โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันอาทิตย์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2554

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์

นักข่าวพลเมือง: คดีปล้นปืนฐานพระองค์ดำพ่นพิษ ผู้ต้องสงสัยโวยถูกทหารซ้อม

Posted: 20 Mar 2011 09:42 AM PDT

ญาติโวยผู้ต้องสงสัยคดีปล้นปืนฐานพระองค์ดำถูกซ้อม บังคับให้รับสารภาพ ศูนย์ทนายความมุสลิมออกโรง นำตัวส่งโรงพยาบาลยะลา พบบาดแผลทั่วทั้งตัว เจ้าตัวเล่าเป็นฉากๆ เจอทรมานสารพัด ทั้งเตะต่อยทุบตีจับหัวกดน้ำ


ซ้อม – ผลการตรวจร่างกายผู้ต้องสงสัยคดีปล้นปืนฐานพระองค์ดำ ที่ระบุถูกทหารซ้อม

รายงานข่าวจากศูนย์ทนายความมุสลิม จังหวัดนราธิวาสแจ้งว่า เมื่อวันที่10 กุมภาพันธ์ 2554 ญาติของนายเอ (นามสมมติ) ชาวบ้านกูจิงลือปะ หมู่ที่ 4 ตำบลเฉลิม อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส ได้เข้าร้องเรียนต่อมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม จังหวัดนราธิวาส ให้เข้าไปตรวจสอบกรณีนายเอ ผู้ต้องสงสัยร่วมปล้นปืนฐานปฏิบัติการณ์พระองค์ดำ ริมถนนสายมะรือโบตก–รือเสาะ บ้านมะรือโบตก หมู่ที่ 1 ตำบลมะรือโบตก อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2554 ถูกเจ้าหน้าที่ทหารใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2554 นำตัวไปควบคุมที่หน่วยเฉพาะกิจนราธิวาส  38 อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส

ต่อมา วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2554 มูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม จังหวัดนราธิวาส พร้อมกับนายอับดุลอาซิ ตาเดอินทร์ ประธานฝ่ายสิทธิมนุษยชน สมาคมยุวมุสลิมแห่งประเทศไทย ได้เดินทางไปเข้าเยี่ยมนายเอที่ศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศชต.) อำเภอเมือง จังหวัดยะลา พบว่านายเอมีร่องรอยบาดแผลจากการถูกทำร้ายร่างกาย เป็นรอยแผลถลอกที่ข้อมือทั้งสองข้าง คล้ายถูกกรีดด้วยมีดยาวกว่า 2 นิ้วครึ่ง พร้อมกับมีรอยฟกช้ำที่ก้นทั้งสองข้าง มีอาการแน่นหน้าอก และปวดท้องน้อยตลอดเวลา เมื่อกลืนน้ำลายจะมีอาการเจ็บคอ

นายอับดุลอาซิ จึงขออนุญาตพล.ต.ท.ไพฑูรย์ ชูชัยยะ ผู้บัญชาการศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ผบ.ศชต.) นำตัวนายเอไปตรวจร่างกายที่โรงพยาบาลศูนย์ยะลา ผลการตรวจร่างกายจากนายแพทย์ของโรงพยาบาลศูนย์ยะลาพบว่า นายเอมีบาดแผลถลอกบริเวณหน้าท้อง ก้นกบ ข้อมือด้านนอกทั้ง 2 ข้าง เจ็บบริเวณหัวหน่าว ลำคอด้านซ้าย จากนั้นตำรวจได้นำตัวนายเอกลับไปควบคุมตัวที่ศูนย์ปฏิบัติการตำรวจชายแดนภาคใต้ตามเดิม

ทั้งนี้ ขณะที่ถูกทหารนำมาตั้งแต่วันที่ 30 มกราคม 2554 ที่หน่วยเฉพาะกิจ 38 จังหวัดนราธิวาส ทหารไม่อนุญาตให้ญาติเข้าเยี่ยม จนวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2554 ทางฝ่ายทหารจึงได้ส่งตัวนายเอไปควบคุมตัวที่ศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ และเป็นวันแรกที่ญาติได้เข้าเยี่ยม ขณะถูกควบคุมตัวที่ศูนย์ปฏิบัติการตำรวจชายแดนภาคใต้ นายเอเล่าว่าถูกซ้อมทรมานจากทหารเพื่อให้รับสารภาพอย่างหนัก ด้วยการทำร้ายร่างกายในระหว่างสอบสวนด้วยการบีบคอ จนหายใจไม่ออก

จากนั้น วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2554 ทางศูนย์ปฏิบัติการตำรวจชายแดนภาคใต้ ได้ส่งตัวนายเอไปยังกรมทหารพรานที่ 46 ตำบลกะลุวอเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส ญาติได้ตามไปเยี่ยมที่กรมทหารพรานที่46 แต่ทางทหารแจ้งว่า ส่งตัวนายเอไปที่หน่วยเฉพาะกิจนราธิวาส 38

ต่อมาวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2554 ญาติได้เดินทางไปเยี่ยมที่หน่วยเฉพาะกิจนราธิวาส 38 แต่เจ้าหน้าที่ทหารไม่อนุญาตให้เยี่ยม อ้างว่าอยู่ระหว่างการสอบสวน ไม่สามารถให้เยี่ยมได้ พร้อมกับบอกกับญาติด้วยว่า นายเอให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ไม่ต้องเป็นห่วงทหารดูแลนายเออย่างดี

ระหว่างวันที่ 5–6 กุมภาพันธ์ 2554 ญาติพยายามติดต่อขอเยี่ยมทุกวัน แต่ฝ่ายทหารยังคงไม่อนุญาตให้เข้าเยี่ยม จนถึงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2554 เจ้าหน้าที่ทหารหน่วยเฉพาะกิจนราธิวาส 38 ได้บอกกับญาติว่า ส่งตัวนายเอไปยังศูนย์ปฏิบัติการตำรวจชายแดนภาคใต้แล้ว ตั้งแต่วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2554 ญาติจึงเดินทางไปที่ศูนย์ปฏิบัติการตำรวจชายแดนภาคใต้ และได้รับอนุญาตให้เข้าเยี่ยมในที่สุด

จากการเข้าเยี่ยมเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2554 ญาติพบว่า ที่ข้อมือทั้งสองข้างของนายเอมีรอยช้ำคล้ายถูกรัดด้วยเชือก และบริเวณหน้าท้องมีรอยแผลยาวกว่า 3 นิ้ว คล้ายถูกมีดกรีด จากนั้นนำตัวไปที่เนินเขาไอบาตูบาบี หลังหมู่บ้านกูจิงลือปะ มัดข้อมือทั้งสองข้าง จับหัวกดหัวให้จมน้ำในลำธาร พร้อมกับถีบเตะ นำไม้ตีตามลำตัวจนสลบ พอฟื้นขึ้นมาก็ถูกซ้อมอีก จนเกิดรอยแผลรอยฟกช้ำปวดระบมไปทั้งตัว

ขณะนี้นายเอได้รับการปล่อยตัวหลังจากสอบสวนแล้วไม่พบความผิด แต่ไม่ได้เข้าแจ้งความกล่าวโทษเจ้าหน้าที่ทหารผู้ซ้อมทรมานตัวเอง เนื่องจากเกรงจะไม่ได้รับความปลอดภัย

สำหรับเหตุการณ์คนร้ายปล้นปืนฐานปฏิบัติการณ์พระองค์ดำ สังกัด ร้อย ร.15121 หน่วยเฉพาะกิจนราธิวาส 38 เมื่อคืนวันที่ 19 มกราคม 2554 มีทหารเสียชีวิต 4 นาย ได้รับบาดเจ็บ 13 นาย ต่อมาเจ้าหน้าที่ทหารได้ออกปฏิบัติการปิดล้อมตรวจค้นหลายจุด และควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยไปสอบปากคำ โดยใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติกฎอัยการศึกอีกหลายสิบคน

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ชาวบ้านประท้วงย้ายทหารรือเสาะ

Posted: 20 Mar 2011 09:26 AM PDT

ชาวบ้านชุมนุมประท้วงคำสั่งย้ายกองกำลังทหารออกจากพื้นที่รือเสาะ หวั่นถูกโจรใต้รังแก

วันนี้ (20 มี.ค.) นายธนน เวชกรกานนท์ ผวจ.นราธิวาส ได้เดินทางไปพบตัวแทนชาวบ้านกว่า 300 คน ที่ชุมนุมเรียกร้องที่วัดราษฎร์สโมสร เขตเทศบาลตำบลรือเสาะ อ.รือเสาะ เพื่อให้ระงับการโยกย้ายกำลังทหารไปปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่อ.ศรีสาคร จ.นราธิวาส โดยนายธนน ได้เข้าเจรจาและรับหนังสือเรียกร้องจากกับตัวแทนชาวบ้าน และประสานไปยัง พล.อ.ประยุทธ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. และผู้ที่เกี่ยวข้อง พร้อมรับปากกับว่า จะได้รับคำตอบภายใน วันที่ 21 มี.ค. เวลา 17.00 น. ทำให้ชาวบ้านพอใจและยุติชุมนุม แต่หากว่าได้รับคำตอบไม่เป็นที่น่าพอใจ จะมารวมตัวกันชุมนุมประท้วงอีกครั้ง จนกว่ากองทัพและผู้ที่เกี่ยวข้อง จะตอบสนองข้อเรียกร้อง หรือมีทางออกที่ดี เพื่อให้ชาวบ้านรู้สึกปลอดภัยในการดำรงชีวิต

ด้านนายไพบูลย์ วราหะไพฑูรย์ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ด้านสิทธิในกระบวนการยุติธรรม ในฐานะรองประธานคณะอนุกรรมการปฏิบัติการยุทธศาสตร์ ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ กล่าวว่า ที่ผ่านมากสม.เคยมีมติเสนอมาตรการการแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้กับรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่วันที่15 ก.ย.53 และมีระยะเวลารายงานผลการดำเนินการต่อกสม.ในภาพรวมภายใน 180 วัน ขณะที่ตั้งแต่ปี 50-53 มีประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ร้องเรียนเรื่องสิทธิมนุษยชนมาที่กสม. รวม 34 เรื่อง โดยกล่าวหาทหารและตำรวจกระทำทรมาน และลงโทษอื่น ๆ ที่ไร้มนุษยธรรมต่อผู้ต้องสงสัยเกี่ยวข้องกับความไม่สงบ

นายไพบูลย์ กล่าวด้วยว่า ในช่วงปลายเดือนมี.ค.นี้ คณะอนุกรรมการฯจะลงพื้นที่ไปศึกษาการถูกละเมิดสิทธิ โดยเฉพาะภาครัฐควรยกเลิกศูนย์เสริมสร้างความสมานฉันท์ที่อยู่ในค่ายทหาร และควรมอบให้ฝ่ายพลเรือนเข้าไปดูแลแทน รวมทั้งควรยกเลิกใช้กฎหมายพิเศษทั้ง 3 ฉบับ เช่น กฎอัยการศึก พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ และพ.ร.ก.ฉุกเฉิน เพราะไม่ได้ช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้น และควรนำกฎหมายปกติมาบังคับใช้แทน

.......
ที่มา:  เว็บไซต์เดลินิวส์

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

"บุญยืน สุขใหม่" ปริทัศน์หนังสือ “ค่าจ้าง แรงงาน และเงินทุน”

