ประชาไท | Prachatai3.info |
- สนธิ ลิ้มทองกุล
- ภาคภูมิ แสงกนกกุล: เมดิคัลฮับและความไม่เท่าเทียม(1)
- ความจริงสีขาว ความตายสีเทา ความเศร้าสีใด? แล้วใจใครสีดำ?
- รวมบทวิเคราะห์รายงาน คอป.-เสนอรวมข้อมูลดิบจากทุกฝ่ายในหอจดหมายเหตุ
- "สนธิ ลิ้มทองกุล" โฟนอินไปอุบลฯ เผยชาติใกล้ล่มสลายแล้ว
- ศปช. อ่านรายงาน คอป. : ‘พวงทอง’ วิพากษ์หลักฐาน-การให้น้ำหนัก-โครงเรื่อง
- "สวนดุสิตโพลล์" ระบุคนเห็นพ้องรายงาน คอป.เชื่อสร้างความปรองดองได้
- อับดุลสุโก ดินอะ: มุสลิมไทยและมาเลเซียประท้วงต่อต้านหนังหมิ่นศาสนฑูตมุฮัมมัดอย่างสันติ
- บทวิพากษ์บทความอนาคต 3G ไทย ต้อง ‘มองไกล’ กว่า ‘เงินประมูล’
- สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 16 - 22 ก.ย. 2555
Posted: 23 Sep 2012 12:51 PM PDT |
ภาคภูมิ แสงกนกกุล: เมดิคัลฮับและความไม่เท่าเทียม(1) Posted: 23 Sep 2012 10:47 AM PDT นโยบายเมดิคัลฮับเป็นนโยบายที่ริเริ่มในสมัยรัฐบาลทักษิณเมื่อปี 2546 นโยบายนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปลี่ยนประเทศไทยไปสู่ศูนย์กลางความเป็นเลิศทางการบริการทางการแพทย์ในภูมิภาคเพื่อรองรับผู้ป่วยจากประเทศพัฒนาแล้ว ผู้ป่วยในภูมิภาคอาเซียนและในประเทศที่มีกำลังซื้อมากพอ และเนื่องจากเป็นการโยกย้ายผู้ป่วยจากภูมิภาคอื่นเข้าสู่ประเทศทำให้นโยบายเมดิคัลฮับมีความเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ (medical tourism) ไปโดยปริยาย โดยปกติแล้วผู้ป่วยย่อมอยากจะเลือกการรักษากับโรงพยาบาลใกล้บ้านหรือสภาพแวดล้อมที่คุ้นเคยมากกว่าการเสียค่าเดินทางไปรักษาสถานที่ไกลๆ และสิ่งแวดล้อมที่แปลกแยก อย่างไรก็ตามในประเทศพัฒนาแล้ว เช่นอเมริกา ค่ารักษาแพงหูฉี่โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรักษาในระดับ tertiary care (การดูแลสุขภาพขั้นตติยภูมิ: คือรูปแบบของบริการดูแลสุขภาพ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ) และประกันสุขภาพของรัฐไม่ได้ครอบคลุมประชาชนทุกคน การบินมารักษาในต่างประเทศกลับมีค่าใช้จ่ายถูกกว่าในประเทศ นอกจากนั้นสาเหตุจากการรอรับบริการจากรัฐที่ยาวนาน เช่น การรอผ่าตัดเปลี่ยนไตในประเทศที่ประกันภาครัฐครอบคลุมทุกคนในอังกฤษ หรือกฎหมายข้อห้ามในการรักษาการแพทย์บางประการ เช่นการผ่าตัดแปลงเพศ ก็เป็นสาเหตุให้ชาวต่างประเทศบินข้ามน้ำข้ามทะเลมารักษาในประเทศกำลังพัฒนา นโยบายเมดิคัลฮับส่งผลดีในการนำเม็ดเงินเข้าประเทศและพัฒนาการแพทย์ไทยไปสู่มาตรฐานสากล และสร้างรายได้ให้ธุรกิจภาคอื่นๆที่เกี่ยวข้องได้แก่ การบิน การคมนาคมขนส่ง การท่องเที่ยวและโรงแรม การบริการ มีการประมาณการว่าเมดิคัลฮับจะสามารถสร้างรายได้ให้ประเทศกว่า 4 แสนล้านบาทถ้านโยบายประสบความสำเร็จ [1] อย่างไรก็ตามทุกนโยบายย่อมมีคนเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย อัมมาร สยามวาลา กล่าวว่า นโยบายเมดิคัลฮับเป็นนโยบายที่เลวที่สุดซึ่งจะดึงหมอออกจากระบบสุขภาพภาครัฐและทำลายระบบสุขภาพภาครัฐจากการต้องนำเงินเข้าไปเพิ่มเงินเดือนให้บุคลากรสาธารณสุขภาครัฐ โดยเฉพาะในโรงพยาบาลชนบทหรือท้องถิ่นที่ประสบปัญหาด้านการเงินในการเพิ่มเงินเดือนให้บุคลากรสาธารณสุข [2] นโยบายเมดิคัลฮับจึงเป็นนโยบายที่มีความขัดแย้ง สามารถนำเม็ดเงินเข้าประเทศและการพัฒนาเข้าสู่ประเทศแต่ก็อาจจะสร้างความเสียหายในระบบสุขภาพภาครัฐ และสร้างความไม่เท่าเทียมกันในระบบสาธารณสุข จากที่เกริ่นมาข้างต้นมีประเด็นที่จำแนกมาได้ดังนี้ 2. สาเหตุของความไม่เท่าเทียมกันในระบบสาธารณสุขไทย 3. เมดิคัลฮับส่งผลต่อความไม่เท่าเทียมกันในระบบสาธารณสุขไทยหรือไม่อย่างไร 4. เมดิคัลฮับและความเท่าเทียมกันสามารถไปด้วยกันได้หรือไม่ สิทธิทางสุขภาพเป็นสิทธิที่เพิ่งเกิดใหม่หลังสงครามโลกครั้งที่สองในฐานะเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ "ทุกคนมีสิทธิในการมีมาตรฐานชีวิตที่เพียงพอต่อสุขภาพความเป็นอยู่ของเขาและครอบครัว" มนุษย์ควรมีโอกาสได้รับการรักษาไม่ว่าจะเกิดมาอยู่ในสถานะใดๆ ดังนั้นความไม่เท่าเทียมกันในระบบสาธารณสุขจึงเป็นประเด็นที่สำคัญ ความเท่าเทียมกันในระบบสาธารณสุขแบ่งได้ 3 ประเภทคือ (Wagstaff,1999) 2. ความเท่าเทียมกันด้านการใช้บริการสาธารณสุข ซึ่งแบ่งเป็นความเท่าเทียมกันในแนวตั้งคือ การรักษามีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับความจำเป็นของแต่ละคน และความเท่าเทียมกันในแนวนอนคือ คนที่มีความจำเป็นในการรักาเหมือนกันควรได้รับการรักษาที่เหมือนกัน 3. ความไม่เท่าเทียมกันด้านสุขภาพ คือความไม่เท่าเทียมกันด้านสุขภาพของกลุ่มประชากรต่างๆที่ขึ้นอยุ่กับปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคม
2. ความไม่เท่าเทียมกันระหว่างกรุงเทพฯและต่างจังหวัด กรุงเทพฯซึ่งมีความเจริญมากกว่า มีจำนวนโรงพยาบาลต่อคนไข้ จำนวนเตียงต่อคนไข้และบุคลากรสาธารณสุขต่อคนไข้มากกว่าจังหวัดอื่นๆ มีโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย และเครื่องมือในการรักษามากกว่าจังหวัดอื่นๆ นอกจากนี้มีโรงพยาบาลเอกชนเป็นทางเลือกให้ประชาชนเลือกใช้ได้มากกว่า และมีระบบสาธารณูปโภคขนส่งมวลชนที่ทำให้การเข้าถึงง่ายกว่า 3. ความไม่เท่าเทียมกันระหว่างภาครัฐและเอกชน โรงพยาบาลเอกชนมีอุปทานทางการแพทย์มากกว่าโรงพยาบาลรัฐและมีการบริการด้านควบคู่การรักษาที่ดีกว่า เช่น มีห้องพักที่ดีกว่า เป็นต้น และใช้เวลาในการรอคอยการรักษาที่สั้นกว่าโรงพยาบาลรัฐ อย่างไรก็ตามผู้ป่วยต้องจ่ายเงินแพงกว่าเพื่อแลกกับความสะดวกสบายดังกล่าว ในส่วนต่อไปจะเป็นการวิเคราะห์สาเหตุของความไม่เท่าเทียมกันในแต่ละกลุ่มข้างต้น (ซึ่งเป็นข้อคิดเห็นส่วนตัวและต้องมีการทำวิจัยเพิ่มเติม) ในกลุ่มความไม่เท่าเทียมกันระหว่างประกันภาครัฐ สิทธิประโยชน์ของสวัสดิการรักษาข้าราชการเป็นระบบประกันภาครัฐที่มีมานานที่สุดโดยสงวนเอาไว้เฉพาะข้าราชการและครอบครัวแต่กลับใช้ภาษีของคนทั้งประเทศแบกรับซึ่งถ้าต้องการให้เกิดความเป็นธรรมมากขึ้นข้าราชการควรแบกรับค่ารักษาบางส่วนและมีนโยบายการควบคุมค่าใช้จ่ายที่ดีกว่านี้ อย่างไรก็ตามการออกนโยบายลดสวัสดิการรักษาเป็นไปได้ยากทุกรัฐบาลเพราะข้าราชการเป็นกลุ่มที่มีอำนาจต่อรองทางการเมืองสูงเมื่อเทียบกับระบบอื่น คือสหภาพแรงงานจากประกันสังคม และประชาชนจากระบบสามสิบบาท ในระบบประกันสังคมรายได้ของระบบมาจากการหักสัดส่วนของเงินเดือน,และเงินอุดหนุนจำนวนเท่ากันจากรัฐและผู้ประกอบการ ปัญหาที่จำกัดสิทธิประโยชน์ของระบบประกันสังคมไม่ทัดเทียมกับสวัสดิการข้าราชการคือปัญหาด้านงบกองทุน รายรับของกองทุนเพิ่มขึ้นไม่ทันราคาค่ารักษาพยาบาลที่พุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ระบบประกันสังคมให้สิทธิเฉพาะลูกจ้างที่มีเงินเดือนเท่านั้น ลูกจ้างที่ไม่มีเงินเดือน เช่นเกษตรกร เจ้าของร้านค้าเล็กๆหรือ อาชีพอิสระไม่สามารถร่วมด้วยได้ โดยที่ประเทศไทยมีแรงงานที่อยู่ในรูปเงินเดือนและมีเศรษฐกิจที่เก็บภาษีได้ประมาณครึ่งหนึ่ง ทำให้จำนวนของคนที่จ่ายเบี้ยประกันน้อยลงมา นอกจากนี้นโยบายภาครัฐที่กดค่าแรงมาหลายทศวรรษเพื่อดึงดูดนักลงทุนและสร้างผลกำไรให้เจ้าของ ส่งผลให้ฐานเงินเดือนน้อยและเบี้ยประกันสังคมก็น้อยตามมา และเมื่อฐานเงินเดือนน้อยก็ส่งผลให้ไม่สามารถหักเบี้ยประกันเป็นสัดส่วนที่สูงได้ ระบบประกันสังคมไทยหัก5%ของเงินเดือน ในขณะที่เบี้ยประกันประกันสังคมฝรั่งเศสประมาณ 20% ของเงินเดือน [4] นอกจากนี้เบี้ยประกันสังคมก็ไม่เป็นอัตราก้าวหน้าคือไม่เก็บคนที่มีเงินเดือนสูงกว่าในอัตรามากกว่า ลูกจ้างที่มีเงินเดือน 1,650-15,000 บาทจ่ายเบี้ยประกัน 5%ของเงินเดือน และถ้าเงินเดือนสูงกว่า 15,000 บาทจ่ายเบี้ยประกันอัตราคงที่ 750 บาทต่อเดือน เนื่องจากไทยมีแรงงานที่ไม่อยู่ในระบบเงินเดือนเป็นจำนวนมาก ทำให้ก่อนมีนโยบายสามสิบบาท ประชากรกว่า 30% ของประเทศไม่มีประกันสุขภาพทั้งจากรัฐและเอกชน นโยบายสามสิบบาทเข้ามาอุดช่องว่างตรงนี้โดยนำภาษีของประชาชนทั้งประเทศเข้ามาเป็นค่าใช้จ่าย สาเหตุด้านการเงินทำให้จำกัดสิทธิประโยชน์ของระบบสามสิบบาท และสร้างความกังวลว่าระบบรักษาพยาบาลภาครัฐจะล้มละลาย เพื่อให้ระบบสามสิบบาทมีสิทธิประโยชน์เท่าสวัสดิการข้าราชการ รัฐจำเป็นต้องอัดฉีดเงินภาษีเข้าระบบสามสิบบาทเพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งรัฐบาลมีศักยภาพที่ทำได้โดยการหั่นงบประมาณกระทรวงอื่นที่ไม่จำเป็นและเพิ่มให้ระบบสามสิบบาท หรือเปลี่ยนระบบเก็บภาษีใหม่เพิ่มรายได้เข้าคลัง โดยที่ปัจจุบันรัฐเก็บภาษีแค่ 50% ของที่ควรจะได้ และไม่มีการเก็บภาษีเพื่อกระจายความมั่งคั่งให้เท่าเทียมกัน เช่นไม่มีภาษีมรดกและที่ดิน กล่าวโดยสรุปความไม่เท่าเทียมกันในระบบประกันสุขภาพภาครัฐ มีสาเหตุมาจากความไม่เท่าเทียมกันในชนชั้นสังคม และความไม่เท่าเทียมกันด้านกระจายความมั่งคั่ง
เชิงอรรถ [3] http://www.moph.go.th/ops/thp/index.php?option=com_content&task=view&id=176&Itemid=2 [4] http://www.togogateway.org/spip.php?article224 ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ความจริงสีขาว ความตายสีเทา ความเศร้าสีใด? แล้วใจใครสีดำ? Posted: 23 Sep 2012 08:22 AM PDT
รายงานสีขาวมีเรื่องเศร้า เรื่องความตายสีเทา ความตายสีเทาถูกระบาย ระบายด้วยชายชุดดำ ชายชุดดำอยู่ทุกที่ ที่นี่ ที่โน่น ที่นั่น ที่งานศพสีเทา ชายชุดดำร่ำไห้กับความตายสีเทา ชายชุดดำช่วยงานศพ ชายชุดดำหยุดร่ำไห้ชั่วครู่ พรั่งพรูถ้อยคำที่คั่งแค้น ชายชุดดำอยู่ที่งานศพลูกฉันนี่แล้ว ชายชุดดำที่อยู่ในรายงานนั้น เป็นเพียงลมปากของชายใจดำ ธีร์ อันมัย เขียนขณะอ่านรายงาน คอป.
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
รวมบทวิเคราะห์รายงาน คอป.-เสนอรวมข้อมูลดิบจากทุกฝ่ายในหอจดหมายเหตุ Posted: 23 Sep 2012 04:02 AM PDT 23 ก.ย.55 เวลาประมาณ 13.00 น. มีงานเสวนา รัฐประหาร 19 กันยา กับอาชญากรรมโดยรัฐ กรณีการสลายการชุมนุมเมษา-พฤษภา 53 จัดโดยศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์สลายการชุมนุมเดือน เม.ย.-พ.ค.53 (ศปช.) และกลุ่มปฏิญญาหน้าศาล ที่ตึกเอนกประสงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และได้รับความสนใจจากประชาชนจำนวนมากจนล้นห้องประชุม อ่านรายงานส่วนของ พวงทอง ภวัครพันธุ์ "ความจริงจากคลิป"
คดีประชาชนเกือบ 2,000 พ.ร.ก.ฉุกเฉินให้อำนาจกว้าง หว่านแหจับ-ข่มขู่-ซ้อม เสาวลักษณ์ โพธิ์งาม ทีมงาน ศปช. กล่าวถึงกระบวนการยุติธรรมในการดำเนินคดีกับประชาชนว่า การจับกุมจำนวนมากเกิดขึ้นจากการประการศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน มีผู้ถูกจับกุมและดำเนินคดีเกือบ 2,000 คน เป็นผู้หญิงและเยาวชนอายุต่ำว่า 18 ปีอย่างละเกือบ 200 คน ในจำนวนนั้นมีเยาวชนที่ถูกข้อหารุนแรงมากคือ วางเพลิงเผาเซ็นทรัลเวิลด์ และรวมถึงคนต่างชาติเช่น ลาว พม่า เขมร ด้วย โดยมีชาวเขมรถูกกล่าวว่าเป็นผู้ก่อการร้าย โดยศาลพิพากษายกฟ้องข้อหาก่อการร้าย
