ประชาไท | Prachatai3.info |
- รบ.เบนินลงนามต่อต้านโทษประหารชีวิต แอมเนสตี้ชี้เป็นก้าวสำคัญในแอฟริกา
- ปธน.ซีเรีย ให้สัมภาษณ์สื่อตะวันตก บอกสหรัฐฯ ทำลายเสถียรภาพซีเรีย
- ทหารคะฉิ่น KIA ลอบวางระเบิดรถบรรทุกทหารพม่าในรัฐฉาน
- ปธน.อียิปต์ 'ชน' ศาล-กองทัพ ประกาศยกเลิก 'คำสั่งยุบสภา'
- คำถามถึงแนวรบศิลปวัฒนธรรม
- ลุงนก: คนไทใหญ่กับการเข้าถึงสิทธิในหลักประกันสุขภาพของคนไร้รัฐ ไร้สัญชาติ (2)
- กองทุน 'สมชาย นีละไพจิตร' เผย 5 ชื่อสุดท้ายรางวัลนักสิทธิฯดีเด่น
- หวั่น! ออกหมายจับชาวบ้าน “ชุมชนสันติพัฒนา”-บังคับคดีให้ออกจาก “พื้นที่ สปก.”
- สัมภาษณ์ "ญาติผู้ต้องขัง 112" ในวันแถลงเปิดตัวเครือข่าย
- เลื่อนไต่สวน "เสธฯไก่อู" คดีสังหารชาญณรงค์ เหตุกองทัพบกส่งหลักฐานเพิ่ม
รบ.เบนินลงนามต่อต้านโทษประหารชีวิต แอมเนสตี้ชี้เป็นก้าวสำคัญในแอฟริกา Posted: 09 Jul 2012 11:17 AM PDT นับเป็นประเทศที่ 75 ของโลกที่ให้สัตยาบันสนธิสัญญาห้ามการลงโทษประหารชีวิต ทำให้ 2 ใน 3 ของประเทศทั่วโลกรวมทั้งแอฟริกาถือว่ายกเลิกโทษประหารไปแล้วทางพฤตินัย 9 ก.ค. 55 - แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ได้เผยแพร่แถลงการณ์ฉบับวันที่ 6 ก.ค. 55 ระบุว่า รัฐบาลเบนิน ซึ่งเป็นประเทศที่ตั้งอยู่ทางแอฟริกาตอนใต้ ได้ให้สัตยาบันสนธิสัญญาห้ามการลงโทษประหารชีวิตแห่งสหประชาชาติแล้วเมื่อวันที่ 5 ก.ค. ที่ผ่านมา โดยเบนินนับเป็นประเทศที่ 75 ของโลกที่รับรองสนธิสัญญาดังกล่าว ทำให้ประเทศในทวีปแอฟริกา รวมถึง 2 ใน 3 ของประเทศต่างๆ ในโลก ถือว่ายกเลิกโทษประหารชีวิตแล้วโดยพฤตินัย ทั้งนี้ โทษประหารชีวิต ยังเป็นส่วนหนึ่งในกฎหมายของเบนิน แต่หลังจากที่รัฐบาลให้สัตยาบันในสนธิสัญญาดังกล่าว ต้องรอให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติของเบนินยกเลิกมาตราดังกล่าวในกฎหมายซึ่งยังอนุญาตให้ใช้โทษประหาร อย่างไรก็ตาม ข้อมูลจากแอมเนสตี้ฯ ระบุว่า เบนินไม่ได้ประหารชีวิตบุคคลใดเลยตลอด 25 ปีที่ผ่านมา สนธิสัญญาระหว่างประเทศที่ห้ามการลงโทษประหาร เป็นพิธีสารเลือกรับฉบับที่ 2 ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง พ.ศ. 2532 แห่งสหประชาชาติ (1989 Second Optional Protocol to the International Covenant on Civil and Political Rights) โดยในปัจจุบัน มี 141 ประเทศในโลกจาก 198 ประเทศที่ยกเลิกโทษประหารชีวิตแล้ว ส่วนประเทศไทย ยังไม่ได้ลงนามในพิธีสารเลือกรับฉบับดังกล่าว 0000 แถลงการณ์ แอมเนสตี้อินเตอร์เนชันแนล 6 กรกฎาคม 2555 เบนินให้สัตยาบันสนธิสัญญาสำคัญขององค์การสหประชาชาติเพื่อยกเลิกโทษประหาร ก้าวย่างสำคัญของเบนินเพื่อมุ่งสู่การยกเลิกโทษประหารเกิดขึ้นเมื่อวานนี้ หลังจากได้ประกาศให้ภาคยานุวัติต่อสนธิสัญญาระหว่างประเทศที่ห้ามการลงโทษประหาร เบนินเป็นประเทศลำดับที่ 75 ของโลกที่รับรองพิธีสารเลือกรับฉบับที่ 2 ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง พ.ศ. 2532 (1989 Second Optional Protocol to the International Covenant on Civil and Political Rights) ที่มีเป้าหมายยกเลิกโทษประหาร การให้สัตยาบันรับรองพิธีสารเลือกรับฉบับที่ 2 ของรัฐบาลเบนินนับเป็นก้าวย่างสำคัญอีกก้าวหนึ่ง และเบนินควรดำเนินการต่อเนื่องโดยทันที เพื่อบังคับใช้กฎหมายที่ยกเลิกโทษประหารจากกฎหมายระดับชาติใด ๆ ที่มีอยู่ทั้งหมด การดำเนินงานเพื่อยกเลิกโทษประหารของเบนิน นับเป็นการกำหนดมาตรฐานให้ประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคนี้ปฏิบัติตาม แอมเนสตี้อินเตอร์เนชันแนลได้รณรงค์อย่างยาวนานเพื่อให้ยกเลิกโทษประหารในประเทศเบนิน การให้ภาคยานุวัติต่อพิธีสารเท่ากับว่าเบนินสัญญาว่าจะไม่ประหารชีวิตใครอีก และจะดำเนินมาตรการที่จำเป็นทั้งปวงเพื่อยกเลิกโทษประหารที่มีอยู่ในแนวนิติศาสตร์ของตน โทษประหารยังเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายในเบนินอยู่ ต้องรอให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติของเบนินยกเลิกมาตราในกฎหมาย ซึ่งยังอนุญาตให้ใช้โทษประหารอยู่ แม้ว่าประมวลกฎหมายอาญาของเบนินยังคงอนุญาตให้ใช้โทษประหารกับความผิดหลายประการ แต่ในช่วงเกือบ 25 ปีที่ผ่านมา เบนินไม่ได้ประหารชีวิตบุคคลใดเลย ตามข้อมูลที่แอมเนสตี้อินเตอร์เนชันแนลมีอยู่ การประหารชีวิตครั้งสุดท้ายในเบนินเกิดขึ้นในเดือนกันยายน 2530 โดยเป็นนักโทษสองคนที่ถูกยิงเป้าเนื่องจากความผิดฐานฆาตกรรมผู้อื่นเพื่อประกอบพิธีบวงสรวง