ประชาไท | Prachatai3.info |
- เรียกร้อง UN ประจำกรุงเทพฯ เคารพสิทธิแรงงาน-หลังปรับสภาพการจ้างแบบใหม่ขาดการมีส่วนร่วม
- ตร.ส่งตัว 6 คนอยากเลือกตั้ง มช.ให้อัยการ - ออกหมายเรียกเพิ่ม 5 คนอยากเลือกตั้งพัทยา
- รณรงค์สงกรานต์ 'จอดก่อนสาด ไม่ประมาท ไม่ดื่ม ไม่ซิ่ง' 67% พบมอเตอร์ไซค์อุบัติเหตุเสียชีวิตสูงสุด
- ปิดฉากงานสัปดาห์หนังสือ ผู้เข้าร่วมงาน 1.8 ล้าน ออเจ้าพาหนังสือประวัติศาสตร์พุ่ง
- 8 ปี 10 เมษา ณัฐวุฒิ เตรียมสวมชุดคนไร้ที่พึ่ง ทวงความคืบหน้ากับ ป.ป.ช. คดีสลายชุมนุม นปช. อีกครั้ง
- ศาลไม่ร่วมเวทีหาทางออกบ้านพักศาล-ภาคปชช.ย้ำต้องรื้อ-แม่ทัพภาค 3 จะนำไปเสนอนายกฯ
- พรรคอนาคตใหม่ ยื่น คสช.ขออนุญาตจัดประชุมพรรค ยกเลิกคำสั่งที่เป็นอุปสรรคต่อพรรคการเมือง
- ศาลยกคำร้องขอฝากขัง 5 แกนนำคนอยากเลือกตั้ง รอบหน้ากองทัพบก
- สนง.ศาลยุติธรรมยันไม่รื้อบ้านพักเชิงดอยสุเทพเพราะจะผิดสัญญา-เรื่องแก้ไขแล้วแต่รัฐบาล
- ประยุทธ์ บอก 'เวลาประเทศเสียหายออกมาด้วยนะ' หลังถูกนิสิตจุฬาฯ ชูป้ายใส่หน้า
- สหภาพแรงงานรถไฟเรียกร้องเพิ่มพนักงาน หวั่นเกิดวิกฤตกำลังคน
- จนท.ประกบ 'เนติวิทย์' 4 มุม ขณะ 'ประยุทธ์' ปาฐกถาจุฬาฯ ขับเคลื่อนประเทศในระยะเปลี่ยนผ่าน
- ระดมพลผู้สูงอายุไทย ทำอย่างไรให้มีอายุยืน 100 ปี อย่างมีความสุข
- คนทำงาน มีนาคม 2561
เรียกร้อง UN ประจำกรุงเทพฯ เคารพสิทธิแรงงาน-หลังปรับสภาพการจ้างแบบใหม่ขาดการมีส่วนร่วม Posted: 09 Apr 2018 01:34 PM PDT องค์กร PSI ออกแถลงการณ์สนับสนุนเจ้าหน้าที่สหประชาชาติประจำกรุงเทพมหานครที่คัดค้านมาตรการทบทวนเงินเดือนและจัดประเภทพนักงานรูปแบบใหม่ที่ขาดการปรึกษาหารือกับพนักงานและสหภาพแรงงาน หวั่นเกิดสภาพการทำงานที่ย่ำแย่และเกิดช่องว่างรายได้ระหว่างเพศ เจ้าหน้าที่สหประชาชาติ ที่ประจำอยู่ในองค์การสหประชาชาติ สำนักงานภูมิภาคเอเชียตะวันออก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประจำกรุงเทพมหานคร ประท้วงมาตรการปรับสภาพการจ้างงานแบบใหม่ที่ขาดการปรึกษาหารือกับพนักงาน เมื่อ 21 มีนาคมที่ผ่านมา (ที่มา: แฟ้มภาพ/PSI) องค์กร Public Services International (PSI) ออกแถลงการณ์สนับสนุนเจ้าหน้าที่องค์การสหประชาชาติ ที่ประจำอยู่ในกรุงเทพมหานคร และยังเรียกร้ององค์การสหประชาชาติเคารพสิทธิแรงงานและบุคลากรในองค์กร ทั้งนี้สำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ขององค์การสหประชาชาติ ได้ดำเนินการทบทวนเงินเดือนของพนักงานประจำสหประชาชาติ โดยไม่มีกระบวนการปรึกษาหารือที่เหมาะสมกับเจ้าหน้าที่และสหภาพแรงงาน โดยผลจากกระบวนการดังกล่าวกระทบกับเจ้าหน้าที่สหประชาชาติระดับท้องถิ่นที่ถูกจ้างงานโดยสำนักงานองค์การสหประชาชาติในกรุงเทพฯ โดยการจัดประเภทพนักงานรูปแบบใหม่ ที่จ่ายค่าตอบแทนน้อยลง จะถูกนำไปใช้กับเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น ซึ่งจะอยู่ในหมวดที่สามของบัญชีเงินเดือนและลำดับของพนักงาน โดย "หมวดที่สาม" จะหมายถึงพนักงาน "ทั่วไป" ซึ่งโดยมากเป็นเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น และส่วนมากของพนักงานเหล่านี้ยังเป็นผู้หญิงอีกด้วย การตัดสินใจดังกล่าวยังส่งผลทำให้ช่องวางรายได้ระหว่างเพศถี่ห่างยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังทำให้เกิดแนวโน้มของสภาพการทำงานที่ย่ำแย่ในหมู่เจ้าหน้าที่สหประชาชาติ ซึ่งรวมทั้งพนักงานประเภททำสัญญาจ้างงานแบบไม่กำหนด และเจ้าหน้าที่ฝึกงานที่ไม่ได้รับค่าตอบแทน ซึ่งทั้งหมดมีจำนวนมากกว่าร้อยละ 40 ซึ่งหากมาตรการดังกล่าวถูกนำมาใช้ สำนักงานสหประชาชาติประจำกรุงเทพฯ จะเป็นที่แรกของสำนักงานสหประชาชาติในโลกที่แบ่งพนักงานออกเป็น 3 ประเภท โดยองค์กร Public Services International หรือ PSI ได้สนับสนุนข้อเสนอที่ว่า หนึ่ง วิธีการที่นำไปสู่ข้อเสนอแบ่งพนักงานเป็น 3 ประเภท รวมทั้งการลดค่าตอบแทนในบางสำนักงานนั้น ไม่เหมาะสมในเชิงหลักการ สอง การตัดสินใจดังกล่าวยังขาดการมีส่วนร่วมและการปรึกษาหารือกับสหภาพแรงงานที่ถือเป็นตัวแทนของพวกเขา สาม คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนระหว่างประเทศ (ICSC) ปฏิเสธที่จะเคารพต่อพันธะกรณีที่ต้องยึดกระบวนการทบทวนวิธีการจ่ายค่าตอบแทนและขั้นตอนการตัดสินใจที่เน้นการมีส่วนร่วม รวมทั้งมาตรการในทางปฏิบัติที่ปฏิเสธไม่ให้แรงงานมีสิทธิในการเจรจาและร่วมต่อรอง ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นหลักการสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน PSI ยังเตือนว่าสหประชาชาติไม่เคารพต่อพันธะกรณีที่จะต้องเจรจาต่อรองร่วมกับพนักงานสหประชาชาติ นอกจากนี้ยังพยายามทำให้เกิดช่องว่างของเงินเดือนในหมู่พนักงานอีกด้วย ทั้งนี้ PSI ยังเรียกร้องให้มีการเจรจาทันที ระหว่างเจ้าหน้าที่สหภาพแรงงานที่เป็นตัวแทนของพนักงานสหประชาชาติ ฝ่ายบริหารของสำนักงาน UN ESCAP และ สำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ของสหประชาชาติ นอกจากนี้ยังแสดงความกังวลต่อกระบวนการทบทวนเงินเดือนที่เกิดขึ้น และสนับสนุนข้อเรียกร้องของพนักงานประจำสหประชาชาติ โดย Kate Lappin เลขาธิการภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของ PSI กล่าวว่า "สหประชาชาติไม่ผ่านมาตรฐานที่พวกเขากำหนดขึ้นมาเอง ผู้บริหารจะรับผิดชอบต่อการขูดรีดแรงงานได้อย่างไร ถ้าหากสหประชาชาติปฏิเสธที่จะเคารพสิทธิแรงงานเสียเอง?" เขายังกล่าวด้วยว่า การตัดสินใจดังกล่าวบ่อนเซาะหลักการของสหประชาชาติ และเป็นการเยาะเย้ยต่อมาตรฐานนานาชาติที่สหประชาชาติยึดถือ ทั้งนี้ความน่าเชื่อถือของสหประชาชาติเองก็จะอยู่ในความเสี่ยง โดย Kete Lappin เรียกร้องให้ผู้บริหารหาทางพูดคุยกับพนักงานประจำสหประชาชาติ และเจรจาเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ตกลงได้ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||
ตร.ส่งตัว 6 คนอยากเลือกตั้ง มช.ให้อัยการ - ออกหมายเรียกเพิ่ม 5 คนอยากเลือกตั้งพัทยา Posted: 09 Apr 2018 12:31 PM PDT ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน รายงาน ตำรวจส่งตัว 6 คนอยากเลือกตั้ง หน้ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ให้อัยการ นัดรายงานตัวด่วนอีกครั้ง 11 เม.ย. ขณะที่คดีคนอยากเลือกตั้งพัทยา ตร.ออกหมายเรียกเพิ่ม 5 คน 10 เม.ย.2561 ความคืบหน้าการดำเนินคดีกับกลุ่มคนเรียกร้องให้มีการเลือกตั้งตามที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เคยระบุว่าจะมีในเดือน พ.ย.ปีนี้นั้น ส่งตัว 6 คนอยากเลือกตั้ง หน้า มช. ให้อัยการ นัดรายงานตัวด่วนอีกครั้ง 11 เม.ย.วานนี้ (9 เม.ย.61) ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน รายงาน วันดังกล่าว เมื่อเวลา 9.00 น. ที่สภ.ภูพิงคราชนิเวศ 6 ผู้ต้องหากรณีร่วมกิจกรรมการชุมนุม "รวมพลคนอยากเลือกตั้ง" ใน "เทศกาลแห่งความหมดรัก" เมื่อวันที่ 14 ก.พ.61 ที่หน้ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่ได้รับทราบข้อกล่าวหาฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 เรื่อง ห้ามมั่วสุมหรือชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป และร่วมกันโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียงด้วยกําลังไฟฟ้าโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งข้อกล่าวหาที่สองนี้ ยกเว้น อ๊อด แอ่งมูล ที่ไม่ถูกแจ้งข้อกล่าวหาดังกล่าว ตั้งแต่เมื่อวันที่ 21 มี.ค. 61 ได้เข้าพบพนักงานสอบสวนเพื่อลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐานตามการนัดหมาย จากนั้นเวลา 10.00 น. ที่สำนักงานอัยการคดีศาลแขวงเชียงใหม่ พนักงานสอบสวนได้ทำการส่งตัวผู้ต้องหาคนอยากเลือกตั้งทั้ง 6 คนพร้อมสำนวนการสอบสวน ให้แก่พนักงานอัยการคดีศาลแขวงเชียงใหม่ ด้านผู้ต้องหาเมื่อได้รายงานตัวต่ออัยการแขวงแล้วได้ยื่นร้องขอความเป็นธรรม ขอให้สอบพยานบุคคลเพิ่มเติม คือ รศ.