จี้เปิดเผยข้อมูลดิบทั้งหมด รวมหอจดหมายเหตุ สาวตรี สุขศรี จากนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตัวแทนจากคณะนิติราษฎร์ กล่าวว่า คอป.ถูกตั้งคำถามทั้งทัศนคติที่ปรากฏในรายงานและที่ทางของรายงาน และยังมีปัญหาเรื่องความมีส่วนได้เสีย เนื่องจากมีคณะกรรมการชุดหาข้อเท็จจริงที่เคยอยู่ในกลุ่มพันธมิตรฯ ซึ่งอาจส่งผลการเลือกเฟ้นประเด็นในการนำเสนอ และไม่ได้ข้อมูลจากผู้เสียหาย เพราะเขาถือเป็นคู่ขัดแย้ง อาจจะในฐานะผู้สนับสนุน ตัวการร่วม หรือแม้แต่กองเชียร์ สาวตรี กล่าวว่า ศปช.ทำรายงานออกมา 1,300 กว่าหน้า ข้อมูลส่วนใหญ่เป็นข้อมูลดิบ แต่ในรายงายของ คอป. 300 กว่าหน้ามีการวิเคราะห์ ใส่ทัศนคติ ความคิดเห็น รวมถึงที่มาประมาณ 30 กว่าหน้า เหลือเนื้อหาจิงๆ ประมาณ 200 หน้า คำถามที่ต้องถามในฐานะประชาชนคือ ข้อมูลดิบที่นำมาวิเคราะห์อยู่ที่ไหน ส่วนนี้ไม่ปรากฏในรายงาน เป็นข้อมูลสาธารณะ และหลายส่วนมีความสำคัญมาก เช่น รายงานของตำรวจสหรัฐเกี่ยวกับการวิเคราะห์วิถีกระสุน ประชาชนควรเรียกร้องว่าให้มีการเก็บข้อมูล หลักฐานเหล่านี้ไว้ในหอจดหมายเหตุเพื่อให้ประชาชนได้พิจารณาและให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาเปรียบเทียบ โดยหอจดหมายเหตุดังกล่าวจะต้องมีการเก็บข้อมูลดิบ พยานหลักฐานของทุกฝ่าย ทุกคณะกรรมการ สาวตรี ยังกล่าวถึงการเลือกเน้นบางส่วนในรายงาน คอป.ช่วงแรกเกี่ยวกับรากเหง้าของปัญญาหาที่ระบุว่า เหตุการณ์ทั้งหลายเป็นวิวัฒนาการความขัดแย้งที่ยืดเยื้อไล่ตั้งแต่ รธน.40 ช่วงรัฐบาลทักษิณ เรื่อยมาจนปัจจุบัน จะเห็นได้ชัดเจนว่าจงใจให้น้ำหนักและให้รายละเอียดเฉพาะบางช่วงเวลาเท่านั้นเช่น ช่วงที่พูดเรื่องกระบวนการของศาลรัฐธรรมนูญไม่โปร่งใส่ ก็อธิบายแต่คดีซุกหุ้น แต่หลังจากนั้นมีเหตุการณ์อื่นเรื่อยมาที่สะท้อนปัญหาของศาลรัฐธรรมนูญ ไม่ว่าคดียุบพรรค ปลดนายกฯ สมัคร กลับไม่มีการพูดถึง หรือกรณีการพูดเรื่องปิดสนามบินนั้นมีเพียงบรรทัดเดียว แต่กลับเน้นเรื่องการปิดการประชุมอาเซียนครึ่งค่อนหน้า หรือกรณีการยกผังล้มเจ้าประมาณ 4-5 บรรทัด แต่ไม่มีการสรุปว่าเป็นของกำมะลอ "ที่สำคัญ คอป.ไม่ได้พูดถึงวันบิ๊กคลีนนิ่งเดย์ เป็นวันที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในการทำลายพยานหลักฐานสำคัญของคดี ในฐานะนักกฎหมาย การทำลายพยานหลักฐานเป็นเรื่องร้ายแรง และมีผลอย่างสำคัญในการเกิดข้อขัดแย้งเรื่องข้อเท็จจริงที่ไม่ปรากฏ" สาวตรีกล่าว สาวตรีกล่าวต่อว่า นอกจากนี้ในรายงานฉบับนี้ไม่มีพูดถึงจำนวนคดีตามมาตรา 112 ที่เพิ่มขึ้นเลยแม้แต่คำเดียว และยังบอกว่า ปัญหาหนึ่งที่เป็นรากเหง้า คือการยกสถาบันขึ้นอ้างเพื่อหาประโยชน์เข้าตัว แต่คอป.ไม่เคยวิเคราะห์ถึงบทบาทและการแสดงออกของสถาบันเลยแม้แต่คำเดียว ยกเรื่องความเข้าใจผิดต่อสถาบันแต่ไม่เคยยกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เช่น กรณีการเสด็จไปงานศพเหยื่อเหตุการณ์ 7 ตุลาของสมเด็จพระบรมราชินีนารถ ประเด็นของชายชุดดำ มีข้อสังเกตเพิ่มว่าหลายท่านเชื่อว่าจากพยานหลักฐานมีชายชุดดำจริง แต่วันนี้เราไม่รู้ แม้แต่พนักงานสอบสวนก็ยังระบุไม่ได้ว่าว่าชายชุดดำเป็นพวกไหน เป็นคนของใคร เพื่อความเป็นธรรมคือ เราอาจบอกว่าพบชายชุดดำที่นู่นที่นี่ แต่การที่ คอป.เขียนว่ามีการสัมพันธ์กับผู้ชุมนุม แม้คอป.จะไม่ฟันธงว่าเป็นพวกใคร แต่ลักษณะการเขียนแบบนั้นใครอ่านก็เห็น ส่งผลทางจิตวิทยาในการสืบคดีว่า คนเสื้อแดงอาจตายจากชุดดำก็ได้ , คนชุดดำอาจมีความสัมพันธ์กับคนเสื้อแดง, แม้ความตายของประชาชนจะเกิดจากเจ้าพนักงาน แต่มีความเป็นไปได้ว่าเจ้าพนักงานเขาป้องกันตัว "คอป.เต็มไปด้วยนักกฎหมาย ไม่รู้หรือว่าเขียนแบบนี้จะให้ผลอะไรในทางกฎหมาย เขารู้ นักกฎหมายอ่านแล้วบอกได้เลยว่าเขารู้ มันชัดเจนกับผลสามประการดังกล่าว หากเป็นคดีเจ้าพนักงานมีโอกาสหลุดสูงมาก เพราะมีชายชุดดำเต็มไปหมด" สาวตรีกล่าว สาวตรีกล่าวอีกว่า การแสวงหาข้อเท็จจริงก็ดี การวิเคราะห์ปัญหารากเหง้าก็ดีเกี่ยวข้องกับทัศนคติ หากจะหาข้อเท็จริงว่าทำไมเกิดเหตุการณ์ สิ่งหนึ่งที่ คอป.ต้องทำ และต้องทำอย่างกว้างขวางด้วย คือพยายามสัมภาษณ์ทุกฝ่ายให้มากที่สุด เพื่อจับให้ได้ว่า พวกเขามีทัศนคติอย่างไรต่อสิ่งทีเกิดขึ้น ทั้งฝ่ายทหาร ฝ่ายประชาชน แต่ไม่มีบทสัมภาษณ์ลักษณะนั้นเลย แต่เต็มไปด้วยทัศนคติของ คอป.เองอย่างค่อนข้างชัดเจนว่าเทไปทางไหน สำรับในส่วนข้อเสนอของ คอป.นั้น สาวตรีเห็นว่า คอป. เน้นการบรรยากาศความสามัคคี และนำมาอยู่เหนือความจริง ข้อเท็จจริง พร้อมระบุให้ยุติกระบวนการต่างๆ ที่จะสร้างความขัดแย้ง แม้จะเป็นสิ่งที่ต้องทำเพื่อความเป็นธรรม "ตัวเขาเองเกลียดกลัวความขัดแย้ง แต่ประชาธิปไตยเป็นเรื่องความขัดแย้ง ต่อรอง เรียกร้องสิทธิต่างๆ เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกันในสังคม" สาวตรีกล่าว ส่วนข้อเสนอคอป.ที่ไม่เห็นด้วยกับการนิรโทษกรรมนั้น เป็นความเห็นที่ตรงกับนิติราษฏร์ซึ่งเคยเสนอไปแล้วว่า ไม่เห็นด้วยอย่างสิ้นเชิงต่อวิธีตรากฎหมายนิโทษให้ทุกฝ่ายดังที่เคยทำในอดีต เพราะลักษณะดังกล่าวทำให้ประชาชนพ้นความรับผิด แต่ให้ผู้สั่งการและปฏิบัติการสลายการชุมนุมก็พ้นจากการรับผิดพร้อมกันไปด้วย การทำแบบนี้ยิ่งก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมกับผู้สูญเสีย เสนอว่าเราต้องมีการจัดแยกกลุ่มที่จะได้รับการนิรโทษกรรม โดยต้องมีการตราหมวดที่ว่าด้วยข้อขจัดความขัดแย้ง ซึ่งไม่ควรบัญญัติเพียง พ.ร.บ. แต่ควรไปอยู่ในรัฐธรรมนูญ เพื่อไม่ให้มีการขัดรัฐธรรมนูญ เพราะจะเสนอให้ดึงเอาคดีบางคดีจากมือศาล มาวิเคราะห์ในคณะกรรมการพิเศษ หมวดนี้ต้องมีรายละเอียดที่ไม่มีการนิรโทษกรรมให้แก่เจ้าหน้าที่รัฐ และจะต้องเข้าสู่กระบวนการพิจารณาคดีตามกฎหมายปกติ และนิรโทษกรรมทันทีแก่ประชาชนที่ฝ่าฝืนกฎหมายสถานการณ์ฉุกเฉิน และกฎหมายความมั่นคงในสถานการณ์ชุมนุมและการเดินขบวนประท้วงเป็นมูลเหตุจูงใจทางการเมือง มอง "สิทธิมนุษยชน" ในรายงาน คอป. ต่อคำถามว่า ศปช.จะวิจารณ์การชุมนุมของ นปช.ที่ทำให้ผู้ชุมนุมเป็นเหยื่ออย่างไร พวงทอง ตอบว่า ที่ผ่าน แกนนำ นปช. ถูกวิจารณ์อย่างมากว่าพาคนมาตาย แกนนำย่อมมีความรู้สึกผิด แม้ไม่ได้เป็นผู้ทำให้ผู้ชุมนุมเสียชีวิต แต่ก็เป็นความรับผิดชอบของแกนนำ ที่ไม่สามารถดูแลความปลอดภัยผู้ชุมนุม ได้ แกนนำจึงควรขอโทษ แต่ที่ คอป.เสนอให้สองฝ่ายขอโทษ อยากให้คณิต ณ นคร และสมชาย หอมลออ เดินไปหาอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ สุเทพ เทือกสุบรรณ และกองทัพที่วางยุทธการทางทหารว่าถึงเวลาที่ต้องออกมากล่าวขอโทษประชาชนเสียที ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
