ประชาไท | Prachatai3.info |
- รอการลงโทษ หนึ่งในพยานเท็จ ช่วยเหลือตำรวจที่ซ้อมทรมาน 'ฤทธิรงค์ ชื่นจิตร'
- นักกฎหมายม้งและเครือข่ายประณามคนร้ายลอบยิงกำนันทวีศักดิ์และครอบครัว
- 5 องค์กรร่วมพัฒนามาตรฐานกลาง ยกระดับดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองของไทย
- 'วัชระ' พร้อมสู้คดี หลังประยุทธ์ขู่ฟ้องปมปล่อยข่าวระดมทุน 4 หมื่นล้านตั้งพรรคทหาร
- บันทึก 6 ตุลา: หญิงสาวผู้ถูกละเมิดในเช้าวันที่ 6 ตุลา 2519
- ใบตองแห้ง: อำนาจบนฟองสบู่
- การมาของอาลีบาบากับความท้าทายด้านกำลังคนดิจิทัลของไทย
- ศาลออกหมายจับ 'อานดี้ ฮอลล์' ให้มาฟังคำพิพากษาอุทธรณ์ 31 พ.ค. นี้
- กรรมการสิทธิฯ ทำหนังสือด่วนที่สุดถึงผู้ว่าฯ กทม. จี้แก้ปัญหาชุมชนป้อมมหากาฬ ตามมติ ครม.
- จนท.ไทยสั่งระงับสัมมนาเปิดรายงานกองทัพพม่าละเมิดสิทธิชาวบ้านกะเหรี่ยง-หนีตายนับพัน
- DOC+TALK: ‘รัฐสวัสดิการ’ เพราะสิ่งที่มีค่าที่สุดของประเทศคือทรัพยากรมนุษย์
- เมย์เดย์ปีนี้ 'สมานฉันท์แรงงาน' ไม่ร้องเพิ่ม ทวงประยุทธ์ 10 ข้อปีที่แล้ว ทำให้ได้ก่อน
- แพทย์แนะกำหนดค่ามาตรฐานไนโตรซามีนในปลาร้า เพื่อผู้บริโภคปลอดภัย ลดก่อมะเร็ง
- อัด 'ไทยนิยม' ไม่ยั่งยืน จี้หยุดรัฐสงเคราะห์ ชูรัฐสวัสดิการแก้เหลื่อมล้ำได้ยั่งยืน
- เครือข่ายตรวจสอบบรรษัทข้ามชาติเรียกร้องหยุดชั่วโมงทำงานที่ยาวนานในเอเชีย
รอการลงโทษ หนึ่งในพยานเท็จ ช่วยเหลือตำรวจที่ซ้อมทรมาน 'ฤทธิรงค์ ชื่นจิตร' Posted: 25 Apr 2018 10:57 AM PDT จำเลยรั
25 เม.ย.2561 รายงานข่าวจากมูลนิธิผสานวัฒนธรรม แจ้งว่าเมื่อวันที่ 24 เม.ย.ที่ผ่านมา ศาลจังหวัดปราจีนบุรีออกนั่งพิ โดยคดีนี้ ฤทธิรงค์ ได้ร้องทุกข์กล่าวโทษเพื่อดำเนิ โดยในวันที่ 24 เม.ย. 2561 นัดสืบพยานโจทก์ ศาลได้มีคำสั่งตามคำร้
นอกจากคดีดังกล่าวข้างต้นแล้วฤทธิรงค์ฯ และบิดา ยังได้ดำเนินคดีกับกลุ่มบุคคลที่ 1. คดีที่ฤทธิรงค์กับบิดา เป็นโจทก์ฟ้องพยานเท็จคนหนึ่งซึ่ 2. ส่วนพยานเท็จอีก 2 คน (คนละคดี) ฤทธิรงค์ กับบิดา ได้แจ้งความร้องทุกข์ พยานเท็จคนหนึ่ง ณ สถานีตำรวจภูธรเมืองปราจีนบุรี และอีกคนหนี่ง ณ สถานีตำรวจนครบาลทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ ซึ่งทั้งสองคดีอยู่ในระหว่ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||
นักกฎหมายม้งและเครือข่ายประณามคนร้ายลอบยิงกำนันทวีศักดิ์และครอบครัว Posted: 25 Apr 2018 10:51 AM PDT เครือข่ายนักกฎหมายและทนายความม้ง พร้อมกับองค์กรและกลุ่มเครือข่าย ออกแถลงการณ์กรณีคนร้ายลอบยิง "ทวีศักดิ์ ยอดมณีบรรพต" กำนัน อ.เวียงแก่น จ.เชียงราย และครอบครัว ชี้ที่ผ่านมากำนันทวีศักดิ์มีบทบาทขับเคลื่อนประเด็นสิทธิในที่ดินของกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง และมีบทบาทเป็นผู้นำภาคประชาสังคม เหตุคนร้ายลอบยิงกำนันและครอบครัวนับเป็นการกระทำอุกอาจไม่เกรงกลัวกฎหมาย โดยเรียกร้องให้กลไกกระบวนการยุติธรรมเร่งรัดสืบสวนหาผู้ก่อเหตุมาลงโทษ ที่มาของภาพ: สำนักประชาสัมพันธ์เขต 3 กรมประชาสัมพันธ์ เมื่อวันที่ 25 เมษายน เครือข่ายนักกฎหมายและทนายความม้ง พร้อมกับองค์กรและกลุ่มเครือข่าย ออกแถลงการณ์เรื่อง ขอประณามและเรียกร้องต่อกรณี นายทวีศักดิ์ ยอดมณีบรรพต กำนันตำบลปอ อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย และครอบครัวถูกคนร้ายลอบยิง เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2561 โดยมีรายละเอียดดังนี้ 000 แถลงการณ์เรื่อง ขอประณามและเรียกร้องต่อกรณี นายทวีศักดิ์ ยอดมณีบรรพต กำนันตำบลปอ อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย และครอบครัวถูกคนร้ายลอบยิง เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2561ตามที่เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2561 เวลาประมาณ 18.00 น. นายทวีศักดิ์ยอดมณีบรรพต และครอบครัว ถูกกลุ่มคนร้ายลอบยิงด้วยอาวุธสงคราม ทำให้ภรรยาและบุตรหนึ่งคนเสียชีวิตในที่เกิดเหตุ สำหรับนายทวีศักดิ์ ยอดมณีบรรพตและบุตรอีกหนึ่งคนได้รับบาดเจ็บสาหัส เหตุเกิดบนถนนเส้นผาตั้ง – ภูชี้ฟ้า ก่อนถึงทางแยกเข้าหมู่บ้านร่มฟ้าทอง ตำบลปอ อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงรายนั้น ปัจจุบันนายทวีศักดิ์ ยอดมณีบรรพต มีตำแหน่งเป็นกำนันตำบลปอ อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานปกครองท้องที่ของรัฐ ตาม พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 ที่ผ่านมาได้ทำหน้าที่ตามกฎหมาย นโยบายของรัฐบาลและหน่วยงานที่สังกัดอย่างตรงไปตรงมาอีกทั้งยังมีบทบาทขับเคลื่อนประเด็นสิทธิในที่ดินของกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง โดยเฉพาะเรียกร้องการแก้ไขปัญหาสิทธิในที่ดิน รวมทั้งมีบาทเป็นผู้นำภาคประชาสังคม เช่น สภาองค์กรชุมชนตำบล สภาเกษตรกรตำบล ประธานชมม้งในประเทศไทย เป็นต้น เครือข่ายนักกฎหมายและทนายความม้ง พร้อมกับองค์กรและกลุ่มเครือข่ายดังปรากฏด้านล่างนี้เห็นว่า การกระทำดังกล่าวของกลุ่มคนร้าย เป็นการกระทำที่อุกอาจ ไม่เกรงกลัวต่อกฎหมาย ซึ่งได้สร้างความหวาดกลัวให้แก่ประชาชน ผู้นำท้องที่ และเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งเป็นการละเมิดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 28 และประมวลกฎหมายอาญาเรื่องความผิดต่อชีวิตและร่างกาย ดังนั้น จึงขอแถลงการณ์เรียกร้องต่อผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องดังต่อไปนี้ 1. ขอประณามการกระทำของกลุ่มผู้ก่อเหตุ ที่ได้กระทำอย่างโหดเหี้ยม ไร้มนุษยธรรม มุ่งหมายที่จะเอาชีวิตของประชาชนผ้บริสุทธิ์ที่สำคัญคือทำให้เด็กและสตรีได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต 2. ขอให้กลไกกระบวนการยุติธรรมทางอาญา โดยเฉพาะสถานีตำรวจภูธรเวียงแก่น เร่งรัดทำการสืบสวนสอบสวนหาตัวผู้ก่อเหตุมาดำเนินคดีเพื่อลงโทษตามกฎหมายอย่างจริงจัง ทั้งนี้ตามหลักการที่รัฐมีหน้าที่บังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง รักษาความสงบเรียบร้อยในบ้านเมือง เพื่อประกันความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน 3. ขอให้กองกำลังผาเมือง ในฐานะหน่วยงานที่มีหน้าที่รักษาความมั่นคงชายแดน และป้องกันปราบปรามการกระทำความผิดกฎหมายตามแนวชายแดน ร่วมกับพนักงานสอบสวน เร่งรัดตรวจสอบและติดตามจับกุมผู้กระทำความผิดมาลงโทษตามกฎหมายอย่างตรงไปตรงมา รวมทั้งหามาตรการป้องกันการก่อเหตุร้ายแรงในลักษณะเช่นนี้อีก 4. ขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ในฐานะผู้บังคับบัญชาหน่วยงานที่ นายทวีศักดิ์ ยอดมณีบรรพตสังกัด สั่งให้มีการตรวจสอบข้อเท็จจริง หากเหตุที่เกิดขึ้นเป็นผลที่สืบเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่ ขอให้จังหวัดเชียงรายเร่งรัดหามาตรการป้องกันความปลอดภัยให้แก่ครอบครัว และเยียวยาความเสียหายตามความเหมาะสม ทั้งนี้ เพื่อป้องกันการก่อเหตุซ้ำต่อนายทวีศักดิ์ ยอดมณีบรรพต หรือประชาชน ผู้ปกครองท้องที่และข้าราชการในท้องถิ่น แถลง วันที่ 25 เมษายน 2561 รายชื่อองค์กรและเครือข่ายผู้ร่วมแถลง 1. ชมรมม้งในประเทศไทย ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||
5 องค์กรร่วมพัฒนามาตรฐานกลาง ยกระดับดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองของไทย Posted: 25 Apr 2018 10:33 AM PDT 5 องค์กรลงนาม MOU จัดทำนิยามปฏิบัติการของคำที่ 25 เม.ย.2561 รายงานข่าวจาก สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่ นพ.พลเดช ปิ่นประทีป เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่ "สช. ในฐานะหน่วยงานหลักขับเคลื่ นพ.พลเดช กล่าวว่า เมื่อการจัดทำคำนิยามเสร็จสิ้ ภายในงาน มีการเสวนาหัวข้อ "เฟืองขับเคลื่อนสำคัญ : นิยามปฏิบัติการ (Operational definition) ของคำที่เกี่ยวข้องกับเรื่ นพ.อุกฤษฎ์ มองว่า การกำหนดมาตรฐานกลางของคำนิ นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา ประธานคณะทำงานวิชาการจัดทำคำนิ "การศึกษาครั้งนี้ควรให้ พญ.ขจีรัตน์ ปรักเอโก ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่ "ปัจจุบันคณะกรรมการจัดทำสิทธิ ผศ.ดร.จรวยพร ศรีศศลักษณ์ ผู้จัดการงานวิจัย ผู้แทนสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) กล่าวว่า สวรส. จะร่วมสนับสนุนด้านวิชาการเพื่ "คำนิยามเหล่านี้จะช่วยให้บุ รศ.พญ.ศรีเวียง ไพโรจน์กุล นายกสมาคมบริบาลผู้ป่วยระยะท้าย กล่าวว่า การลงนาม MOU ครั้งนี้ จะทำให้ทุกฝ่ายมีความเข้
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||
'วัชระ' พร้อมสู้คดี หลังประยุทธ์ขู่ฟ้องปมปล่อยข่าวระดมทุน 4 หมื่นล้านตั้งพรรคทหาร Posted: 25 Apr 2018 09:56 AM PDT 'วิษณุ' อัด 'วัชระ' ยกปมเงิน 4 หมื่นล้านตั้งพรรคการเมือง มีความผิดหากเจตนาพูดมั่วให้คนเข้าใจผิด ด้าน 'วัชระ' ลั้นพร้อมสู้คดี หลังประยุทธ์ขู่ฟ้องปมปล่อยข่าว แจงหัวหน้า คสช.คงฟังความไม่หมด แฟ้มภาพ เพจ Democrat Party, Thailand 25 เม.ย.2561 รายงานข่าวระบุว่า วันนี้ วัชระ เพชรทอง อดีต ส.ส.กรุงเทพฯ พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึง กรณีที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ระบุ จะฟ้องกรณีที่เผยเรื่องความเคลื่อนไหวระดมทุน 40,000 ล้านบาท เพื่อตั้งพรรคทหาร ว่า พล.อ.ประยุทธ์ คงฟังความไม่หมด เพราะตนบอกว่าได้รับข้อมูลด้านการข่าว ว่ามีการระดมทุน เพื่อสนับสนุนพรรคการเมืองที่จะตั้งขึ้นใหม่ เพื่อสนับสนุนทหาร เป็นวงเงินดังกล่าว แต่ไม่ได้ระบุหรือกล่าวหาว่า พล.อ.ประยุทธ์ มีความเกี่ยวข้อง เพราะ พล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกรัฐมนตรี ไม่ได้เป็นหัวหน้าพรรคการเมือง จึงไม่ควรเดือดร้อน เพราะเป็นการกล่าวถึงคนในรัฐบาล ที่มีรายงานว่า มีการพูดคุยเรื่องระดมทุน เพื่อตั้งพรรคสนับสนุนทหารในทำเนียบรัฐบาล และว่า กล้าสาบานต่อวัดพระแก้วใน 7 วันหรือไม่ว่า ไม่มีการใช้ทำเนียบรัฐบาล พูดคุยกันเรื่องการตั้งพรรคการเมือง "ผมไม่เคยกล่าวหาว่าท่านทุจริต หรือสั่งการให้มีการระดมทุน เมื่อท่านขู่ว่าจะฟ้องร้องผมและสื่อ ก็ขอร้องว่าอย่าฟ้องเลย แต่หากจะฟ้องผมก็ยินดี ที่จะต่อสู้ตามกระบวนการ เพราะมีความสุจริตใจในการให้ข้อมูล และหวังดีต่อท่าน ไม่อยากให้ท่านเป็นนายกรัฐมนตรีต่อ อยากให้พอแล้ว เพราะท่านไม่ทันนักการเมืองที่ฉ้อฉลแน่นอน" วัชระ กล่าว วัชระ ยังขอให้ พล.องประยุทธ์ ดูตัวอย่างจอมพลถนอม กิตติขจร และพล.อ.สุจินดา คราประยูร และขอให้เอาเวลาที่จะฟ้องร้อง ไปเร่งปฏิรูปประเทศด้านต่างๆ เพราะตลอด 4 ปีที่ผ่านมาล้มเหลว และขอให้เร่งแก้ปัญหาเฉพาะหน้า พืชผลการเกษตรตกต่ำ ราคาปาล์ม ราคายางพารา อย่างไรก็ตาม หากจะฟ้อง ตนก็มีความสุจริตใจที่จะต่อสู้คดีตามกระบวนการ ส่วนที่ พล.อ.