โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันเสาร์ที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2561

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

กวีประชาไท: เสาหลักนักฆ่า

Posted: 14 Apr 2018 08:35 AM PDT



เปิดรัง ยักแย่ยักยัน ดันสังขาร
บริวาร ขนาบข้าง ทั้งซ้ายขวา
อวยสมุน รุ่นน้อง ครองพารา
โอวาทหงอก ออกญา สาธยาย

เปิดแผ่นเสียง ตกร่อง เจ้าของลิ้น
"คุณแผ่นดิน" ต้องตอบแทน เเสนเบื่อหน่าย
ปูชนีย์ สีซอ ยกยอควาย
เลอะน้ำลาย วัยชรา เเง้มฝาโลง

เปิดนามธรรม ความดี ที่ซ้ำซาก
ไม่อายปาก กระดากใจใกล้ตายโหง
ตัวอย่างเปรต เทศนา แก้ผ้าโทง
เห็นไอ้โม่ง งึกงัก คอยชักไย

เปิดหน้ากาก ศักดินา พระยาเฒ่า
แผ่รากเหง้า บารมี กี่สมัย
นอนบ้านหรู อยู่ฟรี ภาษีใคร
กลับเป็นใจ ให้โจร ปล้นประชา

เสาหลัก เผด็จการ สานอำนาจ
หยอดโอวาท มั่นใจ ในทีท่า
จากรุ่นพี่ สู่รุ่นน้อง ต้องตำรา
ตัวถ่วงฆ่า ประชาธิปไตย ด้วยปลายปืน
(เสาหลัก นักฆ่า ประชาธิปไตย)


 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

การประท้วง ขบวนการนักศึกษา และประเด็นปัญหาภายในสถานศึกษาของอินเดีย

Posted: 14 Apr 2018 08:24 AM PDT



สำหรับเมื่อครั้งก่อนผมได้พาทุกคนไปเรียนรู้และรู้จักเกี่ยวกับมหาวิทยาลัย Jawaharlal Nehru ซึ่งเป็นเอกในด้านสังคมศาสตร์และเป็นมหาวิทยาลัยที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับประเทศอินเดียมาอย่างต่อเนื่องในหลายภาคส่วนของสังคม ถ้าจะเปรียบเทียบดูก็คงไม่ต่างจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ของเมืองไทยเท่าไหร่นัก ในบทความเมื่อครั้งก่อนผมได้อธิบายถึงภาพบรรยากาศชันเรียน รูปแบบการเรียนการสอน รวมถึงกิจกรรมต่างๆ ในรั้วมหาวิทยาลัยแห่งนี้ ซึ่งส่วนใหญ่ยังคงเข้มข้นอยู่กับประเด็นทางด้านสังคมและการเมือง ไม่ว่าจะเป็นในประเด็นระดับประเทศ หรือระดับระหว่างประเทศก็ตาม นักศึกษาของมหาวิทยาลัยแห่งนี้มีส่วนสำคัญอย่างมากต่อการสะท้อนเสียงของวงการนักศึกษาภายในประเทศอินเดียได้เป็นอย่างดี เพราะต้องยอมรับว่า แม้อินเดียจะเป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่ มีประชากรมากถึง 1.3 พันล้านคน แต่องค์การและภาคีเครือข่ายนักศึกษาในระดับประเทศกลับมีความเข้มแข็งอย่างมาก ลักษณะเช่นนี้ส่งผลให้การเรียกร้องของขบวนการนักศึกษาภายในประเทศอินเดียทรงพลัง และมักได้รับความใส่ใจอย่างมากจากนักการเมือง และผู้บริหารประเทศเสมอมา


ภาพการนำขบวนการประท้วงของคณาจารย์

การเคลื่อนไหวของนักศึกษาในอินเดียกับโลกดิจิตอลและสังคมสมาร์ทโฟน

หนึ่งในเรื่องหน้าสนใจที่ผมได้มีโอกาสพบเห็นในฐานะผู้ร่ำเรียนในมหาวิทยาลัยที่ได้ชื่อว่าขบวนการนักศึกษาเข้มข้นอย่างมากคือความไม่ล้มเหลวของขบวนการเคลื่อนไหวของนักศึกษาอินเดียในห่วงเวลาที่โลกหมุนไว และกระแสเทคโนโลยีเคลื่อนตัวเข้ามาอย่างรวดเร็ว มันเป็นคำถามที่ผมคิดอยู่ในหัวเสมอว่าทำไมการเคลื่อนไหวของนักศึกษาอินเดียยังคงอยู่รอดในขณะที่ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศกำลังเข้ามาแทนที่และลดทอนความใส่ใจต่อประเด็นปัญหาทางการเมืองและสังคมโดยภาพรวม เราต้องยอมรับว่าเทคโนโลยีส่งผลอย่างมากต่อแนวทางการเคลื่อนไหวของขบวนการนักศึกษาทั่วโลก ทั้งยังเปลี่ยนแปลงรูปแบบและวิธีการอีกด้วย แสง สี เสียง ที่มาพร้อมกับเทคโนโลยียังผลให้คนจำนวนมากละเลยต่อประเด็นปัญหารอบตัวของตนมากยิ่งขึ้น มองปัญหาสังคม และการเมืองเป็นเรื่องที่ไกลตัว อินเดียก็เป็นอีกหนึ่งประเทศที่ได้ชื่อว่าเป็นศูนย์กลางสำคัญทางด้านเทคโนโลยีของโลก โดยเฉพาะในเมืองบังกาลอร์ ที่เป็นศุนย์เทคโนโลยีสำคัญของประเทศ ตลาดสมาร์ทโฟนของอินเดียเติบโตอย่างต่อเนื่อง ผู้ใช้ Whatsapp ของอินเดียสูงที่สุดในโลก ในขณะที่รัฐบาลเองก็มีนโยบายส่งเสริมให้ผู้คนเข้าถึงระบบอินเตอร์เน็ตในสมาร์ทโฟนมากยิ่งขึ้น ผ่านการให้บริการ 4G ฟรี เป็นเวลาหลายเดือน และส่งเสริมให้เกิดการผลิตสมาร์ทโฟนราคาประหยัด เพื่อให้ประชาชนอินเดียเข้าถึงสิ่งเหล่านี้ได้ง่ายมากยิ่งขึ้น ตามนโยบาย Digital India ซึ่งมุ่งเน้นการเปลี่ยนผ่านสังคมอินเดียให้เชื่อมโยงกับโลกภายนอกมากยิ่งขึ้น

ความเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีเช่นนี้ย่อมมีส่วนอย่างมากต่อขบวนการเคลื่อนไหวของนักศึกษาโดยภาพรวมไม่มากก็น้อย เราได้เห็นปรากฏการณ์การอ่อนกำลังลงของการเคลื่อนไหวของนักศึกษาในหลายพื้นที่ทั่วโลกจากประเด็นการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี ในขณะเดียวกันเราก็ได้เห็นปรากฏการณ์การเคลื่อนไหวของนักศึกษาที่ประสบความสำเร็จอย่างมากจากความสามารถในการหยิบฉวยโอกาสความเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สำหรับในส่วนของอินเดียเองผมต้องขอบอกว่าขบวนการเคลื่อนไหวของนักศึกษาอินเดียยังใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีใหม่ๆ ได้ไม่ดีเพียงพอ เพราะเท่าที่สังเกตเห็นคือนักศึกษายังคงใช้เพียงช่องทาง Whatsapp เท่านั้นในการสื่อสารกับกลุ่มนักศึกษาด้วยกัน ผมยังไม่ค่อยเห็น page ทาง facebook ของนักศึกษาที่มีคุณภาพเพียงพอ หรือแม้แต่ช่องทางการเผยแพร่อื่นๆ ในโลกออนไลน์ ซึ่งแตกต่างอย่างมากกับฝ่ายรัฐบาล ที่เปิดหลากหลายช่องทางในโลกออนไลน์ให้สังคมและประชาชนสามารถเข้าถึงได้

อย่างไรก็ตามผมมิได้หมายความว่าสิ่งเหล่านี้เป็นปัญหา ผมกับมองว่าแม้ขบวนการนักศึกษาอินเดียจะไม่ได้ใช้ช่องทางเหล่านี้อย่างมีคุณภาพเพียงพอ แต่กลับสามารถเคลื่อนขบวนการประท้วงได้ทรงประสิทธิภาพมากกว่าประเทศไทยหลายเท่านัก โดยเปรียบเทียบทั้งในเชิงคุณภาพและปริมาณ มันจึงเป็นคำถามใหญ่ในใจผมต่อมาว่า แล้วขบวนการนักศึกษาอินเดียทำอย่างไร และมีวิธีการเช่นไรในการจูงใจนักศึกษาและคนรุ่นใหม่จำนวนมากที่กำลังจะเข้าสู่กับดักทางด้านเทคโนโลยี อันถือเป็นอุปสรรคสำคัญที่ส่งผลให้ความใส่ใจต่อประเด็นปัญหาของผู้คนลดลงในเชิงการปฏิบัติ ความหมายคือเราอาจมีความรับรู้ต่อปัญหาทางด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองมากยิ่งขึ้น ผ่านระบบสังคมออนไลน์ แต่มันหาคือการกระทำของเรากลับสะดุดอยู่เพียงการคอมเมนท์ เท่านั้น ไม่ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงเท่าที่ควร ดังกรณี นาฬิกา เป็นต้น ความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นจริง ส่วนตัวผมยังมองว่าการเมืองบนท้องถนนยังคงเป็นทางเลือกที่สำคัญสำหรับประเทศที่มีความเป็นรัฐราชการสูง แต่จะทำอย่างไรให้การเคลื่อนไหวเหล่านี้ สันติ ปราศจากอาวุธ และไม่สร้างความเดือดร้อน ซึ่งเท่าที่ผมรับรู้มา การประท้วงเรื่องโรงไฟฟ้าถ่านหิน ถือเป็นอุดมคติสำคัญที่ขบวนการเรียกร้องต่อประเด็นปัญหาต่างๆ ของประเทศไทยควรเดินตาม แต่สำหรับอินเดียต้องยอมรับขบวนการเคลื่อนไหวบนท้องถนนยังคงเข้มข้น


เครื่องมือ วิธีการ และปฏิสัมพันธ์ในการวางกรอบการประท้วง

เป็นเรื่องน่าแปลกใจอย่างหนึ่งสำหรับตัวผมเองที่ได้หลุดเข้ามาอยู่ในวังวนของบวนการนักศึกษาของประเทศอินเดีย จริงๆ ต้องบอกว่าไม่ว่าใครที่เข้ามาเรียนที่อินเดีย จะรู้เลยว่าการเมืองในมหาวิทยาลัยอินเดียไม่ได้มีความแตกต่างไปจากการเมืองในระดับประเทศเท่าไหร่นัก เพราะมันทั้งร้อนแรง เต็มไปด้วยอุดมคติ และความต่างแบบสุดขั้วของแต่พรรคการเมือง สิ่งเหล่านี้ย่อมทำให้นักศึกษาไทยใสๆ ในห้วงที่การเมืองมหาวิทยาลัยของประเทศไทยไม่หวีหวา ไม่ได้หน้าตื่นเต้นอีกแล้ว ต้องตาลุกวาวเพราะความแปลกใหม่ที่ตัวเองไม่เคยสัมผัสมาก่อน ด้วยความสงสัยใคร่รู้ก็ได้ติดตามความเคลื่อนไหวของขบวนการนักศึกษาอินเดียอยู่เนืองๆ เป็นนิจ ทำให้ผมพอจะสามารถวิเคราะห์ได้อย่างคร่าวๆ ว่าเหตุผลที่การเคลื่อนไหวของนักศึกษาอินเดียบนท้องถนนยังคงประสบความสำเร็จสามารถมองได้เป็นประเด็นหลักๆดังนี้

1. ความเป็นหนึ่งเดียวแม้ไม่เห็นด้วย ต้องยอมรับว่าในระบอบประชาธิปไตยความเห็นของผู้คนนั้นมีความหลากหลาย แตกต่างกันออกไปตามแต่ความเชื่อของบุคคล ซึ่งอินเดียก็ไม่ได้แตกต่างกันนัก แถมยังมีความต่างที่สุดขั้วอีกด้วย เพราะอินเดียมีตั้งแต่ซ้ายตกขอบนิยมการปฏิวัติสู่คอมมิวนิสต์ ไปจนถึงขวาตกขอบที่เชิดชูอุดมการณ์ฮินดูนิยม ซึ่งทั้งสองฝ่ายไม่ได้อยู่เพียงการเมืองในระดับชาติ หากแต่ลงมาเล่นในการเมืองมหาวิทยาลัยด้วย แน่นอนว่าความไม่เห็นด้วยต้องเกิดขึ้นเป็นธรรมดา แต่เป็นที่น่าสนใจว่าไม่ว่าประเด็นปัญหาใดที่ขบวนการนักศึกษาลงความเห็นแล้วว่าจะเคลื่อนไหวในเรื่องนี้ แม้อีกฝากฝั่งจะไม่เห็นด้วย แต่ก็จะไม่ได้เห็นการออกมาต่อต้านอย่างกว้างขวาง เป็นเพียงในกลุ่มเล็ก ที่ไม่แสดงออกสู่สังคมภายนอก ภาพการเคลื่อนไหวของขบวนการนักศึกษาของอินเดียจึงเดินไปในทิศทางเดียวกัน แม้มันจะเกิดจากการรวมตัวของหลากหลายกลุ่มทางการเมืองก็ตาม

2. Face to Face is the best ความหมายของคำนี้ก็คือ แนวทางที่ดีที่สุดคือการพบเจอกันตัวเป็นๆ นี่คือสิ่งที่ผมมองว่าขบวนการนักศึกษาอินเดียประสบความสำเร็จอย่างมากในการนำการเคลื่อนไหวเรียกร้องประเด็นทางสังคม กล่าวคือเมื่อพวกเขาต้องการประท้วงประเด็นปัญหาอย่างหนึ่งและต้องการแรงสนับสนุนจากคนกลางๆ ฝ่ายตรงข้าม หรือผู้ไม่สนใจอะไรเลย สิ่งที่พวกเขากระทำก็คือ พวกเขาจะไปไล่เคาะตามหอพักต่างๆ ที่นักศึกษาอยู่อาศัย นั่งพูดคุยและแจกแจงรายละเอียดของปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมอินเดีย และประเด็นที่พวกเขาเรียกร้อง พร้อมนัดหมายวัน เวลา และสถานที่ของการชุมนุม เพื่อเชิญชวนให้ผู้คนเหล่านั้น หันมามองเห็นปัญหาอย่างใกล้ชิด และรู้สึกว่าการออกไปร่วมประท้วงไม่ใช่เรื่องผิดอะไร และช่วยให้ความรู้สึกด้านความไม่เป็นธรรมสามารถแสดงออกได้หลากหลายช่องทางไม่ใช่เพียงการคอมเมนท์เท่านั้น สิ่งเหล่านี้ส่งผลให้คนกลางๆ จำนวนมากเลือกออกไปร่วมเดินขบวนกับนักศึกษา

