ประชาไท | Prachatai3.info |
- จุฬาราชมนตรีเตือนการเผยแพร่ศาสนาอิสลามต้องไม่บริภาษและวิจารณ์ศาสนาอื่น
- ครม.ไฟเขียว แปรรูป 'นิด้า' เป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐ ส่ง สนช. พิจารณาต่อ
- วัฒนา เมืองสุข: ดีเอสไอว่างัย...
- ปัญหากรอบคิดและจุดยืนทางจริยธรรมแบบพุทธในโลกสมัยใหม่
- ประยุทธ์ ยันดูแลผู้อพยพชาวโรฮิงญาตามหลักสิทธิมนุษยชน - ท้าดูท่าที 'อภิสิทธิ์' หลังเลือกตั้ง
- กวีประชาไท: เสือนอนกิน
- ชัยชนะเลือกตั้งของพรรคซ้ายกลางคอสตาริกา-ชูประเด็นสังคมก้าวหน้า-ความเท่าเทียม
- คนงาน GM เตรียมร้องกรรมการสิทธิฯ สอบปัญหานายจ้างละเมิดสิทธิแรงงาน
- นักแสดงบุพเพสันนิวาสเยี่ยมทำเนียบรัฐบาล-หมื่นโป๊บแร็พโชว์ พล.อ.ประยุทธ์
- ผู้แทน WHO ชมศูนย์การแพทย์เทศบาลบึงยี่โถ เน้นชุมชนเป็นศูนย์กลาง ปชช.มีส่วนร่วมดูแลสุขภาพ
- 'วัฒนา' ข้องใจ 'พานทองแท้' โดนคดีคนเดียว แต่ 'พล.อ.เปรม' รอด ทั้งที่ได้รับเช็คเหมือนกัน
- ‘ยุบภาคปรัชญา’ วิชาไม่ทำเงิน สังคมไม่ตั้งคำถาม หรือปรัชญาทำตัวเหินห่าง?
- ผู้หญิง 59% ถูกลวนลามคุกคามทางเพศในช่วงสงกรานต์ จี้ กทม.เป็นต้นแบบกลไกช่วยเหลือ
- เหตุผลที่คนรุ่นใหม่จะต้องเข้ามาจัดการปัญหาการเมืองไทย: New Generation Politics
- ห้องเรียนแห่งความหลากหลาย: ส่องชั้นเรียนนักศึกษา Jawaharlal Nehru University
จุฬาราชมนตรีเตือนการเผยแพร่ศาสนาอิสลามต้องไม่บริภาษและวิจารณ์ศาสนาอื่น Posted: 03 Apr 2018 01:22 PM PDT หลังมีเสียงวิจารณ์ "โต ซิลลี่ ฟูลส์" จัดทีวีออนไลน์ตอบคำถามทางบ้านทำไมอิสลามไม่มีรูปปั้นของพระเจ้า ล่าสุดจุฬาราชมนตรีเผยแพร่แถลงการณ์กลางดึก ชี้แจงว่าการเผยแพร่ศาสนาอิสลามตามหลักคัมภีร์อัลกุรอานต้องไม่บริภาษและวิจารณ์ศาสนาอื่น ขณะที่ "โต ซิลลี่ ฟูลส์" ให้สัมภาษณ์อัมรินทร์ทีวี ยืนยันว่าเนื้อหาในรายการเขาพูดถึงการปฏิบัติของตัวเขาในฐานะมุสลิม และไม่ได้พูดถึงผู้นับถือศาสนาอื่น แฟ้มภาพอาศิส พิทักษ์คุมพล จุฬาราชมนตรี ระหว่างเปิดงานเมาลิดกลางจังหวัดพังงา เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2561 (แฟ้มภาพ/สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดพังงา) เมื่อเวลา 23.41 น. คืนวันที่ 3 เม.ย. ในเฟสบุ๊คของสำนักจุฬาราชมนตรี เผยแพร่คลิปแถลงของ อาศิส พิทักษ์คุมพล จุฬาราชมนตรี ซึ่งได้ชี้แจงและเตือนสติต่อการเผยแผ่ศาสนาอิสลามด้วยการบริภาษความเชื่อของเพื่อนต่างศาสนิกในสังคมไทย โดยตอนหนึ่งกล่าวว่า วันนี้มีเรื่องไม่ค่อยสบายใจ เนื่องจากว่ามีผู้ตั้งตัวเป็นผู้รู้ศาสนาได้พูดในเชิงวิพากษ์ หรือบริภาษศาสนาอื่น ทำให้เกิดความไม่สบายใจว่า ทำไมอิสลามถึงกล่าวร้ายอย่างนั้นหรือ ความจริงอิสลามห้ามการบริภาษหรือการวิจารณ์คนศาสนาอื่น หรือผู้นับถือศาสนาอื่น ซึ่งปรากฏในคัมภีร์อัลกุรอานว่า "และพวกเจ้าจงอย่าด่าว่าบรรดาสิ่งที่พวกเขาวิงวอนขออื่นจากอัลลอฮฺ แล้วพวกเขาก็จะหันมาบริภาษอัลลอฮฺ" "เพราะฉะนั้นขอเตือนต่อผู้รู้หรือผู้ที่ทำตัวเป็นผู้รู้ศาสนา ในการบรรยายและเผยแพร่นั้น ให้ระมัดระวังในสิ่งเหล่านี้ เพราะจะนำไปสู่ความขัดแย้งทางสังคม และที่สำคัญคือเป็นวิธีที่ขัดแย้งกับหลักคำสอนในอัลกุรอานที่ห้ามบริภาษหรือวิจารณ์ศาสนาอื่น" "การเผยแพร่ศาสนาอิสลามในสังคมไทยควรต้องกระทำด้วยความระมัดระวัง ด้วยความเคารพและให้เกียรติคนอื่น เพราะฉะนั้นขอทำความเข้าใจกับพี่น้องว่าสิ่งที่เกิดขึ้นและสิ่งที่บางคนทำไปนั้นไม่ใช่เป็นหลักคำสอนของอิสลาม แต่เป็นหลักปฏิบัติที่ฝ่าฝืนคำสอนของอิสลาม สิ่งที่เกิดขึ้นเหล่านี้ขอฝากเตือนนักวิชาการที่พูดผ่านทางสื่อต่างๆ ในขณะนี้ จงระมัดระวัง จงปฏิบัติตนตามหลักคำสอนอัลกุรอาน เพราะคำพูดของท่านไม่กี่ประโยคอาจนำไปสู่ความสูญเสียต่ออิสลามและมุสลิมในประเทศไทย จะนำไปสู่ความแตกแยก อิสลามห้ามไม่ให้บริภาษหรือวิจารณ์ศาสนาอื่น" การเผยแพร่ศาสนาอิสลามในสังคมพหุวัฒนธรรมอย่างสังคมไทย จะต้องมีความรอบคอบ สุขุม และมีความเคารพต่อคนอื่นและศาสนาอื่น ข้อเสนอและคำแนะนำคงจะเป็นประโยชน์แก่ท่านทั้งหลาย นักพูดนักบรรยายทั้งหลายต้องเก็บไปคิด เดินไปสู่แนวทางที่อิสลามสอนคือต้องเชิญชวนด้วยวิทยปัญญา ด้วยบทเรียนและคำสอนอันดีงาม ไม่ใช่ไปบริภาษ ไม่ใช่ไปกล่าวร้าย อันอาจจะนำไปสู่ความแตกแยกอย่างใหญ่หลวงทางสังคม จึงขอให้ตระหนักถึงความสำคัญ และความร้ายแรงของเรื่องนี้ด้วย คำแถลงตอนหนึ่งของจุฬาราชมนตรีระบุ โต ซิลลี่ ฟูลส์ หรือ วีรชน ศรัทธายิ่ง (ขวา) จัดรายการโต-ตาล เมื่อวันที่ 31 มี.ค.
รายการทุบโต๊ะข่าว Amarin TV เมื่อคืนวันที่ 3 เม.ย. 2561 "พุทธอภิวรรณ องค์พระบารมี" (ซ้าย) ได้สัมภาษณ์เพื่อสอบถามสิ่งที่เกิดขึ้นจากโต ซิลลี่ ฟูลส์ คำแถลงของจุฬาราชมนตรี เกิดขึ้นหลังจากที่วีรชน ศรัทธายิ่ง หรือ "โต ซิลลี่ ฟูลส์" อดีตนักร้องชื่อดังจัดรายการออนไลน์ทางเฟซบุ๊ค "รายการ โต-ตาล" เมื่อคืนวันที่ 31 มี.ค. โดยช่วงหนึ่งตอบคำถามจากทางบ้านที่ถามว่า "ทำไมอิสลามถึงไม่มีรูปปั้นของพระเจ้า เหมือนชาวพุทธไว้ยึดเหนี่ยวจิตใจ" โดยโต ซิลลี่ ฟูลส์ ได้อธิบายสาเหตุว่าทำไมจึงไม่ไหว้รูปปั้นต่างๆ ที่คนสร้าง รวมทั้งมีเนื้อหาส่วนหนึ่งที่กล่าวถึงการสร้างพระพุทธรูปด้วย อย่างไรก็ตามเกิดเสียงวิจารณ์ในโลกออนไลน์ โดยเพจดังหลายเพจได้ตั้งคำถามและวิจารณ์การแสดงความเห็นของซิลลี่ ฟูลส์ หรือแม้แต่เพื่อนเก่าในวงการดนตรีอย่างเสกสรรค์ ศุขพิมาย หรือ "เสก โลโซ" ก็โพสต์สเตตัสวิจารณ์ด้วย นอกจากนี้เมื่อคืนวันที่ 3 เม.ย. รายการทุบโต๊ะข่าว ทางช่อง Amarin TV ดำเนินรายการโดยพุทธอภิวรรณ องค์พระบารมี ได้สัมภาษณ์เพื่อสอบถามสิ่งที่เกิดขึ้นจากโต ซิลลี่ ฟูลส์ด้วย โดยโต ซิลลี่ ฟูลส์ กล่าวว่าเพิ่งทราบเรื่องวันนี้ เพราะพูดเรื่องนี้ตั้งแต่ศุกร์ที่แล้ว ไม่เข้าใจว่าประเด็นมันคืออะไร มีคำถามมาที่รายการผมว่าทำไมอิสลามถึงไม่มีรูปปั้นเอาไว้เพื่อยึดเหนี่ยวจิตใจ โดยในหลักการอิสลามไม่กราบไหว้สิ่งใดนอกจากผู้สร้าง ไม่ใช่สิ่งถูกสร้าง เลยอธิบายไปในรายการ คือเท่าที่ผมฟังมาเหมือนเขาคิดว่าผมไปดูถูกศาสนาพุทธ แต่ทีนี้ถ้าคนดูรายการผมที่ติดตามกันจริงๆ มา 6 ปีแล้ว ผมจะยกคำสอนพระพุทธเจ้ามาใช้ตลอด ส่วนตัวปฏิบัติตามหลักการของพระพุทธเจ้า ใกล้ชิดกว่าคนที่เรียกตัวเองว่าเป็นชาวพุทธเยอะ โต ซิลลี่ ฟูลส์ ยืนยันว่าเนื้อหาในรายการพูดถึงเรื่องรูปปั้นว่าทำไมมุสลิมถึงไม่ให้เกียรติ เพราะมีค่าและความสวยงามน้อยกว่ามนุษย์อยู่แล้ว เป็นสิ่งที่ถูกปั้นโดยน้ำมือมนุษย์ จึงเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวหัวใจของคนที่นับถืออิสลามไม่ได้ โดยเขายืนยันด้วยว่าเขาพูดเฉพาะตัวเขาในฐานะที่เป็นมุสลิมและไม่มีสิทธิพูดถึงผู้นับถือศาสนาอื่นว่าใครผิดใครถูกอยู่แล้ว ทั้งนี้พุทธอภิวรรณ องค์พระบารมี ผู้ดำเนินรายการยังตั้งคำถามย้ำให้โต ซิลลี่ ฟูลส์ ตอบอีกว่าไหว้พระพุทธรูป ไหว้รูปปั้นไม่ผิดใช่ไหม หรือก็คิดว่าเขาแย่ โดยโต ซิลลี่ ฟูลส์ ตอบว่า "นั่นมันเรื่องของเขา แต่เรื่องของผมคือคนถาม ในคำถามเขาถามว่าทำไมมุสลิมไม่เอารูปปั้นมายึดเหนี่ยวจิตใจ ผมจึงต้องตอบในทัศนะของผู้ที่เป็นมุสลิม" ทั้งนี้เขากล่าวด้วยว่าการตอบคำถามในรายการนั้นเป็นการตอบไปตามตรง ไม่ได้ดูถูกอะไร ทีนี้ตามที่มีคนพูดกันว่าตัวเขาดูถูกศาสนาพุทธ เขาคิดว่าฟังที่เขาพูดผิด เพราะสิ่งที่เขาพูดตลอดมาในรายการคือยกพระพุทธเจ้าขึ้นมาเป็นลำดับสูงเสมอ คำสอนสูงเสมอ ถ้าตัวเขาพูดดูถูกพระพุทธเจ้า ก็เท่ากับทำผิดหลักการศาสนาอิสลามเพราะไม่มีสิทธิวิจารณ์ศาสนทูตท่านใด จากนั้นพุทธอภิวรรณได้ถามย้ำว่า "ถ้าชาวพุทธเขาไหว้พระพุทธรูป คุณโต ซิลลี่ ฟูลล์ มองอย่างไร" โต ซิลลี่ ฟูลล์ ถามกลับว่า "พระพุทธเจ้าสั่งให้ไหว้พระพุทธรูปหรือเปล่าครับ" โดยพุทธอภิวรรณกล่าวว่า "อะไรนะครับ" ทำให้โต ซิลลี่ ฟูลล์ ถามใหม่ว่า "พระพุทธเจ้า สั่งให้ปั้นรูปของท่าน แล้วให้ไหว้ท่านหรือเปล่า อันนี้คิดแล้วตอบกันเอาเอง ผมไม่มีสิทธิไปวิพากษ์วิจารณ์สิทธิของทุกคนที่จะทำดีทำชั่ว ทำอะไรก็ได้" โดยโต ซิลลี่ ฟูลล์ ย้ำด้วยว่า ในรายการเขาตอบคำถามของคนที่ถามว่าทำไมอิสลามถึงไม่ไหว้รูปปั้น ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ครม.ไฟเขียว แปรรูป 'นิด้า' เป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐ ส่ง สนช. พิจารณาต่อ Posted: 03 Apr 2018 10:03 AM PDT ครม.มีมติอนุมัติหลักการ ร่าง พ.ร.บ.สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ พ.ศ. .... เปลี่ยนสถานะ จากที่เป็นส่วนราชการไปเป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐ พนง.ไม่อยู่ภายใต้บังคับกฎหมายคุ้มครองแรงงานและแรงงานสัมพันธ์ ที่มาภาพ เว็บไซต์ ITM – Information Technology Management - สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ 3 เม.ย. 2561 เว็บไซต์ทำเนียบรัฐบาลรายงานว่า วันนี้ เมื่อเวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ซึ่งมีมติหนึ่งที่น่าสนใจคือ ครม. มีมติอนุมัติหลักการ ร่าง พ.ร.บ.สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้ รับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงยุติธรรม สำนักงบประมาณ และสำนักงาน ก.พ.ร. ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป สำหรับ ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว แบ่งออกเป็น 9 หมวด และบทเฉพาะกาล รวมทั้งสิ้น 96 มาตรา โดย เว็บไซต์ทำเนียบรัฐบาล สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้ 1. กำหนดให้ปรับเปลี่ยนสถานะสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) จากที่เป็นส่วนราชการไปเป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบการบริหารราชการแผ่นดิน กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ และกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม และไม่เป็นรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณและกฎหมายอื่น 2. กำหนดให้กิจการของสถาบันไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ แต่พนักงานสถาบันต้องได้รับการคุ้มครองและประโยชน์ตอบแทนไม่น้อยกว่า ที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน 3. กำหนดให้สถาบันมีอำนาจในการซื้อ ขาย รับจ้าง สร้าง จัดหา โอน รับโอน เช่า ให้เช่า เช่าซื้อ ให้เช่าซื้อ แลกเปลี่ยน และจำหน่าย หรือทำนิติกรรมใด ๆ ตลอดจนถือกรรมสิทธิ์ มีสิทธิครอบครอง หรือมีทรัพยสิทธิต่าง ๆ ในทรัพย์สิน หรือมีสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา หรือหาประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญา และจำหน่ายทรัพย์สินทั้งภายในและภายนอกราชอาณาจักร รวมทั้งรับเงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้อุดหนุน หรืออุทิศให้ และ สถาบันสามารถกู้ยืมเงินและให้กู้ยืมเงินโดยมีหลักประกันด้วยบุคคล หรือทรัพย์สิน การถือหุ้น การเข้าเป็นหุ้นส่วน การลงทุนและการร่วมลงทุน ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์แก่กิจการของสถาบัน นอกจากนี้ สามารถกำหนดค่าตอบแทนหรือค่าตอบแทนพิเศษ รวมทั้งสวัสดิการ สิทธิประโยชน์และประโยชน์อย่างอื่นให้แก่ผู้ปฏิบัติงานในสถาบัน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ที่กำหนดในข้อบังคับของสถาบัน ตลอดจนสามารถปกครอง ดูแล บำรุงรักษา จัดการ ใช้ และจัดหาประโยชน์จากทรัพย์สินของสถาบัน และที่ราชพัสดุตามกฎหมายว่าด้วยที่ราชพัสดุ 4. กำหนดให้รายได้ของสถาบันไม่เป็นรายได้ที่ต้องนำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดินตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลังและกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ หรือกฎหมายอื่น 5. กำหนดให้บรรดาอสังหาริมทรัพย์ที่สถาบันได้มาโดยมีผู้อุทิศให้หรือได้มาโดยการซื้อด้วย เงินรายได้ของสถาบัน หรือแลกเปลี่ยนกับทรัพย์สินของสถาบัน หรือได้มาโดยวิธีอื่น ไม่ถือเป็นที่ราชพัสดุและให้เป็นกรรมสิทธิ์ของสถาบัน 6. กำหนดให้ทรัพย์สินของสถาบันที่ใช้เพื่อประโยชน์เกี่ยวกับการศึกษา การวิจัย การบริการ ทางวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีทั้งปวง รวมทั้ง การบังคับทางปกครอง และบุคคลใดจะยกอายุความหรือระยะเวลาในการครอบครองขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับสถาบันในเรื่องทรัพย์สินของสถาบันมิได้ 7. กำหนดให้มีอธิการบดีเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด และรับผิดชอบการบริหารงานของสถาบันกำหนดวาระการดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง คุณสมบัติลักษณะต้องห้าม และให้มีอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนด 8. กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษาและการประเมินการดำเนินงานของสถาบัน
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
วัฒนา เมืองสุข: ดีเอสไอว่างัย... Posted: 03 Apr 2018 08:30 AM PDT สืบเนื่องจากที่นายพานทองแท้หรือโอ๊คได้เผยแพร่ภาพเช็คที่สั่งจ่ายเงินให้พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ จำนวน 250,000 บาท และพลเรือโทพะจุณณ์ ตามประทีป (ยศขณะนั้น) จำนวน 100,000 บาท ต่อมาพลโทพิศณุ พุทธวงศ์ นายทหารคนสนิทของพลเอกเปรมออกมายอมรับว่าเช็คจำนวน 250,000 บาท ที่โอ๊คกล่าวถึงนั้น เป็นเช็คที่นายวิชัยจ่ายเพื่อการกุศล พลเอกเปรมจึงได้สลักหลังเช็คนำเข้าบัญชีมูลนิธิโดยไม่ได้นำไปใช้เพื่อการส่วนตัว ข้อเท็จจริงในเรื่องนี้คือนายวิชัย กฤษดาธานนท์ ผู้บริหารในเครือกฤษดามหานครซึ่งถูกศาลพิพากษาว่าเป็นผู้กระทำความผิดกรณีเงินกู้ธนาคารกรุงไทย ได้สั่งจ่ายเช็คให้กับพลเอกเปรมและพลเรือโทพะจุณณ์ โดยเช็คทั้งสองฉบับสั่งจ่ายจากบัญชีเดียวกันกับที่จ่ายให้กับโอ๊คเพื่อลงทุนทำธุรกิจร่วมกัน แต่ในที่สุดไม่ได้ทำโอ๊คจึงได้คืนเงินจำนวนดังกล่าวให้กับนายวิชัยไป ส่วนที่พลโทพิศณุแถลงว่าเป็นการบริจาคเพื่อการกุศลนั้น หาได้เป็นข้อยกเว้นความผิดอาญาฐานฟอกเงินไม่ เพราะการนำเช็คเข้าบัญชีคือการรับโอนหรือเปลี่ยนสภาพครบองค์ประกอบความผิดฐานฟอกเงินแล้ว ดังเช่นที่สหกรณ์คลองจั่นได้บริจาคเงินให้กับวัดพระธรรมกาย ที่ทั้งผู้บริจาคและผู้รับบริจาคต่างถูกดำเนินคดีฐานฟอกเงินเช่นกัน ท้ายสุดอธิบดีดีเอสไอออกมาแถลงว่าการสั่งจ่ายเช็ครายที่มีมูลหนี้ต่อกันจริงๆ เช่น ชำระเป็นค่าที่ดิน ดีเอสไอก็ไม่ได้แจ้งข้อกล่าวหานั้น ช่วยตอบผมหน่อยว่าการบริจาคเงิน 250,000 บาท หรือการจ่ายเช็คให้พลเรือโทพะจุณณ์ 100,000 บาท มีมูลหนี้ต่อกันอย่างไร โดยเฉพาะการบริจาคที่กฎหมายถือเป็นการให้ซึ่งจะสมบูรณ์ได้ด้วยการส่งมอบตาม ปพพ. มาตรา 523 ก่อนการบริจาคจึงไม่อาจมีมูลหนี้ใดๆ ต่อกันได้เลย
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ปัญหากรอบคิดและจุดยืนทางจริยธรรมแบบพุทธในโลกสมัยใหม่ Posted: 03 Apr 2018 08:16 AM PDT
แต่ถ้ามองโครงสร้างของรัฐตามทัศนะของกรัมชี (Antonio Gramsci) กลไกในการปกครองของรัฐย่อมประกอบด้วย 2 ส่วน ที่สัมพันธ์กันอย่างแยกไม่ออกคือ กลไกการควบคุม/ปราบปราม เช่น กองทัพ กฎหมาย ตำรวจ ศาล คุก และกลไกการครอบงำหรือการสร้างความเชื่อ อุดมการณ์ เช่น สถาบันการศึกษา ศาสนา ที่ทำงาน สื่อมวลชน ครอบครัว ดังนั้น ศาสนาจึงเป็นส่วนหนึ่งของกลไกการครอบงำของรัฐ ในสังคมไทย พุทธศาสนาเป็นกลไกรัฐชัดเจนมาก เพราะพุทธศาสนาเป็นหนึ่งในสถาบันหลักของชาติ และมีคณะสงฆ์ของรัฐทำหน้าที่สนับสนุนอุดมการณ์ราชาชาตินิยมมายาวนาน อีกทั้งระบบการศึกษาของรัฐก็บังคับเรียนเพื่อปลูกฝังศีลธรรมพุทธศาสนาในโรงเรียน ทัศนะทางศีลธรรมแบบพุทธศาสนาจึงแสดงออกผ่านความคิดและบทบาทของชนชั้นปกครอง นอกจากนี้สถานะความสำคัญของพุทธศาสนายังปรากฏในรัฐธรรมนูญ กฎหมายลูก (ห้ามขายเหล้า, ไม่ออกหวยในวันสำคัญทางพุทธศาสนาเป็นต้น) นโยบายบางอย่างของรัฐ พิธีกรรมของภาครัฐ หน่วยงานราชการ สื่อมวลชน และครอบครัว สมมติถ้ามีบางพรรคการเมืองเสนอนโยบายว่า "จะบัญญัติให้พุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติในรัฐธรรมนูญ" เราคงไม่เชื่อว่าเขาจะได้คะแนนเสียงเพิ่มขึ้นจากนโยบายเช่นนี้มากนัก แต่ถ้าหากมีบางพรรคเสนอว่า "ต้องแยกศาสนาจากรัฐ" ด้วยการเปลี่ยนองค์กรพุทธศาสนาของรัฐและองค์กรศาสนาทุกศาสนาเป็นเอกชน และยกเลิกระบบสมณศักดิ์ เราย่อมเดาได้ไม่ยากว่า พรรคการเมืองที่เสนอนโยบายเช่นนี้จะต้องถูกโจมตีอย่างหนัก อาจสูญเสียคะแนนนิยม หรืออาจจะถูกร้องเรียนให้ยุบพรรคก็ได้ นอกเหนือจากข้ออ้างที่ว่าพุทธศาสนาเป็นหนึ่งใน "สถาบันหลัก" ของชาติที่จะถูกนำมาอ้างในการโจมตีแล้ว ยังสะท้อนจุดยืนจริยธรรมแบบพุทธไทย นั่นคือ จุดยืนในการตัดสิน "ถูก-ผิด" ทางการเมือง ซึ่งเป็นจุดยืนแบบเดียวกับการอ้างจริยธรรมพุทธศาสนาในทางการเมืองตลอดกว่าสิบปีที่ผ่านมา อันเป็นจุดยืนในการชี้ให้เห็นความชั่วร้ายของนักการเมือง และเมื่อนักการเมืองชั่วร้ายในทางจริยธรรมแล้ว จะใช้วิธีที่ถูกหรือผิดหลักประชาธิปไตยจัดการก็ได้ ทำไมจุดยืนทางจริยธรรมแบบพุทธไทยในทางการเมืองจึงเป็นเช่นนี้? ผมคิดว่าเราสามารถหาคำตอบได้จากวัฒนธรรมการศึกษาพุทธศาสนาที่มีอยู่ในสังคมไทย ซึ่งเมื่อพิจารณาการศึกษาพุทธศาสนาแบบทางการในระบบการศึกษาสงฆ์ หรือผลงานของพระที่เป็นปราชญ์พุทธศาสนาและนักวิชาการฆราวาส และที่สังเกตจากวิธีคิดของพระและชาวพุทธทั่วไปโดยรวมๆ แม้เราจะพบว่ามีรายละเอียดบางด้านที่แตกต่างกัน แต่หลักๆ แล้วไม่ได้แตกต่างกันสิ้นเชิง แต่ไปด้วยกันได้อย่างกลมกลืนมากกว่า ผมขอยกตัวอย่างงานศึกษาพุทธศาสนาทางวิชาการสัก 1 ตัวอย่าง คือหนังสือ "พุทธปรัชญากับญาณวิทยา" ของสมภาร พรมทา ต้องบอกก่อนว่าหนังสือเล่มนี้ไม่ใช่งานสนับสนุนจุดยืนทางจริยธรรมแบบพุทธที่ผมกล่าวข้างต้น แต่ก็ไม่ใช่งานวิพากษ์จุดยืนดังกล่าว ที่ยกงานเล่มนี้มาเป็นตัวอย่างเพราะ (1) เป็นงานที่สนทนาแลกเปลี่ยนกับความคิดและคุณค่าสมัยใหม่ และ (2) เป็นงานที่แม้จะเสนอทัศนะทางญาณวิทยาและจริยธรรมแบบพุทธที่อาจจะต่างจากจุดยืนทางจริยธรรมที่ผมวิจารณ์ แต่ก็อยู่ร่วมกันได้อย่างเป็นมิตร หรือไม่ตั้งคำถาม ไม่วิพากษ์กัน ข้อสรุปในหนังสือเล่มนี้เสนอว่า "พุทธศาสนามีแนวทางแสวงหาความรู้ของตนที่ชัดเจนมาก แนวทางที่ว่านี้คือ ความรู้ที่ควรแก่การแสวงหาจะต้องเกี่ยวข้องกับการทำให้ชีวิตเราดีขึ้นในทางจริยธรรม พุทธศาสนาเสนอว่าหัวใจของจริยธรรมแบบพุทธมีอยู่เรื่องเดียวเท่านั้นคือการทำให้ความทุกข์ในชีวิตค่อยๆ ลดลงจนไม่มีโดยสิ้นเชิง..." (หน้า 118) "จริยธรรมคืออะไร..ผมจะขอรวบรัดตัดความไปที่พุทธศาสนา สำหรับพระพุทธเจ้า จริยธรรมไม่ใช่การค้นหาว่าอะไรดีอะไรชั่ว และที่ว่านั่นดีนี่ชั่ววัดกันอย่างไร จริยธรรมในความหมายนี้นักปรัชญาตะวันตกเขาตั้งกรอบกันขึ้นเพื่อเดินหน้าต่อสำหรับการค้นหา ก็มีประโยชน์ครับไม่ว่ากัน สำหรับพระพุทธเจ้า จริยธรรมคือการคิดว่า เมื่อชีวิตและโลกเป็นเช่นนี้ คือไม่มีอะไรสักอย่างที่เราอาจยึดมั่นว่าเป็นตัวเราและของเราได้ เราควรใช้ชีวิตที่เกิดมาแล้วนี้อย่างไร จริยธรรมตามนิยามของพระพุทธเจ้าจึงเป็นเรื่องใหญ่มาก แทบเรียกได้ว่าคือทั้งหมดของชีวิต..." (หน้า 141) "พุทธปรัชญานั้นมีท่าทีที่น่ารักประการหนึ่ง...คือไม่ค่อยเสนอหลักอะไรในทำนองกีดกันคนอื่นว่า ถ้าไม่รับที่เราเสนอคุณก็ผิด ในเรื่องการแสวงหาความรู้นี้ก็เช่นกัน...