โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันอาทิตย์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

สมบัติ บุญงามอนงค์ รับรางวัล “ประทีป อึ้งทรงธรรม” ประจำปี 55

Posted: 01 Jul 2012 09:16 AM PDT

1 ก.ค.55 "หนูหริ่ง" สมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ บก.ลายจุด บุคคลที่คนไทยรู้จักกันดีในกลุ่มประชาชนเคลื่อนไหวเรียกร้องการปกครองระบอบ ประชาธิปไตยในปี 2553 และเป็นผู้ช่วยเหลือสังคมอันดับต้นๆยามประเทศไทยเกิดภัยพิบัติ เช่น ก่อตั้งศูนย์ประสานงานอาสาสมัครช่วยผู้ประสบภัยสึนามิเมื่อปี 2547 และศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยหรือศปภ.ภาคประชาชนที่สนามบิน ดอนเมือง  เมื่อปี 2554

จากบทบาทนักสังคมสงเคราะห์กลุ่มละครมะขามป้อม ก้าวสู่การจัดตั้งมูลนิธิเพื่อช่วยเหลือสังคมหลายด้านเช่น มูลนิธิกระจกเงา  ศูนย์ข้อมูลคนหายเพื่อการต่อต้านการค้ามนุษย์  ผู้ก่อตั้งสถานีโทรทัศน์ "บ้านนอกทีวี" และยังมีส่วนผลักดันมติคณะรัฐมนตรีแก้ไขพระราชบัญญัติเด็กไร้สัญชาติในสมัย นายชวน หลีกภัยเป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งสามารถทำให้เด็กชนกลุ่มน้อยกว่า 2000 คนได้สิทธิ์สัญชาติไทยเพื่อรับโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งตลอดจากทำงาน 24 ปีเพื่อสังคมไทย ทำให้วันนี้ นายสมบัติ บุญงามอนงค์ ได้รับรางวัล ประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ คนที่ 4 ประจำปี 2555 และได้เงินรางวัลมูลค่า 1 ล้านบาท

ทั้งนี้ รางวัลประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ เป็นรางวัลด้านการพัฒนาสังคมเมืองในโครงการเชิดชูผู้ทำความดีเพื่อสังคม 6 สาขาของมูลนิธิตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย บริษัทล็อกซเล่ย์ จำกัด(มหาชน) และมูลนิธิดวงประทีป โดยการมอบรางวัลนี้ เปรียบเสมือนการส่งไม้ต่อจากครูประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ นักพัฒนาสังคมที่มีบทบาทต่อการช่วยเหลือสังคมมาหลายสิบปีไปยังอีกรุ่นหนึ่ง เพื่อก่อให้เกิดการเชื่อมร้อยสร้างสรรค์การช่วยเหลือสังคมอย่างต่อเนื่อง 

 

ที่มา: Vioce TV

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สมยศ พฤกษาเกษมสุข: วิกฤติตุลาการกับความบัดซบของนักการเมือง

Posted: 01 Jul 2012 08:17 AM PDT

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติรับคำร้องของกลุ่ม 40 ส.ว. นำโดยสมเจตน์ บุญถนอม นายสมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหาจากกรณีรัฐสภาแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 เป็นการลบล้างระบอบการปกครองประชาธิปไตย พร้อมกับออกคำสั่งเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน ชะลอการพิจารณาลงมติร่างรัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติมในวาระ 3 ที่จะมีขึ้นวันที่ 5มิถุนายน 2555 เอาไว้ก่อนจนกว่าจะมีคำวินิจฉัยออกมา

ศาลรัฐธรรมนูญออกแถลงการณ์ตีความรัฐธรรมนูญมาตรา 68 ไว้ว่า ผู้ทราบการกระทำว่า มีบุคคลหรือพรรคการเมืองกระทำการเพื่อลบล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีสิทธิ์เสนอเรื่องต่ออัยการสูงสุด และเสนอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาเพื่อดำเนินการวินิจฉัยสั่งการให้เลิกกระทำการดังกล่าว

ทางฝ่ายพรรคเพื่อไทย ซึ่งเป็นผู้ผลักดันการแก้ไขรัฐธรรมนูญออกมาตอบโต้โดยเห็นว่า ศาลรัฐธรรมนูญกำลังก้าวก่ายอำนาจนิติบัญญัติ ออกคำสั่งโดยปราศจากกฎหมายรองรับ รัฐสภาไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตาม

ปรากฏการณ์ตุลาการภิวัตน์ ซึ่งกำลังกลายเป็นตุลาการวิบัติในครั้งนี้เป็นเพียงหนังม้วนเก่า คนแสดงหน้าเดิม นำมาฉายซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนคนดูเอือมระอาในพฤติกรรมอัปยศอดสูของตุลาการเมืองไทย

ประการแรก เมื่อเกิดการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 โค่นล้มรัฐบาลทักษิณชินวัตร ฉีกรัฐธรรมนูญ 2540ล้มล้างการปกครองประชาธิปไตย เป็นการกระทำแบบโจรกบฏที่ชัดเจนที่สุด แต่บรรดาตุลาการผู้ทรงคุณธรรมทั้งหลาย ไม่ทราบว่าไปมุดรูอยู่ตรงไหน ณ เวลานั้น จึงไม่ได้ออกมาทำหน้าที่ออกคำสั่งให้หยุดกระทำการดังกล่าว ในทางตรงกันข้ามหลังรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 กลับมีตุลาการบางคนยอมรับคำสั่งแต่งตั้งจากคณะรัฐประหารให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี เป็นประจักษ์พยานของความต่ำทรามในวงการตุลาการไทยเป็นอย่างยิ่ง

ประการที่สอง การใช้ข้ออ้างว่าเป็นการกระทำหน้าที่พลเมืองที่จะปกป้องรัฐธรรมนูญ ราวกับว่าพวกเขาห่วงใยต่อชาติบ้านเมืองเป็นล้นพ้น กลัวจะเป็นการพลิกฟ้า พลิกแผ่นดิน เปลี่ยนแปลงการปกครอง จะให้เป็นอำนาจอัยการสูงสุดอย่างเดียวไม่ได้ จึงต้องกุลีกุจอออกคำสั่งทันทีทันใด ให้หยุดกระทำการดังกล่าว ข้ออ้างเช่นนี้เป็นการอ้างอันน่าสมเพศเวทนาเหลือเกิน เพราะเมื่อคราวที่คณะรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ทำการล้มล้างรัฐธรรมนูญ 2540 ไม่มีใครหน้าไหนในกลุ่มที่ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญคราวนี้ และก็ไม่มีตุลาการหน้าไหนออกมาปกป้องรัฐธรรมนูญ 2540 แต่กลับยินดีปรีดาไปกับรัฐธรรมนูญ 2550 ที่คลอดมาจากมดลูกของคณะรัฐประหาร และยัดเยียดให้กับสังคมไทยในเดือนสิงหาคม 2550

จึงเข้าใจเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้เลย นอกจากเป็นเพราะพวกเขาได้ประโยชน์แห่งความเป็นอำมาตย์ในนามของตุลาการที่มีอำนาจชี้เป็นชี้ตายในชะตากรรมการเมืองไทย พวกเขาทั้งหลายถึงกับยอมสูญเสียต้นทุนทางสังคมในฐานะผู้ที่ต้องวางตัวเป็นกลาง และผดุงไว้ซึ่งความน่าเชื่อถือในกระบวนการยุติธรรม ทั้งนี้เพื่อให้ได้มาซึ่งความเป็นชนชั้นอภิสิทธิ์ชนในสังคมอันมากล้นด้วยเกียรติยศ และผลประโยชน์ส่วนตน

