ประชาไท | Prachatai3.info |
- รัฐบาลพม่าเลิกแบนนิตยสารแล้ว-หลังนักข่าวเดินขบวนค้านการเซ็นเซอร์สื่อ
- กองทัพว้าปฏิเสธเจรจากองทัพไทใหญ่อีก – หลายฝ่ายห่วงสถานการณ์เผชิญหน้า
- ครม.ขยายเวลาเก็บ vat 7% ต่ออีก 2 ปี เหตุน้ำท่วม 54 กระทบเศรษฐกิจ
- หมายเหตุจากกรุงกัมพูชาถึงกรุงสยาม ว่าด้วยการพัฒนาและการไล่ที่
- ชาวบ้านน้ำโขงยกขบวนฟ้องศาลปกครองจี้ “กฟผ.” ระงับสัญญาซื้อไฟ “เขื่อนไซยะบุรี”
- สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ: ว่าด้วยการหนีทหาร
- สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ: ว่าด้วยการหนีทหาร
- ผู้บริโภคจี้รัฐฯ ห้ามใช้สารอันตรายในผัก เผยผัก 3 ชนิดสารพิษตกค้างมากสุด
- จัดโต๊ะจีนระดมทุน สร้างหนัง 'นวมทอง' เปิดตัวนักแสดงนำครั้งแรก
- คำนิยมหนังสือ "แรงงานอุ้มชาติ" โดย "สมยศ พฤกษาเกษมสุข"
- DSI เบิกความคดี 2 เยาวชนถูกกล่าวหาเผาห้างเซ็นทรัลเวิลด์
- เสื้อแดงล่าแสนชื่อ ดันรัฐให้สัตยาบันกรุงโรมว่าด้วย ICC ชี้ไม่ติดมาตรา 8
- แม่ของแผ่นดินประชาธิปไตย
- แม่ของแผ่นดินประชาธิปไตย
- แม่ของแผ่นดินประชาธิปไตย
รัฐบาลพม่าเลิกแบนนิตยสารแล้ว-หลังนักข่าวเดินขบวนค้านการเซ็นเซอร์สื่อ Posted: 07 Aug 2012 03:01 PM PDT นิตยสารรายสัปดาห์สองเล่มของพม่ 7 ส.ค. 55 - รัฐบาลพม่ายกเลิกการห้ามตีพิมพ์ สำนักข่าวมิซซิม่าของพม่ ทั้งนี้ สิ่งพิมพ์ทุกชนิดในพม่า จำเป็นต้องได้รั การยกเลิกคำสั่งดังกล่าว เกิดขึ้นหลังจากเมื่อสัปดาห์ที่ นักข่าวบางคนที่ไปร่วมการเดิ "ผมทำงานในวงการสื่อมา 14 ปี ไม่เคยเห็นอะไรแบบนี้เลย" จอ หน่าย บรรณาธิการนิตยสาร วอยซ์ วีคลี่ กล่าว "เราไม่เคยจะได้มีโอกาสพูดเรื่ อย่างไรก็ตาม การรายงานข่าวเรื่องการเดิ โดยก่อนหน้านี้ ในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา รัฐมนตรีกระทรวงข้อมูลข่
ที่มาของข่าว: แปลและเรียบเรียงจาก Two Rangoon Journals Suspended Indefinitely, By NYEIN NYEIN / THE IRRAWADDY| July 31, 2012 | http://www.irrawaddy.org/archives/10508 Burmese Journalists Demand End to Censorship, ASSOCIATED PRESS/ THE IRRWADDY| August 5, 2012 | http://www.irrawaddy.org/archives/10858 Burma lifts suspension on two newspapers after protests, Tuesday, 07 August 2012 13:06 Mizzima News http://www.mizzima.com/gallery/media-alert/7697-burma-lifts-suspension-on-two-newspapers-after-protests.html ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
กองทัพว้าปฏิเสธเจรจากองทัพไทใหญ่อีก – หลายฝ่ายห่วงสถานการณ์เผชิญหน้า Posted: 07 Aug 2012 11:33 AM PDT กองกำลังว้าปฏิเสธเจรจากั รายงานข่าวจากชายแดนแจ้งว่า กองกำลังว้า UWSA (United Wa State Army) ปฏิเสธเจรจากับกองกำลังไทใหญ่ SSA (Shan State Army) อีก หลัง SSA ส่งเจ้าหน้าที่ 2 นาย คือ ร.ท.อ่องศึก และ ร.ท.ล่อนสาง ไปเจรจาที่เมืองจ๊อต เมื่อวันที่ 4 ส.ค. ตามคำนัดหมายของกองกำลังว้า เพื่อหวังลดการเผชิญหน้ากัน โดยหลังการเจรจาไม่ ทั้งนี้ เหตุเผชิญหน้าระหว่างกองกำลังว้ แหล่งข่าวชาวบ้านในพื้นที่เปิ การเผชิญหน้าระหว่างทหารไทใหญ่ SSA กับกองกำลังว้า UWSA ครั้งนี้ ทำให้หลายฝ่ายไม่สบายใจและต่ ด้านเจ้าหน้าที่ระดับสูงกองกำลั ขณะที่ชาวบ้านเมืองโต๋นซึ่งเป็ ด้านเจ้าของร้านค้าคนหนึ่งบ้ อย่างไรก็ตาม ล่าสุดมีรายงานว่า วันนี้ (7 ส.ค.) ทางสภากอบกู้รัฐฉาน RCSS องค์กรการเมืองกองทัพรัฐฉาน (กองกำลังไทใหญ่) SSA ได้ประสานไปยังผู้นำระดับสู ส่วนทางด้านพล.ท.เจ้ายอดศึก เปิดเผยว่า ทหารไทใหญ่ SSA ที่ถูกกองกำลังว้า UWSA ควบคุมตัวไว้ขณะนี้มีทั้งหมด 14 นาย พร้อมอาวุธปืน 14 กระบอก และวิทยุสือสาร 4 เครื่อง นอกจากนี้มีชาวบ้านถูกควบคุมตั ทั้งนี้ เมื่อกลางเดือนมิถุนายน ที่ผ่านมา ทหารกองกำลังว้า UWSA กว่า 500 นาย สนธิกำลังจากสองกองพล คือกองพล 518 (เมืองยอน) และกองพล 775 (บ้านห้วยอ้อ) เข้าประชิดฐานกองบัญชาการ SSA หน่วยภาคพื้นเชียงตุง บนดอยก่อวัน ตรงข้ามต.เทอดไทย อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย แล้วครั้งหนึ่ง เหตุไม่พอใจผู้อพยพในเขตพื้นที่ SSA เข้าไปทำไร่ทำสวนล้ำพื้นที่ ส่งผลให้สองฝ่ายเกิดการเผชิญหน้
"คนเครือไท" เป็นศูนย์ข่าวภาคภาษาไทยเครือข่ายสำนักข่าวอิสระไทใหญ่ หรือ สำนักข่าวฉาน (SHAN – Shan Herald Agency for News) มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
ครม.ขยายเวลาเก็บ vat 7% ต่ออีก 2 ปี เหตุน้ำท่วม 54 กระทบเศรษฐกิจ Posted: 07 Aug 2012 09:09 AM PDT ครม.มีมติเห็นชอบขยายระยะเวลาการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ในอัตรา 7% ออกไปอีก 2 ปี จากเดิมที่จะครบกำหนดในสิ้นเดือน ก.ย.55 เหตุน้ำท่วมปี 54 ทำจีดีพีตก หวังกระตุ้นการจับจ่าย
(7 ส.ค.55) น.ส.ศันสนีย์ นาคพงศ์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยหลังประชุม ครม.ว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบขยายระยะเวลาการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ในอัตรา 7% ออกไปอีก 2 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2555-30 กันยายน 2557 จากเดิมที่จะครบกำหนดสิ้นเดือนกันยายน 2555 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ โดยจะเริ่มจัดเก็บในอัตรา 9% ตั้งแต่ 1 ต.ค.2557 การดำเนินการดังกล่าว สำนักงบประมาณให้ความเห็นว่า จะไม่ส่งผลกระทบต่องบประมาณ เนื่องจากเป็นการช่วยเหลือประชาชนที่มีภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น หลังเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมเมื่อช่วงปลายปี 54 ทั้งนี้กระทรวงการคลัง แจ้งว่า การขยายระยะเวลาออกไปนั้น มีผลมาจากกรณีที่ประเทศไทยประสบอุทกภัยครั้งใหญ่ในปี 54-55 ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) เมื่อเทียบกับปี 53 มีอัตราการเติบโตลดลงจาก 7.8% เหลือ 0.1% รวมทั้งอัตราการบริโภค การลงทุน การส่งออก และการนำเข้าลดลงด้วย รวมทั้งช่วยให้ประชาชนมีกำลังซื้อในการจับจ่ายสินค้าเพิ่มขึ้น ขณะที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เห็นว่า การขยายเวลาลดการจัดเก็บภาษีออกไป มีความจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนให้ขยายตัวด้านการใช้จ่ายภาคเอกชนอย่างต่อเนื่องอีกระยะหนึ่ง ซึ่งจะมีส่วนสำคัญต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยช่วงหลังน้ำท่วมด้วย
ที่มา: เว็บไซต์เดลินิวส์, เว็บไซต์ไทยพีบีเอส ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
หมายเหตุจากกรุงกัมพูชาถึงกรุงสยาม ว่าด้วยการพัฒนาและการไล่ที่ Posted: 07 Aug 2012 08:54 AM PDT ข่าวการบังคับไล่ที่ชาวบ้าน เป็นข่าวที่พบเห็นได้ในหนังสือพิมพ์หลายๆ ฉบับในกันพูชา ใครที่เคยมากรุงพนมเปญเมื่อสักกยี่สิบปีก่อน หากได้กลับอีกคราคงจะจำไม่ได้ ด้วยตึกรามบ้านช่องขึ้นจนแน่นขนัด พื้นที่ว่างเปล่าแทบไม่เหลือให้เห็น จะว่าไปแล้ว หากพิจารณาจากประวัติศาสตร์ที่เคยมีการอพยพผู้คนออกไปใช้แรงงานในยุคเขมรแดงเรืองอำนาจ จนนำไปสู่การสูญเสียชีวิตของประชาการหลายล้านคน รวมไปถึงสงครามกลางเมืองอันเป็นการสู้รบระหว่างเขมรแดงและเจ้าสีหนุฝ่ายหนึ่ง กับฝ่ายรัฐบาลที่สนับสนุนโดยเวียดนามที่พึ่งยุติลงในช่วงต้นทศวรรษที่ 90 กัมพูชาถือว่าพัฒนาประเทศได้รวดเร็วเลยทีเดียว กรุงพนมเปญในวันนี้ ท้องถนนสว่างไสว มีธุรกิจและร้านค้าต่างๆ กระจายอยู่ทั่วไป ด้วยอัตราค่าจ้างแรงงานที่ต่ำ กัมพูชาจึงเป็นเสมือนแม่เหล็กดึงดูดนักลงทุนต่างชาติ โดยเฉพาะจากเวียดนามและจีน โดยเฉพาะจีนซึ่งเป็นประเทศที่ให้เงินสนับสนุนแก่รัฐบาลกัมพูชามากที่สุด การเข้ามาของนักลงทุนต่างชาติ ทำให้กรุงพนมเปญที่มีขนาดเล็กอยู่แล้วคับแคบลงในพริบตา เมื่อการขยายตัวของเมืองมาถึงขีดจำกัด ทางเลือกที่ทางการกัมพูชาเลือกใช้ก็คือ การบังคับไล่ที่ ”เพื่อการพัฒนา” ในอดีต ใจกลางกรุงพนมเปญมีทะเลสาบที่เรียกว่า บองกัก ซึ่งทะเลสาบแห่งนี้มีชุมชนชาวบ้านที่มีวิถีชีวิตผูกพันกับน้ำอาศัยอยู่นับพันครัวเรือน ต่อมาเมื่อการพัฒนากลืนกินพื้นที่ว่างไปหมด ก็มาถึงคราวของพื้นน้ำ รัฐบาลกัมพูชาตัดสินใจให้สัมปทานแก่บรรษัทเอกชนเข้าทำการถมทะเลสาบเพื่อจะได้นำที่ดินมาใช้ในการพัฒนา ซึ่งส่งผลให้ชาวบ้านหลายพันครัวเรือนต้องถูกไล่ที่ ซึ่งการไล่ที่ ไม่ได้หมายถึงการสูญเสียบ้านแต่เพียงอย่างเดียว มันยังหมายถึงการสูญเสียวิถีชิวิตและอัตลักษณ์ไปด้วย การบังคับไล่ที่อาจไม่ใช่ปัญหาใหญ่ในเมืองไทย เนื่องจากมันไม่ได้เกิดขึ้นใจกลางกรุง รวมทั้งยังไม่มีภาพชาวบ้านที่ถูกไล่ที่ชุมนุมประท้วงโดยสันติเพื่อยืนยันสิทธิของเขาก่อนโดนไล่ตีหัวร้างข้างแตกแบบที่ปรากฏในกัมพูชา ทว่าประเทศไทยก็ใช่ว่าจะปราศจากซึ่งเหตุการณ์เช่นนี้ การสร้างเขื่อนรวมไปถึงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานแห่งรัฐอื่นๆ เช่นถนน และทางด่วน ก็ก่อให้เกิดคำถามทั้งเรื่องการไล่ที่และสูญเสียวิถีชีวิตได้เช่นกัน จริงอยู่การ ”พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเป็นสิ่งจำเป็นต่อรัฐและประชากรโดยรวม (คำถามที่ว่า ใครคือประชากรโดยรวมทั้งหมด ยังเป็นคำถามที่จำเป็นต้องตอบแต่ ณ ที่นี้จะขอแขวนไว้ก่อน) ทว่ารัฐเองก็จำเป็นจะต้องตอบคำถามให้ได้ว่า จะประกันความยุติธรรมแก่ผู้ถูกย้ายที่อย่างไร การบังคับเอาที่ หรือที่เรียกกันแบบน่ารักๆ ว่า การเวรคืนที่ดินนั้น เป็นสิ่งที่ทำกันอยู่ทั่วไปในหลายๆ ประเทศ การก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ นั้น เป็นไปไม่ได้เลยที่จะไม่มีการเรียกคืนที่ดิน เพราะหลายต่อหลายครั้ง การสร้างโครงสร้างพื้นฐานก็ต้องทำในพื้นที่ที่มีผู้อาศัยอยู่แล้ว หากไม่มีการเวนคืนที่ดิน โครงการพัฒนาก็ไม่อาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งในบางโครงการก็คงก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า ได้ก่อให้เกิดความเจริญและการพัฒนา อย่างไรก็ดีหากจะมีการเวนคืนที่ดิน คำถามอย่างน้อยสองข้อที่ควรจะต้องตอบให้ได้เสียก่อนก็คือ หนึ่ง โครงการพัฒนานั้นเป็นประโยชน์ต่อใคร และสอง หากอ้างหลักประชาธิปไตยที่ต้องรักษาผลประโยชน์เพื่อคนส่วนมาก (การพัฒนา)แล้วคนส่วนน้อยที่ถูกบังคับให้เป็นผู้เสียสละย้ายที่ รัฐมีมาตรการดูแลพวกเขาเหล่านั้นเช่นไร นี่ยังไม่นับรวมไปถึงคำถามด้านสิ่งแวดล้อมที่ว่า ผลได้จากการพัฒนาและราคาที่ต้องจ่ายในแง่ความเสียหายของระบบนิเวศน์ สิ่งแวดล้อมในระยะยาวนั้นมันคุ้มกันไหม ในกรณีกันพูชานั้น คำตอบของคำถามทั้งสองข้อ ดูจะไม่เป็นที่น่าพึงพอใจ ประการแรกที่ว่า การพัฒนานั้นเป็นผลประโยชน์ต่อใคร ในกรณีของการบังคับย้ายที่ชุมชนทะเลสาบบองกักนั้น เห็นได้ชัดว่า เป็นประโยน์ต่อนายทุนโดยแท้ เนื่องจากเป็นการสัมปทานที่ดินให้แก่เอกชน มิใช่ถมเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานแห่งรัฐ รัฐอาจอ้างว่าการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจจะส่งผลดีต่อประเทศโดยรวม หากแต่เมื่อพิจารณาโดยใกล้ชิดแล้วก็จะเห็นได้ว่า มันเป็นเพียงข้ออ้าง เพราะแท้ที่จริงแล้ว ผลประโยชน์ทางธุรกิจในกัมพูชาก็กระจุกตัวอยู่แต่ในหมู่นายทุนและผู้นำระดับสูงในพรรครัฐบาลเท่านั้น จริงอยู่การขยายตัวของภาคธุรกิจ อาจก่อให้เกิดการจ้างงานและรายได้ แต่เมื่อพิจารณาถึงค่าจ้างแรงงานที่ต่ำในกัมพูชาแล้วการจ้างงานที่เกิดขึ้นก็เป็นแต่เพียงการขยายตัวของการสะสมทุนและขูดรีดแรงงานโดยที่ผลประโยชน์ทางธุรกิจไม่ได้ตกถึงมือและท้องของผู้ใช้แรงงานแม้แต่น้อย ในส่วนของคำถามที่ว่า รัฐมีการดูแลผู้ที่ต้อง ”เสียสละ” ย้ายที่ออกไปมากน้อยหรือไม่อย่างไรนั้น ในกรณีชุมชนบองกัก สิ่งที่ชาวบ้านได้รับจากรัฐบาล ไม่ใช่การจ่ายเงินชดเชย หากแต่เป็นความแห้งแล้งและความรุนแรง ชาวบ้านส่วนหนึ่งถูกย้ายไปอยู่ใกล้ๆ กับเมืองพนมอุดง เมืองหลวงเก่าของกัมพูชา ซึ่งปัจจุบันเป็นเพียงพื้นที่แห้งแล้ง ลองจินตนาการดูว่า คนที่เคยอาศัยทำมาหากินกับน้ำ เมื่อต้องมาอยู่ในพื้นที่แห้งแล้ง พวกเขาจะทำอย่างไร จริงอยู่ชาวบ้านบางส่วนที่ยอมย้ายแต่โดยดี อาจได้รับค่าตอบแทนบ้าง แต่มันคงเป็นเงินจำนวนไม่มากนัก และเมื่อเทียบกับวิถีชีวิตที่สูญเสียไป ค่าชดเชยนั้นคงเป็นได้แค่เศษกระดาษที่ช่วยให้พอประทังชีวิตได้ไปอีกไม่กี่มื้อ ส่วนชาวบ้านที่รวมตัวกันคัดค้านการย้ายที่โดยสันติก็ได้รับแจกท็อปบูท ลูกกระสุนและทัวร์ห้องกรงจากทางรัฐไปตามระเบียบ กรณีการบังคับไล่ที่ในกัมพูชาอาจจะดุเดือดรุนแรงเกินไปหากจะนำมาเปรียบเทียบกับการเวนคืนที่ดินเพื่อการพัฒนาในเมืองไทย แต่มันก็เกิดคำถามหลายข้อที่ทำให้เราต้องฉุกคิดและตอบคำถามเหล่านั้น คำถามแรก เกี่ยวกับผู้ได้รับผลประโยชน์จากการพัฒนา แน่นอน โครงการเขื่อนหรือโครงการถนนบางโครงการอาจดูเป็นโครงการที่เป็นสาธารณะประโยชน์มากกว่าการไล่ที่ทะเลสาบบองกัก ซึ่งแน่นอนว่า เป็นผลประโยชน์ของกลุ่มทุน แต่หากพิจารณาให้ลึกผลประโยชน์ที่ดูเป็นสาธารณะในเมืองไทยแท้จริงแล้วก็กระจุกตัว โดยเฉพาะโครงการเขื่อนที่ไม่ว่าจะผลิตไฟฟ้าหรือป้องกันน้ำท่วม ก็ดูจะเป็นประโยชน์ที่เป็นคนเมือง ในขณะที่บางครั้งคนที่เสียสละ ถูกไล่ที่เพื่อการสร้างเขื่อนผลิตไฟฟ้ากลับเข้าถึงไฟฟ้าได้ยากลำบาก ในส่วนของคำถามที่ว่า เมื่อย้ายที่แล้ว มีการดูแลผู้ถูกย้ายที่มากน้อยแค่ไหน ในประเทศไทยอาจมีการชดเชยที่ดูดีกว่าในกัมพูชา แต่ว่าในระยะยาว รัฐไทยก็คงไม่สามารถตอบโจทย์เรื่องการสูญเสียวิถีชีวิตและอัตลักษณ์ได้ดีไปกว่าทางการกัมพูชาเสียเท่าไหร่ แน่นอนว่า ในอนาคตรัฐไทยก็คงจะผุดโครงการที่ทำให้คนบางกลุ่มต้องถูกบังคับย้ายที่เพื่อแลกกับการพัฒนาขึ้นมาอีก คงปฏิเสธไม่ได้ว่าทุกๆ โครงการพัฒนา มีราคาที่จะต้องจ่ายไป ซึ่งก็คือวิถีชีวิตและอัตลักษณ์ของคนบางกลุ่มซึ่งมักจะเป็นกลุ่มคนชายขอบ (ไม่ได้หมายถึงเฉพาะคนชนบทที่ห่างไกลจากศูนย์กลางความเจริญ แต่รวมถึงกลุ่มคนชั้นล่างที่ไร้อำนาจ เช่น กลุ่มคนจนเมืองที่อาศัยในเขตชุมชนแออัด ซึ่งอาจถูกไล่ที่เพื่อการสร้างทางด่วนด้วย) นอกจากนี้ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่ไม่ได้ถูกพิจารณารวมในบทความนี้ก็เป็นราคาที่ต้องจ่ายไป บทความชิ้นนี้ไม่ได้เขียนขึ้นเพื่อต่อต้านการพัฒนาดังกล่าว เพราะคงเป็นไปไม่ได้ในความเป็นจริงที่จะยุติโครงการพัฒนาทั้งหลาย แต่บทความชิ้นนี้ อยากจะเสนอว่า ก่อนลงมือทำการเวนคืนหรือไล่ที่ชาวบ้านเพื่อการพัฒนา รัฐควรทำการศึกษาอย่างจริงจังเสียก่อนว่า การพัฒนาเหล่านั้นจะยังประโยชน์แก่ใคร แก่คนส่วนใหญ่หรือคนเพียงหยิบมือในสังคม และหากแม้โครงการพัฒนาดังกล่าวเป็นประโยชน์ต่อคนส่วนใหญ่จริง รัฐก็จำเป็นจะต้องพิจารณาให้ถ้วนถี่ว่า จะทำอย่างไรกับคนส่วนน้อยที่ต้องเสียสละวิถีชีวิตและอัตลักษณ์ เพราะต้องไม่ลืมว่า ในสังคมประชาธิปไตย แม้สิทธิของคนส่วนน้อยก็ต้องได้รับความคุ้มครองเช่นกัน โดยเฉพาะกรณีที่คนส่วนน้อยต้องเสียสละอัตลักษณ์และวิถีชีวิตของตนเพื่อคนส่วนใหญ่ การชดเชยด้วยเงินคงไม่เพียงพอ การชดเชยด้านการฝึกอาชีพเพื่อปรับตัวกับชีวิตใหม่ การรื้อฟื้นและพิทักษ์อัตลักษณ์ รวมไปถึงการให้เครดิตแก่การเสียสละของพวกเขา ก็น่าจะเป็นสิ่งที่ควรต้องทำ และท้ายที่สุดคงต้องฝากถึงเพื่อนมิตรประชาชน โดยเฉพาะชนชั้นกลางและผู้มีอันจะกินในมืองที่มักเป็นผู้ได้รับประโยชน์จากการพัฒนาเหล่านี้ว่า หากชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบเดินทางมาเรียกร้องความเป็นธรรม (มาประท้วงนั่นแหละ) ได้โปรดอย่าโวยวายว่า พวกนี้มาทำรถติดเศรษฐกิจย่อยยับ บลาๆๆ เพราะแม้นท่านจะจ่ายภาษี แต่อย่างน้อยท่านก็ไม่ต้องเป็นกังวลว่า จะถูกไล่ที่เหมือนพวกเขาเหล่านั้น
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
ชาวบ้านน้ำโขงยกขบวนฟ้องศาลปกครองจี้ “กฟผ.” ระงับสัญญาซื้อไฟ “เขื่อนไซยะบุรี” Posted: 07 Aug 2012 07:43 AM PDT เครือข่ายประชาชนไทย 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขงแห่ยื่นศาลปกครองฟ้องกราวรูด กฟผ.-ทส.-ครม.จี้ระงับสัญญาซื้อไฟฟ้าเขื่อนไซยะบุรี หวั่นทำลายระบบนิเวศน้ำโขง พร้อมเชิญชวนร่วมลงชื่อเรียกร้อง ช. การช่าง หยุดการก่อสร้างทั้งหมด วันนี้ (7 ส.ค.55) เวลาประมาณ 10.00 น.ที่ศาลปกครองกลาง ถนนแจ้งวัฒนะ ชาวบ้านจากเครือข่ายประชาชนไทย 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขง ประมาณ 80 คน ได้เดินทางมายื่นฟ้อง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ที่ได้ลงนามในสัญญาซื้อพลังงานไฟฟ้า (PPA) จากบริษัทไซยะบุรี พาวเวอร์ จำกัด ในประเทศลาว ซึ่งเป็นบริษัทลูกของบริษัท ช. การช่าง จำกัด (มหาชน) โดยมีผู้ฟ้องคดี 37 คน และผู้สนับสนุนให้ฟ้องคดี 1,019 คน ซึ่งเป็นประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณลุ่มน้ำโขงในประเทศไทยในหลายจังหวัด ได้แก่ เชียงราย เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม อำนาจเจริญ มุกดาหาร และอุบลราชธานี ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ชาวบ้านที่เดินทางมาชุมนุมได้ทำพิธีของพรแม่น้ำโขง ก่อนจะเข้ายื่นหนังสือต่อศาลปกครองกลาง โดยร้องขอให้ศาลพิจารณาและมีคำสั่งให้ กฟผ.ยกเลิกสัญญาการซื้อไฟฟ้าจากโครงการเขื่อนไซยะบุรี ซึ่งกำลังดำเนินการก่อสร้างที่ประเทศลาว ทั้งนี้ ผู้ถูกฟ้องคดีนอกจาก กฟผ.แล้วยังประกอบด้วย คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กระทรวงพลังงาน และคณะรัฐมนตรี โดยข้อกล่าวหา คือ ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ว่าด้วยการปฏิบัติตามข้อตกลงแม่น้ำโขง การเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ประเด็นในการฟ้องร้องคดีครั้งนี้ เนื่องมาจากเครือข่ายเห็นว่า กฟผ.และหน่วยงานอื่นที่มีหน้าที่ทำการตัดสินใจเกี่ยวกับพลังงาน ได้แก่ คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ กระทรวงพลังงาน และกระทรวงทรัพย์ฯ ได้ปล่อยให้ กฟผ.ทำสัญญาสำคัญ โดยไม่ได้ทำตามหน้าที่ของตนในการแจ้งข้อมูลและปรึกษาหารือกับสาธารณะ และไม่ทำการประเมินผลกระทบทางสังคม สิ่งแวดล้อม และสุขภาพ จึงถือเป็นการละเมิดสิทธิตามที่ได้รับการบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญไทย และกฎหมายอื่นๆ นอกจากนั้น หน้าเพจ หยุด เขื่อนไซยะบุรี(stop Xayaburi Dam) ยังมีการเชิญชวนร่วมลงชื่อเรียกร้องให้บริษัท ช. การช่าง จำกัด (มหาชน) หยุดการก่อสร้างทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการเตรียมการ สร้างถนน หรืออพยพชาวบ้าน โดยให้มีการทำการศึกษาผลกระทบข้ามพรมแดนอย่างรอบคอบ รอบด้าน ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม สังคม เศรษฐกิจ และสุขภาพ ตลอดจนดำเนินการเปิดเผยข้อมูล รับฟังความคิดเห็นจากภาคส่วนต่างๆ และเปิดโอกาสให้ชาวบ้านตลอดลำน้ำโขงที่จะได้รับผลกระทบโดยตรงได้มีส่วนร่วม ตามสิทธิที่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญไทย ที่ “บริษัท ช. การช่าง จำกัด (มหาชน): หยุดสร้างเขื่อนไซยะบุรีบนแม่น้ำโขง หยุดทำลายระบบนิเวศอันมีค่าของภูมิภาค” ในเว็บไซต์ http://chn.ge/stopchkarnchang ทั้งนี้ข้อมูลจาก โครงการฟื้นฟูนิเวศในภูมิภาคแม่น้ำโขง TERRA และเครือข่ายประชาสังคมไทยเพื่อแม่น้ำโขง ระบุเขื่อนไซยะบุรี มีกำลังผลิต 1,285 เมกะวัตต์ จะปิดกั้นแม่น้ำโขงสายหลัก ในแขวงไซยะบุรี ประเทศลาว ตรงข้ามกับจังหวัดน่านของไทย และจะเป็นเขื่อนแรกที่ถูกสร้างบนแม่น้ำโขงสายหลักตอนล่าง ตัวเขื่อนไซยะบุรีจะอยู่เหนือจาก อ.เชียงคาน จ.เลยภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยขึ้นไปตามลำน้ำโขงประมาณ 200 กิโลเมตรอันเป็นระยะทางที่นับว่าใกล้มากในแง่ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะผลกระทบข้ามพรมแดนต่อการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพของชุมชนริมน้ำโขงตลอดพรมแดนไทย-ลาว ทั้งในเขต จ.เชียงราย ทางภาคเหนือ และในเขต 7 จังหวัดของภาคอีสาน อันได้แก่ จ.เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหารอำนาจเจริญ และอุบลราชธานี ซึ่งอาศัยแม่น้ำโขงหาเลี้ยงชีพทั้งการทำเกษตรริมโขง ประมง ฯลฯ การทำมาหาเลี้ยงชีพเหล่านี้จะได้รับผลกระทบรุนแรงจากการเก็บกักน้ำและปล่อยน้ำจากเขื่อนไซยะบุรี แม้เขื่อนไซยะบุรีจะสร้างอยู่ในลาว แต่ไฟฟ้าที่ผลิตได้ถึงร้อยละ 95 จะส่งมาขายยังประเทศไทย ซึ่งในเดือนตุลาคม 2554 รัฐบาลไทยโดย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)ได้ลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับ บริษัท ไซยะบุรี พาวเวอร์ จำกัด ซึ่งผู้ถือหุ้นทั้งหมดคือ บริษัทไทย อันประกอบด้วย บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน), บริษัท นที ชินเนอร์ยี่ จำกัด (บริษัทลูกของปตท.), บริษัทผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) (บริษัทลูกของกฟผ.) และบริษัท พี.ที.คอนสตรัคชั่นแอนด์อิริเกชั่น จำกัด โดยแหล่งเงินกู้ของโครงการมูลค่า 115,000 ล้านบาทจะมาจากธนาคารสัญชาติไทย คือ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกสิกรไทย และธนาคารไทยพาณิชย์ ฉะนั้นประเทศไทยจึงมีความรับผิดชอบโดยตรงต่อการเดินหน้าของโครงการเขื่อนไซยะบุรีแทนที่ประเทศไทยจะสนับสนุนโครงการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่มูลค่านับแสนล้านบาทซึ่งจะสร้างผลกระทบมหาศาล และทำลายหลายล้านชีวิตในลุ่มแม่น้ำโขงเพียงเพื่อรับซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้านมาตอบสนองความต้องการไฟฟ้าที่ไม่สิ้นสุด ประเทศไทยควรต้องมุ่งเน้นพัฒนาพลังงานทางเลือกที่มีประสิทธิภาพยั่งยืน และเป็นธรรม ทั้งนี้ โครงการฟื้นฟูนิเวศในภูมิภาคแม่น้ำโขง TERRA และเครือข่ายประชาสังคมไทยเพื่อแม่น้ำโขง ได้เปิดร่วมลงนามถึงนายกรัฐมนตรีไทย "หยุดเขื่อนไซยะบุรี ปกป้องวิถีแม่น้ำโขง": To Prime Minister of Thailand - “Stop Xayaburi Dam” ในหน้าเว็บไซต์ (คลิก) โดยระบุว่า จนถึงขณะนี้มีผู้ร่วมลงนามถึงนายกรัฐมนตรีในโปสการ์ดปลาบึกเพื่อหยุดเขื่อนไซยะบุรีแล้ว 7,400 รายชื่อ ซึ่งตัวแทนชาวบ้านจากลุ่มน้ำโขงและภาคประชาสังคมในประเทศไทยจะรวบรวมรายชื่อทั้งจากโปสการ์ดและจากสื่อออนไลน์ดังกล่าว เพื่อส่งมอบให้กับนายกรัฐมนตรี กลางเดือนกันยายนนี้
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ: ว่าด้วยการหนีทหาร Posted: 07 Aug 2012 06:09 AM PDT จากหลักฐานล่าสุด ของ พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ก็เป็นที่ยืนยันชัดเจนว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ใช้เอกสารเท็จในการเกณฑ์ทหาร เมื่อตรวจสอบถือว่า ครบถ้วนทั้งเอกสาร และพยานบุคคลในเหตุการณ์ ก็ยังพบว่า การดำเนินการบรรจุเข้ารับราชการเป็นอาจารย์โรงเรียนนายร้อย จปร. และการขึ้นทะเบียนทหารกองประจำการ สด.3 ของ นายอภิสิทธิ์ นั้น ก็เป็นการใช้เอกสารเท็จเพื่อหลีกเลี่ยงการรับราชการทหาร และแม้ว่าคดีนี้จะหมดอายุความ เพราะนายอภิสิทธิ์ครบอายุ 20 ปี ไปตั้งแต่ พ.ศ.2527 และหลีกเลี่ยงการเกณฑ์ทหารตั้งแต่ พ.ศ.2530 แต่การดำเนินการทางราชการนั้น ไม่มีอายุความ จึงจะส่งผลให้นายอภิสิทธิ์จะต้องถูกดำเนินการถอดยศ ว่าที่ร้อยตรี และต้องถูกเรียกเอาเงินเดือนและเบี้ยหวัดคืน อันที่จริงแล้ว ถ้าหากว่ากรณีหนีทหารเป็นข้อบกพร่องเพียงประการเดียวของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็คงถือได้ว่า ไม่น่าจะเป็นปัญหามากนัก เพราะลูกหลานอภิสิทธิ์ชนคนร่ำรวยจำนวนมากในประเทศนี้ ส่วนมากก็มีวิธีการในการหนีเกณฑ์ทหารอยู่แล้ว จนทำให้การเกณฑ์ทหารในแต่ละปี ส่วนใหญ่ก็เหลือแต่ลูกหลานประชาชนคนยากจนเท่านั้น ที่จะต้องไปฝึกทหารและเป็นทหารประจำการ ยิ่งกว่านั้น ในปัจจุบันนี้ ระบบการเกณฑ์ทหารก็เป็นที่วิจารณ์อย่างมาก และหลายประเทศก็ยกเลิกการเกณฑ์ทหาร แล้วหันมาใช้ทหารอาสาสมัครและทหารอาชีพแทน ในประเทศไทยก็เคยมีการเสนอในลักษณะเดียวกัน แต่ยังไม่ได้เป็นที่พิจารณาของกองทัพไทยอย่างจริงจัง ในสังคมก่อนสมัยใหม่นั้น ถือว่ายังไม่มีกองทัพประจำการและระบบทหารเกณฑ์ จนกระทั่งหลังจากการปฏิวัติฝรั่งเศส ค.ศ.1789 แล้ว จึงเกิดการเกณฑ์พลเมืองที่เป็นชายหนุ่มเข้าเป็นทหารในกองทัพ เพราะหลังการปฏิวัติ เกิดสงครามระหว่างฝรั่งเศสกับชาติยุโรปอื่นที่อยู่ภายใต้ระบอบกษัตริย์ จึงมีการนำเสนอในลักษณะที่ว่า ชายชาวฝรั่งเศสทุกคนมีหน้าที่จะต้องปกป้องปิตุภูมิฝรั่งเศส ใน ค.ศ.1798 เกิดกองทัพประจำการแห่งชาติฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการ และทำให้ฝรั่งเศสกลายเป็นประเทศที่มีแสนยานุภาพทางบกอันเข้มแข็ง เพราะมีกองทัพประจำการมากถึง 2.6 ล้านคนในระยะต่อมา หลังจาก ค.ศ.1800 ประเทศอื่นในยุโรปก็รับเอาแบบอย่าง ให้พลเมืองที่เป็นชายของหลายประเทศจึงต้องถูกเกณฑ์ไปเข้าประจำการทหาร 1-3 ปี และเมื่อปลดประจำการแล้ว ก็ยังถือว่าเป็นทหารกองเกิน สำรองไว้ใช้ในกิจการทหารได้ ประเพณีในลักษณะนี้ขยายไปทั่วโลก และการมีกองทัพประจำการสมัยใหม่กลายเป็นลักษณะอย่างหนึ่งของยุคใหม่ ในสหรัฐฯการเกณฑ์ทหารเริ่มเมื่อเกิดสงครามกลางเมืองระหว่างฝ่ายเหนือกับฝ่ายใต้ ใน ค.ศ.1861 และได้ใช้ระบบการเกณฑ์ทหารเรื่อยมา สมัยที่ลัทธิชาตินิยมเฟื่องฟู มหาประเทศต่างก็เร่งการเกณฑ์หารเพื่อสร้างกองทัพประจำการขนาดใหญ่ ใครหลีกหนีการเกณฑ์ทหาร นอกจากจะมีความผิดตามกฎหมายแล้ว ยังถูกประนามว่าขี้ขลาดและไม่รักชาติ ในที่สุดเกิดการแข่งขันด้านอาวุธและเกิดสงครามระหว่างชาติ เช่น สงครามโลก ซึ่งสร้างความเสียหายมากมาย และเนื่องด้วยสถานการณ์สงครามโลก ก่อให้เกิดกระแสการต่อต้านคัดค้านในหลายประเทศ เช่น ในกรณีของออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ แคนาดา อินเดีย ทหารที่ถูกเกณฑ์ถูกส่งไปรบให้อังกฤษ ทั้งที่ประเทศเหล่านั้น ไม่ได้รู้สึกว่า สงครามนั้นจะเกี่ยวข้องกับตนเลย ความจริงการใช้ระบบการเกณฑ์ทหาร ก็มีปัญหาเชิงทฤษฎีแต่แรก นักคิดเช่น อัลเบิร์ต ไอนสไตน์ ก็เคยกล่าวว่า “การเกณฑ์ทหารเป็นการใช้แรงงานทาสชนิดหนึ่ง” นอกจากนี้ ยังมีปัญหาในเชิงมนุษยธรรมของสงคราม จากการที่ประเทศสองประเทศนำเอาทหารเกณฑ์ซึ่งไม่ได้สมัครใจมารบแล้วมาตายทั้งสองฝ่าย การคร่าชีวิตผู้บริสุทธิ์ในลักษณะเช่นนี้ เป็นสิ่งที่ถูกต้องชอบธรรมหรือไม่ และยิ่งต่อมา เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองยุติลง เกิดการตั้งคำถามต่อลัทธิชาตินิยมอย่างมาก ในกรณีที่ชาตินิยมกลายเป็นสาเหตุนำไปสู่สงครามที่สร้างความเสียหายแก่มนุษยชาติ จึงทำให้อิทธิพลของชาตินิยมในโลกตะวันตกเสื่อมลง การมีกองทัพประจำการขนาดใหญ่ และการเกณฑ์ทหารเพื่อเข้าประจำการเริ่มไม่เป็นที่ยอมรับ และต่อมายังถือกันว่าการบังคับคนให้ไปจับอาวุธเพื่อการสงคราม เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างหนึ่ง การเกณฑ์ทหารถูกตั้งคำถามในเชิงทฤษฎี เช่น การมีกองทัพประจำการขนาดใหญ่ที่ใช้การเกณฑ์ทหาร เป็นการขัดกับนโยบายสันติภาพของประเทศเช่น สวีเดน ฟินแลนด์ พวกสันตินิยมในยุโรปถือด้วยซ้ำว่า การเลี่ยงการเกณฑ์ทหารเป็นการกระทำที่ชอบธรรม พวกสันตินิยมจำนวนไม่น้อยยอมติดคุกโดยไม่ยอมจับอาวุธไปประจำการ อังกฤษซึ่งเป็นประเทศที่ลังเลที่สุดในการใช้ระบบเกณฑ์ทหาร จึงยกเลิกการเกณฑ์ตั้งแต่ ค.