ประชาไท | Prachatai3.info |
- คนงาน GM ร้องกรรมการสิทธิฯ สอบปัญหานายจ้างละเมิดสิทธิแรงงาน
- อัยการสั่งไม่ฟ้องเปรมชัย 5 ข้อหา ควรฟ้อง 6 ข้อ เรียกค่าเสียหาย 4.6 แสน ให้กับกรมอุทยานฯ
- สุชาติ เศรษฐมาลินี เขียนจดหมายถึง โต ซิลลี่ฟูล
- 'แกร็บสิงคโปร์' พร้อมทำงานกับคณะกรรมการแข่งขันทางการค้าช่วงควบรวม 'อูเบอร์'
- เปิดความคิดเสรีพิศุทธ์ ว่าด้วยการปฏิรูปกองทัพ เมื่อรั้วของชาติกลายเป็น “ตัวปัญหา”
- สนช.รับ ร่าง ก.ม.ข้าราชการฝ่ายตุลาการฯ และ ร่าง ก.ม.จัดตั้งศาลปกครองฯ ไว้พิจารณา
- กวีประชาไท: เศษเสี้ยว
- 131 องค์กรสิ่งแวดล้อมพม่ายินดีที่รัฐบาลยกเลิกโรงไฟฟ้าถ่านหินที่รัฐกะเหรี่ยง
- กวีประชาไท: ประชาสังคมธิปไตย
- เผยอิทธิพล 'บุพเพสันนิวาส' ทำหนังสือประวัติศาสตร์มาแรงในงานสัปดาห์หนังสือฯ
- คณะทำงานยูเอ็นแนะ รัฐบาลไทยควรทำให้ภาคธุรกิจเคารพสิทธิมนุษยชนมากขึ้น
- นาย คือ บดี ผี คือ ปิศาจ | 100 ปี 'นายผี' จากอัยการ นักเขียน สู่นักปฏิวัติ
- มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล-ซินดี้ ปลุกกระแสร้องสิทธิให้ผู้หญิงไม่ถูกลวนลาม-ข่มขืนช่วงสงกรานต์
- ฟิลิปปินส์ประกาศจะตรวจสอบกรณี 'แกร็บ' ซื้อกิจการ 'อูเบอร์' ในเอเชียอาคเนย์
- เผยปี 60 คนไทยใช้เน็ตผ่านมือถือ 3.3 พันล้านกิกะไบต์ ใช้บริการเสียง 43,460 ล้านนาที
คนงาน GM ร้องกรรมการสิทธิฯ สอบปัญหานายจ้างละเมิดสิทธิแรงงาน Posted: 04 Apr 2018 11:31 AM PDT สหภาพแรงงานเจนเนอรัลมอเตอร์สฯ ร้อง กรรมการสิทธิฯ ตรวจสอบปัญหาการละเมิดสิทธิแรงงานของนายจ้าง แนะจัดเวทีสาธารณะให้กับลูกจ้างในพื้นที่ ภาคตะวันออก 4 เม.ย.2561 ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งว่า วันนี้ เมื่อเวลาประมาณ 15.30 น. ที่สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา อาคารรัฐประศาสนภักดี (อาคารบี) ถนนแจ้งวัฒนะ ตัวแทนสหภาพแรงงานเจนเนอรัลมอเตอร์ส ประเทศไทย เข้าร้องเรียนพร้อมชี้แจงต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) เพื่อให้ตรวจสอบปัญหาการละเมิดสิทธิแรงงานในกรณีของ บริษัท เจนเนอรัลมอเตอร์ส ประเทศไทย โดยมี ประกาย รัตน์ต้นธีรวงศ์ กสม. ในฐานะประธานอนุกรรมการ ด้านสิทธิทางเศรษฐกิจสังคม รับข้อเรียกร้อง พร้อมรับว่าจะนำเรื่องดังกล่าวเข้าที่ประชุม กสม. วันที่ 5 เม.ย.นี้ โดยตัวแทนสหภาพแรงงานเจนเนอรัลมอเตอร์สฯ เรียกร้องต่อ กสม. ให้ดําเนินการช่วยเหลือให้ สมาชิกสหภาพแรงงานฯ ให้ได้รับความเป็นธรรมและให้นายจ้างเคารพกฎหมายและยุติพฤติกรรมที่เป็นการละเมิด ผ่าน 5 ข้อเรียกร้อง ต่อบริษัทเจนเนอรัลมอเตอร์สฯ ดังนี้ 1. ให้บริษัทฯ ทั้งสองรับลูกจ้างกลับเข้าทํางานในสถานที่ทํางานเดิม และตําแหน่งหน้าที่และสภาพการจ้าง เดิมทุกประการ 2. ห้ามมิให้บริษัทฯ ขัดขวางการดําเนินงานหรือดําเนินกิจกรรมของสหภาพแรงงาน ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม 3. ห้ามมิให้บริษัทฯ ขัดขวางการดําเนินการโดยการกลั่นแกล้งการลงโทษหรือเลิกจ้างลูกจ้างที่เป็นกรรมการและสมาชิกของสหภาพแรงงานฯ ด้วยเหตุผลอันไม่เป็นธรรมอีกต่อไป 4. ให้บริษัทฯ ปฏิบัติตามคําสั่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ โดยเคร่งครัด และ 5. ขอให้ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ลงตรวจเยี่ยมสถานประกอบการของบริษัทพร้อมทั้งให้ผู้แทนของสหภาพแรงงานฯ เข้าร่วมสังเกตการณ์ด้วย นอกจากนี้กลุ่มคนงานยังเรียกร้องให้ กสม. จัดทำวารสารเผยแพร่เรื่องสิทธิแรงงานตามกฎหมายแรงงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงจัดเวทีสาธารณะให้กับลูกจ้างในพื้นที่ ภาคตะวันออก รวมถึงจัดทำศัพท์ด้านแรงงานโดยเฉพาะเพื่อเป็นฐานข้อมูลในการสื่อสารกับหน่วยงานทั่วไปและบุคคลภายนอกให้เข้าใจตรงกัน เป็นต้น วันเดียวกัน กลุ่มคนงานดังกล่าวยังได้จัดกิจกรรม รณรงค์เผยแพร่เอกสารความคืบหน้า ของกรณีปัญหาการถูกละเมิดด้วยการปิดงานรายบุคคลและการถูกเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมภายในกิจการของบริษัทเจนเนอรัลมอเตอร์ ประเทศไทย บริเวณหน้าตึกอมรินทร์พลาซ่าย่านธุรกิจชิดลม เอกสารความคืบหน้ากรณีปัญหา ที่จัดทำโดยสหภาพแรงงานฯ มีดังนี้
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
อัยการสั่งไม่ฟ้องเปรมชัย 5 ข้อหา ควรฟ้อง 6 ข้อ เรียกค่าเสียหาย 4.6 แสน ให้กับกรมอุทยานฯ Posted: 04 Apr 2018 09:19 AM PDT อัยการภาค 7 แถลงคดี เปรมชัย กับพวก โดยอัยการสั่งฟ้อง 6 ข้อกล่าวหา ไม่ฟ้อง 5 ข้อกล่าวหา พร้อมเรียกค่าเสียหาย 4.6 แสนบาท ให้กับกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ส่วนข้อหาที่สั่งไม่ฟ้องส่งสำนวนไปให้ผบช.ตำรวจภูธรภาค 7 พิจารณา 'ศรีวราห์' ยันสำนวนสั่งฟ้องไม่อ่อน ที่มภาพ เว็บไซต์สำนักงานอัยการภาค 7 4 เม.ย.2561 รายงานข่าวระบุว่า วันนี้ ที่ห้องประชุมยกบัตรเมืองราชบุรี ชั้น 4 สำนักงานอัยการ ภาค 7 สมศรี วัฒนไพศาล อธิบดีอัยการภาค 7 สมเจตน์ อำนวยสวัสดิ์ อัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 2 ภาค 7 และ ทนง ตะภา อัยการ จ.กาญจนบุรี ร่วมแถลงความคืบหน้าคดี เปรมชัย กรรณสูต ประธานบริหารบริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด มหาชน กับพวก เมื่อวันที่ 20 มี.ค.61 สืบเนื่องจากสำนักอัยการจังหวัดทองผาภูมิได้รับสำนวนสอบสวนคดีระหว่าง วิเชียร ชิณวงษ์ หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ด้านตะวันตก จังหวัดกาญจนบุรี ข่าวสดออนไลน์ สมศรี วัฒนไพศาล อธิบดีอัยการภาค 7 พร้อมด้วย สมเจตน์ อำนวยสวัสดิ์ อัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 2 ภาค 7 ร่วมกันแถลงผลพิจารณาคดีของ เปรมชัย และพวก 1. คณะทำงานซึ่งมี สมเจตน์ เป็นหัวหน้าคณะทำงาน ร่วมกันตรวจพิจารณาสำนวนโดยละเอียดรอบคอบแล้ว มีความเห็นทางคดีเสร็จเรียบร้อยและเสนอให้ สมศรี มีคำสั่งในคดี ส่วนในประเด็นการร้องขอความเป็นธรรมของ เปรมชัย กับพวก คณะทำงานพิจารณาแล้วเห็นว่าตามประเด็นที่ร้องขอความเป็นธรรมดังกล่าวได้สอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานตามประเด็นที่ร้องขอความเป็นธรรมครบถ้วนแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องสอบสวนเพิ่มเติม อธิบดีอัยการภาค 7 พิจารณามีคำสั่งฟ้อง เปรมชัย กรรณสูต ข้อหา 1. ฐานร่วมกันพาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยมิได้รับอนุญาตและโดยไม่มีเหตุสมควร 2. ร่วมกันล่าสัตว์ป่าในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าโดยมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ 3. ร่วมกันล่าสัตว์ป่าคุ้มครองโดยมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ 4. ร่วมกันมีไว้ในครอบครองซึ่งซากสัตว์ป่าคุ้มครองโดยมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ 5. ร่วมกันช่วยซ่อนเร้นช่วยพา เอาไปเสีย หรือ รับไว้ด้วยประการใดๆ ซึ่งซากสัตว์ป่าอันได้มาโดยการกระทำความผิดกฎหมาย 6. ร่วมกันเก็บหาของป่าในเขตป่าสงวนแห่งชาติโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ และสั่งไม่ฟ้อง เปรมชัย กรรณสูต ข้อหา 1. ฐานร่วมกันมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต 2. ร่วมกันเข้าไปในเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าโดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ 3. ร่วมกันนำเครื่องมือสำหรับใช้ในการล่าสัตว์ป่าหรือจับสัตว์ป่าหรือจับสัตว์ป่าหรืออาวุธใดๆ เข้าไปในเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าโดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ 4. ร่วมกันพยายามล่าสัตว์ป่าในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าโดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ และ 5. ร่วมกันทารุณกรรมสัตว์โดยไม่มีเหตุอันสมควร ส่วน ยงค์ โดนเครือ ผู้ต้องหาที่ 2 อธิบดีอัยการภาค 7 พิจารณามีคำสั่งฟ้องฐานร่วมกันมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ร่วมกันพาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยมิได้รับอนุญาตและโดยไม่มีเหตุสมควร ร่วมกันล่าสัตว์ป่าในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าโดยมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ร่วมกันล่าสัตว์ป่าคุ้มครองโดยมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ร่วมกันมีไว้ในครอบครองซึ่งซากสัตว์ป่าคุ้มครองโดยมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ร่วมกันช่วยซ่อนเร้นช่วยพา เอาไปเสีย หรือ รับไว้ด้วยประการใดๆ ซึ่งซากสัตว์ป่าอันได้มาโดยการกระทำความผิดกฎหมาย ร่วมกันเก็บหาของป่าในเขตป่าสงวนแห่งชาติโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ และสั่งไม่ฟ้องฐานร่วมกันเข้าไปในเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าโดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ร่วมกันนำเครื่องมือสำหรับใช้ในการล่าสัตว์ป่าหรือจับสัตว์ป่าหรือจับสัตว์ป่าหรืออาวุธใดๆ เข้าไปในเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าโดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ร่วมกันพยายามล่าสัตว์ป่าในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าโดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ และร่วมกันทารุณกรรมสัตว์โดยไม่มีเหตุอันสมควร ด้าน นที เรียมแสน ผู้ต้องหาที่ 3 ถูกสั่งฟ้อง ฐานร่วมกันมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ร่วมกันพาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยมิได้รับอนุญาตและโดยไม่มีเหตุสมควร ร่วมกันมีไว้ในครอบครองซึ่งซากสัตว์ป่าคุ้มครองโดยมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ร่วมกันช่วยซ่อนเร้นช่วยพา เอาไปเสีย หรือรับไว้ด้วยประการใดๆ ซึ่งซากสัตว์ป่าอันได้มาโดยการกระทำความผิดกฎหมาย ร่วมกันเก็บหาของป่าในเขตป่าสงวนแห่งชาติโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ และสั่งไม่ฟ้องฐานร่วมกันเข้าไปในเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าโดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ร่วมกันนำเครื่องมือสำหรับใช้ในการล่าสัตว์ป่าหรือจับสัตว์ป่าหรือจับสัตว์ป่าหรืออาวุธใดๆ เข้าไปในเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าโดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ร่วมกันล่าสัตว์ป่าในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าโดยมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ร่วมกันล่าสัตว์ป่าคุ้มครองโดยมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ร่วมกันพยายามล่าสัตว์ป่าในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าโดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ และร่วมกันทารุณกรรมสัตว์โดยไม่มีเหตุอันสมควร ส่วน ธานี ทุมมาศ ผู้ต้องหาที่ 4 ถูกสั่งฟ้อง ฐานร่วมกันมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ร่วมกันพาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยมิได้รับอนุญาตและโดยไม่มีเหตุสมควร ร่วมกันล่าสัตว์ป่าในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าโดยมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ร่วมกันล่าสัตว์ป่าคุ้มครองโดยมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ร่วมกันมีไว้ในครอบครองซึ่งซากสัตว์ป่าคุ้มครองโดยมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ร่วมกันช่วยซ่อนเร้นช่วยพา เอาไปเสีย หรือ รับไว้ด้วยประการใดๆ ซึ่งซากสัตว์ป่าอันได้มาโดยการกระทำความผิดกฎหมาย ร่วมกันเก็บหาของป่าในเขตป่าสงวนแห่งชาติโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ ร่วมกันพยายามล่าสัตว์ป่าในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าโดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ และสั่งไม่ฟ้อง ธานี ในข้อหา ฐานร่วมกันเข้าไปในเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าโดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ร่วมกันนำเครื่องมือสำหรับใช้ในการล่าสัตว์ป่าหรือจับสัตว์ป่าหรือจับสัตว์ป่าหรืออาวุธใดๆ เข้าไปในเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าโดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ และร่วมกันทารุณกรรมสัตว์โดยไม่มีเหตุอันสมควร ทั้งนี้ อธิบดีอัยการภาค 7 พิจารณาแล้วให้ผู้ต้องหาทั้ง 4 คนร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายเป็นจำนวน 462,000 บาท ให้กับกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ส่วนข่าวที่ออกมาก่อนหน้าที่ว่ามีการเรียกปรับในจำนวนหลักล้านบาทนั้นเป็นข่าวที่ไม่ได้กรอง หรือไม่ได้ออกมาจากการแถลงของทางสำนักงานอัยการภาค 7 เนื่องจากในเรื่องนี้เราฟ้องค่าเสียหายทางแพ่งไปกับอาญาได้ของพระราชบัญญัติสัตว์ป่าสงวนแห่งชาติเท่านั้น ส่วนที่เกี่ยวกับ พรบ.สิ่งแวดล้อมเกี่ยวข้องกับระบบนิเวศเป็นหน้าที่ที่ต้องไปติดตามเรียกร้องทางแพ่งต่างหาก เพราะฉะนั้นอย่าสงสัยว่าทำไมเราเรียกร้องค่าเสียหายได้เท่านี้ อัยการภาค 7 ยังระบุว่า ในกรณีที่สั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหาบางคน บางข้อหา ให้ส่งสำนวนไปให้กับทางผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 7 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 145/1 เพื่อให้มีความเห็นทางคดีว่ามีความเห็นชอบกับคำสั่งที่ทางอธิบดีอัยการภาค 7 มีคำสั่งไปหรือไม่ ซึ่งขณะนี้ได้ส่งสำนวนทั้งหมดไปให้ทางผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 7 แล้ว ส่วนการเตรียมความพร้อมในเรื่องของการฟ้องขณะนี้เราเตรียมความพร้อมไว้หมดแล้วเหลือเพียงความเห็นชอบของทางผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 7 ว่ามีความเห็นชอบกับทางอธิบดีอัยการภาค 7 หรือไม่ ถ้าเห็นชอบเราก็จะยื่นฟ้องผู้ต้องหา ถ้ามาวันนี้เราก็ยื่นฟ้องได้ทันที แต่ถ้าทางผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 7 มีความเห็นชอบกับคำสั่งของอธิบดีอัยการภาค 7 แล้ว ทางเราจะส่งสำนวนทั้งหมดไปยังท่านอัยการสูงสุดเป็นผู้ชี้ขาดในคดีนี้ถ้ากรณีเกิดการแย้งกัน แต่ถ้าไม่แย้งก็จะส่งเรื่องมาที่เราและจะยื่นเรื่องส่งฟ้องที่ศาลจังหวัดทองผาภูมิต่อไป 'ศรีวราห์' ยันสำนวนสั่งฟ้องล่าสัตว์ป่าไม่อ่อนสำนักข่าวไทย รายงานด้วยว่า พล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เปิดเผย หลังอัยการ ภาค 7 มีความเห็นสั่งไม่ฟ้อง เปรมชัย ในข้อหาฐานร่วมกันมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต /ร่วมกันเข้าไปในเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าโดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ /ร่วมกันนำเครื่องมือสำหรับใช้ในการล่าสัตว์ป่าหรือจับสัตว์ป่าหรือจับสัตว์ป่าหรืออาวุธใดๆ เข้าไปในเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าโดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ /ร่วมกันพยายามล่าสัตว์ป่าในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าโดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ และ ร่วมกันทารุณกรรมสัตว์โดยไม่มีเหตุอันสมควร โดยพนักงานสอบสวนภูธรภาค 7 เตรียมทบทวนจะมีความเห็นแย้งหรือมีความเห็นพ้องตามอัยการ จากนั้นจะเป็นดุลยพินิจของอัยการ ในการพิจารณา เพราะพ้นอำนาจการสอบสวนไปแล้ว ดังนั้น จึงไม่จำเป็นต้องมีการสอบสวนเพิ่มเติม มั่นใจตำรวจทำสำนวนครบถ้วนอย่างละเอียด เห็นได้จากอัยการ มีความเห็นสั่งฟ้อง เปรมชัย และพวกในข้อหาหลัก แม้จะมีบางข้อหาที่สั่งไม่ฟ้องและก็ไม่ได้ส่งกลับมาให้ตำรวจสอบสวนเพิ่มเติม จึงแสดงให้เห็นว่าสำนวนคดีมีความแน่นหนาพอ ส่วนประเด็นที่อัยการสั่งไม่ฟ้องคดีร่วมกันมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต กับ เปรมชัย นั้น พล.ต.ต.ธวัชชัย เมฆประเสริฐสุข ผู้บังคับการกองพิสูจน์หลักฐานกลาง ยืนยันว่า ปืนที่พบเป็นปืนที่มีทะเบียน และมีชื่อ เปรมชัย เป็นผู้ครอบครองถูกต้องตามกฏหมาย และในชั้นพนักงานสอบสวน ก็มีความเห็นสั่งไม่สั่งฟ้องไปตั้งแต่ต้นอยู่แล้ว ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
สุชาติ เศรษฐมาลินี เขียนจดหมายถึง โต ซิลลี่ฟูล Posted: 04 Apr 2018 08:32 AM PDT จดหมายถึงโต ซิลลี่ฟูล ก่อนอื่นต้องขอบอกว่าผมในฐานะที่เป็นมุสลิมคนหนึ่งเหมือนกับคุณ มีความรู้สึกสะเทือนใจและหดหู่ใจอย่างยิ่งกับการบริภาษและวิจารณ์อย่างถึงพริกถึงขิงถึงการเคารพรูปปั้นของชนศาสนานิกอื่น จนเพื่อนต่าง ศาสนิกจำนวนมากออกมาตอบโต้อย่างรุนแรงทั้งต่อตัวคุณเอง และก้าวล่วงก่นด่าศาสนาอิสลามด้วยถ้อยคำอันกักขฬะหยาบคายตามมา เพราะศาสนาอิสลามที่ผมเข้าใจนั้น ไม่เคยสอนให้เราไปด่าทอ ดูหมิ่น เหยียดหยาม ลบหลู่ ศาสนาอื่น ดังที่ อัล-กุรอาน ได้กล่าวว่า وَلَا تَسُبُّوا الَّذِينَ يَدْعُونَ مِن دُونِ اللَّهِ فَيَسُبُّوا اللَّهَ عَدْوًا بِغَيْرِ عِلْمٍ ۗ كَذَٰلِكَ زَيَّنَّا لِكُلِّ أُمَّةٍ عَمَلَهُمْ ثُمَّ إِلَىٰ رَبِّهِم مَّرْجِعُهُمْ فَيُنَبِّئُهُم بِمَا كَانُوا يَعْمَلُونَ "และพวกเจ้าจงอย่าด่าว่า บรรดาที่พวกเขาวิงวอนขออื่นจากอัลลอฮ์ แล้วพวกเขาก็จะด่าว่าอัลลอฮ์เป็นการละเมิด โดยปราศจากความรู้ ในทำนองนั้นแหละ เราได้ให้ความสวยงามแก่ทุกชาติ ซึ่งการงานของพวกเขา และยังพระเจ้าของพวกเขานั้น คือการกลับไปของพวกเขา แล้วพระองค์ก็จะทรงบอกแก่พวกเขาในสิ่งที่พวกเขากระทำกัน" (อัล-กุรอาน 6:108) ในฐานะมุสลิม ผมคุ้นชินมาตลอดชีวิตกับการถูกดูถูกเหยียดหยาม ใส่ร้าย ป้ายสี ตลอดจนการบิดเบือนคำสอนจากคนต่างศาสนิกสุดโต่งบางกลุ่มในนามเสรีภาพของการแสดงความคิดเห็น ไม่ว่าจะเป็นกรณี การวาดภาพการ์ตูน 12 ช่องในประเทศเดนมาร์ก ที่ล้อเลียนท่านนบีมุฮัมหมัด (ศาสดาของศาสนาอิสลาม) อย่างหยาบคายเพื่อสื่อถึงความป่าเถื่อนรุนแรงและมักมากในกาม หรือกรณีการ์ตูนหน้าปกของนิตยสารชาลีเอบโด ในประเทศฝรั่งเศสที่เหยียดหยามนบีมุฮัมหมัดอย่างกักขฬะ หรือกรณีงานเขียนของซัลมาน รุชดี ที่เขียนเป็นหนังสือโดยใช้ชื่อว่า "โองการซาตาน" ادْعُ إِلَىٰ سَبِيلِ رَبِّكَ بِالْحِكْمَةِ وَالْمَوْعِظَةِ الْحَسَنَةِ ۖ وَجَادِلْهُم بِالَّتِي هِيَ أَحْسَنُ ۚ إِنَّ رَبَّكَ هُوَ أَعْلَمُ بِمَن ضَلَّ عَن سَبِيلِهِ ۖ وَهُوَ أَعْلَمُ بِالْمُهْتَدِينَ "จงเรียกร้องสู่แนวทางแห่งพระเจ้าของสูเจ้าโดยสุขุม และการตักเตือนที่ดี และจงโต้แย้งพวกเขาด้วยสิ่งที่ดีกว่า