โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันศุกร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2561

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

ธเนศ วงศ์ยานนาวา: ความพิสดารและความไม่เท่าเทียมในการศึกษา

Posted: 27 Apr 2018 08:03 AM PDT

ชวนอ่าน บทบันทึกจากสัมมนาวิชาการสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เมื่อวันที่ 30 มี.ค. ที่ผ่านมา ในหัวข้อ "อนาคตของชาติใคร ? ... การศึกษากับการปลูกฝังอุดมการณ์ของรัฐ"  โดย ธเนศ วงศ์ยานนาวา รองศาสตราจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ธเนศ ได้พูดถึงเรื่องการศึกษาในวันที่คนไม่เท่าเทียม โดยมองว่าการเข้าถึงทรัพยากรทางการศึกษาที่ไม่เท่าเทียมกันนั้น เป็นปัญหาสำคัญของการศึกษาในสังคมที่คนส่วนใหญ่ของประเทศเป็นคนจน พร้อมทิ้งโจทย์สำคัญ ควรปรับปรุงการศึกษาของแต่ละชนชั้นให้เหมาะสมและมีคุณภาพ

การศึกษาเป็นเรื่องพิสดาร

"การศึกษาเป็นเรื่องพิสดาร" ธเนศ กล่าวแก่นักศึกษาครูจำนวนมากที่เข้าร่วมสัมมนาอย่างใจจดใจจ่อ มีทั้งสิ่งที่พวกเขาเข้าใจและไม่เข้าใจจากสิ่งที่ธเนศ สื่อสารออกมา สำหรับธเนศ เขามองว่าการศึกษาเป็นเรื่องพิสดาร เป็นกลไกของระเบียบวินัยที่ฝึกให้คนสามารถนั่งทนฟังการสอนของครูอาจารย์ได้เป็นชั่วโมง การถูกสั่งให้ไม่ใช้เสียง หรือแม้กระทั่งการอั้นฉี่ขณะเรียนได้เป็นเวลานาน

"เพราะฉะนั้น การนั่งเรียนหนังสือมันเป็นเรื่องพิสดาร จนกระทั่งคุณต้องฝึกฝนบำเพ็ญตบะแบบปรมาจารณ์เตียซำฮง นั่งเข้าหาผนังถ้ำเป็นเวลา 25 ปี มันคือการฝึกแบบนั้น มันไม่มีมนุษย์ที่ไหนทำได้ ถ้าทำได้หมดก็คงไปหาพระผู้เป็นเจ้ากันหมดแล้ว" ธเนศ กล่าว

ทั้งนี้ ธเนศ ยังอธิบายว่า การนั่งโต๊ะไม่ใช่ธรรมชาติแต่เดิมของมนุษย์ แต่วิธีคิดเรื่องการศึกษาภาคบังคับได้ทำให้เราเป็นเช่นนั้น ไม่ใช่แค่เรื่องวินัยในห้องเรียน แต่ยังรวมไปถึงการห้ามร่วมเพศ สภาพสังคมที่เปลี่ยนไปทำให้ผู้คนต้องเรียนให้จบประถมฯ มัธยมฯ ปริญญาตรี มีงานทำ จึงสามารถมีครอบครัวได้ ขณะที่สังคมกรีกในอดีตมีลักษณะที่ต่างกันไป

"ในสังคมกรีก อายุ 13-14 ต้องรีบมีผัวซะ ไม่นั้นมันจะวุ่นวาย เพราะมันต้องแอบไปเอากัน" ธเนศ กล่าว

การศึกษาของความไม่เท่าเทียม

ธเนศ ได้อธิบายบริบททางความคิดเรื่องการศึกษา ผ่านภูมิหลังประวัติศาสตร์ของสังคมอเมริกันที่ไม่มีภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ร่วมกับสังคมศักดินา เนื่องจากไม่มีกษัตริย์ปกครองความหลากหลายทางชนชั้น ทำให้ชนชั้นกลางมีความเชื่อความใฝ่ฝันแบบอเมริกันดรีม ที่จะไต่เต้าบันไดทางสังคมจากระดับต่ำไปสู่ระดับสูงสุด การไต่ระดับทางสังคมดังกล่าวนำไปสู่การที่ทุกคนในสังคมอเมริกันเชื่อว่า ตนเป็นชนชั้นกลางที่มีความเท่าเทียมกัน แม้ว่าสังคมอเมริกันในอดีตเป็นสังคมที่มีทาสและยกเลิกไปในครึ่งหลังศตวรรษที่ 19 แต่สิทธิและความเท่าเทียมกันในการขยายตัวของสิ่งต่างๆ เหล่านี้ได้ขยายไปสู่คนผิวดำจนกระทั่งปี 1960 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2

ธเนศ กล่าวต่อ ว่าความแตกต่างของสีผิวเป็นสิ่งที่มีมีบทบาทสำคัญ แม้คนอเมริกันจะมีความรู้สึกว่าสังคมตัวเองนั้นมีความเท่าเทียมกัน หรือใช้ภาษาเดียวกัน แต่วิถีชีวิตทางชนชั้นแต่ละชนชั้นมันก็แตกต่างกัน ชนชั้นที่แตกต่างกันทำให้วิถีชีวิตของแต่ละคนแตกต่างกันไปด้วย และมันจะทำให้โอกาสในชีวิตของเราแตกต่างกัน ชนชั้นแสดงถึงการมีสุขภาพที่แตกต่างกัน อายุเฉลี่ยที่แตกต่างกัน การรอดตายของเด็กทารกที่แตกต่างกัน อาชญากรรมที่แตกต่างกัน

ชนชั้นที่แตกต่าง = โอกาสที่แตกต่าง

ธเนศยังได้ชี้ถึงประเด็นสำคัญของความสัมพันธ์กันระหว่างชนชั้นและการได้รับโอกาสไว้ว่า ชนชั้นที่แตกต่างกันก็แสดงถึงโอกาสในการศึกษาที่แตกต่างกัน ชนชั้นเป็นตัวชีวัดเส้นทางชีวิตของแต่ละคนจะลงเอยชีวิตแบบไหน ชนชั้นจึงเป็นตัวทำนายผลลัพธ์ชีวิตของผู้คนจำนวนมาก ใครที่เกิดในชนชั้นไหนก็จะบ่อบอกถึงเส้นทางชีวิตที่แตกต่างกัน ชนชั้นที่แตกต่างกันนำไปสู่ความรู้สึกและความนึกคิดที่แตกต่างกัน ชนชั้นที่แตกต่างกันนำไปสู่รสนิยมที่แตกต่างกัน ตั้งแต่การแต่งตัวไปจนถึงการกินอาหาร ตลอดจนการใช้ข้าวของเครื่องใช้ที่แตกต่างกัน

"ชนชั้นที่แตกต่างกันมักจะทำให้การศึกษาแตกต่างกัน ก็ทำให้คนต่างๆ เหล่านี้ไปยังโรงเรียนที่แตกต่างกัน มหาวิทยาลัยที่แตกต่างกัน สิ่งต่างๆ เหล่านี้ทำให้ชนชั้นที่มีทรัพยากรมากกว่าหรือร่ำรวยมากกว่าสามารถเข้าถึงอำนาจ ทรัพยากรที่ต้องการ ตลอดจนสายสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงกับผู้ทรงอำนาจหรือผู้ทรงอิทธิพลที่แตกต่างกัน" ธเนศ กล่าว

ธเนศยังกล่าวเพิ่มอีก ว่าสถานะทางชนชั้นที่ไม่เพียงแต่ปกป้องความแตกต่างทางเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ยังบ่งบอกความแตกต่างทางวัฒนธรรม ด้วยการที่ไม่มีข้อจำกัดทางเศรษฐกิจทำให้ชนชั้นที่มีอำนาจทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรม เกิดความรู้สึกว่าตนเองนั้นมีอิสระมากกว่าชนชั้นต่ำ

สูงศักดิ์ จึงแยกข้าง

ธเนศ อธิบายว่า ชนชั้นสูงและชนชั้นกลางมักสำนึกว่าตนเองนั้นมีเสรีภาพเนื่องจากอิสระที่ได้รับจากการมีทรัพยากรที่มากมาย ด้วยสำนึกที่ว่าตนเองมีอิสระมากกว่าคนอื่นๆ ก็ทำให้คนเหล่านี้ทำอะไรที่บ่งบอกได้ว่ามีเสรีภาพมากกว่าชนชั้นต่ำ และการมีอิสระเสรีนี้เอง ทำให้ชนชั้นสูงแยกตัวเองออกจากผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมและสายสัมพันธ์อื่นๆ ได้มากกว่า เช่น การนั่งรถปรับอากาศ เดินทางโดยไม่ต้องแปดเปื้อนกลิ่นเหม็นสาบของคนจนบนรถเมล์สาธารณะหรือรถไฟฟ้า(BTS) หรือรถไฟใต้ดิน แม้กระทั่งปัญหาในทางวัตถุ

"ผมอยากจะเปลี่ยนมาใช้เป็นไอโฟนสิบ ก็เปลี่ยนได้โดยไม่ต้องคิดมากอะไร ความจำเป็นในการปรับตัวให้กับสิ่งแวดล้อมและคนรอบช้างจึงมีน้อยกว่า เพราะทุกอย่างมันถูก Condition (ทำให้เพียบพร้อม) เหมือนกันที่อยู่ในห้องที่มีแอร์ Condition" ธเนศ กล่าว

ธเนศ ยังกล่าวต่อ ว่าด้วยสภาวะที่ตัดแยกในคราวเดียวกับการตัดขาดออกจากโลก จึงทำให้คนพวกนี้ไม่ต้องสนใจอะไรอื่น เช่น ความรู้สึกของผู้คนรอบข้าง กรอบความคิดแบบนี้สะท้อนเห็นได้ผ่านพนฃระนางแมรี่แองตัวเนต ที่ก่อนเกิดการปฏฺวัติฝรั่งเศส มักจะมีคำพูดว่า ชาวนาฝรั่งเศสไม่มีอะไรกิน แล้วพระนางก็ตอบว่า ถ้าชาวนาฝรั่งเศสไม่มีอะไรกิน ก็กินขนมเค้กแทนสิ นี่ก็คือสำนึกของคนที่มีจากชนชั้นที่แตกต่างซึ่งตัดขาดจากโลกภายนอก

ต่ำศักดิ์ จึงปรับตัว

ธเนศ กล่าวว่า สำหรับชนชั้นต่ำที่ไม่มีทรัพยากรและโอกาส ทุกอย่างจึงเต็มไปด้วยข้อจำกัด ชนชั้นต่ำจึงมีความคิดว่าไม่มีความสามารถที่จะควบคุมอะไรได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสังคมภายนอก ตรงกันข้าม ตนเองกลับกลายเป็นผู้ที่ถูกควบคุม ด้วยความเข้าใจของชนชั้น ทำให้ชนชั้นต่ำเข้าใจว่าความสำเร็จในชีวิตขึ้นอยู่กับความเมตตาของคนอื่นๆ ชีวิตของตัวเองจึงต้องพึ่งพากับคนอื่น ความจำเป็นในการปรับตัวกับสิ่งแวดล้อมและคนรอบข้างจึงเป็นสิ่งสำคัญ

ธเนศ ได้อธิบายถึงสภาวะที่ต้องพึ่งพาอาศัยคนอื่นของชนชั้นต่ำว่า ทำให้เกิดความระมัดระวังต่อสิ่งรอบข้างและสนใจต่อสิ่งอื่น เช่น อารมณ์ความรู้สึก สีหน้าของคนรอบข้าง ด้วยความที่คนชนชั้นต่ำต้องพึ่งพาอาศัยคนอื่นๆ จึงทำให้คนชนชั้นต่ำมีความสามารถในการประเมินความรู้สึกของคนอื่นๆ ได้มาก อย่างไรก็ตาม สำนึกความเป็นอิสระของชนชั้นต่ำนั้นมีน้อยเมื่อเทียบกับคนชนชั้นสูง เพราะความไม่เป็นอิสระของคนชนชั้นต่ำจึงทำให้ต้องพึ่งพาอาศัยคนอื่น ความสัมพันธ์เพื่อการพึ่งพาอาศัยคนอื่นๆ จึงเป็นทักษะที่สำคัญของคนชนชั้นต่ำ

ฝัน เปลี่ยน โลก ความเป็นไปไม่ได้ในการศึกษาของชนชั้นต่ำ

ธเนศ ได้อธิบายให้เห็นว่า การที่ชนชั้นต่ำไม่ได้มีทรัพยากรทางเศรษฐกิจและการเมืองมากเท่ากับคนชนชั้นสูง เนื่องจากข้อจำกัดทางทรัพยากรของชนชั้นต่ำ ทำให้กรอบคิดแบบว่า "ฉันยิ่งใหญ่มาก ฉันจะเป็นผู้สร้างประเทศ หรือฉันจะต้องเป็นผู้สร้างแรงสั่นสะเทือน" สำหรับชนชั้นต่ำเกิดขึ้นได้ยาก "แค่จะซื้อโทรศัพท์มือถือก็ต้องคิดแล้วคิดอีก"

ธเนศ กล่าวว่า กรอบคิดที่เชื่อว่าตัวเองมีความสามารถและสร้างแรงสั่นสะเทือนแสดงจิตสำนึกว่าตนเองมีความสำคัญ หรือตนเองเปลี่ยนโลกได้ เป็นสิ่งที่เป้นไปได้ยากมากในหมู่ชนชั้นต่ำ ในขณะที่ชนชั้นที่มีทรัพยากรมากกว่าก็สามารถที่จะบรรลุถึงความฝันของตัวเองได้

"ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรที่ชนชั้นมีทรัพยากรมากกว่าจึงมีความเชื่อมันในตนเองและแรงจูงใจสูงกว่า ในขณะที่ชนชั้นที่มีทรัพยากรน้อยกว่ามักจะถูกมองว่าพวกนี้ไม่มีแรงจูงใจ ไม่มองโลกในแง่บวก ไม่คิดบวก ไม่มีความเป็นตัวของตัวเอง ไม่สำนึกถึงความเป็นปัจเจกชน ติดอยู่กับสำนึกบุญคุณและโครงสร้างอุปถัมป์ ด้วยสำนึกของความที่ชนชั้นต่ำต้องอาศัยคนอื่นๆ ทำให้สิ่งที่ตนเองทำไปนั้น ไม่ได้เป็นการกระทำของตนเองเพื่อตนเอง" ธเนศ กล่าว

อย่างไรก็ตาม ธเนศ มองว่าแนวคิดเรื่องการคิด วิเคราะห์ แยกแยะ อันมีผลลัพธ์จากวิธีคิดแบบปัจเจกชน ได้ทำให้คนมองว่าความสัมพันธ์เป็นสิ่งที่ไม่จำเป็น ต่อด้วยการปลุกสำนึกสร้างความเชื่อมั่นให้ตนเอง ดังปรากฏผ่านการใช้แนวคิดจิตวิทยาแบบมนุษยนิยม (Humanistic Psychology) ของอับราฮัม มาสโลว์ ซึ่งมีแนวคิดการใช้คนเป็นศูนย์กลาง เช่นเดียวกับแนวคิดการใช้นักเรียนเป็นศูนย์กลางในการเรียนการสอนเรื่องการศึกษา ของ ชาร์ล โรเจอร์

การศึกษาของการบรรลุเป้าหมาย

ธเนศ อธิบายว่าไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรที่การศึกษาจะต้องทำให้มีเป้าหมาย ทุกคนถูกสถาปนาให้มีเป้าหมาย สังเกตได้จากการที่ครูแนะแนวถามเราว่าโตขึ้นอยากเป็นอะไร ? หากไม่บรรลุเป้าหมายก็ถือว่าไม่ประสบความสำเร็จในชีวิต ด้วยชนชั้นที่แตกต่างกัน ก็ย่อมมีการบรรลุที่แตกต่าง เนื่องจากได้รับการศึกษาที่แตกต่าง วิถีชีวิตที่แตกต่าง โดยเฉพาะวิถีชีวิตของชนชั้นที่ไม่สูงมาก ตั้งแต่การต้องนั่งรถเมล์ที่ไม่มีแอร์ รถเมล์มาช้า หรือรถเมล์ไม่มาเลย การบรรลุเป้าหมายของชนชั้นต่ำจึงเป็นเรื่องยาก ต้องเรียนรู้ตามอัตภาพ ขณะที่ชนชั้นสูงได้รับการศึกษามากกว่า ทั้งการเรียนดนตรี กีฬา ผ่านการเรียนพิเศษต่างๆ จนเรียกได้ว่าเรียนทุกอย่างที่ขวางหน้า

"ปัญหาของการศึกษาสำหรับผม คือเรื่องช่องว่างของคนรวยกับคนจน ความไม่เท่าเทียมกันในการเข้าถึงทรัพยากรต่างๆ นี่คือปัญหาใหญ่มากกว่าการมองเรื่องคุณภาพการศึกษาไทย เราต้องถามว่าการศึกษาของชนชั้นไหนมีคุณภาพ ไม่มีคุณภาพ ซึ่งก็ต้องเข้าใจว่าคนจนเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ" ธเนศ กล่าว

 

สำหรับ อัฐพล ปิริยะ ผู้รายงานสัมมนาชิ้นนี้ เป็นนักศึกษาฝึกงานกับประชาไท ประจำปีการศึกษา 2/2560 จากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี มีความสนใจเกี่ยวกับ One Piece, Star Wars, วรรณกรรม, การเมืองวัฒนธรรม และการศึกษา 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'วิษณุ' แจงยกเลิกคำสั่ง คสช. 2 วิธี ด้วยตัว ม.44 เอง กับ การออก พ.ร.บ.ยกเลิก

Posted: 27 Apr 2018 07:30 AM PDT

วิษณุ ระบุ เมื่อถึงช่วงจังหวะหนึ่งคำสั่ง คสช. ใดที่สมควรยกเลิกจะมีการยกเลิกเอง ย้ำ คสช.มอบหมายเรื่องนี้มาตั้งนานแล้ว และตนก็ดูอยู่ว่ามีฉบับใดบ้าง

แฟ้มภาพ

27 เม.ย.2561 สำนักข่าวไทย รายงานว่า วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกระแสข่าวที่จะมีการใช้คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มาตรา 44 ยกเลิกคำสั่ง คสช.ทุกฉบับว่า ที่ผ่านมาไม่เคยได้ยิน และส่วนตัวไม่คิดว่าจะมีการทำแบบนั้น แต่เมื่อถึงช่วงจังหวะหนึ่งคำสั่ง คสช. ใดที่สมควรยกเลิกจะมีการยกเลิกเอง โดย วิษณุ ชี้แจงว่าการยกเลิกคำสั่งคสช.สามารถทำได้ 2 รูปแบบ คือ ยกเลิกด้วยคำสั่งคสช.เอง เนื่องจากคำสั่งคสช.ฉบับใดที่ล้าสมัย หรือว่ามีการซ้ำซ้อนกับกฎหมาย และหมดอายุที่ไม่จำเป็นต้องมี จะต้องมีการยกเลิก จึงถือเป็นเรื่องธรรมดา เพราะ คสช.มอบหมายเรื่องนี้มาตั้งนานแล้ว และตนก็ดูอยู่ว่ามีฉบับใดบ้าง แต่วันนี้ยังมีฉบับต่างๆ ที่ต้องอยู่ ก็คงต้องใช้กันต่อไป 

วิษณุ กล่าวเพิ่มเติมว่า การยกเลิกคำสั่งคสช. อีกรูปแบบหนึ่งคือ ต้องใช้พระราชบัญญัติยกเลิก หากสมมุติว่าเกิดยังออกคำสั่งคสช.มาตรา 44 ยกเลิกได้ไม่หมดนั้น อาจจะต้องทอดเวลาให้ใช้กันต่อไป จนกระทั้งรัฐบาลและรัฐสภาข้างหน้า หากไม่ชอบใจอะไรก็สามารถออกพระราชบัญญัติยกเลิกได้ เพราะช่วงนี้นั้นไม่สามารถใช้คำสั่งคสช.มาตรา 44 ได้แล้ว ส่วนเมื่อรัฐบาลชุดใหม่เท่ากับว่ามาตรา 44 ต้องหมดความหมายไปด้วยหรือไม่นั้น คำสั่งที่ออกคสช.มาตรา 44 รัฐธรรมนูญระบุว่ายังใช้ได้ต่อไป จนกว่ารัฐสภาจะออกพระราชบัญญัติยกเลิก

ทั้งนี้เมื่อ 15 ม.ค. ที่ผ่านมา 23 องค์กรเครือข่ายภาคประชาชน ร่วมแถลงข่าวเปิดตัวโครงการเข้าชื่อผู้สิทธิเลือกตั้ง 10,000 คน เสนอร่างพระราชบัญญัติ "ยกเลิกประกาศและคำสั่งคสช. และคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย พ.ศ. .... (ฉบับประชาชน)" เพื่อให้สภาผู้แทนราษฎรที่จะได้มาจากการเลือกตั้งพิจารณาผ่านร่างกฎหมายฉบับดังกล่าวยกเลิกประกาศคำสั่งคสช.รวม 35 ฉบับ ซึ่งซึ่งทางเครือข่ายเห็นว่ามีเนื้อหาจำกัดขัดต่อหลักประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน และจำกัดการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดนโยบายสาธารณะอย่างร้ายแรง โดยมีตัวแทนจากเครือข่ายต่างๆและประชาชนทั่วไปร่วมงานประมาณ 150 คน (สามารถเข้าเสนอชื่อออนไลน์ได้ที่นี่)

 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'คดีขอนแก่นโมเดล' จะครบ 4 ปี ทนายชี้ล่าช้า สืบพยานปากที่ 6 ยังไม่เสร็จ

Posted: 27 Apr 2018 06:53 AM PDT

สมาพันธ์นักกฎหมายเพื่อสิทธิเสรีภาพ เผยความ (ไม่) คืบหน้าคดีขอนแก่นโมเดล จะครบ 4 ปี สืบพยายปากที่ 6 ยังไม่เสร็จ ขณะที่อัยการทหารอ้างพยานบุคคลรวมถึง 90 ปาก 
 
 
 
27 เม.ย.2561 ความคืบหน้าคดีขอนแก่นโมเดล วันนี้  สมาพันธ์นักกฎหมายเพื่อสิทธิเสรีภาพ (สกสส.)โพสต์รายงานผ่านเฟสบุ๊คแฟนเพจ 'United Lawyers For Rights & Liberty'  นัดสืบพยานโจทก์ปากที่ 6 พ.ต.วิชญะ สืบนุช เจ้าหน้าที่ทหารกรมทหารราบที่ 8 จ.ขอนแก่น ซึ่งอัยการศาลทหารขอนแก่นอ้างเพื่อเบิกความเกี่ยวกับการตรวจค้นโรงแรมแห่งหนึ่งที่อ้างว่าจำเลยทั้ง 26 คน วางแผนเตรียมการก่อการร้าย ในวันที่ 23 พ.ค. 2557 แต่วันนี้การดำเนินกระบวนพิจารณาคดียังคงเป็นไปด้วยความล่าช้า นับแต่ที่ฟ้องคดีจนปัจจุบันระยะเวลาจะครบ 4 ปีในเดือนหน้านี้ (พฤษภาคม) ทั้งนี้ศาลนัดสืบพยานโจทก์ ปาก พ.ต.วิชญะ สืบนุช ต่ออีกในวันที่ 28 มิ.ย. 2561 เวลา 13:30 น.

