โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันพุธที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

ศรีลังกาสั่งปิดมหาลัยทั่วประเทศ เหตุครู-อาจารย์ประท้วงรัฐแปรรูปการศึกษา

Posted: 22 Aug 2012 11:42 AM PDT

รัฐบาลศรีลังกาสั่งปิดมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ 13 แห่งจากทั้งหมด 15 แห่งโดยไม่มีกำหนด เหตุอาจารย์รวมตัวกันนัดหยุดงานได้เกือบสองเดือน เพื่อประท้วงการแปรรูปมหา'ลัย และเรียกร้องให้รัฐบาลอุดหนุนงบการศึกษามากขึ้น

เมื่อวันที่ 22 ส.ค. 55 สำนักข่าวบีบีซีรายงานว่า รัฐบาลศรีลังกาได้สั่งปิดมหาวิทยาลัยในเมืองต่างๆ ของศรีลังกาแล้ว 13 แห่ง จากทั้งหมด 15 แห่งโดยไม่มีกำหนดเปิด เพื่อเป็นมาตรการโต้ตอบกับสหภาพครู-อาจารย์แห่งชาติที่ได้นัดหยุดมาแล้วเกือบสองเดือน ที่ประท้วงการแทรกแซงของรัฐบาลในมหาวิทยาลัย และเรียกร้องให้รัฐเพิ่มเงินอุดหนุนการศึกษามากขึ้น

โดยกลุ่มอาจารย์มหาวิทยาลัย นำโดยสหพันธ์สมาคมอาจารย์มหาวิทยาลัยของศรีลังกา ได้รวมตัวกันนัดหยุดงานทั่วประเทศตั้งแต่วันที่ 4 กรกฎาคมที่ผ่านมา เพื่อคัดค้านการแปรรูปมหาวิทยาลัยของรัฐบาลบางส่วนให้เป็นของเอกชน นอกจากนี้ สหพันธ์ครูและอาจารย์ยังเรียกร้องให้รัฐบาลยุติการแทรกแซงทางการเมืองในมหาวิทยาลัย เพิ่มงบประมาณอุดหนุนการศึกษาให้เป็นร้อยละ 6 ของจีดีพี (ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ) และเพิ่มเงินเดือนและสวัสดิการอาจารย์มหาวิทยาลัยให้เหมาะสม 

ทั้งนี้ ในปัจจุบัน เงินอุดหนุนการศึกษาของรัฐบาลศรีลังกาคิดเป็นราว 2-3 ของจีดีพีเท่านั้น ต่ำกว่ามาตรฐานของสหประชาชาติกำหนดไว้ที่ร้อยละ 6 ของจีดีพี 

ต่อการนัดหยุดงานดังกล่าว รัฐบาลศรีลังกากล่าวว่าเหล่าครูและอาจารย์เหล่านี้มีเป้าหมายเพื่อโค่นล้มรัฐบาล ด้วยการสร้างความไร้เสถียรภาพและวิกฤติทางการเมือง เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนระบอบการปกครอง

มาฮิม เมนดิส โฆษกของสหพันธ์ดังกล่าว ได้เรียกร้องให้รัฐบาลยุติการ "เข้าแทรกแซงทางการเมืองและใช้วิธีทางการทหาร" ในมหาวิทยาลัย โดยเขาระบุว่ารัฐมนตรีกระทรวงต่างๆ ได้จัดให้คนใกล้ชิดของตนเองเข้าดำรงตำแหน่งบริหารระดับสูงในมหาวิทยาลัย

"การมากล่าวหากันว่าเราต้องการจะเปลี่ยนแปลงระบอบนั้นเป็นเรื่องไร้สาระมาก คุณต้องเข้าใจว่าสหพันธ์สมาคมอาจารย์ฯ นั้นได้รวมเอาครูและอาจารย์จากทุกพรรคการเมืองไว้ด้วยกัน นี่เป็นการต่อสู้ระดับชาติ" เมนติสกล่าว

เขายังคัดค้านการใช้คำสั่งเพื่อบังคับให้มหาวิทยาลัยต้องว่าจ้างบริษัทความปลอดภัยที่อยู่ภายใต้กระทรวงกลาโหมเพื่อใช้ในเขตมหาวิทยาลัย และวิพากษ์วิจารณ์การอบรมวิชาทหาร ที่บังคับให้นักศึกษาที่เข้าใหม่ทุกคนต้องได้รับการอบรมเป็นเวลาสองสัปดาห์ด้วย 

ทั้งนี้ ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัย ถูกมองว่าเป็นแหล่งที่มาของความวุ่นวายในศรีลังกา โดยปัญหาและความไม่พึงพอใจต่อรัฐบาลของนักศึกษา มีส่วนทำให้กลุ่มกบฏทมิล อีแลมขยายตัวขึ้น เช่นเดียวกับการลุกฮือของกลุ่มสิงหลฝ่ายซ้ายในช่วงทศวรรษ 1970-1980 ซึ่งมีนักศึกษาจำนวนมากเป็นผู้ร่วมสนับสนุน

ที่มาภาพ: จากเว็บไซต์ Federation of University Teachers' Association

 

 

ที่มา: แปลและเรียบเรียงจาก 

Sri Lanka government shuts down universities
http://www.bbc.co.uk/news/world-asia-19325358

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กรรมการสิทธิฯ เสนอชะลอโครงการขุดลอกลำห้วยโมง

Posted: 22 Aug 2012 10:37 AM PDT

มติกรรมการสิทธิฯ ชะลอโครงการขุดลอกลำห้วยโมง เสนอให้มีการศึกษาทั้งระบบ ยึดหลักการมีส่วนร่วมของชาวบ้านในพื้นที่ ชาวบ้านแจงในปี 2543 เคยสูญเสียที่ดินไปแล้วหลายไร่ ถ้ามาขุดขยายอีกที่นาคงไม่เหลือ

 
 
วานนี้ (21 ส.ค.55) ที่ห้องประชุม 709 สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ อาคารรัฐประศาสนภักดี ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ คณะอนุกรรมการสิทธิชุมชน ภายใต้ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ได้เชิญตัวแทนจาก ส่วนราชการจังหวัดอุดรธานี กรมทรัพยากรน้ำ และองค์การบริหาส่วนตำบลจำปาโมง อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี เข้าชี้แจงข้อเท็จจริงกรณีชาวบ้านผู้มีที่ดินติดลำห้วยโมงร้องเรียนต่อคณะกรรมการสิทธิฯ ว่าโครงการขุดลอกลำห้วยโมงละเมิดสิทธิชุมชน และกระบวนการดำเนินการไม่ชอบธรรม
 
ทั้งนี้ ชาวบ้านในพื้นที่ที่มีที่ดินติดลำห้วยโมง ได้มีการร้องเรียนต่ออนุกรรมการสิทธิชุมชนฯ ตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว โดยมีสถานการณ์ที่ส่วนราชการออกหนังสือให้ชาวบ้านลงรายชื่อในเอกสารเพื่อยินยอมอุทิศที่ดินในการขุดลอกลำห้วยโมง เพื่อประโยชน์ต่อสาธารณะ โดยให้เหตุผลว่าเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วม แต่กลุ่มชาวบ้านเห็นว่าการออกเอกสารในลักษณะดังกล่าวเป็นการริดรอนสิทธิของชาวบ้าน จึงรวมกลุ่มกันคัดค้าน เพราะเคยมีบทเรียนได้รับผลกระทบมาตั้งแต่การขุดลอกเมื่อปี 2543 แต่ส่วนราชการไม่ยอมรับฟังยังคงเดินหน้าโครงการขุดลอกลำห้วยโมงต่อ ล่าสุดคณะอนุกรรมการสิทธิชุมชนฯ ได้ร่วมกันลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริง แล้วนำมาสู่การเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าสู่เวทีตรวจสอบในครั้งนี้
 
 
นางคำพอง ทาสาลี แกนนำชาวบ้าน ต.จำปาโมง อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี กล่าวว่า ตนเองไม่ยอมลงชื่อให้มอบที่ดินให้กับราชการในการขุดลอกลำห้วยโมง เพราะในปี 2543 ตนเองก็เคยสูญเสียที่ดินไปกับการขุดลอกลำห้วยโมงไปแล้วหลายไร่ ถ้ามาขุดขยายอีกที่นาคงไม่เหลือ
 
“ที่แม่ตั้งข้อสังเกตดูว่าการดำเนินการมันไม่โปร่งใส ชาวบ้านบางคนรู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็หลงเซ็นเอกสารไปให้แล้ว แม่จึงได้รวมกลุ่มกับชาวบ้านที่มีที่ดินติดลำห้วยโมงอีกกว่า 30 ราย คัดค้าน ไม่ให้มีการขุดลำห้วยโมง เพราะชาวบ้านเจ้าของที่ดินยังไม่รู้ข้อมูลของโครงการ โดยที่ผ่านมาก็มีการร้องเรียนไปยังส่วนราชการ และคณะกรรมการสิทธิฯ ให้เข้ามาตรวจสอบเรื่องนี้ด้วย” นางคำพอง กล่าว
 
ด้าน นายจีรศักดิ์ คำรณฤทธิ์ศร ปลัดจังหวัดอุดรธานี กล่าวที่ประชุมว่า ในฐานะตัวแทนหน่วยงานภาครัฐ ตามที่ได้รับรายงานมาเกี่ยวกับโครงการขุดลอกลำห้วยโมง ขอชี้แจงต่อที่ประชุมว่า โครงการขุดลอกลำห้วยโมงนั้น เป็นโครงการความร่วมมือกันระหว่าง องค์การบริหารส่วนตำบล องค์การบริหารส่วนจังหวัด และส่วนราชการจังหวัดอุดรธานี เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยโมง โดยให้ อบต. สนับสนุนค่าน้ำมัน อบจ. สนับสนุนเครื่องจักรในการดำเนินการ และให้ราษฎร สนับสนุนที่ดิน ซึ่งเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปีที่แล้ว  
 
“แต่เมื่อมีการร้องเรียนของชาวบ้านเกิดขึ้น ซึ่งได้รับฟังข้อมูลข้อเท็จจริงจากที่ประชุมแล้ว จึงเห็นควรให้มีการหยุดโครงการขุดลอกลำห้วยโมงไปก่อน” นายจีรศักดิ์ กล่าว
 
 
สอดคล้องกับ นายสงวน ปัทมธรรมกุล ผู้จัดการโครงการศึกษาระบบเครือข่ายน้ำในพื้นที่วิกฤติ 19 พื้นที่ ซึ่งเป็น ตัวแทนจากกรมทรัพยากรน้ำ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้กล่าวว่า โครงการขุดลอกลำห้วยโมงตลอดทั้งสายเป็นการพัฒนาที่ผิดศักยภาพของแหล่งน้ำ ควรมีการศึกษาสภาพแหล่งน้ำเพื่อพัฒนาให้ถูกต้องตามศักยภาพ
 
“ลำห้วยโมงเป็นลำน้ำที่กินพื้นที่ในหลายเขตตำบล ก่อนการดำเนินการพัฒนาหรือขุดลอก ควรมีการศึกษาทางวิชาการในการออกแบบให้สามารถระบายน้ำได้ และออกแบบฝายให้มีลักษณะเป็นขั้นบันได แต่โครงการขุดลอกลำห้วยโมงในครั้งนี้ อบต. อบจ. และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องไม่ได้มีการศึกษาศักยภาพในการพัฒนาโครงการอย่างรอบด้าน เพราะว่าขาดบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านการพัฒนาแหล่งน้ำ ฉะนั้น ถ้าจะมีการขุดลอกหรือพัฒนาลำห้วยโมงก็ควรมีการศึกษาอย่างรอบด้านก่อนดำเนินโครงการ และในการดำเนินโครงการลักษณะนี้ ถ้ามีชาวบ้านในพื้นที่เพียงคนเดียงออกมาคัดค้าน โครงการก็ควรหยุดไว้ก่อน” นายสงวน กล่าว
 
ด้านนายแพทย์นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ อนุกรรมาธิการสิทธิชุมชน ภายใต้ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) สรุปมติที่ประชุม และข้อเสนอต่อการตรวจสอบโครงการขุดลอกลำห้วยโมงในครั้งนี้ว่า เมื่อรับฟังข้อมูลและข้อเท็จจริงจากทุกภาคส่วนที่มีส่วนเกี่ยวข้องแล้ว สรุปประเด็นเพื่อเขียนรายงานผลการตรวจสอบโครงการขุดลอกลำห้วยโมงดังนี้ ประเด็นแรก การดำเนินโครงการขุดลอกในครั้งนี้ ควรชะลอการขุดไปก่อน แล้วกลับไปตรวจสอบดูว่าปัญหาที่เกิดขึ้นจากการขุดลอกไปแล้วเป็นอย่างไรบ้าง ซึ่งท่านปลัดจังหวัดอุดรธานีก็เห็นพ้องในส่วนนี้
 
ประเด็นที่สองหน่วยงานที่มีความเกี่ยวข้องควรมีการประสานงานกับกรมทรัพยากรน้ำเพื่อทำการศึกษาทั้งระบบในด้านการบริหารจัดการน้ำร่วมกัน โดยดูรายละเอียดจากผลการศึกษาแล้วจึงค่อยออกแบบวางแผนการพัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่ และประการสุดท้าย ฝากถึงกรมทรัพยากรน้ำและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่า ในกระบวนการศึกษาด้านการบริหารจัดการน้ำ ควรยึดหลักการมีส่วนร่วมของชาวบ้านในพื้นที่ ให้ชาวบ้านได้ร่วมแสดงความคิดเห็น และร่วมตัดสินใจในการบริหารจัดการน้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อชาวบ้านในพื้นที่
 

เบิกความผู้เกี่ยวข้องคลิปสัมภาษณ์ลุงบุญมี เหยื่อสลายชุมนุม พ.ค.53 ก่อนตาย

Posted: 22 Aug 2012 09:37 AM PDT

22 ส.ค.55 - เวลาประมาณ 9.00 น. ที่ห้องพิจารณาคดีที่ 402 ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลออกนั่งบัลลังก์ไต่สวนคำร้อง คดีหมายเลขดำที่ ช. 7/2555  ที่พนักงานอัยการ จากสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ 4  ขอให้ศาลไต่สวนชันสูตรการเสียชีวิต ของนายบุญมี เริ่มสุข อายุ  71 ปี ซึ่งถูกยิงที่ย่านบ่อนไก่ บริเวณท้องด้านซ้ายกระสุนตัดลำไส้เล็กขาดตอน เมื่อวันที่ 14 พ.ค.53 และเสียชีวิตเมื่อ วันที่ 28 ก.ค.53 ขณะถูกยิงเป็นช่วงที่มีการสลายการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี โดยพนักงานอัยการ ได้นำนายพิชา วิจิตรศิลป์ อายุ 64 ปี อาชีพทนายความและประธานชมรมกฎหมายภิวัฒน์แห่งประเทศไทย เข้าเบิกความในฐานะผู้นำวีดีโอคลิปสัมภาษณ์นายบุญมี ขณะเข้ารับการรักษาที่ รพ.ตำรวจ ก่อนเสียชีวิตส่งให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ(DSI)

นายพิชา เบิกความต่อศาลว่าหลังสลายการชุมนุมวันที่ 19 พ.ค.53 แล้วประมาณ 1 เดือนมีผู้นำแผ่นวีดีโอคลิปสัมภาษณ์นายบุญมี ดังกล่าวมาวางไว้หน้าสำนักงานชมรมกฎหมายภิวัฒน์แห่งประเทศไทย แต่ไม่ทราบว่าเป็นใคร ตนได้เปิดดูพบว่าเป็นการสัมภาษณ์ผู้ได้รับบาดเจ็บคนหนึ่งที่นอนรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล และทราบภายหลังว่าชายคนดังกล่าวในวีดีโอคลิปเสียชีวิต และทราบว่าทางกรมสอบสวนคดีพิเศษต้องการพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการสลายการชุมนุม เม.ย.-พ.ค.53 จึงได้มอบวีดีโอคลิปดังกล่าวให้

ทั้งนี้ ตามหมายเรียกพยานแล้วจะมีการเบิกพยานอีก 2 ปาก คือ ผู้สัมภาษณ์ในคลิปคือ น.ส.กาญจน์ชนิษฐา เอกแสงศรี และผู้ถ่ายวีดีโอคลิป แต่เนื่องจากก่อนหน้านี้ได้มีการไต่สวนนายวสันต์ สายรัศมี หรือเก่ง อายุ 28 ปี เจ้าหน้าที่กู้ภัยและอาสาพยาบาลฯ ผู้ที่ร่วมสัมภาษณ์ในวีดีโอคลิปดังกล่าวไปก่อนหน้าแล้ว ผู้พิพากษา อัยการและทนายญาติผู้เสียชีวิต จึงตกลงไม่เบิกตัวทั้ง 2 คนมาไต่สวนเพิ่ม