พวกเขาอ้าปากก็เห็นไส้เป็นขด ๆ ของการแสดงตนออกมาปกป้องรัฐธรรมนูญ 2550 จนเกินความงาม ความพอดีในอำนาจตุลาการ เพราะรัฐธรรมนูญ 2550 ไปให้ฝ่ายตุลาการซึ่งไม่ได้มีส่วนเชื่อมโยงกับภาคประชาชนมีอำนาจแต่งตั้งวุฒิสภาจำนวนกึ่งหนึ่ง (มาตรา 113) และยังเป็นผู้แต่งตั้งองค์กรอิสระ (มาตรา 229, 243, 246ฯลฯ )ไว้คอยกำกับควบคุมฝ่ายบริหาร และนิติบัญญัติ โครงสร้างเช่นนี้เป็นการดึงอำนาจฝ่ายตุลาการให้มาก้าวก่ายการเมือง – การปกครอง จนสูญเสียหลักการแบ่งแยกและถ่วงดุลอำนาจในระบอบประชาธิปไตยไปหมดสิ้น

ทั้งๆ ที่การแก้ไขรัฐธรรมนูญในระบอบประชาธิปไตย จะต้องเปิดกว้างให้มีสิทธิเสรีภาพการแสดงความคิดเห็นกันเต็มที่ ซึ่งอาจจะมีทั้งผู้ที่เห็นด้วยกับระบอบการปกครองแบบเดิม หรืออาจจะมีความคิดเห็นที่แตกต่างออกไปได้ เพราะความขัดแย้งแตกต่างทางความคิดในสังคมเช่นนี้ คือพลวัตรของการเปลี่ยนแปลงที่ก้าวหน้าของสังคมไทย

การที่พรรคการเมืองเสียงข้างน้อยออกมาล็อคสเป็คกันล่วงหน้าด้วยการห้ามไม่ให้มีการแก้ไขหมวดพระมหากษัตริย์ โดยที่พรรคการเมืองเสียงข้างมากคล้อยตามการล็อคสเป็คของเสียงข้างน้อยกันอย่างง่ายดาย นี่เป็นความบัดซบของสภาผู้แทนราษฎรที่มีแต่นักการเมืองขลาดเขลา และสิ้นไร้ไม้ตอก เพราะในระบอบประชาธิปไตย การแก้ไขรัฐธรรมนูญจะต้องให้ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพกันอย่างเต็มที่ในการแสดงความคิดเห็นในทุกเรื่อง ทุกประเด็น โดยปราศจากข้อจำกัดใด ๆ มาปิดกั้น

สังคมประเทืองปัญญาย่อมยินดีที่ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมือง มีความกระตือรือร้นต่อการแสดงความคิดเห็น วิพากษ์ วิจารณ์ มีการโต้แย้งวิวาทะ หลากหลายความคิด อันจะนำมาซึ่งความเข้าใจร่วมกัน และนำมาสู่ความปรองดองในสังคมได้ในที่สุด

มีแต่สังคมมืดบอดทางปัญญาแบบไทยเราที่มีข้อกำหนดห้ามแก้ไข ห้ามแตะต้อง ห้ามทำการเปลี่ยนแปลงใดๆ ทั้งสิ้น ห้ามทำโน้น ห้ามทำนี่ สังคมแบบนี้ต้องการให้ประชาชนโง่เขลาว่านอนสอนง่าย เชื่อฟังและคล้อยตามระบอบการปกครองของพวกเขา ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นคนจำพวกต้มตุ๋น กะล่อน และจอมโจรสารพัดความชั่วที่เกาะกินอยู่ในโครงสร้างการเมืองสาระยำอยู่ในทุกวันนี้

 

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เกร็ดตัวเลขที่น่าสนใจก่อนนัดชิงยูโร 2012 “สเปน vs อิตาลี”

Posted: 01 Jul 2012 07:18 AM PDT

เกร็ดตัวเลขที่น่าสนใจ เพื่อข้อมูลก่อนการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปปี ค.ศ.2012 (หรือยูโร 2012) นัดชิงชนะเลิศระหว่าง สเปน กับ อิตาลี ทั้งเรื่องฟุตบอลและมากกว่าฟุตบอล

1 ก.ค. 55 - ในรอบชิงชนะเลิศของการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปปี ค.ศ.2012 (หรือยูโร 2012) เป็นการโคจรมาพบกันของประเทศที่กำลังเผชิญกับปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจอย่างสเปนและอิตาลี โดยทั้งคู่ก็เป็น 2 ชาติจากกลุ่มประเทศ PIGS ทั้ง 6 ชาติที่ได้เข้าร่วมในการแข่งขันนี้

(จากข้อมูลของวิกิพีเดียระบุว่า PIGS หรือในบางครั้งเรียกว่า PIIGS, PIIGGS คือคำย่อที่ถูกเรียกโดยนักวิเคราะห์เศรษฐกิจ, กลุ่มนักวิชาการ และสำนักพยากรณ์เศรษฐกิจระหว่างประเทศ ถึงรัฐอธิปไตยในทวีปยุโรปที่ประสบปัญหาหนี้สาธารณะอันประกอบไปด้วย P: Portugal, I: Italy, G: Greece, S: Spain, I: Ireland และ G: Great Britain)

ในความสำเร็จทางเกมการแข่งขันฟุตบอลอิตาลีเป็นแชมป์ฟุตบอลโลก 4 สมัย (ค.ศ.1934, ค.ศ.1938, ค.ศ.1982 และ ค.ศ.2006) แชมป์ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติ 1 สมัย (ค.ศ.1968) ส่วนสเปนเป็นแชมป์ฟุตบอลโลก 1 สมัย (ค.ศ.2010) แชมป์ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติ 2 สมัย (ค.ศ.1964 และ ค.ศ.2008)

ว่าด้วยตัวเลขเกี่ยวกับฟุตบอล


 

 

 


 


 


อันดับ FIFA [1]


1


12


อันดับ Elo [2]


1


8


มูลค่ารวมของนักเตะที่ส่งเข้าแข่งขันยูโร 2012 [3]


579.7 ล้านปอนด์


260 ล้านปอนด์


ผลงานในยูโร 2012 [4]


ทำประตู


8


6


เสียประตู


1


3


ใบเหลือง


10


15


ใบแดง


0


0


โอกาสยิง


78


97


ยิงเข้ากรอบ


49


55


ล้ำหน้า


18


13


ได้ลูกเตะมุม


40


27


ทำฟาล์ว


64


79


โดนทำฟาล์ว


93


80


พยายามผ่านบอล


4,222


3,311


ผ่านบอลสำเร็จ


3,386 (80%)


2,462 (74%)


ครองบอลเฉลี่ย


60%


52%

 

ว่าด้วยตัวเลขนอกเหนือจากฟุตบอล

 


 

 

 


 



 


จำนวนประชากร [5]


46.1 ล้านคน


60.6 ล้านคน


GDP [6]


1,407 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ


2,051 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ


อัตราเงินเฟ้อ [7]


1.90%


3.30%


อัตราว่างงาน [8]


24.44%


10.20%


งบประมาณภาครัฐ [9]


-8.50


-3.90


สัดส่วนหนี้ต่อ GDP [10]


68.50


120.10


การกระจายรายได้ [11]


35%


36%

 

 

ที่มาตัวเลข:

[1] http://en.wikipedia.org/wiki/FIFA_World_Rankings (เข้าดูเมื่อ 1-7-2012)

[2] http://en.wikipedia.org/wiki/World_Football_Elo_Ratings (เข้าดูเมื่อ 1-7-2012)

[3] http://www.sportingintelligence.com/2012/06/24/spanish-squad-has-highest-market-value-at-euros-579-7m-240601/ (เข้าดูเมื่อ 1-7-2012)

