โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันพุธที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

กัมพูชาทำพิธีถอนทหารจากพื้นที่รอบพระวิหาร

Posted: 18 Jul 2012 10:01 AM PDT

ด้านไทยมี ผบ.ทบ. และ พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต เป็นประธานในพิธีถอนกำลัง ขณะที่โฆษกประชาธิปัตย์ปรามจะถอนทหารต้องยื่นเรื่องเข้าสภา ตาม ม.190

สำนักข่าว CTN ของกัมพูชา รายงานข่าวการถอนทหาร และรายงานความเห็นของชาวกัมพูชาต่อการถอนทหาร

ประชาชนกัมพูชานำน้ำมอบให้กับทหารที่กลับมาจากชายแดนปราสาทพระวิหาร (ที่มา:  youtube.com/PeterKhemara007)

สำนักข่าวไทย รายงานว่า วันนี้ (18 ก.ค.) กัมพูชาได้ถอนทหารจำนวน 485 นายออกจากเขตปลอดทหารรอบปราสาทพระวิหารเพื่อปฏิบัติตามคำสั่งของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศแล้ว และโดยได้เสริมตำรวจ 255 นายและเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย 100 นายเข้าไปทำหน้าที่แทน

ทั้งนี้พิธีถอนทหาร มี พล.อ.เตีย บัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ประเทศกัมพูชาเป็นประธาน มีเจ้าหน้าที่สถานทูตต่างๆ ในกัมพูชาเข้าร่วมพิธี มีการถ่ายทอดสดทั่วประเทศด้วย

ส่วนการถอนทหารของฝ่ายไทย สถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 รายงานว่า พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พร้อม พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก และผู้บัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน ได้เดินทางไปร่วมในพิธีถอนกำลังทหารออกจากเขาพระวิหาร อ.กันทรลักษณ์ ค่ายพิทักษ์อุทุมพรเขต จ.ศรีสะเกษ และมีการร่วมประชุมกับนายทหารระดับสูงด้วย

อนึ่งก่อนหน้านี้ เมื่อ 13 ก.ค. น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทย และสมเด็จฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา พล.อ.อ.สุกัมพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และ พล.อ.เตียบัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมกัมพูชา ร่วมแถลงข่าวผลหารือทวิภาคี โดยทั้งสองฝ่ายเห็นชอบที่จะปรับลดกำลังเจ้าหน้าที่บริเวณปราสาทพระวิหาร เพื่อให้สอดคล้องกับคำสั่งของศาลโลก และสมเด็จฮุนเซน ระบุว่า ขอเชิญชวนให้คนไทยและกัมพูชาเดินทางท่องเที่ยวปราสาทพระวิหารและผามออีแดง ได้อย่างปลอดภัย

ขณะเดียวกันเว็บไซต์พรรคประชาธิปัตย์ รายงานความเห็นของนายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์  ที่ให้ความเห็นต่อเรื่องการถอนทหารนี้ว่า "ถ้าจะถอนทหารออกจากแผ่นดินไทยควรนำเข้าสู่การประชุมรัฐสภาตามมาตรา 190 (2) เพราะเกี่ยวกับเขตแดนและอธิปไตย นอกจากนี้การถอนทหารในวันเดียวกับที่ พล.อ.เตียบัณห์ รมว.กลาโหมกัมพูชา ประกาศทำพิธีเฉลิมฉลองครบรอบ 4 ปีกัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกนั้น ถือว่าอันตรายอย่างยิ่ง เพราะจะทำให้สังคมโลกโดยเฉพาะกรรมการมรดกโลกรู้สึกว่าเป็นพื้นที่สันติ สงบสุข ไทย - กัมพูชา ไม่ขัดแย้งตกลงกันได้แล้ว"

นายชวนนท์กล่าวด้วยว่า “หากวันนี้มีการถอนทหารออกทั้งสองฝ่าย กัมพูชาจะยังเหลือชุมชน วัด ตลาด สิ่งเหล่านี้อาจทำให้เข้าทางกัมพูชา เพราะจะอ้างได้ว่าไทยยอมถอนทหารออกจากประเทศของตัวเองทำให้กัมพูชาไปอ้างสิทธิว่าเป็นพื้นที่สงบเรียบร้อยให้ศาลเห็นว่าเดินหน้าตัดสินเขตแดนและคณะกรรมการมรดกโลกพิจารณาการขึ้นทะเบียนมรดกโลกได้ เนื่องจากเงื่อนไขความขัดแย้งในช่วงสอง - สามปีที่ผ่านมากระบวนการมรดกโลกไม่คืบหน้า เพราะรัฐบาลในขณะนั้นต่อสู้มาโดยตลอดในเรื่องการบริหารจัดการพื้นที่รอบปราสาทพระวิหารที่จะกระทบต่ออธิปไตยของไทย สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่รัฐบาลไทยต้องระมัดระวัง ผมเห็นว่าต้องส่งเจ้าหน้าที่ประจำการ ทั้งตำรวจตระเวณชายแดน เจ้าหน้าที่ป่าไม้ หรือเจ้าหน้าที่ด้านอื่น ไปประจำจุดแผ่นดินไทยบริเวณสันปันน้ำในทุกจุดที่ทหารไทยเคยอยู่ และต้องประกาศให้ชัดถอนทหารไม่ใช่ถอนอธิปไตย ทุกตารางนิ้วยังเป็นของไทย”

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

คดี ‘พัน คำกอง’ จนท.ยันกระสุนชนิดเดียวปืนทหาร แต่ไม่ตรงกับกระบอกที่ส่งตรวจ

Posted: 18 Jul 2012 09:52 AM PDT

จนท.พิสูจน์หลักฐานเบิกความ ไต่สวนการตายคดี ‘คำ พันกอง’ ยันกระสุนที่อยู่ในร่างผู้ตายเป็นกระสุนปืนเล็กกลชนิดเดียวกับปืนของทหารที่ส่งตรวจหลังเหตุการณ์ 1 ปี แต่ไม่ใช่กระบอกเดียวกัน พร้อมอธิบายผลตรวจเปลี่ยน หากเปลี่ยนลำกล้อง

18 ก.ค.55 ที่ห้องพิจารณา 909 ศาลอาญา รัชดา มีการไต่สวนการเสียชีวิตของนายพัน คำกอง คนขับแท็กซี่ ชาว จ.ยโสธร ซึ่งถูกยิงบริเวณถนนราชปรารภ ใกล้แอร์พอร์ทลิงค์ ซึ่งเป็นจุดประจำการของทหาร เมื่อหลังเที่ยงคืนวันที่ 14 พ.ค.ต่อกับวันที่ 15 พ.ค.53 จากกรณีที่มีการยิงสกัดรถตู้ที่เข้ามาในพื้นที่ดังกล่าว โดยในวันนี้มีพยาน 4 ปากเป็นเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการพิสูจน์เปรียบเทียบหัวกระสุนที่อยู่ในร่างผู้ตายกับอาวุธปืนที่เจ้าหน้าที่ทหารใช้ในการปฏิบัติการในพื้นที่ โดยหนึ่งในเจ้าหน้าที่ที่ตรวจหัวกระสุนที่อยู่ในร่างนายพัน คำกอง ผู้เสียชีวิต เบิกความว่า หัวกระสุนดังกล่าวเป็นกระสุนปืนเล็กกลขนาด .223 ( 5.56 มม.) ซึ่งสามารถใช้กับปืนเล็กกลและปืนไรเฟิลได้ เช่น M16, HK ทราโว่ เป็นต้น และเป็นกระสุนชนิดเดียวกันกับปืนของเจ้าหน้าที่ทหารที่ส่งมาตรวจ แต่ลักษณะรอยตำหนิพิเศษของหัวกระสุนที่ถูกยิงจากลำกล้องของปืนที่ส่งตรวจนั้นไม่สามารถยืนยันได้ว่าเป็นปืนกระบอกเดียวกันกับที่ใช้ยิงนายพัน คำกอง ทั้งนี้ ลักษณะของตำหนิพิเศษจะเกิดจากลำกล้องของปืนแต่ละกระบอกซึ่งจะไม่เหมือนกัน แต่อย่างไรก็ตามปืนแต่ละกระบอกก็สามารถเปลี่ยนลำกล้องได้  และหากมีการเปลี่ยนลำกล้องก็ไม่สามารถยืนยันได้

พ.ต.ท.ธีรนันต์ นคินทร์พงษ์ จากกลุ่มงานตรวจอาวุธและเครื่องกระสุน กองพิสูจน์หลักฐานกลาง เจ้าหน้าที่อีกคนหนึ่งที่ทำการพิสูจน์เปรียบเทียบหัวกระสุนที่อยู่ในร่างผู้เสียชีวิตกับอาวุธปืนที่เจ้าหน้าที่ทหารใช้ในการปฏิบัติการในพื้นที่ดังกล่าว  โดยหน่วยงานตรวจสอบได้รับมอบปืนเล็กกล 5 กระบอกของกองพันที่ 31 ทหารปืนใหญ่ รักษาพระองค์ (ป.พัน.31 รอ.) ในวันที่ 1 มิ.ย.54 หรือกว่า 1 ปีหลังเกิดเหตุ จากพนักงานสอบสวน สน.พญาไท

“ปรากฏว่ากระสุนของกลาง [ที่พบในศพผู้ตาย-ประชาไท] ไม่ได้ใช้ยิงจากปืนทั้ง 5 กระบอกนี้” พ.ต.ท.ธีรนันต์ กล่าว

เมื่ออัยการสอบถามถึงเหตุที่ไม่เหมือนกัน พ.ต.ท.ธีรนันต์ ตอบว่า ได้พิจารณาจากตำหนิรอยร่องเกลียว ซึ่งเป็นตำหนิพิเศษที่เกิดจากการที่กระสุนวิ่งผ่านลำกล้องของปืนแต่ละกระบอก ซึ่งลักษณะดังกล่าวจะไม่ซ้ำกัน

อัยการถามต่อว่า ลำกล้องของปืนแต่ละกระบอกนั้นสามารถเปลี่ยนได้หรือไม่ พ.ต.ท.ธีรนันต์ยืนยันว่า สามารถเปลี่ยนได้

เมื่อสอบถามถึงประเภทของกระสุนที่พบในร่างผู้ตายว่าเป็นกระสุนประเภทอะไร พ.ต.ท.ธีรนันต์ เบิกความว่า เป็นกระสุนปืนเล็กกล .223 สามารถใช้กับปืนเล็กกลและปืนไรเฟิลได้ เช่น M16, ทราโว่ และHK เป็นต้น

อัยการถามต่อว่ากระสุนปืนที่พบจากศพ สามารถยิงจากปืนของทหารที่นำมาตรวจสอบได้หรือไม่  พ.ต.ท.ธีรนันต์ ยืนยันว่าได้

ด้านนายโชคชัย อ่างแก้ว ทนายความฝ่ายผู้ตาย ถามต่อว่าถ้าปืนที่ใช้ก่อเหตุมีการเปลี่ยนลำกล้องก่อนนำมาตรวจจะสามารถยืนยันหัวกระสุนได้หรือไม่ พ.ต.ท.ธีรนันต์ ตอบว่า ไม่สามารถยืนยันได้ เพราะจะไม่ตรงกันและทำให้ผลเปลี่ยนแปลงไป

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศาลได้สอบถามพยานเพิ่มเติมว่าปืนที่นำมาตรวจสอบนี้ขณะยิงจะมีไฟออกที่ปากกระบอกปืนหรือไม่ พ.ต.ท.ธีรนันต์ ตอบว่ามี แต่ไม่สว่างมากเพราะปืนชนิดนี้มีปล่องควบคุมไว้

ทั้งนี้ ศาลได้นัดไต่สวนพยานปากต่อไปวันที่  24 ก.ค.นี้

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

"ญาติวีรชนพฤษภา 35" ร้องจ่ายเยียวยาตามเกณฑ์ใหม่ ปคอป.

Posted: 18 Jul 2012 08:49 AM PDT

คณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา 35 ยื่นหนังสือ ขอให้รัฐบาล โดยประธาน ปคอป. พิจารณาชดใช้เยียวยาแก่ญาติวีรชนพฤษภา 35 โดยไม่เลือกปฏิบัติ เพื่อคืนศักดิ์ศรีญาติวีรชน ตามบรรทัดฐานที่ ปคอป. กำหนดหลักเกณฑ์ใหม่เพื่อเป็นบรรทัดฐานทางการเมือง

 

วันนี้ (18 ก.ค.) ที่กระทรวงมหาดไทย นายเมธา มาสขาว เลขาธิการคณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา 35 พร้อมด้วยญาติวีรชน เดินทางเข้าพบนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกฯและรมว.มหาดไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานและติดตามผลการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (ปคอป.) พร้อมยื่นหนังสือเพื่อเรียกร้องต่อนายยงยุทธ ขอให้ดำเนินการพิจารณาชดใช้และเยียวยาแก่ญาติวีรชนพฤษภา 2535 อย่างไม่เลือกปฏิบัติ ตามหลักเกณฑ์ของ ปคอป.

คณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา 35 ระบุว่า เมื่อมีการแต่งตั้งคณะกรรมการอิสระเพื่อติดตามผู้สูญหายและช่วยเหลือผู้เสียหายจากเหตุการณ์เดือนพฤษภาคม 2535 ซึ่งมีนายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน และเป็นคณะกรรมการอิสระชุดแรกของประเทศไทย ภายใต้คำสั่งแต่งตั้งของรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2544 ซึ่งต่อมาหมดภาระหน้าที่และมีข้อเสนอการช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์เดือนพฤษภาคม 2535 ต่อรัฐบาลแล้วเสร็จนั้น รัฐบาลที่ผ่านมาก่อนหน้านี้ก็ยังไม่ได้ดำเนินการช่วยเหลือผู้เสียหายจากเหตุการณ์เดือนพฤษภาคม 2535 ตามข้อเสนอของคณะกรรมการอิสระฯ แต่อย่างใด โดยเฉพาะการจ่ายค่าทดแทนหรือค่าเสียหายตามข้อเสนอของคณะกรรมการอิสระฯ แม้ว่ามติคณะรัฐมนตรีเมื่อ 30 ธันวาคม 2546 ได้มีมติให้ดำเนินการตามข้อเสนอของคณะกรรมการอิสระฯ แล้วก็ตาม แต่กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กลับอนุมัติงบประมาณตามกฎหมายสงเคราะห์ผู้ประสบภัยฯ ซึ่งขัดแย้งและผิดเงื่อนไขกับข้อเสนอของคณะกรรมการอิสระฯ ที่ต้องการสร้างบรรทัดฐานในเรื่องดังกล่าว เนื่องจากอ้างว่า ยังไม่มีกฎหมายรองรับฯ

คณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา 35 จึงขอให้รัฐบาล โดยประธาน ปคอป. แก้ไขเรื่องดังกล่าวโดยพิจารณาชดใช้เยียวยาแก่ญาติวีรชนพฤษภา 35 โดยไม่เลือกปฏิบัติ โดยแก้ไขและคืนศักดิ์ศรีญาติวีรชน 2535 ตามบรรทัดฐานที่ ปคอป. กำหนดหลักเกณฑ์ใหม่เพื่อเป็นบรรทัดฐานทางการเมือง ตามที่เห็นชอบในหลักการให้เสนอแนะมาตรการ กลไก และวิธีการเพื่อส่งเสริมการเยียวยาและฟื้นฟูเหยื่อและผู้เสียหายตลอดจนผู้ที่ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงหรือความขัดแย้งทางการเมืองทุกฝ่าย โดยประกาศขอโทษและยกเลิกการใช้ตาม พ.ร.บ.สงเคราะห์ผู้ประสบภัยอันเนื่องมาจากช่วยเหลือราชการ การปฏิบัติงานของชาติ หรือการปฏิบัติหน้าที่มนุษยธรรม พ.ศ.2543 เพื่อคืนความเป็นวีรชนที่ถูกลบหลู่ เพื่อเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อ 30 ธันวาคม 2546 ที่มีมติให้ดำเนินการตามข้อเสนอของคณะกรรมการอิสระฯ และพิจารณาข้อเสนอของคณะกรรมการอิสระเพื่อติดตามผู้สูญหายและช่วยเหลือผู้เสียหายจากเหตุการณ์เดือนพฤษภาคม 2535 และหลักเกณฑ์ใหม่ของ ปคอป. ซึ่งเป็นการชดเชย เยียวยาและฟื้นฟูที่ไม่อยู่ในกรอบกฎหมายและแนวทางปฏิบัติเดิม โดยเทียบเคียงมาตรฐานสากลกับการกำหนดค่าชดเชยของสหประชาชาติและประเทศที่มีการชดเชยเยียวยาให้แก่ผู้เสียหาย ซึ่งแตกต่างจากการเยียวยาในกรณีปกติ อันเป็นการแสดงออกถึงความรับผิดชอบของรัฐที่ไม่มีกลไกที่มีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะทำให้ความขัดแย้งทางการเมืองอยู่ในกรอบและดำเนินไปตามครรลองของสันติวิธีจนเกิดความรุนแรงและสร้างความเสียหายแก่บุคคลและสังคม เพื่อเป็นการแสดงออกว่า รัฐตระหนักและรับรู้ถึงความเจ็บปวดสูญเสียของผู้ได้รับผลกระทบทุกฝ่าย 

