โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันอังคารที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

'ไอซีซี' สั่งจำคุกผู้นำกบฎคองโก 14 ปี ฐานใช้ทหารเด็ก

Posted: 10 Jul 2012 12:00 PM PDT

นายโธมัส ลูบังกา อดีตผู้นำทหารของบองโกต้องถูกจำคุกอีก 8 ปี จากบทลงโทษทั้งหมด 14 ปี นับเป็นการตัดสินลงโทษจำคุกครั้งแรกของศาลอาญาระหว่างประเทศตั้งแต่มีการตั้งศาลฯ เมื่อ 10 ปีก่อน

 11 ก.ค. 55 - สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า ศาลอาญาระหว่างประเทศ (International Criminal Court) หรือ ไอซีซี ได้ตัดสินจำคุกอดีตผู้นำกบฎคองโกโธมัส ลูบังกา เป็นเวลา 14 ปี ในข้อหาใช้ทหารเด็กในกองทัพ ซึ่งนับเป็นการตัดสินลงโทษจำคุกครั้งแรกของไอซีซี 

หัวหน้าคณะศาล เอเดรียน ฟุลฟอร์ด กล่าวในระหว่างการตัดสินว่า เมื่อคำนวณปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องแล้ว ศาลได้ตัดสินจำคุกนายลูบังกา 14 ปี อย่างไรก็ตาม เนื่องจากนายลูบังกาถูกคุมขังที่กรุงเฮกตั้งแต่ปี 2549 จึงนำเวลาดังกล่าวมานับด้วย ทำให้เขาต้องจำคุกอีก 8 ปีเท่านั้น

ลูบังกา อดีตผู้นำกบฎวัย 51 ปี ถูกตัดสินว่าผิดจริงเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ในข้อหาอาชญากรรมสงคราม โดยเฉพาะการใช้ทหารเด็กในกองทัพกบฎของเขาเพื่อสู้รบในสงครามในสาธารณรัฐประชาชนคองโกเมื่อปี 2545 -2546 โดยไอซีซีได้ออกหมายจับนายลูบังกาตั้งแต่ปี 2547 

ทั้งนี้ การตัดสินลงโทษจำคุกนายลูบังกา นับว่าเป็นคดีแรกที่ศาลอาญาระหว่างประเทศตัดสินลงโทษผู้กระทำผิดตั้งแต่มีการตั้งไอซีซีขึ้นมาเมื่อ 10 ปีก่อน 

ลูบังกาถูกตัดสินว่าผิดจากการใช้ทหารเด็กเพื่อการสู้รบในสงครามที่คองโก โดยมีการประมาณจากองค์กรด้านมนุษยธรรมว่ามีผู้เสียชีวิตจากการสู้รบราว 60,000 คน ตั้งแต่ปี 2542 เป็นต้นมา ทั้งนี้ เขาถูกตัดสินจากการลักพาตัวเด็กๆ ที่มีอายุตั้งแต่ 11 ปี และขู่เข็ญให้พวกเขาสู้รบและกระทำการโหดร้ายต่างๆ ในเขตอิตูริ ตั้งอยู่ทางตอนตะวันออกเฉียงเหนือของคองโกซึ่งเต็มไปด้วยแร่ทอง 

ในระหว่างการไต่สวน ฝ่ายอัยการได้นำเสนอกรณีที่เด็กสาวถูกใช้เพื่อรับใช้ทางเพศ ในขณะที่เด็กผู้ชายถูกฝึกให้สู้รบ

เมื่อต้นเดือนก.ค.ที่ผ่านมา อดีตหัวหน้าฝ่ายอัยการของไอซีซี หลุยส์ โมเรโน-โอกัมโป ได้เรียกร้องให้ศาลสั่งจำคุกนายลูบังกาเป็นเวลา 30 ปี โดยกล่าวว่าอาชญากรรมของนายลูบังกานับเป็นภัยที่ร้ายแรงที่สุดกรณีหนึ่งต่อประชาคมโลก แต่หลังจากนั้นก็ได้มอบหมายให้แก่ฟาโต เบนซูดา จากประเทศแกมเบียทำหน้าที่หัวหน้าอัยการต่อไป 

โมเรโนกล่าวว่า ตนพร้อมจะยอมรับการลดโทษให้เหลือ 20 ปี หากนายลูบังกากล่าว "ขอโทษอย่างจริงใจ" และมีบทบาทเพื่อการป้องกัน "อาชญากรรมที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต"

ยันให้การ 'ไม่ผิด'

ทั้งนี้ นายลูบังกา เป็นผู้ก่อตั้งสหภาพนักรบผู้รักชาติแห่งคองโก (Union of Congolese Patriots) และเป็นผู้บัญชาการของกลุ่มกองทัพที่เรียกว่า กองทัพรักชาติเพื่อการปลดปล่อยคองโก (Patriotic Forces for the Liberation of Congo)

เขาให้การว่าตนเองไม่ผิด และยังยืนยันความบริสุทธิ์ของตนเอง โดยทีมทนายของนายลูบังกายังมิได้ขอยื่นอุทธรณ์ต่อคำตัดสินของศาล และยังไม่ได้ระบุว่าจะยื่นอุทธรณ์คำตัดสินหรือบทลงโทษ 

อนึ่ง ศาลอาญาระหว่างประเทศ เป็นศาลสถิตยุติธรรมตามกฎหมายระหว่างประเทศ จัดตั้งขึ้นตาม ธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ ตั้งอยู่ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ เพื่อชำระคดีการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ อาชญากรรมสงคราม อาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติ โดยที่ผ่านมา ไอซีซีได้ทำการสืบสวนอย่างเป็นทางการทั้งหมด 7 คดี ซึ่งล้วนตั้งอยู่ในทวีปแอฟริกา ได้แก่ สาธารณรัฐประชาชนคองโก อูกันดา สาธารณรัฐแอฟริกากลาง เขตดาร์เฟอร์ในประเทศซูดาน สาธารณรัฐเคนยา ลิเบีย และสาธารณรัฐโคตดิวัวร์

 

ที่มา: แปลและเรียบเรียงจาก ICC sentences DRC warlord to 14 years
http://www.aljazeera.com/news/africa/2012/07/20127106418955945.html

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

นักการเมืองใต้แนะแก้รัฐธรรมนูญ เลือก ส.ส., ส.ว. คำนวณสัดส่วนกลุ่มชาติพันธุ์

Posted: 10 Jul 2012 10:24 AM PDT

การเมืองกับไฟใต้ - นายยูโซ๊ะ แวยูโซ๊ะ (ที่ 2 จากซ้าย) ตัวแทนพรรคเพื่อไทย จังหวัดนราธิวาส พร้อมด้วยนักการเมืองจากพรรคต่างๆ แถลงผลการเสวนานักการเมืองในการหาทางออกในการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ เมื่อ 10 กรกฎาคม2555 ที่จังหวัดนราธิวาส

 

เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 10 กรกฎาคม 2555 ที่ห้องพิกุลทอง โรงแรมอิมพีเรียล อ.เมือง จ.นราธิวาส สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล จัดสานเสวนเพื่อแลกเปลี่ยนปัญหาและทางออกระหว่างนักการเมืองชายแดนภาคใต้ ครั้งที่ 7 เพื่อเดินหน้าสู่สันติสุขที่มั่นคง มีนักการเมืองจากพรรคต่างๆ ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เข้าร่วมประมาณ 20 คน

จากนั้น เวลา 13.00 น. นายยูโซ๊ะ แวยูโซ๊ะ ตัวแทนพรรคเพื่อไทย เขต 3 จังหวัดนราธิวาส พร้อมด้วยนายบูราฮานูดิง อุเซ็ง อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคความหวังใหม่ เป็นตัวแทนผู้ร่วมเสวนาแถลงข่าวข้อสรุปที่ได้จากการสานเสวนา ซึ่งมี 4 ประเด็น

นายยูโซ๊ะ แถลงสรุปว่า ประเด็นแรก คือขอให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 114 วรรคสองในเรื่องการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา โดยให้มีการกำหนดจำนวนสมาชิกวุฒิสภาโดยคำนึงถึงสัดส่วนของกลุ่มชาติพันธ์ต่างๆ ด้วย และให้แก้ไขมาตรา 97 เรื่องการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ระบบบัญชีรายชื่อ โดยให้กำหนดจำนวน ส.ส.โดยคำนึงถึงสัดส่วนของกลุ่มชาติพันธ์ต่างๆ ด้วยเช่นกัน

ประเด็นที่ 2 ขอให้ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ดำเนินการพัฒนาระบบเศรษฐกิจชายแดนไทย – มาเลเซียสำหรับจังหวัดนราธิวาสให้มีความเท่าเทียมกับจังหวัดอื่นๆที่มีชายแดนติดกับประเทศมาเลเซีย 

ประเด็นที่ 3 ให้มีการบังคับใช้พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) สถานบริการ พ.ศ.2509 มาตรา 5 ที่ว่าด้วยเรื่องของการจัดแบ่งโซนของสถานบริการซึ่งเป็นสถานที่ต้องห้ามตามหลักศาสนาอิสลามอย่างจริงจังในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

นายยูโซ๊ะ แถลงปิดท้ายว่า ประเด็นที่ 4 ขอให้ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้มีการผ่อนผันให้ชาวบ้าน 16,000 กว่าราย สามารถทำมาหากินตามปกติในพื้นที่บริเวณอุทยานแห่งชาติบูโด – สุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส ซึ่งพื้นที่บางส่วนเป็นพื้นที่ทับซ้อนกับที่ดินของชาวบ้าน

รศ.ดร.โคทม อารียา อาจารย์ประจำสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดลเปิดเผยว่า ข้อสรุปของการสานเสวนาแต่ละครั้ง สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา จะส่งให้นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และพ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ทันที เนื่องจากมีบางประเด็นที่เป็นเรื่องเร่งด่วน

รศ.คร.โคทม เปิดเผยว่า โครงการสานเสวนาเพื่อแลกเปลี่ยนปัญหาและทางออกระหว่างนักการเมืองจังหวัดชายแดนภาคใต้ จัดขึ้นเพื่อให้มีข้อเสนอจากพื้นที่ ที่ไม่ได้เป็นข้อเสนอของพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่ง โดยเริ่มจากการที่ตนได้พูดคุยกับนายเด่น โต๊ะมีนา อดีต ส.ส.ปัตตานีหลายสมัย จากนั้นได้เชิญนักการเมืองคนอื่นๆ ในพื้นที่มาเข้าร่วม โดยสลับกันจัดในพื้นที่จังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส

“ตอนนี้ปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ จะต้องมองข้ามของความเป็นพรรคการเมืองไปแล้ว”  รศ.ดร.โคทม กล่าว

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

แพทย์อิสลามเห็นด้วยแนวผ่าศพมุสลิม กสม.แจงช่วยคืนความยุติธรรม

Posted: 10 Jul 2012 09:35 AM PDT

กรรมการสิทธิให้ความรู้เจ้าหน้าที่ด้านกระบวนการยุติธรรมในชายแดนใต้ แนวทางชันสูตรศพตามตามหลักศาสนาอิสลาม แพทย์อิสลามเห็นด้วยผ่าศพมุสลิม หากคืนความยุติธรรม แต่ยังไม่มีคนยอมให้ผ่า ตำรวจชี้ยังต้องใช้เวลาพิสูจน์

ศ.อมรา พงศาพิชญ์

เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 10 มิถุนายน 2555 ที่โรงแรมซีเอส.ปัตตานี จ.ปัตตานี คณะอนุกรรมการปฏิบัติการยุทธศาสตร์ด้านสิทธิมนุษยชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) จัดสัมมนาโครงการสร้างความรู้ความเข้าใจและเผยแพร่แนวทางการตรวจชันสูตรศพตามกระบวนการทางด้านนิติวิทยาศาสตร์ตามหลักศาสนาอิสลาม มีเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องด้านกระบวนการยุติธรรม เช่น ทหาร ตำรวจ นิติกร อัยการ ผู้พิพากษา แพทย์ พยาบาล เข้าร่วมกว่า 100 คน

ศ.อมรา พงศาพิชญ์ ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติและประธานอนุกรรมการปฏิบัติการยุทธศาสตร์จังหวัดชายแดนภาคใต้ กล่าวเปิดสัมมนาว่า คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เล็งเห็นถึงปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ จึงได้ศึกษาแนวทางการตรวจชันสูตรศพตามกระบวนการทางด้านนิติวิทยาศาสตร์ตามหลักศาสนาอิสลาม โดยชี้ให้เห็นถึงกระบวนการทางด้านนิติวิทยาศาสตร์ในการแสวงหาข้อเท็จจริง อันจะนำมาสู่การปกป้อง คุ้มครองสิทธิของผู้เสียชีวิตและครอบครัว

ศ.อมรา กล่าวว่า การทำงานเกี่ยวกับหลักสิทธิมนุษยชน จะต้องมีการตรวจสอบเพื่อหาข้อเท็จจริง คือ การพิสูจน์หาสาเหตุการเสียชีวิต แต่หากชุมชนมุสลิมไม่ยอมให้พิสูจน์การเสียชีวิต โดยอ้างว่าผิดหลักศาสนาอิสลาม จะส่งผลให้การแสวงหาข้อเท็จจริงเป็นไปด้วยความยากลำบาก เพราะไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าเสียชีวิตจากสาเหตุอะไร

ศ.อมรา กล่าวว่า ตามหลักศาสนาอิสลามมีความเชื่อว่า หลังจากเสียชีวิตต้องฝังภายใน 24 ชั่วโมง ซึ่งเป็นความเชื่อดั้งเดิม ปัจจุบันสังคมสมัยใหม่ในต่างประเทศมีการพิสูจน์ศพมานานแล้ว ไม่ว่าจะเป็นประเทศมาเลเซีย หรือประเทศอินโดนีเซีย ก็ต่างยอมรับในกระบวนการทางด้านนิติวิทยาศาสตร์ เพราะฉะนั้น ประเทศไทยจะต้องมีการศึกษาและเปรียบเทียบประเทศต่างๆ และนำเสนอให้ชุมชนมุสลิมในประเทศไทยได้รับทราบว่า ไม่ผิดหลักศาสนา

“คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ จึงวอนขอให้จุฬาราชมนตรี รวมถึงกลุ่มผู้รู้ศาสนาอิสลามร่วมกันวินิจฉัยและออกคำฟัตวา ซึ่งหมายถึง ความกระจ่างในสาระที่เกี่ยวข้องกับศาสนบัญญัติ เพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่า การพิสูจน์ศพนั้นไม่ผิดหลักศาสนาอิสลาม สามารถทำได้ เพียงแต่ในอดีตไม่นิยมกระทำกันและเชื่อว่าเป็นข้อห้าม” ศ.อมรา กล่าว

ศ.อมรา กล่าวว่า ในการพิสูจน์หาสาเหตุการเสียชีวิตถือเป็นตัวช่วยสำคัญ เพราะมีโอกาสได้พิสูจน์การเสียชีวิต สามารถเข้าถึงสาเหตุที่แท้จริงของการเสียชีวิตได้ง่ายขึ้นและชัดเจนขึ้น เพราะที่ผ่านมา หากไม่พิสูจน์ศพ ผู้กระทำความผิดก็ได้ประโยชน์ ส่วนผู้เสียหายก็เสียประโยชน์ เพราะไม่ได้รับการพิสูจน์หาข้อเท็จจริง

นายไพบูลย์ วราหะไพฑูรย์ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เปิดเผยว่า กรณีที่มีการเสียชีวิตที่ผิดธรรมชาติจะต้องมีการชันสูตรพลิกศพตามกฎหมาย เช่น กรณีเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ หรือกรณีอื่นๆ ที่ไม่ใช่เกิดจากโรคชรา แต่เนื่องจากใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ชาวบ้านส่วนใหญ่ยินยอมให้ผ่าศพ เพราะเชื่อว่าขัดต่อหลักศาสนาอิสลาม และชาวบ้านยังไม่เข้าใจที่ชัดเจนในเรื่องการผ่าศพ เช่น คิดว่าหากผ่าแล้วจะมีผลดีอย่างไร ทั้งที่เป็นไปเพื่อให้ความจริงปรากฏและเพื่อคืนความยุติธรรมแก่ผู้เสียชีวิตและญาติ

นายไพบูลย์ เปิดเผยอีกว่า หลังจากนี้ กระบวนการตามแนวทางการตรวจชันสูตรศพตามกระบวนการทางด้านนิติวิทยาศาสตร์ตามหลักศาสนาอิสลามต้องทำให้ชัดเจน โดยจะให้ศูนย์อำนวยหารบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ประชาสัมพันธ์ และทำความเข้าใจแก่พี่น้องมุสลิม และผู้นำศาสนาต่อไป โดยไม่ใช่เป็นการบังคับให้ทำตาม เป็นเพียงแนวทางในการปฏิบัติเท่านั้น

“หากแนวทางการตรวจชันสูตรศพตามกระบวนการทางด้านนิติวิทยาศาสตร์ตามหลักศาสนาอิสลามนี้เป็นไปได้ด้วยดี จะสามารถเรียกความเชื่อมั่นต่อกระบวนยุติธรรมของชาวบ้านให้กลับมาได้ และสิทธิที่จะตามคือ การเรียกร้องค่าเสียหายที่เกิดขึ้นคืนให้กับผู้เสียชีวิตและญาติผู้เสียชีวิต” นายไพบูลย์ กล่าว

พญ.นูรไอนี อาแว นายแพทย์ระดับปฏิบัติการโรงพยาบาลเบตง อ.เบตง จ.ยะลา เปิดเผยว่า การชันสูตรศพต้องได้รับการยินยอมจาก 3 ฝ่าย คือ ญาติ แพทย์ผู้ชันสูตรศพ และเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง แพทย์จึงจะสามารถชันสูตรศพได้ในกรณีที่ต้องจำเป็น เช่น ผ่าท้องเพื่อนำทารกที่ยังมีชีวิตอยู่ออกจากครรภ์แม่ที่เสียชีวิต หรือกรณีผู้เสียชีวิตกลืนสิ่งของมีค่าลงท้อง ทั้งนี้การผ่าศพนั้นขึ้นอยู่กับความจำเป็น เช่น หากผ่าแล้วจะได้รับความยุติธรรมกลับคืนมา

พญ.นูรไอนี เปิดเผยอีกว่า ที่ผ่านมามีเพียงยินยอมให้ชันสูตรพลิกศพเท่านั้น ยังไม่เคยมีกรณีที่ญาติยินยอมให้ผ่าศพคนที่นับถือศาสนาอิสลาม

พญ.นูรไอนี เปิดเผยว่า โดยทั่วไป การตรวจชันสูตรพลิกศพ สามารถทำได้ 3 วิธี คือ การชันสูตรโดยการตรวจภายนอก การชันสูตรโดยการผ่าเปิด และการชันสูตรโดยการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น การตรวจเลือดหรือการเอ็กซ์เรย์

“จะผ่าศพหรือไม่ ต้องคิดให้รอบคอบก่อนว่า จะมีผลดีมากน้อยเพียงใด โดยเฉพาะกับผู้ที่เสียชีวิตไปแล้ว และไม่ได้หมายความว่า จะสามารถหยุดการกระทำที่จะนำมาสู่เหตุการณ์ที่จะต้องผ่าศพได้ แต่หากผ่าศพแล้ว สามารถนำคนผิดมาลงโทษได้ ก็สมควรจะผ่าหรือกรณีที่ญาติสงสัยในการเสียชีวิตและต้องการให้ผ่าพิสูจน์” พญ.นูรไอนี กล่าว

พ.ต.ท.จักรกริช นองมณี รองผู้กำกับการสืบสวนสอบสวน สถานีตำรวจภูธร(รอง ผกก.สส.สภ.) เจาะไอร้อง อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส เปิดเผยว่า ในการตรวจพิสูจน์หลักฐานในที่เกิดเหตุนั้นต้องมีเอกลักษณ์ที่ต้องตรงกัน ระหว่างบุคคลกับหลักฐานที่พบในที่เกิดเหตุ 16 จุด จากเดิมกำหนดไว้เพียง 6 จุด จากนั้นเพิ่มเป็น 9 จุด ซึ่งยังอาจเกิดความผิดพลาดในการตรวจพิสูจน์ได้ง่าย ทำให้ต่อมามีการกำหนดเป็น 16 จุด ทำให้การตรวจพิสูจน์คดีมีความชัดเจนยิ่งขึ้น

พ.ต.ท.จักรกริช เปิดเผยอีกว่า ที่ผ่านมามีทั้งชาวบ้านที่ยินยอมและไม่ยินยอมให้ผ่าพิสูจน์ศพ เนื่องจากชาวบ้านมองว่า การผ่าศพเป็นการไม่ให้เกียรติศพ ยิ่งศพที่ถูกยิงกระสุนฝังในกะโหลกศีรษะ หรือในกระดูก ชาวบ้านจะไม่ยอมให้ผ่าเด็ดขาด เนื่องจากต้องใช้เวลาผ่าและเก็บศพไว้นาน แต่หากกระสุนฝังบริเวณผิวหนังชั้นนอกและมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ก็จะมีชาวบ้านบางส่วนยอมให้ผ่า เนื่องจากใช้เวลาไม่นาน

พ.ต.ท.จักรกริช กล่าวว่า หากนำแนวทางการตรวจชันสูตรศพตามกระบวนการทางด้านนิติวิทยาศาสตร์ตามหลักศาสนาอิสลามมาใช้ ตนก็ยังเชื่อว่าชาวบ้านจะยังมีความรู้สึกเหมือนเดิม เพราะชาวบ้านมองว่าแนวทางนี้อยู่ในความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือบุคลากรด้านกระบวนการยุติธรรมเท่านั้น การใช้แนวทางนี้ ยังต้องใช้เวลาในการพิสูจน์ผล เพื่อดูทัศนคติของชาวบ้านที่มีต่อกระบวนการต่อไป แต่เชื่อว่าจะดีขึ้น

“โดยปกติอำนาจการคืนศพให้กับญาติเป็นของตำรวจ หากยังพิสูจน์ศพไม่เสร็จ ตำรวจมีอำนาจเก็บศพไว้พิสูจน์ต่อนานถึง 6 วัน แต่เนื่องจากคนส่วนใหญ่ในพื้นที่ นับถือศาสนาอิสลาม ซึ่งต้องฝังศพภายใน 24 ชั่วโมง รวมถึงญาติไม่ยินยอมให้ผ่าศพ ตำรวจจึงต้องคืนศพให้กับญาติ เพื่อนำไปประกอบพิธีตามหลักศาสนาอิสลามต่อไป” พ.ต.ท.จักรกริช กล่าว

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
คลอดแล้ว แนวชันสูตรผ่าศพมุสลิม ผู้นำศาสนาโอเค ชี้เป็นสิทธิผู้ดูแลศพ

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ร.พ.เสนาคว้ารางวัลงานวิจัยดีเด่น ระบบดูดเสมหะแบบใหม่ช่วยผู้ป่วย ICU

Posted: 10 Jul 2012 09:30 AM PDT

ศูนย์การประชุมเมืองทองธานี/ พยาบาลจาก ร.พ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา คว้ารางวัลวิจัยดีเด่น R2R (Routine to Research) โดยนำระบบการดูดเสมหะแบบใหม่มาใช้ในผู้ป่วยหนักที่อยู่ในห้อง ICU. ช่วยลดการพร่องออกซิเจนในเลือด ลดการแพร่เชื้อ และลดค่าใช้จ่ายได้เกือบ 90 บาท/คน/วัน เตรียมเสนอ ผอ.รพ.เสนา เพื่อนำไปใช้จริงกับผู้ป่วย

ในระหว่างวันที่ 10-12 กรกฏาคมนี้ ที่ศูนย์ประชุมอิมแพ็คฟอรั่ม เมืองทองธานี สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และ สปสช. ร่วมกับภาคีเครือข่าย R2R (Routine to Research) จัดงานประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “จากงานประจำสู่งานวิจัย” ครั้งที่ 5 โดยมีบุคลากรทางด้านสาธารณสุขจากทั่วประเทศประมาณ 1,700 คนเข้าร่วม และมีการประกาศผลการประกวดรางวัล R2R ดีเด่น ประจำปี 2555 จำนวน 36 รางวัล จากผลงานทั้งหมดจำนวน 549 เรื่องจากทั่วประเทศที่ส่งเข้าประกวด
 
น.ส.พรเพ็ญ แสงสายฟ้า พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลเสนา อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งได้รับรางวัลจากผลงานวิจัยเรื่อง “การเปรียบเทียบความอิ่มตัวของออกซิเจนในหลอดเลือดแดง และต้นทุนระหว่างการดูดเสมหะด้วยระบบเปิดกับระบบปิดในหอผู้ป่วยหนักโรงพยาบาลเสนา” กล่าวว่า จากประสบการณ์ในการทำงานพบว่า ผู้ป่วยวิกฤตส่วนใหญ่ที่มีภาวะการหายใจล้มเหลวจะได้รับการรักษาด้วยการใส่ท่อหลอดลมคอและใช้เครื่องช่วยหายใจ และจะมีการดูดเสมหะเพื่อให้ทางเดินหายใจของผู้ป่วยโล่ง ป้องกันการติดเชื้อที่ปอดและช่วยให้การแลกเปลี่ยนก๊าซที่ปอดดีขึ้น แต่การดูดเสมหะในหอผู้ป่วยหนักโรงพยาบาลเสนายังใช้ ‘ระบบเปิด’ คือ ต้องถอดเครื่องช่วยหายใจออก แล้วสอดสายดูดเสมหะเข้าไป จากนั้นจึงบีบถุงลมที่ปลายสายเพื่อดูดเอาเสมหะออกมา
 
“วิธีดูดเสมหะแบบนี้ ทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสเกิดภาวะพร่องออกซิเจนในเลือด และมีการแพร่กระจายเชื้อสู่บุคลากร ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายในการดูแลผุู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับตัวเองได้ไปฝึกอบรมที่โรงพยาบาลรามาฯ ได้รับความรู้เรื่องการดูดเสมหะแบบระบบปิด ซึ่งไม่ต้องถอดเครื่องช่วยหายใจของผู้ป่วยออก จึงมีความคิดที่จะทำวิจัยเพื่อเปรียบเทียบผลต่างของวิธีการดูดเสมหะของทั้ง 2 ระบบ” น.ส.พรเพ็ญกล่าวถึงที่มาของงานวิจัย R2R เรื่องนี้ ซึ่งอยู่ในกลุ่มสนับสนุนบริการและบริหาร
 
การดูดเสมหะผู้ป่วยแบบ ‘ระบบปิด’ จะใช้สายดูดเสมหะที่มีข้อต่อเข้ากับเครื่องช่วยหายใจ จึงไม่ต้องถอดเครื่องช่วยหายใจของผู้ป่วยออก ถือว่าเป็นวิธีการดูดเสมหะแบบใหม่ที่ยังไม่แพร่หลายมากนักในเมืองไทย ซึ่งการดูดเสมหะแบบนี้จะลดโอกาสภาวะเนื้อเยื่อพร่องออกซิเจน ลดความเสี่ยงของการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจจากวิธีการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้องและลดภาระของผู้ปฏิบัติงาน นอกจากนี้ยังช่วยลดค่าใช้จ่ายทั้งทางตรงและทางอ้อม
 
กลุ่มตัวอย่างของงานวิจัยชิ้นนี้เป็นผู้ป่วยที่ใส่ท่อช่วยหายใจไม่ต่ำกว่า 24 ชั่วโมง มีอายุ 15 ปีขึ้นไป จำนวน 30 ราย โดยแบ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยที่ได้รับการดูดเสมหะด้วยระบบเปิดจำนวน 15 ราย และระบบปิดจำนวน 15 ราย ใช้ระยะเวลาวิจัยประมาณ 6 เดือน คือตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2554 จนถึงเดือนมกราคม 2555 จึงได้ผลการวิจัยออกมา
 
ผลวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ใช้วิธีดูดเสมหะแบบระบบปิดจะมีค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดแดงสูงกว่ากลุ่มตัวอย่างที่ดูดเสมหะแบบระบบเปิดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.5) ซึ่งหมายถึงว่า ผู้ป่วยจะมีโอกาสพร่องออกซิเจนในเม็ดเลือดแดงน้อยกว่าวิธีดูดเสมหะแบบเปิด และจะช่วยทำให้ผู้ป่วยหย่าเครื่องช่วยหายใจได้สำเร็จมากขึ้น
 
นอกจากนี้ยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการดูดเสมหะ ซึ่งจากการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยที่ดูดเสมหะแบบระบบเปิดจะต้องใช้ผู้ช่วยในการดูดเสมหะจำนวน 2 คน และต้องดูดเสมหะทุกๆ 2 ชั่วโมง หากจะดูดเสมหะครั้งต่อไปต้องใช้สายดูดใหม่ ซึ่งการดูดเสมหะแบบนี้ มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยวันละ 207.50 บาท/ราย แต่หากใช้ระบบปิด จะใช้ผู้ช่วยดูดเสมหะเพียง 1 คน และสายดูดสามารถใช้งานได้นานประมาณ 5-7 วันจึงเปลี่ยนใหม่ มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยวันละ 119.75 บาท/ราย หรือมีค่าใช้จ่ายต่ำกว่าเกือบ 90 บาท/ราย/วัน
 
“งานวิจัยจากงานประจำถือว่าเป็นเรื่องที่ดี เพราะช่วยให้มีการพัฒนางานประจำให้มีคุณภาพมากขึ้น และที่สำคัญก็คือ มีประโยชน์ต่อคนไข้ทั้งในเรื่องการรักษาพยาบาล และการลดค่าใช้จ่าย” น.ส.พรเพ็ญกล่าวและว่า ผลงานวิจัยชิ้นนี้อยู่ในระหว่างการนำเสนอเพื่อให้ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเสนาอนุมัติก่อนที่จะนำวิธีการดูดเสมหะแบบปิดไปใช้กับผู้ป่วยต่อไป
 
นพ.พงษ์พิสุทธิ์ จงอุดมสุข ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) กล่าวว่า การจัดงานครั้งนี้เป็นปีที่ 5 ติดต่อกัน เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรด้านสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานประจำได้มีโอกาสสร้างสรรค์งานวิจัยขึ้น โดยใช้ข้อมูลจากงานประจำ และนำผลงานที่ได้นั้นไปพัฒนางานประจำอีกต่อหนึ่ง โดยหวังว่างาน ‘R2R’ จะช่วยส่งผลให้ประชาชนได้รับบริการสาธารณสุขที่ดีขึ้นต่อไปเรื่อยๆ
 
นอกจากนี้การจัดงาน ‘R2R’ นับเป็นโอกาสดีที่คนทำงานด้านสาธารณสุขทั่วประเทศจะได้มีพื้นที่เสนอผลงานวิจัยที่เป็นประโยชน์ การเสริมเทคนิคความรู้จากวิทยากร และได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเชื่อมโยงเครือข่ายให้เกิดการเสริมพลังซึ่งกันและกัน จนนำไปสู่การพัฒนาระบบสุขภาพให้ก้าวหน้าต่อไป  
 
สำหรับการประกวดงานวิจัยในปีนี้ มีผลงานทั้งหมดจำนวน 549 เรื่องจากทั่วประเทศที่ส่งเข้าประกวดภายใต้แนวคิด ‘วิถี R2R : เรียบง่าย คุณภาพ ครบวงจร’ โดยในปีนี้คณะกรรมการได้คัดเลือกผลงานวิจัยดีเด่นทั้งหมดจำนวน 36 ผลงาน แบ่งออกเป็น 4 ระดับ คือ กลุ่มปฐมภูมิ 11 รางวัล, กลุ่มทุติยภูมิ 9 รางวัล, กลุ่มตติยภูมิ 4 รางวัล และกลุ่มสนับสนุนบริการและบริหาร 12 รางวัล
 
ตัวอย่างงานวิจัยที่ได้รางวัล เช่น รูปแบบการจัดการปัญหาเอดส์โดยเยาวชนจิตอาสา ต.แม่จั๊วะ อ.เด่นชัย จ.แพร่, ผลของการให้การปรึกษาแนวพุทธธรรมในผู้พยายามฆ่าตัวตายที่มีภาวะซึมเศร้า ร.พ.เรณูนคร, การพัฒนาตู้ทำฟันเทียมใกล้บ้าน ใกล้ใจ ร.พ.ทุ่งช้าง จ.น่าน,‘นวัตกรรม : เครื่องมือถ่างแผลผ่าตัดมะเร็งเต้านมและการผ่าตัดอื่น’ ร.พ.กระบี่
 
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

นพ.พงศธร พอกเพิ่มดี: '30 บาท' เก็บทั้งทีต้องดีกว่าเดิม

Posted: 10 Jul 2012 09:20 AM PDT

การเก็บค่าธรรมเนียมเมื่อไปใช้บริการสำหรับบัตรทองครั้งละ 30 บาท กลายเป็นประเด็นวิพากษ์วิจารณ์ในวงกว้างอีกครั้ง เมื่อรัฐบาลพรรคเพื่อไทยได้พยายามรื้อฟื้นขึ้นมา หลักจากที่ถูกยกเลิกไปในรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ครั้งนี้พรรคเพื่อไทยอ้างเหตุผลในการกลับมาเก็บค่าธรรมเนียม 30 บาท เพื่อเพิ่มคุณภาพการให้บริการให้กับประชาชน การเก็บค่าธรรมเนียมดังกล่าวจะสามารถเพิ่มคุณภาพบริการตามที่ทางการเมืองกล่าวอ้างได้จริงหรือไม่ หรือเป็นเพียงต้องการรีแบรนด์โครงการนี้ใหม่ จะมีความเหมาะสมหรือไม่ อย่างไร มีแง่มุมเพื่อแลกเปลี่ยน ดังนี้

ก่อนอื่นนั้นมีคำ 2 คำที่อยากทำความเข้าใจในเบื้องต้นก่อน คือ 1) การร่วมจ่ายเบี้ยประกันสุขภาพ (Co-insurance) เช่น การเก็บเบี้ยประกันสุขภาพรายเดือนของผู้ประกันตน ร่วมกับนายจ้างและรัฐบาล มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้มีงบประมาณเพียงพอในการดูแลสุขภาพซึ่งเป็นรูปแบบระบบสวัสดิการสังคม (Social health insurance) ที่มีต้นแบบมาจากเยอรมัน และ 2) การเก็บค่าธรรมเนียมการให้บริการ ณ จุดรับบริการ (Co-payment หรือ user charge) เช่น การเก็บ 30 บาท เมื่อมารับบริการที่โรงพยาบาล มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการลด (Moral hazard) หรือการใช้บริการที่ไม่จำเป็นลง โดยเฉพาะการไปโรงพยาบาลนั้นที โรงพยาบาลโน้นที เพราะไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ

อย่างไรก็ตามแม้การเก็บค่าธรรมเนียมนั้นจะมีข้อดี แต่ก็จะส่งผลกระทบในการเข้าถึงบริการของประชาชนโดยเฉพาะคนจน หากค่าธรรมเนียมนั้นแพงเกินไป ปัญหาก็จะตกอยู่ที่คนจนที่จะไม่สามารถจะเข้าถึงบริการสุขภาพที่จำเป็น โดยเฉพาะ กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ ควบคุมป้องกันโรค เช่น การรับวัคซีน การฝากครรภ์ เป็นต้น เพราะค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นนั้นไม่ใช่เฉพาะค่าธรรมเนียมอย่างเดียว แต่ประชาชนยังมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ (indirect cost) เช่น ค่าเดินทาง การขาดรายได้จากการทำงานในวันนั้น ด้วยเหตุนี้การเก็บเงินค่าธรรมเนียม จึงจะต้องออกแบบให้เหมาะสมและพิจารณาด้วยความรอบคอบ จึงจะเกิดประโยชน์สูงสุดต่อระบบสุขภาพ

การเก็บค่าธรรมเนียมให้บริการ ณ จุดรับบริการ ในต่างประเทศก็มีหลากหลายรูปแบบ ที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์และเป็นบทเรียนสำหรับประเทศไทย เช่น 1) อังกฤษ มีการเก็บค่าธรรมเนียม เมื่อผู้ป่วยได้รับยา (prescription cost) โดยเก็บตามชนิดของยาที่ได้รับเท่ากับ 7.65 pounds หรือ ประมาณ 320 บาทต่อรายการ วิธีการนี้ผู้ป่วยที่ได้รับยาเท่านั้นที่ต้องเสียเงิน และจะยกเว้นสำหรับเด็ก ผู้สูงอายุ และกลุ่มอื่นๆ ด้วยวิธีดังกล่าวจะส่งผลให้มีการใช้ยาลดลงในภาพรวมของระบบ และ 2) ไต้หวัน มีการเก็บค่าธรรมเนียมเมื่อมีการไปใช้บริการในหน่วยบริการในอัตราที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับระดับของหน่วยบริการ เช่น หากไปหน่วยบริการปฐมภูมิจะถูกที่สุด ประมาณ 50 บาท (50 NT) เช่นเดียวกับการแพทย์แผนจีนก็จะจ่ายเพียง 50 บาท (50 NT) เช่นเดียวกันแต่ถ้าหากผู้ป่วยข้ามไปใช้หรือโรงพยาบาลศูนย์ ก็ต้องจ่าย 140 บาท (140 NT) โรงเรียนแพทย์ ก็จะต้องจ่ายมากขึ้นเท่ากับ 360 บาท (360 NT) เป็นต้น

ด้วยวิธีการดังกล่าวจะจูงใจให้ผู้ป่วยไปใช้บริการในหน่วยบริการปฐมภูมิมากขึ้น ลดความแออัดที่โรงพยาบาลใหญ่ๆ เพราะในความเป็นจริง ผู้ป่วยมากกว่า 80% ไม่จำเป็นต้องไปโรงพยาบาลใหญ่ก่อน แต่สามารถรักษาได้ที่หน่วยบริการปฐมภูมิใกล้บ้าน โรงพยาบาลใหญ่มีไว้สำหรับการส่งต่อ เมื่อหน่วยบริการปฐมภูมิไม่สามารถดูแลได้ ซึ่งจะทำให้ระบบสาธารณสุขในภาพรวมมีประสิทธิภาพมากขึ้น

หากพิจารณาอัตราการเข้าถึงบริการของคนไทยเมื่อเทียบกับต่างประเทศพบว่าการเข้าถึงบริการสุขภาพของเรายังไม่ดี เพราะยังมีข้อจำกัดเรื่องหน่วยบริการและบุคลากรทางการแพทย์ (supply-side) ที่ยังต่ำอยู่ หากไปโรงพยาบาลรัฐบาลก็ต้องเสียเวลาทั้งวัน แต่ได้ตรวจ 3 นาที จึงต้องหันไปพึ่งคลินิก ร้านขายยา หรือโรงพยาบาลเอกชนแทน ดังตารางที่ 1

 ตารางที่ 1 อัตราการใช้บริการผู้ป่วยนอก ประเทศต่างๆ ปี 2549

   ประเทศ

อัตราการใช้บริการผู้ป่วยนอก

(ครั้ง/คน/ปี)

ญี่ปุ่น

13.8

ไต้หวัน

12.3

เยอรมัน

7

อังกฤษ

5.3

สหรัฐอเมริกา

3.8

ไทย

ข้าราชการ (2551)

4.3

ประกันสังคม (2551)

2.6

บัตรทอง (2551)

2.8

บัตรทอง (2553)

3.2

กลุ่มอายุประกันสังคม 15-55 ปี ส่วนข้าราชการฯและบัตรทองครอบคลุมทุกกลุ่มอายุ


จากข้อมูลข้างต้นจะพบว่าผู้ป่วยภายใต้ประกันสังคมเข้าถึงบริการต่ำที่สุด แต่เป็นเพราะเป็นกลุ่มวัยทำงานที่ยังแข็งแรง ขณะที่อีก 2 ระบบมีทั้งเด็กและผู้สูงอายุ เมื่อเทียบบัตรทองกับสวัสดิการข้าราชการฯ ก็จะพบว่าแตกต่างกันมาก ทั้งๆ ที่คนจนโดยทั่วไปแล้วจะเจ็บป่วยมากกว่าคนที่มีฐานะดี แสดงให้เห็นว่าบัตรทองยังมีปัญหาในการเข้าถึงบริการ ดังนั้นหากรัฐบาลกลับมาเก็บค่าธรรมเนียมอีกครั้ง ก็จะส่งผลถึงการเข้าถึงบริการของคนจนทันที จึงเกิดคำถามตามมาว่า แล้วรัฐบาลจะแก้ปัญหาการเข้าถึงบริการของผู้ป่วยบัตรทองได้อย่างไร หรือจะให้ฟรีเฉพาะคนจน ก็จะเกิดปัญหาเรื่องการนิยามคำว่า “คนจน” ต่อไปอีก และจะเกิดคำถามต่ออีกว่าทำไมสิทธิอื่นๆ โดยเฉพาะข้าราชการฯเข้าถึงบริการมากกว่าแต่กลับไม่ถูกเก็บค่าธรรมเนียม

อย่างไรก็ตามเป็นที่เข้าใจได้ว่าการเก็บค่าธรรมเนียมครั้งนี้ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เพราะพรรคเพื่อไทยต้องการรีแบรนด์โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค แม้จะมีเสียงคัดค้านจำนวนมากจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องก็ตาม ข้อเสนอสำหรับเรื่องนี้มีดังนี้ คือ 1) เก็บค่าธรรมเนียม 30 บาท เฉพาะการไปใช้บริการนอกเวลาราชการ แต่ต้องยกเว้นกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน วิธีการนี้ก็สามารถรีแบรนด์ได้ และไม่กระทบประชาชนเท่าใดนัก 2) เก็บค่าธรรมเนียม 30 บาท เฉพาะเมื่อได้รับยา เช่น อังกฤษ เพื่อลดการใช้ยาในระบบ เพราะปัจจุบันค่ายา เป็นค่าใช้จ่ายอันดับสองรองจากค่าแรงของบุคลากรทางการแพทย์ หากลดค่ายาลงได้ก็จะสามารถประหยัดงบประมาณได้อีกปีละหลายหมื่นล้านบาท 3) ออกแบบการเก็บค่าธรรมเนียมใหม่ เช่น ไต้หวัน เพื่อจูงใจให้ประชาชนไปใช้บริการใกล้บ้าน