[4] http://www.uefa.com/uefaeuro/season=2012/statistics/index.html (เข้าดูเมื่อ 1-7-2012)

[5] http://www.tradingeconomics.com/ (เข้าดูเมื่อ 1-7-2012)

[6] อ้างแล้ว

[7] อ้างแล้ว

[8] อ้างแล้ว

[9] อ้างแล้ว

[10] อ้างแล้ว

[11] http://data.worldbank.org/indicator/SI.POV.GINI/countries?display=default (เข้าดูเมื่อ 22-5-2012)

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

บทบาทของสภาคณาจารย์และข้าราชการต่อการเคลื่อนไหวของพนักงาน: กรณีมหาวิทยาลัยราชภัฏ

Posted: 01 Jul 2012 07:16 AM PDT

 

กรณีการเคลื่อนไหวของพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Facebook) ที่ปัจจุบันมีสมาชิกจำนวน กว่า 9,000 คน เพื่อทวงถามสิทธิ และสวัสดิการต่อรัฐ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาไม่ได้ปรากฏตัวตนในระบบการทำงานถึงแม้จะมีสถานะเป็นถึงอาจารย์ และบุคลากร ทำงานในมหาวิทยาลัย ที่ทำการสอน การวิจัย และบริการวิชาการ ตามหน้าที่ทุกประการ เนื่องพนักงาน ฯ ได้รับผลกระทบจากการประกาศขึ้นเงินเดือนแก่ข้าราชการตามมติคณะรัฐมนตรี มกราคม พ.ศ. 2555 ที่ไม่ครอบคลุม ถึงพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา ที่ปรากฏตัวตนตาม พ.ร.บ.ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ฉบับที่ 2  พ.ศ 2551 เพียงน้อยนิดในมาตรา 3 ที่ให้เพิ่มบทนิยามคำว่า “พนักงานในสถาบันอุดมศึกษา” ระหว่างบทนิยามคำว่า“ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา” และคำว่า “สภาสถาบันอุดมศึกษา” ในมาตรา  4แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาพ.ศ.2547 “พนักงานในสถาบันอุดมศึกษา” หมายความว่าบุคคลซึ่งได้รับการจ้างตามสัญญาจ้างให้ทำงานในสถาบันอุดมศึกษาโดยได้รับค่าจ้างหรือค่าตอบแทนจากเงินงบประมาณแผ่นดินหรือเงินรายได้ของสถาบันอุดมศึกษา”  มิหนำซ้ำ ยังขังตายความก้าวหน้าของพนักงาน ด้วยหมวด 9 มาตรา 65/1 กล่าวว่าการกำหนดตำแหน่งระบบการจ้างการบรรจุและการแต่งตั้งอัตราค่าจ้างและค่าตอบแทนเงินเพิ่มและสวัสดิการการเลื่อนตำแหน่งการเปลี่ยนและการโอนย้ายตำแหน่งการลาจรรยาบรรณวินัยและการรักษาวินัยการดำเนินการทางวินัยการออกจากงานการอุทธรณ์และการร้องทุกข์และการอื่นที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาให้เป็นไปตามข้อบังคับของสภาสถาบันอุดมศึกษา ที่สภาแต่ละสถาบันก็ออกข้อบังคับว่าด้วยการบริหารงานบุคล ด้วยการได้มาซึ่งกรรมการรบริหารงานบุคลสำรับพนักงานมหาวิทยาลัย (ก.บ.ม.) มาทำหน้าที่ออกประกาศ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานบุคลสำหรับพนักงานทั้งหมด

พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ.2547 กำหนดให้สภาคณาจารย์และข้าราชการมีหน้าที่ ดังนี้ 1) ให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะในกิจการของมหาวิทยาลัย และการพัฒนามหาวิทยาลัยต่ออธิการบดีหรือสภามหาวิทยาลัย, 2) แสวงหาแนวทางร่วมกันเพื่อส่งเสริมพัฒนาศักยภาพของคณาจารย์ และข้าราชการในการปฏิบัติหน้าที่แห่งจรรยาบรรณวิชาชีพ, 3) พิทักษ์ผลประโยชน์ของมหาวิทยาลัยและปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่อธิการบดีมอบหมาย, 4) เรียกประชุมคณาจารย์และข้าราชการเพื่อพิจารณากิจกรรมของมหาวิทยาลัย และนำเสนอต่อสภามหาวิทยาลัย เมื่อตีความหน้าที่ของสภา ฯ ตาม พ.ร.บ. แล้วจะเห็นว่าสภาฯ มีอำนาจเต็มในการปกป้องส่งเสริม เพื่อหาแนวทางพัฒนาศักยภาพของคณาจารย์และข้าราชการ ภายในมหาวิทยาลัย องค์กรสภาฯ ประกอบไปด้วยกรรมการซึ่งเป็นผู้แทนที่ได้รับการเลือกตั้งมาจาก หน่วยงานระดับคณะ, ศูนย์ สำนัก และสถาบัน หากพิจารณาถึงบทบาทของสภาฯ ต่อการพัฒนาศักยภาพของพนักงาน ฯ ในปัจจุบันนั้นพบว่ายังมีบทบาทน้อยมากต่อการชี้นำ ช่วยเหลือ และส่งเสริมศักยภาพของพนักงาน ฯ ภายในองค์กรให้ได้รับรู้รับทราบถึงสิทธิและสวัสดิการเกื้อกูล ผลประโยชน์ที่พึงได้รับจากองค์กรนายจ้าง

การผลักดันสิทธิและสวัสดิการเกื้อกูล ที่ดีให้บังเกิดต่อพนักงานอย่างเป็นรูปธรรม นับเป็นหน้าที่อันสมบูรณ์ตาม พ.ร.บ. ที่สภา ฯ พึงปฏิบัติ โดยสภาฯต้องสร้างกระบวนการช่วยเหลือ ส่งเสริม และผลักดันด้วยมติประชาคม (การเรียกประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นจากประชาคม) การเรียกร้องผ่านตัวแทน (ประธานสภาฯต้องทำหน้าที่เรียกร้องผ่านการประชุมสภามหาวิทยาลัย) การนำเสนอปัญหาต่ออธิการบดี ร่วมหาทางออกที่เป็นธรรมแก่องค์กรและพนักงานทั้งมวล เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจที่ต่อมวลหมู่พนักงาน อันจะส่งผลประโยชน์และประสิทธิภาพต่อองค์กรเป็นสำคัญ

สรุปองค์กรสภาคณาจารย์และข้าราชการนับเป็นองค์กรที่มีความใกล้ชิดกับชีวิตและความเป็นอยู่ของพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาซึ่งเป็นบุคลกรที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อระบบการศึกษาของประเทศ หากยังคงเพิกเฉยต่อกระบวนการเคลื่อนไหวของเครือข่ายพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา ก็นับว่าสภาตีความหน้าที่ตาม พ.ร.บ. คลาดเคลื่อนดังนั้นจึงขอถือโอกาสนี้เรียกร้องมายังสภา ฯ และกรรมการสภาคณาจารย์ และข้าราชการจากมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ ให้ร่วมกันส่งเสริมกระบวนการเคลื่อนไหวของเครือข่ายบนพื้นฐานความถูกต้องเพื่อกอบกู้วิกฤตแห่งการอุดมศึกษา เนื่องจากพนักงานทั้งหลายอยู่ภายใต้ความสิ้นหวังต่อระบบที่ไร้เสถียรภาพ ขาดความมั่นคง ในชีวิตการทำงาน เช่นในสภาพปัจจุบัน...

โปรดช่วยกันครับเพื่อประเทศชาติที่เราพร่ำบอกว่ารักเสมอมา...