Posted: 20 Mar 2011 09:08 AM PDT

กว่าห้าทศวรรษที่ประเทศไทยหันมาสนับสนุนการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมแทนสังคมเกษตรกรรมดั้งเดิมซึ่งเป็นอาชีพของบรรพบุรุษในอดีตจนเกือบจะไม่มีให้เห็นอีกแล้ว ซึ่งนับวันมีแต่จะน้อยลงเรื่อยๆ การก้าวเข้าสู้ระบบอุตสาหกรรมของประเทศไทยนั้นในเบื้องต้นเป็นไปเพื่อทดแทนการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศเท่านั้น แต่ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาในเทคโนโลยีในภาคอุตสาหกรรมและมีการส่งเสริมการลงทุนและส่งออก จนถือได้ว่าประเทศไทยได้เป็นประเทศที่รายได้หลักมาจากการส่งออกของสินค้าจากภาคอุตสาหกรรม หรืออีกนัยยะหนึ่ง คือ ประเทศไทยของเราได้ก้าวเข้าสู่ประเทศอุตสาหกรรมอย่างเต็มตัวแล้วนั่นเอง

แต่ในขณะเดียวกันถ้าเราหันกลับมามองโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ที่มีอยู่ในประเทศไทย มากกว่า ๘๐% เป็นการลงทุนจากการนำเข้าทุนจากต่างประเทศเกือบทั้งสิ้น โดยที่นายทุนจากต่างประเทศที่มาลงทุนในประเทศไทยนั้นต่างก็หวังจะผลิตสินค้าด้วยต้นทุนที่ต่ำสุด เพื่อสนองเป้าหมายของเจ้าของทุน ซึ่งจะสอดคล้องกับหลักการของ คาร์ล มาร์กซ์ เป็นอย่างยิ่ง คือ นายทุนจะลอยแพกรรมกรเมื่อใดก็ได้ที่เขาพอใจ หรือ คิดว่ากรรมกรไร้ประโยชน์ต่อเขาแล้ว แต่กรรมกรจะผละจากนายทุนไม่ได้ถ้าเขายังมีชีวิตอยู่ เพราะชีวิตของเขาอยู่ได้ด้วยการขายแรงงานแต่เพียงอย่างเดียว

เราก็กล่าวได้ว่า สภาวการณ์สำคัญที่สุดของแรงงานค่าจ้างคือ การมีเงินทุน การผลิตขยายตัวอย่างรวดเร็วและนั่นก็คือสาเหตุที่มิให้ชนชั้นกรรมกรได้สร้างอำนาจให้ชนชั้นกรรมกรได้สร้างอำนาจให้แก่ศัตรูมาปกครองเขาเอง เพราะการขยายเงินทุนอย่างรวดเร็วจะเพิ่มความร่ำรวยให้แก่ชนชั้นกลาง เพิ่มอำนาจให้แก่เงินทุนแล้วแปลงร่างเป็นโซ่ตรวนสีทองให้ชนชั้นกลางลากมากดขี่กรรมกรผู้ใช้แรงงานระดับล่างอีกทีหนึ่ง ทุกครั้งที่เกิดปัญหาภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวหรือล้มเหลวคนที่รับเคราะห์เป็นอันดับแรกคือกรรมกรระดับล่างสุดของสังคม และเหตุการณ์เดียวกันนี้ก็จะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนเกิดขึ้นเรื่อยเพื่อนำแรงงานรุ่นใหม่เข้ามาทดแทน เมื่อเป็นอย่างนี้กรรมกรที่อายุมากขึ้นจะมีชีวิตอยู่ได้อย่างไร?

ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงเห็นว่า การทำความเข้าใจเรื่อง “ค่าจ้าง แรงงานและเงินทุน” ซึ่งเขียนโดย คาร์ล มาร์กซ์ เมื่อปี ๑๘๔๘ และแปลเป็นภาษาไทยโดย คุณสมชาย แม่นแย้ม เมื่อ ๑๙ กันยายน ๒๕๑๗ ยังคงมีความทันสมัยอยู่เสมอแม้จะผ่านช่วงเวลามากว่าร้อยปี การกดขี่ขูดรีดโดยชนชั้นนายทุนยังคงมีให้เห็นกันอย่างดาษดื่น โดยเฉพาะประเทศโลกที่สามอย่างไทยเรา รัฐบาลทุกยุคทุกสมัยต่างก็อ้างได้อย่างสวยหรูว่า “เพื่อการพัฒนาประเทศ”

บุญยืน สุขใหม่
๑๔ มีนาคม ๒๕๕๔

ดาวน์โหลดฉบับเรียบเรียงใหม่โดยบุญยืน สุขใหม่กลุ่มพัฒนาแรงงานสัมพันธ์ตะวันออก (ใช้เพื่อการศึกษาของแรงงาน)

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ชาวบ้านด่านแม่ละเมาร้องคัดค้านโครงการปรับปรุงตลาดชาวไทยภูเขาดอยมูเซอ จ.ตาก

Posted: 20 Mar 2011 08:54 AM PDT

เมื่อวันที่ 18 มี.. 54 ที่ผ่านมา ชาวบ้านตลาดชาวไทยภูเขา ต.ด่านแม่ละเมา อ.แม่สอด จ.ตาก ได้ทำหนังสือร้องเรียน เรื่อง ขอคัดค้านการดำเนินการโครงการปรับปรุงตลาดชาวไทยภูเขา ดอยมูเซอ จังหวัดตาก ถึง ผู้ว่าราชการจังหวัดตาก, สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรษ์จังหวัดตาก, นายอำเภอแม่สอด และผกก.สภ.พะวอ อ.แม่สอด โดยมีรายละเอียดดังนี้



 

ตลาดชาวไทยภูเขา

ต.ด่านแม่ละเมา อ.แม่สอด จ.ตาก

                                                                     ๑๘  มีนาคม  ๒๕๕๓

เรื่อง      ขอคัดค้านการดำเนินการโครงการปรับปรุงตลาดชาวไทยภูเขา ดอยมูเซอ จังหวัดตาก

เรียน      นายชัยวุฒิ  บรรณวัฒน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรษ์จังหวัดตาก

               ตามที่ทางจังหวัดตาก จะดำเนินการปรับปรุงตลาดชาวไทยภูเขา ดอยมูเซอ โดยได้มีการจัดประชุมไปเมื่อวันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๕๔ ณ ห้องประชุมศูนย์พัฒนาสังคมหน่วยที่ ๑๖ จังหวัดตาก และได้กำหนดวันรื้อถอนในวันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๕๔ โดยใช้แรงงานจากลูกจ้าง อบต.ด่านแม่ละเมา และ ชรบ.แม่สอด จำนวน ๑๕๐ คน เป็นผู้รื้อถอน นั้น

               ในกรณีการดำเนินงานปรับปรุงตลาดชาวไทยภูเขา ดอยมูเซอ ดังกล่าว ผู้ประกอบการค้าในตลาดฯ ซึ่งเป็นชาวบ้านในพื้นที่ ได้แก่ ชาวบ้านจากบ้านห้วยปลาหลด บ้านใหม่ บ้านห้วยส้มป่อย และบ้านลีซอแม่ท้อ ไม่เห็นด้วยกับการดำเนินงานนั้น เนื่องจากมีความเห็นว่าจะไม่สามารถแก้ปัญหาของตลาดได้อย่างแท้จริงและยั่งยืน โดยเฉพาะไม่สะท้อนการแก้ปัญหาการทำมาหากินที่เกี่ยวข้องกับการค้าขายในตลาดของชาวบ้านในพื้นที่ อีกทั้งงบประมาณดำเนินงานซึ่งเป็นภาษีของประชาชนก็มีมูลค่าสูงมาก (กว่า ๗ ล้านบาท) อาจเกิดการทุจริตคอรัปชั่นได้ จึงได้รวมตัวกันทำหนังสือยื่นคัดค้านไปยังสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรษ์จังหวัดตาก ผู้ว่าราชการจังหวัดตาก นายอำเภอแม่สอด และนายกองค์การบริหารส่วนตำบลด่านแม่ละเมา

               ทั้งนี้ ต่อมาทางจังหวัดตากโดยผู้ว่าราชการจังหวัดฯ ได้ขึ้นมาจัดการประชุมเพื่อชี้แจงและรับฟังความคิดเห็นแก่ผู้ประกอบการค้าในตลาดดังกล่าว ซึ่งในการประชุมนั้นชาวบ้านที่เกี่ยวข้องกับการค้าขายในตลาดฯ จำนวนมากแสดงความไม่เห็นด้วยกับการดำเนินงานปรับปรุงฯ และได้แสดงความเห็นให้มีการแก้ปัญหาในระยะยาวมากกว่าการเน่งรัดแก้ปัญหาเฉพาะหน้า

               จากการประชุมที่ได้กล่าวถึงข้างต้น ทางจังหวัดได้แสดงความประสงค์อย่างชัดเจนที่จะเดินหน้าดำเนินงานการปรับปรุงตลาดชาวไทยภูเขา ดอยมูเซอ โดยไม่สนใจการท้วงติงและข้อคิดเห็นการดำเนินงาน

               ดังนั้น ข้าพเจ้าในฐานะประชาชนในพื้นที่ จึงขอคัดค้านการดำเนินงานโครงการปรับปรุงตลาดชาวไทยภูเขา ดอยมูเซอ จังหวัดตาก ซึ่งจะเข้ามารื้อถอนในวันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๕๔ นั้น โดยจะไม่ให้ความร่วมมือใด ๆ ทั้งสิ้นกับทางราชการในการดำเนินการดังกล่าว

               จึงเรียนมาเพื่อทราบ

                                                                     ขอแสดงความนับถือ

                                                    ราษฏรษ์ในพื้นที่ดอยมูเซอผู้ประกอบการค้าขาย

                                                                       ดังรายชื่อแนบท้าย

 

 

 



 

ตลาดชาวไทยภูเขา

ต.ด่านแม่ละเมา อ.แม่สอด จ.ตาก

                                                                     ๑๘  มีนาคม  ๒๕๕๓

เรื่อง      ขอคัดค้านการดำเนินการโครงการปรับปรุงตลาดชาวไทยภูเขา ดอยมูเซอ จังหวัดตาก

เรียน      ผู้ว่าราชการจังหวัดตาก

               ตามที่ทางจังหวัดตาก จะดำเนินการปรับปรุงตลาดชาวไทยภูเขา ดอยมูเซอ โดยได้มีการจัดประชุมไปเมื่อวันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๕๔ ณ ห้องประชุมศูนย์พัฒนาสังคมหน่วยที่ ๑๖ จังหวัดตาก และได้กำหนดวันรื้อถอนในวันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๕๔ โดยใช้แรงงานจากลูกจ้าง อบต.ด่านแม่ละเมา และ ชรบ.แม่สอด จำนวน ๑๕๐ คน เป็นผู้รื้อถอน นั้น

