ประชาไท | Prachatai3.info |
- นิวยอร์กไทมส์: ทำไมชาวอนุรักษ์นิยมถึงมีความสุขมากกว่าชาวเสรีนิยม
- “ประมงพื้นบ้าน” เข้ากรุงฯ เดินสายค้านกรมประมง “นิรโทษกรรม” เรืออวนลากเถื่อน
- ประวัติสตันท์แมนของควีนเอลิซาเบธ: นักโดดร่ม-รณรงค์สันติภาพ
- วีรพัฒน์ ปริยวงศ์: ลุ้นศาลไทย คว้าชัย โอลิมปิก!
- จริยธรรมของนักการเมือง: กรณี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
- สื่อซีเรียอ้างมี 'ผู้ก่อการร้ายต่างประเทศ' ปลุกสงครามศาสนา
- สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 22-28 ก.ค. 2555
- สมัชชาคนจน “เขื่อนหัวนา” ค้านสร้าง “ผนังกั้นน้ำ” หวั่นเกิดปัญหาชดเชยไม่จบสิ้น
- เกร็ดข่าว: ครบรอบ 8 ปี เหตุการณ์ตากใบตามปฏิทินอิสลาม
- ศาลรัฐธรรมนูญฟ้องจ่า-เจ๋ง-ก่อแก้ว ฐานข่มขู่คุกคาม
- อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
- Robert Fisk: สงครามซีเรีย สงครามแห่งความเสแสร้งหลอกลวง
- ตัดสินประหาร 3 ตร.กาฬสินธุ์ ฆ่าอำพรางศพชายวัย 17 ปี ช่วงสงครามยาเสพติด
- 'ทางเท้า' ในฝันสำหรับ 'คนเดินเท้า' ฝันลมๆ แล้งๆ ของคนกรุง?
- บทบาทการสื่อสารของผู้เชี่ยวชาญภาษาศาสตร์
นิวยอร์กไทมส์: ทำไมชาวอนุรักษ์นิยมถึงมีความสุขมากกว่าชาวเสรีนิยม Posted: 30 Jul 2012 12:33 PM PDT ใครมีความสุขในชีวิตมากกว่ากัน ชาวเสรีนิยมหรือชาวอนุรักษ์นิยม? คำตอบอาจจะดูชัดเจนในตัวเอง เพราะที่ผ่านมา มีการศึกษาทางวิชาการทางสังคมศาสตร์มากมายที่ชี้ให้เห็นว่าชาวอนุรักษ์นิยมนั้นเป็นพวกอำนาจนิยมโดยธรรมชาติ หัวรั้น ไม่ชอบความคลุมเครือ กลัวการข่มขู่และการสูญเสีย ความมั่นใจต่ำ และไม่สะดวกใจกับแผนความคิดที่ซับซ้อน นอกจากนี้ ย้อนไปในปี 2551 ประธานาธิบดีโอบามาก็ได้แปะป้ายเหล่าคนงานคอปกน้ำเงินว่าเป็นคน "ขมขื่น" เพราะ "ยึดติดกับปืนและศาสนา" ฉะนั้น ก็ชัดว่า เหล่าเสรีนิยมก็น่าจะมีความสุขมากกว่า ใช่ไหมล่ะ? ผิดแล้ว นักวิชาการจากทั้งฝั่งซ้ายและขวาได้ศึกษาคำถามนี้อย่างกว้างขวาง และเห็นพ้องต้องกันว่า กลุ่มอนุรักษ์นิยมต่างหากที่มีความสุขมากกว่า โดยมีข้อมูลหลายชุดที่แสดงให้เห็นข้อนี้ ตัวอย่างเช่น ศูนย์วิจัย Pew ในปี 2548 รายงานว่า ชาวรีพับลิกันที่เป็นอนุรักษ์นิยม มีแนวโน้มที่จะบอกว่าตัวเอง "มีความสุขมาก" สูงกว่าชาวเดโมแครตที่เป็นเสรีนิยมถึงร้อยละ 68 แบบแผนนี้ได้ธำรงอยู่มานานนับศตวรรษ แต่คำถาม ไม่ได้อยู่ที่ว่านี่จริงหรือไม่ แต่ทำไมมากกว่า กลุ่มอนุรักษ์นิยมบางส่วน มักจะชอบคำอธิบายที่เน้นเรื่องความแตกต่างทางวิถีชีวิต เช่น การแต่งงานและความศรัทธา พวกเขาตั้งข้อสังเกตว่า ชาวอนุรักษ์นิยมส่วนใหญ่จะแต่งงาน ในขณะที่ชาวเสรีนิยมไม่แต่ง (คิดเป็นร้อยละ 53 ต่อร้อยละ 33 โดยใช้ข้อมูลจากผลสำรวจทางสังคมทั่วไปปี 2547 และตัดปัจจัยที่ว่าชาวเสรีนิยมมักจะอายุน้อยกว่าชาวอนุรักษ์นิยมออกไป) การแต่งงานและความสุขมักจะไปด้วยกัน หากคนสองคน มีปัจจัยอื่นๆ คล้ายกัน โดยคนหนึ่งแต่งงาน อีกคนไม่แต่ง คนที่แต่งงานแล้ว มักจะบอกว่าตนเองมีความสุขมากกว่าคนที่ไม่แต่งงาน ร้อยละ 18 เช่นเดียวกับเรื่องของศาสนา โดยข้อมูลจากการสำรวจของ Social Capital Community Benchmark เปิดเผยว่า ชาวอนุรักษ์นิยมที่นับถือศาสนา มีมากกว่าชาวเสรีนิยมที่นับถือศาสนามากกว่า 4 ต่อ 1 เท่า และลองเดาซิว่า มันเกี่ยวกับเรื่องของความสุขอย่างไร? จะเห็นว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่เคร่งศาสนา มีแนวโน้มบอกว่าพวกเขามีความสุขมากกว่าพวกที่ไม่นับถือศาสนามากกว่าเกือบ 2 เท่า ( ร้อยละ 43 ต่อ 23) ทั้งนี้ ความแตกต่างทางความสุข ไม่เกี่ยวกับปัจจัยการศึกษา เชื้อชาติ เพศ หรืออายุ และถึงแม้ว่าเราเอาเรื่องรายได้เข้ามาพิจารณาด้วย ความแตกต่างนี้ก็ยังไม่เปลี่ยนแปลงอยู่ดี เรื่องที่ว่า ศาสนาและการแต่งงาน ควรจะทำให้ผู้คนรู้สึกมีความสุขมากขึ้นหรือไม่ เป็นคำถามที่คุณต้องตอบเอง อย่างไรก็ตาม ลองคำนึงถึงสถิตินี้ดู ร้อยละ 52 ของกลุ่มคนอนุรักษ์นิยม เคร่งศาสนาที่แต่งงาน (และมีลูกแล้ว) บอกว่าตนเองมีความสุขมาก เมื่อเทียบกับเพียงร้อยละ 14 ของกลุ่มคนเสรีนิยม ไม่นับถือศาสนาที่โสดและไม่มีลูก ที่บอกแบบเดียวกัน คำอธิบายเรื่องนี้ที่ฟังดูรื่นหูมากกว่าสำหรับพวกเสรีนิยมก็คือว่า ชาวอนุรักษ์นิยมมักจะไม่ใส่ใจในความทุกข์ยากของผู้อื่น และหากเขารับรู้ถึงความอยุติธรรมในโลกนี้ เขาก็คงไม่มานั่งมีความสุขอย่างที่เป็นอยู่ หรือในคำอธิบายของเจม นาเปียร์ และจอห์น จอสท์ นักจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก ที่กล่าวว่า "ชาวเสรีนิยมอาจจะมีความสุขน้อยกว่าพวกอนุรักษ์นิยม เพราะในทางอุดมการณ์แล้ว พวกเขามักจะยินยอมให้ความชอบธรรมกับความอยุติธรรมในสังคมยากกว่า" จากข้อมูลแสดงให้เห็นว่า ที่จริงแล้ว พวกอนุรักษ์นิยมมองระบอบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมในแง่ดีมากกว่าพวกเสรีนิยม โดยเชื่อในความสามารถของอเมริกันชนในการดิ้นรนได้ด้วยตนเอง ในขณะที่ชาวเสรีนิยมมีแนวโน้มจะมองคนในฐานะที่เป็นเหยื่อของการกดขี่ในระบบ และตั้งคำถามกับการดิ้นรนของปัจเจกหากไม่มีความช่วยเหลือของรัฐบาล ข้อมูลของผู้เขียนที่ได้ค้นคว้าไว้ ซึ่งใช้ข้อมูลปี 2548 ของมหาวิทยาลัยเซอราคิวส์ ชี้ว่า ราวร้อยละ 90 ของชาวอนุรักษ์นิยมเห็นด้วยว่า "ในขณะที่คนเราอาจเริ่มต้นด้วยโอกาสที่แตกต่างกัน แต่ความมุมานะและความอดทนจะทำให้เราก้าวอุปสรรคนั้นไปได้" ซึ่งชาวเสรีนิยม เห็นด้วยกับข้อความดังกล่าวเพียง 1 ใน 3 ของชาวอนุรักษ์นิยมที่มองแบบเดียวกัน ฉะนั้น เราสามารถสรุปได้หรือไม่ว่าชาวอนุรักษ์นิยมนั้นเป็นคนเขลา เพราะความไม่รู้ก็คือความสุขอย่างหนึ่งนั่นเอง แต่ช้าก่อน เพราะงานวิจัยของนักจิตวิทยากลุ่มหนึ่งจากมหาวิทยาลัยฟลอริดาและมหาวิทยาลัยโตรอนโต ชี้ให้เห็นว่า ในขณะที่ชาวเสรีนิยมนิยามความเป็นธรรมในสังคมผ่านความเท่าเทียมทางเศรษฐกิจ และประณามชาวอนุรักษ์นิยมว่าไม่สนใจต่อปัญหาดังกล่าว แต่ผลวิจัยชี้ว่า ชาวอนุรักษ์นิยมก็มองปัญหานี้ไม่ต่างกันเท่าใดนัก โดยหากมองในทางตรงข้ามกัน ถ้าให้ชาวเสรีนิยมมีความสุข ชาวอนุรักษ์นิยมก็มีความทุกข์ เนื่องจากมองว่า ระบอบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมถูกแทรกแซงโดยรัฐสวัสดิการขนาดใหญ่ ซึ่งส่งผลเสียต่อเสรีภาพทางเศรษฐกิจ และแน่นอนว่า ชาวเสรีนิยมคงจะมองข้อโต้แย้งนี้ว่าช่างไร้สาระเสียไม่มี ทั้งนี้ มีช่องว่างเรื่องความสุขทางการเมืองอีกมุมหนึ่ง ซึ่งไม่ค่อยได้รับความสนใจจากนักวิชาการมากนัก นั่นคือ การศึกษาระหว่างพวกทางสายกลาง กับพวกสุดโต่งทางการเมือง ผู้เขียนมองว่า พวกนิยมทางสายกลาง น่าจะต้องมีความสุขมากกว่าพวกที่สุดโต่งทางการเมือง ดูง่ายๆ จากพวกสุดขั้วทางการเมืองที่ชอบโพนทนาความโกรธแค้นของพวกเขาต่อชาวโลก ผ่านทางสติ๊กเกอร์อย่างเช่น "ถ้าคุณไม่รู้สึกโมโห แสดงว่าคุณยังไม่ใส่ใจเพียงพอ!" แต่ความเป็นจริงไม่ตรงตามนั้นสักเท่าไหร่ ปรากฎว่าพวกสุดโต่งทางการเมืองนั้นมีความสุขมากกว่าพวกนิยมสายกลาง โดยหากควบคุมปัจจัยทางรายได้ การศึกษา อายุ เชื้อชาติ ครอบครัวและศาสนาแล้วพบว่า ชาวอเมริกันที่มีความสุขที่สุดเป็นกลุ่มที่บอกว่าตนเองเป็น "อนุรักษ์นิยมสุดขั้ว" (ร้อยละ 48) และพวก "เสรีนิยมสุดขั้ว" (ร้อยละ 35) ส่วนคนอื่นๆ นั้น มีความสุขน้อยกว่า โดยเฉพาะพวกทางสายกลาง ซึ่งมีความสุขน้อยที่สุด ความเป็นไปได้ของคำอธิบายแบบแผนแปลกๆ นี้คือว่า พวกสุดโต่งทางการเมืองมองโลกแบบขาวดำ ซึ่งแยกแยะสิ่งต่างๆ ไปตามแบบแผน พวกเขามีความมั่นใจในแง่ที่ว่า ใครเป็นคนผิด และต้องสู้กับใคร อาจจะกล่าวได้ว่าพวกเขาเป็นเหล่านักรบที่มีความสุขกลุ่มหนึ่ง ไม่ว่าคำอธิบายจะชี้ว่าอย่างไร แต่นัยสำคัญของเรื่องนี้ก็น่าสนใจมาก โดยกลุ่มคนที่ประท้วงใน 'ออคคิวพาย วอลล์ สตรีท' อาจจะดูเหมือนผู้คนที่สิ้นไร้ไม้ตอก แต่ความเป็นจริง พวกเขาอาจจะมีความสุขมากกว่าพวกดำเนินสายกลางทางการเมืองซึ่งเยาะเย้ยพวกนี้อยู่ในออฟฟิศก็เป็นได้ และจะเห็นว่า ไม่มีใครเลย ที่มีความสุขมากกว่าพวก 'ที ปาร์ตี้' ซึ่งยึดมั่นในอาวุธปืนและศาสนาด้วยความหนักแน่น และอาจจะทำให้ผู้อ่านนสพ. นิวยอร์กไทมส์หัวเสรีนิยมเกิดความหดหู่ขึ้นมาก็เป็นได้
