ประชาไท | Prachatai3.info |
- "พ.อ.สรรเสริญ" รับเอกสารเป็นของจริง-ยัน ศอฉ.ยึดหลักสากลจากเบาไปหาหนัก
- หมอนิรันดร์ ร่วม “ปฏิญญาหน้าศาล” ย้ำการมีนักโทษการเมืองคือการละเมิดสิทธิฯ
- ยอดพล เทพสิทธา: การกระจายโอกาสและการเข้าสู่ธุรกิจกลางคืนของผีเสื้อราตรี
- แถลงการณ์ปิดคดีของ 'อิคัทเอรินา สามุทเสวิช': 1 ใน 3 สาวของวง Pussy Riot
- แถลงการณ์ 'อัมสเตอร์ดัม' กรณีถูก 'กองทัพไทย' แจ้งความข้อหาหมิ่นประมาท
- วธ.เชียงราย เผยเตรียมเอาผิดเพจ "ไลค์ดะ" ตัดต่อรูปพ่อขุน
- ศปช.เปิดฉบับสมบูรณ์รายงานสลายชุมนุม 53 - ฉบับ คอป.กรรมการสิทธิฯ ยังเงียบ
- เหตุผลทางปรัชญากับคุณค่าของสถาบันกษัตริย์
- แม่น้องเกด ระบุศาลอาญาระหว่างประเทศแม้จะริบหรี่แต่ดีกว่าไม่มีหวัง ปิยบุตรเรียกร้องรัฐบาลจริงใจ
- รัฐบาล: “ฟังผล”งานปี 1 เพื่อ “สร้างผล” งานปี 2 ดีกว่ามั๊ย?
- รัฐบาล: “ฟังผล”งานปี 1 เพื่อ “สร้างผล” งานปี 2 ดีกว่ามั๊ย?
- สภาผ่านฉลุยงบปี 2556 วุฒิสภานัดถกงบ 3-4 ก.ย.นี้
- สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 12-18 ส.ค. 2555
- กรีนพีซ’ ย้ำ ‘กม.พลังงานหมุนเวียน’ หนุนความเป็นธรรมด้านพลังงาน สร้างเศรษฐกิจไทย
"พ.อ.สรรเสริญ" รับเอกสารเป็นของจริง-ยัน ศอฉ.ยึดหลักสากลจากเบาไปหาหนัก Posted: 19 Aug 2012 02:49 PM PDT เผยในฐานะโฆษก ศอฉ. ได้อธิบายสังคมให้เข้าใจตลอด และถ้ามีผู้ใช้อาวุธสงครามทำร้ายประชาชนและเจ้าหน้าที่เพื่อให้ถึงแก่ชีวิตหรือบาดเจ็บ “พลแม่นปืนระวังป้องกัน” ก็จำเป็นต้องปฏิบัติงาน เชื่อช่วงนี้มีการสร้างกระแสว่ากองทัพทำร้ายประชาชน ตามที่ประชาไท เผยแพร่เอกสาร “สยก.ศอฉ. ที่ กห.1407.55 (สยก.)” เรื่อง “ขออนุมัติแนวทางการปฏิบัติในการใช้อาวุธเพื่อ รปภ. ที่ตั้งหน่วยและสถานที่สำคัญ รวมทั้งการปฏิบัติ ณ จุดตรวจ/ด่านตรวจและสายตรวจเคลื่อนที่” ลงวันที่ 17 เม.ย. 53 ลงนามโดย พล.ท.อักษรา เกิดผล หน.สยก.ศอฉ. เสนอ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) โดยในข้อ 2.5 ระบุว่า “ในกรณีพบความผิดซึ่งหน้าในลักษณะผู้ก่อเหตุใช้อาวุธยิงใส่เจ้าหน้าที่ หรือใช้อาวุธ/วัตถุระเบิดต่อที่ตั้งหน่วยและสถานที่สำคัญที่ ศอฉ. กำหนด ได้กำหนดให้เจ้าหน้าที่สามารถใช้อาวุธยิงผู้ก่อเหตุ เพื่อหยุดยั้งการปฏิบัติได้ แต่หากผู้ก่อเหตุอยู่ปะปนกับผู้ชุมนุมจนอาจทำให้การใช้อาวุธของเจ้าหน้าที่ เป็นอันตรายต่อประชาชนผู้บริสุทธิ์ ให้งดเว้นการปฏิบัติ ยกเว้นในกรณีที่หน่วยได้จัดเตรียมพลแม่นปืน (Marksmanship) ที่มีขีดความสามารถเพียงพอให้ทำการยิงเพื่อหยุดยั้งการก่อเหตุได้ นอกจากนี้หากหน่วยพบเป้าหมายแต่ไม่สามารถทำการยิงได้ เช่น เป้าหมายอยู่ในที่กำบัง ฯลฯ หน่วยสามารถร้องขอการสนับสนุนพลซุ่มยิง (Sniper) จาก ศอฉ. ได้” นั้น (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง)
พ.อ.สรรเสริญรับเป็นเอกสารจริง แต่ไม่กังวลเพราะอธิบายไปแล้ว ล่าสุดเมื่อวานนี้ หนังสือพิมพ์ข่าวสด รายงานว่า พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกกองทัพบก (ทบ.) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีดังกล่าวโดยยอมรับว่า เป็นเอกสารฉบับจริงแต่ผู้ที่นำเอกสารฉบับนี้มาปล่อยเข้าใจว่ามีนัยยะเรื่องอื่น เพราะเอกสารมีอยู่ 5 แผ่น แต่เลือกนำแผ่นสุดท้ายมาปล่อย ทั้งนี้ ไม่ใช่อะไรที่เป็นเรื่องใหม่เป็นเรื่องเก่าแล้วทั้งหมด ตนในฐานะโฆษก ศอฉ.ในตอนนั้น ได้เล่าให้สังคมเข้าใจมาโดยตลอดว่าการปฏิบัติงานของ ศอฉ. ยึดหลักสากลจากเบาไปหาหนัก ซึ่งทั้งหมดอยู่ในเอกสารผ่านที่ 1,2,3,4 แต่แผ่นสุดท้ายเราได้อธิบายความว่า หากเราปฏิบัติจากเบาไปหาหนักนั้นไม่สามารถจะระงับยับยั้งการปฏิบัติที่ผิดกฎหมายก่อให้เกิดอันตรายต่อพี่น้องประชาชนผู้บริสุทธิ์ และเจ้าหน้าที่ได้ เราก็จำเป็นที่ต้องใช้พลแม่นปืนระวังป้องกัน “กองทัพบกไม่เคยใช้สไนเปอร์ เราเรียกเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติว่าพลแม่นปืนระวังป้องกัน ส่วนใครจะไปเรียกอะไรก็เรื่องของเขา แต่ส่วนใหญ่พยายามจะเรียกให้มันดูน่ากลัวว่า สไนเปอร์ คือ พลซุ่มยิง ไม่ได้บ่งบอกว่าซุ่มยิงอะไร อย่างไรก็ตาม พลแม่นปืนระวังป้องกัน หากมีผู้ใช้อาวุธสงครามทำร้ายประชาชนและเจ้าหน้าที่เพื่อให้ถึงแก่ชีวิตหรือบาดเจ็บ พลแม่นปืนระวังป้องกันจำเป็นต้องปฏิบัติงานของเขา นอกจากนี้ยังมีรายละเอียดว่า หากผู้ที่ถืออาวุธสงครามปะปนอยู่กับประชาชนหากทำไม่ได้ก็ไม่ต้องทำ หากอ่านในเอกสารให้ละเอียดจะมีข้อความเหล่านี้อยู่" พ.อ.สรรเสริญ ระบุ พ.อ.สรรเสริญ กล่าวกับผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ข่าวสดด้วยว่า หากเราพบบุคคลผู้ที่มีอาวุธสงครามปะปนอยู่ในกลุ่มผู้ชุมนุมแล้วกำลังจะใช้อาวุธทำร้ายประชาชนหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐให้ถึงชีวิตหรือบาดเจ็บ และเราไม่สามารถป้องกันด้วยวิธีอื่นได้ พลแม่นปืนระวังป้องกันเขามีหน้าที่ต้องดำเนินการตามภารกิจ แต่ไม่ใช่หมายความว่าเราจะไปยิงทำร้ายประชาชนผู้บริสุทธิ์หรือกลุ่มผู้ชุมนุม ซึ่งเรื่องทั้งหมดได้อธิบายความไปหมดแล้วตั้งแต่สมัย ศอฉ. ทั้งนี้ เราไม่ได้วิตกกังวลต่อเอกสารที่ถูกปล่อยออกมา เพราะเป็นเรื่องเดิม เพียงแต่ตั้งข้อสังเกตว่าทำไม ไม่เอามาปล่อยให้หมดทั้ง 5 แผ่น ทำไมเลือกเอาแผ่นสุดท้ายมา เพราะเอกสารแผ่นที่ 1-4 พูดถึงมาตรการจากเบาไปหาหนัก สังคมจะได้ไม่เห็นและทำให้สังคมเชื่อว่าเจ้าหน้าที่มีคำสั่งที่ชัดเจนให้ยิง นี่คือนัยยะสำคัญที่ต้องการจะปล่อยเรื่องนี้ “2 สัปดาห์ที่ผ่านมา มีความพยายามจากกลุ่ม จากฝ่ายบุคคล เพื่อสร้างกระแสทำให้สังคมเขาใจคลาดเคลื่อนให้เห็นว่ากองทัพทำอะไรที่รุนแรงเกินกว่าเหตุ กองทัพทำร้ายประชาชนผู้ชุมนุมซึ่งเขาปล่อยข้อมูลเพื่อเสริมภาพที่เขากำลังพยายามสร้างอยู่ แต่เราคงไม่กังวลเพราะไม่ใช่เรื่องใหม่ เราได้ชี้แจงมาหมดแล้ว” โฆษก ทบ. กล่าว
เปิดคำสั่งรักษาด่าน ศอฉ. ประชาไทเผยแพร่หมดแล้วทั้งฉบับนับตั้งแต่นำเสนอครั้งแรก อนึ่ง สำหรับเอกสาร “สยก.ศอฉ. ที่ กห.1407.55 (สยก.)” เรื่อง “ขออนุมัติแนวทางการปฏิบัติในการใช้อาวุธเพื่อ รปภ. ที่ตั้งหน่วยและสถานที่สำคัญ รวมทั้งการปฏิบัติ ณ จุดตรวจ/ด่านตรวจและสายตรวจเคลื่อนที่” ลงวันที่ 17 เม.ย. 53 นั้น ผู้สื่อข่าวประชาไทได้เผยแพร่แล้วทั้งฉบับ นับตั้งแต่การรายงานครั้งแรก ไม่ได้เผยแพร่เพียงแผ่นเดียวอย่างที่ พ.อ.สรรเสริญแถลงกล่าวหา โดยสามารถอ่านเอกสารทั้งหมดได้ที่ข่าวนี้ (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง) เอกสาร “สยก.ศอฉ. ที่ กห.1407.55 (สยก.)” เรื่อง “ขออนุมัติแนวทางการปฏิบัติในการใช้อาวุธเพื่อ รปภ. ที่ตั้งหน่วยและสถานที่สำคัญ รวมทั้งการปฏิบัติ ณ จุดตรวจ/ด่านตรวจและสายตรวจเคลื่อนที่” ลงวันที่ 17 เม.ย. 53 ลงนามโดย พล.ท.อักษรา เกิดผล หน.สยก.ศอฉ. เสนอ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.)
นอกจากนี้ในรายงานดังกล่าว ประชาไทยังนำเสนอ เอกสาร “กห.0407.45 (สยก./130)” ลงวันที่ วันที่ 17 เม.ย. 53 “เรื่อง ขออนุมัติแนวทางการปฏิบัติการใช้อาวุธเพื่อ รปภ. ที่ตั้งหน่วยและสถานที่สำคัญ รวมทั้งการปฏิบัติ ณ จุดตรวจ ด่านตรวจ และสายตรวจเคลื่อนที่” เรียน ผอ. ศอฉ. ลงนามโดย พล.อ. รอง เสธ.ศอฉ. (3) ลงนามวันที่ 18 เม.ย. 54 โดยในท้ายเอกสารมีข้อความว่า “อนุมัติตามเสนอในข้อ 4” ลงนามโดย “สุเทพ เทือกสุบรรณ” ในฐานะ ผอ.ศอฉ. โดยลงนามวันที่ 18 เม.ย. 53 ด้วย
เอกสารที่ กห.0407.45 (สยก./130) ลงวันที่ วันที่ 17 เม.ย. 53 “เรื่อง ขออนุมัติแนวทางการปฏิบัติการใช้อาวุธเพื่อ รปภ. ที่ตั้งหน่วยและสถานที่สำคัญ รวมทั้งการปฏิบัติ ณ จุดตรวจ ด่านตรวจ และสายตรวจเคลื่อนที่” เรียน ผอ. ศอฉ. โดย พล.อ. รอง เสธ.ศอฉ. (3) ท้ายเอกสารมีข้อความว่า “อนุมัติตามเสนอในข้อ 4” ลงนามโดย “สุเทพ เทือกสุบรรณ” ในฐานะ ผอ.ศอฉ.
ทั้งนี้ในการแถลงข่าวของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เมื่อ 16 ส.ค. 55 กล่าวปฏิเสธว่าไม่มีการใช้สไนเปอร์ เป็นเพียงปืนติดลำกล้องเพื่อใช้ระวังป้องกัน ซึ่งในตลาดนัดก็มีขายสำหรับใช้ยิงนก ขณะที่เมื่อ 16 พ.ค. 53 พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษก ศอฉ. ก็ปฏิเสธว่าไม่มีการใช้สไนเปอร์ มีเพียง “พลแม่นปืนระวังป้องกัน” ทำหน้าที่คุ้มครองการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ ที่ปฏิบัติงานอยู่ในพื้นที่ต่ำหรือตามถนนหนทางโดยทั่วไป เจ้าหน้าที่เหล่านี้จะมีหน้าที่ในการตรวจสอบว่ามีบุคคลผู้ใดถืออาวุธหรือจะเข้าทำร้ายเจ้าหน้าที่ และจะใช้การยิงคุ้มครอง (อ่านข่าวย้อนหลัง) และต่อมาเมื่อเดือนมีนาคมปี 2554 คณะกรรมาธิการการทหาร สภาผู้แทนราษฎร ได้นำรายงานบัญชีสรุปรายการเบิกจ่ายกระสุนจากหน่วยคลังแสงสรรพาวุธทหารบก เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ตั้งแต่ 11 มี.ค. 53 จนถึงเสร็จสิ้นการโดยมีการเบิกกระสุนจากคลังแสงทหารบกกว่า 597,500 นัด ส่งคืน 479,577 นัด ใช้ไป 117,923 นัด เผยมีการเบิกกระสุนปืนซุ่มยิง 3,000 นัด คืนเพียง 880 นัด ขณะที่เบิกกระสุนซ้อมเพียง 10,000 นัด ส่งคืน 3,380 นัด (อ่านข่าวย้อนหลัง)
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
หมอนิรันดร์ ร่วม “ปฏิญญาหน้าศาล” ย้ำการมีนักโทษการเมืองคือการละเมิดสิทธิฯ Posted: 19 Aug 2012 12:23 PM PDT ชี้หลักสิทธิมนุษยชนของสังคมไทยกำลังถูกท้าทาย และเปลี่ยนผ่าน เสนอสิทธิในการรับรู้ความจริง-สิทธิในการที่จะเอาคนผิดมาลงโทษ-สิทธิที่จะได้รับการชดเชยและเยียวยา คือสิทธิสำคัญ ต้องสู้ต่อไป 19 ส.ค.55 เวลา 14.00 น. บริเวณหน้าศาลอาญา รัชดาภิเษก กลุ่มปฏิญญาหน้าศาลซึ่งจัดกิจกรรมหน้าศาลอาญาทุกอาทิตย์ ได้จัดเสวนาในหัวข้อ “นักโทษการเมืองกับสิทธิมนุษยชน” โดยมี นายแพทย์นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ อนุกรรมการด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ มาเป็นวิทยากร นายแพทย์นิรันดร์กล่าวว่าคำที่ตรงกว่าคำว่านักโทษการเมือง คือนักโทษที่มีความคิดเห็นที่ต่าง การมีความคิดเห็นที่แตกต่างในระบอบประชาธิปไตยถือว่าเป็นเรื่องดี และสะท้อนความเป็นประชาธิปไตย ถ้ากำหนดให้คิดเหมือนกันนั่นคือระบอบเผด็จการ ปัญหาการมีคนคิดเห็นต่างแล้วต้องเข้าไปอยู่ในคุก โดยใช้กระบวนการยุติธรรมเป็นเครื่องมือนั้น ยืนยันว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนทั้งสิ้น ในอดีต คนที่เห็นต่างทางการเมืองหรือเห็นต่างในเรื่องนโยบายสาธารณะ ก็มักถูกกล่าวโทษด้วยกฎหมายอาญา เช่น ถูกตราหน้าว่าเป็นคอมมิวนิสต์ในสมัยสงครามเย็น หรือนักศึกษาในสมัย 6 ตุลา 2519 ถูกกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์ กรณี 4 รัฐมนตรีจากภาคอีสานสมัยทศวรรษ 2490 ที่ถูกมองว่าจะแบ่งแยกดินแดน รางวัลที่ได้รับคือถูกฆ่าตาย รวมทั้งพี่น้องภาคใต้ เช่น กรณีหะยีสุหลง ก็มีความเห็นต่างทางนโยบายให้สามจังหวัดภาคใต้มีอิสระในการจัดการนโยบายตนเอง ก็ถูกกล่าวหาว่าแบ่งแยกดินแดน และรางวัลที่ได้รับคือถูกฆ่าตายเช่นเดียวกัน ดังนั้น ต้องทำความเข้าใจว่าการต่อสู้ในเรื่องความเห็นต่างทางการเมืองมีมาตลอด และใน 4-5 ปีนี้ก็มีกรณีหลายอย่างที่ทำให้เกิดการละเมิดสิทธิคนที่มีความเห็นต่าง อันทำให้เกิดนักโทษการเมือง เช่น การใช้ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112, พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์, กฎหมายความมั่นคง, กฎหมายการชุมนุมต่างๆ แม้แต่กรณีชาวบ้านชุมนุมเรียกร้องประเด็นทรัพยากร อย่างกรณีเขื่อนปากมูนหรือเขื่อนราษีไศลที่ถูกจับ ก็คือข้อหาก่อการร้าย ฉะนั้นเวลาที่จะจัดการกับคนที่เห็นต่างหรือขัดต่ออำนาจ มักจะถูกหาเหตุจากในเรื่องกฎหมาย ถ้าเป็นเรื่องทรัพยากรก็จะเอากฎหมายสิ่งแวดล้อมมาใช้ เช่น ชาวบ้านที่อยู่ในป่าก็โดนข้อหาทำให้โลกร้อน หรือที่หนองแซง ซึ่งคัดค้านโรงไฟฟ้า ก็ถูกตำรวจใช้กฎหมายสลายการชุมนุม ส่วนกรณีมาตรา 112 ปัญหาของกฎหมายนี้คือการบังคับใช้ และคนที่ใช้อำนาจ เช่น ตำรวจ อัยการ และตุลาการ จุดอ่อนสำคัญของกฎหมายคือใครไปแจ้งความก็ได้ ทำให้เกิดปัญหาว่าคนที่กล่าวหานำสถาบันมาใช้ทำลายล้างฝ่ายตรงข้าม คู่ต่อสู้ทางการเมือง หรือคนที่คิดเห็นต่างทางการเมือง ประเด็นที่สำคัญของการแก้ปัญหาจากมาตรา 112 คือการสร้างความชัดเจนให้เกิดความสมดุลระหว่างเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นกับการปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ สังคมต้องแยกให้ออกว่าตรงไหนคือเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น แบบไหนคือการดูหมิ่น หมิ่นประมาท อาฆาตมาดร้าย รวมทั้งความสับสนระหว่างพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์กับพื้นที่สาธารณะ ต้องแยกให้ออก ถ้าแยกไม่ออกจะเป็นช่องทำให้คนนำสถาบันมาทำลายล้างกัน และจะทำให้สถาบันเสื่อมเสียเสียเอง นอกจากนั้น 112 ยังถูกใช้พ้องไปกับ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ซึ่งใช้ในการปิดเว็บไซต์หลายหมื่นเว็บ มีส่วนที่กระทบต่อเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นเป็นจำนวนมาก ตั้งแต่ช่วงก่อนหน้านี้ทางคณะกรรมการสิทธิฯ ได้มีการตั้งคณะทำงานศึกษาเรื่องการบังคับใช้มาตรา 112 โดยมีนายจอน อึ้งภากรณ์เป็นหัวหน้าคณะ ซึ่งรายงานการศึกษาปัญหาเรื่องนี้ใกล้แล้วเสร็จ จึงจะได้มีการแถลงถึงข้อสรุปดังกล่าวต่อไป นายแพทย์นิรันดร์ยังกล่าวถึงการใช้กฎหมายความมั่นคง เช่น พ.ร.บ.ความมั่นคง หรือ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ทั้งในพื้นที่สามจังหวัดภาคใต้และในการชุมนุทางการเมือง ว่าล้วนเป็นการแก้ปัญหาไม่ถูกจุดและทำให้ยิ่งแก้ไม่ได้ เพราะนำไปสู่การใช้อำนาจละเมิดสิทธิต่างๆ ทำให้มีการใช้แนวทางการทหารมานำการเมือง ทั้งที่ปัญหาต่างๆ ล้วนเป็นปัญหาทางการเมือง ตนมีความเห็นไปถึงนายกฯ ว่าไม่ควรประกาศใช้ไม่ว่ารัฐบาลไหนทั้งสิ้น และต้องเน้นการคุ้มครองสิทธิในการชุมนุมอย่างสงบ การชุมนุมทางการเมืองในช่วงที่ผ่านมาต้องยอมรับว่ามีการละเมิดสิทธิการชุมนุมและการแสดงความคิดเห็นจำนวนมาก รวมถึงการฆ่ากันตาย 90 กว่าศพ ส่วนในหลายกรณีที่ถูกจำคุกไปแล้ว ก็ต้องเน้นที่สิทธิในกระบวนการยุติธรรม เช่น การถูกพิจารณาเป็นผู้บริสุทธิ์อยู่จนกว่าศาลจะตัดสิน การให้สิทธิการประกันตัว สิทธิการดูแลสุขภาพ กระบวนการพิจารณาที่รวดเร็ว ซึ่งสิทธิเหล่านี้รัฐธรรมนูญคุ้มครองไว้ทั้งสิ้น แต่ในความเป็นจริงมันก็ไม่ได้เป็นเช่นนั้น นายแพทย์นิรันดร์ย้ำว่าปัญหาเรื่องสิทธิมนุษยชนเป็นสิ่งที่คนต้องการสิทธิ ต้องเป็นฝ่ายต่อสู้เรียกร้อง ถ้าไม่ต่อสู้ ก็ไม่มีใครอยู่ๆ มามอบให้ ไม่มีรัฐบาลไหนมอบให้ บางเรื่องที่ยากก็อาจต้องใช้เวลานาน และยังต้องทำให้หน่วยงานรัฐยอมรับว่าอำนาจเป็นของประชาชน ไม่ใช่ของคุณ ถ้าหากอ้างกฎหมาย แล้วบอกว่าคุณใหญ่กว่า ก็มีลักษณะของนักเลง นายแพทย์นิรันดร์เสนอว่าสิทธิ 3 ประการที่สำคัญและต้องต่อสู้เรียกร้องต่อไป คือ หนึ่ง สิทธิในการรับรู้ความจริง เพราะสังคมไทยมักไม่ยอมรับความจริงและความจริงไม่ถูกทำให้ปรากฏ สอง สิทธิในการที่จะเอาคนผิดมาลงโทษ ซึ่งไม่ใช่เรื่องของการอาฆาตแค้น แต่ประเด็นคือไม่ต้องการให้มีการทำผิดซ้ำอีก ส่วนจะให้อภัยกันหรือนิรโทษกรรมนั้นเดี๋ยวค่อยว่ากันอีกที แต่ต้องคุยกันให้ได้ก่อนว่าใครผิด และสาม สิทธิที่จะได้รับการชดเชยและเยียวยา นายแพทย์นิรันดร์มองว่ากระบวนการต่อสู้ของประชาชนในขณะนี้ ไม่ได้คิดว่าเป็นเรื่องการแบ่งฝ่าย แต่เกี่ยวข้องกับการต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมและความถูกต้องด้วย และต้องยอมรับว่ากระบวนการยุติธรรมได้ทำลายสิทธิและความเป็นธรรมในสังคม โดยตนก็ไม่รู้เหมือนว่าถ้ากระบวนการยุติธรรมไม่สามารถเป็นที่พึ่งให้ได้ บ้านเมืองจะเกิดอะไรขึ้น ในช่วงท้าย ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้สอบถามนายแพทย์นิรันดร์ว่าคิดอย่างไรเรื่องการปฏิบัติกับนักโทษที่อยู่ระหว่างการต่อสู้คดีเหมือนกับนักโทษในคดีที่สิ้นสุดแล้ว นายแพทย์นิรันดร์กล่าวว่าเป็นเรื่องที่มีมาตลอด คุกถูกทำให้เป็นที่ขังคนจน ตัวอย่างในพื้นที่สามจังหวัดภาคใต้ ปัญหาเรื่องการประกันตัว การมีทนายดูแล จะหนักกว่านี้อีก หลายคนไม่กล้ามาร้องเรียน รวมทั้งยังมีการซ้อมทรมานต่างๆ ซึ่งเราคงจะหวังให้คนภายในแก้ไม่ได้ แต่ประชาชนคงต้องเป็นฝ่ายต่อสู้เรียกร้องเอง นอกจากนั้นยังมีคำถามจากผู้ฟังอีกว่ารู้สึกอย่างไรที่ต้องทำงานภายใต้การแบ่งขั้วทางการเมือง และทำงานอย่างไรภายใต้แรงกดดัน นายแพทย์นิรันดร์กล่าวว่าไม่ค่อยลำบากใจ ก่อนเป็นคณะกรรมการสิทธิฯ ตนก็เคยเป็น ส.ว.มาก่อน ก็ถูกหาว่าเป็นเสื้อเหลือง บางทีก็ถูกเสื้อเหลืองหาว่าเข้าข้างเสื้อแดง แต่ยืนยันว่าส่วนตัวทำงานโดยหลักการมาตลอด ไม่ได้ยึดในสีเสื้อหรือตัวบุคคล แต่ก็ต้องยอมรับว่าบางอย่างก็ทำได้ บางอย่างทำได้ช้า หรือบางอย่างก็ทำไม่ได้ แต่ในภาพรวมเห็นว่าการเมืองภาคประชาชนมันโตขึ้น มีคนใหม่ๆ เกิดขึ้น อย่างกลุ่มปฏิญญาหน้าศาลนี้เป็นต้น และตอนนี้สังคมไทยอยู่ในระยะเปลี่ยนผ่าน สิ่งที่ต้องระวังคือความขัดแย้งและแตกต่างกลายเป็นการฆ่ากันและละเมิดสิทธิต่อกัน ส่วนการวิจารณ์คณะกรรมการสิทธิฯ ก็เป็นเรื่องที่รับฟังได้ นายแพทย์นิรันดร์ได้กล่าวสรุปในตอนท้ายว่า ประเด็นนักโทษการเมืองเกิดขึ้นจากผลพวงของการละเมิดสิทธิมนุษยชนและระบอบประชาธิปไตย โดยเฉพาะสิทธิมนุษยชนเรื่องเสรีภาพและความเสมอภาค ที่ถูกละเมิดมาก และคนละเมิดก็คือคนที่มีอำนาจทางการเมือง เมื่อมีปรากฏการณ์เกิดขึ้น มีคนต้องการการเปลี่ยนแปลง คนมีอำนาจเห็นว่าคุณต่างก็ต้องโดนจับ แต่หลักสิทธิมนุษยชนของสังคมไทยในช่วงนี้กำลังถูกท้าทาย และกำลังเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านของการต่อสู้เรื่องสิทธิมนุษยชนในทุกด้าน ทั้งสิทธิชุมชน สิทธิความเป็นคน ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ซึ่งกำลังตื่นขึ้นทั่วประเทศ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