               ในกรณีการดำเนินงานปรับปรุงตลาดชาวไทยภูเขา ดอยมูเซอ ดังกล่าว ผู้ประกอบการค้าในตลาดฯ ซึ่งเป็นชาวบ้านในพื้นที่ ได้แก่ ชาวบ้านจากบ้านห้วยปลาหลด บ้านใหม่ บ้านห้วยส้มป่อย และบ้านลีซอแม่ท้อ ไม่เห็นด้วยกับการดำเนินงานนั้น เนื่องจากมีความเห็นว่าจะไม่สามารถแก้ปัญหาของตลาดได้อย่างแท้จริงและยั่งยืน โดยเฉพาะไม่สะท้อนการแก้ปัญหาการทำมาหากินที่เกี่ยวข้องกับการค้าขายในตลาดของชาวบ้านในพื้นที่ อีกทั้งงบประมาณดำเนินงานซึ่งเป็นภาษีของประชาชนก็มีมูลค่าสูงมาก (กว่า ๗ ล้านบาท) อาจเกิดการทุจริตคอรัปชั่นได้ จึงได้รวมตัวกันทำหนังสือยื่นคัดค้านไปยังสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรษ์จังหวัดตาก ผู้ว่าราชการจังหวัดตาก นายอำเภอแม่สอด และนายกองค์การบริหารส่วนตำบลด่านแม่ละเมา

               ทั้งนี้ ต่อมาทางจังหวัดตากโดยผู้ว่าราชการจังหวัดฯ ได้ขึ้นมาจัดการประชุมเพื่อชี้แจงและรับฟังความคิดเห็นแก่ผู้ประกอบการค้าในตลาดดังกล่าว ซึ่งในการประชุมนั้นชาวบ้านที่เกี่ยวข้องกับการค้าขายในตลาดฯ จำนวนมากแสดงความไม่เห็นด้วยกับการดำเนินงานปรับปรุงฯ และได้แสดงความเห็นให้มีการแก้ปัญหาในระยะยาวมากกว่าการเน่งรัดแก้ปัญหาเฉพาะหน้า

               จากการประชุมที่ได้กล่าวถึงข้างต้น ทางจังหวัดได้แสดงความประสงค์อย่างชัดเจนที่จะเดินหน้าดำเนินงานการปรับปรุงตลาดชาวไทยภูเขา ดอยมูเซอ โดยไม่สนใจการท้วงติงและข้อคิดเห็นการดำเนินงาน

               ดังนั้น ข้าพเจ้าในฐานะประชาชนในพื้นที่ จึงขอคัดค้านการดำเนินงานโครงการปรับปรุงตลาดชาวไทยภูเขา ดอยมูเซอ จังหวัดตาก ซึ่งจะเข้ามารื้อถอนในวันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๕๔ นั้น โดยจะไม่ให้ความร่วมมือใด ๆ ทั้งสิ้นกับทางราชการในการดำเนินการดังกล่าว

               จึงเรียนมาเพื่อทราบ

                                                                     ขอแสดงความนับถือ

                                                    ราษฏรษ์ในพื้นที่ดอยมูเซอผู้ประกอบการค้าขาย

                                                                       ดังรายชื่อแนบท้าย

 

 

 



 

ตลาดชาวไทยภูเขา

ต.ด่านแม่ละเมา อ.แม่สอด จ.ตาก

                                                                     ๑๘  มีนาคม  ๒๕๕๓

เรื่อง      ขอคัดค้านการดำเนินการโครงการปรับปรุงตลาดชาวไทยภูเขา ดอยมูเซอ จังหวัดตาก

เรียน      นายอำเภอแม่สอด

               ตามที่ทางจังหวัดตาก จะดำเนินการปรับปรุงตลาดชาวไทยภูเขา ดอยมูเซอ โดยได้มีการจัดประชุมไปเมื่อวันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๕๔ ณ ห้องประชุมศูนย์พัฒนาสังคมหน่วยที่ ๑๖ จังหวัดตาก และได้กำหนดวันรื้อถอนในวันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๕๔ โดยใช้แรงงานจากลูกจ้าง อบต.ด่านแม่ละเมา และ ชรบ.แม่สอด จำนวน ๑๕๐ คน เป็นผู้รื้อถอน นั้น

               ในกรณีการดำเนินงานปรับปรุงตลาดชาวไทยภูเขา ดอยมูเซอ ดังกล่าว ผู้ประกอบการค้าในตลาดฯ ซึ่งเป็นชาวบ้านในพื้นที่ ได้แก่ ชาวบ้านจากบ้านห้วยปลาหลด บ้านใหม่ บ้านห้วยส้มป่อย และบ้านลีซอแม่ท้อ ไม่เห็นด้วยกับการดำเนินงานนั้น เนื่องจากมีความเห็นว่าจะไม่สามารถแก้ปัญหาของตลาดได้อย่างแท้จริงและยั่งยืน โดยเฉพาะไม่สะท้อนการแก้ปัญหาการทำมาหากินที่เกี่ยวข้องกับการค้าขายในตลาดของชาวบ้านในพื้นที่ อีกทั้งงบประมาณดำเนินงานซึ่งเป็นภาษีของประชาชนก็มีมูลค่าสูงมาก (กว่า ๗ ล้านบาท) อาจเกิดการทุจริตคอรัปชั่นได้ จึงได้รวมตัวกันทำหนังสือยื่นคัดค้านไปยังสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรษ์จังหวัดตาก ผู้ว่าราชการจังหวัดตาก นายอำเภอแม่สอด และนายกองค์การบริหารส่วนตำบลด่านแม่ละเมา

               ทั้งนี้ ต่อมาทางจังหวัดตากโดยผู้ว่าราชการจังหวัดฯ ได้ขึ้นมาจัดการประชุมเพื่อชี้แจงและรับฟังความคิดเห็นแก่ผู้ประกอบการค้าในตลาดดังกล่าว ซึ่งในการประชุมนั้นชาวบ้านที่เกี่ยวข้องกับการค้าขายในตลาดฯ จำนวนมากแสดงความไม่เห็นด้วยกับการดำเนินงานปรับปรุงฯ และได้แสดงความเห็นให้มีการแก้ปัญหาในระยะยาวมากกว่าการเน่งรัดแก้ปัญหาเฉพาะหน้า

               จากการประชุมที่ได้กล่าวถึงข้างต้น ทางจังหวัดได้แสดงความประสงค์อย่างชัดเจนที่จะเดินหน้าดำเนินงานการปรับปรุงตลาดชาวไทยภูเขา ดอยมูเซอ โดยไม่สนใจการท้วงติงและข้อคิดเห็นการดำเนินงาน

               ดังนั้น ข้าพเจ้าในฐานะประชาชนในพื้นที่ จึงขอคัดค้านการดำเนินงานโครงการปรับปรุงตลาดชาวไทยภูเขา ดอยมูเซอ จังหวัดตาก ซึ่งจะเข้ามารื้อถอนในวันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๕๔ นั้น โดยจะไม่ให้ความร่วมมือใด ๆ ทั้งสิ้นกับทางราชการในการดำเนินการดังกล่าว

               จึงเรียนมาเพื่อทราบ

                                                                     ขอแสดงความนับถือ

                                                    ราษฏรษ์ในพื้นที่ดอยมูเซอผู้ประกอบการค้าขาย

                                                                       ดังรายชื่อแนบท้าย

 

 

 



 

ตลาดชาวไทยภูเขา

ต.ด่านแม่ละเมา อ.แม่สอด จ.ตาก

                                                                     ๑๘  มีนาคม  ๒๕๕๓

เรื่อง      ขอคัดค้านการดำเนินการโครงการปรับปรุงตลาดชาวไทยภูเขา ดอยมูเซอ จังหวัดตาก

เรียน      นายกองค์การบริหารส่วนตำบลด่านแม่ละเมา

               ตามที่ทางจังหวัดตาก จะดำเนินการปรับปรุงตลาดชาวไทยภูเขา ดอยมูเซอ โดยได้มีการจัดประชุมไปเมื่อวันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๕๔ ณ ห้องประชุมศูนย์พัฒนาสังคมหน่วยที่ ๑๖ จังหวัดตาก และได้กำหนดวันรื้อถอนในวันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๕๔ โดยใช้แรงงานจากลูกจ้าง อบต.ด่านแม่ละเมา และ ชรบ.แม่สอด จำนวน ๑๕๐ คน เป็นผู้รื้อถอน นั้น

               ในกรณีการดำเนินงานปรับปรุงตลาดชาวไทยภูเขา ดอยมูเซอ ดังกล่าว ผู้ประกอบการค้าในตลาดฯ ซึ่งเป็นชาวบ้านในพื้นที่ ได้แก่ ชาวบ้านจากบ้านห้วยปลาหลด บ้านใหม่ บ้านห้วยส้มป่อย และบ้านลีซอแม่ท้อ ไม่เห็นด้วยกับการดำเนินงานนั้น เนื่องจากมีความเห็นว่าจะไม่สามารถแก้ปัญหาของตลาดได้อย่างแท้จริงและยั่งยืน โดยเฉพาะไม่สะท้อนการแก้ปัญหาการทำมาหากินที่เกี่ยวข้องกับการค้าขายในตลาดของชาวบ้านในพื้นที่ อีกทั้งงบประมาณดำเนินงานซึ่งเป็นภาษีของประชาชนก็มีมูลค่าสูงมาก (กว่า ๗ ล้านบาท) อาจเกิดการทุจริตคอรัปชั่นได้ จึงได้รวมตัวกันทำหนังสือยื่นคัดค้านไปยังสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรษ์จังหวัดตาก ผู้ว่าราชการจังหวัดตาก นายอำเภอแม่สอด และนายกองค์การบริหารส่วนตำบลด่านแม่ละเมา

               ทั้งนี้ ต่อมาทางจังหวัดตากโดยผู้ว่าราชการจังหวัดฯ ได้ขึ้นมาจัดการประชุมเพื่อชี้แจงและรับฟังความคิดเห็นแก่ผู้ประกอบการค้าในตลาดดังกล่าว ซึ่งในการประชุมนั้นชาวบ้านที่เกี่ยวข้องกับการค้าขายในตลาดฯ จำนวนมากแสดงความไม่เห็นด้วยกับการดำเนินงานปรับปรุงฯ และได้แสดงความเห็นให้มีการแก้ปัญหาในระยะยาวมากกว่าการเน่งรัดแก้ปัญหาเฉพาะหน้า

               จากการประชุมที่ได้กล่าวถึงข้างต้น ทางจังหวัดได้แสดงความประสงค์อย่างชัดเจนที่จะเดินหน้าดำเนินงานการปรับปรุงตลาดชาวไทยภูเขา ดอยมูเซอ โดยไม่สนใจการท้วงติงและข้อคิดเห็นการดำเนินงาน

               ดังนั้น ข้าพเจ้าในฐานะประชาชนในพื้นที่ จึงขอคัดค้านการดำเนินงานโครงการปรับปรุงตลาดชาวไทยภูเขา ดอยมูเซอ จังหวัดตาก ซึ่งจะเข้ามารื้อถอนในวันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๕๔ นั้น โดยจะไม่ให้ความร่วมมือใด ๆ ทั้งสิ้นกับทางราชการในการดำเนินการดังกล่าว

               จึงเรียนมาเพื่อทราบ

                                                                     ขอแสดงความนับถือ

                                                    ราษฏรษ์ในพื้นที่ดอยมูเซอผู้ประกอบการค้าขาย

                                                                       ดังรายชื่อแนบท้าย

 

 

 



 

ตลาดชาวไทยภูเขา

ต.ด่านแม่ละเมา อ.แม่สอด จ.ตาก

                                                                     ๑๘  มีนาคม  ๒๕๕๓

เรื่อง      ขอคัดค้านการดำเนินการโครงการปรับปรุงตลาดชาวไทยภูเขา ดอยมูเซอ จังหวัดตาก