"สนธิ ลิ้มทองกุล" โฟนอินไปอุบลฯ เผยชาติใกล้ล่มสลายแล้ว Posted: 23 Sep 2012 03:21 AM PDT อีกไม่นานพันธมิตรฯ จะมีโอกาสตอบแทนบุญคุณชาติบ้านเมือง เชื่อจะเป็นการต่อสู้ครั้งสุดท้ายและ พธม. จะต้องได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาด สามารถปลดปล่อยชาวอีสานที่ถูกระบอบทักษิณครอบงำ จะนำปัญญาไปสู่ชาวอีสานให้ชาวอีสานทุกหมู่เหล่าใช้ธรรมนำหน้า จะต้องไม่ถูกคนหลอก เอเอสทีวีผู้จัดการออนไลน์ รายงานวันนี้ (23 ก.ย.) ว่านายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กล่าวปราศรัยผ่านโทรศัพท์ในเวทีเสวนา หยุดเผด็จการรัฐสภา รวมพลังปฏิรูปประเทศไทย ที่โรงแรมสุนีย์ แกรนด์ โฮเทล แอนด์ คอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ จ.อุบลราชธานี โดยกล่าวว่า ตนคิดถึงพ่อแม่พี่น้องชาวพันธมิตรฯ ทั่วประเทศไทย ที่ตนไม่ได้เดินทางไปต่างจังหวัดนั้น เพราะว่ามีปัญหาเรื่องเกี่ยวกับอันตราย แต่ตนทำหน้าที่ต่อสู้ให้พี่น้องด้วยการเดินขึ้นศาลทุกวัน แล้วถ้าหากตนจะต้องติดคุก ตนก็จะติดคุกเพื่อพี่น้อง ไม่ได้กลัวอะไรทั้งสิ้น ทั้งนี้ ตนมีความผูกพันกับ จ.อุบลราชธานี มาก ตนเป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่บุญมี โชติปาโล วัดสระประสานสุข ทุกวันนี้กลับสวดมนต์ไหว้พระ ก็ยังได้อัญเชิญพ่อแม่ครูอาจารย์ หลวงปู่บุญมีมา ตนเชื่อว่า หลวงปู่บุญมี เป็นเกจิอาจารย์ เป็นอริยสงฆ์ของชาวอุบลราชธานี อย่างไรก็ตาม นายสนธิ ยังได้กล่าวกับมวลชนพันธมิตรฯ ว่าอย่าท้อถอย ต้องพร้อมสู้เพื่อชาติบ้านเมือง วันนี้ชาติใกล้ล่มสลายแล้ว คงอีกไม่นานเราก็คงจะได้มีโอกาสออกไปตอบแทนบุญคุณชาติบ้านเมือง "การต่อสู้ครั้งนี้ จะต้องเป็นการต่อสู้ครั้งสุดท้าย และจะต้องได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาด และจะต้องปลดปล่อยพ่อแม่พี่น้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งพ่อแม่พี่น้องชาวอีสานที่ถูกระบอบทักษิณครอบงำ จนกระทั่งไม่สามารถที่จะเข้าใจอะไรได้ เราต้องช่วยเขา เราต้องนำความเจริญ ที่สำคัญ คือ เราต้องนำปัญญาไปสู่ชาวอีสาน เราต้องให้ชาวอีสานทุกคนทุกหมู่เหล่าใช้ธรรมนำหน้า ให้สมกับอีสานเป็นดินแดนของพระอรหันต์ ที่มีมากที่สุดในประเทศไทย คนอีสานจะต้องมีธรรม จะต้องมีปัญญา จะต้องไม่มีอวิชชา จะต้องไม่ถูกคนหลอก เราจะต้องเอาธรรมนำหน้า" นายสนธิ กล่าว ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ศปช. อ่านรายงาน คอป. : ‘พวงทอง’ วิพากษ์หลักฐาน-การให้น้ำหนัก-โครงเรื่อง Posted: 23 Sep 2012 01:15 AM PDT พวงทอง ภวัครพันธุ์ เปิดรายงาน คอป. ชี้ข้อมูลหลายอย่างมีประโยชน์แต่ไม่ถูกให้น้ำหนัก เน้น 'ชายชุดดำ' อธิบายทุกเหตุการณ์โดยขาดหลักฐานหนักแน่น ไม่เน้นข้อมูลฝ่ายประชาชน เชื่อลมปาก ศอฉ.ไม่ตรวจสอบ ทำงานไฟลนก้นเอาข้อมูลตัดแปะตามโครงเรื่องที่วาง สรุปรัฐบาล-ศอฉ.แค่ประมาทเลินเล่อ โยนความผิดให้ จนท.ระดับล่าง 'ผิดทั้งคู่' ชูฐานะเป็นกลางตัวเอง
23 ก.ย.55 เวลาประมาณ 13.00 น. มีงานเสวนา รัฐประหาร 19 กันยากับอาชญากรรมโดยรัฐ กรณีการสลายการชุมนุมเมษา-พฤษภา 53 จัดโดยศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์สลายการชุมนุมเดือนเม.ย.-พ.ค.53 (ศปช.) และกลุ่มปฏิญญาหน้าศาล ที่ตึกเอนกประสงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และได้รับความสนใจจากประชาชนจำนวนมากจนล้นห้องประชุม
ติดตามรายงานในส่วนอื่นได้เร็วๆ นี้ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
"สวนดุสิตโพลล์" ระบุคนเห็นพ้องรายงาน คอป.เชื่อสร้างความปรองดองได้ Posted: 23 Sep 2012 12:55 AM PDT
สวนดุสิตโพลล์ ระบุคนส่วนใหญ่เห็นด้วยกับรายงานของ คอป. มองค่อนข้างเป็นไปได้ในการสร้างความปรองดอง รัฐบาลควรนำข้อเสนอแนะไปปฏิบัติให้เป็นรูปธรรม และฝ่ายค้านต้องให้ความร่วมมือไม่ค้านทุกเรื่องให้เกิดความขัดแย้งเพิ่ม 23 ก.ย. 55 - ไทยรัฐออนไลน์รายงานว่า "สวนดุสิตโพลล์" มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน กรณีรายงานสรุปของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริง เพื่อความปรองดองแห่งชาติ หรือคอป. ซึ่งนำโดยนายคณิต ณ นคร ที่มีทั้งคนที่ยอมรับและไม่ยอมรับกับรายงานดังกล่าว กลายเป็นประเด็นที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง โดย 27.23% ระบุเป็นรายงานสรุปที่ได้รับการพูดถึงอย่างกว้างขวาง เนื่องจากเป็นเหตุการณ์สำคัญที่เกี่ยวข้องกับหลายฝ่าย 25.04% มองว่าได้กลายเป็นประเด็นร้อนที่ถูกหยิบยกขึ้นมาถกเถียงอีกครั้ง มีหลายคนที่ถูกพาดพิงและออกมาตอบโต้ 18.87% ระบุว่าคอป.มีข้อจำกัดในอำนาจหน้าที่และการทำงาน ทำให้รายงานสรุปมีหลายประเด็นเป็นที่เคลือบแคลงสงสัย นอกจากนี้ 15.18% ระบุว่า คอป.ถูกกล่าวถึงว่ามีความน่าเชื่อถือหรือมีความเป็นกลางมากน้อยเพียงใด และ 13.68 % เห็นว่ารัฐบาลควรจะต้องพิจารณาถึงรายงานสรุปฉบับนี้ว่า จะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในเรื่องใดได้บ้าง ทั้งนี้ 53.70% เห็นด้วยกับรายงานสรุป ของ คอป.เพราะเป็นรายงานที่ใช้เวลาในการศึกษานานพอสมควร มีการชี้แจงอย่างละเอียดไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนการทำงานต่างๆ การรวบรวมข้อมูลพยานหลักฐาน, คณะทำงานเป็นผู้เชี่ยวชาญและเป็นที่ยอมรับ, เป็นรายงานที่มุ่งหวังสร้างความปรองดองให้เกิดขึ้น ฯลฯ และอีก 46.30% ไม่เห็นด้วย เพราะในรายงานยังมีหลายประเด็นที่ไม่ชัดเจน โดยเฉพาะเหตุการณ์การใช้ความรุนแรงจนมีผู้เสียชีวิต, จุดยืนและความเป็นกลางของ คอป.ยังเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ของสังคม ฯลฯ ส่วนรายงาน คอป. สามารถจะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการสร้างความปรองดองแห่งชาติหรือไม่นั้น 42.74% มองว่า ค่อนข้างเป็นไปได้ เพราะหากแต่ละฝ่ายนำข้อมูล ข้อเสนอแนะจากรายงานไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์มากกว่าที่จะจ้องจับผิดหรือเอามาหักล้างกัน ฯลฯ 25.94% มองเป็นไปไม่ได้เพราะแค่รายงานฉบับนี้คงไม่สามารถนำไปสู่ความปรองดองได้ ความแตกแยกของคนในชาติเป็นปัญหาใหญ่ที่ฝังรากลึก หลายคนเห็นว่ารายงานฉบับนี้อาจกลายเป็นชนวนเหตุให้เกิดการทะเลาะเบาะแว้งขึ้นมาอีกครั้ง ฯลฯ 22.07% ระบุไม่น่าจะเป็นไปได้ เพราะมีหลายฝ่ายที่ไม่ยอมรับกับรายงานฉบับนี้ อีกทั้งทาง คอป.เองก็ถูกเพ่งเล็งเรื่องความเป็นกลาง ฯลฯ และ 9.25% เป็นไปได้มาก เพราะทุกคนต่างอยากเห็นความปรองดองเกิดขึ้นในสังคมไทยโดยเร็ว เป็นเรื่องที่กระตุ้นให้คนในสังคมมีความหวังอีกครั้ง ฯลฯ อย่างไรก็ตาม รายงานดังกล่าวของ คอป.ประชาชนเห็นว่า รัฐบาลควรศึกษารายละเอียด และข้อเสนอแนะของคอป. อย่างละเอียด และมอบหมายให้แต่ละฝ่ายนำไปปฏิบัติให้เกิดเป็นรูปธรรม รวมถึงการเปิดกว้างรับฟังกระแสวิพากษ์วิจารณ์รายงานของ คอป. จากทุกภาคส่วน และหากมีผู้ไม่หวังดีนำรายงานของ คอป. มาใช้เพื่อหวังทำลายหรือสร้างความขัดแย้งแตกแยกก็ควรจะดำเนินการแก้ไขทันที ขณะที่ฝ่ายค้านควรให้ความร่วมมือกับรัฐบาลตามการปฏิบัติงานที่ คอป. เสนอให้รัฐบาลดำเนินการ ตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล โดยเฉพาะงานที่รับมาจากข้อเสนอของ คอป.และไม่ควรค้านทุกเรื่องเพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้งเพิ่ม ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
อับดุลสุโก ดินอะ: มุสลิมไทยและมาเลเซียประท้วงต่อต้านหนังหมิ่นศาสนฑูตมุฮัมมัดอย่างสันติ Posted: 23 Sep 2012 12:39 AM PDT ด้วยพระนามของอัลลอฮ์ ผู้ทรงเมตตากรุณาเสมอ ขอความสันติสุขจงมีแด่ศาสฑูตมุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีแด่ผู้อ่านทุกท่าน การประท้วงต่อต้านหนังต้นทุนต่ำหมิ่นศาสนฑูตมุฮัมหมัด "อินโนเซนส์ ออฟ มุสลิม" ลุกลามไปทั่วโลกโดยเฉพาะในประเทศมุสลิม แต่ที่รุนแรงที่สุด น่าจะเป็นที่ลิเบีย ที่ทำให้นายเจ.คริสโตเฟอร์ สตีเฟน เอกอัครราชฑูตสหรัฐฯประจำกรุงเบงกาซีเสียชีวิต ส่วนอีกสามชาติอ คือ ตูนีเซีย อียิปต์และซูดาน อาคารสถานทูตสหรัฐฯและเยอรมนีกับอังกฤษถูกกลุ่มผู้ประท้วงบุกโจมตี ทำลายข้าวของและจุดไฟเผา ในขณะที่ มุสลิมบ้างกลุ่ม ในปากีสถาน ในเยเมน เรียกร้องชาวมุสลิมลุกขึ้นต่อต้านหนังดังกล่าวด้วยการ เผาสถานทูตและสังหารนักการทูตสหรัฐฯเพื่อปกป้องเกียรติศาสนา แต่ก็มีมุสลิมหลายประเทศโดยเฉพาะมาเลเซีย หรือหลายกลุ่มเช่นกันทำการประท้วงและประณามหนังดังกล่าวโดยสันติและต่อต้านการใช้ความรุนแรงต่อชาวสหรัฐฯผู้บริสุทธิที่ไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้แต่กลับไม่ได้ถูกเผยแผ่สักเท่าไร สำหรับประเทศไทยมีชาวมุสลิมประท้วงอย่างสันติสองแห่งด้วยกันกล่าวคือ วันที่ 18 กันยายน 2555 ชาวมุสลิมหลายร้อยคน ถือป้ายประท้วงหน้าสถานทูตสหรัฐฯ ประจำกรุงเทพฯ ท่ามกลางฝนตกลงมาอย่างหนัก และวันที่ 19 กันยายน 2555 ชาวมุสลิมเชียงใหม่รวมกันยื่นหนังสือประท้วงหน้ากงสุลสหรัฐอเมริกาเพื่อแสดงพลังต้านภาพยนตร์หมิ่นศาสนา สำหรับการประท้วงอย่างสันติในมาเลเซียก็เป็นไปอย่างสันติ ถึงแม้จะมีประชาชนร่วมประท้วงนับหมื่น กล่าวคือ เมื่อวันศุกร์ที่ 14 กันยายน 2555 ชาวมุสลิมในมาเลเซียได้จัดการประท้วงอย่างสันติในหลายเมือง โดยเรียกร้องให้สหรัฐฯป้องกันไม่ให้มีการเผยแพร่ภาพยนตร์ดูหมิ่นศาสนฑูตมุฮัมมัดดังกล่าว ในวันดังกล่าว ประชาชนราว 30 คนจากองค์กรทางศาสนาหลายกลุ่มได้เดินขบวนไปยังสถานทูตสหรัฐฯในกรุงกัวลาลัมเปอร์ ยื่นหนังสือฉบับหนึ่ง เรียกร้องให้สหรัฐถอดคลิปวีดีโอดังกล่าวออกจากเว็บไซต์ยูทูบ และดำเนินคดีต่อผู้สร้างหนังในข้อหา "ก่ออาชญากรรมต่อสิทธิมนุษยชน" และ "ปลุกปั่นชาวมุสลิม" ฝูงชนกลุ่มหนึ่งได้ชุมนุมกันที่แหล่งท่องเที่ยวยอดนิยม ถ้ำบาตู นอกเมืองหลวง และสื่อในมาเลเซียรายงานว่ามีการประท้วงที่เมืองอิโปฮ์ ทางภาคเหนือของประเทศเช่นกัน ขณะที่พรรคอิสลามรวมชาติมาเลเซีย (PAS) ซึ่งเป็นฝ่ายค้าน ประกาศจะจัดการประท้วงในเมืองอื่นๆด้วย รวมทั้ง คุตบะห์วันศุกร์(ธรรมเทศนา) ทุกเมืองของมาเลเซียก็ได้เรียกร้องเรื่องนี้เช่นกัน ทำให้ถัดจากนั้นหนึ่งสัปดาห์คือวันศุกร์ที่ 21 กันยายน 2555 ชาวมุสลิมนับหมื่นประท้วงอย่างสันติในกรุงกัวลาลัมเปอร์แต่ไม่มีเหตุร้ายเหมือนกับประเทศตะวันออกกลาง จากการประท้วงดังกล่าวทำให้เว็ปไซด์ กูเกิลจำต้องทำการบล็อกหนังหมิ่นอิสลามในมาเลเซีย การศรัทธาและการปฎิบัติตามจริยวัตรศาสนฑูตมุฮัมมัดเป็นหน้าที่ของมุสลิมทุกคนดังนั้นการลบหลู่ดูหมิ่นศาสนฑูตมูฮัมมัดก็เปรียบเสมือนเหยียบหยามศาสนาอิสลามและมุสลิม จึงเป็นผลให้มุสลิมออกมาปกป้องศาสนฑูตมูฮัมัด การปกป้องศาสนทูตมุฮัมมัดจึงเป็นความชอบธรรมของมุสลิมทุกคนในทางกลับกันหากมุสลิมท่านใดไม่ออกมาปกป้องพระองค์อาจจะทำให้สถานภาพของมุสลิมดังกล่าวสั่นคลอน แต่ความชอบธรรมในการปกป้องและประท้วงดังกล่าวจะต้องไม่ไปละเมิดสิทธิบุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้อง ในทางกลับกันจะต้องให้ความยุติธรรมต่อทุกคนไม่ว่าเขาจะเป็นมุสลิมหรือไม่และไม่ปฏิบัติตามอารมณ์ใฝ่ต่ำ ดังที่อัลลอฮ์ได้โองการในคัมภีร์อัลกุรอานความว่า "ผู้ศรัทธาทั้งหลาย! จงเป็นผู้ที่ดำรงไว้ซึ่งความยุติธรรม จงเป็นพยานเพื่ออัลลอฮ์ และแม้ว่าจะเป็นอันตรายแก่ตัวของพวกเจ้าเอง หรือผู้บังเกิดเกล้าทั้งสองและญาติที่ใกล้ชิดก็ตาม หากเขาจะเป็นคนมั่งมีหรือคนยากจน อัลลอฮ์ก็สมควรยิ่งกว่าเขาทั้งสอง ดังนั้นจงอย่าปฏิบัติตามความใคร่ใฝ่ต่ำในการที่พวกเจ้าจะมีความยุติธรรม และหากพวกเจ้าบิดเบือนหรือผินหลังให้ แท้จริงอัลลอฮ์ทรงรอบรู้อย่างถี่ถ้วนในสิ่งที่พวกเจ้ากระทำกัน" (อันนิซาอฺ 4:135) การประท้วงด้วยการทำลายของส่วนรวม สำนักงาน บริษัทห้างร้านของสหรัฐฯจึงเป็นการไม่สมควร เป็นการอธรรมต่อผู้อื่น อันเป็นการแสดงออกที่ไม่ดี