ในปี 2529 มีการยิงเป้าหกคน พวกเขาเป็นนักโทษที่มีความผิดฐานลักทรัพย์ด้วยการใช้อาวุธและการฆาตกรรมผู้อื่น ครั้งสุดท้ายที่ศาลเบนินตัดสินลงโทษประหารคือปี 2553 เป็นการลงโทษผู้หญิงคนหนึ่งในข้อหาฆาตกรรมโดยระหว่างการอ่านคำพิพากษาตัวจำเลยไม่อยู่ในศาล ถึงสิ้นปี 2554 ในเรือนจำของเบนินมีนักโทษประหารอย่างน้อย 14 คน เบนินได้เข้าร่วมกับประเทศอื่น ๆ ในแอฟริกาเพื่อยกเลิกโทษประหาร จนถึงปัจจุบัน 16 ประเทศในแอฟริกาได้ยกเลิกโทษประหารต่อความผิดทางอาญาใด ๆ รวมทั้งสามประเทศในช่วงสามปีที่ผ่านมาได้แก่ บูรุนดี โตโก และกาบอง แอมเนสตี้อินเตอร์เนชันแนลถือว่าอีก 22 ประเทศรวมทั้งเบนินเป็นประเทศที่ยกเลิกโทษประหารในทางพฤตินัย หมายถึงว่าในระดับภูมิภาคแอฟริกา เช่นเดียวกับในระดับโลกกว่าสองในสามของประเทศต่าง ๆ ได้ยกเลิกโทษประหารทั้งในทางนิตินัยหรือพฤตินัยไปแล้ว ในประเทศกานา มีรายงานข่าวว่ารัฐบาลยอมรับข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการทบทวนร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งเสนอให้ยกเลิกโทษประหารในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ในเดือนกันยายน 2554 เซียร์ราลีโอนยอมรับข้อเสนอแนะขององค์การสหประชาชาติ และได้ให้สัตยาบันต่อพิธีสารเลือกรับฉบับที่สอง และภายหลังการลดโทษหลายครั้งเป็นเหตุให้ในประเทศนี้ไม่มีนักโทษประหารเหลืออยู่เลย ส่วนในประเทศบูร์กินาฟาโซและมาลียังอยู่ระหว่างการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติเพื่อยกเลิกโทษประหาร ในเดือนมีนาคมของปีนี้ มองโกเลียได้ให้ภาคยานุวัติต่อพิธีสารเลือกรับฉบับที่สอง ในขณะที่ทาจิกิสถานสนับสนุนข้อเสนอแนะขององค์การสหประชาชาติและสัญญาว่าจะทำแบบเดียวกัน แม้จะมีความก้าวหน้าที่สำคัญเหล่านี้ แต่ต้องมีการรณรงค์ต่อไปเพื่อยกเลิกโทษประหารทั่วโลก ในปี 2554 มีการประหารชีวิตใน 21 ประเทศและอีก 63 ประเทศมีการสั่งลงโทษประหาร บรรดาวิธีประหารชีวิตที่ใช้กันได้แก่ การตัดศีรษะ การแขวนคอ การฉีดสารพิษเข้าร่างกาย และการยิงเป้า ประเทศต่าง ๆ ที่ยังคงประหารชีวิตผู้กระทำความผิด เริ่มมีจำนวนน้อยลง เพราะต้องต่อสู้กับกระแสความเห็นระดับโลกและแนวปฏิบัติด้านกฎหมายที่ต่อต้านโทษประหาร ประเทศต่าง ๆ ที่ยังคงมีโทษประหารควรกำหนดข้อตกลงเพื่อยกเลิกโทษประหารชั่วคราว ทั้งนี้ตามข้อเรียกร้องขององค์การสหประชาชาติ และเข้าร่วมกับประชาคมโลกในการยกเลิกการลงโทษที่โหดร้ายและไร้มนุษยธรรมอย่างที่สุดเช่นนี้ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
ปธน.ซีเรีย ให้สัมภาษณ์สื่อตะวันตก บอกสหรัฐฯ ทำลายเสถียรภาพซีเรีย Posted: 09 Jul 2012 08:30 AM PDT ลองฟังความอีกด้าน เมื่อประธานาธิบดีบาชาร์ อัล-อัสซาด ของซีเรียให้สัมภาษณ์กับสื่อเยอรมนี บอกว่าสหรัฐฯ ให้ความช่วยเหลือ 'กลุ่มอันธพาล' เพื่อทำลายเสถียรภาพของซีเรีย และเขาเห็นด้วยกับแผนการสันติภาพของโคฟี่ อันนันแต่ก็มี "หลายประเทศที่ไม่ต้องการให้มันสำเร็จ" 9 ก.ค. 2012 ประธานาธิบดีบาชาร์ อัล-อัสซาด ของซีเรียได้ให้สัมภาษณ์กับช่องโทรทัศน์ของตะวันตก โดยกล่าวหาว่าสหรัฐฯ กำลังให้ความช่วยเหลือ "กลุ่มอันธพาล" เพื่อทำลายเสถียรภาพของประเทศซีเรีย อัสซาดได้ให้สัมภาษณ์กับสถานีแพร่ภาพสาธารณะของเยอรมนี ARD ว่า สหรัฐอเมริกา "เป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้ง พวกเขาให้การสนับสนุนทางการเมืองและให้ความคุ้มครองกลุ่มอันธพาลเพื่อทำลายเสถียรภาพของซีเรีย" เมื่อถามว่าอัสซาดกำลังกล่าวหาว่าสหรัฐฯ มีส่วนในการเสียชีวิตของประชาชนผู้บริสุทธิ์ในซีเรียด้วยหรือไม่ อัสซาดก็ตอบว่า "แน่นอน เป็นไปตามนั้น" "ตราบใดก็ตามที่คุณให้การสนับสนุนผู้ก่อการร้าย คุณก็เป็นพวกเดียวกับพวกเขา ไม่ว่าตุณจะส่งอาวุธ หรือเงิน หรือการสนับสนุนจากมวลชน การสนับสนุนทางการเมืองในสหรัฐฯ หรือจากที่ใดก็ตาม" อัสซาดกล่าว อัสซาดไม่ยอมลงจากตำแหน่ง เขาบอกว่าเขาต้องดำรงตำแหน่งอยู่เพื่อจัดการกับปัญหา "ความท้าทาย" ที่ซีเรียกำลังเผชิญอยู่ "ประธานาธิบดีไม่ควรหนีจากสิ่งท้าทาย และพวกเราก็มีสิ่งท้าทายระดับชาติอยู่ในซีเรีย" อัสซาดกล่าวเป็นภาษาอังกฤษ "ประธานาธิบดีไม่ควรหนีจากสถานการณ์ แต่ในอีกด้านหนึ่งคุณก็สามารถดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีอยู่ได้ อยู่ในตำแหน่งเพียงแค่ตอนที่คุณมีแรงสนับสนุนจากมวลชน" อัสซาดกล่าว อัสซาด : หลายประเทศไม่ต้องการให้แผนสันติภาพของอันนันลุล่วง อัสซาดบอกอีกว่าเขาจะยังไม่ตัดตัวเลือกการตัดสินใจแก้ปัญหาด้วยการเจรจากับสหรัฐฯ "พวกเราไม่ได้ปิดประตูบ้านใส่ประเทศอื่นใดในโลก หรือไม่ใช่ว่าไม่ต้อนรับเจ้าหน้าที่ใดๆ ตราบใดที่พวกเขาช่วยแก้ปัญหาในซีเรีย แต่พวกเขาต้องจริงจังและจริงใจ" นอกจากนี้แล้วอัสซาดบอกด้วยว่า การเจรจากับกลุ่มต่อต้านถือเป็น "ทางเลือกเชิงยุทธศาสตร์" แต่ก็ยังคงยืนยัน "คุณไม่สามารถใช้แค่การเจรจาในเวลาที่พวกเขาออกสังหารประชาชนและทหารของคุณ" ขณะเดียวกัน โคฟี่ อันนัน ตัวแทนขององค์การสหประชาชาติและสันนิบาตชาติอาหรับ ก็ได้มาเยือนกรุงดามาสกัสเพื่อหารือกับกลุ่มผู้นำซีเรียเรื่องแผนการสันติภาพ 6 ขั้น ซึ่งอัสซาดกล่าวในประเด็นนี้ว่า แผนการของอันนันไม่ควรจะประสบความล้มเหลว และตัวแทนนานาชาติกำลังทำงานที่ยากลำบาก แต่ก็ทำได้ดี อย่างไรก็ตาม อัสซาดบอกว่าแผนการของอันนันไม่สัมฤทธิ์ผลในการยับยั้งการนองเลือดเนื่องจาก "หลายประเทศไม่ต้องการให้มันสำเร็จ" "ดังนั้นพวกเขาจึงให้ความช่วยเหลือ ทั้งยังส่งอาวุธและส่งเงินให้กับผู้ก่อการร้ายในซีเรีย พวกเราต้องการให้มันไม่สำเร็จด้วยวิธีนี้" อัสซาดกล่าว เมื่อถามอัสซาดว่า ตามความเห็นของเขาแล้วใครเป็นผู้ที่ให้การสนับสนุนกลุ่มกบฏมากที่สุด อัสซาดบอกว่า ประเทศซาอุดิอารเบียและกาตาร์ได้ประกาศต่อสาธารณชนว่า "พวกเขาให้การสนับสนุนผู้ก่อการร้าย" อัสซาดยังได้กล่าวหาตุรกีด้วยว่าให้การสนับสนุนด้าน "การขนส่งและการค้าอาวุธเถื่อน" อัลเคด้า และพวกนอกกฏหมาย อัสซาดกล่าวในการสัมภาษณ์บอกว่า ฝ่ายกบฏประกอบด้วยกลุ่มกบฏอัลเคด้าและพวกนอกกฏหมายรวมกัน และรัฐบาลสามารถจับกุมตัวนักรบอัลเคด้าไว้ได้หลายสิบคนซึ่งน่าจะมาจากตูนีเซียและลิเบีย เขากล่าวหาว่า กลุ่มอันธพาลได้ทำการสังหารหมู่ในเมืองฮูวลาในเขตปกครองฮอมที่เป็นเหตุให้มีประชาชน 108 คน รวมเด็ก 49 คน และผู้หญิง 34 คน ถูกสังหาร ทั้งฝ่ายกบฏและฝ่ายรัซบาลซีเรียต่างฝ่ายต่างก็กล่าวกันและกันในเรื่องการสังหารหมู่ แต่ทางคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้ประณามซีเรียในเรื่องนี้ "กลุ่มอันธพาลหลายร้อยคนมาจากนอกเมือง ไม่ได้มาจากในเมือง แล้วพวกเขาก็โจมตีเมือง แล้วพวกเขาก็โจมตีเจ้าหน้าที่รักษากฏหมายในเมือง" อัสซาดเล่า เขาบอกว่า กลุ่มผู้สังหารสวมใส่ชุดทหารเพื่อใส่ความรัฐบาล "มันเกิดขึ้นหลายครั้งมาก พวกเขาก่ออาชญากรรม พวกเขาเผยแพร่วีดิโอ ปลอมแปลงวีดิโอ และสวมใส่ชุดทหาร ชุดทหารของกองทัพเรา เพื่อที่จะบอกว่า 'เป็นฝีมือของกองทัพ' " อัสซาดกล่าว อัสซาดบอกอีกว่า โดยทั่วไปแล้ว เหยื่อส่วนใหญ่ของความขัดแย้งนี้เป็นกลุ่มผู้สนับสนุนรัฐบาล
ที่มา Assad says US working to 'destabilise' Syria, Aljazeera, 09-07-2012
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
ทหารคะฉิ่น KIA ลอบวางระเบิดรถบรรทุกทหารพม่าในรัฐฉาน Posted: 09 Jul 2012 07:34 AM PDT กองกำลังอิสรภาพคะฉิ่น KIA ระเบิดรถบรรทุกทหารพม่าในรั แหล่งข่าวในรัฐฉานรายงานว่า เมื่อเวลา 11.00 น. วานนี้ (8 ก.ค.) เกิดเหตุรถบรรทุกทหารพม่าคันหนึ่งถูกกองกำลังอิสรภาพคะฉิ่น หรือ KIA (Kachin Independent Army) ที่เคลื่อนไหวอยู่ในรั รถบรรทุกทหารพม่าที่ถูกระเบิ แหล่งข่าวเผยว่า ระเบิดที่กองกำลังคะฉิ่น KIA วางดักรถบรรทุกทหารพม่าเป็ ทั้งนี้ มีรายงานว่า หลังเกิดเหตุทหารพม่าได้ ชมภาพ / อ่านข่าวย้อนหลังได้ที่ http://www.khonkhurtai.org/ "คนเครือไท" เป็นศูนย์ข่าวภาคภาษาไทยเครือข่ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
ปธน.อียิปต์ 'ชน' ศาล-กองทัพ ประกาศยกเลิก 'คำสั่งยุบสภา' Posted: 09 Jul 2012 07:19 AM PDT มูฮัมหมัด มอร์ซี ประธานาธิบดีอียิปต์คนใหม่จากพรรคภราดรภาพมุสลิม ออกประกาศเพื่อให้ 'คำสั่งยุบสภา' ของกองทัพสูงสุดเป็นโมฆะ หลังศาลฎีกาตัดสินยุบสภา เหตุไม่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อวันที่ 8 ก.