจง แต่อีกฝ่ายหนึ่งซึ่งแน่นอนว่าบางส่วนคงต้องเกี่ยวข้องกับองค์คณะที่ถูกเปลี่ยนเป็นแน่แท้ เห็นว่าหาก ก.ศป.มีมติไม่ให้เลขาธิการสำนักงาน  ศาลปกครองส่งเอกสารหรือชี้แจงต่อ ป.ป.ช.ก็เท่ากับว่ามีมติให้เลขาธิการสำนักงานศาลปกครองกระทำผิดกฏหมาย พูดง่ายๆก็คือเห็นว่า ป.ป.ช.มีอำนาจในกรณีนี้นั่นเอง

ในเมื่อ กศป.ไม่มีมติออกมาแต่อย่างใด และไม่แน่ว่าในการประชุม ก.ศป.ในวันที่ ๑๖ มี.ค.ที่จะถึงนี้ ก.ศป.จะสามารถมีมติออกมาได้หรือไม่ เพราะเสียงยังแตกออกเป็นสองฝ่ายอย่างชัดเจน ภาระจึงตกหนักต่อเลขาธิการสำนักงานศาลปกครองว่าจะตัดสินใจปฏิบัติอย่างไร ฝ่ายหนึ่งคือ ก.ศป.ซึ่งมีประธานศาลปกครองสูงสุดเป็นประธาน ก.ศป.โดยตำแหน่งเป็นผู้บังคับบัญชาโดยตรง สามารถให้คุณให้โทษได้ แต่อีกฝ่ายหนึ่ง คือ ป.ป.ช.ที่ถึงแม้จะไม่ใช่ผู้บังคับบัญชาแต่ก็ถือกฎหมายอยู่ในมือคือ มาตรา ๒๕(๑)ของ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและการทุจริตฯ ซึ่งมีโทษทั้งจำทั้งปรับ

อย่างไรก็ตามในที่สุดแล้วผมเชื่อว่าเลขาธิการสำนักงานศาลปกครองหรือผู้รักษาการ(เนื่องจากเลขาธิการตัวจริงชิงลาออกหนีเผือกร้อนไปสมัคร ส.ว.เสียแล้ว)ก็คงต้องส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องและคำชี้แจงที่สามารถหาได้(เพราะหากเป็นเอกสารในสำนวนต้องขออนุญาตตุลาการเสียก่อน)ไปยัง ป.ป.ช.แบบแกนๆหรือไม่เช่นนั้นก็คงดึงเรื่องให้ยาวออกไป แต่ก็คงดึงเรื่องออกไปได้ไม่นานนักก็จำต้องปฏิบัติอยู่ดี แต่หากว่าสำนักงานศาลปกครองไม่ปฏิบัติก็จะเป็นการเข้าข่ายการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่

แต่หากมีการตอบปฏิเสธจาก สำนักงานศาลปกครอง ป.ป.ช.ก็ต้องดำเนินการต่อไปในส่วนของคดีอาญา มิใช่การส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความตามคำให้สัมภาษณ์ของเลขาธิการ ป.ป.ช.เพราะมิใช่กรณีที่มีความขัดแย้งเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ขององค์กรตามรัฐธรรมนูญตามมาตรา  ๒๑๔ แต่เป็นการโต้แย้งว่า ป.ป.ช.มีอำนาจดำเนินการต่อ  นายอักขราทรในกรณีนี้หรือไม่ หากจะส่งศาลรัฐธรรมนูญจะต้องเป็นกรณีตามมาตรา๒๑๑ที่ตุลาการศาลปกครองเห็นว่า ป.ป.ช.ใช้กฎหมายที่ไม่ชอบรัฐธรรมนูญกับตนต่างหาก

ประเด็นสำคัญที่ยกเรื่องดังกล่าวมานี้ประเด็นคงมิใช่ว่าเลขาธิการสำนักงานศาลปกครองหรือผู้รักษาการฯจะส่ง    คำชี้แจงหรือไม่ส่ง อดีตประธานศาลปกครองสูงสุดซึ่งเกษียณอายุราชการไปแล้วทำถูกหรือไม่ถูก แต่ประเด็นอยู่ที่ว่าการตรวจสอบถ่วงดุลการใช้อำนาจตุลาการต่างหากที่เป็นประเด็นที่จะต้องนำมาพิจารณา เพราะไม่ว่าองค์กรใดๆถึงแม้ว่าจะเป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญก็ตามหรือประชาชนคนธรรมดาตลอดจนนักวิชาการทั้งที่ริบังอาจไปแตะต้องอำนาจตุลาการก็มักมีอันต้องกระเจิงออกมาอยู่เสมอ แม้ว่าจะเป็นการกระทำอย่างสุจริตใจก็ตาม ดีไม่ดีเจอข้อหาหมิ่นศาลหรือละเมิดอำนาจเป็นของแถมเสียด้วยซ้ำไป

