ประชาไท | Prachatai3.info |
- รำลึกบ่อนไก่-พระราม 4: (2): เสี้ยวส่วนของชีวิตชุมชนบ่อนไก่
- เสวนา “โฉนดชุมชน” ย้ำเป็น “สิทธิชุมชน” ภาคประชาชนต้องกำหนด
- สัมมนาสาธารณะ: เปิดเขื่อนปากมูล-น้ำแห้งจริงหรือ?
- สนนท.-แนวร่วมเตรียมอภิปรายนอกสภาถกปัญหา ศก. เย็นนี้ที่วงเวียนใหญ่
- กวีประชาไท: ลูกคนจน
- กวีประชาไท: จุดจบของโลกใกล้เข้ามา
รำลึกบ่อนไก่-พระราม 4: (2): เสี้ยวส่วนของชีวิตชุมชนบ่อนไก่ Posted: 05 Mar 2011 06:57 AM PST หลังจากรัฐบาลประกาศกระชับพื้นที่ราชประสงค์ ทหารพร้อมอาวุธครบมือเข้าปิดล้อมสถานที่ชุมนุม ในวันที่ 14 พฤษภาคม 2553 บ่อนไก่-พระราม 4 จึงเป็นพื้นที่สำคัญของการต่อสู้ เริ่มด้วยในตอนสาย ทหารเข้ายึดพื้นที่แยกวิทยุและบริเวณใกล้เคียง และปิดการจราจร ต่อจากนั้น ราวเที่ยงวัน สถานการณ์ตึงเครียดมากขึ้น เมื่อทหารติดอาวุธเข้าผลักดันและปะทะกับผู้ชุมนุม บนถนนพระราม 4 มาทางบ่อนไก่ พร้อมส่งหน่วยสไนเปอร์ไปอยู่ตามอาคารต่างๆ
ขณะที่ทหารได้ตั้งกำลังไว้ตามจุดต่างๆ และสาดกระสุนใส่ประชาชนเป็นระยะ คนเสื้อแดงก็พยายามสร้างเครื่องกีดขวาง เผายาง เพื่อป้องกันตัว และรบกวนปฏิบัติการของทหาร นับจากเที่ยงวันของวันที่ 14 -19 พฤษภาคม 2553 บ่อนไก่-พระราม 4 กลายเป็น “ทุ่งสังหาร” คนเสื้อแดงและประชาชนทั่วไป
“มีคนไปแจ้ง ศอฉ. ว่าที่นี่เป็นทางผ่าน ทางน้ำเลี้ยง ลำเลียงเสบียงไปราชประสงค์ จากนั้นเราก็ไม่สามารถที่จะเข้าไปได้อีก มีทหารเข้ามาปิดซอยร่วมฤดี ใครก็เข้าไม่ได้ เราไม่มีโอกาสที่จะไปช่วยพี่น้องที่ราชประสงค์แล้ว บางส่วนก็รู้สึกว่าตายเป็นตาย คิดจะไปฝ่าด่าน” นายวีรชัย ลื่นผกา เล่าสถานการณ์ให้ฟัง ในภาวะวิกฤต “เสื้อแดงบ่อนไก่” ต้องทำหน้าที่ใน 2 ฐานะ คือ “คนบ่อนไก่” และ “คนเสื้อแดง”
ในฐานะ “คนบ่อนไก่” สิ่งที่กลัวไม่ใช่คนเสื้อแดง แต่เพราะ “ชุมชนพัฒนาบ่อนไก่ ส่วนใหญ่ อย่างไรก็เลือกพรรคเพื่อไทย เป็นคนเสื้อแดง คนที่เขาไม่ชอบคนเสื้อแดง เขาก็เล็งว่า ถ้าเผาก็จะได้ไม่มีคนเสื้อแดงอีก” “มีวัยรุ่นขี่มอเตอร์ไซค์มาพร้อมกับแกลลอนน้ำมัน จะมาเผาธนาคารกรุงเทพ พวกเราและคนเสื้อแดงที่อยู่แถวนั้น ก็มาช่วยห้าม แต่จับไม่ได้ อยากรู้ว่าใครใช้ให้มาทำอย่างนั้น จะเกิดความรุนแรงขึ้นได้ เพราะเรารักสงบ เราไม่ใช้ความรุนแรง” จนยุติการชุมนุม ตามแนวถนนพระราม 4 ด้านหน้าชุมชน ไม่มีอาคารใดถูกเผาเหมือนในที่อื่นๆ
ในฐานะ “คนเสื้อแดง”
นายขวัญชัย ภูมิโคกรักษ์ เด็กหนุ่มในชุมชนอธิบายเหตุผลที่ไป “แถวหน้า” ว่า “เราเป็นเหมือนพี่น้องกัน ทำไมคนอื่นมาได้ รักในสิ่งเดียวกัน แล้วทำไมเราอยู่ตรงนี้จึงออกไปไม่ได้ ไม่ใช่เก่งอยู่แต่ในบ้าน เวลาทำจริงก็ไม่เห็นทำ ไม่ต้องถึงแนวหน้าก็ได้ ส่งข้าวส่งน้ำให้เขาหน่อย บางทีคนเขาก็เหนื่อย เขาอยากสู้ ทำไมเราจะไม่อยากสู้ละ” สำหรับสิ่งที่เกิดขึ้น นายสมพงษ์ บุญธรรม รู้สึกว่า “เสียใจมากที่รัฐบาลเฮงซวยนี้มันทำกับเสื้อแดงเหมือนเป็นผักปลา ไร้ค่า ไม่มีความหมาย เหมือนเสื้อแดงเป็นสัตว์นรกตัวหนึ่งที่มาเกิด ต้องกำจัดให้สิ้นซาก” “เพราะพวกมันไม่อยากจะให้พวกเราเจริญขึ้นมา ทุกวันนี้ พวกเรามีการศึกษาสูงขึ้นมา ปกครองยาก มันไม่อยากให้เรามีการศึกษาสูง กดหัวเราไว้ ไม่ให้รู้มาก มึงแค่นี้นะ ถ้ารู้มากมึงตาย”