สมชาย ปรีชาศิลปกุล อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อเข้ามาให้ความเห็นเรื่องเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบตามรัฐธรรมนูญ กฎหมายระหว่างประเทศ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุม เพื่อให้อัยการคดีศาลแขวงได้พิจารณามีคำสั่งอนุญาตต่อไป เมื่อเสร็จสิ้นการส่งตัวผู้ต้องหาแล้ว อัยการคดีศาลแขวงได้นัดหมายผู้ต้องหาทั้ง 6 คนให้มารายงานตัวอีกครั้งในวันที่ 11 เม.ย. 61 เวลา 13.30 น. ก่อนที่จะติดช่วงวันหยุดยาวในช่วงเทศกาลสงกรานต์ เพื่อฟังคำสั่งของอัยการคดีศาลแขวงต่อไป ทั้งนี้ระหว่างการรายงานตัว ยังมีเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบเข้ามาถ่ายรูปและสังเกตการณ์โดยตลอดด้วย สำหรับผู้ต้องหาในคดีนี้ได้แก่ ประสิทธิ์ ครุธาโรจน์ นักศึกษาภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผู้ต้องหาที่ 1, จตุพล คำมี นักศึกษาสาขาวิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผู้ต้องหาที่ 2, สิทธิชัย คำมี นักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผู้ต้องหาที่ 3, ยามารุดดิน ทรงศิริ นักศึกษาสาขาปรัชญา การเมือง และเศรษฐศาสตร์ วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง ผู้ต้องหาที่ 4, อ๊อด แอ่งมูล ชาว จ.กำแพงเพชร ผู้ต้องหาที่ 5, และ จิตต์ศจีฐ์ นามวงค์ ช่างเสริมสวยจาก จ.เชียงราย ผู้ต้องหาที่ 6 ออกหมายเรียกเพิ่ม 5 ราย คดีคนอยากเลือกตั้งพัทยาวันเดียวกัน ศูนย์ทนายความฯ รายงานอีกว่า สิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์, วันเฉลิม กุนเสน และจิดาภา ธนหัตถชัย อนุรักษ์ เจนตวนิชย์ วีรชัย (สงวนนามสกุล) ดารณี ชาญเชิงศิลปะกุล และ อารีย์ (สงวนนามสกุล) 7 ผู้ต้องหา คนอยากเลือกตั้งพัทยาเดินทางเข้าพบ พนักงานอัยการตามหมายนัดเพื่อฟังคำสั่งในคดีฝ่าคำสั่งหัวหน้า คสช. 3/2558 ข้อ 12 เรื่องห้ามมั่วสุมชุมนุมทางการเมืองโดยไม่ได้รับอนุญาต จากการจัดกิจกรรม START UP PEOPLE ON TOUR: ปลุกพลังคนอยากเลือกตั้งครั้งที่ 2 ที่ชายหาดหน้าห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล เฟสติวัลพัทยาบีช เมืองพัทยาจังหวัดชลบุรี ของกลุ่ม START UP PEOPLE เมื่อวันที่ 4 มี.ค. ที่ผ่านมา โดยกิจกรรมดังกล่าวเรียกร้องให้มีการเลือกตั้งโดยเร็ว หยุดเลื่อนการเลือกตั้งและการสืบทอดอำนาจของ คสช. ทั้งนี้อัยการได้เลื่อนนัดฟังคำสั่งออกไปเป็นวันที่ 10 พ.ค. 61
นอกจากนี้เจ้าหน้าที่ได้ออกหมายเรียกผู้ต้องหาเพิ่มเติมอีก 5 ราย ในคดีเดียวกันนี้ และนัดให้ไปรับทราบข้อกล่าวหาวันที่ 17 เม.ย. 61 เวลาประมาณ 10.30 น. จากกิจกรรมดังกล่าว มีผู้ต้องหาถูกออกหมายเรียกมารับทราบข้อกล่าวหาแล้ว 12 ราย และยังไม่แน่ว่าพนักงานสอบสวนจะออกหมายเรียกเพิ่มอีกหรือไม่ นอกจากนี้การจัดกิจกรรมของกลุ่มคนอยากเลือกตั้งในที่ต่างๆ ทั้งกรุงเทพและต่างจังหวัด มีการดำเนินคดีแล้ว 7 คดี ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||
รณรงค์สงกรานต์ 'จอดก่อนสาด ไม่ประมาท ไม่ดื่ม ไม่ซิ่ง' 67% พบมอเตอร์ไซค์อุบัติเหตุเสียชีวิตสูงสุด Posted: 09 Apr 2018 09:58 AM PDT สสส. ตร. และภาคีเครือข่าย รณรงค์รับมือสงกรานต์ ชูแคมเปญ 'จอดก่อนสาด ไม่ประมาท ไม่ดื่ม ไม่ซิ่ง' หวังเตือนสตินักบิด ร่วมลดอุบัติเหตุ หลังพบ 67% มอเตอร์ไซค์พาหนะอุบัติเหตุเสี 9 เม.ย. 2561 รายงานข่าวแจ้งว่า วันนี้ เมื่อเวลา10.00 น. ที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้ รุ่งอรุณ ลิ้ "จากข้อมู พล.ต.ต.ยิ่งยศ เทพจำนงค์ รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวว่า ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจได้คุมเข้ "น่าห่วงมากว่าไทยติ ด้าน ธีระศักดิ์ น่าชอบ ญาติผู้ประสบอุบัติเหตุถูกรถจั "คุณตาของผม ท่านเป็นคนที่แข็งแรง ชอบปั่นจักรยานออกกำลังกาย ปั่นไปทำไร่ทำสวน และชอบเข้าวัดทำบุญ ไม่คิดว่าต้องมาเสียชีวิ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||
ปิดฉากงานสัปดาห์หนังสือ ผู้เข้าร่วมงาน 1.8 ล้าน ออเจ้าพาหนังสือประวัติศาสตร์พุ่ง Posted: 09 Apr 2018 09:48 AM PDT ปิดฉากงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ 9 เม.ย.2561 รายงานข่าวแจ้งว่า เมื่อวันที่ 8 เม.ย. ที่ผ่านมา สุชาดา สหัสกุล นายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ "ในงานสัปดาห์หนังสือฯครั้งนี้ หนังสือแนวประวัติศาสตร์ ทั้งประเภทงานวิชาการและประเภทน ปรากฏการณ์ดังกล่าวคือความสนุกใ สุชาดา ยังกล่าวอีกด้วยว่าสภา "สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่าย พบกันใหม่ในงานมหกรรมหนังสือระดั ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||
8 ปี 10 เมษา ณัฐวุฒิ เตรียมสวมชุดคนไร้ที่พึ่ง ทวงความคืบหน้ากับ ป.ป.ช. คดีสลายชุมนุม นปช. อีกครั้ง Posted: 09 Apr 2018 09:08 AM PDT ณัฐวุฒิ เตรียมสวมชุดคนไร้ที่พึ่ง ทวงถามความคืบหน้า กับ ป.ป.ช. ในคดีสลายชุมนุม นปช. อีกครั้ง พร้อมขอสำนวนเปรียบเทียบคดี 7 ตุลา 51 กรณีสลายกลุ่มพันธมิตรฯ เหตุคดีนั้น ป.ป.ช.ยังฟ้อง สมชาย เอง แฟ้มภาพจาก banrasdr photo 9 เม.ย. 2561 เนื่องในวันพรุ่งนี้ (10 เม.ย.61) จะเป็นวันครบรอบ 8 ปี เหตุการณ์สลายการชุมนุมแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) โดย ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ส่งผลให้มีประชาชนและเจ้าหน้าที่เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งว่า ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ แกนนำ นปช. จะแต่ง 'ชุดคนไร้ที่พึ่ง' เดินทางไปทวงถามความคืบหน้าคดีสลายการชุมนุมดังกล่าวกับ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ในเวลา 9.00 น. ที่สำนักงาน ป.ป.ช. ณัฐวุฒิ กล่าวว่า ตลอดเวลาที่ผ่านมาเราติดตามทวงถามความคืบหน้า ในการดำเนินคดีเรื่องนี้มาโดยตลอด จนถึงล่าสุดขั้นตอนของมันมีอยู่ 2 ส่วน ในส่วนของ ป.ป.ช. ได้มีมติยกคำร้อง อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และ สุเทพ เทือกสุบรรณ ว่าไม่มีความผิดในเหตุการณ์นี้ ในขณะเดียวกันกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) และอัยการมีความเห็นสั่งฟ้องในคดีฆ่าเอาไว้ อภิสิทธิ์กับสุเทพก็ใช้ข้อต่อสู้ว่าเรื่องนี้ไม่ได้อยู่ในอำนาจของ DSI แต่เป็นอำนาจของ ป.ป.ช. ในที่สุดศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองก็วินิจฉัยว่าเป็นอำนาจของ ป.ป.ช. ดังนั้นเราเลยไปตามเรื่องที่ ป.ป.ช. เพื่อเรียกร้องให้หยิบเรื่องนี้มาพิจารณาใหม่อีกครั้ง ซึ่งเป็นขั้นตอนที่กฎหมายเปิดให้ทำได้ โดยเราเชื่อว่าคำวินิจฉัยศาลฎีกาฯ น่าจะเป็นหลักฐานใหม่ รวมกระทั่งข้อมูลหลักฐานอื่นๆ ที่เราพยายามแสวงหารวบรวม ก็พร้อมที่จะนำเสนอให้ ป.ป.ช. แต่ว่าการทวงถามลักษณะนี้ตนดำเนินการไปแล้วหลายครั้งหลายรอบก่อนหน้านี้ ทั้งไปยื่นหนังสือด้วยตัวเอง ไปพร้อมกับญาติผู้เสียชีวิตและทนายความ แล้วก็มอบหมายให้แกนนำ นปช. คนอื่นๆ ไปยื่น แต่ไม่ได้รับคำตอบใดๆ นอกเหนือจากการติดตามความคืบหน้าของคดีแล้ว ญาติผู้เสียชีวิตได้ทำหนังสือร้องขอสำนวนการไต่สวนคดีที่ยกคำร้องอภิสิทธิ์กับสุเทพด้วยเพื่อนำมาเปรียบเทียบกับคำฟ้องในคดี 7 ตุลา 51 กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) ที่ครั้งนั้น ป.ป.ช. ส่งเรื่องไปที่อัยการ แล้วอัยการมีความเห็นไม่ฟ้อง เมื่อไม่ฟ้องจึงมีการตั้งกรรมการร่วม 2 องค์กร คือ อัยการกับ ป.ป.ช. ซึ่งอัยการก็ยังคงยืนยันไม่ฟ้องอีก แต่ ป.ป.ช. ใช้งบประมาณจ้างทนายความจากสภาทนายความฟ้องเอง หมายความว่าคดีพันธมิตรฯ ปี 51 ป.ป.