ประชาไท | Prachatai3.info |
- ศาลยกฟ้อง! ‘วัลลภ’ ผู้ต้องหายิง M79 เชียงใหม่ปี 53
- ย้อนรอยโศกนาฏกรรมอำพราง "โบสถ์คริสตจักรเวียงเชียงราย" รื้อทำไม ใครสูญเสีย
- ‘กบอ.’ เตรียมปล่อยน้ำเข้ากรุงเทพฯ 5 และ 7 ก.ย.นี้ ทดสอบระบบป้องกัน
- ดีเอสไอสอบ 2 พลแม่นปืน คดี 91 ศพ เผยรับยิงจริงแต่เป็นกระสุนยาง
- ความคิดเสรีนิยมกับเสรีภาพในการปฏิบัติตามหลักการทางศาสนา
- เสนอ ครม.ผลศึกษา “การจัดการน้ำลุ่มน้ำยม” คน 9 จว.เลือกสร้าง “เขื่อนแก่งเสือเต้น”
- นัดพิพากษา คดีสนธิ ลิ้มทองกุล หมิ่นเบื้องสูง 26 ก.ย.นี้
- ชี้ พ.ร.บ.ควบคุมยาสูบกระทบอาชีพ ชาวไร่เรียกร้องขอเพิ่มโควต้ายาสูบ
- สมาชิกสภายุโรปเยือนไทย ภาคประชาชนยื่นจดหมายต้านเอฟทีเอ
- ชาวบ้านเขาบรรทัดขู่ยกพลยึดจุดสำคัญภาคใต้ หากป่าไม้ไม่เลิกรุกโค่นยาง
- พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต
ศาลยกฟ้อง! ‘วัลลภ’ ผู้ต้องหายิง M79 เชียงใหม่ปี 53 Posted: 29 Aug 2012 12:06 PM PDT
29 ส.ค.55 รายงานข่าวจากศาลจังหวัดเชียงใหม่แจ้งว่า มีนัดพิพากษาคดีของนายวัลลภ พิธีพรม ผู้ต้องหายิง M79 ก่อเหตุวุ่นวายในช่วงปี 53 โดยศาลพิพากษายกฟ้อง แต่ยังมีคำสั่งให้ควบคุมตัวต่ออีก 30 วันระหว่างรอผลว่าอัยการจะอุทธรณ์หรือไม่ ทั้งนี้ นายวัลลภถูกจับกุมเมื่อวันที่ 21 พ.ย.53 เขาถูกคุมขังที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยศาลไม่อนุญาตให้ประกัน และมีการตระเวนสืบพยานในหลายจังหวัด
อ่านเพิ่มเติม จดหมายจากวัลลภ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ย้อนรอยโศกนาฏกรรมอำพราง "โบสถ์คริสตจักรเวียงเชียงราย" รื้อทำไม ใครสูญเสีย Posted: 29 Aug 2012 08:11 AM PDT
ในวาระครบรอบ 750 ปีเชียงราย นอกจากควรจัดสัมมนาเรื่องสะสางการเรียกชื่อ "พระญามังราย" "พ่อขุนเม็งราย" ให้ถูกต้องแล้ว ยังมีประเด็นของ "โบสถ์คริสตจักรที่ 1" ที่ยังคารังคาซังอยู่ ซึ่งพอดีดิฉันได้รับเชิญให้ไปบรรยายที่ ม.ราชภัฏเชียงรายวันที่ 28 สค.นี้ จะถือโอกาสขอบิณฑบาตมิให้ทุบทิ้ง ต้องช่วยกันรณรงค์อนุรักษ์ ดังบทความชิ้นนี้ (จากคอลัมน์ ปริศนาโบราณคดีตอนที่ ๒๙)