ค. 55 สำนักข่าวอัลจาซีรารายงานว่า ประธานาธิบดีคนใหม่ของอียิปต์ มูฮัมหมัด มอร์ซี จากพรรคภราดรภาพมุสลิม ได้ท้าทายศาลสูงสุดและกองทัพอียิปต์ โดยการสั่งให้รัฐสภาเริ่มเปิดการประชุมอีกครั้งหลังถูกยุบไปโดยคำสั่งของสภากองทัพสูงสุด (SCAF) เพียงก่อนการเลือกตั้งสองวัน โดยอ้างว่าสภาได้รับเลือกเข้ามาโดยวิธีที่ขัดต่อกฎหมาย คำสั่งดังกล่าวระบุว่า มอร์ซีตัดสินใจจะรื้อฟื้นสภาประชาชน ซึ่งได้รับการเลือกตั้งเข้ามาในต้นเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว ขึ้นมาทำหน้าที่ออกกฎหมายอีกครั้ง ทั้งนี้ ในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อกลางเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา พรรคการเมืองของกลุ่มภราดรภาพมุสลิมได้รับชัยชนะโดยได้ที่นั่งเกือบครึ่งหนึ่งของสภา และมอร์ซีเอง ถึงแม้จะได้ลงจากตำแหน่งผู้นำพรรคแล้ว แต่ก็ยังเป็นสมาชิกของพรรคดังกล่าว การออกคำสั่งของมอร์ซี ถูกมองว่าเป็นความพยายามที่จะรื้อฟื้นรัฐสภากลับมา โดยหลีกเลี่ยงการขัดแย้งโดยตรงกับศาลสูงสุด โดยแทนที่จะกล่าวถึงคำสั่งศาลโดยตรง ซึ่งระบุว่าสภาควรถูกยุบ เขาได้ยกเลิกคำสั่งของสภากองทัพสูงสุด ผู้ซึ่งในขณะนั้นเป็นผู้ถืออำนาจบริหารและปฏิบัติตามคำสั่งของศาล ขั้วขัดแย้งระหว่างกองทัพและกลุ่มภราดรภาพมุสลิม ในช่วงเดือนที่ผ่านมา กลุ่มภราดรภาพมุสลิมโต้แย้งตลอดมาว่าคำสั่งศาลสูงสุดตัดสินโดยไม่ชอบธรรม และสภากองทัพสูงสุดเองก็ไม่มีสิทธิตามกฎหมายที่จะยุบสภา เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ไม่เป็นที่ชัดเจนนักว่า มอร์ซีได้หารือเรื่องนี้กับกองทัพหรือกลุ่มอำนาจอื่นๆ ก่อนจะออกคำสั่งนี้หรือไม่ โดยทางผู้นำระดับสูงของกลุ่มภราดรภาพมุสลิมกล่าวว่าตนไม่ได้รับการปรึกษาหารือ ในขณะที่สภากองทัพสูงสุดได้จัด "การประชุมฉุกเฉิน" เพื่อหารือเรื่องนี้ และศาลสูงสุดก็นัดประชุมในวันจันทร์เพื่อตีความคำสั่งดังกล่าว นอกจากนี้ คำสั่งของมอร์ซียังกำหนดให้มีการจัดการเลือกตั้ง 60 วันหลังการให้ความเห็นชอบลงประชามติรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งคาดว่าจะเป็นช่วงปลายปีนี้ โดยมีสภาร่างรัฐธรรมนูญซึ่งมาจากการแต่งตั้งของสภาสมัยก่อนหน้านี้ ทำหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ทั้งนี้ การชนะการเลือกตั้งของกลุ่มภราดรภาพมุสลิม ได้ก่อให้เกิดความหวาดระแวงในหมู่ฆราวาสนิยม เสรีนิยม และชนกลุ่มน้อยศาสนาคริสต์ ที่ดูเหมือนจะพึงพอใจกับการยุบสภา โดยนักการเมืองฝ่ายฆราวาสนิยม รวมถึงโมฮัมเหม็ด เอลบาราได ได้วิพากษ์การตัดสินใจของมอร์ซีเมื่อคืนวันอาทิตย์ด้วย คำสั่งของศาลสูงสุดที่ให้ยุบสภา มีขึ้นเพียงหนึ่งวันก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดีรอบที่สอง ซึ่งมีผู้ลงสมัครคือ มอร์ซี และอาห์เหม็ด ชาฟีก อดีตนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลระบอบเก่าของฮอสนี มูบารัก ข้อครหาต่อศาลมีหนักขึ้น คำสั่งศาลดังกล่าวตัดสินว่า การที่พรรคการเมืองได้ลงแข่งเพื่อชิงที่นั่งในสภาที่สงวนไว้สำหรับผู้สมัครอิสระเป็นเรื่องที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ การตัดสินดังกล่าว นำมาซึ่งข้อวิพากษ์วิจารณ์ว่า ศาลเป็นเครื่องมือของสภากองทัพ ซึ่งมุ่งที่จะจำกัดอำนาจของกลุ่มภราดรภาพมุสลิม ข้อครหาดังกล่าวมีมากขึ้น โดยหลังจากที่ศาลมีคำสั่งยุบสภาเพียงสองวัน สภากองทัพสูงสุดก็ได้ออกคำสั่งแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อจำกัดอำนาจประธานาธิบดี และถ่ายโอนอำนาจบริหารจากรัฐสภาที่ถูกยุบมาให้ตนเอง คำสั่งของมอร์ซีไม่ได้ระบุชัดเจนว่า สภากองทัพสูงสุดจะสูญเสียอำนาจบริหารหรือไม่ หากรัฐสภาถูกรื้อฟื้นขึ้นมาอีกครั้ง กลุ่มภราดรภาพมุสลิม กล่าวว่า การยุบสภา ควรผ่านการทำประชามติ อนึ่ง รัฐธรรมนูญชั่วคราวของอียิปต์ซึ่งผ่านการประชามติหลังการโค่นล้มเผด็จการฮอสนี มูบารักในปี 2553 ไม่มีการให้อำนาจสถาบันทางการเมืองใดที่จะยุบสภาได้ และไม่มีกฎข้อบังคับระบุเกี่ยวกับสถานการณ์ดังกล่าวด้วย ในขณะที่ประธานาธิบดีมีอำนาจที่จะเรียกเปิดประชุมสภา
ที่มา: แปลและเรียบเรียงจาก Egypt's Morsi orders parliament to reconvene
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
Posted: 09 Jul 2012 07:05 AM PDT
อันเนื่องมาจากงานเสวนาของ "ประกายไฟการละคร" เมื่อวาน ที่ยังทิ้งสิ่งตกค้างอยู่ในใจข้าพเจ้า 1. ทำไมนักศิลปวัฒนธรรมแดงบางส่วน จึงคิดว่า ปัจจุบัน การทำงานกับคนเสื้อแดงไม่จำเป็นแล้ว ที่ทำๆ กันอยู่นี้ เป็นเพียงการวนเวียนทำกันเอง ฟังกันเอง เสพกันเอง ไม่มีประโยชน์อะไร เพราะเป็นการพูดซ้ำๆ ในสิ่งที่คนเสื้อแดงรู้อยู่แล้ว เข้าใจอยู่แล้ว จริงหรือไม่ *ส่วนตัวข้าพเจ้าคิดว่า นักศิลปวัฒนธรรมแดงยังคงต้องทำงานสื่อสารกับคนเสื้อแดงต่อไป เพื่อหล่อเลี้ยงอารมณ์ความรู้สึกในการต่อสู้ของกันและกัน (ไม่ใช่เพื่อยกระดับหรือให้การศึกษามวลชน เพราะข้าพเจ้าเชื่ออย่างสุดจิตสุดใจว่า มวลชนต่างหากคือผู้ยกระดับนักศิลปวัฒนธรรม 2.