ช. จ้างทนายความฟ้อง สมชาย วงศ์สวัสดิ์ และพวก เองเลย เราจึงอยากรู้ว่าพยานหลักฐานที่เอามาประกอบการใช้ดุลยพินิจของ ป.ป.ช.ใน 2 คดีนี้ มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร ทำไมคดีปี 51 ที่ผู้ปฏิบัติคือเจ้าหน้าที่ตำรวจ เครื่องมือที่ใช้คือแก๊สน้ำตา แต่ ป.ป.ช.สั่งฟ้องเอง ทั้งที่อัยการไม่ฟ้อง ขณะที่ปี 53 นั้น ผู้ปฏิบัติงานคือเจ้าหน้าที่ทหาร มีการใช้อาวุธสงครามประกาศเขตกระสุนจริง มีคนเสียชีวิตจำนวนมาก แต่ ป.ป.ช.ยกคำร้อง การร้องขอสำนวนการไต่สวนนี้ก็ไม่ได้รับการตอบรับหรือความคืบหน้าใดๆ เหมือนกัน ดังนั้นในวันพรุ่งนี้จะเป็นอีกครั้งที่ตนจะไปสอบถามเรื่องนี้กับ ป.ป.ช. สำหรับการจะไปเพียง 4 คนนั้น ณัฐวุฒิ กล่าว่า เพื่อไม่ให้เข้าเงื่อนไขทางกฎหมาย และไม่ได้เชิญชวนมวลชนใดๆ ไปร่วม "ไปเที่ยวนี้พวกผมจะแต่งตัวเป็นคนไร้ที่พึ่ง ผมรู้สึกว่า ป.ป.ช.อาจจะกำลังมองพวกผมเป็นแบบนั้นอยู่ก็ได้ คือผมสงสัยว่าชีวิตคนตายเป็นร้อยมันต่ำต้อยไร้ค่าในสายตาของผู้มีอำนาจหน้าที่มากหรืออย่างไร และผมต้องการจะสื่อสารว่าคนจะยากดีมีจนมันก็มีหัวใจ แม้ว่าเราจะมีอะไรไม่เท่ากัน แต่ความยุติธรรมคนทุกคนต้องมีเท่าเทียมกัน" ณัฐวุฒิ กล่าวทิ้งท้ายถึงเหตุผลที่จะแต่งตัวเป็นคนไร้ที่พึ่ง ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||
ศาลไม่ร่วมเวทีหาทางออกบ้านพักศาล-ภาคปชช.ย้ำต้องรื้อ-แม่ทัพภาค 3 จะนำไปเสนอนายกฯ Posted: 09 Apr 2018 06:26 AM PDT แม่ทัพภาคที่ 3 เข้าร่วมเวทีสาธารณะหาแนวทางแก้ไขโครงการบ้านพักศาลเชิงดอยสุเทพ นักวิชาการป่าไม้ห่วงพื้นที่ก่อสร้างโซนบ้านพักที่อยู่บนพื้นที่ลาดชัน 26% ล้อมด้วยป่าเต็งรัง เสี่ยงไฟป่า-ดินถล่ม โดยแม่ทัพภาคที่ 3 ประมวลข้อเสนอจากภาคประชาสังคมที่ขอให้วัดแนวเขตและรื้อแล้วปลูกป่าคืน ส่วนศาลค่อยหาพื้นที่ใหม่ปลูกบ้าน โดยแม่ทัพภาค 3 จะเสนอ ผบ.ทบ. และนายกรัฐมนตรีพิจารณา เวทีสาธารณะร่วมหาแนวทางแก้ไขปัญหาโครงการก่อสร้างบ้านพักข้าราชการตุลาการศาลอุทธรณ์ภาค 5 บริเวณป่าเชิงดอยสุเทพ ต.ดอนแก้ว อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ ที่ มทบ.33 ค่ายกาวิละ (ที่มา: สวท.เชียงใหม่/สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์)
ภาพจาก Google Maps แสดงพื้นที่ก่อสร้างบ้านพักข้าราชการตุลาการศาลอุทธรณ์ภาค 5 โดยซ้ายสุดคือโซนสองที่เป็นบ้านเดี่ยว 45 หลัง 9 เม.ย. 2561 ที่มณฑลทหารบกที่ 33 ค่ายกาวิละ จังหวัดเชียงใหม่ กองทัพภาคที่ 3 พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และภาคประชาชน จัดเวทีสาธารณะร่วมหาแนวทางแก้ไขปัญหาโครงการก่อสร้างบ้านพักข้าราชการตุลาการศาลอุทธรณ์ภาค 5 บริเวณป่าเชิงดอยสุเทพ ต.ดอนแก้ว อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ ทั้งนี้มี พล.ท. วิจักขฐ์ สิริบรรสพ แม่ทัพภาคที่ 3 เข้าร่วม พร้อมนายปวิณ ชำนิประศาสน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ ธนารักษ์พื้นที่เชียงใหม่ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย ส่วนเครือข่ายภาคประชาชนได้ส่งตัวแทนเจรจา 7 คน ท่ามกลางสื่อมวลชนและภาคประชาสังคมที่มาร่วมสังเกตการณ์จำนวนมาก อนึ่งมีการจัดที่นั่งสำหรับรองเลขาธิการ สำนักงานศาลยุติธรรม และประธานแผนกคดีสิ่งแวดล้อม ศาลอุทธรณ์ภาค 5 ด้วย อย่างไรก็ตามตัวแทนฝ่ายศาลไม่ได้เข้าร่วม โดยฝ่ายศาลมีการประชุมแก้ไขปัญหากรณีนี้ที่กรุงเทพมหานคร เช่นเดียวกัน (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง) ในการประชุมมีการเปิดโอกาสให้แต่ละฝ่ายได้ร่วมแสดงความคิดเห็น โดยแกนนำเครือข่ายขอคืนพื้นที่ป่าดอยสุเทพยังคงยืนยัน ข้อเรียกร้องเดิม ว่าให้ยุติโครงการและรื้อถอนบ้านพัก เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ เพราะเป็นพื้นที่ป่าในเขตรอยต่อเขตอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย พร้อมฟื้นฟูสภาพป่าให้กลับมาสมบูรณ์เหมือนเดิม ขณะที่ชาติชาย นาคทิพวรรณ นักวิชาการป่าไม้ชำนาญพิเศษ ตัวแทน ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 ห่วงใยพื้นที่ก่อสร้างโซนสองที่เป็นบ้านพักข้าราชการศาลที่เป็นบ้านเดี่ยว 45 หลัง โดยระบุว่าโซนนี้มีความลาดชัน 26% มีการตัดต้นไม้เป็นพื้นที่เปิดโล่ง ดินเป็นลูกรัง และพบดินทรายจำนวนมากง่ายต่อการชะล้างพังทลาย ส่วนโซนที่สามและสี่ ที่เป็นอาคารชุด และอาคารสำนักงาน อยู่บนพื้นที่ลาดชัน 12% ส่วนพื้นที่โครงการเป็นพื้นที่ป่าเต็งรัง ป่าผลัดใบในฤดูแล้ง มีใบไม้แห้งซึ่งเป็นเชื้อเพลิงได้ง่าย นอกจากนี้ยังมีทางน้ำไหลลงไปยังอ่างเก็บน้ำแม่จอกหลวงและที่ราบลุ่มของชุมชน โดยนักวิชาการป่าไม้แสดงความห่วงใยเรื่องดินถล่มและไฟป่า ส่วนนพดล ณ เชียงใหม่ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้ว อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ กล่าวว่า โครงการดังกล่าวไม่มีการทำประชาพิจารณ์และไม่มีการยื่นแจ้งว่าจะมีการก่อสร้างเพราะเป็นโครงการของราชการที่ไม่ต้องขออนุญาต อย่างไรก็ตามต้องแจ้งว่าจะมีการก่อสร้าง แจ้งแบบแปลนอาคาร เพราะท้องถิ่นเกี่ยวข้องกับการควบคุมอาคารสูง แต่ที่ผ่านมาไม่ได้มีการแจ้งและ อบต. ไม่สามารถเข้าพื้นที่ได้ โดยหลังการประชุม พล.ท.วิจักขฐ์ สิริบรรสพ แม่ทัพภาคที่ 3 ได้กล่าวสรุปข้อเสนอจากการประชุมโดยกล่าวว่าจะนำเสนอผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ภายวันพรุ่งนี้อย่างช้า 10 เม.ย. เพื่อจะได้กราบเรียนหัวหน้า คสช. ได้พิจารณา ส่วนบ่ายวันนี้ผลการประชุมของสำนักงานศาลยุติธรรมก็จะออกเช่นกัน พล.ท.วิจักขฐ์ ระบุว่าเขาจะเรียน ผบ.ทบ. ในฐานะเลขาธิการ คสช. ให้ทราบว่าความต้องการของประชาชนในพื้นที่ จ.เชียงใหม่ ที่มีการจัดเสวนาโดยเปิดเผย กว้างขวาง เสรีนั้น เมื่อสักครู่ท่านได้ประกาศแล้วว่าจุดยืนคืออะไร แต่มีบางท่านเสนอเป็นบางส่วนว่าจะทำอย่างไรต่อไป ผมก็นำข้อเสนอของท่านที่เป็นตัวแทน และของหลายๆ ท่านที่เป็นประเด็นปลีกย่อย เสนอต่อ ผบ.ทบ. และเรียนนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้า คสช. ได้รับทราบถึงความต้องการของคนเชียงใหม่ ความต้องการของภาคประชาชน ประชาสังคม และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้แม่ทัพภาคที่ 3 ได้ประมวลข้อเสนอจากที่ประชุม มีรายละเอียดประกอบด้วย ประการแรก ภาคประชาสังคมต้องการให้รื้ออาคารศาลบางส่วน แต่จะรื้อถึงขนาดไหนก็จะจัดกรรมการไปดูในพื้นที่ด้วยกันหลายฝ่าย อย่างเป็นธรรม และจะนำเสนอ โดยขออนุญาตว่าให้ภาคประชาสังคมนำเสนอจุดที่จะขีดเส้น ภายในวันที่ 19 เม.ย. ผมจะได้รับคำตอบหรือไม่ ก็จะให้กรรมการไปดู ว่าจะรื้อแค่ไหนจึงจะเหมาะสมกับความต้องการของท่าน พูดกันตั้งแต่เบื้องต้นว่างานนี้จะวิน-วิน เพราะงานนี้ไม่มีการรุกฆาต มีแต่ว่าสันติวิธีอยู่ตรงไหนเพราะคือคนไทยด้วยกัน ประการที่ 2 ให้ผู้รับเหมาทำงานให้เสร็จ หรือจะหยุดแค่นี้แต่รัฐต้องจ่ายให้เขาตามงวดงานของเขา คือเพื่อไม่ให้กระทบต่อการทำงานของบริษัทก่อสร้าง ที่เข้ามาโดยถูกกฎหมายโดยวิธีประมูลงานของส่วนราชการ ซึ่งเขาต้องได้รับสิทธิมาทำงานกับภาคราชการ ประการที่ 3 หากมีการรื้อ รัฐบาลต้องหาพื้นที่จำนวนที่เหมาะสมด้านล่าง ทดแทนให้กับพื้นที่รื้อของบ้านพักศาลต่างๆ และเยียวยาด้วยการหางบประมาณมาก่อสร้างใหม่ เป็นบ้านพักของทางราชการ ในพื้นที่ที่เหมาะสม ประการที่ 4 ให้สำนักงานศาลส่งคืนพื้นที่กระทบคืนผืนป่าดอยสุเทพ-ดอยปุย ให้กับราชพัสดุ เพื่อนำพื้นที่ดังกล่าวไปปลูกป่าราษฎร์รัฐร่วมใจต่อไป ทั้ง 4 ประเด็น จะกราบเรียนผู้บัญชาการทหารบก เพื่อไปเรียนนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้า คสช. ประกอบการตัดสินใจกับข้อยุติที่ศาลที่มีการประชุมเช่นกัน (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง) ถ้าอยากทำหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช. ผมจะกราบเรียนข้อคิดเห็นที่จับมาจากประเด็นเวทีเสวนา ผมเก็บประเด็นทุกท่านที่เหมาะสม มันเป็นข้อยุติที่เป็นสันติวิธี เชื่อมั่นว่าท่านนายกรัฐมนตรีกล้าตัดสินใจ อันนี้เป็นปัญหากระทบต่อจิตใจของคนเชียงใหม่ ท่านฟัง ท่าน ผบ.ทบ.ก็ฟัง ท่าน พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณก็ฟัง ศาลขอยกเลิกการมาเสวนาที่นี่ กราบเรียน ผบ.ทบ. ศาลเขายกเลิกการมาร่วมเสวนา ท่านก็รับทราบและขอให้ผมเก็บประเด็นความต้องการของชาวเชียงใหม่ กลุ่มอนุรักษ์ว่าต้องการอะไร อนึ่งเมื่อเวลา 19.30 น. ธีระวัฒน์ รูปสุวรรณ ผู้ประสานงานเครือข่ายขอคืนพื้นที่ป่าดอยสุเทพ ได้ให้สัมภาษณ์ไทยรัฐทีวี ยืนยันเจตนารมณ์ของกลุ่มว่ายืนยันว่าต้องรื้อส่วนที่เป็นบ้านพักที่อยู่ในเขตป่าดอยสุเทพ รวมทั้งแฟลตบ้านพัก 9 หลัง ยกเว้นแฟลตที่เหลือจำนวน 4 หลังที่อยู่นอกเขตป่า ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||