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

รายงานเสวนา: สิทธิผู้หญิง คดีคนจน กับความเป็นธรรมทางสังคม

Posted: 01 Jul 2012 07:07 AM PDT

คดีพิพาทที่ดินและทรัพยากร เฉพาของเครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสาน (คปอ.) มีจทั้งสิ้น 29 คดี 107 ราย ทั้งคดีอาญาและแพ่ง โดยส่วนใหญ่เป็นคดีป่าไม้ และในจำนวนนี้มีผู้หญิงกว่าร้อยละ 30 รวมทั้งเด็กและผู้พิการ 

เมื่อวันที่ 28 มิ.ย. 2555 ศูนย์ศึกษาและฟื้นฟูนิเวศวัฒนธรรมเทือกเขาเพชรบูรณ์ เครือข่ายผู้หญิงปกป้องสิทธิที่ดินทำกิน องค์การแอ็คชั่นเอดประเทศไทย เครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสาน (คปอ.) และองค์กรร่วมจัด ได้จัดเวทีสัมมนา “สิทธิผู้หญิง ปัญหาคดีคนจน กับความเป็นธรรมทางสังคม” ที่วัดบ้านทุ่งลุยลาย ต.ทุ่งลุยลาย อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ มีผู้เข้าร่วมทั้งผู้นำและสมาชิกเครือข่ายองค์กรต่างๆ องค์กรพัฒนาเอกชน นักวิชาการ นักกฎหมาย และสื่อมวลชน ประมาณ 150 คน

ปัจจุบัน ปัญหาคดีความจากเรื่องพิพาทเกี่ยวกับที่ดินและทรัพยากรในสังคมไทยเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก หากดูเฉพาะจำนวนคดีความของเครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสาน (คปอ.) พบว่า มีจำนวนทั้งสิ้น 29 คดี 107 ราย จำแนกเป็นทั้งคดีอาญาและแพ่ง โดยส่วนใหญ่เป็นคดีป่าไม้ และในจำนวนผู้ถูกดำเนินคดีของเครือข่ายฯ พบว่า มีผู้หญิงเป็นจำนวนกว่าร้อยละ 30 รวมทั้งเด็กและผู้พิการ

จากการศึกษาเกี่ยวกับปัญหาคดีความของสมาชิกเครือข่ายฯ พบว่า ข้อเท็จจริงแห่งคดี มีมูลเหตุมาจากข้อพิพาทและความขัดแย้งเรื่องที่ดินระหว่างรัฐกับประชาชน ซึ่งในทุกพื้นที่ชาวบ้านได้ถือครองทำประโยชน์มาก่อนการประกาศเขตที่ดินของรัฐประเภทต่างๆ จากนั้นมีกระบวนการแก้ไขปัญหาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แต่ยังไม่ได้ข้อยุติ กระทั่งเจ้าพนักงานได้แจ้งความดำเนินคดี และเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมในที่สุด  

บทเรียนสำคัญในการต่อสู้คดี ในหลายกรณีพบว่า ชาวบ้านไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการดำเนินงาน เช่น พฤติกรรมในการจับกุม ควบคุมตัวของเจ้าหน้าที่ การแจ้งข้อกล่าวหา และแสวงหาพยานเอกสารเพิ่มเติม เป็นต้น นอกจากนี้การพิจารณาคดีของศาลจะมุ่งเน้นหลักฐานทางราชการ และข้อกฎหมายที่ใช้กำกับดูแลในพื้นที่พิพาทเป็นด้านหลัก ในขณะที่ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการทำประโยชน์ของชาวบ้านมักจะให้ความสำคัญน้อยในการวินิจฉัย ทำให้ส่วนใหญ่ชาวบ้านจะเป็นผู้กระทำผิดตามฟ้อง และมีผลกระทบต่อการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ตามมาภายหลัง ซึ่งยังไม่นับรวมถึงอิสรภาพที่สูญเสียไป ค่าใช้จ่ายในการต่อสู้คดี และผลกระทบทางสังคม ครอบครัว เป็นต้น

ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นข้างต้น สะท้อนให้เห็นปัญหาความเป็นธรรมทางสังคมในประเทศไทยอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งในส่วนกฎหมาย นโยบายรัฐ กระบวนการยุติธรรม และกลไกการแก้ไขปัญหาของรัฐที่มีความล่าช้าต่อสถานการณ์ และความเปลี่ยนแปลงของสังคม

กรณ์อุมา พงษ์น้อย เครือข่ายประจวบฯ กลุ่มรักท้องถิ่นบ่อนอก ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ว่า การต่อสู้ของกลุ่มรักท้องถิ่นบ่อนอกกับเครือข่ายต่างๆ นั้น ไม่ต่างกัน เพราะเป็นการสู้กับนโยบายรัฐที่เข้ามาเบียดขับ มากำหนดโดยอ้างการพัฒนา จึงลุกขึ้นปกป้องถิ่นฐานบ้านเกิด ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มั่นคง มีเศรษฐกิจความเป็นอยู่ที่ดี ซึ่งการต่อสู้เต็มไปด้วยความยากลำบาก อุปสรรคมากมาย และมีจุดจบของการต่อสู้ที่ไม่แตกต่าง เริ่มจากชุมชนท้องถิ่น ท้องถนน ข้างทำเนียบรัฐบาล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ สุดท้ายต้องเข้าสู่เวทีตุลาการหรือศาล ผ่านการจับกุมคุมขัง เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ต้องเจอแรงเสียดทานจากทุกระดับ ทั้งตำรวจ อัยการ ศาล และมีความพยายามข่มขู่ เข่นฆ่า ลอบทำร้าย แต่หาพยานหลักฐานไม่ได้ ถูกกลั่นแกล้ง หวังผลให้อ่อนล้าในการต่อสู้ มีการนำผลประโยชน์มาเสนอ แต่ชาวบ้านปฏิเสธทั้งหมด ที่ผ่านมาไม่สู้แบบปัจเจก แต่เป็นชุมชน ยืนหยัดต่อสู้บนกระบวนการยุติธรรม

ทัศนคติของศาลนำสู่การกำหนดดุลพินิจ เช่น การมองการต่อสู้คัดค้านของภาคประชาชนเป็นการถ่วงความเจริญ หรือการมองคนรวย คนจน ที่มีอคติต่อจำเลย ทำให้คนจนต้องอยู่ในคุก เป็นการปฏิบัติแบบสองมาตรฐาน จึงต้องสร้างพลังเพื่อดัดแปลงและลดทอนการใช้อำนาจ เช่นจากผลของการต่อสู้ของกลุ่มรักท้องถิ่นฯ ทำให้หมายจับตกไป ศาลไม่กล้าข่มขู่ แต่ไกล่เกลี่ยแบบวางตัวเป็นกลาง ทำให้ไม่ถูกกระทำซ้ำ

หากคิดว่าปัญหาเกิดจากนโยบายรัฐ ต้องออกแบบการต่อสู้ เพราะการต่อสู้กับนโยบายรัฐไม่ได้มาด้วยท่าทีของการร้องขอ แต่คืออำนาจประชาชนที่รวมตัว คัดง้าง ดัดแปลงอำนาจรัฐ และอาจไม่สำเร็จได้ในเร็ววัน แต่เป็นการแผ้วถางทาง และการต่อสู้กับประชามติทางสังคม ต้องทำให้เกิดความเข้าใจ และเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน

นอกจากนี้ต้องสามัคคีรวมหมู่ มีหัวใจไม่จำนนต่อความไม่เป็นธรรม ไม่ร้องขอแต่ดัดแปลงแก้ไข ให้เป็นไปตามเจตจำนงของเรา ไม่หวังพึ่งคนอื่น ไม่หาคนรับเหมาทำแทน เปลี่ยนความคิดตัวเอง ไม่ติดกรอบของกฎหมาย คิดเรื่องสิทธิและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ซึ่งมีสิทธิกำหนดชีวิตตัวเอง ต้องตั้งหลักให้ดี สำรวจความคิดของตัวเองว่าลักลั่นหรือไม่