นอกจากนี้ คณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา 35 ยังให้กำลังใจนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ ในการปฏิบัติหน้าที่เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยระบุด้วยว่า นายยงยุทธควรจะได้รับความไว้วางใจจากรัฐบาลในการปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าภารกิจดังกล่าวจะลุล่วงตามนโยบายด้วย
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เครือข่ายต้านคอรัปชั่นเสนอ 112 เข้มข้น พบความผิดแล้วเฉยเท่ากับ ‘ตัวการร่วม’

Posted: 18 Jul 2012 08:09 AM PDT

 

จากกรณีข่าวการประท้วงของประชาชนกลุ่มหนึ่งที่สุวรรณภูมิและมีการบอยคอตจากกัปตันการบินไทยไม่ยินยอมให้นางฐิตินันท์ (สงวนนามสกุล) อายุ 63 ปี เดินทางกลับนิวซีแลนด์ หลังจากถูกกลุ่มภาคีเครือข่ายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นของชาติ จังหวัดจันทบุรี แจ้งความดำเนินคดีในข้อหาหมิ่นสถาบัน มาตรา 112 เนื่องจากในวันอ่านคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ เธอได้เตะพระบรมฉายาลักษณ์ ขณะที่ทางตำรวจยืนยันว่า มีการแจ้งข้อกล่าวหาแล้วพร้อมควบคุมตัวส่งโรงพยาบาลศรีธัญญา เนื่องจากมีประวัติการรักษาที่โรงพยาบาลดังกล่าว ต่อมาได้นำตัวส่งสถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ พร้อมอายัดตัวไว้เพื่อตรวจสอบสภาพจิต ซึ่งขณะนี้แพทย์ได้สั่งห้ามเยี่ยม เนื่องจากผู้ป่วยมีอาการคลุ้มคลั่ง

ยังมีความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจต่อเนื่องจากกรณีอีก เมื่อนายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ เลขาธิการภาคีเครือข่ายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นแห่งชาติ(ภชต.) ได้กล่าวใน รายการสภาท่าพระอาทิตย์ ทาง ASTV ช่วงที่ 1 (17 ก.ค.) โดยเล่าถึงเหตุการณ์ว่า ในวันอ่านคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ เวลาประมาณ 9.30 น.นางฐิตินันท์ กระทำการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพซึ่งหน้าต่อหน้าเจ้าหน้าที่ตำรวจ 13 กองร้อย หรือพันกว่าคน แล้วก็ไม่มีใครทำอะไร ซึ่งโดยปรกติสามารถจับกุมได้เลย หรือสามารถขอหมายศาลภายในวันศุกร์เพื่อจับกุมและสั่งคุมขังได้เลย

นายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ กล่าวด้วยว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจจะอ้างว่านางฐิตินันท์เคยมีอาการวิกลจริตเป็นบางช่วงเวลาไม่ได้ เพราะถือว่าไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยปกติแล้วจะต้องมีหนังสือยืนยันจากนิติจิตเวชของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งจะเป็นที่กักกันของคนที่กระทำความผิดกฎหมายและเป็นโรคจิต และช่วงที่มีอาการต้องถูกกักกันไว้ที่นิติจิตเวชก่อน เป็นสถานที่กักกันเหมือนคุก แต่เป็นคุกของคนโรคจิต เมื่อเขาสติดีแล้วเขาจะต้องมาอยู่ในคุกปกติ เพราะฉะนั้นความผิดนี้สำเร็จแล้ว คือ เจ้าหน้าที่ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ บวกด้วยคดีอีกคดีหนึ่งคือ ถือว่าสมรู้ร่วมคิดกับคนกระทำความผิดกรณีมาตรา 112 ด้วย ถ้าไม่จับถือว่าเป็นตัวการร่วมโดยทันทีทั้ง 13 กองร้อยและผู้บังคับบัญชาต้องรับผิดชอบ

 

เสนอ หากพบการหมิ่นฯ แล้วเฉย มีความผิดฐานเป็นตัวการร่วม

“ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 8 เขาบอกองค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานเป็นที่เคารพสักการะผู้ใดจะละเมิดมิได้ ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ไม่ได้ เพราะฉะนั้น การแสดงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ต่อไปสังคมไทยต้องเปลี่ยนใหม่หมด ห้ามมองเฉย ๆ ต้องแสดงออก” นายมงคลกิตติ์กล่าว พร้อมทั้งอธิบายด้วยว่าถ้าเห็นคนกระทำหมิ่นพระบรมเดชานุภาพแล้วอยู่เฉยก็จะต้องมีความผิดด้วย เพราะถือเป็นตัวการร่วม เพราะฉะนั้นต้องแสดงออกทันที ไม่ว่าจะเป็นการจับกุมหรือเป็นพยาน

นายมงคลกิตติ์ ยังระบุถึงเหตุผลที่ไปยื่นเรื่องต่อสำนักงานตำรวจแห่งชาติว่า เป็นเพราะเขาและอาจารย์โชติ เนืองนันท์ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ทนไม่ไหวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจึงออกมาเคลื่อนไหว อาจารย์วรเจตน์ ภาคีรัตน์ จากคณะนิติราษฎร์ควรดูเป็นเยี่ยงอย่าง ว่าข้าราชการที่ดี ข้าราชการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวต้องทำแบบนี้ ไม่ใช่มาป่วนบ้านป่วนเมือง

 

ขู่ สตช.ไม่ดำเนินการ ราชภัฏรำไพพรรณีจะชุมนุม 20 คันรถ

เขายังเปิดเผยด้วยว่า ได้ให้กรอบระยะเวลากับสำนักงานตำรวจแห่งชาติภายใน 3 วัน ถ้าไม่ดำเนินการภายใน 16.30 น.ของวันที่ 20 ก.ค.นี้ นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณีจะมากันทั้งหมด พร้อมกับพ่อค้าและประชาชน โดยจะมาประมาณ 20 คันรถที่หน้าสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พร้อมทั้งเรียกร้องให้มหาวิทยาลัยต่างๆ ที่มีชื่อสถาบันพระมหากษัตริย์พ่วงท้ายเข้าร่วมด้วย

 

 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง :

ตร.แจ้งข้อหาหมิ่นสถาบัน "ป้าบุกศาล รธน."-อายัดตัวตรวจสุขภาพจิต http://prachatai.com/journal/2012/07/41597

ภตช.จี้ ผบ.ตร.ดำเนินคดีหมิ่นม.112 หน้าศาล รธน. http://www.dailynews.co.th/crime/136306

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

จำเลยคดีขายซีดี ABC เบิกความพรุ่งนี้-ทนายยื่นขอตีความ ม.112 ขัดรัฐธรรมนูญ

Posted: 18 Jul 2012 07:04 AM PDT

 

18 ก.ค.55  ที่ศาลอาญา รัชดา มีการสืบพยานคดีเอกชัย (สงวนนามสกุล) จำเลยในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ จากกรณีขายซีดีสารคดีของสำนักข่าว ABC ประเทศออสเตรเลีย และเอกสารวิกิลีกส์ ซึ่งพยานโจทก์เป็นพนักงานสอบสวนในคดีนี้ซึ่งเป็นพยานปากสุดท้ายของฝ่ายโจทก์ ส่วนในวันพรุ่งนี้ (19 ก.ค.) นายเอกชัย จะขึ้นเบิกความในฐานะพยานจำเลย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า อานนท์ นำภา ทนายจำเลยได้ยื่นคำแถลงแนวทางการสืบพยานเพื่อประกอบคำร้องขอให้ศาลออกหมายเรียกพยานเพิ่มเติมตามที่ศาลแจ้งไว้วานนี้ โดยประสงค์ให้ออกหมายเรียกพยานจำนวน 2 คน คือ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ และ พล.อ.อ.สิทธิ เศวตศิลา [บุคคลที่ถูกอ้างถึงในเอกสารวิกิลีกส์-ประชาไท] โดยระบุว่าหากศาลอนุญาตก็สามารถตัดปากของ นายอานันท์ ปันยารชุน ได้ ศาลรับคำแถลงดังกล่าวไว้และนัดหมายฟังคำสั่งในวันพรุ่งนี้ (19 ก.ค.)

นอกจากนี้ทนายจำเลยยังได้ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้ส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อให้ตีความว่า มาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญาขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 มาตรา 29 มาตรา 45 ประกอบกับมาตรา 8 และมาตรา 6 ซึ่งศาลได้รับเรื่องไว้เพื่อตรวจสอบว่าเคยมีการส่งเรื่องเช่นนี้ถึงศาลรัฐธรรมนูญและมีแนวคำวินิจฉัยไว้แล้วหรือไม่ โดยนัดหมายให้ฟังคำสั่งในวันพรุ่งนี้ (19 ก.ค.) เช่นกัน

ทั้งนี้ ในคำร้องที่ยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญระบุเหตุผลสรุปได้ดังนี้

1.มาตรา 112 ระบุอัตราโทษไว้สูงเกินความจำเป็นและไม่ได้สัดส่วนในการลงโทษ กระทบสิทธิประชาชน ขัดแย้งกับมาตรา 29 ซึ่งระบุว่าการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้ จะกระทำมิได้เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะเพื่อการที่รัฐธรรมนูญนี้กำหนดไว้และเท่าที่จำเป็น และจะกระทบกระเทือนสาระสำคัญแห่งสิทธิและเสรีภาพนั้นมิได้  ซึ่งอัตราโทษของมาตรา 112 ได้ตราไว้จนเกินเลยกว่าที่รัฐธรรมนูญมุ่งหมายที่จะคุ้มครองเป็นกรณีพิเศษ คือ มาตรา 8 ได้บัญญัติคุ้มครองพระมหากษัตริย์ไว้เป็นกรณีพิเศษเพียงผู้เดียว มิได้ให้ความคุ้มครองถึงราชินี, รัชทายาท หรือองคมนตรี การที่มาตรา 112 บัญญัติโทษในภาพรวมที่มีอัตราโทษเท่ากันของกลุ่มบุคคลโดยมีสัดส่วนสูงเกินความจำเป็น ไม่แยกอัตราโทษตามสถานะขอบุคคลที่กฎหมายคุ้มครอง จึงทำให้มาตรานี้ขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 29 ไม่สามารถบังคับใช้ได้

2.มาตรา 112 ขัดแย้งกับมาตรา 45 แห่งรัฐธรรมนูญ และไม่สอดคล้องกับระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย เพราะมีเจตนารมณ์มุ่งคุ้มครองบุคคลแบ่งเป็น 4 ประเภท คือ พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาทและผู้สำเร็จราชการทนพระองค์ และต้องมีการกระทำคือดูหมิ่น หมิ่นประมาท หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อบุคคลข้างต้น สำหรับการหมิ่นประมาทบุคคลทั่วไป หลักกฎหมายเรื่องหมิ่นประมาทย่อมหมายถึงทั้งการกล่าวข้อความเป็นเท็จและแม้จะเป็นความจริงแต่หากเสียหายต่อบุคคลที่สาม และหากไม่เข้าข้อยกเว้นตามกฎหมาย การกระทำนั้นย่อมเป็นความผิด กรณีที่จะเข้าข้อยกเว้นไม่เป็นความผิด หรือผู้กระทำไม่ต้องรับโทษ การกระทำนั้นต้องเป็นไปตามมาตรา 329 และ 330 ของประมวลกฎหมายอาญา คือ กระทำโดยสุจริต ติชมด้วยความเป็นธรรม หรืออีกกรณีที่ผู้ถูกหาว่ากระทำผิดพิสูจน์ได้ว่าข้อที่หาว่าเป็นหมิ่นประมาทนั้นเป็นความจริง ผู้นั้นก็ไม่ต้องรับโทษตามกฎหมาย แต่ห้ามไม่ให้พิสูจน์ถ้าเป็นเรื่องส่วนตัว และการพิสูจน์ไม่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน

การที่บัญญัติข้อยกเว้นไว้เช่นนี้เป็นไปเพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชน และเสรีภาพดังกล่าวก็สอดคล้องกับมาตรา 45 แห่งรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ มาตรา 45 ก็มีบัญญัติถึงข้อยกเว้นไว้ว่าเสรีภาพนั้นถูกจำกัดได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ เพื่อคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ เกียรติยศ ชื่อเสียง สิทธิในครอบครัวหรือความเป็นอยู่ส่วนตัวของบุคคลอื่น เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเพื่อป้องกันหรือระงับความเสื่อมทรามทางจิตใจหรือสุขภาพของประชาชน ซึ่งมาตรา 112 ของประมวลกฎหมายอาญาหาได้เป็นกฎหมายเฉพาะที่สามารถจำกัดเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญมาตรา 45 ได้ไม่

อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาตามมาตรา 8 ก็มีแนวคำวินิจฉัยของศาลฎีกาไว้เป็นบรรทัดฐานแล้วว่า จะแก้ตัวให้พ้นผิดตามข้อมีแนวคำวินิจฉัยของศาลฎีกาไว้เป็นบรรทัดฐานแล้วว่า จะแก้ตัวให้พ้นผิดตามข้อยกเว้นตามมาตรา 329 ไม่ได้ แต่ต้องเป็นกรณีการกล่าวหาต่อพระมหากษัตริย์เท่านั้น บุคคลอื่น เช่น ราชินี องค์รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ย่อมต้องตกอยู่ภายใต้การบังคับของกฎหมายและภายใต้รัฐธรรมนูญ กล่าวคือ หากเป็นการใช้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตตามรัฐธรรมนูญแล้ว บุคคลที่แสดงความคิดเห็นย่อมได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญมาตรา 45 การกระทำของจำเลยในคดีนี้เป็นการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญในการเผยแพร่ข้อเท็จจริงอันเป็นการแสดงความเห็นตามรัฐธรรมนูญมาตรา 45 แต่มาตรา 112 มิได้บัญญัติถึงข้อยกเว้นในกรณีของพระราชินี รัชทายาท อันจะสอดคล้องกับมาตรา 45 ดังนั้น มาตรา 112 จึงขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญมาตรา 45 จำกัดการใช้เสรีภาพของจำเลยและไม่สอดคล้องกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตย จึงมิอาจใช้บังคับเป็นกฎหมาย และไม่อาจใช้บังคับแก่คดีนี้ได้ 

คำร้องระบุในตอนท้ายว่า ขอศาลโปรดส่งคำโต้แย้งพร้อมความเห็นของจำเลยต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อให้วินิจฉัยด้วย พร้อมกันนี้ยังขออนุญาตส่งร่างแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ของคณาจารย์คณะนิติราษฎร์ ประกอบความเห็นของจำเลยด้วย

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

จดหมายเปิดผนึกพนักงาน TPBS (ภาคชำแหละ เละ!)

Posted: 18 Jul 2012 06:49 AM PDT

 

18 กรกฎาคม 2555
จดหมายเปิดผนึก 

ในนามของพนักงานและลูกจ้างองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย มีความตระหนักถึงพันธกิจที่มีค่าขององค์กรในฐานะสื่อสาธารณะของประชาชน มีพันธกิจในการเผยแพร่ข่าวสาร ชี้นำปัญญา สนับสนุนส่งเสริมสังคมการมีส่วนร่วมตามครรลองประชาธิปไตย ตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2551 (มาตรา 7)

ตลอดระยะเวลาร่วมสี่ปีที่ผ่านมา ไทยพีบีเอสได้ใช้พื้นที่หน้าจอสาธารณะแห่งนี้เรียกร้องสิทธิเสรีภาพความเป็นธรรมให้แก่พี่น้องประชาชนตามพันธกิจหลักในการส่งเสริมและปลูกฝังสังคมประชาธิปไตยและความเสมอภาค ซึ่งนับเป็นความภูมิใจของชาวไทยพีบีเอส

แต่เป็นที่น่าเสียดายและอดสูแทนประชาชนผู้เสียภาษีให้กับรัฐ เมื่อภาษีบาปไม่ได้ถูกผันแปรให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนเต็มร้อย เนื่องด้วยความล้มเหลวในการบริหารจัดการภายในทั้งเรื่อง การงาน คน และการคลัง ด้วยเชื่อว่าศูนย์อำนาจการบริหารงานและผู้บริหารบางกลุ่มใช้อำนาจเพื่อเอื้อประโยชน์ต่อการเกื้อหนุนสนับสนุนพวกพ้องเดียวกันให้เข้ามามีบทบาทการบริหารงานต่างๆ อย่างขาดความชอบโปร่งใส ปิดกั้นโอกาสให้ผู้มีความสามารถ มีศักยภาพที่แท้จริงได้เข้ามามีบทบาทพัฒนาสื่อสาธารณะแห่งนี้ผ่านวิธีและกระบวนการคัดเลือกที่ถูกต้องโปร่งใส หนึ่งในปัญหาที่สะสมจนเป็นภาพพจน์ที่เน่าเสีย คือการบริหารงานด้านบุคลากร แม้ปฏิเสธไม่ได้ว่าการเลือกสรรพวกพ้องเครือข่ายเข้ามาร่วมด้วยช่วยกันบริหารงานนั้นเป็นวัฒนธรรมของสังคมไทย หากดึงสมุนพรรคพวกพ้องที่มีความสามารถมีศักยภาพการทำงานเข้ามาเป็นผู้ช่วยมือซ้ายมือขวา ก็จะถือว่าผลประโยชน์ “ส่วนตัว” นั้นกลายเป็นผลประโยชน์ส่วนรวมเพราะได้บุคลากรที่เก่งจริงเข้ามาขับเคลื่อนองค์กรได้อย่างสง่าผ่าเผย 

