โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันจันทร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

กบฏซีเรียอ้างยิงเครื่องบินรบรัฐบาลตก

Posted: 13 Aug 2012 01:46 PM PDT

กลุ่มกบฏในซีเรียได้เผยแพร่ภาพการจับกุมตัวนักบินฝ่ายรัฐบาลไว้ได้ ขณะที่ภาพวีดิโออีกชิ้นเผยให้เห็นเครื่องบินรบ MiG จากรัสเซียถูกอาวุธต่อต้านอากาศยานยิงตก

13 ส.ค. 2012 - สำนักข่าว BBC รายงานว่า กลุ่มกบฏของซีเรียได้เผยแพร่ภาพของชายที่เป็นนักบินฝ่ายรัฐบาลที่ถูกจับตัวไว้หลังจากเครื่องบินถูกยิงตก

กลุ่มกองกำลังปลดปล่อยซีเรีย (FSA) บอกว่าพวกเขายิงเครื่องบินของกองทัพฝ่ายรัฐบาลตกที่แถบชายแดนอิรัก แต่ทางด้านสื่อของรัฐบาลรายงานว่าเครื่องบินตกเนื่องมาจากเหตุขัดข้องทางเทคนิค และกำลังตามหาตัวนักบินอยู่

สำนักข่าวซานาของรัฐบาลซีเรียเปิดเผยว่า เครื่องบินตกหลังจากที่เกิดเหตุขัดข้องด้านระบบการควบคุม ในขณะที่เครื่องบินกำลังบินเพื่อซ้อมรบตามกิจวัตร ทำให้นักบินต้องหนีออกจากเครื่องบิน

เครื่องบินตกลงใกล้กับเมืองอัล-มูฮัสซัน ในเขตปกครอง ดิแอร์ อัล-ซอร์ ห่างจากชายแดนอิรัก 120 กม. กลุ่ม FSA บอกว่า นักบินคนหนึ่งเสียชีวิตขณะที่อีกคนหนึ่งถูกจับตัวไว้

กลุ่มที่เรียกตัวเองว่า "คณะยุวชนปฏิวัติแห่งดินแดนยูเพรตีส" ได้อัพโหลดวีดิโอบนยูทูบ แสดงให้เห็นภาพนักบินถูกจับตัวไว้โดยมีกลุ่มกบฏติดอาวุธ 3 คนอยู่รอบตัว นักบินบอกว่าภารกิจของเขาคือการทิ้งระเบิดใส่เมืองอัล-มูฮัสซัน

ภาพวีดิโอดังกล่าวยังไม่สามารถตรวจสอบตัวบุคคลชัดเจนได้ แต่ชายในวีดิโอบอกว่าตนเป็นนักบินชื่อ พ.อ. ฟาเรียร์ โมฮัมหมัด สุไลมาน เขามีแผลเล็กน้อยที่หน้าซึ่งเขาบอกว่ามาจากเหตุเครื่องบินตก

ในภาพวีดิโอดังกล่าว ผู้บัญชาการกลุ่มกบฏกล่าวว่า นักบินที่ถูกจับตัวไว้จะได้รับการปฏิบัติตามหลักของอนุสัญญาเจนีวาในฐานะนักโทษสงคราม

 
 
เครื่องบิน MiG ถูกยิงตก
 
มีวีดิโออีกชิ้นหนึ่งที่นำเสนอโดยกลุ่มกบฏ BBC รายงานว่าน่าจะเป็นเครื่องบินรุ่น MiG-23 ของรัสเซีย ที่มีรังเก็บอาวุธสองแห่ง ซึ่งน่าจะเป็นอาวุธจรวดยิงจากอากาศสู่พื้นดิน หลังจากนั้นก็มีเสียงอาวุธต่อต้านอากาศยานก่อนที่เครื่องบินจะระเบิดลุกเป็นไฟ มีเสียงโห่ร้องยินดีจากผู้ใช้อาวุธฝ่ายกบฏ
 
เควิน คอนโนลลี ผู้สื่อข่าว BBC ในประเทศเลบานอนรายงานว่าหากกลุ่มกบฏสามารถยิงเครื่องบินรบ MiG-23 ตกได้จริง มันจะเป็นช่วงเวลาสำคัญของความขัดแย้งในครั้งนี้
 
ไม่นานมานี้มีรายงานข่าวว่ามีอาวุธต่อต้านอากาศยานตกมาถึงมือของกลุ่มกบฏ และมีเครื่องบินรบเเข้ามาทิ้งระเบิดใส่เป้าหมายในเมืองอเล็ปโปในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา
 
เมื่อต้ตสัปดาห์ที่ผ่านมา ฝ่ายกบฏได้โพสท์รูปบนอินเตอร์เน็ตแสดงให้เห็นภาพพวกเขากับอาวุธยิงจรวดมิสไซล์จากพื้นดินสู่อากาศ ซึ่งเป็นภัยต่อกองกำลังอากาศยานของรัฐบาลมาก
 
 

สถานการณ์สู้รบ

BBC รายงานอีกว่า มีวีดิโออื่นๆ ที่แสดงให้เห็นการสังหารโดยกลุ่มกบฏ มีร่างมนุษย์ถูกโยนลงมาจากดาดฟ้าของสำนักงานไปรษณีย์และถูกรุมทำร้ายจากฝุงชนเมื่อร่างตกถึงพื้น มีวีดิโออีกชิ้นที่เผยให้เห็นชายคาดตาถูกตัดคอ แต่ทางนักกิจกรรมก็ปฏิเสธว่ากลุ่มกบฏไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับวีดิโอเหล่านี้

กลุ่มนักสิทธิมนุษยชนในซีเรียเปิดเผยว่า กองกำลังของรัฐบาลได้พยายามบุกอเล็ปโปอีกครั้ง โดยใช้รถถังและรถหุ้มเกราะเข้ามาทางย่าน ซาอีฟ อัล-ดาวลา ส่วนย่านซาลาอัลดินทางฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองถูกถล่มด้วยอาวุธหนักมาตั้งแต่ช่วงเช้าของวันที่ 13

สื่อรัฐบาลซีเรียเปิดเผยอีกว่ากองทัพสามารถสังหาร 'นักรบรับจ้างก่อการร้าย' จำนวนมากได้ในเขตปกครองฮอม แต่ทางกลุ่มนักกิจกรรมในพื้นที่บอกว่า ที่ๆ มีคนเสียชีวิตมากที่สุดคือในเมืองหลวงดามาสกัส มีประชาชนถูกสังหาร 55 ราย

 
 
ที่มา

Syria crisis: Rebels 'shoot down' warplane, BBC, 13-08-2012
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ชาวไทใหญ่หลายพื้นที่จัดงานวันแม่

Posted: 13 Aug 2012 01:17 PM PDT

ชาวไทใหญ่หลายพื้นที่ร่วมกิจกรรมรำลึกวันแม่และเทิดพระเกียรติถวายพระพรชัยมงคลแด่สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ที่มีพระชนมายุครบ 80 พรรษา 

เมื่อวันที่ 12 ส.ค. ซึ่งเป็นวันแม่แห่งชาติ ตรงกับวันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ครบ 80 พรรษา สำนักข่าวฉาน (S.H.A.N.) รายงานว่า ชาวไทใหญ่ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยทั้งในกรุงเทพฯ และจังหวัดเชียงใหม่ ตลอดจนที่อยู่ตามแนวชายแดนได้ร่วมกิจกรรมเนื่องในวันแม่ เพื่อแสดงความกตัญญูกตเวที น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ และแสดงความจงรักภักดีถวายพระพรชัยมลคลสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างพร้อมเพียง

ที่กรุงเทพมหานคร ชาวไทยใหญ่หลายสาขาอาชีพนำโดยมูลนิธิพระธรรมแสง และนิสิตนักษาไทใหญ่ศูนย์ปฏบัติธรรมสาธุประดิษฐ์ เขตยานนาวา รวมกว่า 100 คน เดินทางไปถวายพระพรแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่โรงพยาบาลศิริราช จากนั้นได้ร่วมเดินขบวนเทิดพระเกียรติร่วมกับหน่วยงานต่างๆ จากหน้าวัดพระแก้วไปยังสนามหลวง สถานที่จัดกิจกรรมใหญ่วันแม่แห่งชาติ ซึ่งในช่วงเย็นได้มีพิธีจุดเทียนถวายพระพรชัยมงคลสมเด็จพระนางเจ้าพระบรม ราชินีนาถ มีพสกนิกรเข้าร่วมในพิธีนับหมื่นคน

ส่วนที่จังหวัดเชียงใหม่ ชาวไทยใหญ่ทั้งที่เป็นนิสิต นักศึกษา และกลุ่มผู้ใช้แรงงาน นำโดยชมรมการศึกษาและศิลปวัฒนธรรมไทใหญ่ จ.เชียงใหม่ ได้ร่วมกิจกรรมรำลึกวันแม่แห่งชาติและร่วมกิจกรรมถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในโอกาสครบรอบวันพระราชสมภาพสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถครบ 80 พรรษา ที่ข่วงประตูท่าแพ อ.เมืองเชียงใหม่

นอกจากนี้ มีรายงานว่า กองกำลังไทใหญ่ SSA หน่วยภาคพื้นเชียงตุง ได้จัดกิจกรรมเทิดพระเกียรติ 80 พรรษา แด่สมเด็จพระบรมราชินีนาถอย่างยิ่งใหญ่ ที่ฐานที่มั่นดอยก่อวัน ตรงข้าม ต.เทอดไทย อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย เช่นกัน มีผู้เข้าร่วมพิธีทั้งเหล่าทหารหาญ ผู้อพยพ และราษฎรทั้งฝั่งและฝั่งรัฐฉานเข้าร่วมกว่าพันคน

ในช่วงเช้ามีพิธีทำบุญตักบาตรถวายเป็นพระราชกุศล จากนั้นในช่วงเย็น พ.ท.เจ้ากอนจื้น นำเหล่าทหารและราษฎรหลายชนชาติทั้งฝั่งไทยและฝั่งรัฐฉาน จุดเทียนชัยกล่าวคำถวายพระพรต่อหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ของสมเด็จพระนางเจ้าพระ บรมราชินีนาถ ขอพระองค์ทรงมีพระพลานามัยสมบูรณ์ มีพระชนมายุยิ่งยืนนาน เป็นมิ่งขวัญชนชาวไทยและชนทุกชนเผ่าตลอดไป จากนั้น มีการแสดงการฟ้อนรำของเด็กนักเรียนอพยพดอยก่อวัน และการแสดงการฟ้อนรำของกลุ่มหนุ่มสาวหลายชนเผ่า ถวายเป็นพระราชกุศลด้วย

 
ชมภาพ / อ่านข่าวย้อนหลังได้ที่
http://www.khonkhurtai.org/

"คนเครือไท" เป็นศูนย์ข่าวภาคภาษาไทยเครือข่ายสำนักข่าวฉาน (SHAN – Shan Herald Agency for News) ซึ่งเป็นสำนักข่าวอิสระของไทยใหญ่ มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารจากเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในรัฐฉาน สหภาพพม่า และตามแนวชายแดนไทย ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับองค์กรการเมือง / การทหารกลุ่มใด สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ shan_th@cm.ksc.co.th หรือ ติดตามอ่านข่าวสารภาคภาษาอังกฤษได้ที่ www.shanland.org ภาคภาษาไทใหญ่ที่ www.mongloi.org และภาคภาษาไทยที่ www.khonkhurtai.org
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ปชช.อียิปต์แห่ชุมนุม หนุน ปธน.ปลดผู้นำเหล่าทัพ

Posted: 13 Aug 2012 10:16 AM PDT

ชุมนุมที่จัตุรัสทาห์เรีย แสดงความยินดีและแสดงการสนับสนุนการสั่งปลดผู้นำทหารระดับสูงหลายคนที่มีอำนาจมาตั้งแต่ช่วงเปลี่ยนผ่านการปกครองของอียิปต์

13 ส.ค. 2012 - สำนักข่าวอัลจาซีร่ารายงานว่า ประชาชนชาวอียิปต์หลายพันคนมาร่วมชุมนุมที่จัตุรัสทาห์เรียเพื่อแสดงการสนับสนุนที่ประธานาธิบดี โมฮัมเม็ด มอร์ซี เปลี่ยนตัวผู้ดำรงตำแหน่ง รมต.กลาโหม และผู้นำเหล่าทัพ ซึ่งก่อนหน้านี้เคยเป็นสมาชิกสภาคณะทหารสูงสุดของอียิปต์ (SCAF) ในช่วงเปลี่ยนผ่านทางการเมืองของอียิปต์มาก่อน

ประธานาธิบดีมอร์ซี ของอียิปต์ได้สั่งการให้ รมต.กลาโหม และผู้นำเหล่าทัพ จอมพลฮุสเซน ทันทาวี และผู้นำทหารระดับสูงหลายคนปลดเกษียณ รวมถึงสั่งยกเลิกการแก้ไขรัฐธรรมนูญใหอำนาจของประธานาธิยดีน้อยลงตามที่ทางกองทัพสั่ง
 
โฆษกของโมฮัมเม็ด มอร์ซี ประกาศเมื่อวันที่ 12 ส.ค. ที่ผ่านมาว่าจะมีการให้จอมพลทันทาวีออกจากตำแหน่งและยกเลิกการแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษาของประธานาธิบดี
 
โทรทัศน์รัฐบาลอียิปต์รายงานว่า อับดุล-ฟาตาห์ อัล-เซสซี จะขึ้นดำรงตำแหน่ง รมต.กลาโหมและผู้นำเหล่าทัพแทนทันที 
 
นอกจากนี้แล้วยังสั่งโยกย้ายนายพล ซามี อันนัน จากการเป็นผู้นำเหล่าทัพมาให้เป็นที่ปรึกษาประธานาธิบดีแทน ส่วนตำแหน่งผู้นำเหล่าทัพกลายเป็นของพลโท สิดคี ซาเยด และมีการแต่งตั้งให้ผู้พิพากษาอาวุโส มาห์มูด เมคคี เป็นรองประธานาธิบดี โดยการตัดสินใจทั้งหมเนี้ถือมีผลบังคับใช้ทันที
 
ประชาชนชาวอียิปต์หลายพันคนออกมาเฉลิมฉลองการประกาศโยกย้ายผู้นำดังกล่าวในคืนวันอาทิตย์ (12) ที่จัตุรัสทาห์เรีย กรุงไคโร ที่เดียวกับที่เคยเป็นแหล่งชุมนุมประท้วงขับไล่อดีคประธานาธิบดีมูบารัค
 
ผู้คนในที่ชุมนุมตะโกนพร้อมกันว่า "พวกเราสนับสนุนการตัดสินใจของประธานาธิบดี"
 
มีบางคนล้อเลียนการออกจากตำแหน่งของทันทาวี ที่แสดงออกเป็นทางการว่าถูกปลดเกษียณ พวกเขาบอกว่า "ท่านจอมพล บอกเรามาตามตรง มอร์ซีไล่คุณออกแล้วใช่ไหม"
 
นักข่าวอัลจาซีร่า ราวยา ราเกห์ รายงานจากกรุงไคโรว่า "ประเทศอียิปต์ในตอนนี้อาจจะยังไม่มีรัฐธรรมนูญ แต่ก็มีคำประกาศทางการที่อธิบายเจาะจงหน้าที่การทำงานของประธานาธิบดี และก็มีระบุถึงขอบข่ายอำนาจในการแต่งตั้งหรือสั่งปลดเจ้าหน้าที่รัฐระดับสูงได้"
 
"แต่ฉันคิดว่า สิ่งที่คนพูดถึงทั้งหมดนี้ส่งผ่านออกมาจากความจริงที่ว่า มันเป็นการตัดสินใจที่แข้งกร้าวและน่าประหลาดใจมาก" ราเกห์กล่าว
 
"มอร์ซี ผู้ที่ไม่ได้ต้องการขัดขืนกองทัพจากภายใน อาศัยโอกาสที่แถบชายแดนถูกโจมตี เพื่อทำให้ผู้นำทหารคนหนึ่งที่ยึดตำแหน่งมายาวนานที่สุดในประเทศต้องหมดหน้าที่ลง" ราเกห์กล่าว เธอบอกอีกว่าการตัดสินใจครั้งนี้ทำให้เกิดแรงสะเทือนทางการเมืองอย่างมาก
 
"ที่สุดแล้ว ทั้งทันทาวีและอันนัน สมาชิกที่มีอำนาจมากที่สุดสองคนจากสภาคณะทหารสูงสุดของอียิปต์ (SCAF) ก็ดูเหมือนแตะต้องไม่ได้มานานมาก ทั้งในช่วงที่ SCAF ยึดครองประเทศและหลังจากประธานาธิบดีมอร์ซีได้รับเลือกตั้งในเดือน มิ.ย." ราเกห์กล่าว
 