3. นักศึกษาไม่ได้ถูกโดดเดี่ยวในการเคลื่อนไหวทางสังคม ต้องยอมเลยว่าเรื่องนี้ผมค่อนข้างแปลกใจและร้องว้าว เพราะเป็นที่น่าสังเกตว่าทุกๆ การเคลื่อนไหวของนักศึกษา องค์การคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยจะให้การสนับสนุนเสมอ ส่งผลให้การปฏิสัมพันธ์ระหว่างองค์การนักศึกษาและคณาจารย์ทำงานร่วมกันอย่างเข้มข้นในทุกประเด็นทางสังคม ผมได้เห็นภาพอาจารย์มหาวิทยาลัยเดินเท้าเปล่ากว่า 10 กิโลเมตรไปกับนักศึกษา แม้ท่านๆ เหล่านั้นจะมีตำแหน่งเป็นถึงศาสตราจารย์ ได้รับเชิญบรรยายไปพูด ไปสอนในมหาวิทยาลัยชั้นนำหลายแห่งในโลก อาจารย์ทุกคนล้วนเปิดหน้าเปิดตา และพร้อมสู้ไปกับความยุติธรรมและเคียงคู่ไปกับนักศึกษาเสมอ ดูๆ แล้วก็แตกต่างจากมหาวิทยาลัยในไทย ที่อาจารย์หลายคนยังคงได้แต่พูด แต่การแสดงก็ยังไม่มีความชัดเจนนัก อยู่แนวหลังมากกว่าแนวหน้า

ด้วยกลยุทธ์และกลวิธีเหล่านี้ทำให้ศักยภาพในการเคลื่อนไหวทางสังคมของนักศึกษาของอินเดียมีศักยภาพสูงมากในการสั่นสะเทือนความเชื่อมั่นของรัฐบาล และผู้บริหารประเทศ ในขณะเดียวกันยังส่งผลให้เสียงของนักศึกษาไปได้รับฟังอย่างละเอียดมากยิ่งขึ้น มากกว่าที่จะถูกมองว่าเป็นพวกไม่รู้จักเรียนหนังสือ บ้าการเมือง เพราะเอาเข้าจริงแล้ว เราต้องยอมรับว่าคนรุ่นใหม่ เยาวชน และนักศึกษาถือเป็นส่วนหนึ่งที่จะสร้างสังคมในอนาคต ซึ่งพวกเขาต้องอยู่อาศัย เสียงของพวกเขาจึงเป็นความพยายามในการเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดียิ่งขึ้น เพื่อตอบสนองคนรุ่นเขาและรุ่นอนาคตที่ไม่ต้องการติดกับดักของคนรุ่นเก่าที่บางครั้งเปลี่ยนแปลงไม่ทันกระแสโลก


ความพยายามของรัฐในการลดทอนศักยภาพของนักศึกษา

สำหรับในส่วนสุดท้ายนี้จะเป็นการอธิบายถึงความพยายามของฝ่ายรัฐบาลอินเดียในการลดทอนศักยภาพของขบวนการนักศึกษา ซึ่งประเด็นร้อนในรอบเดือนที่ผ่านของวงการการศึกษาของอินเดียคือการประกาศให้มหาวิทยาลัยของรัฐส่วนกลางออกนอกระบบทั้งหมด ซึ่งรัฐบาลให้เหตุผลสำคัญว่าเพื่อให้มหาวิทยาลัยมีอิสระในการบริหารจัดการทางด้านวิชาการ และดำเนินการจัดการด้านงบประมาณได้อย่างเหมาะสมตามความสามารถและคุณลักษณะพิเศษของแต่ละมหาวิทยาลัย แต่ปัญหาสำคัญก็คือว่าระบบการศึกษาของอินเดียอธิการบดีซึ่งทำหน้าที่ฝ่ายบริหารยังเป็นเครื่องมือของรัฐบาลที่สำคัญ เนื่องจากที่อินเดียอธิการบดี เป็นการแต่งตั้งมาจากส่วนกลาง ฉะนั้น อธิการบดีจำนวนมากจึงรับลูกเข้ามาเล่นการเมืองในมหาวิทยาลัย และลดทอนบทบาทของนักศึกษาได้ ซึ่งต้องบอกว่าหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่ถูกรัฐเพ่งเล็งที่สุดก็ไม่พ้นว่าเป็น JNU เพราะสร้างความวุ่นวายให้รัฐบาลได้มากที่สุด เนื่องจากตั้งอยู่ในเขตเมืองหลวง จึงสามารถเดินทางมาประท้วงตามกระทรวง และทำเนียบรัฐบาลได้ไม่ยากนัก

ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาภายใต้รัฐบาลฝ่ายขวาจัด การเปลี่ยนแปลงตัวอธิการบดีของมหาวิทยาลัยแห่งนี้นำมาสู่ประเด็นปัญหาหลายด้าน เริ่มต้นจากการลดจำนวนที่นั่งเรียนในแต่ละปี กล่าวคือมหาวิทยาลัยแห่งนี้รับนักศึกษาในแต่ละปี โดยเฉพาะอนุปริญญาเอก และปริญญาเอก เกือบๆ 1 พันที่นั่ง แต่ภายหลังการเข้ามาของอธิการคนใหม่ มีการลดจำนวนเหลือเพียง ไม่ถึง 100 ที่นั่ง นี่ถือเป็นการตัดขุมกำลังครั้งใหญ่จากฝ่ายบริหาร ตามมาด้วยการยุบเลิกคณะกรรมการหลายฝ่ายที่ทำงานร่วมกันระหว่างนักศึกษา คณาจารย์ และฝ่ายบริหาร เช่นคณะกรรมการว่าด้วยการล่วงละเมิดทางเพศในสถานศึกษา เป็นต้น โดยอธิการบดีทดแทนคณะกรรมการเหล่านั้นด้วยอำนาจฝ่ายบริหารเพียงฝ่ายเดียว และประเด็นปัญหาใหญ่ที่กำลังเกิดขึ้นคือการบังคับเข้าชั้นเรียนที่ต้องมีมากกว่าร้อยละ 75 ซึ่งกฎนี้ใช้กับทุกระดับการศึกษา


ภาพนักศึกษาถูกสลายการชุมนุมขณะเดินไปรัฐสภา

สิ่งเหล่านี้นำมาสู่การตั้งคำถามของนักศึกษาจำนวนมากว่านี่คือความพยายามในการลดทอนพลังของนักศึกษาใช่หรือไม่ จึงไม่ต้องแปลกใจว่านับตั้งแต่นโยบายการผลักมหาวิทยาลัยของรัฐออกนอกระบบจำนวนมาก ส่งผลให้เกิดการเคลื่อนไหวในหลายภาคส่วนของประเทศอินเดีย ในระดับมหาวิทยาลัย เพราะอำนาจเต็มถูกถ่ายโอนไปให้ฝ่ายบริหาร ที่ไม่มีความยึดโยงกับตัวมหาวิทยาลัย และตลอดมาถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง

 

 

เกี่ยวกับผู้เขียน: ศุภวิชญ์ แก้วคูนอกกำลังศึกษาปริญญาโท สาขา International Relations and Area Studies ณ Jawaharlal Nehru University ประเทศอินเดีย

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

การเมืองในแผนปฏิรูปพลังงาน

Posted: 14 Apr 2018 07:39 AM PDT

 

เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2561 แผนการปฏิรูปประเทศในหลายด้านถูกประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งจะนำไปสู่การบังคับใช้และมีผลผูกพันทางกฎหมาย การบริหารจัดการพลังงานถือเป็นหนึ่งในแผนการปฏิรูปประเทศที่ถูกประกาศออกมาในโอกาสเดียวกันนั้นด้วย แผนการปฏิรูปประเทศด้านพลังงานทั้งหมด 254 หน้า อธิบายความคิดของผู้จัดทำแผนอย่างไร ความคิดที่ถูกบรรจุลงในแผนสะท้อนการเมืองพลังงาน และการออกแบบการเมืองพลังงานในอนาคตอย่างไร บทความชิ้นนี้ต้องการตอบคำถามดังกล่าว

แผนการปฏิรูปประเทศด้านพลังงานครอบคลุมกิจการพลังงานใน 6 ด้านคือ

  • ด้านการบริหารจัดการพลังงาน
  • ด้านไฟฟ้า
  • ด้านปิโตรเลียมและปิโตรเคมี
  • ด้านการสนับสนุนพลังงานทดแทน
  • ด้านการอนุรักษ์พลังงาน
  • ด้านเทคโนโลยี นวัตกรรม และโครงสร้างพื้นฐาน

สำหรับผู้เขียนแล้ว ประเด็นปลีกย่อยในแผนการปฏิรูปด้านพลังงานสะท้อนให้เห็นการเมืองพลังงานอย่างคร่าวๆ ใน 4 มิติ


มิติแรก การเมืองพลังงานภายใต้ความเป็นใหญ่ของกระทรวงพลังงาน

จากข้อเสนอในแผนปฏิรูปประเทศด้านพลังงานจะเห็นได้ว่ามีชุดข้อเสนอจำนวนหนึ่งที่ส่งผลให้เกิดการแตกโครงสร้างใหม่ๆ ภายใต้กระทรวงพลังงาน รวมถึงการให้อำนาจเพิ่มเติมแก่กระทรวงพลังงานเพื่อ ควบคุมและกำกับตัวแสดงอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับนโยบายพลังงาน อาทิ การจัดตั้งศูนย์สารสนเทศด้านพลังงาน เพื่อทำหน้าที่วิเคราะห์ข้อมูลด้านพลังงาน และสื่อสารทำความเข้าใจกับสังคมในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับพลังงาน การจัดตั้งสำนักบริหารสัญญาในกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ เพื่อทำหน้าที่จัดการดูแลการทำสัญญาในระบบแบ่งปันผลผลิตระหว่างรัฐกับบริษัทเอกชนที่ได้สัมปทานแหล่งทรัพยากรพลังงาน การโอนย้ายการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และการไฟฟ้านครหลวง จากกระทรวงมหาดไทยให้มาอยู่ภายใต้การกำกับของกระทรวงพลังงาน การแต่งตั้งคณะกรรมการภาคประชาสังคมภายใต้คำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เพื่อทำหน้าที่ให้ข้อเสนอแนะ และเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน 

ข้อเสนอดังกล่าวไม่เพียงแสดงให้เห็นการขยายตัวในเชิงโครงสร้างและบุคลากรของกระทรวงพลังงานเท่านั้น หากแต่ยังชี้ให้เห็นท่าทีของกระทรวงพลังงานซึ่งจะเข้าไปมีบทบาทในการกำกับทิศทางการเมืองพลังงาน ทั้งในแง่การสื่อสารกับสังคม การกำหนดและจัดเรียงประเด็นวาระให้เรื่องใดมีความสำคัญและเรื่องใดเป็นความสำคัญในอันดับรองลงไปผ่านศูนย์สารสนเทศด้านพลังงาน การกำหนดผลประโยชน์ด้านพลังงานผ่านสำนักบริหารสัญญาของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ความสามารถในการควบคุมและบริหารจัดการไฟฟ้าทั้งระบบ เริ่มจากการผลิตและการจัดส่งไฟฟ้าผ่านการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ไปจนถึงการจำหน่ายไฟฟ้าผ่านการไฟฟ้านครหลวง และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค นอกจากนี้การมีคณะกรรมการภาคประชาสังคมที่หน่วยงานภาครัฐรับรองนั้น ในแง่หนึ่งคือการมีโครงสร้างให้ภาคประชาสังคมเข้ามามีส่วนร่วมอย่างเป็นทางการ แต่ในอีกด้านหนึ่ง ปัญหาประการสำคัญไม่ได้อยู่ที่ทำอย่างไรจึงได้กรรมการซึ่งเป็นตัวแทนที่ภาคประชาสังคมด้านพลังงานส่วนใหญ่ยอมรับตามที่ถูกตั้งข้อสังเกตไว้ในแผนปฏิรูป สำหรับผู้เขียนเอง ข้อห่วงกังวลที่สำคัญคือ ทำอย่างไรให้โครงสร้างที่ถูกเรียกว่า คณะกรรมการภาคประชาสังคมทำงานเพื่อลดความขัดแย้งระหว่างโครงการพลังงานกับประชาชนในพื้นที่ มากไปกว่านั้นทำอย่างไรให้โครงสร้างคณะกรรมการภาคประชาชนไม่ใช่กลุ่มตัวแทนของชุดอุดมการณ์ทางการเมืองเพียงชุดเดียวที่เชื่อว่า มีเพียงการบริหารจัดการด้านพลังงานรูปแบบเดียวเท่านั้น ที่จะทำให้เกิดความมั่นคงด้านพลังงาน


