ประชาไท | Prachatai3.info |
- เปิดตัวสารคดีจากชายแดนใต้ “สายลมแห่งการเปลี่ยนแปลง” ที่รามคำแหง
- กัมพูชาเตรียมเนรเทศผู้ร่วมก่อตั้ง 'เดอะไพเรตเบย์'
- ผู้บริโภคอาเซียนยื่นนายกฯ เร่งออก พรบ. องค์การฯคุ้มครองผู้บริโภค
- ‘รักเอย’ บันทึกความทรงจำ ‘คนธรรมดา’ กับชะตากรรมแห่งยุคสมัย
- สัมภาษณ์: ทบทวน 11 ปี กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กับจรัล ดิษฐาอภิชัย
- ครูในเคนยากว่า 2 แสนคนนัดหยุดงานประท้วงขึ้นเงินเดือน 300%
- โนเบิร์ต โรเปอร์ส: ‘คนใน’ ต้องเป็นผู้นำถือคบไฟเพื่อสันติภาพ
- ใจ อึ๊งภากรณ์: 6 ปีหลังรัฐประหาร สงครามคู่ขนาน: ประชาชนหรือนายทุน 'เสื้อแดง' หรือ 'ทักษิณ'
- ชวนรณรงค์เข้าชื่อเสนอ พ.ร.บ.เสริมโอกาสและความเสมอภาคระหว่างเพศ
- DNA ความรู้ทางเทคนิค ที่งานด้านสถานะบุคคลควรทำความเข้าใจ
- 'ฮิตเลอร์' เมื่อชื่อนี้มี 'ดราม่า' ในอินเดีย
- 22 ปี มรณกาล จ่าง แซ่ตั้ง : 'เพราะฉันต้องการที่ว่างของฉัน'
- กลุ่มอนุรักษ์ฯ จี้กรมโยธาฯ แจง “ประกาศผังเมืองบางสะพาน” หวั่นเอื้อนิคมฯ เหล็ก
เปิดตัวสารคดีจากชายแดนใต้ “สายลมแห่งการเปลี่ยนแปลง” ที่รามคำแหง Posted: 04 Sep 2012 02:31 PM PDT ฉายเป็นครั้งแรกที่กรุงเทพฯ ทีมผู้ผลิตสารคดีหวังให้ความเป็นธรรมได้ทะลุเพดาน สังคมได้ยินเสียงจากเจ้าของปัญหา เผยปัญหาใหญ่ที่ผ่านมาที่ชาวบ้านไม่ใจสื่อ เพราะมีสื่อหลักไม่เชื่อความเห็นจากชาวบ้านและเน้นคุยกับเจ้าหน้าที่ จนทำให้ข้อมูลข่าวสารเกิดอาการ “เท” ไปทางใดทางหนึ่ง โปสเตอร์งานสัมมนา "ผู้หญิงกับสื่อและการแก้ปัญหาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้" บรรยากาศเสวนา "การทำสื่อในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้: พูดคุยกับทีมงานผู้ผลิตสารคดี" เมื่อวานนี้ (4 ก.ย.) ห้องประชุมพวงแสด คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง มีการสัมมนาหัวข้อ “ผู้หญิงกับสื่อและการแก้ปัญหาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้” โดยช่วงหนึ่งมีการเปิดตัวสารคดีจากพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้เรื่อง “สายลมแห่งการเปลี่ยนแปลง” ผลิตโดยกลุ่ม Fine Tune Production and Friends หรือ เอฟทีมีเดียและเพื่อน โดยช่วงท้ายการสัมมนา มีการเสวนา “การทำสื่อในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้: พูดคุยกับทีมงานผู้ผลิตสารคดี” ดำเนินรายการโดย จเลิศ เจษฎาวัลย์ และชุติมา ผิวเรืองนนท์ ภาควิชาสื่อสารมวลชน คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง โดยเป็นการพูดคุยกับทีมผู้ผลิตสารคดี “สายลมแห่งการเปลี่ยนแปลง”
หวังให้ความเป็นธรรมได้ทะลุเพดาน นวลน้อย ธรรมเสถียร จากเอฟทีมีเดีย กล่าวถึงสาเหตุที่ผู้ผลิตเลือกผลิตสารคดีเรื่องดังกล่าว เพราะสนใจเรื่องสิทธิ ความเป็นธรรม การมีสิทธิมีเสียงของชาวบ้านในพื้นที่ สนใจเรื่องวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้าน และวิธีการแก้ไขปัญหาในพื้นที่เพื่อให้นำไปสู่การคลี่คลายความขัดแย้ง และสามารถแก้ปัญหาได้ยั่งยืน ทั้งนี้การแก้ไขปัญหาไม่ใช่ด้วยการส่งเจ้าหน้าที่ไปปราบปราม การปราบปรามเป็นเพียงเรื่องเฉพาะหน้า แต่ที่จริงภาคใต้มีประเด็นมากกว่านั้นเยอะ นอกจากนี้ปัญหาภาคใต้ที่พูดกันมากนั้น มักมาจากความเข้าใจของคนส่วนกลาง โดยที่คนในพืนที่ไม่มีโอกาสได้พูด ดังนั้นผู้ผลิตสารคดีจึงพยายามทำให้เสียงนี้ได้ยินออกมา โดยนวลน้อยกล่าวด้วยว่าถึงที่สุดแม้แต่ตัวเขาเองที่อาจจะลงพื้นที่ค่อนข้างเยอะ แต่ในที่สุดก็เป็นแค่ความเข้าใจของเขาว่า “ปัญหาที่เราเห็นนั้นเป็นอย่างไร” แต่จริงๆ อยากให้ได้ยินเสียงจากเจ้าของปัญหา ว่าเขารู้สึกว่าปัญหาของเขาเป็นอย่างไร อยากให้เขาสามารถพูดถึงปัญหาของตัวเองได้ ทั้งนี้ชาวบ้านบอกว่ากลัวเจ้าหน้าที่ กลัวทหาร ทำให้ไม่กล้าพูด ทำให้ไม่ได้เล่าว่าปัญหาของตัวเองคืออะไร จึงอยากเห็นเพดานนี้ทะลุ เพื่อให้ความเป็นธรรมได้ทะลุออก ทั้งนี้ในสารคดีได้ถ่ายทอดเรื่องราวของ “กะแยนะ” หรือ “แยนะ สะแลแม” แกนนำสตรีซึ่งได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ตากใบด้วย โดยในช่วงการถ่ายทำทีมผลิตสารคดีได้สัมภาษณ์ผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ภาคใต้ไว้หลายคนมาก แต่ในสารคดีได้เพ่งไปที่ “กะแยนะ” เป็นหนึ่งในตัวเด่นเรื่องสำคัญ ทั้งนี้เพราะความเด่นที่เป็นผู้เป็นหญิงสูงวัย จบชั้นประถม 4 และเริ่มแรก “กะแยนะ” พูดภาษาไทยน้อยมากๆ แต่จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้เธอก้าวจากชาวบ้านธรรมดาขายโรตีคนหนึ่ง ขึ้นมาเคลื่อนไหวเรื่องสิทธิของผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ตากใบ
เจ้าหน้าที่ยังระแวง เมื่อเห็นคนมลายูทำสื่อ ด้านมาหามะสาบรี เจ๊ะเลาะห์ จากกลุ่มสื่อสันติภาพชายแดนใต้ (Southern Peace Media) ซึ่งทำหน้าที่ช่างภาพ และงานตัดต่อในสารคดี ตอบคำถามผู้ดำเนินรายการในเรื่องข้อจำกัดของสื่อมวลชนกระแสหลักในการทำหน้าที่ในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ว่า ด้วยระยะเวลาการทำงานของสื่อมวลชนหลัก ซึ่งลงพื้นที่แล้วต้องรีบทำงานเพื่อให้ทันเวลาออกอากาศ จึงทำให้ข้อมูลการนำเสนอตรงบ้าง คาดเคลื่อนบ้าง แต่ก็มีข้อดีอยู่บ้างคือ เมื่อก่อนตอนที่ไม่มีเหตุการณ์อะไรในภาคใต้ ผู้ชมก็ไม่ได้เห็นภาพ วิถีชีวิตของคนในพื้นที่ แต่พอมีเหตุการณ์เกิดขึ้น ก็เริ่มมีพื้นที่การนำเสนอเรื่องนี้อยู่บ้าง ทำให้ผู้ชมเห็นว่าอัตลักษณ์ของชาวบ้านยังมีอยู่ มาหามะสาบรี เล่าถึงข้อจำกัดในการทำหน้าที่สื่อในพื้นที่ด้วยว่า ปกติเจ้าหน้าที่รัฐบางส่วนจะระแวงคนมลายูมุสลิม เมื่อไหร่ที่คนมลายูลุกขึ้นมาทำอะไรสักอย่าง เช่น ทำงานเอ็นจีโอ หรือนักสิทธิมนุษยชนก็จะถูกเพ็งเล็งว่าเป็นปีกการเมืองของฝ่ายขบวนการหรือเปล่า โดยก่อนหน้านี้มีกรณีที่เพื่อนของเขาซึ่งเคยร่วมงานกัน ถูกเจ้าหน้าที่เรียกตัวไปสอบถามว่าเกี่ยวข้องกับเหตุความไม่สงบหรือเปล่า ข่าวนี้ใครเป็นคนรายงาน มีใครบงการการทำงานของคุณหรือเปล่า และตัวเขาเป็นหัวหน้าทีมสื่อใช่ไหม อย่างไรก็ตาม ทีมของพวกเขาก็ยังคงทำหน้าที่สื่อต่อไป ด้านนวลน้อย กล่าวว่า ในพื้นที่ห่างไกล จะมีคนในชุมชนไม่เข้าใจ หากมีผู้สื่อข่าวลงพื้นที่แล้วไปคุยกับฝ่ายนั้นฝ่ายนี้ ทั้งฝ่ายเจ้าหน้าที่ ชาวบ้านพุทธ ชาวบ้านมุสลิม และอาจถูกตีความว่ามาลงพื้นที่แล้ว จะทำร้ายเขาหรือไม่ ทั้งนี้ชื่อเสียงของนักข่าวไม่ได้หอมหวนนักในพื้นที่ ทุกฝ่ายก็ต้องการให้นักข่าวเลือกข้าง ขณะเดียวกันเมื่อเป็นแบบนี้ นักข่าวก็ไม่กล้าลงพื้นที่ อาศัยข้อมูลจากเจ้าหน้าที่รัฐเป็นหลัก ก็ย่อมทำให้ข่าวที่เกิดขึ้นคาดเคลื่อน นอกจากนี้ ยังมีวิธีคิดของสื่อมวลชนบางส่วนที่จะไม่เชื่อความเห็นจากชาวบ้าน จะคุยกับเจ้าหน้าที่เท่านั้น คำพูดชาวบ้าน อาจไม่มีน้ำหนักเท่าคำพูดของเจ้าหน้าที่ ก็ย่อมทำให้ข้อมูลเกิดการเทไปทางใดทางหนึ่ง อย่างบางเหตุการณ์มีผู้เสียชีวิตเกิดจากการล้อมยิงของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่พอเป็นข่าวกลับกลายเป็นว่าเสียชีวิตเพราะไปปะทะกับเจ้าหน้าที่ เมื่อเป็นเช่นนี้ ความน่าเชื่อถือของนักข่าวก็ลดลงไปเรื่อยๆ ทีละน้อยๆ จนตอนนี้ก็ถูกกัดกร่อนไปเยอะมาก นอกจากนี้ ก็มีกรณีที่เจ้าหน้าที่รัฐจำนวนหนึ่งลงพื้นที่เพื่อหาข่าว แต่เวลาเจอชาวบ้านก็บอกว่าเป็นนักข่าว ก็ทำให้เกิดความรู้สึกไม่น่าเชื่อถือขึ้นในหมู่ชาวบ้าน ทั้งนี้ในการผลิตสารคดี ทีมผู้ผลิตสารคดีได้พยายามขจัดข้อจำกัดต่างๆ อย่างเช่นทำการสัมภาษณ์เป็นภาษามลายูแล้วใช่ล่ามแปลแทน เพราะหากสัมภาษณ์เป็นภาษาไทยก็คือการบีบให้ชาวบ้านพูดในภาษาที่ไม่ถนัด อย่างไรก็ตามการแปลกันไปแปลกันมา ก็ทำให้บางทีไม่สามารถเก็บความได้อย่างต้องการ และปฏิกิริยาตอบโต้สนทนากันไปมาก็ไม่เกิดเพราะต้องแปลหลายทอด เป็นต้น ขณะที่ในบางพื้นที่ ต้องเข้าออกพื้นที่หลายครั้ง กว่าที่ชาวบ้านจะให้สัมภาษณ์ เพราะในพื้นที่เมื่อเกิดเหตุขึ้น ความหวาดระแวงจะเข้าไปในหมู่บ้านทันที ดังนั้นโอกาสที่จะทำให้ชาวบ้าานให้สัมภาษณ์ ต้องมีคนที่ชาวบ้านไว้ใจพาทีมผลิตสารคดีไปรู้จักกับชาวบ้าน
พอใจผลตอบรับ แนะสถานการณ์ภาคใต้เหมือนซีรีย์ยาว ดูภาคเดียวด่วนตัดสินไม่ได้ ด้านมาหามะซาบรี กล่าวถึง วิธีเพื่อสร้างความไว้วางใจกับชาวบ้านก็คือ ในเวลาที่เขาทำข่าว เมื่อเขาสัมภาษณ์ชาวบ้านแล้วนำไปเผยแพร่ใน Youtube เขาก็จะส่งให้เพื่อนๆ ในพื้นที่ ที่เข้าถึงอินเทอร์เน็ตนำไปเปิดให้ชาวบ้านแหล่งข่าวดู ให้เขาเห็นว่า เขามีพื้นทีที่จะพูด ส่วนผลตอบรับจาการฉายสารคดี “สายลมแห่งการเปลี่ยนแปลง” นี้นั้นเขากล่าวว่า หลังการฉายสารคดี แล้วมีนักศึกษาที่รับชมตั้งคำถามเกี่ยวกับสถานการณ์ในพื้นที่ ทำให้เขาคิดว่าคำถามได้ถูกตั้งขึ้นมาแล้ว ถือว่าบรรลุเป้าหมายในการผลิตสารคดีแล้ว อย่างไรก็ตาม เรื่องในภาคใต้เหมือนดูหนังยาว ตั้งดูเป็นซีรีย์ ไม่ใช่ดูแค่ภาคเดียวแล้วตัดสินว่าสิ่งนี้เลว สิ่งนี้ไม่ถูกต้อง แต่ถ้ามี 20 ตอน ก็ต้องดูทั้ง 20 ตอน ทั้งนี้จะมีการฉายสารคดี “สายลมแห่งการเปลี่ยนแปลง” อีกครั้งในวันที่ 10 ก.ย. ที่สำนักงานกลางนักเรียนคริสเตียน เชิงสะพานหัวช้าง กรุงเทพฯ และในวันที่ 14 ก.ย. ที่ร้าน Book Re:public จ.เชียงใหม่ โดยผู้ผลิตสารคดีจะประชาสัมพันธ์รายละเอียดของการฉายสารคดีอีกครั้ง ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
กัมพูชาเตรียมเนรเทศผู้ร่วมก่อตั้ง 'เดอะไพเรตเบย์' Posted: 04 Sep 2012 12:28 PM PDT
ความคืบหน้ากรณี Gottfrid Svartholm Warg หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งเว็บเดอะไพเรตเบย์ เว็บแชร์ไฟล์ยอดฮิตสัญชาติสวีเดน ถูกจับกุมที่กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา จากการร้องขอของประเทศสวีเดน ทั้งนี้ กัมพูชายังไม่มีสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนกับสวีเดน ล่าสุด (4 ก.ย.55) สำนักข่าวบีบีซีรายงานว่า โฆษกตำรวจแห่งชาติกัมพูชา เกิด จันทฤทธิ์ (Kirt Chantharith) ระบุว่า กัมพูชาจะเนรเทศ Warg ออกนอกประเทศ โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายคนเข้าเมือง ส่วนปลายทางจะเป็นที่ใดนั้นขึ้นอยู่กับทางสวีเดน และขณะนี้ยังไม่ได้กำหนดวันที่จะเนรเทศ อนึ่ง เว็บไซต์เดอะไพเรตเบย์เป็นเว็บไซต์แชร์ไฟล์สัญชาติสวีเดน เปิดให้บริการตั้งแต่พฤศจิกายน 2546 และกล่าวอ้างว่าเป็น "เว็บไซต์บิตทอร์เรนต์แทร็กเกอร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก" เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา อเล็กซาจัดอันดับให้เดอะไพเรตเบย์เป็นเว็บที่มีผู้เข้าชมมากเป็นอันดับที่ 80 ของโลกและอันดับที่ 14 ของสวีเดน เมื่อปี 2552 ศาลสวีเดนตัดสินว่า เดอะไพเรตเบย์มีความผิดฐานละเมิดกฎหมายลิขสิทธิ์ และลงโทษจำคุก 4 ผู้ก่อตั้ง คือ Gottfrid Svartholm, Fredrik Neij, Peter Sunde และ Carl Lundstroem เป็นเวลา 1 ปี พร้อมปรับเป็นเงิน ราว 11.2 ล้านบาท ต่อมา ในชั้นอุทธรณ์ ศาลได้ลดโทษผู้ร่วมก่อตั้ง 3 คน เหลือจำคุก 4-10 เดือน และปรับเป็นเงินราว 21.5 ล้านบาท ส่วน Warg ซึ่งไม่ได้มาศาล เนื่องจากอาการเจ็บป่วย ศาลอุทธรณ์ตัดสินจำคุกเขาเป็นเวลา 1 ปีและปรับเป็นเงินราว 34.3 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ในวันที่ต้องมารับโทษเมื่อช่วงต้นปีนี้ (2555) เขาไม่ได้ปรากฏตัว
ที่มา: ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ผู้บริโภคอาเซียนยื่นนายกฯ เร่งออก พรบ. องค์การฯคุ้มครองผู้บริโภค Posted: 04 Sep 2012 09:02 AM PDT
4 กันยายน 2555 องค์กรผู้บริโภคอาเซียนเข้ายื่ ในวันเดียวกัน เวทีประชุมสภาผู้บริโภคอาเซียน ณ โรงแรมเอเชีย กรุงเทพฯ ตัวแทนสมาชิกของประเทศต่างๆ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์และสิงคโปร์ ได้นำเสนอข้อมูลในเรื่องอั นายเซีย เซ็งชุน (Mr. Seah Seng Choon) ผู้อำนวยการสมาคมผู้บริโภคแห่ นางสาวโมฮานา ปรียา (Ms. Mohana Priya) จากสหพันธ์องค์กรผู้บริ ในขณะที่ ดร.วิทยา กุลสมบูรณ์ ผู้จัดการแผนงานคุ้มครองผู้บริ สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า “นายกรัฐมนตรีนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตรและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ควรเร่งผลักดันให้เกิดองค์การอิ ทั้งนี้ ในวันพุธที่ 5 กันยายน เวลา 10.30 น. จะมีการแถลง "คำประกาศจุดยืนองค์กรผู้บริ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
‘รักเอย’ บันทึกความทรงจำ ‘คนธรรมดา’ กับชะตากรรมแห่งยุคสมัย Posted: 04 Sep 2012 08:37 AM PDT
“รักเอย จริงหรือที่ว่าหวาน หรือทรมานใจคน ความรักร้อยเล่ห์กล รักเอยลวงล่อใจคน หลอกจนตายใจ”
เนื้อเพลงนี้ถูกนำมาขึ้นต้นเรื่องในหนังสือบันทึกความทรงจำของ ป้าอุ๊ รสมาลิน ซึ่งเรียบเรียงโดย เพียงคำ ประดับความ กวี/นักเขียนอิสระ และ ไอดา อรุณวงศ์ บรรณาธิการสำนักพิมพ์อ่าน และชื่อเพลงก็กลายมาเป็นชื่อหนังสือ “รักเอย” ในหนังสือบอกว่านี่เป็นเพลงที่ป้าอุ๊มอบให้อากงในวันแต่งงาน แต่หากอ่านมันในบริบทของ ‘อากง’ สิ่งที่เกิดขึ้นอย่างยากจะหลีกเลี่ยงคืออาการขนลุกต่อความประจวบเหมาะของคำว่า "รัก" มิใช่เพียงเพราะซาบซึ้งต่อความรักของคนคู่นี้ แต่ขนลุกต่อ “ความรัก” ที่สังคมไทยถักทอ และขณะเดียวกันมันก็ถักทอสังคมไทย จนกระทั่งได้ผลลัพธ์อันน่าสะเทือนใจ....
