ประชาไท | Prachatai3.info |
- จับตัวเอกชัย-โชคชัย นอกกฎหมาย ขณะเตรียมไปทำกิจกรรมสงกรานต์บ้านประวิตร
- ชาวเน็ตจีนกระหน่ำโพสต์สนับสนุนเกย์ ตอบโต้โซเชียลมีเดียจีนประกาศล้างเนื้อหา
- กกต. ยึดตามโรดแมป คสช. เลือกตั้ง ก.พ.62 ออกประกาศ-ระเบียบ รอกฎหมายลูก
- กสทช.เรียก 'ทรูมูฟ เอช' แจงกรณีข้อมูลลูกค้ารั่ว - โอเปอเรเตอร์ทุกรายแจงปม SMS ดูดเงิน พรุ่งนี้
- พบ ‘แรงงานเด็กไร่ยาสูบซิมบับเว’ ต้องเผชิญกับสารเคมี
- 5 วัน คสช.เผยมาตรการ 'ดื่มไม่ขับ จับยึดรถ' หมื่นคัน ศาลสั่งติดกำไล EM แล้ว 37 ราย
- โวยแผนปฏิรูปสาธารณสุขตัดขาด ปชช. ให้ ขรก.ทำกันเอง ทำประเทศล้าหลัง แถมตั้งเป้าร่วมจ่าย
- 4 ปีที่ 'บิลลี่' หายตัว 'นักนิติศาสตร์สากล' จี้ดีเอสไอ (อีกครั้ง) ทำคดีอย่างมีประสิทธิภาพ
จับตัวเอกชัย-โชคชัย นอกกฎหมาย ขณะเตรียมไปทำกิจกรรมสงกรานต์บ้านประวิตร Posted: 16 Apr 2018 11:28 AM PDT ตำรวจนอกเครื่องแบบอุ้ม 2 นักเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยเข้าโรงพักอ้างนายสั่ง บังคับคลุมหัวนั่งขดตัวในรถ เอาเข่ากดตัวและศีรษะแนบกับเบาะ ภายหลังปล่อยตัวโดยไม่แจ้งข้อหา เจ้าตัวประกาศฟ้องเอาผิดเจ้าหน้าที่ผู้สั่งการควบคุมตัวนอกกฎหมาย 16 เมษายน เวลา 05.30 น. ได้มีเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบกว่าสิบราย ได้มายังบ้านพักของ เอกชัย หงส์กังวาน บริเวณลาดพร้าว 109 และต่อมาเมื่อ เอกชัย ได้ออกจากบ้านมาพบกับ โชคชัย ไพบูลย์รัชตะ เพื่อนนักกิจกรรมการเมืองที่ได้นัดหมายกันบริเวณป้ายรถเมล์หน้าปากซอย โดยได้นำแผ่นไวนีลนาฬิกาหรู 24 เรือน ปืนฉีดน้ำ ธูปและขันน้ำสีแดง มาเพื่อที่จะไปทำกิจกรรมรดน้ำดำหัวให้ พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองหัวหน้าคณะรัฐประหาร คสช. รองนายกฯ และ รมต.กลาโหม ที่ซอยลาดพร้าว 71 เจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบกว่าสิบนายได้เข้าทำการจับกุมตัวทั้งสองคนโดยนำตัวแยกขึ้นรถไปคนละคัน โชคชัยบอกว่า "ระหว่างที่ถูกนำตัวขึ้นรถต หลังถูกเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบควบคุมตัวไว้ที่กองบังคับการตำรวจนครบาล 4 (บก.น.4) สน.หัวหมาก ถ.รามคำแหง คันนายาว กรุงเทพฯ ต่อมาเมื่อเวลา 11.23 น.ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งว่า เอกชัย หงส์กังวาน และ โชคชัย ไพบูลย์รัชตะ ได้รับการปล่อยตัวแล้ว โดยไม่มีการแจ้งข้อหา
จากนั้น โชคชัย จึงได้ไปตรวจสภาพร่างกายที่โรงพยาบาลรามคำแหงก่อนเดินทางเข้าแจ้งความลงบันทึกประจำวันที่ สน.ลาดพร้าว โชคชัยกล่าวว่านอกจากมีการบาดเจ็บภายนอก มีรอยถลอกจากการฉุดกระชากแล้ว ยังมีอาการหูอื้อด้านซ้ายอื้อ ซึ่งแพทย์วินิจฉัยว่าเกิดจากการกดทับ
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ชาวเน็ตจีนกระหน่ำโพสต์สนับสนุนเกย์ ตอบโต้โซเชียลมีเดียจีนประกาศล้างเนื้อหา Posted: 16 Apr 2018 09:54 AM PDT กรณีซีนาเว่ยป๋อ โซเชียลมีเดียจีนที่ประกาศว่าจะล้างเนื้อหาเกี่ยวกับเกย์ออกจากเว็บ ล่าสุดทำให้ผู้ใช้เน็ตในจีนไม่พอใจอย่างมาก พากันฟลัดข้อความหรือเนื้อหาสนับสนุนเกย์พร้อมแฮชแท็ก #IAMGAY จนกระทั่งในวันที่ 16 เม.ย. ทางเว็บไซต์ก็ประกาศจะยกเลิกการกวาดล้างเนื้อหาดังกล่าว เมื่อวันที่ 16 เม.ย. 2561 โซเชียลมีเดียของจีนซีนาเว่ยป๋อประกาศว่าจะยกเลิกการกวาดล้างเนื้อหาที่เกี่ยวกับคนรักเพศเดียวกัน หลังจากที่มีเสียงต่อต้านจากผู้ใช้งานชาวจีนก่อนหน้านี้ รวมถึงการประท้วงด้วยการใช้แฮชแท็ก #IAMGAY หรือ "ฉันเป็นเกย์" ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 13 เม.