ส่วนประเด็นที่ประธานศาลปกครองสูงสุดบอกว่าศาลปกครองมีคณะกรรมการข้าราชการตุลาการศาลปกครอง      (ก.ศป.) คอยดูอยู่แล้วว่า ตุลาการศาลปกครองคนใดทำผิดกฎ ทุจริต หรือรับสินบนหรือไม่ ความจริงแล้ว ก.ศป.มีหน้าที่วินิจฉัยเพียงความผิดทางวินัยเท่านั้น ส่วนความผิดทางอาญาเป็นหน้าที่ของ ป.ป.ช. เพราะไม่เช่นนั้นจะมีประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 200, 201 และ 202 ว่าด้วยความผิดต่อหน้าที่ในการยุติธรรมไปทำไม ยิ่งหากทางสำนักงานศาลปกครองไม่ส่งคำชี้แจงหรือส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องกับเรื่องกล่าวหาดังกล่าวไปให้ ป.ป.ช. ป.ป.ช.ก็ยังคงต้องวินิจฉัยต่อไปโดยไม่มีข้อมูลเหล่านั้น ซึ่งอาจเป็นผลร้ายต่อตัวนายอักขราทรหรือเลขาธิการสำนักงาน  ศาลปกครองเอง

จากบทบัญญัติแห่งกฎหมายของ ป.ป.ช.ที่ยกมาข้างต้นและรัฐธรรมนูญมาตรา 270 และ 271ที่บัญญัติให้ ป.ป.ช. มีอำนาจตรวจสอบตามมาตรา 270 วรรคสอง (2) ว่ามีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่ ส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรงหรือไม่ ประกอบกับบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญมาตรา 197 วรรคสองที่บัญญัติให้ผู้พิพากษาและตุลาการมีอิสระในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีให้เป็นไปโดยถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นธรรม ตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายแล้ว จะเห็นได้ว่าทั้งความเห็นของทั้งฝ่ายศาลปกครองและ ป.ป.ช.ต่างก็ถูกทั้งคู่
 
ที่ว่าถูกทั้งคู่ก็เพราะว่าผู้พิพากษาและตุลาการย่อมมีดุลพินิจอิสระในการพิจารณาพิพากษาคดี ซึ่งในกรณีนี้หมายกรณีการออกคำสั่งคุ้มครองหรือยกคำขอคุ้มครองชั่วคราว ป.ป.ช.ย่อมไม่มีสิทธิไปตรวจสอบว่าออกคำสั่งคุ้มครองหรือไม่ ควรหรือไม่ควร เหมาะสมหรือไม่เหมาะสม เพราะเป็นการใช้อำนาจตุลาการโดยแท้
 
กล่าวโดยสรุป องค์กรตุลาการและบุคลากรในองค์กรย่อมถูกตรวจสอบได้เสมอ จะด้วยกระบวนการขั้นตอนใดนั้นย่อมเป็นไปโดยรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย หากองค์กรใดหรือบุคคลใดไม่สามารถถูกตรวจสอบได้ ย่อมกลายเป็นองค์อธิปัตย์อิสระที่อยู่เหนือรัฐหรือแยกออกจากรัฐไป
 

------------------------
หมายเหตุ: เผยแพร่ครั้งแรกในกรุงเทพธุรกิจฉบับประจำวันพุธที่ 9 มีนาคม 2554 ในชื่อ “อำนาจตุลาการ ไม่สามารถแตะต้องได้จริงหรือ”

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

“พีมูฟ” เปิดทางงานกาชาด ยอมกลับ ตจว.-จวกรัฐบาลทำได้แค่หักหลังชาวปากมูน

Posted: 09 Mar 2011 02:48 AM PST

พีมูฟ ออกแถลงการณ์ “ธาตุแท้รัฐบาล แก้ปัญหาโดยใช้หลักกู” พร้อมออกคำประกาศคนจน “เมื่อข้อตกลงถูกละเมิด ปัญหาไม่ได้รับการแก้ไข รัฐบาลทำได้แค่หักหลังชาวปากมูน” หลังมติ ครม.ไม่เปิดเขื่อนปากมูลสั่งศึกษาใหม่ แจงจะกลับมาอีกหลังเลือกตั้ง

 
วันนี้ (9 มี.ค.54) เมื่อเวลา 10.00 น. ที่ลานพระบรมรูปทรงม้า พล.ต.ต.วิชัย สังข์ประไพ ผู้บังคับการตำรวจนครบาล 1 (ผบก.น.1) เดินทางเข้าพูดคุยกับ นายจำนง จิตนิรัตน์ ที่ปรึกษาขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.) หรือ พีมูฟ (P Move) กรณีเจรจาขอเปิดพื้นที่งานกาชาดในวันที่ 31 มีนาคมนี้
 
พล.ต.ต.วิชัยกล่าวว่า ทางศอ.รส. มีคำสั่งให้ตนขอคืนพื้นที่สำหรับการจัดงานกาชาดจากกลุ่มผู้ชุมนุม 3 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้ชุมนุมที่ลานพระรูปทรงม้า กลุ่มคนไทยหัวใจรักชาติ และกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ซึ่งการเจรจากลุ่มแรกก็ยินยอมที่จะออกจากพื้นที่ โดยจะเก็บข้างของและเคลื่อนย้ายในช่วง 13.00 น.วันนี้ ซึ่งตนจะประสาน กทม.มาทำความสะอาดพื้นที่ให้เรียบร้อยเพื่อเตรียมจัดงานกาชาด ส่วนกลุ่มอื่นๆก็จะพยายามเจรจาขอคืนพื้นที่ต่อไป เพื่อให้อย่างน้อยภายในวันที่ 15 มีนาคม ทางผู้จัดงานสามารถเข้าทำบู๊ทต่างๆ ภายในงานได้
 