ทีมทนาย สกสส. ระบุว่า ยังคงผนึกกำลังอย่างแน่วแน่มั่นคงที่จะต่อสู้ในกระบวนการยุติธรรมเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับประชาชน พร้อมย้ำด้วยว่า เรามั่นใจในความบริสุทธิ์ของประชาชน

ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับคดีขอนแก่นโมเดล

สำหรับคดีขอนแก่นโมเดล ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน รายงานไว้ว่า อัยการทหารอ้างพยานบุคคลรวม 90 ปาก เริ่มสืบพยานโจทก์นัดแรก เมื่อวันที่ 28 ต.ค. 59 โดยพยานโจทก์ปากแรกคือ พล.ต.ชาญชัย เอมอ่อน ผู้สั่งการให้จับกุมจำเลยในคดีนี้ ขณะเกิดเหตุดำรงตำแหน่งผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 8 และผู้บังคับการหน่วยเฉพาะกิจ กรมทหารราบที่ 8 ซึ่งตั้งขึ้นหลังการรัฐประหาร พ.อ. พยัคฆพล และ ร.อ.ธนศักดิ์ เข้าเบิกความเป็นพยานโจทก์ปากที่ 2 และ 3 ในวันที่ 23 ธ.ค.59 แต่ทนายจำเลยยังไม่ได้ซักค้าน เนื่องจากหมดเวลาเสียก่อน ศาลจึงนัดให้อัยการนำพยานทั้งสองมาให้ทนายจำเลยซักค้านในวันที่ 20 ก.พ. 60 แต่วันนัดดังกล่าว พ.อ. พยัคฆพล ป่วย ไม่มาศาล จึงเลื่อนการซักค้านมาเป็นวันที่ 24 มี.ค.นี้ พร้อมทั้งนัด ส.อ.สังวาลย์ ซึ่งอยู่ในเหตุการณ์จับกุมจำเลยที่ 1 ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยฯ เช่นเดียวกัน มาเบิกความ แต่แล้วก็ต้องเลื่อนออกไปอีก

คดีนี้สืบเนื่องมาจาก เมื่อวันที่ 23 พ.ค.57 หลังคณะรัฐประหารเข้ายึดอำนาจจากรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เพียง 1 วัน กำลังทหารจากกรมทหารราบที่ 8 ค่ายสีหราชเดโชไชย จ.ขอนแก่น ได้เข้าตรวจค้นที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และที่โรงแรมชลพฤกษ์เลคไซด์ และจับกุมผู้ต้องสงสัยหลายคน วันต่อมา พล.ต.ธวัช สุกปลั่ง รองแม่ทัพภาคที่ 2 และ พล.ต.ศักดา เปรุนาวิน ผู้บัญชาการกองพลทหารที่ 3 ร่วมกันแถลงข่าวว่า กองทัพภาคที่ 2 ได้รับแจ้งจากแหล่งข่าวว่า จะมีกลุ่มผู้ไม่หวังดีจะออกปฏิบัติการ "ขอนแก่นโมเดล" ในลักษณะกวนเมืองขอนแก่น จึงทำการสืบสวนจนทราบว่า ที่หมู่บ้านชลพฤกษ์ ในอำเภอเมืองขอนแก่น ได้มีกลุ่มดังกล่าวประชุมร่วมกัน พล.ต.ศักดา จึงได้นำกำลังเข้าทำการตรวจค้น และจับกุมผู้ต้องหาที่มาประชุมร่วมกันในที่ดังกล่าวได้ 23 คน พร้อมของกลาง ได้แก่ บัตรประจำตัว "นปช.แดงทั้งแผ่นดิน" 2 ใบ, โทรศัพท์มือถือ 25 เครื่อง, แท็บเล็ต 2 เครื่อง, วิทยุสื่อสาร 2 เครื่อง, มีดสปาต้า 1 เล่ม, มีดปลายปืน 2 เล่ม, ลูกระเบิดขว้าง 2 ลูก, ลูกระเบิดปิงปอง 1 ลูก, ลูกระเบิดควัน เอ็ม 18 จำนวน 1 ลูก, แม็กกาซีนปืน 2 อัน, กระสุนปืนพกขนาด 9 มม. 202 นัด, 11 มม. 154 นัด, กระสุนปืนลูกซอง 15 นัด, ถังแก๊ส 2 ใบ, ไขควง 3 อัน, ค้อน 2 ตัว, กุญแจมือ 8 อัน, เสื้อเกราะ 1 ตัว, ผ้าพันคอสีแดงประมาณ 300 ผืน, เสื้อยืดสีขาวประมาณ 100 ตัว, ป้ายไวนิลสีแดงขนาดใหญ่จำนวน 3 ผืน เอกสารเป็นแผนภูมิวางระเบิดในภาคใต้ แผนผังทำวงจรระเบิดในเขตพื้นที่ จ.ขอนแก่น, ภาพฝึกอาสาสมัครพิทักษ์ประชาธิปไตยแห่งชาติ จากนั้น วันที่ 12 มิ.ย. 57 ทหารและตำรวจ ร่วมกันแถลงข่าวว่า มีการจับกุมต่อเนื่องผู้ต้องหาในคดี "ขอนแก่นโมเดล" รวมทั้งสิ้น 25 ราย และตรวจยึดอาวุธเพิ่มเติมได้อีกในท่อประปาภูเขา บริเวณป่าละเมาะที่ อ.หนองกุงศรี จ.กาฬสินธุ์

หลังการจับกุม ผู้ต้องหาถูกส่งไปควบคุมตัวที่กรมทหารราบที่ 8 เป็นเวลา 7 วัน ก่อนถูกส่งตัวไปดำเนินคดีที่สถานีตำรวจภูธรเมืองขอนแก่น และขังที่เรือนจำกลางจังหวัดขอนแก่น โดยอัยการศาล มทบ.23 ส่งฟ้องต่อศาล มทบ.23 ในวันที่ 22 ส.ค.57 จากนั้น ในเดือน ต.ค. 57 – ก.พ.58 ศาลทยอยให้ประกันตัวจำเลยทั้ง 26 คน อย่างไรก็ตาม ปลายเดือน พ.ย.58 จ.ส.ต.ประธิน ถูกจับอีกครั้งและถูกนำไปควบคุมตัวใน มทบ.11 ก่อนถูกออกหมายจับพร้อมจำเลยขอนแก่นโมเดลอีก 3 คน และคนอื่น ๆ รวม 9 คน ในข้อหาหมิ่นประมาท ดูหมิ่น พระมหากษัตริย์ฯ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 โดยมีการแถลงข่าวว่า ทั้งหมดเตรียมการก่อเหตุในกิจกรรม Bike for Dad และเชื่อมโยงว่าเป็นขบวนการเดียวกับ "ขอนแก่นโมเดล" จนสื่อมวลชนเรียกขานกรณีดังกล่าวว่า "ขอนแก่นโมเดล 2" ทั้งนี้ ผู้ถูกจับกุมในกรณีดังกล่าว รวม 6 คน ปัจจุบันถูกขังอยู่ที่เรือนจำกลาง และเรือนจำพิเศษจังหวัดขอนแก่น โดยไม่ได้รับการประกันตัว

อย่างไรก็ตาม จำเลยคดีขอนแก่นโมเดลบางคนให้ข้อมูลกับศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนว่า ในวันเกิดเหตุ พวกเขาตั้งใจมาประชุมเพื่อรับฟังข้อมูลเรื่องการปลูกพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ คือ ดาวอินคา แต่กลับถูกบุกเข้าจับกุม โดยไม่ทราบสาเหตุ เมื่อถูกเจ้าหน้าที่สอบปากคำ โดยกล่าวถึง "ขอนแก่นโมเดล" นั้น พวกเขาไม่เคยได้ยินมาก่อน และการถูกควบคุมในค่ายทหาร 7 วัน แม้ไม่ถูกทำร้ายร่างกาย แต่ได้รับการปฏิบัติที่กดดันต่อสภาพร่างกายและจิตใจอย่างมาก หลังได้รับการประกันตัว จำเลยบางคนและครอบครัวยังถูกทหารติดตามพฤติกรรมอยู่โดยตลอด โดยเข้าไปพบที่บ้านหรือที่อื่นประมาณอาทิตย์ละ 1 ครั้ง

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กสม.ชี้ 'ปลาหมอสี CP' ระบาดกระทบสิทธิการทำกิน แนะกรมประมงควบคุมนำเข้าอย่างเคร่งครัด

Posted: 27 Apr 2018 03:50 AM PDT

กรรมการสิทธิฯ มีมติชี้ การระบาดของ 'ปลาหมอสีคางดำ' จากกานา กระทบสิทธิการทำกินของเกษตรกรไทย แนะกรมประมงควบคุมดูแลการนำเข้าสายพันธุ์ของเอกชนอย่างเคร่งครัด เร่งแก้ไขและป้องกันการระบาด

27 เม.ย. 2561 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) เผยแพร่มติ กสม. ด้านการคุ้มครองและมาตรฐานการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ครั้งที่ 14/2561 ลงวันที่ 25 เม.ย.ที่ผ่านมา เพื่อพิจารณากรณีเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำใน จ.สมุทรสงครามและ จ.เพชรบุรี ร้องเรียนว่าได้รับผลกระทบจากการแพร่พันธุ์ของปลาหมอสีคางดำซึ่งกรมประมง (ผู้ถูกร้อง) อนุญาตให้เอกชนนำเข้ามาทดลองเพาะเลี้ยง กระทั่งเกิดการแพร่ระบาดของพันธุ์ปลาชนิดดังกล่าวรุกรานปลาพื้นถิ่น สร้างความเดือดร้อนแก่เกษตรกรในวงกว้างมาตั้งแต่ปี 2555

กรณีดังกล่าว กสม. โดยคณะอนุกรรมการด้านสิทธิชุมชนและฐานทรัพยากร และพนักงานเจ้าหน้าที่ ตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้วพบว่า เมื่อปี 2549 คณะกรรมการด้านความหลากหลายและความปลอดภัยทางชีวภาพของกรมประมง (IBC) มีมติอนุญาตให้บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) นำเข้าปลาหมอสีคางดำจากสาธารณรัฐกานา ทวีปแอฟริกา เพื่อนำมาปรับปรุงสายพันธุ์ปลานิลแบบมีเงื่อนไข ต่อมาในปี 2553 บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) นำเข้าปลาหมอสีคางดำ จำนวน 2,000 ตัว โดยมีศูนย์ทดลองอยู่ที่ ต.ยี่สาร อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม จากนั้นปลาหมอสีคางดำได้ทยอยตายเกือบทั้งหมดภายใน 3 สัปดาห์ บริษัทจึงทำลายและฝังกลบซากปลาโดยการโรยด้วยปูนขาวและแจ้งให้กรมประมงทราบด้วยวาจา โดยไม่ได้จัดทำรายงานอย่างเป็นทางการและเก็บซากปลาส่งให้กับกรมประมงตามเงื่อนไขการอนุญาตของคณะกรรมการ IBC

ต่อมา ประมาณปี 2555 เกษตรกรในพื้นที่ ต.ยี่สาร อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม ได้พบการแพร่ระบาดของปลาหมอสีคางดำเป็นครั้งแรก กระทั่งปัจจุบัน เกษตรกรที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในพื้นที่ จ.สมุทรสงครามและ จ.เพชรบุรี ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของปลาหมอสีคางดำเป็นอย่างมาก เนื่องจากปลาชนิดดังกล่าวเป็นสัตว์ที่กินสัตว์น้ำขนาดเล็ก ขยายพันธุ์อย่างรวดเร็ว และอาศัยอยู่ได้ทั้งในน้ำจืด น้ำเค็ม และน้ำกร่อย จึงเข้าข่ายเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน ส่งผลให้เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำได้รับความเดือดร้อน ประสบปัญหาภาวะขาดทุนและไม่ได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กสม. พิจารณาแล้ว จึงมีมติว่า การแพร่ระบาดของปลาชนิดดังกล่าว มีผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ สิทธิทางเศรษฐกิจ และการประกอบอาชีพของประชาชนอันกระทบต่อสิทธิมนุษยชนซึ่งได้รับการรับรองไว้ตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (ICESCR)

อย่างไรก็ดี แม้ในชั้นนี้จะยังไม่ปรากฏพยานหลักฐานที่ชัดเจนว่ากรมประมงในฐานะผู้ถูกร้องละเลยการกระทำอันเป็นผลให้เกิดการแพร่ระบาดของปลาหมอสีคางดำหรือไม่ แต่ก็ปรากฏข้อเท็จจริงว่า กรมประมงไม่สามารถควบคุมดูแลและตรวจสอบติดตามให้บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) ดำเนินการตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการอนุญาตนำเข้าสัตว์น้ำต่างถิ่นอย่างครบถ้วนตามที่กรมประมงกำหนดให้ต้องรายงานและเก็บซากปลาให้กับกรมประมง กรณีนี้ กสม. จึงเห็นควรเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางที่เหมาะสมในการป้องกันหรือแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 247 (1) และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560 มาตรา 26 (1) ดังนี้

1. กรมประมงควรแต่งตั้งคณะทำงานในระดับกรมเพื่อร่วมแก้ไขปัญหากับจังหวัดที่มีการแพร่ระบาดของปลาหมอสีคางดำอย่างรุนแรง โดยกำหนดให้มีผู้แทนร่วมแก้ปัญหาจากทุกภาคส่วนรวมทั้งเกษตรกรผู้ได้รับความเดือดร้อน

2. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ควรสนับสนุนงบประมาณเร่งด่วนให้กับกรมประมงเพื่อแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอสีคางดำ และการจัดการอื่นใดเพื่อนำปลาหมอสีคางดำไปกำจัด รวมทั้งอาจกำหนดแนวทางการเยียวยาเกษตรกรที่ประสบปัญหาภาวะขาดทุนจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของปลาหมอสีคางดำ

3. กรมประมงควรจัดให้มีกลไกหรือแผนปฏิบัติการป้องกันและควบคุมอย่างทันท่วงทีเพื่อรองรับกรณีสัตว์น้ำที่ได้รับอนุญาตให้นำเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกรานและก่อผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ และกำหนดแนวปฏิบัติในการควบคุมดูแลให้ผู้ได้รับอนุญาตนำเข้าสัตว์น้ำปฏิบัติตามเงื่อนไขการอนุญาตอย่างครบถ้วน รวมทั้งต้องเฝ้าระวัง ตรวจสอบ ติดตามกับผู้ได้รับอนุญาตดังกล่าวอย่างเคร่งครัด และพิจารณาดำเนินการในกรณีที่มีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการอนุญาต

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'อภิสิทธิ์' เผยคนใน รบ.จ้องสกัด 'กลุ่มทุน' หนุนพรรคการเมือง เปรยพวกไม่อายทำอะไรก็ได้เปรียบ

Posted: 27 Apr 2018 02:46 AM PDT

'อภิสิทธิ์' พร้อมให้สมาชิกเลือกหัวหน้าพรรค รับเสี่ยงหลุดตำแหน่ง เผยคนในรัฐบาลจ้องสกัด 'กลุ่มทุน' หนุนพรรคการเมือง เปรยพวกไม่อายก็จะได้เปรียบ ร้องแข่งขันกันอย่างเสมอภาค แล้วประชาชนจะเป็นผู้ให้คำตอบในผลการเลือกตั้ง ด้าน ผบ.ทบ.ปัดตอบ คนใน คสช. เดินสายดูดนักการเมือง

แฟ้มภาพ

27 เม.ย.2561 สำนักข่าวไทย รายงานว่า อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์  เปิดเผยว่า ได้รับคำยืนยันว่า มีคนในรัฐบาลพูดว่า มีความพยายามจะสกัดกั้น ไม่ให้กลุ่มทุนเข้ามาสนับสนุนพรรคการเมือง แต่พรรคประชาธิปัตย์ไม่ติดใจ และยืนยันจะสู้ตามแนวทางที่ถูกต้อง แม้เสียเปรียบ พร้อมเปรียบเปรยว่า คนที่ทำอะไร "ไม่อาย" ก็จะได้เปรียบ 

"ขอเรียกร้องให้มีการแข่งขันกันอย่างเสมอภาค แล้วประชาชนจะเป็นผู้ให้คำตอบในผลการเลือกตั้ง และเมื่อผลการเลือกตั้งออกมา ก็ควรที่จะเคารพเจตนารมณ์ของประชาชน  แม้จะมีอำนาจตามรัฐธรรมนูญในการเลือกนายกรัฐมนตรี แต่หากไม่ฟังเสียงประมาชน เชื่อว่าในอนาคตจะมีปัญหาแน่ เพราะหากเริ่มต้นการเข้าสู่อำนาจที่ไม่สุจริตแล้ว จะเกิดปัญหาความขัดแย้งตามมาอย่างแน่นอน" อภิสิทธิ์ กล่าว 

อภิสิทธิ์ กล่าวว่า แม้จะมีกระแสทาบทามอดีต ส.ส. ไปสังกัดพรรคใหม่ แต่ยังมั่นใจว่า อดีต ส.ส.ของพรรคประชาธิปัตย์ส่วนใหญ่ ยังพร้อมที่จะทำงานกับพรรค และยังไม่มีคนมาบอกว่าจะไปอยู่ที่อื่น ยกเว้น 1-2 คนที่มีเหตุผลส่วนตัว แต่ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไร ก็ต้องเคารพการตัดสินใจ และว่า ขณะนี้พรรคมีคนรุ่นใหม่ อายุ 25-30 ปีเศษ ที่ต้องการเข้ามาทำงานการเมือง และพร้อมที่จะมาช่วยพัฒนาบ้านเมือง ซึ่งพรรคเตรียมพร้อมที่จะปฏิรูปพรรค ให้สมาชิกมีส่วนร่วมโดยตรง ในการหยั่งเสียงหัวหน้าพรรค 