การสร้างงานศิลปะเพื่อสื่อสารกับคนกลุ่มอื่น เช่น เสื้อขาว เสื้อเหลือง สลิ่ม ฯลฯ มีความสำคัญมากกว่าการสื่อสารกับคนเสื้อแดง จริงหรือไม่ *ข้าพเจ้าเห็นว่า การสร้างงานศิลปะเพื่อสื่อสารกับคนกลุ่มอื่น มีความสำคัญ โดยเฉพาะกับกลุ่มคนชั้นกลางวัฒนธรรมเสียงดัง ที่เราต่างตระหนักกันดีว่า ในการต่อสู้ของประชาชน หากขาดคนกลุ่มนี้แล้วมันชนะยาก แต่อย่างไรข้าพเจ้าก็ไม่คิดว่า มันสำคัญกว่าการทำงานกับคนเสื้อแดง เพราะจนถึงวันนี้ ข้าพเจ้าก็ยังเห็นอย่างที่เคยเห็นเสมอมาว่า กลุ่มคนที่เป็นกำลังแข็งขันและทุ่มเทอย่างเข้มข้นในการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยของประเทศนี้ ก็คือ "คนเสื้อแดง" 3. งานศิลปะชิ้นหนึ่งสามารถสื่อสารกับคนเสื้อแดงและเสื้อสีอื่นไปพร้อมกันได้หรือไม่ *ข้าพเจ้าคิดว่า งานศิลปะที่สื่อสารกับคนเสื้อแดงส่วนใหญ่ คืองานที่ยืนยันหลักการประชาธิปไตยและความเป็นคนที่เท่ากัน หากสลิ่ม หรือเสื้อเหลือง หรือเสื้อสีอื่น เชื่อในหลักการนี้ ก็ย่อมเข้าใจงานศิลปะนั้นๆ ไปพร้อมกับคนเสื้อแดงได้ นั่นคือ งานศิลปะของคนเสื้อแดงสามารถสื่อสาร “ข้ามสี” ได้ หรือพูดง่ายๆ คือ คนเสื้อแดงก็ชอบได้ คนเสื้ออื่นก็ชอบได้ แต่ “รสนิยมร่วมข้ามสี” เช่นนี้ เกิดขึ้นได้ “จริง” หรือไม่ เพราะในความเป็นจริงคือ คนเหล่านี้เชื่อในสิ่งที่ตรงกันข้ามกับคนเสื้อแดง งานศิลปะที่สื่อสารกับคนเสื้อแดงได้ ย่อมถูกปฏิเสธจากพวกเขาโดยอัตโนมัติ (เช่นเดียวกับที่พวกเขาปฏิเสธงานวิชาการของฝ่ายประชาธิปไตย) ดังนั้นข้าพเจ้าจึงเห็นว่า การเรียกร้องให้นักศิลปวัฒนธรรมที่มุ่งทำงานสื่อสารกับคนเสื้อแดง “ยกระดับ” ตัวเองไปทำงานข้ามสีด้วย เป็นเรื่องที่ทำได้ยาก แต่หากจะเอาจริงเอาจังกับเรื่องนี้ ก็อาจแก้ปัญหาได้บ้างด้วยการแบ่งงานกันทำ ใครสื่อสารกับคนเสื้อแดงได้ก็ทำไป ใครสื่อสารกับคนเสื้อสีอื่นได้ก็ทำไปเช่นกัน (แต่หากใครเชื่อมั่นในศักยภาพของตนว่ามีมากพอจะทำทั้งสองอย่างไปพร้อมกัน ข้าพเจ้าก็เอาใจช่วย) 4.มีการกล่าวกันว่า หากนักศิลปวัฒนธรรมแดง จะทำงานสื่อสารกับคนข้ามสี ต้องยกระดับงานของตนให้มีชั้นเชิงทางศิลปะหรือสุนทรียะมากขึ้น หรือต้องใช้ศักยภาพทางศิลปะ “สูงกว่า” ที่ทำๆ กันอยู่ จริงหรือไม่ *ข้าพเจ้าคิดว่า ปัญหามันไม่ใช่เรื่องศิลปะ แต่เป็นเรื่องของการยึดมั่นหลักการและการยืนยันจุดยืนที่ต่างกัน 5.ด้วยรู้กันดีว่าคนเสื้อแดงสู้อยู่กับใคร งานศิลปะของฝ่ายเสื้อแดงจึงหลีกไม่พ้นการเดินเข้าสู่ดินแดนอันล่อแหลมและเสี่ยงภัย นั่นทำให้ขอบเขตในการเผยแพร่งานสู่สาธารณะถูกจำกัด เพื่อขยับให้งานศิลปะของฝ่ายเสื้อแดงเข้าไปมีพื้นที่อยู่ในสื่อกระแสหลักมากกว่าที่เป็น นักศิลปวัฒนธรรมแดงควรนำเสนอให้พลิ้วไหวและเต็มไปด้วยการซ่อนสัญญะมากขึ้น จริงหรือไม่ *คำถามย้อนกลับของข้าพเจ้าคือ การตายของอากง “พลิ้วไหว” พอหรือไม่ ก็ขนาดความจริงที่สั่นสะเทือนและบีบคั้นหัวใจผู้คนในสังคมได้มากอย่างนั้น สื่อกระแสหลักยังแตะน้อยกว่าดราม่าเรื่อง “นม” หรือการ “ซั่ม” กันของเด็กมัธยมต้น ไม่เว้นแม้แต่สื่อที่ว่ากันว่า “ค่อนมาทางแดง” แล้วเราจะหวังมาตรฐานอะไรกับการพิจารณาเผยแพร่งานศิลปะของสื่อกระแสหลักเหล่านี้ ที่ล้วนตกอยู่ภายใต้การครอบงำของอุดมการณ์อนุรักษนิยมและกษัตริยนิยม แท้จริงแล้วนี่เป็นเรื่องที่เราต้องตั้งคำถามและวิพากษ์วิจารณ์ด้วยซ้ำ 6.สุดท้าย เป็นคำถามเกรียนๆ ของข้าพเจ้า นั่นคือ ข้าพเจ้ามีความรู้สึกอยู่ลึกๆ โดยสังหรณ์ใจของข้าพเจ้าเองว่า นักศิลปวัฒนธรรมแดงบางส่วน เชื่อว่า การมายืนอยู่กับเสื้อแดงคือความก้าวหน้า แต่มันเป็นเพียง “ความก้าวหน้าที่ดักดาน” หากคุณเพียงสร้างงานให้คนเสื้อแดงเสพ การสยายปีกข้ามไปคุยกับคนสีอื่นได้ต่างหาก คือสิ่งยืนยันความสามารถทางศิลปะอย่างแท้จริงของคุณ จริงหรือไม่ *ข้าพเจ้าไม่มีคำตอบ
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
ลุงนก: คนไทใหญ่กับการเข้าถึงสิทธิในหลักประกันสุขภาพของคนไร้รัฐ ไร้สัญชาติ (2) Posted: 09 Jul 2012 04:19 AM PDT