มิติที่สอง บทบาทของการเมืองพลังงานในระดับท้องถิ่น ท้องที่ และภูมิภาค

ในแผนการปฏิรูปประเทศด้านพลังงานฉบับนี้มีจุดที่น่าสนใจประการหนึ่งคือ การคิดเชื่อมโยงด้านการบริหารจัดการพลังงานกับพื้นที่ (Energy management and space) ดังจะเห็นได้จากข้อเสนอที่สะท้อนวิธีคิดเรื่อง การเพิ่มการแข่งขันในกิจการพลังงานทดแทนในระดับชุมชนและครัวเรือน โดยส่งเสริมให้ชุมชนและครัวเรือนแต่ละครัวเรือนสามารถเป็นผู้ผลิตพลังงานได้เองโดยใช้เชื้อเพลิงที่เป็นพลังงานทดแทน จากในระดับชุมชนและครัวเรือน ข้อเสนอถูกยกระดับและพัฒนาต่อไปสู่ข้อเสนอให้เกิดการปรับเปลี่ยนวิธีการและแนวคิดในการสร้างโรงไฟฟ้านั้นคือ การให้จังหวัดเสนอพื้นที่เพื่อสร้างโรงไฟฟ้า กระบวนการดังกล่าวไม่ได้เริ่มต้นจากการมีโครงการโรงไฟฟ้าก่อน แล้วจึงไปหาพื้นที่เพื่อปลูกสร้างโรงไฟฟ้าตามวิธีการแบบเดิม หากแต่ให้บุคคล หรือหน่วยงานทั้งภาครัฐหรือเอกชนในพื้นที่นั้น เป็นผู้เสนอพื้นที่ซึ่งมีศักยภาพและเหมาะสมต่อการสร้างโรงไฟฟ้ามายังกระทรวงมหาดไทย และจึงเริ่มกระบวนการคัดสรรพื้นที่ อนุมัติพื้นที่ และวางแนวทางการกระจายผลประโยชน์จากโรงไฟฟ้าให้แก่คนในพื้นที่ผ่านผู้ว่าราชการจังหวัด และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เมื่อพื้นที่ได้รับการอนุมัติแล้วจึงเริ่มมีโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าได้ ข้อเสนอเรื่องพลังงานกับพื้นที่ถูกพัฒนาต่อไปสู่การออกแบบระบบพลังงานในระดับภูมิภาคกล่าวคือ ให้มีแผนการจัดการและการวิเคราะห์พลังงานเป็นรายภูมิภาค เพื่อให้เกิดระบบการบริหารจัดการความต้องการและการจัดหาพลังงาน (Energy demand and supply) อย่างเป็นอิสระในแต่ละภูมิภาค กล่าวอย่างเป็นรูปธรรม หากพิจารณาตามแผนปฏิรูปประเทศด้านพลังงานฉบับนี้ จะเกิดกลุ่มโรงไฟฟ้าในแต่ละภูมิภาคซึ่งทำหน้าที่ผลิตไฟฟ้าให้เพียงพอต่อความต้องการในแต่ละภูมิภาค หรือผลิตเองและใช้เองในแต่ละภูมิภาค ยิ่งไปกว่านั้นยังมีข้อเสนอบางส่วนที่เชื่อมโยงไปสู่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นการมองภูมิภาคด้านพลังงานระหว่างประเทศ โดยมีข้อเสนอให้ประเทศไทยใช้ความได้เปรียบในเชิงภูมิรัฐศาสตร์ ที่เป็นศูนย์กลางของประเทศในสมาคมอาเซียนสร้างศูนย์กลางซื้อขาย LNG ในระดับภูมิภาค (Regional LNG Trading Hub) ผ่านระบบท่อที่ไทยค่อนข้างจะมีความพร้อมสูง

การพิจารณาพลังงานเชื่อมโยงกับพื้นที่ตามข้อเสนอในแผนปฏิรูปประเทศด้านพลังงานมีความน่าสนใจอยู่ไม่น้อย พลังงานจะเข้าไปเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดรูปแบบของพื้นที่มากขึ้น ภายใต้ข้อเสนอดังกล่าวการเมืองพลังงานแบบใดที่จำเป็นต้องเกิดขึ้นเพื่อรองรับการแปลงข้อเสนอมาสู่การปฏิบัติ ผู้เขียนเชื่อว่าหากจะพัฒนาการเมืองพลังงานที่สัมพันธ์กับพื้นที่ตามชุดข้อเสนอดังกล่าวต้องอาศัยองค์กรปกครองท้องถิ่นที่เข้มแข็ง และมีอำนาจอิสระที่มิใช่การกระจายอำนาจในระดับที่เป็นอยู่ปัจจุบัน หากแต่ต้องเป็นการกระจายอำนาจที่ให้ท้องถิ่นสามารถคุมแผนการผลิตและผลประโยชน์จากพลังงานในระดับพื้นที่ที่ตนเองดูแลอยู่ได้ สามารถเชื่อมโยงผู้คนและครัวเรือนในระดับพื้นที่จนนำไปสู่การออกแบบภูมิภาคทางพลังงานได้อย่างเป็นระบบ    


มิติที่สาม การคงสถานะของถ่านหิน กับการเพิ่มสถานะของนิวเคลียร์ และขยะ

ในแผนการปฏิรูปประเทศด้านพลังงาน ถ่านหิน (สะอาด) ยังคงถูกเน้นย้ำและให้ความสำคัญในฐานะเชื้อเพลิงเพื่อการผลิตพลังงานที่มีความเหมาะสมทั้งด้านต้นทุน และปริมาณสำรอง อย่างไรก็ดีมีการกล่าวถึงโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ และโรงไฟฟ้าขยะ ในฐานะทางเลือกที่เหมาะสม และควรจะถูกพัฒนาต่อไปให้เป็นโรงไฟฟ้าฐาน

มีสิ่งที่ควรตั้งข้อสังเกตต่อข้อเสนอด้านนี้อยู่ 3 ประเด็น กล่าวคือ

ประการแรก ถ่านหินยังคงเป็นเชื้อเพลิงหลักที่กำหนดการเมืองพลังงานในอนาคตต่อไป ไม่ว่าถ่านหินจะถูกอธิบายว่าสะอาดและสามารถลดมลพิษในกระบวนการผลิตและการขนส่ง หรือถูกปฏิเสธในความเชื่อดังกล่าว ถ่านหินจะยังคงมีบทบาทในฐานะเชื้อเพลิงที่กำหนดข้อถกเถียงและทิศทางพลังงานในสังคมไทย ข้อถกเถียงที่ว่าคงไม่ได้วางอยู่ที่ถ่านหินสะอาดจริงหรือไม่สะอาด แต่โจทย์จะเคลื่อนไปสู่การพิสูจน์ให้เห็นว่าถ้าไม่มีโรงไฟฟ้าถ่านหินจะเป็นอย่างไร จะถูกทดแทนด้วยอะไร ดังจะเห็นได้จากสถานการณ์ความขัดแย้งของโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ และโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา ที่ภาครัฐพยายามนำเสนอภาพความจำเป็นที่จะต้องมีโรงไฟฟ้าดังกล่าว เพราะหากโรงไฟฟ้าไม่เกิดขึ้นแล้วจะเกิดภาพความเสียหายอย่างไรได้บ้าง ในทางกลับกันฝ่ายที่ต่อต้านโครงการโรงไฟฟ้ากลับเสนอภาพของการแสวงหาสิ่งทดแทนถ่านหิน

ประการที่สอง นิวเคลียร์ซึ่งยังไม่เคยถูกใช้ในการผลิตพลังงานในประเทศไทย จะเป็นข้อถกเถียงที่ถูกหยิบยกขึ้นมาให้มีความสำคัญเรื่อยๆ อย่างไรก็ตามโจทย์สำคัญของนิวเคลียร์ไม่ใช่เพียงแค่ภาพความเสียหายที่น่ากลัวจากนิวเคลียร์เท่านั้น หากแต่เป็นโจทย์การเมืองระหว่างประเทศทั้งมาตรฐานความปลอดภัยระดับนานาชาติ หน่วยงานระหว่างประเทศที่กำกับดูแลการครอบครองนิวเคลียร์ และกระแสการเมืองระหว่างประเทศที่วิพากษ์วิจารณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ นอกจากนี้การเข้ามาของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ยังส่งผลต่อโครงข่ายของโรงไฟฟ้าหลักที่มีอยู่ก่อนแล้วกล่าวคือ เมื่อโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ถูกผลักดันขึ้นมาเป็นโรงไฟฟ้าฐาน โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ย่อมเข้ามาแทนที่โรงไฟฟ้าถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ และอื่นๆ ในแง่นี้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์จึงไม่เพียงแต่เผชิญกับการเมืองพลังงานระหว่างประเทศ หากแต่จะถูกท้าทายโดยการเมือง และกลุ่มผลประโยชน์ที่สังกัดอยู่กับโรงไฟฟ้าฐานเดิมทั้งถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ น้ำมัน และอื่นๆ ด้วยเช่นกัน

ประการที่สาม ขยะจะไม่ถูกวางบทบาทให้เป็นแค่โรงไฟฟ้าในระดับชุมชนอีกแล้ว (ซึ่งถูกผลักดันในสมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร) แต่ถูกขยับสถานะให้เป็นโรงไฟฟ้าฐาน เพื่อให้ส่งเสริมให้การผลิตไฟฟ้ามาจากเชื้อเพลิงที่มีความหลากหลายมากขึ้น ในแง่นี้การบริหารจัดการขยะและการผลิตพลังงานจะใกล้กันมากขึ้น โจทย์ของการบริหารจัดการขยะ ทั้งขยะในภาคอุตสาหกรรม ภาคเกษตรกรรม ภาคครัวเรือน วิธีการทิ้งขยะ การคัดแยกขยะ จะผูกโยงกับวิธีการผลิตพลังงานไปด้วย การออกแบบวิธีการบริหารจัดการขยะและการผลิตพลังงานจึงเป็นโจทย์ที่ต้องมีการออกแบบร่วมกันอย่างใกล้ชิดมากขึ้น      


มิติที่สี่ ยานยนต์ไฟฟ้า ในฐานะเป้าหมายแห่งอนาคต  

ข้อเสนอจำนวนมากในแผนการปฏิรูปประเทศด้านพลังงานคาดหวังให้ยานยนต์ไฟฟ้า เป็นทั้งความหวังและอนาคตในการพัฒนานวัตกรรมด้านพลังงานของประเทศ ในหมวดเทคโนโลยี และนวัตกรรมด้านพลังงานเต็มไปด้วยข้อเสนอเกี่ยวกับการผลิตและพัฒนายานยนต์ไฟฟ้า และระบบกักเก็บพลังงาน โดยมุ่งหวังให้นวัตกรรมยานยนต์ไฟฟ้า เป็นหัวหอกในการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าไปพร้อมกัน

ประเทศญี่ปุ่นนับเป็นประเทศชั้นนำของโลกในเทคโนโลยีการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า สำหรับประเทศญี่ปุ่น อาทิ มหาวิทยาลัยคิวชู ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่รัฐบาลญี่ปุ่นใช้เป็นศูนย์วิจัยเพื่อการพัฒนายานยนต์ไฟฟ้า กลับไม่ได้คิดแค่เพียงการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า การสร้างระบบการกักเก็บพลังงานให้เก็บพลังงานเพื่อเอาไว้ใช้ได้นาน หรือการจัดตั้งสถานีประจุไฟฟ้าให้เพียงพอต่อยานยนต์ไฟฟ้า หากแต่มีการตั้งโจทย์เป็นแพ็กเกจที่รวบรวมการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า การผลิตพลังงานที่เหมาะสมเพื่อยานยนต์ไฟฟ้า หรือ Hydrogen-energy ที่เกิดจากการนำน้ำมาผลิตเป็นไฟฟ้าเพื่อประจุเข้าไปในยานยนต์ไฟฟ้า และรวมไปถึงการออกแบบระบบความปลอดภัยเมื่อยานยนต์ไฟฟ้าเกิดอุบัติเหตุ โจทย์เหล่านี้ผู้เขียนเองยังมองไม่เห็นในแผนการปฏิรูปประเทศด้านพลังงานของไทย

การเมืองพลังงานในอนาคตข้างหน้าของประเทศไทยคงไม่ได้มีโจทย์อยู่เพียงแค่การประท้วงบนท้องถนน หรือระดมคนปิดล้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับพลังงาน ด้วยเพียงอุดมการณ์เพียงชุดเดียวที่เชื่อว่า วิธีการนี้จะนำไปสู่ผลประโยชน์สูงสุดในการบริหารจัดการพลังงาน การเมืองพลังงานในอนาคตจะถูกกำหนดด้วยปัจจัยจากการขยายตัวของอำนาจระบบราชการ ความซับซ้อนและหลากหลายของพื้นที่ที่จะเข้าไปมีปฏิสัมพันธ์กับพลังงาน การเข้าถึงและความเชื่อมั่นต่อเชื้อเพลิงผลิตพลังงาน และการพัฒนาเทคโนโลยี ที่จะเปลี่ยนโจทย์การเมืองพลังงานให้ต่างไปจากเดิม

 

ชุมพล อุ่นพัฒนาศิลป์

ฤดูร้อน ณ ชนบทห่างไกลในญี่ปุ่น

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี: พลังทหาร VS พลังนักศึกษา

Posted: 14 Apr 2018 07:20 AM PDT

 

ในบรรดาพลังเคลื่อนไหวทางการเมือง หากประเมินในแง่ทรัพยากร ขบวนการนักศึกษานับเป็นจุดที่มีทรัพยากรน้อยที่สุด

ทั้งในมิติของทุน มิติของประสบการณ์ มิติของปริมาณ องค์การจัดตั้งก็ไม่เป็นระบบ ดูแล้วพลังคงน้อยกว่าชาวบ้านที่ประท้วงการสร้างเขื่อน ผู้ใช้แรงงานที่ปิดถนน หรือแม้กระทั่งกลุ่มทุนต่างๆ เสียอีก?