ศ.1957 ประเทศอื่น เช่น ออสเตรเลียยกเลิกเกณฑ์ทหารตั้งแต่ ค.ศ.1972 สเปน และฝรั่งเศสยกเลิกเกณฑ์ทหาร ตั้งแต่ ค.ศ.2001 และในขณะนี้ประเทศในยุโรปส่วนใหญ่ไม่มีระบบเกณฑ์ทหารกันแล้ว ประเทศอื่นเช่น ญี่ปุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ถูกห้ามมีกองทัพประจำการ จึงไม่มีการเกณฑ์ทหารเลย ส่วนอินเดียนับตั้งแต่ได้เอกราช ก็ไม่เคยมีการเกณฑ์ทหาร ประเทศใกล้เคียง เช่น มาเลเซีย ก็ไม่มีระบบการเกณฑ์ทหารเช่นกัน ประเทศที่ยังคงระบบการเกณฑ์ทหารอย่างเข้มข้น คือ ประเทศระหว่างเผชิญหน้า เช่น เกาหลีเหนือ และเกาหลีใต้ แต่ในกรณีของเกาหลีนี้ การเกณฑ์ทหารทั่วถึงและไม่มีข้อยกเว้นให้ใครเลย เราจึงพบว่า นักศึกษา หรือดาราชายของเกาหลี ต่างก็ต้องไปถูกเกณฑ์เป็นทหารเมื่อถึงเวลาทั้งหมด ในอเมริกาในช่วงสงครามเวียดนาม การเกณฑ์ทหารมีปัญหาอย่างมาก เพราะนำมาซึ่งการประท้วงอย่างหนัก บิดามารดาของทหารทั่วประเทศประท้วงการที่รัฐบาลส่งลูกหลานของตนไปรบในสมรภูมิเวียดนาม ในขณะนั้น ชาวอเมริกาจำนวนมากหนีทหาร โดยข้ามพรมแดนไปยังเม็กซิโกหรือแคนาดา หรือหนีไปยุโรป ในที่สุด รัฐบาลอเมริกาต้องยกเลิกการเกณฑ์ทหาร เมื่อ ค.ศ.1973 ในประเทศสยาม การเกณฑ์ทหารเกิดขึ้นใน พ.ศ.2448 (ค.ศ.1905) หลังจากที่รัชกาลที่ 5 ทรงยกเลิกระบบไพร่ และใช้การเกณฑ์ทหารเข้าประจำการแทน โดยกำหนดให้ชายไทยอายุ 21 ปีต้องไปรับการคัดเลือกเข้าเป็นทหาร เรียกว่า “ไล่ทหาร” ซึ่งกำหนดให้เป็นวันที่ 1 เมษายน ปฏิกิริยาต่อต้านมีมาตั้งแต่แรก โดยในแต่ละมีจะมีคนจำนวนมากหนีทหาร ไม่ยอมมาคัดเลือกเข้าประจำการ หรือไม่ก็ส่งลูกชายไปบวชเพื่อเลี่ยงการเกณฑ์ทหาร นอกจากนี้ พ่อค้าชาวจีนจำนวนมากจะเลี่ยงการไล่ทหารโดยการส่งลูกชายไปเมืองจีนในวัยเด็ก และให้ลูกถือใบต่างด้าว ในระยะต่อมา การเกณฑ์ทหารในประเทศไทยก็ยังมีปัญหาต่อเนื่อง จนต้องมีการแก้ไขด้วยการตั้งหน่วยทหารรักษาดินแดนขึ้นมา เมื่อ พ.ศ.2491 เพื่อนำเอาเยาวชนนักเรียนนักศึกษามาฝึกทหารเสียก่อน เรียกว่า “เรียน ร.ด.” แล้วอนุญาตให้คนเหล่านี้เลี่ยงจากการถูกเกณฑ์ทหารได้ นอกจากนี้ รายงานข่าวเรื่องเกี่ยวกับทุจริตการเกณฑ์ทหารมีขึ้นตลอดมา เป็นที่ทราบกันว่า ลูกหลานคนมีเงินสามารถที่จะจ่ายเงินซื้อ”ใบดำ”ได้เสมอ ทำให้ไม่ต้องไปฝึกเป็นทหารประจำการ จนกระทั่งบางสมัย เช่น ยุคปฏิวัติของจอมพลถนอม กิตติขจร ใน พ.ศ.2515 ต้องตั้ง พ.อ.ณรงค์ กิตติขจร มาแก้ปัญหานี้ แต่ก็ไม่เคยประสบความสำเร็จ จึงเป็นที่ทราบกันดีว่า การเกณฑ์ทหารได้กลายเป็นช่องทางในการหารายได้ประจำปีของนายทหารที่เกี่ยวข้องเสมอมา กรณีการทุจริตเรื่องเอกสารของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จึงไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใด เมื่อเหตุการณ์กรณีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะเช่นนี้ ความจริงน่าจะถึงเวลาของสังคมไทย ที่จะใช้โอกาสทบทวนเรื่องการเกณฑ์ทหาร เป็นการน่าสนับสนุนอย่างยิ่ง ถ้าสังคมไทยจะเลิกการเกณฑ์ทหารเสียเลย แล้วหันมาใช้ระบบทหารอาสา หรือทหารอาชีพ แทน ซึ่งไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายใดแก่กองทัพเลย อาจจะเป็นการประหยัดงบประมาณมากกว่าเสียด้วยซ้ำ ดีกว่าการที่จะไปไล่เอาลูกชาวบ้านมาบังคับเป็นทหาร ที่นำเสนอมานี้ ไม่ใช่เพราะเห็นชอบด้วย หรือเห็นว่ากรณีหนีทหารของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะเป็นเรื่องที่ถูกต้อง แต่เห็นว่า ความชั่วร้ายของนายอภิสิทธิ์เป็นเรื่องอื่นที่ใหญ่กว่า ที่ให้อภัยกันไม่ได้คือเรื่องความรับผิดชอบในการเข่นฆ่าพี่น้องประชาชนคนเสื้อแดง 98 ศพ นอกจากนี้ คือเรื่องการโกหก ดีแต่พูดเอาตัวรอดเป็นรายวัน โดยไม่ต้องผูกมัดว่าตัวเองเคยพูดอะไรไว้ เรื่องการหนีทหารจึงเป็นเพียงเรื่องเล็ก ที่ไปยืนยันเรื่องใหญ่ คือ การโกหกและไม่รักษาคำพูด และการแสร้งแสดงตัวเป็นคนดี สร้างภาพหลอกประชาชน ดังนั้น การถูกเปิดโปงเรื่องหนีทหารจึงเป็นวิบากกรรมส่วนตัวของนายอภิสิทธิ์ที่ตามมาทัน ส่วนสังคมไทยน่าจะพิจารณาในประเด็นที่ใหญ่กว่า คือ เรื่องการเลิกเกณฑ์ทหาร ซึ่งจะเป็นการปลดเปลื้องความทุกข์ของประชาชนจำนวนมากด้วย
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ: ว่าด้วยการหนีทหาร Posted: 07 Aug 2012 06:09 AM PDT จากหลักฐานล่าสุด ของ พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ก็เป็นที่ยืนยันชัดเจนว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ใช้เอกสารเท็จในการเกณฑ์ทหาร เมื่อตรวจสอบถือว่า ครบถ้วนทั้งเอกสาร และพยานบุคคลในเหตุการณ์ ก็ยังพบว่า การดำเนินการบรรจุเข้ารับราชการเป็นอาจารย์โรงเรียนนายร้อย จปร. และการขึ้นทะเบียนทหารกองประจำการ สด.3 ของ นายอภิสิทธิ์ นั้น ก็เป็นการใช้เอกสารเท็จเพื่อหลีกเลี่ยงการรับราชการทหาร และแม้ว่าคดีนี้จะหมดอายุความ เพราะนายอภิสิทธิ์ครบอายุ 20 ปี ไปตั้งแต่ พ.ศ.2527 และหลีกเลี่ยงการเกณฑ์ทหารตั้งแต่ พ.ศ.2530 แต่การดำเนินการทางราชการนั้น ไม่มีอายุความ จึงจะส่งผลให้นายอภิสิทธิ์จะต้องถูกดำเนินการถอดยศ ว่าที่ร้อยตรี และต้องถูกเรียกเอาเงินเดือนและเบี้ยหวัดคืน อันที่จริงแล้ว ถ้าหากว่ากรณีหนีทหารเป็นข้อบกพร่องเพียงประการเดียวของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็คงถือได้ว่า ไม่น่าจะเป็นปัญหามากนัก เพราะลูกหลานอภิสิทธิ์ชนคนร่ำรวยจำนวนมากในประเทศนี้ ส่วนมากก็มีวิธีการในการหนีเกณฑ์ทหารอยู่แล้ว จนทำให้การเกณฑ์ทหารในแต่ละปี ส่วนใหญ่ก็เหลือแต่ลูกหลานประชาชนคนยากจนเท่านั้น ที่จะต้องไปฝึกทหารและเป็นทหารประจำการ ยิ่งกว่านั้น ในปัจจุบันนี้ ระบบการเกณฑ์ทหารก็เป็นที่วิจารณ์อย่างมาก และหลายประเทศก็ยกเลิกการเกณฑ์ทหาร แล้วหันมาใช้ทหารอาสาสมัครและทหารอาชีพแทน ในประเทศไทยก็เคยมีการเสนอในลักษณะเดียวกัน แต่ยังไม่ได้เป็นที่พิจารณาของกองทัพไทยอย่างจริงจัง ในสังคมก่อนสมัยใหม่นั้น ถือว่ายังไม่มีกองทัพประจำการและระบบทหารเกณฑ์ จนกระทั่งหลังจากการปฏิวัติฝรั่งเศส ค.ศ.1789 แล้ว จึงเกิดการเกณฑ์พลเมืองที่เป็นชายหนุ่มเข้าเป็นทหารในกองทัพ เพราะหลังการปฏิวัติ เกิดสงครามระหว่างฝรั่งเศสกับชาติยุโรปอื่นที่อยู่ภายใต้ระบอบกษัตริย์ จึงมีการนำเสนอในลักษณะที่ว่า ชายชาวฝรั่งเศสทุกคนมีหน้าที่จะต้องปกป้องปิตุภูมิฝรั่งเศส ใน ค.ศ.1798 เกิดกองทัพประจำการแห่งชาติฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการ และทำให้ฝรั่งเศสกลายเป็นประเทศที่มีแสนยานุภาพทางบกอันเข้มแข็ง เพราะมีกองทัพประจำการมากถึง 2.6 ล้านคนในระยะต่อมา หลังจาก ค.ศ.1800 ประเทศอื่นในยุโรปก็รับเอาแบบอย่าง ให้พลเมืองที่เป็นชายของหลายประเทศจึงต้องถูกเกณฑ์ไปเข้าประจำการทหาร 1-3 ปี และเมื่อปลดประจำการแล้ว ก็ยังถือว่าเป็นทหารกองเกิน สำรองไว้ใช้ในกิจการทหารได้ ประเพณีในลักษณะนี้ขยายไปทั่วโลก และการมีกองทัพประจำการสมัยใหม่กลายเป็นลักษณะอย่างหนึ่งของยุคใหม่ ในสหรัฐฯการเกณฑ์ทหารเริ่มเมื่อเกิดสงครามกลางเมืองระหว่างฝ่ายเหนือกับฝ่ายใต้ ใน ค.ศ.1861 และได้ใช้ระบบการเกณฑ์ทหารเรื่อยมา สมัยที่ลัทธิชาตินิยมเฟื่องฟู มหาประเทศต่างก็เร่งการเกณฑ์หารเพื่อสร้างกองทัพประจำการขนาดใหญ่ ใครหลีกหนีการเกณฑ์ทหาร นอกจากจะมีความผิดตามกฎหมายแล้ว ยังถูกประนามว่าขี้ขลาดและไม่รักชาติ ในที่สุดเกิดการแข่งขันด้านอาวุธและเกิดสงครามระหว่างชาติ เช่น สงครามโลก ซึ่งสร้างความเสียหายมากมาย และเนื่องด้วยสถานการณ์สงครามโลก ก่อให้เกิดกระแสการต่อต้านคัดค้านในหลายประเทศ เช่น ในกรณีของออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ แคนาดา อินเดีย ทหารที่ถูกเกณฑ์ถูกส่งไปรบให้อังกฤษ ทั้งที่ประเทศเหล่านั้น ไม่ได้รู้สึกว่า สงครามนั้นจะเกี่ยวข้องกับตนเลย ความจริงการใช้ระบบการเกณฑ์ทหาร ก็มีปัญหาเชิงทฤษฎีแต่แรก นักคิดเช่น อัลเบิร์ต ไอนสไตน์ ก็เคยกล่าวว่า “การเกณฑ์ทหารเป็นการใช้แรงงานทาสชนิดหนึ่ง” นอกจากนี้ ยังมีปัญหาในเชิงมนุษยธรรมของสงคราม จากการที่ประเทศสองประเทศนำเอาทหารเกณฑ์ซึ่งไม่ได้สมัครใจมารบแล้วมาตายทั้งสองฝ่าย การคร่าชีวิตผู้บริสุทธิ์ในลักษณะเช่นนี้ เป็นสิ่งที่ถูกต้องชอบธรรมหรือไม่ และยิ่งต่อมา เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองยุติลง เกิดการตั้งคำถามต่อลัทธิชาตินิยมอย่างมาก ในกรณีที่ชาตินิยมกลายเป็นสาเหตุนำไปสู่สงครามที่สร้างความเสียหายแก่มนุษยชาติ จึงทำให้อิทธิพลของชาตินิยมในโลกตะวันตกเสื่อมลง การมีกองทัพประจำการขนาดใหญ่ และการเกณฑ์ทหารเพื่อเข้าประจำการเริ่มไม่เป็นที่ยอมรับ และต่อมายังถือกันว่าการบังคับคนให้ไปจับอาวุธเพื่อการสงคราม เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างหนึ่ง การเกณฑ์ทหารถูกตั้งคำถามในเชิงทฤษฎี เช่น การมีกองทัพประจำการขนาดใหญ่ที่ใช้การเกณฑ์ทหาร เป็นการขัดกับนโยบายสันติภาพของประเทศเช่น สวีเดน ฟินแลนด์ พวกสันตินิยมในยุโรปถือด้วยซ้ำว่า การเลี่ยงการเกณฑ์ทหารเป็นการกระทำที่ชอบธรรม พวกสันตินิยมจำนวนไม่น้อยยอมติดคุกโดยไม่ยอมจับอาวุธไปประจำการ อังกฤษซึ่งเป็นประเทศที่ลังเลที่สุดในการใช้ระบบเกณฑ์ทหาร จึงยกเลิกการเกณฑ์ตั้งแต่ ค.ศ.1957 ประเทศอื่น เช่น ออสเตรเลียยกเลิกเกณฑ์ทหารตั้งแต่ ค.ศ.1972 สเปน และฝรั่งเศสยกเลิกเกณฑ์ทหาร ตั้งแต่ ค.ศ.2001 และในขณะนี้ประเทศในยุโรปส่วนใหญ่ไม่มีระบบเกณฑ์ทหารกันแล้ว ประเทศอื่นเช่น ญี่ปุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ถูกห้ามมีกองทัพประจำการ จึงไม่มีการเกณฑ์ทหารเลย ส่วนอินเดียนับตั้งแต่ได้เอกราช ก็ไม่เคยมีการเกณฑ์ทหาร ประเทศใกล้เคียง เช่น มาเลเซีย ก็ไม่มีระบบการเกณฑ์ทหารเช่นกัน ประเทศที่ยังคงระบบการเกณฑ์ทหารอย่างเข้มข้น คือ ประเทศระหว่างเผชิญหน้า เช่น เกาหลีเหนือ และเกาหลีใต้ แต่ในกรณีของเกาหลีนี้ การเกณฑ์ทหารทั่วถึงและไม่มีข้อยกเว้นให้ใครเลย เราจึงพบว่า นักศึกษา หรือดาราชายของเกาหลี ต่างก็ต้องไปถูกเกณฑ์เป็นทหารเมื่อถึงเวลาทั้งหมด ในอเมริกาในช่วงสงครามเวียดนาม การเกณฑ์ทหารมีปัญหาอย่างมาก เพราะนำมาซึ่งการประท้วงอย่างหนัก บิดามารดาของทหารทั่วประเทศประท้วงการที่รัฐบาลส่งลูกหลานของตนไปรบในสมรภูมิเวียดนาม ในขณะนั้น ชาวอเมริกาจำนวนมากหนีทหาร โดยข้ามพรมแดนไปยังเม็กซิโกหรือแคนาดา หรือหนีไปยุโรป ในที่สุด รัฐบาลอเมริกาต้องยกเลิกการเกณฑ์ทหาร เมื่อ ค.ศ.1973 ในประเทศสยาม การเกณฑ์ทหารเกิดขึ้นใน พ.ศ.2448 (ค.ศ.1905) หลังจากที่รัชกาลที่ 5 ทรงยกเลิกระบบไพร่ และใช้การเกณฑ์ทหารเข้าประจำการแทน โดยกำหนดให้ชายไทยอายุ 21 ปีต้องไปรับการคัดเลือกเข้าเป็นทหาร เรียกว่า “ไล่ทหาร” ซึ่งกำหนดให้เป็นวันที่ 1 เมษายน ปฏิกิริยาต่อต้านมีมาตั้งแต่แรก โดยในแต่ละมีจะมีคนจำนวนมากหนีทหาร ไม่ยอมมาคัดเลือกเข้าประจำการ หรือไม่ก็ส่งลูกชายไปบวชเพื่อเลี่ยงการเกณฑ์ทหาร นอกจากนี้ พ่อค้าชาวจีนจำนวนมากจะเลี่ยงการไล่ทหารโดยการส่งลูกชายไปเมืองจีนในวัยเด็ก และให้ลูกถือใบต่างด้าว ในระยะต่อมา การเกณฑ์ทหารในประเทศไทยก็ยังมีปัญหาต่อเนื่อง จนต้องมีการแก้ไขด้วยการตั้งหน่วยทหารรักษาดินแดนขึ้นมา เมื่อ พ.ศ.2491 เพื่อนำเอาเยาวชนนักเรียนนักศึกษามาฝึกทหารเสียก่อน เรียกว่า “เรียน ร.ด.” แล้วอนุญาตให้คนเหล่านี้เลี่ยงจากการถูกเกณฑ์ทหารได้ นอกจากนี้ รายงานข่าวเรื่องเกี่ยวกับทุจริตการเกณฑ์ทหารมีขึ้นตลอดมา เป็นที่ทราบกันว่า ลูกหลานคนมีเงินสามารถที่จะจ่ายเงินซื้อ”ใบดำ”ได้เสมอ ทำให้ไม่ต้องไปฝึกเป็นทหารประจำการ จนกระทั่งบางสมัย เช่น ยุคปฏิวัติของจอมพลถนอม กิตติขจร ใน พ.ศ.2515 ต้องตั้ง พ.อ.ณรงค์ กิตติขจร มาแก้ปัญหานี้ แต่ก็ไม่เคยประสบความสำเร็จ จึงเป็นที่ทราบกันดีว่า การเกณฑ์ทหารได้กลายเป็นช่องทางในการหารายได้ประจำปีของนายทหารที่เกี่ยวข้องเสมอมา กรณีการทุจริตเรื่องเอกสารของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จึงไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใด เมื่อเหตุการณ์กรณีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะเช่นนี้ ความจริงน่าจะถึงเวลาของสังคมไทย ที่จะใช้โอกาสทบทวนเรื่องการเกณฑ์ทหาร เป็นการน่าสนับสนุนอย่างยิ่ง ถ้าสังคมไทยจะเลิกการเกณฑ์ทหารเสียเลย แล้วหันมาใช้ระบบทหารอาสา หรือทหารอาชีพ แทน ซึ่งไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายใดแก่กองทัพเลย อาจจะเป็นการประหยัดงบประมาณมากกว่าเสียด้วยซ้ำ ดีกว่าการที่จะไปไล่เอาลูกชาวบ้านมาบังคับเป็นทหาร ที่นำเสนอมานี้ ไม่ใช่เพราะเห็นชอบด้วย หรือเห็นว่ากรณีหนีทหารของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะเป็นเรื่องที่ถูกต้อง แต่เห็นว่า ความชั่วร้ายของนายอภิสิทธิ์เป็นเรื่องอื่นที่ใหญ่กว่า ที่ให้อภัยกันไม่ได้คือเรื่องความรับผิดชอบในการเข่นฆ่าพี่น้องประชาชนคนเสื้อแดง 98 ศพ นอกจากนี้ คือเรื่องการโกหก ดีแต่พูดเอาตัวรอดเป็นรายวัน โดยไม่ต้องผูกมัดว่าตัวเองเคยพูดอะไรไว้ เรื่องการหนีทหารจึงเป็นเพียงเรื่องเล็ก ที่ไปยืนยันเรื่องใหญ่ คือ การโกหกและไม่รักษาคำพูด และการแสร้งแสดงตัวเป็นคนดี สร้างภาพหลอกประชาชน ดังนั้น การถูกเปิดโปงเรื่องหนีทหารจึงเป็นวิบากกรรมส่วนตัวของนายอภิสิทธิ์ที่ตามมาทัน ส่วนสังคมไทยน่าจะพิจารณาในประเด็นที่ใหญ่กว่า คือ เรื่องการเลิกเกณฑ์ทหาร ซึ่งจะเป็นการปลดเปลื้องความทุกข์ของประชาชนจำนวนมากด้วย
