โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันพฤหัสบดีที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

ขัดแย้งในอาเจะห์ร่วม 29 ปีแล้ว ทำไม่ไม่ลงเรือลำเดียวกัน?

Posted: 19 Jul 2012 02:41 PM PDT

บูราฮานูดิน อุเซ็ง แปลและเรียบเรียงบทความจากวิทยุสากลเนเธอร์แลนด์ โดยเป็นตอนที่สองของชุด "ถอดบทเรียนสันติภาพในอาเจะห์จากหนังสือพิมพ์" ซึ่งนำเสนอกระบวนการสันติภาพในอาเจะห์ โดยเฉพาะการเจรจาระหว่างผู้นำรัฐบาลอินโดนีเซียและผู้นำขบวนการอาเจะห์เสรี (Free Aceh Movement หรือ GAM) ที่กรุงเฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์เมื่อปี 2548 โดยมีอดีตประธานาธิบดีชาวฟินแลนด์  มาร์ตติ อาห์ติสสารี เป็นผู้ไกล่เกลี่ย

ทั้งนี้ บทความในชุด "ถอดบทเรียนสันติภาพในอาเจ๊ะห์จากหนังสือพิมพ์" นำมาจากภาคผนวกหนังสือ Unseen the scenes behind the Aceh Peace Treaty ซึ่งมี Salim Shahab & E.E Siadari บรรณาธิการร่วม ที่รวบรวมบทความที่เคยตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์ต่างๆ เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งด้วยสันติวิธี 
 
 
0000
 
วันศุกร์ที่ผ่านมา ดร.ฟาริด ฮูเซ็น  พักอาศัยอยู่ที่เรือนรับรองของรัฐบาลฟินแลนด์จัดให้ ที่เมือง วานต้า (Vantaa) ห่างจากใจกลางเมือง เฮลซิงกิประมาณ 25 กิโลเมตร ขณะที่เขานั่งพักผ่อนอยู่ที่ห้องนั่งเล่น เขารีบไปหาผู้แทนคณะเจรจาขบวนการอาเจ๊ะห์เสรี (GAM)  ที่นั่งอยู่สองท่าน  จึงมีการแลกเปลี่ยนพูดคุยกันอย่างฉันท์มิตรในเรื่องทั่วๆไปเกี่ยวกับกรุงเฮลซิงกิ  จากนั้น ขณะที่เขาจะเดินออกจากห้องพักนั่งเล่น  ฟาริดจึงเอื้อนเอ่ยแก่ทั้งสองว่า”ทำไมเราต้องมาอยู่คนละฝ่ายกัน ทำไม่เราไม่มาพายเรือลำเดียวกัน อย่างพวกเรา ทำไม่เราไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เรามาร่วมกันสร้างสรรอาเจะห์ดีกว่า ”
 
ผู้แทนคณะเจรจาขบวนการอาเจะห์เสรีตอบเขาอย่างสุภาพว่า ความขัดแย้งในอาเจะห์มีมากกว่า 29 ปีแล้ว เขากล่าวว่า มันต้องใช้เวลาในการสร้างความเข้าใจ  แบ่งปันกระบวนทัศน์ในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติด้วยความเชื่อถือไว้วางใจ การแสดงความรักต่อกัน 
 
ผู้แทนคณะเจรจาขบวนการอาเจ๊ะห์เสรีอีกท่านกล่าวว่า หากเราไม่สามารถแบ่งปันวิสัยทัศน์ ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เราก็ไม่อาจที่จะพายเรือลำเดียวกันได้ การที่เราได้มาโต้เถียงทะเลาะกันก่อนในวันนี้ เท่านั้นจะเป็นทางออกและประกันว่าเรือจะถึงจุดหมายสุดท้าย ไม่มีผู้ใดที่จะตอบสนอง เราทั้งหมดคือผู้เป็นหลักที่จะนำมันมาพูดคุยกันอย่างไม่เป็นทางการในบ้านรับรองนี้
 
การพูดคุยกันอย่างไม่เป็นทางการสิ้นสุดลงในสัปดาห์นั้น  เป็นการสิ้นสุดการเจรจารอบที่ 3 โดยการเจรจารอบที่ 1 ระหว่างวันที่ 27  29 มกราคม 2548 และการเจรจารอบที่ 2 ระหว่างวันที่  21 – 23 กุมภาพันธ์ 2548 เกิดขึ้นในสถานที่เดียวกัน
 
การถกเถียงในเรื่องเดียวกันอาจกระทำกันซ้ำๆ ซากๆในการเจรจากันมากกว่าหนึ่งถึงสองครั้ง  การทบทวนย้อนกลับพิจารณาข้อความหรือกระทำซ้ำในหัวข้อเดียวกัน เกิดขึ้นบ่อยครั้ง  เพราะเป็นเรื่องที่น่าสนใจที่จะตั้งข้อสังเกตในเรื่องหรือประเด็นมีความเห็นต่างกัน และทั้งสองฝ่ายใช้ถ้อยที่ถ้อยอาศัยด้วยอัธยาศัยที่ดีต่อกันและผู้เจรจาต่างปรับทัศนคติที่ดีต่อกัน เมื่อเขาแยกกันออกจากโต๊ะเจรจา พวกเขาจะพูดคุยกันอย่างมีอัธยาศัยไมตรี และมีการพูดหยอกเหย้ากัน ด้วยเรื่องตลก เฮฮาตลอด แต่เมื่อเขามานั่งบนโต๊ะเจรจา เผชิญหน้ากันบนโต๊ะเจรจาทั้งสองฝ่ายจะใช้ภาษา คำพูด หนักแน่นจริงจังเป็นงานเป็นการอย่างเป็นทางการ
 
หัวหน้าคณะผู้แทนเจรจาฝ่ายอินโดนีเซีย นำทีมโดย ฮามิด อะวาลุดดีน (Hamid Awaluddin) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกฎหมายและสิทธิมนุษยชน เป็นผู้นำเสนอข้อเสนอที่มีการเตรียมมาอย่างดีแล้วต่อผู้แทนคณะเจรจาขบวนการอาเจะห์เสรี เป็นข้อเสนอที่เรียกร้องให้ยุติความเป็นปรปักษ์ ความเกลียดชังที่มีต่อกัน  เรียกร้องให้มีการวางอาวุธและเชิญชวนมาร่วมกันในการฟื้นฟูสันติภาพ ปรองดองสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และการสร้างความเจริญความมั่งคั่งให้กับอาเจะห์
 
คณะผู้แทนเจรจาฝ่ายสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ยังเสนอ ให้มีเขตปกครองตนเองพิเศษ, การประกาศนิรโทษกรรม,การเพิ่มเงินกระตุ้นเศรษฐกิจแก่อาเจะห์, การปรับปรุงและฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐานให้มากขึ้น สิ่งที่นำเสนอทั้งหมดนี้  ฮามิด กล่าวเสริมว่า ได้มีการจัดทำเป็นกรอบข้อตกลงทำความเข้าใจแล้วอย่างละเอียดเพื่อเตรียมมอบให้แก่อาเจะห์อย่างถาวร ยิ่งกว่านั้นยังมีข้อเสนอกรอบกฎหมายของเขตปกครองตนเองพิเศษ 18,2001 ด้วย
 
การเพิ่มเงินกระตุ้นเศรษฐกิจประเภทต่างๆ มีมูลค่าราว 10 ล้านล้านรูเปียส (ราว XXX บาท) รวมถึงโครงการพัฒนาถนน สะพาน การศึกษา ปรับปรุงพัฒนาความสะดวกด้านคมนาคมการขนส่งทั้งทางอากาศ ทางบก และทางทะเลและอื่นๆ และขณะเดียวกัน ขบวนการอาเจะห์เสรีจะต้องยุติบทบาท ยอมวางอาวุธ และละเว้นการปลุกระดม การยุยงการก่อการจราจล
 
ฝ่ายขบวนการอาเจะห์เสรีมีข้อเสนออะไรบ้าง ? ข้อเสนอของฝ่ายขบวนการอาเจะห์เสรี เป็นรายละเอียดเกี่ยวกับแนวความคิดการปกครองที่มีรัฐบาลของตนเอง การนำเสนอที่เป็นลายลักษณ์อักษร เสนอรัฐบาลสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ครอบคลุมถึงการจัดการด้านเศรษฐกิจ ความมั่นคง และการเมือง สาธารณรัฐอินโดนีเซียรับข้อเสนอและจะตอบเป็นลายลักษณ์อักษรภายในระยะเวลา 2 สัปดาห์ โดยผ่านองค์กรริเริ่มเพื่อการบริการจัดการภาวะวิกฤติ (CMI :The Crisis Management Initiative)
 
ความเข้าใจผิดเกิดกับ คำจำกัดความของคำว่า “รัฐบาลตนเอง” (Autonomy) ต่างฝ่ายต่างตีความตามความเข้าใจของฝ่ายตน  สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ให้คำจำกัดความคำว่า “รัฐบาลตนเอง” หมายถึง “สิทธิการปกครองตนเองพิเศษอย่างกว้างขวาง” แต่สำหรับฝ่ายขบวนการอาเจะห์เสรี ใช้คำจำกัดความชองคำว่า”รัฐบาลตนเอง” หมายถึง”รูปแบบของรัฐอย่างหนึ่ง”
 
“อย่างไรก็ตาม การตีความคำว่า “รัฐ” ของเรา ไม่เหมือน คำว่า “รัฐ”ในความหมายของระบบ สหพันธรัฐ เพราะอินโดนีเซียมีการปกครองแบบรัฐเดี่ยว ที่มีการแยกเป็นปกครองส่วนภูมิภาคเหมือนลักษณะรัฐ แต่มิใช่เป็นรัฐ” นุรจูลี  ผู้แทนฝ่ายขบวนการอาเจะห์เสรี กล่าวและเสริมว่า คำว่า”เขตปกครองตนเองพิเศษ”ความจริงแล้วมีส่วนเสริมความขัดแย้ง  “หากเรายังคงยืนยันที่จะใช้คำว่า “ปกครองตนเองพิเศษ” เราก็จะวนไปวนมาเป็นวงกลมซ้ำแล้วซ้ำอีกเหมือนเดิม ดังนั้นคำจำกัดความไม่ใช่เป้าหมายที่แท้จริง
 
ในการพูดคุยนอกรอบ  ขบวนการอาเจะห์เสรีอธิบายคำว่า รัฐบาลตนเอง เหมือนจังหวัดหนึ่งในการปกครองแบบรัฐเดี่ยวมีเพลงและธงตนเอง มีอำนาจในด้านการจัดการศึกษา การท่องเที่ยว การท่า รวมถึงปัญหาความละเอียดอ่อนในการอนุญาตให้สมาชิกสภาผู้แทนประชาชนมีสิทธิในการยับยั้ง วิโต้ญัตติที่เกี่ยวข้องกับอาเจะห์
 
ข้อเสนอของฺฝ่ายขบวนการอาเจะห์เสรี ค่อนข้างจะเป็นรูปธรรม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมและการประชาสัมพันธ์ผู้หนึ่งที่ร่วมพูดคุยตั้งแต่เริ่มต้นกล่าวว่า ส่วนหนึ่งที่เป็นข้อเสนอของขบวนการอาเจะห์เสรีสามารถรับได้ทันที่ บางส่วนอาจต้องมีการเปลี่ยนแปลงบ้าง และบางส่วนไม่สามารถรับได้เลยเนื่องจากขัดกับบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญของประเทศ
 
การถกเถียงในหัวข้อ “รัฐบาลตนเอง" เป็นหัวข้อที่มีการถกเถียงที่ยืดเยื้อในการถกกันระหว่างรัฐบาลสาธารณรัฐอินโดนีเซีย กับคณะผู้แทนขบวนการอาเจะห์เสรี ที่เมือง วานต้า เฮลซิงกิ
 
ทุกๆ วันยังคงมีการพูดถึงจุดกึงกลางของปัญหาของ รัฐบาลตนเอง และเกี่ยวข้องกับหัวข้อที่เกี่ยวข้อง และแม้ว่าจะเข้าสู่การเจรจารอบที่ 3 แต่ญัตตินี้ยังคงเป็นหัวข้อหลักในการถกเถียงกันต่อไป
 
การพูดคุยดำเนินไปอย่างเชื่องช้า ท่ามกลางการเจรจาตกลงสันติภาพในอาเจะห์  ผู้แทนคณะเจรจาของขบวนการอาเจ๊ะห์เสรีได้นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับภาพพจน์ที่เลวร้ายของรัฐบาลอินโดนีเซีย แม้จะเป็นเรื่องจริงหรือไม่ก็ตาม  แต่ก็ได้สร้างความหัวเสียสร้างบรรยากาศที่เสียหายในการเจรจา เช่นเมื่อ  นูรจูลี รายงานในที่ประชุมว่า เมื่อเร็วๆนี้ หญิงสาวชาวอาเจะห์ถูกชายฉกรรจ์ จำนวน 9 คนทำการละเมิดทางเพศด้วยการข่มขืน และกล่าวเพิ่มเติมว่าชายผู้ต้องสงสัยทั้ง 9 คนเป็นคนของทหารรัฐบาล   ยิ่งกว่านั้น นูรจูลี ยังได้ นำเสนอตัวเลขของกำลังทหารแห่งกองทัพแห่งชาติ อินโดนีเซีย (TNI :Tentera Nasunal Indonesia ) ที่ประจำการในอาเจะห์ ว่ายังไม่มีการลดจำนวนกองกำลังประจำการแต่อย่างใด
 
สถานการณ์เริ่มดีขึ้นเป็นลำดับ เมื่อมีการล็อบบี้ไว้ก่อนหน้าทั้งฝ่ายรัฐบาลอินโดนีเซีย และฝ่ายขบวนการอาเจะห์เสรี ว่าการเสนอข้อเสนอใดๆ ต้องให้มีการรับรองจากทั้งสองฝ่ายก่อนเป็นหลักเหณฑ์  เนื่องจากต้องการสร้างความเป็นเอกภาพจากขั้วทั้งสองฝ่าย และย่อมเป็นที่เข้าใจดีกันว่า ความขัดแย้งในอาเจะห์ เกิดขึ้นเป็นเวลายาวนานถึง 29 ปี ประชาชนทั้งสองฝ่ายต่างตกเป็นเหยื่อของความขัดแย้ง   ความผิดหวัง การพลัดพรากถูกทอดทิ้ง ไม่มีความหวังหมดอาลัยตายอยาก  จึงไม่ต้องการให้มีการพูดถึงเรื่องร้ายๆ และพูดในแง่ร้าย หากยังคงมีการตอกย้ำแล้ว การพูดคุยเพื่อสันติภาพเพื่ออาเจะห์ที่เริ่มต้นด้วยดีแล้ว ก็จะมีผลออกมาเหมือนเดิมๆในที่สุด
 
ก่อนที่การพูดคุยนอกรอบจะเกิดขึ้นที่เฮลซิงกิ  ได้มีการพูดคุยรอบอื่นๆ แล้วที่เมืองเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ การพูดคุยอย่างไม่เป็นทางการนี้พยายามเสนอข้อเสนอเกี่ยวกับชาติและนานาชาติ แต่ก็ประสบความล้มเหลว สันติภาพในอาเจะห์จึงยังคงมืดมน
 
ก่อนจะมีการพูดจาสันติภาพอย่างไม่เป็นทางการในเฮลซิงกิครั้งนี้ การพูดจาเพื่อสันติภาพโคฮา (CoHA : The Cessation of Hostilities  Agreement  ข้อตกลงยุติความเป็นปรปักษ์) ก็เกิดขึ้นมาแล้ว เมื่อ 9 ธันวาคม 2544 ซึ่งผลที่เกิดจากการเจรจาสันติภาพโคฮา ยังไม่เป็นที่พอใจ และฝ่ายขบวนการอาเจะห์เสรีก็ได้กลับคืนสู่ฐานที่มั่นบนภูเขาด้วยกำลังอาวุธเต็มอัตรากำลังทันที
 
บทเรียนจากประสบการณ์ที่ผ่านมา ทั้งสองฝ่ายต่างตระหนักถึงการออกแรงผลักดันอย่างมุ่งมั่นมากแล้ว เขาจึงต้องการให้มีการแสดงออกถึงความตั้งใจที่ดี และการพิจารณาข้อเสนอด้วยความเคารพและให้เกียรติ ด้วยการที่ไม่ต้องการให้กระทบกระทั่งซึ่งกันและกัน มิฉะนั้นแล้วสันติภาพจะไม่เกิดขึ้นในอาเจะห์อย่างแน่นอน
สมาชิกคณะผู้แทนเจรจาฝ่ายอินโดนีเซีย รวมถึง ซอฟญาน เอ ดจาลิล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคมนาคมและการประชาสัมพันธ์  และฟาริด ฮูเซ็น ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสวัสดิการประชาชนยังคงมีทัศนคติที่ดีต่อปัญหาความขัดแย้งในอาเจะห์ ยังคาดหวังว่ายังสามารถแก้ไขปัญหาความขัดแย้งและสร้างสันติภาพได้
 
“ผมยังมีทัศนคติที่ดี มองในแง่ดีเสมอว่า คณะผู้แทนทั้งสองฝ่ายจะต้องประสบความสำเร็จในภารกิจการเจรจาและสามารถเข้าถึงการตกลงสันติภาพในอาเจะห์อย่างแท้จริง   การมองในแง่ดีนี้ เป็นสิ่งที่ทำให้เพื่อนของผม และผมเข้าถึงอาเจะห์ “ ฟาริดกล่าว ตามความเข้าใจนั้น การเจรจานอกรอบยังต้องอาศัยเวลา ทุกคนทำงานด้วยกัน ถกเถียงกันอย่างจริงจังและมีเนื้อหาสาระมากมาย
 
ผู้แทนขบวนการอาเจะห์เสรี ต่างก็มีความรู้สึกเช่นเดียวกัน ไซนี อับดุลลอฮฺ , นุรดี, บัคเตียร์, และนุรจูลี กล่าวกับ ผู้สื่อข่าว KOMPAS ว่า 
 
“หากเราไม่แสดงออกถึงช่องว่างในการถกเพื่อสันติภาพด้วยทัศนะแง่ดีแล้ว เราคงจะไม่มารวมการพูดจาอย่างแน่นอน” นุรดีน กล่าว
 
ส่วนหนึ่งของปัญหาที่กล่าวมาข้างต้น  องค์กรริเริ่มเพื่อการบริการจัดการภาวะวิกฤติ (ซีเอ็มไอ) แก้ไขด้วยการกำหนดเส้นตาย และระยะเวลาของการเจรจา มาเรีย-อีเลนา เคาเวลล์ ผู้ประสานงานการไกล่เกลี่ย กล่าวว่า ได้กำหนดระยะเวลาการไกล่เกลี่ยให้เสร็จภายในเดือนกรกฎาคม   เธอกล่าวว่า หากการเจรจาไม่บรรลุสันติภาพ หรือไม่สามารถลงเอยด้วยความเข้าใจได้ การเจรจาก็จะยุติลง  
 
“เราจะพูดจากันวกวนซ้ำซากเป็นวงกลมทำไม  การที่ซีเอ็มไอกำหนดเส้นตายเป็นแรงจูงใจให้ทั้งสองฝ่ายมีความมุ่งมั่นและจัดการกับปัญหาได้อย่างรวดเร็วเท่าที่จะทำได้

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

อัยการแจงเหตุไม่ฟ้อง ‘โชติศักดิ์’ ไม่ยืนในโรงหนัง ไม่เข้าข่าย “อาฆาตมาดร้าย”

Posted: 19 Jul 2012 11:58 AM PDT

 

วันที่ 19 ก.ค.55 นายวิศิษฐ์ สุขยุคล อัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ 4 กล่าวถึงกรณีที่อัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องนายโชติศักดิ์ กับพวกรวม 2 คน ผู้ต้องหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ กรณีเมื่อวันที่ 20 ก.ย.50 ผู้ต้องหาไม่ยืนแสดงความเคารพระหว่างเปิดเพลงสรรเสริญพระบารมีในโรงภาพยนตร์ ว่า ในการพิจารณาสำนวนของอัยการ เห็นว่าการกระทำของนายโชติศักดิ์กับพวกนั้น เพียงแต่ไม่ได้ลุกขึ้นยืนตรงขณะที่มีการเปิดเพลงสรรเสริญพระบารมีในโรง ภาพยนตร์ เพราะการแสดงความอาฆาตมาดร้ายจะต้องมีการกระทำแสดงให้เห็นด้วย เมื่อไม่ปรากฏพฤติการณ์อันจะมีลักษณะความผิด ในฐานแสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อพระมหากษัตริย์ จึงถือว่าไม่เข้าข่ายตามความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 คดีนี้พนักงานสอบสวน สน.ปทุมวัน ได้สรุปสำนวนมีความเห็นสมควรสั่งไม่ฟ้องให้อัยการ โดยอัยการได้ส่งสำนวนพร้อมความเห็นที่สั่งไม่ฟ้อง ไปยังสำนักงานตำรวจแห่งชาติเพื่อทำความเห็นแล้ว และผบ.ตร. มีความเห็นพ้องกับพนักงานอัยการ คดีจึงเป็นอันยุติไม่ฟ้องคดี