ทนายวิบูลย์ ภูมิภูเขียว แสดงความคิดเห็นว่า ศาลใช้ประสบการณ์ จินตนาการ ดุลพินิจของตนได้ ในการตัดสินคดี แต่หากใช้แบบไม่มีขอบเขตจะไม่เป็นธรรม ไม่มีความยุติธรรม เพราะการตัดสินคดี หรือการประกันตัว ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของศาล ดังนั้นต้องนำรูปธรรมการดำเนินคดีสองมาตรฐานมาเปรียบเทียบกัน นอกจากนี้ ต้องโต้แย้งการตัดสิน (ดุลพินิจ) ว่าใช้ไม่ได้กับกระบวนการยุติธรรม หรือการประกัน รวมทั้งกระบวนการไกล่เกลี่ยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะศาลไม่มีหน้าที่บังคับขู่เข็ญจูงใจให้รับสารภาพ อีกทั้งยังเป็นสิทธิของประชาชนในการต่อสู้คดี รวมทั้งการปฏิเสธพฤติกรรมของผู้พิพากษาที่ตัดตอนว่าเราเป็นคนผิด และสามารถขอเปลี่ยนตัวผู้พิพากษา คือการตั้งข้อสังเกตผู้พิพากษา หรือเปลี่ยนหัวหน้าศาลที่มีวิธีคิด อคติต่อการต่อสู้ของภาคประชาชน

ทนายสมนึก ตุ้มสุภาพ กล่าวว่า คนจนถูกดำเนินคดีเหมือนกัน ไม่แยกว่าเป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย ต่างตรงที่ใครจะเป็นผู้นำในขณะนั้น และแม้จะเป็นผู้หญิงสูงอายุก็ไม่ทำให้ศาลโอนอ่อนลง โดนลงโทษเท่ากัน เพราะประเด็นสำคัญคือ ศาลเข้าใจในบริบท ประเด็นปัญหาแค่ไหน ส่วนใหญ่รัฐเชื่อว่าทรัพยากรเป็นของรัฐ มีสิทธิจัดการทุกอย่าง ชาวบ้านเป็นแค่คนใช้ประโยชน์ มีสิทธิครอบครองชั่วระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น วิถีชุมชนไม่ถูกยอมรับ รัฐปฏิเสธสิทธิปัจเจกของชุมชน แต่ไม่เคยปฏิเสธสิทธิปัจเจกของรัฐ หากมองด้วยมิติของข้อเท็จจริง หรือสิทธิ ซึ่งมีสิทธิดำรงชีวิต ไม่ควรถูกจำกัดด้วยรัฐ หรือกระบวนการยุติธรรม จะส่งผลต่อการตัดสิน หรือประกันได้

เรื่องที่ดิน ไม่ต่างในแง่ของแนวคิด การลงโทษ ในขณะที่ขบวนการต่อสู้ของชาวบ้านมีการถอดบทเรียน แต่ศาล หรือรัฐ มีการถอดบทเรียนบ้างหรือไม่ หรือมีแต่เพื่อทำให้มีการลงโทษที่หนักขึ้น นอกจากนี้ ศาลไม่ควรลดความเป็นมนุษย์อย่างมโหฬารด้วยการให้ทำตัวดีขึ้น เพราะวิถีชีวิตของแต่ละชุมชนล้วนมีคุณค่า มนุษย์ทุกคนเกิดมาเท่าเทียมกัน

พลัง ปัจจัยของเครือข่ายภาคประชาชน จะทำลายกำแพงที่รัฐพยายามกักไว้ ควรสร้างความร่วมมือกับสถาบันการศึกษา อาทิ มหาวิทยาลัย และสร้างความเข้าใจกับสังคม ทำให้เห็นปัญหาร่วมกัน รวมทั้งการสื่อสารในพื้นที่ บ่มเพาะคนรุ่นใหม่

ปานจิตต์ แก้วสว่าง องค์การแอ็คชั่นเอด ประเทศไทย อภิปรายว่า ประเด็นสิทธิผู้หญิง ประเทศไทยลงนามภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ ในข้อ ๑๔ ระบุว่า ผู้หญิงในภาคชนบทมีบทบาทสำคัญในด้านเศรษฐกิจ ดังนั้นการถูกดำเนินคดีด้วยข้อหาบุกรุกที่ฟ้องร้องโดยรัฐและกระบวนการยุติธรรมควรล้าสมัยได้แล้ว รัฐควรยุติการใช้เครื่องมือคือการฟ้องร้องซึ่งคือกลไกกฎหมายและนิติรัฐในการดำเนินคดีกับการปฏิรูปที่ดิน

สังคมไทยเป็นสังคมเกษตรกรรม เกษตรกรต้องมีที่ดินทำกิน ไม่มากแค่พอกิน เพราะหากไปทำงานในโรงงานก็จะมีการจ้างงานถึงแค่อายุ ๔๐ – ๕๐ ปี แล้วจากนั้นต้องกลับไปอยู่บ้าน แล้วจะทำอะไร ดังนั้นยิ่งยากจน รัฐต้องมีนโยบายมารองรับ ไม่ใช่คุกคามข่มขู่ เพราะเป็นประเด็นสิทธิมนุษยชนอย่างง่ายๆ

ดังนั้นต้องรวบรวมข้อมูล รูปธรรมที่ละเมิดและขัดต่อหลักปฏิญญาสากลต่างๆ แล้วส่งไปยังองค์กร กลไกต่างๆ อย่างกลไกสิทธิมนุษยชน เช่นส่งไปที่กรุงเจนีวา ว่ารัฐไทยกำลังละเมิดสิทธิใดบ้าง เป็นช่องทาง ทางออก กลไกหนึ่ง เพื่อมาตรวจสอบรัฐไทยว่า ไปลงนามหลายเรื่องแล้วได้นำสู่การปฏิบัติหรือไม่ หรือการให้ต่างชาติเช่าที่ดินจำนวนมาก แต่กลับจับกุมชาวบ้าน หรือเรื่องการค้ามนุษย์ ไม่เอื้อสิทธิของพี่น้องแรงงานที่เข้ามาทำงานในไทย แล้วรัฐก็ออกมาแก้ตัว กลบเกลื่อน จึงต้องทบทวนการทำงานของรัฐไทย แต่ก็ต้องไปทำกับกระบวนการยุติธรรมด้วย ทำหลายๆ ส่วนร่วมกันเพื่อแก้ไขความอยุติธรรมในกระบวนการยุติธรรม หรือการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม รวมทั้งต้องใช้พลังของขบวนภาคประชาชนที่เป็นเครือข่าย และรวมตัวกันอย่างเหนียวแน่น ขับเคลื่อนไปด้วยกัน เพราะสิทธิมนุษยชนเท่าเทียมกันทุกคน

นายแพทย์นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวว่า กรรมการสิทธิฯ ทำหน้าที่คุ้มครองประชาชน รัฐต้องมีหน้าที่จัดสรรที่ดินทำกินให้ประชาชน การทำกินในเขตป่ามานานเป็นสิทธิมนุษยชน เป็นเกษตรกรต้องมีที่ดินทำกิน การที่รัฐมาบอกว่าเป็นของรัฐคือความไม่เป็นธรรม และผิดกฎหมาย

