โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันพุธที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2560

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

ตัวแทน ปชช. 6 จังหวัด ร้องรัฐเร่งแก้มลพิษ หลังผลวิจัยชี้โลหะหนักปนเปื้อนสูงหลายพื้นที่

Posted: 28 Jun 2017 10:58 AM PDT

ตัวแทนประชาชน 6 จังหวัด ประมาณ 30 คน ยื่นหนังสือต่อรัฐบาลพร้อมนำเสนอผลวิจัยโลหะหนักในตะกอนดิน เรียกร้องมาตรการควบคุมมลพิษเร่งด่วน เผยเดือดร้อนหนักปัญหาไม่คลี่คลาย หน่วยงานท้องถิ่นไม่ขยับ

28 มิ.ย. 2560 รายงานข่าวระบุว่า ที่ศูนย์ปฏิบัติการนายกรัฐมนตรี  ตัวแทนมูลนิธิบูรณะนิเวศ (EARTH) พร้อมด้วยตัวแทนประชาชนจาก 6 จังหวัด ประมาณ 30 คน ได้เดินทางเข้ายื่นหนังสือและนำเสนอผลการศึกษาการปนเปื้อนของสารโลหะหนักในตะกอนดินของแหล่งน้ำผิวดินใกล้พื้นที่อุตสาหกรรมใน 8 จังหวัด รวมทั้งเรียกร้องต่อรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ให้ดำเนินมาตรการอย่างเร่งด่วนในการควบคุมมลพิษและลดการปล่อยมลพิษสู่สิ่งแวดล้อม เพื่อลดความเสี่ยงทางสุขภาพและสิ่งแวดล้อมของประชาชน  จากกรณีที่มูลนิธิบูรณะนิเวศได้เปิดเผยผลการศึกษาการปนเปื้อนของสารโลหะหนักในตะกอนดินของแหล่งน้ำผิวดินใกล้พื้นที่อุตสาหกรรมใน 8 จังหวัดของประเทศไทย ไปก่อนหน้านี้  โดยมีตัวแทนรัฐบาล ตัวแทนจากกระทรวงอุตสาหกรรม และตัวแทนจากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ออกมารับหนังสือและรับฟังการนำเสนอ

โดยเมื่อเวลาประมาณ 11.00 น. วันนี้ (28 มิ.ย.60) มูลนิธิบูรณะนิเวศ (EARTH) พร้อมด้วยตัวแทนประชาชนจากจังหวัดเลย สระบุรี ขอนแก่น ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา และระยอง ประมาณ 30 คน ได้นำเสนอเปิดเผยผลการศึกษาการปนเปื้อนของสารโลหะหนักในตะกอนดินของแหล่งน้ำผิวดินใกล้พื้นที่อุตสาหกรรมใน 8 จังหวัดของประเทศไทย ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง มูลนิธิบูรณะนิเวศกับผู้เชี่ยวชาญจากสมาคมอาร์นิกาและมหาวิทยาลัยเคมีและเทคโนโลยีแห่งกรุงปราก สาธารณรัฐเชก

ทั้งนี้ ผลการศึกษาแต่ละพื้นที่ใน 8 จังหวัด พบสารโลหะหนักหลายสารสูงเกิน "เกณฑ์คุณภาพตะกอนดินในแหล่งน้ำผิวดินเพื่อคุ้มครองสัตว์หน้าดิน"  ตาม (ร่าง) ประกาศกรมควบคุมมลพิษ เรื่องเกณฑ์คุณภาพตะกอนดินในแหล่งน้ำจืด  และในจำนวนนี้ มี 4 จังหวัดที่มีค่าโลหะหนักหลายอย่างสูงในระดับที่รัฐควรมีมาตรการจัดการโดยด่วน  จึงได้เรียกร้องเร่งด่วนต่อรัฐบาลจำนวน 5 ข้อได้แก่

1. พื้นที่ในเขตพัฒนาอุตสาหกรรมที่มีการสะสมของสารโลหะหนักในปริมาณสูง จำนวน 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดระยอง เลย ปราจีนบุรี และสมุทรสาคร ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินมาตรการอย่างเร่งด่วนเพื่อควบคุมมลพิษและลดการปล่อยมลพิษสู่สิ่งแวดล้อมให้ได้ อันจะช่วยลดความเสี่ยงทางสุขภาพและสิ่งแวดล้อมของประชาชนที่อาศัยอยู่ ตลอดจนขอให้มีการสำรวจเชิงระบาดวิทยาเกี่ยวกับผลกระทบของมลพิษต่อประชาชน โดยเฉพาะต่อเด็กและสตรี และมีโครงการเฝ้าระวังความเสี่ยงด้านสุขภาพอย่างต่อเนื่อง

2. พื้นที่ที่มีการสะสมของสารโลหะหนักในอีก 4 จังหวัดที่เหลือ ได้แก่ จังหวัดสมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา สระบุรี และขอนแก่น ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำการศึกษาคุณภาพของสิ่งแวดล้อมเพิ่มเติม เช่น การศึกษาสารโลหะหนักในตะกอนดิน คุณภาพอากาศ และสารมลพิษอื่นๆ ที่อาจปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม รวมถึงควรจะมีการประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพของประชาชนด้วย เพื่อกำหนดแนวทางการป้องกันปัญหาไม่ให้มีความรุนแรงมากขึ้นในอนาคต

3. สำหรับพื้นที่ที่รัฐบาลมีนโยบายขยายอุตสาหกรรมเพิ่มเติม อาทิเช่น จังหวัดระยอง ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา สระบุรี และขอนแก่น  ขอให้รัฐบาลดำเนินการศึกษาศักยภาพของพื้นที่ในการรองรับมลพิษก่อนดำเนินการขยายพื้นที่อุตสาหกรรม รวมถึงความเหมาะสมของรูปแบบเศรษฐกิจที่จะส่งเสริมเพื่อให้สอดคล้องกับการใช้ประโยชน์ที่ดินและสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่

4. ขอให้มีการปฏิรูประบบการจัดการมลพิษอุตสาหกรรมของประเทศ เพื่อให้สามารถควบคุมและจัดการปัญหามลพิษอุตสาหกรรมได้จริงจังและมีประสิทธิภาพมากขึ้นตั้งแต่ต้นทางของปัญหา โดยการพิจารณานำหลักการสำคัญๆ มาใช้ในการปฏิรูป อาทิเช่น หลักป้องกันปัญหาตั้งแต่เริ่มต้น หลักการมีส่วนร่วมของประชาชน หลักความรับผิดชอบของผู้ก่อมลพิษ และหลักธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการปฏิรูปในประเด็นต่อไปนี้

-          การปรับปรุงระบบการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) และการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA)

-          การตรากฎหมายใหม่ว่าด้วยทำเนียบการปลดปล่อยและเคลื่อนย้ายสารมลพิษในสิ่งแวดล้อม (PRTR) ซึ่งประเทศที่มีความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมได้ใช้กฎหมายนี้ไม่น้อยกว่า 50 ประเทศทั่วโลก และสามารถแก้ปัญหามลพิษได้สำเร็จในหลายประเทศ

-          การช่วยเหลือประชาชนผู้ได้รับผลกระทบเมื่อจำเป็นต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม

-          การจัดทำแนวกันชนและแนวป้องกันด้านสิ่งแวดล้อมภายในขอบเขตรั้วของโรงงาน นิคมอุตสาหกรรม เขตประกอบการอุตสาหกรรม หรือสวนอุตสาหกรรม เพื่อเป็นแนวกันชนหรือแนวป้องกันระหว่างโรงงานอุตสาหกรรมและชุมชน และ/หรือระหว่างโรงงานอุตสาหกรรมกับพื้นที่ที่มีความอ่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อม 

-     การปรับปรุงและการแยกอำนาจหน้าที่ออกจากหน่วยงานเดียวกันระหว่างอำนาจในการกำกับดูแลด้านมลพิษและสิ่งแวดล้อม กับอำนาจในการอนุมัติให้จัดตั้งโรงงานอุตสาหกรรม

5. สำหรับพื้นที่ที่ประชาชนได้มีการร้องเรียนให้หน่วยงานราชการแก้ปัญหา โดยปัญหายังคงดำรงอยู่ ขอให้มีการตั้งคณะกรรมการจากฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และประชาชนผู้ร้องเรียน ขึ้นมาสำรวจและแก้ปัญหาร่วมกัน ทั้งนี้เพื่อลดความขัดแย้งและเป็นการสร้างความร่วมมือของทุกฝ่ายในการคุ้มครองสุขภาพ การรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ควบคู่กับการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ทั้ง 8 จังหวัด

โดยปัจจุบันชุมชนหลายแห่งต้องประสบความเดือดร้อนจากมลพิษอุตสาหกรรม และมีความวิตกอย่างมากถึงความปลอดภัยของสภาพแวดล้อมต่อสุขภาพ โดยเฉพาะแหล่งน้ำต่างๆ ที่จะต้องใช้ในชีวิตประจำวัน ว่าตะมีการปนเปื้อนสารอันตรายหรือไม่ มากน้อยเพียงใด เป็นอันตรายต่อสุขภาพในระดัลใด โดยต้องการมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่ชัดเจนจากภาครัฐ

นอกจากนี้ ตัวแทนประชาชนที่มาร่วมนำเสนอยังได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับความเดือดร้อนในพื้นที่ต่างๆ  อาทิ  

- ตัวแทนประชาชนจากพื้นที่ จ.ปราจีนบุรี ได้ให้ข้อมูลว่า หน่วยงานราชการในท้องถิ่นบางแห่งขาดความเข้มงวดในการปฏิบัติงาน ซึ่งเห็นว่าจนเป็นปัจจัยสำคัญที่ซ้ำเติมให้สถานการณ์ปัญหามลพิษในพื้นที่มีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น 

- ตัวแทนประชาชนจากพื้นที่ อ.บ้านแลง จ.ระยอง ได้ให้ข้อมูลว่า นอกจากปัญหามลพิษแล้ว ในพื้นที่ของตนยังประสบปัญหาการรุกพื้นที่สาธารณะ โดย บ.ไออาร์พีซี (บริษัทไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน)) ได้นำพื้นที่รวมทั้งสาธารณะประมาณ 200 ไร่ ไปใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรม 

- ตัวแทนประชาชนจากพื้นที่เหมืองแร่ทองคำ จ.เลย ได้ให้ข้อมูลว่า แม้ปัจจุปันจะมีการปิดเหมือง แต่สถานการณ์ความขัดแย้งในพื้นที่ยังคงอยู่ ประชาชนที่ต่อสู้เรียกร้องเพื่อปกป้องชุมชนของตนยังคงถูกดำเนินคดีอีกกว่า 30 คดี

- ตัวแทนประชาชนจากพื้นที่ อ.แปลงยาว จ.ฉะเชิงเทรา ได้ให้ข้อมูลและร้องเรียนถึงปัญหากลิ่นเหม็นจากโรงงาน แม้ที่ผ่านมาหน่วยงานราชการจะมีการลงพื้นที่ตรวจสอบ แต่ปัญหาก็ยังคงอยู่ เป็นต้น

ด้านตัวแทนรัฐบาลและตัวแทนหน่วยงานราชการที่มาร่วมรับฟังการนำเสนอ ได้ระบุว่า ปัญหาและข้อมูลทั้งหมดที่ถูกนำเสนอในวันนี้ จะถูกส่งไปยัง 3 กระทรวง ได้แก่ กระทรวงอุตสาหกรรม จากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกระทรวงสาธารณสุข  พร้อมทั้งได้ให้คำมั่นว่า ปัญหาทั้งหมดจะได้รับการดำเนินการแก้ไข ไม่ถูกละเลย เพียงแต่บางปัญหาอาจจะสามารถดำเนินการได้ในทันที ขณะที่บางปัญหาต้องใช้เวลาในการดำเนินการ

อนึ่ง การศึกษาการปนเปื้อนของสารโลหะหนักในตะกอนดินของแหล่งน้ำผิวดินใกล้พื้นที่อุตสาหกรรมใน 8 จังหวัดดังกล่าว  เป็นความร่วมมือทางวิชาการระหว่างมูลนิธิบูรณะนิเวศ สมาคมอาร์นิก้า และมหาวิทยาลัยเคมีและเทคโนโลยีแห่งกรุงปราก สาธารณรัฐเชก  ภายใต้โครงการวิทยาศาสตร์ภาคพลเมืองในการเฝ้าระวังมลพิษอุตสาหกรรมเพื่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม โดยการสนับสนุนทุนจากสหภาพยุโรป (EU) โดยได้ดำเนินโครงการศึกษาการปนเปื้อนสารโลหะหนักในตะกอนดินของแหล่งน้ำผิวดินบริเวณพื้นที่พัฒนาอุตสาหกรรม 8 จังหวัดของประเทศไทย ได้แก่ จังหวัดเลย ขอนแก่น สระบุรี สมุทรสาคร สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี และระยอง เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2559  โดยมีการศึกษาตัวอย่างตะกอนดินทั้งหมด 95 ตัวอย่าง แบ่งตามประเภทของการเก็บตัวอย่าง ได้แก่ ตะกอนดินในแหล่งน้ำผิวดิน 93 ตัวอย่าง และตะกอนดินชายฝั่งทะเล 2 ตัวอย่าง  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับและขอบเขตการปนเปื้อนของสารโลหะหนักสำคัญๆ ได้แก่ สารหนู (As) ปรอท (Hg) สังกะสี (Zn) แคดเมียม (Cd) ทองแดง (Cu) นิกเกิล (Ni) โครเมียม (Cr) และตะกั่ว (Pb) ที่สะสมอยู่ในตะกอนดินของแหล่งน้ำผิวดินในเขตพัฒนาอุตสาหกรรม และเพื่อประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพของประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีการปนเปื้อนของสารเหล่านี้ 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

Police Watch แนะตั้งผู้มีความรู้ยุติธรรมอาญาระดับสากลเป็น ประธาน กก.ปฏิรูปตำรวจ

Posted: 28 Jun 2017 10:38 AM PDT

เครือข่ายประชาชนปฏิรูปตำรวจ ออกแถลงการณ์ เรียกร้องตั้งผู้มีความรู้และความเข้าใจปัญหากระบวนการยุติธรรมทางอาญาในระดับสากลเป็นประธานคณะกรรมการปฏิรูปตำรวจ 

28 มิ.ย. 2560 เครือข่ายประชาชนปฏิรูปตำรวจ (Police Watch) ออกแถลงการณ์ เรื่อง ขอให้พิจารณาแต่งตั้งผู้มีความรู้และความเข้าใจปัญหากระบวนการ ยุติธรรมทางอาญาในระดับสากลเป็นประธานคณะกรรมการปฏิรูปตำรวจ โดยระบุว่า ตามที่ พล.อ.ประยุทธ์  จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติและนายกรัฐมนตรีได้ให้สัมภาษณ์หลังประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันอังคารที่ผ่านมาว่า เรื่องการปฏิรูปตำรวจกำลังอยู่ระหว่างเร่งดำเนินการ  ทั้งในส่วนของรัฐบาลเองโดยให้รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายกฎหมายรับผิดชอบ  รวมทั้งการแต่งตั้งบุคคลเป็นคณะกรรมการปฏิรูปตำรวจตามรัฐธรรมนูญมาตรา 260 ซึ่งยังไม่สามารถแถลงให้ประชาชนทราบได้ในขณะนี้ เนื่องจากยังไม่ชัดเจนนั้น

เครือข่ายประชาชนปฏิรูปตำรวจ เห็นว่า ปัญหาตำรวจที่สำคัญซึ่งประชาชนได้รับความเดือดร้อนอย่างรุนแรงมาอย่างต่อเนื่องยาวนานก็คือ ความยุติธรรมในการสอบสวนคดีอาญา อันเนื่องมาจากขาดการตรวจสอบจากพนักงานอัยการระหว่างสอบสวน ไม่สอดคล้องกับหลักการในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาสากล   ก่อให้เกิดปัญหาพนักงานสอบสวนถูกผู้บังคับบัญชาตำรวจสั่งไม่ให้รับคำร้องทุกข์จากประชาชนเพื่อลดสถิติคดี  หรือให้แจ้งข้อหาแก่บุคคลโดยไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่ากระทำผิดเพื่อปิดคดี หรือการสอบสวนที่ไม่มีประสิทธิภาพในการหาตัวผู้กระทำผิดเสนอให้อัยการสั่งงดสอบสวน  หรือแม้กระทั่งการสอบสวนทำลายพยานหลักฐานเพื่อเสนอให้พนักงานอัยการสั่งไม่ฟ้อง  หรือเมื่อสั่งฟ้องแล้วในที่สุดศาลพิพากษายกฟ้อง รวมทั้งกรณีที่มีผู้ต้องขังร้องเรียนว่าศาลได้พิพากษาลงโทษตนทั้งที่เป็นผู้บริสุทธิ์ หรือ ตกเป็น "แพะรับบาป" และพยายามรวบรวมหลักฐานนำไปเสนอศาลให้รื้อฟื้นคดีขึ้นมาพิจารณาใหม่นับร้อยราย  ไม่ว่าจะเป็นกรณีคดี ครูจอมทรัพย์  คดีสองสามีภรรยาเก็บเห็ด เป็นต้น
 
ปัญหาการสอบสวนที่ไม่ได้เป็นไปด้วยความสุจริตและมีประสิทธิภาพอย่างแท้จริงดังกล่าวได้ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของประชาชนต่อกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของประเทศและสั่นคลอนความมั่นคงของชาติอย่างร้ายแรง การปฏิรูปตำรวจครั้งนี้หากประสบความสำเร็จจะจุดเปลี่ยนสำคัญในการแก้ไขปัญหาของบ้านเมือง แต่หากล้มเหลวจะทำให้สังคมไทยติดหล่มไปอีกนาน ซึ่งคุณสมบัติของประธานกรรมการปฏิรูปตำรวจ จะเป็นตัวบ่งชี้ถึงทิศทางการปฏิรูปว่าจะสำเร็จหรือล้มเหลว
 
เครือข่ายประชาชนปฏิรูปตำรวจ  (Police Watch) จึงขอเรียกร้องมายังท่านนายกรัฐมนตรีได้โปรดพิจารณาว่า  ในการคัดเลือกและแต่งตั้งบุคคลผู้จะเป็นประธานคณะกรรมการปฏิรูปตำรวจตามรัฐธรรมนูญมาตรา 260 นี้  นอกจากจะต้องเป็นผู้มีความซื่อสัตย์ สุจริต  ไม่มีประวัติด่างพร้อย  และมีความกล้าหาญทางจริยธรรมเป็นที่ประจักษ์แล้ว  คุณสมบัติสำคัญที่สุดก็คือ  จะต้องเป็นมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการของกระบวนการยุติธรรมทางอาญาในระดับสากลเป็นที่เชื่อถือยอมรับของผู้คนทั้งนักวิชาการและประชาชนทั่วไปทุกระดับด้วย    รวมทั้งขอเน้นให้ดำเนินการปฏิรูปตำรวจและระบบงานสอบสวนดังนี้
 
