โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันจันทร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2560

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

(คลิป) วงคุยชี้แรงงานถูกลบประวัติศาสตร์ส่งผลความตระหนักในคุณค่า-พลังเปลี่ยนแปลง

Posted: 26 Jun 2017 11:40 AM PDT

ศ.ดร.พรรณี ชี้เมื่อแรงงานถูกทำให้ไม่มีประวัติศาสตร์ ก็ไม่ตระหนักในคุณค่าของตัวเอง ก็ไม่มีพลังเปลี่ยนแปลง แนะกรรมกรควรเริ่มบันทึกประวัติศาสตร์ พร้อมชี้ 'ไทยแลนด์ 4.0' ต้องอาศัยสังคมที่เป็นประชาธิปไตย-ระบบธรรมาภิบาล

 

เมื่อวันที่ 25 มิ.ย.ที่ผ่านมา ที่พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย ถนนนิคมมักกะสัน แขวงมักกะสัน มีการบรรยายในหัวข้อ "แรงงานอยู่ตรงไหนในประวัติศาสตร์ชาติไทย" โดย ศ.ดร.พรรณี บัวเล็ก อาจารย์ประจำ คณะศิลปศาสตร์ หลักสูตรการบริหารการจัดการองค์การ มหาวิทยาลัยเกริก ผู้เชี่ยวชาญสาขาวิชาประวัติศาสตร์ไทยและประวัติศาสตร์สากล พร้อมด้วยผู้นำองค์กรที่มีส่วนร่วมก่อตั้งและสนับสนุนพิพิธภัณฑ์แรงงานไทยรวมอภิปราย ผู้ดำเนินรายการโดย ศักดินา ฉัตรกุล ณ อยุธยา นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านแรงงาน และผู้ริเริ่มก่อตั้งพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย

ศ.ดร.พรรณี บัวเล็ก

ทำไมแรงงานไม่มีในประวัติศาสตร์?

ศ.ดร. พรรณี กล่าวว่า เนื่องจากผู้ที่บันทึกประศาสตร์ หรือบันทึกพงศาวดารได้ต้องเป็นชนชั้นสูงเท่านั้น ต้องเป็นพระมหากษัตริย์เท่านั้นจึงจะทำหน้าที่บันทึกประวัติศาสตร์ได้ พระมหากษัตริย์ก็เห็นแต่ความสามารถ และบารมีของตน ทุกเรื่องที่ถูกบันทึกในประวัติศาสตร์ มันเต็มไปด้วยเหตุการณ์และบารมี ความศักดิ์สิทธิของชนชั้นสูง ประวัติศาสตร์จึงไม่มีพื้นที่สำหรับชนชั้นล่าง มีความพยายามของบางคน แม้แต่ใน ร.5 อย่าง ก.ศ.ร. กุหลาบ เริ่มท้าทาย ร.5 ด้วยคำถามว่า "ทำไมสามัญชนไม่มีประวัติศาสตร์" และพยายามพงศาวดารขึ้นมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย จึงถูกลงโทษอย่างหนักโดยการตะพุ่นหญ้าให้ช้างกิน และเรียกกุหลาบ ว่า "นายกุ" ที่มาจากกุเรื่อง ในแนวคิดของชนชั้นสูงอย่าง ร. 5 รับอารยธรรมของตะวันตกมามากก็ยังไม่อนุญาตให้ชนชั้นสามัญบันทึกประวัติศาสตร์ ในสมัยก่อนแรงงานมีความหมายแต่ไม่ถูกบันทึกประวัติศาสตร์เพราะมันเป็นข้อห้ามของชนชั้นสูง เรื่องเล่าของชาวบ้านจึงเป็นในรูปแบบของตำนานต่างๆ บันทึกท้องถิ่น ซึ่งบันทึกเหล่านี้ไม่มีปรากฏในสถาบันการศึกษา หลักสูตรการศึกษา ตั้งแต่ยุค ร.5 เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นให้คนจงรักภักดีในสถาบันกษัตริย์ เรื่องของชนชั้นล่างเป็นเรื่องที่ไม่ต้องเอามาเรียนรู้ จนปัจจุบันก็ยังไม่ได้เรียนเรื่องของชนชั้นล่าง ความพยายามที่จะรื้อฟื้นประวัติศาสตร์ของชนชั้นล่างยังมีน้อย เพราะไม่มีบันทึก มีเป็นเพียงเรื่องเล่าของชาวบ้านในความทรงจำ แต่ในเรื่องของการเป็นเอกสารยังไม่มี

เมื่อถูกทำให้ไม่มีประวัติศาสตร์ ก็ไม่ตระหนักในคุณค่าของตัวเอง ก็ไม่มีพลังเปลี่ยนแปลง 

ศ.ดร.พรรณี ชี้ด้วยว่า การที่ประวัติศาสตร์แรงงานไม่ถูกถ่ายทอด ทำให้ไม่เกิดการตระหนักในคุณค่าของตัวเราเองก็ไม่มีพลังในการเปลี่ยนแปลง ชีวิตเราก็ไม่เกิดการพัฒนา หรือไม่ก็กลืนตัวเราให้เป็นอีกชนชั้นหนึ่ง ตลอดมาพบการกลืนของชนชั้นซึ่งเข้าไปอยู่ในชนชั้นสูง เพราะวัฒนธรรมที่ไม่ถูกตอกย้ำจะทำให้มันอ่อนแอ ปัญหาที่สำคัญคือความรู้ชนชั้นสูงกับแรงงาน

ศ.ดร.พรรณี เสนอด้วยว่า การทำประวัติศาสตร์อาจทำทำเป็นกระบวนการ และบันทึกประวัติศาสตร์เพื่อให้เห็นคุณค่าของตน อาจเป็นการสัมภาษณ์แรงงานมาเขียนเป็นประวัติศาสตร์ แต่อาจมีความคลาดเคลื่อน หรือบิดเบือนได้ เพราะที่มามีจากหลายแหล่ง

ศักดินา  กล่าวเสริมด้วยว่า เรื่องราวของแรงงานมันมีมาโดยตลอด แต่ประวัติศาสตร์ละเลย ถูกผูกขาดโดยชนชั้นสูง ทำให้เราขาดความภาคภูมิใจ การเห็นคุณค่าของคนงาน  เราควรจะต้องมีข้อสรุปว่าเราควรจะทำกันเอง เป็นเรื่องที่ควรจะต้องทำเป็นเรื่องเป็นราว มีการจัดระเบียบวิธีการวิจัย ทำให้เราสามารถที่จะทำ เราเห็นว่าเรามีศักยภาพที่จะทำ มีการสร้างกระบวนการบันทีก มีสำนึกร่วมกัน  กรอบความคิดแต่ละช่วงที่เปลี่ยนไปก็มีผลต่อการมีอยู่ในประวัติศาสตร์ของคนงาน บางช่วงให้ความสำคัญก็ปรากฎ บางช่วงไม่ให้ความสำคัญก็ไม่ปรากฎ  ต้องมีการถกเถียงกันไปเรื่อยๆ มีความขัดแย้งกันก็จะเห็นความเด่นชัด
ข้อสรุปจากเวทีนี้คือเรายังขาดประวัติศาสตร์ จึงทำให้เราขาดความภาคภูมิใจ ดังนั้นเราจึงควรเริ่มบันทึกประวัติศาสตร์ของแรงงานกัน

แรงงานในประวัติศาสตร์วิวัฒนาการอารยธรรมมนุษย์

ศ.ดร. พรรณี กล่าวว่า อยากเห็นการเติบโต และคงอยู่ของมูลนิธิ หรือองค์การอะไรก็ตามที่สนับสนุนผู้ใช้แรงงานให้อยู่ตลอดไป จริงแรงงานอยู่มาก่อนประวัติศาสตร์ไทยเสียอีก ถ้าพูดถึงวิวัฒนาการของมนุษย์เกิดมาจากการใช้แรงงาน ในยุคโบราณมนุษย์ยุคหินหากินด้วยการล่าสัตว์พึ่งพิงธรรมชาติ มนุษย์ยุคแรกยังไม่ใช้แรงงานวิวัฒนาการจึงยังมีไม่มาก ต่อมาเมื่อเข้าสู่ยุคหินใหม่มนุษย์เริ่มใช้แรงงาน ปฏิวัติตัวเองจากการล่าสัตว์มาเข้าสู่กระบวนการผลิตเองเป็นใช้แรงงานครั้งแรก นับตั้งแต่นั้นถือเป็นการปฏิวัติครั้งแรกในโลก คือการไม่ใช้แรงงานมาสู่การใช้แรงงานในการผลิต เมื่อมีการผลิตก็จำเป็นจะต้องหาเครื่องมือเครื่องใช้ที่มีประสิทธิภาพในการผลิต โดยใช้โลหะ โลหะนั้นคือเหล็กในการผลิต หลังจากการใช้เหล็กก่อให้เกิดผลผลิตจำนวนมาก สังคมก็กลายเป็นชุมชนขนาดใหญ่ขึ้น มนุษย์ก็สร้างตัวในการเป็นเมือง เมื่อมนุษย์สร้างตัวด้วยการเป็นเมือง (Civilization) และมนุษย์เริ่มใช้ตัวอักษรก็เข้าสู่ยุคประวัติศาสตร์ เพราะมีการบันทึก แต่จริงๆ ความจำเป็นในการใช้ตัวอักษรมาจากการบันทึกจำนวนของผลผลิตที่ได้มาแต่ละครั้ง และใช้ในการทำกฎระเบียบในการอยู่ร่วมกันจำเป็นต้องใช้ตัวอักษรในการเป็นสื่อกลาง
 
นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ กล่าวต่อว่า การเป็นเมืองขนาดเล็กและขยายเป็นเมืองใหญ่มาจากจำนวนการผลิตที่เพิ่มขึ้น ส่วนประวัติศาสตร์ไทยเริ่มขึ้นเมื่อมีเมืองเล็กๆเกิดขึ้นบริเวณสุวรรณภูมิ และเกิดชนชั้นนักรบ ไพร่ เข้าสู่การเป็นสังคมศักดินา แต่ในช่วงที่เป็นอาณาจักร ชนชั้นผู้นำถูกเพิ่มบทบาทขึ้นมาเรื่อยๆ ส่วนชนชั้นผู้ใช้แรงงานก็ลดบทบาทในสังคมลง ชนชั้นนำกลายเป็นผู้ตัดสินชะตาชีวิตในการอยู่ การเป็น การตาย นักรบกลายเป็นกลุ่มคนที่มีความสำคัญ ชนชั้นแรงงานถูกลดบทบาทเป็นกลุ่มคนที่มีเพียงหน้าที่ แต่ไม่มีสิทธิ เมื่อการผลิตเพิ่มขึ้น ก็เกิดสงครามแย่งชิงทรัพยากร แย่งชิงคน เพื่อเพิ่มกำลังการผลิต ในยุคนี้แรงงานถูกลดค่าให้เหลือแค่ผู้ที่มีหน้าที่ และพันธกิจต่อมูลนายส่วนผู้ไม่มี พันธกิจหน้าที่สำคัญของไพร่คือเข้าร่วมสงคราม สองคือเป็นผู้ผลิต ต้องเสียส่วยสาอากร ต้องรับใช้มูลนาย ชนชั้นสูงถูกพัฒนาขึ้นไม่ได้เป็นเพียงผู้นำนักรบอีกต่อไป กลายเป็นชนชั้นผู้ศักดิ์สิทธิ์ เป็นชนชั้นที่มีสิทธิในสังคม
 
เมื่อเข้าสู่สมัยการเปลี่ยนแปลงจากการผลิตเพื่อยังชีพไปสู่การผลิตเพื่อค้าขาย  เมื่อชาวตะวันตกเข้ามาในช่วงสนธิสัญญาเบาริ่ง ตรงกับรัชสมัยร.4 ระบบไร่ก็ถูกล้มเลิก ในปีพ.ศ. 2448 การปลดปล่อยไพร่ทาสครั้งนี้เพื่อไปบุกเบิกที่นาทำมาหากิน ผลิตข่าวเพื่อส่งออก ซึ่งหวังที่จะหารายได้ภาษีจากการส่งออกข้าว แรงงานก็อยู่ระบบที่ หน้าที่ของแรงงานกลายเป็นหน้าที่ที่อยู่ในระบบการเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจแบบใหม่ เป็นระบบเศรษฐกิจเพื่อการค้า ไพร่ก็เปลี่ยนสถานะไปเป็นชาวนา ส่วนกรรมกรแรกๆ เป็นชาวจีนที่เข้ามา เพื่ออำนวยความสะดวกให้การผลิตดำเนินไปได้

