โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันอังคารที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2561

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

คนงาน GM ฟ้องศาลแรงงาน ปมนายจ้างเปลี่ยนสภาพสภาพการจ้างงาน นัดไกล่เกลี่ย 5 มิ.ย.นี้

Posted: 10 Apr 2018 12:48 PM PDT

กลุ่มคนงาน GM ยื่นฟ้องต่อศาลแรงงาน ประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างงาน ทั้งการหักค่าจ้าง การเปลี่ยนสถานที่ทำงาน พร้อมทั้งขอคุ้มครองชั่วคราว แต่ศาลไม่รับคุ้มครองชั่วคราว อย่างไรก็ตามศาลนัดไกล่เกลี่ยครั้งแรกวันที่ 5 มิ.ย.นี้

11 เม.ย.2561 ความคืบหน้ากรณีปัญหาข้อขัดแย้งระหว่างสหภาพแรงงาน เจอเนอรัลมอเตอร์ ประเทศไทย (จังหวัดระยอง) ต่อบริษัทเจนเนอรัลมอเตอร์ส (ประเทศไทย) จํากัด และบริษัทเจนเนอรัลมอเตอร์สเพาเวอร์เทรน (ประเทศไทย) ในประเด็นการละเมิดสิทธิแรงงานนั้น

ล่าสุดวานนี้ (10 เม.ย.61) เฟสบุ๊คแฟนเพจ 'สมัชชาคนจน' โพสต์รายงานว่า ฉวี เชื้อฉุน กรรมการสหภาพแรงงานเจนเนอรัลมอเตอร์ส ประเทศไทย (ปัจจุบัน) และตำเหน่งพนักงานฝ่ายผลิตบริษัทเจนเนอรัลมอเตอร์ส ประเทศไทย  แจ้งว่า

ในวันนี้ 10 เม.ย. 61 เวลาประมาณ 15.30 น. ได้มีเจ้าหน้าที่ตรวจแรงงาน จำนวน 2 คน สังกัดกระทรวงแรงงาน เข้ามาสอบถามพูดคุยรายละเอียด กับกลุ่มพนักงานบริษัทเจนเนอรัลมอเตอร์ส ประเทศไทย ทั้ง 8 คน ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากนายจ้าง โดยมีหัวหน้างานจากบริษัทแม่ที่ จ.ระยอง คอยสังเกตการณ์และจดบันทึกร่วมด้วยตลอดเวลา

เจ้าหน้าที่ตรวจแรงงานได้สอบถามเรื่องสภาพโดยทั่วไปของแรงงานทั้ง 8 คน เช่น แต่ละคนตอนอยู่ที่ระยองได้รับเงินเดือนเท่าไหร่ มาอยู่ที่นี่ได้ค่าตอบแทนเงินเดือนเท่าไหร่, สมัยที่ทำงานอยู่ระยองทำงานตั้งแต่ จันทร์-ศุกร์ ทำไมมาอยู่อยุธยาทำงาน จันทร์-เสาร์, เริ่มย้ายมาทำงานที่อยุธยาตั้งแต่เมื่อไหร่ และสภาพหน้าที่การทำงานในคลังสินค้ารวมถึงสภาพความเป็นอยู่ของคนงานทั้ง 8 คนเป็นอย่างไรบ้าง ซึ่งพนักงานทั้ง 8 คนก็ได้ตอบคำถามไปตามข้อเท็จจริง

ส่วนคำถามที่ถามว่าทางกลุ่มได้ไปร้องต่อศาลแรงงานเรื่องอะไร และมีความต้องการต่อเรื่องนี้อย่างไร ทางกลุ่มพนักงานฯ ทั้ง 8 คน ได้กล่าวว่า ต้องการให้ศาลแรงงานมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ให้คงสภาพการจ้างเดิม เรื่องค่าตอบแทนและตำแหน่งงานให้คงเดิม ก่อนที่ศาลจะมีคำพิพากษา ส่วนความต้องการของพนักงาน คือ ต้องการกลับไปทำงานในตำแหน่งหน้าที่ และสภาพการจ้างเดิมที่ จ.ระยอง โดยให้ได้รับสิทธิและสวัสดิการเหมือนในอดีต 

สำหรับ ฉวี เขาเป็น 1 ใน 8 คนงานที่รับข้อเสนอจากทางบริษัทฯ แล้วโดนปรับย้ายสถานที่ทำงานจากโรงงาน จ.ระยอง มาทำงานที่คลังสินค้า จ.พระนครศรีอยุธยา โดยถูกปรับลดเงินเดือนเหลือเพียงอัตราค่าแรงขั้นต่ำสุด 9,600 บาท/เดือน และถูกตัดสวัสดิการ, เบี้ยเลี้ยงทั้งหมดทิ้งไป

เกี่ยวกับกรณีที่คนงานฟ้องศาลแรงงานนั้น บุญยืน สุขใหม่ ผู้ประสานงานกลุ่มพัฒนาแรงงานสัมพันธ์ตะวันออก และกรรมการบริหารสมัชชาคนจนฝ่ายกฎหมายแรงงาน เปิดเผยกับประชาไทว่า กลุ่มคนงานดังกล่าวได้ยื่นฟ้องต่อศาลแรงงานภาค 1 อยุธยา ไปตั้งแต่ 19 มี.ค.ที่ผ่านมา ในประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างงาน ทั้งการหักค่าจ้าง การเปลี่ยนสถานที่ทำงาน พร้อมทั้งขอคุ้มครองชั่วคราว แต่ศาลไม่รับคุ้มครองชั่วคราว อย่างไรก็ตามศาลนัดไกล่เกลี่ยครั้งแรกวันที่ 5 มิ.ย.นี้

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'ผสานวัฒนธรรม' ประณามผู้ก่อเหตุลอบวางระเบิด 3 จุด ใจกลางเมืองสุไหงโก-ลก

Posted: 10 Apr 2018 12:25 PM PDT

มูลนิธิผสานวัฒนธรรม เรียกร้องให้ให้ฝ่ายความมั่นคงดำเนินการนำตัวคนร้ายมาลงโทษ โดยยึดถือปฏิบัติตามกระบวนการยุติธรรมอย่างเคร่งครัดและห้ามซ้อมทรมาน

10 เม.ย.2561 มูลนิธิผสานวัฒนธรรม ออกแถลงการณ์ประณามผู้ก่อเหตุลอบวางระเบิด 3 จุด ใจกลางเมืองสุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส สร้างสถานการณ์ให้เกิดความปั่นป่วนในพื้นที่ ส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บ และขอให้ฝ่ายความมั่นคงดำเนินการนำตัวคนร้ายมาลงโทษ โดยยึดถือปฏิบัติตามกระบวนการยุติธรรมอย่างเคร่งครัดและห้ามซ้อมทรมาน

แถลงการณ์ ของ มูลนิธิผสานวัฒนธรรม ระบุว่าจากเหตุการณ์จักรยานยนต์บอมบ์ จำนวน 3 จุด ในวันจันทร์ที่ 9 เม.ย.ที่ผ่านมา โดยจุดที่ 1 หน้าร้านนีโม่คาราโอเกะ ซึ่งตั้งอยู่บนถนนประชาวิวัฒน์ ซอย 4 ต.สุไหงโก-ลก จุดที่ 2 ที่บริเวณหน้าร้านพิเชษฐ์ อาหารตามสั่ง ตั้งอยู่เลขที่ 53 ถนนประชาวิวัฒน์ ซอย 3 ต.สุไหงโก-ลก และจุดที่ 3 ที่บริเวณหลังโรงแรมพลาซ่า ต.สุไหงโก-ลก ส่งผลให้ประชาชนได้รับบาดเจ็บ จำนวน 4 รายนั้น 

มูลนิธิผสานวัฒนธรรม ขอแสดงความเสียใจต่อครอบครัวของผู้บาดเจ็บ และผู้ที่สูญเสียทรัพย์สินจากเหตุการณ์ครั้งนี้ และขอประนามคนร้ายที่ก่อเหตุใช้ความรุนแรงต่อพลเรือนผู้บริสุทธิ์อันถือว่าเป็นการก่ออาชญากรรมที่ร้ายแรง ขอให้เจ้าหน้าที่สืบสวนสอบสวนนำตัวผู้กระทำผิดที่แท้จริงมาลงโทษตามกระบวนการยุติธรรมอย่างเคร่งครัดและห้ามการซ้อมทรมาน และขอให้ประชาชนช่วยกันหาพยานหลักฐานแก่เจ้าหน้าที่และเป็นหูเป็นตาระมัดระวังไม่ให้คนร้ายสามารถก่อความรุนแรงได้อีก

อย่างไรก็ตามในการดำเนินการสืบสวนสอบสวนเพื่อนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษตามกฎหมายนั้นมูลนิธิฯขอให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมอย่างเคร่งครัด เหตุการณ์วางระเบิดในครั้งนี้มีความคล้ายคลึงเหตุลอบวางระเบิดตลาดสดพิมลชัย จ.ยะลา เมื่อวันที่ 22 ม.ค.2561 ที่ทำให้ประชาชนผู้บริสุทธิ์ต้องเสียชีวิตถึง 3 ราย และได้รับบาดเจ็บอีกจำนวนหนึ่ง  โดยภายหลังเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว คือในวันที่ 14 มี.ค.ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงได้ใช้อำนาจตามกฎอัยการศึกควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยที่ปั๊มน้ำมันแห่งหนึ่งในจังหวัดยะลาขณะที่กำลังทำงานอยู่ ต่อมาภรรยาผู้ต้องสงสัยได้ร้องเรียนว่ามีการข่มขู่และทำร้ายร่างกายผู้ต้องสงสัยให้รับสารภาพระหว่างการซักถาม ญาติจึงได้ยื่นคำร้องต่อศาลจังหวัดยะลายะลา เพื่อขอยกเลิกการใช้อำนาจตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ในการควบคุมตัวซึ่งหลังจากนั้นศาลจังหวัดยะลาได้มีคำสั่งให้ปล่อยตัวผู้ต้องสงสัยไปเมื่อวันจันทร์ที่ 9 เม.ย. ที่ผ่านมา

"การสืบสวนสอบสวนเพื่อให้ได้ตัวผู้กระทำผิดมาดำเนินคดีนั้น เจ้าหน้าที่จึงควรยึดถือปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด การจับตัวประชาชนที่บริสุทธิ์ โดยปราศจากพยานหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำผิดแล้วใช้การข่มขู่ ซ้อมทรมานให้รับสารภาพนั้น นอกจากไม่ได้ตัวผู้กระทำผิดที่แท้จริงมาลงโทษแล้วยังเท่ากับปล่อยให้คนร้ายที่แท้จริงพ้นผิดลอยนวล ไม่ได้รับการลงโทษและก่อความรุนแรงต่อประชาชนต่อไปได้อีก อีกทั้งการปราบปรามการก่อเหตุก็ไม่ใช่หนทางเดียวในการยุติความขัดแย้งทางอาวุธที่ยืดเยื้อยาวนาน" มูลนิธิผสานวัฒนธรรม ระบุข้อเรียกร้องต่อเจ้าหน้าที่

ขณะที่วันเดียวกัน เวลา 10.00 น. ที่ศูนย์ประชาสัมพันธ์ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า (กอ.รมน. ภาค 4 ส่วนหน้า) พ.อ.ธนาวีร์  สุวรรณรัตน์ รองโฆษก กอ.รมน. ภาค 4 ส่วนหน้า ชี้แจง เหตุระเบิดดังกล่าวด้วยว่า กอ.รมน. ภาค 4 ส่วนหน้า ขอเป็นกำลังใจให้กับญาติและครอบครัวของผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ ปัจจุบันรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก จำนวน  4 ราย บาดเจ็บเล็กน้อยแพทย์ให้กลับบ้านได้ จำนวน 9 ราย ซึ่งทางหน่วยที่เกี่ยวข้องจะดำเนินการช่วยเหลือเรื่องการรักษาพยาบาลและเยียวยาตามระเบียบต่อไป

แม่ทัพภาคที่ 4/ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ได้สั่งการเน้นย้ำให้หน่วยในพื้นที่เข้าควบคุมสถานการณ์ และบริหารจัดการสถานที่เกิดเหตุตามขั้นตอนของแผนรักษาความปลอดภัย รวมทั้งให้ทำการรวบรวมวัตถุพยาน และสำรวจภาพจากกล้องวงจรปิดทุกจุด เพื่อเป็นหลักฐานในการติดตามจับกุมคนร้ายมาลงโทษตามกระบวนการตามกฎหมาย นอกจากนี้ได้สั่งการให้หน่วยที่เกี่ยวข้อง เร่งสำรวจความเสียหายเพื่อให้การช่วยเหลือเยียวยาต่อไป  พร้อมทั้งขอความร่วมมือพี่น้องประชาชน และสถานประกอบการช่วยกันสอดส่องดูแลวัตถุต้องสงสัย หากพบเบาะแส ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ทราบ โทร. 1341 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

รองโฆษก กอ.รมน. ภาค 4 ส่วนหน้า กล่าวด้วยว่า กลุ่มขบวนการมุ่งหวังเพื่อสร้างสถานการณ์ก่อกวนให้เกิดความวุ่นวาย สร้างความเดือดร้อน ความเสียหายให้เกิดขึ้นกับชีวิตและทรัพย์สินของพี่น้องประชาชนผู้บริสุทธิ์ ซึ่งมีทั้งพี่น้องไทยพุทธและไทยมุสลิม อีกทั้งยังมีเด็กได้รับบาดเจ็บในเหตุการณ์ครั้งนี้ และยังทำลายบรรยากาศในการท่องเที่ยวห้วงเทศกาล ทำลายภาพลักษณ์ทางเศรษฐกิจ จึงขอเรียกร้องให้ทุกภาคส่วน ร่วมกันประณามการกระทำที่สุดโต่ง ไร้ซึ่งมนุษยธรรม  ผิดกฎหมาย และละเมิดต่อหลักสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง จึงสมควรต้องได้รับการประณามจากทุกภาคส่วนอย่างกว้างขวาง

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

จ่อฟ้องยูเอ็นพรุ่งนี้ หลัง จนท.ตามเช็คนิสิต จุฬาฯ ชูป้ายใส่ประยุทธ์

Posted: 10 Apr 2018 10:13 AM PDT

หลังนิสิตฯ จุฬา ชูป้ายเสียกสีใส่ พล.อ.ประยุทธ์ ล่าสุด จนท. ตามสอดส่อง เครือข่ายนักศึกษาเตรียมฟ้องยูเอ็น พรุ่งนี้ ขณะที่นิสิตสาวจุฬาฯ เผย ตร.ถามแม่ที่ ตจว. ว่ามีผู้อยู่เบื้องหลังหรือไม่ ยันทำกิจกรรมต่อ ระบุที่ไปชูป้ายแค่ต้องการบอกกับคนในประเทศว่าไม่ใช่ชาวจุฬาทุกคนที่จะยอมรับรัฐบาลเผด็จการทหาร

นิสิตจุฬาฯ และป้ายข้อความที่ชูให้ พล.อ.ประยุทธ์

10 เม.ย.2561 จากวานนี้ (9 เม.ย.61) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ถูกนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กลุ่มหนึ่งชูป้ายข้อความลักษณะเสียดสีว่า "ชาวจุฬาฯ รักลุงตู่ (เผด็จการ)" โดยขีดกากบาทที่คำว่าลุงตู่ ที่สยามสแควร์วัน หลังจาก พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ "จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยกับการขับเคลื่อนประเทศไทยในระยะเปลี่ยนผ่าน" ณ หอประชุมจุฬาฯ เสร็จ