อย่างไรก็ดี สิ่งสำคัญที่รัฐบาลควรทำนั้นหาใช่เป็นการเดินถอยหลังเก็บ 30 บาทไม่ หากแต่คือการเดินหน้า ลดความเหลื่อมล้ำของ 3 กองทุน ถ้ารัฐบาลตั้งสติให้ดีจะพบว่าสิ่งที่ประชาชนชื่นชมและกำลังรอคอย คือ นโยบายลดความเหลื่อมล้ำ 3 กองทุน ซึ่งรัฐบาลได้เดินหน้ามาแล้วระดับหนึ่ง เพราะเนื้อแท้ของเรื่องนี้คือ การยกระดับคุณภาพการรักษาพยาบาลอีก 2 ระบบ คือ บัตรทองและประกันสังคม ที่ครอบคลุมประชาชนกว่า 58 ล้านคน ให้ดีขึ้น ทัดเทียมกับกับระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการฯ ซึ่งจะส่งผลให้ทศวรรษที่สองของโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค มีคุณภาพดีขึ้น เป็นที่พึ่งของคนส่วนใหญ่ของประเทศอย่างแท้จริง ไม่ใช่เป็นแค่ระบบอนาถาสำหรับคนจน นโยบายลดความเหลื่อมล้ำของ 3 กองทุนต่างหาก คือสิ่งที่รัฐบาลควรเดินหน้า อย่างจริงจัง

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ประมงพื้นบ้านตรังย้ำมติต้าน “โรงไฟฟ้าถ่านหิน” เผย กฟผ.ส่งคนล็อบบี้

Posted: 10 Jul 2012 08:55 AM PDT

ชี้ กฟผ.หวั่นสมาพันธ์ประมงพื้นบ้านใต้ฮือค้านโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ ส่งแนวร่วมทาบทามหวังเจาะยางขบวนต้าน เผยชมรมประมงตรังย้ำมติค้านโรงไฟฟ้าถ่านหินกันตัง หยุดสังฆกรรม-ดูงาน-รับงบ กฟผ.

­­­­­­
 
นายอิสมาแอล เบญสะอาด กรรมการชมรมประมงพื้นบ้านจังหวัดตรัง เปิดเผยว่า เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 9 ก.ค.55 ที่หลาเรียนรู้ศาลาชุมชน มูลนิธิอันดามัน ต.ควนปริง อ.เมือง จ.ตรัง มีการประชุมเพื่อทบทวนมติของชมรมประมงพื้นบ้านจังหวัดตรัง เรื่องคัดค้านโรงไฟฟ้าถ่านหินจังหวัดตรัง โดยมีสมาชิกจากอำเภอต่างๆ ในจังหวัดตรังเข้าร่วมประมาณ 40 คน
 
นายอิสมาแอล เปิดเผยต่อไปว่า หลังจากที่ได้ลงมติเมื่อวันที่ 9 มิ.ย.55 ได้มีแกนนำประมงพื้นบ้านจังหวัดกระบี่ได้มาทาบทามสมาชิกชมรมประมงพื้นบ้านจังหวัดตรังไปพูดคุย ดื่มน้ำชากับเจ้าหน้าที่ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) มีการพูดคุยเรื่องการไปดูงานที่โรงไฟฟ้าแม่เมาะและต่างประเทศ รวมถึงมีการพูดคุยเรื่องงบประมาณสนับสนุนโครงการสำหรับชาวประมงพื้นบ้าน ส่อให้เกิดความขัดแย้งในชมรมประมงพื้นบ้านจังหวัดตรัง
 
นายอิสมาแอล  เปิดเผยอีกว่า ผลการประชุมออกมายืนตามมติเดิมคือคัดค้านโรงไฟฟ้าถ่านหินจังหวัดตรัง ให้สมาชิกชมรมประมงพื้นบ้านจังหวัดตรังหยุดสังฆกรรมกับเจ้าหน้าที่ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) โดยไม่มีใครคัดค้านมติดังกล่าว ส่วนจะมีใครออกนอกแถวหรือไม่นั้นจะดำเนินการอย่างไรต้องพิจารณากันอีกครั้ง
 
“สำหรับสาเหตุที่มีแกนนำประมงพื้นบ้านจังหวัดกระบี่ซึ่งเป็นแนวร่วมสนับสนุนโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ได้มาทาบทามสมาชิกชมรมประมงพื้นบ้านจังหวัดตรัง เนื่องจาก กฟผ.กลัวว่าชาวประมงพื้นบ้านสายสมาพันธ์ประมงพื้นบ้านภาคใต้จะลุกฮือคัดค้านโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ ในขณะเดียวกันก็เป็นการเจาะยางขบวนเคลื่อนไหวคัดค้านโรงไฟฟ้าถ่านหินตรังไปด้วยในตัว” นายอิสมาแอล กล่าว
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

“เครือข่ายคนตรัง” พบผู้ว่าฯ ถกโรงไฟฟ้าถ่านหิน หวั่นซ้ำรอย “เรือปูนล่ม”

Posted: 10 Jul 2012 08:20 AM PDT

เครือข่ายคนตรังพบผู้ว่าฯ ถกยุทธศาสตร์จังหวัดเลือกอุตสาหกรรม-พัฒนายั่งยืน เผยเรือปูนล่มทำพะยูนอพยพเพียบ หวั่นโรงไฟฟ้าถ่านหินซ้ำเติม ผู้ว่าฯ บอกทุกอย่างต้องเปลี่ยนแปลง ออกตัวไม่สามารถชี้แนวทางได้

­­­­­­
 
 
วันที่ 9 ก.ค.55 เวลา 13.30 น.ที่ห้องประชุมชั้น 3 ศาลากลางจังหวัดตรัง เครือข่ายคนตรัง ประกอบด้วย เครือข่ายความร่วมมือเพื่อการพัฒนาจังหวัดตรังยั่งยืน มูลนิธิหยาดฝน มูลนิธิอันดามัน โครงการเสริมสร้างจิตสำนึกนิเวศวิทยา เครือข่ายผู้ประกอบการท่องเที่ยวในจังหวัดตรัง เครือข่ายปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัด ฯลฯ เข้าพบนายธีระยุทธ เอี่ยมตระกูล ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง เพื่อหารือเกี่ยวกับยุทธศาสตร์แผนพัฒนาจังหวัดตรังยั่งยืน กับโรงไฟฟ้าถ่านหินจังหวัดตรัง โดยมีผู้เข้าร่วมประมาณ 50 คน
 
นายชัยพร จันทร์หอม กรรมการสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่า จังหวัดตรังมียุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดตรังที่ยั่งยืน ระยะเวลา 20 ปี (พ.ศ.2545-2564) ที่เน้นการพัฒนาด้านเกษตรกรรม การท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ รักษาทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม โรงไฟฟ้าถ่านหินนอกจากก่อมลพิษและผลกระทบกับชุมชนแล้วยังเกี่ยวข้องกับนิคมอุตสาหกรรม และแผนพัฒนาภาคใต้ด้วย
 
นายสุทธิพงษ์ ลายทิพย์ ผู้ประสานงานศูนย์กฎหมายและสิทธิมนุษยชนพื้นที่อันดามัน กล่าวว่า เมื่อปี 53-54 เรือบาธบรรทุกปูนซีเมนต์ล่ม 12 ลำ ในทะเลจังหวัดตรัง ทำให้พะยูนต้องอพยพไปสู่ทะเลจังหวัดกระบี่ หากมีโรงไฟฟ้าถ่านหินเกิดขึ้นในอนาคตพะยูนหายไปมากกว่านี้ไหม อีกทั้งจังหวัดตรังต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่งระหว่างอุตสาหกรรม กับการพัฒนาแบบยั่งยืน
 
นายธีระยุทธ เอี่ยมตระกูล ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง กล่าวว่า จังหวัดตรังไม่ควรเอามาผูกติดกับคนกลุ่มเดียว การจะอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ตนก็เห็นด้วย แต่ยังไงก็ทุกอย่างย่อมมีการพัฒนา มีการเปลี่ยนแปลง กรณีโรงไฟฟ้าถ่านหินมีแผนจะสร้างที่ไหนก็มีกระแสคัดค้าน ทำไม กฟผ.ไม่จัดระเบียบการให้ข่าวสารชาวบ้านให้ดีตั้งแต่เริ่มต้นเข้าให้ถึงชาวบ้าน ทำไมต้องเลือกพื้นที่อุดมสมบูรณ์ในการสร้างโรงไฟฟ้า
 
“ผู้ว่าฯ ไม่สามารถชี้แนวทางให้เมืองเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ไม่ได้หรอก จะให้ผมเห็นด้วยหรือคัดค้าน ผมยังตัดสินใจไม่ได้ ผมมาที่ตรัง 2 เดือน กฟผ.ไม่เคยมาชี้แจงกับผมเลยสักครั้ง ผมเป็นผู้บริหารต้องดูองคาพยพอื่นๆ ด้วย แต่ที่แน่ๆ ผมไม่มีอันตรายสำหรับพวกคุณแล้วกัน” นายธีระยุทธ กล่าว
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ผู้ให้บริการโดเมน .th แจ้งถูกเจาะระบบ-เปลี่ยนรหัสด่วน

Posted: 10 Jul 2012 08:10 AM PDT

ผู้ให้บริการโดเมน .th แจ้งพบร่องรอยการเจาะระบบ โดยชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านอาจถูกเจาะออกไปด้วย แนะนำผู้ใช้เปลี่ยนรหัสผ่านบัญชี THNIC รวมถึงบัญชีอื่นๆ ที่อาจใช้รหัสผ่านชุดเดียวกันด้วย

วันนี้ (10 ก.ค.55) THNIC ซึ่งเป็นผู้ให้บริการโดเมน .th ส่งอีเมลถึงลูกค้าและประกาศผ่านเว็บ https://www.thnic.co.th/ ว่า บริษัทตรวจพบร่องรอยการเจาะระบบ และมีความเป็นไปได้ที่จะชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านอาจถูกเจาะออกไป โดยแนะนำให้ผู้ใช้ทุกคนเปลี่ยนรหัสผ่านบัญชี THNIC รวมถึงบัญชีอื่นๆ ที่อาจใช้รหัสผ่านชุดเดียวกันด้วย โดยเบื้องต้น THNIC ได้ดำเนินการแก้ไขเพื่อป้องกันเรียบร้อยแล้ว

ด้านผู้ให้บริการรายย่อยอย่าง DotArai ชี้แจงผ่านทวิตเตอร์ว่า ไม่ได้รับผลกระทบแต่อย่างใด (อ้างอิง 1,2)

รายละเอียดประกาศมีดังนี้

0000

เรียนท่านเจ้าของ Account ระบบจัดการโดเมนทุกท่าน

THNIC พบว่ามีผู้ไม่ประสงค์ดีได้บุกรุกเข้ามาในระบบจัดการโดเมนของลูกค้า และมีความเป็นไปได้ที่จะได้ข้อมูล Log-in / Password ไป และแม้ว่า THNIC จะมีการเพิ่มมาตรการความปลอดภัยโดยแก้ไขและปิดช่องโหว่ของเครื่องเซิฟเวอร์ พัฒนาระบบการเข้าสู่ Account เพิ่มเติม และดำเนินการเปลี่ยนเครื่อง Server เพื่อหลีกเลี่ยงช่องทางที่ผู้บุกรุกได้ซ่อนไว้ รวมถึงมีมาตรการ ให้เจ้าของ Account ทุกท่านต้องเปลี่ยนรหัสผ่านก่อนการใช้งาน แล้วนั้น

อย่างไรก็ตามทาง THNIC ใคร่ขอแจ้งเตือนท่านเจ้าของ Account ที่มีการใช้งานอื่นๆ บนระบบ Internet ซึ่งใช้รหัสผ่าน เหมือนรหัสผ่านที่ใช้กับระบบจัดการโดเมนของ THNIC ขอแนะนำให้ท่านเปลี่ยนรหัสผ่านนั้น ๆ ในทันที เพื่อป้องกันการติดตามจากผู้ไม่ประสงค์ดีดังกล่าว ซึ่งอาจจะมีการติดตามเข้าไปยังการใช้งานอื่นๆ ของท่าน

THNIC ต้องขออภัยกับเหตุการณ์ และความไม่สะดวกที่เกิดขึ้น ทั้งนี้ทาง THNIC มิได้นิ่งนอนใจต่อเหตุการณ์ดังกล่าว และได้ยกระดับความปลอดภัย เพื่อให้ท่านมั่นใจในการใช้งานระบบจดทะเบียนโดเมน และหากท่านมีข้อสงสัยหรือเสนอแนะใด สามารถติดต่อได้ที่ staff @ thnic.co.th ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ขอแสดงความนับถือ ภาคภูมิ ไตรพัฒน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ที.เอช.นิค จำกัด .th Registrar

Dear THNIC User Account Owners,

THNIC suspects an intrusion into THNIC's customer domain name management system and it is possible that the intruder gets user names and passwords of the user accounts. Although, THNIC had already fixed the vulnerabilities, changed the server to avoid any channels created by the intruder, as well as increased the system security by introducing a new login system and a policy that every account needs to change password before doing any further processes, THNIC would also like to inform all account owners who happen to use the same password at any other system elsewhere on the Internet. THNIC recommends you to immediately change the password in every sites / servers to prevent any unexpected intrusion from the intruder which may try to follow the path to your other internet usages.