ประยุทธ์ ท้าเปิดหลักฐานนั้น วัชระ กล่าวว่า เรื่องนี้เปรียบเสมือนการหาใบเสร็จของการทุจริตคอรัปชั่น ยืนยันว่าข้อมูลที่ได้ มีพ่อค้า นักธุรกิจ นักลงทุนที่ได้ประโยชน์จากรัฐ ยืนยันว่ามีการระดมทุนจริง จึงขอให้ไปถามจากคนเหล่านั้น แต่เชื่อว่าคงไม่มีใครกล้ายืนยันต่อหน้าสื่อ เพราะยุคนี้เป็นรัฐบาล คสช. ขณะที่ วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวกรณีนี้ว่า พล.อ.ประยุทธ์ อาจมองว่าไม่ใช่เรื่องจริงเมื่อไม่จริงแล้วไปพูดอาจทำให้คนเข้าผิดและเชื่อ จึงต้องไปดูว่าผู้พูดมีเจตนาอะไรที่เอาเรื่องไม่จริงมาพูด วัชระ พูดว่า 4 หมื่นล้านบาทต่อไปก็ 4 แสนล้านบาทได้ และคนอื่นก็สามารถไปพูดได้โดยไม่มีมูลความจริง และการพูดโดยไม่มีมูลความจริงผ่านสื่อสาสาธารณะใครก็รู้ว่ามีความผิด ทั้งนี้ไม่ทราบว่าจะดำเนินการอย่างไรกับนายวัชระเพราะไม่ได้เป็นคนคิดว่าจะเอาผิดหรือตั้งข้อหา ส่วนที่นายกฯระบุก็เพียงแต่ให้เจ้าหน้าที่ไปช่วยดูเท่านั้น ส่วนตนในฐานะที่เป็นรองนายกฯฝ่ายกฎหมาย ก็ให้เจ้าหน้าที่ไปดูเช่นกัน และจะไม่พูดเรื่องนี้เป็นคนแรก จะพูดเป็นคนใกล้สุดท้าย ต่อกรณีคำถามที่ว่าถือเป็นการดิสเครดิตรัฐบาลก่อนการเลือกตั้งหรือไม่ นั้น วิษณุ กล่าวว่า อาจไม่ถึงขนาดนั้น แต่อาจจะทำให้เกิดการเข้าใจผิด เกิดความไม่ไว้เนื้อเชื่อใจ และร่ำลือกันไป ซึ่งก็เหมือนความผิดทั้งหลายทั้งการดูหมิ่น หมิ่นประมาท ตามความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ เริ่มจากประโยคแบบนี้และส่งต่อข้อมูลมากขึ้นคนจะเชื่อว่าเป็นเรื่องจริงทั้งที่ไม่เป็นความจริง และการกระทำแบบนี้หลายเรื่องเนื้อหาไม่ใช้การความเคลื่อนไหวทางการเมือง แต่เมื่อพิสูจน์ไปถึงมูลเหตุจูงใจก็อาจจะเป็นความเคลื่อนไหวทางการเมืองก็ได้ ยกตัวอย่าง ถ้าเราตบหน้านาย ก.อาจแค่ทำร้ายร่างกาย แต่ถ้าตบเพราะต้องการดิสเครดิตทางการเมือง ถือเป็นการเคลื่อนไหวทางการเมือง
ที่มา สำนักข่าวไทย และข่าวสดออนไลน์ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||
บันทึก 6 ตุลา: หญิงสาวผู้ถูกละเมิดในเช้าวันที่ 6 ตุลา 2519 Posted: 25 Apr 2018 09:03 AM PDT
วัชรี เพชรสุ่น ขณะเสียชีวิตอายุ 20 ปี เรียนอยู่ชั้นปีที่ 3 คณะวิทยาศาสตร์ สาขาเคมี มหาวิทยาลัยรามคำแหง เรียนมัธยมที่โรงเรียนสตรีสันติราษฎร์บำรุง กรุงเทพมหานคร ครอบครัวอยู่ที่จังหวัดชัยภูมิ (ข้อมูลจากเอกสารลงทะเบียน มหาวิทยาลัยรามคำแหง จากหอจดหมายเหตุธรรมศาสตร์) แต่เอกสารชันสูตรพลิกศพระบุว่าอยู่ที่จังหวัดอุดรธานี เมื่อเดือนกันยายน 2560 โครงการ "บันทึก 6 ตุลา" ได้เขียนรายงานเรื่อง "ปริศนาความตายกรณี 6 ตุลา" โดยระบุว่าเราไม่รู้ว่าหญิงสาวที่เสียชีวิตในสภาพเปลือยเปล่า มีไม้หน้าสามวางอยู่ข้าง ๆ เสมือนถูกล่วงละเมิดทางเพศคือใคร เพราะเมื่อดูเอกสารชันสูตรพลิกศพแล้ว ไม่มีเอกสารใดระบุว่ามีผู้หญิงถูกข่มขืนหรือถูกทำร้ายทางเพศ แต่ ณ วันนี้เมื่อหนึ่งในทีมงานได้พิจารณาเอกสารชันสูตรฯ ของวัชรีอีกครั้ง ก็พบว่าเธอมีใบหน้าคล้ายกับหญิงสาวคนดังกล่าวอย่างมาก ทั้งในแง่โครงหน้า รูปกราม ดวงตาและปากที่ปิดไม่สนิท (ดูรูปที่ 1-3) ณ ปัจจุบันเราจึงสรุปข้อมูลบางส่วนได้ดังนี้ (ดูรายงานชันสูตรฯ) 1. วัชรีเสียชีวิตด้วยกระสุน 3 นัดที่เข้าด้านหลังตรงกับบริเวณช่องอก กระสุนไม่ได้ทะลุมาด้านหน้า ด้วยเหตุนี้ในรูปที่เธอถูกเปลือยจึงไม่เห็นคราบเลือดตรงด้านหน้าของเธอ 2. วัชรีจึงไม่ได้ถูกข่มขืนหรือล่วงละเมิดทางเพศจนเสียชีวิต 3. การล่วงละเมิดทางเพศต่อเธอเกิดขึ้นจริง นั่นคือจับเธอเปลื้องผ้า แต่น่าจะเกิดหลังจากวัชรีเสียชีวิตแล้ว นี่คือความโหดเหี้ยมต่อผู้ที่ถูกกล่าวหาว่า "ไม่ใช่ไทย" ด้วยการทำร้ายทารุณอย่างอุจาดกับร่างไร้ชีวิตของเธอ เหยียดหยามความเป็นเพศหญิงของเธอ ราวกับเธอไม่ใช่มนุษย์เหมือนกับเราและเป็นผู้หญิงที่ไร้ศักดิ์ศรี 4. รายงานชันสูตรพลิกศพไม่ได้ระบุว่าวัชรีถูกข่มขืนหรือถูกทำร้ายบริเวณอวัยวะเพศ ซึ่งทำให้สันนิษฐานได้สองประการคือ (a.) เป็นไปได้ว่าวัชรีไม่ได้ถูกกระทำทารุณขนาดนั้น ไม้หน้าสามที่วางอยู่ข้าง ๆ กายเธออาจทำให้คนตีความเช่นนั้นได้ อีกทั้งรอยปื้นสีดำบริเวณอวัยวะเพศก็ไม่สามารถยืนยันได้ว่าเป็นรอยเลือด (ปรากฏในรูปเปลือย แต่ในที่นี้เราขอเบลอภาพดังกล่าว) ถ้าเช่นนั้นจะทำให้คนตีความไปในทำนองนั้นทำไมกัน หรือนี่เป็นการจัดแสดง (staged) อย่างอุจาดกับร่างไร้ชีวิตของเธอเพื่อปฏิเสธความเป็นคนและเหยียบย่ำความเป็นหญิงของเธอ? (b.) วัชรีอาจถูกทำร้ายบริเวณอวัยวะเพศจริง แต่แพทย์ไม่ได้ระบุไว้ ทั้งนี้จากการเปรียบเทียบรายงานชันสูตรพลิกศพระหว่างรพ.ศิริราชและรพ.ตำรวจ (ผู้เสียชีวิตถูกส่งไปชันสูตรฯที่สองรพ.นี้) จะพบว่าแพทย์ของ รพ.ศิริราชชันสูตรพลิกศพและบันทึกการตายอย่างละเอียด และมักมีการผ่าศพพิสูจน์ ขณะที่รายงานของ รพ.ตำรวจจะสั้นมาก ไม่มีการผ่าศพ ในกรณีของวัชรี แพทย์ไม่ระบุด้วยซ้ำว่ากระสุนเข้าไปทำลายอวัยวะภายในส่วนใด บอกแต่เพียงว่าพบรูกลม ๆ บริเวณอกด้านหลัง 3 จุด สันนิษฐานว่าเสียชีวิตจากกระสุนเข้าช่องอก ล่าสุด ทีมงานได้พบภาพของหญิงสาวอีกภาพหนึ่งที่มีใบหน้าคล้ายวัชรี (ดูรูปที่ 4 จาก บันทึกภาพและเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ 14 ตุลาคม 2516, 6 ตุลาคม 2519 โดย อรุณ เวชสุสรรณ, บก. ) ลักษณะของเสื้อแขนสั้นที่เปื้อนเลือดดูเหมือนรอยเลือดลามมาจากด้านหลัง วัชรีถูกยิงจากด้านหลัง แต่เรายังไม่ต้องการสรุปว่าเธอคนนี้คือวัชรี เพราะยังมีข้อสงสัย กล่าวคือ • เอกสารชันสูตรฯระบุว่าวัชรีมีเสื้อสองตัว ตัวในเป็นเสื้อเชิ้ตแขนสั้นสีเนื้อลายหนังสือและกระดาษม้วน ซึ่งใกล้เคียงกับผู้หญิงในรูปที่ 4 และมีเสื้อตัวนอกสีเทาดำผูกอยู่ที่เอว แต่ในรูปนี้กลับไม่ปรากฏเสื้อตัวนอก เป็นไปได้ไหมว่าเสื้อตัวนอกเป็นของคนอื่นที่นำมาคลุมให้วัชรี? ทั้งนี้ พี่สาวของดนัยศักดิ์ เอี่ยมคง หนึ่งในเหยื่อที่เสียชีวิตได้เล่าให้ทีมงานฟังว่า เมื่อเขาพบไปรับศพของดนัยศักดิ์ที่ รพ.ตำรวจ พบเสื้อแจ็กเก็ตของดนัยศักดิ์คลุมอยู่บนร่างของผู้หญิงคนหนึ่งในห้องเก็บศพ เขากล่าวว่าจำได้ดีเพราะในยุคนั้นไม่ค่อยมีใครใส่เสื้อแจ็กเก็ตยีนส์ ศพของวัชรีอยู่ที่ รพ.ตำรวจเช่นกัน ที่รพ.ตำรวจยังมีศพของผู้หญิงอีกคนคือภรณี จุลละครินทร์ แต่เอกสารระบุว่าภรณีใส่ชุดเสื้อกระโปรงติดกันผ้าเจอร์ซี่ • เอกสารชันสูตรฯระบุว่าวัชรีใส่กำไลพลาสติคสีม่วงที่ข้อมือข้างซ้าย ผู้หญิงในรูปนี้มีบางอย่างอยู่ที่ข้อมือข้างซ้ายเช่นกัน • หากรูปนี้คือวัชรี รูปนี้ชี้ว่าเธอเสียชีวิตในธรรมศาสตร์และเจ้าหน้าที่กำลังเคลื่อนย้ายศพ ร่างของเธออยู่ในการดูแลของเจ้าหน้าที่แล้ว การทำร้ายร่างที่ไร้ชีวิตของเธอจึงน่าจะเกิดขึ้นในบริเวณธรรมศาสตร์หรือสนามหลวงนี่เอง ไม่ได้เกิดขึ้นในที่ลับตา และจะต้องมีคนร่วมรับรู้จำนวนไม่น้อย • หากผู้หญิงในรูปที่ 4 ไม่ใช่วัชรี ก็จะเกิดคำถามตามมาว่า แล้วเธอคือใคร ร่างของเธออยู่ที่ไหน เพราะในเอกสารชันสูตรฯ ไม่มีคนอื่นที่ใกล้เคียงเธอเลย ทีมงาน "บันทึก 6 ตุลา" ยังต้องการข้อมูลเกี่ยวกับวัชรีและครอบครัวของเธออีกมาก หากท่านใดที่เป็นเพื่อนหรือญาติของวัชรี และสมัครใจให้ข้อมูลเกี่ยวกับวัชรี ขอความกรุณาติดต่อเราผ่านกล่องข้อความเฟซบุ๊คของโครงการบันทึก 6 ตุลา หรือทางอีเมล์ 6oct1976@gmail.com จักขอบพระคุณอย่างยิ่ง
หมายเหตุ: โครงการ "บันทึก 6 ตุลา" ตระหนักถึงความละเอียดอ่อนของการเสนอภาพและข้อมูลเกี่ยวกับผู้เสียชีวิต หากกรณีนี้เป็นเรื่องส่วนบุคคล ทางโครงการจะไม่มีทางเข้าไปเกี่ยวข้องโดยเด็ดขาด แต่กรณี 6 ตุลาชี้ให้เห็นถึงความรุนแรงและอัปลักษณ์อย่างถึงที่สุดที่ฝังลึกอยู่ในสังคมไทย แต่ถูกปฏิเสธและละเลยมาโดยตลอดโดยเฉพาะรายละเอียดเกี่ยวกับผู้เสียชีวิต ทั้ง ๆ ที่มีการจัดงานรำลึกตลอดมาแต่เราแทบไม่สนใจที่จะรู้จักพวกเขาเลย
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||
Posted: 25 Apr 2018 08:36 AM PDT
และแล้ว คสช.ก็ใช้ ม.44 อุ้มทีวีดิจิทัลพร้อมยกเลิกการสรรหา กสทช.ชุดใหม่ อ้าว แล้วจะสอบสวนไปทำไมว่าคลิปเสียงใบสั่งของจริงของปลอม ในเมื่อเห็นกันชัดๆ ว่า "ไม่แฮปปี้" ย้ำอีกที การสรรหารอบนี้ ไม่ได้บอกว่าผู้ผ่านการสรรหาดีเลิศประเสริฐศรี แต่คณะกรรมการสรรหายืนยันว่าทำหน้าที่อย่างดีที่สุดแล้ว มีเหตุผลทางกฎหมายรองรับชัดเจน แต่ สนช. กลับอ้างว่า 8 คนขาดคุณสมบัติ แล้วล้มกระดาน จากนั้นก็ตามมาด้วย ม.44 ทำแบบนี้ จะให้กรรมการสรรหารู้สึกอย่างไร ที่สำคัญ ยังสะท้อนว่าระบอบที่วางไว้ตามกฎหมายไม่สามารถปฏิบัติจริงได้ ยังตัดสินด้วย ม.44 ที่อยู่เหนือกฎหมาย นี่เป็นภาพซ้ำรอย ของการแต่งตั้งองค์กรอิสระ กกต. ผู้ตรวจการแผ่นดิน หรือการยกร่างกฎหมายลูก ซึ่งเกิดความสับสนไม่ลงรอย ระหว่างอำนาจต่างๆ ที่วางไว้ตามรัฐธรรมนูญ 2560 ทั้งที่ส่วนหนึ่งก็คนกันเอง นี่ถ้าไม่มี "อำนาจทุบโต๊ะ" ม.44 อยู่ในมือ เห็นทีจะไปไม่รอด ขำไหมครับ ขนาดปฏิรูปตำรวจ ตั้งคนระดับ "อาจารย์ผม" พล.อ.บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ มาเป็นประธาน ที่ไหนได้ ส่งผลงานแล้วไม่พอใจ ปรมาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ เอาไปรื้อใหม่ อ้างว่าต้อง "สลายขั้ว" มองให้กว้างขึ้นไม่ต้องดูเรื่องการเมืองโดยตรงก็ได้ รัฐบาลยังเจอความขัดแย้งที่ไม่สามารถจัดการได้ง่ายๆ อีกหลายเรื่อง เช่น กรณีบ้านพักศาลกับประชาสังคมเชียงใหม่ ที่ยิ่งพูดกันไปยิ่งบานปลาย กรณี ผอ.สำนักพุทธฯ แจ้งจับพระผู้ใหญ่ ข้อเท็จจริงจะเป็นอย่างไรก็ตาม ฝ่ายหนุนมองว่านี่คือการกวาดล้างเครือข่ายธรรมกาย ฝ่ายลูกศิษย์พระมองว่านี่คือการกวาดล้างมหานิกาย ทิศทางต่อไปก็มีแต่ชนกันเท่านั้น แถมฝ่ายพระยังไม่ไว้วางใจรัฐบาล ความไม่ไว้วางใจนี่สำคัญนะ ยกตัวอย่าง ดราม่า แจ็ค หม่า "รวยแล้ว" จะมาช่วยคนไทย อันที่จริงมีทั้งได้ทั้งเสีย แต่ท่านพูดยังกะจะมาตั้งมูลนิธิ แถมคนไม่ไว้วางใจมาตั้งแต่รถไฟจีน เรือดำน้ำจีน แทนที่จะมองว่ามีข้อดีอยู่เหมือนกัน ก็มองด้านร้ายไว้ก่อน ในทางการเมือง ความพยายามสืบทอดอำนาจอย่างโจ๋งครึ่ม ขนาดดึงหัวหน้าพรรคมวลชนเป็นที่ปรึกษา และรัฐมนตรีจะลงไปตั้งพรรคเอง ก็ถูก 2 พรรคใหญ่ต่อต้าน ประชาธิปัตย์ชี้หน้าเป็นตัวดูด กล่าวหาว่าจะใช้เงิน 4 หมื่นล้าน และสกัดกลุ่มธุรกิจไม่ให้สนับสนุนพรรคอื่น มองข้ามวาทกรรมที่ขู่จะฟ้องกัน หรือยืนยันไม่ใช่เครื่องดูดฝุ่น นี่คือก้างขวางคอชิ้นสำคัญ เพราะไม่มีทางตั้งรัฐบาลได้ ถ้า ปชป.ไม่สังฆกรรม แม้วินาทีสุดท้ายอาจบีบได้ก็ไม่ราบรื่นหรอก หัวหน้า คสช.เคยบ่นว่าถูก "รุมสกรัม" ทั้งที่ไม่มีใครนัดหมาย ท่านอยู่นานไปจนปัญหาต่างๆ ประดัง ตัวระบอบเองก็เริ่มสร้างปัญหา ให้เห็นว่ารัฐธรรมนูญ 2560 ใช้จริงไม่ได้ มีอำนาจมากแค่ไหน เมื่อสืบทอดก็มีปัญหา ไม่สามารถอ้างความชอบธรรม มีแต่เอาหนังหน้าถูพื้นไป และสุดท้ายจะไปไม่รอด แต่ก็ไม่มีทางเลือกอื่น เอาเข้าจริง อำนาจในวันนี้เหมือนลอยอยู่บนฟองสบู่ หรือฟองน้ำลาย ได้แต่ปะทะปะทังและแก้ปัญหาเฉพาะหน้าด้วย ม.44 พร้อมวาทกรรม ที่ทำให้คนดูรู้สึกเหมือนดูละคร ไม่อยู่ในโลกแห่งความจริง เพียงแต่คนส่วนใหญ่ยังมืดมน ไม่เห็นทางออก หรือรู้สึกธุระไม่ใช่ ได้แต่ดิ้นรนกันไปในระหว่างที่ฟองสบู่ยังไม่แตกเท่านั้นเอง