รายงานชั้นนี้เขียนขึ้นมาเพื่อส่วนหนึ่งในการรำลึกเหตุการณ์ในช่วง 14-19 พฤษภาคม 2553 ที่ชุมชนบ่อนไก่ ซึ่งชาวบ้านในชุมชนจะจัดให้มีกิจกรรมการทำบุญให้ผู้เสียชีวิตในวันพรุ่งนี้ (6 มี.ค.54) สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
เสวนา “โฉนดชุมชน” ย้ำเป็น “สิทธิชุมชน” ภาคประชาชนต้องกำหนด Posted: 05 Mar 2011 06:48 AM PST พีมูฟ ร่วมคณะกรรมการปฏิรูปจัดเสวนา ‘โฉนดชุมชน’ นำนโยบายสู่การปฏิบัติ กก.คปท.เผยปัญหาหลัก ปชช.ยังถูกข่มขู่คุกคาม ย้ำอย่าหวังให้รัฐบาลจัดการให้ ชุมชนต้องจัดการเองก่อน ‘ไพโรจน์’ ยันต้องรวมรายชื่อเสนอให้ ‘โฉนดชุมชน’ เป็นกฎหมาย วันนี้ (5 มี.ค.54) ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (พีมูฟ) ร่วมกับ คณะอนุกรรมการปฏิรูปที่ดินและฐานทรัพยากร คณะกรรมการปฏิรูป โครงการพัฒนาความเป็นธรรมทางสังคมเพื่อสังคมสุขภาวะ สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดเสวนาโต๊ะกลม “นโยบายโฉนดชุมชนเพื่อความเป็นธรรม ข้อเสนอต่อการแปรหลักการสู่การปฏิบัติ” ณ ห้องจุมภฎ-พันธุ์ทิพย์ อาคารประชาธิปก-รำไพพรรณี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รศ.ศรีศักร วัลลิโภดม กรรมการปฏิรูป แสดงปาฐกถา โฉนดชุมชนกับการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่น ระบุว่า นโยบายโฉนดชุมชนถือเป็นโอกาสอันดีที่จะเกิดขึ้นมา แต่ต้องดูให้ดีว่าเป็นโฉนดของใคร เป็นโฉนดที่รัฐกำหนด หรือภาคประชาชนเป็นผู้กำหนด โครงสร้างของสังคมในอดีตทุกคนเหลื่อมล้ำกันในแบบอาวุโสพี่น้อง ระบบสังคมชาวนาแบบเดิม อยู่ในระบบอุปถัมภ์มาตลอด แต่ปัจจุบันนี้เมื่อโลกาภิวัตน์เข้ามามันเปลี่ยนไป ทั้งสองส่วนถูกครอบโดยทุนนิยมเสรี หรือทุนนิยมเดรัจฉาน กำลังเปลี่ยนสังคมเกษตรกรรมเป็นสังคมอุตสาหกรรม ชาวบ้านถูกบดขยี้โดยทุนและรัฐมาตลอด ดังเช่นกรณีปัญหาเขตแดนไทย-เขมร ต้นเหตุคือเรากำลังเสียที่ดินให้กับระบบอุตสาหกรรมไร้พรมแดน ที่ทำให้ภาวะสังคมล่มสลาย รศ.ศรีศักดิ์ กล่าวว่า แนวทางโฉนดชุมชนเป็นมิติเดียวกับการฟื้นฟูชุมชนท้องถิ่น เพราะโฉนดชุมชนเป็นเรื่องทีมีแฝงอยู่แล้วในอดีต อยู่ในพื้นที่ส่วนรวม ลำน้ำป่าเขา บ้านและเมืองจะอยู่ร่วมกัน บ้านคือตัวชุมชนตามธรรมชาติ หลายชุมชนรวมเป็นท้องถิ่น แต่เมื่อรัฐมาแบ่งชุมชนเป็นเขตปกครอง เป็นชุมชนของรัฐในภาคราชการ กระแสการพัฒนาจากข้างบนลงล่างได้ทำลายความเป็นชุมชนตามธรรมชาติไป ดังนั้นถ้าจะฟื้นสังคมท้องถิ่นต้องดูจากชุมชนธรรมชาติ ให้มีสำนึกท้องถิ่น การสร้างฐานอำนาจของชุมชนให้เข้มแข็งเพื่อต่อรอง ท้องถิ่นต้องมีการต่อรองอำนาจของรัฐ แต่ละหมู่บ้านต้องมีองค์กรที่จัดตั้งกันเอง แบบเบ็ดเสร็จ มีส่วนต่างๆ มาร่วมกันบริหาร สร้างให้เกิดพลังเพื่อต่อรองกับภาครัฐ รวมทั้งมีการแบ่งปันพื้นที่ นิเวศใดที่มีลุ่มน้ำเป็นหลักจะมีการใช้พื้นที่ร่วมกัน ด้าน ดร.กฤษฎา บุญชัย เลขานุการคณะกรรมการปฏิรูป อ้างถึงข้อสรุปการขับเคลื่อนโฉนดชุมชนจากบทเรียนของเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทยว่า ยังไม่มีการขับเคลื่อนไปสู่การปฏิบัติ นอกจากการมอบพื้นที่คลองโยงแล้ว ยังเหลืออีกกว่า 34 ชุมชนที่ผ่านการพิจารณาแล้วแต่ยังไม่ได้ส่งมอบพื้นที่ และมีอีกกว่า 100 ชุมชนที่รอการพิจารณา ผลแห่งความล่าช้านี้ได้ส่งผลกระทบให้มีคดีความฟ้องร้องขับไล่ชาวบ้านเพิ่มขึ้น เช่น ที่ชาวบ้านคอนสาร จ.ชัยภูมิที่ถูก อ.อ.ป.ฟ้อง 21 ราย ในส่วนพื้นที่พิพาทเขตป่า จ.