“พฤติการณ์ของนายโชติศักดิ์เป็นลักษณะของกิริยาที่ไม่เหมาะสม หากจะมีกฎหมายที่ให้เป็นความผิด เป็นความผิดจารีตประเพณีที่เป็นกฎหมายเก่า ปี 2485 และมีบทลงโทษให้จำคุก 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท โดยคดีมีอายุ 1 ปี หากมีการดำเนินคดีดังกล่าวแล้ว ถ้าผู้ต้องหาให้การรับสารภาพ พนักงานสอบสวนสามารถเปรียบเทียบปรับได้ แต่หากผู้ต้องหาให้การปฏิเสธ ต้องทำสำนวนส่งให้อัยการตามขั้นตอนกฎหมาย แต่เนื่องจากคดีนี้พนักงานสอบสวนไม่ได้ตั้งข้อหาดังกล่าวมาด้วย คดีจึงหมดอายุความไปแล้ว อย่างไรก็ตามข้อเท็จจริงคดีนี้ไม่สามารถนำไปเป็นบรรทัดฐานในคดีอื่นได้ เพราะแต่ละคดีมีพฤติการณ์ ข้อเท็จจริงที่ปรากฏและพยานหลักฐานแตกต่างกันออกไป” นายวิศิษฐ์กล่าว

วันเดียวกัน ที่รัฐสภา ในการประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2556 ที่มี พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทยฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการฯ ทำหน้าที่เป็นประธาน โดยที่ประชุมมีการพิจารณางบประมาณในส่วนของกรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) นายวัชระ เพชรทอง ส.ส.บัญชีรายชื่อ และกรรมาธิการฯจากพรรคประชาธิปัตย์ ได้ซักถามนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอ หลายเรื่องรวมถึงคดีเกี่ยวข้องกับ “ผังล้มเจ้า” นายธาริต ตอบว่า เรื่องการดำเนินคดีข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพทางดีเอสไอเคยเสนอไปยังรัฐบาล พรรคประชาธิปัตย์ และรัฐบาลเพื่อไทย ให้คดีหมิ่นตามมาตรา 112 เป็นคดีพิเศษโดยอัตโนมัติ แต่ทั้ง 2 รัฐบาลไม่เห็นด้วย ดังนั้น จึงถือว่าคดีหมิ่นนั้นถือเป็นความรับผิดชอบของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

สำหรับการดำเนินคดีกับบุคคลที่มีความผิดตามมาตรา 112 นั้น นายธาริตกล่าวว่า มีผู้ใหญ่เรียกไปพบและแสดงความห่วงใยว่าการดำเนินคดีเกี่ยวกับคดีหมิ่น หากพยานหลักฐานไม่ชัดเจนก็อย่าดำเนินคดี เพราะจะกระทบถึงพระองค์ท่านและขอให้ดีเอสไอใช้ดุลยพินิจอย่างรอบคอบ การดำเนินคดีไม่เป็นประโยชน์หรือผลร้ายต่อพระองค์ท่าน ก็ไม่ควรจะกระทำ และอัยการ ก็ได้เรียกตนไปถ่ายทอดในถ้อยคำดังกล่าวด้วย ซึ่งตนก็เห็นด้วย ดังนั้น การทำงานของพนักงานสอบสวนเรื่องนี้ต้องคำนึงถึงหลายส่วน และดำเนินการตามพยานหลักฐานที่ชัดเจนเท่านั้น

 

 

เรียบเรียงจาก เว็บไซต์แนวหน้า

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ประกาศนิติราษฎร์ ฉบับที่ 35: วัตถุประสงค์ของการก่อตั้งและที่มาของคณะตุลาการพิทักษ์ระบอบรัฐธรรมนูญ

Posted: 19 Jul 2012 10:41 AM PDT

ประกาศนิติราษฎร์ ฉบับที่ ๓๕ (วรเจตน์ ภาคีรัตน์)

วัตถุประสงค์ของการก่อตั้งและที่มาของคณะตุลาการพิทักษ์ระบอบรัฐธรรมนูญ

หลัง จากที่คณะนิติราษฎร์ได้แถลงข้อเสนอให้ยกเลิกบทบัญญัติว่าด้วยศาลรัฐธรรมนูญ ในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันและให้จัดตั้งคณะตุลาการพิทักษ์ระบอบรัฐธรรมนูญ ขึ้นทำหน้าที่แทนนั้น ได้มีข้อวิพากษ์วิจารณ์บางประเด็นเกี่ยวกับความเหมาะสมของการจัดตั้งคณะ ตุลาการพิทักษ์ระบอบรัฐธรรมนูญและที่มาของคณะตุลาการพิทักษ์ระบอบรัฐธรรมนูญ โดยที่ข้อวิจารณ์จำนวนหนึ่งได้พาดพิงถึงความเห็นในอดีตของผู้เขียนเกี่ยวกับ การสรรหาบุคคลเข้าดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระและศาลรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ จึงสมควรที่จะอธิบายเพื่อความเข้าใจให้ถูกต้อง ดังนี้

๑. การที่คณะนิติราษฎร์เสนอให้ยกเลิกศาลรัฐธรรมนูญ เป็นเพราะคณะนิติราษฎร์เห็นว่าศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไป ตามภารกิจที่รัฐธรรมนูญมอบไว้ การตัดสินคดีในรอบระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมาทำให้ผู้คนจำนวนไม่น้อยเคลือบแคลง สงสัยว่าศาลรัฐธรรมนูญได้เข้าไปเป็นฝักฝ่ายในทางการเมือง และแสดงออกซึ่งความต้องการทางการเมืองผ่านคำวินิจฉัย ซึ่งในหลายกรณีเป็นที่โต้แย้งอย่างมากในทางนิติศาสตร์  เช่น คดีปราสาทพระวิหาร คดีนายกรัฐมนตรีสาธิตการทำอาหาร และคดียุบพรรคพลังประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคดีเกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มรัฐธรรมนูญอันเป็นคดีล่าสุดที่ ศาลรัฐธรรมนูญขยายขอบเขตอำนาจของตนเข้ามาในแดนอำนาจแก้ไขเพิ่มเติมรัฐ ธรรมนูญของรัฐสภา มีผลเป็นการระงับยับยั้งกระบวนการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญซึ่งระบบกฎหมาย ไทยในปัจจุบันไม่มีบทบัญญัติใดให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญกระทำการเช่นนั้นได้  และการแก้ปัญหาโดยการถอดถอนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญออกจากตำแหน่งเห็นได้ชัดจาก โครงสร้างของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันว่ายากที่จะเป็นไปได้

๒. การยกเลิกบทบัญญัติเกี่ยวกับศาลรัฐธรรมนูญและก่อตั้งคณะตุลาการพิทักษ์ระบอบ รัฐธรรมนูญขึ้นแทนนั้น นอกจากจะทำให้คณะตุลาการพิทักษ์ระบอบรัฐธรรมนูญเริ่มต้นวินิจฉัยคดีรัฐ ธรรมนูญโดยไม่ต้องคำนึงและผูกพันกับแนวคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ผ่านมา แล้ว ยังทำให้สามารถเปลี่ยนแปลงที่มาของบุคคลผู้ทำหน้าที่รักษาไว้ซึ่งความเป็น กฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญได้ทั้งหมด และโดยคุณสมบัติที่คณะนิติราษฎร์เสนอไว้ไม่ให้ผู้ที่จะเข้าดำรงตำแหน่ง ตุลาการพิทักษ์ระบอบรัฐธรรมนูญเป็นหรือเคยเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญหรือ ตุลาการรัฐธรรมนูญ ต้องไม่เคยดำรงตำแหน่งใดๆตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับชั่วคราว พุทธศักราช ๒๕๔๙ (เช่น รัฐมนตรี สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ  ฯลฯ) หรือตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คตส. หรือองค์กรอิสระต่างๆ เช่น ปปช. ฯลฯ) ย่อมหวังว่าจะได้บุคคลกลุ่มใหม่ซึ่งมีแนวความคิดที่แตกต่างจากบุคคลกลุ่ม เดิมๆซึ่งกุมสภาพความเป็นไปในการใช้กฎหมายอยู่ในเวลานี้ อันจะทำให้กระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ดำเนินไปได้อย่างราบรื่นภายใต้ หลักนิติรัฐประชาธิปไตย

๓. ประเด็นที่มีผู้วิพากษ์วิจารณ์ข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์ค่อนข้างมากก็คือ ประเด็นที่มาของคณะ ตุลาการพิทักษ์ระบอบรัฐธรรมนูญ คณะนิติราษฎร์เสนอให้มีคณะตุลาการพิทักษ์ระบอบรัฐธรรมนูญจำนวนแปดคน โดยให้องค์กรสามองค์กรเป็นผู้มีอำนาจเลือกบุคคลเข้าสู่ตำแหน่งเป็นตุลาการ พิทักษ์ระบอบรัฐธรรมนูญ คือสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และคณะรัฐมนตรี เพื่อไม่ให้กระบวนการคัดเลือกตุลาการพิทักษ์ระบอบรัฐธรรมนูญซับซ้อนจนเกินไป เนื่องจากคณะนิติราษฎร์มุ่งประสงค์คณะตุลาการพิทักษ์ระบอบรัฐธรรมนูญให้เป็น องค์กรทดแทนศาลรัฐธรรมนูญไปพลางก่อนในระหว่างที่ยังจำเป็นต้องใช้รัฐธรรมนูญ ฉบับปัจจุบัน จึงกำหนดกระบวนการคัดเลือกให้ถ่วงดุลกันระหว่างประธานองค์กรที่คัดเลือกกับ องค์กรที่คัดเลือก (ผู้ทรงคุณวุฒิทางรัฐธรรมนูญที่ไม่มีลักษณะต้องห้าม) คือ ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรเสนอรายชื่อสามรายชื่อให้สภาผู้แทนราษฎรให้ความเห็น ชอบ ประธานวุฒิสภาเสนอรายชื่อสองรายชื่อให้วุฒิสภาให้ความเห็นชอบ นายกรัฐมนตรีเสนอรายชื่อสามรายชื่อให้คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ เฉพาะการเสนอชื่อของประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานวุฒิสภานั้น ให้ประธานแต่ละสภาต้องเสนอชื่อบุคคลที่เป็นหรือเคยเป็นผู้พิพากษาศาลฎีกา หรือตุลาการศาลปกครองสูงสุดอย่างน้อยหนึ่งรายชื่อ ซึ่งจะทำให้คณะตุลาการพิทักษ์ระบอบรัฐธรรมนูญมีบุคคลที่เป็นหรือเคยเป็นผู้ พิพากษาตุลาการอย่างน้อยสองคนจากแปดคน (อาจมากกว่านี้ก็ได้) หรืออย่างน้อยหนึ่งในสี่ของตุลาการพิทักษ์ระบอบรัฐธรรมนูญทั้งหมด ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการดำเนินกระบวนพิจารณาข้อพิพาททางรัฐธรรมนูญซึ่ง ต้องใช้ความรู้ในทางกฎหมายวิธีสบัญญัติ

๔. ข้อเสนอดังกล่าวได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ว่าจะทำให้ฝ่ายการเมืองครอบงำคณะ ตุลาการพิทักษ์ระบอบรัฐธรรมนูญโดยไม่มีหนทางแก้ไขได้ และขัดกับความเห็นของผู้เขียนที่เคยวิจารณ์กระบวนการสรรหาบุคคลเข้าสู่ ตำแหน่งในองค์กรอิสระและศาลรัฐธรรมนูญในรัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ ที่ผู้เขียนวิจารณ์ในลักษณะที่ว่าไม่เปิดโอกาสให้ฝ่ายค้านมีส่วนร่วมและทำ ให้ฝ่ายที่มีเสียงข้างมากสามารถครอบงำองค์กรอิสระได้ทั้งหมดดังปรากฏในบท ความเรื่อง “โครงสร้างและกลไกในรัฐธรรมนูญกับอำนาจของนายกฯทักษิณ” ที่ผู้เขียนได้เขียนไว้ใน พ.ศ.๒๕๔๗ ผู้เขียนได้ตรวจสอบข้อวิพากษ์วิจารณ์ดังกล่าวแล้วโดยเฉพาะข้อวิจารณ์จากสภา ทนายความ ไม่พบว่าผู้วิจารณ์ทั้งหลายได้ศึกษาโครงสร้างของรัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ และสภาพการณ์ทางการเมืองในเวลานั้นเปรียบเทียบกับโครงสร้างของรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ ตลอดจนกลไกการถ่วงดุลตามข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์ให้เข้าใจถ่องแท้เสียก่อน ที่จะวิพากษ์วิจารณ์แต่อย่างใด

๕. ตามรัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ นั้น องค์กรที่ทำหน้าที่ให้ความเห็นชอบบุคคลในการดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐ ธรรมนูญและถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเป็นองค์กรเดียวกัน คือ วุฒิสภา โดยกำหนดให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในขณะนั้นมีที่มาจากสองทางคือจากศาลฎีกาและ ศาลปกครองสูงสุดรวมเจ็ดคน และจากผู้ทรงคุณวุฒิรวมแปดคน เฉพาะส่วนที่มาจากผู้ทรงคุณวุฒินั้นให้มีคณะกรรมการสรรหาประกอบด้วยประธาน ศาลฎีกา อธิการบดี และคณะบดีคณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ และผู้แทนพรรคการเมือง โดยในส่วนของผู้แทนพรรคการเมืองรัฐธรรมนูญกำหนดให้เลือกกันเองให้เหลือสี่คน ซึ่งในทางปฏิบัติเมื่อเลือกกันแล้ว ปรากฏว่าผู้แทนพรรคการเมืองซึ่งเข้าเป็นคณะกรรมการสรรหานั้น เท่าที่ผู้เขียนจำได้ล้วนแล้วแต่มาจากพรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาล (ซึ่งในเวลานั้นมีพรรคไทยรักไทยเป็นแกนกลาง) ทั้งสิ้น ไม่มีผู้แทนพรรคการเมืองฝ่ายค้านเข้าร่วมในกระบวนการสรรหาเลย เมื่อได้รายชื่อแล้วเสนอไปยังวุฒิสภาก็ค่อนข้างชัดเจนว่าในเสียงส่วนใหญ่ใน วุฒิสภาก็สัมพันธ์ใกล้ชิดกับฝ่ายรัฐบาล และเมื่อให้ความเห็นชอบแล้ว อำนาจถอดถอนก็ยังอยู่ที่วุฒิสภาอีกด้วย โครงสร้างในลักษณะเช่นนี้ย่อมเห็นได้ชัดว่าเป็นโครงสร้างที่มีปัญหาระบบ ถ่วงดุล เป็นประโยชน์กับฝ่ายที่กุมเสียงข้างมากในกรรมการสรรหาและวุฒิสภา และการที่ไม่มีฝ่ายค้านร่วมในการสรรหาย่อมมีปัญหาเรื่องความชอบธรรมในแง่ กระบวนการ

๖. ผู้เขียนไม่เห็นด้วยกับโครงสร้างและกลไกในรัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ ในลักษณะดังกล่าวนี้ แม้ในวันนี้ก็ยังยืนยันว่าโครงสร้างในลักษณะดังกล่าวต้องได้รับการปรับปรุง แก้ไข ผู้เขียนได้วิจารณ์ตลอดจนเรียกร้องให้มีการปฏิรูปรัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ เพื่อปรับเปลี่ยนองค์กรอิสระตลอดจนกระบวนการสรรหาบุคคลเข้าดำรงตำแหน่งใน องค์กรอิสระและในศาลรัฐธรรมนูญเรื่อยมา จนกระทั่งในช่วงปลายสมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณฯ ได้เริ่มมีการพูดการปฏิรูปรัฐธรรมนูญ แต่ก็เกิดรัฐประหารเมื่อ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ เสียก่อน ผู้เขียนยืนยันว่าแม้จะเรียกร้องให้มีการปฏิรูปรัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ แต่ผู้เขียนก็ยอมรับในคุณค่าประชาธิปไตย ไม่อาจยอมรับข้อเรียกร้องต่างๆที่มีผลเป็นการล้มล้างรัฐบาลที่มีความชอบธรรม ในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยได้ เช่น การร้องขอนายกรัฐมนตรีพระราชทาน (นายกฯ ม. ๗) และยิ่งไม่อาจยอมรับการทำรัฐประหารล้มล้างรัฐธรรมนูญได้ ผู้เขียนไม่เคยใช้ข้ออ้างว่ารัฐบาลเข้าแทรกแซงองค์กรอิสระไปสนับสนุนให้เกิด การทำรัฐประหารล้มล้างรัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ และเมื่อล้มล้างสำเร็จแล้ว ก็เอาตัวเข้าไปรับใช้การทำรัฐประหาร นำมาซึ่งลาภ ยศ ประโยชน์ต่างๆ ให้แก่ตนเองแล้วอ้างว่าเป็นการทำไปเพื่อคุณธรรม ความดีงาม ดังที่ปรากฏให้เห็นในหมู่นักวิชาการจำนวนหนึ่งและในหมู่ผู้ประกอบวิชาชีพ จำนวนหนึ่งโดยเฉพาะผู้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายแต่อย่างใด

๗. ข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์ที่ให้วุฒิสภา สภาผู้แทนราษฎร และคณะรัฐมนตรี คัดเลือกบุคคลเข้าสู่ตำแหน่งตุลาการพิทักษ์ระบอบรัฐธรรมนูญนั้น เป็นการสร้างความชอบธรรมทางประชาธิปไตยให้คณะตุลาการพิทักษ์ระบอบรัฐธรรมนูญ ซึ่งเมื่อได้รับเลือกให้เข้าดำรงตำแหน่งแล้ว ย่อมได้รับประกันความเป็นอิสระ การที่ให้สภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้คัดเลือกด้วยนั้น ก็เพื่อเปิดโอกาสให้พรรคการเมืองฝ่ายค้านได้อภิปราย โต้แย้ง หรือแม้แต่เสนอชื่อบุคคลให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาเสนอชื่อบุคคลผู้ นั้นเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร อันเป็นการแก้ไขจุดอ่อนของรัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ ที่ผู้เขียนเคยวิจารณ์ไว้ว่าการให้พรรคการเมืองต่างๆส่งผู้แทนมาแล้วเลือก กันเองให้เหลือสี่คนนั้นอาจทำให้ไม่มีผู้แทนของพรรคการเมืองฝ่ายค้านเป็น กรรมการสรรหาเลย และทำให้ฝ่ายค้านไม่มีโอกาสเข้าร่วมในกระบวนการคัดเลือกบุคคลเข้าสู่ตำแหน่ง นอกจากนี้การกำหนดให้นายกรัฐมนตรีเสนอชื่อบุคคลให้คณะรัฐมนตรีเลือกนั้น ยังทำให้ฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรสามารถควบคุมตรวจสอบทางการเมืองได้โดยการ ตั้งกระทู้ถาม หรือแม้แต่การยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจ ยิ่งไปกว่านั้น ถ้าพิจารณาข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์ด้วยใจอันเป็นธรรม ปราศจากอคติแล้ว จะเห็นว่าคณะนิติราษฎร์ได้คงระบบการถอดถอนตุลาการพิทักษ์ระบอบรัฐธรรมนูญออก จากตำแหน่งไว้ โดยองค์กรที่มีอำนาจถอดถอนยังคงเป็นวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ซึ่งหมายความว่าหากตุลาการพิทักษ์ระบอบรัฐธรรมนูญกระทำการอันเป็นการลำเอียง เข้าข้างองค์กรที่เสนอชื่อตน เช่น ตัดสินคดีโดยขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญเข้าเป็นฝักฝ่ายทางการเมืองกับ คณะรัฐมนตรีซึ่งคัดเลือกตนมาเป็นตุลาการพิทักษ์ระบอบรัฐธรรมนูญ วุฒิสภาก็มีอำนาจถอดถอนได้ กรณีจึงต่างจากโครงสร้างในรัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ ที่องค์กรผู้ให้ความเห็นชอบและองค์กรที่ถอดถอนเป็นองค์กรเดียวกันที่ผู้ เขียนเห็นว่าจะทำให้ฝ่ายการเมืองเสียงข้างมากที่อำนาจมากเกินไปจนครอบงำ องค์กรอิสระหรือศาลรัฐธรรมนูญได้

๘. การเสนอรูปแบบคณะตุลาการพิทักษ์รัฐธรรมนูญดังกล่าวมาข้างต้น เป็นการเสนอโดยคำนึงถึงการต่อสู้ในทางอุดมการณ์ที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน ความชอบธรรมทางประชาธิปไตย ความชัดเจนโปร่งใสของการเสนอชื่อ การประกันความเป็นอิสระ และระบบการถอดถอนออกจากตำแหน่ง ทั้งนี้ภายใต้ข้อจำกัดของโครงสร้างของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน หากมีการยกร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ มีการปฏิรูปสถาบันทางการเมืองตลอดจนองค์กรทางรัฐธรรมนูญครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว รูปแบบการของเสนอชื่อบุคคลเข้าสู่ตำแหน่งในองค์กรพิทักษ์ระบอบรัฐธรรมนูญอาจ จะเปลี่ยนไปจากนี้บ้าง แต่จะตั้งอยู่บนหลักนิติรัฐประชาธิปไตยที่มีระบบถ่วงดุลตรวจสอบที่ดี ไม่ใช่องค์กรรูปแบบศาลรัฐธรรมนูญที่เน้นความเป็นอภิชน ความเป็นรัฐตุลาการ หรือรัฐที่ไม่ใช่ประชาธิปไตย

ผู้เขียนหวังว่าข้อเขียนขนาดสั้นเรื่อง นี้จะทำให้ผู้ที่ยังไม่เข้าใจ และกล่าวอ้างความเห็นของผู้เขียนในอดีตเพื่อแย้งกับสิ่งที่ผู้เขียนและคณะ นิติราษฎร์เสนอในปัจจุบันได้เข้าใจสิ่งที่ได้นำเสนอไปอย่างรอบด้านมากขึ้น การวิพากษ์วิจารณ์อย่างสร้างสรรค์และอย่างมีโยนิโสมนสิการ  เคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ นับถือในคุณค่าของประชาธิปไตย เป็นสิ่งที่ผู้เขียนยินดีรับฟังและพร้อมที่จะอภิปรายเพื่อความเจริญงอกงามใน ทางสติปัญญาด้วยเสมอ

๑๙ กรกฎาคม ๒๕๕๕

 

ที่มา: http://www.enlightened-jurists.com/blog/67

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'พลเดช' แจงพร้อมรับข้อร้องเรียนแต่เดินหน้าสรรหา ผอ.ไทยพีบีเอส

Posted: 19 Jul 2012 09:54 AM PDT

(19 ก.ค.55) เว็บไซต์องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย เผยแพร่ข่าว นายแพทย์พลเดช ปิ่นประทีป ประธานกรรมการนโยบาย ชี้แจงกรณีมีข่าว-บทความ วิพากษ์การทำงานของผู้บริหารไทยพีบีเอส ระบุข้อมูลที่ปรากฏมีข้อมูลที่ไม่จริงปะปนอยู่มาก แต่ยินดีรับข้อเสนอแนะมาพิจารณา กรณีจดหมายเปิดผนึกจากผู้อ้างว่าเป็นตัวแทนพนักงานไทยพีบีเอส เอกสารได้ส่งไปที่คณะกรรมการพิจารณาการอุทธรณ์และการร้องทุกข์ของพนักงานซึ่งมีกำหนดประชุมในวันจันทร์ที่จะถึงนี้อยู่แล้ว ชี้ยังไม่เห็นเคยจดหมายร้องเรียนตัวจริง ส่วนตัวเลขของพนักงานที่ระบุว่าเป็นร้อยคน ก็ต้องมีหลักฐาน แต่แม้ว่าจะเป็นเพียงคนเดียวลงชื่อก็จะรับฟัง ขณะที่เรื่องการสรรหาผู้อำนวยการ ส.ส.ท. แม้ว่านายเทพชัย หย่อง จะถอนตัวไปแล้ว แต่ไม่กระทบต่อกระบวนการสรรหาต่อไปแต่อย่างใด

เนื้อหาข่าว มีดังนี้ ...