นางสาวปิ่นแก้ว อุ่นแก้ว จากโครงการเฝ้าระวังสภาวะไร้รัฐ (SWIT) บอกว่า ถึงแม้วันที่ 23 มีนาคม 2553 ที่ผ่านมา สิทธิในหลักประกันสุขภาพของคนไร้รัฐไร้สัญชาติ ได้รับรองโดยมติคณะรัฐมนตรี ให้จัดตั้งกองทุนให้บริการด้านสาธารณสุขกับบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ แต่ในความเป็นจริง ก็ยังมีคนที่ตกหล่น หายไป อย่างเช่น ผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียนที่มีเลขประจำตัว 13 หลัก ขึ้นต้นด้วยเลข 0,กลุ่มผู้ติดตามแรงงานข้ามชาติ 3 สัญชาติ,กลุ่มแรงงานข้ามชาติที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนเพื่อรับใบอนุญาต หรือจะเข้ามาทำงานเกษตรกรรมตามฤดูกาล,ผู้ลี้ภัยที่ได้รับการดูแลให้อยู่ในพื้นที่พักพิงชั่วคราว 9 แห่งตามชายแดนไทย-พม่า และคนไร้รัฐ ไร้เอกสารพิสูจน์ทราบตัวบุคคล “การเข้าถึงบริการสาธารณสุขของคนไร้รัฐ ไร้สัญชาติ อาจจะไม่ถูกปฏิเสธโดยตรง แต่ก็มีข้อจำกัด คือ ความยากจน ไม่มีเงินสำหรับค่ายา ค่าหมอ ค่าเดินทาง หรือแม้แต่กลัวว่าจะถูกจับหรือเปล่า ถ้าจะไปหาหมอ ผู้ป่วยก็ต้องทรุดหนักจริงๆ พอหายแล้วก็มีหนี้ก้อนใหญ่ตามมา เป็นภาระทุกครั้งที่ไปโรงพยาบาล เขาก็จะถูกทวงถามถึงเงินค้างชำระงวดก่อน มีหลายครอบครัวที่ยังคงทยอยจ่ายเงินคืนให้กับโรงพยาบาลแม้ว่าผู้ป่วยจะเสียชีวิตไปแล้ว”นางสาวปิ่นแก้ว กล่าว นางสาวปิ่นแก้ว กล่าวต่อว่า แต่เราก็พบว่า มีสถานพยาบาลบางแห่งสามารถก้าวพ้นทัศนคติ การรับมือ การจัดการปัญหาแบบเดิมๆ เช่น การขายบัตรประกันสุขภาพทางเลือกสำหรับคนที่ไม่อยู่ในระบบประกันสุขภาพใดๆ อย่างเช่น ที่โรงพยาบาลสังขละบุรี,แม่สอด,ระนอง และสมุทรสาคร “หรืออย่างกรณี โรงพยาบาลอุ้มผาง ซึ่งรับภาระดูแลผู้ป่วยทุกคน ด้วยความเป็นโรงพยาบาลชายแดน จนกระทั่งประสบภาวะหนี้สินและค่าใช้จ่ายสังคมสงเคราะห์ อยู่ราว 36 ล้านบาทเศษๆ ก็ได้มีการก่อตั้งมูลนิธิโรงพยาบาลอุ้มฝาง ซึ่งมีเจตนารมณ์ที่ชัดเจนว่า มูลนิธิไม่มีวัตถุประสงค์จะปลดเปลื้องหนี้สินที่โรงพยาบาลมี แต่จะทำให้โรงพยาบาลสามารถให้การช่วยเหลือผู้ป่วยที่ไม่สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลจากกองทุนใดๆ ได้ และใช้จ่ายในส่วนที่เกินจากการสนับสนุนงบประมาณของส่วนราชการ” โครงการเฝ้าระวังสภาวะไร้รัฐ(SWIT) กล่าวอีกว่า ถึงเราไม่อาจห้ามความเจ็บป่วยได้ แต่เราคงไม่อาจนิ่งดูดายปล่อยให้คนที่อยู่ร่วมกันบนผืนแผ่นดินไทย ยังมีคนอีกหลายคนต้องตกหล่นจากระบบประกันสุขภาพ ต้องทนทุกข์จากความป่วยไข้โดยไร้คนเหลียวแลรักษา “ทางหนึ่งที่จะช่วยให้เขารอดพ้นจากปัญหาที่คนไข้หลายคนมักบอกว่า...ฉันไม่อยากไปหาหมอ เพราะไม่มีเงินจ่าย ก็คือ การช่วยกันผลักดันอย่างจริงจังและจริงใจ เพื่อทำให้คนเหล่านี้สามารถเข้าถึงสิทธิในหลักประกันสุขภาพ ตาม พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 ได้อย่างแท้จริง” เช่นเดียวกับ อาภา หน่อตา จากเครือข่ายสุขภาพชาติพันธุ์ฯ(คชส.) ก็ได้พูดถึงประเด็นนี้ว่า ที่ผ่านมาทางเครือข่ายฯ ได้มีการผลักดันเรื่องการเข้าถึงสิทธิ การเข้าถึงบริการทางสุขภาพของคนชาติพันธุ์มา 5 ปีแล้ว เพราะก่อนหน้านี้ คนชาติพันธุ์ถูกเพิกถอนสิทธิในกองทุนสุขภาพ หรือบัตร 30 บาทรักษาทุกโรค “เพราะสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.)ตีความกฎหมายว่า กองทุนสุขภาพให้บริการครอบคลุมเฉพาะผู้มีสัญชาติไทย ทำให้คนชาติพันธุ์ถูกยึดบัตรทอง เมื่อพวกเขาต้องรับภาระในการเสียค่าพยาบาลเอง ก็ทำให้ไม่กล้าไปโรงพยาบาล ถ้าจะไปก็ต้องเจ็บหนักจริงๆ” ต่อมา เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2553 ที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรี มีมติคืนสิทธิในหลักประกันสุขภาพของคนไร้รัฐไร้สัญชาติ แต่คนชาติพันธุ์ส่วนใหญ่ไม่ได้รับรู้และเข้าถึงสิทธิอันพึงมีพึงได้ต่อชีวิตของเขาเลย “แต่ในความเป็นจริง คนชาติพันธุ์ส่วนใหญ่ยังไม่รู้ว่าพวกเขาได้สิทธินี้ เนื่องจากไม่ค่อยมีสื่อประชาสัมพันธ์ออกมาจากรัฐ ส่วนมากก็เป็นแค่คอลัมน์เล็กๆ ในหนังสือพิมพ์ เราก็พยายามสื่อสารว่า กองทุนนี้มันมีอยู่นะ” ทั้งนี้ ตัวแทนเครือข่ายสุขภาพชาติพันธุ์ ได้เน้นย้ำว่า สิทธิทางสุขภาพต้องครอบคลุมคนทุกคน ถึงมันไม่เกิดนโยบายสูงๆ ว่าทุกคนในประเทศไทยต้องเข้าถึงบริการทางสุขภาพ แต่ต้องเกิดการรับรู้ในกลุ่มภาคีเครือข่ายที่ช่วยกันทำช่วยกันเคลื่อนไหว “ชุมชนต้องมีวิธีจัดการให้คนในชุมชนมีสิทธิเข้าถึงบริการทางสุขภาพโดยชุมชนเข้ามาจัดการกันเอง” ตัวแทนเครือข่ายสุขภาพชาติพันธุ์ บอกย้ำ ทั้งนี้ จากข้อมูลเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2554 ที่ผ่านมา สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ระบุจำนวนตัวเลขผู้มีปัญหาสถานะบุคคล 4 กลุ่ม รวมทั้งหมดทั้งสิ้น 3,262,056 คน โดยจำแนกไว้ดังนี้ 1.แรงงานข้ามชาติ 3 สัญชาติ พม่า ลาวและกัมพูชา (มีเลข 13 หลักขึ้นต้นด้วยเลข 00) รวม 2,5181,360 คน 2.ชนกลุ่มน้อยที่เกิดหรืออาศัยอยู่ในประเทศไทยมานานแล้ว แต่ยังไม่ได้รับสัญชาติไทย รวม 323,084 คน 3.คนไร้รัฐ/ไร้รากเหง้า หรือบุคคลไม่มีสถานะทางทะเบียน ซึ่งกรมการปกครองได้เริ่มสำรวจตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค.2548 จำนวน 218,538 4.กลุ่มผู้ลี้ภัยในพื้นที่พักพิงชั่วคราวแถบชายแดนไทย-พม่า ทั้ง 9 แห่ง รวม 138,076 คน ซึ่งกรณีของลุงนก ชาวไทใหญ่คนนี้ น่าจะอยู่ในข่าย กลุ่มที่ 3 คือกลุ่มคนไร้รัฐ/ไร้รากเหง้า หรือบุคคลไม่มีสถานะทางทะเบียน