โดยส่วนใหญ่ กฎหมาย นโยบาย มักเอื้ออำนวยคนรวย และผู้มีอำนาจ ดังนั้นต้องลุกขึ้นมาต่อสู้ เพื่อให้เกิดประโยชน์กับประชาชน แต่ต้องใช้เวลา อีกทั้งยังมีความไม่ชอบธรรมในกระบวนการยุติธรรม ตั้งแต่การจับกุม อัยการ ศาล จึงต้องลุกขึ้นสู้ สิทธิของประชาชนต้องได้รับการคุ้มครอง ไม่ใช่การเข้าข้างประชาชน แต่อยู่ข้างความเป็นธรรม ความถูกต้อง ขณะนี้กรรมการสิทธิฯ กำลังรวบรวมคดีที่ไม่เป็นธรรม เช่นคดีโลกร้อน ฯลฯ เพื่อทำให้ความเป็นธรรมเกิดขึ้น

นอกจากนี้ ในที่ประชุมมีข้อเสนอในการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม ดังนี้ ๑.สิทธิในการได้รับการประกันตัวให้นำระบบกลุ่มองค์กรชุมชน (ชาวบ้าน) ประกันตัวสมาชิกในกลุ่มได้ ๒.จัดให้มีระเบียบ (วิธีการประกันตัว) ในการดำเนินการที่ชัดเจน ๓.มีการกำหนดมาตรการในการปล่อยตัวชั่วคราวโดยไม่ใช้หลักทรัพย์ ๔.มีการชะลอการพิจารณาคดี ในกรณีที่มีเหตุเร่งด่วนหรืออยู่ในระหว่างการแก้ไขปัญหาร่วมกับรัฐบาล ๕.ให้มีการยอมรับหลักฐานที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมประเพณีของชุมชนท้องถิ่น เช่น หลักความเชื่อและหลักปฏิบัติเกี่ยวกับวัฒนธรรมประเพณีของชุมชนท้องถิ่น หลักฐานทางประวัติศาสตร์, สังคมมานุษยวิทยาและธรณีวิทยา และระบบนิเวศวิทยา ๖.ควรนำแนวทางในเรื่องของ การเดินเผชิญสืบ มาเป็นหลักในการพิจารณาคดี และ ๗.กรณีคดีที่มีมูลเหตุมาจากกรณีพิพาทระหว่างรัฐกับชุมชน ควรใช้กระบวนการพิจารณาแยกเฉพาะจากกระบวนการพิจารณาของศาลยุติธรรมทั่วไป หรืออาจเทียบเคียงกระบวนพิจารณาแบบองค์คณะลูกขุน/หรือมีการจัดตั้งเป็นศาลเฉพาะซึ่งมีผู้พิพากษาสมทบที่มีความเชี่ยวชาญด้านการจัดการทรัพยากรและสิทธิชุมชน เช่นศาลทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กองทัพรัฐฉาน SSA ขอแม่ทัพพม่าชี้แจงเหตุยังมีโจมตีต่อเนื่อง

Posted: 01 Jul 2012 04:10 AM PDT

กองกำลังไทใหญ่ SSA ส่งหนังสือถึงแม่ทัพพม่า ขอชี้แจงกรณีเหตุทหารพม่าโจมตี SSA ต่อเนื่อง หลังสองฝ่ายลงนามหยุดยิงสร้างสันติภาพระหว่างกัน 

มีรายงานว่า เมื่อวันที่ 28 มิ.ย. ที่ผ่านมา พลจัตวาจายตู คณะกรรมการเจรจาสันติภาพสภากอบกู้รัฐฉาน RCSS ซึ่งเป็นปีกทางการเมืองกองทัพรัฐฉาน SSA ได้ส่งหนังสือถึง พล.อ.โซวิน ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และผู้บัญชาการกองทัพบกของพม่า ขอให้ชี้แจงเหตุทหารกองทัพพม่ามีการโจมตี SSA ต่อเนื่อง หลังจากสองฝ่ายลงนามหยุดยิงกันอย่างเป็นทางการ

ทั้งนี้ ข้อความหนังสือระบุว่า เมื่อวันที่ 27 มิ.ย. ที่ผ่านมา ทหารกองทัพพม่า สังกัดกองพันทหารราบที่ 64 ประจำเมืองลายค่า บุกโจมตีฐานของ SSA ที่ตั้งอยู่บนดอยหมากขี้หนู ใกล้กับบ้านเยิง เขตเมืองกึ๋ง รัฐฉานภาคใต้ และตลอดช่วงเดือนที่ผ่านมา ได้เกิดการปะทะกันระหว่างทหารพม่าและทหาร SSA ถึง 6 ครั้ง ซึ่งเป็นการทำลายความเชื่อมั่นระหว่างกัน

นอกจากนี้ ข้อความหนังสือฉบับเดียวกันระบุด้วยว่า พื้นที่เมืองทา ที่ทางรัฐบาลพม่าเคยตกลงให้ RCSS / SSA เข้าไปดำเนินการเป็นที่ตั้งกองบัญชาการ แต่ทางกองทัพพม่ากลับไม่ให้ทหาร SSA พกพาอาวุธไปมาได้ แตกต่างจากกลุ่มหยุดยิงอื่นๆ ที่มีสถานะเดียวกันแต่สามารถพกพาอาวุธไปมาได้อย่างเสรี โดยขอให้รัฐบาลพม่าัรักษาสัจจะและให้สิทธิเท่าเทียมกัน

ทั้งนี้ มีรายงานว่า เมื่อวันที่ 27 – 28 มิ.ย. ที่ผ่านมา ทหารกองทัพพม่าสนธิกำลัง 2 กองพันบุกโจมตีฐานที่ตั้งกองกำลังไทใหญ่ SSA บนดอยหมากขี้หนู เขตพื้นที่เมืองกึ๋ง รัฐฉานภาคใต้ การโจมตีเป็นไปอย่างหนักทำให้ทางฝ่าย SSA ต้องถอนกำลังออกจากพื้นที่ และทหารพม่ายังได้ติดตามโจมตีต่อเนื่องเป็นเหตุให้ทั้งสองฝ่ายสู้รบกันอย่างดุเดือดนานกว่าครึ่งวัน

ด้าน พล.ท.เจ้ายอดศึก กล่าวว่า RCSS / SSA และรัฐบาลพม่าได้เจรจาลงนามหยุดยิงครั้งแรกเมื่อปลายปีที่ผ่านมา และเมื่อวันที่ 19 พ.ค. ที่ผ่านมา ทั้งสองฝ่ายได้มีการลงนามสันติภาพอย่างเป็นทางการอีกครั้งที่เมืองเชียงตุง แต่นับจากนั้นมาทหารทั้งสองฝ่ายยังคงมีการปะทะกันต่อเนื่อง โดยเหตุปะทะเกิดจากการเริ่มจากฝ่ายทหารพม่าก่อน

ทั้งนี้ รัฐบาลพม่าและกองทัพรัฐฉาน SSA ได้เจรจาลงนามหยุดยิงกันเมื่อ 2 ธ.ค. 2553 นับแต่นั้นมาทหารสองฝ่ายยังมีการปะทะกันต่อเนื่อง จนถึงขณะนี้ทหารสองฝ่ายได้ปะทะกันแล้วรวม 24 ครั้ง

 
ชมภาพ / อ่านข่าวย้อนหลังได้ที่
http://www.khonkhurtai.org/

"คนเครือไท" เป็นศูนย์ข่าวภาคภาษาไทยเครือข่ายสำนักข่าวอิสระไทใหญ่ หรือ สำนักข่าวฉาน (SHAN – Shan Herald Agency for News) มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารจากเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในรัฐฉาน สหภาพพม่า ตลอดจนตามแนวชายแดนไทย ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับองค์กรการเมือง / การทหารกลุ่มใด สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ shan_th@cm.ksc.co.th หรือ ติดตามอ่านข่าวสารภาคภาษาอังกฤษได้ที่ www.shanland.org ภาคภาษาไทใหญ่ที่ www.mongloi.org และภาคภาษาไทยที่ www.khonkhurtai.org 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กกต.พม่าประกาศลงนสพ.ให้ "ออง ซาน ซูจี" เรียกประเทศว่า "เมียนมาร์"