ย. ที่ผ่านมาซีนาเว่บป๋อ เว็บไซต์ไมโครบล็อกของจีนที่ชาวจีนนิยมใช้ประกาศว่าจะ "เก็บกวาด" เนื้อหาในเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับคนรักเพศเดียวกันและเนื้อหารุนแรง ไม่ว่าจะเป็นรูปภาพ การ์ตูน หรือโพสต์ตัวอักษร คำประกาศของซีนาเว่ยป๋อปรากฏในบัญชีผู้ใช้ของผู้บริหารเว็บไซต์ มีการตั้งข้อสังเกตว่าน่าจะเป็นการพยายามปฏิบัติตามกฎหมายความมั่นคงไซเบอร์ฉบับใหม่ของจีน ในแถลงประกาศระบุจะกวาดล้าง "การ์ตูนและวิดีโอที่มีลักษณะอนาจาร, ส่งเสริมความรุนแรง หรือเกี่ยวข้องกับการรักเพศเดียวกัน" เรื่องนี้สร้างความไม่พอใจให้กับชาวเกย์ในจีนอย่างมากส่วนหนึ่งเพราะคำประกาศของบริษัทเสมือนกับการเหมารวมเอาการรักเพศเดียวกันเป็นสิ่งที่ดูหยาบโลนอนาจาร ทำให้ผู้ใช้งานชาวจีนจำนวนมากประท้วงด้วยการโพสต์เนื้อหาที่สนับสนุนเกย์ลงในโซเชียลมีเดียของตนในเวลาไล่เลี่ยกันจำนวนมาก เรื่องนี้ทำให้แฮชแท็ก "ฉันเป็นเกย์" กลายเป็นที่นิยมบนเว็บไซต์ของซีนาเว่ยป๋อ หนึ่งในโพสต์เหล่านี้ระบุข้อความเป็นภาษาอังกฤษถอดความได้ว่า "ผมเป็นเกย์ พวกเราเกิดในจีน แต่ประเทศไม่รักพวกเรา ทำไมถึงทำกับเราเหมือนเป็นสัตว์ประหลาด พวกเราเป็นเกย์ พวกเราต้องการความเท่าเทียม พวกเราต้องการสิทธิมนุษยชน" มีการฟลัดข้อความแนวเดียวกันนี้จำนวนมาก รวมถึงมีคนแสดงความคิดเห็นมากกว่า 24,000 ความคิดเห็น และมีการส่งต่อข้อความมากกว่า 110,000 ครั้ง มีผู้ใช้งานคนหนึ่งแสดงความคิดเห็นว่า "เราเป็นเกย์แล้วเราก็ภูมิใจ ถึงแม้ว่าเราจะถูกทำลายลง แต่ก็จะมีคนอีกนับสิบล้านคนที่เหมือนกับพวกเรา" นอกจากนี้ยังมีกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ (LGBT) ในจีนที่เขียนจดหมายเปิดผนึกวิพากษ์วิจารณ์ รวมถึงมีการเรียกร้องให้เทหุ้นของซีนา กลุ่มนักกิจกรรม LGBT กล่าวว่าการเรียกร้องของผู้คนจำนวนมากเช่นนี้สะท้อนให้เห็นว่า พวกเขากังวลเกี่ยวกับการขยายการเซนเซอร์ของรัฐบาลจีนจะลิดรอนความพยายามสร้างพื้นที่ออนไลน์สำหรับคนรักเพศเดียวกัน ซึ่งจีนยังคงเป็นสังคมที่มีแนวคิดครอบงำจากขงจื๊ออยู่ หลังจากนั้นซีนาเว่ยป๋อก็ทำการบล็อกผู้ใช้ไม่ให้โพสต์เกี่ยวกับการสนับสนุนเกย์ จนกระทั่งเมื่อวันที่ 16 เม.ย. ซีนาเว่ยป๋อก็ระบุว่าพวกเขายอมยกเลิกจะไม่นำเนื้อหาของคนรักเพศเดียวกันออกจากเว็บตนตามที่ประกาศไว้ พวกเขายกเลิกแผนการหลังจากที่เมื่อวันที่ 15 เม.ย. ที่ผ่านมาสื่อพีเพิลเดลีของพรรคคอมมิวนิสต์จีนระบุให้มีการอดกลั้นต่อชาวเกย์แต่ก็บอกว่าเนื้อหา "หยาบโลน" ใดๆ ก็ตามให้นำออกหมดไม่ว่าจะเป็นเพศวิถีแบบใดก็ตาม เสี่ยวที ประธานศูนย์ LGBT กรุงปักกิ่งบอกว่าปัญหาของนโยบายโซเชียลมีเดียแบบนี้คือการเหมารวมไปว่าเนื้อหา LGBT คือสื่อลามกไปทั้งหมด อีกปัญหาหนึ่งคือวัฒนธรรมการเซนเซอร์เข้มงวดในจีนเอง เธอบอกว่าโซเชียลมีเดียเคยเป็นพื้นที่เปิดกว้างมาก่อน แต่นับตั้งแต่ปีที่แล้ว สิ่งต่างๆ ก็เริ่มเปลี่ยนไป เรียบเรียงจาก Weibo bans 'homosexual' content, thousands protest using #IAmGay, 14-04-2018, Gay Star News China's Sina Weibo reverses gay content clean-up after outcry, Reuters, 16-04-2018 ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
กกต. ยึดตามโรดแมป คสช. เลือกตั้ง ก.พ.62 ออกประกาศ-ระเบียบ รอกฎหมายลูก Posted: 16 Apr 2018 06:01 AM PDT ระบุแม้กฎหมายเลือกตั้ง 2 ฉบับ ศาลรัฐธรรมนูญรับไว้พิจารณา แต่ กกต.ไม่ได้นิ่งนอนใจ ระหว่างนี้จึงมีการเตรียมร่างประกาศและระเบียบต่าง ๆ ควบคู่กับการรอกฎหมายออกมา ยันยึดตามโรดแมป คสช.ที่จะเลือกตั้งช่วง ก.พ.62 16 เม.ย.2561 รายงานข่าวระบุว่า พ.ต.อ.จรุงวิทย์ ภุมมา รองเลขาธิการ กกต. ในฐานะรักษาการเลขาธิการ กกต. กล่าวถึงข้อห่วงใยเกี่ยวกับการยืนยันสถานะสมาชิกพรรคภายใน 30 วัน ว่า เรื่องนี้ กกต.ได้ประสานคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ไปแล้วถึงข้อห่วงใยต่าง ๆ ของพรรคการเมือง และทราบว่า คสช.จะมีการแก้ไขคำสั่ง 53/2560 อีกทั้งเรื่องคำสั่งดังกล่าวยังอยู่ในการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ ส่วนเรื่องการประชุมของพรรคการเมืองนั้น ยังเกี่ยวโยงกับความมั่นคง การชุมนุม คสช.คงยังไม่อนุญาต ส่วนกลุ่มการเมืองที่ขอจดแจ้งตั้งพรรค ได้ทยอยส่งคำขอประชุมพรรคไปยัง คสช.แล้ว เพียงแต่ต้องรอการอนุญาต พ.ต.อ.จรุงวิทย์ กล่าวว่า แม้กฎหมายที่เกี่ยวกับการเลือกตั้ง 2 ฉบับที่ศาลรัฐธรรมนูญรับไว้พิจารณาตีความ สำนักงาน กกต.ไม่ได้นิ่งนอนใจ ระหว่างนี้จึงมีการเตรียมร่างประกาศและระเบียบต่าง ๆ ควบคู่กับการรอกฎหมายออกมา เมื่อกฎหมายออกมาครบทั้ง 4 ฉบับ ทุกอย่างจะสมบูรณ์ เริ่มนับหนึ่งของการเลือกตั้งได้ทันที ทั้งนี้การทำงานของสำนักงาน กกต.ยังยึดตามโรดแมปของรัฐบาลและ คสช.ที่จะให้มีการเลืกตั้งช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2562 ส่วน กกต.ใหม่ทั้ง 7 คน ถ้าเลือกตั้งกุมภาพันธ์ 2562 คาดว่าจะมาทัน "ถ้ามาแล้ว ก็ต้องเรียนรู้ให้ไว เราจะอธิบายในเรื่องกฎหมาย วิธีการเลือกตั้งให้ท่าน โดยใช้เวลา 1-2 เดือน น่าจะเพียงพอ ซึ่งถ้ามองภาพรวมไม่ยาก หากมีการเลือกตั้ง มีการร้องเรียน ก็จะบังคับใช้กฎมายทั่วไป ไม่น่ามีปัญหา จุดยากยังไม่เห็น ส่วนใหญ่ กกต.จะออกเป็นมติที่เกี่ยวกับบางเรื่องที่มีอำนาจ เท่าที่เห็นรายชื่อผู้เข้ารับการสรรหา ก็เคยมาทำงานเลือกตั้งบ้าง" พ.ต.อ.จรุงวิทย์ กล่าว
ที่มา ไทยรัฐออนไลน์และสำนักข่าวไทย ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
กสทช.เรียก 'ทรูมูฟ เอช' แจงกรณีข้อมูลลูกค้ารั่ว - โอเปอเรเตอร์ทุกรายแจงปม SMS ดูดเงิน พรุ่งนี้ Posted: 16 Apr 2018 02:31 AM PDT กสทช.เรียกโอเปอเรเตอร์ทุกรายเข้าชี้ 16 เม.ย.2561 สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจาย ฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. เปิดเผยว่า สำนักงาน กสทช. เรียกผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่ "เรื่อง SMS ดูดเงินประชาชน เป็นปัญหาที่สำนักงาน กสทช. ให้ความสำคัญเพราะเป็นกรณีที่ทำให้ประชาชนผู้ใช้บริการต้องเสียเงินโดยไม่ได้ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
พบ ‘แรงงานเด็กไร่ยาสูบซิมบับเว’ ต้องเผชิญกับสารเคมี Posted: 16 Apr 2018 12:46 AM PDT พบมีการใช้แรงงานเด็กอายุน้อยสุดเพียง 11 ปี ในไร่ยาสูบของประเทศซิมบับเว เผชิญอาการเจ็บป่วยจากการได้รับนิโคตินและสารเคมีในยากำจัดศัตรูพืช ส่วนใหญ่ต้องขาดเรียนเพื่อไปทำงานในไร่ ที่มาภาพประกอบ: Human Rights Watch จากรายงานชื่อ "การเก็บเกี่ยวอันขืนขม" (Bitter Harvest) ขององค์กรฮิวแมน ไรต์ วอตซ์ (Human Right Watch: HRW) ได้เปิดเผยเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิและใช้แรงงานเด็กในไร่ยาสูบของประเทศซิมบับเว โดยมีแรงงานเด็กอายุน้อยสุดเพียง 11 ปี เด็กเหล่านี้ยอมทำงานหนักและเสี่ยงต่อการถูกคุกคามก็เพื่อนำเงินไปใช้สำหรับการศึกษาและค่าใช้จ่ายในครัวเรือน คนงานในไร่ยาสูบต้องเผชิญอาการป่วย เช่น วิงเวียนศีรษะหรืออาเจียน จากการได้รับนิโคตินและสารเคมีในยากำจัดศัตรูพืช "รัฐบาลซิมบับเวต้องดำเนินการอยากเร่งด่วนเพื่อปกป้องคนงานในฟาร์มยาสูบ" มาร์กาเร็ต