ความล้มเหลวในการบริหารบุคลากรเป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นกับไทยพีบีเอสซึ่งสมควรได้รับการตรวจสอบโดยเร่งด่วนก่อนที่จะกลายเป็นวงจรอุบาวท์กัดกร่อนป้ายใหญ่โตมโหฬารด้านหน้าสถานีโทรทัศน์สาธารณะ ด้วยข้อความงดงาม “สื่อเพื่อสาธารณะ เที่ยงตรง โปร่งใส สังคมเป็นธรรม” ซึ่งเป็นเพียงแค่ภาพลักษณ์การประชาสัมพันธ์ต่อสาธารณะชนเท่านั้น

ความไร้ประสิทธิภาพของการบริหารจัดการรอบด้านสะท้อนความละเลยในการปฏิบัติหน้าที่ ละทิ้งเจตนารมณ์บทบาทของสื่อสาธารณะ

ข้อความจารึกบนเสาแท่งแรกว่า “สื่อเพื่อสาธารณะ” ซึ่งในข้อเท็จจริง กลับกลายเป็น “สื่อเพื่อพวกพ้อง” ข้อความที่ปรากฏจารึกบนเสาต้นที่สอง “สังคมเป็นธรรม” ก็กลับกลายเป็น “สังคมเสื่อมไร้เสรีภาพขั้นพื้นฐาน” พนักงานภายในองค์กรมีคุณภาพชีวิตที่แย่ลง ขวัญกำลังใจลดหาย สมองไหลหายไปกู่ไม่กลับ ผู้บริหารใช้ช่องโหว่งของการบริหารด้านบุคคลและกฏระเบียบเพื่อการโยกย้ายถ่ายเทพนักงาน หลายคนเป็นผู้จัดการอยู่ดีๆ ก็ถูกลดตำแหน่งกลายเป็นผู้ชำนาญการ ผู้เชี่ยวชาญทั้งที่ไม่มีความผิดใดๆ ไม่มีแนวทางการชี้นำหรือกำหนดยุทธศาสตร์ที่ชัดเจนเพื่อส่งเสริมบุคลากรได้มีโอกาสพัฒนาศักยภาพการทำงานของตนเองก่อนคำสั่งการถูกโยกย้าย โอนย้าย ฯลฯ ราวกับพนักงานเป็นน้ำเป็นวุ้นเป็นอิฐเป็นปูน ขาดความเป็นธรรมในการบริหารจัดการด้านพัฒนาส่งเสริมบุคลากร โดยไร้หลักธรรมาภิบาลหรือความมีเมตตาธรรม แต่กล้าประกาศต่อสาธารณะชนบนเสาต้นที่สามหน้าองค์กรว่า “เที่ยงตรง โปร่งใส” ทั้งที่ปรากฏการณ์ความเป็นจริงเบื้องหลังจอคือ “ ความผิดของพวกพ้องมองไม่เห็น เก่งวิ่งเต้นป้องพวกพ้องพัลวัน”

ร่วมสี่ปีที่ผ่านมาเป็นบทพิสูจน์แน่ชัดแล้วว่า ผลงานความล้มเหลวของการบริหารงานหลังจอสาธารณะแห่งนี้ ด้วยเหตุเพราะไม่เคยมีเสียงสะท้อนใดใดจากพนักงานได้รับการหยิบยกขึ้นมาพิจารณาอย่างจริงใจและเร่งรีบให้ความเป็นธรรมจนอาจเข้าข่ายละเลยการปฏิบัติหน้าที่ของผู้บริหารที่มีอำนาจในการบริหารจัดการ และมักถูกซ้ำเติมว่า เป็นแค่เสียงเล็กๆ ของพนักงานหรือพนักงานกลุ่มหนึ่งที่เสียผลประโยชน์ แทนที่จะช่วยกันรีบเร่งตรวจสอบ ทบทวน เร่งแก้ไขปัญหา นำมาซึ่งความเป็นธรรม หลายกรณีที่ร้องเรียกกลับถูกเพิกเฉย ซ้ำยังใช้อำนาจกระทำการต่อพนักงานอย่างมีอคติและลิดรอนสิทธิในการแสดงออกซึ่งความคิดเห็น ทั้งที่สวมบทบาทสื่อสาธารณะ

สื่อมวลชนไทยพีบีเอสกลับถูกกระทำเหมือนเป็นมนุษย์แรงงานที่ไม่สามารถเรียกร้องสิทธิที่พึ่งชอบธรรม หลายคนหวาดกลัวที่จะเผยความจริงเพราะเจ้านายผู้เป็นใหญ่สามารถใช้อำนาจในการให้คุณให้โทษ น่าเสียดายจิตวิญญาณความเป็นสื่อมวลชนที่มีพันธกิจในการนำเสนอความจริง แต่สื่อมวลชนหลายท่านที่นี่อาจไม่มีความกล้าหาญหรือถูกลิดรอนสิทธิจนเป็นความเคยชิน และเกิดความหวาดกลัวที่จะพูดความจริง ในขณะที่พนักงานหลายชีวิตที่นี่กลับเกิดความละอายทุกครั้งที่มีการโหมโรงประชาสัมพันธ์องค์กรฯ ว่าเป็นผู้มีจิตสาธารณะบ่มเพาะสังคมประชาธิปไตย ทั้งที่ในความเป็นจริง พนักงานไทยพีบีเอสกำลังถูกลิดรอนสิทธิพื้นฐานของการแสดงและสะท้อนความคิดเห็น ขาดความรู้สึกภาคภูมิใจไปกับความมั่นคงเติบโตได้ในวิชาชีพตามครรลองที่ควรจะเป็นภายใต้ร่มเงาสื่อสาธารณะของประชาชนเพื่อประชาชน

เมื่อผู้บริหารทั้งหลาย ไม่ได้ยึดมั่นในหลักการแห่งความโปร่งใสตามที่ชอบป่าวประกาศสู่สาธารณะ เช่น การคัดเลือกพนักงาน ซึ่งใช้วิธีดึงสมัครพรรคพวกของตนเข้ามาเป็นเครือข่ายเพื่อเข้ามาดำรงตำแหน่งบริหารกิจการของประชาชนในหลายภาคส่วน ตั้งแต่ระดับบริหารยันถึงระดับปฏิบัติการโดยไม่ได้คำนึงถึงความมีประสบการณ์ ความมีศักยภาพ ความสามารถรอบรู้ด้านงานสื่อสาธารณะ และประสบการณ์เฉพาะด้าน ตลอดจนวิสัยทัศน์ อุดมการณ์ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของบุคลากรไทยพีบีเอส ที่นี่นิยมระบบอุปถัมภ์ดันพวกพ้องสู่ระดับผู้บริหาร ส่วนผู้ที่มีควาสามารถแต่ไม่เป็นพวกเดียวกันหรือมีทัศนคติที่ผิดแผกแตกต่างก็ถูกกดตำแหน่ง กดเงินเดือน บวกลบคูณหารคะแนนการประเมินได้ตามอำเภอใจและไม่ละลายต่อบาปทั้งผู้กระทำและผู้สนับสนุนเซ็นอนุมัติจนเป็นวงจรอุบาวท์ หมิ่นศักดิ์ศรีเพื่อนสื่อมวลชนและภาษีจากประชาชน สะท้อนให้เห็นถึงความล้มเหลวการบริหารการจัดการรอบด้านไม่ว่าจะเป็น เรื่องการบริหารงานจัดการด้านบุคลากร องค์กรขาดวัฒนธรรม มากด้วยความเหลื่อมล้ำ กระบอกเงินเดือนซึ่งเป็นเรื่องต้องเปิดเผยอย่างโปร่งใส แต่ไม่กล้านำมาเผยเพราะความเหลื่อมล้ำเรื่องฐานเงินเดือนที่ไม่เคยได้รับการแก้ไขให้เที่ยงธรรม หากกลับยิ่งสร้างให้เกิดความเหลื่อมล้ำทวีคูณ หากเข้ามาแบบเครือข่ายรู้จักลากกันมา ก็สามารถใช้อำนาจบันดาลให้เงินเดือนสูงลิ่ว หรือปรับเงินเดือนพนักงานพวกพ้องเสมือนเจ๊ดัน แม้มีข้อพิสูจน์ได้ว่าไม่ได้เป็นบุคลากรที่มีความสามารถที่แท้จริง เพื่อนพ้องผู้ใหญ่ก็คว่ำบาตรแต่ก็ดันทุรังผลักดันจนเป็นใหญ่ได้

ในขณะที่ผู้เข้ามาด้วยความชอบธรรม หรือเป็นพนักงานเดินดินกินข้าวแกงถูกต่อรองแบบไม่ได้ศึกษาตลาดแรงงานโดยอ้างว่าที่นี่ต้องเป็นไปตามมาตรฐานของกระบอกเงินที่เปี่ยมด้วยความเท่าเทียมเป็นธรรม ซึ่งล้วนส่งผลร้ายต่อขวัญและกำลังใจพนักงานที่ไม่สามารถมองเห็นอนาคตความก้าวหน้า ยามที่พนักงานแสดง อริยะขัดขืน ก็จะแสดงทัศนคติแห่งความเมตตาคือ “อยู่ไม่ได้ก็ออกไปซะ” (จะได้เอาคนของเครือข่ายตนเองมาแทน) ผลพวงของวงจรอุบาทว์นี้ ทำให้องค์กรสาธารณะแห่งนี้ขาดบุคลากรที่มีความสามารถจริงในวิชาชีพ ขาดผู้นำที่บริหารงานด้วยเมตตาธรรม คุณธรรม ความโปร่งใส และดำรงไว้ซึ่งความเท่าเทียม

ไทยพีบีเอส วันนี้จึงเป็นแค่องค์กรที่มุ่งเน้นแต่การสร้างผลผลิตหน้าจอเพื่อสร้างภาพลักษณ์ ในขณะที่หลังจอนั้นขาดเสถียรภาพในการบริหารงานการปกครองคนรอบด้านอย่างสิ้นเชิง

ที่นี่ไทยพีเอส จึงไม่แตกต่างจากภาพของสังคมไทยที่ผู้มีอำนาจละเลยการตรวจสอบ ละเลยการให้ความเป็นธรรม ซ้ำยังมีกลุ่มผู้ยึดมั่นในอำนาจหน้าที่ร่วมด้วยช่วยกันปกผิดความผิด ความไม่โปร่งใสของพวกพ้อง และสร้างภาพไปวันๆ ด้วยการไล่จับผิดเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ให้เข้าข่ายการผิดวินัย ทั้งที่ผู้ตั้งตนเป็นประธานกรรมการสอบสวนโดยไม่มีมีคุณสมบัติด้านจิตสำนึกแห่งความยุติธรรม ใช้ถ้อยคำข่มขู่พยานหรือผู้ถูกกล่าวหา สะท้อนการขาดความรู้ด้านการสอบสวนทางวินัยและใช้อำนาจหน้าเกินขอบเขตในการไต่สวนอย่างไร้หลักธรรมาภิบาล

ที่นี่...ไทยพีบีเอส กำลังขาดบุคลากรระดับผู้นำที่มีความเป็นผู้นำ มีความกล้าหาญที่จะพูดความจริง มีความกล้าหาญที่จะลบล้างสิ่งผิด เนื่องด้วยมีประเพณีที่กระทำอยู่คือเมื่อใดที่มีอารยะขัดขืน ใครทำงานแข็งขืนไม่เป็นที่ได้ใจ ก็จะถูกสั่งโยกย้ายถ่ายเท ลดตำแหน่ง และนำเอาพวกพ้องคนสนิทเข้ามาแทนที่ แม้ไม่มีอัตราก็จะมีวิธีในการสร้างกล่องงาน เพื่อเอาคนของตนมาวางในตำแหน่งต่างๆ ได้อย่างแนบเนียน ในขณะที่หลายฝ่ายขาดอัตรากำลังคนที่ขับเคลื่อนเดินหน้าสร้างคุณภาพงานและการทำงานที่มีประสิทธิภาพ

ด้านการจัดจ้างบริษัทภายนอกเพื่อประเมินค่างานกลับได้รับผลการวัดค่างานที่ถอยหลังเข้าคลอง ทั้งที่สูญเสียค่าใช้จ่ายเป็นล้าน แต่การประเมินค่างานที่ได้กลับขาดความความชัดเจนกว่าเดิม สะท้อนความล้มเหลวในการจัดการบริหารบุคคลขั้นพื้นฐาน การบริหารการจัดการภายในเรื่องเล็กๆ ยังพายเรืออยู่ในอ่างพูดเรื่องซ้ำๆ แต่ไม่เคยจัดการให้ขยับได้ ลำพังแค่เรื่องจะจัดตั้งศาลพระภูมิ การติดตั้งพระบรมฉายาลักษณ์ แต่งตั้งคณะกรรมการหารือกันเป็นปี จนบัดนี้เป็นองค์กรที่ไร้ศาลพระภูมิ ไร้พระบรมฉายาลักษณ์ เรื่องวิบัติวุ่นวายต่างๆจึงเกิดขึ้น เป็นประจำ นี่เป็นตัวอย่างสะท้อนให้เห็นการจัดการเรื่องง่ายๆ แต่บริหารงานอย่างล้มเหลวไร้ประสิทธิภาพอย่างสิ้นเชิง

ผลพวงการบริหารงานถอยหลังเข้าคลองแบบนี้เป็นเหตุให้เกิดปัญหาสมองไหล พนักงานที่มีความสามารถลาออกไปอยู่หน่วยงานอื่นทั้งที่รายได้ไม่ได้สูงกว่าที่นี่ และนี่ถือเป็นบทพิสูจน์การบริหารงานชิ้นโบว์ดำของคณะผู้บริหารชุดนี้ ด้วยภาวะผู้นำที่ล้อมรอบด้วยยุทธเสนาแบบไร้ซึ่งศักยภาพและวิสัยทัศน์ บริหารจัดการงานอย่างขาดธรรมาภิบาล ไม่เหมาะสมที่จะบริหารงานขององค์กรที่มาจากภาษีประชาชนได้ เพราะผู้บริหารที่ดีจะต้องมีความเสียสละรับฟังปัญหาของพนักงานอย่างจริงใจ ตรึกตรองเพื่อนำไปสู่การตรวจสอบนำความเป็นธรรมกลับมาให้ได้

ในนามพนักงานขององค์กรขอ “สานพลัง” เพื่อปกป้องพื้นที่สื่อสาธารณะแห่งนี้ และขอสงวนไว้ให้เฉพาะผู้บริหารที่มีคุณธรรม มีความสามารถเข้ามานำทิศทางสื่อสาธารณะ ไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น ในขณะเดียวกันนนี้ ขอชื่นชมผู้บริหารที่มาจากตัวแทนภาคประชาสังคมในส่วนต่างๆ ท่านได้พยายามใช้ศักยภาพ ความรู้ความสามารถของท่านอย่างเต็มที่ในการร่วมกำหนดกรอบนโนบาย การตรวจสอบ การวางแผนงานบริหาร การจัดการปัญหา ฯลฯ  และในขณะเดียวกันพวกเราต้องขอแสดงความเห็นใจที่ท้ายสุดท่านไม่สามารถเดินหน้าเพื่อตรวจสอบความถูกต้องความโปร่งใสได้ตามเจตนารมณ์แม้แต่น้อย เพียงเพราะที่นี่ ไทยพีบีเอส ยังมีนักอุดมการณ์จอมปลอม และผู้มีอำนาจปกป้องการตรวจสอบ และหวนแหนพื้นที่เพื่อเสวยอำนาจเพื่อผลประโยชน์ทับซ้อนและการเอื้อประโยชน์พวกพ้องตนเอง 

วงจรอุบาทว์เหล่านี้ควรจบสิ้นด้วยพลังบริสุทธ์ของพนักงานไทยพีบีเอส ที่ต้องใช้ความกล้าหาญและร่วมสานพลัง ด้วยเจตนารมณ์ในการรักษาปกป้องสื่อสาธารณะแห่งนี้ให้พ้นจากผู้มีอำนาจซึ่งมากด้วยมลทิน และพ้นจากภาพจำลองสังคมไทยที่อันตรายและเป็นอุปสรรคต่อการขับเคลื่อนสิ่งดีๆ ผลพวงแห่งการบริหารจัดการที่ล้มเหลวมาจากการที่ “ผู้มีอำนาจละเลยสิ่งที่ถูกต้อง และปกป้องสิ่งที่ไม่ถูกต้อง”