ที่มา: ข่าวหุ้นธุรกิจออนไลน์
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||
การมาของอาลีบาบากับความท้าทายด้านกำลังคนดิจิทัลของไทย Posted: 25 Apr 2018 08:28 AM PDT การมาเยือนของแจ็ค หม่า ประธานบริหารของกลุ่มอาลีบาบา เพื่อประกาศแผนการลงทุนในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และโครงการความร่วมมือเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมดิจิทัลและส่งเสริมการพัฒนาทักษะบุคลากรของไทย ทำให้ประเทศไทยได้รับความสนใจมากขึ้นในฐานะที่เป็น "ฮับ" ของการลงทุนในธุรกิจดิจิทัลและอีคอมเมิร์ซในภูมิภาค ความท้าทายที่สำคัญที่สุดของประเทศไทย คือ ความพร้อมของกำลังคนด้านดิจิทัลของไทยเราเอง ซึ่งนอกจากจะให้อาลีบาบาช่วยพัฒนาแล้ว เราควรต้องออกแรงพัฒนากำลังคนของเราเองด้วย ในปัจจุบัน เราผลิตกำลังคนด้านดิจิทัลออกมามากพอสมควร เพราะมีการเปิดหลักสูตรระดับปริญญาตรีด้านดิจิทัลมากถึง 427 หลักสูตร ในสถาบันการศึกษาเกือบ 170 แห่งทั่วประเทศ และสามารถผลิตบัณฑิตที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านดิจิทัลมากกว่า 26,000 คนในปี 2560 แต่ปัญหาก็คือ บุคลากรที่ผลิตออกมาจำนวนไม่น้อยมีปัญหาด้านคุณภาพที่ไม่ตอบโจทย์ของภาคธุรกิจ สาเหตุหนึ่งของปัญหาดังกล่าวเป็นเพราะหลักสูตรที่ใช้ล้าสมัย เพราะไม่ได้ปรับให้ทันกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะทำให้บริษัทต่างๆ ที่มาลงทุน รวมทั้งอาลีบาบา เลือกที่จะไม่ทำกิจกรรมที่มีมูลค่าเพิ่มสูงในประเทศไทย แต่มาลงทุนในไทยเพียงเพื่อใช้ไทยเป็นฐานกระจายสินค้าไปสู่ประเทศเพื่อนบ้านเท่านั้น ซึ่งทำให้ประเทศไทยได้ประโยชน์จากการลงทุนไม่มาก ดังนั้น หากประเทศไทยต้องการจะได้ประโยชน์จากการลงทุนดังกล่าวอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย และสามารถสร้างเสน่ห์ในการดึงดูดการลงทุนด้านดิจิทัล เหมือนหลายประเทศ เช่น สิงคโปร์ เกาหลีใต้ ไต้หวันและญี่ปุ่น สิ่งที่ภาครัฐต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วนคือ การพัฒนากำลังคนด้านดิจิทัลที่มีคุณภาพสูง และใช้งานได้จริง โดยการดำเนินนโยบายระยะสั้น ระยะกลางและระยะยาวควบคู่กันไปอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ในระยะสั้นและระยะกลาง ประเทศไทยควรมีนโยบายเพื่อให้เกิดกำลังคนด้านดิจิทัล 3 กลุ่มหลัก ได้แก่ กลุ่มแรกคือ กลุ่มคนด้านดิจิทัลที่สามารถพัฒนาและใช้เทคโนโลยีหลักที่เปลี่ยนแปลงอย่างพลิกผัน (disruptive technologies) เช่น เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence) การจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ (big data) และอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (Internet of Things) ในหลายประเทศ การพัฒนาคนกลุ่มนี้ มักทำโดยการจัดหลักสูตรเข้มข้นระยะประมาณ 6 เดือน โดยเน้นการพัฒนาทักษะจากโจทย์จริง ข้อมูลจริงเพื่อใช้งานจริงและแก้ปัญหาจริงได้ เช่น ไต้หวัน จัดหลักสูตรในลักษณะดังกล่าวโดย Institute for Information Industry (III) ส่วนสิงคโปร์ดำเนินการโดยผ่านโครงการ Skills Framework for Infocomm Technology หัวใจของการฝึกอบรมในทั้ง 2 ประเทศคือ ไม่มุ่งเน้นปริมาณมาก แต่เน้นฝึกอย่างเข้มข้น เพื่อให้ได้คุณภาพระดับสามารถใช้งานได้จริง กลุ่มที่สองคือ กลุ่มคนด้านดิจิทัลที่ต้องการจำนวนมากพอสมควร เช่น นักพัฒนาซอฟต์แวร์ (software developer) และโปรแกรมเมอร์ ซึ่งต้องมีคุณภาพที่สอดคล้องกับความต้องการของภาคธุรกิจเช่นกัน กลุ่มนี้ สามารถสร้างได้โดยสร้างความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดระหว่างสถาบันการศึกษากับภาคธุรกิจ ตัวอย่างที่ดีในต่างประเทศคือ เกาหลีใต้ ซึ่งมี ICT Model Schools ซึ่งเปิดให้สถาบันการศึกษาสมัครเข้าร่วมโครงการ โดยมีหลักเกณฑ์ในการคัดเลือก คือ การมีหลักสูตรการสอนที่เหมาะสมและความพร้อมด้านสถานที่และอุปกรณ์วิจัย ที่สำคัญ ต้องสามารถดึงดูดการลงทุนร่วมด้านการศึกษาและวิจัยจากภาคธุรกิจ โดยสถาบันฯ ที่สนใจต้องส่งข้อเสนอการพัฒนาสู่ความเป็นสถาบันที่เชี่ยวชาญด้าน ICT มาให้คณะกรรมการพิจารณา มีสถาบัน ที่ผ่านการคัดเลือกทั้งหมด 30 แห่ง ซึ่งกระจายในแต่ละภูมิภาค แต่ละแห่งได้รับเงินสนับสนุนประมาณ 45-90 ล้านบาทสำหรับโครงการ 4 ปี อย่างไรก็ตาม หากการประเมินผลประจำปีไม่อยู่ในระดับที่น่าพอใจ สถาบันฯ นั้น ก็จะถูกคัดออกจากโครงการ โดยสถาบันฯ ที่อยู่ในระดับรองลงไปจะได้รับการคัดเลือกแทน กลุ่มที่สามคือ กลุ่มคนด้านดิจิทัลทักษะสูงจากต่างประเทศ โดยกลุ่มนี้จะช่วยบรรเทาปัญหาความขาดแคลนเฉพาะหน้า เราสามารถดึงดูดกลุ่มนี้ได้จากการอำนวยความสะดวกและสร้างแรงจูงใจในการเข้ามาทำงาน ที่ผ่านมา สิงคโปร์ ออสเตรเลีย และสหรัฐ ได้ใช้มาตรการนี้ดึงดูดกำลังคนจากต่างประเทศมาเป็นระยะเวลานานและประสบความสำเร็จ สำหรับประเทศไทย มาตรการดังกล่าวได้เพิ่งเริ่มขึ้นเมื่อต้นปี 2561 เมื่อรัฐบาลออกมาตรการ Smart Visa ซึ่งเป็นวีซ่าพิเศษ เพื่อดึงดูดผู้เชี่ยวชาญทักษะสูงเข้ามาทำงานในประเทศไทย โดยให้สิทธิพิเศษต่างๆ เช่น การให้วีซ่าถึง 4 ปี และไม่ต้องขอใบอนุญาตทำงาน อย่างไรก็ตาม มาตรการดังกล่าวของไทยยังมีเงื่อนไขไม่ดึงดูดพอ เพราะกำหนดเงินเดือนขั้นต่ำไว้สูงมากถึง 200,000 บาทต่อเดือน ทำให้มีผู้ที่เข้าเงื่อนไขดังกล่าวและสนใจเข้ามาทำงานในไทยน้อยเกินไป ดังนั้น รัฐบาลควรพิจารณาปรับเงินเดือนขั้นต่ำ และเงื่อนไขให้เหมาะสมกัน เช่น ผู้ที่มีเงินเดือนอย่างน้อย 2 แสนบาท จะได้วีซ่านาน 4 ปี ส่วนผู้ที่มีเงินเดือนเกิน 1 แสนบาทแต่ไม่ถึง 2 แสนบาท จะได้วีซ่านาน 2 ปีเป็นต้น ในระยะยาว ประเทศไทยควรมุ่งเน้นการปรับปรุงคุณภาพการศึกษา โดยสร้างกลไกให้ภาคธุรกิจให้ข้อมูลทักษะกำลังคนที่ต้องการแก่สถาบันการศึกษา และให้สถาบันการศึกษาปรับปรุงหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคธุรกิจ รวมทั้งหาผู้เชี่ยวชาญเข้าไปช่วยสถาบันการศึกษาวิเคราะห์จุดแข็งและจุดอ่อนของตน จัดทำแผนปรับปรุงคุณภาพการศึกษา ขยายจำนวนนักศึกษาฝึกงาน และเพิ่มอาจารย์ที่มีคุณภาพ ตัวอย่างของประเทศที่มีแนวปฏิบัติที่ดีคือ เกาหลีใต้ ซึ่งมีโครงการ Nurturing Excellent Engineers in Information Technology (NEXT) และ ญี่ปุ่นซึ่งมีระบบ KOSEN ที่มีชื่อเสียง บทเรียนจากประสบการณ์ต่างประเทศที่กล่าวมาสะท้อนให้เห็นว่า ปัจจัยความสำเร็จในการพัฒนากำลังคนด้านดิจิทัลประกอบด้วย 4 ประการคือ หนึ่ง เน้นการพัฒนาคุณภาพมากกว่าปริมาณ สอง เน้นความร่วมมือกับภาคเอกชน สาม มีกลไกการตรวจสอบและประเมินผลที่เข้มแข็ง เพื่อสร้างความรับผิดชอบ (accountability) และสี่ มีกลไกที่สนับสนุนความเข้มแข็งของสถาบันการศึกษา ในปัจจุบัน การสร้างกำลังคนด้านดิจิทัลในประเทศไทย ในสถาบันต่างๆ ยังไม่มีองค์ประกอบแห่งคุณภาพครบทั้ง 4 ประการ แต่ก็น่าจะสามารถสร้างขึ้นได้ เพื่อให้ประเทศไทยสามารถเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากการเข้ามาลงทุนของอาลีบาบา และบริษัทชั้นนำอื่นๆ ในอนาคต
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||
ศาลออกหมายจับ 'อานดี้ ฮอลล์' ให้มาฟังคำพิพากษาอุทธรณ์ 31 พ.ค. นี้ Posted: 25 Apr 2018 07:17 AM PDT อานดี้ ฮอลล์ นักกิจกรรมสิทธิแรงงานข้ามชาติชาวอังกฤษ ถูกศาลอาญากรุงเทพใต้ออกหมายจับ หลังไม่มาฟังคำพิพากษาเมื่อวาน ในกรณีที่บริษัทสัปปะรดกระป๋องในไทยฟ้องว่างานวิจัยของเขาทำให้บริษัทเสียชื่อเสียง เจ้าตัวเผย โดนคุกคามทางกฎหมายจนอยู่ไทยต่อไม่ได้ กลาง: อานดี้ ฮอลล์ (แฟ้มภาพ: 29 ต.ค. 57) เมื่อวานนี้ (24 เม.ย. 61) ฟินน์ วอทช์ องค์กรด้านสิทธิมนุษยชนของฟินแลนด์ รายงานว่า ศาลอาญากรุงเทพใต้มีคำสั่งออกหมายจับอานดี้ ฮอลล์ นักวิจัยด้านสิทธิแรงงานข้ามชาติชาวอังกฤษ เพื่อเป็นการนำตัวมาฟังคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ในคดีที่บริษัทเนเชอรัล ฟรุต จำกัด ที่ทำธุรกิจสัปปะรดกระป๋อง ฟ้องข้อหาหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 328 และนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ด้วยข้อมูลอันเป็นเท็จ 14(1) จากการจัดทำวิจัยและนำเข้าสู่เว็บไซต์ฟินวอชท์ และแจกเอกสารในการแถลงข่าวงานวิจัยชื่อ 'Cheap Has a High Price (ของถูกราคาแพง)' ซึ่งกล่าวหาว่าโจทก์ละเมิดสิทธิแรงงาน ละเมิดกฎหมายแรงงานและมีการค้ามนุษย์ ทำให้โจทก์เสื่อมเสียชื่อเสียง นักการทูตจากสหภาพยุโรป (อียู) สหราชอาณาจักร ฟินแลนด์ และสวีเดน รวมถึงเจ้าหน้าที่จาก OHCHR และ ICJ ต่างเข้าร่วมฟังคำสั่งศาลพร้อมกับทีมกฎหมายของอานดี้ แต่เดิม ศาลมีแผนที่จะอ่านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์เมื่อวานนี้ แต่ว่าให้พักไปเป็นวันที่ 31 พ.ค. 2561 โดยให้เหตุผลว่าอานดี้ ที่ปัจจุบันไม่ได้อยู่ในไทยแล้วไม่ได้ปรากฏตัวในชั้นศาล อานดี้ได้แสดงความเห็นตอบโต้ข่าวเมื่อวาน ใจความว่า "ผมประสบกับการคุกคามโดยกระบวนการยุติธรรมในระดับที่ไม่สามารถทานทน จนเป็นการบ่อนทำลายความสามารถในการทำงานด้านสิทธิมนุษยชนในไทยอย่างมีประสิทธิภาพ นี่เป็นสาเหตุที่ผมออกจากประเทศในเดือน พ.ย. 2559 ผมผิดหวัง และมีความกังวลทั้งกับหมายจับที่ออกมา และการคุกคามทางกระบวนการยุติธรรมที่เกิดกับผมอย่างไม่ลดละ" "ขณะนี้ผมได้รับการช่วยเหลือจากทีมนักกฎหมายนานาชาติที่ทำหน้าที่แทนผมทั้งในคดีแพ่งและอาญาในช่วงที่ผมไม่ได้อยู่ในเมืองไทย ผมจะเดินหน้าปรึกษากับทีมกฎหมายทั้งไทยและต่างชาติอย่างใกล้ชิดในประเด็นข้างต้นต่อไป และจะพูดคุยเรื่องความเป็นไปได้ที่จะมีการออกหมายจับข้ามชาติ และผมจะเข้าร้องเรียนกับรัฐบาลสหราชอาณาจักรและอียู เพื่อพูดคุยถึงข้อกังวลเรื่องหมายจับที่เพิ่งออกมาว่าสอดคล้องกับกฎหมายของไทยและกฎหมายระหว่างประเทศหรือไม่" อานดี้กล่าว เมื่อ 20 ก.ย. 2559 อานดี้ถูกศาลตัดสินจำคุก 4 ปี (ถูกลดโทษหนึ่งปี และรอลงอาญาสองปี) แลปรับ 2 แสนบาทซึ่งต่อมาลดลงเหลือ 1 แสน 5 หมื่นบาท จากข้อหาหมิ่นประมาททางอาญาและความผิดตาม พ.ร.บ.การกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ (พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์) โดยมีบริษัทเนเชอรัล ฟรุต จำกัดเป็นโจทก์ยื่นฟ้องอานดี้ในปี 2556 หลังจากมีคำพิพากษาไม่นาน อานดี้ได้เดินทางออกจากประเทศไทย โดยระบุว่าไม่สามารถทนต่อการถูกคุกคามด้วยกระบวนการยุติธรรมได้ ต่อมาฟาร์มไก่ธรรมเกษตรได้ยื่นฟ้องอานดี้ฐานหมิ่นประมาทและนำเข้าข้อมูลผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ในเดือน พ.ย. 2559 เดือน ก.พ. 2560 ทีมกฎหมายของอานดี้ได้ยื่นอุทธรณ์ต่อคำพิพากษากรณีที่เนเชอรัล ฟรุต ยื่นฟ้อง โดยทางเนเชอรัล ฟรุต ก็ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลเช่นกัน โดยต้องการให้อานดี้กลับมารับโทษจำคุก หากอานดี้ไม่มาปรากฏตัวที่ศาลอาญากรุงเทพใต้ในวันที่ 31 พ.ค. 2561 ศาลอาจจะอ่านคำพิพากษาลับหลัง ซอนญา วาร์เทียร์ลา ผู้อำนวยการบริหารของฟินน์วอทช์ให้ความเห็นว่า "เรายังหวังว่าศาลอุทธรณ์จะยกฟ้องอานดี้ในทุกข้อกล่าวหา ข้อกล่าวหาที่อานดี้ได้รับเป็นผลจากการทำงานอันชอบธรรมของเขาในฐานะนักปกป้องสิทธิมนุษยชนและนักกิจกรรมด้านสิทธิแรงงานข้ามชาติ เขาไม่ใช่อาชญากร" 27 มี.ค.2561 รายงานข่าวระบุว่า เมื่อวันที่ 26 มี.ค.ที่ผ่านมา ศาลจังหวัดพระโขนงได้อ่านคำพิพากษาคดีแพ่ง ระหว่าง บริษัท เนเชอรัล ฟรุต จำกัด โจทก์ ซึ่งเป็นผู้ส่งออกสับปะรดกระป๋อง ใน จ.ประจวบคีรีขันธ์ กับ อานดี้ จำเลย นักสิทธิแรงงานข้ามชาติชาวอังกฤษและนักวิจัยองค์กรฟินน์วอทช์ ทำผิดฐานละเมิดโจทก์โดยการกล่าวและไขข่าวแพร่หลาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 จากกรณีที่ อานดี้ ที่ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวอัลจาซีราเมื่อเดือน เม.ย. 2556 โดยศาลตัดสินให้แอนดี้จ่ายค่าเสียหายให้กับทางโจทก์ 10 ล้านบาท นอกจากนั้นต้องเสียเงินค่าทนายโจทก์และค่าธรรมเนียมศาลอีก 10,000 บาท บวกดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||