วูร์ธ ผู้ร่วมเขียนรายงานดังกล่าวของ HRW กล่าว จากคนงาน 125 คนที่ให้สัมภาษณ์กับ HRW มีเด็กหญิงวัย 12 ปี ให้สัมภาษณ์ถึงอาการป่วยที่ตามมาหลังจากที่เธอต้องใช้ยากำจัดศัตรูพืชที่เธอไม่ทราบชื่อ "เราต้องแบกไว้ข้างหลังแล้วพ่นมัน ฉันรู้สึกอยากอาเจียนเอามาก ๆ เพราะกลิ่นที่เหม็นของมัน" เด็กหญิงนาม 'เมอร์ซี่' อธิบาย นอกจากนั้น 'โจเซฟ' ครูที่โรงเรียนในตอนเหนือของจังหวัดมาโชนาแลนด์ ยังเล่าให้ฟังอีกว่า ลูกศิษย์ของเขาหลายคนต้องขาดเรียนเพื่อไปทำงานในฟาร์ม "ในช่วงฤดูที่ต้นยาสูบเริ่มเจริญเติบโต เด็กๆ จะเริ่มหายไปจากห้องเรียน นับดูแล้ว 1 ภาคเรียนมี 63 วัน เด็ก ๆ พวกนี้บางคนมาเรียนแค่ 15 ถึง 24 วันเท่านั้น" ส่วนทาง 'เดวิดโซ่' เด็กชายอายุ 15 ปีจากมาโชนาแลนด์ ต้องขาดเรียนเป็นเวลา 15 วันเพื่อไปทำงานที่ไร่ยาสูบ และเมื่อกลับมาเรียนเขากลับถูกครูที่โรงเรียนลงโทษ "ผมถูกตี มันทำให้ผมผิดหวังมาก เพราะว่าสิ่งที่ผมทำก็เพราะพยายามหาเงิน เพื่อมาจ่ายค่าทำเนียมของโรงเรียน ผมคิดว่าผมทำสิ่งที่ดีเพื่อตัวเองนะ" คนงานตามฤดูกาลในไร่ขนาดใหญ่ ให้ข้อมูลว่าพวกเขาถูกบีบให้ทำงานเกินชั่วโมงงานโดยไม่ได้ค่าล่วงเวลา หลายครั้งต้องทำงานเกินวันที่กำเนิดไว้ไปเป็นสัปดาห์ไปจนถึงเป็นเดือน ขณะที่ธุรกิจยาสูบเป็นธุรกิจที่สำคัญต่อเศรษฐกิจซิมบับเวอย่างมาก เพราะเป็นสินค้าที่ดึงเม็ดเงินจากต่างชาติได้มากรองจากการค้าทองคำ ในปีที่ผ่านมาซิมบับเวมีรายได้จากการส่งออกยาสูบโดยปลายทางหลักเป็นจีนและอินโดนีเซีย สูงถึง 900 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ที่มาแปลและเรียบเรียงจาก
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
5 วัน คสช.เผยมาตรการ 'ดื่มไม่ขับ จับยึดรถ' หมื่นคัน ศาลสั่งติดกำไล EM แล้ว 37 ราย Posted: 15 Apr 2018 10:24 PM PDT คสช. เผยมาตรการ "ดื่มไม่ขับ จับยึดรถ" 5 วัน ยึดรถดื่มแล้วขับ 10,099 คัน ศาลสั่งติดกำไลคุมประพฤติ 37 ราย ห้ามออกนอกบ้าน เวลา 22.00-04.00 น. เป็นเวลา 15 วัน ที่มาภาพ เฟสบุ๊คแฟนเพจ 'กองอำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย' 16 เม.ย.2561 สำนักข่าวไทย และเฟสบุ๊คแฟนเพจ 'กองอำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย' รายงานว่า พ.อ.หญิง ศิริจันทร์ งาทอง รองโฆษกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวถึงภาพรวมการจัดงานสงกรานต์ทั่วประเทศช่วง 5 วันที่ผ่านมา ว่า ในปีนี้เห็นได้ชัดว่าทุกภาคส่วนพร้อมใจกันจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับการอนุรักษ์วัฒนธรรม ประเพณีอันดีงามของไทย และดำรงไว้ซึ่งการใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า ตามที่รัฐบาลขอความร่วมมือ โดยพบว่าการจัดงานทั้งใน กทม. แหล่งท่องเที่ยว และจังหวัดต่าง ๆ เป็นไปด้วยความคึกคักสนุกสนาน ผู้ร่วมงานต่างมีความสุข คสช.ขอขอบคุณผู้จัดงาน ประชาชน และเจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายที่ดูแลสถานที่ อำนวยความสะดวกผู้ร่วมงานและบริหารจัดงานได้เป็นอย่างดี พ.อ.หญิง ศิริจันทร์ กล่าวว่า อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ ประชาชนจำนวนมากกำลังเดินทางกลับจากการเฉลิมฉลองและท่องเที่ยว ทำให้การสัญจรในเส้นทางต่าง ๆ หนาแน่นเป็นระยะ และคาดว่าจะหนาแน่นขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งปัจจุบันเจ้าหน้าที่กำลังเร่งอำนวยความสะดวกด้านการสัญจรอย่างเต็มที่ ให้การระบายรถมีประสิทธิภาพ รวมทั้งความพร้อมของจุดบริการต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนได้พักระหว่างเดินทาง สอบถามเส้นทาง หรือตรวจเช็คสภาพรถยนต์ เพิ่มความปลอดภัยยิ่งขึ้น โดย 5 วันที่ผ่านมา มีผู้สัญจรใช้บริการจุดบริการประชาชนของกองทัพบก จำนวน 61,758 คน ทั้งนี้ คสช.