1. โอนหน่วยตำรวจที่มีกระทรวงทบวงกรมต่างๆ เป็นเจ้าพนักงานตามกฏหมาย 9 หน่วยไปรับผิดชอบตามมติ สปช.และผ่านความเห็นชอบตามมติครม.แล้วเมื่อวันที่ 30 ก.ย. 2558 
 
2. ให้พนักงานอัยการมีอำนาจตรวจสอบควบคุมการสอบสวนคดีอาญาสำคัญหรือคดีที่มีโทษจำคุกเกินสิบปี หรือเมื่อมีประชาชนร้องเรียนตั้งแต่เริ่มคดี
 
3. การออกหมายเรียกบุคคลมาแจ้งข้อหาหรือเสนอศาลออกหมายจับให้เสนอพนักงานอัยการให้ความเห็นชอบก่อนดำเนินการ
 
4. ปรับระบบงานสอบสวนและพนักงานสอบสวนออกจากโครงสร้างองค์กรแบบมีชั้นยศแบบทหารที่ไม่สอดคล้องกับลักษณะงาน  กำหนดหลักประกันความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่และการใช้ดุลยพินิจทางคดีของพนักงานสอบสวนให้เป็นไปตามพยานหลักฐานและกฎหมายในลักษณะเดียวกับพนักงานอัยการ
 
สุดท้ายนี้ เครือข่ายประชาชนปฏิรูปตำรวจหวังว่าข้อเสนอ ทั้งการคัดเลือกบุคคลผู้จะแต่งตั้งให้เป็นประธานคณะกรรมการ   รวมทั้งแนวทางปฏิรูปตำรวจและระบบงานสอบสวนตามข้อ 1 –  4 จะได้รับการพิจาณาจากท่านและเร่งดำเนินการให้เกิดผลเป็นรูปธรรมเพื่อลดความเดือดร้อนของประชาชนจากปัญหาตำรวจและกระบวนการยุติธรรมทางอาญาที่ไม่เป็นธรรมโดยเร็ว 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไทยยังอยู่เทียร์ 2 ประยุทธ์ ยังไม่พอใจอยากให้ดีขึ้น ยันที่ผ่านมา รบ.ปราบค้ามนุษย์เต็มที่

Posted: 28 Jun 2017 10:05 AM PDT

ไทยยังอยู่ เทียร์ 2 เฝ้าระวัง ประยุทธ์ ยังไม่พอใจ อยากให้ดีขึ้น ระบุที่ผ่านมารัฐบาลทำงานเต็มที่ ในการปราบปรามการค้ามนุษย์ กต.ยัน 11 ข้อท้วงติง เป็นสิ่งที่ไทยแก้ไขอยู่  กระทรวงแรงงาน ย้ำ พ.ร.ก.การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว ใหม่ ลดปัญหาการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน

28 มิ.ย. 2560 เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) รายงานว่า เมื่อวันที่ 27 มิ.ย. ที่ผ่านมา เวลา 10.30 น. (เวลาท้องถิ่นกรุงวอชิงตัน) กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกาได้เผยแพร่รายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ ประจำปี ค.ศ. 2017 ในปีนี้ ประเทศไทยได้รับการจัดสถานะให้อยู่ใน Tier 2 Watch List เช่นเดียวกับปี 2559

รัฐบาลไทยยืนยันความมุ่งมั่นที่จะดำเนินการต่อต้านการค้ามนุษย์อย่างจริงจังต่อไป รวมทั้งจะร่วมมือกับฝ่ายต่าง ๆ ที่ให้ความสนใจกับการแก้ไขปัญหาอย่างแท้จริงและสร้างสรรค์ เพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพการทำงานในเรื่องดังกล่าวให้เกิดผลสำเร็จที่สมบูรณ์ขึ้น ทั้งนี้ การดำเนินการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของรัฐบาลไทยมิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อตอบสนองต่อการประเมินใด ๆ แต่เป็นไปเพื่อปกป้องคุ้มครองชาวไทยและชาวต่างชาติในไทย ซึ่งเสมอกันด้วยศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และธำรงไว้ซึ่งหลักการด้านมนุษยธรรมที่ไทยยึดถือตลอดมา
 
เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ ระบุอีกว่า อนึ่ง การที่สหรัฐอเมริกาคงสถานะประเทศไทยที่ Tier 2 Watch List ไม่สะท้อนและไม่สอดคล้องต่อความพยายามอย่างมีนัยสำคัญ รวมทั้งความคืบหน้าที่เป็นรูปธรรมในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ที่ทางการไทยได้สร้างขึ้นในปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นการปรับปรุงกฎหมายและกฎระเบียบ การดำเนินคดีผู้กระทำผิดและเจ้าหน้าที่ผู้ทุจริต การป้องกันผู้ที่อาจตกเป็นเหยื่อ การคุ้มครองเหยื่อและพยาน และการสร้างความร่วมมือกับภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งในและนอกประเทศ

ประยุทธ์ ยังไม่พอใจ อยากให้ดีขึ้น

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ ถึงรายงานการค้ามนุษย์ (TIP Report) ดังกล่าวด้วยว่า แม้ที่ผ่านมารัฐบาลจะทำงานอย่างเต็มที่ ในการปราบปรามการค้ามนุษย์ แต่ในเมื่อได้อันดับเท่าเดิม ก็เป็นสิ่งที่ต้องพัฒนาต่อไป โดยเฉพาะการปฎิบัติของเจ้าหน้าที่เรื่องคดีความ ที่จะต้องติดตามผู้ประกอบการและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง มาดำเนินคดีอย่างเด็ดขาด  รวมถึง การปรับปรุงกฎหมายและกฎระเบียบ ป้องกันผู้ที่อาจตกเป็นเหยื่อ คุ้มครองเหยื่อและพยาน และการสร้างความร่วมมือกับทุกภาคส่วนทั้งในและนอกประเทศ

"วันนี้ ถือว่าดีขึ้นจากในอดีตที่ไม่ได้ทำอะไรเลย  เพราะลำดับตอนนี้ไม่ได้แย่ลงจากเดิม เป้าหมาย เราก็ต้องทำให้ดีขึ้น เพราะตอนนี้ผมและรัฐบาลก็ยังไม่พอใจ อยากให้ดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว

กต.ยัน 11 ข้อท้วงติง เป็นสิ่งที่ไทยแก้ไขอยู่  

ขณะที่ บุษฎี สันติพิทักษ์ อธิบดีกรมสารนิเทศ และโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวถึงกรณีนี้อีกว่า ว่า ที่ผ่านมาพล.อ.ประยุทธ์ มอบนโยบายเรื่องการแก้ปัญหาค้ามนุษย์ให้เป็นวาระแห่งชาติ ซึ่งทุกหน่วยงานแก้ปัญหานี้อย่างจริงจังทุกมิติ  ยืนยันว่ารัฐบาลยังคงมุ่งมั่นแก้ปัญหานี้ต่อไปด้วยความร่วมมือที่ดีจากทุกฝ่าย

ส่วนข้อท้วงติงของสหรัฐที่ให้ไทยปรับปรุงแก้ไขทั้ง 11 ข้อ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า ทั้ง 11 ข้อเป็นสิ่งที่ไทยแก้ไขอยู่  ยอมรับว่าแต่ละเรื่องแต่ละมาตรการจะต้องใช้เวลาเพื่อให้เห็นผลอย่างเป็นรูปธรรม และไทยยืนยันว่าดำเนินการมาตรการต่าง ๆ ทั้งการปรับปรุงกฎหมาย การบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดและการดำเนินการกับผู้กระทำความผิดโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่รัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับความผิด รวมทั้งการดูแลคุ้มครองเหยื่อและพยานตามหลักสากล

เมื่อถามถึงการที่ไทยยังถูกจัดอันดับค้ามนุษย์ในเทียร์ 2.5 อาจส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์และการส่งออกหรือไม่ บุษฎี กล่าวว่า ไม่ส่งผลกระทบต่อต่างประเทศ เพราะการจัดทำรายงานค้ามนุษย์ดังกล่าวเป็นเรื่องเฉพาะแต่ละประเทศ และเป็นกฎหมายภายในของสหรัฐที่ต้องจัดทำรายงานเพื่อส่งให้สภาต่อไป

ส่วนข้อสังเกตการจัดอันดับในเทียร์ 2.5 ของไทยมีนัยทางการเมืองที่ไทยใกล้ชิดกับจีนหรือไม่ ในขณะที่จีนตกมาอยู่ในเทียร์ 3 โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า ไม่น่ามีนัยทางการเมือง และคงไม่เกี่ยวข้องกับความเชื่อมโยงกับจีน

เมื่อถามย้ำถึงความกดดันต่อรายงานค้ามนุษย์ที่ไทยถูกจัดอันดับ 2.5 เป็นปีที่ 2 ซึ่งตามหลักหากยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ตามเกณฑ์ ไทยจะถูกลดอันดับมาที่เทียร์ 3 ทันที นางสาวบุษฎีกล่าวว่า การประเมินของสหรัฐจะไม่นำผลการดำเนินการปีอื่นมาพิจารณา แต่จะพิจารณาปีต่อปี ขณะนี้ยังไม่สามารถวิเคราะห์สถานการณ์ล่วงหน้าได้ แต่เชื่อว่าใน 1 ปีนี้ไทยยังมีเวลาที่จะแก้ปัญหาค้ามนุษย์ในด้านต่าง ๆ อย่างเต็มที่และจริงจัง ตามนโยบายของนายกรัฐมนตรี

กระทรวงแรงงาน ย้ำ พ.ร.ก.ใหม่ ลดปัญหาการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน

วานนี้ (27 มิ.ย.60) รายงานข่าวจากกระทรวงแรงงานระบุว่า อนันต์ชัย อุทัยพัฒนาชีพ ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน ในฐานะโฆษกกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า พ.ร.ก.การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2560 เป็นการรวมกฎหมาย 2 ฉบับไว้เป็นฉบับเดียวคือ พ.ร.บ.การทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2551 และ พ.ร.ก.การนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ พ.ศ.2559 ซึ่งสืบเนื่องมาจากกฎหมายทั้ง 2 ฉบับยังไม่ครอบคลุมการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวทั้งระบบ กล่าวคือยังมีการกำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบของนายจ้างและผู้ได้รับใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศไทยไม่ชัดเจนและไม่ครอบคลุมความเสียหายที่เกิดจากการไม่ปฏิบัติหน้าที่และความรับผิดชอบดังกล่าว ขาดกลไกการร้องทุกข์   ให้แก่คนต่างด้าวและผู้เกี่ยวข้องที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม ขาดมาตรการทางปกครองเพื่อกำหนดโทษทางปกครองแก่นายจ้างที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามพระราชกำหนดนี้ ไม่มีบทบัญญัติรองรับการขึ้นทะเบียนตัวแทนนายจ้างและตัวแทนคนต่างด้าว  เพื่อควบคุมผู้ประกอบอาชีพในการดำเนินการยื่นคำขอและเอกสารแทนนายจ้างและคนต่างด้าว ไม่มีบทกำหนดโทษสำหรับบุคคลที่ยึดใบอนุญาตทำงานหรือเอกสารสำคัญประจำตัวของคนต่างด้าวไว้ ทั้งยัง ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบันและมีอัตราโทษที่ต่ำกว่าบทกำหนดโทษในกฎหมายอื่นซึ่งมีความผิดในลักษณะเดียวกัน จึงจำเป็นต้องแก้ไขปัญหาดังกล่าว เพื่อเติมช่องว่างของกฎหมายที่มีอยู่เดิมให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น โดยเป็นการแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการนำคนต่างด้าวเข้ามาทำงานกับนายจ้างในประเทศและแก้ไขปัญหาการจัดระเบียบการทำงานของคนต่างด้าวในประเทศไทยที่อาจนำไปสู่การกระทำอันเป็นการค้ามนุษย์ได้ ทั้งยังอาจสุ่มเสี่ยงต่อการปฏิบัติผิดมาตรฐานสากล ซึ่งจะมีผลกระทบโดยตรงต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศอย่างรุนแรง

วรานนท์ ปีติวรรณ อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวว่า พ.ร.ก.ฉบับนี้มีผลดีทั้งต่อนายจ้าง ลูกจ้างต่างด้าว ภาครัฐ และภาคประชาสังคม โดยภาครัฐจะสามารถจัดระเบียบและให้ความคุ้มครองแก่แรงงานต่างด้าวให้มีความเหมาะสม เป็นไปตามมาตรฐานสากล สามารถควบคุมการประกอบธุรกิจการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศและควบคุมการทำงานของคนต่างด้าวเพื่อจัดระเบียบป้องกันไม่ให้มีการลักลอบนำคนต่างด้าวเข้ามาทำงานโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ด้านแรงงานได้ ขณะที่นายจ้างหรือสถานประกอบการก็ได้คนต่างด้าวมาทำงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย มีคุณภาพตามความต้องการ สามารถตรวจสอบคนต่างด้าวได้หากประสบปัญหา และเป็นไปตามมาตรฐานสากล ป้องกันการหลอกลวงจากระบบสายนายหน้าเถื่อน และเสียค่าใช้จ่ายอย่างไม่เป็นธรรม สามารถเข้าถึงระบบข้อมูลภาครัฐเพื่อจะได้จำนวนแรงงานตามความต้องการและมีการควบคุมประเภทงาน นายจ้าง ณ ท้องที่และเงื่อนไขตามที่ได้รับอนุญาตเพื่อให้เกิดความยืดหยุ่นในการอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงาน แก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ขณะเดียวกันลูกจ้างคนต่างด้าวและบุคคลที่เกี่ยวข้องที่ได้รับความเสียหายจากการกระทำของนายจ้างอย่างไม่เป็นธรรมก็จะได้รับความคุ้มครอง

นอกจากนี้ยังมีกลไกการร้องทุกข์และการเข้าถึงช่องทางการร้องทุกข์สำหรับคนต่างด้าวและผู้เกี่ยวข้องซึ่งได้รับความเสียหายจากการที่นายจ้างหรือผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวเข้ามาทำงานไม่ปฏิบัติตามหน้าที่และความรับผิดชอบตามกฎหมาย รวมทั้งมีการกำหนดช่องทางให้คนต่างด้าวสามารถเข้าถึงสิทธิได้โดยตรงและได้รับประโยชน์จากการได้รับสวัสดิการ  การประกันสังคม การประกันสุขภาพ การศึกษา และสังคม เพื่อสามารถทำงานอยู่ในประเทศไทยได้อย่างปกติสุข ส่วนภาคประชาสังคมจะได้เข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลแรงงานต่างด้าวให้เป็นไปตามกฎหมายและหลักมาตรฐานสากล มีกลไกให้หน่วยงานภาคเอกชน และ NGO ในพื้นที่เข้ามาร่วมดำเนินการและมีส่วนร่วมรับผิดชอบในการจัดระเบียบแรงงานต่างด้าว ซึ่งหากมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังและทั่วถึงจะแก้ปัญหาการค้ามนุษย์ด้านแรงงานและการทำประมงผิดกฎหมายได้อย่างมีประสิทธิผลและจะทำให้การบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวเข้าสู่ระบบที่ถูกต้องและได้รับการยอมรับจากนานาประเทศ

ที่มา : เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ และสำนักข่าวไทย

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กลุ่มการค้าเป็นธรรมเกาหลีใต้-ตรวจสอบโซเชียลมีเดียที่เก็บข้อมูลผู้ใช้งาน

Posted: 28 Jun 2017 08:16 AM PDT

กลุ่มต่อต้านการผูกขาดในเกาหลีใต้กล่าวแสดงความกังวลเรื่องที่บริษัทไอทียักษ์ใหญ่เก็บข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้และนำไปใช้เพื่อผลประโยชน์ทางธุรกิจรวมถึงผูกขาดความเป็นเจ้าของข้อมูลเหล่านั้น โดยมองว่าเป็นการเข้ามาอาศัยโครงข่ายอินเทอร์เน็ตที่ประชาชนประเทศนั้นๆ จ่ายภาษีเอาไปใช้ฟรีๆ

อินเทอร์เน็ตคาเฟหรือพีซีบังในเกาหลีใต้ (ที่มาของภาพ: Ss이준 (lhj8396)/Wikipedia)

28 มิ.ย. 2560 คณะกรรมการด้านการค้าที่เป็นธรรมของเกาหลีใต้หรือเอฟทีซี (Fair Trade Commission - FTC) เปิดเผยเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (26 มิ.ย.) ว่าพวกเขาจะเพิ่มการตรวจสอบบริษัทเทคโนโลยีข้อมูลข่าวสารอย่างกูเกิลและเฟซบุ๊กมากขึ้น เนื่องจากกังวลเรื่องการเก็บข้อมูลและใช้ข้อมูลของบริษัทไอทีเหล่านี้ โดยมีเป้าหมายต้องการจำกัดการผูกขาดการใช้ข้อมูลขนาดใหญ่หรือ "บิ๊กดาตา" (Big Data)

นิคเคอิเอเชียนรีวิวระบุว่ากูเกิลเป็นบริษัทที่ใช้การเก็บข้อมูลจำนวนมากและหลากหลายในระดับบิ๊กดาตาเพื่อให้บริการวิเคราะห์ข้อมูลแก่ทั้งบรรษัทและลูกค้าในระดับตัวบุคคล หมายความว่ากูเกิลเองก็เก็บข้อมูลจากผู้ใช้งานจำนวนมหาศาลถึง 1,900 ล้านราย แล้วนำไปวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อผลประโยชน์ทางธุรกิจของพวกเขา

เรื่องนี้ทำให้ ยูยังอ็ก ผู้อำนวยการเอฟทีซีทีกล่าวว่าทางเอฟทีซีมีความสนใจตลาดไอที่ที่กำลังเติบโตขึ้นและกำลังศึกษากรณีต่างๆ ในประเทศอื่น รวมถึงจะทำงานค้นคว้ามากกว่านี้เพื่อที่จะไม่ให้พวกเขาเองถูกทิ้งเอาไว้เบื้องหลัง