รับทราบข่าวร้อนเรื่องคณะกรรมการโบสถ์คริสต์ที่เชียงรายบางส่วนมีความประสงค์จะรื้อ "โบสถ์คริสตจักรที่ ๑ เวียงเชียงราย" หลังงามอายุเกือบ ๑๐๐ ปีเพื่อสร้างโบสถ์หลังใหม่ใหญ่โตทับที่เดิม ท่ามกลางกระแสคัดค้านของนักอนุรักษ์ทุกฝ่ายที่ช่วยกันออกแรงปกป้องมานานแล้วตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ปี พ.ศ.๒๕๕๒ กระทั่งคณะกรรมการโบสถ์คริสตจักรเชียงรายได้ยื่นฟ้องศาลปกครอง กรณีที่กรมศิลปากรมีหนังสือขอร้องให้ระงับการรื้อโบสถ์นั้นเสีย โดยอ้างต่อศาลว่าภาครัฐได้ใช้อำนาจละเมิดสิทธิเสรีภาพก้าวก่ายมายุ่งเรื่องการพระศาสนา
สองปีผ่านไปศาลปกครองได้ยกฟ้องคดีดังกล่าวด้วยเห็นว่า กรมศิลป์ทำไปตามหน้าที่และโบสถ์หลังนี้คือมรดกของแผ่นดิน เรื่องราวค้างคาอีนุงตุงนัง กระทั่งกลายมาเป็นข่าวเด่นประเด็นดังอีกครั้ง ในช่วงก่อนวันแรงงานที่ผ่านมาเมื่อทางกรรมการโบสถ์คริสตจักรเชียงรายนัดหารือแกนนำเดินหน้ารื้อโบสถ์ต่อไป โดยไม่อินังขังขอบต่อคำตัดสินของศาลปกครอง นำไปสู่ไพ่ใบสุดท้ายที่กรมศิลป์จำเป็นต้องเข้าแจ้งความดำเนินคดีข้อหารื้อทำลายโบราณสถานของชาติ เมื่อหลักรัฐศาสตร์เอาไม่อยู่ หลักนิติศาสตร์จึงถูกขุดนำมาใช้เป็นแผนสอง
พลิกตำนานหมอบริกส์ กว่าจะเป็นโบสถ์คริสเตียน
อีกสามปีข้างหน้า "โบสถ์คริสตจักรที่ ๑ เวียงเชียงราย" หรือที่ชาวบ้านนิยมเรียกสั้นๆ จนติดปากว่า "โบสถ์คริสต์ประตูสะหลี(สลี)" เนื่องจากตั้งอยู่ใกล้กับประตูเมืองทางทิศใต้ที่ปลูกต้นโพธิ์แต่ปัจจุบันประตูรื้อไปแล้ว จะมีอายุครบ ๑๐๐ ปี (สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๔๕๗)
ตำนานความเป็นมาของโบสถ์มีความน่าสนใจไม่แพ้ความงามสง่าของสถาปัตยกรรม เหตุเพราะถือกำเนิดขึ้นเคียงคู่กับการก่อเกิดสภาคริสตจักรเชียงราย เป็นผลงานการออกแบบของมิชชันนารีคณะอเมริกันเพรสไบทีเรียน (American Presbyterian Mission) คนดังนาม ศาสนาจารย์ หรือนายแพทย์วิลเลียม เอ บริกส์ (Dr. William A. Brigs) ผู้ที่ชาวบ้านนิยมเรียกย่อๆ ว่า "หมอบริกส์"หรือ "พ่อเลี้ยงตาดุ" (มีดวงตาใหญ่โตเวลามองคนชอบจ้องเขม็ง) หนึ่งในปูชนียบุคคลผู้มีคุณูปการต่อชาวเชียงรายหลายด้าน
หมอบริกส์เป็นใครมาจากไหน ก่อนอื่นขอท้าวความย้อนกลับไปถึงปีพ.ศ. ๒๔๓๑ หรือราวสองทศวรรษก่อนการเดินทางมาเชียงรายของหมอบริกส์ ว่าเคยมีศาสนาจารย์ดาเนียล แมคกิลวารี ( Dr.Danial McGilvary ) ได้ขึ้นมาเผยแพร่คริสตศาสนาที่เชียงรายก่อนหน้านั้นแล้ว โดยวางรากฐานก่อตั้งโรงเรียนแห่งแรกในเชียงรายชื่อ บอย สกูล (Boy School) หลังจากที่ท่านสาธุคุณแมคกิลวารีได้มุ่งมั่นประกาศศาสนธรรมในแถบเชียงใหม่-ลำพูนอย่างเข้มข้นตั้งแต่ปี ๒๔๑๐