ด้านนายจำนงกล่าวว่า กลุ่มพวกตนเป็นเกษตรกร ชาวไร่ ชาวประมง รวมถึงกลุ่มคนไร้บ้าน ซึ่งก็มาเรียกร้องสิทธิประโยชน์ต่างๆกับนายกรัฐมนตรี (นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) ซึ่งมาชุมนุมตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา จากวันแรกที่มาประมาณ 5-6 พันคน และผลัดกันไปทำงาน ผลัดกันมาตอนนี้มีประมาณ 2 พันคน มาจากทั้งภาคเหนือ อีสาน ใต้ และกทม.บางส่วน โดยการเจรจาถือว่าเป็นไปได้ด้วยดี ได้หลักประกันเป็นมติ ครม.เรื่องการช่วยเหลือและที่ทำกิน โดยอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจจึงจะเดินทางกลับ
 
 
 
“พีมูฟ” ระบุรัฐหักหลังชาวบ้าน ย้ำจะกลับมาใหม่หลังการเลือกตั้ง
 
ในวันเดียวกัน (9 มี.ค.54) ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.) หรือ พีมูฟ (P Move) อ่านแถลงการณ์ฉบับที่ 20 “ธาตุแท้รัฐบาล แก้ปัญหาโดยใช้หลักกู” ณ หมุดทองเหลือง คณะราษฎร 2475 ลานพระรูปฯ ระบุถึงการปักหลักชุมนุมบริเวณหน้าลานพระรูปทรงม้าเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาที่ค้างคามายาวนาน โดยผลการแก้ไขปัญหา มีบางส่วนที่มีความก้าวหน้า เช่น โครงการนำสนับสนุนคนไร้บ้าน โครงการนำร่องแก้ไขปัญหาเกษตรกรภายใต้สถาบันกองทุนธนาคารทิ่ดนในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และลำพูนจำนวน 167 ล้านบาท เป็นต้น แต่การแก้ไขปัญหาโดยส่วนใหญ่ กลับไม่มีความคืบหน้า อีกทั้งกลับถูกละเมิดสิทธิมากขึ้น และกรณีปัญหาอื่นๆ อีกกว่า 300 กรณีปัญหายังไม่มีข้อสรุป โดยเฉพาะกรณีปัญหาเขื่อนปากมูล
 
“พวกเราผิดหวังต่อมติคณะรัฐมนตรีที่ไม่รับฟังเหตุผลทางวิชาการและเลือกใช้วิธีซื้อเวลา พวกเรายืนยันว่า กรณีเขื่อนปากมูลได้มีข้อยุติที่ชัดเจนที่สุด และเพียงพอที่จะตัดสินใจแก้ไขปัญหาได้ แต่รัฐบาลกลับซื้อเวลาออกไปอีก พฤติการณ์ของรัฐบาลครั้งนี้ เราเห็นว่า นี่คือการไม่จริงใจในการแก้ปัญหา” แถลงการณ์ระบุ
 
นอกจากนั้น ยังมีปัญหาเรื่องคดีความที่ไม่มีความคืบหน้า ซึ่งทางกลุ่มต้องการให้หยุดดำเนินคดีแต่รัฐบาลไม่นำเรื่องนี้เข้าพิจารณา ซึ่งเท่ากับว่าต้องการทำลายขบวนการเคลื่อนไหวด้วยคุกตาราง ดังนั้น นับจากนี้ทางกลุ่มจึงไม่อาจร่วมมือกับรัฐบาลชุดนี้ได้อีกต่อไป
 
“เราขอประกาศร่วมกันว่า รัฐบาลชุดนี้ไม่มีความชอบธรรมที่จะแก้ไขปัญหาเขื่อนปากมูลอีกต่อไป และเราหวังว่าหลังการเลือกตั้งใหม่ เราจะกลับมาอีกครั้ง เพื่อทำความจริงให้ปรากฏ และนำไปสู่การแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม” แถลงการณ์ระบุลงท้าย
 
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พีมูฟยังได้ออกคำประกาศคนจน “เมื่อข้อตกลงถูกละเมิด ปัญหาไม่ได้รับการแก้ไข รัฐบาลทำได้แค่หักหลังชาวปากมูน” ระบุถึงมติ ครม.ที่ไม่ตัดสินใจเปิดเขื่อนปากมูล แต่ให้ไปศึกษาข้อมูลอีก 45 วัน ว่า เป็นการซื้อเวลา โดยไม่มีเหตุผลและความชอบธรรมใด อันเป็นการหักหลังคนปากมูน ซึ่งจากการตัดสินใจดังกล่าวทางกลุ่มไม่สามารถยอมรับได้ พร้อมประกาศยุติการร่วมมือใดๆ กับรัฐบาลชุดนี้ และขอเรียกร้องให้ภาคส่วนต่างๆ ในสังคมร่วมกันยุติความร่วมมือกับรัฐบาลนี้ด้วย
 