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
ผู้บริโภคจี้รัฐฯ ห้ามใช้สารอันตรายในผัก เผยผัก 3 ชนิดสารพิษตกค้างมากสุด Posted: 07 Aug 2012 06:03 AM PDT 7 สิงหาคม 2555 เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (Thai-PAN : Thailand Pesticide Alert Network) ร่วมกับนิตยสารฉลาดซื้อ ได้ดำเนินการสุ่มตรวจผัก 7 ชนิดซึ่งเป็นผักที่บริโภคกันทั่วไป โดยสุ่มเก็บจากผักที่ได้รับมาตรฐาน Q และผักตราห้าง (house brand)ที่ขายในห้างค้าปลีกขนาดใหญ่และซุปเปอร์มาร์เก็ตต่างๆในเขตกรุงเทพมหานคร และพบว่าพืชผักดังกล่าวมีสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างเกินค่ามาตรฐาน[1]ถึง 6 ตัวอย่างจากจำนวนที่สุ่มเก็บมา 14 ตัวอย่าง หรือคิดเป็น 43% ของตัวอย่างทั้งหมด ซึ่งได้แถลงไปเมื่อวันที่ 11 กรกฏาคม 2555 ที่ผ่านมานั้น นายพชร แกล้วกล้า โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งกลไกการคุ้มครองความปลอดภัยด้านอาหารโดยผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค แฉผลการทดสอบสารเคมีในผักโดยระบุว่า เครือข่ายไทยแพนและนิตยสารฉลาดซื้อยังได้สุ่มผักจำนวน 7 ชนิด ซึ่งประกอบไปด้วย กะหล่ำปลี คะน้า ถั่วฝักยาว ผักกาดขาว ผักบุ้งจีน ผักชี และพริกจินดา ที่ขายในตลาดสดทั่วไป 2 ตลาด ได้แก่ ตลาดห้วยขวาง และตลาดประชานิเวศน์ รวมถึงผักที่ขายในรถเร่ ไปวิเคราะห์หาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้าง 2 กลุ่ม คือ กลุ่มออร์แกโนฟอสเฟตและคาร์บาเมต ที่ห้องปฏิบัติการของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข จากจำนวนตัวอย่างผักที่สุ่มตรวจจากตลาดห้วยขวาง 7 ตัวอย่าง ตลาดประชานิเวศน์หนึ่ง 7 ตัวอย่าง และจากรถเร่ 7 ตัวอย่าง พบสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างเกินมาตรฐานทั้งหมด 8 ตัวอย่างจากทั้งหมด 21 ตัวอย่าง หรือคิดเป็น 38.1 % ซึ่งถือว่าใกล้เคียงกับผลการสุ่มตรวจผักที่มีตรามาตรฐาน Q ของกรมวิชาการเกษตรและผักที่ขายในห้างซึ่งพบว่ามีผักที่พบสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างเกินมาตรฐาน 43 % ทั้งๆที่ผักดังกล่าวมีราคาแพงมากกว่าผักที่ขายในตลาดสดตั้งแต่ 2-10 เท่า ชี้ “ผักชี ถั่วฝักยาว พริกจินดา คือผัก 3 ชนิดที่มีสารพิษตกค้างมากที่สุด 2) ผักชี พบสารตกค้างเกินมาตรฐาน 5 ชนิด ได้แก่ Carbofuran, Chlorpyrifos, EPN, Methidathion และ Methomy ที่น่าสนใจคือผักชีจากกูร์เมต์ มาร์เก็ต (สยามพารากอน) พบCarbofuran เกินค่ามาตรฐาน 37.5 เท่า ผักชีตลาดประชานิเวศน์ พบ Carbofuran เกิน 56.5 เท่า ในขณะที่ตลาดห้วยขวาง พบ EPN เกิน 102 เท่า 3) พริกจินดา พบสารตกค้างเกินมาตรฐาน 2 ชนิด ได้แก่ Methidathion และ Triazophos โดยพริกจินดาจากรถเร่มี Methidathion ตกค้างสูงกว่าค่ามาตรฐานถึง 121 เท่า ในขณะที่พบจากตลาดห้วยขวางและประชานิเวศน์ประมาณ 5 เท่า 1. กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะต้องดำเนินการควบคุมการส่งเสริมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของบริษัทสารเคมีและเกษตรกรให้เข้มงวดเท่าเทียมกับที่มีมาตรการที่ใช้กับผักส่งออก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลิตภัณฑ์ที่ติดตรา Q ซึ่งเป็นมาตรฐานที่กรมวิชาการเกษตรกำกับอยู่ ทั้งนี้รวมทั้งการยกเลิกการขึ้นทะเบียนและห้ามมิให้มีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่หลายประเทศห้ามใช้แล้วโดยทันที 2. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุขต้องมีมาตรการในการสุ่มตรวจดูความปลอดภัยของผักและผลไม้โดยอาจประสานความร่วมมือกับเครือข่ายภาคประชาสังคมและองค์กรผู้บริโภค ทั้งนี้โดยทำงานในเชิงรุกร่วมกับห้างขนาดใหญ่ และตลาดสดที่อยู่ภายใต้กำกับของกรุงเทพมหานคร องค์กรท้องถิ่น หรือภาคเอกชน เพื่อให้ผักและผลไม้ภายในประเทศปลอดภัยยิ่งกว่านี้ 3. ผู้บริโภคและประชาชนทั่วไปร่วมกันสนับสนุนและผลักดันเกษตรกรรมอินทรีย์ เกษตรกรรมยั่งยืนซึ่งปฏิเสธและหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชให้เป็นแนวทางหลักของระบบเกษตรและอาหารของประเทศ อีกทั้งร่วมอุดหนุนผักและผลไม้จากระบบการผลิตดังกล่าวให้มากยิ่งขึ้น 4. ในระยะเฉพาะหน้านี้ ผู้บริโภคอาจสามารถลดผลกระทบจากปัญหานี้ได้โดยการเลือกซื้อหรือบริโภคพืชผักที่มีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชน้อย ผักพื้นบ้าน ผักที่ได้รับมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ การลดสารเคมีตกค้างในผักโดยการล้างด้วยน้ำหลายๆครั้งหรือการใช้ด่างทับทิม (อาจไม่ได้ผลเสมอไปเพราะสารเคมีกำจัดศัตรูพืชหลายชนิดเป็นประเภทดูดซึม) ไปจนถึงการปลูกผักเพื่อบริโภคเอง โดยอาจหาข้อมูลเบื้องต้นที่เกี่ยวข้องได้จากเว็บไซท์ที่เกี่ยวข้อง เช่น www.consumerthai.org , www.thaipan.org และ www.ฉลาดซื้อ.com ส่วน นางสาวทัศนีย์ แน่นอุดร หัวหน้ากองบรรณาธิการนิตยสารฉลาดซื้อ แนะผู้บริโภค ควรบริโภคผัก ผลไม้ตามฤดูกาล หรือผักพื้นบ้าน เพราะปลอดภัยจากสารฆ่าแมลง นอกจากนี้ผู้บริโภคควรเป็นผู้กำหนดวิถีการกินได้ด้วยตนเอง โดยต้องเข้มแข็งในการเลือกอาหารที่ปลอดภัยและมีประโยชน์ ไม่ใช่ให้ผู้ประกอบการมีบทบาทกำหนดสินค้าในตลาดได้อีกต่อไป โดยนายวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ผอ.มูลนิธิชีววิถี ( BioThai) กล่าวเชิญชวนสำหรับผู้บริโภคที่ต้องการแสดงพลังในการฉลาดเลือกที่จะบริโภคอาหารที่ปลอดภัย และรักสุขภาพ ร่วมแสดงความคิดเห็นต่อเรื่องการแบนสารเคมีอันตรายทั้ง 4 ชนิดในเวทีสาธารณะที่กรมวิชาการเกษตร ในวันที่ 9 สิงหาคมนี้ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
จัดโต๊ะจีนระดมทุน สร้างหนัง 'นวมทอง' เปิดตัวนักแสดงนำครั้งแรก Posted: 07 Aug 2012 05:05 AM PDT
6 ส.ค.55 รายงานข่าวแจ้งว่า ตัวแทนคณะกรรมการบริหารและจัดการกองทุนสร้างภาพยนตร์ "นวมทอง" ร่วมกับแนวร่วมประชาธิปไตยกลุ่มต่างๆ ทั้งไทยและต่างประเทศ จัดเลี้ยงโต๊ะจีนเพื่อระดมทุนสร้าง "นวมทอง" ซึ่งมีสโลแกนว่า หนังประชาธิปไตยเรื่องแรกของคนเสื้อแดง โดยคนเสื้อแดง และเพื่อคนไทยทั้งประเทศ ในวันที่ 13 ส.ค. 55 เวลา 18.00 น. ชั้น 6 ห้างสรรพสินค้าอิมพีเรียล ลาดพร้าว สำหรับความคืบหน้าล่าสุดในการระดมทุน จากที่ตั้งงบประมาณในการสร้างไว้ที่ 3 ล้าน สามารถระดมทุนได้แล้วกว่า 2.2 ล้านบาทแล้ว จึงมีการจัดเลี้ยงโต๊ะจีนขึ้นเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้รักประชาธิปไตยได้มีส่วนร่วมในการระดมทุนและเป็นเจ้าของหนัง "นวมทอง" โดยจ่ายค่าบัตรเพียง 300 บาท/คน โดยภายในงานนอกจากการเสวนาเรื่องการเมืองแล้ว จะมีการพูดคุยกับวัฒน์ วรรลยางกูร เจ้าของบทประพันธ์ ผู้กำกับ และเปิดตัวนักแสดงนำเป็นครั้งแรก สามารถซื้อบัตรได้ที่หน้างาน หรือติดต่อ 0818106966 และสามารถสนับสนุนทุนสร้างหนัง "นวมทอง" โดยการโอนเงินเข้าบัญชีระดมทุนฯ ธนาคารกรุงไทย สาขาเซ็นทรัลเวิร์ล หมายเลขบัญชี 691 0100 549 ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
คำนิยมหนังสือ "แรงงานอุ้มชาติ" โดย "สมยศ พฤกษาเกษมสุข" Posted: 07 Aug 2012 03:27 AM PDT คำนิยมจากหนังสือ "แรงงานอุ้มชาติ" ของ "จรรยา ยิ้มประเสริฐ" โดย "สมยศ พฤกษาเกษมสุข" หวังให้ผู้อ่านได้ทั้งความรู้ ความจริง และความเพลิดเพลินจากหนังสือเล่มนี้ และที่สำคัญเป็นประกายไฟทางความคิด สติปัญญาของคนไทยที่มีต่อการเปลี่ยนผ่านสังคมในยุคสมัยปัจจุบัน จิตรา คชเดช กับหนังสือแรงงานอุ้มชาติ อ.สุดา รังกุพันธ์ กับหนังสือแรงงานอุ้มชาติ หาซื้อหนังสือ “แรงงานอุ้มชาติ” ตามแผงหนังสือได้แล้ววันนี้ลูกตาล, กลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย คำนิยมโดยสมยศ พฤกษาเกษมสุข ในระยะเวลากว่าครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา ประเทศไทยก้าวสู่การเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่อย่างรวดเร็ว จากการผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้า มาสู่การผลิตเพื่อการส่งออก ได้พลิกโฉมหน้าของประเทศไทยจากสังคมเกษตรกรรม เป็นอุตสาหกรรม และการปฏิวัติทางด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และการสื่อสารทันสมัยจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของทุนนิยมครอบโลก การเคลื่อนย้ายทุนและแรงงานเป็นไปอย่างกว้างขวางรวดเร็ว การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของผู้ใช้แรงงานจาก ชนบทสู่เมืองใหญ่ จากในประเทศไทยสู่ต่างประเทศ แม้ว่าประเทศไทยจะเจริญก้าวหน้าไปมากด้วยอัตราการส่งออกและการท่องเที่ยว ที่เพิ่มขึ้น นำรายได้เข้าประเทศมหาศาล แต่ทว่าชีวิตความเป็นอยู่ของผู้ใช้แรงงานกลับเลวร้ายมากยิ่งขึ้นจนตกอยู่ใน สภาพบ้านแตกสาแหรกขาด พลัดที่นาคาที่อยู่ ต้องทำงานในสภาพที่เลวร้าย แต่กลับได้รับค่าจ้างต่ำ ไม่พอเพียงต่อการดำรงชีวิตอย่างสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ทำงานยาวนานชั่วโมงจนร่างกายทรุดโทรม ครั้นเมื่อรวมตัวเป็นสหภาพแรงงานเพื่อปกป้องสิทธิผลประโยชน์อันพึงมีพึงได้ ก็ต้องเผชิญกับการถูกเลิกจ้าง ไล่ออก กลายเป็นคนว่างงานในที่สุด จรรยา ยิ้มประเสริฐ เป็นปัญญาชนของผู้ใช้แรงงาน ได้ใช้ความรู้ ความสามารถของเธอในการสนับสนุนการต่อสู้ของผู้ใช้แรงงานที่ถูกกดขี่ ขูดรีด ให้ได้รับความเป็นธรรม ปกป้องสิทธิเสรีภาพของผู้ใช้แรงงานด้วยการทำหน้าที่เชื่อมโยงข่าวสาร และการเคลื่อนไหวของผู้ใช้แรงงาน อันเป็นการเชื่อมโยงผู้ใช้แรงงานในฐานะเป็นผู้ผลิต กับประชาชนนานาชาติ โดยเฉพาะที่ยุโรป และอเมริกาในฐานผู้บริโภค เป็นการสร้างอำนาจการต่อรองของผู้ใช้แรงงานจนกลายเป็นข้อกำหนดมาตรฐานแรงงาน ระหว่างประเทศ ไม่ใช่แต่จุดยืนเคียงข้างชนชั้นล่างในระบบเศรษฐกิจ จรรยา ยิ้มประเสริฐ ยังมีจุดยืนทางการเมืองที่มุ่งหวังสิทธิเสรีภาพ และประชาธิปไตยอย่างแน่วแน่ ชัดเจน เมื่อมีการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 เธอออกมาต่อสู้คัดค้านการรัฐประหารอย่างเต็มที่ จนมองออกถึงโครงสร้างอำนาจทางการเมืองที่ล้าหลัง แต่กลับมีอำนาจนำทางสังคมเป็นพลังอนุรักษ์นิยมที่เหนี่ยวรั้งการเปลี่ยนแปลง สังคมไทยไปสู่ความทันสมัย ในขณะที่ปัญญาชนที่ทำงานด้านวิชาการ และองค์กรพัฒนาเอกชนยังคงหลับใหล และบอดใบ้ทางปัญญา ด้วยความหวาดกลัวและโง่เขลา หรือไม่ก็ยินดีไปกับตำแหน่งและเงินทองที่ได้รับ จึงพากันสยบยอมกับอำนาจการเมือง “จารีตนิยม” อย่างน่าขยะแขยง แต่สำหรับ จรรยา ยิ้มประเสริฐ ด้วยความกล้าหาญ และชัดเจนจากประสบการณ์การทำงานกับองค์กรพัฒนาเอกชนด้านแรงงานในประเทศไทย และการได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์จากมิตรสหายในต่างประเทศ เธอจึงผลิตงานอันเป็นความรู้จากประสบการณ์ทางตรงที่ได้สัมผัส และใช้ชีวิตร่วมกับผู้ใช้แรงงาน และจากการเข้าร่วมการต่อสู้กับอำนาจการเมืองจารีตนิยม โดยได้รวมบทความที่เขียนขึ้นในโอกาสต่าง ๆ กัน ไม่ใช่แค่เนื้อหาที่น่าสนใจเกี่ยวกับชะตากรรมของผู้ใช้แรงงานในยุคสมัยโลกา ภิวัตน์เท่านั้น แต่ด้วยถ้อยคำ และสำนวนภาษาไทยอันไพเราะและด้วยมุมมองที่มีต่อเศรษฐกิจ สังคม การเมือง อันแตกต่างไปจากปัญญาชนส่วนใหญ่ที่จมปลักอยู่กับความรู้ในโคลนตรมของจารีต นิยมเก่าแก่ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือ “แรงงานอุ้มชาติ” จะช่วยให้ผู้อ่านได้ทั้งความรู้ ความจริง และความเพลิดเพลินจากหนังสือเล่มนี้ และที่สำคัญเป็นประกายไฟทางความคิด สติปัญญาของคนไทยที่มีต่อการเปลี่ยนผ่านสังคมในยุคสมัยปัจจุบัน สมยศ พฤกษาเกษมสุข เรือนจำพิเศษกรุงเทพ แดน 1 . . .. . . . .. .สั่งซื้อประเทศไทยโครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย เบอร์โทร 02-933 9492 ต่างประเทศอเมริกา กลุ่มเรด ชิคาโก้ ที่เฟซบุ๊ค Aun Sabaidee พัชณีย์ คำหนัก, โครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย
อ่านเพิ่มเติมมีอะไร?ในหนังสือต้องซื้อ”แรงงานอุ้มชาติ”สัมภาษณ์นักเขียน’ต้องห้าม’เปิดตัวหนังสือ’ต้องอ่าน’ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
