โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันอาทิตย์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

เฉินหลงเยือนพม่าในฐานะทูตยูนิเซฟ รณรงค์ต่อต้านการค้าเด็ก

Posted: 08 Jul 2012 11:58 AM PDT

เฉินหลงเดินทางเข้าพม่าเพื่อเยี่ยมเด็กๆ ที่เคยตกเป็นเหยื่อขบวนการค้ามนุษย์ และหน่วยงานราชการของพม่าเพื่อต่อต้านการค้ามนุษย์ พร้อมยืนยันว่า “การค้าเด็กและการแสวงประโยชน์จากเด็กเป็นอาชญากรรมที่น่ารังเกียจ เพราะทำให้เด็กมีแผลเป็นติดตัวไปจนตายและเป็นการปล้นเอาความเป็นเด็กไป”

เว็บไซต์ยูนิเซฟ รายงานว่า ระหว่างวันที่ 5-7 ก.ค. ที่ผ่านมาแจ็คกี้ ชาน หรือเฉินหลง นักแสดงชื่อดังและทูตยูนิเซฟเดินทางไปประเทศพม่า เพื่อช่วยรณรงค์การต่อต้านการค้าเด็ก

ที่พม่าเฉินหลงจะไปเยี่ยมเด็ก ๆ ที่เคยเป็นเหยื่อของขบวนการค้ามนุษย์ ซึ่งตอนนี้ได้รับความช่วยเหลือให้รอดพ้นจากองค์กรค้ามนุษย์ที่มีมูลค่านับพันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยทุกปีมีเด็กกว่า 1.2 ล้านคนทั่วโลกที่ตกเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์

เฉินหลงเป็นทูตยูนิเซฟมาตั้งแต่ปี 2547 เขาใช้ชื่อเสียงของตนเป็นสื่อกลางในการทำงานเพื่อส่งเสริมสิทธิมนุษยชนให้แก่เด็กที่ขาดโอกาส

ระหว่างการเดินทางครั้งนี้ เฉินหลงจะไปเยี่ยมศูนย์ฝึกอาชีพสำหรับเด็กที่เคยตกเป็นเหยื่อ เด็กเหล่านี้แม้จะได้รับความช่วยเหลือให้รอดพ้นจากขบวนการค้ามนุษย์แล้ว แต่ยังต้องการการดูแลเอาใจใส่และความช่วยเหลือเป็นพิเศษ

จากนั้นเขาจะเดินทางเข้าเยี่ยมโครงการต่าง ๆ ที่ยูนิเซฟให้การสนับสนุนเพื่อช่วยเหลือเด็กที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการตกเป็นเหยื่อของขบวนการค้ามนุษย์ เช่น เด็กที่ไม่มีพ่อแม่ดูแลและเด็กเร่ร่อนที่อาศัยและทำงานอยู่ตามท้องถนน ตลอดจนเข้าพบเจ้าหน้าที่กระทรวงสวัสดิการสังคมและตำรวจในเมืองมัณฑะเลย์เพื่อพูดคุยเกี่ยวกับวิธีการต่อต้านขบวนการค้ามนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพ

“การค้าเด็กและการแสวงประโยชน์จากเด็กเป็นอาชญากรรมที่น่ารังเกียจ เพราะทำให้เด็กมีแผลเป็นติดตัวไปจนตายและเป็นการปล้นเอาความเป็นเด็กไป” เฉินหลงกล่าว “เด็กมิใช่สินค้าที่สามารถซื้อขายได้ เราต้องทำงานอย่างเต็มที่เพื่อขจัดภัยร้ายที่ผิดกฎหมายนี้ให้หมดไปเพื่อประโยชน์แก่เด็กทุกคนในโลก”

การค้ามนุษย์ทำให้เด็กต้องเสี่ยงกับความรุนแรงและการทำร้ายร่างกาย การล่วงละเมิดทางเพศ และความทุกข์ทางใจอย่างร้ายแรง ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การค้าเด็กยังเกิดจากความต้องการแรงงานราคาถูก และเกี่ยวข้องกับการค้าเด็กในธุรกิจการค้าบริการทางเพศ การรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมด้วยกระบวนการอันมิชอบด้วยกฎหมาย ตลอดจนการบังคับให้ผู้หญิงหรือเด็กหญิงต้องแต่งงานเพื่อแสวงประโยชน์

นอกจากนี้ การค้ามนุษย์ยังเกี่ยวข้องกับปัญหาการย้ายถิ่น มีประชากรนับล้านคนที่อพยพย้ายถิ่นเพื่อหางานทำในประเทศของตน รวมทั้งข้ามประเทศไปยังประเทศอื่นภายในภูมิภาค เมื่อคนเหล่านี้ห่างไกลบ้าน และไม่ได้รับความช่วยเหลือ จึงมีความเสี่ยงมากขึ้นที่จะตกเป็นเหยื่อของขบวนการค้ามนุษย์

อย่างไรก็ตาม หากครอบครัวเหล่านี้ได้รับข้อมูลที่เป็นประโยชน์รวมทั้งได้รับความรู้เกี่ยวกับการป้องกันตนเอง ก็จะสามารถลดความเสี่ยงที่จะตกเป็นเหยื่อของขบวนการค้ามนุษย์ได้ การเดินทางไปพม่าครั้งนี้ เฉินหลงจะนำข้อมูลเกี่ยวกับการป้องกันตนเองไปบอกเล่าให้วัยรุ่นในพม่าฟัง

“การที่วัยรุ่นรู้จักป้องกันตนเองเป็นเรื่องสำคัญมาก” เฉินหลงกล่าว “แค่รู้ว่าเราไม่ควรเชื่อคนที่บอกว่าจะให้ทำงานดี ๆ ในต่างประเทศ การไม่ไปที่ที่ไม่รู้จักโดยลำพัง หรือการรู้จักชื่อและอายุของพ่อแม่และของตนเอง รวมทั้งการที่เราสามารถบอกทางกลับบ้านเราได้ สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้เด็กป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากขบวนการค้ามนุษย์ได้”

ราเมศ เศรษฐา ผู้ทางองค์การยูนิเซฟ ประเทศพม่ากล่าวว่า “เฉินหลงมีชื่อเสียงโด่งดังในพม่า และเขาเป็นคนที่ทำงานเพื่อสิทธิเด็กอย่างเข้มแข็งและเสียสละ เด็ก ๆ และวัยรุ่นที่นี่ต่างได้รับแรงบันดาลใจจากศิลปะการต่อสู้ของเฉินหลง รวมทั้งความกล้าหาญ การผจญภัยและอารมณ์ขันของเขา เฉินหลงจะยังคงเป็นแรงบันดาลใจและกำลังใจที่สำคัญให้แก่เด็ก ๆ ที่นี่ต่อไป”

เว็บไซต์ยูนิเซฟ ระบุด้วยว่า สามารถติดตามความคืบหน้าและภาพถ่ายของเฉินหลงในการเยือนพม่าครั้งนี้ได้ทางเฟซบุค และทวิตเตอร์ของยูนิเซฟ
 
ที่มาของข่าวและภาพหน้าแรก เว็บไซต์ยูนิเซฟ
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

บก.ลายจุด เสนอยื่นคำร้อง "ตลก.รธน." ล้มล้างการปกครอง หากตัดสินแก้รธน.ผิด

Posted: 08 Jul 2012 11:55 AM PDT

"สมบัติ บุญงามอนงค์" แนะคนเสื้อแดงต่อสู้ด้วยวิถีทางการเมือง ซึ่งมีแนวรบไม่จำกัดเพศ-วัย อย่าสู้ทางทหารให้เสียเลือดเนื้อ ถอดบทเรียนการต่อสู้เชิงสัญลักษณ์ ชี้ใช้ต้นทุนต่ำ ผลกระทบสูง

 


 

(8 ก.ค.55) เวลา 13.30น. สมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ บก.ลายจุด แกนนอนกลุ่มวันอาทิตย์สีแดง กล่าวในการเสวนา "ปฏิญญาหน้าศาล" ซึ่งเป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกวันอาทิตย์ที่หน้าศาลอาญา รัชดา ในหัวข้อ "สร้างสัญลักษณ์ สู้สังคมอัปลักษณ์ กับ บก.ลายจุด" ซึ่งมีผู้สนใจเข้าร่วมกว่า 100 คน ว่า สำหรับวันที่ 13 ก.ค.ที่จะมีการอ่านคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญตามมาตรา 291 เข้าข่ายล้มล้างการปกครองตามมาตรา 68 หรือไม่นั้น หากมีการตัดสินว่าการแก้รัฐธรรมนูญและการมี ส.ส.ร. เป็นการล้มล้างการปกครอง ทั้งที่ก่อนหน้านี้ก็มีการตั้ง ส.ส.ร.ไม่ว่าจะในปี 2517, 2540 หรือ 2550 เขาขายไอเดียว่า จะไปยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญทันทีว่าตุลาการศาลรัฐธรรมนูญกำลังล้มล้างการปกครอง เพราะหยุดอำนาจอธิปไตยทางนิติบัญญัติ โดยชวนให้ผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับคำตัดสินที่อาจจะออกมา ไปต่อแถวเรียงหนึ่ง ต่างคนต่างยื่นคำร้อง หากคนเยอะก็ให้แถวยาวออกไปจนถนนแจ้งวัฒนะไปเลย

ทั้งนี้ บก.ลายจุดกล่าวด้วยว่า ระหว่างการต่อสู้ทางการเมืองกับการต่อสู้ทางการทหารนั้น เขาเสนอให้คนเสื้อแดงใช้การต่อสู้ทางการเมือง เพราะเป็นการต่อสู้ที่ไม่เสียเลือดเสียเนื้อ ใช้เพียงข้อมูล เหตุผลและความชอบธรรมเท่านั้น ทั้งยังมีแนวรบที่ไม่จำกัดเพศและวัย ขณะที่การต่อสู้ทางการทหารนั้นต้องใช้คนหนุ่ม ต้องมีอาวุธและต้องฝึกฝน

บก.ลายจุด ประเมินมวลชนคนเสื้อแดงว่า ในอดีต หลายคนมีลักษณะเกรี้ยวกราด ซึ่งเป็นที่ยอมรับได้เพราะถูกกระทำมาตลอด อย่างไรก็ตาม มองว่าในช่วง 2 ปีมานี้ คนเสื้อแดงนิ่งขึ้น แต่แนะนำว่าจะต้องฝึกฝนต่อไป ทั้งการหาข้อมูลและความมีเหตุมีผล ซึ่งตรงนี้ก็เห็นพัฒนาการ เพราะเดี๋ยวนี้ คนเสื้อแดงเริ่มไม่ฟังแกนนำปราศรัยแล้วเพราะรู้ว่าจะพูดอะไร และเข้าร่วมงานเสวนาทางวิชาการกันจนเต็มห้อง

เขาชี้ว่า ในการสู้กันด้วยเหตุผล แม้อาจไม่ชนะคู่ต่อสู้ แต่คนอื่นๆ รอบตัวจะฟังและตัดสินเองว่าใครมีเหตุผลกว่ากัน

นอกจากนี้ บก.ลายจุด เสนอให้มีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มย่อยๆ และเชื่อมต่อกันในแนวระนาบเป็น "แดงประจำซอย" เพราะเชื่อว่าที่ไหนๆ ก็ต้องมีคนเสื้อแดง รวมตัวกัน 10-15 คนแล้วตั้งกลุ่มศึกษาแนวคิดต่างๆ และอภิปรายกันเพื่อลับความคิดให้คมขึ้น

ทั้งนี้ เขาวิจารณ์ว่า คนเสื้อแดง 80-90% ที่พบนั้น หมกมุ่นกับการด่าฝ่ายตรงข้าม แต่ไม่ค่อยคิดว่าตัวเองจะทำอะไรได้บ้าง เขาจึงเสนอให้แบ่งเวลาในการคิด ส่วนหนึ่ง คิดแบบแกนนำ เพื่อความเท่าทันแกนนำ อีกส่วนหนึ่ง คิดว่าตัวเองถนัดอะไรและจะทำอะไรได้บ้าง โดยยกตัวอย่างทนายที่มาช่วยเหลือด้านคดีแก่ผู้ต้องหาคนเสื้อแดง หรือทีมถ่ายทอดสด "ม้าเร็ว"

นอกจากนี้ บก.ลายจุด ยังได้ถอดบทเรียนการต่อสู้เชิงสัญลักษณ์หรือการ "ป่วน" ของเขาด้วยว่า ที่ผ่านมา เขาเลือกวิธีที่ต้นทุนต่ำ แต่ผลกระทบสูง เช่น การผูกผ้าแดงที่ราชประสงค์หลังเหตุการณ์สลายการชุมนุม พ.ค.53 ไม่นาน ซึ่งเริ่มด้วยต้นทุนเพียง 350 บาทกับผ้า 10 เมตร แถมยังให้แต่ละคนเอาผ้ามากันเองด้วย แต่ในสัปดาห์ต่อๆ มาก็มีผู้มาร่วมมากขึ้น จนตำรวจสองกองร้อยต้องมาล้อมป้ายราชประสงค์ และถึงขนาดต้องมีการถอดป้ายออกในที่สุด

อย่างไรก็ตาม เขาเสนอว่า อย่าเตะบอลเข้าโกลด์ตัวเอง เพราะในการเคลื่อนไหวของแต่ละคนนั้นล้วนมีผลต่อขบวนคนเสื้อแดงทั้งหมด จะต้องประเมินจุดนี้ด้วย เพื่อรักษาขบวนไว้ในการสู้ต่อไป พร้อมกันนั้นจะต้องเปิดรับบทเรียนและสร้างวัฒนธรรมการวิจารณ์ด้วย โดยได้ยกตัวอย่างความผิดพลาดของตัวเอง ในปี 2535 ที่ได้ปราศรัยด่าแม่ของ พล.อ.สุจินดา คราประยูร และได้ถูกตำหนิบนเวทีว่าจะไม่ให้ขึ้นมาบนเวทีอีก เพราะไม่ได้ต่อสู้บนหลักการ ทำให้เขาได้เรียนรู้

บก.ลายจุด เล่าว่า การจะป่วนนั้นเหมือนศิลปะ ต้องหาจุดที่พอดี ไม่สุดโต่งจนเกินไป โดยให้ลองถอยออกไปและมองจากจุดของคนที่ไม่ใช่คนเสื้อแดงเข้ามาบ้าง และในการออกแบบการป่วนจะต้องคิดอย่างละเอียด หากได้เวลาถอยก็ต้องถอย ให้สังคมเล่นต่อ เช่น กรณีไปแจกใบแดงให้ตุลาการรัฐธรรมนูญเมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมา เมื่อเขาปฏิบัติการเสร็จก็กลับ ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของสื่อและโซเชียลมีเดียไป

 

 

บางไอเดีย บก.ลายจุด
หากเกิดรัฐประหาร

-ให้นัดกันออกมากดเอทีเอ็มหน้าสำนักงานใหญ่ของธนาคารพร้อมๆ กัน
-ใส่เสื้อสีแดงออกมาเดินห้าง 9 ห้างในหนึ่งวันโดยไม่ซื้อของ (เลียนแบบไหว้พระ 9 วัด) ในลักษณะแฟลชม็อบ โดยนัดเวลากัน ถึงเวลาก็ออกมาเดินปะปนกับผู้คน ห้างละ 30 นาที พอครบก็ย้ายไปเรื่อยๆ เพื่อส่งสัญญาณให้รู้ว่าไม่ยอมรับอำนาจนอกระบบ
-ให้คนอายุ 60 ปีขึ้นไป 5 คนใส่เสื้อแดงมาชุมนุมต้านรัฐประหาร หน้าอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย หากจะมีการจับกุมก็ปล่อยให้จับ ทำต่อไปทุกวัน วันละ 5 คน หากมีการจับไปเรื่อยๆ เช่นกัน คาดว่า ทำได้ 2 สัปดาห์ ทหารจะแพ้ทางการเมือง
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

จดหมายเปิดผนึก 'เร็ด ยูเอสเอ' ถึง ตลก.ศาล รธน. ให้ลาออกก่อนเสื่อมเสียถึงพระปรมาภิไธย

Posted: 08 Jul 2012 07:45 AM PDT

สำเนาถึง: 

                นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์
                นายจรัญ ภักดีธนากุล
                นายชัช ชลวร
                นายจรูญ อินทจาร
                นายเฉลิมพล เอกอุรุ
                นายนุรักษ์ มาประณีต
                นายบุญส่ง กุลบุบผา
                นายสุพจน์ ไข่มุกด์
                นายอุดมศักดิ์ นิติมนตรี 

ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้งคณะจักต้องลาออกในทันที เพื่อเปิดทางให้มีคณะตุลาการชุดใหม่มาทำหน้าที่แทนโดยการเลือกสรรผ่านกระบวนการประชาธิปไตย

ดังที่ชาวไทยกลุ่ม “เร็ด ยูเอสเอ” ได้ส่งจดหมายเปิดผนึกถึงคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ลงวันที่ 5 มิถุนายน 2555 เรียกร้องให้ลาออกทั้งคณะแล้วนั้น บัดนี้คณะ ตลก. ดังกล่าวยังคงดำเนินการอันขัดต่อรัฐธรรมนูญเสียเอง ด้วยการเปิดไต่สวน และซักถามจากผู้ยื่นคำร้อง และต่อผู้ถูกร้องซึ่งได้รับคำสั่งจากศาลรัฐธรรมนูญให้ยับยั้งการลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 อันเป็นคำสั่งที่ไม่ครบองค์คดีความโดยมิบังควรด้วย

แม้นว่าระหว่างการไต่สวนจะมีตุลาการบางท่านขอถอนตัวจากองค์คณะ ซึ่งปรากฏว่าองค์คณะอนุมัติให้นายจรัญ ภักดีธนากุล ถอนตัวเนื่องจากถูกพาดพิงโดยนายชูศักดิ์ ศิรินิล ว่า นายจรัญเคยกล่าวก่อนการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ 2550 ว่าให้รับไปก่อนแล้วมาแก้ไขทีหลังได้ แต่สำหรับ ตลก. อีกสามท่าน คือนายนุรักษ์ มาประณีต กับนายสุพจน์ ไข่มุกด์ ซึ่งเคยเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ 2550 และนายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ประธานฯ ซึ่งเคยให้ความเห็นไว้เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2554 ยอมรับว่ารัฐธรรมนูญ 2550 มีปัญหาควรแก้ไขโดยวิธีการแก้รัฐธรรมนูญมาตรา 291 เพียงมาตราเดียวเพื่อเปิดทางตั้ง ส.ส.ร. 3 แต่ว่าองค์คณะกลับไม่ยอมอนุมัติให้ถอนตัว

