โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันพฤหัสบดีที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

นายกฯ มาเลเซีย ประกาศเลิกกฎหมายปลุกระดมยั่วยุ

Posted: 12 Jul 2012 11:11 AM PDT

นาจิบ ราซัค นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ประกาศยกเลิกกฏหมายปลุกระดมยั่วยุ ที่มีมาตั้งแต่สมัยอาณานิคม และแทนที่ด้วยกฏหมายปรองดองแห่งชาติ ขณะที่ฝ่ายค้าน และนักสิทธิมนุษยชนยังสงสัยในเจตนาของการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้

เมื่อวานนี้ (12 ก.ค.) อัลจาซีร่า รายงานว่า นาจิป ราซัค นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ประกาศว่าจะยกเลิกกฏหมายปลุกระดมยั่วยุ ที่ประกาศใช้ตั้งแต่ยุคสมัยอาณานิคม และถูกนำมาใช้ในการปราบปรามฝ่ายต่อต้านและผู้ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลมาโดยตลอด

นาจิป ราซัค ประกาศในเรื่องนี้เมื่อช่วงคืนของวันที่ 11 ก.ค. ทีผ่านมาท่ามกลางการเรียกร้องของประชาชนและการปฏิรูปสังคมเพื่อเตรียมพร้อมก่อนการเลือกตั้งในช่วงต้นปีหน้า

"กฏหมายว่าด้วยการปลุกระดมยั่วยุ เป็นกฏหมายที่แสดงให้เห็นยุคสมัยที่ผ่านพ้นไปแล้วจากประเทศเรา และจากการประกาศในวันนี้พวกเราก็ได้วางรอยเท้าในก้าวต่อไปของการพัฒนามาเลเซีย" นาจิบกล่าวในช่วงคืนวันที่ 11 ก.ค.

กฏหมายว่าด้วยการปลุกระดมยั่วยุจะถูกแทนที่ด้วยกฏหมายใหม่ขื่อกฏหมายปรองดองแห่งชาติ (National Harmony Act) ซึ่งนาจิปบอกว่า "เป็นการทำให้เกิดความสมดุลระหว่างสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกซึ่งมีระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ แต่ขณะเดียวกันก็ให้ความมั่นใจว่าทุกเชื่อชาติและศาสนาจะได้รับการคุ้มครอง"

ตั้งแต่ปีที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรีได้ยกเลิกกฏหมายด้านความมั่นคงตั้งแต่สมัยอาณานิคมไปแล้วหลายฉบับ โดยบอกว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของระบบการเมืองมาเลเซียตั้งแต่เป็นเอกราชจากอังกฤษ

กฏหมายด้านความมั่นคงที่เข้มงวดอนุญาตซึ่งให้มีการจับขังโดยไม่ต้องมีการไต่สวน ได้ถูกยกเลิกไปแล้วในปีนี้เอง ด้านกฏควบคุมการชุมนุมในที่สาธารณะก็ถูกปรับให้เข้มงวดน้อยลง แม้ว่านักวิจารณ์จะบอกว่าการปฏิรูปเป็นเพียงแค่ปาหี่ เพราะกฏหมายใหม่ที่มาแทนที่ก็มีระดับการกดขี่พอๆ กัน

ขณะที่ผู้นำฝ่ายค้านบอกว่าการปฏิรูปในครั้งนี้เป้นเพียงแค่แผนการหาแรงสนับสนุนจากมวลชนก่อนการเลือกตั้งในปีหน้าเท่านั้น

ซูลคิฟลี อันวาร อุลฮาร์ค (Zulkiflee Anwar Ulhaque) หรือ "ซูนาร์" (Zunar) นักวาดการ์ตูนประจำหนังสือพิมพ์ออนไลน์ "มาเลเซียกินี" ซึ่งเคยถูกฟ้องในปี 2553 ด้วยกฎหมายว่าด้วยการปลุกระดมยั่วยุ (ที่มาของภาพ: http://freewebcomic.com/tag/zunar/)

หนังสือจากการ์ตูน "Cartoon-o-phobia" ที่วาดโดยซูนาร์ ตีพิมพ์ในมาเลเซียกินีเมื่อ 31 ส.ค. 2553 ซึ่งเป็นวันประกาศเอกราชของมาเลเซีย โดยในภาพซ้ายมือสะท้อนว่าสมัยอาณานิคมมีอังกฤษเป็นผู้ปกครอง ผู้ใต้ปกครองเป็นคนในมาเลเซียที่ประกอบด้วยหลายเชื้อชาติ ภาพขวามือซึ่งเปลี่ยนเป็นธงชาติมาเลเซียปัจจุบันแล้ว ผู้ใต้ปกครองยังเป็นคนกลุ่มเดิม เปลี่ยนแต่ผู้ปกครองกลุ่มใหม่ที่มีชาวมลายูเป็นชนชั้นนำ โดยหนังสือการ์ตูนเล่มดังกล่าวทำให้ซูนาร์ถูกดำเนินคดีตามกฎหมายป้องกันการปลุกระดม

 

สำหรับกฎหมายว่าด้วยการปลุกระดมยั่วยุนั้น (the Sedition Act) เคยถูกใช้ดำเนินคดีกับนักกิจกรรมฝ่ายตรงข้ามรัฐบาล โดยก่อนหน้านี้ เมื่อเดือนกันยายน ปี 2553 ตำรวจมาเลเซียได้จับกุมตัวนายซูลคิฟลี อันวาร อุลฮาร์ค (Zulkiflee Anwar Ulhaque) หรือ "ซูนาร์" (Zunar) นักเขียนการ์ตูนล้อการเมือง ประจำหนังสือพิมพ์ออนไลน์ "มาเลเซียกินี" ในข้อหา "ก่ออันตรายต่อระเบียบสาธารณะ" และ "ชักจูงประชาชนให้คัดค้านนโยบายรัฐบาล" ตามกฎหมายป้องกันการปลุกระดม (the Sedition Act) หลังตีพิมพ์หนังสือการ์ตูนฉบับรวมผลงานของเขาที่ชื่อ "Cartoon-o-phobia"  รวมเวลาควบคุมตัวกว่า 24 ชั่วโมง ก่อนปล่อยตัวในวันถัดมา ซึ่งการจับกุมเกิดขึ้นระหว่างที่จะมีการจัดงานเปิดตัวหนังสือการ์ตูนเล่มดังกล่าว ทำให้ในวันเปิดตัวหนังสือ มีเพียงภรรยาของซูนาร์มาร่วมงานแทนเขาเท่านั้น (ข่าวที่เกี่ยวข้อง [1] และ [2])

 

 

กฏหมายใหม่อาจแย่กว่าเดิม!?

อย่างไรก็ตามนายฟิล โรเบิร์ทสัน รองผู้อำนวยการฮิวแทนไรท์วอทช์ กล่าวว่าการปฏิรูปกฏหมายไม่ควรเป็นแค่การกระทำให้ตัวเองดูดี "รัฐบาลควรเข้าใจว่า การเปลี่ยนแปลงเพื่อการเปลี่ยนแปลงอย่างเดียวนั้นยังไม่พอ" ฟิลกล่าว "การนำกฏหมายใหม่มาใช้แทนที่อาจจะแย่พอกันหรือแย่กว่าเดิมในในมุมมองของนักสิทธิฯ"

ด้านนายลิ้ม กวน เอง ผู้ว่าการรัฐปีนัง ซึ่งเป็นพื้นที่ของฝ่ายค้าน บอกว่ากฏหมายว่าด้วยการปลุกระดมยั่วยุถูกใช้เป้นเครื่องมือทางการเมืองในการปิดปากฝ่ายต่อต้านมานานแล้ว

นายลิ้ม กวน เอง เคยถูกสั่งจำคุก 18 เดือน ในปี 2541 ภายใต้กฏหมายนี้ ในข้อหากล่าววาจายั่วยุในตอนที่เขาทำหน้าที่ปกป้องเหยื่อที่ถูกข่มขืน

นายลิ้ม เรียกร้องให้นาจิบยกเลิกข้อกล่าวหาปลุกระดมยั่วยุทั้งหมดที่ใช้ร้องเรียนผู้นำฝ่ายค้าน เพื่อเป็นการพิสูจน์ว่าการกระทำของนาจิบทำด้วยความจริงใจ

พรรคของนาจิป เป็นผู้นำมาเลเซียตั้งแต่ที่ได้รับเอกราชในปี 2500 แต่ในการเลือกตั้งปี 2551 พรรครัฐบาลชนะการเลือกตั้งแต่ได้เสียงข้างมากในสภาไม่ถึง 2 ใน 3 และขณะนี้กำลังพยายามอย่างหนักในการดึงคะแนนสนับสนุนกลับมา

ส่วนนายอันวาร์ อิบราฮิม ผู้นำฝ่ายค้านในสภากล่าวว่า เขามั่นใจว่าพรรคแนวร่วมสามประสานของเขาจะสามารถเอาชนะเสียงข้างมากได้ในการเลือกตั้งที่จะมีขึ้น จากการที่ประชาชนมีความไม่พอใจในเรื่องการที่รัฐบาลจัดการปัญหาคอร์รัปชั่น และการดูหมิ่นทางชาติพันธุ์

 

ที่มา: แปลส่วนหนึ่งจาก Malaysia repeals colonial-era free speech law, Aljazeera, 12-07-2012

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

วิทยุชุมชนเสื้อแดงปราศรัยลานพระรูป รอฟังศาล รธน.

Posted: 12 Jul 2012 10:14 AM PDT

คนเสื้อแดงหลายกลุ่มชุมนุมที่ลานพระบรมรูปทรงม้า และเตรียมปักหลักรอคำวินิจฉัยที่ศาล รธน. ด้วย ขณะที่ นพ.เหวง วอนยุติความเคลื่อนไหว กลัวมีคนสร้างสถานการณ์ ขณะที่ก่อแก้วระบุแกนนำ นปช. จะมีการแถลงที่อิมพีเรียลหลังคำวินิจฉัยเสร็จสิ้น

ตั้งแต่ช่วงเย็นวันนี้ (12 ก.ค.) ที่ลานพระบรมรูปทรงม้า คนเสื้อแดงเครือข่ายวิทยุชุมชนปกป้องประชาธิปไตยและความเป็นธรรม (ควปธ.) จัดชุมนุมปราศรัย "หยุดรัฐประหารโดยศาล ขัดขวางรัฐธรรมนูญของประชาชน" โดยมีคนเสื้อแดงหลายกลุ่ม นำโดยนายชินวัฒน์ หาบุญพาด ประธานชมรมคลื่นคนแท็กซี่ และที่ปรึกษา รมว.คมนาคม พร้อมด้วยแกนนำคนเสื้อแดงจากสถานีวิทยุชุมชน โดยนอกจากคนรักแท็กซี่ FM 107.35 MHz ที่นำโดยชินวัตร แล้ว ยังมีวิทยุชุมชน FM 106.70 MHz จ.สมุทรปราการ, ชมรมเสียงคนไทย FM 91.75 MHz และ FM 95.25 MHz เป็นต้น และมีผู้ชุมนุมจากกลุ่ม 24 มิถุนา ประชาธิปไตยเข้าร่วมด้วย

ทั้งนี้เครือข่ายดังกล่าวได้มีการปราศรัยตั้งแต่ 16.00 น. และจะมีการชุมนุมค้างคืนในวันนี้เพื่อรอฟังคำวินิจฉัยของ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในวันรุ่งขึ้น

ขณะที่ ก่อนหน้านี้ คมชัดลึก รายงานว่า น.พ.เหวง โตจิราการ แกนนำ นปช. และ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ได้แถลงที่รัฐสภาว่า ขอให้ ควปค. ยุติความเคลื่อนไหวที่บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า เนื่องจากกังวลว่าจะมีผู้ที่ไม่ประสงค์ดีต่อบ้านเมือง ฉวยโอกาสสร้างสถานการณ์ความวุ่นวาย

ด้านสำนักข่าวแห่งชาติ รายงานว่า นายก่อแก้ว พิกุลทอง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย และแกนนำ นปช. ขอให้กลุ่ม นปช. ไม่ต้องเดินทางไปชุมนุมบริเวณหน้าศาลรัฐธรรมนูญ แม้จะมีวิทยุบางคลื่นพยายามชักชวนให้กลุ่ม นปช. ไปร่วมชุมนุม เพราะหากไปร่วมชุมนุม อาจตกเป็นเหยื่อของผู้ไม่ประสงค์ดีได้ จากการก่อสถานการณ์ความวุ่นวายได้ แต่จะนัดรวมตัวที่อิมพีเรียล ลาดพร้าว และแกนนำกลุ่ม นปช. จะแถลงท่าที ภายหลังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเสร็จสิ้น

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ศาลแพ่งยกคำร้อง ส.ส.เพื่อไทยให้ระงับคำวินิจฉัยศาล รธน.

Posted: 12 Jul 2012 08:59 AM PDT

ศาลแพ่งระบุการวินิจฉัยคดีแก้ รธน. ถือเป็นการใช้ดุลพินิจการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นการละเมิดต่อโจทก์ ด้านโฆษกพรรคเพื่อไทยแถลงกรณีที่มี ส.ส. ไปยื่นฟ้องศาลแพ่ง ถือเป็นสิทธิส่วนตัว

วอยซ์ทีวี รายงานว่า ที่ศาลแพ่ง ถ.รัชดาภิเษก ได้นัดฟังคำสั่งคดีหมายเลข 2854/2555 ที่นายวรชัย เหมะ ส.ส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย เป็นโจทก์ ยื่นฟ้องตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 8 คน ที่มีมติรับคำร้องขอให้วินิจฉัยการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ ขัดมาตรา 68 ของรัฐธรรมนูญฯ ปี50 หรือไม่ เป็นจำเลยที่ 1-8 โดยขอให้ศาลไต่สวนฉุกเฉิน เพื่อขอให้ศาลสั่งระงับคำสั่งวินิจฉัยกรณีดังกล่าวในวันที่ 13 ก.ค. นี้ไว้ก่อน

ศาลพิเคราะห์คำฟ้องของโจทก์แล้วเห็นว่า ขณะเกิดเหตุจำเลยทั้งแปด ดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และเป็นองค์คณะพิจารณาคำร้องขอให้วินิจฉัยการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ ขัดมาตรา 68 ของรัฐธรรมนูญฯ ปี 50 หรือไม่ 5 สำนวน

ขณะที่รัฐธรรมนูญมาตรา 216 วรรค 1 บัญญัติว่าองค์คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่จะนั่งพิจารณาและทำคำวินิจฉัยต้องประกอบด้วยตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไม่น้อยกว่า 5 คน และคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้ถือเสียงข้างมาก โดยวรรค 2 ระบุว่า ตุลาการซึ่งเป็นองค์คณะทุกคนจะต้องทำความเห็นในการวินิจฉัยในส่วนของตน พร้อมแถลงด้วยวาจาต่อที่ประชุมก่อนการลงมติ จึงเห็นได้ว่าจำเลยทั้งแปดมีอำนาจในการวินิจฉัยสั่งการคำร้องของผู้ร้องในคดีมาตรา 68 ทั้ง 5 รายว่า มีการใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญนี้ หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้หรือไม่

การที่จำเลยทั้งแปดลงมติรับคำร้องทั้ง 5 เรื่องดังกล่าวไว้พิจารณาโดยไม่ไต่สวน รวมทั้งการกระทำอื่นของจำเลยทั้งแปดตามฟ้อง จึงเป็นการใช้ดุลพินิจการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นการละเมิดต่อโจทก์ คดีจึงไม่จำต้องวินิจฉัยประเด็นอื่นอีกต่อไป พิพากษายกฟ้อง และเมื่อศาลมีคำสั่งแล้ว ทำให้ต้องจำหน่ายคดีออกจากสารบบความโดยยกเลิกวันนัดทั้งหมด 

ด้านนายคารม พลพรกลาง ทนายความ กล่าวหลังจากฟังคำพิพากษาศาลแพ่งว่า คดีนี้จะยื่นอุทธรณ์คำสั่งต่อไปเพราะเห็นว่าศาลรัฐธรรมนูญกระทำการละเมิดสิทธิจริง ส่วนที่จะมีการยื่นหลักฐานเพิ่มเติมหรือไม่นั้นจะปรึกษากับทางทีมทนายอีกครั้ง

ส่วนวันที่ 13 ก.ค.นี้ตั้งใจจะนำสำนวนที่ส่งฟ้องต่อศาลแพ่งในวันนี้ไปยื่นต่อตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเพื่อชี้ให้เห็นว่าใน องค์คณะผู้พิจารณาคดีการแก้ไขรัฐธรรมนูญขัดมาตรา 68 และผู้ถูกร้องมีคดีพิพาทกันทำให้องค์คณะไม่มีสิทธิที่จะพิจารณาคดีนี้ และการที่ตนยื่นอุทธรณ์ในคดีนี้อยู่ แสดงให้เห็นว่ากระบวนการพิจารณายังไม่ถึงที่สิ้นสุด ถ้าศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยในมาตรา 68 จะเป็นคำสั่งที่ชอบธรรมหรือไม่

ด้าน มติชนออนไลน์ รายงานความเห็นของนายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย (พท.) ซึ่งกล่าวถึงกรณีที่นายวรชัย ส.ส.สมุทรปราการ ไปดำเนินการฟ้องศาลแพ่งเพื่อคุ้มครองฉุกเฉิน และกรณีนายก่อแก้ว พิกุลทอง ส.ส.บัญชีรายชื่อ เพื่อไทย แสดงความเห็นว่าหลังศาลรัฐธรรมนูญตัดสินอาจมีสงครามกลางเมืองและผู้พิพากษาอาจถูกจับกุมตัวนั้น  ถือเป็นสิทธิส่วนตัวของ ส.ส. ที่ใช้สิทธิแสดงความเห็นส่วนตัว ไม่ใช่ความเห็นและท่าทีของพรรค ซึ่งพรรคหวังว่าถ้าตัดสินถูกต้อง และมีกฎหมายรองรับก็จะไม่นำไปสู่ความวุ่นวายในบ้านเมือง

"เพื่อไทยได้แต่หวังว่าศาลน่าจะตัดสินยกคำร้อง เนื่องจากผู้ร้องไม่สามารถยื่นคำร้องได้โดยตรงต่อศาล และการกระทำไม่ได้เป็นการล้มล้างการปกครอง ซึ่งถ้าตัดสินถูกต้อง บ้านเมืองก็จะเดินหน้าไปได้ พรรคเพื่อไทยเห็นว่าทุกฝ่ายก็เป็นคนไทย ซึ่งทุกคนอยากเห็นบ้านเมืองสงบเรียบร้อย และเดินไปข้างหน้า เพื่อร่วมพัฒนาประเทศชาติ เพื่อความผาสุกของประชาชนคนไทยทุกคน" นายพร้อมพงศ์กล่าว

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

รัฐพิจารณาตั้งองค์กรเฉพาะเดินงานพูดคุย 'ผู้เห็นต่าง' แก้ไฟใต้

Posted: 12 Jul 2012 07:12 AM PDT

 

กปต. พิจารณาเตรียมตั้งองค์กรใหม่วาง road map การพูดคุยเพื่อสันติภาพ รองรับกรอบนโยบายใหม่ในการแก้ปัญหาความรุนแรงภาคใต้  สร้างเอกภาพในการพูดคุยกับผู้เห็นต่าง

แหล่งข่าวจากกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในกล่าวกับโรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ว่า ทางคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กปต.) ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรียุทธศักดิ์ ศศิประภาเป็นประธานกำลังพิจารณาเพื่อจัดตั้งองค์กรใหม่เพื่อวาง road map ในการพูดคุยกับผู้เห็นต่างจากรัฐ

เดิมมีหลายหน่วยงานที่พยายามทำงานในเรื่องการพูดคุยกับกลุ่มบุคคลที่เชื่อว่าเกี่ยวข้องกับการก่อเหตุรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้  ซึ่งที่ผ่านมาการพูดคุยขาดความเป็นเอกภาพ  การตั้งองค์กรใหม่นี้คาดว่าทางสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) จะเป็นเจ้าภาพหลัก และได้มีการตั้งงบประมาณของปี 2555 สำหรับการดำเนินการในส่วนนี้ไว้แล้ว แหล่งข่าวจากกอ.รมน.กล่าว

การดำเนินการดังกล่าวเป็นไปตามนโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ.  2555 – 2557 ซึ่งสมช.ได้ร่างขึ้นตามข้อกำหนดของพ.ร.บ.ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2553   และมีผลบังคับใช้ในช่วงปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา

วัตถุประสงค์ข้อที่ 8 ของนโยบายดังกล่าวระบุว่ารัฐจะต้อง “สร้างสภาวะที่เหมาะสมและเอื้อต่อการพูดคุยในการแสวงหาทางออกจากความขัดแย้งและการให้หลักประกันในการเข้ามามีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในกระบวนการเสริมสร้างสันติภาพ”

 

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สมช. ออก 29 เป้าหมายร่วมดับไฟใต้ ยันระดับนโยบาย 'เป็นหนึ่ง'

Posted: 12 Jul 2012 07:09 AM PDT

สมช.-กอ.รมน. -ศอ.บต. -หน่วยงานส่วนกลาง ไม่แยกกันเดิน ยันระดับนโยบายเป็นหนึ่งแล้ว ตัวแทนภาคประชาชนชี้ นโยบายยังไม่ตรงประเด็น ต้องสร้างแรงจูงใจให้ฝ่ายปฏิบัติ

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 12 กรกฎาคม 2555 ที่โรงแรม ซี เอส ปัตตานี สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) จัดประชุมสัมมนาเพื่อชี้แจงแนวทางในการขับเคลื่อนนโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ.2555 – 2557 โดยมีพล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติเป็นประธาน โดยมีผู้เข้าร่วมประมาณ 500 คน

นายดนัย มู่สา ผู้อำนวยการสำนักยุทธศาสตร์ความมั่นคงจังหวัดชายแดนภาคใต้และชนต่างวัฒนธรรม สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ ชี้แจงว่า ปัจจุบันกรอบในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้มี 3 กรอบหลักๆ คือ หนึ่ง นโยบายของรัฐบาลที่แถลงต่อรัฐสภา สอง นโยบายความมั่นคงแห่งชาติในระดับประเทศที่ทำโดย สมช. ซึ่งมีกรอบเวลา 5 ปี และดำเนินการต่อเนื่องโดยไม่ขึ้นกับการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล และสามคือ นโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2555 -2557 ซึ่งมีกรอบเวลา 3 ปี ซึ่งทั้งสามกรอบนี้ “เป็นไปในทิศทางเดียวกัน”

นายดนัย กล่าวว่า นโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2555 -2557 ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2555 และมีการนำเสนอให้รัฐสภาอภิปรายระหว่างวันที่ 28 – 29 มีนาคม 2555 นับว่าเป็นนโยบายฉบับแรกที่เป็นนโยบายเฉพาะที่ได้มีการนำเข้าอภิปรายในรัฐสภา  ซึ่งรัฐสภาก็แสดงความเป็นห่วงในเรื่องของการแปรนโยบายไปสู่การปฏิบัติ

นายดนัยกล่าวว่าจากนโยบายดังกล่าวซึ่งมีวัตถุประสงค์ 9 ข้อได้มีการจัดทำเป้าหมายร่วมระหว่างกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) และ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ซึ่งมีทั้งหมด 29 ข้อ

พ.อ.สิทธิ  ตระกูลวงศ์ หัวหน้าแผนกนโยบายและแผน ศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ 5 (ศปป.5) กอ.รมน. กล่าวว่ากลไกหลักในการแก้ปัญหาในพื้นที่มี 3 ขา คือ กอ.รมน., ศอ.บต. และหน่วยงานส่วนกลางที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ ซึ่งที่ผ่านมาต่างก็มีนโยบายของตัวเองและต่างคนต่างทำ เดินไปคนละทาง แต่วันนี้มีการกำหนดเป้าหมายยุทธศาสตร์ร่วมกันแล้ว ขณะนี้ในระดับนโยบายมีความเป็นหนึ่งกันแล้ว

กอ.รมน.ได้นำเอาเป้าหมายร่วม 29 ข้อมาจัดทำเป็น 5 แนวทางขับเคลื่อน ซึ่งได้แก่ หนึ่ง ทำพื้นที่เขตเมืองให้มีความปลอดภัย สอง กระตุ้นการลงทุนเพื่อให้เกิดการสร้างเศรษฐกิจในพื้นที่เพื่อให้มีการจ้างงานมากขึ้น  ซึ่งควรจะให้โอกาสกับทุนภายใต้ก่อน สาม การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน สี่ การสนับสนุนกระบวนการสันติภาพ โดยสนับสนุนการกระจายอำนาจซึ่งอยู่ในกรอบของรัฐธรรมนูญ ทำให้คนเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองมากขึ้นและเปิดเวทีให้ผู้มีความเห็นต่างจากรัฐให้เข้ามาพูดคุย และห้า ป้องกันการยกระดับสู่สากล โดยการป้องกันมิให้เกิดกรณีการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ

นายประสิทธ์ เมฆสุวรรณ ประธานสภาประชาสังคมชายแดนใต้ กล่าวว่า นโยบายดังกล่าวยังไม่ตรงประเด็นกับปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ จึงขอเสนอให้ระบุให้ตรงประเด็นว่าปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้เกิดจากขบวนการแบ่งแยกดินแดนกลุ่มบีอาร์เอ็น และจะต้องจัดระบบการแก้ปัญหาให้สอดคล้องกันระหว่างระดับนโยบายและปฏิบัติ ต้องสร้างแรงจูงใจให้ผู้ปฎิบัติมีความมุ่งมั่นและรู้สึกว่าตรงประเด็นกับปัญหาในพื้นที่

 

ตารางการขับเคลื่อนนโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2555 -2557 ไปสู่การปฏิบัติ

 



 

เปิด 29 เป้าหมายยุทธศาสตร์ร่วมดับไฟใต้

29 เป้าหมายยุทธศาสตร์ร่วมของแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ.2555 – 2557 ได้แก่

1.พื้นที่เศรษฐกิจในเมืองสำคัญ และสถานที่ชุมชนสาธารณะ ปลอดพ้นจากเหตุการณ์รุนแรง

2.หมู่บ้าน/ชุมชนที่เป็นพื้นที่เขตอิทธิพลของกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรง ลดจำนวนลงในพื้นที่เดิม และไม่เพิ่มในพื้นที่ใหม่

3.ศาสนสถาน ศาสนบุคคล และบุคลากรทางการศึกษา ได้รับการคุ้มครอง ปลอดพ้นจากเหตุรุนแรง

4.เจ้าหน้าที่รัฐทุกฝ่ายปฏิบัติอยู่ในกรอบของกฎหมาย และผู้กระทำผิดไม่ว่าจะเป็นฝ่ายใด ต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมอย่างเท่าเทียม

5.คดีหรือเหตุการณ์ที่เป็นข้อสงสัยของประชาชน และต่างประเทศ ได้รับการเร่งรัดและนำเข้าสู่กระบวนการตรวจสอบโดยทันที

6.การดำเนินคดีความมั่นคง มีประสิทธิภาพ ทั้งกระบวนการรวบรวมพยานหลักฐานที่รัดกุมและโปร่งใส  ผู้ต้องหาได้รับการคุ้มครองสิทธิตามกฎหมาย

7.กระบวนการยุติธรรมทางเลือกได้รับการสนับสนุนโดยให้ผู้เสียหายหรือผู้ต้องหาและชุมชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการคลี่คลายความขัดแย้ง

8.ผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบที่ได้รับการเยียวยาด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นรวมทั้งลดเงื่อนไขการใช้ความรุนแรงตลอดจนสร้างความไว้วางใจ

9.ประชาชนมีความเข้าใจสถานการณ์ที่เป็นจริงในพื้นที่ผ่านเวทีการสื่อสารที่ส่งเสริมการพูดคุยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

10.จำนวนกลุ่มเป้าหมายมีองค์ความรู้เกี่ยวกับแนวทางและทักษะการจัดการความขัดแย้งโดยสันติวิธี

11.การลงทุนทั้งภาครัฐและภาคเอกชนเป็นไปอย่างต่อเนื่องมั่นคงสอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่ วิถีชีวิต ตรงกับความต้องการของประชาชน และมีผลต่อการสร้างอาชีพและการกระจายรายได้ที่ทั่วถึงให้กับประชาชน ส่งผลให้อัตราการว่างงานในระดับหมู่บ้านลดลงอย่างต่อเนื่อง

12.การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบโลจิสติกส์ เทคโนโลยี ศักยภาพแรงงาน ทั้งต้นน้ำ ปลายน้ำ ครอบคลุมทั้งพื้นที่ในประเทศและรอยต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน

13.สถาบันการศึกษาของรัฐและเอกชนได้รับการพัฒนาคุณภาพของหลักสูตรการศึกษาและครูทั้งสายสามัญและศาสนาอย่างครบถ้วน  ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาเทียบเท่ามาตรฐานกลางของประเทศ

14.เด็ก เยาวชน และผู้ที่อยู่นอกระบบการศึกษาได้รับความรู้  การเพิ่มทักษะการประกอบอาชีพ โดยพัฒนา/สร้างแหล่งเรียนรู้และสนับสนุนระบบการศึกษานอกโรงเรียน

15.ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงได้รับหลักประกันการมีสิทธิในการใช้ประโยชน์จากที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นเพื่อการดำรงชีพและการสร้างรายได้ที่พอเพียงได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย

16.ประชาชนได้รับบริการสาธารณสุขและการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างเต็มประสิทธิภาพประชาชนในพื้นที่เป้าหมาย ปฏิบัติตามประเพณีและศาสนา

17.เป็นพลังสร้างสรรค์สังคมพหุวัฒนธรรมและเป็นที่ยอมรับของสังคมทั้งภายนอกและภายใน

18.การฟื้นฟู อนุรักษ์ รักษาอัตลักษณ์ทางภาษา ศิลปะ และวัฒนธรรม ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่มีเพิ่มขึ้น

19.เด็กและเยาวชน มีความรู้ภาษาไทย ภาษามลายู ภาษามลายูถิ่น ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในทุกระดับการศึกษา

20.ผู้นำศาสนา ผู้นำชุมชน นักการศึกษา มีบทบาทในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาในชุมชนเพิ่มขึ้น

21.ประชาชนได้รับข้อมูลสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างรอบด้านและเป็นจริง และตระหนักถึงความรับผิดชอบร่วมกันในการแก้ไขปัญหาในเชิงสร้างสรรค์

22.ประเด็นปัญหา จชต. ไม่ถูกหยิบยกเป็นวาระระหว่างประเทศ อาทิ เวทีขององค์การความร่วมมืออิสลาม (OIC) และสหประชาชาติ

23.ประชาชนในโลกมุสลิมและต่างประเทศมีความเข้าใจและสนับสนุนการพัฒนา รวมทั้งแก้ไขปัญหาในพื้นที่ โดยอาศัยความร่วมมือของประชาคมอาเซียนและกิจการฮัจญ์

24.หน่วยงานของรัฐมีประสิทธิภาพในการอำนวยความสะดวกการจัดพื้นที่และกระบวนการสื่อสาร พูดคุย เพื่อลดและป้องกันการขยายตัวของความขัดแย้งระหว่างรัฐกับประชาชนและระหว่างประเทศกับประชาชนเพิ่มขึ้น

25.จำนวนเวทีส่งเสริมสนับสนุนกระบวนการพูดคุยระหว่างผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในการแสวงหารูปแบบการกระจายอำนาจที่สนับสนุนให้ท้องถิ่นมีบทบาทและส่วนร่วมที่สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่และอยู่ในกรอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยมีมากขึ้น

26.ผู้มีความคิด ความเชื่อ อุดมการณ์ต่างจากรัฐ มีส่วนร่วมในกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติภาพที่ได้รับการมอบหมายจากรัฐบาลได้รับหลักประกันความปลอดภัยจากรัฐอย่างทั่วถึง

27.กลไกขับเคลื่อนการนำนโยบายและยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ ดำเนินงานอย่างเป็นเอกภาพและมีประสิทธิภาพ

28.ประชาชนมีส่วนร่วมในการนำนโยบายยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติและการติดตามประเมินผล

29.เจ้าหน้าที่ทุกระดับต้องมีความเข้าใจนโยบายและยุทธศาสตร์ไปในทิศทางเดียวกัน

 

 

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ศาลแพ่งรับคำฟ้อง ตลก.ศาล รธน.วินิจฉัย ม.291 ละเมิด ส.ส.เพื่อไทย

Posted: 12 Jul 2012 06:54 AM PDT

ความผิดเรื่องละเมิด พร้อมเรียกค่าเสียหาย 1,555,000 บาท และดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี และยื่นคำขอให้ศาลไต่สวนฉุกเฉินระงับการมีคำวินิจฉัยของจำเลย

เว็บไซต์มติชนออนไลน์ รายงานว่า เมื่อเวลา 14.30 น. วันที่ 12 กรกฎาคม ที่ศาลแพ่ง ถนนรัชดาภิเษก นายวรชัย เหมะ ส.ส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย พร้อมด้วย นายคารม พลพรกลาง ทนายความเดินทางมาศาลฟ้องตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 8 คน ที่มีมติรับคำร้องขอให้ศาลวินิจฉัยร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 68 หรือไม่ ประกอบด้วย นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ, นายจรัญ ภักดีธนากุล, นายบุญส่ง กุลบุปผา, นายนุรักษ์ มาประณีต, นายเฉลิมพล เอกอุรุ, นายสุพจน์ ไข่มุกต์, นายจรูญ อินทจาร, และนายอุดมศักดิ์ นิติมนตรี เป็นจำเลยที่ 1-8 ความผิดเรื่องละเมิด พร้อมเรียกค่าเสียหาย 1,555,000 บาท และดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี และยื่นคำขอให้ศาลไต่สวนฉุกเฉินระงับการมีคำวินิจฉัยของจำเลย รวมทั้งขอให้จำเลยยุติการพิจารณาคดีที่ขอให้วินิจฉัยร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 68 หรือไม่ โดยศาลรับคำฟ้องไว้เป็นคดีดำหมายเลข 2854/2555 และนัดพร้อมคู่ความวันที่ 8 ตุลาคมนี้ เวลา 09.00 น.

มติชนออนไลน์ ยังได้รายงานคำกล่าวของนายคารมว่า สาเหตุที่ยื่นฟ้องต่อศาลแพ่งเนื่องจากนายวรชัย โจทก์และ ส.ส.คนอื่น ซึ่งมีฐานะผู้แทนราษฎรมีหน้าที่ออกกฎหมาย และการแก้รัฐธรรมนูญมาตรา 291 ก็เป็นการออกกฎหมายอย่างหนึ่ง ทางรัฐสภาก็ได้รับรองกฎหมายดังกล่าวไป 2 วาระแล้ว แต่เมื่อตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 8 ท่านมีมติรับคำร้องขอให้ศาลวินิจฉัยร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 68 หรือไม่ พร้อมสั่งระงับการพิจารณาวาระ 3 ทั้งที่การรับคำร้องต้องผ่านสำนักงานอัยการสูงสุดก่อน นอกจากนี้ การที่ศาลรัฐธรรมนูญยังไม่มี พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ แต่ใช้ข้อกำหนดเกี่ยวกับวิธีพิจารณาและการทำคำวินิจฉัยมาวินิจฉัยรับคำร้องและสั่งระงับการพิจารณา ซึ่งเป็นการทำหน้าที่หรือใช้อำนาจหน้าที่ที่ฝ่าฝืนกฎหมาย และเป็นการละเมิดต่อโจทก์

"คดีนี้ถือเป็นคดีแรกที่ฟ้องตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งไม่ใช่ความผิดฐานละเมิดธรรมดา แต่เป็นการละเมิดรัฐธรรมนูญที่เป็นกฎหมายมหาชน โดยก่อนฟ้องเราได้ศึกษาข้อกฎหมายและพฤติกรรมโดยตลอด หลังจากที่มีการไต่สวนของศาลแล้วเชื่อว่าศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจรับคำฟ้อง โดยหวังว่าคำพิพากษาคดีนี้จะเป็นบรรทัดฐานทางสังคมต่อไป" นายคารมกล่าว และว่า หากศาลมีคำสั่งให้ไต่สวนฉุกเฉินในวันนี้ ก็ได้เตรียมพยานเบิกความไว้แล้ว 2 ปาก ประกอบด้วย นายวรชัย และ พ.ต.ต.เสงี่ยม สำราญรัตน์ ข้าราชการสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี และได้จัดเตรียมรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว 2549 และรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 มาประกอบการไต่สวนด้วย อย่างไรก็ตาม ศาลแพ่งจะมีคำสั่งไต่สวนฉุกเฉินทันก่อนที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยหรือไม่ก็ตาม หลังจากฟ้องแล้วตนจะทำสำเนาส่งให้ตุลาการทั้ง 8 คน ซึ่งจะมีคำสั่งยุติการวินิจฉัยหรือไม่ก็ขึ้นอยู่ดุลพินิจของท่าน

 

 

ที่มา: เว็บไซต์มติชนออนไลน์

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เมื่อห้านิ้วของคนเราไม่เท่ากัน