เพชรบูรณ์ จ.ชัยภูมิ และจ.ตรัง ถูกฟ้องทางแพ่งข้อหาทำให้โลกร้อน รวม 34 ราย รวมค่าเสียหาย 12 ล้านบาท มีนายทุนสวนปาล์ม จ.สุราษฎร์ฯ ฟ้องชาวบ้าน 27 ราย มีนายทุนออกเอกสารสิทธิมิชอบฟ้องชาวบ้านที่ลำพูนและเชียงใหม่รวม 128 ราย สมนึก พุฒนวล กรรมการเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย แสดงความเห็นเรื่องการผลักดันโฉนดชุมชนของภาคประชาชนกับรัฐบาลว่า พี่น้องไม่ควรคิดหรือหวังจะให้รัฐจัดการให้เรื่องโฉนดชุมชน ชุมชนต้องจัดการเอง โดยไม่ต้องรอ หลายพื้นที่ที่เสนอเข้ามาในสำนักงานโฉนดชุมชน ยังมีหลายชุมชนที่การจัดการยังไม่สมบูรณ์ ที่ทางคณะกรรมการต้องลงตรวจสอบพื้นที่ แนวคิดและรูปธรรมเรื่องโฉนดชุมชนจริงๆ แล้วมีการจัดการมายาวนาน ไม่ใช่พึ่งมาเกิดขึ้น สมนึกกล่าวด้วยว่า ชุมชนต้องเข้าใจเรื่องโฉนดชุมชนให้ชัด ไม่ใช่ความต้องการเรื่องที่ดินอย่างเดียว ต้องให้ความสำคัญเรื่องการจัดการทรัพยากร มีการดูแลป่า รักษาป่า จัดระบบเกษตรและวิถีการผลิตที่สมดุลสอดคล้องกับพื้นที่ มีการจัดการเรื่องวัฒนธรรม สังคมและการอยู่ร่วม มีการสร้างกลไกเพื่อให้เกิดความมั่นคงที่ดิน รองรับการเปลี่ยนมือที่ดิน เช่น กองทุนธนาคารที่ดิน ที่ชุมชนจัดขึ้นเอง สมนึก ยังกล่าวถึงปัญหาหลักของชุมชนในตอนนี้ว่า คือการข่มขู่คุกคามของเจ้าหน้าที่ โดยเฉพาะในพื้นที่อุทยานฯ เข้าไปตรวจยืดพื้นที่ แจ้งความดำเนินคดีกับชาวบ้าน ทำให้ไม่สามารถทำมาหากินได้ตามปกติสุข ปัญหาคนภายในชุมชนที่ไม่เข้าใจเรื่องโฉนดชุมชน มีการยุยงคนในชุมชนให้คัดค้านเรื่องโฉนดชุมชน ไปส่งเสริมคนที่ลักลอบตัดไม้เพื่อทำลายความชอบธรรมเรื่องโฉนดชุมชน ปัญหาที่สำคัญนอกจากนี้คือ ส่วนราชการไม่สนับสนุนเรื่องการทำโฉนดชุมชน การที่จะฝ่าฟันอุปสรรคปัญหาเหล่านี้ “พี่น้องต้องเข้มแข็งและขับเคลื่อนโฉนดชุมชนที่เราคาดหวังให้เดินไปให้ได้ ทำให้โฉนดชุมชนเป็นไปตามที่เราฝัน เดินหน้าสร้างโฉนดชุมชนที่เราต้องการเพื่อนำไปสู่สังคมใหม่ที่ดีงาม สังคมน่าอยู่ มีความสุข ดีงามทั้งทางด้านสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม วิถีชีวิต การใช้สิทธิร่วมกัน อย่าไปติดกรอบโฉนดชุมชนที่เป็นระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีเพียงอย่างเดียว” สมนึกกล่าว ส่วนไพโรจน์ พลเพชร ประธาน กป.อพช. กล่าวว่า เรื่องโฉนดชุมชนไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะเป็นการเผชิญหน้ากับอำนาจรัฐ ที่เป็นเจ้าของอำนาจใจการจัดการทรัพยากรที่ดินของประเทศ และเรากำลังเผชิญกับอำนาจและกลไกตลาด ซึ่งเป็นสองอุปสรรคใหญ่มาก แต่ในหมวดชุมชนคือทางเลือกที่จะต้านทานสองอำนาจนี้ ดังนั้นความเป็นชุมชนต้องเหนียวแน่นเพียงพอ ความเป็นชุมชนต้องเข้มแข็ง ที่สำคัญคือแรงกดดันจากตลาด ทุนที่ยึดครองและเป็นทุนข้ามชาติ โฉนดชุมชนเป็นทางเลือกที่จะต้องสร้างความมั่นคงในชีวิตให้คนอยู่ได้ และให้ความมั่นคงว่าจะไม่เปลี่ยนมือ อีกทั้งสร้างความมั่นคงพื้นที่เกษตรและอาหาร รวมถึงการสร้างความมั่นคงในการจัดการทรัพยากรโฉนดชุมชนที่อยู่ในเขตอุทยานต้องรักษาทรัพยากรเพื่อสังคมโดยรวม ไพโรจน์ ได้กล่าวถึงแนวทางเดิน 4 แนวทางคือ 1.การผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกฎหมายและระเบียบซึ่งเป็นข้อจำกัด ทำอย่างไรจะโอนที่ดินให้มาอยู่ในหน่วยงานรัฐก่อนเพื่อขอใช้ประโยชน์แล้วจึงให้ชุมชนต่อ โดยกดดันให้สำนักนายกฯ ขอใช้พื้นที่ทั้งหมดให้อยู่ในความดูแลก่อน 2.