ส่งผลให้ เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของ พล.อ.ประยุทธ์ ได้มาเข้ามากันนิสิตกลุ่มดังกล่าวและพยายามยื้อแย่งเพื่อเก็บกระดาษข้อความ สุดท้ายป้ายข้อความดังกล่าวถูกฉีกไป ซึ่งเมื่อ พล.อ.ประยุทธ์เห็นเหตุการณ์ พร้อมหันไปพูดกับกลุ่มนิสิต และเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยว่า "ปล่อยเขาเถอะ ปล่อยเขาเถอะ อย่าไปทำร้ายอะไรเขาเลยไป ปล่อยเขา เขาไม่เข้าใจก็ปล่อยเขา คนเก่ง เยี่ยม เก่งมาก เวลาประเทศเสียหายแล้วออกมาด้วยนะ"

จนท.ตามเช็คนิสิต ชูป้ายใส่ประยุทธ์

ล่าสุดวันนี้ (10 เม.ย.61) มีรายงานว่า มีเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจ ทั้งในและนอกเครื่องแบบ ตามสอดส่อง 3 นิสิตที่ร่วมกิจกรรมชูป้ายดังกล่าว ประกอบด้วย 1. ธนวัฒน์ วงศ์ไชย 2. วิรัลพัชร รอดแก้ว และ 3. วศิณี พบูประภาพ

เพนกวิน พริษฐ์ ชิวารักษ์ นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อดีตเลขาธิการกลุ่มการศึกษาเพื่อความเป็นไท โพสต์ข้อความผ่านเฟสบุ๊กแฟนเพจ 'Parit Chiwarak - เพนกวิน'  ว่า เจ้าหน้าที่พยายามสอบถามชื่อ ข้อมูลส่วนตัว และที่อยู่ของเพื่อนนิสิตจากเจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัย นอกจากนี้ ยังมีเจ้าหน้าที่พยายามไปพบกับผู้ปกครองของเพื่อนนิสิตถึงบ้านพักส่วนตัว ในลักษณะเดียวกับที่ได้กระทำกับตนเองเมื่อปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา

เตรียมร้องยูเอ็น

พริษฐ์ ระบุว่า การกระทำดังกล่าวของเจ้าหน้าที่ถือการใช้อำนาจโดยมิชอบ เป็นความพยายามปิดกั้นการแสดงความคิดเห็นและเป็นการคุกคามนิสิตนักศึกษาอย่างร้ายแรง ไม่อาจเพิกเฉยได้ จึงขอใช้สิทธิความเป็นเจ้าของประเทศสั่งการให้เจ้าหน้าที่เคารพสิทธิและยุติการคุกคามนิสิต นักศึกษา และประชาชน ในทุกกรณี

นอกจากนี้  พริษฐ์ เปิดเผยด้วยว่า วันพรุ่งนี้ (11 เม.ย.61) เวลา 9.30 เครือข่ายนักศึกษาจะเข้าพบตัวแทนสำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ เพื่อยื่นจดหมายและพูดคุยในกรณีดังกล่าว ณ สำนักงานสหประชาชาติ ถนนราชดำเนินนอก

นิสิตสาวจุฬาฯ เผย ตร.ถามแม่ที่ ตจว. ว่ามีผู้อยู่เบื้องหลังหรือไม่ ยันทำกิจกรรมต่อ

ผู้สื่อข่าวประชาไท สอบถาม หนูดี วิรัลพัชร รอดแก้ว วัย 21 ปี นิสิตชั้นปีที่ 3 คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หนึ่งในผู้ชูป้ายใส่ พล.อ.ประยุทธ์ เปิดเผยว่า วันนี้ มีเจ้าหน้าที่ตำรวจนอกเครื่องแบบ 2 นาย มาหาแม่ของตนเองที่บ้าน ที่จังหวัดนนทบุรี ระบุว่ามาจากหน่วยข่าวความมั่นคง สอบถามว่าตนปกติทำกิจกรรมกับกลุ่มไหน เกี่ยวข้องกับกลุ่มเสื้อแดงหรือไม่ มีผู้อยู่เบื้องหลังหรือไม่ 

วิรัลพัชร กล่าวว่า สิ่งที่เกิดขึ้นตนไม่แปลกใจหรือตกใจ เพราะคิดว่าเป็นไปตามที่ตนคาดไว้ เป็นห่วงความรู้สึกของแม่มากกว่า เนื่องจากต้องอยู่เพียงลำพัง 

วิรัลพัชร กล่าวว่า ตนเป็นคนสนใจการเมืองอยู่แล้ว เนื่องจากเรียนทางด้านรัฐศาสตร์ และเป็นคนสนใจร่วมกิจกรรมตั้งแต่ค่ายเยาวชน ชุมนุมทางการเมืองในวาระครบรอบการรัฐประหาร หรือแม้แต่เข้าร่วมกิจกรรมกับกลุ่มคนอยากเลือกตั้ง และ ยืนยันด้วยว่าตนเองจะยังคงเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองและสังคมเหมือนปกติต่อไป

แค่ต้องการบอกกับคนในประเทศว่าไม่ใช่ชาวจุฬาทุกคนที่จะยอมรับรัฐบาลเผด็จการทหาร

สำหรับเหตุผลที่ชูป้ายต่อหน้า พล.อ.ประยุทธ์ นั้น วิรัลพัชร กล่าวว่า เนื่องตอนแรกอยากไปแสดงถึงการละเมิดสิทธิและการคุกคามสิทธิเสรีภาพในตอนเช้าที่หอประชุมจุฬาฯ แต่ต้องพบกับสถานการณ์ที่จุฬาฯร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ในการจับตาพวกตนเป็นพิเศษ ทำให้พวกตนมีความสงสัยว่าจุฬาฯ มีท่าทีให้ความร่วมมือในการจำกัดสิทธิเสรีภาพของนิสิตหรือ รวมทั้งบรรยากาศการต้อนรับในตอนเช้าของจุฬาด้วย
 
"เพื่อให้ทั้งลุงตู่ รัฐบาลเผด็จารทหาร และคนในประเทศรู้ว่าไม่ใช่ชาวจุฬาทุกคนนะ ที่จะยอมรับรัฐบาลเผด็จการทหาร ยอมรับอำนาจแบบนี้ได้" วิรัลพัชร กล่าว
 
สำหรับคำถามที่ พล.อ.ประยุทธ์ โต้กลับมาขณะชูป้ายว่า "เวลาประเทศเสียหายแล้วออกมาด้วยนะ" นั้น วิรัลพัชร กล่าวว่า "ก็มันถึงเวลาแล้วที่จะออกมา ก็กำลังทำอยู่"

ธนวัฒน์ ขอ จนท. ถ้าสงสัยก็ติดต่อแบบเป็นทางการจะดีกว่า

ขณะที่ ธนวัฒน์ วงศ์ไชย รองประธานสภานิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์จดหมายถึงเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคง ผ่านเฟสบุ๊คด้วยว่า เมื่อเช้านี้ ได้มีเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงจำนวน 2 คน เข้ามาที่คณะที่ตนเรียนอยู่ เข้ามาสอบถามถึงประวัติส่วนตัวของตน ความประพฤติของตนในคณะ และพยายามจะขอที่อยู่ที่ติดต่อได้ของตน การกระทำของเจ้าหน้าที่ในครั้งนี้ คงเป็นผลมาจากเหตุการณ์เมื่อวานนี้ ที่เพื่อนๆ ของตนได้ไปชูป้ายบอกรักเผด็จการที่สยามสแควร์วัน และตนได้ชี้แจงสารที่ถูกเจ้าหน้าที่ฉีกออกไปบนเฟสบุ๊ค

"การที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงทำเช่นนี้ ถือว่าเป็นการรุกล้ำและละเมิดความเป็นส่วนตัวของผมเป็นอย่างมาก พวกคุณพยายามจะใช้อำนาจของพวกคุณ สร้างความกลัวและคุกคามนิสิตธรรมดาๆ เพียงคนหนึ่งอีกครั้ง" ธนวัฒน์ โพสต์ 

ธนวัฒน์ เล่าเพิ่มเติมว่า เมื่อวานนี้ ถูกเจ้าหน้าที่เดินตามเป็นระยะๆ และถูกถ่ายรูปไปหลายครั้ง พอตกดึกไปแวะทานอาหารกับเพื่อนๆ ที่ร้าน McDonald's สาขาโรงเรียนสตรีวิทยา แล้วเผอิญเจอเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบ ก็ถูกจับตาและแอบฟังการสนทนาระหว่างตนกับเพื่อนอยู่ตลอดเวลา

"ผมอยากจะสื่อสารอย่างตรงไปตรงมา ต่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงว่า พวกคุณไม่ต้องกลัวนิสิตตัวเล็กๆ คนหนึ่งในจุฬาฯ หรอกครับ ผมไม่ได้เป็นอาชญากรหรือเป็นภัยอันตรายต่อความมั่นคงของประเทศ ผมเพียงแค่แสดงออกเชิงสัญลักษณ์บนพื้นที่อันคับแคบในประเทศอันกว้างใหญ่ที่กำลังถูกกดขี่โดยเผด็จการทหารแต่เพียงเท่านั้น และหากท่านมีข้อสงสัยต่อจุดยืนหรือการกระทำของผมประการใด ขอให้ใช้ช่องทางการติดต่อแบบเป็นทางการจะดีกว่านะครับ ไม่ใช่ใช้วิธีการ "ใต้ดิน" ในการได้มาซึ่งข้อมูลแบบนี้ หวังว่าพี่ๆ เจ้าหน้าที่จะเข้าใจนะครับ ผมเห็นใจว่าพวกพี่ต้องทำตามหน้าที่ แต่ผมก็ต้องปกป้องสิทธิและเสรีภาพของผมในฐานะของพลเมืองเช่นกัน" ธนวัฒน์ โพสต์

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ใบตองแห้ง: มาร์คแถสู้ตู่คนนอก

Posted: 10 Apr 2018 09:42 AM PDT

 

72 ปี พรรคประชาธิปัตย์ ชาวบ้านหัวร่อก๊าก เมื่อได้ฟังคำพูดหัวหน้ามาร์คพรรคประชาธิปัตย์ยุคใหม่เป็นพรรคเสรีนิยมประชาธิปไตย ไม่ใช่อนุรักษนิยม พรรคประชาธิปัตย์จะเป็นผู้นำ ทำให้ประชาชนกลับมาศรัทธาประชาธิปไตย แนวทางของพรรคต่างจาก คสช.ที่รวบอำนาจไว้ที่ราชการ และต่างจากพรรคเพื่อไทยที่เน้นประชานิยม ประชาธิปัตย์จะเดินหน้าสู่ระบบสวัสดิการ กระจายอำนาจ หลังเลือกตั้งจะต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญ

เอาฮาใช่ไหม พรรคนี้ไม่ใช่หรือ ที่เป็นนายกฯ แล้วได้ฉายา "ปลัดประเทศ" ยังไม่ได้รับรายงาน "ช่างทาสี" ใครอยู่ข้างเป็นคนดี ตั้งแต่งูเห่า ถึงยี้ห้อยร้อยยี่สิบ บอยคอตต์เลือกตั้ง 2 ครั้ง เรียกหานายกฯ คนกลาง จนเกิดรัฐประหาร ได้เป็นรัฐบาลเพราะตุลาการภิวัตน์ ปราบม็อบด้วยกระสุนจริง แต่ทีตัวเองมั่ง "ลุงกำนัน" ชัตดาวน์กรุงเทพฯ ปิดสถานที่ราชการ ขัดขวางเลือกตั้ง กระทั่งอยู่ใต้รัฐประหารมา 4 ปี

ใครหว่า "ดีแต่พูด" มีคนตั้งข้อสังเกตว่า ถ้อยคำสวยหรูนี้ "ไอติม" หลานอภิสิทธิ์เดินสายพูดมาหลายวัน น้ากับหลานเปิดแผ่นเสียงแผ่นเดียวกัน สงสารหลาน พูดหล่อจัง ชาวบ้านอยากเชื่อ แต่พฤติกรรมของน้า ของพรรค มันค้ำคอ

ทำไมมาร์คต้องพูดหล่อ วันก่อนก็ประกาศกร้าว ใครกลับเข้าพรรคต้องหนุนหัวหน้าเป็นนายกฯ ถ้าอยากหนุน พล.อ.ประยุทธ์ให้ไปอยู่พรรคอื่น จนลุงตู่ออกอาการ พูดอะไรให้เกียรติกันบ้าง เดี๋ยวมีอารมณ์ขึ้นมา พูดไปจะเสียหายกันหมด

ว่าที่จริง มาร์คพูดไม่ผิด สมาชิกพรรคก็ต้องชูหัวหน้าพรรคตัวเอง ใครเดินมาสมัครโดยประกาศไม่เอาหัวหน้า หนุนลุงตู่เป็นนายกฯ ดีกว่า จะรับเข้าพรรคทำไม ไล่มันไปพรรคอื่น

แต่หลายฝ่ายยังคาดหวังไง ว่าหลังเลือกตั้ง พรรคประชาธิปัตย์น่าจะเป็นฐานรองท็อปบูทนายกฯ คนนอก เพราะเป็นไปไม่ได้ที่จะถีบ 2 พรรคใหญ่เป็นฝ่ายค้าน ไม่ว่าจะมีพรรคทหาร พรรคสมคิด ณ ตลาดน้ำ หรือไม่ก็ตาม

แหม กระทั่งลุงตู่ก็ยังปรามาส พูดอย่างนี้ คอยดูวันหน้าจะทำตัวอย่างไร เลือกตั้งแล้วจะเกิดอะไรขึ้น จะเปลี่ยนท่าทีอย่างไร

แต่ก่อนจะถึงวันนั้น ก็ยังอีกยาว ใครว่ามาร์คไม่มีโอกาส พรรคประชาธิปัตย์มีเกียรติประวัติยาวนาน ตั้งแต่สมัยรัฐประหาร 2490 โค่นปรีดีจะยอมทหารได้ง่ายๆ อย่างไร

การเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ 2560 ล็อกกลไกต่างๆ ไว้เพื่อสืบทอดอำนาจโดยนายกฯ คนนอก ส.ว.แต่งตั้ง 250 คน กรรมการยุทธศาสตร์ชาติ องค์กรอิสระ ฯลฯ แน่ละ พรรคเพื่อไทยไม่มีทางได้เป็นรัฐบาล แต่นายกฯ คนนอกก็มีคำถาม จะได้เสียง ส.ส.พอหรือ ขณะเดียวกัน หลายเดือนมานี้ รัฐบาล คสช.ก็กำลัง "ขาลง" ดิ่งลงโดยเหลืออีกปีกว่าจะเลือกตั้ง

มาร์คจึงยังมีความฝันอันยิ่งใหญ่ ที่จะเขย่าต้นส้ม เผื่อ "ส้มหล่น" ถ้าพลังอนุรักษนิยมที่กุมอำนาจเหนือสังคมไทย เห็นพ้องกันว่าทหารน่าจะไปต่อไม่ไหวแล้ว ลุงตู่น่าจะกลับบ้าน ใครเล่าที่จะได้รับความไว้วางใจ ถ้าไม่ใช่ ปชป.