ก่อนหน้านี้ คิมซังโจ ประธานเอฟทีซีเคยวิจารณ์บริษัทไอทีต่างชาติว่าเข้ามาอาศัยหาผลประโยชน์จากเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของประเทศของพวกเขาฟรีๆ ทั้งๆ ที่อินเทอร์เน็ตเหล่านี้มาจากภาษีของประชาชน แต่บริษัทไอทีเหล่านี้กลับมาเก็บข้อมูลเอาจากประชาชนพวกเขาโดยไม่ต้องจ่ายอะไรเลย นอกจากนี้ยังบอกว่าการพัฒนาเทคโนโลยีข้อมูลข่าวสารที่รวดเร็วในยุคนี้ถือเป็น "การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4" ที่ผู้มาก่อนจะกวาดตลาดไปหมดเหลือให้คนที่มาทีหลังน้อยมาก

ไม่เพียงแค่เกาหลีใต้เท่านั้น รัฐบาลญี่ปุ่นก็เคยประกาศว่าจะมีการพิจารณาเรื่องสถานะทางการตลาดของบริษัทไอทีเหล่านี้เนื่องจากการเก็บข้อมูลและผูกขาดข้อมูลที่เก็บเอาไว้ฝ่ายเดียวของพวกเขาละเมิดกฎหมายต่อต้านการผูกขาด โดยพยายามหาทางไม่ให้บริษัทเหล่านี้มีเอกสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลบิ๊กดาตาแต่ฝ่ายเดียว

ทางการจีนก็เริ่มออกกฎหมายความมั่นคงไซเบอร์ฉบับใหม่เมื่อต้นเดือน มิ.ย. ที่ควบคุมเรื่องการเก็บข้อมูล ทำให้บริษัทต่างชาติต้องเตรียมรับผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นจากกฎหมายนี้ เนื้อหาสำคัญของกฎหมายใหม่ระบุให้บริษัทต่างชาติต้องเก็บข้อมูลผู้ใช้ไว้ภายในจีนเท่านั้นและต้องขออนุญาตก่อนถ้าหากจะมีการส่งข้อมูลของผู้ใช้ออกไปในต่างประเทศ

นิคเคอิเอเชียนรีวิวระบุว่าเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ทำให้บริษัทไอทีเหล่านี้พัฒนาการนำข้อมูลผู้ใช้งานเพื่อปรับปรุงคุณภาพของสินค้าและบริการได้ แต่ก็มีข้อเสียตรงที่นั่นหมายความว่าบริษัทเหล่านี้มักจะได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ของผู้ใช้งานไปด้วย ส่งผลทำให้ผู้บริโภคมีอำนาจต่อรองในระบบตลาดลดลง

ทางกูเกิลเองก็มีการพยายามปรับตัวรับกับการควบคุมที่เข้มงวดมากขึ้นนี้ด้วยการเปลี่ยนแปลงวิธีการเก็บข้อมูลของพวกเขาอย่างมีความระมัดระวังขึ้น โดยเมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมาพวกเขาบอกว่าภายในปีนี้พวกเขาจะเลิกสแกนเนื้อหาอีเมลที่ส่งผ่าน Gmail เพื่อนำไปใช้ในการเลือกเผยแพร่โฆษณาแก่ผู้ใช้งาน นั่นหมายความว่าก่อนหน้านี้กูเกิลเคยสแกนเนื้อหาอีเมลของผู้ใช้มาก่อนเพื่อควานหาโฆษณาที่พวกเขาคิดเอาเองว่าจะเข้ากับผู้ใช้โดยพิจารณาจากเนื้อหาอีเมล

นอกจากประเด็นเรื่องการเก็บข้อมูลผู้ใช้งานเอาไปใช้ทำการตลาดแล้วยังมีประเด็นที่กูเกิลเคยถูกรัฐบาลอินโดนีเซียกล่าวหาเรื่องจ่ายภาษีไม่ครบแต่ก็มีการเจรจาตกลงกับรัฐบาลสำเร็จแล้ว ทางการไทยเองก็กำลังออกกฏหนักขึ้นในเรื่องการเก็บภาษีบริษัทเทคโนโลยี

เรียบเรียงจาก

South Korean antitrust agency moving to control Google, Facebook, Nikkei Asian Review, 26-07-2017

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

อภิสิทธิ์-อลงกรณ์ มองต่างยุทธศาสตร์ชาติ ฝ่ายหนึ่งชี้มัดมือรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งเชื่อมีความยืดหยุ่น

Posted: 28 Jun 2017 06:12 AM PDT

อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ระบุไม่เชื่อแนวทางยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เพราะเป็นเครื่องมือกำกับรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ด้านอลงกรณ์ พลบุตร ชี้มียุทธศาสตร์ไว้ทำให้ประเทศเดินหน้าอย่างมีทิศทางไม่สะเปะสะปะ และสามารถปรับแก้ได้ทุกๆ 5 ปี

28 มิ.ย. 2560 อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) กล่าวถึงร่าง พ.ร.บ.การจัดยุทธศาสตร์ชาติ อาจขัดแย้งรัฐธรรมนูญว่า เป็นความคิดเห็นของ วิรัตน์ กัลยาศิริ หัวหน้าทีมกฎหมายพรรคประชาธิปัตย์ แต่เท่าที่สอบถามภายในพรรคเห็นตรงกันว่า การมีส่วนร่วมในการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติเป็นเรื่องเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ

อย่างไรก็ตาม การให้ประชาชนมีส่วนร่วมทั้งในกระบวนการร่างกฎหมาย และตอนจัดทำยุทธศาสตร์ชาติกำหนดไว้ค่อนข้างน้อยมาก ซึ่งรัฐบาลอาจอ้างเรื่องระยะเวลาที่ถูกจำกัด ถ้าไม่ให้ประชาชนมีส่วนร่วม ยุทธศาสตร์นั้นจะเป็นของผู้เขียน

"ผมไม่ค่อยเชื่อในแนวทางยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เพราะผมเห็นว่าโลกปัจจุบันนี้ทำอย่างนั้นยากมาก แต่เมื่อมีก็ต้องหาทางให้เกิดเจตนารมณ์ร่วมของสังคม ยุทธศาสตร์จึงจะเดินได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ เห็นว่ากฎหมายดังกล่าวจะต้องเสนอเหมือนกฎหมาย ที่ต้องส่งให้ ส.ส และ ส.ว.พิจารณาด้วย แต่วันนี้มีเพียงสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) คำถามคือ สนช.จะสามารถเป็นตัวแทนของประชาชนได้มากน้อยเพียงใด นอกจากนี้ ยังแสดงเจตนาชัดที่จะจำกัดการมีส่วนร่วมอีกด้วย โดยกำหนดว่าในกรณีเลือกตั้งเร็ว สนช.หมดวาระ ก็ไม่ให้ ส.ส.ที่มาจากการเลือกตั้งพิจารณา แต่ให้ ส.ว.ชุดแรกพิจารณาแทน ซึ่ง ส.ว.ก็ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง" อภิสิทธิ์กล่าว

อภิสิทธิ์กล่าวอีกว่า ยุทธศาสตร์ชาติเป็นเครื่องมือหนึ่งที่จะใช้กำกับรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง โดยเฉพาะกำกับนโยบายของพรรคการเมืองซึ่งอาจจะไม่เหมือนกับผู้ร่างยุทธศาสตร์มอง สำหรับกรณีกฎหมายยุทธศาสตร์ชาติ อาจขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 3 เรื่องอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุข ทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือไม่นั้น อาจมองได้ว่าอำนาจอธิปไตยไม่เป็นของตัวแทนปวงชนชาวไทย เพราะสร้างระบบขึ้นมาตีกรอบให้ทำอย่างนั้นอย่างนี้ แต่ในอีกมุมอาจมองได้อีกว่าไม่ขัด เพราะเป็นรัฐธรรมนูญเหมือนกัน มีการกำหนดให้ทำยุทธศาสตร์ชาติ ดังนั้นภาระจึงตกหนักที่ผู้ร่างฯ ยุทธศาสตร์ว่าจะทำอย่างไรให้เหมาะสมกับสภาพความเป็นจริงของประเทศ และไม่เป็นอุปสรรคต่อรัฐบาลชุดต่อๆ ไป ซึ่งเขามีความจำเป็นจะต้องแก้ไขปัญหาของประเทศ และบางครั้งต้องใช้นวัตกรรมในเชิงนโยบาย

ขณะที่ อลงกรณ์ พลบุตร รองประธานสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ(สปท.) คนที่หนึ่ง กล่าวถึงกระแสที่ว่ายุทธศาสตร์ชาติจะบังคับรัฐบาลในอนาคตให้ทำตามจนไม่สามารถกำหนดนโยบายใหม่ๆ ได้ว่า ยุทธศาสตร์ชาติไม่ใช่การมัดมือมัดเท้ารัฐบาลในอนาคตจนทำอะไรไม่ได้อย่างที่กังวล แต่ในทางตรงข้ามจะทำให้ประเทศเดินหน้าอย่างมีทิศทางไม่สะเปะสะปะ   โดยยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ถูกออกแบบให้มีความยืดหยุ่นทบทวนทุก 5 ปีและเปลี่ยนแปลงได้ หากรัฐบาลในอนาคตต้องการปรับยุทธศาสตร์ชาติ ก็สามารถเสนอให้รัฐสภาให้ความเห็นชอบได้ ส่วนข้อกังวลเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชนนั้น  กฎหมายยุทธศาสตร์ชาติบัญญัติให้ต้องรับฟังความคิดเห็นของทุกภาคส่วนอย่างกว้างขวางในการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติอยู่แล้ว

รองประธาน สปท. คนที่หนึ่ง กล่าวต่อไปว่า ตนเข้าใจและเห็นใจนักการเมืองและนักวิชาการบางส่วนที่แสดงท่าทีไม่เห็นด้วยหรือเห็นด้วยแต่กังวลจะปฏิบัติยากในเรื่องพ.ร.บ.ยุทธศาสตร์ชาติ เพราะยังติดกรอบความคิดและการบริหารแบบเดิมๆ ทั้งนี้ ควรเข้าใจว่าเมื่อโลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การบริหารประเทศก็จำเป็นต้องมีทิศทาง และดำเนินการภายใต้เป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติ  

ที่มาจาก: ประชาชาติ , เว็บข่าวรัฐสภา

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

มีชัย หลังเซ็ตซีโร่ กสม. แล้วชุดเดิมไม่สามารถกลับมาสมัครได้ พร้อมยันไม่ค้านไพรมารีโหวต

Posted: 28 Jun 2017 05:43 AM PDT

ประธาน กรธ. ยืนยัน การเซตซีโร่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ไม่สามารถเข้ารับสรรหาได้ เพราะถือเป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ พร้อมย้ำไม่ค้านไพรมารีโหวต แต่จำเป็นต้องทำกฎหมายให้รอบคอบ ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม

28 มิ.ย. 2560 มีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.)  กล่าวยืนยันว่า ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 กรธ.ได้รับรองให้กรรมการสิทธิมนุษยนชนแห่งชาติ (กสม.) เป็นองค์กรอิสระแล้ว จึงไม่สามารถกลับเข้ามารับการสรรหาได้เหมือนกับกรรมการองค์กรอิสระอื่น แม้จะอยู่ก่อนรัฐธรรมนูญฉบับนี้บังคับใช้ก็ตาม แต่ถ้า กสม.สงสัยก็สามารถยื่นศาลรัฐธรรมนูญให้ตีความได้ว่า เป็นองค์กรอิสระหรือไม่ หรือถ้า กกต.สงสัยก็จะยื่นด้วยก็ได้เช่นกัน ซึ่งตามร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย กสม.ที่จะเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ในวันที่ 30 มิ.ย.นี้ กรธ.จำเป็นต้องเขียนให้มีการเซตซีโร่ กสม. โดยยืนยันว่าไม่ได้คิดพิสดาร หรือสองมาตรฐาน เพราะ กรธ.เสนออย่างเดียวกันทุกองค์กร แต่กับ กสม.ถือเป็นข้อยกเว้น เพราะมีเหตุปัจจัยมาจากหลักการปารีสที่ผูกผัน และยึดโยงกับประเทศอยู่

มีชัยกล่าวถึงเรื่องการทำไพรมารี่โหวตผู้สมัครเลือกตั้งว่าขณะนี้ยังไม่มีการตีความในประเด็นตามมาตรา 35 ของ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ เพราะ กรธ. กกต. และทางพรรคการเมืองยังมองต่างกันในเรื่องของการกำหนดเขตเลือกตั้ง โดย กรธ.มองว่า ในเมื่อ กกต.บอกว่าการทำไพรมารีโหวตเป็นส่วนหนึ่งของการเลือกตั้ง ดังนั้น กกต.ก็ควรจะเป็นผู้กำหนดเขตการเลือกตั้งให้เหมาะสม เพราะในเมื่อ สนช.ลงผ่านกฎหมายให้มีไพรมารีโหวตแล้ว กรธ.ก็คงไม่ไปคัดค้าน แต่ต้องมาเกลาข้อความเพื่อไม่ให้การปฏิบัติต่างๆ ขัดต่อเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ส่วนที่พรรคการเมืองร้องเรียนว่าไพรมารีโหวตปฏิบัติยากนั้น กรธ.ก็คงจะมาเกลาเพื่อให้ปฏิบัติง่ายขึ้น ส่วนเรื่องการที่ กกต.จะให้ใบเหลือง-ใบแดงเพื่อกำกับดูแลการทำไพรมารีโหวตนั้น ตนคิดว่าอาจจะไปขัดต่อหลักการที่ให้พรรคการเมืองและสมาชิกพรรคมีส่วนร่วมในการส่งผู้สมัครลงเลือกตั้ง หาก กกต.จะให้ใบเหลืองใบแดงก็หมายความว่า กกต.ก็ต้องเป็นผู้จัดไพรมารีโหวต ไม่ใช่ให้พรรคการเมืองจัด

ที่มาจาก: เว็บข่าวรัฐสภา , ผู้จัดการออนไลน์

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กรมสวัสดิการฯ ลุยส่องโรงงานชำแหละสัตว์ปีกป้องกันอุบัติเหตุซ้ำ ตร.ยันไม่เลือกปฏิบัติ

Posted: 28 Jun 2017 05:35 AM PDT

กรมสวัสดิการฯ จัดทำแผนร่วมมือกับกรมโรงงานฯ ตรวจ บ.ชำแหละสัตว์ปีกทั่วประเทศ ป้องกันอันตรายจากการทำงาน เริ่มตรวจ กทม.ทันที ตร.จ่อเรียกผู้เกี่ยวข้อง ปม นศ.ฝึกงานและคนงาน ตาย 5 ศพ บ่อบำบัด CPF รับทราบข้อหาเพิ่มเติม ยันไม่เลือกปฏิบัติบริษัทเล็กหรือใหญ่ 

28 มิ.ย. 2560 จากกรณีช่วงสายวันวันที่ 23 มิ.ย.ที่ผ่านมา เกิดเหตุเสียชีวิต 5 ราย ภายในบ่อบำบัดน้ำเสีย บริษัทผลิตอาหาร ของบริษัท ซีพีเอฟ ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) ตั้งอยู่ภายในซ.บางนา-ตราด 20 ถ.บางนา-ตราด จากเหตุ นักศึกษาสัตวแพทย์ จุฬาฯ มาฝึกงานเกิดลื่นพลัดตกลงในบ่อบำบัดน้ำเสีย และมีพนักงานของบริษัทมาช่วยเหลือ 4 คน ซึ่งทั้งหมด 5 คนเสียชีวิต ประกอบด้วย 1. ปัณทิกา ตาสุวรรณ 23 ปี นักศึกษา ฝึกงานจากสัตวแพทย์จุฬาฯปี5 2.ลักษชนก แสนทวีสุข 24 ปี  จนท. สิ่งแวดล้อมของบริษัท 3. พรศักดิ์ บุญบาล 40 ปี หัวหน้างานอนามัย 4. ชาญชัย  พันธุนาคิน 42 ปี หัวหน้าหน่วยซ่อมบำรุง 5.ชาตรี  สีสันดร 43 ปี เป็นคนงานรายวัน

วันนี้ (28 มิ.ย.60) รายงานข่าวจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน แจ้งว่า สุเมธ มโหสถ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กล่าวว่า สืบเนื่องจากกรณีนักศึกษาเข้าดูงานด้านสิ่งแวดล้อมในสถานประกอบกิจการชำแหละสัตว์ปีกและตกลงไปในบ่อน้ำเสียจนเสียชีวิตพร้อมลูกจ้างที่เข้าให้ความช่วยเหลืออีก 4 คน ในเรื่องนี้ พล.อ.ศิริชัย ดิษฐกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่ไม่อาจให้เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นได้อีก จึงสั่งการให้ กสร. เข้าหารือกับกรมโรงงานอุตสาหกรรมกำหนดแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการประสบอันตรายจากการทำงานเพื่อไม่ให้เกิดเหตุขึ้นอีก โดยนายมงคล พฤกษ์วัฒนา  อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม ได้ร่วมหารือและกำหนดแนวทางที่จะร่วมกันตรวจด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการชำแหละสัตว์ปีกทั่วประเทศ โดยจะเริ่มตรวจในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครในทันที สำหรับสถานประกอบกิจการชำแหละสัตว์ปีกในส่วนภูมิภาคจะได้มอบให้สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดและสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดแต่ละจังหวัดร่วมหารือจัดทำแผนและเข้าดำเนินการตรวจสถานประกอบกิจการประเภทนี้ร่วมกันให้ครอบคลุมทั่วประเทศ  หากพบจุดบกพร่องหรือไม่มีมาตรการป้องกันความปลอดภัยที่ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด ให้ออกคำสั่งดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้อง พร้อมทั้งรวบรวมข้อมูลสภาพปัญหาที่พบมาดำเนินการวิเคราะห์กำหนดเป็นแนวทางและวิธีการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุมิให้เกิดขึ้นอย่างถาวร ทั้งนี้จะได้บูรณาการความร่วมมือตรวจสถานประกอบกิจการประเภทอื่นๆ อย่างต่อเนื่องร่วมกันเพื่อให้เกิดผลสำเร็จตามโครงการความปลอดภัยและอาชีวอนามัยของประเทศไทย (Safety Thailand) ต่อไป

สุเมธ กล่าวเพิ่มเติมว่า อุบัติเหตุจากการทำงานสามารถป้องกันมิให้เกิดขึ้นได้ หากมีการปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักวิชาการและตามที่กฎหมายได้กำหนดไว้ นายจ้าง เจ้าของสถานประกอบกิจการพึงให้ความสำคัญในเรื่องดังกล่าว ค่าใช้จ่ายจากการนำระบบความปลอดภัยเข้ามาใช้ในความเป็นจริงแล้วจะมีอัตราต่ำกว่าค่าใช้จ่ายที่ต้องสูญเสียเนื่องจากการรักษาพยาบาลของพนักงานที่เป็นโรค หรือจากอุบัติเหตุ ที่เกิดขึ้นจากความไม่ปลอดภัยจากการทำงาน จึงขอฝากให้ทุกสถานประกอบการคำนึงถึงเรื่องความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการของตน ป้องกันมิให้เกิดอุบัติเหตุหรือความสูญเสียต่อชีวิตของลูกจ้างและทรัพย์สินของสถานประกอบกิจการ