นายณัฐพล ปัญญาสูง ทีมทนายจากมูลนิธิไทยรักไทย ในฐานะทนายญาติผู้เสียชีวิต เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่าในนัดหน้าวันพุธ ที่ 29 ส.ค.53 จะมี 4 ปากเบิกความ ซึ่งเป็นทหารที่เกี่ยวข้อง ส่วนในวันพรุ่งนี้(23 ส.ค.)การไต่สวนการตายกรณี 6 ศพวัดปทุมฯ จะมีการไต่สวนที่ศาลอาญากรุงเทพใต้เช่นเดียวกัน โดยจะมีผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์วัดปทุมฯ และถ่ายวีดีโอคลิปมาเบิกความจำนวน 3 ปาก

 

 วีดีโอคลิปสัมภาษณ์นายบุญมี ขณะเข้ารับการรักษาที่ รพ.ตำรวจ ก่อนเสียชีวิตในเวลาต่อมา
คลิปจาก กาญจน์ชนิษฐา เอกแสงศรี

 

โดยในวีดีโอคลิป น.ส.กาญจน์ชนิษฐา และนายวสันต์ ได้มีสอบถามถึงอาการบาดเจ็บและการรักษาพยาบาลกับนายบุญมี และนายบุญมียังได้กล่าวถึงกระสุนที่ยังฝังอยู่บริเวณสะโพกของตนและเล่าเหตุการณ์ที่ตนถูกยิงด้วยว่ากระสุนยิงมาจากฝั่งทหารและขณะนั้นตนอยู่ไกลฝั่งทหาร โดนยิงเวลาประมาณ 4 โมงเย็น ซึ่งปรกติเวลานั้นบริเวณดังกล่าวจะเป็นตลาดนัดจึงได้ออกมาหาของกินตามปรกติ

นอกจากนี้ น.ส.กาญจน์ชนิษฐา ยังได้มีการโพสต์ข้อความกำกับไว้ใต้วีดีโอคลิปด้วยว่า ลุงบุญมี เริ่มสุข อายุ 71 ปี ยืนยันว่าถูกทหารยิง เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2553 โดยโดนยิงเข้าบริเวณช่องท้อง ลุงเล่าให้ฟังก่อนหน้านี้ว่า "ผมคิดว่าที่ทหารเขายิงชาวบ้าน เพราะถูกนักรบโบราณยิงหนังสติ๊กใส่ ผมมองเห็นว่าทหารหลายนายหลบกลัวกระสุนหนังสติ๊ก ทหารจึงใช้ทั้งกระสุนจริง กระสุนยาง แก๊สน้ำตายิงใส่ประชาชน สังเกตว่ากระสุนยางจะยิงทีละนัด หากเป็นเอ็ม 16 จะยิงเป็นชุด"

 

อ่านเพิ่มเติม

บุญมี เริ่มสุข

"ลุงบุญมี" เหยื่อกระสุนบ่อนไก่เสียชีวิตแล้ว ยอดผู้เสียชีวิตเพิ่ม 91 ราย

รำลึกบ่อนไก่-พระราม 4 : (3) เสียงผู้สูญเสีย

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

‘ศาลอาญา’ กับ ‘ตราบาป’ ของ ‘เจ๋ง ดอกจิก’

Posted: 22 Aug 2012 08:56 AM PDT

บทนำ: ตราบาป ของ ‘มนุษย์จำเลยชาวไทย’ 
การที่ ‘ศาลอาญา’ มีคำสั่งเพิกถอน ‘การปล่อยตัวชั่วคราว’ เฉพาะ ‘คุณเจ๋ง ดอกจิก’ (นายยศวริศ ชูกล่อม) นั้น ในทางหนึ่งย่อมมองได้ว่าศาลทำงานละเอียด แยกแยะการกระทำของ แกนนำ นปช. แต่ละคนอย่างมีเหตุผล โดยมิได้เหมารวมว่าใครขึ้นเวทีแสดงความเห็นอะไร ก็ผิดเงื่อนไขต้องกลับเข้าคุกทั้งหมด (เนื้อหาของคำสั่งศาล อ่านได้ที่ http://bit.ly/VPJeng )

ส่วนกรณี ‘คุณเจ๋ง’ นั้น ศาลเห็นว่าได้กระทำผิดเงื่อนไขปล่อยตัวชั่วคราวซึ่งห้ามการยั่วยุ ปลุกปั่น ปลุกระดม  อันที่จะทำให้เกิดความไม่สงบหรือให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่ศาลกำหนดเพื่อป้องกันการก่อให้เกิดภัยอันตรายหรือความเสียหาย

คนทั่วไป (รวมถึงตัวผู้เขียน) คงไม่พอใจมาก หากมีคนนำที่อยู่และหมายเลขโทรศัพท์ของครอบครัวตนไปกล่าวปราศรัยทำนองชักชวนให้ผู้ฟังช่วยไป ‘จัดการ’ ไม่ว่าจะเพื่อติดตามสอบถามหรือรังควาญด้วยเหตุผลใด และย่อมหวังให้กฎหมายต้องเป็นฝ่ายไป ‘จัดการ’ ให้เข็ดหลาบ

แต่หากมองทะลุความรู้สึกให้เข้าไปถึงแก่นของตรรกะ น่าคิดว่า สังคมไทย โดยเฉพาะนักกฎหมายไทย กำลัง ‘มองข้าม’ ความไม่เป็นธรรมที่ปรากฏจากกรณี ‘คุณเจ๋ง ดอกจิก’ หรือไม่ ?

สมมติมี ‘ประชาชนคนหนึ่ง’ ที่ไม่ได้เป็น ‘จำเลย’ ในคดีอาญาและมีอิสระอยู่ตามปกติ แต่มาวันหนึ่ง ประชาชนคนดังกล่าวได้ขึ้นเวทีปราศรัย พร้อมแจกที่อยู่และหมายเลขโทรศัพท์ของครอบครัวตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตลอดจนพูดและทำทุกอย่างเหมือนที่ ‘คุณเจ๋ง ดอกจิก’ ได้ทำไป

ถามว่า ‘ประชาชนคนหนึ่ง’ คนนั้น จะสามารถถูก ‘จับเข้าคุก’ เพราะการพูดและแจกข้อมูลดังกล่าว ทั้งที่ยังไม่มีคำพิพากษาตัดสินว่าทำผิดได้หรือไม่ (และแม้จะถูกพิพากษาว่าทำผิด โทษก็อาจไม่ถึงขั้นจำคุกเสียด้วยซ้ำ) ?

หากผู้ใดตอบว่า กรณีไม่เหมือนกัน เพราะ ‘คุณเจ๋ง ดอกจิก’ เป็น ‘จำเลย’ ในข้อหาก่อการร้าย ซึ่งเป็นความผิดร้ายแรง แถมมีเงื่อนไขการปล่อยตัวผูกมัดไว้ ผู้เขียนก็ขอถามต่อว่า การคิดเช่นนั้นขัดแย้งกับ รัฐธรรมนูญ มาตรา 39 ที่ว่า “ในคดีอาญา ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิด ก่อนมีคำพิพากษาอันถึงที่สุด...จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทำผิดมิได้” หรือไม่ ?

ถามให้ง่ายขึ้น ก็คือ ‘คุณเจ๋ง ดอกจิก’ ในฐานะประชาชนที่ตกเป็น ‘จำเลย’ ในคดีอาญานั้น เมื่อได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว จะยังมีสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อย่างเสมอภาคเท่ากันกับ ‘ประชาชนคนทั่วไป’ หรือไม่ ?  

หากตอบว่า เสมอภาคเท่ากัน แต่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขการปล่อยตัว คำถามก็คือ สาระของ ‘เงื่อนไขการปล่อยตัวชั่วคราว’ ที่ห้าม “ยั่วยุ ปลุกปั่น ปลุกระดม ...” นั้น มี‘หลักเกณฑ์ทางนิติศาสตร์’ มาเป็นฐานในการกำหนดขอบเขตและชั่งวัดอย่างไร และอะไร คือ ‘ภัยอันตรายหรือความเสียหาย’ ที่ทำให้ ‘ประชาชนคนหนึ่ง’ ต้องเข้าคุกทั้งที่ยังไม่มีคำพิพากษาถึงที่สุด ?

หรือสังคมไทยพร้อมที่จะยอมรับว่า ศาลสามารถอาศัย ‘ดุลพินิจ’ ตาม ‘สายตา’ และ ‘จิตใจ’ ของผู้พิพากษารายบุคคลเป็นสำคัญ ขอให้พอมีเหตุผล ก็ยอมรับได้ กระนั้นหรือ ?

ผู้เขียนเห็นว่า กรณี ‘คุณเจ๋ง ดอกจิก’ ทำให้เห็นว่า ‘ศาลอาญา’ กำลังสร้างแนวการตีความกฎหมายที่เป็นปัญหา และสะท้อนถึงความไม่พัฒนาของวงการนิติศาสตร์ไทย ดังที่ผู้เขียนจะขอวิพากษ์ไว้ 3 ขั้น ดังนี้

1. ‘ดุลพินิจ’ ที่ดี ต้องมี ‘หลักเกณฑ์’
ในขั้นแรก ผู้เขียนย้ำว่า ไม่ว่าศาลจะมี ‘เหตุผล’ ในการเพิกถอนการปล่อยตัว ‘คุณเจ๋ง ดอกจิก’ ที่น่าฟังหรือน่าคล้อยตามเพียงใด แต่หาก ‘เหตุผล’ ที่ว่านั้นเป็นเหตุผลที่ถูกสร้างขึ้นเฉพาะกรณีและไร้ ‘หลักเกณฑ์ทางนิติศาสตร์’ ที่เป็นมาตรฐาน ก็เท่ากับว่าระบบกฎหมายไทยยอมรับให้ ศาลมี ‘ดุลพินิจ’ ใช้อำนาจ ‘เลือกเหตุผล’ ได้ตามอำเภอใจ

ผลก็คือ ความยุติธรรมที่ ‘จำเลย’ จะได้รับ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับ ‘กฎหมาย’ แต่กลับขึ้นอยู่กับ ‘เคราะห์ดวง’ ว่าจำเลยผู้นั้นจะได้องค์คณะผู้พิพากษาที่ใช้ดุลพินิจอย่างมีเหตุผลหรือไม่

เป็นต้นว่า หาก ‘คุณเจ๋ง’ เจอผู้พิพากษาที่เข้มงวดเรื่องความเป็นส่วนตัว เข้มงวดในเรื่องครอบครัว ไม่ชอบการแสดงความเห็นทางการเมือง ไม่ชอบการต่อว่าวิพากษ์วิจารณ์ในที่สาธารณะ คุณเจ๋งก็อาจ ‘ดวงกุด’ มิพักต้องพูดถึง ‘ผู้บริหาร’ ของศาลในเวลานั้น เช่น อธิบดีและรองอธิบดีศาล ว่ามีแนวคิด นโยบาย หรืออิทธิพลต่อองค์คณะในคดีอย่างไร

ศาลต่างประเทศเอง เช่น สหรัฐฯ ก็เจอปัญหาลักษณะเดียวกัน และใช้เวลาร่วมร้อยปีเพื่อพัฒนา ‘หลักเกณฑ์’ มาเป็นแนวทางการใช้ดุลพินิจ เช่น การพัฒนาหลัก ‘Clear and Present Danger’ มาสู่หลัก ‘Imminent Lawless Action’ ซึ่งล้วนตีกรอบให้ศาลสหรัฐฯ พิจารณาว่า การแสดงความคิดเห็นใด ถือเป็นการปลุกปั่นยุยงให้เกิดการทำผิดกฎหมายซึ่งรัฐสามารถห้ามหรือลงโทษการแสดงความเห็นนั้นได้

ดังนั้น เมื่อผู้พิพากษาแต่ละคนล้วนเป็นมนุษย์ผู้ไม่อาจละทิ้งอคติและความรู้สึกนึกคิดส่วนตัวได้ทั้งหมด การทวงถาม ‘หลักเกณฑ์ทางนิติศาสตร์’ ที่ศาลไทยจะนำมาใช้เป็นมาตรฐานพิจารณา “การยั่วยุ ปลุกปั่น ปลุกระดม ...” เช่น กรณีคุณเจ๋งนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง แต่น่าเสียดายว่า เหตุผลที่ศาลอาญาอธิบายในการอ่านคำสั่งนั้น ยังไม่มีหลักเกณฑ์ที่จับต้องได้ชัดเจนนัก

2. ‘กฎหมายอาญา’ ต้องอยู่ภายใต้ ‘รัฐธรรมนูญ’ 
ในขั้นที่สอง  ‘การปล่อยตัวชั่วคราว’ เป็น ‘สิทธิตามรัฐธรรมนูญ’ ที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะเจาะจงตาม รัฐธรรมนูญ มาตรา 40  และเกี่ยวข้องโดยตรงกับหลักกฎหมายสากลที่ว่า ในคดีอาญา ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิด

ยิ่งไปกว่านั้น กรณีการปราศรัยของ ‘คุณเจ๋ง ดอกจิก’ นั้น เกี่ยวพันโดยตรงกับ ‘เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น’ ซึ่งหากแสดงไปเพื่อตรวจสอบ วิพากษ์วิจารณ์ ล้อเลียน เสียดสี หรือต่อต้าน บรรดาผู้ใช้อำนาจรัฐ เช่น ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแล้ว แม้จะดุดัน หยายคาย หรือน่ารังเกียจเพียงใด ก็อาจมี ‘ความจำเป็นในทางประชาธิปไตย’ ที่กฎหมายต้องไม่เข้าไปข่มกดเช่นกัน

สมควรชมว่าศาลอาญาไทยเอง ก็ไม่ได้มองข้ามประเด็นนี้ เห็นได้จากคำสั่งในส่วนที่เกี่ยวกับ ‘คุณจตุพร พรหมพันธุ์’ ที่ศาลอธิบายว่า แม้คุณจตุพรจะปราศรัยเสียดสี และตำหนิตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอย่างหยาบคายและไม่สมควร แต่ก็ไม่เป็นการดูหมิ่นเหยียดหยาม กระทบต่อเกียรติยศและชื่อเสียงของบุคคลอื่น และไม่ก่อให้เกิดการคุกคามและการกดดันต่อการทำหน้าที่ของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จึงยังพอถือได้ว่าเป็นการวิพากษ์วิจารณ์และติชมการทำงานของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ แม้จะรุนแรงไปบ้าง แต่ก็ยังถือไม่ได้ว่าเกิดอันตรายกระทบต่อความสงบเรียบร้อย ที่จะเป็นการผิดเงื่อนไขการปล่อยชั่วคราว

แต่ศาลก็มิได้วางหลักเกณฑ์ที่จับต้องได้ชัด และหากกฎหมายถูกตีความไปในทางที่อิงดุลพินิจศาลจนทำให้ ‘ประชาชนต้องคิดหนัก’ ก่อนจะแสดงความเห็นต่อผู้ที่กำอำนาจรัฐไว้ในมือ ว่าสิ่งที่จะพูดไปนั้น จะทำให้ตนต้องเข้าคุกหรือไม่ ก็จะเป็นการทำให้สิทธิเสรีภาพใช้ได้อย่างลำบาก อีกทั้งเพิ่มต้นทุนในทางประชาธิปไตย สุดท้ายประชาชนทั่วไปก็จะกลัวหรือรู้สึกไม่คุ้มค่า ที่จะมาร่วมติดตาม ต่อว่า วิพากษ์วิจารณ์ และประชาชนก็ย่อมตกอยู่ในกำมืออำนาจรัฐได้ง่ายยิ่งขึ้น

ผู้เขียนมองว่า วันนี้สังคมไทยยังเคราะห์ดี ที่มีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่แม้จะตัดสินคดีไม่ถูกใจทุกคน แต่ก็เป็นคนดีมีคุณธรรมพื้นฐานในระดับหนึ่ง แต่หากวันใดที่สังคมไทยต้องเผชิญกับผู้มีอำนาจที่ทำการชั่วร้าย แต่ประชาชนกลับกลัวการถูกจับเข้าคุกเพราะการแสดงความเห็นเสียแล้ว สังคมไทยก็จะอ่อนแอ และสูญเสียความเป็นประชาธิปไตยไปในที่สุด

ที่น่าวิตกก็คือ เหตุผลที่ศาลอาญาอธิบายในการอ่านคำสั่งไปนั้น ไม่ได้มีการวิเคราะห์แง่มุมในทางรัฐธรรมนูญอย่างละเอียดแต่อย่างใด ว่าการตีความกฎหมายเรื่องการปล่อยตัวชั่วคราวนั้น จะเป็นการกระทบกระเทือนสิทธิเสรีภาพของ ‘คุณเจ๋ง ดอกจิก’ ในลักษณะที่เกินความจำเป็นและไม่สมสัดส่วนหรือไม่ ?

