ประชาไท | Prachatai3.info |
- ม.'ออกซ์ฟอร์ด' แก้กฏฉลุย ให้นศ.แต่งกายข้ามเพศได้
- เขื่อนราษีไศล-หัวนา ทำจดหมายเปิดผนึกถึงนายกฯ ทวนความจำและข้อเสนอ
- “Burqa 2010 อิสรภาพที่ถูกขโมย” ภาพถ่ายกับการต่อต้านขัดขืน
- “Burqa 2010 อิสรภาพที่ถูกขโมย” ภาพถ่ายกับการต่อต้านขัดขืน
- สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ: พิทักษ์ระบอบรัฐธรรมนูญ
- สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ: พิทักษ์ระบอบรัฐธรรมนูญ
- จากออโรราถึงโคลัมไบน์ และการเมืองเรื่อง “ปืน” ในสหรัฐ
- ททท. จัดทริปคนไทยเยือน "เทือกเขาอัลไต"
- สื่อมวลชนกับการสร้างสันติสุขในจังหวัดชายแดนภาคใต้
- โพลล์ชี้คนกรุงเเกินครึ่งพอใจเสรีภาพ-ไม่รู้จัก พ.ร.บ.ค่าทดแทนจำเลยคดีอาญา
- รายงานสื่อถกสื่อ: สื่อเลือกสีเลือกข้างผิดจรรยาบรรณหรือ?
- รัฐบาลเบี้ยวคนจน? ชาวบ้านทวงไหน 15 วันแก้ปัญหา ‘ราษีไศลโมเดล’
- MOU การจ้างแรงงานข้ามชาติ เหตุใดไม่ประสบความสำเร็จ ?
- เมื่อระบบการศึกษาไทยไม่ยอมรับระบบการศึกษาของอังกฤษ?
- ผู้ได้รับผลกระทบ 7 เขื่อน “โขง ชี มูล” จี้หยุด “ผันน้ำ โขง เลย ชี มูล”
ม.'ออกซ์ฟอร์ด' แก้กฏฉลุย ให้นศ.แต่งกายข้ามเพศได้ Posted: 29 Jul 2012 01:14 PM PDT เมื่อวันที่ 29 ก.ค. 55 สำนักข่าวบีบีซีรายงานว่า มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดของอังกฤษ ได้แก้ไขกฎการแต่งกายภายในมหาวิทยาลัย หลังชมรมเพื่อความหลากหลายทางเพศยื่นคำร้องว่า กฎที่มีอยู่เดิมไม่เป็นธรรมกับกลุ่มนศ.ข้ามเพศ (transgender) ในมหาวิทยาลัย โดยกฎการแต่งกายใหม่นี้ เกิดขึ้นหลังจากที่ชมรมเพื่อความหลากหลายทางเพศในมหาวิทยาลัย (LGBTQ Society) ยื่นคำร้องไปยังสโมสรนักศึกษาของมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด และได้ผ่านคำร้องดังกล่าวไปยังผู้บริหารมหาวิทยาลัย เพื่อชี้ว่ากฎเดิมไม่รับรองสิทธิของนศ. ที่มีความหลากหลายทางเพศ กฎการแต่งกายใหม่ จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 4 ส.ค. 55 เป็นต้นไป ซึ่งจะทำให้นศ. ชายสามารถใส่กระโปรงกับถุงน่อง และนศ. หญิงแต่งกายในชุดสูทและผูกเนคไทเข้าร่วมงานทางการได้โดยไม่ผิดกฎของมหาวิทยาลัย เจสส์ พัมฟรีย์ หนึ่งในเจ้าหน้าที่ชมรมความหลากหลายทางเพศในมหาวิทยาลัยกล่าวว่า การเปลี่ยนกฎดังกล่าว จะช่วยให้นักศึกษาบางส่วนลดความตึงเครียดจากการสอบลงได้ ทั้งนี้ กฎการแต่งกายแบบเดิม ระบุว่า หากนศ. ต้องการจะแต่งกายข้ามเพศ พวกเขาต้องขออนุญาตเป็นพิเศษจากผู้ดูแลกฎของมหาวิทยาลัย มิเช่นนั้นอาจถูกลงโทษตามกำหนด ด้านโฆษกมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดระบุว่า "กฎระเบียบดังกล่าว ถูกแก้ไขให้ตัดข้อกำหนดเรื่องเพศออกไป เนื่องมาจากข้อกังวลของสโมสรนักศึกษา ที่ชี้ว่า กฎเดิมไม่ได้คำนึงถึงผลประโยชน์ของกลุ่มนักศึกษาข้ามเพศ"
ที่มา: แปลและเรียบเรียงจาก Oxford University rewrites gender dress code ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
เขื่อนราษีไศล-หัวนา ทำจดหมายเปิดผนึกถึงนายกฯ ทวนความจำและข้อเสนอ Posted: 29 Jul 2012 09:21 AM PDT
จดหมายเปิดผนึกถึงนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (นายกรัฐมนตรี) ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๕๕
เรื่อง การแก้ไขปัญหากรณีผลกระทบจากโครงการเขื่อนราษีไศลและโครงการเขื่อนหัวนา ตามที่รัฐบาล กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมชลประทาน และภาคประชาชนในนามองค์กรเครือข่ายชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบจากโครงการเขื่อนราษีไศลและเขื่อนหัวนา ได้มีการร่วมมือกันแก้ไขปัญหาผลกระทบจากกรณีเขื่อนทั้งสองเขื่อนจนเกิดผลเป็นรูปธรรมในบางส่วน เช่น การแต่งตั้งประธานคณะกรรมการแก้ไขปัญหากรณีเขื่อนราษีไศลและเขื่อนหัวนา และการอนุมัติ๑๒ มิถุนายน ๒๕๕๕ ที่ผ่านมา มีมติเห็นชอบอนุมัติในหลักการจ่ายเงินชดเชยแก่ราษฎร เป็นเงิน ๑๓๓,๕๔๒ ล้านบาท แต่ในทางปฏิบัติยังไม่สามารถจ่ายเงินค่าชดเชยดังกล่าวได้ เหตุเพราะกรมชลประทานยังไม่มีงบประมาณดำเนินการ ปัจจุบันก็ยังมีปัญหาอุปสรรคอีกหลายด้าน และหลายเรื่องที่ไม่สามารถดำเนินการต่อเนื่องให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการขับเคลื่อนแก้ไขปัญหา และมีความจำเป็นที่จะต้องปรึกษาแนวทางด้านนโยบายที่ชัดเจน เพื่อให้เป็นแนวทางในการแก้ไขให้สำเร็จลุล่วงไปได้ ซึ่งแยกออกเป็นรายกรณีดังนี้ ก.กรณีเขื่อนราษีไศล ความเป็นมา เมื่อมีการเก็บกักน้ำได้เกิดผลกระทบขึ้นอย่างกว้างขวาง จึงทำให้ชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งผ่านมาแล้วกว่า ๑๐ รัฐบาล ภายหลังการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาโอนกิจการบริหารและอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรมปี ๒๕๔๕ เป็นผลให้การแก้ปัญหาเขื่อนราษีไศลถูกโอนมาอยู่ในความรับผิดชอบของกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จากการออกมาเคลื่อนไหวชุมนุมเรียกร้องของชาวบ้านในนามสมัชชาคนจนราษีไศล-หัวนา ตั้งแต่ปี ๒๕๓๖ จนถึงปัจจุบัน ได้เกิดแนวทางการแก้ไขปัญหา คือ (๑) การแต่งตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากโครงการเขื่อนราษีไศล เพื่อพิจารณาชดเชยการสูญเสียที่ดินทำกินของราษฎร ปัจจุบันคงเหลืออีกประมาณร้อยละ ๓๐ (๒) การศึกษาวิจัยผลกระทบด้านสังคม โดยสถาบันวิจัยสังคมของมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ ปัจจุบันผลการศึกษาดังกล่าวได้ผ่านมติรับทราบและเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้ว โดยมีแนวทางในการป้องกันแก้ไขและฟื้นฟูผลกระทบอย่างยั่งยืน ดังนี้ ๑. แผนแก้ไขและป้องกันผลกระทบ ๒) การแก้ไขและป้องกันผลกระทบทางกายภาพ ๒. แผนควบคุมติดตาม/เฝ้าระวัง/ใช้ประโยชน์
๕. แผนการจัดการความรู้พื้นที่ชุ่มน้ำป่าทาม กลไกลในการแก้ไขปัญหา ๒. คณะรัฐมนตรีเห็นชอบผลการศึกษาและแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนตามแนวทางในการป้องกันแก้ไขและฟื้นฟูผลกระทบจากโครงการเขื่อนราษีไศล โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรเป็นประธาน เพื่อแก้ไขปัญหาผลกระทบที่เกิดขึ้นจริงทั้งในระยะสั้นและระยะยาวให้ครอบคลุมครบทุกด้าน จะต้องมีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ จำนวน ๕ ชุด เพื่อร่างแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหา และนำเสนอต่อ คณะรัฐมนตรี ๑. คณะอนุกรรมการด้านการบริหารจัดการบริหารเขื่อนราศีไศล(ตั้งแล้ว) ๒. คณะอนุกรรมการแก้ไขและป้องกันผลกระทบทางกายภาพ(ตั้งแล้ว) ๓. คณะอนุกรรมการด้านการฟื้นฟูชีวิตชุมชนและทรัพยากรธรรมชาติ (ตั้งแล้ว) ๔. คณะอนุกรรมการจัดการองค์ความรู้พื้นที่ชุ่มน้ำป่าทาม(ตั้งแล้ว) ๕. คณะอนุกรรมการศึกษาและพิจารณาการจ่ายค่าชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง จากการสูญเสียป่าทามที่เป็นแหล่งประกอบอาชีพและยังชีพ(ยังไม่ได้ตั้ง) ปัญหาและอุปสรรค ๑. กรณีค่าชดเชยที่ดินยังไม่ครอบคลุมพื้นที่ที่ราษฎรที่ได้รับผลกระทบจริงทั้งหมด ๒. กรณีการแก้ไขปัญหาตามผลการศึกษา ปัจจุบันคณะกรรมการขับเคลื่อนตามแนวทางในการป้องกันแก้ไขและฟื้นฟูผลกระทบจากโครงการเขื่อนราษีไศล ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรเป็นประธานได้แต่งตั้งอนุกรรมการ จำนวน ๔ ชุดแต่ในปัจจุบันยังเหลืออีกคณะอนุกรรมกรรอีก ๑ ชุด ที่ยังไม่ได้รับการแต่งตั้ง คือ คณะอนุกรรมการศึกษาและพิจารณาการจ่ายค่าชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง จากการสูญเสียป่าทามที่เป็นแหล่งประกอบอาชีพและยังชีพ ตามผลการศึกษา แนวทางในการแก้ไขปัญหา เสนอต่อรัฐบาล ๒. เร่งรัดให้มีการประชุมอนุกรรมการแก้ไขปัญหาโครงการเขื่อนราษีไศลระดับจังหวัดทั้ง ๓ จังหวัด ได้แก่ ร้อยเอ็ด สุรินทร์ และศรีสะเกษ เพื่อพิจารณาการแก้ไขปัญหาตามอำนาจหน้าที่ให้แล้วเสร็จโดยเร่งด่วน ๓. เร่งดำเนินการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการศึกษาและพิจารณาการจ่ายค่าชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง จากการสูญเสียป่าทามที่เป็นแหล่งประกอบอาชีพและยังชีพ หรือ ค่าสูญเสียรายได้จากการใช้ประโยชน์บุ่งทาม ตามผลการศึกษาของสถาบันวิจัยสังคมของมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ ซึ่งมีมติ ครม. เห็นชอบไปแล้ว ๔. รัฐบาลควรเร่งรัดการแก้ไขปัญหากรณีผลกระทบจากเขื่อนราษีไศลให้แล้วเสร็จทุกกรณี เนื่องจากราษฎรได้รับความเดือดร้อนมานานกว่า ๒๐ ปีมาแล้ว
ข.กรณีเขื่อนหัวนา ความเป็นมา ในการก่อสร้างเขื่อนหัวนา ไม่ได้มีการศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสังคมก่อนการก่อสร้าง ขาดการมีส่วนร่วมของชุมชน และไม่มีมาตรการในการแก้ไขปัญหาผลกระทบ เช่นเดียวกับเขื่อนราษีไศล ทำให้ชาวบ้านในเขตพื้นที่เขื่อนหัวนามีความวิตกกังวลต่อผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น เช่น การอพยพชาวบ้านออกจากหมู่บ้าน และยังมีความกังวลว่าน้ำอาจท่วมที่ทำกิน เมื่อมีการเก็บกักน้ำแล้วได้ส่งผลกระทบเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะการสูญเสียป่าทามและที่ทำกินของชาวบ้าน โดยไม่ได้รับการดูแลแก้ไขจากรัฐบาล ซึ่งมีกรณีเขื่อนราษีไศลเป็นตัวอย่าง และด้วยกระบวนการทำงานของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหา ทำให้เพิ่มความกังวลให้กับชาวบ้าน เช่น กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน ได้ให้ข้อมูลกับสภาตำบลในพื้นที่ว่า จะก่อสร้างเป็น “ฝายยาง” เพื่อเก็บน้ำไว้เพียงระดับตลิ่งแม่น้ำมูน โดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบใดๆ ณ บ้านหัวนา ต.หนองแก้ว อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ แต่เมื่อลงมือก่อสร้างกลับสร้างเขื่อนคอนกรีต ขนาด ๑๔ บานประตู ณ บ้านกอก ต.หนองแก้ว อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ ห่างจากที่ตั้งเดิม ตามลำน้ำเป็นระยะทางประมาณ ๑๐ กิโลเมตร การก่อสร้างหัวงานของโครงการ กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน จ่ายค่าชดเชยที่ดิน การสร้างพนังกั้นน้ำ บริษัทรับเหมามาขุดดินในที่สาธารณะของชุมชน และที่ดินของ พนังกั้นน้ำเป็นสาเหตุสำคัญทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วมขังในพื้นที่ทำกินของชาวบ้าน พ.ศ.๒๕๓๖ ในพื้นที่ อ.ราษีไศล อ.อุทุมพรพิสัย กรมที่ดินได้ร่วมกับสภาตำบล ออก พ.ศ.๒๕๔๓ กรมพัฒนาฯร่วมกับชาวบ้านปักหลักเขตระดับน้ำ ๑๑๕ ม.รทก. แต่ในช่วง ด้วยความวิตกกังวลของชาวบ้านดังกล่าวนั้น เมื่อมีการเก็บกักน้ำของเขื่อนราษีไศลซึ่งได้เกิดผลกระทบที่ปรากฏอยู่ตรงหน้าอย่างชัดเจนและรุนแรง ทำให้ชาวบ้านในเขตพื้นที่เขื่อนหัวนาได้ออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาในนามสมัชชาคนจน จึงได้มีมติคณะรัฐมนตรีเมื่อคราวประชุมวันที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๔๓ ดังนี้ ๑) เห็นชอบให้ระงับการถมลำน้ำมูนเดิมไว้ก่อน เพื่อศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม ๒) เห็นชอบให้เปิดเผยข้อมูลรายละเอียดโครงการตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.๒๕๔๐ ๓) เห็นชอบให้ตรวจสอบทรัพย์สินของราษฎรที่คาดว่าจะเสียหายจากการดำเนินโครงการฝายหัวนาร่วมกับราษฎร ภายหลังการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาโอนกิจการบริหารและอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรมปี ๒๕๔๕ เป็นผลให้การแก้ปัญหาเขื่อนราษีไศลถูกโอนมาอยู่ในความรับผิดชอบของกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กลไกการแก้ไขปัญหา ๑. มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๕๓ มีมติ รับทราบผลการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมและด้านสังคม โครงการเขื่อนหัวนา และเห็นชอบในการแต่งตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากโครงการเขื่อนหัวนา โดยมีรองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ๒. ปัจจุบัน ปี ๒๕๕๕ ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากโครงการเขื่อนหัวนา โดยมีนายชุมพล ศิลปอาชา รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และได้มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมา จำนวน ๓ ชุด ได้แก่ ๑) คณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาระดับจังหวัดศรีสะเกษ ๒) คณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาระดับจังหวัดอุบลราชธานี ๓) คณะอนุกรรมการสืบเสาะราคาที่ดินที่มีเอกสารสิทธิ์และไม่มีเอกสารสิทธ์ ๓. แนวทางการแก้ไขปัญหาในระยะยาวโดยดำเนินการตามแผนฟื้นฟูผลกระทบที่เกิดขึ้นตามผลการศึกษา โดยจะต้องมีการแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนตามแผนฟื้นฟู อีก ๑ คณะ ปัญหาอุปสรรค ๑. ปัจจุบันการแก้ไขปัญหาในระดับพื้นที่ยังสามารถดำเนินการต่อไปได้ แต่เกิดความล้าช้าเนื่องจากกรมชลประทานมีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการไม่พอเพียงต่อการดำเนินการแก้ไขปัญหา ๒. การถมลำน้ำมูนเดิมของกรมชลประทาน ซึ่งดำเนินการอย่างต่อเนื่องตามสัญญาที่ทำร่วมกับบริษัทเอกชน ซึ่งจะเสร็จสิ้นภายในปลายปี ๒๕๕๕ นี้ ซึ่งจะนำไปสู่การกักเก็บน้ำในอนาคต โดยใช้งบประมาณกว่า ๗๘ ล้านบาท แต่การแก้ไขปัญหาผลกระทบให้กับราษฎรกลับล่าช้า ทำให้ราษฎรในพื้นที่เกิดความวิตกกังวลว่าจะมีการปิดประตูเขื่อนกักเก็บน้ำก่อนการจ่ายค่าชดเชย และจะเกิดความยุ่งยากในการแก้ไขปัญหา ซ้ำรอยเขื่อนราษีไศล ๓. การกำหนดขอบเขตอ่างเพื่อกักเก็บน้ำในระดับ +๑๑๒ ม.รทก. และจ่ายค่าชดชดเชยในระดับ +๑๑๔ ม.รทก. โดยคำนิยามของกรมชลประทานตามมติ ครม. นั้นจะมีการดำเนินการจ่ายในระดับ +๑๑๔ ม.รทก. กับพื้นที่ทั้งหมดจากหน้าเขื่อนหัวนาจนเขื่อนราษีไศลนั้นทำให้การจ่ายค่าชดเชยไม่ครอบคลุมพื้นที่ได้รับผลกระทบจริง ดังนั้นมติที่ประชุมของคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาระดับจังหวัดศรีสะเกษ วันที่ ๖ กันยายน ๒๕๕๔ ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานดำเนินด้านการปักขอบเขตอ่าง เมื่อระดับน้ำที่หน้าเขื่อนหัวนาอยู่ในระดับ +๑๑๒ ม.รทก. และ +๑๑๔ ม.รทก. เพื่อใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการพิจารณาจ่ายค่าชดชดเชย โดยได้มีการดำเนินการปักขอบเขตอ่างร่วมกันระหว่าง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ราษฎร ในพื้นที่ กรมชลประทาน และคณะทำงานปักขอบเขตอ่าง ในวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ ซึ่งเป็นช่วงฤดูน้ำลด อยู่ในระดับ +๑๑๔ มร.ทก ที่หน้าเขื่อนหัวนา พร้อมกับการจัดทำแผนที่ตามขอบเขตที่ได้รับผลกระทบจริง ซึ่งอยู่ในขั้นตอนการนำเอา เอกสารสำคัญ รว๔๓ก. มาทาบกับแผนที่ขอบเขตอ่างในระดับ +๑๑๔ มร.