โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันศุกร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2555

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

ชาวบ้านลุ่มน้ำโขง 7 จังหวัดอีสาน จี้หยุดเขื่อนไซยะบุรี หนุนแผนไฟฟ้าทางเลือก

Posted: 14 Sep 2012 12:45 PM PDT

เครือข่ายสภาองค์กรชุมชนลุ่มน้ำโขง 7 จังหวัดภาคอีสาน ชี้ไฟฟ้าจากเขื่อนไซยะบุรีไม่ใช่สิ่งจำเป็น หนุนแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าทางเลือก เผยช่วยลดค่าไฟฟ้าสำหรับผู้บริโภคถึง 12% ภายในปี 2573



วานนี้ (14 ก.ย.55) เครือข่ายสภาองค์กรชุมชนลุ่มน้ำโขง 7 จังหวัดภาคอีสาน หรือ คสข.ออกแถลงการณ์ "หยุดเขื่อนไซยะบุรี หยุดเขื่อนกั้นแม่น้ำโขง" ชี้ไฟฟ้าจากเขื่อนไซยะบุรีไม่ใช่สิ่งจำเป็นสำหรับประเทศไทย แผนทางเลือกชี้ว่าไทยยังมีทางเลือกพลังงานที่สะอาด ราคาถูกกว่า และตอบสนองความต้องการได้ เขื่อนไซยะบุรีเป็นตัวอย่างโครงการที่รัฐบาลมีผลประโยชน์ทับซ้อนในด้านพลังงานและไม่มีความโปร่งใส

แถลงการณ์ระบุด้วยว่า แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าทางเลือก (Alternative Power Development Plan) สำหรับ ประเทศไทยที่ได้รับการเผยแพร่ในวันนี้ ชี้ให้เห็นว่าประเทศไทยสามารถตอบสนองความต้องการด้านพลังงานใน อนาคต โดยไม่จำเป็นต้องนำเข้าไฟฟ้าพลังน้ำเพิ่มเติม หรือสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินหรือนิวเคลียร์ใหม่

แผนดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าพลังงานไฟฟ้าจากเขื่อนไซยะบุรีในแม่น้ำโขง ไม่จำเป็นต่อการรักษาความมั่นคงของระบบไฟฟ้าในอนาคตของไทย หากรัฐเลือกลงทุนด้านประสิทธิภาพพลังงาน พลังงานหมุนเวียน และระบบพลังความร้อนร่วม (โคเจนเนอเรชั่น) แทน จะช่วยลดค่าไฟฟ้าสำหรับผู้บริโภคได้ถึง 12% ภายในปี 2573 และทำให้ประหยัดเงินลงทุนได้ถึงสองล้านล้านบาท

นายสน รูปสูง แกนนำสำคัญเครือข่ายสภาองค์กรชุมชนภาคอีสาน กล่าวว่า งานศึกษาชิ้นนี้ชี้ให้เห็นว่า รัฐบาลไทยกำลังหลอกลวงคนไทยจากการไปทำความตกลงกับรัฐบาลลาว เพื่อสร้างเขื่อน เพราะไม่ได้ตอบสนองผลประโยชน์ที่ดีสุดด้านไฟฟ้าของผู้บริโภคเลย นอกจากไฟฟ้าจากเขื่อนไซยะบุรีจะไม่จำเป็นต่อการตอบสนองความต้อง การพลังงานในอนาคตแล้ว ยังมีราคาแพงกว่าแหล่งพลังงานทางเลือกอื่นๆ

"เราจำเป็นต้องผลักดันทางเลือกพลังงานที่ฉลาดอย่างเร่งด่วน รัฐบาลไทยควรยกเลิกความพยายามที่จะซื้อไฟฟ้าจากเขื่อนไซยะบุรี และเขื่อนอื่นๆ ในแม่น้ำโขงสายหลักโดยทันที และให้ส่งเสริมกระบวนการที่มีส่วนร่วมและโปร่งใสเพื่อวิเคราะห์ ความต้องการพลังงานในอนาคต" นายสนกล่าว

นายอิทธิพล  คำสุข คณะกรรมการเครือข่ายสภาองค์กรชุมชนลุ่มน้ำโขง 7 จังหวัดภาคอีสาน ให้ข้อมูลว่า แผนพัฒนาพลังงานทางเลือก เป็นผลงานของผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานจากไทย ได้แก่ นางสาวชื่นชม สง่าราศรี กรีเซนและดร.คริส กรีเซน (Dr.Chris Greacen) โดยมีการนำแผน พัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าฉบับปัจจุบันของรัฐบาลไทย ("แผนพีดีพี 2010") มาวิเคราะห์ และพบว่าการประมาณการความต้องการไฟฟ้าในปี 2573 อาจสูงเกินจริงถึง 13,200 เมกะวัตต์ เท่ากับปริมาณไฟฟ้าจากเขื่อนไซยะบุรี 10 เขื่อน

ผู้ศึกษายังพบว่าประเทศไทยมีกำลังผลิตไฟฟ้า และโครงการที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างมากเพียงพอที่จะรักษาความมั่นคงของระบบ ด้วยการคงระดับกำลังผลิตสำรองไม่ต่ำกว่าร้อยละ 15 โดยไม่จำเป็นต้องมีกำลังผลิตใหม่เข้าระบบจนกว่าจะถึงปี 2560 ซึ่งพี่น้องเครือข่ายสภาองค์กรชุมชนริมฝั่งแม่น้ำโขง ในเขต 7 จังหวัด ได้แก่ เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี ได้รณรงค์เรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง และได้ดำเนินการฟ้องศาลปกครองเพื่อให้เกิดการยกเลิกสัญญาซื้อขายไฟฟ้าของกฟผ.กับสปป.ลาว ที่ดำเนินการโดยขาดการมีส่วนร่วมจากประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

"รัฐบาลต้องแก้ไขปัญหาเรื่องพลังงานอย่างจริงจัง  พวกเราถูกหลอกมามากเพียงพอแล้ว ทั้งน้ำมัน แก๊ส ไฟฟ้า เลิกหมกเม็ดเสียที และในวันที่ 17 กันยายน 2555 นี้พวกเราจะไปทวงถามขอคำตอบที่ชัดเจนจากนายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่ทำเนียบรัฐบาลอีกครั้ง" นายอิทธิพลกล่าว
 
"กระบวนการวางแผนภาคพลังงานของไทยในปัจจุบันมีข้อบกพร่องหลายประการ ในช่วงกว่า 20 ปีที่ผ่านมา ชุดค่าพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้าที่รัฐบาลเห็นชอบทุกชุดที่ผ่าน มามักจะประเมินความต้องการไฟฟ้าระยะยาวสูงเกินจริงมาโดยตลอด ส่งผลให้มีการลงทุนเกินความจำเป็นและเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายของผู้บริโภค หากมีการปรับปรุงค่าพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้าให้ใกล้เคียงความเป็นจริงมากขึ้น และเลือกลงทุนในพลังงานทางเลือกที่สะอาด ราคาถูก และเสี่ยงน้อยกว่า จะไม่เพียงช่วยลดค่าไฟฟ้าสำหรับผู้บริโภค แต่ยังช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและมลพิษที่เป็นอันตรายอื่นๆ ของไทยด้วย โครงการที่มีผลกระทบสูง อย่างเช่น โครงการ เขื่อนในแม่น้ำโขงสายหลัก โรงไฟฟ้าถ่านหินและนิวเคลียร์ไม่ใช่สิ่งจำเป็นแต่อย่างใดสำหรับ ประเทศไทย เพราะเรามีทางเลือกอื่นที่ดีกว่า" นางสาวชื่นชม สง่าราศรี กรีเซน หนึ่ง ในผู้เขียนรายงานได้ระบุไว้อย่างชัดเจน

นอกจากนั้น นางสาวชื่นชมยังสะท้อนถึงวิกฤตของกระบวนการวางแผนที่ตั้งอยู่บนค่าพยากรณ์การใช้ไฟฟ้าที่ไม่สอดคล้องกับแนวโน้มที่ผ่านมา และยังกำหนดให้สร้างโรงไฟฟ้าประเภทที่ไม่เหมาะสมในจำนวนที่มากเกินไป คนไทยอาจจะต้องเสียเงินนับแสนล้านบาทต่อปีไปกับการลงทุนใน โครงการซึ่งทั้งไม่จำเป็นและไม่เป็นที่พึงประสงค์    


ดาวน์โหลดบทสรุปของแผนพัฒนาพลังงานทางเลือกได้ที่: www.internationalrivers.org/en/node/7010         
          

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กสทช.แจงกำหนดการ-ขั้นตอน ก่อน ‘ประมูล 3G’ 16 ตุลานี้

Posted: 14 Sep 2012 10:19 AM PDT

กสทช. เดินหน้าประมูลคลื่นความถี่ 2.1 GHz จัดประชุมชี้แจงรายละเอียดการประมูลแก่ผู้เข้าร่วม เผยสิ้นสุดขอรับใบอนุญาต 27 กันยา -28 กันยา เปิดยื่น ประกาศผู้ผ่านคุณสมบัติ 9 ตุลา


 
วันนี้ (23 ก.ย.55) นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (เลขาธิการ กสทช.) กล่าวว่า การประมูลคลื่นความถี่ 2.1 GHz ที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 16 ต.ค.55 ทุกขั้นตอนมีความสำคัญ กสทช.ดำเนินการด้วยความรอบคอบ มุ่งมั่นตั้งใจจะนำเอาคลื่นความถี่ 2.1 GHz มาให้บริการประชาชน เพื่อการพัฒนาระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G สมบูรณ์แบบของประเทศไทย โดยในขณะนี้เราอยู่ในขั้นตอนของการเชิญชวนเข้าร่วมประมูล โดยขั้นตอนนี้ เริ่มตั้งแต่วันที่ประกาศเชิญชวนเพื่อขอรับใบอนุญาตเมื่อวันที่ 28 ส.ค.55 และจะสิ้นสุดในวันที่ 27 ก.ย.55

เลขาธิการ กสทช.กล่าวด้วยว่า สำหรับวันนี้ (14 ก.ย.55) สำนักงานฯ ได้จัดให้มีการประชุมชี้แจงและให้คำปรึกษาในการกรอกแบบคำขอรับใบอนุญาต ตามประกาศ กสทช.เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล (International Mobile Telecommunications - IMT) ย่าน 2.1 GHz ณ ห้องมัฆวานรังสรรค์ โซน C สโมสรทหารบก ถนนวิภาวดี กรุงเทพฯ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประมูลมีความเข้าใจถูกต้องตรงกัน ถึงข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับการขอรับใบอนุญาต กระบวนการขอรับใบอนุญาต การกรอกแบบคำขอรับใบอนุญาต ตลอดจนการเตรียมเอกสารประกอบการขอรับใบอนุญาต

ความคืบหน้าขณะนี้มีผู้มาขอรับใบอนุญาตแล้วจำนวน 15 ราย ได้แก่ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด  บริษัท แอดวานซ์ โมบาย บรอดแบนด์ จำกัด  บริษัท ดีแทค เนทเวอร์ค จำกัด  บริษัท ดีแทค บรอดแบนด์ จำกัด  บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)  บริษัท เรียล ฟิวเจอร์ จำกัด  บริษัท ทรูมูฟ จำกัด  บริษัท เคเบิลไทย โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน)  บริษัท เอซีที โมบาย จำกัด  บริษัท เรียล มูฟ จำกัด  บริษัท บีบี คอนเน็ค จำกัด  บริษัท จาย่า ซ็อฟ วิชั่น จำกัด  บริษัท วิคตอรี่ มอเตอร์ จำกัด  บริษัท จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) และบริษัท จัสมิน เทเลคอม ซิสเต็ม จำกัด (มหาชน)

ทั้งนี้ ยังเปิดให้ขอรับใบอนุญาต ต่อเนื่องไปจนถึงวันที่ 27 ก.ย.นี้ ผู้ประสงค์ขอรับใบอนุญาตสามารถติดต่อขอรับแบบฟอร์มขอรับใบอนุญาต และลงทะเบียนเพื่อเข้าร่วมการประชุมชี้แจงการกรอกแบบฟอร์มได้ที่ กลุ่มงานการอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม 1 อาคาร 2 ชั้น 3 สำนักงาน กสทช. ระหว่างเวลา 8.30 ถึง 16.30 น.

นอกจากนี้ ในวันที่ 20 ก.ย.55 กสทช.จะจัดกิจกรรม Countdown 3G ภารกิจเพื่อชาติ ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพค เมืองทองธานี กรุงเทพฯ เพื่อเป็นการนับถอยหลังสู่การประมูล 3G เป็นการแสดงถึงความร่วมมือร่วมใจของคนไทย ของผู้ที่เกี่ยวข้องในวงการโทรคมนาคมในการที่จะมีการประมูล 3G

นายฐากร กล่าวต่อว่า หลังจากสิ้นสุดการเปิดให้มารับคำขอรับใบอนุญาตในวันที่ 27 ก.ย.55 ในวันรุ่งขึ้น คือ วันที่ 28 ก.ย.55 จะเป็นวันยื่นคำขอรับใบอนุญาต ซึ่งในวันดังกล่าวผู้ประสงค์จะขอรับใบอนุญาตจะต้องมายื่นคำขอรับใบอนุญาต พร้อมเอกสารประกอบการขอรับใบอนุญาต จ่ายค่าพิจารณาคำขอใบอนุญาต 500,000 บาท และวางหลักประกันการประมูลจำนวน 1,350 ล้านบาท

จากนั้น สำนักงาน กสทช.จะทำการตรวจสอบคุณสมบัติขั้นแรกให้แล้วเสร็จ และจะประกาศรายชื่อผู้เข้าร่วมการประมูล ในวันที่ 9 ต.ค.55 จากนั้นจะมีการประชุมเพื่อชี้แจงรายละเอียดและจัดการประมูลรอบสาธิต (Mock Auction) สำหรับผู้เข้าร่วมการประมูลในวันที่ 12 และ 13 ต.ค.55 ในสถานที่ที่จัดสำหรับการประมูลจริง โดยก่อนหน้านั้นในวันที่ 11 ต.ค.55 จะนำสื่อมวลชนเข้าชมสถานที่ที่จะใช้ในการประมูลจริงด้วย

วันที่ 16 ต.ค.55 จะเป็นวันประมูลคลื่นความถี่ 2.1 GHz เพื่อเดินหน้าสู่การพัฒนาโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G โดยจะประกาศผลผู้ชนะการประมูลภายใน 3 วัน หลังจากสิ้นสุดการประมูล

นายฐากร ทิ้งท้ายว่า ขอฝากไปถึงประชาชนคนไทยทุกคน ให้ช่วยกันผลักดันให้การประมูล 3G ที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 16 ต.ค.นี้ ประสบผลสำเร็จ เพื่อคนไทยจะได้ใช้บริการ ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อการพัฒนาระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G สมบูรณ์แบบของประเทศไทย

ทั้งนี้ เงื่อนไขการประมูลกำหนดว่าผู้ขอรับใบอนุญาตจะต้องยื่นเงิน 1,350 ล้านบาทวางเป็นหลักประกันการประมูล ส่วนอีก 5แสนบาทเป็นค่าพิจารณาคำขอใบอนุญาตซึ่งจะไม่คืนแม้ไม่ผ่านคุณสมบัติ พร้อมทั้งยื่นหนังสือสนับสนุนทางด้านการเงินในการประกอบกิจการจากสถาบันการเงินประเภทธุรกิจธนาคารพาณิชย์

อนึ่ง ราคาประมูลเริ่มต้นของการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่แต่ละชุด ชุดละ 5MHz มีมูลค่า 4,500 ล้านบาท เมื่อการประมูลสิ้นสุดลงให้ผู้ชนะการประมูลชำระเงินค่าคลื่นความถี่ IMT ย่าน 2.1GHZ ตามราคาประมูลสูงสุดของผู้ประมูลแต่ละรายแบ่งจ่ายเป็น 3 งวด โดยงวดที่หนึ่งชำระเงินจำนวนร้อยละ 50 ของราคาประมูลสูงสุดภายใน 90 วันจากวันที่ได้รับหนังสือแจ้งเป็นผู้ชนะการประมูล

งวดที่สองชำระจำนวนร้อยละ 25 เมื่อครบกำหนดระยะเวลา 2 ปีนับแต่วันที่ได้รับใบอนุญาต และ งวดที่ 3 จะชำระจำนวนร้อยละ 25 เมื่อครบกำหนดระยะเวลา 3 ปีนับแต่วันที่ได้รับใบอนุญาตทั้งนี้อายุใบอนุญาต 3G คลื่นความถี่ IMT. ย่าน 2.1 GHz. มีระยะเวลา 15 ปี

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

‘เครือข่ายลุ่มน้ำยม’ แฉ! ตัวเลขปริมาณน้ำ งัดข้อ ‘กบอ.-รมต.’ ดันเขื่อน

Posted: 14 Sep 2012 07:02 AM PDT

เผยข้อมูลแม้มีเขื่อนแก่งเสือเต้นก็ไม่มีผลต่อการเกิดน้ำท่วมเมืองสุโขทัย แจงการพัฒนาระบบที่ยืดหยุ่นในการรับน้ำ หรือฝนจากพายุ ที่อาจตกใต้เขื่อน หรือตกกระจายตัว เป็นประเด็นสำคัญในการวางแผนรับมือน้ำท่วมน้ำ-แล้ง

จากเหตุการณ์น้ำยมผุดทะลุกำแพงแนวกั้นน้ำของจังหวัดสุโขทัย ทำให้น้ำทะลักเข้าท่วมเขตเศรษฐกิจเมืองสุโขทัยที่ผ่านมา ได้มีรัฐมนตรีหลายคนออกมาผลักดันให้รัฐบาลเร่งตัดสินใจสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น เขื่อนยมบน เขื่อนยมล่าง ที่ อ.สอง จ.แพร่ รวมทั้งเขื่อนแม่วงก์ จ.นครสวรรค์

นำโดย นายบรรหาร ศิลปอาชา ประธานที่ปรึกษาพรรคชาติไทยพัฒนา อดีตนายกรัฐมนตรี เห็นว่าต้องสร้างเขื่อนแม่วงก์ เพื่อชะลอน้ำไม่ให้ท่วมกรุงเทพ ตามมาด้วย รมว.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายธีระ วงศ์สมุทร มือขวาของนายบรรหารเห็นว่ารัฐบาลต้องเร่งตัดสินใจ จะสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น หรือจะสร้างเขื่อนยมบน เขื่อนยมล่างดี

ขณะที่ รมว.กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข จะผลักดันเขื่อนแก่งเสือเต้นเข้า ครม.ในอาทิตย์หน้า ส่วนประธาน กบอ.นายปลอดประสพ สุรัสวดี รมว.กระทรวงวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ก็จะผลักดันให้รัฐบาลตัดสินใจสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ในลุ่มน้ำยมให้ได้ เพราะลุ่มน้ำยมเป็นลุ่มน้ำที่ไม่มีเขื่อนขนาดใหญ่
 