3. ศาลไทยต้องพัฒนา ‘หลักเกณฑ์’ เรื่องการปล่อยตัวชั่วคราว ตาม มาตรา 108 ให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น
หากพิจารณาประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ในส่วนที่ว่าด้วยการปล่อยชั่วคราวนั้น จะพบว่า มาตรา 108  ได้ให้ศาลมีอำนาจกำหนด “เงื่อนไขอื่นใดให้ผู้ถูกปล่อยชั่วคราวปฏิบัติเพื่อป้องกันการหลบหนี...ภัยอันตราย หรือความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการปล่อยชั่วคราว...”

บทบัญญัติที่กว้างเช่นนี้ ย่อมทำให้มีผู้หลงคิดว่า ศาลจะกำหนดเงื่อนไขและบังคับตีความการปล่อยตัวชั่วคราวอย่างไรก็ได้ ตราบเท่าที่เป็นไปเพื่อป้องกัน “ภัยอันตราย หรือความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการปล่อยชั่วคราว”

ความคิดดังกล่าวเกรงว่าอาจหยาบและง่ายเกินไป ผู้เขียนเสนอว่าศาลไทยควรพัฒนาการตีความเงื่อนไขตาม มาตรา 108 ให้อยู่ในขอบเขตที่เชื่อมโยงกับเหตุไม่ให้ปล่อยตัวชั่วตราวตาม มาตรา 108/1 เช่น ปัญหาการหลบหนี การยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน การก่อเหตุอันตราย หรือก่อเกิดความเสียหายต่อการสอบสวนของเจ้าพนักงานหรือการดำเนินคดีในศาล      

กล่าวให้เข้าใจโดยง่ายก็คือ สาระของเงื่อนไขการปล่อยตัวชั่วคราว มิได้กำหนดขึ้นเพื่อให้ ‘จำเลย’ เป็นคนดี หรือไม่ทำความผิดใดๆ ตรงกันข้าม อำนาจของศาลในการกำหนดและบังคับเงื่อนไขตาม มาตรา 108 จะต้องเป็นเหตุจำเป็นเพื่อป้องกัน “ภัยอันตราย หรือความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการปล่อยชั่วคราว” อันเกี่ยวข้องโดยตรงกับคดีที่ผู้ถูกปล่อยตัวตกเป็น ‘จำเลย’ ตามความมุ่งหมายของ มาตรา 108/1 เท่านั้น

ดังนั้น หากพิจารณาจาก ‘หลักเกณฑ์’ ที่นำเสนอมานี้ จะเห็นได้ว่า การกระทำของ ‘คุณเจ๋ง ดอกจิก’ ซึ่งอาจละเมิดต่อความเป็นส่วนตัวของครอบครัวตุลาการศาลรัฐธรรมนูญก็ดี กดดันตุลาการก็ดี หรือยุยงปลุกปั่นให้มีการไปรังควาญหรือทำสิ่งที่ผิดกฎหมายก็ดี ย่อมไม่เกี่ยวข้องกับคดีการก่อการร้ายที่คุณเจ๋ง ตกเป็นจำเลยอยู่แต่เดิม ศาลจึงไม่ควรมีอำนาจตีความให้การกระทำของคุณเจ๋งซึ่งแยกออกจากกัน กลายเป็นเหตุให้ต้องกลับมาเข้าคุกในฐานะจำเลยในคดีการก่อการร้ายได้ (ทั้งนี้ หากตุลาการ หรือ ครอบครัวตุลาการ จะติดใจดำเนินคดี ‘คุณเจ๋ง ดอกจิก’ ก็เป็นสิทธิที่ผู้เสียหายดำเนินการได้ แต่กฎหมายต้องแยกกรณีออกจากกัน)

สาเหตุที่ผู้เขียนเสนอ ‘หลักเกณฑ์’ เช่นนี้ ย่อมโยงกลับไปที่ข้อพิจารณาสองขั้นแรกที่กล่าวมา โดยเฉพาะเมื่อการจำกัด ‘สิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ’ ถูกกฎหมายเปิดช่องให้ถูกตีความได้อย่างกว้างขวาง ศาลจึงมีหน้าที่และบทบาทสำคัญในการพัฒนา ‘หลักเกณฑ์ทางนิติศาสตร์’ เพื่อทำให้บทบัญญัติที่กว้าง สามารถนำมาใช้ได้อย่างสมสัดส่วน เป็นมาตรฐาน และเป็นการกระทบกระเทือนสิทธิเสรีภาพของประชาชนเท่าที่จำเป็นเท่านั้น

มิเช่นนั้น รัฐธรรมนูญ มาตรา 39 ที่ว่า “ในคดีอาญา ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิด ก่อนมีคำพิพากษาอันถึงที่สุด...จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทำผิดมิได้” ก็จะไร้ความหมาย เพราะเท่ากับ ‘จำเลย’ ที่ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว กลับตกใต้ตราบาปที่ทำให้ต้องจำคุกได้ง่ายยิ่งกว่าประชาชนคนธรรมดาทั่วไป แม้การกระทำนั้นจะไม่ได้เกี่ยวข้องกับข้อหาในคดีเดิมก็ตาม

ฉันใดก็ฉันนั้น ผู้เขียนจึงมองว่า การที่ศาลอาญา ‘ปรับเพิ่ม’ เงื่อนไขการปล่อยตัวชั่วคราวของ ‘จำเลย’ บางราย ให้กินความกว้างไปถึงการห้ามดูหมิ่นให้กระทบต่อ ‘เกียรติยศ ชื่อเสียงและความเป็นอยู่ส่วนตัว’ ของบุคคลอื่น หรือ ‘ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน’ นั้น ยิ่งเป็นการใช้อำนาจตุลาการที่เกินเจตนารมณ์ของกฎหมาย และเป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพของ ‘จำเลย’ ประหนึ่งมองว่าเป็นมนุษย์ที่มีความชั่วช้ามาแต่เดิม และควรมีเงื่อนไขให้ถูกจับเข้าคุกได้เสียง่ายๆ ทั้งที่มนุษย์ทั่วไปในสังคม ที่กระทำการกระทบต่อเกียรติยศ ชื่อเสียงและความเป็นอยู่ส่วนตัวของบุคคลอื่น หรือความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน กลับถูกปล่อยให้ลอยนวลอยู่ถมไป

บทส่งท้าย: ตุลาการ ‘รุ่นใหม่’ อย่าปล่อยให้ ‘ประชาชน’ รอถึง ‘ศาลฎีกา’
ที่ผ่านมา ‘ศาลฎีกาไทย’ เคยตีความว่า คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้เพิกถอนการปล่อยชั่วคราว ถือเป็น ‘คำสั่งระหว่างพิจารณา’ ซึ่งเป็น ‘ดุลพินิจ’ ของศาลชั้นต้น ต่างจากคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว ดังนั้น จำเลยที่จึงไม่มีสิทธิ ‘ยื่นอุทธรณ์’ คำสั่งนั้น

แนวการตีความเช่นนี้ หมายความว่า การใช้ ‘ดุลพินิจ’ โดยศาลชั้นต้นในการเพิกถอนการปล่อยชั่วคราวนั้น จะไม่สามารถถูกตรวจสอบโดยศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา แม้กฎหมายจะเปิดโอกาสให้จำเลยสามารถยื่นคำร้องให้ขอปล่อยตัวได้อีกก็ตาม ซึ่งผู้เขียนเห็นว่า อาจต้องมีการทบทวนหลักคิดในเรื่องนี้กันใหม่

แต่มองในอีกแง่หนึ่ง ก็อาจทำให้หวังได้ว่า การตีความและพัฒนาหลักเกณฑ์เรื่องการปล่อยชั่วคราวที่ผู้เขียนเสนอมานั้น อาจได้รับอานิสงส์จาก ‘ผู้พิพากษาศาลชั้นต้น’ ที่มีความคิดความอ่านที่ลึกซึ้งทันสมัย และพร้อมจะพัฒนาระบบกฎหมายและระบบยุติธรรมไทยให้เคารพและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างแท้จริง เพื่อให้ประชาชนที่ตกเป็น ‘จำเลย’ ไม่ต้องกลายเป็นมนุษย์ชั้นสองที่ต้องคอยแบก ‘ตราบาป’ ติดตัว โดยไม่ทราบว่าอีกกี่เดือนกี่ปี ที่คดีจะไปถึง ‘ศาลฎีกา’.

 

 

หมายเหตุ: เนื้อหาของคำสั่งศาลอาญา วันที่ 22 สิงหาคม 2555 อ่านได้ที่ http://bit.ly/VPJeng

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'สนธิ ลิ้มทองกุล' เบิกความคดี 112 ยันทำด้วยคนละเจตนากับ 'ดา ตอร์ปิโด'

Posted: 22 Aug 2012 07:17 AM PDT

 

21 ส.ค.55 ที่ศาลอาญา รัชดา นายสนธิ ลิ้มทองกุล จำเลยในคดีความผิดตามมาตรา 112  คดีหมายเลขดำที่ อ.2066/2553 โดยนายสนธิได้ขึ้นเบิกความเป็นพยานตนเอง  สวนการสืบพยานในวันที่ 22 ส.ค.ทนายจำเลยได้ขอเลื่อน แต่ศาลไม่อนุญาตจึงขอยกเลิกเนื่องจากเป็นนัดฟังเรื่องถอนประกันแกนนำเสื้อแดง มีมวลชนมาเป็นจำนวนมากเกรงว่าจะมีเหตุปะทะกัน ส่วนการสืบพยานจำเลยนัดหน้าจะมีขึ้นในวันที่ 28-29 ส.ค.นี้ โดยมีพยานได้แก่ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง, นายปานเทพ พัวพงศ์พันธุ์ น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ

นายสนธิ เบิกความว่า ได้นำคำพูดของดารณีมากล่าวบนเวทีปราศรัยของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 20 ก.ค.51 โดยหยิบยกคำปราศรัยของดารณีที่มีการพาดพิงสถาบันในวันที่ 18-19 ก.ค.51 มาบอกกล่าวกับประชาชน นอกจากนี้ยังมีการปราศรัยของดารณีที่เข้าข่ายเดียวกันในช่วงเดือนมกราคมและเดือนมิถุนายนปีเดียวกันด้วย แต่ตำรวจกลับส่งฟ้องเฉพาะกรณีเดือนมกราคมและมิถุนายน โดยศาลพิพากษาจำคุกดารณีไปแล้ว แต่ตำรวจไม่ได้ส่งฟ้องกรณีเดือนกรกฎาคม เพราะหากศาลพิพากษาว่าดารณีมีความผิดจริง แม้การกล่าวของดารณีไม่ได้ระบุชื่อ ก็ย่อมเป็นประโยชน์ต่อคดีของตน ตำรวจที่รับผิดชอบจึงไม่ดำเนินการ

นายสนธิ อธิบายว่า ไม่ได้จะกล่าวหาว่าตำรวจกลั่นแกล้ง แต่สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นเป็นเช่นนั้น เนื่องจากตำรวจที่ดำเนินการทั้งเจ้าของสำนวนคดีนี้ และพล.ต.ต.อำนวย นิ่มมะโน ผู้บังคับบัญชาขณะนั้น เป็นเจ้าหน้าที่ที่มีความขัดแย้งกับตัวเขาเองโดยตรง เนื่องจากเป็นผู้ดำเนินคดีข้อหากบฏกับแกนนำพันธมิตรทั้ง 9 คน และเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องระบุว่าการตั้งข้อหาไม่ถูกต้อง แกนนำพันธมิตรฯ จึงฟ้องกลับกับ ป.ป.ช. นอกจากนี้คนที่เป็นผู้ร้องทุกข์กล่าวโทษในคดีนี้ก็ยังเป็นคนสนิทของนายเนวิน ชิดชอบอีกด้วย

อัยการถามว่าข้อความที่ดารณีปราศรัยนั้นไม่มีการระบุชื่อ แต่ข้อความที่จำเลยนำมาพูดนั้นมีความแตกต่างกันใช่หรือไม่ นายสนธิตอบว่า หากดูตามตัวอักษรก็ใช่ แต่ดารณีหมายความตามที่ตนได้ปราศรัย

ส่วนเหตุที่ไม่ได้นำซีดีหลักฐานไปแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ทันทีแต่กลับนำไปปราศรัยบนเวทีซึ่งมีการถ่ายทอดสดทางสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมด้วยนั้น นายสนธิให้เหตุผลว่า เป็นเพราะไม่เชื่อมั่นว่าเจ้าหน้าที่จะดำเนินการ จึงต้องการกดดัน กระทั่งวันรุ่งขึ้นกองทัพบกได้ส่งตัวแทนไปแจ้งความดำเนินคดีเอง ทางกลุ่มพันธมิตรฯ จึงดำเนินการเพียงส่งแผ่นซีดีเป็นหลักฐานประกอบ

สนธิยังย้ำด้วยว่าเจตนาของเขากับของดารณีนั้นแตกต่างกัน สังคมเป็นที่รับรู้ทั่วไปว่าฝั่งเสื้อแดงนั้นต้องการล้มล้างสถาบัน ส่วนเขานั้นต้องการปกป้องสถาบัน ดังที่ปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับความจงรักภักดีมากมาย ไม่ว่าการจัดเวทีที่หอประชุมใหญ่พูดเรื่องการถวายคืนพระราชอำนาจ การจัดพิมพ์หนังสือพระราชอำนาจ และยังเคยกล่าวอาศิรวาท หนังสือพระราชอำนาจ พระองค์รับสั่งมาว่าพระองค์ทรงชอบมาก นอกจากนี้ยังมีการลงนามถวายพระพรที่ ร.พ.ศิริราช มีการตั้งคัตเอาท์ขนาดใหญ่ในที่ชุมนุมในวาระเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ รวมไปถึงการเสด็จไปเป็นประธานงานพระราชทานเพลิงศพของน้องโบว์ อังคณา ระดับปัญญาวุฒิ ผู้ชุมนุมพันธมิตรฯ ที่เสียชีวิตจากการสายการชุมนุม 7 ต.ค.51 และพระองค์ยังรับสั่งกับพ่อของน้องโบว์ว่า น้องโบว์เป็นเด็กดี รักชาติบ้านเมือง รักสถาบัน  

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า เจ้าหน้าที่ได้ให้ผู้ไม่เกี่ยวข้องกับคดีทุกคนลงชื่อ และเลขบัตรประจำตัวประชาชนด้วย เนื่องจากเป็นระเบียบใหม่ของศาลอาญา โดยที่หน้าประตูห้องพิจารณาคดีเกือบทุกคนมีป้ายประกาศเขียนขอความร่วมมือดังกล่าวไว้ ลงชื่อโดยเลขานุการศาลอาญา และให้เริ่มต้ังแต่ 1 ส.ค.55 เป็นต้นไป

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'สนธิ ลิ้มทองกุล' เบิกความคดี 112 ยันทำด้วยคนละเจตนากับ 'ดา ตอร์ปิโด'

Posted: 22 Aug 2012 07:17 AM PDT

 

21 ส.ค.55 ที่ศาลอาญา รัชดา นายสนธิ ลิ้มทองกุล จำเลยในคดีความผิดตามมาตรา 112  คดีหมายเลขดำที่ อ.2066/2553 โดยนายสนธิได้ขึ้นเบิกความเป็นพยานตนเอง  สวนการสืบพยานในวันที่ 22 ส.ค.ทนายจำเลยได้ขอเลื่อน แต่ศาลไม่อนุญาตจึงขอยกเลิกเนื่องจากเป็นนัดฟังเรื่องถอนประกันแกนนำเสื้อแดง มีมวลชนมาเป็นจำนวนมากเกรงว่าจะมีเหตุปะทะกัน ส่วนการสืบพยานจำเลยนัดหน้าจะมีขึ้นในวันที่ 28-29 ส.ค.นี้ โดยมีพยานได้แก่ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง, นายปานเทพ พัวพงศ์พันธุ์ น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ

นายสนธิ เบิกความว่า ได้นำคำพูดของดารณีมากล่าวบนเวทีปราศรัยของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 20 ก.ค.51 โดยหยิบยกคำปราศรัยของดารณีที่มีการพาดพิงสถาบันในวันที่ 18-19 ก.ค.51 มาบอกกล่าวกับประชาชน นอกจากนี้ยังมีการปราศรัยของดารณีที่เข้าข่ายเดียวกันในช่วงเดือนมกราคมและเดือนมิถุนายนปีเดียวกันด้วย แต่ตำรวจกลับส่งฟ้องเฉพาะกรณีเดือนมกราคมและมิถุนายน โดยศาลพิพากษาจำคุกดารณีไปแล้ว แต่ตำรวจไม่ได้ส่งฟ้องกรณีเดือนกรกฎาคม เพราะหากศาลพิพากษาว่าดารณีมีความผิดจริง แม้การกล่าวของดารณีไม่ได้ระบุชื่อ ก็ย่อมเป็นประโยชน์ต่อคดีของตน ตำรวจที่รับผิดชอบจึงไม่ดำเนินการ