นอกจากทันทาวีและอันนันแล้ว มอร์ซียังได้สั่งปลดผู้นำกองทัพเรือ ผู้นำกองทัพอากาศ และผู้นำกองกำลังป้องกันน่านฟ้า การกระทำของมอร์ซีถูกมองว่าเป็นการต่อสู้รักษาอำนาจระหว่างตัวเขาเองที่เพิ่งเข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 30 มิ.ย. ที่ผ่านมา กับฝ่ายกองทัพของอียิปต์
 
คำประกาศของมอร์ซี
ในการประกาศต่อหน้าประชาชนอียิปต์เมื่อเย็นวันที่ 12 ส.ค. ที่ผ่านมา มอร์ซีบอกว่าการสั่งการของเขาไม่ใช่เพราะต้องการตั้งเป้ารายบุคคล
 
"การตัดสินใจของผมในวันนี้ไม่ได้ต้องการระบุเป้าหมายรายบุคคล หรือต้องการทำให้สถาบันเสื่อมเสีย หรือเป็นการลดทอนเสรีภาพใดๆ" มอร์ซีกล่าว
 
"ผมไม่ได้ต้องการนำเสนอด้านลบของใคร แต่เป้าหมายของผมคือผลประโยชน์ของชาติและของประชาชนในชาติ"
 
มอร์ซีกล่าวชมการทำงานของกองทัพอียิปต์ และบอกว่าการตัดสินใจของเขาจะทำให้พวกเขาเป็นอิสระและให้พวกเขาทุ่งความสนใจอยู่ที่งานตามหน้าที่อาชีพตน
 
ทันทาวี เป็นหัวหน้าของ SCAF ที่ปกครองอียิปต์หลังจากอดีตประธานาธิบดร ออสนี มูบารัค ถูกโค่นล้มในเดือนก.พ. 2011 เขาเคยเป็นรมต.กลาโหมมานานกว่า 2 ทศวรรษภายใต้การปกครองของมูบารั
 
มอร์ซี มาจากกลุ่มภราดรภาพมุสลิม ตัวเขาและพันธมิตรที่เป็นกลุ่มอิสลามแสดงความไม่พอใจในการแก้ไขรัฐธรรมนูญของกลุ่มกองทัพอย่างชัดเจน เนื่องจากเป็นการลดทอนอำนาจของประธานาธิบดีและให้อำนาจกองทัพมากเกินไป ซึ่งรวมถึงอำนาจในการบริหาร
 
เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา มอร์ซี ได้สั่งปลดผู้นำด้านข่าวกรองของรัฐบาลเนื่องจากเหตุการณ์โจมตีที่ชายแดนติดกับอิสราเอลเมื่อวันที่ 5 ส.ค. ที่ผ่านมา
 
 
 
ที่มา
Crowds in Cairo praise Morsi's army overhaul, Aljazeera, 13-08-2012
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ภัยพิบัติจากเมือง “Toulouse” ประเทศฝรั่งเศส: บทเรียนที่ถูกเบียดบัง

Posted: 13 Aug 2012 09:56 AM PDT

ฝรั่ง : “เอาไหม เราจะไปตั้งโรงงานให้ ประเทศยูจะได้มีรายได้ และเป็นประเทศพัฒนาแล้วเหมือนเรา”

ไทย : “เอาซิ!”

(ฝรั่ง : “อ้อ...โรงงานเคมีที่จะขายให้ เคยมีประวัติระเบิดมาแล้วนะ มีคนบาดเจ็บเยอะแยะ และยังมีผลกระทบระยะยาวที่ยังประเมินไม่ได้อีก”-เงียบ)

 

บทสนทนาเรื่องการตั้งโรงงานเพื่อการพัฒนาที่ยกมาข้างต้น สังคมไทยจะได้รับรู้เพียง 2 ประโยคแรก แต่ประโยคสุดท้ายสังคมไทยไม่เคยได้รับรู้ ไม่อยากรับรู้ และไม่ต้องการรับรู้ ความไม่รู้เช่นนี้จะว่าไปก็มีมาตั้งแต่ไหนแต่ไร โดยเฉพาะช่วงที่เราเริ่มมีแผนการพัฒนาเศรษฐกิจตั้งแต่ปี พ.ศ. 2504


นิโคลัส เดซี  

นิโคลัส เดซี (Nicolas Dechy) ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยและนักสืบเหตุการณ์ภัยพิบัติ ทั้งยังเป็นผู้ดำเนินการองค์กรและการเข้าถึงปัจจัยความปลอดภัยด้านพลังงานโรงงานนิวเคลียร์ (Institut de Radioprotection et de Sûreté Nucléaire-IRSN) จากประเทศฝรั่งเศส มาบรรยายเกี่ยวกับภัยพิบัติโรงงานเคมี ณ เมือง Toulouse ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งระเบิดเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2001 หลังจากประเทศสหรัฐอเมริกาถูกวินาศกรรมจากเหตุการณ์ 9/11 ได้เพียง 10 วัน และนี่เป็นเหตุให้สังคมโลก ไม่มีโอกาสได้รับรู้ว่า มีเหตุการณ์ภัยพิบัติจากโรงงานเคมีในเมือง Toulouse ประเทศฝรั่งเศสเกิดขึ้น

 


ภัยพิบัติโรงงานเคมี ณ เมือง Toulouse
http://www.rootcauselive.com/RootOff/RootOffArchives/1stQtr2002/RootOff11-01.htm


รายละเอียดเหตุการณ์
ตอนแรกที่โรงงานแห่งนี้ระเบิด รัฐบาลฝรั่งเศสตั้งข้อสงสัยว่า “นี้เป็นเหตุการณ์ก่อการร้ายหรือเปล่า?” เพราะอเมริกาเพิ่งโดนวินาศกรรมไปเมื่อ 10 วันก่อน และเหตุการณ์นี้อาจเกี่ยวข้องกัน แต่เมื่อสืบสวนโดยใช้เวลาเพียง 15 วัน ผลปรากฏว่า ไม่พบความเชื่อมโยงกันกับเหตุการณ์ก่อการร้าย

การระเบิดทำให้สารเคมีแอมโมเนียไนเตรทจำนวน 300 ตัน รวมทั้งสารเคมีอื่นๆ ฟุ้งกระจายอยู่ทั่วบริเวณรอบๆ โรงงาน ขนาดของระเบิดเทียบเท่ากับแผ่นดินไหว 3.4 ริกเตอร์ และเทียบเท่ากับระเบิด TNT 20-40 ตัน ที่สำคัญโรงงานตั้งอยู่ใกล้กับเมือง โรงเรียนหลายแห่ง มหาวิทยาลัย 1 แห่ง โรงพยาบาลและโรงพยาบาลประสาท ทั้งหมดต้องรีบอพยพผู้ป่วยออกไปนอกบริเวณให้เร็วที่สุด ผลของการระเบิดทำให้คนจำนวน 30 คนเสียชีวิต และกว่า 2,500 คน บาดเจ็บสาหัส อีก 8,000 คนบาดเจ็บเล็กน้อย บ้านจำนวน 27,000 หลังเสียหาย คนกว่า 40,000 คน กลายเป็นคนไร้บ้านอยู่ระยะหนึ่ง สังคมฝรั่งเศสต้องจ่ายค่าความเสียหายให้กับเหตุการณ์ครั้งนี้อยู่ในระหว่าง 1.5 ถึง 2.5 พันล้านยูโร แต่ที่สำคัญยังมีผลในระยะยาวที่ไม่สามารถประเมินค่าได้จนถึงปัจจุบัน คือ ผลกระทบด้านพิษเคมี และอาการบาดเจ็บทางด้านจิตใจ ซึ่งต้องการเครื่องมือการติดตามอย่างต่อเนื่อง

นิโคลัส นำภาพวิดีโอที่มีผู้ถ่ายไว้ในวันดังกล่าวบนรถยนต์คันหนึ่ง ภาพฉายให้เห็นว่า ระหว่างทางมีฝุ่นเคมีกระจายทั่วไปอยู่เต็มพื้นท้องถนน ยิ่งเข้าไปใกล้โรงงานมากขึ้นเท่าไหร่ ภาพความเสียหายของรถยนต์ที่ถูกแรงระเบิดอัดย่อยยับยิ่งรุนแรงมากขึ้น มีคนบาดเจ็บโดยเฉพาะบริเวณศีรษะ นั่งรอความช่วยเหลืออยู่เต็มสองข้างทาง เมื่อเข้าไปถึงโรงงานก็มีแต่เพียงซากเศษเหล็กเหลือทิ้งค้างไว้อยู่เท่านั้น บทบาทของนิโคลัส คือ วิจัย สืบสวน สอบสวน สัมภาษณ์คนจำนวนหลายร้อยคน จัดเวทีสรุปบทเรียน และนำบทเรียนนั้นเสนอเป็นนโยบายด้านความปลอดภัยและการจัดการพัฒนาด้านอุตสาหกรรม หน่วยงานของนิโคลัสจะทำงานเป็นอิสระ ไม่ขึ้นกับรัฐบาลหรือภาคธุรกิจเอกชน และนี่ส่งผลให้เขาสามารถวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของทุกฝ่ายและเสนอข้อมูลที่สังคมฝรั่งเศสจะได้ประโยชน์ในระยะยาว

จากเหตุการณ์ดังกล่าว ทำให้สังคมฝรั่งเศสเรียนรู้เกี่ยวกับการจัดการการใช้ที่ดินเพื่อการพัฒนาอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การตั้งโรงงานที่จะต้องอยู่ห่างไกลจากชุมชน โรงเรียน โรงพยาบาล สังคมฝรั่งเศสเลือกที่จะนำแนวคิดด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable development) มาใช้เพื่อควบคุมการจัดตั้งโรงงานในรุ่นต่อๆ ไป แต่ทว่าแนวคิดเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืนของประเทศฝรั่งเศสหรือประเทศที่พัฒนาแล้วประเทศอื่นๆ อย่างเยอรมัน การพัฒนาอย่างยั่งยืน คือ การย้ายฐานการผลิตจากในประเทศสู่ประเทศโลกที่สามอย่างเช่นประเทศไทย

เพราะฉะนั้น จึงไม่น่าแปลกใจถ้าจะพบว่า ในช่วงยุคของการพัฒนาที่ผ่านมา ประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านได้กลายเป็นฐานการผลิตโรงงานอุตสาหกรรมของประเทศที่พัฒนาแล้วทั้งหลายอย่างเต็มใจ และเราก็ยินดีที่จะไม่รับรู้ ไม่อยากรับรู้ และไม่ต้องการรับรู้ ประสบการณ์ด้านภัยพิบัติที่เลวร้ายของประเทศที่พัฒนาแล้วดังกล่าว รวมทั้งไม่อยากได้ยินเสียงชาวบ้านและคนยากจนที่จะต้องเผชิญกับมลพิษที่มาพร้อมกับโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ เหล่านี้ด้วย

ที่ผ่านมาในสังคมไทยมีคนจำนวนหนึ่ง พยายามส่งข้อมูลข่าวสารเหล่านี้ออกสู่สาธารณะ แต่เสียของเขา/เธอ อาจจะไม่ได้ได้ยิน หรืออาจถูกมองว่า “เป็นพวกขัดขวางการพัฒนา” แต่คนกลุ่มเล็กๆ เหล่านี้ยังเลือกที่จะสร้างการเรียนรู้และปลูกฝังให้คนรุ่นใหม่ๆ เข้าใจกลไกของการพัฒนาและความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างประเทศมหาอำนาจกับประเทศที่มีอำนาจน้อยอย่างประเทศไทย และผลของการพัฒนาที่ไม่ได้มีแต่โชติช่วงชัชวาลเพียงด้านเดียวเท่านั้น หรือถ้าไม่เชื่อกันอย่างไร รัฐบาลไทยจะเชิญนิโคลัสมาเป็นวิทยากรบรรยายประสบการณ์ของเขาด้วยก็จะดี

 

 

สรุปความจากเวทีวิชาการเรื่อง “So you think the Texas City accident was a disaster? Then let me tell you about the Toulouse disaster!” โดย Nicolas Dechy วันจันทร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2555 ณ Lecture Theatre 1 CBE Building #26C, The Australian National University, Presented by School of Sociology, ANU College of Arts and Social Sciences

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สมยศ พฤกษาเกษมสุข: คุกตะราง กับบาดแผลและตราบาปของสังคมไทย (1)

Posted: 13 Aug 2012 09:49 AM PDT

มนุษย์ไม่อาจดำรงอยู่ได้หากปราศจากเสรีภาพ ซึ่งเป็นหลักประกันศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ พัฒนาการของมนุษย์เป็นการต่อสู้ดิ้นรนจากการถูกจำกัดมาสู่อิสระเสรี การจำกัดเสรีภาพจึงต้องมีขอบเขตจำกัดและควบคุมมนุษย์ให้น้อยที่สุดเท่าที่จำเป็นเท่านั้น โดยคำนึงถึงสิทธิมนุษยชน และสันติสุขของสังคม

มนุษย์เกิดมาย่อมปรารถนาชีวิตที่ดี มีเสรีภาพเต็มที่ การจองจำติดคุกตะราง สูญเสียอิสรภาพย่อมหมายถึงการลดทอนความเป็นมนุษย์ลงไป

คนคุกหรือนักโทษคือ อาชญากรที่ฝ่าฝืนกฎหมายอันเป็นกติการ่วมกันของสังคม นักโทษเหล่านี้ย่อมได้รับความทุกข์ทรมานทั้งทางร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรง แม้กระนั้นจำนวนนักโทษมิได้ลดลงแต่อย่างใด กลับเพิ่มจำนวนมากขึ้น และถึงแม้จะมีการสร้างคุกตะรางมากขึ้น ก็ยังไม่พอรองรับการขยายตัวของนักโทษ จนแต่ละคุกแออัดยัดเยียดแน่นขนัด สภาพความเป็นอยู่ของนักโทษจึงเลวร้ายไม่ต่างไปจากไก่ในเข่งที่ส่งไปเชือด หรือหมาในกรงขังที่ส่งไปขายที่เวียดนาม

นักโทษส่วนใหญ่เป็นคนยากจน เป็นชนชั้นล่างของสังคมถูกจับเข้าคุกด้วยข้อหาลัก-ชิง-ปล้นทรัพย์ หลอกลวง ฉ้อฉล ทำร้ายร่างกายผู้อื่น อาชญากรเหล่านี้สะท้อนปัญหาด้านเศรษฐกิจและสังคม กล่าวคือ เป็นคนว่างงาน ยากจน จึงต้องทำผิดกฎหมายเพื่อความอยู่รอดของตนเอง การจับคนเหล่านี้เข้าคุกตะพึดตะพือไม่ได้แก้ปัญหาอาชญากรรมแต่อย่างใด กลับเพิ่มความรุนแรง และความสามารถในการกระทำความผิดได้ดีมากยิ่งขึ้นไปอีก

นักโทษหลายคนเดินเข้า-ออกคุกเป็นว่าเล่น ไม่ได้เข็ดหลาบหรือสะทกสะท้านสภาพการถูกจองจำอันเลวร้ายในคุกแม้แต่น้อย บางคนปล่อยตัวได้เพียง 5 วันก็กลับเข้ามาอีก

มาดี บุญช่วย ชาวศรีสะเกษ วัย 56 ปี เป็นนักโทษที่เข้า-ออกเรือนจำพิเศษกรุงเทพ ถึง 5 ครั้งด้วยกัน ครั้งหลังสุดเข้าไปในร้านเซเว่นอีเลฟเว่น หยิบบะหมี่สำเร็จรูป 5 ซอง เดินออกจากร้านไปยืนรอให้ตำรวจมาจับกุม เข้ามาขังอยู่ในคุกอย่างน้อยที่สุดก็มีที่ซุกหัวนอนและมีข้าวกิน

อีกจำนวนมากที่ถูกคุมขังเป็นนักโทษ ซึ่งถือเป็นผู้บริสุทธิ์ตามหลักสิทธิมนุษยชนและรัฐธรรมนูญที่ระบุไว้ว่า “ในคดีอาญาต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่า ผู้ต้องหาหรือจำเลย ไม่มีความผิดก่อนมีคำพิพากษาอันถึงที่สุด แสดงว่าบุคคลใดได้กระทำความผิดจะปฏิบัติต่อบุคคลนั้น เสมือนเป็นผู้กระทำความผิดไม่ได้”