อภิสิทธิ์ ยังกล่าวถึง การยืนยันสมาชิกพรรคเดิม ที่ใกล้ครบกำหนดในสิ้นเดือนนี้ ว่า มีรายงานเข้ามาว่า มีสมาชิกยืนยันหลักหมื่น ซึ่งลดลงจำนวนมาก  แต่ไม่รู้สึกแปลกใจ เพราะไม่สามารถจัดกิจกรรมหรือประชาสัมพันธ์ได้ ต้องใช้วิธีสื่อสารถึงตัว จึงไม่ใช่เรื่องง่าย ที่จะยืนยันสมาชิกได้ทันตามกำหนดเวลา  และว่า ขณะนี้ สิ่งที่น่ากังวลคือ การจัดทำเอกสาร เพื่อส่งคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ที่จะต้องดำเนินการในเวลาจำกัดด้วย

สำหรับกรณีที่มีการทำนายว่า พรรคประชาธิปัตย์ต้องจับมือพรรคเพื่อไทยเป็นฝ่ายค้าน  อภิสิทธิ์ กล่าวว่า การเป็นฝ่ายค้าน คงไม่ต้องจับมือกัน และพรรคประชาธิปัตย์ยืนยันว่า ทำงานตามอุดมการณ์และแนวทางของพรรค แต่ขณะนี้ยังไม่ต้องการพูดอะไรล่วงหน้า เพราะไม่มีใครทราบว่า ผลการเลือกตั้งจะเป็นอย่างไร 

พร้อมให้สมาชิกเลือกหัวหน้าพรรค รับเสี่ยงหลุดตำแหน่ง

มติชนออนไลน์ รายงานด้วยว่า อภิสิทธิ์ ส่งข้อความผ่านไลน์ถึงกลุ่มผู้ติดตาม กรณีคอลัมนิสต์ชื่อดังคนหนึ่ง เขียนถึง โดยวิจารณ์นายอภิสิทธิ์ ว่า แสดงความเห็นเป็นศัตรูกับคสช. วิจารณ์คสช.โดยไม่ได้อยู่บนหลักเหตุผลที่เป็นจริง และตั้งคำถามเรื่องความพร้อมที่จะถูกปลดล็อกออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคหรือไม่ โดย อภิสทธิ์ ระบุว่า "วันนี้คุณเปลวสีเงินที่เคารพนับถือกันทักทายมาแต่เช้าเลย ผมรับฟังทุกความเห็น เพียงแต่อยากจะบอกว่าปัญหาการยืนยันสมาชิกเป็นเรื่องยากที่บุคคลภายนอกจะเข้าใจปัญหาต่างๆ ที่คำสั่งคสช.ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงของสังคมไทยในเรื่องนี้"
 
"ผมตระหนักถึงสถานการณ์บ้านเมืองในยามไม่ปกติดีและไม่เคยแสดงความเห็นแบบเป็นศัตรูกับรัฐบาลหรือใคร แต่อยู่บนพื้นฐานของเหตุผล หลักการ ความถูกต้องของบ้านเมืองทั้งสิ้น ที่สำคัญที่สุดผมอยากจะตอบคำถามที่ว่าผมพร้อมถูกปลดล็อคไหมว่า พร้อมแน่นอนครับ เพราะผมเป็นคนริเริ่มให้สมาชิกหยั่งเสียงเลือกหัวหน้าพรรคเองทั้งที่คนที่เสี่ยงต่อความสูญเสียมากที่สุดคือตัวผมเอง ผมต้องการปฏิรูปพรรคเข้าสู่ยุคใหม่ ยืนยันรักษาอุดมการณ์ของพรรค สร้างความพร้อมในการเข้าไปแก้ปัญหาของประชาชน พรรคและบ้านเมืองสำคัญกว่าบุคคล สมาชิกจะให้คำตอบครับ" อภิสิทธิ์ ระบุ
 

ผบ.ทบ.ปัดตอบ คนใน คสช. เดินสายดูดนักการเมือง

ขณะที่วานนี้ (26 เม.ย.61) สำนักข่าวไทย รายงานด้วยว่า พล.อ.เฉลิมชัย สิทธิสาท ผู้บัญชาการทหารบก กล่าวถึงการเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์การเคลื่อนไหวทางการเมืองในช่วงเดือนพฤษภาคมนี้ ว่า ไม่มีอะไรที่น่าห่วงใย และต้องแยกเรื่องนี้ออกจากเรื่องการเมือง โดยในส่วนของความมั่นคง ทางกองทัพมีแผนรองรับอยู่แล้ว ส่วนการชุมนุมเป็นเรื่องของการเรียกร้องของคนกลุ่มเดิมที่อยากเลือกตั้ง แต่ยังไม่มีความชัดเจนเรื่องของสถานที่ รายละเอียดและจำนวนคน จึงต้องติดตามต่อไป แต่ไม่อยากให้สื่อไปตีข่าวว่าจะมีการชุมนุมใหญ่ เพราะจะส่งผลกระทบด้านเศรษฐกิจและด้านอื่น ๆ เพราะอาจจะไม่เป็นไปตามที่คาดคิดก็ได้ เป็นกระบวนการที่ทำต่อเนื่องมาตั้งแต่ช่วงก่อนสงกรานต์ 

"ส่วนที่กลุ่มการเมืองต่างๆออกมาเคลื่อนไหวในขณะนี้ เห็นว่าการเคลื่อนไหวยังอยู่ในกรอบ เป็นการแสดงความคิดเห็นของแต่ละกลุ่มการเมืองที่ต้องการแสดงตัวตน ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร แต่หากใครออกมาให้ข้อมูลที่ไม่มีหลักฐานเพียงพอ จะต้องดูว่าเกิดความเสียหายหรือไม่ หากเกิดความเสียหายสามารถแจ้งความดำเนินคดีได้ เพราะบ้านเมืองต้องตั้งอยู่บนข้อเท็จจริง หากกล่าวหากันลอย ๆ ไม่มีหลักฐาน อาจทำให้เกิดความสับสนได้" ผู้บัญชาการทหารบก กล่าว

ทั้งนี้ พล.อ.เฉลิมชัย ปฏิเสธตอบคำถามกรณี อภิสิทธิ์ เระบุว่าขณะนี้ คสช. เดินสายใช้พลังดูดนักการเมือง โดยใช้ตำแหน่งผู้ช่วยรัฐมนตรีเป็นตัวล่อ

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'อภิสิทธิ์' เผยคนใน รบ.จ้องสกัด 'กลุ่มทุน' หนุนพรรคการเมือง เปรยพวกไม่อายทำอะไรก็ได้เปรียบ

Posted: 27 Apr 2018 02:46 AM PDT

'อภิสิทธิ์' พร้อมให้สมาชิกเลือกหัวหน้าพรรค รับเสี่ยงหลุดตำแหน่ง เผยคนในรัฐบาลจ้องสกัด 'กลุ่มทุน' หนุนพรรคการเมือง เปรยพวกไม่อายก็จะได้เปรียบ ร้องแข่งขันกันอย่างเสมอภาค แล้วประชาชนจะเป็นผู้ให้คำตอบในผลการเลือกตั้ง ด้าน ผบ.ทบ.ปัดตอบ คนใน คสช. เดินสายดูดนักการเมือง

แฟ้มภาพ

27 เม.ย.2561 สำนักข่าวไทย รายงานว่า อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์  เปิดเผยว่า ได้รับคำยืนยันว่า มีคนในรัฐบาลพูดว่า มีความพยายามจะสกัดกั้น ไม่ให้กลุ่มทุนเข้ามาสนับสนุนพรรคการเมือง แต่พรรคประชาธิปัตย์ไม่ติดใจ และยืนยันจะสู้ตามแนวทางที่ถูกต้อง แม้เสียเปรียบ พร้อมเปรียบเปรยว่า คนที่ทำอะไร "ไม่อาย" ก็จะได้เปรียบ 

"ขอเรียกร้องให้มีการแข่งขันกันอย่างเสมอภาค แล้วประชาชนจะเป็นผู้ให้คำตอบในผลการเลือกตั้ง และเมื่อผลการเลือกตั้งออกมา ก็ควรที่จะเคารพเจตนารมณ์ของประชาชน  แม้จะมีอำนาจตามรัฐธรรมนูญในการเลือกนายกรัฐมนตรี แต่หากไม่ฟังเสียงประมาชน เชื่อว่าในอนาคตจะมีปัญหาแน่ เพราะหากเริ่มต้นการเข้าสู่อำนาจที่ไม่สุจริตแล้ว จะเกิดปัญหาความขัดแย้งตามมาอย่างแน่นอน" อภิสิทธิ์ กล่าว 

อภิสิทธิ์ กล่าวว่า แม้จะมีกระแสทาบทามอดีต ส.ส. ไปสังกัดพรรคใหม่ แต่ยังมั่นใจว่า อดีต ส.ส.ของพรรคประชาธิปัตย์ส่วนใหญ่ ยังพร้อมที่จะทำงานกับพรรค และยังไม่มีคนมาบอกว่าจะไปอยู่ที่อื่น ยกเว้น 1-2 คนที่มีเหตุผลส่วนตัว แต่ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไร ก็ต้องเคารพการตัดสินใจ และว่า ขณะนี้พรรคมีคนรุ่นใหม่ อายุ 25-30 ปีเศษ ที่ต้องการเข้ามาทำงานการเมือง และพร้อมที่จะมาช่วยพัฒนาบ้านเมือง ซึ่งพรรคเตรียมพร้อมที่จะปฏิรูปพรรค ให้สมาชิกมีส่วนร่วมโดยตรง ในการหยั่งเสียงหัวหน้าพรรค 

อภิสิทธิ์ ยังกล่าวถึง การยืนยันสมาชิกพรรคเดิม ที่ใกล้ครบกำหนดในสิ้นเดือนนี้ ว่า มีรายงานเข้ามาว่า มีสมาชิกยืนยันหลักหมื่น ซึ่งลดลงจำนวนมาก  แต่ไม่รู้สึกแปลกใจ เพราะไม่สามารถจัดกิจกรรมหรือประชาสัมพันธ์ได้ ต้องใช้วิธีสื่อสารถึงตัว จึงไม่ใช่เรื่องง่าย ที่จะยืนยันสมาชิกได้ทันตามกำหนดเวลา  และว่า ขณะนี้ สิ่งที่น่ากังวลคือ การจัดทำเอกสาร เพื่อส่งคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ที่จะต้องดำเนินการในเวลาจำกัดด้วย

สำหรับกรณีที่มีการทำนายว่า พรรคประชาธิปัตย์ต้องจับมือพรรคเพื่อไทยเป็นฝ่ายค้าน  อภิสิทธิ์ กล่าวว่า การเป็นฝ่ายค้าน คงไม่ต้องจับมือกัน และพรรคประชาธิปัตย์ยืนยันว่า ทำงานตามอุดมการณ์และแนวทางของพรรค แต่ขณะนี้ยังไม่ต้องการพูดอะไรล่วงหน้า เพราะไม่มีใครทราบว่า ผลการเลือกตั้งจะเป็นอย่างไร 

พร้อมให้สมาชิกเลือกหัวหน้าพรรค รับเสี่ยงหลุดตำแหน่ง

มติชนออนไลน์ รายงานด้วยว่า อภิสิทธิ์ ส่งข้อความผ่านไลน์ถึงกลุ่มผู้ติดตาม กรณีคอลัมนิสต์ชื่อดังคนหนึ่ง เขียนถึง โดยวิจารณ์นายอภิสิทธิ์ ว่า แสดงความเห็นเป็นศัตรูกับคสช. วิจารณ์คสช.โดยไม่ได้อยู่บนหลักเหตุผลที่เป็นจริง และตั้งคำถามเรื่องความพร้อมที่จะถูกปลดล็อกออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคหรือไม่ โดย อภิสทธิ์ ระบุว่า "วันนี้คุณเปลวสีเงินที่เคารพนับถือกันทักทายมาแต่เช้าเลย ผมรับฟังทุกความเห็น เพียงแต่อยากจะบอกว่าปัญหาการยืนยันสมาชิกเป็นเรื่องยากที่บุคคลภายนอกจะเข้าใจปัญหาต่างๆ ที่คำสั่งคสช.ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงของสังคมไทยในเรื่องนี้"
 
"ผมตระหนักถึงสถานการณ์บ้านเมืองในยามไม่ปกติดีและไม่เคยแสดงความเห็นแบบเป็นศัตรูกับรัฐบาลหรือใคร แต่อยู่บนพื้นฐานของเหตุผล หลักการ ความถูกต้องของบ้านเมืองทั้งสิ้น ที่สำคัญที่สุดผมอยากจะตอบคำถามที่ว่าผมพร้อมถูกปลดล็อคไหมว่า พร้อมแน่นอนครับ เพราะผมเป็นคนริเริ่มให้สมาชิกหยั่งเสียงเลือกหัวหน้าพรรคเองทั้งที่คนที่เสี่ยงต่อความสูญเสียมากที่สุดคือตัวผมเอง ผมต้องการปฏิรูปพรรคเข้าสู่ยุคใหม่ ยืนยันรักษาอุดมการณ์ของพรรค สร้างความพร้อมในการเข้าไปแก้ปัญหาของประชาชน พรรคและบ้านเมืองสำคัญกว่าบุคคล สมาชิกจะให้คำตอบครับ" อภิสิทธิ์ ระบุ
 

ผบ.ทบ.ปัดตอบ คนใน คสช. เดินสายดูดนักการเมือง

ขณะที่วานนี้ (26 เม.ย.61) สำนักข่าวไทย รายงานด้วยว่า พล.อ.เฉลิมชัย สิทธิสาท ผู้บัญชาการทหารบก กล่าวถึงการเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์การเคลื่อนไหวทางการเมืองในช่วงเดือนพฤษภาคมนี้ ว่า ไม่มีอะไรที่น่าห่วงใย และต้องแยกเรื่องนี้ออกจากเรื่องการเมือง โดยในส่วนของความมั่นคง ทางกองทัพมีแผนรองรับอยู่แล้ว ส่วนการชุมนุมเป็นเรื่องของการเรียกร้องของคนกลุ่มเดิมที่อยากเลือกตั้ง แต่ยังไม่มีความชัดเจนเรื่องของสถานที่ รายละเอียดและจำนวนคน จึงต้องติดตามต่อไป แต่ไม่อยากให้สื่อไปตีข่าวว่าจะมีการชุมนุมใหญ่ เพราะจะส่งผลกระทบด้านเศรษฐกิจและด้านอื่น ๆ เพราะอาจจะไม่เป็นไปตามที่คาดคิดก็ได้ เป็นกระบวนการที่ทำต่อเนื่องมาตั้งแต่ช่วงก่อนสงกรานต์ 

"ส่วนที่กลุ่มการเมืองต่างๆออกมาเคลื่อนไหวในขณะนี้ เห็นว่าการเคลื่อนไหวยังอยู่ในกรอบ เป็นการแสดงความคิดเห็นของแต่ละกลุ่มการเมืองที่ต้องการแสดงตัวตน ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร แต่หากใครออกมาให้ข้อมูลที่ไม่มีหลักฐานเพียงพอ จะต้องดูว่าเกิดความเสียหายหรือไม่ หากเกิดความเสียหายสามารถแจ้งความดำเนินคดีได้ เพราะบ้านเมืองต้องตั้งอยู่บนข้อเท็จจริง หากกล่าวหากันลอย ๆ ไม่มีหลักฐาน อาจทำให้เกิดความสับสนได้" ผู้บัญชาการทหารบก กล่าว

ทั้งนี้ พล.อ.เฉลิมชัย ปฏิเสธตอบคำถามกรณี อภิสิทธิ์ เระบุว่าขณะนี้ คสช. เดินสายใช้พลังดูดนักการเมือง โดยใช้ตำแหน่งผู้ช่วยรัฐมนตรีเป็นตัวล่อ

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สนช. ไฟเขียว ร่าง พ.ร.ก.การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว

Posted: 27 Apr 2018 02:23 AM PDT

สนช. มีมติเอกฉันท์ เห็นชอบ ร่าง พ.ร.ก.การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว รมว.แรงงานแจงปลดล็อค ลดขั้นตอนการดำเนินการให้สะดวกและง่ายขึ้น  และปรับปรุงอัตราโทษให้เหมาะสม 

 

เมื่อวันที่ 26 เม.ย.ที่ผ่านมา สำนักข่าวไทย รายงานว่า วันดังกล่าว ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) สุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธาน สนช. ทำหน้าที่ประธานการประชุม มีมติเอกฉันท์ 177 เสียง เห็นชอบกับร่าง พ.ร.ก.การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561 และมีมติ 176 เสียง เห็นชอบกับ พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง ที่คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ

พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน  ชี้แจงหลักการและเหตุผลการเสนอกฎหมาย ว่า  เพื่อปลดล็อค และแก้ปัญหากรณีการใช้แรงงานต่างชาติในประเทศไทย ที่เป็นปัญหาอยู่ขณะนี้ ให้มีการใช้กฎหมายเท่าที่จำเป็นเท่านั้น ลดขั้นตอนการดำเนินการให้สะดวกและง่ายขึ้น  และปรับปรุงอัตราโทษให้เหมาะสม เพื่อให้การบังคับใช้มีประสิทธิภาพ  มั่นใจว่า การปรับปรุงกฎหมายดังกล่าว จะช่วยสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศได้

รายงานข่าวยังระบุว่า การอภิปรายของสมาชิก สนช. ส่วนใหญ่ต่างสนับสนุนร่างกฎหมายดังกล่าว เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการไทยไม่ให้ขาดแคลนแรงงาน โดยเฉพาะในระดับกรรมกร   ขณะที่ สมาชิกบางส่วนตั้งข้อสังเกตว่า การปรับลดโทษ และยกเว้นการปฏิบัติบางเรื่อง จะสามารถแก้ไขปัญหาได้จริงหรือไม่ รวมถึง แนวทางการแก้ไขปัญหากรณีแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานโดยไม่มีนายจ้าง  อาจเข้ามาแย่งงานคนไทย หรือทำธุรกิจใต้ดินได้

สำหรับสาระสำคัญของร่าง พ.ร.ก.การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว เพื่อให้มีการใช้ระบบอนุญาตเพียงเท่าที่จำเป็น และกำหนดกระบวนการในการควบคุม และตรวจสอบการนำคนต่างด้าวเข้ามาทำงาน  อาทิ กรณีนายจ้างจ้างแรงงานต่างด้าวที่ถูกกฎหมายทำงาน หรือเปลี่ยนสถานที่ทำงาน รวมถึง ยกเลิกประกาศเขตที่พักอาศัยของแรงงานต่างด้าว โดยให้แรงงานสามารถทำงานและพักที่ใดก็ได้  เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน ขณะเดียวกัน ห้ามนายจ้างเรียกเก็บค่าใช้จ่ายจากแรงงานต่างด้าว เพื่อป้องกันการเอารัดเอาเปรียบ จนเป็นเหตุให้เกิดการค้ามนุษย์  

การปรับปรุงอัตราโทษให้มีความเหมาะสม อาทิ มาตรา 101 ที่กำหนดโทษแรงงานต่างด้าวที่ไม่มีใบอนุญาตจากเดิมจำคุก 5 ปี ปรับ 2 หมื่น-1 แสนบาท โดยตัดโทษจำคุกออก เหลือเพียงโทษปรับ 5 พัน-5 หมื่นบาท  เช่นเดียวกับ มาตรา 102  ที่กำหนดให้นายจ้างที่จ้างแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย จากโทษปรับเดิมตั้งแต่ 4-8 แสนบาท ต่อแรงงานต่างด้าว 1 คน เหลือ 1 หมื่น-1 แสนบาทต่อคน  และใครทำผิดซ้ำซากจะจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับ 5 หมื่น-2 แสนบาท และห้ามจ้างแรงงานต่างด้าวเป็นเวลา 3 ปี  ทั้งนี้ ในบทเฉพาะกาลกำหนดมิให้นำมาตราที่ถูกพักการบังคับใช้มาบังคับใช้ จนกว่าจะถึงวันที่ 1 ก.ค.นี้

ขณะที่ สาระสำคัญของ พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวและกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

TDRI: หาบเร่แผงลอย วิถีชีวิตที่รัฐมองข้าม

Posted: 27 Apr 2018 02:07 AM PDT

 


ช่วงหลายปีหลังนี้ ประเทศไทยได้รับการโหวตให้เป็นมหานครแห่ง street food หรือ 'เมืองหลวงแห่งร้านอาหารริมถนน' เป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งที่นักท่องเที่ยวต่างประเทศชื่นชอบ หลายคนกล่าวว่านี่คือเอกลักษณ์ของกรุงเทพฯและประเทศไทยเลยทีเดียว ทว่าตั้งแต่ภาครัฐ (กรุงเทพมหานครและกองบัญชาการตำรวจนครบาล) มีนโยบายจัดระเบียบสังคมในหลาย ๆ เรื่อง หาบเร่แผงลอยริมถนนและทางเท้าก็ถูกจัดระเบียบไปด้วย และที่น่าเสียดายคือแทนที่จะเป็นการจัดระเบียบอย่างอะลุ่มอล่วย หาทางออกร่วมกัน ภาครัฐกลับเลือกใช้มาตรการที่ค่อนข้างเด็ดขาดคือการยกเลิกจุดผ่อนผันหลายร้อยจุดในระยะเวลาเพียง 2-3 ปี