กรรมการสิทธิฯ ทำหนังสือด่วนที่สุดถึงผู้ว่าฯ กทม. จี้แก้ปัญหาชุมชนป้อมมหากาฬ ตามมติ ครม. Posted: 25 Apr 2018 06:15 AM PDT กรรมการสิทธิฯ ทำหนังสือด่วนที่สุ ภาพจาก เฟสบุ๊คแฟนเพจ 'ผู้ว่าฯ อัศวิน' 25 เม.ย. 2561 รายงานข่าวจาก สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุ ในขณะเดียวกัน เมื่อ กสม. ส่งข้อเสนอแนะมาตรการหรื อนึ่ง ขณะนี้กรุงเทพมหานคร กำลังดำเนินการรื้อถอนบ้านในชุ ผู้ว่า กทม. เผยเร่งปรับปรุงให้สวยงามสมกับเป็นโบราณสถานอันทรงคุณค่าด้านผู้ว่าฯ กทม. อัศวิน ขวัญเมือง โพสต์ข้อความผ่านเฟสบุ๊คแฟนเพจ 'ผู้ว่าฯ อัศวิน' ว่า ป้อมมหากาฬ โบราณสถานของชาติ กำลังจะได้รับการปรับปรุงให้สวยงามสมกับเป็นโบราณสถานอันทรงคุณค่า และเป็นพื้นที่สาธารณะสำหรับให้ประชาชนทุกคนได้ใช้ประโยชน์ร่วมกันอย่างเท่าเทียมแล้ว โดยในตอนนี้ประชาชนที่อาศัยอยู่ภายในป้อมได้ทยอยย้ายออกจากพื้นที่อย่างต่อเนื่อง และ กทม.ได้เข้ารื้อถอนสิ่งปลูกสร้างภายในป้อมเกือบจะเสร็จทั้งหมดแล้ว เหลืออีกเพียง 7 หลังเท่านั้น "ผมขอขอบคุณชาวชุมชนป้อมมหากาฬ ที่เห็นความสำคัญของประโยชน์ส่วนรวม และให้ กทม.ได้เข้าไปพัฒนาปรับปรุงสภาพแวดล้อมโดยรอบป้อมมหากาฬ แนวกำแพงเมือง และบริเวณใกล้เคียงให้เป็นพื้นที่เปิดโล่ง เพื่อส่งเสริมทัศนียภาพของโบราณสถานแห่งนี้ให้โดดเด่นงดงามมากขึ้น ซึ่งประชาชนทั่วไปจะสามารถเข้าไปใช้ประโยชน์เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจได้อีกด้วยครับ" ผู้ว่า กทม. โพสต์ อัศวิน ยังโพสต์ว่า เบื้องต้น กทม.ได้สำรวจสภาพพื้นที่บริเวณป้อมมหากาฬ พบว่าตัวป้อมฯ มีสภาพทรุดโทรม มีรอยแตกร้าว มีการทรุดตัวของโครงสร้าง และยังมีต้นไม้ใหญ่ที่ขึ้นอยู่ในบริเวณใกล้เคียง ซึ่งจำเป็นต้องเร่งปรับปรุงและซ่อมแซม ตามแผนการอนุรักษ์ โดย กทม.ได้ส่งแบบพร้อมทั้งรายละเอียดโครงการปรับปรุงป้อมมหากาฬและกำแพงเมืองเก่าให้กรมศิลปากรพิจารณาแล้ว และจะเร่งดำเนินการพัฒนาปรับปรุงป้อมมหากาฬต่อไป ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||
จนท.ไทยสั่งระงับสัมมนาเปิดรายงานกองทัพพม่าละเมิดสิทธิชาวบ้านกะเหรี่ยง-หนีตายนับพัน Posted: 25 Apr 2018 05:17 AM PDT หน่วยงานความมั่นคงสั่งเบรคการนำเสนอรายงานละเมิดสิทธิมนุษยชนในรัฐกะเหรี่ยง อ้างรัฐบาลพม่าขอมาเพราะกลัวเสียภาพลักษณ์ ด้านผู้จัดต้องย้ายสถานที่จากคณะสังคมศาสตร์ มช. ไปที่โบสถ์คริสต์ สุดท้ายตำรวจตามมาสั่งระงับขณะเตรียมสถานที่ส่วนเนื้อหารายงานเผยสถานการณ์ละเมิดข้อตกลงหยุดยิงของกองทัพพม่า ที่ล่าสุดเสริมกำลังทหาร-ตัดถนนเข้าเขตกะเหรี่ยงเคเอ็นยู จนเกิดปะทะหลายครั้ง เกิดเหตุทหารพม่าโจมตีพลเรือน จนชาวกะเหรี่ยงอพยพแล้ว 12 หมู่บ้าน 2,417 คน ปิดโรงเรียน 5 แห่ง และล่าสุดยังมีเหตุยิงผู้นำชุมชนกะเหรี่ยงเสียชีวิตด้วย000 ชาวบ้านกะเหรี่ยงในเขตมูตรอ ต้องอพยพจากชุมชนกลายเป็นผู้พลัดถิ่นภายในประเทศ (IDPs) และสถานการณ์ตึงเครียดเมื่อกองทัพพม่าเสริมกำลัง-มุ่งตัดถนนยุทธศาสตร์ในพื้นที่ ล่าสุดมีผู้อพยพแล้ว 12 หมู่บ้าน 2,417 คน (ที่มา: KPSN) ภาพปกรายงาน "การเดินทางกลับพร้อมฝันร้าย ความหวังของชาวกะเหรี่ยงต่อสันติภาพและเสถียรภาพ ภินท์พังเพราะปฏิบัติการของกองทัพพม่า" (ที่มา: KPSN) 25 เม.ย. 2561 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจที่ จ.เชียงใหม่ ห้ามเจ้าของสถานที่และผู้จัดกิจกรรม จัดงานสัมมนาเพื่อเปิดตัวรายงานการละเมิดสิทธิมนุษยชนในรัฐกะเหรี่ยง ซึ่งจัดโดยเครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อสันติภาพ (Karen Peace Support Network - KPSN) และศูนย์ภูมิภาคศึกษาด้านสังคมศาสตร์และการพัฒนาอย่างยั่งยืน (RCSD) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) ซึ่งกำหนดจัดในช่วงบ่ายวันนี้ งานดังกล่าวมีอันต้องยกเลิกกระทันหัน หลังเจ้าหน้าที่ตำรวจในพื้นที่สั่งห้ามจัดงาน ทำให้วิทยากรที่ได้รับเชิญมาร่วมงาน อาทิสิโพรา เส่ง อดีตรองประธานสภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNU) ชยันต์ วรรธนะภูติ ผู้อำนวยการ RCSD เพียรพร ดีเทศน์ ผู้อำนวยการฝ่ายรณรงค์ประเทศไทยและพม่า องค์กรแม่น้ำนานาชาติ รวมถึงชาวบ้านกะเหรี่ยงที่ได้รับผลกระทบจากการสู้รบ ต่างเดินทางมาเก้อ โดยก่อนหน้านี้เวทีสัมมนากำหนดจัดที่คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ต่อมาทางผู้จัดงานได้รับแจ้งจากทางผู้บริหารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ว่าไม่อนุญาตให้ใช้สถานที่ ทำให้เมื่อวานนี้ (24 เม.ย.) มีการประกาศเปลี่ยนสถานที่จัดงานเป็นโบสถ์คริสต์ที่สวนเจ็ดริน ถนนห้วยแก้ว แต่สุดท้ายต้องประกาศยกเลิกจัดกิจกรรมหลังจากเจ้าหน้าที่ตำรวจเดินทางมาที่สถานที่จัดงานตั้งแต่ช่วงสาย เพื่อสั่งผู้ดูแลสถานที่และคณะทำงานซึ่งกำลังเตรียมสถานที่ว่าห้ามจัดการสัมมนา อนึ่ง ผู้จัดงานระบุด้วยว่า แม้จะเลิกแจ้งยกเลิกจัดกิจกรรมไปแล้ว แต่ยังพบว่าในช่วงก่อนเริ่มงาน ยังมีเจ้าหน้าที่ตำรวจนอกเครื่องแบบมาเฝ้าสังเกตการณ์ ข่าวแจ้งว่า สาเหตุของการสั่งห้ามจัดเวทีสัมมนาเนื่องจากรัฐบาลพม่าได้ประสานมายังหน่วยงานด้านความมั่นคงของไทยเพื่อขอให้ระงับการจัดงาน เพราะอาจส่งผลต่อภาพพจน์ของรัฐบาลพม่าและกระบวนการสันติภาพ ทำให้หน่วยงานด้านความมั่นคงของไทยสั่งการมายังผู้บริหารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เพื่อขอไม่ให้ใช้สถานที่ ต่อมาเมื่อคณะผู้จัดงานเตรียมย้ายออกไปจัดงานที่สวนเจ็ดริน ก็ยังมีการสั่งการไปยังเจ้าหน้าที่ตำรวจในพื้นที่เพื่อขอให้มาระงับการจัดงานครั้งนี้ เพียรพร ดีเทศน์ หนึ่งในวิทยากรที่ได้รับเชิญไปร่วมงานในครั้งนี้ กล่าวว่า เป็นเรื่องที่น่าเสียใจที่การจัดกิจกรรมครั้งนี้ถูกระงับ เพราะประเทศไทยจำเป็นต้องให้ความสำคัญแก่รายงานชิ้นนี้ เนื่องจากเป็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสถานการณ์ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในดินแดนที่ติดกับประเทศไทย โดยเฉพาะบริเวณชายแดนฝั่งตะวันตก ซึ่งจะต้องส่งผลกระทบต่อประเทศไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ที่ผ่านมามีประชาชนจากรัฐกะเหรี่ยงต้องหนีภัยสงครามมายังชายแดนไทยจำนวนนับแสนคน และยังมีผู้พลัดถิ่นระลอกใหม่ ซึ่งยังไม่มีวี่แววว่าจะได้คืนสู่บ้านเดิม "ดิฉันไม่แน่ใจว่าเหตุผลลึกๆ ในการสั่งห้ามหรือยกเลิกจัดกิจกรรมในครั้งนี้คืออะไร แต่สิ่งที่ไม่อยากเห็นคือกระบวนการสิทธิมนุษยชนของเราไม่ควรถูกบั่นทอนลงไปอีก เพราะทุกวันนี้ เราก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากสังคมโลกอยู่พอสมควรแล้ว เห็นได้จากรายงานของสหประชาชาติฉบับล่าสุด" เพียรพรกล่าว รายงานเผยกองทัพพม่าสร้างถนนยุทธศาสตร์-ละเมิดข้อตกลงหยุดยิง อ่านรายงาน The Nightmare Returns: Karen hopes for peace and stability dashed by Burma Army's actions ชุมชนผู้อพยพในพื้นที่มูตรอ รัฐกะเหรี่ยง (ที่มา: KPSN) สำหรับรายงานที่เตรียมนำมาเปิดตัวในเวทีครั้งนี้ เป็นรายงานเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนในรัฐกะเหรี่ยง ประเทศพม่า ซึ่งจัดทำโดยเครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อสันติภาพ โดยมีชื่อเรื่องว่า "การเดินทางกลับพร้อมฝันร้าย ความหวังของชาวกะเหรี่ยงต่อสันติภาพและเสถียรภาพ ภินท์พังเพราะปฏิบัติการของกองทัพพม่า" ซึ่งมีเนื้อหาสำคัญระบุว่า นับตั้งแต่วันที่ 4 มีนาคม 2561 เป็นต้นมา กองทัพพม่าเริ่มการตรึงกำลังทหารครั้งใหญ่ที่สุด นับตั้งแต่ปี 2551 ในเขตมูตรอ หรือผาปูน รัฐกะเหรี่ยง ตรงข้ามชายแดนไทยด้าน จ.แม่ฮ่องสอน ซึ่งปัจจุบันมีการเสริมกำลังทหารพม่าเข้ามากว่า1,500 ราย โดยพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ยึดครองของกองทัพปลดปล่อยแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNLA) ปีกทางการทหารของสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNU) โดยเหตุเสริมกำลังของทหารพม่าดังกล่าวนับเป็นการละเมิดข้อตกลงหยุดยิงระดับประเทศ เป็นเหตุให้มีการปะทะกับกองพลน้อยที่ 5 KNLA หลายครั้ง นอกจากนี้มีรายงานด้วยว่าทหารพม่าได้โจมตีอย่างไม่เลือกเป้าหมายต่อพลเรือน ส่งผลให้ชาวบ้านกว่า 304 ครัวเรือน รวมจำนวนอย่างน้อย 2,417 คน จาก 12 หมู่บ้าน ต้องหนีภัยสงคราม ทิ้งถิ่นฐานบ้านเรือนมาอาศัยอยู่ในป่า นอกจากนี้ยังมีชาวบ้านอีก 72 ครัวเรือน กว่า 483 คน จาก 4 หมู่บ้าน เตรียมอพยพเพิ่มเช่นกัน ในรายงานระบุด้วยว่า KNU และกองทัพพม่าต่างลงนามในความตกลงหยุดยิงเมื่อปี2558 ซึ่งห้ามการขยายโครงสร้างพื้นฐานทางการทหาร และห้ามการเสริมกำลังทหาร ในพื้นที่หยุดยิง แต่กองทัพพม่าอย่างน้อย 8 กองพัน ได้เคลื่อนกำลังพลเข้าสู่พื้นที่ลูทอ โดยไม่มีการทำข้อตกลงล่วงหน้า และเริ่มก่อสร้างถนนยุทธศาสตร์ทางทหาร ที่เหล่อมูพลอ และเคพู หากถนนนี้สร้างเสร็จ อาจส่งผลให้ชาวกะเหรี่ยงในพื้นที่ต้องพลัดที่นาคาที่อยู่อย่างถาวร "ชาวบ้านกว่า 2,417 คนรวมทั้งผู้สูงวัย ผู้หญิงและเด็ก ได้หลบหนีจากถิ่นฐานบ้านเรือนพากันไปหลบซ่อนในป่าเขา คาดว่ามีชาวบ้านอีก 483 คนเตรียมจะหลบหนีจากหมู่บ้านของตน ระหว่างที่ทหารพม่าพยายามเสริมกำลังในทางตะวันตกเฉียงเหนือของพื้นที่ลูทอ (Luthaw) คนเหล่านี้แทบไม่ได้รับการแจ้งเตือนล่วงหน้า พวกเขาสามารถน้ำข้าวของติดมือไปได้เพียงเล็กน้อย พวกเขาต้องอยู่ในป่าอย่างเหน็บหนาว โรงเรียน 5 แห่งต้องปิดตัวลงเนื่องจากการสู้รบ" ในรายงานระบุ