หลักใหญ่ใจความเรื่องที่ว่าเราควรแสวงหาความรู้อย่างไรของพุทธศาสนาเป็นเรื่องใหญ่ ที่ครอบคลุมชีวิตเราทั้งชีวิต ส่วนจะมีแนวคิดเรื่องการแสวงหาความรู้แบบเล็กๆ เช่นที่เสนอโดยนักปรัชญาตะวันตกสมัยใหม่ ก็เป็นเรื่องที่เราชาวพุทธควรเปิดใจกว้างว่า นักคิดเหล่านี้เขาจะคิดหาอะไรของเขาเล็กๆ แคบๆ อย่างนั้นก็ปล่อยเขาไป..." (หน้า 141) ผมไม่คิดว่าข้อสรุปจากที่คัดมาข้างบนอยู่บน "อคติ" ต่อปรัชญาตะวันตก เพราะก่อนที่จะมาถึงข้อสรุปเช่นนี้ สมภารได้นำเสนอปรัชญาตะวันตกสำนักต่างๆ ความคิดของนักวิทยาศาสตร์ต่างๆ ในเชิงแลกเปลี่ยนกับพุทธปรัชญาอย่างละเอียดและด้วยท่วงทำนองที่ถือว่าความคิดตะวันตกและพุทธปรัชญามีฐานะเป็น "ความรู้ที่เท่าเทียมกัน" ไม่ได้ถือว่าพุทธปรัชญาสูงส่งกว่า ปัญหาของข้อสรุปดังกล่าวจึงไม่ใช่ปัญหาเรื่องอคติ แต่เป็นปัญหาเรื่อง "ความมีเหตุผล" (justification) เนื่องจากอะไรที่เล็กหรือใหญ่ในความรู้ทางญาณวิทยาและจริยธรรมนั้น สมภารยึดกรอบนิยามแบบพุทธเป็นตัวตั้งว่า ญาณวิทยาและจริยธรรมที่เป็นเรื่องใหญ่ต้องครอบคลุมชีวิตทั้งหมด ในความหมายว่า "ครอบคลุมการทำความเข้าใจทุกข์และความดับทุกข์ของชีวิต" อะไรที่ต่างไปจากนี้ก็คือเล็ก หรือไม่ครอบคลุมชีวิตทั้งหมด แต่ที่จริงแล้ว การเสนอความจริงที่ว่า "ชีวิตเป็นทุกข์" และเสนอ "จริยธรรมที่เป็นทางพ้นทุกข์" ของพุทธศาสนา ก็เป็นเพียงทัศนะหนึ่งในหลายๆ ทัศนะและหลายระบบจริยธรรมของอินเดีย เมื่อเทียบกับปรัชญาตะวันตก พุทธปรัชญาก็เป็นเพียงปรัชญาชีวิตแบบหนึ่งในหลายๆ แบบในโลก และที่สำคัญญาณวิทยาและจริยธรรมพุทธก็ไม่ได้ครอบคลุมความเป็นจริงทั้งหมดของชีวิตในโลกปัจจุบัน เพราะการใช้ชีวิตในโลกปัจจุบันไม่ใช่เพียงคุณต้องเดินตามหลักจริยธรรมพุทธ (ตามบัญชีรายการจริยธรรม เช่น มรรคมีองค์ 8, ไตรสิกขา, ศีล 5, ทิศหก และฯลฯ) แล้วจะเพียงพอ ชีวิตคุณยังต้องเดินตามกฎเกณฑ์อื่นๆ เช่น ประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน, ทุนนิยม, เศรษฐศาสตร์ และฯลฯ ซึ่งหลายๆ เรื่องมันเป็นเรื่องที่ดีที่จริยธรรมพุทธไม่มีคำตอบให้ หรือบางเรื่องก็ขัดกับจริยธรรมพุทธแต่ก็เป็นเรื่องที่ดี ส่วนที่ว่า "พุทธปรัชญานั้นมีท่าทีที่น่ารักประการหนึ่ง...คือไม่ค่อยเสนอหลักอะไรในทำนองกีดกันคนอื่นว่า ถ้าไม่รับที่เราเสนอคุณก็ผิด..." น่าจะสวนทางกับเนื้อหาจำนวนมากในพระไตรปิฎก เพราะเริ่มต้นปฐมเทศนา (ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร) ก็พูดถึงทัศนะอื่นว่าต่ำหรือเลว (บาลีว่า "หีโน") เป็นต้นแล้ว ยังมีเนื้อหาในคัมภีร์จำนวนมากที่พูดถึงทัศนะที่แตกต่างว่าเป็นมิจฉาทิฐิ และพูดถึงคนที่สามาทานมิจฉาทิฐิว่าตายไปแล้วย่อมไปเกิดในอบาย ทุกคติต่างๆ อีกด้วย ที่ว่า "สำหรับพระพุทธเจ้า จริยธรรมไม่ใช่การค้นหาว่าอะไรดีอะไรชั่ว และที่ว่านั่นดีนี่ชั่ววัดกันอย่างไร..." ที่จริงในคัมภีร์พุทธศาสนาก็เต็มไปด้วยคำว่าบาป อกุศล และผลของบาปอกุศล เช่นนรก อบายภูมิต่างๆ เต็มไปหมด นี่ไม่ใช่เรื่องที่เกี่ยวกับจริยธรรมพุทธเลยหรือ อีกประเด็นที่เป็นปัญหาในเรื่องความมีเหตุผลมากเลยคือ ที่สมภารเขียนว่า "...ส่วนจะมีแนวคิดเรื่องการแสวงหาความรู้แบบเล็กๆ เช่นที่เสนอโดยนักปรัชญาตะวันตกสมัยใหม่ ก็เป็นเรื่องที่เราชาวพุทธควรเปิดใจกว้างว่า นักคิดเหล่านี้เขาจะคิดหาอะไรของเขาเล็กๆ แคบๆ อย่างนั้นก็ปล่อยเขาไป..." คำถามคือ การปฏิวัติความคิดทางศีลธรรมของคานต์ (Immanuel Kant) ที่ปฏิเสธทฤษฎีจริยธรรมแบบเทวบัญชา (Divine command theory) แล้วเสนอศีลธรรมแบบโลกวิสัย (secular morality) อันเป็นศีลธรรมที่อยู่บนฐานอิสรภาพของมนุษย์ (autonomous morality) การเคารพความเสมอภาคและศักดิ์ศรีในตัวเองของมนุษย์ และการเสนอหลักเสรีภาพในฐานะคุณค่าทางศีลธรรมของมิลล์ (John Stuart Mill) เป็นต้น ที่กลายมาเป็นรากฐานของหลักสิทธิมนุษยชนสากลในโลกสมัยใหม่มันเป็นเรื่องของการคิดหาอะไรของเขาเล็กๆ แคบๆ อย่างไรหรือ หากมองจากกรอบคิดทางศีลธรรมในทัศนะนักปรัชญาตะวันตกสมัยใหม่ ความจริงและจริยธรรมที่พุทธศาสนามุ่งแสวงหาตามข้อสรุปของสมภาร ก็เป็นเพียง "ความจริง/ความดีส่วนบุคคล" เท่านั้น ขณะที่จริยธรรมที่นักปรัชญาตะวันตกคิดค้นเป็นเรื่องของหลักการสากลที่ครอบคลุมชีวิตมนุษย์ในมิติของความแตกต่างหลากหลายในโลกสมัยใหม่มากกว่า และจริยธรรมตะวันตกสมัยใหม่ก็ไม่ได้มองเรื่อง "ดี-ชั่ว" แคบๆ แบบศาสนา หากยังขยายไปครอบคลุมเรื่องสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค ความยุติธรรม สันติภาพโลก (เป็นต้น) ด้วย หากจะสรุปหลักความรู้ ความจริง และจริยธรรมตามที่สมภารเสนอในหนังสือเล่มดังกล่าวและที่ใช้กันอยู่จริงในสังคมไทย ก็น่าจะสรุปได้ประมาณนี้ 1. เราควรรู้ความจริงอะไร? ควรรู้ความจริงที่มีประโยชน์ หมายถึง ความจริงที่ทำให้ลดความทุกข์และดับทุกข์ในชีวิตได้ หรือทำให้ชีวิตมีความสุขที่แท้ 2. เราควรมีจริยธรรมแบบไหน? ควรมีจริยธรรมที่มีประโยชน์ หมายถึงจริยธรรมที่ทำให้ลดความทุกข์และดับทุกข์ในชีวิตได้ หรือทำให้ชีวิตมีความสุขที่แท้ 3. สังคมที่น่าอยู่คือสังคมแบบไหน? คือสังคมที่ทุกคนมีจริยธรรม หมายถึงทุกคน "รู้หน้าที่" ของตน เช่นผู้ปกครองรู้หน้าที่มีทศพิธราชธรรม พระสงฆ์ ชาวพุทธ พ่อ แม่ ลูก สามี ภรรยา ครูอาจารย์ ศิษย์ เพื่อนกับเพื่อน เจ้านาย บ่าว รู้หน้าที่ตามสถานภาพทางสังคมและมีจริยธรรมตามหลักทิศ 6 เป็นต้น 4. ประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน ระบบสังคมการเมืองที่มีเสรีภาพ ความเท่าเทียม ศีลธรรมโลกวิสัย (secular morality) จำเป็นไหม? ดูเหมือนชาวพุทธเถรวาทไทยไม่มีคำตอบเรื่องเช่นนี้ สำหรับพวกเขาระบบการปกครองอะไรก็ได้ที่ทำให้ลดความทุกข์และมีความสุขตามนิยามของพวกเขาก็ถือว่าเป็นระบบที่ดี ไม่ว่าจะเป็นระบบประชาธิปไตยหรือเผด็จการ (ความคิดแบบนี้เห็นได้ในหนังสือ "ธรรมะกับการเมือง" ของพุทธทาสภิกขุ เป็นต้น) ด้วยจุดยืนทางจริยธรรมแบบพุทธ เช่นนี้ บางครั้งพวกเขาก็อาจจะสนับสนุนรัฐบาลจากการเลือกตั้ง บางครั้งก็สนับสนุนรัฐประหาร ขึ้นอยู่กับ "ความเห็น" ของพวกเขาว่ารัฐบาลไหนมี "คนดี" หรือคนมีจริยธรรมมาแก้ปัญหาและสร้างความสงบสุขแก่ชาติบ้านเมือง ภายใต้ทัศนะต่อความจริงและจุดยืนทางจริยธรรมดังกล่าว ในสังคมพุทธไทยก็มีทั้งผู้ทรงคุณวิเศษทางธรรมที่ประกาศความหลุดพ้นทั้งพระและฆราวาส แล้วก็มีพวกที่ออกมาจับผิดว่าใครบ้างอวดอุตริ โดยมีอำนาจทางกฎหมายคณะสงฆ์ไปจัดการกับการอวดอุตริและความผิดเพี้ยนอื่นๆ มีทั้งเน้นคำสอนให้มีชีวิตเรียบง่ายพอเพียง มีทั้งสอนให้บริจาคมากได้บุญมาก รวยมาก อานิสงส์ของบุญทำให้เกิดมาสวย หล่อ รวย ทำมาค้าขึ้น มียศถาบรรดาศักดิ์ ฯลฯ จริงๆ แล้ว ตามหลักการในข้อ 1 และ 2 ซึ่งเป็นหลักการพื้นฐานของพุทธเถรวาท มันเป็นเรื่องของการแสวงหาความจริงส่วนบุคคลและจริยธรรมส่วนบุคคล แต่ชาวพุทธเถรวาทไทยไม่มีความคิดเรื่องจำแนก "ส่วนตัว-ส่วนรวม" หรือ "ปัจเจก-สาธารณะ" ชัดเจน พวกเขาจึงเอาทัศนะ/ความเชื่อส่วนตัวในเรื่องความจริงและจริยธรรมมามั่วกับเรื่องทางสังคมและการเมืองตลอดเวลา ฉะนั้น พุทธศาสนาที่เสนอความจริงและความดีส่วนบุคคล จึงถูกผนึกเป็นส่วนหนึ่งของรัฐ จริยธรรมส่วนบุคคลก็ถูกนำมาอ้างตัดสินถูก-ผิดในเรื่องสาธารณะ เรื่องการเมือง สับสนปนเปกันไปหมด เราจะเรียกว่านี่คือสภาวะที่พุทธศาสนาเป็นอุปสรรคต่อการสร้างประชาธิปไตยหรือไม่?
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ประยุทธ์ ยันดูแลผู้อพยพชาวโรฮิงญาตามหลักสิทธิมนุษยชน - ท้าดูท่าที 'อภิสิทธิ์' หลังเลือกตั้ง Posted: 03 Apr 2018 08:02 AM PDT ประยุทธ์ ยัน ร่าง พ.ร.ป.ส.ส.ดำเนินการตามกระบวนการขั้นตอนของกฎหมาย ไม่ให้กระทบโรดแมป ท้าดูท่าทีหลังเลือกตั้ง ปม 'อภิสิทธิ์' บอก ใครหนุนประยุทธ์นั่ง 'นายกฯคนนอก' ไม่ต้องมา 'ปชป.' ที่มาภาพ เว็บไซต์ทำเนียบรัฐบาล 3 เม.ย.2561 รายงานข่าวระบุว่า วันนี้ เวลา 13.30 น. ณ ห้องโถงตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ตอบข้อสงสัยของสื่อมวลชนเกี่ยวกับเรือบรรทุกผู้อพยพชาวโรฮิงญาหลบพายุที่เกาะลันตาของไทย โดยระบุว่า รัฐบาลไทยดูแลผู้อพยพชาวโรฮิงญาตามหลักสิทธิมนุษยชน และสนับสนุนให้ทุกประเทศ ทั้งต้นทาง กลางทาง และปลายทาง มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาโดยใช้หลักสิทธิมนุษยชนเป็นแนวทางสำคัญ ความคืบหน้าของร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนั้น พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ว่า ได้ส่งหนังสือตอบกลับไปยังสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เกี่ยวกับประเด็นการยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ ภายหลังมีการประสานงานและหารือระหว่างฝ่ายกฎหมายของรัฐบาลและ สนช. เพื่อให้เกิดความชัดเจนก่อนส่งร่างกฎหมายดังกล่าวขึ้นทูลเกล้าฯ และเพื่อให้เกิดความเรียบร้อยไม่เกิดความขัดแย้งในภายหลัง ดังนั้นรัฐบาลจึงให้ สนช. เป็นผู้ดำเนินการยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญ พิจารณา ซึ่งทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องพยายามไม่ให้เกิดปัญหาในการเลือกตั้ง โดยมีการประสานงานกันอย่างใกล้ชิด เปิดสายตรงไทยนิยม รับฟังปัญหาจาก ปชช. 24 ชม.พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวถึงโครงการสายตรงไทยนิยม โดยฝากสื่อมวลชนชี้แจงต่อประชาชนถึงช่องทางการสื่อสารของรัฐบาล โดยได้เพิ่มช่องทางสื่อสารเปิด Website และ Facebook ชื่อ "สายตรง ไทยนิยม" เพื่อรับคำร้องเรียน ร้องทุกข์ ข้อเสนอแนะ แสดงความคิดเห็น และใช้ในการกระจายข้อมูลข่าวสารจากภาครัฐ ข้อมูลสาธารณประโยชน์ ข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่อยู่ในความสนใจของประชาชน เสริมช่องทางเดิมที่มีอยู่ ซึ่งโครงการนี้ไม่ใช่โครงการประชานิยม แต่เป็นอีกหนึ่งช่องทางการรับฟังปัญหาจากประชาชน ในขณะนี้มีเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับความต้องการสาธารณูปโภคพื้นฐานมากถึง 50 % ทั้งนี้เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ การค้าขาย การคมนาคมได้สะดวก นอกจากนี้ ยังมีด้านสาธารณสุข 8 % ด้านการเกษตรประมาณ 10 % และด้านอื่นๆ เช่น การบริหารจัดการน้ำ เป็นต้น พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า การทำงานต้องทำงานในเชิงโครงสร้างในพื้นที่ สร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน ส่งเสริมผู้มีรายได้น้อย รวมทั้งการดูแลแรงงานภาคการเกษตรให้กลับสู่ภูมิลำเนา รัฐบาลมีความมุ่งมั่นในการปฏิรูปการเกษตรทั้งระบบ ซึ่งได้ดำเนินการทบทวนด้านสาธารณูปโภคพื้นฐานให้มากขึ้น รวมทั้งการเจรจาค้าขายกับต่างประเทศ โดยต้องระมัดระวังไม่ให้ส่งผลกระทบต่อภาคการเกษตรภายในประเทศ ทั้งนี้ อยากให้ทุกคนคำนึงถึงกลุ่มผู้ใช้แรงงาน ซึ่งมีความจำเป็นต้องเร่งดำเนินการให้เป็นแรงงานที่มีฝีมือ เพื่อให้เป็นแรงงานที่มีศักยภาพ และเพิ่มรายได้สูงขึ้น ท้าดูท่าทีหลังเลือกตั้ง ปม 'อภิสิทธิ์' บอก ใครหนุนประยุทธ์นั่ง 'นายกฯคนนอก' ไม่ต้องมา 'ปชป.'ขณะที่ กรณีที่อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ออกมาให้สัมภาษณ์ว่าหากใครสนับสนุนพล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกฯคนนอกไม่ต้องมาที่พรรคให้ไปที่อื่น นั้น พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า "พูดอะไรมาก็ระมัดระวังไว้ด้วย การพูดจาต่างๆ ต้องระมัดระวัง และอยู่ที่ประชาชนเขาจะเชื่อถือได้แค่ไหนอย่างไร ผมไม่ได้หมายความว่าทุกคนจะต้องมาสนับสนุน แต่กรุณาพูดจาให้มันดีๆ ใครจะสนับสนุนหรือไม่สนับสนุนผมก็แล้วแต่เขา ไอ้การพูดอย่างนี้มันฟังดูดีหรือเปล่า ให้เกียรติซึ่งกันและกันหรือเปล่า ถ้าบางเวลาผมมีอารมณ์ขึ้นมาแล้ว ผมพูดไปมันก็เสียหายด้วยกันทั้งหมด ผมไม่อยากจะมีอารมณ์ตรงนี้ประชาชนก็ไปใคร่ครวญเอาเองและดูด้วยวันหน้าเขาจะทำตัวกันอย่างไรที่ออกมาพูดกันวันนี้ลองคอยดูวันหน้าก็แล้วกันเลือกตั้งแล้วมันจะเกิดอะไรขึ้นแล้วเขาจะเปลี่ยนท่าทีอะไรกันอย่างไรก็ไปคอยดูตรงนู้นแล้วกัน แล้วค่อยไปถามเขาอีกที" ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