เกี่ยวกับผู้เขียน: อาร์เธอร์ ซี บรุ๊ก เป็นประธานของสถาบันแห่งผู้ประกอบการอเมริกัน และผู้เขียนหนังสือ "The Road to Freedom" และ "Gross National Happiness"
ที่มา: แปลจาก Why Conservatives Are Happier Than Liberals ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
“ประมงพื้นบ้าน” เข้ากรุงฯ เดินสายค้านกรมประมง “นิรโทษกรรม” เรืออวนลากเถื่อน Posted: 30 Jul 2012 12:11 PM PDT เช้าเข้ายื่นหนังสือค้านต่อกรรมาธิการสิ่งแวดล้อม วุฒิสภาฯ บ่ายไป “EU” ถามกระบวนการรับรอง IUU Fishing ในไทย ก่อนเข้าชี้แจง กสม.พร้อมตัวแทนกรมประมงวันนี้ ด้านตัวแทน EU แจงอาจเข้าใจกันคลาดเคลื่อน ชี้เรื่องนี้ต้องนำเข้าเวทีสำนักงานใหญ่ วันที่ 30 ก.ค.55 เครือข่ายชาวประมงพื้นบ้าน ประมาณ 30 คน จากสมาคมรักษ์ทะเลไทย และสมาคมชาวประมงพื้น จากจังหวัดตรัง สงขลา พัทลุง สุราษฎร์ธานี และประจวบคีรีขันธ์ เดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อเคลื่อนไหวคัดค้านและติดตามกรณีการเปิดให้มีการออกอาชญาบัตร (ใบอนุญาต) รอบใหม่แก่อวนลากเถื่อน หรือที่เรียกว่า "นิรโทษกรรมเรืออวนลากเถื่อน" โดยช่วงเช้าได้ยื่นหนังสือคัดค้านกรณีดังกล่าวต่อนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย ประธานกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม และนายสุรจิต ชีรเวทย์ รองประธานฯ ที่รัฐสภา ต่อมาในเวลาประมาณ 13.30 น.ได้เข้ายื่นหนังสือแก่คณะผู้แทนสหภาพยุโรป (EU) ประจำประเทศไทย ถ.วิทยุ เพื่อขอรับทราบข้อมูลเกี่ยวกับมาตรการป้องกันและกำจัดการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (IUU Fishing) ของสหภาพยุโรป ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เครือข่ายชาวประมงพื้นบ้านได้ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกับตัวแทน EU ถึงประเด็นที่กรมประมงอ้างถึงการจดทะเบียนเรืออวนลากให้ถูกต้องตามกฏหมาย เพื่อตอบสนองต่อการที่ EU ซึ่งเป็นกลุ่มใหญ่ที่ประเทศไทยส่งออกสัตว์น้ำไม่รับซื้อสัตว์น้ำจากกลุ่มเรือประมงที่ไม่ได้จดทะเบียน ทั้ังที่เรืออวนลากเป็นการทำประมงแบบทำลายล้าง ที่จับสัตว์น้ำวัยอ่อนล้างผลาญทรัพยากรสัตว์น้ำให้สูญพันธุ์ โดยไม่คำนึงสนใจกลุ่มทำประมงพื้นบ้านที่จับสัตว์น้ำด้วยเครื่องมือเหมาะสม และมีการทำกิจกรรมอนุรักษ์ฟื้นฟูควบคู่ไปกับการใช้ทรัพยากร ด้านนายอันโตริโอ หัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจและการตลาด ตัวแทน EU ผู้รับหนังสือ ได้แสดงความสงสัยต่อการเข้าใจที่อาจคลาดเคลื่อนของกรมประมง เพราะ EU มีนโยบายส่งเสริมสนับสนุนกับการทำประมงจับสัตว์น้ำที่เหมาะสม สร้างความยั่งยืนให้เกิดขึ้นกับทรัพยากรสัตว์น้ำที่เป็นแหล่งอาหารของคนทั้งโลก และกล่าวด้วยว่าเรื่องนี้ต้องนำเข้าเวทีสำนักงานใหญ่ EU กรุงรัสเซล ประเทศเบลเยี่ยมแน่นอน ข้อมูลจากเครือข่ายชาวประมงพื้นบ้าน ระบุว่า กรมประมงมีแนวคิดจะ "นิรโทษกรรมเรืออวนลากเถื่อน" ซึ่งเป็นเครื่องมือประมงที่ผิดกฎหมายไทยในปัจจุบัน เพื่อทำให้ผลผลิตจากการทำประมงอวนลากเถื่อนนั้นถูกกฎหมาย ผ่านการรับรองของกรมประมง และสามารถส่งออกไปขายยังตลาดสหภาพยุโรปซึ่งมีมาตรการจะไม่รับซื้อผลผลิตจากการประมงที่ไม่ผ่านกระบวนการรับรอง IUU เครือข่ายชาวประมงพื้นบ้านและชาวประมงขนาดเล็กจึงคัดค้านไปยังกรมประมง แต่กลับได้รับคำชี้แจงว่าเรื่องได้ผ่านมติของคณะกรรมการนโยบายประมงแห่งชาติแล้ว และมีการยื่นเสนอการออกใบอนุญาตเพิ่มเติมแก่อวนลากผิดกฎหมายไปให้ ครม.พิจารณา ล่าสุด กรมประมงแจ้งว่า เรื่องถูกตีกลับมาจาก ครม.และเชิญให้ฝ่ายประมงพื้นบ้านและประมงพาณิชย์ประชุมร่วมกันเมื่อวันที่ 18 ก.ค.55 แต่ฝ่ายประมงพื้นบ้านที่ได้ทำจดหมายคัดค้าน เนื่องจากเห็นว่าการประชุมดังกล่าวไม่จริงใจ เพราะมีการสอดแทรกเรื่องการออกอาชญาบัตรเพิ่มเติมแก่อวนลากไว้ในวาระการประชุม ทั้งที่ยังเป็นประเด็นถกเถียงกัน อีกทั้งกรมประมงไม่ยอมแสดงหลักฐานเอกสารที่ว่าเรื่องถูกตีกลับมาจาก ครม. และในวันดังกล่าวทางสมาคมชาวประมงพื้นบ้านประกาศไม่เข้าร่วมการประชุมและออกแถลงการณ์ด่วนคัดค้านการพิจารณาผ่อนผันการจดทะเบียนเรือประมงอวนลากที่ผิดกฎหมายด้วย ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า เครือข่ายชาวประมงพื้นบ้านยังได้ยื่นเรื่องร้องเรียนต่อคณะอนุกรรมการด้านสิทธิชุมชนและฐานทรัพยากรของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ก่อนหน้านี้เพื่อให้ตรวจสอบว่าการดำเนินการผ่อนผันการจดทะเบียนอวนลากของกรมประมงเป็นการละเมิดสิทธิชุมชน และทำให้ทรัพยากรสัตว์น้ำและทรัพยากรทางทะเลได้รับผลกระทบหรือไม่ และวันที่ 31 ก.ค.นี้ ตัวแทนเครือข่ายชาวประมงพื้นบ้านจะเข้าชี้แจงแก่คณะอนุกรรมการฯ ณ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ แจ้งวัฒนะ พร้อมกับตัวแทนกรมประมง ผู้แทนชาวประมงอวนลาก ผู้ทรงคุณวุฒิ ฯลฯ ทั้งนี้ อวนลาก ถือเป็นอุปกรณ์ประมงทำลายล้าง ส่งผลเสียต่อทรัพยากรและระบบนิเวศท้องทะเล โดยอวนจะกวาดหน้าดินใต้ทะเล ทำลายแหล่งที่อยู่สัตว์น้ำและปะการัง ขนาดตาอวนที่ถี่ยังทำให้สัตว์น้ำวัยอ่อนถูกจับก่อนวัยอันควรเป็นจำนวนมาก เป็นการตัดวงจรการขยายพันธุ์ของสัตว์น้ำ การทำประมงอวนลาก จึงถือเป็นการทำประมงที่ไม่รับผิดชอบและไม่ยั่งยืน อุปกรณ์ประมงอวนลากในปัจจุบัน หากไม่ได้มีใบอนุญาต (อาชญาบัตร) อยู่แล้ว ถือว่าผิดกฎหมาย ประเทศไทยมีนโยบายควบคุมอวนลาก โดยในปี 2515 ประกาศห้ามอวนลากเข้าเขต 3,000 เมตรจากชายฝั่ง ซึ่งถือเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อน จากนั้นในปี 2523 มีนโยบายห้ามจดทะเบียนเรืออวนลากอีกต่อไป คือ จะไม่มีการให้ใบอนุญาตเพิ่มเติมอีก โดยหวังว่าอวนลากที่มีอยู่จะค่อยๆ ลดลง เมื่ออวนเสื่อมสภาพหรือใบอนุญาตหมดอายุ ทว่าอวนลาก ก็ไม่หมดไปจากท้องทะเลไทย โดยมีการเปิดให้ใบอนุญาตเพิ่มเติมแก่อวนลากเถื่อน บางครั้งใช้คำว่า “นิรโทษกรรมเรืออวนลาก” 3 ครั้งด้วยกันคือ ในปี 2525, 2532 และ 2539 จากผลการศึกษาต่างๆ ทั้งของ FAO และกรมประมงที่ผ่านมาล้วนบ่งชี้ว่า ท้องทะเลไทยนั้นมีการจับปลามากเกินกำลังที่ขีดความสามารถของทรัพยากรทะเลจะรองรับได้ไปแล้ว (overfishing) และหากจะให้การประมงคงอยู่ได้ ต้องลดจำนวนอวนลากลง 40% แต่ล่าสุด เนื่องจากทางสหภาพยุโรปได้มีมาตรการต่อต้านการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (Illegal, Unreported and Unregulated (IUU) Fishing) โดยจะไม่รับซื้อผลผลิตที่มาจากการทำประมงเหล่านี้ ทำให้กลุ่มประมงพาณิชย์ที่จับปลาด้วยอวนลากเถื่อน (ไม่มีอาชญาบัตร) ไม่สามารถส่งผลผลิตไปขายยังสหภาพยุโรปได้ ได้รับความเดือดร้อน และเรียกร้องให้เปิดจดทะเบียนแก่อวนลากเถื่อนรอบใหม่ เพื่อให้อวนลากผิดกฎหมายเหล่านี้ถูกต้องขึ้นมา และสามารถส่งออกไปขายสหภาพยุโรปได้ นอกจากนี้กรมประมงยังอ้างผลการศึกษาซึ่งไม่เป็นที่รับรู้มาก่อนว่าท้องทะเลไทยสามารถรองรับเรืออวนลากได้อีก 2,107 ลำ ทำให้สามารถเปิดออกอาชญาบัตรเพิ่มได้อีก
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