ไทยแลนด์ 4.0 ต้องอาศัยสังคมที่เป็นประชาธิปไตย-ระบบธรรมาภิบาล

ศ.ดร. พรรณี กล่าวว่า สังคมอุตสาหกรรมภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจ การเข้ามาลงทุนของต่างชาติที่มีความมุ่งหวังคือแรงงานราคาถูก ต้องการหาตลาดระบายสินค้า ต้อการระบายทุน แรงงานจึงเป็นตัวกำหนดแนวทางการพัฒนาในสังคมอุตสาหกรรมแบบใหม่ ตามแบบแผนผนหรือโมเดลที่ประเทศมหาอำนาจ หรือบริษัทข้ามชาติวางแผนไว้ จนกระทั่งปัจจุบันที่กำลังเข้าสู่ไทยแลนด์ 4.0 สตาร์ทอัพ Creative Economy ก็หวังว่าเราจะรอดจากการขายแรงงานราคาถูกเข้าสู่การขายแรงงานสมอง เรื่องแบบนี้พูดได้แต่ไม่รู้จะทำได้หรือเปล่าเพราะการที่จะหลุดพ้นไปสู่ Creative Economy หรือเศรษฐกิจสร้างสรรค์ มันต้องใช้ปัจจัยหลายอย่าง ที่สำคัญคือต้องอาศัยสังคมที่เป็นประชาธิปไตย ต้องอาศัยระบบธรรมาภิบาล ต้องอาศัย Civil society ประชารัฐไม่ได้หมายความว่ารัฐจะมาชี้นำประชาชน ตามหลักของ Civil Society คือประชาชนมีส่วนร่วมกำหนดทิศทางต่างๆ สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อสังคมมีเสรีภาพ และแรงงานในสังคมต้องตระหนักถึงคุณค่าของตนเอง หลุดพ้นจากอำนาจทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็นอำนาจของพระเจ้า หรืออำนาจของชนชั้นปกครอง เช่นเดียวกับยุโรปที่เข้าสู่สังคมอุตสาหกรรม แบบมีการสร้างสรรค์ หลุดพ้นจากอำนาจ ชื่นชมในเสรีภาพ ตระหนักในคุณค่าของตนเอง

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

37 องค์กรด้านกลุ่มชาติพันธุ์ ออก จม.เปิดผนึกถึงประยุทธ์ ร้องยุติแก้ ก.ม.บัตรทอง

Posted: 26 Jun 2017 10:40 AM PDT

ภาคีเครือข่ายองค์กรพัฒนาเอกชนงานด้านชนกลุ่มน้อยและกลุ่มชาติพันธุ์ 37 องค์กร ออกจดหมายเปิดผนึก ถึง พล.อ.ประยุทธ์ ร้องยุติกระบวนการแก้ไขกฎหมายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ แนะเริ่มกระบวนการทำความที่มีส่วนร่วมจากทุกฝ่ายอย่างสมดุล และยกเลิกการเก็บการร่วมจ่าย 

26 มิ.ย. 2560 ภาคีเครือข่ายองค์กรพัฒนาเอกชนงานด้านชนกลุ่มน้อยและกลุ่มชาติพันธุ์ 37 องค์กร ออกจดหมายเปิดผนึก ถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ และหัวหน้า คสช. เรื่อง ขอให้ยุติกระบวนการแก้ไขกฎหมายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยให้ยุติกระบวนการที่เหลือทั้งหมด และเริ่มกระบวนการทำความ เข้าใจเนื้อหาในการแก้ไข รับฟังความคิดเห็นที่กว้างขวาง และมีส่วนร่วมจากทุกฝ่ายอย่างสมดุล

ภาคีเครือข่ายฯ ดังกล่าว ยังเสนอให้การแก้ไขกฎหมายยึดหลักการดังต่อไปนี้  แก้แล้วประชาชนได้ประโยชน์อย่างไรเป็นที่ตั้ง ยกเลิกการเก็บการร่วมจ่าย ณ หน่วยบริการ หรือในแต่ละครั้งที่เข้ารับการบริการ ให้ใช้ข้อมูลหรือหลักฐานเชิงประจักษ์ในการแก้กฎหมาย ควรสนับสนุนให้เกิดความเป็นธรรมต่อการกระจายบุคลากรด้านสาธารณสุขในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ และจัดสมดุล โครงสร้างการบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
 

รายชื่อภาคีเครือข่ายองค์กรพัฒนาเอกชนงานด้านชนกลุ่มน้อยและกลุ่มชาติพันธุ์ 37 องค์กร ประกอบด้วย 1. เครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย (คชท.) 2. มูลนิธิพัฒนาชนกลุ่มน้อยและชาติพันธุ์ (พชช.) 3. สมาคมสร้างเสริมสุขภาวะชุมชนชาติพันธุ์ (สสช.) 4. สมาคมศูนย์รวมการศึกษาและวัฒนธรรมของชาวไทยภูเขาในประเทศไทย (ศ.ว.ท./IMPECT) 5. มูลนิธิชนเผ่าพื้นเมืองเพื่อการศึกษาและสิ่งแวดล้อม (IPF) 6. ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชนเครือข่ายชาติพันธุ์และผู้มีปัญหาสถานะ และสมาชิก 15 ศูนย์(เชียงใหม่ เชียงราย และแม่ฮ่องสอน) 7. ศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่น 8.  เครือข่ายชาติพันธุ์จังหวัดเชียงราย 9. เครือข่ายสตรีชนเผ่าแห่งประเทศไทย 10. มูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัย 11. เครือข่ายสุขภาพชาติพันธุ์บนพื้นที่สูง (คชส.) 12. เครือข่ายลีซู (Lisu) แห่งประเทศไทย 13. ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชนจังหวัดเชียงใหม่ (เครือข่ายแรงงานนอกระบบ) 14. ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชน-คชส. 15. ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชน จ.เชียงราย 16. สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ (สกน.) 17. องค์การแพลน อินเตอร์เนชั่นแนล อิงค์ (ประเทศไทย) 18. คริสตจักรภาค 11 สภาคริสตจักรแห่งประเทศไทย 19. คริสตจักรภาค 16 สภาคริสตจักรแห่งประเทศไทย 20. สถาบันไทใหญ่ศึกษา (วิทยาลัยชุมชนแม่ฮ่องสอน) 21. โครงการพัฒนาการเกษตรและการศึกษาอาข่า

22. มูลนิธิศึกษาพัฒนาประชาชนบนที่สูง 23. สมาคมเพื่อการศึกษาและวัฒนธรรมชาวอาข่า เชียงราย (AFECT) 24. มูลนิธิภูมิปัญญาชนเผ่าพื้นเมืองบนพื้นที่สูง (IKAP) 25. ศูนย์ปฏิบัติการร่วมเพื่อแก้ไขปัญหาประชาชนบนพื้นที่สูง (ศปส.) 26.  มูลนิธิสื่อชาวบ้าน (มะขามป้อม) 27. องค์การพัฒนาอาชีพนานาเผ่าลุ่มน้ำฝาง (CICT) 28. เครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม (KNCE) 29. มูลนิธิพัฒนาเครือข่ายเอดส์ สำนักงานภาคเหนือ 30. มูลนิธิศึกษาวัฒนธรรมและการพัฒนาชาวเขาภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 31.  สมาคมปกะเกอญอเพื่อการพัฒนาที่ยันยืน 32. เครือข่ายพิทักษ์สิทธิมนุษยชนชาติพันธุ์ 33. ศูนย์สังคมพัฒนา สังฆมณฑลเชียงใหม่ 34. ศูนย์พัฒนาเครือข่ายเด็กและชุมชน 35. มูลนิธิเพื่อเยาวชนชนบท (มยช.) 36. มูลนิธิผสานวัฒนธรรม และ 37. มูลนิธิภิวัฒน์สาธารณสุขไทย (ภวส.)

 
รายละเอียดจดหมาย : 
 
ศูนย์ประสานงานภาคีเครือข่ายองค์กรพัฒนาเอกชนงานด้านชนกลุ่มน้อยและกลุ่มชาติพันธุ์
76/52 หมู่บ้านคำหยาดฟ้า ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่

22 มิถุนายน 2560

เรื่อง     ขอให้ยุติกระบวนการแก้ไขกฎหมายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

เรียน    นายกรัฐมนตรี(พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา)

จากการติดตามการคัดค้านของประชาชนในการแก้กฎหมายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่ง เครือข่ายองค์กรพัฒนาเอกชนงานด้านชนกลุ่มน้อยและกลุ่มชาติพันธุ 37 องค์กร ร่วมกับเครือข่ายกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ ได้ศึกษากฎหมายดังกล่าว พบว่า ร่างกฎหมายที่ได้รับการแก้ไขขัดแย้งกับยุทธศาสตร์ของกระทรวงสาธารณสุข ในการลดความเหลื่อมล้ำด้านบริการสาธารณสุข  แนวโน้มเปิดโอกาสให้มีการร่วมจ่าย ณ หน่วยบริการ หรือในแต่ครั้งในการใช้บริการ ขาดความครอบคลุมถึงบุคคลที่เป็นคนไทยรอพิสูจน์สถานะ คนไทยพลัดถิ่น คนไทยตกสำรวจ ขาดการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง ไม่มีความสมดุลในคณะกรรมการแก้ไขกฎหมาย ประชาชนไม่มีโอกาสมีส่วนร่วมตั้งแต่ต้น ที่สำคัญไม่มีคำตอบ ว่า การจัดเวทีรับฟังความคิดเห็น จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาสาระของกฎหมายให้ดีขึ้นได้อย่างไร เพราะหลักการและเหตุผลของการแก้กฎหมายไม่ชัดเจนว่าจะเกิดประโยชน์อย่างไรกับประชาชน แต่เจาะจงว่าจะแก้มาตราไหนอย่างไรบ้าง พร้อมขอเสนอให้การแก้ไขกฎหมายยึดหลักการดังต่อไปนี้

1. การแก้ไขกฎหมายควรยึดหลักการ แก้แล้วประชาชนได้ประโยชน์อย่างไรเป็นที่ตั้ง เช่น ควรมีการแก้ไขมาตรา 9 มาตรา 10 เพื่อรับรองสิทธิประชาชนด้านบริการสาธารณสุขที่มีมาตรฐานเดียวสำหรับทุกคนและมีคุณภาพ ยอมรับว่าสิทธิด้านสุขภาพเป็นสิทธิมนุษยชนที่ทุกคนเป็นมนุษย์ควรได้รับเท่าเทียมกันไม่ว่าจะอยู่ภายใต้กองทุนใด ผู้ประกันตนไม่ต้องจ่ายสมทบด้านสุขภาพและให้นำเงินสมทบส่วนสุขภาพของผู้ประกันตนไปเพิ่มในสัดส่วนของบำนาญชราภาพเพื่อที่จะทำให้ผู้ประกันตนมีความมั่นคงในบั้นปลายของชีวิตมากขึ้น รวมถึงครอบคลุมกลุ่มคนไทย(บุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ คนไทยพลัดถิ่น คนไทยตกสำรวจด้วย

2. ยกเลิกการเก็บการร่วมจ่าย ณ หน่วยบริการ หรือในแต่ละครั้งที่เข้ารับการบริการ เพราะการแก้ไขไม่ได้ยกเลิกการร่วมจ่าย ประชาชนมีโอกาสร่วมจ่ายเมื่อมีการไปใช้บริการ เนื่องจากการแก้ไขมีการเพิ่มเติมสัดส่วนกรรมการจากสถานพยาบาลที่มีแนวโน้มเห็นด้วยกับการร่วมจ่าย และการแยกแยะคนจนผ่านระบบขึ้นทะเบียนคนจน  ซึ่งการเก็บเงิน ณ จุดบริการ ทำให้เกิดปัญหาการเข้าถึงบริการ หลายมาตรฐาน ความขัดแย้ง แต่รัฐบาลควรมีแนวทางในการเก็บเงินก่อนป่วยในรูปแบบภาษี หรือสนับสนุนให้มีการจัดเก็บภาษีเพิ่มเติมจากบุหรี่และแอลกอฮอล์ น้ำตาล หรือภาษีเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ เช่น กำไรในการซื้อขายหลักทรัพย์ (Capital Gain) เพราะระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเป็นของทุกคน คนชั้นกลางก็มีสิทธิล้มละลายได้ถ้าต้องจ่ายค่ารักษาบริการสุขภาพราคาแพงด้วยตนเอง 

3. ให้ใช้ข้อมูลหรือหลักฐานเชิงประจักษ์ในการแก้กฎหมาย (Evidence Based) เช่น ควรแก้กฎหมายเพิ่มอำนาจให้ สปสช. สามารถจัดซื้อยาและอุปกรณ์การแพทย์ราคาแพง โดยในปัจจุบัน สปสช. จัดซื้อยารวมสำหรับโครงการพิเศษเพียงร้อยละ 4.9 ของการจัดซื้อยา ทำให้สามารถประหยัดงบประมาณในรอบ 10 ปีได้เกือบ50,000 ล้านบาท เพราะหากไม่แก้กฎหมายให้สามารถจัดซื้อได้ รัฐบาลจะนำเงินปี ละ 5,000 ล้านบาทมาจากไหน ท่ามกลางทรัพยากรที่จำกัดของประเทศ หรือนี่คือหลุมพรางให้เกิดการร่วมจ่ายของประชาชนในส่วนค่ายาเมื่อไปโรงพยาบาล

4. การแก้กฎหมาย ควรสนับสนุนให้เกิดความเป็นธรรมต่อการกระจายบุคลากรด้านสาธารณสุขในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ ด้วยการไม่ควรมีการแยกเงินเดือนและค่าตอบแทนของบุคลากรข้าราชการสาธารณสุขออกจากงบเหมาจ่ายรายหัว เพราะจะส่งผลเกิดปัญหาการกระจุกตัวของบุคลากรในเขตเมืองหรือโรงพยาบาลขนาดใหญ่เกิดขึ้น ยังส่งผลกระทบทำให้โรงพยาบาลต่างๆไม่สามารถจัดจ้างลูกจ้างพนักงานเพิ่มเติมได้ จะเห็นว่ายิ่งจะทำให้เกิดปัญหาการกระจายบุคลากรที่ไม่เป็นธรรมต่อหน่วยบริการหรือโรงพยาบาลต่อไปไม่สิ้นสุด