ข้อมูลเบื้องต้น ลุ่มน้ำยม กำเนิดแม่น้ำยม

ต้นกำเนิดแม่น้ำยม มาจากแม่น้ำ 2 สายหลัก คือแม่น้ำงิม และแม่น้ำควร ซึ่งแม่น้ำทั้ง 2 สายมีขุนห้วยย่อยประกอบ คือ ห้วยน้ำคะ มีต้นกำเนิดจากพื้นที่รับน้ำเทือกเขาภูลังกาฝั่งซ้ายซึ่งสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 1,100 เมตร ไหลรวมเป็นห้วยน้ำคะ ไหลผ่าน 2 หมู่บ้าน คือ บ้านน้ำคะ บ้านสานก๋วย ต.ผาช้างน้อย อ.ปง จ.พะเยา ส่วนพื้นที่รับน้ำทางฝั่งขวาเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำลาวไหลลงแม่น้ำอิงที่ อ.เทิง โดยพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ของหน่วยจัดการต้นน้ำงิม วนอุทยานภูลังกา

แม่น้ำยม ไหลผ่าน อ.ปง อ.เชียงม่วน ซึ่งมีลำน้ำที่สำคัญต่างๆ ไหลลงแม่น้ำยมทั้ง 2 อำเภอ ได้แก่ ลำน้ำปี้ ห้วยหลวง ห้วยผาวัว และห้วยแม่กำลัง รวมไปถึงลำน้ำที่ไหลมาจากเทือกเขาทางทิศตะวันตกใน อ.เชียงม่วน ได้แก่ เทือกดอยภูนางและดอยแปเมือง คือ ลำน้ำจ๊วะ ลำน้ำแม่ผง ลำน้ำม่าว ห้วยม้า และห้วยแพะ รวมความยาวของแม่น้ำยมในพื้นที่ จ.พะเยา 120 กิโลเมตร

ต่อจากนั้นแม่น้ำยมไหลเขาเขตอุทยานแห่งชาติแม่ยม ต.สะเอียบ อ.สอง จ.แพร่ ไหลผ่ากลางพื้นที่อุทยานแห่งชาติแม่ยมซึ่งมีสภาพป่าอุดมสมบูรณ์เต็มไปด้วยป่าสักที่ขึ้นเองตามธรรมชาติอย่างหนาแน่น ซึ่งมีขนาดสูงใหญ่ นับได้ว่าเป็นตัวแทนป่าไม้สักของภาคเหนือ


แม่น้ำยมในส่วนที่ไหลผ่าน จ.แพร่มีความยาว 280 กิโลเมตร หรือประมาณ 1 ใน 3 ของความยาวทั้งหมดประมาณ 735 กิโลเมตร โดยจำนวนลำน้ำสาขาหลักที่ไหลลงแม่น้ำยมในเขต จ.แพร่ มีทั้งหมด16 สาย และมีลำห้วยไหลลงแม่น้ำยมและลำน้ำสาขา 566 สาย โดยแบ่งเป็นลุ่มน้ำสาขาหลัก 16 สาขาดังนี้ ลำน้ำงาว ลำน้ำแม่สอง ลำน้ำแม่ยางหลวง ลำน้ำแม่คำมี ลำน้ำแม่หล่าย ลำน้ำแม่แคม ลำน้ำแม่สาย ลำน้ำแม่มาน ลำน้ำแม่พวก ลำน้ำแม่จอก ลำน้ำแม่ต้า ลำน้ำแม่ลาน ลำน้ำแม่กาง ลำน้ำแม่เกิ๋ง ลำน้ำแม่พุง ลำน้ำแม่สรอย และลำน้ำสาขาน้ำงาว ลุ่มน้ำสาขาคำมี ลุ่มน้ำสาขาแม่ต้า

จากนั้นไหลเข้าสู่ จ.สุโขทัยบริเวณบ้านวังเบอะ ดอนเพชร วังทอง ดอนกว้าง และบ้านแม่สิน ต.แม่สิน อ.ศรีสัชชนาลัย ซึ่งเริ่มเป็นที่ราบลุ่มหรือเป็นพื้นที่เริ่มต้นของที่ราบแม่น้ำยมตอนกลางและตอนล่าง

 

ข้อมูลน้ำชี้ชัด 'เขื่อนแก่งเสือเต้น' แก้ไขปัญหาน้ำท่วมไม่ได้

ต่อคำถามที่ว่าน้ำยมทะลักเข้าท่วมเมืองสุโขทัย น้ำมาจากไหน? เมื่อพิจารณาข้อมูลปริมาณน้ำจากข้อมูลของกรมชลประทานแล้ว เห็นได้ชัดเจนว่า จุดหรือที่ที่จะสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น หรือ เขื่อนแม่น้ำยม (ยมล่าง) นั้น อยู่ที่ สถานีวัดน้ำบ้านห้วยสัก (Y.20) อ.สอง จ.แพร่ ปริมาณน้ำตังแต่วันที่ 1 กันยายน 2555 ถึง วันที่ 12 กันยายน 2555 จะเห็นได้ชัดเจนว่า ปริมาณน้ำ อยู่ในขั้นน้อยวิกฤติ ดังนั้นถึงแม้มีเขื่อนแก่งเสือเต้น หรือ เขื่อนแม่น้ำยม (ยมล่าง) ก็ไม่มีผลต่อการเกิดน้ำท่วมเมืองสุโขทัย ดังรัฐมนตรีหลายท่านเรียกร้องให้เร่งสร้างเขื่อนดังกล่าว


ตารางข้อมูลน้ำ

(ตรวจสอบปริมาณและระดับน้ำในแม่น้ำสายต่างๆ เลือกดู ก่อน หลัง ได้เปลี่ยนวันที่ด้านบน)
http://www.thaiwater.net/DATA/REPORT/php/show_itcwater.php

เครือข่ายลุ่มน้ำยม ระบุข้อมูลด้วยว่า เขื่อนแก่งเสือเต้น และ เขื่อนแม่น้ำยม (ยมล่าง) อยู่ห่างจากต้นน้ำยมลงมา 115 กิโลเมตรและ 125 กิโลเมตร จากความยาวของแม่น้ำยมทั้งหมด 735 กิโลเมตร ดังนั้นพื้นที่รับน้ำจึงน้อยมาก หากฝนหรือพายุที่นำพาฝนมาตกด้านล่างของเขื่อน ซึ่งมีความยาวกว่า 600 กิโลเมตรนั้น น้ำก็จะไม่เข้าเขื่อน

เหมือนดั่งกรณีพายุไหหม่าในปี 2554 นั้น ฝนตกมากในเขตตอนกลางของลุ่มน้ำยม ที่จังหวัดแพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก จึงทำให้มวลน้ำปริมาณมากไหลลงสู่ภาคกลางและกรุงเทพมหานคร ประกอบกับเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิตติ เร่งปล่อยน้ำวันละมากกว่า 100 ล้านลูกบาศก์เมตร จึงก่อให้เกิดมหาอุทกภัยในปี 2554 ที่ผ่านมา

ดังนั้นหากมีเขื่อนแก่งเสือเต้น หรือ เขื่อนแม่น้ำยม (ยมล่าง) ก็ไม่สามารถที่จะช่วยบรรเทาปัญหาน้ำท่วมที่เกิดขึ้นได้


ทางออก-ทางเลือกในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม-น้ำแล้ง ลุ่มน้ำยม

การพัฒนาระบบที่ยืดหยุ่นในการรับน้ำ หรือ รับฝนที่มาจากพายุ ที่อาจตกใต้เขื่อน หรือ ตกกระจายตัว จึงเป็นประเด็นที่สำคัญมากในการวางแผนรับมือน้ำท่วมน้ำแล้ง ซึ่งสามารถทำโดยการกระจายแหล่งรับน้ำหรืออ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก ขนาดกลาง ให้ทั่วทั้งลุ่มน้ำยม เช่น การพัฒนาอ่างเก็บน้ำทั้ง 77 ลำน้ำสาขาของแม่น้ำยม หากพัฒนาอ่างขนาดเล็ก ขนาดกลาง ให้กักเก็บน้ำเฉลี่ย 50 ล้านลูกบาศก์เมตร จำนวน 70 อ่าง ก็จะได้ปริมาณน้ำ 3,500 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งมากกว่าเขื่อนแก่งเสือเต้นถึง 3 เท่า และมีความยืดหยุ่นกว่าในกรณีที่ฝนหรือพายุ ตกกระจายทั่วทั้งลุ่มน้ำยม

จากข้อเสนอของชาวบ้าน กลุ่มราษฎรรักษ์ป่า ต.สะเอียบ ได้เสนอไว้ คือ ให้รัฐยุติการผลักดันการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ ทั้งเขื่อนแก่งเสือเต้น เขื่อนยมบน เขื่อนยมล่าง แนะให้ใช้แนวทางการจัดการน้ำชุมชน - ฟื้นฟูป่าต้นน้ำ รักษาป่าที่เหลืออยู่ไม่ถึง 23 เปอร์เซ็นต์ ป้องกันการบุกรุกป่า ให้ป่าซับน้ำไว้เป็นเขื่อนถาวรและยั้งยืน และทำหน้าที่เก็บคาร์บอนช่วยลดโลกร้อน รวมทั้งฟอกอากาศให้ออกซิเจนแก่มวลมนุษยชาติ - รักษาและพัฒนาป่าชุมชน ทุกชุมชนควรมีป่าชุมชน ไว้ใช้สอย เก็บเห็ด ผัก หน่อไม้ สมุนไพร เป็นซุปเปอร์มาร์เก็ตของชุมชน

- ปลูกต้นไม้เพิ่ม สร้างพื้นที่สีเขียวให้กับครอบครัว ชุมชน หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด ภาค และประเทศชาติ ทุกคน ทุกชุมชน ช่วยกันทำได้ ช่วยลดโลกร้อนได้อีกด้วย - พัฒนาระบบภาษีเพื่อสิ่งแวดล้อม ชุมชนไหนรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อตัวเองและเพื่อชุมชนอื่น ควรได้รับการสนับสนุน ชุมชนใดไม่มีศักยภาพในการรักษาและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ควรให้การสนับสนุน เป็นชุมชนพี่น้องหนุนช่วยกัน - ฟื้นฟูระบบเหมืองฝาย พัฒนาฝายดักตะกอน ฝายชะลอน้ำ ฝายกักเก็บน้ำ ให้ทั่วทุกพื้นที่ที่มีศักยภาพ

- พัฒนาอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กทั้ง 77 ลำน้ำสาขาของแม่น้ำยม - ทำแก้มลิงไว้ทุกชุมชน - พัฒนาหนึ่งหมู่บ้านหนึ่งแหล่งน้ำ หนึ่งตำบลหนึ่งแหล่งน้ำ - ส่งเสริมระบบการใช้ที่ดินให้สอดคล้องกับภูมิสังคม สนับสนุนโฉนดชุมชน สร้างความมั่นคงทางอาหารให้กับชุมชน ยุติการขับไล่ชุมชนออกจากป่า สนับสนุนชุมชนที่อยู่กับป่า ให้รักษาป่า รักษาต้นน้ำ รวมทั้งจัดการผังเมืองให้สอดคล้องกับธรรมชาติและภูมิสังคม


เครือข่ายลุ่มน้ำภาคเหนือ เสนอ 11 แนวทางการจัดการน้ำอย่างยั่งยืน

ข้อเสนอการจัดการน้ำของประเทศไทย โดยแนวทางการจัดการน้ำโดยชุมชน เพื่อความยั่งยืน ที่สมดุล และเป็นธรรม ดังนี้

1.ฟื้นฟูป่าต้นน้ำ การอนุรักษ์ป่า การจัดการป่าชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน เป็นแนวทางหนึ่งที่จะฟื้นฟูเสถียรภาพของระบบนิเวศน์ป่าต้นน้ำให้กลับคืนมาสู่สมดุลอย่างยั่งยืนเหมาะสมกับระบบนิเวศของแต่ละพื้นที่ อันเป็นการป้องกันปัญหาอุทกภัยที่ถูกจุด

2. ผลักดันแนวคิดการจัดการน้ำโดยชุมชนท้องถิ่น ให้เป็นแผนแม่บทในการจัดการน้ำแห่งชาติ โดยการผสานแนวคิดภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมินิเวศ การจัดการน้ำแบบใหม่ และการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อให้เกิดการเข้าใจและแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบและองค์รวม

3. กำหนดนโยบายสาธารณะในการบริหารจัดการลุ่มน้ำขนาดเล็กอย่างยั่งยืน และเป็นองค์รวมของระบบนิเวศในลุ่มน้ำทั้งระบบ (ดิน น้ำ ป่า) ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ให้เหมาะสมกับระบบนิเวศของลุ่มน้ำ และสอดคล้องกับภูมิปัญญาท้องถิ่น

4. เพิ่มพื้นที่กักเก็บน้ำตามลำน้ำสาขา ในแผนการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็ก ซึ่งจัดทำโดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย สามารถแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำได้โดยใช้งบประมาณเฉลี่ยหมู่บ้านละประมาณ 3 ล้านบาทเท่านั้น

5. กักเก็บน้ำระดับตำบล "หนึ่งตำบลหนึ่งแหล่งกักเก็บน้ำ" โดยการมีส่วนร่วมของประชาชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งแผนงานเหล่านี้จะกระทบกับสิ่งแวดล้อมและชุมชนไม่มากนัก แต่จะมีประโยชน์ต่อชาวบ้านและชุมชนโดยตรงในแต่ละพื้นที่

6. ฟื้นฟูแม่น้ำให้กลับมาทำหน้าที่ตามธรรมชาติโดยการขุดลอกตะกอนแม่น้ำ การแก้ไขปัญหารุกล้ำในลำน้ำเพื่อรักษาพื้นที่ลำน้ำ การพัฒนาพื้นที่ต้นน้ำและกลางน้ำด้วยการขุดลอก การทำพื้นที่แก้มลิง และรักษาความสมบูรณ์ของพื้นที่ต้นน้ำเพื่อชะลอน้ำ

7. จัดแบ่งพื้นที่ (Zoning) ให้เหมาะสมกับการใช้ประโยชน์ที่ดินแต่ละประเภท เช่น พื้นที่เกษตร แหล่งท่องเที่ยว แหล่งประมง เขตอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งนอกจากจะสอดคล้องกับระบบนิเวศน์แล้ว ยังสามารถป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ทางตอนล่างอีกด้วย

8. กระจายอำนาจและงบประมาณให้กับชุมชนท้องถิ่น ในการวางแผนระบบการจัดการน้ำโดยชุมชน รวมทั้งสนับสนุนงบประมาณในการฟื้นฟูป่าต้นน้ำและระบบการจัดการน้ำของชุมชนท้องถิ่น และให้สิทธิและอำนาจการจัดการน้ำแก่ชุมชนท้องถิ่น โดยมีกฎหมายรองรับ

9. สนับสนุนการจัดการน้ำระดับครัวเรือน และระดับชุมชนโดยใช้ภูมิปัญญาชาวบ้าน ได้แก่ ฝายต้นน้ำ ฝายทดน้ำ ฝายกักเก็บน้ำ ขุดบ่อ หรือ สระน้ำในไร่นา รวมทั้งอนุรักษ์ และฟื้นฟูระบบเหมืองฝายที่เป็นภูมิปัญญาของชาวบ้านในแต่ละท้องถิ่น จะสร้างประโยชน์ให้กับชาวบ้าน และชุมชน อย่างเป็นจริง และใช้งบประมาณน้อยกว่าการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่

10. ทบทวนนโยบายการส่งเสริมปลูกพืชเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในฤดูแล้ง เพื่อลดปริมาณการใช้น้ำ และส่งเสริมแนวคิดเศรษฐกิจแบบพอเพียง ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพืชอายุสั้น และเลือกปลูกพันธุ์พืชที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ เพื่อลดการบุกรุกพื้นที่ป่า และลดปริมาณการใช้น้ำในการทำเกษตรกรรมนอกฤดู

11. ท้ายสุด ขอให้ยุติการผลักดันการสร้างเขื่อน ขนาดใหญ่ อย่างเขื่อนแก่งเสือเต้น เขื่อนยมบน เขื่อนยมล่าง เขื่อนแม่วงก์ เขื่อนแม่น้ำปิงตอนบน เขื่อนสาละวิน เขื่อนแม่น้ำโขง ฯลฯ โดยหันมาใช้แนวทางการจัดการน้ำชุมชนดังได้กล่าวมาแล้ว

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

องค์กรแรงงานไทย-เทศ ร้องนายก ปล่อย “สมยศ” ทันที

Posted: 14 Sep 2012 06:45 AM PDT

แรงงานทั้งไทยและนานาชาติ และคนเสื้อแดงรวม97 องค์กร ร้องนายก ให้สิทธิการประกันตัว สมยศ พฤกษาเกษมสุข ตามมาตรฐานกฎหมายในและระหว่างประเทศ ย้ำนักต่อสู้เพื่อสิทธิฯ จะต้องทำงานโดยไม่ต้องเกรงกลัวภัยใดๆ ด้านศาลนัดพิพากษาคดีวันที่ 19 ก.ย. นี้

ภาพผู้เข้ายื่นจดหมายร้องปล่อยตัวสมยศ ที่หน้าทำเนียบ ภาพโดย Thai Labour Campaign

วันนี้(14 ก.ย.55) เวลา 10.15 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล ถนนพิษณุโลก นักกิจกรรมด้านแรงงานและเสื้อแดง นำโดย โครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย (Thai Labour Campaign) สหภาพแรงงานประชาธิปไตย องค์กรเลี้ยวซ้าย และกลุ่ม 24 มิถุนาเพื่อประชาธิปไตย ประมาณ 20 คน เดินทางมายื่นจดหมายเรียกร้องต่อ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้ปล่อยตัว นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข ผู้ถูกคุมขังจากคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ โดยมีนายสมพาศ นิลพันธ์ ผู้อำนวยการศูนย์บริการประชาชน สำนักงานปลัดนายกรัฐมนตรี ออกมารับจดหมายแทนนายกรัฐมนตรี 

จากนั้นเวลา 11.00 น. กลุ่มดังกล่าวได้เดินทางไปยังศาลฎีกา สนามหลวง โดยมีเลขานุการประธานศาลฎีกามารับจดหมาย และเวลา 13.00 น. เดินทางไปยื่นจดหมายที่ศาลอาญา รัชดา   โดยนางสาวพัชณีย์ คำหนัก ผู้ประสานงานโครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย เปิดเผยว่า ได้ไปยื่นตรงหน่วยงานสารบรรณทั่วไป เนื่องจากทางเจ้าหน้าที่สำนักอำนวยการประจำศาลอาญาไม่ยินยอมมารับด้วยตัวเองที่ด้านหน้าประตูเพราะเกรงเป็นการละเมิดอำนาจศาล