ได้กำชับให้เจ้าหน้าที่ปรับการอำนวยการจราจรให้สะดวกที่สุดและทันต่อสภาพการใช้ถนน ทั้งในสายหลัก สายรอง และทางลัด พร้อมเปิดเส้นทางพิเศษ เพื่อเร่งระบายการจราจรให้คล่องตัวที่สุด ควบคู่ไปกับการเข้มงวดในมาตรการสร้างความปลอดภัย "ดื่มไม่ขับ จับยึดรถ" รองโฆษก คสช. กล่าวด้วยว่า สำหรับสถิติการตรวจพบผู้กระทำผิดในลักษณะที่สุ่มเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุโดยประมาทด้วยการดื่มแล้วขับขี่ในวันที่ 15 เมษายน 2561 ดังนี้ ในส่วนรถจักรยานยนต์ พบการกระทำความผิด 52,698 ครั้ง เจ้าหน้าที่ได้ยึดใบอนุญาตขับขี่ไว้ 2,999 ราย จำเป็นต้องยึดไว้ 2,069 คัน และส่งผู้กระทำผิดดำเนินคดี 41,443 คน สำหรับรถโดยสารสาธารณะ/รถยนต์ส่วนบุคคล พบการกระทำความผิด 38,956 ครั้ง เจ้าหน้าที่ได้ยึดใบอนุญาตขับขี่ไว้ 3,544 ราย ยึดรถยนต์ 814 คัน ส่งผู้กระทำความผิดดำเนินคดี 24,936 คน "โดยตลอด 5 วันที่ผ่านมา (11-15 เมษายน 2561) เจ้าหน้าที่ได้ยึดรถที่ฝ่าฝืนมาตรการความปลอดภัย ดื่มไม่ขับไว้แล้ว 10,099 คัน (รถจักรยานยนต์ 7,372 คัน และรถยนต์ 2,727 คัน ) และดำเนินคดีกับผู้กระทำผิด รถจักรยานยนต์ 113,450 คน รถโดยสารสาธารณะ/รถยนต์ส่วนบุคล 69,898คน อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การเดินทางสัญจรทั่วประเทศ รวมถึงบริเวณด่านชายแดน เป็นไปด้วยความเรียบร้อย เจ้าหน้าที่ทุกส่วนจะผลัดเปลี่ยนปฏิบัติติหน้าที่ เพื่ออำนวยความสะดวกให้ทุกคนเดินทางกลับถึงที่หมายโดยสวัสดิภาพ" รองโฆษก คสช. กล่าว ศาลสั่งติดกำไล EM เมาแล้วขับช่วงสงกรานต์แล้ว 37 รายขณะที่วานนี้ (15 เม.ย.61) มติชนออนไลน์ รายงานว่า ประสาร มหาลี้ตระกูล อธิบดีกรมคุมประพฤติ เปิดเผยว่า วันที่ห้าของ 7 วันอันตราย กรมคุมประพฤติได้ดำเนินการติดเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์กับผู้กระทำผิดในคดีเมาแล้วขับตามคำสั่งศาล ซึ่งกำหนดเงื่อนไขห้ามออกนอกบ้าน เวลา 22.00-04.00 น.เป็นเวลา 15 วัน นอกจากนี้ ผู้กระทำผิดดังกล่าวยังมีเงื่อนไขการคุมความประพฤติ 1 ปี รายงานตัวจำนวน 4 ครั้ง พร้อมทั้งทำงานบริการสังคม 24 ชั่วโมง โดยมีสำนักงานคุมประพฤตินำร่อง ได้แก่ สำนักงานคุมประพฤติกรุงเทพมหานคร 2 (ประจำศาลแขวงพระนครเหนือ) 27 ราย และสำนักงานคุมประพฤติกรุงเทพมหานคร 12 (ประจำศาลแขวงดอนเมือง) 1 ราย ยอดสะสมตั้งแต่วันที่ 13 เม.ย. รวมทั้งหมด 37 ราย ประสารกล่าวต่อว่า สำหรับสถิติคดีที่เข้าสู่กระบวนการคุมประพฤติจากสำนักงานคุมประพฤติทั่วประเทศ วันที่ 15 เม.ย. จำนวน 3,460 คดี แบ่งเป็น ขับรถขณะเมาสุรา 3,456 คดี ขับรถประมาท 4 คดี ยอดสะสม 5 วัน วันที่ 11-15 เม.ย.มีคดีทั้งหมด 6,707 คดี จำแนกเป็น คดีขับรถขณะเมาสุรา 6,541 คดี คิดเป็นร้อยละ 97.5, ขับรถประมาท 21 คดี คิดเป็นร้อยละ 0.31 แข่งรถ หรือขับซิ่ง 2 คดี คิดเป็นร้อยละ 0.02 ขับเสพ 143 คดี คิดเป็นร้อยละ 2.13 ส่วนจังหวัดที่มีสถิติคดีเมาแล้วขับสะสมสูงสุด 3 อันดับ ได้แก่ สำนักงานคุมประพฤติจังหวัดเชียงราย 455 คดี สำนักงานคุมประพฤติจังหวัดมหาสารคาม 394 คดี และสำนักงานคุมประพฤติจังหวัดสุรินทร์ 313 คดี ทั้งนี้ จากตัวเลขของศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน ยอดสะสม 4 วัน วันที่ 11-14 เมษายน จำนวนครั้งอุบัติเหตุสะสม รวม 2,449 ครั้ง ผู้เสียชีวิตสะสม 