ปะทะไม่ต่ำกว่า 39 ครั้ง ล่าสุดมีนักกิจกรรมชุมชนเสียชีวิต 1 ราย โดยสถานการณ์ในพื้นที่นับตั้งแต่ 1 มีนาคม จนถึงขณะนี้ (25 เม.ย. 2561) มีการปะทะระหว่างกองทัพพม่ากับทหารกะเหรี่ยง KNLA ไม่ต่ำกว่า 39 ครั้ง ชาวบ้านกะเหรี่ยงระบุว่ากองทัพพม่ายิงปืนใส่พลเรือนที่ไม่มีอาวุธ และทหารพม่ายังยิงปืนครกใส่พื้นที่ของพลเรือน มีการรบกวนพื้นที่ทำการเกษตรของชาวบ้าน และการก่อสร้างถนนยังรุกล้ำเข้าไปในพื้นที่บรรพชนตามความเชื่อของชาวกะเหรี่ยงด้วย นอกจากนี้เมื่อวันที่ 5 เมษายน ซอโอ้มู นักกิจกรรมชาวกะเหรี่ยงวัย 42 ปี หนึ่งในทีมงานให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่ชาวกะเหรี่ยงพลัดถิ่น ก็ถูกยิงเสียชีวิตระหว่างเดินทางกลับบ้านที่เหล่อมูพลอ (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง)
KNU หวั่นความไว้เนื้อเชื่อใจต่อกองทัพพม่าถดถอย หากดึงดันเสริมกำลัง-สร้างถนน อนึ่งในวิดีโอนำเสนอของเครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อสันติภาพ (KPSN) ที่เผยแพร่ออนไลน์เมื่อ 24 เม.ย. [คลิกเพื่อชมวิดีโอ] พันตรีซอเกลอะโด แห่งกองพลน้อยที่ 5 กองทัพปลดปล่อยแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNLA) ให้สัมภาษณ์กับ KPSN ระบุว่า กองทัพพม่าทำหนังสือขอฟื้นฟูการสร้างถนนยุทธศาสตร์ระหว่างค่ายทหารพม่าที่เคพู (Kay Pu) มาถึง Ler Mu Plaw (เหล่อมูพลอ) ในพื้นที่เมืองมูตรอ รัฐกะเหรี่ยง แต่จากข้อตกลงหยุดยิงระหว่างสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNU) กับกองทัพพม่า ห้ามไม่ให้ทั้ง 2 ฝ่าย ขยายพื้นที่ยึดครองหรือเพิ่มกำลังทางทหาร หรือสร้างค่ายทหารเพิ่มในพื้นที่หยุดยิง "เราไม่คิดว่านี่เป็นเวลาที่เหมาะสมในการสร้างถนน เราแจ้งกองทัพพม่าว่าพวกเขาไม่สามารถทำได้ แต่พวกเขาไม่สนใจและเดินหน้าตามแผนของพวกเขา" ขณะที่กเวทูวินรองประธานสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNU) กล่าวว่า ที่ผ่านมาในช่วงหยุดยิง แม้จะไม่มีการก่อสร้างถนน กองทัพพม่าได้รับอนุญาตให้ขนส่งเสบียงด้วยวิธีอื่นๆ และไม่ถูกรบกวน และพวกเขาควรหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าเช่นนี้ซึ่งจะสร้างความขัดแย้งและบ่อนเซาะความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างกัน พล.ท.บอจ่อแฮ รองผู้บัญชาการกองทัพปลดปล่อยแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNLA) กล่าวว่า กองทัพพม่าอ้างว่าถนนเส้นนี้เพียงเพื่อขนส่งเสบียงระหว่างค่ายทหาร 2 แห่ง และชาวบ้านก็สามารถใช้ได้ถ้าพวกเขาต้องการ อย่างไรก็ตามที่ผ่านมากองทัพพม่าไม่เคยส่งเสบียงอาหารผ่านระหว่างค่ายทหารที่เคพู และเหล่อมูพลอ มาก่อน และถนนเส้นที่มีการก่อสร้างนี้เป็นถนนยุทธศาสตร์ทางการทหาร กองทัพพม่าอ้างว่าได้แจ้งกับ KNLA กองพลน้อยที่ 5 หลายครั้งแล้วเรื่องการสร้างถนน แต่พวกเขาแค่แจ้ง พวกเขาไม่เคยได้รับการเห็นชอบให้สร้างถนนเลย ไม่ว่าจากฝ่าย KNLA กองพลน้อยที่ 5 และชาวบ้านในพื้นที่ พวกเขามีแต่ใช้กำลังทางทหารเพื่อแผนการสร้างถนน โดย พล.ท.บอจ่อแฮ ถือว่าเรื่องนี้ละเมิดทั้งสัญญาหยุดยิงทั่วประเทศ (NCA) และระเบียบปฏิบัติของ KNU และ KNLA
เครือข่ายกะเหรี่ยงฯ เรียกร้องให้กองทัพพม่ายึดข้อตกลงหยุดยิง ในช่วงท้ายของรายงาน เครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อสันติภาพ (KPSN) ได้ระบุข้อเสนอแนะว่า 1.กองทัพพม่าต้องปฎิบัติตามจรรยาบรรณของทหารที่กำหนดไว้ในความตกลงหยุดยิงระดับประเทศและให้ถอนกำลังทหารที่เข้าพื้นที่ควบคุมของ KNU ทั้งหมด 2.ควรให้ฝ่ายที่สามที่ไม่ใช่กองทัพพม่า KNU และรัฐบาลพม่า เข้ามาทำหน้าที่สอบสวนเพื่อคลี่คลายความตึงเครียด 3.กองทัพพม่าต้องยุติการดำเนินงานเพื่อก่อสร้างถนนใดๆ ในพื้นที่ควบคุม 4.ก่อนมีกระบวนการสันติภาพจะมั่นคงและการเมืองที่แน่นอน กระบวนการตัดสินใจต่างๆควรให้ KNU เข้าไปมีส่วนร่วม 5.ผู้นำ KNU และกองทัพพม่าต้องให้ความสำคัญกับการถอนกำลังทหารจากที่ดินของชาวบ้าน 6.รัฐบาลพม่าและองค์กรเอกชนในทุกระดับต้องเคารพและยอมรับโครงสร้างการปกครอง และการบริหารของชุมชนกะเหรี่ยง 7.หน่วยงานระหว่างประเทศ ควรส่งความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมให้กับผู้ลี้ภัยและผู้พลัดถิ่นในประเทศ
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai This posting includes an audio/video/photo media file: Download Now | ||||
DOC+TALK: ‘รัฐสวัสดิการ’ เพราะสิ่งที่มีค่าที่สุดของประเทศคือทรัพยากรมนุษย์ Posted: 25 Apr 2018 03:48 AM PDT ฉายหนังฟังเสวนา "กลัวตกงาน...รัฐสวัสดิการช 22 เม.ย. 2561 Documentary Club และหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเ รัฐสวัสดิการของฝรั่งเศสที่ได้มาด้วยการต่อสู้ยาวนานษัษฐรัมย์เล่าถึงประวัติศาสตร์การต่อสู้ที่พัฒนามาเป็นแนวคิดรัฐสวัสดิการว่า ที่ฝรั่งเศสมาถึงจุดนี้ได้ก็ไม่ใช่ได้มาง่ายๆ ฝรั่งเศสมีภาพการต่อสู้กันมาตลอดเวลา ตั้งแต่การปฏิวัติฝรั่งเศส ปัจจุบันฝรั่งเศสถูกจัดว่าเป็น สาธารณรัฐที่ 5 หมายความว่า ฝรั่งเศสเคยมีสาธารณรัฐ 1,2,3,4 และถูกคั้นด้วย จักรวรรดิ 1,2,3,4 ประวัติศาสตร์ของฝรั่งเศสจึงเป็นช่วงเวลาของการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยมาโดยตลอด ทุกครั้งที่เปลี่ยนแปลงก็ไม่ได้หมายความว่าจะได้สิ่งที่ดีที่สุด ประชาธิปไตยนำสู่การรบราฆ่าฟัน คอร์รัปชั่น ผูกขาดเผด็จการรัฐสภา การยกอำนาจให้นายพล แต่สิ่งที่ผ่านมาในเวลา 200 ปี คือการที่ประชาชนฝรั่งเศสยืนยันว่าสุดท้ายแล้วต้องพยายามมุ่งหน้าสู่ประชาธิปไตยเพื่อให้มันดีขึ้น สิ่งที่เกิดขึ้นจนนำไปสู่รัฐสวัสดิการของฝรั่งเศสอยู่ในเงื่อนไขหนึ่งคือ การต่อสู้ของสหภาพแรงงาน ขบวนการแรงงานอย่างต่อเนื่อง แต่ในช่วง 30-40 ปีที่แล้ว ฝรั่งเศสก็ประสบกับชะตากรรมเดียวกับหลายประเทศในยุโรปและสหรัฐอเมริการวมถึงละตินอเมริกา คือ การคืบเข้ามาของเสรีนิยมใหม่ คือการเปิดโอกาสให้กลุ่มทุนต่างๆ แสวงหากำไรได้อย่างเต็มที่ ตัดสวัสดิการของคน การทำลายสหภาพแรงงาน ในอังกฤษคือมาร์กาเรต แธตเชอร์ ในอเมริกาคือโรนัลด์ เรแกน แต่ในฝรั่งเศสยังมีเงื่อนไขการต่อสู้ของสหภาพแรงงานที่ยาวนานต่อเนื่อง ส่วนไทยเราไม่ต้องแปลกใจที่ไม่มีภาพแบบนั้นเพราะเรามีสมาชิกสหภาพแรงงานอยู่ 3 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนแรงงาน ขณะเดียวกันในปัจจุบันก็มีความพยายามทำลายรัฐสวัสดิการซึ่งต่างกันไปแต่ละที่ อย่างในอังกฤษสิ่งที่รัฐบาลจะทำลายคือสวัสดิการด้านสุขภาพที่ก้าวหน้าที่สุดในโลก ของฝรั่งเศสที่เป็นเสาหลักของฝ่ายซ้ายอยู่คือกฎหมายแรงงาน สิ่งที่ แอมานุแอล มาครง ประธานาธิบดีฝรั่งเศสพยายามทำคือการปฏิรูปกฎหมายแรงงาน ภายใต้คำพูดว่าให้แรงงานยืดหยุ่น สามารถเปลี่ยนงานได้ เกิด SMEs ทำให้สตาร์ทอัพเติบโต แต่ในอีกด้านหนึ่งเพื่อทำลายสหภาพแรงงาน หรือในไทยคำว่า Aging Society หรือสังคมผู้สูงอายุ ในอีกด้านหนึ่งคือพยายามจะบอกว่าคนแก่เป็นภาระ คนแก่ไม่ยอมเก็บเงิน แต่จริงๆ แล้วที่เป็นแบบนี้เพราะค่าแรงเขาเป็นแบบนี้ สวัสดิการเขาเป็นแบบนี้ เขาเป็นหนี้เพื่อส่งลูกเรียน แล้วพอถึงเวลาลูกก็ไม่สามารถเลื่อนลำดับชั้นได้ คนแก่ไทยเลยกลายเป็นภาระแบบที่เราเห็น เป็นปัญหาจากการที่เราทิ้งคนส่วนใหญ่ในสังคมไว้ กระแสรัฐสวัสดิการที่กำลังกลับมาษัษฐรัมย์วิเคราะห์ว่า ตั้งแต่ทศวรรษ 1990 สังคมนิยมถูกมองว่าเป็นเพียงแค่รสนิยม ถูกมองว่าเป็นสิ่งที่ดีแต่เป็นไปไม่ได้ แม้นักวิชาการนักเคลื่อนไหวฝ่ายซ้ายก็ไปรับแนวคิดของแธตเชอร์มา ระบบทุนนิยมถูกมองว่าเป็นสิ่งที่ดีที่สุดไม่ว่าจะชอบหรือไม่ "สมัยที่ผมเรียนต่างประเทศ อาจารย์ท่านหนึ่งที่มีแนวคิดแบบเสรีนิยม พอผมเถียงด้วยสำนวนที่ซ้ายหน่อย อาจารย์จะบอกว่า โอเค ผมเข้าใจคุณนะ ถ้าคุณอายุไม่ถึง 25 คุณไม่เป็นซ้าย คุณเป็นคนที่ไม่มีหัวใจ แต่ถ้าคุณอายุเกิน 25 แล้วยังเป็นซ้ายอยู่ แสดงว่าคุณเป็นคนไม่มีสมอง" ษัษฐรัมย์กล่าว เขาชี้ว่า ช่วง 1990-2000 ต้นๆ การเป็นซ้ายคือตัวตลก แต่ในช่วงต้นศตวรรษที่ 21 ไม่ถึง 10 ปีที่ผ่านมา เราจะเห็นชัยชนะของรัฐบาลฝ่ายซ้ายในสังคมละตินอเมริกา เราจะเห็นขบวนการ World Social Forum ขบวนการที่ชูคำขวัญว่า 'Another world is possible' มีโลกใบใหม่ที่เป็นไปได้ เป็นกระแสที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและกลับมาในยุโรป และไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะในยุโรป ในสหรัฐอเมริกาเรื่องการเลือกตั้งท้องถิ่น มีนักการเมืองที่ชูอุดมการณ์ฝ่ายซ้ายที่ชนะการเลือกตั้งมากขึ้น แม้กระทั่งในสังคมไทย ถ้าย้อนกลับไป 6-7 ปีก่อน การพูดถึงฝ่ายซ้าย รัฐสวัสดิการต่างๆ เป็นภัยคุกคาม แต่ 2-3 ปีมานี้คนพูดถึงมากขึ้น รัฐสวัสดิการต้องผูกติดกับความรับผิดชอบของคนในสังคมษัษฐรัมย์ยกตัวอย่างในประเทศแถบละตินอเมริกา เช่น เวเนซุเอลา นโยบายประชานิยมนำมาสู่การล้มละลาย ซึ่งถูกนำมาใช้โจมตีว่ารัฐสวัสดิการจะทำให้ประเทศเจ๊ง ล้มละลาย ด้านหนึ่งเพราะนักการเมืองเวเนซุเอลาเลือกที่จะประนีประนอมกับกลุ่มทุนข้ามชาติ เพื่อที่จะไม่ผลักดันให้รัฐสวัสดิการไปกระทบกับโครงสร้างภาษีมากเกินไป เวเนซุเอลาใช้เงินที่ได้จากการขายน้ำมันมาทำรัฐสวัสดิการ มันจึงถึงจุดจบได้โดยง่ายเพราะราคาน้ำมันผันผวน ในขณะที่นอร์เวย์เป็นตัวอย่างที่ดี เป็นประเทศเศรษฐีน้ำมันเหมือนกัน พรรคการเมืองอนุรักษ์นิยมในนอร์เวย์พยายามบอกว่า เลิกเก็บภาษีอัตราก้าวหน้า ภาษีที่ดิน ภาษีมรดก เพื่อให้กลุ่มทุนสามารถเติบโตได้ แค่เงินจากการขายน้ำมันก็สามารถสร้างรัฐสวัสดิการของนอร์เวย์ได้ไม่รู้กี่สิบปีแล้ว แต่ภาคประชาสังคมนอร์เวย์บอกว่าไม่ รัฐสวัสดิการไม่ใช่สิ่งที่ผูกกับกำไรของประเทศ แต่มันผูกกับความรับผิดชอบของคนในสังคม เพราะฉะนั้นรัฐสวัสดิการต้องมาจากเงินของคนในสังคมที่มีมากกว่าอย่างเลี่ยงไม่ได้ นี่คือสิ่งที่ต่างกันระหว่างโมเดลของเวเนซุเอลาและนอร์เวย์ วัฒนธรรมทางการเมืองที่เป็นประชาธิปไตยคือเงื่อนไขการเกิดรัฐสวัสดิการศิโรตม์ตั้งคำถามว่า การเกิดขึ้นของรัฐสวัสดิการในฝรั่งเศสเกิดขึ้นมาจากการประวัติศาสตร์การต่อสู้ของฝรั่งเศสที่เข้มข้นเป็นระดับ 100 ปีได้ มีประชาชนลุกฮือกลางเมือง ยึดมหาวิทยาลัย มันมีเงื่อนไขที่ทำให้สังคมแบบรัฐสวัสดิการเดินหน้าต่อได้ แต่กรณีของไทยมันมีประวัติศาสตร์ที่ประชาชนถูกปราบ ถูกฆ่ากลางมหาวิทยาลัย เงื่อนไขพื้นฐานที่จะทำให้ประชาชนรวมตัวสร้างรัฐสวัสดิการได้อยู่ตรงไหน ษัษฐรัมย์อธิบายว่าวิธีการคิดแบบคนฝรั่งเศสคือมันไม่มีอะไรได้มาง่ายๆ ทุกอย่างได้มาด้วยการต่อสู้ การถกเถียง การทำให้ทุกอย่างมันยุ่ง ดังนั้นทุกอย่างมันต้องไปจบบนท้องถนน แม้ฝรั่งเศสจะเป็นประเทศที่บ้าเรื่องการออกแบบระบบ ระบบการเมืองของฝรั่งเศสเป็นกึ่งประธานาธิบดีกึ่งรัฐสภา มีประธานาธิบดีที่ชี้ขาดได้โดยไม่ต้องรับผิดชอบ มีอำนาจเป็นประมุข มีนายกรัฐมนตรีทำหน้าที่เป็นซีอีโอ ถ้าขัดแย้งกันระหว่างประธานาธิบดีกับนายกรัฐมนตรีสามารถให้ประชาชนทำประชามติได้ เป็นระบบที่ยุ่งยากมากเพราะกลัวเผด็จการ แต่ถึงกระนั้นคนฝรั่งเศสก็พร้อมจะทิ้งระบบลงไปต่อสู้บนท้องถนน ถ้าเขาคิดว่าระบบแบบนั้นไม่สามารถจะตอบโจทย์ได้ ดังนั้นปัญหาไม่เคยหายไปอันนี้เป็นหัวใจสำคัญ ถึงแม้คนฝรั่งเศสจะเชื่อเรื่องการต่อสู้ครั้งสุดท้ายของมวลชน