นอกจากข้อเรียกร้องให้มีการปล่อยตัวนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข แล้ว ผู้ประสานงานโครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย ยังกล่าวด้วยว่า มีการเรียกร้องให้ปล่อยนักโทษการเมืองทุกคนโดยไม่มีเงื่อนไข และปรับปรุงกระบวนการยุติธรรมให้มีมาตรฐานด้วยการที่ศาลต้องให้สิทธิประกันตัวแก่สมยศ เคารพเสรีภาพแห่งความเป็นมนุษย์ ไม่ละเมิดกฎหมายรัฐธรรมนูญ

น.ส.พัชณีย์ คำหนัก กล่าวถึงที่มาของรายชื่อองค์กรแรงงานกว่าร้อยรายชื่อที่ร่วมเรียกร้องสิทธิประกันตัวของนายสมยศและนักโทษการเมืองว่า ทาง โครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย เป็นองค์กรด้านแรงงานจึงประสานงานเครือข่ายแรงงานทั่วเอเชียและยุโรปให้ร่วมกันแสดงความสมานฉันท์อีกครั้ง เพื่อรักษากระแสการต่อสู้ของฝ่ายแรงงาน

"พี่สมยศ พฤกษาเกษมสุข ถือเป็นผู้นำแรงงานที่สู้เพื่อประชาธิปไตยที่เราต้องชูขึ้นมาเป็นสัญลักษณ์เป็นตัวแทนของฝ่ายแรงงานเพื่อประชาธิปไตย ไม่ใช่เพื่อทหารและฝ่ายอนุรักษ์นิยม" น.ส. พัชณีย์กล่าว

จดหมายเรียกร้องดังกล่าวยังระบุด้วยว่า นายสมยศต้องได้รับสิทธิในการประกันตัวเพื่อเป็นไปตามมาตรฐานของกระบวนการพิจารณาไต่สวนภายใต้กฎหมายในประเทศและระหว่างประเทศ นักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยโดยเฉพาะคนที่ทำงานด้านเสรีภาพในการแสดงออกจะต้องสามารถดำเนินงานด้านสิทธิได้อย่างชอบธรรมโดยไม่ต้องเกรงกลัวภัยใดๆ และเป็นอิสระจากข้อจำกัดต่างๆ รวมถึงการละเมิดผ่านกระบวนการพิจารณาคดีด้วย

ทั้งนี้ สมยศถูกจับกุมโดยเจ้าหน้าที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2554 ที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองอรัญประเทศ จ.สระแก้ว ขณะนำลูกทัวร์เดินทางเข้าท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา โดยคำฟ้องระบุว่าเขาละเมิดกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เนื่องมาจากนิตยสาร 'วอยซ์ ออฟ ทักษิณ' ที่เขาเป็นบรรณาธิการบริหารมีเนื้อหาหมิ่นเบื้องสูง สมยศถูกควบคุมตัวที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพตั้งแต่นั้นมา โดยไม่ได้รับสิทธิในการประกันตัว ซึ่งศาลนัดพิพากษาวันที่ 19 ก.ย. 55  เวลา 09.00 น.

000

จดหมายเปิดผนึกเรียกร้องปล่อยตัวนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข

ถึง  นายกรัฐมนตรี
ทำเนียบรัฐบาล
ถนนพิษณุโลก  เขตดุสิต
กรุงเทพฯ  10300

สำเนาถึง นายไพโรจน์ วายุภาพ
ประธานศาลฎีกา
เลขที่ 6 ถนนราชดำเนินใน
แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร
กรุงเทพฯ 10200
โทร.0-2221-3161-70

สำเนาถึง  นายทวี ประจวบลาภ
อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา
อาคารศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก
แขวงจอมพล เขตจตุจักร
กรุงเทพฯ 10900
โทร. 0 2541 2284 – 90

เรื่อง  ปล่อยตัวสมยศ พฤกษาเกษมสุข ผู้ต้องหาคดีอาญา มาตรา 112

สิ่งที่ส่งมาด้วย   1. เอกสารรายชื่อ 8,035 รายขอให้ปล่อยตัวสมยศ พฤกษาเกษมสุข จำนวน
66 หน้า 1 ชุด
  2.  สรุปย่อคดีนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข  จำนวน 3 หน้า 1 ชุด

กราบเรียนฯพณฯ นายกรัฐมนตรี

ตามรายชื่อองค์กรและบุคคลแนบท้ายจดหมายฉบับนี้ พวกเราได้ร่วมกันเขียนจดหมายฉบับนี้ถึงฯพณฯในขณะที่คุณสมยศ พฤกษาเกษมสุขยังถูกคุมขังมาอย่างต่อเนื่อง ที่ซึ่งคดีของเขาจะขึ้นศาลอีกครั้งในวันที่ 19 กันยายน 2555 ในไม่ช้านี้และเป็นไปได้ที่คดีของเขาจะได้รับโทษจำคุกสูงสุดถึง 30 ปี  อีกทั้งเขาถูกคุมขังมาก่อนที่จะมีการพิจารณาไต่สวนในชั้นศาลเป็นเวลา 1 ปีกว่าแล้ว  นับตั้งแต่ถูกเจ้าหน้าที่กรมสอบสวนพิเศษจับกุมเมื่อเดือนเมษายน 2554

การปฏิเสธสิทธิในการประกันตัวเขาที่ผ่านมา เราถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างหนึ่งและเป็นการข่มขู่นักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย  เราขอให้เจ้าหน้าที่รัฐประกันสิทธินี้ให้แก่คุณสมยศ พฤกษาเกษมสุขในช่วงระหว่างที่ถูกคุมขัง และรับประกันว่า เขาสมควรได้รับการพิจารณาคดีอย่างเที่ยงธรรม รวมถึงสิทธิในการประกันตัวด้วย

เราขอเรียนฯพณฯด้วยความเคารพว่า ตามปฏิญญาสิทธิมนุษยชนสากลว่าด้วยสิทธิและความรับผิดชอบของปัจเจกชน กลุ่มและองค์กรของสังคมที่จะส่งเสริมและปกป้องสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน ที่ได้รับการรับรองจากที่ประชุมใหญ่ของสหประชาชาติเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2541  ขอให้ฯพณฯได้ตระหนักถึงความชอบธรรมในการทำกิจกรรมด้านสิทธิของนักรณรงค์สิทธิมนุษยชน เหล่านี้  สิทธิของพวกเขาที่จะจัดตั้ง รวมกลุ่ม และเรียกร้องให้รัฐประกันการทำกิจกรรมโดยปราศจากความกลัวที่จะถูกตอบโต้

เราขอให้ฯพณฯประกันว่าคุณสมยศ พฤกษาเกษมสุขต้องได้รับการปล่อยตัวโดยทันทีและไม่มีเงื่อนไข   ความล้มเหลวของรัฐ ที่ไม่ยินยอมปล่อยตัวเขาจากการเรียกร้องที่ผ่านมานั้น คุณสมยศยังต้องได้รับสิทธิในการประกันตัวเพื่อเป็นไปตามมาตรฐานของกระบวนการพิจารณาไต่สวนภายใต้กฎหมายในประเทศและระหว่างประเทศ   ที่นักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย โดยเฉพาะคนที่ทำงานด้านเสรีภาพในการแสดงออกสามารถดำเนินงานด้านสิทธิได้อย่างชอบธรรมโดยไม่ต้องเกรงกลัวภัยใดๆ และเป็นอิสระจากข้อจำกัดทั้งหลาย รวมถึงการละเมิดของกระบวนการพิจารณาคดีด้วย

ขอแสดงความนับถืออย่างสูง


องค์กรที่ลงนามสนับสนุนจดหมายขอให้ปล่อยตัวสมยศ พฤกษาเกษมสุข
1. โครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย (Thai Labour Campaign, Thailand)
2. สภาองค์การลูกจ้างสภาศูนย์กลางแรงงานแห่งประเทศไทย (Labour Congress Center for Labour Union of Thailand-LCCLUT)
3. สหภาพแรงงานสยามริกเก้น  (Siam Ricken Labour Union, Thailand)
4. สหพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอการตัดเย็บเสื้อผ้าและผลิตภัณฑ์หนังแห่งประเทศไทย (Textile, Garment, and Leather Workers' Federation of Thailand-TWFT)
5. องค์การแรงงานเพื่อประชาธิปไตย (Workers Organization for Democracy-WOD, Thailand)
6. กลุ่มคนงานสตรีสู่เสรีภาพ  (Women Workers for Liberation Group, Thailand)
7. สหภาพแรงงานประชาธิปไตย (Democracy Workers Union, Thailand)
8. สหภาพแรงงานไทยอคริลิคไฟเบอร์ (Thai Acrylic Labour Union-TLU)
9. สหภาพแรงงานสหกิจวิศาล (Sahakij Wisal Labour Union, Thailand)
10. สหภาพแรงงานมอลลิเก้เฮลแคร์ (Molnlycke Health Care Labour Union, Thailand)
11. กลุ่มสหภาพแรงงานอุตสาหกรรมเบอร์ล่า (Labour Union of Berla Group-LUBG, Thailand)
12. ศรีไพร นนทรีย์ กลุ่มออมทรัพย์พัฒนาชุมชนคนงาน (Ms.Sripai Nonsee, Workers Community Development Saving Group, Thailand)
13. นายวิรัช อินสะอาด ประธานสหภาพแรงงานพีบีเอสซี โลจิสติกส์ (Mr.Wirat Insa-ard, President of P.B.S.C. Logistics Labour Union, Thailand)
14. นายธงชัย ร่มเย็นเป็นสุข ประธานสหภาพแรงงานไทยซูซูกิ (Mr.Tongchai Romyenpensuk, President of Thai Suzuki, Thailand)
15. กลุ่มธรรมศาสตร์เสรีเพื่อประชาธิปไตย ประเทศไทย (League of Liberal Thammasat for Democracy, Thailand)
16. วรรณทณี เสงี่ยมศิลป์ อาชีพแม่บ้าน (Ms. Wantanee  Sa-ngiamsin, housewife, Thailand)
17.  ศรชัย ทองศรี  (Mr. Sornchai Thongsri, Thailand)
18. องค์การรณรงค์เพื่อเสื้อผ้าสะอาด ประเทศเนเธอร์แลนด์  (Clean Clothes Campaign, the Netherlands)
19. สมาพันธ์แรงงานเกาหลี (Korean Confederation of Trade Unions-KCTU)  (한글) 전국민주노동조합총연맹 (영문)
20. องค์กรสมานฉันท์แรงงาน (Workers' Solidarity All Together) (한글) 노동자연대다함께 (영문)
21. องค์กรเกาหลีเพื่อความสมานฉันท์ระหว่างประเทศ  (Korean House for International Solidarity)  (한글) 국제민주연대 (영문)
22. เครือข่ายพันธมิตรผู้หญิงเกาหลี (Korean Women's Alliance) (한글) 전국여성연대 (영문)
23. องค์กรสมานฉันท์สื่อคริสเตียน ประเทศเกาหลีใต้ (Christian Media Solidarity)  (한글) 미디어기독연대 (영문)
24. คณะกรรมการสนับสนุนแรงงานที่ถูกจำคุก เกาหลีใต้ (Committee to Support Imprisoned Workers)  (한글) 구속노동자후원회 (영문)
25. สหพันธ์กลุ่มแพทย์เพื่อสิทธิด้านสุขภาพ เกาหลีใต้ (Korean Federation of Medical Groups for Health Rights)  (한글) 건강권실현을위한보건의료단체연합 (영문)
26. สหภาพแรงงานอาจารย์พิเศษเกาหลี (Korea Irregular Professor Union-KIPU)  (한글) 한국비정규교수노동조합 (영문)
27. ศูนย์กลางเพื่อกลับคืนสถานะการเป็นอาจารย์ของอาจารย์พิเศษ ประเทศเกาหลีใต้ (Center to Get Back Status of Teacher for Irregular Professor and Normalization of College Education-STIP)  (한글) 대학강사 교원지위 회복과 대학교육정상화 투쟁본부 (영문)
28. สหภาพแรงงานอาจารย์มหาวิทยาลัย ประเทศเกาหลีใต้ (Korea University Lecturer Union-KULU)  (한글) 전국대학강사노동조합 (영문)
29. สหภาพแรงงานข้ามชาติ เกาหลีใต้ (Seoul Gyeonggi Incheon Migrants Trade Unions)  (한글) 서울경기인천 이주노동자 노동조합 (영문)
30. ศูนย์ลูกจ้างชั่วคราว เกาหลีใต้ (Seoul Dongbu Contingent Workers Center) (한글) 서울동부비정규노동센터 (영문)
31. เครือข่ายสมานฉันท์แรงงานแห่งภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก เกาหลีใต้ (Asia Pacific Workers Solidarity Links)  (한글) 아시아태평양노동자연대 (영문)
32. Reconciliation & Unification Mission Center Osan Laborer`s & Migrant`s Shelter  (한글) 오산노동자센터(오산이주노동자센터) (영문)
33. Prebetryan Church of Osan Dasom  (한글) 대한예수교장로회 오산다솜교회 (영문)
34. ศูนย์กลางการสื่อสารหลากหลายวัฒนธรรมในเอเชีย  (Multicultural Communication Center in Asia)  (한글) 아시아다문화소통센터 (영문)
35. ศูนย์กลางเครือข่ายแรงงานก้าวหน้า เกาหลีใต้  (Korean Progressive Labor Network Center)  (한글) 한국노동네트워크협의회 (영문)
36. ศูนย์กลางการศึกษาสิทธิมนุษยชน เกาหลีใต้ (Human Rights Education Center, DEUL)  (한글) 인권교육센터 '들' (영문)
37. สหภาพลูกจ้างภาครัฐ เกาหลีใต้  (Korean Government Employees' Union) (한글) 전국공무원노동조합 (영문)
38. 개인 /individual>
39. คุณ Seraphina Cha mikyung  เกาหลีใต้ (차미경 세라피나)
40. สมาคมอาจารย์เพื่อสังคมประชาธิปไตยแห่งชาติ  เกาหลีใต้  (National Association of Professors for Democratic Society, Korea)  (민주화를 위한 전국교수협의회)
41. พรรคมวลชนแรงงาน ประเทศฟิลิปปินส์  (Party of Laboring Masses or Partido Lakas ng Masa-PLM, Philippines)
42. ขบวนการผู้หญิงธงแดง ประเทศศรีลังกา  (RED Flag Women's Movement, Sri Lanka)
43. สำนักงานกลุ่มพันธมิตรรณรงค์ฐานค่าจ้างแห่งเอเชีย ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศมาเลเซีย  (Asia Floor Wage Alliance-SEA Office, Malaysia)
44. สมาพันธ์แรงงานฮ่องกง  (Hong Kong Confederation of Trade Unions-HKCTU)
45. ศูนย์ทรัพยากรแรงงานซีเดน ประเทศอินโดนีเซีย (Sedane Labour Resource Centre or Lembaga Informasi Perburuhan Sedane, Indonesia)
46. กลุ่มเพื่อนหญิง ประเทศมาเลเซีย (Friends of Women or Persatuan Sahabat Wanita Selangor, Malaysia)
47. คุณ Yasiu Kruszynsk สหพันธ์อนาธิปไตย กลุ่มงานริเริ่มด้านแรงงาน  (Anarchist Federation, Workers Initiative)
48. คุณ Steve Leigh พนักงานโรงงาน ด้านบริการ สหภาพแรงงานระหว่างประเทศ  (shop steward, service employees, International Union, Local 925)
49. สมาพันธ์แรงงาน Sindical de Trabajadores "Jose Benito Escobar" (CST-JBE) ประเทศนิคารากัว
50. ศูนย์ช่วยเหลือแรงงาน ประเทศฟิลิปปินส์ (Workers Assistance Center, Inc. -WAC, Philippines)
51. องค์กรตรวจสอบโลกาภิวัตน์  ฮ่องกง  (Globalization Monitor, Hong Kong)
52. องค์กรนักศึกษาและนักวิชาการต่อต้านการกระทำไม่เป็นธรรมของบรรษัทข้ามชาติ  (Students & Scholars Against Corporate Misbehaviour-SACOM, China)
53. สถาบันการวิจัยและศึกษาด้านแรงงานคูเมนิกา ประเทศฟิลิปปินส์ (Ecumenica Institute for Labor Education and Research-EILER)
54. พรรคเพื่อเสรีภาพของประชาชน ประเทศอินโดนิเซีย  (People's Liberation Party-PLP, Indonesia)
55. กองเลขาธิการด้านแรงงาน จาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย  (Joint Secretariat of Labor or SEKBER BURUH, Greater Jakarta Indonesia)
56. สหพันธ์แรงงานอิสระ ประเทศอินโดนีเซีย  (Federation of Independent Trade Union-GSBI, Indonesia)
57. สหพันธ์แรงงานปากีสถาน  (Pakistan Labour Federation-PLF)
58. พรรคสังคมนิยมแห่งมาเลเซีย  (Socialist Party of Malaysia-PSM)
59. เครือข่ายประชาชนผู้ถูกกดขี่ ประเทศมาเลเซีย  (Network of the Oppressed People-JERIT, Malaysia)
60. เครือข่ายสมานฉันท์คนฟิลิปปินส์ ประเทศเนเธอร์แลนด์  (Philippines Solidarity Network in the Netherlands)
61. องค์กรผู้หญิงเยอรมัน  (German Women Organization FEMNET)
62. ขบวนการประชาธิปไตยคนรุ่นใหม่ ประเทศลาว  (The Laotian New Generation Democracy Movement-LGDM)
63. องค์กรพัฒนาเอกชนด้านแรงงานหญิง  (Dabindu Collective, No,221, Welaboda Road, Katunayake, Sri Lanka, Women workers NGO in Colombo)
64. สหพันธ์แรงงานทั่วไป ประเทศเนปาล  (General Federation of Nepal Trade Unions-GEFONT, Nepal)
65. สหภาพแรงงานอิสระแห่งชาติ ประเทศศรีลังกา  (National Free Trade Unions, Sri Lanka)
66. ศูนย์ศึกษาแรงงานนิวเดลี ประเทศอินเดีย  (Centre for Workers Education New Delhi, India)
67. องค์กรสังคมเพื่อแรงงานและการพัฒนา ประเทศอินเดีย  (Society for Labour and Development, India)
68. สมาคมประชาชนคนทำงาน ประเทศอินโดนีเซีย  (Working People's Association- PRP, Indonesia)
69. เครือข่ายแรงงานออสเตรเลียเอเชีย  (Australia Asia Worker Links-AAWL)
70. องค์กรแลกเปลี่ยนข้อมูลข้ามชาติ ประเทศเยอรมนี  (Transnational Information Exchange-TIE Bildungswerk Germany)
71. สหภาพลูกจ้างบริการทั่วไปและในเขตการค้าเสรี ประเทศศรีลังกา  (Free Trade Zones & General Services Employees Union, Sri Lanka)
72. สหภาพแรงงานอิสระด้านการศึกษา ประเทศอินโดนีเซีย  (INERU Indonesia)
73. สำนักงานแรงงานระหว่างประเทศ  ประเทศญี่ปุ่น  (Labornet Japan International Division)
74. ดร.Susan Caldwell จากเมืองมอนทรีออล รัฐควิเบก ประเทศแคนาดา 
75. องค์กรสังคมนิยมทางเลือก ประเทศออสเตรเลีย (Socialist Alternative, Australia)
76. เครือข่ายปฏิบัติการชุมชน ประเทศมาเลเซีย  (Community Action Network, Malaysia)
77. ขบวนการคาทอลิกระหว่างประเทศเพื่อกิจกรรมทางปัญญาและวัฒนธรรมเอเชีย  (International Catholic Movement for Intellectual and Cultural Affair –Asia)
78. กลุ่มชาวมาเลเซียสนับสนุนประชาธิปไตยในประเทศไทย  (Malaysia Support Group for Democracy in Thailand)
79. ศูนย์ผู้หญิง ประเทศศรีลังกา  (Women's Center, Sri Lanka)
80. สหพันธ์แรงงานสามัคคี ประเทศศรีลังกา (United Federation of Labour-UFL, Sri Lanka)
81. พรรคความเสมอภาคทางสังคมใหม่ (New Social Equality Party or Nava Sama Samaja Party-NSSP, Sri Lanka)
82. องค์กรสมานฉันท์ไร้พรมแดนแห่งยุโรป ประเทศฝรั่งเศส  (Europe Solidaire sans Frontiers-ESSF, France)
83. สภาแรงงานแห่งรัฐวิกตอเรีย ประเทศออสเตรเลีย (The Victorian Trades Hall Council, Australia)
84. องค์กรเสียงของประชาชนมาเลเซีย (Voice of the Malaysian People or Suara Rakyat Malaysia- SUARAM, Malaysia)
85. ศูนย์กลางการสื่อสารของชุมชน ประเทศมาเลเซีย (People's Communication Centre-KOMAS, Malaysia)
86. สมาคม Community Residents Association for Selangor and Federal Territories (PERMAS) ประเทศมาเลเซีย
87. วารสารไร้พรมแดน "Grenzeloos" ประเทศเนเธอร์แลนด์
88. เครือข่ายศาสนาพุทธระหว่างประเทศ ประเทศไทย (International Network of  Engaged Buddhism -INEB, Thailand)
89. กลุ่มสมานฉันท์ (กลุ่มสังคมนิยม) ประเทศออสเตรเลีย (Solidarity, Australia)
90. ศูนย์ทรัพยากรด้านแรงงาน มาเลเซีย (Labour Resource Centre Malaysia)
91. คุณ Chua Tian Chang สมาชิกรัฐสภา ประเทศมาเลเซีย
92. คุณ Syed Shahir Mohamud สมาชิกวุฒิสภา มาเลเซีย (อดีตประธานสภาแรงงานแห่งมาเลเซีย)
93. ศูนย์กลางเพื่อสื่อหนังสือพิมพ์อิสระ มาเลเซีย (Centre for Independent Journalism-CIJ)
94. เครือข่ายญาติและผู้ประสบภัยจากมาตรา 112 (The Network of Family Members and People Affected by Article 112, Thailand)
95. สหภาพแรงงานทำงานบ้าน ประเทศศรีลังกา  (Domestic Workers Union- Sri lanka)
96. กลุ่ม 24 มิถุนาเพื่อประชาธิปไตย (24 June for Democracy Group, Thailand)
97. กลุ่มคนเสื้อแดง (Red shirt individuals, Thailand)