Posted: 12 Jul 2012 06:25 AM PDT

มนุษย์นั้นเมื่อเรามองลักษณะทางกายภาพแล้วก็อาจจะมีสูง ต่ำ ดำ ขาว ต่างกันไป นั้นคือสิ่งที่เราสัมผัสได้ด้วยตาหรือมองอีกแง่หนึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นการมองในแง่ของ “เชิงปริมาณ” ก็ว่าได้ เมื่อเป็นเช่นนั้นก็กล่าวได้ว่าเมื่อมองของสิ่งใดในเชิงปริมาณแล้วก็อาจทำให้เราตัดสินหรือเป็นกรอบคิดให้ผู้คนนั้นรู้สึกว่าอย่างน้อยคนเรามันก็ เท่ากัน หรือ ไม่เท่ากัน เช่นเดียวกับคำกล่าวที่ว่า “ห้านิ้วของเรายังยาวไม่เท่ากัน” สิ่งนี้เป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงหลักคิดที่ว่า ก็ขนาดนิ้วยังไม่เท่ากันเลยแล้วคุณจะหวังอะไรให้คนเรามันเท่ากัน ฟังแล้วมันก็แค่เป็นคำเปรียบเปรยธรรมดา แต่ในที่สุดแล้วการเปรียบเทียบเช่นนี้มันสะท้อนให้เห็นอะไรหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาจเป็นได้ว่าเป็นพื้นฐานที่เราเอากลับมามองสังคมว่า โดยทั่วไปแล้วสังคมนั้นๆ มองประเด็นเรื่องความเท่าเทียมกันอย่างไร

เมื่อกล่าวถึง “ความเท่า” หรือ “ไม่เท่า” กันของคนนั้น ปัจจัยที่ส่งเสริมต่อแนวคิดของสังคมต่อสิ่งนั้นอาจมาจากหลายปัจจัยด้วยกัน โดยในที่นี้ผู้เขียนอยากจะกล่าวถึง ปัจจัย แนวคิดใด ที่ส่งผลทำให้เราตัดสินใจว่าคนเรา เท่า หรือ ไม่เท่ากัน

หากกล่าวถึงประวัติศาสตร์ที่ยาวนานมากที่สุดที่ส่งผลต่อแนวคิดของคนในเรื่องความเท่ากันหรือไม่เท่ากันของมนุษย์ นั่นก็คือ “ศาสนา” โดยมีมุมมองที่น่าสนในหลายด้านด้วยกัน เช่น แนวคิดของพุทธศาสนา อาทิ บาป-บุญ การเวียนไหว้ตายเกิด เป็นต้น แนวคิดของศาสนาคริสต์ อาทิ มนุษย์ผู้ซึ่งมีบาปติดตัว การไม่มีการเวียนไหว้ตายเกิด เป็นต้น หรือแม้แต่ แนวคิดการเกิดขึ้นของกฎหมาย เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่กำหนดกรอบคิดเกี่ยวกับ ความเท่า หรือ ไม่เท่ากัน ของมนุษย์แทบทั้งสิ้น

สิ่งที่จะกล่าวต่อไปนี้ขอให้มองว่าเป็นเพียงแนวคิดหนึ่งในอีกหลายแนวคิดเท่านั้น การหยิบยกประเด็นเหล่านี้มาไม่ใช่คำตอบที่มันตายตัวและเป็นอย่างนั้นเสมอไป หากจะมองแค่ว่ามันสุดโต่งหรืออย่างไรก็แล้วแต่ แต่สิ่งที่ผู้เขียนอยากให้เป็นก็คือ เปิดใจและรับฟังมันมากกว่า เพราะอย่างน้อยการมีข้อมูลต่างๆมากก็ดีกว่าการมีข้อมูลน้อยและหากคุณไม่เห็นด้วยมันก็เป็นการดีที่จะนำประเด็นต่างๆเหล่านี้มาวิจารณ์ และคุณอาจจะได้อะไรใหม่ๆจากการวิจารณ์ก็เป็นได้

แนวคิดของพระพุทธศาสนา โดยทั่วไปแล้วศาสนาพุทธที่เรานิยมเรียกกันโดยทั่วไปนั้นเกิดขึ้นในแถบเอเชียเป็นหลัก เช่น แถบเอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นต้น สิ่งที่เราเห็นทุกเช้าวันในสังคมเหล่านี้นั่นก็คือ การทำบุญตักบาตร การกระทำดังกล่าวเป็นสิ่งผู้กระทำนั้นอาจจะทำให้รู้สึกสบายใจเมื่อได้เป็นผู้ให้ เป็นศิริมงคล หรือแม้แต่การทำเพื่อหวังผลในภายภาคหน้า ดังเช่นเพลงๆหนึ่งที่ว่า “ผู้หญิงที่สวยอย่างคุณทำบุญมาด้วยอะไร จึงสวยน่าพิศสมัย...” กล่าวคือ ก็เพราะคุณทำบุญด้วยอะไรบางอย่างเมื่อชาติที่แล้วคุณจึงสวยในชาตินี้ หรือแม้แต่ “ชาติก่อนเราเพียงคู่เคียงเก็บดอกไม่ร่วมต้น แต่ว่าเราสองคนไม่สนในใส่บาตรร่วมขัน” จนในที่สุดทำให้ชาตินี้ทั้งเขาและเธอไม่ได้อยู่ร่วมกันเพราะเขาไม่ได้ใส่บาตรด้วยกัน สำหรับสิ่งที่กล่าวมามันเป็นสิ่งที่บ่งชี้ได้ดีว่า ในที่สุดแล้วทุกคนมันไม่เท่ากันหรอก เพราะการที่คุณจะ สวย รวย เก่ง หรืออื่นๆ มันอาจจะมาจากการที่คุณนั้นทำบุญมามากในชาติที่แล้ว เมื่อเป็นเช่นนั้นคุณก็ต้องยอมจำนนต่อสิ่งนี้คุณไม่สามารถไปแก้ไขอะไรได้ ดังเช่นคำกล่าวที่ว่า “คนนี้รวยมากเลยสงสัยชาติที่แล้วทำบุญมาเยอะ”  คำกล่าวนี้เป็นการบ่งถึงการยอมจำนนต่อสิ่งที่เกิดขึ้นโดยไม่ใส่ใจต่อสาเหตุที่จริงแต่กลับยอมรับว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตมันส่งผลต่อปัจจุบัน นั่นจึงเป็นอีกเหตุที่ทำให้กรอบคิดเรื่องบาป บุญ ส่งผลต่อกรอปคิดเรื่องความเท่า หรือ ไม่เท่ากัน

กล่าวโดยสรุปก็คือว่า คนเรามันไม่มีทางเท่ากันได้ เพราะอย่างน้อยที่สุด ชาติที่แล้วคุณทำอะไรไว้ชาตินี้คุณก็ได้อย่างนั้น เมื่อคุณเกิดมาในชาตินี้มันเป็นผลสะท้อนจากการกระทำของคุณในชาติปางก่อน คุณจึงไม่มีความเท่ากันมาตั้งแต่เกิดทั้งในชาตินี้หรือชาติไหน ดังนั้นเมื่อมองสังคมชาวพุทธส่วนใหญ่ก็มักจะยอมรับในโชคชะตาและความไม่เท่ากันในสังคม ไม่มีอะไรที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ทุกอย่างเกิดจากการกระทำในอดีต แต่หากคุณอยากจะดีขึ้นในชาติหน้าคุณก็ต้องทำดีในชาตินี้ แต่นั้นก็เป็นข้อดีอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้สังคมลดความป่าเถื่อนลงได้มาก นับว่าเป็นสิ่งที่อย่างน้อยก็มีประโยชน์มากในสังคมของมนุษย์ที่มีความขัดแย้งกันตลอดเวลา

แนวคิดต่อมาคือ แนวคิดของคริสต์ศาสนา ประเด็นแรกก็คือ หลักคิดที่ว่ามนุษย์ทุกคนมีบาปติดตัวทุกคนนั้นต้นเรื่องก็คือมนุษย์คู่แรกของโลก ได้แอบไปกินผลไม่ต้องห้าม เมื่อเป็นเช่นนั้นทุกคนก็ย่อมมีบาปติดตัวจากบุคคลสองคนนี้เท่ากันเพราะถือว่าเขาเป็นต้นตระกูลเราโดยไม่สามารถปฏิเสธบาปเหล่าได้เลย และก็กลายเป็นวลีที่ที่ใช้ในสังคมวิชาการที่ว่า “มนุษย์เป็นสิ่งที่ไว้ใจไม่ได้ที่สุด”  ทำให้กล่าวได้ว่าไม่ว่าใครก็ตามที่อยู่บนโลกนี้ก็มีความเท่ากันเพราะคุณก็มีบาปเหมือนๆกัน ทุกคนจึงเท่าเทียมกันโดยเสมอภาค หลักคิดนี้อาจดูเป็นหลักทางปรัชญาที่สุดโต่งอยู่มากสำหรับคนหลายคน แต่ก็เป็นสิ่งที่วงวิชาการกล่าวถึงอยู่ไม่น้อยเช่นกัน

สำหรับหลักของคริสต์ศาสนาอีกหลักที่น่าสนใจก็คือ การไม่มีการเวียนไหว้ตายเกิด หลักนี้มองอย่างง่ายๆก็คือว่า มองในลักษณะตรงกันข้ามกับแนวคิดของพุทธศาสนา กล่าวคือ เมื่อมนุษย์ไม่มีการเวียนไหว้ตายเกิด นั่นก็แสดงว่า ทุกคนที่เกิดขึ้นเมื่อเป็นคนที่ถูกผลิตขึ้นมาใหม่ทั้งสิ้น ไม่ใช่คนเก่าที่นำไปลบความจำแล้วนำมาใช้ใหม่ เมื่อเป็นเช่นนั้นจึงไม่มีความผูกพันอะไรกับอดีต ทุกอย่างเกิดมาติดลบเท่ากันหมด (เพราะมีบาปติดตัวจากกรณีมนุษย์คู่แรกของโลก) ดังนั้น การสวย รวย เก่ง ไม่ได้มีผลจากอดีตดังอีกแนวคิดหนึ่ง หลักการนี้มักมีปัญหาเสมอเมื่อผู้คนในพุทธศาสนาได้มาพบกับผู้คนในคริสต์ศาสนา เพราะเหมือนทั้งสองฝ่ายพูดกันคนละภาษา

จากสองแนวคิดทางศาสนานี้จึงทำให้กรอบคิดเรื่องของความเท่าหรือไม่เท่ากันของคนนั้นต่างกันไป แต่สิ่งที่อยากให้พึงระวังไว้นั่นก็คือ คนส่วนใหญ่มักจะทึกทักเอาเองว่าแนวคิดของฉันคือสิ่งที่ถูก ดังที่ผู้เขียนเจอและได้ยินมากับตัวนั่นก็คือ เพื่อนของผู้เขียนดูรายการโทรทัศน์เกี่ยวกับการฆ่าวัวของชาวยุโรป (ซึ่งในที่นี้น่าจะเป็นชาวคริสต์) และเพื่อนผู้นี้ก็เลยถามลอยๆขึ้นมาว่า “นี่เขาไม่กลัวบาป ไม่กลัวว่าชาติหน้าจะเกิดมาเป็นวัวแล้วถูกฆ่าหรือไง” นั่นเป็นสิ่งที่ชี้ให้เห็นว่า เมื่อกรอบคิดต่างหากเพื่อนของผู้เขียนไปพูดกับฝรั่งเจ้าของฟาร์มผู้นั้น มันคงคุยกันไม่รู้เรื่องไปในที่สุด

สุดท้ายที่อยากกล่าวถึงนั่นก็คือหลักเกี่ยวกับ การเกิดของกฎหมาย หลักนี้ถือว่าเป็นสิ่งที่มีผลต่อหลักคิดความเท่ากันหรือไม่เท่ากันของมนุษย์อีกทางหนึ่ง ซึ่งก็น่าจะทำความเข้าใจได้ง่ายกว่าแนวคิดทั้งสองแนวข้างต้น สำหรับผู้มีฐานะมั่งมีทั้งหลายในสังคมโบราณ สิ่งที่น่ากลัวที่สุดและเป็นสิ่งที่ตนเองนั้นไม่อยากให้เกิดขึ้นนั่นก็คือการถูกฆ่าและก็ถูกแย่งสมบัติที่ตนเองมีไป ดังนั้นผู้มั่งมีทั้งหลายจึงต้องหาทางที่จะรักษาชีวิตและทรัพย์สินของตนเอง เมื่อเป็นเช่นนั้นจึงเป็นที่มาของการออกกฎหมายขึ้นมาบังคับใช้และให้เหตุผลว่าเป็นการรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองมากกว่าที่จะบอกว่าเพื่อรักษาทรัพย์สินของตนเอง เมื่อเป็นเช่นนั้นสิ่งที่สะท้อนออกมาก็คือ เมื่อผู้มั่งมีก่อนหน้านั้นถือว่าเป็นชนชั้นที่มีอำนาจในสังคมอยู่แล้ว  การเข้าถึงทรัพยากรต่างๆก็ทำได้ง่ายกว่าคนทั่วไปจนทำให้ตนเองร่ำรวยเงินทองขึ้น แต่เมื่อความกลัวเข้ามามีบทบาทในชีวิตจนก่อให้เกิดกฎหมายขึ้น นั่นก็เท่ากับว่าผู้มั่งมีทั้งหลายยอมที่จะเสียอำนาจที่มีมาแต่เดิมไป จากเดิมที่เคยอยู่เหนือผู้คนธรรมดาในสังคม ก็ต้องลดตัวเองลงมาให้เท่ากับคนอื่นๆทุกคนในสังคม พูดง่ายๆ ยอมอยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกับทุกคน สถานะสังคมของผู้คนจึงเปลี่ยนจากโครงสร้างแบบเดิมที่เป็นแนวดิ่งสู่โครงสร้างที่เป็นแนวราบภายใต้กฎหมาย หากมองกันตามทฤษฎีอาจกล่าวได้ว่า WIN WIN ทั้งคู่ ฝ่ายผู้มั่งมีก็สบายใจในเรื่องของทรัพย์สิน ฝ่ายผู้ที่เคยอยู่ภายใต้สังคมแนวดิ่ง ก็ได้รับเกียรติให้มีความเสมอภาคทางสังคมเท่ากับคนที่เคยอยู่เหนือตน

สิ่งนี้จึงทำให้เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่กำหนดกรอบคิดเรื่องความเท่ากัน หรือ ความไม่เท่ากัน ของคนในสังคม ถ้าจะกล่าวไปแล้วจากหลักคิดนี้ หากสังคมใดที่มีการบังคับใช้กฎหมายที่เท่าเทียมกันทุกคนโดยเสมอหน้าแล้วละก็มันก็เป็นการแสดงถึงความเท่าเทียมกันของคนในสังคมอีกทางหนึ่ง แต่หากสังคมใดนั้นการบังคับใช้กฎหมายยังไม่เท่าเทียมกัน ผู้มั่งมีไม่ยอมที่จะอยู่ภายใต้กฎของสังคม หลบหลีก หรืออะไรก็สุดแล้วแต่ นั่นก็หมายความว่า เขาเหล่านั้นไม่ยอมรับหลักความเท่าเทียมกัน แต่ขอแค่ประโยชน์จากกฎนี้เท่านั้น และใช้เพียงแค่คำพูดแสดงความเท่าเทียมกัน แต่มิได้ปฏิบัติแต่อย่างใด สังคมนั้นจึงเป็นสังคมที่ไม่มีความเท่ากันอยู่จริง

หากกล่าวต่อไปให้ไกลกว่ากัน หลักการประชาธิปไตยที่สำคัญมากประการหนึ่งก็คือ การเข้าถึงทรัพยากรต่างๆหากทุกคนมีความเท่าเทียมกันก็บ่งชี้ได้ว่าสังคมนั้นเป็นประชาธิปไตยมาก ดังนั้นเมื่อการเข้าถึงกฎหมายไม่มีความเสมอภาคคนจนก็มักเป็นเหยื่ออันโอชะของกฎหมายเพียงฝ่ายเดียว มันก็สะท้อนให้เห็นว่าสังคมนั้นเป็นประชาธิปไตยมากน้อยเพียงใด คุณว่าไหมล่ะ

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

โสภณ พรโชคชัย: เพลงคอมมิวนิสต์ไม่เคยยกย่องสถาบันฯเลย

Posted: 12 Jul 2012 06:09 AM PDT

ผมบังเอิญได้ดู Youtube เกี่ยวกับการสัมภาษณ์ (อดีต) ‘ทหารแดง’ หรือทหารปลดแอกประชาชนแห่งประเทศไทยคนหนึ่งของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ออกมาให้สัมภาษณ์ช่อง 13 สยามไทยในขณะมาชุมนุมปกป้องศาลรัฐธรรมนูญเมื่อสองวันก่อน

อดีต ‘ทหารแดง’ ท่านนี้กล่าวทำนองว่า “ถึงแม้เราอยู่ป่าเราก็รักสถาบัน เพราะว่ามีเพลงว่า ‘เทิดไท้ไว้เหนือชีวา’ . . .” โปรดดูใน www.youtube.com/watch?v=DnN-zD6JIHI&feature=player_embedded ช่วงนาทีที่ 7:03 เป็นต้นไป

และยังได้ร้องเพลง “บ้านเกิดเมืองนอน” แบบกระท่อนกระแท่น เพื่อสนับสนุนคำพูดของตนดังกล่าว แต่ความจริงแล้ว เนื้อเพลงดังกล่าวไม่มีคำว่า “เทิดไท้” แต่เป็น “เทิดไทย” ไว้เหนือชีวา (บรรทัดที่ 8 ของเพลง “บ้านเกิดเมืองนอนต่อไปนี้)

          บ้านเกิดเมืองนอน ที่เรารักยิ่งชีวา
เคยพร่ำขานเรียกมา มีสมญาว่าแผ่นดินทอง
ถูกโจรขายชาติครอบครอง ยอมให้มะริกันครอบครอง
ต้องสูญสิ้นผืนดินทอง ฝรั่งมาครองดินทองของไทย
มันบุกรานรุกย่ำยี ปราบปรามกดขี่ทารุณโหดร้าย
เข่นฆ่าประชาชนไทย เปรียบเราเป็นเช่นดังผักปลา
เรามิใช่ทาสใคร ตัดสินใจขอสู้ยิบตา
เทิดไทยไว้เหนือชีวา ใครจะมาลบหลู่ดูแคลน
พรรคคอมมิวนิสต์ ดุจดังประทีปส่องทาง
แสงสดใสสว่าง ชี้ทางให้ประชาทั่วแดน
จับปืนลุกยืนขึ้นมา ร่วมสามัคคีแน่นแฟ้น
ขับโจรมะริกันต่างแดน โค่นสมุนขายชาติตัวแทน
ประชาทั่วแคว้นต้องสุขสำราญ
จากบ้านเมืองมา สู่แดนภูสระดอกบัว
ลำบากใดไม่กลัว เมื่อพรรคเราเรียกร้องต้องการ
ป่าดงพฤกษ์พงพนา ทหารประชาฝ่าฟัน
เทือกภูสระสูงผาชัน แต่ใจเรานั้นเหนือภูสระทอง