ทก ที่หน้าเขื่อนหัวนา เพื่อคัดแยกรายชื่อและจำนวนแปลงที่ดินที่ได้รับผลกระทบจริงตามแผนที่ดังกล่าว ก่อนนำเข้าสู่การพิจารณาคณะกรรมการระดับจังหวัดและคณะกรรมการชุดใหญ่ที่มีรองนายกเป็นประธาน ในการจ่ายค่าชดเชยต่อไป ซึ่งชาวบ้านยังมีความกังวลใจว่าหากรัฐบาลไม่ดำเนินการจ่ายตามผลกระทบที่เกิดขึ้นจริง ตามผลการปักขอบเขตของคณะทำงานวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ แล้ว ก็จะเกิดกรณีปัญหา “นานอกอ่าง” และแก้ไขไม่แล้วเสร็จ ขาดความเป็นธรรมและสร้างปัญหาต่อเนื่อง เหมือนเช่นกรณีเขื่อนราศีไศล ๔. กรมชลประทานยังมีความพยามสร้างผนังกั้นน้ำ DIKE หรือคันเขื่อน ในพื้นที่โครงการเขื่อนหัวนามาตลอด ทั้งที่ยังไม่ได้แก้ไขปัญหากรณีค่าชดเชยราษฎรผู้เดือดร้อนให้แล้วเสร็จ และไม่มีแนวทางการศึกษาผลกระทบจากคันเขื่อนหรือผนังกั้นน้ำก่อนการดำเนินการก่อสร้าง ซึ่งกรณีตัวอย่างเขื่อนราษีไศลได้เกิดปัญหาพื้นที่นานอกอ่างที่แก้ไขไม่แล้วเสร็จมาจนถึงปัจจุบัน แนวทางในการแก้ไขปัญหา เสนอต่อรัฐบาล ๒. ขอให้รัฐบาลเร่งรัดการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง โดยการจัดสรรเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องและจัดสรรงบประมาณในการดำเนินการอย่างเพียงพอ ๓. ผู้เดือดร้อนจากโครงการเขื่อนหัวนาและชาวบ้านกลุ่มสมัชชาคนจนเขื่อนหัวนา ยังยืนยันข้อเรียกร้องเดิม คือ ให้มีการจ่ายค่าชดเชยให้แล้วเสร็จก่อนดำเนินการปิดประตูเขื่อนหัวนา ๔. ให้รัฐบาลแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อดำเนินการตามแผนฟื้นฟูผลกระทบ ทั้งในเรื่องของอาชีพ และวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้าน ตามผลการศึกษาที่มีมติ ครม. รองรับแล้ว ๕. การกำหนดราคาในการจ่ายค่าชดเชยที่ดินทำกินของราษฎร ให้ยึดหลักการรวมกันเพื่อเป็นกรอบการทำงานในการแก้ไขปัญหากรณีเขื่อนหัวนา ดังนี้ ๖. รัฐบาลและกรมชลประทานจะต้องไม่ดำเนินก่อสร้างผนังกั้นน้ำ DIKE ในพื้นที่โครงการเขื่อนหัวนา เพื่อป้องกันปัญหาพื้นที่นานอกอ่างเหมือนกรณีเขื่อนราษีไศลที่แก้ไขไม่แล้วเสร็จมาจนถึงปัจจุบัน ค.ข้อเสนอต่อนโยบายการจัดการน้ำของรัฐบาลในอนาคต ๑. รัฐบาลจะต้องเปิดเผยข้อมูลผลกระทบที่จะเกิดจากการดำเนินโครงการ โขง เลย ชี มูล ต่อ ราษฎรกลุ่มผู้เดือดร้อนจากโครงการโขง ชี มูล เดิมทุกกลุ่ม โดยเฉพาะราษฎรเขื่อนราศีไศลและเขื่อนหัวนา ก่อนที่จะมีการดำเนินโครงการขนาดใหญ่ใดๆต่อไปในอนาคต เพื่อแสดงจริงใจของรัฐบาลว่าโครงการดังกล่าวจะไม่สร้างปัญหาและผลกระทบซ้ำเติมความเดือดของราษฎรในพื้นที่อีกในอนาคต ๒. โครงการจัดการน้ำตามแผนงานที่รัฐบาลจะใช้เงินกู้ ๓๕๐,๐๐๐ ล้านบาทในการจัดการซึ่งมีแผนงานมากมายที่ไร้หลักประกันว่าจะไม่ก่อผลกระทบซ้ำรอยโครงการเก่าๆ ในอดีต ๒.๑ ให้มีการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสังคมอย่างรอบด้าน จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและโปรดพิจารณา
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
“Burqa 2010 อิสรภาพที่ถูกขโมย” ภาพถ่ายกับการต่อต้านขัดขืน Posted: 29 Jul 2012 09:01 AM PDT เสวนาในหัวข้อ “การถ่ายภาพในโลกสมัยใหม่ผ่านสายตาช่างภาพหญิง "Women's Eyes (Mata Wanita)” ที่จัดโดยเครือข่ายช่างภาพชายแดนใต้ (DSP)
ภาพส่วนหนึ่งในผลงานชุด “Burqa 2010 อิสรภาพที่ถูกขโมย” ของอำพรรณี สะเตาะ
โปสเตอร์ภาพหญิงสาวมุสลิมสวมใส่ชุดยาวและผ้าปิดหน้าสีสันสดใสที่ปิดทั้งเรือนร่างอย่างิมิดชิดที่ติดอยู่ที่เสาอาคารลานกิจกรรม Student Union มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาเป็นสิ่งดึงดูดให้นักศึกษาที่อยู่บริเวณนั้นตัดสินใจเดินเรียงรายเข้ามาร่วมกิจกรรมเสวนาในหัวข้อ “การถ่ายภาพในโลกสมัยใหม่ผ่านสายตาช่างภาพหญิง "Women's Eyes (Mata Wanita)” ที่จัดโดยเครือข่ายช่างภาพชายแดนใต้ (DSP) ซึ่งเป็นกิจกรรมที่สนับสนุนโดยศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้และมูลนิธิ Sasakawa กิจกรรมเสวนาครั้งนี้เป็นการเปิดพื้นที่ให้กับผู้หญิงในการเล่าเรื่องราวหรือแง่มุมผ่านภาพถ่าย โดยมีวิทยากร 2 คน คือ อำพรรณี สะเตาะ ช่างภาพหญิงชาวยะรัง เจ้าของผลงาน Burqa 2010 ปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจำสาขาศิลปภาพถ่าย ม.รังสิต และ ดนยา จุฬพุฒิพงษ์ อดีตช่างภาพนิตยสาร a day weekly และหนังสือพิมพ์ Bangkok Post ปัจจุบันเป็นช่างภาพอิสระ อำพรรณีเกิดวันที่ 16 พฤษภาคม 2526 จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยรังสิต คณะศิลปะและการออกแบบ สาขาศิลปะภาพถ่าย และได้ไปศึกษาต่อในระดับปริญญาโทจากมหาวิทยาลัย L’École Nationale Superiéure de la Photographie เมืองอัรล์ส์ (Arles) ประเทศฝรั่งเศส สาขาศิลปะภาพถ่าย หลังจบการศึกษาแล้วเธอก็นำวิชาความรู้กลับมาถ่ายทอดให้กับนักศึกษาซึ่งเป็นรุ่นน้องในสถาบันเดียวกับที่เธอในตำแหน่งอาจารย์ประจำ มหาวิทยาลัยรังสิต คณะศิลปะและการออกแบบ สาขาศิลปะภาพถ่าย อำพรรณีเล่าให้ฟังว่าช่วงหนึ่งในชีวิตที่ฝรั่งเศสของเธอเป็นช่วงเวลาที่มีการเปลี่ยนแปลงบางอย่างในยุคสมัย เมื่อการเมืองเคลื่อนตัว ชีวิตความเป็นอยู่ วิถี กฎหมาย หลายอย่างเปลี่ยนไป ครั้งหนึ่งมีการปิดกั้นบางอย่างเกี่ยวกับศาสนาเพื่อต้องการลดทอนความต่างในสังคม แต่ในขณะเดียวกันก็กลับเพิ่มทวีความรุนแรงของความรู้สึกที่ถูกลิดรอน อย่างน้อยก็เธอคนหนึ่งที่เป็นผู้หญิงมุสลิม ทั้งนี้ ในปี 2553 รัฐบาลฝรั่งเศสได้ร่างกฎหมายว่าด้วยการห้ามผู้หญิงมุสลิมคลุมหน้าในที่สาธารณะ ขณะที่หลายฝ่ายตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับกับสิทธิของผู้หญิงมุสลิมและความไม่เหมาะสมในกรณีดังกล่าว “ถึงขนาดว่า ถ้าใครสวมใส่ฮิญาบในประเทศฝรั่งเศสจะถูกปรับกว่า 100 ยูโร หรือราว 6,000 บาท” อำพรรณีกล่าว ต่อมาช่วงเดือนเมษายน 2554 รัฐบาลฝรั่งเศสได้ประกาศใช้กฎหมายห้ามผู้หญิงสวมผ้าคลุมหน้าและศีรษะในที่สาธารณะ เธอในฐานะนักศึกษาภาพถ่ายก็เกิดความคับข้องใจจึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เธอและกลุ่มที่ต่อสู้เรื่องการละเมิดสิทธิในประเทศฝรั่งเศสซึ่งไม่เห็นด้วยกับกฎหมายดังกล่าวได้ร่วมกันต่อต้านกฎหมายนี้ โดยเธอเลือกใช้ศิลปะเพื่อสื่อสารให้ผู้คนรับรู้ว่าหญิงมุสลิมมีสิทธิและเสรีภาพที่จะสวมใส่อะไรก็ได้ ทั้งศิลปะยังเป็นศาสตร์ที่เธอชื่นชอบ เธอจึงถือโอกาสนี้ประกาศความเป็นมุสลิมให้คนอื่นได้รับรู้อย่างภาคภูมิใจโดยการคลุมฮิญาบตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา “งานศิลปะมาจากความรู้สึกและความคิดของตนเอง เพียงแต่แนวคิดในการนำเสนอของผู้หญิงและผู้ชายต่างกัน... ซึ่งเราต้องกล้าเริ่มที่จะสื่อสารก่อน ส่วนกระบวนการทำให้ดูน่าสนใจนั้น เป็นขั้นตอนต่อไป... ส่วนผู้ดูจะรู้สึกนึกคิดหรือมีทัศนคติอย่างไรกับภาพนั้นก็เป็นเรื่องปกติ และเป็นสิทธิของผู้ดูภาพ หากมีเพียง 1 - 2 คนที่เข้าใจผลงานของเรา ก็ถือว่าทำงานชิ้นนี้ประสบผลสำเร็จแล้ว เพราะการถ่ายภาพภาพเดียวยากที่จะสื่อสารให้คนทั่วไปเข้าใจได้” ทั้งหมดเป็นแรงบันดาลใจสำหรับภาพถ่ายชุดนี้ซึ่งอยากให้ผู้ชมได้ตระหนักและไตร่ตรองในสิ่งที่เกิดขึ้นในสังคมฝรั่งเศส การแสดงออกถึงความคับข้องใจ ผ่านภาพที่แสดงให้เห็นชุดผู้หญิงมุสลิมหลากสีกับอัตลักษณ์ที่แปลกตาในสถานที่ที่สำคัญๆ ของฝรั่งเศส เป็นการเรียกร้องเล็ก ๆ ที่ถ่ายทอดผ่านภาพถ่ายชุดนี้ จากความคิดตรงนั้น เธอจึงตัดสินใจสั่งตัดชุดบุรก้า (Burqa) หลากสีจากบ้านเกิด ยะรัง ปัตตานี เพื่อนำมาสวมใส่ถ่ายภาพตรงหน้าหอไอเฟล หน้าประตูชัย Arc de Triomphe และอีกหลายแห่ง โดยปล่อยให้ชุดบุรก้าแวววาวหลากสีพลิ้วไหวไปตามกระแสลมเพื่อสะท้อนให้เห็นสิทธิและเสรีภาพที่หญิงมุสลิมเช่นเธอถูกลิดรอนไป สำหรับผลงาน “อิสรภาพที่ถูกขโมยหรือ Burqa 2010” ใช้เวลาในการทำ 5 - 6 เดือน โดยจัดแสดงภาพไปแล้วเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม – 25 กันยายน 2554 โดยเป็นภาพแนว Self Portraitt โดยการใช้ Conceptual Art ซึ่งหมายถึง การใช้แนวคิดเป็นที่ตั้ง แล้วใช้สิ่งที่สะเทือนใจที่สุดเป็นที่ตั้งและแรงบันดาลใจ “อย่าให้ความคุ้นเคยกลายเป็นความเคยชิน เพราะจะทำให้ไม่เห็นว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่สวยงาม เราต้องมีประเด็นที่จะสื่อสาร แม้จะมีเทคนิคในการถ่ายภาพไม่ดีก็ไม่เป็นไร ให้ประเด็นเราชัดเจนแค่นั้นก็พอและเพื่อความสมจริงและความละเอียดของภาพ การทำงานสารคดีของดิฉันจะไม่มีการใช้โปรแกรมตัดต่อภาพใดๆ ทั้งสิ้น และจะใช้แสงช่วยให้ภาพดูสวยงามขึ้นเท่านั้น” อำพรรณีกล่าว ดนยา จุฬพุฒิพงษ์ ช่างภาพอิสระ เล่าถึงการถ่ายภาพในรูปแบบของเธอว่า หากช่างภาพเป็นผู้หญิงจะทำให้ผู้ถูกถ่ายไม่รู้สึกเกร็ง ด้วยความชอบเดินทาง ท่องเที่ยวและเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ด้วยการมองผ่านเลนส์กล้องถ่ายรูป และอยากบันทึกกิจกรรมในสถานที่นั้นๆ เธอจึงใช้ความชอบเหล่านี้เป็นแนวคิดในการถ่ายรูป “ภาพที่ถ่ายส่วนใหญ่เป็นภาพถ่ายแบบ Street Photo… โดยทั่วไปในขณะถ่ายภาพ จะไม่เข้าไปอยู่ใกล้ๆ ผู้ถูกถ่าย เพราะผู้ถูกถ่ายอาจเกิดความรู้สึกว่ากำลังถูกคุกคาม แต่หากหลีกเลี่ยงไม่ได้จริงๆ ก็จะยิ้มให้ก่อนถ่ายค่ะ... ส่วนเทคนิคในการลงพื้นที่เก็บภาพ คือ ใช้ความนอบน้อม และทำตัวให้กลมกลืนกับพื้นที่ที่ลงไปเก็บภาพ ทั้งต้องช่างสังเกต และเก็บรายละเอียดที่เกิดขึ้นในพื้นที่นั้นๆ อีกด้วย” ดนยา กล่าว
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
“Burqa 2010 อิสรภาพที่ถูกขโมย” ภาพถ่ายกับการต่อต้านขัดขืน Posted: 29 Jul 2012 08:59 AM PDT เสวนาในหัวข้อ “การถ่ายภาพในโลกสมัยใหม่ผ่านสายตาช่างภาพหญิง "Women's Eyes (Mata Wanita)” ที่จัดโดยเครือข่ายช่างภาพชายแดนใต้ (DSP)
ภาพส่วนหนึ่งในผลงานชุด “Burqa 2010 อิสรภาพที่ถูกขโมย” ของอำพรรณี สะเตาะ
โปสเตอร์ภาพหญิงสาวมุสลิมสวมใส่ชุดยาวและผ้าปิดหน้าสีสันสดใสที่ปิดทั้งเรือนร่างอย่างิมิดชิดที่ติดอยู่ที่เสาอาคารลานกิจกรรม Student Union มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาเป็นสิ่งดึงดูดให้นักศึกษาที่อยู่บริเวณนั้นตัดสินใจเดินเรียงรายเข้ามาร่วมกิจกรรมเสวนาในหัวข้อ “การถ่ายภาพในโลกสมัยใหม่ผ่านสายตาช่างภาพหญิง "Women's Eyes (Mata Wanita)” ที่จัดโดยเครือข่ายช่างภาพชายแดนใต้ (DSP) ซึ่งเป็นกิจกรรมที่สนับสนุนโดยศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้และมูลนิธิ Sasakawa กิจกรรมเสวนาครั้งนี้เป็นการเปิดพื้นที่ให้กับผู้หญิงในการเล่าเรื่องราวหรือแง่มุมผ่านภาพถ่าย โดยมีวิทยากร 2 คน คือ อำพรรณี สะเตาะ ช่างภาพหญิงชาวยะรัง เจ้าของผลงาน Burqa 2010 ปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจำสาขาศิลปภาพถ่าย ม.รังสิต และ ดนยา จุฬพุฒิพงษ์ อดีตช่างภาพนิตยสาร a day weekly และหนังสือพิมพ์ Bangkok Post ปัจจุบันเป็นช่างภาพอิสระ อำพรรณีเกิดวันที่ 16 พฤษภาคม 2526 จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยรังสิต คณะศิลปะและการออกแบบ สาขาศิลปะภาพถ่าย และได้ไปศึกษาต่อในระดับปริญญาโทจากมหาวิทยาลัย L’École Nationale Superiéure de la Photographie เมืองอัรล์ส์ (Arles) ประเทศฝรั่งเศส สาขาศิลปะภาพถ่าย หลังจบการศึกษาแล้วเธอก็นำวิชาความรู้กลับมาถ่ายทอดให้กับนักศึกษาซึ่งเป็นรุ่นน้องในสถาบันเดียวกับที่เธอในตำแหน่งอาจารย์ประจำ มหาวิทยาลัยรังสิต คณะศิลปะและการออกแบบ สาขาศิลปะภาพถ่าย อำพรรณีเล่าให้ฟังว่าช่วงหนึ่งในชีวิตที่ฝรั่งเศสของเธอเป็นช่วงเวลาที่มีการเปลี่ยนแปลงบางอย่างในยุคสมัย เมื่อการเมืองเคลื่อนตัว ชีวิตความเป็นอยู่ วิถี กฎหมาย หลายอย่างเปลี่ยนไป ครั้งหนึ่งมีการปิดกั้นบางอย่างเกี่ยวกับศาสนาเพื่อต้องการลดทอนความต่างในสังคม แต่ในขณะเดียวกันก็กลับเพิ่มทวีความรุนแรงของความรู้สึกที่ถูกลิดรอน อย่างน้อยก็เธอคนหนึ่งที่เป็นผู้หญิงมุสลิม ทั้งนี้ ในปี 2553 รัฐบาลฝรั่งเศสได้ร่างกฎหมายว่าด้วยการห้ามผู้หญิงมุสลิมคลุมหน้าในที่สาธารณะ ขณะที่หลายฝ่ายตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับกับสิทธิของผู้หญิงมุสลิมและความไม่เหมาะสมในกรณีดังกล่าว “ถึงขนาดว่า ถ้าใครสวมใส่ฮิญาบในประเทศฝรั่งเศสจะถูกปรับกว่า 100 ยูโร หรือราว 6,000 บาท” อำพรรณีกล่าว ต่อมาช่วงเดือนเมษายน 2554 รัฐบาลฝรั่งเศสได้ประกาศใช้กฎหมายห้ามผู้หญิงสวมผ้าคลุมหน้าและศีรษะในที่สาธารณะ เธอในฐานะนักศึกษาภาพถ่ายก็เกิดความคับข้องใจจึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เธอและกลุ่มที่ต่อสู้เรื่องการละเมิดสิทธิในประเทศฝรั่งเศสซึ่งไม่เห็นด้วยกับกฎหมายดังกล่าวได้ร่วมกันต่อต้านกฎหมายนี้ โดยเธอเลือกใช้ศิลปะเพื่อสื่อสารให้ผู้คนรับรู้ว่าหญิงมุสลิมมีสิทธิและเสรีภาพที่จะสวมใส่อะไรก็ได้ ทั้งศิลปะยังเป็นศาสตร์ที่เธอชื่นชอบ เธอจึงถือโอกาสนี้ประกาศความเป็นมุสลิมให้คนอื่นได้รับรู้อย่างภาคภูมิใจโดยการคลุมฮิญาบตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา “งานศิลปะมาจากความรู้สึกและความคิดของตนเอง เพียงแต่แนวคิดในการนำเสนอของผู้หญิงและผู้ชายต่างกัน... ซึ่งเราต้องกล้าเริ่มที่จะสื่อสารก่อน ส่วนกระบวนการทำให้ดูน่าสนใจนั้น เป็นขั้นตอนต่อไป... ส่วนผู้ดูจะรู้สึกนึกคิดหรือมีทัศนคติอย่างไรกับภาพนั้นก็เป็นเรื่องปกติ และเป็นสิทธิของผู้ดูภาพ หากมีเพียง 1 - 2 คนที่เข้าใจผลงานของเรา ก็ถือว่าทำงานชิ้นนี้ประสบผลสำเร็จแล้ว เพราะการถ่ายภาพภาพเดียวยากที่จะสื่อสารให้คนทั่วไปเข้าใจได้” ทั้งหมดเป็นแรงบันดาลใจสำหรับภาพถ่ายชุดนี้ซึ่งอยากให้ผู้ชมได้ตระหนักและไตร่ตรองในสิ่งที่เกิดขึ้นในสังคมฝรั่งเศส การแสดงออกถึงความคับข้องใจ ผ่านภาพที่แสดงให้เห็นชุดผู้หญิงมุสลิมหลากสีกับอัตลักษณ์ที่แปลกตาในสถานที่ที่สำคัญๆ ของฝรั่งเศส เป็นการเรียกร้องเล็ก ๆ ที่ถ่ายทอดผ่านภาพถ่ายชุดนี้ จากความคิดตรงนั้น เธอจึงตัดสินใจสั่งตัดชุดบุรก้า (Burqa) หลากสีจากบ้านเกิด ยะรัง ปัตตานี เพื่อนำมาสวมใส่ถ่ายภาพตรงหน้าหอไอเฟล หน้าประตูชัย Arc de Triomphe และอีกหลายแห่ง โดยปล่อยให้ชุดบุรก้าแวววาวหลากสีพลิ้วไหวไปตามกระแสลมเพื่อสะท้อนให้เห็นสิทธิและเสรีภาพที่หญิงมุสลิมเช่นเธอถูกลิดรอนไป สำหรับผลงาน “อิสรภาพที่ถูกขโมยหรือ Burqa 2010” ใช้เวลาในการทำ 5 - 6 เดือน โดยจัดแสดงภาพไปแล้วเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม – 25 กันยายน 2554 โดยเป็นภาพแนว Self Portraitt โดยการใช้ Conceptual Art ซึ่งหมายถึง การใช้แนวคิดเป็นที่ตั้ง แล้วใช้สิ่งที่สะเทือนใจที่สุดเป็นที่ตั้งและแรงบันดาลใจ “อย่าให้ความคุ้นเคยกลายเป็นความเคยชิน เพราะจะทำให้ไม่เห็นว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่สวยงาม เราต้องมีประเด็นที่จะสื่อสาร แม้จะมีเทคนิคในการถ่ายภาพไม่ดีก็ไม่เป็นไร ให้ประเด็นเราชัดเจนแค่นั้นก็พอและเพื่อความสมจริงและความละเอียดของภาพ การทำงานสารคดีของดิฉันจะไม่มีการใช้โปรแกรมตัดต่อภาพใดๆ ทั้งสิ้น และจะใช้แสงช่วยให้ภาพดูสวยงามขึ้นเท่านั้น” อำพรรณีกล่าว ดนยา จุฬพุฒิพงษ์ ช่างภาพอิสระ เล่าถึงการถ่ายภาพในรูปแบบของเธอว่า หากช่างภาพเป็นผู้หญิงจะทำให้ผู้ถูกถ่ายไม่รู้สึกเกร็ง ด้วยความชอบเดินทาง ท่องเที่ยวและเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ด้วยการมองผ่านเลนส์กล้องถ่ายรูป และอยากบันทึกกิจกรรมในสถานที่นั้นๆ เธอจึงใช้ความชอบเหล่านี้เป็นแนวคิดในการถ่ายรูป “ภาพที่ถ่ายส่วนใหญ่เป็นภาพถ่ายแบบ Street Photo… โดยทั่วไปในขณะถ่ายภาพ จะไม่เข้าไปอยู่ใกล้ๆ ผู้ถูกถ่าย เพราะผู้ถูกถ่ายอาจเกิดความรู้สึกว่ากำลังถูกคุกคาม แต่หากหลีกเลี่ยงไม่ได้จริงๆ ก็จะยิ้มให้ก่อนถ่ายค่ะ... ส่วนเทคนิคในการลงพื้นที่เก็บภาพ คือ ใช้ความนอบน้อม และทำตัวให้กลมกลืนกับพื้นที่ที่ลงไปเก็บภาพ ทั้งต้องช่างสังเกต และเก็บรายละเอียดที่เกิดขึ้นในพื้นที่นั้นๆ อีกด้วย” ดนยา กล่าว
