ประชาไท Prachatai.com |
- สุเทพ ลั่นวาจาหากศาลสั่งเอาผิดคดีโรงพักสร้างไม่เสร็จ ให้มาเอาชีวิตไปได้เลย
- วิชาชีพเภสัชกรค้าน ร่าง พ.ร.บ.ยา ฉบับ อย. เหตุผิดหลักการ-ยัดไส้คำสั่ง คสช.
- “Disruptive World: Innovative Political Science?” by Daniel Slater
- วิษณุเผย ยังไม่มีเหตุให้เลือกตั้งช้ากว่า 24 ก.พ. 62 ยันกลางเดือน ก.ย. คลายล็อคพรรคการเมือง
- 'สมัชชาคนจน' ค้านเขื่อนท่าแซะ ชี้เสียป่า-ปชช.ต้องอพยพมาก อยู่บนแนวรอยเลื่อนแผ่นดินไหว
- 5 จำเลยคดี 'เวทีวิชาการไม่ใช่ค่ายทหาร' ปฏิเสธข้อกล่าวหา นัดตรวจพยานหลักฐาน 24 ก.ย.นี้
- สังคมไทยในโลกที่พลิกผัน I 70 ปีรัฐศาสตร์ จุฬาฯ
- คนส. วิจารณ์กฎกระทรวงคุมประพฤติเยาวชนละเมิดเสรีภาพ-หวังผลทางการเมือง
- ‘ไสว เสื้อแดง’ เหยื่อกระสุนปี 52 ร้อง กสม. ช่วยเจรจากับกองทัพยกเลิกอายัดทรัพย์
- แดน สเลเทอร์: รัฐศาสตร์นวัตกรรมในโลกแห่งความพลิกผัน I 70 ปีรัฐศาสตร์ จุฬาฯ
สุเทพ ลั่นวาจาหากศาลสั่งเอาผิดคดีโรงพักสร้างไม่เสร็จ ให้มาเอาชีวิตไปได้เลย Posted: 20 Aug 2018 10:07 AM PDT Submitted on Tue, 2018-08-21 00:07 สุเทพ เทือกสุบรรณ ให้สัมภาษณ์หลังเข้าชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาคดีทุจริตก่อสร้างโรงพัก-แฟลตตำรวจกับ ป.ป.ช. ชี้อนุกรรมการ ป.ป.ช.มีอคติ ยินดีหากจะส่งเรื่องให้ศาลตัดสิน ถ้าผิดยอมแลกด้วยชีวิต ด้านอภิสิทธิ์ แจงปมเปลี่ยนรูปแบบการประมูลโครงการไม่มีเรื่องเสนอมาตัวเอง สุเทพ เทือกสุบรรณ ปราศรัยในช่วงการชุมนุมของกลุ่ม กปปส. ที่มาภาพจากเฟสบุ๊ก Suthep Thaugsuban 20 ส.ค. 2561 มติชนออนไลน์ รายงานว่า สุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคงในสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชาชีวะ (ปัจจุบันเป็นผู้ร่วมก่อตั้งพรรครวมพลังประชาชาติไทย) ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน ภายหลังจากเข้าชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา กรณีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) มีมติแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่ม สุเทพ รวมกับพวก 17 คน ในคดี 396 โรงพักสร้างไม่เสร็จ งบประมาณ 5,848 และแฟลตตำรวจ 163 แห่ง งบประมาณ 3,010 เป็นเวลาเกือบ 3 ชั่วโมง โดยระบุว่า วันนี้ได้เดินทางมาเพื่อนำหลักฐานทั้งหมดมาชี้แจงให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. รับทราบ เนื่องจากคณะกรรมการยังไม่เห็นเอกสารเหล่านี้ สุเทพ อธิบายว่า สิ่งที่ตนเองทำไปนั้นเป็นการดำเนินการโดยสุจริต ด้วยหลักการเหตุผล ตามที่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติอนุมัติมา ทุกขั้นตอนทำถูกต้องตามกฎหมาย ทั้งนี้หลังจากมีการเซ็นสัญญาการก่อสร้างเรียบร้อยแล้ว ตนพ้นจากตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี ต่อมาโครงการเสร็จไม่ทันตามกำหนด และรัฐบาลยิ่งลักษณ์ มาต่อสัญญาให้ 3 ครั้ง จนกระทั่งมีการยกเลิกสัญญาในที่สุด จากนั้นเริ่มมีกระบวนการใส่ร้ายตน คณะอนุกรรมการ ป.ป.ช.ตั้งข้อหาแปลกๆ มีอคติ ขณะนี้กำลังตั้งพรรคการเมืองต้องรวบรวมศรัทธาจากประชาชนจึงจำเป็นต้องเปิดเผยต่อสาธารณชน ว่าวิธีการไต่สวนของคณะอนุกรรมการ ป.ป.ช. และ ดีเอสไอไม่ชอบด้วยกฎหมาย อนุกรรมการ ป.ป.ช.ไม่ควรตกเป็นเครื่องมือใคร ยินดีหาก ป.ป.ช.จะส่งเรื่องให้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตัดสิน ถ้าผิดก็เอาชีวิตตนไป หากไม่ผิดคณะอนุกรรมการ ป.ป.ช.ควรขอโทษประชาชน ทั้งนี้ความยุติธรรมหมายถึงความรวดเร็วด้วย ป.ป.ช.จะวินิจฉัยอย่างไร ไม่ติดใจ ดีกว่าปล่อยให้เรื่องยืดเยื้อต่อไป
ผู้สื่อข่าวประชาไทรายงานด้วยว่า เมื่อวันที่ 16-18 ส.ค. ที่ผ่านมา สุเทพได้ไลฟ์ เฟซบุ๊ก Suthep Thaugsuban (สุเทพ เทือกสุบรรณ) เพื่อชี้แจงกรณีดังกล่าวต่อสาธารณะชน โดยอ้างว่าในช่วงเวลานั้นมี พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ ดำรงตำแหน่งเป็น ผช.ผบ.ตร. ซึ่งเรื่องที่เสนอจะต้องผ่านมาทางพล.ต.อ.พงศพัศ ถ้าตนทุจริต ทำไม พล.ต.อ.พงศพัศ จึงเซ็นหนังสือให้ความเห็นชอบมาตามลำดับ ถ้า พล.ต.อ.พงศพัศ รู้ว่าตนทำผิด ทำไมไม่ดำเนินคดี การไม่ดำเนินคดีทั้งๆ ที่รู้ เป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ พร้อมทั้งระบุด้วยว่า ทำ ป.ป.ช. ไม่สนใจประเด็นนี้ ทำไมมุ่งมาที่ตน และทำไมอนุกรรมการไต่สวน ป.ป.ช. จึงไปฟังพรรคเพื่อไทย แล้วไม่ฟังเหตุผลข้อเท็จจริงหลักฐานของตน ด้านข่าวสดออนไลน์ รายงานว่า อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ตอบคำถามสื่อมวลว่า เพราะเห็นใด ป.ป.ช. จึงมีการแจ้งข้อกล่าวเพียงแค่สุเทพ เท่านั้น ทั้งที่กรณีดังกล่าวเกิดขึ้นในสมัยที่อภิสิทธิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี ว่า ไม่ทราบ และคงต้องสอบถามป.ป.ช. อย่างไรก็ตาม โครงการก่อสร้างดังกล่าวอนุมัติโดยคณะรัฐมนตรีของรัฐบาลตน ดังนั้นครม. ก็ต้องร่วมรับผิดชอบ ซึ่งสมัยนั้นครม.อนุมัติเฉพาะหลักการว่าจะทำอะไรบ้าง แต่ที่มีการวิพากษ์วิจารณ์ คือ เปลี่ยนแปลงวิธีประมูลที่จากเดิมประมูลเป็นรายภาค กลายมาเป็นประมูลรวมครั้งเดียว ซึ่งวิธีการประมูลดังกล่าวไม่ได้เสนอมายังตน และครม. แต่เสนอตรงไปที่นายสุเทพ ซึ่งขณะนั้นเป็นรองนายกฯ ที่ดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และเท่าที่ทราบสุเทพ อนุมัติตามที่สตช. สรุปขึ้นมา ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai |
วิชาชีพเภสัชกรค้าน ร่าง พ.ร.บ.ยา ฉบับ อย. เหตุผิดหลักการ-ยัดไส้คำสั่ง คสช. Posted: 20 Aug 2018 09:25 AM PDT Submitted on Mon, 2018-08-20 23:25 องค์กรวิชาชีพเภสัชกรรมค้าน ร่าง พ.ร.บ.ยา ฉบับที่ อย. และ สธ. เสนอต่อคณะรัฐมนตรี ออกแถลงการณ์เรียกร้องเภสัชกรทั่วประเทศคัดค้าน เนื่องจากมีเนื้อหาผิดหลักการ ยัดไส้คำสั่งหัวหน้า คสช. ลงในกฎหมาย ภก.จิระ วิภาศวงษ์ ประธานชมรมเภสัชสาธารณสุขแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ทางชมรมฯ ซึ่งเป็นองค์กรวิชาชีพเภสัชกรรมตัวแทนผู้ปฏิบัติงานบังคับใช้กฎหมายด้านยาและสุขภาพ รวมถึง พ.ร.บ.ยา ได้ร่วมกันวิเคราะห์ ร่าง พ.ร.บ. ยา ฉบับที่ อย. นำเสนอ และเห็นว่ามีจุดที่ต้องปรับปรุงแก้ไขจำนวนมาก ขาดการนำข้อตกลงที่เคยมีมาในการรับฟังก่อนหน้านี้หลายครั้งไปใช้ปรับปรุงกฎหมาย โดยมีองค์กรวิชาชีพเภสัชกรรมได้ทำการประท้วงอย่างกว้างขวางทั่วประเทศ จึงขอออกแถลงการณ์ชี้แจงข้อที่ต้องแก้ไขต่อสังคม โดยมีสาระสำคัญ เช่น นิยามยาสามัญประจำบ้านที่ไม่รัดกุม การปล่อยให้วิชาชีพต่างๆ ขายยาได้ การไม่แบ่งประเภทยาตามหลักสากล ให้จดแจ้งยาชีววัตถุ และการโฆษณา เป็นต้น นอกจากนี้ การแก้ไขกฎหมายยังขาดความรอบคอบด้านการคุ้มครองความปลอดภัยของผู้บริโภค ตลอดจนไม่คำนึงถึงหลักการที่มีการยอมรับในระดับสากลกำหนดให้มีความสมดุลระหว่างผู้สั่งยาและผู้ใช้ยา ทั้งนี้ ตนขอให้ อย. ไม่ทำเพียงการมาแจ้งความคืบหน้า แต่ต้องตกลงกันว่าจะเปลี่ยนแปลงอะไร ไม่เปลี่ยนแปลงอะไร ไม่ใช่แก้ไขตามอำเภอใจ โดยไม่สนใจหลักการ วิชาชีพเภสัชฯ รุมค้าน พ.ร.บ.ยาด้าน ภญ.ดร.ศิริรัตน์ ตันปิชาติ นายกสมาคมเภสัชกรรมขุมชน องค์กรตัวแทนเภสัชกรที่ปฏิบัติงานวิชาชีพในร้านยาทั่วประเทศ เห็นว่าการแก้ไข ร่าง พ.ร.บ.ยา ครั้งนี้ไม่คำนึงถึงหลักการ ดูได้จากหลักการที่เสนอกับสิ่งที่แก้ไขมีความแปลกแยกแตกต่างกัน ไม่คุ้มครองความปลอดภัยให้การจดแจ้งการโฆษณาและยาชีววัตถุ ซึ่งการจดแจ้งเครื่องสำอางก็ให้บทเรียนเกี่ยวกับสถานที่ผลิตเถื่อนจนกระทบสังคมกว้างขวางตามที่เป็นข่าว ร้านยามีหน้าที่หลักคือขายยาโดยเภสัชกรตามกฎหมาย แต่กลับออกกฎหมายมาให้วิชาชีพต่างๆ ขายยาได้ด้วย เป็นการสวนทางกับการที่มีเภสัชกรจบออกมามากขึ้น ทั้งที่ควรให้เภสัชกรซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านยาทำหน้าที่นี้โดยมีใบสั่งยามาที่ร้านยาตามหลักสากล หรือกรณีการขายยาออนไลน์ที่ไม่มีการควบคุมจริงจังก็ไม่สนใจออกกฎหมายมาดูแล ที่ผ่านมาองค์กรวิชาชีพต่างๆ ร่วมกันเสนออะไรไปก็ไม่สนใจ รอจังหวะแต่เพียงจะออกกฎหมาย ภญ.ดร.ศิริรัตน์ เชื่อว่าจะมีการคัดค้านกว้างขวางให้กฎหมายนี้ตกไปในที่สุด ทั้งนี้ ทาง ภญ.ดร.ศิริรัตน์ ได้ร่วมกับกลุ่มมงคลนามเภสัชกรรม ออกแถลงการณ์คัดค้านร่าง พรบ ยา ฉบับนี้ โดยจะชวนให้ร้านยาที่เป็นสมาชิกสมาคมเภสัชกรรมชุมชนทั่วประเทศ ร่วมคัดค้าน ยัดไส้คำสั่งหัวหน้า คสช.พ.ร.บ.ยา ฉบับแรก เกิดขึ้นเมื่อปี 2510 หรือ 51 ปีที่แล้ว ขณะที่การพัฒนาด้านเทคโนโลยีและการขยายตัวทางการค้าและอุตสาหกรรมเกี่ยวกับยาเกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้มีความจำเป็นต้องแก้ไขกฎหมายให้มีความทันสมัย สอดรับกับระบบสากล และเอื้อต่อการคุ้มครองผู้บริโภค ที่ผ่านมามีความพยายามแก้ไขกฎหมายยาหลายครั้ง กระทั่งวันที่ 26 ธันวาคม 2549 คณะรัฐมนตรีในสมัยพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ จึงรับหลกัการ ร่าง พ.ร.บ.ยา พ.ศ… ฉบับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) แล้วส่งต่อให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) พิจารณา ซึ่งใช้เวลานานเกือบ 8 ปี โดยในระหว่างนี้มูลนิธิสาธารณสุขกับการพัฒนาและคณะได้ปรับปรุงร่าง พ.ร.บ.ยา พ.ศ… ฉบับประชาชนขึ้น และนำสาระในร่าง พ.ร.บ.ยา พ.