นายสนธิ อธิบายว่า ไม่ได้จะกล่าวหาว่าตำรวจกลั่นแกล้ง แต่สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นเป็นเช่นนั้น เนื่องจากตำรวจที่ดำเนินการทั้งเจ้าของสำนวนคดีนี้ และพล.ต.ต.อำนวย นิ่มมะโน ผู้บังคับบัญชาขณะนั้น เป็นเจ้าหน้าที่ที่มีความขัดแย้งกับตัวเขาเองโดยตรง เนื่องจากเป็นผู้ดำเนินคดีข้อหากบฏกับแกนนำพันธมิตรทั้ง 9 คน และเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องระบุว่าการตั้งข้อหาไม่ถูกต้อง แกนนำพันธมิตรฯ จึงฟ้องกลับกับ ป.ป.ช. นอกจากนี้คนที่เป็นผู้ร้องทุกข์กล่าวโทษในคดีนี้ก็ยังเป็นคนสนิทของนายเนวิน ชิดชอบอีกด้วย

อัยการถามว่าข้อความที่ดารณีปราศรัยนั้นไม่มีการระบุชื่อ แต่ข้อความที่จำเลยนำมาพูดนั้นมีความแตกต่างกันใช่หรือไม่ นายสนธิตอบว่า หากดูตามตัวอักษรก็ใช่ แต่ดารณีหมายความตามที่ตนได้ปราศรัย

ส่วนเหตุที่ไม่ได้นำซีดีหลักฐานไปแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ทันทีแต่กลับนำไปปราศรัยบนเวทีซึ่งมีการถ่ายทอดสดทางสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมด้วยนั้น นายสนธิให้เหตุผลว่า เป็นเพราะไม่เชื่อมั่นว่าเจ้าหน้าที่จะดำเนินการ จึงต้องการกดดัน กระทั่งวันรุ่งขึ้นกองทัพบกได้ส่งตัวแทนไปแจ้งความดำเนินคดีเอง ทางกลุ่มพันธมิตรฯ จึงดำเนินการเพียงส่งแผ่นซีดีเป็นหลักฐานประกอบ

สนธิยังย้ำด้วยว่าเจตนาของเขากับของดารณีนั้นแตกต่างกัน สังคมเป็นที่รับรู้ทั่วไปว่าฝั่งเสื้อแดงนั้นต้องการล้มล้างสถาบัน ส่วนเขานั้นต้องการปกป้องสถาบัน ดังที่ปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับความจงรักภักดีมากมาย ไม่ว่าการจัดเวทีที่หอประชุมใหญ่พูดเรื่องการถวายคืนพระราชอำนาจ การจัดพิมพ์หนังสือพระราชอำนาจ และยังเคยกล่าวอาศิรวาท หนังสือพระราชอำนาจ พระองค์รับสั่งมาว่าพระองค์ทรงชอบมาก นอกจากนี้ยังมีการลงนามถวายพระพรที่ ร.พ.ศิริราช มีการตั้งคัตเอาท์ขนาดใหญ่ในที่ชุมนุมในวาระเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ รวมไปถึงการเสด็จไปเป็นประธานงานพระราชทานเพลิงศพของน้องโบว์ อังคณา ระดับปัญญาวุฒิ ผู้ชุมนุมพันธมิตรฯ ที่เสียชีวิตจากการสายการชุมนุม 7 ต.ค.51 และพระองค์ยังรับสั่งกับพ่อของน้องโบว์ว่า น้องโบว์เป็นเด็กดี รักชาติบ้านเมือง รักสถาบัน  

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า เจ้าหน้าที่ได้ให้ผู้ไม่เกี่ยวข้องกับคดีทุกคนลงชื่อ และเลขบัตรประจำตัวประชาชนด้วย เนื่องจากเป็นระเบียบใหม่ของศาลอาญา โดยที่หน้าประตูห้องพิจารณาคดีเกือบทุกคนมีป้ายประกาศเขียนขอความร่วมมือดังกล่าวไว้ ลงชื่อโดยเลขานุการศาลอาญา และให้เริ่มต้ังแต่ 1 ส.ค.55 เป็นต้นไป

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กสทช. ผ่านหลักเกณฑ์ประมูล 3G แล้วตามคาด มี 45 เมกฯ อั้นไม่เกิน 15

Posted: 22 Aug 2012 06:22 AM PDT

(กสทช.) มีมติเห็นชอบร่างประกาศ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ 2.1 เมกะเฮิรตซ์ 11 คน เห็นชอบ 8 คน ไม่เห็นชอบ 2 ถอนตัว 1

22 สิงหาคม 2555 ที่ประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) มีมติเห็นชอบร่างประกาศ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ 2.1 เมกะเฮิรตซ์  โดยพ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานกสทช. ในฐานะประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) เปิดเผยภายหลังการประชุมบอร์ด กสทช.ว่า ผลการลงมติโดยบอร์ด 11 คน เห็นชอบ 8 คน  ไม่เห็นชอบ 2 คนได้แก่ 1.นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา 2.นางสาว สุภิญญา กลางณรงค์ ขณะที่ พ.อ.นที ศุกลรัตน์ ถอนตัวจากการพิจารณา โดยให้เหตุผลว่า มีส่วนได้ส่วนเสียในเรื่องนี้ เนื่องจากเป็นผู้ถูกฟ้องในฐานะคณะกรรมการกิจการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กทค. เมื่อปี 2553

ทั้งนี้ร่างประกาศฯ ดังกล่าว กำหนดให้แบ่งการประมูลเป็นช่วง (สล็อต) 9  ช่วง ช่วงละ 5 เมกะเฮิรตซ์ และมีราคาเริ่มต้นการประมูลช่วงละ 4,500 ล้านบาท และกำหนดให้ผู้เข้าร่วมประมูลได้สิทธิในการถือครองคลื่นความถี่ (สเปคตรัม แคป) ไม่เกิน 15 เมกะเฮิตรซ์ ได้รับใบอนญาตไม่เกินรายละ 3 ใบ รวมไม่เกิน 15 เมกะเฮิรตซ์ และกรอบเวลากรชำระเงินค่าใบอนุญาต (ไลเซ่นส์) 3 จี จ่ายงวดแรกได้ภายใน 90 วัน แบ่งเป็นงวดแรก 50%  ของราคาไลเซ่นส์ และการชำระค่าไลเซ่นส์อีก 2 งวดๆ ละ 25% ให้จ่ายในปีที่ 2 และ 3 ตามลำดับ

ต่อจากนี้จะนำร่างฯที่ผ่านมติประกาศในราชกิจจานุเบกษา คาดว่าอย่างช้าที่สุดในสัปดาห์หน้า และคาดว่ากลางเดือนตุลาคมนี้จะสามารถเปิดประมูลได้ ส่วนสถานที่ที่จะประมูล อยู่ระหว่างการวิเคราะห์ความเหมาะสมโดยสำนักงาน กสทช.

ด้านนางสาวสุภิญญา ได้ทวิตผ่านทวิตเตอร์ส่วนตัว @supinya รายงานผลการประชุม พร้อมระบุว่า ได้ทำหน้าที่อภิปรายเหตุผลในการขอให้บอร์ด กสทช.ปรับปรุงสูตรการประมูล 3G แล้ว แต่แพ้โหวต

“ข่าวดี ท่านจะได้ใช้คลื่น 2.1 ในปีหน้า ข่าวร้าย การแข่งขันที่แท้จริง เกิดได้ยากจริงๆ ในประเทศไทย แม้จะมีองค์กรกำกับดูแลแล้ว”

แล้วทวิตต่ออีกว่า “ถ้ามีเพียง 3 รายเดิมเข้าประมูลจริง แล้วประมูลชนะไปด้วยราคาตั้งต้น (4,500 ล้านบาท) ทั้ง 3 ราย ผู้บริโภคต้องช่วยกดดัน กสทช.ให้คุ้มครองสิทธิผู้ใช้ให้มากขึ้นกว่านี้” 

“บอร์ด กสทช. 11 คนมีหน้าที่ในการออกแบบการประมูลให้ดีที่สุดได้ ถ้าวันนี้บอร์ดเสียงข้างมากคิดว่ามันดีที่สุดแล้ว ก็จบ รอไปรับผลกันในอนาคต” และ ”มีคนตั้งข้อสังเกตว่า ตั้งใจออกแบบการประมูลให้ดูเหมือนกันจัดฮั้ว เปิดช่องให้มีคนฟ้องอีกหรือไม่ ไม่อยากคิดแล้ว วันนี้ทำหน้าที่แล้ว จบ” ทวิต @supinya ระบุ

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

บุญยืน สุขใหม่: ทำไมสหภาพแรงงานต้องรับลูกจ้างเหมาค่าแรงเข้าเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน?

Posted: 22 Aug 2012 06:06 AM PDT

จากในอดีตการลุกขึ้นสู้ของลูกจ้างชั่วคราว หรือที่ทุกคนมักจะเรียกกันจนติดปากว่า “Sub Contract” หลายคนคงจำกันได้เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2550 ลูกจ้างชั่วคราวในโรงพยาบาลโพธาราม จังหวัดราชบุรี คุณคณาพันธุ์ ปานตระกูล ได้กระทำอัตวิบาตกรรมโดยการแขวนคอตาย โดยที่เขาหวังว่า การตายของเขาในครั้งนั้นจะไม่สูญเปล่า มันจะเป็นสิ่งกระตุ้นเตือนให้สังคมได้รับรู้และหันกลับมาให้ความสำคัญกับลูกจ้างชั่วคราวบ้าง นั่นคือคำสั่งลาของเขาในจดหมายที่เขียนขึ้นก่อนตาย แต่จากวันนั้นถึงวันนี้กว่าห้าปี สังคมกลับไม่เคยให้ความสำคัญกับคนงานในระบบเหมาค่าแรงหรือลูกจ้างชั่วคราวและยิ่งซ้ำร้ายกว่านั้นการจ้างงานในระบบเหมาค่าแรงยิ่งทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น และรูปแบบการจ้างงานแบบเหมาค่าแรงนี้ยิ่งมีความซับซ้อนและยากต่อการตรวจสอบรวมทั้งมีการละเมิดกฏหมายทุกรูปแบบ
           
หลังจากที่มีการประกาศบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฉบับที่ 2 พ.ศ. 2551 ในมาตรา 11/1 ที่เขียนไว้อ่านแล้วเหมือนจะเข้าใจได้ว่า นายจ้างต้องจัดให้พนักงานเหมาค่าแรงได้รับค่าจ้างและสวัสดิการเช่นเดียวกันกับพนักงานประจำ แต่จนถึงวันนี้ผ่านไปแล้วกว่าสี่ปีคุณภาพชีวิตของคนงานในระบบเหมาค่าแรงหรือลูกจ้างชั่วคราวก็ยังเป็นอยู่ไม่ได้แตกต่างหรือเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม มันเป็นเพราะอะไร? ยังเป็นคำถามที่ติดคาอยู่ในใจผมมาโดยตลอด ปัญหามันเป็นเพราะตัวกฏหมายหรือปัญหามันอยู่ที่การบังคับใช้กฏหมาย ก่อนที่จะมีการประกาศใช้กฏหมายฉบับนี้หลายฝ่ายมีการตื่นตัวเป็นอย่างมากโดยเฉพาะในส่วนของนายจ้างก็เป็นกังวลว่าจะทำให้ต้นทุนการผลิตของตนเองสูงขึ้นหรือเปล่าและถ้าเป็นเช่นนั้นจะจ้างพนักงานเหมาค่าแรงไปทำไม
 
ในส่วนของลูกจ้างเหมาค่าแรงเองก็มีการคิดว่าจะมีอะไรบ้างที่เขาจะได้รับเช่นเดียวกับพนักงานประจำ และมีการคิดฝันเฟื่องไปว่าแล้วคนงานในระบบเหมาค่าแรงสามารถเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานในสถานประกอบการที่ตนเองทำงานได้หรือไม่ แต่จนถึงวันนี้อย่างที่ได้บอกไปแล้วว่าก่อนแก้ไขกฏหมายเป็นอย่างไรวันนี้ก็ยังเป็นอย่างนั้น สรุปว่าคนงานในระบบเหมาค่าแรงฝันสะลาย มันเกิดขึ้นได้อย่างไร? แล้วเราจะแก้ไขกันอย่างไร? เคยมีพนักงานในระบบเหมาค่าแรงหลายแห่งตั้งสหภาพแรงงานขึ้นมาแต่สุดท้ายไม่สามารถรักษาองค์กรไว้ได้เนื่องจากนายจ้างได้เปลี่ยนตัวปิดกิจการหนีไปเปิดเป็นนิติบุคคลใหม่แล้วเลิกจ้างพนักงานที่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานทั้งหมด หรือบางแห่งมีความพยายามที่จะให้ได้รับค่าจ้างและสวัสดิการเช่นเดียวกับพนักงานประจำได้มีการรวมตัวกันใช้สิทธิ์ตามกฏหมายยื่นข้อเรียกร้องเพื่อให้ตนเองและเพื่อนพนักงานเหมาค่าแรงได้รับค่าจ้างและสวัสดิการที่ดีขึ้น แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จมากนักเนื่องจากขาดการสนับสนุนจากเพื่อนร่วมงานและที่สำคัญคือความมั่นคงในการทำงานไม่มี เมื่อมีการรวมตัวกันของคนงานเหมาค่าแรงถ้าไม่ถูกเลิกจ้างก็จะถูกย้ายสถานที่ทำงานจากสถานประกอบการที่อยู่แห่งหนึ่งไปอีกสถานประกอบการอีกแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นการกลั่นแกล้งอย่างชัดเจนแต่หน่วยงานของรัฐก็ออกมาบอกว่า นายจ้างสามารถทำได้ จึงทำให้ลูกจ้างในระบบเหมาค่าแรงไม่กล้าจะออกมารวมตัวเพื่อต่อรองอย่างเป็นรูปกระธรรมอย่างชัดเจน แต่ลูกจ้างเองก็ไม่ได้หมดความพยายาม ได้มีสหภาพแรงงานหลายแห่งได้ยื่นข้อเรียกร้องในนามของสหภาพแรงงานต่อนายจ้างเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับพนักงานเหมาค่าแรงเหล่านั้น แต่นายจ้างก็จะอ้างว่า ไม่ใช่สภาพการจ้าง ไม่ยอมเจรจาด้วย
 
ฟังแล้วน่าจะเป็นเรื่องตลกแต่ขำไม่ออก ประเทศไทยอาจจะเป็นประเทศเดียวและเป็นประเทศแรกของโลกที่ลูกจ้างหรือสหภาพแรงงานออกมายื่นข้อเรียกร้องให้นายจ้างปฏิบัติตามกฏหมายคุ้มครองแรงงาน คือ ขอให้นายจ้างปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน มาตรา 11/1 วรรค 2 ให้ผู้ประกอบกิจการดำเนินการให้ลูกจ้างรับเหมาค่าแรงที่ทำงานในลักษณะเดียวกันกับลูกจ้างตามสัญญาจ้างโดยตรง ได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการที่เป็นธรรมโดยไม่เลือกปฏิบัติ กฏหมายนี้บังคับใช้ตั้งแต่เดือนกรกฏคม 2551 เป็นต้นมา ต้องย้ำอีกครั้งว่า สภาพการจ้างงานของคนงานเหมาค่าแรงยังไม่เปลี่ยนแปลงหรือแตกต่างไปจากเดิมเลยจนบัดนี้ และที่มันตลกแต่ขำไม่ออกคือลูกจ้างต้องมายื่นข้อเรียกร้องให้นายจ้างปฏิบัติตามกฏหมาย
 
วันนี้เรารู้แล้วว่าไม่มีใครหรือหน่วยงานใดที่จะเข้ามาให้ความช่วยเหลือและปกป้องสิทธิประโยชน์ของคนงานเหมาค่าแรงอย่างแท้จริง ฉะนั้นเราทุกคนที่อยู่ในโรงงานเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นแรงงานประเภทใด ลูกจ้างประจำของบริษัท ลูกจ้างชั่วคราว ลูกจ้างเหมาค่าแรง ลูกจ้างสัญญาจ้างมีกำหนดระยะเวลา หรือจะเรียกชื่อว่าอย่างไรก็แล้วแต่ เมื่อเราทำงานอยู่ในสถานประกอบการเดียวกันเราต้องร่วมมือและสามัคคีกัน รวมกลุ่มกันโดยการสมัครเข้าเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานที่มีอยู่ในสถานประกอบการที่เราทำงานอยู่ ที่ผ่านมาสหภาพแรงงานเองมักจะวิตกและไม่กล้ารับลูกจ้างเหล่านั้นเข้าเป็นสมาชิกของตนเองเพราะเกรงปัญหาข้อกฏหมาย แต่ถ้าทุกคนมองย้อนกลับไปอ่านรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 84 วรรค แรก บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการรวมกันเป็นสมาคม สหภาพ สหพันธ์ สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร องค์การเอกชน องค์การพัฒนาเอกชน หรือหมู่คณะอื่นฯ ดังนั้นสิทธิของลูกจ้างทุกคนจึงได้รับการรับรองจากรัฐธรรมนูญอย่างชัดเจน จึงไม่มีเหตุผลอื่นใดที่จะมาแยกพวกเราออกจากกันได้
 