แม้เหตุผลเรื่องความสะอาดและความปลอดภัยของผู้ใช้ทางเท้า รวมทั้งความเดือดร้อนของผู้อยู่อาศัยหรือร้านค้าที่หาบเร่แผงลอยไปตั้งอยู่หน้าร้านจะเป็นเรื่องจริงและเข้าใจได้ว่าต้องได้รับการแก้ไข แต่ก็ต้องพิจารณาถึงประโยชน์ของการมีหาบเร่แผงลอย รวมทั้งผลกระทบต่อชีวิตของเหล่าแม่ค้าพ่อค้าจำนวนเรือนแสน (หรือเรือนล้านถ้าคิดรวมสมาชิกครอบครัวเขาเหล่านั้นด้วย)

หาบเร่แผงลอยมีประโยชน์อย่างไร เรื่องนี้มีงานวิจัยโดยนักวิชาการของไทยและเทศ (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และองค์กร WEIGO) ทำไว้จำนวนหนึ่ง เช่นหาบเร่แผงลอยให้ความสะดวกสบายในการซื้อหาและด้วยราคาที่ย่อมเยา เพียงแค่ออกจากระบบขนส่งมวลชนอย่าง รถเมล์ รถไฟฟ้า ร้านหาบเร่แผงลอยก็มีพร้อมให้บริการในทุกที่ที่มีผู้คนสัญจรไปมา จากงานวิจัยพบว่ากลุ่มลูกค้าสำคัญคือ พนักงานออฟฟิศ เจ้าหน้าที่ของรัฐ นักเรียน รวมไปถึงแรงงานที่ได้รับค่าแรงขั้นต่ำ โดยร้อยละ 60 ของประชากรที่มีรายได้ต่ำกว่า 9,000 บาทต่อเดือนจะมีการซื้อของจากร้านหาบเร่แผงลอยทุกวัน ซึ่งหากร้านค้าหาบเร่แผงลอยหายไป คนกลุ่มดังกล่าวจะต้องซื้ออาหารในราคาที่แพงขึ้นและจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มถึงเดือนละ 357 บาท หรือมากกว่าค่าแรงขั้นต่ำที่พวกเค้าได้รับในหนึ่งวัน นอกจากเรื่องของค่าครองชีพแล้ว หาบเร่แผงลอยยังมีส่วนสำคัญในการกระตุ้นเศรษฐกิจ เพราะช่วยดึงดูดผู้คนให้สัญจรผ่านในพื้นที่ดังกล่าว ทำให้บริเวณดังกล่าวไม่กลายเป็นพื้นที่เปลี่ยวและภาคธุรกิจใกล้เคียงได้รับประโยชน์ไปด้วย เช่น ในพื้นที่ปากคลองตลาด การมีอยู่ของร้านหาบเร่แผงลอยที่ขายดอกไม้เป็นปัจจัยสำคัญในการดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเยือนและจับจ่ายในช่วงเวลากลางคืน ดังจะเห็นได้จากการยกเลิกพื้นที่ขายดอกไม้บนทางเท้าเมื่อปี พ.ศ. 2559 ส่งผลกระทบต่อยอดขายของภาคธุรกิจในบริเวณดังกล่าวที่ลดจากเดิมมากถึงร้อยละ 70 นอกจากนั้นความคึกคักของทางเดินเท้ายังเป็นการสร้างความปลอดภัยให้กับชุมชน ตัวอย่างเช่นพื้นที่ซอยรางน้ำที่เป็นซอยลึกแต่มีการสัญจรไปมาของผู้คนตลอดเวลา ไม่เปลี่ยวร้าง

ในด้านผลกระทบต่อชีวิตของแม่ค้าพ่อค้าหาบเร่แผงลอยนั้น งานวิจัยของธรรมศาสตร์ พบว่ามากกว่าร้อยละ 70 ของผู้ค้าเป็นผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปี โดยส่วนหนึ่งเป็นผู้หญิงและจบการศึกษาในระดับประถมศึกษาเท่านั้น ทำให้มีทางเลือกในการประกอบอาชีพอื่นน้อยมาก การยกเลิกจุดผ่อนผันที่ผ่านมาจึงทำให้ชีวิตคนเหล่านี้มีความลำบาก มีหนี้สินเพิ่มขึ้น มีความเครียด อาการทางจิต และมีหนึ่งรายที่ฆ่าตัวตาย (แต่ยังไม่แน่ว่าเป็นผลจากการถูกเลิกขายหรือไม่)

ข้อพิจารณาอีกด้านที่ภาครัฐมองข้ามไป คือผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวม เนื่องจากจำนวนผู้ค้าหาบเร่แผงลอยที่ถูกยกเลิกการผ่อนผันมีจำนวนมาก กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่หายไปจึงน่าจะส่งผลต่อภาวะเศรษฐกิจโดยรวมเช่นกันและน่าจะเป็นอีกหนึ่งสาเหตุของอาการ 'แข็งบนอ่อนล่าง' ของเศรษฐกิจไทยในระยะนี้ที่เศรษฐกิจรากหญ้ายังมีความอ่อนแอ ย้อนแย้งกับภาพความเข้มแข็งของกลุ่มที่อยู่ 'ข้างบน' เช่น บริษัทส่งออกขนาดใหญ่ เมื่อเร็ว ๆ นี้บริษัทหนึ่งที่ปล่อยสินเชื่อให้กับกลุ่มรากหญ้าก็ระบุว่าสัดส่วนหนี้เสียในเขตกรุงเทพมหานครสูงกว่าในจังหวัดอื่น คาดว่าส่วนหนึ่งเป็นผลจากนโยบายยกเลิกจุดผ่อนผันหาบเร่แผงลอยนี้นั่นเอง

ดังนั้นจึงควรมีการปรับปรุงแนวทางแก้ปัญหาของภาครัฐในเรื่องนี้ ต้องทบทวนมาตรการที่ดำเนินมาแล้วเช่นการจัดพื้นที่อื่นมาทดแทนให้ซึ่งในข้อเท็จจริงพบว่าพื้นที่ดังกล่าวไม่เหมาะสมแก่การประกอบอาชีพ ทั้งจากค่าเช่าที่เพิ่มสูงขึ้นในกรณีพื้นที่ของเอกชนหรือเป็นทำเลที่ตั้งที่ไม่มีผู้คนสัญจรผ่าน แนวทางการจัดระเบียบการค้าบนทางเท้าจึงควรเป็นการ 'จัดระเบียบ' จริง ๆ คือไม่จำเป็นต้องยกเลิกจุดผ่อนผัน แต่ควรร่วมกันปรึกษาหารือกับผู้ค้าถึงการกำหนดกฎระเบียบและการปฏิบัติตามกฎระเบียบ โดยระเบียบใหม่ต้องตอบโจทย์ทั้งภาครัฐคือเรื่องความสะอาดและความปลอดภัยของผู้สัญจร (เช่นกำหนดให้ต้องมีช่องว่างอย่างน้อยหนึ่งเมตรบนทางเท้า) และตอบโจทย์ผู้ค้าให้ยังสามารถขายในพื้นที่เดิมได้

ประเด็นสำคัญที่เห็นห่วงกันมาก คือผู้ค้าจะสามารถปฏิบัติตามระเบียบได้หรือไม่ อย่างที่ผู้ว่า กทม. ให้สัมภาษณ์ว่าแค่ 3 วันก็กลับมาวางเกะกะเหมือนเดิม เรื่องนี้เสนอว่าผู้ค้าต้องมีการรวมตัวเพื่อดูแลควบคุมกันเอง มีการลงโทษผู้ไม่ปฏิบัติตามระเบียบอย่างเคร่งครัด แบ่งเบาภาระของเจ้าหน้าที่ที่อาจเบื่อหน่ายในการมาไล่จับผู้กระทำผิด ช่วยกันสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของผู้ค้าหาบเร่และสร้างความเชื่อมั่นแก่สังคมโดยรวม

โดยสรุปการแก้ปัญหาความไม่เป็นระเบียบบนทางเท้าที่เกิดขึ้นในสังคมไทยสามารถทำได้อย่างร่วมด้วยช่วยกัน ไม่ควรหักด้ามพร้าด้วยเข่าจนไปเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของผู้ด้อยโอกาสในสังคมซึ่งอีกด้านหนึ่งก็เป็นเสน่ห์ของกรุงเทพมหานครเช่นกัน

 

เกี่ยวกับผู้เขียน:  ดร.สมชัย จิตสุชน ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการวิจัย ด้านการพัฒนาอย่างทั่วถึง และ นายชาคร เลิศนิทัศน์ ตำแหน่งนักวิจัย สถุาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(ทีดีอาร์ไอ)

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

“ทวงคืนเสรีภาพสื่อ ปลดล็อคคำสั่ง คสช.” ถูกเลือกเป็นสโลแกนวันเสรีภาพสื่อฯ 2561

Posted: 27 Apr 2018 12:56 AM PDT

สมาคมนักข่าว นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยประกาศรางวัลประกวดสโลแกนวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก เลือก "ทวงคืนเสรีภาพสื่อ ปลดล็อคคำสั่ง คสช." จากผู้สื่อข่าวแนวหน้า เป็นรางวัลยอดเยี่ยม

เมื่อวันที่ 25 เม.ย. 2561 เว็บไซต์สมาคมนักข่าว นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย รายงานว่า ปรัชญาชัย ดัชถุยาวัตร อุปนายกฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ตามที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยมีประกาศเมื่อวันที่ 9 เม.ย. 2561 เชิญชวนผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน รวมทั้งผู้ปฏิบัติหน้าที่ในกองบรรณาธิการสื่อ ส่งสโลแกนเข้าประกวดเนื่องในวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก (World press freedom day) 3 พ.ค. 2561 โดยยึดเนื้อหาจากสถานการณ์ความมีเสรีภาพ การแสดงความคิดเห็นของประชาชน ท่ามกลางบรรยากาศที่ประเทศไทยกำลังเข้าสู่ห้วงเวลาของการเลือกตั้งที่มีการบังคับใช้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 ที่ได้รับรองสิทธิเสรีภาพของประชาชนและสื่อมวลชน  แต่ขณะเดียวกันก็ยังคงมีการบังคับใช้ประกาศและคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่จำกัดเสรีภาพอยู่หลายฉบับ  โดยเฉพาะประกาศ คสช. ฉบับที่ 97/2557, ประกาศ คสช. ฉบับที่ 103/2557 และคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 (ข้อ5) เป็นต้น

ปรากฏว่าตั้งแต่วันเริ่มออกประกาศเชิญชวน จนถึงวันสิ้นสุด คือวันที่ 20 เมษายนที่ผ่านมา มีผู้ส่งสโลแกนเข้าประกวดทั้งสิ้นจำนวน 35 สโลแกน  โดยคณะกรรมการตัดสินฯ ได้ประชุมและมีคำตัดสินเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2561 ดังนี้  รางวัลสโลแกนยอดเยี่ยม ได้แก่ สโลแกน "ทวงคืนเสรีภาพสื่อ ปลดล็อกคำสั่งคสช." ของอัญชลี บุญชนะ จาก หนังสือพิมพ์แนวหน้า ได้รับเงินรางวัล 5,000 บาท พร้อมหนังสือเบื้องแรกประชาธิปตัย 1 ชุด มูลค่า 1,000 บาท  โดยอัญชลี ระบุเหตุผลของสโลแกนนี้ตอนหนึ่ง ว่า "หลัง คสช. รัฐประหารเมื่อ 22 พ.ค. 2557 สื่อถูกจำกัดเสรีภาพ ในการแสดงออกไม่สามารถเสนอข่าวสารและวิพากษ์วิจารณ์ได้อย่างอิสรเสรี แถมคนทำสื่อยังถูกคุกคามในลักษณะต่างๆ องค์กรวิชาชีพได้รณรงค์เรียกร้องให้รัฐบาล และ คสช. หยุดลิดรอนสิทธิเสรีภาพสื่อมาเป็นลำดับ  จนถึงบัดนี้ก็ไม่มีวี่แววว่าจะได้รับการตอบสนอง โดยเฉพาะประกาศและคำสั่งของ คสช. ที่จำกัดเสรีภาพสื่อ ซึ่งมีสถานะเป็นกฎหมาย การจะยกเลิกเป็นเรื่องยากยิ่ง ดังนั้น นับแต่ไปอีก 1 ปี เป็นโอกาสที่ประเทศไทยจะเข้าสู่โหมดการเลือกตั้งตามโรดแมป จึงเป็นเวลาที่จะต้องทวงคืนเสรีภาพสื่อกลับคืนมา วิธีการก็คือการปลดล็อก หรือการยกเลิกคำสั่งและประกาศ คสช."

สำหรับสโลแกนที่ได้รับรางวัลชมเชย จำนวน 3 รางวัลๆ ละ 2,000  บาท พร้อมหนังสือเบื้องแรกประชาธิปตัย 1 ชุด ได้แก่  1.สโลแกน "คืนเสรีภาพสื่อ คืนสิทธิ์รับรู้ประชาชน" ของอนุพนธ์ ศักดิ์ดา จากหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์  2.สโลแกน "เลิก" ปิดกั้นสื่อ "หยุด" ครอบงำประชาชน" ของอนุชา ทองเติม จากหนังสือพิมพ์มติชน  และ 3.สโลแกน "เอาคำสั่ง คสช. คืนไป เอาเสรีภาพสื่อคืนมา" ของเขมิกา พลายงาม จากหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ รายวัน

ทั้งนี้ ขอให้ผู้ที่ได้รับรางวัลทุกรางวัล มารับมอบรางวัลอย่างเป็นทางการในวันพฤหัสบดีที่ 3 พฤษภาคม  2561 ในการจัดกิจกรรมวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก  ซึ่งสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ และองค์กรภาคี ที่อาคารสมาคมนักข่าวฯ ถนนสามเสน (ตรงข้ามโรงพยาบาลวชิระ) ระหว่างเวลา 10.00 - 12.00 น. ณ ห้องประชุมอิศรา อมันตกุล ชั้น 3 สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย โดยจะมีกิจกรรมอื่นๆ อาทิ การกล่าวไว้อาลัยแก่สื่อมวลชนที่ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตจากการปฏิบัติหน้าที่, การอ่านแถลงการณ์เนื่องในวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก และเสวนา หัวข้อ "ปลดคำสั่ง 0.4 เดินหน้าเสรีภาพประชาชน" จากวิทยากรต่างๆ ร่วมเสวนา อาทิ จิรชัย มูลทองโร่ย ประธานคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ ด้านสื่อมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ,  ฐิติรัตน์ ทิพย์สัมฤทธิ์กุล คณะนิติศาสตร์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,  ก้าวโรจน์ สุตาภักดี นายกสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์  และพูนสุข พูนสุขเจริญ ทนายความและหัวหน้าฝ่ายข้อมูล ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน โดยมานพ ทิพย์โอสถ ที่ปรึกษาฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ สมาคมนักข่าวฯ ทำหน้าที่ผู้ดำเนินรายการ

นอกจากนี้ ทุกสโลแกนที่ส่งเข้ามาประกวดจะได้รับบัตรโดยสารบีทีเอส แรบบิท รุ่น Limited Edition ที่มีโลโก้สมาคมนักข่าวฯ พร้อมวงเงินพร้อมใช้ในบัตร มูลค่า 200 บาท สามารถนำไปใช้โดยสารรถไฟฟ้า BTS  รวมถึงใช้ซื้อและเป็นส่วนลดสินค้าที่ร่วมรายการได้  จึงขอให้ทุกท่านติดต่อขอรับบัตรแรบบิทได้ในงานวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก 3 พ.ค.2561 หรือติดต่อได้ในวันและเวลาทำการของสมาคมนักข่าว (วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 10.00-18.00 น.) หรือ จัดส่งไปรษณีย์ในกรณีอยู่ต่างจังหวัด

"สมาคมนักข่าวฯ ขอขอบคุณทุกท่านที่ร่วมส่งผลงานเข้าประกวดสโลแกนครั้งนี้ และขอเชิญชวนเพื่อนพี่น้องสื่อมวลชนทุกท่าน ทั้งนักข่าว ช่างภาพ บุคลากรในกองบรรณาธิการ นักวิชาการ นักศึกษาและประชาชนที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก 3 พ.ค. 2561 ซึ่งเป็นวันสำคัญที่สื่อมวลชนทั่วโลก ที่กำหนดโดยยูเนสโก้ ซึ่งแต่ละประเทศมีการรณรงค์ให้สังคมตระหนักถึงความสำคัญในการมีเสรีภาพของสื่อมวลชน"ปรัชญาชัย กล่าว

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

‘รัฐสวัสดิการ’ เรื่องจริงไม่อิงนิยาย ล้างมายาคติ-ลดงบกลาโหม-เก็บภาษีฐานทรัพย์สิน

Posted: 27 Apr 2018 12:15 AM PDT

ษัษฐรัมย์อธิบายระบบทุนนิยมทำชีวิตคนเปราะบาง ไม่มั่นคง ระบุ 3 ฐานคิดอุปสรรคต่อการสร้างรัฐสวัสดิการ-อนุรักษ์นิยมใหม่ ท้องถิ่นนิยม และเสรีนิยมใหม่ ย้ำว่ารัฐสวัสดิการไม่ได้ทำให้คนขี้เกียจ แต่จะเพิ่มศักยภาพคน เพิ่มความเป็นประชาธิปไตย แค่ลดงบกลาโหม-มหาดไทย เก็บภาษีฐานทรัพย์สิน ไทยสามารถสร้างรัฐสวัสดิการแบบนอร์ดิกได้

 

  • สวัสดิการคือสิทธิของประชาชนที่รัฐต้องจัดหาให้
  • อนุรักษ์นิยมใหม่ ท้องถิ่นนิยม และเสรีนิยมใหม่ คือ 3 ฐานคิดอุปสรรคต่อการสร้างรัฐสวัสดิการ
  • รัฐสวัสดิการทำให้คนขี้เกียจ ต่างชาติไม่มาลงทุน ประเทศไทยไม่มีความพร้อม และก่อให้เกิดปัญหาคอร์รัปชั่น เป็นมายาคติที่ต้องรื้อถอน
  • ลดงบกลาโหม-มหาดไทย เก็บภาษีฐานทรัพย์สิน เพิ่มประสิทธิภาพข้อมูลของราชการ รวมระบบสวัสดิการสุขภาพ จะได้เงิน 750,000 ล้านบาท เพียงพอสำหรับสร้างรัฐสวัสดิการแบบนอร์ดิก

 

หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าทำให้สังคมไทยเริ่มรู้จักคำว่า 'รัฐสวัสดิการ' เรียกว่าเริ่มลงหลัก แต่ยังไม่ปักฐาน มิหนำซ้ำเวลานี้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ากำลังเผชิญความท้าทายครั้งสำคัญจากรัฐบาลคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เพราะเมื่อดูจากเนื้อหาแผนปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุขพบว่ามีแนวโน้มว่าจะทำลายหลักการสำคัญของหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าลง

ขณะที่คนส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจรัฐสวัสดิการ ไม่เข้าใจว่ามันคือสิทธิของตนที่รัฐจะต้องจัดหาให้ประชาชนในฐานะผู้เสียภาษี ซ้ำยังมีมายาคติที่ว่ารัฐสวัสดิการจะทำให้คนขี้เกียจ เศรษฐกิจย่ำแย่ ที่สำคัญคือคำถามที่ว่าจะเอาเงินมาจากไหน

ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี จากวิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ในบรรยายหัวข้อ 'ความเป็นไปได้ในการจัดสวัสดิการถ้วนหน้าของรัฐไทย' ในงานเสวนา 'ไทยนิยม (ไม่) ยั่งยืน' หยุดรัฐสงเคราะห์ เดินหน้ารัฐสวัสดิการ ประชาชนต้องมีบำนาญถ้วนหน้า ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 25 เมษายนที่ผ่านมา ที่สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดโดยเครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ ที่จะทำให้เห็นว่ารัฐสวัสดิการสามารถเป็นไปได้จริงในประเทศไทย

ชีวิตบนความเปราะบาง

"ความจน ความด้อยโอกาส ความสิ้นหวัง ถูกทำให้กลายเป็นแฟนตาซีให้เราเสพและชม คนที่มีโอกาสมองว่ามีคนที่ด้อยโอกาสกว่าเรา เราต้องออกไปทำงานรับใช้ระบบให้มากขึ้น ส่วนคนที่ด้อยโอกาสเหมือนกันก็มองว่าอย่างน้อยยังมีการโอบอุ้มดูแล แต่ถ้าทุกอย่างถูกทำให้เป็นการสงเคราะห์ เราต้องลดค่าความเป็นมนุษย์เพื่อจะได้รับการช่วยเหลือดูแล นี่คือกระแสที่เกิดขึ้นในสังคมไทย"