 

วันนี้ (19 ก.ค. 55) นายแพทย์พลเดช ปิ่นประทีป ประธานกรรมการนโยบาย กล่าวถึงข่าวและบทความที่แพร่ผ่านสื่อสารมวลชนต่างๆ โดยวิพากษ์และมีข้อสังเกตต่อการทำงานของผู้บริหารไทยพีบีเอส โดยเห็นว่า ช่วงเวลาในขณะนี้กำลังมีการเปลี่ยนผ่านที่สำคัญสองเรื่อง คือ การสรรหาผู้อำนวยการและกรรมการนโยบาย ดังนั้นจึงเป็นเรื่องปกติที่สื่อสาธารณะจะต้องถูกตรวจสอบจากสังคม

นายแพทย์พลเดช ปิ่นประทีป ประธานกรรมการนโยบาย ส.ส.ท. กล่าวว่า “ต้องขอขอบคุณสำหรับทุกๆ ความเห็นและความห่วงใยที่มีต่อไทยพีบีเอส ในฐานะสื่อสาธารณะที่คนไทยทุกคนเป็นเจ้าของ ผมได้เห็นข้อมูลและบทความที่เผยแพร่แล้วพบว่า มีทั้งข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงที่ถูกต้องและข้อสังเกตที่ดี มีข้อมูลส่วนที่เป็นความคิดเห็น ข้อเสนอแนะแต่ก็มีข้อมูลที่ไม่จริงปะปนอยู่มาก อย่างไรก็ตามไทยพีบีเอสยินดีรับข้อเสนอแนะเหล่านี้มาพิจารณา”

ประธานกรรมการนโยบายกล่าวเพิ่มเติมว่า กว่า 4 ปี ในการทำหน้าที่สื่อสาธารณะของไทยพีบีเอส มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ชัดหลายเรื่อง รวมทั้งรางวัลที่ได้รับจากหน่วยงานต่างๆ ถึงกว่า 130 รางวัลจาก กว่า 60 หน่วยงาน และผลของการทำหน้าที่ก็ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในสังคม ซึ่งก็เป็นความภาคภูมิใจของคนทำงานทุกคน

“ผมต้องแสดงความชื่นชม คุณเทพชัย หย่อง ผู้อำนวยการ ที่สามารถคุมกระบวนทัพ ทำให้การบริหารตลอด 4 ปี ที่ผ่านมาเป็นไปโดยราบรื่น เราได้ผ่านเหตุการณ์สำคัญๆ อย่างน้อย 4 เรื่องใหญ่ คือ วิกฤติทางการเมืองและน้ำท่วมใหญ่เมื่อปลายปีที่แล้ว เราเน้นการทำงานอย่างอิสระบนฐานของการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่ายอย่างกว้างขวาง ความสำเร็จในวันนี้ คือความสำเร็จร่วมกันทั้งหมดของพนักงานและผู้บริหาร ล่าสุด เมื่อวันที่ 17 ก.ค. 55 ชาวไทยพีบีเอสก็ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ มาทรงเปิดอาคารสำนักงานใหญ่ ซึ่งจะเป็นบ้านที่มั่นคงของเราต่อไป”

สำหรับจดหมายเปิดผนึกจากผู้อ้างว่า เป็นตัวแทนพนักงานไทยพีบีเอสร้องเรียนผ่านประธานกรรมการนโยบาย ซึ่งเผยแพร่ผ่านสื่อต่างๆ นั้น นพ.พลเดชกล่าวว่า ในขณะนี้ทราบว่าเอกสารได้ส่งไปที่คณะกรรมการพิจารณาการอุทธรณ์และการร้องทุกข์ของพนักงาน ซึ่งจะมีกำหนดประชุมในวันจันทร์ที่จะถึงนี้อยู่แล้ว

“เราถือเป็นหน้าที่ซึ่งจะต้องดูแลทุกข์สุขของพนักงานทุกคน หลายประเด็น อาทิ กระบวนการประเมินผลผู้บริหาร เรื่องสวัสดิการ ฯลฯ เหล่านี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ ฝ่ายบริหารเคยได้รับข้อมูลแล้วและกำลังพิจารณาอยู่ แต่จนถึงตอนนี้ยังไม่เห็นจดหมายร้องเรียนตัวจริง ส่วนตัวเลขของพนักงานที่ระบุว่าเป็นร้อยคน ก็ต้องมีหลักฐาน แต่แม้ว่าจะเป็นเพียงคนเดียวลงชื่อเราก็จะรับฟัง”

สำหรับการสรรหาผู้อำนวยการ ส.ส.ท. นพ.พลเดช กล่าวว่า มีผู้สมัครรวม 5 คน เป็น ชาย 4 หญิง 1 คน ซึ่งคณะกรรมการสรรหาฯ ได้ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการพิจารณารอบแรก 3 คน ไปเมื่อวานนี้ แต่เพิ่งได้รับแจ้งการขอสละสิทธิ์การสมัครของนายเทพชัย หย่อง ในเช้าวันนี้ ดังนั้นจึงคงเหลือผู้สมัครสองคนที่จะผ่านเข้าไปสู่กระบวน การสรรหาของคณะกรรมการนโยบาย ในรอบแสดงวิสัยทัศน์และสัมภาษณ์วันที่ 26 ก.ค. 55 คือ นายวสันต์ ภัยหลีกลี้ และนายสมชัย สุวรรณบรรณ โดยไม่กระทบต่อกระบวนการสรรหา

ในวันนี้ คณะกรรมการนโยบายได้มีการประชุมประจำเดือน โดยที่ประชุมได้เห็นชอบการแต่งตั้ง รศ.มาลี บุญศิริพันธ์ ทำหน้าที่รักษาการประธานกรรมการนโยบาย แทน นพ.พลเดช ปิ่นประทีป ที่ลาออกจากตำแหน่งประธาน เนื่องจากได้ลงสมัครเพื่อเข้ารับการสรรหากรรมการนโยบาย ส.ส.ท. จึงต้องการให้เกิดความโปร่งใส

คณะกรรมการนโยบายที่จะครบวาระในการดำรงตำแหน่ง 4 ปีวันที่ 2 ส.ค. 55 มี จำนวน 5 คน ได้แก่ ด้านบริหารจัดการองค์การ จำนวน 2 คนคือ นพ.พลเดช ปิ่นประทีป และนางจินตนา พันธุฟัก ด้านด้านการส่งเสริมประชาธิปไตย การพัฒนาชุมชน หรือ ท้องถิ่นการเรียนรู้และศึกษา การคุ้มครองและพัฒนาเด็ก เยาวชนหรือครอบครัวหรือการส่งเสริมสิทธิของผู้ด้อยโอกาสทางสังคม จำนวน 3 คน ได้แก่ นางมัทนา หอมลออ รศ.ดร.อรศรี งามวิทยาพงศ์ และนายกมล กมลตระกูล

ทั้งนี้ คณะกรรมการสรรหากรรมการนโยบาย ซึ่งมีตัวแทนจาก 15 องค์กรตามกฎหมาย จะประชุมเพื่อคัดเลือกผู้สมัครในรอบแรกวันที่ 23 ก.ค. 55 ให้เหลือจำนวนไม่น้อยกว่าสองเท่าของที่ต้องการ เพื่อแสดงวิสัยทัศน์ต่อหน้าคณะกรรมการสรรหาฯ ในวันที่ 27 ก.ค. 55 ก่อนนำรายชื่อผู้ผ่านการพิจารณเสนอต่อนายกรัฐมนตรีให้ลงนามแต่งตั้งภายในสิ้นเดือน ก.ค.นี้ ต่อไป


 

 

ที่มา: พลเดชแจง เดินหน้าสรรหา ผอ.ไทยพีบีเอส พร้อมรับข้อร้องเรียนพนักงานเพื่อปรับปรุงการทำงานสื่อสาธารณะให้ดีขึ้น

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ดามาสกัสปะทะหนัก หลังเหตุระเบิดสังหารเจ้าหน้าที่ระดับสูงของซีเรีย

Posted: 19 Jul 2012 09:53 AM PDT

ซีเรียกำลังเข้าสู่ช่วงการเปลี่ยนแปลงสำคัญเมื่อฝ่ายต่อต้านโหมรุกหนักจนปะทะกับฝ่ายรัฐบาลในหลายจุดของเมืองหลวงจนเป็นเหตุให้ผู้นำระดับสูงหลายคนได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต สหรัฐฯ เชื่อ ปธน. อัสซาดกำลังสูญเสียอำนาจ

19 ก.ค. 2012 - กองกำลังฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายต่อต้านเปิดฉากต่อสู้กันอย่างดุเดือดในหลายพื้นที่ของกรุงดามาสกัส เมืองหลวงของซีเรีย หนึ่งวันหลังจากเกิดเหตุระเบิดศูนย์บัญชาการกลางของซีเรียจนเป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่ระดับสูงของประธานาธิบดีบาชาร์ อัล-อัสซาด เสียชีวิต
 
กลุ่มนักกิจกรรมในซีเรียรายงานว่ามีกลุ่มควันดำลอยขโมงอยู่เหนือกรุงดามาสกัส เมื่อวันที่ 19 ก.ค. 2012 จากการที่กองทัพได้ยิงอาวุธหนักโจมตีย่าน คาบูน และบาร์เซห์ ขณะที่ในย่าน อัล-มีดาน และซาฮีรา มีเหตุปะทะ และมีเสียงระเบิดดังหลายครั้งในย่าน มาชรู-ดูมาร์
 
เหตุรุนแรงยังได้เกิดขึ้นในย่าน อิคลาสใกล้กับทำเนียบรัฐบาลหลังจากที่กลุ่มกบฏได้โจมตีกองกำลังฝ่ายเดียวกับอัสซาดที่มีทั้งรถหุ้มเกราะ, เฮลิคอปเตอร์จู่โจม และมีการปิดกั้นทางจราจรภายในเมือง
 
กลุ่มสิทธิมนุษยชนในซีเรียรายงานว่า ด้านฝ่ายกบฏของซีเรียได้ยิงจรวดติดระเบิดใส่สถานีตำรวจในย่านเดเดด อาร์ตูซ เป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่เสียชีวิตอย่างน้อย 5 ราย ขณะที่หัวหน้าคณะผู้ตรวจการของยูเอ็นเตือนว่าซีเรียไม่อยู่ในลู่ทางที่นำไปสู่สันติได้
 
พลตรี โรเบิร์ท มูด หัวหน้าคณะผู้ตรวจการชาวนอร์เวย์ ผู้นำทีมผู้ตรวจการ 300 คนเข้าไปตรวจสอยการหยุดยิงในซีเรียซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นเลย เขากล่าวว่าภารกิจในครั้งนี้ไม่เป็นผล
 
เซนา โคดร์ ผู้สื่อข่าวอัลจาซีร่ารายงานจากกรุงเบรุต ประเทศเลบานอน บอกว่าประขาขนจำนวนมากเชื่อว่าเหตุการณ์ล่าสุดเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของซีเรีย
 
"การต่อสู้ในกรุงดามาสกัสดำเนินมาเป็นวันที่ 5 แล้ว และเริ่มเข้าใกล้ฐานอำนาจของประธานาธิบดีซีเรีย" ผู้สื่อข่าวอัลจาซีร่ากล่าว "เกียรติภูมิของรัฐบาลนี้ถูกทำลายไปแล้ว การศูนย์เสียอำนาจควบคุมดามาสกัสหมายความว่าในตอนนี้รัฐบาลกำลังสูญเสียอำนาจควบคุมประเทศอย่างช้าๆ"
 
กลุ่มสิทธิมนุษยชนในซีเรียรายงานว่า มีประชาชนมากกว่า 200 รายถูกสังหารในวันที่ 18 ก.ค. ที่ผ่านมา ส่วนใหญ่เป็นประชาชน รวม 38 รายในดามาสกัส ที่ฝ่ายกบฏใช้แผนการรุกแบบทุ่มสุดตัว
 
เหตุระเบิดวันที่ 18 ก.ค.
กรณีเหตุระเบิดในวันที่ 18 ก.ค. เป็นครั้งแรกที่มีเป้าหมายเป็นกลุ่มคนวงในของอัสซาดนับตั้งแต่การประท้วงดำเนินมานานกว่า 16 เดือน มีคนกล่าวหาว่าเหตุระเบิดเกิดขึ้นจากฝีมือของบอดี้การ์ดที่เข้าร่วมการประชุมของผู้นำฝ่ายความมั่นคงในฐานบัญชาการ ทำให้สหรัฐฯ บอกว่าอัสซาดกำลังศูนย์เสียการควบคุมซีเรีย
 
สื่อรัฐบาลซีเรียรายงานว่า เหตุระเบิดดังกล่าวได้สังหารรมต.กระทรวงกลาโหม นายพล ดาอูด ราจาห์, น้องเขยของอัสซาด อัสเซฟ ชาวคัท และ นายพล อัสซัน เติร์กมานี
 
ผู้ได้รับบาดเจ็บจากเหตุระเบิดได้แก่ รมต.มหาดไทย โมฮัมเม็ด อัล-ชาร์ และนายพล ฮิสชัม อิคติยาร์ หัวหน้าหน่วยความมั่นคงของประเทศซีเรีบ
 
มีข้อถกเถียงกันอยู่ว่าใครเป็นผู้ก่อการวางระเบิด และใช้วิธีใด
 
สื่อรัฐบาลซีเรียไม่ได้แพร่ภาพใดๆ ในเหตุระเบิดครั้งนี้เช่นที่เคยทำมาก่อนในเหตุระเบิดเมื่อช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา 
 
ปธน. อัสซาดซึ่งอยู่ที่เมืองติดทะเล ลาตาเคีย ก็ไม่ได้แถลงการณ์ใดๆ ในการโจมตีครั้งนี้ แต่ได้แต่งตั้งให้พลตรี ฟาฮาด เฟราจ เป็นรมต.กลาโหม ภายในไม่กี่ชั่วโมงถัดมา ตามการรายงานของสื่อรัฐบาล
 
กลุ่มกองกำลังปลดปล่อยซีเรีย (FSA) อ้างว่าเป็นผู้ก่อเหตุในครั้งนี้ ขณะที่กลุ่มกองพลน้อยแห่งอิสลาม (Brigade of Islam) ก็อ้างตนว่าเป็นผู้ก่อเหตุเช่นกัน
 
กลุ่มกบฏอ้างว่า เหตุระเบิดดังกล่าวเป็นหนึ่งในแผนปฏิบัติการภูเขาไฟระเบิดดามาสกัส (Operation Damascus Volcano ) ซึ่งเริ่มปฏิบัติการตั้งแต่วันจันทร์ (16) ที่ผ่านมา เป็นหนึ่งในแผนการแรกที่มีเป้าหมายโค่นล้มอัสซาด รวมถึงสัญลักษณ์และแท่นฐานของรัฐบาลนี้ ไม่ว่าจะโดยวิธีการของพลเรือนหรือด้วยอาวุธ
 
สื่อรัฐบาลบอกว่าเป็นการ "ระเบิดพลีชีพ" ก่อนที่จะถอนคำพูดแล้วกล่าวใหม่ว่าเป็น "การก่อการร้าย"
 
เหตุระเบิดเกิดขึ้นหนึ่งวันหลังจากที่กลุ่ม FSA ซึ่งมีทั้งพลเรือนติดอาวุธและอดีตทหารที่ย้ายข้างมาอยู่ฝ่ายต่อต้าน ได้ประกาศว่าจะต่อสู้เพื่อ "ปลดปล่อย" ดามาสกัส และเตือนรัฐบาลให้ระวังการจู่โจมโดยไม่ทันตั้งตัว
 
อัสซาดเริ่มสูญเสียอำนาจควบคุม
โฆษกสภาความมั่นคงแห่งชาติของทำเนียบขาว ทอมมี่ เวียเตอร์ กล่าวว่าอัสซาดกำลังสูญเสียอำนาจควบคุม โดยชี้ให้เห็นว่ามีการย้ายข้างเพิ่มมากขึ้น และฝ่ายต่อต้านมีกำลังและรวมตัวกันแข็งแกร่งขึ้น
 
ลีออน พาเนตตา รมต.กลาโหมของสหรัฐฯ กล่าวว่าประชาคมโลกต้องร่วมกันกดดันให้อัสซาดกระทำในสิ่งที่ควร คือการลงจากอำนาจและอนุญาตให้มีการเปลี่ยนผ่านอย่างสันติ
 
แคทเธอรีน แอชตัน หัวหน้าฝ่ายนโยบายต่างประเทศสหภาพยุโรป กล่าวว่าเหตุระเบิดได้เน้นย้ำให้เห็นถึงความต้องการในการลงมือปฏิบัติการของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ และประชาคมโลกในการหลักดันแผนการสันติของโคฟี อันนัน
 
การโหวตมติของยูเอ็น
เมื่อวันที่ 18 ก.ค. หลังเหตุระเบิด ประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดิเมียร์ ปูติน ยอมตกลงทำงานร่วมกับสหรัฐฯ ในการแก้ไขวิกฤติซีเรีย โดยตกลงผ่านการพูดคุยโทรศัพท์กับ ปธน. โอบามา ของสหรัฐฯ
 
แต่ทางรัสเซียก็ย้ำว่า พวกเขายังคงเห็นต่างในกรณีการลงมติแผนแก้ปัญหาซีเรียของสภาความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ที่เรียกร้องให้มีการคว่ำบาตรอัสซาด
 
บังคีมูน เลขาธิการสหประชาชาติ และโคฟี อันนัน ตัวแทนนานาชาติเรียกร้องให้สภาความมั่นคงดำเนินการอย่างหนักแน่นก่อนการโหวตลงมติแผนแก้ปัญหาซีเรียซึ่งฝ่ายจีนและรัสเซียจ้องจะโหวตคัดค้าน
 
บังคีมูน กล่าวว่าเป็นเรื่องเร่งด่วนมาก ในการปฏิบัติการบางอย่างเพื่อทำให้ฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายต่อต้านหยุดสู้รบกัน ซึ่งนับตั้งแต่เดือน มี.ค. ปีที่ผ่านมา (2011) มีประชาชนเสียชีวิตจากเหตุความรุนแรงในซีเรียรวมแล้วราว 17,000 ราย
 
ปฏิบัติการ 90 วันในซีเรียของสหประชาชาติจะสิ้นสุดลงในวันศุกร์ (20) นี้แล้ว และหากไม่มีมาตรการแก้ปัญหาก็จะมีการปิดตัวคณะทำงานลง
 
 
ที่มา
Fighting rages on across Syrian capital, Aljazeera, 19-07-2012

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

คดีคนขายซีดี ABC ยอมระงับขอหมายเรียก'เปรม' - เลื่อนสืบพยาน 20 พ.ย.