ประวัติสตันท์แมนของควีนเอลิซาเบธ: นักโดดร่ม-รณรงค์สันติภาพ Posted: 30 Jul 2012 11:34 AM PDT เว็บไซต์เอ็กซ์เพรส ของอังกฤษเผยประวัติสตันท์แมนผู้สวมบทควีนเอลิซาเบธที่ 2 โดดร่มลงมาจากเฮลิคอปเตอร์ในพิธีเปิดโอลิมปิก เป็นนักรณรงค์เพื่อสันติภาพและสตันท์แมน เคยถูกจับกุมเนื่องจากปีนอนุสาวรีย์ลอร์ดเนลสันเพื่อกางป้ายผ้าสนับสนุนดาไล ลามะ ชายผู้สร้างความประทับใจให้กับพิธีเปิดโอลิมปิกปี 2012 สตันท์แมนผู้สวมบทพระราชินีเอลิซาเบธที่ 2 เพื่อกระโดดร่มลงมาในพิธีเปิดโอลิมปิก ชื่อ แกรี คอนเนอรี วัย 42 ปี โดยคอนเนอรีนั้นมีประวัติเคยถูกจับกุมในปี 2547 และได้รับการปล่อยตัวพร้อมถูกตักเตือนเนื่องจากปีนอนุสาวรีย์ลอร์ดเนลสัน (Nelson's Column) กลางจัตุรัสทราฟัลการ์เพื่อจะคลี่ป้ายผ้ารณรงค์ความยาวร่วม 50 ฟุตสนับสนุนดาไล ลามะ จากนั้นโดดร่มลงมายังกลางจัตุรัสดังกล่าวจากความสูง 185 ฟุต เขายังเคยถูกเฮลิคอปเตอร์ของตำรวจไล่ตามเนื่องจากไปบินด้วยพารามอเตอร์อยู่เหนือกรุงลอนดอนที่ความสูง 200 ฟุตด้วย คอนเนอรีเป็นสมาชิก 1 ใน 4 ของกลุ่มกิจกรรมเพื่อธิเบต และรณรงค์เรียกร้องให้ผู้นำของโลกยุติความรุนแรงซึ่งใช้ในการทำสงครามต่อต้านการก่อการร้าย นอกเหนือจากสถิติการดิ่งพสุธา 880 ครั้ง และการโดดร่มแบบ BASE JUMP (การโดดร่มที่ไม่ได้โดดจากเครื่องบินหรือบอลลูน แต่โดดจากสิ่งก่อสร้างหรือหน้าผา) จำนวน 450 ครั้ง แล้ว งานของเขาคือการเป็นสตันท์แมนให้กับภาพยนตร์ต่างๆ เช่น เจมส์ บอนด์, แฮรี่ พอตเตอร์ และอินเดียน่า โจนส์ เป็นอาทิ คอนเนอรีบอกว่า ช่วงที่ผ่านมานั้นเขาไม่ได้เข้าร่วมในการรณรงค์ใดๆ อยู่พักหนึ่ง แต่ถ้ามีใครชวนและเขาเห็นด้วยกับการรณรงค์นั้นเขาก็คงเข้าร่วมแน่ๆ ส่วนการโดดร่มในการเปิดโอลิมปิกครั้งนี้เขาบอกว่าการที่ต้องโดดลงมาจากเฮลิคอปเตอร์เพื่อจะลงสู่สะพานนั้นเป็นเรื่องยากทีเดียว อ่านเรื่องราวของเขาเพิ่มเติมได้ที่ http://garyconnery.com/ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
วีรพัฒน์ ปริยวงศ์: ลุ้นศาลไทย คว้าชัย โอลิมปิก! Posted: 30 Jul 2012 09:58 AM PDT ผมกลับจากการไปพักผ่อนที่เชียงใหม่เมื่อวาน ไม่พลาดโอกาสทานกาแฟกับอาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ วันนี้กลับมาประชุมทำงานที่กรุงเทพ แล้วพรุ่งนี้จะไปหมู่เกาะอ่าวไทย เพื่อบรรยายวิชาการเรื่องพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล การได้สูดอากาศบนดอยสีเขียว แล้วเตรียมไปรับลมทะเลสีคราม ชมความงานของบ้านเรา ได้คิดได้คุยในสิ่งที่เราสนใจ ฟังดูน่าจะมีความสุข แต่วันนี้ ผมกลับ 'มึนหัว' ตึบ ตึบ ตึบ ทั้งที่ไม่ได้เมารถขึ้นเขา หรือเมารือลงทะเล แต่ผม 'มึน' กับ 'ความพิสดาร' ของ 'คำวินิจฉัยส่วนตน' ของศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งเรื่องการทำประชามตินั้น ตุลาการ 8 ท่าน มีความเห็นแตกออกเป็น 4 ฝ่าย ซึ่งเมื่ออ่านรวมกันแล้ว ก็พบว่าขัดแย้งกับ ‘คำวินิจฉัยกลาง’ ที่เผยแพร่ไปก่อนหน้านี้ (ผมอธิบาย ‘ความมึนเบื้องต้น’ ไปแล้วที่ http://bit.ly/8Jesters ) ยิ่งมานั่งอ่านทีละบรรทัด ยิ่งมึน ยกตัวอย่าง ท่านประธานศาล เขียนย่อหน้าหนึ่ง บอกว่า การที่สภาพิจารณาการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็น ‘การใช้สิทธิเสรีภาพ’ แต่พอมาอีกย่อหน้าในหน้าเดียวกัน กลับบอกว่าเป็น ‘การใช้อำนาจ’ ของรัฐสภา มึนแล้วไม่พอ ผมรู้สึก 'คลื่นไส้' เมื่อเห็น ‘สำนักงานศาล’ มาวิ่งไล่แจ้งความเอาผิดประชาชน แถมเขียนขู่อีกว่าจะไปแจ้งความดำเนินคดีเพิ่มอีก (ดูใบข่าวของศาลได้ที่ http://bit.ly/CCsuites)
กรณี เจ๋ง แจกเบอร์ หาก ‘ครอบครัว’ ตุลาการถูกคุกคามให้เดือดร้อนเสียหายจากการกระทำดังกล่าว ผมสนับสนุนให้ครอบครัวตุลาการใช้สิทธิดำเนินคดีและเรียกค่าเสียหายจากคุณเจ๋งได้เต็มที่ แต่หากมองจากมุมของ ‘ศาล’ ซึ่งมีทั้งอำนาจ ทั้งสื่อ และกองรักษาความปลอดภัยที่ประชาชนจัดให้แล้ว ข้อที่ไม่ควรลืมคือ คุณเจ๋งได้ขอโทษศาลไปแล้ว และสังคมรวมทั้งสื่อ ก็ร่วมกันลงโทษคุณเจ๋งไปแล้ว แม้แต่แกนนำเสื้อแดงก็ลงโทษคุณเจ๋งด้วย ไม่ว่าจะโดยคำต่อว่า คำด่า หรือคำขู่ ผู้เขียนเองเดาว่า เหตุที่คุณเจ๋งได้ขอโทษ ส่วนหนึ่ง ก็เพราะถูก ‘ผู้ใหญ่ต้นสังกัด’ ตำหนิต่อว่าเช่นกัน แต่ก็ไม่เห็นคุณเจ๋งเขาจะไปไล่แจ้งความเอาผิดใครที่มาต่อว่าด่าทอ ทั้งที่ คุณเจ๋งเป็นประชาชนคนธรรมดาไม่มีอำนาจอะไร ยิ่งไปกว่านั้น ตัวตุลาการท่านเอง ก็ยังมิได้ติดใจไปแจ้งความ แล้วเหตุใดสำนักงานศาลจะต้องไปวิ่งไล่แจ้งความแทน ? ประชาชนชุมนุมขุ่มขู่ศาล? แต่ผมเชื่อว่า สิทธิเสรีภาพในการชุมนุมแสดงความเห็น เพื่อต่อต้านหรือประท้วงการใช้อำนาจของรัฐ แม้มันจะดุเเดือด เผ็ดร้อน หยาบคาย หรือไม่เรียบร้อยเพียงใด แต่ก็เป็นความจำเป็นต่อประชาธิปไตย เพราะประชาชนคนธรรมดา อาจไม่มีอำนาจเพียงพอที่จะไปขอพื้นที่จากสื่อ หรือเรียกให้นักการเมืองมาเป็นตัวแทนของเขาในทุกเรื่อง การแสดงออกเหล่านี้เอง คือ 'ท่อหายใจ' ที่พื้นฐานที่สุด ของประชาชน ที่จะขอความสนใจจากผู้มีอำนาจ รวมทั้งสื่อ และเพื่อนประชาชนด้วยกัน เพื่อให้ตนเองได้มีส่วนร่วมทางการเมือง ยิ่งไปกว่านั้น หลักฐานปรากฏชัดว่า เรามีตุลาการที่เข้มแข็งอาจหาญ ตัดสินคดีไปตามที่ท่านเห็น แม้สังคม รัฐสภา หรือนักวิชาการ หรือแม้แต่สื่อต่างประเทศ จะท้วงท่านอย่างไร ท่านก็ไม่เอนเอียงตามแรงกดดัน แล้วเหตุใดสำนักงานศาลจะต้องไปวิ่งไล่แจ้งความแทน ? ประชาชนแจ้งความเท็จ? ก็ถ้าประชาชนแจ้งความท่าน สุดท้ายคนที่จะเอาผิดท่านได้ ก็คือ ลูกหลานตุลาการของท่านเอง มิใช่หรือ ? สำนักงานศาล รวมถึงตำรวจที่รับแจ้งความ โปรดไปศึกษาคำพิพากษาศาลฎีกาให้ดี หากประชาชนแจ้งความตามที่เชื่อโดยสุจริตก็ดี หรือแจ้งตามสภาพที่พบเห็นโดยมีเหตุอันควรเชื่อว่าเป็นความจริงก็ดี ศาลฎีกาได้ตีความเป็นบรรทัดฐานเสมอมาว่าไม่เป็นความผิด เช่น ฎีกาที่ 1050/2514, 3025/2526, 4669/2530 หรือ 1173/2539 ท่านกลัวว่าท่านจะทำผิดจริง? ต่างกันราวฟ้ากับดิน เมื่อเทียบกับประชาชนคนธรรมดา แม้เป็นเจ้าของอำนาจ แต่ก็มอบให้คนอื่นไปจนตนเองเหลือน้อยนิด ได้แต่มองดูนักการเมืองที่นอบน้อมต่อคำวินิจฉัยของศาล ขนาดสภายังชะลอการแก้ไขรัฐธรรมนูญตามที่ศาลสั่ง แล้วหากประชาชนไม่พึ่งความเห็นและเสียงของตนเอง แล้วจะให้ไปพึ่งใคร ? ท่านกลัวสังคมเข้าใจท่านผิด? ต่างกันราวฟ้ากับดิน เมื่อเทียบกับประชาชน ที่ไม่มีอำนาจจะไปตีฆ้องร้องป่าวให้สื่อและสังคมหันมาสนใจมุมมองที่เขามองความไม่ยุติธรรมในสังคม ท่านกลัวการถูกข่มขู่? ต่างกันราวฟ้ากับดิน เมื่อเทียบกับประชาชนคนธรรมดา ที่พอวิจารณ์ศาลหรือผู้มีอำนาจมาก ก็ถูกดักรุมทำร้ายได้ตลอดเวลา แม้แต่อาจารย์มหาวิทยาลัยชื่อดังมีลูกศิษย์มากมาย ยังถูกดักทำร้ายได้ง่ายๆหน้าตึกที่ตัวเองทำงาน ท่านกลัวการเป็นคู่ความ? ตุลาการไทย ทำลายสถิติโอลิมปิก? เราลองดู ‘ฝ่ายบริหาร’ หรือ ‘ฝ่ายนิติบัญญัติ’ ที่ถูกประชาชนข่มขู่ เหยียดหยาม จ้องเอาผิด กันอยู่ทุกวัน ผมก็ไม่เห็นสำนักนายกฯ หรือ สำนักงานเลขาธิการสภาฯ จะมาไล่ฟ้องประชาชน เพราะเขายอมรับว่า ประชาชนต้องตรวจสอบบุคคลสาธารณะผู้ใช้อำนาจได้ หากกรณีใดที่ประชาชนทำแรงเกินไป หรือส่วนตัวเกินไป ก็ต้องเป็นตัว นายกฯ หรือ ประธานสภาฯ เอง ที่จะไปฟ้องคดีเอาผิด ไม่ใช่ให้สำนักงานราชการมาใช้เงินภาษีของประชาชนมาเอาผิดประชาชน สิ่งที่ร้ายที่สุดจะเกิดเมื่อ ‘ประชาชนด้วยกันเอง’ ไปหลงผิดยอมรับว่า การที่ผู้ใช้อำนาจมาฟ้องประชาชนนั้น เป็นเรื่องปกติที่ทำได้ง่ายๆ เพราะหากหลงคิดเช่นนั้น ก็เท่ากับประชาชนยอมรับให้ผู้ใช้อำนาจสามารถคุกคามข่มขู่ให้ประชาชนกลัว จนไม่อยากตรวจสอบวิพากษ์วิจารณ์ผู้ใช้อำนาจในที่สุด ซึ่งในประเทศที่เจริญแล้ว เขาไม่ทำกัน หมายถึง ประชาชนเองที่เจริญแล้ว ก็ต้องไม่ไปหลงผิดคิดกลัวตามไปด้วย ดังนั้น ในปีนี้ หากจะมีการประชุมตุลาการนานาชาติที่มีตุลาการจากแต่ละประเทศมาประชุมร่วมกัน (ซึ่งประชาชนจ่ายภาษีให้ตุลาการไทยได้บินไปประชุมอยู่ทุกปี) ท่านเลาธิการสำนักงานศาล น่าจะลองขอเบิกงบไปประชุมด้วย เพื่อไปถามตุลาการจากทั่วโลกว่า สำนักงานศาลบ้านเขา หรือแม้แต่ตัวตุลาการเขาเอง มาวิ่งไล่ฟ้องประชาชนของเขาในเรื่องไร้สาระแบบนี้ กันปีละกี่คดี ? เพราะไม่แน่ว่า อาจมีการทำลายสถิติโลก ในประเภทกีฬา ‘ชกประชาชน’ ! แม้ว่าคุณภาพผู้ชก อาจเป็นเพียง 'มือสมัครเล่น' ก็ตาม.