ในนามพนักงานไทยพีบีเอส ขอใช้สิทธิภายใต้ระเบียบ พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารฯ เพื่อเรียกร้องให้เกิดการตรวจสอบการบริหารการจัดการภายในองค์กรทุกภาคส่วน นับตั้งแต่ การบริหารงานของสำนักทรัพยากรบุคคล / ประสิทธิภาพการตรวจสอบทุจริตของสำนักตรวจสอบภายใน / การบริหารงานของรองผู้อำนวยการด้านบริหารที่เชื่อว่ามีการใช้อำนาจลักษณะครอบงำสำนักบริหาร สำนักการคลัง สำนักทรัพยากรมนุษย์ สำนักกฎหมาย ซึ่งถือเป็นศูนย์อำนาจการบริหารงานที่สามารถเอื้อประโยชน์ต่อการทุจริตเชิงบริหาร ตลอดจนสำนัก / หน่วยงานต่างๆขององค์กรที่ถือเป็นแหล่งรวมผลประโยชน์ขององค์กร ปรากฏตามเอกสารประกอบที่แนบมานี้ เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐาน / ข้อมูลสำคัญชี้นำไปสู่การตรวจสอบโดยอาศัยอำนาจหน้าที่และกลไกการตรวจสอบทั้งจากคณะกรรมการรับร้องเรื่องร้องเรียนภายในองค์กร และหน่วยงานอิสระภายนอกองค์กร เพื่อนำประโยชน์ต่อการขับเคลื่อนองค์กรด้วยหลักธรรมาภิบาล ภายใต้การบริหารงานของผู้นำองค์กรในด้านต่างๆ ที่เปี่ยมด้วยความรู้ ความสามารถและมีคุณธรรม ผู้ที่สามารถขับเคลื่อนฟันเฟื่องทุกชิ้นส่วนของไทยพีบีเอสด้วยการมองเห็นหัวใจของความเป็นมนุษย์ ท้ายสุดเพื่อการนำมาซึ่งขวัญกำลังใจของพนักงานทุกระดับเพื่อสร้างสรรค์และผลิตคุณภาพงานหน้าจอให้แก่สังคมไทย

พนักงานไทยพีบีเอส ขอใช้พลังน้ำใจและอุดมการณ์ และเจตนารมณ์ที่ต้องการรักษาปกป้องสื่อสาธารณะแห่งนี้ เพื่อนำไปสู่การบูรณาการด้านโครงสร้างการบริหารจัดการทุกภาคส่วน ทุกระบบของสื่อสาธารณะแห่งนี้ จึงขอเรียกร้องให้เกิดความชอบธรรมในข้อปฏิบัติต่อไปนี้เป็นการเร่งด่วนที่สุด และทำการชี้แจงต่อพนักงานทุกภาคส่วนขององค์กรภายใน 3 วัน นับจากการยื่นคำร้องเรียน

1. ผู้บริหารที่เข้ามาด้วยความไม่ชอบธรรม และไม่ผ่านการประเมินที่ถูกต้อง ขาดความโปร่งใสด้วยระบบเครือข่ายดึงกันมาเพราะเป็นคนของตนเอง ซ้ำยังทิ้งผลงานแห่งการบริหารงานจัดการที่ล้มเหลวไว้ กระทำการซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าขาดความรู้ความสามารถในการบริหารจัดการองค์กรสื่อ ขอให้พิจารณาลาออกจากตำแหน่ง เพื่อรักษาภาพลักษณ์และอนาคตที่ดีขององค์กรสื่อสาธารณะ โดยขอให้มีการตรวจสอบผู้บริหารระดับผู้อำนวยการสำนักภายใต้รองผู้อำนวยการส.ส.ท. ด้านบริหาร ตลอดจนตำแหน่งผู้ชำนาญการ ตำแหน่งผู้จัดการที่เข้ามารับตำแหน่งนับตั้งแต่ปี 2554-ปัจจุบัน นับตั้งแต่กระบวนการสัมภาษณ์-คัดเลือก การประเมินผลเพื่อผ่านการบรรจุเป็นผอ.สำนัก/ผู้จัดการว่าถูกต้องตามหลักเกณฑ์และมีความโปร่งใสอย่างไร โดยเฉพาะข้อสงสัยที่เชื่อว่าผอ.สำนักกฎหมาย ผอ.การคลัง ผอ.สำนักบริหาร มีผลงานการบริหารที่ไม่มีความเป็นมืออาชีพ ทิ้งผลงานที่สร้างความปั่นป่วนเละเทะไว้ให้แก่องค์กรมากมาย พนักงานเชื่อว่ามีการหาช่องทางกฎหมายจากผิดให้เป็นถูกเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผลประโยชน์ทับซ้อน เพื่อนำพวกพ้องบรรจุเข้าสู่ตำแหน่งต่างๆในองค์กร งบการคลังปิดไม่ลงเป็นจำนวนเงินกว่าสิบล้านเฉพาะจากโครงการใช้งบประมาณโครงการหนึ่ง (ยังไม่รวมงบที่ปิดไม่ลงอื่นๆ) แต่กลับให้การแถลงเท็จต่อหน้ารัฐสภา การใช้จ่ายบานเบอะ ขาดความรู้ความเข้าใจด้านการบริหารจัดการด้านการคลังขององค์กรสื่อ เรื่องเน่าเฟะจะถูกโยนให้นักกฎหมายหัวอ่อนในสำนัก ฯ เพื่อจัดการดำเนินปัญหาต่างๆด้วยการหาช่องทางแบบผิดๆถูกๆ เพื่อขุดขุ้ยหาความผิดหรือบกพร่องให้ผู้อื่น แต่ท้ายสุดก็กำลังสะท้อนความแปดเปื้อนเข้าตัวเองกันอย่างจัด ฯลฯ

หากตรวจสอบประวัติจะพบว่าแต่ละท่านมิได้มีประสบการณ์ตรงและผ่านประสบการณ์งานบริหารอย่างมืออาชีพในองค์กรใหญ่มาก่อน และมีการเชื่อว่า “ล็อคสเป็ก” เกิดขึ้นจริงในองค์กรนี้ เป็นผลหายนะขององค์กรเพราะจะได้บุคลากรที่ไร้คุณภาพมาเป็นแกนนำองค์กรในส่วนต่างๆ โดยเฉพาะสำนักทรัพยากรบุคคล มีการรับพนักงานพวกพ้องมาจากหน่วยงานเดิมของผอ.สำนัก ฯ เข้าเป็นพนักงานในสำนักของตนเองอย่างขาดความชอบธรรม

2.ผู้บริหารที่พึงกระทำการข่มคู่คุกคามพนักงานทั้งด้วยวาจา และการกระทำใดใดที่เป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล และขวัญกำลังใจพนักงาน ใช้อำนาจในการกระทำใดใดให้ผิดเป็นถูก แม้ว่าไม่มีหลักฐานใดใดพิสูจน์ได้ เนื่องด้วยคุณธรรมธรรมภิบาลล้วนเป็นนามธรรม แต่จะเป็นกรรมเวรและเวรกรรมของท่านและตราบาปติดตัวติดใจของผู้กระทำไว้ จึงขอให้พิจารณาลาออกจากตำแหน่ง เพื่อรักษาภาพลักษณ์และอนาคตที่ดีกว่าขององค์กรสื่อสาธารณะ และเปิดพื้นที่ให้ผู้บริหารมืออาชีพเข้ามาพัฒนาองค์กรได้อย่างถูกทิศทาง

3.ขอให้เผยเปิดกระบอกเงินเดือน และการประเมินค่างานตามโครงสร้างค่างานที่ปรับใหม่ทั้งหมด เพื่อนำไปสู่การพิจารณาทบทวนรื้อฐานปรับปรุงเงินเดือนใหม่และการปรับโครงสร้างค่างานใหม่ทั้งหมด โดยความสามารถและประสบการณ์ของพนักงานนั้นๆอย่างถูกต้องเป็นธรรม เพื่อสร้างขวัญกำลังใจ โดยศึกษาจากคู่แข่งขันตลาดแรงงานในแต่ละสาขา และให้พิจารณาจากประสบการณ์ ความสามารถ และผลงานในสายวิชาชีพของพนักงานทุกชั้นทุกระดับอย่างเป็นธรรม และส่งเสริมกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ท่ามกลางการแข่งขันของตลาดแรงงาน 

4.ขอให้พิจารณาทบทวนปรับปรุงสวัสดิการการรักษาพยาบาลต่างๆ ตลอดจนอัตราค่าเบี้ยเลี้ยงทั้งการปฏิบัติหน้าที่ในประเทศและต่างประเทศ เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นเปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งค่าเบี้ยเสี่ยงภัย ค่าปฏิบัติงานล่วงเวลา ฯลฯ

5. ขอให้ผู้บริหารชุดใหม่ ตลอดจนผู้บริหารที่ดำรงตำแหน่งในส.ส.ท. จากทุกภาคส่วนตระหนักในความสำคัญของการพัฒนาสื่อสาธาณะเพื่อประชาชน ละเว้นการสืบทอดอำนาจเพื่อผลประโยชน์พวกพ้องของตนเองเหมือนเช่นตลอดสี่ปีที่ผ่านมา และให้สัตยาบรรณต่อพนักงานทุกชีวิตที่ร่วมใช้สิทธิในการตั้งกระทู้ต่อสังคมเพื่อนำไปสู่การตรวจสอบการบริหารงานทุกระบบ โดยเฉพาะการบริหารทรัพยากรบุคคล และการบริหารจัดการองค์กรทุกภาคส่วน เพื่อปกป้องไม่ให้เกิดอำนาจการคุกคามด้วยอคติทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อพนักงานผู้ใช้สิทธิและเสียงในการสะท้อนความเป็นจริงขององค์กรครั้งนี้บนเจตนารมณ์ในการปกป้องศักดิ์ศรีองค์กรสื่อสาธารณะเพื่อสาธารณะ

6. พนักงานที่ได้รับความไม่เป็นธรรมในเรื่องต่างๆที่ถูกละเลยจาการปฏิบัติหน้าที่ในการตรวจสอบ ให้ความเป็นธรรม ขอให้มีการนำกลับมาพิจารณาโดยเร่งด่วน โดยเฉพาะเพื่อนพนักงานที่ถูกลดตำแหน่งทั้งที่ไม่เคยกระทำความผิดทางวินัยใดใด หรือการถูกโอนย้ายไปในตำแหน่งต่างๆอย่างขาดความชอบธรรม

7. ขอให้มีการกำหนดกลไกใหม่ในการการประเมินผลงานของระดับผู้อำนวยการทุกๆสองปี เพื่อการบริหารสื่อสาธารณะอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อประโยชน์ของสังคม


ประกาศโดย
พนักงาน ส.ส.ท. ที่ต้องการสงวนรักษาสื่อสาธารณะให้เป็นสมบัติของประชาชนต่อไปอย่างยั่งยืน

 


หมายเหตุ 
ขณะนี้ได้รวบรวมรายชื่อพนักงานของ ส.ส.ท.ได้กว่า 200 คน เพื่อยื่นหนังสือดังกล่าวต่อผู้บริหาร ส.ส.ท.แล้ว

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

จดหมายเปิดผนึกพนักงาน TPBS เรียกร้องให้สรรหาผู้บริหารโปร่งใส ละเว้นการสืบทอดอำนาจพวกพ้อง

Posted: 18 Jul 2012 05:09 AM PDT

กลุ่มพนักงาน TPBS ร่อนจดหมายเปิดผนึกเรียกร้องความโปร่งใสของกระบวนการสรรหา ผอ. TPBS คนใหม่ พร้อมเรียกร้องให้ผู้บริหารใน TPBS ละเว้นการสืบทอดอำนาจเพื่อพวกพ้อง ปรับปรุงสวัสดิการพนักงานรวมถึงให้นำเรื่องที่พนักงานไม่ได้รับความเป็นธรรม ถูกลดตำแหน่ง โอนย้าย กลับมาพิจารณาโดยเร่งด่วน

วันนี้ (18 ก.ค.) มีพนักงานของสถานีโทรทัศน์ TPBS ใช้ชื่อกลุ่มว่า "พนักงาน ส.ส.ท. ที่ต้องการสงวนรักษาสื่อสาธารณะให้เป็นสมบัติของประชาชนต่อไปอย่างยั่งยืน" ได้เผยแพร่จดหมายเปิดผนึกถึงประชาไท โดยมีรายละเอียดของจดหมายเปิดผนึกดังนี้ (หมายเหตุ ตัวเน้นเป็นการเน้นในจดหมายเปิดผนึก)

 

000

จดหมายเปิดผนึก

ในนามของพนักงานและลูกจ้างองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย มีความตระหนักถึงพันธกิจที่มีค่าขององค์กรในฐานะสื่อสาธารณะของประชาชนที่มุ่งมั่นสร้างสรรค์สังคมคุณภาพและคุณธรรม  มีพันธกิจในการเผยแพร่ข่าวสาร ชี้นำปัญญา สนับสนุนส่งเสริมสังคมการมีส่วนร่วมตามครรลองประชาธิปไตย ตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2551 (มาตรา 7)

พนักงานไทยพีบีเอส ขอใช้พลังน้ำใจและอุดมการณ์ และเจตนารมณ์ที่ต้องการรักษาปกป้องสื่อสาธารณะแห่งนี้   เพื่อนำไปสู่การบูรณาการด้านโครงสร้างการบริหารจัดการทุกภาคส่วน ทุกระบบของสื่อสาธารณะ เพื่อทำให้สถาบันแห่งนี้ สร้างคุณค่าและความเชื่อมั่นให้เกิดกับสังคมโดยรวมของ   จึงขอเรียกร้องให้การตรวจสอบในประเด็นต่างๆ ตามเอกสารแนบ เพื่อนำไปสู่การบริหารงาน การบริหารคน และการบริหารการคลังความชอบธรรมในข้อปฏิบัติต่อไปนี้เป็นการเร่งด่วนที่สุด และทำการชี้แจงต่อพนักงานทุกภาคส่วนขององค์กรภายใน 3 วัน นับจากการยื่นคำร้องเรียน

1. ขอให้ผู้บริหาร ส.ส.ท.ทุกตำแหน่งมีความตระหนักยึดมั่นในการบริหารงานที่โปร่งใส มีคุณธรรม เพื่อเป้าหมายในการพัฒนาสื่อสาธารณะเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนโดยแท้จริง  ละเว้นการสืบทอดอำนาจเพื่อผลประโยชน์ของตนเองและพวกพ้อง  และให้สัตยาบรรณต่อพนักงานทุกชีวิตที่ร่วมใช้สิทธิ์ในตั้งกระทู้ต่อคณะกรรมการตรวจสอบร้องเรียนการร้องทุกข์ของพนักงาน  องค์กร/หน่วยงานอิสระภายนอก เพื่อปกป้องไม่ให้เกิดอำนาจคุกคามต่อพนักงานที่ดำเนินการเรื่องร้องเรียนด้วยการกระทำใดใดที่จะส่งผลกระทบต่อพนักงานทั้งทางตรงและทางอ้อม  เนื่องด้วยพนักงานใช้สิทธิขั้นพื้นฐานที่พึงมีในการแสดงออกซึ่งความคิดเห็นด้วยเจตนารมณ์ในการเรียกร้องให้เกิดการชี้แจงและตรวจสอบระบบบริหารงานในประเด็นต่างๆ

2.เรื่องการแต่งตั้งและคัดเลือกพนักงานระดับบริหาร ซึ่งต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นสำคัญ  ผู้บริหารและพนักงานระดับผู้บริหารต้องไม่มีผลประโยชน์ทั้งทางตรงและแอบแฝงตามข้อบังคับว่าด้วยจริยธรรมของกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน พ.ศ. 2551 ข้อ 4 (1) หลักผลประโยชน์สาธารณะ ข้อ 4 (5) หลักความโปร่งใส     หากตรวจสอบประวัติจะพบว่ามีบุคลากรหลายภาคส่วนมิได้มีประสบการณ์การบริหารอย่างมืออาชีพ และ/หรือมีประสบการณ์เฉพาะด้านมาก่อน ส่งผลเสียหายต่อองค์กรเพราะจะนำมาซึ่งบุคลากรที่ไม่มีศักยภาพและคุณภาพการทำงานการทำงานมาร่วมขับเคลื่อนองค์กรในส่วนต่างๆ 

ผู้บริหารที่เข้ามาด้วยความไม่ชอบธรรม และไม่ผ่านการประเมินที่ถูกต้อง ขาดความโปร่งใสด้วยระบบเครือข่ายดึงกันมาเพราะเป็นคนของตนเอง ซ้ำยังทิ้งผลงานแห่งการบริหารงานจัดการที่ล้มเหลวไว้   กระทำการซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าขาดความรู้ความสามารถในการบริหารจัดการองค์กรสื่อ  ขอให้พิจารณาลาออกจากตำแหน่ง เพื่อรักษาภาพลักษณ์และอนาคตที่ดีขององค์กรสื่อสาธารณะ  โดยขอให้มีการตรวจสอบผู้บริหารระดับผู้อำนวยการสำนัก ตลอดจนตำแหน่งผู้ชำนาญการ ตำแหน่งผู้จัดการที่เข้ามารับตำแหน่งนับตั้งแต่ปี 2554-ปัจจุบัน นับตั้งแต่กระบวนการสัมภาษณ์-คัดเลือก  การประเมินผลเพื่อผ่านการบรรจุเป็นผอ.สำนัก/ผู้จัดการว่าถูกต้องตามหลักเกณฑ์และมีความโปร่งใสอย่างไร   