ษัษฐรัมย์ อธิบายว่า ปัจจุบันประชาชนแบกรับความเสี่ยงแทนระบบเศรษฐกิจ ในช่วง 20-30 ปีที่ผ่านมาหลังจากระบบเศรษฐกิจเติบโตภายใต้ลัทธิเสรีนิยมใหม่ กลุ่มทุนสามารถสะสมทุนได้ง่ายขึ้นและพยายามกดดันรัฐให้ตัดสวัสดิการภายใต้เงื่อนไขต่างๆ นั่นคือแนวโน้มของคนที่รวยที่สุด 1 เปอร์เซ็นต์มีอัตราการเติบโตสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันคนที่จนที่สุดก็มีแนวโน้มจะจนมากขึ้น แม้มูลค่าทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นมหาศาลอย่างต่อเนื่อง แต่คนส่วนใหญ่กลับมีชีวิตเปราะบาง ยากลำบากมากขึ้น

วิถีชีวิตในระบบทุนนิยม คนส่วนใหญ่เกิดมาพร้อมกับความจน ต่อสู้ดิ้นรนเพื่อตนเองกระทั่งชีวิตเริ่มดีขึ้น พอมีครอบครัวชีวิตก็กลับไปจนอีก เริ่มฟื้นตัวเมื่อลูกๆ เรียนจบตอน 50 ชีวิตเริ่มสบายขึ้นไม่กี่ปีก็ต้องเกษียณ ต่อจากนั้นก็ดำรงชีวิตอยู่ด้วยเงินออมที่พอมีอยู่บ้าง

"แต่ในประเทศที่มีรัฐสวัสดิการ เป็นสิทธิถ้วนหน้า ครบวงจร ไม่ต้องมีการพิสูจน์ เช่นกลุ่มประเทศนอร์ดิก คุณเกิดมาจนกระทั่งตาย ระดับความยากจนของคุณอยู่ในระดับต่ำ คุณไม่จำเป็นต้องคิดว่าต้องเก็บเงินเพื่ออนาคต คุณสามารถใช้ชีวิตกับปัจจุบันได้ สามารถลงทุนในสิ่งที่คุณต้องการจริงๆ ได้ คุณสามารถไปเที่ยว ดูละครเวที งานวิจัยของอาจารย์เดชรัต สุขกำเนิด พบว่าคน 50 เปอร์เซ็นต์ล่างใช้เงินหมดไปกับค่ากิน เราไม่มีสิทธิซื้อความบันเทิงในชีวิตอื่นๆ แต่สิ่งเหล่านี้ไม่เกิดขึ้นในประเทศที่มีรัฐสวัสดิการ"

ความเข้าใจผิดประการสำคัญของผู้คัดค้านรัฐสวัสดิการก็คือประเทศไทยไม่ใช่ประเทศร่ำรวย แต่ษัษฐรัมย์กล่าวว่าประเทศรัฐสวัสดิการเหล่านี้ก็ไม่ได้ร่ำรวยเมื่อเริ่มนโยบายรัฐสวัสดิการ หากมองย้อนกลับไป ฟินแลนด์แย่กว่าไทยมาก เคยเกิดสงครามกลางเมืองคนตาย 6 หมื่นคน สวีเดนต้นศตวรรษที่ 20 ก็ยากจนมาก เป็นประเทศเกษตรกรรมที่คนเกือบครึ่งประเทศอพยพไปอเมริกา จนรัฐบาลบอกว่าถ้าเป็นแบบนี้ประเทศอยู่ต่อไปไม่ได้ จึงต้องมีสวัสดิการที่จะพัฒนาคนขึ้นมา จากนั้นด้วยเวลาหลักทศวรรษประเทศเหล่านี้ก็ก้าวออกจากประเทศเกษตรกรรมยากจนสู่ประเทศที่มีความมั่งคั่ง ใส่ใจชีวิตของคน ใส่ใจสิ่งแวดล้อม

สวัสดิการ 3 รูปแบบ

ษัษฐรัมย์ อธิบายต่อว่ารูปแบบรัฐสวัสดิการมีอยู่ 3 แบบใหญ่ๆ แบบแรกคือรูปแบบตลาด

"สิ่งที่เราประสบอยู่คือปลาใหญ่กินปลาเล็ก ทำงานมีเงินเดือนก็เอาไปซื้อประกัน มีกองทุนบำนาญให้เอกชนเข้ามาบริหารจัดการ ถ้ามีความเสี่ยงมากๆ รัฐบาลช่วยเหลือดูแล เช่น คนพิการ ผู้มีรายได้น้อย แต่ต้องผ่านกลไกการพิสูจน์ความจน โมเดลนี้ใช้ในสหรัฐอเมริกา คนที่จนมากๆ มีความเสี่ยงมากๆ น่าสมเพชเวทนาในสายตารัฐ รัฐก็จะเข้ามาดูแล ที่เหลือก็ปากกัดตีนถีบกันไป สภาพแบบนี้ทำให้มีความเหลื่อมล้ำในระดับสูง"

รูปแบบที่ 2 รูปแบบประกันสังคม

"เป็นโมเดลที่มีการผสมผสานใช้ในประเทศไทย แต่มีการใช้ในประเทศเยอรมนีอย่างเข้มข้น คือวางเงื่อนไขให้บริษัทเอกชนเป็นผู้รับผิดชอบ มีสวัสดิการของผู้ใช้แรงงาน แต่ก็มีข้อเสีย แม้การดูแล การทดแทนจะอยู่ในระดับสูง แต่มาพร้อมกับวัฒนธรรมอำนาจนิยมในที่ทำงาน คุณจะถูกคาดหวังว่าต้องทำงานหนักเพื่อให้คุณเติบโต แล้วคุณจะได้สวัสดิการเพิ่มขึ้นภายใต้เงื่อนไขต่างๆ ที่สำคัญที่สุดคือมันพยายามควบคุมดูแลเฉพาะแรงงานที่อยู่ในระบบเท่านั้น ซึ่งไม่เหมาะกับโมเดลเศรษฐกิจของไทย เพราะเราเป็นไม่กี่ประเทศที่มีความพิกลพิการคือพอเศรษฐกิจเติบโตขึ้น เรากลับมีแรงงานนอกระบบมากขึ้น งานวิจัยของอาจารย์แบงค์ งานอรุณโชติ ชี้ให้เห็นว่า แรงงานนอกระบบที่มีอยู่มากกว่า 10 ล้านคนในสังคมไทย เกินครึ่งยากจน มีรายได้ต่ำกว่า 1 หมื่นบาทต่อเดือน เพราะการเติบโตทางเศรษฐกิจโยนความเสี่ยงให้แรงงานนอกระบบ ให้ผู้ประกอบการรายย่อย กลุ่มนี้ที่ทำงานหนักมากกว่า 50 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ แต่เป็นกลุ่มที่ได้รับสวัสดิการน้อยที่สุด รูปแบบนี้จึงไม่ถูกใช้เป็นโมเดลหลักได้ในสังคมไทย"

รูปแบบที่ 3 รูปแบบรัฐสวัสดิการที่ดูแลทุกคนเยี่ยงมนุษย์ รับประกันชีวิตที่มั่นคง สวัสดิการเป็นหลักพื้นฐานในการอยู่ร่วมกันในสังคมในฐานะมนุษย์

"ประเทศที่มีรัฐสวัสดิการ ดัชนีการพัฒนามนุษย์อยู่ในอันดับท็อปทั้งนั้น มายาคติข้อหนึ่งคือถ้าเป็นรัฐสวัสดิการ ผู้คนจะจนเท่าๆ กัน ซึ่งผิด กลุ่มประเทศพวกนี้เป็นประเทศที่คนมีความสามารถในการซื้อติดท็อป 20 ดัชนีจีนี่ (Gini index) ที่บอกความเสมอภาคของคน ประเทศเหล่านี้ก็ติดท็อปไฟว์ของโลก มันจึงไม่ใช่โลกอุดมคติ แต่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริงและยังมีอยู่ ถ้าเราติดตามกระแสของคนที่เกิดขึ้นทั่วโลกจะพบว่าคนอีกครึ่งโลกกำลังต่อสู้เพื่อสิ่งนี้เช่นเดียวกัน แม้ว่าจะเผชิญเงื่อนไขที่ไม่เป็นธรรม ดังนั้น เราจึงไม่ได้ต่อสู้ตามลำพัง"

3 ฐานคิดอุปสรรคต่อการสร้างรัฐสวัสดิการ

สำหรับในประเทศไทย ษัษฐรัมย์แสดงให้เห็นว่ามีฐานคิดอยู่ 3 ประการที่กีดขวางการสร้างรัฐสวัสดิการ

กลุ่มแรก กลุ่มอนุรักษ์นิยมใหม่คือกลุ่มที่เห็นความไม่เป็นธรรม ความไม่ถูกต้อง มีเจตนาดี แต่คิดว่าไม่สามารถทำอะไรได้ ไม่สามารถแก้ปัญหาเชิงโครงสร้าง เมื่อเปลี่ยนอะไรไม่ได้ ก็ทำแต่เรื่องเล็กๆ อย่างการเสียสละเชิงปัจเจก ซึ่งอีกด้านก็คือการผลิตซ้ำให้ปัญหาต่างๆ ไม่ได้รับการแก้ไข

"รัฐสวัสดิการไม่มีทางได้มาจากคณะรัฐประหารและอำนาจเผด็จการ 4 ปีที่ผ่านมาพิสูจน์แล้วว่ามันคือการลดทอนอำนาจของคนในสังคม จนตอนนี้แม้ 30 บาทจะยังคงอยู่ แต่ก็ง่อนแง่นมาก เพราะฉะนั้นรัฐสวัสดิการต้องมาพร้อมกับอำนาจประชาธิปไตย"

กลุ่มที่ 2 คือลัทธิท้องถิ่นนิยม ทำให้การต่อสู้เพื่อรัฐสวัสดิการแบบก้าวหน้าครบวงจรไม่สามารถก้าวหน้าได้ เนื่องจากมีกรอบการมองว่าเมื่อไม่สามารถแก้ไขโครงสร้างได้ เพราะรัฐไม่เป็นธรรม รัฐทุจริต ดังนั้น ก็หันมาทำในระดับท้องถิ่น ทั้งที่ปัญหาหลายอย่างไม่สามารถแก้ได้ด้วยการต่อสู้เฉพาะประเด็น

"สิ่งที่เราต้องการมากกว่าคือการขยายประเด็นให้เห็นว่า สิ่งที่คุกคามเราไม่ใช่คนละโมบโลภมากในประเด็นท้องถิ่นเล็กๆ แต่คือกลไกความไม่เป็นธรรมขนาดใหญ่ในระบบทุนนิยมที่คุกคามเรา ต้องต่อสู้พร้อมกันทุกระบบ ทุกปัญหา ทุกประเด็น"

กลุ่มที่ 3 คือลัทธิเสรีนิยมใหม่ กลุ่มนี้มองว่าปัญหาสวัสดิการคือการขาดข้อมูลที่ดี รัฐจึงไม่ต้องทำอะไร เพียงแค่เอาข้อมูลไปให้ ชาวบ้านก็จัดการตัวเองได้ด้วยเครือข่ายที่มีอยู่แล้ว ด้วยการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน เพิ่มโอกาสการแข่งขันในตลาดให้มากขึ้น แต่โมเดลนี้จะไม่แตะโครงสร้างที่ไม่เป็นธรรมภายในรัฐ

มายาคติต่อรัฐสวัสดิการ

นอกจากฐานคิดที่เป็นอุปสรรคข้างต้นแล้ว ยังมีมายาคติต่อรัฐสวัสดิการที่ต้องรื้อถออน

"มีการโจมตีว่ารัฐสวัสดิการทำให้คนขี้เกียจ งอมืองอเท้า ไม่มีแรงจูงใจออกไปต่อสู้กับโลกภายนอก ซึ่งเป็นความเข้าใจผิด ข้อเท็จจริงคือรัฐไม่ได้แจกเงิน แต่ทำให้คนไม่ต้องกังวลเวลาป่วย ตกงาน ไม่ต้องจ่ายค่าทำประกันชีวิต มันจะทำให้คนมีเวลาทำสิ่งที่อยากทำ เกิดแรงงานสร้างสรรค์ เศรษฐกิจเติบโต กลุ่มประเทศรัฐสวัสดิการเป็นกลุ่มประเทศที่มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงมาก และสามารถก้าวพ้นจากวิกฤตเศรษฐกิจได้โดยการที่รัฐลงทุนดูแลประชาชน การมีสวัสดิการจะไม่ทำให้คนขี้เกียจ แต่จะทำให้คนได้ทำสิ่งที่รักมากขึ้น

"ความเข้าใจผิดอีกข้อหนึ่งคือต่างชาติจะไม่มาลงทุนเพราะภาษีสูง แต่ความจริงแล้วประเทศรัฐสวัสดิการเป็นประเทศที่ดึงดูดกลุ่มทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนอย่างมาก เพราะการลงทุนไม่ได้ขึ้นกับต้นทุนทางบัญชีอย่างเดียว เวลาต่างชาติมาลงทุน เขาคำนึงถึงโครงสร้างพื้นฐาน คำนึงถึงทรัพยากรมนุษย์ คำนึงถึงบรรยากาศในการลงทุน บรรยากาศในการบริโภค ดังนั้น การลงทุนกับประชาชนก็เป็นปัจจัยอย่างหนึ่ง เหมือนกับเราสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูง เหมือนที่ทุกคนสามารถเรียนฟรีจนจบปริญญาตรี โท เอกได้ ก็เป็นปัจจัยที่ดึงดูดให้ต่างชาติมาลงทุนไม่น้อยไปกว่าการมีแรงงานราคาถูกและภาษีต่ำเช่นเดียวกัน

"หรือความเชื่อที่ว่าประเทศของเราไม่พร้อม แต่ในช่วงที่ประเทศเหล่านี้ก้าวเข้าสู่การเป็นรัฐสวัสดิการ รายได้ประชาชาติต่อหัวหักอัตราเงินเฟ้อ ประเทศเหล่านั้นยากจนกว่าไทยเสียอีก อีกมายาคติหนึ่งคือรัฐสวัสดิการจะทำให้เกิดคอร์รัปชั่น ต้องดูแลคนมาก คนต้องพึ่งพิงรัฐ วิจารณ์รัฐไม่ได้ ลองมองย้อนกลับไป ประเทศไทยตั้งแต่มีการกระจายอำนาจในปี 2540 เป็นต้นมา ดัชนีการแข่งขันทางการเมืองสูงมากขึ้น เมื่อการแข่งขันทางการเมืองสูงมากขึ้นทำให้การตรวจสอบสูงมากขึ้น ดังนั้น การเกิดรัฐสวัสดิการที่ทำให้คนมีอำนาจต่อรองกับคนที่มีอำนาจในสังคม มันจะทำให้มีความเป็นประชาธิปไตยในชีวิตประจำวัน เราบอกว่าคนไทยไม่ใส่ใจการเมือง ไม่ยอมมีส่วนร่วมทางการเมือง เหตุผลอย่างหนึ่งคือต้องทำมาหากิน ความเปราะบางในชีวิตของพวกเขาสูงมาก ทำงานกันสี่สิบห้าสิบชั่วโมงต่อสัปดาห์จะเอาเวลาไหนมามีส่วนร่วมทางการเมือง แต่ถ้ามีรัฐสวัสดิการ คนทำงานน้อยลง ไม่ต้องกังวลเวลาพ่อแม่ป่วยหรือลูกที่ต้องเรียนหนังสือ คนก็จะสามารถตรวจสอบอำนาจรัฐได้มากขึ้น อัตราการคอร์รัปชั่นก็จะน้อยลง

"การจัดรัฐสวัสดิการในประเทศที่มีรัฐสวัสดิการคือการจัดผ่านการปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐกำหนดแนวทางว่าต้องมีแบบนี้ ท้องถิ่นก็ต้องแข่งกันเพื่อสร้างสวัสดิการที่ดีเพราะถ้าไม่ดีคนก็จะย้ายออกจากท้องถิ่น ท้องถิ่นก็จะมีการแข่งขันกันเพื่อสร้างสวัสดิการที่ดีมากขึ้น ที่ไหนจัดไม่ได้ รัฐส่วนกลางอุดหนุน ให้เงินท้องถิ่นจัดการให้ดีมากขึ้นตามเงื่อนไขที่รัฐวางไว้"

จะเอาเงินมาจากไหน?

คำถามสำคัญที่ปรากฏเสมอเวลาถกเถียงเรื่องการสร้างรัฐสวัสดิการก็คือ จะเอาเงินจากไหน ษัษฐรัมย์ กล่าวว่าถ้าเราอยากมีรัฐสวัสดิการก็ต้องมีการเพิ่มงบประมาณด้านสวัสดิการ และก็ต้องท้าทายอำนาจชนชั้นสูง อำนาจระบบทุนนิยม อำนาจเผด็จการและการผูกขาดไปพร้อมๆ กัน เพราะ...

"เป้าหมายแรกของรัฐคือการดูแลประชาชน จัดสวัสดิการให้ประชาชน ไม่ใช่รัฐทุนนิยม รัฐทหาร ที่มีเป้าหมายอื่นที่ต้องดูแลก่อน ต้องมีการเพิ่มงบประมาณด้านสวัสดิการ สิ่งนี้คือการเมือง ต้องมีการท้าทาย แต่ไม่ใช่ซีโร่ซัมเกมที่ผู้แพ้เสียทั้งหมด ชนชั้นสูงก็จะได้สิ่งใหม่ คือการที่ลูกของเขาจะสามารถเรียนโรงเรียนเดียวกันกับคนส่วนใหญ่ของประเทศนี้ได้ เขาเองก็จะสามารถนั่งรถเมล์ รถไฟฟ้าออกจากบ้านได้ กำแพงบ้านของพวกเขาจะเตี้ยลงทั้งในเชิงรูปธรรมและนามธรรม เขาจะสามารถใช้ชีวิตกับคนส่วนใหญ่ในสังคมได้

"ที่สำคัญที่สุดคือการท้าทายอำนาจเผด็จการทางการเมืองและการผูกขาดทางเศรษฐกิจ รัฐสวัสดิการไม่มีทางได้มาจากคณะรัฐประหารและอำนาจเผด็จการ 4 ปีที่ผ่านมาพิสูจน์แล้วว่ามันคือการลดทอนอำนาจของคนในสังคม จนตอนนี้แม้ 30 บาทจะยังคงอยู่ แต่ก็ง่อนแง่นมาก เพราะฉะนั้นรัฐสวัสดิการต้องมาพร้อมกับอำนาจประชาธิปไตย"

ษัษฐรัมย์ยกตัวอย่างว่า ถ้าสามารถเพิ่มเงินรายหัวต่อคนต่อปีของระบบหลักประกันสุขภาพจากประมาณ 3,000 กว่าบาทเป็น 5,000 บาทได้ จะสามารถจูงใจให้คนที่อยู่ในระบบประกันสังคมและสวัสดิการข้าราชการมาใช้ระบบเดียวกันได้เพราะการรักษาพยาบาลจะมีคุณสูงขึ้น จากนั้นการควบรวมจะไม่ใช่เรื่องยากเกินไป และยังจะทำให้เงินรายหัวสูงได้ถึง 8,000 บาทต่อคนต่อปี ซึ่งจะทำให้เทียบเท่ากับประเทศรัฐสวัสดิการทันที

ษัษฐรัมย์ กล่าวต่อว่าหากประเทศไทยจะสร้างรัฐสวัสดิการแบบนอร์ดิกต้องใช้เงินประมาณ 650,000 ล้านบาทต่อปี ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 30 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปีซึ่งอยู่ที่ประมาณ 2 ล้านล้านบาท เขาบอกว่าประเทศไทยสามารถจัดหาเงินก้อนนี้ได้

"งบของกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงกลาโหม 530,000 ล้านบาท ถ้าเราปรับลด 50 เปอร์เซ็นต์ ลดจำนวนทหารเกณฑ์ มีการกระจายอำนาจออกไปมากขึ้น เก็บภาษีที่เราไม่เคยเก็บอย่างภาษีจากการขายทำกำไรในตลาดหุ้นหรือภาษีผลได้จากทุนที่มีปริมาณกำไรในตลาดหุ้นอยู่ที่ประมาณ 900,000 ล้านบาทต่อปีเป็นอย่างน้อย ถ้าเราเก็บภาษี 30 เปอร์เซ็นต์หมายถึงเราจะมีเงินอีก 270,000 ล้านบาท และถ้าเรามีการจัดการข้อมูลสวัสดิการที่ทันสมัย สิ่งที่อยู่ในงบกลางของรัฐที่เป็นค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรต่างๆ ก็จะลดลง

"อีกส่วนหนึ่งที่น่าสนใจถ้าโมเดลนี้สามารถใช้ได้อย่างดีแบบครบถ้วนตามแพ็กเกจ สิ่งที่จะลดลงคือบำนาญ การรักษาพยาบาลของข้าราชการ เพราะสามารถใช้ในโมเดลเดียวกันได้ เราจะได้เงินอีก 200,000 ล้านบาท ผมคำนวณตัวเลขกลมๆ ทั้งหมดนี้เราจะได้ 750,000 ล้านบาท นี่ยังไม่ได้พูดถึงการเก็บภาษีอัตราก้าวหน้า ภาษีมรดก ภาษีที่ดิน ซึ่งผมยืนยันว่าต้องมีและจะเป็นการลดอำนาจการเมืองของกลุ่มทุนไม่ให้เสียงดังเกินไป"

ษัษฐรัมย์เชื่อว่ารัฐสวัสดิการจะทำให้เศรษฐกิจไทยก้าวกระโดดอย่างมหาศาล จะทำให้คนมีโอกาสที่แท้จริง ประชาชนจึงต้องร่วมกันผลักดันให้พรรคการเมืองพูดเรื่องนี้เป็นวาระหลักของพรรค จนเกิดการสร้างฉันทามติชุดใหม่ ถึงตอนนั้นแผนปฏิรูปหรือยุทธศาสตร์ชาติก็จะไม่ใช่ข้อจำกัดอีกต่อไป

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

อัยการบรรยายฟ้อง รังสิมันต์ โรม ระบุ “ชูสามนิ้ว” ชุมนุมต่อต้านรัฐบาล ไม่ชอบด้วย รธน.