เรียน      ผกก.สภ.พะวอ อ.แม่สอด

               ตามที่ทางจังหวัดตาก จะดำเนินการปรับปรุงตลาดชาวไทยภูเขา ดอยมูเซอ โดยได้มีการจัดประชุมไปเมื่อวันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๕๔ ณ ห้องประชุมศูนย์พัฒนาสังคมหน่วยที่ ๑๖ จังหวัดตาก และได้กำหนดวันรื้อถอนในวันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๕๔ โดยใช้แรงงานจากลูกจ้าง อบต.ด่านแม่ละเมา และ ชรบ.แม่สอด จำนวน ๑๕๐ คน เป็นผู้รื้อถอน นั้น

               ในกรณีการดำเนินงานปรับปรุงตลาดชาวไทยภูเขา ดอยมูเซอ ดังกล่าว ผู้ประกอบการค้าในตลาดฯ ซึ่งเป็นชาวบ้านในพื้นที่ ได้แก่ ชาวบ้านจากบ้านห้วยปลาหลด บ้านใหม่ บ้านห้วยส้มป่อย และบ้านลีซอแม่ท้อ ไม่เห็นด้วยกับการดำเนินงานนั้น เนื่องจากมีความเห็นว่าจะไม่สามารถแก้ปัญหาของตลาดได้อย่างแท้จริงและยั่งยืน โดยเฉพาะไม่สะท้อนการแก้ปัญหาการทำมาหากินที่เกี่ยวข้องกับการค้าขายในตลาดของชาวบ้านในพื้นที่ อีกทั้งงบประมาณดำเนินงานซึ่งเป็นภาษีของประชาชนก็มีมูลค่าสูงมาก (กว่า ๗ ล้านบาท) อาจเกิดการทุจริตคอรัปชั่นได้ จึงได้รวมตัวกันทำหนังสือยื่นคัดค้านไปยังสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรษ์จังหวัดตาก ผู้ว่าราชการจังหวัดตาก นายอำเภอแม่สอด และนายกองค์การบริหารส่วนตำบลด่านแม่ละเมา

               ทั้งนี้ ต่อมาทางจังหวัดตากโดยผู้ว่าราชการจังหวัดฯ ได้ขึ้นมาจัดการประชุมเพื่อชี้แจงและรับฟังความคิดเห็นแก่ผู้ประกอบการค้าในตลาดดังกล่าว ซึ่งในการประชุมนั้นชาวบ้านที่เกี่ยวข้องกับการค้าขายในตลาดฯ จำนวนมากแสดงความไม่เห็นด้วยกับการดำเนินงานปรับปรุงฯ และได้แสดงความเห็นให้มีการแก้ปัญหาในระยะยาวมากกว่าการเน่งรัดแก้ปัญหาเฉพาะหน้า

               จากการประชุมที่ได้กล่าวถึงข้างต้น ทางจังหวัดได้แสดงความประสงค์อย่างชัดเจนที่จะเดินหน้าดำเนินงานการปรับปรุงตลาดชาวไทยภูเขา ดอยมูเซอ โดยไม่สนใจการท้วงติงและข้อคิดเห็นการดำเนินงาน

               ดังนั้น ข้าพเจ้าในฐานะประชาชนในพื้นที่ จึงขอคัดค้านการดำเนินงานโครงการปรับปรุงตลาดชาวไทยภูเขา ดอยมูเซอ จังหวัดตาก ซึ่งจะเข้ามารื้อถอนในวันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๕๔ นั้น โดยจะไม่ให้ความร่วมมือใด ๆ ทั้งสิ้นกับทางราชการในการดำเนินการดังกล่าว

               จึงเรียนมาเพื่อทราบ

                                                                     ขอแสดงความนับถือ

                                                    ราษฏรษ์ในพื้นที่ดอยมูเซอผู้ประกอบการค้าขาย

                                                                       ดังรายชื่อแนบท้าย

 

 



 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ปรับปรุงตลาดชาวเขาดอยมูเซอ เพื่อประโยชน์ใคร?

Posted: 20 Mar 2011 08:37 AM PDT

แม้จะมีเสียงคัดค้านจากชาวบ้านในพื้นที่ ทั้งการยื่นหนังสือและแสดงความคิดเห็นในการประชุมรับฟังความคิดเห็น ในการไม่เห็นด้วยกับการปรับปรุงตลาดชาวไทยภูเขา ดอยมูเซอ จังหวัดตาก แต่เสียงคัดค้านและความเห็นของชาวบ้านก็ไม่ได้รับความสนใจจากทางจังหวัด ในทางตรงกันข้ามผู้ว่าราชการจังหวัดตากกลับยืนยันในสิ่งที่ได้ตัดสินใจไปแล้วด้วยการเดินหน้าดำเนินงาน เนื่องจากทางจังหวัดคาดว่าจะมิได้รับความร่วมมือจากชาวบ้านในพื้นที่ จึงได้ระดมสรรพกำลังจากนอกพื้นที่เข้ามาดำเนินการรื้อถอนอาคารที่จะทำการก่อสร้างใหม่ ทั้งนี้ รองผู้กำกับ สถานีตำรวจในพื้นที่ เป็นผู้รับรองความปลอดภัยในการดำเนินงานรื้อถอน ให้แก่ผู้เกี่ยวข้องที่จะเข้าไปดำเนินการ

ตลาดชาวไทยภูเขาดอยมูเซอ เป็นจุดแวะพักสำหรับนักท่องเที่ยวที่ใช้เส้นทางสายตาก-แม่สอด สัญจรไปมา มาช้านาน กำเนิดตลาดแห่งนี้เกิดจากชาวบ้านนำพืชผักในไร่มาวางขายแก่บรรดาคนงานที่มาทำงานตัดเส้นทางสายตาก-แม่สอด เมื่อหลายสิบปีก่อน ซึ่งต่อมาทางศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา จ.ตาก ได้เข้ามาพัฒนาพื้นที่จากเพิงชั่วคราวเป็นอาคารถาวร มีการสร้างบ้านจำลองชาวเขาเผ่าต่าง ๆ เพื่อดึงดูดให้นักท่องเที่ยวแวะเยี่ยมชมและซื้อซื้อค้าจากชาวบ้าน ภายหลังพื้นที่แถบนี้ถูกประกาศเป็นเขตอุทยานแห่งชาติต้นตระบากใหญ่ (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นอุทยานแห่งชาติตากสินมหาราช) ศูนย์พัฒนาฯ ชาวเขา ก็ถอนตัวออกจากการเป็นหน่วยงานกำกับดูแลตลาด ไม่มีหน่วยงานใดมากำกับดูแลพื้นที่จึงมีชาวพื้นราบเริ่มเข้ามาจับจองและรุกพื้นที่ค้าขายของชาวบ้านมากขึ้น

ชาวพื้นราบที่ขึ้นมาค้าขายได้วิ่งเต้นกับหน่วยงานกระทั่งสามารถขอติดตั้งไฟฟ้าจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้สำเร็จ ซึ่งก็ยิ่งดึงดูดให้ชาวพื้นราบขึ้นมาปักหลักค้าขายในตลาดแห่งนี้มากยิ่งขึ้น พื้นที่ค้าขายเดิมของชาวบ้านถูกรุกคืบเข้าครอบครองจากชาวพื้นราบนอกพื้นที่เป็นส่วนใหญ่ และได้สร้างปัญหาให้ชาวบ้านดั้งเดิมในพื้นที่เป็นอันมาก ทั้งในแง่การตั้งแผงสินค้าบดบังแผงสินค้าเดิมของชาวบ้าน การกีดขวางทางเข้าออกแผงจำหน่ายสินค้า ฯลฯ

ต่อมาอาคารจำหน่ายสินค้าที่จัดสร้างโดยศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา จ.ตาก ชำรุดทรุดโทรมลง ชาวบ้านจึงรวมตัวกันปรับปรุงอาคารเสียใหม่ และหลังจากนั้นทางองค์การบริหารส่วนตำบลด่านแม่ละเมา ได้จัดทำโครงการปรับปรุงตลาดอีกครั้ง แต่การดำเนินงานในครั้งนั้นแทนที่จะเป็นประโยชน์ต่อชาวบ้านในพื้นที่ กลับกลายเอื้อประโยชน์ให้ชาวไทยพื้นราบที่ขึ้นมาค้าขายเสียเป็นส่วนใหญ่ ด้วยได้ทำการก่อสร้างโครงหลังคามุงบังพื้นที่ค้าขายเดิมของชาวบ้าน นักท่องเที่ยวที่แวะพักจึงมักไม่เดินเข้าไปทางด้านใน ชาวบ้านที่มีแผงสินค้าด้านใน จึงออกมาตั้งแผงนอกอาคารบริเวณข้างถนนหลวง ซึ่งเป็นเขตพื้นที่ของกรมทางหลวง ดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

ตลาดชาวเขาดอยมูเซอ เป็นที่รู้จักและแวะพักของนักท่องเที่ยวที่สัญจรผ่านไปมามากขึ้น ประกอบกับการทำมาหากินของชาวบ้านในวิถีแบบดั้งเดิมก็มีข้อจำกัดมากขึ้นด้วยพื้นที่ทำกินถูกประกาศเป็นพื้นที่อุทยานฯ รวมทั้งประชากรก็มีจำนวนมากขึ้น ชาวบ้านที่เคยเป็นลูกจ้างหน่วยงานในพื้นที่ก็ถูกเลิกจ้าง ฯลฯ การปลูกพืชผักเพื่อนำมาค้าขายในตลาดชาวเขาดอยมูเซอ ก็เป็นทางเลือกที่สำคัญที่ทำให้ชาวบ้านอยู่รอด มีรายได้เพียงพอที่จะเลี้ยงครอบครัวและส่งบุตรหลานเรียนหนังสือ ทำให้มีชาวบ้านมากขึ้นมาใช้พื้นที่ตลอดทำการค้าขาย

ความแออัด ความไม่เป็นระเบียบ และการจำหน่ายสินค้าที่ไม่ปลอดภัย เป็นข้ออ้างของทางจังหวัดว่าได้รับการร้องเรียนจากนักท่องเที่ยว กระทั่งกลายเป็นเหตุผลในการจัดทำโครงการปรับปรุงตลาดชาวไทยภูเขา ดอยมูเซอ จังหวัดตาก ของจังหวัดตาก และได้รับงบประมาณดำเนินงานได้รับการพิจารณาเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรจำนวน 7,225,000 บาท โดยการผลักดันของสมาชิกสภาผู้แทนจังหวัดตาก พรรคประชาธิปัตย์

หลังจากที่ได้รับแจ้งการอนุมัติงบประมาณจากสภาฯ แล้ว ทางจังหวัดได้ทำหนังสือแจ้งบุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีการจัดประชุมเพื่อเตรียมการไปหลายครั้ง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการดำเนินงานดังกล่าวนั้นก็มิได้รับความเห็นชอบและมีส่วนร่วมในการตัดสินใจจากชาวบ้านในพื้นที่ซึ่งเป็นลูกหลานของผู้ที่ริเริ่มสร้างตลาดแห่งนี้มาด้วยน้ำพักน้ำแรง มิได้รับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอจากชาวบ้านที่ต้องการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบในระยะยาวมากกว่าการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าในระยะสั้น ซึ่งมุ่งแต่จะตอบสนองการท่องเที่ยวและนักท่องเที่ยวจากภายนอกมากกว่าการจัดการปัญหาและมุ่งพัฒนาในพื้นที่