หากแต่การถอนตัว และแสดงความจำนงขอถอนตัวนั้น มิได้เป็นไปเพื่อให้เกิดความเที่ยงธรรม หรือแสดงให้เห็นว่า ตลก. เหล่านั้นมีจิตสำนึกรู้ผิดรู้ชอบ (Accountability) ต่อการนำกฏหมายรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 มาปรับใช้อย่างผิดๆ ให้คล้อยตามคำร้องของกลุ่มนักการเมืองฝ่ายค้าน และอดีตสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช..) ผู้กระทำรัฐประหารล้มล้างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 เท่านั้นเอง จัดว่าเป็นการ “แก้ผ้าเอาหน้ารอด” ถึงจะปกปิดหน้าตนเองมองไม่เห็นผู้ชี้ผิดแก่ตนได้ แต่ก็เปิดโปงความอัปลักษณ์ของสรีระเบื้องต่ำแห่งตนให้ปรากฏต่อสาธารณะด้วย

โดยเหตุที่การกระทำของตุลาการชุดนี้เข้าข่ายความผิดฐานเป็นกบฏต่อราชอาณาจักร ตามประมวลกฏหมายอาญา มาตรา 113 ความผิดถึงขั้นประหารชีวิต อีกทั้งเป็นองค์คณะที่มิได้ผ่านกระบวนการสถาปนาอย่างถูกต้องเหมาะสม กล่าวได้ว่าเป็นเพียงองค์คณะชั่วคราวที่ได้รับการแต่งตั้งโดยบทเฉพาะกาลแห่งรัฐธรรมนูญ มาตรา 300 น่าที่จะสลายตัวไปนานแล้วเมื่อมีการล้มเลิกคณะรัฐประหาร คมช. หากแต่ยังยืดเยื้ออยู่ในตำแหน่งกันด้วยข้ออ้างแห่งบุญญาบารมีในสถาบันพระมหากษัตริย์ และเลี่ยงบาลีเอาเกณฑ์อายุขัยในตำแหน่งเป็นที่ตั้ง

ด้วยความผิดดังปรากฏ อย่างน้อยที่สุด ตลก. รธน. คณะดังกล่าวควรที่ต้องอยู่ในกระบวนถูกถอดถอนแล้วในขณะนี้ หากแต่เราเห็นว่าเพื่อมิให้เป็นการเสื่อมเสียไปถึงพระปรมาภิไธยซึ่งองค์คณะใช้อ้างอิง เราจึงเสนอให้ ตลก. ทั้งคณะลาออกด้วยตนเองมิให้ระคายเคืองเบื้องยุคลบาทมากกว่านี้ ไม่บังควรที่จะทำเมินเฉยอีกต่อไป

เราขอย้ำอีกครั้งให้ตุลาการทั้งเก้าคนจัดการลาออกจากตำแหน่งโดยมิรอช้า เพื่อเปิดทางให้มีการคัดเลือกบุคคลที่เหมาะสม และเป็นที่ไว้วางใจของประชาชนว่าจะไม่กระทำผิดโดยลุแก่อำนาจเฉกเช่น ตลก. ชุดปัจจุบัน จึงควรที่จะมีการเลือกสรรตุลาการชุดใหม่เข้ามาแทนที่ด้วยกรรมวิธีอันสอดคล้องตามครรลองแห่งระบอบประชาธิปไตย

 

กลุ่มเร็ด ยูเอสเอ
9 กรกฎาคม 2555

 

 

 

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ศุกร์ 13 เพื่อไทย สยอง? (ภาคแรก)

Posted: 08 Jul 2012 07:28 AM PDT

ผู้เขียนได้เข้าฟังการไต่สวน ณ ศาลรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 5-6 กรกฎาคม ที่ผ่านมา และได้บันทึกสีหน้า ท่าทาง และน้ำเสียงของศาลไปพร้อมกับเนื้อหาการไต่สวน ซึ่งมีประเด็นควรแก่การขบคิดก่อนศาลจะมีคำวินิจฉัยในวันศุกร์ที่ 13 กรกฎาคม ดังนี้

1. ศาลไต่สวนเพียงสองวัน ‘หยาบสั้น’ ไปหรือไม่ ?
แม้ผู้เขียนจะเป็น ‘ฝ่ายผู้ดู’ แต่ก็รู้สึกอึดอัดแทนทั้ง ‘ฝ่ายผู้ร้อง’ (ที่ต้องการยับยั้งการแก้รัฐธรรมนูญ) และ ‘ฝ่ายผู้ถูกร้อง’ (ที่ต้องการเดินหน้าแก้รัฐธรรมนูญ) ซึ่งต่างมีประเด็นที่จะอธิบายซักถามจำนวนมาก แต่กลับถูกบีบคั้นโดยกรอบเวลาที่ศาลกำหนด

ปกติคดีส่วนตัวธรรมดาระหว่างคนสองคน ยังนำสืบพยานกันได้หลายนัดหลายวัน มาคดีนี้มีคู่ความฝ่ายละหลายราย และอาจมีผลรุนแรงถึงขั้นยุบพรรคการเมืองที่มีประชาชนสนับสนุนจำนวนมาก แล้วเหตุใดศาลจึงรวบรัดไต่สวนพยานเพียงสองวัน และใช้เวลาเพียง ‘วันเดียว’ ในการทำคำวินิจฉัยหลังกำหนดแถลงปิดคดี ?

แม้ศาลมีอำนาจควบคุมการไต่สวนให้มีประสิทธิภาพ (ซึ่งหลายจังหวะศาลทำได้ดี) แต่ศาลก็พึงระลึกว่า ‘ระบบไต่สวน’ ไม่ได้แปลว่าศาลจะรวบรัดเวลาได้เสมอ ตรงกันข้าม การที่ศาลแสวงหาข้อเท็จจริงได้เอง กลับทำให้ศาลต้อง ‘ซักถามสนทนา’ ถึงประเด็นที่แสวงหามา เพื่อให้คู่ความได้ทราบและชี้แจงอย่างเต็มที่ การไต่สวนจึงไม่ได้สำคัญที่ ‘การฟัง’ ของศาล หรือ ‘การอ่าน’ เอกสารในสำนวนก่อนหรือหลังวันไต่สวนเท่านั้น

 แต่ปรากฏว่าตลอดสองวัน ‘ศาลซักถามน้อยมาก’ และดูไม่จดประเด็นเสียด้วย หากศาลถามได้มากและโยงเข้าเนื้อหาสำนวนได้ แสดงว่าศาลทำการบ้านอ่านสำนวนมาล่วงหน้า และจดคำตอบสำคัญโดยไม่ต้องรอถอดเทป แต่คดีนี้ก็มีจังหวะที่ศาลเองดูไม่แน่ใจว่ามีเรื่องใดซ้ำกับเอกสาร ปล่อยให้พยานต้องบอกว่าตอบไปแล้วในเอกสาร

ความรวบรัดที่ว่านำไปสู่ ‘สิ่งที่ไม่คาดนึก’ คือ มีจังหวะที่ตุลาการเอียงตัวไปโต้เถียงกันสั้นๆ ภาพที่เห็นเข้าใจได้ว่า ตุลาการท่านหนึ่งประสงค์ให้พยานได้ถูกซักเพิ่มในประเด็นที่ตนสนใจ แต่ตุลาการอีกสองท่านส่ายหน้าว่าต้องพอแล้ว   ซ้ำร้าย บางท่านยังพิงหลังหลับตาเป็นระยะ ขณะที่บางท่านลุกไปนอกห้องนานพอสมควร (แต่บางท่านก็ไม่ได้ลุกออกไปเลย)

 ‘ภาพน่าตะลึง’ อีกภาพ คือ วิธีการและจังหวะที่ประธานศาลใช้ถาม ‘นายโภคิน พลกุล’ ขณะกำลังพูดเสร็จ แทนที่จะถามพยานตามปกติ กลับโต้เถียงประหนึ่งถามค้านพยานและสรุปความเบ็ดเสร็จเสียเอง และในขณะที่พยานมีมารยาทพอที่จะไม่เถียงศาลต่อ ก็มีเจ้าหน้าที่นำเอกสารมาให้พยานลงชื่อจนรวบรัดให้ต้องลุกไปจากเก้าอี้ (ชมคลิปได้ที่ http://bit.ly/VPCONS)

โดยภาพรวมจึงน่าเคลือบแคลงว่า แม้วันนี้ยังไม่มีคำวินิจฉัย แต่ ‘ความไม่ยุติธรรมเชิงกระบวนการ’ ก็อาจเกิดขึ้นเสียแล้ว!?

2. ฝ่ายใดดูเป็นฝ่ายที่ ‘ได้เปรียบ’ ?
จากการไต่สวนทั้งสองวัน ตอบว่า ‘ฝ่ายศาล’ เป็นฝ่ายได้เปรียบมากที่สุด เพราะวันนี้ศาลได้เพิ่มอำนาจให้ตนเองอย่างมหาศาล ไม่เพียงแต่ในแง่การรวบรัดการพิจารณาคดีเท่านั้น แต่ยังตีความรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 อย่างกว้างขวาง ทำให้อัยการสูงสุดไร้ความหมาย

และศาลได้ตีความกฎหมายให้กลายเป็น ‘ไทม์แมชชีนข้ามเวลา’ สามารถตรวจสอบอดีตที่จบสิ้นลงแล้ว เช่น กรณีการตั้งรัฐบาลอภิสิทธิ์ที่คุณเรืองไกรร้อง หรือ แม้ในคดีนี้ ก็มีการพิจารณาสิ่งที่จบสิ้นไปแล้ว เช่น การเสนอญัตติ หรือ สิ่งที่ต้องรออนาคต เช่น การทำงานของ ส.ส.ร. หรือ การตรวจสอบร่างรัฐธรรมนูญโดยประธานรัฐสภา

นอกจากนี้ ศาลได้เรียงประเด็นพิจารณา ‘อย่างน่าเคลือบแคลง’ 4 ลำดับ คือ

(1) ศาลมีอำนาจพิจารณาคดีได้หรือไม่
(2) มาตรา 291 จะถูกแก้ให้นำไปสู่การร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับได้หรือไม่
(3) การแก้ 291 เป็นการกระทำที่ต้องห้ามตาม มาตรา 68 หรือไม่
(4) มีการกระทำที่นำไปสู่การยุบพรรค หรือตัดสิทธิทางการเมืองหรือไม่

ข้อที่น่าเคลือบแคลง คือ ‘การเรียงและแยกประเด็นที่ (2) และ (3) ออกจากกัน’ เพราะศาลไม่มีอำนาจตีความมาตรา 291 โดยตรงแต่อย่างใด กล่าวคือ ประเด็นของคดีนี้ คือ มาตรา 68 ศาลจึงต้องอธิบายเสียก่อนว่า การล้มล้างการปกครองฯ ที่ต้องห้ามตาม มาตรา 68 นั้น มีหลักเกณฑ์พิจารณาอย่างไร จากนั้น จึงไปพิจารณาข้อเท็จจริงว่า การแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 291 ที่ผ่านมานั้น เข้ากรณีต้องห้ามตามมาตรา 68 หรือไม่ และโดยตรรกะแล้ว การทำผิดหลักเกณฑ์ มาตรา 291 ใช่ว่าจะต้องผิด มาตรา 68 เสมอไป

แต่ศาลกลับไปเรียงลำดับพิจารณาประเด็น มาตรา 291 เสียก่อน ประหนึ่ง ‘ตั้งธง’ ว่าหากมาตรา 291 ไม่เปิดช่องให้นำไปสู่การยกร่างใหม่ทั้งฉบับ การแก้ไขมาตรา 291 ในครั้งนี้ย่อมเข้าหลักเกณฑ์ที่ต้องห้ามตาม มาตรา 68 ทันที ซึ่งผู้เขียนเห็นว่าเป็นการเรียงลำดับประเด็นที่ผิดตรรกะและน่าเคลือบแคลงอย่างยิ่ง

3. ‘แนวทางการตัดสิน’ เป็นไปได้กี่แนวทาง?
คำวินิจฉัยที่ศาลจะได้อ่านในวันที่ศุกร์ที่ 13 นี้ มีความเป็นไปได้ ‘หกแนวทาง’ ด้วยกัน

(1) ยกคำร้อง ด้วยเหตุว่า ‘กระบวนการยื่นคำร้องไม่ชอบด้วยกฎหมาย’ เพราะข้ามขั้นตอน ‘อัยการสูงสุด’

ข้อสังเกต: สมัย คดี(ไม่)ยุบพรรคประชาธิปัตย์’ (คำวินิจฉัยที่ 15/2553) แม้ศาลจะรับคำร้องและไต่สวนคดีจนเสร็จแล้ว แต่สุดท้ายศาลก็อ้างเหตุ ‘ผิดขั้นตอน กกต.’  มายกคำร้องโดยไม่วินิจฉัยว่าพรรคประชาธิปัตย์ทำผิดหรือไม่  

(2) ยกคำร้อง ด้วยเหตุว่า การกระทำ ‘ไม่เข้าลักษณะการใช้สิทธิเสรีภาพ’ แต่เป็นการ ‘ใช้อำนาจหน้าที่’ ศาลจึงไม่สามารถก้าวล่วงเข้าไปวินิจฉัยการใช้อำนาจของรัฐสภาได้

ข้อสังเกต: รัฐธรรมนูญ มาตรา 26 บัญญัติแยกแยะ ‘การใช้อำนาจ’ ให้แตกต่างจาก ‘สิทธิและเสรีภาพ’ อย่างชัดแจ้ง (ดูเพิ่มที่ http://bit.ly/article68 )

(3) ยกคำร้อง ด้วยเหตุว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นเรื่องที่ ‘บัญญัติไว้เป็นการเฉพาะ’ ตามมาตรา 291 ศาลจึงไม่อาจนำ มาตรา 68 มาวินิจฉัยปะปนกันได้

ข้อสังเกต: สมัย คดีพรรคประชาธิปัตย์แก้รัฐธรรมนูญ (คำสั่งที่ 4/2554) ศาลได้อธิบายชัดเจนว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นเรื่องที่ ‘บัญญัติไว้เป็นการเฉพาะ’ ตามมาตรา 291 จึงนำไปปะปนกับ มาตรา 154 ไม่ได้

(4) ยกคำร้อง ด้วยเหตุว่า แม้การแก้ไขรัฐธรรมนูญจะเข้าลักษณะการใช้สิทธิเสรีภาพที่ศาลตรวจสอบได้ แต่เมื่อตรวจสอบแล้ว พบว่าเป็นเพียงการคาดคะเน หรือ ‘มีกระบวนการป้องกันไม่ให้มีการล้มล้างการปกครองฯ ที่เพียงพอ’

ข้อสังเกต: สมัย คดีฟ้องนายกอภิสิทธิ์ (คำสั่งที่ 14/2553)  ศาลได้ตีความข้อกำหนดวิธีพิจารณา ข้อ 18 ซึ่งใช้กับคำร้องในคดีนี้ว่า คำร้องต้องไม่เป็นเพียง ‘การคาดคะเน’ หรือ ‘การตั้งข้อสงสัย’ หรือ ‘การอาศัยศาลเป็นเครื่องมือในการแสวงหาพยานหลักฐาน’

(5) วินิจฉัยว่าเป็นการล้มล้างการปกครองฯ แต่ด้วยเหตุว่าการกระทำของผู้ถูกร้อง (ทั้งหมดหรือบางราย)  ยังไม่เสร็จสิ้น หรือยังไม่รุนแรง หรือไม่เกี่ยวโยงกับพรรคการเมือง จึงสั่งห้ามเพียงการกระทำ แต่ไม่สั่งยุบพรรคและตัดสิทธิทางการเมือง

(6) วินิจฉัยว่าเป็นการล้มล้างการปกครองฯ   และสั่งยุบพรรคและตัดสิทธิทางการเมือง

จากหกแนวทางนี้ ศาลมีแนวโน้มจะตัดสินไปในทางใด แต่ทางมีผลแตกต่างกันอย่างไร และข้อต่อสู้ของ ‘ผู้ร้อง’ และ ‘ผู้ถูกร้อง’ เรื่องใดที่ศาลน่าจะให้ความสำคัญมากที่สุด การยุบพรรคในคราบมาตรา 68 จะนำไปสู่คราบเลือดคนไทยหรือไม่ โปรดติดตามได้ในบทความภาคจบ

 

 

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับคดีนี้ โปรดดู http://bit.ly/VPCONS

 

 

 

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สหภาพแรงงานเซ็กส์เวิร์คเกอร์ฝรั่งเศสประท้วงแนวคิดลงโทษผู้ซื้อบริการทางเพศ

Posted: 08 Jul 2012 03:01 AM PDT

 เซ็กส์เวิร์คเกอร์ในฝรั่งเศสประท้วงแนวคิดของรัฐมนตรีสิทธิสตรีของฝรั่งเศส หลังจากเสนอนโยบายสะกัดการเติมโตของอุตสาหกรรมค้าเซ็กส์ ด้วยแนวคิดลงโทษผู้ที่จ่ายเงินซื้อบริการทางเพศ
 
ที่มาคลิป euronews.com
 
เมื่อวันที่ 7 ก.ค. 55 ที่ผ่านมากลุ่มชนชาวฝรั่งเศสรวมทั้งผู้ประกอบอาชีพขายบริการทางเพศรวมตัวกันประท้วงแนวคิดของ Najat Vallaud-Belkacem รัฐมนตรีสิทธิสตรีของฝรั่งเศสหลังจากเสนอนโยบายสะกัดการเติมโตของอุตสาหกรรมค้าเซ็กส์ ด้วยแนวคิดลงโทษผู้ที่จ่ายเงินซื้อบริการทางเพศ เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา
 