ตามข้อบังคับว่าด้วยจริยธรรมของกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน พ.ศ. 2551 ตามข้อ 4 (5) หลักความโปร่งใส ผู้บริหารต้องแสดงให้เห็นและพร้อมชี้แจงความโปร่งใสในการกำหนดการปฏิบัติงานขององค์กร ในกรณีกระบอกเงินเดือนและการประเมินค่างานตามโครงสร้างใหม่  โดยขอให้พิจาณาตรวจสอบฐานเงินเดือนตามความสามารถและประสบการณ์ของพนักงานนั้นๆอย่างถูกต้องเป็นธรรม เพราะมิเช่นนั้นอาจก่อให้เกิดความสงสัยว่ามีเจตนาอันไม่สุจริต ตามข้อบังคับฯ ข้อ 4 (4)  ว่าด้วยหลักความสุจริต เนื่องด้วยเชื่อได้ว่ามีปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านกระบอกเงินเดือนของพนักงานในองค์กร

เพื่อนำไปสู่การพิจารณาทบทวนรื้อฐานปรับปรุงเงินเดือนใหม่และการปรับโครงสร้างค่างานใหม่ทั้งหมด โดยความสามารถและประสบการณ์ของพนักงานนั้นๆอย่างถูกต้องเป็นธรรม เพื่อสร้างขวัญกำลังใจ โดยศึกษาจากคู่แข่งขันตลาดแรงงานในแต่ละสาขา  และให้พิจารณาจากประสบการณ์ ความสามารถ และผลงานในสายวิชาชีพของพนักงานทุกชั้นทุกระดับอย่างเป็นธรรม  และส่งเสริมกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ท่ามกลางการแข่งขันของตลาดแรงงาน  

3.ขอให้พิจารณาทบทวนปรับปรุงสวัสดิการการรักษาพยาบาลต่างๆ   ตลอดจนอัตราค่าเบี้ยเลี้ยงทั้งการปฏิบัติหน้าที่ในประเทศและต่างประเทศ    เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นเปลี่ยนแปลงไป  รวมทั้งค่าเบี้ยเสี่ยงภัย  ค่าปฏิบัติงานล่วงเวลา ฯลฯ

4.พนักงานที่ได้รับความไม่เป็นธรรมในเรื่องต่างๆที่ถูกละเลยจากการปฏิบัติหน้าที่ในการตรวจสอบ ให้ความเป็นธรรม  ขอให้มีการนำกลับมาพิจารณาโดยเร่งด่วน โดยเฉพาะเพื่อนพนักงานที่ถูกลดตำแหน่งทั้งที่ไม่เคยกระทำความผิดทางวินัยใดใด  หรือการถูกโอนย้ายไปในตำแหน่งต่างๆอย่างขาดความชอบธรรม

5. ผู้บริหารที่พึงกระทำการข่มขู่พนักงานทั้งด้วยวาจา หรือการกระทำใดใดที่เป็นการละเมิดสิทธิ์ส่วนบุคคล และขวัญกำลังใจพนักงาน ซึ่งอาจละเมิดสิทธิมนุษยชนตามข้อบังคับว่าด้วยจริยธรรมของกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน ตามข้อ 4 (3) และข้อปฏิบัติของกรรมการและผู้บริหารองค์กรต้องมีข้อประพฤติปฏิบัติ ตาม (9) (11)   เนื่องด้วยคุณธรรมธรรมภิบาลล้วนเป็นนามธรรม แต่จะเป็นกรรมเวรและเวรกรรมของท่านและตราบาปติดตัวติดใจของผู้กระทำไว้  จึงขอให้พิจารณาลาออกจากตำแหน่ง เพื่อรักษาภาพลักษณ์และอนาคตที่ดีกว่าขององค์กรสื่อสาธารณะ และเปิดพื้นที่ให้ผู้บริหารมืออาชีพเข้ามาพัฒนาองค์กรได้อย่างถูกทิศทาง

6. ขอให้มีการกำหนดกลไกใหม่ในการประเมินผลงานของระดับผู้อำนวยการทุกๆสองปี เพื่อการบริหารสื่อสาธารณะอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อประโยชน์ของสังคม 

 

ประกาศโดยพนักงาน ส.ส.ท. ที่ต้องการสงวน
รักษาสื่อสาธารณะให้เป็นสมบัติของประชาชนต่อไปอย่างยั่งยืน

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไทยขื่นขัน อันหาที่สิ้นสุดมิได้ "ไวอะก้า"

Posted: 18 Jul 2012 03:39 AM PDT

ไทยขื่นขัน อันหาที่สิ้นสุดมิได้ "ไวอะก้า"

กรรมการสิทธิฯ ติง กฟผ.ให้ข้อมูลบกพร่อง สผ.ชี้ ‘แรมซาร์ไซต์’ ห้ามโรงไฟฟ้าถ่านหิน

Posted: 18 Jul 2012 03:18 AM PDT

กรรมการสิทธิฯ ลงตรัง จัดประชุมรับฟังการชี้แจงข้อเท็จจริงโรงไฟฟ้าถ่านหิน แนะบอกทั้งข้อดีข้อเสีย สผ.ชี้โรงไฟฟ้าถ่านหินตรังไม่ควรตั้งพื้นที่แรมซาร์ไซต์ ย้ำศึกษาให้ดี ผู้ช่วย กฟผ.ลั่นไม่สร้างหากอยู่ในแรมซาร์ไซต์

 
 
 
เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 17 กรกฎาคม 2555 ที่ห้องประชุม 131 อาคารอำนวยการ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีตรัง อำเภอเมือง จังหวัดตรัง นายแพทย์นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ ประธานอนุกรรมการด้านสิทธิชุมชนและฐานทรัพยากร ในกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) และคณะอนุกรรมการฯ จัดประชุมรับฟังการชี้แจงข้อเท็จจริงด้วยวาจาโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินจังหวัดตรัง ขนาด 800 เมกะวัตต์ ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)
 
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอกันตัง นายอำเภอกันตัง ปลัดจังหวัดตรัง พลังงานจังหวัดตรัง เจ้าหน้าที่ของ กฟผ. ตัวแทนสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ทรัพยากรและธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดตรัง โดยมีชาวบ้านอำเภอกันตัง และอำเภออื่นๆ ในจังหวัดตรัง องค์กรพัฒนาเอกชน (NGOs) ร่วมรับฟังประมาณ 200 คน
 
นายชวการ โชคดำลีลา วิศวกร 9 กฟผ.หัวหน้าศูนย์พลังงานไฟฟ้าจังหวัดตรัง ชี้แจงว่า โครงการไฟฟ้าถ่านหินจังหวัดตรัง ขนาด 800 เมกะวัตต์ ซึ่งใช้ถ่านหินซับบิทูมินัส ขณะนี้อยู่ระหว่างศึกษาศักยภาพและความเป็นไปได้ของพื้นที่ และให้ข้อมูลรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้น หลังจากนี้จะเปิดให้ศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (IEE) โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยใช้ระยะเวลาดำเนินการ 8 เดือน จากนั้นให้ประชาชนเสนอพื้นที่พร้อมกับร่วมศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) ใช้ระยะเวลา 12 เดือน
 
การดำเนินการเสนอพื้นที่เพื่อจัดซื้อที่ดิน ไปพร้อมๆ กับศึกษา EHIA ใช้ระยะเวลา 6-12 เดือน จากนั้นดำเนินขั้นตอนขออนุมัติโครงการ 1 ปี และดำเนินการก่อสร้าง 5 ปี โดยได้คัดเลือก 3 พื้นที่ ในอำเภอกันตัง คือตำบลบางสัก ตำบลนาเกลือ และตำบลวังวน เนื่องจากเป็นพื้นที่ติดทะเลในการขนถ่านถ่านหินจากอินโดนีเซีย
 
นายมนภัทร วังศานุวัตร ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดตรัง ชี้แจงว่า จังหวัดตรังมีพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ (แรมซาร์ไซต์) คือ พื้นที่ชุ่มน้ำอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม - เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง - ปากน้ำตรัง จังหวัดตรัง มีพื้นที่ประมาณ 515,745 ไร่ มีพะยูนฝูงใหญ่ 150 ตัว ปลาโลมา เต่า หญ้าทะเล และยังเป็นแหล่งทรัพยากรทางทะเลที่อุดมสมบูรณ์ ทั้งยังมีแหล่งท่องเที่ยวดึงรายได้เข้าสู่จังหวัด
 
ส่วนนางปิยนันท์ โศภนคณาภรณ์ ผู้อำนวยการสำนักวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (สผ.) ชี้แจงว่า หากพื้นที่มีศักยภาพสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินทั้ง 3 แห่ง เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ (แรมซาร์ไซต์) คงจะเข้าไปใช้ประโยชน์ไม่ได้ ต้องพิจารณาในการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในพื้นที่แรมซาร์ไซต์
 
 
ด้านนายสมชาติ ศรีปรัชญากุล  ผู้ช่วยผู้อำนวยการก่อสร้างโรงไฟฟ้า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่ง ประเทศไทย (กฟผ.). กล่าวว่า หากเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ (แรมซาร์ไซต์) กฟผ.จะไม่ดำเนินการสร้าง ตอนนี้ยังไม่ได้เลือกพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง กฟผ.จะจัดซื้อที่ดินสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเมื่อรัฐบาลอนุมัติเท่านั้น
 
นายวุฒิชัย หวังบริสุทธิ์ ผู้ประสานงานเครือข่ายรักษ์บ้านเกิดวังวน ตำบลกันตัง กล่าวว่า แม้ กฟผ.ยังไม่ดำเนินการซื้อที่ดินเพื่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน แต่มีนายหน้ากำลังวิ่งเต้นเจรจาขอซื้อต่อรอราคาที่ดินกันอย่างกว้างขวางในพื้นที่ อีกทั้งพื้นที่ทั้ง 3 แห่งอยู่ในพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ (แรมซาร์ไซต์)
 
“กฟผ.เข้ามาเคลื่อนตั้งแต่ปลายปี 2553 จนเรามารู้เมื่อกลางปี 2554 โดยมุ่งเป้าหมายเข้าหาผู้นำ มีการล่ารายชื่อบอกว่าสร้างโรงไฟฟ้าแล้วจะได้ใช้ไฟฟรี ชาวบ้านก็นึกว่าเป็นแค่สถานีพักไฟ เพิ่งมาทราบเอาตอนหลังว่าจะสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน” นายวุฒิชัย กล่าว
 
นางสาวศยามล ไกรยูรวงศ์ ผู้อำนวยการโครงการเสริมสร้างจิตสำนึกนิเวศวิทยา (สจน.)  กล่าวว่า บทบาทของ กฟผ.กับหลักการธรรมาภิบาล ไม่ให้มีส่วนร่วมและการนำเสนอข้อมูลอย่างรอบด้าน กฟผ.ไม่ได้นำเสนอข้อมูลอย่างที่เราต้องการโดยพูดแต่ข้อดี ไม่พูดเรื่องผลกระทบ ขณะที่มองเอ็นจีโอว่าเอาแต่ค้าน ความจริงเรามีหน้าที่หาข้อมูลให้ชาวบ้านเรียนรู้ในภาพรวม ไม่ใช่แค่โรงไฟฟ้าถ่านหินตรัง แต่ให้ข้อมูลกับชาวบ้านถึงแผนพัฒนาภาคใต้ในภาพรวมด้วย
 
ด้านนายแพทย์นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ ประธานอนุกรรมการด้านสิทธิชุมชนและฐานทรัพยากรฯ สรุปว่า กฟผ.มีปัญหาในการให้ข้อมูลและรับฟังความคิดเห็น ไม่ใช่ให้ข้อมูลแต่ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำท้องที่ แต่ไม่ให้ข้อมูลชาวบ้าน แสดงว่าบริหารจัดการไม่ถูกต้อง ข้อมูลที่สะท้อนออกมาต้องมีทั้งข้อดีและข้อเสีย เมื่อมีปัญหาแล้วจะแก้ไขยังไง
 
“การมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นไม่ใช่นำคนที่เห็นด้วยร่วมเวที โครงการของหน่วยงานอื่นบางพื้นที่ให้คนเซ็นต์ชื่อแล้วอ้างว่าเห็นด้วย นายอำเภอ นายก อบต.ก็สามารถมีส่วนร่วมได้โดยจัดเวทีเป็นกลางเพื่อให้ความรู้ว่าดีหรือไม่ดีอย่างไร ถ้าขืนเดินหน้าทำ EHIA ทั้งที่ยังมีความขัดแย้งมันจะเป็นระเบิดลูกใหญ่ของชุมชน” นายแพทย์นิรันดร์ กล่าวสรุป
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ชาวบ้านมึน! ปลัดจังหวัดยันสั่งหยุดฟันยางในพื้นที่โฉนดชุมชน แต่อุทยานฯ เตรียมเดินหน้า

Posted: 18 Jul 2012 03:00 AM PDT

เครือปฏิรูปที่ดินฯ ตรัง พบปลัดจังหวัดตรัง พร้อมยื่นหนังสือจี้พ่อเมืองสั่งหยุดฟันต้นยางชาวบ้านในพื้นที่โฉนดชุมชน เผยป่าไม้เตรียมฟันอีก 5 แปลง ปลัดจังหวัดยันส่งหนังสือสั่งป่าไม้ให้หยุดแล้ว

 
 
วันที่ 17 ก.ค.55 เมื่อเวลาประมาณ 13.00 น. ที่ศาลากลางจังหวัดตรัง เครือข่ายปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัด สมาชิกเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย (คปท.) กว่า 40 คน ได้เข้าพบ นายอมรเศรษฐ์ สุวรรณมาศ ปลัดจังหวัดตรัง เพื่อติดตามการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของสมาชิกเครือข่ายฯ กรณีความขัดแย้งที่ดินในเขตป่า โดยมี นายเปลื้อง รัตนฉวี ตัวแทนสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดตรัง นายชวกิจจ์ สุวรรณคีรี ป้องกันจังหวัดตรัง และนายอิศราพันธ์ บุญมาศ หัวหน้าเขตอุทยานแห่งชาติเขาปู่-เขาย่า เข้าร่วมประชุมด้วย
 
พร้อมกันนี้ทางเครือข่ายได้ยื่นหนังสือ 2 ฉบับ ต่อ นายธีระยุทธ เอี่ยมตระกูล ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง และอธิบดีอัยการเขต 9 โดยยื่นผ่านปลัดจังหวัดตรัง ทั้งนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง ปลัดจังหวัดตรัง ป้องกันจังหวัดตรัง และหัวหน้าเขตอุทยานแห่งชาติเขาปู่-เขาย่า เพิ่งเข้ามารับตำแหน่งใหม่ ประมาณ 1-3 เดือน
 
ก่อนหน้านี้เครือข่ายฯ ได้ยื่นข้อเรียกร้องต่อ นายเสนีย์ จิตตเกษม อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดตรังไปแล้ว 2 ครั้ง เมื่อวันที่ 3 เม.ย.55 และ 11 เม.ย.55
 
 
“ปลัดจังหวัดตรัง” ยันให้อุทยานฯ-เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฯ ชะลอการรื้อถอนแล้ว
 
นายอมรเศรษฐ์ กล่าวว่า ชาวบ้านกับเจ้าหน้าที่ป่าไม้ยังมีมุมมองคนละทิศทาง จึงน่าจะมีการพูดคุยกันบ่อยๆ เพื่อให้เข้าใจ และแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง อย่างไรก็ตาม หลังจากได้รับการประสานงานจากนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ให้มีมาตรการชั่วคราวเพื่อดูแลรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน รวมทั้งให้ชะลอการรื้อถอนผลอาสินแก่สมาชิกเครือข่ายปฏิรูปที่ดินฯ ทางจังหวัดตรังได้ทำหนังสือถึงผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดตรัง นายอำเภอทุกอำเภอ หัวหน้าเขตอุทยานแห่งชาติเขาปู่-เขาย่า และหัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเทือกเขาบรรทัด ให้ดำเนินการดังกล่าวแล้ว
 
ส่วนประเด็นการเข้าพบของเครือข่ายฯ ในครั้งนี้จะนำเรียน ผวจ.ตรัง ต่อไป โดยมอบหมายให้ ป้องกันจังหวัดตรัง ลงพื้นที่ไปตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติม ในวันที่ 18 ก.ค.55
 
 
ชาวบ้านเผยป่าไม้เตรียมฟันอีก 5 แปลง
 
ด้านนายสมนึก พุฒนวล คณะทำงานเครือข่ายปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัด กล่าวว่า วันนี้มาติดตามการแก้ไขปัญหาของทางจังหวัดตรัง ซึ่งยังไม่เกิดผลในทางปฏิบัติ และเกิดปัญหาใหม่ๆ ตามมา โดยเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติเขาปู่-เขาย่า และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเทือกเขาบรรทัด มีการเตรียมการรื้อถอนต้นยางพาราในพื้นที่สมาชิกเครือข่าย อย่างน้อย 5 ราย
 
“ปลัดจังหวัดตรังยืนยันในที่ประชุมว่า ทางจังหวัดตรังได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาแล้ว โดยส่งหนังสือถึงส่วนราชการต่างๆ รวมทั้งหน่วยงานป่าไม้ ตั้งแต่เดือนที่ผ่านมา แต่เจ้าหน้าที่ป่าไม้ มาบอกกับผมหลังการประชุมว่า เพิ่งได้รับหนังสือวันนี้เอง จึงสงสัยว่ามีคนไม่พูดความจริง” คณะทำงานเครือข่ายปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัด กล่าว
 