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เครือข่ายผู้ใช้ยาฯ จับตานโยบายบำบัดรักษาผู้ใช้ยาเสพติดของรัฐบาล

Posted: 14 Sep 2012 04:10 AM PDT

 

14 ก.ย. 55 - เครือข่ายคนทำงานด้านการลดอันตรายจากการใช้สารเสพติดออกแถลงการณ์ข้อสังเกตของเครือข่ายคนทำงานด้านการลดอันตรายจากการใช้สารเสพติดต่อผลการดำเนินงานด้านการบำบัดรักษาผู้ใช้ยาเสพติดของรัฐบาล โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
 
แถลงการณ์
ข้อสังเกตของเครือข่ายคนทำงานด้านการลดอันตรายจากการใช้สารเสพติด
ต่อผลการดำเนินงานด้านการบำบัดรักษาผู้ใช้ยาเสพติดของรัฐบาล
 
ตามที่ ร.ต.อ.ดร.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติดแห่งชาติ (ศพส.) และ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงห์แก้ว เลขาธิการ ปปส. ร่วมกันแถลงข่าวสรุปผลการดำเนินงานด้านการบำบัดรักษาในรอบหนึ่งปีที่ผ่านมาว่า สามารถดำเนินงานได้เกินกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้คือ มีจำนวนผู้เข้ารับการบำบัดทั้งหมด 508,850 ราย เป็นผู้สมัครใจบำบัด 351,766 ราย บังคับบำบัด 139,885 ราย และระบบต้องโทษ 17,199 ราย เครือข่ายคนทำงานด้านการลดอันตรายจากการใช้สารเสพติด (เครือข่าย 12D) ดังมีรายนามท้ายหนังสือฉบับนี้ สนับสนุนการดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติดของรัฐบาลโดยใช้มาตรการทางกฎหมายอย่างเข้มงวดจริงจังกับผู้ผลิต ผู้ค้ารายใหญ่ และผู้ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการดังกล่าว แต่เครือข่ายมีข้อสังเกตต่อแถลงการณ์ ดังต่อไปนี้
 
1. แถลงการณ์ชี้ให้เห็นถึงความสำเร็จในเชิงปริมาณ แต่ไม่เห็นความสำเร็จในเชิงคุณภาพที่มีเป้าหมายในการคืนคนดีสู่สังคม
 
2. เป็นที่น่าสงสัยว่า รัฐบาลใช้มาตรการอะไรในการทำให้ผู้ใช้ยาจำนวนกว่า 350,000 คนตัดสินใจเข้ารับการบำบัดโดยสมัครใจอย่างพร้อมเพรียงกัน 
 
3. พบว่า ยังคงมีระบบการบังคับบำบัดและระบบต้องโทษ ทั้งที่มีข้อมูลเชิงประจักษ์จากองค์กรต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศที่ระบุว่า วิธีการดังกล่าวส่งผลเชิงลบและสิ้นเปลืองงบประมาณมหาศาล มากกว่าการช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ใช้ยา  
 
4. การที่ ศพส. จะมอบหมายให้สำนักงานกฤษฎีกาปรับปรุงพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ใช้ยาเสพติด พ.ศ. 2545 โดยให้นำผู้เสพเข้าบังคับบำบัดนั้น ขัดแย้งกับคำประกาศของนายกรัฐมนตรีว่า ผู้เสพคือผู้ป่วย และข้อมูลในแถลงการณ์ที่บอกว่า ผู้รับการบำบัดส่วนใหญ่สมัครใจ 
 
เครือข่าย 12D มีข้อเสนอแนะต่อ การพัฒนาแนวทางการบำบัดรักษาในอนาคต ดังต่อไปนี้
 
1. รัฐบาลควรแถลงต่อสาธารณะถึงความสำเร็จในเชิงคุณภาพที่ทำให้ประชาชนเชื่อมั่นว่า ได้คืนคนดีสู่สังคมแล้วอย่างยั่งยืน ตลอดจนเปิดเผยกระบวนการและมาตรการที่สนับสนุนให้ผู้ใช้สารเสพติดเข้ารับการบำบัดโดยสมัครใจ
 
2. รัฐบาลควรให้เหตุผลและข้อมูลเชิงวิชาการที่สนับสนุนการคงไว้ซึ่งระบบการบังคับบำบัดและระบบต้องโทษ 
 
3. เพื่อความโปร่งใสและตรวจสอบได้ รัฐบาลควรเปิดเผยรายละเอียดการใช้งบประมาณและหน่วยงานที่มีส่วนในการใช้จ่ายงบประมาณ
 
4. กรณีที่จะมีการมอบหมายสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาให้แก้ไขทบทวน พระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ใช้ยา พ.ศ. 2545 นั้น ควรจะต้องทำให้เจตนารมย์เรื่อง "ผู้เสพคือผู้ป่วย" ถูกระบุในกฎหมายอย่างชัดเจน มากกว่าการแก้ไขกฎหมายเพื่อตอบสนองการบังคับบำบัด และรัฐบาลควรประกาศยกเลิกการบังคับบำบัดและระบบต้องโทษอย่างสิ้นเชิง 
 
5. รัฐบาลควรประกาศใช้นโยบายลดอันตรายจากการใช้สารเสพติด ให้กระทรวงสาธารณสุขเป็นหน่วยงานหลัก โดยเปิดโอกาสให้ผู้ใช้ยาและภาคประชาสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน และติดตามผล
 
ทั้งนี้ เครือข่าย 12D และภาคีพันธมิตร ในฐานะที่เราเป็นผู้ที่ทำงานใกล้ชิดกับผู้ใช้ยาและเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ยินดีแลกเปลี่ยนข้อมูลและประสบการณ์กับรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน 
 
รายชื่อองค์กรที่สนับสนุนแถลงการณ์ฉบับนี้
เครือข่ายผู้ใช้ยา ประเทศไทย
มูลนิธิเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทย
คณะกรรมการองค์การพัฒนาเอกชนด้านเอดส์
ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย
มูลนิธิพีเอสไอ ประเทศไทย
มูลนิธิเข้าถึงเอดส์
มูลนิธิศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์
บ้านออเด้นท์
มูลนิธิรณรงค์เพื่อการรักษาเอดส์
มูลนิธิรักษ์ไทย
ศูนย์ลดอันตรายบ้านโอโซน
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ควันหลง “ชูวิทย์ – เฉลิม” ถกเดือดประเด็นต่างด้าวกลางสภา พา กมธ.ตร.ตรวจบ่อน อ.สะเดา

Posted: 14 Sep 2012 03:50 AM PDT

ควันหลังกระทู้ถามสดของ นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎฺ หัวหน้าพรรครักประเทศไทย ที่ถาม ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี โดยมีการนำคลิปภาพเหตุการณ์บริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา วันนี้ "ชูวิทย์" พา กมธ.ตร.ตรวจบ่อน อ.สะเดา ในคลิปวิดีโอ เจอแต่บ่อนร้าง เลขาฯ ถูกฟันหน้า สภ.หาดใหญ่

 
14 ก.ย. 55 - สืบเนื่องจากการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 13 ก.ย. 55 ที่ผ่านมา โดยในช่วงของการตอบกระทู้ถามสดของ นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎฺ หัวหน้าพรรครักประเทศไทย ที่ถาม ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี โดยมีการนำคลิปภาพเหตุการณ์บริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา มาถาม ระบุว่าเป็นคลิปการเจรจาของนายหน้า เพื่อต่อรองนำแรงงานต่างด้าวเข้าประเทศไทยนอกจากนี้ อีกคลิปหนึ่งยังเป็นการอ้างถึงการนำเข้าแรงงานต่างด้าวเข้าประเทศผ่านฐานทหารพราน โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการการตรวจคนเข้าเมือง ซึ่งนายชูวิทย์ระบุว่า อาจกระทบต่อความมั่นคง และเป็นช่องทางในการนำยาเสพติดเข้าประเทศ
 
ด้าน ร.ต.อ.เฉลิม รองนายกรัฐมนตรี ชี้แจงว่า ใครผิดใครถูก ตนดำเนินการอยู่แล้ว แต่ตนไม่มั่นใจว่าคลิปที่นายชูวิทย์นำมาเปิดเป็นคลิปสมัยไหน หากคนไม่รู้ดูก็สนุกและมันส์เท่านั้น ตนจะสอนนายชูวิทย์เอาบุญว่า ขณะนี้ ไม่มีแรงงานจะต้องหลบซ่อน เพราะรัฐบาลเปิดให้พิสูจน์สัญชาติแล้วและแรงงงานก็สามารถเข้ามาทำงานในประเทศไทยได้อย่างเสรี ส่วนเรื่องยาเสพและบ่อน ขอยืนยันว่าใครเข้าไปเกี่ยวข้อง ไปรับเงินขอให้ตายเจ็ดชั่วโคตร ซึ่งยาเสพติดเข้ามาภาคเหนือประมาณ 83% ภาคอีสาน ประมาณ 17% ส่วนการลักลอบเข้ามาทางกัมพูชาไม่มีถึงแสนเม็ด อาจมีบ้างเพียงเล็กน้อย ดังนั้นคลิปของนายชูวิทย์ เป็นเรื่องเต้าข่าวเท่านั้น คนอาจจะเชื่อ แต่ตนไม่เชื่อนายชูวิทย์แน่นอน ทั้งนี้ตนขอฝากผู้นำฝ่ายค้านว่า ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจขอให้ใส่ชื่อตนไปด้วยตามที่นายชูวิทย์ขอร้อง ทั้งนี้ ในการถามกระทู้ของนายชูวิทย์ ตอนหนึ่งในเรื่องการเปิดบ่อน ที่มีลูกชายนักการเมืองบางคนเข้าไปเกี่ยวข้อง ทำให้ทั้ง ร.ต.อ.เฉลิม และนายชูวิทย์โต้ตอบกันไปมาอย่างมีอารมณ์เป็นเวลานานในเรื่องบ่อน เรื่องอาบ-อบ-นวด และทั้งคู่ต่างก็ท้าสาบานที่วัดพระแก้วว่าสิ่งที่นำมาพูดเป็นความจริง 
 
ภายหลัง นายชูวิทย์ แถลงข่าวว่า ร.ต.อ.เฉลิม เอาแต่ตอบกระทู้ด้วยการสาบาน ไม่รู้โกรธอะไรตนมาจากไหน ถ้ามัวแต่สาบานคงตายกันหมดทั้งสภาฯ และ ร.ต.อ.เฉลิม ยังชอบพูดวนเวียนแต่เรื่องบ่อนการพนัน ทั้งที่ตนพูดเรื่องความมั่นคงของประเทศ ทั้งนี้จะเดินทางลงพื้นที่ไปยัง อ.สะเดา จ.สงขลา เพื่อติดตามเรื่องบ่อนการพนันและการลักลอบค้าประเวณีที่เคยลงพื้นที่มาก่อนหน้านี้ ตนขอแนะนำ ร.ต.อ.เฉลิม ควรเลิกวิธีการตอบกระทู้แบบเก่าๆ ได้แล้ว หัดประพฤติปฏิบัติตัวใหม่ ถ้ายังตอบกระทู้แบบนี้ต่อไปเรื่อยๆ ให้ จ.ส.ต.ประสิทธิ์ ไชยศีรษะ ส.ส.สุรินทร์ พรรคเพื่อไทย มาพูดแทนยังได้เลย คิดว่าความสามารถของท่านเฉลิมลดลง น่าเป็นห่วงหากยังคงให้ท่านดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตนขอเสนอ พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รมว.ยุติธรรม ซึ่งเป็นผู้มีคุณวุฒิ มีประสบการณ์ และเคยดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติมาทำหน้าที่แทน เพราะท่านมีความสามารถมากกว่า 
 
เฉลิมอัดชูวิทย์เอาคลิปบ่อนปอยเปตมาแหกตา
 
ต่อมาในวันที่ 14 ก.ย. 55 ที่ทำเนียบรัฐบาล ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกฯ ให้สัมภาษณ์กรณีที่นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ หัวหน้าพรรครักประเทศไทย เปิดคลิปแฉกลางสภาเจ้าหน้าที่ตรวจคนเมืองรับเงินในการขนแรงงานต่างด้าวว่า เมื่อมีการอภิปรายในสภา ตนก็ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบว่าจริงหรือไม่ แต่อยากชี้แจงว่า ในอดีตมีการทำอย่างที่นายชูวิทย์ พูดจริง แต่เดี๋ยวนี้ตั้งแต่ตนเข้ามาไม่มีแล้ว การอภิปรายของนายชูวิทย์ ในสภาขัดกับข้อเท็จจริง
 
"ถ้านายชูวิทย์ อภิปรายอะไรที่มีเหตุมีผลผมก็รับ และเมื่อมีการพูดผมก็ได้สั่งให้ไปตรวจสอบ ส่วนคลิปที่นำมาเปิดนั้น ผมยังดูไม่ออก ไม่เห็นตัวคน และมาบอกวันที่เท่านั้น เท่านี้ ใครก็ทำได้ และผมอยากจะบอกว่าบ่อนในประเทศไทยไม่มีใครกล้าถ่ายหรอก เพราะบ่อนเล็ก ใครเข้า ใครออกรู้หมด  แต่มีการไปถ่ายคลิปกันที่ปอยเปต ซึ่งมีคนไทยเล่นอยู่ แล้วเอามาเปิด ซึ่งบ่อนในกทม.ปัจจุบันอาจมีเปิดบ้าง แต่ก็ทำหนังสือเวียนถึงตำรวจตลอดให้สืบสวนจับกุม ยืนยันผมไม่มีการหากินเรื่องพวกนี้ ถ้าผมชั่ว ไม่มาถึงวันนี้หรอก" ร.ต.อ.เฉลิมกล่าว
 
ผู้สื่อข่าวถามว่าการเปิดคลิปของนายชูวิทย์ เช่นนี้จะกระทบต่อภาพพจน์ของตำรวจหรือไม่ ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า ตำรวจก็ต้องไปสืบสวนจับกุม แต่ตนว่าถ้าจะเอาจริง ไม่ควรไปเปิดเผยในสภา แค่มาส่งให้ตนก็จบ จะได้เป็นความลับ และหากตนไม่ดำเนินการก็ค่อยมาวิจารณ์  แต่พอเปิดในสภา ถ้าเป็นจริงก็บ้านแตกสาแหรกขาดหมด ใครจะมารอให้จับ ยืนยันตนไม่หากินกับเรื่องสกปรก เมื่อถามว่าการออกมาเปิดเช่นนี้ของนายชูวิทย์ มองว่ามีเรื่องการเมืองอยู่เบื้องหลังหรือไม่  รองนายกฯ กล่าวว่า ตนไม่ขอวิพากษ์วิจารณ์ เพราะมองว่าเป็นเรื่องไร้สาระ
 
ผู้สื่อข่าวถามว่านายชูวิทย์ จะนำเรื่องนี้มาเป็นประเด็นในการยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจด้วย ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า "สาธุ ภาวนาเถอะ ผมกลัวผมเหงา ใส่ชื่อมาเถอะ เรียนผู้นำฝ่ายค้านด้วย ถ้าคุณชูวิทย์ ร้องขอเขาอาจมีหลักฐานเด็ดน็อกผมในสภา กรุณาใส่ชื่อผมหน่อย" รองนายกฯ กล่าว.
 