Morgane Merteiul เลขาธิการทั่วไปของสหภาพแรงงานเซ็กส์เวิร์คเกอร์ ระบุว่า Vallaud-Belkacem ควรไปทำการบ้านศึกษาดูก่อนว่าอาชีพขายบริการนั้นเป็นอย่างไรและการต่อต้านการบังคับใช้แรงงานก็ถือเป็นหลักการเดียวกับการให้สิทธิเสรีภาพแก่ผู้ที่เต็มใจจะทำงานแบบนี้
 
มูลนิธิ Scelles ประมาณการว่าในฝรั่งเศสมีผู้ประกอบอาชีพขายบริการทางเพศ 18,000-20,000 คนในปี ค.ศ. 2012 ถึงแม้ว่าอาชีพนี้จะไม่ผิดกฎหมาย แต่ก็มีการห้ามให้มีลักษณะตัวกลางในการจัดหาหญิงค้าบริการให้ผู้ซื้อ มีการห้ามการบังคับให้ค้าประเวณี และการเชื้อเชิญให้ซื้อบริการทางเพศในที่สาธารณะ
 
แต่ปัจจุบันเริ่มมีผู้สนับสนุนให้มีกฎหมายจำกัดการค้าบริการทางเพศ เนื่องจากปัจจุบันมีคนขายบริการเดินหาลูกค้าตามที่สาธารณะ และเกิดกลุ่มมาเฟียที่ลักลอบนำหญิงขายบริการจากเอเชีย, แอฟริกา และประเทศยุโรปอื่นๆ เข้ามาในฝรั่งเศส
 
แต่ทั้งนี้กลุ่มผู้ขายบริการทางเพศกลับมองว่าหากมีกฎหมายจำกัดการค้าบริการทางเพศขึ้นมาจริง ยิ่งจะทำให้กลุ่มมาเฟียก่ออาชญากรรมแบบนี้เพิ่มมากขึ้น
 
ที่มาข่าว:


Protest for France sex workers (7-7-2012)
http://www.euronews.com/2012/07/07/protest-for-france-sex-workers/

Hundreds protest anti-prostitution plans in Paris (7-7-2012)
http://uk.reuters.com/article/2012/07/07/uk-france-prostitution-idUKBRE8660GP20120707
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เปิดคดีประวัติศาสตร์: บริษัทยา GSK ยอมจ่าย 3,000 ล้านเหรียญ ยุติคดีฉ้อโกงด้านสุขภาพ

Posted: 08 Jul 2012 02:09 AM PDT

แกล็กโซสมิธไคลน์ให้การรับสารภาพผิดและยอมจ่ายเงิน 3,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯเพื่อยุติข้อกล่าวหาเรื่องการฉ้อฉลและไม่ยอมส่งข้อมูลรายงานความปลอดภัย นับเป็นข้อตกลงยุติคดีฉ้อโกงด้านการดูแลสุขภาพที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์สหรัฐฯ

กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ ออกประกาศเมื่อวันที่ 2 ก.ค.55 ว่า บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านการดูแลสุขภาพ แกล็กโซสมิธไคลน์ แอลแอลซี (จีเอสเค) ตกลงให้การรับสารภาพผิดและยินยอมจ่ายเงิน 3,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯเพื่อยุติคดีความรับผิดทั้งทางอาญาและทางแพ่งอันเกิดจากการที่บริษัททำการส่งเสริมการขายยาตามใบสั่ง (Prescription drugs) บางตัวโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย การไม่ยอมส่งข้อมูลรายงานด้านความปลอดภัย รวมทั้งความรับผิดทางแพ่งตามข้อกล่าวหาว่ามีพฤติกรรมการรายงานราคาอันเป็นเท็จ (False price reporting practices) ด้วย นับเป็นการตกลงยุติคดีฉ้อโกงด้านการดูแลสุขภาพที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์สหรัฐฯ และเป็นการจ่ายเงินเพื่อยุติคดีจำนวนมหาศาลที่สุดเท่าที่บริษัทยาแห่งหนึ่งเคยจ่ายมา

จีเอสเคยอมให้การรับสารภาพผิดต่อคำฟ้องคดีอาญา 3 กระทง ได้แก่ ข้อกล่าวหา 2 กระทงว่าด้วยการติดฉลากที่ให้ข้อมูลไม่เพียงพอ หรือ จงใจให้ข้อมูลผิด (misbranded)  ของยาชื่อการค้าแพ็กซิล (Paxil) และเวลล์บูทริน (Wellbutrin) ที่วางขายในตลาดระหว่างมลรัฐ กับอีกกระทงว่าด้วยการไม่ยอมส่งข้อมูลรายงานด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับยาอาแวนเดีย (Avandia) ให้แก่คณะกรรมการอาหารและยาสหรัฐฯ (เอฟดีเอ) ตามข้อตกลงยอมรับสารภาพผิดนี้ จีเอสเคจะต้องจ่ายเงินทั้งสิ้น 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สำหรับเสียค่าปรับทางอาญา 956,814,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และถูกริบทรัพย์อีก 43,185,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งข้อตกลงการรับสารภาพผิดทางอาญานี้ ยังรวมไปถึงข้อผูกมัดบางประการที่ต้องปฏิบัติตามซึ่งไม่ใช่ตัวเงินและคำรับรองจากประธานและคณะกรรมการบริษัทจีเอสเคแห่งสหรัฐฯด้วย การยอมรับสารภาพผิดของจีเอสเค และคำตัดสินลงโทษดังกล่าวยังไม่ถือเป็นที่สิ้นสุด จนกว่าจะได้รับการรับรองจากศาลแขวงสหรัฐฯเสียก่อน

นอกจากนี้ จีเอสเคยังจะต้องจ่ายเงินอีก 2,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อยุติความรับผิดทางแพ่งกับทั้งรัฐบาลกลางและรัฐบาลมลรัฐต่างๆ ตามกฎหมายการต่อต้านการฉ้อโกงรัฐ (False Claims Act) ด้วย ข้อตกลงทางแพ่งนี้เป็นการยุติข้อเรียกร้องที่เกี่ยวกับยาแพ็กซิล เวลล์บูทรินและอาแวนเดีย รวมทั้งยาเพิ่มเติมตัวอื่นๆ อีกหลายตัวด้วย อีกทั้งยังเป็นการยุติข้อกล่าวหาเรื่องการตั้งราคาแบบฉ้อโกงไปด้วย

“ข้อตกลงมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในครั้งนี้ เป็นข้อตกลงซึ่งไม่เคยมีมาก่อน ทั้งในด้านขนาดและขอบเขต ถือเป็นการย้ำให้เห็นถึง พันธกรณีอันกอปรด้วยความมุ่งมั่นของรัฐบาล ที่จะคุ้มครองคนอเมริกันและเอาผิดกับผู้ที่กระทำการฉ้อโกงด้านการดูแลสุขภาพ” เจมส์ เอ็ม. โคล (James M. Cole) รองอัยการสูงสุด ประกาศและกล่าวอีกว่า “เราตั้งใจแน่วแน่ที่จะหยุดยั้งพฤติกรรมในทุกระดับ ที่เป็นการคุกคามสุขภาพของผู้ป่วย ที่เป็นอันตรายต่อผู้เสียภาษี และละเมิดความไว้วางใจของสาธารณชน ปฏิบัติการครั้งประวัติศาสตร์ นี้เป็นการเตือนอย่างชัดแจ้ง สำหรับบริษัทใดก็ตาม ที่เลือกที่จะละเมิดกฎหมาย”

บิลล์ คอร์ (Bill Corr) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า “ข้อตกลงครั้งประวัติศาสตร์วันนี้เป็นประวัติการณ์ความพยายามของเรา ที่จะป้องกันการฉ้อโกงด้านการดูแลสุขภาพ ระบบการดูแลสุขภาพของเราตกเป็นเป้าของพวกคนโกงมานานแล้ว พวกนี้คิดว่าสามารถทำกำไรแบบง่ายๆ ด้วยการเบียดบังเอาค่าใช้จ่ายในการดูแลความปลอดภัยของสาธารณะ เอาเงินของประชาชนผู้เสียภาษี และงบประมาณอีกหลายล้านดอลลาร์ของคนอเมริกัน ซึ่งต้องพึ่งพาโครงการดูแลสุขภาพอย่างเมดิแคร์ (Medicare) และเมดิคเอด (Medicaid) ไปเป็นของตน”

การทำข้อตกลงครั้งนี้ แสดงให้เห็นถึงความพยายามอย่างมหาศาล ในการสืบสวนอย่างต่อเนื่องของสายสืบพิเศษจากสำนักผู้ตรวจการสูงสุด (Office of Inspector General—OIG) ของกระทรวงสาธารณสุข (HHS-OIG) เอฟดีเอและเอฟบีไอ ร่วมกับองค์กรต่างๆ ของรัฐบาล ซึ่งมีหน้าที่ร่วมมือกันในการบังคับใช้กฎหมาย การดำเนินการต่อไปข้างหน้าของจีเอสเค บริษัทจะต้องทำตามสัญญาว่าด้วยคุณธรรมความสุจริตใจขององค์กร (Corporate integrity agreement) ที่เซ็นเอาไว้กับสำนักผู้ตรวจการสูงสุดของกระทรวงสธารณสุขอย่างเคร่งครัด โดยข้อตกลงดังกล่าวจัดทำขึ้นเพื่อเพิ่มภาระความรับผิด (accountability) และความโปร่งใส ตลอดจนเพื่อป้องกันการฉ้อโกง และการใช้อำนาจโดยมิชอบ ทั้งนี้ ความร่วมมือของหน่วยงานการบังคับใช้กฎหมายทั้งหลาย และกระบวนการป้องกันการฉ้อโกงที่มีประสิทธิภาพ เป็นสิ่งที่ชี้ให้เห็นว่าเป็นการดำเนินงานของทีมปฏิบัติการบังคับใช้และป้องกันการฉ้อโกงด้านการดูแลสุขภาพ (Health Care Fraud Prevention and Enforcement Action Team—HEAT) ซึ่งมีหน้าที่ส่งเสริมความร่วมมือของรัฐบาลในการต่อต้านการฉ้อโกง

 

 000000

 

ข้อตกลงว่าด้วยคำร้องทางอาญา

ตามบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยอาหาร ยาและเครื่องสำอาง (Food, Drug and Cosmetic Act) เมื่อบริษัทหนึ่งบริษัทใด ยื่นคำร้องขอขึ้นทะเบียนยาต่อเอฟดีเอ บริษัทดังกล่าวจะต้องระบุให้ชัดถึงการใช้ประโยชน์แต่ละอย่างที่กำหนดไว้ของยาตัวนั้น หลังจากที่เอฟดีเออนุมัติว่าผลิตภัณฑ์ยาดังกล่าว มีความปลอดภัยและประสิทธิภาพตามการใช้ประโยชน์ที่ระบุไว้ การทำกิจกรรมส่งเสริมการขายยาดังกล่าวของบริษัท จะต้องจำกัดอยู่ในขอบเขตเท่าที่ได้รับการอนุมัติจากเอฟดีเอเท่านั้น แต่ในความเป็นจริง การที่ผู้ผลิตไปส่งเสริมการขายโดยอ้างการใช้อื่นๆ ที่เรียกกันว่า “การใช้ประโยชน์นอกฉลาก (off-label uses)” ถือว่าผลิตภัณฑ์นั้น “misbranded”

กรณียาแพ็กซิ
ล: ในสำนวนคำฟ้องคดีอาญา รัฐบาลกล่าวหาว่า ตั้งแต่เดือนเมษายน 2541 ถึงเดือนสิงหาคม 2546 จีเอสเคได้ทำการส่งเสริมการขายยาแพ็กซิลที่ใช้รักษาอาการซึมเศร้าในเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ทั้งๆ ที่เอฟดีเอไม่เคยอนุมัติให้ใช้ยาตัวนี้กับเด็ก ทางการสหรัฐฯ กล่าวหาว่า นอกจากการกระทำอื่นๆ อีกหลายอย่างแล้ว จีเอสเคยังมีส่วนร่วมในการตระเตรียม จัดพิมพ์และแจกจ่ายบทความ ซึ่งมีเนื้อหาชวนให้เข้าใจผิดในวารสารทางการแพทย์ โดยรายงานคลาดเคลื่อนว่า ผลการทดลองทางคลินิกแสดงให้เห็นว่ายาแพ็กซิลมีประสิทธิภาพในการรักษาโรคซึมเศร้าในเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ในขณะที่ผลการศึกษาไม่ได้แสดงให้เห็นว่ามีประสิทธิภาพดังที่ว่าแต่อย่างใด ในขณะเดียวกัน ทางการสหรัฐฯ กล่าวหาอีกว่า จีเอสเค ไม่ยอมเปิดเผยรายงานผลการศึกษาอื่นอีกสองชุด ซึ่งยาแพ็กซิลก็ไม่สามารถแสดงให้เห็นว่า มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคซึมเศร้าในเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีได้อีกเหมือนกัน ทางการสหรัฐฯกล่าวหาต่อไปว่า จีเอสเค ออกเงินจัดรายการเลี้ยงอาหารค่ำและอาหารกลางวัน พาไปใช้บริการในสปา และกิจกรรมแบบเดียวกันนี้อีกหลายอย่าง เพื่อส่งเสริมให้มีการนำยาแพ็กซิลไปใช้กับผู้ป่วยเด็กและวัยรุ่น จีเอสเคยังจ่ายเงินจ้างวิทยากรไปพูดเรื่องยาตัวนี้ให้บรรดาหมอทั้งหลายฟัง ทั้งยังจ่ายสตางค์ค่าอาหารหรือค่าใช้บริการในสปาให้แก่หมอที่มาฟังอีกด้วย ตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมา แพ็กซิลได้ใส่ “คำเตือนในกรอบดำ (black box warning)” เช่นเดียวกับยารักษาอาการซึมเศร้าตัวอื่นๆ โดยระบุว่า การใช้ยารักษาโรคซึมเศร้าในผู้ป่วยอายุต่ำกว่า 18 ปี อาจก่อให้เกิดอันตรายจากการคิดหรือมีพฤติกรรมการฆ่าตัวตายได้ จีเอสเคยอมรับผิดตามข้อกล่าวหาว่า แม้มีคำเตือนในกรอบดำ แต่ก็ยังการกระทำอันเป็นเท็จและชวนให้เกิดความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการใช้ยาแพ็กซิลกับผู้ป่วยอายุต่ำกว่า 18 ปี

กรณียาเวลล์บูทริน: ทางการสหรัฐฯ กล่าวหาว่า ตั้งแต่เดือนมกราคม 2542 ถึงเดือนธันวาคม 2546 บริษัทจีเอสเคได้ส่งเสริมการขายยาเวลล์บูทริน เพื่อการใช้ประโยชน์อื่นๆ ที่อยู่นอกฉลากหลายอย่าง รวมทั้งใช้เพื่อลดน้ำหนัก รักษาอาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ รักษาการติดสารเสพติด และโรคสมาธิสั้น ทั้งๆ ที่ตอนที่เอฟดีเออนุมัติให้ขึ้นทะเบียนยาตัวนี้ ก็เพื่อรักษาโรคซึมเศร้าเท่านั้น ทางการสหรัฐฯ ยังระบุอีกว่า จีเอสเค จ่ายเงินหลายล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อจ้างหมอไปพูด และเข้าร่วมการประชุมที่บางครั้งก็ไปจัดกันที่รีสอร์ตหรูๆ เพื่อให้มีการโฆษณาส่งเสริมการใช้ประโยชน์ที่อยู่นอกฉลากของยาเวลล์บูทรินอยู่เป็นประจำ รวมทั้งใช้ผู้แทนยา คณะกรรมการที่ปรึกษากำมะลอ และโครงการการศึกษาต่อเนื่องทางการแพทย์ (Continuing Medical Education – CME) ที่ผู้คนเชื่อกันว่าเป็นโครงการอิสระ ช่วยทำการโฆษณาการใช้ประโยชน์เหล่านี้ของยาเวลล์บูทรินที่ไม่ได้ผ่านการอนุมัติจากเอฟดีเอแต่อย่างใด จีเอสเคยอมรับผิดว่า ได้ติดฉลากยาเวลล์บูทรินแสดงข้อความเท็จ โดยที่ฉลากดังกล่าวมิได้มีคำแนะนำวิธีใช้ตามสมควรเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ที่อยู่นอกฉลากของยาเวลล์บูทรินเหล่านี้ สำหรับความผิดฐานติดฉลากยาแพ็กซิลและเวลล์บูทรินแสดงข้อความเท็จ จีเอสเคยินยอมจ่ายค่าปรับทางอาญาและให้ริบทรัพย์เป็นเงิน 757,387,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

กรณียาอาแวนเดีย: ทางการสหรัฐฯ กล่าวหาว่า ตั้งแต่ปี 2544 ถึงปี 2550 จีเอสเคไม่ได้ให้ข้อมูลความปลอดภัยบางอย่างเกี่ยวกับยาอาแวนเดียที่ใช้รักษาโรคเบาหวาน ในรายงานซึ่งส่งให้เอฟดีเอ เพื่อช่วยให้เอฟดีเอสามารถตัดสินได้ว่ายาตัวนี้ยังคงมีความปลอดภัยตามข้อบ่งใช้ที่ได้รับอนุมัติอยู่หรือไม่ รวมทั้งสามารถมองเห็นแนวโน้มความปลอดภัยของยา (drug safety trends) ข้อมูลที่ขาดหายไปได้แก่ ข้อมูลเกี่ยวกับผลการศึกษาความปลอดภัยของยาภายหลังการนำออกวางตลาดแล้ว (post-marketing studies) บางชุด รวมไปถึงข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษาสองชุดซึ่งเป็นการให้คำตอบแก่ผู้ควบคุมกฎระเบียบของทางยุโรปที่มีข้อห่วงใยเรื่องความปลอดภัยด้านระบบหัวใจและหลอดเลือด (cardiovascular safety) ของยาอาแวนเดีย นับตั้งแต่ปี 2550 เอฟดีเอได้เติมคำเตือนในกรอบดำลงไปในฉลากของยาอาแวนเดียสองกรอบ เพื่อเตือนแพทย์เกี่ยวกับความเสี่ยงที่น่าจะมีมากขึ้นในเรื่อง 1) หัวใจทำงานล้มเหลว (congestive heart failure) และ 2) กล้ามเนื้อหัวใจตาย (myocardial infarction [หัวใจวาย]) จีเอสเคยอมรับผิดว่าไม่ได้ส่งรายงานข้อมูลให้แก่เอฟดีเอและยินยอมจ่ายค่าปรับทางอาญาเป็นเงิน 242,612,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯสำหรับการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเกี่ยวกับยาอาแวนเดีย 