พรรคอนาคตใหม่ ยื่น คสช.ขออนุญาตจัดประชุมพรรค ยกเลิกคำสั่งที่เป็นอุปสรรคต่อพรรคการเมือง Posted: 09 Apr 2018 05:47 AM PDT พรรคอนาคตใหม่ขออนุญาต คสช. จัดประชุมใหญ่เพ 9 เม.ย.2561 สำนักข่าวไทย รายงานว่า วันนี้ ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ และ ปิยบุตร แสงกนกกุล ผู้ขอจดจัดตั้งพรรคอนาคตใหม่ เข้ายื่นหนังสือขออนุญาต คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพื่อจัดประชุมเพื่อยื่นคำขอจดทะเบียนจัดตั้งพรรคการเมืองผ่าน คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และทวงถามความคืบหน้าในการตอบรับการยื่นจดจัดตั้งพรรคอนาคตใหม่ เนื่องจากใกล้ครบเวลา 30 วัน ในวันที่ 15 เม.ย. แล้ว แต่ทางพรรคยังไม่ได้รับหนังสือรับแจ้งการเตรียมการจัดตั้งพรรคการเมือง ( แบบพ.ก. 7/2) จาก กกต. เกรงว่าจะติดช่วงวันหยุดสงกรานต์จะทำให้ทุกอย่างล่าช้าออกไป เพราะทราบว่า คสช.ได้อนุญาตให้ 13 พรรคการเมืองที่ขอจัดตั้งใหม่ ดำเนินการจัดประชุมได้ เฟสบุ๊คแฟนเพจ 'The Future We Want' เผยแพร่แถลงการณ์คณะผู้ขอเตรียมการจัดตั้งพรรคอนาคตใหม่ เรื่อง เรียกร้องให้ คสช. อนุญาตให้มีการจัดประชุมเพื่อยื่นคําขอจดทะเบียนจัดตั้งพรรคการเมือง และยกเลิกประกาศหรือคําสั่งใดๆ อันเป็นอุปสรรคต่อการดําเนินกิจกรรมทางการเมือง ด้วย โดยมี ข้อเรียกร้อง ต่อ คสช. 3 ประการ ประกอบด้วย 1. อนุญาตให้มีการประชุมใหญ่เพ "มิฉะนั้น การเลือกตั้งที่กำลังจะมาถึ
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||
ศาลยกคำร้องขอฝากขัง 5 แกนนำคนอยากเลือกตั้ง รอบหน้ากองทัพบก Posted: 09 Apr 2018 03:44 AM PDT กลับบ้านได้ ศาลยกคำร้องขอฝากขัง 5 แกนนำคนอยากเลือกตั้ง รอบหน้ากองทัพบก ขณะที่อดีตเลขา สมช. เข้าเป็นพยาน ขอประยุทธ์ ทำตามสัจจะ ทุกอย่างก็จะเคลื่อนตัวไปและจบลง ย้ำการเคลื่อนไหวเป็นไปตามกรอบของสิทธิและเสรีภาพ ไม่ได้มีการปรุงแต่งเนื้อหายุยงปลุกปั่น 9 เม.ย.2561 ความคืบหน้ากรณี 5 แกนนำคนอยากเลือกตั้ง หลังเข้าพบพนักงานสอบสวน รับทราบข้อกล่าวหา ที่ สน.นางเลิ้ง เช้าวันนี้ ในคดีตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116, ตามพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 และตามคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 จากการชุมนุมและเดินขบวนจากบริเวณมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ จนถึงบริเวณหน้ากองทัพบก เมื่อวันที่ 24 มี.ค. ที่ผ่านมา ผู้ต้องหาทั้ง 5 ประกอบด้วย กาณฑ์ พงษ์ประภาพันธ์ ณัฏฐา มหัทธนา ธนวัฒน์ พรหมจักร โชคชัย ไพบูลย์รัชตะ และ ศรีไพร นนทรีย์ โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ขออนุญาตศาลฝากขัง ซึ่ง 3 ใน 5 ผู้ต้องหา คือ ณัฏฐา โชคชัย และ ศรีไพร ยืนยันจะไม่ใช้สิทธิประกันตัว หากศาลอนุมัติฝากขัง ล่าสุดเฟสบุ๊ค 'Fahroong Srikhao ฟ้ารุ่ง ศรีขาว' รายงานว่า ศาลยกคำร้องขอฝากขัง 5 แกนนำคนอยากเลือกตั้ง อดีตเลขา สมช. เข้าเป็นพยาน ขอประยุทธ์ ทำตามสัจจะ ทุกอย่างก็จะเคลื่อนตัวไปและจบลงข่าวสดออนไลน์ รายงานด้วยว่า เมื่อเวลา 10.00 น.ที่ผ่านมา ที่สน.นางเลิ้ง พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร อดีตเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) เดินทางเข้าร่วมให้การในฐานะพยานของ ณัฏฐา หนึ่งในแกนนำกลุ่มคนอยากเลือกตั้ง โดยพล.ท.ภราดร ให้สัมภาษณ์ ถึงแนวคิดคำให้การ ว่า จากข้อกล่าวหาทีระบุว่า ยุงยงปลุกปั่น ในฐานะที่ตนมีประสบการณ์ด้านความมั่นคง เห็นว่านัยยะของการเคลื่อนไหวนี้ เป็นไปตามกรอบของสิทธิและเสรีภาพ จากกลุ่มที่ตระหนักในสิทธิและเสรีภาพ ไม่ได้มีการปรุงแต่งเนื้อหา จนถือเป็นการยุยงปลุกปั่น แต่เป็นข้อเท็จจริงตามที่นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวกับสาธารณะทั้งในและนอกประเทศ พวกเขาก็นำคำกล่าวเเหล่านี้ของนายกฯมาเรียกร้องให้ปฏิบัติตาม เป็นความปราถนาดี อยากให้นายกฯ ทำตามสัจจะวาจาที่ให้ไว้ ขณะเดียวกันก็เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการลามจนไปกระทบความน่าเชื่อถือของประเทศชาติ พล.ท.ภราดร กล่าวว่า ถ้อยคำที่ผู้ชุมนุมกล่าว และป้ายที่แสดงออก เช่น หมดเวลาคสช. ก็เป็นการอธิบายความเพิ่มเติมว่า ถ้าท่านทำตามสัจจะวาจาที่ให้ไว้ ทุกอย่างก็จะเคลื่อนตัวไปและจบลง หมดเวลาหน้าที่ของคสช.ตามรัฐธรรมนูญแล้ว สาระสำคัญจึงอยู่ตรงนี้ ส่วนที่เป็นขบวนก็เพราะเกิดจากปัจเจกชนที่มีเนื้อหาสาระที่ตรงกันก็มารวมกันตามธรรมชาติของประชาธิปไตย เพื่อเรียกร้องสิทธิ จึงไม่น่าเป็นข้อกังวลอะไร การเคลื่อนก็สันติ ปราศจากอาวุธ สามารถควบคุมได้ ไม่ได้นำไปสู่การกระด้างกระเดื่อง หรือยุยงปลุกปั่น ไม่ถึงกับเป็นภัยคุุกคาม ที่จะส่งผลต่อความมั่นคง ความสงบเรียบร้อย สำหรับเงื่อนไขการแสดงความเห็น ก็ยังไม่มากพอที่จะลามปามจนนำไปสู่ความไม่เรียบร้อยในอนาคต เมื่อถามว่า โจทก์ในคดีนี้คือ พ.อ.บุรินทร์ ทองประไพ ฝ่ายกฎหมายคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) แล้วมีอดีต สมช. มาให้การตรงกันข้าม จะมีผลกระทบหรือไม่ มีคำแนะนำอย่างไร พล.ท.ภราดร กล่าวว่า ตนเป็นอดีตเลขาฯสมช. มีประสบการณ์เจอสถานการณ์ที่กระทบต่อความมั่นคง มีการใช้กฎหมายความมั่นคงที่เข้มข้นกว่าในกรณีนี้ด้วยซ้ำไป ตนมองนัยยะแล้วกรณีนี้ไม่ส่งผล และครบองค์ประกอบ จึงไม่สมควรที่จะมีการกล่าวหา และไม่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ ดำเนินการไปก็เท่านั้น สู้ทำให้เงื่อนไขเหล่านี้มันลดลงไปเองจะดีกว่า กาฟ้องไม่ได้เป็นประโยชน์กับคสช. ไม่เป็นประโยชน์ต่อการยุยงปลุกปั่นอะไร เป็นเรื่องปกติในการใช้สิทธิเสรีภาพ "หากผมยังเป็นนเลขาฯสมช.ก็จะแนะนำแบบนี้ ปัญหาบ้านเมืองทุกวันนี้ เกิดจากการขาดศรัทธาต่อระบอบประชาธิปไตย ต้องเข้าถึงหลักการของสิทธิ เสรีภาพ และภราดรภาพ เพื่อทำให้ปัญหาคลี่คลาย ผมไม่ห่วงผลกระทบ เพราะเป็นข้าราชการบำนาญอยู่แล้ว แต่อยากสื่อสารให้เห็นภาพร่วมกันว่า หากเราศรัทธาในระบอบประชาธิปไตยแล้ว จะไม่มีทางตัน" อดีตเลขาฯสมช.กล่าว เมื่อถามว่า วันที่ 5 พ.ค. กลุ่มคนอยากเลือกตั้ง จะมีการเคลื่อนไหวอีก พล.ท.ภราดร กล่าวว่า เชื่อว่า ตอนนี้ทุกคนเห็นข้อเท็จจริงแล้ว ทางนายกฯ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดำเนินการตามที่ฝ่ายประชาธิปไตยเรียกร้อง เพราะนี่ไม่ใช่การบิดเบือนคำพูด แต่เป็นการเรียกร้องให้ปฏิบัติตามคำพูดของนายกฯเอง หากไม่ปฏิบัติตามก็จะกระทบต่อเกียรติภูมิของนายกฯเอง และลามไปถึงความไม่เชื่อถือต่อประเทศชาติ ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||