ยอดพล เทพสิทธา: การกระจายโอกาสและการเข้าสู่ธุรกิจกลางคืนของผีเสื้อราตรี Posted: 19 Aug 2012 10:38 AM PDT เมื่อวัยเด็กผู้เเขียนได้รับการอบรมจากทางบ้านมาเสมอว่าให้ตั้งใจเรียนเพื่อโตไปจะได้รับราชการและเป็นเจ้าคนนายคน ประโยคดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงค่านิยมของครอบครัวไทยที่มีรากฐานมาจากการเป็นข้าราชการเพื่อสั่งสอนลูกหลานของตนให้เข้าสู่แวดวงข้าราชการเพ่อที่จะได้มีหน้ามีตาและมีเกียรติสืบต่อไปในวงศ์ตระกูล หากแต่ในยุคปัจจุบันเป็นยุคของการเปิดโอกาสทางการศึกษาไม่ว่าจะเป็นลูกชาวนาลูกตาสีตาสาก็สามารถที่จะเข้าศึกษาในระดับที่สูงขึ้นได้เนื่องมาจากการกระจายโอกาสทางการศึกษาที่ต้องการให้ครอบคลุมในระดับภูมิภาคโดยสังเกตได้จากการที่มีสถาบันอุดมศึกษาเปิดแข่งกันเป็นจำนวนมากในระดับภูมิภาคทั้งสถาบันของรัฐและเอกชนปัญหาสำคัญที่ตามมาจากการกระจายโอกาสทางการศึกษาคือตลาดแรงงานของไทยนั้นมีความพร้อมในการรองรับบัณฑิตที่จบการศึกษาเป็นจำนวนมากในแต่ละปีหรือไม่เพราะหากมองกันในความเป็นจริงแล้วนั้นจะพบว่าตลาดแรงงานส่วนมากมักจะกระจุกกันอยู่ในเมืองหลวงหรือเฉพาะเมืองใหญ่ๆ ข้อเท็จจริงอีกประการที่ไม่อาจปฏิเสธได้คือเมื่อคนมีความรู้มากหรือได้รับการศึกษามามากย่อมไม่ต้องการประกอบอาชีพที่ต้องใช้แรงกายเป็นหลักอาจเป็นเพราะค่านิยมหรือทัศนคติของความเป็นทุนนิยมที่ผลักดันพวกเขาเหล่านั้นให้เข้ามาแสวงโชคในเมืองใหญ่เพื่อแลกกับค่าตอบแทนที่มากกว่าการทำงานในต่างจังหวัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเข้ามาแสวงโชคของผู้หญิงที่อาจจะมีความโชคดี(หรือความโชคร้าย)มากกว่าผู้ชายเมื่อไม่สามารถหาตำแหน่งงานที่รองรับกับวุฒิการศึกษาได้นั้นผู้หญิงบางกลุ่มเลือกที่จะเข้าสู่ธุรกิจกลางคืนซึ่งมีหลายระดับตั้งแต่ระดับสีขาว สีเทาจนไปถึงสีดำ การกระจายโอกาสให้แก่ส่วนภูมิภาค การกระจายโอกาสนั้นหากมองผิวเผินก็อาจอนุมานได้ว่าเป็นการกระจายสิ่งที่คนในเมืองหลวงมีให้แก่คนในต่างจังหวัดหรือในระดับภูมิภาคเช่นการกระจายการศึกษาหรือสิ่งสาธารณูปโภคต่างๆทั้งนี้การกระจายโอกาสนั้นก็ยังอยู่บนหลักการพื้นฐานของความเสมอภาคกล่าวคือรัฐต้องจัดให้ประชาชนทุกคนได้รับบริการจากรัฐอย่างเสมอภาคกันโดยปราศจากการเลือกปฏิบัติไม่ว่าจะเป็นด้านเพศที่กำเนิดเชื้อชาติหรือภาษา ความเป็นจริงคือประชากรทุกคนของรัฐต่างได้รับบริการจากรัฐอย่างเสมอภาคกันเช่น นาย ก จากจังหวัดมุกดาหารก็สามารถที่จะเข้าเรียนในระดับมัธยมศึกษาหรืออุดมศึกษาได้เช่นเดียวกับ นาย ข ที่เป็นชาวกรุงเทพโดยกำเนิด หากมองอย่างผิวเผินเราต่างสรรเสริญเหตุการณ์นี้ว่ามันช่างเสมอภาคเสียจริงเมืองคนจากส่วนภูมิภาคสามารถเรียนจนได้ถึงระดับเดียวกับคนจากเมืองหลวง แต่ในความเป็นจริงนั้นกลับไม่ได้สวยหรูเฉกเช่นที่กล่าวมา สิ่งที่ต้องพิจารณาคือการกระจายโอกาสนั้นในความเป็นจริงแล้วเป็นการกระจายอย่างเท่าเทียมหรือไม่ กล่าวคือหากนำเอาตัวอย่างเดิมเรื่องการศึกษามาเป็นตัวตั้งนั้นสมมุติฐานที่ต้องตั้งควบคู่ไปกับการได้เข้าสู่ระบบคือมาตรฐานของการจัดการนั้นเท่าเทียมกันหรือไม่และงบประมานที่ได้รับการสนับสนุนมานั้นเหมาะสมเพียงใด ? ดังที่ได้กล่าวไปแล้วตอนต้นว่าแทบจะทุกคนมีเป้าหมายคือการได้ทำงานในเมืองหลวงดังนั้นการที่จะให้มีบุคคลากรที่มีคุณสมบัติทัดเทียมกันกับบุคลากรในเมืองหลวงนั้นย่อมที่จะเป็นไปไม่ได้หรือยากเต็มทีแต่ไม่ได้หมายคววามว่าบุคคลากรในระดับภูมิภาคนั้นจะมีศักยภาพที่ด้อยกว่าในเมืองหลวงหากแต่เป็นเรื่องของการสนันสนุนด้านงบประมานไม่ว่าจะเป็นในด้านการทำวิจัยที่เหมาะสมกับแต่ละภูมิภาคหรือแม้แต่เรื่องของโครงสร้างพื้นฐานปัญหานี้เองที่ทำให้ระบบการจัดการศึกษาในระดับภูมิภาคนั้นไม่อาจตอบสนองต่อค่านิยมในปัจจุบันได้ดังนั้นบรรดานักเรียนที่มาจากครอบครัวผู้มีอันจะกินในระดับภูมิภาคจึงเลือกที่จะส่งบุตรหลานเข้ามาศึกษาต่อในเมืองหลวงโดยหวังวาจะสามารถยกระดับความเป็นอยู่และสามารถที่จะโอ้อวดได้ว่า ลูกหลานตนศึกษาอยู่ในเมืองหลวงอย่างไรก็ตามยังมีคนอีกกลุ่มหนึ่งที่พยายามจะเข้ามาศึกษาต่อในเมืองหลวงโดยหวังว่าจะโชคดีและได้รับโอกาสในการทำงานในเมืองหลวงต่อไปบุคคลกลุ่มนี้เองที่ผู้เขียนบทความนี้พยามที่จะทำการศึกษาและค้นหาถึงความจำเป็นในการเข้ามาแสวงโชคในเมืองหลวงว่าเพราะเหตุใดเขาเหล่านี้จงเลือกที่จะเข้ามาแสวงโชคในเมืองหลวงโดยที่เขาเหล่านี้ไม่มีความสัมพันธ์ใดๆเลยกับเมืองหลวงทั้งด้านเครือญาติหรือเครือข่ายต่างๆ เมื่อเศรษฐกิจถูกทำให้กระจุกตัวอยู่ในเมืองหลวง ภายใต้สมมุติฐานที่ว่าเมืองหลวงนั้นเป็นศูนย์กลางแห่งความเจริญทั้งหลายในประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศกำลังพัฒนาหรือประเทศด้อยพัฒนาอย่างประเทศไทยเราจะสังเกตได้จากความเจริญทางวัตถุเช่นตึกสูงที่โตเร็วกว่าต้นไม้ใหญ่ในเมืองหลวงโดยบรรดาตึกสูงเหล่านี้เป็นสิ่งสะท้อนให้เห็นถึงการกระจุกตัวของการพัฒนาความเจริญต่างๆในเมืองหลวงแน่นอนว่าเราไม่อาจหาตึกสูงเกินกว่าห้าชั้นได้ในต่างจังหวัด(ยกเว้นโรงแรมในจังหวัดท่องเที่ยว)เราคงไม่อาจพบเห็นคนในมาดนักธุรกิจที่ใส่ชุดสากลผูกเนกไทเดินกันขวักไขว่ในต่างจังหวัดเช่นเดียวกับที่เห็นในย่านเศรษฐกิจของประเทศเช่นย่านสีลมหรือสาทรสิ่งที่ต้องนำมาคิดต่อคือเพราะอะไรระบบเศรษฐกิจหรือพลังทางการเงินนั้นถึงมากระจุกตัวอยู่ในเมืองหลวงทั้งๆที่ประเทศไทยถูกจัดให้เป็นประเทศเกษตรกรรมแต่ส่วนภูมิภาคกลับถูกผลักออกให้ไปอยู่ในชายขอบของระบบเศรษฐกิจทั้งๆที่ส่วนภูมิภาคเป็นแหล่งผลิตรายได้ที่สำคัญของประเทศโดยเฉพาะภาคการเกษตรปัจจัยที่ทำให้เศรษฐกิจถูกทำให้กระจุกตัวอยู่ในเมืองหลวงอาจเป็นเพราะเมืองหลวงเป็นหน้าตาของประเทศเราคิดว่านักธุรกิจต่างชาติคงไม่ยินดีนักหากมีการเจรจาตกลงด้านธุรกิจกันในพื้นที่แห้งแล้งหรืออยู่ท่ามกลางทุ่งนาดังนั้นระบบเศรษฐกิจการเงินต่างๆจึงมากระจุกตัวอยู่ในเมืองหลวง เมื่อระบบเศรษฐกิจการเงินถูกทำให้มาอยู่ที่เมืองหลวงแล้วนั้นสิ่งที่ตามมาและไม่อาจปฏิเสธได้คือตำแหน่งงานทั้งหลายย่อมที่จะมารวมตัวกันอยู่ในเมืองหลวงเช่นกัน ดังนั้นเมืองหลวงในปัจจุบันจึงไม่ใช่เพียงแต่หน้าตาของประเทศหากแต่ยังเป็นโอเอซิสแหล่งใหญ่ของบรรดาผู้แสวงโชคที่หวังจะได้รับโอกาสนั้น เมื่อตำแหน่งงานมีจำกัดการแย่งชิงตำแหน่งงานย่อมมีสูงผู้ที่พ่ายแพ้ต่อการแข่งขันย่อมมีทางเลือกเสมอคือตั้งตัวใหม่หรือยอมแพ้และกลับไปเสี่ยงโชคในบ้านเกิดหรือเมืองอื่นต่อไป อย่างไรก็ตามบุคคลอีกกลุ่มหนึ่งที่จะละเลยไม่กล่าวถึงไม่ได้คือเหล่าผู้แสวงโชคที่เป็นสตรี คำกล่าวที่ว่าอันนารีมีรูปเป็นทรัพย์นั้นคงจะไม่เป็นคำกล่าวที่เกินเลยไปสำหรับสังคมในยุคปัจจุบันหากดูจากอัตราการเกิดใหม่และรายได้ของสถานบันเทิงโดยเฉพาะสถานบันเทิงยามค่ำคืนที่จัดให้มีสตรีให้บริการ การจัดให้มีสตรีให้บริการในสถานบันเทิงในที่นี้จะไม่กล่าวถึงสถานบริการประเภทอาบอบนวดหรือสถานบริการประเภทอื่นที่มีลักษณะใกล้เคียงกันไม่ว่าจะเป็นสถานให้บริการสปาต่างๆที่อยู่ในประเภทของธุรกิจสีเทาแต่ในบทความนี้จะกล่าวถึงสถานบันเทิงที่จัดให้มีสตรีให้ปริการในลักษณะของการนั่งเป็นเพื่อนพูดคุยหรือที่เรียกกันว่าเด็กนั่งดริงก์ การเข้าสู่วงการผีเสื้อราตรีจำใจหรือยินยอม ในธุรกิจสถานบันเทิงยามค่ำคืนที่กำลังจะพูดถึงนี้ถูกจัดให้อยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติสถานบริการฉบับที่สี่ พ.ศ.2547 โดยได้นิยามคำว่าสถานบริการไว้ในมาตรา 3 ว่า "สถานบริการ" หมายความว่า สถานที่ที่ตั้งขึ้นเพื่อให้บริการโดยหวังประโยชน์ในทางการค้า ดังต่อไปนี้ (ก) สถานที่ซึ่งผู้บริการได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทย ประเภทการนวดไทยตามกฎหมาย ว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะ หรือได้รับยกเว้นไม่ต้องขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ สาขาการแพทย์แผนไทยประเภทการนวดไทยตามกฎหมายดังกล่าว หรือสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล สถานบันเทิงที่จะกล่าวต่อไปนี้อยู่ตามอนุมาตรา 4 และ 5 ลักษณะของสถานบริการประเภทนี้ได้แก่สถานบริการที่จัดให้มีการจำหน่ายสุราและมีการแสดงดนตรี หากมองกันแต่เปลือกคือผับแอนด์เรสโตรองค์ทั่วไปแต่สิ่งที่กำลังจะสื่อต่อไปนี้คือความจริงที่ปรากฏต่อสายตาของคนทั่วไปอย่างโจ่งแจ้งนั่นคือสถานบริการที่เรียกอีกอย่างว่าเลาจน์แอนด์คาราโอเกะหรือในความเข้าใจทั่วไปคือโคโยตี้ผับ บิวตี้ฟูลคลับตามแต่จะตั้งชื่อสถานบริการประเภทนี้จะจัดให้มีการแสดงดนตรีและจัดให้มีการแสดงอื่นเพื่อความบันเทิงเช่นการจัดให้มีการแสดงตลกซึ่งกำลังเสื่อมความนิยมในปัจจุบันแต่สิ่งที่มาแทนที่นั้นกลับได้รับความนิยมมากกว่าและสามารถล่อหลอกเหล่านักเที่ยวราตรีบุรุษเพศได้มากกว่านั่นคือการแสดงโคโยตี้แดนซ์เซอร์ (coyote dancer)โดยจะเป็นการแสดงของสตรีเพศในลักษณะชุดนุ่งน้อยห่มน้อยหรือชุดบิกินี่เป็นต้น นอกจากนั้นสถานบริการเหล่านี้จะจัดให้มีสตรีไว้คอยให้บริการนั่งเป็นเพื่อนเหล่านักเที่ยวโดยจะเรียกสตรีเหล่านี้ว่า PR โดยราคาในการนั่งเป็นเพื่อนนั้นก็ขึ้นอยู่กับระดับของสถานบริการซึ่งโดยมากแล้วจะอยู่ที่ราคา 290 บาทสำหรับสมาชิกต่อสี่สิบนาทีหรือหนึ่งดื่มโดยเริ่มต้นที่สองดื่มสำหรับระดับ PR โดยรายได้จากค่าดื่มนี้ในบางสถานบริการจะแบ่งกับตัว PR กันในสัดส่วนที่ตกลงกันไว้เช่นหกสิบสี่สิบหรือห้าสิบห้าสิบเป็นต้นหรือหากนักเที่ยวคนใดเกิดติดใจหรือถูกใจ PR คนใดอาจทำการเหมาดื่มหรือซื้อดื่มเพื่อขอให้อยู่เป็นเพื่อนได้ตลอดจนร้านปิดก็ได้โดยราคาค่าเหมาดื่มโดยมากจะอยู่ที่ 2,900-3,190 บาท ขึ้นอยู่กับระดับของพนักงานหรือจะทำการซื้อเหมาดื่มเพื่อให้พนักงานไปเที่ยวนอกร้านกับตนได้ กับรายได้ที่ค่อนข้างดีในระดับนี้ย่อมล่อใจเหล่าสตรีที่มีรูปเป็นทรัพย์ให้เข้ามาสู่วงการผีเสื้อราตรีได้โดยง่ายแต่การเข้าสู่วงการหรือธุรกิจกลางคืนนี้ย่อมเกิดคำถามในใจต่อบุคคลทั่วไปรวมถึงนักเที่ยวทั่วไปว่าเข้ามาเพราะสมัครใจหรือว่าจำยอม แน่นอนว่ารายได้ขนาดสี่ถึงห้าหมื่นบาทต่อเดือนนั้นย่อมล่อใจเหล่าผีเสื้อราตรีแต่ฉากหลังของเธอเหล่านั้นเราไม่อาจทราบได้ว่าเธอเหล่านั้นยินดีที่จะมาทำเพราะต้องการเงินไปปรนเปรอชีวิตให้ทันกับระบบทุนนิยมปัจจุบันหรือเพราะความจำเป็นของครอบครัวที่ผลักดันให้เธอเหล่านั้นต้องเข้าสู่วงการนี้ จากการสัมภาษณ์ในพื้นที่จริงของผู้เขียนบทความทำให้ได้ทราบถึงเหตุผลของเหล่าผีเสื้อราตรีบางคนเช่น บางคนเดินทางมาจากภาคอิสานเพื่อเรียนและหางานทำแต่เมื่อไม่สามารถแข่งกับสภาพสังคมในเมืองหลวงได้เธอตัดสินใจที่จะเข้าสู่ธุรกิจกลางคืนโดยเริ่มจากการเป็นนักแสดงบนเวทีแลกกับรายได้ที่ไม่มากมายนักเมื่อรายได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการของครอบครัวประกอบกับสภาพสังคมที่บีบคั้นเข้ามาเธอจึงตัดสินในเข้าสู่การเป็นPRและเป็นโคโยตี้แดนซ์เซอร์ในที่สุด ต่อคำถามที่ได้ตั้งไว้ในตอนต้นว่าเพราะเหตุใดจึงเลือกเข้าสู่เส้นทางสายนี้คำตอบที่ได้รับนั้นก็ไม่ต่างจากที่คาดไว้มากนักคือความจำเป็นเมื่อไม่สามารถหางานในบ้านเกิดของเธอได้ประกอบกับความจำเป็นของครอบครัวที่เรียกร้องเงินจำนวนมาก (ประมาน 20,000 บาทต่อเดือน) เธอจึงตัดสินในเข้ามาทำงานในเส้นทางนี้อย่างเต็มตัวโดยให้เหตุผลว่าเปลืองตัวไม่มากเพียงแค่อาจจะถูกลูกค้าลวนลามบ้างแต่สามารถปัดป้องได้แต่หากพบลูกค้าที่ดีเธอก็เหมือนกับได้พักผ่อนไปในตัวผู้เขียนสัมภาษณ์ต่อไปอีกว่าพ่อแม่ของเธอรับรู้ถึงงานของเธอหรือไม่คำตอบนั้นผิดจากที่คาดมากคือพ่อแม่ของเธอนั้นรับรู้ถึงงานของเธอทุกอย่างคำถามสุดท้ายที่ได้ถามคือจะประกอบอาชีพนี้ไปจนถึงเมื่อไหร่ คำตอบที่ได้กลับมานั้นเป็นคำตอบที่น่าตกใจมากสำหรับผู้เขียนคือเธอยืนยันว่าจะทำไปจนกว่าจะทำไม่ไหวหรือมีคนมารับเลี้ยงเนื่องจากไม่รู้จะไปทำงาน อะไร(ปูมหลังของผู้ถูกสัมภาษณ์คือจบปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่งในกรงเทพ) เมื่อผู้เขียนซักต่อไปว่าหากอยู่ในสภาพภริยาน้อยและต้องนอนกับผู้รับเลี้ยงนั้นสามารถรับได้หรือไม่คำตอบมีเพียงน้ำตาและการตอบแบบเบาๆว่าไม่มีทางเลือก บุคคลอีกกลุ่มที่เข้ามามีบทบาทในธุรกิจนี้ได้แก่เซลล์หรือเรียกกันในแบบเก่าว่าแม่เล้าจน์บุคคลกลุ่มนี้มีหน้าที่ในการเชียร์ให้ลูกค้าเลือกPRไปนั่งเป็นเพื่อนเข้าเหล่านี้จะได้รับส่วนแบ่งจากค่าดื่มที่กำหนดไว้ในระเบียบของสถานบันเทิงแต่ละแห่งหากคืนใดไม่มีลูกค้าของเซลล์เหล่านี้เข้าร้านแน่นอนว่าเขาเหล่านี้ย่อมไม่ได้ค่าดื่มในวันนั้นๆ จากการสัมภาษณ์เซล์ลรายหนึ่งเธอให้ข้อมูลว่าในอดีตเธอเคยเป็นสาวนั่งดริงก์ในคาราโอเกะแห่งหนึ่งต่อมาเมื่อวัยเริ่มสูงขึ้นเธอจึงผันตัวมาเป็นเซลล์ประกอบกับมีลูกสองคนจึงทำให้เธอไม่สามารถที่จะดื่มสุราได้มากเฉกเช่นเมื่อก่อน การเข้าถึงสวัสดิการด้านสุขภาพของเหล่าผีเสื้อราตรี จากการสอบถามในเบื้องต้นพบว่าบรรดาพนักงานในสถานบริการเหล่านี้ไม่ได้เข้าอยู่ในระบบเงินเดือนเหมือนกับงานประเภทอื่นในกลางวันดังนั้นพนักงานในสถานบริการเหล่านี้จึงไม่อยู่ในระบบประกันสังคมนั่นหมายความว่าเมื่อยามเจ็บป่วยเขาเหล่านั้นต้องออกค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเองทั้งหมด จากสภาพการทำงานที่ชีวิตงานเริ่มต้นประมานสี่ทุ่มและลากไปจนถึงประมานตีสามเธอเหล่านั้นจะต้องคอยบริการลูกค้าในทุกๆความต้องการโดยส่วนมากจะเป็นการดื่มเหล้ากับลูกค้าเมื่อวงจรชีวิตเป็นเช่นนี้ย่อมปฏิเสธไม่ได้ว่าผลร้ายที่ตามมาคือสุขภาพที่ทรุดโทรมมากกว่าคนทั่วไปรายได้ต่างๆของเหล่าผีเสื้อราตรีนั้นจึงหมดไปกับค่าใช้จ่ายในการรักษาสุขภาพซึ่งรวมถึงการรักษาและแต่งเติมความงามเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ต่อไปในตลาดกลางคืนอันเป็นสมรภูมิที่มีการแข่งขันกันหนักสนามหนึ่ง กลับบ้านหรือสู้ต่อในสมรภูมิยามราตรี เมื่อจำนวนงานนอกเมืองหลวงนั้นมีจำนวนน้อยมากหากเทียบกับในเมืองหลวงทางเลือกของเหล่าผีเสื้อราตรีนอกจากนั้นจำนวนของค่าตอบแทนยังไม่สามารถเทียบกันได้สิ่งที่ต้องพิจารณาถึงแนวทางในการพัฒนาของประเทศนั้นคือเราเดินมาถูกทางหรือไม่เมื่อเราเน้นการพัฒนาให้กระจุกตัวอยู่ในเมืองหลวงและตามหัวเมืองใหญ่หากเรามุ่งเน้นการกระจายตัวของการพัฒนาเพื่อให้ระดับภูมิภาคมีความเจริญหรือมีโอกาสทางเศรษฐกิจที่เท่าเทียมกับเมืองหลวงบางครั้งเราอาจเห็นผีเสื้อราตรีลดจำนวนลงหรืออาจจะหายไปจากสังคมก็เป็นได้ ทั้งนี้ปัจจัยอื่นๆก็มีส่วนเกี่ยวข้องเช่นอุปสงค์หรือดีมานด์ของผู้ซื้อซึ่งก็คือนักท่องราตรีเพศผู้เป็นต้น หากรัฐสามารถที่จะสร้างความเท่าเทียมในการกระจายโอกาสในทางเศรษฐกิจได้นั้นย่อมเป็นผลดีเพราะจะทำให้รัฐสามารถจัดเก็บภาษีจากแรงงานในระบบได้มากขึ้นแต่หากไม่สามารถจัดการได้ปัญหาที่รัฐต้องรับภาระต่อมาคืออัตราการว่างงานแท้จริงของเหล่าผีเสื้อราตรีเมื่อพวกเธอปลดเกษียณหรือไม่สามารถทำงานต่อไปได้รัฐอาจต้องเข้ามาแบกรับภาระในส่วนนี้
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