Posted: 27 Apr 2018 12:02 AM PDT

อัยการสูงสุดยื่นฟ้องแยก รังสิมันต์ โรม คดีคนอยากเลือกตั้งราชดำเนิน 50 ผิด ม.116 ขัดคำสั่งหัวหน้า คสช. 3/2558 บรรยายฟ้อง ชุมนุมขับไล่ประยุทธ์ ประวิตร พร้อมชูสามนิ้ว ทำให้ประชาชนเข้าใจว่ารัฐบาลทหารจำกัดเสรีภาพ ถือเป็นการกระทำไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ศาลอนุญาตให้ประกันตัวหลักทรัพย์ 50,000 บาท

รังสิมันต์ โรม หลังยุติการชุมนุมเมื่อว้นที่ 10 ก.พ. 2561 (แฟ้มภาพ Banrasdr Photo)

27 เม.ย. 2561 ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน รายงานว่า เมื่อเวลา 9.30 น.รังสิมันต์ โรม แกนนำกลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตย ได้เดินทางเข้ารายงานตัวที่ศาลอาญา รัชดาภิเษก ภายหลังอัยการสั่งฟ้องคดีกรณีการชุมนุม หยุดยื้ออำนาจ หยุดยื้อเลือกตั้ง: หมดเวลา คสช. ถึงเวลาประชาชน" ของกลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตย และกลุ่ม START UP PEOPLE ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถนนราชดำเนิน เมื่อวันที่ 10 ก.พ. 2561 หรือ "คดี RDN50" โดยรังสิมันต์ถูกแยกฟ้องมาจากแกนนำคนอื่นๆ อีก 6 คน ซึ่งคดียังอยู่ในชั้นสอบสวน

มนตรี นามขาน พนักงานอัยการจากสำนักงานอัยการสูงสุด ได้ยื่นฟ้องคดีของรังสิมันต์ต่อศาลอาญาไปเมื่อวันที่ 20 เม.ย. 2561 ในข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 และข้อหาฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 3/2558 ข้อ 12 เรื่องการชุมนุมทางการเมืองจำนวนตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป

อัยการได้บรรยายฟ้องโดยกล่าวหาว่าจำเลยกับพวกอีก 6 คน ได้ร่วมกันใช้รถยนต์ติดเครื่องขยายเสียงเป็นเวที ด้านข้างของตัวรถยนต์ได้ติดป้ายโจมตีพลเอกประวิตร วงศ์สุวรรณ ซึ่งดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี แล้วจำเลยกับพวกได้ร่วมกันปราศรัยโจมตีการทำงานของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พลเอกประวิตร วงศ์สุวรรณ ซึ่งดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี คณะรัฐบาล คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) โดยผลัดเปลี่ยนกันขึ้นกล่าวปราศรัย และร่วมกันปลุกระดมมวลชนให้เกิดการชุมนุมขับไล่รัฐบาลและคณะรักษาความสงบแห่งชาติ รวมทั้งเรียกร้องให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรภายในสิ้นเดือน พ.ย. 2561 พร้อมกับการชูนิ้วสามนิ้ว (นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง) บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย และถนนราชดำเนิน อันเป็นสัญลักษณ์ในทางการเมืองต่อต้านรัฐบาลที่บริหารประเทศอยู่ในขณะนั้น อันมิใช่การกระทำในความมุ่งหมายของรัฐธรรมนูญหรือมิใช่เพื่อแสดงความเห็นหรือติชมโดยสุจริต เพื่อให้เกิดความปั่นป่วนกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร และเพื่อให้ประชาชนที่พบเห็นเข้าใจว่ารัฐบาลและทหารจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชน ซึ่งก่อให้เกิดภาพลักษณ์ในเชิงลบกับรัฐบาล และเป็นการยุยงปลุกปั่น สร้างความแตกแยกระหว่างประชาชนที่เห็นต่างกับรัฐบาล ซึ่งเป็นการร่วมกันมั่วสุมชุมนุมทางการเมือง ณ ที่ใด ที่มีจำนวนตั้งแต่ห้าคนขึ้นไปโดยไม่ได้รับอนุญาตจากหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติหรือผู้ได้รับมอบหมาย อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย

หลังจากเข้ารายงานตัวต่อศาล รังสิมันต์ได้ถูกนำตัวเข้าไปในห้องเวรชี้ และผู้พิพากษาเวรได้อ่านคำฟ้องคดีให้จำเลยฟัง พร้อมกับสอบถามคำให้การ แต่รังสิมันต์ระบุยังไม่ให้การในชั้นนี้ ศาลจึงกำหนดวันนัดพร้อมเพื่อสอบถามคำให้การต่อไปในวันที่ 18 มิถุนายน 2561 เวลา 9.00 น.

สำหรับกรณีการชุมนุม RDN50 นี้ มีแกนนำถูกดำเนินคดีในข้อหาตามมาตรา 116 และคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 3/2558 จำนวน 7 ราย  ในกรณีของรังสิมันต์ ได้เดินทางเข้ารับทราบข้อกล่าวหาเมื่อวันที่ 5 มี.ค. 2561 และพนักงานสอบสวนสน.นางเลิ้ง ได้นำตัวไปขอฝากขังที่ศาลอาญา โดยศาลอนุญาตให้ฝากขัง และอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวด้วยหลักทรัพย์ 50,000 บาท ต่อมาอัยการจึงได้ยื่นฟ้องคดีของรังสิมันต์ต่อศาลอาญาเข้ามาก่อน

ในส่วนคดีของแกนนำอีก 6 คน  ได้แก่ กาณฑ์ พงษ์ประภาพันธ์, ณัฏฐา มหัทธนา, อานนท์ นำภา, สิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์, ชลธิชา แจ้งเร็ว, สุกฤษฎ์ เพียรสุวรรณ พนักงานสอบสวนได้ออกหมายเรียกให้ไปพบเพื่อส่งตัวให้อัยการครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 23 เม.ย. 61 โดยมีกาณฑ์ไปพบตามนัด ขณะที่ผู้ต้องหาคนอื่นติดภารกิจ  โดยยื่นหนังสือขอเลื่อนไปเป็นวันที่ 11 มิ.ย. 61 แต่พนักงานสอบสวนไม่อนุญาตให้เลื่อนและได้เดินทางไปที่ศาลเพื่อขอออกหมายจับ แต่ศาลได้มีคำสั่งยกคำร้องขอออกหมายจับ และให้ผู้ต้องหาทั้งห้าไปพบพนักงานสอบสวนในวันที่ 9 พ.ค.61 เวลา 9.00 น. เพื่อนำตัวส่งพนักงานอัยการต่อไป

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

Period Addict เพราะชีวิตขาดอดีตไม่ได้ ในวันที่การเมืองไทยโหยหาอดีต

Posted: 26 Apr 2018 11:49 PM PDT

รายงานเสวนาในหัวข้อ "Period Addict เพราะชีวิตขาดอดีตไม่ได้" 'อนุสรณ์ อุณโณ' ชี้ชนชั้นนำมักเป็นผู้เลือกสรร  'อาการลืมๆ จำๆ' ด้าน 'ชาตรี' แนะไม่ควรมองอดีตอย่างหอมหวาน และไม่ควรคาดหวังอนาคตที่ดีเกินไป 'ตามไท ดิลกวิทยรัตน์' ย้ำการโหยหาอดีตอย่างมีเหตุผลและเท่าทัน ย่อมดีกว่าหลงลืม

วันที่ 23 เม.ย.ที่ผ่านมา เวลา 17.30 น.  ในกิจกรรมจัดแสดงนิทรรศการการเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประจำปี 2561 มีการจัดเสวนาในหัวข้อ "period addict เพราะชีวิตขาดอดีตไม่ได้" ณ ห้อง 203 อาคารบรรยายรวม 1 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต โดยมีวิทยากร ประกอบด้วย ชาตรี ประกิตนนทการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร อนุสรณ์ อุณโณ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา และ ตามไท ดิลกวิทยรัตน์ สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดำเนินรายการโดย ชานันท์ ยอดหงษ์

อาการลืมๆ จำๆ ชนชั้นนำมักเป็นผู้เลือกสรร

อนุสรณ์ อุณโณ กล่าวถึงการโหยหาอดีตผ่านการตีความแบบมานุษยวิทยาว่า เป็นการใช้จินตนาการถึงโลกที่สูญเสียไปหรือการให้อดีตกลับคืนมา โดยสภาวะดังกล่าวมักเกิดขึ้นในสังคมที่มีการเผชิญหน้ากับการเปลี่ยนแปลงอย่างถอนรากถอนโคน เช่น กลุ่มคนพลัดถิ่น ผู้อพยพ คนไร้ราก ยกตัวอย่าง กลุ่มชนชาติยิว เป็นต้น โดยการโหยหาอดีตนี้เองไม่ได้เป็นธรรมชาติแต่เดิมของมนุษย์ แต่เป็นสิ่งที่ปลูกสร้างขึ้นที่หลัง เพื่อหาความยืดโยงกับความทรงจำเพื่อการมีอยู่ของตัวตน

อนุสรณ์ ยังกล่าวต่อ ว่าแนวคิดการโหยหาอดีตเอง ก็อยู่บนวิธีการเลือกจำและลืม โดยชนชั้นนำมักเป็นผู้ทำหน้าที่เลือกสรรชุดความทรงจำทางประวัติศาสตร์เพื่อรองรับกับอำนาจของกลุ่มการเมืองในแต่ละยุคสมัย กรอบการเลือกที่จะจำหรือลืมนั้น กำกับโดยใช้จินตนาการเกี่ยวกับรัฐ เช่น แนวคิดความเป็นชาติ ความเป็นรัฐ หรือลักษณะทางประวัติศาสตร์แบบราชาชาตินิยมในไทยเอง อย่างไรก็ตาม บางกรณีไม่จำเป็นต้องมีรัฐ แต่มีชาติที่จินตนาการร่วมกันได้ เช่น ชาวยิว

ทั้งนี้ อนุสรณ์ ยังได้อธิบายว่า สำหรับสังคมไทยเอง ปรากฏการณ์สำคัญเหล่านี้ได้ถูกทำให้มีความสำคัญนับตั้งแต่วิกฤตการเมืองหลัง 2540 กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย หรือ กลุ่มเสื้อเหลือง ยังยึดโยงสัญญะการเคลื่อนไหวเข้ากับสำนึกประวัติศาสตร์แบบราชาชาตินิยมไทย จนกระทั่งเมื่อเข้าสู่ยุคการเคลื่อนไหวของกลุ่ม กปปส. ก็พบว่ามีการยึดโยงกับความเป็นชาติผ่านการใช้ธงไตรรงค์ในการเคลื่อนไหว และหลังจากรัฐประหาร คสช. พบว่ามีความพยายามในการกดทับประวัติศาสตร์ 2475 เช่น กรณีการเปลี่ยนหมุดคณะราษฎรเป็นหมุดหน้าใส

อนุสรณ์ ได้ทิ้งท้ายในส่วนของตนไว้ว่า เกี่ยวกับการเลือกสรรความทรงจำนี้เอง เป็นเรื่องของการเมืองศีลธรรมและปัญญา ตลอดจนการพบปัญหาการเขียนประวัติศาสตร์แบบราชาชาตินิยมไทยว่าขาดมิติของผู้คนแต่ละท้องถิ่นไป

ไม่ควรมองอดีตอย่างหอมหวาน ไม่คาดหวังอนาคตที่ดีเกินไป

ชาตรี ประกิตนนทการ กล่าวถึงประเด็นการโหยหาอดีตของรัฐไทยผ่านงานออกแบบทางสถาปัตยกรรม โดยเริ่มจากการตั้งคำถามว่า อะไรคือจุดสมดุลระหว่างการมองกลับและมองไปข้างหน้าในประวัติศาสตร์ ทั้งนี้ ชาตรี ได้ชี้ให้เห็นถึงวิธีการทำความเข้าใจต่ออดีตและอนาคตไว้ว่าไม่ควรมองอดีตอย่างหอมหวานเกินไป และไม่ควรมองอนาคตว่าดีเกินไป

ชาตรี ยังอธิบายว่า คนในสังคมไทยส่วนใหญ่มีพื้นฐานความเชื่อในพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท ย่อมผูกพันกับแนวคิดที่ว่าสังคมในยุคที่พระพุทธเจ้าเกิดมานั้นเป็นสังคมที่ดีที่สุด และหลังจากนั้นคือยุคแห่งความเสื่อมถอย การที่จะเป็นสังคมที่จะดำรงไว้ซึ่งสังคมที่ดีงามต่อไป จึงต้องมองกลับไปยังยุคที่พระพุทธเจ้ายังมีชีวิต ขณะเดียวกัน อิทธิพลการล่าอาณานิคมโดยชาติตะวันตก ทำให้เกิดการรับค่านิยมภายนอกเพื่อปรับตัว ทำให้เกิดความเข้าใจว่าแนวคิดตะวันตกคือความเจริญในทางโลก แนวคิดตะวันออกคือความเจริญในทางธรรม

ทั้งนี้ ชาตรี ได้อธิบายถึงการเจริญเติบโตแนวคิดทางธรรมในสังคมไทยว่าได้กลายเป็นรากฐานสำคัญในการสร้างคำอธิบายและสลักรายละเอียดลงบนอาคารสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมืองไทยหลังปี 2549 ที่มีการให้ออกแบบอาคารรัฐสภาแบบใหม่ โดยลักษณะการออกแบบดังกล่าวอ้างอิงกับแนวคิดพระพุทธศาสนา โดยใช้ชื่อโครงการการก่อสร้างว่า 'สัปปายะสภาสถาน' สื่อว่ารัฐสภาเป็นสถานที่ประกอบกรรมดี อีกทั้งยังมีการจัดองค์ประกอบตามจักรวาลวิทยาคติพุทธแบบไตรภูมิ จากแผนการก่อสร้างรัฐสภานี้เอง ถือเป็นตัวอย่างหนึ่งที่รัฐพยายามนำกลับสู่อดีต ผ่านแนวคิดที่เคลือบแฝงในสิ่งปลูกสร้าง

โหยหาอดีตอย่างมีเหตุผลและเท่าทัน ย่อมดีกว่าหลงลืม

ต่อปรากฏการณ์การโหยหาอดีตของสังคมไทยในปัจจุบันนั้น ตามไท ดิลกวิทยรัตน์ ได้ตั้งข้อสังเกตไว้สำหรับพื้นฐานประวัติศาสตร์ของคนในสังคมไทยว่า คนไทยเรียนรู้ประวัติศาสตร์กระแสหลักอย่างฝังหัว การเกิดขึ้นของละครบุพเพสันนิวาสจึงได้เข้ามาตอบรับกระแสนั้น ซึ่งเป็นสิ่งที่รัฐพยายามมาโดยตลอด แต่ไม่ประสบความสำเร็จ จนกระทั่งเกิดกระแสจากละครเรื่องดังกล่าว

ตามไท ยังกล่าวว่า รัฐที่เพิ่งเกิดใหม่ มีความจำเป็นต้องใช้ประวัติศาสตร์ในการสร้างเอกภาพ แม้กระทั่งในประเทศตะวันตกยังต้องมีการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ชาติของตน เพียงแต่การศึกษาประวัติศาสตร์ของไทยในฐานะชาติหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เพิ่งเกิดใหม่ ไม่มีประวัติศาสตร์การต่อสู้ของประชาชนอยู่ในนั้น แต่เน้นไปที่ประวัติศาสตร์แบบราชาชาตินิยม เน้นเรื่องเล่าของชนชั้นนำเพียงอย่างเดียว จึงมักออกมาเป็นนิยายสร้างชาติในภาวะที่จำกัด

อย่างไรก็ตาม ตามไท ยอมรับว่าในช่วงเวลาหนึ่งก็มีนักประวัติศาสตร์ไทยแนวอนุรักษ์นิยมอย่างพระยาอนุมานราชธน ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมทย์ ที่มีความพยายามในการเขียนประวัติศาสตร์ในรูปแบบที่แทรกวัฒนธรรมและความเป็นอยู่ของชุมชนอื่นๆ ในสังคมไทยลงไป โดยประวัติศาสตร์เหล่านั้นต่างคงอยู่ในฐานะเศษทางประวัติศาสตร์ที่กระจัดกระจายอยู่ แม้สุดท้ายแล้วความพยายามการเขียนประวัติศาสตร์แบบนี้เองจะสำเร็จหรือไม่ก็ตาม

ตามไท ยังจำแนกลักษณะปรากฏการณ์ที่มีการนำประวัติศาสตร์มาใช้ไว้สองลักษณะคือ 1) ช่วงเวลาที่เกิดความขัดแย้งทางการเมือง มักเป็นการดึงประวัติศาสตร์บางส่วนขึ้นมาเพื่ออ้างความเป็นเอกภาพหรือใช้ประโยชน์ในการเคลื่อนไหวทางการเมืองโดยกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง และ 2) ในแง่ของทุนที่มีการดึงประวัติศาสตร์มาใช้ประกอบการในเชิงพานิชย์ เช่นอาหารไทย การแต่งชุดไทย เป็นต้น

ฐานะคนสอนด้านประวัติศาสตร์ ตามไท ได้ทิ้งท้ายว่า การโหยหาอดีตเป็นเรื่องที่ดีเนื่องจากทำให้เกิดการสนใจต่อประวัติศาสตร์ ดีกว่าการหลงลืมอดีต อย่างไรก็ตาม การเรียนรู้อดีตที่ดีควรดำเนินไปอย่างมีเหตุผลและใช้วิจารณญาณในการรับรู้อดีตอย่างเท่าทัน

 

สำหรับ อัฐพล ปิริยะ ผู้รายงานเสวนาชิ้นนี้ เป็นนักศึกษาฝึกงานกับประชาไท ประจำปีการศึกษา 2/2560 จากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี มีความสนใจเกี่ยวกับ One Piece, Star Wars, วรรณกรรม, การเมืองวัฒนธรรม และการศึกษา 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

BENNETTY วงดนตรีผู้สูงวัยร่วมสมัย เล่าความหลังครั้งวัยรุ่นถึงความตายที่ระลึกถึง

Posted: 26 Apr 2018 11:42 PM PDT

BENNETTY วงดนตรีผู้สูงวัยต้อนรับสังคมผู้สูงอายุที่ปรับตัวให้ร่วมสมัย เพราะสิ่งที่ผู้สูงอายุต้องการไม่ใช่แค่เงินเกษียณ ฟังประสบการณ์ของสมาชิกวงแต่ละคนเล่าตั้งแต่วัยรุ่น การเล่นดนตรีในแคมป์ GI ความฝันที่เคยอยากออกเทปแต่ไม่ประสบความสำเร็จ เพื่อนคู่หู่เล่นดนตรีที่เสียชีวิต ความยากของเพลง 'จุดเดิม' และความตายที่พวกเขาระลึกถึง