ศาสนฑุตมุฮัมมัดไม่เคยสั่งสอน ดังนั้นหากรักท่าน จงปฏิบัติตามจริยวัตรท่านด้วยเช่นกัน เพราะท่านถูกส่งมาเพื่อให้ความเมตตาต่อประชาคมโลก เป็นที่ทราบกันดีว่าท่าน ได้ทำหน้าที่อันยิ่งใหญ่อย่างสมบูรณ์แบบตลอดชีวิตของท่านนั้นคือการสอนมนุษย์ให้เป็นมนุษย์ที่มีจรรยางาม ซึ่งพระวัจนะของท่านยืนยันไว้ว่า "ฉันได้รับการแต่งตั้งมาเพื่อสร้างความสมบูรณ์แก่จริยธรรมอันจำเริญยิ่ง" ดังนั้นการประท้วงอย่างสันติของมุสลิมชาวไทยและมาเลเซียเป็นสิ่งที่น่าสรรเสริญและสอดคล้องกับหลักการศาสนาตามที่สหภาพนักปราชญ์มุสลิมนานาชาติได้ออกแถลงการณ์ (โปรดดูรายละเอียดแถลงการณ์ในหมายเหตุข้างล่ง) หมายเหตุ แถลงการณ์ มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิแด่อัลลอฮ์ และขอความสันติและความจำเริญจงมีแด่ท่านมุฮัมมัด ศาสนทูตของอัลลอฮ์ บรรดาศอฮาบะฮฺ และบรรดาผู้เจริญรอยตามท่าน เราได้รับทราบในความผิดปกติและความอาฆาตแค้นจากผู้อพยพชาว คอปติก(คริสเตียนที่อยู่ในอียิปต์เดิม)บางส่วน ในการร่วมมือกับชาวอเมริกันหัวรุนแรง บาทหลวง เทอร์รี่โจนส์ ผู้ที่พยายามจะเผาคัมภีร์กุรอ่านอันสูงส่ง และจากความพยายามที่ชั่วร้ายดังกล่าว เราขอประกาศและยืนยันดังต่อไปนี้ 1. การกระทำครั้งนี้จะไม่ส่งผลใด ๆ ต่อความยิ่งใหญ่ของท่านศาสนทูตมุฮัมมัด ผู้ที่บุคลิกภาพเปี่ยมด้วยคุณธรรมอันสูงส่ง "ผู้ที่ถูกส่งมาเป็นความเมตตาแก่โลกนี้" และผู้เป็นดวงประทีปอันเฉิดฉาย นอกจากนี้ บรรดาผู้ที่มีเหตุผลทั่วทุกมุมโลกได้เห็นพ้องต้องกันในความยิ่งใหญ่ของท่านนบี จนนักเขียนชาวอเมริกันผู้หนึ่ง ซึ่งเขียนหนังสือเรื่อง 100 บุรุษผู้ที่มีอิทธิพลมากที่สุดในประวัติศาสตร์ ได้ประกาศให้ผู้ที่ประสบความสำเร็จสูงสุดในบรรดาคนเหล่านั้นคือท่านศาสนทูตมุฮัมมัดในทำนองเดียวกัน การกระทำดังกล่าวจะไม่ทำให้สาสน์ของท่านที่ขจรขจายอย่างกว้างไกลต้องเสียหาย หรือเป็นการขวางกั้นต่อแสงสว่างอันชัดแจ้ง 2. เราขอแสดงถึงความไม่พอใจอย่างยิ่งและขอประณามอย่างรุนแรงในการกระทำดังกล่าว และถือว่าการสร้างภาพยนตร์ดูหมิ่นท่านท่านศาสนทูตมุฮัมมัด โดยผู้อพยพชาวคอปติก (คริสเตียนที่อยู่ในอียิปต์เดิม) บางส่วนเป็นการยั่วยุอันชั่วร้ายซึ่งกระพือถ่านไฟแห่งความเคียดแค้นและความเกลียดชังในหมู่ประชาชน นอกจากนี้ยังถือว่ามันเป็นการหมิ่นประมาท โดยไม่แยแสต่อความรู้สึกของมุสลิมทั่วโลก 3. เราขอเรียกร้องให้ประชาชนมุสลิมในอเมริกาและประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก โดยผู้ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตภาพยนตร์เรื่องนี้ มาดำเนินคดีตามกฎหมายในทันทีต่อทุกคนที่ดูหมิ่นอิสลาม เนื่องจากการกระทำอันชั่วร้ายดังกล่าวไม่สามารถหลบซ่อนภายใต้ปีกของเสรีภาพในการแสดงออกได้ แต่นั่นเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนของบรรดามุสลิมผ่านการหมิ่นประมาทบุคคลสำคัญและละเมิดขอบเขตที่พึงสงวนของเรา 4. เราขอเรียกร้องให้บรรดาองค์กรนานาชาติ องค์กรอิสลาม รัฐบาลกลุ่มประเทศอาหรับและกลุ่มประเทศอิสลามแสดงจุดยืนที่เหมาะสมต่อสถานการณ์ตามกระแสของการเรียกร้องและการกระทำอันน่ารังเกียจเหล่านี้ และขอให้องค์กรความร่วมมืออิสลาม (OIC) ดำเนินการกับสถาบันที่เกี่ยวข้องตามกระบวนการทางกฎหมายต่อผู้ที่ดูถูกความเป็นมนุษย์ทั้งหมด ผ่านการหมิ่นประมาทท่านท่านศาสนทูตมุฮัมมัด ผู้เผยแผ่สาสน์แห่งความเมตตาไปทั่วโลก 5. เราขอเรียกร้องให้บรรดาพี่น้องมุสลิมทั่วทุกแห่งปฏิบัติตามจริยธรรมอิสลามในการตอบโต้กับกรณีดังกล่าว จากโองการที่ว่า "และไม่มีผู้แบกภาระคนใดที่จะแบกภาระของผู้อื่นได้" (ซูเราะฮฺ ฟาฏิร 35; 18) ดังนั้นไม่เป็นที่อนุญาตในการที่จะเหมารวมหรือลงโทษผู้บริสุทธิ์ในการกระทำบาปที่ผิดนี้ แต่พวกเขาควรจะเปลี่ยนจาก "วันสากลแห่งการวิจารณ์มุฮัมมัด" เป็น "วันสากลแห่งการรู้จักท่านศาสนทูตมุฮัมมัด" เราขอชมเชยการเรียกร้องอย่างเป็นกลางของชาวคอปติกและชาวคริสต์บางส่วน ซึ่งได้ประณามการกระทำครั้งนี้และยืนยันว่าการกระทำดังกล่าวมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับการปฏิบัติอันงดงามของท่านศาสนฑูตอีซา (หรือพระเยซู) แท้จริง อัลลอฮฺผู้เดียวเท่านั้นที่ถูกวิงวอนขอความช่วยเหลือ สหภาพนักปราชญ์มุสลิมนานาชาติ ภายใต้การนำของชัยค์ ดร .ยูสุฟ อัล-เกาะเราะฎอวียฺ (See ..https://www.facebook.com/photo.php?fbid=4650404344070&set=t.1245604111&type=1&theater) ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
บทวิพากษ์บทความอนาคต 3G ไทย ต้อง ‘มองไกล’ กว่า ‘เงินประมูล’ Posted: 23 Sep 2012 12:31 AM PDT
คุณวีรพัฒน์ ปริยวงศ์ ได้เขียนบทความ "อนาคต 3G ไทย ต้อง 'มองไกล' กว่า 'เงินประมูล'" ซึ่งตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ โพสต์ ทูเดย์ เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2555 ผู้เขียนเห็นว่ามีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนกับข้อเท็จจริงและหลักการที่ควรจะเป็น จึงขอแลกเปลี่ยนความเห็นกับคุณวีรพัฒน์ ก่อนอื่นขอทบทวนก่อนว่า ในการประมูลครั้งนี้ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (กสทช.) เปิดให้มีการประมูลคลื่นความถี่ทั้งหมด 45 MHz โดยแบ่งย่อยออกเป็น 9 สล็อต สล็อตละ 5 MHz วัตถุประสงค์ในการแบ่งคลื่นออกเป็นสล็อตก็เพื่อให้เกิดการแข่งขันกันประมูลคลื่นความถี่ โดยท้ายสุดผู้เข้าประมูลอาจได้จำนวนคลื่นความถี่ไม่เท่ากัน แต่เดิมนั้น กสทช. กำหนดเพดานการประมูลคลื่นความถี่ไว้ที่ 20 MHz และราคาตั้งต้นการประมูลที่ 4,500 ล้านบาท ทว่าภายหลังจากกระบวนการรับฟังความคิดเห็น กสทช. ได้ปรับลดเพดานการถือครองคลื่นความถี่ในการประมูลคลื่น 2.1 GHz จาก 20 MHz เป็น 15 MHz โดยไม่ได้มีการปรับเพิ่มราคาตั้งต้นการประมูลที่กำหนดไว้ที่ 4,500 ล้านบาท นักวิชาการและภาคประชาชนส่วนหนึ่งเห็นว่าการลดจำนวนเพดานการประมูลคลื่นดังกล่าว