แถลงการณ์ปิดคดีของ 'อิคัทเอรินา สามุทเสวิช': 1 ใน 3 สาวของวง Pussy Riot Posted: 19 Aug 2012 08:08 AM PDT “ในคำแถลงปิดคดี จำเลยมักจะถูกคาดหวังให้พูดว่าสำนึกผิด แสดงความเสียใจต่อสิ่งที่ได้กระทำไป หรือกล่าวถึงปัจจัยแวดล้อมที่จะทำให้โทษเบาลง แต่สำหรับกรณีของข้าพเจ้า และสำหรับเพื่อนร่วมวงคนอื่นๆ ด้วย เรื่องนี้ไม่จำเป็นเลย ข้าพเจ้าต้องการแสดงความเห็นถึงเรื่องสิ่งที่เกิดขึ้นกับเราสามคนมากกว่า...” "FREE Pussy Riot" ภาพรณรงค์ปล่อยตัวสมาชิกวงดนตรี Pussy Riot โดย cactusbones (CC BY-NC-SA 2.0) หมายเหตุจากผู้แปล (ทิเรล ฮาร์เบอร์คอร์น (Tyrell Haberkorn)): ที่ศาลอาญา กรุงมอสโก ประเทศรัสเซีย วันที่ 17 สิงหาคม 2555 อิคัทเอรินา สามุทเสวิช (Ekaterina Samutsevich) มาเรีย อัลยอกินา (Maria Alyokhina) และ นาเดซดา ทอโลกอนิโกวา (Nadezhda Tolokonnikova) ถูกพิพากษาว่ากระทำผิดกฎหมาย ศาลสั่งลงโทษจำคุก 2 ปี ผู้หญิงสามคนนี้ถูกกล่าวหาว่า “(กระทำ)การเป็นอันธพาลซึ่งมีแรงจูงใจจากความเกลียดชังทางศาสนา (hooliganism motivated by religious hatred)” โดยเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2555 ผู้หญิง 5 คนจากวง Pussy Riot ไปจัดการแสดงบนแท่นบูชาของวิหารแห่งพระคริสต์ผู้ช่วยให้รอด (Cathedral of Christ the Savior) ในกรุงมอสโคว์ โดยเต้นรำและร้องเพลง “โอ้พระแม่ ไล่ปูตินออกไป!” ในเวลาต่อมา ต้นเดือนมีนาคมปูตินชนะการเลือกตั้งครั้งที่ 3 เพลงและการปฏิบัติดังกล่าวของวง Pussy Riot ไม่สุภาพไหม? น่าจะใช่ เป็นการไม่เคารพต่อศาสนา? น่าจะใช่ แต่เป็นอาชญากรรมไหม? ไม่ใช่ มันเป็นการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองที่วิจารณ์ฝ่ายผู้มีอำนาจ สิ่งที่เป็นอาชญากรรมจริงก็คือ การฆาตกรรม การอุ้มตัวหายไป การกักขังโดยมิชอบ การซ้อมทรมาน การขโมย ซึ่งทั้งหมดนี้ก็มักกระทำโดยฝีมือของเจ้าหน้าที่ในระบอบปูตินเอง พวกเธอถูกพิจารณาคดีในศาลเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ทั้งสามได้อ่านคำแถลงปิดคดีในศาล สถานีวิทยุ Echo Moskvy ตีพิมพ์ภาพคำแถลงที่เขียนด้วยลายมือในภาษารัสเซียในเว็บไซต์ของสถานี (คลิกดู) และฉบับแปลภาษาอังกฤษได้รับการเผยแพร่ในเว็บไซต์ของวารสาร n+1 (คลิกดู) ซึ่งประกอบด้วยคำอธิบายจากนักแปลหลายคนที่ร่วมกันแปลจากภาษารัสเซีย (คลิกดู) สำหรับฉบับภาษาไทยซึ่งแปลมาจากฉบับภาษาอังกฤษนี้ ผู้แปลเลือกทำเพราะรู้สึกว่าคดีนี้แสดงถึงสถานการณ์อันตรายที่ไม่ได้จำกัดอยู่ในเฉพาะประเทศรัสเซียเท่านั้น การที่รัฐนำ “สิ่งศักดิ์สิทธิ์” มาใช้ในความขัดแย้งทางการเมืองเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วง ความกล้าหาญของผู้หญิงสามคนนี้ (ที่ต่อต้านรัฐที่เลวร้าย ที่ยอมติดคุกเสียอิสรภาพของตนเองเพื่อช่วยผลักให้สังคมเปิดมากขึ้น) ทำให้ผู้แปลรู้สึกสะเทือนใจอย่างมาก ตอนนี้หลายๆ คนพูดว่า “เราทุกคนคือ Pussy Riot” (“We are all Pussy Riot”) แต่ผู้แปลก็เห็นว่ายังไม่ใช่ เรายังมีอิสรภาพ เรายังดำเนินชีวิตอยู่นอกคุก เพราะฉะนั้นเราควรจะใช้อิสรภาพเพื่อรณรงค์ให้ อิคัทเอรินา สามุทเสวิช มาเรีย อัลยอกินา และนาเดซดา ทอโลกอนิโกวา และคนอื่นๆ ที่สูญเสียอิสรภาพ ได้รับการปล่อยตัวกลับมาต่อสู้ต่อไป คำแถลงปิดคดีดังต่อไปนี้เป็นเพียงหนึ่งในสามฉบับของผู้หญิงในวง Pussy Riot ที่ถูกดำเนินคดีและถูกตัดสินจำคุก กรุณารออ่านคำแปลคำแถลงปิดคดีอีกสองฉบับ... หรือร่วมลงมือแปลมาแบ่งปันกัน 000
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
แถลงการณ์ 'อัมสเตอร์ดัม' กรณีถูก 'กองทัพไทย' แจ้งความข้อหาหมิ่นประมาท Posted: 19 Aug 2012 06:37 AM PDT 18 ส.ค.55 เว็บไซต์โรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม (ไทย) เผยแพร่ แถลงการณ์นายอัมสเตอร์ดัมกรณีกองทัพไทยเข้าแจ้งความข้อหาหมิ่นประมาท ระบุเนื้อหา ดังนี้ ภาพการปราศรัยเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ.2555 ในวันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ.2555 หนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทยมติชนรายงานว่า ผู้บัญชาการทหารบก พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชามอบหมายให้ พ.ท.สายัณห์ ขุนขจีฟ้องร้องดำเนินคดีหมิ่นประมาททางอาญาต่อนายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม ที่ปรึกษากฎหมายของอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรและแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการ แห่งชาติ (นปช.) การแจ้งความเกิดจากคำปราศรัยของนายอัมสเตอร์ดัมในกรุงเทพฯเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ.2555 วันครบรอบที่กองทัพปราบปรามการชุมุนมอย่างทารุณซึ่งนำไปสู่การเสียชีวิตของประชาชน 98 ราย ในระหว่างการปราศรัย ซึ่งสามารถเข้าไปดูวิดีโอแบบเต็มได้ที่นี่ นายอัมสเตอร์ดัมประณามประวัติการสังหารหมู่พลเรือนของกองทัพไทยและวิจารณ์รัฐบาลสหรัฐว่าขายอาวุธและฝึกกองทัพไทยเพื่อสังหารพลเรือนอยู่เป็นประจำ คำปราศรัยของนายอัมสเตอร์ดัมถูกแปลเป็นภาษาไทย ดังนั้น จึงมีการแจ้งความดำเนินคดีต่อล่ามด้วยเช่นกัน พลเอกประยุทธ์กล่าวหาว่าข้อความดังกล่าวทำลายชื่อเสียงของกองทัพไทย ข่าวเรื่องการแจ้งความทางอาญาต่อนายอัมสเตอร์ดัมและล่ามเกิดขึ้นในปลายสัปดาห์นี้ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่กองทัพไทยและอดีตนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ได้ออกมาข่มขู่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ซึ่งมีหน้าที่สอบสวนการปราบปรามการชุมนุมปี 2553 อย่างเปิดเผย รวมถึงตอบโต้สื่อที่ถามเรื่องการใช้พลซุ่มยิงสังหารประชาชนในปี 2553 อย่างรุนแรง เป็นเรื่องชัดเจนที่นายอภิสิทธิ์และพลเอกประยุทธ์รู้สึกจนตรอกมากขึ้นเรื่อยๆ ในความพยายามที่จะปกป้องระบบการทำผิดแล้วลอยนวลซึ่งบ่งบอกถึงถึงความมีประสิทธิภาพของการทำงานของนายอัมสเตอร์ดัมและทีมงาน นายอัมสเตอร์ดัมยังคงยืนยันตามคำปราศรัยของเขาและมุ่งมั่นทำงานเพื่อนำตัวผู้นำระดับสูง (รวมถึงพลเอกประยุทธ์และอดีตนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) มาลงโทษในข้อหาอาชญากรรมต่อมนุษยชาติที่ก่อขึ้นในระหว่างการปรามปรามการชุมนุมของคนเสื้อแดงในเดือนเมษายนและพฤษภาคมปี 2553 อย่างไรก็ตาม สิ่งที่แน่นอนในครั้งนี้คือ คนที่สังหารพลเรือนเพื่อปกป้องอำนาจและอภิสิทธิ์ของตนจะไม่สามารถรอดพ้นจากการรับผิดในการกระทำของพวกเขาอย่างแน่นอน ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
วธ.เชียงราย เผยเตรียมเอาผิดเพจ "ไลค์ดะ" ตัดต่อรูปพ่อขุน Posted: 19 Aug 2012 06:04 AM PDT จากกรณีเพจ "ไลค์ดะ" ตัดต่อรูป "พ่อขุนเม็งราย" ล่าสุดวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย เผยเตรียมรวบรวมหลักฐานดำเนินคดีผู้เกี่ยวข้องกับเพจแล้ว 19 ส.ค. 55 - จากรณีที่เว็บไซต์ข่าวสดได้เสนอข่าว "รุมประณามแอดมินเฟซบุ๊ก‘ไลค์ดะ’ แพร่รูปไม่เหมาะสมว่อนเน็ต" โดยระบุว่าผู้สื่อข่าว “ข่าวสด” ได้พยายามสืบค้นหาข้อมูลของ เพจ ‘ไลค์ดะ’ บนเฟซบุ๊ก หลังได้รับรายงานจากประชาชนหลายคนว่ามีคนนำรูป พ่อขุนเม็งรายมหาราชไปตัดแต่งแล้วแปลงชื่อเป็น พ่อขุนเม็งไลก์ มหาราช จนเกิดกระแสออกมาต่อต้านเรื่องความไม่เหมาะสมกันอย่างมาก ตามข่าวที่เสนอไปก่อนหน้านี้แล้วนั้น ล่าสุดผู้สื่อข่าวได้เข้าไปติดตามข้อความ และรูปภาพจากเพจ http://www.facebook.com/likedha ทราบว่ามีคนเข้ามาตอบโต้ในทำนองไม่เห็นด้วยกันจำนวนมาก นอกจากนี้ยังพบเห็นภาพที่ไม่เหมาะสมอีกหลายภาพ มีทั้งภาพของ องค์พระยูไล พระดาไลลามะ โดยมีการตัดแต่งภาพรูปมือยกนิ้วโป้งสัญลักษณ์กดไลค์ ไปใส่ในทุกภาพแล้วแปลงชื่อให้ผิดเพี้ยนออกไป โดยผู้สื่อข่าวรายงานว่า มีคนเข้ามาต่อว่ามากมาย แต่ทาง แอดมินของเพจก็ยังโต้เถียงในทำนองไม่ทราบว่าตนเองทำผิดอยู่ คล้ายกับว่าต้องการโปรโมตเพจของตนให้โด่งดังมากยิ่งขึ้น รายงานข่าวแจ้งว่าถึงแม้ว่าบัจจุบันยังไม่มีใครออกมาแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อเอาผิดอย่างจริงจังก็ตาม แต่กระแสความไม่พอใจของประชาชนยิ่งเริ่มเพิ่มมากขึ้น จากการแชร์ภาพและ โต้ตอบกันในกระทู้ต่างๆ ที่เกี่ยวของกับภาพตัดต่อของพ่อขุนเม็งราย วธ.เชียงราย จ่อแจ้งความเอาผิดมือดีตัดต่อ"พ่อขุนฯ" ล่าสุดเว็บไซต์ ASTV ผู้จัดการออนไลน์รายงานเมื่อเวลา 18.14 น. ว่านายมงคล สิทธิหล่อ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย กล่าวว่าขณะนี้อยู่ระหว่างการรวบรวมหลักฐานกับเรื่องที่ที่ผู้เล่นอินเทอร์เน็ต ในจังหวัดเชียงราย เขียนประณามคนที่ตัดต่อพระหัตถ์ข้างซ้ายขององค์พ่อขุนเม็งรายมหาราช ผู้ก่อสร้างจังหวัดเชียงราย มากว่า 750 ปี และเปลี่ยนพระนามพระองค์เป็น "พ่อขุนเม็งไลค์มหาราช" ว่าจะเรียกเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าประชุม เพื่อแจ้งความดำเนินคดี เพราะถือว่าบิดเบือนความเชื่อ ความศรัทธา ของประชาชน ประการสำคัญ พ่อขุนเม็งรายมหาราช ถือว่า เป็นผู้มีพระคุณเป็นล้นพ้นของชาวล้านนามาตั้งแต่บรรพบุรุษ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
ศปช.เปิดฉบับสมบูรณ์รายงานสลายชุมนุม 53 - ฉบับ คอป.กรรมการสิทธิฯ ยังเงียบ Posted: 19 Aug 2012 05:50 AM PDT ศปช.เปิดตัวรายงานฉบับสมบูรณ์ 933 หน้า รวบรวมข้อมูล ข้อเท็จจริงการสลายการชุมนุม เม.ย.-พ.ค.53 เชื่อเป็นฉบับผู้สูญเสียที่ละเอียดสุดในประวัติศาสตร์การเมืองไทย แต่ยังติดเข้าไม่ถึงข้อมูลรัฐ เบื้องต้นดูได้ที่ www.pic2010.org เตรียมปรับครั้งสุดท้ายก่อนพิมพ์จำหน่าย 1 ก.ย.ขณะที่ฉบับ คอป.ยังเงียบ ส่วน กสม.เสร็จแล้ว รอผ่านกรรมการชุดใหญ่
19 ส.ค.55 ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีการจัดแถลงข่าวรายงาน “ความจริงเพื่อความยุติธรรม: เหตุการณ์และผลกระทบจากการสลายการชุมนุม เมษา-พฤษภา 53” ของศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุมเดือน เม.ย.-พ.ค.53 หรือ (ศปช.) พร้อมเตรียมเดินสายอภิปรายรายงานทั่วประเทศ เช่น จ.เชียงใหม่ จ.อุบลราชธานี เป็นต้น ทั้งนี้ ศปช.ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 19 ก.ค.53 โดยกลุ่มนักกิจกรรมร่วมกับนักวิชาการกลุ่มสันติประชาธรรม มีเจ้าหน้าที่ทำงาน 5-6 คนในการลงพื้นที่เก็บข้อมูล และสัมภาษณ์พยาน ผู้ได้รับผลกระทบฯ เคยแถลงข่าวมาแล้ว 2 ครั้ง ส่วนในครั้งนี้เป็นการสรุปรายงานร่างฉบับสมบูรณ์ 932 หน้า ซึ่งมีกำหนดพิมพ์เพื่อวางแผงทั่วไปในวันที่ 1 กันยายนนี้ พร้อมกับจะเปิดให้ดาวน์โหลดฉบับเต็มได้ที่เว็บไซต์ www.pic2010.org นอกจากนี้ ในเว็บไซต์ดังกล่าวยังมีการย่อยข้อมูลต่างๆ เป็นแผนภาพ แผนที่ต่างๆ ด้วย ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า หน่วยงานที่รับผิดชอบจัดทำรายงานเรื่องการสลายการชุมนุมปี 2553 อีกหน่วยคือ คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อความปรองดองแห่งชาติ ( คอป.) ซึ่งหมดอายุการทำงานเมื่อสิ้นเดือนก.ค.และมีกำหนดว่ารายงานฉบับเต็มจะออกราวเดือน ส.ค.นี้เช่นกัน ขณะที่อีกหน่วยหนึ่งคือ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาตินั้น เคยมีร่างรายงานดังกล่าวเล็ดรอดออกมาจนเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างมากเมื่อเดือน ก.ค.ปีที่ผ่านมา และนำกลับไปพิจารณาใหม่อีกครั้ง นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ หนึ่งในอนุกรรมการที่ร่วมจัดทำรายงานกล่าวว่า ร่างรายงานฉบับสมบูรณ์เขียนเสร็จแล้ว แต่จะต้องเข้าที่ประชุมใหญ่ของคณะกรรมการสิทธิก่อนเผยแพร่สู่สาธารณะ ซึ่งน่าจะดำเนินการได้เร็วๆ นี้ พวงทอง ภวัครพันธุ์ นักวิชาการจากกลุ่มสันติประชาธรรม อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า รายงานฉบับนี้ถือเป็นการบันทึกข้อเท็จจริง ความสูญเสียที่เกิดขึ้นกับประชาชน โดยมุ่งหวังว่าในอนาคต การรวบรวมข้อมูลนี้จะสามารถนำไปสู่การสร้างความเป็นธรรมกับผู้ได้รับผลกระทบและนำคนผิดมาลงโทษได้ อย่างไรก็ตาม ข้อจำกัดสำคัญของคณะทำงานคือการเข้าไม่ถึงข้อมูลจากภาครัฐ ไม่มีอำนาจในการเรียกเอกสารหรือเจ้าหน้าที่มาให้ข้อมูล แต่ก็ได้มีการรวบรวมข้อมูลเอกสารทางการเท่าที่มีการเผยแพร่และหามาได้ไว้ทั้งหมด รวมถึงหลักฐานจำพวกคลิปวิดีโอที่ถูกเผยแพร่ทางอินเตอร์เน็ตจำนวนมาก และส่วนใหญ่ถูกลบไปแล้ว “นี่เป็นรายงานที่สะท้อนเสียงและมุมมองของประชานที่ตกเป็นเหยื่อ และเป็นเสมือนคำประกาศต่อสังคมไทย ว่า เราจะไม่มีวันยอมรับความพยายามใดๆ ที่จะให้ผู้ตกเป็นเหยื่อของความรุนแรง ผู้ที่สูญเสีย ลืม เงียบเฉยและยอมจำนน ต่อความอยุติธรรม เราไม่มีวันยอมรับการเปลี่ยนการก่ออาชญากรรมต่อประชาชนให้เป็นสิ่งถูกกฎหมาย เราไม่มีวันไม่ยอมรับวัฒนธรรมการบูชาความปรองดองและความมั่นคงของรัฐ แต่ดูถูกเหยียบย่ำสิทธิ เสรีภาพ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้ถูกกระทำ เราจะไม่มีวันยอมรับวัฒนธรรมการเมืองที่ช่วยโอบอุ้มประเพณีของการปล่อยให้ผู้กระทำผิดที่มีอำนาจลอยนวล” พวงทองกล่าว
ภาพจากสไลด์นำเสนอของกฤตยา อาชนิจกุล กฤตยา อาชวนิจกุล อาจารย์จากศูนย์สิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า รายงาน ศปช.เป็นหนังสือเล่มแรกใน ประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยที่ให้รายละเอียดผู้เสียชีวิตเป็นรายๆ ไป เมื่อก่อนแม้มีการทำรายงาน ก็เป็นเพียงเชิงอรรถ เป็นฟุตโน้ตเล็กๆ ว่าใครตายจำนวนเท่าไร แต่งานนี้ต้องการบอกว่า เชิงอรรถนี้มีความสำคัญ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นภายใต้การอำพราง ความอัปลักษณ์และความอำมหิต ขณะที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่าง คอป. ก็อิหลักอิเหลื่อ มีความขัดแย้งในตนเอง ในหน้าที่ค้นหาความจริงกับการปรองดอง ส่วนคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติก็ล้มเหลวในการทำหน้าที่ กฤตยา ยังกล่าวถึงประเด็นสำคัญเกี่ยวกับ “ความตายที่พร่าเลือน” ซึ่งเป็นผลจากการชันสูตรพลิกศพ และสามารถสรุปได้เลยว่าไม่ได้รับความเอาใจใส่จากแพทย์มากพอในการทำรายงานการชันสูตรพลิกศพที่ละเอียด ที่มีอยู่ก็มีความหละหลวม และมีข้อมูลผิดพลาดหลายราย จนญาติของผู้เสียชีวิตต้องทำคำร้อง เช่น กรณีนายอัครเดช ขันแก้ว ผู้เสียชีวิตที่ถูกยิงในวัดปทุมฯ รายงานชันสูตรศพบอกว่า ถูกทุบด้วยของแข็ง “ที่สำคัญ รายงานเหล่านี้ไม่เผยแพร่สาธารณะ เราขอเรียกร้องให้เปิดเผย เพราะในปี 2535 มีการนำเอกสารชันสูตรพลิกศพ เปิดเผยสาธารณะ และสามารถนำมาวิเคราะห์เชิงวิชาการได้” กฤตยากล่าว นอกจากนี้กฤตยายังกล่าวอีกว่า ความยุติธรรมที่ล่าช้า คือ การปฏิเสธความยุติธรรม ดังนั้นจึงเสนอให้ดีเอสไอโอนเรื่องกลับให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติเพื่อให้มีการไต่สวนการตาย เพื่อให้เกิดความชัดเจนโดยเร็ว ที่ผ่านมาดีเอสไอใช้เวลานานมาก จนถึงเดือนมกราคม 2554 ถึงยอมแถลงว่าการตายแบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งคิดว่าเป็นการกระทำกับ นปช.และกลุ่มเกี่ยวพัน จำนวน 12 ราย กลุ่มสอง พบพยานแล้วว่าเกี่ยวกับการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ ตอนแรกระบุว่ามี 13 ราย แต่เมื่อ 18 พ.ค.ที่ผ่านมาระบุว่ามี 22 ศพ กลุ่มสาม สอบสวนแล้วแต่ไม่ปรากฏตัวผู้กระทำผิด 64 ราย แบ่งเป็น 18 คดี
เกษม กล่าวถึงปมปัญหาสำคัญเรื่อง “ชายชุดดำ” ซึ่งคนเสื้อแดงเห็นว่าเป็นฮีโร่มาช่วยในเวลาที่เพลี่ยงพล้ำ ขณะที่ ศอฉ.เห็นว่าเป็นผู้ก่อการร้ายนั้น เขาเห็นว่าเรื่องดังกล่าวยังไม่มีหน่วยงานใดให้ความชัดเจนได้ และเป็นปริศนาภายในกองทัพเอง ซึ่งโดยส่วนตัวเชื่อว่า ชายชุดดำเป็นส่วนหนึ่งของกองทัพ ฉวยใช้สถานการณ์เพื่อสลายขั้วอำนาจในกองทัพ ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับคนเสื้อแดงเลยแม้แต่น้อย นอกจากนี้ทหารกับคนชุดดำยังไล่ล่ากัน ออกมานอกบริเวณปะทะ เป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่สวนสัตว์ดุสิต เสียชีวิตเพราะลูกหลงจากการปะทะ และจากหลักฐานชี้ชัดว่าถูกยิงโดยเจ้าหน้าที่รัฐ เกษมกล่าวว่า สิ่งที่เห็นต่อเนื่องจากเหตุการณ์ความรุนแรงคือ คนเสื้อแดงก้าวพ้นจากข้อกล่าวหาว่าอยู่ในเงาของทักษิณ เขามีพลวัตรทางการเมืองของตนเองและมีการเรียกร้องความเป็นธรรม ยอมไม่ได้กับคนเจ็บคนตาย ทำให้หน่วยการเมืองต้องคล้อยตาม และพยายามจัดการเรื่องนี้ ขวัญระวี เสนอว่าสิ่งที่ต้องดำเนินการต่อไป คือ ต้องสร้างความจริงให้ปรากฏ ไม่ว่าผ่านวิธีการไต่สวน ตั้งคณะกรรมการอิสระที่เป็นกลาง, นำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ,ห้ามใช้ศาลทหาร หรือพิจารณาคดีลับ, สร้างหลักประกันว่ามาตรา 17 พ.ร.ก.ฉุกเฉินจะไม่มีอุปสรรค, ห้ามใช้โทษประหารชีวิต, ชดเชยเยียวยาอย่างทั่วถึง, ปฏิรูปกลไก สถาบันทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง ในการชุมนุมที่เก็บข้อมูลหลังจากสลายการชุมนุมปี 2553 จนถึง เม.ย.2555 พบว่า ประชาชนที่ถูกจับกุมมี 1,857 คน ซึ่งบางคนไม่ได้ร่วมชุมนุมด้วย และจากจำนวนทั้งหมดถูกดำเนินคดี 1,763 คน โดยกรุงเทพฯ เป็นพื้นที่ที่มีคดีมากที่สุด รองลงมาคือภาคอีสาน โดยแยกลักษณะการฟ้องได้ 3 ลักษณะ คือ คดีฝ่าฝืน พ.ร.ก. ฉุกเฉิน, คดีอาญาทั่วไปที่ไม่ได้ฟ้องด้วย พ.ร.ก. ฉุกเฉิน และการฟ้อง พ.ร.ก.ฉุกเฉินร่วมกับความผิดอาญาฐานอื่น ในการดำเนินคดีมีการรวบรัด มีหลายคดีที่เกี่ยวกับ พ.ร.ก.ฉุกเฉินที่ตัดสินคดีโดยลงโทษจำคุก 1 ปี แล้วจำเลยอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ยกฟ้องเพราะการดำเนินคดีในศาลชั้นต้นผิดระเบียบ ศาลอุทธรณ์เชื่อว่าไม่ได้แจ้งสิทธิให้จำเลย คำพิพากษาไม่ชอบก็ต้องกลับมาดำเนินคดีใหม่ เมื่อมาดำเนินคดีใหม่ก็ปัญหาคือ พยานโจทก์ที่ใช้ส่วนมากเป็นทหาร ต้องไปสืบพยานกันตามแหล่งที่อยู่ของทหารตามจังหวัดต่างๆ ทำให้ผู้เสียหายจำนนในการต่อสู้เพราะมีค่าใช้จ่ายสูง จากการอ่านคำฟ้องหลายคดีพบว่า พยานหลักฐานหลายชิ้นที่ถูกนำมาใช้เพื่ออ้างว่าผู้ต้องหาฝ่าฝืน พ.ร.ก. คือ ตีนตบ ธง นปช. หมวก ผ้าพันคอ พลุ ตะไล เป็นต้น เสาวลักษณ์ กล่าวด้วยว่า ปัจจุบันมีผู้ที่ติดคุกอยู่ระหว่างการพิจารณาคดี ไม่ได้รับการประกันตัวอีก 22 คน โดยเธอระบุว่าการใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินส่งผลกระทบต่อกระบวนการดำเนินคดีคือมีการซ้อม มีการจูงใจให้รับสารภาพ แต่ปัญหากระบวนการยุติธรรมนั้นมีมาอย่างยาวนานแล้ว ไม่ใช่เพิ่งมีช่วงเสื้อแดงชุมนุม เพียงแต่การชุมนุมในทางการเมืองทำให้เห็นสองมาตรฐานของกระบวนการยุติธรรม และขอเรียกร้องให้รัฐบาลพรรคเพื่อไทยซึ่งเป็นรัฐบาลที่เติบโตมาจากหยาดเหงื่อและเลือดเนื้อของคนเสื้อแดงดำเนินการให้สิทธิประกันตัวแก่นักโทษการเมืองเหล่านั้น