จึงไม่ต้องแปลกใจถ้า ปชป.จะชูธงประชาธิปไตย โหนกระแสสังคม ขย่ม คสช.ในโค้งสุดท้าย เพื่อตัดท่ออำนาจไม่ให้ไปต่อ แล้วฉวยท่อมาสวมก้นตัวเอง

เพียงสงสัยว่าจะยังมีใครไว้วางใจ ปชป. เพราะเห็นๆ อยู่ว่าบริหารประเทศแล้วเป็นอย่างไร เชิญแขกเรียกม็อบต้านได้ขนาดไหน ขนาดท่องวาทกรรมประชาธิปไตย ก็ไม่มีใครเชื่อแม้แต่สาวกตัวเอง ครั้งก่อนประกาศไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ แต่ประชามติผ่านท่วมท้นทั้งภาคใต้

กระนั้นดีเหมือนกัน เพราะคำพูดเป็นนาย ถ้าถึงเวลาต้องเอานายกฯ คนนอก คงสนุกน่าดูชม

 

ที่มา: https://www.kaohoon.com/content/225407

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

นิธิ เอียวศรีวงศ์: จดหมายเปิดผนึกถึงพรรคเพื่อไทย

Posted: 10 Apr 2018 09:32 AM PDT

ในฐานะผู้เคยลงคะแนนเสียงให้พรรคเพื่อไทย และอาจจะลงคะแนนให้อีก จึงขอกราบเรียนความต่อไปนี้แก่พรรค

พรรคคิดจะเป็นส่วนหนึ่งของการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยหรือไม่?

หากพรรคคิดว่านี่คือบทบาทสำคัญที่สุดของพรรคในตอนนี้ ขอให้เข้าใจด้วยว่า เป้าหมายทางการเมืองในช่วงนี้ไม่ใช่ชนะการเลือกตั้ง ภายใต้รัฐธรรมนูญที่ลิดรอนอำนาจของฝ่ายบริหารที่มาจากการเลือกตั้งเช่นนี้ จะชนะเลือกตั้งไปทำไม การต่อสู้ของพรรคไม่อาจจำกัดอยู่ที่หีบบัตรเลือกตั้งได้อีกต่อไป

ตลอด 4 ปีที่ผ่านมา ภายใต้อำนาจของคณะรัฐประหาร อาจมี ส.ส.ของพรรคจำนวนไม่ถึงนิ้วของมือเดียวที่ออกมารณรงค์ต่อต้านการรัฐประหารอย่างกล้าหาญ แต่พรรคไม่ได้ทำอะไรเลยนอกจากหาทางประนีประนอมด้วยการเชื่อฟังคำสั่งของคณะรัฐประหารอย่างเซื่องๆ นายทุนพรรคอาจเลือกนโยบายประนีประนอมเพื่อเป้าหมายส่วนตัวของเขา แต่พรรคไม่ได้มีหรือไม่ควรมีเป้าหมายเดียวกับนายทุน ภารกิจของพรรคที่ประสบความสำเร็จทางการเมืองอย่างท่วมท้นเช่นนี้ จะเป็นอื่นไปไม่ได้ นอกจากพันธะที่มีต่อประชาชนจำนวนมหึมาที่สนับสนุนพรรค และด้วยเหตุดังนั้นจึงต้องเป็นแนวหน้าในการต่อสู้เพื่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน

ลองคิดดูเถิดว่า ในวันที่ 22 พ.ค.ของสี่ปีที่แล้ว หาก ส.ส.ของพรรคทุกคนที่ไม่ได้ถูกเชิญตัวไปเก็บไว้ในค่ายทหาร ออกมาชูสามนิ้วร่วมกับมวลชนทั่วประเทศ เราจะต้องทนอยู่กับอำนาจดิบของคณะทหารมาถึงสี่ปีเช่นวันนี้หรือ ส.ส.จำนวนมากอาจต้องลงเอยด้วยการติดคุกรัฐประหาร

แต่การเป็นนักการเมืองในประเทศที่ประชาธิปไตยยังไม่มั่นคง นั่นไม่ใช่หน้าที่ของนักการเมืองหรอกหรือ

แน่นอนว่า การประนีประนอมมีความสำคัญอย่างขาดไม่ได้ในการเมืองของทุกสังคม แต่ในบางกรณี การประนีประนอมกลับทำให้สถานการณ์ยิ่งเลวร้ายลง และหาทางออกได้ยากขึ้น
ในกรณีเช่นนี้ การประนีประนอมจะทำให้เกิดผลเสียสองอย่าง

ประการแรก การประนีประนอมทำให้ต้องสูญเสียบางส่วนของเป้าหมาย โดยมากส่วนที่ต้องเสียไปคือส่วนที่มีความสำคัญต่อประชาชน เช่น จะใช้สิทธิเสรีภาพที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ก็ต้องผ่านการอนุมัติของรัฐเสียก่อน เพราะผู้กำหนดว่าจะต้องเอาอะไรไปแลกกับอะไรไม่ใช่ประชาชน แต่เป็น "ผู้ใหญ่" ของพรรคเพียงไม่กี่คนเท่านั้น ยิ่งการเจรจาเพื่อประนีประนอมทำกันอย่างไม่เปิดเผยมากเท่าไร ประชาชนก็ต้องเป็นฝ่ายสูญเสียมากเท่านั้น

ประการที่สอง ด้วยเหตุดังนั้น การประนีประนอมจึงตอบสนองแก่ความประสงค์ของบุคคลที่แคบมาก และมีความเป็นไปได้สูงที่จะถูกกลืนไปเป็นส่วนหนึ่งของความชั่วร้ายได้ง่าย ลองคิดดูเถิดว่า หากคุณทักษิณ ชินวัตร หรือคุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้เป็นนายกรัฐมนตรีหุ่นของ คสช. (ตามรัฐธรรมนูญฉบับนี้) ใครจะได้อะไร นอกจากคนในตระกูลชินวัตรเท่านั้น

พรรคเพื่อไทยจึงควรประกาศอย่างชัดเจนหนักแน่นตั้งแต่ตอนนี้ว่า พรรคพร้อมจะเป็นพันธมิตรกับพรรคการเมืองฝ่ายก้าวหน้าทั้งหมด นับตั้งแต่พรรคเสรีรวมไทย, พรรคอนาคตใหม่, พรรคเกรียน, ฯลฯ ส่วนจะเป็นพันธมิตรในระดับใดและอย่างไร เป็นเรื่องที่ต้องเจรจาร่วมกัน แต่ต้องไม่ลืมด้วยว่า การเป็นพันธมิตรทางการเมือง ไม่ใช่เพื่อจัดตั้งรัฐบาลร่วมกันเพียงอย่างเดียว แต่เพื่อทำให้โครงการเปลี่ยนประเทศไทยกลับสู่เส้นทางประชาธิปไตย มีพลังที่จะทำได้อย่างเป็นผลมากที่สุด ทั้งในฐานะที่ได้จัดตั้งรัฐบาล และไม่ได้จัดตั้งรัฐบาล

ภารกิจทางการเมืองของพรรคเพื่อไทยและพันธมิตรของพรรคก็คือ ทำให้มาตรการทุกอย่างทั้งการบริหารและกฎหมาย ซึ่งเกิดขึ้นระหว่างประเทศตกอยู่ภายใต้การรัฐประหาร ไม่มีผลลงทั้งหมด ต้องยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับที่บังคับอยู่เวลานี้ลงโดยเร็ว นำเอารัฐธรรมนูญฉบับ 2540 กลับมาใช้พร้อมบทเฉพาะกาล ที่จะจัดให้มีการร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ โดยกระบวนการที่ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่

สี่ปีที่ผ่านมา แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนยิ่งกว่าครั้งใดว่า กลไกของรัฐไทยนั้นล้าหลังมาก รัฐไทยจึงไม่มีความสามารถจะนำชาติบ้านเมืองไปสู่ความเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัยได้เพียงลำพัง ด้วยเหตุดังนั้นพรรคเพื่อไทยและพันธมิตรจะต้องผลักดัน "กติกา" ใหม่ ที่สังคมสามารถเข้ามามีบทบาทร่วมกับรัฐได้เต็มที่ ในฐานะผู้นำรัฐด้วย ไม่ใช่ผู้เสริมพลังของรัฐเท่านั้น สังคมต้องรับภาระการนำแทนรัฐล้าหลัง และการนำนี้ไม่ควรจำกัดอยู่แต่ในมือของพรรคการเมืองและนักการเมืองเท่านั้น แต่สังคมโดยรวมต้องเข้ามามีบทบาทโดยตรงด้วย เช่น สัดส่วนของกรรมการสภาพัฒน์ต้องประกอบด้วยบุคคลนอกภาครัฐด้วย (เพียงแต่ต้องคิดให้ดีว่า ทำอย่างไรจึงอาจเลือกตัวแทนของสังคมได้กว้างกว่านายทุนและนักวิชาการ ทั้งยังต้องคิดถึงการเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายให้มากกว่าบุคคลที่เป็นกรรมการ)

สองเรื่องหลักที่ต้องลงทุนทำอย่างเต็มที่ (ไม่แต่เพียงเงินงบประมาณอย่างเดียว ควรนึกถึง "ทุน" ในรูปแบบอื่นๆ อีกมาก) คือการศึกษา, สาธารณสุข, และการกระจายอำนาจการปกครอง ไม่แต่เพียงรื้อฟื้นการเลือกตั้ง อปท.ทุกระดับกลับคืนมา แต่ต้องทำให้ อปท.แต่ละระดับมีอำนาจบริหารในมือของตนเองที่อิสระ รวมทั้งกระบวนการตรวจสอบถ่วงดุลของประชาชนในพื้นที่ (ไม่ใช่ของกระทรวงมหาดไทย) อปท.ต้องเข้ามารับผิดชอบด้านสุขภาพอนามัยและการศึกษาในท้องถิ่นมากกว่าที่เป็นอยู่อีกมาก

ความคิดเรื่องกระจายอำนาจด้วยการตั้งองค์กรขนาดใหญ่ที่เป็นองค์กรอิสระจากรัฐ (เช่น สสส.) ไม่ใช่การกระจายอำนาจจริง เป็นแต่เพียงการถ่ายโอนอำนาจรัฐให้ไปอยู่ในมือของกลุ่มคนที่อ้างความเป็น "มืออาชีพ" ขึ้นมาเสวยผลประโยชน์เท่านั้น

ต้องชัดเจนมาแต่ต้นว่า เป้าหมายทางการเมืองของพรรคเพื่อไทยในการลงสมัครรับเลือกตั้งภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ ก็เพื่อกระจายความคิดในการเปลี่ยนประเทศไทยให้หลุดพ้นจากอำนาจรัฐประหารโดยเร็ว และจะเปิดพื้นที่ให้สังคมเข้ามานำความเปลี่ยนแปลง แทนข้าราชการที่ยังคงล้าหลังเหมือนเดิมตลอดมา พรรคต้องกล้าชี้ให้ประชาชนเห็นความบกพร่องของตัวรัฐธรรมนูญและระบบการเมือง, เศรษฐกิจ, ฯลฯ ที่คณะรัฐประหารได้จัดวางไว้

อย่ากลัวว่าพรรคจะถูกสั่งปิดหรือล้มเลิกไป สถานการณ์ในปัจจุบันกับ 2549 แตกต่างกันมาก และถึงถูกสั่งปิด นักการเมืองของพรรคก็ยังสามารถเคลื่อนไหวทางการเมืองได้ ในฐานะบุคคลธรรมดา (ความเป็นนักการเมืองไม่ได้อยู่ที่การรับรองของ กกต. แต่อยู่ที่ทรรศนะของประชาชน) พรรคเองก็ยังอาจดำรงอยู่ได้ในฐานะองค์กรทางการเมือง ที่ไม่ลงไปแข่งขันทางการเมืองในระบบ

 

ประการสุดท้ายที่มีความสำคัญเหมือนกันก็คือ การเป็นผู้สมัครของพรรคที่เสนอทางเลือกอย่างชัดเจนดังกล่าวข้างต้น หากจะได้รับเลือกในเขตของท่าน ก็จะได้รับเลือก หากจะไม่ได้รับเลือกก็จะไม่ได้รับเลือก ไม่ว่าจะมีนายทุนพรรคเป็นใคร ไม่มีครั้งไหนที่พรรคเพื่อไทยจะสามารถปลดแอกจากตระกูลชินวัตรได้ง่ายเหมือนครั้งนี้ พรรคไม่อาจชูใครในตระกูลชินวัตรขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีได้อีกแล้ว อีกทั้งงบหาเสียงก็มีความสำคัญน้อยลง เพราะมันชัด อย่างไม่เคยชัดเท่าการเลือกตั้งครั้งไหนเลยว่า จะเลือกใครไปทำไม

การเลือกตั้งครั้งนี้คือการต่อสู้เชิงอุดมการณ์ หากพรรคเพื่อไทยยังพยายามรักษาความจืดของพรรคไว้เพื่อหวังจะได้เกี้ยเซี้ย นอกจากพรรคจะไม่มีโอกาสเกี้ยเซี้ยแล้ว ประชาชนก็จะเริ่มตื่นรู้ว่า ไม่อาจใช้พรรคเพื่อไทยเป็นเครื่องมือทางการเมืองของเขาได้

การเลือกตั้งเชิงยุทธศาสตร์นั้นมีจริง แต่ไม่ใช่เพียงเพราะชื่อเพื่อไทยก็จะเป็นข้อได้เปรียบโดยอัตโนมัติ ประชาชนจำนวนมากรู้ว่า ความสะใจที่ได้จากการเอาชนะคณะรัฐประหารนั้น ไม่เพียงพอจะช่วยประเทศไทยให้หลุดจากหลุมดำที่ทหารบางกลุ่ม, นายทุนบางกลุ่ม, เนติบริกร และนักวิชาการบางกลุ่มได้เฝ้าเพียรขุดฝังบ้านเมืองให้มืดมิดตลอดไปได้

พรรคเพื่อไทยพร้อมหรือยัง?