แท้จริงพระเจ้าของพระองค์และพระองค์ทรงรู้ดียิ่งถึงบรรดาผู้ที่อยู่ในทางที่ถูกต้อง" (อัลกุรอาน 16:125) ผมแม้จะมีความรู้น้อยทางด้านศาสนาเพราะไม่ได้ศึกษาเชี่ยวชาญมาทางนี้ แต่อิสลามเท่าที่ผมได้รู้จักเรียนรู้ ผมกลับเห็นว่าตลอดประวัติศาสตร์อิสลามและคำสอนวัตรปฏิบัติของท่านนบีมุฮัมหมัดที่มุสลิมเราเรียกว่าอัสซุนนะฮ์นั้น มันเต็มไปด้วยความสุภาพ งดงาม อ่อนน้อม อดทน-อดกลั้น และเคารพให้เกียรติชนทุกศาสนิกไม่ใช่หรือ ดังตัวอย่างในประวัติศาสตร์สมัยท่านนบีฯ ที่คุณเองก็คงทราบดี เช่น และผมเห็นว่าเรื่องที่น่าจะเตือนใจคุณและผมรวมทั้งมุสลิมเราทั้งหลายได้ดีที่สุดอีกเรื่องหนึ่งคือ ในสมัยของท่านอุมัร อิบนิ ค๊อตต๊อบ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งค่อลีฟะฮ์ (ผู้ปกครองสูงสุดของโลกอิสลามขณะนั้น) และเดินทางไปยังกรุงเยรูซาเล็มที่มุสลิมสามารถยึดกลับคืนมาได้ และท่านเดินทางไปที่โบสถ์คริสต์ประจำเมืองเมื่อถึงเวลาละหมาด บาทหลวงชาวคริสต์เชิญท่านเข้าละหมาดในโบสถ์เพราะเห็นว่าได้ตกเป็นของชาวมุสลิมแล้ว แต่ท่านอุมัรกลับขอทำการละหมาดข้างนอกโบสถ์โดยให้เหตุผลแก่บาทหลวงผู้นั้นว่า "ฉันเห็นว่ามีรูปปั้นติดอยู่ในโบสถ์ของท่าน ดังนั้น หากฉันละหมาดข้างในโบสถ์นี้ฉันเกรงว่าคนของฉันในรุ่นต่อมาที่พวกเขาอาจไม่เข้าใจและจะมาทำลายรูปปั้นของท่านไปเสีย ฉันจึงขอละหมาดข้างนอกโบสถ์" ผมเชื่อว่าด้วยการปฏิบัติเช่นนี้ตลอดประวัติศาสตร์อิสลามจึงทำให้ศาสนาอิสลามยิ่งใหญ่และดำรงอยู่มายาวนานจนถึงพวกเราในวันนี้ แล้วทำไมคนรุ่นเรากลับมาลดทอนคุณค่าความงดงามเหล่านั้นไปเสียในการที่ จะอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างให้เกียรติซึ่งกันและกัน ทำไมผมจำเป็นต้องเขียนจดหมายถึงคุณโตหรือครับ? เพราะตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ผมได้เฝ้าศึกษาติดตามสถานการณ์โรคเกลียดกลัวอิสลาม หรือที่เรียกกันว่าอิสลามโมโฟเบียที่แพร่กระจายไปตามโซเชียลมีเดียอย่างรวดเร็วในสังคมไทย และเป็นไปอย่างน่ากลัวด้วยการให้ข้อมูลจับแพะชนแกะ ด่าทอบิดเบือนอิสลามจนทำให้คนจำนวนไม่น้อยเกลียดกลัวมุสลิมทั้งๆ ที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อนเลย ข้อคิดเห็นทั้งหมดข้างต้นของผมเป็นไปด้วยความบริสุทธิ์ใจ ที่มีความมุ่งมาดปรารถนาอยากจะเห็นการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขของชนทุกศาสนิก และสื่อสารอิสลามที่ไม่ใช่การตอกย้ำสร้างความเกลียดชัง ดังนั้น การเข้าใจและเคารพให้เกียรติกันและกันจึงเป็นเงื่อนไขสำคัญที่เราจะอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติท่ามกลางความหลากหลายไม่ใช่หรือ อิสลามที่ผมเข้าใจ จึงไม่เคยที่จะสร้างกำแพงอันแน่นหนาเพื่อปิดโอกาสให้คนได้รู้จักเข้าใจในอิสลาม ในขณะเดียวกันอิสลามไม่เคยปิดโอกาสที่จะมีเมตตา น้ำใจต่อพี่น้องในทุก ศาสนิก ผมไม่มีความสามารถที่จะทำให้คุณโตได้รู้สึกสำนึกแค่ไหนในสิ่งที่คุณได้ทำไปว่าได้ส่งผลกระทบในทางลบอย่างมากต่อมุมองต่ออิสลามและมุสลิมในสังคมไทย จึงได้แต่ขอพร (ดุอาอ์) ให้อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ในการนำทาง (ฮิดายะฮ์) ให้คุณได้ตระหนักและนำสารอิสลามที่แท้จริงสู่ผู้คนอย่างมีปัญญา (ฮิกมะฮ์) และชาญฉลาดกว่านี้…วั้ลลอฮ์ อะอ์ลัม (พระเจ้าเท่านั้นที่ทรงรู้) วะบิ้ลลาฮิ เตาฟิก วั้ลฮิดายะฮ์
ที่มา: www.deepsouthwatch.org
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
'แกร็บสิงคโปร์' พร้อมทำงานกับคณะกรรมการแข่งขันทางการค้าช่วงควบรวม 'อูเบอร์' Posted: 04 Apr 2018 07:40 AM PDT ผู้บริหารแกร็บสิงคโปร์ชี้แจงข้อกังวลในช่วงควบรวมธุรกิจ 'อูเบอร์' โดยเปิดเผยว่าได้มอบข้อตกลงกับคณะกรรมการแข่งขันทางการค้าของสิงคโปร์ (CCS) และสาธารณชนว่าจะไม่เพิ่มค่าโดยสารขั้นต่ำและคงระบบการคิดราคาเช่นเดิม และพร้อมทำงานกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องและออกข้อปฏิบัติเพื่อให้ความมั่นใจต่อทั้ง CCS ผู้โดยสาร และผู้ขับขี่ กรณีที่มีการนำเสนอข่าว "แกร็บ" เตรียมควบรวมกิจการ "อูเบอร์" ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้คณะกรรมการด้านขนส่งมวลชนทางบก (SPAD) และคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า (MyCC) ของมาเลเซีย คณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าของสิงคโปร์ (CCS: Competition Commission of Singapore) รวมทั้งคณะกรรมการการแข่งขันทางธุรกิจของฟิลิปปินส์ (PCC) ตรวจสอบการควบรวมดังกล่าวเพื่อไม่ให้มีการละเมิดกฎหมายว่าด้วยการแข่งขันทางการค้านั้น (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง [1], [2]) ลิม เคล เจย์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ แกร็บ สิงคโปร์ ต่อมาประชาไทได้รับจดหมายชี้แจงลงวันที่ 2 เมษายน จากลิม เคล เจย์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ แกร็บ สิงคโปร์ ซึ่งชี้แจงและยืนยันว่าจะไม่เพิ่มค่าโดยสารขั้นต่ำ และคงระบบการคิดราคาเช่นเดิมเอาไว้ "ต่อข้อกังวลของสาธารณชนนั้น แกร็บ ยังคงยืนยันไม่เพิ่มค่าโดยสารขั้นต่ำและคงระบบการคิดราคาเช่นเดิมไว้ ทั้งหมดนี้ เป็นข้อตกลงที่เราจะมอบให้แก่ คณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าของสิงคโปร์ (CCS: Competition Commission of Singapore) และสาธารณชน โดยแกร็บ พร้อมทำงานร่วมกับ CCS, กรมการขนส่งสิงคโปร์ (LTA: Land Transportation Authority) และหน่วยงานภาครัฐต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงออกข้อปฏิบัติเพื่อให้ความมั่นใจแก่ CCS ตลอดจนผู้โดยสาร และผู้ขับขี่ของเรา" "ในเรื่องการยื่นเรื่องต่อ CSS นั้น แกร็บขอชี้แจงให้ทราบว่า บริษัทฯ ได้ทำการประเมินและวิเคราะห์ร่วมกับที่ปรึกษาต่างๆ ก่อนทำการควบรวมธุรกิจ และเราได้มีการติดต่อประสานงานกับทาง CCS มาโดยตลอดและจะยังคงทำเช่นนั้น นอกจากนี้ แม้ไม่อยู่ภายใต้ข้อบังคับทางกฎหมาย แต่แกร็บ ก็ได้ทำการแจ้งทาง CCS ล่วงหน้าว่าจะมีการยื่นเรื่องไม่เกินในวันที่ 16 เมษายน 2561 เพื่อทางานร่วมกันในขั้นตอนต่างๆ" จดหมายชี้แจงของกรรมการผู้จัดการใหญ่ แกร็บ สิงคโปร์ ระบุ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
เปิดความคิดเสรีพิศุทธ์ ว่าด้วยการปฏิรูปกองทัพ เมื่อรั้วของชาติกลายเป็น “ตัวปัญหา” Posted: 04 Apr 2018 07:37 AM PDT เสรีพิศุทธ์ชี้ "ยกเลิกเกณฑ์ทหาร" เป็นแค่ใบไม้ใบเดียวในป่าใหญ่ ชูปฏิรูปทหารทั้งกองทัพ ระบุประเทศชาติล้มลุกคุกคลาน ประชาธิปไตยไม่เจริญเพราะทหารคือปัญหา ก้าวแรกต้องแก้ พ.ร.บ.จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม นายกฯ ต้องปลดทหารได้ ไม่ใช่ให้ทหารปลดนายกฯ ก่อนหน้านี้พลตำรวจเอก เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส เสนอความคิดว่าควรมีการยกเลิกทหารเกณฑ์ ด้วยเหตุผลที่ว่า เป็นระบบที่เอื้อประโยชน์ให้กองทัพสามารถทุจริตคอร์รัปชั่นได้โดยง่าย ตั้งแต่การเริ่มต้นตรวจคัดเลือกทหารกองประจำการ ไปถึงขั้นตอนของการฝึกทหารใหม่ จนกระทั่งปลดประจำการ จำนวนเรียกเกณฑ์พลเรือนเข้ากรมกองไม่สอดคล้องกับสถานการณ์บ้านเมืองที่ไร้ซึ่งสภาวะสงคราม และไปด้วยกันไม่ได้กับอัตราการเกิดของชายไทยที่ลดลงอย่างเห็นได้ชัด อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ซึ่งวันนี้ผันตัวมาเล่นการเมืองภายใต้กรอบกติกาประชาธิปไตย ยืนยันชัดเจนว่า หากเขามีอำนาจการยกเลิกระบบเกณฑ์ทหารจะเป็นสิ่งหนึ่งที่ต้องทำให้สำเร็จ แต่ไม่เพียงแค่นั้นสำหรับเขา ทหารเกณฑ์ เป็นเพียงใบไม้ใบเดียวในป่าใหญ่ เขาบอกว่าการยกเลิกเกณฑ์ทหารเป็นเพียงเรื่องจิ๊บจ๊อย การปฏิรูปทหารทั้งกองทัพต่างหากที่เป็นเรื่องที่เป็นจุดมุ่งหมายสำคัญ หากว่ามีการเลือกตั้งเกิดขึ้นจริง และเขาได้เป็นรัฐบาล "จะไปกลัวอะไร ประยุทธ์มันรุ่นน้องผม" นั่นคือคำตอบเมื่อเราถามว่า ในทางปฏิบัติจะยกเลิกเกณฑ์ทหารได้จริงหรือไม่ ขณะเดียวกันก็ตอบคำถามคาใจ ที่ทำลายความศักดิ์สิทธิ์ของความเชื่อที่ว่า เกิดเป็นลูกผู้ชายต้องเป็นทหารรับใช้ชาติ ด้วยการหยิบยกกรณีนาฬิกายืมเพื่อน แต่เพื่อนตายแล้ว และแหวนเพชรพ่อ แต่แม่เก็บไว้ให้ ยอกย้อนถามกลับชัดถ้อยชัดคำว่า เมื่อนายทหารทำแบบนี้ ยังเรียกได้ว่าเป็นลูกผู้ชายหรือเปล่า ทหารสำหรับเขา ไม่ได้เป็นรั้วของชาติ หากแต่เป็น "ตัวปัญหา" ของชาติเสียมากกว่า และก็น่าแปลกใจที่นายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งไม่สามารถแต่งตั้งโยกย้ายนายทหารได้ ในทางกลับกันทหารกลับปลดนายกรัฐมนตรีได้ เพียงแค่การขออนุญาตรัฐประหาร นั่นคือเหตุผลหนึ่งที่เสรีพิศุทธ์ เห็นว่าเป็นปัญหา และต้องปฏิรูปกองทัพ ไม่เช่นนั้นประชาชิปไตยไม่มีวันลงหลักปักฐานได้ในประเทศนี้ และทั้งหมดนี้คือส่วนหนึ่งที่เขาต้องการจะเปลี่ยนแปลง มรดกรัฐประหาร 2549 ทำให้กองทัพอยู่เหนือกว่ารัฐบาลของประชาชนเสรีพิศุทธ์ เริ่มต้นกล่าวถึงสิ่งแรกที่ควรมีการแก้ไข หากคิดที่จะปฏิรูปกองทัพ คือ พ.ร.บ.จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม ซึ่งมีการแก้ไขครั้งล่าสุดหลังจากการรัฐประหารในปี 2549 หลักใหญ่ใจความของกฎหมายที่ไม่ได้ออกมาจากรัฐสภาของประชาชนคือ การกำหนดให้คณะกรรมการคณะหนึ่งขึ้นมาทำหน้าที่ในการจัดการกำลังพล และพิจารณาตั้งแต่งนายทหารชั้นนายพล ให้เป็นคณะกรรมการโดยตำแหน่งทั้งหมด7 ตำแหน่ง จาก 7 เสียงมีเพียง 2 เสียงเท่านั้นที่ยึดโยงกับประชาชน (หากมีการเลือกตั้งในสภาวะปกติ) คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธาน และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นกรรมการ ส่วนที่เหลืออีก 5 ตำแหน่งเป็นที่นั่งของฝ่ายข้าราชการประจำคือ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้บัญชาการทหารอากาศ เป็นกรรมการ และปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นกรรมการ และเลขานุการ "ทั้งหมดมี 7 คน เป็นข้าราขการประจำไป 5 คน ฉะนั้นฝ่ายการเมืองก็สู้ฝ่ายข้าราชการประจำไม่ได้ มันก็กลายเป็นว่าหลังจากมี พ.ร.บ.จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม นายกฯ ย้ายทหารไม่ได้ คุณคิดดูทหารบอกต้องเตรียมพร้อมสรรพ อาวุธยุทโธปกรณ์ เครื่องไม้เครื่องมือ แม้แต่น้ำมันต้องเพียบเต็มอัตราศึกหมด เพราะจะเกิดสงครามเมื่อไหร่ไม่รู้ แต่ขณะเดียวกันก็บอกนายกฯ ย้ายทหารไม่ได้ แล้วพบจะรบ นายกฯ สั่งรบ ทหารแม่งไม่รบ นายกสั่งหยุดทหารแม่งไม่หยุด คุณว่าไงมันถูกไหมตรรกะนี้ ไม่ถูก นายกฯ ต้องย้ายได้ดิ...ไม่ใช่คนที่มาจาการประชาชนไม่มีอำนาจย้ายทหาร แต่ทหารกลับปลดนายกฯ ได้ อยู่ดีๆ ก็เอาปืนมาวางผมยึดอำนาจ" ลดขนาดกองทัพให้เล็กลง ย้ายค่ายทหารออกจากกรุงเทพ เอาที่ดินกว่าสามหมื่นไร่มาสร้างสาธารณะประโยชน์เสรีพิศุทธ์ เห็นว่าจะต้องมีการแก้ไข พ.ร.บ.จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม โดยให้ฝ่ายการเมืองซึ่งถือว่ามาจากประชาชน มีอำนาจในการบังคับบัญชาทหารได้ ในส่วนต่อมาคือ การยุบกองบัญชาการทหารสูงสุด เพราะในปัจจุบันไม่มีความจำเป็น โดยให้กองบัญชาการทหารสูงสุดมีการตั้งขึ้นเป็นการการเฉพาะกิจ ในช่วงสถานการณ์สงครามเท่านั้น นายกรัฐมนตรีมีอำนาจแต่งตั้งผู้บัญชาการทหารเหล่าทัพใดเหล่าทัพหนึ่ง หรือนายกรัฐมนตรีเองสามารถเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดได้ทันที เพื่อแก้ไขสถานการณ์ในสภาวะสงคราม เขาเห็นว่า จุดหมายปลายทางของการยุบกองบัญชาการสุดสูงคือ การทำให้กองทัพมีขนาดเล็กลง และจะทำให้งบประมาณของภาครัฐถูกใช้อย่างมีคุณค่า ไม่ต้องจ่ายไปกับอัตราเงินเดือน และสวัสดิการของนายทหารที่เกินความจำเป็น นอกจากนี้เสรีพิศุทธ์ ยังเห็นว่าส่วนที่เกินความจำเป็นอีกหน่วยหนึ่งคือ กองทัพน้อย เขาเห็นว่าการมีกองทัพเพียง 4 ภาคก็เพียงพอแล้ว "มีกองทัพภาคแล้ว 4 ภาค ถามว่ามีกองทัพน้อยไว้ทำไมอีก มีกองกำลังของตัวเองอีก มันบ้าหรือเปล่า มันควรจะยุบเสียด้วยซ้ำ นี่ผมพูดเล่นเฉยๆ นะ กองทัพมี 4 ภาค มันควรจะยุบเหลือ 2 ภาค อันนี้พูดเล่นนะ เพราะมันไม่มีสงครามอะไรจะมีไว้ทำไมเต็มอัตราศึก หรือมี 4 ภาคเหมือนเดิมก็บรรจุกำลังพลไม่เต็มอัตราศึก ให้มีแต่โครงไว้" มากไปกว่านั้นเสรีพิศุทธ์ ยังเห็นว่าควรจะมีการย้ายกองทัพออกไปจากกรุงเทพมหานคร โดยชี้ให้เห็นว่าพื้นที่หลายหมื่นไร่ที่กองทัพเป็นเจ้าของสามารถนำไปพัฒนาในเกิดประโยชน์ได้หลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นการสร้างโรงพยาบาล โรงเรียน ที่อยู่อาศัย สวนสาธารณะ หรือเปิดพื้นที่ให้เอกชนเช่าเพื่อการพัฒนา โดยให้กองทัพบกย้ายไปอยู่ที่จังหวัดลพบุรี กองทัพเรือย้ายไปอำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี และกองทัพอากาศย้ายไปอยู่ที่อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ "สมัยสร้างกรุงเทพฯ สร้างพระราชวังก็มีศูนย์ราชการ กองทัพบก เรือ อากาศ ก็ตั้งอยู่ในนี้ เมื่อ 200 กว่าปีก่อนถ้าออกไปเลยเสาชิงช้าไปหน่อยก็เป็นบ้านนอกแล้ว คุณไปดูภาพเก่าๆ ยิ่งกรมตำรวจนี่ไกลสุดกู่ อยู่สุขุมวิท พระรามหนึ่งแถวนั้นเป็นทุ่งนาหมด วันเวลามันผ่านมาไป 236 ปีก็ยังเหมือนเดิมศูนย์ราชการไปแจ้งวัฒนะ บางส่วนก็ไปเมืองนนท์ ถามว่าย้ายศูนย์ราชการแบบนี้เหรอ มันไม่ใช่การย้ายหรอก มาเลเชียเขาย้ายตั้งสี่ห้าร้อยกิโล พม่าก็ย้าย บราชิลก็ย้าย แต่ของเราจอมพล ป. คิดจะย้ายศูนย์ราชการไปอยู่เพชรบูรณ์ ก็ได้แต่คิดยังทำไม่สำเร็จ หลังๆ มาคิดจะย้ายก็ย้ายไปแมะแค่นี้ รถก็ไปติดแถวแจ้งวัฒนะ แถวเมืองนนท์แทน ส่วนกองทัพยังอยู่เหมือนเดิม" "พื้นที่ที่เป็นหน่วยที่ตั้งของทหาร น้องเดินไปดูเถอะ ถ้าฝั่งธนฯ ก็เป็นของทหารเรือ ถ้ากลางเมืองก็เป็นของทหารบก ไปดอนเมืองก็เป็นของทหารอากาศ จริงป่ะ ปฎิรูปของผมก็คือ ย้ายกองทัพ กระทรวงกลาโหมก็ยังอยู่ที่เดิมนี่ละ แต่กองทัพนี่เป็นส่วนย่อย ต้องออกไปข้างนอก ผมพูดอยู่บ่อยๆ กองทัพบกไปลพบุรี กองทัพเรือไปสัตหีบ กองทัพอากาศไปนครสวรรค์ แล้วที่ดินในกรุงเทพจะเหลือประมาณสองสามหมื่นไร่ มหาศาล โรงเรียนขาดไหม บางคนลูกอยู่ฝั่งธนฯ ต้องข้ามมาเรียนไกลเหลือเกิน ประเทศที่เจริญแล้วเด็กเขาเรียนใกล้บ้านทั้งนั้น ของเราการจราจรก็ติดขัด พ่อแม่ตั้งตื่นแต่เช้าไปทำงาน บางคนต้องป้อนข้าวลูกในรถ แล้วก็ต้องรีบไปเข้าโรงเรียน ฉะนั้นโรงเรียนมันต้องมีให้ทั่วถึงให้เด็กไม่ต้องเดินทางไกล เรียนใกล้ๆ บ้านก็ได้ ถ้าได้พื้นที่สองหมื่นไร่มาก็สร้างโรงเรียน อีกส่วนหนึ่งก็สร้างโรงพยาบาล ผมไปโรงพยาบาลนี่นะ เก้าโมงเช้าก็เห็นคนนั่งรอกันเต็ม ไปถามคุณป้ามานั่งรอตั้งแต่กี่โมง มาตั้งแต่ตีสี่ มาจองเข้าคิว สิบโมงเช้ายังไม่ได้รักษาเลย คนแน่นเต็มโรงพยาบาลไปหมด...สรุปง่ายๆ โรงพยาบาลมันไม่เพียงพอ แต่เรายังเสือกไปซื้อเรือดำน้ำ ซื้อรถถัง ซื้อเครื่องบิน แทนที่จะมาสร้างโรงพยาบาล ทำให้เงินมันเพียงพอที่จะดูแลประชาชน ไม่ใช่ให้น้องตูนมาวิ่งหาเงินมาสร้างโรงพยาบาลไม่อายเขาเหรอ ในณะที่ตูนไปวิ่งหาเงินมาสร้างโรงพยาบาล แต่กองทัพเอาเงินไปถลุง" ศาลทหารมีไว้ทำไมในเมื่อเป็นคนเหมือนกัน องค์การทหารผ่านศึกถ้ามีไว้รับเงินกินส่วนแบ่งอย่ามีเลยอีกหนึ่งเรื่องที่เสรีพิศุทธ์คิดที่จะทำคือการยุบศาลทหาร เมื่อเกิดคดีความที่ทหารเป็นผู้ก่อ ไม่ว่าจะเป็นนายทหารชั้นยศใดก็ตามต้องมาขึ้นศาลยุติธรรมเทียบเท่ากับพลเรือน "เวลาทหารทำความผิดขึ้นศาลทหาร เวลาตำรวจทำความผิดขึ้นศาลตำรวจบ้างได้ไหม ข้าราชการส่วนอื่นเวลาเขาทำความผิดเขาขึ้นศาลยุติธรรมกันหมด แล้วทหารมีอภิสิทธิ์อะไรถึงต้องไปขึ้นศาลทหาร ก็มาขึ้นศาลประชาชนเหมือนกันสิ ก็ยุบแม่งซะ จะมีศาลทหารก็ต่อเมื่อมีศึกสงครามก็พอ" ส่วนกรณีขององค์การทหารผ่านศึก เสรีพิศุทธ์ตั้งข้อสังเกตว่า ปัจจุบันแทบจะไม่มีความจำเป็นในเชิงหน้าที่อีกแล้ว หากจะยังมีหน้าที่อยู่ก็มีเพียงเรื่องเดียวคือการรับโครงการต่างๆ ของรัฐบาลไปทำ ทั้งที่ไม่มีหน้าที่ตามกฎหมาย และไม่มีศักยภาพที่จะทำได้ "ทหารผ่านศึกเดี่ยวนี้มีกี่คน มีแต่รุ่นเก่าสมัยเก่า ควรจะยุบเลิกได้แล้ว ผมเห็นถึงวันทหารผ่านศึกทีไรก็ขายคนแก่ เอาทหารแก่มาใส่หมวก ใส่ชุดทหารโทรมๆ มาขายดอกป๊อปปี้ เอาดารามาขายของ แต่หารู้ไม่ว่าทหารผ่านศึกนี่แดกงบเรียบไปหมด ยามทุกหน่วยงานต้องเอาจากทหารผ่านศึก แย่งอาชีพประชาชนเขาอีก บริษัทยามเอกชนแทนที่จะฝึกคนไปเป็น รปภ. มีอาชีพเป็นของตัวเองมาติดขัดเพราะทหารผ่านศึกหมด แล้วถามว่าทหารผ่านศึกมีหน้าที่ขุดลอกคูคลองไหม ไม่มี แล้วมันให้ไปได้ไงงบตั้งหมื่นล้าน รัฐบาล คสช. ก็เอาไปให้กินหัวคิวไง แล้วใครเป็นนายกองค์การทหารผ่านศึก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ชื่ออะไรละ ก็ประวิตร เอางบประมาณตั้งหลายตั้งไปให้ทหารผ่านศึกขุดลอกคูคลองทั้งที่ไม่มีหน้าที่ ไม่มีคน ไม่มีเครื่องมือ แบบนี้มันโกงชาติชัดๆ" อัตรานายพลผู้เชี่ยวชาญ ชำนาญการมีเยอะ แต่ไม่มีงานทำ สิ้นเดือนเซ็นชื่อรับเงินเดือนเสรีพิศุทธ์ ระบุต่อไปว่า การที่จำนวนนายพล ของกองทัพไทยมีจำนวนมากนั้น แท้จริงแล้วไม่ได้มีความสอดคล้องกับงานของกองทัพแต่อย่างใด ในช่วงของการแต่งตั้งโยกย้าย ตามปกติระบบของทหารจะมีลำดับขั้นตามรุ่น ตามอายุราชการ แต่ถ้าผู้มีอำนาจในการแต่งตั้งโยกย้ายเห็นว่าควรมีการแต่งตั้งข้ามรุ่น นายทหารที่อยู่ในลำดับก่อนหน้าก็จะถูกมอบตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญ ชำนาญการเป็นการตอบแทน ให้ยศระดับนายพล ให้ตำแหน่ง แต่กลับไม่มีงานให้ทำ เขากล่าวย้ำด้วยว่า แม้แต่โต๊ทำงานยังไม่มี แต่ทุกสิ้นเดือนกลับมีการเซ็นชื่อรับเงินเดือน ทำไปทั้งหมดนี้ก็เพื่อจะดึงคนของตัวเองขึ้นมามีอำนาจ "เรื่องผู้เชี่ยวชาญ ผู้ชำนาญการ ผู้ทรงคุณวุฒิของทหารต้องเลิกทั้งหมด คือเขามีวิธีการ สมมติว่านี่หัว ต่อๆๆๆ กันไปตามอาวุโส แล้วเขาอยากให้คนอยู่ท้ายขึ้น เขาก็จับพวกหัวๆ เป็นที่ปรึกษา เป็นผู้ชำนาญการ แล้วมันไรอ่ะ โต๊ะนั่งก็ไม่มี ห้องทำงานก็ไม่มี แต่งตั้งก็ได้ยศกันไป อัตราพลเอก พลโท พลตรี แล้วก็กลับมาอยู่บ้าน ใครใฝ่ดีก็ทำมาหากินไป สิ้นเดือนก็ไปเซ็นชื่อรับเงินเดือน ใครใฝ่ชั่วหน่อยก็ไปติดตามทวงหนี้ ไปเป็นมือปืนรับจ้าง ก่อนหน้านี้ก็มีข่าวพลโทค้ามนุษย์ นั่นแหละเป็นผู้ชำนาญการของกองทัพ เลยไปค้ามนุษย์ซะเลย ก็ถูกดำเนินคดีไป เพื่อนผมก็มีรุ่นเดียวกันน่ะ เป็นนายพลก็ไปติดตามทวงหนี้เขาอยู่ เห็นๆ กันอยู่ แล้วจะตั้งไปทำไมเปลือง ถูกไหม ยุบให้หมดเปลืองภาษีประชาชน ปฏิรูปทหารไม่ได้เป็นแค่การขจัดคอร์รับชันหรือจัดระบบการบริหารราชการแผ่นดิน แต่เป็นการทำให้ระบอบประชาธิปไตยลงหลักปักฐานได้เสรีพิศุทธ์ เสนอต่อว่า การปฏิรูปทหารในหลายๆ เรื่องไม่ว่าจะเป็นการยกเลิกการเกณฑ์ทหาร ย้ายค่ายทหารออกจากกรุงเทพ แก้ไข พ.ร.บ.จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม ฯลฯ ไม่เป็นเพียงการขจัดคอร์รับชันหรือจัดระบบการบริหารราชการแผ่นดิน แต่เป็นการทำให้ระบอบประชาธิปไตยลงหลักปักฐานได้ นอกจากที่เขาให้สัมภาษณ์พิเศษกับประชาไท เสรีพิศุทธ์ ยังได้ให้สัมภาษณ์กับ the standard ด้วยว่าหากสามารถเปลี่ยนแปลงอะไรหนึ่งอย่างได้ สิ่งที่เขาอยากทำมากที่สุดคือการปฏิรูปทหาร เพราะเห็นว่าทหารคือปัญหาของประเทศชาติ และที่ประเทศชาติล้มลุกคุกคลาน ประชาธิปไตยไม่เจริญก็เป็นเพราะทหารอยากเป็นใหญ่ แต่ไม่ยอมอยู่ในกติกา ไม่ยอมลงมาเลือกตั้ง เมื่อถามถึงความเป็นไปได้จริงสำหรับการปฏิรูปทหาร เสรีพิศุทธ์เห็นว่า ปัจจุบันนอกจากจะมีพลัง หรือกระแสขับเคลื่อนจากภายนอกกองทัพแล้ว ภายในกองทัพเองก็มีทหารที่เป็นผู้รักประชาธิปไตยอยู่อีกมาก ซึ่งเป็นนายทหารที่ไม่คิดนอกกรอบ ไม่คิดที่จะยึดอำนาจจากประชาชน "คุณคิดดูสิกองทัพมีคนเป็นแสนๆ ถามว่ามีคนได้ดีจาก คสช. กี่คนละ ก็มีเฉพาะพวกเขาไม่กี่คนหรอก พวกไม่ได้ดีมีอีกเยอะ ไอ้พวกนั้นคิดอยู่ตลอดเวลาวันใดกูมีโอกาสก็จะปล้นอำนาจจากประชาชน แต่คนที่เขาไม่คิดแบบนี้ก็มี อยู่ในกรอบก็คืออยู่ในกรอบ ไม่ต้องหวังหรอกเอาเป็นว่าผมจัดการได้ก็แล้วกัน" สำหรับการเมืองไทย เสรีพิศุทธ์เห็นว่า การจะทำให้ประชาธิปไตยลงหลักปักฐานได้จะต้องพัฒนาสองสิ่งไปพร้อมกันคือ คน และระบบ กล่าวคือต้องทำให้คนมีคุณภาพมากขึ้น พร้อมกันนั้นทุกภาคส่วนต้องเคารพกติกาตามระบอบประชาธิปไตย ไม่ใช่การแก้ไขปัญหาการเมืองด้วยการทำรัฐประหาร "เราต้องพัฒนาคนให้ได้ งบประมาณในการบริหารก็จำเป็นต้องทุ่มมากเพื่อพัฒนาคน ส่วนระบบเรื่องปกครองกันด้วยระบอบประชาธิปไตย เราจะไปล้มมันไม่ได้ วันนี้คนคุณภาพอย่างนี้ก็เลือก ส.ส. ได้แบบนี้ ได้รัฐมนตรีแบบนี้ ได้นายกรัฐมนตรีแบบนี้ เราต้องทุ่มไปที่คนมากๆ เราก็จะได้ ส.ส. ดีขึ้น ได้รัฐมนตรีดีขึ้น ได้นายกรัฐมนตรีดีขึ้น แต่ถ้าคุณไม่ทุ่มไปที่คน แต่มาล้มระบบ มายึดอำนาจทุกที ทุกที แล้วมันจะไปได้ยังไง แล้วยึดอำนาจแล้วเป็นไง ทุจริตน้อยกว่าเก่าป่ะ เดี๋ยวนี้มันโกงกันทั้งแผ่นดินแล้ว ทุกกระทรวงก็โกง พวกคุณก็โกงกันเอง"
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
สนช.รับ ร่าง ก.ม.ข้าราชการฝ่ายตุลาการฯ และ ร่าง ก.ม.จัดตั้งศาลปกครองฯ ไว้พิจารณา Posted: 04 Apr 2018 06:44 AM PDT สนช. มีมติ 181 เสียง รับหลักการร่าง พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมฯ ไว้พิจารณา กำหนดความคุ้มครองข้าราชการตุลาการศาลในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีซึ่งได้กระทำโดยสุจริต สนช. ยังมีมติรับหลักการร่าง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองฯ ไว้พิจารณา 4 เม.ย.2561 รายงานข่าวระบุว่า วันนี้ ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีมติรับหลักการร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ที่คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ ไว้พิจารณา ด้วยคะแนน 181 เสียง ไม่เห็นด้วยไม่มี และงดออกเสียง 6 เสียง จากผู้เข้าร่วมประชุมทั้ง 187 คน พร้อมตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว 24 คน กำหนดแปรญัตติ 7 วัน กรอบระยะเวลาดำเนินการ 60 วัน วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงหลักการและเหตุผลว่า ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม ปี 2543 เพื่อกำหนดความคุ้มครองข้าราชการตุลาการในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดี เนื่องจากนับตั้งแต่มีการเปิดศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบก็มีผู้นำคดีไปฟ้องร้องกล่าวหาผู้พิพากษาที่ทำหน้าที่พิพากษาเป็นจำนวนมาก แสดงให้เห็นว่า มีการใช้ช่องทางเดิมที่มีอยู่ฟ้องร้องได้ และแก้ไขเพิ่มเติมถ้อยคำที่อ้างถึงกรรมการการเลือกตั้ง กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ผู้ตรวจการแผ่นดิน กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เป็น "ผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ" ซึ่งเป็นคำที่ใช้ในรัฐธรรมนูญ รวมทั้งแก้ไขเพิ่มเติมการได้มาซึ่งกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อเป็นไปตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ โดยกำหนดให้ข้าราชการตุลาการเป็นผู้เลือกจากผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งไม่เป็นหรือเคยเป็นข้าราชการตุลาการไม่เกินสองคน ตลอดจนแก้ไขเพิ่มเติมกระบวนการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมฯ ให้มีความคล่องตัวมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้เพื่อให้องค์กรซึ่งทำหน้าที่บริหารงานบุคคลเกี่ยวกับผู้พิพากษาศาลยุติธรรมมีความเป็นอิสระ เป็นกลาง ปลอดจากการถูกแทรกแซงทางการเมือง ด้านสมาชิก สนช.อาทิ กล้านรงค์ จันทิก ได้ให้ข้อสังเกต กรณีการเพิ่มความ "การพิจารณาพิพากษาอรรถคดีซึ่งข้าราชการตุลาการได้กระทำโดยสุจริต ย่อมได้รับความคุ้มครอง" เนื่องจากเกรงว่าข้อความดังกล่าวจะมีการแปลความไปอีกลักษณะหนึ่งได้ เพราะหลักความเชื่อของคนไทยนั้น เชื่อในกระบวนการยุติธรรมของทุกศาลว่าสุจริตและยุติกรรม ดังนั้นหากระบุ ให้มีการคุ้มครองผู้สุจริตจะทำให้มองภาพไปอีกในทางหนึ่งได้ อีกทั้งเห็นว่าไม่ได้เป็นการแก้ปัญหาได้อย่างชัดเจน เพราะไม่สามารถป้องกันผู้ที่จะฟ้องร้องผู้พิพากษาได้ ขณะที่นายแพทย์เจตน์ ศิรธรานนท์ อภิปรายเห็นด้วยกับ กล้านรงค์ โดยกล่าวว่า ปัญหาผู้พิพากษาถูกฟ้องร้อง อาจทำให้ความเป็นกลางในการปฏิบัติหน้าที่ได้รับผลกระทบ แต่การที่ระบุข้อความดังกล่าวไปในร่างกฎหมายฉบับนี้ อาจดีขึ้นในแง่ของจิตใจกรณีที่มีการฟ้องเกิดขึ้น อย่างไรก็ตามมองว่าเป็นเพียงกฎหมายสารบัญญัติเท่านั้น (กฎหมายที่กำหนดสิทธิหน้าที่ตลอดจนความรับผิดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ว่าทางแพ่งหรือทางอาญาแก่บุคคล) ควรมีการกำหนดไว้ในกฎหมายวิธีสบัญญัติอีกฉบับหนึ่ง (กฎหมายที่กำหนดกระบวนวิธีพิจารณาความเพื่อจะบังคับให้เป็นไปตามสิทธิและหน้าที่ของบุคคล เพื่อให้เกิดผลทางกฎหมาย) น่าจะเหมาะสมมากกว่าและทำให้ร่างกฎหมายมีความสมบูรณ์มากขึ้น รับหลักการร่าง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง ไว้พิจารณาวันเดียวกัน สนช. ยังมีมติรับหลักการร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ไว้พิจารณา ด้วยคะแนนเห็นด้วย 184 เสียง ไม่เห็นด้วยไม่มี งดออกเสียง 4 เสียง จากจำนวนผู้เข้าประชุม 188 คน พร้อมกำหนดระยะเวลาแปรญัตติภายใน 7 วัน กำหนดระยะเวลาดำเนินงาน 60 วัน วิษณุ กล่าวถึงหลักการของการเสนอร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวเพื่ออนุมัติให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ และเป็นการแก้ไขมาตราอื่นๆ ที่สอดคล้องกันให้เป็นกระบวนการเดียวกัน รองรับกันและแก้ไขสิ่งที่ปัญหาที่ค้างคามานาน เช่น การยื่นเรื่องให้สภาผู้แทนราษฎรเห็นชอบก่อนประกาศใช้เป็นข้อบังคับ รวมทั้งเพื่อให้คู่ความมีความสะดวกที่จะนำคดีมาฟ้องร้อง ตลอดจนแก้เพื่อทำให้ผู้เป็นตุลาการในศาลปกครองได้รับความเป็นธรรมในเรื่องของการรับบำเหน็จบำนาญยิ่งขึ้น ด้านสมาชิก สนช.เห็นด้วยกับหลักการและสนับสนุนร่างฉบับนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในมาตรา 18 และ มาตรา 21 เพราะเห็นว่าเป็นการปรับปรุงกฎหมายให้มีความทันสมัย นำหลักการความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมาบูรณาการร่วมกับหลักการพัฒนาไม่ทอดทิ้งใครไว้ข้างหลัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิธีการนำเสนอคำฟ้องและการพิจารณาคำฟ้องโดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือดิจิตอล เป็นประโยชน์ต่อให้ประชาชน และสามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้ง่ายมากขึ้น ขณะที่ ผู้แทนศาลปกครอง กล่าวชี้แจงถึงการยื่นฟ้องทางอิเล็กทรอนิกส์ สื่อดิจิตอล และระบบเดิมว่า การนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาประยุกต์ใช้และสร้างนวัตกรรมถือเป็นหัวใจสำคัญ และเป้าหมายของศาลปกครองที่นำมาใช้ก็เพื่อความสะดวก รวดเร็วและประหยัด โดยผลดีที่เล็งเห็นมี 4 ประการ คือ 1.คู่กรณีและประชาชนเป็นศูนย์กลางในการออกแบบและพัฒนาระบบของศาลปกครองอิเล็กทรอนิกส์ โดยนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาช่วยบูรณาการงานพิจารณาคดี 2.เพิ่มความสะดวกให้กับคู่กรณีในการยื่นฟ้อง รับส่งเอกสาร โดยเพิ่มช่องทางผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อลดการพึ่งพากระดาษ 3.ลดภาระค่าใช้จ่ายของคู่กรณีและประชาชน และ 4.ลดขั้นตอนระยะเวลาในการเข้าใช้บริการที่ศาล
ที่มา เว็บไซต์วิทยุและโทรทัศน์รัฐสภา ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
Posted: 04 Apr 2018 06:39 AM PDT ฉันเป็นเพียงเศษฝุ่นจากขุนเขา ใครผู้ถูกเหล่านั้นฉันผู้ผิด โปรดอย่าพรากมันจากฉันเลย ฉันเป็นทาสอาจสักวันฉันเป็นทุน ฉันเป็นเพียงเสี้ยวธุลีของขี้เขม่า
ภาพประกอบโดย: จี-บี
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