Posted: 19 Jul 2012 09:52 AM PDT

นัดสืบพยานคดี 112 คนขายซีดี ABC และวิกิลีกส์ ก่อนเริ่มสืบศาลหารือฝ่ายจำเลยระบุออกหมายเรียก เปรม-สิทธิ เพื่อสืบข้อเท็จจริงไม่น่าเป็นประโยชน์เท่าการสืบ“เจตนา” พร้อมย้ำเพียงหารือเพื่อความชัดเจน เปิดโอกาสสู้เต็มที่และเป็นกลาง ทนายจำเลยยอมปรับเน้นสืบเจตนา ยื่นบัญชีพยานเพิ่ม-เลื่อนสืบเป็น 20 พ.ย.55 ส่วนคำร้องขอหมายเรียก 2 นายพลยอมระงับไว้ก่อน

 

19 ก.ค.55 ห้องพิจารณา 802 ศาลอาญารัชดา มีนัดสืบพยานจำเลยในคดีนายเอกชัย (สงวนนามสกุล) ผู้ต้องหาขายซีดีสารคดีข่าวผลิตโดยสำนักข่าว ABC ออสเตรเลีย และเอกสารวิกิลีกส์ เข้าข่ายหมิ่นสถาบัน ตามมาตรา 112 โดยนายเอกชัยมีกำหนดขึ้นเบิกความเองในวันนี้ นอกจากนี้ศาลยังนัดหมายอ่านคำสั่งใน 2 เรื่อง คือ การออกหมายเรียกพยานตามร้องของทนายจำเลย คือ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ และพล.อ.อ.สิทธิ เศวตศิลา กับคำสั่งเกี่ยวกับคำร้องขอให้ส่งศาลรัฐธรรมนูญตีความว่ามาตรา 112 ขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ผู้พิพากษาขึ้นนั่งบัลลังก์ในเวลาประมาณ 10.00 น. ก่อนการพิจารณาจะเริ่มต้น ศาลได้สอบถามแนวทางการต่อสู้คดีจากทนายจำเลย และท้ายที่สุดมีการเลื่อนการสืบพยานไปเป็นวันที่ 20 พ.ย.นี้ในเบื้องต้นและสามารถนัดเพิ่มได้อีกหากไม่เพียงพอ เนื่องจากทนายจำเลยได้ขอยื่นบัญชีพยานเพิ่มเติม อาทิ นายสุลักษณ์ ศิวรักษ์, นักประวัติศาสตร์ นักภาษาศาสตร์ เป็นต้น

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมถึงการสอบถามแนวทางระหว่างศาลกับทนายจำเลยในวันนี้ว่า ศาลระบุว่าเหตุที่ต้องมาสอบถามเนื่องจากอ่านคำแถลงแนวทางการสืบพยานที่ใช้ประกอบคำร้องเพื่อเรียกพยาน คือ พล.อ.เปรม และ พล.อ.อ.สิทธิแล้ว ยังไม่เป็นที่ชัดแจ้งว่าจำเลยจะต่อสู้ใน  ข้อเท็จจริง  ของข้อความตามฟ้องซึ่งปรากฏอยู่ในเอกสารวิกิลีกส์ หรือจะสู้เรื่อง เจตนาของจำเลย ซึ่งในชั้นสอบสวนจำเลยได้รับไปแล้วว่าจำหน่ายจริงด้วยมุ่งหมายให้ประชาชนเข้าถึงข่าวสารรอบด้าน โดยผู้พิพากษาได้อธิบายว่าในคดีเช่นนี้ การสืบในข้อเท็จจริงนั้น หากสืบได้ว่าจริงก็เป็นการหมิ่น และหากสืบได้ว่าไม่จริงก็ยิ่งหมิ่นมากขึ้นอีก การมุ่งสืบเรื่องข้อเท็จจริงจึงอาจไม่เป็นประโยชน์มากนัก แต่หากฝ่ายจำเลยยังประสงค์จะต่อสู้ในเรื่องข้อเท็จจริงก็เป็นสิทธิที่กระทำได้ ศาลเปิดโอกาสให้สู้คดีเต็มที่ และยืนยันว่าพร้อมจะรับฟังทุกฝ่ายอย่างเป็นกลาง มิได้ต้องการชี้นำแต่เป็นการหารือกันเพื่อความชัดเจน

เบื้องต้นทนายจำเลยพยายามยืนยันว่ายังคงต้องการให้เรียกพยานทั้งสองมาสืบในทางข้อเท็จจริง อย่างไรก็ตาม หลังการหารือดำเนินไปราว 20 นาที ทนายจำเลยได้ขอพักเพื่อหารือกับคณะทำงานภายนอกห้องพิจารณาอีกราว 20 นาที แล้วจึงกลับมาแถลงต่อศาลว่าพร้อมจะให้น้ำหนักในการต่อสู้เรื่องเจตนาของจำเลยเป็นหลัก แต่ก็จะต่อสู้ในเรื่องข้อเท็จจริงด้วย อย่างไรก็ดี เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงแนวทางเพิ่งเกิดขึ้นจึงขอเลื่อนการสืบพยานในนัดนี้เพื่อยื่นบัญชีพยานเพิ่มเติม ซึ่งศาลก็อนุญาตตามทนายจำเลยร้องขอ ขณะเดียวกันทนายจำเลยก็ยินยอมระงับคำร้องในการเรียกพยาน 2 ปากคือ พล.อ.เปรม และ พล.อ.สิทธิ ไว้ก่อน  โดยผู้พิพากษาระบุเพิ่มเติมว่า หากสืบพยานทั้งหมดแล้วเสร็จ และยังไม่เป็นที่พอใจ ทนายจำเลยยังคงมีสิทธิในการยื่นคำร้องให้ออกหมายเรียกพยานทั้งสองมาสืบได้ แต่ก็เป็นดุลยพินิจของศาลว่าจะอนุญาตหรือไม่

ส่วนกรณีที่ทนายจำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลอาญาส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า มาตรา 112 ขัดรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชนหรือไม่นั้น ศาลมีคำสั่งส่งคำร้องพร้อมเอกสารต่างๆ ให้ศาลรัฐธรรมนูญแล้วในวันนี้

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การหารือระหว่างศาลกับทนายจำเลย จำเลย รวมถึงอัยการ ก่อนจะมีการนัดหมายกันใหม่ในวันที่ 20 พ.ย.55 นั้นใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง  โดยผู้พิพากษาพยายามอธิบายรายละเอียดต่างๆ โดยย้ำหลายครั้งว่าเป็นการหารือกันเท่านั้น มิใช่การชี้นำหรือจำกัดสิทธิ แต่เหตุที่ต้องมีการอธิบายความกับทนายจำเลย รวมไปถึงผู้เข้าร่วมฟังคดีในห้องพิจารณาด้วยนั้นเพราะคดีเช่นนี้เป็นคดีละเอียดอ่อน และไม่ต้องการให้ประชาชนเข้าใจศาลผิด

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สนข.ฟุ้งดันท่าเรือน้ำลึกปากบารา ด้าน คสป.แนะจัดเวทีฟังชาวบ้านก่อนสร้าง

Posted: 19 Jul 2012 09:43 AM PDT

สนข. ระบุการค้า-ขนส่งช่องแคบมะละกามีมูลค่าสูง แนะทำยุทธศาสตร์เชื่อมโยงขนส่งทางทะเลที่ติดกับมหาสมุทรแปซิฟิค-อินเดีย เพื่อเปิดประตูการค้าใหม่ ขณะที่ชาวบ้านในพื้นที่ยังไม่เคยรับรู้ข้อมูลที่ชัดเจน ด้าน คสป.แนะจัดเวทีพูดคุย

 
ที่มาภาพ: http://www.pakbaradeepseaport.com/
 
ดร.มาลี เอื้อภารดา หัวหน้ากลุ่มโลจิสติกส์การขนส่งสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กล่าวถึงความคืบหน้าโครงการการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา จังหวัดสตูล ระหว่างการประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นประเด็น “แผนพัฒนาภาคใต้” เมื่อเร็วๆ นี้ว่า ปัจจุบันปริมาณการค้าและการขนส่งทางภาคใต้บริเวณช่องแคบมะละกามีมูลค่าสูง ซึ่งเป็นโอกาสที่ดีของประเทศไทยที่จะมุ่งทำยุทธศาสตร์เชื่อมโยงการขนส่งทางทะเลของประเทศต่างๆ ที่อยู่ติดกับมหาสมุทรแปซิฟิคเข้ากับประเทศที่อยู่ติดกับทางมหาสมุทรอินเดียด้วยสะพานเศรษฐกิจ ซึ่งจะเป็นการช่วยย่นระยะเวลาในการขนส่งและลดค่าใช้จ่ายในการขนส่งลงอีกด้วย
 
“ประเทศไทยซึ่งมีความเหมาะสมทั้งทำเล ที่ตั้ง ลักษณะภูมิศาสตร์และทรัพยากรต่างๆ สามารถพัฒนาจนเป็นศูนย์กลางการขนส่งในภูมิภาค รองรับการขยายตัวในอนาคตที่เพิ่มขึ้นทางการค้าและการขนส่งในภูมิภาคอาเซียน และสามารถเชื่อมโยงการขนส่งกับภูมิภาคอื่นๆ ของโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยการสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบาราท่าเรือน้ำลึกสงขลาแห่งที่ 2 และทางรถไฟในพื้นที่ จ.สตูลและสงขลา จะสามารถรองรับเรือสินค้าขนาดใหญ่ได้เป็นจำนวนมาก”
 
ทั้งนี้ท่าเรือน้ำลึกปากบารา ตั้งอยู่ที่บริเวณชายหาดบ้านปากน้ำ ตัวท่าเรือถมเป็นเกาะอยู่ห่างจากฝั่งประมาณ 4.5 กิโลเมตร ส่วนที่ทำการก่อสร้างท่าเรือในส่วนอาคารและสาธารณูปโภค มีการวิเคราะห์ทางการเงินลงทุน ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและการมีส่วนร่วมของประชาชน ซึ่งอยู่ระหว่างการนำเสนอเรื่องขออนุมัติโครงการสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา จ.สตูล ผ่านกระทรวงคมนาคมเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป คาดว่าประเทศไทยจะได้รับประโยชน์จากการส่งออกและนำเข้าสินค้า ทำให้เกิดการพัฒนากิจกรรมเศรษฐกิจด้วยการเปิดประตูการค้าใหม่ รวมทั้งช่วยส่งเสริมระบบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบที่มีประสิทธิภาพและมีต้นทุนการขนส่งที่ต่ำลงอีกด้วย
 
นายตรีพิพัฒน์ บัวเนี่ยว รองหัวหน้าโครงการเครือข่ายพลเมืองปกป้องแผ่นดินถิ่นเกิด กล่าวว่า ในแง่ของประชาชนในพื้นที่ยังมีความกังวลอยู่หลายเรื่องทั้งขนาดการก่อสร้าง ข้อมูลต่างๆ ของโครงการ ชาวบ้านไม่เคยได้รับรู้ข้อมูลที่แท้จริงว่าจะต้องมีการทำลายภูเขาในพื้นที่กี่ลูก จะต้องนำเอาทรายมาจากที่ไหนมาใช้ทำการก่อสร้าง เรื่องปัญหามลภาวะต่างๆ ตลอดจนผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของพวกเขา ซึ่งจริงๆ แล้วคนภาคใต้นั้นพอใจในอาชีพและความเป็นอยู่ตอนนี้อยู่แล้ว แม้ว่าภาครัฐอยากจะทำให้ภาคใต้เจริญและพัฒนาต่อไปได้เรื่อยๆ แต่คนใต้ส่วนใหญ่คิดว่าทุกอย่างมันดีอยู่แล้ว ซึ่งโดยส่วนตัวมองว่าถ้าประชาชนในพื้นที่ไม่เห็นด้วยทุกอย่างก็จบ
 
ทางด้าน นพ.ชูชัย ศุภวงศ์ กรรมการคณะกรรมการสมัชชาปฏิรูป (คสป.)ให้ความเห็นว่า ปัญหาที่สำคัญคือ ชาวบ้านในพื้นที่ต่อต้านและไม่ยอมรับ เนื่องจากมีปัญหาที่ข้อมูลไม่ชัดเจนและเข้าใจได้ยาก พูดคุยไม่เข้าใจกัน คุยกันคนละประเด็น ชาวบ้านมีข้อมูลของเขาและความคิดเห็นของเขาคือทุกคนกลัวและกังวลในการเปลี่ยนแปลง ชีวิตจะเปลี่ยน ชีวทัศน์ สิ่งแวดล้อม อาชีพ ทุกอย่างจะเปลี่ยนไปหมด และความเจริญที่จะเข้ามานั้น ชาวบ้านมองว่าไม่ค่อยจะได้ประโยชน์เท่าไร
 
“เราจึงควรจัดเวทีเฉพาะขึ้นมาคุยเฉพาะประเด็นนี้เพียงอย่างเดียว จะได้มีการเชื่อมต่อกันอย่างเข้าใจ ต้องมีกลไกกลางขึ้นมาที่เป็นที่ยอมรับของทั้งฝ่ายรัฐและชาวบ้าน มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันและนำข้อเสนอที่ได้มาดูว่าจะทำงานกันต่อไปอย่างไร ทั้งสองฝ่ายจะได้เข้าใจและยอมรับกันและกันมากขึ้น มีการเพิ่มกลไกการสื่อสารให้เชื่อมต่อกับสื่อท้องถิ่น ส่วนเวทีประชุมในภาพรวมยังคงมีต่อไป เรามาคุยกันให้มากขึ้นแต่จะต้องมีเป้าหมายที่จับต้องได้ เพราะจะทำให้เห็นโครงงานที่ชัดเจนขึ้น”
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เวที 'นโยบายแอลกอฮอล์' เฝ้าระวังเอฟทีเอไทย-ยุโรป

Posted: 19 Jul 2012 09:38 AM PDT

 

19  ก.ค. สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยคณะทำงานการพัฒนาคุณภาพชีวิต สาธารณสุข และคุ้มครองผู้บริโภค ได้จัดให้มีการอภิปรายและแลกเปลี่ยนความเห็น เรื่อง "นโยบายแอลกอฮอล์ เพื่ออนาคตเยาวชนไทย" เนื่องจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ส่งผลเสียด้านสาธารณสุขโดยเฉพาะเยาวชนซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ และการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ถือเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดเป็นอันดับ 3 ที่มีผลต่อการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรและความพิการของประชากรโลก อีกทั้งประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากถึง 26,000 คนต่อปี โดยมี ศาสตรเมธี ดร.สุปรีดิ์ วงศ์ดีพร้อม ประธานคณะทำงานการพัฒนาคุณภาพชีวิต สาธารณสุข และคุ้มครองผู้บริโภค กล่าวเปิดการสัมมนา ณ ห้องประชุม 1 สำนักงานสภาที่ปรึกษาฯ ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ

รศ.ดร.จิราพร ลิ้มปานานนท์ ประธานคณะทำงานเกี่ยวเนื่องด้านสาธารณสุข และคุ้มครองผู้บริโภคด้านบริการ ในฐานะผู้ดำเนินรายการ กล่าวว่า ข่าวการเดินทางไปยุโรปของนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่สนใจเปิดการเจรจาการค้า FTA (เขตการค้าเสรีหรือข้อตกลงทางการค้าเสรี) กับสหภาพยุโรปนั้น ตนได้ศึกษาและจัดทำความเห็นอย่างรอบด้านจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เห็นว่า ไทยต้องเจรจาอย่างฉลาดโดยเฉพาะในเรื่องเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากจะส่งผลเสียด้านสาธารณสุขโดยเฉพาะการเพิ่มนักดื่มหน้าใหม่ที่เป็นเยาวชนซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ

นายรัชวิชญ์ ปิยะปราโมทย์ นักวิชาการพาณิชย์เชี่ยวชาญ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กล่าวว่า การเจรจาการค้า FTA กับสหภาพยุโรปมีความยุ่งยากกว่าประเทศอื่น สำหรับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์สหภาพยุโรปน่าจะเอามาเป็นเงื่อนไขในการเปิด FTA กับไทย ดังนั้นในเบื้องต้นของการเจรจาประเทศไทยจะต้องกำหนดกรอบในการทำ FTA ให้ครอบคลุมและชัดเจน โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมเป็นหลัก

ดร.บัญชร ส่งสัมพันธ์ นักวิชาการภาษีชำนาญการพิเศษ กรมสรรพสามิต กล่าวว่า ถึงแม้ภาครัฐจะได้รับประโยชน์จากภาษีสุราและยาสูบ แต่เรามีรายจ่ายด้านสุขภาพที่สูงกว่า ซึ่งไม่คุ้มกับผลเสียที่เกิดขึ้นกับสังคมไทย

นพ.สมาน ฟูตระกูล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กล่าวว่า หากร่างกฎหมายการจำกัดการเข้าถึงแอลกอฮอล์ได้บังคับใช้จะเกิดผลดีต่อเยาวชนเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นการจำกัดการเข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของเยาวชน เป็นหลักการที่ได้ผลเป็นอย่างยิ่งในการป้องกันปัญหา ทั้งนี้ ในทางปฏิบัติสามารถดำเนินการอย่างค่อยเป็นค่อยไป และมีเวลาให้ผู้ประกอบการและร้านค้าปรับตัว

นพ.ทักษพล ธรรมรังสี ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยสุรา สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ กล่าวว่า สุราเป็นประตูพาวัยรุ่นไปสู่ปัญหาอื่นๆมากมาย ทั้งการทะเลาะวิวาท การใช้ยาเสพติด และปัญหาเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย สาเหตุสำคัญคือการที่เยาวชนถูกมอมเมารอบด้านจากกลยุทธ์การตลาดของอุตสาหกรรมสุรา ทั้งการที่ราคาเครื่องดื่มถูก หาซื้อสะดวก แม้จะไม่ถึงเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด ทั้งนี้คงต้องวิงวอนผู้เกี่ยวข้องธุรกิจภาคส่วนอื่นๆให้แยกแยะประเด็นสินค้าที่ก่อความเสียหายแก่สุขภาพ สังคมและเศรษฐกิจของประเทศ สินค้าบางอย่าง ยิ่งผลิต ยิ่งขาย ยิ่งใช้ ยิ่งเป็นประโยชน์ต่อสังคม แต่คงไม่ใช่สินค้าอย่างสุราและยาสูบ

นอกจากนี้ในที่ประชุมได้มีการแสดงความเห็นที่หลากหลาย โดยสาระสำคัญคือ อยากให้มีการจำกัดการเข้าถึงในการซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึงบังคับใช้กฎหมายให้เด็ดขาดทั้งกับผู้ซื้อและผู้ขาย ให้ภาครัฐคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดกับประชาชนมากกว่าประโยชน์ทางด้านธุรกิจเพียงอย่างเดียว และในการเจรจา FTA อยากให้มีการกำหนดกรอบการเจรจาที่โปร่งใส โดยให้คำนึงถึงประโยชน์ของประเทศชาติให้มากที่สุด และควบคุมการโฆษณา และโฆษณาแฝง ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างจริงจัง

ทั้งนี้ คณะทำงานการพัฒนาคุณภาพชีวิต สาธารณสุข และคุ้มครองผู้บริโภค สภาที่ปรึกษาฯ จะนำข้อเสนอที่ได้จากการสัมมนาในครั้งนี้ไปรวบรวม วิเคราะห์ และสังเคราะห์ จัดทำเป็นความเห็นและข้อเสนอแนะ เสนอต่อสภาที่ปรึกษาฯ และคณะรัฐมนตรีต่อไป

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เครือข่ายวอนสร้างกลไกคุ้มครองผู้บริโภคที่ใช้สิทธิร้องเรียนถูกฟ้องคดี

Posted: 19 Jul 2012 09:24 AM PDT

19 กรกฎาคม 2555 มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ร่วมกับตัวแทนผู้บริโภคที่ถูกฟ้องทางคดีเมื่อใช้สิทธิเรียกร้องทางกฎหมาย จัดเวทีแถลงข่าว เรื่อง “เมื่อผู้บริโภคใช้สิทธิตามกฎหมายแล้วถูกฟ้องคดี” ขึ้นที่ห้องประชุมมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ กรุงเทพมหานคร เพื่อเป็นการเผยแพร่ข้อเท็จจริง ปัญหาและความทุกข์ที่เกิดขึ้นกับผู้บริโภคเมื่อใช้สิทธิร้องเรียนกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผลที่เกิดจากการใช้สิทธิโดยสุจริตแล้วถูกฟ้องร้องทางคดี และยื่นข้อเสนอเพื่อเป็นทางออกสำหรับผู้บริโภคที่ถูกฟ้องร้อง

มาตรา 61 ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ระบุว่า สิทธิของบุคคลซึ่งเป็นผู้บริโภคย่อมได้รับความคุ้มครองในการรับข้อมูลที่เป็นความจริงและมีสิทธิร้องเรียน เพื่อให้ได้รับการแก้ไขเยียวยาความเสียหาย รวมทั้งสิทธิรวมตัวกันเพื่อพิทักษ์สิทธิผู้บริโภค แต่ที่ผ่านมาเมื่อผู้บริโภคมีปัญหาจากสินค้าหรือบริการ มีเพียงร้อยละ ๒ เท่านั้นที่ใช้สิทธิร้องเรียนจนสิ้นสุด ผู้บริโภคขาดอำนาจต่อรอง หรือหากผู้บริโภคต้องการเรียกร้องค่าเสียหาย ถึงแม้จะมีกฎหมายวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคก็ยังใช้เวลานาน ที่ผ่านมาผู้บริโภคส่วนใหญ่จึงดำเนินการขั้นต้นด้วยการร้องเรียนผ่านหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครอง แต่พบว่า สิทธิของผู้บริโภคตามกฎหมายในการใช้สิทธิร้องเรียนต่อหน่วยงานที่รับผิดชอบ ก็ถูกผู้ประกอบการธุรกิจบางรายใช้อำนาจที่มีตามกฎมายฟ้องร้องผู้บริโภค เพื่อข่มขู่ ให้ยุติการดำเนินการร้องเรียน หรือเพื่อให้ผู้บริโภคเพิกเฉยต่อการใช้สิทธิ บั่นทอนกำลังใจ เสียเวลา เสียค่าใช้จ่าย จนล้มเลิกหรือไม่ประสงค์จะเรียกร้องสิทธิของตนเองไป