แต่ดูเหมือนว่า การเคลื่อนไหวของนักศึกษาแม้จะเล็กน้อยก็สร้างความตื่นตระหนกแก่ 'นายพล' ได้ไม่ต่างจากพลังต่างๆข้างต้น คำถามคือเหตุใดต้องกังวลกับพลังนักศึกษาขนาดนั้น? ดังที่เห็นในข่าวการบุกคุกคามถึงบ้านทั้งในกรณีนักศึกษา ที่เชียงใหม่ และกรุงเทพฯ

แม้กระทั่งผู้ต่อต้่านอำนาจเผด็จการด้วยกันอาจมองข้ามพลังนักศึกษาที่กระจัดกระจายและไร้พลัง แต่ สิ่งที่น่าสนใจคือพลังอนุรักษนิยมไม่เคยมองข้ามและพยายามอย่างมากในการควบคุมพลังนักศึกษา ด้วยการเสนอให้เป็น 'เด็กดี' วิจารณ์ในกรอบ กระตุ้นให้พยายามไต่บันไดขึ้นไป พยายามให้อยู่ในหลักวิชาหรือกติกาที่ชนชั้นนำมอบหมายให้ แต่การมีกลุ่มที่ตั้งคำถามเป็นสัญญาณอันตรายของฝ่ายอนุรักษนิยม


1.การครอบงำผ่านระบบการศึกษาเป็นกลไกที่ทรงพลังมาก ทั้งในแง่เศรษฐกิจ การเมือง และสังคม หล่อหลอมเด็กเกิดใหม่มาทั้งชีวิต แต่อยู่ๆพออายุย่างเข้า 20 พวกเขากลับตั้งคำถามกับฐานรากจนหมดสิ้น นี่คือสิ่งที่ฝ่ายอนุรักษนิยมเห็นว่าเป็นวิกฤติของระบบ


2.Tara Steward จาก MIT บอกว่ามนุษย์ก่อนวัย 25 ปี ทรงพลังมากเพราะกระบวนการประสาทจะสร้างความเป็นไปได้ชุดใหม่อยู่เสมอ พูดง่ายๆหากจะตีความคือระหว่างช่วงอายุ 18-25 ถ้ามนุษย์เชื่อว่าโลกที่เสมอภาคเป็นไปได้ รัฐสวัสดิการเป็นไปได้ ประชาธิปไตยคือทางออกของความขัดแย้ง การปกครองแบบเผด็จการทหารเป็นสิ่งที่ผิดเพี้ยน มีความเป็นไปได้สูงที่ปัจเจกชนนั้นจะอยู่กับความเป็นไปได้นั้นไปทั้งชีวิต ตรงกันข้ามแนวโน้มหลังอายุ 25 การสร้าง pathway ใหม่ๆยากขึ้นและมนุษย์จะเริ่มคุ้นชินกับอำนาจเดิมและทึกทักว่าเป็นความจริง

ด้วยเหตุผลนี้ นักการศึกษา-นักการทหารฝั่งอนุรักษนิยมทราบเรื่องนี้ดี และทำงานอย่างหนักเมื่อเห็นความผิดพลาด พวกเขามองเหมือนรอยรั่วเขื่อนที่อาจจะทำให้ทุกอย่างพังได้ เป็นเรื่องใหญ่ของฝั่งถือครองอำนาจ


3.แต่รัฐบาลทหารไทย ก็ยังมีมโนทัศน์ยุคสงครามเย็น คือ ใช้การปราบ จับกุม คุกคาม เป็นรายปัจเจกชน เพื่ออุดรูเขื่อน โดยไม่มองว่าโครงสร้างเขื่อนของรัฐบาลมีปัญหาแต่แรก

หากเป็นเช่นนี้ต่อเนื่องกระแสการรับรู้ปัญหาในหมู่นักศึกษาก็จะแผ่ขยายต่อไป สภาพเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ การเลื่อนลำดับชั้นทางสังคมยากเย็น และยังเต็มไปด้วยการเมืองที่มองพวกเขาเป็นศัตรู การยอมรับระบอบปัจจุบันคงน้อยลง

เป็นกำลังใจให้นักศึกษาผู้ถูกคุกคามจากการใช้สิทธิพื้นฐานตามรัฐธรรมนูญ ทั้ง กรุงเทพ เชียงใหม่ และทั่วประเทศ

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กสทช.เรียก 'ทรูมูฟ เอช' แจงกรณีข้อมูลลูกค้ารั่ว 17 เม.ย.นี้

Posted: 14 Apr 2018 06:09 AM PDT

จากกรณีที่มีข่าวว่า 'ทรูมูฟ เอช' ทำข้อมูลบัตรประชาชนลูกค้าหลุดจำนวนมากสำนักงาน กสทช. ได้ส่งหนังสือเรียกให้มาชี้แจงในวันที่ 17 เม.ย. 2561 นี้

 
14 เม.ย. 2561 เว็บไซต์ประชาชาติธุรกิจ รายงานว่านายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่ากรณีที่ปรากฎข่าวบนเว็บไซต์ว่าทรูทำข้อมูลบัตรประชาชนลูกค้าหลุดจำนวนมาก สำนักงาน กสทช. เรียกให้ทรูมูฟ เอช เข้าชี้แจงข้อเท็จจริงในวันอังคารที่ 17 เม.ย. 2561 เวลา 9.30 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 4 อาคารอำนวยการ สำนักงาน กสทช.
 
โดยเรื่องนี้ตาม พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 กำหนดไว้ว่า ในเรื่องนี้ผู้กระทำผิดมีโทษตามกฎหมาย หากผู้ประกอบการมีส่วนในความผิดจะถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย และพักใช้ เพิกถอนใบอนุญาต โดย กสทช.เป็นผู้เสียหายตามกฎหมายด้วย
 
นายฐากร กล่าวว่าในกรณีนี้ หากเป็นการกระทำโดยเจตนา ทรูมูฟ เอชมีความผิดแน่นอน แต่ทั้งนี้ สำนักงาน ต้องเรียกทรูมูฟ เอชมาให้ข้อมูลก่อนว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร สำนักงาน กสทช.ขอตรวจสอบข้อเท็จจริงในแน่นอนก่อน จึงจะดำเนินการต่อไป
 
"สำนักงาน กสทช. ให้ความสำคัญต่อกรณีดังกล่าวเนื่องจากกระทบต่อข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชนผู้ใช้บริการ สำนักงานฯจะรีบดำเนินการในเรื่องนี้ให้เร็วที่สุดเพื่อคุ้มครองประชาชนผู้ใช้บริการ"
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ฟิลิปปินส์ส่ง จม. เปิดผนึกขอตรวจสอบเฟสบุ๊ค จากข้อกล่าวหา 'เคมบริดจ์อนาไลติกา'

Posted: 14 Apr 2018 04:18 AM PDT

ในขณะที่เฟสบุ๊คกำลังถูกจับจ้องตรวจสอบจากรัฐสภาสหรัฐฯ ทางการฟิลิปปินส์ซึ่งมีคณะกรรมการด้านสิทธิความเป็นส่วนตัวแห่งชาติ (NPC) ได้ออกจดหมายเปิดผนึกเมื่อวันที่ 13 เม.ย. 2561 ระบุว่าจะขอรับทราบวิธีการที่เฟสบุ๊คเก็บข้อมูลและนำข้อมูลผู้คนไปใช้เช่นกัน โดยอ้างเรื่องความโปร่งใสและความกังวลว่าเป็นไปได้ที่ผู้ใช้เฟสบุ๊คมากกว่าหนึ่งล้านคนอาจจะถูกนำข้อมูลส่วนตัวไปแชร์ให้กับบริษัทวิเคราะห์ข้อมูลเคมบริดจ์อนาไลติกาตามที่เป็นข่าวอื้อฉาวในช่วงนี้

 
 
 
14 เม.ย. 2561 ในจดหมายเปิดหนึกของ คณะกรรมการด้านสิทธิความเป็นส่วนตัวแห่งชาติฟิลิปปินส์ (NPC) ระบุให้มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ซีอีโอของเฟสบุ๊คส่งเอกสารที่เปิดเผยข้อมูลว่ากรณีการขายข้อมูลให้เคมบริดจ์อนาไลติกานั้นส่งผลกระทบต่อผู้ใช้งานในฟิลิปปินส์อย่างไรและเป็นวงกว้างขนาดไหน
 
"พวกเราเขียนจดหมายนี้ด้วยความเป็นห่วงว่าเกี่ยวกับการที่คุณยอมรับว่าเฟสบุ๊คละเลยหน้าที่คุ้มครองผู้มูลของผู้ใช้ ข้อมูลตัวตนของผู้ใช้งานชาวฟิลิปปินส์ 1.18 ล้านคนอาจจะได้รับผลกระทบจากกรณีเคมบริดจ์อนาไลติกาถือเป็นเรื่องที่น่าวิตกและอาจจะเป็นอาการของปัญหาที่ลึกกว่านี้ เป็นปัญหาที่มีโอกาสสร้างความเสี่ยงให้กับผู้ใช้เฟสบุ๊คชาวฟิลิปปินส์ได้" NPC ระบุในจดหมายเปิดผนึก
 
จดหมายเปิดผนึกดังกล่าวมีการลงรายชื่อของเรย์มุนด์ ลิโบโร กรรมาธิการของ NPC และไอวี ปัตดู กับลีแอนโดร อากีเร รองกรรมาธิการ NPC โดยพวกเขาต้องการไต่สวนเฟสบุ๊คในครั้งนี้เพื่อที่จะตรวจสอบว่า "มีการดำเนินการกับข้อมูลส่วนบุคคลของชาวฟิลิปปินส์และมีความเป็นไปได้ที่จะละเมิดกฎหมายสิทธิความเป็นส่วนตัวของข้อมูลปี 2555 หรือไม่"
 
ทาง NPC ยอมรับว่ามีความเข้าใจเรื่องที่เฟสบุ๊คทำธุรกิจบนพื้นฐานการขายโฆษณาที่ต้องอาศัยข้อมูลของผู้ใช้งานในการตอบสนองด้านเนื้อหา แต่พวกเขาก็อ้างถึงความโปร่งใสในการใช้ข้อมูลของผู้คน โดยระบุในจดหมายว่า "เจ้าของข้อมูลมีสิทธิที่จะรับรู้ว่ามีการนำข้อมูลของพวกเขาไปใช้ประมวลผลอย่างไรบ้าง"
 
NPC ระบุอีกว่าเฟสบุ๊คมีเวลาภายใน 15 วันในการตอบกลับหลังจากได้รับจดหมายเปิดผนึก มิเช่นนั้นทาง NPC จะมีมาตรการบางอย่างในการ "ปกป้องผลประโยชน์ด้านข้อมูลของชาวฟิลิปปินส์"
 
กรณีล่าสุดที่ทำให้เฟสบุ๊คต้องให้การกับสภาคองเกรสของสหรัฐฯ เป็นเวลา 2 วัน คือข้อกล่าวหาเรื่องการขายข้อมูลผู้ใช้ที่เก็บจากแอพพลิเคชั่นควิซของเฟสบุ๊คส่งให้กับเคมบริดจ์อนาไลติกาเพื่อวิเคราะห์บุคลิกภาพและพฤติกรรมของผู้ใช้งาน โดยมีเป้าหมายในการนำเสนอเนื้อหาที่พวกเขาประเมินว่าจะส่งผลต่อพฤติกรรมของผู้ใช้งาน ปัญหาคือเคมบริดจ์อนาไลติกาเป็นบริษัทที่ถูกกล่าวหาว่าทำงานช่วยเหลือการหาเสียงเลือกตั้งของโดนัลด์ ทรัมป์ ในการให้การของมาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ซีอีโอของเฟสบุ๊คเขาขอโทษในเรื่องที่คุ้มครองข้อมูลไม่ดีพอแต่ก็กล่าวปกป้องโมเดลทางธุรกิจของตัวเอง
 
 
เรียบเรียงจาก
 
PH privacy commission to probe Facebook after data scandal, Rappler, 14-04-2017
 
จดหมายเปิดผนึกของคณะกรรมการด้านสิทธิความเป็นส่วนตัวแห่งชาติฟิลิปปินส์ (NPC), 13-04-2017
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เตรียมส่งทหารลงพื้นที่พบประชาชน เผยเป็นยุทธศาสตร์ 10 ปี ไม่ใช่แค่โครงการไทยนิยม

Posted: 14 Apr 2018 03:51 AM PDT

ผบ.ทบ. ระบุกองทัพบกอยู่ระหว่างการเตรียมความพร้อมก่อนลงพื้นที่พบประชาชนเพื่อรับฟังปัญหาในพื้นที่ ปฏิเสธหาเสียงหนุน 'ประยุทธ์' เผยเป็นยุทธศาสตร์ 10 ปี ให้ กอ.รมน.เป็นแกนบูรณาการ ไม่ได้ใช้เฉพาะโครงการไทยนิยม

 
14 เม.ย. 2561 มติชนออนไลน์ รายงานว่า พล.อ.เฉลิมชัย สิทธิสาท ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) และอดีตเลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวถึงแนวทางการจัดชุดปฏิบัติการกิจการพลเรือน มณฑลทหารบก (ชป.กร.มทบ.) ว่าอยู่ระหว่างการเตรียมความพร้อมก่อนลงพื้นที่พบประชาชนเพื่อรับฟังปัญหาในพื้นที่ และนำข้อมูลการทำงานของรัฐบาลไปถ่ายทอดให้ได้รับทราบ ทั้งนี้ไม่ได้ทำเฉพาะโครงการไทยนิยม แต่จะทำในโครงการที่ทำให้เกิดความรัก ความสามัคคี ความเข้าใจของคนในชาติ การประชาสัมพันธ์งานของรัฐบาล รวมถึงงานของกองทัพเช่นการเกณฑ์ทหาร เป็นต้น ซึ่งในเบื้องต้นจัดตั้งทีม และฝึกฝนกำลังพล โดยได้ให้กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ไปบูรณาการร่วมกับ 35 มทบ.ทั่วประเทศอีกครั้งว่า พื้นที่ใดจะทำอย่างไร ขณะนี้ แบ่งเป็น 2 ชุด คือ ชุดขุนศึก ให้ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ชาติไทย ปลูกฝังอุดมการณ์รักชาติ และชุดขุนภักดี โดยมีทหารดุริยางค์ใน มทบ.มาฝึกและเติมทักษะการพูด เพื่อไปทำงานเพื่อแบ่งเบากองพันปฏิบัติการจิตวิทยา (พัน.ปจว.) ของกองทัพภาค ซึ่งในแต่ละกองทัพภาคจะมี 1 กองร้อย ถือว่างานล้นมือ
 
"ถือเป็นยุทธศาสตร์ระยะยาวที่ผมคิดไว้อยากให้ทำเป็นห้วงระยะเวลา 5-10 ปี ไม่ใช่ทำเฉพาะช่วงที่มีโครงการไทยนิยมอย่างเดียว ตอนนี้เป็นช่วงเริ่ม เป็นการสร้างคน ส่งคนไปฝึกพูด ต่อไปทหารจะต้องเก่งในเรื่องพูดเพื่อสื่อสาร ไม่ใช่แค่งานกิจการพลเรือน ทาง กอ.รมน.ก็จะมาคิดอีกทีว่า จะบูรณาการและใช้งบประมาณอย่างไร โดยฝ่ายอำนวยการก็จะไปคิดรายละเอียดอีกที ซึ่งรายละเอียดการทำงานแต่ละพื้นที่ก็ไม่เหมือนกัน ส่วนเนื้อหาก็แล้วแต่ละสถานการณ์ จะประชาสัมพันธ์เรื่องเกณฑ์ทหาร งานของรัฐบาลก็ดูไปตามพื้นที่ ทั้งนี้ถือเป็นเครื่องมือของ กอ.รมน.และรัฐบาลทุกยุคทุกสมัยไป อย่ามองเป็นเรื่องการเมืองไปหมด" ผบ.ทบ. กล่าว
 