นั่นเป็นถ้อยคำสวยหรู เป็นการยอมรับหลักการสิทธิมนุษยชนที่ปรากฏอยู่ในรัฐธรรมนูญ แต่ทว่าในความเป็นจริง ศาลมักจะไม่ให้สิทธิการประกันตัว หรือการปล่อยตัวชั่วคราว ด้วยเหตุผลง่ายๆ คือ หนึ่ง คดีมีโทษสูงกลัวการหลบหนี เป็นเหตุผลครอบจักรวาล เพราะเป็นเพียงการใช้ดุลยพินิจของผู้พิพากษา จึงมักปรากฏว่าหากจะได้รับการประกันตัว ตามหลักสิทธิมนุษยชนต้องมีการ “วิ่งเต้น” จ่ายเงินใต้โต๊ะ ตามธรรมเนียมปฏิบัติที่มีมาช้านาน สอง ผู้ถูกกล่าวหาไม่มีหลักทรัพย์ หรือมีบุคคลน่าเชื่อถือค้ำประกัน ดังนั้นคนยากจนย่อมต้องถูกคุมขัง ไม่ได้รับสิทธิตามรัฐธรรมนูญ ส่วนคนรวยมักจะได้รับสิทธิกันง่ายดาย

1. นายประสิทธิ์ วัชรบัณฑิตย์ เป็นวิทยากรบรรยายธุรกิจขายตรงให้กับบริษัทอีซี่เน็ตเวิร์คมาเก็ตติ้ง ถูกกล่าวหามีความผิดตามพรบ.ขายตรง และพรก.กู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน ถูกจับกุมคุมขังอยู่ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพกับพวกรวม 13 คน บริษัทดังกล่าวชักชวนและจูงใจให้ประชาชนทั่วไปเข้าร่วมฟังการบรรยาย อบรม เพื่อลงทุนซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคทั่วไป เช่น ข้าวสาร กาแฟ บะหมี่สำเร็จรูป ฯลฯ โดยคิดมูลค้าการลงทุนซื้อเป็นหุ้น และจ่ายผลตอบแทนเงินปันผลในจำนวนที่สูงขึ้นภายในระยะเวลา 6 เดือน

เขาเป็นนักโทษถูกขังอยู่ตั้งแต่ปี 2550 เป็นต้นมา ปัจจุบันอายุ 65 ปี ป่วยเป็นโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตัน เคยผ่าตัดบายพาสและบอลลูน 2 ครั้ง คดียังอยู่ในระหว่างการไต่สวนของศาลมา 4 ปีแล้ว ยังไต่สวนไม่เสร็จ ได้ขอใช้สิทธิประกันตัว พร้อมหลักทรัพย์ตามเกณฑ์กำหนดมา 9 ครั้งแล้ว ศาลไม่อนุมัติ ช่วง 4 ปีในคุกบุตรสาวล้มป่วยจนเสียชีวิต โดยที่นายประสิทธิ์ไม่สามารถไปร่วมงานศพของลูกสาวได้

2. นายมานพ เอี่ยมสะอาด ผู้ต้องหาในความผิดตามพรบ.ขายตรง และพรก.กู้ยืมที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน ในคดีเดียวกันกับนายประสิทธิ์และพวก 13 คน ตำรวจจับกุมตัวเขาได้ และส่งตัวขังคุก เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2555 ได้รับการประกันตัวปล่อยออกไป เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2555

3. นายประภากร วรวรรณ ณ อยุธยา ผู้ต้องหาในความผิดฐานลักทรัพย์บัตรเครดิตผู้อื่น นำไปใช้ชำระซื้อสินค้าลงชื่อในบันทึกการขาย เป็นการปลอมเอกสารสิทธิ ศาลตัดสินจำคุก 3 กระทง กระทงละ 2 ปี มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษหนึ่งในสาม รวม 4 ปี 16 เดือน

นายประภากรต่อสู้คดี นำสืบเป็นราชนิกูล ร่ำรวยมาก ไม่มีความจำเป็นลักทรัพย์ แต่ที่กระทำลงไป เพราะมีจิตบกพร่อง หรือโรคจิตที่เรียกว่า “Bipolar Disorder” มีหลักฐานเป็นเวชระเบียบ และนายแพทย์โรงพยาบาลวิชัยยุทธ มาเบิกความว่านายประภากรป่วยทางจิต อารมณ์แปรปรวน หากอาการกำเริบไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมตนเอง

ศาลวินิจฉัยว่านายประภากรประกอบอาชีพขายน้ำหอมที่ห้างมาบุญครอง สามารถอธิบายสินค้าและเจรจาต่อรองได้ ทำความผิดด้วยการใช้อุบาย ระหว่างสอบสวนโต้ตอบได้ ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่ากระทำความผิดเพราะจิตบกพร่อง ตามมาตรา 65 ประมวลกฎหมายอาญา

ต่อมาเดือนกรกฎาคม 2555 นายประภากรยื่นคำร้องขอประกันตัว ศาลอุทธรณ์พิเคราะห์ว่าเป็นโรคจิตประเภทอารมณ์แปรปรวน ทำความผิดหลายครั้ง สอดคล้องกับคำวินิจฉัยของแพทย์ หากปล่อยตัวชั่วคราวจะเป็นอันตรายต่อสังคม และกลัวการหลบหนี จึงไม่อนุญาตประกันตัว

นายประภากรถูกคุมขังมา 2 ปี ไม่มีญาติมาเยี่ยมเยือนปล่อยให้เป็นนักโทษราชนิกูลอนาถา ทำให้ขาดโอกาสการรับการรักษาพยาบาลให้หายขาดเป็นปกติได้

4. นายอริสมันต์ พงษ์เรืองรอง แกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ (นปช.) ถูกกล่าวหาก่อการร้าย ยุยงปลุกปั่นประชาชนก่อความวุ่นวายหลายครั้งด้วยกัน หลบหนีการจับกุมเป็นเวลา 1 ปี กลับเข้ามามอบตัวถูกจับขังคุกเมื่อ 7 ธันวาตม 54 ได้รับสิทธิการประกันตัวออกไปเมื่อ 28 ธันวาคม 2554

5. นายสุรภักดิ์ อายุ 41 ปี สมาชิกแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ถูกกล่าวหาว่าโพสต์ข้อความในเครือข่ายสังคมออนไลน์ Facebook จำนวน 5 ครั้ง ถูกจับเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2554 นายสุรภักดิ์ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ยื่นคำร้องขอประกันตัว 5 ครั้ง ศาลไม่อนุญาตเกรงว่าจะหลบหนี

6. สนธิ ลิ้มทองกุล ถูกกล่าวหาร่วมกันทำรายงานการประชุมกรรมการบริษัทเป็นเท็จเกี่ยวกับการค้ำประกันเงินกู้กับธนาคารกรุงไทย 6 ครั้ง เป็นเงิน 1,078 ล้านบาท โดยไม่ทำรายงานต่อตลาดหลักทรัพย์เป็นการลวงนักลงทุน ศาลพิพากษาจำคุก 85 ปี นายสนธิรับสารภาพ ลดโทษเหลือ 42 ปี แต่กฎหมายลงโทษสูงสุด 20 ปี แต่นายสนธิได้รับการประกันตัวด้วยหลักทรัพย์ 10 ล้านบาท

ระยะเวลา 1 ปี ที่ผมถูกคุมขัง เป็นนักโทษการเมืองตั้งแต่วันที่ 2 พฤษภาคม 2554 ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพ ได้เจอะเจอผู้ถูกกล่าวหาถูกคุมขัง ได้รับทราบจากการบอกเล่าโดยตรงว่า สำหรับคนร่ำรวยอยู่คุกไม่กี่วันได้รับสิทธิประกันตัวด้วยเงินที่ต้องจ่ายใต้โต๊ะกันรายละ 1-5 ล้านบาท ส่วนหลักทรัพย์เป็นไปตามกฎเกณฑ์กำหนดจากโทษที่ระบุไว้ในกฎหมาย เช่น โทษ 1 ปี ต้องใช้หลักทรัพย์ไม่น้อยกว่า 1 แสนบาท โทษ 10 ปีก็ต้องใช้หลักทรัพย์ 1 ล้านบาท เป็นต้น

ในส่วนของผู้พิพากษายังไม่มีการตรวจสอบอย่างโปร่งใส ไม่ต้องแสดงทรัพย์สินก่อนและหลังรับตำแหน่ง ไม่มีการตรวจสอบความร่ำรวยผิดปกติ เหมือนกับฝ่ายนิติบัญญัติและบริหาร

กระบวนการยุติธรรมจึงเต็มไปด้วยการทุจริตคอรัปชั่น กินสินบาทคาดสินบน ใช้อิทธิพล เส้นสายช่วยเหลือผู้กระทำความผิด ตลอดจนใช้เป็นช่องทางกลั่นแกล้งทางการเมืองและการละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน “จริยธรรม” และ “ศีลธรรม” เป็นเพียงการแอบอ้าง และการโฆษณาชวนเชื่อ เพื่อให้ตนเองอยู่เหนือประชาชน เป็นพวกอภิสิทธิ์ชนในสังคม

อีกประเภทหนึ่งของคนไร้สิทธิเสรีภาพโดยสิ้นเชิง คือผู้ถูกกล่าวหาคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ตามมาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญา ที่จะไม่มีโอกาสได้รับสิทธิประกันตัว เว้นแต่บุคคลที่เป็นนักการเมือง หรือผู้มีอิทธิพลก็จะเป็นข้อยกเว้นให้ได้รับการประกันตัวเช่นกัน

การไม่ได้รับสิทธิการประกันตัว เท่ากับเป็นการมัดมือชกผู้ถูกกล่าวหา ไม่สามารถต่อสู้คดีอย่างเที่ยงธรรม ตามหลักนิติธรรม ผู้ถูกกล่าวหาคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพส่วนใหญ่จึงจำเป็นต้องยอมรับสารภาพในภาวะการถูกบีบบังคับเพื่อรับโทษกึ่งหนึ่ง และขอพระราชทานอภัยโทษต่อไป

ทุกวันนี้เราจึงมีนักโทษทั้งที่เป็นผู้บริสุทธิ์ ผู้กระทำความผิดจริง เป็นผู้ถูกกักขังอยู่ในคุกทั่วประเทศ 142 แห่ง เป็นจำนวน 2.8 แสนคน ในจำนวนนี้ 40% หรือราว 80,000 คน เป็นผู้ต้องขังอยู่ในระหว่างการไต่สวนของศาล ซึ่งยังไม่มีความผิด แต่ถูกกระทำเสมือนผู้กระทำผิดไปแล้ว

คุกตะรางและเหล่านักโทษที่มีชีวิตเยี่ยงสัตว์เดรัจฉาน คือบาดแผลอักเสบของสังคมไทย ตราบเท่าที่สังคมยังมีชนชั้นและความเหลื่อมล้ำต่ำสูง ยังมีคนรวยล้นฟ้า และคนจนต่ำติดดิน คนรวยมีอำนาจอิทธิพลต่อกระบวนการยุติธรรม จึงได้รับสิทธิพิเศษเป็นอภิสิทธิ์ชน กฎหมายและศาลมีไว้เพื่อปกป้องทรัพย์สินคนรวย คุกตะรางนอกจากมีไว้กักขังพวกที่ถูกตราหน้าว่าเป็นอาชญากรที่เป็นอันตรายต่อสังคมแล้ว คุกตะรางยังมีไว้เพื่อกลั่นแกล้งผู้บริสุทธิ์ ใช้เป็นเครื่องมือปิดหูปิดตาประชาชน เพื่อความมั่นคงของอำนาจรัฐเผด็จการอีกด้วย

 

(ติดตามอ่านตอนต่อไป)

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

บุก ‘ปุโละปุโย’ ดูภารกิจทหารทำกับชาวบ้านช่วงรอมฎอน

Posted: 13 Aug 2012 09:39 AM PDT

การปรับเปลี่ยนที่มาพร้อมคำสั่ง กับ‘3 ข้อไม่ 5 ข้อควร’ ให้กำลังพลปฏิบัติ ชาวบ้านยันยังไม่กระทบวิถีชีวิตปกติ

บรรยากาศหลังละศีลอดร่วมกันในเดือนรอมฎอน
ระหว่างทหารพรานกับชาวบ้านกาหยี ต.ปุโละปุโย อ.หนองจิก จ.ปัตตานี

 

 

ค่ำวันหนึ่ง ที่มัสยิดหลังเล็กๆ ของบ้านกาหยี ชายฉกรรจ์ในชุดดำ พร้อมอาวุธครบมือกลุ่มหนึ่ง นั่งลงรับประทานอาหารในช่วงละศีลอดร่วมกับชาวบ้านประมาณ 20 กว่าคนอย่างเฮฮา บรรยากาศจึงดูแปลกแตกต่างไปจากวิถีปกติของชาวบ้าน

ทว่า ทหารชุดดำจากหน่วยเฉพาะกิจทหารพรานที่ 22 บอกว่าเป็นกิจกรรมปกติในช่วงเดือนรอมฎอน คือการตระเวนไปร่วมกิจกรรมละศีลอดหรือมอบสิ่งของให้กับมัสยิดต่างๆ ในพื้นที่รับผิดชอบ

ครั้งนี้ คือคิวของมัสยิดดารุสสลาม บ้านกาหยี หมู่ที่ 1 ต.ปุโละปุโย อ.หนองจิก จ.ปัตตานี ซึ่งครั้งหนึ่งในซีกหนึ่งของหมู่บ้าน บริเวณริมทางหลวงหมายเลข 43 ชาวบ้านตันหยงบูโละ อันเป็นกลุ่มบ้านย่อยของบานกาหยี คือจุดเกิดเหตุทหารพราน ยิงชาวบ้านขณะเดินทางไปละหมาดศพ จนเสียชีวิตไป 4 ศพ บาดเจ็บอีก 5 คนเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2555

หลังเหตุการณ์ครั้งนั้น ความหวาดระแวงระหว่างชาวบ้านกับเจ้าหน้าที่รัฐจึงเพิ่มสูงขึ้น กระทั่งทางแม่ทัพภาคที่ 4 มีคำสั่งให้ย้ายกำกังทหารพรานชุดเดิมออกไปจากพื้นที่ และส่งทหารพรานจากหน่วยเฉพาะกิจทหารพรานที่ 22 เข้ามาทำหน้าที่แทน เป็นกำลังที่มีฐานที่ตั้งเดิมอยู่ไกลถึงจังหวัดสกลนคร

เป็นทหารพรานชุดใหม่ ภายใต้การนำของ พ.อ.ชาคริต สนิทพ่วง ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจทหารพรานที่ 22 จึงพยายามเข้าหามวลชนมากขึ้น พยายามพบปะพูดคุยกับชาวบ้าน สร้างความสนิทสนมและความไว้เนื้อเชื่อใจ ซึ่งกิจกรรมละศีลอดร่วมกับชาวบ้านก็เป็นส่วนหนึ่งของงานมวลชน ทว่าต้องปรับเปลี่ยนบางอย่างเพื่อความเหมาะสม

พ.ท.ธีรพงษ์ โอวาท รองผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 22 ระบุว่า ในช่วงเดือนรอมฎอน ทหารจะไม่มีกิจกรรมพบปะพี่น้องประชาชนในช่วงเวลากลางวัน แต่จะพบปะในช่วงกลางคืนเท่านั้น เช่น ร่วมละศีลอดกับชาวบ้านในพื้นที่หรือการมอบสิ่งของ

“เดือนรอมฎอนเป็นช่วงที่พี่น้องประชาชนที่อยู่นอกพื้นที่ได้กลับมายังบ้านเกิดจำนวนมาก ดังนั้นการเข้าไปร่วมกิจกรรมละศีลอด จะเป็นช่วงเวลาในการทำความเข้าใจกับพี่น้องประชาชนถึงการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ได้ดีที่สุด หรือหากประชาชนต้องการให้เจ้าหน้าที่ช่วยเหลืออะไร ก็สามารถร้องขอมาได้เลย”พ.ท.ธีรพงษ์กล่าว

ส่วนภารกิจทางด้านยุทธการ ก็มีการปรับเปลี่ยนเช่นกัน เช่น การตั้งด่านและการเดินลาดตระเวน ซึ่ง พ.ท.ธีรพงษ์ ระบุว่า มีการปรับลดกำลังในช่วงกลางวัน แล้วมาเพิ่มจำนวนในเวลากลางคืน เพื่อรักษาความปลอดภัยของพี่น้องประชาชน ซึ่งการลาดตระเวนในช่วงกลางคืนนั้น มีการประสานให้ผู้นำในท้องถิ่นทราบล่วงหน้า