Posted: 03 Apr 2018 07:48 AM PDT
เสียงหวิวหวีดสลดปลดวิญญาณ ระเบิดบ้านทุกหลังลงพังครืน ร่างสิ้นไร้เรี่ยวแรงแห่งความหวัง สิ้นพลังทั้งหมดเคยสดชื่น ดวงตาไร้แววใสใจแตกตื่น เด็ก ๆ ดื่นดาษดากำพร้าพลัน เด็ก ๆ ถูกลูกหลงลงนอนเกลื่อน บ้านเรือนแต่หนหลังเคยดังสวรรค์ กลายเป็นเป้าประลองของโทษทัณฑ์ ดังความฝันดันเป็นจริงยิ่งกว่านรก ความคิดของนักรบศพเรื่องเล็ก แต่ศพเด็กและสตรีที่แนบอก กลายเป็นตามแก้แค้นแสนสะทก ต่างฝ่ายพกรกเรื้อเชื้อไข้แค้น พวกพ่อค้าอาวุธรุดรุมฟัด บริษัทพิกัดกางเร่งวางแผน เป็นพวกเสือนอนกินรอบดินแดน อ้าอ้อมแขนขนขายทุกค่ายรบ ในรอยยิ้มปริ่มเลือดสดกฏมนุษย์ ซีเรียสุดทางแล้วไหมให้ตะปบ อารยธรรมทำมาพาพานพบ พันปีจบลบทรงจำขยำขยี้ กลายเป็นแหล่งนรกบนดินจนสิ้นหวัง ระเบิดดังดอกไม้กระจุยเป็นผุยผี เสียงหนุ่ม ๆ ผิวปากเคยมากมี เหลือแต่เสียงกาลีเที่ยวกรีธา อำนาจปากกระบอกปืนที่ครืนครั่น ทุกสิ่งอันออกฤทธิ์แห่งมิจฉา กระสุนคมบ่มหัวใจไร้เมตตา ระเบิดบ้าโกลาหลมันพ่นไฟ เมื่อลาวามาหลอมไหลในใจมนุษย์ วิถีพุทธ,คริสต์,อิสลามถูกถามไถ่ อันตัวอย่างทางนรกหมกไหม้ ปรากฏให้เห็น เป็นจริงแล้ว
เบื้องหลังลิ้นรวมรสถ้อยพร้อยเพริศแพร้ว กระดกแก้วเหล้าเข้า เป้ายอดขาย เขามีชัยในยอดขายใครขื่นขม ทุนนิยมชมชื่นรื่นรมย์ร้าย คนฆ่ากันพลันรวยด้วยความตาย ชาติใดคล้ายจะจับคู่จงดูไว้
คนดีที่มั่นใจ อย่าจัญไรในบั้นปลาย ? บ้านเมืองเป็นของคน ถ้าอับจน จนวันตาย ไม่ช้าหรอกสหาย จะกลายเกิดกลียุค
แทนที่จะสิ้นทุกข์ ปลุกผีลุกปลุกขึ้นมา ผีเน่ากับโลงผุ จึงได้ลุล่วงเวลา มาไปให้ขายหน้า ปวงป่าช้าพากลับไป
สาปแช่งให้สิ้นใจ พวกจังไรในโลกา รู้ตัวไม่รีบกลับตน ผู้คนทนทรมา นอนกินอ้วนล้วนทายท้า ผองประชาจะล่าล้าง
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ชัยชนะเลือกตั้งของพรรคซ้ายกลางคอสตาริกา-ชูประเด็นสังคมก้าวหน้า-ความเท่าเทียม Posted: 03 Apr 2018 07:09 AM PDT ในการเลือกตั้งครั้งล่าสุดของประเทศคอสตาริกา ประเทศแถบอเมริกากลางที่มีชื่อเสียงด้านการท่องเที่ยว ฝ่ายซ้ายกลางคว้าชัยชนะเหนือผู้แทนพรรคอนุรักษ์นิยม โดยหนึ่งในประเด็นที่สองพรรคนี้แตกต่างกันชัดเจนคือเรื่องความหลากหลายทางเพศ ฝ่ายที่ชนะคือผู้สมัครซ้ายกลางที่สัญญาว่าจะเปิดทางให้กับการแต่งงานของคนรักเพศเดียวกันและชูเรื่องเสรีภาพกับความเท่าเทียม คาร์ลอส อัลวาราโด เคซาดา ผู้สมัครจากพรรคซ้ายกลาง ซิติเซน แอคชัน หรือพีเอซี ชนะการเลือกตั้งคอสตาริกาเมื่อ 1 เมษายน ที่ผ่านมา หลังจากการเลือกตั้งในรอบที่สองเมื่อวันที่ 1 เม.ย. 2561 เสร็จสิ้นลง มีการประกาศว่า คาร์ลอส อัลวาราโด เคซาดา ผู้สมัครจากพรรคซ้ายกลาง ซิติเซน แอคชัน หรือพีเอซี ได้รับชัยชนะในการชิงตำแหน่งประธานาธิบดี ด้วยคะแนนเสียงร้อยละ 60.79 เทียบกับคู่แข่งคือ ฟาบริซิโอ อัลวาราโด มูยอนซ์ จากพรรคอนุรักษ์นิยมพีอาร์เอ็นได้รับคะแนนเสียงร้อยละ 39.21 ซึ่งถือว่าเคซาดาได้รับคะแนนเสียงเกินกว่าที่คาดการณ์เอาไว้มาก เคซาดาเป็นคนที่เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมในรัฐบาลก่อนหน้านี้ รวมถึงเคยทำงานเป็นนักข่าวและนักเขียนนิยายมาก่อน เขาหาเสียงเลือกตั้งภายใต้คำขวัญที่ว่า "ผมเลือกอนาคต" หลังจากที่เขาเข้ารับตำแหน่งเคซาดาจะกลายเป็นประธานาธิบดีที่เยาว์วัยที่สุดของคอสตาริกาด้วยอายุ 38 ปี นอกจากนี้ผู้ร่วมหาเสียงของเขาคือ เอ็ปซี แคมป์เบลล์ จะเป็นชาวคอสตาริกาเชื้อสายแอฟริกันคนแรกที่ได้รับตำแหน่งรองประธานาธิบดีด้วย มีผู้ที่มาชุมนุมร่วมแสดงความยินดีโดยการส่งเสียงเชียร์และโบกธงคอสตาริกาจำนวนหลายพันคน เคซาดากล่าวต่อฝูงชนว่า เขามีพันธกิจในการตั้งรัฐบาลสำหรับทุกคน บนหลักของความเท่าเทียมและเสรีภาพ เพื่ออนาคตที่รุ่งเรือง ส่วนมูยอนซ์จากพรรคพีอาร์เอ็นเคยเป็นนักข่าวโทรทัศน์และนักร้องเพลงเนื้อหาเกี่ยวกับศาสนาคริสต์ ตัวเขาเองเป็นคริสต์นิกายอิแวนเกลิค ในการหาเสียงเลือกตั้งเขาเสนอแนวทางตรงกันข้ามกับเคซาดาการเรื่องคุณค่าแบบประเพณีนิยมโดยการกีดกันไม่ให้มีการแต่งงานระหว่างคนรักเพศเดียวกันรวมถึงการกีดกันไม่ให้ผู้หญิงเข้าถึงการทำแท้ง บีบีซีระบุว่าในการเลือกตั้งครั้งนี้มีหลายประเด็นที่ชาวคอสตาริกากังวลไม่ว่าจะเป็นความกลัวการขาดดุลงบประมาณ และอัตราการฆาตกรรมที่เพิ่มขึ้นสูงสุดเมื่อปี 2560 แต่ประเด็นหลักๆ ที่ทำให้สองพรรคนี้มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจนคือกรณีจุดยืนเรื่องการแต่งงานของคนรักเพศเดียวกัน จากที่ศาลสิทธิมนุษยชนแห่งทวีปอเมริกาตัดสินเมื่อเดือน ม.ค. ที่ผ่านมาว่าควรจะมีการยอมรับการแต่งงานของคนรักเพศเดียวกัน แต่มูยอนซ์ก็มีจุดยืนต่อต้านมาตรการนี้อย่างแข็งกร้าวและกล่าวต่อว่าแนวคิด "รัฐโลกวิสัย" และ "อุดมการณ์เรื่องเพศสภาพ" ในการโต้วาทีครั้งสุดท้ายระหว่างผู้สมัครทั้งสองพรรค เคซาดากล่าวหาว่ามูยอนซ์เป็นพวกเกลียดกลัวคนรักเพศเดียวกันอย่างไม่มีเหตุผล เตเลซูร์รายงานว่าในการเลือกตั้งคอสตาริกาครั้งนี้มีผู้ไปใช้สิทธิราวร้อยละ 62 จากผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด ขณะที่ Vox รายงานว่าการที่ประเด็นการแต่งงานของคนรักเพศเดียวกันกลายเป็นจุดตัดสินการเลือกตั้งครั้งนี้นั้น ส่วนหนึ่งเพราะสภาพสังคมคอสตาริกาที่มีกลุ่มอนุรักษ์นิยมทางศาสนาอยู่จำนวนมากโดยเฉพาะชาวคริสต์นิกายอิแวนเกลิกที่ดูจะเสียงดังทางการเมือง คนกลุ่มนี้จะมีความตื่นตัวในการต่อต้านประเด็นของผู้มีความหลากหลายทางเพศ อย่างไรก็ตามผลการเลือกตั้งล่าสุดก็แสดงให้เห็นว่าถึงแม้คริสต์นิกายอิแวนเกลิกจะเสียงดังทางการเมืองขนาดไหนแต่ก็ยังเสียงดังไม่มากพอจะชนะตำแหน่งประธานาธิบดีได้ ในระบบการเลือกตั้งทั่วไปของคอสตาริกามีการเลือกทั้งสภานิติบัญญัติและประธานาธิบดีไปพร้อมๆ กัน โดยแบ่งการเลือกตั้งเป็น 2 รอบ ผู้สมัครลงเลือกตั้งประธานาธิบดีจะต้องได้รับคะแนนโหวตอย่างน้อยร้อยละ 40 ขึ้นไปถึงจะชนะในรอบแรก ถ้าหากไม่มีใครได้คะแนนถึงร้อยละ 40 ผู้สมัครที่ได้คะแนนสูงสุด 2 อันดับแรกจะได้มาแข่งกันในรอบที่ 2 โดยในการเลือกตั้งรอบแรกครั้งล่าสุดนี้ไม่มีใครได้คะแนนเกณฑ์ที่กำหนด ทำให้เคซาดาและมูยอนซ์ที่ได้คะแนนร้อยละ 24 และร้อยละ 21 ตามลำดับต้องมาเผชิญหน้ากันในรอบที่ 2 เรียบเรียงจาก Alvarado v Alvarado: Costa Rica's election explained, BBC, 01-04-2018 Costa Rica: Carlos Alvarado wins presidency in vote fought on gay rights, The Guardian, 02-04-2018 Is Costa Rica's presidential election a victory for liberalism?, Vox, 02-04-2018 Carlos Alvarado is Elected President of Costa Rica, Telesur, 01-04-2018 ข้อมูลเพิ่มเติมจาก ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
คนงาน GM เตรียมร้องกรรมการสิทธิฯ สอบปัญหานายจ้างละเมิดสิทธิแรงงาน Posted: 03 Apr 2018 05:37 AM PDT ผู้ประสานงานกลุ่มพัฒนาแรงงานสัมพันธ์ตะวันออก เผยพรุ่งนี้ ตัวแทนสหภาพแรงงานเจนเนอรัลมอเตอร์สฯ เตรียมเข้าร้องคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนฯ ตรวจสอบปัญหาการละเมิดสิทธิแรงงานของนายจ้าง 3 เม.ย.2561 ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งจาก บุญยืน สุขใหม่ ผู้ประสานงานกลุ่มพัฒนาแรงงานสัมพันธ์ตะวันออก และกรรมการบริหารสมัชชาคนจนฝ่ายกฎหมายแรงงาน ว่า ในวันพรุ่งนี้ (3 เม.ย.61) เวลา 15.00 น. ณ สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา อาคารรัฐประศาสนภักดี (อาคารบี) ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขต หลักสี่ กรุงเทพมหานคร ตัวแทนสหภาพแรงงานเจนเนอรัลมอเตอร์ส ประเทศไทย จะเข้าร้องเรียนต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) เพื่อให้ตรวจสอบปัญหาการละเมิดสิทธิแรงงานในกรณีของ บริษัท เจนเนอรัลมอเตอร์ส ประเทศไทย บุญยืน อธิบายกรณีที่เตรียมยื่นเรื่องต่อ กสม. เพิ่มเติมว่า เมื่อวันที่ 26 มี.ค.ที่ผ่านมา สหภาพแรงงาน เจนเนอรัลมอเตอร์ฯ ได้รณรงค์ "เดินหน้าทวงคืนความยุติธรรม" และ เข้าร่วมชี้แจงในเวที "การเยือนไทยอย่างเป็นทางการ ของคณะทำงานว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (Working Group on Business and Human Rights)" จนถึงในวันนี้ปัญหาต่างๆ ยังคงไม่ได้รับการแก้ไขแต่อย่างใด หลังจากวันที่ 28 มี.ค. 2561 ซึ่งเป็นวันครบกำหนดจ่ายค่าจ้าง นายจ้างได้นำหลักฐานการจ่ายค่าจ้างมาให้กับพนักงานทั้ง 9 คน พนักงานทุกคนได้รับค่าจ้างในอัตรา 9,600 บาท แต่ยังถูกหักในส่วนอื่นอีก เมื่อสอบถามไปที่หัวหน้างานก็ไม่สามารถชี้แจงเหตุผลในการหักต่างๆได้ เพราะในหลักฐานการจ่ายค่าจ้างยังคงมีรายการหักการนัดหยุดงานอยู่ ทั้งที่คำสั่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ได้มีคำสั่งให้รับพนักงานทั้งหมดกลับเข้าทำงานโดยให้มีผลนับแต่วันที่ 8 พ.