นางสาวสวนีย์ ฉ่ำเฉลียว เจ้าหน้าที่ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า ตนเองเป็นเจ้าหน้าที่ของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ฝ่ายศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มีหน้าที่รับเรื่องร้องเรียน และแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภค รวมทั้งเป็นผู้ถูกฟ้องคดีในข้อหา หมิ่นประมาทจากการโฆษณาและแจ้งความเท็จ เพราะดำเนินการช่วยเหลือผู้เสียหายจำนวน 19 ราย ที่มาร้องเรียนเรื่องความชำรุดบกพร่องของรถยนต์ตู้ จากประเทศจีน ที่นำเข้ามาจากบริษัทแห่งหนึ่ง โดยทางบริษัทเรียกร้องค่าเสียหายเป็นจำนวนเงิน 5 ล้านบาท เพราะนำเรื่องร้องเรียนไปยื่นกับคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค และเผยแพร่ข้อมูลผ่านสื่อ

“ไม่ได้รู้สึกกลัว หรือว่ากังวล จากการถูกฟ้องคดีในครั้งนี้ และคิดว่าจะเดินหน้าเพื่อจัดการแก้ไขปัญหาให้กับผู้ร้องเรียนต่อไป โดยส่วนตัวเห็นว่าการฟ้องก็เป็นการคดีที่ทางผู้เสียหายจะได้ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในศาลว่ามีความเดือดร้อนอย่างไรกันบ้าง เพราะเวลามูลนิธิเพื่อผู้บริโภครับเรื่องร้องเรียนก็มีขั้นตอนการสอบสวนข้อเท็จจริง ก่อนจะดำเนินการให้ความช่วยเหลือต่อไป ไม่ใช่เชื่อหมดใจว่าผู้ร้องเรียนให้ข้อมูลที่เป็นจริง โดยเฉพาะวัตถุประสงค์ของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคคือ การสนับสนุนใช้ผู้บริโภคใช้สิทธิที่ตัวเองมี คุ้มครองสิทธิอันพึงมีพึงได้ของผู้บริโภค และเจ้าหน้าที่ก็มีบทบาทในการติดต่อประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอันจะนำมาซึ่งการแก้ไขปัญหาและการป้องกันปัญหา อีกอย่างการให้ข้อมูลข้อเท็จจริงผ่านรายการโทรทัศน์ก็เพื่อเป็นประโยชน์กับสาธารณะ เพื่อผู้บริโภครายอื่นที่ต้องระมัดระวังเมื่อจะซื้อสินค้า หรือผลิตภัณฑ์ดังกล่าว หากศาลรับฟ้องว่าคดีมีมูล ผู้ถูกฟ้องซึ่งไม่ได้ร่ำรวย ก็คงจะลำบากในการหาหลักทรัพย์ไปประกันตัวแน่นอน ยังไม่ทราบว่าจะสคบ.ที่ไปร้องเรียนในกรณีนี้แล้วถูกฟ้องจะช่วยได้หรือไม่” นางสาวสวนีย์กล่าว

นายทรงพล พวงทอง จำเลยที่ 1 ในคดีเดียวกัน เปิดเผยว่า ตนเองและครอบครัวเริ่มมีความไม่เข้าใจกันหลังที่ตนเองถูกฟ้องร้อง เพราะครอบครัวเห็นว่าการร้องเรียนแล้วถูกฟ้องนั้นทำให้ชีวิตเกิดความยุ่งยาก เสียเวลา ได้ไม่คุ้มเสีย แต่สำหรับตนเองจะเดินทางต่อสู้กับความถูกต้องต่อไป

“ผมคิดว่า ไม่ยุติธรรมสำหรับผู้บริโภคเลย ถ้าบริษัทจะใช้วิธีการฟ้องร้องจัดการยุติปัญหา เพราะข้อมูลที่เปิดเผยไปกับสาธารณะนั้นเป็นข้อเท็จจริงทั้งสิ้น และการเปิดเผยก็เพื่อไม่ให้ผู้บริโภครายอื่นมารับกรรมจากสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน การที่บริษัททำเช่นนี้อีกหน่อยก็คงไม่มีใครอยากร้องเรียนในเรื่องที่ถูกต้อง เรื่องที่ตัวเองถูกเอารัดเอาเปรียบ” นายทรงพล กล่าว

ด้านนายบังเอิญ เม่นน้อย ผู้ถูกฟ้องในคดีเดียวกันให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ตนเองเห็นข้อมูลรถดังกล่าวจากอินเตอร์เน็ตผ่านโครงการ สร้างอาชีพให้ผู้มีรายได้น้อย โดยธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยโดยไม่ทราบว่าก่อนหน้านี้มีการร้องเรียนบริษัทที่นำเข้ารถตู้ยี่ห้อดังกล่าวไปที่ สคบ.ตั้งแต่ปี 2552 พอซื้อรถตู้ดังกล่าวมาใช้งานก็พบว่ามีความชำรุดบกพร่อง ต้องซ่อมกันอย่างต่อเนื่อง แถมตนเองยังต้องลาออกจากงานประจำมาเพื่อขับไปซ่อมไป ตนเห็นว่าถ้ารถยนต์ไม่มีคุณภาพก็ไม่ควรนำมาจำหน่ายแล้ว พฤติกรรมแบบนี้เป็นการโยนเคราะห์กรรม มาให้ผู้บริโภคแต่ตัวเองรับเงินไปสบายใจ

นางสาวสุภัทรา นาคะผิว ผู้อำนวยการมูลนิธิศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์ ในฐานะตัวแทนเครือข่ายเพื่อนมะเร็ง เครือข่ายผู้ติดเชื่อ HIVเอดส์แห่งประเทศ และเครือข่ายผู้ป่วยจิตเวช เปิดเผยว่า เครือข่ายผู้ป่วยทั้ง 3 กลุ่ม ได้ใช้สิทธิร้องเรียนต่อสภาเภสัชกรรม กรณีในสอบจรรยาบรรณวิชาชีพของเภสัชกรท่านหนึ่ง ซึ่งได้ให้สัมภาษณ์จากการให้ความเห็นเกี่ยวกับการประกาศบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรยา (ซีแอล) ซึ่งอาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดในสังคมและอาจไม่เหมาะสมในฐานะการเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ จนทำให้เครือข่ายผู้ป่วยทั้งสามถูกฟ้องหมิ่นประมาทเป็นคดีอาญาต่อศาลแขวงนนทบุรี

“ซึ่งการร้องเรียนต่อสภาเภสัชกรรมไม่ใช่การตัดสินว่าผู้ถูกร้องว่าผิดหรือถูก แต่เป็นการที่ใช้สิทธิต่อหน่วยงานของรัฐเพื่อให้ตรวจสอบจรรยาบรรณวิชาชีพ แต่ผู้ร้องเรียนที่มีบทบาทในการผลักดันการทำซีแอลเพื่อให้ผู้ป่วยเข้าถึงยาที่จำเป็นต่อชีวิต กลับต้องถูกฟ้องคดี เพื่อต้องการให้ยุติบทบาท และเสียเวลาในการทำภารกิจที่สำคัญต่อสังคม สำหรับภาครัฐก็ต้องทำหน้าที่ส่งเสริมการใช้สิทธิของประชาชนให้สมบูรณ์ โดยรัฐต้องมี 3 ส่วนคือ การเคารพสิทธิของประชาชน การปกป้องคุ้มครองสิทธิ และการเยียวยาความเสียหาย รวมทั้ง การส่งเสริมเผยแพร่ ทำให้ประชาชนเข้าถึงสิทธิอย่างทั่วถึง ใช้ความจริงใจในการทำงานไม่ใช่แค่สร้างวาทะกรรม” นางสาวสุภัทรา กล่าวเพิ่มเติม

ด้าน นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้ให้ข้อมูลว่า การฟ้องร้องผู้บริโภคที่ใช้สิทธิโดยสุจริตเป็นปัญหามานาน ทั้งที่การร้องเรียนถือว่าเป็นหน้าที่ของผู้บริโภคที่สำคัญ การร้องเรียนเมื่อเกิดความเสียหายจากการใช้สินค้าและบริการ รวมทั้งการเปิดเผยข้อมูลกับสาธารณะชนคือสิทธิอันพึงมีพึงได้ตามสิทธิของรัฐธรรมนูญ ไม่เพียงแต่ประเทศไทยเท่านั้น หลายประเทศทั่วโลกก็ส่งเสริมให้ประชาชนใช้สิทธิขั้นพื้นฐานนี้” นางสาวสารี กล่าวและคิดว่ามีความจำเป็นที่หน่วยงานด้านกระบวนการยุติธรรมต้องยื่นมือเข้ามาให้การช่วยเหลือผู้บริโภคหรือหน่วยงานที่ถูกดำเนินคดี พร้อมยื่นข้อเสนอกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหาทางออกร่วมกันสำหรับผู้บริโภคที่ใช้สิทธิของตนเองอย่างสุจริต ตรงไปตรงมา แล้วถูกฟ้องร้องดำเนินคดี คือ 

1.เรียกร้องให้ผู้ประกอบการ หยุดใช้มาตรการฟ้องร้องดำเนินคดีกับผู้บริโภคที่ใช้สิทธิอันพึงมีพึงได้ของตนเองร้องเรียนต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพราะเป็นบทบาทและภารกิจของหน่วยงานในการแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคที่ได้รับความเสียหาย ตามบทบาทหน้าที่ของตนเอง อย่าฟ้องผู้บริโภคเพื่อข่มขู่ หรือเพื่อให้หยุดระงับการใช้สิทธินั้น

2.เรียกร้องหน่วยงานรับเรื่องร้องเรียน หรือให้ความช่วยเหลือผู้บริโภค ให้พึงระวังการใช้ข้อมูลของผู้ร้องเรียนให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผู้ร้องทั้งหมดกับบริษัทที่ถูกร้องเรียน เพื่อป้องกันปัญหาการนำข้อมูลดังกล่าวไปฟ้องดำเนินคดีกับผู้บริโภค

3.เรียกร้องไปยังหน่วยงานที่ทำหน้าที่ให้ความยุติธรรมทั้งหลาย มีกลไกให้ความช่วยเหลือผู้บริโภคที่ถูกฟ้องคดีที่ใช้สิทธิอันพึงมีพึงได้ของตนเอง

4.เรียกร้องให้รัฐบาลเร่งรัดการออกกฎหมายองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อสามารถให้ข้อมูลข้อเท็จจริงกับผู้บริโภค โดยอาจจะเปิดเผยชื่อสินค้าหรือบริการได้ เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคในการเลือกซื้อสินค้าแทนที่ให้ผู้บริโภคต้องทดลองหรือเสี่ยงใช้เมื่อมีปัญหาใช้สิทธิร้องเรียนแล้วกลับถูกฟ้องคดี

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สมชาย ปรีชาศิลปกุล: เสื้อแดงนอกเงาเพื่อไทย

Posted: 19 Jul 2012 09:14 AM PDT

            ความเคลื่อนไหวทางการเมืองโดยบุคคลในพรรคเพื่อไทยในห้วงเวลาหลายเดือนที่ผ่านมาได้ส่งสัญญาณอย่างชัดเจนถึงมวลชนคนเสื้อแดงว่าคงจะต้องมีการปรับเปลี่ยนท่าทีและความสัมพันธ์ระหว่างกันเสียที

            ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าในความเคลื่อนไหวหลายประการที่คนเสื้อแดงเข้าไปมีส่วนอย่างสำคัญ ล้วนถูกมองข้ามหรือไม่ได้ให้ความสำคัญอย่างเพียงพอจากพรรคเพื่อไทยแต่อย่างใด การผลักดันการแก้ไขมาตรา 112 ตามประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งประชาชนได้ร่วมกันล่าลายชื่อสนับสนุนก็ไม่ปรากฏว่า ส.ส. เพื่อไทยคนใดได้มีความเห็นสนับสนุนอย่างจริงจัง และเชื่อได้อย่างสนิทใจว่าเมื่อเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรก็คงจะถูกคว่ำอย่างไม่เป็นท่า

            การค้นหาความจริงของเหตุการณ์เมษา/พฤษภาหฤโหดใน พ.ศ. 2553 ก็ไม่มีความคืบหน้ามากมายนักนอกจากการใช้วาทะในการหาคะแนนนิยมไปเรื่อยๆ ทั้งที่บัดนี้ก็อยู่ในสถานะที่จะทำให้กระบวนการค้นหาข้อเท็จจริงสามารถเกิดขึ้นได้มากกว่าในยามเป็นฝ่ายค้าน ยิ่งกับกรณีของ “อากง” ก็มีแต่เห็นความเงียบชนิดเป่าสาก

            แม้กระทั่งกับกรณีคำพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญตามมาตรา 68 ก็ได้แสดงให้เห็นแล้วว่าบรรดาเสื้อแดงในพรรคเพื่อไทยต่างมุ่งจะปกป้องความมั่นคงของรัฐบาลมากกว่าการจะต่อสู้เพื่อสถาปนาอำนาจสูงสุดของประชาชนในระบบการเมืองให้บังเกิดขึ้น

            คนเสื้อแดงทั้งหลายยังพึงพอใจกับท่าทีในแนวทางเช่นนี้ของพรรคเพื่อไทยอยู่หรือไม่

            ปฏิเสธไม่ได้ว่าในท่ามกลางคนเสื้อแดงก็มิได้มีความเป็นอันเหนึ่งอันเดียวกันไปในทุกด้าน มีหลากหลายกลุ่มในฐานะของขบวนการเคลื่อนไหวที่ไม่ได้มีการจัดตั้งแบบแนวดิ่ง ประเด็นซึ่งเป็นเป้าหมายร่วมกันอาจเป็นการต่อต้านอำนาจนอกระบบ ซึ่งมักจะถูกหยิบขึ้นมาเป็นประเด็นเพื่อระดมไพร่พลในการแสดงพลังหรือกดดันพลังการเมืองแบบอำมาตย์ อันทำให้ดูราวกับว่าเป็นประเด็นนำของการเคลื่อนไหว

            แต่ในความเป็นจริงของความเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ทำให้มองเห็นได้ว่าในท่ามกลางความขัดแย้งระหว่างสีนั้น บัดนี้ได้มีการรอมชอมกันในหมู่ชนชั้นนำบังเกิดขึ้นแม้ว่าความรอมชอมนี้อาจไม่ยังไม่เป็นเอกภาพมากนักเนื่องจากความใหญ่โตและสลับซับซ้อนของเครือข่าย แต่ก็สามารถทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ในบางลักษณะให้กันและกัน

            ดังเช่นหากจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญก็ให้สามารถกระทำได้แต่ก็จะถูกจำกัดให้อยู่ในขอบเขตเพียงบางประเด็นเท่านั้น ไม่สามารถแก้ไขในทุกประเด็นที่เป็นโครงสร้างของระบบการปกครอง ไม่เพียงแค่ “ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข” เท่านั้น หากยังหมายรวมถึงอีกหลายสถาบันที่ยังต้องดำรงอยู่อีกต่อไป ในขณะที่การล้มรัฐบาลด้วยการทำงานองค์กรอิสระก็จะไม่บังเกิดขึ้นเช่นกัน

            จึงไม่เป็นที่น่าแปลกใจเมื่อทางคนในพรรคเพื่อไทยเองกลับออกมาเป็นผู้โจมตีข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์เรื่องยุบเลิกศาลรัฐธรรมนูญอย่างสาดเสียเทเสีย ทั้งที่เป็นข้อเสนอเพื่อจะนำไปสู่การสถาปนาอำนาจนำในทางการเมืองของรัฐสภาจากระบบเลือกตั้ง

            ความคาดหวังว่าพรรคการเมืองนี้จะเป็นผู้ถือธงนำในการเปลี่ยนแปลงจึงห่างไกลจากความเป็นจริงอยู่มาก

            แม้ว่าในพรรคเพื่อไทยอาจมีผู้มากความสามารถในการใช้วาทะปราศรัยเฉกเช่นเดียวกันกับพรรคประชาธิปัตย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในห้วงเวลาที่พรรคถูกรุมเร้าจากคู่แข่งขันทางการเมืองหรือในการต่อสู้ในห้วงเวลาคับขัน หรือในยามที่เกิดปัญหาขึ้นกับ “ตัวเอง” ก็จะพาร้องแรกแหกกระเชอถึงความอยุติธรรมเชิงโครงสร้าง แต่นอกจากเวทีปราศรัยแล้วนักปราศรัยเหล่านี้ก็ไม่ได้ปรากฏบทบาทในการขับเคลื่อนให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรมแต่อย่างใด

            ไม่ใช่เป็นเพียงเพราะความแหยหรือเพราะเป็นความไม่ได้เรื่องของบุคคลเท่านั้น แต่ปรากฏการณ์นี้สะท้อนให้เห็นว่าแม้กระทั่งในห้วงเวลาปัจจุบันพรรคเพื่อไทยก็ยังไม่ใช่สถาบันทางการเมืองที่ประชาชนสามารถเข้าไปกำหนดทิศทางได้ตามความต้องการ นายทุนหรือผู้มีอิทธิพลภายในพรรคยังสามารถชี้นิ้วให้นโยบายต่างๆ เดินหน้าหรือถอยหลังได้ ด้วยการมองถึงผลประโยชน์หรือความมั่นคงเฉพาะกลุ่มเฉพาะบุคคล

            คนเสื้อแดงที่อยู่ภายใต้เงาของพรรคเพื่อไทยจึงอาจจะต้องผิดหวังเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ หากไม่ตระหนักถึงความเป็นจริงข้อนี้

            คนเสื้อแดงทั้งหลายจึงต้องมองหาทางเดินของตนที่เป็นอิสระรวมถึงการสร้างอำนาจในการต่อรองกับพรรคเพื่อไทยให้เพิ่มมากขึ้น การจัดตั้งตนเองในทางสังคมจำเป็นต้องมีมากขึ้นไม่ว่าจะอยู่ภายใต้พรรคเพื่อไทยหรือไม่ก็ตาม โดยเป้าหมายสำคัญคือทำให้เสียงและความต้องการของกลุ่มตนต้องได้รับการให้ความสำคัญมากขึ้น กลไกต่างๆ เพื่อทำให้เสียงของคนเสื้อแดงได้รับการเคารพมากขึ้นต้องถูกผลักดันให้เกิดขึ้น เช่น การหยั่งเสียงข้างต้นภายในพรรคในการส่งผู้สมัคร ส.ส. เป็นต้น

            การร่วมทางกันสามารถเกิดขึ้นได้ในประเด็นที่มีความเห็นร่วมกัน ไม่จำเป็นที่จะต้องเดินตามต้อยๆ ไปในทุกแนวทางกับพรรคเพื่อไทยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นที่เป็นประโยชน์เฉพาะกลุ่มหรือเฉพาะคนเท่านั้น

            แม้การเดินออกนอกร่มเงาของพรรคเพื่อไทยอาจทำให้ถูกมองว่าเป็นการลดทอนพลังในการต่อสู้กับฝ่ายอำมาตย์หรือชนชั้นนำ แต่เช่นเดียวกันการอยู่ภายใต้ร่มเงาของพรรคโดยที่ไม่ได้มีกระบวนการผลักดันให้เกิดความเปลี่ยนแปลงแม้แต่กระผีกก็ไม่มีความหมายอันใดเช่นกัน

            ในทางตรงกันข้าม การสร้างฐานของคนเสื้อแดงให้มั่นคงมากขึ้นบนทิศทางที่เป็นประชาธิปไตยและสันติ อาจนำมาสู่การเชื่อมร้อยกับกลุ่มองค์กรต่างๆ ในทางสังคมได้มากขึ้น เพราะการผูกติดกับพรรคเพื่อไทยและการแสวงหาประโยชน์ของบางคนในพรรคก็เป็นข้อจำกัดในการทำให้คนเสื้อแดงไม่สามารถหา “พันธมิตร” ในทางการเมืองได้กว้างขวางเท่าที่ควร

            การเดินออกจากร่มเงาของพรรคเพื่อไทยเพื่อเป็น “คนเสื้อแดง” มากขึ้นอาจเป็นจุดเปลี่ยนเล็กๆ ที่สำคัญอันหนึ่งของความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในอนาคตอันไม่ไกลนี้  

 

 

 

    

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สมชาย ปรีชาศิลปกุล: เสื้อแดงนอกเงาเพื่อไทย

Posted: 19 Jul 2012 09:14 AM PDT

            ความเคลื่อนไหวทางการเมืองโดยบุคคลในพรรคเพื่อไทยในห้วงเวลาหลายเดือนที่ผ่านมาได้ส่งสัญญาณอย่างชัดเจนถึงมวลชนคนเสื้อแดงว่าคงจะต้องมีการปรับเปลี่ยนท่าทีและความสัมพันธ์ระหว่างกันเสียที

            ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าในความเคลื่อนไหวหลายประการที่คนเสื้อแดงเข้าไปมีส่วนอย่างสำคัญ ล้วนถูกมองข้ามหรือไม่ได้ให้ความสำคัญอย่างเพียงพอจากพรรคเพื่อไทยแต่อย่างใด การผลักดันการแก้ไขมาตรา 112 ตามประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งประชาชนได้ร่วมกันล่าลายชื่อสนับสนุนก็ไม่ปรากฏว่า ส.ส. เพื่อไทยคนใดได้มีความเห็นสนับสนุนอย่างจริงจัง และเชื่อได้อย่างสนิทใจว่าเมื่อเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรก็คงจะถูกคว่ำอย่างไม่เป็นท่า

            การค้นหาความจริงของเหตุการณ์เมษา/พฤษภาหฤโหดใน พ.ศ. 2553 ก็ไม่มีความคืบหน้ามากมายนักนอกจากการใช้วาทะในการหาคะแนนนิยมไปเรื่อยๆ ทั้งที่บัดนี้ก็อยู่ในสถานะที่จะทำให้กระบวนการค้นหาข้อเท็จจริงสามารถเกิดขึ้นได้มากกว่าในยามเป็นฝ่ายค้าน ยิ่งกับกรณีของ “อากง” ก็มีแต่เห็นความเงียบชนิดเป่าสาก

            แม้กระทั่งกับกรณีคำพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญตามมาตรา 68 ก็ได้แสดงให้เห็นแล้วว่าบรรดาเสื้อแดงในพรรคเพื่อไทยต่างมุ่งจะปกป้องความมั่นคงของรัฐบาลมากกว่าการจะต่อสู้เพื่อสถาปนาอำนาจสูงสุดของประชาชนในระบบการเมืองให้บังเกิดขึ้น

            คนเสื้อแดงทั้งหลายยังพึงพอใจกับท่าทีในแนวทางเช่นนี้ของพรรคเพื่อไทยอยู่หรือไม่

            ปฏิเสธไม่ได้ว่าในท่ามกลางคนเสื้อแดงก็มิได้มีความเป็นอันเหนึ่งอันเดียวกันไปในทุกด้าน มีหลากหลายกลุ่มในฐานะของขบวนการเคลื่อนไหวที่ไม่ได้มีการจัดตั้งแบบแนวดิ่ง ประเด็นซึ่งเป็นเป้าหมายร่วมกันอาจเป็นการต่อต้านอำนาจนอกระบบ ซึ่งมักจะถูกหยิบขึ้นมาเป็นประเด็นเพื่อระดมไพร่พลในการแสดงพลังหรือกดดันพลังการเมืองแบบอำมาตย์ อันทำให้ดูราวกับว่าเป็นประเด็นนำของการเคลื่อนไหว

            แต่ในความเป็นจริงของความเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ทำให้มองเห็นได้ว่าในท่ามกลางความขัดแย้งระหว่างสีนั้น บัดนี้ได้มีการรอมชอมกันในหมู่ชนชั้นนำบังเกิดขึ้นแม้ว่าความรอมชอมนี้อาจไม่ยังไม่เป็นเอกภาพมากนักเนื่องจากความใหญ่โตและสลับซับซ้อนของเครือข่าย แต่ก็สามารถทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ในบางลักษณะให้กันและกัน

            ดังเช่นหากจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญก็ให้สามารถกระทำได้แต่ก็จะถูกจำกัดให้อยู่ในขอบเขตเพียงบางประเด็นเท่านั้น ไม่สามารถแก้ไขในทุกประเด็นที่เป็นโครงสร้างของระบบการปกครอง ไม่เพียงแค่ “ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข” เท่านั้น หากยังหมายรวมถึงอีกหลายสถาบันที่ยังต้องดำรงอยู่อีกต่อไป ในขณะที่การล้มรัฐบาลด้วยการทำงานองค์กรอิสระก็จะไม่บังเกิดขึ้นเช่นกัน

            จึงไม่เป็นที่น่าแปลกใจเมื่อทางคนในพรรคเพื่อไทยเองกลับออกมาเป็นผู้โจมตีข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์เรื่องยุบเลิกศาลรัฐธรรมนูญอย่างสาดเสียเทเสีย ทั้งที่เป็นข้อเสนอเพื่อจะนำไปสู่การสถาปนาอำนาจนำในทางการเมืองของรัฐสภาจากระบบเลือกตั้ง

            ความคาดหวังว่าพรรคการเมืองนี้จะเป็นผู้ถือธงนำในการเปลี่ยนแปลงจึงห่างไกลจากความเป็นจริงอยู่มาก

            แม้ว่าในพรรคเพื่อไทยอาจมีผู้มากความสามารถในการใช้วาทะปราศรัยเฉกเช่นเดียวกันกับพรรคประชาธิปัตย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในห้วงเวลาที่พรรคถูกรุมเร้าจากคู่แข่งขันทางการเมืองหรือในการต่อสู้ในห้วงเวลาคับขัน หรือในยามที่เกิดปัญหาขึ้นกับ “ตัวเอง” ก็จะพาร้องแรกแหกกระเชอถึงความอยุติธรรมเชิงโครงสร้าง แต่นอกจากเวทีปราศรัยแล้วนักปราศรัยเหล่านี้ก็ไม่ได้ปรากฏบทบาทในการขับเคลื่อนให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรมแต่อย่างใด

            ไม่ใช่เป็นเพียงเพราะความแหยหรือเพราะเป็นความไม่ได้เรื่องของบุคคลเท่านั้น แต่ปรากฏการณ์นี้สะท้อนให้เห็นว่าแม้กระทั่งในห้วงเวลาปัจจุบันพรรคเพื่อไทยก็ยังไม่ใช่สถาบันทางการเมืองที่ประชาชนสามารถเข้าไปกำหนดทิศทางได้ตามความต้องการ นายทุนหรือผู้มีอิทธิพลภายในพรรคยังสามารถชี้นิ้วให้นโยบายต่างๆ เดินหน้าหรือถอยหลังได้ ด้วยการมองถึงผลประโยชน์หรือความมั่นคงเฉพาะกลุ่มเฉพาะบุคคล

            คนเสื้อแดงที่อยู่ภายใต้เงาของพรรคเพื่อไทยจึงอาจจะต้องผิดหวังเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ หากไม่ตระหนักถึงความเป็นจริงข้อนี้

            คนเสื้อแดงทั้งหลายจึงต้องมองหาทางเดินของตนที่เป็นอิสระรวมถึงการสร้างอำนาจในการต่อรองกับพรรคเพื่อไทยให้เพิ่มมากขึ้น การจัดตั้งตนเองในทางสังคมจำเป็นต้องมีมากขึ้นไม่ว่าจะอยู่ภายใต้พรรคเพื่อไทยหรือไม่ก็ตาม โดยเป้าหมายสำคัญคือทำให้เสียงและความต้องการของกลุ่มตนต้องได้รับการให้ความสำคัญมากขึ้น กลไกต่างๆ เพื่อทำให้เสียงของคนเสื้อแดงได้รับการเคารพมากขึ้นต้องถูกผลักดันให้เกิดขึ้น เช่น การหยั่งเสียงข้างต้นภายในพรรคในการส่งผู้สมัคร ส.ส. เป็นต้น

            การร่วมทางกันสามารถเกิดขึ้นได้ในประเด็นที่มีความเห็นร่วมกัน ไม่จำเป็นที่จะต้องเดินตามต้อยๆ ไปในทุกแนวทางกับพรรคเพื่อไทยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นที่เป็นประโยชน์เฉพาะกลุ่มหรือเฉพาะคนเท่านั้น

            แม้การเดินออกนอกร่มเงาของพรรคเพื่อไทยอาจทำให้ถูกมองว่าเป็นการลดทอนพลังในการต่อสู้กับฝ่ายอำมาตย์หรือชนชั้นนำ แต่เช่นเดียวกันการอยู่ภายใต้ร่มเงาของพรรคโดยที่ไม่ได้มีกระบวนการผลักดันให้เกิดความเปลี่ยนแปลงแม้แต่กระผีกก็ไม่มีความหมายอันใดเช่นกัน

            ในทางตรงกันข้าม การสร้างฐานของคนเสื้อแดงให้มั่นคงมากขึ้นบนทิศทางที่เป็นประชาธิปไตยและสันติ อาจนำมาสู่การเชื่อมร้อยกับกลุ่มองค์กรต่างๆ ในทางสังคมได้มากขึ้น เพราะการผูกติดกับพรรคเพื่อไทยและการแสวงหาประโยชน์ของบางคนในพรรคก็เป็นข้อจำกัดในการทำให้คนเสื้อแดงไม่สามารถหา “พันธมิตร” ในทางการเมืองได้กว้างขวางเท่าที่ควร

            การเดินออกจากร่มเงาของพรรคเพื่อไทยเพื่อเป็น “คนเสื้อแดง” มากขึ้นอาจเป็นจุดเปลี่ยนเล็กๆ ที่สำคัญอันหนึ่งของความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในอนาคตอันไม่ไกลนี้  

 

 

 

    

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

“ภูเก็ต” ประกาศจัดตั้งสภาพลเมือง เดินหน้า “จังหวัดจัดการตนเอง”

Posted: 19 Jul 2012 09:12 AM PDT

“คณะทำงานภูเก็ตจัดการตนเอง” ประกาศเจตนารมณ์ร่วมเพื่อผลักดันภูเก็ตเป็นจังหวัดจัดการตนเอง-ตั้งสภาพลเมืองภูเก็ต เผยเส้นทางดำเนินงาน เริ่มตั้งแต่ปี 2525 ด้าน “สปร.” เผยยินดีสนับสนุน แนะวางแผนให้เป็นระบบ-กำหนดเป้าหมายชัดเจน

 
นายชาญเวช โชติกิจสมบูรณ์ ตัวแทนคณะทำงานภูเก็ตจัดการตนเอง กล่าวสรุปถึงแนวทางในการประชุมกลุ่มย่อยเพื่อยกร่างยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนสมัชชาปฏิรูประดับจังหวัดภาคใต้ จากการประชุม “การขับเคลื่อนสมัชชาปฏิรูประดับจังหวัดภาคใต้” ณ โรงแรมกรีนเวิล พาเลซ จ.สงขลา ระหว่างวันที่ 9-10 ก.ค.55 ว่า จากปัญหาและความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นใน จ.ภูเก็ต ทางคณะทำงานจึงมีเป้าหมายในการพัฒนา โดยประกาศเจตนารมณ์ร่วมเพื่อผลักดันภูเก็ตเป็นจังหวัดจัดการตนเองและจัดตั้งสภาพลเมืองภูเก็ต
 
นายชาญเวช กล่าวว่า จ.ภูเก็ต มีความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงระบบการบริหารเป็นลักษณะจัดการตนเองหลายครั้ง  โดยเริ่มต้นเมื่อวันที่ 25 ส.ค.2525 ในการร่วมกันเสนอญัตติเข้าสู่สภาฯ เรื่อง “ภูเก็ตกับการบริหารอิสระ” หลังจากนั้นในปี 2530 ได้มีการร่าง พ.ร.บ.บริหารราชการนครภูเก็ต โดยนายวีระ มุสิกพงศ์ และนายถวิล ไพรสณฑ์ จนนำไปสู่การสัมมนาเรื่องรูปแบบการปกครองภูเก็ตที่ควรจะเป็นในอนาคตโดยโครงการวิทยาลัยการเมือง สาขาวิชารัฐศาสตร์ ม.สุโขทัยธรรมาธิราช ร่วมกับ สภา จ.ภูเก็ต หอการค้า จ.ภูเก็ต เทศบาลเมืองภูเก็ต เมื่อวันเสาร์ที่ 3 เม.ย.2536 ที่เสนอให้เป็นภูเก็ตมหานคร
 
ต่อมาในปี 2540 ผศ.วุฒิสาร ตันไชย หัวหน้าคณะทำงานฯ ได้เก็บรวบรวมความคิดเห็นและความต้องการของท้องถิ่น โดย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์นำคณะทำงานเดินทางมาภูเก็ต มาหาข้อมูลและความคิดเห็นของชาวภูเก็ตในสมัยนายพงศ์พโยม วาศภูติ เป็นผู้ว่าราชการจังหวัด ช่วงรัฐบาลอดีตนายกฯ ทักษิณ มีการเสวนา "บทบาทผู้ว่า ซี อี โอ กับชาวภูเก็ต" เมื่อวันที่ 26 ก.ย.2544 จนมาถึงแนวคิดของ นายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกฯ ที่เสนอให้ภูเก็ตมีคณะกรรมการจังหวัดภูเก็ต 15 คน
 
นายชาญเวช กล่าวต่อไปว่า จากการวิเคราะห์ถึงสภาพปัญหาที่ผ่านมาพบว่า จ.ภูเก็ต ยังมีการพัฒนาอย่างไร้ทิศทางส่งผลให้ยากต่อการควบคุมปัญหาที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ปัญหาสังคม รวมไปถึงปัญหาการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืน และขาดประสิทธิภาพในการจัดการ ทั้งการบังคับใช้กฎหมายและกฎระเบียบที่ไม่เคร่งครัด ภาคประชาชนมีส่วนร่วมน้อย
 
“วิธีการที่ทางคณะทำงานคิดไว้คือ การพัฒนาทรัพยากรบุคคลในภูเก็ตให้มีความรู้ความสามารถเพิ่มขึ้น ปรับกระบวนการคิดสนับสนุนให้มีการคิดอย่างเป็นระบบ ปลูกฝังความสำนึกรักในพื้นที่บ้านเกิด สร้างภาคีและแลกเปลี่ยนความรู้ในการผลักดันให้เกิดความร่วมมือต่างๆ ตลอดจนสร้างวัฒนธรรมจิตสำนึกเพื่อส่วนรวม และกิจกรรมที่สนับสนุนให้มีพฤติกรรมที่ดีต่อสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมให้มีคุณภาพทางธุรกิจ มีภาวะความเป็นผู้นำ โดยมองไว้ว่าในอนาคตอาจจะตั้งคนในพื้นที่เป็นผู้ว่าฯ อย่างไรก็ตามข้อเสนอแนะต่างๆ ยังคงเป็นเพียงแนวทาง ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลาอย่างมากในการผลักดันให้เกิดขึ้นจริง" ตัวแทนคณะทำงานภูเก็ตจัดการตนเองกล่าว
 
นายชาญเวช กล่าวด้วยว่า ทั้งนี้ที่ผ่านมา จ.ภูเก็ต ได้ดำเนินการขับเคลื่อนขั้นตอนต่างๆ ด้วยตนเอง อาทิ การมีสื่อกลางเพื่อเผยแพร่ข่าวสารต่างๆ ไปยังประชาชน เพื่อสร้างองค์ความรู้และทำความเข้าใจ การสร้างกระแสให้กับชาวภูเก็ตเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการตกผลึกเรื่องจังหวัดจัดการตนเอง รวมถึงจัดทำเอกสารแจกใบปลิวให้ความรู้การทำประชาพิจารณ์ การจัดประชุมหารือทุกวันเสาร์ที่ 3 ของเดือน การจัดเวทีย่อยโดยรวบรวมความเห็นจากผู้บริหารท้องถิ่น มีเวทีใหญ่ 3 - 6 เดือนต่อครั้ง เป็นต้น ซึ่งได้รับความร่วมมือจากประชาชนเป็นอย่างดี
 
“สิ่งที่มุ่งหวังจากนี้คือ ต้องการความช่วยเหลือจากทางรัฐบาลในด้านของวิธีการ เช่น พัฒนาคนอย่างไร สร้างองค์ความรู้อย่างไร การจัดการด้านงบประมาณ รวมถึงภาคีความร่วมมือต่างๆ ซึ่งในอนาคตหากได้รับการสนับสนุน ปัญหาเดิมที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขหรือแก้ไขได้อย่างไม่เต็มที่และปัญหาใหม่ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องแม้กระทั่งปัญหาเก่าที่พัฒนาเป็นปัญหาซับซ้อน ก็จะค่อยๆ ลดลงจากเมืองภูเก็ตอย่างแน่นอน” นายชาญเวช กล่าว
 
ด้าน นางวณี ปิ่นประทีป รองผู้อำนวยการสำนักงานปฏิรูป (สปร.) กล่าวว่า สำหรับแนวคิดเกี่ยวกับ “จังหวัดจัดการตนเอง” ที่หลายคนมองว่าเป็นการกระจายอำนาจสู่ประชาชนนั้น ทาง สปร.ได้เปลี่ยนมาใช้คำว่า การคืนอำนาจสู่ประชาชน เพื่อจัดการกับปัญหาของตนเอง และส่งผลให้เกิดการพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรม
 
“สปร. ได้มองไว้ว่าจังหวัดจัดการตนเองในภาคเหนือคือ เชียงใหม่ ภาคอีสานคือ อำนาจเจริญ และจะยินดีสนับสนุนอย่างยิ่งหากภาคใต้จะมีจังหวัดจัดการตนเองเป็น จ.ภูเก็ต เพียงแต่ต้องการเห็นการวางแผนที่เป็นระบบ และกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน ทาง สปร.ซึ่งมีหน้าที่สนับสนุน และผลักดันให้เกิดการพัฒนาจนนำไปสู่การปฏิรูป ยินดีจะส่งเสริมความคาดหวังของชาวภูเก็ตให้เกิดขึ้นอย่างเต็มที่” รองผู้อำนวยการ สปร.กล่าว
 
สำหรับข้อเสนอแนะ นางวณีกล่าวว่า สิ่งสำคัญของยุทธศาสตร์ คือ ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนโดยเฉพาะคนในชุมชน ฉะนั้นการสื่อสารจึงเป็นกระบวนการที่จำเป็นอย่างยิ่งแต่แทนที่จะใช้การชวนเข้าร่วมโดยตรง ควรจะเลี่ยงเป็นการให้ความรู้ สร้างความเข้าใจจนกว่าประชาชนจะเกิดความตระหนัก ยอมรับและเห็นด้วย 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ตรรกะของปัญหาและข้อเสนอทางออกจากวิกฤติสังคมการเมืองไทย

Posted: 19 Jul 2012 09:10 AM PDT

1. ถึงแม้ปัญหาความขัดแย้งของการเมืองไทยรอบนี้จะมีจุดเริ่มต้นมาจากความขัดแย้งระหว่างกลุ่มชนชั้นนำ (Power Elites) แต่เทคโนโลยีสารสนเทศปัจจุบันได้ดึงประชาชนจำนวนมากเข้าสู่วังวนความขัดแย้งด้วย เพราะคู่ความขัดแย้งแต่ละฝ่ายต่างใช้เทคโนโลยีสารสนเทศขยายฐานมวลชนเพื่อแสวงหาการสนับสนุนจากประชาชนวงกว้าง โดยฝ่าย ‘เสื้อแดง’ อาศัยกรอบอุดมการณ์ ‘ลัทธิประชาธิปไตย’ เป็นหลักยึด และพยายามชี้ให้ประชาชนเห็น ‘วงจรปัญหา’ (Vicious Circle) ของอำนาจพิเศษที่อยู่เหนือการตรวจสอบควบคุมโดยประชาชน ตามวิถีทางประชาธิปไตย ซึ่งนำไปสู่วงจร ‘รัฐประหาร - ฉีกรัฐธรรมนูญ  -  ร่างรัฐธรรมนูญ  -  รัฐประหาร......’ เพื่อเป็นกรอบอ้างอิงความชอบธรรมในการต่อสู้ทางการเมือง ขณะที่ฝ่าย ‘เสื้อเหลือง’ อาศัยกรอบอุดมการณ์ ‘ลัทธิจารีตนิยม’ เป็นหลักยึด และพยายามชี้ให้ประชาชนเห็น ‘วงจรปัญหา’ ความเสื่อมคุณธรรมจริยธรรมของนักการเมือง ซึ่งนำไปสู่การ ‘ซื้อเสียง  -  เข้าสู่อำนาจรัฐ  -  โกงกิน  -  ซื้อเสียง......’ เพื่อเป็นกรอบอ้างอิงความชอบธรรมในการต่อสู้ทางการเมืองของฝ่ายตน

2. จากข้อ 1. การเจรจาประสานประโยชน์ระหว่างกลุ่มชนชั้นนำเพื่อให้สังคมการเมืองไทยคืนกลับสู่ความสงบเรียบร้อยในสถานะเดิม (status quo) เหมือนก่อนเหตุการณ์รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 จึงเป็นไปได้ยาก เพราะคู่ความขัดแย้งแต่ละฝ่ายจะอธิบายกับมวลชนของฝ่ายตนไม่ได้ว่า การที่ไปชักชวนประชาชนให้ออกมาร่วมต่อสู้เพื่ออุดมการณ์ทางการเมืองนั้น ๆ จนมีคนบาดเจ็บล้มตายจำนวนมาก ด้วยหวังจะมีส่วนร่วมขับเคลื่อนบ้านเมืองไปสู่ ‘การเมืองที่เป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง’ (ตามอุดมการณ์ของฝ่ายเสื้อแดง) หรือเกิด ‘การเมืองที่มีคุณธรรม’ (ตามอุดมการณ์ของฝ่ายเสื้อเหลือง) แต่สุดท้ายเมื่อกลุ่มชนชั้นนำเจรจาแบ่งปันอำนาจและผลประโยชน์ลงตัว แล้วจะให้บ้านเมืองหวนคืนกลับสู่สถานะเดิมของ ‘การเมืองที่ไม่เป็นประชาธิปไตย’ หรือ ‘การเมืองที่ไม่มีคุณธรรม’ ดังนี้มวลชนทั้ง 2 ฝ่ายก็เท่ากับถูกหลอกให้ออกมาเสี่ยงชีวิตต่อสู้อย่างสูญเปล่าเพื่อผลประโยชน์ของกลุ่มชนชั้นนำ โดยที่ไม่ได้ช่วยให้บ้านเมืองดีขึ้นตามอุดมการณ์ของการต่อสู้ที่แต่ละฝ่ายโฆษณาปลุกเร้ามวลชนฝ่ายตนไว้