หนังสือเล่มนี้พิมพ์ครั้งแรก 3,000 เล่มเพื่อแจกเป็นที่ระลึกภายในงานฌาปนกิจศพอากง เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2555 มันเป็นสีขาวทั้งเล่ม โดยมีภาพพิมพ์นูนเป็นรูปอากงเพียงบางเบา และมีชื่อหนังสือเป็นตัวอักษรสีเงินตรงมุมล่างของปก เป็นการสื่อสารกับผู้อ่านอย่างตรงไปตรงมาผ่านการออกแบบอันเรียบง่าย อันที่จริง การจัดพิมพ์หนังสือชีวประวัติผู้ตายนั้น โดยปกติเรามักเห็นในงานศพของบุคคลชั้นสูง หรือบุคคลสำคัญของสังคม เนื้อหาอาจบรรยายถึงความเป็นมาของสายตระกูล คุณงามความดีหรือเกียรติยศต่างๆ แต่หนังสือเล่มนี้บรรจุเรื่องราวชีวิตของคนชั้นล่างแสนธรรมดา บอกเล่าถึงชีวิตที่ยากลำบากตั้งแต่เกิดจนตาย และชะตากรรมที่จนถึงทุกวันนี้พวกเขาที่เหลืออยู่ก็ยังไม่อาจเข้าใจ
ผู้เล่าเรื่องหลักคือ ป้าอุ๊ ผู้หญิงที่การศึกษาไม่สูง เป็นแม่บ้าน เลี้ยงลูกเลี้ยงหลาน ดูแลครอบครัวมาตลอดชีวิต หากได้สัมผัสมือหยาบกร้านของเธอก็จะรู้ว่าชีวิตเธอต้องดิ้นรนมากเพียงไร ชั่วแต่ว่าเธอเป็นคนชอบอ่านหนังสือ และลึกๆ ก็ชอบเขียนหนังสือ แม้ชีวิตหาเช้ากินค่ำจะไม่อนุญาตให้เธอมีโอกาสเขียนอะไรมากนัก แต่พรสวรรค์ก็ซุ่มซ่อนอยู่เงียบๆ เรื่องราวถูกเล่าอย่างละเอียด ซื่อๆ และเป็นธรรมชาติ จนเราสามารถสัมผัสแง่มุมความงดงามของชีวิต แม้จะเป็นชีวิตที่เล็กน้อยเพียงใดก็ตาม แง่มุมเหล่านี้เป็นสิ่งที่คนภายนอกไม่อาจเห็นได้ง่ายๆ และมันยังผ่านการเรียบเรียงอย่างพิถีพิถัน โดยคงสุ้มเสียง บุคลิกของผู้เล่าไว้ครบครัน ชนิดผู้ที่เคยใกล้ชิดป้าอุ๊ ย่อมเห็นภาพอากัปกริยาของเธอประกอบด้วยขณะกวาดตาอ่านตัวหนังสือ
เนื้อหานอกจากจะประกอบด้วยชีวิตของอากง ซึ่งสะท้อนผ่านเรื่องราวของชีวิตคู่ ความเป็นอยู่ในครอบครัวแล้ว ยังมีส่วนของชะตากรรมที่ทุกคนในครอบครัวต้องเผชิญ จากแม่บ้านธรรมดาที่หวาดผวาต่อสิ่งที่เกิดขึ้นจนแทบไม่กล้าคุยกับใคร ไม่กล้าปรากฏตัว ไม่กล้าให้สัมภาษณ์ และในช่วงแรกๆ ที่ยังเคว้งคว้าง เธอเคยเล่าว่าถึงกับต้องการเปลี่ยนนามสกุลของหลานๆ ทุกคนเสียใหม่ เพราะเกรงว่าอันตรายอาจเกิดขึ้นกับหลานๆ ของเธอ เด็กๆ หลายคนที่เธอคอยโอบอุ้มเลี้ยงดู และคอยปกป้องยิ่งกว่าชีวิตของตัวเองและสามี ภาพประทับครั้งแรกหลอกหลอนเธอและครอบครัวอยู่นานมาก
ชะตากรรมกระหน่ำโบยตีเธอถึง 3 ครั้ง คือ ในการโดนจับครั้งแรก จากนั้นอากงถูกส่งตัวเข้าเรือนจำหลายเดือนแล้วจึงได้ประกัน, การเข้าคุกครั้งที่สอง หลังไปรายงานตัวที่ศาลเมื่อคดีถูกส่งฟ้อง โดยไม่ได้ประกันอีกเลย, และครั้งที่สาหัสที่สุด ไม่มีโอกาสได้พบกันอีก
ในช่วงหลังๆ ก่อนอากงเสียชีวิตไม่นาน สถานการณ์เลวร้ายต่างๆ ผลักดันเธอให้ออกสู่ที่สว่าง ประกอบกับกำลังใจจากบรรดา “ผู้หญิง” ของผู้ต้องโทษทางความคิดที่ต่างมีชะตากรรมร่วมกัน คอยดูแลสามี พ่อ ลูก พร้อมๆ กับดูแลกันเอง รวมไปถึงความผูกพันกับนักโทษทางความคิดรายอื่นๆ ที่ช่วยดูแลอากง โดยเฉพาะ “หนุ่ม” ธันย์ฐวุฒิ ที่ดูแลใกล้ชิดราวกับเป็นคนในครอบครัว และยังเป็นที่พึ่งของผู้ต้องขังอื่นๆ สิ่งเหล่านี้กระมังที่ช่วยหลอมให้หญิงชาวบ้านผู้ตื่นตระหนกและหวาดกลัว กล้าออกมาเผชิญกับโลกภายนอก กล้าให้สัมภาษณ์ กล้าบอกกล่าวกับสังคม ด้วยหวังเต็มเปี่ยมในการกระตุ้นให้ผู้ต้องโทษทางความคิดได้รับสิทธิพื้นฐาน ที่น่าประทับใจคือ ความพยายามในการเขียนของเธอ เธอเขียนบทกวีหลายชิ้น ด้วยลายมือไม่เป็นระเบียบโย้เย้ แต่กลับให้ความรู้สึกลึกซึ้ง
ชะตากรรมทั้งผลักทั้งดันเธอ กระทั่งหลังจากสามีจากไป เธอก็ยังคงออกมาเรียกร้องสิทธิให้นักโทษทางความคิดเท่าที่พลกำลังของเธอจะทำได้ เพื่อไม่ให้มีอากงที่สอง ที่สาม รวมถึงการเรียกร้องสิทธิของนักโทษคดีอาญาทั่วไปด้วย โดยตระหนักดีว่า อากง ไม่ใช่เพียงสามีของเธอ ไม่ใช่เพียงพ่อของลูกๆ ไม่ใช่เพียงอากงของหลานๆ แต่เป็น ‘อากง’ ของประชาชนคนอื่นๆ และ “รักเอย” ก็นับได้ว่าเป็นประวัติศาสตร์หน้าสำคัญของสังคมการเมืองไทย สังคมที่เราได้แต่หวังว่าจะเรียนรู้รักจากความรักครั้งนี้บ้าง
หมายเหตุ หนังสือ “รักเอย” กำลังจะวางแผงตามร้านหนังสือทั่วไปราวกลางเดือนกันยายน 2555 นี้ จัดพิมพ์โดยสำนักพิ |
สัมภาษณ์: ทบทวน 11 ปี กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กับจรัล ดิษฐาอภิชัย Posted: 04 Sep 2012 06:53 AM PDT เอ่ยชื่อจรัล ดิษฐาอภิชัยอาจจะย้อนอดีตการทำกิจกรรมของเขาไปถึงสมัยเป็นนักศึกษาในฐานะผู้ก่อตั้งกลุ่มสภาหน้าโดม ตั้งแต่ก่อนเหตุการณ์ 14 ต.ค. 2516 แต่หาขยับใกล้เข้ามาอีกนิด เขาเป็นอดีตกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ชุดแรกของประเทศ โดยก่อนหน้านั้นเขาเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต และประธานสมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.) ตัวเขาสนใจและเคลื่อนไหวในประเด็นสิทธิมนุษยชนมาอย่างยาวนานและก็เป็นส่วนหนึ่งที่ร่วมผลักดันให้มีการบรรจุการเรื่องคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติไว้ในรัฐธรรมนูญ 2540 และ พ.ร.บ.คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2543 ภายหลังการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 จรัลจะแสดงออกถึงการต่อต้านการรัฐประหารอย่างเปิดเผยเข้าร่วมในการชุมนุมทางการเมืองและเป็นเหตุให้เขาถูกโดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติในวันที่ 26 ก.ย. 2550 เมื่อเราชวนเขาทบทวนเรื่องที่มาที่ไปและบทบาทหน้าที่ของกสม. ซึ่งเขาเองก็เป็นผู้ร่วมผลักดันมาแต่ต้น เขาบอกว่าปัญหาหลักในคณะกรรมการสิทธิชุดของเขาเองน่าจะเป็นเรื่องการให้ความสำคัญต่อประเด็นสิทธิที่แตกต่าง โดยตัวเขานั้นยืนยันว่า คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนต้องให้ความสำคัญกับสิทธิทางการเมืองและสิทธิเมืองเป็นลำดับต้น และสิ่งที่เขาฝากเป็นพิเศษถึงคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนชุดปัจจุบันก็คือ การต้องกำหนดยุทธศาสตร์การทำงานให้ชัดเจน
กสม. ชุดแรกอาจจะเผชิญกับข้อจำกัดหลายประการ อาจารย์พอจะประมวลได้ไหมว่ามีอะไรบ้างข้อจำกัดแรกคือ ‘ข้าราชการ’ คนทำงานเป็นข้าราชการรัฐสภา ไม่ใช่ข้าราชการพลเรือน ไม่ได้ขึ้นต่อระเบียบ แต่ขึ้นต่อ พ.ร.บ. รัฐสภา ความคล่องตัวก็น้อย ความจริงพวกเราใหม่ๆ ตอนนั้นเรามีอุดมคติที่ไม่สามารถบรรลุได้เพราะข้อจำกัดจากระเบียบราชการ เช่น คนที่มาทำงานเราอยากได้นักสิทธิมนุษยชนจริงๆ ทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน ผมเสนอว่าควรจะมาจากหลากศาสนาด้วย รวมไปถึงคนพิการ สุดท้ายทำไม่ได้ เพราะต้องเป็นข้าราชการ เราก็ผิดหวัง เราก็อยากให้พวกเอ็นจีโอมาร่วม พวกนักสิทธิมนุษยชนที่มีผลงานจริงๆ ก็ทำไม่ได้ ส่วนใหญ่เป็นข้าราชการ และเราก็ใช้วิธีโอนเพื่อความรวดเร็วไม่อย่างนั้นก็ต้องไปประกาศรับสมัคร ช่วงแรกๆ ก็ใช้วิธีโอนข้าราชการไปๆ มาๆ ชุดผม ข้าราชการก็โอนหมดเลย ชุดแรกก็โอนทีละ 10 คน 20 คน ปัญหาที่สองคือการจัดตั้งสำนักงาน ว่าจะทำอย่างไรมีกี่สำนัก ก็ใช้เวลาถกเถียงกัน ความจริงไม่ควรเถียงกันมาก ด้วยความกลัวว่าถ้าแบ่งเป็นสำนักงานให้ชัดเจนแล้วเดี๋ยวจะไม่ประสานกัน ต่างคนต่างทำ แต่ละสำนักก็ใหญ่ สุดท้ายก็ยังต้องแบ่งสำนัก ปัญหาที่สามคือการตั้งคณะอนุกรรมการ กว่าจะตกลงกันได้ว่าจะมีกี่คณะ ก็ใช้เวลาหกเจ็ดเดือน เรื่องนี้ง่ายแต่เถียงกันเยอะ เพราะความสนใจต่างกัน เช่นบอกว่าต้องมีอนุกรรมการเสรีภาพสื่อ บางคนบอกต้องมีเรื่องเด็กสตรี ชนชาติ เถียงกันไม่จบ คือกว่าจะตกลงกันได้ก็หลายเดือน ปัญหาที่สี่ คือการทำงาน เมื่อมีกสม. ใหม่ๆ คนเริ่มมาร้องเรียนแล้ว เราก็ยังได้กรรมการไม่ครบ 11 คนก็รอ พอครบ 11 คนยังตั้งสำนักงานกันไม่ได้ ยังไม่มีคนมาทำงาน ก็รอไปเรื่อยๆ คนก็ผิดหวัง เพราะมาร้องเรียนแล้ว ก็ช้า กว่าจะรับก็เถียงกันอีก บางคนบอกรับเรื่องเลย แต่บางคนก็ว่าไม่ได้เพราะถ้ารับมาแล้วไม่มีเจ้าหน้าที่ ไม่มีอำนาจ ไม่มีเครื่องมือ เราต้องมีระเบียบว่าด้วยการตรวจสอบ ร่างระเบียบนั้นนี้ ปัญหาที่ห้า ในทางปฏิบัติอีกปัญหาคือ เวลาตรวจสอบการละเมิดสิทธิมันจะต้องตั้งอนุกรรมการขึ้นมา ให้อนุกรรมการที่ตั้งมาตรวจสอบ กว่าจะตรวจสอบเสร็จ ก็ต้องลงไปดูข้อเท็จจริง ใช้เวลายาวนานมาก แล้วกว่าจะเขียนรายงานเสร็จ กว่ารายงานจะมาเข้าคณะกรรมการใหญ่ มีการวิจับไว้ในประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะในแถบแอฟริกาและละตินอเมริกา โดยเฉลี่ยแล้วประสิทธิภาพของคณะกรรมการสิทธิของประเทศฯต่างๆ ที่มีประสิทธิภาพใช้เวลาในการตรวจสอบและรายงาน 6 เดือนเสร็จ แต่ของไทย 2 ปียังไม่เสร็จเลย ไม่ว่าเรื่องเล็กเรื่องใหญ่ กรณีใหญ่ก็นาน กรณีเล็กก็นาน ทีนี้มีปัญหาในทางปฏิบัติในเรื่องการตรวจสอบกสม. นะ คือเป็นกฎหมายที่ใจใหญ่ เป็นกฎหมายที่เรียกว่าดีกว่าที่อื่นก็ได้คือให้รับเรื่องร้องเรียนเกิดเมื่อไหร่ก็ได้ 10 ปี 20 ปี 30 ปีที่แล้ว หกตุลาก็มาร้อง กรณีถูกวิสามัญปี 2527 ก็มาร้อง แต่-ประเทศอื่นๆ ส่วนใหญ่ไม่เกิน 1 -3 ปี ถ้าเกินเขาไม่รับ เพราะตรวจสอบยาก ของไทยเรานี่เรียกว่าเกิดเมื่อไหร่ก็ได้ ถามว่าดีไหม ดี แต่มีปัญหาคณะกรรมการสิทธิมันตรวจยากเพราะเราไม่มีอำนาจเหมือนตำรวจ หรืออัยการ กรณีเรื่องเล็กที่เรารับแต่ประเทศอื่นอาจจะไม่รับเช่น เรื่องเล็กเรื่องก่อความรำคาญ ของเรารับหมด เช่น คนนอนไม่หลับเพราะว่ามีเสียงดัง ได้รับความกระทบกระเทือนจากหวูดรถไฟสามเสนคนนอนไม่หลับ เขามาร้องเรียนเราก็รับ กรณีประเทศฟิลิปปินส์ ถ้าเป็นเรื่องแรงงานไม่รับเพราระมีองค์กรอื่นอยู่แล้ว ของเรารับหมด แรงงาน สิ่งแวดล้อมฯลฯ แต่ก็เป็นเรื่องแปลกประหลาดผมคาดคิดผิด ผมคาดว่าปีหนึ่งๆ คนจะมาร้องเรียนไม่น้อยกว่าสามพัน เปรียบเทียบกับฟิลิปปินส์มีการร้องเรียนปีละห้าพัน ถ้าอินเดียมีประมาณ 2-3 หมื่นต่อปี แต่นั่นคนเขาเยอะ มีคนเป็นพันล้าน เอาเข้าจริงกสม.ไทยชุดแรกเฉลี่ย มีคนร้องเรียนแปดร้อยกว่า แต่ก็สองสวนเสร็จไม่ถึงห้าสิบเรื่องเลย ของไทยเราปัจจุบันนี้ก็มีการร้องเรียนไม่ถึงสองพันเรื่อง
ทำไมคนยังมาร้องเรียนน้อยหนึ่ง) เพราะคนไม่รู้ สอง) อาจจะเข้าไม่ถึง สาม) อาจจะกลัว เพราะการมาร้องเรียนกสม. ก็กลัวคนที่ละเมิดเขาคุกคาม ประเทศไทยคนมาร้องเรียนน้อยทั้งๆ ที่การละเมิดสิทธิเยอะ
อุปสรรคในการทำงานระหว่างกสม. ด้วยกันเองคืออะไรปัญหาใหญ่ที่สุดของชุดผม คือการขัดแย้งภายในเกือบทุกเรื่อง ทั้งในทางอุดมคติ การเน้นประเด็น ขัดกันอยู่เรื่อย ซึ่งก็ไม่น่าเชื่อ จนกระทั่งต่อมาก็ไม่คุยไม่พูดกันแยกห้องกัน เมื่อก่อนกินข้าวด้วยกัน ก็ต่างคนต่างกิน ขัดแย้งกันในเรื่องงาน อาจจะเป็นปัญหาเรื่องความรู้ความเข้าใจเรื่องสิทธิมนุษยชนก็ต่างกัน เน้นต่างกัน เช่นประธานเน้นสิทธิชุมชนเป็นหลัก ผมเน้นสิทธิทางการเมือง อีกคนเน้นสิทธิพลเมือง สิทธิเด็กสตรี เป็นต้น
จริงๆ ก็น่าจะดีไม่ใช่หรือที่กรรมการแต่ละคนให้ความสำคัญคนละด้านแต่ว่ามันมีปัญหา เพราะว่ามันไม่ไปในแนวเดียวกัน มีปัญหาเวลากำหนดโครงการ อะไรต่างๆ ตอนนั้นวางแผนทางยุทธศาสตร์กัน ใช้เวลาวางแผนค่อนข้างนาน เชิญคนที่อยู่ในวงการนี้มาคุย แล้วก็มาร่างยุทธศาสตร์ ร่างอะไรต่างๆ ก็ยังไม่เป็นเอกภาพกันเท่าไหร่ ปัญหาที่ 2 ในเรื่องนี้ก็คือ ขัดแย้งกับเลขาธิการขณะนั้น อันนี้ขัดแย้งกันมากจนกระทั่งต้องปลด คือมันไปกันยากนะถ้าไม่ปลด ทำงานกันไม่ได้ เรื่องเล็กๆ ไม่มีปัญหา แต่เรื่องใหญ่ๆ บางเรื่องเลขาฯ ก็ต้องขอความเห็นก่อน เช่น เรื่องพิมพ์หนังสือ พิมพ์หนังสืออะไร เนื้อหายังไง ใครเป็นบรรณาธิการ งบประมาณเท่าไหร่ แบบนี้มันจะขัดแย้งกัน ปัญหาที่ 3 การรับคน รับบุคลากรก็ขัดแย้งกัน ขัดแย้งกันจนสุดท้ายก็ต้องปลดแล้วก็ฟ้องร้องกันไป มันก็เป็นอุปสรรค ทีนี้คณะกรรมการสิทธิขัดแย้งกันเองยังไม่พอ ขัดแย้งกับเลขาฯ ยังไม่พอ มันก็ผลต่อเจ้าหน้าที่ เจ้าหน้าที่ก็จะแบ่งเป็นสายๆ เป็นกลุ่มๆ สภาพไม่น่าพอใจ แล้วแก้กันไม่ได้ ทีนี้ปัญหาพวกนี้ก็มีความพยายามที่จะแก้กัน ก็มีสัมมนาประชุมกัน มันก็แก้ไม่ได้