ย. 2560 เป็นต้นมาแล้ว "ซ้ำร้ายไปกว่านั้น ในจำนวนพนักงานทั้ง 9 คน ที่นายจ้างสั่งให้ไปปฏิบัติงาน ณ คลังสินค้าจังหวัดพระนครศรีอยุธยานั้น มีพนักงานหญิงเพียงคนเดียว ที่ถูกคำสั่งให้ร่วมเดินทางมากับพนักงานผู้ชายในกลุ่ม ซึ่งสหภาพแรงงานฯ เห็นว่าเป็นการออกคำสั่งที่เป็นการกลั่นแกล้งโดยไม่คำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์หรือความปลอดภัยที่จะเกิดขึ้นกับพนักงานหญิงที่นายจ้างสั่งให้ย้ายมา ที่ต้องมาหาที่พักอาศัยอยู่เพียงลำพังคนเดียวในที่ๆ ห่างไกลจากครอบครัว โดยไม่มีสวัสดิการใดๆ จากบริษัทฯช่วยเหลือดูแล เสมือนเป็นการบีบบังคับทั้งทางตรงและทางอ้อมที่จะให้พนักงานไม่สามารถทนทำงานอยู่ต่อไปได้ และทางบริษัทฯยังมีท่าทีจะโยกย้ายพนักงานทั้ง 9 คนนี้ ไปทำงานในที่แห่งใหม่ โดยอ้างว่างานที่คลังสินค้าจังหวัดพระนครศรีอยุธยานั้น ไม่มีงานหน้าที่ให้คนกลุ่มนี้ทำอีกแล้ว อาจจะต้องได้ย้ายไปทำงานที่ศูนย์ฝึกอบรมพนักงานที่วัดมะเดื่อ บางบัวทอง ทำให้ชีวิตของพนักงานทั้ง 9 คนกลุ่มนี้ ไม่สามารถทราบได้เลยว่า ตนเองจะต้องถูกโยกย้ายส่งไปทำงานที่ใดต่อไปเรื่อยๆ ทำให้ไม่สามารถออกแบบและวางแผนในการพัฒนาชีวิตตนเองและครอบครัวใดๆ ได้" ผู้ประสานงานกลุ่มพัฒนาแรงงานสัมพันธ์ตะวันออก ระบุ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
นักแสดงบุพเพสันนิวาสเยี่ยมทำเนียบรัฐบาล-หมื่นโป๊บแร็พโชว์ พล.อ.ประยุทธ์ Posted: 03 Apr 2018 05:24 AM PDT รมว.วัฒนธรรม พาทีมงาน-นักแสดงบุพเพสันนิวาสพบคณะรัฐมนตรีที่ทำเนียบรัฐบาล หมื่นโป๊ะแร็พโชว์ตามคำขอ "ออเจ้านี้เป็นคนกำเริบไม่รู้จักกาละเทศะ" ทำเอา พล.อ.ประยุทธ์ สวนทันควัน "พูดกับเขาสิ" ขณะเดียวกันยังถามหา "หมื่นเรือง" อยากเลือกตั้งนักหรือ พร้อมล้อเล่นว่าจะเอาไปตัดหัว 3 เม.ย. 2561 เวลา 08.45 น. ณ ห้องรับรอง 1 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม พร้อมด้วยผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม นำคณะศิลปินดาราและนักแสดง พร้อมผู้จัดจากละคร "บุพเพสันนิวาส" เข้าพบพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี เนื่องในกิจกรรมรณรงค์ส่งเสริมภาพยนตร์และละครไทยเพื่อร่วมเรียนรู้ประวัติศาสตร์และสืบสานความเป็นไทย เกี่ยวกับการเทิดทูนสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวชื่นชมศิลปินดาราและนักแสดง ผู้สร้างและผู้จัดจากละคร "บุพเพสันนิวาส" ที่มีคุณภาพและมีเนื้อหาแสดงถึงความรักชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ รวมทั้งวัฒนธรรม ประเพณีอันดีงามของไทยในเชิงสร้างสรรค์ พร้อมผลักดันสร้างตลาดและเผยแพร่สื่อคุณภาพ ซึ่งรัฐบาลจัดตั้งกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ขึ้น เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมภาพยนตรืและละครไทยให้ดียิ่งขึ้นต่อไป อนึ่ง พล.อ.ประยุทธ์ ขอให้นักแสดงรักษาตัวทำงานให้เจริญก้าวหน้า และหาอาชีพหลัก เพราะการแสดงมีการเปลี่ยนไปเรื่อยๆ และมีนักแสดงรุ่นใหม่เข้ามาด้วย นอกจากนี้ขอให้ "โป๊บ" ธนวรรธน์ วรรธนะภูติ ที่รับบทหมื่นสุนทรเทวา ในละครเรื่องบุพเพสันนิวาส แสดงบทบาทจากละคร โดยโป๊บได้พูดตามบทละครว่า "ออเจ้านี้เป็นคนกำเริบไม่รู้จักกาละเทศะ" ทำให้ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า "พูดกับเขาสิ อย่ามาว่าฉัน" เรียกเสียงฮาครืนทั้งห้องรับรอง นอกจากนี้ตอนหนึ่ง พล.อ.ประยุทธ์ ถามหา "หมื่นเรือง" หรือ "ปั้นจั่น" ปรมะ อิ่มอโนทัย โดยกล่าวว่า "เคยเห็นออเจ้าบอกอยากเลือกตั้งหรือ" โดยปั้นจั่นกล่าวว่า "ผมรอได้ครับท่าน เข้าใจว่าต้องตามโรดแมปครับ" ทำให้ พล.อ.ประยุทธ์ ถามหาชื่อในละครว่าชื่ออะไร เมื่อรู้ว่าเล่นเป็นหมื่นเรือง และมีเสียงลูกรับลูกคู่ว่า "สั่งโบยเลยไหมครับท่าน" พล.อ.ประยุทธ์ จึงกล่าวว่า "หมื่นเรืองหรือ" "...เอาไปตัดหัว" ปั้นจั่นจึงตอบกลับว่า "ท่านครับเดี๋ยวขอเซลฟีได้ไหมครับ" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวด้วยว่า "โอเคให้อภัย แต่ปกติต้องโบย 10 ทีนะ" ตอนท้ายของการเข้าพบครั้งนี้ ศิลปินดาราและนักแสดง ผู้สร้างและผู้จัดจากละคร "บุพเพสันนิวาส" ได้มอบของที่ระลึกให้แก่นายกรัฐมนตรี ประกอบด้วย มะม่วงน้ำปลาหวานและอาหารไทยสมัยโบราณ (หมูสร่ง) พร้อมกับถ่ายรูปร่วมกันเป็นที่ระลึกด้วยอัธยาศัยอันดี ที่มาของวิดีโอ: เว็บไซต์ทำเนียบรัฐบาล
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ผู้แทน WHO ชมศูนย์การแพทย์เทศบาลบึงยี่โถ เน้นชุมชนเป็นศูนย์กลาง ปชช.มีส่วนร่วมดูแลสุขภาพ Posted: 03 Apr 2018 02:51 AM PDT ผู้แทนองค์การอนามั
3 เม.ย. 2561 รายงานข่าวระบุว่า วันนี้ ณ ศูนย์การแพทย์และฟื้นฟูบึงยี่โถ เทศบาลเมืองบึงยี่โถ อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี นพ.แดเนียล เอ. เคอร์เทสช์ ผู้แทนองค์การอนามั รังสรรค์ นันทกาวงศ์ นายกเทศมนตรีเมืองบึงยี่โถ กล่าวว่า สถานีอนามัย ต.บึงยี่โถ ได้มีการถ่ายโอนมายังเทศบาลเมื รังสรรค์ กล่าวต่อว่า หลังการโอนย้ายในช่วง 10 ปี ได้เห็นการพัฒนาของสถานีอนามั รังสรรค์ กล่าวว่า การโอนย้ายสถานีอนามัยทำให้ง่ นายกเทศมนตรีเมืองบึงยี่โถ กล่าวว่า ที่นี่สามารถดำเนิ ด้าน นพ.แดเนียล เอ. เคอร์เทสช์ ผู้แทนองค์การอนามั ผู้แทนองค์การอนามั "ผมทำงานในองค์การอนามั นพ.แดเนียล เอ. เคอร์เทสช์ กล่าวว่า ตัวอย่างการทำงานด้านสาธารณสุ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
'วัฒนา' ข้องใจ 'พานทองแท้' โดนคดีคนเดียว แต่ 'พล.อ.เปรม' รอด ทั้งที่ได้รับเช็คเหมือนกัน Posted: 03 Apr 2018 02:12 AM PDT 'วัฒนา' ข้องใจ 'พานทองแท้' โดนคดีฟอกเงินคนเดียว แต่ 'พล.อ.เปรม' รอด ทั้งที่ได้รับเช็คเหมือนกัน ด้าน พล.อ.สุรยุทธ์ระบุเป็นเรื่องเก่า ไม่จำเป็นต้องตรวจสอบ 3 เม.ย. 2561 จากกรณีที่ พานทองแท้ ชินวัตร ลูกชายของ ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี โพสต์เฟสบุ๊คส่วนตัว พาดพิงถึง พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี โดยภาพเช็คที่สั่งจ่ายเงินให้ พล.อ.เปรม จำนวน 250,000 บาท และพล.ร.ท.พะจุณณ์ ตามประทีป (ยศขณะนั้น) จำนวน 100,000 บาท ต่อมา พล.ท.พิศณุ พุทธวงศ์ นายทหารคนสนิทของ พล.อ.เปรม อ ล่าสุดวันนี้ (3 เม.ย.61) สำนักข่าวไทย รายงานว่า พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรี ในฐานะประธานมูลนิธิรัฐบุรุษ พล.อ.เปรม กล่าวถึงกรณี ดังกล่าวด้วยว่า ช่วงเวลาที่ พานทองแท้ ระบุนั้น ตนยังไม่ได้ทำหน้าที่เป็นประธานมูลนิธิฯ เรื่องนี้เป็นเรื่องเก่าและเกิดขึ้นนานมากแล้ว "ส่วนจะตรวจสอบประเด็นดังกล่าวหรือไม่ คงไม่ใช่เรื่องที่จะต้องตรวจสอบ เพราะเรื่องเกิดขึ้นมาก่อนที่ผมจะเข้ามาทำหน้าที่ประธานมูลนิธิฯ ส่วนที่พาดพิง พล.อ.เปรม ทราบว่าพล.ท.พิศณุ พุทธวงศ์ หัวหน้าสำนักงานมูลนิธิรัฐบุรุษฯ และนายทหารคนสนิทชี้แจงประเด็นนี้แล้ว ซึ่งเป็นไปตามนั้น" พล.อ.สุรยุทธ์ กล่าว เมื่อถามย้ำว่าเป็นการนำเรื่องการเมืองมาโจมตีพล.อ.เปรม และจะดำเนินการฟ้องร้องตามกฎหมายหรือไม่ พล.อ.สุรยุทธ์ปฏิเสธที่จะตอบคำถามดังกล่าว 'วัฒนา' ข้องใจ 'พานทองแท้' โดนคดีฟอกเงินคนเดียว ทั้งที่ได้รับเช็คเหมือนกันด้าน วัฒนา เมืองสุข อดีต รมว.พาณิชย์ และแกนนำพรรคเพื่อไทย โพสต์ข้อความในเฟสบุ๊ค Watana Muangsook เกี่ยวกับกรณีนี้ด้วยว่า ข้อเท็จจริงในเรื่องนี้คือ วิชัย กฤษดาธานนท์ ผู้บริหารในเครือกฤษดามหานค
ส่วนที่ พล.ท.พิศณุแถลงว่าเป็ "อธิบดีดีเอสไอออกมาแ วอยซ์ ออนไลน์ สรุป ไทม์ไลน์ เงิน 10 ล้าน เอี่ยวฟอกเงิน ไว้ดังนี้
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
‘ยุบภาคปรัชญา’ วิชาไม่ทำเงิน สังคมไม่ตั้งคำถาม หรือปรัชญาทำตัวเหินห่าง? Posted: 03 Apr 2018 01:20 AM PDT กรณียุคภาคปรัชญา ศิลปากร พบไม่ใช่ที่เดียว แต่เป็นแนวโน้มทั่วโลก คุยกับนักวิชาการปรัชญาทำไมคนจึงไม่เห็นความสำคัญของปรัชญา เพราะสังคม วงการปรัชญาเอง หรือทั้งสองอย่าง เชื่อว่าการลดความสำคัญของวิชาด้านมนุษยศาสตร์จะสร้างผลกระทบระยะยาว การยุบภาควิชาปรัชญาของมหาวิทยาลัยศิลปากรเป็นข่าวเล็กๆ ที่ได้รับการพูดถึงชั่วครั้งคราวก่อนถูกกลบหายไปในกระแสะข่าวอื่นๆ อย่างรวดเร็ว ท่ามกลางสถานการณ์บ้านเมืองที่หมักหมมด้วยปัญหา ตัดกลับมาสู่ระดับปัจเจกที่ต้องตะเกียกตะกายหาชีวิตที่ดีกว่าในสังคมเหลื่อมล้ำสูง การลดความสำคัญของวิชาวิชาหนึ่งที่จะโดยสาเหตุใดก็ตาม แต่มันวางตัวห่างเหินจากคนจำนวนมากมาเนิ่นนาน ไม่น่าแปลกใจที่ความรู้สึกรู้สาต่อกรณีนี้จะน้อยถึงน้อยมาก ทว่า ปรัชญาไม่เกี่ยวข้องกับชีวิตจริงหรือ? ถ้าคำตอบคือไม่เกี่ยวข้อง ก็ถือว่าดูเบาวิชาที่มีความเป็นมานับพันปีนี้มากเกินไป 'ประชาไท' นำกรณียุบภาควิชาปรัชญาเป็นสารตั้งต้น แล้วพูดคุยกับนักวิชาการปรัชญาถึงสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น ซึ่งไม่ใช่แค่เฉพาะภาควิชาปรัชญา มหาวิทยาลัยศิลปากร และอะไรที่ทำให้ปรัชญาเหินห่างจากผู้คน เพราะวัฒนธรรม เพราะนักวิชาการปรัชญาเอง หรือเพราะทั้งสองอย่าง ยุบภาคปรัชญา คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง อาจารย์ภาควิชาปรัชญา ซึ่งเสี่ยงถูกยุบเป็นเพียงสาขาปรัชญา สังกัดคณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร กล่าวเบื้องต้นว่า การถูกยุบลงเหลือสถานะเป็นเพียงสาขาส่งผลกระทบต่อความอิสระในการบริหารจัดการและเสรีภาพทางวิชาการ เพราะโดยโครงสร้างลักษณะนี้ ทางคณะสามารถแทรกแซงการทำงานของสาขาวิชาได้ง่ายกว่าภาควิชา ประการต่อมาคืออำนาจต่อรองที่น้อยลง ซึ่งอาจดำเนินไปสู่การหายไปของวิชาเอกปรัชญาในมหาวิทยาลัย และประการสุดท้าย สถานะของสาขาวิชายุบง่ายดายกว่าภาควิชา เพราะคณะกรรมการวิชาการมหาวิทยาลัยสามารถสั่งยุบได้ทันที โดยไม่ต้องผ่านสภามหาวิทยาลัย "ความเข้าใจของผม