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
เหตุผลทางปรัชญากับคุณค่าของสถาบันกษัตริย์ Posted: 19 Aug 2012 04:13 AM PDT ราวห้าโมงเย็นเศษๆ หลังจากแท็กซี่หลายคันตอบปฏิเสธ ผมตัดสินใจโบกมือเรียกมอเตอร์ไซค์รับจ้าง สังเกตเสื้อคนขับยังเปียกชุ่มเพราะฝนเพิ่งซาเม็ด ในชั่วโมงที่รถติดวินาศสันตะโรเช่นนั้น เขาพาผมซอกแซกไปตามช่องแคบต่างๆ บ้าง วิ่งขึ้นฟุตบาตบ้าง ท่าทางเขาเป็นคนอีสานที่ทิ้งบ้านเกิดมาเหมือนผม แต่อาจโชคดีน้อยกว่าผม เขาจึงสู้ชีวิตด้วย “ทักษะ” ล้วนๆ เป็นผมในสภาพจราจรแบบนี้คงขับมอเตอร์ไปไม่ถึงร้อยเมตรแน่ นึกตำหนิตัวเองว่าจากธรรมศาสตร์ถึงอนุสาวรีขัยฯ ไปต่อราคา 80 บาทได้ไง พอถึงที่หมายให้แบงก์ร้อยไป บอก “ไม่ต้องทอนครับ” ในใจนึกขอบคุณเพื่อนยากที่อุตส่าห์ลัดเลาะมาส่งทันเวลารถตู้หัวหินออกพอดี เกริ่นนำแบบนี้ผมเพียงต้องการจะบอกว่า ที่จะพูดถึงนักวิชาการด้านปรัชญาต่อไปนี้ ผมไม่ได้พูดในความหมายว่าเขาเป็นบุคคลพิเศษ เป็นคนที่เราต้องคาดหวัง หรือคาดคั้นให้เขารับผิดชอบต่อสังคมอย่างเป็นพิเศษมากกว่าคนประเภทอื่นๆ แต่ผมกำลังพูดถึงในความหมายรวมๆ ว่า นักวิชาการด้านปรัชญาก็เหมือนคนในอาชีพอื่นๆ ที่ใช้ทักษะของตนเองให้เกิดประโยชน์แก่คนอื่นๆ และสังคมได้ เช่นเดียวกับคนขับมอเตอร์ไซค์รับจ้าง คนดูดส้วม คนกวาดถนน สื่อ นักวิชาการด้านอื่นๆ เป็นต้น หากจะมีอะไรพิเศษอยู่บ้างสำหรับนักวิชาการด้านปรัชญาก็คือความชำนาญเฉพาะด้านบางอย่าง เช่นเดียวกับที่นักวิชาการด้านอื่นๆ ก็มีในด้านของเขา และความชำนาญเฉพาะของนักวิชาการด้านปรัชญาก็คือทักษะการกำหนดประเด็นปัญหา การโต้แย้งถกเถียง หรือชักไซ้ไล่เรียงเหตุผลอย่างถึงที่สุดเพื่อทำความกระจ่างในประเด็นปัญหาต่างๆ โดยเฉพาะปัญหาในเชิงหลักการ อุดมการณ์ คุณค่าใดๆ ที่จำเป็นต้องอภิปรายเพื่อให้เห็นความมีเหตุผลรองรับอย่างรอบด้านและสมเหตุสมผล มีคำถามกันมานานว่า “ทำไมปรัชญาในบ้านเราจึงไม่ค่อยเชื่อมโยงกับสังคม?” ปัญหานี้คนในวงการเดียวกันก็ตั้งคำถาม นักศึกษาที่เรียนปรัชญาก็ตั้งคำถามว่า นี่เรากำลังเรียนไอ้ที่ไม่ค่อยจะรู้เรื่องพวกนี้ไปเพื่ออะไรกัน หรือคนนอกอาจไม่รู้เลยว่าปรัชญามันคืออะไร มีประโยชน์อะไรแก่สังคม คนในวงการปรัชญาเขาทำอะไรกันอยู่ เป็นต้น อันที่จริงถ้าจะให้ความเป็นธรรม เราก็อาจตั้งคำถามทำนองเดียวกันนี้กับนักรัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ นักวิชาการด้านอื่นๆ ได้เช่นกัน แต่ที่ตั้งคำถามนี้กับนักวิชาการด้านปรัชญา ก็เพราะในเมื่อเราต่างโปรกันในแวดวงของตนเองว่า พวกตนเองกำลังศึกษาวิชาที่พัฒนาทักษะการคิดเชิงหลักการ หรือการคิดเชิงวิพากษ์วิจารณ์ที่ดีที่สุด “การนิ่งเงียบ” ของคนในวงการปรัชญาต่อปัญหาความขัดแย้งกว่า 6 ปีที่ผ่านมา ทั้งที่มีปัญหาเชิงหลักการ เชิงอุดมการณ์ คุณค่า ความเป็นประชาธิปไตยสากล ประชาธิปไตยที่เหมาะกับวัฒนธรรมไทย หรือประเด็นปัญหาโครงสร้างสถาบันกษัตริย์กับการถูกอ้างอิงในทางการเมือง เป็นต้น ซึ่งล้วนแต่เป็นประเด็น “ปัญหาทางปรัชญา” ที่ท้าทายให้ถกเถียงด้วยเหตุผลอย่างถึงที่สุดนั้น นับเป็น “ความนิ่งเงียบ” ที่น่าประหลาดใจอย่างเหลือเชื่อ อย่างไรก็ตาม บังเอิญผมได้พบการอ้างอิงของอาจารย์สมภาร พรมทา ในการแลกเปลี่ยนท้ายบทความ ว่าด้วยบักโฮมผีบ้า “เหยื่อ” ของความขัดแย้งทางการเมือง (คลิกเพื่ออ่าน) ในประชาไทที่พาดพิงงานของอาจารย์มารค ตามไท ซึ่งต้องถือว่าเป็นมุมมองของนักวิชาการด้านปรัชญาที่น่าสนใจ ดังนี้ ข้อเสนอของท่านอาจารย์ (สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล-ผู้เขียน) เรื่องการจัดวางตำแหน่งของสถาบันกษัตริย์โดยรวมผมสนับสนุน แต่ในรายละเอียด ผมมีเรื่องจะเรียนปรึกษาว่า ท่านอาจารย์มีธงล่วงหน้าแล้วว่า เมื่อมีการจัดวางอย่างที่ว่าแล้ว สถาบันกษัตริย์จะเล็กลง ไม่มีอิทธิฤทธิ์อะไรที่คนบางพวกจะใช้อ้างเพื่อสร้างความชอบธรรมแก่ตน ปัญหามันอยู่ตรงนี้ครับ ผมมองว่าสถาบันกษัตริย์อย่างที่เป็นอยู่นี้มีประโยชน์บางด้านที่ท่านอาจารย์อาจจะมองไม่เห็น และผมอยากชวนท่านอาจารย์มองเรื่องนี้ก่อน สำหรับผม หากมองเรื่องนี้แล้วบอกไม่มีน้ำหนักก็ไม่เป็นไร แต่หลายคนคิดว่ามีน้ำหนัก ผมขอยกตัวอย่างเลยก็แล้วกัน อาจารย์ผมที่ภาคปรัชญา จุฬา คือท่านอาจารย์มารค ตามไท ท่านเขียนบทความวิจัยที่แสดงว่าประชาธิปไตยแบบมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขนั้นมีข้อดีอย่างไร ซึ่งข้อดีนี้ท่านว่าไม่พบในประชาธิปไตยแบบอื่นเช่นที่อเมริกาหรือแม้แต่อังกฤษ ข้อดีที่ว่านั้นคือ สถาบันกษัตริย์ได้กลายเป็นสื่อกลางที่ทำให้คนไทยที่ไม่รู้จักกันเกื้อกูลกันโดยผ่านทางพระเจ้าอยู่หัว ท่านอาจารย์คงเคยเห็นโครงการประเภท "รักในหลวงห่วงลูกหลานต่อต้านยาเสพติด" สมมติว่าโครงการนี้เราทำเต็มที่ แม้ชื่อจะบอกเพื่อในหลวง แต่ในหลวงท่านก็ไม่ได้อะไรดอกครับ พวกเราด้วยกันนี่แหละได้ ผมเห็นด้วยกับท่านอาจารย์มารค เมื่อเห็นด้วยก็เลยอยากให้ท่านอาจารย์ช่วยทบทวนความคิดหน่อยได้ไหมครับว่า หากทำให้สถาบันเล็กลง อย่างเจ้าต่างประเทศ เราจะได้ประโยชน์อะไร นอกจากเห็นซากความรุ่งเรืองที่เวลานี้ไม่มีประโยชน์แล้ว ผมสนใจประเด็นที่อาจารย์สมภารพูดถึง จึงไปอ่าน มารค ตามไท.การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข.ใน สันติสุข โสภณสิริ (บรรณาธิการ). “วิถีสังคมไท: สรรนิพนธ์ทางวิชาการเนื่องในวาระหนึ่งศตวรรษ ปรีดี พนมยงค์ ชุดที่ 2 ความคิดทางการเมืองการปกครอง” (กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์, 2544), หน้า 40-42. ใจความสำคัญตามที่อาจารย์สมภารอ้างถึงคือ แง่ดีของระบบดังกล่าวไม่ใช่การเป็นศูนย์รวมของประชาชน การสร้างความสามัคคี เพราะบทบาทเหล่านี้การปกครองระบอบอื่นๆ ก็มีได้ แง่ดีของระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของไทย ต้องเป็น “คุณค่าเฉพาะ” ที่เรามีไม่เหมือนใคร ได้แก่ การที่องค์พระมหากษัตริย์สามารถเป็นจุดส่งต่อความห่วงใยจากพลเมืองคนหนึ่งไปสู่พลเมืองอีกคน ถึงแม้ว่าจะไม่รู้จักกัน การที่พลเมืองรักองค์พระมหากษัตริย์ และการที่พระมหากษัตริย์ห่วงใยพลเมืองทุกคนในลักษณะที่ทำให้พลเมืองทราบอย่างชัดเจน คุณค่าพิเศษของระบอบนี้สามารถนำไปสู่สังคมที่คนในทุกส่วนของสังคมมองส่วนอื่นเป็นพวกเดียวกัน และต้องการให้มีชีวิตที่สงบสุขเช่นเดียวกันหมด คำขวัญที่ตรงกับประเด็นนี้คือ “รักในหลวง ร่วมกันห่วงใยเพื่อนร่วมชาติ” แต่คุณค่าพิเศษดังกล่าวนี้ของระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอยู่ในรูปของศักยภาพที่จะทำให้เกิดสภาพที่พึงปรารถนาที่ว่านั้น ซึ่งการที่ศักยภาพจะกลายเป็นสภาวะจริงย่อมขึ้นอยู่กับเงื่อนไขสำคัญ คือ พระมหากษัตริย์ต้องทรงประพฤติธรรม เช่น ทศพิธราชธรรม สังคหวัตถุ จักรวรรดิวัตร จะเห็นว่า “ข้อดี” หรือ “คุณค่าพิเศษ” ที่อาจารย์มารคพูดถึง เป็นการพูดถึงในสองความหมายคือ (1) เป็นคุณค่าพิเศษที่อยู่ในรูปของศักยภาพ (potentiality) หรือสิ่งที่ซ่อนเร้นอยู่ หมายความว่าไม่ใช่ยืนยัน “ข้อเท็จจริง” และ (2) ศักยภาพนั้นจะแสดงตัวออกมาเป็นสภาวะจริง (actuality) ย่อมขึ้นอยู่กับเงื่อนไขสำคัญ คือพระมหากษัตริย์ต้องทรงประพฤติธรรม เช่น ทศพิธราชธรรม สังคหวัตถุ จักรวรรดิวัตร ปัญหาคือเวลาเราจะรู้ว่าบุคคลที่มีบทบาทสาธารณะมีจริยธรรมหรือจรรยาบรรณในวิชาชีพนั้นๆ หรือไม่ เช่น นักการเมืองมีจริยธรรมหรือไม่ เรารู้ได้เพราะวิจารณ์ตรวจสอบได้ แต่กับสถาบันกษัตริย์เราทำเช่นนั้นไม่ได้ ดูเหมือนอาจารย์มารคก็มองเห็นปัญหาบางประการอยู่ ดังที่เขาเขียนว่า แม้ระบอบนี้อาจมีปัญหาเรื่อง “ความเป็นอิสระทางศีลธรรม” แต่ก็แก้ได้โดยที่พระมหากษัตริย์ทรงให้โอกาสพลเมืองไตร่ตรองตัดสินเรื่องต่างๆ เชิงบรรทัดฐานซึ่งเกี่ยวกับวิธีอยู่ร่วมกันในสังคมโดยไม่ครอบงำ ในเรื่องเฉพาะแต่ละเรื่อง แต่ให้แต่ละคนคิดในกรอบใหญ่ของศาสนา หรือระบบจริยธรรมของตน แต่ข้อเสนอนี้ก็ยังขึ้นอยู่กับ “พระมหากษัตริย์ทรงให้โอกาส” เหมือนเงื่อนไขเรื่องทศพิธราชธรรม สังคหวัตถุ จักรวรรดิวัตร ก็เป็นเงื่อนไขที่ขึ้นอยู่กับสถาบันกษัตริย์ในฐานะตัวบุคคล เพราะเงื่อนไขนี้จะเป็นเงื่อนไขเชิงสถาบันได้ ก็ต่อเมื่อมีการวางระบบให้วิจารณ์ตรวจสอบได้ เหมือนกับที่วิจารณ์ตรวจสอบจรรยาบรรณของบุคคลที่มีบทบาทสาธารณะอื่นๆ ได้เท่านั้น ในที่สุดก็หนีไม่พ้นประเด็นปัญหาทางหลักการที่อาจารย์สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล พยายามชี้ให้เห็น (อย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย เพราะชี้แล้วชี้อีกๆๆๆ) ทั้งที่ปัญหานี้เป็นปัญหาทางหลักการตรงไปตรงมาง่ายๆ หรือ Common sense ที่สุดจนน่าแปลกใจว่าการถกเถียงทางปรัชญามองข้ามปัญหาเช่นนี้ไปได้อย่างไร (หรือละเลยที่จะถกเถียงปัญหานี้อย่างตรงไปตรงมาและเป็นสาธารณะได้อย่างไร) เพราะหากแก้ปัญหานี้ไม่ได้ข้อเสนอเชิงคุณค่าใดๆ เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ล้วนแต่ไร้ความหมาย หรือไม่ make sense ทั้งนั้นเลย ข้อเสนอของอาจารย์สมศักดิ์ (ผมสรุปโดยเนื้อหา) ก็คือ เมื่อเรายืนยันว่าสถาบันกษัตริย์มีคุณประโยชน์ต่อบ้านเมืองอย่างนั้นอย่างนี้ (เช่น ในหลวงทรงงานหนัก และฯลฯ) ข้อยืนยันของเราจะมีความหมายก็ต่อเมื่อมีระบบกฎหมายที่ให้เสรีภาพในการเสนอข้อมูลด้านตรงข้ามได้ หรือวิจารณ์ตรวจสอบได้ พูดสั้นๆ คือต้อง Apply หลักการวิจารณ์ตรวจสอบนักการเมืองและบุคคลสาธารณะอื่นๆ กับการวิจารณ์ตรวจสอบสถาบันกษัตริย์ได้ในมาตรฐานเดียวกันนั่นเอง ไม่เช่นนั้นเวลาเราพูดว่า “...องค์พระมหากษัตริย์สามารถเป็นจุดส่งต่อความห่วงใยจากพลเมืองคนหนึ่งไปสู่พลเมืองอีกคน ถึงแม้ว่าจะไม่รู้จักกัน...” หรือว่า “...สถาบันกษัตริย์ได้กลายเป็นสื่อกลางที่ทำให้คนไทยที่ไม่รู้จักกันเกื้อกูลกันโดยผ่านทางพระเจ้าอยู่หัว ท่านอาจารย์คงเคยเห็นโครงการประเภท "รักในหลวงห่วงลูกหลานต่อต้านยาเสพติด" สมมติว่าโครงการนี้เราทำเต็มที่ แม้ชื่อจะบอกเพื่อในหลวง แต่ในหลวงท่านก็ไม่ได้อะไรดอกครับ พวกเราด้วยกันนี่แหละได้...” หากไม่ให้ประชาชนมีเสรีภาพเสนอข้อมูลด้านตรงข้ามมาเปรียบเทียบกัน (เช่น ถ้าคนพูดข้อมูลด้านที่เป็นความแตกแยก ความรุนแรงนองเลือดครั้งต่างๆ ที่ผ่านมาเพื่อนำมาโต้แย้งแล้วพวกเขาต้องติดคุก เป็นต้น) เราจะรู้ได้อย่างไรว่าที่พูดมานี้คือความจริง หรือว่ามีเหตุผล มีน้ำหนักควรแก่การยอมรับ ยิ่งความเห็นของอาจารย์สมภารที่ว่า “...ผมเห็นด้วยกับท่านอาจารย์มารค เมื่อเห็นด้วยก็เลยอยากให้ท่านอาจารย์ช่วยทบทวนความคิดหน่อยได้ไหมครับว่า หากทำให้สถาบันเล็กลง อย่างเจ้าต่างประเทศ เราจะได้ประโยชน์อะไร นอกจากเห็นซากความรุ่งเรืองที่เวลานี้ไม่มีประโยชน์แล้ว...” ก็ยิ่งดูเหมือนว่าอาจารย์สมภาร (หรือคนจำนวนมากที่คิดเหมือนอาจารย์สมภาร) มีข้อสรุปกับตัวเองอยู่ก่อนแล้วว่า สถาบันกษัตริย์ตามที่เป็นมาและเป็นอยู่นี้มีประโยชน์ต่อสังคมไทยมากกว่าสถาบันกษัตริย์ในต่างประเทศอยู่แล้ว หรือถ้าหากทำให้สถาบันกษัตริย์เป็นเหมือนอังกฤษ ญี่ปุ่น เป็นต้น สังคมไทยจะไม่ได้รับประโยชน์ที่ควรจะได้ดีกว่าตามที่เป็นอยู่นี้ ข้อสรุปทำนองนี้จึงยังติดคำถามเดิมนั่นแหละว่า “รู้ได้อย่างไร?” ฉะนั้น การใช้ทักษะทางปรัชญา หรือการอ้างเหตุผลใดๆ เพื่อยืนยันคุณค่า ประโยชน์ของสถาบันกษัตริย์ ถ้าหากไม่ใช่การอ้างเหตุผล หรือยืนยันไปพร้อมๆ กับการยืนยันให้ประชาชนมีเสรีภาพวิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบ การอ้างเหตุผลหรือการยืนยันนั้นๆ ย่อมไร้ความหมาย คือไม่มีข้อพิสูจน์หรือเหตุผลสนับสนุนเพียงพอว่าเหตุผลหรือข้อยืนยันนั้นๆ เป็นความจริงหรือมีความน่าเชื่อถือ ปล. ผมกราบขออภัยอาจารย์สมภารอย่างสูง ที่ผมนำเรื่องแลกเปลี่ยนกันในบทความก่อนมาพูดต่อข้างเดียว แต่ผมมุ่งไปที่ “ความคิด” ไม่ได้มุ่งที่ “ตัวตน” อาจารย์สมภารเองก็บอกทำนองว่า คนเรานั้นไม่ว่าใครก็คิดถูกคิดผิดได้ และคิดใหม่ได้ ที่ผมนำมาเขียนต่อนี้ก็ไม่ได้หมายความว่าตนเองคิดถูก หรือความคิดที่ตนเห็นด้วยถูกที่สุดแล้ว เพียงแต่อยากชวนให้ท่านผู้อ่านช่วยกันคิดต่อ หรือซักไซ้ไล่เรียงเหตุผลกันหลายๆ แง่ให้ตลอด เพราะปัญหายากๆ ของสังคมเรา คงต้องช่วยกันคิดกันอีกยาว ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
แม่น้องเกด ระบุศาลอาญาระหว่างประเทศแม้จะริบหรี่แต่ดีกว่าไม่มีหวัง ปิยบุตรเรียกร้องรัฐบาลจริงใจ Posted: 19 Aug 2012 02:18 AM PDT แม่น้องเกดเปิดใจ รู้ศาลอาญาระหว่างประเทศริบหรี่ แต่ดีกว่าไม่มีหวัง ปิยบุตร แสงกนกกุลเรียกร้องรัฐบาลจริงใจจะให้สัตยาบันหรือจะประกาศฝ่ายเดียวให้ศาลาอาญาระหว่างประเทศมีอำนาจเข้ามาพิจารณาย้องหลังหรือไม่ ก็ควรพูดอย่างตรงไปตรงมา ไม่เลี้ยงกระแสให้ความหวังกับคนเสื้อแดง 19 ส.ค. การเสวนาที่จัดขึ้นโดยศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุมกรณี เม.ย.-พ.ค. 2553 ในช่วงบ่าย นางพะเยาว์ อัคฮาด แม่ของอาสาพยาบาลกมนเกด อัคฮาดที่เสียชีวิตในการสลายการชุมนุม 19 พ.ค. 2553 ที่วัดปทุมวนารามกล่าวถึงเหตุที่เธอต้องการดำเนินคดีในศาลอาญาระหว่างประเทศ ว่าแม้จะได้คำแนะนำจากนายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม ทนายความว่า เป็นช่องทางที่เหมือนไฟริบหรี่ แต่ก็เพียงพอแล้วต่อความหวังที่จะไม่ให้คดีที่ลูกสาวเสียชีวิตจากการสลายการชุมนุมจะจบลงด้วยการนิรโทษกรรมเหมือนเช่นที่เกิดขึ้นกับการสังหารหมู่ประชาชนที่ผ่านมาในอดีต และพร้อมจะโหมไฟที่ริบหรี่ให้ลุกโชนขึ้น ความกังวลของเธอขณะนี้คือ รัฐบาลจะใช้คำว่าปรองดองมาครอบหัวให้ยอมรับการนิรโทษกรรม โดยเธอกล่าวว่า เธอยืนยันต่อเจ้าหน้าที่ศาลอาญาระหว่างประเทศว่า แม้ครั้งนี้คนตายอาจจะไม่มาก แต่ถ้าย้อนพิจารณาประวัติศาสต์ของไทยจะพบว่าคนไทยตายไปหลายพันศพแล้วจากการกระทำของรัฐ วิธีการไปศาลาอาญาระหว่างประเทศริบหรี่แค่ไหน เพียงใด มีโอกาสไหม กรณีที่สอง คือ (โกตดิวัวร์)ไอวอรี่โคสต์ ลงนามประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลเมื่อ 18 เม.ย. 2003 เขียนยอมรับว่า ตามมาตรา 12 วรรค 3 ของธรรมนูญศาลอาญาระหว่างประเทศ รัฐบาลไอวอรี่โคสต์ยอมรับให้เข้ามามีอำนาจตั้งแต่ 19 กันยายน 2002 จากนั้นมีการให้สัตยาบัน แล้วเมื่อปี 2010 เมื่อเปลี่ยนประธานาธิบดีคนใหม่ก็ประกาศซ้ำอีกรอบหนึ่ง สุดท้ายวันที่ 10 ก.พ. 2012 ให้ย้อนกลับไปสอบสวนตั้งแต่ 19 กันยายน 2002 อย่างไรก็ตาม การยอมรับเขตอำนาจศาลนั้นถอยไปไม่เกิน 1 ก.ค. 2545 ซึ่งเป็นวันที่ธรรมนูญกรุงโรมประกาศใช้ นายปิยบุตรอธิบายต่อไปว่า เมื่อประกาศรับเขตอำนาจศาลแล้ว ศาลจะรับพิจารณาคดีของเราหรือไม่เป็นอีกเรื่อง ซึ่งศาลมี ทั้งนี้ ศาลอาญาระหว่างระเทศเป็นศาลเสริม ศาลเสริมในที่นี่มาตรา 17 ธรรมนูญกรุงโรมก็เขียนไว้ว่ากระบวนการยุติธรรมในประเทศของคุณต้องดำเนินการให้เสร็จครบถ้วนเสียก่อน ไม่เช่นนั้นจะเป็นการรุกล้ำอำนาจอธิปไตยของประเทศต่างๆ แต่ธรรมนูญกรุงโรมก็ระบุลักษณะที่ศาลอาญาระหว่างประเทศที่จะมีอำนาจเข้ามาพิจารณาคดีว่า กระบวนการยุติธรรมของประเทศไม่มีเจตจำนงจะดำเนินคดี หรือไม่มีความสามารถในการดำเนินคดี คดีที่วางบรรทัดฐานไว้คือคดีซูดานซึ่งไม่ได้เป็นรัฐสมาชิก แต่ไปสู่ศาลอาญาระหว่างประเทศได้เพราะคณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติให้ส่งให้ แต่ของไทยโรเบิร์ตอัมสเตอร์ดัมส่งคดีให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเช่นกัน แต่หวังยากเพราะเมื่อเทียบซูดานนั้นมีคนตายจำนวนมาก ส่วนคำว่า ไม่มีความสามารถหรือไม่มีเจตจำนงในการดำเนินคดีมีความหมาย เช่น ประเทศที่มีการนิรโทษกรรมบ่อยๆ แสดงว่าไม่มีเจตจำนง ส่วนคำว่าไม่มีความสามารถคือศาลไม่เป็นกลาง ไม่มีความน่าเชื่อถือ ถ้าเกิดเหตุการเช่นนี้ศาลเสริมก็มีอำนาจที่จะเข้ามาพิจารณาได้ จากเงื่อนไขเหล่านี้ เงื่อนไขการกระทำความผิด ต้องเป็นความผิดร้ายแรงอย่างยิ่ง ซึ่งแนวบรรทัดฐานที่ผ่านมามีคดีที่ได้พิพากษาไป 1 คดีที่วางแนวว่าร้ายแรงเพียงพอคือ มีขนาดใหญ่มาก และวิธีการที่กระทำความผิดเป็นวิธีการที่รุนแรงร้ายแรงอย่างยิ่ง อย่างไรก็ตาม แม้จะเข้าหลักเกณฑ์ดังที่กล่าวมาข้างต้น แต่ก็จะมาสู่การพิจารณาในประเด็นสุดท้ายคือ คนๆ หนึ่งถูกพิพากษาไปแล้วจะไม่ถูกพิพากษาซ้ำอีก “ดังนั้นจะเห็นได้ว่าขึ้นตอนต่างๆ ที่จะไปสู่การพิจารณาของศาลาอญาระหว่างประเทศนั้นยากมาก แต่ถ้าจะไม่ทำอะไรเลยก็คงไม่ถูกต้อง และเมื่อผมได้ฟังจากผู้ได้รับผลกระทบแล้วมันสะท้อนว่ากระบวนการยุติธรรมของไทยไม่มีใครเชื่อถือ เขาจึงต้องไปฝันถึงสิ่งไกลตัวแม้มันจะริบหรี่ “เราต้องพยายามทำใหเรื่องของศาลอาญาระวห่าปงระเทศไม่ใช่เป็นหัวข้อเฉพาะคนเสื้อแดงเท่านั้น มันเป็นประโยชน์ต่อปัจเจกบุคคลทุกคน เพราะไม่ว่านรัฐภายหน้าจะเป็นใครแต่ถ้าคิดจะทำความรุนแรงกับประชาชนก็จะฉุกคิดได้ถึงเขตอำนาจของศาล “แต่ถ้าถามว่าทำไมถึงกล่าวกันบ่อยๆ ว่ายังไม่ถึงเวลา ยังไม่พร้อม อ้างว่าเราต้องทำการศึกษาก่อน เพราะเป็นเรื่องสำคัฐ เป็นเหตุผลคลาสสิกเพื่อดึงเวลา เหตุผลประการที่สองคือ สี่ฐานความผิดนั้นประเทศไทยไม่เคบมีองค์ประกอบความผิดนี้ในประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งไม่เกี่ยวกันเลย เขาใช้ธรรมนูญกรุงโรมตัดสิน เหตุผลนี้ไม่สมบูรณ์” ปิยบุตรวิพากษ์ว่าหตุผลอีกประการที่สำคัญคืออ้างว่าธรรมนูญกรุงโรมขัดกับมาตรา 8 รธน.