การเมืองมีผลต่อภายในองค์กรมากหรือไม่ ในช่วงท้ายของกรมการสิทธิชุดที่แล้วไม่มี ไม่มีใครมาแทรกแซงจากข้างนอก ไม่มี ภายในมีบ้าง
ในช่วงท้ายๆ ของกรรมการสิทธิชุดที่แล้ว ซึ่งเป็นช่วงท้ายของรัฐบาลทักษิณก่อนโดนรัฐประหาร กรรมการสิทธินั้นมีความคิดเห็นต่างกันมากมันก็ไม่เป็นปัญหาอะไรมาก เพียงต่างคนก็ไม่พูดกัน แล้วเรื่องที่จะเข้ามาเป็นเป็นปัญหากับการทำงาน จำได้ว่าแทบไม่มี ก็มีบ้าง สนธิ (ลิ้มทองกุล) ก็ให้ทนายมาร้องเรียนกรณีเขาถูกตำรวจออกหมายจับ มาร้องเรียน 2 ครั้ง เราก็รับตรวจสอบ ผมก็เรียกตำรวจมาสอบถามทำไมไปออกหมายจับ เขาก็บอกไม่จับไม่ได้ออกหมายเรียกมา 3 ครั้งแล้วไม่มา ตามหลักแล้วออกหมายเรียก 3 ครั้งแล้วไม่มาก็ต้องออกหมายจับ ซึ่งก็ถือว่าละเมิดสิทธินะ ก็มาร้อง เรื่อง สงครามยาเสพติด ตั้งแต่ปี 47 ก็ไม่มีปัญหา ก็ตรวจสอบใครมาร้องเรียนที่ถูกละเมิดสิทธิ การจับกุมคุมขังโดยไม่ชอบ หรือว่าสามีถูกฆ่าตาย พ่อถูกฆ่าตาย เราก็รับเรื่องร้องเรียน โชคดีที่คนมาร้องเรียนน้อยมาก เท่าที่ผมจำได้แค่ 31 ราย เรื่องคนถูกยิงตาย ตอนนั้นคนถูกยิงตายเยอะ ถูกจับก็เยอะ แต่มาร้องเรียนน้อย แม้ว่ากรรมการสิทธิจำนวนไม่น้อย ไม่ชอบรัฐบาลทักษิณ วิพากษ์วิจารณ์กัน และมีแนวโน้มรับเรื่องร้องเรียน ถ้าร้องรัฐบาลทักษิณ แต่ก็ไม่เป็นปัญหาการเมืองภายใน จนกระทั่งแม้แต่ก่อนหน้ารัฐประหาร มีกรรมการสิทธิส่วนหนึ่งไปร่วมชุมนุม ไปสังเกต หรือกระทั่งไปขึ้นเวทีด้วยนะ ก็ไม่เป็นปัญหา เพราะถือเป็นเสรีภาพของแต่ละคน จนกระทั่งหลังรัฐประหาร มีกรรมการสิทธิด้วยกันถามบ้างว่าผมไปร่วมชุมนุม ตอนนั้นผมยังไม่เป็นแกนนำ ก็ถาม ผมบอก เอ้า! ผมก็ต้องไปร่วมชุมนุมอยู่แล้ว เหมือนกับตอนพันธมิตรฯ พวกคุณก็ไปชุมนุม แต่ก็ไม่เป็นปัญหาเท่าไหร่นะ จนกระทั่งผมประกาศตัวเป็นแกนนำคนหนึ่งของ นปก. ก็ไม่ได้มีใครมาห้ามอะไรหรอก แล้วก็ตอนถูกถอดถอน คือการเมืองระดับชาติไม่ได้มีปัญหาอะไรเท่าไหร่กับพวกนี้หรอก กรรมการสิทธิเขาก็เฉยๆ ไม่รู้หรอกว่าเขาเห็นด้วยกับการถูกจับ การถูกถอดถอน เขาก็เฉยๆ นะ เขาคงไม่เห็นด้วย คงเห็นใจผมหรอก แต่คงไม่อยากทำอะไร สรุป การเมืองระดับชาติไม่ได้มีผลอะไรเท่าไหร่หรอก ส่วนใหญ่เป็นปัญหาของกรรมการสิทธิด้วยกันแหละ ทีนี้ปัญหาพวกนี้มันต่อมาถึงปัจจุบันต่อ
เปรียบเทียบกรรมการสิทธิชุดแรกกับชุดนี้อาจารย์มองว่าอะไรคือความแตกต่างที่สำคัญตามความคิดของผม กรรมการสิทธิชุดแรกแม้นว่าที่มาดีกว่า องค์ประกอบก็ดีกว่า เพราะว่ามาจากเอ็นจีโอ มาจากผู้นำชาวบ้าน คือคุณอาภร วงษ์สังข์ มาจากอาจารย์มหาวิทยาลัยคือ ผมกับอาจารย์เสน่ห์ (จามริก) มาจากนักกฎหมาย มาจากหมอ คือในแง่องค์ประกอบหลากหลายกว่า ที่มาก็ดีกว่า แต่มีสภาพเหมือนกันกับปัจจุบัน คือเหมือนในแง่ความเข้าใจเรื่องสิทธิมนุษยชน กรรมการชุดแรกผมว่าความเข้าใจสิทธิมนุษยชนไม่เหมือนกัน ผมเคยเสนอตอนตั้งกรรมการสิทธิใหม่ ตอนที่ยังไม่ครบ 11 คน ว่า ต้องมานั่งคุยกันเรื่องสิทธิมนุษยชน ตั้งแต่ทฤษฎี สิทธินั้น สิทธินี้ เข้าใจกันยังไง เหมือนกันไหม สอง) ที่เราคำว่างานสิทธิมนุษยชน มีงานอะไรบ้าง งานส่งเสริมทำอะไร งานตรวจสอบ งานเสนอแนะต่อรัฐบาล เสนอแนะต่อรัฐสภาก็ต้องมานั่งคุยกัน แล้วควรจะเอางานไหนเป็นหลัก ถ้าไม่เอางานงานไหนเป็นหลัก ในทางปฏิบัติ เรื่องตรวจสอบจะเป็นหลักอยู่แล้ว เพราะคนจะมาร้องเรียน ทั้งบุคลากร เวลา งบประมาณก็ไปทางตรวจสอบ งานส่งเสริม ส่วนใหญ่ก็เป็นเรื่องไปจัดอบรม สัมมนา เขียนเป็นหนังสือ แต่ว่ายังน้อยนะ คือสิ่งที่กรรมการสิทธิชุดแรกทำไม่สำเร็จ ชุดนี้ก็ยังทำไม่สำเร็จ ผมไปบางประเทศมา กรรมการสิทธิกับสื่อมวลชนเขาให้ความสำคัญกับสื่อมวลชนค่อนข้างดี หนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ รายเดือน ก็จะมีคอลัมน์สิทธิมนุษยชนเลย อย่างที่ออสเตรเลีย หรือมาเลเซีย ของเราอยากจะมีสื่อมวลชนสิทธิมนุษยชน ตอนนั้นผมพยายามทำ มีคอลัมน์อยู่ในหนังสือพิมพ์รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน เรื่องที่อยากให้มีนักข่าวสิทธิมนุษยชน เรายังทำไม่ได้ ใหม่ๆ มีนักข่าวประจำ กสม.นานเข้าก็หายไป ยกเว้นเราจะจัดกิจกรรมหรือแถลงข่าว ที่นักข่าวหายไปเพราะว่าไม่ค่อยมีข่าว ไม่รู้จะเอาข่าวอะไรนะ ความสัมพันธ์กับสื่อมวลชนยังไม่ดี คือเรายังใช้สื่อมวลชนเผยแพร่สิทธิมนุษยชนเรายังทำไม่สำเร็จ ชุดนี้ผมว่าก็ยังไม่สำเร็จนะ ที่ผมเสนอ เราใช้คำว่าพันธมิตรทางยุทธศาสตร์ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประเทศต่างๆ จะคล้ายกัน คือแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ ฝ่ายที่ถูกละเมิด เราต้องสร้างพันธมิตรกับกลุ่มเอ็นจีโอ กับกลุ่มองค์กรแรงงาน เกษตรกร สื่อมวลชน แล้วอีกส่วนเราต้องไปสร้างพันธมิตรทางยุทธศาสตร์กับผู้ที่มีแนวโน้มละเมิดสิทธิ คือ ทหาร ตำรวจ ข้าราชการ นักธุรกิจ นายทุน เราก็พยายามทำ คืออย่างแรกเราทำไม่ได้เลยกับผู้ที่มีแนวโน้มละเมิดสิทธิ ความจริงเราควรจะทำ ผมก็เสนอความเห็นว่าเราควรจะไปทำกับสภาอุตสาหกรรม หอการค้า กับทหาร ตำรวจ ไปฝึกอบรมทหาร ตำรวจ ข้าราชการ ส่วนใหญ่เราจะทำกับผู้ที่มีแนวโน้มถูกละเมิด ถูกไหม ถูก แต่จะต้องทำกับอีกฝ่ายด้วย เพราะเราทำกับผู้ที่ถูกละเมิดอย่างเดียวมันก็แก้ปัญหาไม่ได้ เขาตื่นตัวขึ้นมาแล้ว เขาไม่ยอมให้ถูกละเมิดแล้ว แต่ก็ยังมีคนละเมิดอยู่โครมๆ ความรับรู้และเข้าใจของคนในสังคมไทย มันน้อยมาก คนส่วนใหญ่ไม่รู้ว่ามีกรรมการสิทธิ ผมว่าจนถึงปัจจุบันนี้มีกรรมการสิทธิมา 11 ปีแล้วนะ คนที่รู้ว่ามีกรรมการสิทธิมีไม่มากหรอกไม่กี่เปอร์เซ็นต์ คนที่รู้จำนวนไม่น้อยก็มีทรรศนะว่าคณะกรรมการสิทธิเป็นเอ็นจีโอ เมื่อก่อนเจอรัฐมนตรี พวกปลัดกระทรวง เขาถือว่าผมเป็นหัวหน้าเอ็นจีโอ เขาคิดว่าคณะกรรมการสิทธิเป็นเอ็นจีโอแล้วทัศนคติที่เขาไม่ชอบ ไม่ดีต่อเอ็นจีโอ ก็มาไม่ดีต่อกรรมการสิทธิ ประการที่สาม เขาไม่รู้คณะกรรมการสิทธิมีอำนาจอะไรจริงๆ เพราะบ่อยมากเราเรียกใครมาตรวจสอบ คนที่เขามาร้องมาใครละเมิดเขา เป็นทหาร เป็นตำรวจ มีหลายคนถามว่ากรรมการสิทธิมีอำนาจอะไร ทำไมจึงเรียกเขามา เขาไม่ได้อ่านกฎหมายหรอก เพราะฉะนั้นเมื่อคนส่วนใหญ่ไม่รู้ หรือมีทัศนะว่าเป็นเอ็นจีโอ ก็เห็นว่าเป็นเสือกระดาษ รู้ว่าไม่มีอำนาจอะไรก็ไม่กลัว ยิ่งกระบวนการตรวจสอบการละเมิดสิทธิไปจนถึงกระบวนการมีข้อเสนอแนะถึงนายก ถ้านายกไม่ทำก็ถึงรัฐสภา ปรากฏในช่วงเกือบ 10 ปี เรื่องของคณะกรรมการสิทธิ กรณีตรวจสอบการละเมิดสิทธิที่ไปถึงสภาจริงๆ ยังไม่ถึง 10 เรื่องเลย น้อยมาก คืออย่างนี้ พอเราตรวจสอบแล้วว่าละเมิดสิทธิ เราก็ส่งให้ผู้ที่ละเมิดไปแก้ไข เราให้เวลา ถ้าผู้ละเมิดไม่ทำเราส่งให้นายกในฐานะหัวหน้า ถ้านายกไม่ทำเราส่งให้สภา เรื่องรายงานการตรวจสอบของคณะกรรมการสิทธิที่นายกไม่ดำเนินการใดๆ ต้องเข้าสภา เข้าไปน้อยมากแล้วก็ช้า พอเข้าไปแล้วบางทีคนถูกละเมิดอาจจะตายไปแล้วก็ได้ ยังไม่ได้เข้า พอเข้าไปแล้วไม่มีประโยชน์แล้ว พอเข้าไปแล้วสภาแค่รายงาน รายงานการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนที่มีผลอยู่บ้างที่มีผลต่อผู้ที่ละเมิด ก็ไม่ใช่ไม่มี ก็มีอยู่บ้าง ก็มีน้อยมาก อย่างเช่นคดียาเสพติด คนถูกจับแล้วก็ถูกซ้อม แล้วไปขึ้นศาล เมียก็ร้องเรียน เราตรวจสอบ ศาลยกฟ้องนะถือว่าจำเลยสารภาพเพราะถูกซ้อม อันนี้มีอยู่ หรือเรื่องยับยั้งการสร้างไอ้นั่นไอ้นี่ การละเมิดสิทธิชุมชนหรือสิ่งแวดล้อมก็มีบ้าง แต่ถ้าเปรียบเทียบแล้วน้อยมาก กลับไปเรื่องเดิมคือเรื่องช้า มันช้าทุกเรื่อง อย่างเช่น ตามหลักการและกฎหมายของไทย คณะกรรมการสิทธิปีหนึ่งๆ จะต้องเขียนรายงานอย่างน้อย 2 ฉบับ ฉบับแรกรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนเพื่อให้รัฐบาล รัฐสภา อย่างสองรายงานประเมินผล ปรากฏว่าปีแรกไม่เสร็จ ของปีแรกไปเสร็จในปีที่ 3 คือมันช้าหมด ทีนี้บางประเทศเขาพลิกแพลงอย่างอินโดนีเซียเขา เอารายงานทั้งสองมาอยู่ในฉบับเดียวกัน ก็โอเค คือรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนมันเผยแพร่ทั่วไป คือให้ทั้งรัฐบาล รัฐสภา ถ้ารายงานประเมินผลการปฏิบัติงานต้องรายงานต่อรัฐบาลและรัฐสภาด้วย แล้วถ้าให้ดีต้องเป็นภาษาอังกฤษด้วย เราก็พยายามแปล นี่ก็ช้าเหมือนกัน แล้วรายงานนี่ต้องให้รัฐสภามาพิจารณา ซึ่งไม่รู้ว่าปัจจุบันไปถึงรัฐสภากี่ฉบับ เราเริ่มทำงานตั้งแต่ 13 ต.ค. 44 พอถึง ต.ค.45 ก็ต้องหนึ่งเล่มแล้ว ปรากฏว่าไปเสร็จเกือบปี 47 พอไปถึงคณะรัฐมนตรี ซึ่งไม่รู้ว่าอ่านหรือไม่อ่าน พอไปถึงสภาเหตุการณ์มันเกิดเมื่อ 3 ปีที่แล้วมันก็ไม่มีผลในทางปฏิบัติ
ที่บอกว่ากรรมการสิทธิแต่ละคนเข้ามาโดยให้ความสำคัญกับประเด็นที่ไม่เหมือนกัน ในช่วงหลังรัฐประหาร และเหตุรุนแรงทางการเมืองต่อเนื่องกัน มีคำถามจากฝั่งเสื้อแดงว่ากรรมการสิทธิของไทยให้ความสำคัญกับสิทธิทางการเมืองน้อยเกินไปหรือเปล่า หรือความจริงอยู่ที่ความช้าอย่างที่พูดมาคณะกรรมการสิทธิชุดแรก สถนการณ์ใต้ปี 47 ก็รับเรื่องร้องเรียนและลงไปตรวจสอบหลายกรณี แต่ส่วนใหญ่ก็ทำไม่สำเร็จ ตรวจสอบเสร็จบ้างก็มี นี่มีต่อเนื่องมาถึงปัจจุบันก็มีนะในหลายกรณี
อย่างกรณี 31 ศพ (สงครามยาเสพติด) ก็มีที่สอบสวนและทำรายงานเสร็จบ้างใช่ไหมเสร็จเป็นบางเคส
กสม. เป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญก่อตั้งมา 11 ปีแล้วน่าจะต้องทบทวนประสิทธิภาพและบทบาทหรือไม่ เช่น ประสิทธิภาพของกรรมการสิทธิที่ทำงานแก้ปัญหาหรือเยียวยาได้แค่ไม่กี่เคส (หัวเราะ) คือสภาพกรรมการสิทธิเกือบทุกประเทศคล้ายกัน พอเข้าปีที่ 2 ที่ 3 พวกเอ็นจีโอหายละ เริ่มหันหลัง เริ่มไม่ชอบ เริ่มวิพากษ์วิจารณ์คณะกรรมการสิทธิมาเลเซียถูกเอ็นจีโอวิจารณ์หนัก เพราะเขาไม่ได้เป็นองค์การอิสระจริงๆ มาจากนายกรัฐมนตรีแต่งตั้ง แล้วเขาก็กลัวด้วย ฟิลิปปินส์ก็เหมือนกัน คณะกรรมการสิทธิอินโดนีเซียก็เหมือนกัน คณะกรรมการสิทธิอินเดียยิ่งแล้วใหญ่ คือคณะกรรมการสิทธิทุกที่ เอ็นจีโอทางด้านสิทธิและเอ็นจีโอทั่วไปที่เป็นคนให้กำเนิด มีบทบาทสำคัญในการก่อตั้ง พอเข้าปีที่ 2 ที่ 3 จะหันหลังแล้ว เพราะทำงานไม่ได้อย่างที่คาดหวัง และจุดยืนอย่างกรรมการสิทธิศรีลังกาถูกวิจารณ์น่าดู ว่าไปเข้าข้างรัฐบาลกรณีทมิฬ ว่าไม่เข้าข้างผู้ถูกละเมิด แต่ก็ยังไม่มีความเห็นค่อนที่ข้างรุนแรงจากที่ไหนว่าต้องเลิก มีดีกว่าไม่มี มีความพยายามที่ปรับปรุงเปลี่ยนแปลง เช่นแก้ไขกฎหมาย ปรับการทำงาน ที่ประสบความสำเร็จค่อนข้างมากคือกรรมการสิทธิประเทศแอฟริกาใต้ เพราะว่ามีบริบททางการเมืองอยู่ ที่อื่นก็ไม่ค่อยประสบความสำเร็จเท่าไหร่ ทีนี้ของไทยเรามันมาเพิ่มก็คือว่า ในช่วงหลังสังคมการเมืองทั่วไปก็ไม่ชอบกรรมการสิทธิ ไม่ชอบเป็นทุนเดิมอยู่แล้วว่ากรรมการสิทธิเป็นเอ็นจีโอ เป็นพวกสิทธิมนุษยชน ต่อมาไม่ชอบเมื่อเกิดวิกฤตทางการเมือง เมื่อกรรมการสิทธิไปแสดงคล้ายกับว่าไม่ทำอะไร หรือว่าไปแสดงเป็นฝักฝ่ายฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง คนก็ไม่ชอบ รัฐบาลทุกรัฐบาลก็ไม่ชอบอยู่แล้ว ไม่มีรัฐบาลที่ไหนชอบกรรมการสิทธิหรอก ยิ่งในเอเชีย ไม่ว่ารัฐบาลมาเลเซีย รัฐบาลไทย มีรัฐบาลฟิลิปปินส์ที่ยังไม่เท่าไหร่นะ เพราะกรรมการสิทธิเกิดขึ้นจากการต่อสู้ร่วมกันจากการต่อต้านมาร์กอส ผมเพิ่งไปฟิลิปปินส์เมื่อเดือน มี.ค.ก็ไปพบประธานกรรมการสิทธิก็ถามเรื่องนี้เหมือนกัน ก็บอกว่ากรรมการสิทธิ์เขาต้องรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับรัฐบาลเอาไว้ ไม่อย่างนั้นของบประมาณหรือความสนับสนุนช่วยเหลือไม่ได้ ของฟิลิปปินส์เขามีความสัมพันธ์ที่ดีนะ ถึงกับของบประมาณเช่าเอลิคอปเตอร์ คนที่ถูกละเมิดสิทธิที่จำเป็นต้องพาเข้ามะนิลาเพราะประเทศเขาเป็นเกาะ แล้วก็มีโรงพยาบาลด้วย มีห้องหมอห้องพยาบาลของกรรมการสิทธิ์ เพราะคนถูกละเมิดมาบางทีต้องตรวจรักษาพยาบาลเอง ถ้าไปหาแพทย์แล้วแพทย์ไปเข้าข้างอีกฝ่ายก็จะมันมีปัญหา เขาวางรากฐานไว้ดี ของฟิลิปปินส์มีตั้ง 16 สาขามั้ง ของไทยเราไม่มี เพราะฉะนั้น กรรมการสิทธิ์ไทยชุดที่แล้วกับชุดนี้ก็จะมีปัญหาเหมือนๆ กันคือ เอ็นจีโอไม่ค่อยชอบ รัฐบาลไม่ค่อยชอบ สังคมการเมืองก็ไม่ชอบ ในสถานการณ์อย่างนี้จะทำอย่างไร จะปรับปรุงจะแก้ยังไง บางคนบอกให้เลิกเลย ให้ยุบไป (หัวเราะ)