248 คน ผู้บาดเจ็บสะสม 2,557 คน ซึ่งมีสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุอันดับหนึ่ง คือดื่มแล้วขับ ประสาร กล่าวต่อว่า กรมคุมประพฤติจึงได้ดำเนินการมาตรการเข้มกับผู้ถูกคุมความประพฤติในคดีเมาแล้วขับ โดยจัดให้ทำงานบริการสังคมเพื่อสร้างจิตสำนึก และให้ตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อตนเอง ผู้อื่น และสังคมประกอบด้วย ช่วยเจ้าพนักงานตำรวจที่จุดตรวจค้น จุดบริการประชาชน ด่านชุมชน อาสาจราจร จุดตรวจวัดแอลกอฮอล์ จุดตรวจเล่นน้ำสงกรานต์ และกิจกรรมรณรงค์ลดอุบัติเหตุ ตลอดจนทำความสะอาดบริเวณจุดตรวจค้น รวมทั้ง บริการช่วยเหลือประชาชนคนชรา คนพิการ นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ มารดาพร้อมทารกแรกคลอด และประชาชนที่มีกระเป๋าสัมภาระหลายใบ ที่เดินทางไปต่างจังหวัดช่วงเทศกาลสงกรานต์ ณ ศูนย์อำนวยการร่วมฯ สถานีขนส่ง
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
โวยแผนปฏิรูปสาธารณสุขตัดขาด ปชช. ให้ ขรก.ทำกันเอง ทำประเทศล้าหลัง แถมตั้งเป้าร่วมจ่าย Posted: 15 Apr 2018 09:53 PM PDT บอร์ด สปสช. สัดส่วนภาคประชาชน โวยแผนปฏิรูประบบสาธารณสุขตั 16 เม.ย.2561 รายงานข่าวแจ้งว่า กรรณิการ์ กิจติเวชกุล กรรมการหลักประกันสุขภาพแห่ กรรณิการ์ กล่าวต่อว่า ที่สำคัญคือมีการเขียนบางข้ นอกจากนี้ยังมีตัวอย่างรู 1.การกำหนดให้มีคณะกรรมนโยบายสุ 2.การปรับโครงสร้ 3.การปฏิรูปผู้จัดซื้อบริการ (purchasers) ที่ขาดการกำหนดโครงสร้างที่สมดุ 4.การปฏิรูประบบบริการปฐมภูมิก็ 5.การพัฒนาอัตรากำลังคนสุขภาพที่ "หากให้ประเทศไทยเดินหน้าได้จริ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
4 ปีที่ 'บิลลี่' หายตัว 'นักนิติศาสตร์สากล' จี้ดีเอสไอ (อีกครั้ง) ทำคดีอย่างมีประสิทธิภาพ Posted: 15 Apr 2018 09:20 PM PDT คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล ระบุยังคงไม่มีความคืบหน้าใดๆ ในวันครบรอบ 4 ปี ที่ นักกิจกรรมชาวกะเหรี่ยง พอละจี "บิลลี่" รักจงเจริญ ถูกบังคับให้สูญหาย ขอดีเอสไออีกครั้งสืบสวนสอบสวนอย่างมีประสิทธิภาพ หลัง 'ปฏิเสธ' ที่จะรับเป็นคดีพิเศษ ชี้เสี่ยงเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมการละเว้นการนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษในไทย ภาพครอบครัวของบิลลี่ 16 เม.ย.2561 เนื่องวาระครบรอบ 4 ปีที่นักกิจกรรมชาวกะเหรี่ยง พอละจี "บิลลี่" รักจงเจริญ ถูกกระทำการที่มีลักษณะเป็นการบังคับให้สูญหายไป นั้น รายงานข่าวแจ้งว่า วันนี้ คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล (ไอซีเจ) ได้แถลงข้อเรียกร้องอีกครั้งต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ให้ดำเนินการตามหน้าที่ในการสืบสวนสอบสวนเรื่องดังกล่าวอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ในปัจจุบันนั้นยังไม่มีความคืบหน้าใดๆ ในการสืบสวนสอบสวนเพื่อให้ทราบถึงชะตากรรมของบิลลี่และดีเอสไอก็ปฏิเสธไม่รับคดีดังกล่าวเป็นคดีพิเศษ พอละจี นั้นได้มีผู้พบเห็นเป็นครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 17 เม.ย. 2557 ในขณะที่อยู่ในการควบคุมตัวของเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ทั้งนี้ ในช่วงระยะเวลาที่บิลลี่ได้ถูกกระทำการในลักษณะการบังคับให้สูญหายไปนั้น บิลลี่ได้ทำงานกับชาวบ้านชนเผ่ากะเหรี่ยงและนักกิจกรรมในการดำเนินการทางกฎหมายเพื่อยื่นฟ้องกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และนายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร อดีตหัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานจากกรณีเหตุการณ์เผาบ้านและทรัพย์สินชาวบ้านในพื้นที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานเมื่อปี พ.