5. การจัดสมดุล โครงสร้างการบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ การแก้ไขกระทำโดยเพิ่มสัดส่วนผู้ประกอบวิชาชีพมากขึ้นทั้งสองคณะ ทั้งที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ควรเพิ่มสัดส่วนผู้รับบริการให้มากขึ้นเพื่อให้เกิดความสมดุล และตัดสัดส่วนกรรมการหน่วยงานรัฐที่มีความเกี่ยวข้องน้อย ส่วนคณะกรรมการควบคุมคุณภาพมาตรฐานบริการสาธารณสุข ควรมีสัดส่วนด้านการคุ้มครองผู้บริโภค เครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ และหน่วยรับเรื่องร้องเรียนที่เป็นอิสระจากผู้ถูกร้องเรียน มาตรา 50 (5) ตัดคณะกรรมการด้านวิชาชีพที่ซ้ำซ้อนกัน เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการทั้งสองคณะเป็นไปมีประสิทธิภาพ และเพิ่มสมดุล ของประชาชนในการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และการจำกัดปริมาณคณะกรรมการในจำนวนที่เหมาะสมครบองค์ประกอบตามแนวทางมาตรา 77 รัฐธรรมนูญปี 2560

ท้ายที่สุดนี้ ขอเรียกร้องให้ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ยุติกระบวนการที่เหลือทั้งหมด และเริ่มกระบวนการทำความ เข้าใจเนื้อหาในการแก้ไข รับฟังความคิดเห็นที่กว้างขวาง และมีส่วนร่วมจากทุกฝ่ายอย่างสมดุล

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา และขอบพระคุณเป็นอย่างสูงมา ณ โอกาสนี้

 เครือข่ายองค์กรพัฒนาเอกชนงานด้านชนกลุ่มน้อยและกลุ่มชาติพันธุ์

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'ศูนย์ทนายสิทธิ' ร้องรัฐเลิกใช้ ก.ม.ที่เอื้อต่อผู้ถูกคุมขังจะถูกทรมาน

Posted: 26 Jun 2017 09:33 AM PDT

ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ออกแถลงการณ์เนื่องในวันสนับสนุนผู้เสียหายจากการทรมานสากล ชี้ความพยายามในการป้องกัน การนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษ และการเยียวยาผู้เสียหายของรัฐไทยไม่ประสบผลสำเร็จทั้งเชิงโครงสร้างทางกฎหมายและแนวทางปฏิบัติ

26 มิ.ย. 2560 ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ออกแถลงการณ์เนื่องในวันสนับสนุนผู้เสียหายจากการทรมานสากล ระบุว่า ความพยายามในการป้องกันการทรมาน การนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษ และการเยียวยาผู้เสียหายของรัฐไทยไม่ประสบผลสำเร็จทั้งเชิงโครงสร้างทางกฎหมายและแนวทางปฏิบัติ

ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน  เรียกร้องด้วยว่า รัฐไทยต้องยกเลิกการบังคับใช้และแก้ไขกฎหมายที่อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อผู้ถูกคุมขังว่าจะถูกทรมานและยกเว้นการตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายโดยศาล รวมถึงกฎหมายที่ยกเว้นความรับผิดของผู้กระทำการทรมาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพ.ร.บ.กฎอัยการศึก 2457 พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน 2548 คำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 และคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 13/2559 ต้องสอบสวนโดยพลันต่อข้อร้องเรียนว่ามีการทรมาน โดยหน่วยงานที่มีความเป็นอิสระและเป็นกลาง ให้ความคุ้มครองพยานและผู้ร้องเรียนโดยสุจริตว่ามีการซ้อมทรมานเกิดขึ้น รวมถึงกำหนดมาตรการเยียวยาผู้เสียหายจากการทรมานอย่างมีประสิทธิภาพ

รวมทั้งต้องเร่งดำเนินการออกกฎหมายภายในให้เป็นไปตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรมหรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี รวมถึงเร่งดำเนินการเข้าเป็นภาคีพิธีสารเลือกรับตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ (OPCAT) เพื่อให้มีกลไกป้องกันการทรมานระดับชาติ (National Prevention Mechanism) ในการตรวจเยี่ยมสถานที่ควบคุมตั

รายละเอียดแถลงการณ์ : 

แถลงการณ์เนื่องในวันสนับสนุนผู้เสียหายจากการทรมานสากล
โดย ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
วันที่ 26 มิถุนายน 2560
 
ความพยายามในการต่อต้านการทรมานระดับสากลของรัฐไทย เริ่มขึ้นในวันที่ 2 ตุลาคม 2550 เมื่อรัฐไทยภาคยานุวัติเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาต่อต้านการทรมาน และการปฏิบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรมหรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี (Convention Against Torture and Other Cruel, Inhuman or Degrading Treatment or Punishment) และนับแต่อนุสัญญา มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2550 รัฐไทยมีหน้าที่ต้องปรับปรุงแก้ไขการดำเนินการทั้งด้านบริหาร ตุลาการ และนิติบัญญัติ ให้สอดคล้องกับข้อบังคับในอนุสัญญาฯ ซึ่งรวมถึงการบัญญัติให้การทรมานเป็นความผิดอาญาโดยกฎหมายภายในประเทศ กำหนดกลไกการสืบสวนและดำเนินคดีเพื่อลงโทษผู้กระทำความผิด และกำหนดมาตรการเยียวแก่ผู้เสียหายจากการทรมาน
 
ตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่าน นอกจากความล่าช้าในการอนุวัติการเพื่อให้มีกฎหมายภายในบังคับใช้เป็นการเฉพาะต่อการกระทำความผิดฐานทรมาน ในระยะสามปีที่ผ่านมา ภายหลังการรัฐประหาร ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนพบว่า มาตรการทั้งด้านบริหาร ตุลาการ และนิติบัญญัติของรัฐไทยภายใต้การนำของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) นอกจากจะขัดขวางมิให้มีการดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ประกาศและคำสั่งบางฉบับที่ออกในนาม คสช. ที่ออกตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย   (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 ยังสร้างภาวะให้ผู้ที่ถูกควบคุมตัวด้วยอำนาจรัฐ เสี่ยงต่อการตกเป็นผู้เสียหายจากการทรมาน โดยไม่สามารถเรียกร้องให้มีการตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายในการควบคุมตัว รวมถึงไม่อาจตรวจสอบการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐได้อีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คำสั่งที่ให้อำนาจเจ้าหน้าที่รัฐควบคุมตัวบุคคลไว้โดยไม่เปิดเผยสถานที่ควบคุมตัวอย่างเป็นทางการได้ไม่เกินเจ็ดวัน ไม่ได้พบญาติหรือทนายความ และไม่มีการตรวจสอบคำสั่งโดยองค์กรตุลาการ ทั้งการประกาศใช้กฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร ผ่านคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 และคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 13/2559 กรณีนี้ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ ตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ได้มีข้อสรุปเชิงเสนอแนะต่อประเทศไทยเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2560 ให้ทบทวนและแก้ไขคำสั่งดังกล่าวให้สอดคล้องกับพันธกรณีระหว่างประเทศ เพื่อเป็นหลักประกันไม่ให้เกิดการควบคุมตัวไม่ชอบ แต่รัฐไทยยังคงใช้อำนาจดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ประชาชนเสี่ยงต่อการถูกทรมาน และปราศจากหลักประกันสิทธิและเสรีภาพ ยิ่งไปกว่านั้น รายงานผลของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติต่อข้อร้องเรียนผ่านศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ว่ามีผู้ถูกกระทำทรมานโดยเจ้าหน้าที่รัฐภายหลังการรัฐประหารในปี 2557 อย่างน้อย 14 กรณี ฉบับลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2558 ยังระบุว่า คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติไม่สามารถตรวจสอบข้อเท็จจริงได้อย่างเต็มที่ เนื่องจากมีอุปสรรคเรื่องระยะเวลาในการเข้าถึงพยานหลักฐานและความร่วมมือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ ข้อร้องเรียนว่ามีการทรมานภายหลังการรัฐประหารในกรณีของ กริชสุดา คุณะเสน สรรเสริญ ศรีอุ่นเรือน หรือจำเลยในคดีระเบิดราชประสงค์ ล้วนไม่ได้รับการตรวจสอบจากหน่วยงานที่เป็นอิสระและเป็นกลาง รวมถึงในบางกรณีเจ้าหน้าที่รัฐกลับข่มขู่ว่าจะดำเนินคดีกับผู้เปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะ
 
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนเห็นว่า ความพยายามในการป้องกันการทรมาน การนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษ และการเยียวยาผู้เสียหายของรัฐไทยไม่ประสบผลสำเร็จทั้งเชิงโครงสร้างทางกฎหมายและแนวทางปฏิบัติ  และเนื่องในวันสนับสนุนผู้เสียหายจากการทรมานสากล ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนมีข้อเรียกร้องต่อรัฐไทย ดังนี้
 
1. รัฐไทยต้องยกเลิกการบังคับใช้และแก้ไขกฎหมายที่อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อผู้ถูกคุมขังว่าจะถูกทรมานและยกเว้นการตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายโดยศาล รวมถึงกฎหมายที่ยกเว้นความรับผิดของผู้กระทำการทรมาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ.2457 พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 คำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 และคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 13/2559 
 
2. รัฐไทยต้องทำการสอบสวนโดยพลันต่อข้อร้องเรียนว่ามีการทรมาน โดยหน่วยงานที่มีความเป็นอิสระและเป็นกลาง ให้ความคุ้มครองพยานและผู้ร้องเรียนโดยสุจริตว่ามีการซ้อมทรมานเกิดขึ้น รวมถึงกำหนดมาตรการเยียวยาผู้เสียหายจากการทรมานอย่างมีประสิทธิภาพ
 
3. รัฐไทยต้องเร่งดำเนินการออกกฎหมายภายในให้เป็นไปตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรมหรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี รวมถึงเร่งดำเนินการเข้าเป็นภาคีพิธีสารเลือกรับตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ (OPCAT) เพื่อให้มีกลไกป้องกันการทรมานระดับชาติ (National Prevention Mechanism) ในการตรวจเยี่ยมสถานที่ควบคุมตั
 
ด้วยความเคารพต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ศาลภูเขียวนัดฟังคำพิพากษาศาลฎีกา คดี 31 ชาวบ้านบ่อแก้วรุกป่า 30 ต.ค. 60

Posted: 26 Jun 2017 07:18 AM PDT

ศาลภูเขียวกำหนดรับฟังคำสั่งและฟังคำพิพากษาศาลฎีกา วันที่ 30 ต.ค.2560 คดีระหว่างองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้(อ.อ.ป.)ฟ้องขับไล่ชาวบ้านชุมชนบ่อแก้ว จำนวน 31 คน ข้อหาจำเลยและบริวารกระทำการบุกรุกเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าภูซำผักหนาม

26 มิ.ย.2560 ชาวบ้านชุมชนบ่อแก้ว ต.ทุ่งพระ อ.คอนสาร จังหวัดชัยภูมิ รวมทั้งชาวบ้านสมาชิกเครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสาน(คปอ.) กว่า 100 คน เดินทางมายังศาลจังหวัดภูเขียว เพื่อมาร่วมรับฟังนัดไต่สวนคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนจำเลยที่เสียชีวิต และฟังคำพิพากษาศาลฎีกา ในคดีบุกรุกสวนป่าคอนสาร(สวนป่ายูคาลิปตัส) คดีระหว่างองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ฟ้องขับไล่ นายนิด ต่อทุน จำเลยที่ 1 พร้อมพวกรวม 31 คน ในข้อหาว่าจำเลยและบริวารได้กระทำการบุกรุกเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าภูซำผักหนาม

ถนอมศักดิ์ ระวาดชัย ทนายความศูนย์ศึกษาและพัฒนานักศึกษาเพื่อสิทธิมนุษยชน แจ้งว่า  ตามที่ศาลจังหวัดภูเขียวมีคำสั่งนัดไสวนคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนจำเลยที่ 13 (ตา ปลื้มวงษ์) ที่ได้เสียชีวิตเมื่อวันที่  25 มิ.ย. 2558 ภายหลังการไต่สวน ศาลพิเคราะห์จำเลยที่ 3 เสียชีวิตในวันที่  25 มิ.ย.2558 จริง โดยมีสวย ปลื้มวงษ์ เป็นภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายและเป็นทายาทผู้มีสิทธิ์รับของจำเลยที่ 13 ข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยที่ 13 ถึงแก่ความตายระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา จึงให้รวบรวมถ้อยคำสำนวนส่งศาลฎีกา กำหนดรับฟังคำสั่งและฟังคำพิพากษาศาลฎีกา วันที่ 30 ต.ค.2560 เวลา 10.00 น.