| |
สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ: พิทักษ์ระบอบรัฐธรรมนูญ Posted: 29 Jul 2012 08:52 AM PDT เมื่อวันอาทิตย์ที่ 15 กรกฎาคมที่ผ่านมา กลุ่มนิติราษฎร์ ซึ่งอธิบายว่าเป็นกลุ่มนิติศาสตร์เพื่อราษฎร ได้ออกแถลงการณ์ในหัวข้อเสนอให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ เพื่อยกเลิกศาลรัฐธรรมนูญแล้วให้มีการจัดตั้งคณะตุลาการพิทักษ์ระบอบรัฐธรรมนูญขึ้นแทน โดยมีหลักการสำคัญที่จะให้คณะตุลาการรัฐธรรมนูญชุดใหม่นี้มีการยึดโยงกับอำนาจของประชาชนมากยิ่งขึ้น และเปลี่ยนหลักการจากการมุ่งพิทักษ์เฉพาะรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2550 มาเป็นการพิทักษ์หลักการของระบอบรัฐธรรมนูญแทน คงจะต้องขออธิบายว่า ข้อเสนอและหลักการของคณะนิติราษฎร์เช่นนี้ มีความน่าสนใจอย่างมาก โดยเฉพาะการเสนอในเรื่องข้อถกเถียงที่จะให้ศาลยึดโยงกับอำนาจของประชาชน ซึ่งหลักการเช่นนี้เป็นเรื่องที่สมควรที่จะปรับใช้ในการปฏิรูปกระบวนการศาลยุติธรรมต่อไป แต่ปัญหาหลักเฉพาะหน้านี้คือ การใช้อำนาจเกินขอบเขตของศาลรัฐธรรมนูญชุดปัจจุบัน การแก้ปัญหาตามข้อเสนอของนิติราษฎร์ คือ ให้มีการยุบศาลรัฐธรรมนูญจึงกลายเป็นความจำเป็นเฉพาะหน้า ศาลรัฐธรรมนูญมีขึ้นครั้งแรกตามเงื่อนไขของรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2540 โดยระบุให้มีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญ แต่ไม่มีอำนาจหน้าที่พิจารณาอรรถคดีทั่วไป ที่มาของศาลนั้น รัฐธรรมนูญได้กำหนดให้พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา ต่อมา ในรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2550 ก็ได้ระบุให้พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภาเช่นเดียวกัน เพียงแต่วุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 เป็นวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งและเป็นประชาธิปไตย ส่วนวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 เป็นพวกลากตั้งเสียครึ่งสภา และไม่มีความเป็นประชาธิปไตย จึงทำให้คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดปัจจุบัน ประกอบด้วยพวกผู้พิพากษาชราภาพ มีแนวคิดอนุรักษ์นิยม และยังเป็นกลุ่มที่เคยทำงานรับใช้คณะรัฐประหารมาแล้ว จึงมีปัญหาความชอบธรรมในการปฏิบัติงานมาแต่แรก ต่อมา ในการปฏิบัติงานยังปรากฏว่า ในระยะ 5 ปีที่ผ่านมา ศาลรัฐธรรมนูญชุดนี้ ใช้อำนาจมากเกินขอบเขตที่รัฐธรรมนูญได้ให้ไว้อยู่เสมอ การวินิจฉัยอรรถคดีทั้งหลายก็ตั้งอยู่บนฐานของอคติ และได้ใช้อำนาจเหนืออำนาจบริหารมาแล้ว โดยใช้คำวินิจฉัยของศาลล้มรัฐบาลของประเทศไทย ปลดนายกรัฐมนตรี ยุบพรรคการเมือง ตัดสิทธิ์หัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรคการเมืองทั้งหลายที่มาจากเสียงส่วนใหญ่ของประเทศ โดยที่คนเหล่านั้นไม่ได้กระทำความผิด และยังใช้อำนาจลงไปในรายละเอียดถึงขนาดเข้าแทรกแซงในเรื่องการดำเนินนโยบายต่างประเทศ ซึ่งสร้างความเสียหายอย่างมากมาแล้ว และตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายนที่ผ่านมา ศาลรัฐธรรมนูญคณะปัจจุบัน ยังทำเรื่องร้ายแรงที่สุดอย่างไม่น่าเชื่อ นั่นคือการดำเนินการละเมิดอำนาจนิติบัญญัติ ด้วยการตีความข้อกฏหมายจนเกินขอบเขต รับคำร้องคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญตาม มาตรา 68 และใช้คำสั่งให้รัฐสภาหยุดกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งผ่านวาระสองมาแล้ว และผลของการตีความก็ให้ประโยชน์ตามข้อเสนอของฝ่ายพันธมิตรและพรรคประชาธิปัตย์ ทำให้เกิดข้อกังขาในการเอียงข้าง จนถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก จนประธานศาลรัฐธรรมนูญเองก็ต้องออกมาแถลงชนิดเอาสีข้างเข้าถู ประเภทที่ว่า ศาลตีความรัฐธรรมนูญตามฉบับแปลภาษาอังกฤษ เป็นต้น ดังนั้น แม้ว่าศาลรัฐธรรมนูญจะพยายามแก้เกี้ยว โดยการวินิจฉัยในวันที่ 13 กรกฎาคม ที่ไม่รับคำร้อง ก็ไม่ได้ช่วยให้ศาลรัฐธรรมนูญมีความชอบธรรมในสายตาของประชาชนมากขึ้นแต่อย่างใด อันที่จริงการดำเนินการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเองถือว่ามีปัญหา และอาจจะถูกตีความให้โมฆะได้ตลอดมา เพราะในบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญมาตรา 300 วรรคที่ห้า ได้ระบุไว้ว่า “ในระหว่างที่ยังมิได้มีการตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ ให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจออกข้อกำหนดเกี่ยวกับวิธีพิจารณาและการทำคำวินิจฉัยได้ แต่ทั้งนี้ต้องตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปี นับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้” จากข้อความนี้ หมายถึงว่า ต้องมีพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีการพิจารณาความและการทำคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ภายในปี พ.ศ.2551 แต่ปรากฏว่า มาถึงขณะนี้ ปี พ.ศ.2555 ก็ยังไม่มีพระราชบัญญัติในลักษณะนี้ ซึ่งทำให้ตีความได้ว่า การพิจารณาความและการทำคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ตั้งแต่ พ.ศ.2552 เป็นต้นมา เป็นโมฆะทั้งหมด ใช่หรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นมิติไหน เมื่อมาถึงขณะนี้ รัฐสภาไทยก็สามารถที่จะเดินหน้าผ่างเป็นวาระสาม และแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตยตามเป้าหมาย โดยไม่ต้องสนใจคำวินิจฉัยนั้นเลย ยิ่งข้อแนะนำของศาลธรรมนูญให้มีการลงประชามติก่อนแก้ไข ยิ่งเป็นเรื่องเหลวไหล เพราะเป็นข้อเสนอที่ไม่ผูกมัด และไม่ได้วางอยู่บนหลักเหตุผลอันสมควร การดำเนินการอันน่าตลกขบขันของศาลรัฐธรรมนูญและกลุ่มฝ่ายขวาทั้งหลาย รวมทั้งฝ่ายพันธมิตรและพรรคประชาธิปัตย์ ก็คือ การแสดงถึงเจตจำนงที่จะปกป้องเฉพาะรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2550 โดยไม่ให้ฝ่ายพรรคเพื่อไทยแก้ไข เช่น ล่าสุด รายการ”ผ่าประเด็นร้อน” ของหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ ในวันที่ 16 กรกฎาคมนี้ ก็อ้างว่า การแก้รัฐธรรมนูญทั้งประเภทรายมาตรา หรือร่างใหม่ทั้งฉบับไม่ใช่เรื่องเร่งด่วน รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ควรไปแก้ปัญหาปากท้องเสียก่อน เพราะแก้รัฐธรรมนูญไปชาวบ้านก็ไม่ได้รับประโยชน์ มีแต่ทำให้บ้านเมืองเกิดความขัดแย้ง ข้ออ้างเช่นนี้ทำราวกับว่าในปีที่ผ่านมา รัฐบาลยิ่งลักษณ์ไม่ทำงานเรื่องอื่น ทำแต่เรื่องแก้รัฐธรรมนูญอย่างเดียว ความจริงเป็นไปในทางตรงข้าม รัฐบาลชุดนี้ทำงานบริหารเรื่องอื่นมากเกินไป ดำเนินการเรื่องแก้รัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตยช้าเกินไป และมีลักษณะลังเลมากเกินไปตลอดมา ถึงได้ผ่อนปรนให้ศาลรัฐธรรมนูญได้แผลงฤทธิ์มากอย่างนี้ การพิทักษ์รัฐธรรมนูญเฉพาะฉบับ พ.ศ.2550 ดำเนินไปโดยกลบเกลื่อนความจริงที่ว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นฉบับอัปลักษณ์ มีที่มาอันไม่ชอบธรรม เพราะมาจากการรัฐประหารฉีกรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2540 และเป็นมรดกของรัฐธรรมนูญฉบับชั่ว พ.ศ.2549 ความพยายามเหนี่ยวรั้งการแก้ไขได้เห็นมาแล้วตั้งแต่บทบาทของพรรคประชาธิปัตย์ในรัฐสภา ที่เตะถ่วงการพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญวาระที่สอง และการกำหนดให้ไม่มีการแก้ไขในหมวดที่หนึ่งและหมวดที่สองก็เป็นการไม่ถูกต้อง กระบวนการทั้งหมดนี้ ก็ความพยายามในการรักษาอำนาจของกลุ่มอิทธิพลตามรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะ องคมนตรี และศาล การดำเนินการปกป้องรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2550 เช่นนี้ กลับสวนทางกับการปกป้องหลักการของระบอบรัฐธรรมนูญ นั่นคือ การมีรัฐธรรมนูญที่รักษาอำนาจอธิปไตยของประชาชน และปกป้องสิทธิมนุษยชน จึงเป็นการถูกต้อง ที่พรรคเพื่อไทยจะออกคำแถลงปฏิเสธอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ และยืนยันในนโยบายที่จะแก้รัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตย โดยยึดมั่นในนิติรัฐ และ นิติธรรม และเมื่อพรรคเพื่อไทยได้ตัดสินใจ ผลักดันกระบวนแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยจัดให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญที่มาจากการเลือกตั้ง ก็ควรจะเดินหน้าต่อไปในเรื่องนี้ แต่ก็ไม่น่าจะเสียเวลามากนัก ถ้าจะเสนอการแก้ไขรัฐธรรมนูญเฉพาะหมวดศาล ให้มีการยุบศาลรัฐธรรมนูญเสียเป็นขั้นต้น
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ: พิทักษ์ระบอบรัฐธรรมนูญ Posted: 29 Jul 2012 08:52 AM PDT เมื่อวันอาทิตย์ที่ 15 กรกฎาคมที่ผ่านมา กลุ่มนิติราษฎร์ ซึ่งอธิบายว่าเป็นกลุ่มนิติศาสตร์เพื่อราษฎร ได้ออกแถลงการณ์ในหัวข้อเสนอให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ เพื่อยกเลิกศาลรัฐธรรมนูญแล้วให้มีการจัดตั้งคณะตุลาการพิทักษ์ระบอบรัฐธรรมนูญขึ้นแทน โดยมีหลักการสำคัญที่จะให้คณะตุลาการรัฐธรรมนูญชุดใหม่นี้มีการยึดโยงกับอำนาจของประชาชนมากยิ่งขึ้น และเปลี่ยนหลักการจากการมุ่งพิทักษ์เฉพาะรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2550 มาเป็นการพิทักษ์หลักการของระบอบรัฐธรรมนูญแทน คงจะต้องขออธิบายว่า ข้อเสนอและหลักการของคณะนิติราษฎร์เช่นนี้ มีความน่าสนใจอย่างมาก โดยเฉพาะการเสนอในเรื่องข้อถกเถียงที่จะให้ศาลยึดโยงกับอำนาจของประชาชน ซึ่งหลักการเช่นนี้เป็นเรื่องที่สมควรที่จะปรับใช้ในการปฏิรูปกระบวนการศาลยุติธรรมต่อไป แต่ปัญหาหลักเฉพาะหน้านี้คือ การใช้อำนาจเกินขอบเขตของศาลรัฐธรรมนูญชุดปัจจุบัน การแก้ปัญหาตามข้อเสนอของนิติราษฎร์ คือ ให้มีการยุบศาลรัฐธรรมนูญจึงกลายเป็นความจำเป็นเฉพาะหน้า ศาลรัฐธรรมนูญมีขึ้นครั้งแรกตามเงื่อนไขของรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2540 โดยระบุให้มีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญ แต่ไม่มีอำนาจหน้าที่พิจารณาอรรถคดีทั่วไป ที่มาของศาลนั้น รัฐธรรมนูญได้กำหนดให้พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา ต่อมา ในรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2550 ก็ได้ระบุให้พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภาเช่นเดียวกัน เพียงแต่วุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 เป็นวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งและเป็นประชาธิปไตย ส่วนวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 เป็นพวกลากตั้งเสียครึ่งสภา และไม่มีความเป็นประชาธิปไตย จึงทำให้คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดปัจจุบัน ประกอบด้วยพวกผู้พิพากษาชราภาพ มีแนวคิดอนุรักษ์นิยม และยังเป็นกลุ่มที่เคยทำงานรับใช้คณะรัฐประหารมาแล้ว จึงมีปัญหาความชอบธรรมในการปฏิบัติงานมาแต่แรก ต่อมา ในการปฏิบัติงานยังปรากฏว่า ในระยะ 5 ปีที่ผ่านมา ศาลรัฐธรรมนูญชุดนี้ ใช้อำนาจมากเกินขอบเขตที่รัฐธรรมนูญได้ให้ไว้อยู่เสมอ การวินิจฉัยอรรถคดีทั้งหลายก็ตั้งอยู่บนฐานของอคติ และได้ใช้อำนาจเหนืออำนาจบริหารมาแล้ว โดยใช้คำวินิจฉัยของศาลล้มรัฐบาลของประเทศไทย ปลดนายกรัฐมนตรี ยุบพรรคการเมือง ตัดสิทธิ์หัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรคการเมืองทั้งหลายที่มาจากเสียงส่วนใหญ่ของประเทศ โดยที่คนเหล่านั้นไม่ได้กระทำความผิด และยังใช้อำนาจลงไปในรายละเอียดถึงขนาดเข้าแทรกแซงในเรื่องการดำเนินนโยบายต่างประเทศ ซึ่งสร้างความเสียหายอย่างมากมาแล้ว และตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายนที่ผ่านมา ศาลรัฐธรรมนูญคณะปัจจุบัน ยังทำเรื่องร้ายแรงที่สุดอย่างไม่น่าเชื่อ นั่นคือการดำเนินการละเมิดอำนาจนิติบัญญัติ ด้วยการตีความข้อกฏหมายจนเกินขอบเขต รับคำร้องคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญตาม มาตรา 68 และใช้คำสั่งให้รัฐสภาหยุดกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งผ่านวาระสองมาแล้ว และผลของการตีความก็ให้ประโยชน์ตามข้อเสนอของฝ่ายพันธมิตรและพรรคประชาธิปัตย์ ทำให้เกิดข้อกังขาในการเอียงข้าง จนถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก จนประธานศาลรัฐธรรมนูญเองก็ต้องออกมาแถลงชนิดเอาสีข้างเข้าถู ประเภทที่ว่า ศาลตีความรัฐธรรมนูญตามฉบับแปลภาษาอังกฤษ เป็นต้น ดังนั้น แม้ว่าศาลรัฐธรรมนูญจะพยายามแก้เกี้ยว โดยการวินิจฉัยในวันที่ 13 กรกฎาคม ที่ไม่รับคำร้อง ก็ไม่ได้ช่วยให้ศาลรัฐธรรมนูญมีความชอบธรรมในสายตาของประชาชนมากขึ้นแต่อย่างใด อันที่จริงการดำเนินการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเองถือว่ามีปัญหา และอาจจะถูกตีความให้โมฆะได้ตลอดมา เพราะในบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญมาตรา 300 วรรคที่ห้า ได้ระบุไว้ว่า “ในระหว่างที่ยังมิได้มีการตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ ให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจออกข้อกำหนดเกี่ยวกับวิธีพิจารณาและการทำคำวินิจฉัยได้ แต่ทั้งนี้ต้องตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปี นับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้” จากข้อความนี้ หมายถึงว่า ต้องมีพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีการพิจารณาความและการทำคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ภายในปี พ.ศ.2551 แต่ปรากฏว่า มาถึงขณะนี้ ปี พ.