แต่การต่อสู้ครั้งหนึ่งก็จะนำไปสู่ปัญหาและการต่อสู้ครั้งต่อไป อันนี้ผมคิดว่าเป็นวัฒนธรรมทางการเมืองที่น่าสนใจ "ในไทยซึ่งมีวัฒนธรรมทางการเมืองแตกต่างจากฝรั่งเศส เราจะเห็นเทคโนแครตบ้านเราเมื่อมีรัฐประหารก็จะเข้าไปอยู่ในแวดวงของการออกแบบนโยบาย แล้วพูดว่าฝรั่งเศสใช้เวลาเป็นร้อยสองร้อยปีกว่าจะได้ประชาธิปไตย กว่าจะได้สวัสดิการที่ก้าวหน้า ไทยเราเพิ่งไม่กี่ปีนี้เองเพราะฉะนั้นต้องใช้เวลาร้อยสองร้อยปีเหมือนกัน ซึ่งอันนี้ผมไม่เห็นด้วย ผมคิดว่ามันมีเรื่องวัฒนาการทางสังคมที่สังคมจะเดินก้าวหน้าไป" ษัษฐรัมย์กล่าว ษัษฐรัมย์ยกตัวอย่างกรณีประเทศเกาหลีใต้ ย้อนกลับไปเมื่อ 50 ปีก่อน เกาหลีใต้ยังเป็นประเทศที่ไม่พัฒนา ประชาชนยากจน แต่มีจุดเปลี่ยนสำคัญคือเหตุการณ์ที่กวางจู มีการปิดล้อมฆ่านักศึกษาในเมือง มีผู้เสียชีวิตเกือบพันคน ช่วงเวลาเดียวกันมีเหตุการณ์ 'ชุน แต อิล' กรรมกรที่จุดไฟเผาตัวเองเพื่อประท้วงความไม่เป็นธรรมในกฎหมายแรงงาน สองเหตุการณ์นี้นำสู่การสร้างฉันทามติในเกาหลีใต้ว่า ถ้าเราอยากไปด้วยกันสิ่งเหล่านี้จะต้องเป็นครั้งสุดท้าย จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกที่เกาหลีใต้สามารถก้าวขึ้นมาได้ "เกาหลีใต้กับไทยเหมือนกันที่มีเหตุการณ์ทหารฆ่าประชาชน แต่ต่างกันตรงที่เกาหลีใต้ผู้นำทหารที่ฆ่าประชาชนถูกลงโทษตามกฎหมาย ส่วนไทยไม่เคยมีการดำเนินคดีกับทหาร นี่คือวัฒนธรรมการเมืองที่ต่างกัน" คือข้อสรุปของษัษฐรัมย์ ศิโรตม์ถามสรุปว่าดังนั้นรัฐสวัสดิการจะเกิดขึ้นได้เมื่อสังคมเป็นสังคมประชาธิปไตยก่อนหรือไม่ ษัษฐรัมย์เปรียบเทียบกับคำถามไก่กับไข่อะไรเกิดก่อนกัน เขาอธิบายว่าถ้าเราไปดูในรายละเอียดในประเทศที่มีรัฐสวัสดิการ สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นพร้อมกัน เป็นการเสริมแรงซึ่งกันและกัน เราไม่จำเป็นต้องพักอะไรก่อนแล้วไปสู้กับอีกอย่าง แม้ตอนนี้เราไม่มีประชาธิปไตยที่สมบูรณ์แต่มันนำสู่คุณภาพของชีวิตประชาชนที่ดีมากขึ้น คนก็จะทวงถามประชาธิปไตยที่มากขึ้น และจะทวงถามรัฐสวัสดิการที่ถ้วนหน้าครบวงจรมากขึ้น เราสามารถต่อต้านทุนนิยม ต่อต้านนายทุน ต่อต้านการเมืองที่ไม่เป็นประชาธิปไตยควบคู่กันได้ เพราะจริงๆ แล้วมันเป็นเรื่องเดียวกัน เขายกตัวอย่างงานของ เดวิด ฮาร์วีย์ คือหนังสือประวัติศาสตร์โดยย่อของลัทธิเสรีนิยมใหม่ มีตอนหนึ่งระบุว่า เมื่อระบบทุนนิยมพัฒนาไปเต็มขั้น สิ่งที่ตามมาคือลัทธิอนุรักษ์นิยมใหม่ การใช้จารีต ประเพณี ชาตินิยม ครอบครัวนิยม ความสัมพันธ์ที่เหลื่อมล้ำระหว่างชายหญิง มาควบคุมความเหลื่อมล้ำในระบบทุนนิยม สิ่งเหล่านี้จะเกิดตามมา เพราะฉะนั้นการผูกขาดของระบบที่ไม่เป็นประชาธิปไตยจึงเป็นเรื่องเดียวกับการผูกขาดในระบบทุนนิยม "ประเทศในแถบนอร์ดิกจริงๆ แล้วตอนที่เขาเริ่มทำรัฐสวัสดิการก็เป็นประเทศยากจน สวีเดนถ้าย้อนกลับไปปลายศตวรรษที่ 19 เป็นประเทศเกษตรกรรม เกิดทุพภิกขภัยคนเกือบครึ่งประเทศต้องอพยพไปสหรัฐอเมริกาเพราะยากจนมาก แต่เขาค้นพบเรื่องรัฐสวัสดิการเพราะสิ่งที่มีค่าที่สุดของประเทศคือทรัพยากรมนุษย์ นอกจากนี้ประเทศอย่างเกาหลีใต้ มาเลเซีย ไต้หวัน ก็นำแนวคิดนี้มาใช้ ไม่ใช่ว่าเขามีเงินก่อนถึงค่อยมาจัดรัฐสวัสดิการ แต่จริงๆในวัฒนาการของสังคมมนุษย์ รัฐดูแลคนก่อน และคนคือคนที่สร้างมูลค่าให้แก่รัฐ" ษัษฐรัมย์กล่าว กลุ่มทุนขยาย อำนาจต่อรองผู้ใช้แรงงานต่ำ รัฐสวัสดิการจะถูกจุดให้ติดได้ในสังคมไทยษัษฐรัมย์อธิบายว่า ปัจจุบันในไทยส่วนที่จะคุ้มครองเมื่อตกงานคือการชดเชยจากประกันสังคม ถ้าเป็นการลาออกด้วยตัวเองจะมีการชดเชย 3 เดือน ถ้าถูกเลิกจ้างจะได้ชดเชยจากประกันสังคมเป็นเวลา 6 เดือน ทั้งสองวิธีนี้จะได้เงินชดเชยเดือนละประมาณ 4,000 กว่าบาท ถือว่าต่ำ นอกจากนี้คนไทยเข้าสู่ระบบการจ้างงานแบบเป็นทางการน้อยลง สถิติล่าสุด ไทยเป็นไม่กี่ประเทศที่เศรษฐกิจโตแล้วเกิดแรงงานนอกระบบเพิ่มมากขึ้นซึ่งสิ่งที่น่ากลัวและน่าแปลกใจ แรงงานนอกระบบคือคนที่ไม่ได้รับเงินเดือนประจำ ไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคม ไทยมีแรงงานนอกระบบขยายตัวจนปัจจุบันอยู่ที่หลัก 10 ล้านคน เขายกตัวอย่างงานวิจัยของแบ๊งค์ งามอรุณโชติ แรงงานนอกระบบที่มีมากขึ้นเหล่านี้ส่วนมากเป็นแรงงานที่ยากจน มีรายได้น้อยกว่า 10,000 บาทต่อเดือน คนเหล่านี้ต้องไปกู้หนี้ยืมสินนอกระบบ ไม่มีหลักประกันสุขภาพใดๆ นอกจากบัตรทอง เป็นลักษณะที่น่าเป็นห่วงเพราะด้านหนึ่งกลุ่มทุนขยายใหญ่มากขึ้น อำนาจต่อรองของผู้ใช้แรงงานต่ำลง ในปี 2544 เกิดจุดเปลี่ยนที่น่าสนใจมากนั่นคือประเทศที่ยากจนอย่างเราสามารถมีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าได้ ทำให้ทุกคนสามารถไปหาหมอได้ฟรี ตอนนั้นไม่มีใครคิดว่าสิ่งเหล่านี้จะสามารถเกิดขึ้นได้ ด้านหนึ่งแม้ไม่มีการรวมตัวของลูกจ้างในสถานประกอบการ แต่ขณะเดียวกันก็มีงานวิจัยของนักสังคมวิทยาการเมืองว่าคนไทยมีสิ่งหนึ่งที่เรียกว่า relative deprivation หรือการถูกลิดรอนสิทธิโดยสัมพัทธ์ หมายถึงปกติไม่ชอบการรวมตัวแต่ถ้าถูกละเมิดสิทธิก็จะไม่โอเค ซึ่งคนไทยจะมีเซ้นส์แบบนี้ไวมาก เชื่อว่าวันนี้ไม่สามารถมีรัฐบาลไหนแม้รัฐบาลของพอเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาจะมีมาตรา 44 มีคำสั่ง คสช. ก็ไม่สามารถจะล้มเลิกนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรคได้ กระบวนการเติบโตและขยายตัวของนโยบาย 30 บาท คิดว่ายังอยู่ในเส้นทางที่ยังเป็นบวก แต่กระบวนการทำลายมีอยู่จริงแน่นอน ในทุกประเทศทั่วโลก คือกระบวนการสร้างไพร่ในระบอบประชาธิปไตย คือระบอบยังคงอยู่ นโยบายยังคงอยู่ แต่ถูกทำให้อ่อนเปลี้ยไปไม่สามารถฟังก์ชั่นได้ มีตัวเลขที่บอกว่าพอ 30 ออกมางบประมาณในการดูแลสุขภาพต่อครัวเรือนจาก 5 เปอร์เซ็นต์เหลือ 4 เปอร์เซ็นต์ แต่ปัจจุบันงบประมาณในการดูแลสุขภาพของคนไทยอยู่ที่ 8 เปอร์เซ็นต์ ทั้งที่งบรายหัวของบัตรทองเพิ่มขึ้น เพราะด้านหนึ่งบัตรทองถูกสตาฟไว้ไม่ให้โตขึ้นมาตอบสนองชีวิตประจำวันของเราได้ การใช้สิทธิบัตรทองต้องมีเวลาในวันธรรมดาประมาณ 6 ชั่วโมงในการไปหาหมอ ดังนั้นเป็นโรคขาจรก็อาจจะต้องไปโรงพยาบาลอื่นเพื่อให้ไวขึ้น แต่หมายความว่าต้องควักเงินจ่ายเอง มันเกิดขึ้นเพราะกลุ่มทุนด้านการรักษาพยาบาลขยายตัวจนติดท็อปเทนของประเทศแล้วในตอนนี้ ภายใต้การบอกว่าจะให้ไทยเป็น hub ด้านสาธารณสุข แต่อีกด้านคือการปล่อยให้เรื่องพวกนี้กลายเป็นสินค้า หรือถ้ามองในช่วงปี 2553-2554 ก่อนหน้านี้คนไทยในชนบทก็ถูกกดขี่ มีสถานะเป็นทาสเป็นไพร่มาเป็นเวลานานหลายร้อยปี ทำไมอยู่ดีถึงกล้าออกมาปิดถนนใจกลางเมืองกรุงเทพฯ ของชนชั้นกลาง เพื่อแค่ให้รัฐบาลขนาดนั้นยุบสภาและมีการเลือกตั้ง มีการสลายการชุมนุมเดือนเมษา คนก็ยังชุมนุมกันอยู่ นี่คือการถูกลิดรอนสิทธิโดยสัมพัทธ์ หรือคุณอาจจะบอกว่าประชาธิปไตยในไทยเป็นประชาธิปไตย 4 วินาที เลือกตั้งไปเขาไปโกง พอครบ 4 ปีก็กลับมาเลือกตั้งใหม่ แต่ถ้าถึงวันหนึ่งเขาบอกว่า 4 วินาทีที่เป็นของคุณไม่ใช่ของคุณอีกต่อไป ก็จะพบว่ามีกระแสของคนจำนวนมากที่ไม่พอใจและสามารถเดิมพันและเสี่ยงได้แม้กระทั่งชีวิต "ผมเชื่อว่าในสังคมไทยการพูดถึงสวัสดิการแบบก้าวหน้าครบวงจรมันจะสามารถจุดติดได้ และถ้ามันจุดติดขึ้นมาแล้วก็จะเป็นสิ่งที่ทำให้สังคมไทยก้าวหน้าขึ้นมาอีกจุดหนึ่งทั้งในแง่วัฒนธรรมการเมืองที่เป็นประชาธิปไตยและเศรษฐกิจที่ก้าวหน้า" ษัษฐรัมย์กล่าว คนไทย 80% คิดว่าตัวเองเป็นชนชั้นกลาง แต่มีแค่ 40%ที่จะอยู่รอดปลอดภัยจริงษัษฐรัมย์ยกตัวอย่างงานวิจัยที่พบว่าคนไทย 80 เปอร์เซ็นต์รับรู้ว่าตนเองเป็นชนชั้นกลาง แต่ด้วยสถานะจริงๆ ทางเศรษฐกิจที่พอจะจัดได้ว่าเป็นชนชั้นกลาง (คนชั้นกลางในที่นี้คือคนที่สามารถอยู่รอดปลอดภัยในทางเศรษฐกิจการได้ ไหลไปตามระบบแล้วชีวิตค่อยๆ ดีขึ้น) จริงๆ แล้วมีอยู่ ประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น หมายความว่ามีคนไทยอีก 40 เปอร์เซ็นต์ที่จริงๆ แล้วเป็นชนชั้นล่างแต่เข้าใจว่าตัวเองสามารถจะไต่ระบบขึ้นไปได้ งานวิจัยจากคณะพาณิชยศาสตร์ฯ จุฬาฯ บอกว่าคนไทยมีเพียง 30 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นเองที่จะปลอดภัยหลังเกษียณ อีก 70 เปอร์เซ็นต์ต้องทำงานจนตาย ใน 30 เปอร์เซ็นต์นั้น เงินเดือนตอนอายุ 25 ต้องอยู่ที่ 30,000 บาท ต้องมีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 5-10 เปอร์เซ็นต์ มีการปรับเงินเดือนขึ้นอีกปีละ 8 เปอร์เซ็นต์ ถึงจะมีชีวิตที่ปลอดภัย มีคนที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงจำนวนมากเรียกว่า "แรงงานเสี่ยง" เป็นคนที่แบบรับความเสี่ยงแทนชนชั้นนายทุนทั้งหมด "ทัศนคติที่กลัวการเสียภาษีมาก กลัวการเสียผลประโยชน์จริงๆ ก็มีเหตุมีผล เพราะเขาไม่เชื่อว่ามันจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้ และพื้นที่ข้างล่างของไทยมันน่ากลัวมาก ถ้าคุณต้องเป็นชนชั้นล่างของประเทศไทย มันไม่มีอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ผมเคยทำวิจัยในพื้นที่ชุมชนแออัดเกี่ยวกับแรงงานอพยพ ไม่มีแรงงานอพยพคนไหนที่อยากอยู่ที่นี่ตลอดไป เขาตั้งเป้าอยู่ประเทศไทยแค่ 5-7 ปี คนจนในประเทศไม่ได้รู้สึกเป็นเจ้าของประเทศนี้ พอพื้นที่ข้างล่างมันน่ากลัว ครั้นเราจะหวังพึ่งทางการเมืองเราก็มีรัฐประหาทุก 7-8 ปี การเกิดรัฐประหารบ่อยทำให้ความเป็นไปได้ต่างๆ มันหายไปด้วย ถ้าไม่มีรัฐประหารตั้งแต่ปี 49 ผมเชื่อว่าจะมีความก้าวหน้าด้านเศรษฐกิจมากกว่านี้" ษัษฐรัมย์กล่าว เขาเสริมว่า ความเชื่อเรื่องการเลื่อนลำดับทางชนชั้นทางการศึกษาของประเทศไทยไม่ใช่ของจริง มันเป็นเพียงการยืนยันสถานะของคนที่มีอยู่แล้ว เราต้องต้านรัฐประหารและทำลายมายาคติว่าข้างล่างมันน่ากลัวและเราต้องเอาตัวรอด เสียภาษีสร้างรัฐสวัสดิการกับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น แต่ซื้อประกันกับเอกชนคุณจะยิ่งจนลงษัษฐรัมย์เริ่มจากการยกตัวอย่างธุรกิจที่สามารถทำได้ เช่น ธุรกิจภาพยนตร์ การท่องเที่ยว หรือการบันเทิง แต่มีหลายอย่างที่ไม่ควรเป็นธุรกิจ เช่น เรื่องการศึกษา การรักษาพยาบาล การประกัน "พอคำนวณออกมาในประเทศที่ให้เอกชนเข้ามาทำปรากฎว่าค่าใช้จ่ายในการที่ต้องซื้อประกันมันสูงขึ้นทุกปี เพราะในสูตรการประกันก็จะมีพรีเมี่ยมมากขึ้นๆ และคุณต้องจ่ายแพงมากขึ้นๆ ทำงานหนักมากขึ้น และผลที่ออกมาในท้ายที่สุดคุณก็จะพบว่าบริษัทประกันก็จะรวยขึ้น กลุ่มทุนโรงพยาบาลก็จะรวยมากขึ้น เจ้าของบริษัทที่คุณเป็นลูกจ้างก็จะรวยมากขึ้น ภายใต้โมเดลนี้คนที่จนลงคือคุณ เพราะคุณต้องทำงานหนักและซื้อประกันแพงมากขึ้น แต่เมื่อดูประเทศที่เป็นรัฐสวัสดิการจะพบว่าเป็นประเทศที่เสียภาษีสูงมาก เช่น สวีเดนเสียภาษีเงินได้สูงถึง 60 เปอร์เซ็นต์ มี capital gains tax หรือการขายหุ้นในตลาดหุ้นเสียภาษี 28 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเมืองไทยไม่มีเลย ถ้าเก็บภาษีเยอะก็ยิ่งต้องจนใช่ไหม คำตอบคือไม่ใช่ ประเทศพวกนี้มีดัชนีกำลังการซื้อของคนสูง มีดัชนีเสรีภาพสูง มีดัชนีทางด้านวัฒนธรรม คือคนมีรสนิยม เพราะคนมีเงิน ไม่ต้องคิดว่าจะเก็บเงินไปส่งลูกเรียนอินเตอร์ ดูแลพ่อแม่ยามแก่เฒ่า คนมีทางเลือกมากขึ้น "งานวิจัยของอ.