เหตุผลที่ผมคิดว่า ทำไมลูกจ้างทุกคนต้องสมัครเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน เพราะว่า ณ วันนี้ สหภาพแรงงานยังเป็นองค์กรของชนชั้นของกรรมาชีพหรือเครื่องมือเพียงอันเดียวที่ลูกจ้างมีอยู่ ที่สามารถเป็นองค์กรนำในการรักษา และปกป้องสิทธิ์ รวมทั้งเรียกร้องสิทธิประโยชน์และความเป็นธรรมที่ลูกจ้างทุกคนพึงมีพึงได้อย่างเท่าเทียมกัน เมื่อทุกคนร่วมมือรวมพลังกันแล้วผมเชื่อว่าอำนาจในการต่อรองกับนายจ้าง หรือแม้แต่กับรัฐบาล มันจะเป็นรูปกระธรรมที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ วันนี้ถ้าเราไม่ลุกออกมารวมตัวกันในอนาคตเราจะถูกแบ่งแยกแล้วทำลาย ขบวนการแรงงานก็จะอ่อนแอลงไปเรื่อยๆ สุดท้ายเราก็จะเหลือเพียงเรื่องเล่าให้กับลูกหลานของเราฟังว่า กาลครั้งหนึ่งเราเคยมีสหภาพแรงงาน
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

คนร้ายบุกโชว์รูมฮอนด้าปัตตานีเผาวอด 15 คัน

Posted: 22 Aug 2012 06:01 AM PDT

จี้บังคับยามก่อนราดน้ำมันเผาทั้งรถใหม่รถเก่าวอด 15 คันรวด เจ้าหน้าที่เชื่อเป็นกลุ่มก่อเหตุรุนแรง ยามเผยนาทีระทึก คนร้ายใช้เวลาก่อเหตุไม่เกิน 12 นาที

เช้าวันที่ 22 สิงหาคม 2555 เจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบจุดเกิดเหตุคนร้ายลอบวางเพลิงเผารถยนต์ป้ายแดงภายในศูนย์บริการรถยนต์ฮอนด้า บริษัท ปัตตานี ฮอนด้าคาร์ส์ จากัด เลขที่ 295 หมู่ที่ 7 ต.ตุยง อ.หนองจิก จ.ปัตตานี ทำให้รถยนต์ภายในศูนย์ทั้งรถใหม่ และรถเก่า ได้รับความเสียหาย 15 คัน เหตุเกิดเมื่อเวลาประมาณ 02.00 น. เจ้าหน้าที่สามารถควบคุมเพลิงไว้ได้เวลาประมาณ 04.00 น.

ศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉิน กองอานวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า (กอ.รมน.ภาค 4 สน.) รายงานว่า คนร้ายมีประมาณ 10 – 12 คน มีทั้งอาวุธปืนสงคราม และอาวุธปืนพก ปีนกาแพงด้านหลังศูนย์บริการรถยนต์ฮอนด้า เข้ามาภายในศูนย์ แล้วบังคับให้เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย หมอบลงกับพื้น แล้วเข้าไปทุบกระจกรถยนต์ และราดน้ำมันวางเพลิง ทาให้รถได้รับความเสียหาย 15 คัน หลังก่อเหตุคนร้ายได้หลบหนีไปทางด้านหลังของศูนย์บริการรถยนต์ฮอนด้า

ในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน คนร้ายไม่ทราบจำนวน ลอบวางเพลิงเสาสัญญาณโทรศัพท์ เอไอเอส ได้รับความเสียหาย 1 ต้น บริเวณบ้านคลองวัว หมู่ที่ 5 ต.ดอนรัก อ.หนองจิก จ.ปัตตานี เจ้าหน้าที่เชื่อว่า ทั้งสองเหตุการณ์เป็นการกระทำของกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรง

นายรอนิง มะเซ็ง ยามประจำศูนย์บริการรถยนต์ฮอนด้า บริษัท ปัตตานี ฮอนด้าคาร์ส์ จากัด ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในคืนเกิดเหตุ เปิดเผยว่า ตนทำงานมาที่นี่ 15 ปีแล้ว ขณะเกิดเหตุตนเห็นคนร้ายประมาณ 10 คน พร้อมอาวุธปืนยาวสวมหมวกไหมพรมปิดหน้า ปีนกำแพงเข้ามาหมายจะเผารถยนต์ใหม่และรถทดลองขับที่จดอยู่ในโรงรถเก็บรถด้านหลังศูนย์บริการ เนื่องจากมีแสงสว่างจากไฟด้านหลังอาคาร

นายรอนิง เปิดเผยต่อไปว่า ขณะนั้นมียามรักษาความปลอดภัยอยู่ 3 คน จากทั้งหมด 7 คน โดย 2 คนแรกเฝ้าอยู่ที่ป้อมด้านหน้าเป็นคนพุทธ ส่วนอีกหนึ่งคนคือตนเอง ขณะนั้นนั่งเฝ้ายามอยู่ข้างหลังศูนย์บริเวณที่เป็นห้องละหมาดซึ่งอยู่ใกล้โรงเก็บรถที่ถูกเผา

“ผมเห็นคนร้ายทุบกระจกรถทีละคันจนกระทั่งใกล้มาถึงคันที่ผมนั่งเฝ้ายามอยู่ ผมจึงหลบเข้าอยู่หลังห้องละหมาดโดยที่คนร้ายไม่เห็นผม แล้วราดน้ำมันจุดไฟเผา หลังจากนั้น มีคนร้าย 4 – 5 คน เดินไปที่ป้อมยามข้างหน้าแล้วใช้ปืนจี้ยาม 2 คน พร้อมสั่งเป็นภาษามลายูว่า บอเกาะ แปลว่า หมอบ พร้อมกับยึดโทรศัพท์ที่ยามคนหนึ่งถืออยู่ขว้างทิ้งไปหลังกำแพง ปฏิบัติการทั้งหมดคนร้ายใช้เวลาก่อเหตุไม่เกิน 12 นาที จากนั้นผมได้ยินเสียงระเบิดและเสียงกระจกแตก ก่อนจะล่าถอยออกไป” นายรอนิง กล่าว

 

รายงานความเคลื่อนไหวภายใน กสม. เส้นทางวิบากก่อนได้ตัวรองเลขาธิการสำนักงาน

Posted: 22 Aug 2012 04:37 AM PDT

ไม่เพียงถูกจับตาจากสังคมภายนอกถึงการปฏิบัติหน้าที่และความคืบหน้าในกรณีที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่างๆ รวมถึงรายงานสลายการชุมนุมเม.ย.-พ.ค. 2553 ที่ยังไม่นำเสนอต่อสาธารณะ แต่ภายในองค์กรเอง กสม. ชุดนี้ก็ถูกตรวจสอบหนักไม่แพ้กัน

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ชุดนี้ ถูกจับตาจากสังคมถึงการปฏิบัติหน้าที่และความคืบหน้าในกรณีต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่กำลังเป็นกระแสขณะนี้หนีไม่พ้นรายงานการสลายการชุมนุมเม.ย.-พ.ค. 2553 ซึ่งจนบัดนี้ยังไม่มีการเสนอต่อสาธารณะ ขณะที่ร่างฯ ฉบับแรกนั้นหลุดออกมาเมื่อเดือนกรกฎาคมปีที่แล้ว และถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักจนกระทั่งเก็บเข้าลิ้นชักไปขัดเกลากันใหม่

ปมแต่งดำ ค้านตั้งรักษาการรองเลขาฯ
ขณะที่สังคมภายนอกจับตาการทำงานของกสม. ภายในสำนักงานเองก็มีความเคลื่อนไหวร้อนแรงไม่แพ้กัน โดยเมื่อวันที่ 2 ก.ค. ที่ผ่านมา ข่าวสดรายงานอย่างละเอียดว่าข้าราชการและพนักงานในสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน แห่งชาติ(กสม.) ได้พากันแต่งชุดดำเพื่อประท้วงกรณีนายวีรวิทย์ วีรวรวิทย์ รองเลขาธิการ กสม. รักษาราชการแทนเลขาธิการ กสม. ลงนามคำสั่งเมื่อวันที่ 27 มิ.ย. แต่งตั้งนายโสภณธีณ์ ตะติโชติพันธุ์ ผอ.สำนักวินิจฉัยและคดี เป็น รรท.รองเลขาฯ (รักษาราชการแทน) แทนนายประนูญ สุวรรณภักดี รองเลขาฯ ที่ป่วยจนปฏิบัติหน้าที่ไม่ได้ (เสียชีวิตแล้วด้วยโรคมะเร็งเมื่อวันที่ 15 ส.ค. ที่ผ่านมา โดยจะมีการพระราชทานเพลิงศพในวันพรุ่งนี้ 23 ส.ค.)

จากการรายงานของข่าวสด ระบุว่าข้าราชการและพนักงาน เห็นว่านายโสภณธีณ์ ขณะเป็นที่ปรึกษาประจำสำนักงาน ระดับ 9 เมื่อ พ.ศ. 2552 ทางสำนักงานเคยมีคำสั่งลงโทษไล่ออกจากราชการฐานกระทำผิดวินัยร้ายแรง และขณะนี้มีการร้องเรียนต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) โดยเรื่องอยู่ระหว่างพิจารณา จึงไม่เหมาะสมจะดำรงตำแหน่งดังกล่าว

นอกจากนี้ ยังเห็นว่าคำสั่งแต่งตั้งรรท.รองเลขาฯ ผู้มีอำนาจลงนามควรเป็นประธานกสม. ไม่ใช่รรท.เลขาฯ อีกทั้งเมื่อได้รับแต่งตั้งเป็นรรท.รองเลขาฯแล้ว ระหว่างที่นายวีรวิทย์ ไปปฏิบัติภารกิจต่างจังหวัดวันที่ 28-30 มิ.ย. นายโสภณธีณ์ ยังมีหนังสือที่ สม. 001/ว1251 ลงวันที่ 28 มิ.ย. เวียนถึงหน่วยงานต่างๆ แจ้งว่าตนเองเป็นรรท.เลขาฯ ถือเป็นการลงนามแต่งตั้งตนเองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

ข้าราชการที่ไม่เห็นด้วยกับคำสั่งดังกล่าวได้ลงความเห็นว่าจะแสดงออกเชิงสัญลักษณ์โดยแต่งชุดดำเป็นเวลา 1 สัปดาห์ ความคืบหน้าจากการประท้วงในครั้งนั้น ทำให้มีการเปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่ในสำนักงานฯ ได้เข้าฟังการแสดงวิสัยทัศน์ ของผู้เข้าสมัครชิงตำแหน่งรองเลขาธิการ ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น 8 คนจากเจ้าหน้าที่ระดับ 9 (ซี 9) ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ระดับบริหารในวันที่ 15 สิงหาคมที่ผ่านมา โดยเจ้าหน้าที่ได้ร่วมกันลงคะแนนเพื่อสะท้อนความคิดเห็นว่า ผู้สมัครคนใดที่ขาดคุณสมบัติในการดำรงตำแหน่งมากที่สุด มีเจ้าหน้าที่ร่วมลงคะแนนราว 90 คน แน่นอนว่าผลออกมาเป็นไปในทิศทางเดียวกับกระแสการแต่งดำประท้วง คือมีผู้ลงคะแนนว่านายโสภณธีร์ ไม่เหมาะที่จะดำรงตำแหน่งดังกล่าว 78 คน

ประชาธิปไตยในสำนักงาน ที่แลกกับความล่าช้า
โครงสร้างการบริหารของสำนักงาน กสม. นั้น ผู้บริหารสูงสุดคือ เลขาธิการสำนักงาน และกำหนดให้มีรองเลขาธิการ 3 ตำแหน่ง แต่ที่เป็นอยู่ขณะนี้ คือ มีนายวีรวิทย์ วีรวรวิทย์รองเลขาธิการ รักษาราชการแทน เลขาธิการคณะกรรมการสิทธิ ขณะที่ รองเลขาฯ นั้น เดิมมีนายวีรวิทย์ และนายประนูญ ดำรงตำแหน่ง ขณะที่ตำแหน่งที่ 3 นั้นว่างเว้นไว้

กสม. ซึ่งมีหน้าที่คัดเลือกและเสนอชื่อบุคคลขึ้นดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการ ได้ประชุมมีมติเห็นชอบบุคคลที่เหมาะสม วันนี้ (22 ส.ค.)ได้รายชื่อคือนาย ขรรค์ชัย คงเสน่ห์ ผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานทั่วไป สำนักบริหารกลาง

แต่เส้นทางของผู้บริหารสำนักงานนี้ไม่ได้มาโดยง่าย และเส้นทางต่อไปก็คงจะน่าจับตาไม่น้อยเช่นกัน นอกเหนือจากประเด็นแต่งดำประท้วงโดยเจ้าหน้าที่แล้ว ในส่วนของกรรมการฯ เอง กสม. ไม่ได้เพิ่งประชุมสรรหาบุคคลที่มีคุณสมบัติครบถ้วนและเหมาะสมเป็นครั้งแรก ก่อนหน้านี้ในวันจันทร์ที่ผ่านมา ก็มีการพยายามจะสรรหากันไปครั้งหนึ่งแล้วในที่ประชุมของกสม. แต่เนื่องจากกสม. รายหนึ่ง มีอาการป่วยปุบปับ บุคลิกภาพเปลี่ยนไปชั่วขณะ (ภาษาชาวบ้านเรียกว่า “ผีเข้า”) เป็นเวลาหลายนาที ทำให้ที่สุดแล้วต้องเลื่อนการประชุมออกไป และมามีมติได้ในวันนี้ (22 ส.ค.)

มองในแง่ดี พิจารณากันเฉพาะประเด็นแต่งตั้งรองเลขาธิการสำนักงานนั้น ความวุ่นวายที่เกิดขึ้น และแรงกระเพื่อมในการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสำนักงานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติซึ่งชื่อบอกหน้าที่ชัดเจนถึงหน้าที่ของสำนักงานแห่งนี้ ต้องเรียกได้ว่า อย่างน้อยที่สุดก็เป็นสำนักงานที่เปิดโอกาสการมีส่วนร่วมจากเจ้าหน้าที่ ผู้ปฏิบัติงาน และมีการตรวจสอบกันภายในองค์กร เมื่อได้รายชื่อผู้ที่จะดำรงตำแหน่งมาแล้ว ก็ต้องดูกันต่อไปว่า ว่าที่รองเลขาฯ นี้จะทำงานเข้าตาเจ้าหน้าที่หรือไม่ ถ้าไม่จะมีกระบวนการตรวจสอบอะไรกันต่อไปอีกหรือไม่

 

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ศาลถอนประกัน เจ๋ง ดอกจิก-จตุพรรอด แม้พูดรุนแรงยังถือได้ว่าวิจารณ์

Posted: 22 Aug 2012 04:16 AM PDT

22 ส.ค.55 ศาลอาญานัดสอบถามนายจตุพร พรหมพันธ์ แกนนำ นปช. จำเลยที่ 2 ในคดีร่วมกันกับพวก 19 คนก่อการร้าย กรณีที่นายเชาวนะ ไตรมาศ เลขาธิการศาลรัฐธรรมนูญ และนายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ส.ส.พัทลุง พรรคประชาธิปัตย์ ได้ยื่นคำร้องต่อศาลอาญาเพื่อให้มีคำสั่งเพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราว พร้อมด้วยนายวริศ ชูกล่อม หรือเจ๋ง ดอกจิก ซึ่งเป็นเลขานุการ รมช.มหาดไทย และนายก่อแก้ว พิกุลทอง ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย กรณีมีพฤติการณ์เข้าข่ายผิดเงื่อนไขให้ประกันตัว โดยขึ้นเวทีปราศรัยที่หน้ารัฐสภา กล่าวโจมตีพาดพิง ข่มขู่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่รับคำร้องให้วินิจฉัยร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 ม.291 ขัด ม.68 ของรัฐธรรมนูญเป็นการล้มล้างการปกครองหรือไม่

ในช่วงเช้าก่อนเข้าเบิกความต่อศาล เจ๋งให้สัมภาษณ์ว่า เตรียมทั้งพยานบุคลและเอกสารเพิ่มเติมมามอบให้ศาล โดยพยานบุคลนั้น ได้แก่ นายเหวง โตจิราการ,พ.ต.อ.ไกรเลิศ บัวแก้ว รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (รองผบช.น. 1) , นายฐานิต เทียนทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย, นายจริน สวนแก้ว ประธานมูลนิธิ 5 ธันวาเป็นพยานเพิ่มเติม 