วรรค 2 ของไทยที่ระบุว่า ผู้ใดจะฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใดๆ ไม่ได้ โดยธรรมนูญกรุงโรมระบุว่า ถ้ากฎหมายภายในให้เอกสิทธิ์คุ้มกันบุคคลใดๆ นั้นอ้างไม่ได้ในศาลอาญาระหว่างประเทศ “วิธีอธิบายที่ง่ายที่สุดเลยว่า แล้ว 121 ประเทศที่ให้สัตยาบันมีประเทศที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ในยุโรปทั้งหมดที่มีพระมหากษัตริย์ก็ให้สัตยาบันทั้งหมด ญี่ปุ่น กัมพูชา ก็เช่นกัน” โดยนายปิยบุตรตั้งข้อสังเกตว่าประเทศที่ไม่ยอมลงนาม เพาะรู้สึกว่าวันข้างหน้าจะโดนหรือไม่ เช่น อเมริกา รัสเซีย “การอ้างรัฐธรรมนูญมาตรา 8 ต่างประเทศเขาก็ถามว่าประเทศคุณพระมหากษัตริย์ไม่อยู่ใต้รัฐธรรมนูญหรือ ก็เรียนไปยังส่วนราชการต่างๆ อย่าอ้างเหตุผลมาตรา 8 เลยเพราะไม่เป็นผลดีต่อสถาบันกษัตริย์” สถิติศาลอาญาระหว่างประเทศเพิ่งดำเนินคดี 7 กรณีจากสามพันกว่ากรณี อีกแปดกรณีกำลังอยู่ชั้นการไต่สวนเบื้องต้น มีเกาหลีใต้ มาลี ฮอนดูรัส จอร์เจีย โซมาลี เป็นต้น กรณีมาลี กับฮอนดูรัสพัวพันกับการรัฐประหารด้วย ส่วนขั้นตอนของญาติฯ ที่ร้องโดยโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัมเป็นทนายนั้นจะใช้เวลาค่อนข้างยาวนาน และเมื่อเป็นกฎหมายระหว่างประเทศก็พันกับการเมืองระหว่างประเทศ “เราจะเห็นกรณีโกตดิวัวร์ ยื่นคำร้องปี 2002 กว่าจะพิจารณาคดีก็ปี 2012 ซึ่งประธานาธิบดีคนใหม่เข้ามา ปนะเทศยุโรปหนุนหลังเกือบทั้งหมด “สิ่งที่ฝากถึงรัฐบาลก็คือ น่าจะพูดกันตรงไปตรงาว่าไม่ลง หรือลง จะให้เขตอำนาจย้อนหลัง หรือจะให้สัตยาบัน ก็บอกมา แต่อย่าขายความฝันว่ายังศึกษาอยู่ แล้วคนเสื้อแดงที่สู้เรื่องนี้ ผมก็นับถือหัวจิตหัวใจ คือคนที่ไม่รู้จะหวังกับอะไร แล้วความหวังริบหรี่แบบนี้มันมีคุณค่ามหาศาลมากกว่าให้นักการเมืองเอาความหวังที่ริบหนี่นี้โหนกระแสไปเรื่อยๆ” ส่วนกรณีที่จะอาศัยช่องทางสัญชาติอังกฤษ ต้องมีการดำเนินคดีกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะที่ประเทศอังกฤษก่อน ปัญหาคือใครจะไปดำเนินการดังกล่าว อีกส่วนหนึ่งคือ ศาลอาญาระหว่างประเทศระบุว่า อาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติ คนทำเพียงคนเดียวคงเป็นไปไม่ได้ ดังนั้นก็ต้องกลับไปที่ช่องทางการให้สัตยยาบันธรรมนูญกรุงโรม หรือประกาศฝ่ายเดียวให้ศาลอาญาระหว่างประเทศมีเขตอำนาจในการพิจารณาคดี
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
รัฐบาล: “ฟังผล”งานปี 1 เพื่อ “สร้างผล” งานปี 2 ดีกว่ามั๊ย? Posted: 19 Aug 2012 02:07 AM PDT “ขอโอกาสประชาชนให้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ การทำงานก็เปรียบเหมือนการทำข้อสอบ คงไม่มีใครบอกว่า จะทำข้อสอบถูก 100 % ทุกวิชา แต่ดิฉันก็เชื่อมั่นว่า จะสอบผ่านทุกวิชา” เป็นคำกล่าวปิดท้ายของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในวันปิดอภิปรายแถลงนโยบายของรัฐบาลต่อรัฐสภา เมื่อสิงหาคม 2554 (ข่าวจาก นสพ.ออนไลน์ค่ายหนึ่ง) เป็นการเปรียบเทียบที่แหลมคม ไม่ผลีผลาม ถ่อมตัวในที แต่ก็มั่นใจในตน นุ่มครับ..เป็นอีกหนึ่งวลีเด็ดผู้นำที่ชวนฟังไม่น้อย จากวันนั้นถึงวันนี้ครบ 1 ปีพอดี เวลาคงเป็นเครื่องพิสูจน์แล้วว่า ผลการสอบของท่านนายกฯ ผ่าน หรือไม่ผ่าน แต่ละวิชาเป็นอย่างไร ทั้งวิชาเศรษฐกิจ วิชาสังคม วิชาการเมือง วิชาความมั่นคง ฯลฯ รวมทุกวิชาแล้วเกิน 50 % หรือไม่ ประการใด หลายคนบอก “ผ่าน” แต่ก็มีไม่น้อยที่เห็นว่า “ไม่ผ่าน” บางคนก็เห็นว่า ผ่านบางวิชา ตกบางวิชา หลากหลายทัศนะ ขึ้นกับมุมมองแต่ละคน แต่ละบริบท ขณะที่รัฐบาลก็ประเมินตนเองเช่นกัน ว่าผลสอบเป็นอย่างไร 1 ปีทำอะไรบ้าง พอใจหรือไม่ เพียงใด โดยจะ “แถลงผลงาน” ในรอบ 1 ปี 23 สิงหาคม นี้ พูดถึงการสอบ เราๆ ท่านๆ คงเคยผ่านชีวิตการสอบกันมาทุกคน พอหมดเวลาเดินออกจากห้องสอบ ก็พอจะรู้ตัวเราเองแล้ว ว่า วิชานี้ทำได้มั๊ย จะได้คะแนนประมาณไหน A, B, C หรือ D แต่บางวิชาก็ต้องลุ้นเหมือนกัน เช่น ลุ้น C เป็น B เนื่องเพราะไม่แน่ใจว่าทำถูกหรือเปล่า มันคลุมเครือบอกไม่ถูก ใครเก่ง ลุ้น A ก็ไม่ว่ากัน แต่บางทีหวัง A กลับได้ B หรือ C ก็มี ขณะนี้หมดเวลาสอบ 1 ปีของนายกรัฐมนตรีแล้ว ก็คงพอจะรู้ตัวเอง ว่า แต่ละวิชาได้เกรดอะไร อยู่ที่เนื้อหาที่ทำไป ตรง ไม่ตรง ถูก ไม่ถูก ขึ้นกับรัฐบาล และผู้ประเมินมองเนื้อหาที่ทำไปอย่างไร ถูกทางแต่ไม่ถูกใจ ถูกต้องแต่ไม่ตอบโจทย์ เห็นตรงกันแค่ไหน เพียงใด ? เห็นตรงกันก็ได้ A ถูกทาง แต่ไม่ถูกใจ อาจได้ B ถูกต้อง แต่ไม่ตอบโจทย์ ได้ C เห็นไม่ตรงกัน ได้ D หรือไม่ ประการใด ขณะที่ผู้ประเมินแต่ละภาคส่วน ก็อาจเห็นต่างกันอีก สุดแล้วแต่จะมอง เป็นปกติของการวัดประเมินค่างานใดๆ ซึ่งมันไม่มีหรอกที่จะเป๊ะ 2 + 2 = 4 อยู่ที่หลักคิด หลักการ เหตุผลในการพิจารณา แต่ทำอย่างไรให้คลาดเคลื่อนน้อยที่สุด ใกล้เคียงความจริงมากที่สุด มีคำถามชวนคิด: รัฐบาลประเมินอย่างหนึ่ง ภาคส่วนอื่นๆ ประเมินอีกอย่าง โดยเฉพาะเมื่อไปมองเน้นคนละมุม ซึ่งก็เป็นไปได้ จะทำอย่างไร? ยึดหลัก “จริงอย่างไรก็จริงอย่างนั้น” ซึ่งใครไปฝืนไม่ได้ รัฐบาลประเมินว่าดี แต่มันไม่จริง ไปไม่รอดหรอก ภาคส่วนอื่นๆ ประเมินว่าไม่ดี แต่เป็นประโยชน์กับชาวบ้าน ใครจะเชื่อ เพราะเห็นกันอยู่ สัมผัสกันได้ ถึงบอกว่า จริงอย่างไรก็จริงอย่างนั้น ผลประเมิน จึงมีคุณค่า รู้แล้วยังไงต่อ นี่สิคุณค่ากว่า รับทราบแต่ไม่นำผลประเมินไปใช้ ก็ไร้ความหมาย อย่างไรก็ตาม ผลประเมินของใคร ภาคส่วนไหนจะว่าอย่างไร ดี ไม่ดี ผ่าน ไม่ผ่าน หากอยู่บนความบริสุทธิ์ใจและเจตนาที่ดี รัฐบาลต้อง “ฟัง” ซึ่งเป็นกลไกหนึ่งทางการประชาสัมพันธ์ (PR) ที่ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง ฟังแล้วนำไปใช้เป็นโอกาส... คุณค่าและความหมายอยู่ตรงนี้ ใช่หรือไม่ ประการใด? ผู้เขียนลองคลิ๊กเข้าไปดูข่าวสารทางสื่อออนไลน์ต่างๆ โดยเฉพาะในมุมมองภาคเอกชน ที่มีต่อการทำงาน 1 ปีของรัฐบาล สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เห็นว่า ผ่านแบบเฉียดฉิว แต่ชื่นชมนายกรัฐมนตรีตั้งใจทำงาน ถ้าคะแนนเต็ม 10 ให้ 6-7 คะแนน (ข่าวจากสื่อออนไลน์ค่ายหนึ่ง) หอการค้าไทย บอกทำได้ดีกว่าที่คาดหวัง ให้ 7 เต็ม 10 ขณะที่เห็นว่า การจัดความสำคัญก่อนหลัง และการตัดสินใจทางการเมืองต่อการยุติปัญหาต่างๆให้ 4 เต็ม 10 (ข่าวจากสื่อออนไลน์ค่ายหนึ่ง) ธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการและประธานคณะผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ เห็นว่า สอบผ่าน (ข่าวจากสื่อออนไลน์ค่ายหนึ่ง) โดยรวมๆ ค่าคะแนนน่าจะอยู่กลางๆ ก็คือ สอบผ่าน ที่ต้องฟัง มิเพียงเป็นกลไก PR หากเพราะภาคธุรกิจเอกชนเป็นสเกลที่ใหญ่ มีบทบาทต่อการผลักดันขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ ทั้งในและต่างประเทศ ผลของการพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐบาล จะไปได้แค่ไหน อยู่รอดหรือเติบโตก้าวไกลอย่างไร อยู่ที่ภาคธุรกิจเอกชน รัฐบาลเป็นผู้ส่งเสริมและสนับสนุน เป็นผู้กำหนดนโยบาย ชี้ทิศทางและเป้าหมาย ฟังแล้วนำไปใช้ประโยชน์ต่อการปรับตัว ปรับการทำงาน ปรับนโยบาย รัฐบาล และภาคเอกชน จึงหนุนนำกันและกัน ขณะเดียวกัน ฟังภาคส่วนอื่นๆ ด้วย ทั้งภาคประชาสังคม ภาคความมั่นคง ภาควิชาการ ภาคสื่อมวลชน ภาคการเมืองด้วยกัน ฝ่ายค้าน ฯลฯ มีความเห็น ติชมอย่างไร ยิ่งฟัง ยิ่งได้ ! ความสำเร็จ หรือล้มเหลวของนโยบายการบริหารของรัฐบาล ต้องให้ภาคส่วนต่างๆ เป็นผู้บอก เพราะเขาเป็นคนเห็น เป็นคนสัมผัส เป็นผู้ใช้บริการโครงการรัฐ นำมาตรวจสอบตรวจทานกับผลประเมินของรัฐบาล ตรงไหนถูก ตรงไหนผิด ตรงไหนดี-ไม่ดี จริง- ไม่จริง ใช่-ไม่ใช่ อย่างไร แล้วนำไปปรับใช้ จริง ก็คือจริง ทุกคนยอมรับ ไม่มีใครสามารถปฏิเสธความจริงได้ ที่สำคัญ รู้ความจริงแล้ว จะไปต่ออย่างไร เพื่อพัฒนาเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น สร้างสุข สลายทุกข์ให้ประชาชนได้มากขึ้น กระทั่งแข่งกับเวทีโลก แข่งประชาคมอาเซียน จะเป็นคู่ค้า คู่แข่งกันอย่างไร ก็ว่าไป นี่ก็ใกล้ปี 2558 แล้ว ฟังผลงานปี 1 เพื่อสร้างผลงานปี 2 ดีกว่ามั๊ย อย่าลืมว่า ประชาชน คนยากคนจนรอคอยอยู่ และพึ่งพา พึ่งหวังรัฐบาล เพราะปากท้องเศรษฐกิจ ชีวิตต้องดำเนินต่อไปทุกวัน ชีวิตไม่เคยหยุด ผลประเมินก็ต้องไม่หยุด ทำอย่างไรให้ผลประเมินมีชีวิต เป็นอื่นไปไม่ได้ ต้องนำไปใช้ ให้ปี 2 ดีกว่าปี 1 ได้อย่างไร? เป็นโอกาสและความท้าทายไม่น้อย ในฐานะที่สนใจ PR มีมุมมองในเชิง “การประชาสัมพันธ์รัฐบาล” จะใช้การ “ฟัง” ให้เป็นโอกาสได้อย่างไร เป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ผู้อ่านอาจเห็นต่าง เห็นแย้ง เห็นเพิ่ม ถือเป็นประโยชน์หลากหลายมิติ ส่งผลดีต่อประเทศ โดยผู้เขียนมีแง่คิด บางเหลี่ยมบางมุม ดังนี้ ประการแรก ฟังปัญหา โดยการประเมินของภาคส่วนต่างๆ มักพูดถึงปัญหาการทำงานของรัฐบาลอยู่ด้วยเสมอ ฟังแล้ว (ถ้าเห็นว่าใช่) นำมาจัดเป็นกลุ่มๆ เพื่อพิจารณา และหาทางแก้ไข จะดีหรือไม่ ประการใด? เรียงลำดับความสำคัญก่อนหลังของปัญหา หรือทำไปพร้อมกันได้ ทุกข์ของใครเร่งด่วนกว่า รอได้ หรือต้องแก้ทันที รวมถึงปัญหาที่รับฟังมาตลอดทั้งปี นำมาใช้เป็นโอกาส เพื่อสร้างผลงานใหม่ๆ ไม่ต้องเสียเวลาศึกษาปัญหาใดๆ อีกแล้ว หากแก้ไขได้ดีกว่าประชาชนคาดคิด ยิ่งประทับใจ ประการที่ 2 ฟังความต้องการ โดยน่าจะพิจารณาสนองตอบต่อความต้องการของภาคส่วนนั้นๆ ที่เห็นว่าเป็นความต้องการที่ดี ใช่เลย ถูกทิศถูกทางถูกต้อง ไม่สนองตอบไม่ได้ ประเทศเสียหาย และเสียโอกาสประชาชน ไม่ต้องเสียเวลาศึกษาความต้องการใดๆ อีกเช่นกัน ความต้องการของประชาชน บวกวิสัยทัศน์รัฐบาล อาจพบหนทางใหม่ๆ ไปสู่ผลลัพธ์ความสำเร็จใหม่ๆ ตอบโจทย์สังคมยุคใหม่ และศักยภาพการแข่งขันของประเทศ ประการที่ 3 ควรตรวจสอบ ทบทวนนโยบายรัฐบาล 1 ปีที่ผ่านมา ลด ละ เลิกนโยบาย หรืองานโครงการที่ไม่จำเป็นหรือล้าสมัย นอกจากสิ้นเปลืองงบประมาณแล้ว ยังไม่ตอบโจทย์ประชาชนในยุคใหม่จะทำต่อไปทำไม เมื่อประชาชนไม่ต้องการแล้ว ก็ควรจะสร้างความต้องการใหม่ๆ นโยบายไหนควรคงไว้ อันไหนเขย่งอยู่ ควรต้องเขย่า เพื่อให้นโยบายเข้ารูปเข้ารอย ได้เหลี่ยมได้มุมยิ่งขึ้น หากช้า ระวังเสียงบ่นจากประชาชน ดีไม่ดีเจอทวงถาม ประการที่ 4 ใช้กลุ่มเป้าหมายเป็นตัวตั้งในการสร้างผลงานใหม่ๆ ซึ่งกลุ่มเป้าหมายในทางการประชาสัมพันธ์รัฐบาลมีจำนวนมากที่ควรจะเข้าถึง อาจช่วยให้การบริหารงานในปี 2 ง่ายขึ้น เพราะมองจากปลายทางเข้ามาต้นทาง แล้วใส่โครงการเข้าไป การพัฒนาเปลี่ยนแปลงใดๆอยู่ที่คน 2 ฝ่าย คือ รัฐบาล กับประชาชน รัฐบาลอยากเห็นผลวิสัยทัศน์ให้ประชาชน ประเทศเป็นอย่างไร ก็สร้างผลงานตามนั้น ประการที่ 5 กำหนดนโยบายริเริ่มใหม่ๆ เพราะโลกเปลี่ยนทุกวัน สังคมไทยก็เปลี่ยนตามโลก มิเพียงเพื่อให้ทันโลก แต่ต้องนำโลก เห็นอะไรก่อนประเทศอื่น เช่น จะเป็นประชาคมอาเซียนปี 2558 ไทยเห็นอะไรก่อน 8-9 ประเทศบ้าง เห็นแล้วดักความเจริญล่วงหน้าอย่างไรให้ได้ประโยชน์ก่อนคนอื่น ไม่มีใครว่า เพราะประโยชน์นั้นมิใช่ไปเอาเปรียบใคร แต่เราเห็นก่อน คิดได้เอง อ่านขาดกว่า อยู่ที่การออกแบบนโยบายอย่างไร เป็นเรื่องท้าทายไม่น้อย ประการที่ 6 ควรจะต้องบริหารเชิงกลยุทธ์มากขึ้นในปีที่ 2 เพราะย่อมจะพบโจทย์ใหม่ที่ยากขึ้นตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง ยึด 2-3 คำง่ายๆ เจ๋ง ฉีกแนว ไม่ซ้ำใคร จะทำให้ได้ผลงานเหนือผลงานเดิมๆ สะท้อนถึงผลสำเร็จเกินคาดคิด หากทำได้ ก็จะลบครหาจากผู้ประเมินที่บอกว่า ผลงานรัฐบาลยังไม่เป็นรูปธรรมเด่นชัด ที่สำคัญ ทำแล้วอย่าลืมตีปี๊บ PR ออกไป รับรองผลงานเด่นชัดแน่ คนรู้ สังคมเห็น ประการที่ 7 ต้องใช้ฐานะความได้เปรียบของความเป็นรัฐบาล ไม่ว่าใครเป็นรัฐบาล นั่นคืองบประมาณในมือ ในปี 2 นี้จะสร้างผลงานในประการที่ 1 - 6 ให้โดดเด่นอย่างไรก็ได้ ใช้เงินทำงาน ไม่มีใครว่า ใช้เพื่อสร้างประโยชน์ให้ประชาชน และประเทศก้าวหน้า เป็นโอกาสของรัฐบาล ที่จะสร้างความสำเร็จใหม่ๆได้ดั่งใจ หรือใครไม่อยากเห็นประชาชนมีความสุข และประเทศก้าวหน้า ยกมือขึ้น !? ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
รัฐบาล: “ฟังผล”งานปี 1 เพื่อ “สร้างผล” งานปี 2 ดีกว่ามั๊ย? Posted: 19 Aug 2012 02:07 AM PDT “ขอโอกาสประชาชนให้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ การทำงานก็เปรียบเหมือนการทำข้อสอบ คงไม่มีใครบอกว่า จะทำข้อสอบถูก 100 % ทุกวิชา แต่ดิฉันก็เชื่อมั่นว่า จะสอบผ่านทุกวิชา” เป็นคำกล่าวปิดท้ายของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในวันปิดอภิปรายแถลงนโยบายของรัฐบาลต่อรัฐสภา เมื่อสิงหาคม 2554 (ข่าวจาก นสพ.ออนไลน์ค่ายหนึ่ง) เป็นการเปรียบเทียบที่แหลมคม ไม่ผลีผลาม ถ่อมตัวในที แต่ก็มั่นใจในตน นุ่มครับ..เป็นอีกหนึ่งวลีเด็ดผู้นำที่ชวนฟังไม่น้อย จากวันนั้นถึงวันนี้ครบ 1 ปีพอดี เวลาคงเป็นเครื่องพิสูจน์แล้วว่า ผลการสอบของท่านนายกฯ ผ่าน หรือไม่ผ่าน แต่ละวิชาเป็นอย่างไร ทั้งวิชาเศรษฐกิจ วิชาสังคม วิชาการเมือง วิชาความมั่นคง ฯลฯ รวมทุกวิชาแล้วเกิน 50 % หรือไม่ ประการใด หลายคนบอก “ผ่าน” แต่ก็มีไม่น้อยที่เห็นว่า “ไม่ผ่าน” บางคนก็เห็นว่า ผ่านบางวิชา ตกบางวิชา หลากหลายทัศนะ ขึ้นกับมุมมองแต่ละคน แต่ละบริบท ขณะที่รัฐบาลก็ประเมินตนเองเช่นกัน ว่าผลสอบเป็นอย่างไร 1 ปีทำอะไรบ้าง พอใจหรือไม่ เพียงใด โดยจะ “แถลงผลงาน” ในรอบ 1 ปี 23 สิงหาคม นี้ พูดถึงการสอบ เราๆ ท่านๆ คงเคยผ่านชีวิตการสอบกันมาทุกคน พอหมดเวลาเดินออกจากห้องสอบ ก็พอจะรู้ตัวเราเองแล้ว ว่า วิชานี้ทำได้มั๊ย จะได้คะแนนประมาณไหน A, B, C หรือ D แต่บางวิชาก็ต้องลุ้นเหมือนกัน เช่น ลุ้น C เป็น B เนื่องเพราะไม่แน่ใจว่าทำถูกหรือเปล่า มันคลุมเครือบอกไม่ถูก ใครเก่ง ลุ้น A ก็ไม่ว่ากัน แต่บางทีหวัง A กลับได้ B หรือ C ก็มี ขณะนี้หมดเวลาสอบ 1 ปีของนายกรัฐมนตรีแล้ว ก็คงพอจะรู้ตัวเอง ว่า แต่ละวิชาได้เกรดอะไร อยู่ที่เนื้อหาที่ทำไป ตรง ไม่ตรง ถูก ไม่ถูก ขึ้นกับรัฐบาล และผู้ประเมินมองเนื้อหาที่ทำไปอย่างไร ถูกทางแต่ไม่ถูกใจ ถูกต้องแต่ไม่ตอบโจทย์ เห็นตรงกันแค่ไหน เพียงใด ? เห็นตรงกันก็ได้ A ถูกทาง แต่ไม่ถูกใจ อาจได้ B ถูกต้อง แต่ไม่ตอบโจทย์ ได้ C เห็นไม่ตรงกัน ได้ D หรือไม่ ประการใด ขณะที่ผู้ประเมินแต่ละภาคส่วน ก็อาจเห็นต่างกันอีก สุดแล้วแต่จะมอง เป็นปกติของการวัดประเมินค่างานใดๆ ซึ่งมันไม่มีหรอกที่จะเป๊ะ 2 + 2 = 4 อยู่ที่หลักคิด หลักการ เหตุผลในการพิจารณา แต่ทำอย่างไรให้คลาดเคลื่อนน้อยที่สุด ใกล้เคียงความจริงมากที่สุด มีคำถามชวนคิด: รัฐบาลประเมินอย่างหนึ่ง ภาคส่วนอื่นๆ ประเมินอีกอย่าง โดยเฉพาะเมื่อไปมองเน้นคนละมุม ซึ่งก็เป็นไปได้ จะทำอย่างไร? ยึดหลัก “จริงอย่างไรก็จริงอย่างนั้น” ซึ่งใครไปฝืนไม่ได้ รัฐบาลประเมินว่าดี แต่มันไม่จริง ไปไม่รอดหรอก ภาคส่วนอื่นๆ ประเมินว่าไม่ดี แต่เป็นประโยชน์กับชาวบ้าน ใครจะเชื่อ เพราะเห็นกันอยู่ สัมผัสกันได้ ถึงบอกว่า จริงอย่างไรก็จริงอย่างนั้น ผลประเมิน จึงมีคุณค่า รู้แล้วยังไงต่อ นี่สิคุณค่ากว่า รับทราบแต่ไม่นำผลประเมินไปใช้ ก็ไร้ความหมาย อย่างไรก็ตาม ผลประเมินของใคร ภาคส่วนไหนจะว่าอย่างไร ดี ไม่ดี ผ่าน ไม่ผ่าน หากอยู่บนความบริสุทธิ์ใจและเจตนาที่ดี รัฐบาลต้อง “ฟัง” ซึ่งเป็นกลไกหนึ่งทางการประชาสัมพันธ์ (PR) ที่ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง ฟังแล้วนำไปใช้เป็นโอกาส... คุณค่าและความหมายอยู่ตรงนี้ ใช่หรือไม่ ประการใด? ผู้เขียนลองคลิ๊กเข้าไปดูข่าวสารทางสื่อออนไลน์ต่างๆ โดยเฉพาะในมุมมองภาคเอกชน ที่มีต่อการทำงาน 1 ปีของรัฐบาล สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เห็นว่า ผ่านแบบเฉียดฉิว แต่ชื่นชมนายกรัฐมนตรีตั้งใจทำงาน