พล.อ.เฉลิมชัย กล่าวย้ำว่า สิ่งที่ให้ระมัดระวังเวลาไปลงพื้นที่พบชาวบ้าน คือ อย่าตกเป็นเครื่องมือของพรรคการเมือง เข้ามาแบ็คอัพมาสนับสนุนชาวบ้าน อาจจะมีเจตนาดี แต่เราก็อย่าเผลอไปเดินตามแนว จะกลายเป็นเครื่องมือหาเสียง เพราะในพื้นที่ก็มีความคุ้นเคยกันทั้งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน นักการเมืองท้องถิ่น
 
เมื่อถามว่าใช้กลไกตรงนี้ถือว่ารัฐบาลได้เปรียบหรือไม่ในการสร้างคะแนนนิยมทางการเมืองให้ นายกรัฐมนตรีหรือไม่ พล.อ.เฉลิมชัย กล่าวว่า ไม่เกี่ยวกับการเมือง ถ้าตอนนี้ไม่ทำอะไรเลย บ้านเมืองก็จะทรุดลงไป เป็นเรื่องที่ต้องทำ เพราะเป็นภารกิจสนับสนุนงานของประเทศ เป็นเรื่องที่กองทัพต้องทำอยู่แล้ว
 
เมื่อถามถึง กระแสการตั้งพรรคการเมืองโดยโยงกับคนใน คสช.จะย้อนกลับมาทำให้ทหารอยู่ลำบากหรือไม่ พล.อ.เฉลิมชัย กล่าวว่า เท่าที่เห็นเป็นทหารเกษียณ ไม่มีใครสวมเครื่องแบบแล้วไปเล่นการเมือง บทบาทของตนก็เป็นไปในฐานะทหาร ไม่ไปยุ่งกับการเมือง เดินไปตามกรอบหน้าที่ รัฐบาลก็สั่งการในงาน กองทัพก็ไปสนับสนุน ส่วนคนนอกหรือคนที่อยากช่วยท่านนายกฯ ก็ว่ากันไป
 
เมื่อถามว่า แต่คสช.ก็จะถูกวิจารณ์ว่ารัฐประหารมาเพื่อต่อยอดอำนาจ พล.อ.เฉลิมชัย กล่าวว่า ก็แล้วแต่คนคิด เมื่อนายกฯไปพูดนโยบาย ท่านก็ต้องทำ ขณะนี้จะเข้าสู่การเลือกตั้ง ก็เหมือนรัฐบาลรักษาการ การลงพื้นที่อาจถูกมองบ้าง แต่ทั้งหมดก็เพื่อการกินดีอยู่ดีของประชาชน ถ้าหยุดนิ่งไม่ทำเลย รอให้มีเลือกตั้ง ประเทศก็จมลงไปด้วย
 
เมื่อถามว่า มีการมองว่าตั้งพรรคเพื่อต่อท่ออำนาจ พล.อ.เฉลิมชัยกล่าวว่า "ตนไม่ทราบ ไม่มีความเห็น" เมื่อถามย้ำว่าจะซ้ำรอยเหมือนสมัย พล.อ.สุจินดา คราประยูร อดีตนายกรัฐมนตรีที่ถูกต่อต้านหรือไม่ พล.อ.เฉลิมชัย กล่าวว่า  "ก็เรียนรู้จากประสบการณ์ในอดีต ยืนยันเราไม่ได้เข้าไปยุ่งด้วย ทำงานตามกรอบหน้าที่ เกษียณแล้วก็อาจจะไปบวช"
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

(คลิป) วงถกไทยกับอนาคต สังคม(นิยม)ทางเศรษฐกิจ และประชาธิปไตยทางการเมือง

Posted: 14 Apr 2018 03:17 AM PDT

เก็บตกวงเสวนา 'กษิต-ธีระชัย-เยี่ยมยอด-ษัษฐรัมย์-เมธา' ถก "ประเทศไทยกับอนาคต สังคม(นิยม)ทางเศรษฐกิจ และประชาธิปไตยทางการเมือง" ผู้ร่วมก่อตั้งพรรคอนาคตใหม่ชี้ปัญหาความเปราะบางในระบบทุนนิยม กษิต แนะพรรคการเมืองที่เป็นประชาธิปไตยมารณรงค์ให้มีการแก้ไข รธน. 60
เมื่อวันที่ 22 มี.ค.ที่ผ่านมา สถาบันสังคมประชาธิปไตย ร่วมกับสถาบันวิจัยสังคม และศูนย์ศึกษาเศรษฐศาสตร์การเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดเสวนา 2018 Thailand Social Democracy Think Tank เรื่อง "ประเทศไทยกับอนาคต สังคม(นิยม)ทางเศรษฐกิจ และประชาธิปไตยทางการเมือง" ที่ ห้องประชุม 209 คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย มีวิทยากร ประกอบด้วย กษิต ภิรมย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ สมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง สมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เยี่ยมยอด ศรีมันตะ นักเคลื่อนไหวสังคมนิยมและประชาธิปไตย (ผู้ร่วมก่อตั้งพรรคสังคมประชาธิปไตยประชาชน ผศ.ดร.ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี อาจารย์วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ผู้ร่วมก่อตั้งพรรคอนาคตใหม่) และเมธา มาสขาว จากสถาบันสังคมประชาธิปไตย 
 
 
ษัษฐรัมย์ กล่าวว่า วิกฤติปัญหาที่เราเผชิญอยู่คือวิกฤติที่เราเรียกว่าการสะสมทุนภายใต้กระแสเสรีนิยมใหม่ เกิดขึ้นในประเทศไทยมาตั้งแต่ทศวรรษ 1980 มีการขยายตัวของกลุ่มทุนเพื่อการส่งออก กลุ่มทุนเหล่านี้ได้รับอภิสิทธิ์อย่างมากในการสะสมทุน ได้รับการยกเว้นภาษีรวมทั้งภายใต้เงื่อนไขการจ้างงานที่ยืดหยุ่นทำให้กลุ่มทุนเหล่านี้สามารถอาศัยเงื่อนไขของการที่จ้างผู้ใช้แรงงานในราคาที่ต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศในกลุ่มศูนย์กลางทุนนิยม ไม่มีสหภาพแรงงานที่ต่อรองได้อย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งสามารถละเมิดกฎหมายแรงงาน ทำให้เศรษฐกิจประเทศไทยขยายตัวเป็นอย่างมาก แต่สิ่งที่น่าคิดคือการขยายตัวเหลานี้แทบจะไม่สามารถมาเปลี่ยนแปลงคุณภาพชีวิตประชาชนได้เลย วิกฤติเปล่านี้สามารถแบ่งได้เป็น 1. เรื่องความมั่นคงในชีวิตของคน 2. ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ 3. เสรีภาพ และ 4. เป็นโจทย์ของคนรุ่นใหม่ นั่นคือการเลื่อนลำดับชั้นทางสังคม
 
"เซ็นเซอร์ชิปที่รุนแรงและทรงอนุภาพกว่า ม.44 ของ คสช. มากกว่าคำสั่งของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นั่นคือ แคปปิตอล ลิซึ่ม นั่นคือระบบทุนนิยม ต่อให้เราไม่มี ม.44 แต่ให้เราไม่มีเผด็จการ โอเค เผด็จการทหารและ ม.44 ต้องถูกยกเลิก นี่คือจุดยืนชัดเจน เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นต้นตอของทุกอย่าง แต่ว่าเท่านั้นไม่พอ เท่านั้นไม่มีทางเพียงพอแน่นอน เพราะเซ็นเซอร์ชิปที่รุนแรงที่สุดนั่นคือระบบทุนนิยม อะไรที่เซ็นเซอร์ให้คนไม่มีส่วนร่วมทางการเมืองได้ นั่นคือความเปราะบางทางเศรษฐกิจ ถ้าเราพูดถึงการกระจายอำนาจ แต่ถ้าเราปราศจากสวัสดิการพื้นฐานในชีวิตที่ค้ำจุนพวกเขา เพราะมีเงื่อนไข มีกฎหมาย พ.ร.บ.กระจายอำนาจ สิ่งเหล่านี้ก็จะเป็นความฝันที่ว่างเปล่า เป็นสิ่งที่จะไม่เกิดขึ้นจริง เพราะด้วยเหตุผลง่ายๆ คือ เมื่อมนุษย์ไม่มีความมั่นคงในชีวิตก็ไม่สามารถที่จะมีจุดร่วมในการที่จะสามารถเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองได้" ษัษฐรัมย์ กล่าว
 
ษัษฐรัมย์ กล่าวต่ดว่า ถ้าไม่มีการปฏิรูปเศรษฐกิจและสังคม นักศึกษาที่มีไฟแรงที่ตั้งคำถามในสังคมในวันนี้ ใช้เวลาไม่นานที่พวกเขาจะถูกกรองและกลืนด้วยระบบทุนนิยม เพราะพวกเขาต้องเลี้ยงดูครอบครัวที่เป็นหนี้ ที่เลี้ยงดูพวกเขา และก็จะเป็นหนี้ซ้ำอีก สิ่งที่เซ็นเซอร์พวกเขาคือระบบ ดังนั้นเราจะทำอย่างไรให้พวกเขามีชีวิตที่ปลอดภัยได้ในระบบทุนนิยม มีเสรีภาพในการวิจารณ์ได้ ทำให้ผู้ใช้แรงงานวิจารณ์นายจ้างได้ อาจารย์ในมหาวิทยาลัยสามารถวิจารณ์อธิการบดีได้ ด้วยเงื่อนไขในการทำงานทำให้คนทำงานเปราะบางมาก ความเปราะบางเหล่านี้ทำให้ความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมจะหายได้ สิ่งที่ตามมาก็คือกระแสของการอยู่เป็น
 
สำหรับ ธีรชัย กล่าวถึงการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคมนั้นมีทั้งส่วนเป็นไปได้และเป็นไปได้ยาก โดยมีม 2 แนวคิดในการแก้ความเหลือมล้ำ จากที่มองเป็นเรื่องการเป็นสิทธิฯ กับอีกแนวคือมันไม่ใช่สิทธิฯ 100% แต่มีส่วนที่จำเป็นต้องช่วยเหลือส่วนหนึ่ง เพื่อให้โอกาส 
ที่ผ่านมา ทักษิณ ชินวัตร สร้างนโยบาย ประชาธิปไตยที่กินได้ นโยบายทักษิณ ส่วนมากเป็นการจัดช่วยค่าใช้จ่าย แต่ก็เป็นนโยบายที่มีแต่ให้ ไม่เก็บภาษีเพิ่ม ไม่ได้บังคับให้ใครจะเสียสละมาให้ โดยการสร้างหนี้สาธารณะแทน ทำให้เราต้องแบกค่าใช้จ่ายร่วมกันทั้งหมด 
ดังนั้นก่อนที่จะไปสู่แนวคิดนั้น ต้องคำนึงถึงเรื่องการหารายได้ของรัฐด้วย
 
กษิต กล่าวว่า ตนเองจะไม่ลงเลือกตั้ง แต่จะมาขับเคลื่อนงานการเมืองทำ 2 เรื่อง 1. ส่งเสริมวัฒนธรรมทางการเมือง ประชาธิปไตยศึกษา เพื่อขับเคลื่อนพลเมืองไทยให้เป็นประชาธิปไตย 2. ขับเคลื่อนแนวคิดแนวคิดอุดมการณ์ทางการเมือง พลังความคิดที่ 3 เพื่อปฎิเสธพลังทหาร กับทุนนิยมสามาน 
 
กษิต วิเคราะห์ความคิดของทหารที่เข้ามาสู่การเมือง โดยชวนไปดูอุดมการณ์ทางการเมืองของ นักเรียนนายร้อย จปร. ที่ว่า เขาเป็นผู้พิทักษ์ปกป้องราชอาณาจักรไทย  เขาเป็นผู้ปกป้อง ขณะที่อีกด้านเขาเหนื่อยหยายกับการเข้ามาแก้ปัญหาบ้านเมืองกับการปฏิวัติ แต่ทางออกต้องเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งทางการเมืองกับกฎหมายไทย ดังนั้น มันจึงทำให้รัฐธรรมนูญปี 60 จึงเป็นแบบนั้น ที่มีที่คณะกรรมการ ยุทธศาสตร์ กรรมการปฏิรูป และมีนายพล 6 คนอยู่ในวุฒิสภา เป็นการกำกับดูแลว่าประเทศไทยจะเป็นอย่างไร ซึ่งเป็นการเอาเสถียรภาพเป็นตัวตั้ง เป็นรัฐราชการ ขณะเดียวกันก็ได้พี่เลี้ยงจากจีนและมอสโก ที่เป็นพรรคเดียวเสียงข้างมาก เพื่อให้มีสเถียรภาพ 
 
กษิต เสนอว่า หนึ่ง ให้พรรคการเมืองที่เป็นประชาธิปไตยมารณรงค์ให้มีการแก้ไข รธน. 60 และสองเรื่องความเหลื่อมล้ำ ที่ยุโรปมีกองทุนพัฒนาชนบท เพื่อลดความเหลือมล้ำในอียู เป็นต้น
 
เมธา นำเสนอ 10 ข้อเสนอทางออกประเทศไทยในการสร้างสังคมทางเศรษฐกิจและประชาธิปไตยทางการเมือง เพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤตความขัดแย้งตลอด 4 ปีที่รัฐบาลละเลย เพิกเฉย และสร้างขึ้นมา โดยมีรายละเอียดดังนี้

1.ยกเลิกนโยบายประชารัฐและการส่งเสริมกลุ่มทุนธุรกิจผูกขาดเนื่องจากปัจจุบันนโยบายประชารัฐเอื้อเอกชนไม่กี่กลุ่มที่เป็นกลุ่มทุนผูกขาดประเทศไทย และไปซ้ำเติมปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยให้มากขึ้นไปตามลำดับ ผันเงินงบประมาณแผ่นดินผ่านโครงการช่วยเหลือของรัฐ ผ่านประชาชนเข้าสู่กลุ่มทุน, ตัวเลขรายได้จากการส่งออกของไทยเป็นของกลุ่มทุนใหญ่ประมาณ 10 กลุ่มเท่านั้น นโยบายและผลประโยชน์ทับซ้อนเหล่านี้ = รัฐทหารสมคบคิดกลุ่มทุนใหญ่ผูกขาดประเทศไทย? อ้างความมั่นคงกอบโกยทรัพยากรและส่วนต่างจากคนส่วนใหญ่? นอกจากนี้ ยังพบว่าโครงการไทยยั่งยืนฯ มีการใช้จ่ายงบประมาณส่อไปในทางทุจริต เนื่องจากหลายโครงการไม่มีแผนการใช้งบประมาณที่ชัดเจน