กระทั่งถึงยุคของหมอบริกส์ ผู้มีปูมหลังเป็นชาวอเมริกัน เข้ามาสอนศาสนาคริสเตียนในประเทศไทยโดยเริ่มต้นเดินทางมายังสถานมิชชั่นลำปางและแพร่ก่อน กระทั่งในปี พ.ศ.๒๔๔๖ จึงได้เดินทางต่อมายังเชียงรายเพื่อสืบสานงานต่อจากสาธุคุณแมคกิลวารี
คนที่ได้รับคัดเลือกให้เป็นมิชชันนารีในยุคก่อนนั้น ไม่ใช่หาได้ง่ายๆ ต้องมีคุณสมบัติอัจฉริยะรอบด้านแบบ ๑๐ อิน ๑ คือนอกจากจะเป็นนักธรรมนักเทศน์ผู้แตกฉานในพระคัมภีร์ หรือเป็นนักจิตวิทยา ร้อง-เล่น-เต้น-แต่งดนตรี เอนเตอร์เทนคนให้บันเทิงเริงรมย์ได้แล้ว ยังต้องเป็นทั้งคุณหมอที่สามารถรักษาผู้ป่วยได้สารพัดโรค แถมยังต้องเก่งเรื่องออกแบบก่อสร้างไปในตัวด้วย เพราะสมัยนั้นตามหัวเมืองยังไม่มีทั้งสถาปนิก วิศวกร กล่าวให้ง่ายก็คือมิชชันนารีต้องทำหน้าที่หนักหนาสาหัส ไม่เพียงแต่ช่วยเยียวยาจิตวิญญาณของมนุษย์เท่านั้น หากแต่ยังต้องเยียวยาเรื่องปากท้อง สมอง และคุณภาพชีวิตให้ผู้คนอยู่ดีกินดีขึ้นอีกด้วย
ชวนให้นึกถึงมิชชันนารีคณะเยซูอิตที่ถูกส่งมาในราชสำนักอยุธยาสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ที่ต้องทำหน้าที่ทั้งออกแบบก่อสร้างเวียง วัง วัด วงเวียน น้ำพุ จตุรัส ตัดถนน สะพาน ศาลา โบสถ์คริสต์ โรงเรียนเผยแผ่ศาสนา ฯลฯ
มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่าภายในตัวเมืองเก่าเชียงรายนั้น มีการตัดถนนที่เป็นระเบียบจำง่าย คล้ายกับผังเมืองของมหานครตะวันตก แถมยังมีต้นไม้ใหญ่ร่มรื่นเรียงรายริมทางเท้า ว่ากันว่ามนต์เสน่ห์กลางเวียงเชียงรายของถนนแบบบูลวาร์ดหลายสายนี้เกิดจากก้อนสมองของหมอบริกส์ด้วยเช่นกัน แต่กว่าจะได้สิ่งนี้มา ชาวเชียงรายจำต้องยอมแลกด้วยการเปิดไฟเขียวให้หมอบริกส์ยิงเสือจอมโหดทิ้งไปตัวหนึ่งที่คอยคำรามกัดคนตายอยู่แถวกำแพงเมืองเก่าใกล้น้ำแม่กก (แม่กกน้อยช่วงนี้เรียกว่าแม่ลาว) ข้อสำคัญการวางผังเมืองมาตรฐานในครั้งนั้น ได้มีการรื้อกำแพงเมืองเก่าที่สร้างด้วยอิฐสมัยล้านนาทิ้งไปในปี พ.ศ. ๒๔๖๓ โดยหมอบริกส์ให้เหตุผลว่า
“กำแพงเมืองอยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรม บริเวณประตูเป็นโคลนตม หล่มงู สกปรก เป็นแหล่งหมักหมมเชื้อและพยาธิที่ทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ อีกทั้งกำแพงเองก็ปิดกั้นการถ่ายเทของอากาศบริสุทธิ์ ประชาชนไม่ได้รับแสงแดดในการฆ่าเชื้อโรคอีกด้วย"
นั่นคือมุมมองของนักการสาธารณสุขเมื่อ ๑๐๐ ปีก่อน นักอนุรักษ์ยุคปัจจุบันคงได้แต่ร้องเสียดาย แต่เมื่อพินิจพิเคราะห์ดูแล้ว ก็ยังเห็นว่าเป็นการแลกเปลี่ยนที่คุ้มค่ากว่าหลายเมืองที่จู่ๆ ก็ปล่อยให้เทศบาลรื้อกำแพงเมืองฟรีไปเปล่าๆ ปลี้ๆ เพื่อแลกเปลี่ยนกับถนนที่ไร้มาตรฐานอีก
ผลงานด้านสถาปัตยกรรมที่หมอบริกส์ได้ออกแบบก่อสร้างในเมืองเชียงรายมีจำนวนมากนับไม่ถ้วน เฉพาะ ที่เด่นๆ ได้แก่ อาคารศาลากลางเก่า (ปัจจุบันเป็นสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย) โรงพยาบาลโอเวอร์บรุ๊ค เรือนจำเก่า และโบสถ์คริสตจักรที่ ๑ เวียงเชียงราย ซึ่งกำลังจะถูกรื้อเร็วๆ นี้ คุณูปการที่หมอบริกส์ได้ฝากไว้แก่เมืองเชียงรายเกินคณานับ ทำให้มีชื่อถนนสายหนึ่งสร้างขึ้นเป็นอนุสรณ์แก่ท่านชื่อ "ถนนบริกส์แพทย์"
สูญเสียซ้ำซ้อน แต่ยังไม่สาย
โบสถ์คริสต์หลังนี้เคยได้รับการบูรณะซ่อมแซมครั้งใหญ่ราวปี พ.ศ.๒๕๔๔ หรือสิบปีก่อนนี่เอง น่าเสียดายที่คณะศรัทธาดำเนินการแบบรู้เท่าไม่ถึงการณ์ จึงไม่เฉลียวใจว่าการนำเอาแผ่นหินอ่อนราคาแพงไปกรุอุดปิดทับบริเวณพื้นและผนังตอนล่างรายรอบภายในโบสถ์ หรือการนำเอาอิฐตัวหนอนพร้อมการลาดซีเมนต์ปิดลานพื้นรอบนอกโบสถ์นั้น เป็นการเร่งทำลายโบราณสถานให้ถึงแก่กาลอวสานเร็วยิ่งขึ้น
ไม่ฉุกใจคิดกันบ้างหรืออย่างไรว่า ไฉนอาคารที่มีอายุยืนยาวมาได้กว่า ๙๐ ปีนั้น ก่อนมีการซ่อมครั้งใหญ่ไยจึงคงสภาพเดิมอยู่ได้ จะผุพังก็เพียงแค่แผ่นไม้ที่ใช้ประดับตามหน้าบัน-หอระฆังบางส่วนเท่านั้น อุตส่าห์ระดมทุนบูรณะเสียเลิศหรู แต่หลังจากนั้นไม่ถึงสิบปีกลับยิ่งมีสภาพชำรุดทรุดโทรมอย่างผิดหูผิดตาเช่นนี้ แสดงว่าต้องมีอะไรที่ผิดปกติ!
ความผิดปกตินี้ เกิดจากความชื้นของน้ำใต้พื้นดินระเหยขึ้นมาทำปฏิกิริยากับปูนกัดกร่อนแท่งเสาและผนังถึงเนื้อในอิฐจนขึ้นเชื้อราและคราบเกลือ อันเป็นภาพที่พบเห็นจนชินตา ไม่ใช่แค่โบสถ์คริสต์หลังนี้เท่านั้น แต่ตามโบสถ์วิหารทั่วไปของชาวพุทธนี่แหละ โดยเฉพาะวัดที่รังเกียจลานทรายหรือลานดินหาว่าสกปรกเลอะเทอะ จึงจัดการเทคอนกรีตปูแผ่นหินขนาดใหญ่อุดทับ พื้นดินตอนล่างอยู่ในสภาพอับทึบไม่มีอากาศหายใจ เมื่อความชื้นไม่มีทางระบายตามวิถีธรรมชาติ ก็ย่อมหันมาเล่นงานกัดกินกับแท่งเสาจนผุกร่อนเป็นธรรมดา