THNIC regrets for the incident occurred and would like to apologize for any of your inconvenience. Should you have any further enquiry or suggestion, please kindly contact staff @ thnic.co.th everyday 24 hours.

Yours Sincerely, Parkpoom Tripatana Managing Director T.H.NIC Co., Ltd. .th Registrar

 

 

ที่มา: เว็บไซต์ THNIC ผ่าน http://www.blognone.com/node/34043

จาตุรนต์ ฉายแสง: ต้องยอมรับคำวินิจฉัยที่ไม่เป็นธรรมด้วยหรือ

Posted: 10 Jul 2012 07:29 AM PDT

 อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทยและสมาชิกบ้านเลขที่111 ชี้ 6 ข้อกังขาต่อความชอบธรรมในการวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ

 
 
“แต่ถ้าปล่อยให้มีการแสดงความเห็นในทางยอมรับหรือเห็นด้วยกับคำวินิจฉัยแต่เพียงทางเดียว จะเกิดความยุติธรรมจริงหรือ  
 
        บางทีเราก็ลืมกันไปว่าคำว่ายุติธรรมนั้นคือ ยุติด้วยการตัดสินที่เป็นธรรม หากตัดสินด้วยความไม่เป็นธรรมแล้วความขัดแย้งนอกจากจะไม่ยุติ ยังอาจจะยิ่งสับสนวุ่นวายยิ่งขึ้นอีกด้วย”
 
 
 
 
        มีเสียงเรียกร้องจากฝ่ายที่ต่อต้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า เมื่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยกรณีที่มีผู้ร้องตามมาตรา 68 ในวันศุกร์ที่ 13กรกฎาคมนี้แล้วทุกฝ่ายควรจะยอมรับคำวินิจฉัยนั้น บางคนก็ไปไกลถึงขั้นที่เสนอว่า ไม่ว่าศาลจะวินิจฉัยออกมาอย่างไรทุกฝ่ายก็ต้องยอมรับ มิฉะนั้นสังคมก็จะวุ่นวาย
 
     ผมขอตั้งคำถามว่าจำเป็นด้วยหรือที่ทุกฝ่ายทุกคนจะต้องยอมรับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ และจริงหรือที่ว่าหากไม่ยอมรับแล้วสังคมจะวุ่นวาย
 
        คำว่า “ควรยอมรับ”หรือ “ต้องยอมรับ” ถ้ามาจากคู่ความหรือผู้มีส่วนได้เสียก็มักมาจากฝ่ายที่เชื่อว่าคำวินิจฉัยจะตรงกับความเห็นของตนหรือเป็นประโยชน์ต่อฝ่ายตน    ต้องการให้เรื่องที่ขัดแย้งกันอยู่นั้นยุติลงตามคำวินิจฉัย
 
        ผู้ที่กำลังเรียกร้องอย่างแข็งขันให้ทุกฝ่ายยอมรับคำวินิจฉัยครั้งนี้ ก็ดูจะได้แก่คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และคุณชวน หลีกภัย
 
        แต่ถ้าปล่อยให้มีการแสดงความเห็นในทางยอมรับหรือเห็นด้วยกับคำวินิจฉัยแต่เพียงทางเดียว จะเกิดความยุติธรรมจริงหรือ  
 
        บางทีเราก็ลืมกันไปว่าคำว่ายุติธรรมนั้นคือ ยุติด้วยการตัดสินที่เป็นธรรม หากตัดสินด้วยความไม่เป็นธรรมแล้วความขัดแย้งนอกจากจะไม่ยุติ ยังอาจจะยิ่งสับสนวุ่นวายยิ่งขึ้นอีกด้วย
 
        เพราะฉะนั้นถ้าจะให้เกิดความยุติธรรมขึ้นจริงๆ เมื่อมีคำวินิจฉัยออกมา ควรเปิดโอกาสให้คนแสดงความเห็นได้ทั้งทางที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยนั้น  
 
        กรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญจะตัดสินในวันที่ 13 นี้  เมื่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยออกมาอย่างไร ย่อมผูกพันองค์กรต่างๆ องค์กรที่เกี่ยวข้องก็ย่อมต้องปฏิบัติตาม เช่น ถ้าศาลฯสั่งให้รัฐสภายุติการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา291 ที่กำลังทำกันอยู่ รัฐสภาก็ไม่สามารถลงมติในวาระที่ 3 ต่อไปได้ การแก้รัฐธรรมนูญก็ต้องยุติลง แล้วหากใครอยากจะแก้อีกก็คงต้องไปเริ่มต้นกันใหม่
 
แต่ “ปฏิบัติตาม” กับ “ยอมรับ”ไม่จำเป็นต้องไปทางเดียวกันเสมอไป และ “ปฏิบัติตาม”กับ“เห็นด้วย”ก็ไม่จำเป็นต้องไปทางเดียวกัน องค์กรที่เกี่ยวข้องหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องต้องปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ แต่ไม่จำเป็นต้องยอมรับหรือเห็นด้วยกับคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ
 
        คำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ย่อมมีทั้งคนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ผู้ที่เห็นด้วยย่อมมีสิทธิที่จะแสดงความเห็นด้วยหรือชื่นชมกับคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ  ขณะเดียวกันผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับคำตัดสินของศาลก็มีสิทธิที่จะแสดงความไม่เห็นด้วยหรือแม้กระทั่งแสดงการไม่ยอมรับคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ
 
        ดังนั้นใครที่ไม่เห็นด้วยหรือไม่ยอมรับคำตัดสินของศาล  ย่อมมีสิทธิแสดงความเห็นของตนได้โดยไม่จำเป็นต้องทำตามความเห็นของคุณอภิสิทธิ์หรือคุณชวนที่ออกมาพูดเพื่อสกัดกั้นการแสดงความคิดเห็นของฝ่ายที่จะไม่เห็นด้วยกับคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ ใครๆก็รู้ว่าหากไม่มีใครโต้แย้งคำวินิจฉัย คุณอภิสิทธิ์กับคุณชวนก็ย่อมจะได้ประโยชน์จากคำวินิจฉัยนั้นไปเต็มๆอยู่แล้ว
 
        พิจารณาจากความเป็นจริงที่เกิดขึ้น เป็นไปได้ยากมากที่คำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญในครั้งนี้จะเป็นที่ยอมรับของประชาชนส่วนใหญ่ได้ หากจะยึดหลักการตามรัฐธรรมนูญฉบับนี้เอง หลักการประชาธิปไตยและหลักนิติธรรมหรือแม้แต่หลักความเป็นธรรมหรือสามัญสำนึกปกติทั่วไป จะพบว่ามีเหตุผลหลายประการที่ไม่พึงยอมรับกับคำวินิจฉัยที่กำลังจะเกิดขึ้นดังนี้
 
1 .ศาลรัฐธรรมนูญได้รับคำร้องไปทั้งที่ไม่มีอำนาจ
 
2.  ศาลฯกำลังใช้รัฐธรรมนูญมาตรา 68 ไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ของมาตรานี้ที่มีไว้ป้องกันการปฏิวัติรัฐประหารล้มล้างการปกครองฯ  แต่ศาลฯกลับกำลังนำมาใช้เพื่อขัดขวางการแก้ไขรัฐธรรมนูญตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญเอง
 
3. ศาลฯได้สั่งให้รัฐสภาชะลอการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทั้งๆที่ศาลฯไม่มีอำนาจ
 
4. ศาลกำลังเข้าไปตรวจสอบร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งๆที่ไม่มีอำนาจตามรัฐธรรมนูญ เป็นการก้าวก่ายแทรกแซงการทำหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติ ทำให้ศาลฯมีอำนาจเหนือกว่าฝ่ายนิติบัญญัติในการร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ขัดหลักการแบ่งแยกอำนาจ
 
5. ตั้งแต่ศาลฯรับคำร้องจนกระทั่งวินิจฉัยแล้วเสร็จ มีผลในทางปฏิบัติเท่ากับว่าศาลฯได้แก้รัฐธรรมนูญไปแล้วหลายบทหลายมาตราตามอำเภอใจและ
 
6. ตุลาการหลายคนมีส่วนได้เสียไม่พึงทำหน้าที่พิจารณาคดีและตุลาการบางคนโดยเฉพาะประธานศาลรัฐธรรมนูญเองได้แสดงความเห็นเอนเอียงไปในทางผู้ร้องในลักษณะชี้นำสาธารณชนและตุลาการด้วยกัน จึงไม่ชอบธรรมที่จะทำหน้าที่พิจารณาคดีนี้ต่อไป
 
        จากเหตุผลทั้ง 6 ข้อดังกล่าว จะเห็นได้ว่าโอกาสที่ศาลฯจะตัดสินให้เป็นที่ยอมรับว่าถูกต้องชอบธรรมได้ มีอยู่เพียงทางเดียวคือการวินิจฉัยว่ายกคำร้องเนื่องจากศาลฯไม่มีอำนาจพิจารณาคำร้องนี้เท่านั้น
 
นอกจากนั้นไม่เห็นความเป็นไปได้ที่ศาลฯจะวินิจฉัยให้เป็นที่ยอมรับว่าถูกต้องชอบธรรมได้เลย  แม้ว่าจะยกคำร้อง  แต่ในการวินิจฉัยนั้นหากศาลฯยืนยันอำนาจในการรับคำร้องก็ดี อำนาจในการตรวจสอบร่างรัฐธรรมนูญก็ดี คำวินิจฉัยนั้นก็ไม่ถูกต้องชอบธรรมและจะสร้างความเสียหายต่อประเทศชาติอย่างมากต่อไป ไม่ต้องพูดถึงการวินิจฉัยที่ร้ายแรงกว่านั้นว่าจะไม่ยุติธรรมอย่างไร  และสร้างความเสียหายสักเพียงใด
 
 
00000000

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ของขวัญบัณฑิต: แนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ 3+1 ประการถึงบัณฑิตใหม่

Posted: 10 Jul 2012 06:02 AM PDT

 

ในโอกาสแห่งความสุขสันต์ที่น้องๆ กำลังจะจบรับปริญญาเป็นบัณฑิต เห็นมีคนให้ของขวัญหลากหลายแตกต่างกันไปบ้างตุ๊กตาน่ารักน่าชัง บ้างก็เงินสดพร้อมรถหรู พี่ไม่มีอะไรอื่นนอกจากความหวังดีเล็กๆที่จะมาแบ่งปันเป็นบทความบทหนึ่งนี้ โดยมีแก่นความอยู่ที่การถ่ายทอดแนวทางการใช้ชีวิตหลังจบมหาวิทยาลัยให้แก่น้องๆ ที่กำลังจะจบการศึกษาทุกคน เพื่อให้ง่ายแก่การทำความเข้าใจ พี่อย่างที่จะเล่าเป็นข้อๆ รวม 3+1 เรื่องด้วยกันได้แก่  

เรื่องแรก ศักยภาพเริ่มต้นขึ้นที่จุดจบของความคุ้นชิน                

มหาวิทยาลัยในยุคเริ่มต้นของประเทศไทยนั้นจัดตั้งขึ้นก็เพื่อมีวัตถุประสงค์ที่จะผลิตบุคลากรป้อนเป็นกำลังสำคัญแก่การขยายตัวระบบราชการ มหาวิทยาลัยที่มีเป้าหมายการผลิตบัณฑิตสอดคล้องกับกระทรวงต่างๆ อาทิ เกษตร สาธารณสุข มหาดไทยจึงเกิดขึ้นในช่วงเวลานั้น ต่อมาเมื่อมีการพัฒนาทางเศรษฐกิจการเจริญเติบโตของระบบอุตสาหกรรมและทุนนิยมได้ปรับเปลี่ยนให้มหาวิทยาลัยกลายเป็นสถานเรียนรู้ที่มีวัตถุประสงค์ด้านหนึ่ง (แม้จะไม่ใช่ทั้งหมดก็ตามแต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นด้านหลัก) เพื่อผลิตบัณฑิตให้เท่าทันความต้องการของ “ตลาดแรงงาน” มหาวิทยาลัยนับตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันจึงมีทิศทางที่ “เคี่ยว หรือ นวด” ให้เรา --- บัณฑิตที่จบออกมา --- มีความชำนาญเฉพาะด้านอย่างมากจากอธิพลของแนวคิดการแบ่งงานกันทำ                

อย่างไรก็ตาม ในโลกยุคหลังทุนนิยม (post-capitalism) หรือยุคโลกาภิวัตน์หรือจะเรียกว่าอะไรก็ตามแต่ที่เรากำลังดำรงชีวิตอยู่นี้ได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมากแล้ว ความชำนาญเฉพาะด้านได้กลายเป็น “จุดอ่อน” ที่นับวันจะเด่นชัดยิ่งขึ้น สัญญาณหลายตัวอาทิ การทำนายถึงอาชีพที่กำลังจะสูญหายไปจากการเข้ามาแทนที่โดยเทคโนโลยีใหม่ๆ ทำให้ “ความสามารถยืดหยุ่นปรับตัว” กลายเป็นทักษะที่จำเป็นมากกว่าความชำนาญ แน่นอนว่าการมีความชำนาญเฉพาะด้านอาจจะไม่ได้เป็นจุดอ่อนในตัวมันเอง แต่เราต้องไม่ลืมว่าโดยส่วนใหญ่แล้วการสร้างความชำนาญในระยะเวลาเพียง 4 ปีของปริญญาตรีมักแลกมาด้วยการละเลยที่จะศึกษาภาพกว้างหรือเสริมสร้างทักษะการปรับเปลี่ยนนอกกรอบแต่เน้นที่การทำให้กรอบแข็งไว้ก่อน

ดังนั้น เรื่องแรกที่พวกคุณควรรู้ก็คือแรงงานในศตวรรษที่ 21 ไม่ใช่แรงงานที่มีทักษะสำเร็จรูป (instant skilled labor) แต่เป็นแรงงานความรู้ (knowledge labor) ที่สามารถปรับตัวได้ตามความต้องการที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็วและรุนแรงยิ่งขึ้น --- ค้นหาเส้นขอบฟ้าใหม่ๆ ให้แก่ตัวเองตลอดเวลาอย่างติดกับอยู่ในคอกของสิ่งที่เรียนมาตั้งแต่ในมหาวิทยาลัย --- competency begins at the end of your comfort zone   (ที่มาภาพประกอบ: page FB เชิญมาเป็นชาว “คิด”)  