ถ้าคะแนนเต็ม 10 ให้ 6-7 คะแนน (ข่าวจากสื่อออนไลน์ค่ายหนึ่ง) หอการค้าไทย บอกทำได้ดีกว่าที่คาดหวัง ให้ 7 เต็ม 10 ขณะที่เห็นว่า การจัดความสำคัญก่อนหลัง และการตัดสินใจทางการเมืองต่อการยุติปัญหาต่างๆให้ 4 เต็ม 10 (ข่าวจากสื่อออนไลน์ค่ายหนึ่ง) ธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการและประธานคณะผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ เห็นว่า สอบผ่าน (ข่าวจากสื่อออนไลน์ค่ายหนึ่ง) โดยรวมๆ ค่าคะแนนน่าจะอยู่กลางๆ ก็คือ สอบผ่าน ที่ต้องฟัง มิเพียงเป็นกลไก PR หากเพราะภาคธุรกิจเอกชนเป็นสเกลที่ใหญ่ มีบทบาทต่อการผลักดันขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ ทั้งในและต่างประเทศ ผลของการพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐบาล จะไปได้แค่ไหน อยู่รอดหรือเติบโตก้าวไกลอย่างไร อยู่ที่ภาคธุรกิจเอกชน รัฐบาลเป็นผู้ส่งเสริมและสนับสนุน เป็นผู้กำหนดนโยบาย ชี้ทิศทางและเป้าหมาย ฟังแล้วนำไปใช้ประโยชน์ต่อการปรับตัว ปรับการทำงาน ปรับนโยบาย รัฐบาล และภาคเอกชน จึงหนุนนำกันและกัน ขณะเดียวกัน ฟังภาคส่วนอื่นๆ ด้วย ทั้งภาคประชาสังคม ภาคความมั่นคง ภาควิชาการ ภาคสื่อมวลชน ภาคการเมืองด้วยกัน ฝ่ายค้าน ฯลฯ มีความเห็น ติชมอย่างไร ยิ่งฟัง ยิ่งได้ ! ความสำเร็จ หรือล้มเหลวของนโยบายการบริหารของรัฐบาล ต้องให้ภาคส่วนต่างๆ เป็นผู้บอก เพราะเขาเป็นคนเห็น เป็นคนสัมผัส เป็นผู้ใช้บริการโครงการรัฐ นำมาตรวจสอบตรวจทานกับผลประเมินของรัฐบาล ตรงไหนถูก ตรงไหนผิด ตรงไหนดี-ไม่ดี จริง- ไม่จริง ใช่-ไม่ใช่ อย่างไร แล้วนำไปปรับใช้ จริง ก็คือจริง ทุกคนยอมรับ ไม่มีใครสามารถปฏิเสธความจริงได้ ที่สำคัญ รู้ความจริงแล้ว จะไปต่ออย่างไร เพื่อพัฒนาเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น สร้างสุข สลายทุกข์ให้ประชาชนได้มากขึ้น กระทั่งแข่งกับเวทีโลก แข่งประชาคมอาเซียน จะเป็นคู่ค้า คู่แข่งกันอย่างไร ก็ว่าไป นี่ก็ใกล้ปี 2558 แล้ว ฟังผลงานปี 1 เพื่อสร้างผลงานปี 2 ดีกว่ามั๊ย อย่าลืมว่า ประชาชน คนยากคนจนรอคอยอยู่ และพึ่งพา พึ่งหวังรัฐบาล เพราะปากท้องเศรษฐกิจ ชีวิตต้องดำเนินต่อไปทุกวัน ชีวิตไม่เคยหยุด ผลประเมินก็ต้องไม่หยุด ทำอย่างไรให้ผลประเมินมีชีวิต เป็นอื่นไปไม่ได้ ต้องนำไปใช้ ให้ปี 2 ดีกว่าปี 1 ได้อย่างไร? เป็นโอกาสและความท้าทายไม่น้อย ในฐานะที่สนใจ PR มีมุมมองในเชิง “การประชาสัมพันธ์รัฐบาล” จะใช้การ “ฟัง” ให้เป็นโอกาสได้อย่างไร เป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ผู้อ่านอาจเห็นต่าง เห็นแย้ง เห็นเพิ่ม ถือเป็นประโยชน์หลากหลายมิติ ส่งผลดีต่อประเทศ โดยผู้เขียนมีแง่คิด บางเหลี่ยมบางมุม ดังนี้ ประการแรก ฟังปัญหา โดยการประเมินของภาคส่วนต่างๆ มักพูดถึงปัญหาการทำงานของรัฐบาลอยู่ด้วยเสมอ ฟังแล้ว (ถ้าเห็นว่าใช่) นำมาจัดเป็นกลุ่มๆ เพื่อพิจารณา และหาทางแก้ไข จะดีหรือไม่ ประการใด? เรียงลำดับความสำคัญก่อนหลังของปัญหา หรือทำไปพร้อมกันได้ ทุกข์ของใครเร่งด่วนกว่า รอได้ หรือต้องแก้ทันที รวมถึงปัญหาที่รับฟังมาตลอดทั้งปี นำมาใช้เป็นโอกาส เพื่อสร้างผลงานใหม่ๆ ไม่ต้องเสียเวลาศึกษาปัญหาใดๆ อีกแล้ว หากแก้ไขได้ดีกว่าประชาชนคาดคิด ยิ่งประทับใจ ประการที่ 2 ฟังความต้องการ โดยน่าจะพิจารณาสนองตอบต่อความต้องการของภาคส่วนนั้นๆ ที่เห็นว่าเป็นความต้องการที่ดี ใช่เลย ถูกทิศถูกทางถูกต้อง ไม่สนองตอบไม่ได้ ประเทศเสียหาย และเสียโอกาสประชาชน ไม่ต้องเสียเวลาศึกษาความต้องการใดๆ อีกเช่นกัน ความต้องการของประชาชน บวกวิสัยทัศน์รัฐบาล อาจพบหนทางใหม่ๆ ไปสู่ผลลัพธ์ความสำเร็จใหม่ๆ ตอบโจทย์สังคมยุคใหม่ และศักยภาพการแข่งขันของประเทศ ประการที่ 3 ควรตรวจสอบ ทบทวนนโยบายรัฐบาล 1 ปีที่ผ่านมา ลด ละ เลิกนโยบาย หรืองานโครงการที่ไม่จำเป็นหรือล้าสมัย นอกจากสิ้นเปลืองงบประมาณแล้ว ยังไม่ตอบโจทย์ประชาชนในยุคใหม่จะทำต่อไปทำไม เมื่อประชาชนไม่ต้องการแล้ว ก็ควรจะสร้างความต้องการใหม่ๆ นโยบายไหนควรคงไว้ อันไหนเขย่งอยู่ ควรต้องเขย่า เพื่อให้นโยบายเข้ารูปเข้ารอย ได้เหลี่ยมได้มุมยิ่งขึ้น หากช้า ระวังเสียงบ่นจากประชาชน ดีไม่ดีเจอทวงถาม ประการที่ 4 ใช้กลุ่มเป้าหมายเป็นตัวตั้งในการสร้างผลงานใหม่ๆ ซึ่งกลุ่มเป้าหมายในทางการประชาสัมพันธ์รัฐบาลมีจำนวนมากที่ควรจะเข้าถึง อาจช่วยให้การบริหารงานในปี 2 ง่ายขึ้น เพราะมองจากปลายทางเข้ามาต้นทาง แล้วใส่โครงการเข้าไป การพัฒนาเปลี่ยนแปลงใดๆอยู่ที่คน 2 ฝ่าย คือ รัฐบาล กับประชาชน รัฐบาลอยากเห็นผลวิสัยทัศน์ให้ประชาชน ประเทศเป็นอย่างไร ก็สร้างผลงานตามนั้น ประการที่ 5 กำหนดนโยบายริเริ่มใหม่ๆ เพราะโลกเปลี่ยนทุกวัน สังคมไทยก็เปลี่ยนตามโลก มิเพียงเพื่อให้ทันโลก แต่ต้องนำโลก เห็นอะไรก่อนประเทศอื่น เช่น จะเป็นประชาคมอาเซียนปี 2558 ไทยเห็นอะไรก่อน 8-9 ประเทศบ้าง เห็นแล้วดักความเจริญล่วงหน้าอย่างไรให้ได้ประโยชน์ก่อนคนอื่น ไม่มีใครว่า เพราะประโยชน์นั้นมิใช่ไปเอาเปรียบใคร แต่เราเห็นก่อน คิดได้เอง อ่านขาดกว่า อยู่ที่การออกแบบนโยบายอย่างไร เป็นเรื่องท้าทายไม่น้อย ประการที่ 6 ควรจะต้องบริหารเชิงกลยุทธ์มากขึ้นในปีที่ 2 เพราะย่อมจะพบโจทย์ใหม่ที่ยากขึ้นตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง ยึด 2-3 คำง่ายๆ เจ๋ง ฉีกแนว ไม่ซ้ำใคร จะทำให้ได้ผลงานเหนือผลงานเดิมๆ สะท้อนถึงผลสำเร็จเกินคาดคิด หากทำได้ ก็จะลบครหาจากผู้ประเมินที่บอกว่า ผลงานรัฐบาลยังไม่เป็นรูปธรรมเด่นชัด ที่สำคัญ ทำแล้วอย่าลืมตีปี๊บ PR ออกไป รับรองผลงานเด่นชัดแน่ คนรู้ สังคมเห็น ประการที่ 7 ต้องใช้ฐานะความได้เปรียบของความเป็นรัฐบาล ไม่ว่าใครเป็นรัฐบาล นั่นคืองบประมาณในมือ ในปี 2 นี้จะสร้างผลงานในประการที่ 1 - 6 ให้โดดเด่นอย่างไรก็ได้ ใช้เงินทำงาน ไม่มีใครว่า ใช้เพื่อสร้างประโยชน์ให้ประชาชน และประเทศก้าวหน้า เป็นโอกาสของรัฐบาล ที่จะสร้างความสำเร็จใหม่ๆได้ดั่งใจ หรือใครไม่อยากเห็นประชาชนมีความสุข และประเทศก้าวหน้า ยกมือขึ้น !? ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
สภาผ่านฉลุยงบปี 2556 วุฒิสภานัดถกงบ 3-4 ก.ย.นี้ Posted: 19 Aug 2012 12:32 AM PDT สภาผ่านร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2556 วงเงิน 2.4 ล้านล้านบาทด้วยคะแนน 279 เสียงต่อ 8 เสียง งดออกเสียง 127 เสียง วุฒิสภาเตรียมถกงบต่อ 3-4 ก.ย.นี้ ด้านยิ่งลักษณ์ระบุขอฝ่ายค้านส่งข้อมูลทุจริต สวนดุสิตโพลล์ชี้หลังการอภิปรายงบประมาณ การเมืองไทยยังยุ่งอยู่เหมือนเดิม การพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2556 วงเงิน 2.4 ล้านล้านบาท ได้มีการพิจารณาเสร็จสิ้นและลงมติวาระสามเมื่อเวลา 01.39 น.ของวันที่ 18 สิงหาคม 2555 ด้วยคะแนน 279 เสียงต่อ 8 เสียง งดออกเสียง 127 เสียง โดยนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รมว. คลัง ได้กล่าวขอบคุณสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ผ่านร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฯ และจะนำข้อสังเกตของสมาชิกไปปฏิบัติ เพื่อประโยชน์ในการบริหารราชการบ้านเมืองต่อไป จากนั้นจึงปิดประชุมในเวลา 01.43 น. โดยตลอด 3 วันของการพิจารณา น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ไปนั่งฟังการพิจารณาร่างงบประมาณรายจ่ายแค่ 10 นาที ปชป.ย้ำรบ.ล้มเหลวชี้แจงงบฯ ด้าน นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์(ปชป.) แถลงข่าวในเช้าวันเดียวกันถึงการอภิปรายร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2556 เมื่อวันที่ 15-17 ส.ค. ที่ผ่านมาว่า รัฐบาลล้มเหลวในการชี้แจงในหลายประเด็น และรัฐบาลควรได้รับสมญานามว่า เป็นรัฐบาลที่ “เปิดช่องทุจริต ปิดโอกาสของประชาชน” ใน 4ประเด็นหลัก คือ 1.เรื่องการใช้จ่ายงบประมาณฟื้นฟูเยียวยาน้ำท่วม ปีพ.ศ. 2555 รัฐบาลมีงบกลาง 1.2 แสนล้านบาท ที่ใช้ในการป้องกันและเยียวยาน้ำท่วม ในการเฉพาะหน้าและเรื่องเร่งด่วน เป็นสิ่งที่ฝ่ายค้านจำเป็นต้องรู้ว่างบในจำนวนนี้รัฐบาลใช้ไปอย่างมี ประสิทธิภาพและเหมาะสมหรือไม่ในการที่จะอนุมัติของบประมาณเพิ่มเติม ในปี 2556 แต่รัฐบาลพยายามที่จะเลื่อนการมอบเอกสารและหาข้อแก้ตัว นี่เป็นสิ่งที่รัฐบาลพยายามเปิดช่องทุจริตโครงการน้ำท่วมในปีนี้ เพราะจะมีเงินกู้เข้ามาอีก 3.5 แสนล้าน นายชวนนท์ ยังออกมาตั้งข้อสังเกตถึงการที่น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มอบให้นายปลอดประสพ สุรัสวดี รมว.วิทยาศาสตร์ ซึ่งขณะนี้ถูกอัยการสั่งฟ้องเรื่องการประพฤติมิชอบ และอาจเข้าข่ายการทุจริต ในตำแหน่งหน้าที่เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมป่าไม้ กรณีส่งเสือไปจีนซึ่งตนปล่อยให้เรื่องแบบนี้ผ่านไปไม่ได้ และเชื่อว่าคนไทยไม่สบายใจที่นายกฯมอบหมายให้นายปลอดประสพมาดูแลเงินจำนวนนี้อย่างแน่นอน จึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลเปลี่ยนคนที่ดูแลเงินก้อนนี้ นายชวนนท์ กล่าวว่า 2.การรักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตร ซึ่งนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รมช.เกษตรฯ ออกมาระบุว่า จะแก้ปัญหายางพารา โดยการลดพื้นที่ปลูกป่า และตัดยางต้นเก่าทิ้ง 1 แสนไร่ รวมถึงส่งออกยางให้น้อยลง 1.5 แสนตัน แล้วยังจะขออนุมัติงบประมาณที่เหลืออีก 1.5 หมื่นล้านบาท จากเดิมที่เคยขออนุมัติ ครม.ไว้ 3 หมื่นล้านบาท และได้ใช้ไปแล้ว 1.5 หมื่นล้านบาท? ตนอยากถามว่า 1.5 หมื่นล้านบาทแรก ที่นายณัฐวุฒิ นำไปใช้พยุงราคาให้ถึง 104 บาทต่อกิโลกรัมนั้น การใช้เงินเป็นอย่างไรและจะขอเพิ่มไปทำอะไรและนี่จะเป็นการเปิดช่องให้ทุจริต โกงกินการเมือง รัฐบาลเปิดช่องทุจริต ปิดโอกาสประชาชน อัด เจ๊ “ด” อยู่เบื้องหลังดูดงบ นายชวนนท์ กล่าวอีกว่า 3.โครงการจำนำข้าว รัฐบาลพยายามตัดตอนการทุจริต สร้างภาพว่าการทุจริตเป็นเรื่องของผู้ปฏิบัติไม่เกี่ยวข้องกับรัฐบาลหรือผู้ มีอำนาจ พยายามให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ ดีเอสไอสร้างภาพว่าลงไปตรวจสอบอย่างเต็มที่ ตนอยากเรียนว่าท่านทำตอนนี้เพราะเป็นช่วงงบประมาณเท่านั้น เพราะท่านต้องการก้อนเงินเม็ดโตอีก 2.6 แสนล้านบาท ที่จะนำไปรับจำนำถลุงกันเล่นในปีฤดูกาลผลิตที่จะถึงนี้ ซึ่ง 2.6 แสนล้านบาท ตามตัวเลขของทีดีอาร์ไอจะถึงมือเกษตรกรแค่ 20 เปอร์เซ็นต์ อีก 80 เปอร์เซ็นต์ จะตกอยู่ในมือนักการเมือง และผู้ที่เกี่ยวข้องในการทุจรติคอร์รัปชั่น นี่เป็นการทุจริตมหาศาลและทำลายประเทศไทยอย่างสิ้นเชิง “ไม่รู้ว่า“เจ๊ ด”ที่กล่าวถึงเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้แค่ไหน แต่มีข่าวลือว่า คนที่อยู่ในอาณัติต้องผลักดันโครงการนี้ให้ได้ เพราะเจ๊ดัน นอกจากนี้ม.หอการค้าไทยได้ออกมาแสดงผลการสำรวจโดยพบว่าเกษตรกรมีหนี้ต่อครัวเรือนเพิ่มขึ้น3-5เปอร์เซ็น ดังนั้นหากโครงการนี้ดีจริงเหตุใดเกษตรกรจึงมีหนี้เพิ่มขึ้น” นายชวนนท์ กล่าว โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวต่อว่า และ 4.น้ำมัน ซึ่งโครงสร้างน้ำมัน ประกอบด้วย ราคาขายหน้าปั๊มน้ำมัน และกองทุนน้ำมัน ซึ่งมีหน้าที่ดูแลเพื่อไม่ให้ระดับราคาน้ำมันในประเทศสูง เมื่อไหร่ที่กองทุนน้ำมันติดลบแสดงว่ารัฐบาลเอาเงินไปช่วยประชาชน ให้ได้ใช้น้ำมันราคาถูก แต่วันนี้เราเกิดปฏิกิริยาสองเด้ง ขณะนี้กองทุนน้ำมันเป็นหนี้ ประมาณ 1.5 หมื่นล้านบาท และกำลังจะต้องกู้เพิ่ม ถ้าสถานการณ์เป็นเช่นนี้จริงน้ำมันและแก๊สต้องมีราคาถูก แต่รัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ทำกองทุนน้ำมันติดลบ น้ำมัน และแก๊สแพง เจ๊งกันหมดทุกฝ่าย ตกลงว่าเงินจำนวน 2 หมื่นล้านที่กู้มาตอนต้นปี กู้เพื่อให้เอกชน เพื่อไทยอ้างฝ่ายค้านสอบตก ทางด้านนายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ขอชื่นชมฝ่ายค้านที่ให้ความร่วมมือในการอภิปรายงบประมาณ ตามกรอบตลอด 3 วันที่ผ่านมา แม้ว่าจะมีบางคนที่ล้ำเส้นและพูดพาดพิงบุคคลที่ 3 บ้างแต่ก็ยังอยู่ในวิสัยที่พอรับได้ อย่างไรก็ตาม ในแง่ของเนื้อหาต้องถือว่าฝ่ายค้านสอบตก เพราะไม่มีข้อมูลอะไรใหม่ที่น่าสนใจ แค่เอาข่าวตัดแปะจากหนังสือพิมพ์มาอภิปรายเท่านั้น นอกจากนี้ ยังเอาแต่ร้องแลกแหกกระเชอ ขอเอกสารซึ่งได้มอบให้ไปหมดแล้ว อยากฝากพรรคประชาธิปัตย์ว่า ในการอภิปรายการแถลงผลงานรัฐบาลครบรอบ 1 ปี รวมทั้งการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลนั้น ขอให้ทำการบ้านให้มากกว่านี้ ไม่ใช่เอาแต่คุยโม้แล้วสุดท้ายก็มาพูดจาวกวน ซ้ำซาก ไร้สาระ ประชาชนไม่ได้ประโยชน์อะไรนอกจากความสะใจของตัวเอง วุฒิสภานัดถกงบ 3-4 ก.ย.นี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับการพิจารณาร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2556 ในส่วนของวุฒิสภานั้นนายสุรเดช จิรัฐิติเจริญ ส.ว.ปราจีนบุรี ในฐานะเลขานุการคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2556 วุฒิสภา เปิดเผยว่า ในสัปดาห์หน้าทางกรรมาธิการฯ จะมีการนัดประชุมเพื่อสรุปรายงาน และข้อเสนอแนะในการพิจารณางบประมาณฯ จากนั้นจะนำเสนอรายงานต่อประธานวุฒิสภา เพื่อให้บรรจุในระเบียบวาระการประชุม ซึ่งเบื้องต้นเท่าที่หารือกับนายนิคม ไวยรัชพานิช ว่าที่ประธานวุฒิสภา มีความเป็นไปได้ว่า วุฒิสภาจะนัดประชุมเพื่อพิจารณา วันที่ 3-4 ก.ย. นี้ อย่างไรก็ตามสำหรับการพิจารณาร่างพ.ร.บ.งบฯ56 ของวุฒิสภา ซึ่งทำควบคู่ไปกับการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร พบการจัดงบประมาณที่ไม่โปร่งใส ซึ่งเป็นไปตามข้อสังเกตของส.ส.พรรคฝ่ายค้าน เช่น งบโครงสร้างพื้นฐาน สร้าง ซ่อมแซมถนน แหล่งน้ำ พบว่ามีการจัดสรรไปในพื้นที่ส.ส.ในพรรครัฐบาลมากกว่าพื้นที่อื่น เป็นต้น อย่างไรก็ตามการพิจารณาของวุฒิสภา จะเป็นไปในภาพกว้าง อาจไม่ลงลึกอย่างที่ ส.ส.ทำ เพราะวุฒิสภาไม่สามารถไปปรับลดงบประมาณส่วนใดได้ “นายกฯ”เดินหน้าต้านคอร์รัปชั่น เช้าวันเดียวกันน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธาน เปิดโครงการประเทศไทยก้าวไกล ไร้ทุจริตคอร์รัปชั่น โดยเปิด 3 ช่องทางร้องเรียนเรื่องทุจริตคอร์รัปชั่น ได้แก่ ตู้รับเรื่องร้องเรียนทุจริตทั่วประเทศ, สายด่วน 1206 และสื่อออนไลน์ www.stopcorruption.co.th เพื่อรับข้อมูลจากประชาชน โดยข้อมูลทั้งหมดที่ประชาชนร้องเรียนจะส่งตรงถึงนายกรัฐมนตรี เพื่อให้แต่ละทีมงานตรวจสอบต่อไป น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่าโครงการนี้เกิดขึ้นเนื่องจากรัฐบาลต้องการสร้างความโปร่งใสใน การปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการ เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศ และเสริมสร้างความเชื่อมั่นด้านธุรกิจ ทั้งนี้เป็นการขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชั่น ในด้านการตระหนักรู้ ทัศนคติเชิงบวก สร้างภูมิคุ้มกัน และความเข้มแข็งให้กับสังคมไทย ควบคู่กับการสร้างค่านิยมบนพื้นฐานความถูกต้อง โดยอาศัยกลไกทางสังคมเป็นการลงโทษผู้กระทำผิด และสร้างความโปร่งใสในการบริหารราชการ ประกอบกับที่ผ่านมารัฐบาลได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภาว่า จะป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่น และความประพฤติมิชอบในภาครัฐให้เป็นสิ่งสำคัญที่สุด เพื่อแก้ไขปัญหา และเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารงานของประเทศ เร่งสร้างจิตสำนึกไม่โกง นายกรัฐมนตรี กล่าวด้วยว่าเรื่องนี้ทุกอย่างต้องค่อยๆ ทำและดูในเรื่องของการชี้วัดมากกว่า ไม่อยากให้ตั้งเป้าว่า คดีจะต้องจบ เพราะทุกอย่างถ้าจบที่การปราบปรามก็จะไม่มีทางออกแต่ถ้าจบการที่การสมัครใจ จะเป็นสิ่งที่มีประโยชน์กว่า การใช้มาตรการในการตรวจจับ แล้วค่อยมาป้องกันปัญหาคงไม่ใช่ทางออก แต่เราต้องป้องกันแต่แรก โดยต้องสร้างจิตสำนึก และให้ทุกคนร่วมมือกันด้วยใจมากกว่า เพราะวันนี้ประชากรมีเยอะ เราคงไม่สามารถใช้กฎระเบียบต่างๆ มาขีดได้ อย่างไรก็ตามภายหลังเปิดงาน นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยคณะรัฐมนตรีได้ร่วมแปรตัวอักษรบนลานหน้าศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิล์ด เป็นคำว่า สต๊อปคอร์รัปชั่น หรือหยุดคอร์รัปชั่น เพื่อแสดงถึงสัญลักษณ์แทนความร่วมมือของทุกภาคส่วน จากนั้นได้เขียนคำปฏิญาณลงบนกำแพงสีขาว เพื่อตอกย้ำถึงความมุ่งมั่น และความตั้งใจจริงในการปราบปรามทุจริตคอร์รัปชั่น ขอฝ่ายค้านส่งข้อมูลทุจริต น.ส.ยิ่งลักษณ์ ให้สัมภาษณ์ถึงการอภิปรายงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2556 ที่ฝ่ายค้านออกมาโจมตีเรื่องของการทุจริต และมีการหักค่าหัวคิว นายกฯ กล่าวว่า ถ้าฝ่ายค้านมีหลักฐานก็ยินดี เพราะมีเจ้าหน้าที่คอยดำเนินคดีอยู่แล้ว วันนี้เราต้องติดตามและถือเป็นเรื่องที่ดี ที่ฝ่ายค้านมีส่วนร่วมในการตรวจสอบด้วย ถือเป็นกลไกตามระบอบประชาธิปไตย ซึ่งรัฐบาลก็พร้อมชี้แจงเพื่อให้เกิดความเข้าใจ ?