อาจกล่าวได้ว่าไม่เคยมีเพลงของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยเพลงใดเลยที่ยกย่องสถาบัน แม้แต่เพลงเพื่อชีวิตของคาราวาน เช่น เพลง “ตายสิบเกิดแสน” (www.youtube.com/watch?v=VqjEy94GYMI) ก็มีท่อนหนึ่งว่า “เรามีงาน เรามีกิน และแผ่นดิน ไม่มีเจ้า เรามีเหตุ เรามีผล เราต่างคน ต่างเทียมเท่า” และเพลง “ลุกขึ้นสู้” (www.youtube.com/watch?feature=endscreen&v=O9uN7AjX7XQ&NR=1) ก็มีอีกท่อนหนึ่งว่า “ลุกยืนขึ้นท้า พวกฟ้าพวกดาว รวมใจที่ปวดร้าว ปลดดาวลงดิน ไม่นานหรอกหนา เมฆฟ้าทมิฬ กูจะล้างให้สิ้น ชีวินจึงเบิกบาน”

การเทิดไท้ปกป้องสถาบันถือเป็นมงคลของชีวิตคนไทย  ที่ผ่านมาพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ไม่เคยทำเช่นนี้ ก็คงเป็นเรื่องการเมืองตามยุคสมัย ผมไม่อาจวิจารณ์หรือตำหนิติติงได้  แต่การที่วันนี้กลับมาบิดเบือนว่าเคย “เทิดไท้” รักสถาบันตั้งแต่อยู่ในป่านั้น นับเป็นเรื่องเท็จและบิดเบือนความจริง

ถ้าผู้ชุมนุมออกมาชุมนุมในฐานะ “ผู้พัฒนาชาติไทย” ที่มอบตัว ละทิ้งอุดมการณ์คอมมิวนิสต์ ละทิ้งการต่อสู้ด้วยกำลังอาวุธและยอมสลายกองกำลังทั้งหมดแล้ว ก็เป็นสิทธิเช่นคนไทยทั่วไป สามารถแสดงความเห็นทางการเมืองได้  แต่การอ้างอิงพรรค อ้างอิงกองทัพปลดแอกที่เคยมีอุดมการณ์อีกขั้วหนึ่งมาเคลื่อนไหวทางการเมืองทั้งที่ต่างไปจากอุดมการณ์เดิม และมีชีวิตของอดีตชาวพรรคคอมมิวนิสต์ที่ยอมพลีชีพตามอุดมการณ์เดิมอยู่มากมายนั้น ควรทำหรือไม่ คงเป็นสิ่งที่ต้องพิจารณากันเอง

อาจกล่าวได้ว่าการเข้ามอบตัวเป็นผู้พัฒนาชาติไทยในอดีตนั้น บุคคลกลุ่มนี้ได้รับประโยชน์โดยเฉพาะจากราชการทหารมากกว่าชาวบ้านทั่วไปในระดับหนึ่ง  และคงได้รับมาอย่างต่อเนื่อง  จะสังเกตได้ว่าแม้แต่ช่วงที่อดีตนายกฯ สุรยุทธ์ จุลานนท์ ขึ้นรับตำแหน่ง ยังเดินทางไปประสานงานกับกลุ่มนี้  ดังนั้นจึงเป็นธรรมดาที่กลุ่มนี้อาจมีทัศนะทางการเมืองที่แตกต่างไปจากประชาชนทั่วไป  แต่จะไปเลือกข้างฝ่ายใด ก็คงไม่แปลกเพราะเป็นสิทธิของแต่ละคน

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'ใบตองแห้ง' ออนไลน์: เถื่อนมาก็เถื่อนไป?

Posted: 12 Jul 2012 06:02 AM PDT

 

 

ศุกร์ 13 จะออกมาอย่างไร หลายคนคาดการณ์ว่า ศาลรัฐธรรมนูญจะไม่ให้แก้มาตรา 291 ยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ แต่ไม่ยุบพรรคตัดสิทธิ ล้มระบอบรัฐสภา 

แต่ไม่ว่าออกมาทางร้าย หรือร้ายแรงที่สุด ผลที่เกิดขึ้นแน่นอนคือ มวลชนเสื้อแดงและผู้รักประชาธิปไตยจะตระหนักว่า ระบอบประชาธิปไตยแบบอำมาตย์กำลังดื้อรั้นรักษาอำนาจโดยไม่คำนึงถึงเหตุผล ความชอบธรรม หรือกฎกติกา โดยถือดีว่ามีอำนาจศาลและอำนาจปืนอยู่ในมือ

เราไม่สามารถรอมชอมกับระบอบประชาธิปไตยแบบอำมาตย์ได้ ทั้งที่ได้พยายามต่อสู้ในกติกาแล้ว

ภายหลังการยุบพรรคไทยรักไทย ยุบพรรคพลังประชาชน จัดตั้งรัฐบาลในค่ายทหาร มวลชนเสื้อแดงลุกฮือขึ้นสู้ ในเดือนเมษายน 2552 และเมษา-พฤษภา 2553 ความรุนแรงที่เกิดขึ้นเป็นการใช้กำลังทางกายภาพตอบโต้ความรุนแรงที่เป็นนามธรรมของรัฐประหารและศาล ฝ่ายอำมาตย์คิดว่าการยั่วยุให้มวลชนทนไม่ไหวจะเป็นโอกาสให้อ้างความชอบธรรมใช้กำลังปราบปราม แล้วชาวบ้านโง่ๆ ถูกหลอก ถูกซื้อ ถูกยิงตายซักหลายสิบคนก็คงจะฝ่อไป แต่พวกเขาคิดผิด แม้การยิงหัวไพร่เสื้อแดงจะได้ใจสลิ่ม ผู้ดีชาวกรุง ดารา ไฮโซ แต่ในชนบทอันกว้างใหญ่ ในภาพรวม ในทางสากล พวกเขาพ่ายแพ้ทางการเมือง จนกระทั่งพรรคเพื่อไทยกลับมาได้ชัยชนะล้นหลาม โดยได้รับการสนับสนุนจากนานาประเทศด้วย 

ความพยายามก่อรัฐประหารโดยศาลครั้งนี้ ชัดเจนว่าเป็นไปอย่างดันทุรัง ในการรับคำร้องตามมาตรา 68 ซึ่งผิดทั้งแง่กระบวนการและเนื้อหา ศาลรัฐธรรมนูญรับวินิจฉัยทั้งที่ไม่มีอำนาจ ใช้อำนาจโดยพลการอยู่เหนือรัฐธรรมนูญ ถามว่าพวกเขาไม่ตระหนักหรือ ว่าจะเกิดอะไรขึ้น หากชี้ผิด ยุบพรรค ตัดสิทธิ

สงครามกลางเมืองสิครับ มวลชนจะลุกฮือขึ้นมาตะโกนว่า กูทนไม่ไหวแล้วโว้ย

ในแง่หนึ่งคือการหยั่งเชิงของฝ่ายอำมาตย์ ถ้าประชาชนทนไม่ไหวลุกฮือ มันก็คือโอกาส ที่จะเอากำลังทหารออกมารักษาความสงบ โค่นรัฐบาล แล้วเดินไปตามสูตรอียิปต์บวก ม. 7 ขอรัฐบาลพระราชทาน อย่างที่บิ๊กจิ๋วดักคอ

แต่ในขณะเดียวกัน ฝ่ายอำมาตย์ก็ไม่มั่นใจว่า ถ้าประชาชนทนไม่ไหว แล้วพวกเขา “เอาอยู่” หรือไม่ เป็นสถานการณ์ที่ประเมินยาก แม้แต่ฝ่ายรัฐบาล เพื่อไทย นปช.ก็ยังประเมินไม่ออก ว่าขณะนี้มวลชน “ตาสว่าง” เพียงไร และพร้อมจะสู้ถึงที่สุดแค่ไหน มันจึงเสี่ยงอันตรายอย่างยิ่ง หากไปถึงจุดนั้น

หากไม่กล้าแตกหัก ก็อาจรัฐประหารครึ่งใบ ไม่ยอมให้แก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับ แต่ไม่ยุบพรรคตัดสิทธิ แบบนั้นจะกลับมาสร้างภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกให้รัฐบาลเพื่อไทยและมวลชนเสื้อแดง คือมวลชนโกรธแค้น แต่ไม่รู้จะระบายออกอย่างไร เพราะอีกด้านหนึ่งก็ต้องรักษาอำนาจของรัฐบาล มวลชนไม่สามารถออกมาก่อความไม่สงบ ชุมนุม ปิดถนน ก่อความรุนแรง ที่จะกลายเป็นบั่นทอนเสถียรภาพรัฐบาล ฝ่ายรัฐบาลเอง ก็น่าจะต้องกล้ำกลืนยอมรับคำสั่งศาล ขณะที่มวลชนไม่ยอมรับ และต้องการระบายความแค้น นี่เป็นปัญหาที่จะต้องจัดการให้ดี และต้องเข้าใจการแยกกันเดิน

มวลชนต้องแสดงพลัง เพื่อตอบโต้ฝ่ายอำมาตย์ นี่เป็นสิ่งที่ต้องยืนยัน เพราะถ้าไม่มีปฏิกิริยาตอบโต้ของนักวิชาการและมวลชนมาตั้งแต่ต้น ฝ่ายอำมาตย์ก็คงไม่ลังเลที่จะใช้แผน 1 ฉะนั้นการที่พรรคเพื่อไทยจะบอกให้มวลชนเสื้อแดงยอมรับคำสั่งศาล จึงเป็นเรื่องงี่เง่า แต่แน่นอนว่าสำหรับรัฐบาลอาจต้องเลือกเดินอีกอย่าง เพื่อรักษาฐานอำนาจและพยุงตัวอยู่ในกระแสสาธารณะ ที่คนทั่วไปยังไม่อยากให้แตกหัก ด้านนี้มวลชนก็ต้องเข้าใจรัฐบาลเช่นกัน แต่ไม่จำเป็นต้องบอกว่าเห็นพ้องกัน มวลชนสามารถตอบโต้อย่างเต็มที่ ไม่เกี่ยวกับรัฐบาล

รัฐบาลเองก็ควรตอบโต้ในกรอบของรัฐบาลด้วย เช่น แม้ประกาศว่ายอมรับคำสั่งศาลเพื่อความสงบของบ้านเมือง แต่ก็เสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตราทันที แบบสวนหมัดกัน ให้วุฒิสภามาจากการเลือกตั้งทั้งหมด รื้ออำนาจ ที่มา องค์ประกอบขององค์กรอิสระ โดยทำได้รวดเร็วเพราะไม่ต้องเลือกตั้ง สสร.ไม่ต้องลงประชามติด้วย

ไม่ว่าผลจะออกมาทางร้าย หรือร้ายแรง สิ่งที่ควรตระหนักคือ เราไม่สามารถรอมชอมกับอำมาตย์ได้ ทั้งที่สังคมไทยควรจะใช้กระบวนการประชาธิปไตยเจรจา ต่อรอง ปรับโครงสร้างอำนาจ ให้เกิดความสมดุล และต่อสู้ความคิดกันไปภายใต้ระบอบประชาธิปไตยปกติ

ประชาธิปไตยแบบอำมาตย์กลัวความเปลี่ยนแปลงที่จะมาถึงอย่างเลี่ยงไม่พ้น พวกเขามีเวลาอีกไม่กี่ปี จึงดิ้นรนรักษาอำนาจ และถ้าจำเป็นก็พร้อมจะแตกหัก พวกเขาหวังว่าจะยั่วยุให้ประชาชนทนไม่ไหว เพื่อนำไปสู่การใช้กำลัง ใช้กองทัพ ในรูปแบบที่ไม่ใช่รัฐประหาร แต่อ้างได้ว่าเพื่อรักษาความสงบ เพียงแต่พวกเขาก็กลัวอยู่เหมือนกันว่าการยั่วยุให้ประชาชนทนไม่ไหวนี้ มันจะบานปลายไปเพียงไร

2-3 วันก่อนผมเพิ่งคุยกับธงชัย วินิจจะกูล ธงชัยฝากข้อคิดว่า การอภิวัฒน์ 2475 ที่ฝ่ายอำมาตย์อ้างว่าชิงสุกก่อนห่ามนั้นเป็นการบิดเบือนประเด็น เพราะความเป็นจริง ไม่มีการปฏิวัติหรือการเปลี่ยนแปลงการปกครองที่ไหน เกิดขึ้นโดยประชาชนพร้อม ตื่นตัว รู้แจ้ง เห็นอนาคตหมดจด แต่มันเกิดขึ้นเพราะประชาชน “ทนไม่ไหว” กับระบอบที่ดำรงอยู่ เท่านั้นเอง

นี่แม้แต่การปฏิวัติฝรั่งเศส ซึ่งธงชัยบอกว่า คนยังเข้าใจผิดที่ว่าฌอง ฌาค รุสโซ มีอิทธิพลต่อการปฏิวัติฝรั่งเศส เพราะงานของรุสโซในสมัยนั้นไม่มีใครอ่าน แต่คนรุ่นหลังไปจับมา match กัน การปฏิวัติฝรั่งเศสเกิดขึ้นเพราะประชาชนทนไม่ไหว เท่านั้นเอง ไม่ได้มีทฤษฎีชี้นำอะไรหรอก เมื่อทนไม่ไหวก็โค่นล้มระบอบ ต่อมาการปฏิวัติฝรั่งเศสจึงวุ่นวายสับสนจนฆ่ากันเอง

อย่างไรก็ดี แม้จะเป็นนักโทษการเมืองที่ติดคุก 2 ปีหลัง 6 ตุลา ธงชัยก็ยืนยันว่าไม่อยากเห็นการปฏิวัติ หรือการเปลี่ยนแปลงด้วยความรุนแรง ผมเอง ซึ่งเคยเข้าป่าจับปืนอยู่ 4 ปี ก็เห็นด้วย เพราะเอาเข้าจริงมันไม่เคยมีการปฏิวัติที่ “ฟ้าสีทองผ่องอำไพ” ปฏิวัติฝรั่งเศสฆ่ากันเอง ปฏิวัติจีน รัสเซีย ก็ฆ่ากันเอง ปฏิวัติคิวบา นิคารากัว ไม่เคยเป็นไปตามความฝันอันงดงาม เพราะเมื่อคุณปฏิวัติแล้วก็ต้องใช้อำนาจปกป้องค้ำจุนการปฏิวัติ แล้วอำนาจนั้นก็กลืนกินตัวเอง

ประชาธิปไตยเท่านั้น ที่เป็นทางออก ไม่ใช่ “ปฏิวัติประชาชน”

เพียงแต่ในสถานการณ์ที่เป็นอยู่ เราไม่ได้เป็นผู้กำหนด ฝ่ายอำมาตย์เป็นผู้กำหนดให้เกิดความรุนแรง ในสถานการณ์เช่นนี้เราจะบอกให้มวลชนหงอ นั่งพับเพียบ ก็ไม่ได้ เพราะยิ่งไม่สู้ เขายิ่งได้ใจ แน่นอนด้านหนึ่งเรามีอาวุธคือเหตุผล หลักการประชาธิปไตย และความชอบธรรม แต่เมื่อเขาไม่สนใจหลักการเหล่านี้แล้ว ต้องการใช้กำลัง เราก็มีแต่มวลชนและอารมณ์โกรธแค้นของมวลชน เป็นอาวุธต้าน

ผมไม่ได้บอกให้ใช้กำลังเพื่อการเปลี่ยนแปลง เพราะเป้าหมายคือการเปลี่ยนผ่านอย่างสันติ ในวิถีประชาธิปไตย ไม่เอาการเปลี่ยนแปลงด้วยความรุนแรง แต่ในขั้นตอนระหว่างนั้น บางครั้งก็จำต้องเป็นไปตามกฎธรรมชาติ ที่ใดมีการกดขี่ ที่นั่นมีการต่อต้าน การแสดงอารมณ์ของมวลชน ไม่ว่าจะถูกหรือผิด ในกรอบ นอกกรอบ มันก็คือการตอบโต้โดยธรรมชาติ ที่ส่งผลให้ฝ่ายตรงข้ามต้องยับยั้งชั่งใจ

นี่เป็นเรื่องลำบากใจสำหรับผู้นำการเคลื่อนไหวมวลชน ว่าในจุดหัวเลี้ยวหัวต่อแต่ละครั้ง จะกำหนดทิศทางการเคลื่อนไหวอย่างไร เพราะต้องรับผิดชอบทั้งจุดมุ่งหมาย ชีวิตคน ผลทางการเมือง และชัยชนะหรือความพ่ายแพ้

ถ้าเขาใช้อำนาจเถื่อนมาแล้วเราเถื่อนไป ใช้กำลัง ใช้อารมณ์ นอกจากสูญเสียชีวิตเลือดเนื้อแล้ว ชัยชนะที่ได้มาด้วยความรุนแรงยังไม่คุ้มกับความสูญเสีย แต่ถ้าเขาเถื่อนมา แล้วเรายังสู้ไปกราบไป นอกจากไม่ชนะแล้ว เขาก็คงไม่เอาเราไว้อยู่ดี จะยิ่งบดขยี้อีกต่างหาก

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์: อย่าทำให้การแก้รัฐธรรมนูญเป็นการล้มระบบจนไม่มีทางเลือกในการแก้ระบบจริงๆ

Posted: 12 Jul 2012 05:57 AM PDT

วิธีที่ศาลรัฐธรรมนูญตั้งประเด็นล้มการปกครองให้ทุกคนต้องตอบทำให้เรื่องนี้ถูกยกระดับเป็นผีหลอกหลอนการรื้อระบบที่ไม่เป็นประชาธิปไตยไปอีกนาน 

เป้าหมายจริงๆ ของเรื่องนี้ไม่ได้อยู่ที่พรรคเพื่อไทย เพราะพวกหัวเก่าในพรรคกลัวหลุดเก้าอี้จนไม่กล้าทำอะไรไปหมดแล้ว เป้าหมายจริงๆ ของเรื่องนี้คือคนเสื้อแดง คือการสร้างฉากแบบเดียวกับที่เคยสร้างตอนสลายการชุมนุมปี 53 สร้างฉากว่ามีขบวนการล้มระบอบซึ่งใหญ่โตและมีศักยภาพจะล้มระบอบได้จริงๆ 

การพิจารณาคดีของศาลยกระดับให้เรื่องนี้เป็นข้อเท็จจริงแบบนึงในสังคม

ประเด็นที่ซักฟอกในศาลคืออะไร? คือมีขบวนการล้มระบอบ คำถามที่ซํกฟอกสภาคืออะไร? คือทำอย่างไรให้การล้มรัฐธรรมนูญไม่นำไปสู่การล้มระบอบ คำตอบที่สภาตอบคืออะไร? คือพวกเราไม่มีทางล้มระบอบแน่ๆ ข้อเสนอของศาลคืออะไร? ประธานสภาไปหาทางให้ศาลมั่นใจว่าจะไม่มีการล้มระบอบ