ตร.จ่อเรียกผู้เกี่ยวข้องรับทราบข้อหาเพิ่มเติม ยันไม่เลือกปฏิบัติบริษัทเล็กหรือใหญ่ 

วานนี้ (27 มิ.ย.60) สำนักข่าวไทย รายงานว่า พล.ต.ท.ศานิตย์ มหถาวร ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล กล่าวถึงความคืบหน้าการดำเนินคดีเหตุพลัดตกบ่อบำบัดน้ำเสียบริษัทซีพีเอฟ มีผู้เสียชีวิต 5 ศพว่า หลังตำรวจได้แจ้งข้อกล่าวหา กระทำการโดยประมาททำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายกับนายปรีชา ตามพร หัวหน้าส่วนดูแลบ่อบำบัด บริษัท CPF ก่อนจะปล่อยตัว พนักงานสอบสวนอยู่ระหว่างรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อออกหมายเรียกผู้เกี่ยวข้องมารับทราบข้อกล่าวหาเพิ่มเติม โดยยังไม่สามารถเปิดเผยจำนวนหรือรายละเอียดตัวบุคคลได้ 
 
นอกจากนี้จะเรียกบิดามารดาของนิสิตผู้เสียชีวิตมาสอบสวนเพิ่มเติม เพื่อสอบถามในประเด็นที่เจ้าหน้าที่สงสัย และอยู่ระหว่างประสานสอบปากคำเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญของกรมโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งเข้าไปตรวจสอบที่เกิดเหตุ ว่าพร้อมมาให้การที่ สน.บางนา หรือจะให้เข้าไปสอบถามที่กรมฯเมื่อใด แม้จุดเกิดเหตุไม่มีกล้องวงจรปิด ก็ไม่มีผลต่อรูปคดี เพราะตำรวจมีพยานหลักฐานที่ใช้ในการสืบสวนสอบสวนดำเนินคดี 
 
กรณีวิพากษ์วิจารณ์ว่าบริษัทดังกล่าวเป็นบริษัทขนาดใหญ่อาจใช้อิทธิพลทำให้ข้อเท็จจริงในวันเกิดเหตุผิดเพี้ยนไปจนส่งผลให้ไม่สามารถดำเนินคดีได้ ขอยืนยันว่า ตำรวจจะดำเนินการกับผู้กระทำความผิดโดยไม่เลือกปฏิบัติ หากมีพยานหลักฐานชัดเจจะดำเนินคดีทันที แต่ก็ต้องให้ความเป็นธรรมกับบริษัทดังกล่าว เนื่องจากข้อมูลต่างๆอาจทำให้เกิดความเสียหายกับบริษัทนั้นๆได้ นอกจากนี้จะมีการหารือกับโรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็กและขนาดใหญ่ในพื้นที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล เพื่อหาแนวทางป้องกันไม่ให้เกิดความสูญเสียในลักษณะดังกล่าวอีก
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สกต. ขอ ส.ป.ก. แก้ปัญหาอย่างเป็นธรรม หลังเตรียมไถพืชผลเกษตรชุมชนก้าวใหม่ เพื่อจัดสรรที่ดินใหม่

Posted: 28 Jun 2017 05:10 AM PDT

สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ ออกจดหมายเปิดผนึกหลังทราบข่าวว่า ส.ป.ก. เตรียมจัดสรรที่ดินตามแนวทางของ คทช. โดยเตรียมไถดันทำลายพืชผลการเกษตร ของเกษตรกรในพื้นที่ปฎิรูปที่ดินป่าไสท้อน และป่าคลองโซง ขอการแก้ปัญหาต้องไม่กระทบกับชีวิตของเกษตรกร

เมื่อวันที่ 27 มิ.ย. 2560 สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ (สกต.) ได้ออกจดหมายเปิดผนึก เรื่องการแก้ไขปัญหาผลกระทบที่เกิดจากการจัดระเบียบการใช้ที่ดินของรัฐ ตามแนวทางของ คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ ( คทช. ) ซึ่งดำเนินการโดยสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) จังหวัดสุราษฎร์ธานี

สืบเนืองจากเมื่อวันที่ 17 ม.ค. 2560 ธราดล วัชราวิวัฒน์ ปฏิรูปที่ดินจังหวัดสุราษฎร์ธานี และเจ้าหน้าที่กรมชลประทานได้เข้าไปในพื้นที่แปลง 1,700 ไร่ ซึ่งเป็นที่ตั้งของชุมชนต่างๆ (อดีตที่ตั้งของบริษัทรวมชัยบุรีปาล์มทอง) เพื่อชี้แจงนโยบายโครงการสำรวจพื้นที่เพื่อจัดหาหรือพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรโดยวิธีการขุดสระน้ำขนาดใหญ่ จำนวนประมาณ 300ไร่ และกำหนดแผนผัง รวมทั้งกำหนดขนาดแปลงที่ดินในโครงการจัดสรรที่ดินใหม่ สำหรับเป็นที่ดินทำการเกษตร ครอบครัวละ 5ไร่ และที่อยู่อาศัย ครอบครัวละ 1 ไร่ (5+1)โดยผู้ได้รับการจัดสรรต้องผ่านคุณสมบัติตามระเบียบของ คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.)

จากแนวทางการจัดระเบียบที่ดิน ดังกล่าวของ ส.ป.ก.ส่งผลทำให้ต้องบุกเบิกพื้นที่สร้างถนนซอยสายใหม่ทั้งหมด 14 ซอย แต่ละซอย กว้าง 6 เมตร จึงไปทับซ้อนทำลายแปลงเกษตรที่เกษตรกรได้ปลูกสร้างพืชผลต่างๆไว้ และได้รับผลผลิตแล้วทำให้เกิดการสูญเสียพื้นที่ทางการเกษตรเพราะการรื้อแผนผังการใช้ประโยชน์ที่ดินในปัจจุบันทิ้ง และจัดทำแผนผังใหม่

โดยการวางแผนผังถนนซอยใหม่ การตัดซอยใหม่ ทำให้เกษตรกรรายย่อยที่มีฐานะยากจนอยู่แล้ว จะต้องถูกทำลายพืชผลทางการเกษตร โดยเฉพาะพืชยืนต้นที่ปลูกสร้างมานาน และเพิ่งเริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตได้เพียง 3 ปี ซึ่งจะส่งผลกระทบให้สูญเสียรายได้ทั้งหมดที่เคยได้รับจากการขายผลผลิตทางการเกษตร

ล่าสุด คณะกรรมการชุมชนน้ำแดง ซึ่งเป็นหนึ่งในชุมชนพันธมิตรของสหพันธเกษตรกรภาคใต้ ที่อยู่ในพื้นที่ 1,700 ไร่ ได้รับแจ้งจากทหารช่างว่า ปฏิรูปที่ดินจังหวัดสุราษฎร์ธานี สั่งให้ไถดันทำลายพืชผลทางการเกษตรและไม้ยืนต้น ของชาวบ้านในแปลง 1,700 ไร่ให้หมด ยกเว้นยางพารา และยกเว้นปาล์มใหญ่หลังแคมป์บริษัทฯ ซึ่งเป็นปาล์มที่บริษัทปลูกไว้ 50 ไร่

ทางสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้เห็นว่า แนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวนั้นจะส่งผลกระทบต่อเกษตรกรรายย่อยจำนวนมาก ทั้งยังเห็นว่าเป็นวิธีการแก้ไขปัญหา และวางแผนการจัดสรรที่ดินใหม่ที่ไม่ได้คำนึงถึงแนวทางการแก้ปัญหาที่เคยมีมากับรัฐบาลก่อนหน้า จึงมีข้อเสนอว่า

1.การแก้ไขปัญหาให้เกษตรกร ให้ยึดหลัก การมีส่วนร่วมของเกษตรกร, ต้องเคารพสภาพความเป็นจริง และเคารพประวัติความเป็นมาของพื้นที่หรือ ความเป็นมาของ ที่ดินแปลงนั้นๆ ด้วย

2.การดำเนินงานของ ส.ป.ก. และ คทช. เพื่อปฏิรูปที่ดิน หรือจัดระเบียบที่ดิน ต้องไม่ทำลายพืชผลทางการเกษตรทุกชนิดของเกษตรกรรายย่อย โดยเฉพาะของผู้ที่เป็นสมาชิกของ ชุมชนก้าวใหม่ สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ (สกต.) และพันธมิตร คือ กลุ่มร้อยดวงใจ และกลุ่มอิสระ (ถ้าหากสมาชิกกลุ่มอื่นๆ ยินยอม ก็ไม่เป็นเหตุให้มาทำลายผลอาสินของสมาชิก สกต.และพันธมิตร)

3.จากการจัดผังแบ่งพื้นที่การใช้ประโยชน์ในที่ดิน ขอเสนอให้ใช้แผนผังและแนวถนน/ซอย เดิมที่ได้มีการสำรวจการถือครองในช่วงปี พ.ศ. 2556 เพื่อลดปัญหาผลกระทบกับผลอาสินของเกษตรกรที่ได้ปลูกสร้างอยู่ก่อนแล้ว ทั้งนี้ เพียงแต่ให้ทำการปรับปรุงถนน/ ซอยเดิม ให้สามารถใช้ได้ทุกฤดูกาล

4. การคัดเลือกเกษตรกรผู้ที่จะได้รับสิทธิการทำประโยชน์ในที่ดินควรพิจารณาบุคคลที่อยู่อาศัยและถือครองทำประโยชน์ทางการเกษตรในที่ดินนั้นด้วยเหตุผลความจำเป็นทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้ตาม ระเบียบคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมว่าด้วย หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคัดเลือกเกษตรกร ซึ่งจะมีสิทธิได้รับที่ดินจากการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2535 ซึ่งเกษตรกรที่อยู่อาศัยทำประโยชน์ในพื้นที่อยู่แล้วนั้น มีรายชื่ออยู่ในฐานข้อมูลการสำรวจการถือครองของ ส.ป.ก. อยู่แล้ว เพราะ ส.ป.ก.ได้เคย ประกาศให้เกษตรกรมาขึ้นทะเบียนตามประกาศจังหวัด ลงวันที่ 27 มีนาคม 2560 และขอให้ผู้ครอบครองเดิมเป็นผู้ได้รับสิทธิ์ในที่ดินแปลงเดิมของตนเองที่ได้ทำประโยชน์มาก่อนหน้านี้เป็นลำดับแรก ทั้งนี้หลังจากผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติแล้ว

5.เนื่องจากพื้นที่แปลงบริษัท รวมชัยบุรีปาล์มทอง จำกัด(อดีต) สามารถจัดสรรได้ 209 แปลง รองรับได้ 209 ครอบครัวเท่านั้น แต่เกษตรกรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่แปลงรวมชัยบุรีปาล์มทอง 1,700 ไร่ ได้เสนอบัญชีรายชื่อภายหลังจากคัดเลือกกันเองแล้ว เหลือจำนวน 420 ราย ไปยัง ส.ป.ก. ดังนั้นจะมีครอบครัวเกษตรกร จำนวน 211 ราย ที่ไม่มีพื้นที่รองรับ จึงใคร่ขอเสนอว่า เกษตรกรที่มีคุณสมบัติถูกต้องตามระเบียบของ ส.ป.ก.แต่ไม่สามารถจัดสรรพื้นที่ในแปลง 1,700 ไร่ รองรับได้ทั่วถึง เพราะมีพื้นที่ไม่เพียงพอ จึงขอให้ ส.ป.ก. นำที่ดินแปลงอื่นที่อยู่ใกล้เคียงซึ่งอยู่ภายใต้ คำสั่งที่ 36/2559 เช่นพื้นที่แปลง บริษัทปาล์มไทยการเกษตร จำกัด (ประมาณ 2,435ไร่)มาจัดสรรรองรับให้กับเกษตรกรที่ตกค้างจากการจัดสรรในแปลง 1,700 ไร่

6.ขอให้แก้ไขระเบียบการจัดที่ดินให้เกษตรกร ของคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ ( คทช.จังหวัดสุราษฎร์ธานี ) ให้มีความเป็นธรรม อาทิเช่นในประเด็น

6.1 การตัดสิทธิของเกษตรกรในการได้รับการจัดสรรที่ดิน ด้วยเหตุว่ามีที่ดินเพียงประมาณ 1 ไร่ เพื่ออยู่อาศัย ระเบียบข้อนี้ซึ่งมาจากมติ คทช.จะต้องยกเลิก

6.2 การจัดสรรที่ดิน โดยคำนึงถึงคนดั้งเดิมในท้องถิ่นเป็นอันดับแรก (จัดแบบเวียนก้นหอย) ซึ่งแท้ที่จริงต้องคำนึงถึงฐานะ ความยากจน ความจำเป็นที่จะต้องใช้ที่ดินทำการเกษตรเพื่อประทังชีวิต

6.3 การกำหนดฐานรายได้ของผู้ที่จะได้รับการจัดสรรที่ดิน โดยยึดถือตามการกำหนดเส้นความยากจนของคนไทย 2,399 บาท/คน/เดือน ซึ่งไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง คือ ต่ำกว่าอัตราค่าแรงขั้นต่ำมาก ดังนั้นผู้ที่มีรายได้เพียงแค่ 2,399 บาท/คน/เดือน คงไม่อาจมีชีวิตรอดอยู่ได้จนถึงวันได้รับการจัดสรรที่ดินจาก ส.ป.ก.

7. ขอให้เกษตรกรในพื้นที่ ได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจในกระบวนการปฏิรูปที่ดิน โดยให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการศึกษาร่วมระหว่างรัฐกับประชาชนเพื่อกำหนดแนวทางและแผนปฏิบัติงานในการปฏิรูปที่ดินให้กับ "สถาบันเกษตรกร" ในพื้นที่แปลง บริษัท รวมชัยบุรีปาล์มทอง จำกัด(ในอดีต) และเพื่อให้สามารถแก้ปัญหาให้ตรงกับสภาพความเป็นจริง

ความเป็นมาของชุมชนในพื้นที่ดังกล่าว

เนื่องจากการแก้ไขปัญหาที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน ป่าไสท้อนและป่าคลองโซง เขตพื้นที่หมู่ที่ 5 ตำบลไทรทอง อำเภอชัยบุรี จังหวัดสุราษฎร์ธานี ดำเนินมาอย่างยืดเยื้อยาวนานหลายรัฐบาล ปัญหาดังกล่าวก็คงดำรงอยู่จนถึงปัจจุบันโดยในส่วนของ "ชุมชนก้าวใหม่" ที่ได้อยู่อาศัยในพื้นที่นี้ เป็นระยะเวลา 9 ปี มาแล้วนั้น ได้ถือครองและทำประโยชน์ในที่ดินโดยการปลูกพืชยืนต้นต่างๆ รวมถึงพืชเศรษฐกิจ อาทิเช่น ยางพารา ปาล์มน้ำมัน และ ไม้ผล เต็มพื้นที่และสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตขายสร้างรายได้เลี้ยงครอบครัวได้แล้ว ทั้งนี้ ตามขนาดการถือครองที่ดินที่ได้มีการเดินนำสำรวจการถือครอง และรังวัดแนวเขตแต่ละแปลงโดยช่างรังวัดจาก ส.ป.ก. ในปี 2556

การเข้าถึงที่ดิน และเริ่มต้นทำมาหากินในพื้นที่ ส.ป.ก. ดังกล่าวข้างต้น สืบเนื่องมาจากเคยได้รับการผ่อนผันให้อยู่อาศัยและทำกินในเขตที่ดินของรัฐ ตามวิถีชีวิตปกติของเกษตรกร จนกว่าการดำเนินคดีฟ้องขับไล่นายทุนและบริษัทฯ จะแล้วเสร็จ ทั้งนี้ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการอำนวยการแก้ไขปัญหาของเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 1/2552 วันที่ 11 มีนาคม 2552 โดยมี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น เป็นประธาน

อนึ่ง ชุมชนก้าวใหม่ ตำบลไทรทอง อำเภอชัยบุรี จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการประสานงานเพื่อจัดให้มีโฉนดชุมชน ให้เป็นพื้นที่นำร่องในการบริหารจัดการที่ดินตามแนวทางโฉนดชุมชน เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2553

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

คนทำงาน พฤษภาคม 2560

Posted: 28 Jun 2017 02:38 AM PDT

5 อันดับโทษคดี 112 ในยุค คสช. สถิติที่ไม่มีใครอยากทำลาย

Posted: 28 Jun 2017 01:44 AM PDT

ประชาไทรวบรวมข้อมูล 5 อันดับโทษคดี 112 ที่มีการพิพากษาลงโทษสูงสุดในประวัติศาสตร์ พบทั้ง 5 คดีเกิดขึ้นในยุคของ คสช. 4 ใน 5 ถูกตัดสินโดยศาลทหาร และทุกคดีมีมูลเหตุมาจากการโพสต์ แชร์สเตตัสในเฟซบุ๊ก โดยโทษมากสุดจำคุก 70 ปี จำเลยรับสารภาพลดโทษเหลือ 35 ปี จากการโพสต์เฟซบุ๊ก 10 ครั้ง

ข้อมูลจากโครงการกฎหมายอินเตอร์เน็ตเพื่อประชาชน หรือ iLaw ซึ่งรวบรวมถึงวันที่ 31 พ.ค. 2560 ได้ระบุถึงจำนวนคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ภายหลังการรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พ.ค. 2557 ว่ามีผู้ตั้งข้อกล่าวในช่วงเวลาดังกล่าวอย่างน้อย 82 ราย และมีหลายคดีที่มีมูลเหตุตั้งข้อกล่าวหาจากการโพสต์ หรือแชร์สเตตัสในเฟซบุ๊ก

สำหรับกฎหมายอาญามาตรา 112 บัญญัติไว้ว่า "ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปีถึง 15 ปี" โดยกฎหมายดังกล่าวเริ่มมีขึ้นในประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2451 และมีการปรับแก้ไขอีกครั้งหลังการรัฐประหารเมื่อวันที่ 6 ต.ค. 2519 โดยรัฐบาลธานินทร์ กรัยวิเชียร ได้แก้ไขให้มีอัตราโทษที่เพิ่มสูงขึ้นจากเดิมมีโทษจำคุกสูงสุด 7 ปี เป็นจำคุกต่ำสุด 3 ปี และสูงสุด 15 ปี ซึ่งคดีดังกล่าวถูกจัดอยู่ในประเภทของคดีความมั่นคง และผู้ถูกกล่าวหาส่วนใหญ่มักจะไม่ได้สิทธิประกันตัว