2.รัฐบาลต้องบังคับใช้กฎหมาย พ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้า พ.ศ.2560 อย่างเคร่งครัด ขจัดปัญหาทุนผูกขาดเพื่อแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ เปิดโอกาสให้ธุรกิจรายย่อยได้แข่งขันกันเติบโตและลืมตาอ้าปากได้ โดยใช้แก้ไขปัญหาการผูกขาดทางการค้าของกลุ่มทุนที่ผูกขาดตลาดเกิน 33% (หรือหนึ่งในสาม) อย่างเคร่งครัดและนำไปสู่การสั่งฟ้องเอกชนทุกคดีที่ทำผิดกฎหมาย เศรษฐกิจประเทศไทยไม่สามารถให้กลุ่มทุนใดผูกขาดตลาดได้เนื่องจากทรัพยากรมีจำนวนจำกัด ที่ผ่านมามีคดีร้องเรียนคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้ามากกว่า 75 คดี แต่คณะกรรมการชุดเก่าไม่เคยสั่งฟ้องคดีเลยเพื่อสร้างบรรทัดฐานทางสังคมไทย ส่วนรัฐวิสาหกิจไทย รัฐบาลต้องแยกรัฐวิสาหกิจที่ต้องเป็นของรัฐ 100% ที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงพื้นฐานและบริการสาธารณะ เช่น น้ำ ไฟฟ้า พลังงาน และระบบขนส่งมวลชน ฯลฯ ส่วนกิจการที่รัฐไม่ควรเข้าไปแข่งขันกับเอกชนก็ยกเลิกไป

3.ยุบคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ที่หมดสมัยและไร้ประโยชน์ไม่มีความจำเป็นและไม่มีเหตุผลสมควรมีหน่วยงานนี้แล้วสำหรับนโยบายทางเศรษฐกิจในปัจจุบันที่มีการแข่งขันเสรี และยุตินโยบายที่เอื้อนายทุนต่างชาติเข้ามาหาผลประโยชน์ในประเทศโดยงดเว้นภาษีต่างๆ และให้เช่าที่ดินได้ 99 ปีในเขตเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งเป็นการยกอาณาเขตให้เช่าเหมือนกรณีเกาะฮ่องกง ที่เลวร้ายที่สุดคือ คณะกรรมการสามารถใช้อำนาจให้กรรมสิทธิ์ในที่ดินในพื้นที่ EEC แก่ต่างชาติเป็นเจ้าของ ตามมาตรา 27 พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2560 ที่ระบุว่า "ผู้ได้รับการส่งเสริมจะได้รับอนุญาตให้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินเพื่อประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนตามจำนวนที่คณะกรรมการพิจารณาเห็นสมควร แม้ว่าจะเกินกำหนดที่จะพึงมีได้ตามกฎหมายอื่น ในกรณีที่ผู้ได้รับการส่งเสริมซึ่งเป็นคนต่างด้าวตามประมวลกฎหมายที่ดินเลิกกิจการที่ได้รับการส่งเสริมหรือโอนกิจการนั้นให้แก่ผู้อื่น ผู้ได้รับการส่งเสริมต้องจำหน่ายที่ดินที่ได้รับอนุญาตให้ถือกรรมสิทธิ์ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่เลิกหรือโอนกิจการ"= ไม่ต่างจากการขายชาติ-ขายแผ่นดินให้ต่างชาติยึดครอง ประเทศและประชาชนไม่ได้ประโยชน์อะไรจากนโยบายดังกล่าว นอกจากกลุ่มคนบางกลุ่มที่อาจได้รับผลประโยชน์ตอบแทนเข้ากระเป๋าตนเอง

4.รัฐบาลต้องออกนโยบายทางการเงินทางการธนาคารเพื่อแก้ปัญหาการขูดรีดประชาชนโดนระบบอัตราส่วนต่างดอกเบี้ยที่สูงมาก โดยลดส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยเงินกู้-เงินฝากในระบบธนาคารของประเทศไทยที่สูงถึงกว่า 5-6 เท่า มากที่สุดในเอเชียและมากกว่าหลายประเทศทั่วโลก ขณะที่มาเลเซียมีอัตราส่วนต่างดอกเบี้ยแค่ 1.5% อินโดนีเซีย 4.3% ออสเตรเลีย 3.3% และจีน 2.9% เพื่อแก้ไขปัญหาความไม่เป็นธรรมในระบบเศรษฐกิจภายใน ที่นายทุนการเงินการธนาคารเอาเปรียบขูดรีดมูลค่าส่วนเกินอย่างรุนแรงกับประชาชนคนชั้นกลางชั้นล่าง ตลอดจนกลุ่มธุรกิจรายย่อย SMEs ขณะที่กลุ่มทุนใหญ่สามารถเจรจาลดอัตราดอกเบี้ยได้

5.รัฐบาลต้องออกกฎหมายเก็บภาษีทรัพย์สินอัตราก้าวหน้า ไม่ใช่คิดขึ้นภาษีทางอ้อมหรือภาษีมูลค่าเพิ่มกับประชาชน นำไปสู่การปฏิรูปที่ดินทั้งระบบไม่ให้กลุ่มทุนถือครองที่ดินจำนวนมาก จนเกิดปัญหาเกษตรถูกยึดที่ดินเพราะปัญหาหนี้สินในระบบ-นอกระบบ ซึ่งสามารถทำให้รัฐมีงบประมาณในการสร้างรัฐสวัสดิการ โดยการออกกฎหมายให้มีการปฏิรูประบบภาษีทั้งระบบ โดยให้มีการเก็บภาษีทรัพย์สิน ภาษีที่ดิน และภาษีมรดกอัตราก้าวหน้า 

(ทั้งนี้ ปัจจุบันเราเสียภาษีทางอ้อมกว่า 70% และเสียภาษีทางตรงเพียง 30% ทำให้โครงสร้างภาษีไม่มีความเป็นธรรม ภาษีทางอ้อมนั้นเก็บผ่านฐานการบริโภค คือ ภาษีสรรพสามิตและภาษีมูลค่าเพิ่มต่างๆ ซึ่งเป็นการเก็บภาษีทางอ้อมที่ผลักภาระให้คนจนส่วนใหญ่เป็นผู้แบกรับภาษี ภาษีทางตรงคือภาษีรายได้และนิติบุคคล ที่ปัจจุบันรัฐบาลได้ลดภาระทางภาษีลง แต่ภายใต้การคุ้มครองของรัฐ ทรัพย์สินและรายได้ของบุคคลที่สั่งสมเพิ่มขึ้นจากการรีดมูลค่าจากคนสังคม สมควรแบ่งปันคืนสู่สังคม โดยให้รัฐจัดการในส่วนหนึ่งเพื่อการพัฒนาสังคม สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน ความสะดวกปลอดภัยของชีวิตตลอดจนคุณภาพชีวิตและสวัสดิการที่ดีจากรัฐ พลเมืองในยุโรป โดยเฉพาะประเทศแถบสแกนดิเนเวีย ยินดีจ่ายภาษีส่วนเกินนี้คืนให้รัฐในอัตราที่สูงในอัตราก้าวหน้าจากทรัพย์สินและรายได้ที่งอกเงย เพราะแต่ละคนก็เอาประโยชน์ที่งอกเงยนั้นมาจากสังคมไม่เท่ากัน ความเป็นธรรมจึงเกิดขึ้นจากโครงสร้างภาษีที่เป็นธรรมนี้ และรัฐบาลก็นำภาษีที่เก็บได้มาพัฒนาสังคม จนผลิตผลของทรัพย์สิน ที่ดินและมูลค่าของการลงทุนต่างๆ งอกเงยขึ้นมาเป็นดอกผลตอบแทนคืนสู่พลเมืองอีกระลอกหนึ่ง ดังนั้น ภาษีทรัพย์สิน คือภาษีทางตรงที่เราจ่ายให้แก่รัฐและสังคมระหว่างที่มีชีวิตอยู่ และภาษีมรดกคือการจ่ายส่วนเกินที่ปลายทางนั่นเอง อย่างไรก็ตาม ประเทศไทย ควรมีนโยบายการเก็บภาษีทรัพย์สินอัตราก้าวหน้า ทั้งจากสังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์เหมือนภาษีทรัพย์สินในต่างประเทศ ไม่ใช่จากอสังหาริมทรัพย์อย่างเดียวตามที่บัญญัติไว้ในร่างพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ของกระทรวงการคลัง ซึ่งจะเป็นมาตรการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคมในระยะยาว)

6.เปิดเสรีพรรคการเมืองในระบบรัฐสภาสนับสนุนการปฏิรูปสังคมใหม่อย่างสันติผ่านระบบรัฐสภาที่เป็นประชาธิปไตย ที่อนุญาตให้มีพรรคการเมืองที่หลากหลายทางอุดมการณ์ ไม่ว่าจะทุนนิยม เสรีนิยม สังคมนิยม หรือคอมมิวนิสต์ จะใช้ระบบเสรี ระบบสหกรณ์ รัฐสวัสดิการ หรือสังคมนิยมประชาธิปไตย ก็แล้วแต่นโยบายพรรคการเมืองเพื่อต่อสู้กันทางการเมืองในระบบรัฐสภา และสนับสนุนประชาชนในการเสนอทางเลือกใหม่ที่ไปมากกว่าอุดมการณ์ประชาธิปไตย 2 กระแสในปัจจุบันไปสู่การเรียกร้องประชาธิปไตยที่เน้นสังคม หรือ สังคมประชาธิปไตย ที่สนับสนุนให้เกิดความเป็นธรรมทางสังคม เศรษฐกิจ สังคม และเป็นทางออกจากวิกฤติความขัดแย้งในปัจจุบัน

7.หยุดทหารการเมือง มีแต่ทหารอาชีพ ให้กองทัพบกนำทหารที่เข้ามาช่วยเหลือ คสช. กลับเข้ากรมกอง ไม่ต้องมารับใช้รัฐบาลเฉพาะกาล เอาทหารออกจากระบบการเมือง เพื่อไม่ให้มีทหารการเมือง มีแต่ทหารอาชีพที่มีเกียรติ และให้ทหารที่ไปนั่งในบอร์ดรัฐวิสาหกิจกว่า 40 แห่งยุติการปฏิบัติหน้าที่และลาออกมา ส่วนอดีตทหารที่อยากเป็นนักการเมืองก็สมัครเข้าระบบพรรคการเมืองได้ตามระบบรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน เพื่อสร้างสมดุลทางการเมืองไทยเพราะปัจจุบัน รัฐบาล คสช. พยายามใช้กองทัพเป็นพรรคทหาร เล่นการเมืองอย่างเต็มตัว การใช้กองทัพเข้ามาแก้ไขปัญหาความขัดแย้งภายใน เป็นเรื่องไม่ถูกต้อง และนำมาสู่ความขัดแย้งของพลเมืองในปัจจุบัน

8.เร่งสร้างการปรองดองของคนในชาติก่อนการเลือกตั้งทั่วไปที่กำลังจะมี แม้เป็นหนึ่งในข้ออ้างในการยึดอำนาจของ คสช. แต่กว่า 4 ปีที่ผ่านมารัฐบาลก็เพิกเฉยไม่ได้แก้ไขปัญหาดังกล่าว ซึ่งข้อเสนอที่ "คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.)"เคยทำการศึกษาและเสนอต่อรัฐบาล ล้วนสามารถนำมาปฏิบัติได้เลย โดยเฉพาะการนิรโทษกรรมนักโทษทางการเมืองและนักโทษทางความคิดที่ยังติดคุกอยู่และกำลังจะติดคุกด้วยข้อหาทางการเมืองไม่ใช่คดีอาญาฆ่าคนตายโดยเจตนา ตามหลักการเรื่องการแก้ไขปัญหาเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองที่ควรใช้หลักการความยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ (Restorative Justice) และกระบวนการยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน เพื่อนำไปสู่ความปรองดอง การพิจารณาอย่างถี่ถ้วนในการตั้งข้อหาต่อผู้กระทำผิด รัฐสามารถทำได้ทันทีโดยการถอนฟ้องข้อหาทางการเมือง เช่น ข้อหาก่อการร้าย ข้อหาเกี่ยวกับความมั่นคง เป็นต้น และสร้างบรรทัดฐานในกระบวนการยุติธรรมขึ้นมาเป็นหลักประกันทางสังคม

9.รัฐบาลสามารถแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองได้โดยการกระจายอำนาจการปกครอง นอกจากการแยกระบบบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ เป็นอิสระออกจากกันและถ่วงดุลกันแล้ว การยกเลิกระบบการบริหารราชการส่วนภูมิภาคและระบบราชการแบบขึ้นอยู่กับ "กรม" แบบเก่าเป็นเรื่องจำเป็นในสถานการณ์ปัจจุบัน การเปิดให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศเป็นโอกาสการพัฒนาของประเทศไทย รวมถึงการกระจายอำนาจตำรวจให้ขึ้นกับจังหวัดด้วย

10.เร่งแก้ปัญหาการฉ้อราษฎร์-บังหลวง และคืนอำนาจให้ประชาชน เนื่องจากรัฐบาล คสช. บริหารราชการแผ่นดินมาจะครบ 4 ปีตามธรรมเนียมการปกครองและประเพณีปฏิบัติตามสมัย จะต้องไม่สืบทอดอำนาจหรือยืดเวลาออกไปอีกต่อไป ปัจจุบันปัญหาการประพฤติมิชอบ ทุจริตคอร์รัปชั่น และการฉ้อราษฎร์-บังหลวง ในระบบราชการและในรัฐบาล คสช. เพิ่มสูงขึ้นมากและมีเรื่องฉ้อฉลออกมาอย่างต่อเนื่อง ราวกับรัฐบาลเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาเอง เช่น การซื้อขายอาวุธของกองทัพ, ทรัพย์สินนอกบัญชีของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี การรับเหมาและจัดซื้อจัดจ้างภายในกระทรวงมหาดไทย ในยุค พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา เป็นต้น การโกงเงินคนจน ขณะที่กลุ่มทุนใหญ่ได้ประโยชน์ในระบบผูกขาดที่ไม่ต้องแข่งขัน งบประมาณของรัฐบาลในโครงการต่างๆ ก็ไม่มีรายละเอียดชัดเจนในการใช้ มีการตั้งงบประมาณแบบเบี้ยหัวแตกกว่า 1.5 แสนล้าน และการตั้งงบลอยบางโครงการหลายหมื่นล้าน และการงดเว้นการบังคับใช้ พ.ร.บ.การจัดซื้อจัดจ้างฯ ในหลายโครงการจนมูลค่าการคอร์รัปชั่นน่าจะสูงมากกว่ารัฐบาลที่ผ่านมา ถึงเวลาที่รัฐบาลต้องจัดทำระบบจัดซื้อจัดจ้างและสัญญาต่างๆ ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ประชาชนสามารถตรวจสอบได้