มันไม่ใช่เกิดจากแค่ผู้บริหาร แต่เป็นนโยบายของรัฐบาลส่วนหนึ่งที่พยายามจะลดจำนวนสาขาพวกนี้ ชัดเจนจากบทสัมภาษณ์นายกฯ มหาวิทยาลัยเองก็พยายามลดจำนวนสาขาพวกนี้ลง นอกจากจะตามนโยบายรัฐบาลแล้ว เราจะเห็นว่าสาขาพวกนี้ไม่ได้มีจำนวนนักศึกษามาก แต่ไม่ได้แปลว่าไม่มี มันอาจไม่มากเท่าสายวิทยาศาสตร์ ดังนั้น การทำเงินให้กับมหาวิทยาลัยจึงอาจน้อยกว่า แน่นอนเพราะวิชาพวกนี้ไม่ได้ขายกันง่ายๆ" การยุบภาควิชาปรัชญาไม่ได้เกิดขึ้นที่มหาวิทยาลัยศิลปากรเพียงแห่งเดียว จากการเปิดเผยของอันธิฌา แสงชัย อาจารย์ประจำภาควิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี กล่าวว่า ทางคณะมนุษย์ศาสตร์ฯ ก็มีนโยบายจะยุบภาควิชาเป็นสาขาวิชาคล้ายกับคณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากรเช่นกัน ในอนาคตอาจต้องไปรวมกับสาขาอื่นเกิดเป็นภาควิชาใหม่ แต่รายละเอียดอาจต่างกัน ไม่ใช่แค่เฉพาะภาควิชาปรัชญา แต่ภาควิชาอื่นๆ รวม 11 ภาควิชา โดยลดให้เหลือแค่ 3-4 ภาควิชา ส่วนใหญ่เป็นของคณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ "มีการประชุมกันแล้วหลายครั้ง จึงน่าจะชัดเจนว่าต้องยุบ แต่ช่วงนี้ก็ยังเป็นภาควิชาอยู่ ยังไม่ชัดเจนว่าจะยุบเมื่อไหร่ เหตุผลเป็นเรื่องการบริหารจัดการ ไม่เกี่ยวกับการเรียนการสอน อาจารย์ก็ยังทำงานที่ตัวเองรับผิดชอบ แต่การบริหารน่าจะเร็วขึ้น สะดวกขึ้น ออกแบบหลักสูตรข้ามสาขาวิชาง่ายขึ้น มีความยืดหยุ่นที่ให้อาจารย์ที่อยากทำงานร่วมกันออกแบบหลักสูตร ประหยัดงบประมาณขึ้น ไม่มีเงินประจำตำแหน่งให้คนเป็นหัวหน้าภาคเหมือนก่อน ตำแหน่งบริหารลดลง เหลือแค่หัวหน้าหลักสูตรซึ่งไม่ถือเป็นตำแหน่งบริหารโดยตรง" สังคมที่ไม่ตั้งคำถาม? มุมมองของนักวิชาการและผู้ที่สนใจปรัชญา ปรัชญาคือวิชาที่ว่าด้วยการตั้งคำถามและกระบวนการคิด วิเคราะห์ ให้เหตุผลเพื่อหาคำตอบ พิจารณาตรงจุดนี้ก็ไม่น่าจะเป็นเรื่องไกลตัว แต่ในความเป็นจริงกลับไม่ใช่ การรับรู้ทั่วไป ปรัชญาคือสิ่งที่ต้องปีนบันไดขึ้นสู่หอคอย ทำไม คมกฤชแสดงทัศนะว่าเพราะปรัชญาเป็นวิชาใหม่และในช่วงแรกที่วิชาปรัชญาก่อตั้งมีความใกล้ชิดกับศาสนามาก ภาพลักษณ์จึงดูลึกลับซับซ้อน ทั้งที่จริงๆ แล้วปรัชญาเป็นกระบวนการคิดวิเคราะห์ "พอเป็นแบบนี้ปุ๊บก็กลายประเด็นในเชิงคุณค่าทางเศรษฐกิจ คนจึงไม่เข้าใจว่าจบไปทำอะไร และเรายังทิ้งปรัชญาไว้ในระดับอุดมศึกษาอย่างเดียว ไม่ได้กระจายไปสู่ทักษะในระดับมัธยมหรือประถม ไม่เหมือนวิชาอื่นที่อาจเคยเรียนบ้างในระดับประถม มัธยม สังคมไทยจึงมองไม่เห็นคุณค่าของการเรียนการสอนปรัชญา ซึ่งมีคุณค่าในเชิงที่ให้คนเกิด Critical Mind "ผมคิดว่าภาวะที่ทำให้วิชาสายมนุษยศาสตร์เล็กลงเรื่อยๆ มีผลกระทบต่อสังคมในระยะยาว ในระยะใกล้อาจไม่เห็นชัด แต่ในระยะยาวจะเห็น เพราะความคิดเชิงวิเคราะห์หรือการตั้งคำถามเป็นทักษะที่ปรัชญาเน้นและเป็นหลักคิดแบบวิทยาศาสตร์ แต่ตอนนี้เราไม่ได้ส่งเสริมวิทยาศาสตร์ เราส่งเสริมเทคโนโลยี พอเป็นแบบนี้ปุ๊บทักษะเหล่านี้ก็เหมือนถูกทำให้ด้อยค่าลง ผมคิดว่าทั้งมนุษยศาสตร์และวิทยาศาสตร์เป็นสองข้างของการพาสังคมไปข้างหน้า การคิดวิเคราะห์ตั้งคำถามเป็นอย่างหนึ่งที่พาสังคมก้าวไปข้างหน้า แต่คนไทยมองว่าเป็นเรื่องอันตราย เมื่อถูกตั้งคำถาม วิเคราะห์ วิพากษ์ เป็นเรื่องอันตราย แต่การไม่ตั้งคำถาม ไม่มีความคิดเชิงวิพากษ์ผมกลับมองว่าเป็นอันตรายยิ่งกว่า" ขณะที่อันธิฌามีความเห็นคล้ายคลึงกันว่า ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ระดับอุดมศึกษาซึ่งเป็นปลายเหตุ แต่เป็นวิธีคิดของระบบการศึกษาเมืองไทยที่ไม่เห็นความสำคัญของวิชานี้ตั้งแต่ต้น ปรัชญาเป็นวิชาที่เด็กไม่รู้จัก แต่มารู้จักในระดับอุดมศึกษา นอกจากนี้ การศึกษาไทยไม่ใช่การศึกษาที่มีการถกเถียงและมีความจริงได้หลากหลายแบบ แต่เป็นการศึกษาที่มักมีความถูกต้องแบบเดียวเท่านั้น "การศึกษาไทยเป็นระบบอำนาจนิยมมากๆ ควบคุมความคิดมากๆ ยอมให้ชุดความจริงต่างๆ มีแค่ชุดความจริงกระแสหลักที่สนับสนุนอุดมการณ์ของรัฐ ดังนั้น มันไม่มีพื้นที่ให้ปรัชญา สำหรับเราการที่ปรัชญาแทรกอยู่ในระบบการศึกษาระดับอุดมศึกษาได้ก็ถือว่ามหัศจรรย์แล้ว" สื่อสารกับสังคม? แต่ช้าก่อน ทั้งหมดนี้เป็นความผิดของระบบ สังคม วัฒนธรรม เท่านั้นหรือเปล่า ในฐานะนักวิชาการด้านปรัชญา พวกเธอและเขามองตนเองอย่างไร
"ในฐานะคนสอนปรัชญาถ้าถามว่าผมทำหน้าที่อาจารย์ได้ครบถ้วนหรือไม่" คมกฤชกล่าว "คงไม่ร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ผมก็ทำหน้าที่เต็มที่ในการช่วยนักศึกษา ชวนคิด ชวนวิเคราะห์ ชวนวิพากษ์วิจารณ์ ส่วนงานวิชาการผมอาจจะไม่ได้อยู่ในฟีลด์ที่ก้าวหน้านัก เพราะผมสอนอะไรที่มันโบราณๆ อย่างปรัชญาอินเดีย แต่ถ้าให้ประเมินตัวเองว่าล้มเหลวไหม ก็คงไม่ใช่ ก็คงทำได้ในระดับหนึ่ง มีดอกมีผลบ้าง นักศึกษาที่จบไปก็เป็นคนที่มีความคิดวิเคราะห์วิพากษ์ได้อยู่บ้าง "ในแง่สื่อสารกับสังคม ผมคิดว่าปรากฎการณ์นี้มีแง่ดีคือทำให้คนสนใจเรื่องราวที่เกิดขึ้นในมหาวิทยาลัย เมื่อมีโอกาสผมก็จะพยายามพูดเรื่องเกี่ยวกับปรัชญา เพียงแต่เรื่องนี้มันอาจจะต้องทำไปด้วยกัน ทั้งอาจารย์และนักวิชาการด้านปรัชญา" ด้านอันธิฌา แสดงความเห็นว่า "เราคิดว่ามีคนที่พยายามทำให้ปรัชญาเติบโต แต่ต้นทุนน้อยมาก บุคลากรน้อย เทียบกับสาขาวิชาอื่น โอกาสที่เราจะได้ทำงานที่ไปผลักดันเชิงนโยบายไม่ใช่ง่าย เข้าไปสู่พื้นที่ของผู้บริหารก็ยิ่งยาก แต่อย่างน้อยก็มีความพยายามรวมกลุ่มกันเป็นสมาคมปรัชญาและศาสนา สมาคมพยายามทำงานให้เกิดความเคลื่อนไหวทางวิชาการอย่างต่อเนื่อง เช่น มีการประชุมเชิงวิชาการทุกปี จัดอบรมเชิงวิชาการที่เป็นปรัชญาทุกปี อาจารย์บางท่านก็พยายามทำงานวิชาการ จัดกิจกรรมในพื้นที่ของตัวเอง อย่างศิลปากรเรามองว่าเป็นภาควิชาปรัชญาที่เข้มแข็ง มีอาจารย์ที่มีความเข้มแข็งทางวิชาการ และมีความพยายามเชื่อมโยงกับสังคม ผลิตงานที่เป็นวิชาการเชิงลึก และงานสื่อสารทางสังคม ถือเป็นความพยายามที่เมื่อเทียบกับต้นทุนที่มีอยู่ก็ถือว่าทำได้เยอะมาก "มองมุมกลับ เรากลับคิดว่าคนคาดหวังกับอุดมศึกษามากเกินไป เราไม่แปลกใจที่ภาควิชาปรัชญาถูกลดความสำคัญ เพราะไม่ใช่แค่ปัญหาที่เกิดขึ้นในมหาวิทยาลัย แต่เป็นปัญหาโครงสร้างซึ่งใหญ่กว่านั้นมาก" สมาคมปรัชญาฯ รอหารือแสดงท่าที โสรัจน์ หงศ์ลดารมภ์ ในฐานะนายกสมาคมปรัชญาและศาสนาแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การลดความสำคัญของวิชาปรัชญาลงเป็นแนวโน้มที่น่าเป็นห่วงและไม่ได้เกิดเฉพาะในประเทศไทย ผู้บริหาร รัฐบาล หรือมหาวิทยาลัยในโลกตะวันตกเองก็ให้ความสำคัญกับวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์เพิ่มมากขึ้น ซึ่งเขามองว่าเป็นเรื่องน่าเสียดาย เพราะจริงๆ แล้ววิชาเหล่านี้กับปรัชญาต้องไปด้วยกัน เพราะมนุษย์จะเข้าใจวิทยาศาสตร์ไม่ได้ ถ้าไม่เข้าใจตัววิทยาศาสตร์เองภายใต้บริบทที่สัมพันธ์กับสังคมรอบนอก "มันเป็นข้อเสียของการวางหลักสูตร อย่างเช่นวิศวะควรเรียนปรัชญามากๆ เพราะมันเกี่ยวกับเรื่องคุณค่า คุณค่าคือการบอกว่าอะไรดีหรือไม่ดี เกี่ยวข้องตั้งแต่ต้น หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่เวลาสอน ไม่ได้สอนสิ่งเหล่านี้หรือไม่ให้ความสำคัญ หลักสูตรไม่เอื้อ นักศึกษาอาจจะอยากเรียนปรัชญา แต่ไม่มีเปิดสอน "วัตถุประสงค์ของสมาคมฯ ต้องการส่งเสริมวิจัยด้านปรัชญา แต่สิ่งที่เกิดขึ้นมันตรงกันข้ามกับการส่งเสริม ก็มีการพูดคุยกันว่าจะทำอะไรดี อาจเป็นการจัดเสวนา ร่างแถลงการณ์ ความจริงทางภาควิชาปรัชญา มหาวิทยาลัยศิลปากรก็ทำอะไรไว้พอสมควรแล้ว อาจมีการประชุมวิสามัญ ต้องดูว่ากรรมการบริหารจะว่ายังไง" ........... อันธิฌากล่าวว่า ต้องการเห็นการพูดคุยปรัชญาเป็นเรื่องปกติในสังคม อยู่ในวัฒนธรรม และสื่อสารกับผู้คน ซึ่งจะก่อคุณูปการต่อสังคม อย่างไรก็ตาม เหล่านี้เป็นความเห็นของนักวิชาการปรัชญา ยังมีพื้นที่อีกมากให้สังคมตั้งคำถามว่า ปรัชญาสำคัญหรือไม่ นักวิชาการปรัชญาสื่อสารกับสังคมมากพอหรือไม่ สื่อสารด้วยภาษาและเนื้อหาแบบไหน แค่คุยเฉพาะกลุ่มนักวิชาการกับผู้ที่มีความสนใจกลุ่มเล็กๆ หรือพยายามคุยกับคนทั่วไป แล้วการลดความสำคัญของวิชาปรัชญาเพื่อตอบสนองด้านเศรษฐกิจและการพัฒนาเหมาะสมหรือไม่ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ผู้หญิง 59% ถูกลวนลามคุกคามทางเพศในช่วงสงกรานต์ จี้ กทม.เป็นต้นแบบกลไกช่วยเหลือ Posted: 03 Apr 2018 12:23 AM PDT ผู้หญิง 59% ถูกลวนลามคุกคามทางเพศในช่วงสงกรานต์ เพียง 1 ใน 4 ที่กล้าแจ้งความ จี้ กทม. เป็นต้นแบบจัดการพื้นที่เล่นน้ำสงกรานต์ปลอดภัย หยุดคุกคามทางเพศ เกิดกลไกช่วยเหลือชัดเจนทันเหตุการณ์ เร่งบูรณาการ พม. ตำรวจ ฝ่ายปกครอง 3 เม.ย.2561 รายงานข่างแจ้วว่า วานนี้(2 เม.