 

ที่มา: www.matichon.co.th

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กวีประชาไท: บันทึก ระลึกคืน 10 เมษา53

Posted: 10 Apr 2018 09:19 AM PDT

ขมุกขมัวย่ำค่ำ มัจจุราชเงาดำ ทะมึนเหนือหัว
นกเหล็กแผดเสียงรัว บินวนทั่ว สะท้านเวหา
ที่หมายเบื้องล่าง โปรยทางแก๊สน้ำตา
กระแทกถึงพสุธา รายรอบตัว หม่นมัวหมอกควัน

คละคลุ้งกระจาย พิษคายพวยพุ่งฟุ้งขาว
ปวดแสบปวดร้อนผ่าว ขาที่ก้าวชะงักสั่น
ม่านน้ำตา มัวพร่า สะเปะสะปะหาที่ยัน
ใครนะ?ส่งขวดน้ำนั้น ยื่นผ้าแบ่งปัน ก่อนจากไป

รอบข้างเสียงเพรียก ร้องเรียกกันโกลาหล
ควันขาวยังทะยอยหล่น แต่ผู้คนหากังวลกลัวไม่
ต่างซับหน้าซับตา ล้างฝุ่นฝ้าเหงื่อไคล
ปิดป้องหน้าตาไว้ คอกวัวไม่ไกล ไปช่วยพวกเรา

(ระหว่างทางเเม่ค้ารถเข็นอาหารให้ถุงพริกน้ำปลา)
.......
เร่งรุดเร็วรี่ ถึงแค่อนุสาวรีย์ แยกสตรีวิทย์
ความอำมหิต ไม่เคยคิด ก็ได้เห็นใจเต้นเร่า
ปังปังปังคำราม ฝั่งตรงข้าม*รถถังตั้งตระหง่านเงา
การ์ดผลักดันเข้า หลบภัยใกล้ฐานอนุเสารีย์

มวลชนหมอบตัวราบ ผงกหัวมองภาพตรงหน้า
เสียงหวีดหวิวข้ามหัวมา แต่ว่าไม่มีใครหนี
กระสุนสาดไม่ขาดสาย คล้ายมิคสัญญี
เสียงด่าทออึงมี่ ทหารใจดำ ยิงทำไม

การ์ดอยู่เเนว แถวหน้า ขว้างปาธงเเลสิ่งของ
อึกทึกกึกก้อง ผองมวลชนสุดจะทนไหว
ออกจากที่กำบัง ขว้างถุงพริกน้ำปลาไป ( ขว้างทุกอย่างที่หาได้)
พลันเสียงบึ้มตรึมใหญ่ ดังกลบ.สงบชั่วคราว
......
ผู้ชุมชุมนุมโห่ร้อง ดังก้องท้องถนน
เสียงหวอ เสียงผู้คน ตะโกนถามข่าว
ร่างเหยื่อ ถูกลำเลียง เสียงขอทางช่างปวดร้าว
ทหารประกาศโน้มน้าว พร้อมทำนองของดนตรี

ครู่หนึ่งบรรเลง บทเพลง แดงแดงแดง ดังแข่งกลบ
เพลงไม่ทันจบ เสียงปังปัง อีกครั้ง ดังรัวถี่
กองทัพล่าถอยสลาย เพียงอึดใจไม่กี่นาที
กลับผ่านฟ้า หน้าเวที ร่วมอาลัยให้คนตาย

แล้วเดินย้อน กลับไปยังฝั่งเกิดเหตุ
พื้นเหลือเศษ สมองเลือดนองสาย
ร่วมจุดเทียน หยาดน้ำตา หลั่งพร่าพราย
10 เมษา คืนโหดร้าย ใครฆ่าประชาชน



ที่มาภาพ: prachatai.com

หมายเหตุ: ผู้เขียนตามความเข้าใจในเหตุการณ์จึงเรียกรถถัง ทราบภายหลังว่าคือรถสายพานลำเลียง

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กวีประชาไท: 10 เมษา 53 เราไม่ลืม

Posted: 10 Apr 2018 09:05 AM PDT


ภาพเฮลิคอปเตอร์ที่ทำการทิ้งแก็ซน้ำตาลงมาใส่ผู้ชุมนุมบริเวณอนุสาวีย์ประชาธิปไตย


ควันหลง ทรงจำ ตามหลอกหลอน
ทิ้งตะกอน เจ็บช้ำ ความบาดหมาง
ปีศาจ ลอกคราบ ภาพอำพราง
บนเรือนร่าง กองเลือด เชือดสังเวย

แปดปี เศร้าสลด ความโหดร้าย
คนตาย ใครฆ่า ไม่กล้าเผย
ฆาตกร- คนสั่ง ต่างคุ้นเคย
สาดยิงเย้ย เลือดเย็น เซ่นผ่านฟ้า

ศพเเล้ว ศพเล่า เถ้าสังหาร
ไม่มีการ เอาผิด ปริศนา
ระบบ ยุติธรรม ซ้ำล่าช้า
อุ้มคนฆ่า รอดพ้น ด้วยกลไก

10เมษา อย่าให้ผ่าน ด้วยการนิ่ง
กระทุ้งทวง ความจริง ให้จงได้
ลากคอ อำมหิต ที่ปิดไว้
จะผ่านไป กี่ปี ไม่มีวันลืม


ที่มาภาพ: prachatai.com

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ญาติคนตาย 10 เมษา 53 ร่วมจุดเทียนไว้อาลัย ในวันครบรอบ 8 ปี

Posted: 10 Apr 2018 08:34 AM PDT

10 เม.ย.2561 เนื่องวันครบรอบ 8 ปี เหตุการณ์สลายการชุมนุมแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) โดย ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ที่ส่งผลให้มีประชาชนและเจ้าหน้าที่เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมากนั้น

เมื่อช่วงค่ำที่ผ่านมา Banrasdr Photo โพสต์ภาพพร้อมรายงานด้วยว่า กลุ่มญาติผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์สลายการชุมนุมดังกล่าว ร่วมกันจุดเทียนไว้อาลัยตรงจุดที่เกิดเหตุบริเวณอนุเสาวรีย์ประชาธิปไตยและสี่แยกคอกวัว ในวันครบรอบ 8 ปี

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สกว.-สกอ.ติวนักวิจัยใหม่ ‘ไม่ขึ้นหิ้ง-ไม่ทิ้งราก’

Posted: 10 Apr 2018 06:30 AM PDT

สกว.จับมือ สกอ. ปลุกพลังนักวิจัยรุ่นใหม่ให้มีความเข้มแข็งทางวิชาการ และต่อยอดผลงานวิจัยให้ "ไม่ขึ้นหิ้ง" ท่ามกลางสภาวการณ์การแข่งขันค่อนข้างสูงและท้าทาย 

10 เม.ย. 2561 รายงานข่าวแจ้งว่า วันนี้ รศ. ดร.ปัทมาวดี โพชนุกูล รองผู้อำนวยการสํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ด้านการวิจัยเชิงยุทธศาสตร์ เป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนา "โครงการฝ่ายวิชาการ สกว. สัญจร ครั้งที่ 2" ภาคกลาง ณ โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค กรุงเทพฯ ซึ่งจัดขึ้นเพื่อประชาสัมพันธ์ทิศทางการให้ทุนวิจัยรูปแบบใหม่และยุทธศาสตร์ต่าง ๆ ของ สกว. และ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) แก่นักวิจัยรุ่นใหม่ รวมถึงแนะนำเทคนิคการนำเสนอโครงการวิจัยและผลงานวิจัยให้ได้รับการตอบรับในเชิงบวก การทำวิจัย "ไม่ขึ้นหิ้ง" พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การทำวิจัยที่ประสบความสำเร็จจากเมธีวิจัยอาวุโส สกว.

รองผู้อำนวยการ สกว. กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยต้องเผชิญกับสภาวการณ์การแข่งขันค่อนข้างสูง และวิตกกังวลกับสถานะที่เป็นอยู่ ดังนั้นเราจึงต้องมองงานให้ใหญ่ขึ้น ไม่เฉพาะแค่รางวัลระดับประเทศที่ตัวเองได้รับ และต้องการความร่วมมือในระดับภูมิภาค ทั้งนี้อยากฝากกระตุ้นให้นักวิจัยรุ่นใหม่ทุกคนมองเป็นความท้าทายที่จะต้องมองไปข้างหน้าว่างานของตัวเองจะเป็นประโยชน์อย่างไรกับประเทศชาติ สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ 20 ปีของประเทศ และยุทธศาสตร์ 5 ปี ของ สกว. จึงขอให้ทุกคนมีความเข้มแข็งทางวิชาการ ต่อยอดขยายผลงานวิจัยให้ใช้ได้จริงเพื่อสังคมและประเทศของเรา งานวิจัยจึงจะไม่ขึ้นหิ้ง รางวัลที่ได้รับนั้นถือเป็นจุดเริ่มต้นของเส้นทางในการพัฒนาตนเองให้ประสบความสำเร็จยิ่ง ๆ ขึ้นไป ขณะเดียวกันก็เป็นหน้าที่ของทั้ง สกว. และ สกอ. ที่จะต้องสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของประเทศได้จริง  ขณะที่คุณสุทิศา จั่นมุกดา ผู้อำนวยการกลุ่มมาตรฐานการบริหารงานบุคคล สกอ. ระบุว่าการประเมินผลงานทางวิชาการจะคำนึงถึงประเภทของผลงานทางวิชาการ การเผยแพร่ การมีส่วนร่วมในผลงานทางวิชาการ และความสอดคล้องกับสาขาวิชาที่เสนอขอ โดยแบ่งประเภทของผลงานออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่  กลุ่มที่ 1 งานวิจัย กลุ่มที่ 2 ผลงานวิชาการเพื่ออุตสาหกรรม ผลงานวิชาการเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนและการเรียนรู้ ผลงานวิชาการเพื่อพัฒนานโยบายสาธารณะ กรณีศึกษา งานแปล และพจนานุกรม สารานุกรม นามานุกรม และงานวิชาการในลักษณะเดียวกัน ผลงานสร้างสรรค์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผลงานสร้างสรรค์ด้านสุนทรียะ/ศิลปะ สิทธิบัตร และซอฟต์แวร์ กลุ่มที่ 3 ผลงานวิชาการรับใช้สังคม กลุ่มที่ 4 ตำรา หนังสือ และบทความทางวิชาการ  ทั้งนี้ในส่วนของผลงานวิชาการรับใช้สังคมนั้น ขอให้ดูโครงการในพระราชดำของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเป็นตัวอย่าง ซึ่งนักวิจัยจะต้องลงไปดูว่าชุมชนมีปัญหาอะไร และใช้ความรู้ในการแก้ปัญหานั้น ๆ

ศ.ดร.อุทัยรัตน์ ณ นคร เมธีวิจัยอาวุโส สกว. กล่าวระหว่างการเสวนา "ทำอย่างไรงานวิจัย "ไม่" ขึ้นหิ้ง: การพัฒนานวัตกรรมและการนำไปใช้เชิงพาณิชย์" ว่าการทำวิจัยด้านสัตว์น้ำและต่อยอดในระดับอุตสาหกรรมนั้นเกิดขึ้นจากโจทย์ความต้องการของชาวบ้านและใช้เทคโนโลยีเข้าช่วย อย่างไรก็ตาม ผู้รับผิดชอบนโยบายยังไม่รู้บริบทของงานวิจัยอย่างแท้จริง จึงไม่เข้าใจความสำคัญของงานวิจัยพื้นฐานที่จะต้องมีรากของงานจึงจะออกดอกออกผลได้ "นักวิจัยก็ต้องมีเป้าหมายในชีวิตว่าอยากรู้เรื่องใด สนใจเรื่องใด อย่าหวั่นไหวทิ้งรากและลำต้น ที่สำคัญต้องมีเป้าหมายชัดเจนว่าจะเดินไปที่ใด แต่ต้องมีความสามารถในการสื่อสารกับเจ้าของทุนได้ จะได้ไม่เสียเวลาทำงานและเกิดความยั่งยืนมากกว่า ความรักในการทำงานวิจัยเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะจะทำให้ทำวิจัยด้วยความสนุกและไม่อยากทิ้งงาน"

เช่นเดียวกับ ศ.ดร.สักกมน เทพหัสดิน ณ อยุธยา กล่าวว่า การใช้ประโยชน์จากงานวิจัยของตนเริ่มต้นจากการทำงานวิจัยพื้นฐานที่มุ่งได้ความรู้เป็นสำคัญ จนได้รับการต่อจากภาคเอกชนที่เชื่อใจ จึงสามารถขยายระดับจากห้องปฏิบัติการสู่ระดับอุตสาหกรรม สิ่งที่อยากบอกนักวิจัยคืองานวิจัยจำนวนมากไปไม่ถึงหิ้ง ไม่สามารถขึ้นหิ้งได้ เป็นเพราะงานยังไม่ดีพอจึงไม่รู้จะนำไปใช้ได้อย่างไร นอกจากนี้ยังต้องมีความชัดเจนในเป้าหมายและความอดทนต่อการทำวิจัยเพื่อให้สามารถเดินทางต่อไปถึงเป้าหมายได้

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ประณามกองทัพพม่ายิง จนท.ช่วยเหลือมนุษยธรรมชาวกะเหรี่ยง-ละเมิดข้อตกลงหยุดยิง

Posted: 10 Apr 2018 05:41 AM PDT

นักกิจกรรมชาวกะเหรี่ยง-เจ้าหน้าที่ช่วยเหลือฉุกเฉินแก่ผู้พลัดถิ่นจากสงครามในพื้นที่รัฐกะเหรี่ยง ถูกทหารพม่ายิงเสียชีวิตขณะกลับบ้านโดยเพื่อนบ้านยังไม่สามารถนำศพออกจากที่เกิดเหตุเพราะทหารพม่ายังเฝ้าปักหลัก ด้านหน่วยงานต้นสังกัดของผู้เสียชีวิตชี้ว่ากองทัพพม่าไม่เพียงแต่ละเมิดสิทธิมนุษยชน แต่กำลังละเมิดข้อตกลงหยุดยิงทั่วประเทศ เรียกร้องรัฐบาลพม่าปกป้องผู้พลัดถิ่นและคุ้มครองคนทำงานด้านมนุษยธรรม

ซอโอ้มู นักกิจกรรมชาวกะเหรี่ยงและครอบครัว (ที่มา: KESAN)

ซอโอ้มู นักกิจกรรมชาวกะเหรี่ยง ที่ถูกทหารพม่ายิงเสียชีวิต (ที่มา: KESAN)

เมื่อวันที่ 9 เม.ย. โซเชียลมีเดียและสื่อพม่ารายงานข่าวการเสียชีวิตของ ซอโอ้มู นักกิจกรรมชาวกะเหรี่ยงวัย 42 ปี จากหมู่บ้านแหล่มู่ปลอ ในจังหวัดผาปูน รัฐกะเหรี่ยง ผู้ทำงานผลักดันสิทธิของชนพื้นเมืองกะเหรี่ยงในการจัดการทรัพยากร หนึ่งในทีมงานให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่ชาวกะเหรี่ยงพลัดถิ่น โดยสำนักข่าวอิระวดีรายงานว่า ซอโอ้มูถูกยิงเสียชีวิตในระหว่างทางกลับบ้านในเขต เมื่อวันที่ 5 เมษายน ขณะที่ถูกโจมตี เขากำลังขี่มอเตอร์ไซด์อยู่ โดยเพื่อนของเขาซึ่งนั่งซ้อนท้ายสามารถหนีออกจากที่เกิดเหตุมาได้ ในวันต่อมา ชาวบ้านจำนวนหนึ่งได้เดินทางไปยังที่เกิดเหตุและเห็นร่างของซอโอ้มูพร้อมรถมอเตอร์ไซด์ แต่ไม่สามารถนำร่างของซอโอ้มูออกมาได้ เนื่องจากถูกทหารพม่าโจมตี ทั้งนี้ ชาวบ้านได้กลับไปยังที่เกิดเหตุอีกในวันที่ 7 และ 8 เมษายน และก็ยังไม่สามารถนำร่างของซอโอ้มู ออกมาได้ เพราะทหารพม่าปักหลักอยู่ในพื้นที่

ด้านทีมตอบสนองภาวะฉุกเฉินมูตรอ (Mutraw Emergency Assistance Team) ซึ่งซอโอ้มูเป็นหนึ่งในทีมงานนั้น ได้ออกแถลงการณ์ในวันเดียวกัน (9 เมษายน 2061) ระบุว่า กองทัพพม่าได้เริ่มปฏิบัติการทางทหารตั้งแต่ต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ในเขตแหล่มู่ปลอ จังหวัดผาปูน หรือที่สหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยงเรียกว่ามูตรอ ซึ่งเป็นที่ตั้งของกองพลน้อยที่ 5 กองทัพปลดปล่อยแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNLA) นำไปสู่การปะทะกันระหว่าง KNLA และกองทัพพม่า เนื่องจากทหารพม่าละเมิดข้อตกลงหยุดยิงโดยการเคลื่อนกองกำลังข้ามเขตแดนที่ได้ตกลงกันไว้ ส่งผลให้ชาวบ้านกว่า 2,300 คนต้องอพยพหนีภัยออกจากหมู่บ้านของตน