การปรับเปลี่ยนดังกล่าว สอดคล้องกับการที่กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า (กอ.รมน.ภาค 4 สน.) ได้ออกคำสั่ง ข้อห้ามและข้อควรปฏิบัติของกำลังพลต่อราษฎรไทยมุสลิมในห้วงเดือนรอมฎอน เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2555 ที่ผ่านมา โดยมี 3 ข้อไม่ควรปฏิบัติ และ 5 ข้อควรปฏิบัติ (หนังสือ มศ.กอ.รมน.ภาค 4 สน. ที่ นร5119.1 (มศ.)/ 1816) รวมทั้งยังระบุถึงความสำคัญของเดือนรอมฎอน เพื่อให้กำลังพลได้ทราบด้วย

ชาวบ้านกาหยีคนหนึ่ง บอกว่า การพบปะชาวบ้านในเดือนรอมฎอนของทหาร ก็เป็นหน้าที่ปกติของทหารที่จะมาพบชาวบ้าน ส่วนชาวบ้านก็ทำหน้าที่ปกติในเดือนรอมฎอน คือการประกอบศาสนากิจ ชาวบ้านไม่ได้มองเป็นเรื่องแปลก

เขาระบุว่า ชาวบ้านที่นี่มีความสัมพันธ์ที่ดีกับทหาร เพราะเมื่อ 2 ปีก่อน ทหารมอบเงิน 100,000 บาท ให้ชาวบ้านได้ต่อเติมมัสยิดจนเสร็จ พร้อมกับมอบสีทามัสยิดด้วย

“ที่สำคัญในหมู่บ้านนี้ไม่เคยเกิดเหตุไม่สงบแม้แต่ครั้งเดียว เจ้าหน้าที่จึงไม่มาตั้งด่านหรือเดินการลาดตระเวนในเวลากลางคืน ชาวบ้านยังสะดวกที่จะไปประกอบศาสนากิจในช่วงกลางคืน”

ขณะที่ชาวบ้าน อีกรายได้ยกกรณีเหตุทหารพรานยิงชาวบ้านเสียชีวิต 4 ราย เพราะเข้าใจว่าเป็นกลุ่มคนร้ายว่า ที่เกิดเหตุอยู่อีกซีกหนึ่งของหมู่บ้าน และอยู่ไกลจากมัสยิดประจำหมู่บ้านกาหยีพอสมควร แต่เหตุการณ์นั้นก็ทำให้ชาวบ้านรู้สึกระแวงเจ้าหน้าที่พอสมควร

“ตอนนี้น่ะหรือ ถ้าเจอทหาร เราก็ยิ้มครับ ส่งยิ้มไว้ก่อน เป็นเพื่อนกันดีกว่า”

 



 

‘3 ข้อไม่ 5 ข้อควร ให้กำลังพลปฏิบัติช่วงรอมฎอน
 
 
กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า (กอ.รมน.ภาค 4 สน.) ได้ออกคำสั่ง ข้อห้ามและข้อควรปฏิบัติของกำลังพลต่อราษฎรไทยมุสลิมในห้วงเดือนรอมฎอน เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2555 ที่ผ่านมา โดยมี 3 ข้อไม่ควรปฏิบัติ และ 5 ข้อควรปฏิบัติ (หนังสือ มศ.กอ.รมน.ภาค 4 สน. ที่ นร5119.1 (มศ.)/ 1816)
 
สำหรับ ข้อไม่ควรปฏิบัติ ได้แก่
 
1. ห้ามรับประทานอาหารและเครื่องดื่มในสถานที่มีมุสลิมอยู่
 
2. ห้ามพูดจาไม่สุภาพ และใช้วาจาในการดูหมิ่นในการถือศีลอดของพี่น้องมุสลิม
 
3. ไม่สมควรที่จะเชิญประชาชนในพื้นที่ เข้าร่วมประชุม พบปะ ตั้งแต่ 12.00 น. หากจำเป็นจำเป็นควรปรึกษาผู้นำศาสนาในท้องถิ่น
 
ส่วนข้อควรปฏิบัติ ได้แก่
 
1. ร่วมละศีลอดกับผู้นำศาสนา และคณะกรรมมัสยิด ตามคำเชิญ
 
2. เยี่ยมเยียน พบปะ และมอบสิ่งของ (ที่ฮาลาล) ให้กับผู้นำศาสนา และคนยากจนตามความเหมาะสม
 
3. อำนวยความสะดวกในกรณีที่พี่น้องมุสลิมต้องเดินทางไปมัสยิดในเวลาก่อนรุ่งอรุณ เพื่อไปปฏิบัติศาสนากิจ
 
4. ในช่วงเวลา 19.30 น.จะต้องอำนวยการความสะดวกต่อพี่น้องมุสลิมที่จะต้องเดินทางไปละหมาดที่มัสยิดเป็นกรณีพิเศษ และจะสิ้นสุดเวลาประมาณ 21.30 น. ควรวางแผนออกพบปะเยี่ยมเยียนในห้วงเวลาที่เหมาะสม
 
5. ช่วงเวลาประมาณ 03.30 น. ทุกบ้านจะมีการประกอบอาหาร เพื่อรับประทานก่อนรุ่งอรุณ ไม่ใช่เรื่องผิดปกติแต่อย่างใด
 
ในคำสั่งดังกล่าว ยังระบุถึงความสำคัญของเดือนรอมฎอน เพื่อให้กำลังพลได้ทราบด้วยว่า เดือนรอมฎอนเป็นเดือนลำดับที่ 9 (จะนับเดือนตามจันทรคติ) ตามปฏิทินของอิสลาม เป็นเดือนที่มีความประเสริฐมากกว่าเดือนอื่นๆ เป็นเดือนที่ประตูทุกบานของสวรรค์ถูกเปิดออก ประตูนรกทุกบานจะถูกปิดลงและเหล่ามารร้ายชัยฎอนจะถูกล่ามโซ่เอาไว้
 
อีกทั้งเป็นเดือนที่มีผลรางวัลตอบแทนอย่างมหาศาลมากกว่าเดือนอื่นๆ เป็นทวีคูณสำหรับบุคคลที่ทำความดีในเดือนนี้ และในเดือนนี้มีซุนนะห์ (แบบอย่างจากศาสดา) ให้ทำเช่น การละหมาดตะรอเวียะห์ การเอียะอติกาฟ (การอยู่ในมัสยิดตลอด 24 ชั่วโมงสำหรับ 10 วันสุดท้ายในเดือนรอมฎอน) อัล-กิยามุลลัย (การละหมาดหลังเที่ยงคืนเป็นต้นไป) เป็นต้นไป
 
และในเดือนรอมฎอนนี้ จะมีค่ำคืนหนึ่งที่มีความสำคัญมากที่สุดคือคืนอัล-ก็อดร์ ซึ่งเป็นค่ำคืนที่มีความประเสริฐมากกว่าเดือนอื่นๆ ถึง 1,000 เท่า
 
ภารกิจหลักในช่วงเดือนรอมฎอนของมุสลิมทุกคน(ที่มีความสามารถ)ไม่ว่าผู้ชายหรือผู้หญิง จะต้องงดเว้นจากการบริโภคทุกชนิด ตั้งแต่แสงรุ่งอรุณจนถึงดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า แต่จะสามารถบริโภคได้ ตั้งแต่ดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า (เวลาประมาณ 18.30 น.) จนกว่าก่อนแสงรุ่งอรุณ(เวลาประมาณ 04.20 น.)
 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

นักวิชาการเตรียมล่าชื่อร้องนายกฯ ยัดไส้ชงรัฐทำเอฟทีเอผูกขาดยา

Posted: 13 Aug 2012 09:31 AM PDT

รุมประณามกรมเจรจาการค้าฯ ยัดไส้มั่วข้อมูลชงรัฐบาลทำเอฟทีเอผูกขาดยาตามอียู อ้างไม่มีผลกระทบ 

13 ส.ค.55 จากการที่กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ในฐานะเลขานุการการประชุมระดับสูงเพื่อพิจารณาเตรียมการเปิดการเจรจาการค้าเสรีของไทย เมื่อวันที่ 9ส.ค.ที่ผ่านมา ที่เสนอต่อรัฐบาลว่า ‘ควรกำหนดให้ไทยมีท่าทีการเจรจาที่ยืดหยุ่น โดยอาจยอมรับข้อผูกพันที่มากกว่า TRIPs หรือยอมรับ TRIPs Plus ในการจัดทำการค้าเสรีกับสหภาพยุโรป เนื่องจากการคุ้มครองข้อมูลทดสอบยา (Data Exclusivity) เพิ่มเติม 5 ปีจะไม่มีผลกระทบต่อราคายาในปัจจุบัน และการคุ้มครองข้อมูลทดสอบยา อาจมีผลทำให้ยาสามัญ (Generic drugs) วางตลาดได้ช้าลงแต่ไม่เกิน 5 ปี จึงทำให้ผลกระทบต่อยามีจำกัด’ และจะเร่งนำร่างกรอบดังกล่าวเข้าสู่ ครม.ใน 1-2 สัปดาห์นี้เพื่อทันการพิจารณาของรัฐสภาใน ส.ค.

นักวิชาการและองค์กรพัฒนาเอกชนที่ติดตามการเจรจาการค้าระหว่างประเทศที่มีผลกระทบต่อการเข้าถึงยาและการรักษาแสดงความเคลือบแคลงความเห็นของกรมเจรจาฯ ว่ามีความผิดปกติอย่างยิ่งเพราะขัดกับหลักฐานทางวิชาการและความเป็นจริง
 
ทางด้าน รศ.ดร.จิราพร ลิ้มปานานนท์ สมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ระบุว่า ที่ผ่านมาสภาที่ปรึกษาหลายสมัยได้เคยส่งความเห็นถึงรัฐบาลมาโดยตลอดว่า การเจรจาการค้าระหว่างประเทศไม่ควรรับข้อเรียกร้องที่เกินไปกว่าความตกลงทริปส์ในองค์การการค้าโลกเพราะเรื่องนี้มีผลกระทบรุนแรงมาก ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์แห่งชาติด้านยาที่เพิ่งประกาศใช้ก็ได้กำหนดไว้เช่นกัน
 
“ไม่เข้าใจว่า เหตุใดกรมเจรจาฯจึงมีความเห็นเช่นนั้น เพราะแม้แต่งานศึกษาที่กรมเจรจาฯจัดจ้างสถาบันทีดีอาร์ไอศึกษายังให้ข้อสรุปว่า ‘หากไทยยอมรับข้อเรียกร้องด้านทรัพย์สินทางปัญญาของสหภาพยุโรป ปัญหาการเข้าถึงยาสำคัญภายใต้สิทธิบัตรจะทวีความรุนแรงมากขึ้น และโอกาสที่บริษัทยาไทยจะได้รับประโยชน์อย่างมีนัยสำคัญจากการยกระดับการคุ้มครองยาต้นแบบให้สูงขึ้นมีค่อนข้างจำกัด ในขณะที่ผลประโยชน์เกือบทั้งหมดน่าจะตกกับบริษัทยาข้ามชาติ’ ที่สำคัญการยอมตามสหภาพยุโรปจะไม่ใช่แค่เรื่องทวิภาคี เพราะในมาตรา 4 ของความตกลงทริปส์เมื่อให้ประเทศใดก็ต้องให้กับประเทศอื่นๆด้วย หวั่นเกรงว่า เมื่อกรมเจรจาฯไม่มีความรู้ หรือไม่ใช้ความรู้ อาจส่งผลร้ายแรงทำให้รัฐบาลตัดสินใจผิดพลาดได้”
 
ทั้งนี้ รศ.ดร.จิราพร ชี้ว่า การผูกขาดข้อมูลทางยา (Data Exclusivity) หรือที่กรมเจรจาฯเลี่ยงไปใช้คำว่า การคุ้มครองข้อมูลทางยา เพื่อลดโทนของภาษาลงอย่างผิดทิศผิดทางนั้น เป็นการผูกขาดตลาดที่ไม่มีเหตุผลและมีความเสียหายร้ายแรงที่สุดในบรรดาข้อเรียกร้องทริปส์พลัสทั้งหมด จากการศึกษาค่าใช้จ่ายด้านยาเพิ่มขึ้นทุกปี โดยในปีที่ 5จะมีผลกระทบมากกว่า 80,000 ล้านบาทต่อปี นอกจากนี้ยังมีข้อเรียกร้องของสหภาพยุโรปเรื่องการจัดการ ณ จุดผ่านแดนที่ต้องการให้มีการยึดยาที่ต้องสงสัยซึ่งจะยิ่งถูกใช้เป็นการกลั่นแกล้งอุตสาหกรรมยาชื่อสามัญอย่างไม่เป็นธรรมดังที่เกิดขึ้นหลายกรณีพิพาทระหว่างอินเดียและสหภาพยุโรปตามเมืองท่าต่างๆ
 
ดังนั้นในวันพฤหัสบดีที่ 23 นี้ทางคณะทำงานด้านสาธารณสุข สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจะเชิญกรมเจรจาฯและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูลเพื่อทำความเห็นเสนอต่อรัฐบาลอย่างเร่งด่วนที่สุด
 
ทางด้าน ผศ.ดร.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้จัดการแผนงานพัฒนากลไกเฝ้าระวังระบบยา (กพย.) ชี้ว่า ความเห็นของกรมเจรจาฯเป็นความเห็นที่บิดเบือนจากความเป็นจริง ไม่ได้ตั้งอยู่บนฐานวิชาการ และไร้มนุษยธรรม ซึ่งจะชี้นำทิศทางที่ผิดพลาดให้แก่ผู้กำหนดนโยบายที่ให้ความสำคัญกับการลดความเหลื่อมล้ำในระบบสุขภาพ
 
“ขณะนี้นักวิชาการด้านเภสัชศาสตร์ การแพทย์ การสาธารณสุข การพัฒนาสังคม การคุ้มครองผู้บริโภค และการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน กำลังรวบรวมรายชื่อเพื่อทำหนังสือถึงรัฐบาลขอให้นายกรัฐมนตรียืนยันที่จะกำหนดไว้ในกรอบการเจรจาเอฟทีเอ ไทย-สหภาพยุโรปที่จะไม่รับข้อเรียกร้องที่เกินไปกว่าความตกลงทริปส์ และขอให้การเจรจาเอฟทีเอกับสหภาพยุโรปที่จะมีขึ้นรอผลการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติกำลังดำเนินการอยู่” 
 
นายนิมิตร์ เทียนอุดม ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ กล่าวว่า กำลังพยายามติดต่อคนในรัฐบาลให้รับรู้ถึงความผิดปกตินี้
 
“หากปล่อยให้กรมเจรจาฯสอดไส้ร่างกรอบเจรจาฯที่บิดเบือนข้อเท็จจริงเข้า ครม.ในเร็วๆนี้ นี่จะคือหายนะของประเทศ และอาจเป็นไปได้ที่รัฐบาลจะติดกับดักที่คนในกรมเจรจาฯวางดักให้รัฐบาลเสี่ยงกับการผิดรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 โดยไม่นำร่างกรอบเจรจาฯรับฟังความคิดเห็นก่อนเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา”
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

โครงการรณรงค์เพื่อเสื้อผ้าสะอาด ร้องผู้แทน EU ร่วมสังเกตคดีไทรอัมพ์ฯ

Posted: 13 Aug 2012 09:27 AM PDT

หวั่นลำเอียงและเป็นบรรทัดฐานในการฟ้องคดีต่อกรรมการสหภาพแรงงาน เอ็นจีโอ และภาคประชาสังคมที่ใช้สิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุมในโอกาสต่อไป

เมื่อวันที่ 6 ส.ค.55 ที่ผ่านมา กลุ่มโครงการรณรงค์เพื่อเสื้อผ้าที่สะอาดปลอดการกดขี่ หรือ Clean Cloth Campaign (CCC) โดย นางสาวเต็ตเซล (Ms. Tessel Pauli) ผู้ประสานงานร้องเรียนเร่งด่วน สำนักเลขาธิการต่างประเทศกลุ่มโครงการรณรงค์เพื่อเสื้อผ้าที่สะอาดปลอดการกดขี่ (Urgent Appeals Coordinator, Clean Clothes Campaign International Secretariat) ได้ส่งจดหมายถึง ฯพณฯ เดวิด ลิปแมน เอกอัครราชทูตและหัวหน้าคณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย (Ambassador Lipman Head of the EU Delegation to Thailand) เรียกร้องให้เข้าร่วมสังเกตการณ์พิจารณาคดี ระหว่างวันที่ 23, 24, 28 - 30 ส.ค.นี้ ที่ศาลอาญา รัชดา กังวลอย่างมากว่าการไต่สวนคดีนี้จะลำเอียงและเป็นบรรทัดฐานในการฟ้องคดีต่อต่อกรรมการสหภาพแรงงาน เอ็นจีโอ และภาคประชาสังคมต่อไป