สนง.ศาลยุติธรรมยันไม่รื้อบ้านพักเชิงดอยสุเทพเพราะจะผิดสัญญา-เรื่องแก้ไขแล้วแต่รัฐบาล Posted: 09 Apr 2018 03:33 AM PDT ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม (ก.บ.ศ.) ชี้แจงโครงการสร้างที่ทำการศาลอุทธรณ์ภาค 5 และบ้านพักชงมาตั้งแต่ปี 2540 ขอใช้ที่ดินทหาร-ราชพัสดุถูกต้อง ขุดล้อมต้นไม้ 240 ต้น จะปลูกคืน 6,400 ต้น กรณีมีผู้เรียกร้องให้รื้อถอน ไม่สามารถทำได้เพราะจะผิดสัญญาผู้รับเหมา รัฐจะเสียงบประมาณใช้ค่าเสียหาย และ สตง.ก็จะเล็งหาคนรับผิดชอบ โดยที่ประชุม ก.บ.ศ. จะมีมติว่าให้สำนักงานศาลยุติธรรมรับฟังความเห็นทุกฝ่าย และแจ้งรัฐบาล ส่วนรัฐบาลหากเห็นสมควรประการใด สำนักงานศาลยุติธรรมไม่ขัดข้อง ด้านหน้าของโครงการก่อสร้างบ้านพักข้าราชการตุลาการศาลอุทธรณ์ภาค 5 ภาพถ่ายเมื่อ 5 มีนาคม 2561 (ที่มา: เอื้อเฟื้อภาพโดยเครือข่ายนักข่าวพลเมือง จ.เชียงใหม่) ภาพจาก Google Maps เปรียบเทียบการใช้ที่ดินเชิงดอยสุเทพระหว่างโครงการก่อสร้างอาคารที่ทำการศาลอุทธรณ์ภาค 5 พร้อมบ้านพักข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม (ไฮไลท์สีส้ม) กับส่วนราชการอื่นๆ สำหรับอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ตรงกลางภาพคืออ่างเก็บน้ำห้วยแม่จอกหลวง อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักชลประทานที่ 1 กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 9 เม.ย. 2561 กลุ่มงานโฆษกและวิเคราะห์ข่าว กองสารนิเทศและประชาสัมพันธ์ สำนักงานศาลยุติธรรม เผยแพร่มติของที่ประชุมคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม (ก.บ.ศ.) ที่ได้พิจารณาวาระเพิ่มเติมพิเศษกรณีโครงการก่อสร้างอาคารที่ทำการศาลอุทธรณ์ภาค 5 พร้อมบ้านพักข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม มีรายละเอียดของใบแถลงข่าวดังนี้ 000 ก.บ.ศ. มีมติเกี่ยวกับการก่อสร้างอาคารที่ทำการและอาคารที่พักอาศัยของศาลอุทธรณ์ภาค 5วันนี้ (9 เมษายน 2561) ที่ห้องประชุมคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม ศาลฎีกา ศูนย์ราชการ เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ (อาคาร A) ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพมหานคร ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม (ก.บ.ศ.) ได้พิจารณาวาระพิเศษเพิ่มเติมกรณีที่สำนักงานศาลยุติธรรม ได้ดำเนินการโครงการก่อสร้างอาคารที่ทำการศาลอุทธรณ์ภาค 5 พร้อมบ้านพักข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม ซึ่งโครงการดังกล่าวปัจจุบันใกล้เสร็จสมบูรณ์ตามสัญญาแล้ว แต่ปรากฏว่ามีบุคคลกลุ่มหนึ่งคัดค้านและเรียกร้องให้ยุติการก่อสร้างพร้อมให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างในโครงการก่อสร้างดังกล่าวออกไป โดยนายสราวุธ เบญจกุล เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม เปิดเผยว่า สำนักงานศาลยุติธรรมขอชี้แจงถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการขอใช้พื้นที่และการดำเนินโครงการดังกล่าวดังนี้ 1. เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2540 กระทรวงยุติธรรมได้มอบหมายให้สำนักงานอธิบดี ผู้พิพากษาภาค 5 ขอใช้พื้นที่ในราชการทหารบริเวณด้านหลังของหน่วยกองพันทหารปืนใหญ่ที่ 7 เนื้อที่ ประมาณ 106 ไร่ เพื่อก่อสร้างบ้านพักและอาคารที่ทำการของกระทรวงยุติธรรม ต่อมาวันที่ 12 เมษายน 2542 ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 33 ได้มีหนังสือถึงอธิบดีผู้พิพากษาภาค 5 ให้ยืนยันการขอใช้ที่ดินเพื่อก่อสร้าง บ้านพักและอาคารที่ทำการของกระทรวงยุติธรรม 2. เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2542 สำนักงานอธิบดีผู้พิพากษาภาค 5 ได้มีหนังสือยืนยันใช้ที่ดินบริเวณดังกล่าวเพื่อก่อสร้างบ้านพักและอาคารที่ทำการของกระทรวงยุติธรรม ต่อมาเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2543 ศาลยุติธรรมได้แยกจากกระทรวงยุติธรรมตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 และให้มีสำนักงานศาลยุติธรรมเป็นส่วนราชการที่เป็นหน่วยงานอิสระ มีฐานะเป็นนิติบุคคล มีอำนาจหน้าที่ที่เกี่ยวกับงานธุรการของศาลยุติธรรม เพื่อสนับสนุนและอำนวยความสะดวกให้แก่ศาลยุติธรรม 3. เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2546 สำนักงานอธิบดีผู้พิพากษาภาค 5 มีหนังสือถึง ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 33 ขอใช้ที่ดินบริเวณด้านหลังของหน่วยกองพันทหารปืนใหญ่ที่ 7 เนื้อที่ ประมาณ 106 ไร่ เพื่อก่อสร้างอาคารที่ทำการของศาลยุติธรรมและบ้านพัก 4. ศาลอุทธรณ์ภาค 5 ได้มีหนังสือลงวันที่ 13 มีนาคม 2546 รายงานความคืบหน้าเกี่ยวกับ การขอใช้ที่ดินมายังสำนักงานศาลยุติธรรมว่า มณฑลทหารบกที่ 33 ขอให้จัดทำแผนผังการใช้ประโยชน์ ในที่ดินแปลงที่ขอใช้ เพื่อเสนอกองทัพบกพิจารณา 5. มณฑลทหารบกที่ 33 ได้มีหนังสือลงวันที่ 4 มีนาคม 2547 แจ้งว่าไม่ขัดข้อง ที่จะให้สำนักงานศาลยุติธรรมใช้ที่ดินเนื้อที่รวม 147 - 3 - 41 ไร่ เพื่อก่อสร้างอาคารที่ทำการ ศาลอุทธรณ์ภาค 5 และบ้านพักข้าราชการฝ่ายตุลาการและขอให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การดูแล บำรุงรักษาที่ราชพัสดุ ประกอบกับก่อนหน้านั้นเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2546 มณฑลทหารบกที่ 33 มีหนังสือถึงอธิบดีผู้พิพากษาภาค 5 แจ้งว่า ในการขอใช้ที่ดินของสำนักงานอธิบดีผู้พิพากษาภาค 5 มณฑลทหารบกที่ 33 ได้ตรวจสอบแล้ว บริเวณพื้นที่ที่ขอใช้ไม่คาบเกี่ยวกับอุทยานแห่งชาติ สุเทพ - ปุย ป.พัน.7 และหน่วยในพื้นที่แต่อย่างใด ประกอบกับสำนักงานอธิบดีผู้พิพากษาภาค 5 มีความจำเป็นเร่งด่วนในการขอใช้ที่ดิน จึงเห็นควรสนับสนุน 6. สำนักงานศาลยุติธรรมได้มีหนังสือ ลงวันที่ 19 กันยายน 2548 ถึงผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ขอใช้ที่ดินเนื้อที่ประมาณ 147 - 3 - 41 ไร่ 7. กรมธนารักษ์มีหนังสือ ลงวันที่ 21 กรกฎาคม 2549 แจ้งอนุญาตให้สำ นักงานศาลยุติธรรมใช้ที่ดินราชพัสดุ แปลงหมายเลขทะเบียนที่ ชม. 1723 (บางส่วน) เนื้อที่ 147 - 3 - 30 ไร่ ตามวัตถุประสงค์ที่ขอใช้ 8. จังหวัดเชียงใหม่มีหนังสือลงวันที่ 14 พฤศจิกายน 2549 จัดส่งหนังสืออนุญาตให้ใช้ที่ราชพัสดุ ให้สำนักงานศาลยุติธรรม เมื่อได้รับการอนุญาตให้เข้าใช้พื้นที่โดยถูกต้องตามขั้นตอนของกฎหมายแล้ว สำนักงานศาลยุติธรรม จึงได้ดำเนินการด้านงบประมาณและการจัดซื้อจัดจ้างตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง จนได้ผู้รับจ้างและได้ลงนามในสัญญาโครงการก่อสร้างดังกล่าวในที่ราชพัสดุแปลงหมายเลขทะเบียนที่ ชม. 1723 (บางส่วน) กับบริษัท พี.เอ็น.เอส.ไซน์ จำกัด ผู้รับจ้าง โดยมีบริษัท เอ็นจิเนียริ่งดีไซน์ คอนซัลแตนส์ จำกัด เป็นผู้คุมงาน วงเงินรวม 3 โครงการ จำนวน 955,064,056.28 บาท มีรายละเอียดดังนี้ โครงการที่ 1 ก่อสร้างอาคารที่ทำการศาลอุทธรณ์ภาค 5 พร้อมสิ่งก่อสร้างประกอบตามสัญญาเลขที่ 87/2557 ลงวันที่ 8 กันยายน 2557 และบันทึกเพิ่มเติมต่อท้ายสัญญาจ้าง (ครั้งที่ 1 - 14) เป็นเงิน 290,495,056.28 บาท (สองร้อยเก้าสิบล้านสี่แสนเก้าหมื่นห้าพันห้าสิบหกบาทยี่สิบแปดสตางค์) กำหนดแล้วเสร็จ ภายในวันที่ 28 สิงหาคม 2559 ได้รับอนุมัติให้ขยายเวลาก่อสร้างออกไปอีก 242 วัน สัญญาสิ้นสุดวันที่ 27 เมษายน 2560 ผู้รับจ้างได้มีหนังสือส่งมอบงานเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2560 ศาลอุทธรณ์ภาค 5 ลงรับหนังสือเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2560 คณะกรรมการตรวจการจ้างได้ตรวจรับงานงวดสุดท้าย เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2560 บัดนี้โครงการแล้วเสร็จโดยสมบูรณ์และได้เข้าใช้งานแล้ว โครงการที่ 2 ก่อสร้างบ้านพักผู้พิพากษาจำนวน 38 หน่วย อาคารชุดพักอาศัยข้าราชการตุลาการ จำนวน 16 หน่วย บ้านพักผู้อำนวยการ จำนวน 1 หน่วย และอาคารชุดพักอาศัยข้าราชการศาลยุติธรรม จำนวน 36 หน่วย พร้อมสิ่งก่อสร้างประกอบตามสัญญาเลขที่ 31/2557 ลงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2557 