ย.61) จะเด็จ เชาวน์วิไล ผู้อำนวยการมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล พร้อมด้วย กลุ่มเหยื่อผู้หญิงที่ถูกฉวยโอกาส ลวนลาม คุกคามทางเพศช่วงสงกรานต์ปีที่ผ่านมา เครือข่ายเยาวชนป้องกันนักดื่มหน้าใหม่ และภาคประชาชน กว่า 30 คน เข้ายื่นจดหมายเปิดผนึกต่อ พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผ่านทาง ทวีศักดิ์ เลิศประพันธ์ รองผู้ว่าฯ เพื่อเรียกร้องให้ออกมาตรการป้องกันแก้ปัญหาสงกรานต์ไม่ปลอดภัย ไม่สร้างสรรค์ หยุดการฉวยโอกาสคุกคามทางเพศ จะเด็จ กล่าวว่า มูลนิธิฯ ได้ลงพื้นที่สำรวจทัศนคติผู้หญิงไทยต่อเทศกาลสงกรานต์ปี 2560 ในพื้นที่กรุงเทพฯ โดยสำรวจผู้หญิง1,650 ราย อายุระหว่าง 10-40 ปี พบว่า กลุ่มตัวอย่างเกินครึ่งหรือ ร้อยละ 59.3 เคยถูกฉวยโอกาส ถูกลวนลามคุกคามทางเพศ สำหรับรูปแบบพฤติกรรมการถูกลวนลาม คือ ถูกจับแก้ม ร้อยละ 33.8 เบียดเสียด/จับมือ/จับแขนและใช้สายตาจ้องมองแทะโลม ร้อยละ18.0 ถูกสัมผัสร่างกาย/ล้วงอวัยวะ/อื่นๆ ร้อยละ 9.6 ส่วนเหตุการณ์อื่นๆ ที่ทำให้รู้สึกว่าไม่ปลอดภัย เช่น ถูกก่อกวนจากคนเมาสุรา/บังคับให้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ปัญหาการทะเลาะวิวาท ปัญหาอุบัติเหตุ และที่สำคัญเมื่อถูกลวนลามคุกคามทางเพศ มีเพียงหนึ่งในสี่เท่านั้นที่เลือกจะแจ้งความดำเนินคดี สำหรับพื้นที่ยอดฮิตที่นิยมไปเล่นน้ำสงกรานต์มากที่สุด คือถนนข้าวสารและสีลม รองลงมาสยามและเซ็ลทรัลเวิลด์ นอกจากนี้ในกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เล่นสงกรานต์ให้เหตุผลว่า เพราะเคยถูกแต๊ะอั๋งจึงไม่อยากเล่นสงกรานต์/กลัวถูกฉวยโอกาสลวนลาม ร้อยละ 28.10 จะเด็จ กล่าวว่า จากผลสำรวจที่น่าห่วงนี้ บ่งบอกว่าปัญหาการฉวยโอกาสลวนลามคุกคามทางเพศกลายเป็นเรื่องใหญ่ในสังคมไทยที่เราแก้ปัญหาแบบลูบหน้าปะจมูก ทำเป็นมองไม่เห็น เป็นการส่งต่อพฤติกรรมค่านิยมที่ผิดๆ การไม่เคารพในสิทธิเนื้อตัวร่างกายของผู้อื่น และความคิดแบบชายเป็นใหญ่ยังฝังรากลึกในสังคมไทย ทำให้เราเห็นพฤติกรรมการจ้องลวนลาม คุกคามทางเพศ ละเมิดสิทธิผู้อื่นอย่างมากในช่วงเทศกาลสงกรานต์ รวมไปถึงการกล่าวโทษเรื่องการแต่งตัวล่อแหลมเพียงอย่างเดียว ซึ่งแท้จริงแล้วไม่ว่าจะแต่งตัวอย่างไรก็ไม่ได้หมายความว่าเป็นใบอนุญาตให้คุณคุกคามเขา และสะท้อนถึงปัจจัยกระตุ้นที่สำคัญ คือ มาจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ดังนั้น กรุงเทพมหานครควรเร่งรณรงค์สร้างกระแสให้การเล่นน้ำสงกรานต์อยู่ในกรอบ เคารพเนื้อตัวร่างกาย ให้เกียรติกัน ไม่ฉวยโอกาสลวนลาม คุกคามทางเพศ และปลอดจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยมีข้อเสนอ ดังนี้ 1.ขอให้รณรงค์และประชาสัมพันธ์ ให้ประชาชนในพื้นที่เล่นน้ำในกรุงเทพฯ ให้รับรู้ว่าการคุกคามทางเพศเป็นเรื่องผิดกฎหมาย และขอให้ร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) กระทรวงมหาดไทย และภาคประชาสังคม ต้องร่วมกันเป็นเครือขายเฝ้าระวังให้ความช่วยเหลือผู้ประสบปัญหา โดยกำหนดจุดรับเรื่องร้องเรียนช่วยเหลือในพื้นที่เล่นน้ำทุกแห่ง 2.ขอให้ท่านในฐานะประธานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กทม. มีบทบาทในการเฝ้าระวัง กำกับและติดตามการทำผิดกฎหมาย พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 อาทิ ไม่ขายให้เด็กอายุต่ำกว่า20ปี รวมถึงคนเมาครองสติไม่ได้ ควบคุมโฆษณา การดื่มและการขายตามเวลาที่กฎหมายกำหนด และ 3.มูลนิธิและภาคีเครือข่ายฯยินดีร่วมมือสนับสนุนการทำงานของกรุงเทพมหานครเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการลวนลามคุกคามทางเพศในพื้นที่เล่นน้ำ การกำหนดพื้นที่เล่นน้ำสงกรานต์ปลอดเหล้า และการกระทำที่ผิด พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 ปาลิณี ต่างสี แกนนำเครือข่ายเยาวชนป้องกันนักดื่มหน้าใหม่ กล่าวว่า จากการเฝ้าระวังปัญหาช่วงสงกรานต์หลายปีที่ผ่านมาเห็นได้ชัดว่า หากจัดพื้นที่เล่นน้ำที่ปลอดจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะลดปัญหาที่ตามมาได้มาก ทั้งปัญหาการลวนลาม คุกคามทางเพศ ทะเลาะวิวาทรวมถึงอุบัติเหตุ เมื่อเทียบกับพื้นที่ที่จัดโดยไม่มีการควบคุมหรือพื้นที่ที่เอกชน จัดโดยผู้ประกอบการ หรือธุรกิจเหล้าเบียร์เป็นคนจัด ซึ่งมีการควบคุมเพียงแค่พิธีกรรม บางแห่งทำเหมือนจะมีการตรวจบัตรเข้มด้านหน้า แต่เมื่อเข้าไปดูภายในกลับพบเด็กอายุต่ำกว่า 20 ปีเข้าไปกินดื่มอยู่ในกิจกรรมหรือคอนเสิร์ตจำนวนมาก "สิ่งที่นิยมกันมากคือปาร์ตี้สงกรานต์กลางคืน มีคอนเสิร์ตกินดื่ม สุดท้ายเมื่อครองสติไม่ได้ ก็สุ่มเสี่ยงที่จะเกิดผลกระทบ อุบัติเหตุ เจ็บตาย ซึ่งปรากฏการณ์นี้ ตั้งด่านตรวจแค่ไหนก็เอาไม่อยู่หากไม่จัดการที่ต้นทางของปัญหา คือกิจกรรมอีเว้นต่างๆ ที่จำเป็นต้องควบคุมและไม่ปล่อยให้มีการทำผิดกฎหมาย ซึ่งผู้ว่า กทม. เป็นประธานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กทม. มีอำนาจตามกฎหมายอยู่แล้ว จึงอยากเห็น กทม.มีมาตรการเชิงรุกของในเรื่องนี้" นางสาวปาลิณี กล่าว ขณะที่ นายทวีศักดิ์ เลิศประพันธ์ รองผู้ว่ากรุงเทพมหานคร กล่าวภายหลังรับหนังสือ ว่า กทม.เตรียมพร้อมคุมเข้มพื้นที่เล่นน้ำให้ปลอดภัยมาต่อเนื่องทุกปี เพื่อลดปัญหาการลวนลามคุกคามทางเพศและปัญหาที่เกิดจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เน้นเฝ้าระวังการทำผิดกฎหมาย และปีนี้เราเน้นสืบสานการแต่งกายประเพณีไทย และคงต้องเฝ้าระวังตามพื้นที่ยอดนิยมของคนไทยและนักท่องเที่ยวต่างชาติ เช่น ถนนข้าวสาร สีลม เอเชียทีค ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
เหตุผลที่คนรุ่นใหม่จะต้องเข้ามาจัดการปัญหาการเมืองไทย: New Generation Politics Posted: 02 Apr 2018 10:22 PM PDT
ในการขจัดปัญหาดังกล่าวจึงมิอาจจัดการได้ด้วยกลุ่มคนที่สนใจแต่ฝ่ายตน และพร้อมจะฟาดฟันทำลายฝ่ายตรงข้ามไม่ว่าฝ่ายนั้นจะกระทำกรรมดีหรือกรรมชั่วก็ตาม ในสภาพสังคมเช่นนี้จึงจำเป็นต้องให้กลุ่มคนที่เป็น กลุ่มใหม่ เข้ามาจัดการปัญหา คนกลุ่มใหม่ในที่นี่คือกลุ่มคนที่ ไม่ได้/ไม่เคยเอาตัวเองเข้าไปคลุกคลีตีวงอยู่กับปัญหาความขัดแย้งเหล่านั้น แต่กลับกลายเป็นกลุ่มคนที่ตระหนักรู้ถึงปัญหาเหล่านั้นอย่างมหาศาล ด้วยเหตุผลอย่างตื้นเขินที่สุดคือ คนกลุ่มใหม่เหล่านั้นเป็นภาคส่วนหนึ่งของสังคมเช่นกัน พวกเขาล้วนได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จากสนามรบทางความคิด และลานประลองทางอุดมการณ์ของทั้งสองฝ่าย ที่สะท้อนออกมาด้วยความเกลียดชัง ในช่วงเวลาเหล่านั้นคนกลุ่มใหม่เหล่านั้นยังคงเป็นเด็กน้อย หรือเด็กหนุ่ม ที่ถูกกดทับด้วยภาระหน้าที่ และสถานภาพทางสังคมของบุคคลที่แตกต่าง ส่งผลให้พวกเขาไม่อาจเข้ามามีบทบาทในการจัดการความขัดแย้งที่พวกเขามีส่วนเกี่ยวข้องด้วย (อย่างไม่ได้ตั้งใจ หรือตั้งใจก็ตาม) เมื่อเป็นเช่นนี้ก็เท่ากับว่า คนกลุ่มใหม่เหล่านี้จึงอยู่ในสภาวะจำยอมที่จะต้องอยู่ร่วมกับสังคมที่พวกเขาไม่ได้เป็นคนสร้างขึ้นมา ต้องอยู่กับปัญหาที่คนรุ่นพวกเขาไม่ได้เป็นคนก่อ และไม่ได้มีส่วนเข้าไปตัดสินใจด้วยซ้ำ แต่ด้วยปัญหาที่ดำรงอยู่เบื้องหน้าของพวกเขา อันเป็นปัญหาที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ จึงส่งผลให้คนรุ่นใหม่จำนวนหนึ่งมีความสำนึกถึงความต้องการการเปลี่ยนแปลงในสังคม คนรุ่นใหม่ในที่นี่จึงไม่ได้หมายรวมถึงเพียงคนที่มีอายุน้อยเพียงอย่างเดียว อายุไม่ได้เป็นตัววัดว่าคนกลุ่มไหนเป็นรุ่นเก่าหรือรุ่นใหม่ แต่หากเป็นกลุ่มคนที่ต้องการเห็นความเปลี่ยนแปลงในสังคม ต้องการจัดการปัญหาที่พวกเขาไม่ได้เข้าไปมีส่วนก่อ แต่ต้องทุกข์ระทมอยู่กับปัญหาเหล่านั้น คนรุ่นใหม่ทั้งหลายแม้บางคนไม่ได้มีความสำนึกต่อการเปลี่ยนแปลงสังคมเลย แต่อย่างน้อยหากจะคิดอย่างเห็นแก่ตัวอย่างที่สุด คนรุ่นใหม่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงสภาพที่เป็นอยู่เพื่อตัวของพวกเขาเอง เนื่องด้วยในอนาคตภายหน้านั้น พวกเขาก็จะเป็นผลผลิตของยุคสมัยที่ต้องถูกผลักเข้าไปสู่พื้นที่ทางเศรษฐกิจ และการเมืองที่คนรุ่นก่อนหน้าได้สร้างไว้ อันอุดมไปด้วยปัญหา และความไม่เป็นธรรม (อย่างเห็นได้ชัดในปัจจุบัน) จึงเป็นความจำเป็นที่คนรุ่นใหม่เหล่านั้นต้องเข้ามาจัดการปัญหาด้วยตัวของพวกเขาเอง เพื่อตัวของพวกเขาเอง การต่อสู้ในอนาคตจึงเป็นการต่อสู้กับคนรุ่นเก่า ที่อยู่กับปัญหาและความขัดแย้งโดยไม่อาจลงรอยกันได้ เป็นกลุ่มคนที่ไม่อาจประสานกันได้ด้วยจุดร่วมใดเลย พวกเขามีจุดยืนและจุดมุ่งมาดปารถนาที่ต่างกัน แต่ในทางกลับกัน คนรุ่นใหม่ที่กำลังจะเข้ามามีบทบาทในสังคมนั้น มีจุดร่วมกันอย่างเป็นองค์รวมสองประการคือ ประการที่หนึ่ง พวกเขาคือกลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบของความขัดแย้งที่ตนไม่ได้เป็นคนก่อ แต่ปัญหาเหล่านั้นมันได้กดทับ และสร้างความทุกข์แก่พวกเขา อันนำพามาสู่ ประการที่สอง คือคนรุ่นใหม่ทั้งหลายล้วนเป็นกลุ่มคนที่ต้องการเห็นความเปลี่ยนแปลง อันเป็นการเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งใหม่ ไม่ว่าจะไปในทิศทางใดก็ตามแต่ ต้องเป็นสังคมที่ไม่ซ้ำรอยกับสังคมที่พวกเขาประสบพบเจอในช่วงเวลาก่อนหน้านี้ ซึ่งเป็นสภาวะที่พวกเขาไม่อาจทนรับมันต่อไปได้ ต้องเป็นสังคมที่ยอมรับความแตกต่างหลากหลาย 'จะต้องไม่มีใครต้องตายเพราะความเห็นที่แตกต่าง' ท้ายที่สุดนี้ แม้คนรุ่นใหม่จะเป็นเพียงพลังที่น้อยมาก เมื่อเทียบกันกับพลังของคนกลุ่มก่อนหน้าที่ผนึกกันอย่างเข้มแข็งเพื่อปกป้องสภาพความเป็นอยู่ของตน แต่อย่างน้อยที่สุดคนรุ่นใหม่ทั้งหลายยังคงได้เปรียบในเรื่องของเวลา มนุษย์แม้มีอำนาจล้นพ้น ยิ่งใหญ่มากมายเพียงใด แต่ก็จำนนด้วยข้อจำกัดของเวลา เวลาที่จะนำพาคนกลุ่มเก่าทั้งหลาย หลุดพ้นออกจากวงอำนาจที่พวกเขามี และจะถูกแทนที่ด้วยคนกลุ่มใหม่ที่ถูกกดทับมากขึ้นเรื่อย ๆ คนรุ่นใหม่ทั้งหลาย เวลานี้คือเวลาที่จะต้องสั่งสมกำลังของกันและกัน เพื่อสร้างสังคมที่ดีกว่า เปลี่ยนแปลงให้เป็นไปในทิศทางที่ก้าวหน้า ไม่ใช่เวลาของการยอมจำนนต่อสิ่งที่เคยมี และกลืนร่างไปกับมัน ความหวังที่มีอยู่น้อยนิดนี้ไม่อาจหาได้จากใคร นอกจากคนรุ่นใหม่ ทั้งหลายทุกผู้ทุกท่าน