โดยจดหมายร้องเรียนระบุว่าในนามของ กลุ่มโครงการรณรงค์เพื่อเสื้อผ้าที่สะอาดปลอดการกดขี่ ได้เคยติดต่อทางเอกอัครราชทูตฯ มาแล้วหลายครั้งเกี่ยวกับการฟ้องคดีผู้นำแรงงานสามคน คือ น.ส.บุญรอด สายวงศ์(อดีตเลขาธิการสหภาพแรงงานไทรอัมพ์ฯ) น.ส.จิตรา คชเดช (ที่ปรึกษาสหภาพแรงงานไทรอัมพ์ฯ) และนายสุนทร บุญยอด(เจ้าหน้าที่สภาศูนย์กลางแรงงาน) ที่จัดชุมนุมอย่างสงบเพื่อประท้วงการปลดคนงานไทรอัมพ์ฯ กว่า 2,000 คน ในวันที่ 28 ส.ค. 2552 (27 ส.ค.52 – ประชาไท) ต่อมามีการฟ้องคดีกับผู้นำแรงงานทั้งสามคนตามมารตรา 215 และ 216 ของประมวลกฎหมายอาญา กรณีที่ชุมนุมหน้ารัฐสภา เราได้ขอให้ท่านส่งตัวแทนเข้าสังเกตการณ์พิจารณาคดีในระหว่างวันที่ 23, 24, 28 - 30 ส.ค.นี้ที่ศาลอาญา รัชดา

นอกจากนี้ในจดหมายดังกล่าวยังระบุด้วยว่า ได้ทราบว่าเอกอัครราชทูตฯ มีความประสงค์เข้าร่วมฟังการพิจารณาคดีในเดือนสิงหาคม ซึ่งทาง CCC ได้เรียกร้องให้ทาง เอกอัครราชทูตฯ ได้ยืนยันกลับมาด้วยว่าจะเข้ารับฟัง โดยทาง CCC กังวลอย่างมากว่าการไต่สวนคดีครั้งนี้จะเป็นกรณีที่ลำเอียงและผู้นำแรงงานที่ถูกกล่าวหาเสียเปรียบมาก และถือว่าเป็นคดีสำคัญอย่างยิ่ง โดยจะกลายเป็นบรรทัดฐานในการฟ้องคดีต่อกรรมการสหภาพแรงงาน เอ็นจีโอ และภาคประชาสังคมที่ใช้สิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุมในโอกาสต่อไป

สำหรับ Clean Cloth Campaign (CCC) เป็นองค์กรที่ทำงานรณรงค์คุ้มครองการละเมิดแรงงาน ส่งเสริมการปรับปรุงสภาพการ​จ้างงานและหนุนช่วยการเสริม​สร้างศักยภาพของคน งานในอุตส​าหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้าทั่วโ​ลก มีสำนักงานประจำอยู่ใน 15 ประเทศในยุโรปและทำงานกับ เค​รือข่าย 250 องค์กรทั่วโลก

ทั้งนี้การชุมนุมเมื่อวันที่ 27 ส.ค.52 ที่เป็นเหตุให้ 3 ผู้นำแรงงานดังกล่าวดำเนินคดี "ร่วมกันมั่วสุมตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปก่อการวุ่นวานขึ้นในบ้านเมือง โดยเป็นหัวหน้าหรือผู้มีหน้าที่สังการในการกระทำความผิดนั้น เมื่อเจ้าพนักงานสั่งให้ผู้ที่มั่วสุมเพื่อกระทำความผิดนั้นให้เลิกแล้วไม่ เลิก" ในคดีหมายเลขดำที่ อ.620/2554 ซึ่งมีพนักงานอัยการ สนง.อัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 10 สนง.อัยการสูงสุด เป็นโจทก์ นั้น เป็นการชุมนุมของคนงานจากสหภาพแรงงานไทรอัมพ์อินเตอร์เนชั่นแนลแห่งประเทศ ไทย, สหภาพแรงงานอิเล็กทรอนิกส์และ แม็คคานิคส์ ในเครือบริษัทเอนี่ออน อิเล็กทรอนิกส์ (ไทยแลนด์) จำกัด และคนงานบริษัท เวิลด์เวลล์การ์เม้นท์ พร้อมองค์กรแรงงานและประชาชนกว่า 1,000 คน ไปยังทำเนียบรัฐบาลและรัฐสภา เพื่อติดตามความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหาหลังจากได้ยื่นเรื่องต่อนายกรัฐมนตรี(นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในขณะนั้น) ก่อนหน้านั้น

โดยในวันดังกล่าว มีการใช้เครื่องขยายเสียงระดับไกล หรือ LRAD กับผู้ชุมนุมด้วย ซึ่งหลังจากนั้น นักกิจกรรมกลุ่มหนึ่งได้ทำหนังสือประณามการกระทำของเจ้าหน้าที่ตำรวจ เรียกร้องให้ถอนการออกหมายจับโดยทันที รวมถึงเรียกร้องให้รัฐบาลและคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ดำเนินการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนของเจ้าหน้าที่ตำรวจด้วย

 

จดหมายที่ทาง CCC ยื่นต่อเอกอัครราชทูตและหัวหน้าคณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย :

 

 

 

 

 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง :

สหภาพแรงงานไทรอัมพ์อินเตอร์เนชั่นแนลแห่งประเทศไทย http://prachatai.com/category/สหภาพแรงงานไทรอัมพ์อินเตอร์เนชั่นแนลแห่งประเทศไทย

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

โครงการรณรงค์เพื่อเสื้อผ้าสะอาด ร้องผู้แทน EU ร่วมสังเกตคดีไทรอัมพ์ฯ

Posted: 13 Aug 2012 09:27 AM PDT

หวั่นลำเอียงและเป็นบรรทัดฐานในการฟ้องคดีต่อกรรมการสหภาพแรงงาน เอ็นจีโอ และภาคประชาสังคมที่ใช้สิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุมในโอกาสต่อไป

เมื่อวันที่ 6 ส.ค.55 ที่ผ่านมา กลุ่มโครงการรณรงค์เพื่อเสื้อผ้าที่สะอาดปลอดการกดขี่ หรือ Clean Cloth Campaign (CCC) โดย นางสาวเต็ตเซล (Ms. Tessel Pauli) ผู้ประสานงานร้องเรียนเร่งด่วน สำนักเลขาธิการต่างประเทศกลุ่มโครงการรณรงค์เพื่อเสื้อผ้าที่สะอาดปลอดการกดขี่ (Urgent Appeals Coordinator, Clean Clothes Campaign International Secretariat) ได้ส่งจดหมายถึง ฯพณฯ เดวิด ลิปแมน เอกอัครราชทูตและหัวหน้าคณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย (Ambassador Lipman Head of the EU Delegation to Thailand) เรียกร้องให้เข้าร่วมสังเกตการณ์พิจารณาคดี ระหว่างวันที่ 23, 24, 28 - 30 ส.ค.สิงหาคม ที่ศาลอาญา รัชดา กังวลอย่างมากว่าการไต่สวนคดีนี้จะลำเอียงและเป็นบรรทัดฐานในการฟ้องคดีต่อต่อกรรมการสหภาพแรงงาน เอ็นจีโอ และภาคประชาสังคมต่อไป

โดยจดหมายร้องเรียนระบุว่าในนามของ กลุ่มโครงการรณรงค์เพื่อเสื้อผ้าที่สะอาดปลอดการกดขี่ ได้เคยติดต่อทางเอกอัครราชทูตฯ มาแล้วหลายครั้งเกี่ยวกับการฟ้องคดีผู้นำแรงงานสามคน คือ น.ส.บุญรอด สายวงศ์(อดีตเลขาธิการสหภาพแรงงานไทรอัมพ์ฯ) น.ส.จิตรา คชเดช (ที่ปรึกษาสหภาพแรงงานไทรอัมพ์ฯ) และนายสุนทร บุญยอด(เจ้าหน้าที่สภาศูนย์กลางแรงงาน) ที่จัดชุมนุมอย่างสงบเพื่อประท้วงการปลดคนงานไทรอัมพ์ฯ กว่า 2,000 คน ในวันที่ 28 สิงหาคม 2552 (27 ส.ค.52 – ประชาไท) ต่อมามีการฟ้องคดีกับผู้นำแรงงานทั้งสามคนตามมารตรา 215 และ 216 ของประมวลกฎหมายอาญา กรณีที่ชุมนุมหน้ารัฐสภา เราได้ขอให้ท่านส่งตัวแทนเข้าสังเกตการณ์พิจารณาคดีในระหว่างวันที่ 23, 24, 28 - 30 ส.ค.สิงหาคม ที่ศาลอาญา รัชดา

นอกจากนี้ในจดหมายดังกล่าวยังระบุด้วยว่า ได้ทราบว่าเอกอัครราชทูตฯ มีความประสงค์เข้าร่วมฟังการพิจารณาคดีในเดือนสิงหาคม ซึ่งทาง CCC ได้เรียกร้องให้ทาง เอกอัครราชทูตฯ ได้ยืนยันกลับมาด้วยว่าจะเข้ารับฟัง โดยทาง CCC กังวลอย่างมากว่าการไต่สวนคดีครั้งนี้จะเป็นกรณีที่ลำเอียงและผู้นำแรงงานที่ถูกกล่าวหาเสียเปรียบมาก และถือว่าเป็นคดีสำคัญอย่างยิ่ง โดยจะกลายเป็นบรรทัดฐานในการฟ้องคดีต่อกรรมการสหภาพแรงงาน เอ็นจีโอ และภาคประชาสังคมที่ใช้สิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุมในโอกาสต่อไป

สำหรับ Clean Cloth Campaign (CCC) เป็นองค์กรที่ทำงานรณรงค์คุ้มครองการละเมิดแรงงาน ส่งเสริมการปรับปรุงสภาพการ​จ้างงานและหนุนช่วยการเสริม​สร้างศักยภาพของคน งานในอุตส​าหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้าทั่วโ​ลก มีสำนักงานประจำอยู่ใน 15 ประเทศในยุโรปและทำงานกับ เค​รือข่าย 250 องค์กรทั่วโลก

ทั้งนี้การชุมนุมเมื่อวันที่ 27 ส.ค.52 ที่เป็นเหตุให้ 3 ผู้นำแรงงานดังกล่าวดำเนินคดี "ร่วมกันมั่วสุมตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปก่อการวุ่นวานขึ้นในบ้านเมือง โดยเป็นหัวหน้าหรือผู้มีหน้าที่สังการในการกระทำความผิดนั้น เมื่อเจ้าพนักงานสั่งให้ผู้ที่มั่วสุมเพื่อกระทำความผิดนั้นให้เลิกแล้วไม่ เลิก" ในคดีหมายเลขดำที่ อ.620/2554 ซึ่งมีพนักงานอัยการ สนง.อัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 10 สนง.อัยการสูงสุด เป็นโจทก์ นั้น เป็นการชุมนุมของคนงานจากสหภาพแรงงานไทรอัมพ์อินเตอร์เนชั่นแนลแห่งประเทศ ไทย, สหภาพแรงงานอิเล็กทรอนิกส์และ แม็คคานิคส์ ในเครือบริษัทเอนี่ออน อิเล็กทรอนิกส์ (ไทยแลนด์) จำกัด และคนงานบริษัท เวิลด์เวลล์การ์เม้นท์ พร้อมองค์กรแรงงานและประชาชนกว่า 1,000 คน ไปยังทำเนียบรัฐบาลและรัฐสภา เพื่อติดตามความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหาหลังจากได้ยื่นเรื่องต่อนายกรัฐมนตรี(นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในขณะนั้น) ก่อนหน้านั้น

โดยในวันดังกล่าว มีการใช้เครื่องขยายเสียงระดับไกล หรือ LRAD กับผู้ชุมนุมด้วย ซึ่งหลังจากนั้น นักกิจกรรมกลุ่มหนึ่งได้ทำหนังสือประณามการกระทำของเจ้าหน้าที่ตำรวจ เรียกร้องให้ถอนการออกหมายจับโดยทันที รวมถึงเรียกร้องให้รัฐบาลและคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ดำเนินการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนของเจ้าหน้าที่ตำรวจด้วย

 

จดหมายที่ทาง CCC ยื่นต่อเอกอัครราชทูตและหัวหน้าคณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย :

 

 

 

 

 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง :

สหภาพแรงงานไทรอัมพ์อินเตอร์เนชั่นแนลแห่งประเทศไทย http://prachatai.com/category/สหภาพแรงงานไทรอัมพ์อินเตอร์เนชั่นแนลแห่งประเทศไทย

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

วีรพัฒน์ ปริยวงศ์: ศาลสหรัฐฯ ยืนยัน ไทยติดหนี้ ‘ค่าโง่ทางด่วน’

Posted: 13 Aug 2012 09:03 AM PDT

คนไทยคงจำ ‘คดีค่าโง่ทางด่วน’ (ดอนเมืองโทลล์เวย์) ที่ ประเทศไทยถูกบริษัทต่างชาติ ‘วาลเทอร์ เบา’ (Walter Bau) ฟ้องรัฐบาลไทยว่า ให้เขามาทำทางด่วน แต่ทำเขาเสียหายขาดทุน สุดท้ายไทยแพ้คดี ถูกสั่งให้จ่ายค่าโง่ประมาณ 1,200 ล้านบาท
 
คดีค่าโง่ ‘ภาคนี้’ น่าสนใจเพราะต่างจากคดีค่าโง่ ‘ภาคอื่น’ ซึ่งมักจบลงที่ ‘ศาลไทย’ แบบ ‘เงียบๆ งงๆ’ เพราะศาลไทยเคยบอกว่า เจ้าหน้าที่ไทยและบริษัทเอกชนร่วมกันโกง สัญญาเป็นโมฆะ แม้เอกชนอาจเสียหาย แต่รัฐบาลไทยก็ไม่ต้องจ่าย
 
แต่คดีค่าโง่ ‘ภาคดอนเมืองโทลล์เวย์’ นี้ พิเศษตรงที่มี ‘สนธิสัญญา’ ที่ดึงคดีไปถึง ‘อนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ’ ซึ่งเป็นเหมือนกรรมการตัดสินคดีแทนศาล
 
‘คณะอนุญาโตตุลาการ’ อาจไม่ค่อยเกรงใจรัฐบาลไทย และคงไม่บอกว่าอะไรๆ ก็โมฆะไปหมด สุดท้าย ไทยแพ้คดี ถูก ‘คณะอนุญาโตตุลาการ’ ชี้ขาดให้จ่ายค่าเสียหายให้ ‘วาลเทอร์ เบา’ ประมาณ 1,200 ล้านบาทบวกดอกเบี้ย
 
หนี้รัฐบาลไทย กระเทือนถึง ‘เครื่องบินพระที่นั่งส่วนพระองค์’ ?
พอรัฐบาลไทยไม่ยอมจ่าย กลุ่มเจ้าหนี้ของ ‘วาลเทอร์ เบา’ ซึ่งล้มละลาย (ซึ่งไม่แน่อาจมีบริษัทหรือธนาคารชื่อดังที่ตั้งในกรุงเทพรวมอยู่ด้วย) ก็พยายามตามยึดทรัพย์สินแทนหนี้ ลามปามไปจนขอให้ศาลเยอรมนีสั่งอายัด ‘เครื่องบินพระที่นั่งส่วนพระองค์’ ของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ซึ่งบินไปจอดที่เยอรมนีเมื่อปีที่แล้ว
 
ศาลเยอรมนีกล้าสั่งอายัด เพราะมองว่า ‘เครื่องบินพระที่นั่งส่วนพระองค์’ ซึ่งไม่ได้ใช้ในภารกิจราชการอาจถือเป็นทรัพย์สินของรัฐบาลไทยที่ยึดได้ ในขณะที่กฎหมายไทยอาจมีแนวคิดเรื่อง ‘ทรัพย์สินส่วนพระองค์’ ‘ทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์’ และ ทรัพย์สินประเภทอื่นของรัฐบาล ที่ต่างกันไป
 
เหตุการณ์นี้น่าสนใจมากทั้งในแง่การเมืองและกฎหมาย โดยเฉพาะเมื่อ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ทรงมีพระราชปณิธานพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ระงับข้อพิพาท (อ่านแถลงการณ์ได้ที่ http://astv.mobi/AgWO7Xa )
 
น่าคิดว่า ‘รัฐบาลหน้าไหน’ จะกล้ารับพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์มาแก้ปัญหาที่รัฐบาลเป็นผู้ก่อ ?
 