ศ. 2553 และ 2554 "เหตุที่กรมสอบสวนคดีพิเศษได้ถูกจัดตั้งขึ้นมานั้นก็เพื่อที่จะทำการสอบสวนคดีที่มีความซับซ้อนเฉกเช่นคดีในลักษณะนี้ที่ทางเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองอาจมีความเกี่ยวโยงกับการกระทำการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงที่อาจเรียกได้ว่าเป็นอาชญากรรมภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ" คิงสลี่ย์ แอ๊บบอต ที่ปรึกษากฎหมายระหว่างประเทศอาวุโส ไอซีเจ กล่าว "ถ้าดีเอสไอยังคง 'ปฏิเสธ' ที่จะรับคดีดังกล่าวเป็นคดีพิเศษหลังจากที่การสอบสวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจกว่า 4 ปีไม่ปรากฏให้เห็นว่ามีความก้าวหน้าอย่างมีนัยยะสำคัญ ดีเอสไออาจจะเสี่ยงต่อการถูกมองว่าเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมการละเว้นการนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษในประเทศไทย" ปรึกษากฎหมายระหว่างประเทศอาวุโส ไอซีเจ กล่าว ในสัปดาห์นี้ ภรรยาของบิลลี่ หรือ พิณนภา พฤกษาพรรณ ได้กล่าวกับไอซีเจว่า ครั้งสุดท้ายที่เจ้าหน้าที่ได้ติดต่อมาเพื่อพูดคุยถึงเรื่องการสอบสวนคดีของบิลลี่กับเธอและครอบครัวนั้นได้ผ่านมาล่วงปีแล้ว "ประเทศไทยมีหน้าที่อย่างชัดเจนที่จะต้องดำเนินการสอบสวนคดีของบิลลี่จนกว่าจะทราบถึงชะตากรรมและสถานที่อยู่ของบิลลี่ และยังต้องทำให้เกิดความมั่นใจว่ากระบวนการสอบสวนและผลลัพธ์ที่ได้นั้นจะเป็นไปโดยโปร่งใส ซึ่งความโปร่งใสนี้มีความสำคัญอย่างมากต่อครอบครัวของผู้เสียหาย ซึ่งเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในกระบวนการสอบสวน" แอ๊บบอต กล่าว ทั้งนี้เมื่อวันที่ 23 พ.ค. 2560 ประเทศไทยได้จัดตั้งคณะกรรมการซึ่งประกอบไปด้วยกรรมการ 18 คน รวมดีเอสไอ เพื่อทำหน้าที่กำหนดนโยบายในการป้องกันการกระทำการทรมานและการบังคับให้บุคคลสูญหาย และเพื่อที่จะสอบสวนรวมถึงเยียวยาชดเชยให้แก่ผู้เสียหายตามพันธกรณีภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการทรมาน และการกระทำอื่น ๆ ที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี (Convention Against Torture and Other, Cruel, Inhuman or Degrading Treatment or Punishment - CAT) ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคี และอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ (International Convention for the Protection of All Persons from Enforced Disappearance - ICPPED) ซึ่งประเทศไทยได้ทำการลงนามไว้ หากแต่ยังไม่ได้ให้สัตยาบัน เมื่อวันที่ 26 มิ.ย. 2560 คณะกรรมการได้กล่าวไว้ว่าจะดำเนินการพิจารณาคดีการบังคับบุคคลให้สูญหายไม่ว่าจะเป็นคดีที่เกิดขึ้นในอดีต ปัจจุบัน หรือคดีที่เกิดขึ้นใหม่ก็ตาม ทั้งนี้รวมไปถึงคดีของบิลลี่ด้วย อย่างไรก็ดี คณะกรรมการยังต้องแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของตนในการปฏิบัติตามพันธกรณีตามกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศของประเทศไทย "แม้ว่าการที่ประเทศไทยได้พยายามที่จะดำเนินคดีกับกรณีที่มีการกล่าวหาว่ามีการทรมาน การประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย และการบังคับบุคคลให้สูญหาย จะเป็นเรื่องหน้ายินดี แต่คณะกรรมการดังกล่าวก็ไม่ควรที่จะถูกมองว่าจะมาแทนที่การกำหนดให้การกระทำดังกล่าวเป็นอาชญากรรมในกฎหมายภายในประเทศของไทย" แอ๊บบอต