DSI เบิกความคดี 2 เยาวชนถูกกล่าวหาเผาห้างเซ็นทรัลเวิลด์ Posted: 07 Aug 2012 03:21 AM PDT ตำรวจระบุวันจับกุมแจ้งข้อหาปล้นทรัพย์ แต่ข้อหาวางเพลิงแจ้งภายหลังมีการร้องทุกข์กล่าวโทษ อ้างรปภ.ชี้รูปแล้ว แต่ไม่ได้ชี้ตัว ด้านรปภ.ห้างยันยิงหนังสติ๊กเข้ามาก่อนเพลิงไหม้ สืบพยานจำเลย 7-8 ส.ค. นี้
6 ส.ค.55 เวลาประมาณ 10.00 น. ห้องพิจารณาคดี 11 ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง มีการพิจารณาคดีอาญา คดีหมายเลขดำที่ 1682/2553 ระหว่างพนักงานอัยการ กับนายอัตพล (สงวนนามสกุล) จำเลยที่ 1 นายภาสกร (สงวนนามสกุล) จำเลยที่ 2 ทั้งสองมีอายุ 16 ปีในวันเกิดเหตุเย็นวันที่ 19 พ.ค.53 จำเลยทั้งสองถูกฟ้องในคดีฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินและร่วมกันว่างเพลิงเผาทรัพย์ผู้อื่นซึ่งเป็นโรงเรือนที่เก็บสินค้าจนเป็นเหตุให้นายกิติพงษ์ สมสุข ซึ่งอยู่ในอาคารเซ็นทรัลเวิลด์ถึงแก่ความตาย ร.ต.อ.ปิยะ รักสกุล เจ้าหน้าที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ผู้รับผิดชอบคดีดังกล่าว เป็นพยานเบิกความว่า จากการรวบรวมสำนวนการสอบสวนในคดีนี้พบว่ามีพยานซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ รปภ.ห้างเซ็นทรัลเวิลด์ (CTW) ได้ชี้รูปจำเลยว่าเป็นผู้ร่วมกระทำความผิด โดยมีการวิ่งและยิงหนังสติ๊กเข้ามาในห้าง CTW ก่อน หลังจากนั้นก็มีเหตุการณ์วางเพลิงเกิดขึ้น เมื่อมีพยานบุคคลชี้ยืนยันผู้กระทำความผิด ประกอบกับมีการวางเพลิงเผาห้าง ประกอบกับผู้ต้องหาให้การปฏิเสธแต่ไม่ได้อ้างพยานมาหักล้างจึงมีความเห็นสมควรส่งฟ้อง นายโชคชัย อ่างแก้ว ที่ปรึกษากฎหมายจำเลย ได้ถาม ร.ต.อ.ปิยะ ถึงมติของกรมสอบสวนคดีพิเศษที่ 3/2553 ที่กำหนดให้คดีเกี่ยวกับการชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.)เป็นคดีพิเศษ รวมทั้งคดีฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ด้วย ใช่หรือไม่ ร.ต.อ.ปิยะ ตอบว่าใช่ โดยคดีฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ถือว่าเป็นคดีที่ต่อเนื่องเกี่ยวพันกัน ประธานคณะกรรมการคดีพิเศษในขณะนั้นคือนายกรัฐมนตรีโดยตำแหน่ง และขณะนั้นนายกฯ ได้มอบหมายให้รองนายกฯ คือนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เป็นประธานคณะกรรมการคดีพิเศษ เจ้าหน้าที่จากดีเอสไอยังตอบทนายถามค้านด้วยว่า เหตุเพลิงไหม้เกิดขึ้นหลังจากที่มีการยุติการชุมนุมแล้ว และเด็ก 2 คนนี้ถูกจับในวันที่ 19 พ.ค.53 ในห้างเซ็นทรัลเวิลด์ ชั้น 4 โซน C เวลาประมาณ 17.00 น. โดยระหว่างจับกุมมีการต่อสู้กับเจ้าพนักงานจึงถูกตั้งข้อหาปล้นทรัพย์ โดยในวันนั้นไม่ได้มีการตั้งข้อกล่าวหาว่าร่วมกันวางเพลิงเผาทรัพย์ฯ แต่มีการตั้งข้อกล่าวหาในภายหลังเนื่องจากมีพยานชี้รูป แม้ไม่ได้ชี้ตัว สำหรับการเข้าไปตรวจในที่เกิดเหตุของกองพิสูจน์หลักฐานและสถาบันนิติวิทยาศาสตร์นั้น ร.ต.อ.ปิยะ เบิกความว่าเข้าไปตรวจในที่เกิดเหตุหลังจากเกิดเหตุการณ์และเป็นพื้นที่ในการควบคุมของทหารแล้ว และจากการตรวจสอบภาพ VCD ในวันเกิดเหตุไม่ปรากฏภาพจำเลยถือถังแก๊สหรือมีลักษณะไปวางเพลิง สำหรับการแยกแยะกลุ่มผู้ชุมนุมกับกลุ่มที่แฝงตัวเข้าไปเพื่อไปก่อเหตุในที่ชุมนุม เจ้าหน้าที่ดีเอสไอเบิกความว่าขณะนั้นไม่น่าจะแยกได้ เวลามีการชุมนุมครั้งใหญ่ๆ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มไหนสีไหนจะมีคนคอยตรวจกรองอยู่ในเวลาปกติ แต่ถ้าเป็นเหตุการณ์ที่ไม่สามารถกรองได้อย่างวันที่ 19 พ.ค.53 อันนี้จึงไม่แน่ใจว่าจะสามารถกรองได้หรือไม่ อัยการได้สอบถามต่อถึงเหตุที่ไม่ดำเนินคดีวางเพลิงตั้งแต่แรก ร.ต.อ.ปิยะ อธิบายว่า “กรณีดำเนินคดีฐานปล้นทรัพย์ก่อนนั้นเนื่องจากจับได้ในที่เกิดเหตุ พอจับก็ส่งดำเนินคดี ส่วนเรื่องของการวางเพลิงได้มีการร้องทุกข์และดำเนินคดีทีหลังก็เลยไม่ได้แจ้งข้อกล่าวหาในขณะนั้นจนกว่ามีพยานยืนยันว่าผู้ต้องหาได้มีส่วนร่วมกระทำความผิด” ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คดีนี้จะมีการสืบพยานฝ่ายจำเลยต่อในวันที่ 7 และ 8 ส.ค.นี้ ทั้งนี้ ในคดีวางเพลิง CTW นี้ยังมีผู้ต้องหาอีก 2 รายที่ถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำชั่วคราวหลักสี่คือ นายสายชล แพบัว อายุ 29 ปี ชาว จ.ชัยนาท และนายพินิจ จันทร์ณรงค์ อายุ 27 ปี ชาว จ.ชัยภูมิ ซึ่งคดีอยู่ระหว่างพิจารณาคดีเช่นกัน ตามคดีหมายเลขดำที่ อ.2478/2553 ที่พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีพิเศษ 4 เป็นโจทก์ฟ้อง ส่วนคดีร่วมกันปล้นทรัพย์ CTW ที่จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นเยาวชนถูกดำเนินคดีนั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างพิจารณาคดี ในขณะที่ผู้ต้องหาในคดีเดียวกันในส่วนที่เป็นผู้ใหญ่นั้น เมื่อวันที่ 1 ธ.ค.54 ศาลอาญากรุงเทพใต้อ่านคำพิพากษาหมายเลขดำที่ 2235/2553 ที่พนักงานอัยการฟ้องนายพินิจ จันทร์ณรงค์ กับพวกรวม 7 คนว่า ให้ยกฟ้องในความผิดเกี่ยวกับการปล้นทรัพย์ รวม 18 รายการ มูลค่า 95,430 บาท เนื่องจากยังไม่มีทรัพย์สินของกลางที่ยืนยันว่าจำเลยทั้งหมดเป็นผู้กระทำความผิด คงมีเพียงนายคมสันต์ สุดจันทร์ฮาม จำเลยที่ 3 ที่เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ( รปภ.) ประจำห้างสรรพสินค้า สามารถตรวจยึดโทรศัพท์มือถือ และ แบตเตอร์รี่ จากร้านขายโทรศัพท์มือถือได้ ให้ลงโทษ 3 ปี ส่วนความผิดฐานฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ให้จำคุกคนละ 1 ปี แต่จำเลยให้การรับสารภาพ มีเหตุบรรเทาโทษกึ่งหนึ่ง คงจำคุกไว้คนละ 6 เดือน ส่วนข้อหาใช้อาวุธปืนยิงต่อสู้ ขัดขวางเจ้าหน้าที่นั้น ศาลยกฟ้อง เนื่องจากแม้จะสามารถตรวจยึดกระสุนได้ภายในห้าง แต่ไม่พบอาวุธที่ตัวจำเลย และเจ้าพนักงานก็ไม่มีหลักฐานยืนยันว่าอาวุธดังกล่าวเป็นของจำเลย อีกทั้งไม่มีการนำสืบว่าจำเลยเป็นผู้ใช้อาวุธต่อสู้ขัดขวางการทำงานของเจ้าพนักงาน
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
เสื้อแดงล่าแสนชื่อ ดันรัฐให้สัตยาบันกรุงโรมว่าด้วย ICC ชี้ไม่ติดมาตรา 8 Posted: 07 Aug 2012 02:46 AM PDT สหภาพเพื่อประชาธิปไตยประชาชน ตั้งโต๊ะล่ารายชื่อแสนชื่อเพื่อยื่นต่อรัฐสภาให้สัตยาบันธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ ย้ำไม่ได้ทำเพื่อคนเสื้อแดงแต่ทำเพื่อทุกคน ป้องกันเหตุการณ์เข่นฆ่าประชาชนในอนาคต ชี้ไม่ขัดรธน.ม.8 โดย 9 ส.ค.นี้จะยื่นรายชื่อต่อสภาแม้ยังไม่ครบ ช่วงบ่ายถึงค่ำ วานนี้ (5 ส.ค.) สหภาพเพื่อประชาธิปไตยประชาชน(Union for People’s Democracy) ซึ่งเป็นกลุ่มที่รวมตัวกันของคนเสื้อแดงที่อาศัยอยู่ในประเทศในทวีปยุโรป ได้จัดกิจกรรมตั้งโต๊ะล่า 100,000 รายชื่อเพื่อให้ประเทศไทยลงนามให้สัตยาบันธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ(International Criminal Court หรือ ICC) ในงาน “5 สิงหาประชาชุมนุม” ซึ่งจัดโดยกลุ่มเสื้อแดง กทม. 50 เขต รวมกับวิทยุชุมชน 5 สถานี ที่ห้องคอนเวนชั่นฮอลล์ ชั้น 6 ห้างสรรพสินค้าอิมพีเรียล เวิลด์ ลาดพร้าว นางกรรณิการ์ นีลเซ่น ผู้แทนสหภาพเพื่อประชาธิปไตยประชาชน เปิดเผยว่าการล่ารายชื่อนี้เริ่มตั้งแต่วันที่ 22 ม.ค. ตอนนี้ได้รายชื่อเพียงสองพันกว่ารายชื่อ โดยตามรัฐธรรมนูญกำหนดกำหนดไว้หนึ่งหมื่นรายชื่อในการยื่นเสนอกฎหมายต่อสภา แต่ทางสหภาพฯได้กำหนดไว้ว่าจะยื่นต่อรองประธานรัฐสภาในวันที่ 9 สิงหาคม นี้ เวลาบ่ายโมง ได้เท่าไหร่จะยื่นเท่านั้นก่อน แม้รายชื่อจะยังไม่ครบตามเงื่อนไข และหลังจากยื่นรายชื่อแล้วจะมีการล่ารายชื่อต่อไปเรื่อยๆอีกด้วยเพื่อทำการจัดส่งภายหลัง โดยหวังว่าจะไม่มีเหตุการณ์ทหารออกมาเข่นฆ่าประชาชนเหมือนกับปี 52, 53 อีก “เป็นคนเสื้อแดงแต่พี่ทำเพื่อคนทุกคน ทุกสี ทุกชาติ ทุกศาสนา ถึงจะเป็นสีเหลืองสีแดงสีเขียว จะเป็นสลิ่มสิงคโปร์ลอดช่อง พี่ทำเพื่อทุกคน เพื่อป้องกันเหตุในอนาคต เพื่อลูกเพื่อหลานเราอันนี้มันสามารถอยู่ได้ถาวร” นางกรรณิการ์ กล่าว ผู้แทนสหภาพเพื่อประชาธิปไตยประชาชน ได้เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่าก่อนหน้านี้ทางกลุ่มได้มีการยืนหนังสือไปยังกระทรวงการต่างประเทศและทำเนียบรัฐบาลเพื่อเรียกร้องให้รัฐไทยให้สัตยาบันในประเด็นดังกล่าวแล้วตั้งแต่วันที่ 20 ธ.ค.54 โดยทางรัฐบาลได้ตอบกลับมาว่าติดกฎหมายภายในประเทศหลายมาตรา ซึ่งทางสหภาพฯ ได้มีการตอบโต้ไปแล้วว่าไม่จริง โดยนางกรรณิการ์ ได้นำจดหมายของทางสหภาพฯ ที่ส่งถึง ฯพณฯ นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร เพื่อให้รัฐบาลไทยดำเนินการต่อเนื่องในประเด็นดังกล่าวเมื่อวันที่ 24 เมษายน ที่ผ่านมา ซึ่งจดหมายดังกล่าวให้เหตุผลว่า เป็นข้ออ้างที่ปล่อยให้เวลาผ่านไปเรื่อยๆ โดยไม่มีการกำหนดการให้เกิดความคืบหน้าสู่การให้สัตยาบันฯ เพราะในประเทศที่มีระบอบการปกครองเช่นเดียวกับไทย เช่น อังกฤษ เบลเยียม แคนนาดา ญี่ปุ่น ลักซัมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ สเปนและสวีเดน ก็มีข้อบัญญัติในลักษณะคล้ายคลึงกับมาตรา 8 ของไทย แต่ก็ให้สัตยาบันฯ ไปแล้ว ข้อบัญญัติในรัฐธรรมนูญของบางประเทศเช่น เบลเยียม บัญญัติไว้ใน Article 91 ที่ว่าพระมหากษัตริย์จะถูกละเมิดมิได้และเหล่ารัฐมนตรีเป็นผู้รับสนองแทน หรือเดนมาร์กบัญญัติคล้ายกัน Section 13 ที่ว่าพระมหากษัตริย์เป็นที่เคารพสักการะ จะล่วงละเมิดมิได้ และรัฐมนตรีเป็นผู้รับสนองเช่นกัน ทั้งนี้เมื่อต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา คณะอนุกรรมาธิการพิจารณาเรื่องบทบาทและอำนาจหน้าที่ของศาลอาญาระหว่างประเทศ(ICC) ในคณะกรรมาธิการต่างประเทศ สภาผู้แทนราษฎร ได้จัดการสัมมนาทางวิชาการเรื่อง “ประเทศไทยกับกฎหมายอาญาระหว่างประเทศ” มีวิทยากรรวม 5 คน ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ คุณวารุณี ปั้นกระจ่าง ผู้อำนายการกองกฎหมายจากกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งได้ตอบคำถามถึงสาเหตุที่ประเทศไทยไม่เข้าเป็นภาคีของธรรมนูญกรุงโรมว่า “ประเด็นสำคัญที่สุดคือ ข้อ 27 ของธรรมนูญกรุงโรม กำหนดให้ประมุขของรัฐไม่ได้รับการยกเว้นจากความรับผิดทางอาญาตามธรรมนูญศาลนี้ ไม่ว่ากรณีใดและจะไม่เป็นมูลเหตุให้ลดหย่อนโทษ หมายความว่าถ้าไทยเข้าเป็นภาคีก็จะต้องปฏิบัติตามพันธกรณีข้อนี้ด้วย แต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 8 ระบุว่า องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใดๆ มิได้ นี่เป็นข้อติดขัดประการหนึ่ง ซึ่งหากไทยจะเข้าเป็นภาคี ก็จำเป็นจะต้องมีการดำเนินการเพื่อรองรับพันธกรณีตามข้อ 27 ซึ่งไทยจะต้องคำนึงถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ที่มีสถานะพิเศษในบริบททางสังคม การเมืองและกฎหมายของไทย จะต้องมีการศึกษาพิจารณาเรื่องนี้อย่างละเอียดรอบคอบ โดยคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา” ปชป. ยื่นจม. 2 ฉบับ ศาลอาญาระหว่างประเทศ ฟ้องเอาผิด “ทักษิณ” เบื้องหลังฆ่าตัดตอน ส.ส.เพื่อไทยทวีตโต้ ปชป. ทำไมเพิ่งสนใจ ICC ชี้ควรส่งนายอภิสิทธิ์ไปประเดิมสอบสวนคนแรก ประการแรก คนทั้งโลกจะตั้งคำถามว่าทำไมเพิ่งจะมาสนใจ ICC ความจริงใจต่อเรื่องฆ่าตัดตอนแทบจะไม่มี เป็นแค่เกมส์ตอบโต้ไปวันๆ ประการที่สอง ไม่พ้นข้อหาเด็กลอกการบ้านตามเคย ลอกหนทางของเสื้อแดงที่จะแสวงหาความเป็นธรรมสากลให้กับ ประเทศไทย โถ..พรรคนักกฎหมายขี้คุย ประการที่สาม การที่จะไปฟ้อง ICC บ้าง ก็เท่ากับยอมรับอำนาจศาลICCแล้ว ก็มีความยินดีที่จะส่งนายอภิสิทธิ์ไปประเดิมสอบสวนคนแรก ประการที่สี่ การส่งนายกษิต (ภิรมย์)ไป นับว่าปชป.เลือกได้ถูกคนแล้ว ดิฉันไม่กังวลอะไรเลย นอกจากจะทำให้ประเทศไทยขายหน้าอะไรอีก สุดท้าย ขอบอกว่า ช่วยดำเนินการให้ไว เพราะดิฉันอยากเห็นปรากฏการณ์เปรียบเทียบ 'ความเป็นธรรมไทย' กับ 'ความเป็นธรรมสากล' น.ส.จารุพรรณ ยังทวีตอีกว่า “เท่ากับไม่ต้องออกทุนการศึกษาให้ปชป.ในการเรียนระบบกฎหมายสากล จะได้เข้าใจว่าคนส่วนใหญ่เขาอดทนกับวิธีคิดเรื่องนิติรัฐแบบไดโนฯของคุณมาก แล้วนายกษิตไป ICC กลับมาถ่ายทอดให้ไว เพราะหากปชป.ได้สัมผัสความเป็นธรรมสากลแล้ว อาจจะเกิดสำนึกได้ว่าได้ก่อกรรมทำเข็ญกับปท.นี้ขนาดไหน ดิฉันตื่นเต้นอย่างยิ่ง เพราะรู้อยู่แก่ใจว่ายังไงปชป.ก็ต้องเดินมาตามเส้นทางนี้ ทางที่ไม่เหลือทางเลือกอื่น และในที่สุดเสื้อแดงก็ทำสำเร็จ ดิฉันอยากให้รางวัลโนเบลกับคนเสื้อแดงจริงๆ การปฏิรูปความเป็นธรรมของไทย accountability, no impunity เริ่มแล้วและจะเปลี่ยนแบบไม่มีวันหวนคืน ขอเพื่อนๆทุกคนช่วยกันให้ความรู้เรื่อง ICC ให้กระจ่างแจ้งไปทั้งหมดทุกสีเสื้อนะคะ โดยเฉพาะหลักปรัชญา กรุยทางกันต่อไปค่ะ ลุย” เรื่องที่เกี่ยวข้อง : ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