3. จากข้อ 2. การต่อสู้ทางการเมืองรอบนี้ได้ทำให้ประชาชนจำนวนมากตระหนักถึง ‘วงจรปัญหา’ ของภาวะความแปลกแยก (Alienation) จาก ‘ประชาธิปไตยที่มีคุณภาพ’ และ ‘ประชาธิปไตยที่มีคุณธรรม’ ซึ่งแฝงอยู่ในระบบสังคมการเมืองไทยนับแต่การปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดิน พ.ศ. 2475 มองในอีกแง่หนึ่งความขัดแย้งทางการเมืองรอบนี้จึงเท่ากับเป็นพลังขับเคลื่อนทางประวัติศาสตร์ เพื่อยกระดับสังคมการเมืองไทยให้อภิวัฒน์สู่ความเจริญงอกงามขึ้นอีกขั้น (จนพ้นจากภาวะความขัดแย้งแปลกแยกดังกล่าว) ตามตรรกะของ ‘กฎวิภาษวิธี’ (Dialectic) ในทางปรัชญาการเมือง เพราะการจักนำพาบ้านเมืองไปสู่ความปรองดองสมานฉันท์ได้ จำเป็นต้องเสนอ ‘เส้นทาง’ (road map) ที่จะยกระดับสังคมการเมืองไทยให้ ‘ก้าวไปข้างหน้า’ สู่ ‘ประชาธิปไตยที่มีคุณภาพ’ และ ‘ประชาธิปไตยที่มีคุณธรรม’ ไม่ใช่การ ‘ถอยหลังกลับสู่สถานะเดิม’ ของ ‘การเมืองที่แปลกแยกจากประชาธิปไตย’ และ ‘การเมืองที่แปลกแยกจากคุณธรรม’ ดังเช่นที่ผ่านมาในอดีต โดยถ้าหากมวลชนทั้ง 2 ฝ่ายที่ขัดแย้งกันอยู่ต่างมองเห็นหนทางที่จะร่วมกันยกระดับสังคมการเมืองไทยสู่เป้าหมายในอุดมคติตามที่ตนเองต่อสู้เรียกร้อง และเห็นว่าถ้ามัวแต่ไม่ยอมกันในเรื่องปลีกย่อยบางเรื่องต่อไป ก็จะกลายเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการขับเคลื่อนบ้านเมืองไปสู่จุดหมายที่ยิ่งใหญ่กว่าตาม ‘เส้นทาง’ ดังกล่าว ถึงตอนนั้นการออกกฎหมายนิรโทษกรรม อภัยโทษ ฯลฯ ก็จะเกิดตามมาเองโดยที่ไม่มีฝ่ายไหนคัดค้าน (หรือถึงมีก็จะกลายเป็นเพียงเสียงส่วนน้อยของสังคมที่ไม่มีพลังอะไร)

4. สาเหตุที่การเมืองไทยแปลกแยกจากหลัก ‘ประชาธิปไตยที่มีคุณธรรม’ ก็เพราะเรานำแนวคิดประชาธิปไตยซึ่งสะท้อนผ่านภาษาที่เป็นกุญแจสำคัญคือคำว่า ‘สิทธิ’ เข้ามาใช้กับบ้านเมืองเรา โดยที่เข้าใจแค่ความหมายในระดับ ‘โครงสร้างส่วนผิวพื้น’ (Surface Structure) ของคำ ๆ นี้ แต่หาได้เข้าใจถึงความหมายในระดับ ‘โครงสร้างส่วนลึก’ (Deep Structure) ของคำดังกล่าว ที่ยึดโยงอยู่กับเงื่อนไขทางสังคมวิทยาของแต่ละวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน (ตัวอย่างเช่น คำว่า ‘กู-มึง’ ในโครงสร้างส่วนผิวพื้นแห่งความหมาย คือสรรพนามที่เรียกบุรุษที่ 1 และ 2 แต่ความหมายในระดับโครงสร้างส่วนลึกของภาษาโดยเมื่อหลวงพ่อคูณใช้คำว่า ‘กู-มึง’ เรียกตัวเองกับลูกศิษย์ จะแตกต่างจากที่อาจารย์ซึ่งมีการศึกษาและอยู่ในเมืองใช้เรียกตัวเองกับลูกศิษย์ เป็นต้น) ทั้งนี้เนื่องจากพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของอารยธรรมยิว-คริสเตียน ได้เชื่อมโยงคำอธิบายความหมายของคำว่า ‘สิทธิ’ เข้ากับรากฐานทางจริยปรัชญาของสังคมตะวันตก ด้วยการอธิบายว่าสิทธิเป็นสิ่งที่พระเจ้าประทานให้กับมนุษย์นับแต่สร้างมนุษย์คู่แรก และให้สิทธิที่มนุษย์จะบริโภคใช้สอยสิ่งต่าง ๆ ในโลกที่พระเจ้าสร้างขึ้นนี้ สิทธิจึงมีความ ‘ศักดิ์สิทธิ์’ อันพึงที่มนุษย์จักต้อง ‘เคารพในสิทธิของตัวเอง’ ด้วยการใช้สิทธิดังกล่าวในทางที่สอดคล้องกับเจตจำนงของพระเจ้าผู้ประทานสิทธิให้แก่มนุษย์ ตลอดจนต้อง ‘เคารพในสิทธิของผู้อื่น’ ด้วย เพราะมาจากการประทานของพระเจ้าเช่นกัน (อันเป็นรากฐานของมโนทัศน์เรื่อง ‘สิทธิมนุษยชน’ ที่มีความสำคัญในอารยธรรมตะวันตก) เมื่อสังคมไทยนำคำว่า ‘สิทธิ’ ในลัทธิประชาธิปไตยเข้ามาใช้บนพื้นฐานของโครงสร้างส่วนลึกทางสังคมที่แตกต่างกัน โดยเข้าใจแค่ความหมายของสิทธิในระดับโครงสร้างส่วนผิวพื้นว่า คือ เสรีภาพที่มนุษย์จะกระทำอะไรก็ได้ตราบเท่าที่ไม่ไปล่วงละเมิดสิทธิของผู้อื่นจนผิดกฎหมาย ฉะนั้นถึงนักการเมืองคนใดจะมีข้อบกพร่องทางด้านคุณธรรมจริยธรรม แต่ตราบเท่าที่บุคคลผู้นั้น ยังไม่ได้ทำผิดกฎหมายจนถูกดำเนินคดี และประชาชนส่วนใหญ่พร้อมใจกันเลือกตั้งให้เข้ามาดำรงตำแหน่งทางการเมือง ก็เป็น ‘ความชอบธรรม’ ที่นักการเมืองผู้นั้นจะพึงเข้าสู่อำนาจรัฐได้ ประชาธิปไตยบนพื้นฐานแห่งการเข้าใจความหมายของ ‘สิทธิ’ เช่นนี้จึงไม่มีความเชื่อมโยงทางตรรกะอะไรกับเรื่องคุณธรรมจริยธรรม (ซึ่งแตกต่างจากประชาธิปไตยของสังคมตะวันตก) ในที่สุดก็ทำให้การเมืองไทยแปลกแยกจาก ‘ประชาธิปไตยที่มีคุณธรรม’

5. สาเหตุที่การเมืองไทยแปลกแยกจาก ‘ประชาธิปไตยที่มีคุณภาพ’ ก็เพราะคนไทยส่วนใหญ่ไม่เข้าใจตรรกะของ ‘สัญญาประชาคม’ (Social Contract) ที่เป็นรากฐานทางปรัชญาการเมืองของลัทธิประชาธิปไตย ซึ่งถือว่า ‘สิทธิ’ เป็นแก่นสารคุณค่า (Virtue) ที่มีอยู่ในตัวมนุษย์ทุกคน แต่ความจำเป็นต้องรวมกันอยู่เป็นระบบสังคมเพื่อช่วยเหลือกันในการต่อสู้กับภัยต่าง ๆ ทำให้มนุษย์หันมาทำข้อตกลงร่วมกันที่จักสละ ‘สิทธิส่วนน้อย’ เพื่อสถาปนาอำนาจรัฐขึ้น และอาศัยอำนาจที่เป็นทางการของรัฐ (Authority) ช่วยปกป้อง ‘สิทธิส่วนใหญ่’ (ที่เหลือ) ของประชาชน เช่น ยินยอมให้รัฐมีอำนาจเรียกเก็บภาษีเหนือ ‘สิทธิในทรัพย์สินส่วนบุคคล’ จำนวนหนึ่ง เพื่อรัฐจะได้มีเงินงบประมาณไปจ้างตำรวจหรือทหารมาช่วยปกป้องคุ้มครองสิทธิของประชาชนไม่ให้ถูกละเมิดจากโจรผู้ร้ายภายในหรือจากศัตรูภายนอกประเทศ เป็นต้น รัฐจึงจำเป็นต้องใช้อำนาจที่มาจากประชาชนโดยทางที่ ‘ให้สิทธิเสรีภาพแก่ประชาชนมากที่สุด’ และ ‘อย่างเสมอภาคเท่าเทียมกันที่สุด’ ตามหลัก ‘ความยุติธรรมในฐานะแห่งความเป็นธรรม’ (Justice as Fairness) เพราะเมื่อรัฐไม่สามารถผูกขาดการนิยามความหมายของคำว่า ‘คุณธรรม’ เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ตัดสินความ ‘ถูก-ผิด’ ของผู้คนในสังคมเหมือนรัฐเทวสิทธิ์ (Divine Right) ในอดีตที่ยึดโยงกับศาสนาต่าง ๆ เนื่องจากประชาชนที่มาร่วมทำสัญญาประชาคมอาจมีความเชื่อด้านคุณธรรมแตกต่างกันไปตามศาสนาที่ตนศรัทธานับถือ ฉะนั้นจึงมีความจำเป็นต้องอาศัย ‘หลักนิติธรรม’ มาเป็นเครื่องตัดสิน ‘ความถูก-ผิด’ ของผู้คนในสังคมแทนหลักคุณธรรมทางศาสนา ด้วยการถือหลักว่าคนที่ละเมิดกฎหมาย ก็คือคนที่ละเมิดต่อหลักคุณธรรมขั้นพื้นฐานที่ผู้คนยอมรับให้เป็นบรรทัดฐานในการตัดสินความถูก-ผิด ดี-ชั่ว ร่วมกันในสังคม ทั้งนี้เพื่อนำไปสู่ ‘ข้อยุติโดยธรรม’ (อันเป็นรากศัพท์แห่งความหมายของคำว่า ‘ยุติธรรม’) ที่จะยึดโยงให้ผู้คนในสังคมสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างปรกติสุข การที่สังคมไทยยินยอมให้มีการตีความกฎหมายและบังคับใช้กฎหมายแบบ ‘สองมาตรฐาน’ ตลอดจนสมยอมให้มีการเขียนรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 มาตรา 309 ขึ้นมาปกป้องการใช้กฎหมายโดยทางที่ขัดต่อ ‘หลักความยุติธรรมในฐานะแห่งความเป็นธรรม’ จึงสะท้อนให้เห็นถึงภาวะความแปลกแยกจาก ‘ตรรกะของหลักประชาธิปไตย’ ซึ่งส่งผลทำให้เกิด ‘ประชาธิปไตยที่ไม่มีคุณภาพ’ ในบ้านเมืองเรา

6. สิ่งที่คลี่คลายจากตรรกะของสัญญาประชาคมในลัทธิประชาธิปไตย ก็คือหลัก ‘สิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาค’ แต่สัญญาใด ๆ ก็อาจถูกฉีกทิ้งได้ถ้าหากคู่สัญญาดังกล่าวไม่มีสำนึกในความเป็น ‘คนพวกเดียวกัน’ ที่จักต้องช่วยเหลือเกื้อกูลกันเป็นพิเศษยิ่งกว่า ‘คนพวกอื่น’ ที่อยู่นอกพันธะสัญญานั้น ด้วยเหตุนี้ลัทธิประชาธิปไตยจึงต้องอาศัยหลัก ‘ภราดรภาพ’ ในโครงสร้างส่วนลึกทางสังคม เพื่อเป็นพื้นฐานรองรับหลัก ‘สิทธิเสรีภาพและความเสมอภาค’ ในโครงสร้างส่วนบนทางสังคม ขณะที่ภายใต้การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของไทยนั้น รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งจะทำหน้าที่สร้างหลักประกันด้าน ‘สิทธิเสรีภาพและความเสมอภาค’ ให้กับประชาชน ส่วนสถาบันพระมหากษัตริย์จะทำหน้าที่สร้างหลักประกันด้าน ‘ความเป็นภราดรภาพ’ แห่งตัวตนของความเป็นไทยให้กับสังคม มองในแง่นี้สถาบันพระมหากษัตริย์จึงไม่ได้ขัดแย้งอะไรกับประชาธิปไตย ตรงข้ามกลับเป็นหลักประกันที่ช่วยทำให้ประชาธิปไตยมีความมั่นคงเป็นปึกแผ่นยิ่งขึ้นด้วยซ้ำ การที่สังคมไทยปล่อยให้ ‘การเมือง’ ดึงสถาบันพระมหากษัตริย์ลงมาเป็นเครื่องแบ่งแยกทำลายพรรคการเมืองฝ่ายหนึ่ง เพื่อประโยชน์ของพรรคการเมืองและกลุ่มกดดันทางการเมืองอีกฝ่ายหนึ่ง จนกระทบต่อบทบาทการทำหน้าที่สร้าง ‘ความเป็นภราดรภาพ’ แห่งสังคมไทยของสถาบันพระมหากษัตริย์ จึงเป็นเรื่องอันตรายยิ่งถึงขั้นคุกคามต่อเสถียรภาพในระดับของ ‘ระบอบการเมือง’ (Political Regime) ภายใต้การปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

7. ทุกระบบสังคมการเมืองจำเป็นต้องมี ‘โครงสร้างทางวัฒนธรรม’ ที่เกิดจากการผสมผสานรากฐานทางจริยปรัชญา ความเชื่อทางศาสนา เรื่องเล่าทางประวัติศาสตร์ ตำนาน พิธีกรรม ฯลฯ เพื่อสร้าง ‘ศาสนาของพลเมือง’ หรือ ‘ธรรมะแห่งความเป็นพลเมือง’ (Civic Religion) ขึ้นมาทำหน้าที่ ‘สะกด’ ความต้องการ (Demand) ของผู้คนในสังคม ไม่ให้ขยายตัวเกินกว่าขอบเขตที่ทรัพยากรและโครงสร้างของระบบสังคมการเมืองนั้น ๆ จะสามารถรองรับและตอบสนอง (Support) ได้ ประมุขของแต่ละประเทศจะมีบทบาทสำคัญในการปลูกฝัง ‘ธรรมะแห่งความเป็นพลเมือง’ ให้กับผู้คนในชาติ ดังเช่นสุนทรพจน์ของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาที่ตอกย้ำให้คนอเมริกันเชื่อว่าตนเป็นชาติที่ ‘พระเจ้าทรงเลือกแล้ว’ เป็นต้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ก็คือองค์พระประมุขของชาติที่ทรงทำหน้าที่ปลูกฝังธรรมะแห่งความเป็นพลเมืองให้กับสังคมไทย ผ่านพระราชดำรัสและพระบรมราโชวาทต่าง ๆ มองในแง่นี้ วาทกรรม (Discourse) แห่ง ‘เศรษฐกิจพอเพียง’ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ที่อธิบายจากกรอบความคิดของหลักพุทธธรรมอันเป็นรากฐานทางจริยปรัชญาของสังคมไทย จึงอาจเป็น ‘กุญแจสำคัญ’ ในการสร้างธรรมะแห่งความเป็นพลเมืองสำหรับคนไทย เพื่อนำประเทศชาติไปสู่ ‘ประชาธิปไตยที่มีคุณธรรม’ และ ‘ประชาธิปไตยที่มีคุณภาพ’ จนสามารถหลุดพ้นจากวงจรปัญหาความขัดแย้งแตกแยกในบ้านเมืองทุกวันนี้

8. ในอัคคัญญูสูตร ฑีฆนิกาย ปาฏิกวรรค พระพุทธเจ้าได้ตรัสเล่าถึงทฤษฎีกำเนิดอำนาจรัฐด้วยตรรกะที่คล้ายคลึงกับทฤษฎีสัญญาประชาคมของลัทธิประชาธิปไตย แต่มีลำดับขั้นที่ลึกกว่าในคำอธิบาย โดยทรงเล่าถึงรากฐานที่มาแห่งอำนาจรัฐว่า ในภาวะดั้งเดิมตามธรรมชาติ (State of Nature) ก่อนที่รัฐจะถือกำเนิดขึ้นมาครอบงำสังคมมนุษย์นั้นผู้คนได้อยู่รวมกันเป็นสังคมอย่างสันติสุขท่ามกลางความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศในธรรมชาติ และ ‘ความพอเพียง’ ในการบริโภคของมนุษย์ ต่อมามีบางคนเกิดความโลภและความเกียจคร้านโดยเริ่มสะสมกักตุน ‘ผลผลิตส่วนที่เกินจากความจำเป็นหรือความพอเพียงขั้นพื้นฐาน’ สำหรับเก็บไว้เพื่อบริโภค เมื่อคนอื่นเห็นเข้าก็เลียนแบบทำตาม จนในที่สุดระบบนิเวศได้เริ่มสูญเสียความอุดมสมบูรณ์ไปเพราะไม่พอต่อการรองรับ ‘ความต้องการส่วนเกินความพอเพียง’ ของมนุษย์ และเริ่มมีความขาดแคลนเกิดขึ้นในสังคม ความขาดแคลนเป็นเหตุปัจจัยนำไปสู่การก่อเกิด ‘สถาบันกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินส่วนบุคคล’ (Property Right) ดังเช่นน้ำสะอาดสมัยก่อนที่มีให้ผู้คนบริโภคอย่างเหลือเฟือ ก็ไม่มีใครคิดเอาน้ำสะอาดมาขายกัน แต่ปัจจุบันเมื่อน้ำฝนที่ตกลงมามีสารปนเปื้อนจนดื่มกินไม่ได้ ก็เกิดการนำน้ำสะอาดมาบรรจุขวดขาย เป็นต้น กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินส่วนบุคคลเป็นมูลเหตุนำไปสู่การ ‘ละเมิดสิทธิ์’ ตลอดจนการทะเลาะวิวาทและทำร้ายกันเกิดขึ้น ผลที่สุดผู้คนก็หันมาทำข้อตกลงร่วมกันที่จักสถาปนา ‘อำนาจที่เป็นทางการ’ (Authority) ขึ้นมาไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางสังคม จนพัฒนาไปสู่การกำเนิดของ ‘มหาชนสมมติ กษัตริย์ และราชา’ ที่เป็น ‘สถาบันอำนาจรัฐ’ ขึ้นมาครอบงำระบบสังคมมนุษย์ ฉะนั้นการจักหวนคืนกลับสู่ภาวะดั้งเดิมแห่งความมี ‘สิทธิเสรีภาพอันไพบูลย์’ ซึ่งเป็นสังคมในอุดมคติของลัทธิประชาธิปไตย จึงมีความจำเป็นทางตรรกะที่มนุษย์จะต้องหันมา ‘ลดความโลภ’ เพื่อให้เข้าถึง ‘ความพอเพียง’ ในชีวิตยิ่ง ๆ ขึ้น ภายใต้คำอธิบายในเชิงปรัชญาการเมืองเช่นนี้ วาทกรรมแห่ง ‘เศรษฐกิจพอเพียง’ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จึงมีพลังที่จะเป็นสะพานเชื่อมมโนทัศน์ซึ่งสะท้อนผ่านคำว่า ‘สิทธิ’ ในลัทธิประชาธิปไตยให้กลืนเข้ากับรากฐานทางจริยปรัชญาของสัมคมไทยที่ตั้งอยู่บนหลักพุทธศาสนา จนนำไปสู่ ‘ประชาธิปไตยที่มีคุณธรรม’ ซึ่งก็มีความเชื่อมโยงทางตรรกะจนกลายเป็นเนื้อเดียวกับ ‘ประชาธิปไตยที่มีคุณภาพ’ ด้วย (เพราะทฤษฎีกำเนิดอำนาจรัฐในอัคคัญญสูตรดังกล่าวไม่มีความขัดแย้งทางตรรกะอะไรกับทฤษฎีสัญญาประชาคมในลัทธิประชาธิปไตย ตรงข้ามกลับช่วยปิดจุดอ่อนของลัทธิประชาธิปไตยที่นำไปสู่การเบียดเบียนกันของมนุษย์ ภายใต้วัฒนธรรม ‘ทุนนิยม-บริโภคนิยม’ ในโลกทุกวันนี้) เฉกเช่นเดียวกับที่สังคมตะวันตกสามารถเชื่อมโยงคำอธิบายเรื่อง ‘สิทธิ’ ให้กลืนเข้ากับรากฐานทางจริยปรัชญาของอารยธรรมยิว-คริสเตียนที่มี ‘พระเจ้า’ เป็นศูนย์กลางของความเชื่อ จนทำให้ประชาธิปไตยของสังคมตะวันตกมีความมั่นคงเป็นปึกแผ่น