เรื่องสอง ภาษิตจีน --- เกิดเป็นผู้ชาย(และหญิง)ต้องเลือกห้างให้ถูก

ในทางเศรษฐศาสตร์เรามักถูกสอนในชั้นเรียนเบื้องต้นถึงการแสวงหากำไรสูงสุด ความสุขสูงสุดอย่างง่ายๆ ตรงไปตรงมา แต่เมื่อเราเรียนในระดับที่สูงยิ่งขึ้นเราจะถูกสอนให้ตัดสินใจโดยคำนึงถึงความสลับซับซ้อนของตัวแปรในชีวิตมากขึ้น รวมถึงการมองไกลออกไปในอนาคตมากขึ้นด้วย เพราะการตัดสินใจในเวลาปัจจุบันนี้อาจส่งผลต่อความสุขทั้งชีวิตในอนาคต โดยที่เราไม่อาจจะกลับมาเลือกตัดสินใจใหม่ในการตัดสินใจที่ได้ผ่านพ้นไปแล้ว (เวลาไม่เคยไหลย้อนกลับ) ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์เรียกการตัดสินใจแบบนี้ว่า ออปติมัล คอนโทรน (optimal control) หรือพูดง่ายๆ ก็คือ ขอให้ตัดสินใจเพื่อความสุขทั้งเส้นทางชีวิต ไม่ใช่ตัดสินใจเพียงเพื่อประโยชน์เฉพาะหน้า

แนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ข้อนี้สอดคล้องกับภาษิตจีนโบราณที่กล่าวว่า “เป็นชายต้องเลือกห้างให้ถูก เป็นหญิงต้องเลือกสามีให้ถูก” (เข้าใจว่าแปรเช่นนี้นะครับ) แม้ส่วนหลังซึ่งกล่าวถึงผู้หญิงจะล้าหลังไปแล้วเพราะผู้หญิงเองไม่ต้องอยู่บ้านเป็นแม่บ้านเพียงอย่างเดียวอีกต่อไป แต่ส่วนด้านหน้าที่กล่าวถึงการเลือกห้างนั้นยังมีความสำคัญอย่างมาก ความหมายของการเลือกห้างก็คือ การที่จะต้องเลือกทำงานให้ถูกนั่นเอง “งานบางอย่างแม้รายได้ดีเพียงใดก็ห้ามทำ” พ่อผมเคยกล่าวไว้ --- อย่างไรก็ตาม คนเรานั้นมีสิ่งที่เรียกว่าความสุขสมเฉพาะหน้าเกินต้านทาน (instant gratification) เช่น ความสุขจากการได้เงินใช้มากๆ ในวันนี้ เป็นต้น โดยไม่ได้ดูไปถึงอนาคตไกลๆ ว่าเป็นงานที่เหมาะสมหรือไม่ ดังนั้น ระวังความสุขเฉพาะหน้าและมองไกลเข้าไว้ ครับ

เรื่องสาม อย่าปล่อยให้เกรดในมหาวิทยาลัยและ how to book กำหนดทั้งชีวิตของคุณ

ผมเคยเห็นคนที่ประสบความสำเร็จสูงสุดคนหนึ่งในฐานะลูกจ้างรับเงินเดือน รุ่นพี่ผมท่านนี้ได้เคยถูกจัดอันดับว่ามีรายได้เป็นเงินเดือนมากที่สุดในประเทศ ทั้งๆที่จบคณะเศรษฐศาสตร์ด้วยเกรดเฉลี่ยสะสมเพียงสองต้นๆเท่านั้น ท่านเข้าทำงานด้วยตำแหน่งเทรดเดอร์ (Trader --- พนักงานซื้อขายหลักทรัพย์) ธรรมดา อาศัยร่างกายที่บึกบึนเพราะเล่นกีฬาเบียดเสียดก้าวหน้าขึ้นเป็นลำดับ[1] จนกระทั่งถึงจุดสูงสุดของคนที่รับเงินเดือนประจำ เกรดจึงเป็นเพียงการส่งสัญญาณให้ตลาดรับรู้ว่าคุณเรียนได้ดีแค่ไหนเท่านั้น มันไม่ได้มีพลังมากพอจะกำหนดความก้าวหน้าของคุณทั้งชีวิต

แน่หละ มันอาจจะมีผลอยู่บ้างกับการบอกว่าใครได้แต้มต่อแค่ไหนตอนเริ่มต้น แต่ระยะทางใช้ชีวิตการทำงานนั้นเป็นมาราธอน ไม่ใช่คนที่ได้วิ่งก่อนหรือเริ่มต้นที่ข้างหน้าจะได้รับชัยชนะเสมอไป --- นอกจากนี้การเอาเป็นเอาตายมากเกินไปกับการได้ปริญญาในระดับเกียรตินิยมอันดับสอง ==> อันดับหนึ่ง ==> หนึ่งเหรียญทอง  ยังสะท้อนถึงการทำให้ตัว “บัณฑิตเองกลายเป็นสินค้า” และมีปริญญาเป็น ISO 9002, เราควรมีอิสรภาพที่จะใช้ชีวิตในฐานะคนที่อยากทำงานเพราะมันมีคุณค่าหรือเราอยากทำมันจริงๆ มากกว่าอยากทำงานเพราะได้เงินดี หรือเพราะมันมีระดับและดูคู่ควรกับISOปริญญาที่เราได้รับมา

เมื่อผมกล่าวถึงศิษย์พี่ของผมที่ได้รับเงินเดือนมากที่สุดของประเทศแม้ว่าจะได้เกรดเฉลี่ยจบการศึกษาเพียงสองเท่านั้น คุณอาจจะอย่างทราบว่าเขาทำอย่างไรจึงบรรลุจุดสูงสุดเช่นนั้นทั้งที่เริ่มต้นด้วยทุนต่ำกว่าคนอื่นหลายขุมนัก อันที่จริงแล้ว ผมคิดว่าคุณไม่จำเป็นต้องรู้ว่าเขาทำได้อย่างไรหรอกครับ เพราะไม่มีสูตรสำเร็จตายตัวในการใช้ชีวิต หนังสือ how to ทั้งหลายรวมถึงบทความนี้ด้วยอาจจะช่วยชี้นำแนวทางที่น่าสนใจให้แก่คุณได้บ้าง (หรืออย่างน้อยก็ชี้ว่าแนวทางใดผิด) แต่อย่าเชื่อมันมากจนกระทั่งละเลยการใช้วิจารณญาณ และ Gut ของตนเอง

โดยเฉพาะเรื่องของการใช้ชีวิตนี่สำคัญอย่างมาก อย่างที่ผมได้กล่าวไว้แล้วในเรื่องเล่าประการแรก คนเราถูกกำหนดให้มีความชำนาญเพื่อสนองตอบต่อความต้องการของ “ตลาด” จนกระทั่งคล้ายกับว่าโลกใบนี้คือโรงงานขนาดใหญ่ที่ความต้องการของตลาดกลายเป็นทั้งหมดของสิ่งที่เราควรจะเป็น --- หรือ --- หากจะกล่าวให้ตรงยิ่งขึ้น การสอนในมหาวิทยาลัยหรือหนังสือฮาวทู ทั้งหลายตอกย้ำและผลิตซ้ำความต้องการของระบบโรงงาน โลกที่จะตัดแบ่งคนออกเป็นส่วนๆ มีหน้าที่ตายตัวและดำเนินไปอย่างมีความมุ่งหมายเฉพาะโดยไม่ต้องทบทวนถึงความสมเหตุสมผลต่อเป้าหมายเหล่านั้น ประพฤติกรรมในลักษณะนี้ทำให้เราสิ้นสุดวิญญาณแบบนักผจญภัยและการอยากรู้อยากเห็นไป คุณไม่ควรจะเป็นคนที่เหี่ยวแห้งน่าเบื่อหน่ายเช่นนั้น  

 

เรื่องประการสุดท้าย --- คุณควรมีกฎเป็นของตัวเอง อย่าปล่อยให้เอกสารชิ้นนี้กลายเป็น “สุ่ม” ที่ครอบคุณไว้อีกอัน หรือไม้ตะพดที่คอยเขกกระบาลบอกว่าคุณควรทำอะไรหรืออย่างไร จงผิดพลาดและพัฒนาการ เลิกชี้นิ้วโทษ หนังสือ อาจารย์ หรือใครๆ ผมให้กำลังใจลองใช้ชีวิตกันดูครับ    



[1] เทรดเดอร์แต่ก่อนยังไม่มีกระดานอิเล็กทรอนิกส์ต้องเบียดกันเข้าไปเขียนกระดานคำสั่งซื้อขาย
 
 
หมายเหตุ:จากบทความเดิมชื่อ ของขวัญบัณฑิต: แนวคิดทางเศรษฐศาสตร์3+1ประการที่รุ่นพี่ฝากถึงรุ่นน้องบัณฑิตจบใหม่

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ของขวัญบัณฑิต: แนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ 3+1 ประการถึงบัณฑิตใหม่

Posted: 10 Jul 2012 05:58 AM PDT

ในโอกาสแห่งความสุขสันต์ที่น้องๆ กำลังจะจบรับปริญญาเป็นบัณฑิต เห็นมีคนให้ของขวัญหลากหลายแตกต่างกันไปบ้างตุ๊กตาน่ารักน่าชัง บ้างก็เงินสดพร้อมรถหรู พี่ไม่มีอะไรอื่นนอกจากความหวังดีเล็กๆที่จะมาแบ่งปันเป็นบทความบทหนึ่งนี้ โดยมีแก่นความอยู่ที่การถ่ายทอดแนวทางการใช้ชีวิตหลังจบมหาวิทยาลัยให้แก่น้องๆ ที่กำลังจะจบการศึกษาทุกคน เพื่อให้ง่ายแก่การทำความเข้าใจ พี่อย่างที่จะเล่าเป็นข้อๆ รวม 3+1 เรื่องด้วยกันได้แก่  

เรื่องแรก ศักยภาพเริ่มต้นขึ้นที่จุดจบของความคุ้นชิน                

มหาวิทยาลัยในยุคเริ่มต้นของประเทศไทยนั้นจัดตั้งขึ้นก็เพื่อมีวัตถุประสงค์ที่จะผลิตบุคลากรป้อนเป็นกำลังสำคัญแก่การขยายตัวระบบราชการ มหาวิทยาลัยที่มีเป้าหมายการผลิตบัณฑิตสอดคล้องกับกระทรวงต่างๆ อาทิ เกษตร สาธารณสุข มหาดไทยจึงเกิดขึ้นในช่วงเวลานั้น ต่อมาเมื่อมีการพัฒนาทางเศรษฐกิจการเจริญเติบโตของระบบอุตสาหกรรมและทุนนิยมได้ปรับเปลี่ยนให้มหาวิทยาลัยกลายเป็นสถานเรียนรู้ที่มีวัตถุประสงค์ด้านหนึ่ง (แม้จะไม่ใช่ทั้งหมดก็ตามแต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นด้านหลัก) เพื่อผลิตบัณฑิตให้เท่าทันความต้องการของ “ตลาดแรงงาน” มหาวิทยาลัยนับตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันจึงมีทิศทางที่ “เคี่ยว หรือ นวด” ให้เรา --- บัณฑิตที่จบออกมา --- มีความชำนาญเฉพาะด้านอย่างมากจากอธิพลของแนวคิดการแบ่งงานกันทำ                

อย่างไรก็ตาม ในโลกยุคหลังทุนนิยม (post-capitalism) หรือยุคโลกาภิวัตน์หรือจะเรียกว่าอะไรก็ตามแต่ที่เรากำลังดำรงชีวิตอยู่นี้ได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมากแล้ว ความชำนาญเฉพาะด้านได้กลายเป็น “จุดอ่อน” ที่นับวันจะเด่นชัดยิ่งขึ้น สัญญาณหลายตัวอาทิ การทำนายถึงอาชีพที่กำลังจะสูญหายไปจากการเข้ามาแทนที่โดยเทคโนโลยีใหม่ๆ ทำให้ “ความสามารถยืดหยุ่นปรับตัว” กลายเป็นทักษะที่จำเป็นมากกว่าความชำนาญ แน่นอนว่าการมีความชำนาญเฉพาะด้านอาจจะไม่ได้เป็นจุดอ่อนในตัวมันเอง แต่เราต้องไม่ลืมว่าโดยส่วนใหญ่แล้วการสร้างความชำนาญในระยะเวลาเพียง 4 ปีของปริญญาตรีมักแลกมาด้วยการละเลยที่จะศึกษาภาพกว้างหรือเสริมสร้างทักษะการปรับเปลี่ยนนอกกรอบแต่เน้นที่การทำให้กรอบแข็งไว้ก่อน

ดังนั้น เรื่องแรกที่พวกคุณควรรู้ก็คือแรงงานในศตวรรษที่ 21 ไม่ใช่แรงงานที่มีทักษะสำเร็จรูป (instant skilled labor) แต่เป็นแรงงานความรู้ (knowledge labor) ที่สามารถปรับตัวได้ตามความต้องการที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็วและรุนแรงยิ่งขึ้น --- ค้นหาเส้นขอบฟ้าใหม่ๆ ให้แก่ตัวเองตลอดเวลาอย่างติดกับอยู่ในคอกของสิ่งที่เรียนมาตั้งแต่ในมหาวิทยาลัย --- competency begins at the end of your comfort zone   (ที่มาภาพประกอบ: page FB เชิญมาเป็นชาว “คิด”)  