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
จริยธรรมของนักการเมือง: กรณี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ Posted: 30 Jul 2012 09:04 AM PDT การถามหาจริยธรรมของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี จริยธรรมที่คอยกำกับพฤติกรรมของตน และประเด็นนี้ก็ท้าทายสำนึกทางการเมืองของประชาชนด้วย ในปัจจุบันอาจกล่าวได้ว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นักการเมืองรุ่นใหม่ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหลายสมัย อดีตรัฐมนตรีหลายกระทรวง และอดีตนายกรัฐมนตรี เป็นนักการเมืองที่ถูกสังคมกำลังกังขา ถามหาถึงจริยธรรม (Ethics) มากที่สุด เพราะในห้วงหลายปีที่ผ่านมาใช้วาทศิลป์เป็นประโยชน์กับฝ่ายตนได้เป็นอย่างดี และเป็นอาวุธทิ่มแทงฝ่ายตรงข้ามได้อย่างโดดเด่น ประกอบกับการมีสถานะเป็นนักเรียนอังกฤษหัวก้าวหน้า ทำให้นายอภิสิทธิ์ กลายเป็นนักการเมืองดาวรุ่ง และเป็นความหวังของสังคมตามมา การเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นพรรคการเมืองเก่าแก่ที่สุดเสมือนเป็นโรงเรียนการเมืองให้กับนักการเมืองมาหลายๆ รุ่น จึงมิใช่เรื่องยากเย็นมากนัก สังคมมองกันว่านายอภิสิทธิ์ เป็นคนไม่กลัวหน้าอินทร์หน้าพรหม มักจะใช้วาทศิลป์ตอบโต้กับปฏิปักษ์อย่างสม่ำเสมอหนักบ้างเบาบ้างตามจังหวะและเวลา บางครั้งถึงขนาดอบรมสั่งสอนนักการเมืองผู้อาวุโสกลางสภาก็ยังเคยทำมาแล้วโดยไม่เลือกหน้า จึงทำให้นายอภิสิทธิ์ มีศัตรูมากพอๆ กับมิตร นักการเมืองหลายคนอาจจะชื่นชอบและเป็นพวกเดียวกันได้ แต่บางคนบางฝ่ายไม่นิยมชมชอบ ชนิดผีไม่เผาเงาไม่เหยียบ ถึงกระนั้นนายอภิสิทธิ์ก็โชคดี เมื่อพรรคพลังประชาชนที่ชนะการเลือกตั้งด้วยคะแนนท่วมท้นถูกยุบด้วยคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญ นักการเมืองที่เคยสังกัดพรรคพลังประชาชนอยู่ฝ่ายตรงข้ามกับนายอภิสิทธิ์ แปรพักตร์หันไปสนับสนุน ดวงชะตาพลิกผันจนได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเกือบสามปี ท่ามกลางความคลางแคลงของการได้มาในตำแหน่งดังกล่าว เพราะมีการเกื้อหนุนจากบุคคลที่มองไม่เห็น (Invisible man) จนเรียกกันติดปากว่านายกเทพประทาน การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจึงเป็นที่มาของคดีความการสั่งฆ่าประชาชน 91 ศพ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการไต่สวนมูลเหตุแห่งการตายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา นี่เป็นกรณีหนึ่งที่สังคมกำลังถามหาความรับผิดชอบและจริยธรรมจากนายอภิสิทธิ์ การดำเนินบทบาทของนายอภิสิทธิ์ไม่ว่าเรื่องส่วนตัวหรือทางการเมือง เริ่มถูกสังคมเพ่งมองและตั้งคำถามในความถูกต้องชอบธรรมและความเหมาะสม โดยเฉพาะเมื่อนายกมล บันไดเพชรได้ขุดคุ้ย พฤติกรรมส่วนตัวที่ไปผูกโยงกับสาธารณะและประโยชน์ของส่วนรวม มีประเด็นให้โจษขานถึงการใช้อำนาจอิทธิพลของชนชั้น เข้าไปเกี่ยวข้องอยู่ไม่มากก็น้อย โดยเฉพาะการที่ชายไทยต้องเข้ารับการเกณฑ์ทหารตามกฎหมายกันทุกๆ คน แต่นายอภิสิทธิ์ ก็ได้รับอภิสิทธิ์ไม่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายว้าด้วยการเกณฑ์ทหารเช่นชายไทยคนอื่นๆ จึงมีทั้งคำถามและข้อครหาคละกันไปว่า นายอภิสิทธิ์ได้ใช้สถานะความเป็นชนชั้นสูงหลบหลีกและหลีกเลี่ยงการเกณฑ์ทหารในห้วงอดีตที่ผ่านมา นี่ก็เป็นอีกกรณีหนึ่งที่สังคมกำลังถามหาความรับผิดชอบและจริยธรรมจากนายอภิสิทธิ์ เช่นกัน พลอากาศเอก สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและคณะออกมาแถลงข่าวยืนยันข้อเท็จจริงว่า “อภิสิทธิ์ ไม่ได้เข้ารับเกณฑ์ทหารตามกฎหมายเยี่ยงชายไทยจริง” และมีการใช้เอกสารไม่ถูกต้องในการสมัครเข้ารับราชการเป็นอาจารย์ในโรงเรียนนายร้อย โดยมีการสั่งลงโทษข้าราชการที่เกี่ยวข้องไปแล้ว...สอคล้องกับคำยืนยันของผู้บัญชาการทหารบก ที่บอกว่า เรื่องมันจบไปตั้งแต่ปี 2542 แล้ว แต่ที่จบนั้น ก็คือการลงโทษข้าราชการที่ได้กระทำความผิดในการปลอมแปลงเอกสารราชการ แต่ผู้ที่ใช้เอกสารราชการปลอมเราจะดำเนินการกันอย่างไรยังไม่มีคำตอบจากกระทรวงกลาโหม และกองทัพบก แม้ว่านายอภิสิทธิ์ และนักการเมืองในพรรคประชาธิปัตย์ จะมีความเชี่ยวชาญและเจนจัดในแง่มุมกฎหมาย จึงทำให้มองเห็นลู่ทางการต่อสู้คดีได้อย่างชัดเจน ดังเช่นหลายคดีที่ผ่านมามักจะเป็นคุณกับฝ่ายตนเสมอ อาจพลิกสถานการณ์จากความเสียเปรียบเป็นได้เปรียบโดยไม่ยากนัก แต่ในครั้งนี้สังคมเริ่มมีแนวโน้มที่จะเชื่อว่า นายอภิสิทธิ์และคณะ อาจใช้อิทธิพลและสถานะความเป็นชนชั้นสูงเข้าไปแทรกแซงระบบการเมืองและกระบวนการยุติธรรมในสังคมไทย ทำให้เรื่องการใช้เอกสารราชการปลอมเงียบหายไปอีกครั้งหนึ่ง จึงมีประเด็นคำถามของสังคมที่ว่า จำเป็นหรือไม่ที่นักการเมืองอย่าง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อดีตนายกรัฐมนตรี จะต้องคำนึงถึงจริยธรรมที่คอยกำกับพฤติกรรมของตน ประเด็นนี้นับว่าท้าทายสำนึกทางการเมืองของประชาชน และท้าทายสามัญสำนึกทางจริยธรรมของนายอภิสิทธิ์เอง อย่าลืมว่านายอภิสิทธิ์ เคยกล่าวหลายครั้งทำนองว่า “ความรับผิดชอบทางจริยธรรมต้องอยู่เหนือความรับผิดชอบทางกฎหมาย” นั่นหมายความว่าในความรับผิดชอบของนักการเมืองนั้น จะมีการกระทำผิดต่อกฎหมายหรือไม่ ไม่สำคัญหากมีการกระทำผิดจริยธรรมแล้วต้องมีสำนึกรับผิดชอบ ที่ผ่านมาเราจะพบเห็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและรัฐมนตรีบางคนถูกจำคุก บางคนมีข้อกล่าวหาเจตนาฆ่า สมาชิวุฒิสภาบางคนล่วงละเมิดทางเพศ นักการเมืองบางคนถูกจำคุก บางคนทุจริต บางคนใช้อำนาจโดยมิชอบแทรกแซงระบบราชการ ทั้งหลายทั้งปวงที่กล่าวมา ล้วนทำให้ประชาชนเริ่มตั้งคำถามว่าสังคมควรจะจริงจังกับจริยธรรมในการควบคุมพฤติกรรมบุคคลเหล่านี้มากน้อยเพียงใด นิคโคโล แมคเคียวเวลลี ( Niccolo Machiavelli ) กล่าวไว้ในหนังสือ The Prince (เจ้าผู้ครองนคร) บางตอนว่า “.....เพราะฉะนั้น เจ้าผู้ครองนครจึงไม่จำเป็นต้องมีคุณสมบัติ เลอเลิศอย่างที่ข้าพเจ้าได้พรรณนาไว้ข้างต้น แต่เขาควรจะแสดงออกมาว่าเขามีคุณสมบัติเหล่านั้น ข้าพเจ้าอยากจะพูดให้ถึงขนาดว่า ถ้าเจ้าผู้ครองนครมีคุณสมบัติเหล้านี้และประพฤติดังกล่าวจริงๆ กลับจะนำตนไปสู่หายนะ แต่ถ้าหากเพียงแสดงว่าตนมีคุณสมบัติเหล่านี้จะกลับเป็นประโยชน์ต่อตน” นั่นหมายความว่า Machiavelli ได้เสนอความเห็นว่าผู้ปกครองไม่จำเป็นต้องมีจริยธรรม แต่ต้องแสดงว่าตนเป็นผู้มีจริยธรรมก็เพียงพอแล้ว เพราะประชาชนจะมองเห็นผู้ปกครองได้แต่ภายนอก มีคนจำนวนน้อยนิดเท่านั้นที่รู้พฤติกรรมว่าผู้ปกครองเป็นเช่นไร การประพฤติตนภายในกรอบจริยธรรมกลับเป็นผลร้ายมากกว่า Machiavelli ยังกล่าวอีกว่า ... “ผู้ปกครองไม่ควรหลีกเลี่ยงจากการกระทำความดีหากเป็นไปได้ แต่เขาจะต้องรู้วิธีทำความชั่วร้ายหากจำเป็น” เมื่อ “การเมือง” ได้รับมอบหมายจากประชาชน ให้มีอำนาจในกระบวนการกำหนดนโยบายสาธารณะ มีอำนาจสั่งการ (Authorities) ตามกฎหมายในการบริหารราชการแผ่นดิน แต่กฎหมายเป็นเพียงเจตจำนงของรัฐาธิปัตย์ ซึ่งโดยตัวของมันเองมิอาจสร้างสันติสุขขึ้นมาได้ เพราะเมื่อใดที่ถูกบังคับใช้อย่างไม่เป็นธรรม ความเดือดร้อนทุกข์เข็ญย่อมเกิดขึ้น ดังที่เห็นกันอยู่ทุกวันนี้ และที่สำคัญอำนาจรัฐมิได้อยู่เหนือข้อกำหนดในทางศีลธรรมหรือจริยธรรมใดๆทั้งสิ้น อำนาจตามกฎหมายเพียงอย่างเดียว จึงมิใช่เครื่องยืนยันว่าจะสร้างความอยู่เย็นเป็นสุขให้เกิดขึ้นกับประชาชน ตราบใดที่อำนาจรัฐอันชอบธรรม กับธรรมที่เป็นแหล่งที่มาแห่งอำนาจมิใช่สิ่งเดียวกัน ฉะนั้น นอกเหนือจากอำนาจตามกฎหมายแล้ว คนเหล่านี้จะต้องมีสิ่งที่เรียกว่า “จริยธรรม (Ethics) ในการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองด้วย แต่หากยึดถือแนวคิดของ Niccolo Machiavelli ในการปกครองแล้ว พอสรุปได้ว่า นักการเมืองทั้งหลาย โดยเฉพาะ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตนภายในกรอบของจริยธรรมแต่ประการใด ทั้งยังสามารถทำอะไรหรือมีพฤติกรรมอย่างไรก็ได้ เพื่อความอยู่รอดของตนและพวกพ้อง เพียงแต่แสดงออกว่าเป็นผู้อยู่ในศีลในธรรมเท่านั้นก็เพียงพอ แล้วเราจะยอมรับพฤตกรรมเช่นนี้กันหรือ เพราะมันเป็นการเมืองที่เน้นผลลัพธ์ โดยไม่คำนึงถึงมรรควิธีแต่ประการใด
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