ตอนนั้น รัฐบาลคุณอภิสิทธิ์ จึงได้นำหลักประกัน (letter of guarantee) มูลค่ากว่า 1,500 ล้านบาท ไปวางไว้ต่อศาลที่เยอรมนี เพื่อถอนการอายัดเครื่องบินพระที่นั่ง แล้วสู้คดีต่อ (ซึ่งก็มีคำถามทางกฎหมายว่า การทำแบบนี้ทำให้รูปคดีเปลี่ยนไปหรือไม่ เพราะตามปกติบุคคลฝ่ายที่สามซึ่งสุจริต ย่อมควรอ้างสิทธิของตนด้วยตนเอง)
 
ถอนเครื่องบินได้แล้วไม่พอ รัฐบาลไทยก็ฟ้องกลับไปฝ่ายเจ้าหนี้ตัวดี ที่บังอาจไปขอศาลยึดเครื่องบินพระที่นั่ง
 
ถอน ‘เครื่องบิน’ ที่ ‘เยอรมนี’ เสร็จ จะถูกยึดที่ ‘สหรัฐฯ’ ต่ออีก ?
คดียังไม่จบ เพราะรัฐบาลไทยยังไม่ยอมจ่ายหนี้ง่ายๆ เพราะหากจ่ายไปก็มีเรื่องร้อนย้อนกลับมาหาคนผิด ในกรมโน้น กระทรวงนี้ รัฐบาลนั้น ว่าค่าโง่นี้ ท่านได้แต่ใดมา ต่างจากค่าโง่อื่น ที่ ‘ศาลฎีกาไทย’ บอกว่าเป็นโมฆะอย่างไร ?
 
ประชาชนก็ได้แต่สงสัยว่า แล้วใครจะรับผิดชอบ ตอนนี้ดอกเบี้ยค่าเสียหายก็เพิ่มพูนไปเรื่อยๆ
 
ล่าสุด เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2555 ศาลอุทธรณ์ในสหรัฐฯ (US 2nd Cir.) ได้ตัดสินยืนยันว่า คำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการที่ให้ประเทศไทยแพ้คดี 'ค่าโง่ทางด่วนดอนเมือง' นั้น กฎหมายสหรัฐฯ ให้การรับรองได้ (อ่านได้ที่ http://bit.ly/FoolFee )
 
พูดให้เข้าใจโดยง่าย ก็คือ กรณี ‘เครื่องบินพระที่นั่ง’ ที่ ‘เยอรมนี’ นั้นจบไปแล้วเฉพาะในส่วนตัวเครื่องบิน แต่หนี้ยังไม่หายไปไหน ดังนั้น หากรัฐบาลไทยไม่ยอมจ่ายหนี้ ทรัพย์สินของรัฐบาลไทยในนิวยอร์ก (บางอย่าง) ก็อาจถูกศาลสหรัฐฯสั่งยึดได้ เพื่อไปชำระหนี้ให้เจ้าหนี้
 
จึงน่าคิดต่อว่า หาก ‘เครื่องบินพระที่นั่งส่วนพระองค์’ ไปจอดที่นิวยอร์ก และไม่ได้ใช้ในภารกิจราชการ ศาลสหรัฐฯ จะถือว่าเป็นทรัพย์สินของรัฐบาลไทยที่ยึดได้หรือไม่ ?
 
เจ้าหนี้ต่างชาติ ตามยึดทรัพย์ไทยไปทั่วโลก ?
หลายท่านอาจ ‘งง’ บอกว่า คดียึดเครื่องบินที่เยอรมนี ไฉนมาโผล่ที่สหรัฐฯได้
 
ตอบแบบทั่วไปว่า กระบวนพิจารณาใน ‘เยอรมนี’ และ ‘สหรัฐฯ’ แม้มีที่มาจาก คำชี้ขาดฉบับเดียวกันโดยคณะอนุญาโตตุลาการชุดเดียวกัน แต่ไม่ได้ถือเรื่องเดียวกันเสียทีเดียว และการบังคับคดียึดทรัพย์แบบนี้ ทำได้ในหลายที่ เพราะมีสนธิสัญญารองรับอยู่กว่า 140 ประเทศทั่วโลก
 
ดังนั้น ตราบใดที่รัฐบาลไทยไม่ยอมจ่าย คดีตามยึดทรัพย์รัฐบาลไทย จึงอาจไปโผล่ที่ประเทศอื่นซึ่งมีสนธิสัญญารองรับอยู่ ก็เป็นได้
 
แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะไปยึดได้ทุกอย่างทันที เพราะยังมีขั้นตอนและข้อยกเว้น เพียงแต่หนทางต่อสู้เหลือน้อยเต็มที
 
ค่าโง่ที่พอกพูน?
คดีทั้งหมดไปถึงไหน ? ตกลงไทยฟ้องเอาผิดเจ้าหนี้ที่มายึดเครื่องบินได้หรือไม่ ? ไทยเอาภาษีไปจ่ายค่าทนายไปเท่าไหร่ ? ทนายที่ไทยจ้างในคดีพระวิหาร เคยเป็นทนายฟ้องไทยมาหรือไม่ (ซึ่งถ้าเก่งจริงก็ไม่ผิดอะไร) ? รัฐบาลไทย ไม่ยอมบอกประชาชนเลย
 
ล่าสุด มีข่าวว่า ครม. อนุมัติงบ 157 ล้านบาท เพื่อเป็น ‘เงินประกันศาลในการต่อสู้คดี’ ( http://bit.ly/PiE4Jx )
 
ค่านี้ก็ไม่รู้ว่าค่าอะไรอีก ถ้าร้อยกว่าล้านบาท เดาว่าอาจเป็นค่าทนายและค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับคดี เพราะหนี้พันกว่าล้าน ยังไม่หายไปไหน
 
ที่แน่ๆ ‘ค่าโง่’ อาจจ่ายได้เรื่อยๆ แต่ ‘ความโง่’ จะไม่หายไป หากรัฐบาลไทย ไม่ให้ ‘ความจริงครบๆ’ กับประชาชน !
 
 
 
---
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับคดีนี้ ดูเพิ่มได้ที่ http://bit.ly/FoolFee

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

วีรพัฒน์ ปริยวงศ์: ศาลสหรัฐฯ ยืนยัน ไทยติดหนี้ ‘ค่าโง่ทางด่วน’

Posted: 13 Aug 2012 09:02 AM PDT

คนไทยคงจำ ‘คดีค่าโง่ทางด่วน’ (ดอนเมืองโทลล์เวย์) ที่ ประเทศไทยถูกบริษัทต่างชาติ ‘วาลเทอร์ เบา’ (Walter Bau) ฟ้องรัฐบาลไทยว่า ให้เขามาทำทางด่วน แต่ทำเขาเสียหายขาดทุน สุดท้ายไทยแพ้คดี ถูกสั่งให้จ่ายค่าโง่ประมาณ 1,200 ล้านบาท
 
คดีค่าโง่ ‘ภาคนี้’ น่าสนใจเพราะต่างจากคดีค่าโง่ ‘ภาคอื่น’ ซึ่งมักจบลงที่ ‘ศาลไทย’ แบบ ‘เงียบๆ งงๆ’ เพราะศาลไทยเคยบอกว่า เจ้าหน้าที่ไทยและบริษัทเอกชนร่วมกันโกง สัญญาเป็นโมฆะ แม้เอกชนอาจเสียหาย แต่รัฐบาลไทยก็ไม่ต้องจ่าย
 
แต่คดีค่าโง่ ‘ภาคดอนเมืองโทลล์เวย์’ นี้ พิเศษตรงที่มี ‘สนธิสัญญา’ ที่ดึงคดีไปถึง ‘อนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ’ ซึ่งเป็นเหมือนกรรมการตัดสินคดีแทนศาล
 
‘คณะอนุญาโตตุลาการ’ อาจไม่ค่อยเกรงใจรัฐบาลไทย และคงไม่บอกว่าอะไรๆ ก็โมฆะไปหมด สุดท้าย ไทยแพ้คดี ถูก ‘คณะอนุญาโตตุลาการ’ ชี้ขาดให้จ่ายค่าเสียหายให้ ‘วาลเทอร์ เบา’ ประมาณ 1,200 ล้านบาทบวกดอกเบี้ย
 
หนี้รัฐบาลไทย กระเทือนถึง ‘เครื่องบินพระที่นั่งส่วนพระองค์’ ?
พอรัฐบาลไทยไม่ยอมจ่าย กลุ่มเจ้าหนี้ของ ‘วาลเทอร์ เบา’ ซึ่งล้มละลาย (ซึ่งไม่แน่อาจมีบริษัทหรือธนาคารชื่อดังที่ตั้งในกรุงเทพรวมอยู่ด้วย) ก็พยายามตามยึดทรัพย์สินแทนหนี้ ลามปามไปจนขอให้ศาลเยอรมนีสั่งอายัด ‘เครื่องบินพระที่นั่งส่วนพระองค์’ ของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ซึ่งบินไปจอดที่เยอรมนีเมื่อปีที่แล้ว
 
ศาลเยอรมนีกล้าสั่งอายัด เพราะมองว่า ‘เครื่องบินพระที่นั่งส่วนพระองค์’ ซึ่งไม่ได้ใช้ในภารกิจราชการอาจถือเป็นทรัพย์สินของรัฐบาลไทยที่ยึดได้ ในขณะที่กฎหมายไทยอาจมีแนวคิดเรื่อง ‘ทรัพย์สินส่วนพระองค์’ ‘ทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์’ และ ทรัพย์สินประเภทอื่นของรัฐบาล ที่ต่างกันไป
 
เหตุการณ์นี้น่าสนใจมากทั้งในแง่การเมืองและกฎหมาย โดยเฉพาะเมื่อ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ทรงมีพระราชปณิธานพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ระงับข้อพิพาท (อ่านแถลงการณ์ได้ที่ http://astv.mobi/AgWO7Xa )
 
น่าคิดว่า ‘รัฐบาลหน้าไหน’ จะกล้ารับพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์มาแก้ปัญหาที่รัฐบาลเป็นผู้ก่อ ?
 
ตอนนั้น รัฐบาลคุณอภิสิทธิ์ จึงได้นำหลักประกัน (letter of guarantee) มูลค่ากว่า 1,500 ล้านบาท ไปวางไว้ต่อศาลที่เยอรมนี เพื่อถอนการอายัดเครื่องบินพระที่นั่ง แล้วสู้คดีต่อ (ซึ่งก็มีคำถามทางกฎหมายว่า การทำแบบนี้ทำให้รูปคดีเปลี่ยนไปหรือไม่ เพราะตามปกติบุคคลฝ่ายที่สามซึ่งสุจริต ย่อมควรอ้างสิทธิของตนด้วยตนเอง)
 
ถอนเครื่องบินได้แล้วไม่พอ รัฐบาลไทยก็ฟ้องกลับไปฝ่ายเจ้าหนี้ตัวดี ที่บังอาจไปขอศาลยึดเครื่องบินพระที่นั่ง
 
ถอน ‘เครื่องบิน’ ที่ ‘เยอรมนี’ เสร็จ จะถูกยึดที่ ‘สหรัฐฯ’ ต่ออีก ?
คดียังไม่จบ เพราะรัฐบาลไทยยังไม่ยอมจ่ายหนี้ง่ายๆ เพราะหากจ่ายไปก็มีเรื่องร้อนย้อนกลับมาหาคนผิด ในกรมโน้น กระทรวงนี้ รัฐบาลนั้น ว่าค่าโง่นี้ ท่านได้แต่ใดมา ต่างจากค่าโง่อื่น ที่ ‘ศาลฎีกาไทย’ บอกว่าเป็นโมฆะอย่างไร ?
 
ประชาชนก็ได้แต่สงสัยว่า แล้วใครจะรับผิดชอบ ตอนนี้ดอกเบี้ยค่าเสียหายก็เพิ่มพูนไปเรื่อยๆ
 
ล่าสุด เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2555 ศาลอุทธรณ์ในสหรัฐฯ (US 2nd Cir.) ได้ตัดสินยืนยันว่า คำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการที่ให้ประเทศไทยแพ้คดี 'ค่าโง่ทางด่วนดอนเมือง' นั้น กฎหมายสหรัฐฯ ให้การรับรองได้ (อ่านได้ที่ http://bit.ly/FoolFee )
 
พูดให้เข้าใจโดยง่าย ก็คือ กรณี ‘เครื่องบินพระที่นั่ง’ ที่ ‘เยอรมนี’ นั้นจบไปแล้วเฉพาะในส่วนตัวเครื่องบิน แต่หนี้ยังไม่หายไปไหน ดังนั้น หากรัฐบาลไทยไม่ยอมจ่ายหนี้ ทรัพย์สินของรัฐบาลไทยในนิวยอร์ก (บางอย่าง) ก็อาจถูกศาลสหรัฐฯสั่งยึดได้ เพื่อไปชำระหนี้ให้เจ้าหนี้
 
จึงน่าคิดต่อว่า หาก ‘เครื่องบินพระที่นั่งส่วนพระองค์’ ไปจอดที่นิวยอร์ก และไม่ได้ใช้ในภารกิจราชการ ศาลสหรัฐฯ จะถือว่าเป็นทรัพย์สินของรัฐบาลไทยที่ยึดได้หรือไม่ ?
 
เจ้าหนี้ต่างชาติ ตามยึดทรัพย์ไทยไปทั่วโลก ?
หลายท่านอาจ ‘งง’ บอกว่า คดียึดเครื่องบินที่เยอรมนี ไฉนมาโผล่ที่สหรัฐฯได้
 
ตอบแบบทั่วไปว่า กระบวนพิจารณาใน ‘เยอรมนี’ และ ‘สหรัฐฯ’ แม้มีที่มาจาก คำชี้ขาดฉบับเดียวกันโดยคณะอนุญาโตตุลาการชุดเดียวกัน แต่ไม่ได้ถือเรื่องเดียวกันเสียทีเดียว และการบังคับคดียึดทรัพย์แบบนี้ ทำได้ในหลายที่ เพราะมีสนธิสัญญารองรับอยู่กว่า 140 ประเทศทั่วโลก
 
ดังนั้น ตราบใดที่รัฐบาลไทยไม่ยอมจ่าย คดีตามยึดทรัพย์รัฐบาลไทย จึงอาจไปโผล่ที่ประเทศอื่นซึ่งมีสนธิสัญญารองรับอยู่ ก็เป็นได้
 
แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะไปยึดได้ทุกอย่างทันที เพราะยังมีขั้นตอนและข้อยกเว้น เพียงแต่หนทางต่อสู้เหลือน้อยเต็มที
 
ค่าโง่ที่พอกพูน?
คดีทั้งหมดไปถึงไหน ? ตกลงไทยฟ้องเอาผิดเจ้าหนี้ที่มายึดเครื่องบินได้หรือไม่ ? ไทยเอาภาษีไปจ่ายค่าทนายไปเท่าไหร่ ? ทนายที่ไทยจ้างในคดีพระวิหาร เคยเป็นทนายฟ้องไทยมาหรือไม่ (ซึ่งถ้าเก่งจริงก็ไม่ผิดอะไร) ? รัฐบาลไทย ไม่ยอมบอกประชาชนเลย
 
ล่าสุด มีข่าวว่า ครม. อนุมัติงบ 157 ล้านบาท เพื่อเป็น ‘เงินประกันศาลในการต่อสู้คดี’ ( http://bit.ly/PiE4Jx )
 
ค่านี้ก็ไม่รู้ว่าค่าอะไรอีก ถ้าร้อยกว่าล้านบาท เดาว่าอาจเป็นค่าทนายและค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับคดี เพราะหนี้พันกว่าล้าน ยังไม่หายไปไหน
 
ที่แน่ๆ ‘ค่าโง่’ อาจจ่ายได้เรื่อยๆ แต่ ‘ความโง่’ จะไม่หายไป หากรัฐบาลไทย ไม่ให้ ‘ความจริงครบๆ’ กับประชาชน !
 