"ชูวิทย์" พา กมธ.ตร.ตรวจบ่อน อ.สะเดา ในคลิปวิดีโอ เจอแต่บ่อนร้าง
 
วันเดียวกัน (14 ก.ย.) นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ หัวหน้าพรรครักประเทศไทย พร้อมคณะกรรมาธิการตำรวจ สภาผู้แทนราษฎร (กมธ.ตร.) ได้เดินทางไปตรวจสอบบ่อนการพนันบริเวณย่านซอยไทยจังโหลน 4 ติดชายแดนไทยมาเลเซีย ต.สำนักขาม อ.สะเดา จ.สงขลา โดยเดินย้อนรอยตามคลิปวิดีโอที่นายชูวิทย์แถลงข่าว ที่อาคารรัฐสภา เมื่อวันที่ 30 สิงหาคมที่ผ่านมาว่า มีบ่อนขนาดใหญ่เปิดให้บริการนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียเล่นการพนัน โดยใช้สกุลเงินริงกิต มีลูกค้าเข้ามาเล่นวันละไม่ต่ำ 500 คน มีเงินหมุนเวียนไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท โดยบ่อนตั้งอยู่ในซอยไทยจังโหลน 4 เดินทางผ่านป้อม ตร.จราจร ผ่านร้านขายเครื่องนอน จ่ายค่าผ่านทาง 10 บาท ทะลุเข้าบ่อน ซึ่งมีศาลเจ้าขนาดเล็กอยู่หน้าทางเข้า มีการตรวจค้นนักเล่นก่อนเข้าประตูบ่อน และภายในมีบ่อนการพนัน พร้อมนักเล่นชาวมาเลเซียมากมายตามคลิปที่เสนอ
 
คณะกรรมาธิการได้เดินทางมาตามคลิปวิดีโอ ก็มาพบบ่อนร้างมีฝุ่นจับหนาเตอะ หลังคาผุพัง ด้านหลังบ่อนติดด่านตำรวจตรวจคนเข้าเมือง ที่เคยแอบลักลอบเล่นเมื่อหลายปีก่อน ซึ่งสร้างความผิดหวังให้กับกรรมาธิการเป็นอย่างมาก โดยนายชูวิทย์และทีมงานส่วนตัวได้ทำการพิสูจน์ใหม่อีกรอบ ก็ไม่ตรงกับคลิป โดยทีมงานของนายชูวิทย์กล่าวว่า มีการเปลี่ยนแปลงสภาพกระเบื้องปูหน้าทางเข้าและไม่สามารถตรวจสอบได้
 
พร้อมกันนั้น นายชูวิทย์และนายสมชาย โล่ห์สถาพรพิพิธ ให้สัมภาษณ์ว่า สรุปไม่มีบ่อนและให้ตำรวจรับปากว่า ต่อไปคงไม่มีบ่อนอีกต่อไปเช่นกัน จากการตรวจพบว่าอาจมีการลักลอบเล่นกันบ้าง ซึ่งเรายังไม่แน่ใจ เพราะตำรวจมีกำลังน้อย ต้องดูแลด้านความมั่นคงและปัญหายาเสพติด เพราะที่นี่เป็นที่ล่อแหลม ทำให้การลักลอบเล่นการพนันย่อมมีบ้าง ต่อไปเราจะคุยกันถึงเรื่องงบประมาณตำรวจ เพิ่มเครื่องไม้เครื่องมือให้กับท้องที่ อ.สะเดา พร้อมกับนายชูวิทย์กล่าวเสริมว่า เมื่อคืนตัวเมืองหาดใหญ่เรียบร้อยมาก มีการตั้งด่านตรวจตราเป็นพิเศษ
 
จากนั้น คณะได้เดินย้อนกลับทางเดิม โดยมีเจ้าของร้านขายเครื่องนอน ที่ใช้เป็นทางผ่านเข้าบ่อนและบรรดาพ่อค้าแม่ค้าได้ออกมาขอถ่ายรูปกับนายชูวิทย์กันอย่างล้นหลาม พร้อมกับเอ่ยปากขอโทษต่อพ่อค้าแม่ค้าว่า ที่มาในวันนี้ผมทำตามหน้าที่ อย่าโกรธอย่างเด็ดขาด เลือกผมมาแล้วผมก็ต้องพูดต้องทำ เสร็จที่นี่แล้วผมจะไปพูดที่อื่น ขออวยพรให้พ่อค้าแม่ค้าทำมาค้าขึ้น ขอให้รวยๆ กล่าวพร้อมเอามือลูบอกพร้อมพูดว่า โล่งอกไปที
 
หลังจากนั้น นายชูวิทย์เดินกลับที่ปากซอย เพื่อเปรียบเทียบรูปป้อมตำรวจกับคลิปว่า เหมือนกันหรือไม่ โดยพบว่าได้มีการดึงสติกเกอร์รูปตราโล่ออก ยังปรากฏร่องรอยอย่างชัดเจน
 
เลขาฯ ชูวิทย์ถูกฟันหน้า สภ.หาดใหญ่
 
ทั้งนี้ในระหว่างการลงพื้นที่ จ.สงขลา นายเทพทัพ บุญพัฒนานนท์ อายุ 29 ปี เลขานุการส่วนตัวของนายชูวิทย์ กมลวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรครักประเทศไทย ถูกฟันด้วยมีดขนาดใหญ่เข้าที่บริเวณกกหู ได้รับบาดเจ็บถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลหาดใหญ่ แพทย์กำลังให้การช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน เบื้องต้นตำรวจเชื่อว่ามือมีดเป็นหญิงวิกลจริต
 
ขณะที่นายชูวิทย์ กลมวิศิษฎ์ หัวหน้าพรรครักประเทศไทย และ รองประธานกรรมาธิการตำรวจ สภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ยังไม่สามารถสรุปว่าหญิงคนดังกล่าวเป็นคนวิกลจริตหรือไม่ ต้องรอให้เจ้าหน้าที่นำตัวไปสอบปากคำ และตรวจสอบสุขภาพจิตก่อน แต่เชื่อว่า น่าจะเป็นการจ้างวานให้มาทำร้ายตนเอง เนื่องจากในขณะเกิดเหตุตนเองก็อยู่ในเหตุการณ์ แต่โชคดีมีเลขาฯ กับ เจ้าหน้าที่ที่เห็นเหตุการณ์ช่วยกันไว้ได้
 
นอกจากนี้ นายจักภพ เทพเสนา หนึ่งในทีมงานนายชูวิทย์ ก็ถูกหญิงคนดังกล่าวฟันเฉี่ยวบริเวณแขนเสื้อสูทเช่นกัน
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

นายกฯ เวียดนามสั่งจัดการ 3 บล็อกต้านรัฐบาล

Posted: 14 Sep 2012 03:48 AM PDT

เวียดนามออกแถลงการณ์ผ่านเว็บไซต์รัฐบาล ระบุว่า เหงียน เติ๋น สุง นายกรัฐมนตรีเวียดนามได้สั่งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจสืบสวนและจัดการกับผู้อยู่เบื้องหลังบล็อกภาษาเวียดนาม 3 แห่งที่เขียนโจมตีรัฐบาล โดยระบุว่าจะต้องถูกลงโทษอย่างหนัก รวมถึงสั่งห้ามไม่ให้ข้าราชการเข้าไปอ่านบล็อกเหล่านี้ด้วย

แถลงการณ์ดังกล่าวระบุว่า นี่เป็นแผนชั่วร้ายของกองกำลังฝ่ายศัตรู และว่าบล็อกเหล่านี้ใส่ร้ายผู้นำประเทศ ปั้นน้ำเป็นตัวและบิดเบือนข้อมูล ป่วนพรรคและรัฐ และก่อให้เกิดความสงสัยและความไม่ไว้วางใจในสังคม

ทั้งนี้ 3 บล็อกดังกล่าว มีบล็อก  Dan Lam Bao (ประชาชนทำสื่อ) และ Quan Lam Bao
(ข้าราชการประจำทำสื่อ) รวมอยู่ด้วย บล็อกทั้งสองแห่งบอกว่าจะเผยแพร่ข้อมูลต่อไป โดยผู้ดูแลบล็อก Dan Lam Bao ระบุว่า เขาและเพื่อนๆ พร้อมจะถูกปราบปรามและคุมขัง มากกว่าจะใช้ชีวิตแบบหมาทึ่มๆ ที่ไม่กล้าเห่า และรับใช้ผู้ที่ใช้อำนาจในทางที่ผิด

เวียดนามนั้นไม่อนุญาตให้มีสื่อเอกชน หนังสือพิมพ์และโทรทัศน์เป็นกิจการของรัฐ ผู้สื่อข่าวซึ่งทำงานให้สำนักข่าวต่างประเทศได้รับอนุญาตให้อาศัยในประเทศ แต่หากจะเดินทางไปรายงานข่าวนอกเมืองหลวงต้องขออนุญาตก่อน ทั้งนี้ หากหัวข้อเรื่องดูเป็นเรื่องอ่อนไหวหรือเป็นอันตรายกับประเทศ ก็มักถูกปฏิเสธอยู่เสมอ

องค์การผู้สื่อข่าวไร้พรมแดน (RSF) ระบุว่า ปัจจุบัน มีผู้สื่อข่าวอย่างน้อย 5 คนและพลเมืองเน็ต 19 คนถูกจับกุมตัวในเวียดนาม ทั้งนี้ เวียดนามเป็นประเทศที่มีการคุมขังบล็อกเกอร์และผู้เห็นต่างในโลกไซเบอร์ มากเป็นอันดับสามของโลก รองจากจีนและอิหร่าน รวมถึงติดอยู่ใน 1 ใน 12 ประเทศที่องค์การผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนจัดให้เป็น "ศัตรูอินเทอร์เน็ต" ด้วย

 

 

ที่มา:
Vietnam prime minister targets anti-government blogs
http://www.bbc.co.uk/news/world-asia-19582374

Another journalist arrested, held incommunicado for past month
http://en.rsf.org/vietnam-another-journalist-arrested-held-17-08-2012,43242.html

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

นายตำรวจ-เจ้าหน้าที่สวนสัตว์เบิกความคดีไต่สวนการตาย จนท.เขาดิน 10 เมษา

Posted: 14 Sep 2012 03:24 AM PDT

รองผู้กำกับ สน.ดุสิต ระบุมีทหารเข้าใจว่ามีการยิงปืนมาจากรัฐสภา แต่เข้าไปตรวจสอบแล้วมีเพียงตำรวจประจำรัฐสภา และไม่พบสิ่งผิดปกติ ส่วนรอบสวนสัตว์มีทหารวางกำลังอยู่ ขณะที่ตำรวจในกองร้อยปราบจลาจลระบุช่วงเกิดเหตุ ทหารวิ่งฮือเข้ามาหลบในอาคารจอดรถสวนสัตว์ และทหารยิงปืนออกจากอาคารในทิศทางชี้ขึ้นฟ้า 45 องศา

ที่ห้องพิจารณา 808 ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก วันที่ 14 ก.ย.55 เวลา 09.00 น. ศาลนัดไต่สวนคำร้องชันสูตรพลิกศพ คดีหมายเลขดำที่ อช.8/2555 ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 7 เป็นโจทก์ ยื่นคำร้องขอให้ชันสูตรการเสียชีวิตของนายมานะ อาจราญ ลูกจ้างของสวนสัตว์ดุสิตแผนกบำรุงรักษา เพื่อทำคำสั่ง แสดงว่าผู้ตายเป็นใคร ตายที่ไหน เมื่อใด และถึงเหตุและพฤติการณ์ที่ตาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 150

ทั้งนี้นายมานะถูกยิงเสียชีวิตเมื่อวันที่ 10 เม.ย. 53 บริเวณสวนสัตว์ดุสิต ถ.พระราม 5 แขวงจิตรลดา เขตดุสิต กทม. ระหว่างสลายการชุมนุมคนเสื้อแดงที่ ถ.ราชดำเนิน โดยวันนี้เป็นนัดที่สองของการไต่สวน (ข่าวก่อนหน้านี้)

 

นายตำรวจระบุรอบสวนสัตว์มีทหารประจำการอยู่ ใกล้ร่างนายมานะพบปลอกกระสุน

พยานปากแรกของวันนี้ คือ พ.ต.ท.สำเริง ส่งเสียง รองผู้กำกับการป้องกันและปราบปราม สน.ดุสิต เบิกความว่า เมื่อวันที่ 10 เม.ย. 53 เวลาประมาณ 23.30 น. ได้รับแจ้งทางวิทยุว่ามีการยิงกันที่บริเวณรัฐสภา จึงเข้ามาตรวจพื้นที่ พบทหารประมาณ 30 นาย นอนราบอยู่ที่ ถ.อู่ทองใน เล็งปืนไปทางสภา โดยบอกว่ามีบุคคลยิงปืนมาจากสภา พ.ต.ท.สำเริง ซึ่งคุ้นเคยกับท้องที่จึงประสานกับทหารเพื่อขอนำตำรวจประจำรัฐสภา 2 นายออกมา โดยทั้ง 2 นายยอมให้ปลดอาวุธ จากนั้น พ.ต.ท.สำเริงนำกำลังเข้าไปสำรวจภายในอาคารรัฐสภาไม่พบสิ่งผิดปกติ

ต่อมาในเวลา 00.30 น. ของวันที่ 11 เม.ย. ได้รับแจ้งว่ามีผู้เสียชีวิตในสวนสัตว์ดุสิต พ.ต.ท.สำเริงจึงเข้าไปตรวจสอบ พบร่างนายมานะ อาจราญถูกยิงเสียชีวิต ห่างออกไป 20 เมตรไปทางทิศตะวันออก มีปลอกกระสุนตกอยู่ 2-3 ปลอก ไม่ทราบว่านายมานะตายด้วยสาเหตุใด แต่เมื่อถามญาติผู้ตาย ญาติกล่าวว่าคนในบริเวณดังกล่าวยิง ทั้งนี้ พ.ต.ท.สำเริงได้ออกตรวจพื้นที่รอบสวนสัตว์ดุสิต นอกจากเจ้าหน้าที่สวนสัตว์ก็มีแต่ทหารและตำรวจ โดยตำรวจปราบจลาจลไม่มีอาวุธ ส่วนบริเวณรอบๆ ที่รัฐสภา ลานพระบรมรูปทรงม้า แยกราชวิถี มีทหารประจำการอยู่

 

ตำรวจปราบจลาจลขึ้นเบิกความเผยช่วงชุลมุนเห็นทหารยิงปืนเฉียงขึ้นฟ้า

ต่อมา ร.ต.ต.ณรงค์ คำโพนรัตน์ ปัจจุบันประจำอยู่ สภ.อ.บ้านแพรก จ.พระนครศรีอยุธยา เบิกความว่า เมื่อวันที่ 10 เม.ย. 53 มียศ ส.ต.อ. สังกัดอยู่ สน.สามเสน และได้รับคำสั่งให้ไปปฏิบัติหน้าที่ในกองร้อยปราบจลาจล กองร้อยที่ 1 มีกำลังพลประมาณ 120 นาย ในวันดังกล่าวได้รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาให้ไปประจำอยู่ที่สวนสัตว์ดุสิตตั้งแต่เวลา 8.00 น. ต่อมาเวลา 16.00 น. กองร้อยปราบจลาจลได้รับคำสั่งให้แบ่งไปปฏิบัติภารกิจที่จุดต่างๆ โดยกลุ่มของตนได้รับคำสั่งให้ไปปฏิบัติหน้าที่แยกวัดเบญจมบพิตร แต่เข้าไม่ได้เนื่องจากทหารนำแท่งปูนมาวางกั้นที่แยก จึงถอนกำลังกลับมาอยู่ที่สวนสัตว์ดุสิตทั้งหมด 7 นาย มาเฝ้าเครื่องมือวิทยุสื่อสารของหน่วย ทั้งนี้ตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่ในวันดังกล่าวไม่ได้ถือกระบองปราบจลาจล

ทั้งนี้ ร.ต.ต.ณรงค์เบิกความว่า ทหารเริ่มเข้ามาบริเวณสวนสัตว์ดุสิต ตั้งแต่เวลา 18.00 น. มีทั้งสิ้น 4 กองร้อย กองร้อยละ 120 นาย อาวุธประจำกายประกอบด้วย ปืนเอ็ม-16 ปืนทาโว่ (TAR-21 หรือ Tavor) ปืนลูกซอง และกระบอง ต่อมาในเวลา 23.00 น. ขณะนั้น ร.ต.ต.ณรงค์ ผูกเปลนอนอยู่ใต้ต้นโพธิ์สวนสัตว์ดุสิตใกล้ลานจอดรถ ทหารได้วิ่งเข้ามาจากประตูทางเข้าสวนสัตว์ฝั่งรัฐสภา ถือปืนวิ่งเข้ามา ต่างคนต่างหลบที่ลานจอดรถ ชนเก้าอี้ระเนระนาด และมีทหารวิ่งเข้าชนจน ร.ต.ต.ณรงค์ตกเปล จากนั้นก็มีเสียงปืนดังขึ้น ทหารที่นอนหมอบอยู่ได้ยิงปืนในทิศทางเฉียงขึ้นฟ้า 45 องศา โดยมีปลอกกระสุนปืนกระเด็นมาถูกตัว ร.ต.ต.ณรงค์ ด้วย โดยเสียงปืนนั้น ร.ต.ต.ณรงค์ได้ยินมาจากรอบทิศทาง เสียงปืนดังเป็นชุดๆ เงียบไปสักพักหนึ่งก็ดังขึ้นมาอีก จากนั้นทหารก็สั่งว่า "แนวยิงให้หยุดยิง" เสียงปืนซึ่งดังเป็นเวลา 30 นาทีจึงสงบลง โดย ร.ต.ต.ณรงค์ ได้ชวนเพื่อนขึ้นไปที่ชั้น 2 ของอาคารจอดรถ ก็พบทหารวางแนวปืนอยู่ที่ชั้น 2 ด้วย

 

เจ้าหน้าที่สวนสัตว์เผยมีทหารหนีมาขอหลบในกรงแพนด้าแดง

ต่อมา นายนภดล ทิพย์ธัญญา พนักงานบำรุงรักษาสัตว์ เบิกความว่า เมื่อวันที่ 10 เม.ย.53 ได้รับคำสั่งให้ดูแลความปลอดภัยบริเวณกรงเสือและแพนด้าแดง ด้านติดกับ ถ.ราชวิถี เนื่องจากเกรงว่าอาจจะมีคนปีนเข้ามาภายในสวนสัตว์ดุสิต กลางดึกมีคนแต่งกายคล้ายทหาร 2 นาย คนหนึ่งสวมเครื่องแบบทหารครึ่งท่อน อีกคนสวมชุดลายพราง วิ่งมาจากที่จำหน่ายตั๋วของสวนสัตว์ด้าน ถ.ราชวิถี มาขอความช่วยเหลือบอกว่าถูกคนเสื้อแดงไล่ยิง พยานกับเพื่อนที่เข้าเวรด้วยกันจึงให้ไปหลบในกรงแพนดาแดง โดบบอกว่าจะขอเปลี่ยนเสื้อด้วย แต่พยานกับเพื่อนไม่ทราบว่าทหารทั้ง 2 นาย เปลี่ยนเสื้อเป็นชุดอะไร เพียงแต่ดูต้นทางให้และไม่ปรากฏว่ามีบุคคลใดตามทหารทั้ง 2 นายมา

จนถึงเวลา 23.30 น.ได้ยินเสียงปืนหลายนัด แต่จะยิงมาจากทิศทางใด ไม่ทราบ หลังจากนั้นได้รับการติดต่อทางวิทยุสื่อสารว่า นายมานะโดนยิงบริเวณกรงเก้งหม้อที่เป็นบ่อพักเต่ายักษ์ นายนภดลจึงจะเดินไปกับเพื่อนชื่อนายสมบัติเพื่อไปดูจุดที่นายมานะถูกยิงก็มีเสียงตะโกนจากอาคารจอดรถว่า "ใคร" จากนั้นนายสมบัติจึงตอบว่าเป็นพนักงานสวนสัตว์ จากนั้นมีเสียงจากอาคารจอดรถสั่งให้หมอบเป็นเวลา 20 นาที และระหว่างนั้นก็มีเสียงปืนดังขึ้น หลังจากเสียงปืนสงบแล้วและมีเสียงจากอาคารจอดรถบอกว่า "ให้ไปได้" ทั้งนายนภดล และนายสมบัติจึงเดินไปหลบที่อาคารจอดรถ ทั้งนี้เห็นว่าบริเวณที่นายมานะเสียชีวิตมี ผอ.สวนสัตว์ดุสิต และพนักงานสวนสัตว์เข้ามาดูศพนายมานะ แต่ทั้งนายนภดล และนายสมบัติไม่ได้เดินไปดูจุดที่นายมานะเสียชีวิตอีก

ภายหลังไต่สวนพยานเสร็จสิ้นแล้วในวันนี้ ศาลนัดไต่สวนพยานครั้งต่อไปวันที่ 17 ก.ย. เวลา 9.00 น.