องค์กรชุมชนต้องผนึกกำลังกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อดูแลบริหารจัดการ เพื่อให้มีพลังเพียงพอในการต่อรอง 3.การพัฒนาโฉนดชุมชนเป็นกฎหมาย ซึ่งหากให้รัฐบาลทำก็อาจจะไม่คืบหน้า ดังนั้นทางเลือกก็คือรวบรวม 10,000 รายชื่อ เสนอกฎหมายเอง แม้บางคนกลัวว่าจะซ้ำรอยกฎหมายป่าชุมชน แต่ก็ยังยืนยันว่าจำเป็นต้องทำ เพราะเวลาเสนอกฎหมายต้องต่อสู้กันทางความคิด อยู่ที่ดุลกำลังและความรู้ และ 4.อาศัยกลไกที่มีอยู่ในการแก้ไขปัญหาร่วมกันกับรัฐบาล กันยา ปันกิตติ แกนนำชาวบ้านเครือข่ายปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัด กล่าวว่า ความเข้าใจของคนในสังคมรวมถึงคนที่ทำงานด้านป่าไม้ต่อนโยบายโฉนดชุมชนเห็นว่าเป็นเครื่องมือในการหาเสียงของรัฐบาล ไม่ใช่การแก้ไขปัญหาของชาวบ้าน แต่เราผู้เดือดร้อน เราเจ้าของปัญหา ต้องออกมาแสดงตัวตนว่า เราไม่เกี่ยวข้องว่ารัฐบาลจะหาเสียงหรือไม่ โฉนดชุมชนเป็นเรื่องที่ภาคประชาชนเป็นผู้เสนอขึ้นไป การผลักดันต้องให้พี่น้องประชาชนเจ้าของปัญหาเป็นคนพูด เพราะถ้าให้คนอื่นไปพูดเขาก็จะไม่เชื่อ นักการเมืองพูดเขาก็ไม่เชื่อ คิดว่าเป็นการหาเสียง อยากให้แยกว่าโฉนดชุมชนที่พี่น้องทำอยู่เป็นคนละอันกับโฉนดชุมชนของรัฐบาล เจตนารมณ์เรื่องโฉนดชุมชนต้องไม่ให้แยกขาดจากเรื่องของสิทธิชุมชน สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
สัมมนาสาธารณะ: เปิดเขื่อนปากมูล-น้ำแห้งจริงหรือ? Posted: 05 Mar 2011 05:36 AM PST “นิธิ” จวกแม่น้ำไม่ใช่ท่อพีวีซี เปิด “เขื่อนปากมูล” แล้วน้ำจะแห้ง แค่ข้ออ้างใหม่ ชี้นักการเมืองไม่กล้าเปิดเขื่อน เป็นผลจากการเมืองท้องถิ่นมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจทางนโยบาย ด้านเอ็นจีโอชี้แก้ปัญหาฤดูน้ำแล้งต้องดูการบริหารจัดการน้ำในลุ่มน้ำมูล-ชี ทั้งระบบ วันที่ 4 มี.ค.54 เมื่อเวลา 9.00 น.ศูนย์ศึกษาพัฒนาสังคม คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับกองทุนเพื่อสืบสานเจตนารมณ์ วนิดา ตันติวิทยาพิทักษ์ เปิดเวทีสัมมนาสาธารณะ “เปิดเขื่อนปากมูล น้ำแห้งจริงหรือ? การปะทะที่ท้าทาย ระหว่างความรู้ทางวิชาการกับการเมือง และผลประโยชน์ของนักสร้างเขื่อน” ที่ห้องมาลัยหุวนันท์ รัฐศาสตร์ จุฬาฯ สืบเนื่องจากกรณีที่ชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบจากเขื่อนปากมูล 60 หมู่บ้าน ได้เดินทางมาชุมนุมที่บริเวณพระบรมรูปทรงม้า เป็นเวลากว่า 2 สัปดาห์ หลังจากที่ได้รวมตัวกันชุมชนหน้าศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานีมาเกือบ 1 เดือน โดยมีข้อเรียกร้องให้มีการเปิดเขื่อนปากมูลตลอดปีตามผลการศึกษาของนักวิชาการก่อนหน้านี้ ซึ่งได้ยื่นต่อรัฐบาลแล้ว แต่ข้อเรียกร้องดังกล่าวยังถูกคัดค้านและตั้งคำถามจาก นายอิสสระ สมชัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในกรณีที่หากมีการเปิดเขื่อนปากมูลจะทำให้คนในลุ่มน้ำไม่มีน้ำใช้เพราะไหลลงน้ำโขงหมด ทั้งนี้ กรณีเขื่อนปากมูลจะมีการนำเข้าสู่การพิจารณาของ ครม.อีกครั้งในวันที่ 8 มี.ค.