Posted: 07 Aug 2012 02:32 AM PDT เห็นจากโฆษณาการจัดงานวันแม่ทางสื่อต่างๆ ว่าใช้งบประมาณ 112 ล้านบาท (งบประมาณประจำปีของ ม.ราชภัฏหลายแห่งอยู่ที่ประมาณ 200 กว่าล้านบาท) ดูเหมือนจะเข้าสู่เทศกาลวันแม่มาเป็นเดือนๆ แล้ว แต่ผมเองรู้สึกเฉยๆ กับวันแม่ ไม่ใช่เพราะไม่รักแม่ ผมก็รักแม่เหมือนคนอื่นๆ แต่สำหรับผมหากจะมี “วันแม่” ของสังคมใดๆ บนโลกใบนี้ ควรเป็นวันที่ทำให้เราระลึกถึงแม่ของชนชั้นผู้ถูกกดขี่เอาเปรียบ และหากจะมีวีรกรรมของแม่ในโลกนี้ก็ควรเป็นวีรกรรมของแม่แห่งผองชนชั้นล่างที่สู้ชีวิตอย่างปากกัดตีนถีบเลี้ยงลูกให้เป็นคนรักความยุติธรรม ต่อสู้เพื่อเสรีภาพและความเสมอภาค และหากไม่เสแสร้งหรือดัดจริตเกินไป เราย่อมมองเห็นตามเป็นจริงว่า สังคมเรามี “แม่ผู้ควรแก่การสดุดี” ดังกล่าวข้างต้นนี้มากขึ้นๆ ข้อพิสูจน์ก็คือมีลูกๆ ที่ถูกฆ่าเพราะต่อสู้เพื่อความยุติธรรม เสรีภาพ และความเสมอภาคเพิ่มมากขึ้นๆ ในประวัติศาสตร์ความขัดแย้งซ้ำซากด้วย “ปัญหาเก่าแก่” ที่ยืดเยื้อมาร่วม 80 ปี เป็นความจริงว่า แม่ในทุกชนชั้นย่อมเป็นผู้มีพระคุณที่ลูกควรกตัญญู และผมก็คิดว่าความซาบซึ้งในพระคุณของแม่ของแต่ละคนในแต่ละชนชั้นย่อมแตกต่างกันไป ตามประสบการณ์หรือพื้นเพที่ต่างกัน ผมเองเป็นคนชนบทอีสาน แม่ในความทรงจำของผมคือแม่ที่สู้ชีวิต สู้กับความทุกข์ยากสารพัดเพื่อให้ลูกๆ ได้มีชีวิตรอดและเดินต่อไปตามโชคชะตาของตนเอง ผู้หญิงชาวอีสานรุ่นแม่ผมจะแต่งงานช่วงอายุราว 16-18 ปี จากนั้นก็จะมีชีวิตอยู่เพื่อลูกมาตลอด ไม่มีโอกาสใช้ชีวิตเพื่อหน้าตา ชื่อเสียง อำนาจทางสังคม ครอบครัวหนึ่งๆ จะมีลูกราวๆ 10 คน บวก-ลบเล็กน้อย ปัจจุบันผู้หญิงรุ่นแม่ของผมก็ยังมีชีวิตอยู่เพื่อหลานๆ อีกด้วย เนื่องจากลูกๆ ไปทำงานในเมือง หรือต่างประเทศ มีลูกแล้วก็ทิ้งให้ยายให้ย่าเลี้ยง บางคนมีปัญหาการหย่าร้างก็ทิ้งลูกให้ยายให้ย่าเลี้ยงอีกเช่นกัน
แม่ชาวชนบทอีสาน หากมองถึงการทำหน้าที่ของแม่ตามที่พระสอนว่า “ช่วยให้ลูกได้เรียนศิลปวิทยา” หรือพูดในภาษาปัจจุบันว่า “ส่งเสียให้ลูกมีการศึกษาเพื่ออนาคตที่ดี” แม่ผมก็ไม่มีปัญญาทำหน้าที่นี้เลย เพราะยากจนเกินไป ตอนที่ผมจบ ป.4 (ความจริงตอนนั้นมี ป.6 รุ่นแรกๆ แต่แม่ให้ผมออกจากโรงเรียนมาเลี้ยงควาย) ผมขอบวชเรียน แต่แม่บอกว่า “เรียนไปก็บ่ได้เป็นครูเป็นนายกับเขาดอก เฮาบ่มีเส้นมีสาย” จนผมอายุ 14 ปี บังเอิญมีปัญหาบางอย่างผมจึงหนีออกจากบ้านแม่ไปอยู่บ้านญาติ ตั้งใจว่าจะเดินทางต่อไปเสี่ยงดวงหางานทำที่กรุงเทพฯ เหมือนเด็กวัยรุ่นคนอื่นๆ ในเวลานั้น แต่ถูกยายจับบวชเณรเสียก่อน จึงได้เรียนหนังสือต่อมาจนจบปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยสงฆ์ (ผมจึงเป็นหนี้บุญคุณวัดวาศาสนาอยู่มาก ที่วิจารณ์ปัญหาต่างๆ ในแวดวงพุทธศาสนาอยู่ทุกวันนี้ก็เพื่อตอบแทนบุญคุณนั่นแล) อีกครั้งหนึ่ง เมื่อช่วงที่มีคนเสื้อแดงมาชุมนุมก่อนเกิดเหตุการณ์สงกรานต์เลือดปี 2552 ผมกลับไปเยี่ยมบ้าน เห็นแม่ตื่นแต่เช้าออกไปช่วยเพื่อนบ้านเรี่ยไรพลิกเขือเกลือปลาร้าไปสมทบช่วยคนในหมู่บ้านที่มาร่วมชุมนุมที่กรุงเทพฯ ผมเพิ่งเห็นแม่ทำแบบนี้ (มีส่วนร่วมในการต่อสู้ทางการเมือง) เป็นครั้งแรก ผมไม่แน่ใจว่าคนที่ไปชุมนุมได้เงินหรือเปล่า เป็นไปได้ว่าอาจมีทั้งคนที่ได้และไม่ได้ ที่ผมทราบแน่ๆ คือมีแม่และผู้หญิงในหมู่บ้านวัยเดียวกับแม่จำนวนหนึ่งที่ไม่ได้รับเงิน แต่เต็มใจบริจาคเงินของตนเองและเรี่ยไรสิ่งสิ่งของจำที่เป็นสนับสนุนเพื่อนบ้านที่มาชุมนุมทางการเมือง นี่คือสิ่งที่ผมภูมิใจว่าแม่ผมมีส่วนร่วมต่อสู้ทางการเมือง แม่ผมอาจอธิบายความหมายของประชาธิปไตยอย่างแตกฉานไม่ได้ขี้เล็บของอาจารย์มหาวิทยาลัย แต่แม่ทำอะไรบางอย่างด้วยสามัญสำนึกซื่อๆ ของตนเอง ผมเชื่อในสามัญสำนึกที่ซื่อตรงของแม่ และนี่จึงทำให้ผม “เกิดใหม่” อีกครั้ง ทำให้ผมเลิกใส่เสื้อเหลืองไปชุมนุมกับพันธมิตรอย่างถาวร เพราะแม่ทำให้ผมพบว่าคนเสื้อแดงไม่ใช่ “มนุษย์เครื่องมือ” ที่ถูกซื้อด้วยเงิน ไม่ใช่พวกกเฬวราก หรือควายแดงดังที่ถูกเหยียดหยามมาตลอด และจากนั้นผมจึงหันมาสนใจศึกษาคนเสื้อแดงอย่างจริงจังมากขึ้น สิ่งที่ผมรับไม่ได้คือมุมมองแบบสื่อตัวแทนชนชั้นกลางในเมือง กวีธรรม หรือนักวิชาการที่ดูถูกคนชนบท มองปรากฏการณ์ที่คนชนบทคนต่างจังหวัดจำนวนมากออกมาต่อสู้อย่างหยาบๆ ว่าเป็น “มนุษย์เครื่องมือ” ถูกจ้างมา หรือมาเพราะความยากจน ต้องการปลดหนี้ ถูกแกนนำปั่นหัว เล่นไปตามบทที่แกนนำบนเวทีกำหนดให้เล่น และสารพัด “คำพิพากษา” พอถึงตรงนี้นึกถึงคำถามใน “สารคดี 2475” ของ ThaiPBS ที่ว่า “ฤาประชาชนถูกใช้เป็นเครื่องมือ?” เพื่อตอกย้ำวาทกรรม “ชิงสุกก่อนห่าม” ของการปฏิวัติสยาม 2475 และบอกเป็นนัยว่า “นักการเมืองเลวๆ ใช้ประชาชนเป็นเครื่องมือสร้างความขัดแย้งหรือเปล่า” แต่ผมอยากถามว่าคนไทยเป็นเครื่องมือของนักการเมืองเลวๆ เท่านั้นหรือ ในประเทศนี้มีกฎหมายห้ามพูดความจริงด้านลบ หรือวิจารณ์ตรวจสอบนักการเมืองไหม หากใครไม่ชอบนักการเมืองที่ใช้ชาวบ้านเป็นเครื่องมือ ก็น่าอัศจรรย์ว่า “หุบปาก” อยู่ได้อย่างไรกับการมีกฎหมายอย่าง ม.112 เป็นต้น ที่น่าเศร้าคือคนที่แสดงทัศนะทำนองนี้คือพวกที่พยามแสดงออกว่า “เป็นกลาง” แต่คนพวกนี้หาได้ตระหนักไม่ว่าระบบที่บังคับให้ประชาชนไม่สามารถใช้เสรีภาพและเหตุผลวิจารณ์ตรวจสอบบุคคลสาธารณะบางกลุ่มได้ต่างหาก คือระบบที่ยิ่งกว่าใช้ประชาชนเป็นเครื่องมือ หรืออย่างพวกที่พยายามแสดงบท “เป็นกลาง” ซึ่งสมาทาน “ลัทธิประเวศ” ที่แสดงออกถึงความเป็นผู้เชี่ยวชาญ “ด้านใน” ของมนุษย์ อ้างธรรมะ อ้างพุทธศาสนา ศาสตร์บูรณาการ ปฏิวัติจิตสำนึกใหม่ สร้างจิตใหญ่ที่เข้าถึงความจริงทั้งหมด พูดซ้ำๆ เรื่องปัญหาความเหลื่อมล้ำ ความไม่เป็นธรรม ปัญหาคนเล็กคนน้อย ปฏิรูปโครงสร้าง ปฏิรูปประเทศ กระจายอำนาจ อ้างว่านักการเมืองใช้อำนาจมากเกิน แต่ผู้เป็นกลางเหล่านี้กลับ “ไร้ความกล้าหาญทางจริยธรรม” ที่จะแตะเรื่องปฏิรูปกองทัพ สถาบันกษัตริย์ แม้กระทั่งปัญหา ม.112 ที่ตัวกฎหมายเองนั้นละเมิดสิทธิมนุษยชนและหลักการพื้นฐานของประชาธิปไตยชัดเจน คนเหล่านี้ล้วนตัดสินว่าพวกเลือกข้างมีอคติ มีอวิชชาบังตา เอาพวกมากกว่าเอาหลักการ ไม่นึกถึงความสงบสุขของบ้านเมือง ล่าสุดเสนอผ่านบทความ “กลุ่มจิตวิวัฒน์” ในมติชนกระทั่งว่า ถ้าทุกฝ่ายมีจิตสำนึก “รู้รักสามัคคี” ความปรองดองที่แท้จริงกว่าปรองดองด้วยกฎหมายจึงอาจเป็นไปได้ แต่นักวิชาการชาวต่างชาติกลับมองอย่าง “มีกึ๋น” มากกว่า เช่น Duncan McCargo มองว่า คนเสื้อแดงคือ urbanized villagers หรือชาวบ้านที่กลายเป็นชาวเมืองที่มีคุณลักษณะเด่นๆ เช่น เลือกตั้งในต่างจังหวัด แต่ทำงานในกรุงเทพฯ และเมืองอื่นๆ ไม่ใช่ชาวนายากจนแต่เป็นชนชั้นกลางระดับล่าง (น้องสาวผมทำนาและเข้ามาทำงานรับจ้างในเมืองเป็นครั้งคราว แต่ส่งลูกเรียนจบมหาวิทยาลัยขอนแก่น 2 คนแล้ว) มองทักษิณในฐานะผู้ปกป้องผลประโยชน์ของพวกเขา มองว่าทักษิณและพรรคของเขาเป็นคนมีอำนาจจากกรุงเทพฯ กลุ่มแรกที่เข้าใจความต้องการของพวกเขา ต้องการนำทักษิณกลับมาโดยผ่านการเลือกตั้ง ต่อต้านรัฐประหารและระบอบอำมาตยาธิปไตย (bureaucratic rule) เป็นต้น (ฟ้าเดียวกัน,ม.ค.-มิ.ย.55 หน้า 28-29) มุมมองเช่นนี้ตรงกับข้อเท็จจริงหรือไม่ก็เป็นเรื่องที่ควรอภิปรายกัน ไม่ใช่เอาแต่ดูถูกชาวบ้านว่าถูกจูงจมูก หรือมีอคติมืดบอดด้วยอวิชชา และความจริงอีกอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดคือ คนที่ออกมาร่วมชุมนุมในมวลชนเสื้อแดงส่วนใหญ่คือ “เพศแม่” (ในมวลชนเสื้อเหลืองก็เช่นกัน) แม้ว่าบนเวทีผู้หญิงอาจไม่ได้มีบทบาทเป็น “ดาวเด่น” เท่าผู้ชาย แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าหากปราศจากมวลชนเพศแม่ที่มุ่งมั่นอดทน การต่อสู้ไม่มีทางเป็นไปได้ ยิ่งเมื่อพิจารณาในรายละเอียดเราจะพบว่าพลังแห่งมโนสำนึกของผู้หญิงนั้นยิ่งใหญ่มาก การชูป้าย “ดีแต่พูด” ของคุณจิตรา คชเดช ช่วยเปิดเปลือยให้เห็นธาตุแท้ของคนที่ดูดีมีหลักการอย่างล่อนจ้อนว่า คนเช่นนั้นไร้มโนธรรมสำนึกรับผิดชอบต่อ “ความตายของประชาชน” จากการใช้กำลังปกป้องอำนาจของตนเองและเหนือตนเองอย่างไร การเสียสละของ “น้องเกด” และการต่อสู้อย่างกัดไม่ปล่อยของ “แม่น้องเกด” นั้นสะท้อนให้เห็นพลังของเหตุผลและมโนสำนึกของผู้หญิงชาวบ้านธรรมดาๆ คนหนึ่งว่าเหนือว่านักวิชาการ อาจารย์มหาวิทยาลัย และสื่อมวลชนมากนัก ความเด็ดเดี่ยวของเพศแม่อย่างดา ตอร์ปิโด อย่างภรรยาอากง ภรรยาคุณสุรชัย ภรรยาคุณสมยศ ภรรยาและแม่ของนักโทษมโนธรรมสำนึกอีกจำนวนมาก รวมทั้งภรรยาและแม่ของผู้สละชีวิต 98 ศพ ล้วนแต่ควรแก่การสดุดีอย่างยิ่ง เพราะพวกเธอคือแม่ที่เป็นแรงบันดาลใจเสียสละต่อสู้เพื่อความเป็นธรรม เสรีภาพ และความเสมอภาค
นางพะเยา อัคฮาด มารดา "น้องเกด - กมนเกด อัคฮาด" ในยุคสมัยที่สังคมเราถูกบดบังด้วยมายาคติถูก-ผิด ดี-เลว อย่างสุดๆ ชนิดที่ว่าหากเป็นนักการเมืองหรือคนธรรมดาก็อ้างศีลธรรม อ้างกฎหมาย ใช้คำสาปแช่งประณามต่างๆ นานาเพื่อกดเหยียดให้ “เลวเกินจริง” ได้อย่างไร้ขอบเขต แต่หากเป็นฝ่ายอำมาตย์กลับไม่มีเสรีภาพที่จะวิจารณ์ตรวจสอบ พูดได้แต่ในทางสรรเสริญกันอย่างเดียว โจมทีทุนการเมืองก็โจมตีราวกับว่าทุนการเมืองเป็นเผด็จการทรราชที่มีกฎหมายห้ามวิจารณ์ตรวจสอบ และราวกับว่าอำมาตย์ปลอดจากทุนอย่างสิ้นเชิง นี่คือ “โมหาคติ” ที่ครอบงำบรรดาผู้คนที่รังเกียจเสื้อแดงและบรรดาพวกที่อ้างว่าตนเองเป็นกลาง แต่ในยามเช่นนี้กลับมีผู้หญิงตัวเล็กๆ จำนวนหนึ่งออกมาปฏิเสธการครอบงำนั้นอย่างตรงไปตรงมาและกล้ากระตุกแรงๆ ฉะนั้น หากเราไม่สดุดีเพศแม่ที่กล้าหาญชาญชัยเช่นนี้ จะสดุดีนักวิชาการเทวดาที่ไหนไม่ทราบ! พูดก็พูดเถอะ หากเราจะเรียกบุคคลอื่นที่นอกเหนือจากหญิงผู้ให้กำเนิดเราว่า “แม่” คนๆ นั้นควรเป็นสตรีที่อุทิศตนเพื่อเสรีภาพและความเสมอภาคเท่านั้น ผมเห็นแรงงานพม่าตะโกนเรียก อองซาน ซูจี ว่า “แม่ซูจีๆ” ทุกๆ ที่ที่ซูจีไปเยี่ยมแรงงานพม่าในไทย ผมรู้สึกว่าแรงงานพม่าตะโกนออกมาจากหัวใจของพวกเขา (ไม่ใช่เปล่งเสียงพูดแค่เพียงเป็นพิธีการ) เพราะการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยด้วยความยากลำบากอย่างยาวนานของซูจีสมควรที่เธอจะถูกชาวพม่าเรียกว่า “แม่” จากใจจริงของพวกเขา เช่นเดียวกันหญิงไทยที่เป็นแม่ผู้สร้างชาติ คือแม่ที่เป็นไพร่ แม่ที่ตรากตรำงานหนัก แม่ที่เป็นคนชั้นล่างของสังคม แม่ที่ต่อสู้เพื่อความยุติธรรมบนพื้นฐานของเสรีภาพและความเท่าเทียม อย่างยายไฮ ขันจันทา จินตนา แก้วขาว ผู้หญิงคนอื่นๆ ที่ต่อสู้ในกลุ่มสมัชชาคนจน ในภาคส่วนต่างๆ ของสังคม และพลังมวลชนเพศแม่ที่ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย การต่อสู้ของเพศแม่เหล่านี้ไม่ได้มีความหมายเพียงแค่ “ผู้เต้นตามเพลงที่แกนนำบนเวทีหรือนักการเมืองพรรคการเมืองกำหนด” เท่านั้นดอก พวกเธอเป็นมนุษย์ที่มีเหตุผล มีมโนสำนึกเป็นของตนเอง แม้ความเปลี่ยนแปลงสู่ความเป็นประชาธิปไตยจะเป็นไปอย่างล่าช้า แต่ก็ต้องเปลี่ยนไป และต่อความเปลี่ยนแปลงใดๆ ที่ก้าวหน้าขึ้นของประชาธิปไตยในอนาคต เราปฏิเสธไม่ได้ว่าเพศแม่เหล่านี้แหละคือพลังสำคัญในประวัติศาสตร์การเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าใครจะมองเห็น “ตัวตน” ของพวกเธอหรือไม่ก็ตาม นึกถึงคำพูดของอาจารย์อุกฤษฏ์ แพทย์น้อย (เสวนาที่เผยแพร่ในยูทูป) ที่ว่า “ช่วงปฏิวัติฝรั่งเศสก็ไม่ได้มีข้อมูลชี้ชัดว่าชาวฝรั่งเศสอ่านงานของรุสโซกันมากขนาดไหน งานของรุสโซน่าจะถูกยกย่องในภายหลังมากกว่า” อาจารย์ธเนศ วงศ์ยานนาวา สำทับอีกว่า “ผมไม่ได้ให้ความสำคัญกับ the great thinker มากกว่ากระจอก thinker นะ เพราะข้อเท็จจริงของการเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญๆ ในหลายประเทศ ไม่ได้เกิดจากนักคิดที่ยิ่งใหญ่ แต่เกิดจากคนธรรมดาที่ออกมาเคลื่อนไหวอย่างมีพลัง” แน่นอนว่า ในบ้านเราก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าคนระดับชาวบ้านธรรมดาๆ ออกมาเรียกร้องให้ยกเลิก ม.112 ก่อนนักวิชาการที่มีชื่อเสียง ซึ่งหมายความว่าชาวบ้านมองเห็น “ปัญหารากฐาน” ของความไม่เป็นประชาธิปไตยก่อนนักวิชาการหรือไม่ พวกเขารู้ว่าต่อสู้กับอะไร ต้องเสี่ยงมากขนาดไหน แต่ก็กล้าเสี่ยง ลองย้อนไปดูภาพหญิงสาวเสื้อแดงที่ถือป้ายข้างบนสิครับ เรายอมรับไหมว่าเธอกล้าทำในสิ่งที่เธอเชื่อว่าถูกต้อง เธอคิดอะไรอยู่ สื่อและนักวิชาการควรใส่ใจรับรู้ความคิดของเธอไหม หรือเอาแต่นั่งเทียนตัดสินจากอคติของตนเอง (แต่มักกล่าวหาว่าคนอื่นๆ ล้วนมีอคติ) พูดอย่างถึงที่สุดแล้ว แม่ที่เป็นชาวนา กรรมกร โสเภณี ก็คือแม่ที่มี “ความเป็นมนุษย์” ที่สังคมนี้พึงเคารพยกย่อง และให้ความช่วยเหลือเพศแม่เหล่านี้ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งโดยรากฐานที่สุดแล้วก็ต้องเริ่มด้วยการสร้างระบบสังคมประชาธิปไตยที่ใช้หลักการสากลและกติกาเดียวกันตรวจสอบทั้งอำนาจและทุนอำมาตย์ กับอำนาจและทุนธุรกิจการเมืองอ และบุคคลสาธารณะอื่นๆ อย่างเท่าเทียม การสร้างความเจริญด้านอื่นๆ ภายใต้หลักการตรวจสอบในมาตรฐานเดียวกันจึงอาจเป็นไปได้ ฉะนั้น เพศแม่ที่ตระหนักรู้ความจริงว่าสังคมไร้ความยุติธรรม ไม่เป็นประชาธิปไตย ประชาชนชั้นล่างถูกโกงอำนาจ แล้วลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อความยุติธรรม เสรีภาพ ความเสมอภาค และประชาธิปไตย คือ “แม่ของแผ่นดินประชาธิปไตย” ที่สังคมนี้ต้องมองเห็น “ตัวตน” ของพวกเธอ และพึงสดุดีด้วยมโนสำนึกในบุญคุณอันล้นเหลือ!