“ต่อหมุดทองเหลือง และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในอาณาบริเวณนี้ ได้โปรดเป็นพยานด้วยว่า วันนี้ในการกระทำ และความมุ่งมั่นของพวกเราด้วยว่า เราจะทวงคืนแม่น้ำมูน ทวงคืนวิถีชีวิตของพวกเรา เราขอยืนยันว่า เราจะดำเนินวิธีการตามครรลองแห่งแนวทางแห่งสันติ” คำประกาศระบุ
 
 
มติ ครม.ไม่เปิดเขื่อนปากมูลสั่งศึกษาใหม่
 
เมื่อวันที่ 8 มี.ค.ที่ผ่านมา นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวชี้แจงถึง 10 ประเด็นปัญหาของพีมูฟที่เข้าสู่การพิจารณาของ ครม.ว่า การประชุม ครม.พิจารณาในประเด็นที่กลุ่มพีมูฟร้องเรียน โดยแยกเป็น 1.ที่ดิน 2.เรื่องที่ต้องการให้นายกรัฐมนตรีสั่งการซึ่งมี 8 เรื่อง ทั้งเรื่องของโรงไฟฟ้าชีวมวล ซึ่งให้ตั้งกรรมการ เรื่องอ่างเก็บน้ำและเรื่องเหมืองต่างๆ รวมถึงจำนวนเงิน 167 ล้านบาท ที่จะนำไปจัดซื้อที่ดินของธนาคารที่ดิน ซึ่ง ครม.ได้อนุมัติกฤษฎีกาจัดตั้งธนาคารที่ดินแล้วเช่นกัน
 
และ 3.เรื่องเขื่อนปากมูล วันนี้ได้เชิญนักวิชาการที่ศึกษาฯในนามอนุกรรมการเข้าไปชี้แจง สรุปได้ว่าขณะนี้ฝ่ายของผู้ที่กังวลเรื่องเปิดเขื่อนก็กลัวว่าน้ำจะหมด แต่ส่วนที่เรียกร้องให้เปิดเขื่อนยืนยันว่าน้ำไม่หมดเพราะเขื่อนสามารถกักเก็บไว้ได้ แต่รายงานศึกษาของนักวิชาการไม่มีข้อมูลส่วนนี้ชัดเจน มีแต่ตัวเลขที่เป็นการจำลองสถานการณ์ขึ้นมา
 
“นายกรัฐมนตรีอยากให้นำไปพิจารณาอีกครั้งว่าระหว่างข้อมูลที่ชาวบ้านบอกว่าน้ำไม่หมดกับคนที่กลัวว่าน้ำหมดจริงๆ แล้วระดับตรงไหนจึงจะยอมรับกันได้ รวมทั้งการศึกษาให้นำผู้ที่มีความเห็นไม่ตรงกันได้รับฟังความเห็นด้วยโดยให้เวลา 45 วัน ฉะนั้นเรื่องที่รับปากกับประชาชนพีมูฟทั้งหมดก็เป็นการดำเนินการจนครบแล้วเสร็จทุกกรณี ผมอยากให้พีมูฟรับรู้ว่ารัฐบาลก็ให้ความกังวลสนใจ ส่วนเขาจะเดินทางกลับหรือไม่อย่างไรก็ต้องดูท่าทีอีกครั้ง แต่ถ้าได้เห็นความตั้งใจเขาน่าจะเข้าใจ” นายสาทิตย์ กล่าว
 
 
แจงเดินหน้าเซ็น “เอ็มโอยู” หวังโฉนดชุมชนคืบ
 
นายสาทิตย์ กล่าวถึงข้อเรียกร้องโฉนดชุมชนว่า พรุ่งนี้ (9 มี.ค.) เวลาประมาณ 10.30 น.ที่รัฐสภาจะมีการเซ็นเอ็มโอยูเรื่องโฉนดชุมชนระหว่าง สปน.กับกระทรวงที่เกี่ยวข้องทุกกระทรวงโดยมีนายกฯ เป็นประธาน ส่วนที่แนวทางของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมยังไม่ลงตัวนั้น ในวันนี้นายสุวิทย์ คุณกิตติ รมว.ทรัพยากรฯ ไม่ได้เข้าประชุม แต่ตอนนี้มีกลไกของกระทรวงทรัพย์ฯ เกิดขึ้นมาแล้ว คิดว่าถ้าเซ็นเอ็มโอยูทุกอย่างจะดีขึ้นและจะเร่งรัดได้ทันที
 
ประชาชนต้องการให้พื้นที่มีการอนุมัติโฉนดชุมชนขอให้เขาอยู่ทำกินในที่ดินเดิมไปก่อนได้ซึ่งครม.มีมติรองรับไว้แล้ว ส่วนที่มีชาวบ้านถูกดำเนินคดีนั้นก็มีการดำเนินคดีมาก่อนที่จะมีนโยบายโฉนดชุมชน และเมื่อกระบวนการอยู่ในชั้นศาลจะหยุดยั้งกระบวนการพิจารณาไม่ได้ แต่สิ่งที่ดำเนินการได้คือเมื่อมีกระบวนการบังคับคดดีก็ไปชะลอเรื่องการบังคับคดี ซึ่งกรณีจอง
 