BENNETTY คือชื่อวงดนตรีน้องใหม่แต่ประสบการณ์เก๋าที่เพิ่งเปิดตัวกับซิงเกิลแรกเพลง 'จุดเดิม' ด้วยยอดวิวมิวสิควิดิโอในยูทูบสัปดาห์แรกทะลุหลักแสน สมาชิกในวง 6 คนอายุรวมกันเกิน 400 ปี ประกอบด้วย วัชระ ณ ระนอง (80, ร้องนำ) ตุ้ม-ฐิติชัย สวัสดิ์เวช (65, กีตาร์) เสริม-บุญเสริม ชูช่วย (86, เมาท์ออร์แกน) เทพ เก็งวินิจ (74, คีย์บอร์ด) ชาติ-ธนกร เจียสิริ (65, กลอง) และ หริ-ศิริ ดีลัน (69, เบส)

จุดเริ่มต้นของวงเกิดจากโครงการการสร้างสรรค์วงดนตรีผู้สูงอายุ ซึ่งเกิดจากการร่วมมือกันระหว่าง สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), บริษัท ชูใจ กะ กัลยาณมิตร จำกัด และ Song Sound Production

"สังคมไทยในขณะนี้เป็นสังคมสูงอายุ ยิ่งผู้สูงอายุช่วยเหลือตัวเองได้มากเท่าไหร่ก็ยิ่งเป็นผลดีแก่ตัวเขาเอง และแบ่งเบาภาระ เรื่องการรักษาค่าพยาบาล สาธารณูปโภคต่างๆ มากขึ้น ส่วนใหญ่รัฐบาลจะให้แต่เงินหลังจากเกษียณ มันจึงเกิดการตัดขาดกันระหว่างวัยผู้สูงอายุและวัยอื่นๆ เราคิดว่าหลังเกษียณไปแล้วตัวเงินไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่จะทำให้เกิดการอยู่อย่างมีคุณภาพ หลังเกษียณแล้วทุกคนจึงต้องหาหน้าที่ก้าวต่อไป ถ้ามันมีพื้นที่ให้แสดงออก หรือสังคมหยิบไปใช้ได้ ทุกคนได้ประโยชน์ ไม่ใช่กิจกรรมที่มีเพราะความสงสาร จะยิ่งเป็นเรื่องที่ดีมาก และมันจะยั่งยืน เขาต้องใช้สมอง ต้องแก้โจทย์ ต้องฝึกฝน และผู้สูงวัยจะรู้สึกว่าเขายังมีประโยชน์กับสังคม พอเขารู้สึกมีคุณค่ามันก็จะมีผลต่อองค์รวม ต่อร่างกาย จิตใจ สุขภาพเขาทั้งหมด และการทำอะไรสักอย่างมันก็ต้องการคนดู มันมีพลังมากกว่าเมื่อออกมาสู่โลกกว้าง" คือสิ่งที่ กิ๊บ-คมสัน วัฒนวาณิชกร ครีเอทีฟผู้เป็นต้นเรื่องของโปรเจกต์นี้ จากบริษัท ชูใจ กะ กัลยาณมิตร จำกัด อธิบาย

กิ๊บ-คมสัน วัฒนวาณิชกร

วงดนตรีที่ผู้สูงอายุต้องปรับตัวให้ร่วมสมัย สื่อสารทั้งคนรุ่นใหม่และคนแก่

"เรารู้สึกว่าโปรเจคนี้ต้องการจะบอกว่าให้เขาทำสิ่งที่เขาอยากจะทำ ไม่ว่าคนรุ่นไหน อาจจะไม่ใช่ความฝันก็ได้ อยากทำอะไรก็ทำเถอะ หรือคนที่ไม่ได้คิดว่าอยากทำอะไรก็ลองคิดว่าอยากทำอะไร เพราะคนเราก็ต้องการหาคุณค่าบางอย่างให้กับตัวเอง" คมสันกล่าว

คมสันกล่าวต่อว่า อยากนำภาพคนสูงวัยมาเจอกับทีมรุ่นใหม่และทำบางสิ่งบางอย่างที่สังคมยอมรับ โดยไม่ได้ทำเพื่อเอาใจคนแก่ คนแก่เองก็ต้องปรับตัวด้วยเหมือนกัน การที่คนแก่จะอยู่แต่โลกของคนแก่มันจะไม่เกิดการสื่อสารกับคนวัยอื่น ซึ่งถ้าเราจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมนี้ได้เราต้องก้าวข้ามโลกของเราแล้วมาแบ่งปันอะไรบางอย่างกับคนรุ่นอื่น เราไม่ได้บอกว่าการที่เขาอยู่แต่ในโลกคนแก่มันเป็นโลกที่ไม่ดี เพียงแต่การที่เขาก้าวข้ามผ่านมาตรงนี้มันทำให้ อายุขัยเขามันยั่งยืนขึ้น มันมีการบูรณาการระหว่างสองเจน ไม่เกิดช่องว่าง มีการ reuse เกิดขึ้น จากสิ่งที่ต้องปล่อยให้มันสูญสลายไป

"ดังนั้นเมื่อเป็นการทำงานแบบนี้มันจึงเกิดการปรับตัว ท่านทั้ง 6 คนก็ต้องปรับตัวจากดนตรีที่ไม่เหมือนเพลงที่ฟังตั้งแต่วัยรุ่นเลย จาก Elvis, Frank Sinatra ต้องมาร้องเพลง Alternative Rock ที่เราๆ ฟังกัน ทำงานร่วมกับโปรดิวเซอร์คือพี่ พี่เจ (เจตมนต์ มละโยธา) ที่ทำงานกับคนรุ่นใหม่มาตลอด และเขาก็ยังถือเป็นคนรุ่นใหม่ ก็ต้องมีการปรับตัวในการทำงาน มันถึงเจอกันตรงกลาง พอออกมาแล้วมันก็เป็นอะไรใหม่ๆ ที่ยังไม่เคยมีโมเดลแบบนี้เกิดขึ้น"

"ถามว่าคนแก่ชอบเพลงนี้ไหม เราว่าคนแก่อาจจะไม่ชอบเพลงนี้ แต่คนแก่จะชอบว่า เฮ้ย มันคือชีวิตที่เรามีอยู่ตอนนี้ มันเหมือนชีวิตเราเลย เขาจะหันกลับมามองว่าตอนนี้เราทำอะไรได้ไหม หรือยังมีสิ่งที่อยากทำอยู่ไหม แต่เขาอาจจะไม่ได้มาทำเพลงแบบนี้ก็ได้ เขาอาจจะทำโครงการอย่างอื่นขึ้นมา"

"ตอนแรกเรากลุ้มใจฝั่งที่เป็นผู้สูงวัยเหมือนกันว่าผู้สูงวัยไม่ได้ดู ไม่รับรู้ไอเดียนี้ แต่พอออกไปแล้วมันมีสื่อที่เราอยากได้ เช่น ข่าวเช้า วิทยุต่างๆ ที่ผู้สูงวัยดู ทำให้มันแพร่ไปได้ หลังๆ ในเฟสบุ๊คก็เริ่มมีผู้สูงวัยเข้ามาเยอะเหมือนกัน มาคอมเมนต์ เช่น อยากจะปัดกีตาร์ปัดคีย์บอร์ดแล้วลุกขึ้นมาเล่นใหม่" คมสันกล่าว

ออดิชั่นวงดนตรี

คมสันเล่าว่า มีผู้สูงอายุมาออดิชั่นประมาณ 30-40 คน มีหลากหลายชิ้นดนตรี แต่ตอนเปิดรับสมัครก็มีภาพในหัวอยู่แล้วว่าวงนี้น่าจะมีสัก 6 คน เบส กลอง กีตาร์ คีย์บอร์ด นักร้องนำ และอีกชิ้นที่น่าจะดูพิเศษหน่อย อย่างออร์แกน หรือแคน และอายุของสมาชิกน่าจะมีเฉลี่ยกันตั้งแต่อายุ 60-80 ขึ้นไป  โดยภาพความชราของวงต้องชัดเจน ต้องมีกายภาพที่เหี่ยวย่น รู้สึกมีความพิเศษกว่าวงอื่น

"ภาพตอนแรกเลยคือที่คุยกับพี่คงเดช (คงเดช จาตุรันต์รัศมี) ที่เป็นคนทำสารคดีของวง ว่าอยากได้วงที่เล่นดนตรีตั้งแต่สมัยวัยรุ่น แล้วมีสมาชิกในวงเสียชีวิตไปแล้ว เหลืออยู่แค่คนสองคน แล้วลุกขึ้นมาเพื่อจะทำตามความฝันอีกครั้ง พี่คงเดชบอก มึงจะบ้าเหรอ จะเจอมั้ย เดี๋ยวลองแคสติ้งดู ถ้าเจออะไรก็เจอยังงั้นแหละ (หัวเราะ) ตอนแคสติ้งเราก็ดูด้วยว่าเรื่องราวของแต่ละคนน่าสนใจไหม พอจะสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้คนได้ไหม"  

"อย่างลุงเทพมือคีย์บอร์ด ที่ท่านไปเล่นคีย์บอร์ดที่พาวเวอร์บายทุกวันเพราะไม่มีคีย์บอร์ดของตัวเอง แต่ก็มีเรื่องเหตุผลสุขภาพอะไรของท่านด้วยที่ต้องไปจากห้อง เคลื่อนไหวร่างกาย ไขข้อจะได้ไม่เสื่อม หรืออย่างลุงบุญเสริมก็ไปขอเล่นตามร้านอาหาร คนฟังมั่งไม่ฟังมั่งท่านก็เล่นของท่านไป หรือลุงวัชระก็ตระเวนร้องเพลงตามผับ มันเก๋ดี" คมสันกล่าว

เนื้อเพลงและเอ็มวี 'จุดเดิม'

คมสันร่วมงานกับเจ-เจตมนต์ มละโยธา ซึ่งเป็นโปรดิวเซอร์และเป็นคนรวบรวมทีมงาน ซึ่งได้ดึงคนเขียนเพลงคือ ดุ่ย วง youth brush (วิษณุ ลิขิตสถาพร) มาร่วมด้วย ขั้นตอนการเขียนเนื้อผ่านการพูดคุยกับคุณลุงก่อน สุดท้ายจึงตกลงว่าจะไม่เขียนเนื้อเพลงที่เล่าเกี่ยวกับความสูงวัย หรือเป็นเนื้อหาที่คนสูงวัยเข้าใจได้เท่านั้น คนทั่วไปก็ต้องเข้าใจและกว้างพอจะตีความกลับไปสู่ผู้สูงวัยได้ด้วย การเขียนเนื้อเพลงค่อนข้างเปิดให้คนตีความ ซึ่งเป็นสไตล์หนึ่งของการเขียนเนื้อเพลง ซึ่งทำให้มีความลึกขึ้น เป็นศิลปะมากขึ้น

"ส่วนเอ็มวี เราอยากเอาเรื่องความตายกับคนแก่มาเล่น เพราะสังคมไทยมักถือว่าความตายเป็นเรื่องเซ้นสิทีฟ ซึ่งเราว่ามันไม่ใช่เรื่องเซ้นสิทีฟ แต่เป็นเรื่องธรรมดาที่ต้องทำความเข้าใจ เราถึงจะก้าวข้ามผ่านมาทำอะไรบางอย่างได้ ไม่งั้นเราก็ติดแหง็กอยู่ตรงความป่วย ความตาย เราเลยทำให้มันเป็นเรื่องธรรมดาปกติ เช่น การเต้นที่เมรุเผาศพ เต้นที่โรงพยาบาล หรือพวงหรีดรอบคอ ความตายมันคือสิ่งที่เราหลีกหนีไม่ได้ ไม่ต้องหลบๆซ่อนๆ เราก็ต้องอยู่กับมัน ไม่ต้องไปกลัว

ตอนที่เรานั่งดูงานที่ตัดเสร็จแล้วแต่ยังไม่ได้ปล่อย เราก็รู้สึกว่าเรื่องนี้มันค่อนข้างทัชคนวงกว้าง ความแก่ ความฝันมันเป็นเรื่องของทุกคน คำว่าแก่มันเข้ามาทุกช่วงอายุคน คนที่จบมาก็จะรู้สึกว่าเราแก่กว่าปีหนึ่ง เราไปเต้นไก่ย่างแบบตอนปีหนึ่งไม่ได้ หรืออย่างเราทำงานมานานเราก็จะรู้สึกว่าเด็กที่เพิ่งมาทำงานมันเด็กมาก ฟิตมาก เราจะไปทำอย่างมันไม่ได้แล้วว่ะ กลายเป็นว่าคำว่าแก่มันมาทุกช่วงอายุ และคำว่าแก่ มันจะมาพร้อมกับคำว่าหยุด หยุดไม่ให้เราทำอะไรบางอย่าง สิ่งจริงๆ ไม่ใช่" คมสันกล่าว

ส่วนว่าหลังจากนี้จะทำต่อไหม คมสันคิดว่าจะทำต่อให้มันยั่งยืนและมีประโยชน์ต่อผู้สูงวัยยิ่งขึ้น วง BENNETTY คงมีต่อไป แต่จะเป็นรูปแบบไหนยังคิดกันอยู่ เพราะตอนนี้มันกลายเป็นแบรนด์ไปแล้วเหมือนกัน มีคนถามถึงซิงเกิลสองแล้ว

ตุ้ม-ฐิติชัย สวัสดิ์เวช (65, กีตาร์)

ศิลปินที่ชอบ: The Beatles, UFO, Deep Purple, Led Zeppelin ฯลฯ

ตุ้ม-ฐิติชัย สวัสดิ์เวช 

ปัจจุบันตุ้มยังรับจ้างเล่นดนตรี เขาอาศัยอยู่กับภรรยาที่เป็นช่างเสริมสวยและหลานแฝดสาววัย 16 ปีสองคนที่เขาเลี้ยงดูเหมือนลูก

"เราใช้ดนตรีเลี้ยงลูกเลี้ยงครอบครัวมาตลอด จบปุ๊บก็เล่นดนตรี เล่นมาตลอด จบด้านศิลปะ แต่อาศัยหัดเล่นเอง ที่บ้านมีกีตาร์โปร่ง หลังกลับจากโรงเรียนก็เล่นกีตาร์ ร้องเพลง ทำการบ้านไปด้วยฟังเพลงไปด้วย ฟังจากวิทยุทรานซิสเตอร์ พอมาเล่นเป็นอาชีพถึงแกะเพลงจากแผ่นเสียง ตอนหลังมาเป็นเทปคาสเซ็ท"

"ตอนนั้นไม่ได้ฝันอะไรเลย เราเล่นดนตรีก็ได้ขึ้นโชว์ ได้ผ่อนคลายก็มีความสุขแล้ว แต่ก็เคยออกคอนเสิร์ตบ้างเป็นบางครั้ง รายการก็ติดต่อมาเล่น เล่นทั่วไปที่ไหนมีงานรับหมด ไปหมดทุกที่ เคยเล่นดนตรีในแคมป์ GI (ค่ายทหารอเมริกันที่เข้ามาตั้งฐานทัพในช่วงสงครามเวียดนาม) ตอนอยู่แคมป์สนุกดี ได้มีเพื่อนฝรั่ง พวกทหารอเมริกันพวกนี้กันเอง สนิทกันก็ฝากเขาซื้อของ พวกแผ่นเสียง บางทีเขาก็ซื้อมาฝาก"

"ความฝันในตอนนี้เกี่ยวกับความเป็นอยู่ ทุกวันนี้ก็อาจจะอยู่แบบขัดสนบ้างบางครั้ง ไม่ได้อดหรืออะไร แต่ยังมีภาระคือหลานยังเรียนอยู่ ทุกวันนี้ก็มีสวัสดิการจากรัฐอยู่บ้างแต่ก็ไม่พอ เช่นชุดนักเรียนก็ให้มาชุดเดียว ต้องซื้อเพิ่มอีกสักชุด แฝดสองคนก็สองชุด และสิ่งที่เขาอยากจะได้นู้นนี่อีก ถ้ารัฐซับพอร์ทเราได้มากกว่านี้ เราก็อยากจะทำส่วนของตัวเราเองคือด้านดนตรี อยากเข้าห้องอัด อยากมีเพลงเป็นของตัวเอง ออกซิงเกิล ออกอัลบั้ม วงนี้ก็ดีใจที่ได้เข้าร่วม ก็เป็นความฝันส่วนหนึ่งที่เป็นจริง เกิดความภาคภูมิใจ ถ้ามีโอกาสก็อยากออกซิงเกิลต่อไป"

"ทุกวันนี้ผมพยายามไม่ประมาท ผมคิดทุกวันเรื่องความตาย เราไม่รู้จะตายเมื่อไหร่ ก่อนตายก็ขอให้เราประสบสิ่งที่มุ่งหวัง มีที่ยืนในสังคม ได้ทำสิ่งอยากทำเช่นการออกซิงเกิล"

เสริม-บุญเสริม ชูช่วย (86, เมาท์ออร์แกน)

ศิลปินที่ชอบ: สุเทพ วงศ์กําแหง, ชรินทร์ นันทนาคร

เสริม-บุญเสริม ชูช่วย

ภรรยาของเสริมเสียชีวิตไปได้ปีกว่าๆ ปัจจุบันเสริมอาศัยอยู่กับลูกสาวและหลานสาว นอกจากนี้เสริมยังเป็นทวดของ แคนแคน BNK48 (นายิกา ศรีเนียน) ด้วย

"ตอนนั้นอายุ 12 ขวบ ผมได้เม้าท์ออแกนจากน้าผม เขาอยู่วงดนตรีของต.เง็กชวน บางลำพู เขาทำแผ่นเสียงขาย ผมมาหัดเป่าเอง ผมชอบดนตรีมาตั้งแต่เด็กๆ ชอบร้องเพลง หลังจากนั้นผมไปเรียนดนตรีกับคณะประสานสุข เป็นวงดนตรีของคณะทหารเรือ เขาสอนผมเล่นไวโอลิน แล้วหลังจากนั้นผมก็ไปเป็นทหาร แล้วในวงทหารก็ต้องการนักดนตรี ผมก็ได้เล่นทั้งไวโอลิน อังกาลุง เป่าแซ็กโซโฟน ได้ไปเล่นดนตรีออกอากาศให้วิทยุยานเกราะด้วยช่วงก่อนพ.ศ. 2500 เป็นเพลงทั่วๆ ไปที่เขาฮิตกันตอนนั้น"

"ผมชอบเพลงสมัยก่อนที่มันมีสัมผัสสละสลวย เพลงสมัยใหม่ ผมฟังแล้วมันไม่สัมผัส ไม่สละสลวยเท่าไหร่ ผมก็เลยไม่ค่อยชอบ เพลงจุดเดิมดนตรีก็ใช้ได้ แต่ไม่สัมผัสเท่าไหร่"

 "พอ พ.ศ. 2500 ผมก็ไปรบที่สงครามเกาหลี รบได้เกือบสามปีก็สงบศึก พอกลับมาก็เป็นทหารต่อไปเรื่อยๆ แล้วก็รับงานพาทหารอเมริกันมาพักที่โรงแรมของนาย เล่นดนตรีในวงของทหารเรื่อยมา บางครั้งก็ไปเล่นที่บาร์ของนายบ้างผมก็ไม่ได้เอาเงิน ตอนนั้นเรามีความฝันอยากเปิดบาร์ ก็มาเปิดบาร์เองแต่ก็แบ่งๆ กับเพื่อนกันหมด ถ้าผมขี้เหนียวกว่านี้ผมคงมีเก็บเยอะแยะ ต่อมาผมก็เปิดร้านขายของ ทุกวันนี้ร้านก็ยังอยู่"

"ตอนนี้ก็ฝันอยากทำบ้านให้ดีที่สุด เพราะผมแก่มากแล้ว เมียผมก็เพิ่งตายไปปีกว่า ตอนนี้ผมทำรูปคู่กับเมียไว้แล้ว มันธรรมดา ธรรมชาติ ก็เตรียมตัวตายแล้ว จะไปเมื่อไหร่ก็ได้ ทุกวันนี้ก็ทำบ้านเราให้ดีที่สุดเท่าที่จะดีได้ ที่บ้านผมก็ปลูกมะม่วง ทุกวันนี้ตื่นมาก็ทำงานตลอด ซ่อมนู้นซ่อมนี้ทำเองหมด"

หริ-ศิริ ดีลัน (69, เบส)