ศ…ฉบับ สคก. มาพิจารณา วิเคราะห์ ปรับปรุงข้อบกพร่อง และเพิ่มเติมประเด็นสำคัญที่ขาดหายไป ก่อนจะนำเสนอองค์กรพัฒนาเอกชนด้านการคุ้มครองผู้บริโภคและประชาชนเพื่อเข้าชื่อเสนอกฎหมาย เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2555 ต่อผู้แทนประธานรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญปี 2550 แต่เนื่องจากเป็นกฎหมายดังกล่าวมีความเกี่ยวข้องกับการเงิน จำเป็นต้องให้ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นลงนาม แต่ก็ไม่มีการลงนามภายใน 30 วัน สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรจึงแจ้งผู้แทนผู้เข้าชื่อเสนอ ร่าง พ.ร.บ.ยา พ.ศ… ฉบับประชาชนว่าต้องรอร่างกฎหมายฉบับรัฐบาล ทว่า การดำเนินการต่างๆ ต้องหยุดชะงักลงเพราะการรัฐประหารปี 2557 อย่างไรก็ตาม ภายหลังการรัฐประหารเพียง 21 วัน กระทรวงสาธารณสุขก็นำ ร่าง พ.ร.บ.ยา พ.ศ.... ฉบับ สคก. ออกเผยแพร่ เกิดการทักท้วงต่อเนื้อหาที่มีความบกพร่องหลายประเด็น แต่กลับไม่มีการแก้ไขใดๆ สร้างความไม่พอใจกับผู้ที่เกี่ยวข้อง นำไปสู่การตั้งคณะทำงานร่วมระหว่าง อย. และสภาเภสัชกรรม เพื่อจัดทำ ร่าง พ.ร.บ.ยา พ.ศ… ฉบบั อย.และสภาเภสัชกรรมขึ้น และแก้ไขเป็นร่างกฎหมายฉบับกระทรวงสาธารณสุขในที่สุด แต่กลับไม่มีการดำเนินการใดๆ ต่อ กระทั่งต้นปี 2561 ทาง อย. ได้มอบหมายให้สำนักยาร่าง พ.ร.บ.ยา พ.ศ…. ฉบับ อย. ขึ้นใหม่ โดยนำ พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติมมาแก้ไขปรับปรุงบางส่วน แล้วยังเติมหมวดว่าด้วยกระบวนการอนุญาตตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 77/2559 เรื่อง การเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการพิจารณาอนุญาตผลิตภัณฑ์สุขภาพ แม้จะถูกทักท้วงจากองค์กรต่างๆ ว่า ควรใช้ ร่าง พ.ร.บ.ยา พ.ศ… ฉบับกระทรวงสาธารณสุข ทาง อย. จึงได้นำ ร่าง พ.ร.บ.ยา พ.ศ…ฉบับกระทรวงสาธารณสุขมาเติมหมวดว่าด้วยกระบวนการอนุญาตตามคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 77/2559 แล้วนำออกรับฟังความคิดเห็น โดยเลขาธิการ อย. แจ้งว่าจะไม่มีข้อสรุปใดๆ แต่จะประมวลข้อคิดเห็นส่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเพื่อปรับปรุงแก้ไขและดำเนินการในขั้นตอนต่อไป ร่าง พ.ร.บ.ยา ผิดหลักการ ไม่คุ้มครองผู้บริโภคต่อมา ร่าง พ.ร.บ.ยา พ.ศ..... ดังกล่าวถูกนำมาเสนอในเว็บไซต์ของกระทรวงดิจิตัลและเทคโนโลยีเพื่อรับฟังความคิดเห็นในระหว่างวันที่ 17-31 กรกฎาคม 2561 ซึ่ง ผศ.ดร.ภญ.วรรณา ศรีวิริยานุภาพ ผู้อำนวยการวิทยาลัยการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพ สภาเภสัชกรรม ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายยาและสุขภาพ ได้ทำการวิเคราะห์ ร่าง พ.ร.บ.ยา ฉบับนี้และพบว่า 1.อย. รับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานและองค์กรต่างๆ แต่ไม่ได้นำหลักการตามที่เสนอมาแก้ไขปรับปรุง เลือกบางประเด็นมาแก้ไขปรับปรุง 2.ไม่คุ้มครองความปลอดภัยต่อผู้บริโภคโดยใช้หลักการกฎหมายที่ผิด 3.ไม่สนใจหลักการสมดุลและตรวจสอบในการจ่ายยา และ 4.ไม่ให้ความสำคัญกับข้อเสนอของวิชาชีพเภสัชกรรมซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรง ผศ.ดร.ภญ.วรรณา กล่าวว่าในฐานะอาจารย์ในสถาบันการศึกษาเภสัชศาสตร์จะได้นำข้อมูลเสนอศูนย์ประสานการศึกษาเภสัชศาสตร์แห่งประเทศไทยเพื่อให้คณาจารย์เภสัชศาสตร์และนิสิตนักศึกษาเภสัชศาสตร์ในทุกคณะเภสัชศาสตร์ทั่วประเทศไทยมีความเข้าใจถึงปัญหาของการออกกฎหมายนี้และร่วมกันนำเสนอให้มีการแก้ไขตลอดจนคัดค้านกฎหมายฉบับนี้อย่างแข็งขันต่อไป ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai |
“Disruptive World: Innovative Political Science?” by Daniel Slater Posted: 20 Aug 2018 08:53 AM PDT Submitted on Mon, 2018-08-20 22:53 "Disruptive World: Innovative Political Science?" by Daniel Slater Professor of Political Science and Director of the Weiser Center for Emerging Democracies (WCED) University of Michigan, Good morning. It was such an honor to be invited to speak with you all today on this wonderful and auspicious occasion: the 70th anniversary of Chulalongkorn University's Department of Political Science. In these trying and, indeed, disruptive political times, we can all use every auspicious occasion we can get. I first visited your beautiful and historic campus in 2003. I was conducting fieldwork for my dissertation project that would culminate in my first book, Ordering Power. I spent many hours in your library culling sources from the American Cold War collection on the history of communist insurgency and state-building in Thailand: a virtuous if bitter fruit of my government's disastrous role in conducting the Vietnam War. More personally, and more importantly, it was on this occasion when I first met your very own colleague, Thitinan. We realized then, to our mutual delight, that our 1-year-old daughters were born only one day apart. I should also confess that I spent a lot of my time that year in Bangkok in the political science and economics libraries at Thammasat University. But I hope you will not consider me disloyal as a result. Our dual themes for this auspicious occasion are "disruptive world" and "innovative political science." In my limited time with you today, I will first say a few words about how I think about what it means to innovate in political science. My main point will be that the most important innovations in political science tend to be conceptual, not methodological or technical. This should be good news for political scientists around the world who spend far less time than most American political scientists amassing methodological skills, especially of the quantitative variety. Since I never amassed advanced quantitative methods skills myself, it is certainly good news for me. In the second part of my talk, I will offer an example of how new concepts might offer new order and clarity to one very large and very diverse part of our "disruptive world": Northeast and Southeast Asia. Or as some people lump them both together, East Asia. For good reason, the vast majority of comparative politics and international relations scholarship on East Asia has been single-country in approach. Each country is at some level unique. Colonial histories and national languages vary considerably. It is challenging enough to keep track of disruptive politics in any one East Asian country, much less across the entire region. But here is where innovating with concepts can hopefully bear fruit. Northeast Asia and Southeast Asia are already both extremely diverse, as regions go. Grouping them together as East Asia is an even bigger leap. I will argue that reconceptualizing this part of the world as a region I call "developmental Asia" can help us make more systematic sense of this vast political space. A Keynote Speech on the occasion of the 70th years Anniversary of the Faculty of Political Science, 1 Chulalongkorn University, Bangkok, Thailand, August 17, 2018. 1 Specifically, by looking at developmental Asia as a set of distinctive developmental clusters, we can better understand two very big puzzles in this part of the world. The first puzzle is from comparative politics. Why do we see so much variation across East Asia both in the introduction and consolidation of democracy? Attention to variation is essential. Neither modernization theory's expectation that growth would universally lead to democracy, nor the "Asian values" perspective that democracy should not take solid root in this part of the world, has proven correct – or perhaps even helpful. East Asia is neither a region of democratic convergence nor authoritarian convergence. I argue that attention to Asia's developmental clusters can help explain this variation. The second puzzle is from international relations. For all its raw power, China is struggling to project its influence in most of East Asia. Paradoxically, in fact, and in contrast to how we assume power projection across space should work, China's influence seems to get stronger as it travels greater distance. China is ironically less effective at establishing uncontested leadership in its own backyard – even in territories over which it claims formal sovereignty, like Hong Kong and Taiwan – than it is in some distant pockets of Africa and Latin America. Again, I argue that developmental clusters matter, and that East Asia's political and economic diversity virtually ensure that China will never truly dominate it. But let us