นายสมนึกกล่าวกล่าวด้วยว่า หัวหน้าเขตอุทยานฯ ได้ยืนยันในที่ประชุมว่าจะตัดฟันต้นยางพาราในพื้นที่โฉนดชุมชนของสมาชิกเครือข่ายไม่ต่ำกว่า 5 แปลง โดยไม่ต้องมีการฉีดสีต้นยางพาราก่อนการรื้อถอน ทางเครือข่ายจึงขอให้ทางจังหวัดแจ้งผลการดำเนินการต่อเครือข่ายอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร โดยจะติดตามผลการแก้ไขปัญหาอีกครั้งในสัปดาห์หน้า และเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่ทำบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรว่าทำไมจึงไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของรองนายกรัฐมนตรี และผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง
 
 
ร้องอัยการชะลอการดำเนินคดี สมาชิกพื้นที่นำร่องโฉนดชุมชน
 
นายสมนึก ให้ข้อมูลด้วยว่า ในวันนี้ได้ยื่นหนังสือถึงอธิบดีอัยการเขต 9 ผ่านปลัดจังหวัดด้วย โดยขอให้ทางอัยการเขต 9 พิจารณาชะลอการดำเนินคดี และมีคำสั่งไม่ฟ้อง นายอัมมร บรรถะ สมาชิกพื้นที่นำร่องโฉนดชุมชนบ้านตระ ทั้งนี้ เนื่องจากทางอัยการสูงสุดได้มีหนังสือชะลอการดำเนินคดีสมาชิกเครือข่ายปฏิรูปที่ดินฯ ในระหว่างที่กำลังดำเนินการจัดทำโฉนดชุมชนตามนโยบายของรัฐบาล ซึ่งนายอัมมรจะได้รับการชะลอการดำเนินคดีจากอัยการจังหวัดตรัง ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง
 
อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 4 ก.ค.ที่ผ่านมา นายอัมมรได้รับหนังสือจากสำนักงานอัยการจังหวัดตรัง ให้มารายงานตัวต่อพนักงานอัยการจังหวัดตรัง ภายในวันที่ 20 ก.ค.55 โดยระบุว่าไม่ปรากฏผลคืบหน้าในการดำเนินการโฉนดชุมชน จึงยื่นหนังสือเพื่อรายงานความคืบหน้าในการดำเนินการโฉนดชุมชน
 
 
จี้พ่อเมืองสั่งหยุดฟันต้นยางชาวบ้านในพื้นที่โฉนดชุมชน
 
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเนื้อหาในหนังสือฉบับที่เครือข่ายยื่นต่อผู้ว่าราชการจังหวัดตรังระบุว่า ก่อนหน้านี้เครือข่ายปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัด ได้ขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดตรังดำเนินการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของสมาชิกเครือข่าย 3 พื้นที่ ได้แก่ พื้นที่นำร่องโฉนดชุมชนบ้านทับเขือ-ปลักหมู พื้นที่โฉนดชุมชนบ้านหาดสูง และพื้นที่นำร่องโฉนดชุมชนบ้านตระ ซึ่งถูกเจ้าหน้าที่ป่าไม้รื้อถอนสวนยางพารา และสะพาน รวมทั้งจับกุมชาวบ้านขณะนำหมากแห้งจากสวนออกไปขาย
 
พร้อมทั้งขอให้ ผวจ.ตรัง ประสานงานหน่วยงานป่าไม้ และหน่วยงานอื่นภายใต้การบริหารงานของจังหวัดตรัง ให้มีการปราบปรามผู้บุกรุกป่าตัวจริง และยุติการกลั่นแกล้ง ข่มขู่คุกคาม ทำลายอาสิน ดำเนินคดีกับสมาชิกเครือข่าย ตลอดจนแจ้งผลการดำเนินการให้เครือข่ายทราบอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
 
อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันเจ้าหน้าที่ป่าไม้ยังคงข่มขู่ คุกคามสมาชิกเครือข่าย โดยการพ่นสีต้นยางพารา เพื่อเตรียมการรื้อถอน จำนวน 5 ราย ได้แก่ 1.นายคล้าว-นางเดียม อยู่ทอง 2.นายประพันธ์ จันทร์ขาว อยู่ในพื้นที่นำร่องโฉนดชุมชนบ้านไร่เหนือ ต.ในเตา อ.ห้วยยอด จ.ตรัง โดยพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ที่คณะกรรมการประสานงานเพื่อจัดให้มีโฉนดชุมชน (ปจช.) เห็นชอบให้ดำเนินการโฉนดชุมชน 3.นายสุทัศน์ ศรีดี อยู่ในพื้นที่โฉนดชุมชนบ้านเขาโหรง ต.น้ำผุด อ.เมือง จ.ตรัง 4.นางอุทัย ชูทิ่ง อยู่ในพื้นที่โฉนดชุมชนบ้านยูงงาม-ลำพิกุล ต.นาชุมเห็ด อ.ย่านตาขาว จ.ตรัง และ 5.นายชิต มีสุข อยู่ในพื้นที่โฉนดชุมชนบ้านยูงงาม-ลำพิกุล ต.โพรงจระเข้ อ.ย่านตาขาว จ.ตรั'
 
เนื้อหาในหนังสือระบุอีกว่า เพื่อให้สอดคล้องกับแนวนโยบายจังหวัดตรัง เมืองแห่งความสุข เครือข่ายปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัด จึงขอให้ ผวจ.ตรัง โปรดพิจารณาดำเนินการ ดังนี้ 
 
1. ขอให้มีคำสั่งชะลอการรื้อถอนอาสิน นายคล้าว-นางเดียม อยู่ทอง นายประพันธ์ จันทร์ขาว นายสุทัศน์ ศรีดี นางอุทัย ชูทิ่ง และนายชิต มีสุข 
 
2. ขอให้เร่งดำเนินการประสานงานให้มีมาตรการในการดูแลรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินให้แก่ราษฎร และชะลอการดำเนินการใดๆ ที่จะก่อให้เกิดความขัดแย้งในระดับพื้นที่ เพื่อให้ราษฎรสามารถดำเนินวิถีชีวิตตามปกติสุข
 
3. ขอให้แจ้งผลการดำเนินการให้เครือข่ายปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัด ทราบอย่างเป็นลายลักษณ์อักษ
 
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ตั้งแต่ต้นเดือน เม.ย.55 เครือข่ายปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัด ได้มีการเคลื่อนไหวอย่างเข้มข้นและต่อเนื่อง ทั้งการเจรจากับจังหวัดตรังและรัฐบาล การร้องเรียนองค์กรอิสระ องค์กรสิทธิมนุษยชนของรัฐ และการรณรงค์สื่อสารกับสังคม สืบเนื่องจากเจ้าหน้าที่ป่าไม้หันกลับมาใช้ความรุนแรงต่อชาวบ้านในพื้นที่โฉนดชุมชน ทั้งนี้ แม้รัฐบาลดำเนินนโยบายโฉนดชุมชน โดยมีการออกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจัดให้มีโฉนดชุมชน ฉบับที่ 2 แต่ไม่มีแนวปฏิบัติที่ชัดเจน และไม่มีการมอบนโยบายต่อส่วนราชการให้ชัดเจน
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ดันตั้งศูนย์คุมเดินรถโดยสาร 24 ชั่วโมง ลดอุบัติเหตุ

Posted: 18 Jul 2012 02:20 AM PDT

วันนี้ (18 กรกฎาคม 2555) เวลา 10.00 น. ที่กระทรวงคมนาคม ถนนราชดำเนิน มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เครือข่ายผู้บริโภคภาคประชาชนจำนวน 72 จังหวัด รวมถึงเครือข่ายนักวิชาการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคอันประกอบด้วย นักวิชาการจากศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.) คณะทำงานสนับสนุนการป้องกันอุบัติเหตุจราจรระดับจังหวัด (สอจร.) สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) และศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) เข้ายื่นหนังสือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ขอให้จัดตั้ง“ศูนย์ควบคุมการเดินรถโดยสารสาธารณะประจำทางตลอด 24 ชั่วโมง” และให้มีการติดตั้งระบบจีพีเอสและกล่องเก็บข้อมูลในรถโดยสารสาธารณะประจำทาง เพื่อลดปัญหาอุบัติเหตุรถโดยสารสาธารณะ

จากอุบัติเหตุรถโดยสารสาธารณะประจำทางที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วง 1-2 ปี ที่ผ่านมาจนมีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บเป็นจำนวนมากทั้งที่เป็นผู้โดยสารชาวไทยและนักท่องเที่ยวต่างชาติ ส่งผลต่อความเชื่อมั่นในการใช้บริการรถโดยสารสาธารณะประจำทางของประชาชนโดยทั่วไป รวมถึงส่งผลเสียหายต่อภาพลักษณ์ของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและชื่อเสียงของประเทศ รวมทั้งเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม

นายแพทย์ธนะพงษ์ จินวงศ์ ผู้จัดการศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.) เปิดเผยว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายขนส่ง มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดมาตรการเกี่ยวกับความปลอดภัยและความสะดวกในการขนส่งทางบกซึ่งรวมถึงรถโดยสารสาธารณะประจำทาง ต้องทำหน้าที่กำหนดนโยบายและกำกับดูแลด้านความปลอดภัยอย่างใกล้ชิด โดยให้มีการพัฒนาและจัดตั้ง “ศูนย์ควบคุมการเดินรถโดยสารสาธารณะประจำทางตลอด 24 ชั่วโมง” ขึ้นเพราะเป็นการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมที่สุด

“ข้อมูลจากบริษัทขนส่ง หรือ บขส. 5 ปีย้อนหลัง คือตั้งแต่ปี 2545 ถึงปี 2549 พบว่า รถ บขส.เกิดอุบัติเหตุเฉลี่ย 325 ครั้งต่อปี หรือเกือบวันละครั้ง มีผู้เสียชีวิตเฉลี่ย 4 รายต่อเดือน ส่วนรถร่วมบริการเกิดขึ้น 10 รายต่อเดือน จากมติคณะรัฐมนตรี 28 ธันวาคม 2553 ได้มอบหมายให้กระทรวงคมนาคมดำเนินการศึกษาแนวทางและมาตรการ ในการนำเทคโนโลยีระบบ GPS มาใช้ติดตั้งกับรถสาธารณะ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมการเดินรถ รวมทั้งเป็นการตรวจสอบและยกระดับความปลอดภัยทางถนน แต่ถึงแม้จะมีมติ ครม. ให้เร่งดำเนินการเรื่องการนำ GPS มาใช้ และที่ประชุมของกระทรวงคมนาคมจะระบุว่าเป็นระบบที่เหมาะสม แต่ผ่านมาปีกว่า ก็ยังคงไม่มีรูปธรรมในการดำเนินงาน โดยเฉพาะกับ “รถ บขส.” ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักที่ต้องเป็นแบบอย่างในเรื่อง “มาตรฐานความปลอดภัย” ยังคงเกิดอุบัติเหตุซ้ำซาก สร้างความสูญเสียเป็นอย่างมาก ในส่วนของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกก็ควรจะให้ความสำคัญกับนโยบายการสร้างความปลอดภัยสำหรับผู้โดยสาร ไม่ใช่พิจารณาแค่เรื่องการปรับขึ้นค่าโดยสารเท่านั้น”

ดร.สุเมธ องกิตติ กุล นักวิชาการจากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ระบุว่า ศูนย์ควบคุมการเดินรถ เริ่มแรกควรอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ บขส. มีหน้าที่ควบคุมการเดินรถทั้งของ บขส. และผู้ประกอบการรถร่วมอย่างใกล้ชิดตลอดระยะเวลาที่รถโดยสารสาธารณะประจำทาง แล่นรับส่งผู้โดยสาร รวมทั้งให้มีการติดตั้งอุปกรณ์ติดตามการเดินรถหรือจีพีเอส และกล่องบันทึกข้อมูลการเดินรถในเส้นทางรถโดยสารระหว่างประเทศ เส้นทางรถโดยสารประจำทางกรุงเทพฯไปยังส่วนภูมิภาค (หมวด 2) และเส้นทางรถโดยสารประจำทางระหว่างจังหวัดในส่วนภูมิภาค (หมวด 3) ซึ่ง เป็นเส้นทางระยะไกลเป็นสำคัญ และเพื่อมิให้ผู้ประกอบการรถโดยสารสาธารณะประจำทางต้องแบกรับภาระในการ ดำเนินการดังกล่าว จึงขอให้รัฐบาลมีมาตรการสนับสนุนทั้งมาตรการด้านการเงิน และมาตรการด้านภาษีด้วย

นายรักษิต ฐิติพัฒนพงษ์ วิศวกรจากศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) และกรรมการสมาคมวิศวกรรมยานยนต์ไทย(TSAE) กล่าวว่าระบบ GPS มีความเหมาะสมในการใช้ติดตั้งกับรถสาธารณะ เนื่องจากสามารถส่งข้อมูลในลักษณะ Real time โดยแสดงข้อมูลได้ทั้งตำแหน่งของรถและรายละเอียดการเดินรถ ผู้ประกอบการขนส่ง สามารถติดตามตรวจสอบเส้นทางการเดินรถ พฤติกรรมผู้ขับรถ การควบคุมความเร็วในการเดินรถ รวมทั้งการควบคุมค่าใช้จ่ายในด้านต่าง ๆ ได้ดีขึ้น เช่น ค่าเชื้อเพลิงและค่าซ่อมบำรุงรักษารถ ส่วนภาครัฐได้ประโยชน์อย่างมากในการติดตามและควบคุมการเดินรถให้ปลอดภัยและถูกกฎหมายมากขึ้น ด้านประชาชนผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจต่อบริการมากขึ้น

นางสาวสวนีย์ ฉ่ำ เฉลียว ผู้ประสานงานโครงการการมีส่วนร่วมของเครือข่ายผู้บริโภคเพื่อรถโดยสาร ปลอดภัย มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เปิดเผยว่า รถโดยสารสาธารณะประจำทางขนาดใหญ่และรถตู้โดยสารประจำทาง นับเป็นบริการสาธารณะสำคัญที่ประชาชนและนักท่องเที่ยวใช้เดินทางในเส้นทาง ระหว่างกรุงเทพมหานครไปยังส่วนภูมิภาค และใช้เดินทางระหว่างจังหวัดในส่วนภูมิภาค ซึ่งปัจจุบันมีผู้โดยสารใช้บริการกับบริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) เฉลี่ย 11-12 ล้านคนต่อปี และหากรวมกับผู้โดยสารที่ใช้บริการกับผู้ประกอบการรถร่วมที่มีจำนวนรถมากกว่ารถของ บขส.ถึง 10 เท่าตัว จึงคาดว่าน่าจะมีผู้ใช้บริการรถโดยสารรวมกันแล้วไม่น้อยกว่า 100 ล้านคนต่อปี ดังนั้น การที่รัฐบาลสนับสนุนให้รัฐบาลมีมาตรการในการจัดตั้งศูนย์ควบคุมการเดินรถตลอด 24 ชั่วโมง และให้มีการติดตั้งระบบจีพีเอสรวมทั้งกล่องบันทึกข้อมูลในรถโดยสารสาธารณะประจำทางเพื่อให้การกำกับดูแลการเดินรถมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จึงเป็นเรื่องที่มีความคุ้มค่าและสมควรเร่งดำเนินการเป็นอย่างยิ่ง

“มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และเครือข่ายเห็นว่าการหาทางป้องกันเฝ้าระวังเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็น มากกว่าการมาชดเชยเยียวยากันหลังเกิดเหตุแล้ว เพราะบางครั้งความสูญเสียของผู้ประสบภัยไม่สามารถคำนวณมาเป็นตัวเลขความเสียหายได้ โดยเฉพาะผู้โดยสารที่ตัดสินใจเสียเงินใช้บริการระบบขนส่งสาธารณะแล้ว ก็ต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่ ทั้งด้านบริการ และความปลอดภัยควบคู่กันไป ผู้ให้บริการไม่ใช่แค่มีหน้าที่เร่งขับรถไปให้ถึงจุดหมายปลายทางอย่างรวด เร็วเพียงอย่างเดียวโดยไม่คำนึงถึงชีวิตผู้ที่โดยสารมาด้วย ” นางสาวสวนีย์กล่าว

นายชินวัฒน์ หาบุญพาด ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมได้ออกมารับหนังสือข้อเสนอดังกล่าวและยืนยันกับ ว่าทางกระทรวงคมนาคมไม่ได้เพิกเฉยต่อปัญหาอุบัติเหตุรถโดยสารสาธารณะ โดยเฉพาะรถโดยสารประจำทางจากกรุงเทพไปต่างจังหวัด ล่าสุดมีการประชุมปรึกษาหารือในคณะกรรมการนโยบายขนส่งเรื่องศูนย์ควบคุมการเดินรถแบบตลอด 24 ชั่วโมงโดยการใช้ GPS ไป แล้ว รวมทั้งวางโครงสร้างของระบบ โดยเชื่อมกับกรมการขนส่งทางบก เพราะเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับเรื่องนี้โดยตรง พร้อมกันนี้ยังรับปากว่าจะนำข้อเสนอที่รับไปในวันนี้เสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมในฐานะประธานกรรมการนโยบายขนส่งทางบกอย่างเร่งด่วน