นี้ ชี้ “เปิดเขื่อนปากมูล” เอี่ยวการเมือง 3 ระดับ ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ ล่าวว่า กรณีของเขื่อนปากมูลเป็นกรณีแรกๆ ทางสังคมที่ประชาชนระดับล่างลุกขึ้นมาเรียกร้อง ประชาชนระดับเล็กๆ ในทัศนะของรัฐไทยคือผู้ไม่มีตัวตน ไม่มีหน้าตา ดังนั้น การเคลื่อนไหวทางสังคมของเขื่อนปากมูลเป็นเรื่องของการเคลื่อนไหวของประชาชนระดับล่างในประเด็นสาธารณะ ที่สืบเนื่องมาจากความจำเป็นต้องลุกขึ้นมาท้าทายอำนาจรัฐและใช้ทุกอย่างที่มีเพื่อเรียกร้องให้ตนเองมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายสาธารณะ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงที่น่าสนใจ และเป็นการเปลี่ยนแปลงในระดับรากฐานของสังคมไทย ศ.ดร.นิธิ ได้ตั้งข้อสังเกตต่อกรณีการเปิดเขื่อนปากมูลในขณะนี้ว่า มีการกำหนดข้อถกถียงใหม่ขึ้นมา โดยในอดีต ข้อถกเถียงเรื่องเขื่อนปากมูลจะอ้างอิงถึงเรื่องความมั่นคงด้านไฟฟ้าเพื่อประกันเสถียรภาพด้านพลังงานในอีสานใต้และข้อถกถียงเรื่องปลาต่างๆ จากผลของการศึกษา 7 ครั้งก็มีผลสรุปชัดเจนว่าคณะอนุฯ เสนอให้รัฐเปิดเขื่อนถาวร ซึ่งน่าสนใจว่า ข้อถกเถียงเหล่านี้ไม่มีปรากฏในการอ้างของรัฐบาล แต่มีการกำหนดข้อโต้แย้งใหม่ขึ้นมาคือ หากเปิดเขื่อนถาวรจะทำให้น้ำแห้ง โดยอธิบายบนฐานคิดของการมองว่าน้ำในแม่น้ำไหลเหมือนท่อ PVC แต่แม่น้ำมีการกักเก็บน้ำตามธรรมชาติหลากหลายแบบ ทั้งความลาดชันและแก้มลิงธรรมชาติ ซึ่งข้อโต้แย้งนี้จะกำลังเป็นข้ออ้างอันใหม่ที่จะมีการใช้ต่อไป ศ.ดร.นิธิ ได้ขยายคำอธิบายว่าทำไมกรณีของเขื่อนปากมูลจึงประสบความสำเร็จยาก โดยมองว่าปรากฏการณ์นี้มีการเมืองอยู่ 3 ระดับคือ ระดับที่ 1 ความสัมพันธ์ของการเมืองระดับท้องถิ่นและการเมืองระดับชาติ ผลชี้วัดของการเลือกตั้งผู้แทนเกิดขึ้นได้จากความสัมพันธ์ของนักการเมืองและเครือข่ายหัวคะแนนในพื้นที่ โดยนัยหนึ่งเครือข่ายหัวคะแนนจึงเป็นผู้มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจทางนโยบายให้แก่ ส.ส.ที่ขึ้นไปเป็นรัฐมนตรี ดังนั้น การคัดค้านเขื่อนปากมูลจึงต้องดูว่า การเปิด-ปิดเขื่อนส่งผลได้ผลเสียให้กลุ่มหัวคะแนนกลุ่มไหน อย่างไร ผลประโยชน์ส่วนนี้จึงเป็นส่วนของผลกระทบของการเมืองระดับท้องถิ่นที่มีต่อการกำหนดนโยบายสาธารณะ ระดับที่ 2 กระบวนการตัดสินใจระดับนโยบายสาธารณะของไทยมีการจัดช่วงชั้นทางสังคมไว้อย่างแน่นหนา เรื่องพลังงานจึงเป็นเรื่องของข้าราชการ กฟผ.และกระทรวงพลังงาน ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่คิดว่าตัวเองเป็นผู้เชียวชาญเฉพาะด้านและสามารถกำหนดนโยบาย ประกอบกับลักษณะทางสังคมไทยที่ลึกๆ มีความเชื่อคนไม่เท่ากัน ส่งผลคนเหล่านี้มีสิทธิในการตัดสินใจมากกว่าคนอื่น โดยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้มักจะอ้างว่า หนึ่งกูเก่ง สองกูทำดีเสมอ กระบวนการช่วงชั้นและการตัดสินใจบีบบังคับให้การเกิดขั้นตอนต่อมายากมาก โดยเหตุผลหลักอยู่ที่วัฒนธรรมทางการเมืองและสังคมของเราเอง ระดับที่ 3 รัฐยังสนองทุนเหมือนที่ผ่านมา แม้ว่าสังคมได้เปลี่ยนไปแล้ว สิ่งที่น่าวิตกคือการเกิดเหตุการณ์รุนแรงแบบราชประสงค์ เพราะรัฐหรือชนชั้นนำของรัฐไม่เรียนรู้ที่จะปรับตัวต่อสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลง ในสมัยหนึ่งคนทำนาเลี้ยงตัวเองอย่างเดียว รัฐบาลทำอะไรก็เรื่องของรัฐบาล แต่สมัยนี้รายได้หลักของคนไม่ได้มาจากภาคเกษตรอย่างเดียวแต่มีการหารายได้ข้างนอก เช่น เปิดร้านก๋วยเตี๋ยว นโยบายรัฐขึ้นราคาหมูกระทบโดยตรงกับหม้อก๋วยเตี๋ยว ดังนั้นเป็นไปไม่ได้ที่จะเลี่ยงการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในระดับนโยบายสาธารณะ ศ.ดร.นิธิ กล่าวต่อมาถึงพลังการต่อสู่ของขบวนการประชาชนอย่างสมัชชาคนจนที่หายไปก่อนหน้านี้ว่า คำตอบคือ เพราะชาวบ้านไม่มีเครื่องมือในการต่อสู้ ชาวบ้านไม่มีพรรคการเมืองสำหรับชาวบ้านระดับล่าง ไม่มีสื่อที่จะตามไปรายงาน ติดตามปัญหาร่วมกับชาวบ้าน ตอนนี้มีคนเสื้อเหลืองมาชุมนุมในบริเวณเดียวกันซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มีจำนวนน้อยที่สุด แต่ว่าคนกรุงเทพฯ รู้ข้อมูลของเสื้อเหลืองมากกว่าเรื่องปัญหาของชาวบ้านเสียอีก นอกจากนั้นยังทิ้งท้ายคำถามถึง พัฒนาการจัดองค์กรของชาวบ้านเพื่อสร้างพลังในการบังคับให้รัฐหันมาฟังเสียงของชาวบ้านบ้าง ย้ำ “เขื่อนปากมูล” ไม่มีประโยชน์ด้านการผลิตไฟ ด้าน นายวิฑูรย์ เพิ่มพงศาเจริญ ประธานมูลนิธิฟื้นฟูชีวิตและธรรมชาติ กล่าวให้ข้อมูลว่า เขื่อนปากมูลเกิดขึ้นโดยการสนับสนุนของธนาคารโลก สมัยรัฐบาลพล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ หลังจากโครงการเขื่อนน้ำโจนถูกชะลอไป เพราะพื้นที่ก่อสร้างเขื่อนปากมูลไม่มีพื้นที่ป่า แต่ละเลยประเด็นสำคัญว่าพื้นที่นี้เป็นพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยปลา แม้จะมีการสร้างบันไดปลาโจนแต่ก็ไม่เหมาะสมกับพันธ์ปลาในลุ่มแม่น้ำโขงและแม่น้ำมูล และที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่าเขื่อนปากมูลส่งผลกระทบต่อชุมชนในวงกว้างหลายครอบครัวและปัญหานี้ยังไม่ได้รับการแก้ไข อย่างไรก็ตามการแก้ปัญหาเขื่อนปากมูลไม่จำเป็นต้องทุบเขื่อนทิ้งแต่สามารถใช้วิธีเปิดประตูเขื่อนได้ นายวิฑูรย์ ยังได้ อ้างถึงรายงาน ของคณะกรรมการเขื่อนโลก ( The World Commission on Dams: WCD ) ที่ระบุว่า เดิมเขื่อนปากมูลมีการคาดการงบประมาณการก่อสร้างไว้ที่ 3.8 ล้านบาท แต่ท้ายที่สุดใช้งบไปกว่า 6.6 พันล้านบาท โดย 91 เปอร์เซ็น เป็นงบบานปลาย อีกทั้ง การพยากรณ์กำลังไฟฟ้าที่เขื่อนสามารถผลิตได้ต่ำกว่าที่ กฟผ.อ้างถึงมาก คือจากแผนเป็น 136 MW แต่กำลังผลิตโดยเฉลี่ยมีเพียง 21 MW เขื่อนปากมูลจึงสามารถผลิตไฟฟ้าได้ประมาณ 160 ล้านหน่วย ต่ำกว่าที่การศึกษาระบุก่อนสร้างว่าต้องผลิตได้ประมาณ 280 ล้านหน่วย นอกจากนี้ ในรอบ 1 ปี เขื่อนปากมูลแทบไม่สามารถผลิตไฟฟ้าเพื่อตอบสนองความต้องการช่วงที่ประเทศต้องการไฟฟ้าสูงสุดโดยเฉพาะในเดือน ม.ค. – เม.ย.หรือในช่วงหน้าแล้ง นายวิฑูรย์ กล่าวด้วยว่า ในระยะ 2 ปีที่ผ่านมา ไทยซื้อไฟฟ้าจากลาว โดยเฉพาะจากเขื่อนน้ำเทิน 2 เข้ามาถึง 1300 MW สะท้อนว่าไม่จำเป็นต้องกลัวว่าจะมีไฟขาด โดยภาคอีสานสามารถใช้ไฟฟ้าจากเขื่อนน้ำเทิน+น้ำงึมก็เพียงพอแล้วคำถามสำคัญคือกำลังการผลิตไฟฟ้านั้น เขื่อนถูกสร้างและผลิตไฟฟ้าขึ้นเพื่อใคร ซึ่งสุดท้ายได้นำมาสู่การสร้างความไม่ยุติธรรมในสังคมที่ชาวบ้านหลายร้อยหมู่บ้านต้องเสียสละไฟฟ้าเพื่อตอบสนองความต้องการใช้ไฟฟ้าของคนในเมือง แจง 3 คำถาม เปิดเขื่อนแล้วน้ำแห้ง? ส่วนนายมนตรี จันทวงศ์ ผู้ประสานงานมูลนิธิฟื้นฟูชีวิตและธรรมชาตินำเสนอข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อตอบโจทย์ “เปิดเขื่อนปากมูลแล้วจะทำให้น้ำแห้งจริงหรือ?” โดยชี้แจงว่า สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนหลังจากการเปิดเขื่อนคือน้ำเขื่อนจะแห้ง แต่น้ำมูนจะไม่ได้แห้ง เพราะแม่น้ำมูนยังมีเกาะแก่ง ดอนที่ช่วยกักเก็บน้ำตามธรรมชาติ นายมนตรีได้ขยายการอธิบายเพิ่มเติมภายใต้คำถามหลัก 3 ข้อ คือคำถามแรก ระดับแม่น้ำมูลและแม่น้ำโขงที่โขงเจียมสัมพันธ์กันอย่างไร โดยเฉพาะในฤดูร้อน? แท้จริงแล้วระยะของแม่น้ำที่แม่น้ำโขงและแม่น้ำมูลจะสัมพันธ์กันในฤดูแล้งนั้นมีเพียง 6 กิโลเมตร โดยระดับแม่น้ำมูลจะถูกควบคุมโดยแก่งตะนะ ซึ่งเป็นเสมือนฝายธรรมชาติ ที่คุมน้ำที่ปล่อยมาจากเขื่อนทั้งหมดก่อนลงสู่แม่น้ำโขง ทั้งในกรณีที่ปิดและเปิดเขื่อน ในบางปีช่วงฤดูฝน หน่วยงานรัฐจะต้องเอาเครื่องสูบน้ำไปสูบน้ำในแก่งตะนะเพื่อระบายน้ำออกไม่ให้น้ำท่วม ในปี 2545 เป็นช่วงที่มีการทดลองการเปิดเขื่อนตลอดทั้งปี ปรากฏว่าน้ำไม่ได้แห้งที่จังหวัดอุบลและยังพบว่าปริมาณน้ำโดยเฉลี่ยของแม่น้ำมูลสูงกว่าค่าเฉลี่ยก่อนการสร้างเขื่อน จากข้อมูลระดับน้ำที่โขงเจียม วันที่ 7 ก.พ.2553 อยู่ที่ 1.75 ม.รทก. ระดับน้ำมูลท้ายเขื่อนปากมูลอยู่ที่ 92.45 ม.รทก. ตรงนี้สะท้อนให้เห็นว่าระดับน้ำมูลไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปตามการเปลี่ยนแปลงของน้ำโขงไปทั้งหมด ระดับความลึกของแม่น้ำโขงที่โขงเจียมประมาณ 30 – 40 เมตร หากไม่มีแก่งตะนะขวางอยู่น้ำที่ไหลมาจากเขื่อนปากมูลก็จะไหลลงแม่น้ำโขงหมด ทั้งนี้ สัดส่วนของแม่น้ำโขงที่โขงเจียม 40 เปอร์เซ็นต์เป็นนำที่มาจากจีนและที่เหลือมาจากลาว ส่วนไทยแทบไม่มีน้ำไหลมาลงแม่น้ำโขง นายมนตรี กล่าวถึงคำถามที่สองคือ การเปิดเขื่อนปากมูลจะช่วยส่งผลต่อระดับน้ำมูลอย่างไร? ว่า หากเปิดเขื่อนน้ำที่จะหายไปคือน้ำเขื่อน น้ำที่จะเหลืออยู่คือน้ำมูลตามธรรมชาติ ปัจจุบันแม่น้ำมูลในจังหวัดอุบลมีแก่งสะพือช่วยคุมน้ำอยู่ตามธรรมชาติ เปรียบเหมือนแก้มลิงของแม่น้ำมูลซึ่งจะรักษาแม่น้ำมูลไปจนถึง จ.อุบลราชธานี สุดท้ายคุณมนตรีตั้งคำถามถึงปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งผลต่อการไหลของแม่น้ำมูลที่ จ.อุบลว่า จากข้อมูลที่มีการรวบรวมไว้มากมายในอดีต สะท้อนให้เห็นด้วยว่าระดับน้ำมูลที่จังหวัดอุบลไม่ได้ขึ้นกับเขื่อนปากมูลเท่านั้น แต่ขึ้นกับการบริหารจัดการน้ำในเขื่อนตอนบนในลุ่มน้ำมูล-ชีด้วยเช่นกัน โดยเมื่อต้นเดือนมีนาคม มีการรายงานข่าวว่าบางช่วงของแม่น้ำมูลแล้งจัด ซึ่งหากพิจารณาให้ดีแล้วระดับน้ำในหน้าแล้งจะแห้งเท่าไหร่นั้น สัมพันธ์กับการเปิด-ปิดน้ำจากเขื่อนส่วนบน ซึ่งในกรณีนี้เกิดจากการปิดประตูน้ำของเขื่อนราศีไศล หากช่วงเขื่อนตอนบนกักเก็บน้ำไว้ก็จะส่งผลทำให้น้ำมูลตอนล่างแห้งแน่นอน เพราะโดยปกติในฤดูแล้วน้ำน้อยอยู่แล้ว ดังนั้น อัตราการไหลของแม่น้ำมูลที่จังหวัดอุบลในฤดูแล้งต้องอาศัยการบูรณาการบริหารจัดการน้ำทั้งระบบของเขื่อนและอ่างเก็บน้ำในลุ่มน้ำมูล-ชี สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