อ่านเรื่องที่เกี่ยวข้อง ข้อมูลประกอบ
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
กองทุน 'สมชาย นีละไพจิตร' เผย 5 ชื่อสุดท้ายรางวัลนักสิทธิฯดีเด่น Posted: 09 Jul 2012 04:09 AM PDT 9 ก.ค. 55 กองทุนรางวัลสมชาย นีละไพจิตร ประกาศรายชื่อผู้เข้ารอบสุดท้าย เพื่อรับ 'รางวัลสมชาย นีละไพจิตร' ประจำปี 2555 จำนวน 5 รายชื่อ ได้แก่ 1.นางสาวจิตรา คชเดช นักต่อสู้ด้านสิทธิแรงงานและผู้ร่วมรณรงค์ทางการเมือง 2.นายรัษฎา มนูรัษฎา ทนายความอาสาให้ผู้ต้องหาใน จังหวัดชายแดนภาคใต้และผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน 3.นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข นักส่งเสริมสิทธิแรงงานและนักรณรงค์ทางการเมืองซึ่งขณะนี้ถูกคุมขังในเรือนจำ 4.นายอดิศร เกิดมงคล ผู้เชี่ยวชาญเรื่องแรงงานข้ามชาติ และ 5.กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี กลุ่มชาวบ้านผู้ปกป้องสิทธิชุมชนจากอุตสาหกรรมเหมืองแร่โปแตช ทั้งนี้ จากรายชื่อดังกล่าว คณะกรรมการฯ จะตัดเลือกเพียงหนึ่งรายชื่อเพื่อรับรางวัลสมชาย นีละไพจิตร ประจำปี 2555 พร้อมเงินรางวัล 50,000 บาท ส่วนอีก 4 ชื่อที่เหลือ จะได้รับรางวัลผู้มีผลงานด้านสิทธิมนุษยชนน่ายกย่อง ปะจำปี 2555 พร้อมเงินรางวัลรายละ 10,000 บาท จอน อึ๊งภากรณ์ กรรมการและผู้ก่อตั้ง กองทุนรางวัลสมชายฯ กล่าวว่า ที่ผ่านมา ประเทศไทยนั้นมีปัญหาเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนอยู่มาก ทั้งจากหน่วยงานรัฐและกลไกของรัฐ ผู้เข้ารอบ 5 รายนามนั้น ล้วนเป็นผู้ที่ได้ต่อสู้ในด้านสิทธิมนุษยชนมาอย่างเข็มแข็งและกล้าหาญ และเสี่ยงอันตราย เช่นเดียวกับที่ ทนายสมชาย นีละไพจิตร ที่ทำงานเพื่อยืนยันในหลักการสิทธิมนษยชนจนถูกอุ้มหายตัวไป การมอบรางวัลสดุดีผู้ทำงานด้านสิทธิมนุษยชนอย่างเข็มแข็งและกล้าหาญ เพื่อเป็นกำลังใจให้พวกเขาทำงานต่อไป และเป็นหนึ่งในความพยายามทำให้สังคมไทยตระหนักถึงความสำคัญของบุคคลเหล่านี้ และปัญหาสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยอีกด้วย พิธีมอบรางวัลจะจัดขึ้น ณ เวลา 9.30 – 12.00 น. วันที่ 11 กรกฎาคม 2555 ที่ห้องประชุมชั้น 4 มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม ซ.โรหิตสุข ถ.ประชาราษฎร์บำเพ็ญ พร้อมกับการเสวนาหัวข้อ "บนเส้นทางการต่อสู้..ประสบการณ์นักสิทธิมนุษยชนไทย" โดยผู้เข้ารอบทั้ง 5 คน และการกล่าวปิดงานโดย ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อีกด้วย ทั้งนี้ กองทุนรางวัลสมชายฯ เปิดให้ประชาชนทั่วไปเสนอชื่อผู้สมควรได้รับรางวัลสมชาย นีละไพจิตร เป็นเวลาสามเดือน (กุมภาพันธ์ - เมษายน 2555) มีผู้ถูกเสนอรายชื่อถูกเสนอทั้งหมด 20 ราย จากหลากหลายสาขาของงานเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน เช่น ด้านสิทธิแรงงาน ด้านสิทธิผู้ต้องขังในเรือนจำ ด้านสิทธิชุมชนไปจนถึงงานพัฒนาชุมชนท้องถิ่น งานอาสาสมัครและการต่อสู้กับความอยุติธรรม เป็นต้น และได้กลั่นกรองจนเหลือ 5 รายชื่อ และพิจารณาให้รางวัลสมชาย นีละไพจิตร เพียง 1 ชื่อ โดยพิจารณาจาก 4 หลักเกณฑ์ ได้แก่ 1. มีลักษณะเป็น “นักต่อสู้” ด้านสิทธิมนุษยชน ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับประโยชน์ของสาธารณะ 2. มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ 3. ยังไม่ค่อยมีประวัติการได้รับรางวัลด้านสิทธิมนุษยชน หรือเป็นที่ยก 4. เป็นนักต่อสู้ที่ทำงานในประเด็นที่เป็นปัจจุบัน และกำลังเป็นที่ถกเถียงในสังคม และสุ่มเสี่ยงต่อการถูกทำร้ายหรือถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน กองทุนรางวัลสมชายฯ ริเริ่มกิจกรรมการมอบ รางวัลสมชาย นีละไพจิตร ด้วยเจตนารมณ์เพื่อยกย่อง เชิดชูเกียรติ และเป็นกำลังใจแก่ผู้ที่มีคุณูประการ เสียสละ ในการส่งเสริมและปกป้องสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย รวมทั้งเพื่อกระตุ้นให้สังคมในวงกว้างตระหนักถึงความสำคัญและยอมรับบทบาทของนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน โดยการเปิดรับชื่อผู้สมควรได้รับรางวัลจากประชาชนทั่วไป โดยการมอบรางวัลครั้งนี้ (ปี 2555) เป็นการมอบรางวัลครั้งแรก