ขณะที่หลังการรัฐประหาร 2557 คสช.ได้มีการประกาศให้คดีดังกล่าวถูกพิจารณาโดยศาลทหาร ตามประกาศ คสช. ฉบับที่  37/2557 ก่อนที่จะมีการยกเลิกไปโดย คำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ 55/2559 แต่ยังมีอีกหลายคดีที่ยังอยู่ภายใต้อำนาจการพิจารณาของศาลทหาร เนื่องจากเป็นคดีที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ยังไม่มีการยกเลิกคำสั่งดังกล่าว และยังไม่มีประกาศใหม่เพื่อการโอนหรือย้ายคดีของพลเรือนที่อยู่ในศาลทหารกลับมาสู่การพิจารณาโดยศาลยุติธรรม

สำหรับแนวโน้มคำพิพากษาของศาลทหารดูมีทิศทางในการตัดสินคดีความที่กำหนดโทษสูงกว่าศาลยุติธรรม และเมื่อประกอบกับจำนวนกรรมจากการกระทำแล้ว ทำให้อัตราโทษจำคุกสูงเพิ่มขึ้นตามจำนวนกรรม ประชาไทรวบรวม 5 อันดับคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่มีการพิพากษาเป็นที่สุดแล้วจากศูนย์ข้อมูล iLaw พบว่าทั้ง 4 ใน 5 อันดับที่มีการตัดสินลงโทษมากที่สุดเป็นคดีที่พิจารณาโดยศาลทหาร โดยมีโทษสูงสุดที่ 70 ปี จากการโพสต์เนื้อหาในเฟซบุ๊กทั้งหมด 10 ครั้ง จำเลยรับสารภาพจึงลดโทษให้กึ่งหนึ่งเหลือโทษจำคุก 35 ปี นอกจากนี้ทั้ง 5 อันดับคดีที่มีการตัดสินโทษมากที่สุดเกิดจากการโพสต์ หรือแชร์เฟซบุ๊กทั้งสิ้น และทั้งหมดถูกพิพากษาในยุคของ คสช. โดยมีรายละเอียดดังนี้

5 อันดับโทษคดี 112 ในยุค คสช. (อัพเดท 27 มิ.ย. 2560)

ชื่อผู้ต้องหา

ข้อกล่าวหา

กรรม

โทษ

โทษที่ลดลงเพราะรับสารภาพ

ศาลที่พิจารณาคดี

วิชัย ชายอายุ 33 ปี

 

(ถูกควบคุมตัว 22 ธ.ค. 2558- พิพากษา 9 มิ.ย. 2560)

 

*ไม่ได้รับการประกันตัว

ถูกกล่าวหาว่าสร้างบัญชีเฟซบุ๊กปลอมด้วยชื่อและภาพคนอื่น พร้อมโพสต์ข้อความเข้าข่ายความผิดตาม ม.112 และ พ.ร.บ.คอมฯ

10 ครั้ง

-ม.112 กรรมละ 7 ปี รวมทั้งหมด 70 ปี

-พ.ร.บ. คอม ยกฟ้อง เพราะศาลเห็นว่าโจทก์บรรยายฟ้องไม่ตรงกับความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับใหม่

35 ปี

ศาลทหารกรุงเทพฯ

'พงษ์ศักดิ์' หรือ Sam Parr ชายอายุ 40 กว่าปี

 

(ถูกควบคุมตัว 30 ธ.ค. 2557-พิพากษา 7 ส.ค. 2558)

 

*ไม่ได้รับการประกันตัว

ถูกกล่าวหาว่าใช้เฟซบุ๊กชื่อบัญชี 'Sam Parr' โพสต์ข้อความเข้าข่ายความผิดตาม ม.112

6 ครั้ง

ม.112 กรรมละ 10 ปี รวมทั้งหมด 60 ปี

30 ปี

ศาลทหารกรุงเทพฯ

ศศิวิมล หญิงแม่ลูกสอง อายุ 30 ปี

 

(ถูกจับกุม 13 ก.พ. 2558- พิพากษา 7 ส.ค. 2558)

 

*ไม่ได้รับการประกันตัว

ถูกกล่าวหาว่าใช้เฟซบุ๊กชื่อ "รุ่งนภา คำภิชัย" โพสต์ข้อความที่เข้าข่ายความผิดตาม ม.112

7 ครั้ง

-ม.112 กรรมละ 8 ปี รวมทั้งหมด 56 ปี

28 ปี

ศาลมณฑลทหารบกที่ 33 จังหวัดเชียงใหม่

เธียรสุธรรม หรือใหญ่แดงเดือด ชายอายุ 60 ปี

 

(ถูกจับกุม 18 ธ.ค. 2557 – พิพากษา 31 มี.ค.)

 

*ไม่ได้รับการประกันตัว

ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ "ใหญ่ แดงเดือด" โพสต์วิจารณ์ คสช.และรัฐบาลของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา รวมถึงการพาดพิงสถาบันกษัตริย์ฯ เข้าข่ายความผิดตาม ม.112

5 ครั้ง

-ม.112 กรรมละ 10 ปี รวมทั้งหมด 50 ปี

25 ปี

ศาลทหารกรุงเทพฯ

จักราวุธ นักดนตรี ชาวจังหวัดอุบลราชธานี

 

(ถูก คสช.เรียกรายงานตัวเมื่อวันที่ 1 มิ.ย. 2557 – พิพากษา 31 ก.ค. 2557)

 

*ไม่ได้รับการประกันตัว

ถูกกล่าวหาว่าโพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊ก 3 บัญชี ซึ่งเข้าข่ายความผิดตาม ม.112 และ พ.ร.บ.คอมฯ

9 ครั้ง

-ม.112 กรรมละ 3 ปีรวม 27 ปี

-พ.ร.บ.คอมฯ กรรมละ 4 เดือน รวม 36 เดือน

 

รวมทั้งสิ้น 30 ปี

15 ปี

ศาลจังหวัดอุบลราชธานี

 

อ่านเรื่องราวของวิชัยได้ที่นี่: ทุบสถิติ จำคุก 70 ปี 'วิชัย' รับสารภาพเหลือ 35 ปี กรณีปลอมเฟซบุ๊กโพสต์ผิด ม.112 , ฐานข้อมูลคดี iLaw

อ่านเรื่องราวของ 'พงษ์ศักดิ์' หรือ Sam Parr ได้ที่นี่: หนักสุดเป็นประวัติการณ์ จำคุก 60 ปี 'พงษ์ศักดิ์' รับสารภาพเหลือ 30 ปี กรณีโพสต์เฟซบุ๊กผิด 112 , รู้จัก 'แซม พงษ์ศักดิ์' : จุดเริ่มต้นคือการตั้งคำถาม จุดจบ? คือโทษจำคุก 60 ปี , ฐานข้อมูลคดี iLaw

อ่านเรื่องราวของ ศศิวิมล ได้ที่นี่: ศาลทหารเชียงใหม่ สั่งจำคุก 28 ปี พนง.โรงแรม โพสต์เฟซบุ๊ก 7 ข้อความผิด 112 , ย้อนดูคดีและชีวิต 'ศศิวิมล' หลังศาลทหารพิพากษาจำคุก 28 ปี , ภาพยนตร์สั้นเรื่อง ศศิวมล ,ฐานข้อมูลคดี ilaw

อ่านเรื่องราวของ เธียรสุธรรม หรือใหญ่แดงเดือด ได้ที่นี่: คุก 50 ปี! สารภาพลดกึ่งหนึ่ง ศาลทหารพิพากษาคดี 112 'ใหญ่ แดงเดือด' , เปิดใจภรรยา 'ใหญ่ แดงเดือด' ผู้ต้องขัง 112 โทษสูงที่สุดในประวัติศาสตร์ , ฐานข้อมูลคดี iLaw

อ่านเรื่องราวของ จักราวุธ หรือโอ๋ นักดนตรีชาวอุบลฯ ได้ที่นี่: รายงาน: ชีวิตนักดนตรีหนุ่มชาวอุบล ก่อน-หลังจองจำ 30 ปีคดี 112 , ฐานข้อมูลคดี iLaw

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กสทช. แจ้ง ยูทูบ-เฟซบุ๊ก หากพ้น 22 ก.ค.นี้ ไม่มาลงทะเบียน ห้ามลงโฆษณา

Posted: 28 Jun 2017 12:30 AM PDT

28 มิ.ย.2560 รายงานข่าวจากสำนักสื่อสารองค์กร สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.)  แจ้งว่า พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธาน กสทช. ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ Over The Top (หรือ ผู้ให้บริการแพร่ภาพและเสียงผ่านโครงข่ายอินเทอร์เน็ต - OTT)กล่าวว่า คณะอนุกรรมการโอทีทีได้เชิญสมาคมมีเดียเอเยนซี่และธุรกิจสื่อดิจิตอลแห่งประเทศไทย สมาคมโฆษณาดิจิทัลแห่งประเทศไทย และสมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้องกับการโฆษณาบนบริการ OTT เข้าร่วมประชุมชี้แจงแนวทางการกำกับดูแลการให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ หรือให้บริการโครงข่ายในรูปแบบ OTT

การประชุมของคณะอนุกรรมการโอทีทีในครั้งนี้ ผู้แทนจากสมาคมโฆษณา และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการโฆษณาบนบริการ OTT มีความเข้าใจขั้นตอนและการดำเนินงานของสำนักงาน กสทช. ในการกำหนดให้ผู้ให้บริการโครงข่ายและผู้ให้บริการ OTT มาลงทะเบียน เพื่อให้สามารถให้บริการ OTT ในประเทศไทยต่อไปได้ นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมประชุมเห็นพ้องว่า การประกอบกิจการ OTT ต้องคำนึงถึงเรื่องบรรษัทภิบาลและธรรมาภิบาลประกอบด้วย พร้อมทั้งยินดีสนับสนุนการให้บริการ OTT ที่ดำเนินการสอดคล้องภายใต้กรอบกฎหมายไทยและมีการประกอบกิจการภายใต้บรรษัทภิบาลและธรรมาภิบาลที่ดี

"การประกอบกิจการ OTT ในประเทศไทย ผู้ประกอบการทุกรายจำเป็นต้องปฏิบัติตามกฎหมายไทย หากผู้ประกอบการรายใดไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ย่อมถือว่าเป็นการประกอบกิจการที่ไม่สอดคล้องกับกฎหมายไทย ดังนั้น การสนับสนุนการประกอบกิจการที่ไม่ได้อยู่ภายใต้กรอบของกฎหมาย จะส่งผลกระทบต่อบรรษัทภิบาลและธรรมาภิบาลของผู้ที่สนับสนุนด้วย" พ.อ.นที กล่าว

ประชาชาติธุรกิจ รายงานเพิ่มเติมด้วยว่า พ.อ.นที เปิดเผยว่า แนวทางปฏิบัตินี้ไม่ใช่ประเทศไทยริเริ่มเป็นแห่งแรก ประเทศเวียดนามก็นำมาใช้ในการกำกับผู้ให้บริการ OTT เช่นกัน โดยเรียกบริษัทเจ้าของงบโฆษณารายใหญ่มาสั่งการ แต่ของ กสทช. เป็นการดำเนินการตามที่มีกฎหมายรองรับอย่างชัดเจน ขณะที่ล่าสุดทั้ง youtube facebook และ Netflix ยังไม่ได้ติดต่อเข้ามาลงทะเบียนแต่อย่างใด ซึ่งหากพ้นกำหนดวันที่ 22 ก.ค. นี้ยังไม่มาลงทะเบียน ก็จะถือว่าเป็นผู้ให้บริการ OTT ที่ไม่ได้รับอนุญาต 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ: เหตุการณ์ 2475 ในบริบทโลก

Posted: 28 Jun 2017 12:07 AM PDT


 

ในโอกาส 24 มิถุนายน พ.ศ.2560 นี้ จะเป็นวันครบรอบอีกครั้งหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงการปกครองให้ประเทศไทยเป็นระบอบรัฐธรรมนูญ แต่เหตุการณ์เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ที่มีโจรการเมืองมาลักลอบเปลี่ยนหมุดคณะราษฎร แล้วเอาหมุดหน้าใสไร้สาระมาใส่แทน เป็นการสะท้อนว่า เหตุการณ์ประวัติศาสตร์ พ.ศ.2475 ในสังคมไทยนั้นยังไม่จบ ระบอบประชาธิปไตยตามความคาดหวังของคณะราษฎร ยังไม่ได้หยั่งรากลึกในกลุ่มอนุรักษ์นิยมไทย แม้ว่าเวลาจะผ่านมาแล้วถึง 85 ปี จนถึงขณะนี้ พวกอนุรักษ์นิยมสลิ่มก็ยังเห็นว่า ระบอบประชาธิปไตยที่มีรัฐสภา มีการเลือกตั้ง และมีรัฐธรรมนูญที่เป็นแบบแผนเหมือนนานาประเทศ เป็นสิ่งไม่เหมาะสม เพราะชาวบ้านไทยยังไมพร้อม ต้องให้กองทัพยึดอำนาจแล้วปฏิรูปการเมืองเสียก่อน จึงค่อยมีประชาธิปไตยตามขั้นตอน ในกรอบความคิดลักษณะนี้ คณะราษฎรจึงตกเป็นจำเลย ถูกโจมตีเสมอมาว่า เอาระบอบการเมืองที่ผิดพลาดมาสู่สังคมไทย ชิงสุกก่อนห่าม เพราะไม่รู้จักรอคอยให้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ พระราชทานประชาธิปไตยให้กับประชาชนไทย

ความจริงแล้ว ในทางประวัติศาสตร์ ยังมีแนวทางการพิจารณาอีกแนวหนึ่ง ที่จะทำให้เข้าใจการปฏิวัติ 2475 ในลักษณะที่กว้างขึ้น นั่นคือ การนำเอาเหตุการณ์ปฏิวัติในสยามไปพิจารณาในบริบทการเมืองของโลก ในกรณีนี้ เราก็จะเห็น "ความจำเป็นทางประวัติศาสตร์"ที่จะต้องเกิดการปฏิวัติ 2475 ไม่ว่าคณะราษฎรจะเป็นผู้ลงมือกระทำการหรือไม่ก็ตาม ซึ่งการที่จะทำความเข้าใจในประเด็นนี้ คงต้องมองการปฏิวัติ 2475 ในฐานะกระแสคลื่นทางการเมืองชุดหนึ่ง จากสังคมระดับโลก และกระทบสู่สังคมไทย

ประเด็นแรกสุด ที่จะต้องทำความเข้าใจคือ กระแสการเมืองโลกตั้งแต่หลัง พ.ศ.2465 เป็นต้นมา คือการพังทลายของสมบูรณาญาสิทธิราชย์ทั่วโลก ประเทศมหาอำนาจที่เคยเป็นฝ่ายสมบูรณาญาสิทธิ์ คือ เยอรมนี ออสเตรีย-ฮังการี รุสเซีย และ ตุรกี ระบอบกษัตริย์ถูกโค่นลงแล้วทุกประเทศ สำหรับในประเทศที่เหลือระบอบกษัตริย์ในยุโรป ต่างก็เปลี่ยนรูปเป็นระบอบกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญ การมีรัฐธรรมนูญ และรัฐสภาจากการเลือกตั้ง กลายเป็นปรากฏการณ์ธรรมดา และในกรณีของเอเชีย ระบอบกษัตริย์ของจีน ก็ถูกปฏิวัติโค่นล้มตั้งแต่ พ.ศ.2454 ในญี่ปุ่น ก็เปลี่ยนเป็นระบอบกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญและมีระบอบรัฐสภา ใน พ.ศ.2474 เกิดการปฏิวัติโค่นกษัตริย์ในประเทศสเปน แล้วเปลี่ยนสเปนเป็นสาธารณรัฐ ดังนั้น ประเทศสยามเมื่อ พ.ศ.2475 จึงกลายเป็นประเทศเดียวที่ยังเป็นสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ไม่มีรัฐธรรมนูญ และ ไม่มีรัฐสภา จึงถือเป็นประเทศล้าหลังทางการเมืองอย่างที่สุด สถานการณ์ทางการเมืองของสยาม จึงเป็นสถานการณ์ที่รอการเปลี่ยนแปลง แต่ปัญหาคือ ชนชั้นนำของสยามในสมัยนั้น ไม่ตระหนักถึงปัญหานี้ ยังเห็นว่าระบอบสมบูรณาญาสิทธิ์เหมาะสมกับประเทศสยาม ประชาชนชาวสยามยังไม่พร้อม ต้องใช้ระบอบเก่าไปก่อน พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ก็ไม่อาจเปลี่ยนแปลงระบอบได้

ปัญหาประการต่อมาคือ สังคมสยามสมัยก่อน พ.ศ.2475 ยังเป็นสังคมชนชั้นแบบศักดินา ที่เจ้านายและขุนนาง มีอภิสิทธิ์เหนือประชาชนคนสามัญที่เป็นไพร่ เจ้านายและขุนนางสยามได้รับการยกเว้นจากการถูกเกณฑ์แรง ไม่ต้องถูกบังคับให้รับราชการทหาร โดยเฉพาะเจ้านายเชื้อพระวงศ์ ซึ่งมีอยู่ราว 108 คน ชนชั้นนี้ ประกอบด้วย"สกุลยศ" คือได้ฐานันดรมาโดยชาติกำเนิด ได้มี"วัง"เป็นที่พักอาศัย ได้รับการยกเว้นจากการเสียภาษี ไม่ถูกพิจารณาคดีในศาล และยังได้เบี้ยหวัดเงินปีเป็นเงินเลี้ยงชีพตลอดชีวิต และการที่สังคมไทยไม่มีระบบตัวแทนของชนชั้นอื่น และไม่มีระบบกฎหมายหลัก ทำให้เจ้านายเชื้อพระวงศ์กลายเป็นผู้ผูกขาดอำนาจทางการเมือง และผูกขาดการใช้กฎหมาย ซึ่งในระบบสังคมของประเทศอื่นในโลก ไม่มีระบบเช่นนี้แล้ว

ตั้งแต่ในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นต้นมา เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจแบบใหม่ คือ ระบอบทุนนิยม ที่เน้นการผลิตสินค้าขายออกสู่ตลาดโลก และจากการที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงสร้างระบบราชการสมัยใหม่เพื่อรองรับอำนาจสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของพระองค์ เงื่อนไขเช่นนี้ ทำให้เกิดชนชั้นกลางสมัยใหม่ ที่พัฒนาขึ้นทั้งในและนอกระบบราชการ สถานที่อาศัยของชนชั้นกลาง ก็คือเมืองที่พัฒนาขึ้นอย่างมาก โภคทรัพย์ในสังคมเมืองจะอยู่ในมือของชนชั้นกลางมากขึ้น แต่ปัญหาคือ ชนชั้นกลางเหล่านี้ไม่มีบทบาททางการเมือง จึงนำมาสู่ความกดดันภายในสังคม