ส่วนเรื่องบ้านมั่นคง นายสาทิตย์ กล่าวว่ามีการพิจารณาใน ครม.มีข่าวดีสำหรับเรื่องบ้านมั่นคงเพื่อคนไร้บ้าน ซึ่ง ครม.อนุมัติหลักการและงบประมาณ และมีการผ่อนปรนหลักเกณฑ์ว่าบ้านมั่นคงอาจจะเปลี่ยนชื่อไม่ให้เหมือนบ้านมั่นคงทั่วไป ข้อดีคือโครงการนี้จะต้องจัดหาที่ดินโดยกระทรวงการคลังเสนอตัวว่าจะดำเนินการร่วมกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) หาที่ดินเพิ่มเติมให้ด้วย
 
 
แถลงการณ์ ฉบับที่ ๒๐
ธาตุแท้รัฐบาล แก้ปัญหาโดยใช้หลักกู
 
ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.) เป็นขบวนการของเกษตรกรและคนจนเมืองที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม และได้รับผลกระทบอันเลวร้ายจากนโยบายการพัฒนาประเทศ ประกอบด้วยกลุ่มคนจน ๔ เครือข่าย ๓ กรณีคือ เครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย (คปท.), เครือข่ายสลัม ๔ ภาค, สมัชชาคนจน กรณีเขื่อนปากมูล (สคจ.) , และเครือข่ายชุมชนเพื่อการปฏิรูปสังคมและการเมือง (คปสม.) ชมรมประมงพื้นบ้านจังหวัดตรัง กลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้พิบูลมังสาหาร อุบลราชธานี กลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากโรงไฟฟ้าชีวมวลและคัดค้านโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ อุบลราชธานี จำนวน ๕๔๐ กรณีปัญหา ได้รวมตัวกันปักหลักชุมนุมอยู่บริเวณหน้าลานพระรูปทรงม้า กรุงเทพมหานคร เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาที่ค้างคามายาวนาน
 
ผลการแก้ไขปัญหามีบางส่วนที่มีความก้าวหน้า เช่น โครงการนำสนับสนุนคนไร้บ้าน โครงการนำร่องแก้ไขปัญหาเกษตรกรภายใต้สถาบันกองทุนธนาคารทิ่ดนในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และลำพูนจำนวน ๑๖๗ ล้านบาทเป็นต้น
 
แต่อย่างไรก็ตาม การแก้ไขปัญหาโดยส่วนใหญ่ กลับไม่มีความคืบหน้า มิหนำซ้ำกลับถูกละเมิดสิทธิมากขึ้น ทั้งนี้พวกเราได้ใช้ความพยายามในการเปิดการเจรจากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่กระทรวงเกษตรฯ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงยุติธรรม กระทรวงมหาดไทย รวมทั้งอนุกรรมการต่างๆ ที่นายกฯและรมต.สาทิตย์ วงศ์หนองเตย แต่งตั้ง หลายปัญหาได้รับการแก้ไข และหลายปัญหาเช่น พื้นที่บ้านเก้าบาตร อำเภอโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์ ได้นำทหารมาแก้ปัญหาที่ดินทำกินโดยมีเป้าหมายขับไล่ชาวบ้านออกจากพื้นที่ และกรณีปัญหาอื่นอีกกว่า ๓๐๐ กรณีปัญหา (จากทั้งหมด ๕๔๐ กรณีปัญหา) ก็ยังไม่มีข้อสรุปโดยเฉพาะกรณีปัญหาเขื่อนปากมูล
 
ต่อการแก้ไขปัญหาเขื่อนปากมูล พวกเราเคยได้รับการยืนยันจากปากนายกรัฐมนตรี เมื่อครั้ง ฯพณฯ เดินทางไปที่บ้านของพวกเรา (๑๐ ต.ค.๕๒) เราต้อนรับ ฯพณฯ เยี่ยงมิตร และยื่นไมตรีอันบริสุทธิ์ต่อ ฯพณฯ ผ่านมาปีเศษ ฯพณฯ กลับตัดไมตรีด้วยการตกลิ่มปัญหาให้จมหนักไปอีกในการประชุมครม.เมื่อวานนี้
 
พวกเราผิดหวังต่อมติคณะรัฐมนตรีที่ไม่รับฟังเหตุผลทางวิชาการและเลือกใช้วิธีซื้อเวลา พวกเรายืนยันว่า กรณีเขื่อนปากมูลได้มีข้อยุติที่ชัดเจนที่สุด และเพียงพอที่จะตัดสินใจแก้ไขปัญหาได้ แต่รัฐบาลกลับซื้อเวลาออกไปอีก พฤติการณ์ของรัฐบาลครั้งนี้ เราเห็นว่า นี่คือการไม่จริงใจในการแก้ปัญหา
 
คดีก็ไม่มีความคืบหน้า เราต้องการหยุดดำเนินคดีแต่รัฐบาลไม่นำเรื่องนี้เข้าพิจารณาเท่ากับว่า ต้องการทำลายขบวนพี่น้องด้วยคุกตาราง
 