131 องค์กรสิ่งแวดล้อมพม่ายินดีที่รัฐบาลยกเลิกโรงไฟฟ้าถ่านหินที่รัฐกะเหรี่ยง Posted: 04 Apr 2018 06:18 AM PDT หลังจาก รมว.ไฟฟ้าและพลังงานพม่าไม่อนุญาตให้สร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน 1,280 เมกกะวัตต์ ที่เมืองหลวงของรัฐกะเหรี่ยง ทำให้ 131 องค์กรสิ่งแวดล้อมในรัฐกะเหรี่ยงและพม่าแสดงความยินดีต่อข่าวดังกล่าว อย่างไรก็ตามยังคงเฝ้าระวังต่อไป พร้อมเรียกร้องให้รัฐบาลพม่าออกกฎหมายและหนุนนโยบายพลังงานหมุนเวียนแทน หลังจาก วินไข่ง์ รมว.ไฟฟ้าและพลังงาน ของพม่า แถลงเมื่อ 14 มี.ค. ที่ผ่านมาว่า รัฐบาลพม่าจะไม่อนุญาตให้มีการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน 1,280 เมกกะวัตต์ ในเมืองพะอัน เมืองหลวงรัฐกะเหรี่ยง โดยชุมชนในพื้นที่และกลุ่มภาคประชาสังคมซึ่งรณรงค์ต่อต้านโครงการอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยกำลังฉลองชัยชนะครั้งนี้และต้อนรับข่าวจากรัฐมนตรีพลังงานคนใหม่ด้วยความยินดี อ่องตานทวย ชาวบ้านจากชุมชนในเมืองพะอัน รัฐกะเหรี่ยง กล่าวว่า "เราดีใจมากและรู้สึกขอบคุณที่ได้ยินการแถลงจากรัฐมนตรีกลางว่าโครงการได้ถูกยกเลิกไปแล้ว อย่างไรก็ตาม แม้จะดีใจ แต่เราก็ยังคงระมัดระวัง เราหวังว่าผู้แทนของรัฐบาลท้องถิ่นจะช่วยลดความกังวลของเราโดยการตามรอยรัฐมนตรีกลางและประกาศสนับสนุนการยกเลิกโครงการนี้" พวกเรา 131 องค์กรและเครือข่ายดังกล่าว ได้เรียกร้องให้รัฐบาลพม่าปฏิบัติตามถ้อยแถลงของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงไฟฟ้าและพลังงาน และยกเลิกทุกโรงไฟฟ้าถ่านหินที่ถูกเสนอและระงับไว้อย่างเป็นทางการ นอกจากนี้เรายังขอเรียกร้องให้รัฐบาลประกาศแผนเลื่อนการชำระหนี้โรงไฟฟ้าถ่านหินแห่งชาติ อันเนื่องมาจากความเสียหายร้ายแรงที่ไม่อาจแก้ไขได้ที่โรงไฟฟ้าเหล่านี้จะนำมาสู่สิ่งแวดล้อมและประชาชนพม่า เรายังขอเรียกร้องให้รัฐบาลออกนโยบายและกฎหมายเพื่อส่งเสริมและควบคุมการดำเนินโครงการพลังงานหมุนเวียนอย่างยั่งยืนซึ่งสอดคล้องกับความจำเป็นและความปรารถนาของชุมชน ทั้งนี้ เมื่อเดือนเมษายน 2560 รัฐบาลท้องถิ่นรัฐกะเหรี่ยง (KSG) และบริษัท โตโย ไทย พาวเวอร์ เมียนมาร์ (TTCL) ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจเพื่อดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้ในโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินพะอัน ต่อมาในเดือนมิถุนายน 2560 องค์กรภาคประชาสังคมในรัฐกะเหรี่ยง 42 องค์กรและองค์กรภาคประชาสังคมอื่นๆ รวมกันกว่า 131 องค์กร ได้ออกแถลงการณ์ต่อต้านโครงการ ถัดมาในเดือนตุลาคม 2560 รัฐบาลท้องถิ่นรัฐกะเหรี่ยงและ TTCL ได้ลงนามในสัญญาร่วมทุนและสัญญาเช่าพื้นที่ 815 เอเคอร์ ระยะเวลาสัมปทาน 40 ปี โดยสถานที่ตั้งโครงการอยู่ในแม่น้ำสาะวิน ขณะเดียวกันกลุ่มภาคประชาสังคมในท้องถิ่นได้รวบรวมลายเซ็นต์จากประชาชนชาวกะเหรี่ยงซึ่งคัดค้านโครงการประมาณ 2,980 รายชื่อ ส่งมอบให้หัวหน้าคณะรัฐมนตรีของรัฐกะเหรี่ยง ในเดือนพฤศจิกายน 2560 ชุมชนท้องถิ่นได้รวมตัวกันเพื่อต่อต้านโครงการ โดยในส่วนของTTCL นั้น แม้จะรู้ว่ามีการคัดค้าน แต่ก็ยังชักชวนให้รัฐบาลท้องถิ่นรัฐกะเหรี่ยงจัดการให้ประชาชนจากพะอันเดินทางไปเยี่ยมชมโรงไฟฟ้าถ่านหินเฮคินันในประเทศญี่ปุ่น เพื่อสร้างอิทธิพลและโปรโมทโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินในพะอัน "แม้ว่าโครงการจะถูกประกาศยกเลิกในระดับสหภาพแล้ว แต่ก็ยังไม่ชัดเจนในระดับรัฐบาลท้องถิ่น การเข้าถึงข้อมูลสาธารณะเกี่ยวกับโครงการยังคงจำกัด และ TTCL ก็ยังคงทำการซื้อที่ดินในพื้นที่โครงการเมื่อเร็วๆ นี้" เหน่ลินทุน ตัวแทนชาวบ้านเมืองพะอัน กล่าว นอกจากนี้ ยังมีรายงานว่า TTCL พยายามดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินในพะอัน รัฐกะเหรี่ยง หลังจากที่ล้มเหลวในการดำเนินการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินที่หมู่บ้านอังแตง รัฐมอญ ชุมชนท้องถิ่นในอังแตงคัดค้านโครงการนี้อย่างมาก ชาวบ้านราว 5,000 คน ชุมนุมประท้วงโครงการในปี 2558 และผลจากการคัดค้านอย่างเข้มแข็งและต่อเนื่องทำให้โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินอังแตงถูกยกเลิกไป ชุมชนในพม่าได้คัดค้านโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินทั่วประเทศมาอย่างต่อเนื่อง แสดงถึงความกังวลอย่างยิ่งต่อปัญหาการบังคับย้ายถิ่นฐาน มลพิษทางอากาศและน้ำ วิถีชีวิตที่ถูกทำลาย และผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ขณะที่ทางเลือกพลังงานหมุนเวียนทำให้โครงการเช่นที่พะอันไม่มีความจำเป็นและไร้ความชอบธรรม ในปัจจุบัน ประเทศที่กำลังพัฒนากำลังติดตั้งโครงการพลังงานหมุนเวียนเร็วเกือบสองเท่าของประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนี้ คือต้นทุนที่ลดลงของวัสดุส่วนประกอบและประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นของเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียน นอกจากนี้แล้ว โครงการพลังงานหมุนเวียนยังสามารถนำกระแสไฟฟ้าไปสู่ชุมชนทั่วพม่าได้เร็วกว่าโรงไฟฟ้าถ่านหินและโครงการพลังงานน้ำขนาดใหญ่เป็นอันมาก ชุมชนชนบทในพม่าได้ดำเนินการโครงการพลังงานทดแทนอย่างยั่งยืนที่ไม่เชื่อมโยงกับระบบสายส่งไฟฟ้าแล้วกว่า 3,500 โครงการ โดยสอดคล้องกับความต้องการพลังงานในท้องถิ่นและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ ต่าโบ ตัวแทนองค์กรภาคประชาสังคมในรัฐกะเหรี่ยงและพม่ากล่าวด้วยว่า "นี่เป็นโอกาสที่จะหารือเกี่ยวกับขั้นตอนในการไปสู่พลังงานทางเลือกที่ยั่งยืนซึ่งกระจายอำนาจการจัดการไปสู่ชุมชน และเพื่อเปิดพื้นที่สำหรับแผนธรรมาภิบาลพลังงานที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง" แนวโน้มของโลกที่มีต่อพลังงานหมุนเวียนนั้นมีที่มาจากการที่ทั่วโลกตระหนักว่า การปล่อยมลพิษจากถ่านหินคือปัจจัยสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และก่อให้เกิดผลกระทบร้ายแรงต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของมนุษย์ หากพม่ายังคงพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินต่อไป ก็จะพลาดโอกาสในการเป็นผู้นำทางด้านพลังงานหมุนเวียน ในทางตรงกันข้าม พม่าจะต้องสังเวยสุขภาพของประชาชนและสิ่งแวดล้อมไป จึงไม่มีเหตุผลอันใดที่จะยังคงใช้พลังงานฟอสซิลเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
Posted: 04 Apr 2018 06:16 AM PDT
◎ ยกหัวใจใหญ่ยิ่ง อุดมคติ ◎ วีรบุรุษนานช้า มาเกิด
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
เผยอิทธิพล 'บุพเพสันนิวาส' ทำหนังสือประวัติศาสตร์มาแรงในงานสัปดาห์หนังสือฯ Posted: 04 Apr 2018 06:01 AM PDT อิทธิพลออเจ้า! หนังสือประวัติศาสตร์มาแรงในงานสัปดาห์หนังสือฯ นักอ่านทุกรุ่นตามหาทั้งงานวิชาการ นวนิยาย การ์ตูนความรู้ หวังต่อยอดความรู้ประวัติศาสตร์ไทย ครึ่งทางคนทะลักกว่าล้านคน คาดจบงานถึงเป้า 2 ล้านคน 4 เม.ย.2561 รายงานข่าวแจ้งว่า สุชาดา สหัสกุล นายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้ "น่าจะเป็นครั้งแรกๆในงานสั สุชาดา กล่าวต่อว่า จากปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นดังกล่ "การอ่านยังอยู่ในนิสัยของคนไทย ที่คนพูดว่าคนไม่อ่านหนังสือ คิดว่าไม่ใช่ ปรากฏการณ์นี้สามารถตอบโจทย์ตรง สำหรับสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 46 และสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 16 จัดถึงวันอาทิตย์ที่ 8 เม.ย. 2561 ตั้งแต่เวลา10.00 – 21.00 น. ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
คณะทำงานยูเอ็นแนะ รัฐบาลไทยควรทำให้ภาคธุรกิจเคารพสิทธิมนุษยชนมากขึ้น Posted: 04 Apr 2018 05:41 AM PDT คณะทำงานว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติแถลงผลการเยือนไทย 10 วัน ชี้ ธุรกิจไทยต้องตระหนัก เคารพสิทธิมนุษยชนลูกจ้าง เรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิกการฟ้องปิดปากประชาสังคม เปิดพื้นที่ชุมนุมอย่างสันติ ปรับกระบวนการอีไอเอให้ชุมชน ผู้รับผลกระทบมีพลัง ซ้ายไปขวา: ดันเต้ เพสเซ ซูรยา เดวา 4 เม.