กำหนดการงานประกาศรางวัลสมชาย นีละไพจิตร 2555 09.30 – 10.00 น. ลงทะเบียน 10.30 – 10.45 น. พิธีมอบรางวัลสมชาย นีละไพจิตร และและใบประกาศเกียรติคุณผู้มีผลงานสิทธิมนุษยชนน่ายกย่อง • ผู้รับรางวัลสมชาย นีละไพจิตร ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
หวั่น! ออกหมายจับชาวบ้าน “ชุมชนสันติพัฒนา”-บังคับคดีให้ออกจาก “พื้นที่ สปก.” Posted: 09 Jul 2012 03:39 AM PDT คณะทำงานสภาทนายความแจ้ (9 ก.ค.55) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คณะทำงานสภาทนายความแจ้ จากการพูดคุย ทนายความจากสภาทนายความให้ข้อมูลว่ “เรารอความชัดเจนเรื่องเอกสารก่ สำหรับการยื่นเรื่องเพิกถอนการบังคับคดี จากกรณีที่คดีนี้โจทย์ได้ส่งมอบพื้นที่ให้ ทนายความกล่าวด้วยว่า เรื่องนี้หากร้องค้านไม่ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 28 มิ.ย.55 นายบุญฤทธิ์ ภิรมณ์ และตัวแทนชาวบ้านชุมชนสันติพัฒนาได้เข้าประชุมร่วมกับ นายสถิตย์พงษ์ สุดชูเกียรติ รองเลขาธิการสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (สปก.) ปฏิบัติราชการแทนเลขาธิการสำนักปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ถึงกรณีดังกล่าว ซึ่งนายสถิตพงษ์กล่าวกับตัวแทนชาวบ้านว่า บังคับคดีไม่มีสิทธิ์เข้าไปรื้อถอนชุมชนเพราะเป็นพื้นที่ สปก. และสปก.ได้ส่งมอบพื้นที่ไปแล้ว อีกทั้งจะทำหนังสือแจ้งไปทางบังคับคดีระงับการรื้อถอน และจะแจ้งไปทางจังหวัดสุราษฏร์ธานีโดยด่วน จากนั้น ในวันที่ 29 มิ.ย.55 ซึ่งมีกำหนดการรื้อถอน ได้มีกลุ่มบุคคลจำนวนหนึ่งขับรถวนเวียนบริเวณใกล้ๆ ชุมชน แต่ไม่มีการรื้อถอนแต่อย่างใด ทั้งนี้ ชุมชนสันติพัฒนาถูกดำเนินคดี จำนวน 4 คดี โดยโจทก์คือบริษัทสหอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม จำกัด (มหาชน) จำเลยคือชาวบ้านในชุมชนสันติพัฒนา จำนวน 12 คน ระหว่างการต่อสู้คดีจำเลยเสียชีวิต 3 คน โจทก์ฟ้องอ้างว่าโจทก์เป็นเจ้าของผู้ครอบครองที่ดิน 1,486 ไร่ โดยมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ น.ส.3ก 330 ไร่ ส่วนที่เหลืออยู่ระหว่างการออกเอกสารสิทธิ แต่ถูกจำเลยบุกรุกและทำละเมิดคดีแบ่งเป็น 2 ส่วน คือคดีอาญา 2 คดี และคดีแพ่ง 2 คดี รวมค่าเสียหายในส่วนแพ่ง 15 ล้านบาท
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
สัมภาษณ์ "ญาติผู้ต้องขัง 112" ในวันแถลงเปิดตัวเครือข่าย Posted: 09 Jul 2012 03:29 AM PDT
7 ก.ค. 55 - เวลา 13.00 น. ณ อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา มีการแถลงข่าวเปิดตัว "เครือข่ายญาติและผู้ประสบภัยจากมาตรา 112"นำโดยญาติของผู้ต้องขังและผู้ต้องหาในคดีกฎหมายอาญามาตรา 112 ประชาไท เสนอบทสัมภาษณ์ถึงวัตถุประสงค์ ที่มาการรวมตัว และแผนกิจกรรมของเครือข่าย ผ่านการพูดคุยกับ สุกัญญา พฤกษาเกษมสุข (ภรรยาสมยศ) กีเชียง ทวีวโรดมกุล (พ่อหนุ่ม เรดนนท์), รสมาลิน ตั้งนพกุล (ภรรยาอากง), ปราณี ด่านวัฒนานุสรณ์ (ภรรยาสุรชัย) อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ เปิดตัวกลุ่มญาตินักโทษม. 112 'ส.ศิวรักษ์' เสนอขออภัยโทษทั้งหมด 12 ส.ค. ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
เลื่อนไต่สวน "เสธฯไก่อู" คดีสังหารชาญณรงค์ เหตุกองทัพบกส่งหลักฐานเพิ่ม Posted: 08 Jul 2012 09:45 PM PDT
(9 ก.ค.55) เมื่อเวลา 9.00 น. ณ ห้องพิจารณาคดี 707 ศาลอาญา รัชดา ตามกำหนดการเดิม จะมีการนัดไต่สวนคดีเลขที่ อช.1/2555 กรณีการเสียชีวิตของนายชาญณรงค์ พลศรีลา แท็กซี่เสื้อแดงที่ถูกยิงเสียชีวิต บริเวณปั้มเชลล์ ถ.ราชปรารภ ในบ่ายวันที่ 15 พ.ค.53 โดยมี พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด พร้อมด้วย นายทหารอีก 3 นายมาเบิกความ แต่เนื่องด้วยทางกองทัพบกแจ้งว่าจะมีการนำส่งหลักฐานเพิ่มเติม ศาลจึงมีคำสั่งในเวลา 11.00 น. ให้เลื่อนการไต่สวนนายทหารดังกล่าวไปในวันที่ 24 ก.ย.55 ทั้งนี้ในช่วงบ่ายของวันนี้จะมีการไต่สวน พ.ต.ท.สุรพล รื่นสุข ในคดีเดียวกันต่อ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น