แท้ที่จริงนั้นตลาดชาวเขาดอยมูเซอ แห่งนี้ นอกจากจะเป็นแหล่งสร้างรายได้ที่สำคัญให้แก่ชาวบ้านแล้ว ตลาดฯ ยังมีบทบาทสำคัญต่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ในพื้นที่ได้เป็นอันมาก อาทิ การช่วยลดการบุกรุกพื้นที่ป่าเพื่อทำพืชไร่ ด้วยชาวบ้านจำนวนมากหันมาใช้พื้นที่เล็ก ๆ ตามร่องห้วยปลูกพืชผักเศรษฐกิจมาจำหน่ายในตลาด  ลูกหลานชาวบ้านจำนวนมาแทนที่จะออกไปทำงานนอกพื้นที่ก็มีงานทำอยู่ในพื้นที่ และชาวบ้านจำนวนไม่น้อยที่เลิกเกี่ยวข้องกับการค้าขายยาเสพติดหันมาประกอบอาชีพสุจริตด้วยการค้าขายในตลาด ฯลฯ

ในการประชุมชี้แจงและรับฟังความคิดเห็นในคราวหนึ่ง แกนนำชาวบ้านท่านหนึ่งได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับบทบาทของตลาดต่อวิถีชีวิตของชาวบ้าน (ดังรายละเอียดข้างต้น) และเสนอให้มีการดำเนินงานที่จะเป็นการแก้ปัญหาในระยะยาว ซึ่งชาวบ้านในพื้นที่ยินดีที่จะร่วมมือกับทางราชการต่อไป ทั้งการเป็นหูเป็นตาในการดูแลทรัพยากรในพื้นที่ การช่วยฟื้นฟูผืนป่าที่เสื่อมโทรม ฯลฯ แต่ข้อเสนอดังกล่าวก็ไม่ได้รับความใส่ใจจากทางจังหวัด ในทางตรงกันข้ามกลับยืนยันที่จะเดินหน้าดำเนินการต่อไปโดย

การดำเนินงานของทางจังหวัดนั้น จะรื้อถอนอาคารเดิมของชาวบ้าน แต่ไม่รวมไปถึงสิ่งปลูกสร้างถาวรของพ่อค้าชาวพื้นราบที่ขึ้นมาปักหลักค้าขาย แล้วสร้างอาคารหลังใหม่ทับไปบนพื้นที่เดิม ตัวอาคารที่ทางจังหวัดออกแบบนั้น เป็นอาคารโล่งชั้นเดียว หลังคาสูงโปร่ง ลดหลั่นเป็น 3 ระดับ ภายในมีแผงวางจำหน่ายสินค้าจำนวน 256 แผง ขนาดความกว้าง 1 เมตร ยาว 1.20 เมตรต่อหนึ่งแผง มีทางเดินระหว่างแถว 1.50 เมตร ด้านหน้าอาคารเป็นลานโล่งสำหรับจอดรถ มีห้องน้ำจำนวน 6 ห้องอยู่ด้านหลังอาคาร มีการประดับประดาด้วยไม้ดอก โดยทางผู้ว่าราชการจังหวัดตาก กล่าวว่าท่านจะกำชับให้มีดำเนินการโดยรีบด่วนภายภายในเวลาราว 3 เดือนหลังจากลงนามสัญญากับผู้ว่าจ้าง

การดำเนินงานปรับปรุงตลาดฯ ดังกล่าวนั้น นอกจากจะไม่สามารถแก้ปัญหาที่แท้จริงได้เท่านั้น แต่ยังมีข้อสังเกตุที่ท้วงติงได้อีกหลายประการ เช่น

- มีการใช้งบประมาณจำนวนมากในการดำเนินงานดังกล่าว ชาวบ้านหลายคนบอกว่างานนี้ถ้ามีการก่อสร้างจะเกิดการทุจริตคอรัปชั่นเป็นอันมาก ค่าก่อสร้างจริง ๆ คงไม่กี่ล้านบาท และอาจจะไม่ไม่ถึงครึ่งหนึ่งของงบประมาณทั้งหมดด้วยซ้ำไป

- อาคารที่ออกแบบมานั้น เป็นอาคารที่ออกแบบโดยสำนักงานโยธาธิการจังหวัดตาก เป็นอาคารแบบทั่วไป ไม่มีความงามในทางศิลปะ ไม่สอดคล้องกับบริบททางวัฒนธรรมและลักษระของพื้นที่  และหากดำเนินการตามแบบนั้นจริง ๆ ทัศนียภาพก็น่าจะอุดจาดไม่น้อย เนื่องจากบรรดาอาคารซึ่งเป็นเรือนแถวทั้งสองด้านก็ยังคงอยู่แม้จะมีอาคารใหม่ก็ตาม

- แผงวางจำหน่ายสินค้าที่จะจัดทำนั้น นอกจาจะมีจำนวนที่ไม่เพียงพอแล้ว ยังมีพื้นที้ล็กคับแคบ ไม่เพียงพอต่อการวางจำหน่ายสินค้า

- อาคารในลักษณะนี้ มีการก่อสร้างกันทั่วไปของบรรดาหน่วยงานราชการต่าง ๆ ทั้งส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น  โดยมากมักไม่เป็นที่สนใจของบรรดานักท่องเที่ยว อาคารแบบนี้จำนวนมากจึงถูกทิ้งร้างและไม่ได้ใช้ประโยชน์ ซึ่งมีให้พบเห็นจำนวนมาก

- บรรยากาศการค้าขายแบบเดิม มีความเป็นเอกลักษณ์ มีความเป็นท้องถิ่น ซึ่งเป็นแรงดึงดูดให้นักท่องเที่ยวมาแวะพัก (แต่ผู้ว่าราชการจังหวัดให้เหตุผลว่าไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย)  กำลังจะถูกทำลายลงจากอาคารที่ถูกออกแบบมาอย่างไม่เข้าใจวัฒนธรรมและลักษณะของพื้นที่ หากมีการดำเนินการ

ในการประชุม เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2554 ณ ศูนย์พัฒนาสังคมหน่วยที่ 16 จังหวัดตาก ได้กำหนดให้เดินหน้าดำเนินการ โดยจะทำการรื้อถอนอาคารเดิมในวันที่ 22 มีนาคม 2554 ทั้งนี้จะใช้แรงงานจากลูกจ้าง อบต.ด่านแม่ละเมา และ ชรบ.แม่สอด จำนวน 150 คน เป็นผู้รื้อถอน และทางตำรวจในพื้นที่ โดย รองผู้กำกับการ สภ.พะวอ อ.แม่สอด เป็นผู้รับรองความปลอดภัยในวันที่จะทำการรื้อถอน

หลังจากที่ชาวบ้านทราบเรื่อง ซึ่งเกือบทั้งหมดไม่มีใครเห็นด้วย ต่างยืนหยัดที่จะคัดค้านจนถึงที่สุดด้วยวิธีการต่าง ๆ ที่คิดออกและทำได้ เนื่องจากการกระทำของทางจังหวัดนั้นจะส่งผลกระทบต่อการทำมาหากินของพวกเขา...
 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เผยเทปโกยอมรับแจ้งรายงานตรวจสอบนิวเคลียร์เป็นเท็จ

Posted: 20 Mar 2011 07:59 AM PDT

กรุงเทพธุรกิจ อ้างรายงานจากสำนักข่าวต่างประเทศ เมื่อวันที่ 20 มี.ค. 54 ว่า บริษัทโตเกียว อิเล็กทริค พาวเวอร์ โค(เทปโก) ได้ยอมรับว่าไม่ได้ตรวจสอบอุปกรณ์ 33 ชิ้นในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมา ไดอิจิ หมายเลข 1 ซึ่งมีอายุการใช้งานมานานหลายสิบปี

ส่วนแผงจ่ายไฟฟ้าของวาล์วควบคุมอุณหภูมิของเตาปฏิกรณ์ตัวหนึ่ง ก็ไม่ได้รับการตรวจมานานถึง 11 ปีแล้ว แต่เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ ได้เขียนรายงานเท็จให้ดูเหมือนว่ามีการตรวจสอบอย่างละเอียดแล้ว ทั้งที่ในความเป็นจริง เป็นการตรวจสอบแบบลวกๆ

นอกจากนี้ การตรวจสอบซึ่งเป็นการทำแบบสมัครใจ ยังไม่ครอบคลุมถึงอุปกรณ์ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับระบบระบายความร้อน อันประกอบด้วยมอเตอร์สูบน้ำและเครื่องปั่นไฟดีเซล    

เทปโกยื่นรายงานเท็จฉบับนี้ หลังจากเจ้าหน้าที่สำนักงานดูแลความปลอดภัยด้านนิวเคลียร์ของญี่ปุ่น สั่งให้ตรวจสอบว่า ผู้ตรวจสอบของเทปโก ได้ตรวจตราอย่างละเอียดแล้วหรือไม่ ก่อนสรุปผลหลังจากนั้น 2 วันว่า การตรวจสอบยังไม่ได้คุณภาพเพียงพอ และมีคำสั่งให้เทปโกร่างแผนแก้ไขให้ถูกต้องภายใน 2 มิ.ย. แต่มาเกิดเหตุภัยพิบัติครั้งใหญ่เสียก่อน

ทางด้าน เจ้าหน้าที่สำนักงานความปลอดภัยนิวเคลียร์ที่ไม่เปิดเผยนาม ปฏิเสธที่จะยืนยันว่า ข้อบกพร่องที่ระบุไว้ในรายงานมีผลต่อเหตุขัดข้องต่างๆ ที่เกิดขึ้น จนนำมาสู่วิกฤติสารกัมมันตรังสีรั่วไหลหรือไม่

นับตั้งแต่วิกฤติรังสีรั่วไหลเริ่มขึ้น เทปโกถูกตั้งข้อสงสัยเรื่องความพยายามปกปิดมาโดยตลอด เนื่องจากในปี 2545 เทปโกเคยยอมรับว่าทำรายงานเท็จ จนนำไปสู่การปิดเตาปฏิกรณ์ 17 แห่ง รวมทั้งโรงไฟฟ้าฟูกูชิมาเพื่อทำการตรวจสอบ จากเหตุการณ์ครั้งนั้น ส่งผลให้ผู้บริหารระดับสูงของเทปโกต้องลาออก

 

 

...........................
ที่มา
: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

คนอีสานย้ำไม่เอาเขื่อนไซยะบุรี ชี้ต้องยกระดับการต่อสู้เพื่อระบบนิเวศน์ของอนุภูมิภาค

Posted: 20 Mar 2011 01:45 AM PDT

สภาองค์กรชุมชนลุ่มน้ำโขงจัดเวทีดันเอ็มอาร์ซี นำข้อเสนอเลื่อน "โครงการเขื่อนไซยะบุรี" เข้าที่ประชุม เหตุการศึกษาผลกระทบข้ามพรมแดนยังไม่ครอบคลุม ด้านตัวแทนเอ็มอาร์ซีเผยกัมพูชา-เวียดนามก็ไม่เอาด้วย แต่การตัดสินใจอยู่ที่คณะกรรมการร่วม ส่วนลาวเตรียมเดินหน้าโครงการเต็มที่

 
 
 
 
วานนี้ (19 มี.ค.54) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร ร่วมกับสภาองค์กรชุมชนลุ่มน้ำโขง หอการค้าจังหวัดสกลนคร คณะกรรมการลุ่มน้ำโขง-ชี-มูล (ภาคประชาชน) สมาคมส่งเสริมเกษตรกรรมลุ่มน้ำโขง องค์การบริหารส่วนตำบลหลุบเลา อ.ภูพาน จ.สกลนคร และมูลนิธิฟื้นฟูชีวิตและธรรมชาติจัดเวทีเสียงประชาชนลุ่มน้ำโขง เรื่อง “พญานาค ปลาแดก คนลุ่มน้ำโขง: กับโครงการเขื่อนไซยะบุรี” ณ มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร โดยมีประชาชนสนใจเข้าร่วมกว่า 500 คน
 