โดยคาดการณ์ได้ว่าจะมีผู้เข้าร่วมประมูลเพียง 3 ราย คือ AIS DTAC และ True และไม่มีการปรับเพิ่มราคาตั้งต้น ซึ่งเป็นเครื่องมือในการประกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในกรณีที่ไม่มีการแข่งขันประมูล ย่อมหมายความว่า ผู้เข้าประมูล 3 ราย จะได้คลื่นความถี่ไปรายละ 15 MHz ในราคาใกล้เคียงกับราคาตั้งต้น คือ 4,500 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นราคาที่ต่ำเกินจริงเมื่อพิจารณาจากปัจจัยและลักษณะเฉพาะของตลาดโทรคมนาคมของประเทศไทย อาทิ ประโยชน์ที่ผู้ประกอบการจะได้รับจากการลดส่วนแบ่งรายได้ในระบบสัมปทานที่สูงถึง 20-30% ไปสู่ค่าธรรมเนียมในระบบใบอนุญาตที่อยู่ที่ประมาณ 6% ในบทความ คุณวีรพัฒน์แสดงความไม่เห็นด้วยกับข้อวิพากษ์วิจารณ์การตัดสินใจของ กสทช. ดังที่ได้กล่าวไป ด้วยเหตุผลหลัก 3 ประการ คือ 1. กสทช. ไม่ได้มีหน้าที่รับผิดชอบแค่เพียงการจัดประมูลเพื่อหารายได้เข้ารัฐให้มากที่สุด แต่ยังต้องกำกับดูแลอุตสาหกรรมโทรคมนาคมเพื่อให้เกิดการแข่งขัน การควบคุมคุณภาพบริการ และการควบคุมราคาค่าบริการ ฯลฯ หากไม่มีการลดเพดานการถือครองคลื่นเหลือ 15 MHz ก็มีความเป็นไปได้ที่ผู้ประกอบการรายใหญ่ 2 ราย (ซึ่งตีความได้ว่าหมายถึง DTAC และ AIS) จะประมูลคลื่นไปรายละ 20 MHz (เพื่อกีดกันการแข่งขันจากรายที่สาม ไม่ใช่เพื่อคุณค่าทางเศรษฐกิจ) และเหลือคลื่นเพียง 5 MHz ให้กับอีกเจ้าหนึ่ง (หมายถึง True) ซึ่งไม่เพียงพอต่อการให้บริการที่มีคุณภาพและแข่งขันได้ ด้วยเหตุนี้ การตัดสินใจลดเพดานการถือครองคลื่นจึงเป็นการคุ้มครองการแข่งขันในตลาดโทรคมนาคมในระยะยาว 2. การคาดการณ์ว่าจะมีผู้เข้าร่วมประมูล 3 รายนั้นเป็นเพียงการคาดเดา และถึงเกิดขึ้นจริง ก็เป็นเรื่องที่โทษใครไม่ได้ เพราะ กสทช. ไม่ควรทำนายอนาคตและเลือกสูตรเฉพาะสำหรับกรณีที่มีผู้ประมูล 3 ราย รวมถึงไม่ควรแก้ปัญหาด้วยการเพิ่มเพดานการประมูลคลื่นความถี่ ซึ่งจะนำไปสู่การลดการแข่งขันในตลาดดังที่ได้กล่าวไป 3. การกำหนดราคาประมูลตั้งต้นที่ชุดละ 4,500 ล้านบาท เป็นอำนาจขององค์กรกำกับดูแลที่เราควรเคารพ และเห็นว่าราคาประมูลที่สูงเกินไปย่อมส่งผลต่อ "ค่าบริการ" และ "คุณภาพบริการ" ที่ผู้ประกอบการต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมหาศาลในการขยายโครงข่าย 3G หลังการประมูล หากค่าประมูลใบอนุญาตสูงเกินไป ย่อมส่งผลต่อการพัฒนาโครงข่าย ซึ่งจะกระทบกับคุณภาพบริการในที่สุด ประเด็นทั้งสามที่กล่าวมานี้ไม่ใช่เรื่องใหม่อะไร เพราะคณะกรรมการ กสทช. และที่ปรึกษาบางท่าน ก็ได้โหมประชาสัมพันธ์ชุดข้อมูลและความเชื่อข้างต้นมาตลอด เพียงแค่คุณวีรพัฒน์อาจจะมีความเห็นไปในทำนองเดียวกันเท่านั้นเอง ผู้เขียนขอแลกเปลี่ยนในแต่ละประเด็นดังนี้ ประเด็นแรกในข้อโต้แย้งแรกในบทความคือ การออกแบบการประมูลครั้งนี้ เราควรให้ความสำคัญกับการแข่งขันเพื่อเข้าสู่ตลาด (หมายถึงการแข่งขันประมูล) หรือการแข่งขันในตลาด (มีผู้ให้บริการหลายราย) แน่นอนว่าการรักษาสมดุลเพื่อให้เกิดการแข่งขันในทั้งสองฝากนั้นควรเป็นเป้าหมายสูงสุดของผู้ออกแบบการประมูล อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาโครงสร้างตลาดโทรคมนาคมและกฎเกณฑ์การกำดับแลในปัจจุบัน เป็นที่คาดการณ์ได้ว่าการแข่งขันในตลาดสุดท้ายแล้วจะเหลือแต่เจ้าเดิมที่ให้บริการอยู่แล้ว ที่คาดการณ์เช่นนี้เนื่องจาก 1) ตลาดโทรคมนาคมของประเทศไทยยังไม่มีการเปิดเสรีอย่างแท้จริง เพราะกฎหมายที่เกี่ยวข้อง อาทิ พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 พระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 และประกาศการกำหนดข้อห้ามการกระทำที่มีลักษณะเป็นการครอบงำกิจการโดยคนต่างด้าว กีดกันนักลงทุนต่างชาติที่มีเงินทุนมากเพียงพอในการประกอบกิจการโทรคมนาคมซึ่งต้องใช้เงินลงทุนสูง 2) การกำกับดูแลที่ไม่ส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรมต่อผู้ประกอบการรายย่อย เช่นกรณีของผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ Hutch ซึ่งต้องถอนตัวออกไปจากตลาดเนื่องจากการเรียกร้องค่าเชื่อมต่อโครงข่ายจากผู้ให้บริการรายใหญ่ในราคาที่สูงเกินไป และ 3) ผู้มาซื้อใบสมัครประมูลก็ยังวนเวียนอยู่ในกลุ่มผู้ประกอบการทั้งสามรายเดิม ประเด็นนี้เกี่ยวพันกับข้อโต้แย้งที่สองในบทความที่มองว่าไม่ใช่หน้าที่ของ กสทช. ในการคาดการณ์ว่าจะมีผู้เข้าร่วมการประมูลเพียง 3 ราย และเลือกสูตรการประมูลที่กระตุ้นให้เกิดการแข่งขันจากเงื่อนไขดังกล่าว ผู้เขียนเห็นว่า ในการประมูลคลื่นความถี่ซึ่งเป็นสมบัติของสาธารณะและเกี่ยวพันกับเม็ดเงินเข้าประเทศหลายหมื่นล้านบาท ย่อมไม่มีเหตุผลใดๆ ที่ กสทช. จะไม่ทำการศึกษาเรื่องเหล่านี้และนำข้อมูลเหล่านั้นมาใช้ออกแบบการประมูลให้เกิดการแข่งขันมากที่สุด นอกจากนั้น การเลือกสูตรการประมูล เช่น สูตร N-1 ดังที่เคยมีการเสนอใช้เมื่อการประมูลครั้งก่อน ก็ไม่ใช่สูตรเพื่อใช้สำหรับการประมูลเพียง 3 รายเท่านั้น ประเด็นสำคัญจึงไม่ได้อยู่ที่การคาดการณ์ว่าจะมีผู้เข้าประมูลกี่ราย แต่อยู่ที่การนำข้อมูลและผลการศึกษาของ กสทช. มาใช้เพื่อออกแบบการประมูลให้เกิดการแข่งขันประมูลมากที่สุด กลับมาข้อโต้แย้งที่หนึ่ง ในเมื่อเราคาดการณ์ได้ว่า การแข่งขันในตลาดจะไม่มีมากไปกว่าสภาพปัจจุบันแล้ว ยกเว้นแต่จะมีการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง กสทช. ก็ควรกลับมาเน้นการออกแบบการประมูลให้เกิดการแข่งขันมากที่สุด เพื่อนำเงินเข้ารัฐ ซึ่งจะช่วยลดภาระภาษีที่รัฐต้องจัดเก็บกับประชาชนในการลงทุนและพัฒนาบริการสาธารณะ คุณวีรพัฒน์อาจโต้แย้ง (เหมือนที่ กสทช. บางท่านได้โต้แย้งมาตลอด) ได้ว่า การลดเพดานถือครองคลื่นเป็นการป้องกันการแข่งขันในตลาดที่อาจเหลือเพียง 2 รายใหญ่เท่านั้น หาก True ได้คลื่นไปเพียง 5 MHz ในแง่นี้ ผู้เขียนมีข้อโต้แย้ง 2 ประเด็น คือ หนึ่ง คุณวีรพัฒน์และ กสทช. บางท่านอาจจะลืมไปว่าการแข่งขันการให้บริการข้อมูลความเร็วสูงในตลาดไม่ได้ขึ้นอยู่กับคลื่น 2.1 GHz เท่านั้น ขณะนี้ True ได้เปรียบผู้ประกอบการเจ้าอื่นด้วยการให้บริการ 3G บนคลื่นความถี่ 850 MHz ภายใต้สัญญาร่วมกับบริษัท กสท. โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) โดยไม่ต้องเสียค่าประมูลคลื่น ดังนั้น ต่อให้ True ได้คลื่นไปเพียง 5 MHz ก็ไม่ได้หมายความว่า True จะไม่สามารถแข่งขันให้บริการ 3G ได้ นอกจากนั้น กสทช. บางท่านก็ได้ให้สัมภาษณ์ผ่านสื่อตลอดว่า คลื่นความถี่ในช่วง 1800 MHz ที่จะกลับคืนมายัง กสทช. เพื่อจัดสรรใหม่ในปี 2556 จะถูกนำมาใช้รองรับเทคโนโลยี 4G ซึ่งจะช่วยให้เกิดการแข่งขันในตลาดมากขึ้น รวมถึงบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ก็มีแผนที่จะให้บริการ 4G บนคลื่นความถี่ 2.3 GHz เช่นกัน ประเด็นที่สองคือ หากคุณวีรพัฒน์และ กสทช. เชื่อว่า การลดเพดานการประมูลคลื่นเหลือเพียง 15 MHz เป็นการกระทำที่เหมาะสมเพื่อป้องกันการผูกขาดในตลาด ก็เป็นเรื่องสมควรอย่างยิ่งที่จะใช้เครื่องมือ "ราคาประมูลขั้นต่ำ" ในการสร้างรายได้เข้ารัฐในราคาที่สมน้ำสมเนื้อกับมูลค่าคลื่นความถี่ ในภาวะที่จะไม่มีการแข่งขันประมูล ประเด็นนี้เชื่อมโยงกับข้อโต้แย้งที่สามในบทความที่เชื่อว่า การกำหนดราคาประมูลตั้งต้นสูงเกินไปจะกระทบกับค่าบริการและคุณภาพบริการ ในแง่ของผลกระทบกับค่าบริการ คุณวีรพัฒน์ออกตัวตลอดว่าพูดในฐานะนักกฎหมาย จึงอาจจะหลงลืมประเด็นทางเศรษฐศาสตร์ที่มีนักวิชาการหลายท่านได้ออกมาชี้แจงว่า ราคาค่าประมูลนั้นจะไม่มีผลกระทบกับราคาค่าบริการของผู้บริโภค เนื่องจากเงินที่ผู้ประกอบการนำมาประมูลจะถูกคิดจากกำไร ไม่ใช่ต้นทุน เงินประมูลจะกลายเป็นต้นทุนจมที่ไม่ถูกส่งผ่านไปยังผู้บริโภค ปัจจัยหลักที่จะกระทบต่อราคาค่าบริการคือสภาพการแข่งขันในตลาด หลักการทางเศรษฐศาสตร์นี้ไม่ได้ถูกอ้างโดยนักวิชาการนอก กสทช. เท่านั้น แต่รายงานการประมูลคลื่นความถี่ฯ ซึ่ง กสทช. ได้ว่าจ้างให้คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ รวมถึงรายงานผลกระทบจากการอนุญาตประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ IMT ที่ กทช. ได้จัดทำขึ้นเพื่อเตรียมการประมูลครั้งก่อนหน้า ก็ยืนยันว่าราคาค่าประมูลจะไม่ส่งผลกระทบต่อผู้บริโภค ในแง่ผลกระทบด้านคุณภาพบริการนั้น AIS และ DTAC ได้ออกมาให้ข่าวว่าได้จัดเตรียมเงินลงทุนในเครือข่าย 3G ในช่วงปี 2555-2557 ประมาณ 50,000 และ 40,000 ล้านบาท ตามลำดับ โดยเงินส่วนนี้เป็นคนละส่วนกับที่ได้จัดเตรียมไว้สำหรับการประมูล ซึ่ง AIS เตรียมไว้ 17,000 ล้านบาท และ DTAC 15,000 ล้านบาท ซึ่งเชื่อได้ว่าจำนวนเงินดังกล่าวเป็นเงินขั้นต่ำที่เตรียมไว้ [1] ความกังวลของคุณวีรพัฒน์จึงเป็นความกังวลแทนผู้ประกอบการมากเกินไป ในข้อโต้แย้งที่สาม คุณวีรพัฒน์ยังกล่าวอีกด้วยว่า การตั้งราคาประมูลความถี่ชุดละ 4,500 ล้านบาท ถือเป็นดุลยพินิจขององค์กรกำกับดูแลที่เราควรเคารพในฐานะนักกฎหมาย เหตุผลดังกล่าวเป็นการตีกรอบกระบวนการกำหนดนโยบายแบบคับแคบให้อยู่ในพื้นที่ทางการเท่านั้น และละเลยแนวคิดเรื่องการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียอื่น ซึ่งย่อมมีสิทธิวิพากษ์วิจารณ์และตั้งคำถามกับนโยบายที่อาจถูกผลิตขึ้นภายใต้ขอบเขตข้อมูลและความรู้ที่จำกัด หรือกระทั่งภายใต้โครงสร้างอำนาจและผลประโยชน์แบบหนึ่ง นอกเหนือจากสามประเด็นหลักที่โต้แย้งไปดังกล่าวแล้ว ยังมีบางประเด็นที่ทำให้ผู้เขียนสับสนตรรกะที่ปรากฏในบทความ ดังเช่นคำกล่าวที่บอกว่า "ที่สำคัญไม่ควรลืมว่า ในทางกฎหมาย กสทช. ก็ยังมีอำนาจคุ้มครองประโยชน์แก่รัฐและผู้ใช้บริการในระยะยาวได้ เช่น อำนาจในการเก็บค่าตอบแทนการใช้คลื่นความถี่หรือค่าธรรมเนียม และการจัดสรรรายได้อื่นเข้ารัฐ รวมไปถึงอำนาจการกำกับดูแลอัตราขั้นสูงของค่าบริการ รวมถึงมาตรการป้องกันการผูกขาดและการกำกับการมีอำนาจเหนือตลาดต่างๆ" การกล่าวถึงอำนาจในการเก็บค่าตอบแทนการใช้คลื่นความถี่หรือค่าธรรมเนียม คุณวีรพัฒน์คงจะหมายถึงค่าธรรมเนียมรายปีและค่า Universal Service Obligation (USO) หรือการให้บริการครอบคลุมทั่วถึง ซึ่งการเก็บค่าธรรมเนียมในส่วนนี้มากเกินไป จะกลายเป็นต้นทุนส่วนเพิ่มที่ถูกส่งผ่านไปยังผู้บริโภค (ต่างจากต้นทุนจมในกรณีการประมูลคลื่นความถี่) ส่วนการกล่าวถึงเครื่องมือการกำกับดูแลอื่นๆ เช่น การกำกับดูแลอัตราขั้นสูงของค่าบริการ หรือมาตรการป้องกันการผูกขาด เครื่องมือเหล่านี้ต่างหากที่จะถูกใช้เพื่อป้องกันค่าบริการที่สูงเกินไป ซึ่งน่าจะช่วยลดข้อกังวลของคุณวีรพัฒน์ในเรื่องดังกล่าว คุณวีรพัฒน์กล่าวไว้ในช่วงหนึ่งของบทความว่า "ผลการประมูลชุดคลื่น 15-15-15 MHz ที่อาจจะเกิดจะเกิดขึ้นได้ อาจ "ไม่น่าปรารถนานัก" นัก แต่ในฐานะนักกฎหมายก็จำต้องยึด "หลักการ" เหนือ "ความปรารถนา"" ผู้เขียนไม่เชื่อว่า "ความปรารถนาที่ดี" ควรจะเบี่ยงเบนจาก "หลักการที่ควรจะเป็น" เว้นแต่เราจะอ้าง "หลักการ" เพื่อ "ความปรารถนา" ของใครบางคน .......................... [1] อ้างอิงจาก http://www.siamturakij.com/home/news/print_news.php?news_id=413358028 และ http://www.thairath.co.th/content/eco/233466 ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 16 - 22 ก.ย. 2555 Posted: 23 Sep 2012 12:11 AM PDT สหภาพรวมตัวค้าน พรบ.ยาสูบฉบับใหม่ ส่งผลต่อแรงงาน
ชี้แรงงานนวดแผนไทยขาดแคลนหนัก
คลังชี้ค่าแรง 300 ได้ทั้งไทยและต่างด้าว หวังพัฒนา SME
แรงงานไม่หวั่นตกงานเชื่อน้ำไม่ท่วมนาน
กระทรวงแรงงานขอความร่วมมือนายจ้าง อย่านับวันลาหยุด หากลูกจ้างถูกน้ำท่วมบ้าน
สหภาพแรงงานค้านแปรรูป "การยางแห่งประเทศไทย" เป็นองค์กรมหาชน
แห่ลดวุฒิการศึกษาแลกทำงาน จบ "ดร." กินเงินเดือนปริญญาโท ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น