ที่มาของพื้นที่พิพาทสวนป่าคอนสาร

ในส่วนของพื้นที่พิพาทนั้น เกิดขึ้นนับแต่ ปี พ.ศ. 2521 หลังจากองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (ออป.) ได้ดำเนินการปลูกสร้างสวนป่าคอนสาร ตามเงื่อนไขการสัมปทานทำไม้ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าภูซำผักหนาม ในบริเวณเนื้อที่ทั้งสิ้น 4,401 ไร่ อย่างไรก็ตาม การปลูกสร้างสวนป่าไม่ได้ดำเนินการในพื้นที่เป้าหมาย คือบริเวณป่าเหล่าไฮ่ แต่ได้นำไม้ยูคาลิปตัสเข้ามาปลูกทับที่ดินทำกินชาวบ้าน  จนนำมาสู่ปัญหาส่งผลกระทบให้หลายครอบครัวถูกอพยพออกจากที่ทำกิน  ชาวบ้านจึงได้ออกมาเคลื่อนไหวมานับแต่นั้น กลายเป็นข้อพิพาทเรื่อยมา

ที่มาของการถูกดำเนินคดี เกิดขึ้นหลังจาก

ในวันที่ 17 ก.ค. 2552 ชาวบ้านผู้เดือดร้อนเข้าปฏิบัติการยึดพื้นที่พร้อมกับจัดตั้ง "ชุมชนบ่อแก้ว ต.ทุ่งพระ อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ"  ขึ้นมาเพื่อแสดงสัญลักษณ์ความเป็นเจ้าของพื้นที่ และเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรม โดยมีเป้าหมายร่วมกัน คือ การปกป้องสิทธิในที่ดินของชุมชน นอกจากนี้เพื่อรอคำตอบในการแก้ไขปัญหาสวนป่าคอนสารจากรัฐบาล ภายหลังจากการดำเนินการแก้ไขปัญหาของหน่วยงานภาครัฐเป็นไปอย่างล่าช้า ตามที่ชาวบ้านมีข้อเรียกร้อง คือ ให้ยกเลิกสวนป่าคอนสารโดยเด็ดขาด ให้จัดสรรที่ดินให้ชาวบ้านผู้เดือดร้อนในรูปแบบโฉนดชุมชน และในระหว่างการแก้ไขปัญหาให้ชาวบ้านสามารถทำประโยชน์ในพื้นที่ เพื่อเตรียมการพัฒนาพื้นที่นำร่องโฉนดชุมชน จำนวนเนื้อที่ 1,500 ไร่ อย่างไรก็ตาม องค์การอุตสาหรรมป่าไม้ เป็นโจทก์ยื่นฟ้องดำเนินคดีชาวบ้าน ตามลำดับ ดังนี้

ลำดับการถูกดำเนินคดี

วันที่ 27 ส.ค.2552  องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (อ.อ.ป.)เป็นโจทก์ยื่นฟ้องขับไล่ นายนิด ต่อทุน และพวกรวม 31 คน ข้อกล่าวหาว่าจำเลยและบริวารได้กระทำการบุกรุกเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าภูซำผักหนาม จึงขอให้ศาลได้มีคำสั่งขับไล่ออกจากพื้นที่ พร้อมกับรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง และไม้ผลไม้ยืนต้นที่ปลูกไว้

วันที่ 28 เม.ย.2553  ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ จำเลย ที่ 1 ถึง 31 และบริวารออกจากพื้นที่พิพาทสวนป่าคอนสาร กับให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง ต้นไม้ ที่ได้นำไปปลูกไว้ในพื้นที่พิพาท  ซึ่งจำเลยได้อุทธรณ์ และยื่นคำร้องขอทุเลาการบังคับคดีไว้ชั่วคราว แต่ในขณะเดียวกันโจทก์ยื่นคำให้การแก้อุทธรณ์และคัดค้านคำร้องขอทุเลาการบังคับคดีชั่วคราว

วันที่ 13 ธันวาคม 2553 ศาลได้มีคำสั่งไม่อนุญาตให้มีการบังคับคดีชั่วคราวตามที่จำเลยยื่นคำร้อง และโจทก์ได้วางเงินต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี เพื่อติดหมายบังคับคดีในพื้นที่พิพาท ในวันเดียวกัน

วันที่ 4 ก.พ. – 16 มี.ค. 2554 ทำให้ชาวบ้านได้เคลื่อนไหว โดยการเดินเท้าทางไกลจากคอนสาร ถึง กทม.เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลสั่งการให้ ออป.ถอนการบังคับคดี และเร่งประกาศพื้นที่โฉนดชุมชนในพื้นที่พิพาทสวนป่าคอนสาร  ตามที่ได้ผลักดันให้รัฐบาลสมัยนั้นมีมาตรการทางนโยบายเพื่อคุ้มครองสิทธิที่ดินดังกล่าว

วันที่ 2 มีนาคม 2554 ผลการเจรจาระหว่างผู้แทนชาวบ้านกับ อ.อ.ป.นำมาสู่ข้อตกลง 3 ข้อคือ 1. ออป.จะไม่เร่งรัดบังคับคดี  2. การนำพื้นที่จำนวนประมาณ 1,500 ไร่ ไปดำเนินการโฉนดชุมชน ให้ผู้แทน ออป. สำนักนายกรัฐมนตรี และชาวบ้านผู้เดือดร้อน ลงพื้นที่ตรวจสอบร่วมกัน และ 3. การใช้ประโยชน์ในพื้นที่ดังกล่าว ให้นำข้อกำหนดของ ออป.มาปรับปรุงให้เกิดการยอมรับร่วมกัน แต่การปฏิบัติของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังไม่มีการส่งมอบพื้นที่โฉนดชุมชนให้แต่อย่างใด  นอกจากจำนวนพื้นที่เดิม (ประมาณ 86 ไร่) ที่ชาวบ้านร่วมกันยึดเข้ามาได้ในวันที่ 17 ก.ค.2552

วันที่ 21 ธันวาคม 2554 ศาลอุทธรณ์ได้พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น มีคำพิพากษาให้จำเลยและบริวารออกจากพื้นที่ภายใน 30 วัน ต่อมาในวันที่ 21 มีนาคม 2555 จำเลยได้ฎีกา

วันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 ศาลจังหวัดภูเขียวนัดจำเลยทั้ง 31 คน ฟังคำพิพากษาศาลฎีกา แต่ศาลไม่สามารถอ่านคำพิพากษาได้ เนื่องจากจำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 13 เสียชีวิต ทนายจำเลยจึงยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเรียกให้ทายาทของผู้เสียชีวิตมารับมรดกความ  ศาลจึงได้อนุญาตตามที่ทนายจำเลยขอ  โดยได้มีคำสั่งให้เลื่อนการอ่านคดีออกไป และมีคำสั่งเรียกให้ทายาทของจำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 13 ที่เสียชีวิต มายื่นคำร้องขอรับมรดกความภายใน 15 วัน คือวันที่ 16 พ.ค.2560 และศาลมีคำสั่งนัดไต่สวนคำร้องขอรับมรดกความของทายาท จำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 13 ในวันที่ 2 มิ.ย.2560

วันที่ 2 มิ.ย.2560 ศาลมีคำสั่งนัดไต่สวนคำร้องขอรับมรดกความ แต่เนื่องจากเอกสารทะเบียนสมรสของผู้เป็นภรรยาของจำเลยไม่คบถ้วน ต้องไปขอคัดสำเนาที่ทำการอำเภอคอนสาร ศาลจึงมีคำสั่งเลื่อนนัดไต่สวนคำร้องขอรับมรดกความ ไปเป็นวันที่ 26 มิ.ย.2560

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กระทรวงดิจิทัลทุ่ม 10 ล้าน จัดตั้งศูนย์ความมั่นคงไซเบอร์คุมทำผิด พ.ร.บ.คอม 24 ชม.

Posted: 26 Jun 2017 07:12 AM PDT

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมจัดงบ 10 ล้าน ที่มิใช่งานก่อสร้าง ตั้งโครงการ ว่าจ้างเจ้าหน้าที่เฝ้าระวัง รวบรวมข้อมูล รายงานการกระทำผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ผลัดเวรกันตลอด 24 ชั่วโมง

มีเอกสารที่เผยแพร่ในเว็บไซต์ของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หัวข้อ "ขอบเขตของงาน: โครงการบริหารจัดการศูนย์ปฏิบัติการความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์" มีเนื้อหาว่าด้วยขอบเขตงานของโครงการ และแนบมาด้วยรายละเอียดงบประมาณโครงการบริหารจัดการศูนย์ปฏิบัติการฯ

 (ดูเอกสารตัวเต็มทั้งหมด)

จากเอกสาร พบว่าศูนย์ปฏิบัติการฯ ถูกจัดตั้งขึ้นมาเพื่อตอบสนองวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้

  • เฝ้าระวังวิเคราะห์การกระทำความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และ พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2560

  • เพื่อสนับสนุนงานเฝ้าระวัง การจัดเก็บและพิสูจน์หลักฐาน งานด้านกฎหมาย และภาษา ในการนำเทคโนโลยีที่จะทำให้การใช้งานเพื่อการสืบค้นเป็นไปได้รวดเร็ว มีหลักฐานในการรวบรวมข้อมูลหาผู้กระทำผิดตามกฎหมายได้

  • เพื่อเช่าใช้บริการเครือช่ายอินเทอร์เน็ตและระบบงานสนับสนุนการดำเนินการเฝ้าระวังการจัดเก็บหลักฐานและการติดตามตรวจสอบหลังจากมีคำสั่งศาลให้ระงับการเผยแพร่แล้ว

ทางศูนย์ปฏิบัติการฯ จะจัดให้มีเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติงานอย่างน้อย 18 คน โดยผลัดเวรกันตลอด 24 ชั่วโมง "โดยต้องมีเจ้าหน้าที่ประจำในช่วงเวลา 08.30 น. ถึงเวลา 16.30 น. ถึงเวลา 08.30 น. จำนวน 3 คน" โดยเจ้าหน้าที่กลุ่มนี้มีหน้าที่ตรวจสอบและรายงานผลการตรวจสอบเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม และรายงานผลการตรวจสอบแก่ผู้ว่าจ้า ตรวจสอบและรายงานผลการตรวจสอบสถานการณ์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่อาจจะมีผลกระทบต่อความไม่สงบ หรือข้อมูลข่าวสารต่างๆ ผ่านอีเมล์วันละ 2 ช่วงเวลา ได้แก่ 10.00 น. และ 18.00 น.

เจ้าหน้าที่กลุ่มนี้ยังต้องทำหน้าที่ดำเนินการเก็บพยานหลักฐานข้อมูลทางคอมพิวเตอร์เกี่ยวกับเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม หรือติดตามข้อมูลที่ได้รับมอบหมายจากผู้ว่าจ้าง และจัดทำสรุปผลการดำเนินการ และรายงานให้ผู้ว่าจ้างทุกเดือน

นอกจากนั้นยังมีการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานที่กองป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดทางเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อทำหน้าที่ประสานงานและตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับ พ.ร.บ. การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ตรวจสอบข้อร้องเรียนของประชาชนเกี่ยวกับการใช้งานบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ประสานงานกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตหรืออื่นๆ ประสานงานข้อมูลด้านกฎหมาย ค้นหาข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและสรุปผล

นอกจากนั้นยังมีตารางแสดงวงเงินงบประมาณที่ได้รับจัดสรรและราคากลาง (ราคาอ้างอิง) ในการจัดซื้อจัดจ้างที่มิใช่งานก่อสร้าง โดยมีวงเงินงบประมาณที่ได้รับจัดสรร 10 ล้านบาท วันกำหนดราคากลาง 21 มิ.ย. 2560

รายละเอียดงบประมาณ

 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

แอมเนสตี้-ICJ ติงไทยออก 'พ.ร.บ.ทรมาน-อุ้มหาย' ล่าช้า วอนเร่งทำตามสัญญา

Posted: 26 Jun 2017 06:45 AM PDT

แอมเนสตี้และ ICJ ออกแถลงการณ์วันสนับสนุนผู้เสียหายจากการทรมานสากล ติงไทยให้คำมั่นสัญญาป้องกันและปราบปรามการทรมานบนเวทีนานาชาติแต่ไม่ปฏิบัติตาม พร้อมวิดีโอคลิปวงคุย พ.ร.บ. (ป้องกันและต่อต้านการทรมานฯ) ยังไม่มี ความยุติธรรมยังไม่มา.....

26 มิ.ย. 2560 แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล และคณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล (ICJ) ออกแถลงการณ์ร่วม แสดงความยินดีที่ไทยให้คำมั่นสัญญาในเวทีนานาชาติว่าจะป้องกันและปราบปรามการทรมานโดยเจ้าหน้าที่รัฐในประเทศ เนื่องใน "วันสนับสนุนผู้เสียหายจากการทรมานสากล" หรือ "วันต่อต้านการทรมานสากล" ซึ่งตรงกับวันที่ 26 มิถุนายนของทุกปี และในโอกาสใกล้ครบรอบ 10 ปีที่ไทยได้ให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ 

อย่างไรก็ตาม แอมเนสตี้และ ICJ พบว่าคำมั่นสัญญาต่างๆ ของทางการไทยเป็นเพียงเอกสารที่ยังไม่ได้ถูกนำไปปฏิบัติจริงแต่อย่างใด โดยเฉพาะการผ่านร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการบังคับบุคคลให้สูญหาย (พ.ร.บ.ทรมานและอุ้มหาย) ซึ่งถูกทำให้ล่าช้าซ้ำแล้วซ้ำอีก
 
"ปัจจุบัน มีการใช้กฎหมายและคำสั่งต่างๆ ที่เปิดช่องให้ประชาชนถูกทหารควบคุมตัวได้โดยไม่มีคำสั่งศาล ไม่สามารถเข้าถึงทนาย ครอบครัว หรือความช่วยเหลือทางการแพทย์ได้นานถึงหนึ่งสัปดาห์ ซึ่งข้อมูลของเราพบว่าการทรมานโดยเจ้าหน้าที่รัฐมักเกิดขึ้นในช่วงสัปดาห์ดังกล่าว" ปิยนุช โคตรสาร ผู้อำนวยการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย เปิดเผย
 
การทรมานโดยเจ้าหน้าที่ในประเทศไทยแทบจะไม่ได้รับการสอบสวนอย่างทันท่วงที อิสระ และเป็นกลางตามมาตรฐานระหว่างประเทศ มีการลอยนวบพ้นผิดมากมาย ยิ่งไปกว่านั้น ผู้เสียหาย ญาติของผู้เสียหาย และนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการทรมานยังถูกคุกคามทางกฎหมายจากการฟ้องร้องหมิ่นประมาทอีกด้วย
 