และ บันทึกเพิ่มเติมต่อท้ายสัญญาจ้าง (ครั้งที่ 1 - 12) เป็นเงิน 321,670,000 บาท (สามร้อยยี่สิบเอ็ดล้านหกแสน เจ็ดหมื่นบาทถ้วน) กำหนดแล้วเสร็จวันที่ 4 สิงหาคม 2558 ได้รับอนุมัติให้ขยายเวลาก่อสร้างออกไปอีกจำนวน 1,048 วัน สัญญาสิ้นสุดวันที่ 18 มิถุนายน 2561 ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างผู้รับจ้างดำเนินการก่อสร้าง ตามสัญญา ข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2561 โครงการที่ 2 นี้ มีการส่งมอบพื้นที่ให้แก่ผู้รับจ้างเมื่อวันที่ 7 มกราคม 2557 แบ่งงวดงานออกเป็น 98 งวดงาน ส่งมอบงาน ตรวจรับและเบิกจ่ายเงินแล้ว 82 งวดงาน เป็นเงิน 244,962,886 บาท ยังไม่ได้ส่งมอบจำนวน 16 งวดงาน เป็นเงิน 76,707,114 บาท โดยมีผลงานการก่อสร้างสะสมตามแผนถึงเดือนเมษายน 2561 คิดเป็นร้อยละ 94.62 โดยมีผลงานก่อสร้างจริงร้อยละ 86.08 โครงการที่ 3 ก่อสร้างบ้านพัก รวมจำนวน 9 หน่วย และอาคารชุดพักอาศัยข้าราชการตุลาการ จำนวน 64 หน่วย พร้อมสิ่งก่อสร้างประกอบ ศาลยุติธรรมในจังหวัดเชียงใหม่ตามสัญญาเลขที่ 55/2556 ลงวันที่ 19 กรกฎาคม 2556 และบันทึกเพิ่มเติมต่อท้ายสัญญาจ้าง (ครั้งที่ 1 - 16) เป็นเงิน 342,900,000 บาท (สามร้อยสี่สิบสองล้านเก้าแสนบาทถ้วน) กำหนดแล้วเสร็จวันที่ 9 กรกฎาคม 2558 ได้รับอนุมัติให้ขยายเวลา ทำการก่อสร้างออกไปอีก 1,066 วัน สัญญาสิ้นสุดวันที่ 9 มิถุนายน 2561 ซึ่งข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2561 ปรากฏว่าจากงวดงานทั้งหมด 60 งวดงาน มีการส่งมอบงาน ตรวจรับงานและเบิกจ่ายแล้ว 53 งวดงาน คิดเป็น เงิน 270,574,750 บาท ยังไม่ได้ส่งมอบอีก 7 งวดงาน เป็นเงิน 72,325,250 บาท มีผลงานสะสมตามแผนนับถึง เดือนเมษายน 2561 คิดเป็นร้อยละ 89.28 มีผลงานก่อสร้างจริง คิดเป็นร้อยละ 84.52 หากมองภาพในมุมสูง จะเห็นได้ว่า โครงการก่อสร้างดังกล่าวจะอยู่แนวระดับเดียวกับ สวนสัตว์ไนท์ ซาฟารี อ่างเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ชุมชนช่างเคียน ชุมชนช้างเผือก เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมกล่าวเพิ่มเติมว่า ในการดำเนินการตามโครงการดังกล่าว สำนักงานศาลยุติธรรมได้ตระหนักถึงการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมเสมอมา บริเวณก่อสร้าง ที่มีต้นไม้ มีเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 30 เซนติเมตรขึ้นไป ได้ขุดล้อมแล้วนำไปปลูกบริเวณใกล้เคียง โดยมีรายละเอียด ของต้นไม้ที่ขุดล้อมไปคือ ต้นประดู่ จำนวน 29 ต้น ต้นพลวง จำนวน 86 ต้น ต้นสักจำนวน 4 ต้น ต้นกระบาก จำนวน 77 ต้น และไม้เนื้ออ่อนอื่นอีก 44 ต้น รวมจำนวน 240 ต้น ทั้งนี้ เป็นไปตามมติคณะกรรมการตรวจ การจ้าง นอกจากนี้ภายหลังการก่อสร้างแล้วเสร็จ สำนักงานศาลยุติธรรมมีโครงการปลูกต้นไม้อย่างต่อเนื่อง โดยเบื้องต้นมีแผนจะปลูกต้นพยุง จำนวน 60 ต้น ต้นแคนาและแคนาป่า จำนวน 94 ต้น ต้นลีลาวดี จำนวน 299 ต้น และไม้พุ่มต่างๆ รวมจำนวน 6,400 ต้น แต่เนื่องจากสำนักงานศาลยุติธรรมมีข้อจำกัดในเรื่อง กำลังคนและงบประมาณ จึงขอรับการสนับสนุนด้านกำลังคนและงบประมาณ รวมถึงผู้เชี่ยวชาญ เครื่องมือ อุปกรณ์ต่างๆ และต้นไม้ จากรัฐบาลเพื่อดำเนินการตามโครงการปลูกต้นไม้ดังกล่าวต่อไป นายสราวุธกล่าวต่อไปด้วยความห่วงใยว่า จากสถานการณ์ปัจจุบันที่บุคคลกลุ่มหนึ่งพยายาม ให้ยุติและรื้อถอนโครงการดังกล่าวนั้น สำนักงานศาลยุติธรรมซึ่งเป็นคู่สัญญาไม่อาจดำเนินการตามข้อเรียกร้องที่ปรากฏตามสื่อต่างๆ ได้ เนื่องจากหากสำนักงานศาลยุติธรรมยุติโครงการย่อมจะตกเป็นฝ่ายผิดสัญญา ต้องถูกคู่สัญญาฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย ซึ่งจะทำให้รัฐต้องเสียงบประมาณในการชดใช้ค่าเสียหาย อีกทั้ง หากสำนักงานศาลยุติธรรมจะดำเนินการรื้อถอนก็ไม่สามารถทำได้ เนื่องจากไม่มีกฎหมายให้อำนาจไว้ และยังเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย รวมถึงอาจจะต้องถูกสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินดำเนินการหา ผู้รับผิดชอบตามกฎหมายด้วย จากข้อเท็จจริงและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นดังกล่าว สำนักงานศาลยุติธรรม จึงได้นำเรื่องเข้า ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม (ก.บ.ศ.) ในวันนี้ และมีมติว่าให้สำนักงานศาลยุติธรรม รับฟัง ความคิดเห็นของทุกฝ่าย เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาที่ถูกต้อง ชอบธรรมและด้วยสันติวิธี โดยตระหนักถึงการอยู่ร่วมกับธรรมชาตและรักษาสิ่งแวดล้อม และให้มีหนังสือกราบเรียนนายกรัฐมนตรีถึงข้อเท็จจริงทั้งหมดโดยหากรัฐบาลเห็นสมควรประการใด เช่น ให้ชะลอการใช้บ้านพักเฉพาะส่วนที่มีการคัดค้านไว้ชั่วคราวหรือ ดำเนินการอื่นในระหว่างฟื้นฟูสภาพแวดล้อม สำนักงานศาลยุติธรรมก็ไม่ขัดข้อง
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai This posting includes an audio/video/photo media file: Download Now | ||||
ประยุทธ์ บอก 'เวลาประเทศเสียหายออกมาด้วยนะ' หลังถูกนิสิตจุฬาฯ ชูป้ายใส่หน้า Posted: 09 Apr 2018 03:07 AM PDT นิสิตจุฬาฯ ชูป้าย "ชาวจุฬาฯ รักลุงตู่ (เผด็จการ)" ใส่หน้า 'ประยุทธ์' อัดผู้บริหารมหา'ลัยรักเผด็จการจึงเชิญมาปาฐกถา ด้าน หัวหน้า คสช. สวนกลับ "เวลาประเทศเสียหายแล้วออกมาด้วยนะ" ภาพจากคลิปในเว็บไซต์ข่าวสดออนไลน์ 9 เม.ย.2561 หลังจากเมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เดินทางมาเพื่อกล่าวปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ "จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยกับการขับเคลื่อนประเทศไทยในระยะเปลี่ยนผ่าน" ณ หอประชุมจุฬาฯ ต่อมา เมื่อเวลา 11.55 น. ที่สยามสแควร์วัน พล.อ.ประยุทธ์ ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีการเลื่อนพบนักการเมืองว่า ยังไม่ได้คิดตรงนั้นเลย ยังไม่มี ขออย่าสนใจมาก พบเมื่อใดก็เมื่อนั้นหากมีความพร้อม เพราะจะพบเร็วหรือช้า อย่างไรก็ต้องพบกันอยู่ดี ซึ่งจะต้องพบก่อนจะมีการเลือกตั้งอยู่แล้ว ส่วนกรณีที่ สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจประกาศสนับสนุนนายกรัฐมนตรีนั้น พลเอกประยุทธ์ กล่าวว่า ก็ขอขอบคุณ ซึ่งคนยังไม่ทราบว่าจะตอบรับหรือไม่และจะต้องพิจารณาด้วยกัน ข่าวสดออนไลน์ รายงานข่าวระบุว่า ระหว่างที่ พล.อ.ประยุทธ์ ให้สัมภาษณ์นั้น มีนิสิตจุฬาฯ 3 คนมาชูป้ายข้อความว่า "ชาวจุฬาฯ รักลุงตู่ (เผด็จการ)" โดยขีดกากบาทที่คำว่าลุงตู่ ซึ่งเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของ พล.อ.ประยุทธ์ ได้มาเข้ามากันนิสิตกลุ่มดังกล่าวและพยายามยื้อแย่งเพื่อเก็บกระดาษข้อความ สุดท้ายป้ายข้อความดังกล่าวถูกฉีกไป ซึ่งเมื่อ พล.อ.ประยุทธ์เห็นเหตุการณ์ พร้อมหันไปพูดกับกลุ่มนิสิต และเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยว่า "ปล่อยเขาเถอะ ปล่อยเขาเถอะ อย่าไปทำร้ายอะไรเขาเลยไป ปล่อยเขา เขาไม่เข้าใจก็ปล่อยเขา คนเก่ง เยี่ยม เก่งมาก เวลาประเทศเสียหายแล้วออกมาด้วยนะ" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวกับกลุ่มนิสิตที่ชูป้าย ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังเหตุการณ์ เมื่อเวลา 14.29 น. ที่ผ่านมา ผู้ใช้เฟสบุ๊ค 'Tanawat Wongchai' โพสต์ข้อความอธิบายเหตุผลที่ชูป้ายดังกล่าว ดังนี้ การแสดงออกของพวกเราในวันนี การแสดงออกในวันนี้ยังเป็นก "ชาวจุฬาฯ รักเผด็จการ" จึงเป็นข้อความที่ตรงไปตรงม ท้ายที่สุดนี้ เรายังคงหวังลึกๆ อยู่ในใจว่าผู้บริหารของจุฬ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||