“คดีนี้แสดงให้เห็นพันธกรณีต่อเนื่องของเราที่จะให้หลักประกันว่า เนื้อหาสาระซึ่งผู้ผลิตยาส่งไปถึงแพทย์และผู้ป่วยนั้น เป็นความจริงและถูกต้องแม่นยำ อีกทั้งการตัดสินใจจะสั่งยาอะไรให้แก่ผู้ป่วย จะต้องขึ้นอยู่กับดุลยพินิจทางการแพทย์ที่ดีที่สุด ไม่ใช่ขึ้นอยู่กับข้ออวดอ้างอันเป็นเท็จและชวนให้เข้าใจผิด หรือสิ่งจูงใจทางการเงินที่ไม่สมควร” คาร์เมน ออร์ทิส (Carmen Ortiz) อัยการสหรัฐฯประจำรัฐแมสสาชูเสตส์กล่าว 

จอห์น วอลช์ (John Walsh) อัยการสหรัฐฯ ประจำรัฐโคโลราโดกล่าวว่า “ผู้ป่วยต้องพึ่งแพทย์ซึ่งมีหน้าที่สั่งยาที่จำเป็นต้องใช้รักษาให้ แต่ความโลภอยากทำกำไรของอุตสาหกรรมยืก็สามารถบิดเบือนข้อมูลเกี่ยวกับยาที่จะให้แก่แพทย์ได้ คดีนี้จึงจะช่วยเป็นหลักประกันว่า การตัดสินใจสั่งยาของแพทย์ของคุณจะขึ้นอยู่กับหลักวิชาการที่ถูกต้อง (good science)” ไม่ใช่ใช้ข้อมูลไม่ถูกต้อง เงินทองหรือสิ่งสมนาคุณที่อุตสาหกรรมยาจัดหามาให้”         

 

ข้อตกลงทางแพ่ง

ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของการยุติคดีในระดับสากล จีเอสเคยินยอมยุติความรับผิดทางแพ่งของบริษัทตามที่ถูกกล่าวหาว่ามีการกระทำดังต่อไปนี้ 1) ส่งเสริมการขายยาแพ็กซิล เวลล์บูทริน แอดแวร์ (Advair) ลามิคทาล (Lamictal) และโซฟราน (Zofran) เพื่อการใช้ประโยชน์นอกฉลากและไม่ได้ระบุครอบคลุมไปถึง (off-label, non-covered uses) รวมทั้งการติดสินบนให้แพทย์สั่งยาดังกล่าวแล้วเหล่านั้นและยาอิมิเทร็กซ์ (Imitrex) โลโทรเน็กซ์ (Lotronex) โฟลเวนต์ (Flovent) และวาลเทร็กซ์ (Valtrex) ด้วย 2) ออกคำแถลงอันเป็นเท็จและชวนให้เข้าใจผิดเกี่ยวกับความปลอดภัยของยาอาแวนเดีย และ 3) แจ้งราคาต่ำสุด (Best prices) และอัตราส่วนลดน้อยกว่าที่ควรให้แก่โครงการส่วนลดราคายาของโครงการเมดิคเอด (Medicaid Drug Rebate Program)

การส่งเสริมการขายนอกฉลากยาและการติดสินบน: ข้อตกลงทางแพ่งนี้เป็นการยุติข้อร้องเรียนตามคำร้องของทางการสหรัฐฯที่กล่าวหาว่า นอกเหนือจากการส่งเสริมการขายยาแพ็กซิลและเวลล์บูทรินเพื่อการใช้ประโยชน์ซึ่งอยู่นอกฉลากและไม่ได้ระบุครอบคลุมไปถึงแล้ว จีเอสเคยังส่งเสริมการขายยาแก้หอบหืดชื่อแอดแวร์เป็นยาอันดับแรก (First-line therapy) สำหรับผู้ป่วยโรคหอบหืดที่อาการไม่รุนแรง แม้ว่ายาดังกล่าวจะไม่ได้รับการอนุมัติหรือไม่มีความเหมาะสมทางยาในสถานการณ์เหล่านี้ก็ตาม นอกจากนี้ จีเอสเคยังส่งเสริมการขายยาแอดแวร์เพื่อรักษาโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (chronic obstructive pulmonary disease) โดยมีข้ออวดอ้างที่ชวนให้เข้าใจผิดว่าสอดคล้องกับคำแนะนำแนวทางการรักษาโรคที่เกี่ยวข้องกัน ข้อตกลงทางแพ่งนี้ยังเป็นการยุติข้อกล่าวหาว่าจีเอสเจส่งเสริการขายยาลามิคทาลซึ่งเป็นยาต้านอาการลมชัก (anti-epileptic medication) เพื่อการใช้ประโยชน์ด้านจิตเวช อาการปวดเรื้อรังและการจัดการความเจ็บปวดซึ่งอยู่นอกฉลากและไม่ได้ระบุครอบคลุมไปถึง รวมทั้งยังเป็นการยุติข้อกล่าวหาที่ว่าจีเอสเคส่งเสริมการขายยาโซฟรานในบางรูปแบบเพื่อใช้ในการรักษาอาการแพ้ท้องของหญิงตั้งครรภ์ ทั้งที่ยาตัวนี้ได้รับการอนุมัติขึ้นทะเบียนเป็นยารักษาภาวะคลื่นไส้หลังการผ่าตัดเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีข้อกล่าวหาที่ว่าจีเอสเคติดสินบนนักวิชาชีพด้านการดูแลสุขภาพเพื่อจูงใจให้คนเหล่านั้นสนับสนุนและสั่งจ่ายยาเหล่านี้ รวมไปถึงยาอิมิเทร็กซ์ โลโทรเน็กซ์ โฟลเวนต์ และวาลเทร็กซ์ด้วย ทางการสหรัฐฯกล่าวหาว่าพฤติกรรมเช่นนี้ก่อให้เกิดการอวดอ้างที่เป็นเท็จซึ่งมีการส่งต่อไปให้โครงการดูแลสุขภาพของรัฐบาลกลาง

จีเอสเคยินยอมจ่ายเงิน 1,043 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯสำหรับความผิดเรื่องคำอวดอ้างที่เป็นเท็จอันเกิดจากพฤติกรรมซึ่งถูกกล่าวหาในครั้งนี้ โดยรัฐบาลกลางได้ส่วนแบ่งจากข้อตกลงนี้ 832 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนรัฐบาลมลรัฐได้ไป 210ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ข้อตกลงทางแพ่งว่าด้วยการส่งเสริมการขายเพื่อการใช้ประโยชน์นอกฉลากนี้ จะยุติคดีความอีกสี่คดีซึ่งรอการพิจารณาอยู่ที่ศาลรัฐบาลกลางในเขตแมสสาชูเสตส์ ซึ่งเป็นการดำเนินคดีตามบทบัญญัติของ False Claims Act ที่ว่าด้วยหลักการที่ให้ประชาชนหรือผู้ทราบเบาะแส (whistleblower) มีสิทธิฟ้องคดีแทนรัฐบาล (qui tam) ได้ กล่าวคือพลเมืองแต่ละคนสามารถฟ้องคดีแพ่งแทนรัฐบาลสหรัฐฯและมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งจากทรัพย์สินใดๆที่เรียกคืนมาได้

อาแวนเดีย: ในข้อตกลงทางแพ่ง ทางการสหรัฐกล่าวหาว่าจีเอสเคส่งเสริมการขายยาอาแวนเดียกับแพทย์และบุคลากรที่ให้การดูแลสุขภาพอื่นๆ โดยให้ข้อความอันเป็นเท็จและชวนให้เข้าใจผิดเกี่ยวกับข้อมูลโดยสังเขปเรื่องความปลอดภัยของยาตัวนี้ ก่อให้เกิดการอวดอ้างที่เป็นเท็จซึ่งมีการส่งต่อไปให้โครงการดูแลสุขภาพของรัฐบาลกลาง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทางการสหรัฐฯกล่าวหาว่า จีเอสเคแถลงว่าอาแวนเดียมีผลบวกต่อการลดคอลเลสเตอรอล แม้ว่าจะไม่ผลการศึกษาวิจัยที่มีการควบคุมคุณภาพเป็นอย่างดีมาสนับสนุนคำแถลงนี้เลยก็ตาม ทางการสหรัฐฯยังกล่าวหาอีกว่าบริษัทได้ออกเงินสนับสนุนโครงการที่ให้คำชี้แนะว่ายาอาแวนเดียให้ผลดีต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด ทั้งๆที่บนฉลากยาซึ่งได้รับอนุมัติจากเอฟดีเอมีคำเตือนเกี่ยวกับอันตรายต่อระบบหัวใจและหลอดเลือดอยู่ก็ตาม จีเอสเคยินยอมจ่ายเงิน 657 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯสำหรับความผิดเรื่องคำอวดอ้างที่เป็นเท็จอันเกิดจากการให้ข้อความที่ไม่เป็นจริงเกี่ยวกับยาอาแวนเดีย โดยรัฐบาลกลางได้ส่วนแบ่งจากข้อตกลงนี้ 508 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนรัฐบาลมลรัฐได้ไป 149 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

การแจ้งราคา:
ในขณะเดียวกันทางบริษัทจีเอสเคก็กำลังอยู่ระหว่างการดำเนินการแก้ไขข้อกล่าวหา ที่ได้ถูกกล่าวหาว่าในช่วงปี 2537 – 2546 โดยจีเอสเค และบริษัทในเครือ ได้ร่วมกันแจ้งข้อมูลราคายาเท็จ อันส่งผลทำให้ทางบริษัทจ่ายค่าภาษีให้แก่ทางโครงการส่วนลดราคายาของโครงการเมดิคเอด (Medicaid Drug Rebate Program) ต่ำกว่าราคาที่เป็นจริง ทั้งที่ความเป็นจริงแล้ว ตามบทบัญญัติทางกฎหมาย จีเอสเคมีหน้าที่ต้องรายงานราคาที่ต่ำที่สุด หรือ ราคาข้อเสนอที่ดีที่สุดที่ทางบริษัทได้มอบให้แก่ลูกค้าของตน และภายหลังจากนั้นทางบริษัทจะต้องจ่ายส่วนลด 25% ของราคาที่ได้แจ้งไว้ให้แก่ทางรัฐ จากการที่ตามทั่วไปแล้วเมื่อมีการทำการตกลงขายยาแก่ผู้ซื้อแบบเฉพาะหน้า หรือที่เรียกว่า bundle นั้น ค่าส่วนลดที่ทางบริษัทได้ให้แก่  bundle drugs ต้องได้รับการเฉลี่ยเข้ารวมกับจำนวนยอดขาย  ทางการสหรัฐฯกล่าวหาว่า จีเอสเคได้ทำข้อตกลงแบบ bundle sales  โดยได้มีการรวมค่าส่วนลดที่สูง หรือที่เรียกกันว่าราคา norminal ไว้ภายในข้อตกลง แต่มิได้ทำการแจ้งราคาที่ได้มีการทำไว้ในข้อตกลงแบบเฉพาะหน้านี้ในบัญชีเมื่อถึงเวลาคำนวนและรายงานราคาดีที่สุดที่ทางบริษัทได้ทำการขายแก่กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งในทางกลับกันหากทางบริษัทได้ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่กำหนด ก็จะสามารถส่งผลกระทบทำให้ราคายาบางประเภทแตกต่างไปจากปัจจุบัน อีกทั้งในบางสถานะการ สามารถกระตุ้นทำให้เกิดราคายาใหม่ที่ต่ำกว่าราคาที่ทางจีเอสเคได้รายงานไว้ ด้วยเหตุนี้ การกระทำของทางจีเอสเค ทำให้ทางบริษัทจ่ายค่าภาษีแก่โครงการ Medicaid ต่ำกว่าความเป็นจริง และได้คิดราคาค่ายาที่แพงเกินความเป็นจริงกับสถานบริการบางแห่ง ซึ่งทางจีเอสเคได้ตกลงที่จะจ่ายเงิน 300 ล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อที่จะไกล่เกลี่ยข้อกล่าวหาเหล่านี้ โดยจำนวนเงินนี้จะถูกแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ส่วนแรกเป็นจำนวนเงิน 160,972,069 ดอลลาร์จ่ายให้ทางรัฐบาลกลาง ส่วนที่สองเป็นจำนวนเงิน 118,792,931 ดอลลาร์สหรัฐแก่ทางมลรัฐ และสุดท้ายส่วนที่สามได้ถูกมอบคืนให้แก่ทางสถานบริการต่างๆ เป็นเงิน 20,235,000 ดอลลาร์สหรัฐ จากการที่สถานบริการด้านสุขภาพเหล่านั้น ต้องจ่ายเงินค่ายาที่สูงเกินความเป็นจริง

อย่างไรก็ตาม ทางจีเอสเคได้ยอมรับผิดทางศาลใน 3 กระทง ที่นอกเหนือจากข้อกล่าวหาข้างต้นที่สามารถหาทางออกไกล่เกลี่ยได้ เนื่องจากจำเป็นต้องจำนนต่อหลักฐานทางศาลที่แน่นหนา

ทางด้านนายสจ๊วร์ต เอฟ ดีเลรี่ (Staurt F. Delery) ผู้ช่วยอัยการได้ออกมากล่าวว่า ข้อสรุปในครั้งนี้ได้แสดงถึงความพยายามของทางกระทรวงยุติธรรมในการป้องกันสาธารณชนชาวอเมริกาจากการกระทำที่ผิดกฎหมายและหลอกลวงของทางบริษัทยาต่างๆ ในขณะที่แพทย์ควรที่จะได้รับข้อมูลที่แท้จริงและเป็นกลาง เพื่อที่ประกอบการตัดสินใจเปรียบเทียบว่าประโยชน์ของยาชนิดหนึ่งนั้นมีมากกว่าความเสี่ยงที่จะตามมาจากตัวยาหรือไม่ ในขณะเดียวกัน ทางคณะกรรมการอาหารและยา สหรัฐฯจำเป็นต้องได้รับข้อมูลทั้งหมดที่เกี่ยวเนื่องกับความปลอดภัย เพื่อที่จะใช้สรุปว่ายาชนิดหนึ่งมีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพเช่นไร ดังนั้นการใช้วิถีทางที่ผิดกฏหมายเพื่อส่งเสริมการขายยาที่ไม่ได้ผ่านการรับรอง และการเลี่ยงที่จะเปิดเผยถึงอันตรายที่พบจากยาต่อเอฟดีเอสามารถที่จะส่งผลกระทบต่อการตัดสินเหล่านี้ ซึ่งทางกระทรวงยุติธรรมจะไม่ทนต่อการกระทำของกลุ่มคนที่พยายามที่จะทุจริตกับระบบบริการสุขภาพของเรา

 

การปรับที่ไม่ใช่ตัวเงินและสัญญาว่าด้วยคุณธรรมความสุจริตใจขององค์กร

นอกเหนือจากการรับผิดด้านอาญาและแพ่งแล้ว จีเอสเคต้องทำสัญญาว่าด้วยคุณธรรมความสุจริตใจขององค์กร (Corporate Integrity Agreement -CIA) กับทางกระทรวงสาธารณสุขและทางสำนักผู้ตรวจการ ข้อตกลงและสัญญาว่าด้วยคุณธรรมความสุจริตใจขององค์กรได้เพิ่มกฏหมายเพิ่มเติมให้ทางจีเอสเคต้องไปเปลี่ยนแปลงวิธีดำเนินธุรกิจ อันรวมไปถึงการยกเลิกระบบการที่ฝ่ายขายได้รับค่าตอบแทนจากทำสถิติการขายในแต่ละภาคส่วน ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น ภายใต้สัญญา CIA ทางจีเอสเคจะต้องเรียกคืนเงินค่าโบนัสประจำปีจากทางผู้บริหารหรือผู้ที่อยู่ใต้การบังคับบัญชาหากพบความเกี่ยวข้องกับการกระทำที่ประพฤติผิด โดยทางจีเอสเคสามารถเรียกเงินคืนจากทั้งผู้บริหารที่ยังคงอยู่ในตำแหน่งหรือผู้บริหารที่ได้ออกจากบริษัทแล้ว ข้อตกลง CIA นี้ยังรวมไปถึงการที่จีเอสเคจะต้องไปสร้างความโปร่งใสในการทำวิจัยและนโยบายการโฆษณา อีกทั้งจะต้องปฏิบัติต่อบุคลากรทางการแพทย์ตามข้อตกลงที่มีการกำหนดไว้ในสัญญา

แดเนียบ อาร์ เลวิชั่น (Daniel R. Levision) ผู้ตรวจการทั่วไปของกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า สัญญา5ปีที่ได้ทำกับทางจีเอสเค มีการตั้งกฎข้อบังคับให้ปัจเจกบุคคลในบริษัทต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของของทางคณะกรรมการและผู้บริหารร่วมกัน ตัวอย่างเช่น ผู้บริหารของทางบริษัทอาจถูกระงับโบนัสประจำปีหากผู้ที่อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาได้มีการเข้าไปพัวพันกับการกระทำที่ประพฤติผิด ยิ่งไปกว่านั้นทางฝ่ายขายจะต้องได้รับเงินเดือนโดยใช้คุณภาพของการบริการเป็นเกณฑ์ชี้วัดแทนการใช้จำนวนยอดขายเป็นตัวกำหนดอย่างในอดีต”