คำถามและคำตอบในศาลทั้งหมดไม่เกี่ยวกับเรื่องกฎหมาย เป็นเรื่องการเมือง คำถามทั้งหมดในศาลยกการล้มระบอบให้เป็นหัวใจของการต่อสู้คดีครั้งนี้ คำตอบของฝ่ายสภาไม่เถียงเรื่องนี้ แต่ไปปกป้องตัวเองด้วยวิธีตอบว่าหนูไม่รู้หนูไม่เกี่ยว คำตอบแบบนี้ยอมรับสมมติฐานนี้จนตอกย้ำวาทกรรมนี้ให้มีน้ำหนักมากขึ้น 

โอกาสที่เสียไปของฝ่ายสภาในการสังคมฉุกคิดถึงความสมเหตุสมผลของศาลคือเรื่องที่ผิดพลาดที่สุดในการสู้คดีครั้งนี้ การบีบให้สังคมและฝ่ายถูกกล่าวต้องตอบในโจทย์ที่พวกเขากำหนดคือความสำเร็จที่สุดของฝ่ายจารีตนิยมในครั้งนี้จริงๆ

ที่วิตถารกว่านั้นคือหลักฐานที่ใช้ในการสร้างฉากรอบนี้ไม่มีอะไรเลยนอกจากบอกว่ามีคนอยากแตะองค์กรอิสระองค์กรนั้นองค์กรนี้ แล้วองค์กรอิสระเป็นระบอบของประเทศนี้ตั้งแต่เมื่อไร 

สิ่งที่เราเห็นกันอยู่ทุกวันนี้ไม่ใช่อะไรเลยนอกจากการกระเสือกกระสนให้สังคมเห็นว่าฝ่ายจารีตนิยมทั้งเก่าและใหม่ยังมีอิทธิฤทธิ์ในองค์กรของรัฐระดับบนสุดที่อำนาจจากการเลือกตั้งเข้าไปแตะต้องไม่ได้ คนพวกนี้หลอกคนทั้งสังคมมาเป็นสิบๆ ปีว่าคนส่วนใหญ่โง่ ไร้การศึกษา คิดเองไม่ได้ จนตอนนี้ตัวเองก็เชื่อไปด้วยว่าคนส่วนใหญ่เป็นแบบนั้นจริงๆ 

ยิ่งพวกท่านบอกว่าให้ฝ่ายที่มาจากประชาชนแก้รัฐธรรมนูญไม่ได้ ยิ่งพวกท่านบอกว่าไม่ไว้ใจกับการที่มีฝ่ายแก้รัฐธรรมนูญทียึดโยงกับประชาชนโดยตรง พวกท่านก็ยิ่งแสดงให้คนจำนวนหนึ่งเห็นว่าท่านไม่ไว้ใจประชาชน กลัวว่าโลกของท่านและสังคมของท่านจะล่มสลายไปกับระบบที่ประชาชนเลือกด้วยตัวเอง

วิธีการแบบนี้ลากเส้นแบ่งระหว่างพวกท่านกับประชาชนขึ้นมาเองก่อน รอยแยกเกิดจากพวกท่านตั้งแต่แรก ไม่ได้เกิดจากประชาชน

การดูถูกดูแคลนคนส่วนใหญ่ทีพวกท่านล้างสมองให้สังคมจนหลอนตัวเองมาเป็นปีๆ กลายเป็นเหตุของความกลัว ความหวาดระแวง ความขัดแย้ง และการเลือกใช้ความรุนแรงกับคนส่วนใหญ่ที่ยิ่งนานก็ยิ่งหนักข้อขึ้นเรื่อยๆ 

ถ้าไม่มีการหักดิบและเลิกพฤติกรรมแบบนี้อย่างเด็ดขาด สิ่งที่เราเห็นในปี 52 - 53 จะเป็นเพียงบทโหมโรงของการตอบโต้การกดทับที่พวกท่านผลักให้คนส่วนใหญ่ไม่มีทางเลือกมาเป็นปีๆ

ต้นทุนของเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องรัฐบาลหรือพรรคเพื่อไทย แต่คือการตีความรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยน้อยอยู่แล้วให้มีความเป็นประชาธิปไตยน้อยลงไปอีก  หลักที่เสียไปจากการต่อสู้ครั้งนี้มีอยู่สามเรื่อง

หลักแรกคือหลักเรื่องอำนาจสูงสุดและอำนาจในการจัดให้มีรัฐธรรมนูญอยู่ที่ใคร หลักนี้แตกประเด็นย่อยได้เป็นสองเรื่องนี้ต้องไปด้วยกันหรือไม่ แยกกันได้หรือไม่ ถ้าจะเปลี่ยน เปลี่ยนอย่างไร 

ฝ่ายหนึ่งบอกว่าอำนาจสูงสุดอยู่ที่ปวงชน อำนาจในการจัดทำรัฐธรรมนูญต้องยึดโยงกับอำนาจนี้ อีกฝ่ายบอกว่าไม่ได้อยู่ที่ปวงชนทั้งหมด อำนาจในการจัดทำรัฐธรรมนูญจึงต้องถูกออกแบบให้ล้อกับอำนาจที่ไม่ได้อยู่ที่ปวงชนด้วย

หลักที่สอง การถ่วงดุลและแบ่งแยกระหว่างสถาบันการเมืองเสียไป หลักนี้แตกประเด็นได้ว่าการถ่วงดุลเท่ากับการก้าวก่ายในกิจการของอีกฝ่ายหรือไม่ และในกรณีที่แต่ละสถาบันไม่เห็นด้วยกับการตัดสินใจของอีกสถาบันแล้วจะทำอย่างไร 

ส่วนหลักที่สามคือใครเป็นผู้พิทักษ์รัฐธรรมนูญ ความเป็นผู้พิทักษ์รัฐธรรมนูญขึ้นอยู่กับกฎหมายหรือขึ้นอยู่กับปัจจัยอะไร ศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้พิทักษ์รัฐธรรมนูญในเงื่อนไขไหน? บทบาทในการเป็นผู้พิทักษ์นี้เป็นไปอย่างสมบูรณ์หรืออยู่ภายใต้ข้อตกลงบางอย่างในสังคมการเมือง?

เรื่องที่ไม่น่าชอบใจที่สุดในการเถียงกันในระดับสาธารณะเรื่องนี้คือฝ่ายศาลและผู้ฟ้องทำเรื่องนี้ให้เป็นเรื่องกฎหมายล้วนๆ ราวกับศาลรัฐธรรมนูญและการตีความรัฐธรรมนูญเป็นเรื่องบริสุทธิ์ ไม่มีศาลรัฐธรรมนูญและการตีความรัฐธรรมนูญในกรณีไหนในสังคมใดบริสุทธิ์ล้วนๆ

ศาลรัฐธรรมนูญเป็นประดิษฐกรรมทางการเมือง เกิดมาในโลกไม่กี่สิบปีนี้ ของไทยก็เกิดขึ้นไม่กี่ปีนี้เอง บุคลากรตั้งเยอะมาจากศาลเด็กศาลอะไรที่ไม่ได้ชำนาญเรื่องรัฐธรรมนูญ ไม่ต้องพูดถึงเรื่องการตีความซึ่งในที่สุดถูกกำกับด้วยรสนิยม ความไม่รู้ อุดมการณ์ ความเชื่อ อำนาจ ผลประโยชน์ อคติ ฯลฯ ของผู้ตีความรัฐธรรมนูญตลอดเวลา

ถ้าผลักเรื่องนี้ไปจนถึงจุดที่อย่างไรก็แก้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ได้  รื้อโครงสร้างที่เป็นประชาธิปไตยไม่ได้ แตะสถาบันที่ไม่ยึดโยงกับประชาชนไม่ได้ ในที่สุดก็ไม่มีทางเลือกอื่นให้ฝ่ายต้องการแก้รัฐธรรมนูญนอกจากต้องใช้อำนาจใหม่เข้าไปเขียนรัฐธรรมนูญใหม่อย่างสิ้นเชิง

อะไรที่น่าตื่นเต้นที่สุดในการสู้คดีศาลรัฐธรรมนูญรอบนี้? คำตอบคือเราเห็นความพยายามของประชาชนและสถาบันอื่นๆ ที่ไม่ได้อยู่ในระบบศาล แต่พยายามตรวจสอบการทำงานและวิพากษ์วิจารณ์ศาล ความหวังของประชาธิปไตยอยู่ตรงการผลักดันให้การวิจารณ์แบบนี้เป็นการปฏิรูปศาลรัฐธรรมนูญได้อย่างไร ทำอย่างไรที่สังคมจะออกแบบให้สถาบันการเมืองอื่นมีบทบาทในการตีความรัฐธรรมนูญได้มากกว่าในปัจจุบัน

ในกรณีของศาลเอง ประสบการณ์ครั้งนี้น่าจะทำให้ได้บทเรียนว่ายุคสมัยที่ตุลาการจะเป็นผู้ผูกขาดตีความรัฐธรรมนูญตามอำเภอใจคงไม่มีอีกแล้ว ศาลกับการเมืองเป็นเรื่องแยกกันไม่ออก จะอยู่กับมันแบบยอมรับให้ได้ หรือจะปิดหูปิดตาตัวเองก็สุดแท้แต่จะพิจารณา

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไต่สวนการตาย 'พัน คำกอง' พ.ต.อ. คาดรถตู้น่าจะถูกยิงโดยทหาร

Posted: 12 Jul 2012 04:57 AM PDT

3 นายตำรวจจากสุโขทัยและกำแพงเพชร ยันทหารใช้ปืนลูกซองและปืนเล็กยาว เข้าใจว่าทหารน่าจะเป็นคนยิงรถตู้ เพื่อจะหยุดไม่ให้เข้ามาใกล้กองบัญชาการ

9.00 น. วานนี้(11 ก.ค.55)ที่ห้องพิจารณา 909 ศาลอาญา รัชดา  มีการไต่สวนการเสียชีวิตของนาย พัน คำกอง คนขับแท็กซี่ ชาว จ.ยโสธร ซึ่งถูกยิงบริเวณถนนราชปรารภ ใกล้แอร์พอร์ทลิงค์ ซึ่งเป็นจุดประจำการของทหาร เมื่อหลังเที่ยงคืนวันที่ 14 พ.ค.ต่อกับวันที่ 15 พ.ค.53 จากกรณีที่มีการยิงสกัดรถตู้ที่เข้ามาในพื้นที่ เป็นเหตุให้นอกจากนายพัน คำกอง  เสียชีวิตแล้ว ยังมี ด.ช.คุณากร ศรีสุวรรณ หรือน้องอีซา อายุ 12 ปี ถูกลูกหลงเสียชีวิต ส่วนคนขับรถตู้คันดังกล่าว คือนายสมร ไหมทอง ถูกยิงได้รับบาดเจ็บสาหัสด้วย โดยในวันนี้ได้มีการไต่สวนตำรวจ 3 นาย จาก สถานีตำรวจภูธรบ้านไร่ จังหวัดสุโขทัยและสถานีตำรวจภูธรขาณุวรลักษบุรี  จังหวัดกำแพงเพชร 

 

ประมาณ 16.00 น. ทหารได้ยึดพื้นที่หมดแล้ว

พ.ต.อ. สุขเกษม สุนทรวิภาต ผกก.สภ.บ้านไร่ อ.ศรีสำโรง จว.สุโขทัย ในฐานะผู้ควบคุมกองร้อยควบคุมฝูงชนตำรวจภูธรจังหวัดสุโขทัย โดยในวันเกิดเหตุคุมกองร้อยดังกล่าว 150 นาย บริเวณอยู่บริเวณใกล้ที่เกิดเหตุ ได้เบิกความว่าในวันที่ 14 พ.ค.53 เวลา 14.00 น. ทหารได้สั่งให้ตนนำกำลังมากั้นประชาชนที่อยู่ตรงแยกจตุรทิศ เนื่องจากเกรงว่าจะมีการปิดถนน โดยให้ตนไปเจรจาก่อน แต่พอประชาชนคุมไม่ได้ทหารได้นำรถน้ำจะมาฉีดประชาชน แต่กลับถูกปล่อยลมยาง ทหารจึงให้ตำรวจถอย เพราะจะขอคืนพื้นที่ โดยจะมีการใช้แก๊สน้ำตา และ พ.ต.อ. สุขเกษม สุนทรวิภาต ได้เบิกความต่อว่าหลังจากนั้นตำรวจจึงหลบไปตามซอย จนประมาณ 16.00 น. ตนได้รับโทรศัพท์ให้ตามกำลังกลับมา ซึ่งในขณะนั้นไม่มีประชาชนแล้ว ทหารได้ยึดพื้นที่หมดแล้ว โดยจะมีรั้วลวดหนามกั้นทั้งสี่ทิศของแยกจตุรทิศ และรถไม่สามารถสัญจรได้แล้วในขณะนั้น โดยทหารเป็นผู้ดำเนินการ

 

ตำรวจมีแต่ตัวเปล่า แม้แต่โล่หรือกระบองยังไม่มี

และหลังจากนั้น พ.ต.อ. สุขเกษม สุนทรวิภาต ได้เบิกความว่า ตนได้จัดกำลัง 40 นายอยู่แนวหลังของทหารใต้สะพานฝั่งไปซอยหมอเหล็ง ซึ่งเป็นถนนที่ขนานไปกับสะพาน ส่วนกำลังที่เหลือได้ไปพักที่ บริษัทโตโยต้าบริเวณใกล้เคียง 

อัยการได้สอบถามพ.ต.อ. สุขเกษม สุนทรวิภาต ว่ากำลังคน 40 นายอาวุธหรือไม่ ด้าน พ.ต.อ. สุขเกษม สุนทรวิภาต ตอบว่าไม่มี มีเพียงตัวเปล่า โดยไม่มีอาวุธประจำกาย แม้แต่โล่หรือกระบองยังไม่มี โดยทหารได้สั่งให้หน่วยของตนระวังหลังให้

 

ทหารขณะนั้นมีปืนลูกซองและปืนเล็กยาว 

ต่อจากนั้นอัยการได้ถามต่อว่าทหารขณะนั้นมีอาวุธปืนหรือไม่ พ.ต.อ. สุขเกษม สุนทรวิภาต ได้ตอบกลับว่า มีปืนลูกซองและปืนเล็กยาวไม่แน่ใจว่าเป็น M16 หรือเอชเค โดยลูกซองเป็นพลทหารถือ ส่วนปืนเล็กยาวเป็นนายสิบขึ้นไปถือ ซึ่งทหารประจำอยู่กับหนวยตน 1 ชุด และจะมีอยู่ตรงถนนราชปรารภทางไปประตูน้ำ, แอร์พอร์ทลิงค์และทางไปโรงพยาบาลพญาไท 1 

พ.ต.อ. สุขเกษม สุนทรวิภาต เบิกความถึงการปฏิบัติงานของหน่วยตนต่อว่า หลัง 2 ทุ่ม ประชาชนจะเข้าออกก็จะมีการสอบถาม และจะมีการตรวจค้นคนที่มีสัมภาระ โดยในช่วงหัวค่ำได้ยินเสียงปืนเสียงดังตลอดมาจากทางประตูน้ำ แต่ไม่ได้ออกไปดู

 

เข้าใจว่าทหารน่าจะเป็นคนยิง เพื่อจะหยุดไม่ให้รถแล่นเข้ามา

สำหรับช่วงเวลาเกิดเหตุ พ.ต.อ. สุขเกษม สุนทรวิภาต เบิกความว่า เป็นเวลาหลังเที่ยงคืน ได้ยินเสียงรถประกาศของทหารบอกรถตู้อย่าเข้ามาสักพักไม่กี่นาทีก็ได้ยินเสียงปืนดังขึ้นหลายนัด หลังจากเสียงสงบลงตนก็ได้มองดูเห็นรถตู้จอดอยู่ใกล้รถประกาศของทหาร สำหรับเสียงประกาศของรถประกาศนั้น พ.ต.อ. สุขเกษม สุนทรวิภาต เบิกความว่าจะได้ยินเสียงประกาศเตือนอยู่เรื่อยๆตั้งแต่หัวค่ำซึ่งจะถี่หน่อย เช่น มีคนข้าม หรือรถแท็กซี่เข้ามาก็จะมีการประกาศเตือน แต่พอดึงก็จะไม่ถี่ และในตอนประชุม 10 โมงเช้าตนได้เห็นรอยกระสุนปืนที่รถตู้หลายสิบรอย 

อัยการถามต่อว่าพอทราบเหตุการณ์ยิงรถตู้หรือไม่ พ.ต.อ. สุขเกษม สุนทรวิภาต ได้ตอบว่า “ผมเข้าใจว่าทหารน่าจะเป็นคนยิงเพื่อจะหยุดรถไม่ให้รถเข้ามา” โดย พ.ต.อ. สุขเกษม สุนทรวิภาต ได้อธิบายเพิ่มเติมว่า “เพราะว่ามันกำลังจะเข้ามาในจุดกองบัญชาการ ทหารน่าจะยิงเพื่อจะหยุดไม่ให้รถเข้ามา” หลังจากนั้นอัยการได้ถามถึงชายชุดดำว่าเคยเห็นหรือไม่และที่ประชุมขณะนั้นได้พูดถึงหรือไม่ พ.ต.อ. สุขเกษม สุนทรวิภาต ตอบว่า ไม่เคยเห็นและที่ประชุมไม่พูดถึง

 

รถหกล้อของตร.ที่ปรากฏในคลิปของเนชั่นเป็นรถของ ตร.กำแพงเพชร 

หลังจากนั้นได้มีการไต่สวน พ.ต.ท .วีรเมศว์ วีรสุธีกุล สวป.สภ.ขาณุวรลักษบุรี  จว.กำแพงเพชร ในฐานะผู้ควบคุมกองร้อยควบคุมฝูงชนตำรวจภูธรจังหวัดกำแพงเพชร และ ด.ต.ธีรพงษ์ เย็นใจราษฎร์ ผู้ขับรถหกล้อในการขนส่งกองร้อยนี้โดยในวันเกิดเหตุเป็นผู้ขับรถหกล้อสัมภาระ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ควบคุมฝูงชน เช่น โล่ กระบอง ของตำรวจจอดบริเวณใกล้เคียงกับสถานที่เกิดเหตุ ที่มีการยิงรถตู้ แต่ขณะเกิดเหตุ ด.ต.ธีรพงษ์ เย็นใจราษฎร์ ไม่ได้อยู่บริเวณดังกล่าวเนื่องอยู่กับกองร้อยควบคุมฝูงชนตำรวจภูธรจังหวัดกำแพงเพชรซึ่งได้ประจำการอยู่ที่หน้าโรงพยาบาลพญาไท 1 

ทั้งนี้รถหกล้อสัมภาระของตำรวจคันดังกล่าวที่ ด.ต.ธีรพงษ์ เย็นใจราษฎร์ เป็นผู้ขับ เป็นรถคันเดียวกับที่ปรากฏอยู่ในคลิปวิดีโอของนักข่าวเนชั่น (http://www.youtube.com/watch?v=JBCyoTDdJok)ที่ถ่ายเหตุการณ์ในที่เกิดเหตุ [เป็นคลิปเต็มที่ยังไม่ได้ตัดต่อดังที่นำมารายงานข่าว-ประชาไท ] ซึ่งในการไต่สวนทางอัยการก็ได้นำคลิปวีดีโอดังกล่าวมาให้ทั้ง พ.ต.ท .วีรเมศว์ วีรสุธีกุลและ ด.ต.ธีรพงษ์ เย็นใจราษฎร์ ได้ยืนยัน และทั้ง 2 นาย ยืนยันตรงกันว่าเป็นรถคันเดียวกัน 

โดยคลิปวีดีโอดังกล่าวมีความยาวประมาณ 10 กว่านาที ถ่ายหลังทหารที่ยืนหลบอยู่ข้างเสาไฟฟ้า ห่างจากรถตู้ประมาณ 50-100 เมตร มีเสียงปืนดังขึ้นเพื่อหยุดรถตู้ติดต่อกันเกือบ 20  นัด จนรถตู้หยุดสนิท ปิดไฟหน้า และมีทหารเข้าไปดู มีการนำคนเจ็บลงจากรถเพื่อปฐมพยาบาล และมีภาพการลำเลียงคนเจ็บอื่นๆ จากรถพยาบาลทหารขึ้นรถหน่วยกู้ชีพ และมีบางช่วงของคลิปที่เห็นรถหกล้อสัมภาระของตำรวจคันดังกล่าว

ด้าน พ.ต.ท .วีรเมศว์ วีรสุธีกุล ได้เบิกความอีกว่า เห็นทางทหารในพื้นที่ถือปืนยาว M16 และลูกซอง ไม่แน่ใจว่าเจ้าหน้าที่ทหารได้ถือโล่กับตะบอกหรือไม่ ส่วนตนมีปืนพก แต่ไม่ได้เอาออกมาใช้ เช่นเดียวกับ ด.ต.ธีรพงษ์ เย็นใจราษฎร์ ยืนยันว่าทหารมีปืนยาว และอัยการได้สอบถามว่าเป็นปืนชนิดอะไร ด.ต.ธีรพงษ์ เย็นใจราษฎร์ ตอบ เป็นปืนอะไรไม่ทราบ

ทั้งนี้ศาลได้นัดไต่สวนพยานปากต่อไปวันที่ 12 ก.ค.นี้ เวลา 09.00 น.