สหภาพแรงงานรถไฟเรียกร้องเพิ่มพนักงาน หวั่นเกิดวิกฤตกำลังคน Posted: 09 Apr 2018 02:35 AM PDT สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟฯ (สร.รฟท.) ออกแถลงการณ์ขอให้การรถไฟฯ และรัฐบาลเร่งมาตรการเพิ่มอัตรากำลังพนักงานก่อนจะวิกฤตหนัก หวั่นเกิดปัญหากำลังคนทำงานไม่พอ ขณะที่รถไฟทางคู่กำลังจะทยอยแล้วเสร็จ การให้บริการรถไฟเพิ่ม ที่มาภาพประกอบ: สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์ 9 เม.ย. 2561 สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟฯ (สร.รฟท.) ได้ออก แถลงการณ์ เรื่อง "ขอให้การรถไฟฯ และรัฐบาลเร่งมาตรการเพิ่มอัตรากำลังพนักงานก่อนจะวิกฤตหนัก" โดยระบุว่ากรณีที่สื่อมวลชนได้นำเสนอข่าวการรถไฟแห่งประเทศไทยปล่อยให้พนักงานขาดแคลนเกือบ 8,000 คน จนมีพนักงานไม่เพียงพอต้องทำงานควงกะ 24 ชั่วโมง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อด้านการให้บริการและความ ปลอดภัยของผู้ใช้บริการนั้น ซึ่งเมื่อวันที่ 5 เม.ย. ที่ผ่านมา กองประชาสัมพันธ์ ศูนย์ประชาสัมพันธ์ การรถไฟแห่งประเทศไทยได้มีหนังสือชี้แจงว่า "นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย แจ้งว่าในปัจจุบันมีอัตราของพนักงานและลูกจ้างชั่วคราว รวม 14,220 อัตรา สามารถให้บริการเดินขบวนรถโดยสาร วันละ 234 ขบวน และขบวนรถสินค้าวันละ 40 ขบวน ได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ พนักงานบางส่วนโดยเฉพาะพนักงานด้านปฏิบัติการมีจำนวนน้อยกว่ากรอบอัตรากำลังของการรถไฟฯ ทำให้ต้องปฏิบัติงานล่วงเวลาและวันหยุด โดยเฉลี่ยสัปดาห์ละ 6 วัน มีค่าล่วงเวลาและค่าทำงานวันหยุดคิดเป็นร้อยละ 25 ของค่าจ้าง โดยการรถไฟฯ มีแผนจะเพิ่มขบวนรถเป็นวันละ 389 ขบวน เพิ่มพนักงานเป็น 16,660 คน เมื่อทางคู่ระยะที่ 1 แล้วเสร็จ และทางคู่ระยะที่ 2 กับทางคู่สายใหม่แล้วเสร็จ จะมีการเดินขบวนรถเพิ่มขึ้นเป็นวันละ 720 ขบวน และต้องมีพนักงานเพิ่มขึ้นเป็น 19,260 คน" เหตุอันสำคัญจากการขาดอัตรากำลังของการรถไฟฯ ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันที่ถือว่าวิกฤตมาจากมติ คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 ก.ค. 2541 หลังจากประเทศไทยประสบกับวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 และต้องกู้เงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เงื่อนไขที่ผูกไว้กับ IMF คือการลดค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรในรัฐวิสาหกิจลงสำหรับการรถไฟฯ มติวันดังกล่าวสาระคือ "ตำแหน่งที่ไม่จำเป็นให้ยุบเลิกและหากจะรับพนักงานใหม่ให้รับได้เพียงร้อยละ 5 ของจำนวนผู้เกษียณอายุ" จากวันนั้นถึงถึงปัจจุบัน 20 ปี จึงเกิดวิกฤตเรื่องอัตราพนักงาน ณ ปัจจุบัน การรถไฟต้องการพนักงานประมาณ 18,015 คน แต่มีอยู่จริง 10,309 คน ขาด 7,706 คน และความต้องการลูกจ้างเฉพาะงาน (ที่ทำงานติดต่อกันมานานเฉลี่ยกว่า 20 ปี) ประมาณ 4,056 คน มีอยู่จริง 3,911 คน ขาด 145 คน ซึ่งเท่ากับว่าการรถไฟฯ ต้องการพนักงานและลูกจ้างเฉพาะงานจริงก็คือ 22,071 อัตรา แต่ปัจจุบันมี 14,200 อัตรารวมขาดแคลนพนักงาน ทั้งสิ้น 7,851 อัตรา การรถไฟฯ ได้ให้บริการเดินรถโดยสารทั่วประเทศ วันละ 234 ขบวน และขบวนรถสินค้าวันละ 40 ขบวน เป็นประจำอยู่แล้ว จะมีก็แต่ตัวเลขจำนวนพนักงานและลูกจ้างชั่วคราวที่ปฏิบัติหน้าที่เปลี่ยนแปลงโดยลดจำนวนลงตลอดระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา ทำให้การให้บริการทำได้ไม่เต็มศักยภาพและพนักงานต้องตรากตรำทำงานหนักโดยไม่มีเวลาพักผ่อน ซึ่งหากปล่อยไว้จะก่อให้เกิดความเสียหายด้านต่างๆ ที่จะตามมา อีกประการหนึ่งความต้องการที่จะประหยัดค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรลงตามความต้องการเดิมนั้นไม่ได้เป็นจริง เพราะเมื่อขาดพนักงานในขณะที่งานด้านการให้บริการนั้นไม่สามารถหยุดได้ จึงจำเป็นต้องให้พนักงานทำงานล่วงเวลา ทำงานเกินเวลาปกติ ทำงานในวันหยุดเพิ่มขึ้น มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นกว่าปีละ 1,000 ล้านบาท (ค่าล่วงเวลา 191,405,246 บาท ค่าตอบแทนการทำงานเกินกว่าเวลาปกติ 103,694,883 บาท ค่าทำงานในวันหยุด 774,311,271 บาท) ซึ่งเงินจำนวนนี้หากจ้างพนักงานใหม่หรือบรรจุลูกจ้างในการรถไฟฯ ที่ทำงานอยู่แล้วมีความเชี่ยวชาญจะสามารถลดค่าใช้จ่ายลงได้มาก ในอนาคตการรถไฟฯ มีแผนจะเพิ่มขบวนรถเป็นวันละ 389 ขบวน เพิ่มพนักงานเป็น 16,660 คน เมื่อทางคู่ระยะที่ 1 แล้วเสร็จ และทางคู่ระยะที่ 2 กับทางคู่สายใหม่แล้วเสร็จ จะมีการเดินขบวนรถเพิ่มขึ้นเป็นวันละ 720 ขบวน และต้องมีพนักงานเพิ่มขึ้นเป็น 19,260 คน การดำเนินการก่อสร้างทางคู่ระยะที่ 1 จะแล้วเสร็จใน เดือน ต.ค. 2565 เท่ากับว่า อีก 4 ปี 6 เดือน ข้างหน้าการรถไฟฯ จึงจะสามารถรับพนักงานและลูกจ้างชั่วคราว ได้อีก 2,440 อัตรา แต่ในระหว่างปี 2561 ถึง ต.ค. 2565 จะมีผู้ที่เกษียณอายุอีก 2,387 คน ซึ่งแน่นอน คงไม่ต้องรอจนทางคู่ระยะที่ 2 แล้วเสร็จ หากยังไม่สามารถรับพนักงานใหม่เพิ่มได้โดยเร็วในอีก 1-2 ปีข้างหน้า การรถไฟฯ จะเข้าสู่ภาวะวิกฤตหนักกว่านี้จนถึงขั้นต้องยกเลิกเดินขบวนรถในหลายเส้นทางเพื่อนำพนักงานมาเกลี่ยในเส้นทางเฉพาะที่มีความจำเป็นเท่านั้น จากสิ่งที่กล่าวมาข้างต้นสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทยได้วิเคราะห์ถึงผลกระทบและความเสียหายที่จะเกิดขึ้นพร้อมกับนำเสนอให้รีบเร่งดำเนินการแก้ไขโดยเร่งด่วน และที่สำคัญได้เสนอต่อรัฐบาลหลายยุคหลายสมัยเพื่อให้ทบทวนยกเลิก มติ ครม.เมื่อวันที่ 28 ก.ค. 2541 แต่ได้รับการพิจารณาเป็นครั้งคราวโดยให้ยกเว้นมติในวันดังกล่าวอย่างเมื่อเดือน ธ.ค. 2553 หลังจากที่ขบวน 87 ประสบอุบัติเหตุตกรางที่สถานีเขาเต่า จ.ประจบคีรีขันธ์ เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 8 ราย และบาดเจ็บ 87 ราย เมื่อ ต.ค. 2552 ดังนั้นเพื่อการวางอนาคตที่ดี มีความก้าวหน้า มั่นคง และยั่งยืนของประเทศชาติและประชาชน สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทยจึงขอให้การรถไฟแห่งประเทศไทยและรัฐบาลเร่งดำเนินการแก้ไปหาเรื่องอัตรากำลังของพนักงานเป็นการเร่งด่วน โดยเบื้องต้นให้ทบทวนยกเลิกมติ ครม.เมื่อวันที่ 28 ก.ค. 2541 เพื่อเปิดโอกาสให้การรถไฟสามารถรับบุคลากรเพื่อพัฒนาและเตรียมความพร้อมสำหรับงานที่จะเพิ่มมากขึ้นในอนาคต โดยเร่งบรรจุลูกจ้างเฉพาะงาน ในการรถไฟฯก่อนจำนวน 3,911 คน รวมทั้งนักเรียนวิศวกรรมรถไฟที่จบมาแล้วแต่ยังไม่ได้รับการบรรจุ 173 คน และเตรียมสำหรับรุ่นที่กำลังจะจบออกมา โดยเฉพาะนักเรียนที่จบจากโรงเรียนวิศวกรรมรถไฟออกมาต้องมีผลผูกพันกับการรถไฟ คือเมื่อจบออกมาแล้วต้องมีตำแหน่งงานรองรับให้ทบทวนมติของคณะกรรมการรถไฟฯ ในการประชุมครั้งที่ 27/2560 เมื่อวันศุกร์ที่ 8 ธ.ค. 2560 ที่เห็นชอบให้แก้ไขระเบียบการรถไฟฯ ฉบับที่ 5.4 ว่าด้วยโรงเรียนวิศวกรรมรถไฟให้มีการเปิดรับสมัครนักเรียนวิศวกรรมรถไฟตั้งแต่ปีการศึกษา 2561 เป็นต้นไป โดยไม่มีเงื่อนไขผูกพันกับการรถไฟฯ และจากนั้นให้รับลูกจ้างตามกรอบที่กำหนดไว้มาทดแทนต่อไป และขอให้การรถไฟฯ จัดทำแผนเรื่องอัตรากำลังรวมทั้งการแผนการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่องเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและรัฐบาลเพื่อไม่ให้เหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นซ้ำอีกในอนาคต
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||