นายยศวริศ กล่าวว่า ในส่วนของเจ้าหน้าที่ตำรวจจะยืนยันว่าตนไม่มีเจตนายุยงปลุกปั่น หรือคุกคามตุลาการ และยังได้ขึ้นเวทีห้ามปรามประชาชน ส่วน รมช.มหาดไทยจะยืนยันถึงพฤติกรรมเรื่องการทำงานของตนว่าเป็นอย่างไร ส่วนนายจรินนั้นจะยืนยันว่าตนได้ทำงานเพื่อสถาบัน อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่าไม่มีเจตนายุยงปลุกปั่น และมั่นใจในความยุติธรรมของศาลจึงไม่กังวลอะไร เพราะตนมีเจตนาที่ชัดเจน แต่คำวินิจฉัยจะออกมาเป็นอย่างไรก็ยอมรับ 

ภายหลังการไต่สวนกว่า 2 ชั่วศาลอาญามีคำสั่งถอนประกันและให้คุมตัวนายยศวริศ โดยให้เหตุผลว่าเข้าข่ายยั่วยุปลุกปั่น ขณะที่แกนนำนปช.ที่เหลือ 18 คน ปล่อยตัวชั่วคราว 

โดยศาลอาญาได้อ่านเหตุผลว่า กรณีนายจตุพรนั้นศาลได้ดูเอกสารประกอบกับของเลขาสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ โดยข้อเท็จจริงว่านายจุตุพรนั้นได้ปราศรัยแล้วคำกล่าวปราศรัยเป็นคำเสียดสี ประชดประชัน ไม่พอใจ และปราศรัยด้วยถ้อยคำไม่สุภาพหยาบคาย แต่ไม่มีคำใดที่กระทบต่อการดูหมิ่น เหยียดหยาม การกระทำของนายจตุพรยังฟังได้ว่าเป็นคำวิจารณ์ที่รุนแรงไปบ้าง แต่ยังไม่ถือว่าทำการใดกระทบต่อความเดือดร้อนที่จะกระทบต่อการปล่อยตัวชั่วคราว จึงยังไม่เห็นเหตุผลอันสมควรให้ยกคำร้องของเลขาฯ ศาลรัฐธรรมนูญ

ส่วนกรณีของนายวริศนั้น ศาลฟังข้อเท็จจริงได้ว่านายวริศขึ้นปราศรัยหน้ารัฐสภาซึ่งจำเลยไม่ได้ปฏิเสธ และเห็นว่าพูดด้วยความสนุกสนานและชวนให้ขบขัน โดยเจตนาของนายวริศมีการชี้นำให้ผู้ฟังรู้สึกดูหมิ่นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ก่อนจะมีการนำข้อมูลส่วนบุคคลของตุลาการรัฐธรรมนูญและครอบครัวมาเปิดเผยในเวลาไล่เลี่ยกัน และยังมีตอนหนึ่งว่า “ให้แวะเวียนไปเยี่ยม เอาดอกไม้ไปเยี่ยม โทรศัพท์ไปคุยและให้ไปจัดการ” อันเป็นการพูดที่อาจทำให้ผู้ฟังที่กำลังอยู่ในอารมณ์ที่เกลียดชังตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เข้าใจได้ว่านายวริศประสงค์จะให้มีการก่อความวุ่นวาย สร้างความเดือดร้อนรำคาญหรือกระทำการอันตรายต่อตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและครอบครัว และถือได้ว่าเป็นการคุกคามกดดันแก่บุคคลที่ถูกกล่าวอ้าง อีกทั้งเป็นการกดดันการทำหน้าที่ของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญด้วย ซึ่งการนำข้อมูลส่วนตัวของบุคคลอื่นมาเปิดเผยโดยไม่มีเหตุจำเลยก็ไม่ใช่วิสัยปกติของบุคคลทั่วไป แม้ภายหลังจะขอโทษก็ไม่อาจทำให้พ้นความผิด ทำให้ผิดเขื่อนไขการประกัน ส่วนที่อ้างว่าระลึกได้ในภายหลังจึงขอโทษ แต่นายวริศไร้ความช่างใจ จึงไม่แน่ว่าถ้าปล่อยตัวชั่วคราวอีกต่อไปแล้วจะทำเหตุการณ์ใดอีก และถ้อยคำดังกล่าวยังไปละเมิดผู้อื่นด้วย ทั้งยังเป็นการยั่วยุ จึงถือได้ว่าเป็นการกระทำผิดเขื่อนไขตามที่กำหนดไว้ จึงมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งปล่อยตัวชั่วคราว

เวลา 16.00 น. เจ้าหน้าที่ได้นำตัวนายยศวริศไปยังเรือนจำพิเศษกรุงเทพ  โดยรถตู้ของกรมราชทัณฑ์ ซึ่งนำขบวนด้วยรถเก๋งและรถมอเตอร์ไซค์ของกองปราบปราม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และมีรถกระบะซึ่งบรรทุกเจ้าหน้าที่พร้อมอาวุธเพื่อรักษาความปลอดภัย และปิดท้ายขบวนด้วยรถตำรวจกองปราบอีกเช่นกัน

นายวิญญัติ ชาติมนตรี ทนายความของนายยศวริศเปิดเผยว่าพร้อมยื่นขอประกันตัวใหม่ในทันที โดยใช้เงินสดสองล้านบาทเป็นหลักประกัน  ส่วนแกนนำ น.ป.ช. 5 คนที่เป็น ส.ส.  ยังคงใช้แนวทางเดิม ยันไม่กระทำการละเมิดกฎหมาย

อย่างไรก็ตาม หลังจากแกนนำ นปช.ได้หารือกัน นายวิญญัติระบุว่า  ไม่สามารถยื่นประกันตัวได้ทันวันนี้  โดยต้องรอคำสั่ง รวมทั้งหาลักฐานใหม่เพื่อยื่นประกันตัว และจะหาคนในรัฐบาล รัฐมนตรี  และ หัวหน้าพรรคมารับรองพฤติกรรม

เรียบเรียงจาก เว็บไซต์ไทยรัฐ เว็บไซต์เดลินิวส์ เว็บไซต์คมชัดลึก

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ศาลปกครองเพิกถอนคำสั่งย้ายหมู่บ้านม้งแม่ตะละ

Posted: 22 Aug 2012 01:32 AM PDT

ชาวม้งบ้านแม่ตะละ เฮ ศาลปกครองเชียงใหม่ สั่งถอนประกาศและให้ยกเลิกแนวเขต พร้อมให้มีการประกาศปักแนวเขตใหม่ใน 180 วัน

ตามที่ เมื่อวัน 27เม.ย.2555 ที่ผ่านมา ชาวบ้านแม่ตะละ ต.ยั้งเมิน อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ กว่า 200 คน ได้เข้ายื่นฟ้องต่อศาลปกครองเชียงใหม่ หลังถูกแจ้งย้ายและจำหน่ายทะเบียนเพื่ออพยพชาวบ้าน หมู่ที่6 ต.ยั้งเมิน อ.สะเมิง ไปรวมกับหมู่ที่ 7 ต.แม่แดดอ.กัลยาณิวัฒนา จ.เชียงใหม่ ซึ่งเป็นอำเภอที่เพิ่งตั้งขึ้นใหม่นั้น

สาเหตุที่ชาวบ้านแม่ตะละ ต้องรวมตัวกันฟ้องคดีดังกล่าว เนื่องจากชาวบ้านแม่ตะละ หมู่ที่ 6 ตำบลยั้งเมิน อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นชาวไทยภูเขาเผ่าม้ง เป็นผู้เดือดร้อนเสียหายหรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้ จากการที่ผู้ฟ้องคดีทั้งหมดรวมทั้งราษฎรหมู่ที่ 6 จำนวน 43 หลังคาเรือน รวม 354 คน  ถูกแจ้งย้ายรายการบุคคลในทะเบียนเข้าทะเบียนบ้านกลางและจำหน่ายทะเบียนบ้าน ซึ่งมีผลให้ผู้ฟ้องคดีทั้งหมดและราษฎรหมู่ที่ 6 ทั้งหมดถูกระงับการเคลื่อนไหวทางทะเบียน ไม่สามารถทำบัตรประชาชน และทำการแจ้งย้ายปลายทางได้ โดยอ้างเหตุผลว่า เนื่องจากได้มีการจัดตั้งอำเภอกัลยาณิวัฒนา และได้มีการจัดทำแนวเขตใหม่ ทำให้หมู่บ้านแม่ตะละต้องยุบและย้ายไปรวมกับหมู่ที่ 7 ตำบลแม่แดด อำเภอกัลยาณิวัฒนา

ต่อมานายอำเภอสะเมิง ได้ทำหนังสือถึงนายกองค์การบริหารส่วนตำบลยั้งเมิน เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2554 เรื่องการแจ้งย้ายรายการบุคคลในทะเบียนบ้านเข้าทะเบียนบ้านกลางของสำนักทะเบียนอำเภอสะเมิงและจำหน่ายทะเบียนบ้าน โดยระบุว่าได้ดำเนินการแจ้งย้ายราษฎรหมู่ที่ 6 ตำบลยั้งเมิน จำนวน 354 คน และจำหน่ายรายการบ้าน จำนวน 43 หลังคาเรือน เสร็จเรียบร้อยแล้ว ซึ่งมีผลให้ราษฎรจำนวน 354 คน ดังกล่าว ถูกระงับการเคลื่อนไหวทางทะเบียน ไม่สามารถจัดทำบัตรประจำตัวประชาชน และทำการแจ้งย้ายปลายทางได้ รายละเอียดปรากฏตามหนังสือที่ ชม 0817/3152 ลงวันที่ 9 ธันวาคม 2554

นั่นทำให้ชาวบ้านไม่ได้รับความเป็นธรรมดังกล่าว จึงตัดสินใจใช้กระบวนการต่อสู้ ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองเชียงใหม่ เพื่อขอให้ศาลมีคำพิพากษา ดังนี้

  1.  ขอให้เพิกถอนประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ลงวันที่ 29 พฤษภาคม 2540 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 114 ตอนพิเศษ 66 ง ลงวันที่ 30 กรกฎาคม 2540 ในข้อ 5 หน้า 169 และ 170 ในส่วนของการกำหนดเขตตำบลยั้งเมิน ด้านทิศใต้และทิศตะวันตก
  2. ขอให้เพิกถอนประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ลงวันที่ 29 พฤษภาคม 2540 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 114 ตอนพิเศษ 66 ง ลงวันที่ 30 กรกฎาคม 2540
  3. ให้ดำเนินการจัดทำแนวเขตปกครองขึ้นใหม่ให้ถูกต้อง โดยให้สำรวจและทำแนวเขตให้ชุมชนและบ้านเรือนของผู้ฟ้องคดีทั้งหมดรวมทั้งราษฎรจำนวน 43 หลังคาเรือน 354 คน ของหมู่บ้านแม่ตะละ หมู่ที่ 6 ให้อยู่ในเขตตำบลยั้งเมิน อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ และออกเป็นประกาศกระทรวงมหาดไทย
  4. ให้เพิกถอนประกาศสำนักทะเบียนอำเภอสะเมิง เรื่องการแจ้งย้ายและจำหน่ายทะเบียน เพื่ออพยพราษฎร หมู่ที่ 6 ตำบลยั้งเมิน อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ไปรวมกับ หมู่ที่ 7 ตำบลแม่แดด อำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ ประกาศ ณ วันที่ 21 กันยายน 2554
  5. เพิกถอนคำสั่งของนายทะเบียนอำเภอสะเมิงที่มีคำสั่งแจ้งย้ายรายการบุคคลในทะเบียนบ้านของผู้ฟ้องคดีทั้งหมดและราษฎรที่เหลือของหมู่ที่ 6 ทั้งหมดเข้าทะเบียนบ้านกลางของสำนักทะเบียนอำเภอสะเมิงและเพิกถอนคำสั่งจำหน่ายทะเบียนบ้านของผู้ฟ้องคดีทั้งหมดและราษฎรที่เหลือของหมู่ที่ 6 ด้วย

ล่าสุด เมื่อเวลา 10.00 น. ของวันที่ 22 สิงหาคม 2555 ที่ศาลปกครองจังหวัดเชียงใหม่ ศาลปกครองจังหวัดเชียงใหม่ได้มีคำพิพากษา สั่งให้เพิกถอนประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ลงวันที่ 29 พฤษภาคม 2540 และขอให้เพิกถอนประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ลงวันที่ 29 พฤษภาคม 2540

และมีคำสั่งให้เพิกถอนประกาศสำนักทะเบียนอำเภอสะเมิง เรื่องการแจ้งย้ายและจำหน่ายทะเบียน เพื่ออพยพราษฎร หมู่ที่ 6 ตำบลยั้งเมิน อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ไปรวมกับ หมู่ที่ 7 ตำบลแม่แดด อำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ ประกาศ ณ วันที่ 21 กันยายน 2554

นอกจากนั้น ศาลปกครองจังหวัดเชียงใหม่ ยังมีคำสั่งให้ดำเนินการจัดทำแนวเขตปกครองขึ้นใหม่ให้ถูกต้อง โดยให้สำรวจและทำแนวเขตให้ชุมชนและบ้านเรือนของผู้ฟ้องคดีทั้งหมดรวมทั้งราษฎรจำนวน 43 หลังคาเรือน 354 คน ของหมู่บ้านแม่ตะละ หมู่ที่ 6 ให้อยู่ในเขตตำบลยั้งเมิน อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ เหมือนเดิม

นายสุมิตร วอพะพอ ผู้ประสานงานเครือข่ายพิทักษ์สิทธิมนุษยชนชาติพันธุ์ ได้กล่าวภายหลังสิ้นคำพิพากษาคดี ว่า นอกจากศาลปกครองจังหวัดเชียงใหม่จะมีคำพิพากษาให้ยกเลิกประกาศคำสั่งทั้งหมดแล้ว ศาลปกครองยังมีคำพิพากษาให้มีการดำเนินการจัดทำแนวเขตปกครองขึ้นใหม่ให้ถูกต้อง พร้อมสั่งให้มีการประกาศปักแนวเขตใหม่ภายหลังคำพิพากษาภายใน 180 วัน

“ผลคำพิพากษาในวันนี้ ถือว่าเป็นชัยชนะของชาวบ้านแม่ตะละ ที่ได้ตัดสินใจใช้สิทธิในกระบวนการต่อสู้ ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองเชียงใหม่ จนทำให้ชาวบ้านแม่ตะละ ไม่ต้องถูกเพิกถอนหรือเคลื่อนย้าย เพราะนี่เป็นเรื่องของสิทธิขั้นพื้นฐานของพี่น้องม้งแม่ตะละทุกคน”

ทั้งนี้ ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้านแม่ตะละ  ชาวบ้านทั้งหมดเป็นราษฎรกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง มีสัญชาติไทย โดยถูกต้องตามกฎหมาย นับถือศาสนาดั้งเดิม(วิญญาณบรรพบุรุษ) และศาสนาพุทธ หมู่บ้านแม่ตะละตั้งเป็นชุมชนมาตั้งแต่ก่อนปีพ.ศ.2500 โดยตั้งชุมชนอยู่ห่างจากบริเวณที่ตั้งปัจจุบันไปทางทิศเหนือประมาณ 3 – 5 กิโลเมตร ในขณะนั้นในหมู่บ้านมีจำนวนประชากรอยู่ประมาณ 20 หลังคาเรือน จำนวนประชากรทั้งสิ้นประมาณ 120  คน โดยมีผู้ใหญ่บ้านคนแรกคือ นายสุ  แซ่ย่าง และนายวิชัย  แซ่ย่างเป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน  ทั้งสองเป็นผู้นำชุมชนในสมัยนั้น  ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก เช่น ปลูกสตรอเบอร์รี่ กะหล่ำ พืชผักเมืองหนาวต่าง ๆ ซึ่งเป็นอาชีพที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนานตั้งแต่บรรพบุรุษ  โดยเป็นวิถีชีวิตดั้งเดิมของชุมชนซึ่งเป็นการสอดคล้องกับวิถีชนบท  เนื่องจากพื้นที่ในตำบลยั้งเมิน อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นพื้นที่เขตภูเขา  

ต่อมาในชุมชนแม่ตะละมีปัญหาการขาดแคลนเรื่องน้ำดื่มน้ำที่ใช้บริโภคและมีขบวนการของพรรคคอมมิวนิสต์เข้ามาชักชวนผู้นำชุมชวนเข้าร่วมขบวนการและทำร้ายขมขู่คุกคาม ชิงทรัพย์สินและฆ่าสัตว์เลี้ยงของชาวบ้านไปกิน ทำให้ชาวบ้านกลัว ผู้นำชุมชนสมัยนั้นคือนายแถะ  แซ่ย่าง(ปู่ก้างสุ) เป็นผู้นำชาวบ้านอพยพย้ายมาอาศัยอยู่บริเวณที่ตั้งปัจจุบัน ในปี พ.ศ. 2514 อาศัยอยู่เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน  มีผู้นำชุมชนที่ดำรงตำแหน่งทั้งไม่เป็นทางการและเป็นทางการรวมทั้งหมด 7 คน