ศ.2555 ก็ยังไม่มีพระราชบัญญัติในลักษณะนี้ ซึ่งทำให้ตีความได้ว่า การพิจารณาความและการทำคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ตั้งแต่ พ.ศ.2552 เป็นต้นมา เป็นโมฆะทั้งหมด ใช่หรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นมิติไหน เมื่อมาถึงขณะนี้ รัฐสภาไทยก็สามารถที่จะเดินหน้าผ่างเป็นวาระสาม และแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตยตามเป้าหมาย โดยไม่ต้องสนใจคำวินิจฉัยนั้นเลย ยิ่งข้อแนะนำของศาลธรรมนูญให้มีการลงประชามติก่อนแก้ไข ยิ่งเป็นเรื่องเหลวไหล เพราะเป็นข้อเสนอที่ไม่ผูกมัด และไม่ได้วางอยู่บนหลักเหตุผลอันสมควร การดำเนินการอันน่าตลกขบขันของศาลรัฐธรรมนูญและกลุ่มฝ่ายขวาทั้งหลาย รวมทั้งฝ่ายพันธมิตรและพรรคประชาธิปัตย์ ก็คือ การแสดงถึงเจตจำนงที่จะปกป้องเฉพาะรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2550 โดยไม่ให้ฝ่ายพรรคเพื่อไทยแก้ไข เช่น ล่าสุด รายการ”ผ่าประเด็นร้อน” ของหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ ในวันที่ 16 กรกฎาคมนี้ ก็อ้างว่า การแก้รัฐธรรมนูญทั้งประเภทรายมาตรา หรือร่างใหม่ทั้งฉบับไม่ใช่เรื่องเร่งด่วน รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ควรไปแก้ปัญหาปากท้องเสียก่อน เพราะแก้รัฐธรรมนูญไปชาวบ้านก็ไม่ได้รับประโยชน์ มีแต่ทำให้บ้านเมืองเกิดความขัดแย้ง ข้ออ้างเช่นนี้ทำราวกับว่าในปีที่ผ่านมา รัฐบาลยิ่งลักษณ์ไม่ทำงานเรื่องอื่น ทำแต่เรื่องแก้รัฐธรรมนูญอย่างเดียว ความจริงเป็นไปในทางตรงข้าม รัฐบาลชุดนี้ทำงานบริหารเรื่องอื่นมากเกินไป ดำเนินการเรื่องแก้รัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตยช้าเกินไป และมีลักษณะลังเลมากเกินไปตลอดมา ถึงได้ผ่อนปรนให้ศาลรัฐธรรมนูญได้แผลงฤทธิ์มากอย่างนี้ การพิทักษ์รัฐธรรมนูญเฉพาะฉบับ พ.ศ.2550 ดำเนินไปโดยกลบเกลื่อนความจริงที่ว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นฉบับอัปลักษณ์ มีที่มาอันไม่ชอบธรรม เพราะมาจากการรัฐประหารฉีกรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2540 และเป็นมรดกของรัฐธรรมนูญฉบับชั่ว พ.ศ.2549 ความพยายามเหนี่ยวรั้งการแก้ไขได้เห็นมาแล้วตั้งแต่บทบาทของพรรคประชาธิปัตย์ในรัฐสภา ที่เตะถ่วงการพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญวาระที่สอง และการกำหนดให้ไม่มีการแก้ไขในหมวดที่หนึ่งและหมวดที่สองก็เป็นการไม่ถูกต้อง กระบวนการทั้งหมดนี้ ก็ความพยายามในการรักษาอำนาจของกลุ่มอิทธิพลตามรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะ องคมนตรี และศาล การดำเนินการปกป้องรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2550 เช่นนี้ กลับสวนทางกับการปกป้องหลักการของระบอบรัฐธรรมนูญ นั่นคือ การมีรัฐธรรมนูญที่รักษาอำนาจอธิปไตยของประชาชน และปกป้องสิทธิมนุษยชน จึงเป็นการถูกต้อง ที่พรรคเพื่อไทยจะออกคำแถลงปฏิเสธอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ และยืนยันในนโยบายที่จะแก้รัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตย โดยยึดมั่นในนิติรัฐ และ นิติธรรม และเมื่อพรรคเพื่อไทยได้ตัดสินใจ ผลักดันกระบวนแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยจัดให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญที่มาจากการเลือกตั้ง ก็ควรจะเดินหน้าต่อไปในเรื่องนี้ แต่ก็ไม่น่าจะเสียเวลามากนัก ถ้าจะเสนอการแก้ไขรัฐธรรมนูญเฉพาะหมวดศาล ให้มีการยุบศาลรัฐธรรมนูญเสียเป็นขั้นต้น
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
จากออโรราถึงโคลัมไบน์ และการเมืองเรื่อง “ปืน” ในสหรัฐ Posted: 29 Jul 2012 05:39 AM PDT ณ เมืองออโรรา ใกล้กับเดนเวอร์ รัฐโคโลราโด กลางดึกของวันที่ 20 ก.ค. 2555 เจมส์ โฮลมส์ ชายหนุ่มอดีตนักศึกษาปริญญาเอกมหาวิทยาลัยโคโลราโด สาขาประสาทวิทยาศาสตร์วัย 24 ปี สวมหน้ากากกันแก๊ซ ชุดกันกระสุน หมวกกันกระสุนสีดำล้วน เดินเข้าโรงหนังเซ็นทูรี 15 ใจกลางเมืองออโรรา เปิดฉากการสังหารหมู่ด้วยการโยนแก๊ซน้ำตาเข้ากลางผู้ชมที่หน้งอยู่ในโรงหนังหมายเลข 9 และกระหน่ำยิงปืนลูกซอง, ปืนไรเฟิลกึ่งอัตโนมัติและปืนพกเข้าใส่คนดูอย่างไม่ยั้งมือ มีผูู้เสียชีวิตทันที 10 ราย อีก 2 ราย เสียชีวิตในเวลาต่อมาที่โรงพยาบาลใกล้เคียง มียอดผู้บาดเจ็บ58 คน รวมถึงทารกวัย 4 เดือนด้วย ตำรวจจับโฮลมส์ได้ทันทีบริเวณไม่ไกลจากที่เกิดเหตุ มีรายงานว่า เจมส์ โฮลมส์ ซื้อปืนที่เขาใช้สังหารทั้ง 4 กระบอก กับกระสุนอีก 6,000 นัดจากร้านขายปืนและทางอินเทอร์เน็ตอย่างถูกกฎหมาย ปี 2550… เมื่อ 7 โมงเช้าวันที่ 16 เม.ย. 2550 ณ วิทยาลัยโพลีเทคนิคเวอร์จิเนียเทค ในรัฐเวอร์จิเนีย ซึง ฮุย โช นักศึกษาเอกวิชาภาษาอังกฤษ สัญชาติเกาหลี- สหรัฐ วัย 23 ปี พกปืนลูกซองกึ่งอัตโนมัติขนาด9 mmที่เขาสั่งซื้อมาจากอินเทอร์เน็ต เดินไปที่ชั้นสี่ของหอพักมหาวิทยาลัย เขาลั่นปืนใส่เพื่อนนักเรียนสองคน เอมิลี่ เฮิร์ช และไรอัน คลาร์ก ทำให้สองคนนั้นเสียชีวิตทันที ไม่กี่ชั่วโมงถัดมา โชเดินกลับมาที่ห้องพัก จัดแจงเตรียมเอกสารและเทปวีดีโอเกี่ยวกับตนเองส่งไปยังสถานีโทรทัศน์เอ็นบีซี จากนั้นเตรียมปืนและกระสุน เดินไปยังตึกเรียนที่อยู่ใกล้ๆ และเปิดฉากยิงกระสุน 170 นัด กระหน่ำเข้าใส่เพื่อนนักเรียนและคนที่อยู่ในบริเวณนั้น ทำให้มีผู้เสียชีวิตราว 30 คน และบาดเจ็บเกือบอีก 20 คน เขายิงตัวตายตามหลังจากนั้น ปี 2542… ในวันที่ 20 เม.ย. ปี 2542 ราว 11 โมงเช้าเด็กผู้ชายวัยมัธยมปลายสองคน เอริค แอร์ริส และดีแลน คีโบลด์ วัย 18 และ 17 ปี ใช้ระเบิดประกอบเองโยนเข้าตามจุดต่างๆ ของโรงเรียนมัธยมโคลัมไบน์ ในรัฐโคโลราโด ก่อนจะใช้ปืนลูกซองและปืนพกมือคนละ 2 กระบอกที่ซื้อต่อจากคนรู้จัก กราดยิงตามห้องเรียน ห้องสมุด ห้องคอมพิวเตอร์ และลานกลางร.ร. สังหารเพื่อนและครูร่วมโรงเรียน 13 ราย ทำให้บาดเจ็บอีก 24 รายทั้งเอริคและดีแลน ฆ่าตัวเองตายหลังจากนั้นทันที โดยเอริคยิงปืนหนึ่งนัดเข้าที่ปาก ส่วนดีแลนใช้ปืนพกยิงเข้าที่ขมับตนเอง 0000 อันที่จริงแล้ว สำหรับสหรัฐอเมริกา อาจกล่าวได้ว่า เหตุการณ์สังหารหมู่ด้วยปืนเช่นตัวอย่างที่ยกมาไม่ใช่เรื่องที่คาดเดายากเท่าใดนัก จากการรวบรวมเหตุการณ์สังหารหมู่ในสหรัฐที่ปรากฎเป็นข่าว โดยองค์กรรณรงค์เพื่อจำกัดการใข้ปืน Brady Campaign to Prevent Gun Violence พบว่า ตั้งแต่ปี 2548 เป็นต้นมา เกิดการสังหารหมู่ด้วยปืนในสหรัฐโดยเฉลี่ยปีละราว 60 ครั้ง [1] และจากสถิติขององค์กร Small Arm Survey พบว่า ประชากรสหรัฐเป็นเจ้าของปืนมากที่สุดในโลก โดยใน 100 คน มีถึง 88 คนที่มีอาวุธปืน ในขณะที่รองลงมา คือประเทศเยเมน มี 54.8 คน ต่อ 100 หัว ตามมาด้วย สวิสเซอร์แลนด์ ฟินแลนด์ และเซอร์เบีย ตามลำดับ [2] นอกจากนี้ เมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศที่มีรายได้สูงอีก 22 ประเทศ อัตราการฆาตกรรมด้วยการใช้อาวุธปืนในสหรัฐสูงกว่าประเทศอื่นถึงเกือบ 20 เท่า [3] สิทธิการถือปืนในฐานะสิทธิพลเมืองยังไม่เป็นที่ชัดเจนนักว่า สถิติการเป็นเจ้าของปืนต่อประชากร เกี่ยวข้องโดยตรงกับการสังหารหมู่และความรุนแรงที่เกิดขึ้นมากแค่ไหน แต่การถกเถียงเรื่องนี้ มักจะเกิดขึ้นในสังคมอเมริกันเสมอๆ หลังเหตุการณ์สะเทือนขวัญเช่นนี้เกิดขึ้น โดยฝ่ายสนับสนุนให้มีการพกปืน อย่างสมาคมไรเฟิลแห่งชาติ (National Rifle Association) ซึ่งเป็นกลุ่มที่ทรงอิทธิพลในการเมืองสหรัฐ มักจะอ้างบทแก้ไขเพิ่มเติมที่ 2 (Second Amendment) ตามคำประกาศว่าด้วยสิทธิพลเมือง (Bill of Rights) ในรัฐธรรมนูญสหรัฐ ซึ่งพิทักษ์สิทธิประชาชนในการมีอาวุธในครอบครอง เพื่อป้องกันตนเองจากภัยอันตราย ส่วนฝ่ายที่สนับสนุนกฎหมายที่จำกัดการใช้ปืน จะอ้างถึงความรุนแรงของการใช้อาวุธปืนและกฎหมายควบคุมการใช้อาวุธที่ไม่รัดกุมอย่างเพียงพอ ทั้งนี้ บทแก้ไขเพิ่มเติมที่ 2 ระบุว่า “กองกำลังอาสาสมัครที่มีกฎข้อบังคับอย่างดี ซึ่งจำเป็นต่อการรักษาความมั่นคงของรัฐอิสระรวมทั้งสิทธิของประชาชนที่จะเก็บรักษาและถืออาวธุเป็นสิ่งที่ละเมิดมิได้”โดยที่มาของบทบัญญัตินี้ มีที่มาจากบริบททางประวัติศาสตร์ของสหรัฐ สมัยที่อยู่ภายใต้การปกครองของเจ้าอาณานิคมอังกฤษ ซึ่งไม่ต้องการให้ผู้ที่อยู่ใต้ปกครองติดอาวุธและลุกฮือขึ้นต่อต้าน เมื่อผู้นำสหรัฐอเมริกาทำการปฏิวัติได้สำเร็จ จึงได้ร่างคำประกาศว่าด้วยสิทธิพลเมืองโดยเพิ่มบทแก้ไขเพิ่มเติมที่ 2 รับรองสิทธิการครอบครองอาวุธแก่พลเมืองอเมริกัน เพื่อคุ้มครองตนเอง ป้องกันประเทศจากการรุกราน และต่อสู้กับรัฐบาลที่เป็นทรราชย์ ที่ผ่านมา บทแก้ไขเพิ่มเติมที่ 2 ถูกตีความจากนักวิชาการด้านกฎหมายหลายทาง โดยแนวทางหลักๆ ที่ปรากฏ มี 3 แนว คือ
อย่างไรก็ตาม การถกเถียงดังกล่าว ก็เริ่มมีบรรทัดฐานชัดเจนขึ้น เมื่อปี 2551 ศาลฎีกาตัดสินคดีพิพาทระหว่าง District of Columbia v. Heller [4] ซึ่งเป็นคดีหมุดหมายที่ตัดสินให้สหพันธรัฐรับรองสิทธิของบุคคลในการครอบครองอาวุธปืน เพื่อป้องกันตนเองจากภัยอันคราย โดยไม่จำเป็นต้องจำกัดเฉพาะการใช้ในกองกำลังของรัฐ และบรรทัดฐานดังกล่าวก็ยิ่งชัดเจนมากยิ่งขึ้น เมื่อปี 2553 ศาลสูงสุดสหรัฐได้ตัดสินคดี McDonald v. Chicago [5] ให้ “รัฐ” ทุกรัฐต้องรับรองสิทธิบุคคลในการครอบครองปืน แน่นอนว่า แม้จุดประสงค์ของบทบัญญัติแก้ไขที่ 2 จะมีไว้เพื่อให้พลเมืองป้องกันตนเองจากภัยอันตราย แต่ปรากฎการณ์สังหารหมู่ในสหรัฐที่โหดเหี้ยมและเกิดขึ้นบ่อยครั้ง นำมาสู่คำถามที่ว่าบทบัญญัติดังกล่าว ทำให้ประชาชนรู้สึกปลอดภัยมากขึ้น หรือในทางกลับกัน เพิ่มความเสี่ยงของการตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงกันแน่
การถกเถียงที่ยังดำเนินอยู่เมื่อวันพุธที่ผ่านมา ประธานาธิบดีโอบามา ออกมาให้สัญญาว่า รัฐบาลจะทำให้การใช้อาวุธปืนเข้มงวดกว่าเดิม โดยให้มีการเช็คประวัติผู้ซื้อปืนแน่นหนาขึ้น และมีมาตรการไม่ให้ปืนตกอยู่ในมือคนที่ไม่เหมาะสม อย่างไรก็ตาม เขายอมรับว่า การผ่านกฎหมายจำกัดอาวุธปืนในสภาที่พรรคเดโมแครตพยายามผลักดัน ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายนัก เนื่องจากประเด็นเรื่องปืนเป็นเรื่องการเมืองซึ่งเกี่ยวข้องกับกลุ่มผลประโยชน์ ทำให้ความพยายามดังกล่าวไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ในขณะเดียวกัน มิตต์ รอมนีย์ ผู้สมัครอย่างไม่เป็นทางการจากพรรครีพับลิกันซึ่งมีแนวโน้มสนับสนุนสิทธิการใช้ปืน ออกมาให้สัมภาษณ์กับสถานีโทรทัศน์เอ็นบีซีในวันเดียวกันว่า เขาเสียใจต่อกรณีการสังหารหมู่ที่เมืองออโรรา อย่างไรก็ตาม เขาเห็นว่าการใช้กฎหมายควบคุมการใช้อาวุธปืนที่เข้มงวดมากขึ้น ไม่ใช่ทางออกของปัญหาความรุนแรงดังกล่าว แต่เขาก็ไม่เห็นด้วยเช่นกันว่า คนร้ายไม่ควรจะมีอาวุธปืน “แต่เขาก็มีมันจนได้ และเราก็หวังกันว่า บางที การเปลี่ยนกฎหมายอาจจะช่วยให้สิ่งที่เลวร้ายมันหายไปได้หมด แต่มันไม่ไปหรอก การเปลี่ยนจิตใจของชาวอเมริกันมากกว่าที่เป็นสิ่งสำคัญ เพื่อปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอเมริกันชนต่างหาก” รอมนีย์กล่าว [6] เช่นเดียวกับส.ส. รีพบลิกันจากรัฐเท็กซัส ลูยอี โกแมร์ท ซึ่งให้สัมภาษณ์ผ่านทางสถานีวิทยุ The Heritage Foundation เมื่อวันศุกร์เดียวกับที่เกิดเหตุว่า หากมีคนที่อยู่ในโรงหนังติดอาวุธปืน ก็อาจจะป้องกันเหตุการณ์เลวร้ายที่เกิดขึ้นได้ เขายังกล่าวด้วยว่า การโจมตีดังกล่าว เป็นการโจมตีความเชื่อแห่งศาสนาคริสต์ และหากคนเชื่อในพระเจ้ามากขึ้น เหตุการณ์ดังกล่าวก็อาจจะไม่เกิด [7] การสังหารหมู่ที่ออโรรา ทำให้กลุ่มที่สนับสนุนและต่อต้านการใช้อาวุธปืน เปิดประเด็นกฎหมายการใช้ปืนอย่างกว้างขวางอีกครั้งเช่น Gun Owners of America (GOA) ซึ่งเป็นกลุ่มล็อบบี้เพื่อสิทธิการใช้อาวุธปืนก็ออกมากล่าวว่า การจำกัดการใช้ปืน ไม่ใช่ทางออกของความรุนแรงที่เกิดขึ้น “เราคงจะเห็นกลุ่มที่รณรงค์จำกัดการใช้ปืนออกมาบอกว่า จำเป็นต้องเข้มงวดมากขึ้นหลังจากเหตุการณ์เลวร้ายดังกล่าว” จอห์น เวลเลโค ผู้อำนวยการฝ่ายสหพันรัฐของ GOA กล่าว “แต่อย่าลืมว่า การจำกัดการใช้อาวุธ อาจทำให้สถานการณ์เลวร้ายกว่าเดิมเนื่องจากทำให้พลเมืองดีครอบครองปืนได้ยากขึ้น ซึ่งสำหรับพวกคนเสียสติแล้ว เท่ากับว่ามีเหยื่อมือเปล่ามากขึ้นด้วย” [8] องค์กรสมาคมไรเฟิลแห่งชาติ หรือ NRA เป็นกลุ่มล็อบบี้สิทธิการใช้ปืนที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดในการเมืองสหรัฐ ในขณะเดียวกัน กลุ่มรณรงค์เพื่อจำกัดการใช้อาวุธปืนอย่าง Brady Campaign ก็ใช้โอกาสนี้ เรียกร้องให้ผู้นำสหรัฐแสดงจุดยืนที่ชัดเจนที่เข้มงวดมากขึ้นต่อการใช้ปืน และเรียกร้องให้ประชาชนชาวสหรัฐลงนามรณรงค์เพื่อต่อต้านการใช้ปืนของคนที่มีแนวโน้มอันตราย เช่นเดียวกับนายกรัฐมนตรีรัฐนิวยอร์ก ไมเคิล บลูมเบิร์ก ที่เรียกร้องให้ ผู้สมัครทั้งสองพรรคแถลงจุดยืนให้ชัดเจนว่า มีจุดยืนต่อเรื่องนี้อย่างไร “มันถึงเวลาแล้วที่คนสองคนที่ต้องการจะเป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ลุกขึ้นยืน และบอกเราว่าพวกเขาจะทำอย่างไรกับเรื่องนี้ เพราะเป็นที่ชัดเจนว่า นี่เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นไปทั่วประเทศ” บลูมเบิร์กกล่าว ทั้งนี้่ กฎหมายควบคุมการใช้อาวุธปืน มีความเข้มงวดแตกต่างกันออกไปในแต่ละรัฐโดยรัฐนิวยอร์ก เป็นรัฐที่มีกฎหมายควบคุมการใช้อาวุธปืนที่เข้มงวดแห่งหนึ่งที่สุด ซึ่งมีกฎกำกับดูแลการซื้อขาย การครอบครอง และการใช้อาวุธและกระสุนปืน ช่องโหว่ทางกฎหมายที่อ้าซ่าโดยทั่วไปแล้ว ตามกฎหมายการควบคุมอาวุธปืนของสหรัฐ (Gun Control Act 1968) ระบุไว้ว่า ผู้ที่ต้องการซื้ออาวุธปืน ต้องไม่เป็นผู้ที่เคยก่ออาชญากรรม ผู้ติดยาเสพติด คนที่ไม่เป็นพลเมืองสหรัฐ เยาวชนที่อายุต่ำกว่า 18 ปี สำหรับปืนยาว เยาวชนที่ต่ำกว่า 21 ปี สำหรับปืนพก (ยกเว้นรัฐเวอร์มอนต์ที่ห้ามเยาวชนต่ำกว่า 16 ปี) ในการซื้อปืนเพื่อมีไว้ในครอบครองกฎหมายยังกำหนดให้บุคคลต้องซื้อจากร้านจำหน่ายปืนที่จดทะเบียนและได้รับใบอนุญาตจากสหพันธรัฐ (Federally licensed firearm dealer) เท่านั้นและผู้ซื้อ ต้องถูกตรวจสอบประวัติอาชญากรรม และสภาพจิตใจ เพื่อรับรองว่าไม่เข้าข่ายบุคคลที่ห้ามถือครองอาวุธปืน นอกจากนี้ การซื้อขายอาวุธปืนข้ามรัฐ ก็ไม่สามารถทำได้ระหว่างบุคคลสองคน จำเป็นต้องกระทำผ่านร้านจำหน่ายปืนที่มีใบอนุญาต เช่นเดียวกับการสั่งซื้อปืนออนไลน์ ที่กฎหมายกำหนดให้ผู้ขายต้องส่งปืนทางไปรษณีย์ไปยังร้านจำหน่ายที่ได้รับอนุญาต จากนั้นให้ผู้ซื้อมารับปืนที่ร้าน และกรอกแบบฟอร์มเพื่อให้ข้อมูลที่จำเป็น แต่ถ้าหากว่าอยู่ในรัฐเดียวกัน นิติบุคคลสามารถกระทำการซื้อขายได้ โดยไม่ต้องกระทำผ่านร้านจำหน่ายปืนจดทะเบียน และไม่จำเป็นต้องถูกตรวจสอบประวัติใดๆ อย่างไรก็ตาม มีรายงานจาก Rossen Report หน่วยข่าวสอบสวนเว็บไซต์ TODAY ของสำนักข่าว NBC ซึ่งได้ทดลองสั่งซื้ออาวุธปืนชนิดต่างๆ ทางอินเทอร์เน็ต พบว่า ภายใน 12 ชั่วโมง ผู้ซื้อสามารถสั่งซื้อปืนกำลังสูงถึง 8 กระบอกจากทางอินเทอร์เน็ตได้อย่างง่ายดาย [9] โดยไม่มีการตรวจสอบประวัติใดๆ และถึงแม้ผู้ซื้อจะบอกกับผู้ขายไปตรงๆ ว่าเขาไม่ผ่านการเช็คประวัติอาชญากร แต่ก็ไม่มีการถามคำถามใดๆ ระหว่างกระบวนการซื้อขายดังกล่าว นอกจากนี้ การซื้อขาย ก็มิได้ทำผ่านร้านขายปืนที่มีใบอนุญาต หากแต่มีการนัดรับส่งสินค้าตามจุดต่างๆ ตามสะดวกของผู้ซื้อและผู้ขาย ในขณะเดียวกัน เว็บไซต์เดอะการ์เดียน ได้ชี้ให้เห็นถึงความง่ายดายของการสั่งซื้อกระสุนปืน 6,000 นัดจากทางอินเทอร์เน็ต [10] โดยเว็บไซต์ขายกระสุนอย่าง BlackAmmo.com ได้ระบุว่า มีกระสุนปืน 1,000 นัด อย่างละ 18 กล่อง “พร้อมส่งได้ทันที” โดยเพียงคลิกสั่งทั้ง 18 กล่อง จ่ายเงินทางบัตรเครดิต เพียงเท่านี้ กระสุนปืนทั้งหมดก็พร้อมส่งถึงบ้าน ง่ายดายปานการสั่งซื้อพิซซ่าหรือการซื้อหนังสือจากเว็บไซต์อเมซอนเลยทีเดียว การเมืองเรื่อง “ปืน” และอนาคตที่ยังไม่เปลี่ยนแปลงถึงแม้ว่าประธานาธิบดีโอบามาและพรรคเดโมแครตจะมีจุดยืนสนับสนุนการจำกัดการใช้ปืนเสมอมาแต่การผลักดันกฎหมายจำกัดการใช้ปืนก็ดูเหมือนจะมีอุปสรรคอยู่ตลอด โดยสภาคองเกรสเองไม่ได้ผ่านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการใช้ปืนเลยตั้งแต่ปี 2537 ทั้งนี้ ผู้สังเกตการณ์บางส่วนมองว่า สาเหตุหลักของอุปสรรคที่เกิดขึ้น มาจากองค์กร NRA ซึ่งเป็นกลุ่มล็อบบี้สิทธิการใช้ปืนที่ใหญ่และทรงอิทธิพลที่สุดในสหรัฐอเมริกา องค์กร NRA หรือสมาคมไรเฟิลแห่งชาติ เป็นองค์กรล็อบบี้ที่ปัจจุบันมีสมาชิกกว่า 4 ล้านคนทั่วประเทศ มีจุดยืนเพื่อพิทักษ์สิทธิตามบทแก้ไขที่ 2 ตามคำประกาศว่าด้วยสิทธิพลเมือง รวมถึงรณรงค์เพื่อความปลอดภัยในการใช้ปืน สิทธิใช้ปืนเพื่อการล่าสัตว์และป้องกันตัวเอง ทั้งนี้ บทบาทของ NRA ในการเมืองสหรัฐเริ่มมีมากขึ้น หลังจากในปี 2537 ประธานาธิบดีบิล คลินตัน จากพรรคเดโมแครต ผ่านกฎหมายห้ามการใช้อาวุธจู่โจม (Assault weapon ban) ได้สำเร็จ โดยฝ่ายสนับสนุนการจำกัดการใช้อาวุธปืนถือว่าเป็นชัยชนะที่สำคัญ อย่างไรก็ตาม คลินตันต้องเผชิญกับการพ่ายแพ้ในการเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎรกลางเทอมปี 2537 ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในรอบ 40 ปี ที่พรรคเดโมแครตพ่ายแพ้การเลือกตั้งส.ส. ให้กับพรรครีพับลิกัน ซึ่งภายหลังคลินตันเองก็ยอมรับว่า องค์กร NRA มีส่วนอย่างมากที่ช่วยให้พรรครีพับลิกันได้รับชัยชนะในครั้งนั้น [11] เนื่องจากส.ส. เดโมแครตสูญเสียคะแนนในรัฐอนุรักษ์นิยมและตามเขตชนบทจากนโยบายจำกัดอาวุธปืน “NRA เป็นองค์กรที่มีอิทธิพลสูงมาก พวกเขาสามารถบงการคะแนนเสียงและเงินสนับสนุน (แก่พรรคการเมือง)” จิม แมนลีย์ นักวิเคราะห์จากองค์กร QCA ให้สัมภาษณ์ CNN “สำหรับเดโมแครตหลายคน มันเป็นเรื่องฉลาดในทางการเมืองที่จะไม่เข้าไปยุ่งในวิวาทะเรื่องการใช้ปืน” [12] มีรายงานว่า ในรอบปี 2555 มิตต์ รอมนีย์ ในฐานะผู้เข้าชิงปธน.อย่างไม่เป็นทางการจากพรรครีพับลิกัน ได้เงินสนับสนุนจากกลุ่มสนับสนุนสิทธิปืนแล้วราว 126,400 ดอลลาร์ ในขณะที่โอบามาได้เพียง 2,300 ดอลลาร์เท่านั้น เช่นเดียวกับในปี 2551 ที่จอห์น เเมคเคน วุฒิสภาจากรีพับลิกัน ได้รับ 483,711 ดอลลาร์ โดยโอบามาได้เพียง 25,987 ดอลลาร์จากกลุ่มเดียวกัน [13] นอกจากนี้ นักวิเคราะห์บางส่วนมองว่า การพ่ายแพ้ของอัล กอร์ ผู้แข่งขันชิงตำแหน่งปธน. ในการเลือกตั้งปี 2543 มีผลมาจากจุดยืนของพรรคเดโมแครตในเรื่องปืนเช่นเดียวกัน โดยเขาสูญเสียคะแนนจากรัฐทางตอนใต้และภาคกลางที่เป็นสวิงโหวต อย่างโอไฮโอ เพนซิลเวเนีย วิสคอนซิน และเวอร์จิเนีย ซึ่งประชากรยังนิยมการเป็นเจ้าของปืนอยู่มาก [14] ต่อมา พรรคเดโมแเครต จึงพยายามส่งผู้สมัครที่มีจุดยืนประนีประนอมต่อการใช้อาวุธปืนลงในรัฐเหล่านี้ เพื่อลดความเสี่ยงในการพ่ายแพ้การเลือกตั้ง
และถึงแม้ประธานาธิบดีโอบามา จะให้สัญญาว่า รัฐบาลจะแก้ไขปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้นด้วยการใช้กฎหมายที่เข้มงวดขึ้น แต่ล่าสุด มีรายงานจากทำเนียบขาวว่า ประธานาธิบดี จะไม่ผลักดันให้มีกฎหมายการใช้อาวุธปืนที่เข้มงวดกว่าเดิมในปีการเลือกตั้งนี้ เพียงแต่ให้มีการบังคับใช้กฎหมายปัจจุบันให้ดีขึ้นเท่านั้น [15] ทำให้องค์กรรณรงค์เพื่อจำกัดการใช้อาวุธปืน แสดงความผิดหวังต่อโอบามาไปตามๆ กัน ด้านแคล จิลสัน นักวิเคราะห์การเมืองจากมหาวิทยาลัยเซาเทอร์น เมธิดิสต์ในเท็กซัส ให้สัมภาษณ์กับรอยเตอร์ว่า NRA เป็นกลุ่มพลังที่มีอำนาจสูงในทางการเมือง ที่ทำให้การเปลี่ยนแปลงกฎหมายการจำกัดการใช้ปืนเป็นไปอย่างยากลำบาก “ในระยะสั้น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ อาจจะทำให้พวกเสรีนิยมในเดโมแครตได้เปิดประเด็นนี้ขึ้นมา ซึ่งสังคมก็อยู่ในสภาพที่จะรับฟัง แต่ในระยะยาวแล้ว มันคงไม่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงใดๆ” จิลสันกล่าว
อ้างอิง:
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
ททท. จัดทริปคนไทยเยือน "เทือกเขาอัลไต" Posted: 28 Jul 2012 04:58 PM PDT ททท. จัดคาราวานรถยนต์จากอำเภออัลไต ที่ซินเจียงอุยกูร์ของจีน พร้อมภารกิจนำกุหลาบ 80 ต้นมาปลูกที่ "หอนาฬิกาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯ" ที่อยุธยา ขณะที่ระหว่างทริป จนท.จีน ตอบคำถาม จนท.ไทย ด้วยว่า "อัลไต" ไม่เกี่ยวอะไรกับ "ไทย" และ "สุโขทัย" และไม่มีร่องรอยว่าคนไทยอพยพมาจากที่นี่ โปสเตอร์คาราวาน "15,000 ไมล์ จาก อัลไต(จีน) สู่ สุวรรณภูมิ(ไทย)" (ที่มา: เว็บไซต์เที่ยวภาคกลาง)
ททท.จัดทริปคาราวานรถยนต์เยือน "เทือกเขาอัลไต" "เว็บไซต์เที่ยวภาคกลาง" ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ได้รายงานกิจกรรม "ปฎิบัติการภารกิจพิเศษ มหัศจรรย์เมืองไทย-ใต้ฟ้าพระบารมี คาราวานท่องเที่ยวกับวัฒนธรรม 15,000 ไมล์ จาก อัลไต(จีน) สู่ สุวรรณภูมิ(ไทย)" ซึ่งเป็นคาราวานรถยนต์เริ่มต้นจากเทือกเขาอัลไต โดยกิจกรรมดังกล่าว ททท. ร่วมกับกระทรวงวัฒนธรรมจีนและสถานเอกอัคราชทูตจีนประจำประเทศไทยจัดคาราวานรถยนต์ระหว่างวันที่ 18 ก.ค. - ร่วมเฉลิมฉลองในวโรกาสพิเศษ 80 พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ โดยการนำ “ดินและดอกกุหลาบ” จาก 8 เมืองใหญ่ของจีน และดอกกุหลาบจำนวน 80 ต้น มาร่วมปลูกที่สวนกุหลาบ “หอนาฬิกาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ” ณ อนุสรณ์สถานแห่งความจงรักภักดี จ.พระนครศรีอยุธยา ทั้งนี้ในเว็บไซต์เที่ยวภาคกลาง ของ ททท. ดังกล่าวให้ข้อมูลกิจกรรมเพิ่มเติมด้วยว่าเป็นการ "จัดกิจกรรมคาราวานขับรถท่องเที่ยวจากภูเขาอัลไตของจีน (ซึ่งคนไทยในอดีตบอกไว้ว่าได้อพยพจากอัลไตมาอยู่ที่สุโขทัย?จริงหรือไม่)"
โดยการเดินทางดังกล่าว นำโดยนายสมชาย ชมภูน้อย ผู้อำนวยการ ททท. ได้นำคณะเดินทางประมาณ 12 คน เดินทางจากสนามบินสุวรรณภูมิ ตั้งแต่วันที่ 18 ก.ค. ไปสนามบินกวางโจว ไปยังเมืองอุรุมฉี เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ จากนั้นในวันที่ 19 ก.ค. ได้เปลี่ยนเครื่องบินไปยังอำเภออัลไต (Ālètài Dìqū) เพื่อไปสมทบกับคณะของเจ้าหน้าที่จีน ซึ่งรออยู่ที่อำเภออัลไต แผนที่อำเภออัลไต ในเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน (ที่มา: maps.google.com) พิธีปล่อยคาราวานรถยนต์ "15,000 ไมล์ จาก อัลไต(จีน) สู่ สุวรรณภูมิ(ไทย)" จากศาลาว่าการเมืองอัลไต เมื่อ 20 ก.ค. (ที่มา: TATClub/youtube.com) กิจกรรมของคณะเดินทาง "15,000 ไมล์ จาก อัลไต(จีน) สู่ สุวรรณภูมิ(ไทย)" ระหว่างเดินทางอยู่ในมณฑลกานซู เมื่อ 26 ก.ค. 55 (ที่มา: เว็บไซต์เที่ยวภาคกลาง)
จนท.ไทยถาม จนท.จีน "อัลไต" เกี่ยวกับ "ไทย/สุโขทัย" หรือไม่ และเมื่อ 20 ก.ค. ได้มีพิธีปล่อยคาราวานรถยนต์จากหน้าศาลาว่าการอำเภออัลไต ในเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ร่วมกับเจ้าหน้าที่จีน ในพิธีปล่อยคาราวานมีการรับมอบดินจาก 8 เมืองใหญ่ของจีน และดอกกุหลาบจำนวน 80 ต้น เพื่อนำมาปลูกที่สวนกุหลาบ "หอนาฬิกาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ" ที่อนุสรณ์สถานแห่งความจงรักภักดี หรือ ทุ่งหันตรา จ.พระนครศรีอยุธยาด้วย ในเว็บไซต์ "เที่ยวภาคกลาง" บรรยายว่าสภาพเมืองอัลไตด้วยว่า "มีประชากร 600,000 กว่าคน ส่วนใหญ่เป็นชาวอิสลาม ชาวคาซัคสถาน ไม่มีชาวไต หรือชาวไทยเลย" และตอนหนึ่งเจ้าหน้าที่ ททท. ได้ถามเจ้าหน้าที่ฝ่ายวัฒนธรรม ของเมืองอัลไตว่า "อัลไต มีอะไรที่แสดงออกหรือคล้ายกับชาวสุโขทัย หรือ ไทยบ้างไหม ?" .....มีเสียงหัวเราะ...และได้คำตอบว่า "ไม่มี...คงเป็นการออกเสียงคล้ายกันมั่ง "อัลไต" กับ "สุโข-ทัย หรือ ไทย หรือ ไต" เมืองแหลมทองแห่งสุวรรณภูมิ.......อื่นๆ ยังไม่มีร่องรอยว่าคนไทยอพยพมาจากที่นี่เลย....."
ล่าสุด กิจกรรม "15,000 ไมล์ จาก อัลไต(จีน) สู่ สุวรรณภูมิ(ไทย)" เข้าสู่การเดินทางเป็นวันที่สิบแล้ว โดยคณะของ ททท. ได้ออกจากเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์เข้าสู่มณฑลกานซูแล้ว
ภาพปกหนังสือ "หลักไทย" โดยขุนวิจิตรมาตรา ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 7 เมื่อปี พ.ศ. 2518 ทั้งนี้ขุนวิจิตรมาตราเสนอไว้ในหนังสือหลักไท เมื่อปี พ.ศ. 2471 ว่าแหล่งกำเนิดของชนชาติไทยอยู่บริเวณเทือกเขาอัลไตของเอเชียกลาง ต่อมาข้อเสนอนี้ถูกตีตกไป (ที่มาของภาพปก: ร้านตุ้มหนังสือเก่า) การบรรเลงดนตรีของชาวอัลไต ในสาธารณรัฐอัลไต ในสหพันธรัฐรัสเซีย ติดกับพื้นที่อำเภออัลไต เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ ประเทศจีน และประเทศมองโกเลีย ทั้งนี้ภาษาอัลไต ซึ่งเป็นภาษาทางการของสาธารณรัฐอัลไต อยู่ในตระกูลภาษาอัลตาติก (Altatic Languages) ซึ่งมีผู้ใช้จำนวนมากอยู่ในแถบเอเชียกลาง (ที่มา: TheMynog/youtube.com)
ที่มาของเรื่อง "คนไทยมาจากเทือกเขาอัลไต" สำหรับแนวคิดเรืองถิ่นกำเนิดของชนชาติไทยมาจากเทือกเขาอัลไตนั้น ผู้เสนอคือขุนวิจิตรมาตรา หรือสง่า กาญจนาคพันธุ์ เสนอไว้ในหนังสือหลักไท เมื่อปี พ.ศ. 2471 ว่าแหล่งกำเนิดของชนชาติไทยอยู่บริเวณเทือกเขาอัลไตของเอเชียกลาง ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดของพวกมองโกลด้วยกัน ภายหลังอพยพมาตั้งถิ่นฐานแถบลุ่มแม่น้ำเหลืองและแม่น้ำแยงซี เมื่อถูกจีนรุกรานจึงค่อยๆ อพยพลงมาสู่สุวรรณภูมิ โดยขุนวิจิตรมาตราเสนอแนวคิดดังกล่าวเพื่อสนับสนุนข้อเสนอของ วิลเลียม คลิฟตัน ดอดด์ (William Clifton Dodd) มิชชันนารีชาวอเมริกัน ซึ่งทำการสำรวจจากภาคเหนือของไทย รัฐฉาน สิบสองปันนาในมณฑลยูนนาน จนถึงมณฑลกวางสีราวทศวรรษที่ 2450 และได้เขียนหนังสือเรื่อง The Tai Race : The Elder Brother of the Chinese ระบุในหนังสือว่า "ไทยเป็นเชื้อสายมองโกล" และเป็นชาติเก่าแก่กว่าฮีบรูและจีน บ้านเกิดเมืองนอนอยู่แถบเทือกเขาอัลไต และได้อพยพเข้ามายังจีน และเข้าสู่อินโดจีนตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอที่ว่าคนไทยมาจากเทือกเขาอัลไตต่อมาได้ถูกโต้แย้ง เพราะบริเวณเทือกเขาอัลไตเป็นเขตทุรกันดารไม่เหมาะจะเป็นที่อยู่อาศัย โดยเว็บไซต์ของศูนย์เทคโนโลยีการศึกษา อ้างอิงความเห็นของ ศ.เฉินหลี่ฟาน ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเอเชียอาคเนย์ของจีน ซึ่งระบุว่า "อัลไต" เป็นภาษาของชาวทูเจ ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์เชื้อสายตุรกีในจีน แปลคำนี้ว่า "ทองคำ" การที่เทือกเขาอัลไตมีชื่อเช่นนี้เพราะว่าเป็นแหล่งแร่ทองคำ มิได้เกี่ยวข้องกับคำว่า "ไท" จากข้อมูลในสารานุกรมเสรี วิกิพีเดีย ระบุว่า ปัจจุบันบริเวณที่เป็นเทือกเขาอัลไต อยู่ในอำเภออัลไต เขตปกครองซินเจียงอุยกูร์ของจีน ทางตะวันตกของประเทศมองโกเลีย ประเทศคาซัคสถาน และสาธารณรัฐอัลไต ซึ่งอยู่ในสหพันธรัฐรัสเซีย ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
สื่อมวลชนกับการสร้างสันติสุขในจังหวัดชายแดนภาคใต้ Posted: 28 Jul 2012 10:40 AM PDT สถานะ บทบาท และศักยภาพของสื่อพื้นบ้านในฐานะสื่อทางเลือกเพื่อการพัฒนาสังคมภาคใต้ โดยเฉพาะขีดความสามารถของสื่อและการนำเสนอข่าวออนไลน์ในพื้นที่ห้าจังหวัดชายแดนภาคใต้ ผูกกับการนำเสนอข่าวของสื่อมวลชนเกี่ยวกับสตรีในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยสื่อมวลชนกับการสร้างเสริมสันติสุขในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ถูกมองจากหลายฝ่ายว่า เป็นเส้นทางการสื่อสารเพื่อสันติภาพ ในขณะนี้ เคเบิลทีวีท้องถิ่นมีช่องให้ชมมากถึง 60–80 ช่องรายการ บางบริษัทมีการผลิตรายการตอบสนองความต้องการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของคนในท้องถิ่นด้วย ขณะที่สมาชิกเคเบิลทีวีท้องถิ่นจะจ่ายค่าสมาชิกรายเดือนอยู่ระหว่าง 200–350 บาท ต่อเดือน จากการสำรวจสถานภาพสื่อโทรทัศน์ท้องถิ่นและโทรทัศน์บอกรับสมาชิกใน 5 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง (สงขลา สตูล ปัตตานี ยะลา นราธิวาส) พบว่า จุดแข็งของเคเบิลท้องถิ่นในพื้นที่ 5 จังหวัดภาคใต้ตอนล่างคือ ผู้ประกอบการมีพื้นฐานทางธุรกิจ มีรายได้ที่แน่นอนจากค่าสมาชิก สามารถนำมาวางแผนการประกอบการทางธุรกิจได้ สามารถขยายธุรกิจประเภท (Business Lines) ที่ใกล้เคียงกันได้ ยังสามารถขยายจำนวนสมาชิกในพื้นที่ใกล้เคียงเขตเมืองได้อีก สำหรับจุดอ่อนอยู่ที่ขาดแคลนบุคลากร ในการผลิตเนื้อหาทั้งข่าวและรายการ บุคคลากรขาดแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ทำให้มีการลาออกบ่อยครั้ง ขาดประสบการณ์ ขาดความเป็นมืออาชีพ ผู้ประกอบการขาดความรู้พื้นฐานทางด้านนิเทศศาสตร์ การบริหารองค์กรขาดหลักการแต่มีความยืดหยุ่นสูง และรายการท้องถิ่นมีน้อย ส่วนโอกาสคือ การมีสื่อมวลชนท้องถิ่นที่สามารถเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกันได้ มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย และราคาถูกลง การมีสถาบันทางวิชาการด้านนิเทศศาสตร์ในพื้นที่ ทำให้ประชาชนมีความกระตือรือร้นในการแสวงหาข่าวสารมากขึ้น หน่วยงานรัฐเริ่มให้ความสำคัญในการเป็นช่องทางสื่อสารกับประชาชนมากขึ้น และมีคู่แข่งธุรกิจในลักษณะเดียวกันน้อย สามารถขยายตลาดได้อีก อุปสรรคของเคเบิ้ลทีวีท้องถิ่นคือ การแข่งขันทางธุรกิจกับโทรทัศน์ดาวเทียม ซึ่งค่าใช้จ่ายของผู้รับบริการถูกกว่า จ่ายเพียงครั้งเดียว ไม่ต้องจ่ายรายเดือน ธุรกิจเคเบิลระดับชาติเดินเกมรุกด้านการตลาดมากขึ้น ทำโปรโมชั่นลดแลกแจกแถม โดยผูกกับโทรศัพท์มือถือ ทั้งกฎหมายยังขาดความชัดเจนในการส่งเสริมการประกอบธุรกิจ และประชาชนมีทางเลือกในการบริโภคสื่ออื่นมากขึ้น การวิจัยสถานภาพ บทบาท และศักยภาพของสื่อพื้นบ้านในฐานะสื่อทางเลือกเพื่อการพัฒนาสังคมภาคใต้พบว่า ศิลปินพื้นบ้านภาคใต้ ทั้งหนังตะลุง หนังตะลุงคน และดิเกร์ฮูลู ไม่สามารถหารายได้จากการประกอบอาชีพการแสดงได้เพียงอย่างเดียว ต้องประกอบอาชีพอื่นควบคู่ไปด้วย แต่เนื่องจากสื่อพื้นบ้านเหล่านั้นมีใจรัก ผูกพัน และตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของสื่อพื้นบ้าน ทำให้ศิลปินพื้นบ้านมีภาระต้องสานต่อเจตนารมณ์ของบรรพบุรุษ เพื่อให้สื่อพื้นบ้านยังคงอยู่ แม้จะอยู่ในสภาพย่ำแย่ และต้องพึ่งพิงรายได้จากการประกอบอาชีพอื่นก็ตาม จากการที่สื่อพื้นบ้านกำลังอยู่ในสภาพย่ำแย่ ต้องการการหนุนช่วยทั้งด้านวัตถุ การเพิ่มช่องทาง และการเสริมความรู้ ความคิด และความเข้าใจ ฉะนั้นรายได้จากการแสดงมาจากหน่วยงานที่เชิญสื่อพื้นบ้านไปจัดแสดง ซึ่งมีตั้งแต่หน่วยงานราชการระดับท้องถิ่น เช่น องค์การบริหารส่วนตำบล สภาวัฒนธรรมระดับท้องถิ่น วัด โรงเรียน กลุ่มประชาชน กลุ่มศิลปินพื้นบ้านเสนอแนะว่า หน่วยงานรับผิดชอบต้องตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของสื่อพื้นบ้านอย่างแท้จริง และต้องสนับสนุนศิลปินพื้นบ้านให้คงอยู่ต่อไปอย่างจริงจัง ซึ่งการเข้าร่วมกิจกรรมกับสถาบันการศึกษา เช่น โรงเรียนและมหาวิทยาลัย ก็ยังเป็นอีกช่องทาง ที่ทำให้สื่อพื้นบ้านสามารถทำหน้าที่สืบทอดคุณค่าในฐานะของครูภูมิปัญญา ดังเช่นที่ คณะดิเกร์ฮูลูมะยะหา และคณะแหลมทราย ได้ดำเนินการไปแล้ว จากการศึกษาสื่อพื้นบ้านภาคใต้ยัง พบว่า ผู้ที่เป็นศิลปินจะเอาใจใส่ติดตามสถานการณ์ความเคลื่อนไหวของสังคม และนำเอามาสอดแทรกในเนื้อหาของสื่อ มีการแลกเปลี่ยนเคล็ดลับฝีมือการแสดง กับเครือข่ายเพื่อนศิลปินด้วยกัน โดยอาจจะถือโอกาสในช่วงของการประกวดประชันกัน เป็นต้น ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาความรู้ พบว่า ความรู้ที่ศิลปินพื้นบ้านภาคใต้ต้องการ จะเป็นความรู้ที่เป็นความสนใจหลักของศิลปิน เช่น การปรับปรุงศิลปะการแสดง และความรู้ทั่วไปในสังคม ที่ศิลปินต้องติดตามเพื่อคงสถานภาพความเป็นผู้นำทางความคิด หรือความเป็นปัญญาชนของชุมชนเอาไว้ การนำเสนอข่าวของสื่อมวลชนเกี่ยวกับสตรีในจังหวัดชายแดนภาคใต้พบว่า สื่อมวลชนมักนำเสนอข่าวเกี่ยวกับการแก้ปัญหาและการช่วยเหลือเยียวยาครอบครัวที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบ ในช่วงแรกที่ได้รับผลกระทบ เช่น รัฐมีนโยบายอย่างไรที่จะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น และให้ความช่วยเหลืออย่างไร แต่ไม่มีปรากฏงานข่าวเชิงลึกและการติดตามว่า หลังจากได้รับความช่วยเหลือเบื้องต้นจากหน่วยงานของรัฐ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว ครอบครัวที่ได้รับผลกระทบดำเนินชีวิตอย่างไรท่ามกลางสถานการณ์ความไม่สงบ นอกจากนี้ ผู้หญิงที่ได้รับผลกระทบ และถูกกระทำจากสถานการณ์ความไม่สงบมีจำนวนมาก ส่งผลให้หญิงหม้ายมีจำนวนเพิ่มขึ้น การสูญเสียเสาหลักของครอบครัว ทำให้ผู้หญิงเหล่านี้จำเป็นต้องเปลี่ยนสถานะและบทบาทของตนเองมาเป็นผู้นำครอบครัวแทน โดยการออกหางานทำเพื่อรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในครอบครัวและส่งเสียดูแลลูก ประคับประคองชีวิตของสมาชิกของครอบครัวที่เหลืออยู่ให้ดำเนินต่อไป นอกจากนี้นโยบายและการแก้ปัญหาของรัฐก็ส่งผลกระทบต่อผู้หญิง และเป็นประเด็นสำคัญอีกประเด็นหนึ่ง ซึ่งสื่อมวลชนควรนำเสนอ แต่ประเด็นนี้กลับไม่ปรากฏและขาดหายไปจากการรายงานข่าวของสื่อมวลชน ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการแก้ปัญหาของรัฐ เป็นปัญหาเชิงนโยบายที่สร้างผลกระทบให้กับผู้ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วย ซึ่งรายการที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุดในฐานะของการผลิตสื่อสันติภาพคือ รายการใต้สันติสุขและยังมีรายการวิทยุอีกหลายรายการ ที่ก่อให้เกิดผลเชิงบวกต่อสังคม สาเหตุที่ทำให้รายการใต้สันติสุขกล่าวถึงกันมาก เพราะนอกจากเนื้อหาจะเน้นการสื่อสารเรื่องสันติภาพโดยตรงแล้ว การออกอากาศยังเป็นลักษณะของเครือข่าย โดยการสลับกันเป็นแม่ข่าย และเปิดโอกาสให้สถานีวิทยุอื่นๆ รับสัญญาณไปถ่ายทอดต่อได้ง่าย จากการศึกษายังพบอีกว่า ในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ตอนล่าง มีสถานีวิทยุเพื่อการศึกษาเกิดขึ้นจำนวนมาก และสถานีเหล่านั้น ก็มีความพร้อมในด้านการจัดการข้อมูลข่าวสาร ซึ่งหากดึงสถานีวิทยุเหล่านั้นเข้ามาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันอย่างสม่ำเสมอ ก็จะเป็นประโยชน์ทั้งต่อสถานีวิทยุเพื่อการศึกษา และสถานีวิทยุชุมชนอื่นๆ ด้วย หมายเหตุ: เผยแพร่ครั้งแรกที่ PATANI FORUM
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
โพลล์ชี้คนกรุงเเกินครึ่งพอใจเสรีภาพ-ไม่รู้จัก พ.ร.บ.ค่าทดแทนจำเลยคดีอาญา Posted: 28 Jul 2012 10:26 AM PDT
28 ก.ค.55 ศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ สำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และพ.ร.บ.ค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ.2544 ของประชาชนในกรุงเทพมหานคร ผลสำรวจพบ ประชาชนในกรุงเทพฯ พึงพอใจกับสิทธิและเสรีภาพของประชาชนในปัจจุบันเกินครึ่งหนึ่งสูงถึง ร้อยละ 52.9 ขณะที่รู้จักพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ.2544 เพียงแค่ร้อยละ 26.4 และไม่รู้ถึงสิทธิของตนเองตามพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ.2544 ทั้งนี้ การสำรวจดังกล่าวเก็บจากกลุ่มตัวอย่างจากประชาชน ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครจำนวนทั้งสิ้น 1,356 คน เก็บข้อมูลในวันที่ 25 - 27 ก.ค.55 นายสิงห์ สิงห์ขจร อาจารย์ประจำสาขาวิชาการประชาสัมพันธ์และการสื่อสารองค์การ กล่าวว่า ทางศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ เล็งเหตุถึงสิทธิของเสรีภาพของประชาชน ตาม มาตรา 245 และมาตรา 246 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ได้กำหนดให้ผู้เสียหายในคดีอาญาได้รับค่าตอบแทนที่จำเป็นและสมควรจากรัฐ และจำเลยในคดีอาญาได้รับค่าทดแทนหรือค่าใช้จ่ายที่จำเป็นและสมควรจากรัฐนั้น เพื่อให้การรองรับสิทธิดังกล่าวเป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่ราชอาณาจักรไทย จึงได้มีการตราพ.ร.บ.ค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ.2544 ขึ้น ซึ่งมีผลบังคับใช้เป็นกฎหมายแล้ว ตั้งแต่วันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 พ.ร.บ.ค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญาทำให้มีผู้มีสิทธิได้รับค่าตอบแทน ค่าทดแทน หรือค่าใช้จ่าย 2 ประเภท คือ 1.ผู้เสียหายในคดีอาญา หมายถึงเป็นผู้ที่ถูกกระทำให้ได้รับความเสียหายถึงแก่ชีวิต หรือร่างกาย หรือจิตใจ และผู้ที่ถูกกระทำต้องไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดนั้น หมายถึงไม่ใช่คู่กรณี คือไม่ใช่ผู้ที่ก่อให้เกิดการกระทำความผิดนั้นอย่างเช่นในกรณีผู้ที่ถูกกระทำถูกทำร้ายร่างกาย ข่มขืนกระทำชำเรา ทำให้แท้งลูก และถูกฆาตกรรม 2. จำเลยในคดีอาญา หมายถึง ต้องเป็นจำเลยที่ถูกดำเนินคดีโดยพนักงานอัยการและถูกคุมขังในระหว่างการพิจารณาคดี ซึ่งสามารถพิสูจน์ได้ว่า จำเลยมิได้เป็นผู้กระทำความผิด แล้วมีการถอนฟ้องหรือศาลพิสูจน์แน่ชัดแล้วว่าจำเลยมิได้เป็นผู้กระทำความผิด ซึ่งจะต้องยื่นคำขอรับสิทธิภายใน 1 ปี นายสิงห์กล่าวด้วยว่า เป็นที่น่าเสียดายที่กฎหมายดีๆ อย่าง พรบ.ฉบับนี้ น่าจะมีการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้มีความรู้ ความเข้าใจ เพราะจะเป็นประโยชน์กับประชาชน และเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนได้รู้ถึงสิทธิที่ได้รับจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
รายงานสื่อถกสื่อ: สื่อเลือกสีเลือกข้างผิดจรรยาบรรณหรือ? Posted: 28 Jul 2012 10:03 AM PDT
(28 ก.ค.55) ในการเสวนา หัวข้อ "สื่อเลือกสีเลือกข้างผิดจรรยาบรรณหรือ" จัดโดยศูนย์ข้อมูล & ข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง (TCIJ) ที่โรงแรมเดอะสุโกศล ถ.ศรีอยุธยา โสรัจจ์ หงส์ลดารมภ์ อาจารย์ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ เปิดประเด็นด้วยการนำเสนอว่า การที่สื่อเลือกข้างประชาธิปไตย ต่อต้านเผด็จการ ความพยายามผูกขาดอำนาจไว้กับคนกลุ่มเดียว ไม่ให้มีการเลือกตั้งหรือเอาทหารมาคุม น่าจะเป็นสิ่งที่ถูกต้องและต้องทำ ขณะที่สื่อที่เป็นปากเสียงของฝ่ายต่อต้านประชาธิปไตยก็ควรจะถูกต่อต้าน และมีกฎหมายมาควบคุมด้วย เขาอธิบายเพิ่มเติมว่า การไม่มีกฎหมายควบคุมการกระทำเช่นนั้นเท่ากับว่ารัฐกำลังส่งสัญญาณว่าประชาธิปไตยไม่มีความสำคัญเพียงพอ คนจะเลือกอะไรก็ได้ ซึ่งในกรณีนี้หากคนเลือกอย่างอื่นที่ไม่ใช่ประชาธิปไตยก็จะเท่ากับมอบอำนาจสูงสุดให้คนกลุ่มเดียว อย่างไรก็ตาม ในระดับรอง เช่นเรื่องนโยบายเศรษฐกิจ มองว่า สื่อสามารถทำได้ทั้งสองบทบาท คือทั้งสร้างเวที และมุ่งเสนอแนวคิดบางแนวคิดด้านเศรษฐกิจ เช่น สังคมนิยม แต่ยังยึดถือการปกครองแบบประชาธิปไตยอยู่ สำหรับปัญหาของประเทศไทย โสรัจจ์เสนอว่า ในช่วงที่ความขัดแย้งที่สะสมยาวนานกำลังปะทุออกมาทั้งทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรม สื่อควรจะรักษาเป้าหมายสูงสุดของการอยู่ร่วมกันในสังคม โดยรักษาอุดมคติของประชาธิปไตยเอาไว้ แยกข่าวออกจากความเห็น และเป็นเวทีให้ความเห็นต่างมาเถียงกันได้อย่างเป็นธรรม แลกเปลี่ยน "สื่อเลือกข้างผิดจรรยาบรรณหรือ" ที่ผ่านมา การเลือกข้างทางความคิด แบ่งเป็น หนึ่ง เลือกระหว่างความดี-ความชั่ว โดยมองว่า ทักษิณและระบอบทักษิณเลว จึงพยายามไล่ทักษิณ สอง เลือกด้วยความเชื่อเรื่องประชาธิปไตยว่าจะต้องคลี่คลายไปตามระบอบ ระบบอำนาจต้องตรวจสอบได้ ทุกระบบต้องโปร่งใส ส่วนตัวเลือกอย่างที่สอง จึงกลายเป็นแนวร่วมทักษิณโดยปริยาย เพราะเขาเชื่อว่าสื่อเกิดมาพร้อมประชาธิปไตย ประชาธิปไตยทำให้ทุกอย่างตรวจสอบได้ มีหลักถ่วงดุลอำนาจที่ชัดเจน สื่อมีหน้าที่ปกป้องเสรีภาพในการแสดงความเห็น ตรวจสอบทุกฝ่าย การที่สื่อหันไปเลือกข้างว่า การล้มคนเลวเป็นสิ่งที่ดี เชื่อว่าสถาบันตุลาการเข้ามาปกป้องประชาธิปไตยแทรกแซงอำนาจประชาธิปไตยได้ ทั้งที่สถาบันตุลาการไม่เคยผ่านการตรวจสอบ ไม่ยึดโยงกับประชาชนนั้น เขามองว่าขัดกับเจตนารมณ์ของการมีสื่อในระบอบประชาธิปไตยเอง และเมื่อเลือกอย่างนี้ จะนำไปสู่ปัญหาในเชิงจรรยาบรรณ เพราะเมื่อคิดว่าตัวเองอยู่ข้างความดีแล้วจำกัดความชั่ว ก่อให้เกิดความคิดที่ไม่ยอมรับความเห็นต่าง อธึกกิจ กล่าวว่า เมื่อเลือกข้างแล้วก็ควรจะมีจรรยาบรรณ โดยไม่ใช้วิชาชีพเข้าไปในการต่อสู้ทางการเมือง เอาชนะโดยใช้ความเท็จ-บิดเบือน ข่าวต้องเป็นข่าว การพาดหัวข่าวในเชิงประชดเปรียบเปรย เน้นประเด็น หรือประนามนั้นเขามองว่าทำได้ แต่ต้องไม่ใช่การปลุกระดม ก่อให้เกิดความเกลียดชัง ที่ผ่านมา พาดหัวและโปรยข่าวกลายเป็นที่ระบายอารมณ์ สื่อที่เลือกข้างชัดเจนใช้โปรยข่าวปลุกระดม มี hate speech ทั้งสองข้าง ตัวอย่างที่ร้ายกาจ เช่น กรณีตัดต่อรูปหน้าวรเจตน์ ภาคีรัตน์ คณะนิติราษฎร์กับรูปลิง การเรียก "แฝดนรก" การพาดหัวข่าว "อีเพ็ญ" "ไอ้ตู่" "ไอ้มาร์ค" สื่อปลุกแบบนี้ไม่ได้ อธึกกิจ กล่าวว่า การเลือกข้างมีปัญหาต่อการนำเสนอข้อเท็จจริง เช่น กรณีนาซ่า สื่อที่เลือกข้าง ไม่ทำหน้าที่ ส่วนหนึ่งกระพือตามพันธมิตรฯ และฝ่ายค้าน ทั้งที่เป็นเรื่องทางวิทยาศาสตร์ นอกจากนี้ ถ้าคิดว่าเอาชนะโดยทำลายล้างฝ่ายตรงข้ามจะมีปัญหา ไม่ว่าในเชิงสื่อหรือเชิงการต่อสู้ประชาธิปไตย เพราะสังคมไทยต้องต่อสู้ภายใต้ประชาธิปไตยที่ยอมรับการตรวจสอบ นี่คือจุดที่ควรไป ไม่ใช่จะล้มอำมาตย์หรือทุนสามานย์ สื่อต้องตั้งเป้าอย่าคิดเรื่องเอาชนะ แสวงข้อเท็จจริงมากขึ้น บางทีต้องยับยั้งกัน เช่น ตนเองเชียร์การเรียกร้องประชาธิปไตยของคนเสื้อแดง ปี 53 แต่ถึงวันหนึ่งก็ต้องเสนอให้ถอย หรือแสดงความไม่เห็นด้วยกับการไปบุกโรงพยาบาลจุฬาฯ และที่สำคัญคือ ธำรงรักษาสิทธิมนุษยชน หากสื่อให้ความสำคัญกับกรณีกรือเซะ ก็ควรให้ความสำคัญกับกรณีราชประสงค์ด้วย ต่อข้อเสนอเรื่องการมีผู้ตรวจการสื่อ เขายอมรับว่า เป็นเรื่องลำบากและทำได้ยาก เพราะต่างคนต่างไป ถามว่าใครจะกำกับใคร อย่างไรก็ตาม มีข้อเสนอต่อประเด็น hate speech หรือถ้อยคำที่ก่อให้เกิดความเกลียดชัง เช่น หากมีการใช้คำไม่เหมาะสม เรียกร้องรัฐประหาร ยุยงให้ใช้กำลัง ไม่ว่าจากฝ่ายไหน ควรต้องมีการตักเตือนกันบ้างเมื่อเกินเลย
ทั้งนี้ เรื่องเนื้อหานั้น เฉลิมชัย กล่าวว่า ในสื่อกระแสหลัก เวลาทำงานมีการตรวจสอบอยู่ระดับหนึ่ง ต่อให้เอียงอย่างไร ในกองบรรณาธิการก็มีการถกเถียงกันได้ แต่ที่กลัวมากคือ โซเชียลมีเดีย ที่ไม่รู้ว่าใครเขียน ใครตรวจสอบ แต่หลุดมาเผยแพร่ได้ และคนก็เลือกจะเชื่อและสนใจ เพราะเนื้อหาดูดุดันดี ซึ่งประเด็นนี้น่ากลัว เพราะมองว่า แม้จะเป็นผู้รับสารที่มีสติปัญญามีวุฒิภาวะก็อาจคล้อยตามได้ เฉลิมชัย กล่าวว่า สื่อต้องรู้ว่าตัวเองรายงานอะไร และต้องทำหน้าที่ gate keeper ถ้าเสนอแล้วไม่ได้ประโยชน์ก็ไม่ควรเสนอ เช่น หากรู้ว่ามีธนาคารที่ประสบปัญหาธุรกิจแล้วกระหน่ำเสนอ ลงข่าว คนอาจจะแห่ไปถอนเงิน ธนาคารก็เจ๊งเร็วขึ้น สื่อต้องมีดุลพินิจ เขียนข่าวให้คนไม่แตกตื่น เขากล่าวว่า ในการรายงานข่าวจะต้องรายงานตามสิ่งที่เกิดขึ้นจริง พร้อมวิจารณ์ว่า สื่อไทยไม่ลงไปอยู่กับข้อเท็จจริง รวมถึงวิจารณ์นักวิชาการที่แสดงความเห็นออกสื่อ กรณีการชุมนุม พ.ค.53 ทั้งที่ไม่ได้ไปดูข้อเท็จจริงด้วยตัวเอง โดยเคยโต้กับ อ.โคทม อารียา ให้ไปดูเวทีว่ามีอาวุธไหม สงบสันติไหม พอ อ.โคทมไปก็ยังถูกไล่ โดยส่วนตัว ลงพื้นที่ และเคยเจอผู้ชุมนุมที่จำตนเองได้ ขับไล่ด้วย