สื่อซีเรียอ้างมี 'ผู้ก่อการร้ายต่างประเทศ' ปลุกสงครามศาสนา Posted: 30 Jul 2012 08:51 AM PDT สื่อซีเรียเผยภาพนักรบติดอาวุ 30 ก.ค. 2012 สถานีโทรทัศน์ของรัฐบาลซีเรี อัลจาซีร่ารายงานว่า การลุกฮือของประชาชนในซีเรีย ถู มีบางกลุ่มบอกว่า พวกเขาเป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้ ฟิลล์ รีส์ ผู้ผลิตภาพยนตร์และนักเขียนหนั "ใครคืออัล-เคด้า? พวกเขาคือกลุ่มที่มาจากลิเบี ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลในซีเรียบอกว่ มีรายงานว่านักรบศาสนาเหล่านี้ "มีคนจำนวนมากใน FSA ที่ถือว่าการต่อสู้ของตนเป็นจี "ถ้าเราจำได้ การลุกฮือของคนในซีเรียมีแรงจู ผู้สังเกตการณ์บางคนกล่าวหาว่า อัล-เคด้า ในอิรักกำลังเดินทางเข้าสู่ซี "ประเด็นคือ โลกตะวันตกคิดว่ามันมีความแตกต่ "จริงๆ คือ ไม่ว่าพวกเขาจะเชื่อในรัฐชาติ เหตุปะทะที่อเล็ปโป ทางด้านสถานการณ์การสู้รบระหว่ เมื่อวันที่ 30 ก.ค. กองทัพรัฐบาลซีเรียอ้างว่ ผู้บัญชาการของ FSA บอกอีกว่าพวกเขาสามารถยึดครองพื้นที่ร้อยละ 35-40 ของอเล็ปโปไว้ได้แล้ว แต่พื้นที่ นอกจากนี้ยังมีเหตุต่อสู้กันที่ วาเลอรี่ อามอส รองเลขาธิการสหประชาชาติฝ่ายกิ ด้าน รมต.กลาโหมของสหรัฐฯ ลีออน พาเนตต้า กล่าวว่าการที่อัสซาดโจมตี ที่มา เรียบเรียงจาก Syria foes 'advance' in battle-wracked Aleppo, Aljazeera, 30-07-2012 Foreign 'jihadi' fighters feared in Syria, Aljazeera, 30-07-2012 ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 22-28 ก.ค. 2555 Posted: 30 Jul 2012 08:14 AM PDT ระยองจัดสัปดาห์ปลอดภัย คนทำงานทุกสาขาอาชีพ ระยอง/ เมื่อเร็วๆ นี้นายวิสา คัญทัพ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน เป็นประธานเปิดงานสัปดาห์ความปลอดภัยในการทำงานภาคตะวันออก ประจำปี 2555 ณ โรงแรมสตาร์จังหวัดระยอง ทั้งนี้ภายในงานได้จัดให้มีการมอบรางวัลดีเด่น และชมเชยด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานระดับประเทศ 1-4 ปี แก่สถานประกอบกิจการในพื้นที่ภาคตะวันออก จำนวน 123 แห่ง การสัมมนาวิชาการ การจัดนิทรรศการ และการสาธิตด้านความปลอดภัยจากหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ สถานประกอบกิจการ ชมรม สมาคม และองค์กรต่างๆ ที่ประสบความสำเร็จในการดำเนินงานด้านความปลอดภัย รวมทั้งการประกวดกิจกรรมส่งเสริมความปลอดภัยในการทำงาน นายอาทิตย์ อิสโม อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กล่าวว่า การจัดงานสัปดาห์ความปลอดภัยในการทำงานส่วนภูมิภาค เป็นส่วนหนึ่งของการจัดงานสัปดาห์ความปลอดภัยในการทำงานแห่งชาติ ซึ่งเป็นการดำเนินงานตามมติคณะรัฐมนตรี และกระทรวงแรงงาน ได้ดำเนินการจัดงานดังกล่าวต่อเนื่องทุกปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของความปลอดภัยและ สุขภาพอนามัยของคนทำงานทุกสาขาอาชีพ และเป็นเวทีแลกเปลี่ยนและสร้างเสริมองค์ความรู้ เพื่อพัฒนาการบริหารจัดการด้านความปลอดภัย ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีปัจจุบัน ทั้งนี้สำหรับสถานการด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยของภาคตะวันออก ซึ่งประกอบด้วย 8 จังหวัด ได้แก่ ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ฉะเชิงเทรา นครนายก สระแก้ว และปราจีน พบว่าในปี 2554 อัตราการประสบอุบัติเหตุจากการทำงานทุกกรณีเฉลี่ยของ 8 จังหวัด อยู่ที่ 14.11 ราย ต่อลูกจ้าง 1,000 คน ซึ่งลดลงจากปีที่แล้วซึ่งมีอัตราต่อ 1,000 คนอยู่ที่ 20.48-31.10 ถือว่าภาคตะวันออกมีอัตราการประสบอันตรายน้อยกว่าอัตราการประสบอันตรายจาก การทำงานรวมทุกกรณี ในภาพรวมของทั้งประเทศ อยู่ที่ 15.76 รายต่อลูกจ้าง 1,000 คน แม้ตัวเลขดังกล่าวจะมีแนวโน้มดีขึ้น แต่ก็ยังแสดงถึงความสูญเสียที่ยังคงเกิดขึ้นกับกำลังแรงงานในภาคตะวันออก (บ้านเมือง, 24-7-2555) ก.แรงงานฝึกอาชีพ ช่วยนักโทษพ้นคุก ก.แรงงาน - นายอนุสรณ์ ไกรวัตนุสสรณ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน กล่าวถึงโครงการ ?แสงใหม่ ชีวิตใหม่ผู้พ้นโทษว่า โครงการนี้จัดทำขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เนื่องในโอกาสทรงเจริญพระชนมายุครบ 5 รอบ โดยนายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รมว.แรงงาน ให้ความสำคัญและต้อง การให้สังคมได้เปิดโอกาสให้กับผู้พ้นโทษภายหลังจากพ้นแล้วจะได้ไม่กลับไป กระทำความผิดซ้ำอีก และถือเป็นการคืนคนดีสู่สังคม กระทรวงแรงงานได้ร่วมกับกระทรวงยุติธรรมในการดำเนินโครงการดังกล่าว เพื่อสร้างอาชีพและส่งเสริมการมีงานทำหลังพ้นโทษให้กับผู้ต้องขัง เป็นการสร้างอาชีพให้แก่ผู้ต้องขังในเรือนจำให้มีรายได้เพื่อเลี้ยงตนเอง ส่งเสียครอบครัว และเป็นทุนประกอบอาชีพหลังพ้นโทษ (ข่าวสด, 26-7-2555) ประชาพิจารณ์ชี้ ILO 87-98 เกิดประโยชน์ต่อประเทศ เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2555 ที่มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ กระทรวงแรงงานจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นเรื่อง การให้สัตยาบันอนุสัญญา ILO. 87-98 ที่ว่าด้วยสิทธิเสรีภาพในการรวมตัวและเจรจาต่อรอง ซึ่งถือเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน โดยยังมีข้อกังวลจากบางหน่วยงานในเรื่องของแรงงานข้ามชาติกับปัญหาความมั่น คง ขณะที่ฝ่ายแรงงานเสนอให้รับรองอนุสัญญาทั้ง 2 ฉบับได้แล้ว เพราะผ่านการถกเถียงมายาวนานมีข้อสรุปว่าเกิดผลดีต่อประเทศในด้าน การค้า การลงทุน การดูแลปัญหาแรงงานข้ามชาติที่ยังเป็นที่ต้องการของไทยก็จะทำได้ง่าย โดยกระทรวงแรงงานฯ จะเสนอผลการรับฟังความคิดเห็นต่อ ครม. เพื่อดำเนินการให้สัตยาบันต่อไป (ว๊อยซ์เลเบอร์, 28-7-2555) ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
สมัชชาคนจน “เขื่อนหัวนา” ค้านสร้าง “ผนังกั้นน้ำ” หวั่นเกิดปัญหาชดเชยไม่จบสิ้น Posted: 30 Jul 2012 07:44 AM PDT ชาวบ้านสมัชชาคนจนเขื่อนหัวนายื่นหนังสือ รมต.เกษตรฯ ค้านก่อสร้างผนังกั้นน้ำบริเวณเขื่อนหัวนา จี้ยุติการดำเนินการนำเสนอต่อที่ประชุม ครม.สัญจร จนกว่าจะมีการเริ่มต้นแก้ไขปัญหาให้ผู้เดือนร้อนอย่างเป็นรูปธรรม แสดงความจริงใจ วันที่ 29 ก.ค.55 ตัวแทนชาวบ้านสมัชชาคนจนเขื่อนหัวนายื่นหนังสือคัดค้านการก่อสร้างผนังกั้นน้ำบริเวณเขื่อนหัวนา ทั้งหมด ทุกพื้นที่ ต่อ นายธีระ วงศ์สมุทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และขอให้ยุติการดำเนินการนำเสนอต่อที่ประชุม ครม.สัญจร วันที่ 30 ก.ค.55 นี้ จนกว่าจะมีการเริ่มต้นแก้ไขปัญหาให้ราษฎรผู้เดือนร้อนทุกคน ทุกกลุ่ม ให้แล้วเสร็จอย่างเป็นรูปธรรม อีกทั้งยังเรียกร้องให้มีการศึกษาผลกระทบร่วมกันกับภาคประชาชนเสียก่อน เพื่อแสดงความจริงใจต่อการแก้ไขปัญหาร่วมกันอย่างแท้จริง จดหมายดังกล่าว ระบุว่า จากการที่ชาวบ้านผู้ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากโครงการก่อสร้างเขื่อนหัวนา รับทราบข้อมูลจากนักข่าวภายในจังหวัดศรีเกษ ว่าจะมีการก่อสร้างผนังกั้นน้ำ (DIKE) บริเวณพื้นที่เขื่อนหัวนาจำนวนกว่า 21 จุด และบริเวณเขื่อนราษีไศลอีกหลายจุด ซึ่งเป็นเงินงบประมาณกว่า 1,391 ล้านบาท ตามเอกสารของสำนักงานจังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งชาวบ้านเชื่อว่าเป็นโครงการที่ถูกนำเสนอโดยโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษามูลล่าง โดยกรมชลประทาน ขณะนี้กรมชลประทานได้มีการจัดจ้างบริษัทเอกชนในการก่อสร้างทำนบดินกั้นลำน้ำมูล วงเงิน 78 ล้านบาท โดยที่ไม่ได้มีการแจ้งข้อมูลข่าวสารให้กับทางเครือข่ายชาวบ้านสมัชชาคนจนเขื่อนหัวนาได้รับทราบเรื่องมาก่อน ทั้งที่มีช่องทางการสื่อสารมีอยู่มากมาย ซึ่งหากจะนับระยะเวลาที่ชาวบ้านออกมาเคลื่อนไหวในการเรียกร้องให้มีการแก้ไขปัญหากรณีเขื่อนหัวนาให้แล้วเสร็จก่อนจะมีการปิดประตูเขื่อน เป็นเวลานานกว่า 14 ปีมาแล้ว “วันนี้เราเริ่มมีความเชื่อที่ว่ากรมชลประทานไม่ได้ให้ความสำคัญต่อการแก้ไขปัญหาด้านต่างๆ ร่วมกันอย่างแท้จริง เพราะวันนี้การก่อสร้างผนังกั้นน้ำบริเวณเขื่อนหัวนาที่เราได้พูดคุยเจรจากับกรมชลประทานและรัฐบาลมาตลอด ว่าจะไม่มีการสร้างผนังกั้นน้ำอย่างแน่นอน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหานานอกอ่างเหมือนกรณีเขื่อนราษีไศลที่กำลังประสบปัญหาและแก้ไขไม่แล้วเสร็จมาจนถึงปัจจุบันนี้” จดหมายระบุ จดหมายระบุด้วยว่า การดำเนินการเพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาของกรมชลประทานที่ผ่านมากล่าวอ้างเสมอว่าไม่มีงบประมาณ ต้องรอให้มีงบประมาณก่อน แต่กรณีการถมลำน้ำมูนเดิมที่ใช้งบประมาณมากกว่า 78 ล้านบาท กลับมีงบประมาณในการก่อสร้างโดยไม่ต้องรอ และแผนการก่อสร้างผนังกั้นน้ำกรมชลประทานกลับมีช่องทางผันงบประมาณมาก่อสร้าง โดยการนำเสนอให้ที่ประชุม ครม.