ศิลปินที่ชอบ: Tony Bennett

หริ-ศิริ ดีลัน

ขณะนี้ศิริอยู่กับหลาน 2 คน และใช้เวลาอยู่กับศาสนาอิสลามที่เขานับถือ

"ระหว่างช่วงเรียน ผมอายุ 16-17 วงการดนตรีเริ่มเข้ามาในบ้านเรา สมัยนั้นเรียก 'วงชาโดว์' เป็นวงดนตรีมีเครื่องดนตรี 3 ชิ้น  (กีตาร์ไฟฟ้า เบสไฟฟ้า และกลองชุด) ตอนนั้นพี่ชายเล่นดนตรีอยู่ เป็นเพลงแบบพวกบอลลูน คอมโบ ผมให้เขาสอน แล้วก็ลองเล่นกับเพื่อนๆ เริ่มจากกีตาร์ก่อน จับคอร์ดพื้นฐาน ตอนหลังเพื่อนชวนไปเล่น ให้เราเล่นเบส หลังจากเรียนหนังสือใกล้จบก็มีแคมป์ GI ตามจังหวัดต่างๆ เขาต้องการคนเล่นดนตรี สมัยนั้นขาดแคลน ไม่ค่อยมีใครเล่นเป็นและดนตรียังไม่สลับซับซ้อนเท่าไหร่ เล่นเป็นไม่กี่คอร์ดก็ไปเล่นได้แล้ว เราก็ไปเล่นในแคมป์ GI ก็ได้ประสบการณ์ ได้รู้ ได้เห็น เปิดโลกเรา ความรู้สึกตอนนั้นคือเล่นดนตรีมันสนุก ได้ไปเที่ยวไปเล่นตามแคมป์ GI ที่ต่างๆ ไม่ได้คิดวางแผนว่าต่อไปอนาคตจะเป็นยังไง วัยเราตอนนั้นก็ซ่าอยู่ ไม่มีครอบครัว ไปเที่ยวเล่น ได้เงินมาก็ไม่ได้เก็บ สนุกมากช่วงนั้น"

"พอทหารอเมริกันกลับไปก็เปลี่ยนมาเล่นตามโรงแรม เล่นแนวดิสโก้ แจ๊ส ก็รวมตัวเป็นวงกับเพื่อน สมัยนั้นแขกเขามาดูเราเล่น มาดูเราร้อง แต่ทุกวันนี้แขกเขาไม่ดูเราแล้ว เขาอยากจะร้องเอง โรงแรมก็คิดว่าจะจ้างวงมาเล่นทำไม แค่มีเครื่องเล่นคาราโอเกะก็พอแล้ว งานก็เลยน้อยลง"

"ความฝันในวัยหนุ่มก็อยากออกเทป ตอนที่ยังมีวงก็เคยทำเทป แต่ตอนนั้นเครื่องเล่นเทปยังไม่แพร่หลาย ตามบ้านไม่ค่อยมี และเพลงก็อาจจะไม่ติดหู การโฆษณาอาจจะไม่มีเหมือนสมัยนี้ ก็เลยไม่ประสบความสำเร็จ อีกครั้งหนึ่งก็ได้มาทำเทปอีกตอนที่วงอยู่ในยุคท้ายๆแล้ว เราเอาเพลงเก่าๆ มาทำเป็นดิสโก้ แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จเหมือนกัน"

"ความฝันตอนนี้ก็ยังอยากทำเพลง อย่างเพลงนี้ (จุดเดิม) เข้าข่ายความฝันที่ตั้งใจไว้ ได้กระแสการตอบรับดี ก็พอใจ ในอนาคตก็อยากทำอีก แต่เพลงนี้จริงๆตอนแรกก็ยังไม่คุ้น ออกแนวร็อกรุ่นใหม่แต่เราไม่ชิน ก็ได้โปรดิวเซอร์ ผู้กำกับช่วย ผ่านไปด้วยดี เล่นเรื่อยๆ ก็รู้สึกชอบมากขึ้น"

 "ก่อนจะมาทำวงนี้ (BENNETTY) ก็ทิ้งดนตรีไปเป็นสิบปี ก่อนหน้านั้นเราเล่นดนตรีกับคู่หู่อีกคนตามล็อบบี้โรงแรม แต่สิบกว่าปีก่อนคู่หูที่เล่นด้วยกันเขาเสียเพราะเป็นโรคหัวใจ พอเขาเสียเราก็บินเดี่ยว ไปเล่นกับคนอื่นบ้าง ก็เล่นได้แต่ไม่เหมือนกับคู่หู แล้วก็เป็นจังหวะที่เราต้องย้ายบ้าน ขนย้ายเครื่องดนตรีลำบากเราก็ขายเขาไป แล้วก็ติดภาระเลี้ยงหลาน จนสิบกว่าปีก็มาเจออันนี้ เพื่อนที่เคยอยู่วงเดียวกันเขาโทรมาให้ลองไปออดิชั่น"

 "ความตาย ผมก็กลัวนะ พอมีอายุขึ้นมา เป็นธรรมขาติที่จะคิดถึงอยู่เรื่อย แต่ก่อนนี้เราไม่เคยคิด เหมือนเรายังห่าง เราเป็นมุสลิมก็จะมีละหมาดวันละ 5 ครั้ง มันดีที่ทำให้จิตใจเราอยู่กับพระเจ้าตลอดเวลา เราก็มีจิตใจสงบ ไม่ไปกดขี่ข่มเหงใคร เราก็เห็นว่าความตายเป็นเรื่องปกติ ไม่น่ากลัว ถ้าเราใจสงบเราก็ไปสบาย ถ้าเราฉุนเฉียว หรือก่อกรรมอะไรมามันก็มีผลต่อจิตใจเรา ตอนจะตายก็อาจจะไม่สงบ"

เทพ เก็งวินิจ (74, คีย์บอร์ด)

ศิลปินที่ชอบ: Roger Williams, Oscar Peterson, Herb Alpert

เทพ เก็งวินิจ

ตั้งแต่ภรรยาเสียไปหลายปีก่อน เทพอาศัยอยู่คนเดียวที่คอนโด และชอบใช้เวลาว่างเกือบทุกเย็นไปกับการเล่นคีย์บอร์ดในห้างใกล้บ้าน

"พ่อผมเปิดร้านขายเครื่องดนตรี เขาไปเรียนด้านดนตรีที่เมืองจีน เขาเขียนเพลงให้เครื่องดนตรีเล่นได้ทุกชิ้น ตั้งแต่ 5-6 ขวบ ผมก็มีครูมาสอนเปียโน สอนเพลงคลาสสิค เรียนสักระยะผมก็ไม่ชอบเพราะมันเล่นตายตัว โน้ตทุกตัวต้องเล่นหมด ก็มีครูญี่ปุ่น ครูฟิลิปปินส์มาสอน เขาสอนเพลงป็อบ ผมก็สนใจมากขึ้น หลังจากนั้นผมไปเรียนมหาวิทยาลัยต่อที่อเมริกาด้านวิศวะ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับดนตรีเลย แต่ผมก็ไม่ได้ทิ้งพอว่างก็เล่น ที่อเมริกาทุกบ้านจะชอบดนตรี วันอาทิตย์ก็ไปโบสถ์ ไปร้องเพลง เล่นดนตรี เราก็อยู่ในสภาพแวดล้อมแบบนั้น มีโอกาสก็เล่น เล่นพาร์ทไทม์บ้างตามร้านอาหาร ตามโรงแรม แต่เราก็รู้ว่าฝีมือเรายังไม่ทัดเทียมกับนักดนตรีบ้านเขา เทคนิคไม่เหมือนกัน เราก็ซ้อมจนกระทั่งเล่นได้ตามมาตรฐาน"

"พอกลับจากอเมริกาก็ยิ่งไม่มีเวลา เพราะผมเป็นวิศวกร ก็ห่างหายไปจากการเล่น กลับมาเล่นอีกทีตอนเกษียณอายุ ผมก็มีเวลาเล่น อยากจะเล่นก็เล่น แต่ไม่ได้เล่นเป็นอาชีพ แนวที่ชอบเล่นก็พวกแจ๊ส ป๊อบ ส่วนใหญ่จะเป็นเพลงฝรั่ง"

"เพลงจุดเดิม ตอนแรกเราก็ไม่ชอบเท่าไหร่ เพราะเราเข้าไม่ถึง มันต่างกับที่เราเคยเล่นมา แต่เราเล่นเพื่อสนับสนุนให้เพลงนี้สมบูรณ์ แรกๆ ก็มีปัญหาเพราะตามเขาไม่ได้ ไม่คุ้นกับการเล่นเป็นวงสตริงแบบนี้ ผมเคยเล่นแต่วงที่เปียโนเป็นเมนหลัก แต่แนวเพลงที่ออกมาผมต้องชื่นชมคนแต่งเพลงและโปรดิวเซอร์ที่ arrange เพลงนี้ออกมาให้ทุกคนเล่น ไม่ได้เขาเราก็คงเล่นไม่ได้ เราเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ทำให้เพลงประสบความสำเร็จ อาจจะเป็นส่วนเล็กๆ แต่ผมก็มีความยินดีที่จะมาร่วมวงนี้เพื่อทำเพลงให้คนในวัยอื่นฟังด้วย เราสูงอายุก็จริงแต่ถ้าเราทำอะไรเป็นิช้นเป็นอันออกมาเป็นประโยชน์กับส่วนรวม คนอื่นชอบ เราจะมีความสุข "

"ความฝันตอนนี้ผมมีที่ดินที่ได้มรดกมาก็อยากไปปรับแปลงที่ดินให้มันทำอะไรที่เป็นประโยชน์ได้"

"ความตายก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ ผมก็ไม่กลัวเรื่องความตาย แต่ก็อยากจะจัดการทุกอย่างให้เรียบร้อยก่อนตาย"

วัชระ ณ ระนอง (80, ร้องนำ)

ศิลปินที่ชอบ: Frank Sinatra

วัชระ ณ ระนอง

ปัจจุบันวัชระอาศัยอยู่กับภรรยาที่จังหวัดเชียงใหม่ แวะเวียนไปร้องเพลงตามผับยามค่ำคืน และเป็นนักร้องจิตอาสาให้โรงพยาบาลมหาราช

"ตั้งแต่เด็กผมชอบฟังเพลง ร้องเพลง เคยไปประกวดงานวัดตั้งแต่อายุ 12 ปี เด็กที่สุดเลยมั้งในบรรดาคนที่ประกวด ไอดอลตอนนั้นคือสมยศ ทัศนพันธ์ พอจบป. 4 ผมก็ไปเรียนต่อต่างประเทศ ไปปีนัง แล้วต่อออสเตรเลีย แล้วไปทำงานที่อเมริกา หลังจากนั้นก็ชอบเพลงสากล ชอบแฟรงค์ ซิเนตรา ชอบแนวเพลงบัลลาด เพลงแจ๊ส"

"ตอนฟังเพลงจุดเดิมใหม่ๆ ไม่ชอบเลย ไม่เข้าหู (หัวเราะ) ตอนแรกก็ค่อนข้างหนักใจ ไม่รู้จะทำได้ดีไหม แต่ก็เลือกมาแล้ว รับปากเขาแล้ว ก็ต้องเต็มที่ ผมคิดว่าเพลงนี้เนื้อเพลงมันยาก เราต้องเข้าใจเนื้อเพลง เพราะอารมณ์ความรู้สึกของเราต้องออกมากับเสียงที่เราร้อง จังหวะก็ยาก พอฟังไปเรื่อย ร้องไปเรื่อย ก็ค่อยๆ เข้าใจมากขึ้น แต่ก็ไม่ได้เข้าใจทั้งหมดนะ (หัวเราะ)"

"ความฝันตอนนี้ก็ไม่ได้คิดอะไรมาก อายุเราก็ขนาดนี้แล้ว ถ้ามีกิจกรรมเกี่ยวกับดนตรี หรือร้องเพลงเข้ามาก็ยินดี เป็นงานอดิเรกของเราอยู่แล้ว มีอะไรให้เราทำ ทำให้คนอื่นเป็นประโยชน์ ก็อยากทำ ครอบครัวก็ไม่มีอะไรเป็นห่วง ก็อยู่กันสองคนตายาย"

"เราไม่กลัวความตาย แต่เราก็ยังไม่อยากตาย เราพยายามไม่ประมาท ถึงเวลาจะไปก็ไป แต่ขอให้ไปแบบสงบ อย่าให้ทรมาน กลัวถ้าจะต้องเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต นอนติดเตียง "

ชาติ-ธนกร เจียสิริ (65, กลอง)

ศิลปินที่ชอบ: The Beatles

ธนกร เจียสิริ

ปัจจุบันชาติอาศัยอยู่กับภรรยาคนปัจจุบัน (หลังจากภรรยาคนแรกเสียชีวิตไปเมื่อหลายปีก่อน) และขายเครื่องดนตรีเป็นงานอดิเรก

"ตอนอายุสัก 12 ที่โรงเรียนมีวงดุริยางค์ ก็เลยไปเล่นกับเขา ไปตีฉาบ โตขึ้นหน่อย 15-16 ก็เริ่มมีวง 18-19 ถึงได้ลองตีกลอง จับพลัดจับผลูได้มาเล่นเป็นอาชีพแล้วถึงจะมาเรียนกลอง เรียนทฤษฎีดนตรีอย่างจริงจัง อายุประมาณ 30 เศษๆ ก็เลิกเล่นเป็นอาชีพ แม้ข้างในเราอยากเป็นนักดนตรีมาตลอด แต่ช่วงกระแสเพลงไทยมาแรง เพลงดิสโก้มาแรง ซึ่งเป็นแนวที่เราไม่ชอบ บางครั้งเราก็ต้องเล่นเพลงที่เราไม่ชอบ ก็เลยคิดว่าเปลี่ยนงานด้วยตัวเองก่อนดีกว่า ก่อนที่จะถูกเปลี่ยนโดยงาน"

"เราก็ไปทำงานอย่างอื่น แล้วก็เพิ่งมาเริ่มเล่นสนุกๆ เพื่อผ่อนคลายเมื่อสัก 10 กว่าปีที่แล้ว เล่นมาเรื่อยๆ เล่นกับเพื่อน เล่นกับร้านที่เล่นประจำเดือนละครั้งสองครั้ง"

"เพลงจุดเดิม ในความคิดเรามันค่อนข้างยากพอสมควร มันไม่คุ้นกับสิ่งที่เราเคยเล่นมา แต่เราถูกคัดเลือกมาแล้วก็ทำให้มันดีที่สุด"

"ความฝันตอนนี้ที่ทำได้แล้วคือการวางแผนการเงินให้ตัวเองตอนเกษียณ ซึ่งตอนนี้คิดว่าทำได้แล้ว กับอีกอย่างคือเรื่องทางศาสนา การนิพพาน ซึ่งเราคิดว่าคนธรรมดาก็อาจจะทำได้ ไม่ต้องบวชก็ได้"

"กับความตายในความรู้สึกเราคิดว่า ตื่นลืมตาขึ้นมาได้ก็คิดว่ารอดมาอีกวันแล้ว ก็ตั้งใจให้ทุกวันมีความหมาย คิดถึงความตายอยู่ตลอด คิดว่าความตายเป็นเรื่องธรรมดา เหมือนคนที่อยู่ในบ้าน บ้านมันพัง คนในบ้านก็ต้องไปหาบ้านใหม่ จิตของเราก็ยังต้องไปเวียนว่ายตายเกิดอีก"

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กสทช. เผยยอดขึ้นทะเบียนโดรน ทะลุ 1.1 หมื่นเครื่องแล้ว

Posted: 26 Apr 2018 10:49 PM PDT

สำนักงาน กสทช. เผยยอดขึ้นทะเบียนโดรนทั่วประเทศ ถึงวันที่ 23 เม.ย. 61 ทะลุ 11,000 เครื่อง

27 เม.ย.2561 ฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(เลขาธิการ กสทช.) เปิดเผย จำนวนการลงทะเบียนเครื่องวิทยุคมนาคมที่ใช้ในอากาศยานซึ่งไม่มีนักบินประเภทอากาศยานที่ควบคุมการบินจากภายนอก (โดรน) ตั้งแต่วันที่ 12 ต.ค. 2560 ถึงวันที่ 23 เม.ย. 2561 มียอดขึ้นทะเบียนโดรนรวมทั้งสิ้น 11,016 เครื่อง แยกเป็นขึ้นทะเบียนที่สำนักงาน กสทช. 8,843 เครื่อง (สำนักงาน กสทช. ส่วนกลาง 4,494 เครื่อง และส่วนภูมิภาค 4,349 เครื่อง) และขึ้นทะเบียนที่สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) จำนวน 706 เครื่อง ขึ้นทะเบียน ณ สถานีตำรวจทั่วประเทศ จำนวน 1,467 เครื่อง ซึ่งข้อมูลยอดขึ้นทะเบียนของสถานีตำรวจทั่วประเทศเป็นข้อมูลที่สำนักงาน กสทช. ได้รับจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติรวบรวมส่งมา

ทั้งนี้เมื่อวันที่ 3 ม.ค.ที่ผ่านมา เลขาธิการ กสทช. ระบุด้วยว่า สำหรับผู้ที่มีโดรนไว้ในครอบครอง หรือใช้งาน ที่ไม่มาขึ้นทะเบียน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 23 แห่ง พ.ร.บ. วิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สหภาพพยาบาลไทยชวนรณรงค์วันพยาบาลสากล

Posted: 26 Apr 2018 09:50 PM PDT

สหภาพพยาบาลแห่งประเทศไทยขอเชิญพยาบาลไทยและสมาชิกร่วมรณรงค์โดยการถ่ายภาพของตนเองหรือกลุ่มส่งเป็นคลิปวิดีโอความยาวน้อยกว่า 30 วินาที มาที่สหภาพพยาบาลแห่งประเทศไทย (email : jarujit15@gmail.com ภายใน 3 พ.ค.2561) เพื่อร่วมแสดงความเป็นหนึ่งเดียวกันของพยาบาลทั่วโลก

Seon-wook Park พยาบาลสาวแห่งโรงพยาบาลอาซาน กรุงโซล เกาหลีใต้ กระโดดตึกฆ่าตัวตายเมื่อ 15 ก.พ. 2561 พบจดหมายลาตายที่เธอกล่าวถึงการทำงานที่เครียด ชั่วโมงการทำงานที่ยาวนานในแต่ละวัน และการถูกกดขี่รังแกโดยคนที่มีตำแหน่งสูงกว่า ซึ่งเป็นเหตุผลในการตัดสินใจฆ่าตัวตายของเธอ เช่นเดียวกับพยาบาลที่ทำงานอยู่ในโรงพยาบาล ปาร์คต้องทำงานถึง 16 ชั่วโมงในแต่ละวันจากบ่ายวันหนึ่งจนถึงรุ่งเช้าของวันถัดไป หรือแม้แต่ในไอซียูเธอถูกมอบหมายให้ดูแลผู้ป่วยหนักถึง 3 คนในคราวเดียวกัน เหตุการณ์อันน่าเศร้าใจครั้งนี้เป็นสัญญาณเตือนในหมู่ประชาชนเกาหลีให้หันมามองถึงความสำคัญของสภาพการทำงานในโรงพยาบาลอาซานและโรงพยาบาลอื่น ๆ

สหภาพพยาบาลแห่งประเทศไทยขอเชิญพยาบาลไทยและสมาชิกร่วมรณรงค์โดยการถ่ายภาพของตนเองหรือกลุ่มส่งเป็นคลิปวิดีโอความยาวน้อยกว่า 30 วินาทีมาที่สหภาพพยาบาลแห่งประเทศไทย (email : jarujit15@gmail.com ภายใน 3 พ.ค.2561) เพื่อร่วมแสดงความเป็นหนึ่งเดียวกันของพยาบาลทั่วโลกในวันพยาบาลสากลที่จะมาถึงนี้ ว่าเราประสบปัญหาที่ต้องการแก้ไขเร่งด่วน เชิญร่วมรณรงค์กับ สหภาพในเกาหลีใต้ และ PSI-public service international เพื่อสร้างบริการสุขภาพที่มีคุณภาพมีคุณค่าต่อปวงประชา.

 

On February 15, Seon-wook Park, a young nurses working at the Asan Medical Centre in Seoul committee suicide by throwing herself from the top of an apartment building near the hospital. In the suicide note Park left, she pointed to work-related stress, including long working hours and harassment by superiors, as the reasons for the desperate decision to take her life. Like other nurses at the hospital, Park worked work up to 16 hours at a time including shifts that went from evening until the next morning. Despite being in the intensive care unit, she was expected to take care of three patients at once. Park also experienced neglected and verbal mistreatment from her instructor.

This tragic incident has caused significant alarm among the Korean public, because it has called attention to the poor working conditions at Asan Medical Centre and other hospitals like it. In particular, nurses around the country have come forward to express their empathy for Park and to speak about their own experiences of low nurse-patient ratios, long hours, poor conditions and unfair treatment.

The Korean Public Service and Transport Workers Union Healthcare Workers Solidarity Division has come together with Park's family and civil society organisations to fight for justice for Park.

PLEASE JOIN this campaign to take photo (selfie or group) or make a video (less than 30 seconds) solidairy message and send to: kptu.intl@gmail.com. The message can include condolence for the family, support for a struggle for better conditions for nurses and/or mention of similar experiences in your country. If possible, please send the image/video by next Wed. (May 3) to be included in our outreach video.

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น