ถ้าเราตัดทัศนคติจากภายนอกว่าชอบไม่ชอบออกไป แล้วดูจากผลงานเพราะตอนนี้องค์กรของกรรมการสิทธิ์ค่อนข้างใหญ่ ใช้งบประมาณจำนวนมาก แต่ผลงานยังไม่เข้าตาเท่าไหร่ อาจารย์มองว่าควรจะมีองค์กรนี้อยู่ต่อไปไหมยังควรจะมี แต่เอาผู้ตรวจการแผ่นดินรัฐสภามารวมด้วย
ทำไมไม่กลับไปใช้ช่องทางผู้ตรวจการแผ่นดินรัฐสภา หรือศาลปกครองแทนเหมือนในยุโรปบางประเทศคือ ศาลปกครองต่างจากกรรมการสิทธิ์ตรงศาลปกครองมีอำนาจตัดสินแก้ปัญหาการละเมิดสิทธิได้เด็ดขาด อันนี้เป็นข้อดี ของคณะกรรมการสิทธิ์เป็นกึ่งตุลาการ ส่วนใหญ่แก้ปัญหาผู้ถูกละเมิดสิทธิ์ไม่ค่อยได้ แต่เป็นองค์การที่เข้าเสริม ตอนแรกผมคิดว่างานของคณะกรรมการสิทธิควรเน้นแนวทางการทำงาให้เน้นการส่งเสริม การเผยแพร่ และการเสนอแนะต่อรัฐสภาและรัฐบาล ตรวจสอบให้เป็นเรื่องรอง แต่ก็มีปัญหาอีกถ้าไม่ตรวจสอบเป็นเรื่องหลัก คนถูกละเมิดอยู่โครมๆ ทุกวันๆ ไม่อย่างนั้นก็ต้องมีองค์การอื่นที่ไปตรวจสอบการละเมิดสิทธิซึ่งก็ไม่ได้อีก เพราะมีคณะกรรมการสิทธิ์แล้วไปเรียกร้องให้มีองค์การอื่นมาตรวจสอบ มันไม่ได้ นี่มันก็เป็นปัญหา
จากประสบการณ์ของอาจารย์ ตอบได้ไหมว่าทำไมการทำงานของกสม. จึงล่าช้าหนึ่ง) เนื่องจากว่ามันมีอำนาจไม่เพียงพอ การตรวจสอบจึงไม่สามารถที่จะได้ข้อมูล ได้ข้อเท็จจริง ได้พยาน หลักฐานอะไร เพราะว่าเราไม่ได้มีอำนาจเหมือนตำรวจ สอง) โดยหลักการของกรรมการสิทธิอีก หลักการสิทธิมนุษยชนไม่อนุญาตให้เรา เพื่อให้ได้การแสวงหาความจริง จะไปทำอะไรแรงๆ ก็ไม่ได้อีก เช่น เวลาสอบสวนเราไปขู่ไม่ได้นะ เราเที่ยวไปขู่ไปหลอกล่อ ถือเป็นการละเมิดสิทธิผู้ถูกสอบสวน สาม) กรรมการสิทธิชุดปัจจุบันเขาแก้หน่อยหนึ่ง ซึ่งผมยังคิดว่าอาจจะไม่ถูก ก็คือว่าเขาให้ในการแสวงหาข้อเท็จจริง เจ้าหน้าที่สำนักงานคุ้มครองสิทธิเป็นคนหา คณะกรรมการแค่มาพิจารณาเหมือนกับศาลพิจารณาคดี พิจารณาสำนวน ความจริงเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการมีหน้าที่ตรวจสอบ เจ้าหน้าที่เป็นผู้ปฏิบัติการ เขาให้คณะกรรมการมาตรวจสอบจะมีปัญหามาก ชุดนี้ยิ่งช้า อย่างเช่น ปปช.ทุกกรณีต้องตั้งอนุกรรมการ มีเป็นไม่รู้กี่ร้อยชุด เป็นพันชุดมั้ง กรรมการสิทธิชุดแรกมี 11 คน ต้องตั้งอนุกรรมการขึ้นมาตรวจสอบ ทีนี้ตั้งอนุกรรมการเป็นเรื่องๆ เป็นกรณีๆ แบบ ปปช.ก็ไม่ได้ มันจะเยอะมาก เช่น ถ้ามาร้องเรียน 3,000 ราย ก็ต้องตั้งอนุฯ รวมกัน เช่น ตอนนี้มีอนุกรรมการสิทธิการเมืองและพลเมือง อนุกรรมการสิทธิเด็ก สตรี และเยาวชน อย่างผมเป็นประธานอนุกรรมการสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชน แล้วก็อนุกรรมการสิทธิชนชาติส่วนน้อย อนุกรรมการสิทธิการศึกษา โดยระบบนี้มันทำให้ช้า แต่ประสบการณ์ของผม คือความสามารถทั้งในการตรวจสอบทั้งในการเขียนรายงาน เขียนรายงานช้ามาก ทีนี้เขียนก็ช้า มาถึงอนุกรรมการพิจารณาก็ช้าอีก กว่าจะเสร็จก็หลายครั้ง ขึ้นถึงคณะกรรมการก็พิจารณากันอีก มันช้าทุกขั้นตอน ตอนหลังถึงใช้วิธีจ้างคนอื่นมาเขียน ก็ไม่ได้อีก คนที่มาเขียนได้จะต้องอยู่ในอนุ กรรมการสิทธิชุดนี้แม้นว่าจะมีสภาพคล้ายกันกับกรรมการชุดแรก แต่ที่มาก็ควรแก้ให้มีความชอบธรรมหน่อยหนึ่ง คือมาจากการสรรหาของคน 7 คน มาจากผู้พิพากษา เป็นตุลาการเสีย 5 คน มาจากประธานรัฐสภา จากผู้นำฝ่ายค้าน อันนี้ต้องเปลี่ยน มันต้องเลือกเหมือนชุดแรก ให้สภาเป็นคนเลือก แต่ว่าในบางประเทศเขาให้นายก ให้ประธานาธิบดีส่งมา เหมือนศรีลังกา ผมยังคิดว่าต้องให้เลือก ให้มาจากการเลือกตั้ง ในการทำงานไม่เน้นการตรวจสอบ ให้เน้นการส่งเสริม เผยแพร่ เสนอแนะ มีคนวิจัยและสรุปแบบนี้มาเยอะ แต่ในความเป็นจริง ถ้าไม่เน้นการตรวจสอบ คนถูกละเมิดสิทธิมาร้องเรียน การตรวจสอบมันเป็นงานหลัก จะแก้ยังไงผมยังคิดไม่ออก
อาจารย์ยืนยันว่าแม้จะทำงานช้าแต่ว่าต้องมีไว้ความจริงระบบสิทธิมนุษยชน นี่พูดทั้งโลกเลยนะ ของสหประชาชาติก็ช้าเหมือนกันนะ ยกตัวอย่างเช่น ผมร้องเรียนไปเกือบ 2 ปีครึ่งแล้วนะต่อคณะมนตรีสิทธิมนุษยชน ผมไปตามมา 2 ครั้งแล้ว ยังไปไม่ถึงไหน ผมร้องเรียนกรณีถูกสลายการชุมนุม ผมร้องเรียนไป 2 ครั้ง ครั้งแรกที่ถูกจับกุมและถูกถอดถอน สมัยนั้นยังไม่ยกระดับเป็นคณะมนตรี ยังเป็นกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ เขาตรวจสอบเสร็จนะ แต่ตรวจสอบแบบสหประชาติคือให้รัฐบาลไทยชี้แจง รัฐบาลสุรยุทธ์ (จุลานนท์) ชี้แจงไป ผมร้องเรียนว่าถูกจับกุมคุมขัง ประชาชนถูกสลายการชุมนุมหน้าบ้าน พล.อ.เปรม ต่อมาถูกถอดถอน รัฐบาลสุรยุทธ์ชี้แจงว่าทำตามกฎหมาย ไม่ได้ละเมิดสิทธิ์ เอ้า! จบ แต่ยังดีนะ เรื่องผมผ่านสมัชชาใหญ่สหประชาชาตินะ เพราะคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนสหประชาชาติต้องรายงานต่อสมัชชา แล้วต่อมาก็มีการปฏิรูปเป็นคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ แล้วคนหนึ่งที่มีบทบาทในการปฏิรูปคือ อานันท์ ปันยารชุน ซึ่งตอนนั้น โคฟี อันนัน ตั้งให้เป็นประธาน เรื่องผมร้องเรียนไป ยังไม่เข้าถึงคณะมนตรีเลย ตอนนี้ยังอยู่ที่คณะทำงานเรื่องเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ผมร้องเรียนไปตั้งแต่ 23 มิ.ย.2553 หลังเหตุการณ์ ผมได้รับคำตอบว่าได้รับเรื่องร้องเรียนแล้วเดือน ก.ย. คิดตั้งแต่เดือนกันยามาถึงตอนนี้ก็เกือบ 2 ปี คือมันช้า ระบบสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติก็ช้า ไม่มีประสิทธิภาพ แต่ทำไมต้องมี เพราะว่ากระแสโลกปัจจุบัน สิทธิมนุษยชนเป็นกระแสใหญ่ของโลก สหประชาชาติจะไม่มีองค์การ ไม่มีงานด้านนี้ไม่ได้เลย แม้จะไม่มีประสิทธิภาพก็ต้องมี มีปฏิญญาสิทธิมนุษยชน มีกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนทั้งหมด 7-8 ฉบับ แล้วก็มี สำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชน มีคณะมนตรีสิทธิมนุษยชน มันต้องมีเพราะสิทธิมนุษยชนเป็นสาเหตุเบื้องต้นพื้นฐานอันหนึ่งของการที่มีการรบราฆ่าฟัน สงคราม สังหารหมู่ ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ มันต้องมีแต่ทำยังไงให้มีประสิทธิภาพ ที่มีประสิทธิภาพหน่อยคือ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ เขาก็มีสำนักงานข้าหลวงใหญ่ เป็นองค์กรที่มาปฏิบัติ ในประเทศไทยก้มีตัวแทนอยู่ แต่ที่มีประสิทธิภาพมากกว่าคือ สำนักงานข้าหลวงใหญ่ด้านผู้ลี้ภัย นั่นเป็นงานช่วยเหลือคน ทำได้อยู่แล้ว แต่นี่เป็นงานทั้งส่งเสริมและคุ้มครอง เช่น ผมไปร้องเรียนไม่รู้ตั้งกี่ครั้ง สมัยเกิด คมช. ก็ทำอะไรไม่ได้เหมือนกัน วันก่อนเห็นมีคนไปร้องเรียน พวกกรีนไปร้องเรียนว่ารัฐบาลไทยไม่ขอให้อเมริกาส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดน ไปร้องเรียนผู้แทนสิทธิมนุษยชน เข้าไหม ก็เข้าอยู่ เพราะทักษิณ (ชินวัตร) ถูกกล่าวหาว่าละเมิดสิทธิมนุษยชนมาก คือตราบใดที่ประเทศไทยไม่ได้ร้องขอไป อเมริกาจะจับส่งมาได้ยังไง แล้วรัฐบาลไทยจะร้องขอไปทำไม พี่ชายนายก มันเป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว ก็เหมือนกับตอนที่พี่ชายชวน หลีกภัย โกงเงินธนาคารกรุงไทยไป 200 ร้อยล้าน หนีคดีอยู่ 20 ปี ชวนเป็นนายก 2 ครั้ง พวกเราก็พูด ใครๆ ก็พูด ไม่เห็นตามล่ะ (หัวเราะ)
กรรมการสิทธิชุดนี้เหลือวาระอีก 3 ปี อาจารย์ประเมินการทำงานยังไง และคิดว่าควรจะมีการปรับทิศทางการทำงานอย่างไรไหมทิศทางคณะกรรมการสิทธิชุดที่ผมเป็นกับชุดนี้ ผมยังคิดว่าปัญหาการละเมิดสิทธิการเมืองและพลเมืองยังดำรงอยู่ โดยเฉพาะหลังรัฐประหารมา เพราะฉะนั้นจะต้องจับประเด็นนี้ให้มาก สิทธิพลเมือง กรรมการสิทธิชุดผมกับชุดนี้จับ เช่น สิทธิชนชาติส่วนน้อย ตอนนั้นมีกรณีที่อำเภอแม่อาย ที่เชียงใหม่ สิทธิเรื่องสัญชาติจับไหม ก็ต้องจับเหมือนกันแต่ว่า มันไม่อยากใช้คำว่าเป็นหลัก อันนี้เป็นเรื่องยุทธศาสตร์นะ คณะกรรมการสิทธิต้องวางยุทธศาสตร์ ประเทศไทยโดยหลักการปารีส โดยปฏิญญาเวียนนา ให้แต่ละประเทศมีแผนแม่บทสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประเทศไทยก็มี นี่เป็นแผนที่ 3 แล้ว แผนแรกหายวับ แผนแรกผมมีส่วนร่างด้วย ร่างโดยคณะกรรมการฉลอง 50 ปีปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน คุณอานันท์ (ปันยารชุน) เป็นประธาน แผนแรกประกาศใช้ในรัฐบาลชวน หลีกภัย แต่ก็เงียบ ตอนรัฐบาลไทยรักไทยผมก็เสนอเหมือนกันให้สนใจแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ปรากฏว่าเขาไม่ค่อยสนใจเท่าไหร่ จนกระทั่งจบแผนแรกขึ้นแผนที่ 2 อดีตนายกรัฐมนตรี ดร.ทักษิณ วันหนึ่งก็เกิดสนใจขึ้นมา ก็ร่วมกับคณะกรรมการสิทธิไปจัดประชุมที่ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลว่าจะร่างแผนที่ 2 กัน ปรากฏแผนที่ 2 กว่าจะร่างเสร็จก็เอาให้กระทรวงยุติธรรมรับผิดชอบ กระทรวงยุติธรรมก็ out source มาให้จุฬา ทำไปทำมากว่าจะเสร็จก็นาน แผน 2 เสร็จก็เงียบหายเหมือนกัน ตอนนี้แผน 2 จะจบแล้วมั้ง ตอนที่ร่างแผน 2 ผมก็เข้าไปมีส่วนนิดหน่อย เพราะตอนนั้นเริ่มอยู่ในช่วงรัฐประหารเผด็จการ ทีนี้คณะกรรมการสิทธิต้องมียุทธศาสตร์ แผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติไม่ใช่แผนของคณะกรรมการสิทธินะ เป็นแผนของรัฐบาลซึ่งหลายประเทศมีแผนแบบนี้ แต่ของคณะกรรมการสิทธิเองต้องมีแผนยุทธศาสตร์ว่า ในช่วง 5 หรือ 6 ปีที่เป็นกรรมการสิทธิ ยุทธศาสตร์หลักอยู่ที่ไหน ตอนกรรมการสิทธิชุดแรกก็ร่างกัน ใช้คำว่ากลยุทธ พวกผมไม่เห็นด้วย มันเป็นศัพท์ทางธุรกิจ เลยมาเป็นยุทธศาสตร์สิทธิมนุษยชน มี 7-8 ยุทธศาสตร์ ทีนี้ผมไม่รู้คณะกรรมการสิทธิชุดใหม่แผนยุทธศาสตร์มีอะไรบ้าง จะเน้นเรื่องอะไร ฟิลิปปินส์เขาเน้นเรื่องสิทธิพลเมืองการเมืองเท่านั้น สิทธิอื่นไม่เน้น เชาบอกเรื่องแรงงานก็มีกระทรวงแรงงาน เรื่องเด็กอย่างของเราก็มีกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ของฟิลิปปินส์เน้นสิทธิพลเมืองการเมืองตั้งแต่ต้นเลยจนถึงปัจจุบันนี้ ของเรามันเน้นทุกสิทธิ เราเอาทุกสิทธิ คณะกรรมการสิทธิชุดนี้ ความเห็นผมต้องกลับมาเน้นสิทธิพลเมืองการเมืองเป็นหลัก สอง) ต้องมีประสิทธิภาพ มีโชว์เคสดังๆ ที่แก้ปัญหาสำเร็จ ทีนี้กรรมการสิทธิชุดนี้ 3 ปีแล้วมีเคสอะไรดังๆ บ้าง กรรมการสิทธิชุดผมทำท่าจะเป็นโชว์เคส ก็คือกรณีการสลายการชุมนุมที่หน้าโรงแรมเจบี หาดใหญ่ กรณีท่อก็าซไทย-มาเลเซีย ถือเป็นโชว์เคส ตอนนั้นเพราะทำโดยคนที่ไม่ชอบทักษิณ พวกวสันต์ พานิช หมอประดิษฐ์ (เจริญไทยทวี) แล้วก็ปลายคณะกรรมการสิทธิชุดที่แล้ว ทำท่าจะเป็นโชว์เคส ตอนนั้นผมบอกนี่ต้องเคารพ กรณี 7 ตุลา (สลายการชุมนุมพันธมิตรฯ) ปรากฏว่ายังไม่ถึง 7 วัน เหมือนกับว่าเสร็จแล้ว ผมบอกว่าทำไมขยันขันแข็งกันจริงๆ สมัยที่ผมเป็นกรรมการสิทธิ เรื่องเล็กๆ กว่าจะเสร็จก็ครึ่งปี 1 ปี นี่ 7 วันเสร็จ ความจริงไม่ใช่ คือคุณสุรสีห์ (โกศลนาวิน) ไปเยี่ยมเยียน ไปถามคนที่เจ็บจากการสลายการชุมนุม แล้วมาแถลง แต่ว่าเขายังไม่ได้เขียนนะ แค่แถลงข่าวแต่ไปออกว่ากรรมการสิทธิตรวจสอบการละเมิดสิทธิและมีข้อสรุปประเมินผลแล้ว 7 วันนี่มันสุดยอด เพื่อจะเข้าข้าง เพื่อจะล้มรัฐบาลสมชาย