9. ถ้าสมมติฐานที่กล่าวมาทั้งหมดถูกต้อง เราก็อาจมีหนทางนำพาบ้านเมืองไปสู่ความปรองดองสมานฉันท์ได้ด้วยการ
9.1 อาศัยการตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาเพื่อยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เป็นเครื่องมือชักนำให้คนไทยทุกฝ่ายหันมาร่วมกันสร้าง ‘จินตภาพใหม่’ ของสังคมประชาธิปไตย ‘ที่มีคุณธรรมและมีคุณภาพ’ แทนความพยายามที่จะถอยหลังคืนกลับสู่สถานะเดิมของระบบสังคมการเมืองตาม ‘จินตภาพเก่า’ ที่ผ่านพ้นยุคสมัยไปแล้วของกลุ่มชนชั้นนำบางคน (ในคู่ความขัดแย้งทั้งสองฝ่าย) เพื่อสร้าง ‘เป้าหมายร่วม’ ที่เป็นเสมือนสัญญาประชาคมใหม่ของคนไทยทั้งประเทศ รวมถึงแนวทางหลัก ๆ ที่จะนำไปสู่เป้าหมายดังกล่าว

9.2 ทำให้หลัก ‘ความยุติธรรมในฐานะแห่งความเป็นธรรม’ (Justice as Fairness) คืนกลับสู่สังคมไทย ด้วยการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 309 เพื่อเปิดโอกาสให้คนไทยทุกฝ่าย (รวมถึงอดีตนายกฯ ทักษิณ)  มีโอกาสที่จะต่อสู้คดีเพื่อปกป้องความบริสุทธิ์ของตนเอง ภายใต้กระบวนการยุติธรรมปรกติที่เป็น ‘มาตรฐานเดียว’ ของบ้านเมือง เพื่อจักเป็นเครื่องนำไปสู่ ‘ข้อยุติโดยธรรม’ ในการอยู่ร่วมกันอย่างปรกติสุขของสังคมไทย (แต่ไม่ใช่การออกกฎหมายนิรโทษกรรมเพื่อล้มล้างความผิดในคดีต่าง ๆ)

9.3 การจักบรรลุวัตถุประสงค์ตามข้อ 9.1 และ 9.2 ได้ จะต้องทำให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้เป็นเรื่องของ ‘คนไทยทั้งประเทศ’ ซึ่งประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางมากที่สุด จนกลุ่มการเมืองแต่ละฝ่ายที่ขัดแย้งกันอยู่ต่างก็ไม่เกิด ‘ความกลัว’ ว่าอีกฝ่ายจะสามารถเข้ามาครอบงำการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในทางที่เป็นโทษต่อฝ่ายตน แล้วออกมาต่อต้านคัดค้านเพราะความหวาดระแวงกลัวดังกล่าว

9.4 ขณะที่การแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 18 ฉบับที่ผ่านมา ไม่สามารถช่วยให้ระบบสังคมการเมืองไทยเกิดเสถียรภาพ อันแสดงให้เห็นว่าถึงแม้การแก้ไขรัฐธรรมนูญอาจจะเป็น ‘เงื่อนไขจำเป็น’ แต่ไม่ใช่ ‘เงื่อนไขที่พอเพียง’ สำหรับการสร้างประชาธิปไตยที่มีคุณธรรมและมีคุณภาพในสังคมไทย ฉะนั้นการสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้กับประชาชนเพื่อให้เข้าถึง ‘วัฒนธรรมทางการเมือง’ (Political Culture) ของประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ ผ่านวาทกรรมแห่ง ‘เศรษฐกิจพอเพียง’ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ (ตามสมมติฐานข้อ 7,8) จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องดำเนินควบคู่พร้อมกันไป โดยรัฐบาลสามารถใช้กองทุนต่าง ๆ ที่มีอยู่แล้ว อาทิ กองทุนพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (SML) และกองทุนชุมชนพอเพียง เป็นต้น เพื่อเป็นเครื่องมือสร้างการเรียนรู้ประชาธิปไตยที่มีคุณธรรมและมีคุณภาพในระดับหมู่บ้านชุมชนทั่วประเทศจากการลงมือปฏิบัติจริงสำหรับรองรับประชาธิปไตยในระดับประเทศ ผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่ที่มีต้นทุนต่ำและสามารถดำเนินการในขอบเขตที่กว้างขวางครอบคลุมทุกหมู่บ้านชุมชนทั่วประเทศพร้อมกันได้

9.5 ถ้าหากคนไทยทุกฝ่ายต่างมองเห็น ‘เส้นทาง’ ที่จะยกระดับสังคมการเมืองไทยให้อภิวัฒน์สู่ความเจริญงอกงามยิ่งขึ้นดังนี้แล้ว และเห็นว่าคดีร้ายแรงต่าง ๆ ที่แต่ละฝ่ายมีชนักติดหลังอยู่นั้นจะเป็นอุปสรรคต่อการขับเคลื่อนสังคมการเมืองไทยให้ก้าวไปข้างหน้า ถึงตอนนั้นการพิจารณาเรื่องออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้กับทุกฝ่าย ก็จะไม่มีใครต่อต้านคัดค้าน เสมือนการแก้เงื่อนปมของกลุ่มด้ายถูกทางในขั้นต้นแล้ว เงื่อนปมอื่นก็จะค่อย ๆ คลี่คลายเองตามลำดับ ๆ แต่ถ้าแก้ไขผิดลำดับขั้นทางตรรกะ เงื่อนปมก็จะยิ่งขมวดกันยุ่งเหยิงมากขึ้นกว่าเดิมฉันใด การนำพาบ้านเมืองออกจากวิกฤติปัญหาความขัดแย้งรอบนี้ก็มีลักษณะดุจเดียวกันฉันนั้น

    

 ______________________________________________________________________________________

 * ข้อสรุปจากเนื้อหาในหนังสือ ‘สังคมวิทยาของความแตกแยกในระบบสังคมการเมืองไทย’ และ ‘ทางสู่ความปรองดองของชาติ’ โดย สุนัย เศรษฐ์บุญสร้าง

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

“3 ปี ชุมชนบ่อแก้ว” จากผู้สูญเสียที่ดินทำกิน สู่เกษตรวิถีอินทรีย์

Posted: 19 Jul 2012 06:36 AM PDT

ครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสาน 16 พื้นที่ จัดงาน “ครบรอบ 3 ปี ชุมชนบ่อแก้ว” ประกาศเป็นชุมชนเกษตรกรรมอินทรีย์ พึ่งพาตนเอง ลดการนำเข้าปัจจัยการผลิตจากภายนอก หวังความมั่งคงในผืนดินจนถึงลูกหลาน หลัง อ.อ.ป.เข้าปลูกป่ายูคา-ไล่ชาวบ้านจากพื้นที่ นานกว่า 30 ปี
 
 
 
จากปัญหาการจัดการที่ดินของรัฐ ที่ทับถมด้วยวิถีการผลิตที่เกษตรกรต้องเป็นผู้แบกรับภาระจนเกินจะทานทนไหว ทำให้ชาวชุมชนบ่อแก้วก้าวเข้าสู่การจัดการที่ดินเพื่อความยั่งยืน โดยการทำเกษตรอินทรีย์ การเกษตรที่ชาวบ้านสามารถบริหารจัดการ ด้วยความคาดหวังถึงความมั่งคงในผืนดินตลอดไปจนลูกหลาน
 
เมื่อวันที่ 16 – 17 ก.ค.55 ชาวบ้านชุมชนบ่อแก้ว ต.ทุ่งพระ อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ ร่วมกับเครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสาน 16 พื้นที่ จัดงาน “ครบรอบ 3 ปี ชุมชนบ่อแก้ว” โดยมีสมาชิกเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย อาทิ เครือข่ายปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัด สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ สภาองค์กรชาวบ้านป่าดงลาน ฯลฯ เข้าร่วม
 
เป้าหมายการจัดงานครั้งนี้ เพื่อเรียกร้องสิทธิ์การจัดการที่ดิน และร่วมการสร้างการเรียนรู้และสร้างความเข้าใจให้กับผู้เสียสิทธิ์ในสังคมไทย รวมทั้งเป็นการนำเสนอช่องทางต่อหน่วยงานภาครัฐในที่ดินทำกิน ให้ร่วมจัดการแก้ไขปัญหาด้วยความถูกต้อง
 
บรรยากาศของงานในวันนั้น ชาวบ้านและเครือข่ายกว่า 300 คน แห่ขบวนกลองยาว ร่วมกันฟ้อนรำ จากจุดเริ่มขบวนถึงปากทางเข้าชุมชนบ้านบ่อแก้ว จากนั้นจึงร่วมกันทำพิธีมอบป้าย “เกษตรกรรมอินทรีย์บ้านบ่อแก้ว” นำแผ่นป้ายไปติดตั้งบริเวณหน้าชุมชน จากนั้นในภาคดึก ยังมีการแสดงดนตรีจากวงสเลเต และกลุ่มศิลปินพื้นบ้าน เป็นที่ครื้นเครง สร้างความสุข สนุกสนานให้กับผู้เข้าร่วม
 
 
ทั้งนี้ ชุมชนบ่อแก้วเกิดจากการรวมตัวของชาวบ้านที่ได้ผลกระทบจากการที่องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (อ.อ.ป.) เข้ามายึดที่ดินทำกินของชาวบ้านแล้วดำเนินการปลูกสวนป่ายูคาลิปตัส เมื่อปี 2521 กระทั่งชาวบ้านได้รวมใจกันยึดผืนดินกลับคืนมาเมื่อ 17 ก.ค.52
 
กว่า 30 ปีที่ อ.อ.ป.เข้ามาดำเนินการปลูกป่ายูคา นอกจากจะขับไล่ออกจากพื้นที่แล้วนั้น ยังส่งผลกระทบต่อผืนดินอันอุดมสมบูรณ์เกิดการเสื่อมโทรม ภายหลังที่ยึดที่กินทำกินเดิมกลับมา ต้องอาศัยระยะกว่า 3 ปี ในการพัฒนาที่ดินให้คืนสู่ความอุดมสมบูรณ์อีกครั้ง
 
ปรางทอง บานตา ชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบ เล่าว่า การกลับมายังที่ดินเดิมของชาวบ้าน ต.ทุ่งพระ อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ พวกเขาได้ช่วยกันพลิกพื้นผืนดินให้สมบูรณ์ด้วยการคิดค้นแนวทางจัดการที่ดินไปสู่วิถีชีวิตเกษตรกรรมอินทรีย์ จนล่วงมาถึงปีที่ 3 นี้ จึงตกลงร่วมกันที่จะเปิดหมู่บ้านเกษตรอินทรีย์ เพื่อสร้างความเข้าใจต่อสังคม
 
“ชาวบ้านอยู่ไม่ได้แล้ว หากไม่เข้ามาปักหลักสู้ มันไม่มีผล มีแต่รับเรื่อง รับนโยบายต่างๆ พวกเราจึงตัดสินใจเข้ามายึดพื้นที่กลับคืนมา” ปรางทองเล่า
 
ปรางทอง กล่าวต่อว่า การสู้ของชาวบ้านด้วยวิธีการเข้ามาทำมาหากินในพื้นที่ ปลูกพืชผักในรูปแบบเกษตรอินทรีย์นั้นไม่ทำลายธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และเป็นการแสดงให้สังคมเข้าใจว่าพืชเศรษฐกิจเช่นไม้ยูคาที่รัฐส่งเสริมให้ปลูกก่อนหน้านี้ ไม่สอดคล้องกับการดำเนินชีวิตของชาวบ้าน
 
“พูดง่ายๆ ว่า เราปลูกพืชในสิ่งที่กินได้ เราไม่เอายูคา” ปรางทองกล่าว และว่าขณะนี้ชุมชนรอการแก้ไขปัญหาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตามที่ได้ยื่นข้อเสนอต่อรัฐบาลให้ลงมาร่วมกันรับผิดชอบ เพื่อนำไปสู่ในสิ่งที่ดี ถูกต้อง และเป็นธรรมต่อไป
 
ด้านนายนิด ต่อทุน ประธานโฉนดชุมชนบ่อแก้ว เล่าว่า ที่จริง อ.อ.ป.เข้ามาละเมิดสิทธิพวกเขามากว่า 30 ปี และความอยุติธรรมที่เกิดกับชาวบ้านก็ยังถือว่าไม่จบ เพราะไม่ว่าศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ ต่างพิพากษาว่าชาวบ้านมีความผิดในข้อหาบุกรุกพื้นที่เขตป่าสงวนแห่งชาติภูซำผักหนาม ทั้งที่ในความเป็นจริงชาวบ้านได้พยายามแสดงหลักฐาน แม้กระทั่งไปขุดเอากระดูกบรรพบุรุษของพ่อ ของแม่ รวมทั้งเอาเอกสารทุกอย่างมายืนยัน แต่ศาลก็ไม่รับฟัง
 
“แม้การกลับเข้ามาอาศัยในที่ดินทำกินเดิม กลายเป็นข้อพิพาท จนนำไปสู่การดำเนินคดีกับชาวบ้าน ในข้อหาบุกรุก แต่พวกเราต่างยืนยันที่จะอาศัยอยู่ในพื้นที่ทำกินเดิมของบรรพบุรุษ ไม่ว่าจะเป็นอย่างไรพวกเราถือว่าภูมิใจที่ได้ต่อสู้ ถ้าไม่ต่อสู้ก็อยู่ไม่ได้ ลูกหลานในอนาคตของเราก็อยู่ไม่ได้” นายนิดกล่าว
 
ผลสรุปจากการเสวนา “3 ปี ชุมชนบ่อแก้ว” ปัจจุบันชาวบ้านได้ก้าวไปสู่การพัฒนาที่อยู่อาศัย ควบคู่ไปกับทำการผลิตปลูกพืชผักสวนครัว เพื่อเลี้ยงชีพในรูปแบบเกษตรอินทรีย์ซึ่งเกือบครบวงจร นอกจากพืชผักที่กินได้แล้ว ยังมีโรงปุ๋ยหมัก ศูนย์เมล็ดพันธุกรรม และโรงอบสมุนไพร
 
นี่ถือเป็นความก้าวหน้าของชาวชุมชนบ่อแก้ว ที่ลุกขึ้นมาปฏิรูปที่ดินโดยไม่ได้ยึดติดกับการถือครองที่ดินแต่เพียงอย่างเดียว แต่ยังมีการการปฏิรูปที่ดินในวิถีการผลิต คือการทำเกษตรอินทรีย์ ซึ่งถือเป็นการเริ่มต้นบนเส้นทางการสร้างความยั่งยืนให้ผืนดิน ที่มีผลต่อการมีสุขภาพร่างกายที่ดี และการสร้างความมั่นคงในอาหารให้กับสังคม โดยเป็นการพึ่งพาตนเองของชาวบ้าน ลดการนำเข้าปัจจัยภายนอก
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

รำลึก 26 เดือนสลายการชุมนุม "แม่พยาบาลเกด" เดินหน้าดันคดี 98 ศพสู่ ICC

Posted: 19 Jul 2012 04:26 AM PDT

(19 ก.ค.55) เมื่อเวลา 16.30 น. บริเวณฟุตบาทหน้าเซ็นทรัลเวิลด์ แยกราชประสงค์ นางพะเยาว์ และนายณัทพัช อัคฮาด มารดาและน้องชายพยาบาลกมลเกด อัคฮาด 1 ใน 6 ศพวัดปทุมวนาราม ที่ถูกยิงเสียชีวิตในเหตุการสลายการชุมนุมเมื่อ 19 พ.ค.53 แถลงข่าว กรณียื่นหนังสือให้รัฐบาลลงนามรับรองเขตอำนาจศาลโลกในการพิจารณาคดีเฉพาะกรณีการสลายการชุมนุม 98 ศพ ในปี 53 ของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และการจัดงาน "เวทีรำลึกวีรชนราชประสงค์ ครบ 26 เดือน ร่วมเดินหน้าผลักดันคดีเพื่อนพี่น้อง 98 ศพ ไปสู่ศาลโลก (ICC)" ซึ่งร่วมจัดโดยนางพะเยาว์และเครือข่ายเสรีราษฎร เพื่อวิจารณ์การทำงานของรัฐบาล


 

นางพะเยาว์ กล่าวว่า ช่วงบ่ายที่ผ่านมา ได้เดินทางเข้ายื่นจดหมายให้แก่นายกฯ โดยมีรองโฆษกประจำสำนักนายกฯ คือนายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด มารับแทน เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลหรือผู้เกี่ยวข้องพิจารณายอมรับอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศในส่วนที่เกี่ยวกับอาชญากรรมสังหารประชาชนกลางกรุงเทพมหานคร เมื่อเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553 โดยอ้างถึงธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ ในข้อ 12 เรื่อง เงื่อนไขบังคับก่อนสำหรับการใช้เขตอำนาจศาลในข้อย่อย 3 ระบุไว้ว่า “หากการยอมรับอำนาจศาลฯ โดยรัฐซึ่งมิได้เป็นภาคีของธรรมนูญศาลฯ นี้ มีความจำเป็นตามวรรค 2 รัฐนั้นอาจยอมรับอำนาจของศาลฯ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับอาญากรรมที่เป็นปัญหา โดยส่งมอบคำประกาศให้แก่นายทะเบียนรัฐที่ยอมรับอำนาจศาลต้องร่วมมือกับศาลฯ โดยไม่ชักช้าหรือไม่มีข้อยกเว้นใดตามภาค 9”

จากการยื่นจดหมายดังกล่าว นางพะเยาว์ เปิดเผยด้วยว่ารองโฆษกประจำสำนักนายกฯ  ได้รับปากว่าจะนำจดหมายยื่นต่อนายกฯ ในทันทีที่นายกฯ เดินทางกลับจากต่างประเทศ นางพะเยาว์ยังย้ำอีกว่า จะติดตามทวงถามตลอดเวลา โดยจะดูท่าทีก่อน 2-3 สัปดาห์หลังจากนี้หากไม่มีอะไรคืบหน้าจะเดินทางไปทวงถามอีก

สำหรับขั้นตอนการยอมรับอำนาศาลฯ นางพะเยาว์ มองว่าคณะรัฐมนตรีสามารถลงนามเซ็นรับได้เลยโดยไม่ต้องผ่านสภา โดยรัฐบาลควรยอมรับโดยเร็วที่สุดเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์แบบเดิมอีก เพราะสถานการณ์ขณะนี้อาจเกิดเหตุดังกล่าวได้

นอกจากนี้ นางพะเยาว์ เปิดเผยว่าวันที่ 9 ส.ค. นี้ จะเดินทางไปเบิกความที่ศาลอาญากรุงเทพใต้ ในคดีความ 6 ศพวัดปทุม

"หลักฐานของเรามีเพียงพอที่จะพิสูจน์ว่าเจ้าหน้าที่รัฐเป็นผู้กระทำ เพราะ 6 ศพวัดปทุมถูกฆาตรกรรมโดยเจ้าหน้าที่รัฐ" นางพะเยาว์ กล่าว

ขณะที่นายณัทพัช อัคฮาด น้องชายของพยาบาลเกด เปิดเผยว่าการเคลื่อนไหวของตนเป็นประโยชน์ต่อประชาชนทุกคนเพราะเป็นการป้องกันเหตุและหยุดการเจ็บการตายจากการสลายการชุมนุมอีก

กรณีมีการวิจารณ์ว่าเป็นการเลือกปฏิบัติหรือไม่ที่เคลื่อนไหวเรียกร้องให้ยอมรับอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศเฉพาะกรณีเมษา-พฤษภา 53 นายณัทพัช กล่าวว่า เนื่องจากตนเองเป็นผู้เสียหายจากเหตุการณ์ดังกล่าวโดยตรงจึงเคลื่อนไหวเฉพาะส่วนนี้ก่อน และเห็นด้วยกับการขยายไปสู่กรณีความรุนแรงกรณีอื่นๆ และหากสำเร็จก็จะเป็นแนวทางและบรรทัดฐานให้กับกรณีอื่นๆ ด้วยเช่นกัน

สำหรับกิจกรรมในวันนี้ ตามกำหนดการจะมีกิจกรรมเวทีปราศัยและดนตรีรำลึกในบริเวณดังกล่าว ถึงเวลา 24.00 น โดยมีผู้ปราศรัย ทั้งนักวิชาการและนักกิจกรรม เช่น ดร.ประแสง มงคลศิริ ดารุณี กฤตบุญญาลัย ดร.จารุพรรณ กุลดิลก ดร.อภิวันท์ วิริยะชัย และการโฟนอินของนายจักรภพ เพ็ญแข ในเวลา 20.00 น. พร้อมทั้งบทกวีจากนายพันธ์ศักดิ์ ศรีเทพ "พ่อน้องเฌอ" ซึ่งเฌอหรือนายสมาพันธ์ ศรีเทพ เป็นหนึ่งในผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์สลายการชุมนุมวันที่ 15 พ.ค.53 รวมทั้งจะมีการแสดงดนตรีโดยวงไฟเย็น เป็นต้น

 

 


หุ่นนิ่ง

 


พันธ์ศักดิ์ ศรีเทพ

 


ดารุณี กฤตบุญญาลัย

 


ผู้ร่วมรำลึกประมาณร้อยกว่าคน

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น