ถามว่าปัญหาเพียงเรื่องความชื้นจากใต้ดินแก้ไขใหม่ได้ไหม คำตอบง่ายๆก็เพียงแค่คุณสกัดวัสดุหยาบแข็งที่มาบดบังลมหายใจของน้ำใต้ดินทิ้งออกไปเสีย แล้วจัดการเปิดท่อระบายความชื้นด้วยวัสดุที่เหมาะสมใหม่ขึ้นมาทดแทน ก็เท่านั้น
หากทว่า ความคิดเรื่องการรื้อโบสถ์หลังเดิมนั้น มิได้อ้างว่ามีมูลเหตุมาจากความผุกร่อนของโครงสร้างเพียงอย่างเดียวไม่ เหตุผลอีกสองประการที่ถูกนำมาใช้เป็นข้อต่อรองของทุกวัด เมื่อมีแผนจะรื้ออาคารเดิมแล้วสร้างอาคารใหม่มักหนีไม่พ้น
ประการแรก อาคารเก่ามีขนาดเล็กคับแคบ พื้นที่ไม่เพียงพอต่อการใช้สอย จำเป็นต้องรื้อแล้วสร้างหลังใหม่ที่มีขนาดใหญ่กว่าเพื่อรองรับคนมาร่วมประกอบศาสนพิธีได้จำนวนมากกว่าเดิม
ประการที่สอง มักอ้างว่าผู้เป็นเจ้าของดูแลโบสถ์นั้นคือเจ้าอาวาส หากเป็นคริสเตียนก็เรียกว่า"ศาสนาจารย์" ซึ่งกรมศิลป์หรือภาครัฐอื่นๆ ไม่มีสิทธิ์มายุ่งเกี่ยว เพราะไม่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานสำคัญของชาติ ดังนั้นหากทางวัดมีความประสงค์จะรื้อย่อมทำได้โดยฐานะนิติบุคคล
ข้ออ้างทั้งสองข้อนี้ เรามักได้ยินได้ฟังมาอย่างซ้ำซาก ข้อแรกนั้นเป็นเหตุผลที่ฟังไม่ขึ้น ส่วนข้อหลังยิ่งเข้าใจผิดมหันต์
ข้อแรกที่ว่าฟังไม่ขึ้นนั้น เพราะย่อมมีผู้แย้งว่า ทำไมไม่แก้ไขในเชิงปรับเปลี่ยนวิธีบริหารจัดการใหม่ เช่น จำกัดจำนวนผู้เข้าไปประกอบพิธีกรรมโดยแบ่งเป็นกลุ่มคณะ และกำหนดเวลาเป็นช่วงๆ หากคิดว่าชาวคริสเตียนเชียงรายเพิ่มปริมาณขึ้นอย่างมากในรอบร้อยปีที่ผ่านมา จำเป็นเหลือเกินที่จะต้องสร้างโบสถ์หลังใหม่ให้ใหญ่โตกว่าเดิม ก็ใช้สถานที่แห่งอื่นมิได้หรือ ทิ้งโบสถ์หลังนี้ไว้ดุจเดิม บูรณะปรับปรุงให้เป็นพิพิธภัณฑ์นำเสนอประวัติความเป็นมาของหมอบริกส์ เมืองเชียงรายจักได้มีแหล่งเรียนรู้เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งแห่ง
ส่วนข้ออ้างที่สองนั้น คงต้องขอให้ช่วยกันทบทวนเรื่อง "กรรมสิทธิ์ถือครอง" ว่าใครควรเป็นเจ้าของที่แท้จริงของโบสถ์ วิหาร ไม่ว่าจะเป็นสิ่งปลูกสร้างในศาสนา-นิกายใด ประชาชนหรือเจ้าอาวาส (ศาสนาจารย์)?