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
Posted: 07 Aug 2012 02:31 AM PDT นักปรัชญาชายขอบ เขียนถึงแม่ทุกผู้นาม แม้ผู้ต่อสู้เพื่อสิทธิเสรีภาพ เสมอภาค ประชาธิปไตย
เห็นจากโฆษณาการจัดงานวันแม่ทางสื่อต่างๆ ว่าใช้งบประมาณ 112 ล้านบาท (งบประมาณประจำปีของ ม.ราชภัฏหลายแห่งอยู่ที่ประมาณ 200 กว่าล้านบาท) ดูเหมือนจะเข้าสู่เทศกาลวันแม่มาเป็นเดือนๆ แล้ว แต่ผมเองรู้สึกเฉยๆ กับวันแม่ ไม่ใช่เพราะไม่รักแม่ ผมก็รักแม่เหมือนคนอื่นๆ แต่สำหรับผมหากจะมี “วันแม่” ของสังคมใดๆ บนโลกใบนี้ ควรเป็นวันที่ทำให้เราระลึกถึงแม่ของชนชั้นผู้ถูกกดขี่เอาเปรียบ และหากจะมีวีรกรรมของแม่ในโลกนี้ก็ควรเป็นวีรกรรมของแม่แห่งผองชนชั้นล่างที่สู้ชีวิตอย่างปากกัดตีนถีบเลี้ยงลูกให้เป็นคนรักความยุติธรรม ต่อสู้เพื่อเสรีภาพและความเสมอภาค และหากไม่เสแสร้งหรือดัดจริตเกินไป เราย่อมมองเห็นตามเป็นจริงว่า สังคมเรามี “แม่ผู้ควรแก่การสดุดี” ดังกล่าวข้างต้นนี้มากขึ้นๆ ข้อพิสูจน์ก็คือมีลูกๆ ที่ถูกฆ่าเพราะต่อสู้เพื่อความยุติธรรม เสรีภาพ และความเสมอภาคเพิ่มมากขึ้นๆ ในประวัติศาสตร์ความขัดแย้งซ้ำซากด้วย “ปัญหาเก่าแก่” ที่ยืดเยื้อมาร่วม 80 ปี เป็นความจริงว่า แม่ในทุกชนชั้นย่อมเป็นผู้มีพระคุณที่ลูกควรกตัญญู และผมก็คิดว่าความซาบซึ้งในพระคุณของแม่ของแต่ละคนในแต่ละชนชั้นย่อมแตกต่างกันไป ตามประสบการณ์หรือพื้นเพที่ต่างกัน ผมเองเป็นคนชนบทอีสาน แม่ในความทรงจำของผมคือแม่ที่สู้ชีวิต สู้กับความทุกข์ยากสารพัดเพื่อให้ลูกๆ ได้มีชีวิตรอดและเดินต่อไปตามโชคชะตาของตนเอง ผู้หญิงชาวอีสานรุ่นแม่ผมจะแต่งงานช่วงอายุราว 16-18 ปี จากนั้นก็จะมีชีวิตอยู่เพื่อลูกมาตลอด ไม่มีโอกาสใช้ชีวิตเพื่อหน้าตา ชื่อเสียง อำนาจทางสังคม ครอบครัวหนึ่งๆ จะมีลูกราวๆ 10 คน บวก-ลบเล็กน้อย ปัจจุบันผู้หญิงรุ่นแม่ของผมก็ยังมีชีวิตอยู่เพื่อหลานๆ อีกด้วย เนื่องจากลูกๆ ไปทำงานในเมือง หรือต่างประเทศ มีลูกแล้วก็ทิ้งให้ยายให้ย่าเลี้ยง บางคนมีปัญหาการหย่าร้างก็ทิ้งลูกให้ยายให้ย่าเลี้ยงอีกเช่นกัน
แม่ชาวชนบทอีสาน หากมองถึงการทำหน้าที่ของแม่ตามที่พระสอนว่า “ช่วยให้ลูกได้เรียนศิลปวิทยา” หรือพูดในภาษาปัจจุบันว่า “ส่งเสียให้ลูกมีการศึกษาเพื่ออนาคตที่ดี” แม่ผมก็ไม่มีปัญญาทำหน้าที่นี้เลย เพราะยากจนเกินไป ตอนที่ผมจบ ป.4 (ความจริงตอนนั้นมี ป.6 รุ่นแรกๆ แต่แม่ให้ผมออกจากโรงเรียนมาเลี้ยงควาย) ผมขอบวชเรียน แต่แม่บอกว่า “เรียนไปก็บ่ได้เป็นครูเป็นนายกับเขาดอก เฮาบ่มีเส้นมีสาย” จนผมอายุ 14 ปี บังเอิญมีปัญหาบางอย่างผมจึงหนีออกจากบ้านแม่ไปอยู่บ้านญาติ ตั้งใจว่าจะเดินทางต่อไปเสี่ยงดวงหางานทำที่กรุงเทพฯ เหมือนเด็กวัยรุ่นคนอื่นๆ ในเวลานั้น แต่ถูกยายจับบวชเณรเสียก่อน จึงได้เรียนหนังสือต่อมาจนจบปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยสงฆ์ (ผมจึงเป็นหนี้บุญคุณวัดวาศาสนาอยู่มาก ที่วิจารณ์ปัญหาต่างๆ ในแวดวงพุทธศาสนาอยู่ทุกวันนี้ก็เพื่อตอบแทนบุญคุณนั่นแล) อีกครั้งหนึ่ง เมื่อช่วงที่มีคนเสื้อแดงมาชุมนุมก่อนเกิดเหตุการณ์สงกรานต์เลือดปี 2552 ผมกลับไปเยี่ยมบ้าน เห็นแม่ตื่นแต่เช้าออกไปช่วยเพื่อนบ้านเรี่ยไรพลิกเขือเกลือปลาร้าไปสมทบช่วยคนในหมู่บ้านที่มาร่วมชุมนุมที่กรุงเทพฯ ผมเพิ่งเห็นแม่ทำแบบนี้ (มีส่วนร่วมในการต่อสู้ทางการเมือง) เป็นครั้งแรก ผมไม่แน่ใจว่าคนที่ไปชุมนุมได้เงินหรือเปล่า เป็นไปได้ว่าอาจมีทั้งคนที่ได้และไม่ได้ ที่ผมทราบแน่ๆ คือมีแม่และผู้หญิงในหมู่บ้านวัยเดียวกับแม่จำนวนหนึ่งที่ไม่ได้รับเงิน แต่เต็มใจบริจาคเงินของตนเองและเรี่ยไรสิ่งสิ่งของจำที่เป็นสนับสนุนเพื่อนบ้านที่มาชุมนุมทางการเมือง นี่คือสิ่งที่ผมภูมิใจว่าแม่ผมมีส่วนร่วมต่อสู้ทางการเมือง แม่ผมอาจอธิบายความหมายของประชาธิปไตยอย่างแตกฉานไม่ได้ขี้เล็บของอาจารย์มหาวิทยาลัย แต่แม่ทำอะไรบางอย่างด้วยสามัญสำนึกซื่อๆ ของตนเอง ผมเชื่อในสามัญสำนึกที่ซื่อตรงของแม่ และนี่จึงทำให้ผม “เกิดใหม่” อีกครั้ง ทำให้ผมเลิกใส่เสื้อเหลืองไปชุมนุมกับพันธมิตรอย่างถาวร เพราะแม่ทำให้ผมพบว่าคนเสื้อแดงไม่ใช่ “มนุษย์เครื่องมือ” ที่ถูกซื้อด้วยเงิน ไม่ใช่พวกกเฬวราก หรือควายแดงดังที่ถูกเหยียดหยามมาตลอด และจากนั้นผมจึงหันมาสนใจศึกษาคนเสื้อแดงอย่างจริงจังมากขึ้น สิ่งที่ผมรับไม่ได้คือมุมมองแบบสื่อตัวแทนชนชั้นกลางในเมือง กวีธรรม หรือนักวิชาการที่ดูถูกคนชนบท มองปรากฏการณ์ที่คนชนบทคนต่างจังหวัดจำนวนมากออกมาต่อสู้อย่างหยาบๆ ว่าเป็น “มนุษย์เครื่องมือ” ถูกจ้างมา หรือมาเพราะความยากจน ต้องการปลดหนี้ ถูกแกนนำปั่นหัว เล่นไปตามบทที่แกนนำบนเวทีกำหนดให้เล่น และสารพัด “คำพิพากษา” พอถึงตรงนี้นึกถึงคำถามใน “สารคดี 2475” ของ ThaiPBS ที่ว่า “ฤาประชาชนถูกใช้เป็นเครื่องมือ?” เพื่อตอกย้ำวาทกรรม “ชิงสุกก่อนห่าม” ของการปฏิวัติสยาม 2475 และบอกเป็นนัยว่า “นักการเมืองเลวๆ ใช้ประชาชนเป็นเครื่องมือสร้างความขัดแย้งหรือเปล่า” แต่ผมอยากถามว่าคนไทยเป็นเครื่องมือของนักการเมืองเลวๆ เท่านั้นหรือ ในประเทศนี้มีกฎหมายห้ามพูดความจริงด้านลบ หรือวิจารณ์ตรวจสอบนักการเมืองไหม หากใครไม่ชอบนักการเมืองที่ใช้ชาวบ้านเป็นเครื่องมือ ก็น่าอัศจรรย์ว่า “หุบปาก” อยู่ได้อย่างไรกับการมีกฎหมายอย่าง ม.112 เป็นต้น ที่น่าเศร้าคือคนที่แสดงทัศนะทำนองนี้คือพวกที่พยามแสดงออกว่า “เป็นกลาง” แต่คนพวกนี้หาได้ตระหนักไม่ว่าระบบที่บังคับให้ประชาชนไม่สามารถใช้เสรีภาพและเหตุผลวิจารณ์ตรวจสอบบุคคลสาธารณะบางกลุ่มได้ต่างหาก คือระบบที่ยิ่งกว่าใช้ประชาชนเป็นเครื่องมือ หรืออย่างพวกที่พยายามแสดงบท “เป็นกลาง” ซึ่งสมาทาน “ลัทธิประเวศ” ที่แสดงออกถึงความเป็นผู้เชี่ยวชาญ “ด้านใน” ของมนุษย์ อ้างธรรมะ อ้างพุทธศาสนา ศาสตร์บูรณาการ ปฏิวัติจิตสำนึกใหม่ สร้างจิตใหญ่ที่เข้าถึงความจริงทั้งหมด พูดซ้ำๆ เรื่องปัญหาความเหลื่อมล้ำ ความไม่เป็นธรรม ปัญหาคนเล็กคนน้อย ปฏิรูปโครงสร้าง ปฏิรูปประเทศ กระจายอำนาจ อ้างว่านักการเมืองใช้อำนาจมากเกิน แต่ผู้เป็นกลางเหล่านี้กลับ “ไร้ความกล้าหาญทางจริยธรรม” ที่จะแตะเรื่องปฏิรูปกองทัพ สถาบันกษัตริย์ แม้กระทั่งปัญหา ม.112 ที่ตัวกฎหมายเองนั้นละเมิดสิทธิมนุษยชนและหลักการพื้นฐานของประชาธิปไตยชัดเจน คนเหล่านี้ล้วนตัดสินว่าพวกเลือกข้างมีอคติ มีอวิชชาบังตา เอาพวกมากกว่าเอาหลักการ ไม่นึกถึงความสงบสุขของบ้านเมือง ล่าสุดเสนอผ่านบทความ “กลุ่มจิตวิวัฒน์” ในมติชนกระทั่งว่า ถ้าทุกฝ่ายมีจิตสำนึก “รู้รักสามัคคี” ความปรองดองที่แท้จริงกว่าปรองดองด้วยกฎหมายจึงอาจเป็นไปได้ แต่นักวิชาการชาวต่างชาติกลับมองอย่าง “มีกึ๋น” มากกว่า เช่น Duncan McCargo มองว่า คนเสื้อแดงคือ urbanized villagers หรือชาวบ้านที่กลายเป็นชาวเมืองที่มีคุณลักษณะเด่นๆ เช่น เลือกตั้งในต่างจังหวัด แต่ทำงานในกรุงเทพฯ และเมืองอื่นๆ ไม่ใช่ชาวนายากจนแต่เป็นชนชั้นกลางระดับล่าง (น้องสาวผมทำนาและเข้ามาทำงานรับจ้างในเมืองเป็นครั้งคราว แต่ส่งลูกเรียนจบมหาวิทยาลัยขอนแก่น 2 คนแล้ว) มองทักษิณในฐานะผู้ปกป้องผลประโยชน์ของพวกเขา มองว่าทักษิณและพรรคของเขาเป็นคนมีอำนาจจากกรุงเทพฯ กลุ่มแรกที่เข้าใจความต้องการของพวกเขา ต้องการนำทักษิณกลับมาโดยผ่านการเลือกตั้ง ต่อต้านรัฐประหารและระบอบอำมาตยาธิปไตย (bureaucratic rule) เป็นต้น (ฟ้าเดียวกัน,ม.ค.-มิ.ย.55 หน้า 28-29) มุมมองเช่นนี้ตรงกับข้อเท็จจริงหรือไม่ก็เป็นเรื่องที่ควรอภิปรายกัน ไม่ใช่เอาแต่ดูถูกชาวบ้านว่าถูกจูงจมูก หรือมีอคติมืดบอดด้วยอวิชชา และความจริงอีกอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดคือ คนที่ออกมาร่วมชุมนุมในมวลชนเสื้อแดงส่วนใหญ่คือ “เพศแม่” (ในมวลชนเสื้อเหลืองก็เช่นกัน) แม้ว่าบนเวทีผู้หญิงอาจไม่ได้มีบทบาทเป็น “ดาวเด่น” เท่าผู้ชาย แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าหากปราศจากมวลชนเพศแม่ที่มุ่งมั่นอดทน การต่อสู้ไม่มีทางเป็นไปได้ ยิ่งเมื่อพิจารณาในรายละเอียดเราจะพบว่าพลังแห่งมโนสำนึกของผู้หญิงนั้นยิ่งใหญ่มาก การชูป้าย “ดีแต่พูด” ของคุณจิตรา คชเดช ช่วยเปิดเปลือยให้เห็นธาตุแท้ของคนที่ดูดีมีหลักการอย่างล่อนจ้อนว่า คนเช่นนั้นไร้มโนธรรมสำนึกรับผิดชอบต่อ “ความตายของประชาชน” จากการใช้กำลังปกป้องอำนาจของตนเองและเหนือตนเองอย่างไร การเสียสละของ “น้องเกด” และการต่อสู้อย่างกัดไม่ปล่อยของ “แม่น้องเกด” นั้นสะท้อนให้เห็นพลังของเหตุผลและมโนสำนึกของผู้หญิงชาวบ้านธรรมดาๆ คนหนึ่งว่าเหนือว่านักวิชาการ อาจารย์มหาวิทยาลัย และสื่อมวลชนมากนัก ความเด็ดเดี่ยวของเพศแม่อย่างดา ตอร์ปิโด อย่างภรรยาอากง ภรรยาคุณสุรชัย ภรรยาคุณสมยศ ภรรยาและแม่ของนักโทษมโนธรรมสำนึกอีกจำนวนมาก รวมทั้งภรรยาและแม่ของผู้สละชีวิต 98 ศพ ล้วนแต่ควรแก่การสดุดีอย่างยิ่ง เพราะพวกเธอคือแม่ที่เป็นแรงบันดาลใจเสียสละต่อสู้เพื่อความเป็นธรรม เสรีภาพ และความเสมอภาค
นางพะเยา อัคฮาด มารดา "น้องเกด - กมนเกด อัคฮาด" ในยุคสมัยที่สังคมเราถูกบดบังด้วยมายาคติถูก-ผิด ดี-เลว อย่างสุดๆ ชนิดที่ว่าหากเป็นนักการเมืองหรือคนธรรมดาก็อ้างศีลธรรม อ้างกฎหมาย ใช้คำสาปแช่งประณามต่างๆ นานาเพื่อกดเหยียดให้ “เลวเกินจริง” ได้อย่างไร้ขอบเขต แต่หากเป็นฝ่ายอำมาตย์กลับไม่มีเสรีภาพที่จะวิจารณ์ตรวจสอบ พูดได้แต่ในทางสรรเสริญกันอย่างเดียว โจมทีทุนการเมืองก็โจมตีราวกับว่าทุนการเมืองเป็นเผด็จการทรราชที่มีกฎหมายห้ามวิจารณ์ตรวจสอบ และราวกับว่าอำมาตย์ปลอดจากทุนอย่างสิ้นเชิง นี่คือ “โมหาคติ” ที่ครอบงำบรรดาผู้คนที่รังเกียจเสื้อแดงและบรรดาพวกที่อ้างว่าตนเองเป็นกลาง แต่ในยามเช่นนี้กลับมีผู้หญิงตัวเล็กๆ จำนวนหนึ่งออกมาปฏิเสธการครอบงำนั้นอย่างตรงไปตรงมาและกล้ากระตุกแรงๆ ฉะนั้น หากเราไม่สดุดีเพศแม่ที่กล้าหาญชาญชัยเช่นนี้ จะสดุดีนักวิชาการเทวดาที่ไหนไม่ทราบ! พูดก็พูดเถอะ หากเราจะเรียกบุคคลอื่นที่นอกเหนือจากหญิงผู้ให้กำเนิดเราว่า “แม่” คนๆ นั้นควรเป็นสตรีที่อุทิศตนเพื่อเสรีภาพและความเสมอภาคเท่านั้น ผมเห็นแรงงานพม่าตะโกนเรียก อองซาน ซูจี ว่า “แม่ซูจีๆ” ทุกๆ ที่ที่ซูจีไปเยี่ยมแรงงานพม่าในไทย ผมรู้สึกว่าแรงงานพม่าตะโกนออกมาจากหัวใจของพวกเขา (ไม่ใช่เปล่งเสียงพูดแค่เพียงเป็นพิธีการ) เพราะการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยด้วยความยากลำบากอย่างยาวนานของซูจีสมควรที่เธอจะถูกชาวพม่าเรียกว่า “แม่” จากใจจริงของพวกเขา เช่นเดียวกันหญิงไทยที่เป็นแม่ผู้สร้างชาติ คือแม่ที่เป็นไพร่ แม่ที่ตรากตรำงานหนัก แม่ที่เป็นคนชั้นล่างของสังคม แม่ที่ต่อสู้เพื่อความยุติธรรมบนพื้นฐานของเสรีภาพและความเท่าเทียม อย่างยายไฮ ขันจันทา จินตนา แก้วขาว ผู้หญิงคนอื่นๆ ที่ต่อสู้ในกลุ่มสมัชชาคนจน ในภาคส่วนต่างๆ ของสังคม และพลังมวลชนเพศแม่ที่ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย การต่อสู้ของเพศแม่เหล่านี้ไม่ได้มีความหมายเพียงแค่ “ผู้เต้นตามเพลงที่แกนนำบนเวทีหรือนักการเมืองพรรคการเมืองกำหนด” เท่านั้นดอก พวกเธอเป็นมนุษย์ที่มีเหตุผล มีมโนสำนึกเป็นของตนเอง แม้ความเปลี่ยนแปลงสู่ความเป็นประชาธิปไตยจะเป็นไปอย่างล่าช้า แต่ก็ต้องเปลี่ยนไป และต่อความเปลี่ยนแปลงใดๆ ที่ก้าวหน้าขึ้นของประชาธิปไตยในอนาคต เราปฏิเสธไม่ได้ว่าเพศแม่เหล่านี้แหละคือพลังสำคัญในประวัติศาสตร์การเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าใครจะมองเห็น “ตัวตน” ของพวกเธอหรือไม่ก็ตาม นึกถึงคำพูดของอาจารย์อุกฤษฏ์ แพทย์น้อย (เสวนาที่เผยแพร่ในยูทูป) ที่ว่า “ช่วงปฏิวัติฝรั่งเศสก็ไม่ได้มีข้อมูลชี้ชัดว่าชาวฝรั่งเศสอ่านงานของรุสโซกันมากขนาดไหน งานของรุสโซน่าจะถูกยกย่องในภายหลังมากกว่า” อาจารย์ธเนศ วงศ์ยานนาวา สำทับอีกว่า “ผมไม่ได้ให้ความสำคัญกับ the great thinker มากกว่ากระจอก thinker นะ เพราะข้อเท็จจริงของการเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญๆ ในหลายประเทศ ไม่ได้เกิดจากนักคิดที่ยิ่งใหญ่ แต่เกิดจากคนธรรมดาที่ออกมาเคลื่อนไหวอย่างมีพลัง” แน่นอนว่า ในบ้านเราก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าคนระดับชาวบ้านธรรมดาๆ ออกมาเรียกร้องให้ยกเลิก ม.112 ก่อนนักวิชาการที่มีชื่อเสียง ซึ่งหมายความว่าชาวบ้านมองเห็น “ปัญหารากฐาน” ของความไม่เป็นประชาธิปไตยก่อนนักวิชาการหรือไม่ พวกเขารู้ว่าต่อสู้กับอะไร ต้องเสี่ยงมากขนาดไหน แต่ก็กล้าเสี่ยง ลองย้อนไปดูภาพหญิงสาวเสื้อแดงที่ถือป้ายข้างบนสิครับ เรายอมรับไหมว่าเธอกล้าทำในสิ่งที่เธอเชื่อว่าถูกต้อง เธอคิดอะไรอยู่ สื่อและนักวิชาการควรใส่ใจรับรู้ความคิดของเธอไหม หรือเอาแต่นั่งเทียนตัดสินจากอคติของตนเอง (แต่มักกล่าวหาว่าคนอื่นๆ ล้วนมีอคติ) พูดอย่างถึงที่สุดแล้ว แม่ที่เป็นชาวนา กรรมกร โสเภณี ก็คือแม่ที่มี “ความเป็นมนุษย์” ที่สังคมนี้พึงเคารพยกย่อง และให้ความช่วยเหลือเพศแม่เหล่านี้ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งโดยรากฐานที่สุดแล้วก็ต้องเริ่มด้วยการสร้างระบบสังคมประชาธิปไตยที่ใช้หลักการสากลและกติกาเดียวกันตรวจสอบทั้งอำนาจและทุนอำมาตย์ กับอำนาจและทุนธุรกิจการเมืองอ และบุคคลสาธารณะอื่นๆ อย่างเท่าเทียม การสร้างความเจริญด้านอื่นๆ ภายใต้หลักการตรวจสอบในมาตรฐานเดียวกันจึงอาจเป็นไปได้ ฉะนั้น เพศแม่ที่ตระหนักรู้ความจริงว่าสังคมไร้ความยุติธรรม ไม่เป็นประชาธิปไตย ประชาชนชั้นล่างถูกโกงอำนาจ แล้วลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อความยุติธรรม เสรีภาพ ความเสมอภาค และประชาธิปไตย คือ “แม่ของแผ่นดินประชาธิปไตย” ที่สังคมนี้ต้องมองเห็น “ตัวตน” ของพวกเธอ และพึงสดุดีด้วยมโนสำนึกในบุญคุณอันล้นเหลือ!