ย. ที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศ (FCCT) คณะทำงานว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติได้นำเสนอข้อสังเกตเบื้องต้นเรื่องมาตรการต่างๆ ที่รัฐบาลไทยและภาคธุรกิจควรจะดำเนินการเพื่อปรับปรุงการเคารพสิทธิมนุษยชนของธุรกิจและเพื่อเสริมสร้างการเข้าถึงการเยียวยาที่มีประสิทธิภาพหลังเสร็จสิ้นการเดินทาง คณะทำงานว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ได้เยือนจังหวัดต่างๆ ในประเทศไทยรวมถึง กรุงเทพฯ สงขลา เชียงใหม่ ขอนแก่น และสมุทรสาคร ระหว่างวันที่ 26 มีนาคม – 4 เมษายน ระหว่างการเยือน กลุ่มผู้เชี่ยวชาญได้หารือกับเจ้าหน้าที่รัฐ ภาคธุรกิจ และองค์กรประชาสังคมต่างๆ รวมถึงตัวแทนของกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวโยงกับธุรกิจ เช่น แรงงานข้ามชาติ นักปกป้องสิทธิมนุษยชน นักกิจกรรมระดับชุมชน ผู้พิการ และผู้ค้าบริการทางเพศ "เรายินดีกับความมุ่งมั่นที่ชัดเจนของรัฐบาลที่ต้องการเป็นผู้นำในภูมิภาคในเรื่องธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน และขอส่งเสริมให้รัฐบาลดำเนินมาตรการต่างๆ ไปสู่วัตถุประสงค์นี้" ดันเต้ เพสเซ รองประธานคณะทำงานว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนกล่าวสืบเนื่องจากความพยายามของรัฐบาลที่จะยกสิทธิมนุษยชนในธุรกิจเป็นวาระแห่งชาติ ดันเต้ระบุเพิ่มเติมว่า ภาคธุรกิจในไทยยังคงต้องดำเนินการสร้างความตระหนักในเรื่องสิทธิมนุษยชนต่อไป นโยบายทางเศรษฐกิจของรัฐควรใส่มุมมองด้านสิทธิมนุษยชนเข้าไปด้วย ทั้งนี้ ระบบการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมหรืออีไอเอที่ทำกันอยู่นั้นมีปัญหาเพราะว่าขาดการพูดคุย รวบรวมความเห็นจากชุมชนและผู้มีผลกระทบ จึงขอให้มีวิธีการจัดทำอีไอเอแบบใหม่ที่คำนึงถึงมิติด้านสังคมมากขึ้น ทำให้ผู้ได้รับผลกระทบมีเครื่องมือ มีวิถีทางในการพูดคุยกัน แต่ในโครงการใหญ่ๆ หลายโครงการยังไม่มีกระบวนการเช่นว่า คณะผู้เชี่ยวชาญได้ตั้งข้อสังเกตถึงการที่รายงานต่างๆ เรื่องการค้ามนุษย์และการใช้แรงงานบังคับในอุตสาหกรรมประมงได้ทำให้รัฐบาลตื่นตัว จนทำให้เกิดความพยายามที่ประสานงานกันเพื่อขจัดการปฏิบัติทางธุรกิจที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน ผู้เชี่ยวชาญได้เรียกร้องให้รัฐบาลดำเนินการแบบเดียวกันในธุรกิจอื่นๆ เช่น การเกษตร พลังงาน การผลิต และการก่อสร้างด้วย ซูรยา เดวา สมาชิกของคณะทำงานที่มาเยือนประเทศไทยอีกคนกล่าวว่า "รัฐบาลและธุรกิจต่างๆ ควรจะพัฒนาปรับปรุงนโยบายและกลไกเพื่อที่จะหา บรรเทา และเยียวยาความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน โดยสอดคล้องกับหลักการชี้แนะสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน รวมถึงสำหรับโครงการขนาดใหญ่ที่ส่งเสริมโดยบริษัทและการลงทุนของไทยในประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคด้วย" ซูรยาระบุเพิ่มเติมว่าภาคประชาสังคมและนักปกป้องสิทธิมนุษยชนในไทยมีความสำคัญในการสร้างความตระหนักด้านสิทธิมนุษยชนในภาคธุรกิจแต่ว่าพื้นที่ของการเคลื่อนไหว เรียกร้องอย่างสันตินั้นลดน้อยลงจากการถูกข่มขู่ คุกคาม การฟ้องเพื่อปิดปาก รวมถึงการพาชาวบ้าน นักกิจกกรมไปเข้าค่ายทหารเพื่อปรับทัศนคติ ไปจนถึงคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ไปจำกัดสิทธิในการชุมนุม จึงขอให้รัฐบาลเดินหน้าแก้ปัญหาให้มีพื้นที่ให้กับภาคประชาสังคมในการเคลื่อนไหวอย่างสันติ และยกเลิกการดำเนินคดีนักเคลื่อนไหวที่ถูกฟ้องปิดปาก "ประเทศไทยต้องทำงานมากกว่านี้เพื่อคุ้มครองพื้นที่ภาคพลเมือง รวมถึงการคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชนจากคดีหมิ่นประมาททางแพ่งและอาญาที่บริษัทยื่นฟ้องเพื่อปิดปากคนที่ลุกขึ้นมาปกป้องเหยื่อของการถูกละเมิดสิทธิฯ" คณะผู้เชี่ยวชาญเสริม เอกสารแถลงการณ์สิ้นสุดการเยือนกล่าวถึงคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ว่า พ.ร.ป. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ.2560 พยายามเสริมสร้างสถานะที่เป็นอิสระของ กสม. โดยให้มีสถานะในรัฐธรรมนูญ มีอำนาจไปตรวจสอบข้อเท็จจริงในสถานที่ใดๆ ก็ได้ และมีตัวแทนจากประชาสังคมในการคัดเลือกสมาชิก กสม. แต่ก็ยังมีข้อที่ลิดรอนอำนาจการส่งต่อข้อร้องเรียนไปยังศาล และยังห้าม กสม. เข้ารับการศึกษา หรืออบรมในหลักสูตรหรือโครงการใดๆ ที่ไม่ได้จัดโดย กสม. เองซึ่งถือเป็นการลิดรอนอำนาจที่มีนัยสำคัญ ทั้งนี้ กสม. ควรได้รับอำนาจในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทและออกคำสั่งเรื่องการเยียวยาที่มีผลบังคับได้ รวมถึงการจ่ายค่าชดเชยด้วย ต่อประเด็นที่ตัวแทนสหภาพแรงงานบริษัทเจอเนอรัลมอเตอร์ ประเทศไทย (จังหวัดระยอง) และกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากปัญหาการจ้างงานเข้าชี้แจงในเวทีการเยือนไทยอย่างเป็นทางการของคณะทำงานว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติที่องค์การสหประชาชาติ ถนนราชดำเนิน ซูรยาระบุว่าทางคณะทำงานได้พิจารณาสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนกับธุรกิจในภาพรวม และขอเรียกร้องให้เจ้าของธุรกิจต่างๆ เคารพสิทธิมนุษยชนของลูกจ้างมากขึ้น คณะผู้เชี่ยวชาญยินดีกับการเปิดกว้างของรัฐบาลไทยในการพูดคุยถึงข้อท้าทายที่ยังคงมีอยู่ และในการพิจารณาว่าจะจัดการและแก้ไขอย่างไรในแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนที่ทำเสร็จภายในปีนี้ "เราได้กระตุ้นให้รัฐบาลพัฒนาแผนนี้ด้วยกระบวนการที่รวมทุกฝ่ายและโปร่งใส ที่รวมเอาถึงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย โดยเฉพาะเสียงของคนที่เห็นต่าง และเราหวังว่ารัฐบาลจะสามารถดำเนินการตามความมุ่งมั่นที่ได้ให้ไว้ได้" คณะผู้เชี่ยวชาญกล่าว รายงานฉบับสมบูรณ์ของคณะทำงานซึ่งจะมีข้อค้นพบและข้อเสนอแนะหลักๆ จะถูกนำเสนอต่อคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติในเดือนมิถุนายน 2562 ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
นาย คือ บดี ผี คือ ปิศาจ | 100 ปี 'นายผี' จากอัยการ นักเขียน สู่นักปฏิวัติ Posted: 04 Apr 2018 04:19 AM PDT ชวนดูนิทรรศการ 100 ปีชาตกาล นายผี ในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติที่จัดแสดงจนถึง 8 เม.ย. นี้ ทั้งนี้ 100 ปีผ่านไป 'นายผี' นามปากกาของอัศนี พลจันทร อาจไม่คุ้นหูของเด็กรุ่นใหม่ แต่ย้อนไปในยุครัฐประหาร 2490 เขาคือนักเขียนฝีปากร้าย มันสมองของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ผู้แต่งเนื้อเพลง "เดือนเพ็ญ" โดยตลอด 69 ปีที่เขามีชีวิต ได้ฝากงานเขียนรวมกว่า 400 เรื่องไว้ให้แวดวงวรรณกรรม "เดือนเพ็ญ สวยเย็นเห็นอร่าม นภาแจ่มนวลดูงาม เย็นชื่นหนอยามเมื่อลมพัดมา..."คือเนื้อร้องอันคุ้นเคยของเพลง 'เดือนเพ็ญ' หรือ 'คิดถึงบ้าน' ขับร้องโดยวง 'คาราวาน' แต่อาจมีน้อยคนที่รู้ว่าผู้ประพันธ์เนื้อเพลงคือ 'นายผี' หรือ อัศนี พลจันทร ที่ประพันธ์ขึ้นด้วยความรู้สึกคิดถึงบ้าน โดย หงา คาราวาน อธิบายถึงที่มาของเพลงนี้ว่า "...ที่สนามรบก่อนเกิดศึกใหญ่ (หมายถึงยุทธการล้อมปราบคอมมิวนิสต์ในเขตน่านเหนือ) ผมได้พบญาติพี่น้องซึ่งเป็นสายทางเขา (นายผี) เพลง 'คิดถึงบ้าน' ถูกร้องให้ผมฟังโดยหมอตุ๋ย สหายหญิงผิวคล้ำคนภาคกลางแถบราชบุรีซึ่งเป็นญาติของเขา และบอกว่าเป็นเพลงที่นายผีแต่งขึ้น ตั้งแต่พลัดบ้านพลัดเมืองไปอยู่ที่กรุงปักกิ่ง เป็นเวลาเกือบ 30 ปีมาแล้ว" ชวนดูงานนิทรรศการ 100 ปี ชาตกาล นายผี (อัศนี พลจันทร) ที่ห้อง Meeting Room 1 ในสัปดาห์หนังสือแห่งชาติครั้งที่ 46 ตั้งแต่วันที่ 29 มีนาคม - 8 เมษายน 2561 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ริเริ่มโดยสำนักงานธรรมศาสตร์สัมพันธ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 100 ปีผ่านไป ชื่อ 'นายผี' อาจไม่คุ้นหูของเด็กรุ่นใหม่ แต่ย้อนไปในทศวรรษ 2490 เขาคือนักเขียนฝีปากร้าย สมัยจอมพล ป. เขาคืออัยการผู้ซื่อตรงที่ทำคดีทุจริตจัดซื้อลวดหนามของน้องชายจอมพล ป. ต่อมาในสมัยจอมพลสฤษดิ์ เขาคือหัวสมองของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย และตลอด 69 ปีที่เขามีชีวิต เขาได้ฝากงานเขียนรวมกว่า 400 เรื่องไว้ให้วงการวรรณกรรมไทย
จากลูกขุนนางใหญ่ สู่นักเขียนฝีปากกล้า อัยการผู้ซื่อตรง และนักปฏิวัติ 'นายผี' เป็นหนึ่งในนามปากกาของ อัศนี พลจันทร เขาเกิดเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2461 ที่ตำบลท่าเสา อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี เป็นบุตรคนเดียวของพระมนูกิจวิมลอรรถ (เจียร พลจันทร) กับนางสอิ้ง พลจันทร และเติบโตมาในบ้านรั้วใหญ่ของขุนวิเศษธานีผู้เป็นปู่กับย่าซึ่งสืบตระกูลมาจากพระยาพล อดีตผู้รั้งเมืองกาญจนบุรี ในวัยเด็ก อัศนีได้ฟังเรื่องความทุกข์ยากของผู้คนจากชาวจีนที่มาเช่าที่ดินของปู่กับย่าของเขาเพื่อปั้นโอ่งขาย ทำให้เขาถอดเครื่องประดับราคาแพงทิ้งข้างทางหลายต่อหลายครั้ง อัศนีในวัยมัธยมออกจากบ้านรั้วใหญ่เข้ามาเรียนต่อในกรุงเทพฯ จนจบปริญญาตรีจากมหวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง แล้วเข้าสู่อาชีพนักเขียน เขามีฝีปากร้ายเป็นที่ร่ำลือทั้งทางชอบและชัง ต่อมาอัศนีสอบรับราชการเป็นอัยการตามคำขอของครอบครัว แม้ได้รับเงินเดือนน้อย เขาก็ยังคงปฏิเสธไม่รับมรดกจากคุณย่าที่เสียชีวิตลง เพราะมองว่าส่วนหนึ่งของมรดกมาจาก "น้ำเหลืองผีซึ่งเป็นแรงงานของทาสในบ้าน" เขาถูกย้ายไปประจำที่ปัตตานีหลังทำคดีทุจริตจัดซื้อลวดหนามของน้องชายจอมพล ป. พิบูลสงคราม เขาไม่เพียงช่วยเหลือขาวบ้านที่ถูกรังแกแต่ยังศึกษาหาความรู้ทุกด้านแล้วเขียนบทบรรณาธิการและสารคดีเกี่ยวกับหัวเมืองภาคใต้ เช่น "ศาสนาอิสลามว่าด้วยอะไร" "ความเปนจริงในศาสนาอิสลาม" "บริเวณ 7 หัวเมือง" ฯลฯ เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจผู้คนและพื้นที่นี้ ภายหลังจากรัฐประหาร 2490 อัศนีหันมาเขียนนิทานการเมืองและเรื่องสั้นที่พูดถึงการต่อสู้ทางชนชั้นอย่างชัดเจน จนอาจนับเป็นสัญญาณแรกๆ ที่บ่งชี้ถึงการตัดสินใจเข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ตามคำเชิญของ ทรง นพคุณ เลขาธิการพรรคฯ ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์มหาชนรายสัปดาห์ ซึ่งมีอัศนีเป็นนักเขียนคนหนึ่งด้วย ประกอบกับบริบททางการเมืองหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และการสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีนในเดือนตุลาคม 2492 ก็ได้สะเทือนต่อความคิดของอัศนีเช่นกัน หลังกบฎสันติภาพปี 2495 อัศนีตัดสินใจเด็ดขาด ลาออกจากราชในวันสิ้นปีนั้น แล้วเดินทางไปเวียดนามและจีนเพื่อบุกเบิกงานเผยแพร่แนวคิดของพรรค ผลงานที่สถานีวิทยุเสียงประชาชนแห่งประเทศไทย (สปท.) นั้น เล่ากันว่าเคยทำให้จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ขุ่นเคืองถึงกับเตะวิทยุเมื่อได้ฟังการกระจายเสียงของ สปท. เลยทีเดียว ต่อมาฝ่ายนำของ พคท. แตกแยกกันทางความคิด แต่เมื่อย้ายฐานที่มั่นกลับมาที่ภูพยัคฆ์ จังหวัดน่าน อันเป็นศูนย์กลางของ พคท. ในตอนนั้น สหายนำทั้งหมดรวมทั้งอัศนีก็ได้กลับมารวมตัวกัน จนกระทั่ง พคท. ล่มสลายหลังนโยบาย 66/2523 [1] ในปี 2526 อัศนีไม่ยอมจำนนต่อทางการ จึงนำสหายส่วนหนึ่งเข้าไปขอความช่วยเหลือจากลาว แต่ถูกกักตัวไว้จนกระทั่งล้มป่วยและเสียชีวิตในปี 2530 ด้วยวัย 69 ปี