ดังนั้น นับจากนี้เป็นต้นไป เรามิอาจร่วมมือกับรัฐบาลชุดนี้ได้อีกต่อไป เราขอประกาศร่วมกันว่า รัฐบาลชุดนี้ไม่มีความชอบธรรมที่จะแก้ไขปัญหาเขื่อนปากมูลอีกต่อไป และเราหวังว่าหลังการเลือกตั้งใหม่ เราจะกลับมาอีกครั้ง เพื่อทำความจริงให้ปรากฏ และนำไปสู่การแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม
 
คนจนทั้งผองพี่น้องกัน
ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม
๙ มีนาคม ๒๕๕๔ / ณ หมุดทองเหลือง คณะราษฎร ๒๔๗๕ ลานพระรูปทรงม้า
 
 
 
คำประกาศคนจน
เมื่อข้อตกลงถูกละเมิด ปัญหาไม่ได้รับการแก้ไข รัฐบาลทำได้แค่หักหลังชาวปากมูน
 
นี่คือคำประกาศความจริง ที่สั่งสมมาจากการเรียกร้องเพื่อความเป็นธรรม พวกข้าพเจ้าผู้ได้รับผลกระทบจากเขื่อนปากมูลมาเป็นเวลากว่า ๒ ทศวรรษ ตลอดเวลาที่ผ่านมาพวกเราได้ใช้ความพยายามในการนำเสนอความจริง ความจริงอันเป็นวิถีชีวิตของคนลุ่มน้ำมูนที่พึ่งพาแม่น้ำมูนอย่างสมดุล ตราบจนกระทั่งมีการสร้างเขื่อนปากมูลได้มาทำลายวิถี อันเป็นชีวิตของพวกเราจนล่มสลายลง ชาวบ้านในพื้นที่ ๓ อำเภอ กว่า ๖,๐๐๐ ครอบครัว ต้องประสบชะตากรรมการพลัดพราก ความสูญเสียที่เกิดจากน้ำมือของรัฐ ที่อ้างว่าการพัฒนา การพัฒนาที่จะนำมาซึ่งความเจริญ การกินดีอยู่ดีมาสู่คนลุ่มน้ำมูน แต่ความจริงไม่ใช่ เพราะมันคือการทำลายล้าง
 
ณ ลานกว้างที่แผดร้อน ต่อหน้าหมุดทองเหลือง หมุดที่จารึกการประกาศการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยของคณะราษฎร รวมถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ในอาณาบริเวณแห่งนี้ โปรดจงเป็นสักขีพยาน
 
พวกเรา ผู้ได้รับผลกระทบจากโครงการพัฒนา และนโยบายการพัฒนา การพัฒนาที่ไม่เป็นธรรม การพัฒนาที่ไปแย่งยื้อทรัพยากรธรรมชาติอันเป็นของเราและบรรพบุรุษของพวกเราไป เขื่อนปากมูล คือรูปธรรมของการทำลายล้างทรัพยากรธรรมชาติอย่างรุนแรง
 
ณ พื้นที่แห่งประวัติศาสตร์นี้ เป็นประจักษ์พยานด้วยว่า นับตั้งแต่ปี ๒๕๓๔ ที่กำลังมีการก่อสร้างเขื่อนปากมูล ครั้งนั้นพวกเราได้พร่ำบอกแก่พวกท่านผู้มีอำนาจทั้งหลายว่า กรุณาได้พิจารณาข้อเท็จจริงอย่างรอบด้านด้วย เพราะชาวบ้านมีชีวิตอยู่ได้ด้วยการอาศัยทรัพยากรธรรมชาติธรรมชาติ เราบอกท่านว่าแม่น้ำมูนเป็นแหล่งดำรงชีวิตของพวกเรา ผืนดินริมตลิ่งอันเป็นดินตะกอนแม่น้ำมีความอุดมสมบูรณ์เหมาะสำหรับการทำการเกษตร พรรณไม้ที่มีมากมายหลายชนิด เราได้ใช้เป็นสมุนไพรในการรักษาโรค เห็ดหลายชนิด เราได้ใช้เป็นอาหารและขายเป็นรายได้ให้ครอบครัว รวมทั้งพื้นดินที่พวกท่านเอาไปเป็นอ่างเก็บน้ำยังเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าและ สัตว์ปีก รวมทั้งยังเป็นพื้นที่เลี้ยง วัว ควาย ของพวกเราอีกด้วย แก่งต่าง ๆ ตามลำน้ำ แก่งเหล่านั้น เป็นที่อาศัย หากิน และแพร่ขยายพันธ์ของปลาน้ำจืดที่มีอยู่มากกว่า ๒๖๕ ชนิด สิ่งเหล่านี้หายไปพร้อมกับการเก็บกักน้ำของเขื่อนปากมูล
 