ความคาดหวังเรื่องรายงานการสลายการชุมนุมเสื้อแดงเมื่อปี 2553คงออกไม่ได้หรอก ไม่รู้สิ ตอนที่เขาเรียกผมไปตรวจสอบการสลายการชุมนุม ผมก็ชี้เรื่องนี้ คนเสื้อแดงเขามองว่าเข้าข้างนะ ยกตัวอย่างง่ายๆ ที่ภูเก็ต ประชาธิปัตย์กับเสื้อเหลืองไปจนกระทั่งชุมนุมไม่ได้ จัดเวทีไม่ได้ กรรมการสิทธิเฉยเลย แต่พอเสื้อแดงไปละเมิดสิทธิเรื่องอะไรเล็กๆ ในกรุงเทพฯ อาจารย์อมรา (ประธานกรรมการสิทธิชุดปัจจุบัน) บอกว่าเป็นการละเมิดสิทธิชัดเจน ประชาธิปัตย์กับเสื้อเหลืองไปล้อมไปข่มขู่คุกคมจนกระทั่งเขาจัดไม่ได้ เรื่องโฟร์ซีซั่นเหมือนกัน ประธานกรรมการสิทธิออกมาแถลง ความจริงคณะกรรมการสิทธิประเทศต่างๆ เขาจะให้มีโฆษกหรือกรรมการแถลงแสดงท่าที ไม่ใช่รายงานผลการตรวจสอบ ต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นว่าเรื่องนี้กรรมการสิทธิมองยังไง แต่จะไม่ฟันธงว่าเป็นการละเมิดสิทธิเพราะยังไม่ตรวจสอบ ตราบใดยังไม่ตรวจสอบไปฟันธงไม่ได้ แต่แถลงได้ว่าเรื่องนี้เราวิตกกังวล อาจจะเข้าข่ายการละเมิดสิทธินั้นสิทธินี้ จะให้ประธานหรือโฆษกแถลงเป็นระยะ ทีนี้อาจารย์อมราแถลงเรื่องโฟร์ซีซั่นว่า อย่าเอาเรื่องผู้หญิง และอย่าเอาเวลาราชการไปใช้ แทนที่จะแสดงความเห็นอกเห็นใจว่านายกเป็นผู้หญิงถูกกระทำ กลายเป็นตำหนิ
มันก็สะท้อนว่าไม่ค่อยถูกฝาถูกตัวเท่าไหร่กับการที่กระบวนเลือกสรรคนมาดำรงตำแหน่งกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เป็นการเลือกคนมาไม่เหมาะหรือเปล่าคือ แม้แต่ความรู้ความเข้าใจ ความคิดเรื่องสิทธิมนุษยชนมีปัญหา คงไม่ได้ศึกษากันจริงๆ จัง เนื้อหาสิทธิมนุษยชนในแต่ละสิทธิเป็นยังไง ผมว่ากรรมการสิทธิมนุษยชนไทยมีปัญหานี้ จำนวนไม่น้อยนะ
อาจารย์บอกว่ารายงานสลายการชุมนุมเสื้อแดงที่ว่ายังไม่เสร็จเรียบร้อย คิดว่าได้ดูทันวาระของกรรมการสิทธิชุดนี้หรือเปล่ายาก เขาต้องปรับกันมาก ต้องรื้อแหละ จะออกมาแบบที่หลุดมาที่เป็นร่าง ออกมาอย่างนี้ไม่มีผลอะไร ถ้าจะมีผลคือทำให้อดีตนายกรัฐมนตรี (อภิสิทธ์ เวชชาชีวะ) เอาไปเป็นพยานหลักฐานในศาลว่า เห็นไหมกรรมการสิทธิบอกว่าไม่ละเมิดสิทธินี่ แล้วที่อภิสิทธิ์เอาไปอ้าง การชุมนุมศาลแพ่งเคยตัดสินว่าเป็นการชุมนุมโดยไม่ชอบ นั่นศาลแพ่งตัดสิน คือการชุมนุมแบบนี้ศาลแพ่งเคยตัดสินมาแล้วในกรณี 7 ตุลา (การชุมนุมของพันธมิตรฯ ที่หน้ารัฐสภา) ว่าเป็นการชุมนุมโดยไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เพราะมีอาวุธ ไม่สงบ ใช้ความรุนแรง ทีนี้ของพวกผมก็เหมือนกัน ตัดสินเหมือนกัน คือถ้าให้ศาลแพ่งตัดสินก็ต้องตัดสินอย่างนี้ มันจะนำมาอ้างว่าเป็นการชุมนุมโดยไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ สมมติว่าเป็นการชุมนุมโดยไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ก็ไปปราบปรามไม่ได้ สลายได้นะ ไปทำให้ยุติการชุมนุมได้โดยมาตรการจากเบาไปหาหนักได้ แต่ไม่ใช่การไปปราบ ไม่ใช่การไป suppression ทีนี้ที่อาจารย์พวงทอง (ภวัครพันธุ์) ชี้ คณะกรรมการสิทธิก็เถียงเหมือนกัน อย่างในหลายกรณี ที่จะนะ บางคนบอกว่าถือหอก ถือธง หมอประดิษฐ์ (เจริญไทยทวี อดีตกรรมการสิทธิ) บอกเหมือนกับเป็นอาวุธ คุณวสันต์ (พานิช อดีตกรรมการสิทธิ) บอกไม่ใช่อาวุธโดยสภาพ มันเป็นธง เพียงแต่ทำใหญ่และแหลม แต่บางคนบอกว่าเป็น การเป็นอาวุธคือว่า ถ้าไปกระทำไปทำลายสิ่งของหรือทุบตีคน มันก็เจ็บ อันนี้สภาพเป็นอาวุธ ก็เคยเถียงกันเรื่องนี้ ประการที่สอง แล้วกี่คนล่ะ มีคนชุมนุมอยู่ 500 คน พันคน สมมติไปจับคนพกปืน 1 คน มีมีด 20-30 คน ถือว่าการชุมนุมนั้นไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญไหมที่จะไปสลายทั้งหมด อาจารย์พวงทองบอกว่าต้องไปจับ ไปจัดการกับคนที่มีอาวุธ ไม่ใช่คนทั้งหมด อันนี้ก็เถียงกัน เถียงกันทุกประเทศด้วยว่า บุคคลมีเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ แต่แค่ไหนที่เรียกว่าไม่สงบ มีเครื่องขยายเสียง โห่ฮา ไปก่อความปั่นป่วน ห้ามไม่ให้รถเข้าออก ซึ่งในทางปฏิบัติคำว่า ไม่สงบ พิจารณายาก แค่ไหนที่เรียกว่าไม่สงบ มีอาวุธกี่คน ทุกคน ส่วนใหญ่ หรือบางคน สาม ต้องประเมินว่า สมมติว่ามีอาวุธแต่ไม่ได้เอามายิง มาแทง เพราะฉะนั้นกรรมการสิทธิชุดนี้ก็จะมีปัญหาในการพิจารณาแต่ละเรื่อง ซึ่งไม่ง่าย ทีนี้ มาตรฐานสิทธิมนุษยชนไทยยังต่ำ สิทธิมนุษยชนมันเป็นเรื่องอารยธรรม ของไทยยังไปไม่ถึง หรือเรียกว่าวัฒนธรรมสิทธิมนุษยชน บางคนบอกว่าสิทธิมนุษยชนเอามาใช้กับประเทศไทยเร็วไป ยกตัวอย่างเรื่องคนเสื้อแดง จะมีปัญหาเรื่องทัศนะผู้ชายต่อผู้หญิง ผมว่าอยู่เรื่อยว่าอย่างนี้ไม่ดี ทัศนะเหมือนคนในสังคมทั่วไปแหละ ทัศนะดูถูกผู้หญิง เพราะว่ามันต้องอีกระดับหนึ่ง สรุป คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนชุดปัจจุบันนี้ต้องปรับเยอะ ด้านหนึ่งต้องแก้ความบกพร่องที่เกิดขึ้นในกรรมการสิทธิชุดแรก อีกด้านหนึ่งพยายามให้ยึดหลักสิทธิมนุษยชน ถ้าไปยึดหลักอย่างอื่นก็จะมีปัญหา เช่น ไปยึดหลักความรู้อื่น หลักความคิดอื่น ตัวเองเป็นกรรมการสิทธิ ต้องยึดหลักสิทธิมนุษยชนก่อน ความรู้ทางสังคมวิทยา รัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ยังเป็นเรื่องรอง กรรมการสิทธิชุดที่แล้วเหมือนกัน บ่อยครั้งที่ไม่ได้ยึดหลักสิทธิมนุษยชน ไปยึดหลักการอื่น เช่น ความรู้ความเข้าใจอื่นๆ อาจารย์อมราเป็นสายสังคมวิทยา แนวโน้มก็จะไปเอาความรู้เดิม ไม่ได้ยึดหลักสิทธิมนุษยชน ในแง่สิทธิมนุษยชนว่าเป็นยังไง พวกผมชอบถามบ่อยๆ ก็ถามง่ายๆ ว่า อันนี้ละเมิดสิทธิอะไร ละเมิดยังไง เพราะถ้าไม่รู้ว่ามีสิทธิอะไร ทำอย่างนี้ไปละเมิดสิทธิอะไร สิทธิอะไรนั้นมีอะไรบ้าง ยกตัวอย่างเช่น การจับกุมคุมขังโดยไม่ชอบ 1) มันละเมิดสิทธิในชีวิตและร่างกาย 2) อิสรภาพเสรีภาพ 3) อาชีพ เขาอาจจะเสียอาชีพ 4) ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ชื่อเสียง เกียรติยศ มันละเมิดเยอะแค่จากการจับ บางคนบอกทำผิดเพราะถูกกล่าวหา มีพยานหลักฐานชัดเจนว่าทำผิด พอเป็นเรื่องอย่างนี้ก็จบ มันต้องเริ่มจากสิทธิก่อน ส่วนว่าที่เขาถูกจับเพราะอะไรต้องพิจารณารอง ดูว่าอันแรกละเมิดสิทธิอะไรก่อน ผมอ่านอาจารย์อมราสัมภาษณ์หรือแถลงผมก็คิดว่ามีปัญหา กระทั่งอาจารย์เสน่ห์ก็มีปัญหา คือไม่ได้จับหลักสิทธิ อย่างเรื่องภูมิปัญญาชาวบ้านเป็นเรื่องสิทธิไหม เป็นเรื่องสิทธิ แต่ว่าต้องเริ่มจากสิทธิก่อนแล้วตามมาด้วยภูมิปัญญาชาวบ้าน
หมายเหตุคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ หรือ กสม. เกิดขึ้นจากการเรียกร้องของนักสิทธิมนุษยชนที่ต้องการให้มีองค์กรทำหน้าที่คุ้มครองสิทธิมนุษยชนอย่างกว้างขวางในสังคมไทย เหมือนในประเทศอินเดีย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ในระหว่างการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ 2540 ตัวแทนองค์กรพัฒนาเอกชน ได้นำเสนอให้จัดตั้งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติขึ้น ภายหลังการผลักดันอย่างหนักในสภาร่างรัฐธรรมนูญ องค์กรด้านสิทธิมนุษยชนดังกล่าวจึงได้รับการบรรจุไว้ในร่างรัฐธรรมนูญ 2540 กสม.เป็นองค์กรอิสระภายใต้รัฐธรรมนูญ 2540 ดำเนินการภายใต้ พรบ.คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ.2542 มีหน้าที่รับเรื่องร้องเรียน ตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน จัดทำข้อเสนอเพื่อคุ้มครองหรือส่งเสริมสิทธิมนุษยชนต่อหน่วยงานรัฐและคณะรัฐมนตรี จัดทำรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนประจำปีเสนอต่อรัฐสภา และทำหน้าที่ส่งเสริมเผยแพร่ความรู้เรื่องสิทธิมนุษยชน กรรมการสิทธิดำรงตำแหน่งครั้งละ 6 ปี และดำรงตำแหน่งได้วาระเดียว กรรมการสิทธิชุดแรก มี 11 คน ปฏิบัติหน้าที่ระหว่าง 13 ก.ค.2544 - 24 มิ.ย.2552 ประกอบด้วย
รัฐธรรมนูญ 2550 มีการปรับลดจำนวนกรรมการสิทธิลงเหลือ 7 คน คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ชุดปัจจุบันเป็นชุดที่ 2 ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี 2252 และหมดวาระในปี 2558 ประกอบด้วย
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ครูในเคนยากว่า 2 แสนคนนัดหยุดงานประท้วงขึ้นเงินเดือน 300% Posted: 04 Sep 2012 05:59 AM PDT
เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (3 ก.ย.) ครูชั้นประถมและมัธยมในเคนยา กว่า 200,000 คนหยุดงานประท้วงเพื่อเรียกร้องให้ขึ้นเงินเดือนและเบี้ยเลี้ยง แม้ศาลเคนยาจะประกาศให้การนัดหยุดงานดังกล่าวไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญก็ตาม David Okuta Osiany เลขาธิการสหภาพครูแห่งชาติเคนยา (KNUT) กล่าวว่า พวกเขาจำเป็นต้องนัดหยุดงาน เนื่องจากก่อนหน้านี้ รัฐบาลปฏิเสธจะเจรจากับพวกเขา แม้ว่าจะมีการร้องขอแล้วหลายครั้ง โดยการหยุดงานครั้งนี้จะมีไปจนกว่ารัฐบาลจะทำตามข้อเรียกร้อง ข้อเรียกร้องของพวกเขาคือ การเพิ่มค่าเบี้ยเลี้ยงตามที่ระบุไว้ในประกาศ 543 เมื่อปี 2540 อาทิ ค่าเช่าบ้าน 50% ค่ารักษาพยาบาล 30% ค่าเดินทาง 10% และค่าเบี้ยเลี้ยงสำหรับผู้ที่อยู่ในพื้นที่ที่ได้รับการประกาศเป็นพื้นที่ทุรกันดาร 30% รวมถึงขอให้เพิ่มเงินเดือนขึ้น 300% ด้วย เขากล่าวว่า ที่ผ่านมา รัฐบาลเพิ่มเงินเดือนให้กับแรงงานบางกลุ่ม แต่ไม่ขึ้นเงินเดือนครู โดยในเดือนกุมภาพันธ์ พวกเขาได้ทำหนังสือถึงนายจ้างเพื่อที่จะให้เปิดการเจรจาแต่ไม่มีการตอบรับใดๆ ทั้งนี้ พวกเขาบอกกับรัฐบาลว่า ถ้ารัฐบาลไม่ต้องการเจรจา พวกเขาก็ไม่มีทางเลือก นอกจากเรียกร้องให้ครูอาจารย์ร่วมกันหยุดงาน พร้อมย้ำว่ารัฐบาลควรจะทำตามข้อตกลงที่เคยให้ไว้กับครู ตามประกาศปี 2540 นอกจากนี้ เขาปฏิเสธข่าวที่ระบุว่าพวกเขาปิดสำนักงานเพื่อหลีกเลี่ยงการแจ้งคำสั่งศาล โดยกล่าวว่า พวกเขาไม่สามารถหนีไปไหนได้ เพราะมีสำนักงานใหญ่มากๆ อยู่ที่ไนโรบี ทั้งนี้ พวกเขายังไม่ได้รับหมายศาลใดๆ และว่า พวกเขาได้แจ้งล่วงหน้า 17 วันตามที่กำหนดใน พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์แล้ว ดังนั้น ตามความเข้าใจของเขา คำสั่งศาลดังกล่าวจึงสิ้นสุดลง ด้านรัฐมนตรีศึกษาธิการของเคนยา Mutula Kilonzo เรียกร้องให้บรรดาครูที่หยุดงานกลับไปสอน และเตือนว่าพวกเขาจะถูกหักค่าจ้างตามจำนวนวันที่ขาดสอน พร้อมยืนยันว่า การนัดหยุดงานครั้งนี้ไม่ชอบด้วยกฎหมาย รมว.ศึกษาธิการกล่าวด้วยว่า การนัดหยุดงานครั้งนี้เป็นการละเลยประโยชน์และสิทธิของนักเรียน ซึ่งได้รับการปกป้องตามรัฐธรรมนูญ พร้อมขอให้สหภาพครูฯ ใช้วิธีการตามรัฐธรรมนูญในการจัดการข้อพิพาท แทนการใช้สิ่งที่เขาเรียกว่าเป็นวิธีการล้าสมัยเพื่อแก้ปัญหาข้อพิพาทในภาคอุตสาหกรรม นอกจากนี้ เขายังโจมตีด้วยว่า การนัดหยุดงานครั้งนี้เป็นการเมือง เพื่อขู่รัฐบาล เนื่องจากใกล้จะมีการเลือกตั้งระดับชาติ โดยเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ในปี 2545 และ 2547 ซึ่งจะมีการเลือกตั้งไม่ว่าจะรัฐบาลใดก็ตาม เขาบอกว่า แม้จะมีข้อตกลงเมื่อปี 2540 ระหว่างรัฐบาลและครู แต่รัฐธรรมนูญใหม่ที่เพิ่งใช้อาจจะไม่สอดคล้องกับข้อตกลงดังกล่าว พร้อมระบุว่า มีเพียงทางเดียวคือการเจรจา ทั้งนี้ มีรายงานว่า ในอีก 2 เดือนครึ่ง นักเรียนประถมและมัธยมจะต้องเข้าสู่การสอบระดับชาติ แต่การไม่มีครูมาสอนดูจะเป็นการขัดขวางการเตรียมสอบของเด็กๆ มีการประมาณการว่า จะมีนักเรียนชั้นประถมศึกษากว่า 8 ล้านคน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษากว่า 1 ล้านคนที่ได้รับผลกระทบจากการนัดหยุดงานครั้งนี้ ที่โรงเรียนประถม Kawangware นักเรียนยังคงนั่งทบทวนบทเรียนในห้องเรียน แต่ไม่มีครูมาสอน Veronica Mulatia วัย 14 ปีบอกว่า การเตรียมสอบเป็นไปด้วยดี แต่ถ้าไม่มีครู พวกเขาก็อาจจะทำไม่ได้ดีนัก รวมถึงเรียกร้องถึงรัฐบาลให้ทำตามข้อเรียกร้องของครูโดยเร็วเพื่อที่ครูจะได้กลับมาสอนและพวกเขาจะได้ทำข้อสอบได้