หลังจากได้ข้อสรุปของเหตุการณ์ในครั้งนี้ ผู้แทนจากองค์กรต่างๆที่เกี่ยวข้องต่างได้ออกมากล่าวแสดงความเห็นต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เดบอร่า เอ็ม ออเตอร์ (Deborah M. Autor) ผู้ช่วยกรรมาธิการฝ่ายระเบียบและนโยบายระหว่างประเทศของคณะกรรมการอาหารและยา สหรัฐฯ ได้กล่าวว่าทางสำนักสืบสวนของเอฟดีเอจะดำเนินการอย่างเข้มงวดในการติดตามหาบริษัทยาที่เลือกผลประโยชน์ของทางบริษัทก่อนสุขภาพของสาธารณชน โดยจะร่วมมือกับทางกระทรวงยุติธรรม และทางหน่วยงานทางกฎหมายในการตามหาบริษัทที่ละเลยกระบวนการรับรองความปลอดภัยของการรับรองยา ด้วยการส่งเสริมการใช้ยาเหล่านี้ ทั้งที่ความเป็นจริงแล้วตัวยายังไม่ได้รับการรับรองว่ามีความปลอดภัยต่อผู้ใช้ และมิได้ทำการรายงานข้อมูลความปลอดภัยของยาแก่ทาง FDA”

ทางด้าน เควิน เพอร์กิน (Kevin Perkins) รองผู้อำนวยการเอฟบีไอฝ่ายอาชญากรรม, อินเตอร์เนตและการบริการ กล่าวว่า การตกลงยอมความครั้งนี้ประสบความสำเร็จได้โดยองค์กรต่างๆไม่เพียงแต่แสดงให้เห็นถึงความสำคัญในการทำงานร่วมกันของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง แต่ในขณะเดียวกันได้แสดงให้เห็นถึงความร่วมมือของภาคประชาชนในการแจ้งข้อมูลที่น่าสงสัยแก่ทางรัฐ ซึ่งการร่วมกันของทุกฝ่ายจะดำเนินการนำผู้ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิดอันจะส่งผลต่อความมั่นคงของระบบยาและระบบบริการสุขภาพของชาติสู่ระบบความยุติธรรมต่อไป

ส่วนทางฟาก แพทริค อี แมคฟาร์แลนด์ (Patrick E. McFarland), ผู้ตรวจการของสำนักงานข้าราชการพลเรือน กล่าวว่า ข้าราชการรัฐ (federal employees) ควรได้ผู้บริการสุขภาพ, ผู้จัดหาบริการสุขภาพ, รวมไปถึงผู้ผลิตยาที่มีศีลธรรมและจรรยาบรรณในอาชีพตรงตามเกณฑ์มาตรฐานสูงสุด ซึ่งข้อตกลงที่เกิดขึ้นในวันนี้ถือเป็นการตักเตือนแก่อุตสาหกรรมยาให้ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่ทางหน่วยงานทางกฎหมายได้กำหนดไว้เพื่อป้องกันการเกิดของพฤติกรรมที่จะส่งผลทำให้เกิดความเสี่ยงต่อผู้บริโภคที่รับบริการด้านสุขภาพ

ด้านทางจอร์จ เจ ออปเฟอร์ (George J. Opfer) ผู้ตรวจการจากกระทรวงทหารผ่านศึก เห็นว่า ประกาศในวันนี้ได้แสดงให้เห็นถึงความพยายามของทางกระทรวงฯที่ได้ร่วมกับหน่วยงานทางกฎหมายอื่นๆในการรับประกันความโปร่งใสของระบบสุขภาพที่ได้มอบให้แก่เหล่าทหารผ่านศึกโดยเงินที่ทางกระทรวงทหารผ่านศึกได้รับกลับคืนมาจากข้อตกลงยอมความในครั้งนี้จะส่งผลประโยชน์ต่อแผนงานบริการสุขภาพที่ทางกระทรวงฯมอบให้แก่เหล่าทหารผ่านศึกต่อไป

และสุดท้ายนายราฟาเอล เอ เมดิน่า (Rafael A. Medina) ซึ่งเป็นหน่วยตรวจสอบพิเศษของการไปรษณีย์สหรัฐฯ กล่าวว่า ผลสรุปของข้อตกลงในครั้งนี้จะเป็นการส่งข้อความที่ชัดเจนให้แก่สาธารณชนว่า ผู้ใดก็ตามที่หาผลประโยชน์จากระบบบริการสุขภาพของรัฐย่อมจะต้องได้รับผลที่ตามมาจากการกระทำนั้นและยังได้กล่าวว่า ในแต่ละปี ทางการไปรณีย์สหรัฐฯ (U.S. Postal Service) ต้องจ่ายเงินมากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐแก่พนักงานเพื่อเป็นเงินค่าประกันสุขภาพ และทางสำนักงานมีความมุ่งมั่นที่จะตามหาบุคคลหรือหน่วยงานใดก็ตามที่ได้ทำการฉ้อโกงและทำให้รายจ่ายนี้ต้องเพิ่มขึ้นอย่างไม่เป็นธรรม

 

ความพยายามของทุกฝ่าย 

คดีนี้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีจากความพยายามและความร่วมมือของทุกฝ่าย เริ่มต้นจากการดำเนินการคดีทางอาญาที่ได้มีการดำเนินการโดยอัยการของรัฐแมตซาชูเซส และแผนกคดีคุ้มครองผู้บริโภค ข้อสรุปทางคดีแพ่งที่ได้มีการดำเนินการโดยอัยการของรัฐแมตซาชูเซส รัฐโคโรลาโด และแผนกการไกล่เกลี่ยทางการค้า โดยได้รับคำปรึกษาจากทางสำนักผู้ตรวจการของกระทรวงสาธารณสุขและฝ่ายตรวจสอบการฉ้อโกงโครงการเมดิเอด อีกทั้งทางฝ่ายสืบสวนของคณะกรรมการอาหารและยา, ฝ่ายสอบสวนอาชญากรรมของกระทรวงกลาโหม, ฝ่ายตรวจสอบของสำนักงานข้าราชการพลเรือน, กระทรวงทหารผ่านศึก, กระทรวงแรงงาน, สำนักงานตำรวจสอบสวนกลาง, การไปรษณีย์สหรัฐฯ และโครงการ TRICARE Program Integrityที่ได้เข้ามามีส่วนช่วยเหลือในการสืบสวนและสอบสวนคดี

การแก้ไขปัญหาทั้งหมดนี้เป็นส่วนหนึ่งของแผนการของรัฐบาลที่จะต่อสู้กับการฉ้อโกงในระบบบริการสุขภาพและเป็นการพัฒนาไปอีกขั้นหนึ่งสำหรับทีมปฏิบัติการบังคับใช้และป้องกันการฉ้อโกงด้านการดูแลสุขภาพ (Health Care Fraud Prevention and Enforcement Action Team—HEAT) ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างสำนักงานอัยการสูงสุดและกระทรวงสาธารณสุข ความร่วมมือของทั้ง 2 ฝ่ายได้พุ่งประเด็นไปที่การลด และป้องกันการฉ้อโกงในระบบประกันสุขภาพของรัฐบาล ทั้งโครงการเมดิแคร์และเมดิเอด จากการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างองค์กร ในระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมาทางกระทรวงยุติธรรมสามารถที่จะเรียกเงินคืนกว่า 10,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากค่าปรับ,การริบทรัพย์สิน, และชดใช้ค่าเสียหาย จากการกระทำความผิดภายใต้กฎหมายการต่อต้านการฉ้อโกงรัฐและกฎหมายอาหารยาและเครื่องสำอาง

 

………………

แปลอย่างไม่เป็นทางการจากต้นฉบับ http://www.justice.gov/opa/pr/2012/July/12-civ-842.html

เอกสารประกอบอื่นๆที่ประกอบคดีนี้ ดูได้ที่ www.justice.gov/opa/gsk-docs.html .

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เปิดตัวกลุ่มญาตินักโทษม. 112 'ส.ศิวรักษ์' เสนอขออภัยโทษทั้งหมด 12 ส.ค.

Posted: 08 Jul 2012 01:35 AM PDT

เปิดตัวเครือข่ายญาติและผู้ประสบภัยจากมาตรา 112 คนเข้าร่วมคึกคัก ส. ศิวรักษ์ เสนอขออภัยโทษคดีหมิ่นฯ ทั้งหมดในวันแม่นี้ จอน อึ๊งภากรณ์ เผยอีก 2 สัปดาห์ผลการศึกษาเกี่ยวกับคดี 112 ของกรรมการสิทธิฯ ใกล้เสร็จ เตรียมประชาพิจารณ์ 3 กลุ่ม หวังเป็นรายงานฉบับกลางทุกฝ่ายรับพิจารณา

 

7 ก.ค. 55 - เวลา 13.00 น. ณ อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา ถ.ราชดำเนิน มีการแถลงข่าวเปิดตัว "เครือข่ายญาติและผู้ประสบภัยจากมาตรา 112" นำโดยญาติของผู้ต้องขังและผู้ต้องหาในคดีกฎหมายอาญามาตรา 112 ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อรณรงค์ให้มีการปล่อยตัวผู้ต้องขังในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพโดยเร็วที่สุด รวมถึงเรื่องสิทธิขั้นพื้นฐานต่างๆ ที่ผู้ต้องขังควรได้รับ อาทิ สิทธิในการประกันตัว สิทธิในการรักษาพยาบาล และให้ความช่วยเหลือด้านการเยียวยาสภาพจิตใจผู้ประสบภัย เป็นต้น 

สุกัญญา พฤกษาเกษมสุข ภรรยาของสมยศ พฤกษาเกษมสุข ผู้ต้องหาคดีหมิ่นฯ กล่าวถึงจุดประสงค์ของการตั้งเครือข่ายว่า เป็นไปเพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ต้องขังในคดีม. 112 เนื่องจากผู้ถูกจับกุมส่วนใหญ่จะได้รับโทษสูง ไม่ได้รับการประกันตัวและไม่สามารถต่อสู้คดีด้วยตนเองได้อย่างเต็มที่ เหล่าครอบครัวและญาติจึงเห็นความจำเป็นของการรวมกลุ่มกันเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมให้แก่ผู้ต้องขัง 

"วัตถุประสงค์หลักๆ ที่ทางกลุ่มจะช่วยกันเองคือในเรื่องของการรณรงค์ให้มีการปล่อยตัวนักโทษ ซึ่งก็คือญาติของเราโดยเร็วที่สุด แต่ทีนี้แต่ละกรณีจะแตกต่างกันออกไป เช่น กรณีที่ยังอยู่ในการพิจารณาของศาล ยังไม่สิ้นสุด เราคงรณรงค์ให้มีการประกันตัวหรือติดต่อประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อเขียนคำร้องขอประกันตัว" สุกัญญากล่าว 

"ส่วนอีกลักษณะหนึ่งผู้ต้องหาที่คดีสิ้นสุดแล้ว ก็จะมีการประสานงานให้ได้รับอำนวยความสะดวกในการขอพระราชทานอภัยโทษ ให้กระบวนการสิ้นสุดเร็วที่สุดเพื่อให้นักโทษได้รับการปล่อยตัว เราต้องการให้ญาติของเรากลับบ้านมาอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวอีกครั้ง" เธอกล่าวว่า จะมีการตั้งกองทุนเพื่อดำเนินการดังกล่าวด้วย 

ในงานเปิดตัวดังกล่าว ได้มีญาติของผู้ต้องขังม. 112 มาร่วมแถลงด้วย อาทิ รสมาลิน ตั้งนพกุล ภรรยาของนายอำพล ตั้งนพกุล หรือ "อากง เอ็สเอมเอ็ส" ที่เสียชีวิตในเรือนจำหลังจากถูกจำคุกด้วยม. 112 นายชีเกียง ทวีวโรดมกุล บิดาของธันย์ฐวุฒิ ทวีวโรดมกุล หรือ "หนุ่ม เรดนนท์" ซึ่งถูกตัดสินจำคุก 20 ปี ปราณี ด่านวัฒนานุสรณ์ ภรรยาของสุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ แกนนำกลุ่มแดงสยาม ซึ่งถูกตัดสินจำคุกรวมทุกคดีเป็นจำนวน 12 ปีครึ่ง 

"เราเห็นว่าองค์กรต่างๆ มาช่วยเรา ถ้าเราไม่ออกมาร่วมด้วยมันจะยังไง มีองค์กรมีเพื่อนๆ ออกมาทำกันเยอะแยะเลย ขนาดเขาไม่ได้เป็นอะไรเขายังมาช่วยเรา แล้วเราเป็นหนึ่งที่ได้รับผลกระทบในนั้นก็ต้องออกมาช่วย ก็ไม่กลัวตายแล้ว อายุมากแล้ว จะเอาไปต้มยำทำแกงก็เอาไป" ชีเกียงกล่าว เมื่อผู้สื่อข่าวถามถึงความเป็นมาของการเข้าร่วมเครือข่าย 

ด้านรสมาลิน ภรรยา "อากง" กล่าวว่าสาเหตุที่เข้าร่วม เพราะต้องการให้กำลังใจญาติผู้ต้องหาที่ประสบชะตากรรมคล้ายกัน

"มันเป็นเหตุการณ์และเรื่องเดียวกับที่เกิดขึ้นกับอากง ฉะนั้น เราก็รู้สึกว่าคนที่ยังไม่ได้ออก เรารู้สึกเป็นห่วงพวกเขา อยากให้วันเวลามันกระชับขึ้นมา อยากให้พวกเขาได้รับอิสรภาพโดยเร็วพร้อมกับลมหายใจ" รสมาลินกล่าว 

ส่วนกิจกรรมที่ทางกลุ่มวางแผนจะดำเนินการ ปราณี ด่านวัฒนานุสรณ์ ให้สัมภาษณ์ว่า ทางกลุ่มวางแผนจะเดินทางไปยื่นหนังสือเรียกร้องต่อหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง เช่น ให้กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพช่วยเหลือเบื้องต้นในการประกันตัว หรือรัฐบาลที่สามารถออกพ.ร.ก. นิรโทษกรรมเพื่อให้ปล่อยตัวนักโทษการเมืองโดยไม่ผ่านสภา นอกจากนี้ จะเรียกร้องความเป็นธรรมผ่านทางการถวายฎีการ้องทุกข์เพื่อขอความเมตตาจากพระมหากษัตริย์เกี่ยวกับความเดือดร้อนที่ได้รับด้วย 

นอกจากนี้ สุกัญญากล่าวว่า ทางเครือข่ายได้รับความสนใจจากองค์กรระหว่างประเทศด้วย เช่น สหประชาชาติ ซึ่งได้นัดหมายตัวแทนญาติผู้ได้รับผลกระทบจากม. 112 เพื่อเข้าไปหารือและให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสถานทูตต่างๆ ที่ให้ความสนใจในกรณีม. 112 

ส.ศิวรักษ์เสนอปล่อยตัวนักโทษทั้งหมดในวันแม่ที่จะถึง

สุลักษณ์ ศิวรักษ์ ปัญญาชนสยามและอดีตผู้ต้องหาคดีม. 112 ให้ข้อเสนอแนะต่อเครือข่ายว่า การให้ความเข้าใจต่อสาธารณะเป็นเรื่องที่จำเป็นมาก โดยเฉพาะผ่านทางสื่อมวลชนกระแสหลัก ซึ่งต้องให้สังคมเข้าใจถึงสภาพความเป็นอยู่ของคนในเรือนจำและปัญหาอื่นๆ ของม. 112 นอกจากนี้ เขายังเสนอด้วยว่า ในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ วันที่ 12 สิงหาที่จะถึงนี้ ควรเสนอขอพระราชทานอภัยโทษแก่นักโทษในคดีหมิ่นฯ ทั้งหมด เพื่อเป็นพระมหากรุณาธิคุณ

จอน อึ๊งภากรณ์ สมาชิกคณะอนุกรรมการศึกษากฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) กล่าวในวงเสวนาว่า ตนเห็นว่ากฎหมายหมิ่นฯ ทำให้เกิดปัญหาการละเมิดสิทธิของประชาชนอย่างร้ายแรง ทั้งนี้ จะพยายามผลักดันให้กสม. ต้องออกมาพูดเรื่องนี้และให้ข้อเสนอแนะแก้รัฐบาล เนื่องจากหากมีองค์กรของรัฐออกมาเสนอแนะรัฐบาลอาจให้ความสนใจมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่

จอนกล่าวด้วยว่า ในขณะนี้ทางคณะอนุกรรมการฯ อยู่ในระหว่างการเก็บข้อมูลและศึกษาปัญหาดังกล่าว โดยรายงานฉบับร่างเบื้องต้นจะเสร็จในเวลาอีกสองสัปดาห์ หลังจากนั้นจะผ่านการทำเวทีประชาพิจารณ์จากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง 3 เวที และพร้อมเผยแพร่ต่อสาธารณะไม่เกินภายในปีนี้ หากผ่านการรับรองจากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

"ผมมีความหวังว่ารายงานของเรา ถ้าได้รับการพิจารณาจากทุกฝ่ายแล้ว ผมเชื่อว่าในสังคมไทย แม้แต่คนที่บอกว่าไม่อยากจะแก้ไข ลึกๆ มีคนจำนวนมากที่มองเห็นว่ามันมีปัญหาอยู่ แม้อาจจะไม่ใช่ความเห็นว่ายกเลิกเลย แต่ความเห็นว่ามันต้องปรับปรุงแก้ไขเพื่อไม่ให้เกิดการถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง และความเห็นว่าโทษมันหนักอย่างแน่นอน" จอนระบุ

"คณะกรรมการสิทธิสุดท้ายจะรับหรือไม่รับรายงานนี้ เราจะใช้กระบวนการที่ให้ได้รับการเผยแพร่อย่างกว้างขวางทั้งในเวทีประชาพิจารณ์และและการเผยแพร่ต่อไป ผมเชื่อว่ารายงานนี้จะเป็นเอกสารที่สังคมไทยสามารถนำมาพิจารณาได้" 

แนะต้องจัดนักโทษม. 112 เป็นนักโทษมโนธรรมสำนึก

ศราวุธ ประทุมราช จากสถาบันหลักนิติธรรมและสิทธิมนุษยชน กล่าวว่า สิทธิในการแสดงความคิดเห็นของประชาชนเป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน ซึ่งรัฐสามารถแทรกแซงสิทธินี้ได้อย่างจำกัด โดยเขามองว่ากฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพมีปัญหา เพราะปัจจุบันถูกบรรจุอยู่ในหมวดความมั่นคงของรัฐ ทั้งๆ ที่การวิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์ควรทำได้โดยเป็นไปอย่างสุจริต เนื่องจากถือว่าเป็นการวิจารณ์บุคคลสาธารณะ 