start with innovation in political science. Innovation often implies technology, or at least technique. American political scientists are either famous or notorious, depending on your perspective, for the stress we put on high-end methodological skills, especially of a quantitative variety. Unfortunately this often leads to friction, or at least misunderstandings, between American political scientists who study East Asia and scholars who live and work in the region, or in Australia or Europe. As one renowned European political scientist expressed his exasperation when attending an American Political Science Association conference: we Americans are "methods freaks." In the other direction, Americans might sometimes either dismiss or be seen as dismissing the work our colleagues outside the United States produce as supposedly unscientific or lacking in innovation. There are real differences in how political scientists do their research, of course. Many would portray the key difference as qualitative vs. quantitative. In my recent work with colleagues on historical legacies in the Annual Review of Political Science, I have argued that the more important distinction lies between those working in the Comparative Historical Analysis tradition and the Modern Political Economy tradition. We argue that these approaches tend to look at politics from different angles and in different ways. Yet they are mutually reinforcing rather than contradictory. I would make the same argument about the literature on East Asian politics as I would about historical legacies. It is not methods, but concepts that are of the essence when it comes to innovation. Concepts matter because they provide at least some order and clarity to the radical political diversity and seemingly constant political disruption that we confront, in East Asia and around the world. Think of the many examples of new concepts that made it impossible for us to see familiar features of political life in the same old way ever again. Imagined Communities from Benedict Anderson. Weapons of the Weak from James Scott. Bureaucratic Polity from Fred Riggs. And from the literature on China, adaptive institutions from Kellee Tsai, solidary groups from Lily Tsai, Kevin O'Brien on rightful resistance, Elizabeth Perry on emotion work in China's age of 2 communist mobilization, and experimentation under hierarchy in the age of reform. Obviously conceptual innovation is not and should never be an American monopoly than any other kind of innovation. It should be the work of Asian universities every bit as much as your American counterparts. To the extent that my own work has been successful, it has had far more to do with concepts I introduced and developed than the methods or techniques I used. Systemic vulnerability as an explanation for developmental states; promiscuous powersharing as a threat to democratic accountability; protection pacts as the strongest source of authoritarian durability; democratic careening as an unsettled political condition in cases such as Thailand; and packing, rigging, and circumventing as the ways in which authoritarian leaders personalize power. The fact that I developed all these concepts in the context of Southeast Asia has almost surely limited their wider impact in American political science to some degree. But that has also perhaps given them at least enough credibility and grounding here in the region that I am lucky enough to be invited here today. In the remainder of my time, please allow me to show how I am currently trying to innovate with concepts to make the case for a new approach to the political geography, economy, and sociology of this wider region. I suggest that we should transcend the standard distinction between Northeast and Southeast Asia, not with an even bigger grab-bag category like East Asia, but by thinking instead of "developmental Asia" as a region that includes some but not all cases in both regions. I will suggest further that developmental Asia can be divided into four clusters containing three cases each. Before I go any further, though: what exactly is developmental Asia, what exactly are the four clusters, and exactly which cases belong in each? I define developmental Asia as those Northeast and Southeast Asian polities that have at least minimally followed a state-sponsored, export-led strategy of rapid economic growth and "catch-up" with both "the West" and Asia's leading economies, albeit with widely varying degrees of commitment and success. Developmental Asia is thus determined politically and economically, not just geographically. For instance, the Philippines, North Korea, Laos, Brunei, and Mongolia may all be located in "East Asia," but none of them are in developmental Asia. Importantly, developmental Asia is a zone of historically overlapping American, British, Japanese, and Chinese regime influence. As I explain momentarily, it is not Sino-centric, even though China is clearly becoming its greatest power. Developmental Asia is a region with four identifiable clusters of distinctive types of developmentalism. Comparisons across cases should shed more light, all else equal, when they are crafted within one of these clusters rather than across them. That being said, the three cases within each cluster are as different as they are similar; they are like siblings, not triplets. What are the four clusters? The cluster of developmental statism is comprised of Japan, South Korea, and Taiwan. All long-lasting, stable, rich democracies. The developmental militarist cluster encompasses Indonesia, Myanmar, and Thailand. All three have experimented with democratic reforms at times. But they have struggled much more than the developmental statist cluster to sustain democracy and build up democratic substance. Malaysia is in a cluster with Hong Kong and Singapore that I call developmental Britannia. At least until Malaysia's recent elections, the outcomes of which for democratization remain uncertain, none of developmental Britannia has been democratic. But it has all been electoral authoritarian. Meanwhile, the cluster China has essentially invented and clearly leads – the developmental socialist cluster – has no democracies. China and Vietnam are enduring single-party regimes. Cambodia has now rejoined the ranks of the opposition-less: staying true to its cluster. These developmental socialist countries are electorally closed, not electorally competitive regimes like the developmental Britannia cluster. These four clusters of development are also clusters of democratization for multiple reasons. The fact that Japan, South Korea, and Taiwan have been such stable democracies is surely not unrelated to the fact that all three have been strong American allies. But America does not deserve credit for these democracies, and it certainly did not build their developmental states. Obviously America supported many countries during the Cold War that became autocracies. What made this developmental statism cluster different, more than anything else, is strong states that could provide stability, and strong conservative parties that could prevail in democratic elections. Where conservatives can win elections, they do not need to turn against democracy to stay in power. The LDP in Japan is Asia's consummate example. This helps explain why the developmental militarist cluster – Indonesia, Myanmar, and Thailand – has had a much rockier experience with democratic politics. When conservative parties allied with the military cannot win elections, their commitment to democracy predictably becomes more tenuous. The good news is that militaries worry more about political stability than elections per se. So if democracy promises to dampen down popular protest