น้องอีซา อายุ 12 ปี ถูกลูกหลงให้เหตุการณ์เดียวกัน

เหตุการณ์เดียวกันนี้นอกจากนายพัน คำกอง ที่บาดแผลกระสุนปืนความเร็วสูงบริเวณต้นแขนทำให้เส้นเลือดแดงฉีกขาดจนทำให้เสียชีวิตแล้ว ยังมี ด.ช.คุณากร ศรีสุวรรณ หรือน้องอีซา อายุ 12 ปี ถูกลูกหลงกระสุนปืนความเร็วสูงบริเวณหลังเสียชีวิต ด้วย จากรายงานข่าวของ ธนานุช สงวนศักดิ์ ผู้สื่อข่าวเนชั่นทีวี ได้รายงานสดจากที่เกิดเหตุผ่านรายการเก็บตกเนชั่น (http://www.youtube.com/watch?v=JBCyoTDdJok)ว่า  มีการประกาศแล้ว มีการยิงด้วยกระสุนยางแล้ว แต่ว่าคุณสมร(คนขับรถตู้)ก็ยังขับมา ตนอยู่ตรงนั้นตรงที่เกิดเหตุจริงก็ฝ่าฝืนขับเข้ามาชนตรงรั้วลวดหนาม  ก็เลยมีการระดมยิงเข้าไป  คุณสมร  ไหมทอง  ก็เลยได้รับบาดเจ็บ  แต่นอกจากคุณสมรแล้ว ตรงนี้ยังมีเด็กอีก 1 คน ซึ่งไม่ทราบชื่อเสียชีวิตด้วย(ด.ช.คุณากร ศรีสุวรรณ) เพราะถูกลูกหลง เด็กคนนี้จะมานอนเล่นแถวบังเกอร์ของทหาร ช่วงแรกทหารก็มีการไล่ให้กลับไปบ้าน แต่ก็ไม่กลับ พอดีมีการระดมยิงเข้าไปเด็กคนนี้ก็เลยเสียชีวิตด้วย นอกจากเด็กคนนี้แล้วยังมี คุณพัน คำกอง เสียชีวิตด้วย

ทั้งนี้กรณีการเสียชีวิตของ ด.ช.คุณากร ศรีสุวรรณ ได้มีการสวนคำร้องชันสูตรพลิกศพเพื่อหาสาเหตุการเสียชีวิต เช่นกัน โดยเมื่อวันที่ 28 พ.ค. 55 ที่ผ่านมาศาลอาญา รัชดา ได้เลื่อนนัดการพิจารณาเป็นวันที่ 20 ก.ค. 29 ต.ค. และ 5 พ.ย. นี้  เนื่องจากพยานปากแรกๆ คือ พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด อดีตโฆษก ศอฉ.ติดภารกิจไม่สามารถมาศาลได้ ทั้งนี้ อัยการได้ยื่นบัญชีพยานทั้งหมดประมาณ 50 ปาก

 

แผนที่ที่เกิดเหตุ แอร์พอร์ทลิงค์ – แยกจตุรทิศ

 


ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น

 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง : 

ไต่สวนการตาย 'พัน คำกอง' พันโทยันเสียงกระสุนM16 -‘สรรเสริญ’ย้ำ 10 เมษา สั่งถอนทหาร 5 โมง 

ไต่สวนการตาย ‘ยิงรถตู้’ 53 ทหารจากลพบุรียันไม่ได้ยิง-ไม่มีแจกกระสุนจริง-ไม่รู้ใครยิง 

พยาน 3 ปากเบิกความคดีแท็กซี่เสื้อแดงโดนทหารยิง 15 พ.ค.53 

 

 

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

นักธุรกิจค้า 'GT 200' ถูกทางการอังกฤษดำเนินคดีแล้วด้วยข้อหา 'ฉ้อโกง'

Posted: 12 Jul 2012 03:56 AM PDT

จิม แมกคอร์มิก เจ้าของธุรกิจเครื่องมือตรวจดักระเบิด "ADE-651" หรือ "GT 200" ถูกอัยการอังกฤษสั่งฟ้องแล้วในข้อหาฉ้อโกง 6 กระทง โดยเครื่องมือดังกล่าวถูกจำหน่ายและใช้ในหลายประเทศ ทั้งในตะวันออกกลาง เม็กซิโก จีน และไทย ท่ามกลางข้อกังขาจากหลายภาคส่วน 

เมื่อวันที่ 11 ก.ค. 55 สำนักข่าวบีบีซีรายงานว่า จิม แมกคอร์มิค นักธุรกิจที่ค้าขายเครื่องมือตรวจจับระเบิด "ADE-651" ซึ่งเป็นประเภทเดียวกับอุปกรณ์ "GT-200" ถูกอัยการอังกฤษสั่งฟ้องแล้วในข้อหาฉ้อโกง จำนวน 6 กระทง หลังจากตำรวจทำการสืบสวนการค้าขายอุปกรณ์ดังกล่าวของนายแม็กคอร์มิค

ตำรวจเขตเอวอนและซอเมอร์เซ็ตของเมืองบริสตอล ประเทศอังกฤษ เผยว่า นายแม็กคอร์มิก จะถูกดำเนินคดีในข้อหาฉ้อโกง 6 กระทง จากการมีส่วนในการผลิตและจัดจำหน่ายอุปกรณ์ดังกล่าว ทั้งๆ ที่ทราบว่าอุปกรณ์ตรวจจับระเบิดดังกล่าวถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในการฉ้อโกง

ทั้งนี้ ในปี 2553 สำนักข่าวบีบีซีได้ทำการสอบสวนกรณีการใช้อุปกรณ์ ADE-651 และพบว่าเครื่องมือดังกล่าวไม่สามารถทำงานได้จริง ทำให้ต่อมา รัฐบาลอังกฤษได้สั่งห้ามการส่งออกอุปกรณ์ดังกล่าวไปยังประเทศอิรักและอัฟกานิสถาน 

มีรายงานว่า อุปกรณ์ดังกล่าวถูกจัดจำหน่ายและใช้มากในประเทศแถบตะวันออกกลาง โดยเฉพาะอิรัก ซึ่งรัฐบาลอิรักได้จัดซื้ออุปกรณ์ดังกล่าวเป็นมูลค่าราว 85 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 2,550 ล้านบาท) โดยซื้อที่ราคาสนนเครื่องละ 60,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1 ล้าน 8 แสนบาท) เช่นเดียวกับรัฐบาลเม็กซิโก นอกจากนี้ อุปกรณ์ ADE-651 ยังถูกใช้อย่างกว้างขวางในกองทัพเลบานอน จีน ไทย และรัฐบาลท้องถิ่นเคอร์ดิสถานในอิรักด้วย 

โดยนายแมกคอร์มิค จะได้รับการไต่สวนเป็นวันแรกที่ศาลชั้นต้นในกรุงลอนดอนวันพฤหัสนี้ 

 

ที่มา: แปลและเรียบเรียงจาก 'Bomb detector' maker Jim McCormick faces fraud charges
http://www.bbc.co.uk/news/uk-18795651 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ชาวไทใหญ่ - ผู้นำ SSA ร่วมรำลึก 21 ปีการจากไปของ "เจ้ากอนเจิง" อดีตผู้นำกู้ชาติ

Posted: 12 Jul 2012 03:55 AM PDT

ชาวไทใหญ่จากหลายกลุ่มองค์กรและเหล่าผู้นำ SSA ร่วมพิธีรำลึกครบรอบ 21 ปี การถึงแก่กรรม "เจ้ากอนเจิง" อดีตผู้นำกู้ชาติไทใหญ่ เจ้ายอดศึก ย้ำ ถึงเวลาชาวไทใหญ่รวมตัวกู้ชาติ

เมื่อวานนี้ (11 ก.ค.) ที่บ้านเปียงหลวง ต.เปียงหลวง อ.เวียงแหง จ.เชียงใหม่ ครอบครัวและอดีตกำลังพลของเจ้ากอนเจิง หรือ นายพลโมเฮง ได้จัดงานพิธีรำลึกการถึงแก่กรรมของ เจ้ากอนเจิง อดีตผู้นำไทใหญ่ ในโอกาสครบรอบ 21 ปี โดยมีชาวไทใหญ่จากหลายกลุ่มองค์กร รวมถึงเหล่าผู้นำในกองทัพรัฐฉาน SSA ตลอดจนตัวแทนหน่วยงานภาครัฐในพื้นที่ คณะครู นักเรียน เข้าร่วมในพิธีนับร้อยคน

เมื่อเวลา 9.00 น. มีพิธีกล่าวคำสดุดีและวางพวงมาลาหน้าสุสานของเจ้ากอนเจิง ตั้งอยู่บนสันเขาทิศเหนือของบ้านหลักแต่ง ใกล้กับวัดฟ้าเวียงอินทร์ ซึ่งเป็นเส้นเขตแดนระหว่างไทยกับพม่า (รัฐฉาน) จากนั้นเวลา 11.00 น. ได้มีพิธีทำบุญตามหลักพุทธศาสนา เพื่ออุทิศส่วนกุศลแด่เจ้ากอนเจิง ณ อดีตบ้านพักของเจ้ากอนเจิง อยู่ในชุมชนบ้านดอยเปียงหลวง

พล.ท.เจ้ายอดศึก ผู้นำกองทัพรัฐฉาน SSA ซึ่งเข้าร่วมในพิธีด้วย กล่าวระหว่างพิธีวางพวงมาลา ณ สุสานเจ้ากอนเจิง ว่า ตนเคยเป็นลูกน้องในตำแหน่งเจ้าหน้าที่สื่อสารอยู่ใกล้ชิดติดตามเจ้ากอนเจิง 4 ปี ตนได้รับคำสั่งสอนแนะนำอยู่เสมอ โดยเจ้ากอนเจิง บอกว่า เป็นคนต้องมีน้ำใจ ไม่มีน้ำใจเป็นผู้นำที่ดีไม่ได้ ไม่มีน้ำใจมีความสามารถมากสักเพียงใดก็ไม่ประโยชน์ มีน้ำใจไม่มีเงินทองก็อยู่มีสุขได้

พล.ท.เจ้ายอดศึก กล่าวด้วยว่า ปัจจุบันสถานการณ์บ้านเมืองและสถานการณ์โลกกำลังเปลี่ยนแปลง ฉะนั้นเป็นสิ่งสำคัญยิ่งที่ชาวไทใหญ่ควรยึดมั่นคำสอนเจ้ากอนเจิง ที่ว่า เม, ฮัก, พ่อม, จ้อย (เม : แก้ไข , ฮัก : รัก , พ่อม : พร้อม , จ้อย : ช่วย) ถึงเวลาที่เราชาวไทใหญ่จะต้องรักกัน พร้อมกัน ช่วยกัน และแก้ไขกัน งานเพื่อชาติใครอยู่ที่ไหนก็ทำได้ แต่งานกู้ประเทศชาตินั้นหากไม่รวมตัวกันจะไม่มีวันสำเร็จ

"การเลือกตั้งครั้งที่แล้วชาวรัฐฉานไปใช้สิทธิ์เพียง 2 ล้านคน จากจำนวนประชากร 8 - 9 ล้านคน การเลือกตั้งครั้งหน้าปี 2558 หากเราไม่ตื่นตัวสามัคคีกันเราจะแพ้ เราจะเสียโอกาสทางการเมือง หากเรามัวแต่พากันหนีออกนอกประเทศ เราจะไม่สามารถกู้ชาติแผ่นดินของเรากลับคืนมาได้ การกู้ชาติมี 3 แนวทาง คือ 1.ต่อสู้ด้วยการเมือง 2.ต่อสู้ด้วยการใช้อาวุธ 3.ต่อสู้ด้วยการใช้สื่อ" พล.ท. เจ้ายอดศึก กล่าว

สำหรับประวัติเจ้ากอนเจิง เกิดเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ.2469 ที่บ้านทะเนาะ ต.ลายสาก อ.หัวโปง จ.ตองยี ปี พ.ศ. 2485–2488 ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้เข้าร่วมกับทหารพลร่มฝ่ายอเมริกาต่อต้านกองกำลังญี่ปุ่น ปี พ.ศ.2502 สูญเสียแขนข้างซ้ายขณะทำการรบกับทหารพม่าบริเวณบ้านห้วยอ้อ อ.เมืองโต๋น ใกล้กับเมืองหาง (ที่ตั้งสถูปเดิมของสมเด็จพระนเรศวร) ขณะนั้นอยู่ในกองกำลังหนุ่มศึกหาญ ภายใต้การนำของเจ้าน้อย ซอหยั่นต๊ะ

ต่อมาในปี พ.ศ.2504 เป็นผู้นำในการก่อตั้งแนวร่วมสหชาติฉาน (SNUF) และปี พ.ศ.2507 ร่วมก่อตั้งกองทัพปลดปล่อยรัฐฉาน (SSIA) และต่อมาตั้งเป็นกองทัพรัฐฉาน (SSA) จากนั้นในปี พ.ศ.2511 เข้าพึ่งพระบรมโพธิสมภารในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สถาปนาบูรณะองค์พระธาตุมารชีนะเจดีย์และก่อสร้างวัดฟ้าเวียงอินทร์ ต.เปียงหลวง อ.เวียงแหง จ.เชียงใหม่

พ.ศ. 2512 เป็นผู้นำก่อตั้ง “กองทัพสหปฎิวัติฉาน” (SURA) ที่บ้านเปียงหลวง ปีพ.ศ.2525 ประกาศเรียกร้องความเป็นเอกภาพในรัฐฉาน ก่อตั้งกองทัพรัฐฉาน – ภาคใต้ (SSA–S) และก่อตั้งองค์กรเคลื่อนไหวทางการเมืองภายใต้ชื่อ “สภาปฎิวัติไตย” (Tai Revolution Council- TRC) ปีพ.ศ.2526 ประสบความสำเร็จในการเรียกร้องเอกภาพด้วยการเจรจากองกำลัง SUA ของ “ขุนส่า” หันมาเข้าร่วมรวมกลุ่มกัน

เจ้ากอนเจิง ถือเป็นผู้นำไทใหญ่ที่ต่อสู้กู้ชาติจากการรุกรานของทหารพม่าอย่างมีอุดมการณ์และอาจหาญ และเป็นศูนย์รวมจิตรใจของชาวไทใหญ่กระทั่งถึงแก่อสัญกรรมด้วยโรคมะเร็ง ณ หอปฏิบัติธรรมส่วนตัวบนวัดฟ้าเวียงอินทร์ ต.เปียงหลวง อ.เวียงแหง จ.เชียงใหม่ เมื่อวันที่ 11 ก.ค. 2534 สิริรวมอายุได้ 65 ปี

 
ชมภาพ / อ่านข่าวย้อนหลังได้ที่
http://www.khonkhurtai.org/


"คนเครือไท" เป็นศูนย์ข่าวภาคภาษาไทยเครือข่ายสำนักข่าวอิสระไทใหญ่ หรือ สำนักข่าวฉาน (SHAN – Shan Herald Agency for News) มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารจากเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในรัฐฉาน สหภาพพม่า ตลอดจนตามแนวชายแดนไทย ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับองค์กรการเมือง / การทหารกลุ่มใด สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ shan_th@cm.ksc.co.th หรือ ติดตามอ่านข่าวสารภาคภาษาอังกฤษได้ที่ www.shanland.org ภาคภาษาไทใหญ่ที่ www.mongloi.org และภาคภาษาไทยที่ www.khonkhurtai.org
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

การเจรจา “สันติภาพในอาเจะห์”

Posted: 12 Jul 2012 02:04 AM PDT

นูราฮานูดิน อุเซ็ง แปลและเรียบเรียงบทความจากหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ของฟินแลนด์ Suomen Kuvalehti โดยเป็นตอนแรกของชุด "ถอดบทเรียนสันติภาพในอาเจะห์จากหนังสือพิมพ์" ซึ่งนำเสนอกระบวนการสันติภาพในอาเจะห์ โดยเฉพาะการเจรจาระหว่างผู้นำรัฐบาลอินโดนีเซียและผู้นำขบวนการอาเจะห์เสรี (Free Aceh Movement หรือ GAM) ที่กรุงเฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์เมื่อปี 2548 โดยมีอดีตประธานาธิบดีชาวฟินแลนด์  มาร์ตติ อาห์ติสสารี เป็นผู้ไกล่เกลี่ย