แอมเนสตี้พร้อมกับ ICJ เรียกร้องให้ทางการไทยผ่าน พ.ร.บ.ทรมานและอุ้มหาย สอบสวนการทรมานโดยเจ้าหน้าที่รัฐอย่างอิสระ โปร่งใส และเป็นกลาง นำตัวผู้กระทำผิดควรถูกนำเข้าสู่กระบวนการพิจารณาคดีที่เป็นธรรมในศาลพลเรือน ตลอดจนกำหนดกลไกป้องกันการทรมานระดับประเทศ และอนุญาตให้คณะกรรมการต่อต้านการทรมานระหว่างประเทศเข้าตรวจเยี่ยมด้วย

เมื่อวันที่ 23 มิ.ย.ที่ผ่านมาแอมเนสตี้ฯ และองค์กรพันธมิตรจัดวงเสวนาหัวข้อ พ.ร.บ. (ป้องกันและต่อต้านการทรมานฯ) ยังไม่มี ความยุติธรรมยังไม่มา..... โดยสมชาย หอมลออ ที่ปรึกษากฎหมายอาวุโส มูลนิธิประสานวัฒนธรรม อิสมะแอ เต๊ะ ประธานองค์กรเครือข่ายสิทธิมนุษยชนปาตานี สมศักดิ์ ชื่นจิตร บิดาของผู้ที่กล่าวอ้างว่าถูกทรมาน และวิลาวัล เกิดแก้ว น้องสาวของผู้ที่กล่าวอ้างว่าถูกทรมาน

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

การ์ตูนวันต่อต้านการซ้อมทรมานและแถลงการณ์จี้รัฐลงทุนมาตรการป้องกัน

Posted: 26 Jun 2017 06:28 AM PDT

การ์ตูนวันต่อต้านการซ้อมทรมานฉบับภาษาไทย และแถลงการณ์เรียกร้องให้ทุกประเทศลงทุนในมาตรการป้องกันเพื่อป้องกันการซ้อมทรมาน
 

26 มิ.ย. 2560 รายงานข่าวจากมูลนิธิผสานวัฒนธรรม แจ้งว่า วันนี้นี้เป็นวันสากลสนับสนุนการต่อต้านการทรมาน เราจึงขอรำลึกและเชิดชูเกียรติให้กับเหยื่อและผู้รอดพ้นจากการทรมาน และยืนยันว่าเราจะทำงานร่วมกับเครือข่ายทั่วโลกในการต่อต้านการทรมานในทุกรูปแบบ ณ ปัจจุบัน การซ้อมทรมานและการปฏิบัติอย่างโหดเหี้ยมนั้นยังเกิดขึ้นอยู่ในหลายๆที่ทั่วโลก ดังนั้นเราจึงได้ตั้งคำถามขึ้นมาว่า เราจะทำอย่างไรเพื่อยุติการกระทำเหล่านี้? สิ่งแรกที่เราต้องทำในการป้องกันการทรมานนั้นคือ เราต้องลดหรือจำกัดความเสี่ยงที่จะเกิดการซ้อมทรมาน ซึ่งส่วนใหญ่เกิดขึ้นภายใต้การควบคุมตัวของเจ้าหน้าที่ตำรวจ   โดยผ่านมาตรการการป้องกัน อาทิ การเข้าถึงทนายความ  และการแจ้งให้ญาติทราบถึงสถานที่ควบคุมตัว

งานวิจัยอิสระที่ชื่อว่า การปัองกันการทรมานทำได้จริงไหม "Does Torture Prevention Work?" ที่ศึกษามาตรการการป้องกันการทรมานใน 16 ประเทศในระยะเวลา 30 ปีที่ผ่านมาโดย APT the Association for the Prevention of Torture พบว่า มาตรการป้องกันเมื่อได้นำมาใช้ในทางปฏิบัติมีผลอย่างมีประสิทธิภาพที่สุดในการยุติการทรมาน  รายงานฉบับนี้ยังได้มีข้อเสนอแนะที่สำคัญเพื่อให้รัฐต่างๆ ได้นำไปใช้ได้อย่างมีขั้นตอนได้ในการป้องกันการทรมาน

การป้องกันการทรมานไม่ใช่แนวคิดใหม่  สามสิบปีที่ผ่านมา ตั้งแต่วันที่ 26 มิถุนายน ปี 1987 ที่อนุสัญญาต่อต้านการทรมาน มีผลบังคับใช้และเรียกร้องให้รัฐสมาชิกทำให้การทรมานเป็นความผิดอาญาและมีมาตรการป้องกันการทรมานในประเทศ และในวันเดียวกันสภายุโรปก็ได้รับรองอนุสัญญาต่อต้านการทรมานของสภายุโรปด้วย รวมทั้งก่อตั้งคณะกรรมการที่มีหน้าที่ตรวจเยี่ยมสถานที่ควบคุมตัวในเวลาใดก็ได้โดยประเทศสมาชิกของสภายุโรป  สมาชิกขององค์การสหประชาชาติจำนวนครึ่งหนึ่งเป็นรัฐสมาชิกในพิธีสารเลือกรับอนุสัญญาต่อต้านการทรมานตั้งแต่ได้รับการรับรองว่าเป็นระบบสากลในการตรวจเยี่ยมสถานที่ควบคุมตัวของผู้ถูกคุมขัง

การที่จะไม่ยอมรับว่าคำสารภาพที่ได้จากการทรมานใช้ได้ในระบบยุติธรรมทางอาญาเป็นการป้องกันการทรมานที่สำคัญ  และในหลายๆบริบท วิธีการสืบสวน การสอบถามและการสอบสวนของเจ้าหน้าที่รักษากฎหมายมีความสำคัญในการป้องกันการทรมานได้   ดังนั้นเราเรียกร้องให้ทุกประเทศรับรองและปรับปรุงวิธีการ จริยธรรม เทคนิคในการสืบสวนสอบสวนผู้ต้องสงสัย พยาน เหยื่อ โดยปราศจากการบังคับข่มขู่  และวิธีการสอบสวนต้องใช้หลักการที่อยู่บนพื้นฐานที่ว่าทุกคนยังเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าศาลจะตัดสิน  อีกทั้งทุกประเทศต้องนำหลักการด้านสิทธิมนุษยชนมาใช้เป็นแนวทางร่วมกับแนวทางอื่น เพื่อป้องกันอาชญกรรมและสร้างสังคมให้ปลอดภัยและมั่นใจได้

วันนี้ เราผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านการต่อต้านการทรมานทั้งหมดนี้ ขอเรียกร้องให้ทุกประเทศลงทุนเรื่องการป้องกันการทรมาน โดยสร้างมาตรการป้องกันการทรมานและการปฏิบัติอย่างโหดเหี้ยม ในเวลานี้ ผู้เสียหายจากการซ้อมทรมานหนึ่งคนก็มากเกินพอแล้ว ผู้นำของทุกๆประเทศจึงต้องให้ความสำคัญกับการยุติและยับยั้งการซ้อมทรมานอย่างเด็ดขาด และวิธีที่ดีที่สุดในการยุติการทรมาน คือการทำงานร่วมกันเพื่อให้โลกใบนี้ปราศจากการซ้อมทรมาน

การ์ตูนวันต่อต้านการซ้อมทรมานฉบับภาษาไทย : 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ปากีสถานออกหนังสือเดินทางโดยให้การยอมรับ 'คนข้ามเพศ' เป็นครั้งแรก

Posted: 26 Jun 2017 06:26 AM PDT

เป็นครั้งแรกที่ปากีสถาน ประเทศที่มีภาพลักษณ์อนุรักษ์นิยมจัด ออกหนังสือเดินทางให้คนข้ามเพศโดยระบุเป็นเพศอื่นนอกเหนือจากชายหญิงได้ ในปากีสถานก็เป็นหนึ่งในประเทศเอเชียใต้ที่มีคนข้ามเพศที่เรียกว่า "ฮิจรา" อยู่จำนวนมาก พวกเธอมีความเกี่ยวโยงกับพิธีกรรมทางศาสนาแต่ก็ยังคงถูกกีดกันและถูกรังแกอยู่

26 มิ.ย. 2560 ถึงแม้ว่าปากีสถานจะเป็นหนึ่งในประเทศที่อนุรักษ์นิยมจัด มีหลายประเด็นที่พวกเขาล้าหลังไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่ยังทำให้การรักเพศเดียวกันยังเป็นอาชญากรรม การปล่อยให้มีการแต่งงานกับเด็ก การพยายามทำให้การทำร้ายคู่รักเป็นสิ่งถูกต้องตามกฎหมาย 

อย่างไรก็ตามเมื่อสุดสัปดาห์ที่แล้วพวกเขาก็ทำเรื่องที่ดูก้าวหน้าผิดหูผิดตาอย่างการออกหนังสือเดินทางให้กับคนข้ามเพศ (Transgender) ระบุเป็นเพศอื่นนอกจากชายหรือหญิงได้

ผู้ที่ได้รับหนังสือเดินทางแบบดังกล่าวนี้เป็นคนแรกของปากีสถานคือ ฟาร์ซานา จาณ หญิงข้ามเพศและประธานของ "ทรานส์แอ็กชั่นปากีสถาน" องค์กรส่งเสริมสิทธิของชุมชนคนข้ามเพศในปากีสถาน เพจขององค์กรนี้โพสต์ในเฟซบุ๊กเมื่อวันที่ 23 มิ.ย. ที่ผ่านมา ระบุว่า ทางการปากีสถานออกหนังสือเดินทางที่ระบุเพศของเธอว่าเป็นเพศ "X" ซึ่งพวกเขามองว่าเป็นการที่ทางการยอมรับเพศสภาพของคนข้ามเพศ และขอบคุณรัฐมนตรีกระทรวงกิจการภายในที่รับฟังพวกเขา

สื่อ Vox ระบุว่านี่เป็นเรื่องน่าแปลกใจเนื่องจากปากีสถานเป็นประเทศที่คนข้ามเพศมักจะถูกใช้ความรุนแรงทำร้ายและตำรวจกับหมอก็มักจะปฏิเสธไม่ให้ความช่วยเหลือ

อย่างไรก็ตามในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมารัฐบาลปากีสถานก็ดูจะก้าวหน้ามากขึ้นพอสมควรในเรื่องการยอมรับสิทธิของคนข้ามเพศ ในปี 2555 นักกิจกรรมที่เป็นคนข้ามเพศเอาชนะในการต่อสู้ทางกฎหมายทำให้รัฐบาลยอมระบุทางเลือกเพศแบบที่สามลงในบัตรประจำตัวประชาชนได้ และเมื่อต้นปีนี้ชุมชนคนข้ามเพศก็ได้รับการยอมรับในตัวตนมากขึ้นจากการที่จะมีการระบุตัวตนของพวกเขาในสำมะโนประชากรปี 2560 นอกจากนี้ยังมีแผนการสร้างมัสยิดที่เปิดกว้างกับคนทุกเพศสภาพและเพศวิธีในเมืองหลวงอิสลามาบัด

ในวัฒนธรรมเอเชียใต้จะมีการระบุถึงตัวตนหญิงข้ามเพศแบบหนึ่งคือฮิจรา (Hijra) ที่แยกออกเป็นเพศต่างหากไม่ใช่หญิงหรือชาย ตั้งแต่ยุคคริสตศตวรรษที่ 16 เป็นต้นมาก็มักจะมองว่าฮิจรานำมาซึ่งโชคดี และในศาสนาฮินดูก็เชื่อว่าพวกเธอมีอำนาจเชิงพิธีกรรมทางศาสนาถึงแม้ว่าฮิจราบางคนจะเป็นชาวมุสลิมโดยเฉพาะในปากีสถาน ไม่เพียงแค่ในปากีสถานเท่านั้น ประเทศอินเดีย เนปาล และบังกลาเทศก็ให้การยอมรับเพศสภาพของฮิจราเช่นกัน โดยที่อินเดียเคยเพิ่มทางเลือกของเพศพวกเธอไว้ในหนังสือเดินทางหรือเอกสารทางการอื่นๆ ก่อนหน้าปากีสถานแล้ว

แต่ถึงแม้ว่าฮิจราจะได้รับการยอมรับในระดับทางการ ในระดับสังคมทั่วไปของปากีสถานพวกเธอยังคงถูกข่มเหงรังแกจากตำรวจและถูกล่วงละเมิดทางเพศ แม้ว่าพวกเธอจะมีบทบาทสำคัญในพิธีการแต่งงานและพิธีกรรมเพื่อความอุดมสมบูรณ์ ความสำคัญของพวกเธอบวกกับการกดดันจากนักกิจกรรมเพื่อคนข้ามเพศน่าจะมีส่วนทำให้รัฐบาลยอมรับตัวตนของคนข้ามเพศที่เคยเป็นกลุ่มประชากรชายขอบมาก่อน สื่อ NPR เคยระบุว่าในปากีสถานมีประชากรฮิจราอยู่ราว 50,000 คน

นอกจากอินเดีย เนปาล และปากีสถานแล้ว ยังมีเยอรมนีและนิวซีแลนด์ที่ให้การรับรองสถานะคนข้ามเพศหรือคนที่ระบุเป็นเพศอื่นนอกเหนือจากชายหญิงลงในหนังสือเดินทาง และอีกหลายประเทศที่อนุญาตให้เปลี่ยนอัตลักษณ์ทางเพศในเอกสารทางกฎหมายได้โดยไม่จำเป็นต้องมีใบรับรองทางการแพทย์

Vox ระบุว่าน่าเสียดายที่ประเทศอย่างสหรัฐฯ ยังคงมีหนังสือเดินทางที่ยึดกับเพศแบบสองขั้วอย่างชายหญิง และสำหรับคนข้ามเพศที่ต้องการเปลี่ยนการระบุเพศตนเองจากชายเป็นหญิงหรือหญิงเป็นชายต้องอาศัยใบรับรองทางการแพทย์อ้างอิงเรื่องการแปลงเพศด้วย นั่นหมายความว่าในประเด็นเรื่องเพศหลากหลายแล้วปากีสถานก้าวหน้าออกนำสหรัฐฯ ไปแล้ว

 

เรียบเรียงจาก

Pakistan just issued its first passport with a transgender category, Vox, 23-06-2017

https://www.vox.com/world/2017/6/23/15861620/pakistan-transgender-passport-human-rights

ข้อมูลเพิ่มเติมจาก

https://en.wikipedia.org/wiki/Hijra_(South_Asia)

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ศาลให้ประกัน 'รังสิมันต์ โรม' แล้ว

Posted: 26 Jun 2017 12:53 AM PDT

ศาลทหารสั่งให้ปล่อยตัวชั่วคราว รังสิมันต์ โรม แล้ว หลังยื่นหลักทรัพย์ประกัน คดีหอศิลป์ 10,000 บาท คดีแจกเอกสารรณรงค์ประชามติ ปี 59 ที่ บางพลี 50,000 บาท พร้อม MOU คาดปล่อยตัวเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร 20.00 น. 

ภาพเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์คุมตัว รังสิมันต์ โรม ไปยังเรือนจำพิเศษกรุงเทพ หลังศาลทหารอนุมัติฝากขัง 

26 มิ.ย. 2560 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ เมื่อเวลา 14.30 น. ศาลทหารสั่งให้ปล่อยตัวชั่วคราว หรือให้ประกันตัว รังสิมันต์ โรม สมาชิกกลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตย แล้ว หลังยื่นหลักทรัพย์ประกัน คดีหอศิลป์ กทม. 10,000 บาท คดีแจกเอกสารรณรงค์ประชามติ ปี 59 ที่นิคมอุตฯ บางพลี 50,000 บาท

พร้อมเงื่อนไข ห้ามกระทำการใดๆ อันมีลักษณะเป็นการยั่วยุ ปลุกปั่น ชักชวน ปลุกระดม ไม่ว่าด้วยวิธีใดๆ เพื่อให้มีการชุมนุมอันจะก่อให้เกิดภัยอันตรายใดๆ อันกระทบต่อความเสียหาย หรือความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือกระทำการใดๆ เพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน รวมทั้งห้ามเดินทางออกนอกราชอาณาจักร เว้นแต่ได้รับอนุญาต

ผู้สื่อข่าวประเมินว่าจะปล่อยตัวเวลาประมาณ 20.00 น. ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร

โดยเมื่อช่วงสายวันนี้ รังสิมันต์ ถูกควบคุมตัวจาก สภ.บางเสาธง มายังศาลทหาร หลังถูกเจ้าหน้าจับกุมตัววานนี้ จากกรณีการไม่ไปรายงานตัวกับศาลทหารในคดีแจกใบปลิวรณรงค์โหวตไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ที่บางเสาธง เมื่อปี 2559 รวมทั้ง ขัดประกาศ คมช. ที่ไม่พิมพ์ลายนิ้วมือ นอกจากนี้ยังมีคดีขัดคำสั่ง คสช. ที่ 3/58 กรณีชุมนุมที่หอศิลป์ ครบรอบ 1 ปี

เพจ Banrasdr Photo รายงานด้วยว่า ขณะผ่านสื่อมวลชน รังสิมันต์ โรม ได้กล่าวว่า การจับกุมครั้งนี้ไม่เกี่ยวกับการแจกเอกสารโหวตโน แต่เป็นเพราะว่าตนจะไปยื่นหนังสือขอให้มีการเปิดเผยรายละเอียดข้อตกลงรถไฟไทย-จีน ที่ทำเนียบรัฐบาล

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

85 ปี 24 มิถุนายน 2475: ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ รัฐไทยไม่ได้อยู่เพื่อสังคม-ไร้การสร้างสถาบันรองรับ

Posted: 26 Jun 2017 12:47 AM PDT

'ธเนศ' ย้ำ รัฐของไทยเป็นรัฐที่ไม่ได้อยู่เพื่อสังคม มุ่งใช้อำนาจผ่านระเบียบทางศีลธรรม มีลำดับชั้น ไม่ประสบความสำเร็จในการสร้างสถาบันรองรับ เน้นแต่ผู้นำที่มีบารมี

ในโอกาสครบรอบ 85 ปีแห่งการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชสู่ประชาธิปไตย รายงานการสัมมนาชิ้นนี้คือส่วนหนึ่งของการรำลึกถึงเหตุการณ์ในครั้งนั้น ในหัวข้อ 'การเมืองกับประวัติศาสตร์-ประวัติศาสตร์กับการเมือง ตอน การเมืองในชีวิตประจำวัน (Politics of Everyday Life' จัดโดยภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน ณ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ ธรรมศาสตราภิชาน วิทยาลัยนานาชาติปรีดีย์ พนมยงค์ กล่าวว่า

"ผมจะพยายามหาความหมายของประวัติศาสตร์ในแง่ของคนที่ต้องทำงานด้านนี้ คือนิยามของประวัติศาสตร์ทุกคนก็คงรู้ที่เป็นนิยามแบบท่องจำ แต่ผมจะพูดถึงในแง่ของคนที่ต้องใช้จริงๆ ผมใช้เวลากว่า 30 ปีกว่าจะสรุปได้ แล้วผมก็สรุปไว้ในหน้าสุดท้ายของบทความผมว่า สำหรับวิชารัฐศาสตร์และประวัติศาสตร์ในมหาวิทยาลัยเมืองไทย รัฐศาสตร์จะยกระดับเป็นศาสตร์วิชาการที่มีน้ำยา หมายความว่ามีพลัง มีระบบ มีการอธิบาย แต่เวลาเอาไปโชว์ในเวทีอื่นนอกเมืองไทยจะไม่มีน้ำหนัก ที่เป็นเช่นนี้เพราะว่า รัฐศาสตร์ไทยนั้นขาดพันธมิตรที่ใกล้ชิดก็คือประวัติศาสตร์ รัฐศาสตร์ไทยไม่มีประวัติศาสตร์ที่ลึก คือประวัติศาสตร์ที่ผ่านการค้นคว้าชั้นต้น ชั้นรอง ผ่านการตรวจสอบจนได้ข้อสรุปที่เป็นการตีความ เช่นเรื่อง 24 มิถุนายน 2475 จนตอนนี้ผ่านมา 85 ปี ประวัติศาสตร์นี้ยังคงดำเนินต่อไป มันยังไม่จบ แล้วมันเกี่ยวกับเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่ใหญ่มากของประเทศไทย

"ลองเปรียบเทียบกับเหตุการณ์ปฏิวัติใหญ่ของฝรั่งเศส 1789 เขารบกันหลายรอบ แต่พอไปถามคนฝรั่งเศสทั้งผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย ด้านการเมืองว่า 1789 ล้มเหลวใช่ไหม มีคน React ต่อคำถามนี้ว่าเป็นคำถามที่ดีมาก หรือในวันที่ 4 กรกฎาคม ซึ่งเป็นวันชาติอเมริกา มีคนอเมริกันลุกขึ้นมาถามเลยว่า ทำไมเจฟเฟอร์สันเขียนคำประกาศเอกราชว่าคนเราเกิดมามีสิทธิเท่าเทียมกัน มันไม่จริง มีคนถูกจับเข้าคุก ถูกซ้อม เพราะฉะนั้นคำประกาศเอกราชนี้มันใช้ไม่ได้ เพราะไม่เป็นความจริง คติเรื่องความเท่าเทียมกันหรือเสรีภาพมันไม่จริง มีการนำคนมาเป็นทาสตั้ง 4 ศตวรรษ ถึงจะมีการเลิกทาสแล้ว อีก 100 ปีก็ยังไม่ได้ให้เสรีภาพจริงๆ กับเขาจนถึงปี 1964 ฉะนั้น ประวัติศาสตร์ของอเมริกาจึงมีความไม่จริง

"แต่คนในอเมริกามองว่าพอโค่นล้มอำนาจกษัตริย์ได้แล้วก็ถือว่าประสบความสำเร็จ คืออำนาจกลับมาอยู่ที่ประชาชนเรียบร้อยแล้ว แต่หลังจากนั้นจะมีการนำมาบิดเบือนอย่างไรเขาถือว่าไม่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ 1776 และ 1789 เพราะฉะนั้นการเมืองมันเดินไปข้างหน้าแบบเป็นระบบได้ แต่การเมืองไทยไม่เดินเป็นระบบ มันวิ่งเป็นวัฏจักรวงกลม แล้วมันก็ย้อนมาอยู่ที่เก่า ไม่ได้ไปไหน ปัญหาของประวัติศาสตร์ไทยคือการที่เราไปเรียนตำราฝรั่ง ตำราของโลกที่เป็นสมัยใหม่ โลกสมัยใหม่ทั้งหลายมันเป็นโมเดลของตะวันตก

"เหตุการณ์ปฏิวัติฝรั่งเศส 1789 มันเดินเป็นเส้นตรง นำไปสู่การสร้างอะไรใหม่ๆ ขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายเลือกตั้ง กฎหมายสิทธิ มันไม่กลับสู่อันเดิม ไม่ว่าจะดีเลวอย่างไรก็ไปของมันเรื่อยๆ มันไม่เคยเดินเป็นวงกลมเหมือนของเมืองไทยและประเทศอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การที่ประวัติศาสตร์เดินเป็นวงกลมไม่ได้หมายความว่ามันไม่ได้อยากเดินเป็นเส้นตรง แต่เป็นเพราะเงื่อนไขการสร้างสถาบันสมัยใหม่ ไม่ว่าจะเป็นระบบรัฐสภา รัฐธรรมนูญ กฎหมาย รวมไปถึงโรงเรียน มหาวิทยาลัย ระบบเศรษฐกิจ ระบบการค้า ทั้งหมดนี้ไปส่งเสริมความมั่นคง ประสิทธิภาพ และการเคลื่อนตัวของรัฐสมัยใหม่ ในขณะที่สังคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งหมดเหมือนกัน คือไม่มีการเคลื่อนตัวของสถาบัน ผมจึงคิดว่าสิ่งที่เรียกว่าสถาบันไม่ประสบความสำเร็จ ฉะนั้น สิ่งแรกที่ต้องทำคือสร้างสถาบันใหม่หรือหน่วยงานใหม่ ซึ่งจะทำได้ก็ต้องสร้างระบบเศรษฐกิจก่อน เพราะระบบเศรษฐกิจเดิมทำไม่ได้

"รัฐของไทยเป็นรัฐที่ไม่ได้อยู่เพื่อสังคม แม้กระทั่งเส้นแบ่งระหว่างรัฐกับสังคมก็ยังเบลออยู่ บางช่วงมันเลยเข้ามาปะทะกัน คาบเกี่ยวกัน แย่งพื้นที่และอำนาจกัน ใครแพ้ก็ถอยแล้วต่างคนต่างก็ไปหาจุดหมายของตัวเองต่อไป ดังนั้น จุดหมายที่รัฐแบบไทยถนัดที่สุดคือการใช้อำนาจ โดยใช้อำนาจนี้ผ่านระเบียบทางศีลธรรมหรือ Moral Order"

"ในขณะที่การเปลี่ยนแปลงในยุโรปและอเมริกามีสถาบันรองรับ คนที่เข้ามาแบบนอกระบบจึงไม่มีอะไรเอื้อต่อการมีความชอบธรรม แต่พอมาดูรัฐในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มันไม่ได้เกิดขึ้นโดยการมีสถาบันจริงๆ รองรับ มันก็เลยเปิดช่องให้ตัวคนเข้ามายึดอำนาจได้ แล้วก็สร้างหน่วยงานขึ้นมาเอง มันก็จะได้แต่งานของตัวเองที่เสริมสร้างเครือข่ายของตัวเองให้เข้มแข็งและอยู่ให้นานที่สุดเท่าที่จะนานได้ ของไทยแทนที่รัฐจะเป็นสถาบัน รัฐเลยเป็น Agent ที่ประกอบไปด้วย Agent ของกลุ่มต่างๆ เข้ามารวมตัวกัน ทะเลาะกัน แย่งกัน กลุ่มไหนที่ได้เปรียบก็ชนะไป เพราะฉะนั้นตอนที่ฝรั่งเศสปฏิวัติมันจะเป็นไปตามสูตร Law and Order มีการสร้างกฎใหม่ๆ แต่ของไทยไม่มี เพราะว่า Law and Order ทำให้สังคมมีมาตรฐานและอิสระที่จะดำรงอยู่ได้และเสริมสร้างความมั่นคงของรัฐ