and help restore stability, as in Indonesia in the late 1990s, the military can be expected to support it. In Myanmar, the military could live with a landslide victory by a party it dislikes in 2015, because it had written and imposed a constitution allowing it to control most of the state apparatus regardless. Here in Thailand, similarly, a return to democratic politics will require military confidence in an outcome that avoids the polarized and destabilizing partisanship of the early 2000s. I am cautiously optimistic that such an outcome, democratic if somewhat suboptimally so, can be arranged in relatively short order. Developmental Britannia, meanwhile, may be turning from a lagging to a leading zone of Asian democratization. Malaysia has just experienced what appears to be its first democratic breakthrough after half a century of dominant-party authoritarianism. If this goes relatively smoothly, the impact on Singapore next door could be profound. As a country with a relatively strong state and steady political institutions, Malaysia should hopefully be poised for the smoother kind of democratization seen in the developmental statist cluster (Japan, South Korea, and Taiwan) than in the developmental militarist cluster (Indonesia, Myanmar, and Thailand). Singaporean democratization would be Asia's smoothest democratization experience ever, if the ruling party there would simply brave it. Democratic reforms in Hong Kong may be at least currently out of the question due to China's control. Yet in Hong Kong as in Singapore and Malaysia, we see legacies of impressive economic development and deeply rooted electoral practices growing out of British rule. This should give conservative politicians ample confidence that democratic elections would not produce unfriendly outcomes for them, at least in the longer term. The developmental socialist cluster is a very different story. China is gaining national strength, but this does not necessarily translate into the kind of incumbent confidence necessary to prompt and oversee the kind of top-down democratic transition in the People's Republic of China once seen in the Republic of China, or Taiwan. Single-party regimes are also not vulnerable to the 4 kind of potentially democratizing electoral upset witnessed in Malaysia, for example. The fact that China, Vietnam, and Cambodia remain unlikely candidates for regime change, absent currently unforeseeable revolutionary pressures from below, is inseparable from their shared developmental socialist cluster. Reconceptualizing East Asia as developmental Asia in this clustered fashion not only helps us understand Chinese authoritarianism, and its prospects, in comparative perspective. It also sheds new light on China's international relations in Asia. Along China's borders, Beijing appears to be on the march and in the ascendant. Especially in light of the headlong "America First" retreat of the Trump Administration from its global and multilateral leadership responsibilities and commitments. Yet China's seeming strength in projecting its power and influence outward is counterbalanced by its many enduring liabilities. I say this as an empirical claim, not a moral assertion. Even if you believe that China is the fully legitimate sovereign power over Hong Kong and Taiwan, for instance, you need to reckon with the reality that it is not going very smoothly. To understand why, I argue that we need to set aside deeper questions of shared civilization or ancient territorial claims. They tell us nothing about what is happening now or what is likely to happen – except perhaps in Vietnam, where deep civilizational history makes things even harder for China, not easier. We should focus instead on how this region had already been shaped by multiple powers long before China became strong enough to stake a claim to regional leadership. Considering that China did not even join developmental Asia until the reforms of the Deng Xiaoping era at the earliest, one could argue that China did not even enjoy regional membership until long after the United States, Great Britain, and Japan had shaped the region in line with their own visions. The overlapping historical influence of the United States, Great Britain, and Japan in developmental Asia remains profound. As colonial powers, they have long since lowered their flags. But the legacies of the political institutions and economic development models they built remain deeply entrenched. Not only in the institutions of places they once ruled, but in the way they forged a multipolar region. As disastrous as the role of these three great powers has often been in developmental Asia, the fact remains that their rule spread much wealth, creating a region loaded with rich and confident peoples. These peoples unsurprisingly continue to believe in the institutions and models that got them rich in the first place. China is not the leader in this development game; it is the latecomer. Of developmental Asia's four clusters, China dominates only one, at most. And it is harder to project power outside one's developmental cluster than within it, because the political institutions and economic models simply do not fit. Oil and water, if you'll forgive the cliche. What this means is that for all its undeniable strength, China is in a different cluster from all the cases over which it would most like to assert control. This sheds much light on why China is struggling to do so. Taiwan is developmental statist. Myanmar is developmental militarist. And Hong Kong is in developmental Britannia. Not because it properly should be – Britain's original conquest of Hong Kong was obviously an opium-driven disgrace – but because it simply is. Cambodia is the exception that proves the rule. It is developmental socialist like China, and it has found China's embrace most welcoming of all. In conclusion, developmental Asia is not on the verge of convergence toward either an authoritarian or democratic character. Nor is China on the verge of creating a peaceful and stable 5 Asian order in America's place. In large measure because this part of the world is so diverse – not so much culturally as politically and economically – it will naturally remain disruptive. But compared with the grim orderliness that comes from a region dominated by a single unchallenged superpower, or ruled by multiple unchallenged authoritarian regimes, a disruptive Asia might be an attractive alternative. And speaking of orderliness: hopefully the concept of developmental Asia offers a more orderly understanding of this region's politics of regime change and superpower influence. More orderly frameworks for this disruptive region might be the best goal for an innovative political science to pursue. And it should always be powered by innovative political scientists on both sides of the Pacific. |