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ห้องเรียนแห่งความหลากหลาย: ส่องชั้นเรียนนักศึกษา Jawaharlal Nehru University Posted: 02 Apr 2018 10:16 PM PDT เมื่อพูดถึงประเทศอินเดียคนไทยหลายๆ คนคงจินตนาการมโนภาพไปไกล ทั้งความยากจน ความสกปรก ขอทาน รวมตลอดจนกลิ่นตัวชาวภารตะที่เป็นที่ล่ำลือกล่าวขาน จนหลายๆครั้ง คนอินเดียถูกคนไทยล้อด้วยมายาคติเหล่านี้อยู่เสมอๆ ในความเป็นจริงอินเดียได้พัฒนาไปมากแล้ว โดยเฉพาะในประเด็นทางด้านการศึกษา ทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ อย่างที่เรารู้กันว่าในอดีตอินเดียถือเป็นศูนย์กลางทางการศึกษาที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ทั้งที่เมืองนาลันทา ตักศิลา พาราณสี และที่อื่นๆ นอกจากนี้แหล่งเรียนรู้ดังกล่าวยังเป็นพื้นที่เผยแพร่วัฒนธรรมอินเดียไปยังภูมิภาคต่างๆ บนโลก อาทิเอเชียตะวันออก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียกลาง เอเชียตะวันตก หรือแม้แต่ในยุโรปเองก็ตาม การศึกษาในประเทศอินเดียจึงถือเป็นเรื่องที่น่าสนใจ ถึงแม้ว่าโลกในปัจจุบันจะเปลี่ยนแปลงไปมาก แต่คุณค่าและคุณภาพทางการศึกษาภายในประเทศอินเดียไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปมากนัก สำหรับในวันนี้จะชวนผู้อ่านมารู้จักมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งของประเทศอินเดีย ที่ได้ชื่อว่าเป็นมหาวิทยาลัยทางด้านสังคมศาสตร์ที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ หรือแม้แต่ในระดับโลกเลยก็ว่าได้ นั่นคือ Jawaharlal Nehru University (JNU) มหาวิทยาลัยที่ผลิตบุคลากรสำคัญๆ ทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคมของประเทศอินเดีย รวมถึงสังคมโลกมาอย่างต่อเนื่อง หนึ่งในนั้นก็คือเลขาธิการอาเซียนคนปัจจุบันอย่างนาย เล เลือง มินห์ (Le Luong Minh) ที่น่าสนใจคือมหาวิทยาลัยแห่งนี้พึ่งก่อตั้งในปี 1969 เท่านั้น แต่ดูเหมือนว่าจะสามารก้าวขึ้นมาเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศและของโลกได้อย่างรวดเร็ว โดยจากการจัดอันดับของ QS ประเภทสาขาการเมืองและการระหว่างประเทศ ในปี 2016 JNU ติดอันดับ 51-100 ของโลก ในขณะที่การจัดอันดับของกระทรวงพัฒนาทรัพยากรมนุษย์แห่งประเทศอินเดียในปีที่ผ่านมา ได้จัดให้ JNU ติดอันดับ 2 ของประเทศ และเป็นอันดับหนึ่งของสายสังคมศาสตร์ ผู้เขียนเองเป็นหนึ่งในบุคคลที่อดีตไม่รู้จักมหาวิทยาลัยแห่งนี้เลย จนกระทั่งได้เข้ามาศึกษา จึงรับรู้ถึงศักยภาพของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ นอกเหนือจากประเด็นด้านคุณภาพทางการศึกษาแล้ว JNU ถือเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่ผลิตนักเคลื่อนไหวทางสังคม และเป็นแหล่งรวมปัญญาชนของอินเดีย ฉะนั้นแล้วสำหรับเนื้อหาในครั้งนี้ผู้เขียนจะพาคุณผู้อ่านไปส่องชั้นเรียนของ JNU ว่ามีลักษณะอย่างไร รวมถึงการใช้ชีวิตของนักศึกษาที่นี่จะเหมือนหรือแตกต่างจากเมืองไทยแค่ไหน โดยสามารถสรุปประเด็นง่ายๆได้ดังนี้ 1. สังคมการศึกษาของ JNU เป็นสังคมแห่งการถกเถียงและพูดคุย มากกว่าการเรียนแบบจดคำบรรยายแบบเมืองไทย พูดง่ายๆก็คือเวลานั่งเรียนในชั้นเรียนของอินเดียแล้วไม่พูด ก็จะถูกอาจารย์ดุเอาดื้อๆ แบบไม่มีปี่มีขลุ่ย ที่สำคัญคือยิ่งถ้าเราไม่พูด อาจารย์ก็จะเพ่งเล็งและถามเราอยู่เสมอๆ จนกว่าเราจะเสนอความคิดเห็นของเราอย่างเป็นธรรมชาติ มันจึงดูผิดหูผิดตา เมื่อมานั่งมองชั้นเรียนอุดมศึกษาในบ้านเราที่นั่งจดจ่ออยู่กับการจด Slide ของอาจารย์
2. การเรียนการสอนของอินเดียไม่มี Slide แจกให้ เพราะว่าอาจารย์สอนแบบดั่งเดิม เน้นให้นักศึกษาคิดและวิเคราะห์ได้ มากกว่าการ Copy and Paste จาก Slide ของอาจารย์ ฉะนั้นการบรรยายของอาจารย์จึงมีแค่เนื้อหาในหัวและกระดานเท่านั้น การอัดเสียงหรือการถ่ายภาพ Slide ของอาจารย์ หากไม่ได้รับอนุญาต ถือเป็นการเสียมารยาทอย่างยิ่ง เนื่องจากอาจารย์อินเดียมีความมุ่งหวังให้นักศึกษาวิเคราะห์และสังเคราะห์องค์ความรู้ได้เอง มากกว่าที่จะเดินตามเท้าของอาจารย์ทุกฝีเก้า แม้กระทั่งข้อความและคำพูด ฉะนั้นมาเรียนที่อินเดีย เอามือถือเข้าห้องก็คงไม่มีความหมายอะไรมาก เพราะอาจารย์ที่นี่ไม่อนุญาตให้ใช้ ในขณะเดียวกันก็จะโดนเพื่อนร่วมชั้นกดดันอย่างมหาศาล ภาพเหล่านี้คงหาดูได้ยากในเมืองไทย แม้แต่ผู้เขียนเองมาเรียนก็ต้องปรับตัวสูงมาก 3. อาจารย์ไม่ใช่พระเจ้าที่อยู่บนฟ้า แต่เป็นทั้งเพื่อน พี่ พ่อและแม่ให้กับนักศึกษา หากใครได้มาเรียนที่อินเดียจะได้รับความรู้สึกความเป็นกันเองของอาจารย์ที่นี่อย่างมาก บางครั้งอาจารย์ก็พาไปเลี้ยงชา หรือแม้แต่ชวนกันทำอาหารที่บ้าน วัฒนธรรมเหล่านี้ส่งเสริมให้เด็กกล้าที่จะวิพากษ์หรือถกเถียงกับอาจารย์ในชั้นเรียน หรือแม้แต่เมื่อมีปัญหานักศึกษาก็กล้าเข้าไปปรึกษาโดยไม่มีความรู้สึกถูกปิดกั้น แม้ว่าอาจารย์ท่านนั้นจะเป็นถึงศาสตราจารย์ก็ตาม แต่ถ้าย้อนกลับมามองการศึกษาในเมืองไทย ก็ดูราวกับว่าอาจารย์ในสังคมไทยจะลอยขึ้นฟ้าขึ้นสวรรค์ และเข้าถึงยากตามลำดับตำแหน่งทางวิชาการ ยิ่งตำแหน่งสูงก็ยิ่งดูเข้าถึงยากและหาตัวยากยิ่ง แม้แต่ในมหาวิทยาลัย 4. เกรด 4 ไม่มีอยู่จริง ที่ว่าเช่นนั้นเพราะเกรด 4 แทบไม่มีใครได้จากการเรียนการสอนจากมหาวิทยาลัยแห่งนี้ เพราะถ้าคุณได้คุณจะเป็นคนดังแห่งยุคเลยก็ว่าได้ เพราะกว่าที่เกรดตัวนี้จะออกมาได้ อาจารย์ต้องเข้าคณะกรรมการของคณะ เพื่อชี้แจงว่าเหตุใดเด็กคนนี้สมควรได้เกรดนี้ ดังนั้นแล้วคนที่เรียนที่อินเดียคงพอรู้ชะตากรรมตัวเองว่าเมื่อกลับไปเทียบเกรดที่เมืองไทยมันจะย่ำแย่แค่ไหน แม้เราจะอยู่ระดับดีแล้วในหมู่ชาวอินเดียก็ตาม ระบบการให้คะแนนจึงเป็นอีกความต่างที่สำคัญของระบบอุดมศึกษาของอินเดียและประเทศไทย 5. การเมืองในระดับมหาวิทยาลัย คือสนามสู่การเมืองระดับชาติ ในอินเดียพรรคการเมืองที่ลงแข่งขันในระดับมหาวิทยาลัย ล้วนได้รับการสนับสนุนจากพรรคใหญ่ๆ ในระดับประเทศทั้งสิ้น อาทิ ABVP เป็นพรรคเยาวชนของ BJP NSUI เป็นพรรคเยาวชนของ Congress เป็นต้น ฉะนั้นจึงไม่ต้องแปลกใจที่ฤดูกาลเลือกตั้งของมหาวิทยาลัยในอินเดีย จะถูกจับตามองจากสื่อมวลชนทั่วประเทศ และแน่นอนว่าวันเลือกตั้งของมหาวิทยาลัยจะถูกประกาศเป็นวันหยุด และผู้ใช้สิทธิก็ทะลุ 95% ทุกปี สิ่งเหล่านี้สะท้อนค่านิยมประชาธิปไตยของประเทศแห่งนี้ได้เป็นอย่างดี หากหันมามองประเทศไทยแล้วละก็ คงได้แต่มีเครื่องหมายคำถามต่อการเมืองในมหาวิทยาลัย
6. หาค่ายอาสากับสันทนาการไม่เจอในมหาวิทยาลัยแห่งนี้ เพราะกิจกรรมหลักของนักศึกษา JNU คือการเรียกร้องสิทธิให้กับกลุ่มชนที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายของรัฐบาล หรือแม้แต่การเคลื่อนไหวทางการเมือง ฉะนั้นมาเรียนที่นี่ก็ต้องเตรียมใจยอมรับกับการประท้วงปิดตึก ปิดมหาวิทยาลัย ที่รุนแรงถึงขนาดเอากุญแจมาปิดประตูตึกเลยก็มี ได้บรรยากาศ 14 ตุลา แบบสุดๆ แต่บรรยากาศแบบนี้ในเมืองไทยถึงจะมีบ้าง แต่ก็คงเป็นของหาดูยากไปแล้ว 7. คอมมิวนิสต์ มาร์กซิสม์และสังคมนิยม เป็นคำพูดปกติที่ฟังจนชินหู เนื่องจากทั้งอาจารย์และนักศึกษาจำนวนมากของ JNU มีแนวคิดในลักษณะดังกล่าว ทำให้ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาพรรคเยาวชนของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งอินเดีย ได้รับชัยชนะมาอย่างสม่ำเสมอ แม้ว่าอินเดียจะเป็นประชาธิปไตยก็ตาม แต่แนวคิดคอมมิวนิสต์ไม่ได้ถูกปิดกั้น แต่ได้รับการส่งเสริมและมีที่นั่งในรัฐสภาอินเดียอย่างต่อเนื่อง แต่เมื่อหันมาย้อนดูประเทศไทยคำเหล่านี้คงเป็นเรื่องแสลงใจของใครหลายคน หรือแม้แต่การออกตัวว่าสนับสนุนแนวคิดดังกล่าวยังเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยาก 7. หาน้ำอัดลมดื่มไม่ได้ใน JNU เนื่องจากพรรคการเมืองนักศึกษาที่ชนะเลือกตั้งใน JNU ช่วงหลายปีที่ผ่านมา เป็นพรรคเยาวชนของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งอินเดีย ส่งผลให้น้ำอัดลมอันถือเป็นสัญลักษณ์แห่งการกดขี่แรงงานชาวอินเดีย ไม่ได้รับอนุญาตให้ขายในมหาวิทยาลัย ทั้งนี้ข้อดีของการมีพรรคนี้เป็นประธานนักศึกษาส่งผลให้ JNU มีค่าเรียนเพียง 175 รูปีต่อเทอม หรือราวๆ 100 บาทเท่านั้น สำหรับนักศึกษาชาวอินเดีย ในขณะที่นักศึกษาต่างชาติมีราคาเพียง 100 เหรียญเท่านั้น ในกรณีของการสอบเข้า และขอย้ำว่านี่คือมหาวิทยาลัยในเมืองเดลี เมืองหลวงของอินเดีย ที่ใช้ภาษาอังกฤษในการเรียนการสอน ถ้าถามหาราคานี้ในประเทศไทย ไม่แน่ใจว่าแม้แต่โรงเรียนอนุบาลจะหาได้หรือไม่ 8. แตกต่างไม่แตกแยก ถึงแม้ว่าพรรคคอมมิวนิสต์จะได้รับความนิยมในหมู่นักศึกษา JNU แต่ไม่ได้หมายความว่าไม่มีพรรคฝ่ายขวาเคลื่อนไหวเลย ในทางตรงกันข้าม ทั้งฝ่ายซ้ายและฝ่ายขวาต่างขับเคี่ยวทางการเมืองอย่างเข้มข้น แม้ในช่วงเวลาเรียนเองก็ตาม ความน่าสนใจคือผู้เขียนได้เห็นเพื่อนหลายคนที่สนิทกันมากๆ แต่กลับมีอุดมการณ์ทางการเมืองที่ต่างกันอย่างสุดขั้ว แม้จะเถียงกันบนเวทีอย่างเลือดขึ้นหน้า แต่ลงมาพวกเขากับพากันไปดื่มชา และแบ่งสมุดจดบันทึกให้กัน ประหนึ่งไม่มีอะไรเกิดขึ้น ฉะนั้นแล้วมาเรียนที่อินเดีย ก็อย่าเอานิสัยแค้นฝังใจ หรือคิดต่างเท่ากับศัตรูแบบไทยๆ มาใช้ที่นี่ และ 9. ปรับโหมดความรู้สึกให้ไว ชั้นเรียนของ JNU หรือแม้แต่ทั้งอินเดีย นั้นมีอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงกันอย่างรวดเร็ว พูดง่ายๆ คือ ยืนเถียงกันอยู่หยกๆ สักพักพากันหัวเราะได้อย่างหน้าตาเฉยเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น ลักษณะเช่นนี้เป็นทั้งอาจารย์และนักศึกษา คำว่าโกรธข้ามคืนไม่มี ใครแสดงพฤติกรรมแบบนี้ถือว่าเฉยมากในชั้นเรียนของอินเดีย ดังนั้นมาเรียนที่อินเดียต้องเปิดใจให้กว้าง รับฟัง กล้าถกเถียง ยอมรับความจริง และตั้งอยู่บนเหตุและผล การใช้นิสัยการเรียนแบบไทย จึงใช้กับระบบการเรียนการสอนที่นี่ไม่ได้ ทั้งนี้และทั้งนั้นไม่ได้หมายความว่าการเรียนการสอนของอินเดียในลักษณะนี้จะมีประสิทธิภาพที่สุดในโลก หรือดีกว่าเมืองไทย แต่ผู้เขียนเพียงต้องการชี้ให้เห็นว่าการเอานิสัยการเรียนรู้แบบเมืองไทยมาใช้ที่อินเดียจะมีปัญหามากแค่ไหน ในขณะเดียวกันภาพบรรยากาศกิจกรรมนักศึกษาของแต่ละยุคสมัยก็คงวิวัฒนาการตามกาลเวลาและสังคม จึงกล่าวไม่ได้ว่านักศึกษาไทยมีความตื่นตัวทางการเมืองน้อยกว่าหรือมากกว่านักศึกษาชาวอินเดีย แต่ที่แน่ๆ ผู้อ่านคงได้เห็นรูปแบบชั้นเรียนของอินเดียเบื้องต้น ผ่านประสบการณ์การศึกษาใน Jawaharlal Nehru University ของผู้เขียนแล้วเป็นแน่แท้
เกี่ยวกับผู้เขียน: ศุภวิชญ์ แก้วคูนอก เป็นนักศึกษาปริญญาโท สาขา International Relations and Area Studies, Jawaharlal Nehru University ประเทศอินเดีย
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท. To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google, 1600 Amphitheatre Parkway, Mountain View, CA 94043, United States |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น