สนนท.-แนวร่วมเตรียมอภิปรายนอกสภาถกปัญหา ศก. เย็นนี้ที่วงเวียนใหญ่ Posted: 05 Mar 2011 12:33 AM PST สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) และองค์กรแนวร่วม เตรียมจัดเวทีปราศรัยให้ข้อมูลและเรียกร้องข้อเสนอด้านเศรษฐกิจ ต่อรัฐบาล บริเวณอนุสาวรีย์วงเวียนใหญ่ เขตธนบุรี วันนี้ (5 มี.ค.54) เวลา 16.00 น. โดยมีข้อเสนอรัฐบาลให้ลดภาษีน้ำมัน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เก็บภาษีในอัตราก้าวหน้า เก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง และภาษีมรดก ตามที่นายกรณ์ จาติกวาณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เคยใช้ในการหาเสียงก่อนที่จะได้เป็นรัฐบาล และรื้อฟื้น กองทุน กรอ. หรือ กองทุนเงินให้กู้ยืม เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนเข้าถึงการศึกษาด้วย
แถลงการณ์ข้อเสนอด้านเศรษฐกิจต่อรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เนื่องจากในปัจจุบัน สถานการณ์เศรษฐกิจของชาติอยู่ในสภาวะที่ไม่มั่นคง การบริหารประเทศเป็นไปอย่างไร้ประสิทธิภาพ - ประชาชนควรจะได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจ สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย หรือ สนนท. และองค์กรแนวร่วม จึงได้จัดเวทีปราศรัยให้ข้อมูลและเรียกร้องข้อเสนอด้านเศรษฐกิจ ต่อรัฐบาลปัจจุบัน บริเวณอนุสาวรีย์วงเวียนใหญ่ เขตธนบุรี เวลา 16.00 น. ของวันที่ 5 มีนาคม ศกนี้ ขอเชิญพี่น้องประชาชน ร่วมฟังการอภิปรายนอกสภาโดยพร้อมเพรียงกัน ทั้งนี้ สนนท. และองค์กรแนวร่วม จะอภิปรายและมีข้อเสนอต่อรัฐบาลดังต่อไปนี้ ดังนั้น เพื่อลดภาระของประชาชนและเอกชน ในการแบกรับภาษีสรรพสามิตน้ำมัน ซึ่งเป็นปัจจัยในการผลิตที่สำคัญของเศรษฐกิจภาคประชาชน และเอกชน - คณะรัฐมนตรีจะต้องลดภาษีสรรพสามิตน้ำมัน จาก 7 บาทต่อลิตร เป็น 5 บาทต่อลิตร เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจทางอ้อมในภาคประชาชน โดยเร็ว 2. ผลของการสูญเสียรายได้ของรัฐ ประมาณ 3.6 หมื่นล้านบาทต่อปี จากการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมัน นั้น รัฐบาลควรหันไปเพิ่มภาระให้กับกลุ่มนายทุน และชนชั้นสูง แทนที่จะเป็นประชาชนทั่วไป นั่นคือ รัฐบาลจะต้องมีการเก็บภาษีในอัตราก้าวหน้า เก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง และภาษีมรดก อย่างที่นายกรณ์ จาติกวาณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เคยใช้ในการหาเสียงกับประชาชนก่อนที่จะได้เป็นรัฐบาล การชดเชยจากภาษีในส่วนดังกล่าว จะทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศไม่ต้องแบกรับภาระภาษี ในสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำเช่นนี้ อีกต่อไป และส่วนต่างของภาษี รัฐบาลสามารถนำไปพัฒนาเป็นสวัสดิการพื้นฐานของประชาชนได้อีกหลายประการ
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
Posted: 05 Mar 2011 12:17 AM PST
แม่จ๋า..ลูกขอลาเข้าเมืองหลวง แผ่นดินภายใต้บัญชาการ ทุกๆ วันจึงเห็นเช่นฝันร้าย ครอบครองไปทั่วทุกระแหง จึงโดนบังคับและขับไล่ มืดมนอับจนซึ่งหนทาง แม่จ๋า..เช็ดน้ำตาอย่าให้ไหล ยุติธรรมแห่งสิทธิอันชอบธรรม แม่จ๋า..ลูกขอลาเข้าเมืองหลวง แด่การ..ปักหลักชุมนุมหน้าลานพระบรมรูปฯขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
กวีประชาไท: จุดจบของโลกใกล้เข้ามา Posted: 04 Mar 2011 11:23 PM PST ธรรมชาติโหดร้ายทำลายโลก สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
You are subscribed to email updates from ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์ To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น