ศราวุธเสนอว่า ควรนำกฎหมายอาญาม. 112 ออกจากหมวดความมั่นคงของรัฐ และผลักดันให้นักโทษในคดีดังกล่าว เป็นนักโทษทางการเมือง และถือว่าเป็นนักโทษมโนธรรมสำนึก (prisoners of conscience) ตามคำนิยามขององค์กรแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เพื่อให้เกิดการรณรงค์ในระดับสากลมากยิ่งขึ้น

ด้านทนายความสิทธิ เสาวลักษณ์ โพธิ์งาม ตั้งข้อสังเกตว่า กฎหมายหมิ่นถูกนำมาใช้เล่นงานคนระดับล่างมากขึ้น โดยแต่ก่อนอาจจะเป็นเครื่องมือของนักการเมืองโจมตีนักการเมืองหรือปัญญาชน แต่ตอนนี้กม. หมิ่นฯ ถูกนำมาใช้กล่าวหาคนธรรมดา เช่นคนขัดรองเท้า คนขับรถ เป็นต้น ทำให้คนที่ถูกฟ้องไม่ได้รับการดำเนินคดีอย่างยุติธรรม เนื่องจากบางคนไม่มีเงินจ้างทนายความ ทำให้จำเป็นต้องยอมรับสารภาพในชั้นสอบสวน และเมื่อมาให้การปฏิเสธในชั้นศาล ก็ทำให้การต่อสู้คดีไม่มีน้ำหนัก 

ประวิตร โรจนพฤกษ์ ผู้สื่อข่าวนสพ. เดอะ เนชั่น หนึ่งในผู้ที่ถูกกล่าวโทษด้วยม. 112 กล่าวว่า ตนคงไม่เข้าร่วมเครือข่ายดังกล่าว แต่ยินดีที่จะให้ข้อเสนอแนะตามจำเป็น ทั้งนี้ ประวิตรมองว่าประเด็นเรื่องกฎหมายหมิ่นและนักโทษการเมืองยังคงถูกละเลยจากสื่อกระแสหลัก ทางเครือข่ายจึงจำเป็นจะต้องทำให้สาธารณะและประชาคมนานาชาติทราบถึงปัญหาของผู้ต้องขัง โดยเฉพาะเรื่องการใช้แรงงานนักโทษ การซ้อมทรมาน และการล่วงละเมิดทางเพศ ที่มีรายงานว่าผู้ต้องขังม. 112 ต้องเผชิญ

เขาให้สัมภาษณ์ว่า หลังจากที่ตนเองถูกร้องทุกข์กล่าวโทษด้วยม. 112 ก็ได้รับผลกระทบทั้งในทางส่วนตัวและการทำงาน โดยได้รับการขอร้องจากที่ทำงาน คือ นสพ. เดอะ เนชั่น ขอให้ลดการเขียนบทความเรื่องกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ซึ่งเขากล่าวคงจะลดลงไปซักระยะ นอกจากนี้ ยังได้รับข้อความด่าทอต่างๆ จากอินเทอร์เน็ตด้วย 

"ผมก็ไม่ได้เกลียดอะไรนะ วันนั้นผมบอกตำรวจว่า ให้ดำเนินคดีไปตามเนื้อ ทางอ.สุลักษณ์เคยมาเสนอว่าจะให้วิ่งเต้นอะไรหรือเปล่าแต่เราก็ปฏิเสธ ขอบคุณแต่ก็ปฏิเสธไป เราฝากตำรวจไปว่าเราไม่ได้เกลียดชังอะไรไอแพดเขาเลย และเราก็ไม่ได้โกรธ คิดว่านี่คือการสู้กันทางอุดมการณ์ที่ความแตกต่าง...ผมไม่ได้มองว่าเป็นเรื่องส่วนตัว" ประวิตรกล่าว

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 1 - 7 ก.ค. 2555

Posted: 08 Jul 2012 12:31 AM PDT

เอแบคโพลล์เผยประชาชนพอใจนโยบาย"เจ็บป่วยฉุกเฉิน"มากกว่าครึ่ง / กรมสวัสดิฯ สั่งจับตาสถานการณ์เลิกจ้างจากวิกฤติยุโรป / นายกฯ รณรงค์'เซฟตี้วีค'ในการทำงานสู่อาเซียน / สำรวจพบขึ้นค่าแรงกระทบนายจ้าง-ลูกจ้างกว่า 80% 
 
 
เอแบคโพลล์เผยประชาชนพอใจนโยบาย"เจ็บป่วยฉุกเฉิน"มากกว่าครึ่ง 
 
นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวถึงความคืบหน้าการดำเนินนโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินถึงแก่ชีวิต ไม่ถูกถามสิทธิ ใกล้ที่ไหน ไปที่นั่น ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เมษายนว่า นโยบายดังกล่าวเป็นการบูรณาการร่วมกันของ 3 กองทุนคือ กองทุนสวัสดิการข้าราชการ กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและกองทุนประกันสังคม เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมเสมอภาค ซึ่งล่าสุดข้อมูลจนถึงวันที่ 20 มิถุนายน พบว่า มีผู้เข้าถึงบริการโดยใช้บริการโรงพยาบาลเอกชนนอกระบบ 2,714 คน ใน 191 โรงพยาบาล 50 จังหวัด สามารถช่วยชีวิตประชาชนได้ร้อยละ 92.6 โดยรัฐบาลได้จ่ายเงินชดเชยให้โรงพยาบาลไปแล้ว 31.51 ล้านบาท 
 
นพ.วินัยกล่าวว่า เกี่ยวกับเรื่องนี้ เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคมผ่านมา สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้ทำการสำรวจความพึงพอใจต่อโครงการหรือมาตรการเร่งด่วนต่างๆ ของรัฐบาลจำนวน 19 โครงการ โดยกลุ่มเป้าหมายในการสำรวจคือ ประชาชนทั่วไปที่มีสิทธิในกองทุนสวัสดิการข้าราชการ ประกันสังคม และหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าจากทั่วประเทศ เก็บรวบรวมข้อมูลจาก 21 จังหวัดทั่วประเทศ จำนวน 3,721 ตัวอย่าง ระยะเวลาในการดำเนินงานโครงการสำรวจ ระหว่างวันที่ 10-18 พฤษภาคม 2555 พบว่า โครงการเจ็บป่วยฉุกเฉินถึงแก่ชีวิต ไม่ถูกถามสิทธิ ใกล้ที่ไหนไปที่นั่น ประชาชนให้ความพึงพอใจเป็นอันดับหนึ่ง ได้คะแนนความพึงพอใจ 7.94 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 มากกว่าโครงการหรือมาตรการอื่นๆ เช่น เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุแบบขั้นบันได การเร่งป้องกันและปราบปรามยาเสพติด การเพิ่มค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำเป็น 300 บาทต่อวัน การลดภาษีซื้อบ้านหลังแรก การจัดหาคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตให้นักเรียน เป็นต้น 
 
(มติชนออนไลน์, 1-7-2555)
 
กรมสวัสดิฯ สั่งจับตาสถานการณ์เลิกจ้างจากวิกฤติยุโรป 
 
2 ก.ค. 55 - นายอาทิตย์ อิสโม อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กล่าวว่า จากรายงานที่เจ้าหน้าที่สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดสำรวจสถานประกอบ การที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจทั่วโลก เบื้องต้นพบว่ายังไม่ส่งผลกระทบต่อการจ้างงานมากนัก ในส่วนสถานประกอบการที่ทำธุรกิจส่งออกไปยังประเทศยุโรปพบว่ามียอดคำสั่งซื้อ ลดลงประมาณร้อยละ 5 และเชื่อว่าวิกฤติเศรษฐกิจยุโรป หากจะส่งผลกระทบต่อไทยก็ไม่น่าจะเท่ากับวิกฤติสินเชื่อซัพไพรม์ของสหรัฐที่ ผ่านมา แต่เพื่อความไม่ประมาทได้กำชับสถานประกอบการที่ส่งออกโดยเฉพาะในนิคม อุตสาหกรรมแหลมฉบัง และนิคมฯลำพูน ให้เตรียมมาตรการช่วยเหลือ เช่น ลดค่าใช้จ่ายเพื่อรักษาสภาพการจ้าง แต่ถ้าจำเป็นต้องเลิกจ้างก็ให้เลิกจ้างคนที่มีอายุน้อยเพราะมีโอกาสไปทำงาน ที่อื่น ให้ดูแลสิทธิประโยชน์ตามกฎหมาย กรมฯ ยังคงจับตาสถานการณ์ต่อเนื่อง ให้สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดรายงานตัวเลขการเลิกจ้างทุก 15 วันเพื่อนำข้อมูลเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจในการเตรียมรับสถานการณ์  โดยล่าสุดตัวเลขการเลิกจ้างและรับทำงานใหม่ยังปกติ เฉลี่ยหมุนเวียนเดือนละ 10,000 คน 
 
(สำนักข่าวไทย, 2-7-2555)
 
นายกฯ รณรงค์'เซฟตี้วีค'ในการทำงานสู่อาเซียน 
 
3 ก.ค.55 - ที่ทำเนียบรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เดินทางเข้าไปเป็นประธานประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ทั้งนี้ ก่อนเดินขึ้นห้องประชุม ครม.นายอาทิตย์ อิสโม อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน และนายสง่า ธนะสงวนวงศ์ เลขานุการ รมว.แรงงาน ได้นำตุ๊กตาเซฟตี้บอย-เซฟตี้เกิร์ล พร้อมของที่ระลึกในการจัดงานสัปดาห์ความปลอดภัยในการทำงานแห่งชาติครั้งที่ 26 มารอมอบให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ เพื่อรณรงค์ให้บรรดาแรงงาน และผู้ประกอบการได้ตระหนักถึงความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้าง 
 
โดยการจัดงานดังกล่าวจะมีขึ้นที่ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา ระหว่างวันที่ 5-7 ก.ค.นี้ ภายใต้แนวคิด "ก้าวสู่ประชาคมอาเซียนอย่างมั่นใจ แรงงานปลอดภัยและสุขภาพอนามัยดี". 
 
(ไทยรัฐ, 3-7-2555)
 
ก.แรงงาน เผยอาชีพผู้ประกอบอาหารไทยอนาคตรุ่งโรจน์ในยูเออี 
 
วันที่ 3 ก.ค.2555 น.ส.ส่งศรี บุญบา รองปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า นายสตีเฟน โรช ผู้บริหารระดับสูงของสตาร์คอร์ปอเรชัน และนายแอนดรูว์ มอร์โรว์ ผู้บริหารแผนกร้านอาหารของสตาร์คอร์ปอเรชัน ได้เข้าพบเพื่อหารือความต้องการแรงงานไทยในสาขาโรงแรมและการประกอบอาหารไทย เนื่องจากจากนายโมฮัมหมัด อาห์เหม็ด ซาอีด ซึ่งเป็นสมาชิกราชวงศ์แห่งรัฐอาบูดาบี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี) และเป็นนักธุรกิจรายใหญ่ที่ก่อตั้งร้านค้าสหกรณ์ที่มีอยู่ทั่วไปในเมืองอาดู ดาบี เช่น ห้างสรรพสินค้าเมกะมอล ในรัฐชาร์จาห์ ซุปเปอร์มาเก็ตเมกะมาร์ท และร้านขายปลีกเฟอร์นิเจอร์ ซึ่งใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในยูเออี 
 
โดยนายโมฮัมหมัด มีความสนใจจะทำธุรกิจด้านการโรงแรมและร้านอาหาร ซึ่งจะเปิดร้านอาหารไทยและอาหารต่างประเทศในเครือ Q Gourmet จำนวน 15 ร้าน ทั่วยูเออีในช่วงระยะเวลา 12 เดือนข้างหน้า และร้านแรกที่จะเปิดชื่อสโมคกิงดอลในเดือน ก.ย.2555 นั้น มีความต้องการจ้างแรงงานไทยที่สำเร็จการศึกษาด้านโรงแรมและอาหารไทยจำนวนมาก จึงได้เข้าพบหารือถึงแนวทางในการให้กระทรวงแรงงานช่วยดำเนินการจัดหาแรงงาน ในครั้งนี้ 
 
ทั้งนี้ การหารือร่วมกันนับเป็นช่องทางที่น่าสนใจสำหรับแรงงานไทย เนื่องจากนโยบายกระทรวงแรงงานนั้นไม่ปิดกั้นการที่คนไทยจะเดินทางไปทำงาน ต่างประเทศอยู่แล้ว แต่กระทรวงแรงงานมีหน้าที่ในการดูแลแรงงานไทยในการไปทำงานต่างประเทศ ตั้งแต่ก่อนเดินทางไปทำงาน อาทิ เงื่อนไขสัญญาหรือข้อตกลงในการจ้างงานเพื่อไม่ให้แรงงานไทยเสียเปรียบ เงินเดือน สวัสดิการ ความปลอดภัยและความเป็นอยู่ในระหว่างทำงาน 
 
ซึ่งในเรื่องนี้ได้มอบหมายกรมการจัดหางาน และกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ไปร่วมกันหารือกับคณะผู้แทนจากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สำหรับในประเด็นการจัดส่งแรงงานนั้น หากจะเป็นในรูปแบบการดำเนินการจัดส่งแบบรัฐบาลต่อรัฐบาล ก็จะมีการหารือร่วมกันต่อไปและยังจะเป็นการลดค่าใช้จ่าย และป้องกันการเรียกเก็บค่าบริการที่ไม่เป็นธรรมได้อีกทางหนึ่ง 
 
จากการหารือในเบื้องต้นเห็นว่าสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์มีความสนใจต่อแรงงาน ไทย โดยเฉพาะสาขาผู้ประกอบอาหารไทยเป็นอย่างมากและเร่งด่วน เพราะต้องการให้ทันเปิดสาขาแรก 
 
(สยามรัฐ, 3-7-2555)
 
สำรวจพบขึ้นค่าแรงกระทบนายจ้าง-ลูกจ้างกว่า 80% 
 
น.ส.ส่งศรี บุญบา รองปลัดกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการค่าจ้างกลาง (บอร์ดค่าจ้าง) ได้สรุปสำรวจผลกระทบจากการขึ้นค่าแรง 300 บาท จากสถานประกอบการประเภทเอสเอ็มอีจำนวน 1,707 แห่งทั่วประเทศ เมื่อเดือน มิ.ย. พบว่า ได้รับผลกระทบสูงถึง 82.48% โดยประสบปัญหาต้นทุนสูงขึ้น รายได้ลดลง ขายสินค้าได้น้อยลง และไม่สามารถขยายกิจการได้ ขณะที่ผู้ประกอบการที่ไม่ได้รับผลกระทบมีเพียง 17.52% ซึ่งสอดคล้องกับผลสำรวจของหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยที่มีตัว เลขใกล้เคียงกัน 
 
"ที่ประชุมบอร์ดค่าจ้างเห็นตรงกันว่าการขึ้นค่าจ้างมีผลกระทบจริง โดยกรรมการฝ่ายลูกจ้างยอมรับว่า คุณภาพชีวิตไม่ได้ดีขึ้นและยังแย่ลงกว่าเดิม ขณะที่ฝ่ายนายจ้างบอกว่า มาตรการรองรับของรัฐไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาเลย" น.ส.ส่งศรี กล่าว 
 
น.ส.ส่งศรี กล่าวว่า ผลสำรวจดังกล่าวยังพบว่าผู้ประกอบการมีวิธีการลดผลกระทบ เช่น ลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น 73.93% งดรับลูกจ้างเพิ่ม 39.06% เพิ่มประสิทธิภาพแรงงาน ลดชั่วโมงทำงานล่วงเวลา เพิ่มราคาจำหน่ายสินค้า และเลิกจ้างลูกจ้างบางส่วน 14.91% 
 
นอกจากนี้ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังต้องการความช่วยเหลือจากรัฐบาล เช่น ลดเงินสมทบประกันสังคม ลดภาษี เพิ่มทักษะฝีมือแรงงาน สนับสนุนแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ และชะลอการปรับค่าจ้างขั้นต่ำในปี 2556 
 
"ผลสำรวจดังกล่าวอาจกระทบต่อนโยบายการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศ ในวันที่ 1 ม.ค.2556 หากรัฐยังยืนยันตามนโยบายเดิมก็ต้องเร่งหามาตรการรองรับเพิ่มเติม หรืออาจต้องพิจารณาว่าจะปรับขึ้นค่าแรงแบบขั้นบันได้หรือไม่ ไม่เช่นนั้นนายจ้างก็อยู่ไม่ไหวและอาจทำให้ลูกจ้างถูกเลิกจ้าง" น.ส.ส่งศรี กล่าว 
 
อย่างไรก็ตาม น.ส.ส่งศรี กล่าวว่า หลังจากนี้สำนักงานคณะกรรมการค่าจ้างจะจัดทำโครงการสำรวจผลกระทบจากการขึ้น ค่าแรงขั้นต่ำในสถานประกอบการกว่า 7 หมื่นแห่งทั่วประเทศ โดยว่าจ้างสถาบันการศึกษาเป็นผู้ดำเนินการ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจนยิ่งขึ้น คาดว่าจะสรุปผลสำรวจได้ภายใน 3 เดือน หรือประมาณปลายเดือน ต.ค.นี้ 
 
ขณะเดียวกัน บอร์ดค่าจ้างจะมีการจัดประชุมสัมมนาผู้ที่เกี่ยวข้องในเดือน ส.ค.นี้ เพื่อระดมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ จากนั้นจะนำข้อมูลทั้งหมดจากการสัมมนาและผลการสำรวจมาวิเคราะห์ เพื่อเสนอไปยังรัฐบาลให้พิจารณาต่อไป 
 
"กรรมการทุกฝ่ายได้เสนอความเห็นตรงกันว่า อยากให้บอร์ดค่าจ้างปลอดจากการแทรกแซงทางการเมืองโดยเด็ดขาด และต้องการให้มีอิสระอย่างแท้จริง" น.ส.ส่งศรี กล่าว 
 