สืบเนื่องจากข้อกังวลต่อผลกระทบข้ามพรมแดนของประชาชนในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ต่อโครงการ "เขื่อนไซยะบุรี" ในประเทศลาว ซึ่งนับเป็นโครงการแรกที่กำลังเตรียมก่อสร้างในแม่น้ำโขงสายหลัก จากโครงการทั้งหมด 12 แห่ง ทั้งนี้ ตามกระบวนการของสมาชิกคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (เอ็มอาร์ซี) ที่ประกอบด้วย 4 ประเทศ คือ เวียดนาม ลาว กัมพูชา และไทย จะต้องนำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาในกระบวนการตัดสินใจของภูมิภาค และในระดับประเทศซึ่งตามกำหนดสมาชิก เอ็มอาร์ซี จะส่งผลความเห็นของแต่ละประเทศในวันที่ 22 เม.ย.นี้
 
 
นายชัยพร ศิริไพบูลย์ รองอธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ ในฐานะเลขานุการของ เอ็มอาร์ซี กล่าวให้ข้อมูลว่า กรณีเขื่อนไซยะบุรี ที่ผ่านมากรมทรัพยากรน้ำ มีกระบวนการนำเสียงภาคส่วนต่างๆ รวบรวมนำเสนอต่อสำนักเลขาธิการเอ็มอาร์ซี โดยได้มีการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นไปแล้ว 3 ครั้ง คือ เวทีที่ อ.เชียงของ จ.เชียงราย, อ.เชียงคาน จ.เลย และที่ จ.นครพนม รวมทั้งเวทีวิชาการที่กรุงเทพฯ ซึ่งทุกเวทีต่างเห็นพ้องกันว่าข้อมูลการศึกษาของโครงการมีไม่เพียงพอ ทั้งเรื่องผลกระทบระหว่างพรมแดน การอพยพของปลา ฯลฯ ข้อสรุปจึงเป็นการขอให้เลื่อนโครงการไปจากกำหนดก่อสร้างเดิมคือวันที่ 22 เม.ย.54 ทั้งนี้ ข้อเสนอดังกล่าวจะถูกนำไปเสนอในการประชุมคณะกรรมการร่วม (Joint Committee: JC) ของเอ็มอาร์ซี ที่จะมีขึ้นในสัปดาห์หน้าด้วย
 
นายชัยพร กล่าวด้วยว่า ที่ผ่านมาได้พยายามเจรจาขอข้อมูลผลกระทบโครงการในหลายๆ ด้านจากประเทศลาว แต่ก็มีปัญหาเรื่องการเข้าถึงข้อมูล ส่วนสิ่งที่ไทยยังขาดมากคือเรื่องการวิเคราะห์ข้อมูล เช่น การขึ้นลงของน้ำในระยะ 10 ปี รวมทั้งคุณภาพน้ำ เพื่อศึกษาความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นหากจะมีการสร้างสิ่งก่อสร้างต่างๆ ในน้ำโขง ทั้งนี้ จากกรณีของเขื่อนไซยะบุรีจะเห็นได้ว่าสิ่งต่างๆ ที่ภาคประชาชนส่งเสียงมันดังขึ้น หากทำข้อมูลให้ดีเสียงอันดังนี้จะไม่หายไป และภาคส่วนต่างๆ ที่เข้ามาช่วยจะทำให้เสียงนี้ดังขึ้นอีก ส่วนทางคณะกรรมการฯ ยืนยันที่จะดำเนินการตามหลักการ อย่างไรก็ตามทั้งหลายทั้งมวลต้องมาพิจารณาถึงผลกระทบที่แท้จริงที่จะเกิดขึ้นไม่ใช่เรื่องผลประโยชน์
 
ส่วนนายสาธิต ภิรมย์ชัย คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (เอ็มอาร์ซี) กล่าวอธิบายเสริมถึงการทำงานของ เอ็มอาร์ซี กรณีโครงการเขื่อนไซยะบุรีว่า กระบวนการแจ้ง ปรึกษาหารือล่วงหน้าและข้อตกลง (PNPCA) เริ่มต้นเมื่อเดือน ก.ย.53 หลังจากที่ประเทศลาวมีการเสนอ เอ็มอาร์ซี ว่าจะมีการสร้างเขื่อนบนแม่น้ำโขง และได้ส่งรายงานให้ประเทศสมาชิกเพื่อเสนอความเห็นใน 6 เดือน ซึ่งเป็นข้อกำหนดที่จะขัดไม่ได้ จากนั้นประเทศสมาชิกจะเข้าสู่กระบวนการปรึกษาหารือในระดับประเทศ ซึ่งในส่วนของประเทศไทยนั้นยอมรับว่ามีข้อขัดข้อง จากที่เวทีรับฟังความคิดเห็นที่ อ.เชียงของ ต้องเปลี่ยนเป็นการให้ข้อมูล เพราะนั่นเป็นประสบการณ์ครั้งแรกของกระบวนการปรึกษาหารือ อีกทั้ง ยังมีกรอบระยะเวลาจำกัด การส่งข้อมูลจึงไม่ครบถ้วนและทั่วถึง
 
นายสาธิต กล่าวถึงในส่วนข้อสรุปอย่างไม่เป็นทางการจากผลการปรึกษาหารือของประเทศกัมพูชาและประเทศเวียดนามด้วยว่า มีทิศทางเดียวกัน โดยเห็นว่า 1.ข้อมูลที่มีการศึกษาในปัจจุบันมีความบกพร่อง 2.ควรที่จะมีการขยายระยะเวลาในการตัดสินใจออกไปอีกเพื่อที่จะทำให้ข้อมูลสมบูรณ์ เพื่อตัดสินใจได้ถูกต้องเป็นธรรมมากขึ้น และ 3.ชะลอเรื่องการสร้างเขื่อนออกไป ทั้งนี้ ในวันที่ 24 มี.ค.นี้ จะมีการประชุมคณะกรรมการร่วมอีกครั้งว่าข้อคิดเห็นจากทั้ง 4 ประเทศเป็นอย่างไร และจะเดินหน้าต่ออย่างไร ซึ่งอาจมีการขยายเวลากระบวนการปรึกษาหารือร่วมออกไปอีก อย่างไรก็ตามตรงนี้ขึ้นอยู่กับการตัดสินของคณะกรรมการร่วม
 
ขณะที่ นายหาญณรงค์ เยาวเลิศ ประธานมูลนิธิเพื่อการจัดการน้ำแบบบูรณาการ (ประเทศไทย) กล่าวแสดงความเห็นว่า เวทีการรับฟังความเห็นของกรมทรัพยากรน้ำตั้งแต่ที่เชียงของเป็นต้นมานั้น เป็นการให้ข้อมูลการดำเนินการ แต่ไม่ได้มีการให้ข้อมูลผลกระทบข้ามพรมแดน ทั้งนี้ จากเวทีทั้ง 4 เวที อยากให้มีการประมวลข้อเสนอออกมา ซึ่งข้อเสนอสำคัญคือการยืดเวลาโครงการออกไป และให้มีการนำไปเสนอต่อในที่ประชุมคณะกรรมการร่วมจริงๆ นอกจากนั้น เขายังเสนอด้วยว่า ในการจัดทำรายงานผลกระทบควรมีการศึกษาอย่างสมบูรณ์ก่อนที่จะนำมาเสนอต่อเอ็มอาร์ซี และในส่วนของเอ็มอาร์ซี เองควรมีการทำเผยแพร่โดยการแปลภาษาเพื่อให้ประชาชนในแต่ละประเทศได้รับทราบด้วย
 
ส่วนในเรื่องผลกระทบจากเขื่อนนั้น หาญณรงค์ กล่าวว่า จากที่เขาเคยไปรับฟังความคิดเห็นในหลายจังหวัดเกี่ยวกับผลกระทบการสร้างเขื่อนบนลำน้ำโขงตอนบนของประเทศจีน ผลพบว่าชาวบ้านได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของแม่น้ำโขง ทั้งน้ำขึ้นนำลงผิดปกติ มีการเก็บกับน้ำเพื่อผลิตไฟฟ้าโดยไม่สนใจคนท้ายน้ำ ทั้งนี้เชื่อว่าหากมีการจัดเวทีรับฟังความเห็นอีกครั้งจะมีผู้เข้าร่วมมากขึ้นกว่าเดิม เพราะมีคนห่วงกังวลเรื่องนี้จำนวนมาก แต่ก็ไม่แน่ใจว่าความกังวลนี้จะไปถึงคนที่มีอำนาจตัดสินใจในระดับนโยบายหรือไม่
 
หาญณรงค์ กล่าวด้วยว่าหากมีผลกระทบจากการสร้างเขื่อนนี้ขึ้นในอนาคต จะต้องเป็นความรับผิดชอบของผู้สร้าง ซึ่งตรงนี้จะมากกว่าการโยกย้ายรายครอบครัวอย่างที่เคยเป็นมา แต่จะต้องคำนึงถึงการเสียโอกาส การสูญเสียรายได้ ผลกระทบต่ออาชีพ และปัญหาต่างๆ ที่จะตามมาในระยะยาวด้วย อย่างไรก็ตามในตอนนี้ยังไม่มีข้อมูลพอที่จะนำมาคำนวณความรับผิดชอบเหล่านี้ ทำให้ไม่เห็นตัวผู้ได้รับผลกระทบ เนื่องจากที่ผ่านมาไม่มีการสำรวจข้อมูลคนที่ใช้พื้นที่ริมน้ำทำเกษตรกรรม หรือจำนวนผู้ประกอบอาชีพประมงก็ยังไม่มีตัวเลขสำรวจข้อมูล แต่กลับมีการผลักภาระทั้งหมด โดยเขียนมาตรการให้ความช่วยเหลืออย่างลอยๆ
 
ด้าน นายเหลาไท นิลนวล ประธานคณะทำงานลุ่มน้ำโขง กล่าวว่าการคัดค้านโครงการขนาดใหญ่ในวันนี้มีความซับซ้อนมากขึ้น เนื่องจากแม่น้ำสายหลักที่ถูกกระทำคือแม่น้ำโขงที่คนกว่า 60 ล้านคนใช้ประโยชน์ร่วมกัน และโจทย์สำคัญที่ถูกตั้งขึ้นคือแม่น้ำโขงเป็นของใคร เมื่อโครงการก่อสร้างเขื่อนไซยะบุรีถูกประเทศลาวอ้างว่าเป็นสิทธิเหนืออธิปไตยของประเทศที่จะทำการก่อสร้างไม่ควรที่ประเทศอื่นจะเข้าไปก้าวก่าย แต่หากถามว่าประชาชนลาวคิดอย่างไรเมื่อคนที่ไปลงทุนในการก่อสร้างเป็นนายทุนจากประเทศไทย กรณีนี้ก็อาจถูกมองว่าเป็นเรื่องของไทย   หรือหากไปถามนายทุน ตามวิธีคิดของเขานี่คือการแย่งชิงฐานทรัพยากร ซึ่งถ้าไทยไม่ทำ จีนก็ทำแทน เมื่อคิดถึงผลประโยชน์ของประเทศแล้วเราจะเอาอย่างไร
 