"รัฐของไทยเป็นรัฐที่ไม่ได้อยู่เพื่อสังคม แม้กระทั่งเส้นแบ่งระหว่างรัฐกับสังคมก็ยังเบลออยู่ บางช่วงมันเลยเข้ามาปะทะกัน คาบเกี่ยวกัน แย่งพื้นที่และอำนาจกัน ใครแพ้ก็ถอยแล้วต่างคนต่างก็ไปหาจุดหมายของตัวเองต่อไป ดังนั้น จุดหมายที่รัฐแบบไทยถนัดที่สุดคือการใช้อำนาจ โดยใช้อำนาจนี้ผ่านระเบียบทางศีลธรรมหรือ Moral Order ซึ่งเป็นเป้าหมายของผู้นำรัฐเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต้องไปสถาปนาศีลธรรมของตัวเอง เอาโมเดลของเยอรมันหรือของญี่ปุ่นในสมัยสงครามโลกมาเพราะเชื่อว่าพลเมืองเขามีคุณภาพเพราะมีวัฒนธรรม ฉะนั้น ผู้นำทหารเลยต้องมีศีลธรรม แล้วศีลธรรมนี้มันก็แผ่กระจายออกไปในฐานะผู้ปกครอง พวกไพร่ทั้งหลายได้ซึมซับว่านี่คือบารมีที่คุณจะต้องยอม ซึ่งสิ่งนี้เป็นสิ่งที่ยั่งยืน คือการทำให้คนซึมซับความยิ่งใหญ่อลังการของตัวผู้นำ

"รัฐในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะมีการสร้างความประทับใจผ่านนาฏศิลป์ นาฏกรรม สุนทรียศาสตร์  ภาพวาด คติต่างๆ วรรณคดี เช่น ขุนช้างขุนแผน รามเกียรติ์ ซึ่งเป็นวรรณกรรมที่ศักดิ์สิทธิ์และยิ่งใหญ่ สิ่งพวกนี้สอนให้เรารู้ว่า เราอยู่ในช่วงไหนของสังคม Hierarchy ไหน คนไม่เท่ากัน คนต้องจงรักภักดี คนต้องเชื่อฟังผู้นำ อันนี้คือคำสอนทางศาสนาของรัฐที่ต้องทำต่อๆ กันมา คือในสังคมไทยเรารับมาจากต่างประเทศหลายเรื่อง แต่สิ่งที่เราไม่รับเลยคือคติพจน์แบบใหม่ ซึ่งก็คือวิธีคิดที่ทำให้ปัจเจกชนคนธรรมดาเป็นเจ้าของชีวิตตัวเองจริงๆ เป็น Subject ที่เป็น I จริงๆ อยู่เหนือ Object ต่างๆ มันไม่เกิด คติพจน์เรื่อง Subject ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Subjectivism หรือ Subjectivity ซึ่งเป็นทฤษฎีพวก Post Modern เขาพูดเรื่อง Subject กันเยอะมาก เพราะว่าตัวละครเอกของเขาเป็น Subject แล้วตัวละครตัวนี้ผลักดันทุกอย่าง ในขณะที่ Subject ของเรามันยังเป็น Subject จริงๆ ในแบบโบราณก็คือ ข้าบ่าว สิ่งเหล่านี้ถูกประทับด้วยวรรณกรรมไปจนถึงปรัชญาต่างๆ ทางศาสนาก็จะเน้นหนักเรื่องความไม่เท่าเทียม

"ประวัติศาสตร์มันก็แปลก พูดง่ายๆ คือถ้าการเมืองหรือสังคมไม่เปลี่ยนไป ข้อมูลเดิมก็จะเหมือนเดิมตลอดเวลา คือไม่มีอะไรมากกว่านั้น แต่พอเหตุการณ์เปลี่ยน เราเห็นอะไรบางอย่างเกิดขึ้น เราก็มาคิดได้ว่า ถ้าเหตุการณ์เดิมมันเกิดขึ้นเมื่อ 50 ปีที่แล้วมันจะเป็นอย่างไรบ้าง ผมก็เลยนึกถึงช่วงที่พันธมิตรชุมนุม มีหลายคนมากที่ไปช่วยกันเซ็นชื่อ มีทั้งอาจารย์รวมทั้งผมด้วย เซ็นเพื่อให้ไป Recall ทักษิณ ผมยังซีร็อกซ์เก็บไว้เลย เป็นคลื่นใหญ่มากที่พวกนักศึกษาออกมาคัดค้านรัฐบาล เสร็จแล้วผมก็มานั่งนึกว่า ตอน 2500 ก็เป็นคลื่นนักศึกษาจุฬาฯ ธรรมศาสตร์ออกมาคัดค้านรัฐบาลจอมพล ป. เยอะที่สุด ในที่สุดก็นำไปสู่การรัฐประหารของจอมพลสฤษดิ์

"ผมก็เลยตั้งคำถามว่า สองเหตุการณ์นี้มีอะไรที่คล้ายกันไหม ผมพยายามกลับไปอ่านประวัติศาสตร์ 2500 ซึ่งเรารู้จักกันในนาม 'เลือกตั้งสกปรก' ปัญหาคือพอได้กลับไปหาหนังสืออ่านพบว่าหนังสือที่เขียนแบบมีหลักฐานจริงๆ เป็นเรื่องเป็นราวมีเพียงเล่มเดียวเท่านั้น มันเป็นไปได้อย่างไร เหตุการณ์ใหญ่ขนาดนี้ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองมหาศาลมีคนศึกษาเพียงเล่มเดียว นอกนั้นส่วนใหญ่คือเขียนตามความรู้สึกเพราะเขาเขียนในช่วงที่เหตุการณ์จบไปแล้ว เพราะฉะนั้นทั้งหมดมันถูกกำกับไว้ด้วยความรู้สึกช่วงหลังเหตุการณ์รัฐประหาร เขาไม่สนใจไปหาแล้วว่าเลือกตั้งสกปรกมันสกปรกขนาดไหน เขาก็ค้นแค่หนังสือพิมพ์ 2-3 ฉบับ ซึ่งแต่ละฉบับก็เป็นคำวิพากษ์วิจารณ์ของคอลัมนิสต์

"พอผมลองไปหาอ่านดูก็พบว่าช่วงก่อนยึดอำนาจของจอมพลสฤษดิ์ จอมพล ป. ร่วมมือกับหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ฟ้องศาลให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ แต่ว่าศาลไม่ใช่คนตัดสินเพราะเป็นการยึดอำนาจ ก็เลยจบไป เลยคิดว่าถ้ายังไม่ยึดอำนาจแล้วการตัดสินเกิดขึ้นก่อน จะเกิดอะไรขึ้น ประเด็นที่ผมจะพูดถึงคือ แล้วนักศึกษาจุฬาฯ ธรรมศาสตร์ออกไปทำไม ผมบังเอิญอ่านเจอบันทึกของนักศึกษาธรรมศาสตร์คนหนึ่ง เขาเขียนบอกว่า ตอนที่จะออกไปประท้วงจอมพล ป. ฝ่ายจุฬาฯ เขาติดต่อมา ฝ่ายธรรมศาสตร์บอกว่ายังไม่ไป รอดูก่อน จนสุดท้ายพอมันผ่านไปเรื่อยๆ นักศึกษาก็เห็นใจเลยออกไปช่วย มันก็คล้ายๆ พันธมิตรนะ ประเด็นของผมที่น่าสนใจคือว่า หลังจากนั้นมาจนถึง กปปส. การออกมาประท้วงของชนชั้นกลาง นักศึกษา อาจารย์ มีผลต่อการเรียกรัฐประหาร

"ถ้าเราเริ่มวิเคราะห์จาก 2500 มันไม่ใช่เพราะรัฐบาลทุจริตอย่างเดียว แต่ว่ามันมีการเคลื่อนไหวของคนนอกรัฐบาล แล้วเป็นคนที่มีเสียง มีการยอมรับ คือนักการเมืองกับสื่อเป็นไม้เบื่อไม้เมากัน หนังสือพิมพ์ก็ด่าพวกนักการเมืองตลอดเวลาในคอลัมน์ พอมีใครโยนระเบิดเข้ามา พระเอกจริงๆ ก็ออกมา แล้วก็ออกมาด้วยการชูธงศีลธรรม เพราะเราไม่ใช่นักการเมือง เพราะเราเป็นคนมือสะอาด เพราะเราเป็นคนมีความรู้ ก็คือมันเป็นกลุ่มคนที่มาฐานะในสังคม คือคนที่มีฐานะในสังคมไทยเวลาพูดจะมีน้ำหนัก แล้วคนที่ออกมา เขาไม่พูดเรื่องการเมือง เขาแสดงอำนาจของบารมี ลองกลับไปดูป้ายประท้วง ไม่มีเลยเรื่องการเมืองหรือเรื่องประชาธิปไตย มันมีแต่เรื่องคุณธรรมความดี อีกฝ่ายก็ต้องเลว ลองเอาแผ่นป้ายของ กปปส. มาเรียงกันเลยมันก็จะเข้าล็อกอันนี้ชัดเลยว่านี่คือการเมืองของคุณธรรม หรือการเมืองของคนดี ตรงข้ามกับการเมืองของคนไม่ดี

"ถ้าหากการวิเคราะห์ที่ผมบอกเป็นจริงก็หมายความว่า สังคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไม่ประสบความสำเร็จในการสร้างสถาบัน ถ้าคุณไม่สร้างสถาบัน คุณก็สร้างประชาธิปไตยไม่ได้ เพราะมันต้องมีระบบ ทั้งระบบการเลือกตั้ง ระบบรัฐสภา ระบบพรรคการเมือง ถ้าคุณเชื่อผมและเชื่อประวัติศาสตร์ของเราทั้งภูมิภาคนี้ มันอยู่ด้วยการไม่อาศัยระบบ ไม่อาศัยสถาบัน แล้วมันอยู่ได้อย่างไร มันก็อาศัยตัวบุคคล อาศัยผู้นำ ซึ่งเป็นผู้นำที่สร้างความเป็นศูนย์กลางขึ้นมา ต้องมีอำนาจที่เป็นศูนย์กลางให้ได้ คุณต้องมีบารมีที่จะกระจายโภคทรัพย์แล้วใช้อำนาจเขกหัวใครก็ได้ เพราะฉะนั้นรัฐของเราเป็นรัฐที่อยู่ด้วยเซ็นเตอร์ต่างๆ หลายๆ เซ็นเตอร์แล้วแต่ละเซ็นเตอร์ก็ใช้อำนาจเองได้ ถ้าทุกเซ็นเตอร์รวมตัวกันได้ บอกว่าเราจะทำตามรัฐธรรมนูญฉบับ 2550 อันนี้ถึงจะเกิดเป็นสถาบัน ฉะนั้น ถ้าคุณเชื่อประวัติศาสตร์ ก็ไปศึกษาว่าการสร้าง Agent แต่ละกลุ่มมันดำเนินการอย่างไร สร้างการเปลี่ยนแปลงมากเพียงใด คือการที่จะดำรงอยู่ได้ของรัฐไทยคือการต้องประสานกันระหว่าง Agent ทุกกลุ่ม ตกลงแล้วประชาชนอยู่ตรงไหน สังคมอยู่ตรงไหน นี่คือคำถามและปัญหา เพราะอย่างที่พูดไปตอนแรกว่าเส้นแบ่งมันเบลอ"

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ศาลทหารเลื่อนพิพากษา ธารา คดีโพสต์คลิปผิด ม.112 หลังยื่นเอกสารประกอบรับสารภาพ

Posted: 26 Jun 2017 12:23 AM PDT

เลื่อนพิพากษาคดี ธารา วัย 59 ปี ถูกกล่าวหาโพสต์คลิปเสียงบรรพตผิด ม.112 จำนวน 6 คลิป ไป 9 ส.ค.นี้ หลังยื่นเอกสารประกอบการรับสารภาพ ขณะที่ถูกขังมา 3 ปี 5 เดือน

26 มิ.ย. 2560 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ เวลา 9.50 น. ที่ศาลทหาร กรุงเทพฯ มีกำหนดอ่านคำพิพากษาของ ธารา (สงวนนามสกุล) วัย 59 ปี มีอาชีพขายสมุนไพร จำเลยคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ฐานนำเข้าและเผยแพร่คลิปข้อความเสียงที่มีเนื้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ดูหมิ่น ใส่ความหมิ่นประมาท แสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ จำนวน 6 คลิป ซึ่งถูกระบุว่าเป็นคลิปเสียงบรรพต

โดยในวันนี้จำเลยได้ยื่นคำร้องประกอบการรับสารภาพ ซึ่งถอนคำให้การเดิมที่ปฏิเสธข้อกล่าวหา เป็นรับสารภาพทุกข้อกล่าวหา ไม่ขอต่อสู้คดี

ศาลทหารระบุว่าสำนวนคดีที่ศาลต้องพิจารณามีจำนวนมาก จึงขอเลื่อนคำพิพากษาไปวันที่ 9 ส.ค.60

ทั้งนี้ ธารา ปัจจุบันถูกคุมขังมา 3 ปี 5 เดือน ในเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ธาราถูกตั้งข้อหาว่ามีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 (1) (3) (5) เนื่องจากการนำลิงก์คลิปเสียงของบรรพตที่อาจมีเนื้อหาเข้าข่ายหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ มาฝังไว้บนเว็บไซต์ www.okthai.com ที่เขาเป็นเจ้าของ เขาถูกจับกุมเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2558 เบื้องต้นเขาปฏิเสธ และต้องการต่อสู้คดีว่า เขาทำเว็บไซต์ด้านสุขภาพเพื่อหารายได้จากโฆษณา ซึ่งเขาเอาลิงก์คลิปเสียงมาใช้เพราะมีเรื่องสุขภาพอยู่ด้วย และไม่ได้ฟังทุกคลิปก่อนเอามาใช้ แต่ธาราไม่ได้รับอนุญาตให้ประกันตัว และการสืบพยานใช้เวลานานกว่าสองปี ธาราจึงเปลี่ยนใจรับสารภาพ

ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า ลูกชายของธารากล่าวยืนยันว่า บิดาไม่ใช่คนที่สนใจติดตามการเมืองอย่างใกล้ชิด และไม่เคยไปร่วมชุมนุมกับฝ่ายใดมาก่อน