เรื่องสอง ภาษิตจีน --- เกิดเป็นผู้ชาย(และหญิง)ต้องเลือกห้างให้ถูก

ในทางเศรษฐศาสตร์เรามักถูกสอนในชั้นเรียนเบื้องต้นถึงการแสวงหากำไรสูงสุด ความสุขสูงสุดอย่างง่ายๆ ตรงไปตรงมา แต่เมื่อเราเรียนในระดับที่สูงยิ่งขึ้นเราจะถูกสอนให้ตัดสินใจโดยคำนึงถึงความสลับซับซ้อนของตัวแปรในชีวิตมากขึ้น รวมถึงการมองไกลออกไปในอนาคตมากขึ้นด้วย เพราะการตัดสินใจในเวลาปัจจุบันนี้อาจส่งผลต่อความสุขทั้งชีวิตในอนาคต โดยที่เราไม่อาจจะกลับมาเลือกตัดสินใจใหม่ในการตัดสินใจที่ได้ผ่านพ้นไปแล้ว (เวลาไม่เคยไหลย้อนกลับ) ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์เรียกการตัดสินใจแบบนี้ว่า ออปติมัล คอนโทรน (optimal control) หรือพูดง่ายๆ ก็คือ ขอให้ตัดสินใจเพื่อความสุขทั้งเส้นทางชีวิต ไม่ใช่ตัดสินใจเพียงเพื่อประโยชน์เฉพาะหน้า

แนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ข้อนี้สอดคล้องกับภาษิตจีนโบราณที่กล่าวว่า “เป็นชายต้องเลือกห้างให้ถูก เป็นหญิงต้องเลือกสามีให้ถูก” (เข้าใจว่าแปรเช่นนี้นะครับ) แม้ส่วนหลังซึ่งกล่าวถึงผู้หญิงจะล้าหลังไปแล้วเพราะผู้หญิงเองไม่ต้องอยู่บ้านเป็นแม่บ้านเพียงอย่างเดียวอีกต่อไป แต่ส่วนด้านหน้าที่กล่าวถึงการเลือกห้างนั้นยังมีความสำคัญอย่างมาก ความหมายของการเลือกห้างก็คือ การที่จะต้องเลือกทำงานให้ถูกนั่นเอง “งานบางอย่างแม้รายได้ดีเพียงใดก็ห้ามทำ” พ่อผมเคยกล่าวไว้ --- อย่างไรก็ตาม คนเรานั้นมีสิ่งที่เรียกว่าความสุขสมเฉพาะหน้าเกินต้านทาน (instant gratification) เช่น ความสุขจากการได้เงินใช้มากๆ ในวันนี้ เป็นต้น โดยไม่ได้ดูไปถึงอนาคตไกลๆ ว่าเป็นงานที่เหมาะสมหรือไม่ ดังนั้น ระวังความสุขเฉพาะหน้าและมองไกลเข้าไว้ ครับ

เรื่องสาม อย่าปล่อยให้เกรดในมหาวิทยาลัยและ how to book กำหนดทั้งชีวิตของคุณ

ผมเคยเห็นคนที่ประสบความสำเร็จสูงสุดคนหนึ่งในฐานะลูกจ้างรับเงินเดือน รุ่นพี่ผมท่านนี้ได้เคยถูกจัดอันดับว่ามีรายได้เป็นเงินเดือนมากที่สุดในประเทศ ทั้งๆที่จบคณะเศรษฐศาสตร์ด้วยเกรดเฉลี่ยสะสมเพียงสองต้นๆเท่านั้น ท่านเข้าทำงานด้วยตำแหน่งเทรดเดอร์ (Trader --- พนักงานซื้อขายหลักทรัพย์) ธรรมดา อาศัยร่างกายที่บึกบึนเพราะเล่นกีฬาเบียดเสียดก้าวหน้าขึ้นเป็นลำดับ[1] จนกระทั่งถึงจุดสูงสุดของคนที่รับเงินเดือนประจำ เกรดจึงเป็นเพียงการส่งสัญญาณให้ตลาดรับรู้ว่าคุณเรียนได้ดีแค่ไหนเท่านั้น มันไม่ได้มีพลังมากพอจะกำหนดความก้าวหน้าของคุณทั้งชีวิต

แน่หละ มันอาจจะมีผลอยู่บ้างกับการบอกว่าใครได้แต้มต่อแค่ไหนตอนเริ่มต้น แต่ระยะทางใช้ชีวิตการทำงานนั้นเป็นมาราธอน ไม่ใช่คนที่ได้วิ่งก่อนหรือเริ่มต้นที่ข้างหน้าจะได้รับชัยชนะเสมอไป --- นอกจากนี้การเอาเป็นเอาตายมากเกินไปกับการได้ปริญญาในระดับเกียรตินิยมอันดับสอง ==> อันดับหนึ่ง ==> หนึ่งเหรียญทอง  ยังสะท้อนถึงการทำให้ตัว “บัณฑิตเองกลายเป็นสินค้า” และมีปริญญาเป็น ISO 9002, เราควรมีอิสรภาพที่จะใช้ชีวิตในฐานะคนที่อยากทำงานเพราะมันมีคุณค่าหรือเราอยากทำมันจริงๆ มากกว่าอยากทำงานเพราะได้เงินดี หรือเพราะมันมีระดับและดูคู่ควรกับISOปริญญาที่เราได้รับมา

เมื่อผมกล่าวถึงศิษย์พี่ของผมที่ได้รับเงินเดือนมากที่สุดของประเทศแม้ว่าจะได้เกรดเฉลี่ยจบการศึกษาเพียงสองเท่านั้น คุณอาจจะอย่างทราบว่าเขาทำอย่างไรจึงบรรลุจุดสูงสุดเช่นนั้นทั้งที่เริ่มต้นด้วยทุนต่ำกว่าคนอื่นหลายขุมนัก อันที่จริงแล้ว ผมคิดว่าคุณไม่จำเป็นต้องรู้ว่าเขาทำได้อย่างไรหรอกครับ เพราะไม่มีสูตรสำเร็จตายตัวในการใช้ชีวิต หนังสือ how to ทั้งหลายรวมถึงบทความนี้ด้วยอาจจะช่วยชี้นำแนวทางที่น่าสนใจให้แก่คุณได้บ้าง (หรืออย่างน้อยก็ชี้ว่าแนวทางใดผิด) แต่อย่าเชื่อมันมากจนกระทั่งละเลยการใช้วิจารณญาณ และ Gut ของตนเอง

โดยเฉพาะเรื่องของการใช้ชีวิตนี่สำคัญอย่างมาก อย่างที่ผมได้กล่าวไว้แล้วในเรื่องเล่าประการแรก คนเราถูกกำหนดให้มีความชำนาญเพื่อสนองตอบต่อความต้องการของ “ตลาด” จนกระทั่งคล้ายกับว่าโลกใบนี้คือโรงงานขนาดใหญ่ที่ความต้องการของตลาดกลายเป็นทั้งหมดของสิ่งที่เราควรจะเป็น --- หรือ --- หากจะกล่าวให้ตรงยิ่งขึ้น การสอนในมหาวิทยาลัยหรือหนังสือฮาวทู ทั้งหลายตอกย้ำและผลิตซ้ำความต้องการของระบบโรงงาน โลกที่จะตัดแบ่งคนออกเป็นส่วนๆ มีหน้าที่ตายตัวและดำเนินไปอย่างมีความมุ่งหมายเฉพาะโดยไม่ต้องทบทวนถึงความสมเหตุสมผลต่อเป้าหมายเหล่านั้น ประพฤติกรรมในลักษณะนี้ทำให้เราสิ้นสุดวิญญาณแบบนักผจญภัยและการอยากรู้อยากเห็นไป คุณไม่ควรจะเป็นคนที่เหี่ยวแห้งน่าเบื่อหน่ายเช่นนั้น  

 

เรื่องประการสุดท้าย --- คุณควรมีกฎเป็นของตัวเอง อย่าปล่อยให้เอกสารชิ้นนี้กลายเป็น “สุ่ม” ที่ครอบคุณไว้อีกอัน หรือไม้ตะพดที่คอยเขกกระบาลบอกว่าคุณควรทำอะไรหรืออย่างไร จงผิดพลาดและพัฒนาการ เลิกชี้นิ้วโทษ หนังสือ อาจารย์ หรือใครๆ ผมให้กำลังใจลองใช้ชีวิตกันดูครับ    



[1] เทรดเดอร์แต่ก่อนยังไม่มีกระดานอิเล็กทรอนิกส์ต้องเบียดกันเข้าไปเขียนกระดานคำสั่งซื้อขาย
 
 
หมายเหตุ:จากบทความเดิมชื่อ ของขวัญบัณฑิต: แนวคิดทางเศรษฐศาสตร์3+1ประการที่รุ่นพี่ฝากถึงรุ่นน้องบัณฑิตจบใหม่

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

รัฐสภาอียิปต์เปิดสมัยประชุมต่อ ไม่ยี่หระแรงกดดันจากศาล

Posted: 10 Jul 2012 05:24 AM PDT

รัฐสภาอียิปต์เดินหน้าเปิดประชุมเพื่อพิจารณาคำตัดสินของศาลฎีกา ในขณะเดียวกันก็ท้าทายกองทัพที่สั่งยุบสภาก่อนหน้านี้ ทำให้การเผชิญหน้าระหว่างกองทัพและรัฐบาลนำโดยมูฮัมหมัด มอร์ซีเป็นไปอย่างตึงเครียดมากยิ่งขึ้น 

10 ก.ค. 55 - สำนักข่าวอัลจาซีรารายงานว่า รัฐสภาของอียิปต์ได้เปิดประชุมสภาต่อ หลังจากที่ประธานาธิบดีมอร์ซีประกาศคำสั่งยกเลิกคำตัดสินยุบสภาของกองทัพ นับเป็นการท้าทายอำนาจของศาลและกองทัพ ซึ่งได้ตัดสินยุบสภาเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ทำให้การเผชิญหน้าระหว่างประธานาธิบดีคนใหม่ มูฮัมหมัด มอร์ซีจากกลุ่มภราดรภาพมุสลิม กับกองทัพเป็นไปอย่างตึงเครียดมากขึ้น 

โฆษกรัฐสภา ซาอัด อัล-กาตัตนี ซึ่งมาจากกลุ่มภราดรภาพมุสลิมเช่นเดียวกับมอร์ซี กล่าวเปิดการประชุมสภาซึ่งถ่ายทอดสดทางช่องโทรทัศน์รัฐบาลเมื่อวันอังคาร เขากล่าวว่า ที่สมาชิกสภามารวมกันในวันนี้ ก็เพื่อพิจารณาคำตัดสินของศาลฎีกาซึ่งตัดสินให้ยุบสภา เนื่องจากที่มาของสภาขัดรัฐธรรมนูญ

"ผมอยากย้ำว่า เราไม่ต้องการจะขัดแย้งกับคำตัดสินของศาล หากแต่เราพิจารณาที่กลไกการนำคำตัดสินของศาลฎีกามาปฏิบัติ ไม่มีวาระอื่นใดแล้วสำหรับวันนี้" เขากล่าว

สมาชิกสภาได้ให้ความเห็นชอบต่อวาระของกาตัตนี ที่เสนอให้รัฐสภาขอคำแนะนำจากศาลอุทธรณ์ว่าด้วยการนำคำตัดสินของศาลฎีกาไปปฏิบัติ และได้เสร็จสิ้นการประชุมหลังจากใช้เวลาเพียง 5 นาทีเท่านั้น

เขากล่าวว่า จะแจ้งให้สมาชิกสภาทราบอีกครั้งถึงวันประชุมสภาในครั้งต่อไป 

โดยเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ศาลฎีกาสูงสุดได้ตำหนิคำสั่งของมอร์ซีในระหว่างการประชุมนัดพิเศษของศาล และย้ำว่า ประธานาธิบดีต้องปฏิบัติตามคำตัดสินของศาล ซึ่งก่อนหน้านี้ได้ตัดสินว่าวิธีการเลือกตั้งรัฐสภาเป็นไปโดยขัดรัฐธรรมนูญ 

ด้านสภากองทัพสูงสุด (SCAF) ระบุในแถลงการณ์เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาว่า คำสั่งการยุบสภาของกองทัพเมื่อเดือนมิถุนายน เป็นการนำคำตัดสินของศาลไปปฏิบัติ

เผชิญการบอยคอตต์จากฝ่ายค้าน

อย่างไรก็ตาม อัลจาซีรารายงานว่า การประชุมครั้งนี้ ไม่ได้รับความร่วมมือจากสมาชิกสภาบางส่วน โดยพวกที่บอยคอตต์การประชุมในช่วงเช้า ได้แก่กลุ่มเสรีนิยมและฆราวาสนิยม เนื่องจากพวกเขาค่อนข้างเห็นด้วยกับการยุบสภา อีกทั้งสมดุลของอำนาจก็ไม่ได้เอื้อประโยชน์แก่พวกเขาเท่าไรนัก

ท้ังนี้ กาตัตนีและมอร์ซี ต่างเป็นสมาชิกของพรรคภราดรภาพมุสลิม ซึ่งชนะการเลือกตั้งและได้ที่นั่งกว่าครึ่งในรัฐสภา โดยความขัดแย้งทางการเมืองที่ดำเนินอยู่ระหว่างกองทัพและกลุ่มที่ได้รับการเลือกตั้ง ถูกมองโดยกลุ่มเสรีนิยมและฆราวาสนิยมว่าเป็นการแย่งชิงอำนาจ เพื่อกำหนดอำนาจทางการเมืองของกลุ่มภราดรภาพมุสลิมหลังการปฏิวัติเมื่อเดือนมกราคมปีที่แล้ว 

ปธน. มอร์ซี ได้กล่าวผ่านโฆษกของเขา ยัสเซอร์ อาลี โดยย้ำถึงการตัดสินใจที่เรียกประชุมสภาว่าเป็น "การยืนหยัดของเจตจำนงค์ประชาชน" 

คำสั่งของมอร์ซี ยังระบุให้มีการเลือกตั้งทั่วไปใหม่อีกครั้ง หลังการรับรองประชามติรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เสร็จสิ้น ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นช่วงปลายปีนี้ 

นักวิเคราะห์มองว่า สภากองทัพและสถาบันของรัฐซึ่งยังเต็มด้วยเจ้าหน้าที่ที่ยังภักดีต่อระบอบเก่า ได้พยายามจำกัดอำนาจของกลุ่มภราดรภาพมุสลิม หลังจากที่พวกเขาชนะการเลือกตั้งและเป็นเสียงส่วนมากในสภา