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
Posted: 07 Aug 2012 02:31 AM PDT นักปรัชญาชายขอบ เขียนถึงแม่ทุกผู้นาม แม้ผู้ต่อสู้เพื่อสิทธิเสรีภาพ เสมอภาค ประชาธิปไตย
เห็นจากโฆษณาการจัดงานวันแม่ทางสื่อต่างๆ ว่าใช้งบประมาณ 112 ล้านบาท (งบประมาณประจำปีของ ม.ราชภัฏหลายแห่งอยู่ที่ประมาณ 200 กว่าล้านบาท) ดูเหมือนจะเข้าสู่เทศกาลวันแม่มาเป็นเดือนๆ แล้ว แต่ผมเองรู้สึกเฉยๆ กับวันแม่ ไม่ใช่เพราะไม่รักแม่ ผมก็รักแม่เหมือนคนอื่นๆ แต่สำหรับผมหากจะมี “วันแม่” ของสังคมใดๆ บนโลกใบนี้ ควรเป็นวันที่ทำให้เราระลึกถึงแม่ของชนชั้นผู้ถูกกดขี่เอาเปรียบ และหากจะมีวีรกรรมของแม่ในโลกนี้ก็ควรเป็นวีรกรรมของแม่แห่งผองชนชั้นล่างที่สู้ชีวิตอย่างปากกัดตีนถีบเลี้ยงลูกให้เป็นคนรักความยุติธรรม ต่อสู้เพื่อเสรีภาพและความเสมอภาค และหากไม่เสแสร้งหรือดัดจริตเกินไป เราย่อมมองเห็นตามเป็นจริงว่า สังคมเรามี “แม่ผู้ควรแก่การสดุดี” ดังกล่าวข้างต้นนี้มากขึ้นๆ ข้อพิสูจน์ก็คือมีลูกๆ ที่ถูกฆ่าเพราะต่อสู้เพื่อความยุติธรรม เสรีภาพ และความเสมอภาคเพิ่มมากขึ้นๆ ในประวัติศาสตร์ความขัดแย้งซ้ำซากด้วย “ปัญหาเก่าแก่” ที่ยืดเยื้อมาร่วม 80 ปี เป็นความจริงว่า แม่ในทุกชนชั้นย่อมเป็นผู้มีพระคุณที่ลูกควรกตัญญู และผมก็คิดว่าความซาบซึ้งในพระคุณของแม่ของแต่ละคนในแต่ละชนชั้นย่อมแตกต่างกันไป ตามประสบการณ์หรือพื้นเพที่ต่างกัน ผมเองเป็นคนชนบทอีสาน แม่ในความทรงจำของผมคือแม่ที่สู้ชีวิต สู้กับความทุกข์ยากสารพัดเพื่อให้ลูกๆ ได้มีชีวิตรอดและเดินต่อไปตามโชคชะตาของตนเอง ผู้หญิงชาวอีสานรุ่นแม่ผมจะแต่งงานช่วงอายุราว 16-18 ปี จากนั้นก็จะมีชีวิตอยู่เพื่อลูกมาตลอด ไม่มีโอกาสใช้ชีวิตเพื่อหน้าตา ชื่อเสียง อำนาจทางสังคม ครอบครัวหนึ่งๆ จะมีลูกราวๆ 10 คน บวก-ลบเล็กน้อย ปัจจุบันผู้หญิงรุ่นแม่ของผมก็ยังมีชีวิตอยู่เพื่อหลานๆ อีกด้วย เนื่องจากลูกๆ ไปทำงานในเมือง หรือต่างประเทศ มีลูกแล้วก็ทิ้งให้ยายให้ย่าเลี้ยง บางคนมีปัญหาการหย่าร้างก็ทิ้งลูกให้ยายให้ย่าเลี้ยงอีกเช่นกัน
แม่ชาวชนบทอีสาน หากมองถึงการทำหน้าที่ของแม่ตามที่พระสอนว่า “ช่วยให้ลูกได้เรียนศิลปวิทยา” หรือพูดในภาษาปัจจุบันว่า “ส่งเสียให้ลูกมีการศึกษาเพื่ออนาคตที่ดี” แม่ผมก็ไม่มีปัญญาทำหน้าที่นี้เลย เพราะยากจนเกินไป ตอนที่ผมจบ ป.4 (ความจริงตอนนั้นมี ป.6 รุ่นแรกๆ แต่แม่ให้ผมออกจากโรงเรียนมาเลี้ยงควาย) ผมขอบวชเรียน แต่แม่บอกว่า “เรียนไปก็บ่ได้เป็นครูเป็นนายกับเขาดอก เฮาบ่มีเส้นมีสาย” จนผมอายุ 14 ปี บังเอิญมีปัญหาบางอย่างผมจึงหนีออกจากบ้านแม่ไปอยู่บ้านญาติ ตั้งใจว่าจะเดินทางต่อไปเสี่ยงดวงหางานทำที่กรุงเทพฯ เหมือนเด็กวัยรุ่นคนอื่นๆ ในเวลานั้น แต่ถูกยายจับบวชเณรเสียก่อน จึงได้เรียนหนังสือต่อมาจนจบปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยสงฆ์ (ผมจึงเป็นหนี้บุญคุณวัดวาศาสนาอยู่มาก ที่วิจารณ์ปัญหาต่างๆ ในแวดวงพุทธศาสนาอยู่ทุกวันนี้ก็เพื่อตอบแทนบุญคุณนั่นแล) อีกครั้งหนึ่ง เมื่อช่วงที่มีคนเสื้อแดงมาชุมนุมก่อนเกิดเหตุการณ์สงกรานต์เลือดปี 2552 ผมกลับไปเยี่ยมบ้าน เห็นแม่ตื่นแต่เช้าออกไปช่วยเพื่อนบ้านเรี่ยไรพลิกเขือเกลือปลาร้าไปสมทบช่วยคนในหมู่บ้านที่มาร่วมชุมนุมที่กรุงเทพฯ ผมเพิ่งเห็นแม่ทำแบบนี้ (มีส่วนร่วมในการต่อสู้ทางการเมือง) เป็นครั้งแรก ผมไม่แน่ใจว่าคนที่ไปชุมนุมได้เงินหรือเปล่า เป็นไปได้ว่าอาจมีทั้งคนที่ได้และไม่ได้ ที่ผมทราบแน่ๆ คือมีแม่และผู้หญิงในหมู่บ้านวัยเดียวกับแม่จำนวนหนึ่งที่ไม่ได้รับเงิน แต่เต็มใจบริจาคเงินของตนเองและเรี่ยไรสิ่งสิ่งของจำที่เป็นสนับสนุนเพื่อนบ้านที่มาชุมนุมทางการเมือง นี่คือสิ่งที่ผมภูมิใจว่าแม่ผมมีส่วนร่วมต่อสู้ทางการเมือง แม่ผมอาจอธิบายความหมายของประชาธิปไตยอย่างแตกฉานไม่ได้ขี้เล็บของอาจารย์มหาวิทยาลัย แต่แม่ทำอะไรบางอย่างด้วยสามัญสำนึกซื่อๆ ของตนเอง ผมเชื่อในสามัญสำนึกที่ซื่อตรงของแม่ และนี่จึงทำให้ผม “เกิดใหม่” อีกครั้ง ทำให้ผมเลิกใส่เสื้อเหลืองไปชุมนุมกับพันธมิตรอย่างถาวร เพราะแม่ทำให้ผมพบว่าคนเสื้อแดงไม่ใช่ “มนุษย์เครื่องมือ” ที่ถูกซื้อด้วยเงิน ไม่ใช่พวกกเฬวราก หรือควายแดงดังที่ถูกเหยียดหยามมาตลอด และจากนั้นผมจึงหันมาสนใจศึกษาคนเสื้อแดงอย่างจริงจังมากขึ้น สิ่งที่ผมรับไม่ได้คือมุมมองแบบสื่อตัวแทนชนชั้นกลางในเมือง กวีธรรม หรือนักวิชาการที่ดูถูกคนชนบท มองปรากฏการณ์ที่คนชนบทคนต่างจังหวัดจำนวนมากออกมาต่อสู้อย่างหยาบๆ ว่าเป็น “มนุษย์เครื่องมือ” ถูกจ้างมา หรือมาเพราะความยากจน ต้องการปลดหนี้ ถูกแกนนำปั่นหัว เล่นไปตามบทที่แกนนำบนเวทีกำหนดให้เล่น และสารพัด “คำพิพากษา” พอถึงตรงนี้นึกถึงคำถามใน “สารคดี 2475” ของ ThaiPBS ที่ว่า “ฤาประชาชนถูกใช้เป็นเครื่องมือ?” เพื่อตอกย้ำวาทกรรม “ชิงสุกก่อนห่าม” ของการปฏิวัติสยาม 2475 และบอกเป็นนัยว่า “นักการเมืองเลวๆ ใช้ประชาชนเป็นเครื่องมือสร้างความขัดแย้งหรือเปล่า” แต่ผมอยากถามว่าคนไทยเป็นเครื่องมือของนักการเมืองเลวๆ เท่านั้นหรือ ในประเทศนี้มีกฎหมายห้ามพูดความจริงด้านลบ หรือวิจารณ์ตรวจสอบนักการเมืองไหม หากใครไม่ชอบนักการเมืองที่ใช้ชาวบ้านเป็นเครื่องมือ ก็น่าอัศจรรย์ว่า “หุบปาก” อยู่ได้อย่างไรกับการมีกฎหมายอย่าง ม.112 เป็นต้น ที่น่าเศร้าคือคนที่แสดงทัศนะทำนองนี้คือพวกที่พยามแสดงออกว่า “เป็นกลาง” แต่คนพวกนี้หาได้ตระหนักไม่ว่าระบบที่บังคับให้ประชาชนไม่สามารถใช้เสรีภาพและเหตุผลวิจารณ์ตรวจสอบบุคคลสาธารณะบางกลุ่มได้ต่างหาก คือระบบที่ยิ่งกว่าใช้ประชาชนเป็นเครื่องมือ หรืออย่างพวกที่พยายามแสดงบท “เป็นกลาง” ซึ่งสมาทาน “ลัทธิประเวศ” ที่แสดงออกถึงความเป็นผู้เชี่ยวชาญ “ด้านใน” ของมนุษย์ อ้างธรรมะ อ้างพุทธศาสนา ศาสตร์บูรณาการ ปฏิวัติจิตสำนึกใหม่ สร้างจิตใหญ่ที่เข้าถึงความจริงทั้งหมด พูดซ้ำๆ เรื่องปัญหาความเหลื่อมล้ำ ความไม่เป็นธรรม ปัญหาคนเล็กคนน้อย ปฏิรูปโครงสร้าง ปฏิรูปประเทศ กระจายอำนาจ อ้างว่านักการเมืองใช้อำนาจมากเกิน แต่ผู้เป็นกลางเหล่านี้กลับ “ไร้ความกล้าหาญทางจริยธรรม” ที่จะแตะเรื่องปฏิรูปกองทัพ สถาบันกษัตริย์ แม้กระทั่งปัญหา ม.112 ที่ตัวกฎหมายเองนั้นละเมิดสิทธิมนุษยชนและหลักการพื้นฐานของประชาธิปไตยชัดเจน คนเหล่านี้ล้วนตัดสินว่าพวกเลือกข้างมีอคติ มีอวิชชาบังตา เอาพวกมากกว่าเอาหลักการ ไม่นึกถึงความสงบสุขของบ้านเมือง ล่าสุดเสนอผ่านบทความ “กลุ่มจิตวิวัฒน์” ในมติชนกระทั่งว่า ถ้าทุกฝ่ายมีจิตสำนึก “รู้รักสามัคคี” ความปรองดองที่แท้จริงกว่าปรองดองด้วยกฎหมายจึงอาจเป็นไปได้ แต่นักวิชาการชาวต่างชาติกลับมองอย่าง “มีกึ๋น” มากกว่า เช่น Duncan McCargo มองว่า คนเสื้อแดงคือ urbanized villagers หรือชาวบ้านที่กลายเป็นชาวเมืองที่มีคุณลักษณะเด่นๆ เช่น เลือกตั้งในต่างจังหวัด แต่ทำงานในกรุงเทพฯ และเมืองอื่นๆ ไม่ใช่ชาวนายากจนแต่เป็นชนชั้นกลางระดับล่าง (น้องสาวผมทำนาและเข้ามาทำงานรับจ้างในเมืองเป็นครั้งคราว แต่ส่งลูกเรียนจบมหาวิทยาลัยขอนแก่น 2 คนแล้ว) มองทักษิณในฐานะผู้ปกป้องผลประโยชน์ของพวกเขา มองว่าทักษิณและพรรคของเขาเป็นคนมีอำนาจจากกรุงเทพฯ กลุ่มแรกที่เข้าใจความต้องการของพวกเขา ต้องการนำทักษิณกลับมาโดยผ่านการเลือกตั้ง ต่อต้านรัฐประหารและระบอบอำมาตยาธิปไตย (bureaucratic rule) เป็นต้น (ฟ้าเดียวกัน,ม.ค.-มิ.ย.55 หน้า 28-29) มุมมองเช่นนี้ตรงกับข้อเท็จจริงหรือไม่ก็เป็นเรื่องที่ควรอภิปรายกัน ไม่ใช่เอาแต่ดูถูกชาวบ้านว่าถูกจูงจมูก หรือมีอคติมืดบอดด้วยอวิชชา และความจริงอีกอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดคือ คนที่ออกมาร่วมชุมนุมในมวลชนเสื้อแดงส่วนใหญ่คือ “เพศแม่” (ในมวลชนเสื้อเหลืองก็เช่นกัน) แม้ว่าบนเวทีผู้หญิงอาจไม่ได้มีบทบาทเป็น “ดาวเด่น” เท่าผู้ชาย แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าหากปราศจากมวลชนเพศแม่ที่มุ่งมั่นอดทน การต่อสู้ไม่มีทางเป็นไปได้ ยิ่งเมื่อพิจารณาในรายละเอียดเราจะพบว่าพลังแห่งมโนสำนึกของผู้หญิงนั้นยิ่งใหญ่มาก การชูป้าย “ดีแต่พูด” ของคุณจิตรา คชเดช ช่วยเปิดเปลือยให้เห็นธาตุแท้ของคนที่ดูดีมีหลักการอย่างล่อนจ้อนว่า คนเช่นนั้นไร้มโนธรรมสำนึกรับผิดชอบต่อ “ความตายของประชาชน” จากการใช้กำลังปกป้องอำนาจของตนเองและเหนือตนเองอย่างไร การเสียสละของ “น้องเกด” และการต่อสู้อย่างกัดไม่ปล่อยของ “แม่น้องเกด” นั้นสะท้อนให้เห็นพลังของเหตุผลและมโนสำนึกของผู้หญิงชาวบ้านธรรมดาๆ คนหนึ่งว่าเหนือว่านักวิชาการ อาจารย์มหาวิทยาลัย และสื่อมวลชนมากนัก ความเด็ดเดี่ยวของเพศแม่อย่างดา ตอร์ปิโด อย่างภรรยาอากง ภรรยาคุณสุรชัย ภรรยาคุณสมยศ ภรรยาและแม่ของนักโทษมโนธรรมสำนึกอีกจำนวนมาก รวมทั้งภรรยาและแม่ของผู้สละชีวิต 98 ศพ ล้วนแต่ควรแก่การสดุดีอย่างยิ่ง เพราะพวกเธอคือแม่ที่เป็นแรงบันดาลใจเสียสละต่อสู้เพื่อความเป็นธรรม เสรีภาพ และความเสมอภาค
นางพะเยา อัคฮาด มารดา "น้องเกด - กมนเกด อัคฮาด" ในยุคสมัยที่สังคมเราถูกบดบังด้วยมายาคติถูก-ผิด ดี-เลว อย่างสุดๆ ชนิดที่ว่าหากเป็นนักการเมืองหรือคนธรรมดาก็อ้างศีลธรรม อ้างกฎหมาย ใช้คำสาปแช่งประณามต่างๆ นานาเพื่อกดเหยียดให้ “เลวเกินจริง” ได้อย่างไร้ขอบเขต แต่หากเป็นฝ่ายอำมาตย์กลับไม่มีเสรีภาพที่จะวิจารณ์ตรวจสอบ พูดได้แต่ในทางสรรเสริญกันอย่างเดียว โจมทีทุนการเมืองก็โจมตีราวกับว่าทุนการเมืองเป็นเผด็จการทรราชที่มีกฎหมายห้ามวิจารณ์ตรวจสอบ และราวกับว่าอำมาตย์ปลอดจากทุนอย่างสิ้นเชิง นี่คือ “โมหาคติ” ที่ครอบงำบรรดาผู้คนที่รังเกียจเสื้อแดงและบรรดาพวกที่อ้างว่าตนเองเป็นกลาง แต่ในยามเช่นนี้กลับมีผู้หญิงตัวเล็กๆ จำนวนหนึ่งออกมาปฏิเสธการครอบงำนั้นอย่างตรงไปตรงมาและกล้ากระตุกแรงๆ ฉะนั้น หากเราไม่สดุดีเพศแม่ที่กล้าหาญชาญชัยเช่นนี้ จะสดุดีนักวิชาการเทวดาที่ไหนไม่ทราบ! พูดก็พูดเถอะ หากเราจะเรียกบุคคลอื่นที่นอกเหนือจากหญิงผู้ให้กำเนิดเราว่า “แม่” คนๆ นั้นควรเป็นสตรีที่อุทิศตนเพื่อเสรีภาพและความเสมอภาคเท่านั้น ผมเห็นแรงงานพม่าตะโกนเรียก อองซาน ซูจี ว่า “แม่ซูจีๆ” ทุกๆ ที่ที่ซูจีไปเยี่ยมแรงงานพม่าในไทย ผมรู้สึกว่าแรงงานพม่าตะโกนออกมาจากหัวใจของพวกเขา (ไม่ใช่เปล่งเสียงพูดแค่เพียงเป็นพิธีการ) เพราะการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยด้วยความยากลำบากอย่างยาวนานของซูจีสมควรที่เธอจะถูกชาวพม่าเรียกว่า “แม่” จากใจจริงของพวกเขา เช่นเดียวกันหญิงไทยที่เป็นแม่ผู้สร้างชาติ คือแม่ที่เป็นไพร่ แม่ที่ตรากตรำงานหนัก แม่ที่เป็นคนชั้นล่างของสังคม แม่ที่ต่อสู้เพื่อความยุติธรรมบนพื้นฐานของเสรีภาพและความเท่าเทียม อย่างยายไฮ ขันจันทา จินตนา แก้วขาว ผู้หญิงคนอื่นๆ ที่ต่อสู้ในกลุ่มสมัชชาคนจน ในภาคส่วนต่างๆ ของสังคม และพลังมวลชนเพศแม่ที่ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย การต่อสู้ของเพศแม่เหล่านี้ไม่ได้มีความหมายเพียงแค่ “ผู้เต้นตามเพลงที่แกนนำบนเวทีหรือนักการเมืองพรรคการเมืองกำหนด” เท่านั้นดอก พวกเธอเป็นมนุษย์ที่มีเหตุผล มีมโนสำนึกเป็นของตนเอง แม้ความเปลี่ยนแปลงสู่ความเป็นประชาธิปไตยจะเป็นไปอย่างล่าช้า แต่ก็ต้องเปลี่ยนไป และต่อความเปลี่ยนแปลงใดๆ ที่ก้าวหน้าขึ้นของประชาธิปไตยในอนาคต เราปฏิเสธไม่ได้ว่าเพศแม่เหล่านี้แหละคือพลังสำคัญในประวัติศาสตร์การเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าใครจะมองเห็น “ตัวตน” ของพวกเธอหรือไม่ก็ตาม นึกถึงคำพูดของอาจารย์อุกฤษฏ์ แพทย์น้อย (เสวนาที่เผยแพร่ในยูทูป) ที่ว่า “ช่วงปฏิวัติฝรั่งเศสก็ไม่ได้มีข้อมูลชี้ชัดว่าชาวฝรั่งเศสอ่านงานของรุสโซกันมากขนาดไหน งานของรุสโซน่าจะถูกยกย่องในภายหลังมากกว่า” อาจารย์ธเนศ วงศ์ยานนาวา สำทับอีกว่า “ผมไม่ได้ให้ความสำคัญกับ the great thinker มากกว่ากระจอก thinker นะ เพราะข้อเท็จจริงของการเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญๆ ในหลายประเทศ ไม่ได้เกิดจากนักคิดที่ยิ่งใหญ่ แต่เกิดจากคนธรรมดาที่ออกมาเคลื่อนไหวอย่างมีพลัง” แน่นอนว่า ในบ้านเราก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าคนระดับชาวบ้านธรรมดาๆ ออกมาเรียกร้องให้ยกเลิก ม.112 ก่อนนักวิชาการที่มีชื่อเสียง ซึ่งหมายความว่าชาวบ้านมองเห็น “ปัญหารากฐาน” ของความไม่เป็นประชาธิปไตยก่อนนักวิชาการหรือไม่ พวกเขารู้ว่าต่อสู้กับอะไร ต้องเสี่ยงมากขนาดไหน แต่ก็กล้าเสี่ยง ลองย้อนไปดูภาพหญิงสาวเสื้อแดงที่ถือป้ายข้างบนสิครับ เรายอมรับไหมว่าเธอกล้าทำในสิ่งที่เธอเชื่อว่าถูกต้อง เธอคิดอะไรอยู่ สื่อและนักวิชาการควรใส่ใจรับรู้ความคิดของเธอไหม หรือเอาแต่นั่งเทียนตัดสินจากอคติของตนเอง (แต่มักกล่าวหาว่าคนอื่นๆ ล้วนมีอคติ) พูดอย่างถึงที่สุดแล้ว แม่ที่เป็นชาวนา กรรมกร โสเภณี ก็คือแม่ที่มี “ความเป็นมนุษย์” ที่สังคมนี้พึงเคารพยกย่อง และให้ความช่วยเหลือเพศแม่เหล่านี้ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งโดยรากฐานที่สุดแล้วก็ต้องเริ่มด้วยการสร้างระบบสังคมประชาธิปไตยที่ใช้หลักการสากลและกติกาเดียวกันตรวจสอบทั้งอำนาจและทุนอำมาตย์ กับอำนาจและทุนธุรกิจการเมืองอ และบุคคลสาธารณะอื่นๆ อย่างเท่าเทียม การสร้างความเจริญด้านอื่นๆ ภายใต้หลักการตรวจสอบในมาตรฐานเดียวกันจึงอาจเป็นไปได้ ฉะนั้น เพศแม่ที่ตระหนักรู้ความจริงว่าสังคมไร้ความยุติธรรม ไม่เป็นประชาธิปไตย ประชาชนชั้นล่างถูกโกงอำนาจ แล้วลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อความยุติธรรม เสรีภาพ ความเสมอภาค และประชาธิปไตย คือ “แม่ของแผ่นดินประชาธิปไตย” ที่สังคมนี้ต้องมองเห็น “ตัวตน” ของพวกเธอ และพึงสดุดีด้วยมโนสำนึกในบุญคุณอันล้นเหลือ!
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น