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เลาะเลียบริมโขง: ลาวยังอยากจะพัฒนาตนให้กลายเป็นแบ็ตเตอรี่แห่งเอเชีย

Posted: 14 Sep 2012 03:20 AM PDT

 

ลาวยังยืนยันจะพัฒนาประเทศให้เป็นแบ็ตเตอรี่ของเอเชียด้วยการส่งเสริมการลงทุนก่อสร้างเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้าให้มากขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง

เจ้าหน้าที่ชั้นสูงในกระทรวงพลังงานและเหมืองแร่ได้เปิดเผยให้ทราบว่าผู้นำประเทศและรัฐบาลลาวยังคงยืนยันที่จะนำพาและพัฒนาประเทศลาวให้เป็นแบตเตอรี่แห่งเอเชียให้ได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ ด้วยการส่งเสริมให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนเพื่อก่อสร้างเขื่อนในลาวให้มากขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง โดยถึงแม้ว่าเป้าหมายดังกล่าวนับวันจะถูกคัดค้านจากองค์การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติทั้งในระดับภูมิภาคและระดับสากลมากขึ้นก็ตาม

ทั้งนี้ก็เนื่องจากว่าเป้าหมายสำคัญที่สุดของทางการลาวในการพัฒนาประเทศให้เป็นแบตเตอรี่ของเอเชียนั้น ก็คือการนำเอารายรับจากการส่งออกพลังงานไฟฟ้าดังกล่าว มาใช้ในการแก้ไขปัญหาความยากจนของประชาชนลาวทุกเผ่าเป็นด้านหลัก และยังถือว่าเป็นการใช้ศักยภาพทรัพยากรน้ำของลาวให้เป็นประโยชน์ได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

ซึ่งด้วยศักยภาพดังกล่าวนี้ ท่านจูมมะลี ไซยะสอน ประธานประเทศ ก็เคยให้การเน้นย้ำต่อบรรดาคณะทูตานุทูตค่างประเทศในลาวเมื่อไม่นานมานี้ว่า

"สปป. ลาว เป็นประเทศที่มีศักยภาพในการผลิตกระแสไฟฟ้าพลังน้ำอย่างมากมาย ซึ่งก็เป็นโอกาสดีต่อการนำทรัพยากรน้ำมาใช้เพื่อเป็นทุนรอนในการก่อร่างสร้างพัฒนาประเทศชาติ ฉะนั้น รัฐบาลลาวจึงได้ทุ่มเททุกความพยายามของตน ร่วมกับการสนับสนุนทางวัตถุ เทคนิก และทุนรอนจากนานาชาติ เพื่อพัฒนาแหล่งพลังงานที่สะอาดดังกล่าวให้สามารถตอบสนองได้กับความต้องการพลังงานอยู่ภายในประเทศ และส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้าน"

กระทรวงพลังงานและเหมืองแร่ ได้ประกาศแผนการส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศเพื่อให้เข้ามาก่อสร้างเขื่อนในลาวให้ได้ปีละ 2 โครงการ นับจากปัจจุบันไปจนถึงปี 2020 โดยถ้าหากว่าสามารถปฏิบัติได้จริงก็จะทำให้ลาวมีเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้าเพิ่มขึ้นกว่า 20 โครงการ และยังจะทำให้ลาวมีความสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้เพิ่มขึ้นจาก 2,540 เมกะวัตต์ ในปัจจุบันนี้เป็นมากกว่า 9,000 เมกะวัตต์ ในปี 2020 อีกด้วย

จนถึงปัจจุบันนี้ รัฐบาลลาวได้อนุญาตให้ภาคเอกชนลาวและต่างชาติดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้และออกแบบก่อสร้างเขื่อนอยู่ในลาวไปแล้ว 80 กว่าโครงการ ซึ่งในจำนวนนี้เป็นโครงการที่อยู่ในขั้นตอนของการวางแผนก่อสร้าง 20 กว่าโครงการ และอีกกว่า 60 โครงการกำลังอยู่ในขั้นตอนของการศึกษาความเป็นไปได้และออกแบบก่อสร้างต่อไป

ส่วนเขื่อนที่ได้ทำการผลิตพลังงานไฟฟ้าแล้วในปัจจุบันมีจำนวน 14 แห่ง ซึ่งสามารถผลิตไฟฟ้าได้ 2,540 เมกะวัตต์ โดยเขื่อนที่ถือว่าเป็นเขื่อนขนาดใหญ่ที่สุดในขณะนี้คือ เขื่อนน้ำเทิน 2 ที่ส่งพลังงานไฟฟ้าให้ไทยเป็นส่วนใหญ่ โดยรัฐบาลไทยได้ตกลงจะรับซื้อพลังงานไฟฟ้าจากลาวจำนวน 7,000 เมกะวัตต์ ภายในปี 2015 ส่วนรัฐบาลเวียตนามและกัมพูชา ก็ได้ตกลงรับซื้อพลังงานไฟฟ้าจากลาว 5,000 เมกะวัตต์ และ 3,000 เมกะวัตต์ ตามลำดับ ในปี 2020

หากแต่ว่าปัญหาในเวลานี้ ก็คือบรรดาองค์การอนุรักษ์สภาพแวดล้อมธรรมชาติในระดับสากล ได้ประกาศท่าที่อย่างชัดเจนว่าจะคัดค้านการก่อสร้างเขื่อนทั้งในลาวและเขื่อนตามแนวแม่น้ำโขงอย่างถึงที่สุด เพราะเชื่อว่าจะส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมธรรมชาติและสัตว์น้ำอย่างกว้างขวาง โดยล่าสุดองค์การองค์การอนุรักษ์สภาพแวดล้อมธรรมชาติในไทย ก็ได้ออกมาเคลื่อนไหวเพื่อคัดค้านการก่อสร้างเขื่อนไซยะบุลีบนแม่น้ำโขงในแขวงไซยะบุลี และเขื่อนดอนสะหงอยู่ในเขตสีพันดอน แขวงจำปาสักของลาว รวมทั้งยังจะพากันเคลื่อนไหวเพื่อคัดค้านแผนการรับซื้อพลังงานไฟฟ้าจากรัฐบาลลาวของรัฐบาลไทยอีกด้วย

 

 

ธีรภัทร เจริญสุข : ภาษาลาววันละคำสองคำวันนี้ เสนอคำว่า ທ່າແຮງບົ່ມຊ້ອນ - (ท่าแฮงบ่มซ้อน) : ศักยภาพ, potential

  • คำว่า ທ່າແຮງບົ່ມຊ້ອນ นี้ หมายถึง แรงที่ถูกกดซ้อนทับบ่มไว้ ไม่ปรากฏออกมา หรือความสามารถที่มีอยู่โดยยังไม่นำ-ออกมาใช้ ซึ่งเมื่อแปลเป็นภาษาไทยคือคำว่า "ศักยภาพ" นั่นเอง

    เป็นคำง่ายๆ มาประกอบกันได้ใจความ แบบที่คนไทยอ่านเจอแล้วคงงงไปเลย

    ตัวอย่างจากข่าว

    "ສປປ. ລາວ ເປັນປະເທດທີ່ມີທ່າແຮງບົ່ມຊ້ອນໃນການ
    ຜະລິດກະແສໄຟຟ້ານໍ້າຕົກ ຢ່າງຫຼວງຫຼາຍ ຊຶ່ງກໍເປັນ
    ໂອກາດດີໃຫ້ກັບການນໍາໃຊ້ຊັບພະຍາກອນນໍ້າເພື່ອເປັນ
    ທຶນຮອນໃນການສ້າງສາພັດທະນາປະເທດຊາດ ສະນັ້ນ
    ລັດຖະບານລາວຈຶ່ງໄດ້ສຸມ ທຸກຄວາມພະຍາຍາມຂອງ
    ຕົນບວກກັບການສະໜັບສະໜຸນທາງດ້ານວັດຖຸເທກນິກ 
    ແລະທຶນຮອນຈາກສາກົນ ເພື່ອພັດທະນາແຫຼ່ງພະລັງງານທີ່ສະອາດດັ່ງກ່າວໃຫ້
    ສາມາດຕອບສະໜອງໄດ້ກັບຄວາມຕ້ອງການທາງດ້ານພະລັງງານຢູ່ພາຍໃນ
    ປະເທດແລະເພື່ອສົ່ງອອກໄປປະເທດເພື່ອນບ້ານ."

    "สปป. ลาว เป็นประเทศที่มีศักยภาพในการผลิตกระแสไฟฟ้าพลังน้ำอย่างมากมาย ซึ่งก็เป็นโอกาสดีต่อการนำทรัพยากรน้ำมาใช้เพื่อเป็นทุนรอนในการก่อร่างสร้างพัฒนาประเทศชาติ ฉะนั้น รัฐบาลลาวจึงได้ทุ่มเททุกความพยายามของตน ร่วมกับการสนับสนุนทางวัตถุ เทคนิก และทุนรอนจากนานาชาติ เพื่อพัฒนาแหล่งพลังงานที่สะอาดดังกล่าวให้สามารถตอบสนองได้กับความต้องการพลังงานอยู่ภายในประเทศ และส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้าน"

     

 

 

 

 

ที่มา  http://lao.voanews.com/content/lao-authorities-emphasize-on-plan-of-battery-of-asia/1505842.html

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ยื่นอุทธรณ์ศาลปกครองสูงสุด ยัน ‘แบบจำลองโลกร้อน’ กระทบชุมชน

Posted: 14 Sep 2012 02:59 AM PDT

เครือข่ายภาคประชาชน 23 ราย ยื่นอุทธรณ์ขอศาลปกครองสูงสุดรับพิจารณาคำฟ้อง ยกเลิก 'แบบจำลองโลกร้อน' ทนายแจงประชาชนหวังพึงอำนาจศาลปกครองแก้ปัญหาความไม่เป็นธรรมต่อชุมชนท้องถิ่น-ประชาชน วางบรรทัดฐานในการบริหารงานที่ดีของหน่วยงานรัฐ

วันนี้ (14 ก.ย.55) เมื่อเวลาประมาณ 10.00 น.เครือข่ายภาคประชาชน รวม 23 รายได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งไม่ฟ้อง ต่อศาลปกครองสูงสุด เพื่อขอให้ศาลพิจารณาพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งให้บังคับใช้แบบจำลองสำหรับการประเมินค่าเสียหายทางสิ่งแวดล้อมบางประการหลังการทำลายป่าไม้ หรือแบบจำลองค่าเสียหายโลกร้อน และให้ผู้ถูกฟ้องร้องคือ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และกรมป่าไม้ ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขแบบจำลองดังกล่าวให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ และจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องก่อนนำแบบจำลองใหม่มาบังคับใช้

จากที่ก่อนหน้านี้ ผู้ฟ้องประกอบด้วย 4 เครือข่าย 1 องค์กรพัฒนาเอกชน ได้แก่ เครือข่ายปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัด จ.ตรัง พัทลุง และประจวบคีรีขันธ์ เครือข่ายองค์กรชาวบ้านอนุรักษ์ลุ่มน้ำเซิน จ.ชัยภูมิ เครือข่ายองค์กรชาวบ้านอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าภูผาแดง จ.เพชรบูรณ์ องค์กรชุมชนบ้านพรสวรรค์ จ.เชียงใหม่ และมูลนิธิอันดามัน ร่วมกับผู้ฟ้องร้องในนามบุคคล 18 ราย รวมทั้งสิ้น 23 ราย ได้ยื่นฟ้องต่อศาลเมื่อวันที่ 28 พ.ค.ที่ผ่านมา แต่ปรากฏว่าศาลปกครองกลางมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณา ในวันที่ 23 ก.ค.55 ด้วยเหตุผลที่ว่า ประเด็นที่ผู้ฟ้องคดีนำเสนอไม่เป็นไปตามเงื่อนไขแห่งการฟ้องคดี กล่าวคือ

'รายละเอียดหนังสือสั่งการของกรมอุทยานแห่งชาติฯ รวมทั้งแบบจำลองฯ  เป็นเพียงการวางหลักเกณฑ์ภายในฝ่ายปกครอง มิใช่เป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายกระทำการหรือสั่งการต่อผู้บุกรุกแผ้วถางหรือทำลายป่าไม้โดยตรง โดยเป็นการสั่งการให้พนักงานเจ้าหน้าที่ในสังกัดของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองประเมินและคำนวณค่าเสียหายของทรัพยากรธรรมชาติที่เสีย เพื่อทราบจำนวนที่ชัดเจนสำหรับการฟ้องเรียกค่าเสียหายทางแพ่งต่อศาลต่อไป ส่วนศาลจะพิจารณากำหนดให้ผู้กระทำผิดชดใช้ค่าเสียหายเป็นจำนวนเท่าใดนั้นย่อมขึ้นอยู่กับการนำสืบพิสูจน์ข้อเท็จจริงของคู่กรณีต่อศาล

หนังสือสั่งการของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองมิใช่คำสั่งที่มีสภาพบังคับโดยตรงต่อผู้ฟ้องคดีทั้งยี่สิบสามคน ผู้ฟ้องคดีทั้งยี่สิบสามคนจึงมิใช่ผู้เดือดร้อนหรือเสียหายหรืออาจได้รับความเดือดร้อน จึงไม่มีสิทธิฟ้องคดี  ตามมาตรา 42 วรรคหนึ่งแห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542'  

นายกฤษดา ขุนณรงค์ หนึ่งในทนายความ ผู้รับมอบอำนาจผู้ฟ้องคดีครั้งนี้ กล่าวว่าเราต้องการยืนยันต่อศาลปกครองว่าการที่หน่วยงานของรัฐ คือ กรมอุทยานแห่งชาติฯ และกรมป่าไม้นำแบบจำลองคดีโลกร้อนมาใช้บังคับกับประชาชนเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากยังมีข้อโต้แย้งมากมายทั้งจากนักวิชาการ สื่อมวลชน ตลอดถึงองค์กรอิสระต่าง ๆ ว่าแบบจำลองฯ ดังกล่าวไม่มีความถูกต้องทางวิชาการและไม่สามารถนำมาใช้ในการเรียกค่าเสียหายทางสิ่งแวดล้อมได้ ซึ่งที่ผ่านมาทั้งสองหน่วยงานนี้ไม่เคยรับฟังความคิดเห็นหรือดำเนินการเพื่อแก้ไขให้ถูกต้อง  

"เราเห็นว่าศาลปกครองมีอำนาจในการเพิกถอนหรือแก้ไขการบังคับใช้แบบจำลองคดีโลกร้อนซึ่งกำลังสร้างผลกระทบและความไม่เป็นธรรมต่อชุมชนท้องถิ่นและประชาชนอย่างกว้างขวางและรุนแรง การยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุดในครั้งนี้เป็นการที่ภาคประชาชนยืนยันขอใช้สิทธิในกระบวนการยุติธรรมเพื่อให้ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งรับคำฟ้องไว้พิจารณาอันจะนำไปสู่การปกป้องและรับรองสิทธิชุมชน สิทธิในการมีส่วนร่วมของประชาชน รวมทั้งจะเป็นการวางบรรทัดฐานในการบริหารงานที่ดีของหน่วยงานภาครัฐต่อไป เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม"

ด้านเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย ซึ่งมีสมาชิกร่วมในการฟ้องคดีครั้งนี้ เผยแพรข้อมูลโดยระบุว่า เครือข่ายปฏิรูปที่ดินฯ และคณะทำงานช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายฯ (คดีโลกร้อน) สภาทนายความ มีความเห็นว่า คำสั่งไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณาของศาลปกครองกลางนั้น ได้หยิบยกมาวินิจฉัยเพียงประเด็นเดียว คือ มองว่าหนังสือคำสั่งให้ใช้แบบจำลองฯ เป็นเพียงการวางหลักเกณฑ์ภายในฝ่ายปกครอง  จึงมีคำสั่งไม่รับฟ้อง โดยศาลปกครองยังมิได้ลงไปวินิจฉัยในประเด็นอื่น เช่น ความเป็นบุคคล กลุ่มบุคคลหรือนิติบุคคลของผู้ฟ้องคดี ความเสียหายหรือผลกระทบจากการใช้แบบจำลอง รวมทั้งยังไม่ได้ดูความไม่ถูกต้องทางเนื้อหาของแบบจำลองตามที่ได้เสนอไปในคำฟ้องแต่อย่างใด