Posted: 01 Jul 2012 04:01 AM PDT

หลังออง ซาน ซูจี กล่าวสุนทรพจน์ระหว่างเยือนไทยและยุโรปเรียกชื่อประเทศว่า "เบอร์ม่า" ซึ่งเป็นชื่อเดิมก่อนที่รัฐบาลทหารพม่าจะเปลี่ยนเป็น "เมียนมาร์" ทำให้ กกต.พม่า เตือนออง ซาน ซูจี และพรรคฝ่ายค้านให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ขณะที่โฆษกพรรคฝ่ายค้านโต้ว่าเรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับเรื่องไม่เคารพรัฐธรรมนูญ 

ประกาศของคณะกรรมการการเลือกตั้งระดับสหภาพ ตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์นิวไลท์ออฟเมียนมาร์ เมื่อ 29 มิ.ย. 2555

กกต.พม่าประกาศลง นสพ. ให้ออง ซาน ซูจีเรียกชื่อประเทศว่า "เมียนมาร์"

เมื่อวันศุกร์ที่ 29 มิ.ย. ที่ผ่านมา หนังสือพิมพ์นิวไลท์ออฟเมียนมาร์ ของรัฐบาลพม่า ได้ลงประกาศของคณะกรรมการการเลือกตั้งระดับสหภาพ หรือ กกต.พม่า เรื่อง "ประกาศเพื่อการแจ้งพรรคเอ็นอแอลดีให้ใช้ชื่อประเทศตามที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์"

โดยในประกาศของ กกต.พม่า ได้อ้างมาตรา 2 ในรัฐธรรมนูญพม่าปี 2551 ระบุว่า ชื่อของประเทศจะถูกเรียกว่า "สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์" (The Republic of the Union of Myanmar) และอ้างมาตรา 405 ที่ระบุว่า พรรคการเมืองจะต้องปฏิบัติตามและเคารพต่อรัฐธรรมนูญและกฎหายที่ใช้บังคับ

ประกาศชี้แจงว่า พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยหรือพรรคเอ็นแอลดี ซึ่งลงทะเบียนเป็นพรรคการเมืองมีข้อผูกพันว่าจะต้อง "ปฏิบัติตามและเคารพต่อรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์" ตามที่ระบุไว้ในมาตรา 6 กฎหมายขึ้นทะเบียนพรรคการเมือง

และนางออง ซาน ซูจี ประธานพรรคเอ็นแอลดี สมาชิกสภาประชาชน ได้เรียกชื่อ "เมียนมาร์" ว่า "เบอร์ม่า" (Burma) ในการกล่าวสุนทรพจน์ของเธอในการประชุมเวิลด์ อีโคโนมิก ฟอรั่ม เมื่อ 1 มิ.ย. และได้กล่าวในระหว่างสุนทรพจน์อีกหลายครั้งในระหว่างการเยือนยุโรป

"ตามที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญว่า "ประเทศจะถูกเรียกชื่อว่าสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์" ไม่มีใครมีสิทธิเรียกว่า "เบอร์ม่า" คณะกรรมการการเลือกตั้งระดับสหภาพจึงแจ้งต่อพรรคเอ็นแอลดีให้ใช้คำว่า "สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนม่าร์" และ "เมียนม่าร์" ในการเรียกชื่อประเทศ" ประกาศของ กกต.พม่า ระบุ

"ดังนั้น จึงเป็นการประกาศว่า คณะกรรมการเลือกตั้งขอแจ้งต่อพรรคเอ็นแอลดีอีกครั้งให้เขียน กล่าว ชื่อของประเทศตามที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบและกฎหมาย และเป็นการเคารพต่อรัฐธรรมนูญ" ท้ายของประกาศ กกต.พม่า ที่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์นิวไลท์ออฟเมียนมาร์ระบุ

ขณะที่โฆษกพรรคเอ็นแอลดี นายญาน วิน กล่าวกับผู้สื่อข่าวบีบีซีต่อเรื่องการเรียกชื่อประเทศว่า "เบอร์ม่า" ว่า "ไม่เกี่ยวกับเรื่องการไม่เคารพรัฐธรรมนูญ"

 

การเปลี่ยนชื่อประเทศ และการนำไปใช้

ทั้งนี้ในปี 2532 สภาฟื้นฟูกฎหมายและระเบียบแห่งรัฐ หรือ SLORC ซึ่งเป็นรัฐบาลทหารที่ปกครองพม่าในขณะนั้นได้เปลี่ยนชื่อประเทศจาก "เบอร์ม่า" (Burma) เป็นเมียนมาร์ (Myanmar) และในรัฐธรรมนูญปี 2551 ได้เรียกชื่อประเทศว่า "สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนม่าร์" (The Republic of the Union of Myanmar) ขณะที่พรรคฝ่ายค้าน และกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ ยังเรียกชื่อประเทศว่า "เบอร์ม่า" เพื่อแสดงการต่อต้านรัฐบาลทหารที่เปลี่ยนชื่อประเทศ ขณะที่รัฐบาลสหรัฐอเมริกา และอังกฤษยังคงเรียกชื่อประเทศว่า "เบอร์ม่า" รวมทั้งสื่อมวลชนอย่างบีบีซีด้วย

ทั้งนี้ในการประชุมเพื่อทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชน หรือ UPR เมื่อเดือนมกราคมปี 2554 นักการทูตพม่าเคยขอให้ที่ประชุมเรียกชื่อประเทศว่า "เมียนม่าร์" หลังนักการทูตสหรัฐอเมริกาใช้คำว่า "เบอร์ม่า" และนักการทูตสาธารณรัฐเช็คใช้คำว่า "เบอร์ม่า/เมียนม่าร์"

ในกรณีของไทย ราชบัณฑิตยสถานยังคงกำหนดให้เรียกชื่อประเทศในภาษาไทยว่า "พม่า" ตามประกาศราชบัณฑิตยสถาน เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 118 วันที่ 26 พฤศจิกายน 2544

 

ที่มา: แปลและเรียบเรียงจาก

Burma tells Aung San Suu Kyi 'call us Myanmar', BBC, 29 June 2012 Last updated at 12:13 GMT

New Light of Myanmar, 29 June 2012 p.9

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ถกทางออก พบ 3 ปม มหาวิทยาลัยไม่สนใจสิทธิมนุษยชน

Posted: 01 Jul 2012 02:23 AM PDT

เครือข่ายนักกฎหมาย จับนักวิชาการภาคใต้ ระดมสมองถกทางออก ทำไมมหาวิทยาลัยในภาคใต้สนใจสิทธิมนุษยชน ทั้งที่มีปัญหาละเมิดอื้อ พบ 3 ปม ไม่มีผู้สอนหรือผู้สอนเข้าใจไม่ลึก มีวิชาแต่ไม่มีคนอยากเรียน ผู้บริหารไม่สนับสนุนเปิดหลักสูตร เร่งเพิ่มทักษะผู้สอน ผลักดันเชิงนโยบาย
 
 
เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2554 ที่สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน ร่วมกับมูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม และโครงการศูนย์ศึกษาเชิงบูรณาการทางสังคมจังหวัดชายแดนภาคใต้ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ จัดโครงการสัมมนาหัวข้อ “บทบาทของมหาวิทยาลัยกับการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนพื้นที่ภาคใต้” มีนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยต่างๆ ในภาคใต้เข้าร่วมประมาณ 100 คน
 