นายเหลาไท กล่าวถึงกรณีข้อถกเถียงดังกล่าวว่า ที่ผ่านมาไม่มีใครพูดถึงผลกระทบต่อชีวิตของชาวบ้านเลย ทั้งที่จากบทเรียนของชาวบ้านปากมูล และประชาชนที่เชียงแสน จะเห็นได้ว่าผลกระทบจะตามมาอย่างแน่นอน ตรงนี้ต้องเอาให้ชัด เมื่อทุกคนเห็นไม่ต่างกันว่าการพัฒนาแม่น้ำสายหลักของภูมิภาคด้วยเขื่อนประชาชนไม่เอา ซึ่งเรื่องนี้ไม่มีปัญหาเหมือนกรณีเขื่อนในประเทศที่มีทั้งกลุ่มคัดค้านและสนับสนุน รัฐบาลไทยก็ต้องประกาศจุดยืนตรงนี้ให้ชัดเจน
 
นายเหลาไท กล่าวต่อมาว่า ในส่วนชาวบ้านที่คัดค้านโครงการต้องร่วมกันยืนยันการต่อสู้ในแนวทางสันติวิธี และคิดว่าต่อไปคงต้องคุยมากขึ้นในเรื่องการขยายเครือข่าย สำหรับภาคอีกสานจะมีการนัดหมายพูดคุยกันในเดือนเมษายนนี้ เพื่อหาแนวทางการแก้ปัญหา และหากโครงการยังเดินหน้าก่อสร้างต่อ ชาวบ้านจะต้องหาวิธีรับมือปัญหาสิ่งแวดล้อมที่จะตามมาในอนาคต รวมทั้งความต้องการน้ำที่อาจนำไปสู่ความขัดแย้งเรื่องการแย่งชิงทรัพยากรได้
 
“นี่เป็นการยกระดับการต่อสู้เพื่อรักษาระบบนิเวศน์ในแม่น้ำโขง เมื่อประชาชนในหลายประเทศพูดไม่ได้ ทั้งลาว กัมพูชา เวียดนาม ประชาชนในประเทศไทยจึงต้องก้าวเข้ามาเป็นตัวแทนเคลื่อนไหวคัดค้าน สู้ให้ถึงที่สุด” นายเหลาไทกล่าว
 
ด้าน สมเกียรติ เขื่อนเชียงสา ตัวแทนกลุ่มรักษ์เชียงของ กล่าวถึงผลกระทบจากเขื่อนขนาดใหญ่ 4 เขื่อน บนแม่น้ำโขงตอนบนที่มีการก่อสร้างแล้วในประเทศจีนว่า ได้ส่งผลให้ลำน้ำหลายสายในภาคเหนือเปลี่ยนแปลงไป แม่น้ำโขงไหลอย่างไม่เป็นธรรมชาติ อีกทั้งปริมาณและชนิดของปลาในลำน้ำก็ลดลงไปจำนวนมาก ซึ่งผลกระทบนี้ยังเกิดกับแม่น้ำสาขาอย่างแม่น้ำกก และแม่น้ำอิงด้วย ทั้งนี้ โดยส่วนตัวเขารู้สึกห่วงใยผู้คนในหลายหมู่บ้านซึ่งยังพึงพิงแม่น้ำโขง และอยากแสดงความเห็นเสนอให้ผู้มีอำนาจ จากข้อเรียกร้องที่มีให้ตัวเองว่าอยากมีชีวิตที่รบกวนธรรมชาติให้น้อยที่สุด โดยให้สังคมไทยและรัฐบาลไทยพูดถึงเรื่องการลดการใช้พลังงาน ไม่ใช่การสำรองพลังงาน ซึ่งนำไปสู้การแสวงหาแหล่งพลังงานมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะความโลภของคนมีไม่สิ้นสุด ถึงเวลาที่จะลดความต้องการใช้ลง เหล่านี้เป็นสิ่งที่ต้องช่วยกัน
 
สมเกียรติ กล่าวถึงข้อเรียกร้องต่อมาว่า ต้องการให้รัฐบาลจีนยุติการสร้างเขื่อนในลำน้ำโขงตอนบน ส่วนรัฐบาลลาว รัฐบาลไทย ธนาคาร และบริษัทต่างๆ ต้องยุติการสร้างเขื่อนในแม่น้ำโขงตอนล่าง ทั้งนี้เขาคิดว่าเสียงของเขาและพี่น้องในภาคเหนืออาจมีเพียงเล็กน้อย ไม่เพียงพอเรียกร้องให้ผู้มีอำนาจมาสนใจ จึงอยากมาร่วมขอเสียงคนอีสานมาร่วมเรียกร้องไม่ใช่แค่เพื่อคนในประเทศใดประเทศหนึ่ง แต่ยังรวมถึงพี่น้องกลุ่มชาติพันธ์ที่หลากหลายที่อยู่ในอนุภูมิภาคนี้ด้วย
 
ภายหลังเวทีพูดคุย เครือข่ายที่มาเข้าร่วมได้ร่วมแสดงความคิดเห็นต่อกรณีการสร้างเขื่อนและให้ข้อเสนอแนะ อาทิ การเสนอเข้าชื่อคัดค้านโครงการเขื่อนไซยะบุรี และยื่นหนังสือต่อผู้เกี่ยวข้องทั้งทางสถานทูตลาว และรัฐบาลไทย และทางธนาคารของไทยซึ่งเป็นผู้ให้ทุนในการดำเนินโครงการ
 
“ถึงเวลาแล้วที่รัฐบาลจะต้องหันมาสนใจเสียงเรียกร้องของเรา”
 
“ทรัพยากรของเราถูกช่วงชิง เราเป็นผู้ถูกกระทำ”
 
“ตอนนี้ต้องคิดว่าจะสู้ไม่สู้ ไม่ต้องคิดว่าเขาจะสร้างไม่สร้าง เพราะเขาจะสร้างพันเปอร์เซ็นต์”
 
“การที่เราจะสู้ต้องเปลี่ยนแนวคิดของพี่น้องด้วย คนที่อยู่ทางบ้านรู้หรือยัง โดยเฉพาะคนที่อยู่ริมโขงบางคนยังคิดว่าเป็นเรื่องธรรมดา เป็นเรื่องธรรมชาติ แต่หน้าแล้งมันก็แล้งหนัก น้ำท่วมก็เดือดร้อน แต่เขาไม่ได้คิดเรื่องนี้ ไม่กล้าพูด”
 
“ทำไมรัฐไม่เอาความสุขของประชาชนเป็นตัวตั้งในการพัฒนาประเทศ” ตัวอย่างการแสดงความคิดเห็นจากผู้เข้าร่วมเวที
 
 
ย้ำข้อเสนอยุติโครงการสร้างเขื่อนไซยะบุรีและเขื่อนบนแม่น้ำโขงสายหลัก 
 
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กิจกรรมสุดท้ายของประชุมได้มีการการแสดงเจตนารมณ์และยื่นจดหมายข้อเสนอของเครือข่ายภาคประชาชนลุ่มน้ำโขง ให้แก่ นายชัยพร ศิริไพบูลย์ รองอธิบดีกรมทรัพยากรน้ำและมีการออกแถลงการณ์ขอให้ยุติโครงการสร้างเขื่อนไซยะบุรีและเขื่อนบนแม่น้ำโขงสายหลัก โดยมีข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลไทย สำนักงานเลขาธิการคณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทย และสำนักงานเลขาธิการคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง 5 ข้อ คือ 1.ให้ยกเลิกแผนการสร้างเขื่อนในแม่น้ำโขงทั้ง 12 แห่ง เพราะจะส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ ระบบเศรษฐกิจของชุมชน และประชาชนหลายสิบล้านคนตลอดทั้งลุ่มน้ำโขง 2.รัฐบาลไทยต้องยุติการรับซื้อไฟฟ้าจากเขื่อนไซยะบุรี และเขื่อนกั้นแม่น้ำโขงอื่นๆ ทั้งหมด 3.ให้มีการเปิดเผยข้อมูลของโครงการเขื่อนไซยะบุรีทั้งหมด และแปลเป็นภาษาไทย โดยให้ดำเนินการจัดรับฟังความเห็นที่เป็นไปตามกฎหมายรัฐธรรมนูญและกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องของไทย
 
4.รัฐบาลต้องยืนยันกับประเทศสมาชิกลุ่มน้ำโขงอื่นๆ ในการที่จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายของประเทศไทยที่มีอยู่ ควบคู่ไปกับการดำเนินการตามข้อตกลงการใช้แม่น้ำโขง พ.ศ.2538 รัฐบาลต้องหลีกเลี่ยง ไม่ให้กระบวนการตัดสินใจในเรื่องนี้เป็นเรื่อง การแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ทางการเมืองระหว่างประเทศ 5.ในระหว่างนี้ รัฐบาลไทยต้องดำเนินการให้มีการขยายระยะกระบวนการแจ้งให้ทราบ ปรึกษาหารือและข้อตกลง (PNPCA) ซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 22 เมษายน ที่จะถึงนี้ ออกไปก่อน เนื่องจากเป็นโครงการที่สี่ประเทศลุ่มน้ำโขงตอนล่าง ได้ใช้กระบวนการนี้ จึงสมควรที่จะสร้างแนวทางการปฏิบัติร่วมกัน ที่ตั้งอยู่บนความโปร่งใส และรับผิดชอบร่วมกันมากที่สุด
 
ทั้งนี้  โครงการก่อสร้างเขื่อนไซยะบุรี เป็นเขื่อนเพื่อผลิตไฟฟ้า มีกำลังผลิต 1,280 เมกะวัตต์ โดยมีบริษัท ช.การช่าง เป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง โดยมี 4 ธนาคารพาณิชย์ของไทยให้เงินกู้ถึง 95% จากเงินลงทุน 105,000 ล้านบาท ขณะนี้ประเทศลาวกำลังเร่งเดินหน้าโครงการ หลังคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติมีมติ ให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) รับซื้อไฟฟ้าเป็นที่เรียบร้อยแล้วเมื่อวันที่ 5 ก.ค.53 ในส่วนการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการไซยะบุรี คาดว่าจะใช้เวลาไม่เกิน 30 เดือน และจะเริ่มก่อสร้างได้ประมาณต้นปี 2554 คาดว่าจะดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จ และทำการผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อขายให้แก่ กฟผ.ได้ประมาณไตรมาสสุดท้ายของปี 2558 โดยทางบริษัท ช.การช่างได้รับสัมปทานในการผลิตกระแสไฟฟ้าเป็นเวลา 30 ปี รวมระยะเวลาการก่อสร้าง
 
แม้ว่า จากรายงานการประเมินสิ่งแวดล้อมเชิงยุทธศาสตร์ (SEA) ของ เอ็มอาร์ซี ที่ได้จัดทำขึ้นเมื่อเดือน ต.ค.53 โดยมีการประเมินผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจอันเกิดจากการผลิตไฟฟ้า มาเปรียบเทียบกับต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อมและชุมชนริมแม่น้ำ ตลอดจนเศรษฐกิจท้องถิ่นของชุมชน มีบทสรุปเสนอว่า ควรเลื่อนเวลาการสร้างเขื่อนบนแม่นำโขงสายหลักไปอีก 10 ปี เพื่อให้เกิดการศึกษาอย่างรอบด้านเสียก่อน อีกทั้งมีท่าทีของหลายประเทศแสดงความหวั่นเกรงถึงผลกระทบ แต่เมื่อวันที่ 14 ก.พ.53 รัฐบาลลาวได้ออกแถลงการณ์และจุดยืนที่ชัดเจนในการเดินหน้าโครงการต่อ โดยให้เหตุผลว่าได้จัดทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) แล้ว และมีการศึกษาความเป็นไปได้ทั้งด้านเทคนิค วิศวกรรม โดยยืนยันว่าไม่มีผลกระทบใดๆ อีกทั้งการก่อสร้างโครงการอยู่ในในพื้นที่อธิปไตยของลาว
 