เดชรัตน์ สุขกำเนิด บอกว่าคนไทยมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ ค่าใช้จ่าย 70 เปอร์เซ็นต์ของเงินเดือนหมดไปกับค่ากิน ซึ่งด้านหนึ่งมันเป็นปัจจัยพื้นฐานมาก จนทำให้คุณไม่สามารถไปซื้อตั๋วดูละครเวที มาฟังเสวนา หรือออกไปเที่ยว ตัวเลขรายได้ของคนไทยจึงต่ำมากจนเงินที่ได้มาหมดไปกับเรื่องปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต แต่ขณะที่คนรวยในประเทศหมดค่าใช้จ่ายไปกับการท่องเที่ยว "ถ้าเทียบกับประเทศที่มีเงินเช่น สหรัฐอเมริกาซึ่งพร่ำบอกเรื่องอเมริกันดรีม การเลื่อนลำดับทางชนชั้น คนมีเสรีภาพ แต่เป็นประเทศที่มีสวัสดิการต่ำ เมื่อคิดตัวเลขดัชนีการเลื่อนลำดับชั้นทางสังคม เช่นถ้าคุณเกิดมาใน 20 เปอร์เซ็นต์ที่จนมีโอกาสสูงแค่ไหนที่คุณจะจบฐานะในการเป็น 20 เปอร์เซ็นต์จนเหมือนเดิม ปรากฎว่ามีโอกาสสูง 60-70 เปอร์เซ็นต์ที่จะอยู่ในฐานะแบบเดิม แต่ประเทศที่มีรัฐสวัสดิการคนจะไม่ถูกขังเรื่องชาติกำเนิด และมีทางเลือกในชีวิตมากขึ้น แม้สหรัฐอเมริกาจะมีสวัสดิการสำหรับคนจน แต่ก็หมดค่าใช้จ่ายไปกับการจ้างพนักงานมาพิสูจน์ความจนเหมือนกับไทย การคอร์รัปชั่นเงินคนจน ซึ่งเป็นกระบวนการที่เสียค่าใช้จ่ายและคนไม่ได้ประโยชน์โดยตรง" ษัษฐรัมย์กล่าว ใช้เงิน 4-5 แสนล้านบาทต่อปี สร้างรัฐสวัสดิการ ที่เด็กได้เงินตั้งแต่เกิดเดือนละ 2,000 บาทษัษฐรัมย์ได้ชี้ตัวเลขว่า การเก็บภาษีในไทยที่จะทำให้ไทยก้าวสู่รัฐสวัสดิการครบวงจรแบบกลุ่มประเทศนอร์ดิกนั้นใช้ภาษี 4-5 แสนล้านบาทต่อปีเท่านั้น งบประมาณรายจ่ายประจำปีของเราอยู่ที่ 2 ล้านล้านบาท งบกลาโหมอยู่ที่ 2 แสนกว่าล้านบาท และยังมีงบด้านอื่นที่ถูกใช้ไปในกลุ่มเฉพาะ เช่น การอุดหนุนราคาข้าว ราคายาง แต่ถ้าเราสามารถปรับงบประมาณเหล่านี้ได้เพื่อให้ไทยมีรัฐสวัสดิการ โดยที่ในระยะแรกอาจจะยังไม่กระทบเงินการคลังด้วยซ้ำไปแต่ก็มีฐานภาษีบางอย่างที่จำเป็นต้องเก็บแล้วเรายังไม่ได้เก็บ และเป็นเรื่องของการลดอำนาจทางการเมืองและอำนาจทางเศรษฐกิจด้วยเช่น ภาษีที่ดินของกลุ่มทุนขนาดใหญ่ ภาษีมรดก เขาสมมติว่าด้วยเงินจำนวนนั้น เด็กทุกคนที่เกิดมาจะมีเงินเดือนเดือนละ 2,000 บาท จนอายุ 18 ปี เรียนมหาวิทยาลัยได้รับเงินเดือนต่อ มาทำงานปรับเงินสมทบประกันสังคมเพิ่มจะสามารถมีบำนาญได้สูงสุด 15,000 บาทต่อเดือน จากปัจจุบันอยู่ที่ 7,700 บาท และมีเบี้ยผู้สูงอายุเพิ่มเป็น 2,500 บาท ซึ่งเท่ากับเส้นความยากจนโดยเฉลี่ย การปรับตัวเลขเหล่านี้ใช้เงินเพียง 4-5 แสนล้านบาทต่อปีเท่านั้น คิดแล้วเป็น 25 เปอร์เซ็นต์ของรายจ่ายประจำปี ในขณะที่บัตรทองหากเราสามารถขยับตัวเลขขึ้นได้ จาก 3,000 บาทต่อหัวไปที่ 5,000 บาทต่อหัว ซึ่งเป็นการจูงใจให้โรงพยาบาลต่างๆ รับคนไข้สิทธิบัตรทองมากขึ้น แน่นอนว่าต้องมีการเก็บภาษีเพิ่มขึ้นในระยะยาว "มีความเป็นไปได้ทางเศรษฐกิจ แต่ความเป็นไปได้ทางการเมืองเรากำลังต่อสู้กับ 40 เปอร์เซ็นต์ของคนไทยที่เป็นชนชั้นกลางและไต่ขึ้นไปได้ 40 เปอร์เซ็นต์นี้ไม่ลำบากมาก เพราะความเป็นไปได้ทางเศรษฐกิจกำลังอยู่หน้าปากประตูเขา เขาต้องเก็บเงินส่งลูกเรียนอินเตอร์เพราะเชื่อว่าจะเป็นการเลื่อนลำดับทางชนชั้นได้ เขาต้องทำอย่างไรก็ได้ให้ลูกพ้นจากสังคมที่มันเส็งเคร็ง เพราะเขารู้สึกว่าข้างล่างมันน่ากลัวมาก แต่ถ้าเราทำให้สังคมรู้สึกปลอดภัย คนรวยคนจนคนชนชั้นกลางใช้ระบบประกันสุขภาพอันเดียวกัน ส่งลูกเรียนที่เดียวกันได้ อยู่ในชุมชนคนแก่แบบเดียวกันได้ ความเหลี่ยมล้ำ แตกต่าง ขัดแย้งระหว่างชนชั้นจะน้อยลง" ษัษฐรัมย์กล่าว
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||
เมย์เดย์ปีนี้ 'สมานฉันท์แรงงาน' ไม่ร้องเพิ่ม ทวงประยุทธ์ 10 ข้อปีที่แล้ว ทำให้ได้ก่อน Posted: 25 Apr 2018 03:03 AM PDT 'สมานฉันท์แรงงาน-สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจ' ร้องประยุทธ์ ทำตามข้อเรียกร้อง 10 ข้อปีที่แล้วให้ได้ เผยขบวนวันกรรมกรสากลปีนี้ รณรงค์พรรคการเมืองของคนงาน และการเลือกตั้งโดยเร็ว 25 เม.ย.2561 ผู้สื่อข่าวรายงานว่าวันนี้ ตัวแทนคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) และสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) ยื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ผ่านศูนย์บริการประชาชน ทำเนียบรัฐบาล สำนักข่าวไอเอ็นเอ็น รายงานว่า สาวิทย์ แก้วหวาน ประธาน คสรท. และเลขาธิการ สรส. ระบุ ปีนี้คณะทำงานจัดงานวันกรรมกรสากล คสรท.และสรส. มีมติร่วมกันว่าจะเดินขบวนจากอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยไปยังทำเนียบรัฐบาล เนื่องในวันแรงงานแห่งชาติ หรือ วันกรรมกรสากล ซึ่งตรงกับวันที่ 1 พ.ค. ของทุกปี และได้มีการขออนุญาตเจ้าหน้าที่ตำรวจเรียบร้อยแล้ว แต่ในปีนี้จะไม่มีการยื่นข้อเรียกร้องใหม่ต่อรัฐบาล แต่จะเป็นการทวงถามข้อเรียกร้องเดิม จำนวน 10 ข้อ ตั้งแต่ปี 2560 เพราะยังไม่มีข้อใดได้รับการแก้ไข อาทิ ค่าจ้างแรงงานเท่ากันทั้งประเทศ ประกันสังคมไม่ได้ครอบคลุมการรักษาทุกโรค และปัญหาของแรงงานยังมีความรุนแรงมากขึ้น ผู้สื่อข่าวประชาไท สอบถาม ธนพร วิจันทร์ รองประธาน คสรท.เปิดเผยว่า ข้อเรียกร้องปีนี้เป็นการทวงถามข้อเรียกร้องเดิม จำนวน 10 ข้อ ตั้งแต่ปีที่แล้ว สำหรับค่าจ้างนั้นเราเรียกร้องค่าจ้างที่เป็นธรรมที่สามารถเลี้ยงสมาชิกในครอบครัวได้อีก 2 คน สำหรับคำถามที่ว่า หากปีนี้รัฐบาลไม่ตอบสนองข้อเรียกร้องอีกจะดำเนินการย่างไรต่อนั้น รองประธาน คสรท. กล่าวว่า มันต้องขับเคลื่อนต่อไป คสรท. เราอาจต้องยกระดับวิธีคิดของคนงาน จากข้อเรียกร้องที่ผ่านมามันไม่ได้รับการแก้ไข ทุกวันนี้เราไปร้องขอเขา ทั้งรัฐบาลที่มาจากทุนหรือทหาร ที่ไม่ทำให้เรา ซึ่งทุกวันนี้ก็ยิ่งแย่เข้าไปอีก ธนพร กว่าวว่า สิ่งหนึ่งที่คนงานมองคือเรื่องของพรรคการเมือง เนื่องจากในประเทศที่มีรัฐสวัสดิการก็มีพรรคการเมืองของคนงาน รวมทั้งสถานการณ์ตอนนี้ที่มีทั้ง เศรษฐกิจ 4.0 ซึ่งอาจส่งผลให้คนงานตกงานมากขึ้น ดังนั้นวันนี้คนงานควรมองประเด็นนอกโรงงาน เรื่องพรรคการเมืองมากขึ้น ไม่ใช่แค่พิธีกรรมวันกรรมกรสากลเท่านั้น ไม่ว่าคนงานเสื้อสีแดงสีเหลือง โดยที่ขบวนกรรมกรสากลปีนี้ คสรท. จะรณรงค์พรรคการเมืองของคนงาน และการเลือกตั้งโดยเร็ว และจะชี้ให้เห็นทางเลือกทางการเมืองที่นอกจากทหารหรือนักการเมืองที่มาจับมือกับทหาร สำหรับข้อเรียกร้อง 10 ข้อ ประกอบด้วย 1.รัฐต้องจัดให้มีรัฐสวัสดิการถ้วนหน้าที่มีคุณภาพให้ประชาชนทุกคนได้เข้าถึงอย่างเท่าเทียมโดยไม่เลือกปฏิบัติ 2.รัฐต้องกำหนดค่าจ้างแรงงานที่เป็นธรรมให้ครอบคลุมผู้ใช้แรงงานทุกภาคส่วน 3.ต้องใช้สัตยาบันอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ หรือ ไอแอลโอ จำนวน 3 ฉบับ เกี่ยวกับเสรีภาพและการคุ้มครองสิทธิของแรงงาน 4.รัฐต้องปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ เพื่อให้เกิดการพัฒนารัฐวิสาหกิจให้บริการดี มีคุณภาพ อาทิ ยกเลิกการแปรรูปและแปลงภาพทุกรูปแบบ 5.รัฐต้องยกเลิกนโยบายลดสวัสดิการพนักงานรัฐวิสาหกิจและครอบครัว 6.รัฐต้องปฏิรูประบบประกันสังคม อาทิ ให้โครงสร้างการบริหารสำนักงานประกันสังคมเป็นอิสระ เพิ่มสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตน และผู้ชราภาพ และให้มีการจ่ายเงินสมทบในสัดส่วนเท่ากันระหว่างรัฐ นายจ้าง ลูกจ้าง 7.รัฐต้องดูแลให้มีการปฏิบัติตามและใช้กฎหมายเคร่งครัดกรณีไม่จ่ายค่าชดเชยตามกฎหมาย 8.รัฐต้องจัดตั้งกองทุนประกันความเสี่ยงจากการลงทุนโดยให้นายจ้างจ่ายเงินเข้ากองทุนเพื่อเป็นหลักประกันคุ้มครองสิทธิแรงงาน อาทิ ชดเชยให้แก่ลูกจ้างกรณีเลิกจ้างหรือเลิกกิจการ 9.รัฐต้องเร่งรัดให้มีการพัฒนากลไกเข้าถึงสิทธิ์ ในด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมการทำงาน และ10.รัฐต้องจัดสรรงบให้กับสถาบันความปลอดภัยฯเพื่อใช้บริหารจัดการเรื่องความปลอดภัยให้มีประสิทธิภาพ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||
แพทย์แนะกำหนดค่ามาตรฐานไนโตรซามีนในปลาร้า เพื่อผู้บริโภคปลอดภัย ลดก่อมะเร็ง Posted: 25 Apr 2018 01:11 AM PDT แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็ง มข. แนะควรเพิ่มหน่วยงานด้
25 เม.ย.2561 รายงานข่าวแจ้งว่า รศ.นพ.วัชรพงศ์ พุทธิสวัสดิ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็งตั รศ.นพ.วัชรพงศ์ กล่าวว่า ปลาร้าถือว่าเป็ รศ.นพ.วัชรพงศ์ กล่าวว่า การกำหนดมาตรฐานปลาร้านั้น ทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||
อัด 'ไทยนิยม' ไม่ยั่งยืน จี้หยุดรัฐสงเคราะห์ ชูรัฐสวัสดิการแก้เหลื่อมล้ำได้ยั่งยืน Posted: 25 Apr 2018 12:26 AM PDT ภาคประชาชน วิจารณ์ยับ ไทยนิยมไม่ยั่งยืน หยุดรัฐสงเคราะห์ เชื่อทำให้ประชาชนพึ่งตัวเองไม่ได้ ชูรัฐสวัสดิการแก้เหลื่อมล้ำได้ยั่งยืน 25 เม.ย. 2561 รายงานข่าวแจ้งว่า เครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ จัดงานแถลงข่าว "ไทยนิยม" ไม่ยั่งยืน หยุดรัฐสงเคราะห์ เดินหน้ารัฐสวัสดิการ ประชาชนต้องมีบำนาญถ้วนหน้า ที่สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นิมิตร์ เทียนอุดม ตัวแทนเครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ ให้สัมภาษณ์ว่า การดูแลประชาชนที่เป็นสวัสดิการโดยรัฐไม่อยู่ในแผนของรัฐเลย ในแผนปฏิรูปประเทศฉบับนี้ไม่มีเรื่องรัฐสวัสดิการ หรือบำนาญถ้วนหน้า สังคมไทยจึงเป็นสังคมที่รัฐไม่สนใจดูแลประชาชน มองเพียงว่าเป็นภาระของประเทศ ซึ่งเป็นจุดอันตรายสำหรับสังคมสูงวัย เพราะประเทศไทยเป็นประเทศที่คนในชาติแก่ก่อนรวย ทำให้การใช้ชีวิตยากลำบาก แต่รัฐกลับไม่ให้ความสำคัญต่อการจัดรัฐสวัสดิการ "ประเทศนี้ไม่พร้อมดูแลคน แต่ออกนโยบายประชารัฐ ชวนเชื่อว่าว่ารัฐจะดูแลประชาชน โดยผูกไว้กับการเมือง การเลือกตั้ง ไม่ต่างอะไรกับนโยบายประชานิยม ซึ่งทำให้คนจำนวนหนึ่งรู้สึกว่าต้องเลือก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชาหัวหน้า คสช. ให้เป็นรัฐบาลต่อไป ไม่เช่นนั้นบัตรคนจนอาจหายไป โดยเราถูกหลอกเรื่องรัฐสวัสดิการผ่านนโยบายที่แอบแฝงหวังคะแนนเสียง ให้คนติดกับทางการเมือง ซึ่งนโยบายแบบนี้เป็นการสงเคราะห์ของรัฐ และเมื่อประเทศไม่มีทิศทางในการทำเรื่องรัฐสวัสดิการ การช่วยเหลือเป็นครั้งๆ หรือการเลือกว่าจะให้หรือไม่ให้ใคร ผ่านการใช้วิจารณญาณโดยอำนาจของราชการ ซึ่งไม่มีกลไกกำกับหรือตรวจสอบ เป็นต้นตอของการทุจริตเชิงนโยบาย และตัวเงิน เช่น มีการทุจริตเงินการศึกษาของเด็กมาเป็นเวลา 10 ปี" นิมิตร์กล่าว ตัวแทนจากเครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ กล่าวต่อไปว่า ประชาชนต้องลุกขึ้นมาสร้างรัฐสวัสดิการให้ได้ ผ่านการเข้าร่วมกลุ่มกับเครือข่ายฯ หรือร่วมกันตั้งคำถามกับผู้บริหารประเทศ ตัวแทนพรรคการเมือง หรือคณะกรรมการปฏิรูปประเทศว่า วาระของประเทศที่จะเดินหน้าไปสู่รัฐสวัสดิการจะเป็นอย่างไร โดยต้องเห็นโจทย์นี้ร่วมกัน และหยุดการใช้เงินภาษีของประชาชนเป็นเบี้ยหัวแตก แต่ต้องมีทิศทางและมีประสิทธิภาพ "ในเฉพาะหน้านี้ พวกเราจะร่วมกันคัดค้านแผนยุทธศาสตร์ 20 ปีด้านสาธารณสุขที่กระทรวงสาธารณสุขกำลังผลักดัน ร่าง พ.