สุระชัย กล่าวว่า ไม่ว่าสื่ออาจเลือกข้างด้วยความจงใจหรือเห็นว่าดีงาม แต่นั่นจะทำให้สื่อเข้าใจตัวเองผิด คิดว่าแยกดีชั่วได้ จนลืมหลักการ และเมื่อเลือกข้าง ละเมิดจรรยาบรรณไปแล้ว จะเกิดผลกระทบต่อการรวบรวมข่าวสาร ทำให้เปลี่ยนจาก active listening เป็น bias listening ได้ยินอย่างที่อยากได้ยิน รวมถึงส่งผลต่อการพาดหัวข่าว (news presenting) ทั้งนี้ เขามองว่า การเลือกข้างของสื่อเพิ่มมากขึ้น หลังจากทักษิณบอกว่าจังหวัดไหนเลือกตัวเองจะให้ความสำคัญกับจังหวัดนั้นก่อน ทำให้การเลือกตั้งเป็นการเข้าคิวขออาหาร ส่งผลให้เกิดความแตกแยกของสังคมและระบบสื่อ แม้ว่าก่อนหน้านี้จะมีการเลือกข้าง เช่น คนใต้เลือกพรรคประชาธิปัตย์ คนอีสานเลือกพวกตัวเอง แต่ยังไม่มากเท่านี้ เขาตั้งคำถามว่า ถ้าสื่อเลือกไปซ้ายทาง ขวาทาง แล้วที่เหลือซึ่งเป็นเสียงเงียบ หรือ silent majority จะทำอย่างไร สิทธิในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารจะได้รับปกป้องอย่างไร มีคนจำนวนมาก ที่เบื่อหน่ายทั้งคู่ แต่ไม่มีใครรู้ว่าพวกเขาต้องการอะไรอย่างไร เพราะสื่อถูกผลักหรือรู้สึกเองว่าต้องเลือกข้างไปแล้ว เขาย้ำเรื่องการ "เลือกสี" โดยเปรียบเทียบว่า ถ้าสื่อลงเล่นกีฬาสี แล้วใครจะรายงานเรื่องของคนดู สนาม กรรมการ เรื่องเหล่านี้ต้องพึ่งสื่อ สื่อจึงไม่สามารถเข้าข้างสีใดสีหนึ่งได้ ทั้งนี้ การที่ปัจจุบัน คนหันไปพึ่งข้อมูลจากโซเชียลมีเดียมากขึ้น ก็เป็นผลจากการละเมิดจรรยาบรรณของสื่อเอง เพราะการเลือกข้าง 4-5 ปีที่ผ่านมาทำให้สังคมที่เคยวางใจว่าสื่อจะเสนอสิ่งที่เป็นจริง รู้สึกไม่ไว้วางใจ และเลือกสื่ออื่นที่เขาวางใจอย่างโซเชียลมีเดียแทน สุระชัยตั้งคำถามทิ้งไว้ว่า สังคมไทยปัจจุบันต้องการสื่อสารมวลชนแบบไหนกันแน่ หากเป็นสื่อแบบเสรี (Libertarian) ที่มีทั้งขายยา ขายหนัง เปิดทุกอย่าง สังคมไทยพร้อมแล้วหรือยัง จะยังมีคนตกหล่นไหม หรือจะแบ่งข้างแบบ Authoritarian มีหนังสือพิมพ์ของทักษิณ ของแต่ละคนประกาศตัวให้ชัด แบบนี้ก็ดีเหมือนกัน หรือจะเป็นแบบ Participation ที่เปิดพื้นที่สำหรับคนทุกคนให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม เขาเสนอด้วยว่า ระบบจรรยาบรรณของสื่อต้องเปลี่ยนสู่ความโปร่งใสที่ตรวจสอบได้ ถึงเวลาที่ต้องมีผู้ตรวจการสื่อมวลชน ไม่ใช่ใช้หลักการปกครองตนเองแบบสภาการหนังสือพิมพ์ฯ ที่เมื่อจับได้ ก็ลาออก นอกจากนี้ สื่อควรจะเลิกทำข่าวปิงปองได้แล้ว การทำหน้าที่เล่าเรื่องอย่างสมบูรณ์น่าจะเป็นอุดมคติที่สื่อควรไปให้ถึง เพราะสังคมไทยยังมีปัญหาอีกมากที่ควรสนใจ
ทั้งนี้ เขากล่าวว่า การตัดสินเรื่องความเป็นกลางของสื่อนั้นไม่ควรคิดแบบคณิตศาสตร์ ที่ต้องวัดตารางนิ้ว ว่ามีรูปฝ่ายใดจำนวนขนาดเท่าไหร่ ขณะที่การเสนอเรื่องใดเรื่องหนึ่งในสื่อ ต้องไม่ลำเอียง แม้จะปฏิเสธไม่ได้ที่สื่อย่อมมีความรู้สึกผูกพันกับฝ่ายใดเป็นพิเศษก็ตาม จักร์กฤษ เสนอด้วยว่า โมเดลสื่อต่อไป ควรต้องหลากหลายและใจกว้าง เปิดให้ทุกฝ่ายมีบทบาท มีส่วนร่วมเสนอความคิดความเห็น โดยยกตัวอย่างหนังสือพิมพ์ไทยรัฐว่าไม่อาจบอกได้ว่าเป็นสีไหน มีการ์ตูนทั้งของเซียและชัย ราชวัตร หรือ คมชัดลึกที่มีบทความเรื่องศาลรัฐธรรมนูญ ทั้งจากของตนเองและ "ใบตองแห้ง" ซึ่งเป็นคนละมิติกัน มองต่างปัญหาสำคัญสื่อไทย "ไม่พร้อมรับผิด"
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
รัฐบาลเบี้ยวคนจน? ชาวบ้านทวงไหน 15 วันแก้ปัญหา ‘ราษีไศลโมเดล’ Posted: 28 Jul 2012 09:49 AM PDT ผู้สื่อข่าวรายงานกำหนดการของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ระหว่างวันที่ 29-30 ก.ค. 55 นี้ที่ จ.สุรินทร์ หลังจากวันที่ 20 มิ.ย.55 ที่ทำเนียบรัฐบาล นายเฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ได้เรียกประชุมคณะกรรมการแก้ไขปัญหากรณีเขื่อนราษีไศล ตามมติ ครม. วันที่ 12 มิ.ย. 55 ให้แก้ไขปัญหากรณีผลกระทบจากเขื่อนราษีไศลให้แล้วเสร็จโดยด่วน เพื่อให้เป็น ‘ราษีไศลโมเดล’ และเพื่อสร้างบรรทัดฐานในการแก้ไขปัญหากรณีอื่นๆ ต่อไป โดยเฉพาะ ผู้เดือดร้อนจากโครงการ โขง ชี มูล ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี กล่าวในที่ประชุมวันนั้นว่า รัฐบาลมีนโยบายที่ชัดเจนในการแก้ไขปัญหาให้แล้วเสร็จภายในวาระที่รัฐบาลบริหารประเทศ และสั่งกำกับให้ข้าราชการทุกระดับตั้งใจทำงานให้บรรลุเป้าหมาย จ่ายเท่าไรรัฐบาลยอมจ่ายหากตรวจสอบแล้วเป็นไปตามความเป็นจริง เพราะเป็นเงินภาษีของชาวบ้านเอง ชาวบ้านจะได้รับการแก้ไขอย่างจริงจังสักที ท่านายกฯ ได้มีคำสั่งให้แก้ไขให้แล้วเสร็จภายใน 7-15 วัน หลังจากนั้นรองนายกฯ ได้ สั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการชุดเล็กมาดำเนินการนี้โดยเฉพาะ มีกำหนดระยะเวลาดำเนินการที่ชัดเจน นายประดิษฐ์ โกศล ตัวแทนสมัชชาคนจนกรณีเขื่อนราษีไศล กล่าวว่า บัดนี้เป็นเวลากว่า 1 เดือนแล้ว นับจากการประชุมของคณะอนุกรรมการในครั้งแรกวันที่ 22 มิถุนายน 55 ซึ่งตนเองก็เป็นคณะกรรมการ่วมด้วย พวกเราต้องสลดใจอีกครั้งที่รัฐบาลภายใต้การนำของพรรคการเมืองที่ได้รับเสียงสนับสนุนข้างมากจากคนรากหญ้ากลับละเลยเพิกเฉยต่อปัญหาความทุกข์ร้อนของคนยากคนจน รัฐบาลเตะถ่วงเพื่อซื้อเวลาเรื่อยไป วันนี้ ณ ที่นี้ เรา, สมัชชาคนจน ขอเรียกร้องต่อรัฐบาลให้ทำหน้าที่ให้สมกับที่คนรากหญ้าไว้วางใจ เราขอเรียกร้องต่อรัฐบาล นางสำราญ สุรโคตร ตัวแทนสมัชชาคนจนกรณีเขื่อนหัวนา ปัจจุบันรัฐบาล โดยกรมชลประทาน ยังไม่สามารถดำเนินการแก้ไขปัญหากรณีเขื่อนหัวนาให้แล้วเสร็จ โดยอ้างเสมอว่าไม่มีงบประมาณดำเนินการ แต่วันนี้กรมชลประทานโดยโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษามูลล่าง จะนำเสนอโครงการก่อสร้างผนังกั้นน้ำอย่างเต็มพื้นที่ทั้งบริเวณเขื่อนหัวนาและเขื่อนราษีไศล และโครงการดังกล่าวไม่มีการเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะ ซึ่งชาวบ้านเรียกร้องมาตลอดว่าหากจะมีการดำเนินโครงการที่มีผลกระทบกับราษฎรในพื้นที่ จะมีการเปิดเผยข้อมูลและมีการศึกษาผลกระทบที่จะเกิดขึ้นตามมาเป็นรายกรณี วันนี้รัฐบาลและกรมชลประทานทำให้เราหมดความเชื่อมั่นใจต่อการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของคนจน นางผา กองธรรม นายกสมาคมคนทาม กล่าวว่า การต่อสู้ของคนจนจำเป็นต่อดำเนินต่อไปตราบใดที่สังคมไทยยังเอารัดเอาเปรียบคนจนอย่างพวกเรา และนายกยิ่งลักษณ์ มาที่ จ.สุรินทร์ เราก็จะเดินทางไปถามว่าท่านมีความจริงใจในการแก้ไขปัญหาให้พวกเราคนทามหรือเปล่า 20 ปี ที่ผ่านมาสามารถพิสูจน์เราว่า การสร้างเขื่อนราษีไศลสร้างผลกระทบอย่างรุนแรงกับชุมชนท้องถิ่น วันนี้รัฐบาลนายกปู ยังมีความพยายามผลักดัน โครงการผันน้ำขนาดใหญ่ได้แก่ โครงการ โขง เลย ชี มูล ที่จะก่อให้เกิดผลกระทบรอบที่สอง ทั้งที่ปัญหาเก่าไม่ยอมแก้ไขให้แล้วเสร็จ แต่พยายามสร้างปัญหาใหม่กับชุมชนท้องถิ่น “วันนี้เราอยากจะตั้งคำถามว่าการสร้างเขื่อนมีใครได้ประโยชน์บ้าง รัฐบาลต้องให้ชัดเจน เริ่มจาก ใครรับเหมาก่อสร้าง มีการป้องกันการคอรัปชั่นหรือเปล่า หากสร้างแล้วมีผลกระทบการแก้ไขปัญหาที่ชัดเจนเป็นเช่นไร จากที่ดิฉันได้ศึกษารายงานผลการศึกษาวิจัยกรณีผลกระทบจากโครงการ โขง เลย ชี มูล ดิฉันว่าไม่แตกต่างไปจากงานศึกษาวิจัยที่ผ่านมารัฐบาลไม่เคยใส่ใจดำเนินการอย่างจริงจังเพราะเอาหลวมๆ เท่านั้น ปัจจุบันนี้กรณีเขื่อนราษีไศลก็ยังไม่สามารถดำเนินการแก้ไขให้แล้วเสร็จได้ ทั้งการจ่ายค่าชดเชยที่ดินทำดิน การจ่ายค่าชดเชยการสูญเสียอาชีพ และอีกหลายประเด็นรัฐบาลทำเป็นเอาหูไปนาเอาตาไปไร่ ตลอดระยะเวลากว่า 10 รัฐบาลที่ผ่านมา” ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันที่ 30 กรกฎาคม 55 เครือข่ายผู้ได้รับผลกระทบจากโครงการ โขงชีมูล จำนวนกว่า 500-1,000 คน เตรียมเดินทางไปพบนายกรัฐมนตรีที่ จ.สุรินทร์ ด้วย โดยมีข้อเรียกร้องต่อนายกฯ ดังนี้ 1) ข้อเรียกร้องของเครือข่าย คือ หยุดโครงการ โขง เลย ชี มูล และแก้ไขปัญหาผลกระทบจากเขื่อนทั้งหมดในโครงการ โขงชีมูล ให้แล้วเสร็จ 2) การแก้ไขปัญหารายกรณี โดยเฉพาะกรณีเขื่อนราษีไศลและเขื่อนหัวนา
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
MOU การจ้างแรงงานข้ามชาติ เหตุใดไม่ประสบความสำเร็จ ? Posted: 28 Jul 2012 09:16 AM PDT
บันทึกความเข้าใจความร่วมมือด้านการจ้างแรงงาน (Memorandum of Understanding on Employment Corporation) ระหว่างประเทศไทยกับเพื่อนบ้าน ได้แก่ ลาว กัมพูชา และ พม่า เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2545-2546 เพื่อแก้ไขปัญหาการจัดการแรงงานข้ามชาติของไทยที่เรื้อรังมานาน คือการมีแรงงานเข้าเมืองผิดกฎหมาย และทำงานผิดกฎหมายอยู่ในประเทศไทยจำนวนมาก MOU มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดระบบการนำเข้าแรงงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยให้นายจ้างขออนุญาตนำเข้าแรงงานตามความจำเป็น เมื่อได้รับอนุญาตก็ติดต่อให้บริษัทจัดหางานในประเทศต้นทาง จัดหาแรงงานและดำเนินการทางเอกสารให้ครบถ้วน กระทั่งนำพาแรงงานมาทำงานในสถานประกอบการที่ปลายทาง ในข้อตกลงนี้มุ่งหวังจะสร้างความร่วมมือในการคุ้มครองสิทธิแรงงาน การส่งกลับเมื่อครบสัญญาจ้าง และการป้องกันปราบปรามการข้ามแดน การค้าแรงงาน และการจ้างแรงงานโดยผิดกฎหมาย ด้วย ทว่าถึงปัจจุบันนี้การดำเนินการตาม MOU ประสบความสำเร็จน้อยมาก ดังเห็นได้จากจำนวนนำเข้าแรงงานที่ทำได้ไม่ถึงร้อยละ 10 จากยอดที่นายจ้างแจ้งความประสงค์ การพิสูจน์สัญชาติเพื่อปรับเปลี่ยนสถานะแรงงานผิดกฎหมายให้ถูกกฎหมายทำได้ล่าช้า การคุ้มครองสิทธิและอื่นๆก็ยังติดขัดไม่เกิดผล สิ่งสำคัญที่ฟ้องถึงสถานการณ์ปัญหาที่ยังไม่ดีขึ้นก็คือ การที่รัฐบาลยังต้องใช้นโยบายผ่อนผันให้แรงงานเข้าเมืองผิดกฎหมายมาขึ้นทะเบียนทำงานชั่วคราว ปีแล้วปีเล่า ซึ่งเท่ากับยอมรับว่า การจัดระบบแรงงานให้เข้าสู่การควบคุมตามกฎหมายยังไม่ประสบความสำเร็จตามที่หวังไว้ ที่ผ่านมา มีการศึกษาจำนวนหนึ่ง มุ่งเข้าใจปัญหาอุปสรรคของการดำเนินการตาม MOU ที่พบว่า สาเหตุเกิดจากกฎระเบียบการจ้างงานตาม MOU มีความยุ่งยากและหลายขั้นตอน ทำให้การจ้างงานใช้เวลายาวนาน และค่าใช้จ่ายสูงเกินไป ประกอบกับเหตุผลอื่นๆเช่น การขาดประสบการณ์ของบริษัทจัดหางานในประเทศเพื่อนบ้าน ความไม่พร้อมของหน่วยงานราชการในการสนับสนุน การไม่รู้ไม่เข้าใจกฎระเบียบของฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งบริษัทจัดหางาน นายจ้าง คนงาน และเจ้าหน้าที่รัฐหน่วยต่างๆ ผู้เขียนเห็นว่า หากมีการศึกษาปัญหาอุปสรรคของการดำเนินการตาม MOU ด้วยแนวคิดและวิธีการแตกต่างออกไป จะช่วยให้เราเข้าใจเรื่องนี้ในมิติอื่นๆมากขึ้น ในการวิจัยที่กำลังดำเนินการอยู่ ผู้เขียนได้สร้างกรอบคิดที่เรียกว่า เศรษฐศาสตร์การเมืองของการจัดการแรงงานข้ามชาติ โดยสรุปก็คือ การมองความสัมพันธ์ทางอำนาจระหว่าง รัฐ ทุน และแรงงาน(ข้ามชาติ) ในบริบทของระบบทุนนิยมโลกาภิวัตน์ ในการวิจัยผู้เขียนวิเคราะห์ความสัมพันธ์ในระดับจุลภาค ผ่านการพิจารณาว่า MOU ก็คือแนวทางการกำกับควบคุม (regulation) ของรัฐภายใต้ระเบียบทางเศรษฐกิจของโลกปัจจุบัน ผู้เขียนได้ให้ความสำคัญกับมิติทางสังคมวัฒนธรรม ตามแนวทางสังคมวิทยา และได้เลือกที่จะไปศึกษาที่ประเทศต้นทาง คือในประเทศลาว พิจารณาความสัมพันธ์ในการจ้างงาน โดยศึกษาวิเคราะห์ชาวบ้าน บริษัทจัดหางาน เจ้าหน้าที่รัฐ เชื่อมโยงมาถึง เจ้าหน้าที่รัฐ นายหน้า นายจ้าง และแรงงานลาวในโรงงานในประเทศไทย ในที่นี้ขอนำเสนอส่วนหนึ่งของข้อค้นพบจากการวิจัย เพื่อให้ข้อมูลและข้อเสนอสำหรับกระตุ้นให้มีการถกเถียงกันต่อไป ประการแรก ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ สังคมวัฒนธรรม และเศรษฐกิจการเมืองของรัฐ มีความสำคัญยิ่งต่อความสำเร็จของการดำเนินการตาม MOU สำหรับประเทศลาว ในขณะที่ MOU เรียกร้องให้รัฐทำหน้าที่บริการ (Service State) ให้การเคลื่อนย้ายแรงงานข้ามประเทศเป็นไปโดยสะดวก แต่ลาวเป็นประเทศสังคมนิยม ที่การควบคุมโดยรัฐยังเป็นลักษณะสำคัญ (Control State) สถาบันและกลไกรัฐยังขาดประสิทธิภาพและปรับตัวได้จำกัดในการให้บริการประชาชน เจ้าหน้าที่รัฐส่วนหนึ่งยังเคยชินกับวัฒนธรรมควบคุม ทำให้การอำนวยความสะดวกให้กับการจ้างงานเป็นไปอย่างยากลำบาก เช่น การขออนุญาตจัดตั้งบริษัทจัดหางานในลาวเป็นไปอย่างไม่เปิดกว้าง และไม่ค่อยมีการแข่งขัน การขอมีบัตรประชาชน (ประชาชนลาวส่วนใหญ่ไม่มีบัตรประชาชน) การขอหนังสือเดินทางต่างประเทศ หรือเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้อง ใช้เวลานานและใช้ค่าใช้จ่ายสูง สำหรับในประเทศไทย จากประวัติศาสตร์ ก็มีข้อจำกัดในการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจ ที่ด้านหนึ่งก็ขึ้นกับปัจจัยภายนอกจากทุนนิยมโลก อีกด้านหนึ่งก็ขึ้นกับปัญหาการเมืองภายใน การกำหนดนโยบายจึงไม่ค่อยเป็นตามเหตุผลทางเศรษฐกิจ มรดกของความผิดปกติของโครงสร้างเศรษฐกิจไทยคือ การที่อุตสาหกรรมไทยจำนวนมากยังเป็นอุตสาหกรรมเทคโนโลยีต่ำ ใช้แรงงานเข้มข้น และพึ่งพาแรงงานระดับล่างอย่างมาก จนก่อให้เกิดกลุ่มกดดันที่ส่งผลให้แรงงานข้ามชาติเป็นปัญหาที่แก้ไม่ตก ประการต่อมา ผู้เกี่ยวข้องมีความหลากหลาย และต่างใช้กลยุทธ์หาผลประโยชน์ มากกว่าจะยึดถือกติกา กล่าวคือ ในขณะที่รัฐร่วมกันกำหนด MOU โดยคาดหวังให้เป็นกรอบกติกาที่ดีที่จะบังคับให้ผู้เกี่ยวข้องปฏิบัติตาม แต่การวิจัยพบว่า กติกานี้เสมือนการวางกฎลงไปบนสนามที่มีผู้เล่นหลายหลายกลุ่ม แต่ละกลุ่มต่างก็เชื่อในกติกาของตน และก็พร้อมที่จะเอาตามกติกาของรัฐในเมื่อคาดว่าตนจะได้ประโยชน์เท่านั้น ดังเช่น แรงงานลาว มีคนประสงค์จะมาทำงานอย่างถูกกฎหมายตาม MOU จำนวนหนึ่ง แต่มีอีกมากเลือกมาทำงานแบบผิดกฎหมาย บางกลุ่มเห็นดีกับการทำงานตาม MOU บางกลุ่มจะไม่เลือกวิธีนี้อีก แล้วแต่เงื่อนไขของแต่ละคน บริษัทจัดหางานในลาว มีวิธีการทำงานต่างกัน ผันแปรไปตามเครือข่ายความสัมพันธ์ที่มีกับเจ้าหน้าที่รัฐ หน่วยงานรัฐในบางแขวงได้ผันตัวเองมาทำหน้าที่ผู้ส่งออกแรงงาน บางแขวงไม่สนับสนุนการส่งออกแรงงาน นายจ้างไทยมีหลายประเภท นายจ้างจำนวนหนึ่งพร้อมจะปฏิบัติตาม MOU และการจ้างงานตาม MOU ให้ประโยชน์แกพวกเขา ในบางโอกาสนายจ้างใช้วิธีการจ้างแรงงานผิดกฎหมาย ซึ่งมีกลวิธีหลายแบบ และยังมีกลวิธีในการเปลี่ยนแรงงานผิดกฎหมาย ให้เป็นแรงงานกึ่งถูกกฎหมาย หรือถูกกฎหมาย ในต้นทุนที่ต่ำกว่า ภายใต้นโยบายการจัดการแรงงานของรัฐที่ไม่แน่นอน ความต้องการแรงงานข้ามชาติของไทยยังดึงดูดให้เกิดนายหน้านำเข้าแรงงานตาม MOU มีทั้งที่ดำเนินการอย่างเป็นทางการ และไม่เป็นทางการ นายหน้านำเข้าจำนวนหนึ่งข้ามไปทำธุรกิจร่วมกับบริษัทจัดหางานและหน่วยงานรัฐในลาว บางกรณีหมิ่นเหม่ต่อการหลอกลวง สำหรับหน่วยงานรัฐ ก็มีทัศนะต่างกัน เช่น ระหว่างฝ่ายการเมืองกับข้าราชการประจำ หรือเจ้าหน้าที่ต่างกรม/กระทรวง เจ้าหน้าที่บางส่วนกลายเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการผิดกฎหมายผลประโยชน์มหาศาลเสียเอง ที่กล่าวมาข้างต้นแสดงให้เห็นว่า อุปสรรคการดำเนินการตาม MOU ไม่ได้จำกัดอยู่ที่ตัวความยุ่งยากของกฎระเบียบหรือความไม่พร้อมของผู้เกี่ยวข้อง แต่มีปัญหาใหญ่กว่านั้นอีกมากอยู่เบื้องหลัง ปัญหานี้เกี่ยวข้องกับข้อจำกัดของบริบททางสังคม และความสัมพันธ์ทางอำนาจระหว่างฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นการทำข้อตกลงระหว่างประเทศ แม้จะมีเจตนาดี แต่ต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจให้มาก โดยแนวคิดที่เท่าทันกับปัญหาด้วย สุดท้ายนี้ เราอาจมองไปสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งเป็นความร่วมมือระดับภูมิภาคที่ซับซ้อน และมีสมาชิกที่ภูมิหลังแตกต่างกันอย่างมาก กรณีตัวอย่างข้อตกลงเรื่องแรงงานนี้ คงช่วยให้บทเรียนว่า ความร่วมมืออาเซียนอาจไม่ราบรื่นอย่างที่หวังไว้ แต่คงมีปัญหาท้าทายอีกมากที่รอเราอยู่.