ปัจจัยที่นำมาใช้ก่อสร้างอาคารล้วนแล้วแต่เป็นเงินบริจาคของผู้มีจิตศรัทธาทั้งรายใหญ่-รายเล็ก จริงอยู่ในกรณีของโบสถ์คริสตจักรที่ ๑ เวียงเชียงราย อาจได้รับเงินสนับสนุนการก่อสร้างก้อนใหญ่จากองค์กรที่ดูแลคณะมิชชันนารีอเมริกันเพรสไบทีเรียน หรือสภาคริสตจักรแห่งประเทศไทย ก็ตาม แต่คุณค่าความสำคัญของอาคารนั้น ยิ่งใหญ่เกินกว่าจะถูกกรอบให้เป็นกรรมสิทธิ์เฉพาะของสภาคริสตจักรเท่านั้นไม่
โบสถ์หลังดังกล่าวออกแบบโดยหมอบริกส์ ควบคุมการก่อสร้างโดยนายช่างฮิมกี่ บรรพบุรุษเจ้าของร้านฮิมกี่ที่ขายวัสดุก่อสร้างในปัจจุบัน ซึ่งไม่ว่าผู้สั่งให้สร้าง ผู้ออกแบบ หรือผู้ลงมือก่อสร้างด้วยการรับจ้าง ทายาทของคนเหล่านั้นต่างก็ไม่ใช่เจ้าของผู้มีสิทธิ์ตัดสินใจในการรื้อถอนโบสถ์
การทุบโบสถ์เก่าแก่ที่มีอายุกว่า ๑๐๐ ปี เพื่อสร้างของใหม่เช่นนี้ ประชาชนหลายคนที่มีจิตสำนึกทางสังคมและสภาคริสตจักรในประเทศไทยคงไม่เห็นด้วยแน่
เพราะโบถส์คริสต์เป็นสมบัติของมหาชนทั้งชาวคริสเตียนเชียงราย ชาวคริสเตียนทั่วประเทศ และของชาวไทยทุกคน ยิ่งได้ทราบมาว่าชาวคริสเตียนเชียงรายที่ไม่เห็นด้วยในการรื้อโบสถ์ เคยจัดให้มีการล่ารายชื่อคัดค้านเปิดเวทีประชาพิจารณ์มาแล้วตั้งแต่สองปีก่อน พบว่ามีผู้เข้าร่วมลงนามหลายพันคน มากกว่าจำนวนของผู้ที่เห็นด้วยกับการอยากรื้อและสร้างของใหม่ เพียงแต่ว่าเสียงข้างมากนั้นเบาเกินไป ในขณะที่เสียงของฝ่ายรื้อซึ่งมีอยู่ไม่กี่คนนั้นดังกลบเสียงฝ่ายต่อต้าน
นักอนุรักษ์ ซาตานหรือนักบุญ?
นักอนุรักษ์ที่ออกโรงมาคัดค้านเคลื่อนไหวเรื่องนี้ หากเป็นผู้นับถือศาสนาอื่นก็จะถูกประณามว่า เป็นมนุษย์นอกศาสนา ส่วนหากเป็นชาวคริสเตียนหรือเป็นกรรมการบริหารสภาคริสตจักรที่เห็นหน้าค่าตากันอยู่ทุกวัน กลับถูกกล่าวหาว่าเป็น “ซาตาน” หรือคนบาปในคราบนักบุญ
นักอนุรักษ์หลายคนยอมให้ถูกกล่าวหาว่าเป็น "ซาตาน" บางคนเข้าไปเหยียบในโบสถ์ไม่ได้อีกเลย แต่ก็ยังยืนหยัดที่จะอนุรักษ์ไว้ ย่อมแสดงว่าโบสถ์หลังนี้ต้องมีคุณค่าความสำคัญอย่างเอกอุ
นอกเหนือจากจะเป็นอนุสรณ์ทางประวัติศาสตร์หรือเป็นตำนานหน้าแรกแห่งการเผยแผ่คริสตศาสนานิกายโปรเตสแตนท์ในเชียงรายโดยคณะมิชชันนารีนำโดยหมอบริกส์ ที่สามารถเชื่อมโยงเรื่องราวไปถึงศาสนาจารย์แมกกิลวารี หรือผู้วางรากฐานการพิมพ์คนแรกอย่างหมอแดนบีช บรัดเลย์แห่งกรุงสยามแล้ว
ตัวสถาปัตยกรรมทั้งภายในและภายนอกก็ยังมีคุณค่าอยู่ในตัวเอง เพราะมันสะท้อนถึงคติปรัชญาหรือหัวใจของความเป็น "โปรเตสแตนท์"