 
 
---
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับคดีนี้ ดูเพิ่มได้ที่ http://bit.ly/FoolFee

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สมเด็จกรมพระนโรดม รณฤทธิ์ประกาศยุติบทบาททางการเมือง

Posted: 13 Aug 2012 02:52 AM PDT

มุ่งไปทำกิจการด้านสังคมและมนุษยธรรมแทน เพื่ออุทิศให้กับการพัฒนาชาติภายใต้รัชสมัยของกษัตริย์นโรดม สีหมุนี ส่วน "พรรคนโรดม รณฤทธิ์" เตรียมประชุมสามัญ 24 ส.ค. นี้ และจะเปลี่ยนชื่อเป็น "พรรคชาตินิยม"

(13 ส.ค.) วันนี้สำนักข่าวซินหัว รายงานว่า นายเซา รานี รักษาการประธานพรรคนโรดม รณฤทธิ์ (Norodom Ranariddh Party) กล่าวว่าพรรคจะเปลี่ยนชื่อเป็นพรรคชาตินิยม (Nationalist Party) ในวันที่ 24 ส.ค. นี้ ในการประชุมพรรคสามัญ

การเปลี่ยนแปลงนี้เกิดขึ้นหลังจากประธานพรรค สมเด็จกรมพระนโรดม รณฤทธิ์ ประกาศเมื่อวันศุกร์ (10 ส.ค.) ว่าจะลาออกจากตำแหน่งทางการเมือง และมุ่งไปที่กิจกรรมด้านมนุษยธรรม

"หลังจากที่กรมพระนโรดม รณฤทธิ์ ประกาศลาออกจากตำแหน่งประธานพรรคเมื่อสัปดาห์ก่อน คณะกรรมการพรรคตัดสินใจจะเปลี่ยนชื่อพรรคไปเป็นพรรคชาตินิยม ในการประชุมสมัชชาสามัญในวันที่ 24 ส.ค. นี้" เซา รานี กล่าวกับผู้สื่อข่าวหลังการประชุมคณะกรรมการพรรค

ทั้งนี้ กรมพระนโรดม รณฤทธิ์ เผยแพร่จดหมายเปิดผนึกจากฝรั่งเศสเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา โดยระบุว่าพระองค์จะยุติกิจกรรมทางการเมือง เพื่อมุ่งไปที่กิจการด้านสังคมและด้านมนุษยธรรม เพื่ออุทิศให้กับการพัฒนาชาติภายใต้รัชสมัยของกษัตริย์นโรดม สีหมุนี

การประกาศของกรมพระนโรดม รณฤทธิ์ เกิดขึ้นหลังจากเมื่อสองเดือนก่อน ความพยายามรวมพรรคการเมือง ระหว่างพรรคนโรดม รณฤทธิ์ กับแนวร่วมเอกภาพแห่งชาติกัมพูชาที่เป็นเอกราช เป็นกลาง สงบสุขและเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน หรือ พรรคฟุนซิกเป็ก (FUNCINPEC) เกิดล้มเหลว ทั้งนี้มีความขัดแย้งภายในระหว่างผู้นำระดับสูงของพรรค

กรมพระนโรดม รณฤทธิ์ เป็นพระโอรสของอดีตกษัตริย์นโรดม สีหนุ และเป็นพระเชษฐาของพระบาทสมเด็จพระบรมนาถ นโรดม สีหมุนี กษัตริย์พระองค์ปัจจุบันของกัมพูชา โดยก่อนหน้านี้เคยประกาศยุติบทบาททางการเมืองครั้งแรกในเดือนตุลาคม 2551 และกลับเข้าสู่การเมืองอีกเมื่อเดือนธันวาคม 2553 หลังได้รับพระราชทานอภัยโทษข้อหายักยอกเงิน

 

ที่มา: แปลและเรียบเรียงจาก

Cambodia's Norodom Ranariddh Party to switchname after Prince Ranariddh quits politicsUpdated: 2012-08-13 13:16:00, Xinhua 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ความโปร่งใสที่หายไปจากประกาศเจตนารมณ์ของกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ

Posted: 13 Aug 2012 01:47 AM PDT

เมื่อปลายปีที่ผ่านมา กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เพิ่งได้รับรางวัลชมเชยองค์กรโปร่งใส ประเภทภาครัฐด้านนโยบาย ในพิธีมอบรางวัลองค์กรโปร่งใส (NACC Integrity Awards) ครั้งที่ 2 จากสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เป็นอีกหนึ่งหน่วยราชการที่มีประกาศเจตนารมณ์เพื่อเป็นมาตรฐาน เป็นแนวทางปฏิบัติและเพื่อให้เป็นค่านิยมร่วมของบุคลากรในกรม ฉบับล่าสุดลงนามเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2554 [1]

ความน่าสนใจอยู่ที่นโยบายการกำกับดูแลกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศที่ดี ที่เน้นดำเนินการเจรจาการค้าระหว่างประเทศด้วยความรับผิดชอบต่อประเทศชาติ สังคมและสิ่งแวดล้อม มีแนวทางปฏิบัติ คือ จัดทำท่าทีการเจรจาการค้าระหว่างประเทศโดยยึดหลักวิชาการ และคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติเป็นหลัก ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม และย้ำว่าการเจรจาการค้าระหว่างประเทศจะเป็นไปเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและผลประโยชน์ของประเทศชาติโดยรวม มีแนวทางปฏิบัติ คือ เปิดโอกาสให้ผู้รับบริการ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และประชาชนจากทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น

แต่ที่น่าแปลกใจอย่างยิ่งยวด เมื่อเทียบประกาศเจตนารมณ์ฉบับนี้กับ นโยบายการกำกับดูแลกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศที่ดี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 [2] จะพบว่า ในฉบับเมื่อปี 2552 เคยกำหนดไว้ว่า “เจรจาจัดทำความตกลงทางการค้ากับประเทศต่างๆ ด้วยความโปร่งใส” แต่ข้อความนี้ถูกตัดทิ้งไปเมื่อเป็นประกาศเจตนารมณ์

คำถามคือ เหตุใดนโยบายการกำกับดูแลกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศที่ดีจึงละทิ้งซึ่ง ‘ความโปร่งใส’

เมื่อ 8 ปีที่แล้ว รศ.รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ เคยเขียนบทความถึงกระบวนการการเจรจาการค้าระหว่างประเทศของไทยว่าเป็นกระบวนการที่ปราศจากความโปร่งใสอย่างน้อย 5 ประการ [3]

“ประการแรก ไม่มีหลักเกณฑ์ที่โปร่งใสในการเลือกประเทศคู่สัญญา นายกรัฐมนตรีเป็นผู้เอานิ้วจิ้มว่าจะทำข้อตกลงการค้าเสรีกับประเทศใด โดยไม่มีคำอธิบายที่ชัดเจนว่า เหตุใดจึงเลือกทำข้อตกลงการค้าเสรีกับประเทศหนึ่ง แต่ไม่ทำกับอีกประเทศหนึ่ง

ประการที่สอง ไม่มีความโปร่งใสเกี่ยวกับประเด็นการเจรจา ซึ่งรับรู้เฉพาะผู้นำรัฐบาล และคณะผู้แทนการเจรจา

ประการที่สาม ไม่มีความโปร่งใสเกี่ยวกับจุดยืนในการเจรจาในประเด็นต่างๆ ในหลายต่อหลายกรณี คณะผู้แทนไทยมิได้มีจุดยืนที่ชัดเจนในการเจรจา เพราะไม่มีชุดความรู้ที่จะกำหนดจุดยืนดังกล่าวได้ ในกรณีที่มีจุดยืนในการเจรจาก็มิได้ประกาศให้สาธารณชนได้รับทราบ ดังนั้น ประชาชนคนไทยมิอาจเตรียมปรับตัวได้ เพราะมิได้รับทราบว่า จุดยืนในการเจรจาของคณะผู้แทนไทยกระทบต่อชะตากรรมทางเศรษฐกิจของตนอย่างไรบ้าง

ประการที่สี่ ไม่มีความโปร่งใสเกี่ยวกับกระบวนการยื่นหมูยื่นแมวในการเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ไม่มีความโปร่งใสว่า รัฐบาลสละอุตสาหกรรมหรือภาคเศรษฐกิจใด เพื่อให้ได้ประโยชน์จากการเข้าถึงตลาดอุตสาหกรรมหรือภาคเศรษฐกิจใด ในเมื่อผู้นำรัฐบาลและบุคคลที่ชิดใกล้รัฐบาลจำนวนมากมีผลประโยชน์ทับซ้อนทางธุรกิจ ประชาสังคมไทยจึงมีสิทธิที่จะตั้งข้อกังขาว่า กระบวนการยื่นหมูยื่นแมวในการเจรจาการค้าระหว่างประเทศเกื้อประโยชน์ทางธุรกิจของผู้นำรัฐบาลและบุคคลที่ชิดใกล้รัฐบาลหรือไม่

ประการที่ห้า ไม่มีความโปร่งใสว่า ใครได้ประโยชน์ ใครเสียประโยชน์ และใครรับภาระอันเกิดจากผลการเจรจา ความไม่โปร่งใสดังกล่าวนี้ ด้านหนึ่งทำให้ประชาชนมิอาจกำหนดจุดยืนได้ว่า สมควรสนับสนุนข้อตกลงการค้าระหว่างประเทศดังกล่าวหรือไม่ อีกด้านหนึ่ง ทำให้มิอาจวิเคราะห์ผลกระทบอันเกิดจากการทำข้อตกลงดังกล่าวได้

เหตุเพราะไร้ซึ่งความโปร่งใสประกอบกับการไม่มีชุดความรู้มากเพียงพอที่จะ ‘จัดทำท่าทีการเจรจาการค้าระหว่างประเทศโดยยึดหลักวิชาการ และคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติเป็นหลัก ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม’ หรือไม่ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศในฐานะเลขานุการการประชุมระดับสูงเพื่อพิจารณาเตรียมการเปิดการเจรจาการค้าเสรีของไทย เมื่อวันที่ 9 ส.ค.ที่ผ่านมา จึงให้ความเห็นว่า ควรกำหนดให้ไทยมีท่าทีการเจรจาที่ยืดหยุ่น โดยอาจยอมรับข้อผูกพันที่มากกว่าทริปส์ (TRIPs) หรือยอมรับทริปส์พลัส (TRIPs Plus) ในการจัดทำการค้าเสรีเนื่องจากการคุ้มครองข้อมูลทดสอบยา (Data Exclusivity) เพิ่มเติม 5 ปีจะไม่มีผลกระทบต่อราคายาในปัจจุบัน และการคุ้มครองข้อมูลทดสอบยา อาจมีผลทำให้ยาสามัญ (Generic drugs) วางตลาดได้ช้าลงแต่ไม่เกิน 5 ปี จึงทำให้ผลกระทบต่อยามีจำกัด

หากกรมเจรจาฯ ใช้หลักวิชาการ และคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติเป็นหลัก ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมจริงดังประกาศเจตนารมณ์ ก็ย่อมจะรู้ว่า ความชะงักงันในการเจรจาระหว่างสหภาพยุโรปกับอาเซียน ไม่ได้อยู่แค่เพียงความยังไม่เป็นประชาธิปไตยของพม่าในขณะนั้น แต่ยังมีประเด็นที่อาเซียนยืนกรานไม่ยอมรับข้อเรียกร้องด้านทรัพย์สินทางปัญญาที่เกินไปกว่าความตกลงทริปส์ในองค์การการค้าโลก หลังจากที่สหภาพยุโรปยื่นข้อเสนอ (text) ให้ได้เห็นความต้องการ และนี่ก็เป็นจุดที่ทำให้เกิดความชะงักงันเช่นเดียวกันในการเจรจาการค้าระหว่างสหภาพยุโรปและอินเดีย ที่อินเดียยืนกรานที่จะไม่รับทริปส์พลัส ซึ่งการคุ้มครองข้อมูลทดสอบยา (Data Exclusivity) เป็นจุดอับตันของการเจรจา

 


ภาพประกอบจาก enggul (CC BY-NC 2.0)

 

จากการศึกษาในประเทศไทยของ รศ.ดร.จิราพร ลิ้มปานานนท์และคณะ [4] ชี้ว่า ในบรรดาข้อเรียกร้องด้านทรัพย์สินทางปัญญาที่เป็นทริปส์พลัสที่จะส่งผลกระทบรุนแรงที่สุด คือ การคุ้มครองข้อมูลการทดสอบทางยา หรือ การ​คุ้มครอง​ข้อมูล​ที่​ส่ง​ให้​พิจารณา​เพื่อ​ขอ​อนุญาต​ให้​วาง​ตลาด​ผลิตภัณฑ์ ซึ่งอยู่ในมาตรา 10 (1-3) Protection of Data Submitted to Obtain a Marketing Authorization ตามที่สหภาพยุโรปเคยยื่นข้อเรียกร้องในการเจรจากับอาเซียน (แม้จะเป็นการศึกษาจากข้อเรียกร้องของสหรัฐฯ แต่เมื่อเทียบข้อเรียกร้องของสหภาพยุโรปมีลักษณะเดียวกัน)

ผลการคำนวนจากปี พ.ศ.2550 ที่เป็นปีที่ทำการศึกษา พบว่า ในห้าอีกปีข้างหน้า (พ.ศ.2556) ถ้าปล่อยให้มีการผูกขาดข้อมูลยาตั้งแต่ปี พ.ศ.2550 ค่าใช้จ่ายด้านยาของไทยจะสูงถึง 81,356 ล้านบาท ซึ่งข้อเรียกร้องลักษณะนี้จะมีผลกระทบรุนแรงเสียยิ่งกว่าการให้คุ้มครองสิทธิบัตรเพิ่มอีก 5 ปี ซึ่งคิดเป็นมูลค่าเพียง 27,883 ล้านบาท

เหตุที่การให้การคุ้มครองข้อมูลการทดสอบทางยามีผลกระทบรุนแรงที่สุด เป็นเพราะจะทำให้บริษัทยามีสิทธิที่จะขยายอำนาจผูกขาดตลาดด้วยการผูกขาดข้อมูลยาในกระบวนการขึ้นทะเบียนตำรับยาไม่ว่ายานั้นจะเป็นยาที่จดสิทธิบัตรไว้ในไทยหรือไม่ก็ตาม บริษัทยาข้ามชาติจะสามารถควบคุมข้อมูลการทดลองทางคลินิก (Clinical Trial Data) ได้ ซึ่งเป็นข้อมูลที่แสดงว่ายาต้นแบบนั้นปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ

โดยทั่วไปแล้ว บริษัทผลิตยาชื่อสามัญจะใช้ตัวยาสำคัญ (Active Ingredient) ตัวเดียวกับยาต้นแบบมาผลิตเป็นยาได้ ก็ต่อเมื่อสิทธิบัตรของยาต้นแบบหมดอายุแล้วหรือไม่ได้จดสิทธิบัตรไว้ จากนั้นบริษัทยาชื่อสามัญจะต้องทำการศึกษาชีวสมมูลของยา (Bioequivalent Study) เพื่อพิสูจน์ว่ายานั้นมีคุณภาพเท่าเทียมกับยาต้นแบบโดยที่ไม่ต้องทำการทดลองทางคลินิกซ้ำอีกครั้ง เนื่องจากเป็นกระบวนการที่มีค่าใช้จ่ายสูงและใช้เวลานาน นอกจากนี้ การทดลองทางคลินิกซ้ำจัดว่าเป็นการทำผิดจริยธรรมการทำวิจัยในมนุษย์ เนื่องจากทราบอยู่แล้วว่ายาดังกล่าวมีประสิทธิผลในมนุษย์ จึงไม่จำเป็นต้องเอาชีวิตมนุษย์มาเสี่ยงในการทดลองอีกครั้ง

การคุ้มครองข้อมูลทดสอบยา ถือว่าเป็นการผูกขาดตลาดอีกทางหนึ่งของบริษัทยาข้ามชาติ ที่กำหนดกติกาใหม่ของการขึ้นทะเบียนตำรับยาชื่อสามัญใหม่ เพื่อกีดกันไม่ให้บริษัทยาชื่อสามัญขอขึ้นทะเบียนตำรับยาชื่อสามัญใหม่เพื่อผลิตและจำหน่ายหลังจากที่ยาใหม่ของบริษัทยาข้ามชาติเข้าสู่ตลาดในไทยตามเวลาผูกขาดข้อมูลยา

นั่นหมายความว่า หากระยะเวลาผูกขาดข้อมูลดังกล่าวยังไม่หมดลง ยาชื่อสามัญก็ไม่สามารถผลิตออกมาจำหน่ายได้ ทั้งๆ ที่เป็นยาซึ่งปลอดภัยและมีประสิทธิผลไม่แตกต่างกัน จึงเป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงยาชื่อสามัญที่มีราคาถูกกว่าและให้ผลการรักษาได้เช่นเดียวกัน

อีกทั้ง ยังเป็นการป้องกันไม่ให้ประเทศต่างๆ นำมาตรการยืดหยุ่นตามข้อตกลงทริปส์มาใช้ ตัวอย่างเช่น รัฐบาลไทยไม่สามารถใช้มาตรการบังคับใช้สิทธิตามสิทธิบัตรยาได้จนกว่าอายุการผูกขาดข้อมูลจะหมดลง เพราะผู้ผลิตยาชื่อสามัญจะไม่สามารถขอขึ้นทะเบียนตำรับยาได้ในช่วงเวลาดังกล่าว