หมายเหตุ (1) เรียบเรียงจากการวิจัยที่กำลังดำเนินการเรื่อง “การศึกษากระบวนการดำเนินการตามบันทึกความเข้าใจไทย-ลาวว่าด้วยความร่วมมือด้านการจ้างแรงงาน ในการจ้างแรงงานชาวลาวจากแขวงสาละวันสู่ประเทศไทย” โดยได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) การวิจัยจะเสร็จสมบูรณ์ราวเดือนตุลาคม 2555 นี้ (2) พฤกษ์ เถาถวิล อาจารย์คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี สุธีร์ สาตราคม นักธุรกิจ (3) บทความนี้เคยตีพิมพ์ใน นสพ. กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 26 กรกฎาคม 2555 ที่ผ่านมา ในคอลัมน์ ASEAN Insight ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
เมื่อระบบการศึกษาไทยไม่ยอมรับระบบการศึกษาของอังกฤษ? Posted: 28 Jul 2012 08:08 AM PDT ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมามีบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากประเทศอังกฤษจำนวนเพิ่มมากขึ้นและในบรรดาบัณฑิตเหล่านี้มีผู้ที่สนใจสมัครเข้าทำงานเป็นอาจารย์ของมหาวิทยาลัยในไทยมากขึ้นด้วยทว่าพวกเขากลับเผชิญกับปัญหาร่วมกันนั่นคือ บัณฑิตที่จบการศึกษาจากอังกฤษจำเป็นต้องแปลงเกรดจากระบบอังกฤษให้เป็นระบบเกรดเฉลี่ยแบบอเมริกัน (GPA) โดยระบุว่าจะต้องได้คะแนน GPA ไม่ต่ำกว่า 3.50 (เพื่อให้สอดรับกับระเบียบกฎเกณฑ์ที่ สกอ. และมหาวิทยาลัยกำหนดขึ้นมา) ปัญหาสำคัญที่สุดของประเทศไทยคือ การที่สกอ.และมหาวิทยาลัยต่างๆ ไม่มีเกณฑ์กลางที่เป็นมาตรฐานในการพิจารณาระบบคะแนนแบบลำดับขั้นของประเทศอังกฤษ ความลักลั่นดังกล่าวนี้กลับกลายเป็นการกีดกันและเลือกปฏิบัติทางวิชาการกับบัณฑิตที่จบการศึกษาจากอังกฤษจนทำให้ตัดโอกาสในการเข้าเป็นอาจารย์โดยปริยาย โดยพื้นฐานแล้ว ระบบการให้คะแนนอังกฤษนั้นแตกต่างโดยสิ้นเชิงจากระบบของอเมริกัน โดยระบบอังกฤษเป็นระบบคะแนนแบบลำดับขั้น (Classification) ซึ่งเป็นระบบการให้คะแนนที่เป็นที่ยอมรับอย่างทั่วไปทั้งในอังกฤษและนานาประเทศรวมทั้งสหรัฐอเมริกาว่าเป็นระบบที่มีมาตรฐานสากล ระบบคะแนนแบบลำดับขั้นของประเทศอังกฤษนั้นประกอบด้วยลำดับขั้นของการจบอยู่ 3 ประเภท คือ Distinction (ดีเยี่ยม), Merit (ดี) และ Pass (ผ่าน) ทว่าการให้คะแนนแบบลำดับขั้นเหล่านี้ ในแต่ละมหาวิทยาลัยในอังกฤษก็มีความแตกต่างกันออกไป ยกตัวอย่างเช่น สำหรับมหาวิทยาลัย Oxford และ Cambridge กำหนดให้ลำดับขั้นคะแนน Pass อยู่ที่ร้อยละ 60 และ Distinction อยู่ที่ร้อยละ 70 ในขณะที่มหาวิทยาลัยอื่นๆ ส่วนใหญ่มักจะกำหนด Pass ที่ร้อยละ 50 Merit ที่ร้อยละ 60 และ Distinction ที่ร้อยละ 70 อย่างไรก็ตาม หลักเกณฑ์เหล่านี้ก็มีความแตกต่างกันไปตามแต่ละมหาวิทยาลัย หรือแม้แต่ในมหาวิทยาลัยเดียวกันแต่ต่างคณะกันก็มีความแตกต่างหลากหลายออกไปด้วย เช่น แม้ว่าคณะโดยส่วนใหญ่ ของมหาวิทยาลัย Warwick Distinction จะถูกนับจากร้อยละ 70 แต่คณะสังคมวิทยา (ซึ่งติดอันดับ 2 ของ Rank Sociology อังกฤษในปี 2011 จัดอันดับโดยหนังสือพิมพ์ Independent) กำหนดว่าบัณฑิตจะได้ Distinction ก็ต่อเมื่อจะต้องได้ร้อยละ 70 (Distinction) ในการทำวิทยานิพนธ์ (dissertation) และได้ร้อยละ 70 ในคะแนนรายงาน (essays) อย่างน้อยจำนวน 1 วิชา และร้อยละ 65 ขึ้นไปไม่น้อยกว่า 3 วิชา เป็นต้น สิ่งที่เราเห็นคือ แต่ละมหาวิทยาลัยของอังกฤษมีเกณฑ์และมาตรวัดในการให้คะแนนที่แตกต่างหลากกันออกไปอย่างแทบจะสิ้นเชิง และไม่สามารถหาหลักเกณฑ์แน่นอนตายตัวในการแปลงคะแนนไปเป็นเป็นเกรดเฉลี่ยอย่างเที่ยงตรงและเป็นธรรมต่อบัณฑิตที่จบการศึกษาจากอังกฤษได้ ปัญหาการแปลงเกรดย่อมไม่เป็นปัญหาแต่ประการใดในการศึกษาต่อในต่างประเทศ โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา แม้แต่ในเว็บไซต์ทุน Fulbright ก็ได้เขียนไว้อย่างชัดเจนว่า สำหรับผู้สมัครที่จบการศึกษาจากประเทศอังกฤษนั้นไม่มีความจำเป็นประการใดที่จะต้องแปลงเกรด เพราะมหาวิทยาลัยจะพิจารณาจากคุณสมบัติ และคะแนนที่แท้จริงที่บัณฑิตผู้นั้นได้จากมหาวิทยาลัยของอังกฤษ (ซึ่งจะพิจารณาตามแต่ละคณะและมหาวิทยาลัยไป) ในกรณีของประเทศไทย การแปลงเกรดกลายเป็นปัญหาใหญ่ร่วมกันของบัณฑิตเหล่านั้นที่จะสมัครเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยต่างๆ หลายครั้งหลายครา บัณฑิตที่จบการศึกษาจากอังกฤษมักประสบปัญหาเนื่องจากการแปลงเกรด ซึ่งทำให้เขาหมดโอกาสทางวิชาการและขาดคุณสมบัติในการเป็นอาจารย์ (ทั้งแบบที่ไม่ได้รับการอนุญาตให้เข้าสอบสัมภาษณ์และสอบสอนตั้งแต่ต้น หรือแบบที่สอบได้แล้ว แต่ไม่สามารถแปลงเกรดให้สอดคล้องกับเกณฑ์ของ สกอ. หรือมหาวิทยาลัยกำหนด) ทั้งนี้เนื่องจาก ประการแรก ระบบเกรดนั้นไม่สามารถแปลงได้เพราะไม่มีเกณฑ์กลางที่เป็นมาตรฐานและเป็นธรรม ประการที่สอง เมื่อไม่มีเกณฑ์กลางของมหาวิทยาลัยไทยแล้ว บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากอังกฤษ (โดยเฉพาะในสาขาสังคมศาสตร์) จะถูกขอร้องแกมบังคับให้ยื่นเรื่องขอให้มหาวิทยาลัยในอังกฤษที่ตนจบการศึกษามาทำการแปลงเกรดเป็นเกรดเฉลี่ย GPA คำตอบจากมหาวิทยาลัยนั้นๆ มักจะได้แก่ "มหาวิทยาลัยไม่สามารถแปลงเกรดได้" และ หากติดต่อกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายกิจการนักศึกษาแล้ว เราจะพบได้ว่าเจ้าหน้าที่มักแสดงความฉงนสงสัย อีกทั้งไม่เชื่อหูว่าหากไม่แปลงเกรดแล้ว บัณฑิตจากมหาวิทยาลัยของตนจะไม่มีงานทำ อันนี้ต้องยอมรับว่ามันไม่ใช่ความผิดของระบบอังกฤษหรือมหาวิทยาลัยแต่อย่างใด เพราะในนานาอารยประเทศต่างๆ พวกเขาล้วนยอมรับในมาตรฐานของระบบการศึกษาอังกฤษอย่างไม่มีข้อสงสัย ประการที่สาม เมื่อมหาวิทยาลัยในอังกฤษไม่อาจแปลงเกรดเป็น GPD ได้ สิ่งที่มักเกิดขึ้น คือ มหาวิทยาลัยหลายแห่งมักพยายามบังคับให้แปลงเกรดโดยยึดหลักว่าคะแนนมากกว่าร้อยละ 70 = A ร้อยละ 65-69 = B+ ร้อยละ 61-64 = B เป็นต้น การแก้ไขปัญหาตามข้อหลังนี้นั้นสะท้อนถึงความไม่รู้ (ignorance) เกี่ยวกับระบบการศึกษาแบบอังกฤษของแวดวงการศึกษาไทย ที่มักคุ้นชินอยู่กับระบบการศึกษาแบบอเมริกันมากกว่า กล่าวคือ การที่นักศึกษาจะได้คะแนนมากกว่าร้อยละ 70 นั้นย่อมหมายถึง การได้ Distinction ซึ่งสำหรับประเทศอังกฤษแล้ว ในแต่ละรุ่นการศึกษาในสาขาวิชาหนึ่งๆ นั้นคนที่ได้ Distinction จะมีแค่ประมาณร้อยละ 10-15 เท่านั้น และยิ่งสำหรับนักศึกษาคนไทยด้วยแล้ว ในแต่ละปียิ่งมีคนจบ Distinction รวมกันไม่ถึงร้อยละ 5 (โดยประมาณจากนักศึกษาทุกสาขาวิชากว่า 5,000 คนที่ศึกษาในอังกฤษในแต่ละปี) ประการต่อมา ระบบการศึกษาแบบอังกฤษโดยส่วนใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในมหาวิทยาลัยชั้นนำหรือ Ivy League ของอังกฤษ (Ivy League หมายถึงมหาวิทยาลัยที่รับนักศึกษาที่ได้เกรดเฉลี่ย AAB หรือเกียรตินิยมอันดับ 1 (First Honor) มากกว่าร้อยละ 60 ของจำนวนนักศึกษาทั้งหมด อันได้แก่มหาวิทยาลัย Cambridge, Oxford, Durham, London School of Economics (LSE), Bristol, Exeter, Warwick, Imperial College London, University College London (UCL)) ล้วนแล้วแต่เป็นมหาวิทยาลัยที่มีการแข่งขันสูง และไม่ยอม “ปล่อยเกรด" โดยเด็ดขาด เพื่อรักษาชื่อเสียงและเกียรติภูมิของมหาวิทยาลัยเอาไว้ สำหรับนักศึกษาไทยแล้ว การที่จะได้คะแนนสูงกว่าร้อยละ 60 ในแต่ละรายวิชานั้น เรียกได้ว่าเป็นสิ่งที่ยากเย็นแสนเข็ญเลือดตาแทบกระเด็น ดังนั้นแล้ว เมื่อระบบการศึกษาไทยไม่มี “เกณฑ์กลาง” ในการแปลงคะแนนที่เป็นมาตรฐานและเป็นธรรมแล้ว คณะหรือมหาวิทยาลัยแต่ละแห่งก็จำต้องหา “เกณฑ์กู” ในการพิจารณาตัดสินว่าบัณฑิตเหล่านั้น “ผ่าน” เกณฑ์ที่เกรดเฉลี่ย 3.50 แบบอเมริกันหรือไม่ สิ่งที่เรามักจะพบคือ นักศึกษาไทยที่มีความรู้ความสามารถและมีศักยภาพเป็นจำนวนมากที่จบการศึกษามาจากอังกฤษ เมื่อแปลงเกรดตามที่ถูกบังคับ (ตาม “เกณฑ์กู” ข้างต้น) จึงได้ไม่ถึง 3.50 ถึงแม้ว่าจะได้คะแนนในลำดับขั้น Merit ก็ไม่สามารถผ่านเกณฑ์คุณสมบัติได้ ในหลายครั้งด้วยกันที่คณะต้องการรับบุคลากรที่จบการศึกษามาจากอังกฤษ เนื่องจากสามารถสอบผ่านกระบวนการสอบคัดเลือกบุคลากรตามขั้นตอนปกติของคณะ ซึ่งย่อมปรารถนาคัดเลือกเอาผู้ที่มีคุณภาพ และมีคุณสมบัติเหมาะสมไว้แล้ว ทว่าไม่สามารถรับบุคลากรนั้นได้ เนื่องจากติดระเบียบมหาวิทยาลัยในเรื่องการแปลงเกรดดังกล่าว ยิ่งไปกว่านั้น กระบวนการแปลงเกรดนี้ยังสะท้อนความไม่เป็นธรรมของระบบการอุดมศึกษาของไทย เมื่อเทียบกับกรณีของนักศึกษาที่รับทุนของ สกอ. เนื่องจากผู้ที่รับทุน สกอ. มักมีเงื่อนไขผูกพันธ์ต้องใช้ทุนกับมหาวิทยาลัยต้นสังกัด ดังนั้นแล้ว ไม่ว่าผู้ที่รับทุนจาก สกอ. จะสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยใดๆ ก็ตามในโลก และได้รับเกรดเฉลี่ยเท่าใดก็ตาม ก็มักได้รับการบรรจุเข้าทำงาน โดยไม่ต้องผ่านแม้แต่ขั้นตอนการสอบคัดเลือกบุคคลากรของคณะโดยปกติ ในขณะที่ผู้ที่ใช้ทุนการศึกษาของตนเองหรือผู้ปกครอง ดั้นด้นเดินทางข้ามน้ำข้ามทะเลไปศึกษาต่างประเทศ กลับต้องเผชิญกับอุปสรรค และการปิดกั้นโอกาสเนื่องจากเกณฑ์การรับอาจารย์ใหม่ที่ไม่เป็นธรรม ในปัจจุบัน จำนวนนักศึกษาไทยไทยที่เดินทางไปเรียนต่อที่อังกฤษเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด และ บัณฑิตจบใหม่จากอังกฤษจำนวนไม่น้อยที่มีความมุ่งมั่นจะใช้วิชาความรู้รับใช้สังคม อยากเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยที่รายได้น้อย ไม่พอกินในแต่ละเดือน เพียงเพราะพวกเขารักที่จะรู้ รักที่จะเผยแพร่ความรู้ และรักที่จะรับใช้สังคม บุคลากรที่มีศักยภาพเหล่านี้กลับต้องถูกปิดกั้นโดยระบบ คนจำนวนมากจำต้องผันตัวเองไปทำงานในภาคเอกชน ระบบราชการ หรือ NGO เพียงเพราะพวกเขาหมดศรัทธาในระบบที่เป็นอยู่ ในเมื่อสกอ.ได้ลงนามรับรองมหาวิทยาลัยทุกแห่งที่ได้รับการรองรับโดยรัฐบาลอังกฤษแล้วว่าเป็นมหาวิทยาลัยที่มีมาตรฐาน แต่ในทางปฏิบัติกลับไม่มีการสร้างมาตรฐานที่รองรับต่อบุคลากรจำนวนมากที่สำเร็จการศึกษาจากระบบอังกฤษแต่อย่างใด ถึงเวลาแล้วกระมังที่ท่านที่เป็นบัณฑิตทั้งที่กำลังศึกษาและจบการศึกษาแล้ว อาจารย์มหาวิทยาลัย และผู้บริหารของมหาวิทยาลัยและกระทรวงศึกษาธิการพึงที่จะร่วมกันขบคิดกันว่าเราควรจะแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างไร เพื่อทำลายมายาคติในการอุดมศึกษาไทยที่ไม่ยอมรับระบบการศึกษาของอังกฤษโดยปริยาย เปิดโอกาสให้บัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาทำงานรับใช้สังคม และเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการ พร้อมกันนั้นก็เพื่อให้ระบบการศึกษาของไทยปรับตัวและก้าวไกลทันการศึกษาโลก ถึงเวลาแล้วกระมังที่เราต้องออกจากกะลาที่ครอบเราเอาไว้เสียที! ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
ผู้ได้รับผลกระทบ 7 เขื่อน “โขง ชี มูล” จี้หยุด “ผันน้ำ โขง เลย ชี มูล” Posted: 28 Jul 2012 07:00 AM PDT รับ ครม.สัญจร จ.สุรินทร์ 30 ก.ค.นี้ เครือข่ายผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการ โขง ชี มูล 7 เขื่อน ออกแถลงการณ์ “รัฐต้องแก้ปัญหาผลกระทบโครงการโขง ชี มูล ให้แล้วเสร็จ..!! หยุด! โครงการผันน้ำขนาดใหญ่ โขง เลย ชี มูล” วันนี้ (28 ก.ค55) เครือข่ายผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการ โขง ชี มูล 7 เขื่อน ประกอบด้วย เขื่อนราษีไศลเขื่อนหัวนา เขื่อนร้อยเอ็ด เขื่อนพนมไพร เขื่อนธาตุน้อย เขื่อนหนองหานกุมภวาปี เขื่อนห้วยหลวง ออกแถลงการณ์โอกาส ครม.สัญจร จ.สุรินทร์ 30 ก.ค.55 “รัฐต้องแก้ปัญหาผลกระทบโครงการโขง ชี มูล ให้แล้วเสร็จ..!! หยุด! โครงการผันน้ำขนาดใหญ่ โขง เลย ชี มูล” ถึงประชาชนจังหวัดสุรินทร์และผู้มีใจเป็นธรรมทั่วประเทศ ระบุ “โครงการ โขง เลย ชี มูล” ใช้งบประมาณมหาศาล และจะสร้างปัญหาให้คนอีสานไม่มีที่สิ้นสุด จากกรณีโครงการผันน้ำขนาดใหญ่ โขง ชี มูล ที่มีการสร้างเขื่อนถึง 14 เขื่อนในภาคอีสาน ใช้งบประมาณไป 10,000 กว่าล้านบาท แต่ส่งน้ำให้พื้นที่การเกษตรได้ไม่ถึง 20 เปอร์เซ็นต์ของเป้าหมาย ทั้งยังก่อให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรงต่อวิถีชีวิต การสูญเสียที่ดินทำกิน เสียทรัพยากรธรรมชาติของชาวอีสาน โดยเฉพาะการสูญเสียป่าบุ่งป่าทาม ตัวอย่างกรณีเขื่อนราษีไศล มีน้ำท่วมป่าทามที่เป็นระบบนิเวศสำคัญของแม่น้ำมูนไปถึง 1 แสนไร่ มีผู้สูญเสียที่ดิน 7,760 ครอบครัว รวมผู้เดือดร้อนทั้งทางตรงและทางอ้อมไม่น้อยกว่า 1 หมื่นครอบครัว แถงการณ์ระบุว่า เขื่อนดังกล่าวไม่มีการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมก่อนการก่อสร้าง ไม่มีการเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะและชุมชนท้องถิ่นไม่มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และขณะนี้มีการเผลักดัน “โครงการผันน้ำ โขง เลย ชี มูล” ซึ่งจะเป็นการสร้างปัญหาซ้ำรอยโครงการเดิม ขณะที่ปัญหาผลกระทบจากโครงการ โขง ชี มูล ที่คาราคาซัง มา 20 ปี นั้นรัฐบาลยังแก้ปัญหาไม่เสร็จสิ้น อีกทั้งยังสร้างความขัดแย้งในพื้นที่ บทเรียนการต่อสู้ของคนในลุ่มน้ำโขง ชี มูน คือ “การสร้างเขื่อนนั้นไม่ใช่คำตอบสำหรับการแก้ปัญหาน้ำท่วมและภัยแล้ง แต่กลับสร้างผลกระทบตามมา ไม่คุ้มค่ากับการลงทุน” แต่กลับพบว่าการจัดการน้ำในรูปแบบแหล่งน้ำขนาดเล็กระดับชุมชนท้องถิ่น เป็นทางแก้ไขปัญหาที่สอดคล้องกับระบบนิเวศน์และวิถีวัฒนธรรมท้องถิ่นมากกว่า แต่รัฐไม่สนใจ ทั้งนี้ เครือข่ายผู้ได้รับผลกระทบจากโครงการโขงชีมูลจึงขอเรียกร้องต่อรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ดังนี้ 1.แก้ไขปัญหากรณีเขื่อนที่สร้างเสร็จแล้วในโครงการ โขง ชี มูล ให้แล้วเสร็จ จ่ายค่าชดเชยที่ดินให้ครบถ้วน รวดเร็ว และให้มีการศึกษาผลกระทบที่เกิดขึ้นหลังการก่อสร้างเขื่อนทุกเขื่อน 2.จัดทำแผนในการฟื้นฟูวิถีชีวิตชุมชนและธรรมชาติได้รับผลกระทบอย่างเหมาะสม หากศึกษาแล้วพบเขื่อนไหนก่อปัญหาผลกระทบมากกว่าได้ประโยชน์ ให้รื้อเขื่อนนั้นทิ้ง 3.ให้ยุติการผลักดันการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่และการผันน้ำ โขง เลย ชี มูลและโครงการอื่นๆ ทันที เพราะจะเกิดผลกระทบมากมายและไม่มีความคุ้มค่า นอกจากจะสร้างผลประโยชน์และสร้างกำไรให้กับธุรกิจสร้างเขื่อน แล้วผลักภาระผลกระทบให้ชุมชนท้องถิ่น 4.ให้มีการกระจายอำนาจและงบประมาณให้ชุมชนท้องถิ่น วางแผนและดำเนินการในการจัดการน้ำ โดยชุมชนท้องถิ่นเอง ตามระบบนิเวศนั้นๆ
หมายเหตุ: ภาพจาก http://www.moonlang.com/history.html ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น