ดังนั้น การยื่นอุทธรณ์ขอให้ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งรับคำฟ้องคดีโลกร้อนไว้พิจารณาครั้งนี้ จึงเป็นไปเพื่อ 1.เป็นการยืนยันว่าการยื่นอุทธรณ์คำฟ้องกรมอุทยานฯ และกรมป่าไม้ต่อศาลปกครองครั้งนี้เป็นความชอบธรรมของเกษตรกร ที่ต้องการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมและสิ่งแวดล้อมของประเทศ ให้เป็นไปตามหลักของการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ถูกต้อง เป็นธรรม และยั่งยืนโดยยึดหลักตามแนวทางสิทธิชุมชน

2.เพื่อเป็นการชี้ให้ศาลปกครองสูงสุดเห็นว่า ศาลปกครองต้องทำหน้าที่ในการตีความกฎหมายให้กว้างกว่าตัวบทและให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริง แม้โดยลักษณะของหนังสือเวียนจะเป็นเพียงการสั่งการภายใน แต่ผลของหนังสือทำให้เกิดการบังคับและดำเนินคดีตามแบบจำลองด้วยผลแห่งคำสั่งนั้น และนำมาสู่ผลกระทบต่อชาวบ้าน สมาชิกชุมชน และประชาชนอย่างกว้างขวาง

เครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย ระบุด้วยว่า ข้อสำคัญอีกประเด็นหนึ่งก็คือ การยื่นอุทธรณ์ครั้งนี้ เป็นไปเพื่อให้กรมอุทยานฯ และกรมป่าไม้ได้ตระหนักถึงการใช้อำนาจของตนในลักษณะที่กระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนในสังคม และเพื่อให้การกระทำทางปกครองที่ส่งผลกระทบต่อสิทธิชุมชนตามรัฐธรรมนูญมาตรา 66 ของผู้ฟ้องคดีทั้ง 23 ราย เกษตรกร ชุมชนท้องถิ่น ตลอดจนประชาชนทั่วไป ได้รับการคุ้มครองและตรวจสอบโดยองค์กรตุลาการเพื่อเป็นหลักประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชนและเป็นการวางบรรทัดฐานในการบริหารงานที่ดีของหน่วยงานของรัฐ ดังนั้น เครือข่ายปฏิรูปที่ดินฯจึงขอให้ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำสั่งรับฟ้องคดีทั้ง 23 รายต่อไป เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

แอดมินเพจตะละแม่ป๊อปคัลเจอร์

Posted: 14 Sep 2012 02:48 AM PDT

ไม่คิดว่าภาษาจะวิบัติได้จริง เพราะภาษาที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอจะมีอายุยืนยาวกว่า นักภาษาศาสตร์สมัยใหม่มองว่าภาษาวิบัติคือการวิวัฒนาการของภาษา จริงๆ น่าจะเรียกว่าภาษาวิวัฒน์มากกว่าด้วยซ้ำ คือมีวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงให้อยู่รอดได้ ไม่ใช่เปลี่ยนแปลงไปสู่ความเสื่อมหรือความวิบัติ

14 ก.ย.55

มาเลเซียแพร่ "คู่มือ" ช่วยพ่อแม่บอก "อาการ" รักเพศเดียวกัน

Posted: 14 Sep 2012 02:34 AM PDT

กระทรวงศึกษาธิการของมาเลเซีย เผยแพร่เอกสารที่ช่วยให้ผู้ปกครองบ่งชี้ "ลักษณะอาการ" รักเพศเดียวกันของลูกตน เช่น หากเด็กชายมีลักษณะร่างกายที่กำยำ ใส่เสื้อแขนกุด และชอบถือกระเป๋าแบบผู้หญิง ต้องใส่ใจเป็นพิเศษทันที 

เมื่อวันที่ 13 ก.ย. 55 เว็บไซต์มาเลเซียกีนี รายงานว่า กระทรวงศึกษามาเลเซียได้เผยแพร่ "แนวทาง" ที่ช่วยพ่อแม่ผู้ปกครองมาเลเซีย ช่วยระบุ "ลักษณะอาการ" ของความเป็นรักเพศเดียวกัน เยาวชน เพื่อให้สามารถแก้ปัญหาได้อย่างทันท่วงที โดยเอกสารดังกล่าว ได้แจกจ่ายในงานสัมมนา "การเลี้ยงลูกกับการแก้ปัญหาความหลากหลายทางเพศ (LGBT)" ซึ่งรัฐบาลมาเลเซีย ได้จัดโดยเวียนไปตามรัฐต่างๆ โดยครั้งล่าสุดจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 10 ที่ปีนัง 

แนวทางดังกล่าว ระบุว่า ลักษณะอาการของเกย์ ได้แก่ การมีร่างกายที่มีกล้ามเนื้อกำยำ และชอบโชว์เรือนร่างของตนเองด้วยการใส่เสื้อคอวี และเสื้อแขนกุด รวมถึงเสื้อผ้าที่มีสีสันสดใส นอกจากการชอบเพศชายด้วยกันแล้ว ยังมีนิสัยถือกระเป๋าผู้หญิงใบใหญ่เวลาออกไปข้างนอกบ้านด้วย 

ในขณะที่อาการของเลสเบี้ยน ตามเอกสารดังกล่าวระบุว่า มีลักษณะชอบพอกับผู้หญิงด้วยกัน ชอบไปเที่ยว ทานอาหาร และนอนกับผู้หญิง ไม่มีความสนใจต่อผู้ชาย 
 
เอกสารระบุว่า "หากเด็กๆ มีอาการเหล่านี้ ควรให้ความสนใจแก่พวกเขาโดยทันที" 
 
รองรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการมาเลเซีย โมฮัมหมัด ปูอาด ซาร์กาชิ กล่าวว่า เยาวชนเป็นผู้ที่ถูกชักจูงได้ง่ายจากเว็บไซต์และบล็อกที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มความหลากหลายทางเพศหรือโดยกลุ่มเพื่อนของตน ตนจึงเกิดความกังวลว่าพฤติกรรมเหล่านี้ จะเกิดขึ้นในช่วงที่ยังอยู่ในวัยศึกษาเล่าเรียน     
 
ในขณะที่เว็บไซต์ฟรีมาเลเซียทูเดย์ สัมภาษณ์ความคิดเห็นของนักรณรงค์เพื่อสิทธิชาวรักเพศเดียวกัน และนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนในมาเลเซีย ว่าไม่เห็นด้วยกับการรณรงค์ดังกล่าวของทางรัฐบาล เพราะนอกจากจะเป็นการเลือกปฏิบัติทางเพศแล้ว ยังทำให้เกิดความเกลียดชัง สนับสนุนความไม่เท่าเทียมกัน 
 
"รัฐบาลต้องยุติการรณรงค์ที่ไม่เป็นธรรมต่อเยาวชนที่เปราะบาง" แปง คี ไทก์ นักเคลื่อนไหวและผู้ก่อตั้งองค์กรสิทธชาวรักเพศเดียวกันกล่าว "รัฐบาลควรจะสอนให้เด็กๆ ให้มีความมั่นใจ และให้เคารพซึ่งกันและกัน ไม่ว่าพวกเขาจะเป็นอย่างไร" 
 
ทั้งนี้ มาเลเซีย เป็นประเทศที่ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม มีกฎหมายที่รับมรดกจากสมัยอาณานิคม ที่ทำให้การร่วมเพศระหว่างชายกับชายทางเว็จมรรค (ทวารหนัก) เป็นความผิดทางกฎหมายอาญา และมีโทษจำคุกสูงสุด 20 ปี ในขณะที่ปีนี้ รัฐบาลได้อนุญาตให้ภาพยนตร์และละคร มีตัวละครที่เป็นเกย์ได้ แต่มีเงื่อนไขว่า ในตอนจบของเรื่อง ชาวรักเพศเดียวกันต้องกลับตัวกลับใจ และ/หรือเสียใจการกระทำที่เป็นไปในทางรักเพศเดียวกัน 
 
ที่มา: แปลและเรียบเรียงจาก 
Guidelines to identify gay and lesbian symptoms published
 
Malaysia publishes 'symptoms' of homosexuality list
 

Govt endorses guide on how to spot gays
http://www.freemalaysiatoday.com/category/nation/2012/09/13/govt-endorses-guide-on-how-to-spot-gays/

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สัมภาษณ์ ‘มะเดี่ยว หุ่นนิ่ง’: ความนิ่งกลางความเคลื่อนไหว (สีแดง)

Posted: 14 Sep 2012 01:44 AM PDT

จากผู้ร่วมชุมนุมคนหนึ่ง ถูกจับปะแป้ง นั่งสมาธินิ่งๆ เติบโตสู่แการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์  "เพราะสังคมนี้ไม่สามารถบอกใครอย่างตรงไปตรงมาได้"

25 ส.ค. 55 ที่วัดลาดพร้าว งานสวดอภิธรรมศพวันสุดท้ายของนายอำพล หรือ อากง SMS 
ผู้ต้องขังข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และเสียชีวิตในเรือนจำ


เมื่อวันที่ 25 ส.ค.55 ในระหว่างสวดอภิธรรมและกิจกรรมไว้อาลัยศพนายอำพล หรือ 'อากง SMS' ผู้ต้องขังคดีหมิ่นฯ และเสียชีวิตในเรือนจำนั้น เช่นเดียวกับการเคลื่อนไหวของกลุ่มคนเสื้อแดงในรอบ 2 ปีที่ผ่านมา เรามักพบเห็นกิจกรรมการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์อย่างหนึ่งที่มักพบเห็นเป็นประจำคือ "หุ่นนิ่ง" ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อ "มะเดี่ยว หุ่นนิ่ง" ชายวัย 47 ปี อดีตคนค้าขายและผู้รับเหมา ที่ปัจจุบันมักแต่งหน้าและมีพร็อพอุปกรณ์พร้อม ใช้ความนิ่งแสดงออกเชิงสัญลักษณ์กับคนเสื้อแดงมาโดยตลอด ประชาไทได้มีโอกาสสัมภาษณ์ โดยมะเดี่ยว ไม่สะดวกเปิดเผยชื่อ-สกุลจริง โดยมีเนื้อหาดังนี้

ประชาไท : สิ่งที่ทำอยู่นี้จะเรียกมันว่าอะไรดี
มะเดี่ยว หุ่นนิ่ง : เป็นการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ล้อเลียนการเมือง เป็นการใช้ศิลปะในการแต่งตัว เรียกว่า "หุ่นนิ่ง" แต่ก็มีการเปลี่ยนสไตล์บ้าง หากมีดนตรี ก็ไปเต้นบ้างรีแลกซ์ตัวเองบ้าง เวลาคนเผลอเราก็หลอกเขาบ้าง โดยเฉพาะเด็กหรือคนที่เขาไม่รู้ เราก็จะจ๊ะเอ๋เขา ทำให้เขาหัวเราะมีความสุข แต่โดยรวมแล้วเราต้องการเสียดสีการเมืองโดยตรง

เริ่มต้นทำกิจกรรมนี้ได้อย่างไร
ตอนแรกก็เป็นคนที่มาร่วมเป็นหนึ่งในมวลชน (ในการเคลื่อนไหวของกลุ่มเสื้อแดง) วันหนึ่งผมโดนปะแป้งที่ตัว เสร็จแล้วผมก็ไปนั่งสมาธิ แล้วผู้ชุมนุมก็นำเงินมาให้คนละ 10 บาท 20 บาท รวมได้ประมาณ 4,800 บาท เราเกิดคิดมาก ตกใจว่า เราเป็นขอทานหรือเปล่า จะให้เราสร้างงานอะไรหรือ ชีวิตเราไม่ได้ทำอย่างนี้เราเป็นคนค้าขาย ก็เลยลองดู และเกิดความคิด ซึ่งตอนแรกออกมาเป็นหุ่นก่อน ซึ่งปรากฏว่า เขาก็เข้าใจความหมายของเรา

ระยะแรกก็เริ่มปะแป้ง จากนั้นก็ไปศึกษาเรื่องสี ก่อนจะมาเล่นสี แต่ไม่ได้จบช่างศิลป์หรือเรียนอะไรมานะ ตั้งแต่มาอยู่เสื้อแดงนี่เป็นหมดเลย อาศัยดูรายการผู้หญิงๆ ดูเวลาเขาแต่งหน้าแต่งตา ดูการเขียนของเขา และดูรูปภาพไปด้วย ดูการทาปากเพ้นท์หน้า ซึ่งก็เหมือนเป็นงานศิลปะชนิดหนึ่ง

จากเป็นมวลชนธรรมดามาแสดงออกเชิงสัญลักษณ์นี้เราก็รู้ว่าเสี่ยง ซึ่งเราก็ดูตัวอย่างคนอื่นเขา ถ้าเราด่าเขาโดยเอ่ยชื่อ เราก็เจ็บตัว เราเลยใช้การเสียดสีให้รู้ว่า คนเสื้อแดงถูกกระทำอย่างไร มาตรา 112 นั้น ไม่ต่างกับการถูกล่ามโซ่อย่างนี้ อย่างอากง SMS เราแสดงตั้งแต่เขายังมีชีวิตอยู่ จนถึงแกตาย เราก็ยังแสดงเพื่อรำลึกถึงแกอยู่ และเพื่อสื่อให้โลกรู้ว่า อากงเป็นแพะแน่นอน เขาบริสุทธิ์ SMS ก็ส่งไม่เป็น อายุมากแล้ว ขนาดผมเองยังเพิ่งหัดใช้เลย หรือการรู้เบอร์เลขาคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะนั้น คนธรรมดาจะไปรู้นั้นก็เป็นไปไม่ได้

จากจุดเริ่มต้นดังกล่าว แล้วเคลื่อนไหวต่ออย่างไร
เราได้ทุนจากเงินบริจาคของผู้ชุมนุมเสื้อแดงคนละ 10-20 บาทที่เห็นผลงานของเราว่า เราทำจริง โดยที่เราไม่ได้เรี่ยไร สิ่งเหล่านี้ทำให้ผมคิดว่า คนเสื้อแดงเริ่มมองเชิงสัญลักษณ์เป็นแล้ว จะเห็นได้ว่า หลายๆ กลุ่มเริ่มแสดงเชิงสัญลักษณ์มากขึ้น

 

เสร็จภารกิจ เก็บพร็อพอุปกรณ์


ตั้งแต่แต่งตัวแสดงออกเชิงสัญลักษณ์มานี้ ชุดแสดงใดที่คิดว่าโดนใจตัวเองมากที่สุด
คงเป็นชุดที่แต่งเป็นศาล (พระภูมิ) เตี้ย แล้วผู้ชุมนุมก็มายืนด่าเรา ทำให้เราภูมิใจ เพราะเรารู้ว่า จริงๆ แล้วเขาไม่ได้ด่าเราแต่เขาด่าตัวละครที่เราแสดงต่างหาก เราจึงรู้ว่า การคิดจะแต่งเป็นอะไร จะดูกระแสข่าวว่า มีใครถูกกระทำอะไร แล้วจะใช้สัญลักษณ์อะไรให้เข้าคอนเซปต์เพื่ออธิบาย

ในสังคมไทยการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์สำคัญไหมและอย่างไร
มีความสำคัญมาก โดยเฉพาะคนที่หูตายังไม่สว่าง ประเทศไทยไม่น่าปิดกันความรู้อะไรกัน ยุคนี้มันยุคไอทีแล้ว อินเตอร์เน็ตความไวมันสูง การที่เราแสดงมุมมองเชิงสัญลักษณ์ มันก็คือการเล่าเรื่องราวผ่านสื่อเพื่อฝ่าข้อจำกัดที่เราไม่สามารถจะบอกใครอย่างตรงไปตรงมาได้ อย่างไรก็ตามต้องยอมรับว่า คนเสื้อแดงตามที่มาชุมนุมปัญญาเขาดี เขาจะมาอ่านมาตีความออกว่า อันนี้เป็นอะไร แต่บางเรื่องผมก็อาจจะเขียนคอนเซปต์เพื่อช่วยให้คนเข้าใจง่ายขึ้นด้วย

ถ้าคนไทยมีสติ เหมือนที่พระพุทธเจ้าสอนให้เรารู้จริงเห็นแจ้ง รู้ด้วยตัวเอง อย่าไปเชื่อคำที่เขาพูด คนโน้นเป็นอย่างโน้นอย่างนี้ เมื่อเป็นอย่างนี้ เราจึงต้องมาสัมผัสเองว่า เขาผิดจริงหรือไม่จริง ไม่ใช่ว่าพวกกู กูเลยเชื่อพวกกู อย่างนี้ไม่ใช่ อย่างผม ก็ต้องดูทุกสื่อ แล้วมาเปรียบเทียบว่าของเราหรือพวกเราพูดจริงหรือพูดหลอก หรือเราเองแสดงละครหลอกอีกฝ่ายหนึ่งหรือไม่

ทำไมไม่แสดงตรงๆ เลย ทำไมต้องเลี่ยงไปแสดงออกเชิงสัญลักษณ์
ก็อย่างที่บอกคือ เราแสดงออกตรงๆ ไม่ได้ เราต้องระวังข้อกฎหมายด้วย เรามีข้อจำกัดเรื่องกฎหมาย จึงต้องมีลีลาในการนำเสนอมากขึ้น ซึ่งทุกวันนี้ผมก็ยังถูกคุกคาม แต่ผมไม่ได้บ้านะ บางสื่อก็เอาไปออกว่า ผมบ้า ผมติงต๊อง


ภาพแอ็คชั่นบางส่วนของ "มะเดี่ยว หุ่นนิ่ง" :


27 ก.ย.54 แต่งตัวเป็นเทพีเสรีภาพที่โดนล่ามโซ่ในกรงขัง 

จี้อเมริกาดูแล "โจ กอร์ดอน" ชี้โดนข้อหาหมิ่นฯ ขังกว่า 4 เดือน-ไม่ได้สิทธิประกันตัว

 


9 พ.ค.55 หน้าศาสอาญา รัชดา รดน้ำศพ อากง SMS

 


13 พ.ค.55 ที่บริเวณลานพระบรมรูป ร.6 รำลึกการเสียชีวิตของ เสธ แดง หรือ พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล

 


22 พ.ค.55 ที่หน้าลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์ ถนนราชดำเนิน ร้องรัฐบาลออก กม.นิรโทษกรรมผู้ต้องขัง ม.112

 


29 พ.ค.55 ร่วมกับคณะรณรงค์แก้ไขมาตรา 112 นำเอกสารและรายชื่อผู้ขอแก้ไข ม. 112 ส่งให้กับประธานรัฐสภา

 