เพื่อจัดหาความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมให้กับชาวกะเหรี่ยงพลัดถิ่นเหล่านี้ องค์กรชุมชนกะเหรี่ยงและกลุ่มประชาสังคมในท้องถิ่นได้จัดตั้งทีมตอบสนองภาวะฉุกเฉินมูตรอ (Mutraw Emergency Assistance Team) ขึ้นเมื่อวันที่ 12 มีนาคม โดยทีมฯ ได้ให้การช่วยเหลือทางการแพทย์และอาหารแก่ชาวบ้านนับตั้งแต่นั้นมา ต่อมาเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2018 ซอโอ้มู ชาวบ้านแหล่มู่ปลอ วัย 42 ปี หนึ่งในทีมฉุกเฉินมูตรอ ซึ่งทำงานให้ความช่วยเหลือฉุกเฉินแก่ชาวกะเหรี่ยงพลัดถิ่นอย่างเข้มแข็ง ถูกทหารพม่ายิงเสียชีวิตขณะกำลังเดินทางกลับบ้าน

แถลงการณ์ของทีมตอบสนองภาวะฉุกเฉินมูตรอ ระบุว่า "การสังหารคนทำงานช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมผู้บริสุทธิ์โดยทหารพม่าไม่เพียงเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรงเท่านั้น แต่ยังเป็นการละเมิดข้อตกลงหยุดยิงทั่วประเทศ (Nationwide Ceasefire Agreement หรือ NCA) อีกด้วย" และเรียกร้องให้วิน มยิ่น ประธานาธิบดีพม่า และอองซานซูจี ที่ปรึกษาแห่งรัฐ ดำเนินมาตรการเพื่อปกป้องชาวบ้านพลัดถิ่นและคุ้มครองความปลอดภัยให้แก่คนทำงานให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมอย่างเร่งด่วน

ผู้พลัดถิ่นภายในประเทศและการละเมิดข้อตกลงหยุดยิงของกองทัพพม่า

ผู้พลัดถิ่นภายในประเทศ (IDPs) ชาวกะเหรี่ยงรอบล่าสุดจาก 15 หมู่บ้าน 2,300 คน ในพื้นที่เขตมูตรอ รัฐกะเหรี่ยง หลังกองทัพพม่าเคลื่อนกำลังเข้ามาในพื้นที่เตรียมตัดถนนยุทธศาสตร์ จนปะทะกับทหารของกองทัพปลดปล่อยแห่งชาติกะเหรี่ยง KNLA (ที่มา: KESAN)

ก่อนหน้านี้ในพื้นที่จังหวัดมูตรอที่เกิดเหตุนั้น เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2561 กองกำลังทหารพม่าจำนวนกว่า 600 นาย ได้เริ่มรุกพื้นที่เข้าไปในหมู่บ้านชาวกะเหรี่ยง ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของจังหวัดมูตรอ (ผาปูน) รัฐกะเหรี่ยง พร้อมกับนำรถปรับหน้าดินเพื่อสร้างถนนเข้าสู่เขตแดนของทหารกะเหรี่ยง นำไปสู่การปะทะรอบใหม่ระหว่างทหารพม่า กับกองทัพปลดปล่อยแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNLA) ในวันที่ 4-8 มีนาคม

โดยพื้นที่นี้ได้รับความคุ้มครองตามข้อตกลงหยุดยิงทั่วประเทศ (NCA) ลงนามโดยสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (Karen National Union หรือ KNU) และกองทัพพม่า นอกจากนี้แล้ว พื้นที่นี้ยังเป็นส่วนหนึ่งของเขตสันติภาพสาละวิน (Salween Peace Park) ซึ่งริเริ่มโดยชุมชนท้องถิ่นในการสร้างสันติภาพและคุ้มครองพื้นที่อยู่อาศัยของชาวบ้าน ป่าไม้ และส่งเสริมวัฒนธรรมพื้นเมืองกะเหรี่ยง

รายงานจากเครือข่ายส่งเสริมสันติภาพกะเหรี่ยง (Karen Peace Support Network) ระบุว่า กองทัพพม่าได้ละเมิดข้อตกลงหยุดยิง ด้วยการเข้าไปในเขตแดนของกองทัพปลดปล่อยแห่งชาติกะเหรี่ยง (Karen National Liberation Army หรือ KNLA) โดยไม่ได้รับอนุญาต ทำให้เกิดการปะทะกันกับทหาร KNLA โดยกองทัพพม่าได้ทำการครอบครอง 2 พื้นที่ในเขตแหล่มู่ปลอ และอีก 2 พื้นที่ใกล้หมู่บ้านเคบู นอกจากนี้ทหารพม่าในแหล่มู่ปลอยังได้ทำการขุดสนามเพลาะโดยเพิกเฉยคำค้านของชาวบ้านในพื้นที่

ต่อมาวันที่ 8 มีนาคม ชาวบ้านกว่า 1,500 คน จากหมู่บ้านอย่างน้อย 15 หมู่บ้านในแหล่มู่ปลอและเคบู ได้ถูกบังคับให้ลี้ภัยจากหมู่บ้านตนเอง ซึ่งนับเป็นการพลัดถิ่นของพลเรือนครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่สหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยงได้ลงนามในข้อตกลงหยุดยิงกับทหารพม่าเมื่อปี 2555 ท่ามกลางความหวาดกลัวของชาวบ้านว่าบ้านเรือนของตนจะถูกเผาทำลาย จนถึงวันนี้ (10 เมษายน) มีชาวบ้านพลัดถิ่นจากบริเวณดังกล่าวกว่า 2,300 คนแล้ว และพวกเขากำลังเผชิญกับวิกฤติด้านมนุษยธรรมเนื่องจากขาดแคลนปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต

เครือข่ายส่งเสริมสันติภาพกะเหรี่ยง ยังระบุด้วยว่า ทหารพม่ามีแผนการที่จะขยายเครือข่ายถนนยุทธศาสตร์ จากแหล่มู่ปลอมายังเคบู โดยถนนยุทธศาสตร์ในพื้นที่รัฐกะเหรี่ยงเป็นสิ่งที่ชาวบ้านหวาดกลัวเป็นอย่างมาก เนื่องจากพวกเขามีประสบการณ์ถูกละเมิดสิทธิโดยทหารพม่ามาหลายทศวรรษ ถนนเหล่านี้จะช่วยให้กองทัพพม่าขนส่งอาวุธมาในพื้นที่รัฐกะเหรี่ยง และบ่อยครั้งที่ชาวบ้านกะเหรี่ยงนั้นตกอยู่ในความเสี่ยงที่จะถูกยิงในบริเวณใกล้ถนนเหล่านี้ แม้ว่าจะมีข้อตกลงหยุดยิงคุ้มครองอยู่ก็ตาม

ส่วนภาคประชาสังคมพม่าก็ได้แสดงความกังวลต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งเรื่องรุกล้ำเขตแดน และการสังหารพลเรือนในเขตที่ได้รับความคุ้มครองซึ่งถือเป็นการละเมิดข้อตกลงหยุดยิงอย่างรุนแรง ทั้งนี้ ความตายของซอโอ้มู ไม่ใช่กรณีแรกที่เกิดขึ้น ก่อนหน้านี้มีพลเรือนถูกสังหารในพื้นที่รัฐอื่นๆ ที่ได้ลงนามในข้อตกลงหยุดยิงมาแล้วเช่นกัน และกองทัพพม่าก็ไม่ได้แสดงความรับผิดชอบใดๆ ในขณะที่กระบวนการสันติภาพก็เหมือนถูกแช่แข็งอยู่ภายใต้รัฐบาลพม่าชุดปัจจุบัน

ปลและเรียบเรียงจาก

Tatmadaw Kills Indigenous Karen Community Leader, Local Groups Say, Irrawaddy, 9 April 2018

Tatmadaw, KNLA in Standoff After Fighting Over Road Rebuilding, Irrawaddy, 13 March 2018

https://www.facebook.com/KPSN.karen/posts/2070224583254472

https://www.facebook.com/KPSN.karen/posts/2053488438261420

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

อัพเดท 8 ปี คดี 10 เมษา 53 กับ ทนายโชคชัย

Posted: 10 Apr 2018 03:38 AM PDT

ทนายโชคชัย อ่างแก้ว จัดกลุ่มคดีสลายการชุมนุมปี 53 เป็น 2 กลุ่มคือกลุ่มผู้สั่งการ 'สุเทพ -อภิสิทธิ์' คดีอยู่กับ ป.ป.ช. ขณะที่อีกกลุ่มในส่วนผู้กระทำการนั้น คดีอยู่กับอัยการสูงสุด

10 เม.ย.2561 เนื่องวันครบรอบ 8 ปี เหตุการณ์สลายการชุมนุมแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) โดย ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ที่ส่งผลให้มีประชาชนและเจ้าหน้าที่เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมากนั้น
 
โดยเมื่อวันที่ 5 ก.พ.ที่ผ่านมา โชคชัย อ่างแก้ว ทนายความ พร้อมกลุ่มญาติผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์สลายการชุมนุดังกล่าวเดินทางมายื่นหนังสือต่ออัยการสูงสุด(อสส.) ขอให้ติดตามและสอบถามความคืบหน้าในคดีสลายการชุมนุม เนื่องจากทราบว่ากรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) สรุปสำนวนส่งพนักงานอัยการบางส่วนแล้ว นั้น 
 
ในโอกาสนี้ ประชาไท ได้สอบถามความคืบหน้าคดีดังกล่าว กับ โชคชัย ซึ่งเขาระบุว่า อัยการยังนิ่งๆ อยู่
 
สำหรับภาพรวมของ คดีสลายการชุมนุม 10 เม.ย.53 (ซึ่งไล่รวมไปถึงวันที่ 19 พ.ค.53) ทนาย โชคชัย สรุป เป็น 2 กลุ่มด้วยกัน กลุ่ม 1 คือกลุ่มผู้สั่งการ ที่ผู้ต้องหาประกอบด้วย สุเทพ เทือกสุบรรณ และอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นั้น คดีอยู่กับ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ขณะที่ กลุ่มที่ 2 ในส่วนผู้กระทำการนั้น คดีอยู่กับอัยการสูงสุดซึ่งเป็นคดีที่ตนเองไปติดตามกับอัยการสูงสุดเมื่อวันที่ 5 ก.พ.ที่ผ่านมา
รายละเอียดเพิ่มเติม 2 กลุ่มดังกล่าว โชคชัยกล่าวว่า กลุ่มที่ 1 คือกลุ่มผู้สั่งการ คดีที่มีการไต่สวนการตาย เป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวนในท้องที่ที่พบศพ หลังจากเกิดเหตุมีการไต่สวนไปหลายคดีมากแล้ว กลุ่ม 10 เม.ย.นั้น มีคำสั่งศาลมาแล้วว่าผู้ตายถูกกระสุนจากฝั่งทหาร เช่น เกรียงไกร คำน้อย หรือ จรูญ ฉายแม้น เป็นต้น  ส่วน พ.ค.53 นั้นมีหลายศพที่ศาลมีคำสั่งว่าผู้ตายถูกกระสุนมาจากฝั่งเจ้าหน้าที่เช่นกัน หรือในส่วนของ 6 วัดปทุมฯ ก็ชัดแล้วว่าศาลสั่งว่าถูกกระสุนจากฝั่งเจ้าหน้าที่ทหาร โดยกระบวนการในสำนวนการไต่สวนหลังจากที่ศาลมีคำสั่งแล้ว ก็จะกลับไปที่เจ้าหน้าที่ในท้องที่ และเจ้าหน้าที่ตำรวจในแต่ละท้องที่จะส่งมาที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) เพราะคดีเหล่านี้เป็นคดีพิเศษทั้งหมด ซึ่ง DSI ก็มีการสรุปสำนวนสั่งฟ้องผู้สั่งการ คือ สุเทพ และอภิสิทธิ์ ในการตายทั้งหมดของผู้เสียชีวิตตั้งแต่ 10 เม.ย.-19 พ.ค.2553 รวมฟ้องเดียวกัน เมื่อสั่งแล้วก็ส่งให้อัยการสูงสุด และอัยการสูงสุดก็มีคำสั่งฟ้อง ทั้งสุเทพและอภิสิทธิ์ ในข้อหาฆ่าคนตายโดยเจตนา
 
ซึ่งสุดท้ายมีการสู้คดีกันศาลฎีกาฯ ตัดสินมาว่า สุเทพและอภิสิทธิ์ เป็นนักการเมือง ทาง DSI ไม่มีอำนาจสอบสวนในข้อหาดังกล่าว แต่ ป.ป.ช.มีอำนาจสอบ เมื่อศาลฎีกาตัดสินแล้ว เราก็มีการยื่นขอความเป็นธรรมเพื่อให้อัยการส่งเรื่องไปที่ ป.ป.ช. เพื่อให้มีการไต่สวนในข้อหานี้ใหม่ เพราะว่า ป.ป.ช. ไม่ได้ไต่วนในข้อหาฆ่าคนตายเลย ปัจจุบันทราบว่าสำนวนนี้อัยการส่งเรื่องให้ ป.ป.ช. แล้ว และเราก็ไปตามความคืบหน้าเหมือนกันว่าเรื่องไปถึงไหนแล้ว แต่ก็ยังเงียบอยู่ ซึ่งเราก็จะเห็นว่ามีข่าวการเรียกหาพยานหลักฐานหม่ของ ป.ป.ช. จึงสงสัยว่าจะต้องมีหลักฐานใหม่อะไรบ้าง เพราะเราก็ยืนยันว่าหลักฐานใหม่ก็คือคำพิพากษาศาลฎีกาฯ ที่บอกว่า ป.ป.ช. มีอำนาจหน้าที่ไต่สวนเรื่องนี้ และสำนวนทั้งหมดที่ DSI สอบสวนไว้ และที่อัยการสั่งฟ้อง เป็นสำนวนใหม่ที่ ป.ป.ช.ต้องไปพิจารณา เพราะว่าพยานหลักฐานที่ DSI สอบสวนไว้และสั่งฟ้องสุเทพ อภิสิทธิ์ มันชัดเจนอยู่แล้ว ในเรื่องข้อหาฆ่าคนตาย แต่เรื่องนี้ ป.ป.ช.ก็ยังเงียบอยู่ จึงมีแผนที่ต้องไปติดตามความคืบหน้าต่อไปอีกก่อนวันที่ 19 พ.ค.นี้ จะไปติดตามความคืบหน้าอีกครั้ง
 
กลุ่มที่ 2 คือกลุ่มผู้กระทำการ คดีกลุ่มนี้ก็จะไปติดตามความคืบหน้าที่ อัยการสูงสุด อีกเช่นกัน ว่าได้ดำเนินการอย่างไรบ้าง เนื่องจากที่ตนทราบมาว่ากรมสอบสวนคดีพิเศษส่งสำนวนไปให้อัยการเหมือนไม่มีตัวผู้ต้องหา ยังหาตัวผู้กระทความผิดไม่ได้ ทั้งที่ไม่ควรเป็นเช่นนั้น เพราะมันมีกรณีที่ชัดเจนอย่าง 6 ศพวัดปทุม ที่มีตัวคนยิงอย่างชัดเจนบนรางรถไฟฟ้านั้นก็ชัดอยู่ ในคดีของผู้กระทำการไม่เหมือนคดีของผู้สั่งการ ของผู้สั่งการนั้นทาง DSI รวมทั้งหมดเพราะคำสั่งมันต่อเนื่องจาก 10 เม.ย.-19 พ.ค.53 แต่ผู้กระทำการนั้นเป็นการกระทำการเฉพาะเรื่อง เฉพาะรายในต่างวันต่างเวลากัน จึงต้องแยกคดีออกมาให้ชัดเจน
 