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช. ยึดอำนาจการปกครองประเทศมาเป็นปีที่ 4 เพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งและความรุนแรงทางการเมือง สร้างความปรองดองให้ประชาชนในชาติเกิดความรัก ความสามัคคี และเพื่อการปฏิรูปโครงสร้างทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และอื่นๆ เพื่อให้เกิดความชอบธรรมกับทุกฝ่าย

แต่ผ่านไป 4 ปี รัฐบาลเฉพาะกาลกลับสอบไม่ผ่านในการทำหน้าที่ดังกล่าว เนื่องจากรัฐบาลทหารมีความสามารถในการทำหน้าที่รักษาความสงบได้ในระยะสั้นเท่านั้น แต่ไม่สามารถบริหารราชการแผ่นดินในระยะยาวได้ หากเป็นรัฐบาลพลเรือนก็สมควรยุบสภาเพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่ แต่ในรัฐบาลเผด็จการทหาร พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา สมควรพิจารณาตัวเองลาออกจากตำแหน่ง ยุติการพยายามสืบทอดอำนาจ และกำหนดการเลือกตั้งทั่วไปในปีนี้ให้ชัดเจน

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

พบค่ายมือถือไทยทำข้อมูล 'สำเนาบัตรประชาชน' หลุดสู่สาธารณะกว่า 4.6 หมื่นราย

Posted: 13 Apr 2018 11:58 PM PDT

นักออกแบบระบบไอทีชาวต่างชาติพบค่ายมือถือแห่งหนึ่งของไทยใช้บริการรับฝากไฟล์ในระบบคลาวด์ Amazon S3 แล้วปล่อยให้ค่าเริ่มต้นเป็นสาธารณะ ทำให้สำเนาบัตรประชาชน 4.6 หมื่นใบ สามารถเข้าถึงและดาวน์โหลดได้ ค่ายมือถือยอมรับไม่มีแผนกด้านความปลอดภัยก่อนจะแก้ไขเป็นส่วนตัวภายหลัง 

 
14 เม.ย. 2561 MGR Online รายงานว่า นิอัลล์ เมอร์ริแกน (Niall Merrigan) นักออกแบบระบบไอทีชาวไอร์แลนด์ ได้โพสต์ข้อความในบล็อกเมื่อวันที่ 13 เม.ย. ที่ผ่านมา ระบุถึงการวิจัยเทคนิคด้านความปลอดภัย ในการค้นหาแฟ้มข้อมูลจากบริการคลาวด์ Amazon S3 ที่เป็นบริการรับฝากไฟล์สำหรับเก็บข้อมูลต่างๆ ให้บริการโดยอะเมซอน เว็บ เซอร์วิส (AWS) ของสหรัฐฯ สำหรับลูกค้าองค์กร ซึ่งใช้ลำดับใบรับรองด้านการเชื่อมต่อ (Certificate transparency logs) โดยสร้างขึ้นจากผู้ใช้รายหนึ่ง ที่นำโดเมนเนมมาลำดับคำ (Wordlist) เพื่อค้นหาแฟ้มต่างๆ กว่า 500 ที่อยู่ภายในลิงก์ดังกล่าว
 
ปรากฏว่า มีลูกค้าบางรายใช้บริการ Amazon S3 เก็บข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า ซึ่งกลายเป็นการเป็นการจัดเก็บข้อมูลแบบเปิด หรือกึ่งๆ สาธารณะ ที่เปิดช่องให้บุคคลภายนอกสามารถเข้าถึงข้อมูลเหล่านั้นได้ หนึ่งในนั้นคือเครือข่ายมือถือรายหนึ่งของไทย ที่ใช้บริการ Amazon S3 จัดเก็บไฟล์ PDF (ไฟล์เอกสาร) และไฟล์ JPG (ไฟล์ภาพ) เป็นสำเนาบัตรประชาชน สำเนาใบขับขี่ และพาสปอร์ตจำนวนมากกว่า 4.6 หมื่นไฟล์ รวม 32 กิกะไบต์ ซึ่งบุคคลภายนอกเพียงแค่รู้ที่อยู่เว็บลิงก์ (URL) ก็สามารถดาวน์โหลดรายละเอียดต่างๆ ได้ทั้งหมด
 
นายนิอัลล์ พยายามติดต่อไปยังค่ายมือถือตั้งแต่วันที่ 10 มี.ค. โดยทางค่ายมือถือดังกล่าวยอมรับว่า ทางบริษัทไม่มีหน่วยงานด้านความปลอดภัยที่ดูแลโดยเฉพาะ และแนะนำให้ติดต่อกลับมาใหม่ที่สำนักงานใหญ่ในวันและเวลาทำการ เมื่อสอบถามนักวิจัยอีกรายหนึ่ง แนะนำว่า ให้ติดต่อผู้สื่อข่าวบางรายเพื่อสร้างแรงกดดันและให้ค่ายมือถือดังกล่าวแก้ปัญหาที่เห็นได้ชัด อย่างไรก็ตาม ค่ายมือถือดังกล่าวได้แก้ไขการเข้าถึงเป็นส่วนตัว (Private) ไปเมื่อค่ำวันที่ 12 เม.ย. ที่ผ่านมา
 
นายนิอัลล์ กล่าวว่า ไม่ใช่ครั้งแรกที่ค่ายมือถือดังกล่าวมีปัญหาเกี่ยวกับบัตรประจำตัวประชาชน ก่อนหน้านี้ในปี 2559 ค่ายมือถือดังกล่าวเคยออกซิมการ์ดให้มิจฉาชีพ โดยปราศจากการตรวจสอบ และมิจฉาชีพนำไปเชื่อมต่อกับบริการธนาคาร ทำให้ลูกค้าสูญเสียเงินจำนวนมาก
 
นอกจากนี้ ยังมีค่ายมือถือในต่างประเทศอีกราย และค่ายโทรคมนาคมจำนวนมาก ล้มเหลวอย่างมากในการรักษาความปลอดภัยและปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า โดยแนะว่าให้เชื่อมต่อกับผู้ให้บริการของตนเอง และถามสิ่งที่พวกเขาทำเพื่อให้แน่ใจว่าเหตุการณ์ดังกล่าวจะไม่มีทางเกิดขึ้นได้อีก
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

นำกำไลข้อเท้าอิเล็กทรอนิกส์ มาใช้คุมประพฤติคดีเมาแล้วขับ กทม. แล้ว

Posted: 13 Apr 2018 11:50 PM PDT

กรมคุมประพฤติ นำกำไลข้อเท้าอิเล็กทรอนิกส์ มาใช้กับผู้ถูกคุมประพฤติในคดีเมาแล้วขับในพื้นที่กรุงเทพมหานครพร้อมให้ทำงานเพื่อสังคม สงกรานต์ 11-13 เม.ย. เกิดอุบัติเหตุรวม 1,846 ครั้ง ผู้เสียชีวิต 188 ศพ บาดเจ็บ 1,934 ราย

 
 
14 เม.ย. 2561 สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์ รายงานว่านายประสาร มหาลี้ตระกูล อธิบดีกรมคุมประพฤติ กล่าวถึงมาตรการคุมเข้มผู้เมาแล้วขับช่วงเทศกาลสงกรานต์ ว่า กรมคุมประพฤติ บูรณาการทำงานร่วมกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยคัดเลือกผู้ถูกคุมประพฤติ โดยเฉพาะในคดีเมาแล้วขับ ทำกิจกรรมร่วมทำงานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ เช่น ในจุดให้บริการประชาชน จุดตรวจ จุดเล่นน้ำสงกรานต์ในหลายพื้นที่ ตามเงื่อนไขที่ศาลฯ สั่ง ซึ่งเป็นมาตรการเชิงป้องกัน ส่วนมาตรการฟื้นฟูผู้กระทำผิด จะมีการให้ความรู้ด้านการจราจร การดื่มแอลกอฮอล์ การสร้างจิตสำนึก และการทำงานบริการสังคม เน้นดูแลคนไข้ในโรงพยาบาล ดูแลเหยื่อเมาแล้วขับที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ แต่ช่วงนี้เน้นให้ไปช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ตำรววจ โดยคาดหวังให้คนเหล่านี้ละเลิกพฤติกรรมเหล่านี้ ไม่กลับไปทำซ้ำ เป็นคนดีของสังคมต่อไป
 
ส่วนกำไลข้อเท้าอิเล็กทรอนิกส์ หรือ EM ขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนการจัดจ้าง จำนวน 4 พันเครื่อง คาดว่าจะสามารถนำมาใช้ได้เดือนกันยายนปีนี้ทั่วประเทศ ทั้งนี้ กรมคุมประพฤติ ได้หารือร่วมกับสำนักงานศาลยุติธรรม ที่มีเครื่อง EM อยู่แล้ว 5 พันเครื่อง เป็นการเช่าใช้ในกรอบกฎหมายของศาลอื่น เพื่อนำมาทดลองนำร่องใช้กับผู้กระทำผิดในคดีเมาแล้วขับ ในเขตกรุงเทพมหานคร ที่ศาลแขวงดอนเมืองและศาลแขวงพระนครเหนือ ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานคุมประพฤติกรุงเทพฯ 2 และกรุงเทพมหานคร 12 แต่อาจจะใช้ได้ไม่เต็มที่ เพราะเครื่องมือของศาลมีไว้เพื่อวัตถุประสงค์ที่ศาลตั้งไว้ โดยจะทดลองใช้จนกว่าเครื่องมือของกรมคุมประพฤติจะสามารถใช้ได้เดือนกันยายน อย่างไรก็ตาม ขอความร่วมมือประชาชนที่เดินทางช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด เตรียมร่างกาย เตรียมสภาพรถ เพื่อไม่ให้เกิดการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินจากอุบัติเหตุช่วงเทศกาลสงกรานต์
 
ทั้งนี้ศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน หรือ ศปถ. สรุปสถิติการเกิดอุบัติเหตุช่วงเทศกาลสงกรานต์ ประจำวันที่ 13 เม.ย. 2561 เกิดอุบัติเหตุ 820 ครั้ง เสียชีวิต 86 ศพ บาดเจ็บ 852 ราย สาเหตุที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด คือ ดื่มแล้วขับ ร้อยละ 47.56 ขับรถเร็ว ร้อยละ 27.44 ยานพาหนะที่เกิดเหตุสูงสุดคือรถจักรยานยนต์ ร้อยละ 78.66 ขณะที่เหตุสะสมทางถนน 3 วัน ระหว่างวันที่ 11-13 เม.ย. เกิดอุบัติเหตุรวม 1,846 ครั้ง ผู้เสียชีวิต 188 ศพ บาดเจ็บ 1,934 ราย โดยจังหวัดที่ไม่มีผู้เสียชีวิตมี 11 จังหวัด ขณะที่จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสะสมสูงสุดและมีผู้ได้รับบาดเจ็บสูงสุด คือจังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสะสมสูงสุดคือ นครราชสีมา บุรีรัมย์ เพชรบูรณ์ จังหวัดละ 8 ศพ
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กองทัพเผยปีนี้มีผู้สมัครเป็นทหาร กว่า 4 หมื่น คิดเป็น 42.77%

Posted: 13 Apr 2018 11:35 PM PDT

กองทัพขอบคุณชายไทยเข้ารับการตรวจเลือกทหารพร้อมเพรียง เผยปีนี้มีผู้สมัครเป็นทหาร กว่า 4 หมื่น คิดเป็น 42.77% หวังบ่มเพาะตามนโยบาย 'Smart man Smart army' 

 

ที่มาภาพ เฟสบุ๊คแฟนเพจ กองอำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย

14 เม.ย.2561 รายงานข่าวระบุว่า พ.อ.หญิง ศิริจันทร์ งาทอง รองโฆษกกองทัพบก กล่าวว่า การตรวจเลือกทหารกองประจำการในปีนี้ที่จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 1 – 12 เม.ย. 2561 ได้เสร็จสิ้นลงแล้ว โดยภาพรวมการตรวจเลือกเป็นไปด้วยความเรียบร้อย กองทัพบกขอขอบคุณชายไทยทุกคน ที่เห็นถีงความสำคัญและให้ความร่วมมือเข้ารับการตรวจเลือกอย่างพร้อมเพรียง รวมทั้งส่วนราชการ หน่วยงานประจำจังหวัด อำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่ให้การสนับสนุนการตรวจเลือกอย่างดียิ่ง

โดยปีนี้มีชายไทยทั่วประเทศเข้ารับการตรวจเลือก 532,277 นาย กองทัพคัดเลือกผู้ที่มีคุณสมบัติครบ ไว้เป็นทหารกองประจำการ 104,734 นาย แยกเป็นเหล่าทหารบก 80,011 นาย,เหล่าทหารเรือ 16,000 นาย และเหล่าทหารอากาศ 8,723  นาย

ทั้งนี้จากผู้ที่เข้ารับการตรวจเลือก มีผู้ร้องขอหรือสมัครเป็นทหารถึง  44,797 นาย คิดเป็นร้อยละ 42.77  โดยมีหลายเหตุผลที่สมัครเป็นทหาร อาทิ ค่าตอบแทนและสวัสดิการที่กองทัพมอบให้ ภาพลักษณ์ที่ดีของทหารที่ช่วยดูแลประชาชนและอยากมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาบ้านเมือง ความก้าวหน้าในการเข้ารับราชการต่อ เป็นต้น     