  
 
แถลงการณ์
ขอให้ยุติโครงการสร้างเขื่อนไซยะบุรีและเขื่อนบนแม่น้ำโขงสายหลัก
 
เนื่องจากในขณะนี้ แม่น้ำโขงกำลังถูกคุกคามทำลายจากโครงการสร้างเขื่อน ทั้งแม่น้ำโขงตอนบนในเขตประเทศจีนซึ่งมีการก่อสร้างเขื่อนไปแล้วถึง 4 เขื่อน และแม่น้ำโขงตอนล่างที่กำลังมีแผนก่อสร้างเขื่อนบนแม่น้ำโขงสายหลักถึง 12 เขื่อน โดยที่การลงทุนส่วนใหญ่นั้นเป็นของภาคเอกชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเตรียมการก่อสร้างโครงการเขื่อนไซยะบุรี ใน สปป.ลาว ซึ่งเป็นการลงทุนโดยบริษัท ช. การช่างจากประเทศไทย โดยมีแหล่งเงินกู้มาจากธนาคารของไทย และประเทศไทยจะเป็นผู้รับซื้อไฟฟ้าเกือบทั้งหมด เขื่อนไซยะบุรีและเขื่อนอื่นๆทั้งหมดนี้จะนำมาซึ่งความสูญเสียของระบบนิเวศ ทรัพยากรธรรมชาติลุ่มแม่น้ำโขง รวมทั้งการดำรงชีวิตและความมั่นคงทางอาหารของประชาชนหลายสิบล้านคนตลอดลุ่มน้ำโขง ที่มิใช่เฉพาะประชาชนที่อาศัยอยู่ริมน้ำโขงสายหลักเท่านั้น แต่ยังจะรวมไปถึงประชาชนในแม่น้ำสาขาของแม่น้ำโขงในภาคอีสานตอนบนอีกหลายสาย อาทิ แม่น้ำสงคราม ลำห้วยหลวง แม่น้ำก่ำ เป็นต้น
 
ในระยะหลายปีที่ผ่านมา ปรากฏชัดแล้วว่า การสร้างเขื่อนในแม่น้ำโขงตอนบนในประเทศจีน ได้ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ การอพยพของปลา และพื้นที่เกษตรริมโขงตลอดพรมแดนไทย-ลาวในเขตภาคอีสานของไทย รวมถึงการขึ้นลงของระดับน้ำในแม่น้ำสาขาที่เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน เช่น แม่น้ำสงคราม แม่น้ำก่ำ เป็นต้น ชี้ให้เห็นถึงความผลกระทบที่ส่งต่อถึงกันระหว่างแม่น้ำโขงและแม่น้ำสาขาอย่างชัดเจนในลักษณะที่เรียกว่า ผลกระทบข้ามพรมแดน ทั้งนี้ ยังไม่นับรวมถึงผลกระทบที่เกิดจากการสร้างเขื่อนในแม่น้ำทุกสาขาทั้งหมด ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อวิถีชีวิตและสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง และยังแก้ไขปัญหาไม่แล้วเสร็จอีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งพวกเราเป็นผู้ประสบชะตากรรมนั้นได้รับรู้ความทุกข์นั้นเป็นอย่างดี
 
พวกเราในนามของเครือข่ายประชาชนลุ่มน้ำภาคอีสาน ขอเรียกร้องต่อรัฐบาลไทย, สำนักงานเลขาธิการคณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทย และสำนักงานเลขาธิการคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง ดังนี้
 
๑. ให้ยกเลิกแผนการสร้างเขื่อนในแม่น้ำโขงทั้ง ๑๒ แห่ง เพราะจะส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ ระบบเศรษฐกิจของชุมชน และประชาชนหลายสิบล้านคนตลอดทั้งลุ่มน้ำโขง
 
๒. รัฐบาลไทยต้องยุติการรับซื้อไฟฟ้าจากเขื่อนไซยะบุรี และเขื่อนกั้นแม่น้ำโขงอื่นๆทั้งหมด
 
๓.ให้มีการเปิดเผยข้อมูลของโครงการเขื่อนไซยะบุรีทั้งหมด และแปลเป็นภาษาไทย โดยให้ดำเนินการจัดรับฟังความเห็นที่เป็นไปตามกฎหมายรัฐธรรมนูญและกฎหมายอื่นๆที่เกี่ยวข้องของไทย
 
๔. รัฐบาลต้องยืนยันกับประเทศสมาชิกลุ่มน้ำโขงอื่นๆ ในการที่จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายของประเทศไทยที่มีอยู่ ควบคู่ไปกับการดำเนินการตามข้อตกลงการใช้แม่น้ำโขงพ.ศ.๒๕๓๘ รัฐบาลต้องหลีกเลี่ยง ไม่ให้กระบวนการตัดสินใจในเรื่องนี้เป็นเรื่อง การแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ทางการเมืองระหว่างประเทศ
 
๕. ในระหว่างนี้ รัฐบาลไทยต้องดำเนินการให้มีการขยายระยะกระบวนการแจ้งให้ทราบ ปรึกษาหารือและข้อตกลง (PNPCA) ซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ ๒๒ เมษายน ที่จะถึงนี้ ออกไปก่อน เนื่องจากเป็นโครงการที่สี่ประเทศลุ่มน้ำโขงตอนล่าง ได้ใช้กระบวนการนี้ จึงสมควรที่จะสร้างแนวทางการปฏิบัติร่วมกัน ที่ตั้งอยู่บนความโปร่งใส และรับผิดชอบร่วมกันมากที่สุด
 
๑๙ มีนาคม ๒๕๕๔
 
รับรองโดย
๑. เครือข่ายสภาองค์กรชุมชนตำบลลุ่มน้ำโขง ๖ จังหวัด ภาคอีสาน (คสข.)
๒. คณะกรรมการกลุ่มน้ำโขง (ภาคประชาชน)
๓. เครือข่ายเกษตรกรรมยั่งยืนลุ่มน้ำโขง
๔. เครือข่ายอินแปง
๕. เครือข่ายลุ่มน้ำพุง
๖. เครือข่ายลุ่มน้ำก่ำ
๗. ประชาสังคม จ.สกลนคร
๘. ประชาสังคม จ.อุดรธานี
๙. กลุ่มคนเชียงคาน จ.เลย
๑๐. ชมรมอนุรักษ์และฟื้นฟูลุ่มน้ำสงคราม
๑๑. สมัชชาคนจนราศีไศล-หัวนา
๑๒. คณะกรรมการชาวบ้านฟื้นฟูลุ่มน้ำมูล
๑๓. เครือข่ายอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชิตและวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขงในเขตล้านนา
๑๔. กลุ่มรักษ์เชียงของ
๑๕. โครงการประวัติศาสตร์นิเวศวัฒนธรรมเพื่อการฟื้นฟูชุมชนท้องถิ่นลุ่มน้ำภาคเหนือ
 
--------------------
 
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

กรุงเทพโพลล์เผยผลสำรวจอภิปราย ให้ฝ่ายค้านชนะ

Posted: 19 Mar 2011 09:23 PM PDT

 

เมื่อวันที่ 20 มี.ค. ที่ผ่านมา ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ หรือ “กรุงเทพโพลล์” เผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนจากทุกภาคทั่วประเทศ พบว่า หลังการอภิปรายไม่ไว้วางใจเสร็จสิ้นลง ประชาชนให้คะแนนความไว้วางใจต่อนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีรวม 10 ท่านที่ถูกอภิปราย เรียงลำดับตามคะแนนความไว้วางใจดังนี้

อันดับหนึ่ง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ไว้วางใจ ร้อยละ 25.6 ไม่ไว้วางใจ ร้อยละ 57.2 ไม่ออกความเห็น ร้อยละ 17.2 อันดับสอง นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ไว้วางใจ ร้อยละ 22.9 ไม่ไว้วางใจ ร้อยละ 53.2 ไม่ออกความเห็น ร้อยละ 23.9 อันดับสาม นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ไว้วางใจ ร้อยละ 19.6 ไม่ไว้วางใจ ร้อยละ 55.1 ไม่ออกความเห็น ร้อยละ 25.3 อันดับสี่ นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีและสารสนเทศ ไว้วางใจ ร้อยละ 16.6 ไม่ไว้วางใจ ร้อยละ 56.1 ไม่ออกความเห็น ร้อยละ 27.3

อันดับห้า นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ไว้วางใจ ร้อยละ 16.4 ไม่ไว้วางใจ ร้อยละ 65.6 ไม่ออกความเห็น ร้อยละ 18.0 อันดับหก นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง ไว้วางใจ ร้อยละ 16.4 ไม่ไว้วางใจ ร้อยละ 70.9 ไม่ออกความเห็น ร้อยละ 12.7 อันดับเจ็ด นางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ไว้วางใจ ร้อยละ 14.0 ไม่ไว้วางใจ ร้อยละ 70.3 ไม่ออกความเห็น ร้อยละ 15.7 อันดับแปด นายศุภชัย โพธิ์สุ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ไว้วางใจ ร้อยละ 12.3 ไม่ไว้วางใจ ร้อยละ 62.5 ไม่ออกความเห็น ร้อยละ 25.2

อันดับเก้า นายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ไว้วางใจ ร้อยละ 11.8 ไม่ไว้วางใจ ร้อยละ 68.6 ไม่ออกความเห็น ร้อยละ 19.6 และอันดับสิบ นายชวรัตน์ ชาญวีรกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ไว้วางใจ ร้อยละ 11.7 ไม่ไว้วางใจ ร้อยละ 69.6 ไม่ออกความเห็น ร้อยละ 18.7

สำหรับการทำหน้าที่ของฝ่ายต่างๆ ในการอภิปรายที่ผ่านมาพบว่า ประชาชนให้คะแนนฝ่ายค้าน 6.48 คะแนน ฝ่ายรัฐบาล 4.28 คะแนน และประธานสภาฯ 5.57 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน

เมื่อเปรียบเทียบความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่นำมาใช้ประกอบการอภิปรายของฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน พบว่า ร้อยละ 49.8 ระบุว่าเชื่อถือข้อมูลของฝ่ายค้านมากกว่า ขณะที่ร้อยละ 19.7 เชื่อถือข้อมูลของฝ่ายรัฐบาลมากกว่า และร้อยละ 30.5 ไม่เชื่อถือข้อมูลของทั้งสองฝ่าย

อย่างไรก็ตาม หลังการอภิปรายเสร็จสิ้นลงยังคงมีประเด็นที่ประชาชนค้างคาใจมากที่สุดคือ เรื่องการสลายการชุมนุมในช่วงเดือน เมษายน – พฤษภาคม (ทำให้มีคนเสียชีวิต 91 ศพ และการเผาห้างสรรพสินค้าเซ็ลทรัลเวิลด์) ร้อยละ 29.9 รองลงมาคือ เรื่องน้ำมันปาล์มขาดตลาด ร้อยละ 27.4 และเรื่องราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่แพงขึ้น ร้อยละ 8.1 ตามลำดับ

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น