ที่มา: ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
โนเบิร์ต โรเปอร์ส: ‘คนใน’ ต้องเป็นผู้นำถือคบไฟเพื่อสันติภาพ Posted: 04 Sep 2012 04:01 AM PDT
สัมภาษณ์ ดร.โนเบิร์ต โรเปอร์ส ผู้อำนวยการองค์กรสนับสนุนสันติภาพเบิร์กฮอฟ ผู้มีส่วนสร้าง ‘พื้นที่กลาง’ การพูดคุยระหว่าง ‘คนใน’ และ ‘Insider Mediator’ (ตัวกลางที่เป็นคนใน) เพื่อแสวงหาข้อเสนอร่วมที่นำทางสู่สันติภาพชายแดนใต้
Norbert Ropers
ในวาระที่เครือข่ายประชาสังคมซึ่งขับเคลื่อนเรื่องสันติภาพในชายแดนภาคใต้กำลังจะเปิดตัว ‘กระบวนการสันติภาพปาตานี’ (Pat[t]ani Peace Process - PPP) ในช่วงต้นเดือนกันยายน 2555 นี้ โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ได้พูดคุยกับ ดร.โนเบิร์ต โรเปอร์ส ผู้อำนวยการองค์กรสนับสนุนสันติภาพเบิร์กฮอฟ ผู้มีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการสร้าง ‘พื้นที่กลาง’ ในการพูดคุยระหว่าง ‘คนใน’ และการสร้าง ‘Insider Mediator’ (ตัวกลางที่เป็นคนใน) เพื่อแสวงหาข้อเสนอร่วมของคนทุกศาสนาและชาติพันธุ์ในพื้นที่เพื่อสร้างแผนที่ในการเดินทางไปสู่สันติภาพ ในวงสนทนาหัวข้อ ‘PPP: Pa(t)tani Peace Process in ASEAN Context’ [‘พีพีพี : กระบวนการสันติภาพปาตานีในบริบทของอาเซียน’] ซึ่งจะจัดขึ้นที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ในวันที่ 7 กันยายน 2555 นี้ ดร.โนเบิร์ตจะกล่าวปาฐกถาในเรื่อง ‘ IPP in context of PPP : Insider Peacebuilding Platform in the context of Pat[t]ani Peace Process’ [‘ไอพีพีในบริบทของ พีพีพี : พื้นที่กลางสร้างสันติภาพจาก 'คนใน' ภายใต้บริบทของกระบวนการสันติภาพปาตานี’] (กรุณาดูรายละเอียดในกำหนดการ ที่นี่) นักวิชาการอาวุโสชาวเยอรมันผู้ซึ่งมีประสบการณ์ทำงานเรื่องการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในหลายประเทศจะอธิบายแนวคิดของเขาเกี่ยวกับบทบาทของ ‘คนใน’ ในการขับเคลื่อนกระบวนการสันติภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเชื่อมโยงกับบริบทในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ดร.โนเบิร์ตอธิบายว่าโดยรวมแล้ว ในยุโรปมีแนวคิดและตัวแบบเรื่องการเป็นตัวกลางของการแก้ปัญหาความขัดแย้งอยู่ ทวีปเอเชียค่อนข้างอ่อนด้อยในการรับมือกับการจัดการความขัดแย้ง แต่จะเห็นได้ว่าที่ผ่านมา กลุ่มประเทศอาเซียนมีพัฒนาการในเรื่องนี้ค่อนข้างมาก แม้ว่าความคิดเรื่องการมีตัวกลางในการจัดการความขัดแย้งยังไม่ค่อยได้รับการยอมรับอยู่บ้าง เช่น ปัญหาข้อพิพาทระหว่างประเทศไทยกับกัมพูชา ที่แม้จะมีตัวกลาง แต่ก็ยังไม่มีความก้าวหน้ามากนัก ‘คนใน’ คือใคร “คนที่อยู่ตรงกลางนี่แหละที่จะเป็นตัวกลางจริงๆ ในการทำงานเรื่องสันติภาพ ดังนั้น การกล่าวปาฐกถาในครั้งนี้จะให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาความขัดแย้งที่มาจากคนใน ตัวกลางคือคนใน” “ความปรารถนาของผมคือทำหน้าที่หนุนเสริมคนที่อยู่ตรงกลาง แต่ตัวผมไม่ใช่คนที่อยู่ตรงกลาง เพียงแต่หนุนเสริมให้พวกเขาได้แสดงบทบาทเท่านั้น” ดร.โนเบิร์ต อธิบายว่า ในเรื่องการสร้างสันติภาพนั้นจำเป็นต้องให้คนส่วนใหญ่รับรู้ร่วมกัน คือต้องรณรงค์กับกลุ่มคนในประชาสังคม ไม่ใช่ปล่อยให้เป็นเรื่องของ Track 1 เพียงอย่างเดียว และจะต้องให้ความสำคัญกับคนที่อยู่ข้างล่างจริงๆ เพราะประชาชนมีความหลากหลาย “ผมต้องการผลักดันเรื่องนี้ให้อยู่ในระดับโลก ในรายงานของสหประชาชาติก็ปรากฏเรื่องนี้ด้วย เพราะในระดับโลกมีการผลักดันกระบวนการใน Track1 มากเกินไป ซึ่งมันอาจไม่สำคัญเพียงพอในตอนนี้ ผมจึงอยากผลักดันเรื่องคนใน หรือ Insider Mediator เข้าไปในระดับโลกให้มากๆ” เมื่อถามว่าการผลักดันในระดับ Track 1 ถึงทางตันแล้วหรือ? ดร.โนเบิร์ตกล่าวว่า ถ้าใช้เฉพาะกระบวนการใน Track 1 เท่านั้น ความขัดแย้งอาจจะยืดยาวออกไปอีก เพราะ Track นี้จะมีตัวแสดงเพียงแค่ 2 ฝ่าย คือ รัฐบาลกับคนที่ใช้ความรุนแรงหรือขบวนการเคลื่อนไหวเท่านั้น “รัฐบาลยังไม่กล้าคุยเรื่องการแก้ปัญหาในเชิงการเมืองอย่างแท้จริง ส่วนพวกขบวนการเคลื่อนไหวก็ยังไม่รู้ว่าเป็นใครและไม่มีทิศทางที่จะเจรจาหรือพูดคุยกันระหว่างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ซึ่งถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ตกลงให้ชัดเจน ขณะที่อีกฝ่ายหนึ่งชัดเจน ทุกอย่างมันก็จะล้มเหลว และกลายเป็นวงจรที่เกิดขึ้นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ การแก้ปัญหาจะไม่ประสบความสำเร็จ” เมื่อเป็นเช่นนั้น ดร.โนเบิร์ตชี้ว่า จำเป็นที่จะต้องมีฝ่ายที่ 3 เข้ามาทำงานกับคนที่อยู่ตรงกลาง ผลักดันเรื่องการพูดคุยหรือการเจรจา โดยให้ทั้ง 2 ฝ่าย คือ รัฐบาลกับพวกขบวนการเคลื่อนไหวพร้อมที่จะแสดงท่าทีอะไรบางอย่างให้ชัดมากกว่านี้ เขาย้ำว่า สิ่งสำคัญคือต้องมีตัวกลางที่จะมาให้ทั้ง 2 ฝ่าย หาทางแก้ปัญหาให้ชัดเจนขึ้น “การแก้ปัญหาแบบนี้ไม่ใช่การหาสูตรสำเร็จมาใช้ แต่เน้นความหลากหลายของเครือข่ายประชาสังคม เพื่อค่อยๆ หาทางที่เป็นไปได้ ต้องค่อยๆ ทำไปทีละขั้นตอน ความหลากหลายตรงนี้ ต้องมาแชร์ร่วมกันและทำงานไปด้วยกัน ไม่ใช่เพื่อจะเอามาล้มล้างความคิดเก่าๆ ที่ไม่ประสบความสำเร็จ แต่เป็นการใช้ความหลากหลายตรงนี้เข้ามาสร้างความน่าเชื่อถือให้กับทั้ง 2 ฝ่ายที่ขัดแย้งกันให้ได้ ซึ่งอาจไม่ใช่หนึ่ง สอง หรือ สามแนวทาง” “ต้องทำให้ทั้ง 2 ฝ่ายที่ขัดแย้งกันนี้ เชื่อให้ได้ เพราะฉะนั้น ต้องมาสร้างบรรยากาศให้มีการพูดคุยกันเพื่อแก้ปัญหาให้ชัดเจนขึ้น ต้องทำไปทีละขั้นตอน ไม่มีสูตรตายตัว แต่ต้องพูดคุยกันให้มาก จนกว่าจะหาความเห็นร่วมสำหรับทุกคนได้” ดร.โนเบิร์ตบอกว่า “เรื่องนี้ต้องใช้เวลาหลายปี แต่บอกไม่ได้ว่ากี่ปี แต่ระหว่างนี้เราสามารถทำสิ่งเล็กๆ ได้ คือการสร้างเครือข่ายขึ้นมา เพื่อให้เกิดกลุ่มที่เป็นตัวกลางที่สามารถสร้างความน่าเชื่อถือในหมู่คนมลายูมุสลิมซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ในพื้นที่ และคนไทยพุทธในพื้นที่ด้วย” “ถ้าเราสามารถหาทางที่จะไปได้แล้ว จะต้องมีการผลักดันอย่างเข้มแข็งในเชิงข้อเรียกร้องที่สามารถทำได้และสามารถทำให้กลุ่มที่อยู่ข้างบนยอมรับ ที่สำคัญที่สุดคือให้คนส่วนใหญ่ของประเทศยอมรับด้วย” “ผมฝันที่จะเห็นภาพทั้งคนไทยพุทธและมลายูมุสลิมร่วมมือกัน อาจจะสักประมาณ 1 – 2 หมื่นคนเสนอข้อเรียกร้องต่อรัฐ มีการประชุมร่วมกันทุกสัปดาห์หรือมาเดินขบวนเรียกร้องหาทางแก้ไขที่นำไปสู่สันติภาพอย่างแท้จริง เช่น การเรียกร้องให้หยุดใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ หรือเรียกร้องให้หยุดใช้ความรุนแรงระหว่าง 2 ฝ่าย” ต้องสร้างฉันทามติร่วมกัน แม้ว่าเสียงส่วนใหญ่ของประเทศมีแนวโน้มที่จะเสียงดังกว่า เราจึงจำเป็นที่จะต้องทำให้เสียงส่วนใหญ่ยอมรับข้อเสนอจากพื้นที่ด้วยการผ่านกระบวนการสร้างฉันทามติร่วม และต้องสร้างบรรยากาศทางการเมืองใหญ่ให้ตอบรับเรื่องนี้ เราจะต้องเสนอโมเดลทางการเมืองเพื่อให้สังคมใหญ่ถกเถียงพูดคุยและผลักให้แนวคิดสันติภาพเข้าไปเป็นข้อเสนอทางการเมืองทั้งในระดับพื้นที่จนถึงระดับการเมืองระหว่างประเทศ ดร.โนเบิร์ตกล่าวว่า ในการผลักดันข้อเสนอที่เป็นรูปธรรมจากพื้นที่อาจต้องมีกลุ่มปัญญาชนกลุ่มหนึ่งที่รวมตัวกันทำงานร่วมกัน ตัวอย่างเช่น อาจเป็นการผลักดันให้มีการยอมรับข้อเสนอ 7 ข้อ ของหะยีสุหลง อับดุลกอเดร์ ที่เคยถูกต่อต้านจากรัฐและกล่าวหาว่าเป็นกบฏในอดีต ทั้งที่ไม่ใช่ข้อเรียกร้องที่ใช้ความรุนแรงและเป็นข้อเสนอที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ เป็นต้น แต่ทั้งนี้ ข้อเสนอในทำนองนี้ก็ขึ้นอยู่กับกระบวนการถกเถียงของกลุ่มคนในที่หลากหลายนั่นเอง “เพราะฉะนั้น ข้อเสนอดังกล่าว ต้องเป็นข้อเสนอที่ดี สามารถปฏิบัติได้จริง นำไปสู่สันติภาพ และได้รับการยอมรับจากทุกฝ่าย” “หากย้อนมาดูในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย เรากำลังสร้างกระบวนการนี้อยู่ ซึ่งเป็นไปได้ที่จะสร้างกลุ่มปัญญาชน และเรียนรู้ประสบการณ์จากต่างประเทศเพื่อนำมาสร้างเป็นแนวคิดในการแก้ปัญหาของตนเอง ซึ่งยกตัวอย่างเช่น ข้อเสนอในการปกครองตนเอง ที่นำเสนอต่อคนส่วนใหญ่ในสังคมไทยหรือคนในพื้นที่ที่มีความคิดแบบกลางๆ ไม่ใช่คนที่มีความคิดสุดโต่ง” เมื่อได้ข้อเสนอแล้วและให้สาธารณชนรับรู้และนำเสนอต่อผู้ที่มีอำนาจทางการเมืองระดับสูง เช่น นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร หรือผู้นำฝ่ายค้านอย่างนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ รวมทั้งผู้คนในสถาบันหลักของสังคมไทย ให้เขาเห็นว่า ข้อเสนอหรือความต้องการนี้มาจากเสียงที่อยู่ตรงกลางจริงๆ มีความเป็นเหตุเป็นผล ผ่านกระบวนการศึกษาและปรึกษาหารือมาแล้ว แม้การทำยุทธศาสตร์ที่ดีดังกล่าวต้องใช้เวลา แต่ก็มีตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จมาแล้ว เช่น กลุ่ม ETA ซึ่งเป็นกลุ่มแบ่งแยกดินแดนในแคว้นบาสก์ของประเทศสเปนได้ดำเนินกระบวนการสร้างยุทธศาสตร์และนำไปสู่ข้อตกลงกับรัฐบาลกลางของสเปน ในที่สุดได้นำไปสู่การเปลี่ยนแนวคิดจากการแบ่งแยกดินแดนมาสู่การกำหนดเป็นเขตปกครองพิเศษหรือรูปแบบอื่นๆ ที่เป็นไปได้ “ในกรณีชายแดนภาคใต้ของไทย ผมเชื่อว่าสถานการณ์จะสงบลงภายใน 2 ปี หากทุกฝ่ายดำเนินการตามยุทธศาสตร์ที่ได้วางร่วมกัน” โนเบิร์ตย้ำ ในอดีตกลุ่มติดอาวุธในแคว้นบาสก์ต้องการที่จะแบ่งแยกดินแดนเหมือนกับใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย ซึ่งในการต่อสู้ก็มีการสังหารผู้บริสุทธิ์ด้วย ซึ่งทำให้กระทบต่อความชอบธรรมของพวกเขา ซึ่งมีลักษณะที่คล้ายคลึงกับขบวนการบีอาร์เอ็น หากว่าขบวนการเคลื่อนไหวยังใช้ความรุนแรงเข่นฆ่าผู้บริสุทธิ์ต่อไป ข้อเรียกร้องของพวกเขาก็อาจจะยากที่จะได้รับการตอบสนอง วิธีการทางทหาร “ใช้ไม่ได้แล้ว” เขาชี้ว่าข้อเสนอและกระบวนการที่ทำขึ้นมาจะได้รับการตอบรับหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับมิติทางการเมืองด้วย ต้องใช้เวลาและสร้างกระบวนการให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ ซึ่งแน่นอนว่ามีความเสี่ยง หากฝ่ายรัฐบาลยังใช้มาตรการด้านความมั่นคงและการปราบปรามอยู่อย่างเดียว กระบวนการนี้ก็คงจะไม่สำเร็จ หรือหากฝ่ายขบวนการเคลื่อนไหวยังใช้ความรุนแรงอยู่เหมือนเดิม กระบวนการนี้ก็คงไม่สำเร็จอีกเช่นกัน ดร.