พวกท่านรู้ไหมว่า ทุกครั้งที่พวกเรามองดูน้ำในลำน้ำมูน เราได้ยินเสียงร่ำไห้ คร่ำครวญของวิญญาณบรรพบุรุษของเรา พวกเขาร่ำไห้ ตัดพ้อ ต่อว่า ต่อพวกเราที่เป็นลูกหลาน ว่า พวกเราทำไมเย็นชา ไม่ปกป้องวิถีชีวิต ไม่ปกป้องอาชีพ อาชีพที่จะดำรงไว้ซึ่งเผ่าพันธุ์และวัฒนธรรมการหาปลาที่ควรจะสืบทอดต่อ พวกเราเราต้องก้มหน้าเก็บงำความข่มขื่น เราขลาดเขลาเกินกว่าที่จะเงยหน้ามองผืนแผ่นน้ำ พวกเรากลัวคำถามจากแม่น้ำมูน จากวิญญาณบรรพบุรุษ ที่สำคัญพวกเรากลัวคำถามของจิตสำนึก ต่อจิตวิญญาณของความเป็นมนุษย์ เราจึงปล่อยให้ความข่มขื่นนี้ ซึมซับลงสู่ก้นบึ้งแห่งจิตวิญญาณ แล้วแปรเปลี่ยนเป็นพลังแห่งความการต่อสู้ เราทำได้แค่ความพยายาม แม้ความพยายามนี้จะยังไม่บรรลุ เราจะพยายามต่อไป
 
ต่อหมุดประวัติศาสตร์ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในบริเวณนี้ ข้าพเจ้าผู้เดือดร้อนจากการสร้างเขื่อนปากมูล พวกเราขอตั้งจิตปฏิญาณว่า ในสายใยแห่งมวลสรรพชีวิตในโลกนี้ มนุษย์มิใช่เจ้าของสรรพสิ่ง แต่มนุษย์เป็นเพียงส่วนหนึ่งของสรรพชีวิตเท่านั้น การกระทำใดของมนุษย์ที่เป็นการทำลายชีวิตอื่น ก็เท่ากับมนุษย์ได้ทำร้ายชีวิตของตนเองลงไปด้วย
 
ต่อเขื่อนปากมูล และนักสร้างเขื่อนทั้งหลาย พวกเราขอบอกต่อพวกท่านทั้งหลายว่า พวกเราสั่งสอนลูกหลานของพวกเราว่า แม่น้ำมูนคือแหล่งอาหาร แหล่งรายได้ อันหมายถึงชีวิตของพวกเรา เราสอนให้ลูกหลานของเรารัก และบูชาแม่น้ำมูนเสมือนหนึ่งแม่ผู้ให้กำเนิด เสมือนแม่ผู้ให้ชีวิตแก่เขา เราสอนให้ลูกหลานของพวกเรานำอัฐิ และเถ้าถ่านของเราเมื่อสิ้นชีวิต โปรยลงสู่แม่น้ำมูน เผื่อให้เราจะได้ทักทายกันในทุกครั้งที่ลูกหลานของเราลงหาปลา
 
เราขอบอกให้พวกท่านทั้งหลายได้โปรดสั่งสอนบุตรหลานของท่าน ให้สำนึกและหวงแหนที่ฝังเถ้าถ่านบรรพบุรุษของพวกเขา เช่นเดียวกับที่พวกเราสั่งสอนบุตรหลานของพวกเราด้วย เผื่อบุตรหลานของพวกท่านจะได้ตระหนักและยุติ ละ เลิก การกระทำดังเช่นพวกท่านนักสร้างเขื่อนได้กระทำไว้แก่พวกเรา
 
พวกเรามิอาจร้องขอให้พวกท่านนักสร้างเขื่อนทั้งหลายได้กรุณาปลดปล่อย หรือคืนวิถีชีวิตให้แก่พวกเราได้ แต่พวกเราขอบอกแก่พวกท่านนักสร้างเขื่อนทั้งหลายได้ทราบว่า เราจำเป็นต้องปกป้องและทวงคืนแม่น้ำมูน แม่น้ำมูนอันเป็นที่กลบเถ้าถ่านบรรพบุรุษของพวกเรา เยี่ยงท่านและบุตรหลานของพวกท่านพึงกระทำในการปกป้องเถ้าถ่านบรรพบุรุษของพวกท่าน
 
๒๐ ปี ที่ผ่านมา เราเหนื่อย เราลำบาก ในการต่อสู้และการทำความจริงให้ปรากฏ และท้ายสุดพวกเราก็ประสบความสำเร็จ เมื่อคณะกรรมการที่รัฐบาลแต่งตั้งขึ้นได้มีข้อสรุปชัดเจนมากว่า ให้มีการเปิดประตูเขื่อนอย่างถาวร และการเยียวยาเพื่อฟื้นฟูชีวิตชาวบ้านที่ล่มสลายมาตั้งแต่เขื่อนปากมูลเปิดใช้งาน เราดีใจ เรามีความหวังว่าวิถีชีวิตเราจะกลับคืนมา
 
๘ มีนาคม ๒๕๕๔ คณะรัฐมนตรีมีมติ ไม่ตัดสินใจ โดยให้ไปศึกษาข้อมูลอีก ๔๕ วัน อันเป็นการซื้อเวลา ซื้อเวลาโดยไม่มีเหตุผล และความชอบธรรมใด อันเป็นการหักหลังคนปากมูน
 