ปัญหาส่วนหนึ่งยังมาจากการเติบโตของลัทธิชาตินิยมแบบชนชั้นกลาง ที่ขยายตัวอย่างรวดเร็วทั่วเอเชีย เท่าที่ผ่านมา มักจะอธิบายกันว่า พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯเป็นผู้ริเริ่มลัทธิชาตินิยมในประเทศสยาม แต่ความจริงชาตินิยมของพระองค์เป็นชาตินิยมชนชั้นสูง ที่เน้นความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ยิ่งกว่าการรักชาติบ้านเมือง และยังเป็นเรื่องรณรงค์ในหมู่ข้าราชบริพารของพระองค์ ไม่ส่งผลต่อคนกลุ่มอื่นในสังคม ยิ่งกว่านั้น เมื่อผ่านมาถึงสมัยรัชกาลที่ 7 พระองค์ก็เลิกนโยบายชาตินิยมแบบรัชกาลที่ 6 และไม่มีการรณรงค์ลัทธิชาตินิยมแบบใดเลย เพราะตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ชนชั้นเจ้านายเชื้อพระวงศ์ที่เป็นชายในสังคมสยาม จะถูกส่งไปศึกษาต่อในประเทศตะวันตกตั้งแต่ยังเล็ก ชนชั้นเจ้านายจึงคุ้นเคยกับฝรั่ง และเมื่อมีประเด็นปัญหาทางการเมือง ก็สามารถต่อรองกับฝรั่งได้ แต่กระแสชาตินิยมในเอเชียขณะนั้น คือ กระแสต่อต้านฝรั่งตะวันตก ซึ่งชนชั้นสูงสยามไม่สามารถจะเข้าใจได้ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯเองก็เป็นที่ทราบกันดีว่า ทรงหนังสือเป็นภาษาอังกฤษได้ดีกว่าภาษาไทย ภาษาที่ใช้สนทนาในกลุ่มเจ้านายเชื้อพระวงศ์เป็นภาษาอังกฤษและฝรั่งเศส ซึ่งไม่เข้ากับสมัยชาตินิยมต่อต้านฝรั่งเป็นอย่างยิ่ง

ในงานเรื่องการปฏิวัติสยาม พ.ศ.2475 ของ นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ ยังชี้ให้เห็นด้วยว่า การขยายตัวของการรู้หนังสือ นำมาสู่ช่องทางใหม่ในการเรียกร้องความเป็นธรรมในระบบ นั่นคือ การเขียนฎีกาและการส่งหนังสือร้องทุกข์ ช่องทางการต่อสู้ลักษณะนี้ ไม่มีความจำเป็นสำหรับชนชั้นสูง เพราะสามารถแสดงออกด้วยช่องทางอื่นที่มีประสิทธิภาพกว่า แต่สำหรับชนชั้นกลาง และประชาชนชั้นล่าง นี่กลายเป็นช่องทางสำคัญในการเล่าความทุกข์ และนำเสมอให้ชนชั้นสูงได้รับรู้ จึงพบหลักฐานว่า มีฎีกาเหล่านี้ หลงเหลืออยู่นับพันฉบับ ซึ่งแสดงให้เห็นปัญหาความไม่เป็นธรรมจำนวนมากที่เกิดขึ้นภายใต้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 เกิดการพัฒนาของวิชาชีพหนังสือพิมพ์ ซึ่งกลายเป็นพื้นที่ใหม่ให้กับชนชั้นกลาง ในการเสนอความคิดเห็นต่อสังคม รวมทั้งการวิพากษ์ต่อความเหลื่อมล้ำ และเสนอแนวคิดใหม่เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ และรัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้ง นอกจากนี้ หนังสือพิมพ์ยังช่วยในการพัฒนาสำนึกแห่งความเท่าเทียมกัน ทำให้สิทธิที่ได้มาโดยชาติกำเนิด ไม่เป็นที่ยอมรับมากขึ้น และทำให้การปฏิวัติ 2475 ได้รับปฏิกิริยาในเชิงบวกมากกว่าที่เข้าใจ

จากบริบททั้งหมดที่กล่าวมา จะเห็นได้ว่ากระแสประชาธิปไตยเป็นลมตะวันตกชุดหนึ่ง ที่หอบเอาความเปลี่ยนแปลงมาสู่สยาม นำประเทศสยามสู่ระบอบรัฐธรรมนูญ การเลือกตั้งสภาภายใต้ระบบตัวแทน และนำอำนาจการปกครองออกจากกลุ่มเจ้านายเชื้อพระวงศ์ ไปสู่กลุ่มสังคมอื่นที่กว้างขวางมากขึ้น นำเอาลัทธิชาตินิยมไทยมาสู่ประเทศไทย แล้วเปิดโอกาสทางเศรษฐกิจให้แก่ระบอบทุนนิยม และนี่คือความก้าวหน้าที่เกิดขึ้นจากการปฏิวัติ 2475




เผยแพร่ครั้งแรกใน: โลกวันนี้วันสุข ฉบับ 622 วันที่ 24 มิถุนายน 2560

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

85 ปี 24 มิถุนายน 2475: สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ การปฏิวัติ 2475 ต้องเกิด แม้ไม่มีคณะราษฎร

Posted: 27 Jun 2017 11:11 PM PDT

'สุธาชัย' ชี้การกำเนิดของชนชั้นกลางและหนังสือพิมพ์ในสยามเป็นต้นทางการปฏิวัติ 2475 ย้ำกระแสประสวัติศาสตร์โลกสมบูรณาญาสิทธิราชย์ถูกโค่นล้ม การเปลี่ยนแปลงต้องเกิดขึ้นไม่ว่าจะมีคณะราษฎรหรือไม่

สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ (คนขวา)

ในโอกาสครบรอบ 85 ปีแห่งการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชสู่ประชาธิปไตย รายงานการสัมมนาชิ้นนี้คือส่วนหนึ่งของการรำลึกถึงเหตุการณ์ในครั้งนั้น ในหัวข้อ 'การเมืองกับประวัติศาสตร์-ประวัติศาสตร์กับการเมือง ตอน การเมืองในชีวิตประจำวัน (Politics of Everyday Life' จัดโดยภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน ณ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผศ.ดร. สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ ประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า

"จริงๆ แล้วผมไม่ค่อยเชื่อเรื่องการลักหมุด ขโมยหมุด แต่ผมกลับคิดว่า มันชี้ว่า 85 ปีที่ผ่านมานี้ประวัติศาสตร์ของคณะราษฎรยังไม่จบ มันอาจจะเชื่อมโยงกับการเมืองในระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา ซึ่งผมแปลกใจมากที่ว่ามีพวกอนุรักษ์นิยมที่ไม่ชอบระบบประชาธิปไตยที่มีรัฐสภา มีการเลือกตั้ง มีรัฐธรรมนูญที่เป็นแบบแผน เขาอธิบายว่าระบบนี้ไม่เหมาะสมกับประเทศไทยเพราะชาวบ้านยังไม่พร้อม แต่เขาพอใจมากกว่ากับระบบที่กองทัพยึดอำนาจ แล้วอ้างการปฏิรูปประเทศไปเรื่อยๆ แล้วก็ออกรัฐธรรมนูญฉบับหนึ่งที่ไม่ได้เป็นแบบแผนอะไรเลย เขาเห็นระบบแบบนี้เป็นความชอบธรรม หรืออย่างน้อยที่สุดก็ชอบธรรมกว่าระบบประชาธิปไตยที่มีการเลือกตั้งและมีรัฐธรรมนูญเป็นแบบแผน แล้ว 85 ปีก็ยังเห็นว่าประชาชนยังไม่พร้อมอยู่นั่นเอง

"ดังนั้นมันเลยย้อนกลับไปสู่โจทย์เมื่อสักครู่นี้คือ ทำให้คณะราษฎรตกเป็นจำเลย เราคงทราบกันดีว่าคณะราษฎรตกเป็นจำเลยมาเป็นเวลาช้านาน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องชิงสุกก่อนห่ามทั้งๆ ที่ในหลวงจะพระราชทานอยู่แล้ว แล้วคณะราษฎรก็มายึดอำนาจ แต่ในระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมานี้มันบอกเราอยู่อย่างหนึ่งว่าคณะราษฎรเอาระบบการเมืองที่ไม่เหมาะสมนักมาสู่ประเทศไทย เป็นระบบการเมืองที่มันห่วย มันทุเรศ มันนำมาซึ่งนักการเมืองที่ทุจริต คำถามคือ มันจริงอย่างนั้นหรือเปล่า

"ผมจึงจะขอย้อนกลับไปเมื่อปี 2475 มาตั้งคำถามกันเสียใหม่ว่า ฐานะของการเปลี่ยนแปลงการปกครองหรือที่เราเรียกว่าการปฏิวัติในปีนั้น มันอยู่ตรงไหน โดยผมจะตั้งคำถามว่า ประเทศสยามเมื่อปี 2475 นั้นอยู่ตรงไหนในระบบการเมืองของโลก ดังนั้น ผมจะมอง 2475 ใหม่ในฐานะกระแสทางการเมืองช่วงหนึ่งที่นำมาสู่การเปลี่ยนแปลงในสังคมประเทศไทย การที่จะเข้าใจอย่างนี้ได้ หนึ่งเราต้องเข้าใจกระแสทางการเมืองโลกก่อน

"ผมคิดว่ากระแสทางการเมืองของโลกในขณะนั้นคือ 2475 ตรงกับปี 1932 ตรงกับกระแสการทำลายระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ทั่วโลก ถ้าย้อนกลับไปก่อนหน้านี้คือก่อนปี 1914 จะพบว่ามันมีสมบูรณาญาสิทธิราชย์อยู่หลายแห่ง แต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เป็นต้นมา ระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มันถูกโค่นในเยอรมนี ออสเตรีย-ฮังการี ต่อมาของรัสเซียก็ถูกโค่น ต่อมาตุรกีก็ถูกโค่น และการถูกโค่นของกษัตริย์เหล่านี้นำไปสู่สาธารณรัฐทั้งหมด หมายความว่าระบบการเมืองที่เคยเป็นสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในยุโรปมันถูกโค่นไปหมดแล้วอย่างน้อยที่สุดปี 1918 และท้ายที่สุดคือตุรกีปี 1923 ยิ่งกว่านั้นก็มีประเทศสเปนในปี 1931 คือก่อนการปฏิวัติ 2475 ในประเทศไทยเพียง 1 ปี

"ประเทศที่เหลือที่ยังมีระบบกษัตริย์อยู่ก็จะมีระบบสภา ระบบรัฐธรรมนูญ ทั้งในยุโรปและเอเชีย ในเอเชียนั้น ประเทศจีนปฏิวัติโค่นระบบกษัตริย์ไปแล้วตั้งแต่ปี 1911 ประเทศญี่ปุ่นแม้จะยังมีระบบกษัตริย์อยู่ แต่เขามีรัฐธรรมนูญและมีสภา สรุปคือฐานะของประเทศสยามเมื่อปี 2475 ที่มีสมบูรณาญาสิทธิราชย์และไม่มีสภา ไม่มีรัฐธรรมนูญ เป็นประเทศเดียวในโลกที่มีระบบการเมืองแบบนั้นในปีนั้น หมายความว่ามองดูทิศทางของประเทศนั้น สยามเป็นประเทศสุดท้ายที่มีระบบการเมืองล้าหลังที่สุด เป็นประเทศเดียวในโลกที่มีสมบูรณาญาสิทธิราชย์เมื่อปี 1932 อันนี้เป็นข้อที่หนึ่ง

"ย้อนกลับไปสู่คำถามที่ว่า อะไรเกิดขึ้นในไทยเมื่อปี 2475 ผมก็จะตอบว่า กระแสใหม่หรือกระแสลมประชาธิปไตยจากตะวันตกพัดเข้ามาสู่สังคมไทยแล้ว ดังนั้น ไม่ว่าจะมีคณะราษฎรหรือไม่มีคณะราษฎร การเปลี่ยนแปลงชนิดนี้ก็ยังต้องเกิดขึ้น หรือพูดใหม่ว่าการปฏิวัติแบบนี้ต้องเกิดขึ้นวันยังค่ำตราบที่ชนชั้นนำไทยไม่ตระหนัก"

"ข้อที่สอง สังคมสยามก่อน 2475 เป็นอย่างไร สังคมสมัยนั้นเป็นแบบชนชั้น มีเจ้านายและขุนนางที่มีอภิสิทธิ์เหนือไพร่ สิทธิของชนชั้นขุนนางและเจ้านายมาจากไหน เราอาจจะนึกไม่ถึงว่ามันมาจากชาติกำเนิด หมายความว่าความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยเป็นความเหลื่อมล้ำโดยชาติกำเนิด คือเกิดมาแล้วก็เหลื่อมล้ำเลย คนที่เกิดมาเป็นไพร่กับคนที่เกิดมาในตระกูลขุนนางหรือคนที่เกิดมาในชนชั้นเจ้าก็ไม่เท่ากัน สิทธิของชนชั้นในสยามจึงเป็นสิทธิที่ได้มาโดยชาติกำเนิด แล้วการที่สยามไม่มีระบบตัวแทนเลย ไม่มีระบบผู้แทนที่มาจากชนชั้นอื่นเลย หมายความว่าชนชั้นสูงผูกขาดอำนาจทางการเมืองทั้งหมด ในทางกฎหมาย ชนชั้นสูงก็ผูกขาดอำนาจด้วย พวกเขามีอภิสิทธิ์ในการไม่ต้องเสียภาษี ไม่ต้องถูกดำเนินคดีในศาลยุติธรรม และมีโภคทรัพย์ สรุปแล้วคือเมื่อระบบสังคมมันเหลื่อมล้ำ คำถามของเราคือว่าในเวลานั้นมีประเทศไหนในโลกบ้างที่ยังมีระบบสังคมแบบนี้ คำตอบคือ ไม่มีเลย

"เหตุการณ์ทั้งหมดน่าจะยังคงดำเนินต่อไปถ้ามันไม่เกิดชนชั้นกลาง ชนชั้นกลางนี้มาจากไหน อันที่หนึ่งคือตั้งแต่สนธิสัญญาเบาว์ริงเป็นต้นมา สยามมีกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ เกิดเป็นเศรษฐกิจแบบทุนนิยม เกิดชนชั้นพ่อค้า ชนชั้นกลาง นอกจากนั้น ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 เป็นต้นมามีการปฏิรูประบบราชการ ก็เกิดเป็นข้าราชการสมัยใหม่ขึ้นมา เราจึงพบว่าตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 รัชกาลที่ 6 และรัชกาลที่ 7 สิ่งที่พัฒนาขึ้นมาก็คือเมืองสมัยใหม่ ซึ่งเป็นเมืองที่อาศัยของชนชั้นกลางหรือชนชั้นกรรมาชีพสมัยใหม่ โภคทรัพย์ในสังคมเริ่มกระจายไปอยู่ในมือชนชั้นกลาง แต่ปัญหาคือระบบมันเป็นระบบกึ่งศักดินา ชนชั้นศักดินากุมอำนาจ ชนชั้นกลางไม่มีบทบาททางการเมือง เราก็จะเห็นว่ามันมีแรงกดดันทางสังคม อย่างน้อยที่สุดก็มีการออกนอกอำนาจของชนชั้นกลาง

"พูดถึงลัทธิชาตินิยม ต้องเข้าใจอย่างหนึ่งว่าลัทธิชาตินิยมเกิดขึ้นทั่วเอเชีย มันเป็นชาตินิยมที่เข้าไปต่อสู้และวิพากษ์ระบบอาณานิคม ระบบชาตินิยมในไทยเราอธิบายกันว่าเกิดขึ้นในรัชกาลที่ 6 แต่เราต้องเข้าใจว่าชาตินิยมของรัชกาลที่ 6 เป็นชาตินิยมชนชั้นสูง เป็นชาตินิยมที่เน้นเรื่องความภักดีมากกว่าความรักชาติบ้านเมือง ถ้าถามพระองค์ว่าชาติสยามคืออะไร พระองค์จะตอบว่าคุณลักษณะอันหนึ่งของชาติก็คือความภักดี ยิ่งกว่านั้นชาตินิยมของพระองค์ไม่มีผลกระทบกระจายไปสู่สังคมภายนอก เมื่อรัชกาลที่ 7 ขึ้นครองราชย์ พระองค์เลิกชาตินิยมของรัชกาลที่ 6 ทั้งหมด และไม่มีการรณรงค์เรื่องชาตินิยมใดๆ เลยในสมัยนั้น

"ปัญหาคือ เราต้องเข้าใจว่าตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 เป็นต้นมาชนชั้นนำของเราถูกส่งไปเรียนเมืองนอกตั้งแต่เด็ก พวกเจ้านายจึงโตขึ้นมากับฝรั่ง ดังนั้น มันจึงไม่เกิดชาตินิยมในหมู่ชนชั้นนำที่ไปเรียนต่อเมืองนอก หรืออย่างน้อยที่สุด ความรู้สึกของชนชั้นนำสยามคือฝรั่งสามารถคุยได้ สามารถเจรจาต่อรองกันได้ ซึ่งอันนี้จะขัดกับหลักชาตินิยมของชนชั้นกลาง เพราะชนชั้นกลางจะต่อต้านฝรั่ง อย่างรัชกาลที่ 7 ที่ทราบกันดีคือพระองค์รู้ภาษาอังกฤษดีกว่าภาษาไทย พระองค์เขียนเป็นภาษาอังกฤษ และชนชั้นเจ้านายนั้นเวลาคุยกันส่วนตัวจะคุยเป็นภาษาอังกฤษบ้าง ภาษาฝรั่งเศสบ้าง ซึ่งอันนี้ขัดแย้งกับกระแสชาตินิยมที่เกิดขึ้นตั้งแต่ 2470 เป็นต้นมา คือชนชั้นนำของไทยนั้นไม่ชาตินิยมเลย