ด้านนายปัณณพงศ์ อิทธิอรรถนนท์ กรรมการค่าจ้างฝ่ายนายจ้าง กล่าวว่า ผลจากการขึ้นค่าจ้าง 300 บาท ทำให้เอสเอ็มอีจำนวนหนึ่งไม่สามารถปรับตัวได้ ดังนั้นจึงเสนอให้มีการศึกษาวิจัยเร่งด่วนภายในปี 2556 ในการใช้แนวทางค่าจ้างแบบลอยตัว 
 
"ถ้ามีการขึ้นค่าจ้าง 300 บาทในจังหวัดเล็กๆ ยิ่งส่งผลกระทบเป็นทวีคูณ ฉะนั้นควรศึกษาแนวทางค่าจ้างแบบลอยตัว โดยขึ้นอยู่กับฝีมือแรงงานและขนาดเศรษฐกิจในแต่ละจังหวัด เพื่อให้เป็นไปตามกลไกตลาด และที่สำคัญการเมืองต้องหยุดแทรรกแซงบอร์ดค่าจ้าง" นายปัณณพงศ์ กล่าว 
 
(โพสต์ทูเดย์, 4-7-2555)
 
ผู้นำแรงงานค้านชะลอปรับค่าจ้าง 300 บาท 70 จังหวัด 
 
นายชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) กล่าวถึงผลสำรวจของผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท ของกระทรวงแรงงาน และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ที่ระบุตรงกันว่า การปรับขึ้นค่าจ้างไม่ได้ทำให้คุณภาพชีวิตของแรงงานดีขึ้น และธุรกิจเอสเอ็มอี กว่าร้อยละ 82 ไม่สามารถปรับตัวได้ ว่า แม้ว่าทั้งฝ่ายนายจ้างและลูกจ้างจะได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าจ้างทั้ง สองฝ่าย แต่ตนเองก็ไม่เห็นด้วยหากเกิดกรณีที่รัฐบาลและคณะกรรมการค่าจ้างกลางพิจารณา ชะลอการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาทในอีก 70 จังหวัดที่เหลือ ซึ่งเริ่มมีผลในวันที่ 1 มกราคม 2556 
 
นายชาลี กล่าวว่า ขณะนี้การปรับขึ้นค่าจ้างได้ประกาศเป็นกฎหมายไปเรียบร้อยแล้ว อีกทั้งขณะนี้สินค้าอุปโภค-บริโภค ทั่วประเทศมีราคาสูงใกล้เคียงกัน แต่ค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 300 บาท มีผลใน 7 จังหวัดเท่านั้น ส่งผลให้ลูกจ้างใน 70 จังหวัด ต้องแบกรับภาระรายจ่ายเพิ่มขึ้นทั้งที่ได้รับค่าจ้างยังไม่ถึงวันละ 300 บาท ดังนั้น นายจ้างก็ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย เมื่อมีผลกระทบตามมารัฐบาลมีหน้าที่แก้ปัญหา หากจะไม่ให้นายจ้างและลูกจ้างได้รับผลกระทบไปมากกว่านี้ จะต้องมีมาตรการเพิ่มเติม เช่น ควบคุมราคาสินค้าให้ได้ การปล่อยเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำแก่ธุรกิจเอสเอ็มอี ซึ่งได้รับผลกระทบมากที่สุดโดยไม่คิดดอกเบี้ยเป็นเวลา 3-5 ปี เพื่อให้ธุรกิจเอสเอ็มอีอยู่ได้ 
 
ส่วนกรณีกรรมการค่าจ้างกลางฝ่ายนายจ้างเสนอให้กระทรวงแรงงานศึกษาวิจัย ในเรื่องการจัดทำค่าจ้างแรกเข้าโครงสร้างค่าจ้าง และค่าจ้างแบบลอยตัวนั้น เห็นด้วยกับการจัดทำค่าจ้างแรกเข้าและโครงสร้างค่าจ้าง ซึ่งจะต้องมีการจัดทำกฎหมายรองรับ เพื่อให้นายจ้างปรับค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างที่ทำงานมานานตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป โดยขึ้นอยู่กับอายุงานและอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งจะทำให้ลูกจ้างที่ทำงานมานานได้ปรับขึ้นค่าจ้างทุกปี ส่วนแรงงานเข้าใหม่ก็รับค่าจ้างแรกเข้า 
 
(กรุงเทพธุรกิจ, 6-7-2555)

จ.อยุธยา จัดตลาดนัดแรงงาน 8,000 อัตรา 
 
จัดหางานจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จัดตลาดนัดแรงงาน รับสมัครงานกว่า 8,000 อัตรา เปิดโอกาสให้ผู้ว่างงาน และถูกเลิกจ้าง มีงานทำ 
 
นางพัชรนันท์ พันธุ์พิริยะ จัดหางานจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เปิดเผยว่า จากสถานการณ์แรงงานในพื้นที่หลังประสบอุทกภัย จะมีคนว่างงาน ถูกเลิกจ้าง หรืออยากเปลี่ยนงาน ดังนั้น สำนักงานจัดหางานจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จึงกำหนดจัดงานนัดพบตลาดแรงงานเชิงคุณภาพ ขึ้น ในวันที่ 17-18 กรกฎาคมนี้ ที่ศูนย์การค้าอยุธยาพาร์ค จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตั้งแต่เวลา 10.00-16.00 น. มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มโอกาสการมีงานทำให้แก่ผู้ประสงค์จะหางานทำ ผู้ว่างงาน ผู้ถูกเลิกจ้าง หรือผู้ต้องการเปลี่ยนงานใหม่ โดยจะมีบริษัทจัดหางาน 50 บริษัท มาให้บริการรับสมัครและสัมภาษณ์งาน จากที่มีตำแหน่งงานว่างกว่า 8,000 อัตรา และนอกเหนือจากการรับสมัครงานแล้ว ยังมีกิจกรรมคลินิกแรงงานบริการให้คำปรึกษา การไปทำงานต่างประเทศ การทำงานของคนต่างด้าว รับสมัครงานคนพิการ พร้อมมีการสาธิตการประกอบอาชีพอิสระและฝึกปฏิบัติ 
 
สำหรับผู้สนใจสอบถามรายละเอียดได้ที่ 0 3521-3335 และ 0-3521-3958 
 
(สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์, 6-7-2555)
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ประชาธรรม: แนวสายส่งไฟฟ้าเหมืองหงสา-น่าน ความมั่นคงทางพลังงานของใคร?

Posted: 07 Jul 2012 10:50 PM PDT

"นี่คือแผ่นดินถิ่นเกิดของเฮา เขาเป๋นไผมาจากไหน เขาถึงได้มาเยียะกับเฮาจะอี้โดยตี้บ่บอก บ่หื้อข้อมูล บ่ชี้แจง จริงๆโครงการใหญ่ๆเขาน่าจะมาฝังรากกับเฮา ตั้งแต่โครงการเริ่มแรก นี่บ่ได้หื้ออะหยังกับเฮาเลย เฮาทำหนังสือเข้าไปสอบถาม ถามแล้วถามแหม เขาบ่เกยตอบ"

 

ท้องทุ่งอันเขียวขจีแต้มแต่งด้วยสีเหลืองส้มของขอบฟ้ายามตะวันลับเหลี่ยมดอยเขาแก้ว เป็นภาพที่ชาวตำบลดู่ใต้ อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน เห็นชินตามาตั้งแต่รุ่นปู่ยาตาทวด เพราะเป็นทั้งแหล่งทำมาหาเลี้ยงชีพ และปลูกสร้างบ้านเรือนสำหรับลูกหลาน แต่พอก้าวเข้าสู่ปี 2555 พวกเขาอาจจะไม่ได้เห็นภาพเช่นเดิมนั้นอีก เมื่อพื้นที่บริเวณบ้านหมู่ 12 ตำบลดู่ใต้ ได้ถูกประกาศให้เป็นพื้นที่แนวสายส่งไฟฟ้าแรงสูงขนาด 500 กิโลโวลต์ จากแนวเขตทั้งหมด 270 กิโลเมตร อันเป็นผลสืบเนื่องจากการเซ็นสัญญาซื้อขายไฟฟ้าระหว่างการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และโครงการหงสาลิกไนต์ ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนจากถ่านหินแห่งแรกของลาว โดยเงินลงทุนจากบรรษัทไทย ตั้งอยู่ในเมืองหงสา แขวงไซยะบุรี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยจะเริ่มจ่ายไฟฟ้าได้ในปี 2558 [1]       

 

 

นโยบายพลังงานที่ไม่เคยถามประชาชน

ภายหลังคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้ดำเนินการโครงการฯ และประกาศสำรวจแนวสายส่งไฟฟ้าขนาด 500 กิโลโวลต์จากชายแดน (บริเวณจังหวัดน่าน) ไปยังสถานีไฟฟ้าย่อยแม่เมาะ [2] ในช่วงเดือน กรกฎาคม 2554 ได้มีเจ้าหน้าที่ฝ่ายสำรวจแนวสายส่งไฟฟ้าแรงสูง ดำเนินการสำรวจแนวสายส่งบริเวณพื้นที่ตำบลดู่ใต้ โดยทำการปักหมุด ปักเสาไม้ มีการถาง หัก ตัด กิ่งไม้ พืชผลของชาวบ้าน และป้ายสีตามต้นไม้ ซึ่งทำให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินของชาวบ้าน โดยชาวบ้านไม่ทราบมาก่อนว่าจะเกิดอะไรขึ้นในพื้นที่ของตน จึงสร้างความวิตกกังวลอย่างยิ่ง ปัญหาลักษณะนี้ไม่ปรากฎว่าประชาชนได้รับข้อมูลขาดการสื่อสารไม่ประกาศแจ้งที่ที่ทำการอำเภอ ที่ทำการกำนัน ผู้ใหญ่บ้านให้ได้รับทราบกันอย่างทั่วถึง ไม่มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นและขาดความยินยอมเห็นชอบจากชุมชนอีกด้วย [3]

ความรู้สึกของชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ดังกล่าวบอกเล่าผ่านปากของตัวแทนชาวบ้าน [4] ซึ่งร่วมติดตามสถานการณ์นี้มาอย่างต่อเนื่อง เธอกล่าวในการประชุมชาวบ้านครั้งหนึ่งเป็นภาษาถิ่นว่า "...บอกความฮู้สึกหื้อเปิ้นฮู้ ว่านี่คือแผ่นดินถิ่นเกิดของเฮา เขาเป๋นไผมาจากไหน เขาถึงได้มาเยียะกับเฮาจะอี้โดยตี้บ่บอก บ่หื้อข้อมูล บ่ชี้แจง จริงๆโครงการใหญ่ๆเขาน่าจะมาฝังรากกับเฮา ตั้งแต่โครงการเริ่มแรก นี่บ่ได้หื้ออะหยังกับเฮาเลย เฮาทำหนังสือเข้าไปสอบถาม ถามแล้วถามแหม เขาบ่เกยตอบ เลื่อนแล้วเลื่อนแหม..." [5] จากคำบอกเล่าของตัวแทนชาวบ้านซึ่งร่วมสถานการณ์ในชุมชนมาโดยตลอด  ทำให้เราเห็น 2 ประเด็นสำคัญ คือ 1. เกิดการละเมิดสิทธิของประชาชนขึ้นอย่างชัดเจน ทั้งในแง่การละเมิดสิทธิในทรัพย์สินของบุคคล และที่สำคัญไปกว่านั้นคือการละเมิดสิทธิของประชาชนในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดำเนินกิจการของรัฐ 2. ธรรมาภิบาล และความโปร่งใส ความรับผิดชอบต่อสังคม การปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกๆ ฝ่ายอย่างเท่าเทียมตลอดจนกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ของรัฐ

 

แนวสายส่งฯ นำเข้าสารพิษจากเหมืองถ่านหินลิกไนต์

ที่ผ่านมา หน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องในฐานะผู้พัฒนาโครงการแนวสายส่งไฟฟ้าแรงสูง ได้นำเสนอข้อมูลเชิงบวกเพียงด้านเดียวเกี่ยวกับโครงการฯ และให้ข้อมูลกับชาวบ้านในลักษณะที่แยกขาดออกจากโครงการต้นตอที่เชื่อมโยงกัน คือ เหมืองและโรงไฟฟ้าถ่านหินลิกไนต์หงสา ทำให้ชาวบ้านรับรู้ข้อมูลอย่างไม่รอบด้าน และไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลสำคัญได้

โดยเฉพาะประเด็นผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดน อันจะเกิดจากการทำเหมืองถ่านหินลิกไนต์ เพื่อผลิตไฟฟ้าส่งเข้าแนวสายส่งไฟฟ้าแรงสูงในประเทศไทย

ปัญหาเรื่องการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่จำกัดเช่นนี้ ทำให้พวกเขามีความรู้ในการมองปัญหาผลกระทบอยู่ในขอบเขตจำกัดเฉพาะแนวเขตสายส่งไฟฟ้าแรงสูงเป็นส่วนใหญ่ ยังไม่สามารถตระหนักถึงราคาแฝงที่มาพร้อมกับโครงการที่เกี่ยวข้อง ซึ่งก็คือภาระจากผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพในระยะยาวจากเหมืองเปิดหน้าดินขนาดใหญ่ อยู่ห่างจากชายแดน ไทย-ลาว อ.เฉลิมพระเกียรติ 35 กิโลเมตร และห่างจาก อ.เมืองน่าน ประมาณ 70 กิโลเมตร เท่านั้น เช่น ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) ฝุ่นเถ้าจากการเผาถ่านหิน สารตะกั่ว สารหนู และสารพิษอื่นๆ ที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อระบบทางเดินหายใจ มะเร็งปอด และระบบการทำงานของอวัยวะส่วนต่างๆ เมื่อได้รับสารปนเปื้อนเหล่านั้นทางอากาศ ดิน และน้ำ   

แต่อย่างไรก็ดี เฉพาะกรณีโครงการแนวสายส่งไฟฟ้าแรงสูงที่จะพาดผ่านที่ทำกินของชาวบ้านนั้น ก็ยังคงสะท้อนให้เห็นผลกระทบใกล้ตัวที่อาจเกิดขึ้นกับสุขภาพกายและสุขภาพจิต ความสวยงามทางทัศนียภาพในชุมชนซึ่งจะเกิดขึ้นและเห็นผลได้อย่างชัดเจนในไม่ช้า [6] นอกจากนี้ ผลกระทบโดยตรงจากโครงการสายส่งไฟฟ้าแรงสูง คือชาวบ้านซึ่งมีที่ดินอยู่ในแนวสายส่งต้องสูญเสียสิทธิในที่ดินทำกิน และเรือกสวนไร่นาซึ่งมีอยู่อย่างจำกัด ทั้งนี้ ชาวบ้านระบุว่า การประเมินราคาค่าชดเชยที่ดินของ กฟผ. นั้น เป็นการประเมินค่าชดเชยให้เฉพาะบริเวณที่แนวสายส่งไฟฟ้าจะพาดผ่านนั้น  แต่ไม่ได้คิดรวมที่ดินทั้งแปลง กรณีนี้จะทำให้ราคาที่ดิน ประเมิน การชื้อขาย การจำนองจำนำ ในปัจจุบัน และอนาคตตกต่ำ  ไม่เพียงเท่านั้น แนวสายส่งไฟฟ้าจะพื้นที่สาธารณะที่ชาวบ้านใช้ประโยชน์ร่วมกัน  ป่าชุมชนบริเวณดอยเขาแก้ว (หม่อนจ่อมก้อม)  ซึ่งถือเป็นแหล่งอาหารตามธรรมชาติที่ชุมชนตำบลดู่ใต้พึ่งพาอาศัยเก็บเห็ด  หน่อไม้  ผักชนิดต่างๆ  นอกจากนี้ กฟผ. ได้ซื้อที่ดินบริเวณบ้านดู่เหนือพัฒนาอะไร หมู่12  ซึ่งเป็นพื้นที่นาข้าวและแอ่งรับน้ำ บริเวณดังกล่าว จะมีการถมที่ดินเพื่อสร้างสถานีจ่ายไฟฟ้าย่อย จะเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นที่ระบบนิเวศ และสิ่งแวดล้อมของชุมชน ปิดกั้นการไหลของน้ำ  ซึ่งจากประสบการณ์ของชาวบ้านคาดการณ์ว่ามีแนวโน้มจะเป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ชุมชนบริเวณรอบๆ อีกด้วย 

รวบ รัด ตัด ตอน เร่งเจรจาค่าชดเชยผลกระทบแนวสายส่งฯ

หลังจากมีการประกาศแนวสายส่งฯ ทาง กฟผ. ได้ทำหนังสือถึงเจ้าของที่ดินที่แนวสายไฟจะพาดผ่าน ต่อมา ทางกลุ่มชาวบ้านได้ยื่นหนังสืออุทธรณ์ เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2555 ต่อคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 เพื่อทำหน้าที่กำกับกิจการไฟฟ้าและกิจการก๊าซธรรมชาติภายใต้กรอบนโยบายของรัฐ [7] และเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2555 ทาง กกพ. ได้ให้นายกิจจา ลิ้มแสงชัย ผู้ชำนาญการพิเศษฝ่ายจัดการที่ดินและทรัพย์สิน มาลงพื้นที่เพื่อรับทราบข้อมูล ตรวจสอบสภาพปัญหาของผู้ที่ได้รับความเสียหาย ที่บ้านหมู่ 12 ต.ดู่ใต้ ซึ่งเป็นการนัดลงพื้นที่แบบรายบุคคล

คำถามมีอยู่ว่า การดำเนินการในลักษณะดังกล่าว เป็นการดำเนินการที่เหมาะสมหรือไม่ เมื่อปัญหาที่เกิดขึ้นนั้น เป็นผลกระทบภายในชุมชน ไม่ใช่ผลกระทบในเชิงปัจเจกบุคคลเท่านั้น การไม่ได้รับข้อมูลข่าวสาร การไม่ได้มีส่วนแสดงความคิดเห็นเป็นความเสียหายที่ได้รับโดยทั่วกัน การมองสภาพปัญหาไม่เป็นภาพรวม เสมือนเป็นการตัดตอนให้ปัญหาใหญ่ขาดวิ่น เพียงเพื่อง่ายแก่การแก้ไขปัญหา หรือทำให้ปัญหาจบๆ ไป โดยไม่คำนึงถึงผลกระทบในระยะยาวที่อาจจะเกิดขึ้น