ต่อการตัดสินใจของรัฐบาลดังกล่าว เรามิอาจยอมรับความไร้เหตุผลของรัฐบาลชุดนี้ได้ เราขอประกาศยุติการร่วมมือใด ๆ กับรัฐบาลชุดนี้อีกต่อไป และขอเรียกร้องให้ภาคส่วนต่าง ๆ ในสังคมได้ร่วมกันยุติความร่วมมือกับรัฐบาลที่อำมหิตนี้ด้วย เราขอวิงวอน
 
ต่อหมุดทองเหลือง และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในอาณาบริเวณนี้ ได้โปรดเป็นพยานด้วยว่า วันนี้ในการกระทำ และความมุ่งมั่นของพวกเราด้วยว่า เราจะทวงคืนแม่น้ำมูน ทวงคืนวิถีชีวิตของพวกเรา เราขอยืนยันว่า เราจะดำเนินวิธีการตามครรลองแห่งแนวทางแห่งสันติ
 
ข้าฯ แด่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายได้โปรดเป็นพยาน และดลบันดาลอำนวยชัยชนะในการทวงคืนแม่น้ำมูน ให้แก่พวกข้าพเจ้าด้วย เพื่อให้พวกเราได้กล้าสู้หน้าต่อวิญญาณบรรพบุรุษของพวกเรา และวิญญาณบรรพบุรุษของพวกข้าพเจ้าจะได้เลิกคร่ำครวญ ร่ำไห้เสียที พวกข้าพเจ้าทั้งของตั้งจิตปฏิญาณ ปฏิบัติการการกู้คืนแม่น้ำมูนให้จงได้
 
ประชาชนจงเจริญ
ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.)
๙ มีนาคม ๒๕๕๔
 
 
 
 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สร.TIG ชี้แจงไกล่เกลี่ยวันที่ 9 มี.ค. ไม่ได้ เนื่องจากผู้แทนเจรจาต้องขึ้นศาลวันเดียวกัน

Posted: 09 Mar 2011 02:39 AM PST

9 มี.ค. 54 - สหภาพแรงงานไทยอินดัสเตรียลแก๊สได้เปิดเผยว่า สืบเนื่องจากกรณีที่พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานจังหวัดสระบุรี ได้ทำการนัดเหมายเพื่อไกล่เกลี่ยข้อพิพาทแรงงานภายใน 5 วัน โดยกำหนดนัดหมายในวันที่ 9 มีนาคม 2554 เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุมสำนักงานบริษัทไทยอินดัสเตรียลแก๊ส จำกัด (มหาชน) สาขาท่าลาน

เนื่องจากผู้บริหารของบริษัทไทยอินดัสเตรียลแก๊ส จำกัด (มหาชน) ได้ไปแจ้งความดำเนินคดีอาญากับลูกจ้างจำนวน 15 คนในข้อกล่าวหาว่าร่วมกันทำให้ผู้อื่นกลัวหรือตกใจ ตามสำนวนของสถานีตำรวจนครบาลบางนาคดีอาญาที่ 596/2552 โดยสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ 7 (พระโขนง) ได้กำหนดวัน เวลาและสถานที่ส่งตัวผู้ต้องหาท้ายบันทึกทราบนัดไว้ในวันที่ 9 มีนาคม 2554 เวลา 13.00 น. ณ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ 7 (พระโขนง) ซึ่งทางบริษัทฯก็ทราบเรื่องนี้เป็นอย่างดีเพราะผู้บริหารของบริษัทฯเป็นผู้แจ้งความดำเนินคดีและคนงานก็ได้แจ้งการลางานเพื่อไปต่อสู้คดีไว้แล้ว ซึ่งรายละเอียดปรากฎตามที่ส่งมาด้วยหมายเลข 2 ผู้แทนของสหภาพฯในการเจรจาข้อเรียกร้องของบริษัทฯจำนวน 7 คนนั้น เป็นผู้ที่ถูกผู้บริหารดำเนินคดีใน 15 คนดังกล่าวด้วย

ทั้งนี้สหภาพแรงงานไทยอินดัสเตรียลแก๊สให้ความเห็นว่าการดำเนินการดังกล่าวเป็นการไม่สอดคล้องกับอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 87 เกี่ยวกับสิทธิขั้นพื้นฐานของการดำเนินกิจการของสหภาพฯโดยปราศจากการแทรกแซงและอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 98 เกี่ยวกับสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองจากการถูกแทรกแซงในการทำงานขององค์กรและการบริหารงานขององค์กร ดังนั้นสหภาพฯ จึงไม่สามารถเข้าร่วมการเจรจาไกล่เกลี่ยข้อพิพาทที่ท่านกำหนดขึ้นได้ เพราะผู้แทนเจรจาของสหภาพฯทั้ง 7 ท่านต้องไปต่อสู้คดีที่ผู้บริหารของบริษัทฯแจ้งความดำเนินคดีไว้

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไทยขื่นขัน อันหาที่สิ้นสุดมิได้ "เชื่อมั่นประเทศไทย"

Posted: 09 Mar 2011 01:28 AM PST

ไทยขื่นขัน อันหาที่สิ้นสุดมิได้ "เชื่อมั่นประเทศไทย"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น