ในปี พ.ศ. 2521 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จมาเยี่ยมเยียนหมู่บ้านแม่ตะละ หมู่ที่  6 นายเเถะ แซ่ย่างหรือนายวิชัย  พนาสันติกุลผู้ใหญ่บ้านในขณะนั้นได้เข้าเฝ้าเสด็จและได้ทูลเกล้าถวายประวัติหมู่บ้านให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทราบ และทรงพระราชทานน้ำประปาภูเขาสายแรกให้  ซึ่งใช้มาจนถึงปัจจุบันนี้  และพระองค์ยังรับสั่งต่อนายเถะ แซ่ย่าง หรือนายวิชัย  พนาสันติกุล ผู้ใหญ่บ้านว่าชาวบ้านม้งแม่ตะละหมู่ที่ 6 ไม่ต้องอพยพไปไหนแล้ว

           

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ชำนาญ จันทร์เรือง: กรณี 98 ศพ จะเอาผิดเฉพาะผู้สั่งการไม่ได้

Posted: 22 Aug 2012 01:14 AM PDT

"อย่ากลัวทหารจนอุจจาระขึ้นสมอง และอย่าเล่นการเมืองจนลืมหลักการทางกฎหมาย เสียชื่อที่เคยเป็นอดีตทหารเก่าและเป็นนักกฎหมายในระดับปริญญาเอก"

ผมไม่เห็นด้วยกับคุณเฉลิม อยู่บำรุง ที่ให้สัมภาษณ์ว่าคดีชันสูตรพลิกศพที่ บชน.เป็นผู้รับผิดชอบ และสิ่งที่ดีเอสไอทำ เป็นไปตามที่มีคนมาร้องทุกข์ว่าให้ดำเนินการกับผู้สั่งการ ไม่ได้ร้องให้ดำเนินคดีกับผู้ปฏิบัติ ส่วนคดีอื่นๆ หากจะให้ดำเนินการ ก็ต้องมีคนมาร้องทุกข์ก่อน

"ผบ.ทบ.ทราบ และเข้าใจดีว่าเราไม่มีเจตนาที่จะไปทำร้ายทำลายกองทัพ ฝากบอกพรรคประชาธิปัตย์ ว่าถ้ามีวิธีคิดดีๆ ว่าจะสั่งดีเอสไอเช็กบิลพรรคประชาธิปัตย์ได้ ช่วยแนะนำผมหน่อยจะได้ฉลองศรัทธา เพราะมันทำไม่ได้ ถ้าไม่ผิดก็คือไม่ผิด และทหารตำรวจไม่เกี่ยวข้อง คนที่สั่งการต้องรับผิดชอบ และผมได้กำชับ ผบช.น.ไปแล้วว่าให้ทำงานไปตามหลักฐาน และอย่าให้สัมภาษณ์” ร.ต.อ.เฉลิมกล่าว(http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROd01ERXdNakUzTURnMU5RPT0=&sectionid=TURNd01RPT0=&day=TWpBeE1pMHdPQzB4Tnc9PQ==)

ผมไม่แปลกใจในการให้สัมภาษณ์ของคุณเฉลิมที่ออกมาในลักษณะนี้ เพราะประสบการณ์ในอดีตของคุณเฉลิมที่ได้เคยอพยพหลบหนีภัยอย่างหัวซุกหัวซุนจากการปฏิวัติรัฐประหารโดยทหารในอดีตมาแล้ว

แต่ทว่าบัดนี้สถานการณ์เปลี่ยน เวลาเปลี่ยน ข้อเท็จจริงเปลี่ยน ที่สำคัญก็คือผมไม่เชื่อว่าทหารจะลากรถถังมาปฏิวัติรัฐประหารอีกโดยไม่ถูกต่อต้านจากประชาชน

การให้สัมภาษณ์ของคุณเฉลิมในลักษณะนี้ทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่ากรณี 98 ศพนี้จะเอาผิดได้เฉพาะ ผู้สั่งการซึ่งเป็นฝ่ายการเมืองซึ่งหมายถึงคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะในฐานะอดีตนายกรัฐมนตรีและคุณสุเทพ เทือกสุบรรณในฐานะผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินหรือ ศอฉ. นั้น ไม่เป็นความจริง ไม่ว่าจะเป็นด้วยประเด็นข้อกฎหมายหรือข้อเท็จจริง

จริงอยู่ในกรณีนี้ผู้สั่งการต้องรับผิดชอบอย่างแน่นอนและหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ผู้ปฏิบัติก็ต้องรับผิดชอบด้วย เพราะมาตรา 17 ของ พรก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 บัญญัติไว้ว่า

“มาตรา 17 พนักงานเจ้าหน้าที่และผู้มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชกำหนดนี้ไม่ต้องรับผิดทั้งทางแพ่ง ทางอาญา หรือทางวินัย เนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ในการระงับหรือป้องกันการกระทำผิดกฎหมาย หากเป็นการกระทำที่สุจริต ไม่เลือกปฏิบัติ และไม่เกินสมควรแก่เหตุหรือไม่เกินกว่ากรณีจำเป็น แต่ไม่ตัดสิทธิผู้ได้รับความเสียหายที่จะเรียกร้องค่าเสียหายจากทางราชการตามกฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่”

ซึ่งก็แสดงให้เห็นว่าการคุ้มครองนั้นจะคุ้มครองเฉพาะ “หากเป็นการกระทำที่สุจริต ไม่เลือกปฏิบัติ ไม่เกินสมควรแก่เหตุหรือไม่เกินกว่ากรณีจำเป็น” เท่านั้น

ประเด็นจึงมีอยู่ว่า

กรณี 98 ศพนี้เป็นการกระทำที่สุจริต ไม่เลือกปฏิบัติ ไม่เกินสมควรแก่เหตุหรือไม่เกินกว่ากรณีจำเป็นหรือไม่

คำตอบ คือ ไม่ว่าจะมองด้วยมิติใด การใช้อาวุธปืนไม่ว่าจะเป็นสไนเปอร์หรือไม่ก็ตามสังหารฝูงชนทั้ง    ผู้ชุมนุมประท้วงและเจ้าหน้าที่ทหารตำรวจตลอดจนผู้สื่อข่าวต่างประเทศนั้นย่อมเป็นการกระทำที่เกินสมควรแก่เหตุและเกินกว่ากรณีจำเป็นอย่างแน่นอน

ผู้บังคับบัญชาฝ่ายประจำที่เข้าร่วมประชุม ศอฉ.และรับคำสั่งมาปฏิบัติต้องรับผิดชอบด้วยหรือไม่

คำตอบ คือ ย่อมต้องร่วมรับผิดชอบด้วย หากพิสูจน์ได้ในการประชุมหรือรับคำสั่งมานั้นทั้งๆที่รู้ว่าเป็นคำสั่งที่เกินสมควรแก่เหตุและเกินกว่ากรณีจำเป็นแต่ไม่ได้แสดงความเห็นคัดค้านหรือแสดงเหตุผลถึงผลดีผลเสียหรือความจำเป็นว่าจะสามารถทำได้หรือไม่ประการใด เพราะไม่เช่นนั้นหากเกิดเหตุการณ์ในทำนองนี้ต่อไปภายหน้าผู้บังคับบัญชาฝ่ายข้าราชการประจำก็จะใช้ข้ออ้างนี้เสมอเพื่อปฏิเสธความรับผิดชอบเมื่อมีการกระทำที่เกินกว่าเหตุ ซึ่งในกรณีนี้นอกจากผู้บังคับบัญชา(ในขณะนั้น)ของเจ้าหน้าที่ทหารที่ใช้อาวุธปืนแล้วย่อมหมายความรวมไปถึงอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษซึ่งนั่งอยู่ในที่ประชุม ศอฉ.ในฐานะเลขานุการฯที่ออกมาแถลงข่าวในวันถัดมาหลังจากที่คุณเฉลิมแถลงด้วย ว่าเคลียร์กับทหารแล้วและยังเสริมอีกว่าเจ้าหน้าที่อาจไม่ต้องรับผิดเสมอไปด้วยซะอีกแน่ะ

เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติในการใช้อาวุธปืนสังหารกลุ่มบุคคลต้องรับผิดชอบด้วยหรือไม่

คำตอบ คือ ต้องพิสูจน์เป็นแต่ละกรณีๆไปว่าในการใช้อาวุธในครั้งนั้นสามารถหลีกเลี่ยงได้หรือไม่หรือสามารถยิงไปยังจุดอื่นของร่างกายที่ไม่ต้องถึงแก่ชีวิตได้หรือไม่ หากได้ เจ้าหน้าที่ผู้นั้นก็ต้องรับผิดชอบ ยิ่งหากพิสูจน์ได้ว่ามีการห้ามปรามจากเจ้าที่อื่นที่ร่วมปฏิบัติงานด้วยแล้วยังขืนกระทำการอีก(ตามคลิป   ยูทูปและที่เผยแพร่โดยทั่วไป)ก็ต้องรับผิดชอบไปเต็มๆ ที่แย่ที่สุดก็คือการยิงทิ้งผู้ที่หนีไปอยู่ในวัดปทุมวนารามและอาสามัครที่ไม่มีพิษภัยอันใด

การมุ่งดำเนินการเฉพาะผู้สั่งการซึ่งเป็นฝ่ายการเมืองโดยอ้างว่าผู้ร้องทุกข์ต้องการให้ดำเนินการเฉพาะผู้สั่งการ ไม่ได้ร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีกับผู้ปฏิบัตินั้นฟังดูแล้วไม่สมเหตุผลเอาเสียเลย ไม่มีพ่อแม่ใครหรอกครับที่ลุกหลานตัวเองถูกยิงตายไปร้องทุกข์แจ้งความเอาเรื่องเฉพาะผู้สั่งการ แน่จริงลองเอาคำร้องทุกข์ที่ว่านั้นมาเปิดเผยดูสิครับว่าเป็นเช่นนั้นจริงหรือเปล่า แต่ก็อาจเป็นไปได้ในบางกรณีที่ถูกชักจูงหรือถูกกล่อมให้ดำเนินการอย่างที่ว่า แต่ผมเชื่อว่าไม่ใช่ทุกกรณีอย่างแน่นอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีชาวต่างประเทศที่เสียชีวิต

ที่สำคัญหากเลือกดำเนินการเฉพาะผู้สั่งการ เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบตั้งแต่พนักงานสอบสวนจนถึงผู้บังคับบัญชาซึ่งก็อาจรวมถึงคุณเฉลิมด้วยหากพิสูจน์ได้ว่ามีการสั่งการที่ว่าเช่นนั้นจริง ก็อาจเข้าข่ายตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 ที่บัญญัติไว้ว่าผู้ใดเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติ หน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ โดยทุจริต ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ หนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองหมื่นบาทหรือ ทั้งจำทั้งปรับอีกด้วย

อย่ากลัวทหารจนอุจจาระขึ้นสมองและอย่าเล่นการเมืองจนลืมหลักการทางกฎหมายเลยครับ เสียชื่อที่เคยเป็นอดีตทหารเก่าและเป็นนักกฎหมายในระดับปริญญาเอกที่ตนเองเคยพูดอยู่เสมอว่า “อ่านกฎหมายรู้ ดูกฎหมายเป็น”เปล่าๆครับ เผลอๆจะมาเสียคนเอาตอนแก่ ซ้ำร้ายอาจจะติดคุกเอาดื้อๆนะครับ หากมีการเอาเรื่องขึ้นมาน่ะครับ

 

หมายเหตุ เผยแพร่ครั้งแรกในกรุงเทพธุรกิจฉบับประจำวันพุธที่ 22 สิงหาคม 2555

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

"กระจายอำนาจ" มิใช่ "จังหวัดจัดการตนเอง"

Posted: 22 Aug 2012 12:58 AM PDT

 
การรวมศูนย์อำนาจในสมัยรัฐสมบูรณาญาสิทธิ์ราช รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ได้มีกระบวนการผนึกความเป็นหนึ่งเดียวโดยการทำลายศูนย์อำนาจต่างๆเพื่อเข้าสู่ศูนย์อำนาจของส่วนกลาง มีการสร้างระบบราชการ กองทัพ เพื่อปกครองควบคุมอาณาบริเวณ “ประเทศไทย” มีการสถาปนากฎหมายด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งออกกฎหมายด้านองค์กรสงฆ์ และอื่นๆ เพื่อรวมศูนย์อำนาจผูกขาดในการบริหารจัดการไว้ที่ส่วนกลาง
 
นอกจากนี้แล้วยังมีสร้างองค์ความรู้ด้านวัฒนธรรม-ภาษา และด้านอื่นๆ เพื่อครองอำนาจนำทางอุดมการณ์วัฒนธรรมในสังคมไทย หรือในอีกด้านหนึ่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการรวมศูนย์อำนาจการปกครองบริหารเข้าสู่ศูนย์กลางแทบทุกปริมณฑล โดยมีการปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน เป็นกระทรวง ทบวง กรม ต่างๆ ซึ่ง ธเนศวร์ เจริญเมือง ได้กล่าวถึง ประวัติศาสตร์การรวมศูนย์อำนาจ แนวคิดทฤษฎีการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นในรูปแบบต่างๆ พร้อมเสนอทางออกไว้ในหนังสือเล่มนี้ 
 
อย่างไรก็ตาม ต่อมา ภายหลังการปฏิวัติ 24 มิถุนายน 2475 คณะราษฎร นำโดยปรีดี พนมยงค์ ได้มีแนวคิดในการกระจายอำนาจสู่ส่วนท้องถิ่นในรูปแบบของเทศบาล และได้มีการจัดตั้งเทศบาลขึ้นในปี พ.ศ. 2476 โดยมีการตราพระราชบัญญัติจัดระเบียบเทศบาล พ.ศ. 2476 หรือกล่าวได้ว่า การผลักดันให้มีการกระจายอำนาจครั้งแรกมาจากส่วนสำคัญของคณะราษฎร ผู้ปรารถนาสร้างประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อย่างแท้จริง  ขณะที่การกระจายอำนาจในสังคมไทยปัจจุบัน  ไม่ว่าการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานคร   หรือองค์กรปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษเมืองพัทยา ก็หาได้เป็นการกระจายอำนาจที่แท้จริงแต่อย่างใด ยังมีข้อจำกัดมากมายที่อำนาจส่วนกลางยังควบคุมกำกับอยู่    ที่สำคัญเนื่องเพราะประเทศไทยยังไม่เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อำนาจนอกระบบหรือระบอบอำมาตยาธิปไตยยังครองอำนาจนำ จึงไม่เหมือนประเทศอื่นๆ เช่น ญี่ปุ่น  เกาหลีใต้  อเมริกา  อังกฤษ  เป็นต้น 
 
บทความของ ณัฐกร วิทิตานนท์ ในหนังสือเล่มนี้ ก็ได้ชี้ให้เห็นถึง พัฒนาการของการกระจายอำนาจที่เป็นผลโดยตรงจากการปฏิรูปรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญต่างประเทศที่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการปกครองท้องถิ่นบรรจุอยู่ พร้อมหยิบยกประเทศญี่ปุ่นที่มีลักษณะทางการเมืองโดยรวมใกล้เคียงกับประเทศไทยมาใช้เป็นตัวอย่างที่ดีของประเทศที่ประสบความสำเร็จในการกระจายอำนาจด้วยรัฐธรรมนูญข้อเสนอแนะบางประการเกี่ยวกับการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่จะมีขึ้นในอนาคตอันใกล้เป็นโอกาสสำคัญยิ่งนัก 
 
นอกจากนี้แล้ว บทความของ สำนักเรียนรู้การกระจายอำนาจและปกครองตนเอง (กอปอ.) ในหนังสือเล่มนี้ ได้กล่าวถึงการเรียกร้องให้มีการกระจายอำนาจในสังคมไทยมีความเป็นมาอย่างไร และมีข้อเสนอในรูปแบบต่างๆ ในแต่ละช่วงประวัติศาสตร์การเมืองไทย ทั้งในรูปแบบขององค์กรบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล รวมทั้งข้อเสนอให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด และการปกครองท้องถิ่นในรูปของนครรัฐปัตตานีที่กำลังเป็นข้อถกเถียงในปัจจุบัน 
 
พร้อมข้อถกเถียงในแต่ละช่วงการขับเคลื่อน รวมทั้งยังได้ตั้งข้อสังเกตและวิพากษ์วิจารณ์ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อน “ขบวนการจังหวัดจัดการตนเอง” ซึ่งมีผู้นำส่วนหนึ่งที่สำคัญมีบทบาททางการเมืองฟากฝั่งอนุรักษ์นิยมหรือสนับสนุนฝ่ายอำมาตยาธิปไตยมาตลอดทั้งเปิดเผยและไม่เปิดเผย ทั้งช่วงก่อนและหลังรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ช่วงหนึ่งพวกเขาก็เคยร่วมผลักดันให้ประชาชนรับร่างรัฐธรรมนูญ 2550 และปัจจุบันก็ยังมีบทบาทคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 อยู่เช่นเดิม 
 
วิธีคิดของคนเหล่านี้ก็เช่นเดียวกับ สำนักคิดประเวศ วะสี ซึ่งมักสรุปอย่างง่ายๆ ว่าถ้ามีการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นแล้ว ก็จะแก้ไขปัญหารัฐประหารในสังคมไทยได้เลยในทันที และก็หาไม่ตั้งเจตจำนงแน่วแน่ในการผลักดันให้สังคมไทยเป็นประชาธิปไตยแต่อย่างใดไม่ เช่น ต้องปฏิรูปกองทัพ ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม เป็นต้น 
 
นอกจากคำว่า “จังหวัดจัดการตนเอง” ซึ่งแปรเป็นรูปธรรมคือ “พ.ร.บ.เชียงใหม่มหานคร” ที่ยังตั้งความหวังไว้กับกระบวนการออกกฎหมายที่ต้องผ่านมือวุฒิสมาชิกที่มาจากการลากตั้งซึ่งล้วนแล้วนิยมอำมาตยาธิปไตย หรือในทางตรงกันข้ามพวกเขาเหล่านี้ยังมีแนวคิด จุดยืน ในการขับเคลื่อนไปทางฝั่งอำมาตยาธิปไตยที่ขัดขวางเส้นทางประชาธิปไตยเสมอมาด้วยซ้ำ
 
ขณะที่ประวัติศาสตร์การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นที่แท้จริงทั่วโลก มักมาควบคู่กับการก่อเกิดประชาธิปไตยที่แท้จริง หรือประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ที่ปราศจากอำนาจนอกระบบอยู่เหนืออำนาจประชาธิปไตยอย่างที่เห็นและเป็นอยู่ในสังคมไทยปัจจุบัน  
 
หนังสือเล่มนี้ได้เปิดประเด็นเหล่านี้ เพื่อแสวงหาทางออกเรื่องการกระจายอำนาจและการขับเคลื่อนในการสร้างประชาธิปไตยให้สมบูรณ์ แน่นอนว่าต้องผลักดันในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 อย่างมิอาจปฏิเสธได้ เช่นกัน.
 