โนเบิร์ตชี้ว่า วิธีการทางทหารของทั้ง 2 ฝ่าย มันใช้ไม่ได้แล้ว มันต้องใช้แนวทางการเมืองที่มีอย่างหลากหลายเข้าไปแก้ปัญหา และเพื่อที่จะหยุดช่องทางการใช้ความรุนแรง หน้าที่ของตนคือเข้าไปทำงานกับ Track 2 และ Track 3 เพื่อสนับสนุนและสร้างบรรยากาศการทำงานใหม่ เพื่อให้การเป็นตัวกลางเกิดขึ้นและผลักดันให้กลุ่มที่ใช้ความรุนแรงหันมาใช้วิธีการนี้ กระบวนการนี้ได้ถูกนำไปใช้และประสบความสำเร็จแล้วในบางประเทศ เช่น ในประเทศเนปาลเมื่อปี 2005 ซึ่งใช้กระบวนการสร้างสันติภาพจากคนในที่มีตัวกลางเชื่อมระหว่างรัฐบาลกลาง กลุ่มกษัตริย์นิยม และกลุ่มกบฏลัทธิเหมา นอกจากนี้ กระบวนการดังกล่าวยังประสบความสำเร็จในกรณีความขัดแย้งแอฟริกาใต้เมื่อปี 1990 ส่วนในกรณีการเคลื่อนไหวแบ่งแยกดินแดนในหมู่เกาะมินดาเนาทางตอนใต้ของฟิลิปปินส์ ยังอยู่ระหว่างการดำเนินการผลักดันอยู่ ส่วนในระดับโลก ตอนนี้ก็ยังคงมีการดำเนินการกระบวนการสร้างสันติภาพโดยมีคนนอกเป็นหลักอยู่ แต่ในบางทวีปก็มีกระบวนการที่เน้นบทบาทคนในมากขึ้นด้วยเช่นกัน ดังกรณีกลุ่มประเทศอาหรับ เช่น ลิเบีย เลบานอน เป็นต้น ที่พยายามจะแสวงหาการเชื่อมโยงเครือข่ายประชาสังคมอยู่เช่นกัน “ความฝันของผมคือ ในอนาคตผมอยากเห็นกระบวนการ Insider Mediator ในภาคใต้ของไทยประสบความสำเร็จและสามารถเป็นตัวอย่างให้กับประเทศอื่นๆ ที่มีความขัดแย้งได้ด้วย นอกเหนือไปจากกรณีของเนปาลกับแอฟริกาใต้” ส่วนการจัดการความขัดแย้งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ยังมีทิศทางสวนทางกับการสร้างความร่วมมือเป็นประชาคมอาเซียนในปี ค.ศ. 2015 นั้น ดร.โนเบิร์ตมองว่า ในปี 2015 จะมีการแข่งขันกันมากขึ้นระหว่างประเทศต่างๆ ในเชิงเศรษฐกิจ คนต่างชาติจะเข้ามาในประเทศไทยมากขึ้น ในขณะที่คนไทยเองก็จะออกไปต่างประเทศมากขึ้น เพราะฉะนั้นปี 2015 จะมีบรรยากาศของการแข่งขันและทุกประเทศจะมุ่งที่จะขจัดอุปสรรคในการลงทุน การที่ต่างชาติจะมาลงทุนในไทยนั้น เขาจะดูเสถียรภาพทางการเมืองว่ามีมากพอหรือไม่ ความขัดแย้งได้รับการจัดการอย่างไรในแต่ละประเทศ ซึ่งวิธีการจัดการความขัดแย้งจะเป็นตัวชี้วัดหนึ่งในการตัดสินใจของต่างชาติในการเลือกที่จะเข้าหรือไม่เข้ามาลงทุนในประเทศหนึ่งๆ
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ใจ อึ๊งภากรณ์: 6 ปีหลังรัฐประหาร สงครามคู่ขนาน: ประชาชนหรือนายทุน 'เสื้อแดง' หรือ 'ทักษิณ' Posted: 04 Sep 2012 03:42 AM PDT ในสงครามโลกครั้งที่สองเมื่อ 70 ปีก่อน มีสงครามคู่ขนานในการต่อสู้กั ถ้าเราศึกษาประวัติศาสตร์ ใน “สงคราม” ของเสื้อแดงกับอำมาตย์หลังรั แต่ฝ่ายทักษิณกับพรรคพวกไม่ได้ ทักษิณพูดเองเมื่อต้นปี 2555 ว่า เขามองว่า วิ เป้าหมายของทักษิณและพรรคพวก โดยเฉพาะนักการเมืองเพื่ ในสงครามคู่ขนานที่เกิดขึ้ ในสงครามของประชาชนชั้นล่าง สมัยสงครามโลกครั้งที่สอง บ่อยครั้งประชาชนชั้นล่ สำหรับสงครามเสื้อแดง แกนนำ นปช. ซึ่งบางคนเคยเป็นสมาชิ แต่อย่าเข้าใจผิดว่า การออกมาต่ ถ้าเสื้อแดงไม่ได้ออกมาสู้ เราจะไม่มีกระแสสำคัญๆ ในสังคมไทยที่อยากปฏิรูปการเมื การที่แกนนำ นปช. สามารถทำลายความฝันของเสื้ การต่อสู้ของมวลชน... ชัยชนะหรือความพ่ายแพ้... การเสียเลือดเนื้อของประชาชน... การเลือกตั้ง... การปรองดองของชนชั้ พรรคสังคมนิยมมีหน้าที่สร้างผู้ แต่ถึงกระนั้น ถ้าจะมีการเปลี่ยนสังคมอย่ พรรคสังคมนิยมต้องยึดถื เราไม่ควรไปเสียเวลากับคนชั้ พรรคจะต้องมีประชาธิปไตยภายใน ไม่ใช่เป็นพรรคของ “ผู้ใหญ่” คนใดคนหนึ่ง ดังนั้นต้องมีโครงสร้างและระเบี พรรคสังคมนิยมไม่ใช่ พูดง่ายๆ พรรคสังคมนิยมควรรับภาระในการต่
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ชวนรณรงค์เข้าชื่อเสนอ พ.ร.บ.เสริมโอกาสและความเสมอภาคระหว่างเพศ Posted: 04 Sep 2012 03:22 AM PDT ระบุ ร่างของ พม. ให้เหตุผลทางวิชาการ ทางศาสนา และเพื่อประโยชน์สาธารณะ เป็นข้อยกเว้น เป็นการทำลายหัวใจของความเท่าเทียมกัน
4 กันยายน 2555 ภาควิชาและศูนย์สตรีศึกษา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ออกจดหมายเปิดผนึกเชิญชวนประชาชน ร่วมรณรงค์ และเข้าชื่อเสนอร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมโอกาสและความเสมอภาคระหว่างเพศ (ภาคประชาชน) โดยเหตุผลของการเชิญชวนการรณรงค์ และเสนอร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมโอกาสและความเสมอภาคระหว่างเพศ ฉบับประชาชน เกิดขึ้นจากการที่ร่าง พ.ร.บ.ความเสมอภาคระหว่างเพศ โดยกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ที่กำลังจะนำเข้าสู่คณะรัฐมนตรีนั้น ยังมิอาจเรียกได้ว่าเป็นกฎหมายที่ส่งเสริมความเสมอภาค และสร้างหลักประกันความเท่าเทียมให้กับคนทุกเพศอย่างแท้จริง เมื่อเทียบเคียงกันกับร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมโอกาสและความเสมอภาคระหว่างเพศ ฉบับประชาชน ที่มีความสมบูรณ์ในการส่งเสริมความเท่าเทียมกัน และให้หลักประกันกับคนทุกเพศ ไม่ว่าจะมีอัตลักษณ์ทางเพศแบบใด "กล่าวอย่างง่ายว่า เกย์ กะเทย ทอมดี้ หญิงรักหญิง ชายรักชาย คนข้ามเพศ หรือเพศใดๆ ก็จะได้รับความคุ้มครองอย่างเสมอภาคกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในมาตรา 3 ของ ร่าง พ.ร.บ.ฉบับราชการ กล่าวถึง "การไม่เลือกปฏิบัติด้วยเหตุที่เป็น ชาย หรือ หญิง หรือมีการแสดงออกที่แตกต่างจากเพศกำเนิด ยกเว้น มีเหตุผลทางวิชาการ ทางศาสนา และเพื่อประโยชน์สาธารณะ" ข้อยกเว้นนี้ เป็นการทำลายหัวใจของความเท่าเทียมกัน เสมอภาคกันระหว่างเพศอย่างแท้จริง และยังขัดแย้งกับพันธกรณีระหว่างประเทศที่ไทยได้ลงนามไว้อย่าง อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ (CEDEW) เป็นต้น" เอกสารเชิญชวนระบุ ในจดหมายที่ส่งทางอีเมลดังกล่าวยังระบุว่า แม้เจ้าหน้าที่จากกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จะอ้างถึงการเติมข้อยกเว้นนั้น มาจากการแก้ไขโดยคณะกรรมการกฤษฎีกา รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2550 ในมาตรา 30 ได้รับรอง บุคคลย่อมเสมอภาคและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย การเลือกปฏิบัติด้วยแห่งเพศ การศึกษา ฐานะเศรษฐกิจ สุภาพ ความพิการ อายุ ความเชื่อทางศาสนา ความคิดทางการเมือง เป็นสิ่งที่กระทำมิได้ โดยบันทึกเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญมาตรานี้ได้กล่าวถึง การให้ความคำนึงของวิถีทางเพศ (Sexual Orientation) และอัตลักษณ์ทางเพศ (Gender Identity) ซึ่งเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่มีการพูดถึงประเด็นนี้ ดังนั้น หากท่านเห็นถึงความสำคัญของสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคกันของมนุษย์หากท่านเห็นว่าเพศ จะต้องไม่เป็นเป็นอุปสรรคในการมีสิทธิ เสรีภาพ และการแสวงหาโอกาสที่ดีในชีวิต "เราเชื่อเหลือเกินว่าสิ่งเหล่านี้ไม่อาจได้มาจากการหยิบยื่น หรือการมอบให้อย่างมีเงื่อนไข เพราะเราเชื่อเหลือเกินว่าสิทธิ เสรีภาพ และการสร้างความเสมอภาคกันมาจากการลงมือทำ" ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถร่วมเป็นหนึ่งในการสร้างความเสมอภาคกัน โดยการเสนอชื่อสนับสนุนร่าง พ.ร.บ. ส่งเสริมโอกาสและความเสมอภาคระหว่างเพศ ฉบับประชาชน โดยดาวน์โหลดเอกสารเพื่อลงชื่อสนับสนุนที่.. http://goo.gl/uAsLU พร้อมแนบ 'สำเนาบัตรประชาชน' และ 'สำเนาทะเบียนบ้าน' พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง เพื่อเข้าชื่อเสนอกฎหมาย ส่งมาที่ : ตู้ ปณ. 62 สามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
ดาวน์โหลดเอกสารประกอบที่..http://goo.gl/K8Tqe ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
DNA ความรู้ทางเทคนิค ที่งานด้านสถานะบุคคลควรทำความเข้าใจ Posted: 04 Sep 2012 02:51 AM PDT
DNA ความรู้ทางเทคนิค ที่งานด้านสถานะบุคคลควรทำความเข้าใจ
ที่ผ่านมา การตรวจดีเอ็นเอ (DNA) นั้น เป็นเครื่องมือหรือพยานหลักฐานหนึ่งซึ่งมีการใช้หรือ (มักจะ) ถูกเรียกจากอำเภอหรือหน่วยงานทางทะเบียนในการแก้ไขปัญหาด้านสถานะบุคคล ซึ่งแน่นอนว่ามันคือ “ค่าใช้จ่าย” ที่ค่อนข้างสูงที่ตามมา และความรู้ความเข้าใจต่อเรื่องดีเอ็นเอนั้น มีหลากหลายประเด็น/ความรู้ทางเทคนิค ที่เป็นองค์ความรู้ที่ผู้ทำงานด้านสถานะบุคคลนั้นน่าจะมีการทำความเข้าใจ วันเสาร์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 ข้าพเจ้าและคุณดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล ได้มีโอกาสสัมภาษณ์ศ.นพ.ธานินทร์ ภู่พัฒน์ ที่คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เกี่ยวกับกระบวนการตรวจ วิเคราะห์ผลตรวจ DNA โดยเราได้มีโอกาสไปดูห้องแลป ปฏิบัติการ และอุปกรณ์ในการสกัดDNA กระบวนการขั้นตอนการตรวจDNA และการวิเคราะห์ผลความสัมพันธ์ โดยคำนวณจากสูตรในเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งเมื่อพ.ศ.2538 อาจารย์ธานินทร์ได้เป็นผู้คิดสูตรคำนวณทางสถิติ “หาความสัมพันธ์พ่อแม่ลูก” ขึ้น อาจารย์กล่าวว่า “การแปลผลไม่ใช่เรื่องง่าย และการใช้สถิติ มีความสำคัญไม่แพ้วิธีการตรวจ” จากการสัมภาษณ์ดังกล่าว ซึ่งเรารับฟังเรียนรู้และทำความเข้าต่อประเด็นของ DNA ได้สรุปความรู้ทางเทคนิคที่น่าสนใจดังนี้ คำสำคัญที่เกี่ยวข้อง - paternity index (PI) หรือ posterior probability โดยการแปลผลจะต้องดูค่าตัวนี้ ซึ่งเป็น อัตราส่วนของการเป็นบุพการีของบุคคลที่ถูกกล่าวหาเทียบกับคนทั่วไป มีค่าเทียบเท่ากับ likelihood ratio (LR) - Chance of paternity: CP คือโอกาสในการเป็นบุพการี มีค่าเท่ากับ PI/(PI+1) หมายถึง โอกาสที่จะใช่/โอกาสทั้งหมด เช่นถ้า PI = 99; CP = 99/(99+1) = 99% เพราะฉะนั้นจากค่า PI หรือ LR สามารถคำนวณโอกาสเป็น % การใช้โปรแกรม ทั้งนี้ไม่ได้ขึ้นว่าต้องตรวจกี่ตำแหน่ง หากมีลักษณะที่เป็นหนึ่งเดียวกัน (unique) LR จะสูงมาก ซึ่งLR ต้องคำนวณจากสูตรที่อาจารยเป็นผู้พัฒนาขึ้น ซึ่งสูตรจะไม่เหมือนกัน ขึ้นกับลักษณะ DNA locus [1] ผลที่ได้ 1. กรณีพ่อ-ลูก หรือแม่-ลูก ทั้งสามกรณี โอกาสความเป็นบุพการีต้องได้ตั้งแต่ 99% ตรวจlocus (ตำแหน่งDNA) 10ตำแหน่ง ถ้าเป็นกรณีไม่ถูกคัดออก แต่ถ้าไม่ถึง99% จะตรวจตำแหน่งเพิ่ม กรณีพี่น้อง/ลูกพี่ลูกน้อง โปรแกรมค้นหาเชื้อชาติ โปรแกรมนี้จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก สำหรับประเด็นการพิสูจน์สัญชาติ ซึ่งหากเรามีสถิติข้อมูลความถี่ของอัลลีล ของคนในแต่ละภูมิภาค โดยหากเจ้าหน้าที่มีความสงสัยว่าเป็น “ผู้สวมบัตร” ของผู้อื่นหรือไม่ หรืออย่างกรณีคนที่อ้างคนว่าเป็น “คนไทยพลัดถิ่น” เขาเหล่านั้นมีเชื้อสายไทยหรือไม่ สถิติความถี่ของอัลลีลคงจะให้คำตอบได้เป็นแน่ [1] ในทางพันธุศาสตร์และการประมวลผลทางวิวัฒนาการ โลคัส (อังกฤษ: locus, loci) หมายถึงตำแหน่งหนึ่งๆ บนยีนหรือลำดับดีเอ็นเอซึ่งอยู่บนโครโมโซม ลำดับดีเอ็นเอบนโลคัสหนึ่งๆ อาจมีได้หลายแบบแต่ละแบบเรียกว่าอัลลีล รายการลำดับทั้งหมดของโลคัสบนจีโนมหนึ่งๆ ซึ่งเป็นที่รู้ เรียกว่าแผนที่พันธุกรรม (genetic map), กระบวนการทำแผนที่ยีน (gene mapping) คือกระบวนการที่หาโลคัสของลักษณะถ่ายทอดทางชีวภาพหนึ่งๆhttp://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%AA_(%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C) [2] วิทยานิพนธ์ ค่าความถี่ของอัลลีลของดีเอ็นเอไมโครแซทเทลไลท์บนโครโมโซมเพศหญิง ตำแหน่ง DXS7132 ในกลุ่มประชากรคนไทยภาคเหนือ http://archive.lib.cmu.ac.th/full/T/2553/scfor0553js_abs.pdf http://dcms.thailis.or.th/tdc//browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=100156&display=list_subject&q=%E4%C1%E2%A4%C3%E1%AB%B7%E0%B7%C5%E4%C5%B7%EC%20(%BE%D1%B9%B8%D8%C8%D2%CA%B5%C3%EC)
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