ยืนยัน รัฐบาลไม่ต้องการให้มีเรื่องนี้อยู่แล้ว และถ้ามีเมื่อไหร่ เราดำเนินการตามหน้าที่แน่นอนไม่ต้องเป็นห่วง ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในระหว่างที่นายกรัฐมนตรีเปิดงานต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น ปรากฏว่า ได้มีเหตุระทึกขึ้นในบริเวณเดียวกัน เนื่องจากมีชายปีนขึ้นไปนั่งอยู่บนชั้นดาดฟ้าของห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี ซึ่งอยู่ฝั่งตรงข้ามกับลานเซ็นทรัลเวิล์ด แสควร์ ที่นายกฯมาเปิดงานทำให้นายตำรวจติดตามนายกฯ ต้องประสานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในพื้นที่มาดูแล สวนดุสิตโพลล์ชี้หลังการอภิปรายงบประมาณ "การเมืองไทย" ยังยุ่งอยู่เหมือนเดิม 19 ส.ค. 55 - หลังจากที่มีการอภิปรายร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2556 ที่มีขึ้นตั้งแต่วันที่ 15 สค.-17 สค. เสร็จสิ้นลงโดยที่ประชุมมีมติผ่านร่าง พ.ร.บ.งบประมาณดังกล่าว เพื่อเป็นการสะท้อนความคิดเห็นของประชาชนได้มีส่วนร่วมทางการเมืองและเป็นฐานข้อมูลให้กับผู้เกี่ยวข้อง “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชน ที่สนใจติดตามการ อภิปรายทั่วประเทศ จำนวน 1,157 คน ระหว่างวันที่ 15-18 สิงหาคม 2555 1. ประชาชนมีความคิดเห็นต่อ “การอภิปรายงบประมาณรายจ่ายประจำปี” ดังนี้ อันดับ 1 จะได้รู้ว่าในปีหน้ารัฐบาลมีโครงการอะไรบ้างที่จะช่วยเหลือประชาชน และประชาชนจะได้รับประโยชน์อะไรจากงบประมาณดังกล่าว /ส่งผลต่อเศรษฐกิจและความมั่นคงของประเทศ 38.46% อันดับ 2 เป็นเรื่องปกติที่จะต้องมีการอภิปรายเพื่อพิจารณาความถูกต้อง โปร่งใส ป้องกันการทุจริตคอร์รัปชั่น /เป็นการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล 37.18% อันดับ 3 เป็นการทำหน้าที่ของทั้งรัฐบาลและฝ่ายค้านที่จะต้องมีการอภิปรายและชี้แจง /มีการถกเถียงกัน ในประเด็นต่างๆ เนื่องจากมีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน /ขัดแย้งกันเหมือนเดิม 24.36% 2. ประชาชนได้ประโยชน์จากการอภิปรายครั้งนี้หรือไม่? อันดับ 1 ได้ประโยชน์ 46.15% เพราะ จะได้รู้ว่ารัฐบาลนำเงินไปใช้ในเรื่องอะไรและช่วยเหลือประชาชนได้หรือไม่ ,เป็นงบประมาณจำนวนมากที่ควรมีการชี้แจง ฯลฯ อันดับ 2 ไม่แน่ใจ 42.32%เพราะ ยังมีบางประเด็นที่รัฐบาลตอบข้อซักถามไม่ชัดเจนและฝ่ายค้านมุ่งจับผิดมากเกินไป ,ต้องรอดูผลงานในปีหน้า ฯลฯ อันดับ 3 ไม่ได้ประโยชน์ 11.53%เพราะ เป็นการเล่นเกมการเมืองมากเกินไป มีการตอบโต้กันไปมาและมีการประท้วงเหมือนเช่นเคย ฯลฯ 3. ประชาชนคิดอย่างไร? กับ “การอภิปรายของรัฐบาล” อันดับ 1 เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะต้องตอบข้อซักถามหรือชี้แจงเหตุผลให้ฝ่ายค้านและประชาชนเข้าใจ 48.23% อันดับ 2 การตอบข้อซักถามยังไม่ชัดเจน บางครั้งขาดเอกสารหลักฐานหรือข้อมูลมายืนยัน 31.74% อันดับ 3 รัฐบาลถือเสียงข้างมากย่อมผ่านมติในที่ประชุมอยู่แล้ว 20.03% 4. ประชาชนคิดอย่างไร? กับ “การอภิปรายของฝ่ายค้าน” อันดับ 1 เป็นหน้าที่ของฝ่ายค้านที่จะต้องตรวจสอบการทำงานและความโปร่งใสของรัฐบาล 39.08% อันดับ 2 เนื้อหาที่อภิปรายส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องที่ผ่านมาแล้ว อยากให้เน้นเรื่องงบประมาณในปีหน้า ให้มากกว่านี้ 31.81% อันดับ 3 ฝ่ายค้านมุ่งจับผิดเกินไป จนบางครั้งทำให้บรรยากาศในการประชุมดูแย่ลง 29.11% 5. สิ่งที่ประชาชน “พึงพอใจ” ต่อการอภิปรายงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2556 อันดับ 1 การอภิปรายงบประมาณครั้งนี้อยู่ในกรอบเวลาที่กำหนด 40.20% อันดับ 2 ประชาชนมีความเข้าใจและได้รับรู้ข้อมูลต่างๆเพิ่มมากขึ้น 32.46% อันดับ 3 งบประมาณจำนวนนี้น่าจะช่วยพัฒนาประเทศ กระตุ้นเศรษฐกิจและช่วยเหลือประชาชนได้เต็มที่ 27.34% 6. สิ่งที่ประชาชน “ไม่พึงพอใจ” ต่อการอภิปรายงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2556 อันดับ 1 บรรยากาศในการประชุมยังคงมีการประท้วง การทะลาะเบาะแว้งอยู่เหมือนเดิม /เสียเวลาที่ประชุม 59.54% อันดับ 2 รัฐบาลตอบข้อซักถามไม่ชัดเจน /ฝ่ายค้านพูดเรื่องเก่าและพูดนอกเรื่องมากเกินไป 22.68% อันดับ 3 เอกสาร ข้อมูลต่างๆที่นำมาใช้ในการอภิปรายมีน้อยไป ขาดความน่าเชื่อถือ 17.78% 7. ประชาชนคิดว่าสภาพการเมืองไทยหลังการอภิปรายงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2556 เสร็จสิ้นลง จะเป็นอย่างไร? อันดับ 1 เหมือนเดิม 64.11%เพราะ ทั้งรัฐบาลและฝ่ายค้านยังคงมีความคิดเห็นที่ขัดแย้ง แตกแยกอยู่เหมือนเดิม ,การเมืองเป็นเรื่องของอำนาจและผลประโยชน์เป็นการเล่นเกมการเมืองที่ไม่มีวันจบสิ้น ฯลฯ อันดับ 2 ดีขึ้น 23.07% เพราะรัฐบาลสามารถเดินหน้าดำเนินงานตามนโยบายต่างๆที่กำหนดไว้ได้อย่างเต็มที่ ,การเมืองไทยมีเสถียรภาพมากขึ้น ฯลฯ อันดับ 3 แย่ลง 12.82%เพราะ เรื่องงบประมาณยังคงเป็นประเด็นที่ทำให้เกิดความขัดแย้งมากขึ้นไปอีก การออกมาเคลื่อนไหวหรือต่อต้านจากกลุ่มต่างๆ ,อาจมีการนำงบประมาณไปใช้ในทางที่ไม่เหมาะสม เกิดการทุจริต คอร์รัปชั่น , ฯลฯ ที่มาข่าวเรียบเรียงจาก: แนวหน้า, มติชน
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 12-18 ส.ค. 2555 Posted: 18 Aug 2012 11:25 PM PDT เผดิมชัยขู่เด้งขรก.ไร้ผลงาน นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ได้หารือกับทีมฝ่ายการเมืองเพื่อพิจารณาแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการระดับสูงใน กระทรวงแรงงาน แทนผู้ที่เกษียณอายุราชการ ทั้งในระดับ 9 และ 10 ซึ่งคาดว่าจะเสนอต่อคณะรัฐมนตรีภายในเดือนกันยายนนี้ โดยหากอธิบดีแต่ละกรมยังไม่มีผลงานให้เห็น อาจจะเสนอให้มีการโยกย้ายหมุนเวียนอธิบดีทุกกรม เพื่อประสิทธิภาพในการทำงาน โดยจะให้ความเป็นธรรม และมีคำตอบแก่สังคม (โลกวันนี้, 13-8-2555) "ร่วมจ่าย 30 บาทรักษาโรค" ดีเดย์ 1 ก.ย. นี้ - 21 กลุ่มได้สิทธิยกเว้น 13 ส.ค.55 - วิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงความคืบหน้าของโครงการร่วมจ่ายค่าธรรมเนียมบริการ 30 บาทในโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าตามนโยบายรัฐบาลว่า โครงการดังกล่าวจะเริ่มในวันที่ 1 กันยายน 2555 พร้อมกันทั่วประเทศ โดยดำเนินการในระดับโรงพยาบาลชุมชนขึ้นไปจนถึงโรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลศูนย์ และในโรงพยาบาลเอกชนที่เข้าร่วมโครงการ โดยประชาชนจะร่วมจ่าย ในกรณีที่มีการรับยาเท่านั้น หากรายใดไม่ประสงค์จะจ่าย 30 บาท ก็สามารถใช้สิทธิ์ได้ โดยผู้ที่เคยได้รับสิทธิยกเว้นการร่วมจ่าย 30 บาทมีทั้งหมด 21 กลุ่ม ก็จะได้รับการยกเว้นร่วมจ่ายเหมือนเดิม ขณะนี้ได้ให้สำนักงานสาธารณสุขทุกจังหวัด เร่งประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความเข้าใจประชาชนในพื้นที่ และให้โรงพยาบาลทุกแห่งพัฒนาความพร้อมให้บริการที่ดีขึ้นทุกด้านทั้งผู้ป่วย ฉุกเฉิน ผู้ป่วยเรื้อรัง บริการผู้สูงอายุ ผู้พิการ โดยไม่มีเวลาหยุดพักเที่ยง นอกจากนั้น ยังให้ให้สิทธิประชาชน สามารถเปลี่ยนหน่วยบริการที่พอใจได้ปีละ 4 ครั้ง จากเดิมเปลี่ยนได้ปีละ 2 ครั้ง โดยใช้บัตรประชาชนหรือเอกสารทางราชการที่มีเลข 13 หลักเป็นหลักฐาน เพิ่มความสะดวกประชาชนยิ่งขึ้น ในเขต กทม.สามารถยื่นเปลี่ยนได้ที่สำนักงานเขต ส่วนต่างจังหวัดยื่นที่สถานบริการสาธารณสุข ด้านนายแพทย์ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า จะมีการประชุมนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป ในวันที่ 21 สิงหาคม 2555 เพื่อให้ระบบบริการราบรื่นเหมือนกันทั่วประเทศ โดยเฉพาะในโรงพยาบาลชุมชนที่มี 875 แห่ง ให้จัดแพทย์ตรวจรักษาอย่างน้อย 2 คน โครงการร่วมจ่ายนี้ จะเป็นการสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนไปใช้บริการที่หน่วยบริการปฐมภูมิใน พื้นที่ใกล้บ้านมากขึ้น ซึ่งสามารถดูแลประชาชนได้ดี เหมือนโรงพยาบาลใหญ่ ทั้งการส่งเสริมสุขภาพ การตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน ความดัน การตรวจรักษาโรคทั่วไป โดยใช้ระบบการสื่อสารทางอินเทอร์เน็ตพูดคุยปรึกษากับแพทย์ผู้รักษาในโรง พยาบาลใหญ่โดยตรง ขณะที่นายแพทย์วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ สปสช.กล่าวว่า ขณะนี้ สปสช.ได้จัดทำคู่มือบัตรทองจำนวน 3 ล้านฉบับ เพื่อชี้แจงเรื่องการร่วมจ่ายด้วย แจกให้ประชาชน โดยกลุ่มประชาชนที่ได้รับการยกเว้นการร่วมจ่าย 30 บาท มีทั้งหมด 21 กลุ่ม ได้แก่ 1.ผู้เข้ารับบริการด้านการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติ ฉุกเฉินเร่งด่วน หรือเข้ารับบริการในหน่วยบริการที่ระดับต่ำกว่าโรงพยาบาลชุมชน 2.ผู้มีรายได้น้อย 3.ผู้นำชุมชน ได้แก่ กำนัน สารวัตรกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล และบุคคลในครอบครัว 4.อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร และบุคคลในครอบครัว 5.ผู้ที่มีอายุเกิน 60 ปี 6.เด็กอายุไม่เกิน 12 ปี 7.คนพิการทั้งที่มีบัตรและไม่มีบัตรประจำตัว 8.พระภิกษุ สามเณร แม่ชี นักบวช นักพรต ผู้นำศาสนาอิสลามที่มีหนังสือรับรอง และบุคคลในครอบครัวของผู้นำศาสนาอิสลาม 9.ทหารผ่านศึกทุกระดับที่มีบัตร และบุคคลในครอบครัว รวมถึงผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิและทายาท 10.นักเรียนไม่เกินชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 11.นักเรียนทหารและทหารเกณฑ์ 12.ผู้ได้รับพระราชทานเหรียญงานพระราชสงครามในทวีปยุโรปและบุคคลในครอบครัว 13.อาสาสมัครมาเลเรีย ตามโครงการของกระทรวงสาธารณสุขและบุคคลในครอบครัว 14.ช่างสุขภัณฑ์หมู่บ้านตามโครงการของกรมอนามัยและบุคคลในครอบครัว 15.ผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญชายแดน 16.ผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน 17.สมาชิกผู้บริจาคโลหิตของสภากาชาดไทย ที่มีหนังสือรับรองว่าได้บริจาคโลหิตตั้งแต่ 18 ครั้งขึ้นไป 18.หมออาสาหมู่บ้านตามโครงการกระทรวงกลาโหม 19.อาสาสมัครคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรม 20.อาสาสมัครทหารพรานในสังกัดกองทัพบก 21.บุคคลที่แสดงความประสงค์ไม่จ่ายค่าบริการ (มติชน, 13-8-2555) พม.เปิดโครงการสัปดาห์จ้างคนพิการ เมื่อวันที่ 14 ส.ค. ที่เทสโก้โลตัส สาขาแจ้งวัฒนะ นายวิเชียร ชวลิต ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เป็นประธานแถลงข่าวเปิดโครงการ สัปดาห์รณรงค์การจ้างงานคนพิการ 7 วัน 700 ตำแหน่งŽ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตคนพิการให้ดียิ่งขึ้น โดยจัดระหว่าง 14-20 ส.ค. ที่ห้างเทสโก้โลตัส 15 สาขา ได้แก่ 1.แจ้งวัฒนะ 2.ปิ่นเกล้า 3.บางแค 4.ประชาชื่น 5.ลาดพร้าว 6.จรัญสนิทวงศ์ 7.พระราม 1 8.พระราม 4 9.บางปะกอก 10.มีนบุรี 11.รัตนาธิเบศร์ 12.รังสิต 13.ศรีนครินทร์ 14.มหาชัย และ 15.ศาลายา โดยกิจกรรมภายในงานมีการรับสมัครงานคนพิการ การลงทะเบียนขอเข้ารับการฝึกอบรมเตรียมความพร้อมสู่การทำงานฟรี การเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับสิทธิต่างๆ ของคนพิการและนายจ้าง และการให้คำแนะนำปรึกษาด้านการประกอบอาชีพ นายวิเชียรกล่าวว่า กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ ตระหนักถึงความสำคัญของการมีอาชีพ การมีงานทำของคนพิการ เนื่องจากจะทำให้คนพิการมีรายได้และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การพึ่งพาตนเองของคนพิการอย่างยั่งยืน เป็นการเปลี่ยนคนพิการจาก ภาระŽ ให้เป็น พลังŽ ของครอบครัว สังคม และประเทศชาติ นอกจากนี้ยังทำให้คนพิการรู้สึกว่าตนมีคุณค่า เกิดความภาคภูมิใจ มีความมั่นใจในตนเอง และได้รับการยอมรับจากสังคมมากขึ้น เพื่อเป็นการส่งเสริมให้คนพิการได้เข้าถึงสิทธิและโอกาส การมีงานทำในสถานประกอบการมากขึ้น รวมทั้งเพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การจ้างงานคนพิการให้เป็นไปตามกฎหมาย อย่างไรก็ตาม การจัดกิจกรรมครั้งนี้จะส่งผลให้คนพิการมีงานทำเพิ่มขึ้น และทำให้ทราบข้อมูลความต้องการด้านการประกอบอาชีพของคนพิการ เพื่อประโยชน์ในการวางแผนส่งเสริมอาชีพให้แก่คนพิการต่อไป รวมทั้งสถานประกอบการของเอกชน และหน่วยงานภาครัฐ ได้ตระหนักและมีส่วนร่วมสร้างงานให้แก่คนพิการมากขึ้น โดยประเทศต่างๆ ทั่วโลกเห็นว่าการส่งเสริมสนับสนุนให้คนพิการมีงานทำถือเป็นการให้โอกาสทาง สังคมที่ดีที่สุดแก่คนพิการ (ข่าวสด, 14-8-2555) ก.แรงงานส่งอาสาสมัครช่วยแก้คนเตะฝุ่น ก.แรงงาน - นายสมเกียรติ ฉายะศรี วงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวในการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง 'อาสาพาไป สมัครงาน' แก่แรงงานจังหวัดและจัดหางานจังหวัดทั้ง 76 จังหวัดทั่วประเทศ ณ โรงแรมรามาการ์เด้นส์ ว่า เพื่อแก้ปัญหาการว่างงาน กระทรวงได้มอบหมายให้สำนักงานแรงงานจังหวัด ทุกจังหวัด จัดประชุมพี่เลี้ยงอาสาสมัครแรงงาน และอาสาสมัครแรงงานประจำตำบล เพื่อชี้แจง ซักซ้อมแนวทาง ขั้นตอนการทำงานในโครงการ 'อาสาพาไปสมัครงาน' โดยให้สำนักงานจัดหางานจังหวัด ชี้แจง อธิบายรายละเอียดของตำแหน่งงานว่างในจังหวัดและจังหวัดใกล้เคียงที่ได้จัด เตรียม ไว้ โดยจะมอบให้อาสาสมัครลงพื้นที่ตำบล หรือหมู่บ้าน เพื่อสอบถาม รวบรวมข้อมูล ของกลุ่มเป้าหมายคือ นักเรียน นักศึกษา ที่จบการศึกษาแต่ยังไม่มีงานทำและประสงค์ที่จะทำงาน (ข่าวสด, 15-8-2555) สศช.ชี้เปิดเออีซีไทยเสียเปรียบขาดแรงงาน นางสุวรรณี คำมั่น รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวถึงการเตรียมความพร้อมด้านแรงงานเพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนปี 2558 ว่า เมื่อเกิดประชาคมอาเซียนจะทำให้จำนวนประชากรของประเทศในอาเซียน รวมกันแล้วมีจำนวน 600 ล้านคน คิดเป็น 9-10% ของประชากรโลก ซึ่งในจำนวนนี้อยู่ในตลาดแรงงานอาเซียนประมาณ 300 ล้านคน โดยจะเกิดการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรีขึ้นใน 7 สาขาวิชาชีพ ได้แก่ แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาลสถาปนิก วิศวกร บัญชี นักสำรวจ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้ศึกษาถึงการเตรียมความพร้อมด้านการผลิตและพัฒนากำลังคนเพื่อรองรับการ เคลื่อนย้ายแรงงานเสรีภายใต้กรอบประชาคมอาเซียนเพื่อพิจารณาถึงข้อได้เปรียบ เสียเปรียบ พบว่า สาขาวิชาชีพแพทย์ ทันตแพทย์และพยาบาลมีข้อได้เปรียบ ด้านคุณภาพการศึกษาอยู่ในระดับแนวหน้าประเทศอื่นในอาเซียน ขณะที่สาขาชีพบัญชี มีข้อได้เปรียบโดย พ.ร.บ.วิชาชีพ ช่วยปกป้องผู้ประกอบวิชาชีพได้เป็นอย่างดี เพราะมีการสอบขอใบอนุญาตเป็นภาษาไทย นอกจากนี้ ในสาขาวิชาชีพสถาปนิก วิศวกร และ นักสำรวจ มีข้อได้เปรียบ เพราะการศึกษาสาขาวิศวกรรมของไทยอยู่ในระดับแนวหน้า และสภาวิศวกรไม่ได้สนับสนุนให้คนต่างชาติเข้ามาทำงานในประเทศไทยมากนัก ส่วนข้อเสียเปรียบคือปัญหาการเรียนต่อปริญญาตรีของนักศึกษาสายอาชีพ (ปวส.) ทำให้แรงงานระดับกลางขาดแคลน ผลวิจัยพบว่าศักยภาพการแข่งขันของไทยเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในอาเซียนแล้ว ยังไม่สูงมากนักเพราะกำลังคนของไทยโดยเฉพาะด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการวิจัยของไทยมีจำนวนน้อย และคุณภาพของแรงงานสาขาต่างๆ ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่สุด ดังนั้นต้องเร่งผลิตและพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ การวิจัยและเทคโนโลยีเพิ่มขึ้น รวมทั้งพัฒนาแรงงานให้มีทักษะฝีมือสูงขึ้น มีทักษะด้านภาษาอังกฤษและภาษาอาเซียน ไอที (กรุงเทพธุรกิจ, 15-8-2555) ลูกจ้างอ่วมแบกรายจ่าย-หนี้พุ่ง หลัง “ปู” ขึ้นค่าแรง 300 บาท (16 ส.ค.) นายชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) เปิดเผยว่า คสรท.ได้สำรวจค่าครองชีพผู้ใช้แรงงานปี 2555 ภายหลังรัฐบาลพรรคเพื่อไทย ประกาศใช้ค่าจ้างเป็นวันละ 300 บาท ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.ที่ผ่านมา โดยได้สำรวจผู้ใช้แรงงานใน 8 จังหวัด ประกอบด้วย กรุงเทพฯ นครปฐม สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี ชลบุรี พระนครศรีอยุธยา และ อ่างทอง จำนวน 2,516 คน ทั้งกลุ่มลูกจ้างรายเดือน รายวันและเหมาช่วง ครอบคลุม 5 กลุ่มอุตสาหกรรม ได้แก่ ไฟฟ้า ยานยนต์ สิ่งทอ ปิโตรเลียมเคมีภัณฑ์ และธนาคารการเงิน พบว่า แรงงานส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 76 นายจ้างปรับค่าจ้างหลังเดือนเมษายน 2555 ตามที่รัฐบาลประกาศไว้ ขณะที่ร้อยละ 18.3 มีการปรับค่าจ้างแบบมีเงื่อนไข และอีกร้อยละ 5.1 ไม่มีการปรับค่าจ้าง นายชาลี กล่าวอีกว่า เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลค่าใช้จ่ายรายคน และรายครอบครัวในช่วงเดือน ส.ค.54 กับ เดือน พ.