สัญจร อนุมัติงบประมาณ วันที่ 30 ก.ค.55 ที่ จ.สุรินทร์ ทั้งนี้ จากผลการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมกรณีเขื่อนหัวนา ที่ผ่านความเห็นชอบของ คณะรัฐมนตรี วันที่ 27 เม.ย.53 ชี้ชัดว่าโครงการเขื่อนหัวนามีผลกระทบต่อชุมชนท้องถิ่นและราษฎรในพื้นที่จริง พื้นที่กว่า 13,200 ไร่ จะถูกน้ำท่วมถาวร พื้นที่กว่า 37,900 ไร่ จะมีน้ำท่วมนานมากขึ้นเป็นระยะเวลา 1-3 เดือน เป็นต้น “พวกเราในนามกลุ่มองค์กรเครือข่ายชาวบ้านสมัชชาคนจนเขื่อนหัวนา ถือว่าการนำเสนอโครงการก่อสร้างผนังกั้นน้ำ ในครั้งนี้ พวกเรากำลังถูกละเมิดสิทธิในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารจากหน่วยงานราชการ และสิทธิในการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจทุกขั้นตอนอีกครั้ง ทั้งที่เรื่องดังกล่าวมีผลกระทบต่อพวกเราโดยตรง และมีความสำคัญต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของพวกเรา วันนี้ปัญหาผลกระทบจากการสร้างเขื่อนหัวนาทำให้พวกเรานอนไม่หลับ เกิดความวิตกกังวลเป็นอย่างมาก สุขภาพจิตไม่ปรกติ พวกเรามีวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่ไม่ปกติสุขเรื่อยมา เราต้องเสียเวลา เสียทรัพย์สินส่วนตัว เพื่อออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาที่เรา “ไม่ได้เป็นคนสร้าง” มานานกว่า 14 ปี หากหน่วยงานภาครัฐมีหน้าที่บำบัดทุกข์ บำรุงสุขของประชาชน รัฐบาลและหน่วยงานราชการที่ดูแลรับผิดชอบเรื่องนี้ควรที่จะให้ความสำคัญในความเดือดร้อนของพวกเราให้มากกว่านี้” จดหมายระบุ
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
เกร็ดข่าว: ครบรอบ 8 ปี เหตุการณ์ตากใบตามปฏิทินอิสลาม Posted: 30 Jul 2012 07:34 AM PDT
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
ศาลรัฐธรรมนูญฟ้องจ่า-เจ๋ง-ก่อแก้ว ฐานข่มขู่คุกคาม Posted: 30 Jul 2012 06:35 AM PDT ศาลรัฐธรรมนูญกล่าวโทษต่อตำรวจ ว่ามีกลุ่มผลประโยชน์ กลุ่มผลักดันทางการเมืองข่มขู่คุกคามตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอย่างต่อเนื่อง มีการปราศรัยและใช้วิธีต่างๆ เพื่อบีบบังคับข่มขืนใจให้วินิจฉัยคดีให้เป็นไปเพื่อประโยชน์ของกลุ่มตน "จ่าประสิทธิ์" "เจ๋ง ดอกจิก" "ก่อแก้ว" โดนด้วย มติชนออนไลน์ รายงานวันนี้ (30 ก.ค.) ว่า สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญได้มอบหมายให้คณะโฆษกศาลรัฐธรรมนูญแถลงข่าวจากที่กรณีศาลรัฐธรรมนูญได้รับคำร้อง ขอให้พิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 68 เรื่องพิจาณาที่ 18-22/2555 ได้มีกลุ่มผลประโยชน์ กลุ่มผลักดันทางการเมือง ได้โจมตี ผลักดัน ข่มขู่ คุกคาม การปฏิบัติหน้าที่ของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะด้วยการแถลงข่าวโจมตี หรือการกล่าวปราศรัยตลอดจนวิธีการต่าง ๆ เพื่อบีบบังคับข่มขืนใจ ให้วินิจฉัยคดีให้เป็นไปเพื่อประโยชน์ของกลุ่มตน โดยมีการกระทำเป็นกระบวนการร่วมกัน สำนักงานศาลรัฐธรรมจึงมีความจำเป็นต้องกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนกองบังคับการปราบปราม เพื่อดำเนินคดีมิให้เป็นเยี่ยงอย่างอันเป็นภัยร้ายแรงต่อความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง ดังต่อไปนี้ 1.นายยศวริศ ชูกล่อม หรือ เจ๋ง ดอกจิก ข้อหาดูหมิ่นเจ้าพนักงานที่เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 136 และมาตรา 198 และข้อหาที่ทำให้ผู้อื่นเกิดความกลัวและความตกใจโดยการขู่เข็ญ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 392 จากการกล่าวปราศรัยที่บริเวณหน้ารัฐสภา เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2555 2.นายก่อแก้ว พิกุลทอง ข้อหาข่มขืนใจเจ้าพนักงานให้ปฏิบัติการอันมิชอบด้วยหน้าที่ หรือให้ละเว้นการปฏิบัติการตามหน้าที่โดยใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย ดูหมิ่นศาลหรือผู้พิพากษาในการพิจารณาหรือพิพากษาคดี หรือกระทำการขัดขวางการพิจารณาหรือพิพากษาของศาลตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 139 มาตรา 140 และ มาตรา 198 และข้อหาทำให้ผู้อื่นเกิดความกลัว และความตกใจโดยการขู่เข็ญตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 392 จากการกล่าวปราศรัยต่อกลุ่มผู้ชุมนุมทางการเมืองเวทีมีนบุรี เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2555 และจากการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนที่รัฐสภา เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2555 3. จ่าสิบตำรวจประสิทธิ์ ไชยศรีษะ ข้อหาดูหมิ่นเจ้าพนักงานที่เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และดูหมิ่นศาลศาลในการพิจารณาหรือพิพากษาคดีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 136 และ มาตรา 198 จากการแถลงข่าวผ่านทางทีวีเอเชียอัพเดต เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2555 4.นายอนุรักษ์ เจนตวนิชย์ ข้อหาแจ้งความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญาแก่เจ้าพนักงานสอบสวนและโดยรู้อยู่ว่ามิได้มีการกระทำความผิดเกิดขึ้น แต่ได้แจ้งข้อความต่อพนักงานสอบสวนว่ามีการกระทำความผิดเพื่อให้คณะตุลาการรับโทษทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 172 มาตรา 173 และ มาตรา 174 จากการที่ นายอนุรักษ์ แจ้งความร้องทุกข์ กล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวน บก.ปปป. เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2555 5. กลุ่มบุคคลประกอบด้วย 1.นายวุฒิพงศ์ กชธรรมคุณ หรือโกตี๋ 2.นายมาลัยรักษ์ ทองชัย 3.นางสาวเพ็ญสุดา สินธุญา 4.นางสาวนวพร ประเสริฐอำนวย 5.นายวิสันต์ บุญประกอบ 6.นางสาวสุวรรณา แสงรัตน์ 7.นายวันชัย สหกิจ 8.นางสาวสุพร แซ่จึง 9.นายไพโรจน์ ทิพวารี 10.นางสาวปราณี ปรางทอง 11.นายอิทธิวัฒน์ อนุวัตรวิมล 12.นายถนอม สุทธินันท์ 13.นายปาน พลหาญ 14.นายแดง บำเพ็ญสิน 15.นายมะลิ หอระดาน 16.นายสุรเดช บัณดิต 17.นางสาวนันทกา อินทรนนท์ 18.นายนคิรินทร์ ทุมพันธ์ 19.นายไพร๊อท ภูกาน 20.นายธีรชัย อุตรวิเชียร 21.ว่า ร.ต.ณราสิน ศรีสันต์ 22.นางสาวสำเนียง นาคพิทักษ์ 23.นางเวียง ศรีคร้าม 24.นายสมศักดิ์ นาคา 25.นายศุภชัย ตระกูลธนกร และ 26.นายสุริน เพ็ชรรัตน์ ข้อหาร่วมกันแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญาแก่เจ้าพนักงานสอบสวน และโดยรู้อยู่ว่ามิได้มีการกระทำความผิดเกิดขึ้น แต่ได้แจ้งข้อความต่อพนักงานสอบสวนว่ามีการกระทำความผิดเพื่อให้คณะตุลาการรับโทษทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 172 มาตรา 173 และมาตรา 174 เหตุเกิดที่สถานีตำรวจภูธรคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2555 6. นายวุฒิพงศ์ กชธรรมคุณ หรือโกตี๋ และพวกไม่ทราบชื่อประมาณ 50 คน ข้อหาร่วมกันดูหมิ่นเจ้าพนักงานที่เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และดูหมิ่นศาลในการพิจารณาหรือพิพากษาคดีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 มาตรา 136 และ มาตรา 198 เหตุเกิดบริเวณหน้าอาคารศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2555 ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
Posted: 30 Jul 2012 06:18 AM PDT | |
Robert Fisk: สงครามซีเรีย สงครามแห่งความเสแสร้งหลอกลวง Posted: 30 Jul 2012 05:58 AM PDT นักข่าวสายสงครามตะวันออกกลาง ชวนมองเหรียญอีกด้านในสงครามกลางเมืองซีเรีย จากแง่มุมของการเมืองระหว่ โรเบิร์ท ฟิสค์ ผู้สื่อข่าวสายตะวั ต่อไปนี้เป็นเนื้ 0 0 0 เมื่อก่อนนี้เคยมีสงครามตะวั ขณะที่กาตาร์และซาอุดิอาร์เบี จริงๆ แล้ว ผู้ก่อการสังหารหมู่ด้วยการยึ ขณะเดียวกันพวกเราก็มีพรรคซีอะ ฮิซบอลเลาะห์ กับกลุ่มติดอาวุธในเลบานอน ที่เป็นมือขวาของนิกายชีอะห์อิ แล้วเราก็ยังมีเหล่าฮีโร่ แต่ตัวรัฐบาลสหรัฐฯ เองต้องการให้ข้อมูลการใช้ แล้วก็ยังมีประเทศเพื่อนบ้านที่ เมื่อกล่าวถึงการเป็นผู้สื่อข่ แล้วแน่นอนว่าก็ยังมีพวกเรา เหล่าผู้ที่เรียกตนว่าเป็นเสรี แต่เมื่อตัวเลขแต้มแห่ และในขณะนั้นเอง พวกเราก็ลืมความจริงใหญ่ๆ ข้อหนึ่ง นั่นคือความพยายามบดขยี้เผด็ ไม่เลย แรงจูงใจของเราทั้งหมดอยู่ที่อิ ที่มา Robert Fisk: Syrian war of lies and hypocrisy, The Independent, 29-07-2012 ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
ตัดสินประหาร 3 ตร.กาฬสินธุ์ ฆ่าอำพรางศพชายวัย 17 ปี ช่วงสงครามยาเสพติด Posted: 30 Jul 2012 05:21 AM PDT
เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 30 กรกฎาคม ที่ห้องพิจารณาคดี 813 ศาลอาญา ศาลอ่านคำพิพากษาคดี ที่อัยการฝ่ายคดีพิเศษ 1 เป็นโจทก์ฟ้อง ฟ้อง ด.ต.อังคาร คำมูลนา อายุ 48 ปี ด.ต.สุดธินัน โนนทิง อายุ 43 ปี ด.ต.พรรณศิลป์ อุปนันท์ อายุ 42 ปี พ.ต.ท.สำเภา อินดี อายุ 51 ปี อดีต สวป.สภ.เมืองกาฬสินธุ์ พ.ต.อ.มนตรี ศรีบุญลือ อายุ 62 ปี อดีต ผกก.สภ.เมืองกาฬสินธุ์ และ พ.ต.ท.สุมิตร นันท์สถิต อายุ 45 ปี อดีต รอง ผกก. สภ.เมืองกาฬสินธุ์ (ทั้งหมดเป็นยศและตำแหน่งขณะฟ้อง) เป็นจำเลยที่ 1-6 ในความผิดฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ย้ายศพเพื่อปิดบังเหตุแห่งการตาย และเป็นเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญากระทำการในตำแหน่งอันเป็นการมิ ชอบ เพื่อช่วยเหลือบุคคลหนึ่งบุคคลใดมิให้ต้องรับโทษ ตามโจทก์ฟ้องสรุปว่า เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2547 จำเลยทั้ง 6 โดยจำเลยที่ 1-3 และ จำเลยที่ 6 เป็นเจ้าพนักงานตำรวจฝ่ายสืบสวน สภ.เมืองกาฬสินธุ์ ร่วมกันเจตนาฆ่า นายเอ (นามสมมุติ) อายุ 17 ปี ผู้ต้องหาคดีลักทรัพย์รถจักรยานยนต์ ขณะนำตัวออกจาก สภ.เมืองกาฬสินธุ์ ด้วยการบีบรัดคอจนขาดอากาศหายใจเสียชีวิต เหตุเกิดที่ อ.เมืองกาฬสินธุ์ จากนั้นจำเลยทั้ง 6 ได้ปิดบังเหตุแห่งการตาย โดยร่วมกันย้ายศพจากท้องที่เกิดเหตุ ไปแขวนคอไว้ที่กระท่อมนา บ้านบึงโดน หมู่ที่ 5 ต.แสนชาติ อ.จังหาร จ.ร้อยเอ็ด จากนั้น ระหว่างวันที่ 30 กรกฎาคม 2547 ถึงวันที่ 27 เมษายน 2548 จำเลยที่ 4-6 ร่วมกันข่มขู่พยาน เพื่อให้การอันเป็นเท็จ โดยให้ระบุว่า ในวันที่ผู้ตายถูกทำร้ายยังพบเห็นผู้ตายที่ตลาดโต้รุ่ง เชื่อว่าพวกจำเลยไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง ชั้นสอบสวนจำเลยทั้ง 6 ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา ศาลพิพากษาว่า จำเลยที่ 1-3 กระทำผิดฐานย้ายศพเพื่อปิดบังเหตุแห่งการตาย ลงโทษจำคุกคนละ 1 ปี ฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ลงโทษประหารชีวิต เมื่อรวมโทษแล้วให้ลงโทษประหารชีวิตจำเลยที่ 1-3 สถานเดียว จำเลยที่ 5 กระทำผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญากระทำการในตำแหน่งอันเป็นการมิชอบ เพื่อช่วยเหลือบุคคลหนึ่งบุคคลใดมิให้ต้องรับโทษ ลงโทษจำคุก 7 ปี จำเลยที่ 6 กระทำผิดฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ลงโทษ จำคุกตลอดชีวิต และให้ยกฟ้องจำเลยที่ 4 สำหรับคดีฆ่าอำพรางศพคดีนี้พนักงานสอบสวนกรมสอบสวนคดีพิเศษเป็นผู้ทำการ สอบสวน เนื่องจากญาติผู้เสียชีวิตร้องเรียนว่า การเสียชีวิต อาจมีเงื่อนงำ ซึ่งคดีนี้เกิดขึ้นในช่วงที่รัฐบาลสมัย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ประกาศสงครามกับยาเสพติด กระทั่งเกิดคดีในลักษณะของการฆ่าตัดตอนผู้ต้องหาคดียาเสพติดหลายคดี ทั้งนี้ เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุ
เรียบเรียงจากมติชนออนไลน์ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
'ทางเท้า' ในฝันสำหรับ 'คนเดินเท้า' ฝันลมๆ แล้งๆ ของคนกรุง? Posted: 30 Jul 2012 03:09 AM PDT “คนเดินถนนคือสิ่งที่มีคุณค่าน้อยที่สุดในระบบถนน” กรินทร์ กลิ่นขจร อาจารย์ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ผู้ทำงานศึกษาเรื่องความพึงพอใจของผู้ใช้ทางเท้าเขตชานเมืองกล่าวขึ้น ขณะนำคณะนักข่าวและผู้สนใจก้มลงสำรวจทางเท้าริมถนนพหลโยธินซึ่งได้ชื่อว่าเป็นทางเท้าต้นแบบของ กทม.เมื่อประมาณ 5-6 ปีที่ผ่านมา รอยแตกร้าวของพื้นปูคอนกรีต ร่องรอยต่อของอิฐตัวหนอนกับแผ่นคอนกรีตปูพื้นที่ผสาน-เหลือบซ้อนกันด้วยการเทปูน พื้นถนนที่ลาดชันต่างระดับ เหลื่อมมุมของฝาท่อที่ปิดไม่สนิท ร้านค้าแผงลอย พุ่มไม้ริมทาง รวมทั้งอุปกรณ์ระบบสาธารณูปโภคต่างๆ เช่น เสาไฟฟ้า ทางระบายน้ำ ตู้โทรศัพท์ ป้ายบอกทาง และบันไดขึ้น-ลงรถไฟฟ้า ฯลฯ สิ่งธรรมดาๆ ที่พบเห็นกันเป็นประจำเหล่านี้ถูกชี้ชวนให้ร่วมกันทัศนา ในฐานะอุปสรรคในการเดินบนทางเท้าที่เรามักไม่ให้ความสำคัญ 000 กรินทร์กล่าวในเวทีเสวนาแลกเปลี่ยนมุมมอง “ทางเท้าในฝันของเราทุกคน” ในงานเปิดตัวโครงการประกวดภาพถ่าย “ทางเท้า...เล่าเรื่อง” เมื่อวันที่ 24 ก.ค.55 ว่า ปัญหาของทางเท้าใน กทม.นั้นสืบเนื่องมาจากนโยบายและมาตรฐานทางเท้าไม่มีจริง ซึ่งสอดคลองกับการให้ข้อมูลของสมคิด นิ่มเคี่ยม นายช่างโยธาชำนาญงาน หัวหน้ากลุ่มงานโครงการก่อสร้างและบูรณะ ฝ่ายโยธา สำนักงานเขตพญาไท ซึ่งชี้แจงในเวทีเดียวกันว่า การจัดการทางเท้านั้นอยู่ในความรับผิดชอบของแต่ละเขตพื้นที่ ซึ่งบางแห่งศึกษาจากเมืองนอกแล้วนำมาเป็นต้นแบบ ทำให้แต่ละเขตพื้นที่ทางเท้าไม่เหมือนกัน ผู้ทำการศึกษาเรื่องความพึงพอใจของผู้ใช้ทางเท้าเขตชานเมืองกล่าวด้วยว่า การออกแบบทางเท้าที่ไม่เกี่ยวของกับสถานที่และวิถีชีวิต ไม่เห็นความสำคัญของสังคม เป็นอีกปัญหาหนึ่ง ซึ่งตรงนี้เกี่ยวข้องกับสถาปนิกผู้ออกแบบที่ต้องทำความเข้าใจถึงความต้องการของคนใช้ทางเท้าด้วย ยกตัวอย่าง กรณีคนใช้ทางเท้าต้องการไฟส่องสว่างช่วยแก้ปัญหาอาชญากรรมมากกว่าการติดกล้อง CCTV ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาภายหลังจากเกิดเหตุ ไม่ใช่การป้องกันปัญหา อีกทั้งกรณีทางเท้า-ทางข้าม และทางลาดสำหรับคนพิการที่ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้จริง “ลงมาเดินจริงจะเห็นปัญหาจริง” กรินทร์กล่าวและว่าการแก้ปัญหาทำได้ง่ายๆ โดยไม่ต้องไปแก้นโยบาย เพียงแต่มีความใส่ใจ เข้าใจ และเห็นอกเห็นใจกัน แต่คำถามคือประเทศไทยมีทางเท้าสักกี่แห่งที่เห็นอกเห็นใจชีวิตผู้คนที่เดินถนน นอกจากนั้น การดำเนินงานโครงการก่อสร้างต่างๆ ที่คิดแต่ว่าโปรเจกต์ต้องทำให้สำเร็จในปีงบประมาณ หน่วยงานต่างๆต้องวิ่งไล่เก็บเงินตามสำนักงบประมาณ โดยไม่เชื่อมโยงกับการใช้ประโยชน์จริง ตรงนี้เป็นปัญหาที่ต้องเปลี่ยนวิธีคิดของหน่วยงานต่างๆ ที่มุ่งเอาเงินเป็นศูนย์กลางด้วย 000 กรณี “หาบเร่แผงลอย” ดูเหมือนจะเป็นปัญหาหนึ่งของการสัญจรบนทางเท้าที่ไม่พูดถึงคงไม่ได้ แม้ในมุมมองกรินทร์พวกเขาคือ “เหยื่อ” ที่ถูกกล่าวโทษ เพราะปัจจัยหลักที่กีดขวางการเดินทางมาจากการจัดการระบบสาธารณูปโภคบนทางเท้า การโทษเหยื่อเช่นนี้ไม่ต่างจากกรณีการแคมเปญ “จน เครียด กินเหล้า” ที่คนจนต้องตกเป็นจำเลยของสังคม ซึ่งไม่ใช่หนทางที่จะแก้ปัญหาได้อย่างแท้จริง แต่สำหรับใครหลายคนอาจไม่คิดเช่นนั้น ข้อมูลจากสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล กรุงเทพฯ จำนวนผู้ค้าหาบเร่-แผงลอยในกรุงเทพฯ ทั้ง 50 เขตมีจุดผ่อนผัน 646 จุด จำนวนผู้ลงทะเบียนร้านคา18,896 ราย และยังมีผู้ค้าที่อยู่นอกเขตผ่อนผันอีกนับหมื่นราย สมคิด นิ่มเคี่ยม ในฐานะตัวแทนจากสำนักงานเขตพญาไท กล่าวว่า ผู้ค้าหาบเร่-แผงลอยบนทางเท้าถนนพหลโยธินอยู่ระหว่างการผ่อนผันให้มีการค้าขายได้ในบางจุด (เขตพญาไทมีจุดผ่อนผัน33 จุด) ระหว่างที่สาธารณูปโภค อาทิ ไฟฟ้า น้ำประปา โทรศัพท์ ยังปรับปรุงไม่แล้วเสร็จ ซึ่งการดำเนินการมีผลทำให้ไม่สามารถจัดการทางเท้าตามที่ได้มีการออกแบบไว้แล้วได้ สมคิดกล่าวด้วยว่า หากมีการปรับปรุงภูมิทัศน์จะไม่มีการผ่อนผันให้ผู้ค้าหาบเร่-แผงลอยอีกต่อไป เพราะถนนพหลโยธินเป็นเส้นทางหลักในการสัญจร และตั้งแต่อนุสาวรีย์ชัยไปจนถึงข้ามคลองบางซื่อเป็นเส้นทางเสด็จ ต้องบริหารเรื่องหน้าตา เพราะดูไม่สวยงาม ส่วนหาบเร่-แผงลอยอาจแก้ปัญหาให้ไปอยู่ในซอย ด้านวรสิทธิ์ ตันตินิพันธ์กุล คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี หนึ่งในคณะผู้ออกแบบทางเท้าย่านถนนพหลโยธิน ทางเท้าต้นแบบของกรุงเทพฯ ตั้งแต่เมื่อปี 2538 เสนอแนวทางแก้ที่ไม่ทำลายหน่วยการผลิตหน่วยย่อยของสังคมอย่างพ่อค้าแม่ค้าริมทางเท้า คือเรื่องการควบคุมอาคารกับตัวทางเท้าวางผังชุมชนเมืองขนาดย่อม ควบคุมแลนด์ยูสหรือการใช้ที่ดินและระบบกิจกรรมในพื้นที่ โดยการจัดระเบียบควรให้ความสำคัญกับทุกชีวิตที่อยู่บนท้องถนน ทั้งนี้ ตามรายงานการศึกษา “คุณลักษณะสำคัญของทางเท้าที่เป็นมิตรกับคนเดินเท้าเพื่อส่งเสริมการเดินทางไป-กลับในพื้นที่กึ่งเมืองโดยไม่ใช้เชื้อเพลิง: การสำรวจความสามารถในการเดินเขตลาดกระบัง” เมื่อปี2553 คณะนักวิจัยมีข้อเสนอกรณีสิ่งกีดขวางชั่วคราว เช่น ผู้ค้าแผงลอยร้านกาแฟข้างทางเท้าร้านค้าริมทางไว้ว่า ควรจะได้รับการส่งเสริมและจัดวางตัวอยู่บนเนื้อที่ที่กำหนด เพื่อสร้างเสริมสภาพแวดล้อมคนเดินเท้า โดยไม่ละเมิดความกว้างที่มีประสิทธิผลของทางสัญจรด้วยเท้า สิ่งกีดขวางชั่วคราวควรจะเป็นสิ่งกีดขวางที่ได้รับการต้อนรับจากคนเดินเท้า และเสริมสร้างกิจกรรมการเดินเท้า นั่นคือข้อเสนอหนึ่งเพื่อการอยู่ร่วมกัน 000 โครงการประกวดภาพถ่าย “ทางเท้า...