'ฮิตเลอร์' เมื่อชื่อนี้มี 'ดราม่า' ในอินเดีย Posted: 04 Sep 2012 02:38 AM PDT ร้านขายเสื้อชื่อ 'ฮิตเลอร์' ซึ่งคนขายบอกว่า ตั้งตามชื่อปู่ ในเมืองอาเมดาบัด ประเทศอินเดีย มีร้านขายเสื้อผ้าเปิดใหม่ที่ ฮิตเลอร์ เป็นชื่อที่สื่อถึงจอมเผด็ กลุ่มชุมชนชาวยิวกลุ่มเล็กๆ ในเมืองอาเมดาบัด ทางตะวันตกของรัฐกูจาราด ที่มีจำนวนน้อยกว่า 500 คน ออกมาเรียกร้องให้มีการเปลี่ "หากชุมชนชาวยิวต้องการให้เปลี่ อินเดียต่างจากที่อื่นๆ ในโลก ตรงที่ชื่อฮิตเลอร์ไม่ได้เป็นชื่อแปลกสำหรับธุรกิจ, ภาพยนตร์, รายการทีวี หรือแม้แต่ชื่อคน เป็นความจริงแปลกประหลาดสำหรั อย่างไรก็ตาม มีนักวิชาการในอินเดียท่านหนึ่ "จากการเติบโตของพรรคปีกขวาในอิ ออร์นา ซากีฟ กงสุลอิสราเอลในอินเดียกล่าวว่า เธอรู้สึกตกใจและประหลาดใจมากที่ได้ยินเรื่องร้านค้าชื่อฮิ "เราเชื่อว่าในกรณีนี้ การเลือกใช้ชื่อของ 'ฮิตเลอร์' ไม่ได้มาจากการต่อต้านชาวยิว แต่มาจากความไม่รู้ อย่างไรก็ตามมันได้ทำร้ายจิ เพราะชื่อฟังดูติดหูง่าย ชาวยิวในเมืองในเข้าหาชาห์ "พวกเขาบอกว่าผู้นำชาวเยอรมั ส่วนเหตุผลที่ชาห์เลือกใช้ชื่ "พูดตรงๆ เลยนะ ผมไม่รู้เรื่องอะไรเกี่ยวกับฮิ ต่อมา ชาห์ถึงได้รู้ว่าชื่อนี้มี "ลูกค้าบอกเราว่าพวกเขาเข้ เอสเตอร์ เดวิด ชาวยิวอินเดียผู้เป็นนักเขียน ศิลปิน และประติมากรผู้มีชื่อเสียงอาศั "มันเป็นเรื่องการขาดความรู้สึ ร้านเสื้อร้านนี้เป็นแค่ร้านหนึ่งในหลากหลายธุรกิจของอินเดียที่ตั้งชื่อตามผู้นำเผด็จการนาซี เจ้าของกิจการดูจะเลือกมั ในปี 2006 ร้านอาหารในมุมไบร้านหนึ่งตั้ 'ฮิตเลอร์ส เดน' (ถ้ำ/รังของฮิตเลอร์) เป็นร้านให้บริการเล่นพู โอซันไม่ยอมเปลี่ยนชื่อเมื่อชุ ศาตราจารย์แมธธิวกล่าวว่ "มีความเข้าใจผิดๆ ในหมู่ผู้คนว่าฮิตเลอร์เป็นผู้ ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ของนาม 'ฮิตเลอร์' มหาตมะ คานธี มหาบุรุษของประเทศอินเดียและตั ภาพยนตร์ตลกโรแมนติกจากปัญจาบ เรื่อง "ฮีโร่ ฮิตเลอร์ ในห้วงรัก" (Hero Hitler in Love) ออกฉายในปี 2011 เช่นกัน ทางจอโทรทัศน์ก็มีการใช้ชื่ ที่น่าสงสัยคือหนังสือเรื่อง 'การต่อสู้ของข้าพเจ้า' (Mein Kampf) ที่ฮิตเลอร์กล่าวถึงทฤษฎีเผ่าพั แม้กระทั่งว่ามีคนใช้ชื่อ 'อดอล์ฟ ฮิตเลอร์' เป็นสมาชิกของพรรคร่วมรั "บางทีอาจเป็นเพราะว่าพ่อแม่ ที่มา 'Hitler' shop sends India shockwave, Aljazeera, 03-08-2012 ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
22 ปี มรณกาล จ่าง แซ่ตั้ง : 'เพราะฉันต้องการที่ว่างของฉัน' Posted: 04 Sep 2012 02:22 AM PDT สำหรับหลายๆ คนแล้ว 26 สิงหาคม 2555 อาจเป็นแค่วันธรรมดา แต่สำหรับคนในแวดวงศิลปะ วันที่ 26 สิงหาคม 2555 เป็นวันครบรอบ 22 ปี แห่งการจากไปของศิลปินคนสำคัญคนหนึ่งในวงการศิลปะไทย “จ่าง แซ่ตั้ง” นอกจากวาระ 22 ปีแห่ง มรณกาลของ จ่าง แซ่ตั้ง แล้ว วันที่ 26 สิงหาคม 2555 หนังสารคดีสั้น “เพราะฉันต้องการที่ว่างของฉัน” ก็ชนะเลิศรางวัลดุ๊ก (สารคดี) จากงานเทศกาลหนังสั้นครั้งที่ 16 สารคดีสั้น “เพราะฉันต้องการที่ว่างของฉัน” เป็นผลงานของ ทิพย์ แซ่ตั้ง ทายาทของจ่าง ที่บอกเล่าเรื่องราวของ จ่าง แซ่ตั้ง กับพื้นที่ว่างของเขา ที่บรรจุผลงานสร้างสรรค์ของเขาทั้งชีวิต จ่าง แซ่ตั้ง เป็นศิลปินคนสำคัญคนหนึ่ง เขาเป็นทั้งจิตรกรและกวี จ่างเกิดที่ตลาดสมเด็จริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งธนบุรี จ่างได้เรียนหนังสือเพียงแค่ชั้นมูล ที่โรงเรียนเทศบาลสอง วัดพิชัยญาติ แต่เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง จ่างจึงต้องหยุดเรียน และไม่ได้กลับเข้ารับการศึกษาในระบบอีกเลย จ่างฝึกฝนการวาดภาพด้วยตัวเอง ตั้งแต่วัยเยาว์ อาจพูดได้ว่า การสร้างงานศิลปกรรมทั้งหมดของจ่าง เกิดจากการที่จ่างศึกษาด้วยตนเองทั้งหมด โดยไม่ได้เข้ารับการศึกษาในระบบจากที่ไหนเลย จ่างมีชื่อเสียงจากการเป็นคนแรกในประเทศไทยที่สร้างงานศิลปะแบบนามธรรม (Abstract Art) จากการค้นพบของตนเองผ่านปรัชญาตะวันออก (เต๋าและพุทธ) โดยไม่ได้รับอิทธิพลจากตะวันตก และจ่างยังเป็นคนแรกในประเทศไทยที่สร้างงาน “บทกวีรูปธรรม” (Concrete Poetry) หรือวรรณรูป โดยอาศัยการเขียนคำซ้ำๆ กัน และจัดวางในลักษณะที่คล้ายกับการเขียนรูป ในสมัยนั้น เคยมีคนว่าเขาเป็นกวีติดอ่าง แต่เวลาผ่านมาจนปัจจุบัน งานของจ่างถูกนำมาศึกษาในสถานศึกษาทุกระดับ ตั้งแต่มัธยมศึกษา จนถึงระดับบัณฑิตศึกษา ทิพย์ แซ่ตั้ง ถ่ายทอดเรื่องราวของพ่อผ่านสารคดีสั้น “เพราะฉันต้องการที่ว่างของฉัน” สารคดีสั้นความยาวประมาณ 36 นาที กับการเล่าเรื่องประกอบภาพผลงานและภาพถ่ายเก่า โดยเสียงของทิพย์ผู้เป็นทายาท มีผู้กล่าวว่าเสน่ห์ของสารคดีเรื่องนี้อยู่ที่การเล่าเรื่องอย่างตรงไปตรงมา ง่ายๆ ไม่ซับซ้อน แต่สามารถสะกดให้ผู้ชมอยู่กับเรื่องราวที่สารคดีนำเสนอได้ตลอด 36 นาที หากใครยังจำได้ “เพราะฉันต้องการที่ว่างของฉัน” เป็นชื่อของงานนิทรรศการของจ่าง ที่จะจัดขึ้นในช่วงเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว ณ หอศิลป์จามจุรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่เกิดมหาอุทกภัยเสียก่อน งานนิทรรศการดังกล่าวจึงล้มเลิกไป และสารคดีเรื่องนี้ก็เป็นความตั้งใจเดิมในการที่จะเอาไว้ประกอบนิทรรศการดังกล่าว “ ฉันเคยรับจ้าง เขียนรูปเหมือนให้กับพ่อแม่ชาวบ้าน จากข้อเขียนดังกล่าว “ที่ว่าง” ของ จ่าง แซ่ตั้ง อาจหมายถึงพื้นที่ทางนามธรรมบางอย่าง ที่เป็นเสมือนพื้นที่สำหรับเจตจำนงในการสร้างสรรค์ของจ่าง ในขณะที่ชีวิตจริง จ่างก็ยังต้องหาเลี้ยงลูกเมียโดยการขายเก๊กฮวย แต่จ่างก็ยังต้องการ “ที่ว่าง” ของชีวิต ในการที่จะสร้างสรรค์งานศิลปะที่จะหล่อเลี้ยงจิตวิญญาณของเขา บน “ที่ว่าง” ของจ่าง เขาสร้างผลงานจิตรกรรมบนผ้าใบไว้ 214 ชิ้น จิตรกรรมบนกระดาษอีกกว่า 5000 แผ่น และงานเขียนทั้งบทกวี เรื่องสั้น งานทดลอง เรื่องแปล บทความ บันทึก และจดหมาย กว่า 90,000 แผ่น และอื่นๆ อีกมากมาย บน “ที่ว่าง” แห่งการสร้างสรรค์ของเขา เขาไม่เคยขายผลงานของเขาออกไปเลยแม้แต่ชิ้นเดียว ในขณะที่การหาเงินเป็นเรื่องของการเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง การทำงานศิลปะก็เป็นเรื่องของการหล่อเลี้ยงจิตวิญญาณเช่นกัน เศษเสี้ยวหนึ่งในชีวิตของ จ่าง แซ่ตั้ง ถูกนำมาเล่าผ่านสารคดีสั้น “เพราะฉันต้องการที่ว่างของฉัน” โดย ทิพย์ แซ่ตั้ง ผู้เป็นทายาท และสารคดีสั้นเรื่องนี้ก็ได้รับรางวัลดุ๊ก ซึ่งเป็นรางวัลชนะเลิศการประกวดสารคดีสั้น ในงานเทศกาลหนังสั้นครั้งที่ 16 จัดโดย มูลนิธิหนังไทย เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2555 ซึ่งเป็นวันครบรอบ 22 ปี มรณกาลของ จ่าง แซ่ตั้ง อีกด้วย แม้จ่าง แซ่ตั้ง จะจากไปกว่า 20 ปีแล้ว แต่สิ่งที่ จ่าง ได้สร้างเอาไว้ ก็ยังคงเหลืออยู่เป็นมรดกทางปัญญาให้กับคนรุ่นหลังได้ศึกษาต่อไป
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
กลุ่มอนุรักษ์ฯ จี้กรมโยธาฯ แจง “ประกาศผังเมืองบางสะพาน” หวั่นเอื้อนิคมฯ เหล็ก Posted: 03 Sep 2012 03:13 PM PDT ‘จินตนา แก้วขาว’ นำเครือข่ายกลุ่มอนุรักษ์ฯ ค้านประกาศผังเมืองรวมบางสะพาน เดินหน้าถาม ‘กรมโยธาธิการและผังเมือง’ หวั่นเปิดช่องตั้งนิคมอุตสาหกรรมไม่สนการมีส่วนร่วม ก่อนรุก‘กนอ.’ ร้องยกเลิกสัญญาร่วมเอกชน ชี้ที่ดินโครงการกว่า 700 ไร่ ได้มาโดยมิชอบ ภาพ: ผังเมืองรวมชุมชนบางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ (ปรับปรุงครั้งที่ 1) วันนี้ (4 ก.ย.55) เวลา 9:00 น. นางจินตนา แก้วขาว นำชาวบ้านเครือข่ายกลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบางสะพาน เดินทางไปที่กรมโยธาธิการและผังเมือง เพื่อคัดค้านการประกาศใช้ผังเมืองรวมชุมชนบางสะพานฉบับใหม่ที่อาจเปิดโอกาสให้สามารถจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่พร้อมสอบถามเพื่อให้ทราบข้อเท็จจริงของผังเมืองใหม่บางสะพานว่าจะเอื้อประโยชน์ต่อกลุ่มทุนหรือต่อประชาชนในพื้นที่ หลังจากนั้น ชาวบ้านจะเดินทางไปยังการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เพื่อเรียกร้องให้ กนอ.ยกเลิกสัญญาร่วมดำเนินงานจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมเหล็กบางสะพานกับบริษัทเครือสหวิริยา เนื่องจากที่ดินที่ใช้ในโครงการบางส่วน จำนวนกว่า 700 ไร่ เป็นที่ดินที่ได้มาโดยไม่ชอบด้วยกฏหมาย และกรมที่ดินได้มีคำสั่งเพิกถอนเอกสารสิทธิ์ไปแล้ว จากกรณีบริษัทเครือสหวิริยาและ กนอ.ได้มีการทำสัญญาร่วม ดำเนินงานจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมเหล็กบางสะพานเนื้อที่ประมาณ 6,400 ไร่ ใน อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งที่ดินที่ใช้ในโครงการดังกล่าวมีปัญหาการออกเอกสารสิทธิ์มิชอบในเขตป่าสงวนแห่งชาติและเขตวนอุทยาน โดย กรมที่ดินมีคำสั่งให้เพิกถอนเอกสารสิทธิ์จำนวน 52 แปลง เนื้อที่ประมาณ 712 ไร่ไปเรียบร้อยแล้วตั้งแต่วันที่ 18 ส.ค.2553 นางจินตนา แก้วขาว ประธานเครือข่ายกลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบางสะพาน เปิดเผยว่า ปัจจุบัน ทาง กนอ. ยังคงไม่มีการทบทวนสัญญาร่วมดำเนินงานฯ ที่ทำไว้กับบริษัทสหวิริยา โดยอ้างว่าปัญหาเรื่องที่ดินใน โครงการยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลปกครอง ทั้งๆ ที่กรมที่ดินได้มีคำสั่งเพิกถอนไปตั้งแต่ 2 ปีแล้ว ซึ่งชาวบ้าน คาดการณ์ว่า การที่ กนอ.ไม่ยอมทบทวนโครงการเพราะอาจกำลังมีการเดินเรื่องเพื่อให้มีการเยียวยาบริษัทสหวิริยา โดยให้บริษัทฯ สามารถเช่าที่ดินที่ออกเอกสารสิทธิ์มิชอบเพื่อใช้พัฒนาอุตสาหกรรมต่อไปได้ กรณีในลักษณะดังกล่าวเคยเกิดขึ้นแล้วในอดีต จากการที่โรงงานรีดเหล็กเครือสหวิริยาเคยมีการบุกรุกป่าชายเลนจำนวนมาก แต่เมื่อมีการตรวจสอบพบ สุดท้ายทางบริษัทฯ ก็สามารถดำเนินการโรงงานต่อไปได้ด้วยกระบวนการเยียวยา โดยจ่ายค่าเช่าที่ให้แก่ อบจ. ประจวบคีรีขันธ์ในราคาถูก ซึ่งชาวบ้านไม่สามารถยอมรับได้ เพราะเป็นการเอื้อประโยชน์ให้ผู้ทำผิดกฎหมายที่บุกรุกครอบครองที่ดินของรัฐ นางจินตนา กล่าวด้วยว่า นอกจากกรณีของ กนอ.แล้ว ขณะนี้ชาวบ้านในพื้นที่ยังได้ทราบข่าวว่า ในเดือนตุลาคมที่จะถึงนี้ กรมโยธาธิการและผังเมืองจะประกาศใช้ผังเมืองรวมชุมชนบางสะพานฉบับใหม่แทนฉบับปี 2546 ที่หมดอายุไป ตั้งแต่ปี 2551 โดยผังเมืองฯ ฉบับใหม่จะยึดตามฉบับปี 2546 เป็นหลัก ซึ่งขัดแย้งกับความต้องการของชาวบ้าน ที่ได้เข้ามีส่วนร่วมในกระบวนการจับทำผังเมืองรวมชุมชนบางสะพานฉบับใหม่ของกรมโยธาฯ มาโดยตลอด “การประกาศใช้ผังเมืองฉบับใหม่จะมีผลกระทบต่อชุมชนใน อ.บางสะพานเป็นอย่างมาก เนื่องจากผังเมืองจะมีผลต่อการดำเนินโครงการอุตสาหกรรมที่ชาวบ้านไม่ต้องการ รวมทั้งมีผลต่อการประกาศเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม ชายฝั่งทะเลจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ที่ชาวบ้านได้ร่วมกันผลักดันต่อกระทรวงทรัพยากรฯ จนมีความคืบหน้าไปมาก เพื่อคุ้มครองป่าพรุแม่รำพึงซึ่งเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับชาติ” ประธานเครือข่ายกล่าว นางจินตนา กล่าวต่อมาว่า จากสภาพการณ์ขณะนี้ ชาวบ้านจึงตั้งข้อสงสัยว่า กนอ. และกรมโยธาฯ กำลังดำเนินการเพื่อเอื้อประโยชน์ให้ บริษัทสหวิริยาสามารถผลักดันโครงการนิคมอุตสาหกรรมเหล็กบางสะพานหรือไม่ เพราะหากมีการประกาศใช้ผังเมือง ฉบับใหม่โดยยึดตามผังเมืองที่ชาวบ้านบางสะพานต้องการ ก็เท่ากับว่า บริษัทสหวิริยาจะไม่สามารถริเริ่มโครงการ นิคมอุตสาหกรรมเหล็กได้อย่างน้อยในช่วงเวลา 7 ปีนับจากนี้ไป ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น