"เรื่องทั้งหมดจะไม่เกิดขึ้นเลยถ้าไม่เกิดหนังสือพิมพ์ เราจะพบว่าตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 เป็นต้นมา มันเกิดหนังสือพิมพ์ขึ้น หนังสือพิมพ์เป็นพื้นที่ใหม่ที่ชนชั้นนำคุมไว้ได้ ในหนังสือพิมพ์จะเริ่มมีบทความหรือการเสนอความเห็น หรือพูดใหม่ว่าหนังสือพิมพ์เป็นหน้าต่างของชนชั้นกลาง สะท้อนความคิดของชนชั้นกลาง เป็นพื้นที่ที่ชนชั้นกลางจะได้มาเล่าเรื่องของตัวเอง ชนชั้นสูงก็เล่า แต่ชนชั้นสูงก็จะมีหนังสือพิมพ์ของพวกเขา ส่วนหนังสือพิมพ์ที่ออกมาตั้งแต่รัชกาลที่ 6 จนถึงต้นรัชกาลที่ 7 นั้น ส่วนมากเป็นหนังสือพิมพ์ของชนชั้นกลาง หนังสือพิมพ์เหล่านี้จะวิพากษ์ความเหลื่อมล้ำในสังคม เสนอแนวคิดใหม่ เสนอแนวคิดเรื่องรัฐสภา เรื่องรัฐธรรมนูญ เรื่องชาตินิยม เรื่องการปฏิวัติในประเทศจีน แม้กระทั่งเรื่องระบบสาธารณรัฐ มันมากับหนังสือพิมพ์ทั้งนั้น มันจึงพบว่ากระแสเหล่านี้เองที่อยู่มานาน

"ย้อนกลับไปสู่คำถามที่ว่า อะไรเกิดขึ้นในไทยเมื่อปี 2475 ผมก็จะตอบว่า กระแสใหม่หรือกระแสลมประชาธิปไตยจากตะวันตกพัดเข้ามาสู่สังคมไทยแล้ว ดังนั้น ไม่ว่าจะมีคณะราษฎรหรือไม่มีคณะราษฎร การเปลี่ยนแปลงชนิดนี้ก็ยังต้องเกิดขึ้น หรือพูดใหม่ว่าการปฏิวัติแบบนี้ต้องเกิดขึ้นวันยังค่ำตราบที่ชนชั้นนำไทยไม่ตระหนัก

"คราวนี้ถามว่าชนชั้นนำไทยตระหนักหรือเปล่า ผมคิดว่าไม่ตระหนักจนกระทั่งถึงสมัยรัชกาลที่ 7 ชนชั้นนำก็ยังคงคิดว่าระบบที่ดีที่สุดของประเทศไทยคือระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ประชาชนของสยามนั้นไม่พร้อมเรื่อยมา ไม่พร้อมตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ถึง 6 แล้วก็ยังไม่พร้อมจนรัชกาลที่ 7 ประชาชนสยามไม่มีการศึกษาหรือมีการศึกษาน้อย ดังนั้น ระบบเก่าที่อำนาจรวมศูนย์อยู่ในมือพระมหากษัตริย์จึงเป็นระบบที่ดีอยู่แล้ว แต่ผมคิดว่าในหมู่ชนชั้นกลางนั้นไม่ใช่ ระบบประชาธิปไตยจึงเกิดขึ้นโดยผ่านกระบวนการปฏิวัติเมื่อปี 2475

"ผมคิดตามมามากกว่านั้น ก็คือการที่อำนาจทางการเมืองกระจายจากชนชั้นสูงจำนวนน้อยนิดจำนวนหนึ่งไปสู่กลุ่มคนต่างๆ ในสังคมที่กว้างขวางมากขึ้นโดยผ่านกระบวนการเลือกตั้ง ผ่านกระบวนการที่ประชาชนจะต้องมีส่วนร่วม ระบบกฎหมายที่เคยถูกผูกขาดการตีความหรือการใช้อยู่ในมือคนจำนวนหนึ่งก็ถูกสร้างเป็นระบบรัฐธรรมนูญที่มีการกำหนดกฎเกณฑ์ที่แน่นอนชัดเจนว่าประชาชนอยู่ตรงไหน

"ที่สำคัญยิ่งกว่านั้นคือมันทำลายระบบกึ่งศักดินา ทำลายเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ เราจะพบว่ารัฐบาลหลัง 2475 มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายทางเศรษฐกิจมากมายที่จะนำมาสู่การวางเงื่อนไขและการพัฒนามาสู่ระบบทุนนิยม อาจจะเหมือนการเกิดรัฐวิสาหกิจ ซึ่งก่อนหน้านี้ไม่มีการเกิดนโยบายการเงิน การคลัง การตั้งธนาคารชาติ อาจจะรวมถึงสมัยต่อมาที่มีการรวมกลุ่มในปลายสมัยจอมพล ป. ดังนั้น ผมจึงขอสรุปว่าการเมืองในประวัติศาสตร์ยังมีประเด็นต่างๆ ที่เรายังอาจไม่เข้าใจหรืออาจจะตอบไม่ได้อีกจำหนึ่ง และผมคิดว่าคำถามที่ผมอยากเสนอวันนี้ก็คือ เมื่อปี 2475 นั้นสังคมไทยอยู่ตรงไหน"

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ทำไมข้าพเจ้าจึงปฏิเสธที่จะไปร่วมงานวันชาติของสหรัฐอเมริกา

Posted: 27 Jun 2017 11:09 PM PDT

เมื่อสองอาทิตย์ที่แล้ว ข้าพเจ้าได้รับจดหมายเชิญอย่างเป็นทางการของสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยส่งจ่าหัวมาที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ถึงข้าพเจ้า โดยแจ้งว่าข้าพเจ้าเป็นหนึ่งในผู้มีเกียรติประจำปีนี้ที่จะได้เข้าร่วมงานเฉลิมฉลองวันประกาศอิสรภาพครบรอบ 241 ปีของประเทศนั้น ซึ่งงานเฉลิมฉลองจะจัดขึ้นในวันที่ 29 มิถุนายน ณ โรงแรม อินเตอร์คอนติเนล กรุงเทพมหานคร

สำหรับข้าพเจ้า นักศึกษาธรรมดาคนหนึ่งย่อมเป็นเกียรติอย่างสูง

อย่างไรก็ดี การถูกเชิญไปก็ทำให้ข้าพเจ้ามีคำถามว่า เหตุที่ข้าพเจ้าได้รับเชิญนั้นเพราะอะไร ข้าพเจ้าก็ไม่ได้ต่างอะไรกับนิสิตนักศึกษาคนอื่นๆหรอก หากแต่ข้าพเจ้าพยายามคิดให้เป็นตัวของตัวเอง และเมื่อเกิดความคิดเช่นนั้นก็ทำให้รณรงค์ขับเคลื่อนให้เกิดประชาธิปไตยขึ้นในระบบการศึกษาของไทยที่เน่าเฟะ สังคมมหาวิทยาลัย และสังคมระดับประเทศชาติ อันเป็นสิ่งที่พลเมืองพึงจะทำอยู่แล้ว ดังนั้นการได้รับเชิญในครั้งนี้ก็คงจะเป็นเพราะทางสหรัฐอเมริกาเห็นความสำคัญของประชาธิปไตยไทยว่าสำคัญ เห็นว่าเยาวชนและประชาชนที่หวงแหนและต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยเป็นสิ่งที่สำคัญ สมดังที่บรรดาผู้ก่อตั้งประเทศสหรัฐอเมริกาก็ได้สร้างประเทศขึ้นบนการถ่วงดุลและแบ่งแยกอำนาจ และสิทธิเสรีภาพในการคิดและแสดงออก ซึ่งจะมีก็เฉพาะในสังคมประชาธิปไตยเท่านั้นที่มีคุณสมบัติเหล่านี้ ในฐานะที่ได้รณรงค์เคลื่อนไหวมาย่อมปีติยินดีที่ได้รับเชิญ สหรัฐอเมริกามีนักต่อสู้เพื่อสิทธิพลเมืองและเสรีภาพจำนวนมากมาย เช่น ตั้งแต่โทมัส เจฟฟอร์สัน โทมัส เพน (ผู้เขียน Rights of Man)จนถึง ยูจีน เดบบ์ (Eugene V. Debs) เอเลนอร์ รูสเวล เฮเลน เคเลอร์ มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ และโรซ่า พารค์ ฯลฯ ดังนั้นการที่ได้รับเชิญให้ไปร่วมงานอิสรภาพโดยประเทศที่ก่อเกิดนักคิด นักต่อสู้และผู้นำที่สรรเสริญสิทธิเสรีภาพย่อมทำให้นักศึกษาผู้ศรัทธาในประชาธิปไตยคนนี้ย่อมปีติอย่างหาที่สุดมิได้

ทว่า เมื่อคิดหลายๆครั้งแล้ว ข้าพเจ้ากลับรู้สึกถึงความขัดแย้งกันเกิดขึ้นของบทบาทสหรัฐอเมริกา 1) สหรัฐอเมริกาเชิญข้าพเจ้าไปในฐานะที่เป็นนักศึกษาเพื่อประชาธิปไตย เหมือนที่บรรดาผู้ก่อตั้งประเทศของเขาเห็นความสำคัญแล้ว แล้วเหตุใด 2) ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา โดนัล ทรัมป์ ถึงเชิญพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรัฐประหาร คสช ไปเยี่ยมทำเนียบขาวเล่า มันขัดแย้งกันไหม ถ้าสหรัฐอเมริกาห่วงใยสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตยแท้จริงแล้ว จะยินดีจับมือกับผู้นำเผด็จการที่ทำการละเมิดสิทธิมนุษยชน จับกุมขังคนคิดแตกต่าง ทำลายสิ่งแวดล้อมทรัพยากรในชาติ ทำลายกระบวนการตรวจสอบไม่มีหลักธรรมาภิบาล ปิดกั้นการแสดงความคิดเห็นในสาธารณะของคนที่คิดต่างและในพื้นทีทางวิชาการได้อย่างไร โดยที่การมาของคณะรัฐประหารกว่าสามปีแล้วก็พิสูจน์ว่าได้กัดกร่อนทำลายประชาธิปไตยทั้งในเชิงรูปแบบและเนื้อหาสาระ ทำไมสหรัฐอเมริกาถึงไม่มีท่าทีต่อเรื่องนี้ในสมัยประธานาธิบดีคนปัจจุบัน ไม่ตักเตือนในสิ่งที่คณะรัฐประหารย่ำยีคนในชาติ ซึ่งสำหรับชาวสหรัฐอเมริกาเองก็คงรู้ว่า สิทธิเสรีภาพมีความหมายกับพวกเขามากแค่ไหน เป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาพลเมืองและประเทชาติ (ดังที่มีวลีว่า " (เสรีภาพหรือความตาย) "และในคำประกาศอิสรภาพของสหรัฐอเมริกา) ประชาชนคนไทยก็ไม่ต่างกับคนอเมริกัน ควรได้สิทธิและเสรีภาพนี้

เมื่อข้าพเจ้าได้รับเลือกให้เป็นประธานสภานิสิตจุฬาฯ ข้าพเจ้าได้แถลงวิสัยทัศน์ไว้ในตอนหนึ่งว่า ข้าพเจ้าจะเป็นประธานสภานิสิต เป็นผู้นำองค์การนักศึกษาที่แตกต่างกับที่แล้วมา ข้าพเจ้าจะกู้ศรัทธาว่า คนที่เล่นการเมืองนั้นสามารถสร้างความหวังได้จริงๆ ข้าพเจ้าจะเป็นผู้นิยมในระบอบประชาธิปไตยและสังคมเสรีอย่างไม่ปิดบัง ข้าพเจ้าจะมีความกล้าหาญทางจริยธรรมในยุคสมัยที่การทำตามๆกันเป็นสิ่งที่ถูกต้องที่สุด สำหรับข้าพเจ้า การแสดงออกในเรื่องนี้เป็นสิ่งที่พึงกระทำ เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งต่อการสร้างสังคมประชาธิปไตยให้เกิดขึ้น

ข้าพเจ้าจะมีความสุขใจได้อย่างไรเมื่อข้าพเจ้าเฉลิมฉลองในขณะที่เพื่อนนักเรียนนักศึกษา และเพื่อนๆคนไทยด้วยกันยังไม่ได้รับความเป็นธรรม และไม่สามารถที่จะแสดงความคิดเห็นได้จริงๆ กรณีการเรียกร้องให้เปิดเผยกรณีรถไฟไทย-จีน น่าจะเป็นตัวอย่างได้ดีถึงความไม่โปร่งใสและความเผด็จการของคณะรัฐประหาร ซึ่งจะทำลายอนาคตทางเศรษฐกิจและผลประโยชน์ของคนไทยในรุ่นปัจจุบันและอนาคต

ท้ายที่สุด ข้าพเจ้าขอขอบคุณท่านเอกอัครราชทูตกลิน ที เดวีส์ ที่เชิญข้าพเจ้าไปงาน มีจดหมายตอบกลับข้าพเจ้ากรณีเรื่องสนธิสัญญาปารีสโดยจะส่งความเห็นของสภานิสิตไปยังทำเนียบขาว และมีอัธยาศัยไมตรีต่อประเทศไทย หลายครั้งท่านได้แสดงจุดยืนสนับสนุนประชาธิปไตยสิทธิเสรีภาพอย่างแจ้งชัด เจ้าหน้าที่ของสถานทูตอเมริกาท่านอื่นๆด้วย ข้าพเจ้าหวังว่าสิ่งที่ข้าพเจ้าได้เขียนนี้จะส่งไปถึงท่านประธานาธิบดีประกอบการพิจารณาในการเชิญพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ไปที่ทำเนียบขาว ข้าพเจ้าไม่มีเจตนาร้ายใดๆต่อสหรัฐอเมริกา ในระบอบประชาธิปไตย เสียงทุกเสียงสำคัญ ข้าพเจ้าคาดหวังว่านี่จะเป็นเสียงหนึ่งที่ท่านจะรับฟังเหตุผลทั้งหมดนี้ที่นิสิตคนหนึ่งจำต้องปฏิเสธที่จะเข้าร่วมในงานฉลองวันประกาศอิสรภาพของสหรัฐอเมริกาด้วยความหวังดี ข้าพเจ้าหวังว่าสหรัฐอเมริกาจะคิดถึงสิทธิเสรีภาพของคนไทยที่ถูกลิดรอน และฟื้นฟูแสดงจุดยืนอย่างแจ้งชัดในการส่งเสริมประชาธิปไตยในประเทศไทย เป็นเพื่อนที่ดีต่อกัน อย่างเสมอบ่าเสมอไหล่ ในการนำสังคมทั้งสองไปสู่สังคมที่ทุกคนมีสิทธิ อิสรภาพและความสุขแห่งชีวิตของแต่ละบุคคล

 

เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

นิธิ เอียวศรีวงศ์: รัฐบาลทหารกับการเลือกตั้ง

Posted: 27 Jun 2017 10:33 PM PDT



คนที่ห่วงที่สุดว่าจะมีการเลือกตั้งหลังงานออกพระเมรุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ ตามแผนที่วางไว้หรือไม่ น่าจะเป็นคณะทหารที่ทำการยึดอำนาจบ้านเมืองมากว่า 3 ปีมากกว่านักการเมือง เพราะการเลือกตั้งจะเป็นความชอบธรรมเพียงอย่างเดียวที่เหลืออยู่แก่พวกเขา ถึงอย่างไรรัฐธรรมนูญก็เขียนให้การสืบทอดอำนาจโดยตรงหรือโดยแฝงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้อยู่แล้ว

นับตั้งแต่การรัฐประหารใน 2490 เป็นต้นมา การเลือกตั้งและผลของการเลือกตั้งเป็นสิ่งที่ผู้มีอำนาจกำหนดขึ้นเองทั้งนั้น และหากไม่นับรัฐธรรมนูญ 2540 ฉบับเดียว ผู้มีอำนาจย่อมรวมทหารอยู่ด้วยเสมอ และถืออำนาจกำกับผู้ร่างรัฐธรรมนูญ ทั้งหมดบ้าง บางส่วนบ้างเสมอมา ฉะนั้น นายกฯ ทหาร หรือรัฐบาลทหาร จึงไม่เคยลงจากตำแหน่งเพราะแพ้การเลือกตั้งสักที ถึงอย่างไรก็รวบรวมเสียงสนับสนุนในสภาให้พอจัดตั้งรัฐบาลทหารได้เสมอ

จอมพล ป. พิบูลสงคราม จำเป็นต้องลงเลือกตั้ง ก็ต่อเมื่อทหารทำท่าว่าจะกลับเข้ากรมกองเพื่อเตรียมรบกับตำรวจ แทนที่จะยืนเท้าสะเอวปกป้องรัฐบาลอยู่เบื้องหลังต่อไป เช่นเดียวกับ พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ลงเลือกตั้งเพราะไม่มีกองทัพหนุนหลังแล้ว ส่วน พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ และ พลเอกสุจินดา คราประยูร ไม่เคยและไม่คิดจะสมัครรับเลือกตั้งเลย

แน่นอนครับ การได้รับเลือกจากสภาผู้แทนราษฎรซึ่งมาจากการเลือกตั้ง (บางส่วนหรือทั้งหมดก็ตาม) ย่อมเป็นความชอบธรรมทางการเมืองอย่างปฏิเสธไม่ได้ แต่เป็นความชอบธรรมที่ไม่แข็งแกร่งเท่ากับได้รับเลือกจากเสียงส่วนใหญ่ของสภา ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกในพรรคของตนเองเกินครึ่ง ยิ่งมากมายท่วมท้นขึ้นไปเท่าไร ก็ยิ่งไม่ต้องอาศัยความชอบธรรมจากทางอื่นมากขึ้นเท่านั้น

(ลองนึกเถิดว่า ถ้าทักษิณ หรือ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นผู้นำกองทัพด้วย จะหมดท่ากันไปสักเท่าไรแล้วนี่)

แปลกดีนะครับ ทหารเองเป็นผู้กำหนดกติกาของการเลือกตั้งและผลของการเลือกตั้งเป็นส่วนใหญ่ แต่กลับไม่กล้าลงเลือกตั้ง หรือพยายามหลีกเลี่ยงการเลือกตั้ง และสืบมาจนถึงทุกวันนี้ กองทัพไม่สามารถสร้างความชอบธรรมทางการเมืองให้แก่ตนเองได้ ต้องอาศัยความชอบธรรมในการยึดอำนาจจากภายนอกกองทัพเสมอมา

ไม่ต่างจากกองทัพฟิลิปปินส์ (อาศัยความชอบธรรมจากกลุ่ม cacique หรือเจ้าพ่อท้องถิ่นซึ่งใช้การเลือกตั้งเป็นการจัดสรรอำนาจระหว่างกัน) กองทัพพม่า (ใช้บทบาทการกู้ชาติและรักษาความเป็นอันหนึ่งอันเดียวของสหภาพเป็นความชอบธรรมทางการเมืองของตน แต่เป็นความชอบธรรมที่ไม่แข็งแกร่งนัก เพราะวิธีรักษาเอกภาพของสหภาพที่กองทัพทำอยู่ ไม่บังเกิดผลมากไปกว่าตัวหนังสือในกฎหมาย และทำให้ต้องใช้วิธีบีบบังคับด้วยความรุนแรงสูง)