19 ก.ค.55  แต่งเป็นเปา ปุ้น จิ้น รำลึก 26 เดือนสลายการชุมนุม บริเวณฟุตบาทหน้าเซ็นทรัลเวิลด์ แยกราชประสงค์

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

จำนรรจา นารีหลุดกาล: คุยกับแอดมิน "ตะละแม่ป๊อปคัลเจอร์"

Posted: 14 Sep 2012 01:23 AM PDT

"...ล้อเลียนแนวคิดชาตินิยมที่ระบาดอยู่ในปัจจุบัน โดยการแสดงให้เห็นว่าไม่มีวัฒนธรรมที่เป็น "ไทยแท้" แม้แต่ภาษาที่ดูโบราณและดูเป็นไทยจ๋าๆ ก็ยังยืมมาจากภาษาอื่น..."
                                                                                                    แอดมินเพจตะละแม่ฯ


"ถิ่นนี้มีอันตรายร้ายแรงยิ่งนัก หากมิใช่คนตัวกลั่นแท้แล้วไซร้ เห็นทีจักเอาชีวิตรอดมิได้เป็นแม่นมั่น" (แปล - แถวนี้แม่งเถื่อน บอกตรงๆนะถ้าไม่แน่จริงอยู่ไม่ได้) "พลันมีเสียงกัมปนาทแปลบเปรี้ยง บัดเดี๋ยวกลายเป็นข้าวพองกรอบ" (แปล - บู้ม!!! กลายเป็นโกโก้ครั้นช์) หรือ "อยู่บุรีมีจริต ชีพจักต้องวิลิศมาหรา" (แปล - อยู่เมืองดัดจริต ชีวิตต้องป๊อป) และอีกหลายประโยคที่หลายคนในโซเชียลเน็ตเวิร์คอย่างเฟซบุ๊กได้ทายหรือแปลกันในช่วงเวลาเกือบ 20 วัน ที่ผ่านมา กับปรากฏการณ์ล้อเลียนทางวัฒนธรรมจากเพจ "ตะละแม่ป๊อปคัลเจอร์" ที่ล่าสุดมีคนกดไลค์เพจเกือบ 3 หมื่น "อิสรมานพ" หรือ ประชาไท ในภาษาตะละแม่ฯ ได้มีโอกาสสัมภาษณ์ 3 สาวแอดมินเพจนี้ ถึงที่มาและแนวคิดในการตั้งเพจนี้ขึ้นมา

แอดมินทั้งสาม คนกลางคือ ฑิตฐิตา ซิ้มเจริญ, ขวามือของฑิตฐิตา คืออรวรรณ ราตรี และด้านซ้ายคือปวรรัตน์ ผลาสินธุ์


ประชาไท: ที่มาของแอดมินเพจตะละแม่ฯ แต่ละคนเป็นใคร
ตะละแม่ฯ ทีม: แอดมินเป็นนักศึกษาและอดีตนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ ธรรมศาสตร์ มีทั้งหมดสามคนค่ะ ได้แก่หนึ่ง (อรวรรณ ราตรี) เอกภาษาไทย ปีสาม ที่แปลวลีต่างๆ เป็นภาษาโบราณ ปวร (ปวรรัตน์ ผลาสินธุ์) เอกภาษาและวรรณคดีอังกฤษ ปีบัณฑิต คอยโพสต์และดูแลเพจ รวมทั้งทำภาพป๊อปอาร์ตตรง cover photos และเมจัง (ฑิตฐิตา ซิ้มเจริญ) เอกภาษาอังกฤษ ปีสอง คอยช่วยหาวลี และโพสต์เวลาปวรไม่ว่างโพสต์ค่ะ

นอกจากนี้เรายังต้องขอบคุณการสนับสนุนจากมิตรสหายหลายๆ ท่านที่ทำหน้าที่เป็นนักแปลกิตติมศักดิ์ ที่คอยให้ไอเดีย ให้กำลังใจ รวมไปถึงแฟนเพจทั้งสองหมื่นกว่าท่านด้วยนะคะ

 
ทำไมต้อง "ตะละแม่ป๊อปคัลเจอร์" หมายความว่าอย่างไร ภาพประกอบเพจนั้นคืออะไร
ตะละแม่ เป็นคำเรียกเจ้าหญิงของมอญโบราณ ส่วน ป๊อปคัลเจอร์ คือวัฒนธรรมมวลชน ดังนั้นชื่อเพจ "ตะละแม่ป๊อปคัลเจอร์" จึงมีนัยถึงการผสมผสานระหว่างขนบแบบดั้งเดิมของชนชั้นสูง กับโลกสมัยใหม่ที่เป็นของประชาชน

ส่วนรูปที่นำมาปรับใช้คือ "ไก่แก้ว" (2526) ของ อ.จักรพันธุ์ โปษยกฤต จากเรื่องลิลิตพระลอค่ะ
 


ภาพ "ไก่แก้ว" ที่เพจตะละแม่ฯ นำมาใช้
สำหรับคำประกอบรูป "ชลนัยนาพานจักไหล จักให้บ่าวกระจายเรื่องราวไปโดยพลัน"
(แปลว่า "น้ำตาจะไหล ขอแชร์นะคะ")


 
ที่มาของเพจ "ตะละแม่ป๊อปคัลเจอร์" คืออะไร และถ้าเป็นการล้อเลียนต้องการล้อเลียนอะไร และทำไมต้องล้อเลียนสิ่งนั้น
ที่มาของเพจ มาจากมีมของต่างประเทศ คือมีม Joseph Ducreux Archaic Rap ที่นำเนื้อเพลงสมัยใหม่มาเปลี่ยนเป็นภาษาโบราณ ปวรเห็นแล้วก็ชอบ และเห็นว่าหนึ่งเรียนภาษาไทยโบราณเยอะ เลยแนะให้ลองเล่นดู ทำเพจขึ้นมาเพื่อจะได้ช่วยโพสต์ได้ แล้วเรียกเมจังมาช่วย รู้ตัวอีกที เพจก็กลายเป็นที่นิยมไปแล้วค่ะ
 
จริงๆ เพจนี้ก็ไม่ใช่เพจล้อเลียนอย่างเดียว เส้นกั้นระหว่าง parody กับ homage มันบางมาก เพจนี้แม้จะดูเป็นเพจล้อเลียน แต่ก็ทำขึ้นมาด้วยความชื่นชอบ เราชอบภาษาแบบโบราณ เห็นว่ามันเก๋ดี แต่ในขณะเดียวกันเราก็โตมากับวัฒนธรรมป๊อป ดูหนังฮอลลีวู้ด ใส่กางเกงยีนส์ เราเลยอยากนำสองค่ายมาผสมผสานกัน เป็นเหมือนโรบินฮูดที่ขโมยภาษาศักดิ์สิทธิ์ของชนชั้นสูงมาให้ความสนุกสนาน แก่ชนชั้นกลางธรรมดาสามัญทั่วไปค่ะ
 
ส่วนเป้าหมายรองของเพจเรา ก็คือต้องการล้อเลียนแนวคิดชาตินิยมที่ระบาดอยู่ในปัจจุบัน โดยการแสดงให้เห็นว่าไม่มีวัฒนธรรมที่เป็น "ไทยแท้" แม้แต่ภาษาที่ดูโบราณและดูเป็นไทยจ๋าๆ ก็ยังยืมมาจากภาษาอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ชื่อว่า ตะละแม่ ซึ่งไม่ใช่คำเรียกเจ้าหญิงของไทย แต่ก็เป็นคำที่ปรากฏในวรรณกรรมขึ้นหิ้งของไทย ทั้งนี้ก็เพื่อแสดงให้เห็นความไม่เป็นเหตุเป็นผลของวาทกรรมชาตินิยมค่ะ
 


มีม Joseph Ducreux Archaic Rap ที่นำเนื้อเพลงสมัยใหม่มาเปลี่ยนเป็นภาษาโบราณ 
ที่มาภาพ knowyourmeme.com

 

คิดว่าจะเปลี่ยนภาพประกอบหรือไม่
ตอนนี้ยังไม่คิดเปลี่ยน ในอนาคตอาจจะเปลี่ยน หรืออาจจะไม่เปลี่ยนเลยก็ได้ค่ะ ต้องดูกันต่อไป

 
มองปรากฏการณ์เพจล้อเลียนของตนเองที่ไม่กี่วัน (26 ส.ค. – 11 ก.ย.) มีคนไลค์จำนวนมากและเร็ว (26,000)  รวมถึงการมีคนคอยจ้องเปิดพจนานุกรมเพื่อถอดคำพูดว่าอย่างไร
ตอนแรกๆ พวกเราก็ประหลาดใจปนตกใจ เพราะแรกๆ เรากะทำเล่นในหมู่เพื่อนฝูงคนรู้จัก และเพื่อนของเพื่อน ไม่คิดว่าสังคมไซเบอร์จะให้ความสนใจมากขนาดนี้ แอบกังวลนิดๆ ด้วยว่าที่แปลไปจะดีพอหรือเปล่า แต่ทุกคนก็ให้กำลังใจมาตลอด ช่วงหลังๆ ก็เลยไม่ค่อยเครียดแล้ว รู้สึกสนุกที่ได้เห็นแฟนเพจมีส่วนร่วมกับเพจมากขึ้น ดีใจที่เพจของเราสามารถทำให้คนเรือนหมื่นมาสนุกสนานกันได้ อินเทอร์เน็ตนี่มันสุดยอดจริงๆ ค่ะ
 

คิดว่าคนมาไลค์เพจตัวเองเพราะอะไร
คิดว่าเสน่ห์ของเพจอยู่ที่การยำรวมสองสิ่งที่ดูไม่น่าเข้ากันได้ ได้แก่ ป๊อปคัลเจอร์ที่เป็นวัฒนธรรมของคนทั่วไป กับภาษาไทยโบราณที่คนไม่กล้าแตะเพราะดูเป็นของสูงต้องปีนบันไดใช้ พอนำมาผสมผสานกัน ก็ทำให้เกิดอาการกลับหัวกลับหางที่ทำให้เกิดความขบขัน นอกจากนี้คนที่เข้ามาในเพจยังสามารถร่วมสนุก แข่งกันทายคำให้ได้ที่หนึ่ง เหมือนเล่นเกมกลายๆ ทำให้คนเข้ามาไลค์เยอะค่ะ
 

ปรากฏการณ์ต่างๆ ในสังคมออนไลน์ มักจะมีทั้งคนที่ชื่นชอบและคนที่ต่อต้าน มีคนมาโวยมาด่าเพจเราบ้างไหม ถ้ามีเขามาด่ามาโวยว่าอย่างไร
ไม่เชิงว่าโวยวายอย่างเป็นทางการ แต่ก็มีเสียงตำหนิอยู่บ้างว่านำรูปของ อ.จักรพันธุ์มาใช้โดยไม่ได้ขออนุญาต ประเด็นนี้ก็ยอมรับว่าเป็นเพราะไม่ได้คาดคิดมาก่อนว่าเพจจะได้รับความนิยมมากขนาดนี้จึงไม่ได้เตรียมการล่วงหน้า แต่ก็กำลังอยู่ในขั้นตอนดำเนินการขออนุญาตใช้ภาพอยู่ แต่ถ้าตำหนิเพราะเห็นว่าเอาของสูงมาเล่น อันนี้คงต้องปล่อยไปค่ะ เพราะถ้าเถียงคงต้องเถียงไปถึงแก่นอุดมการณ์ ยาวเปล่าๆ
 

ก่อนหน้านี้มีการล้อเลียนภาษาอย่างเช่น ภาษาสก๊อยหรือการใช้ภาษาที่หลากหลาย จนฝ่ายอนุรักษ์หรือราชบัณฑิตยสถานออกมาประณามว่าทำ "ภาษาวิบัติ" มองคำๆ นี้ว่าอย่างไร และถ้าจะเรียกอย่าง "ตะละแม่ฯ" จะเรียกว่าอย่างไร
ไม่คิดว่าภาษาจะวิบัติได้จริง เพราะภาษาที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอจะมีอายุยืนยาวกว่า นักภาษาศาสตร์สมัยใหม่มองว่าภาษาวิบัติคือการวิวัฒนาการของภาษา จริงๆ น่าจะเรียกว่าภาษาวิวัฒน์มากกว่าด้วยซ้ำ คือมีวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงให้อยู่รอดได้ ไม่ใช่เปลี่ยนแปลงไปสู่ความเสื่อมหรือความวิบัติ

ส่วนคำว่า "ภาษาวิบัติ" นี่ ถ้าจะแปลแบบคงความหมายเดิมไว้ น่าจะเป็นคำว่า "อุตริภาษา" มาจากคำว่า อุตริ ที่แปลว่านอกลู่นอกทาง ผิดแปลก แต่เป็นคำที่มีนัยประหวัดถึงการริเริ่มทำสิ่งแปลกใหม่ (แผลงๆ) ได้ด้วย คำนี้ตรงกับภาษาบาลีสันสกฤตว่า อุตฺตริ แปลว่า ยิ่ง เป็นความหมายกลาง ที่เลือกใช้คำนี้เพราะมองว่าภาษาในลักษณะนี้มีความ "ผาดแผลง" อยู่ในตัว ซึ่งทำให้หลายคนมองในเชิงลบ แต่ที่จริงแล้วก็เป็นแค่การเปลี่ยนแปลงในรูปแบบหนึ่งเท่านั้นค่ะ
 

มีคนกล่าวว่า "เราต้องภูมิใจในความเป็นไทย เพราะเรามีภาษาไทยเป็นของตัวเอง หลายประเทศในโลกไม่มีภาษาเป็นของตัวเอง" สำหรับตะละแม่ฯ มองคำกล่าวนี้ว่าอย่างไร
เป็นตรรกะวิบัติแบบเหมารวมอย่างหนึ่ง เพราะภาษาไม่ใช่ทั้งหมดของ "ความเป็นชาติ" การไม่มีภาษาของตัวเองไม่ได้แสดงว่าชาติๆ นั้นไม่มีวัฒนธรรมหรือเอกลักษณ์ของตัวเอง  นอกจากนี้ความคิดชาตินิยมก็ยังเป็นแนวคิดที่ค่อนข้างล้าหลัง มันมีประโยชน์ในยุคที่ประเทศอาณานิคมพยายามปลดแอกจากผู้ยึดครอง แต่ในสมัยนี้ชาตินิยมมีแต่จะทำให้เกิดความขัดแย้งกับประเทศอื่นๆ กันเปล่าๆ ทั้งๆ ที่ความเป็นชาติก็เป็นแค่เส้นสมมติเท่านั้นเอง อีกอย่างหนึ่งคือ การป่าวประกาศค่านิยมนี้ในอินเทอร์เน็ตที่เชื่อมต่อกันทั่วโลก ก็ไม่ได้ทำให้ชาติอื่นชื่นชม รังแต่จะก่อให้เกิดทัศนคติด้านลบต่อประเทศเราเสียด้วยซ้ำ
 

คิดยังไงกับเพจที่ออกมาล้อเลียนเพจตัวเอง อย่าง "ผัวตะละแม่ป๊อปคัลเจอร์" โดยเขาอธิบายว่า "กระดานชนวนออนไลน์แห่งนี้ สร้างมาเพื่อความสนุกสนาน เพราะกุแค้น ตอบตะละแม่ ไม่ได้"
เห็นแล้วก็ตลกขบขันดีค่ะ และดีใจด้วย ถือว่าเราได้รับความนิยมในระดับหนึ่งถึงได้มีเพจล้อเลียนเกิดขึ้น

 
ถ้าจะเขียนคำว่า "ประชาไท" ในภาษาตะละแม่ฯ จะเขียนได้ว่าอย่างไร
อิสรมานพ, นรเสรี แปลจากคำว่า ประชา ที่หมายถึงมวลชนหรือคน ส่วน ไท (ที่ไม่มี ย) หมายถึงความเป็นอิสระ เป็นคำตรงข้ามกับ ทาส (ขอหมายเหตุไว้ด้วยว่าคำว่า มานพ (ใช้ น หนู) หมายถึงคน เป็นคนละคำกับ มาณพ (ณ เณร) ที่แปลว่าเด็กหนุ่มนะคะ)
 

คิดว่าบทสัมภาษณ์นี้ควรชื่อว่าอะไรในภาษาตะละแม่ฯ
จำนรรจา นารีหลุดกาล: คุยกับแอดมิน "ตะละแม่ป๊อปคัลเจอร์"
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ชาวลิเบียชุมนุมแสดงความเสียใจเหตุทูตอเมริกันถูกสังหาร

Posted: 14 Sep 2012 01:09 AM PDT

เมื่อวันที่ 13 ก.ย. 55 เว็บไซต์ BuzzFeed ได้เผยแพร่ภาพถ่ายการชุมนุมของชาวลิเบียในเมืองเบงกาซี แสดงความเสียใจต่อการเสียชีวิตของเอกอัครราชทูตสหรัฐประจำกรุงลิเบีย คริสโตเฟอร์ สตีเฟน และเจ้าหน้าที่สถานทูตชาวสหรัฐอีก 3 คน ที่เสียชีวิตจากการโจมตีสถานทูตสหรัฐของกลุ่มติดอาวุธชาวลิเบียเมื่อวันพุธที่ผ่านมา (12 ก.ย.) เหตุไม่พอใจภาพยนตร์อเมริกันเรื่อง "Innocence of Muslims" ที่ถูกมองว่ามีเนื้อหาดูหมิ่นศาสนาอิสลาม โดยผู้ชุมนุมมีข้อความในป้ายขอโทษต่อชาวอเมริกัน และชี้ว่าการกระทำดังกล่าวไม่ใช่พฤติกรรมของชาวมุสลืมและชาวเบงกาซี 

 
ในขณะเดียวกัน มีรายงานว่า การประท้วงจากความไม่พอใจภาพยนตร์ดังกล่าว ได้ลุกลามไปในประเทศในตะวันออกกลางหลายประเทศ โดยในตอนแรกเริ่มจากที่กรุงไคโร เมืองหลวงของประเทศอียิปต์ และเมืองเบงกาซี ประเทศลิเบีย ต่อมาได้ลามไปยังกรุงซานา ประเทศเยเมน และกรุงเตหะราน ประเทศอียิปต์ ทำให้มีคนบาดเจ็บแล้วกว่า 200 คน 
 
ล่าสุด มีรายงานว่า ทางการลิเบียสามารถจับกุมผู้ต้องสงสัยในการโจมตีสถานทูตสหรัฐ ซึ่งทำให้เอกอัครราชทูตสหรัฐและเจ้าหน้าที่อีกสามคนเสียชีวิตได้แล้ว แต่ยังไม่เป็ดเผยชื่อ และข้อหาที่ถูกตั้ง ยังไม่แน่ใจว่า ผู้ต้องสงสัยมีความเกี่ยวข้องกับกลุ่มใด 
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น