จนท.ประกบ 'เนติวิทย์' 4 มุม ขณะ 'ประยุทธ์' ปาฐกถาจุฬาฯ ขับเคลื่อนประเทศในระยะเปลี่ยนผ่าน Posted: 08 Apr 2018 11:59 PM PDT เนติวิทย์ โวย เจ้าหน้าที่จุฬา-ตำรวจ ประกบ 4 มุม ขณะ พล.อ.ประยุทธ์ ปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ "จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยกับการขับเคลื่อนประเทศไทยในระยะเปลี่ยนผ่าน" 9 เม.ย.2561 รายงานข่าวระบุว่า วันนี้ เมื่อเวลา 08.30 น. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เดินทางมาเพื่อกล่าวปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ "จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยกับการขับเคลื่อนประเทศไทยในระยะเปลี่ยนผ่าน" ณ หอประชุมจุฬาฯ ซึ่งเป็นกิจกรรมทีก่อนหน้านั้น เฟสบุ๊คแฟนเพจ 'RCUchula : สำนักงานหอพักนิสิตจุฬาฯ' ของ สำนักงานหอพักนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความ เชิญชวนนิสิตหอพัก ร่วมรับ และระบุด้วยว่าผู้เข้าร่วมจะได้เป็นคะแนนกิจกรรมหอพัก ล่าสุด เมื่อเวลา 10.54 น. ที่ผ่านมา เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล อดีตประธานสภานิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟสบุ๊คว่า "ยังไม่ทันเข้าหอประชุมฟังนายกประยุทธ์ เจ้าหน้าที่จุฬา-ตำรวจ ก็เข้ามาหาเต็ม พอไปนั่งยังมีเจ้าหน้าที่สี่มุมประกบห่างๆ จะคุ้มครองผมอะไรกันขนาดนี้ นี่มางานวิชาการในมหาวิทยาลัยที่บอกว่าส่งเสริมเสรีภาพทางความคิดและวิชาการนะ" ซึ่ง มติชนออนไลน์ รายงานด้วยว่า เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยได้แยกตัว เนติวิทย์ ขี้นไปนั่งบนชั้นลอยของหอประชุม มีเจ้าหน้าที่สันติบาลคอยประกบอยู่และไม่อนุญาตให้สื่อมวลชนเข้าไปสังเกตการณ์แต่อย่างใด ทั้งนี้บริเวณชั้นบนจะเป็นที่นั่งของบุคลากร คณาจารย์ของมหาวิทยาลัยเท่านั้น ส่วนของการรักษาความปลอดภัยนั้น บุคลากร คณาจารณ์ของมหาวิทยาลัยจะต้องติดบัตรสีส้มแยกจากกลุ่มนิสิต พร้อมติดบัตรแสดงตนอย่างชัดเจน รวมทั้งต้องผ่านเครื่องสแกนวัตถุระเบิดและวัตถุต้องสงสัยตรวจค้นอย่างละเอียดซึ่งเป็นมาตรการรักษาความปลอดภัยขั้นสูงสุดของนายกรัฐมนตรีด้วย ประยุทธ์ ย้ำวันนี้ต้องมองไปข้างหน้า ไม่ใช่มองแต่อดีตสำหรับการกล่าวปาฐกถาของ พล.อ.ประยุทธ์ นั้น สำนักข่าวไทย รายงานว่า พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ระยะเปลี่ยนผ่านเป็นสิ่งที่เราไม่สามารถทราบได้ว่าจะเปลี่ยนไปสู่สิ่งที่ดีหรือไม่ดี แต่ต้องทำให้ดีที่สุด อะไรที่ทำให้เกิดความขัดแย้ง ก็ต้องช่วยทำให้คลี่คลายและทำให้ดีขึ้นกว่าเดิม วันนี้ต้องมองไปข้างหน้า ไม่ใช่มองแต่อดีตอย่างเดียว อดีตคือสิ่งที่จะต้องเรียนรู้ หากสิ่งใดผิดพลาดก็อย่าทำอีก วันนี้คือประวัติศาสตร์ของวันหน้า อยากให้ทุกคนเตรียมการรับกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง โดยการเปลี่ยนผ่านประเทศไปสู่การพัฒา ที่มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ตามแผนปฎิรูปประเทศ แม้จะทำไม่ได้ในวันเดียว แต่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับการผลิตนักศึกษา ที่ต้องผลิตในทุกปี ๆ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า สำหรับยุทธศาตร์ชาติ แม้ว่าจะกำหนดไว้ 20 ปี แต่ในความเป็นจริงสามารถเปลี่ยนแปลงได้ หากมีเหตุผลและความจำเป็น เพื่อให้ยุทธศาสตร์ชาติเปรียบเสมือนเรือธง ที่จะนำประเทศไปสู่เป้าหมายใหญ่ ในขณะที่นโยบายของฝ่ายการเมืองสามารถนำมาปรับใช้คู่ขนานกันได้ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ความตั้งใจในวัยเด็กคือการเป็นทหาร ไม่คิดว่าวันหนึ่งจะได้เป็นนายกรัฐมนตรี ดังนั้น ขอให้เยาวชนทุกคน ตั้งเป้าหมายในชีวิต เพราะบางครั้งอาจจะไม่ได้ทำงานตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ ดังนั้นสิ่งสำคัญที่สุดคือ ต้องมีความมุ่งมั่น มีความพยายาม เพื่อให้ชีวิตเดินตามเป้าหมายที่วางไว้ได้ ในช่วงหนึ่ง พล.อ.ประยุทธ์ ได้อธิบายถึงหลักกฎหมายของประเทศว่า ไม่ใช่มีไว้เพื่อบังคับเพียงอย่างเดียว แต่มีไว้เพื่อสร้างความเท่าเทียมให้ทุกคนในสังคม และเพื่ออำนวยความสะดวก รวมถึงมุ่งมั่นแก้ปัญหาทุจริต ขอให้ทุกคนเข้าใจ และร่วมมือเคารพกฎหมาย พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ผลการทำงานของรัฐบาลในการขับเคลื่อนนโยบายสำคัญต่างๆ ทั้งการเดินหน้าไทยแลนด์ 4.0 โครงการไทยนิยมยั่งยืน การปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมใหม่ แต่สิ่งสำคัญคือการสร้างคนของประเทศ ด้วยการพัฒนาระบบการศึกษาให้มีคุณภาพ รองรับการพัฒนาประเทศ เช่นปรับเปลี่ยนการทำเกษตรแบบเก่าเป็นแบบใหม่ ปรับการใช้น้ำ เป็นต้น พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ให้ดึงศักยภาพ ความได้เปรียบของประเทศที่มี เช่น วัฒนธรรมที่งดงาม การรักษาบ้านเมืองให้สงบ ไม่มีความขัดแย้ง ก็จะทำให้ทุกประเทศเชื่อมั่นในประเทศ เรื่องการเลือกตั้ง ตนไม่อยากจะพูดถึงมาก แต่ขอให้รอดู อนาคตข้างหน้าอาจจะดีขึ้น ยืนยันว่าการวางยุทธศาสตร์ 20 ปี ไม่มีสืบทอดอำนาจ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ขอให้ครูอาจารย์สั่งสอนศิษย์ ให้เข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลง ตามความเป็นจริง ไม่เลียนแบบจากต่างประเทศทั้งหมด ในบางประเทศมีความสูญเสียจำนวนมากมาก่อน ดังนั้นประเทศไทยจึงต้องสร้างการเปลี่ยนแปลงให้ได้โดยไม่มีความสูญเสียเหมือนที่ผ่านมา ที่มีการสูญเสียประชาชน แต่คนนำยังรอดพ้น ขอให้จดจำคำพูดตนเองในวันนี้ไว้ด้วย พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ขอบคุณจุฬาฯที่เป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศ ขอให้ทุกคนให้เกียรติซึ่งกันและกัน เพื่อนำไปสู่ความรักความสามัคคี ความเป็นน้ำหนึ่งในใจเดียวกัน เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น ซึ่งจุฬาฯ ที่ครบ 100 ปี ตลอดเวลาที่ผ่านมา ได้มีผลงานสร้างความภาคภูมิให้กับสถาบัน" รายงานข่าวยังระบุด้วยว่า ในโอกาสนี้ พล.อ.ประยุทธ์ รับข้อเสนอของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่จะผลักดันให้จุฬาฯ สร้างคนให้ อีอีซี และสร้างเทคโนโลยีให้กับประเทศ ประกอบด้วย จัดตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรม จุฬาฯจะขยายความร่วมมือกับภาคเอกชน นักลงทุนอิสระ ทั้งในและต่างประเทศ เชื่อมโยงและขยายผลนวัตกรรมแห่งสยาม และจะขอร่วมกับโรงพยาบาลสวนเบญจกิติฯ ผลักดันพันธิกิจใหม่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||
ระดมพลผู้สูงอายุไทย ทำอย่างไรให้มีอายุยืน 100 ปี อย่างมีความสุข Posted: 08 Apr 2018 11:04 PM PDT พบผู้สูงอายุในไทย 11 ล้านคน สมาคมเวชศาสตร์ฉุกเฉินฯ จับมือ รพ.ราชวิถี พม.ชวนผู้สูงอายุถ่ายทอดเคล็ดลั 8 เม.ย.2561 รายงานข่าวแจ้งว่า วันนี้ ที่อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลราชวิถี สมาคมเวชศาสตร์ฉุกเฉินแห่ ภายในงานมีวิทยากรผู้สูงอายุที่ ธนาภรณ์ พรมสุวรรณ อธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวง พม. กล่าวระหว่างเป็นประธานเปิดงาน ว่า ปี 2560 มีผู้สูงอายุสูงถึง11ล้านคน ในจำนวนนี้เป็นผู้ป่วยติดเตียง1 "ผู้สูงอายุจะมีความสุขได้ จะต้องมี่สุขภาพร่างกายที่แข็ ศ.เกียรติคุณ นพ.สันต์ หัตถีรัตน์ นายกสมาคมเวชศาสตร์ฉุกเฉินแห่ ศ.เกียรติคุณ นพ.สันต์ กล่าวว่า การถ่ายทอดประสบการณ์จริงจากวิ ดร.ประเสริฐ ณ นคร อดีตนายกราชบัณฑิตยสภา ปัจจุบันอายุ 99 ปี กล่าวถึงวิธีกิน-อยู่อย่างไร.? ให้อายุยืนเกิน100 ปี พร้อมเคล็ดลับหลักความคิด ที่ว่า การที่จะทำให้อายุยืนนั้น เป็นเพราะเมื่อได้อ่านหนังสื ดร.ประเสริฐ กล่าวว่า สำหรับวิธีเลือกอาหารเพื่อสุ อนัญญา อัคชู ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมและพั ขณะที่ คุณหญิงเดือนเพ็ญ พึ่งพระเกียรติ คณะกรรมการด้านยุทธศาสตร์ โครงการส่งเสริมและป้องกั
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||
Posted: 08 Apr 2018 10:45 PM PDT |
You are subscribed to email updates from ประชาไท. To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google, 1600 Amphitheatre Parkway, Mountain View, CA 94043, United States |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น