แม้ว่าภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะเป็นสรวงสวรรค์ของนักการเมืองในคราบทหาร แต่รูปแบบของการถืออำนาจทางการเมืองของกองทัพไม่จำเป็นต้องเหมือนฟิลิปปินส์-พม่า-ไทย (อาศัยความชอบธรรมจากภายนอก) อย่างเดียว กองทัพกัมพูชาและอินโดนีเซียลงเลือกตั้ง และสร้างความชอบธรรม (ส่วนหนึ่งที่ใหญ่พอสมควร) จากผลการเลือกตั้ง สามารถครองอำนาจได้อย่างสืบเนื่องมาอย่างยาวนาน…เกิน 3 ทศวรรษ… ทั้งคู่

ในกรณีกัมพูชา ความจำเป็นในการจัดเลือกตั้ง อาจมาจากสหประชาชาติ ซึ่งเป็นผู้นำยุติความขัดแย้งในกัมพูชา และร่างรัฐธรรมนูญที่ทุกฝ่ายซึ่งขัดแย้งกันอยู่ (รวมจีน, ไทย และสหรัฐ ซึ่งไม่อยู่ในสนามรบโดยตรงหรือโดยเปิดเผย) ยอมรับได้ รัฐธรรมนูญที่ทุกฝ่ายยอมรับได้ จึงบังคับให้มีการเลือกตั้งอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ กองทัพกัมพูชาซึ่งประกอบด้วยพลพรรคเขมรแดงทางภาคตะวันออก ซึ่งรอดพ้นจากการกวาดล้างของเขมรแดงฝ่าย พล พต (ซึ่งมีฐานกำลังทางทหารที่ภาคตะวันตกเฉียงใต้ของตาม็อก) จะถืออำนาจต่อไปในกัมพูชาได้อย่างไร

ผมอยากให้สังเกตด้วยนะครับว่า การเลือกตั้งในกัมพูชาไม่ได้เพียงให้ความชอบธรรมแก่ผู้ถืออำนาจจากประชาชนกัมพูชาเพียงฝ่ายเดียว ยังได้ความชอบธรรมจากมหาอำนาจที่แทรกแซงกัมพูชาอย่างหนักอยู่ในเวลานั้น โดยเฉพาะสหรัฐและยุโรปตะวันตก ซึ่งเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือหลักแก่การฟื้นฟูกัมพูชา การเลือกตั้งในกัมพูชา ยังทำให้จีนสบายใจขึ้นที่กัมพูชาไม่เป็นต้นเหตุให้เกิดความตึงเครียดในความสัมพันธ์กับตะวันตกด้วย

การเลือกตั้งจึงดีแก่ทุกฝ่ายมากกว่าที่กองทัพกัมพูชาจะยึดอำนาจแล้วฉีกรัฐธรรมนูญทิ้งภายใน 1 ปี

นับเป็นโชคดีของกองทัพกัมพูชา ท่ามกลางความจำเป็นที่การแย่งชิงอำนาจต้องไปอยู่ที่หีบบัตรเลือกตั้ง กองทัพได้ ฮุน เซน เข้ามาเป็นผู้นำ เพราะเขาฉลาดทางการเมือง ตัดสินใจไม่พลาด และกล้าตัดสินใจในยามฉุกเฉินได้ทันท่วงทีเสมอ อันที่จริงแล้ว ฮุน เซน ก็เด่นอยู่เหมือนกันในบรรดากองกำลัง "แนวร่วมเพื่อเพื่อความหลุดพ้นแห่งชาติ" (United Front for National Salvation) แต่ไม่ใช่คนเด่นที่สุด ผู้ที่น่าจะเป็นผู้นำของที่แท้จริงของ "สาธารณรัฐประชาชนกัมพูชา" คือ จันสี (Chan Sy) ซึ่งถึงแก่กรรมอย่างกะทันหัน (จนบัดนี้ก็ไม่มีใครแน่ใจว่าเขาตายตามธรรมชาติหรือไม่) และทำให้ ฮุน เซน ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีใน 1985 (2528) สืบมาจนทุกวันนี้

ผมอยากให้สังเกตตรงนี้ด้วยว่า ผู้นำกองทัพของประเทศที่อยู่ภายใต้เผด็จการทหารเป็นเวลานานๆ นั้น ไม่ได้ขึ้นมาเป็นผู้นำเพราะอยู่ใน "เส้นสาย" ที่ถูกต้อง แต่ต้องผ่านการชิงไหวชิงพริบกันมาในกองทัพอย่างหนัก ฉวยจังหวะได้ทันท่วงที ใช้ความสามารถทางการเมืองและการทหารที่จะทำให้ฝ่ายอื่นกลุ่มอื่นยอมรับหรือต้องยอมรับ จึงสามารถเถลิงอำนาจขึ้นเป็นผู้นำกองทัพได้ เนวินของพม่าก็ใช่ ซูฮาร์โตแห่งอินโดนีเซียก็ใช่ และผมคิดว่า จอมพล ป. พิบูลสงคราม และ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ก็ใช่ (ในระดับหนึ่ง)

แม้ว่าบนเส้นทางที่พวกเขาขึ้นสู่อำนาจนั้น อาจมีคนบาดเจ็บล้มตาย หรือตกทุกข์ได้ยากอยู่มากบ้างน้อยบ้างก็ตาม แต่กองทัพจะได้ผู้นำที่มี "ฝีมือ" (ด้านดีด้านร้ายหรือทั้งสองด้านก็ตาม) อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ฮุน เซน เป็น "เผด็จการ" ที่ประสบความสำเร็จในการเลือกตั้งเสมอมา ไม่ใช่ชนะเลือกตั้งเฉยๆ แต่ชนะอย่างท่วมท้นด้วย ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นเมื่อเร็วๆ นี้ พรรคฝ่ายค้านสามารถนำผู้สนับสนุน 50,000 คน เดินขบวนในพนมเปญก่อนวันเลือกตั้งได้ แต่ในวันเดียวกันนั้น ฮุน เซน นำผู้สนับสนุนพรรคประชาชนกัมพูชาของตน 150,000 เดินขบวนไปตามถนนในพนมเปญด้วย เขาไม่เข้ามามีบทบาทในการหาเสียงเลือกตั้งมานานแล้ว แต่เนื่องจากการเลือกตั้งครั้งนี้อาจชี้ชะตาการเมืองของเขาในการเลือกตั้งใหญ่ปีหน้า เขาจึงต้องแสดงอิทธิฤทธิ์ให้เห็นเสียหน่อย

พรรคของ ฮุน เซน มีมวลชนครับ แม้เป็นมวลชนจัดตั้ง แต่ก็เป็นมวลชนที่เทคะแนนให้เขาในคูหาเลือกตั้งได้จริง

ฮุน เซน รู้มาตั้งแต่ต้นแล้วว่า การเลือกตั้งจะเป็นความชอบธรรมที่แข็งแกร่งของเขา ฉะนั้น เขาจะวางนโยบายและดำเนินการทุกอย่างที่จะทำให้วางใจได้ว่า เขาจะชนะการเลือกตั้ง และเพื่อบรรลุเป้าหมาย เขาสร้างระบบความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์ที่ใหญ่มาก อันมีตัวเล่นใหญ่ๆ คือข้าราชการ, กองทัพ, ธุรกิจเอกชน และอำนาจท้องถิ่น แต่เขาไม่ได้รอให้พวกเหล่านี้ไปกดขี่บังคับเอาคะแนนเสียงจากประชาชนให้เขา (หากทำเช่นนั้น ป่านนี้เขาคงหมดอำนาจไปนานแล้ว เพราะตัวเล่นใหญ่ๆ ในระบบอุปถัมภ์ย่อมล้มเขาลง เพื่อเอาคนอื่นขึ้น หรือเป็นเสียเอง… แหะๆ ประชารัฐนั้นไม่ให้ความมั่นคงแก่อำนาจทางการเมืองแก่ใครสักเท่าไร) ตัวเขาเองต่างหากที่เป็นผู้ดึงคะแนนเสียงได้

เพราะ ฮุน เซน วางนโยบายให้เป็นที่ชื่นชมอย่างจริงใจจากประชาชนระดับล่างด้วย รัฐบาล ฮุน เซน ทำนโยบายพัฒนาชนบททั่วประเทศ ดึงเอางบประมาณมาสร้างโรงเรียน, สร้างสะพาน, สร้างถนน, สร้างวัด และสร้างคลองส่งน้ำ อันเป็นนโยบายที่รัฐบาลสีหนุ หรือลอนนอลไม่เคยทำมาก่อน ถึงเขมรแดงทำ ก็ทำในลักษณะที่คนชนบทไม่ได้ประโยชน์โดยตรง นอกจากนี้ พรรคประชาชนกัมพูชายังแจกเงิน, แจกจักรเย็บผ้า และแจกเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ฯลฯ แก่ผู้คนในชนบทอีกด้วย อันเป็นสิ่งที่คนชนบทอยากได้มานานแล้ว แต่ไม่เคยได้มาไว้เป็นของตนสักที – ทุกชิ้นเขียนข้อความว่าเป็น "อำนวย" (ของขวัญ) จากท่านนายกฯ ฮุน เซน

ฮุน เซน และพรรคของเขาจึงชนะการเลือกตั้งอย่างขาดลอยทุกที ยิ่งชนะก็ยิ่งล้ำเส้นได้มาก เช่น เด็ดหัวหรือเด็ดตัวฝ่ายค้านที่ทำท่าจะมีอนาคตทางการเมืองออกเสียแต่เนิ่นๆ (ระเบิดบ้าง ปืนบ้าง ตั้งข้อหาจับเข้าคุกบ้าง) บางคนอาจจะแย้งว่าเพราะล้ำเส้นต่างหากจึงทำให้ชนะเลือกตั้งขาดลอย ก็อาจเป็นได้ทั้งนั้นนะครับ

แต่ขอให้สังเกตด้วยว่า พรรคฝ่ายค้านทั้งในอดีตและปัจจุบัน ไม่เคยสามารถวางนโยบายหาเสียงให้แตกต่างจากพรรคของ ฮุน เซน ได้เลย พรรคฝ่ายค้านที่เสนอทางเลือกเชิงนโยบายอันเดียวกับรัฐบาล จะไปเลือกมันทำไมครับ

สรุปให้เหลือสั้นๆ ก็คือ ฮุน เซน เป็นเผด็จการทหารที่เล่นการเมืองมวลชนเป็นครับ นี่เป็นคุณสมบัติที่มักไม่ค่อยมีคนกล่าวถึง แต่ทำให้เผด็จการทหารกัมพูชาแตกต่างจากเพื่อนบ้านในภูมิภาคเดียวกัน และมีความสำคัญมาก

เผด็จการทหารอีกคนหนึ่งที่ "เล่น" หรืออย่างน้อยก็ "จัดการ" กับการเมืองมวลชนเป็นคือนายพลซูฮาร์โต เช่นเดียวกับ ฮุน เซน เขาได้อำนาจเด็ดขาดในช่วงที่ประเทศเพิ่งหลุดพ้นจากภาวะเสื่อมโทรมทางเศรษฐกิจอย่างถึงที่สุด ความช่วยเหลือของอเมริกันที่หลั่งไหลกลับเข้ามา ก็ทำให้โฉมหน้าของอินโดนีเซียเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วแล้ว ยังไม่พูดถึงการลงทุนจากต่างชาติ ที่พากันเข้ามาดูดซับทรัพยากรธรรมชาติหลายอย่างจากอินโดนีเซีย ซ้ำราคาน้ำมันในตลาดโลกยังสูงขึ้นอย่างฉับพลัน ทำให้ผู้นำรัฐบาลมีเงินมากพอจะขยายและพยุงระบบความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์ในกองทัพ, ข้าราชการ, นักการเมือง และผู้นำท้องถิ่นได้เพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าตัว ดังนั้น การเลือกตั้งครั้งแรกหลังได้อำนาจใน 1971 (2514) พรรคร่วมโกลคาร์ของซูฮาร์โตจึงได้ชัยชนะ และจะได้ชัยชนะเหนือพรรคอื่นๆ สืบต่อมาอีก 25 ปี

ซูฮาร์โตทำให้พรรคฝ่ายค้านทั้งหมด ไม่สามารถวางนโยบายที่เป็นทางเลือกให้แก่ประชาชนชาวอินโดนีเซียได้ นโยบายของฝ่ายค้านไม่มีอะไรแตกต่างจากรัฐบาล ยกเว้นประเด็นพิเศษบางอย่างของพรรค เช่น ปกป้องศาสนาอิสลามจากการคุกคามของคนต่างศาสนา หรือขยายเสรีภาพให้แก่ประชาชน ฯลฯ โดยสรุปก็คือ มุ่งเรียกคะแนนเสียงจากคนเพียงบางกลุ่มเป็นพิเศษเท่านั้น

หากดูเฉพาะตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจ ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าซูฮาร์โตประสบความสำเร็จอย่างสูง โดยเฉพาะเมื่อนำไปเปรียบกับสมัยซูการ์โน แม้ว่ารายได้ที่เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลเหล่านั้นอาจกระจุกอยู่ในมือของบริษัทบริวาร และนายทุนจีนที่แวดล้อมประธานาธิบดีเพียงหยิบมือเดียว แต่ก็ก่อให้เกิดการจ้างงานและการไหลสะพัดของเงินตราไปถึงมือประชาชนในวงกว้างด้วย แม้เพียงน้อยนิดแต่ก็ดีกว่าไม่มีเสียเลย ที่เลือกพรรคโกลคาร์ตลอดมา ก็เพราะไม่มีทางเลือกอื่นที่ดีกว่านั้น

จริงอยู่ ควบคู่ไปกับนโยบายที่คนอินโดนีเซียพอใจแล้ว ซูฮาร์โตยังใช้อำนาจกดขี่บังคับไปพร้อมกัน ไม่ต่างจากเผด็จการทหารทั่วไป เช่น ตรวจข่าวหนังสือพิมพ์, ห้ามชุมนุม, จับกุมคุมขังปัญญาชนที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์ ฯลฯ

แต่ทำทั้งหมดนี้เพื่อช่วงชิงความชอบธรรมจากการเลือกตั้ง ไม่ใช่ทำไปโดยไร้จุดมุ่งหมายมากไปกว่ารักษาอำนาจเถื่อนๆ ของตนเอาไว้

ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีเผด็จการทหารที่ไม่กลัวการเลือกตั้งเหมือนกัน เพราะนายพลเหล่านั้นรู้วิธีที่จะจัดการกับการเมืองมวลชน อันเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยากในโลกปัจจุบันไปเสียแล้ว ซ้ำร้ายการเลือกตั้งยังเป็นความชอบธรรมที่มั่นคงกว่าความชอบธรรมจากทางอื่นใดทั้งสิ้นเสียด้วย

มีข้อที่น่าสังเกตว่า ทั้ง ฮุน เซน และซูฮาร์โต ต่างเติบโตมาในครอบครัวที่ไม่มั่งคั่งนัก (หรือถึงยากจนทีเดียว) และแวดล้อมอยู่ในหมู่ชาวบ้านในชนบท ฮุน เซน อาจไม่จนเท่าซูฮาร์โต เพราะปู่ของเขาซึ่งเป็นจีนแต้จิ๋วเป็นเจ้าของที่นาผืนใหญ่ เขาจึงสามารถเข้ามาพนมเปญเพื่อบวชเณรและศึกษาเล่าเรียนได้ตั้งแต่อายุ 13 และเพิ่งเข้าร่วมกับเขมรแดงเมื่อนายพลลอนนอลยึดอำนาจใน 1970 (2513)

ส่วนซูฮาร์โตเกิดในครอบครัวที่แตกแยก ถึงพ่อรับราชการกับฮอลันดาก็มีตำแหน่งเล็กๆ คือเป็น "แก่ฝาย" ในท้องถิ่น ชีวิตวัยเด็กต้องพเนจรไปรับความอุปถัมภ์จากญาติฝ่ายมารดาบ้าง บิดาบ้าง แต่ก็เรียนหนังสือไปได้ไม่สูงนัก ต้องตัดสินใจไปเป็นทหารให้แก่กองทัพอาณานิคมของฮอลันดา แล้วไต่เต้ามาในอาชีพทหาร

ผมเชื่อว่า จะหานายทหารที่จบจากโรงเรียนนายร้อยไทยที่มีประวัติพอเทียบเคียงกับสองจอมเผด็จการนี้ไม่ได้ อีกทั้งกองทัพไทยก็ไม่เปิดโอกาสให้ลูกชาวบ้านซึ่งเป็นพลทหารได้ไต่เต้าขึ้นไปสู่ยศตำแหน่งสูงๆ ได้มากนัก (แทบจะไม่มีเอาเลยด้วยซ้ำ) นายทหารในกองทัพที่จะร่วมกันทำรัฐประหารจึงล้วนเป็นคนใน "ชนชั้น" กลาง อันมีแหล่งรายได้ที่ห่างไกลจากวิถีการผลิตทางเกษตรกรรมของชาวบ้าน (ที่จริงผมพูดอย่างนี้กับนักการเมืองไทยเกือบทั้งหมดก็ได้เหมือนกัน) และด้วยเหตุดังนั้น จึงเป็นไปได้ยากมากที่เผด็จการทหารไทยจะหันไปแสวงหาความชอบธรรมจากการเลือกตั้ง

หากถูกสถานการณ์บังคับ ก็พอใจจะ "ซื้อ" นักการเมืองมาร่วมพรรค หรือตั้งรัฐบาลผสม มากกว่าตั้งพรรคการเมืองของตนเองแล้วรณรงค์หาเสียงจริงจัง ทำให้ฐานความชอบธรรมยังอยู่ที่นักการเมืองซึ่งได้รับเลือกตั้งมากกว่านายกฯ อำนาจต่อรองของนายกฯ ที่มาจากเผด็จการทหารจึงมีน้อยลงไปเรื่อยๆ จนในที่สุดก็ต้องกลับมาทำรัฐประหารใหม่อีกครั้งหนึ่ง อาศัยความชอบธรรมจากภายนอก แล้วก็ไม่รู้จะเดินต่อไปอย่างไร ดังเช่นรัฐบาลถนอม-ประภาสหลังรัฐประหาร 2514 ซึ่งไม่ได้รับความชอบธรรมจากภายนอก จึงจบเห่

ตราบเท่าที่ทหารไทยยังกลัวเลือกตั้ง รัฐบาลทหารก็ยังต้องอาศัยความชอบธรรมจากภายนอกกองทัพเสมอไป หากแหล่งภายนอกไม่ให้หรือไม่อาจให้ความชอบธรรมแก่อำนาจล้นเกินของกองทัพได้ เมื่อนั้นก็จะเหลือวิธีรักษาอำนาจอยู่อย่างเดียว นั่นคือความรุนแรง
 

 

ที่มา: www.matichonweekly.com

เผยแพร่ครั้งแรกใน: มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 16 - 22 มิถุนายน 2560
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น