โชคชัย กล่าวถึงคดีอื่นๆ ว่ายังมีคดีไต่สวนการตายอีกหลายศพที่ยังไม่ได้ทำเลย ยังนิ่งอยู่ ตรงนี้ก็ต้องรื้อมาให้ทำ ซึ่งมีอายุความคดี 20 ปี 
 
"มันก็เกิดขึ้นจากฝ่ายที่มีอำนาจสั่งไม่ให้ดำเนินการ เพราะว่าบุคคลที่มีอำนาจอยู่ก็เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์พวกนั้นทั้งนั้นเลย" โชคชัย กล่าวถึงสาเหตุที่การไต่สวนการตายไม่มีความคืบหน้า
 
เสียงสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์

การไต่สวนการตาย  'คดี 10 เมษา 53'

รายละเอียดความคืบหน้าดังนี้

มานะ เขาดิน : ไม่ทราบว่าใครเป็นผู้กระทำ

มานะ อาจราญ ลูกจ้างของสวนสัตว์ดุสิตแผนกบำรุงรักษา ซึ่งถูกยิงเสียชีวิตเมื่อกลางดึกของวันที่ 10 เม.ย. 53 บริเวณสวนสัตว์ดุสิต ภายหลังการสลายการชุมนุมในช่วงค่ำบริเวณแยกคอกวัวและถนนดินสอสงบลง ทั้งนี้ ลานจอดรถของสวนสัตว์ดุสิตเป็นจุดพักของเจ้าหน้าที่ทหารจากค่ายสุรนารี จ.นครราชสีมา จำนวนหลายกองร้อย

ศาลมีคำสั่งเมื่อวันที่ 21 ก.พ.56 ระบุว่า  "นายมานะ อาจราญ ถึงแก่ความตายในสวนสัตว์ดุสิตในคืนวันที่ 10 เม.ย.53 โดยถูกกระสุนปืนลูกโดดความเร็วสูงที่ศีรษะทำลายเนื้อสมอง โดยยังไม่ทราบว่าใครเป็นผู้กระทำ"

ศาลระบุด้วยว่า ผู้ร้องไม่มีประจักษ์พยานที่เห็นเหตุการณ์ขณะเกิดเหตุว่าผู้ยิงเป็นทหารหรือบุคคลใด ไม่มีพยานยืนยันการใช้อาวุธปืนของทหารซึ่งมีการนำสืบว่าหมอบอยู่ใกล้ที่เกิดเหตุ แม้ รปภ.สวนสัตว์ดุสิตจะเบิกความว่ามีการยิงของทหารจากด้านในสวนสัตว์โดยยิงเฉียงขึ้นฟ้าไปทางฝั่งรัฐสภา แต่ก็เบิกความว่า ขณะเกิดเหตุกำลังวิ่งเข้าไปที่อาคารจอดรถ ไม่ใช่จุดที่นายมานะถูกยิงเสียชีวิตและไม่ใช่จุดที่พบทหารหมอบอยู่ นอกจากนี้เจ้าหน้าที่สวนสัตว์ที่เข้าเวรคู่กับนายมานะได้วิ่งออกมาหลังได้ยินเสียงปืนก็พบกับทหารที่หมอบอยู่ ทหารก็ไม่ได้มีท่าทีจะทำร้ายนายบุญมี หากทหารกลุ่มดังกล่าวเป็นผู้ทำร้ายนายมานะ นายบุญมีก็คงถูกยิงเช่นกัน ส่วนแพทย์จากสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นผู้ตรวจแนววิถีกระสุน จำลองแนววิถีกระสุนได้เพียงจุดยิงกว้างๆ ไม่อาจสันนิษฐานว่าเป็นจุดเดียวกับที่ทหารหมอบอยู่ ส่วนปลอกกระสุน 2 ปลอกที่ตกอยู่ในที่เกิดเหตุนั้น ไม่อาจระบุได้ว่าเป็นกระสุนที่ใช้ยิงผู้ตายหรือไม่ เพราะไม่มีหัวกระสุนมาตรวจสอบ และจากการตรวจสอบอาวุธปืน 29 กระบอกที่กองกำลังค่ายสุรนารีเบิกใช้ก็ไม่ตรงกับปลอกในที่เกิดเหตุ (อ่านรายละเอียด)

จรูญ-สยาม หน้า ร.ร.สตรีวิทยา : วิถีกระสุนปืนยิงมาจากฝ่ายเจ้าพนักงาน

สำหรับการไต่สวนการเสียชีวิตของ จรูญ ฉายแม้น ผู้ตายที่ 1 และสยาม วัฒนนุกูล ผู้ตายที่ 2 ถูกยิงเสียชีวิตหน้า ร.ร.สตรีวิทยา ถ.ดินสอ  ศาลสั่งเมื่อวันที่ เมื่อวันที่ 30 ก.ย. 56 ระบุว่า "วิถีกระสุนปืนยิงมาจากฝ่ายเจ้าพนักงานที่ถอยร่นจากแนวป้องกันบริเวณหน้าโรงเรียนสตรีวิทยาไปที่บริเวณซอยข้างวัดบวรนิเวศใกล้แยกสะพานวันชาติ โดยยังไม่ทราบว่าใครเป็นผู้ลงมือกระทำ"

ศาลระบุว่า ได้พิเคราะห์พยานหลักฐานของผู้ร้องแล้วเห็นว่า ผู้ร้องมีประจักษ์พยาน 4 ปากอยู่ในที่เกิดเหตุบริเวณหน้าโรงเรียนสตรีวิทยา ต่างเบิกความยืนยันว่า เห็นประกายไฟจากกระบอกปืนและได้ยินเสียงปืนจากทางฝ่ายเจ้าหน้าที่ที่ถอยร่นจากแนวป้องกันบริเวณหน้าโรงเรียนสตรีวิทยาไปบริเวณซอยข้างวัดบวรนิเวศใกล้สี่แยกสะพานวันชาติ ซึ่งขณะนั้นประจักษ์พยานเห็นผู้ตายทั้งสองล้มลงที่บริเวณหน้าโรงเรียนสตรีวิทยา จึงเชื่อว่าพยานทั้ง 4 ต่างเบิกความไปตามความจริงที่ได้รู้เห็นมา ประกอบกับแพทย์จากนิติเวชที่ชันสูตรศพผู้ตายทั้งสองยืนยันว่านายจรูญ ผู้ตายที่ 1 ถึงแก่ความตายที่โรงพยาบาลกลาง โดยสาเหตุการตายเกิดจากการถูกยิงด้วยกระสุนปืนความเร็วสูง

ทั้งนี้เมื่อตรวจสอบพบเศษลูกกระสุนปืน เศษตะกั่ว เศษเหล็กในศพของผู้ตายที่ 1 (จรูญ) ส่วนนายสยาม ผู้ตายที่ 2 เสียชีวิตระหว่างนำตัวส่งโรงพยาบาลกลาง ซึ่งสาเหตุการเสียชีวิตเกิดจากการถูกยิงด้วยกระสุนปืน ตรวจพบเศษตะกั่วในศพผู้ตายที่ 2 ประกอบกับผู้เชี่ยวชาญด้านอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนยืนยันว่า เศษลูกกระสุนปืนที่พบในศพของผู้ตายที่ 1 เป็นอาวุธปืนที่เจ้าหน้าที่ใช้ในวันเกิดเหตุ และแม้ไม่สามารถยืนยันได้ว่าเศษตะกั่วที่พบในศพผู้ตายที่ 2 มีขนาดเท่าใด แต่เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าผู้ตายทั้งสองอยู่ในบริเวณเดียวกันและล้มลงในช่วงระหว่างที่เจ้าพนักงานใช้อาวุธปืนยิงมาทางผู้ชุมนุมที่ติดตามเข้าไป จึงเชื่อว่าผู้ตายทั้งสองถูกกระสุนปืนที่ยิงมาจากบริเวณเดียวกัน นอกจากนี้ คำเบิกความของพยานยังสอดคล้องกับผู้ตรวจวิถีกระสุนในบริเวณที่เกิดเหตุ จากข้อเท็จจริงและเหตุผลทั้งหมดที่ได้วินิจฉัยมา เชื่อได้ว่ากระสุนปืนที่ยิงถูกผู้ตายทั้งสองนั้น มีวิถีกระสุนปืนที่ยิงมาจากฝ่ายเจ้าหน้าที่ แต่พยานของผู้ร้องทั้งหมดที่นำสืบมา ยังไม่สามารถยืนยันได้ว่าใครเป็นผู้ลงมือกระทำ (อ่านรายละเอียด)

เกรียงไกร : ถูกยิงบ่าย 3 วิถีกระสุนมาจากทหาร

เกรียงไกร คำน้อย อายุ 23 ปี โชเฟอร์รถตุ๊กตุ๊ก ที่ถูกยิงเสียชีวิตเป็นศพแรกในเหตุการณ์สลายการชุมนุม นปช. บริเวณสะพานมัฆวานรังสรรค์ ข้างกำแพงกระทรวงศึกษาธิการ

โดยเมื่อวันที่ 4 ก.ค.57 ศาลมีคำสั่งว่า มีนายเกรียงไกร เสียชีวิตที่โรงพยาบาลวชิรพยาบาล เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2553  ส่วนสาเหตุการเสียชีวิตเนื่องจากเสียเลือดมาก จากการถูกยิงด้วยกระสุนปืนความเร็วสูง ซึ่งมีวิถีกระสุนมาจากเจ้าหน้าที่ทหารในการปฎิบัติหน้าที่ขอคืนพื้นที่ จากทางด้านแยกสวนมิสกวัน ผ่านหน้ากระทรวงศึกษาธิการ มายังสะพานมัฆวานรังสรรค์ ตามคำสั่งของศอฉ. โดยไม่ทราบว่าบุคคลใดเป็นผู้กระทำ

ซึ่งศาลระบุด้วยว่า เวลา 15.00 น. (วันที่ 10 เม.ย.53)เจ้าหน้าที่ทหารใช้อาวุธปืนยิงถูกนายเกรียงไกร ที่ยืนอยู่บนทางเท้าข้างกำแพงกระทรวงศึกษาธิการที่หน้าอกและลำตัวจนได้รับบาดเจ็บ เจ้าหน้าที่กู้ภัยจึงนำตัวนายเกรียงไกร ส่งร.พ.วชิรพยาบาล ต่อมานายเกรียงไกรได้เสียชีวิตลงเนื่องจากเสียเลือดมาก ในวันที่ 11 เมษายน 2553  เนื่องจากหลอดเลือดใหญ่บริเวณอุ้งเชิงกรานฉีกขาดจากกระสุนความเร็วสูงที่ยิงมาจากทางเจ้าหน้าที่ทหาร

ศาลสั่งไม่ทราบใครยิง 'ฮิโรยูกิ-วสันต์-ทศชัย' แต่ 'จรูญ-สยาม' จุดเวลาเดียวกัน สั่งกระสุนมาจากฝ่ายทหาร

เมื่อวันที่ 30 เม.ย. 58 ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลมีคำสั่ง คดีไต่สวนชันสูตรพลิกศพของฮิโรยูกิ มูราโมโตะ ช่างภาพสำนักข่าวรอยเตอร์ ชาวญี่ปุ่น ผู้ตายที่ 1 วสันต์ ภู่ทอง ผู้ชุมนุม นปช. ผู้ตายที่ 2 และทศชัย เมฆงามฟ้า ผู้ชุมนุม นปช. ผู้ตายที่ 3 จากการถูกยิงเสียชีวิตในคืนวันที่ 10 เม.ย. 2553 จากการสลายการชุมนุม นปช. ของ ศอฉ. บนถนนดินสอ บริเวณหน้าโรงเรียนสตรีวิทยา โดยศาลมีคำสั่งว่า ไม่ทราบว่าใครเป็นผู้ลงมือกระทำหรือไม่อาจทราบได้ว่ากระสุนปืนที่ยิงถูกผู้ตายทั้ง 3 มีแนววิถีกระสุนปืนมาจากทิศทางใด (อ่านรายละเอียด)

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เปิดชีวิตคนทำงานโรงพยาบาลเกาหลีใต้ ‘ถูกรังแก-ละเมิดสิทธิ’ ในที่ทำงาน

Posted: 10 Apr 2018 01:50 AM PDT

สหภาพแรงงานเกาหลีใต้เผยผลสำรวจ พบครึ่งหนึ่งของคนทำงานในโรงพยาบาลมีประสบการณ์ถูกทำร้ายทางวาจา กว่า 3 ใน 10 ถูกรังแกในที่ทำงาน กว่า 1 ใน 10 เคยถูกคุกคามทางเพศและลวนลาม สังคมประณามกิจกรรม 'การแสดงพรสวรรค์' พยาบาลถูกบังคับใส่ชุดโชว์เรือนร่าง-เต้นรำแบบไม่เหมาะสม ซ้อมเต้นจนดึกดื่น-ไม่มีการจ่ายค่าจ้างล่วงเวลา

สหภาพแรงงานกิจการสาธารณสุขและการแพทย์ของเกาหลี (KHMU) กำลังเริ่มการรณรงค์ 'Four Out Campaign' ซึ่งหมายถึงการขจัดปัญหาการรังแก การบังคับใช้แรงงานโดยไม่จ่ายค่าตอบแทน ปัญหาการขึ้นทะเบียนใบอนุญาตสถานพยาบาลที่ไม่เหมาะสม และปัญหาการจ้างงานแบบไม่ประจำ ที่มาภาพ: KHMU

ผลการวิจัยแบบสำรวจที่จัดทำโดยองค์กรสหภาพแรงงาน เรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนและการใช้อำนาจอย่างไม่เป็นธรรมในโรงพยาบาล เปิดเผยว่า "ครึ่งหนึ่งของแรงงานในโรงพยาบาลมีประสบการณ์ถูกทำร้ายทางวาจา" และที่เลวร้ายกว่านั้นคือ 3 ใน 10 กล่าวว่าพวกเขาถูกรังแกในที่ทำงาน

นาซุน-แจ ประธานสหภาพแรงงานกิจการสาธารณสุขและการพยาบาลของเกาหลี (KHMU) จัดงานแถลงข่าวที่ห้องประชุมสหภาพในกรุงโซลเมื่อวันที่ 20 มี.ค. ที่ผ่านมา เพื่อเผยแพร่ผลการสำรวจสภาพความเป็นจริงในเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนและการใช้อำนาจอย่างไม่เป็นธรรมในโรงพยาบาล

KHMU ดำเนินการสำรวจเป็นเวลาสองเดือนนับจาก 18 ธ.ค. 2560 ถึง 28 มี.ค. 2561 มีผู้เข้าร่วมวิจัยเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานจำนวน 11,662 คน แบ่งเป็น พยาบาลจำนวน 7,703 คน ช่างเทคนิค 1,970 คน พนักงานธุรการ 718 คน ผู้ช่วยพยาบาล 648 คนและอีก 624 คน ทำวิชาชีพอื่นๆ ในโรงพยาบาล

การวิจัยเชิงสำรวจพบว่าประมาณ 31.2% ของผู้ตอบแบบสอบถาม มีประสบการณ์ที่เรียกว่า 'bullying culture' หรือการถูกกลั่นแกล้ง และ 56.2% เคยได้ยินภาษาหยาบคาย รุนแรงและไม่เหมาะสม นอกจากนี้ประมาณ 10.9% ตอบว่าเคยถูกคุกคามทางเพศและลวนลาม

การแสดงพรสวรรค์ของพยาบาล โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย Hallym