การสัมมนาเริ่มขึ้นในเวลาประมาณ 09.00 น. เริ่มด้วยการปาฐกถามพิเศษ หัวข้อ “บทบาทของมหาวิทยาลัยในการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนในพื้นที่ภาคใต้” โดย ส.ศิวรักษ์ จากนั้นเป็นการระดมความเห็นเกี่ยวกับการสอนสิทธิมนุษยชนในมหาวิทยาลัยจากผู้เข้าร่วมประชุม โดยมีการแสองความเห็นกันอย่างกว้างขวางถึงสาเหตุที่มหาวิทยาลัยต่างๆ ไม่ให้ความสำคัญกับสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะในด้านการเรียนการสอน ทั้งที่ในภาคใต้มีปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนจำนวนมาก
 
นายไพโรจน์ พลเพชร ประธานกรรมการบริหารเครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน เปิดเผยว่า การระดมความเห็นพบว่า มี 3 ประเด็น ได้แก่ ประเด็นแรก ไม่มีอาจารย์ที่มีความรู้เรื่องสิทธิมนุษยชนสอนในมหาวิทยาลัยมากนัก ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่สุด แม้ว่าบางมหาวิทยาลัยจะมีการเปิดรายวิชาเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนแล้วก็ตาม ขณะที่อาจารย์บางคนพยายามแทรกเนื้อหาที่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนเข้าในรายวิชาของตนเอง เนื่องจากไม่มีวิชาที่เปิดสอนเฉพาะ
 
นายไพโรจน์ เปิดเผยต่อไปว่า ประเด็นที่สอง มีการเชิญคนที่ทำงานด้านสิทธิมนุษยชนในพื้นที่เข้าร่วมสอนหรือร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดความหลากหลาย รวมทั้งการนำนักศึกษาลงไปทำกิจกรรมในพื้นที่ และประเด็นที่สาม เป็นเรื่องที่จะต้องมาพูดกันว่า จะทำอย่างไรที่จะให้มหาวิทยาลัยมีนโยบายที่จะจัดให้มีรายวิชาหรือมีหลักสูตรเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน เนื่องจากในมหาวิทยาลัยเองก็ยังมีความเห็นที่แตกต่างกัน
 
นายไพโรจน์ เปิดเผยอีกว่า แนวทางการทำงานต่อไปของทีมงานขณะนี้ ต้องเน้นไปที่ผู้สอนก่อน เพราะการที่ผู้สอนไม่เข้าใจเรื่องสิทธิมนุษยชนเป็นปมที่สำคัญที่สุดในตอนนี้ ซึ่งต้องมีการระดมความคิดเห็น การสร้างความเข้าใจและการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เพื่อเพิ่มทักษะให้กับผู้สอน เพราะเนื้อหาวิชาต่างๆ สามารถบูรณาการกับเรื่องสิทธิมนุษยชนได้
 
ข้อสรุปจากการระดมความเห็น
 
สำหรับข้อสรุปที่ได้จากการระดมความเห็น แต่ละประเด็น มีดังนี้ ประเด็นปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนในภาคใต้ พบว่ามีหลายประเด็นที่มหาวิทยาลัยต้องเข้าไปมีบทบาทในด้านสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะในเชิงวิชาการ ได้แก่ ปัญหาการละเมิดสิทธิชุมชน เช่น กรณีแผนพัฒนาภาคใต้ของรัฐ หรือ ผลกระทบจากโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ของรัฐ ปัญหาการละเมิดสิทธิในชีวิตและทรัพย์ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้และการใช้กฎหมายพิเศษ 
 
นอกจากนี้ยังมี ปัญหาการแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติ เช่น กรณีเขาคูหา จังหวัดสงขลา กรณีที่ดินสวนปาล์ม จังหวัดสุราษฎร์ธานี แม้กระทั่งปัญหาการละเมิดสิทธิในระดับชุมชน ซึ่งพบว่ามีจำนวนมาก เช่น กรณีกำนำหรือผู้ใหญ่บ้านละเมิดสิทธิของคนในชุมชนหมู่บ้านของตัวเอง แต่ปัญหาเหล่านี้ไม่ค่อยได้รับความสนใจจากสังคมมากนักเมื่อเทียบกับปัญหาอื่นๆ เช่น การละเมิดสิทธิจากการพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ ทั้งที่บางครั้งเป็นปัญหาที่ลึกและสั่งสมมานาน
 
ประเด็นการบูรณาการหลักสิทธิมนุษยชนกับการเชื่อมโยงในพื้นที่ โดยผู้เข้าร่วมได้ยกตัวอย่างวีการเรียนการสอนที่สามารถสอดแทรกเนื้อหาเที่ยวสิทธิมนุษยชน ได้แก่ การพานิสิต นักศึกษาลงพื้นที่ศึกษาปัญหาของชุมชน การให้นักศึกษาทำวิจัยชิ้นเล็กๆ กับประเด็นปัญหาในพื้นที่ การสร้างพื้นที่ร่วมกันระหว่างนักศึกษากับชุมชน การให้นักศึกษาปริญญาเอกนำปัญหาที่ศึกษากลับไปยังชุมชน เพื่อให้ร่วมกันแก้ปัญหา เป็นต้น
 
ประเด็นเรื่องข้อจำกัดในเรื่องการเรียนการสอนสิทธิมนุษยชนในมหาวิทยาลัย ซึ่งพบว่ามีหลายประเด็น ได้แก่ ข้อจำกัดทางด้านความรู้ของผู้สอน ผู้สอนตระหนักถึงเรื่องสิทธิมนุษยชน แต่มีข้อจำกัดเรื่องเครือข่ายในการลงพื้นที่เพื่อศึกษาหรือเพื่อปฏิบัติการ
 
ข้อจำกัดด้านมุมมองของผู้สอนที่เห็นด้วยกับการพัฒนากระแสหลัก จะอาจกลายเป็นผู้ละเมิดสิทธิมนุษยชนเสียเอง เช่น การรับดำเนินการศึกษาโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ เป็นต้น ข้อจำกัดทางแนวคิดของผู้บริหารมหาวิทยาลัย ซึ่งมีผลให้นโยบายของมหาวิทยาลัยไม่ให้ความสำคัญกับเรื่องสิทธิมนุษยชน
 
ข้อจำกัดด้านตำราสิทธิมนุษยชน ซึ่งผู้อ่านหรือผู้สอนใช้วิธีจำต่อๆ กันมา มากกว่าการสร้างเนื้อหาการเรียนการสอนอย่างเข้าใจจากตัวผู้สอนเอง และข้อจำกัดด้านความสนใจของผู้เรียน ที่แม้จะมีการเปิดรายวิชาเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนเป็นวิชาเลือก แต่ก็ไม่มีนักศึกษาเลือกเรียน
 
นอกจากนี้ ในการระดมความเป็นมีข้อเสนอแนะ ดังนี้ ให้มีการพัฒนาเนื้อหาวิชาหลักสิทธิมนุษยชนและบูรณาการเข้ากับทุกสาขาวิชา ไม่ว่าจะเป็นวิชาด้านวิทยาศาสตร์ เช่น ฟิสิกส์ เคมี แพทยศาสตร์ หรือด้านสังคม เช่น สังคมวิทยา มานุษยวิทยา เป็นต้น 
 
ให้มีการพัฒนาหลักสูตรสิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนกับสิ่งแวดล้อม เพราะจะเป็นปัญหาใหญ่ในอนาคต และผลักดันเชิงนโยบายของมหาวิทยาลัยให้เห็นความสำคัญต่อการพัฒนาเนื้อหาหลักสูตรในมหาวิทยาลัย
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น