ทั้งนี้ บทความในชุด "ถอดบทเรียนสันติภาพในอาเจ๊ะห์จากหนังสือพิมพ์" นำมาจากภาคผนวกหนังสือ Unseen the scenes behind the Aceh Peace Treaty ซึ่งมี Salim Shahab & E.E Siadari บรรณาธิการร่วม ที่รวบรวมบทความที่เคยตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์ต่างๆ เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งด้วยสันติวิธี

0000

การเจรจา  “สันติภาพในอาเจะห์ “  สิ้นสุดลงเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา จากนั้น มีปาร์ตี้เล็กๆที่ไม่เป็นทางการเกิดขึ้นที่เมืองLahti เป็นการเลี้ยงฉลองเพื่อเป็นการขอบคุณและเป็นการพบปะกับผู้มีส่วนสำคัญในการเจรจา

เสียงหัวเราะ ด้วยความปิติยินดี เล็ดรอดจากประตูบ้าน  มีแขกชาวอินโดนีเซีย  6 คน นั่งคุยกันในห้องรับแขกภายในบ้านของ ยูฮา คริสเต็นสัน ในเมือง ลาห์ตี อย่างมีความสุข ด้วยความยินดีและความสุข  พวกเขานั่งคุยกันอย่างไม่เป็นทางการ ในเรื่อง “การเจรจาสันติภาพในอาเจะห์”

“ยูฮา คริสเต็นสัน” กุญแจสำคัญในการสนทนาประกอบด้วย  คริสเต็นสัน, แกนนำนำขบวนการอาเจะห์เสรี 5 คน และฟาริด ฮูเซ็น ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการสวัสดิการประชาชน ร่วมคุยกันท่ามกลางบรรยากาศเย็นจัดของหิมะยามเช้าในเมืองลาห์ตี การพูดคุยมิใช่แค่เพียงเพื่อการเสริมสร้างความรู้จักสนิทสนมเท่านั้น แต่ยังเป็นการสร้างความผูกพัน สร้างความเชื่อถือต่อกันให้เพิ่มพูนยิ่งขึ้น มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ทัศนคติ  ด้วยกิจกรรมการใช้เวลาอยู่ร่วมกัน เล่นสกีด้วยกัน  เยี่ยมเยือนชมอาคาร เซบีลีอุส คอนเสริต และสุสาน

วันที่ 29 มกราคม 2548 ก่อนหน้านี้หนึ่งวัน การเจรจาสันติภาพทางกางเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในอาเจะห์ได้สิ้นสุดลง  โดยมี ฯพณฯ อดีตประธานาธิบดีชาวฟินแลนด์  มาร์ตติ อาห์ติสสารี เป็นผู้ไกล่เกลี่ย  จัดให้มีการแถลงข่าวในเมืองเฮลซิงกิ เพื่อชี้แจงกระบวนการ และเชิญผู้แทนการเจรจากลับมายังเฮลซิงกิอีกครั้งหนึ่งในอนาคต

คณะผู้แทนการเจรจารัฐบาลอินโดนีเซียเดินทางกลับจาการ์ต้าทันที่ของเย็นของวันเดียวกัน  คงมีแต่ฟาริด ฮูเซ็น, แกนนำขบวนการอาเจะห์เสรี ที่ยังอยู่ในประเทศฟินแลนด์  เขาทั้งหมดยังอยู่ที่เมือง ลาห์ตี เมืองเล็ก ๆทางตอนใต้ของประเทศฟินแลนด์  เพื่อฉลองความสำเร็จในการลงนามในสัญญาสันติภาพ  อย่างไรก็ตาม เขาย่อมรู้ดีว่า การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่มีความขัดแย้งยาวนานกว่า 30 ปี ยังคงต้องอาศัยเวลาและความพยายามสักระยะหนึ่ง 

กลุ่มขบวนการอาเจะห์เสรี ยังคงค้างใจ และมีหวาดระแวง ไม่ไว้ใจรัฐบาล นอกจากนี้ทั้งสองฝ่ายมีความเห็นตรงกันว่า  สภาพหลังจากเหตุการณ์สึนามิยังคงเป็นสิ่งที่น่าวิตกอยู่ จึงควรร่วมมือจากทั้งสองฝ่ายและร่วมกันทำแผนพัฒนากันต่อไป เพื่อคงไว้ซึ่งสันติภาพให้ยั้งยืน

อาห์ติสสารี ผู้ที่มีความเด็ดขาดแต่ยืดหยุ่น

“นับเป็นครั้งแรกที่เราได้เผชิญหน้ากันและพูดคุยกันโดยตรงต่อกัน นี่คือความสำคัญ  เรารู้สึกว่ารัฐบาลอินโดนีเซียปฎิบัติต่อเราอย่างโปร่งใส และอย่างฉันท์มิตร“ มาลิก มะฮฺมูด ผู้บัญชาการผู้นำขบวนการอาเจะห์เสรีกล่าวในสต๊อคโฮล์ม

“ในระยะแรกเริ่มของการเจรจา ผู้ไกล่เกลี่ย ท่านต้องเดินเข้าๆ ออกๆ จากห้องหนึ่งไปยังอีกห้องหนึ่ง คู่กรณีมีโอกาสพบกันในวันที่ลงนามเท่านั้น ผู้แทนขบวนการอาเจะห์เสรี ยอมรับว่า  “อาห์ติสสารี เป็นผู้ที่มีความเฉลียวฉลาดรอบคอบ มีความเด็ดขาด แต่ก็ยืดหยุ่น และให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย  และท่านเป็นผู้ที่มีความโปร่งใสและมีทักษะ และเป็นผู้ที่มีความเข้าใจในเรื่องต่างๆที่เราจะถกกัน”

“มาลิก มะฮฺมูด เรียกร้องให้มีการจัดลำดับความเร่งด่วนในการให้ความช่วยเหลือเยียวยาผู้เสียชีวิต และ

บาดเจ็บเป็นเหยื่อของแผ่นดินไหวและสึนามิ “เราขอแสดงความขอบคุณโลกที่ได้ส่งความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่ประชาชนของเรา  เราขอประกันและยืนยันที่จะช่วยชาวต่างชาติที่จะเข้ามาว่าจะไม่มีอุปสรรคใดๆ ในการปฎิบัติงานของเขา เราคาดหวังว่า ผู้ทำงานด้านการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม จะอยู่ในอาเจะห์ระยะหนึ่ง และการเข้ามาของพวกเขาจะเป็นการเสริมสร้างการแสวงหาสันติภาพในอาเจะห์”

ในสภาพทั่วไปแล้ว  สึนามิ มิใช่เหตุสำคัญที่สร้างความเสียหายแก่สมาชิกขบวนการอาเจะห์เสรีแต่ประการใด เพราะพวกเขาจะอาศัยอยู่ในที่ราบสูงบนเขาป่า อย่างไรก็ตาม พวกเขาก็สูญเสียญาติพี่น้องคนใกล้ชิดมากมาย  ประมาณการว่าในจำนวนนั้น มีสมาชิกขบวนการอาเจะห์เสรี  ที่เสียชีวิตในเรือนจำ จำนวนเรือนร้อย 

หลังเหตุการณ์สึนามิ  สมาชิกขบวนการอาเจะห์เสรี กล่าวว่า “เรารู้สึกเสียใจ และผิดหวังกับรัฐบาลที่ไม่ยอมตกลงที่จะให้มีการหยุดยิง รัฐบาลเร่งรุกการปฎิบัติการทางทหารในระหว่างการเจรจา เราต้องการให้มีการหยุดยิง เพื่อเป็นหลักประกันว่า การช่วยเหลือ จะเข้าถึงทุกพื้นที่ที่ประสบภัย”

เส้นทางสู่ความเป็นเอกภาพที่ยาวไกล

คู่กรณีทั้งสองฝ่ายมีความรู้สึกๆ ที่ไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกันเป็นเวลายาวนาน นุรดีน อับดุลเราะฮฺมาน ผู้แทนสมาชิกขบวนการอาเจะห์เสรีจากออสเตรเลีย เคยถูกคุมขังในเรือนจำเป็นเวลา 12 ปี ยังมีร่องรอยของการถูกทรมาณปรากฏบนร่างของเขา  สถานการณ์เวลานี้ เพียงแค่เจ้าหน้าที่สงสัยผู้หนึ่งผู้ใดว่าเป็นสมาชิกขบวนการอาเจะห์เสรีเท่านั้น เขาก็อาจเป็นเหตุทำให้เขาถูกจับกุม และถูกคุมขังได้ตลอดเวลา

ฝ่ายสมาชิกขบวนการอาเจะห์เสรี ยังร้องกล่าวหาว่า ฝ่ายรัฐบาลไม่มีความซื่อสัตย์ต่อข้อตกลงที่ผ่านการเจรจามาแล้วในอดีต “ เราได้ทำการเจรจากับฝ่ายรัฐบาล และได้มีการลงนามในสัญญาแล้ว แต่กองทัพยังคงเปิดยุทธการสงคราม เราจึงสงสัยว่าและอยากรู้ว่าเราจะต้องทำการตกลงกับใครกันแน่”

ในระหว่างตอนต้นของการเจรจา ในปี 2546  กองทัพได้ทำการสกัดจับรถยนต์ของสมาชิกขบวนการอาเจะห์เสรี ระหว่างการเดินทางไปสนามบินของคณะผู้แทนการเจรจาของขบวนการอาเจะห์เสรี เพื่อไปประชุมเจรจาที่ประเทศญี่ปุ่น เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ทำการตรวจค้น ควบคุมตัวและจับกุมสมาชิกขบวนการอาเจะห์เสรี ณ จุดตรวจ ทั้งๆ ที่ในรถยนต์คันดังกล่าวมีผู้ไกล่เกลี่ยชาวสวิสเซอร์แลนด์ร่วมเดินทางอยู่ด้วย

เมื่อการเจรจาครั้งสุดท้ายก่อนหน้านี้ประสบความล้มเหลว  คณะผู้แทนการเจรจาถูกตัดสินจำคุกคนละ 14 ปี จำนวนนั้นอีก 4 คนยังคงถูกจำคุกอยู่และมีหญิงสูงอายุวัย 57 ปีผู้ประสานงานการเจรจาเสียชีวิตในห้องขังระหว่างเหตุการณ์คลื่นยักษ์สึนามิ

“การรื้อฟื้นความเชื่อถือเป็นเรื่องสำคัญ แต่ต้องอาศัยเวลา และความพยายาม  เพราะนี้ไม่ใช่ความขัดแย้งที่สามารถแก้ไขได้ภายในระยะเวลาวันสองวันได้” มาลิก มะฮฺมูด กล่าว

“วันนี้ อินโดนีเซีย มีรัฐบาลใหม่แล้ว  และเราตระหนักถึงความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีกว่า และเรารู้ว่ารัฐบาลอินโดนีเซียมีความมุ่งมั่นที่จะแก้ไขปัญหาความขัดแย้งภายในประเทศ เราได้รับข่าวสารถึงความขัดแย้งในการแก่ไขปัญหา บางคนบางฝ่ายต้องการให้มีการหยุดยิง และอีกฝ่ายต้องการให้มีการเสริมกำลังทหารในอาเจะห์ให้มากขึ้น”

เดือนตุลาคม  ฯพณฯ สุศิโล บัมบัง ยุทธโยโน ประธานาธิปดีคนใหม่ หรือ Mr SBY, ฯพณฯ ยูซุฟ กัลลา รองประธานาธิบดีหรือ MR.JK และคณะรัฐมนตรี มีความริเริ่มนโยบายแก้ไขปัญหาในอาเจ๊ะห์ห์ด้วยสันติวิธี 

เผชิญปัญหาความยุ่งยากในยุคการปกครองตนเอง

รัฐบาลอินโดนีเซีย เสนอรูปแบบการปกครองตนเองพิเศษแบบกว้างๆ เป็นพื้นฐานในการเจรจา มาลิก มะฮฺมูด จึงขอเวลาในการพิจารณาในเรื่องนี้ “เราได้มีการนำเอารูปแบบการปกครองตนเองพิเศษมาใช้ในอาเจะห์แล้วนับตั้งแต่ปี 2503 แต่การปกครองตนเองพิเศษไร้ความหมาย  หากไม่มีการลงมือดำเนินการอย่างจริงจัง  การปกครองตนเองพิเศษในวันนี้ เป็นแค่เพียงเสียงคำกลวงเท่านั้น รัฐบาลกลางจาการ์ต้า ยังคงเป็นผู้แต่งตั้งผู้นำอยู่”

มาลิก มะฮฺมูดกล่าวว่า ประชาชนชาวอาเจะห์จะต้องกำหนดรูปแบบการปกครองตนเองพิเศษ ที่มีความเหมาะสมที่สุด “เรามั่นใจว่า ประชาธิปไตยเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด”

ปัจจุบันกฎหมายของรัฐ กำหนดว่า  ร้อยละ 70  ของภาษีที่ได้มาจากทรัพยากรในอาเจะห์ โดยเฉพาะภาษีที่ได้จากน้ำมัน และแก๊สธรรมชาติ จะต้องคงอยู่ในจังหวัดอาเจะห์ ขบวนการอาเจะห์เสรี เรียกร้องสิ่งนี้เพื่อให้ได้เพียงจำนวนเปอร์เซ็นต์เล็กน้อยจากภาษีในสิ่งเหล่านี้ เพราะการคอรัปชั่นได้ฝังลึกในสังคมอินโดนีเซียมาช้านานแล้ว

รัฐบาลอินโดนีเซียพยายามแสวงหาข้อยุติในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งดังกล่าว แต่ขบวนการอาเจะห์เสรี เสนอแนวทางที่ค่อยๆ ดำเนินการ  “ปัญหาที่กดดันที่สุดสำหรับเราคือ ความขัดแย้งด้านอาวุธ ดังนั้น ขั้นแรกที่จะเจรจาคือ การหยุดยิงเป็นเบื้องต้น  จากนั้นเราก็จะได้พบปะพูดคุยกันเกี่ยวกับนโยบาย การเมือง  เมื่อชุมชนเกิดสันติภาพ  เราจึงจะค่อยถอยกลับและพิจารณาเกี่ยวกับความต้องการที่แท้จริง นี้เป็นสิ่งที่เราต้องการสถาปนาความเชื่อใจกันต่อกันด้วย”

"รัฐบาลอาจจะสั่งการให้มีการหยุดการปฎิบัติการทางทหารได้ทันที“ มาลิก มะฮฺมูด ย้ำ “เราจึงสนับสนุนการหยุดยิงชั่วคราว แต่เราไม่ประสงค์ที่จะบีบบังคับผู้ใด  เราได้มองไปข้างหน้าและมีความระมัดระวังรอบคอบมากกว่าก่อน”

เอ็ม นุร ดจูลี แกนนำซึ่งบินตรงจากประเทศมาเลเซีย เพื่อมาร่วมประชุมเจรจาพูดถึงการดำเนินการของขบวนการอาเจะห์เสรี ที่เกี่ยวกับการตัดสินใจร่วมกันว่า  เรามีตัวแทนอยู่ทั่วทุกมุมโลก และแกนนำของเราที่อยู่ในสต๊อคโฮล์ม จะประชุมหารือกับพวกเราก่อนตัดสินใจใดๆ  และกระบวนการตัดสินใจจะถูกส่งทอดไปยังชุมชนชาวอาเจะห์ ผู้นำฝ่ายพลเรือน และฝ่ายทหาร จะต้องปรึกษาหารือซึ่งกันและกันเป็นลำดับแรก

เรายังคงรอคอยการติดต่อผ่านมือถือ นี้คือการปฏิวัติ SMS ครั้งแรกของโลก ขอขอบคุณ โนเกีย “เอ็ม นุร ดจูลี หัวเราะ

การหยุดยิงอย่างเดียวยังไม่พอ

ผู้ช่วยรัฐมนตรี ฟาริด ฮูเซ็น หนึ่งในคณะผู้แทนการเจรจารัฐบาลอินโดนีเซีย กล่าวถึงความพยายามในการติดต่อกับขบวนการอาเจะห์เสรีครั้งแรกในปี 2546 และสิ้นสุดหลังจากได้มีการเดินทางไกล และการพบปะกับ ยูฮ่า คริสเต็นสัน โดยบังเอิญ วันนี้ ฟารีด ฮูเซ็น กำลังประชุมกับผู้นำขบวนการอาเจะห์เสรี เป็นครั้งแรกใน เฮลซิงกิ “เราต้องการให้มีการพูดคุยโดยตรงกับขบวนการอาเจะห์เสรี เพราะเรารู้ดีว่า การติดสินใจทั้งหมดอยู่ที่ สต๊อคโฮล์ม”

ในการเจรจา รัฐบาลมีจุดยืนจะไม่เจรจาเกี่ยวกับการแยกประเทศเป็นอิสระและจะไม่มีในวาระการประชุมเจรจาอย่างเด็ดขาด สาธารณรัฐอินโดนีเซียจะพูดคุยในเรื่องของการปกครองตนเองพิเศษอย่างกว้างๆ และการแก้ไขกรณีข้อขัดแย้ง “จะไม่มีรายละเอียดที่เป็นมติ ไม่มีการตกลงเรื่องการประกาศการหยุดยิงใดๆ” ฟาริด ฮูเซ็น กล่าว 

ฟาริด เห็นว่า การประกาศการหยุดยิงในเบื้องต้นนั้นไม่มีทางสำเร็จ เพราะเกรงกันว่า ขบวนการอาเจะห์เสรี จะถือโอกาสในการระดมกองกำลังใหม่ขึ้นและและเสริมสร้างความแข็งแกร่งแก่กองกำลังกำลังขึ้นมาใหม่ มากกว่าที่จะทำงานบนพื้นฐานในการเสริมสร้างสันติภาพ

หลังจากมีการประกาศหยุดยิง ขบวนการอาเจะห์เสรีก็ยังคงมีขุมคลังอาวุธและกองกำลังที่จะคืนกลับสู่สภาพเดิม    “หากขบวนการอาเจะห์เสรียังคงติดอาวุธอยู่ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนทั่วไปในพื้นที่ ก็ไม่อาจประกันได้  กฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมอาวุธ การครอบครองอาวุธส่วนบุคคลยังคงไม่อนุญาต และเราควรยึดถือและเคารพกฎหมายนี้ต่อไป”

ฟาริด ฮูเซ็น ยังกล่าวว่า หากสมาชิกขบวนการอาเจะห์เสรี หลีกเลี่ยงการติดต่อกับคนงานในการให้ความช่วยเหลือ และกิจกรรมของกองกำลังกองทัพ ก็จะไม่มีความขัดแย้ง ความขัดแย้งจะเกิดขึ้นต่อเมื่อคู่กรณีต่างฝ่ายมาเผชิญหน้ากันเท่านั้น