นาม 'นายผี' และผลงานรวมกว่า 400 เรื่อง อัศนีเคยอธิบายนามปากกา 'นายผี' ไว้ว่าเขาไม่ได้ชื่อผี แต่เป็นพระศิวะผู้เป็นนายแห่งผี และเขาจะมาแก้เก่งเหล่าภูตผีในสังคมไทย" และยังอธิบายซ้ำว่า เขาคือปีศาจบดี เพราะ "นาย คือ บดี ผี คือ ปิศาจ" ท่ามกลางสถานการณ์การเมืองที่ผันผวนภายหลังการเปลี่ยนแปลง 2475 ตลอดจนการเมืองโลกหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เขาเริ่มเขียนกาพย์กลอนตั้งแต่ปี 2484 ควบคู่ไปกับการรับราชการจนถึงปี 2495 ก่อนที่เขาจะเดินทางไปปักกิ่งในรายปี 2497 เพื่อศึกษาทฤษฎีการเมือง อัศนีได้เขียนงานวิพากษ์วิจารณ์สังคมและการเมืองสยามทุกรูปแบบ โดยอาศัยความจัดเจนทางภาษาแปรมาเป็นกาพย์กลอนราว 350 เรื่อง บทความ 70 เรื่อง และนิทานการเมืองกับเรื่องสั้นอีก 50 เรื่อง ภายเวลา 20 ปี (ระหว่างปี 2484-2504) เขาเคยรวบรวมกาพย์กลอนของตนเองพร้อมด้วยไขคำศัพท์ไว้และมอบหมายให้วิมล พลจันทร ภรรยา ดำเนินการจัดพิมพ์เป็นหนังสือ แต่ต้นฉบับดังกล่วสูญหายไปในระหว่างที่วิมลต้องระเหเร่ร่อนและดูแลลูกๆ 4 คน ปี 2501 อัศนีกลับมาเมืองไทยจึงติดต่อสำนักพิมพ์อักษรวัฒนาและจัดพิมพ์ กาพย์กลอนนายผี และ สิลปาการแห่งการพย์กลอน เป็นรูปเล่มสำเร็จครั้งแรก แต่ต่อมา อารีย์ พื้นนาค เจ้าของสำนักพิมพ์ถูกจับในข้อหาคอมมิวนิสต์ และถูกศาลทหารตัดสินจำคุก 6 ปี อัศนีจึงต้องเดินทางออกจากประเทศไปอีกครั้ง ก่อนที่เขาจะติดต่อให้ภรรยาและลูกสาวติดตามไปในภายหลัง เมื่อวิมล พลจันทร ลงจากฐานที่มั่นจังหวัดน่านในปี 2526 ได้รวบรวมต้นฉบับลายมือเท่าที่พบเหลืออยู่ราว 20 เรื่อง และพิมพ์เป็นหนังสือ รำฤกถึงนายผีจากป้าลม ในปี 2533 หลังจากนั้นก็ได้สืบค้นผลงานของอัศนีเพิ่มเติมจากหอสมุดแห่งชาติอย่างยากลำบาก จนสามารถจัดทำต้นร่างกาพย์กลอนมากกว่า 300 เรื่อง แต่วิมลก็มาล้มป่วยและเสียสละไปเมื่อปี 2545 โดยไม่ทันจัดพิมพ์เป็นรูปเล่มได้สำเร็จ บุตรสาวคือ วิมลมาลี พลจันทร จึงรับช่วงดูแลให้มีการจัดพิมพ์กาพย์กลอนนายผีพร้อมไขคำตามเจตนารมณ์ของผู้เขียนเพื่อให้อนุชนได้ศึกษาต่อไป โดยในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติครั้งนี้ ผลงานของนายผีผู้อ่านสามารถหาซื้อได้ที่บูธสำนักพิมพ์อ่าน ห้อง S39 โซน C2
หมายเหตุ [1] คำสั่ง 66/2523 เป็นนโยบายสมัยรัฐบาล พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ใช้การเมืองนำการทหาร "ยุติสถานการณ์สงครามปฏิวัติของคอมมิวนิสต์" โดยใช้วิธีทางการเมืองนำการทหาร ขจัดการขยายแนวร่วม พคท.ในเมือง พร้อมเสนอว่ารัฐบาลจะขจัดความไม่เป็นธรรม สนับสนุนประชาธิปไตย ปฏิบัติต่อผู้เข้ามอบตัวอย่าง "เพื่อนประชาชนร่วมชาติ" ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล-ซินดี้ ปลุกกระแสร้องสิทธิให้ผู้หญิงไม่ถูกลวนลาม-ข่มขืนช่วงสงกรานต์ Posted: 04 Apr 2018 03:07 AM PDT มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล จับมือ ซินดี้ นักแสดงชื่อดัง ปลุกกระแสเรียกร้องสิทธิให้ผู้ 4 เม.ย.2561 รายงานข่าวแจ้งว่า วันนี้ เมื่อเวลา 13.00 น. ที่โรงแรมเอเชีย มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล จัดเสวนา "ลวนลาม คุกคามทางเพศ...ขึ้นอยู่กับชุ สิรินยา บิชอพ หรือ ซินดี้ นางแบบ นักแสดง และพิธีกรชื่อดัง กล่าวว่า หลายฝ่ายรณรงค์ให้ผู้หญิงแต่ "สงกรานต์เป็นวันที่ผู้ชายบางส่ สิรินยา บิชอพ หรือ ซินดี้ นางแบบ นักแสดง และพิธีกรชื่อดัง สิรินยา กล่าวด้วยว่า ประเพณีสงกรานต์เป็นประเพณีที่ ภาพตัวอย่าง นิทรรศการ "ชุดที่ใส่. บี (นามสมมติ) ผู้ได้รับผลกระทบจากการถู ขณะที่ จรีย์ ศรีสวัสดิ์ หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมภาคีเครือข่ "ปัญหาการลวนลามคุกคามทางเพศสะท้ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ฟิลิปปินส์ประกาศจะตรวจสอบกรณี 'แกร็บ' ซื้อกิจการ 'อูเบอร์' ในเอเชียอาคเนย์ Posted: 04 Apr 2018 02:53 AM PDT หลังจากที่มาเลเซียและสิงคโปร์ประกาศว่าจะมีการตรวจสอบเรื่องที่แกร็บซื้อกิจการอูเบอร์ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ว่าขัดต่อกฎหมายว่าด้วยการแข่งขันทางธุรกิจหรือไม่ ทางการฟิลิปปินส์ก็ประกาศว่าจะมีการตรวจสอบในเรื่องนี้เช่นกัน กลายเป็นประเทศที่สามแล้วในเอเชียอาคเนย์ที่ประกาศตรวจสอบกรณีแกร็บ-อูเบอร์ 4 เม.ย. 2561 คณะกรรมการการแข่งขันทางธุรกิจของฟิลิปปินส์ (PCC) แถลงว่าการควบรวมกิจการของแกร็บ-อูเบอร์อาจจะส่งผลกระทบต่อบริการขนส่งสาธารณะทำให้ PCC ต้องการตรวจสอบในเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด ทางการฟิลิปปินส์ประกาศเมื่อช่วงวันที่ 2 เม.ย. ที่ผ่านมาว่า การควบคุมกิจการของแกร็บอาจจะทำให้เกิดการ "ผูกขาดแบบเสมือน" (virtual monopoly) ได้ ทำให้มีการตรวจสอบว่าการควบรวมกิจการในครั้งนี้ทำให้การแข่งขันลดลงหรือไม่ ถ้าหากตรวจพบว่ามีการลดระดับการแข่งขันลงอาจจะมีการให้ทั้งสองบริษัทเสนอแนวทางแก้ไขไม่เช่นนั้นทางรัฐบาลจะสั่งสกัดกั้นข้อตกลงธุรกิจนี้ โจฮันเนส เบอร์นาเบคณะกรรมาธิการของ PCC เปิดเผยว่าในฟิลิปปินส์มีบริการเรียกรถร่วมโดยสารแล้วอย่างน้อย 3 แอพพลิเคชัน และมีการจำกัดรถให้บริการสำหรับทุกบริษัทไว้ที่ 65,000 คัน โดยจะมีการพิจารณาตรวจสอบทุก 3 เดือน เมื่อสัปดาห์ที่แล้วทางการสิงคโปร์เป็นประเทศแรกที่เริ่มโต้ตอบกรณีที่แกร็บซื้อกิจการของอูเบอร์แถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยแถลงว่าพวกเขาสงสัยว่าจะมีการละเมิดกฎหมายว่าด้วยการแข่งขันทางธุรกิจ ตามมาด้วยการประกาศของมาเลเซียในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ขณะเดียวกันแชนแนลนิวเอเชียก็วิเคราะห์ว่าแกร็บกำลังเจอศึกหนักในภูมิภาคนี้อีกทางหนึ่งคือคู่แข่งกิจการเรียกรถรับส่งสัญชาติอินโดนีเซียอย่าง Go-Jek อย่างไรก็ตามทางการอินโดนีเซียยังไม่ได้สรุปท่าทีชัดเจนต่อกรณีนี้ พวกเขาบอกว่ายังไม่สามารถตัดสินใจได้แน่ชัดว่าจะสืบสวนข้อตกลงนี้หรือไม่เพราะยังเหลือเวลาอีก 30 วัน กว่าที่การเจรจานี้จะเข้าสู่ขั้นตอนสุดท้าย ในขณะที่บริษัทแกร็บซึ่งมีฐานในสิงคโปร์และมาเลเซียกำลังจะควบรวมกิจการอูเบอร์ในภูมิภาค บริษัทสัญชาติสิงคโปร์ Ryde ก็ประกาศจะให้บริการร่วมโดยสารแบบเดียวกันในชื่อ RydeX ในเวลาไม่นานหลังจากนั้น ในมุมมองทางธุรกิจ การที่อูเบอร์ซึ่งเป็นบริษัทที่มีฐานอยู่ในสหรัฐฯ ขายกิจการในภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้แกร็บถือเป็นการล่าถอยครั้งที่สองหลังจากที่ก่อนหน้านี้เคยขายกิจการให้กับจีน โดยมีการประเมินว่าอูเบอร์จะหันไปเน้นจับตลาดอื่นๆ อย่างอินเดียแทน ขณะที่ Go-jek กำลังจะขยายฐานออกไปนอกประเทศอินโดนีเซีย อย่างสิงคโปร์ ไทย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม สำหรับมุมมองประเด็นแรงงานการตกลงทางธุรกิจของบริษัทเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อกลุ่มคนที่ทำงานรับจ้างขับรถ คนกลุ่มนี้เปิดเผยว่าพวกเขากำลังพิจารณาว่าบริษัทแกร็บหรืออูเบอร์จะให้ผลประโยชน์กับพวกเขามากกว่ากัน โดยคนขับรถอายุ 40 ปี ชื่อ เชส พาง กล่าวว่าเขาขับรถเพื่อหาเลี้ยงชีพ เรื่องนี้ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับความจงรักภักดีต่อบริษัท พางยังเป็นผู้ที่จัดตั้งรวมกลุ่มคนขับรถ 300 คนในโลกออนไลน์ด้วย
เรียบเรียงจาก Philippines, Malaysia put Uber-Grab deal under anti-competition scrutiny, Channel News Asia, 02-04-2018
Drivers waiting to see what new ride-hailing firms will offer, The Strait Times, 03-04-2018
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
เผยปี 60 คนไทยใช้เน็ตผ่านมือถือ 3.3 พันล้านกิกะไบต์ ใช้บริการเสียง 43,460 ล้านนาที Posted: 04 Apr 2018 02:33 AM PDT สำนักงาน กสทช. เผยปี 60 คนไทยทั้งประเทศใช้อินเทอร์เน็ต 4 เม.ย.2561 สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) รายงานว่า ฐากร ตัณฑสิทธิ์ ลขาธิการ กสทช. เปิดเผยว่า จากรายงานของสำนักงาน กสทช. พบว่า จากการใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่ สำหรับข้อมูลปริมาณการใช้บริการ ฐากร กล่าวว่า ในส่วนของข้อมูลปริมาณการใช้งาน ข้อมูลดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงความต้องการใช้คลื่ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท. To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google, 1600 Amphitheatre Parkway, Mountain View, CA 94043, United States |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น