วิษณุเผย ยังไม่มีเหตุให้เลือกตั้งช้ากว่า 24 ก.พ. 62 ยันกลางเดือน ก.ย. คลายล็อคพรรคการเมือง Posted: 20 Aug 2018 07:50 AM PDT Submitted on Mon, 2018-08-20 21:50 รองนายกรัฐมนตรีเผยผลหารือกับ กกต. ระบุกลางเดือน ก.ย. คลายล็อคพรรคการเมือง แต่ยังไม่ได้ข้อสรุปว่าจะใช้วิธีใดแทนไพรมารีโหวต ชี้เรื่องผู้ตรวจการเลือกตั้งที่คัดเลือกมาแล้ว ไม่สามารถยกเลิกได้ เชื่อตอนนี้ยังไม่มีอะไรทำให้การเลือกตั้งช้ากว่า ก.พ. 62 วิษณุ เครืองาม แฟ้มภาพเว็บไซต์รัฐบาลไทย 20 ส.ค. 2561 สำนักข่าวไทย รายงานว่า วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายกฎหมาย เดินทางมาที่สำนักงาน กกต. เพื่อประชุมร่วมกับ กกต.ชุดใหม่ โดยมี พงษ์สวาท กายอรุณสุทธิ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา พร้อมด้วยผู้บริหารสำนักงาน กกต. ร่วมประชุม ซึ่งก่อนการประชุมวิษณุได้มอบดอกไม้แสดงความยินดีพร้อมอวยพรกกต.ชุดใหม่ โดยกล่าวว่า ชื่นชม เอาใจช่วย และปวารณาตัวที่จะให้ความร่วมมือ กกต. ทุกประการ ขณะที่ อิทธิพร บุญประคอง ประธาน กกต. กล่าวขอบคุณ และยืนยันว่า กกต. ทุกคนขอปวารณาตัวทำงานเต็มที่เพื่อประเทศชาติบ้านเมือง กลางเดือน ก.ย. คลาย 6 ล็อคพรรคการเมืองภายหลังการหารือกว่า 1 ชั่วโมง วิษณุ กล่าวว่า ได้หารือกับ กกต. 10 ประเด็น ซึ่งต่อยอดจากการประชุมจากเมื่อเดือน มิ.ย. ที่ผ่านมา โดยเฉพาะประเด็นที่จะทำใน 90 วันก่อนที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ(พ.ร.ป.) ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(ส.ส.) มีผลบังคับใช้ภายหลังประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งคาดว่าจะประกาศภายในกลางเดือน ก.ย. ประเด็นที่จะทำให้ได้คือการคลายล็อกให้พรรคการเมืองทำกิจกรรมได้ 6 อย่างโดยไม่ต้องขออนุญาตจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เช่น การจัดประชุมใหญ่ เปิดรับสมาชิกใหม่ จัดตั้งสาขาพรรคการเมือง การประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคการเมือง การทำในสิ่งที่คล้ายการทำไพรมารีโหวตที่กำหนดไว้ในกฎหมายพรรคการเมือง เพราะหากทำตามกฎหมายพรรคการเมืองจะมีความยุ่งยาก จึงจะดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรา 45 ของรัฐธรรมนูญแทน แต่แนวทางยังไม่ได้สรุปในเวลานี้ และจะรวบรวมเสนอ คสช.พิจารณาแก้ไขต่อไป สำหรับ มาตรา 45 แห่งรัฐธรรมนูญ 2560 ระบุว่า บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการรวมกันจัดตั้งพรรคการเมืองตามวิถีทางการปกครอง ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามที่กฎหมายบัญญัติ กฎหมายตามวรรคหนึ่งอย่างน้อยต้องมีบทบัญญัติเกี่ยวกับการบริหารพรรคการเมือง ซึ่งต้องกําหนดให้เป็นไปโดยเปิดเผยและตรวจสอบได้ เปิดโอกาสให้สมาชิกมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางในการกําหนดนโยบาย และการส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง และกําหนดมาตรการให้สามารถดําเนินการโดยอิสระไม่ถูกครอบงําหรือชี้นํา โดยบุคคลซึ่งมิได้เป็นสมาชิกของพรรคการเมืองนั้น รวมทั้งมาตรการกํากับดูแลมิให้สมาชิกของพรรคการเมือง กระทําการอันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับการเลือกตั้ง วิษณุ กล่าวต่อว่า การแก้ไขคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 53/2560 สามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องรอการประชุมร่วมกันระหว่าง กกต. คสช.และพรรคการเมืองรอบที่ 2 ในช่วงเดือน ก.ย. โดยการแก้ไขคำสั่งสามารถทำได้ 2 วิธีคือออกคำสั่งแก้ไขคำสั่งที่ 53/2560 หรือออกคำสั่งใหม่แก้ไขพ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง แต่ไม่สามารถระบุได้ว่าคำสั่งใหม่จะออกมาเมื่อใด แต่การปลดล็อกพรรคการเมืองทั้งหมดจะมีขึ้นหลังพ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส.มีผลบังคับใช้ ซึ่งอยู่ในช่วง 150 วัน ที่ต้องจัดการเลือกตั้งให้แล้วเสร็จตามรัฐธรรมนูญกำหนด ถ้าเลือกตั้งเร็วสุดเวลาหาเสียงเท่าเดิม แต่ถ้าเลือกตั้งเดือน พ.ค. หาเสียงได้อีกนานวิษณุ กล่าวว่า ได้ข้อสรุปว่ากรอบเวลา 150 วันจะไม่รวมการประกาศรับรองผลการเลือกตั้ง แต่ไม่สามารถระบุได้ว่าจะมีผู้นำไปร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะในภายหลังหรือไม่ แต่ในทางกฎหมายได้พิจารณาถึงรัฐธรรมนูญฉบับที่ผ่าน ๆ มาแล้วว่ากรอบเวลาดังกล่าวไม่รวมการประกาศรับรองผลการเลือกตั้ง และเป็นระยะเวลาที่เพียงพอต่อการหาเสียงของพรรคการเมือง หากจัดการเลือกตั้งเร็วสุดในวันที่ 24 ก.พ. 2562 พรรคการเมืองมีเวลาหาเสียงไม่แตกต่างจากการเลือกตั้งในอดีต แต่ถ้าจัดเลือกตั้งช้าสุดในเดือน พ.ค. จะมีเวลาหาเสียงมากกว่าการเลือกตั้งในอดีตทุกครั้งที่ผ่านมา ที่จะมีเวลาหาเสียงจริงประมาณ 30 วันเท่านั้น "เมื่อกฎหมายเลือกตั้งส.ส.บังคับใช้จะเข้าช่วง 150 วันที่จัดการเลือกตั้ง คสช.จะปลดล็อกให้กับพรรคการเมือง ซึ่งพรรคการเมืองจะมาบอกว่าเวลาหาเสียงไม่พอไม่ได้ เพราะเวลา 5 เดือนหาเสียงได้เต็มที่ ถ้าเทียบกับการเลือกตั้งครั้งก่อนยุบสภามีเวลาจัดเลือกตั้ง 45 วัน กว่าจะสมัคร ได้เบอร์ มีเวลาหาเสียงจริงแค่ 30 วัน แต่คราวนี้คสช.จะปลดล็อกพรรคการเมืองในช่วงวันแรกๆ ของกรอบเวลา 150 วัน พรรคการเมืองมีเวลาเต็มที่ในการหาเสียง ถือเป็นเวลาหาเสียงที่มากกว่าการเลือกตั้งทุกครั้งในประเทศไทย" นายวิษณุ กล่าว วิษณุ กล่าวว่า ถ้าจะกำหนดวันเลือกตั้งในกรอบเวลาที่ช้าที่สุดคือ 5 พ.ค. 2562 ต้องตอบสังคมให้ได้ว่าเป็นเพราะอะไร เพราะเมื่อกฎหมายบังคับใช้แล้ว เขตก็แบ่งแล้ว เบอร์ก็ได้แล้วทำไมต้องรออีก 90 วัน อย่างไรก็ตาม การจะจัดเลือกตั้งเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับ คสช.จะหารือกับ กกต. แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่มีปัจจัยใดที่จะทำให้ต้องจัดการเลือกตั้งช้ากว่าวันที่ 24 ก.พ. 2562 ทุกอย่างยังเป็นไปตามโรดแมป "ผมได้สอบถามเรื่องการคัดเลือกผู้ตรวจการเลือกตั้งที่ กกต. ชุดเก่าเดินหน้าไปแล้วครึ่งแรก และ กกต. ชุดใหม่จะมารับในครึ่งหลัง ซึ่งยังอยู่ในขั้นตอนของการคัดค้าน ยังไม่ได้รับรองชี้ขาด ถือเป็นหน้าที่ของ กกต.ชุดใหม่ หากพบว่ามีปัญหาเรื่องคุณสมบัติ ความประพฤติไม่เหมาะสมจึงไม่รับรองได้ แต่ไม่สามารถยกเลิกทั้งหมดได้ เนื่องจาก กกต. มีหน้าที่ในการเลือก ส.ว. จึงถือว่าที่ กกต. ชุดเก่าเตรียมการมาเป็นเรื่องที่ดี จะได้มีผู้ตรวจการเลือกตั้งช่วย กกต.ทำงาน ฉะนั้นทุกอย่างเดินหน้าต่อไป แต่เปลี่ยนมาอยู่ในมือ กกต.ใหม่ เท่านั้น" วิษณุ กล่าว ผู้สื่อข่าวประชาไท รายงานเสริมว่า การคัดเลือกตัวผู้ลงรับสมัครเลือกตั้งตาม พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมืองนั้น ให้ผู้ที่จะลงรับสมัครในระบบแบ่งเขตได้มาจากการมติที่ประชุมสาขาพรรคการเมือง ซึ่งมีสมาชิกพรรคเข้าร่วมไม่น้อยกว่า 100 คน หรือได้มาจากมติที่ประชุมตัวแทนพรรคการเมือง ซึ่งมีสมาชิกพรรคเข้าร่วมไม่น้อยกว่า 50 คน โดยให้เป็นการทำการไพรมารีโหวตในระดับจังหวัด หมายถึง ถ้าในจังหวัดหนึ่งมีทั้งหมด 5 เขตเลือกตั้งก็ทำไพรมารีโหวตรวมกันเพียงครั้งเดียวเพื่อเลือกตัวผู้แทนเพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งทุกเขต จากนั้นให้ส่งรายชือให้กับคณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ ส่วนผู้ที่จะลงรับสมัครในระบบบัญชีรายชื่อนั้น ให้มีคณะกรรมการสรรหาผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง ประกาศให้มีการเสนอรายชื่อผู้สมควรลงรับสมัครในระบบบัญชีรายชื่อ จากนั้นให้คณะกรรมการสรรหาจัดทำบัญชีรายชื่อไม่เกิน 150 รายชื่อ และส่งบัญชีรายชื่อดังกล่าวไปยังสาขาพรรคการเมืองหรือตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัดเพื่อให้สมาชิกลงคะแนนเลือกตั้งบุคคลในบัญชีรายชื่อ โดยให้สมาชิกลงคะแนนเลือกได้คนละไม่เกิน 15 คน เมื่อลงคะแนนเลือกเสร็จสิ้นแล้ว ให้หัวหน้าสาขาพรรคการเมืองหรือตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัดประกาศผลการนับคะแนน แล้วรายงานไปยังคณะกรรมการสรรหา จากนั้นให้คณะกรรมการสรรหาฯ จัดทำบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้ง โดยเรียงลำดับตามผลรวมของคะแนนที่ได้รับจากสาขาพรรคการเมืองหรือตัวเทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด จากนั้นให้คณะกรรมการสรรหาฯ ส่งบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้ง ให้คณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองให้พิจารณาให้ความเห็นชอบ
ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai |
'สมัชชาคนจน' ค้านเขื่อนท่าแซะ ชี้เสียป่า-ปชช.ต้องอพยพมาก อยู่บนแนวรอยเลื่อนแผ่นดินไหว Posted: 20 Aug 2018 06:21 AM PDT Submitted on Mon, 2018-08-20 20:21 สมัชชาคนจน แถลง หยุด! เขื่อนท่าแซะ ระบุงานศึกษา EIA เป็นงานเก่า สันเขื่อนตั้งอยู่บนแนวรอยเลื่อนของแผ่นดินไหว สูญเสียพื้นที่ป่า ต้องอพยพชาวบ้านไม่ต่ำกว่า 500 ครอบครัว 20 ส.ค.2561 สมัชชาคนจน กรณีเขื่อนปากมูล ออกแถลงการณ์ 'หยุดเขื่อนท่าแซะ หยุดทำร้ายคนจน' โดยระบุว่า ตามที่มีการเคลื่อนไหว ของบรรดานายทุน และนักการเมืองท้องถิ่นจังหวัดชุมพร ในการผลักดันให้รัฐบาลเดินหน้าก่อสร้างเขื่อนท่าแซะ ด้วยการผลักดันให้มีการพิจารณาในการประชุมครม.สัญจร วันที่ 20 และ 21 ส.ค.นี้ ที่จังหวัดชุมพร นั้น สมัชชาคนจน กรณีเขื่อนปากมูล ระบุว่า กลุ่มตนได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างเขื่อนปากมูล มีประสบการณ์อันเจ็บปวดจากการสร้างเขื่อนปากมูล มายาวนานกว่า 27 ปี จึงไม่อยากให้ความเลวร้ายที่เกิดขึ้นกับพวกเรา ไปเกิดขึ้นกับพี่น้องจังหวัดชุมพร ซ้ำอีก สมัชชาคนจน กรณีเขื่อนปากมูล จึงขอคัดค้านการสร้างเขื่อนท่าแซะ ด้วยเหตุผล ดังต่อไปนี้ 1.) การทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) เขื่อนท่าแซะ ที่ทำเมื่อ 25 ปีที่ผ่านมา (ทำเมื่อปี 2536) จึงเป็น EIA ที่เก่าไม่เป็นปัจจุบัน 2.) สันเขื่อนท่าแซะ ตั้งอยู่บนแนวรอยเลื่อนของแผ่นดินไหว (แนวรอยเลื่อนระนอง) จึงทำให้เขื่อนท่าแซะ มีความเสี่ยงสูงมาก ที่จะเกิดปัญหาเขื่อนแตกในอนาต 3.) เขื่อนท่าแซะ จะทำให้สูญเสียพื้นที่ป่ากว่า 12,400 ไร่ (พื้นที่น้ำท่วมและพื้นที่รองรับการอพยพ) 4.) เขื่อนท่าแซะ จะทำให้มีการอพยพชาวบ้านไม่ต่ำกว่า 500 ครอบครัว และจะเป็นการทำลายพื้นที่ทำกินที่อุดมสมบูรณ์และมั่นคงของชาวบ้าน และ 5.) สูญเสียงบประมาณที่เป็นภาษีของคนทั้งประเทศมากกว่า 3,000 ล้านบาท ที่ไม่เกิดประโยชน์ (งบประมาณมากกว่าเขื่อนราษีไศล ถึง 4 เท่า) สมัชชาคนจน กรณีเขื่อนปากมูล ยืนยันว่า เขื่อนคือ มหันตภัยที่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ และวิถีชีวิตของชุมชน และยังเป็นกิจกรรมการก่อสร้างที่มีการคอรัปชั่นสูงที่สุด ในขณะที่ปัจจุบัน เขื่อนที่มีอยู่ซึ่งมีปัญหาผลกระทบต่อระบบนิเวศ และวิถีชีวิตชาวบ้าน ก็ยังไม่มีการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้เลย เช่นปัญหาที่เกิดจากเขื่อนปากมูล ปัญหาที่เกิดจากเขื่อนหัวนา ปัญหาที่เกิดจากเขื่อนราษีไศล และปัญหาที่เกิดจากเขื่อนอีกหลายแห่งทั่วประเทศ และที่สำคัญเขื่อนที่ก่อสร้างเสร็จแล้วยังได้ก่อให้ปัญหามากมาย โดยเฉพาะปัญหาน้ำท่วมที่เกิดจากเขื่อนแตก (เขื่อนห้วยทรายขมิ้น) และปัญหาน้ำท่วมที่เกิดจากการระบายน้ำของเขื่อน "เขื่อนจึงเป็นโครงการพัฒนาที่พิสูจน์มาแล้วว่าล้มเหลวในทุกด้าน ขณะที่บาดแผล ผลกระทบที่เกิดจากการสร้างเขื่อนก็ยังไม่สามารถแก้ไขได้" สมัชชาคนจน กรณีเขื่อนปากมูล ระบุในแถลงการณ์คัดค้านการสร้างเขื่อนท่าแซะ และพร้อมจะสนับสนุนการต่อสู้คัดค้านการสร้างเขื่อนท่าแซะ ของพี่น้องจังหวัดชุมพร อย่างเต็มที่
ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai |
5 จำเลยคดี 'เวทีวิชาการไม่ใช่ค่ายทหาร' ปฏิเสธข้อกล่าวหา นัดตรวจพยานหลักฐาน 24 ก.ย.นี้ Posted: 20 Aug 2018 05:16 AM PDT Submitted on Mon, 2018-08-20 19:16 ศาลแขวงเชียงใหม่นัดพร้อมเพื่อถามคำให้การ 5 จำเลยในคดีติดป้าย "เวทีวิชาการไม่ใช่ค่ายทหาร" ในงานประชุมวิชาการนานาชาติไทยศึกษา เมื่อปี 60 ซึ่งถูกทหารแจ้งข้อหาฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 เรื่องการร่วมกันมั่วสุมหรือชุมนุมทางการเมือง ณ ที่ใดๆ ที่มีจำนวนตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป ภาพชูป้ายที่มีข้อความ 'เวทีวิชาการ ไม่ใช่ค่ายทหาร' ที่มาภาพ เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง - คนส. 20 ส.ค.2561 ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน รายงานว่า วันนี้ เมื่อเวลา 9.00 น. ศาลแขวงจังหวัดเชียงใหม่ นัดพร้อมฝ่ายโจทก์และจำเลยทั้ง 5 คน ในคดีติดป้าย "เวทีวิชาการไม่ใช่ค่ายทหาร" ในงานประชุมวิชาการนานาชาติไทยศึกษา ซึ่งถูกเจ้าหน้าที่ทหารกล่าวหาในข้อหาฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 เรื่องการร่วมกันมั่วสุมหรือชุมนุมทางการเมือง ณ ที่ใดๆ ที่มีจำนวนตั้งแต่ 5 คนขึ้นไปเพื่อสอบถามคำให้การ โดยก่อนจะถามคำให้การจำเลย ศาลได้อ่านคำฟ้องของโจทก์ที่ได้ยื่นฟ้องจำเลยทั้ง 5 คน เมื่อวันที่ 4 ก.ค. 61 ให้จำเลยฟัง และได้สอบถามว่าจำเลยทั้ง 5 คน จะให้การอย่างไร ด้านจำเลยทั้ง 5 คน ยืนยันขอให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา จากนั้นศาลสอบถามจำนวนพยานของฝ่ายโจทก์และจำเลยที่จะนำเข้ามาสืบ อัยการโจทก์ระบุมีพยานบุคคลจำนวน 11 ปาก และพยานเอกสารอีกจำนวนหนึ่ง ด้านทนายจำเลยระบุว่าฝ่ายจำเลยมีพยานบุคคลจำนวน 15 ปากและพยานเอกสารอีกส่วนหนึ่ง อีกทั้งทนายจำเลยได้แถลงขอศาลให้มีกำหนดนัดตรวจพยานหลักฐานเพื่อตรวจดูพยานหลักฐานของโจทก์ที่ยื่นเข้ามาในคดีก่อน โดยอัยการโจทก์ยังไม่ได้ยื่นสำเนาเอกสารพยานหลักฐานเข้ามาภายในสำนวน จึงขอเวลา 1 อาทิตย์ในการจัดส่งสำเนา นอกจากนั้นโจทก์ยังมีการยื่นซีดีบันทึกภาพกล้องวงจรปิดและภาพถ่ายเข้ามาเป็นพยานหลักฐานด้วย ศาลและคู่ความทั้ง 2 ฝ่าย จึงได้ตกลงกำหนดวันนัด เพื่อตรวจพยานหลักฐานในวันที่ 24 ก.ย. 61 เวลา 9.00 น. ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิฯ รายงานด้วยว่า ตลอดการพิจารณาในวันนี้ มีผู้เข้าร่วมรับฟังการพิจารณาจากหลายภาคส่วนทั้งเจ้าหน้าที่จากสถานกงสุลสหรัฐอเมริกา นักวิชาการ และประชาชนที่มาให้กำลังใจ อีกทั้งยังมีเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบคอยสังเกตการณ์อยู่ภายนอกศาลด้วย สำหรับคดีนี้มี ร.ท.เอกภณ แก้วศิริ อัยการผู้ช่วยศาลมณฑลทหารบกที่ 33 รับมอบอำนาจจาก พ.อ.สืบสกุล บัวระวงศ์ รองผู้บัญชาการกองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อยจังหวัดเชียงใหม่ เป็นผู้เข้าแจ้งความกล่าวหาทั้งห้าคน โดยหลังจากเหตุการณ์ในงานประชุมวิชาการไทยศึกษาและการกล่าวหาดำเนินคดี ใช้เวลาเกือบ 1 ปี จนอัยการเจ้าของสำนวนและอธิบดีอัยการภาค 5 ได้มีความเห็นสั่งฟ้องคดีในที่สุด ทั้งนี้ จำเลยทั้ง 5 คน ประกอบด้วย 1. ดร.ชยันต์ วรรธนะภูติ ผู้อำนวยการศูนย์ภูมิภาคศึกษาด้านสังคมศาสตร์และการพัฒนาอย่างยั่งยืน คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2. ภัควดี วีระภาสพงษ์ นักแปลและนักเขียนอิสระ, 3. นลธวัช มะชัย นักศึกษาปริญญาตรีคณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 4. ชัยพงษ์ สำเนียง นักศึกษาปริญญาเอกคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ 5. ธีรมล บัวงาม นักศึกษาปริญญาโทคณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และบรรณาธิการสำนักข่าวประชาธรรม ย้อนไทม์ไลน์คดีศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิฯ ระบุว่า มูลเหตุของคดีในวันนี้ ต้องย้อนกลับไปราวหนึ่งปีกว่าๆ เมื่อช่วงวันที่ 15-18 ก.ค. 2560 ที่มีการจัดการประชุมวิชาการไทยศึกษา ซึ่งเป็นเวทีวิชาการนานาชาติที่มีนักวิชาการทั้งไทยและต่างประเทศมาร่วมนำเสนอและรับฟังการเสนอผลงานทางวิชาการด้านไทยศึกษา งานจัดขึ้นที่ศูนย์ประชุมและแสดงนิทรรศการนานาชาติ จ.เชียงใหม่ 18 ก.ค. 2560 มีนักกิจกรรมและนักศึกษานำป้ายที่มีข้อความ "เวทีวิชาการ ไม่ใช่ค่ายทหาร" มาติดบริเวณหน้าห้องสัมมนาวิชาการ เนื่องจากเห็นว่ามีเจ้าหน้าที่รัฐนอกเครื่องแบบเข้ามาบันทึกกิจกรรมต่างๆ ในงานโดยไม่มีการลงทะเบียนเข้าร่วมงานและไม่ได้ขออนุญาตผู้จัดงาน โดยที่ระหว่างที่ป้ายดังกล่าวติดอยู่และมีผู้ร่วมถ่ายรูปกับป้ายดังกล่าวเป็นจำนวนมากด้วย โดยจำเลยทั้งห้าก็ได้ถ่ายภาพในท่าชูสามนิ้ว ซึ่งทั้งการติดป้ายและการชูสามนิ้วกลายเป็นเหตุที่นำไปสู่การตั้งข้อกล่าวหาในอนาคต ต่อมา ร.ท.เอกภณ แก้วศิริ อัยการผู้ช่วยศาลมณฑลทหารบกที่ 33 จังหวัดเชียงใหม่ รับมอบอำนาจจาก พ.อ.สืบสกุล บัวระวงศ์ รองผู้บัญชาการกองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อยจังหวัดเชียงใหม่ ให้มาแจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีต่อนักวิชาการ นักศึกษา และนักแปลทั้งห้าคน ในข้อหาร่วมกันมั่วสุมหรือชุมนุมทางการเมือง ณ ที่ใด ๆ ที่มีจำนวนตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป โดยไม่ได้รับอนุญาตจากหัวหน้า คสช. เมื่อ 15 ส.ค. 2560 เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.ช้างเผือก ได้ออกหมายเรียกนักวิชาการและนักศึกษา 5 คน ที่ปัจจุบันกลายสภาพเป็นจำเลยไปแล้ว ให้ไปรับทราบข้อกล่าวหาฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้า (คสช.) ที่ 3/2558 เรื่องการมั่วสุมหรือชุมนุมทางการเมือง ณ ที่ใดๆ ที่มีจำนวนตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป โดยไม่ได้รับอนุญาตจากหัวหน้าคสช. หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย จากกรณีเกี่ยวข้องกับกิจกรรมในการประชุมวิชาการไทยศึกษา เมื่อ 21 ส.ค. 2560 พ.ต.ท.อินทร แก้วนันท์ และคณะพนักงานสอบสวน สภ.ช้างเผือก แจ้งข้อหาต่อนักวิชาการ นักศึกษา และนักแปลทั้งห้าคน ทั้งยังแจ้งว่าหากผู้ต้องหาทั้งห้าสมัครใจเข้ารับการอบรมจากเจ้าพนักงานรักษาความสงบเรียบร้อยเป็นระยะเวลาไม่เกิน 7 วัน และเจ้าพนักงานรักษาความสงบเรียบร้อยเห็นสมควรปล่อยตัวโดยอาจจะมีเงื่อนไขหรือไม่มีเงื่อนไขก็ได้ ให้ถือว่าคดีเลิกกัน แต่ผู้ต้องหาทั้งห้าให้การปฏิเสธข้อหา และยื่นคำให้การเป็นลายลักษณ์อักษรต่อพนักงานสอบสวนในวันที่ 1 ก.ย. ปีเดียวกัน 11 ก.ย. 2560 สืบเนื่องจากมติที่ประชุมของจังหวัดเชียงใหม่ (8 ก.ย.) กรณีกองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อยจังหวัดเชียงใหม่แจ้งความผู้ต้องหาทั้งห้า และได้นัดหมายให้ผู้ต้องหาไปที่สำนักงานอัยการคดีศาลแขวงเชียงใหม่ ซึ่งผู้ต้องหาก็ไปตามนัด จากนั้นอัยการศาลแขวงเชียงใหม่ก็เลื่อนฟังคำสั่งคดีจนรับฟ้องในวันนี้ คดีนี้เป็นที่จับตามองจากองค์กรระหว่างประเทศ ประชาสังคมและนักวิชาการจำนวนมาก มีแถลงการณ์หลายฉบับที่ออกมาเพื่อเรียกร้องให้ถอนการแจ้งข้อกล่าวหาต่อผู้ต้องหาทั้ง 5 คน ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai |
สังคมไทยในโลกที่พลิกผัน I 70 ปีรัฐศาสตร์ จุฬาฯ Posted: 20 Aug 2018 04:04 AM PDT Submitted on Mon, 2018-08-20 18:04 ในงาน "รัฐศาสตร์นวัตกรรมในโลกแห่งความพลิกผัน" 'วีรพงษ์ รามางกูร' เสนอว่าจำเป็นต้องสร้างสมดุลระหว่างหลักวิชาการกับความเป็นไปได้ในทางการเมืองเพื่อปรับตัวในโลกที่พลิกผัน ด้าน 'เตือนใจ ดีเทศน์' ชี้ว่านโยบายยังไม่แก้ปัญหา พหุวัฒนธรรม-สถานะของบุคคล-สิทธิชุมชน/การจัดการทรัพยากร ชูคำถาม "ทำอย่างไรไม่ให้โลกที่พลิกผันหรือเทคโนโลยีสมัยใหม่มาทำลายอัตลักษณ์และภูมิปัญญาของชุมชน" ชัยรัตน์ ถมยา, เตือนใจ ดีเทศน์, วีรพงษ์ รามางกูร, ทศพร ศิริสัมพันธ์
คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดงานเสวนาหัวข้อ "Disruptive World: Innovative Political Science?" รัฐศาสตร์นวัตกรรมในโลกแห่งความพลิกผัน ณ ห้องประชุมเกษม สุวรรณกุล อาคารเกษม อุทยานิน เมื่อวันที่ 17 ส.ค. ที่ผ่านมา โดยช่วงที่สองของภาคเช้าเป็นการเสวนาภายใต้หัวข้อ "สังคมไทยในโลกที่พลิกผัน" โดยมีวิทยากร ได้แก่ วีรพงษ์ รามางกูร ประธานกรรมการบริหารบริษัท ดับเบิ้ลเอ 1991 จำกัด (มหาชน) , เตือนใจ ดีเทศน์ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม โดยมี ชัยรัตน์ ถมยา เป็นผู้ดำเนินรายการ
วีรพงษ์ รามางกูร กล่าวว่าองค์ความรู้และหลักปรัชญาต่างๆ ในทางรัฐศาสตร์นั้นเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับองค์ความรู้ในด้านต่างๆได้อีกมากมาย ตลอดจนสามารถนำไปใช้ในการทำงานได้ในทุกภาคส่วน ทั้งภาคราชการ ภาคเอกชน หรือทั้งภาครัฐและภาคธุรกิจ ส่วนในประเด็นการปรับตัวกับโลกที่พลิกผันนั้น วีรพงษ์กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจที่ฉับพลันจะเกิดขึ้นทุกๆ สิบปี และในอนาคตมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นเร็วกว่านั้น ดังนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องสร้างความสมดุลระหว่างหลักวิชาการกับความเป็นไปได้ในทางการเมือง แล้วจึงนำไปปรับใช้เพื่อการปรับตัวในโลกที่พลิกผันต่อไป
เตือนใจ ดีเทศน์ กล่าวถึง แนวคิดในการทำงานที่สำคัญภายใต้หัวข้อ "รัฐศาสตร์กับแรงบันดาลใจในการทำงานเพื่อส่วนรวม" โดยมีหลักสำคัญในการขับเคลื่อนการทำงานคือมุ่งเน้นความสำคัญไปที่ชุมชน และการพัฒนาและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของคนชายขอบในเวทีโลก ผ่านการขับเคลื่อนด้วยแนวความคิดที่สำคัญ ได้แก่ 1.) การศึกษาและยอมรับความเป็นพหุวัฒนธรรมของคนแต่ละกลุ่ม แต่ละเชื้อชาติ จนสามารถสร้างความเข้าใจและการยอมรับในความแตกต่าง จนนำไปสู่การสร้างความเชื่อมโยงของภาษาและวัฒนธรรมระหว่างคนกลุ่มต่างๆ 2.) การศึกษาปัญหาด้านสถานะของบุคคลและสิทธิตามกฎหมาย ซึ่งปัญหาการไร้ตัวตนและความคุ้มครองทางกฎหมายเช่นนี้ มักจะเกิดขึ้นกับคนชายขอบซึ่งไม่มีปากเสียง ทำให้กลุ่มบุคคลเหล่านี้ถกทอดทิ้งทั้งในมิติรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ โดยวิทยากรให้ความสำคัญกับปัญหานี้อย่างมากโดยมีหลักคิดว่า "การไม่มีตัวตนถือเป็นความทุกข์" ดังนั้น จึงจะต้องมีการบูรณาการการแก้ไขปัญหาด้านสถานะของบุคคลนี้ผ่านการใช้หรือปรับปรุงกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย 3.) การศึกษาประเด็นปัญหาด้านสิทธิชุมชนและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ เป็นอีกหนึ่งประเด็นปัญหาที่สำคัญ เนื่องจากถือเป็นประเด็นปัญหาเชิงนโยบายของรัฐ ที่ส่งผลกระทบต่อสิทธิของชุมชน เช่น พื้นที่อยู่อาศัยของกะเหรี่ยงกลุ่มหนึ่ง ซึ่งอยู่อาศัยในพื้นที่ของตนมาเป็นระยะเวลายาวนาน แต่รัฐกลับมีการประกาศให้พื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่อุทยานหรือพื้นที่อนุรักษ์ ทำให้กลุ่มกะเหรี่ยงเหล่านี้กลายเป็นผู้บุกรุกไปในทันที เป็นต้น โดยเตือนใจได้แสดงความเห็นว่า จากการศึกษาประเด็นปัญหาต่างๆ ที่กล่าวมานี้ ทำให้เห็นได้ว่า หลักสิทธิมนุษยชนหรือหลักการตามรัฐธรรมนูญของรัฐ ในนโยบายต่างๆ ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้อย่างจริงจัง ส่วนประเด็นหลักว่า "สังคมไทยจะอยู่อย่างไรในโลกที่ผกผัน"นั้น เตือนใจกล่าวว่า ต้องยอมรับว่าเทคโนโลยีสมัยใหม่ ทำให้วิถีชีวิตของชุมชนเปลี่ยนแปลงไป แต่ถึงอย่างนั้นชุมชนก็ยังจำเป็นจะต้องรักษาวัฒนธรรมและวิถีชีวิตอันดีงามที่สืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่นเอาไว้ ดังนั้น คำถามที่น่าสนใจที่สุดในการสัมมนาครั้งนี้ก็คือ "ทำอย่างไรไม่ให้โลกที่พลิกผันหรือเทคโนโลยีสมัยใหม่มาทำลาย อัตลักษณ์และภูมิปัญญาของชุมชน" และในขณะเดียวกันก็ต้องปรับตัวตามความพลิกผันให้ทันอีกด้วย
ทศพร ศิริสัมพันธ์ กล่าวว่า โลกในปัจจุบันเปลี่ยนไปจากเดิมจนบางครั้ง การใช้ศาสตร์หรือทฤษฎีดั้งเดิมคงไม่สามารถอธิบายได้อย่างทั่วถึงและในสภาวะที่โลกเปลี่ยนแปลงไปเช่นนี้ การนำองค์ความรู้ทางด้านรัฐศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาต่างๆ นั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่ง ยกตัวอย่างเช่นการนำหลักรัฐศาสตร์มาใช้ในการกำหนดนโยบายการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (Good Governance) ที่เน้นความสัมฤทธิ์ผลของงาน หรือเป็นหลักการ "เป้าหมายมีไว้พุ่งชน" ดังนั้น เมื่อภาคเอกชนมีการกำหนดตัวชี้วัดเพื่อประเมินผลการดำเนินงานของกิจการ (KPI) แล้ว หน่วยงานราชการก็ควรจะมีการประเมินผลการปฏิบัติราชการด้วยตัวชี้วัดต่างๆ ที่เป็นรูปธรรมเช่นกัน โดยสรุปแล้ว หลักรัฐศาสตร์สามารถนำไปใช้ในการบริหารกิจการต่างๆ ได้ และคำตอบของคำถามที่ว่า เราจะสามารถอยู่ในโลกที่พลิกผันในอนาคตนี้ได้โดยการสร้างอนาคตขึ้นมาด้วยตนเองนั่นเอง
ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai |
คนส. วิจารณ์กฎกระทรวงคุมประพฤติเยาวชนละเมิดเสรีภาพ-หวังผลทางการเมือง Posted: 20 Aug 2018 03:35 AM PDT Submitted on Mon, 2018-08-20 17:35 เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง ชี้ ร่างกำหนดความประพฤติ นร.-นศ. เนื้อหากว้าง ไม่ชัดเจน เอื้อให้ จนท. บังคับใช้ตามเหตุผลทางการเมือง ละเมิดเสรีภาพการแสดงและสิทธิทางการเมือง เรียกร้องให้เปิดโอกาส นร.-นศ. มีส่วนร่วมแสดงความเห็นและเสนอทางออกของปัญหา
วันนี้ (20 ส.ค.) เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมืองได้เผยแพร่จดหมายเปิดผนึกต่อกรณีร่างกฎกระทรวงกำหนดความประพฤตินักเรียนและนักศึกษาฉบับแก้ไข ห้ามรวมกลุ่มมั่วสุดก่อความไม่สงบขัดศีลธรรมอันดี ห้ามพฤติกรรมชู้สาวที่ไม่เหมาะสมไม่จำกัดสถานที่ และห้ามเที่ยวเตร่หรือรวมกลุ่มทุกเวลา โดยมีความเห็นว่า การแก้ไขดังกล่าวดำเนินไปในทิศทางของการบังคับควบคุม มิได้มุ่งส่งเสริมสิทธิและเสรีภาพของนักเรียนและนักศึกษาซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการเรียนรู้และสร้างสรรค์ ขณะเดียวกันเนื้อหาทั้งสามข้อก็กินความกว้าง ไม่ชัดเจน เปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่เลือกบังคับใช้ตามอคติส่วนตัว รวมทั้งเหตุผลทางการเมือง ซึ่งเป็นละเมิดเสรีภาพในการแสดงออกและสิทธิทางการเมืองของนักเรียนและนักศึกษาอย่างสำคัญ คนส. ได้เรียกร้องให้มีการทบทวนร่างกฎกระทรวงฯดังกล่าว โดยเปิดโอกาสให้นักเรียนและนักศึกษาซึ่งเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงได้มีส่วนร่วมในการแสดงความเห็นและเสนอทางออกต่อประเด็นปัญหา "ทั้งนี้ก็เพราะว่าสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเติบโตทางสติปัญญาและอารมณ์ของนักเรียนและนักศึกษาคือเสรีภาพและสิทธิ มิใช่การควบคุมครอบงำ และการออกกฎระเบียบใดควรคำนึงถึงสิทธิความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยของบุคคลเป็นหลัก แม้บุคคลนั้นจะยังมีสถานะเป็นนักเรียนและนักศึกษาก็ตาม" แถลงการณ์ของ คนส. ระบุ นอกจากนี้ในวันเดียวกัน สมัชชาแม่โจ้เสรีเพื่อประชาธิปไตย ก็ได้ออกแถลงการณ์ต่อกรณีดังกล่าวว่า ขอสนับสนุนการเคลื่อนไหวของสหภาพนักเรียน นิสิต นักศึกษาแห่งประเทศไทย เพื่อผลักดันให้รัฐบาลและกระทรวงศึกษาธิการยกเลิกร่างกฎกระทรวงฉบับแก้ไขดังกล่าวที่มีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตและการศึกษาเรียนรู้ของนักเรียน นิสิต นักศึกษา เนื่องจากมีข้อบัญญัติซึ่งรุกล้ำความเป็นส่วนตัวอย่างยิ่ง อีกทั้งมีเนื้อความความหมายกำกวม สุ่มเสี่ยงต่อการเป็นเครื่องมือสำหรับปิดกั้นสิทธิทางการเมืองและเสรีภาพทางการแสดงออกของนักเรียน นิสิต นักศึกษา
จดหมายเปิดผนึกเครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง (คนส.) ถึงนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดความประพฤติของนักเรียนและนักศึกษาฉบับแก้ไข ตามข้อเสนอของกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2561 ซึ่งมีสาระสำคัญต่างจากกฎกระทรวงฯ ฉบับก่อนหน้า 3 ประการ คือ ห้ามแสดงพฤติกรรมทางชู้สาวที่ไม่เหมาะสมโดยไม่จำกัดสถานที่จากเดิมห้ามเฉพาะในที่สาธารณะ ห้ามเที่ยวเตร่หรือรวมกลุ่มที่สร้างความเดือดร้อนโดยไม่จำกัดเวลาจากเดิมห้ามเฉพาะกลางคืน และห้ามรวมกลุ่มมั่วสุมอันน่าจะก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยหรือขัดต่อศีลธรรมอันดีซึ่งเป็นข้อที่เพิ่มเติมเข้ามา เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง (คนส.) เห็นว่าการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงฯ ดังกล่าวดำเนินไปในทิศทางของการบังคับควบคุมตราตรวจตรานักเรียนและนักศึกษามากขึ้น มิได้มุ่งส่งเสริมสิทธิและเสรีภาพของนักเรียนและนักศึกษาซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการเรียนรู้และสร้างสรรค์ ขณะเดียวกันเนื้อหาของร่างกฎกระทรวงฯ ทั้งสามข้อดังกล่าวกินความกว้าง ไม่ชัดเจน เปิดโอกาสให้กับการเลือกบังคับใช้ตามอำเภอใจของเจ้าหน้าที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นด้วยอคติส่วนตัว ผลประโยชน์ส่วนบุคคลหรือกลุ่ม รวมทั้งเหตุผลทางการเมือง ซึ่งไม่เพียงแต่จะก่อให้เกิดการละเมิดสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลอย่างกว้างขวาง หากแต่ยังหมายรวมถึงการละเมิดเสรีภาพในการแสดงออกและสิทธิทางการเมืองของนักเรียนและนักศึกษาอย่างสำคัญ เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง (คนส.) จึงขอให้มีการทบทวนร่างกฎกระทรวงฯ ดังกล่าว โดยเปิดโอกาสให้นักเรียนและนักศึกษาซึ่งเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงได้มีส่วนร่วมในการแสดงความเห็นและเสนอทางออกต่อประเด็นปัญหา ทั้งนี้ก็เพราะว่าสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเติบโตทางสติปัญญาและอารมณ์ของนักเรียนและนักศึกษาคือเสรีภาพและสิทธิ มิใช่การควบคุมครอบงำ และการออกกฎระเบียบใดควรคำนึงถึงสิทธิความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยของบุคคลเป็นหลัก แม้บุคคลนั้นจะยังมีสถานะเป็นนักเรียนและนักศึกษาก็ตาม ด้วยความเชื่อมั่นในสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาค
แถลงการณ์ สมัชชาแม่โจ้เสรีเพื่อประชาธิปไตย สมัชชาแม่โจ้เสรีเพื่อประชาธิปไตย ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai |
‘ไสว เสื้อแดง’ เหยื่อกระสุนปี 52 ร้อง กสม. ช่วยเจรจากับกองทัพยกเลิกอายัดทรัพย์ Posted: 20 Aug 2018 02:11 AM PDT Submitted on Mon, 2018-08-20 16:11 'ไสว ทองอ้ม' คนเสื้อแดงเหยื่อกระสุนปี 52 ร้องกรรมการสิทธิฯ ช่วยเจรจายกเลิกบังคับคดีอายัดเงินและที่นา ด้าน 'อังคณา' จ่อส่งข้อเรียกร้องต่อไปยังกองทัพ ชี้กองทัพมีนโยบายสร้างความสมานฉันท์กับคนในชาติ พูดคุยไกล่เกลี่ยระหว่างสองฝ่ายเป็นทางออกที่ดีที่สุด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (20 ส.ค.) ที่สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน (กสม.) ไสว ทองอ้ม คนเสื้อแดงเหยื่อกระสุนจากการสลายการชุมนุมเมื่อปี 52 พร้อมด้วยกลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตยนำโดย สมยศ พฤกษาเกษมสุข ได้ยื่นหนังสือต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนโดยมี อังคณา นีละไพจิตรเป็นตัวแทนเข้าร่วมการรับเรื่องร้องเรื่อง และถ่ายทอดสดผ่านทางเฟสบุ๊กของสมยศในชื่อ Somyot Pruksakasemsuk
ไสว เล่าถึงเหตุการณ์ที่เขาโดนยิงเมื่อปี 2552 ยืนยันว่าได้ใช้เสรีภาพในการแสดงออกตามระบอบประชาธิปไตย เมื่อได้รับบาดเจ็บจึงต้องมีผู้รับผิดชอบและได้ตัดสินใจฟ้องร้องกองทัพ ซึ่งศาลชั้นต้นตัดสินให้ชนะคดี โดยให้ทางกองทัพไทยกับกองทัพบกร่วมกันจ่ายเงินค่าเสียหาย เป็นเงิน 1,200,000 บาท แต่เมื่ออัยการอุทธรณ์ ผลการตัดสินชั้นศาลอุทธรณ์ก็ให้ฝ่ายกองทัพชนะ ให้เหตุผลว่า ลูกปืนที่ยิงเป็นลูกปืนพก ซึ่งไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าลูกปืนนี้มาจากไหน ใครเป็นคนยิง และต่อมาศาลฎีกาก็พิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์ รวมทั้งให้จ่ายค่าธรรมเนียมศาลและค่าทนายแก่ฝ่ายกองทัพด้วย
อังคณา ถามถึงเงินเยียวยาของรัฐบาลว่าไสวได้รับหรือไม่ ไสวเล่าว่าได้รับเงินเยียวยาจากกรมพัฒนาสังคมช่วงที่บาดเจ็บและนอนโรงพยาบาล แต่ไม่ได้รับเงินเยียวยาจากรัฐบาล สมยศ ให้เหตุผลว่าเนื่องจากคดียังอยู่ในชั้นศาล และส่วนใหญ่แล้วคนที่ได้รับเงินเยียวยาคือผู้ที่เสียชีวิตแล้ว และสมยศกล่าวเสริมว่าเงินที่ต้องชำระคือเงินที่กองทัพจ่ายค่าธรรมเนียมศาล ซึ่งค่าธรรมเนียมศาลนั้นมีเป็นปกติอยู่แล้วเมื่อมีคดีแพ่งที่เกี่ยวข้องกับเงิน ทั้งนี้ ไสว ขอให้อังคณาช่วยเจรจากับทางกองทัพเพื่อให้กองทัพยกเลิกการบังคับคดีอาญัติทรัพย์สินของตน ซึ่ง อังคณา กล่าวว่า จะส่งเรื่องร้องเรียนนี้ต่อไปยังกองทัพ และหวังว่าจะให้มีการคุยระหว่างฝ่ายไสวและฝ่ายกองทัพ
'สมยศ' ถก 'ไสว ทองอ้ม' เสื้อแดงเหยื่อกระสุน52 หลังถูกศาลสั่งยึดทรัพย์ ผ่อนผันได้ถึง ก.ย.นี้ ศาลสั่งยึดทรัพย์เหยื่อกระสุนปี 52 ขายทอดตลาดชดใช้แทนกองทัพ ไขประเด็น 'เยียวยา' เสียงจากผู้สูญเสีย หลักกฎหมาย และคดีแพ่งตัวอย่าง เมษา 52
อังคณา ให้สัมภาษณ์ต่อว่า ตามปกติเวลามีผู้มาร้องเรียน ทาง กสม. ต้องพิจารณาว่าอยู่ในอำนาจหน้าที่ของ กสม. หรือไม่ หากอยู่ก็จะรีบดำเนินการ อย่างกรณีนี้ในฐานะ กสม. เมื่อคดีนี้สิ้นสุดในศาลแล้ว กสม. ไม่มีอำนาจไปก้าวก่ายศาล แต่จะดูว่าทำอย่างไรในเรื่องของการบังคับคดี ซึ่งในฐานะของ กสม. สิ่งที่ทำได้คือการส่งข้อเรียกร้องของคุณไสวไปยังกองทัพ เพื่อให้กองทัพได้พิจารณาทบทวนในเรื่องของการอายัดทรัพย์สิน อังคณา ชี้ว่า เรื่องนี้ทางไสวก็ยืนยันว่าการที่มาชุมนุมคือการใช้เสรีภาพในการแสดงออกตามระบอบประชาธิปไตย และในสถานการณ์ที่มีการใช้ความรุนแรง เมื่อมีผู้บาดเจ็บก็ต้องมีคนรับผิดชอบ เมื่อเชื่อมั่นว่ากระสุนมาจากฝั่งทหารก็ทำให้มีการฟ้องร้องทางกองทัพ แต่เมื่อศาลมีคำพิพากษาแบบนี้ก็ทำให้ไสวอยู่ในสถานะยากลำบาก ถูกยึดทั้งเงินในธนาคารและที่นา อังคณา กล่าวต่อว่า ในขั้นตอนของการบังคับคดี กรมบังคับคดีก็ได้ให้เวลาทั้งผู้ฟ้องและผู้ถูกฟ้องในการพูดคุยกัน ซึ่งมีหลายกรณีที่สามารถเจรจายกเลิกการบังคับคดีหรือลดหย่อน ซึ่งทางไสวก็พร้อมที่จะเจรจาพื่อที่จะหาทางออก และทางกองทัพเองก็มีนโยบายสร้างความสมานฉันท์กับคนในชาติ จึงคิดว่าทางออกที่ดีที่สุดก็น่าจะเป็นการพูดคุยหารือกัน
ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai |
แดน สเลเทอร์: รัฐศาสตร์นวัตกรรมในโลกแห่งความพลิกผัน I 70 ปีรัฐศาสตร์ จุฬาฯ Posted: 20 Aug 2018 01:22 AM PDT Submitted on Mon, 2018-08-20 15:22 'แดน สเลเทอร์' อาจารย์มหาวิทยาลัยมิชิแกนกล่าวว่า ความหลากหลายทางการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรมของอาเซียน ทำจีนไม่อาจเป็นผู้นำเอเชียได้อย่างจริงจัง เผยไทยมีแนวโน้มยอมรับการปฏิวัติโดยทหารมากกว่าประเทศอื่น สังเกตจากประวัติศาสตร์การปฏิวัติยึดอำนาจในไทยที่ผ่านมา
คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดงานเสวนาหัวข้อ "Disruptive World: Innovative Political Science?" รัฐศาสตร์นวัตกรรมในโลกแห่งความพลิกผัน เนื่องในโอกาสครอบรอบ 70 ปี วันคล้ายวันสถาปนาคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ณ ห้องประชุมเกษม สุวรรณกุล อาคารเกษม อุทยานิน เมื่อวันที่ 17 ส.ค. ที่ผ่านมา โดยช่วงแรกของภาคเช้ามีการปาฐกถาโดย แดน สเลเทอร์ (Dan Slater) อาจารย์จากมหาวิทยาลัย มิชิแกน สหรัฐอเมริกา แดน สเลเทอร์ ชี้ให้เห็นถึงลักษณะสำคัญของกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ มีความหลากหลายทางด้านวัฒนธรรม เศรษฐกิจ และการเมืองในแต่ละประเทศ ทำให้แม้ประเทศจีนจะพยายามแผ่อิทธิพลเข้าครอบงำประเทศต่างๆ ในภูมิภาคด้วยการพัฒนาในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีทางอวกาศหรือการทหารก็ตาม แต่ด้วยความหลากหลายดังกล่าว จึงทำให้จีนยังไม่สามารถเป็นผู้นำของภูมิภาคได้อย่างจริงจัง และสเลเทอร์ยังมีความเห็นว่าประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้รับอิทธิพลมาจากยุโรป จะมีการพัฒนาประเทศในด้านต่างๆได้ดีกว่าประเทศอื่นๆ สเลเทอร์กล่าวอีกว่า การที่จะทำความเข้าใจระบบการเมืองของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้นั้น จำเป็นจะต้องมีการศึกษาเชิงเปรียบเทียบ เพื่อให้สามารถทำความเข้าใจรูปแบบทางการเมืองของประเทศต่างๆ จึงได้มีการจัดกลุ่มประเทศโดยแบ่งจากแนวทางการพัฒนารูปแบบการเมือง ออกเป็น 4 กลุ่มดังนี้ 1.) กลุ่มคตินิยมการพัฒนา (Developmental Statism) ซึ่งประกอบไปด้วยประเทศญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน ซึ่งจะเห็นได้ว่ากลุ่มประเทศเหล่านี้มีการพัฒนาประชาธิปไตยมาอย่างยาวนาน 2.) กลุ่มนักการทหาร (Developmental Militarism) ประกอบไปด้วยประเทศอินโดนีเซีย ประเทศเมียนมาร์ และประเทศไทย 3.) กลุ่มประเทศที่ได้รับอิทธิพลจากอังกฤษ (Developmental Britannia) ได้แก่ ประเทศมาเลเซีย ฮ่องกง และสิงคโปร์ 4.) กลุ่มสังคมนิยม (Developmental Socialist) ประกอบไปด้วยประเทศจีน และเวียดนาม นอกจากนี้ สเลเทอร์ยังได้กล่าวถึงความแตกต่างของอิทธิพลของสหรัฐอเมริกา ประเทศมหาอำนาจในยุคสงครามเย็น กับ อิทธิพลของประเทศจีนในปัจจุบันว่า ในยุค ค.ศ.1970 นั้น โลกมีขั้วอำนาจเพียงขั้วเดียวคือสหรัฐอเมริกา แต่ในปัจจุบันภายใต้สภาะความพลิกผันของโลก ทำให้มีประเทศต่างๆ พัฒนาศักยภาพของตนเอง ทำให้แม้ประเทศจีนจะได้ชื่อว่าเป็นมหาอำนาจก็ตาม แต่คงต้องยอมรับว่ายังไม่สามารถส่งอิทธิพลหรือสามารถครอบงำประเทศต่างๆ ได้อย่างเบ็ดเสร็จ นอกจากนี้ประเด็นในเรื่องความยากในการเข้าถึงภาษาจีน (ซึ่งสเลเทอร์มีความเห็นว่าภาษาจีนมีความยากในการศึกษาให้เข้าใจอย่างถ่องแท้กว่าภาษาอังกฤษ) ก็อาจเป็นส่วนประกอบหนึ่งที่ทำให้อิทธิพลของประเทศจีนยังไม่สามารถขยายไปได้อันเนื่องจากปัญหาในทางการสื่อสาร อีกทั้ง สเลเทอร์ได้กล่าวถึงความแตกต่างของรูปแบบทางการเมืองของประเทศอินโดนีเซียและประเทศไทยว่า ถึงแม้จะอยู่ในกลุ่มนักการทหารเช่นเดียวกัน แต่ยังมีความแตกต่างกันในรูปแบบแนวคิด กล่าวคือ ในประเทศอินโดนีเซียนั้นพรรคการเมืองหรือรัฐบาลจะมีลักษณะท่าทีที่เป็นมิตรกับกองทัพ ทำให้ศูนย์กลางอำนาจทางการเมืองเป็นไปในลักษณะที่มีอำนาจทางการทหารช่วยสนับสนุน แต่หากมีการปฏิวัติโดยทหารในประเทศอินโดนีเซียประชาชนจะไม่ให้การยอมรับ แต่ในขณะที่ประเทศไทยกับมีแนวโน้มที่จะยอมรับการปฏิวัติยึดอำนาจโดยทหารมากกว่า โดยสังเกตจากประวัติศาสตร์การปฏิวัติยึดอำนาจในประเทศไทยที่ผ่านมา
* หมายเหตุ สามารถอ่านสคริปต์ภาษาอังกฤษได้ที่นี่
ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท. To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google, 1600 Amphitheatre Parkway, Mountain View, CA 94043, United States |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น