ค.55 พบว่า ค่าใช้จ่ายรายวัน ในปี 54 คิดเป็นรายคนเท่ากับ 348.39 บาทต่อวัน ส่วนปี 55 คิดเป็นรายคนเท่ากับ 462.31 บาทต่อวัน ส่วนรายครอบครัวในปี 54 เท่ากับ 561.79 บาทต่อวัน และในปี 55 เท่ากับ 740.26 บาทต่อวัน ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายทั้งสองปี พบว่า เพิ่มขึ้น 113.92 บาท หรือร้อยละ 32.7 ส่วนค่าใช้จ่ายรายเดือน ใน ปี 54 คิดเป็นรายคนเท่ากับ 10,451.7 บาท ส่วนปี 55 คิดเป็นรายคนเท่ากับ 13,869.3 บาท และรายครอบครัวปี 54 เท่ากับ 16,853.7 บาท ในปี 55 เท่ากับ 22,207.8 บาท เมื่อเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายทั้งสองปี พบว่า เพิ่มขึ้น 178.47 บาท หรือร้อยละ 31.77 ปลัดแรงงานเมินข้อเสนอ คสรท.ยุบ "อนุกก.ค่าจ้างจังหวัด" เมื่อวันที่ 16 ส.ค.2555 นพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน(รง.)ในฐานะประธานคณะกรรมการค่าจ้างกลาง กล่าวถึงข้อเสนอของคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย(คสรท.) เสนอให้ยกเลิกอนุกรรมการค่าจ้างจังหวัดว่า คงไม่สามารถยกเลิกคณะอนุกรรมการค่าจ้างจังหวัดได้ เนื่องจากคณะอนุกรรมการฯไม่ได้มีหน้าที่แค่ประชุมเพื่อกำหนดค่าจ้างของ จังหวัดปีละ 1 ครั้งเท่านั้น แต่ยังมีหน้าที่คอยเป็นหูเป็นตาเก็บข้อมูล ความเดือดร้อน ตลอดจนค่าครองชีพและค่าจ้าง รวมถึงค่าสวัสดิการต่างๆซึ่งแต่ละพื้นที่ก็จะต่างกันไป ซึ่งคณะอนุกรรมการฯก็จะนำข้อมูลเหล่านี้มาเสนอต่อคณะกรรมการค่าจ้างกลาง เพื่อนำไปประกอบการพิจารณาการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นในแต่ละปี นพ.สมเกียรติ กล่าวอีกว่า ส่วนกรณีที่คสรท.เสนอให้มีการปรับขึ้นค่าจ้างต่อเนื่องหลังจากปรับขึ้นค่า จ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาททั่วประเทศแล้ว โดยให้ปรับค่าจ้างสอดคล้องกับอัตราเงินเฟ้อในแต่ละปีนั้น ขณะนี้ยังคงยึดตามมติบอร์ดค่าจ้างที่ออกมาก่อนหน้านี้ระบุว่าหลังจากการปรับ ขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทใน 70 จังหวัดที่เหลือในวันที่ 1 ม.ค.2556 แล้ว ก็ให้หยุดการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำออกไปอีก 2 ปี ทั้งนี้ มองว่าตัวเลขอัตราเงินเฟ้อเป็ฯเพียงองค์ประกอบหนึ่งในการพิจารณาปรับขึ้นค่า จ้างเท่านั้น ส่วนกรณีที่เสนอให้จัดทำโครงสร้างค่าจ้างแรงงานฝีมือให้ชัดเจนนั้น นพ.สมเกียรติ กล่าวว่า ตนมีแนวคิดที่จะนำร่องการจัดทำโครงสร้างค่าจ้างดังกล่าวอยู่แล้ว ซึ่งเบื้องต้นมีแผนที่จะนำร่องในสถานประกอบการขนาดกลาง โดยจะร่วมมือกับสมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทยในการจัดทำโครงสร้างค่า จ้างแรงงานฝีมือคาดว่าจะเริ่มหารือได้ในเดือนต.ค.นี้ เพื่อร่วมกันพิจารณาว่าจะเริ่มนำร่องในสถานประกอบการประเภทใดบ้างและจำนวน กี่แห่ง ซึ่งโครงสร้างค่าจ้างนี้จะพิจารณาตามตำแหน่งความรู้ความสามารถและประสบการณ์ ทำงาน เพื่อให้แรงงานฝีมือเกิดการพัฒนาตนเอง จะได้รับการปรับค่าจ้างที่เหมาะสม "การจัดทำโครงสร้างค่าจ้างอยู่ๆจะไปออกเป็นกฎหมายบังคับให้ทุกสถาน ประกอบการทำเลยคงไม่ได้ เพราะสถานประกอบการมีหลายขนาดและหลายประเภทกิจการ ผมจึงมีแนวคิดว่าอยากจะจัดทำเป็นโมเดลโครงสร้างค่าจ้างและนำร่องในบางประเภท ธุรกิจที่มีความเป็นไปได้ก่อน เพื่อให้เป็นต้นแบบที่จะนำไปใช้ขยายผลไปสู่กิจการอื่นๆต่อไป" นพ.สมเกียรติ กล่าว (เนชั่นทันข่าว, 16-8-2555) ก.แรงงานชง ครม.กรอบรับรองฝีมือแรงงานอาเซียน 21 ส.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การประชุมครม.วันที่ 21 สค.นี้ กระทรวงแรงงานเสนอเรื่องกรอบรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานอาเซียน และมอบหมายกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน (รง.) เป็นหน่วยงานหลักของประเทศไทยในการกำหนดกรอบรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานของ กลุ่มสมาชิกอาเซียน โดยบูรณาการกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ สาระสำคัญของเรื่อง คือกระทรวงแรงงาน รายงานว่า เนื่องจากการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 13 ระหว่างวันที่ 19 - 22 พฤศจิกายน 2550 ณ สาธารณรัฐสิงคโปร์ ผู้นำอาเซียนได้ร่วมลงนามในปฏิญญาว่าด้วยแผนงานการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอา เซียน (Declaration of the ASEAN Economic Community Blueprint) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดทิศทาง แผนงานในด้านเศรษฐกิจที่จะต้องดำเนินงานให้ชัดเจนตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด จนบรรลุเป้าหมายประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community - AEC) ในปี พ.ศ. 2558 ซึ่งผลผูกพันของ AEC Blueprint ตามภารกิจของ รง. เกี่ยวข้องกับแผนงานประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 2 เป้าหมาย คือ 1.การเปิดเสรีการค้าบริการ เกี่ยวข้องในมาตรการการดำเนินการตามข้อตกลงยอมรับคุณสมบัติวิชาชีพให้สอด คล้องตามข้อกำหนดในแต่ละข้อตกลง (Mutual Recognition Agreement) หน่วยงานที่รับผิดชอบ กระทรวงแรงงาน. (รง.)และกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) และมาตรฐานการส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรและเสริมสร้างขีดความสามารถในด้านการ ค้าบริการ หน่วยงานที่รับผิดชอบกระทรวงแรงงาน และ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา 2.การเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมืออย่างเสรี เกี่ยวข้องในมาตรการในเรื่องการอำนวยความสะดวก ในการตรวจลงตราและใบอนุญาตทำงาน สำหรับผู้ประกอบวิชาชีพและแรงงานฝีมืออาเซียน ที่เกี่ยวข้องกับการค้าข้ามพรมแดน และกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการลงทุน หน่วยงานที่รับผิดชอบกระทรวงแรงงาน และ กระทรวงการต่างประเทศ ,มาตรการพัฒนากรอบแผนงานมาตรฐานความสามารถ และคุณสมบัติของงานหรืออาชีพ และความชำนาญของผู้ฝึกอบรมในสาขาบริการสำคัญ และสาขาบริการอื่น ๆ หน่วยงานที่รับผิดชอบ กระทรวงแรงงาน กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา , การเสริมสร้างขีดความสามารถในการวิจัยของประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อสนับสนุนความชำนาญ การเข้าทำงาน และพัฒนาเครือข่ายข้อมูลด้านตลาดแรงงานระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน หน่วยงานที่รับผิดชอบกระทรวงแรงงาน ขณะที่ กระทรวงพลังงาน (พน.)เสนอ เรื่อง องค์กรร่วมไทย - มาเลเซียขอความเห็นชอบในร่างสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 3 สัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติแปลง A-18 ในพื้นที่พัฒนาร่วมไทย - มาเลเซีย ให้ครม.พิจารณา สาระสำคัญของเรื่อง กระทรวงพลังงาน(พน. ) รายงานว่า สืบเนื่องจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (7 เมษายน 2541 , 14 กันยายน 2542, 14 กันยายน 2547 และ 13 กุมภาพันธ์ 2550) นั้น ซึ่งทางบริษัท เปโตรนาสได้มีหนังสือแจ้งองค์กรร่วมไทย - มาเลเซียว่า ประเทศมาเลเซียมีความ ต้องการใช้ก๊าซภายในประเทศเพิ่มสูงมาก บริษัทจึงมีความประสงค์ที่จะขอนำก๊าซตามสิทธิการขอซื้อของเปโตรนาสจาก พื้นที่พัฒนาร่วมไทย - มาเลเซีย แปลง A-18 ไปใช้ในมาเลเซียเพิ่มขึ้นจำนวน 70 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน (ปัจจุบันแปลง A-18 มีการผลิตในอัตรา 850 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และส่งให้เปโตรนาสในอัตรา 421 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน) เป็นระยะเวลา 1 ปี เริ่มตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ของปี 2555 โดยกลุ่มผู้ขายและกลุ่มผู้ซื้อได้มีการหารือและร่วมกันจัดทำร่างสัญญาแก้ไข เพิ่มเติมฉบับที่ 3 สัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติแปลง A-18 แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2555 โดย องค์กรร่วมไทย - มาเลเซียได้เสนอร่างสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 3 สัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติแปลง A-18 ในพื้นที่พัฒนาร่วมไทย - มาเลเซีย ที่คณะกรรมการองค์กรร่วมไทย - มาเลเซีย ได้เห็นชอบแล้วในการประชุมองค์กรร่วมครั้งที่ 97 เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2555 และได้มีการลงนามกำกับย่อ (Initial) โดยคู่สัญญาทุกรายเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เพื่อขอรับความเห็นชอบจากรัฐบาลไทย (พร้อมทั้งนำเสนอขอความเห็นชอบจากรัฐบาลมาเลเซียด้วยเช่นกัน) ก่อนที่องค์กรร่วมจะได้ลงนามในฐานะผู้ขายก๊าซร่วมต่อไป ทั้งนี้ สรุปสาระสำคัญร่างสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 3 ได้ดังนี้ 1. วันที่มีผลบังคับใช้ของสัญญา อายุสัญญาเริ่มตั้งแต่วันที่ 3 มกราคม 2555 จนถึงวันสิ้นสุดของสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติแปลง A-18 ฉบับลงวันที่ 30 ตุลาคม 2542 2. กลุ่มผู้ขายจะส่งก๊าซส่วนเพิ่มให้กับบริษัท เปโตรนาสในอัตรา 70 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน (และส่งเพิ่มขึ้นอีก 20 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน หากได้รับการร้องขอจากบริษัท เปโตรนาส) เป็นเวลา 1 ปี เริ่มตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ของปี 2555 โดยปริมาณก๊าซที่ส่งเกินกว่า 869 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันจะมีราคาเพิ่มขึ้น 1.50 ดอลลาร์สหรัฐต่อล้านบีทียู ซึ่งทางบริษัท เปโตรนาสจะเป็นผู้รับผิดชอบต่อข้อผูกพันและความรับผิดของกลุ่มผู้ซื้อที่ เกิดภายใต้สัญญาฉบับนี้แต่เพียงผู้เดียว อย่างไรก็ตาม กระทรวงพลังงาน( พน. ) โดยกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติได้ส่งร่างสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 3 นี้ ให้ สำนักงานอัยการสูงสุด(อส.) ตรวจพิจารณาควบคู่กันไปด้วยแล้ว ดังนั้นทางกระทรวงพลังงาน จึงเสนอให้ครม.พิจารณาดังนี้ 1. ร่างสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 3 สัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติ A-18 ในพื้นที่พัฒนาร่วมไทย - มาเลเซีย ระหว่างองค์กรร่วมไทย - มาเลเซีย และบริษัทผู้ประกอบการ คือ บริษัท PC JDA Limited และบริษัท Hess Oil Limited ในฐานะกลุ่มผู้ขายก๊าซกับบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และบริษัทเปโตรนาสในฐานะกลุ่มผู้ซื้อก๊าซ 2. ให้องค์กรร่วมไทย - มาเลเซียลงนามในร่างสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 3 สัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติแปลง A-18 กับกลุ่มผู้ซื้อก๊าซ เมื่อร่างสัญญาฯ ได้ผ่านการตรวจพิจารณาจากสำนักงานอัยการสูงสุด (อส.) แล้ว (กรุงเทพธุรกิจ, 18-8-2555) งบกระทรวงแรงงานวิ่งฉิว 20 นาทีผ่าน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปี 2556 ได้เริ่มเข้าสู่การพิจารณา มาตรา 19 ซึ่งเป็นงบประมาณของกระทรวงแรงงาน จำนวน 36,525,505,500 บาท โดยการอภิปรายเน้นไปในด้าน การเข้าถึงสิทธิ์ของลูกจ้างในเรื่องของอาชีวะอนามัยที่ไม่ชัดเขน ปัญหาการเรียกกับค่าหัวคิวในการส่งแรงงานไปต่างประเทศที่สูงเกินไป ประสิทธิภาพของกองทุนประกันสังคมที่ยังไม่มีมาตราฐาน และนโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทที่ไม่มีมาตราการในการรองรับผลกระทบที่เกิดขึ้นจากผู้ประกอบการที่ส่งผล ไปสู่การเลิกจ้าง ทั้งนี้ภายหลังใช้เวลาอภิปราย 20 นาที ที่ประชุมได้มีมติเห็นด้วยกับคณะกรรมาธิการเสียงข้างมากด้วยคะแนน 285 ต่อ 110 เสียง งดออกเสียง 3 เสียง ไม่ลงคะแนน 4 เสียง (เนชั่นทันข่าว, 18-8-2555)
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
กรีนพีซ’ ย้ำ ‘กม.พลังงานหมุนเวียน’ หนุนความเป็นธรรมด้านพลังงาน สร้างเศรษฐกิจไทย Posted: 18 Aug 2012 08:31 PM PDT เสวนา "จิบชา ปฏิวัติพลังงาน" เห็นพ้องไทยต้องมีกฎหมายพลังงานหมุนเวียนที่เข้มแข็ง ลดละเลิกพลังงานฟอสซิลสกปรก-พลังงานนิวเคลียร์ สร้างรากฐานให้กับเศรษฐกิจสีเขียวที่ยั่งยืนและเป็นธรรม 18 สิงหาคม 2555 กรีนพีซ จัดเสวนา "จิบชา ปฏิวัติพลังงาน" ปิดท้ายมหกรรมปฏิวัติพลังงานผ่านกฎหมายพลังงานหมุนเวียน ที่โดมกู้วิกฤตโลกร้อนซึ่งเป็นฐานปฏิบัติการการรณรงค์ของกรีนพีซที่มาประจำการในประเทศไทยตั้งแต่ต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ณ ลานราชมังคลากีฬาสถาน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พลังงานไฟฟ้าที่ใช้ทั้งหมดในการจัดกิจกรรมที่โดมกู้วิกฤตโลกร้อนมาจากแผงเซลล์แสงอาทิตย์และกังหันลมเพื่อแสดงให้เห็นว่าเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนนั้นทำได้จริง นอกจากงานเสวนาปฏิวัติพลังงานแล้วกรีนพีซยังจัดฟรีคอนเสิร์ตปฏิวัติพลังงานโดยมีนักร้องชื่อดัง เช่นสิงโต นำโชค และศิลปินอื่นๆ อีกมากเข้าร่วม นางสาวณัฐวิภา อิ้วสกุล ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กรีนพีซเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า กฎหมายพลังงานหมุนเวียนที่เข้มแข็งเป็นกลไกที่จำเป็นในการขับเคลื่อนการลงทุนด้านพลังงานหมุนเวียนและเพื่อเป็นแรงจูงใจส่งเสริมให้ชุมชนและครัวเรือนผลิตพลังงานจากแหล่งทรัพยากรพลังงานหมุนเวียนในพื้นที่ นอกจากนี้ยังช่วยกู้วิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อีกทั้งการลงทุนด้านพลังงานหมุนเวียนยังเพิ่มการจ้างงานและลดมลพิษที่เป็นอันตรายได้อีกด้วย ในขณะที่กระทรวงพลังงานกำลังดำเนินการยกร่างกฎหมายพลังงานหมุนเวียนฉบับแรกของประเทศไทย กรีนพีซได้เชิญชวนคนไทยร่วมลงชื่อเป็นส่วนหนึ่งของการผลักดันให้กฎหมายฉบับนี้ให้เกิดขึ้นจริงและมีความเข้มแข็ง กรีนพีซเรียกร้องให้ออกกฎหมายพลังงานที่เข้มแข็งโดยเร็วบนหลักการขั้นพื้นฐาน 5 ข้อ คือ 1.รัฐบาลต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาและการลงทุนด้านพลังงานหมุนเวียนที่สะอาดและยั่งยืนเป็นอันดับแรกผู้ผลิตไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนสามารถเข้าถึงระบบสายส่งก่อนพลังงานอื่นๆ 2.ทุกคน ทุกบ้าน ทุกหย่อมหญ้าสามารถผลิตพลังงานหมุนเวียนเพื่อใช้และขายเข้าสู่ระบบสายส่งไฟฟ้าทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกันในการใช้และผลิตพลังงานหมุนเวียน 3.การบริหารจัดการระบบโครงข่ายไฟฟ้าต้องมีความโปร่งใสและราคาไฟฟ้าที่ผลิตจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนมีความเป็นธรรม 4.ต้องมีการจัดตั้งกองทุนและพัฒนาศักยภาพและเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนในทุกจังหวัด และเพิ่มอัตราการจ้างงานจากการลงทุนและการดำเนินงานระบบพลังงานหมุนเวียนที่สะอาดและยั่งยืน และ 5.ผู้ใช้ไฟฟ้ามีสิทธิเลือกใช้ไฟฟ้าที่ผลิตจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนที่สะอาดและยั่งยืนแทนไฟฟ้าจากพลังงานฟอสซิล เพื่อสร้างจิตสาธารณะร่วมกันลดผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม “กฎหมายนี้จะเป็นกลไกสำคัญที่ส่งเสริมให้เกิดการลงทุนด้านพลังงานหมุนเวียน และที่สำคัญคือเป็นการกำหนดนโยบายที่เอื้อให้ชุมชนในพื้นที่ผลิตกระแสไฟฟ้าตามศักยภาพที่มีอยู่ในชุมชนได้อย่างเต็มที่” นางสาวณัฐวิภากล่าว นางสาวรสนา โตสิตระกูล สมาชิกวุฒิสภา กทม.ซึ่งติดตามตรวจสอบนโยบายพลังงานของประเทศไทยมาอย่างต่อเนื่อง กล่าวตอนหนึ่งในระหว่างการเสวนาว่า การยกร่างกฎหมายพลังงานหมุนเวียนถือว่าเป็นเรื่องที่มีความก้าวหน้าและเห็นว่าควรมีการรื้อโครงสร้างกระทรวงพลังงานใหม่โดยแบ่งเป็นกระทรวงพลังงานด้านปิโตรเลียม และกระทรวงพลังงานที่ดูแลเรื่องพลังงานหมุนเวียนอื่นๆ ไม่เช่นนั้นพลังงานปิโตรเลียมซึ่งมีขนาดใหญ่มากก็จะควบคุมทุกอย่างทำให้พลังงานหมุนเวียนไม่มีทางที่จะเกิดขึ้นได้ อีกทั้งยังเป็นการป้องกันเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนเพราะปัจจุบันปลัดกระทรวงพลังงานไปนั่งเป็นบอร์ดของบริษัทพลังงานปิโตรเลียมต่างๆ ดังนั้น หากโครงสร้างยังเป็นแบบเดิมกระทรวงพลังงานจะไม่มีทางส่งเสริมพลังงานหมุนเวียนแน่นอนเพราะจะทำให้ธุรกิจปิโตรเลียมที่มีมูลค่าเป็นล้านๆ บาทเสียประโยชน์ ทั้งนี้ ปัจจุบันพลังงานหมุนเวียนของประเทศไทยสามารถผลิตได้ 8,272.08 เมกะวัตต์หรือ 9.4% ของพลังงานที่ใช้ทั้งหมดในประเทศ โดยกระทรวงพลังงานตั้งเป้าหมายการพัฒนาพลังงานหมุนเวียนให้ได้ 25% ภายใน10 ปี ( 2555-2564) ขณะที่กรีนพีซเชื่อว่าถ้าประเทศไทยมีกฎหมายพลังงานหมุนเวียนที่เข้มแข็งตามหลักการพื้นฐานที่ระบุไว้ ประเทศไทยจะสามารถเพิ่มการผลิตพลังงานหมุนเวียนตามเป้าที่กระทรวงพลังงานตั้งไว้ได้ในเวลาไม่ถึง10 ปี โดยผู้สนใจติดตามรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์กรีนพีซ (คลิก) ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น