กล่าว ความเป็นมารายงานข่าวระบุถึงความเป็นมาด้วยว่า นับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2557 เป็นต้นมา ไอซีเจได้ดำเนินการเรียกร้องให้ดีเอสไอรับคดีดังกล่าวไว้เป็นคดีพิเศษมาโดยตลอด เมื่อเดือน มกราคม 2560 สามปีภายหลังจากที่บิลลี่ถูกกระทำการที่มีลักษณะเป็นการบังคับให้สูญหาย ดีเอสไอได้ปฏิเสธที่จะรับคดีบิลลี่เป็นคดีพิเศษตามที่พิณนภา พฤกษาพรรณ ภรรยาของบิลลี่ ร้องขอ โดยอ้างถึงเหตุผลสามประการ ได้แก่ การสืบสวนยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้ อีกทั้งยังให้เหตุผลว่าภรรยาของบิลลี่เองนั้นไม่มีสิทธิในการยื่นเรื่องร้องเรียนเนื่องจากว่าไม่ได้มีการจดทะเบียนสมรสกับบิลลี่อย่างถูกต้องตามกฎหมาย และการสอบสวนของดีเอสไออาจจะกระทำได้หากมีการพบเจอร่างของบิลลี่เท่านั้น รัฐบาลไทยได้ส่งสัญญาณว่าตนตระหนักได้ถึงความรุนแรงของอาชญากรรมการบังคับบุคคลให้สูญหาย และแสดงเจตจำนงที่จะต่อต้านอาชญากรรมดังกล่าวด้วยการลงนามในอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับเมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2555 อนุสัญญาฯ ดังกล่าวได้ยืนยันถึงสิทธิโดยเด็ดขาดที่บุคคลจะไม่ถูกบังคับให้สูญหาย และกำหนดให้รัฐมีพันธกรณีในการที่จะต้องดำเนินการสืบสวนสอบสวนการกระทำที่เป็นการบังคับบุคคลให้สูญหายและกำหนดให้อาชญากรรมดังกล่าวเป็นความผิดทางอาญาที่มีบทลงโทษที่เหมาะสมกับ "ความร้ายแรงอย่างยิ่ง" ของอาชญากรรมการบังคับบุคคลให้สูญหาย และจะต้องกระทำการที่จำเป็นต่างๆเพื่อนำตัวผู้กระทำผิดมาสู่กระบวนการยุติธรรม ดีเอสไอนั้นถูกจัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547 โดยมีอำนาจในการสืบสวนสอบสวนคดีพิเศษ ซึ่งรวมถึงคดีความผิดทางอาญาที่มีความซับซ้อน จำเป็นต้องใช้วิธีการสืบสวนสอบสวนและรวบรวมพยานหลักฐานเป็นพิเศษ คดีความผิดทางอาญาที่เป็นการกระทำขององค์กรอาชญากรรม และคดีความผิดทางอาญาที่มีผู้ทรงอิทธิพลที่สำคัญเป็นตัวการ ผู้ใช้หรือผู้สนับสนุน ในขณะนี้ประเทศไทยอยู่ในระหว่างการร่างกฎหมายภายในประเทศที่จะกำหนดให้การทรมานและการบังคับบุคคลให้สูญหายเป็นอาชญากรรม แต่ว่ากระบวนการดังกล่าวกลับมีความล่าช้า โดยในขณะนี้ กระทรวงยุติธรรมของประเทศไทยกำลังดำเนินการรับฟังความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้องต่อร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย ('ร่างพระราชบัญญัติ') เป็นรอบที่สอง ไอซีเจกังวลเป็นอย่างยิ่งว่าร่างพระราชบัญญัติที่มีเนื้อหาตามที่ปรากฏในปัจจุบัน รวมถึงที่ถูกแก้ไขปรับปรุงในฉบับลงวันที่ 6 มี.ค. 2561 หากนำมาบังคับใช้แล้วจะทำให้ประเทศไทยล้มเหลวในการบัญญัติกฎหมายที่สะท้อนถึงพันธกรณีของประเทศไทยภายใต้กฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ เมื่อวันที่ 13 มี.ค. 2560 ประเทศไทยได้กล่าวต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติว่า"ได้มีความพยายามที่จะโอนย้ายคดี (ของบิลลี่) จากพนักงานสอบสวนในระดับท้องถิ่นมายังดีเอสไอ แต่ว่าทางดีเอสไอได้ปฏิเสธที่จะรับคดีดังกล่าวไว้ อย่างไรก็ดี ทางเอสไอก็จะยังให้ความช่วยเหลือในการติดตามค้นหาตัวบิลลี่และทำการสอบสวนในเบื้องต้นต่อไป"
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท. To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google, 1600 Amphitheatre Parkway, Mountain View, CA 94043, United States |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น