รองโฆษกกองทัพบก กล่าวว่า สำหรับผู้ที่มีเหตุจำเป็นขัดข้อง มิได้เข้ารับการตรวจเลือกทหารตามหมายนัดในปีนี้ ถือว่ามีความผิดตามกฎหมาย ขอให้รีบติดต่อไปยังเจ้าหน้าที่สัสดีเขต อำเภอ จังหวัด ตามภูมิลำเนาทหาร เพื่อดำเนินตามขั้นตอนที่ถูกต้องต่อไป  ส่วนผู้ที่ได้รับการคัดเลือกให้เข้าประจำการในผลัดที่ 1/2561 แผนกทหารบกและทหารอากาศ หลังสงกรานต์จะให้ไปดำเนินการด้านธุรการให้เรียบร้อยก่อน จากนั้นในวันที่ 1-3 พ.ค. 2561 ทหารใหม่จะต้องไปรายงานตัวเข้าประจำการตามวัน เวลาและสถานที่ที่ระบุไว้ในหมายนัดเข้ารับราชการ (แบบ สด.40)  ส่วนผู้ที่จะต้องเข้าประจำการในผลัดอื่นๆ ก็จะดำเนินการในลักษณะเดียวกัน และในระหว่างรอเข้าประจำการ ขอให้ทหารใหม่ได้จัดการธุระส่วนตัวให้เรียบร้อย เช่น การทำธุรกรรมทางการเงิน  เตรียมเอกสารวุฒิการศึกษา เพื่อใช้สมัครเรียนต่อการศึกษาตามอัธยาศัยในระหว่างประจำการ  การเตรียมยาที่ใช้เป็นประจำ เป็นต้น  

สำหรับหน่วยฝึกทหารใหม่ของกองทัพบก ขณะนี้ได้เตรียมรับทหารใหม่ตามนโยบายที่ผู้บัญชาการทหารบก กำชับไว้ในทุกด้าน ทั้งความพร้อมของสถานที่ บุคลากร สิ่งอำนวยความสะดวก การดูแลด้านสุขภาพ การปฏิบัติตามแบบธรรมเนียมทหาร การฝึกที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน รวมทั้งการปลูกฝังอุดมการณ์รักชาติ ทำประโยชน์เพื่อแผ่นดินและส่วนรวม โดยกองทัพบกจะให้การดูแลบ่มเพาะสมาชิกใหม่อย่างดีที่สุด ภายใต้นโยบาย "Smart man Smart army" 

 

ที่มา : สำนักข่าวไทยและเฟสบุ๊คแฟนเพจ กองอำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เดอะการ์เดียนสรุป 5 เรื่องที่ได้รู้จากการไต่สวน 'มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก' ในสภาคองเกรส

Posted: 13 Apr 2018 11:25 PM PDT

ในการตอบข้อซักถามของมาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ต่อสภาคองเกรสเมื่อช่วงกลางสัปดาห์ที่ผ่านมาอาจจะมีภาพลักษณ์ว่าวุฒิสมาชิกดูขาดความรู้และชวนให้กังวลว่าจะมีการควบคุมเฟสบุ๊คหรือไม่ แต่จากการสรุปของสื่อเดอะการ์เดียนทำให้เห็นข้อมูลในเบื้องต้นว่ามีหลายเรื่องที่มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก เองก็เพิ่งรู้ ตัวเขาเองก็ไม่พอใจเคมบริดจ์ ขณะที่บางเรื่องที่มีการพยายามตอบเลี่ยงอย่างน่าสงสัย ขณะเดียวกัน ส.ว. สหรัฐฯ โยนหินถามทางว่าควรจะมีการคุ้มครองข้อมูลประชาชนด้วยกฎหมายแบบยุโรปดีหรือไม่

 
เมื่อวันที่ 10-11 เม.ย. 2561 ที่ผ่านมามีการไต่สวน มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ซีอีโอของเฟสบุ๊คในสภาคองเกรสของสหรัฐฯ ทั้งจากวุฒิสมาชิกและจากสภาหอการค้าสหรัฐฯ หลังจากที่เฟสบุ๊คถูกกล่าวหาเกี่ยวกับการปล่อยให้คนในรัสเซียใช้ส่งอิทธิพลต่อการเลือกตั้งปี 2559 และเรื่องที่สหรัฐฯ ขายข้อมูลผู้ใช้งานให้เคมบริดจ์อนาไลติกา สื่อเดอะการ์เดียนรวบรวมเรื่องที่ได้ทราบจากการตอบข้อซักถามซักเคอร์เบิร์ก 5 ประการ ดังนี้
 
ข้อที่ 1 บัญชีผู้ใช้ของ มาร์ค ซักเคอร์เบิร์ก ก็ถูกขายข้อมูลส่วนตัวออกไปเหมือนผู้ใช้งานคนอื่นๆ
 
ในการตอบคำถามของผู้แทนฯ จากพรรคเดโมแครตชื่อแอนนา เอสชู ซักเคอร์เบิร์กเปิดเผยว่าเฟสบุ๊คได้ขายข้อมูลของบัญชีผู้ใช้ของเขาให้กับกลุ่มบุคคลที่ 3 เช่นกัน
 
ถึงแม้ว่าทางเฟสบุ๊คจะไม่ยืนยันอย่างชัดเจนว่าบุคคลที่ 3 ที่ว่าจะเป็นโกลบอลไซเอนซ์รีเสิร์จ (GSR) ซึ่งก่อตั้งโดยอเล็กซานเดอร์ โคแกน นักวิจัยมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ แต่จากการที่ซักเคอร์เบิร์กกล่าวไว้หลายครั้งว่าการสิบสวนเรื่องการส่งต่อข้อมูลให้บริษัทอื่นๆ ยังไม่เสร็จสิ้น ทำให้เป็นไปได้ยากที่ซักเคอร์เบิร์กจะหมายถึงบริษัทอื่น
 
อย่างไรก็ตามคำให้การของซักเคอร์เบิร์ก ทำให้เฟสบุ๊คอ้างวัตถุประสงค์ของตัวเองได้ยากขึ้นในแง่ความเป็นส่วนตัว เพราะขนาดซีอีโอของตัวเองยังไม่สามารถปรับแต่งความเป็นส่วนตัวของตัวเองได้แล้วคนอื่นๆ จะทำได้จริงหรือ
 
ข้อที่ 2 เฟสบุ๊คอาจจะเตรียมฟ้องเคมบริดจ์-ซักเคอร์เบิร์กบอกเพิ่งรู้ว่าเคมบริดจ์มีทีมวิจัยแบบนี้
 
จากคำให้การของซักเคอร์เบิร์กระบุว่าเฟสบุ๊คเพิ่งทราบเรื่องที่ทางมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์มีทีมงานวิจัยด้านลักษณะจิตนิสัย (psychographics) ซึ่งเป็นการนำศาสตร์จิตวิทยาและประชากรศาสตร์มาใช้ศึกษาผู้คน โดยที่ซักเคอร์เบิร์กกล่าวว่าเขารู้สึกประหลาดใจที่ได้รับรู้เรื่องนี้เช่นกัน
 
ซักเคอร์เบิร์กกล่าวว่ามีกลุ่มนักวิจัยที่พยายามสร้างโปรแรมแอพพลิเคชันเก็บ-วิเคราะห์ข้อมูลแบบเดียวกับของเคมบริดจ์ ทั้งนี้ในวันที่ 9 เม.ย. ที่ผ่านมาก็มีการเปิดเผยว่าจะมีการสั่งแบนองค์กรเก็บ-วิเคราะห์ข้อมูลลูกค้า ที่ชื่อ Cubeyou ออกจากการเข้าถึงเฟสบุ๊ค
 
ซักเคอร์เบิร์กบอกอีกว่าพวกเขาการสืบสวนมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ว่ากำลังมีคน "ทำอะไรเลวร้าย" อยู่หรือไม่ และถ้าหากว่าพวกเขาค้นพบว่ามีเคมบริดจ์กำลังพยายามทำอะไรแย่ๆ พวกเขาก็จะพิจารณาฟ้องร้องมหาวิทยาลัยนี้
 
ข้อที่ 3 มีความพยายามกำกับดูแลจากภาครัฐ แต่กำกับดูแลอย่างไรยังเป็นคำถาม
 
ขณะเดียวท่าทีของฝ่ายส.ว.และตัวแทนจากหอการค้าสหรัฐฯ ก็เป็นไปในทางสนับสนุนให้มีการกำกับดูแลการนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้และความต้องการออกกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูล จากท่าทีของแฟรงค์ พัลโลนี คณะกรรมาธิการฝ่ายพลังงานและพาณิชย์สหรัฐฯ กล่าวเปิดการซักถามซักเคอร์เบิร์กว่า "ผมยินดีที่ได้ทราบว่าคุณซักเคอร์เบิร์กยอมรับการที่ธุรกิจของเขาจะถูกกำกับดูแล พวกเราต้องการกฎหมายความเป็นส่วนตัวและการคุ้มครองข้อมูลที่ครอบคลุม"
 
การต่อสู้ที่แท้จริงระหว่างเฟสบุ๊คกับคองเกรสคือเรื่องที่จะมีการกำกับดูแลอย่างไร เฟรด อัพตัน ผู้แทนจากมิชิแกนกล่าววิจารณ์การกำกับดูแลไว้เช่นกันว่าบรรยากาศแบบที่มีการกำกับดูแลอาจจะทำให้เกิดการปิดกั้นไม่ให้เกิดพื้นที่ใหม่ๆ และปิดกั้นการแข่งขัน ดูเหมือนเฟสบุ๊คมีท่าทีไม่ชอบใจในเรื่องการกำกับดูแลเหมือนกัน
 
อย่างไรก็ตามสิ่งที่น่าจะเป็นกลายเป็นแนวทางกำกับดูแลในเรื่องนี้คือการคุ้มครองข้อมูลตามแบบกฎหมาย GDPR ของสหภาพยุโรป มีผู้แทนฯ ในคองเกรสหลายคนถามซักเคอร์เบิร์กว่าเขาอยากให้มีการนำ GDPR มาใช้กับประชาชนอเมริกันหรือไม่ ซักเคอร์เบิร์กก็พยายามตอบเลี่ยงคำถามนี้ด้วยการบอกว่า GDPR เป็น "การควบคุม" มากกว่า "การคุ้มครอง"
 
ข้อที่ 4 เฟสบุ๊คแข็งแกร่งด้วยรากฐานความเป็นอเมริกัน แต่ก็พยายามมีภาพลักษณ์แบบตอบรับนานาชาติ
 
ในการพูดเปิดของเกร็ก วัลเดน ประธานกรรมาธิการด้านพลังงานและหอการค้าสหรัฐฯ ระบุว่า "ความสำเร็จของคุณคือเรื่องราวความสำเร็จของชาวอเมริกัน เป็นการสร้างรูปธรรมทางคุณค่าของทั้งเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและเสรีภาพในการประกอบธุรกิจ" ซักเคอร์เบิร์กเองก็โต้ตอบคำถามเกี่ยวกับการปิดบริษัทว่าจะทำให้บรรยากาศการแข่งขันของสหรัฐฯ ลดลง ทำให้ความได้เปรียบในเรื่องนี้สู้จีนไม่ได้
 
แต่การเลือกเล่นเกมแบบยึดหลักว่าเฟสบุ๊คอยู่กับคุณค่าของความเป็นอเมริกันก็ดูมีความสุ่มเสี่ยงในตัวเอง เพราะซักเคอร์เบิร์กก็พยายามทำให้บริษัทดูมีภาพลักษณ์ตอบรับต่อชาวโลก ผู้ใช้ร้อยละ 85-90 ก็เป็นคนที่อยู่นอกสหรัฐฯ และเวลาอยู่ข้างนอกห้องไต่สวนนี้เฟสบุ๊คก็ประกาศตนชัดเจนว่าเป็นบริษัทระดับโลกไม่ใช่บริษัทอเมริกัน และบริษัทของพวกเขาก็รู้ดีว่าการเติบโตในอนาคตต้องพึ่งพาผู้ใช้จากนานาชาติ
 
ข้อที่ 5 มีบางเรื่องที่ซักเคอร์เบิร์กเองก็ตอบไม่ได้ หรือไม่อยากจะตอบ
 
หลังจากการไต่สวนในวันที่ 2 เสร็จสิ้นลงแล้ว ดูเหมือนจะมีบางส่วนที่เฟสบุ๊คเลี่ยงจะไม่ตอบ เช่นเมื่อถามถึงความสามารถในการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของเฟสบุ๊คก็จะถูกตอบแบบเบี่ยงเบนประเด็น หรือเมื่อถูกถามว่าใครเป็นเจ้าของตัวตนของซักเคอร์เบิร์กในโลกเสมือน ซักเคอร์เบิร์กก็ตอบเลี่ยงๆ ว่าพวกคุณเป็นเจ้าของ "เนื้อหา" ทุกอย่างที่พวกคุณอัพโหลดและสามารถลบเองได้ตามใจชอบ ซึ่งไม่ได้ถือว่าเป็นการตอบคำถามเลย ขณะเดียวกันโปรไฟล์โฆษณาที่เฟสบุ๊คสร้างขึ้นมาเกี่ยวกับตัวผู้ใข้นั้นตัวผู้ใช้เองไม่สามารถลบเองได้และตัวผู้ใช้ก็ไม่มีความสามารถควบคุมมันได้
 
อีกคำถามหนึ่งที่ซักเคอร์เบิร์กมักจะตอบเลี่ยงคือคำถามที่ว่าเฟสบุ๊คเก็บข้อมูลพฤติกรรมการเข้าเว็บไซต์ต่างๆ ของผู้ใช้งานไว้มากน้อยแค่ไหนบ้าง ส.ว. ต้องถามซักเคอร์เบิร์กย้ำๆ จนกระทั่งเขายอมตอบว่ามีการติดตามข้อมูลดังกล่าวจริงแต่ก็อ้างว่าผู้ใช้งานทั้งหลายเข้าใจดีและต้องการให้เฟสบุ๊คทำเช่นนั้น อีกทั้งซักเคอร์เบิร์กยังตอบด้วยการใช้คำอย่างระมัดระวังว่าข้อมูลการเข้าเว็บต่างๆ ของผู้ใช้งานไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของ "เนื้อหาของคุณ" ซึ่งอาจจะจริงในแง่ที่ว่ามันไม่ใช่สิ่งที่ผู้ใช้งานอัพโหลดเข้าสู่เฟสบุ๊คด้วยตนเอง แต่ก็ดูจะเป็นการตอบไปคนละประเด็น
 
 
เรียบเรียงจาก
 
Five things we learned from Mark Zuckerberg's Facebook hearing, The Guardian, 11-04-2018
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น