นี่แสดงให้เห็นว่า หน่วยงาน กกพ. ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการตรวจสอบการทำงานของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต มีเจตจำนงและวิธีการที่เป็นการลดทอนความซับซ้อนของปัญหาในระดับชุมชน ขาดมุมมอง ในมิติที่หลากหลายทั้งสิทธิชุมชน สิทธิมนุษยชน ผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งประเด็นเหล่านี้ได้ปรากฏอยู่ในหนังสืออุทธรณ์คัดค้านของชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบต่อ กกพ. แต่ไม่ปรากฏว่าจะได้มีการพูดถึงหรือเยียวยาความเสียหายสำหรับการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนเหล่านี้แต่อย่างใด

อย่างไรก็ดี เมื่อชาวบ้านได้รับหนังสือตอบกลับ จึงได้หารือและตกลงกันว่าจะนัดรวมตัวกันเพื่อเจรจา ให้ข้อมูลกับทางผู้แทน กกพ.ในฐานะกลุ่มชาวบ้านซึ่งได้รับผลกระทบร่วมกันในฐานะชุมชน มิใช่เพียงผลกระทบต่อตัวบุคคลเท่านั้น บรรยากาศเป็นไปอย่างราบรื่น และเต็มไปด้วยความหวังของชาวบ้านที่จะส่งเสียงของตนไปยังคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ถึงผลกระทบทั้งในแง่เศรษฐกิจ และความมั่นคงของชีวิตซึ่งตนและลูกหลานในอนาคตจะได้รับ อันเนื่องมาจากการกระทำของ กฟผ.ในครั้งนี้

ทั้งนี้ นายกิจจา ได้ชี้แจงกับชาวบ้านว่า ตนมาติดตามดูว่าเจ้าของที่ดินที่ถูกแนวสายส่งพาดผ่านและได้ร้องอุทธรณ์มาที่ กกพ.นี้ จะให้ดำเนินการอย่างไร ซึ่งหากต้องการให้ย้ายหรือยกเลิกแนวสายส่งนั้น ต้องผ่านเงื่อนไข 2 ประการ คือ 1.หากต้องย้ายไปในที่ดินของผู้อื่น ต้องให้บุคคลนั้นให้ความยินยอม 2.ต้องมีความเป็นไปได้ในทางวิศวกรรม และต่อข้อกังวลของชาวบ้านว่ามีการเจรจาอย่างไม่เป็นทางการในเรื่องค่าทดแทนไปแล้วนั้น นายกิจจาชี้แจงว่า ต้องให้คณะกรรมการฯมีมติต่อการร้องอุทธรณ์แล้วจึงจะสามารถดำเนินการในส่วนของการจ่ายค่าทดแทนในที่ดินที่แนวสายส่งพาดผ่านได้ต่อไป

เมื่อตัวแทนชาวบ้านดู่ใต้ได้ชี้แจงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อชุมชนทั้งในแง่ของการใช้ที่ดินซึ่งเป็นมรดกของลูกหลานจากบรรพบุรุษ ด้านจิตวิญญาณของชุมชน และความคับข้องใจต่อกระบวนการอันไม่โปร่งใส และไร้การมีส่วนร่วมของชาวบ้านที่ได้รับการกระทบสิทธิ นั้นนายกิจจา ได้กล่าวว่า "ตามที่นำเสนอมานี้ ผมอาจจะต้องเอาไปใส่ในวาระอื่นๆ ผมอาจจะเอาความรู้สึกไปถ่ายทอดให้ได้เท่านั้นเอง ซึ่งจะเป็นอย่างไรก็ต้องแล้วแต่มติที่ประชุม ส่วนเรื่องวาระนี้ ก็จะนำเอาข้อเท็จจริง ความรู้สึกของผู้อุทธรณ์ ของประชาชน ที่ได้รับผลกระทบไปนำเสนอท่าน [กกพ.-ผู้เขียน]"

 

ซึ่งความเห็นแบบแบ่งรับแบ่งสู้ของผู้แทน กกพ. ดังกล่าวนี้ก็ไม่ได้เพิ่มความมั่นใจต่อชาวบ้านว่าเจ้าหน้าที่ซึ่งมาปฏิบัติหน้าที่จะดำเนินการให้บรรลุผล เป็นเสมือนข้อความส่งสัญญาณให้ผู้ได้รับผลกระทบทำใจไว้ล่วงหน้า

หลังการลงพื้นที่ของผู้แทนคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน นายกิจจาได้ชี้แจงว่าจะดำเนินการจัดทำรายงานการลงพื้นที่และนำเสนอต่อ กกพ. หลังจากนั้นทาง กกพ. จะพิจารณาแล้วลงมติว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป ซึ่งต้องดำเนินการภายใน 60 วันนับจากวันรับคำร้อง และหากไม่เป็นไปตามกรอบเวลาผู้ร้องเรียนสามารถฟ้องศาลปกครองได้ภายใน 50 วัน [8]

 

ผลักดัน กสม. ตรวจสอบความรับผิดชอบการลงทุนไทยต่างแดน

นอกจากนี้ ที่ผ่านมา ทางชุมชนผู้ได้รับผลกระทบจากนโยบายของรัฐตามโครงการดังกล่าว ได้ร้องเรียนไปยังคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2554  ซึ่งเป็นกลไกสำคัญอันหนึ่งในการตรวจสอบการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐซึ่งกระทบต่อสิทธิของประชาชน ตามมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ซึ่งเกี่ยวข้องกับกรณีนี้ คือ การตรวจสอบและรายงานการกระทำหรือการละเลยการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน หรืออันไม่เป็นไปตามพันธกรณีระหว่างประเทศเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นภาคี และเสนอมาตรการแก้ไขที่เหมาะสมต่อบุคคลหรือหน่วยงานที่กระทำหรือละเลยการกระทำดังกล่าว เพื่อดำเนินการ ในกรณีที่ปรากฏว่าไม่มีการดำเนินการตามที่เสนอให้รายงานต่อรัฐสภาเพื่อดำเนินการต่อไป และตามมาตรา 32 เพื่อดำเนินการสอบถามส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ เพื่อให้มีหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงหรือให้ความเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการหรืองานใดๆ หรือส่งวัตถุ เอกสาร หรือพยานหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือส่งผู้แทนมาชี้แจงหรือให้ถ้อยคำประกอบการพิจารณาได้ [9]

เนื้อหาการยื่นข้อร้องเรียนต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนของชาวบ้านดู่ใต้ เป็นไปเพื่อต้องการให้ กสม. เข้ามาตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนจากโครงการดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิทธิในการรับรู้และเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร เอกสารสำคัญต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการ  คือ สำเนาสัญญาซื้อขายไฟฟ้าโครงการหงสาลิกไนต์ (Hongsa PPA) รายงานการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการหงสาลิกไนต์ฉบับสมบูรณ์ และรายงานฉบับสมบูรณ์ของการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) ?ของโครงการหงสาลิกไนต์ ในลาว อย่างไรก็ตาม กฟผ. อ้างว่าเอกสารเหล่านี้ เป็นเอกสารที่มีความอ่อนไหวทางการค้า ไม่อาจเปิดเผยต่อสาธารณะได้ และสำหรับ EIA นั้นอยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยของรัฐบาลลาวที่จะให้ความยินยอม [10]

เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2555 ทางคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติโดยนายแพทย์นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ ประธานอนุกรรมการสิทธิชุมชนและฐานทรัพยากร ได้ลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบข้อร้องเรียนเรื่องการกระทบสิทธิชุมชนจากการตั้งเสาไฟฟ้าแรงสูงพาดผ่านพื้นที่จังหวัดน่าน ซึ่งมีเรื่องของแหล่งต้นทางของโรงไฟฟ้าที่อยู่ในเมืองหงสาประเทศลาว และการลงทุนของนักธุรกิจไทยในลาว ซึ่งประกอบด้วย เรื่องเสาไฟฟ้าแรงสูง และโรงไฟฟ้าถ่านหิน ทั้งสองเรื่องนี้มีผลกระทบต่อสิทธิชุมชน กระทบชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้าน วัฒนธรรมวิถีชีวิต ซึ่งในครั้งนั้น กสม. ได้ตรวจสอบความเป็นจริงในพื้นที่ และรับฟังข้อมูลความคิดเห็นของชาวบ้านโดยตรง ขณะเดียวกันก็จะดำเนินการให้กฟผ.เข้ามาชี้แจงข้อมูลต่อคณะกรรมการสิทธิฯต่อไป [11] 

ทั้งนี้ การละเว้น เพิกเฉย และไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนทางกฎหมายขององค์กรภาครัฐ ปิดกั้นการมีส่วนร่วมตัดสินใจวางแผนการพัฒนาตั้งแต่ระดับท้องถิ่นและระดับชาติของประชาชนตามระบอบประชาธิปไตย  กรณีกลุ่มชาวบ้านใน จ.น่าน ที่ลุกขึ้นมาทักท้วงกระบวนการทำงาน อันไม่โปร่งใสขององค์กรรัฐที่เกี่ยวข้องกับโครงการแนวสายส่งไฟฟ้าเหมืองหงสาฯ ชี้ให้สังคมเห็นถึงพลังของการรวมกลุ่ม และกระบวนการเรียนรู้ของประชาชน ในการตระหนักรู้ถึงสิทธิที่ได้รับการรับรองตามรัฐธรรมนูญ และหลักการสิทธิมนุษยชนสากล และสามารถดำเนินการตามกลไกของกฎหมายเพื่อพิทักษ์สิทธิของตน และชุมชนได้

จัดการ "พลังงาน" ให้โปร่งใสและเป็นธรรม เพื่อความมั่นคงของชีวิตมนุษย์

โครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าเหมืองหงสาลิกไนต์จะแล้วเสร็จและเริ่มจำหน่ายไฟฟ้าให้แก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ในปี 2558 (2015) อันเป็นปีที่ สปป.ลาว และไทยจะเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) โครงการสายส่งไฟฟ้า 500 กิโลโวลต์ ชายแดน(บริเวณจังหวัดน่าน)-ท่าวังผา ซึ่งเกิดขึ้นในนามของ "ความมั่นคงทางพลังงาน" ที่เชื่อมโยงโครงข่าย และนโยบายแต่ตั้งแต่ท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับภูมิภาค ที่เรียกกันว่า "ASEAN Power Grid"  สอดรับกับนโยบาย "แหล่งพลังงานของภูมิภาคอาเซียน"(Battery of ASEAN) ของรัฐบาลลาวที่เน้นการส่งออกพลังงานเพื่อจำหน่ายให้แก่ประเทศเพื่อนบ้าน ภายใต้โครงสร้างพื้นฐานในเขตอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Sub region-GMS)

ในขณะที่ปัจจุบันมีประชากรลาวเพียง ร้อยละ 70 ของครัวเรือนเท่านั้นที่เข้าถึงไฟฟ้า และร้อยละ 60 อยู่ในนครหลวงเวียงจันทน์ [12] แต่ประชาชนจำนวนมากต้องแบกรับผลกระทบที่มากเกินไปจากการผลิตไฟฟ้า เช่น การต้องอพยพย้ายถิ่นฐานจากการสร้างเขื่อน ผลกระทบจากการสร้างเหมืองถ่านหิน ผลกระทบต่อวิถีชีวิตทางสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม  สิ่งที่รัฐบาลลาวและชนชั้นนำอาเซียนคาดหวังคือความมั่งคั่งของผู้ที่ได้เปรียบทางสังคมจากการเอาเปรียบคนตัวเล็กตัวน้อย เป็นความร่ำรวยที่ต้องแลกมาด้วยชีวิตของประชาชนอาเซียน

เฉพาะกรณีตัวอย่างที่เกิดขึ้นกับชาวบ้านดู่ใต้ จังหวัดน่านมีความซับซ้อนอันเนื่องมาจาก "ตัวแสดง" (actors) ที่เกี่ยวข้องนั้น มิได้เป็น "ตัวแสดง" (actors) ภายในประเทศแต่เพียงอย่างเดียว แต่บทบาทและปฏิบัติการของตัวแสดงระหว่างประเทศ หรือตัวแสดงข้ามชาติ นั้นกลับเพิ่มสูงขึ้น ทั้งรัฐวิสาหกิจไทยที่ดำเนินกิจการในต่างประเทศ และบรรษัทข้ามชาติซึ่งลงทุนข้ามพรมแดน  อันส่งผลกระทบต่อชีวิตมนุษย์อย่างไร้พรมแดนเช่นกัน ทั้งในแง่กายภาพ และจิตวิญญาณ

คำถามสำคัญจึงมีอยู่ว่า เมื่อเราสามารถบูรณาการทางเศรษฐกิจให้เชื่อมร้อยผูกโยงกันได้อย่างแนบแน่นแล้ว จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องผลักดันให้เกิดการยกระดับมาตรฐาน และกลไกการจัดการสิ่งแวดล้อมและสิทธิมนุษยชน อันเป็นเรื่องความมั่นคงของชีวิตมนุษย์ในระดับภูมิภาคไปพร้อมๆ กัน นอกจากนี้ ตัวแสดงซึ่งเป็นบรรษัท หรือผู้ประกอบการข้ามชาติ ก็ต้องไม่มีอภิสิทธิ์อยู่นอกเหนือกลไกการแสดงความรับผิดชอบทางสังคมต่อชุมชนและผู้คนที่ได้รับผลกระทบข้ามพรมแดนจากกิจการของตนด้วย

เมื่อหันมามองทิศทางการวางแผนพัฒนาพลังงานของประเทศไทย ที่มุ่งนำเข้าพลังงานจากประเทศเพื่อนบ้าน ประชาชนไทยในฐานะผู้บริโภคคงต้องไตร่ตรองให้ถ้วนถี่ถึงนโยบายรับซื้อไฟฟ้าที่อ้างว่าเป็นไปเพื่อสร้าง "ความมั่นคงทางพลังงาน" ภายในประเทศ เนื่องจากมีข้อสังเกตจากภาคประชาสังคมต่อการคาดการณ์ความต้องการพลังงานที่มากล้นเกินความจำเป็น และกรณีไฟฟ้าจากกระบวนเผาไหม้ถ่านหินนั้นคือ "พลังงานสกปรก" ที่ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมโลกด้านสภาพภูมิอากาศ ที่สังคมอารยะประเทศกำลังส่งเสริมให้ยุติการผลิตพลังงานชนิดนี้

หากประเทศไทยไม่ปฏิบัติอย่างจริงจังเกี่ยวกับการบริหารจัดการพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้มีความโปร่งใส ดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาล และส่งเสริมการพัฒนาพลังงานหมุนเวียนไปพร้อมกับการดูแลสิ่งแวดล้อม และระบบนิเวศน์ที่มีคุณภาพต่อการดำรงชีวิตมนุษย์ ก็ไม่มีทางใดเลยที่ความมั่นคงทางพลังงานนั้น จะนำมาซึ่งความมั่นคงต่อชีวิตของประชาชน.

 


 เชิงอรรถท้ายบทความ

 

[1] บริษัท ไฟฟ้าหงสา จำกัด (2554), เอกสารเผยแพร่ประชาสัมพันธ์โครงการเหมืองหงสาลิกไนต์ 

 

[2] ประกาศการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย. 2550. ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 124, ตอนพิเศษ 120ง, หน้า 21

 

[3]หนังสืออุทธรณ์คำสั่งแจ้งการประกาศกำหนดเขตระบบโครงข่ายไฟฟ้า โดย นางเพียรวรรณ มูลราช 

[4] การประชุมประชาคมบ้านดู่เหนือพัฒนา หมู่ 12 ต.ดู่ใต้ อ.เมืองน่าน จ.น่าน วันที่ 18 เมษายน 2555         

[5] บอกความรู้สึกของเราให้เขารู้ ว่าที่นี่คือแผ่นดินถิ่นเกิดของเรา เขาเป็นใครมาจากไหน ถึงมาทำกับเราโดย
ไม่บอกกล่าวแบบนี้ ไม่ให้ข้อมูล ไม่ชี้แจง ซึ่งโครงการขนาดใหญ่เขาน่าจะมาใกล้ชิดกับเรา ตั้งแต่แรก แต่ไม่ได้ให้ข้อมูลอะไรเลย เราทำหนังสือไปถาม หลายครั้ง เขาก็ไม่ตอบ เลื่อนแล้วเลื่อนอีก (แปลโดย ผู้เขียน)

[6] บันทึกการประชุมผู้ได้รับผลกระทบจากโครงการระบบโครงข่ายไฟฟ้า 500 กิโลโวลต์ ชายแดน (บริเวณจังหวัดน่าน) -น่าน 2-แม่เมาะ3 วันที่ 29 สิงหาคม 2554 ณ หอประชุมบ้านดู่เหนือพัฒนา ต.ดู่ต้ อ.เมืองน่าน จ.น่าน
 
[7] สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน. (2554) สืบค้นเมื่อ 23 พฤษภาคม 2555, จาก:   http://www.erc.or.th/ERCWeb2/Default.aspx          

[8] กิจจา ลิ้มแสงชัย, สัมภาษณ์, 20 เมษายน 2555, เทศบาลตำบลดู่ใต้ อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน
[9] สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ. (2555)? สืบค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2555, จาก:http://www.nhrc.or.th/2012/wb/th/contentpage.php?id=2&menu_id=1&groupID=1&subID=2
[10] การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย. กฟผ. 981400/16160, ความคืบหน้าการเปิดเผยสัญญาซื้อขายไฟฟ้าโครงการหงสาลิกไสต์ (Hongsa Lignite project)และเอกสารประกอบ, 12 มีนาคม 2555

[11] สำนักข่าวประชาธรรม. (2555) นพ.นิรันดร์ ลงพท.น่าน หลังชาวบ้านร้องกฟผ.ละเมิดสิทธิฯ. สืบค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2555, จาก: http://www.prachatham.com/detail.htm?code=n1_26012012_04

[12]  Powering the Countryside:The Lao PDR Rural Electrificati on Success Story. Retrieved June 12, 2012, from Worl Bank Website: http://go.worldbank.org/KN0XV85WV0
 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น