อ่านข้อมูลเพิ่มเติม ธารา: นักสุขภาพในเรือนจำ

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ธนาคารกรุงเทพจ่ายค่าล่วงเวลา พนง.ฝ่ายแลกเปลี่ยนเงินต่างประเทศแล้ว 25 ล้านบาท

Posted: 25 Jun 2017 10:18 PM PDT

สหภาพแรงงานธนาคารกรุงเทพระบุ ปิดตำนาน OT มหากาพย์ 'พนักงานฝ่ายบริการแลกเปลี่ยนและโอนเงินระหว่างประเทศ' โดยธนาคารจ่ายเงินค่าล่วงเวลา 25 ล้านกว่าบาทแล้ว หลังสหภาพแรงงานเรียกร้องมาหลายปี และพนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้จ่าย

 
26 มิ.ย. 2560 หลังจากที่พนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้ บจม.ธนาคารกรุงเทพ จ่ายเงินค่าล่วงเวลาแก่ลูกจ้าง 'ฝ่ายบริการแลกเปลี่ยนและโอนเงินระหว่างประเทศ' ภายใน 30 วัน (อ่านเพิ่มเติม: ตรวจแรงงานมีคำสั่งให้ ธ.กรุงเทพ จ่าย OT พนง.ฝ่ายแลกเปลี่ยนเงินต่างประเทศ)
 
วันนี้ (26 มิ.ย.) สหภาพแรงงานธนาคารกรุงเทพเปิดเผยว่าสหภาพแรงงานธนาคารกรุงเทพขอร่วมแสดงความยินดีกับพนักงานฝ่ายบริการแลกเปลี่ยนและโอนเงินระหว่างประเทศ ที่ได้รับเงินค่าล่วงเวลา (OT) ตามที่พนักงานฯ ได้ยินยอมทำงานให้กับองค์กร โดยเสียสละเวลาในชีวิตส่วนตัวและครอบครัวมาโดยตลอด แม้การเรียกร้องจะใช้เวลาหลายปีก็ตาม สหภาพแรงงานฯ ขอขอบพระคุณธนาคารกรุงเทพฯ ที่ได้ยินยอมปฏิบัติตามที่กฎหมายได้บัญญัติไว้ และสหภาพแรงงานฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าพนักงานธนาคารกรุงเทพที่เสียสละทำงานล่วงเวลาทุกคุณ ผู้บริหารระดับสูงจะยังยึดถือหลักธรรมาภิบาล (Good Governance) โดยปกครอง จัดการควบคุมดูแลให้พนักงานได้รับสิทธิประโยชน์ ในครรลองคลองธรรม ตามที่ธนาคารได้ยึดถือปฏิบัติมาโดยตลอด
 
อนึ่งธนาคารกรุงเทพและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิในไตรมาส 1 ปี 2560 จำนวน 8,305 ล้านบาท อยู่ในระดับใกล้เคียงกับไตรมาส 1 ปีก่อนที่ 8,317 ล้านบาท โดยมีรายได้ดอกเบี้ยสุทธิจำนวน 16,277 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 และส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิอยู่ที่ร้อยละ 2.35 สำหรับรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยมีจำนวน 10,939 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 ส่วนใหญ่มาจากรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.1 โดยเพิ่มขึ้นที่ค่าธรรมเนียมจากบริการกองทุนรวมและบริการประกันผ่านธนาคาร และค่าธรรมเนียมจากบริการอิเล็กทรอนิกส์และการโอนเงิน
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เรื่องที่พูดกันผิดๆ เกี่ยวกับศาสนาประจำชาติของอิตาลี

Posted: 25 Jun 2017 06:23 PM PDT

ผู้เขียนได้เห็นเว็บไซต์มากมายที่ลงบทความหนึ่งที่เขียนโดยด๊อกเต้อร์ของมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งหนึ่ง แต่พอตามไปดูที่เวบต้นทางทั้งของสยามรัฐและอะไรอีกอัน ปรากฏว่าเวบต้นทางหายไปแล้วทั้งคู่ เหลือแต่ที่คนก๊อปปี้มาลงอีกทีในเวบไทยต่างๆหลายที่ เนื้อความบอกว่า...

"...อิตาลีได้มีการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ ยกพระพุทธศาสนาให้เป็นหนึ่งในศาสนาสำคัญของชาติ ไม่ต่างอะไรกับศาสนาคริสต์ (ปัจจุบันอิตาลีได้รับรองสถานะพุทธศาสนาอย่างเป็นทางการ โดยเมื่อวันที่ 20 มีนาคม ค.ศ. 2000 นายกรัฐมนตรีอิตาลีได้ลงนามความตกลงกับประธานสหภาพสมาคมพุทธในอิตาลี เพื่อให้พุทธศาสนามีสถานะเป็นทางการในอิตาลี ทำให้ผู้เสียภาษีสามารถแสดงความจำนงให้แบ่งภาษีในอัตราร้อยละ 0.8 ของภาษีรายได้ส่วนบุคคลที่ต้อง ชำระให้แก่รัฐบาล เพื่อบริจาคให้องค์กรทางพุทธศาสนาได้)"

อ่านแล้วคิดว่าผู้เขียนมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนบางประการ เลยคิดว่าน่าจะพูดถึงสักหน่อย ไม่อย่างนั้นผู้คนจะเข้าใจผิด

เขาเขียนชื่อบทความว่า "พุทธศาสนา…เป็นศาสนาประจำชาติอิตาลี...แล้วครับ"

ขอชี้แจงแก้ไขอย่างนี้ว่า ประเทศอิตาลี เป็นประเทศที่ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ ที่ว่าส่วนใหญ่นี่ใหญ่จริงๆ คือมากถึง 91 เปอร์เซ็นต์กว่า โดยเป็นคริสต์นิกายคาทอลิกมากถึง 87 เปอร์เซ็นต์กว่า แถมยังมีนครวาติกันซึ่งถือเป็นรัฐของศาสนจักรคาทอลิกที่ปกครองโดยพระสันตปาปา (เป็นรัฐการปกครองพิเศษที่ถือเป็นเสมือนรัฐอิสระภายในประเทศอิตาลี) และอิตาลียังมีศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิกเป็นรากเหง้าประวัติศาสตร์อันยาวนานจนแยกกันไม่ออกนับพันกว่าปี

ด้วยเงื่อนไขทางประวัติศาสตร์และสัดส่วนประชากรศาสนิกขนาดนี้ ใครๆที่ชื่นชอบเรื่องรัฐศาสนาและศาสนาประจำชาติก็ต้องบอกว่า อิตาลีต้องมีหรือสมควรมีศาสนาประจำชาติคือ ศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิกแน่ๆ

แต่เปล่าครับ

รัฐบาลอิตาลีได้ลงนามสนธิสัญญากับทางศาสนจักรคาทอลิก ขอยกเลิกการถือว่า ศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิกคือ ศาสนาประจำชาติ หรือ Official religion ของประเทศอิตาลี ในวันเสาร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ คศ.1984 หรือ พ.ศ.2527

หรือเมื่อ 31 ปีมาแล้วนี้เอง

และนี่ไม่ใช่ในสมัยมุสโสลินีเมื่อสงครามโลกครั้งที่สอง ฉะนั้น มันไม่เกี่ยวกับความเป็นฟาสซิสท์หรือเผด็จการทหารอะไรทั้งสิ้น แต่มันเป็นเพราะประชาชนอิตาลีส่วนใหญ่เขาเห็นว่า ต้องแยกศาสนาออกจากเรื่องการเมืองการปกครอง ทั้งๆ ที่พวกเขาถึงเก้าสิบกว่าเปอร์เซ็นต์นับถือศาสนาคริสต์และเป็นคาทอลิกเคร่งครัดเสียด้วยซ้ำ

ทุกวันนี้ศาสนาคาทอลิกไม่มีอำนาจต่อรัฐ ไม่มีสิทธิพิเศษใดๆ จากรัฐ ไม่ได้รับงบประมาณจากรัฐ สัญญลักษณ์ไม้กางเขนอะไรในสถานที่ราชการของอิตาลีถูกถือเป็นเพียงสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมเท่านั้น ไม่ใช่เรื่องทางศาสนา

ท่านผู้อ่านคงอยากถามต่อว่า แล้วอิตาลีเอาศาสนาอะไรเป็นศาสนาประจำชาติ?

ขอตอบว่า ไม่มีครับ อิตาลีได้ถือตนเองเป็นรัฐโลกวิสัยเต็มตัว

รัฐธรรมนูญของอิตาลีตั้งแต่ปีคศ. 1947 ได้ระบุถึงเสรีภาพทางศาสนาไว้ด้วยข้อความว่า

"...ประชาชนทุกคนมีศักดิ์ศรีทางสังคมเท่าเทียมกัน และมีความเท่าเทียมกันทางกฎหมาย โดยไม่มีการแบ่งแยก...ทางศาสนา..." (มาตรา 3)

"...ทุกความเชื่อทางศาสนามีเสรีภาพเท่าเทียมกันทางกฎหมาย" (มาตรา8)

"ทุกคนมีสิทธิในการแสดงถึงความเชื่อทางศาสนาของตนอย่างเสรีในทุกรูปแบบ...ตราบเท่าที่รูปแบบนั้นไม่ละเมิดศีลธรรม" (มาตรา 19)

นี่คือประเทศที่มีชาวคริสต์ 91.6% และเป็นคาทอลิกถึง 87.8% ที่เหลือเป็นนิกายอื่นๆ สารพัดนิกาย แล้วยังมีมุสลิมอีกล้านกว่าคน ถือเป็นเพียง 1.9% มีพุทธ 160,000 คือ 0.3% ฮินดู 115,000 คือ 0.2% มีนั่นนี่อีกหลายศาสนา

ที่สำคัญเขาระบุได้ว่า มีคนไม่นับถือศาสนาถึง 3,400,000 คน หรือ 5.8%

ประเทศไทยนี่เป็นประเทศที่เคร่งศาสนามากจริงๆ จึงระบุสถิติคนไม่มีศาสนาไม่ได้เลยสักคนเดียว (ที่จริงเคยเห็นสถิติเหมือนกันจากที่ไหนจำไม่ได้ บอกว่ามี 0.0? อะไรสักอย่างจำไม่ได้ ไม่รู้เขาเอาสถิติมาจากไหน)

ฉะนั้นที่ท่านดอกเตอร์ท่านนั้นเขียนว่า อิตาลีได้ยกศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติแล้ว จึงผิดในหลายประเด็น

และที่ว่าอิตาลียกศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติของเขา ที่จริงไม่ใช่ แต่เป็นการที่รัฐบาลอิตาลี ในปี 2015 ได้ลงนามกับอีก 13 องค์กรศาสนาต่างๆ ว่าได้รับการรับรองว่า มีสิทธิเสรีภาพเท่าเทียมกับศาสนาอื่นๆ ในอิตาลี

และสิทธิพิเศษที่ทางประเทศอิตาลีให้แก่ 13 องค์กรศาสนาต่างๆเหล่านี้อย่างเท่าเทียมก็คือ ให้ผู้เสียภาษีสามารถแสดงความจำนงให้แบ่งภาษีในอัตราร้อยละ 0.8 (ภาษาราชการของเขาเรียก 8 ในพัน) ของภาษีรายได้ส่วนบุคคลที่ปกติเขาต้องชำระให้แก่รัฐบาล ก็สามารถบริจาคตรงให้แก่องค์กรทางศาสนานั้นๆได้ โดยรัฐจะช่วยบริการส่งให้

นี่เป็นความใจกว้างของรัฐบาลอิตาลีอย่างมาก และรูปแบบนี้ได้ถูกใช้ในยุโรปหลายแห่ง คือ รัฐบาลไม่ได้เอาเงินงบประมาณประเทศไปอุดหนุนศาสนา แต่ให้ประชาชนมีสิทธิระบุในในเสียภาษีได้ว่า ตนนับถือศาสนานั้นศาสนานี้ และขอให้เอาภาษีของตนส่วนหนึ่ง(ตามสัดส่วนที่รัฐบาลกำหนดให้) บริจาคให้แก่องค์กรศาสนานั้นศาสนานี้ ตามที่ตนเองสังกัดอยู่ ซึ่งทางรัฐบาลเขาก็ทำให้ตามความประสงค์

หรือถ้าไม่เลือกเลยก็ได้ ภาษีส่วนศาสนาก็จะบำรุงประเทศทั้งหมด


สรุปอีกครั้ง

หนึ่ง อิตาลีเป็นประเทศที่ชาวคริสต์คาทอลิกเป็นคนส่วนใหญ่มากๆ แต่เขาเลือกจะเป็นรัฐโลกวิสัยที่แยกศาสนาออกจากการเมืองการปกครอง

สอง อิตาลีให้เสรีภาพและความเสมอภาคแก่คนทุกศาสนา แม้แต่คนไม่นับถือศาสนา

สาม อิตาลีไม่เอางบประมาณประเทศไปสนับสนุนศาสนาใด แต่สนับสนุนศาสนาโดยให้ประชาชนเลือกแจ้งว่าจะให้รัฐแยกภาษีของตนเองส่วนหนึ่งไปสนับสนุนศาสนาที่ตนชอบได้ ชอบใครชอบท่าน แต่ละคนตัดสินใจกันเอง


 

หมายเหตุ: ภาพข่าวหนังสือพิมพ์ที่ลงข่าวเรื่องการลงนามแยกศาสนาคริสต์คาทอลิกจากการเป็นศาสนาประจำชาติของอิตาลี เมื่อ 31 ปีก่อน) 
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น