ว่าด้วยรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ 

ถึงแม้ว่าสภาร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐสภาที่ถูกยุบไปก่อนหน้านี้ จะอยู่ในระหว่างร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ แต่สภากองทัพสูงสุดได้ให้อำนาจแก่ตนเองเพื่อเลือกสภาร่างฯ ใหม่หากสภาร่างฯ คณะปัจจุบันเกิดปัญหา 

การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ถูกมองว่าเป็นความพยายามที่จะจำกัดอำนาจของมอร์ซีหากว่าเขาชนะ โดยในเดือนที่ผ่านมา กลุ่มภราดรภาพมุสลิมได้โต้ว่าการตัดสินของศาลฎีกาเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง และกองทัพ ซึ่งถืออำนาจบริหารในคณะนั้น ไม่มีสิทธิตามกฎหมายที่จะสั่งยุบสภา 

"สภากองทัพสูงสุดไม่ได้ถ่ายมอบอำนาจทั้งหมดให้แก่ประธานาธิบดี และนั่นก็คือประเด็นสำคัญ" ยุสซุฟ อัฟ ผู้พิพากษาในเขตกีซา และนักวิชาการด้านรัฐธรรมนูญกล่าว 

อัฟ กล่าวว่า ศาลของอียิปต์ถูกมองในด้านลบเพิ่มขึ้นมาก เนื่องจากการตัดสินคดีทางการเมืองหลังการปฏิวัติในปี 2554 เป็นต้นมา 

"วิธีหนึ่งในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ก็คือการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพิ่มเติมและให้อำนาจบริหารกลับสู่มือของรัฐสภาอีกครั้ง" เขากล่าว "หากว่าผมจะต้องเลือกความชอบธรรมระหว่างจากกองทัพและประธานาธิบดี ผมก็ต้องเลือกความชอบธรรมที่มาจากประธานาธิบดีอยู่แล้ว" 

เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา กองทัพได้ออกมากล่าวว่า คำสั่งของทัพที่ให้ยุบสภา เป็นผลมาจากสถานการณ์ทางการเมือง กฎหมายและรัฐธรรมนูญที่ประเทศกำลังเผชิญอยู่

กองทัพเสริมด้วยว่า คำสั่งดังกล่าว เป็นไปเพื่อรักษาความต่อเนื่องของสถาบันทางการเมืองและสภากองทัพ จนกว่ารัฐธรรมนูญใหม่จะร่างสำเร็จ และระบุว่า ทางกองทัพมั่นใจว่า สถาบันของรัฐต่างๆ จะเคารพระเบียบข้อบังคับของรัฐธรรมนูญ

 

ที่มา: แปลจาก Egypt parliament meets in defiance of court
http://www.aljazeera.com/news/middleeast/2012/07/201271054440593307.html

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ประวิตร โรจนพฤกษ์: สังคมที่ปราศจากฉันทามติทางระบอบการเมือง

Posted: 10 Jul 2012 04:58 AM PDT

 

เมืองไทยปกครองด้วยระบอบการเมืองอะไร เป็นคำถามที่ดูง่ายและตอบได้ง่าย แต่แท้จริงมิได้ง่ายๆ ตรงไปตรงมาอย่างที่หลายคนคิด

คนไทยควรเลิกหลอกตนเองเสียทีว่าสังคมมีฉันทามติว่าบ้านนี้เมืองนี้ควรปกครองด้วยระบอบอะไร

บางคนต้องการการปกครองโดยชนชั้นนำ ‘ดีๆ’ ที่มีการศึกษา ไม่ว่าจะผ่านการเลือกตั้งหรือไม่ก็ตาม ในขณะที่คนทั่วไปอีกจำนวนมากต้องการสิทธิพื้นฐานทางการเมืองในการเลือกผู้แทนเข้าสภาเข้าไปเป็นรัฐบาล ไม่ว่ารัฐบาลจะออกมาดีหรือไม่ก็ตาม จึงไม่น่าแปลกใจที่ในปี 2549 พอเกิดรัฐประหารฉีกรัฐธรรมนูญจึงมีคนจำนวนหนึ่งเอาดอกกุหลาบไปให้เผด็จการทหาร แต่พอรัฐสภาปัจจุบันต้องการแก้หรือร่างรัฐธรรมนูญใหม่ พวกเขากลับรู้สึกไม่พอใจจะเป็นจะตายให้ได้

เรื่องจะแก้ไม่แก้รัฐธรรมนูญ แท้จริงแล้วก็เกี่ยวกับการเอาหรือไม่เอาทักษิณเสียมากกว่า การขาดซึ่งฉันทามติทางการเมืองนั้นแสดงตัวตนให้เห็นอย่างชัดเจนในอาการสวิงระหว่างการที่ไทยมีรัฐบาลเผด็จการทหาร (หรือรัฐบาลที่ทหารแต่งตั้ง) สลับกับรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง แล้วก็เกิดรัฐประหารหรือการแทรกแซงอื่นๆ นอกระบบ

ชนชั้นนำและชั้นกลางที่มีการศึกษามากในระบบจำนวนมิน้อยมักยืนยันว่าการเลือกตั้งนั้นจะชอบธรรมต่อเมื่อพรรคการเมืองที่พวกตนเห็นว่าเป็นพรรคที่ ‘ดีซื่อสัตย์และเทิดทูนเจ้า’ ชนะการเลือกตั้งเท่านั้น หากผลการเลือกตั้งไม่ได้ออกดั่งใจ การก่อรัฐประหารเพื่อขจัดนักการเมือง ‘เลวโกงกินและล้มเจ้า’ ก็เป็นสิ่งที่ยอมรับได้หรือแม้กระทั่งน่าชื่นชม

ในอีกด้าน ประชาชนคนธรรมดาอีกไม่รู้กี่ล้าน ต้องการให้ผู้อื่นเคารพเสียงส่วนใหญ่ ไม่ว่ารัฐบาลที่พวกเขาเลือกจะเป็นที่เกลียดชังของคนส่วนน้อยกลุ่มแรกมากเพียงใดก็ตาม จึงไม่แปลกที่ไทยมีรัฐบาลตั้งโดยคณะรัฐประหารหรือการแทรกแซงอื่นๆ สลับกับรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง

ในประเด็นสำคัญอื่นๆ อย่างบทบาทและอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ หรือที่ทางของกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ (ม.112) สังคมไทยก็ไม่มีฉันทามติอย่างแท้จริงเช่นกัน

80 ปีที่แล้ว การอภิวัฒน์ พ.ศ. 2475 และการเปลี่ยนแปลงการปกครองเกิดจากคนจำนวนหยิบมือโดยปราศจากฉันทามติจากคนส่วนใหญ่ในสังคมหรืออย่างน้อยก็ปราศจากการมีส่วนร่วมของคนส่วนใหญ่ในสังคม วันนี้สังคมก็ยังปราศจากซึ่งฉันทามติเรื่องระบอบการเมืองการปกครองอย่างแท้จริง

ผู้เขียนไม่ทราบว่าจะต้องมีสู้รบปรบมืออีกนานแค่ไหนกว่าสังคมไทยจะมีฉันทามติเรื่องระบอบการเมืองอันแท้จริง ซึ่งต่างจากประเทศอย่างสหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ หรือ ญี่ปุ่น ที่เขาชัดเจนแล้วว่าสังคมเขาจะไม่ยอมรับรัฐประหารโดยเด็ดขาด

ในเมื่อยังไม่มีฉันทามติอย่างแท้จริง สังคมไทยก็คงยังอยู่ในวังวนของรัฐประหารการฉีกรัฐธรรมนูญ รัฐบาลเผด็จการแต่งตั้ง สลับกับรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งต่อไป

 

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ภาคประชาชน-เอ็นจีโอ พบ ผวจ.ตรัง ค้านโรงไฟฟ้าถ่านหิน

Posted: 10 Jul 2012 04:21 AM PDT

ภาคประชาชนตรังจาก 4 เครือข่าย 5 องค์กรเอ็นจีโอ แสดงจุดยืนในการคัดค้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน ที่ อ.กันตัง จ.ตรัง และขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดตรังสอดส่องดูแลไม่ให้ฝ่ายปกครองเข้ามาสร้างความขัดแย้งในพื้นที่

เมื่อเวลา 13.30-16.00 น. วานนี้ (9 ก.ค.55) ภาคประชาชนตรังจาก 4 เครือข่าย 5 องค์กรเอ็นจีโอ กว่า 50 คน ประกอบด้วย เครือข่ายคนไม่เอาถ่านหิน ต.บางสัก ต.วังวน ต.บ่อน้ำร้อน เครือข่ายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน จ.ตรัง ชมรมประมงพื้นบ้าน จ.ตรัง เครือข่ายปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัด โครงการเสริมสร้างจิตสำนึกนิเวศวิทยา มูลนิธิหยาดฝน มูลนิธิอันดามัน ศูนย์กฎหมายสิทธิชุมชนอันดามัน ตัวแทนผู้ประการการธุรกิจท่องเที่ยว จ.ตรัง ได้เข้าพบและหารือกับนายธีระยุทธ เอี่ยมตระกูล ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง เพื่อหารือเกี่ยวกับยุทธศาสตร์แผนพัฒนาจังหวัดตรังยั่งยืน กับโรงไฟฟ้าถ่านหินจังหวัดตรัง

เครือข่ายภาคประชาชนตรังได้แสดงจุดยืนในการคัดค้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน ที่ อ.กันตัง จ.ตรัง และขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดตรังสอดส่องดูแลไม่ให้ฝ่ายปกครองเข้ามาสร้างความขัดแย้งในพื้นที่
 
นายธีระยุทธ กล่าวว่า ตนเองเพิ่งเข้ามารับตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง ประมาณ 3 เดือน ยังเร็วไปที่จะตอบว่ามีท่าทีอย่างไรต่อโครงการดังกล่าว และโดยตำแหน่งก็ไม่ควรแสดงท่าทีที่ชัดเจน แต่จะเคารพวัฒนธรรมประเพณีการพัฒนา จ.ตรัง โดยจะพัฒนาจังหวัดตรังเป็นศูนย์กลางแห่งการเกษตร ศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ และประตูสู่การท่องเที่ยวอันดามัน จะพัฒนา จ.ตรัง เป็นจังหวัดแห่งความสุข

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ผลสำรวจเผย ในสหรัฐฯ ผู้หญิงใช้ทวิตเตอร์-เฟซบุ๊ก-พินเทอเรสต์มากกว่าผู้ชาย

Posted: 10 Jul 2012 04:20 AM PDT

อินโฟกราฟิกที่จัดทำโดยบริษัท Digital Flash NY บริษัทการตลาดในสหรัฐอเมริกา ระบุว่า ผู้ใช้เว็บโซเชียลเน็ตเวิร์คในสหรัฐอเมริกาเป็นผู้หญิง 56% และผู้ชาย 44%

ทั้งนี้ ผู้หญิงมีสัดส่วนการใช้งานโซเชียลมีเดียสองเจ้าใหญ่ของโลกอย่างเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์มากกว่าผู้ชาย ถึง 64% และ 58% ตามลำดับ นอกจากนี้ ผู้หญิงยังใช้บริการโซเชียลมีเดียน้องใหม่อย่างพินเทอเรสต์ (Pinterest) ถึง 82% ด้วย

ขณะที่สัดส่วนของผู้หญิงที่เล่นเกมออนไลน์ก็มากกว่าผู้ชายเช่นกัน โดยซินกา (Zynga) บริษัทพัฒนาเกมบนโซเชียลเน็ตเวิร์ค ระบุว่ามีผู้ใช้เป็นผู้หญิง 60% ทั้งนี้ ผู้หญิงอายุ 55 ปีขึ้นไปยังใช้เวลาเล่นเกมออนไลน์มากกว่าผู้ชายช่วงอายุ 15-24 ปีและ 25-34 ปีรวมกันด้วย

อย่างไรก็ตาม เว็บโซเชียลมีเดียอย่างกูเกิลพลัส, ลิงด์อิน (LinkedIn) เว็บสร้างเครือข่ายด้านวิชาชีพ และ เรดดิท (Reddit) เว็บชุมชนออนไลน์ด้านไอที ยังคงมีสัดส่วนผู้ใช้บริการเป็นผู้ชายมากกว่าผู้หญิง โดยมีผู้ชายใช้ถึง 63%, 71% และ 84% ตามลำดับ ทั้งนี้ เฉพาะลิงด์อิน มีผู้ชายใช้มากกว่าผู้หญิงที่ใช้กูเกิลพลัส ลิงด์อิน และเรดดิทรวมกัน

ด้านความเป็นส่วนตัว ผู้หญิง 67% ตั้งค่าความเป็นส่วนตัวของโปรไฟล์ ส่วนผู้ชายอยู่ที่ 48% ขณะที่การลบเพื่อนออกจากลิสต์หรืออันเฟรนด์ มีผู้หญิง 67% ที่ลบเพื่อนออกจากลิสต์ ส่วนผู้ชาย 58% ทำเช่นนั้น

ต่อข้อมูลดังกล่าว นาตาลี คิโทรฟ ผู้ช่วยกองบรรณาธิการแห่ง นสพ.เดอะนิวยอร์กไทมส์ ตั้งข้อสังเกตว่า แม้ผู้ใช้โซเชียลมีเดียจำนวนมากจะเป็นผู้หญิง แต่เพศชายยังคงเป็นผู้ที่มีบทบาทเด่นในโลกออนไลน์ โดยยังมีอิทธิพลความคิดต่อประเด็นต่างๆ อย่างนโยบายต่างประเทศและการเมืองมากกว่า ซึ่งหากเป็นเช่นนี้ต่อไป นิวมีเดียจะยังไม่อาจเป็นแหล่งข่าวสารที่เป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริงได้

 


ที่มา:

More Women On Facebook, Twitter And Pinterest Than Men

http://www.huffingtonpost.com/2012/07/09/women-facebook-twitter-pinterest_n_1655164.html

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น