จากประสบการณ์ในหลายประเทศชี้ให้เห็นว่า การการคุ้มครองข้อมูลทดสอบยาทำให้ยา “แพง” ขึ้น เฉพาะแค่ผลกระทบที่มีต่อราคายาในโคลัมเบีย หลังจากที่สหภาพยุโรปบังคับให้มีการผูกขาดข้อมูลยา 10 ปี ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายด้านยาของประเทศเพิ่มขึ้น 340 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (10,200 ล้านบาท) [5] นี่หรือที่กรมเจรจาฯ สรุปว่า ไม่มีผลกระทบ

นอกจากนี้ งานศึกษา ‘ผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการเจรจาความตกลงเขตการค้าเสรีสหภาพยุโรป ข้อเสนอแนะท่าทีการเจรจาและการปรับตัวของไทย’[6] โดยสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง (สวค.) ได้ดำเนินการศึกษาผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการเจรจาความตกลงเขตการค้าเสรีสหภาพยุโรป ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสิทธิบัตร และการคุ้มครองข้อมูลยา ซึ่งมีข้อเสนอแนะสรุปว่า ไม่รับประเด็นการผูกขาดสิทธิแต่เพียงผู้เดียวของข้อมูลยา (Data Exclusivity) และการให้สิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการวางแผนในการวางจำหน่ายในท้องตลาด (Market Exclusivity) เนื่องจากการให้การคุ้มครองข้อมูลของยาต้นแบบในรูปแบบของ Data Protection เพียงพอแล้วและเป็นไปตามความตกลงทริปส์

ดังนั้น ความเห็นของกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศในฐานะเลขานุการการประชุมระดับสูงเพื่อเตรียมการเปิดการเจรจาความตกลงการค้าเสรีไทย จึงเป็นความคิดเห็นที่ผิดพลาดไม่ได้ตั้งอยู่บนฐานทั้งวิชาการและความเป็นจริง ไร้ซึ่งความโปร่งใสซึ่งจะชี้นำทิศทางที่ผิดพลาดให้แก่ผู้กำหนดนโยบาย โดยเฉพาะกับรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตรที่มีนโยบายสำคัญที่จะลดความเหลื่อมล้ำ-สร้างความเป็นธรรมในระบบสุขภาพและการสร้างความยั่งยืนด้วยการดูแลภาระการเงินในระบบสุขภาพไม่ให้เกิดปัญหา

ถึงที่สุดแล้ว กรมเจรจาฯ พึงต้องแสดงความมีธรรมาภิบาลให้สมกับที่ได้รางวัลองค์กรแห่งความโปร่งใสว่า ‘การจัดทำท่าทีการเจรจาการค้าระหว่างประเทศโดยยึดหลักวิชาการ และคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติเป็นหลัก ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม’ ในประกาศเจตนารมณ์ของกรมเจรจาฯ เป็นเพียงแค่สิ่งประดับข้างฝา หรือ เอาไว้แค่ท่องจำเพื่อสร้างราคาให้แก่หน่วยงานโดยไม่มีการปฏิบัติจริง หรือว่า อันที่จริง ความโปร่งใสได้หายไปจากกรมเจรจาฯ เสียสิ้นแล้ว

 

 

 


////////////

[1] http://www.dtn.go.th/filesupload/files/aboutus/dtngoodpolicy.pdf

[2] http://www.dtn.go.th/dtn/aboutus/file/นโยบายระหว่างประเทศที่ดี.doc

[3] http://econ.tu.ac.th/archan/rangsun

[4] จิราพร ลิ้มปานานนท์, นุศราพร เกษสมบูรณ์, วิทยา กุลสมบูรณ์, อุษาวดี มาลีวงศ์, อัจฉรา เอกแสงศรี และปริญญา เปาทอง (2553) โครงการวิจัยผลกระทบของข้อเรียกร้องด้านสิทธิบัตรในข้อตกลงเขตการค้าเสรีระหว่างประเทศไทยกับสหรัฐอเมริกาต่ออุตสาหกรรมยาชื่อสามัญในประเทศ และ โครงการวิจัย “ผลกระทบและมาตรการรองรับ กรณีขยายความคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับข้อตกลงเพื่อเปิดเขตการค้าเสรี ไทย – สหรัฐอเมริกา : มิติผลกระทบต่อการเข้าถึงยาและต่อสุขภาพ”, Southeast Asian Journal Tropical Medicine Public Health. หน้า 667-677.

[5] Oxfam and Health Action International, (2009), ‘Trading away access to medicines. How the European Union’s trade agenda has taken the wrong turn.’

[6] พิชญ์ นิตย์เสมอ, อรพรรณ พนัสพัฒนา, นันทน อินทนนท์, เพียงเพ็ญ บุตรกตัญญู, กวิน นิติมนตรี, สกุลรัตน์ มนตรีวัต และคณะ.(2552) โครงการศึกษาวิจัยเพื่อเตรียมการรองรับการเจรจาจัดทำความตกลงในส่วนทรัพย์สินทางปัญญาของเขตการค้าเสรีอาเซียน – สหภาพยุโรป. กรมทรัพย์สินทางปัญญา. กรุงเทพฯ.
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

4 เดือน "นโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินถึงแก่ชีวิต ไม่ถามสิทธิฯ" จ่ายชดเชยแล้วกว่า 50 ล้าน

Posted: 13 Aug 2012 01:01 AM PDT

(12 ส.ค.55) นายแพทย์วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) จากผลการดำเนินงานนโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉิน ถึงแก่ชีวิต ไม่ถามสิทธิ ใกล้ที่ไหน ไปที่นั่น ซึ่งเริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2555 ผลการดำเนินการ 4 เดือน จนถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2555 พบว่า มีผู้ป่วยเข้าถึงบริการ 4,080 ราย จากโรงพยาบาลเอกชน 205 แห่ง เป็นสิทธิหลักประกันสุขภาพ 2,526 ราย หรือร้อยละ 69.91 สิทธิข้าราชการ 1,135 รายหรือร้อยละ 27.82 สิทธิประกันสังคม 409 รายหรือร้อยละ 10.01 ผู้มีปัญหาสถานะและสิทธิ 6 รายหรือร้อยละ 0.15 และสิทธิรัฐวิสาหกิจ 4 รายหรือร้อยละ 0.10

ทั้งนี้เมื่อเทียบกับจำนวนประชากรของแต่ละสิทธิพบว่า สิทธิข้าราชการเข้าถึงบริการสูงสุด ในอัตรา 23 คนต่อประชากร 10,000 คน ขณะที่สิทธิหลักประกันสุขภาพ อัตรา 5 คนต่อประชากร 10,000 คน และสิทธิประกันสังคม 4 คนต่อประชากร 10,000 คน

เลขาธิการ สปสช. กล่าวต่อว่า สำหรับประเภทการบริการ เป็นบริการผู้ป่วยนอก 939 รายหรือร้อยละ 23.01 ผู้ป่วยใน 3,137 รายหรือร้อยละ 76.89 เป็นผู้ป่วยเร่งด่วน 2,100 รายหรือร้อยละ 51.47 ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต 1,980 รายหรือร้อยละ 48.53 ผู้ป่วยฉุกเฉินได้รับการรักษาจนกระทั่งหายร้อยละ 57.3 ร้อยละ 31.2 มีการส่งตัวไปรักษาที่โรงพยาบาลอื่นต่อ และร้อยละ 9.5 เสียชีวิตเนื่องจากการเจ็บป่วยขั้นวิกฤต

ผู้ป่วยส่วนมากนอกรักษาตัวในโรงพยาบาล 1 วัน และมีวันนอนเฉลี่ย 3.4 วัน จำนวนวันนอนสูงสุดคือ 48 วัน อย่างไรก็ตามพบว่า ในเขตกรุงเทพมหานครเป็นพื้นที่ที่ให้บริการผู้ป่วยมากที่สุด 1,745 รายหรือร้อยละ 42.8 รองลงมาคือสาขาเขตสระบุรี 470 ราย และสาขาเขตเชียงใหม่ 410 ราย

นายแพทย์วินัย กล่าวว่า ในส่วนของการจ่ายชดเชยนั้น จ่ายเงินชดเชยแล้ว 2,982 ราย จำนวนเงิน 57,406,274 บาท ยังไม่สามารถจ่ายชดเชยได้ 1,098 ราย เนื่องจากข้อมูลยังไม่สมบูรณ์ ต้องมีการแก้ไขข้อมูลใหม่ ขณะที่ยอดเรียกเก็บเงินเฉลี่ย ต่อครั้ง 61,175 บาท และจากข้อมูลรายที่จ่ายชดเชยแล้วเป็นกรณีผู้ประสบภัยจากรถ 251 ราย ซึ่ง สปสช.ในฐานะเคลียริ่งเฮาส์ ได้ทำการหักค่าเสียหายเบื้องต้นไม่เกิน 15,000 บาททั้งหมด ซึ่งเงินที่หักนี้ผู้ป่วยหรือโรงพยาบาลต้องไปเรียกเก็บจากกองทุนผู้ประสบภัยจากรถเอง

และเมื่อหักเงินส่วนนี้แล้วจะแย่งเป็น 2 กรณีคือ 1. ที่ยังต้องจ่ายเงินส่วนเกินให้โรงพยาบาล 149 ราย เป็นเงิน 5,585,905 บาท 2.ไม่ต้องจ่ายเงินให้โรงพยาบาล เพราะอยู่ในเกณฑ์ไม่เกิน 15,000 บาท จำนวน 106 ราย เป็นยอดที่ผู้ป่วยหรือโรงพยาบาลต้องไปเรียกเก็บจากกองทุนผู้ประสบภัยจากรถ 689,094 บาท ซึ่งตรงนี้เกิดปัญหากับทางโรงพยาบาล เพราะมีผู้ป่วยบางรายที่ไม่สามารถเก็บหลักฐานเพื่อประกอบการเบิกจ่ายได้ทัน

“ในส่วนปัญหาและอุปสรรคนั้น ยังคงมีปัญหาที่โรงพยาบาลเอกชนเห็นว่าอัตราเงินชดเชยน้อยกว่าต้นทุน การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยเมื่อพ้นภาวะวิกฤต และกรณีผู้ประสบภัยจากรถ ซึ่งโรงพยาบาลเรียกเก็บเงินไม่ได้ รวมถึงการรับรู้ของผู้ป่วยกับการใช้สิทธิ และการปรับระเบียบของแต่ละกองทุนเพื่อรองรับหลักเกณฑ์กลาง เช่น กรณีฆ่าตัวตาย ที่สิทธิประกันสังคมยังไม่ครอบคลุม เป็นต้น ซึ่งปัญหานี้ สปสช.จะนำเสนอเพื่อปรับปรุงและแก้ไขตามกระบวนการต่อไป” เลขาธิการ สปสช.กล่าว
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

"ร่วมจ่าย 30 บาทรักษาโรค" ดีเดย์ 1 ก.ย. นี้ - 21 กลุ่มได้สิทธิยกเว้น

Posted: 13 Aug 2012 12:50 AM PDT

 

(13 ส.ค.55) วิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงความคืบหน้าของโครงการร่วมจ่ายค่าธรรมเนียมบริการ 30 บาทในโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าตามนโยบายรัฐบาลว่า โครงการดังกล่าวจะเริ่มในวันที่ 1 กันยายน 2555 พร้อมกันทั่วประเทศ โดยดำเนินการในระดับโรงพยาบาลชุมชนขึ้นไปจนถึงโรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลศูนย์ และในโรงพยาบาลเอกชนที่เข้าร่วมโครงการ โดยประชาชนจะร่วมจ่าย ในกรณีที่มีการรับยาเท่านั้น หากรายใดไม่ประสงค์จะจ่าย 30 บาท ก็สามารถใช้สิทธิ์ได้

โดยผู้ที่เคยได้รับสิทธิยกเว้นการร่วมจ่าย 30 บาทมีทั้งหมด 21 กลุ่ม ก็จะได้รับการยกเว้นร่วมจ่ายเหมือนเดิม ขณะนี้ได้ให้สำนักงานสาธารณสุขทุกจังหวัด เร่งประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความเข้าใจประชาชนในพื้นที่ และให้โรงพยาบาลทุกแห่งพัฒนาความพร้อมให้บริการที่ดีขึ้นทุกด้านทั้งผู้ป่วยฉุกเฉิน ผู้ป่วยเรื้อรัง บริการผู้สูงอายุ ผู้พิการ โดยไม่มีเวลาหยุดพักเที่ยง

นอกจากนั้น ยังให้ให้สิทธิประชาชน สามารถเปลี่ยนหน่วยบริการที่พอใจได้ปีละ 4 ครั้ง จากเดิมเปลี่ยนได้ปีละ 2 ครั้ง โดยใช้บัตรประชาชนหรือเอกสารทางราชการที่มีเลข 13 หลักเป็นหลักฐาน เพิ่มความสะดวกประชาชนยิ่งขึ้น ในเขต กทม.สามารถยื่นเปลี่ยนได้ที่สำนักงานเขต ส่วนต่างจังหวัดยื่นที่สถานบริการสาธารณสุข

ด้านนายแพทย์ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า จะมีการประชุมนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป ในวันที่ 21 สิงหาคม 2555 เพื่อให้ระบบบริการราบรื่นเหมือนกันทั่วประเทศ โดยเฉพาะในโรงพยาบาลชุมชนที่มี 875 แห่ง ให้จัดแพทย์ตรวจรักษาอย่างน้อย 2 คน โครงการร่วมจ่ายนี้ จะเป็นการสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนไปใช้บริการที่หน่วยบริการปฐมภูมิในพื้นที่ใกล้บ้านมากขึ้น ซึ่งสามารถดูแลประชาชนได้ดี เหมือนโรงพยาบาลใหญ่ ทั้งการส่งเสริมสุขภาพ การตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน ความดัน การตรวจรักษาโรคทั่วไป โดยใช้ระบบการสื่อสารทางอินเทอร์เน็ตพูดคุยปรึกษากับแพทย์ผู้รักษาในโรงพยาบาลใหญ่โดยตรง

ขณะที่นายแพทย์วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ สปสช.กล่าวว่า ขณะนี้ สปสช.ได้จัดทำคู่มือบัตรทองจำนวน 3 ล้านฉบับ เพื่อชี้แจงเรื่องการร่วมจ่ายด้วย แจกให้ประชาชน โดยกลุ่มประชาชนที่ได้รับการยกเว้นการร่วมจ่าย 30 บาท มีทั้งหมด 21 กลุ่ม ได้แก่ 1.ผู้เข้ารับบริการด้านการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติ ฉุกเฉินเร่งด่วน หรือเข้ารับบริการในหน่วยบริการที่ระดับต่ำกว่าโรงพยาบาลชุมชน 2.ผู้มีรายได้น้อย 3.ผู้นำชุมชน ได้แก่ กำนัน สารวัตรกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล และบุคคลในครอบครัว

4.อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร และบุคคลในครอบครัว 5.ผู้ที่มีอายุเกิน 60 ปี 6.เด็กอายุไม่เกิน 12 ปี 7.คนพิการทั้งที่มีบัตรและไม่มีบัตรประจำตัว 8.พระภิกษุ สามเณร แม่ชี นักบวช นักพรต ผู้นำศาสนาอิสลามที่มีหนังสือรับรอง และบุคคลในครอบครัวของผู้นำศาสนาอิสลาม 9.ทหารผ่านศึกทุกระดับที่มีบัตร และบุคคลในครอบครัว รวมถึงผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิและทายาท 10.นักเรียนไม่เกินชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 11.นักเรียนทหารและทหารเกณฑ์ 12.ผู้ได้รับพระราชทานเหรียญงานพระราชสงครามในทวีปยุโรปและบุคคลในครอบครัว

13.อาสาสมัครมาเลเรีย ตามโครงการของกระทรวงสาธารณสุขและบุคคลในครอบครัว 14.ช่างสุขภัณฑ์หมู่บ้านตามโครงการของกรมอนามัยและบุคคลในครอบครัว 15.ผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญชายแดน 16.ผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน 17.สมาชิกผู้บริจาคโลหิตของสภากาชาดไทย ที่มีหนังสือรับรองว่าได้บริจาคโลหิตตั้งแต่ 18 ครั้งขึ้นไป 18.หมออาสาหมู่บ้านตามโครงการกระทรวงกลาโหม 19.อาสาสมัครคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรม 20.อาสาสมัครทหารพรานในสังกัดกองทัพบก 21.บุคคลที่แสดงความประสงค์ไม่จ่ายค่าบริการ

 

 

ที่มา: เว็บไซต์มติชนออนไลน์

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น