ข้อตกลงใหม่

รัฐบาลใหม่ของประเทศอินโดนีเซีย มีผู้นำใหม่ที่เป็นผู้ที่มีความพยายามในการแสวงหาการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในอาเจะห์ นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่ท่านประธานาธิบดี ที่เป็นผู้ที่ได้รับเลือกตั้งจากประชาชนโดยตรง และนับว่าเป็นความก้าวหน้าที่สำคัญยิ่งยวด” ฟาริด กล่าวย้ำ

ฟาริด กล่าวว่า ประชาธิปไตยกำลังเบ่งบานในประเทศอินโดนีเซีย ปัญหาการคอรัปชั่น ถูกจัดการและคลี่คลาย แม้ในอาเจะห์ อดีตผู้นำบางคนกำลังถูกสอบสวน

ฟาริด ฮูเซ็น พยายามที่จะสร้างความเชื่อมั่นกับขบวนการอาเจะห์เสรี ด้วยการเข้าถึงรัฐบาลใหม่ “อะไรที่เคยเกิดขึ้นในอดีต ควรละวางเสีย  วันนี้ประเทศอินโดนีเซียก็เหมือนประเทศอื่นๆในโลกแล้ว วันนี้เรามีรัฐบาลพลเรือน หากผู้นำกองทัพปฏิเสธ ต่อต้านหรือขัดขวางการวินิจฉัยสั่งการจากรัฐบาล มาตรการการบังคับใช้ตามกฎหมายจะถูกนำมาใช้บังคับทันที จะมีผู้ใดอีกหรือที่เราจะเชื่อมั่นไปกว่า ฯพณฯ ประธานาธิบดี และรองประธานาธิบดี ท่านเป็นผู้ที่มีอำนาจสูงสุดในการวินิจฉัยสั่งการของประเทศอินโดนีเซีย และท่านเป็นผู้มีอำนาจในการกำกับดูแล และควบคุมกระบวนการขั้นตอนต่างๆที่เรากำลังดำเนินการอยู่”

ชี้ให้เห็นผลประโยชน์ที่พึงจะได้รับ

ฟาริด ฮูเซ็น  เป็นศัลยแพทย์คนหนึ่ง ที่มักจะเดินทางไปเยือนอาเจะห์เสมอๆ นับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์ คลื่นยักษ์ สึนามิ เขาเป็นผู้รับผิดชอบในการประสานงานโครงการเยียวยาการช่วยเหลือด้านสาธารณสุขของรัฐบาล ต่อพื้นที่ความขัดแย้งที่มีผลกระทบต่อการปกครองตนเองในอาเจะห์ เขาย้ำว่า “ ผมเชื่อมั่นว่า เมื่อความขัดแย้งสิ้นสุดลง อาเจะห์ก็จะได้รับประโยชน์จากภาษีที่ได้จากทรัพยากรธรรมชาติ นำไปใช้ในการพัฒนาการจัดการพัฒนาการด้านการศึกษา, การบริการด้านสาธารณะสุข การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ก็จะได้รับการจัดสำดับความสำคัญในอาเจะห์  เราเรียกร้องให้ขบวนการอาเจะห์เสรีมาร่วมกันเป็นผู้พัฒนาจังหวัดอาเจะห์ร่วมกัน"

เมื่อการสัมภาษณ์สิ้นสุดลง เสียงโทรศัพท์มือถือของฟาริด ฮูเซ็นดังขึ้น นั้นเป็นเสียงเรียกจากท่านรองประธานาธิบดี ยูซุฟ กัลลา ที่คอยติดตามผลความคืบหน้าประจำวัน และฟาริด ฮูเซ็นจะทำหน้าที่รายงานอย่างละเอียด

จากกลางวันสู่กลางคืน ผู้นำขบวนการอาเจ๊ะห์เสรี มุ่งหน้าสู่สต๊อคโฮล์ม  ฟาริด ฮูเซ็น และ ยูฮา คริสเต็นสัน มุ่งหน้าสู่โรงภาพยนตร์ 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์: ฝากคู่มือการทูตฉบับใหม่ให้ไปต้มกิน

Posted: 11 Jul 2012 11:47 PM PDT

อคติและเหตุผลส่วนตัวกลายมาเป็นเครื่องมือสำคัญในการทำลายคู่แข่งทางการเมืองอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด สะท้อนให้เห็นจากกรณีที่นายสมเกียรติ อ่อนวิมลและนายประสงค์ สุ่นสิริ ได้ออกมาโจมตีรัฐบาล โดยเฉพาะนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่ได้ตอบรับคำเชิญของนางฮิลลารี คลินตัน รัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐฯ เพื่อให้เดินทางไปกัมพูชาและเข้าร่วมในการหารือทวิภาคีร่วมกัน โดยทั้งนายสมเกียรติและนายประสงค์มองว่า เป็นพฤติกรรมที่ผิดมารยาททางการทูต ให้อภัยไม่ได้ และทำให้ประเทศไทยต้องเสียภาพลักษณ์ในสายตาระหว่างประเทศ

ไม่น่าเชื่อว่า คำกล่าวหาเหล่านี้จะออกมาจากปากของบุคคลที่เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีต่างประเทศ (มายาวนาน – นานเกินไปด้วยซ้ำ) และจากปากของคนที่อ้างว่าเป็นอาจารย์ทางด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

ผมไม่ขอวิจารณ์ในรายละเอียดสิ่งที่ทั้งสองท่านได้ออกมาโจมตีคุณยิ่งลักษณ์ แต่ขอใช้พื้นที่ตรงนี้ อธิบายหลักปฏิบัติทางการทูตเพื่อสร้างความกระจ่าง ในฐานะที่ผมเองเคยดำรงตำแหน่งข้าราชการการทูต กระทรวงการต่างประเทศมาถึง 16 ปี เพื่อให้นักศึกษาที่สนใจเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและสาธารณชนทั่วไปได้เข้าใจในสถานการณ์ที่เกิดดีมากขึ้น และมองเหตุการณ์อย่างที่ควรจะเป็น ที่ไม่ถูกบดบังด้วยอคติหรือความเกลียดชังส่วนตัว

หลักพิธีการการทูต หรือ protocol มาจากภาษากรีก มีความหมายว่า “the first glue” น่าจะแปลได้ว่า เป็นกลวิธีที่ใช้ในการเชื่อมความสัมพันธ์กับต่างประเทศให้มีความแนบแน่น หลักปฏิบัติทางการด้านทูตมีความเปลี่ยนแปลงมาตลอด ไม่เคยหยุดนิ่ง เพื่อก้าวให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลงของโลก โดยเฉพาะการปฏิวัติทางด้านการสื่อสาร ตัวอย่างง่ายๆ ก็คือ ในปัจจุบัน การเขียนจดหมายเชิญระหว่างผู้นำสองประเทศอาจจะเป็นเรื่อง “เชย” ไปแล้วด้วยซ้ำ ผู้นำระหว่างประเทศสื่อสารโดยตรงเพียงแค่ยกหูโทรศัพท์ถึงกัน ก้าวข้ามผ่านกฏระเบียบที่จุกจิกและกินเวลา สมัยก่อน การทรวงต่างประเทศของไทยส่งข้อมูลถึงสถานเอกอัครราชทูตในต่างประเทศผ่านระบบโทรเลข ต่อมาพัฒนาเป็นการส่งด้วยแฟกซ์ และในปัจจุบัน ก็ส่งด้วยไปรษณีย์อิเล็กทรกนิกส์เป็นหลัก ชี้ให้เห็นถึงการปรับเปลี่ยนตัวเองของกระบวนการทางการทูตตลอดเวลา

กลับมาถึงประเด็นในเรื่องการออกหนังสือเชิญผู้นำต่างประเทศ จริงอยู่ แม้จะมีกฏเกณฑ์ที่ได้กำหนดถึงระดับและความเหมาะสมของหนังสือเชิญ โดยเฉพาะผู้ส่งสารและผู้รับสารควรจะเป็นบุคคลที่ดำรงอยู่ในตำแหน่งเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน แต่กฏเกณฑ์นี้ไม่มีการกำหนดตายตัว มีการแปลี่ยนแปลงและปรับตัวให้เข้ากับสภาพการณ์ของแต่ละประเทศ ทั้งนายสมเกียรติและนายประสงค์ควรจะเข้าใจว่า สถานะของแต่ละประเทศในประชาคมโลกไม่มีความเท่าเทียมกัน (แม้ระบบขององค์การสหประชาชาติจะถูกสร้างขึ้นเพื่อให้เกิดความเท่าเทียมของประเทศสมาชิก แต่ในความเป็นจริง ประเทศเล็กๆ ยังขาดอำนาจการต่อรองต่อประเทศมหาอำนาจ)

แต่ประเทศเล็กได้รับประโยชน์จากการมีปฏิสัมพันธ์กับประเทศใหญ่ แม้ว่าในบางครั้ง อาจจะต้องยอมเสียภาพลักษณ์และความภาคภูมิใจในชาติไปบ้าง สยามยอมส่งส่วยให้จักรพรรดิจีน เพื่อได้ผลประโยชน์ทางการการค้าตอบแทน ถ้าคิดแบบโบราณ อาจจะดูเป็นการเสียความภาคภูมิใจทางการทูต แต่ความเป็นจริงอยู่ที่ ประเทศเล็กมักมีตัวเลือกทางด้านนโยบายน้อยและจำกัด ทำเท่าที่จะทำได้ การที่รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ เชิญนายกยิ่งลักษณ์นั้น ในมุมมองของการทูตสมัยใหม่ โดยเฉพาะหากมองจากสภาพภูมิรัฐศาสตร์ของโลกในปัจุบันที่มีสหรัฐฯ เป็นประเทศมหาอำนาจ (ที่แท้จริง) ประเทศเดียว (แม้จะมีประเทศมหาอำนาจเกิดใหม่ อย่างจีนและอินเดีย แต่สหรัฐฯ ก็เป็น hegemon ในระบบโลกหลายขั้วในขณะนี้) ถือว่าเป็นเรื่องปกติ นางฮิลลาลีมีหนังสือขอพบประธานาธิบดีฮามิด คาร์ไซ ของอัฟกานิสถานหลายครั้ง ครั้งล่าสุด ได้พบปะกันที่กรุงโตเกียวด้วยซ้ำ ตำแหน่งรัฐมนตรีของสหรัฐฯ เป็นตำแหน่งพิเศษ ชื่อภาษาอังกฤษคือ Secretary of State หรือหากแปลตรงตัวคือ “เลขานุการของรัฐ (รัฐบาล)” และเป็นผู้ที่มีบทบาทโดยตรงในการกำหนดนโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯ ในบริบทของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไม่ว่าประเทศในภูมิภาคนี้จะเกลียดสหรัฐฯ เพียงใด แต่การได้พบปะกับรัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐฯ ถือเป็นเรื่องสำคัญของผู้นำประเทศ ประธานาธิบดียูโดโยโนของอินโดนีเซียให้การรับรองนางฮิลลารีหลายครั้ง ไม่เห็นต้องมีข้อจำกัดว่า จะต้องเป็นระดับรัฐมนตรีต่างประเทศด้วยกันเท่านั้นจึงจะเป็นเรื่องที่ถูกตามทำนองคลองธรรมทางการทูตเท่านั้น

ฉะนั้น ข้ออ้างของนายสมเกียรติที่ว่า หากมีการเชิญไปเยือนต่างประเทศเป็นทางการ จะต้องเป็นการเชิญโดยผู้ดำรงตำแหน่งระดับเดียวกัน หรือระดับที่สูงกว่าผู้ที่ถูกเชิญ และต้องเป็นการเชิญไปเยือนประเทศของผู้เชิญ และจะไปพบในประเทศที่สาม (กัมพูชา) ไม่ได้นั้น เพราะเป็นเรื่องที่รับไม่ได้ “ตลก” (คำของนายสมเกียรติ) ทำให้เสื่อมเสียเกียรติของชาติ เสียหายต่อเกียรติภูมิของประเทศ ทำให้ไทยด้อยศักดิ์ศรีตามไปด้วย ประชาชนชาวไทยต้องรู้สึกถึงความเสียเกียรติในการนี้ด้วยเช่นกัน – ผมถือว่าเป็นคำกล่าวอ้างที่เต็มไปด้วยความมีอคติ บิดเบือนจากสภาพความเป็นจริงของโลกการทูตในปัจจุบัน หรือพูดง่ายๆ ครับ คุณสมเกียรติพยายาม “bullshitting”

ในปี 2540 ขณะที่นายกรัฐมนตรีโทนี่ แบลร์ เพิ่งขึ้นรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และได้เดินทางไปพักผ่อนในฝรั่งเศส ก็ได้ขอพบนายไลเนล จอสแปง นายกรัฐมนตรีของฝรั่งเศส แทนที่จะขอพบประธานาธิบดีฌาค ชีรัค (ซึ่งอยู่ในตำแหน่งที่เท่ากัน) เรื่องนี้ทำให้ชาวฝรั่งเศสเสียหน้าหรือไม่? นี่ยังไม่รวมนับอีกหลายกรณีที่ผู้เชิญมีตำแหน่งที่ต่ำกว่าออกหนังสือเชิญผู้ที่อยู่ในตำแหน่งที่สูงกว่า อาทิ การเชิญของผู้ว่ามณฑลกวางโจวต่อนายกรัฐมนตรีลีเซียนลุงของสิงคโปร์ให้ไปเยือน หรือกรณีที่นางฮิลลารีเชิญนายกรัฐมนตรีแคนาดาในการหารือร่วมที่เม็กซิโก ฯลฯ

ผู้นำมณฑลต่างๆ ของจีนเคยมีหนังสือเชิญพระบรมวงศานุวงศ์ของไทยไปเยือนจีน อย่างนี้ผิดหลักการทูตหรือไม่? ยังมีคำถามอื่นๆ อีกมากที่ไม่อาจหาคำตอบได้จากสมุดคู่มือทางการทูตปกติ อาทิ ทำไมผู้นำบางประเทศยินยอมเชิญดาไล ลามะ (ซึ่งถูกมองว่าเป็นผู้นำที่ขาดความชอบธรรมของจีน) ให้ไปเยือนประเทศตน ทั้งๆ ที่ถือว่าอาจส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ที่มีต่อจีนด้วยซ้ำ

ในความสัมพันธ์ที่ไทยมีกับต่างประเทศนั้น อาจกล่าวได้ว่า ความสัมพันธ์กับสหรัฐฯ มาเป็นอันดับหนึ่ง ด้วยการที่ไทยเป็นพันธมิตรทางการทหารของสหรัฐฯ และไทยก็มีความร่วมมือที่แน่นแฟ้นกับสหรัฐฯ ตลอดช่วงสงครามเย็น และการที่นางฮิลลารีเชิญนายกยิ่งลักษณ์ให้ไปหารือร่วมในกัมพูชาสามารถอธิบายได้หลายเหตุผล เหตุผลพื้นๆ ก็คือ ขณะนี้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังอยู่ในฤดูการประชุมอาเซียนโดยมีกัมพูชาเป็นเจ้าภาพ การจัดเวทีการหารือทวิภาคีจึงเป็นการต่อยอดจากการประชุมต่างๆ ที่จะมีขึ้นในกัมพูชาอยู่แล้ว การขอพบนายกยิ่งลักษณ์จึงเป็นเหตุผลทั้งในแง่ของความสัมพันธ์ทวิภาคีและพหุภาคี ในแง่พหุภาคี สหรัฐฯ อาจต้องการช่วยส่งเสริมบทบาทของไทยในอาเซียน สหรัฐฯ อาจมีความสนใจในการแก้ไขปัญหาไทย-กัมพูชา จึงเป็นโอกาสอันดีที่จะเชิญผู้นำไทยเดินทางไปยังกรุงพนมเปญ นอกจากนี้ ปีนี้จะเป็นปีสำคัญที่สหรัฐฯ จะให้ร่วมลงนามให้การสนับสนุนการจัดตั้งเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในอาเซียน ซึ่งในความเป็นจริง ความร่วมมือนี้ได้มีการจัดตั้งมานานพอสมควรแต่ยังไม่ได้รับการรับรองจากประเทศมหาอำนาจนิวเคลียร์อย่างสหรัฐฯ และไทยก็เป็นหัวหอกสำคัญในการล็อบบี้ให้สหรัฐฯ ร่วมลงนาม การร่วมหารือกับระหว่างนายกยิ่งลักษณ์และนางฮิลลารีมีประเด็นสำคัญเหล่านี้ ซึ่งเป็นประโยชน์ของไทยโดยตรง ในด้านความสัมพันธ์ทวิภาคี ผมมีความเชื่อว่า สหรัฐฯ กำลังมีการปรับเปลี่ยนนโยบายใหม่ที่มีต่อไทย ที่ผ่านมา การมองการเมืองไทยยังเป็นแบบเก่า แบบที่สหรัฐฯ ลงทุนอย่างมากในสถาบันกษัตริย์โดยมองข้ามพัฒนาการทางด้านประชาธิปไตยที่เกิดจากกลุ่มรากหญ้า ชัยชนะของยิ่งลักษณ์มาจากกลุ่มคนเหล่านี้ สหรัฐฯ มีความปรารถนาที่จะเข้าถึงความเป็นจริงทางการเมืองแบบใหม่ของไทย การพบปะกันครั้งนี้จึงมีประโยชน์โดยรวมในแง่ของพัฒนาการทางการเมืองของไทย

แต่ทั้งนี้ รัฐบาลหลายชุดๆ ก่อนหน้านี้ รวมถึงกระทรวงการต่างประเทศในยุคเก่า มีความดัดจริตสูง มองการต่างประเทศจากมุมมองของการเป็นมหาอำนาจ ทั้งๆ ที่ไทยเองขาดสมรรถภาพในหลายๆ ด้าน ทั้งในด้านความมั่นคงทางการเมืองและความเข้มแข็งทางการทหาร ไทยไม่ใช่จีน ที่สามารถต่อรองกับสหรัฐฯ ได้ เพราะตัวเลือกในการดำเนินนโยบายต่างประเทศเรามีน้อย

ท้ายที่สุด หากทั้งนายสมเกียรติและประสงค์อยากจะหาตัวบุคคลที่ทำลายความงดงามทางการทูตของไทย จนเป็นเหตุที่นำไปสู่สงครามกับประเทศเพื่อนบ้าน สองท่านนี้น่าจะมีเวลาว่างในการวิจารณ์กรณีที่นายกษิต ภิรมณ์ อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศที่ออกมาด่าทอผู้นำกัมพูชา เช่น เรียกว่าเป็น คนบ้า เป็นกุ๊ย เป็นเจ้าพ่อของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ต่างหากที่ทำลายศักดิ์ศรีความเป็นชาติ

อย่าเลือกปฏิบัติซิครับ

ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์
12 กรกฎาคม 2555

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น