 
 
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ดีเอสไอเบิกความคดีเผาเซ็นทรัลเวิลด์ ไม่มีการตรวจลายนิ้วมือแฝงของกลาง

Posted: 22 Aug 2012 12:48 AM PDT

21 ส.ค. 55 เวลา 10.00 น. ที่ศาลอาญากรุงเทพใต้ ห้องพิจารณาคดี 405 มีการสืบพยานในคดีเลขดำที่ 2478/2553 ซึ่งพนักงานอัยการสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีพิเศษ 4  เป็นโจทก์ฟ้อง นาย สายชล แพบัว จำเลยที่ 1 อายุ 28 ปีอาชีพรับจ้าง และนายพินิจ จันทร์ณรงค์ จำเลยที่ 2 อายุ 26 ปี อาชีพรับจ้าง ในความผิดะร่วมกันวางเพลิงเผาทรัพย์ผู้อื่นซึ่งเป็นโรงเรือนที่เก็บสินค้าจนเป็นเหตุให้นายกิติพงษ์ สมสุข ซึ่งอยู่ในอาคารเซ็นทรัลเวิลด์ถึงแก่ความตายและฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เหตุเกิดที่ ห้างเซ็นทรัลเวิลด์ บ่ายวันที่ 19 พ.ค.53 ช่วงที่มีการสลายการชุมนุของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) โดยในวันนี้(21 ส.ค.) มีการสืบพยานโจทก์คือ ร.ต.อ.ปิยะ รักสกุล พนักงานสอบสวน กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ผู้รับผิดชอบคดีดังกล่าว

ร.ต.อ.ปิยะ รักสกุล เบิกความว่าคดีนี้พนักงานสอบสวนได้ทำสำนวนมายัง DSI เมื่อวันที่ 21 มิ.ย.53 ซึ่งขณะนั้น สน.ปทุมวัน ซึ่งเป็น สน.ในท้องที่เกิดเหตุได้ฝากขังจำเลยไว้แล้ว ในชั้นพนักงานสอบสวนจำเลยทั้ง 2 ได้ให้การปฏิเสธ และจากนั้นดีเอสไอได้มีการสอบสวนผู้เสียหายทั้งจากห้างเซ็นทรัลเวิลด์ ห้างเซนและร้านค้าที่เป็นผู้เช่าพื้นที่ในห้างเซ็นทรัลเวิลด์ประมาณ 300 คน ส่วนผู้เสียชีวิตในที่เกิดเหตุคือนายกิติพงษ์ สมสุข ได้ทำการชันสูตรพลิกศพ พบสาเหตุการเสียชีวิตเนื่องมาจากการขาดอากาศหายใจ  นอกจากนี้ในที่เกิดเหตุยังพบถังแก๊สและขวดเครื่องดื่มชูกำลังบรรจุน้ำมันเชื้อเพลิง และทางเจ้าหน้าที่ของ เซ็นทรัลเวิลด์  ได้มอบซีดี 3 แผ่นที่เป็นภาพถ่ายมาให้เป็นหลักฐานด้วย

อัยการได้สอบถามว่าทำไมดีเอสไอถึงไม่ทำคดีนี้แต่แรก ร.ต.อ.ปิยะ รักสกุล ตอบว่า โดยหลักการรับคดี เมื่อเหตุเกิด พนักงานสอบสวนในท้องที่จะรับเรื่องและหากพิจารณาแล้วว่าคดีดังกล่าวเป็นคดีพิเศษก็จะส่งสำนวนมาให้ดีเอสไอรับเป็นคดีพิเศษ ส่วนคดีนี้เป็นคดีพิเศษตามมติของคณะกรรมการคดีพิเศษในการประชุมที่ 3/2553 ลงวันที่ 16 เม.ย. 53 และตามคำสั่งนายกฯ ขณะนั้นได้ให้พนักงานสอบสวนในท้องที่ร่วมเป็นทีมสอบสวนคดีพิเศษด้วย

จากการสอบสวนจำเลยที่ 1 พนักงานสอบสวน สน.ปทุมวันได้มีการจับตัวมาดำเนินคดี โดยมีพนักงานรักษาความปลอดภัยของห้างเซ็นทรัลเวิลด์ ชี้ตัวยืนยันว่าเป็นผู้กระทำความผิด ซึ่งจำเลยที่ 1 ได้ให้การปฏิเสธ แต่ไม่ได้อ้างพยานหลักฐานแก้ข้อกล่าวหาในชั้นสอบสวน จึงทำให้มีความเห็นส่งฟ้อง ส่วนจำเลยที่ 2 ได้ถูกจับกุมในคดีปล้นทรัพย์ ในวันและที่เกิดเหตุเดียวกัน โดยมีพนักงานรักษาความปลอดภัยของห้างเซ็นทรัลเวิลด์ได้ชี้รูปถ่าย พนักงานสอบสนของ สน.ปทุมวัน จึงแจ้งข้อหาดำเนินคดี ซึ่งจำเลยได้ให้การปฏิเสธ แต่ก็ไม่ได้อ้างพยานหลักฐานแก้ข้อกล่าวหาเช่นกัน ดังนั้นพนักงานสอบสวนจึงมีความเห็นส่งฟ้อง

พนักงานดีเอสไอเบิกความต่อว่า รปภ.ห้างเซ็นทรัลเวิลด์ให้การว่าจำเลยทั้ง 2 ได้บุกเข้ามาในห้างร่วมกับพวกในกลุ่มหลายๆ คนทุบกระจกและร่วมกันวางเพลิง นอกจากจำเลยทั้ง 2 แล้วยังมีผู้ร่วมกระทำความผิดหลายคนและได้ออกหมายจับ 9 คน รวมจำเลยทั้ง 2 คนนี้ด้วย แต่สามารถจับดำเนินคดีได้ 4 คน ซึ่งเป็นเยาวชน 2 คน และที่เหลืออีก 5 คน ขณะนี้อยู่ในระหว่างการจับกุม

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า อัยการได้นำภาพถ่ายกลุ่มบุคคลที่เจ้าพนักงานอ้างว่าเป็นจำเลยทั้ง 2 รวมถึงอีก 5 คนที่ออกหมายจับไปแล้วแต่ยังจับไม่ได้ และยังมีบุคคลอื่นๆ รวมอยู่ด้วย โดยได้สอบถามถึงการดำเนินคดีกับคนอื่นๆในรูป ร.ต.อ.ปิยะ รักสกุล ชี้แจงว่า เนื่องจากคนอื่นๆในภาพไม่สามารถระบุตำหนิรูปพรรณได้ชัดเจนว่าเป็นใคร ดังนั้นแม้ส่งไปขอหมายจับต่อศาลก็มีความเป็นไปได้สูงที่ศาลจะไม่อนุมัติ จึงไม่ได้มีการขอหมายจับ

นายบพิตร ชำนาญเอื้อ ทนายจำเลยที่ 1 ได้ซักค้านพยานโจทย์ต่อถึงเรื่องหลักเกณฑ์การรับคดีของดีเอสไอ ซึ่งพยานอ้างว่าคดีนี้รับเป็นคดีพิเศษเป็นผลสืบเนื่องจากมติการประชุมของคณะกรรมการคดีพิเศษ  ครั้งที่ 3/2553 แต่มติดังกล่าวเกิดขึ้นวันที่ 16 เม.ย.53 ให้รับคดีอันเกิดจากการชุมนุมโดยมิชอบในช่วงปลายปี 2552 ขณะที่คดีนี้เกิดหลังจากมติแล้วคือ วันที่ 19 พ.ค.53 ทำไมจึงสามารถรับเป็นคดีพิเศษได้ ร.ต.อ.ปิยะ ตอบว่าถ้าดูในเนื้อหาของมติดังกล่าว ระบุให้รับเป็นคดีพิเศษในส่วนของคดีที่เป็นความต่อเนื่องจากการชุมนุมปลายปี 2552 เป็นต้นไป คำว่า “เป็นต้นไป” บ่งชี้ว่าให้มีผลหลังวัน 16 เม.ย.53 ได้

 

มติจากการประชุมของคณะกรรมการคดีพิเศษ  ครั้งที่ 3/2553 ที่มา เว็บไซต์ดีเอสไอ

 ทนายจำเลยที่ 1 ถามต่อว่าคดีที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุมของ นปช.มีหลายคดีดีเอสไอ มีหลักการพิจารณาเป็นรายคดีใช่หรือไม่ พยานโจทย์ชี้แจงว่าเนื่องจากคดีนี้เป็นคดีที่คณะกรรมการคดีพิเศษมีมติแล้ว โดยอ้างว่าเป็นคดีที่ต่อเนื่องเกี่ยวพัน ดังนั้นอธิบดีดีเอสไอมีอำนาจวินิจฉัยได้เลยในการส่งฟ้องต่อพนักงานอัยการ  นอกจากนี้จำเลยที่ 1 ไม่ได้ถูกจับกุมในวันที่ 19 พ.ค.53 แต่มาถูกจับกุมภายหลังที่สนามหลวง ส่วนการชี้ตัวจำเลยในชั้นพนักงานสอบสวนนั้น ทางดีเอสไอไม่ได้เข้าร่วม และไม่ได้มีการนำตัวพนักงานรักษาความปลอดภัยห้าง เซ็นทรัลเวิลด์  ที่ชี้ตัวจำเลยในชั้นสอบสวนมาชี้ตัวจริงๆ ในชั้นการสอบสวนของ DSI

ทนายจำเลยที่ 1 ได้ถามว่าภาพถ่ายที่ รปภ.ห้าง เซ็นทรัลเวิลด์  ส่งมอบให้ทางเจ้าหน้าที่ได้สอบถามว่ามีรูปจำเลยที่ 1 และ 2 ในคดีนี้หรือไม่ พยานตอบว่าไม่ได้สอบถาม และไม่สามารถระบุได้ว่าขวดเครื่องดื่มชูกำลังบรรจุน้ำมันที่เป็นวัตถุพยานนั้นเป็นของใคร

 

ภาพซ้าย : ภาพ1 ที่ รปภ.ห้าง เซ็นทรัลเวิลด์  มอบให้พนักงานสอบสวน และถูกนำมาใช้เป็นหลักฐานในการจับกุมโดยเจ้าหน้าที่เชื่อว่าภาพชายชุดดำดังกล่าวคือจำเลยที่ 1 ในที่เกิดเหตุ

ภาพขวา : นายสายชล จำเลยที่ 1 ขณะถูกนำตัวมาแถลงข่าวหลังถูกจับกุม เมื่อวันที่ 8 มิ.ย.53 ภาพจากเว็บไซต์มติชน

 

ทนายได้นำภาพที่ตำรวจใช้เป็นหลักฐานจับกุมจำเลยที่ 1 ซึ่งเห็นใบหน้าชายชุดดำขณะเกิดเหตุ เทียบกับภาพจำเลยที่ 1 ขณะถูกนำตัวมาแถลงข่าวหลังถูกจับกุม เมื่อวันที่ 8 มิ.ย.53 (ดูภาพประกอบด้านบน) มาเปรียบเทียบถามว่าเป็นคนๆ เดียวกันหรือไม่ ร.ต.อ.ปิยะ ตอบว่า ภาพไม่ชัด จึงไม่สามารถยืนยันด้วยตาว่าใช่หรือไม่ใช่

 


ภาพ2 ที่ รปภ.ห้างเซ็นทรัลเวิลด์ มอบให้พนักงานสอบสวน และถูกนำมาใช้เป็นหลักฐาน

 ทนายจำเลยที่ 1 ได้ให้พยานดูภาพจังหวะที่มีชายถือวัตถุสีเขียว(ถังดับเพลิง)ซึ่งเป็นภาพต่อเนื่องกับภาพก่อนหน้าว่า เห็นรอยสักหรือที่แขนขวาของชายคนดังกล่าวหรือไม่ ร.ต.อ.ปิยะ ตอบว่าไม่เห็น รวมถึงไม่มีรอยสักที่หลังมือบุคคลในรูปด้วย

จากนั้นทนายจำเลยที่ 1 จึงได้นำตัวจำเลยที่ 1 ซึ่งถูกควบคุมตัวและมาร่วมฟังการพิจารณาคดีนี้มาแสดงแขนขวาให้พยานได้พิจารณาดูรอยสัก ซึ่งพยานได้เบิกความต่อศาลว่าจำเลยที่ 1 มีรอยสักที่ไหล่  ท้องแขนด้านหน้า และหลังมือ ส่วนด้านหลังแขนไม่มี

ผู้พิพากษาได้สอบถามจำเลยว่า รอยสักดังกล่าวสักนานหรือยัง จำเลยที่1 ตอบว่า สักตั้งแต่เด็กๆ

ร.ต.อ.ปิยะ เบิกความด้วยว่า ถังแก๊สหุงต้ม 7 ใบที่เป็นวัตถุพยานของกลางรวมถึงวัตถุพยานอื่นๆ ที่ตรวจพบในที่เกิดเหตุนั้นไม่มีหลักฐานยืนยันว่าเป็นของจำเลยทั้ง 2 และไม่มีการตรวจลายมือแฝงของจำเลยกับวัตถุพยานของกลางดังกล่าว ขณะนี้เก็บไว้ที่ สน.ปทุมวัน  

อย่างไรก็ตาม การสืบพยานในส่วนของทนายจำเลยที่ 1 เสร็จในเวลา 15.45 น. แล้ว ในส่วนของทนายจำเลยที่ 2 ได้มีการแจ้งต่อศาลว่าจะใช้เวลานานประกอบกับสุขภาพไม่ดี ศาลจึงได้มีการเลื่อนการพิจารณาไปนัดหน้าต่อในวันที่ 5 พ.ย.55 เวลา 9.30 น.

สำหรับอีก 2 ผู้ต้องหาที่เป็นเยาวชนในคดีที่เกี่ยวข้องกัน ได้มีการพิจารณาคดีที่ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง มาหลายนัดแล้ว ในคดีอาญา คดีหมายเลขดำที่ 1682/2553 ระหว่างพนักงานอัยการ กับนายอัตพล (สงวนนามสกุล) จำเลยที่ 1 นายภาสกร (สงวนนามสกุล) จำเลยที่ 2 ทั้งสองมีอายุ 16 ปีในวันเกิดเหตุ โดยนัดสืบพยานในครั้งถัดไปเป็นวันที่ 17 ก.ย.55

ทั้งนี้นาย สายชล แพบัว จำเลยที่ 1 และนายพินิจ จันทร์ณรงค์ จำเลยที่ 2 ปัจจุบันยังคงถูกคุมขังที่เรือนจำชั่วคราวหลักสี่หรือโรงเรียนพลตำรวจบางเขน โดยไม่ได้รับสิทธิการประกันตัว ตั้งแต่กลางปี 2553

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น