การบังคับให้ 'แสดงพรสวรรค์ของพยาบาล' ที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย Hallym เมื่อปี 2017 ได้จุดประเด็นวิพากษ์วิจารณ์วัฒนธรรมของการละเมิดคนทำงานโรงพยาบาลในเกาหลี ที่มาภาพ: South China Morning Post

ผลสำรวจยังระบุว่า 7.6% บอกว่าเคยถูกทำร้ายร่างกาย และ 46.1% บอกว่า "เราถูกบังคับให้เข้าร่วมในกิจกรรมแสดงพรสวรรค์, กิจกรรมกีฬา, เวทีวิชาการ และงานกิจกรรมอื่นๆ ในโรงพยาบาล"

โดยเฉพาะ 'การแสดงพรสวรรค์ของพยาบาล' เมื่อปีที่แล้ว กลายเป็นประเด็นทางสังคมและได้รับความสนใจจากสาธารณะชน สืบเนื่องจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย Hallym โดย 25.3% ของผู้ตอบแบบสอบถามกล่าวว่าพวกเขาต้องร้องเพลงหรือเต้นรำในงานกิจกรรมที่ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับงานของพวกเขา และ 19.7% แจ้งว่าถูกบังคับให้ต้องคอยบริการคนในโต๊ะงานเลี้ยง โดยต้องเป็นคนรินเหล้าและอีก 11.4% ต้องอดทนต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนและสภาพการทำงานที่ไม่เป็นธรรม ตัวอย่างเช่น ผู้บริหารตรวจสอบห้องล็อกเกอร์หรือตรวจสอบโดยกล้องวงจรปิด และ 17.9% บอกว่าถูกบังคับให้ทำสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกับงานของพวกเขา เช่น ต้องชงกาแฟให้กับ 'เจ้านาย'

ประธาน KHMU ซึ่งนำการรณรงค์ขจัดวัฒนธรรมของการละเมิดในโรงพยาบาลกล่าวว่า "ตั้งแต่ปลายปี 2560 เราได้เห็นเรื่องแปลกๆ หลายอย่างเกิดขึ้นในโรงพยาบาล เช่น พยาบาลต้องเข้าร่วมกิจกรรมการแสดงความสามารถพิเศษในห้องโถงของโรงพยาบาลศูนย์มหาวิทยาลัย Hallym

ความรุนแรงต่อคนทำงานในโรงพยาบาล

นอกจากนี้ยังมีปัญหาการบังคับใช้แรงงานอย่างไม่เป็นธรรมต่อบุคคลากรสาธารณสุขในโรงพยาบาลโดยไม่มีค่าตอบแทน เช่นที่เกิดขึ้นที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยโซล เหตุการณ์การเสียชีวิตของทารกแรกเกิดสามคนในห้อง ICU ของโรงพยาบาลศูนย์มหาวิทยาลัยเอวา เหตุการณ์ยิงที่โรงพยาบาลเซจอง ซึ่งส่งผลให้มีการเสียชีวิตถึง 47 คน และการทำอัตวินิบาตกรรมของพยาบาลที่เพิ่งเข้าทำงานที่ศูนย์การแพทย์ Asan และโศกนาฏกรรมอื่นๆ

ประธาน KHMU กล่าวว่าเธอรู้สึกตกใจมากต่อผลการสำรวจและในปีนี้ KHMU จะเป็นผู้นำในการต่อสู้กับปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนและปัญหาการใช้อำนาจอย่างไม่เป็นธรรมในโรงพยาบาล เธอกล่าวว่า 'สิ่งแวดล้อม และ สภาพการทำงานที่ดีของพยาบาลและคนงานในโรงพยาบาลเป็นเรื่องสำคัญและทำให้การดูแลผู้ป่วยเป็นไปอย่างมีคุณภาพ'

ซึ่ง KHMU จะนำขบวนเพื่อการเปลี่ยนแปลงโรงพยาบาลให้เป็นสถานที่ซึ่งการันตีความปลอดภัยให้กับผู้ป่วยและเคารพในศักดิ์ศรีของคนทำงาน

การรณรงค์ 'ขจัดปัญหาการรังแก-การบังคับใช้แรงงาน'

ทั้งนี้ KHMU ได้เริ่มการรณรงค์ 'Four Out Campaign' ซึ่งหมายถึงการขจัดปัญหาการรังแก การบังคับใช้แรงงานโดยไม่จ่ายค่าตอบแทน ปัญหาการขึ้นทะเบียนใบอนุญาตสถานพยาบาลที่ไม่เหมาะสม และปัญหาการจ้างงานแบบไม่ประจำ

KHMU ยังได้สร้างทีมงานแบบไตรภาคี (สามฝ่าย) ขึ้นมาเพื่อทำงานสร้างสิ่งแวดล้อมการทำงานในโรงพยาบาล ที่ประกอบด้วย 3 R นั่นคือเคารพสิทธิผู้ป่วย เคารพสิทธิคนทำงาน เคารพการทำงาน นอกจากการสร้างวัฒนธรรมองค์กรแบบใหม่ที่เป็นระบบและต่อเนื่องแล้ว จะเป็นการพัฒนาโมเดลที่ดีกว่าเดิมในเรื่องงานกะกลางคืน และทำให้โรงพยาบาลมีการทำงานแบบยั่งยืนและสามารถคาดการณ์ได้

ปัญหาหลักของโรงพยาบาลในเกาหลีใต้คือ การขาดแคลนบุคคลากร KHMU จะทำการล่าลายชื่อเพื่อรวบรวม 200,000 ชื่อจากภาคประชาชน เพื่อเสนอกฎหมายว่าด้วยบุคคลากรสาธารณสุข

เดือน พ.ย. ปีทีแล้ว สังคมได้ประณามโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย Hallym ที่บังคับพยาบาลให้ร่วมในงานที่จัดโดยโรงพยาบาลในเดือน ต.ค. ในงานกิจกรรมดังกล่าวพยาบาลถูกบังคับให้ใส่ชุดที่มีลักษณะโชว์เรือนร่าง และให้เต้นรำในแบบที่ไม่เหมาะสม โรงพยาบาลบังคับให้พยาบาลซ้อมเต้นจนดึกดื่นสี่ห้าทุมในแต่ละคืนโดยไม่มีการจ่ายค่าจ้างล่วงเวลา หลังจากนั้น KHMU จัดตั้งสหภาพแรงงานที่โรงพยาบาลแห่งนี้

และล่าสุดการรณรงค์ 'Me Too' ซึ่งกำลังได้รับความสนใจและการมีส่วนร่วมอย่างสูง ผู้หญิงที่เคยประสบกับปัญหาความรุนแรงทางเพศออกมาบอกเล่าเรื่องราวที่พวกเธอเผชิญ KHMU เริ่มการรณรงค์ 'Zero Sexual Harassment and Violence' (การลวนลามและความรุนแรงทางเพศที่เป็นศูนย์) ตั้งแต่วันที่ 8 มี.ค. อันเป็นวันสตรีสากล

 

ที่มาแปลและเรียบเรียงจาก
[KHMU Info No. 2] KHMU will develop Four OUT campaign in 2018 (KANG Yeon Bae, KHMU, 29/3/2018)

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

แจ้ง ปชช.สิทธิบัตรทองเดินทางสงกรานต์ เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤตเข้า รพ.อยู่ใกล้ ไม่วิกฤติ เข้า รพ.รัฐไว้ก่อน

Posted: 10 Apr 2018 01:35 AM PDT

สปสช.แจ้งใช้สิทธิบัตรทอง 'เทศกาลหยุดยาวสงกรานต์' หากเจ็บป่วยฉุกเฉินระดับวิกฤติ เข้ารักษาได้ทุก รพ.ที่อยู่ใกล้ ตามนโยบาย 'เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติ มีสิทธิ์ทุกที่' ส่วนกรณีไม่ถึงขั้นวิกฤติแต่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษา ใช้สิทธิรักษาได้ตามมาตรา 7 พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ แนะนำให้เข้า รพ.รัฐที่อยู่ใกล้สุดไว้ก่อน

10 เม.ย.2561 รายงานข่าวแจ้งว่า นพ.ศักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า เนื่องในเทศกาลวันสงกรานต์ ซึ่งเป็นช่วงวันหยุดยาว และปีนี้เป็นวันหยุดต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 12-16 เมษายน 2561 เป็นโอกาสอันดีที่ประชาชนจำนวนมากที่ทำงานอยู่ต่างถิ่น จะได้เดินทางกลับบ้านหรือไปเยี่ยมญาติ รวมทั้งเดินทางท่องเที่ยวไปยังจังหวัดต่างๆ ในช่วงเทศกาลนี้ ในระหว่างนี้ประชาชนผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือสิทธิบัตรทอง หากมีความจำเป็นต้องเข้ารักษาที่โรงพยาบาล แบ่งเป็น 2 กรณี คือ

1. กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินระดับวิกฤติที่หากไม่รักษาทันทีมีโอกาสเสียชีวิตสูง สามารถเข้ารับการรักษาพยาบาลได้ที่สถานพยาบาลทุกแห่งที่อยู่ใกล้สุด ตามนโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติ มีสิทธิ์ทุกที่ หรือ Universal Coverage for Emergency Patients (UCEP) และให้สถานพยาบาลที่ให้การรักษาเบิกค่าใช้จ่ายจาก สปสช.ตามอัตราที่กำหนด แนะนำว่าเบื้องต้นขอให้เข้ารับบริการที่สถานพยาบาลของรัฐที่อยู่ใกล้ ณ จุดเกิดเหตุก่อน ซึ่งกรณีที่มีสถานพยาบาลรัฐอยู่ใกล้ แต่กลับมุ่งเจาะจงเข้ารับบริการที่สถานพยาบาลเอกชนแทนจะถือว่าไม่เข้าเกณฑ์การใช้สิทธิเพื่อเบิกจ่าย

2. กรณีเจ็บป่วยที่ไม่ใช่ฉุกเฉินระดับวิกฤติ หรือผู้มีสิทธิบัตรทองที่เดินทางไปต่างถิ่น แล้วมีความจำเป็นต้องเข้ารักษาที่โรงพยาบาล เช่น ความดันโลหิตขึ้นสูง ปวดศีรษะมาก ท้องเสียรุนแรง ซึ่งเป็นอาการเจ็บป่วยที่ไม่ถึงขั้นฉุกเฉินแก่ชีวิต กรณีนี้ เป็นไปตามข้อบังคับ สปสช.ว่าด้วยการใช้สิทธิรับบริการสาธารณสุข กรณีที่มีเหตุสมควร กรณีอุบัติเหตุหรือกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 ซึ่งระบุว่า ผู้ป่วยสิทธิบัตรทอง หากมีเหตุสมควร หรือกรณีอุบัติเหตุฉุกเฉิน หรือกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน สามารถเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลอื่นได้

สถานพยาบาลอื่นนั้นหมายถึงสถานพยาบาลที่ไม่ได้ลงทะเบียนประจำไว้ และสถานพยาบาลที่ไม่ได้เข้าร่วมให้บริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งเป็นไปตามมาตรา 7 พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 และเช่นเดียวกันคือแนะนำให้เข้าสถานพยาบาลของรัฐที่อยู่ใกล้ที่สุดไว้ก่อน ไม่ใช่มุ่งเจาะจงเข้าสถานพยาบาลเอกชนเท่านั้น เนื่องจากมีอัตราการเบิกจ่ายตามระเบียบที่กำหนดไว้

นพ.ศักดิ์ชัย กล่าวต่อว่า ในการเพิ่มความสะดวกเข้ารับบริการรักษาพยาบาลฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้นได้ นอกจากการเตรียมหลักฐานสำคัญคือบัตรประจำตัวประชาชนแล้ว ควรศึกษาข้อมูลหน่วยบริการที่อยู่ในพื้นที่ระหว่างเดินทางและจุดหมายปลายทาง เพื่อเป็นข้อมูลสำคัญในการเข้ารับการรักษาพยาบาลยังหน่วยบริการที่ใกล้ที่สุดโดยเร็วและเพื่อความไม่ประมาท ในส่วนของประชาชนที่เจ็บป่วยด้วยโรคประจำตัวที่ต้องรับประทานยาต่อเนื่อง อาทิ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และหอบหืด เป็นต้น ควรเตรียมพร้อมยารักษาโรคเพื่อให้เพียงพอสำหรับการเดินทาง ทั้งนี้หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามได้ที่สายด่วน สปสช. โทร. 1330 ขณะที่กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินนั้น โทร. สายด่วน 1669 ได้ทั่วประเทศ

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ประกาศใช้ รธน. ได้ 1 ปีแต่ คสช. ยังใช้อำนาจตาม ม.44 ใน รธน.ชั่วคราว 57 อีก 34 ครั้ง

Posted: 10 Apr 2018 01:13 AM PDT

รวมคำสั่งหัวหน้า คสช. ตามมาตรา 44 รัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 หลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 2560 มีทั้งหมด 34 ฉบับและอาจมีเพิ่มอีก จนกว่าจะมีคณะรัฐมนตรีชุดใหม่เข้ารับตำแหน่ง แม้คำสั่งจะขัดรัฐธรรมนูญ แต่ก็เขียนนิรโทษกรรมให้ตัวเองเรียบร้อยแล้ว

วันที่ 6 เมษายน เมื่อปีก่อน (2560) นอกจากจะเป็นวันครบรอบ 235 ปีการขึ้นครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ซึ่งถือเป็นวันเดียวกันกับการก่อตั้งกรุงรัตนสินทร์ ภายใต้การปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ นอกจากนี้วันดังกล่าวในปีที่ผ่านมายังเป็นที่มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2560 ด้วย

รัฐธรรมนูญที่ประกาศใช้ไปเมื่อปีที่แล้ว มีฐานมาจากรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2559 แต่หลังจากที่รัฐธรรมนูญผ่านการลงประชาติเรียบร้อยแล้วก่อนการประกาศใช้ได้มีการแก้ไขเพิ่มเนื้อหาในรัฐธรรมนูญที่ผ่านความเห็นชอบจากประชาชนไปทั้ง 4 ครั้ง

ครั้งแรกเป็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้สอดคล้องกับคำถามพ่วงในการลงประชามติ โดยคำถามในครั้งนั้นคือ  

"ท่านเห็นชอบหรือไม่ว่า เพื่อให้การปฏิรูปประเทศเกิดความต่อเนื่องตามแผนยุทธศาสตร์แห่งชาติ สมควรกำหนดไว้ในบทเฉพาะกาลว่า ในระหว่าง 5 ปีแรกนับแต่วันที่มีรัฐสภาชุดแรกตามรัฐธรรมนูญนี้ ให้ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาเป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี"

นั่นหมายความว่าในการลงมติให้ความเห็นชอบผู้ที่เข้ามาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีนั้น จากเดิมให้เป็นการลงมติกันเฉพาะสภาผู้แทนราษฎร แต่เมื่อคำถามพ่วงผ่านการลงประชามติเท่ากับว่า การลงมติให้ความเห็นชอบผู้ที่จะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จะเป็นการให้ความเห็นของรัฐสภาซึ่งรวมวุฒิสภาเข้าไปด้วย ทั้งสมาชิกวุฒิสภาชุดแรกจะมีทั้ง 250 คน ซึ่งขั้นตอนสุดท้ายจะมาจากการให้ความเห็นชอบของ คสช.

ต่อมาการแก้ไขในครั้งที่ 2 เป็นการแก้ไขให้เป็นไปตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ในกรณีตัดสินให้วุฒิสภา 250 คน สามารถร่วมเสนอชื่อผู้ที่สมควรดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้

ระหว่างบรรทัด-อ่านอย่างไรก็ไม่เจอ: ย้อนรอยคำถามพ่วงประชามติ

การแก้ไขครั้งที่ 3 เป็นการแก้ไขคำปรารภให้สอดคล้องกับความเป็นจริงหลัง รัชกาลที่ 9 เสด็จสวรรคต และสุดท้ายการแก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 4 เป็นการแก้ไขตามการพระราชทานข้อสังเกตของ รัชกาลที่ 10

รัชกาลที่ 10 ทรงรับสั่งให้แก้ไขร่างรัฐธรรมนูญฉบับผ่านการลงประชามติ เรื่องพระราชอำนาจ

รัฐธรรมนูญ 2560 แก้ 8 มาตราจากร่างฯประชามติ-ตัดองค์กรแก้วิกฤต-เพิ่มส.ว.ร่วมเลือกนายกฯ

อย่างไรก็ตามหลังจากที่รัฐธรรมนูญ 2560 ประกาศใช้ไปแล้วในทางหลักการรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 ย่อมสิ้นสภาพไปโดยปริยาย แต่ในรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 265 กำหนดให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติยังคงดำรงอยู่ต่อไป และยังคงมีอำนาจตามมาตรา 44 ในรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 ต่อไปจนกว่าจะมีคณะรัฐมนตรีชุดใหม่เข้ารับตำแหน่งหลังจากมีการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ 2560 ขณะที่มาตรา 279 ในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันระบุว่า บรรดาการกระทำการใช้อำนาจของหัวหน้า คสช. ตามมาตรา 44 ในรัฐธรรมนูญ 2557 จะชอบด้วยด้วยธรรมนูญ 2560 ทุกประการ

นั่นเท่ากับว่าเมื่อมีการออกคำสั่งใดๆ ที่เป็นการขัดกันกับรัฐธรรมนูญ 2560 คำสั่งนั้นๆ จะได้รับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญในทันที

1 ปี รัฐธรรมนูญ 2560 1 ปี รัฐธรรมนูญคู่

ประชาไทสำรวจการออกคำสั่งของหัวหน้า คสช.ภายหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 2560 พบว่ามีการออกคำสั่งทั้งหมด 34 ครั้ง รวมกับการประกาศคำสั่งเพื่อแก้ไขคำผิด  และแก้ไขความคลาดเคลื่อน อีก 2 ครั้ง รวมทั้งหมด 36 ครั้ง ดังนี้

คำสั่ง 24/2560 เรื่อง ให้งดเว้นการคัดเลือกหรือสรรหาบุคคลให้ดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 23/2560

แก้คำผิด คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 23/2560 เรื่อง มาตรการแก้ไขปัญหาความต่อเนื่องของผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ

คำสั่ง 25/2560 เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 23/2560

คำสั่ง 26/2560 เรื่อง การแก้ไขปัญหาการดำเนินงานของกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร

คำสั่ง 27/2560 เรื่อง การพัฒนาการศึกษาของประเทศด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

คำสั่ง 28/2560 เรื่อง มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก

คำสั่ง 29/2560 เรื่อง การส่งเสริมการจัดการศึกษาโดยสถาบันอุดมศึกษาที่มีศักยภาพสูงจากต่างประเทศ

คำสั่ง 30/2560 เรื่อง มาตรการเร่งรัดและเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินการโครงการรถไฟความเร็วสูงช่วงกรุงเทพ - นครราชสีมา

คำสั่ง 31/2560 เรื่อง การใช้ที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่เกษตรกรและประโยชน์สาธารณะของประเทศ

คำสั่ง 32/2560 เรื่อง การบรรเทาความเสียหายให้แก่ประชาชนในกรณีปลูกสร้างอาคารหรือสิ่งอื่นใดล่วงล้ำลำแม่น้ำ

คำสั่ง 33/2560 เรื่อง มาตรการชั่วคราวเพื่อแก้ไขข้อขัดข้องในการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว

คำสั่ง 34/2560 เรื่อง การเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 105/2557

คำสั่ง 35/2560 เรื่อง ประกาศรายชื่อเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ระหว่างการถูกตรวจสอบเพิ่มเติม ครั้งที่ 9

คำสั่ง 36/2560 เรื่อง การกำหนดตำแหน่งผู้ทรงคุณวุฒิประจำส่วนราชการ

คำสั่ง 37/2560 เรื่อง การแก้ไขปัญหาการบริหารงานของสถาบันอุดมศึกษา

คำสั่ง 38/2560 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน

คำสั่ง 39/2560 เรื่อง ประกาศรายชื่อเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ระหว่างการถูกตรวจสอบเพิ่มเติม ครั้งที่ 10

คำสั่ง 40/2560 เรื่อง มาตรการรองรับเพื่อให้การดำเนินการเดินอากาศเป็นไปตามมาตรฐานขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ

คำสั่ง 41/2560 เรื่อง การบริหารจัดการยา เวชภัณฑ์ อวัยวะเทียม และอุปกรณ์ทางการแพทย์ตามโครงการพิเศษของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

คำสั่ง 42/2560 เรื่อง แก้ไขกฎหมายคนเข้าเมืองเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้เดินทางสัญชาติไทย

คำสั่ง 43/2560 เรื่อง การแต่งตั้งผู้รักษาการแทนผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน

คำสั่ง 44/2560 เรื่อง การแต่งตั้งผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

คำสั่ง 45/2560 เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 58/2559

คำสั่ง 46/2560 เรื่อง การจัดตั้งสำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ

คำสั่ง 47/2560 เรื่อง ข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ในที่ดินในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก

คำสั่ง 48/2560 เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่ง

คำสั่ง 49/2560 เรื่อง การพิสูจน์ตัวบุคคลของแรงงานต่างด้าว

คำสั่ง 50/2560 เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 59/2559

คำสั่ง 51/2560 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร

คำสั่ง 52/2560 เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่ง

คำสั่ง 53/2560 เรื่อง การดำเนินการตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง

แก้ไขข้อความคลาดเคลื่อน คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ สำนักเลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ขอแก้ไขข้อความคลาดเคลื่อนในคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 53/2560

คำสั่ง 54/2560 เรื่อง การจุดพลุในช่วงเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่

คำสั่ง 1/2561 เรื่อง การแก้ไขกฎหมายเพื่อรองรับการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายทั้งระบบ

คำสั่ง 2/2561 เรื่อง การจัดสรรภารกิจและบุคลากรของสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ

คำสั่ง 3/2561 เรื่อง แต่งตั้งบุคคลเป็นกรรมการในคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ

คำสั่งที่ 4/2561 เรื่อง ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งยุติการอยู่ปฏิบัติหน้าที่

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

8 ปีแล้ว ณัฐวุฒิในชุดไร้ที่พึ่งแบก(ข้อ)ความ 'อยุติธรรม' ถามความคืบหน้ากับ ป.ป.ช.คดีสลายแดง

Posted: 09 Apr 2018 11:37 PM PDT

8 ปี สลายการชุมนุม นปช. ณัฐวุฒิ วรวุฒิและ เจ๋ง ดอกจิก สวมชุดไร้ที่พึ่ง เข้าทวงถามความคืบหน้ากับ  ป.ป.ช. คดีสลายแดง (อีกครั้ง) เทียบมาตรฐานกับคดีสลายพันธมิตรฯ  ป.ป.ช.จ้างทนายฟ้องเองทั้งที่อัยการสั่งไม่ฟ้อง แต่ปี 53 มีการใช้อาวุธสงคราม แต่ ป.ป.ช.ไต่สวนและยกคำร้อง ไม่ส่งต่อเรื่องให้อัยการ 

ที่มาภาพ banrasdr photo

10 เม.ย.2561 เนื่องวันครบรอบ 8 ปี เหตุการณ์สลายการชุมนุมแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) โดย ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ที่ส่งผลให้มีประชาชนและเจ้าหน้าที่เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมากนั้น

ข่าวสดออนไลน์ รายงานว่า เมื่อเวลา 09.00 น. ที่ผ่านมา ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ แกนนำ นปช.พร้อมด้วย วรวุฒิ วิชัยดิษฐ์ และ ยศวริศ ชูกล่อมหรือเจ๋ง ดอกจิก เดินทางมาทวงถามความคืบหน้าการดำเนินคดีสลายการชุมนุมกลุ่ม นปช.ปี 2553 ซึ่งวันนี้ครบรอบ 8 ปีเหตุการณ์สลายการชุมนุม ที่มีประชาชนและเจ้าหน้าที่เสียชีวิตถึง 99 ศพ ทั้งนี้ ณัฐวุฒิพร้อมแกนนำ นปช.ต่างแต่งกายด้วยชุดคนไร้ที่พึ่ง และแบกป้ายระบุข้อความ "อยุติธรรม" ไว้บนบ่าด้วย ขณะที่แกนนำคนอื่นๆ ชูป้ายพร้อมข้อความ "มนุษย์จะยากดีมีจนทุกคนต้องได้รับความยุติธรรม" "คดีเสื้อเหลืองแก๊สน้ำตาจ้างทนายฟ้องเอง คดีเสื้อแดงใช้กระสุนจริงยกคำร้อง" และ "หมาจรจัด เสือดำ หมีควายถูกฆ่าตายยังได้รับความยุติธรรม แต่เราเป็นคน"

รายงานข่าวระบุด้วยว่า เจ้าหน้าที่ได้เชิญ ณัฐวุฒิพร้อมแกนนำให้เข้าไปยื่นหนังสือ แต่ไม่อนุญาตให้นำป้ายข้อความทั้งหมดเข้าไปภายในสำนักงาน ป.ป.ช. ด้านณัฐวุฒิได้กล่าวกับเจ้าหน้าที่ว่าไม่ได้นำหนังสืออะไรมายื่นแล้ว เพราะก่อนหน้านี้ได้มายื่นหนังสือที่ ป.ป.ช.หลายครั้ง แต่คดีก็ไม่มีความคืบหน้า มาวันนี้เพื่อทวงถามว่าหนังสือทุกฉบับ ทุกข้อเรียกร้องที่ส่งมาก่อนหน้านี้ ป.ป.ช.พิจารณาแล้วมีแนวทางหรือจะดำเนินการอย่างไรบ้าง ทางเจ้าหน้าที่จึงขอให้ณัฐวุฒิพร้อมแกนนำเข้าไปนั่งรอในห้องรับรอง เพื่อรอให้เจ้าหน้าที่เจ้าของสำนวนได้มาชี้แจง

ณัฐวุฒิ ให้สัมภาษณ์ว่า ที่แกนนำ นปช.มาที่ ป.ป.ช.ในวันนี้ ยืนยันว่าเราเคารพกฎหมาย ไม่ได้มีเจตนาท้าทายผู้มีอำนาจหรือต้องการสร้างความเสียหายให้กับ ป.ป.ช.แต่อย่างใด แต่วันนี้ครบรอบ 8 ปีที่นปช.ถูกสลายชุมนุมด้วยอาวุธจนมีเจ้าหน้าที่และประชาชนเสียชีวิตจำนวนมาก เมื่อคดีทุกอย่างมารวมศูนย์อยู่ที่ ป.ป.ช.จนถึงตอนนี้เรากลับยังไม่ได้รับคำตอบใดๆ แม้แต่การร้องขอสำนวนการไต่สวนยกคำร้องอภิสิทธิ์กับสุเทพ เพื่อเปรียบเทียบมาตรฐานการใช้ดุลยพินิจกับคำฟ้องสมชายและพล.อ.ชวลิตในเหตุการณ์ปี 2551 ก็ยังไม่ได้ ทั้งนี้ ปี 51 มีการใช้แก๊สน้ำตาแต่ ป.ป.ช.จ้างทนายฟ้องเองทั้งที่อัยการสั่งไม่ฟ้อง แต่ปี 53 มีการใช้อาวุธสงคราม ใช้กระสุนจริง มีคนเสียชีวิตจำนวนมาก แต่ ป.ป.ช.ไต่สวนและยกคำร้อง ไม่ส่งต่อเรื่องให้อัยการ อยากถามถึงมาตรฐานของ ป.ป.ช.ว่าเหมือนหรือต่างกันอย่างไร มีมาตรฐานเดียวหรือสองมาตรฐาน ส่วนที่พันธมิตรฯ เรียกร้องให้ ป.ป.ช.ยื่นอุทธรณ์ กระทั่ง ป.ป.ช.มีมติยื่นอุทธรณ์ พล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้วเพียงคนเดียวนั้น แล้วทีกับ นปช.กลับไม่ทีท่าทีหรือส่งสัญญาณใดๆ ในประเด็นที่เราเรียกร้องเลย พวกตนแบกความอยุติธรรมมา 8 ปีแล้ว จะต้องให้แบกไปถึงเมื่อไร คนที่มาชุมนุมต่างเป็นชาวไร่ชาวนา จะยากดีมีจนอย่างไรก็ต้องได้รับความยุติธรรม ดังนั้นยืนยันว่าจะสู้ตามกระบวนการทางกฎหมายต่อไป คนตายเกือบร้อยแต่คดีไม่ถึงศาล จะปล่อยให้เป็นแบบนี้ไม่ได้

เมื่อเวลา 10.15 น. ข่าวสดออนไลน์ รายงานเพิ่มเติมว่า ณัฐวุฒิ ให้สัมภาษณ์ภายหลังการพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ว่า รู้สึกเสียใจและเจ็บปวด เพราะสิ่งที่ตนเพียรถามมาตลอดกลับไม่มีความคืบหน้าเลย เจ้าหน้าที่ระบุว่าเรื่องทุกอย่างอยู่ระหว่างเสนอผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น โดยสำนักไต่สวนคดีทุจริตการเมือง 1 ได้ทำความเห็นขึ้นไปแล้ว แต่เจ้าหน้าที่กลับตอบไม่ได้ว่าวินาทีที่เราคุยกันตอนนี้ ทั้งกรณีที่ขอให้ ป.ป.ช.พิจารณาคดี นปช.ใหม่ตามกรอบของกฎหมายที่เปิดช่องให้ และกรณีที่ขอสำนวนไต่สวนยกคำร้องอภิสิทธิ์และสุเทพนั้น ทั้งสองเรื่องอยู่ในขั้นตอนไหน อยู่ที่โต๊ะใคร ตนจึงได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ว่า ในฐานะที่ตนเคยบริหารหน่วยงานราชการ เคยอยู่ในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ซึ่งขั้นตอนระบบเอกสารทางราชการนั้นไม่ใช่เรื่องยากเย็นที่จะแสวงหาข้อมูลเพื่อตอบคำถามประชาชน สุดท้ายเจ้าหน้าที่ก็ไม่มีคำอธิบายที่ชัดเจน อ้างว่าเป็นเรื่องภายใน ทั้งนี้ เมื่อเทียบเคียงกับกลุ่มพันธมิตรฯ ที่ ป.ป.ช.ยื่นอุทธรณ์คดีแล้ว ถามว่าทำไมของกลุ่ม นปช.ถึงช้า ไม่มีความคืบหน้า กลุ่มหนึ่งนับหนึ่งถึงสิบเร็วมาก แต่อีกกลุ่มนับหนึ่งไปแล้วแต่ไม่รู้ว่านับอยู่ที่เท่าไร เราไม่เคยได้รับทราบความคืบหน้า แล้วก็ไม่รู้ว่าคืบหน้าจริงหรือไม่

UDD news รายงานว่า จากนั้นทั้ง 4 คนได้เดินทางไปยังวัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน ศาลาพระเทพ เพื่อทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ เมษา-พฤษภา 53

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น