เล่าเรื่อง” กิจกรรมภายใต้โครงการ “Community Desirable/ Undesirable Walkway” เพื่อเปิดให้ประชาชนทั่วไปมาบอกบอกเล่าเรื่องราวและแนวคิดเกี่ยวกับทางเท้า ทั้งที่พึงปรารถนาและไม่พึงปรารถนาของชุมชน กวิน ชุติมา เลขาธิการชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย กล่าวแสดงความคาดหวังว่า การเปิดรับภาพถ่ายจากทั่วประเทศเข้าร่วมประกวดในครั้งนี้จะเป็นการกระตุ้นความสนใจให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมนำเสนอสิ่งดีๆ เพื่อการเปลี่ยนแปลง ไม่ใช่ปล่อยให้รัฐดำเนินการจนเกิดปัญหาภายหลัง แล้วค่อยมารวมตัวกันเรียกร้อง กวินกล่าวด้วยว่า พื้นที่ถนน-ทางเท้าเป็นพื้นที่สาธารณะซึ่งทุกคนควรมีสิทธิในการได้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน ไม่ใช่อำนวยความสะดวกให้เฉพาะคนมีรถ โดยละเลยคนส่วนใหญ่ที่ต้องใช้ทางเท้าในการสัญจร เรื่องทางเดินเท้า... สะท้อนให้เห็นถึงความจำนนต่อสภาพแวดล้อมที่ถูกกำหนดมาให้ซึ่งมันมีผลต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนทุกคน ตามทัศนะของ นพ.อนุศักดิ์ คงมาลัย รองประธานชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย และประธานคณะกรรมการกำกับทิศทางโครงการผลักดันการเดิน และการใช้จักรยานไปสู่นโยบายสาธารณะของประเทศไทย ในการร่วมแถลงข่าวเปิดตัวโครงการฯ นพ.อนุศักดิ์กล่าวด้วยว่าเรื่องทางเท้าเป็นเรื่องเล็กๆ ที่สำคัญในขณะเดียวกันก็เป็นเรื่องสำคัญที่ถูกทำให้เป็นเรื่องเล็กๆ น่าจะต้องเรียกร้องความสนใจจากทั้งชุมชน-คนทั่วไปในฐานะผู้ใช้ และผู้รับผิดชอบดูแลจัดสภาพแวดล้อมในฐานะผู้ใช้งบประมาณ ส่วนสมคิดเสนอให้ส่งรูปที่พิจารณารางวัลแล้วเสนอต่อ กทม.ดูเป็นแนวทางที่เหมาะสม เพื่อการนำไปใช้ให้เกิดเป็นผลดีต่อเนื่องต่อไป เพราะปัจจุบันแต่ละเขตพื้นที่ไม่มีรูปแบบไม่รู้จะจัดการอย่างไร ตัวแทนจากสำนักงานเขตพญาไทกล่าวด้วยว่า กระบวนการหาก กทม.เห็นชอบก็จะมีการแจ้งให้ทั้ง 50 เขตในกรุงเทพฯ มาประชุม เพื่อกำหนดแนวทางการจัดการทางเท้าที่ดีให้เป็นรูปแบบเดียวกันต่อไป 000 ภาพชินตาของระบบถนนในเมืองใหญ่ คือการที่พื้นที่ทางเท้าถูกลดขนาดลงเรื่อยๆ เพื่อใช้เป็นพื้นที่ถนนให้รถราได้สัญจรไปมา ขณะที่ใต้อาคารบางหลังทางเท้าถูกใช้เป็นที่จอดรถ เพราะอาคารที่สร้างมาเป็นเวลานานก่อนการขยายตัวของเมือง ไม่ได้คิดเรื่องที่จอดรถเตรียมไว้ ส่วนจักรยานยนต์ก็ใช้ทางเท้าเพื่อหลีกเลี่ยงการจราจรที่แออัด-ย่นระยะทาง อีกทั้ง ทางเท้าบางแห่งพื้นที่ไม่มากนักแต่ก็ยังมีการแบ่งพื้นที่เพื่อปลูกไม้ประดับ โดยอ้างความสวยงามและพื้นที่สีเขียวเพื่ออากาศที่ดี (?) ในขณะที่ปอดของเมืองตัวจริงอย่างต้นไม้ใหญ่กลับไม่ถูกดูแล เหล่านี้คือปัญหาจากความไม่ใส่ใจต่อคนเดินเท้าที่เราพบเห็น... หากโครงการประกวดภาพถ่ายเล็กๆ สามารถจุดกระแสให้เกิดความเปลี่ยนแปลงที่ดีต่อคุณภาพชีวิตของคนส่วนใหญ่ได้จริง คงเป็นเรื่องที่ดีไม่น้อย .......................................................................................................... หมายเหตุ: ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมโครงการประกวดภาพถ่าย “ทางเท้า... เล่าเรื่อง” กิจกรรมภายใต้โครงการ “Community Desirable/ Undesirable Walkway” บอกเล่าเรื่องราวและแนวคิดเกี่ยวกับทางเท้าที่พึงปรารถนาและไม่พึงปรารถนาของชุมชน ในโครงการผลักดันการเดินและการใช้จักรยานไปสู่นโยบายสาธารณะของประเทศไทยได้ที่ http://www.thaihealth.or.th/about/announcement/29663 และwww.facebook.com/pages/โครงการประกวดภาพถ่าย-ทางเท้า-เล่าเรื่อง ลงทะเบียนรับหมายเลขภาพที่ www.thaicyclingclub.org ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
บทบาทการสื่อสารของผู้เชี่ยวชาญภาษาศาสตร์ Posted: 30 Jul 2012 02:58 AM PDT บูราฮานูดิน อุเซ็ง แปลและเรียบเรียงบทความจากนิตยสาร GATRA ของอินโดนีเซีย โดยเป็นตอนที่ 5 ของชุด "ถอดบทเรียนสันติภาพในอาเจะห์จากหนังสือพิมพ์" ซึ่งนำเสนอกระบวนการสันติภาพในอาเจะห์ โดยเฉพาะการเจรจาระหว่างผู้นำรัฐบาลอินโดนีเซียและผู้นำขบวนการอาเจะห์เสรี (Free Aceh Movement หรือ GAM) ที่กรุงเฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์เมื่อปี 2548 โดยมีอดีตประธานาธิบดีชาวฟินแลนด์ มาร์ตติ อาห์ติสสารี เป็นผู้ไกล่เกลี่ย ทั้งนี้ บทความในชุด "ถอดบทเรียนสันติภาพในอาเจะห์จากหนังสือพิมพ์" นำมาจากภาคผนวกหนังสือ Unseen the scenes behind the Aceh Peace Treaty ซึ่งมี Salim Shahab & E.E Siadari บรรณาธิการร่วม ที่รวบรวมบทความที่เคยตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์ต่างๆ เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งด้วยสันติวิธี 0000 บุคคลหนึ่งที่ทำงานอย่างไม่เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อย และเป็นผู้อยู่หลังฉากของการพูดคุยสันติภาพเฮลซิงกิ เขาไม่ใช่เป็นนักการเมือง และทั้งไม่ใช่เป็นนักการทูต คนนั้นคือ ยูฮา คริสเท็นเซ็น ชาวฟินแลนด์อายุ 47 ปี มีฐานะตำแหน่งที่ปรึกษาทางธุรกิจในเฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ ก่อนหน้านั้นหลายปี ยูฮาและภรรยา เปิรกโก คริสเท็นเซ็น (Pirkko Christensen ) อาศัยอยู่สุลาเวซีใต้ เป็นเวลานานถึง 3 ปี ทั้งสามีและภรรยาคู่นี้เป็นผู้เชี่ยวชาญ ด้านสังคมวิทยาภาษาศาสตร์ในภูมิภาคนี้ รวมถึงภาษาต่างๆ ในภูมิภาคสุลาเวซีใต้ ขณะที่พวกเขาทำงานอยู่ในมากัสสาร์ ยูฮา มักจะแวะมาเยี่ยมเยียน ฟาริด ฮูเซ็น ที่แคมปัสมหาวิทยาลัยฮาซานุดดีน ฟาริด ฮูเซ็น ศัลยแพทย์ และในฐานะอาจารย์ผู้บรรยายอาวุโส นักศึกษาแพทย์มหาวิทยาลัยฮาซานุดดีน และมีความสนิทสนมและเป็นเพื่อนที่สนิทกัน “ยูฮา และภรรยา มักจะมาพักที่บ้านของผมเสมอ” ฟาริด ฮูเซ็น ผู้อำนวยการทั่วไป กองบริการการแพทย์ในกรมการสุขภาพอนามัย กล่าว ในยุคของประธานาธิบดีเมกาวาตี ซูการโนปุตรี ท่านยูซุฟ กัลลา ชักชวนฟาริด ฮูเซ็นมาเป็นผู้ช่วยงาน การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในอาเจะห์ ฟาริดจึงนึกถึงยูฮา เพื่อนเก่าชาวฟินแลนด์ทันที ทั้งๆ ที่อยู่ห่างไกลกัน ฟาริด และยูฮาได้ติดต่อทางโทรศัพท์เสมอเป็นแรมปี “ยูฮามักพูดเสมอๆว่า เขารู้จักแกนนำสมาชิกขบวนการอาเจะห์เสรี ในประเทศสวีเดน“ ฟาริดกล่าวว่า ยูฮาสัญญาว่าเขาจะช่วยประสานงาน และจัดให้มีการพบปะประชุมกับพวกเขา ฟาริดบินไปฟินแลนด์ ก่อนที่จะบินไปพบขบวนการอาเจะห์เสรีที่สต๊อคโฮล์ม ดังที่ได้กล่าวไป แต่เขามีโอกาสเพียงพบในห้องล็อบบี้ของโรงแรมเท่านั้น “ผมในฐานะประชาชนชาวอินโดนีเซีย ผมจึงไม่เดินเข้าไปหาพวกเขาก่อน” ฟาริดกล่าว ความพยายามในการแก่ไขความขัดแย้งในอาเจะห์ได้ถูกเลื่อนไป เนื่องจากประเทศอินโดนีเซียอยู่ในระหว่างการหาเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดี โดยท่านยูซุฟ กัลลา ได้รับการเลือกตั้งอีกครั้งหนึ่งและได้รับการแต่งตั้งเป็นรองประธานาธิบดีร่วมทีมกับท่านศุสิโล บัมบัง ยุทธโยโน ในฐานะประธานาธิบดี หลังชนะการเลือกตั้งอย่างถล่มทลาย ดังนั้น ความพยายามในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในอาเจะห์ จึงได้มีการหยิบยกมาอีกครั้งหนึ่ง ฮามิด อะวาลุดดีน (Hamid Awaluddin) นำคณะผู้แทนสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ในนั้นมี ฟาริด ฮูเซ็นร่วมคณะด้วย เพื่อทำหน้าที่ในการเจรจากับขบวนการอาเจะห์เสรี ฟาริดจึงชักชวนยูฮาเข้ามาช่วยอีกแรงในฐานะเป็นผู้ติดต่อประสานงานกับท่าน มาร์ตติ อะห์ติซารี อดีตประธานาธิบดีชาวฟินแลนด์ ประธานองค์กร ซ๊เอ็มไอ (CMI :The Crisis Management Initiative Organization : องค์กรริเริ่มเพื่อการบริหารจัดการภาวะวิกฤติ) ยูฮาร้องขอท่านมาร์ตติ เพื่อให้ความช่วยเหลือประเทศอินโดนีเซียในการแก้ไขปัญหากับขบวนการอาเจะห์เสรี และเป็นผู้ช่วยในการจัดการให้มีการพบปะประชุมกับฟาริด ฮฺเซ็น เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2547 และฟาริด ยังได้ร้องขอให้ท่านช่วยเป็นคนกลางไกล่ในการพูดคุยสันติภาพอย่างไม่เป็นทางการระหว่างอินโดนีเซีย และขบวนการอาเจะห์เสรี ต่อมาท่านมาร์ตติรับปากตกลง ในการพูดคุยสันติภาพ ระหว่างสาธารณะรัฐอินโดนีเซีย และขบวนการอาเจะห์เสรี ยูฮาได้ทำหน้าที่เป็นคนกลางในการไกล่เกลี่ย เขาเป็นเสมือนตัวแทนนายหน้าของแกนนำขบวนการอาเจะห์เสรีในสวีเดน และนำพวกเขามาสู่โต๊ะเจรจาที่เฮลซิงกิ
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น