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

บ้านเมืองไม่ใช่ของเรา : วิพากษ์วิธีกับขบวนการเสื้อแดงจากใจ อึ๊งภากรณ์

Posted: 18 Jul 2012 02:15 AM PDT

บ้านเมืองไม่ใช่ของเรา เทปนี้คุยกับใจ อึ๊งภากรณ์ ถึงประเทศเยอรมัน ถึงเรื่องมุมมองต่อขบวนการประชาธิปไตยของประชาชนอิยิปต์เปรียบเทียบกับการเคลื่อนไหวคนเสื้อแดงในเมืองไทย และความแตกต่างของการขยายพื้นที่ประชาธิปไตยในสังคมที่ไม่มีขบวนการแรงงานเข้าร่วมอย่างประเทศไทย ต่างกับประเทศอื่นๆ อย่างอิยิปต์หรือแม้แต่ในกรีซอย่างไร

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

มาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันน้ำท่วมของญี่ปุ่น

Posted: 18 Jul 2012 01:55 AM PDT

1 บทนำ
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 12 กรกฎาคม 2555 ที่ผ่านนี้ มาประเทศญี่ปุ่นได้ประสบปัญหาอุทกภัยอันเกิดจากฝนที่ตกอย่างหนัก (Torrential Rainfall) จนทำให้เกิดภาวะน้ำท่วมเฉียบพลัน (Flash Flood) [1]บริเวณเกาะคิวชู (Kyushu) ของจังหวัดฟุกุโอะกะ (Fukuoka) จังหวัดโออิตะ (Oita) และจังหวัดคุมาโมโตะ (Kumamoto) ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศญี่ปุ่น โดยภัยธรรมชาติในครั้งนี้ได้คร่าชีวิตชาวญี่ปุ่นกว่ายี่สิบคนและประชาชนต้องอพยพจากครัวเรือนเร่งด่วนกว่าสองแสนห้าหมื่นคน[2] 

สำหรับเหตุการณ์น้ำท่วมของญี่ปุ่นในครั้งนี้มิใช่ครั้งแรกที่ประเทศญี่ปุ่นได้เผชิญ หากแต่ประเทศญี่ปุ่นได้ประสบกับปัญหาน้ำท่วมมาเป็นเวลาช้านาน ด้วยสาเหตุมาจากสภาพภูมิประเทศประกอบด้วยเกาะกว่าสามพันแห่ง โดยประเทศญี่ปุ่นมักเผชิญกับพายุไต้ฝุ่นที่รุนแรง (Mega-scale Typhoons)และฝนตกที่รุนแรง (Heavy Raining)[3]จึงทำให้เกิดน้ำท่วมใหญ่หลายครั้ง ตัวอย่างเช่น วิกฤติน้ำท่วมบริเวณแม่น้ำชิคูโกะ (Chikugo River) ค.ศ. 1953 ในบริเวณทางตอนเหนือของเกาะคิวชู อันเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตและสูญหายราวพันคนและบ้านเรือนเสียหายกว่าสี่แสนห้าหมื่นครัวเรือน[4]และวิกฤติน้ำท่วมบริเวณแม่น้ำคาโน (Kano River) เมืองชิซูโอกะ (Shizuoka) ในปี ค.ศ. 1958 อันเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตกว่าหนึ่งพันห้าร้อยคน[5]เป็นต้น

เพราะญี่ปุ่นประสบปัญหาน้ำท่วมจากพายุและฝนที่ตกหนักติดต่อหลายครั้ง ทำให้ประเทศญี่ปุ่นได้พยายามแสวงหาแนวทางและวิธีการเพื่อรับมือกับปัญหาน้ำท่วม โดยหลังจากปี ค.ศ.1949 รัฐบาลญี่ปุ่นจึงได้กำหนดมาตรการทางกฎหมายเพื่อป้องกันน้ำท่ว[6]อันประกอบไปด้วยกฎหมายที่สำคัญ 3 ฉบับ ได้แก่ กฎหมาย Disaster Measures Basic Act 1961 กฎหมาย River Act 1964 และกฎหมาย Flood Protection Act 194[7]

2 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันน้ำท่วมของประเทศญี่ปุ่น
ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1949 เป็นต้นมา รัฐบาลญี่ปุ่นได้บัญญัติกฎหมายหลายฉบับเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการบริหารทรัพยากรน้ำ ตัวอย่างเช่น กฎหมาย Emergency Measures Concerning Soil and Water Conservation Act 1960 กฎหมาย Water Resources Development Promotion Act 1961 กฎหมาย Disaster Countermeasure Basic Act 1961 และกฎหมาย Special Measures Concerning Reservoir Areas Development Act 1973 เป็นต้น [8 ในปัจจุบัน ประเทศญี่ปุ่นยังมีมาตรการทางกฎหมายป้องกันภาวะน้ำท่วม[9] เพิ่มเติม อีกหลายฉบับ ที่สำคัญ คือ ในการบริหารความเสี่ยงจากภาวะน้ำท่วม ได้แก่[10] กฎหมาย Flood Protection Act 1949 กฎหมาย Disaster Measures Basic Act 1961 และกฎหมาย River Act 1964 เป็นต้น

2.1 กฎหมาย Flood Protection Act 1949
กฎหมาย Flood Protection Act 1949[11] เป็นกฎหมายเฉพาะในการป้องกันปัญหาอุทกภัยอันเนื่องมาจากน้ำท่วม (Floods) หรือคลื่นพายุหมุนยกซัดฝั่ง (Storm Surges) โดยกฎหมายฉบับนี้มีสาระสำคัญหลายประการ ได้แก่ ประการแรก กฎหมายฉบับนี้ได้ส่งเสริมการกระจายอำนาจ (Decentralisation)[12] เพื่อให้รัฐบาลท้องถิ่นมีอำนาจในการดำเนินกิจกรรมป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัยอันเนื่องมาจากภาวะน้ำท่วมโดยตรง เพราะท้องถิ่นย่อมรู้ปัญหาและลักษณะทางภูมิประเทศเฉพาะของแต่ละท้องถิ่นกับความเสี่ยงที่อาจเกิดภาวะน้ำท่วมในบริเวณต่างๆ ในกรณีที่มีความเสี่ยงอันอาจก่อให้เกิดภาวะน้ำท่วมในแต่ละท้องถิ่นได้ โดยท้องถิ่นอาจกำหนดข้อบังคับหรือคำสั่งเพื่อให้ประชาชนปฏิบัติตามในกรณีป้องกันภาวะน้ำท่วม เช่น การออกคำสั่งอพยพประชาชน เป็นต้น

ประการที่สอง กฎหมายฉบับนี้ยังได้กำหนดหน้าที่ของรัฐบาลญี่ปุ่น ในการพยากรณ์ภาวะน้ำท่วม (Flood Forecasting) โดยให้อำนาจแก่กรมอุตุนิยมวิทยาของญี่ปุ่น (Japan Meteorological Agency - JMA) เป็นผู้พยากรณ์และประมวลผลสภาพอากาศที่เกี่ยวข้องกับการคาดการณ์ภาวะน้ำท่วม เมื่อได้ผลการพยากรณ์แล้ว ให้กรมอุตุนิยมวิทยาดำเนินการแจ้งผลดังกล่าวต่อกระทรวงที่ดิน สาธารณูปโภค การขนส่งและท่องเที่ยว (Ministry of Land, Infrastructure, Transport and Tourism) เพื่อให้กระทรวงดังกล่าวนำไปแจ้งต่อจังหวัด (Prefecture) ในกรณีที่มีความเป็นไปได้ว่าระดับน้ำอาจขึ้นสูง อาจส่งผลให้เกิดน้ำท่วมในอนาคต หรือในกรณีเกิดน้ำท่วมแล้วและน้ำท่วมดังกล่าวมีระดับความลึกมากขึ้น เพื่อให้จังหวัดประกาศให้ประชาชนหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เตรียมการรับมือกับสถานการณ์น้ำท่วมที่อาจเกิดหรือกำลังเกิดขึ้น

ประการที่สาม กฎหมายดังกล่าวยังได้กำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่ในการจัดทำแผนที่ระบุอันตรายจากภาวะน้ำท่วม (Flood Hazard Maps) เพื่อกำหนดพื้นที่ที่อาจสุ่มเสี่ยงจะได้รับผลกระทบหรืออันตรายจากภาวะน้ำท่วมและระบุจุดที่มีการเตรียมการป้องกันเพื่อต่อสู้กับปัญหาน้ำท่วม สำหรับประโยชน์ของแผนที่ระบุอันตรายจากภาวะน้ำท่วมนี้ นอกจากจะทำให้ภาครัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถวางแผนหรือคาดการณ์เพื่อรับมือกับภาวะน้ำท่วมปัญหาน้ำท่วมในระยะยาวได้แล้ว ยังถือเป็นการจัดทำข้อมูลข่าวสารด้านน้ำท่วมอีกประการหนึ่ง เพื่อให้ประชาชนรู้จุดแข็งและจุดด้อยของสภาพภูมิประเทศหรือภูมิศาสตร์ให้ชุมชนของตนล่วงหน้า ทำให้ประชาชนสามารถหลีกเลี่ยงจากภัยอันตรายได้ทันท่วงที[13]

2.2 กฎหมาย Disaster Measures Basic Act 1961
กฎหมาย Disaster Measures Basic Act 1961 ได้กำหนดมาตรการในการรับมือกับภัยพิบัติต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นและส่งผลร้ายต่อสาธารณชน โดยกฎหมายฉบับนี้ วางหลักเกณฑ์ให้รัฐกำหนดมาตรการเท่าที่จำเป็น (Necessary) ในการป้องกันภัยพิบัติต่างๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อประชาชนและรัฐต้องกำหนดความรับผิดชอบ (Responsibility) ต่อการป้องกันหายนะทางธรรมชาติที่อาจส่งผลร้ายต่อประชาชน นอกจากนี้ กฎหมายดังกล่าวยังได้กำหนดมาตรการในการเตือนภัย 3 ระดับ ได้แก่ ระดับการบริหารจัดการภัยพิบัติ (Disaster Management) โดยหน่วยงานระดับชาติ ระดับการตอบสนองภาวะฉุกเฉิน (Emergency Response) โดยจังหวัดและระดับการปฏิบัติเพื่อการบรรเทาหายนะ (Recovery from Disaster) โดยท้องถิ่น[14]

2.3 กฎหมาย River Act 1964
กฎหมาย River Act 1964 ได้กำหนดมาตรการหลัก (Main Legislative Instrument) [15] ในการป้องกันน้ำท่วมโดยอาศัยกลไกการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำจากแม้น้ำแหล่งน้ำประเภทต่างๆ [16] ทั้งนี้ กฎหมายดังกล่าวได้จัดแบ่งระดับผู้มีอำนาจสั่งการเพื่อบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อป้องกันน้ำท่วมเป็น 2 ระดับ ได้แก่ ระดับกระทรวง ที่ให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงที่ดิน สาธารณูปโภค การขนส่งและท่องเที่ยว มีอำนาจสั่งการในกรณีเกิดภาวะน้ำท่วมในแม่น้ำสายหลักและอาจส่งผลกระทบต่อสาธารณชนในหลายจังหวัด หรือมีพื้นที่เสียหายเป็นจำนวนมาก และระดับจังหวัด ที่ให้อำนาจผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจในการสั่งการในกรณีที่เกิดภาวะน้ำท่วมในบริเวณจังหวัดของตน

อนึ่ง ผู้มีอำนาจสั่งการเพื่อบริหารจัดการความเสี่ยงจากภาวะน้ำท่วมทั้งในระดับประเทศและระดับจังหวัด ต่างต้องบริหารจัดการป้องกันน้ำท่วมในลักษณะที่ครอบคลุม (Comprehensive Manner) กล่าวคือ ผู้บริหารจัดการแม่น้ำทั้งสองระดับอาจกำหนดการปฏิบัติการที่เหมาะสม เช่น การออกคำสั่งให้หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องหาวัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่น มาทำเป็นแนวป้องกันน้ำท่วม เป็นต้น นอกจากนี้ กฎหมายฉบับนี้ยังให้อำนาจกับผู้บริหารจัดการแม่น้ำในการเวนคืน (Expropriate) ที่ดินหรือพื้นที่บริเวณที่เกี่ยวข้องกับภาวะน้ำท่วม เพื่อนำพื้นที่ดังกล่าวมาบริหารจัดการภาวะน้ำท่วม และอำนาจสั่งให้ท้องถิ่นทำลาย (Dispose) สิ่งปลูกสร้างหรือสิ่งกีดขวางอื่นๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการระบายน้ำ เพื่อให้น้ำสามารถระบายออกไปได้ดีในกรณีที่มีภาวะน้ำท่วม

3 ข้อจำกัดบางประการสำหรับการบังคับใช้กฎหมาย
แม้ว่ากฎหมาย Disaster Measures Basic Act 1961 กฎหมาย River Act 1964 และกฎหมาย Flood Protection Act 1949 ทั้ง 3 ฉบับ เป็นกฎหมายที่กำหนดมาตรการในการต่อสู้กับปัญหาน้ำท่วมและเตรียมการรับมือกับวิกฤติน้ำท่วม ที่สร้างระบบและแบบแผนในการต่อสู้กับปัญหาน้ำท่วมทั้งในระยะสั้นและระยะยาว อย่างไรก็ดี การบังคับใช้มาตรการทางกฎหมายดังกล่าว อาจประสบปัญหาบางประการ ตัวอย่างเช่น การสั่งการและกำกับดูแลปัญหาน้ำท่วม (Administrative Hierarchy) จากระดับกระทรวงไปสู่จังหวัดและท้องถิ่นเป็นลำดับ อาจทำให้เกิดความล่าช้าและซับซ้อน อนึ่ง ในบางกรณีความเห็นของผู้บริหารจัดการน้ำ (River Administrator) ในแต่ละลำดับชั้น ในฐานะผู้มีอำนาจสั่งการเพื่อบริหารจัดการความเสี่ยงจากภาวะน้ำท่วมอาจมีความเห็นที่ขัดหรือแย้งกับคณะกรรมการบริหารแม่น้ำตามกฎหมาย River Act (River Law Committee)[17] เป็นต้น

4 บทสรุปและข้อเสนอแนะ
เมื่อมองประเทศญี่ปุ่นแล้ว พบว่า ประเทศญี่ปุ่นมีความพยายามในการปรับตัวในทุกด้านให้เข้ากับสภาพภูมิประเทศที่ตนกำลังอาศัยอยู่และภูมิอากาศที่ต้องเผชิญในอนาคต รวมไปถึงการสร้างมาตรการทางกฎหมายเฉพาะให้สอดรับกับภัยธรรมชาติที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต ซึ่งหากเทียบกับประเทศไทยที่เคยประสบปัญหาวิกฤติภาวะน้ำท่วมมาหลายครั้ง จนมาถึงวิกฤติน้ำท่วมครั้งล่าสุดเมื่อปี พ.ศ.2554 ที่ผ่านมานี้ พบว่าประเทศไทยยังไม่มีมาตรการทางกฎหมายเฉพาะกำหนดกลไกในการป้องกันปัญหาน้ำท่วมอย่างเป็นระบบ และไม่มีมาตรการทางกฎหมายที่กำหนดการกระจายอำนาจในการต่อสู้กับปัญหาน้ำท่วมไปสู่ท้องถิ่น

ด้วยเหตุนี้ ประเทศไทยจึงควรศึกษาแนวทางและพัฒนาการในการต่อสู้กับภาวะน้ำท่วม ที่อาจกระทบต่อประเทศไทยในอนาคต โดยอาศัยบทเรียนจากพัฒนาการทางกฎหมายป้องกันน้ำท่วมของญี่ปุ่น มาเป็นแนวทางในการกำหนดกลไกและวิธีการในการแก้ปัญหาน้ำท่วมทั้งในระยะสั้นและระยะยาวต่อไปในอนาคต

 


* นักวิจัยประจำสาขาวิชานิติศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจและกฎหมาย มหาวิทยาลัยเดอมงฟอร์ต สหราชอาณาจักร  อีเมลล์ pedithep.youyuenyong@email.dmu.ac.uk

[1] BBC News.: Japan floods: Relief teams work as residents return. [cited 2012 July 20].  Available from: http://www.bbc.co.uk/news/world-asia-18852163

[2] BBC News.: Japan floods: 250,000 people ordered to leave homes. [cited 2012 July 20].  Available from: http://www.bbc.co.uk/news/world-asia-18840329

[3] Takahasi, Y.: Flood Management in Japan During the Last Half-Century. National University of Singapore, Singapore, p 3, 2011.

[4] Takahasi, Y. and Monma, Y.:  The Reverse Side Story on the River Management in These 60 Years in Japan – As the Examples of the Conflict Between the Upper and Downstream People. Japanese National Water Problems Association, Tokyo. p. 4, 2008.

[5] United Nations Environment Programme.: International Shiga Forum on Technology for Water Management in the 21st Century. United Nations Environment Programme, Shiga, p. 38, 1999.