ร.บ.คณะกรรมการนโยบายสุขภาพแห่งชาติ ที่มีนัยยะทำลายระบบบัตรทอง ทำลายการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แล้วแทนที่ด้วยระบบราชการล้าหลังที่ต้องการดึงระบบสวัสดิการให้ถอยหลังเป็นระบบสงเคราะห์" นิมิตร์ กล่าว นุชนารถ แท่นทอง ตัวแทนจากเครือข่ายสลัมสี่ภาค กล่าวถึงกรณีของการให้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐแก่ผู้มีรายได้น้อยว่า นโยบายเช่นนี้ไม่ถือเป็นรัฐสวัสดิการ แต่เป็นการสงเคราะห์และจัดประเภท หมวดหมู่ แบ่งชนชั้นคน เพื่อให้สังคมรู้ว่าคนนี้จน คนนี้มีเงิน ซึ่งการสงเคราะห์ของรัฐทำให้ประชาชนขาดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ "บัตรคนจนทำให้เกิดความขัดแย้ง คนจนจริงไม่ได้บัตร ส่วนบางครอบครัวได้บัตรหลายใบ ซึ่งสะท้อนการทำงานของรัฐที่ไม่ได้มีมาตรฐานตรวจสอบ เป็นการตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ แทนที่จะสนับสนุนรัฐสวัสดิการที่มีอยู่แล้ว เช่น ด้านการศึกษา สาธารณสุขให้ดีขึ้น หรือเพิ่มการเข้าถึงสาธารณูปโภคที่ประชาชนควรได้รับ มากกว่าการแจกจ่ายเงิน ที่เหมือนการหาเสียง หรือประชานิยม โดยไม่มีมาตรการตรวจสอบ" ตัวแทนจากเครือข่ายสลัมสี่ภาคกล่าว นุชนารถ เสนอว่า สวัสดิการที่รัฐจะให้ควรเป็นแบบถ้วนหน้า เพราะแนวคิดแบบรัฐสงเคราะห์นั้นไม่ยั่งยืน คือ พอมีเงินก็สงเคราะห์ ไม่มีเงินก็ไม่สงเคราะห์ ซึ่งเราไม่เห็นด้วย เพราะจะทำให้ประชาชนไม่เติบโต พึ่งพาตัวเองไม่ได้ อยู่อย่างไม่มีศักดิ์ศรี และเกิดความเหลื่อมล้ำ ทั้งนี้ รัฐสวัสดิการแบบถ้วนหน้าจะเกิดได้ถ้าให้ประชาชนมีส่วนร่วมกำหนดทิศทางการทำรัฐสวัสดิการ ไม่ใช่คิดนโยบายมาจากรัฐ ชุลีพร ด้วงฉิม ตัวแทนจากกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ ให้ความเห็นว่า โครงการไทยนิยมยั่งยืน มีวัตถุประสงค์หลักของโครงการฯ คือ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้พ้นจากความยากจน โดยการนำเงินงบประมาณลงชุมชน ซึ่งโครงการนี้ต่อยอดจากโครงการประชารัฐเดิม แต่อย่างไรก็ดี ได้มีการประเมินไหมว่าโครงการนั้นเกิดความยั่งยืนแค่ไหน และจะลดความเหลื่อมล้ำ หรือทำให้ประชาชนพ้นจากความยากจนได้อย่างไร "โครงการไทยนิยมใช้งบประมาณมหาศาล คือ มีงบประมาณ 200,000 บาท ลงชุมชนกว่า 80,000 แห่งทั่วประเทศ และมีการตั้งคณะกรรมการเกือบ 8,000 คณะ ซึ่งค่าบริหารจัดการโครงการอีกเท่าไหร่ ถึงแม้จะมีการทำเวทีประชาคม แต่เมื่อการรับรู้ของคนในชุมชนไม่ทั่วถึง การมีส่วนร่วมก็ไม่เกิด บางโครงการชาวบ้านไมได้จับเงินเลย จากการจัดซื้อจัดจ้างสิ่งของ เช่น สร้างสนามกีฬา ซื้ออุปกรณ์ออกกำลังกาย เหล่านี้ล้วนซ้ำรอยโครงการเดิมๆ ที่สุดสนามก็รกร้าง แบบนี้แก้ปัญหาความยากจนได้ไหม ยั่งยืนตรงไหน คุณภาพของประชาชนจะดีขึ้นอย่างไร" ชุลีพร กล่าว ตัวแทนจากกลุ่มคนรักหลักประกันฯ เสนอว่า รัฐสามารถนำเอางบประมาณจากโครงการไทยนิยมยั่งยืนเช่นนี้ลงไปในระบบหลักประกันสุขภาพ หรือทำเรื่องบำนาญพื้นฐานถ้วนหน้าให้กับผู้สูงอายุทุกคน ให้พ้นจากเส้นความยากจน หรือส่งเสริมเรื่องการศึกษา ซึ่งหากทำเช่นนี้ประชาชนจะได้ประโยชน์โดยตรงจากรัฐสวัสดิการ เงินจะถึงประชาชนจริง และเกิดประโยชน์จริง พร้อมหมุนเวียนเศรษฐกิจในประเทศ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||
เครือข่ายตรวจสอบบรรษัทข้ามชาติเรียกร้องหยุดชั่วโมงทำงานที่ยาวนานในเอเชีย Posted: 24 Apr 2018 10:57 PM PDT เนื่องในวันกรรมกรสากล 1 พ.ค. ที่จะถึงนี้ เครือข่ายตรวจสอบบรรษัทข้ามชาติเอเชีย (ATNC) ออกแถลงการณ์ 'หยุดชั่วโมงทำงานที่ยาวนานในเอเชีย!' เรียกร้องค่าจ้างที่เหมาะสมเพื่อพัฒนาศักยภาพในฐานะมนุษย์ ไม่จำเป็นต้องทำงานล่วงเวลาเพื่อหารายได้สนองความต้องการพื้นฐานและทำงานหนักจนเสียชีวิตอีกต่อไป 25 เม.ย. 2561 เครือข่ายตรวจสอบบรรษัทข้ามชาติเอเชีย (Asia Transnational Corporation Monitoring Network - ATNC) ได้ออกแถลงการณ์หยุดชั่วโมงทำงานที่ยาวนานในเอเชีย! เนื่องในวันกรรมกรสากล 1 พ.ค. 2561 โดยระบุว่า ในสังคมสมัยใหม่ งานไม่มีความหมายต่อชนชั้นแรงงาน ชีวิตประจำวันของพวกเราจำเจซ้ำซาก น่าเบื่อ ถูกลดค่า เราทำงานไม่ใช่เพื่อพัฒนาศักยภาพ แต่เพื่อทำให้นายจ้างมั่งคั่ง เวลามีค่าของพวกเราส่วนใหญ่ต้องใช้ไปกับการสร้างกำไรให้แก่นายทุน การเป็นชนชั้นแรงงานจึงหมายถึงการถูกบังคับให้อุทิศเวลาของพวกเรา กระทั่งชีวิตให้แก่นายทุน ในภูมิภาคเอเชีย ชีวิตของแรงงานผูกติดกับนายทุน คนงานใช้เวลาโดยเฉลี่ยวันละ 8-14 ชั่วโมง หรือสัปดาห์ละ 45-70 ชั่วโมงในที่ทำงานแต่ได้ค่าจ้างต่ำ เช่น คนงานในฮ่องกงทำงานสัปดาห์ละ 50.1 ชั่วโมง ในขณะที่เมื่อไม่นานมานี้ เกาหลีใต้ได้ประกาศลดชั่วโมงทำงานให้เหลือเฉลี่ยสัปดาห์ละ 52 ชั่วโมงจากแต่ก่อน 68 ชั่วโมง ในส่วนอื่นๆ ของภูมิภาค คนงานถูกสั่งให้ทำงานยาวนานขึ้น คนงานตัดเย็บเสื้อผ้าในบังคลาเทศถูกบังคับให้ทำงานวันละ 14-16 ชั่วโมง เป็นเวลา 6 วัน/สัปดาห์ ในบางกรณี สภาพการทำงานที่ย่ำแย่มาจากการทำงานล่วงเวลาจนเหนื่อยล้า คนงานในญี่ปุ่นเข้าทำงานล่วงเวลา 80 ชั่วโมง/เดือน แต่สามารถทำงานมากถึง 159 ชั่วโมง ซึ่งเท่ากับทำงานล่วงเวลาวันละ 6 ชั่วโมง แม้ว่าในบางประเทศ เช่น อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ กฎหมายแรงงานกำหนดชั่วโมงทำงานไม่ให้เกินกว่า 8 ชั่วโมง หากรวมเวลาเดินทางไปทำงานก็เท่ากับ 12-13 ชั่วโมง ยิ่งถ้าการจราจรติดขัด เช่น ในกรุงจาการ์ตา มะนิลา คนงานใช้เวลาเดินทางถึง 5 ชั่วโมงในระยะทางจากบ้านถึงที่ทำงาน 10 กิโลเมตร ความเครียดและความล้าซึ่งเป็นสาเหตุของการทำงานที่เหน็ดเหนื่อยก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อโรคได้ ในจีน มีชั่วโมงทำงานเกิน 60 ชั่วโมง/สัปดาห์ จากรายงานอย่างเป็นทางการในปี 2014 คนงาน 1,600 คนเสียชีวิตทุกวันจากการทำงานที่เหน็ดเหนื่อย ในขณะที่คนงานหญิงในญี่ปุ่นเสียชีวิตจากภาวะหัวใจล้มเหลวเนื่องจากทำงานล่วงเวลา 159 ชั่วโมงในเดือนนั้น การทำงานหนักจนเสียชีวิตยังพบเห็นที่อื่นในเอเชียด้วย ในฮ่องกง ผู้โดยสารเสียชีวิต 19 คนจากการที่คนขับรถเมล์เหนื่อยล้าจากการทำงานที่ยาวนาน (12-14 ชั่วโมง) ทำให้เกิดอุบัติเหตุ เช่นเดียวกับที่อินโดนีเซีย คนขับรถบรรทุกของบริษัท Pertamina (บริษัทน้ำมันของรัฐวิสาหกิจ) กำลังเผชิญกับความเสี่ยงในการขนน้ำมันเชื้อเพลงวันละกว่า 12 ชั่วโมง การเสียชีวิตจากการทำงานล่วงเวลาแพร่หลายจนมีคำเรียก คือ โรคคาโรชิ (Karoshi) ในญี่ปุ่น โรค Gwarosa ในเกาหลีใต้ และโรค Guolaosi ในจีน แม้ว่ายังไม่มีคำเรียกเฉพาะในกัมพูชา คนงานตัดเย็บเสื้อผ้าก็ทำงานหนักจนเสียชีวิตเช่นกัน การเป็นลมหมดสติในโรงงานทีเดียวพร้อมกันเกิดขึ้นในหลายประเทศ เช่น กัมพูชา อินโดนีเซีย ส่วนในจีน เพิ่งมีโศกนาฏกรรมในโรงงานฟอกซ์คอนน์คือ การฆ่าตัวตายเพื่อหนีสภาพการทำงานที่โหดร้าย การทำงานที่ยาวนานไม่ก่อผลดีให้แก่สังคมแต่อย่างใด การไม่มีเวลาพักผ่อนนำไปสู่การสะสมความเครียดความล้า ซึ่งเป็นสาเหตุของหลายๆ โรค ฮอร์โมนความเครียดที่สูงทำให้หัวใจล้มเหลว เส้นเลือดอุดตัน ความสามารถในการย่อยอาหารลดลงจากการพักผ่อนน้อยและนำพาโรคเบาหวาน การทำงานล่วงเวลาจะไม่ก่อให้เกิดผลิตภาพเพราะสมองจะทำงานด้อยลงเนื่องจากความเหนื่อยล้าเช่นกัน การนอนไม่เพียงพอจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตและคนทำงานจะมีอารมณ์ก้าวร้าวขึ้น บ่อยครั้งมีการทะเลาะกันของคู่สามีภรรยาเพราะความเครียดสะสม และความเครียดนำไปสู่ภาวะซึมเศร้าหรือวิตกกังวล และเป็นเหตุให้เกิดการฆ่าตัวตายในเกาหลีใต้ ซึ่งมีอัตราการฆ่าตัวตายเฉลี่ยวันละ 40 คน การแข่งขันอย่างเข้มข้นภายใต้ระบบทุนนิยมกลไกตลาดส่งผลร้ายต่อชนชั้นแรงงาน "การแข่งขันจนถึงระดับล่าง" ได้สร้างสภาพการทำงานที่โหดร้ายยิ่งกว่า คนงานถูกบังคับให้ทำงานหนักและหนักขึ้นแต่กลับไม่ได้อะไรและก็เสียชีวิตในที่สุด การขยายเวลาทำงาน นายทุนไม่เพียงแต่ขโมยผลผลิตจากการทำงานของแรงงาน แต่ยังรวมถึงศักดิ์ศรีและชีวิตของพวกเรา การทำงานเกินขีดจำกัดของร่างกายและจิตใจได้พิสูจน์แล้วว่าส่งผลเสียหายต่อชีวิตของแรงงาน เครือข่ายตรวจสอบบรรษัทข้ามชาติในเอเชียขอเรียกร้องให้รัฐบาลประเทศต่างๆ จำกัดชั่วโมงทำงานให้เหลือวันละ 6 ชั่วโมงอย่างเข้มงวดโดยไม่ลดค่าจ้าง เพื่อรักษาสุขภาพของคนทำงาน เราควรจะมีเวลาพักผ่อนอย่างน้อยวันละ 8 ชั่วโมง และชั่วโมงทำงานควรคำนึงถึงเวลาเดินทางจากบ้านไปที่ทำงานทั้งไป-กลับด้วย เราจะไม่มีเวลาพักผ่อนเหลือ หากใช้เวลาเดินทางมากเกินไป เครือข่ายตรวจสอบ ATNC ขอเรียกร้องค่าจ้างที่เหมาะสม ไม่ใช่แค่เลี้ยงชีพขั้นพื้นฐานเท่านั้น แต่ต้องเพื่อพัฒนาศักยภาพในฐานะมนุษย์ ถ้าเรามีค่าจ้างที่เหมาะสม เราไม่จำเป็นต้องทำงานล่วงเวลาเพื่อหารายได้สนองความต้องการพื้นฐาน และทำงานหนักจนเสียชีวิตอีกต่อไป เราเคยได้รับชัยชนะจากการต่อสู้ให้มีชั่วโมงทำงานที่เหมาะสมมาแล้ว จากขบวนการเรียกร้อง "สามแปด" ในวันกรรมกรสากล วันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ.1886 อย่างไรก็ตาม ชัยชนะของชนชั้นแรงงานถูกแย่งชิง เพราะขณะนี้ชั่วโมงทำงานยาวนานเกือบเท่าอดีต เราไม่ควรเงียบเฉยอีกต่อไป เพราะคุณภาพขีวิตของเราลดลงจนมาจุดต่ำสุดคือความตาย เราควรทวงคืนชัยชนะที่ผ่านมา อนึ่งองค์กรสนับสนุน ประกอบไปด้วย 1. Asia Monitor Resource Centre, Hong Kong 2. Globalization Monitor, Hong Kong 3. Committee for Asian Women, Malaysia 4. Centre for Workers Education, India 5. Labour Education Foundation, Pakistan 6. Ecumenical Institute for Labour Education and Research, Philippines 7. Textile and Garment Worker Federation, Bangladesh 8. Korean House for International Solidarity, Korea 9. Yokohama Action Research, Japan 10. Patchane Kumnak, Good Electronics Thailand 11. Thailand Confederation of Trade Union, Thailand 12. National Free Trade Union, Sri Lanka 13. Confederation of National Trade Union, Indonesia 14. The Indonesian Confederation of United Workers, Indonesia 15. Sedane Labour Resource Centre, Indonesia 16. Yaung Chi Oo Workers' Association, Myanmar ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท. To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google, 1600 Amphitheatre Parkway, Mountain View, CA 94043, United States |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น