[6] นอกจากนี้ ประเทศญี่ปุ่นยังมีการบัญญัติมาตรการทางกฎหมายเฉพาะขึ้นหลายฉบับ เพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและควบคุมแหล่งน้ำประเภทต่างๆ โดยคำนึงถึงปัญหาต่างๆ ที่อาจกระทบต่อทรัพยากรน้ำได้ เช่น การควบคุมคุณภาพน้ำ การควบคุมคุณภาพน้ำดืมและสุขาภิบาลน้ำ การระบายน้ำในชุมชนเมืองอย่างยั่งยืน และผลกระทบจากภาวะโลกร้อนต่อแหล่งน้ำ เป็นต้น โปรดดู  United Nations. :  Freshwater country profile - Draft-freshwater 2003-Japan, pp. 1-12, 2003. (2004). [cited 2012 July 20].  Available from:http://www.un.org/esa/agenda21/natlinfo/countr/japan/Japanwater04f.pdf

[7] Adachi, T.: Flood damage mitigationefforts in Japan - Fifth US-Japan Conference on Flood Control and Water Resources Management January 2009. Ministry of Land, Infrastructure, Transport and Tourism, Ministry of Land, Infrastructure, Transport and Tourism, Tokyo, p 1-28, 2009.

[8] Japan Water Agency.: History. [cited 2012 July 20].  Available from: http://www.water.go.jp/honsya/honsya/english/08.html

[9] นอกจากนี้ ประเทศญี่ปุ่นยังมีการบัญญัติมาตรการทางกฎหมายเฉพาะขึ้นหลายฉบับ เพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและควบคุมแหล่งน้ำประเภทต่างๆ โดยคำนึงถึงปัญหาต่างๆ ที่อาจกระทบต่อทรัพยากรน้ำได้ เช่น การควบคุมคุณภาพน้ำ การควบคุมคุณภาพน้ำดืมและสุขาภิบาลน้ำ การระบายน้ำในชุมชนเมืองอย่างยั่งยืน และผลกระทบจากภาวะโลกร้อนต่อแหล่งน้ำ เป็นต้น โปรดดู  United Nations. :  Freshwater country profile - Draft-freshwater 2003-Japan, pp. 1-12, 2003. (2004). [cited 2012 July 20].  Available from:http://www.un.org/esa/agenda21/natlinfo/countr/japan/Japanwater04f.pdf

[10] Adachi, T.: Flood damage mitigationefforts in Japan - Fifth US-Japan Conference on Flood Control and Water Resources Management January 2009. Ministry of Land, Infrastructure, Transport and Tourism, Ministry of Land, Infrastructure, Transport and Tourism, Tokyo, p 1-28, 2009.

[11] ในบางตำราเรียก “Flood Fighting (Suibo) Law”  โปรดดูใน Tachi, K.: Organization of local people for preparedness and emergency response- Flood fighting (Suibo) system in Japan Session: Preparedness and Emergency Response. [cited 2012 July 20].  Available from: http://www.nfrmp.us/ifrma/docs/pre/summary/TachiPaper.pdf

[12] กฎหมายดังกล่าวได้เสริมสร้างการกระจายอำนาจเพื่อให้ท้องถิ่นและประชาชนในท้องถิ่นสามารถต่อสู้กับภาวะน้ำท่วมได้  โดยความร่วมมือระหว่างท้องถิ่นและประชาชนอาจเรียกว่า Suibo-dan หรือ Flood Fighting Team Working โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อาสาสมัครและประชาชนมีส่วนร่วมในการห้องกันและบรรเทาผลกระทบจากภาวะน้ำท่วมร่วมกัน เช่น การเตือนภัยให้ชุมชน การตั้งกระสอบทรายและคันกันน้ำให้ชุมชน เป็นต้น

[13] Ministry of Land, Infrastructure and Transport.: Flood Hazard Mapping Manual in Japan. [cited 2012 July 20].  Available from: http://www.icharm.pwri.go.jp/publication/pdf/2005/flood_hazard_mapping_manual.pdf

[14] Tachi, K.: Organization of local people for preparedness and emergency response ‐ Flood fighting (Suibo) system in Japan. [cited 2012 July 20].  Available from: http://www.nfrmp.us/ifrma/docs/presentations/Tachi_Presentation.pdf

[15] Ministry of Land, Infrastructure and Transport, Japan.: Japan: Tokai Heavy Rain (September 2000). [cited 2012 July 20].  Available from: http://www.apfm.info/pdf/case_studies/japan.pdf

[16] นอกจากในเรื่องของปัญหาน้ำท่วมแล้ว กฎหมายดังกล่าวยังได้ถูกบัญญัติขึ้นมาเพื่อเหตุผลหลักสี่ประการด้วยกัน ประการแรก กฎหมายดังกล่าวได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการใช้ที่ดิน (Land use) ที่เกี่ยวข้องกับแม่น้ำ ได้แก่ การวางผังเมือง การพัฒนาเมืองบริเวณชายฝังแม่น้ำและการวางมาตรฐานการก่อสร้างหรือสิ่งปลูกสร้างบริเวณริมแม่น้ำ ประการต่อมา กฎหมายดังกล่าวได้กำหนดในเรื่องของการรักษาสิ่งแวดล้อมของแม่น้ำและบริเวณชายฝั่งแม่น้ำ เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติในบริเวณแม่น้ำ รวมถึงการป้องกันมลภาวะและสิ่งปฏิกูลทางน้ำไม่ให้มากระทบกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของแม่น้ำ ประการที่สาม กฎหมายดังกล่าวยังเสริมสร้างแนวทางการต่อสู้กับภาวะน้ำท่วมและภาวะดินถล่มอันเนื่องมากจากน้ำท่วม ที่อาจก่อให้เกิดภัยอันตรายต่อสาธารณะชน และประการสุดท้าย กฎหมายดังกล่าวยังกำหนดแนวทางการใช้น้ำและการเก็บกักน้ำ เพื่อให้น้ำเพียงพอต่อสาธารณชนและเพียงพอต่อการดำเนินกิจกรรมทางอุตสาหกรรมของประเทศ โปรดดูเพิ่มเติมใน Ministry of Land, Infrastructure, Transport and Tourism, Ministry of Land, Infrastructure, Transport and Tourism.: IDI Water Series No. 4 The River Law with Commentary by Article Legal framework for River and Water Management in Japan, Ministry of Land, Infrastructure, Transport and Tourism, Tokyo, p I - IV, 1999.

[17] Takahasi, Y.: Flood Management in Japan During the Last Half-Century. National University of Singapore, Singapore, p 18, 2011.

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

อัยการสั่งเด็ดขาด ไม่ฟ้องโชติศักดิ์ คดีไม่ยืนในโรงหนัง

Posted: 18 Jul 2012 12:07 AM PDT

อัยการมีคำสั่งเด็ดขาด ไม่ฟ้องนายโชติศักดิ์ อ่อนสูง ผู้ถูกกล่าวหาว่าหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เนื่องจากไม่ยืนแสดงความเคารพในระหว่างเปิดเพลงสรรเสริญพระบารมี ในโรงหนัง ระบุแม้จะเป็นกิริยาที่ไม่อยู่ในบรรทัดฐานที่ประชาชนทั่วไปต้องปฏิบัติ แต่ไม่อาจชี้ชัดได้ว่ามีเจตนาดูหมิ่นพระมหากษัตริย์

อัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญากรุงเทพฯ ใต้ 4 มีหนังสือแจ้งไปยังสถานีตำรวจนครบาลปทุมวันเมื่อวันที่ 15 เม.ย. ที่ผ่านมา โดยคำวินิจฉัยของอัยการระบุว่า พิจารณาแล้วเห็นว่า การที่ผู้ต้องหาไม่ลุกขึ้นเคารพเพลงสรรเสริญพระบารมี และมีการพูดว่า "ทำไมต้องยืนด้วยไม่มีกฎหมายบังคับ" นั้น เห็นว่าการกระทำดังกล่าวมิได้แสดงออกซึ่งวาจาหรือกิริยาอันจะเข้าลักษณะเป็นการดูถูก เหยียดหยาม ทำให้อับอาย เสียหาย สบประมาท ด่าว่า

และการกล่าวหรือโต้เถียงเกิดขึ้นหลังจากเพลงจบแล้ว แม้จะเป็นกิริยาที่ไม่เหมาะสมและไม่อยู่ในบรรทัดฐานที่ประชาชนทั่วไปต้องปฏิบัติก็ตาม แต่การกระทำของผู้ต้องหาทั้งยังไม่อาจชี้ชัดได้ว่ามีเจตนาดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ อีกทั้งผู้ต้องหาให้การปฏิเสธตลอดมา พยานหลักฐานจึงไม่พอฟ้อง

ทั้งนี้ คดีดังกล่าวเกิดขึ้นเนื่องจากเมื่อวันที่ 20 ก.ย. 50 นายนวมินทร์ วิทยกุล ได้ขว้างปาข้าวโพดคั่วและกระดาษใส่นายโชติศักดิ์ อ่อนสูง และเพื่อน เนื่องจากทั้งสองไม่ยืนขึ้นเมื่อมีการบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมีในโรงภาพยนตร์แห่งหนึ่ง นายโชติศักดิ์และเพื่อน จึงฟ้องนายนวมินทร์ วิทยกุล ในข้อหาร่วมกันทำร้ายร่างกายไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายและจิตใจ, ทำร้ายร่างกายโดยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ หมิ่นประมาทและดูหมิ่นซึ่งหน้า, ทำให้เสียทรัพย์, ร่วมกันตั้งแต่ห้าคนขึ้นไปข่มขืนใจผู้อื่นให้กระทำการใดฯ, และทะเลาะกันอื้ออึงในที่สาธารณสถานฯ 

จากนั้นนายนวมินทร์ได้ฟ้องนายโชติศักดิ์ และเพื่อนกลับด้วยข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ("ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี") ต่อมาวันที่ 19 ก.ย.51 พนักงานอัยการได้มีคำสั่งไม่ฟ้องนายนวมินทร์ ในข้อหา ร่วมกันทำร้ายร่างกายฯ และวันที่ 20 ต.ค.51 ตำรวจได้ส่งสำนวนคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพให้อัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา กรุงเทพใต้

อย่างไรก็ตาม เว็บไซต์ iLaw ได้เก็บข้อมูลคดีลักษณะใกล้เคียงกันนี้ ระบุว่า มีกรณีที่เกิดในพื้นที่ตำรวจนครบาลพหลโยธิน เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2551 เวลากลางวัน ขณะที่โรงภาพยนต์เมเจอร์ซีนีเพล็กซ์ รัชโยธิน เปิดเพลงสรรเสริญพระบารมี จำเลยไม่ลุกขึ้นยืนเพื่อถวายความเคารพ และได้ยกเท้าทั้งสองข้างพาดเก้าอี้ไปทางจอภาพยนต์ เมื่อเพลงสรรเสริญพระบารมีจบและได้ตะโกนคำหยาบคายออกมา

วันที่ 19 ตุลาคม 2552 ศาลพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ให้จำคุก 3 ปี จำเลยให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณามีเหตุบรรเทาโทษ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 78 เห็นควรลดให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุก 1 ปี 6 เดือน แต่ให้รอลงอาญา 2 ปี เนื่องจากพิเคราะห์จากรายงานการสืบเสาะและพินิจแล้ว เห็นว่ามีแพทย์จากโรงพยาบาลศรีธัญญา และโรงพยาบาลตรัง ซึ่งเป็นจิตแพทย์ผู้ทำการรักษาอาการทางจิต ของจำเลยมาให้ปากคำต่อเจ้าพนักงานคุมประพฤติสอดคล้องกันว่าจำเลยเป็นผู้ป่วยทางจิตเภท

 

 

หมายเหตุ ประชาไทสงวนชื่อผู้ถูกกล่าวหาอีกราย เนื่องจากเจ้าตัวไม่ประสงค์เปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะ

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ทบ.แจงติดป้าย "เขตการใช้กระสุนจริง" เพื่อไม่ให้ปชช.เข้ามา แม้แต่ทหารยังถูกโต้ด้วยกระสุนจริง

Posted: 17 Jul 2012 09:39 PM PDT

รองโฆษก ทบ. แจงข่าวขึ้นเบิกความคดีเสียชีวิต "ชาญณรงค์ พลศรีลา" ที่ราชปรารภเมื่อ พ..ค. ปี 53 นั้นยังไม่มีการพิสูจน์วิถีกระสุน เพียงแต่ระบุว่าเสียชีวิตด้วยกระสุนความเร็วสูง แถมอาวุธปืนของทหารที่ถูกปล้นก็ถูกนำมาใช้ร่วมอยู่ในสถานการณ์หลายครั้ง

กรณีที่มีการนำเสนอข่าวการขึ้นเบิกความในเรื่องคดีการเสียชีวิตของนายชาญณรงค์ พลศรีลา เมื่อวันที่ 15 พ.ค.2553 บริเวณหน้าปั้มเชลล์ ถ.ราชปรารภนั้น (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง) ล่าสุดเช้าวันนี้ (18 ก.ค.) มติชนออนไลน์ รายงานความเห็นของ พ.อ.วินธัย สุวารี รองโฆษกกองทัพบก (ทบ.) ชี้แจงถึงกรณีที่มีการนำเสนอข่าวการขึ้นเบิกความในเรื่องคดีการเสียชีวิตของนายชาญณรงค์ว่า การเบิกความดังกล่าวนั้นอาจทำให้เกิดการเข้าใจผิดว่านายชาญณรงค์เสียชีวิตด้วยการกระทำจากเจ้าหน้าที่ทหาร เนื่องจากมีการให้การว่าในวันเกิดเหตุมีการก่อความวุ่นวายของผู้ชุมนุมบริเวณปั้มเชลล์ซอยรางน้ำ จากนั้นก็ได้รับแจ้งจากชาวบ้านว่ามีผู้บาดเจ็บต้องการให้เจ้าหน้าที่เข้าไปช่วยเหลือ ซึ่งทางผู้บังคับการตำรวจนครบาล 1 ในขณะนั้นได้สั่งให้รถพยาบาลเข้าไปช่วยผู้บาดเจ็บแต่ไม่สามารถเข้าไปได้เนื่องจากถูกยิงสกัดจากแนวรั้วลวดหนามนั้น

"กองทัพบกขอชี้แจงว่าเดิมทีเจ้าหน้าที่ทหารได้วางกำลังเข้าไปในซอยรางน้ำ แต่เนื่องจากถูกกดดันต่อต้านจากกลุ่มผู้ชุมนุม อีกทั้งถูกยิงด้วยอาวุธปืนไม่ทราบชนิด จนต้องทำให้เจ้าหน้าที่ทหารถอนกำลังออกจากรางน้ำมาอยู่บริเวณปากซอย ราชปรารภ 14 แสดงว่ามีบุคคลอื่นนอกเหนือจากเจ้าหน้าที่ได้มีการใช้อาวุธอยู่ในพื้นที่บริเวณนั้น และทางทหารเองก็ได้รับแจ้งจากประชาชนในพื้นที่เช่นกันว่ามีผู้บาดเจ็บจึงได้จัดกำลังเข้าไปเพื่อค้นหาและช่วยเหลือ โดยในขณะนั้นยังคงมีการใช้อาวุธตอบโต้และขัดขวางการเข้าช่วยเหลืออยู่ตลอดเวลาเช่นกัน ไม่ใช่แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจเท่านั้นที่ถูกขัดขวาง ซึ่งช่างภาพที่อยู่ในชุดที่ออกไปช่วยเหลือนั้นก็ยังได้ถูกยิง แต่ก็ยังคงออกไปช่วยเหลือผู้บาดเจ็บจนสามารถนำผู้บาดเจ็บคือ นายชาญณรงค์และนักข่าวรายหนึ่งส่งโรงพยาบาลได้ อีกทั้งแสดงว่ามีบุคคลอื่นนอกเหนือจากเจ้าหน้าที่ได้มีการใช้อาวุธอยู่ในพื้นที่บริเวณนั้น รวมทั้งการเสียชีวิตของนายชาญณรงค์ก็ยังไม่มีการพิสูจน์เรื่องวิถีกระสุน เพียงแต่ระบุว่าเสียชีวิตด้วยกระสุนความเร็วสูง ซึ่งอาวุธปืนของทหารที่ถูกปล้นยึดไปจำนวนหลายสิบกระบอก และพบว่าถูกนำมาใช้ร่วมอยู่ในช่วงสถานการณ์หลายครั้ง" พ.อ.วินธัย กล่าว

พ.อ.วินธัย กล่าวต่อว่า สำหรับเรื่องการสืบสวนหาข่าวเห็นทหารพกปืนเอ็ม16 และทราโว่นั้นขอเรียนว่าปืนทั้งสองชนิดเป็นอาวุธประจำกายมีไว้เพื่อป้องกันตัว สำหรับปืนทราโว่นั้นที่ติดกล้องนั้นถือเป็นส่วนประกอบหลักของปืนรุ่นนี้ทุกกระบอกอยู่แล้ว ไม่ได้มีการติดตั้งเพิ่มเติม  และไม่ใช่อาวุธปืนที่เรียกกันว่าปืนสไนเปอร์ ส่วนความจำเป็นในเรื่องการติดป้ายเขตการใช้กระสุนจริงนั้น เพื่อความปลอดภัยและไม่ต้องการให้ประชาชน เข้ามาในเขตอันตรายนี้ เพราะเจ้าที่ทหารเองก็ยังถูกตอบโต้ด้วยกระสุนจริงภายในเขตนี้

ดังนั้นขอชี้แจงเพิ่มเติมไว้เพื่อให้สังคมได้ใช้วิจารณญาณในการรับทราบข้อมูลในเรื่องดังกล่าว เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อเจ้าหน้าที่ทุกฝ่าย พ.อ.วินธัยกล่าว

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น