โบสถ์คริสต์ที่เชียงรายและโบสถ์คริสต์ในนิกายโปรเตสแตนท์ทุกแห่งทั่วภูมิภาค อาทิ โบสถ์คริสต์ที่สำเหร่ โบสถ์เชียงใหม่คริสเตียนริมน้ำแม่ปิง เชิงสะพานนวรัตน์ ล้วนมีรูปแบบที่เรียบง่าย ไม่หรูหราอลังการ สร้างบนผังรูปตัว T หรือที่เรียกว่าผังแบบ "Latin Cross" ภายในมีเครื่องประดับเพียงแค่ไม้กางเขน หาได้มีประติมากรรมตกแต่งอย่างมากมายเหมือนกับโบสถ์คริสต์ในนิกายแคทอลิกไม่ ดังที่รู้กันอยู่ว่านิกายโปรเตสแตนท์นั้นเป็นนิกายปฏิรูปที่เน้นเรื่องคุณภาพชีวิตของผู้คนมากกว่าการทุ่มเทในรายละเอียดของศิลปกรรม นอกจากไม้กางเขนแล้วยังมีแค่นาฬิกาไม้โบราณจำหลักลวดลายแบบอาร์ตนูโว ยืนพิงผนังอย่างเงียบสงบ
เนื่องจากยุคสมัยที่กำลังก่อสร้างโบสถ์เป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ หมอบริกส์บันทึกไว้ว่า จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างหอระฆังของโบสถ์คริสต์และโรงพยาบาลให้สูงชะลูดมากเป็นพิเศษ เพื่อใช้เป็นจุดสังเกตมองเห็นแต่ระยะไกล จะได้ปลอดภัยจากการทิ้งระเบิดไม่ว่าของฝ่ายใดๆ
หอระฆังโปร่งหลังนี้มีการตีระฆังทุกวัน เป็นสัญญาณบอกเวลาให้ทราบ ในยุคนั้นประชาชนยังไม่มีนาฬิกาใช้ จะมีก็แต่มิชชันนารีหรือชาวต่างชาติเท่านั้น โดยเสียงระฆังจะดังก้องกังวานไปไกลทั่วเมือง ต่อมาเมื่อสิบปีก่อนเมื่อมีการซ่อมโบสถ์ครั้งใหญ่จำเป็นต้องยกระฆังลงมาไว้ข้างล่าง เนื่องจากหอระฆังเริ่มเก่าทรุดโทรมแบกรับน้ำหนักระฆังใหญ่ไม่ไหว
ถามว่าหน่วยงานองค์กรต่างๆ นอกเหนือจากกรมศิลปากรแล้ว มีใครเคลื่อนไหวอย่างไรกันบ้างในช่วงสองปีที่ผ่านมา เท่าที่ทราบฝ่ายสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้มอบรางวัลประกาศให้โบสถ์คริสต์เชียงรายเป็นอาคารอนุรักษ์ดีเด่นอย่างไม่รั้งรอ นอกจากผู้บริหารโบสถ์คริสต์จะไม่เข้าไปรับรางวัลแล้ว ยังปิดข่าวนี้ไม่ให้ชาวคริสเตียนเชียงรายรับรู้
ในขณะที่ฝ่ายเทศบาลนครเชียงรายเองก็ได้จัดให้โบสถ์หลังนี้เป็น ๑ ในโบราณสถาน ๑๓ แห่งที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ โดยกำหนดห้ามก่อสร้างอาคารสูงเกิน ๑ ชั้นหรือเกิน ๖ เมตรภายในระยะรัศมี ๓๐ เมตรจากแนวเขตโบราณสถานเหล่านั้น
การประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของกรมศิลปากรหรือไม่จึงไม่ใช่ประเด็นสำคัญ เท่ากับการที่ทางจังหวัดเชียงราย อบจ.เชียงราย เทศบาลนครเชียงราย สภาวัฒนธรรมจังหวัด กรมศิลปากร สำนักโยธาธิการและผังเมือง สมาคมสถาปนิกสยามฯ สภาคริสตจักรแห่งประเทศไทย กรรมการโบสถ์ มวลชนผู้รับใช้พระเจ้าแห่งคริสตจักรที่ ๑ เวียงเชียงราย ต้องเกิดการตื่นตัวหันมาทบทวนกันอย่างถ่องแท้ว่า
การฉลอง ๑๐๐ ปี คริสตจักรที่ ๑ เวียงเชียงรายในอีกสามปีข้างหน้าด้วยการสถาปนาโบสถ์หลังใหม่นั้น เป็นการทำลายรากเหง้าทางประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญหรือไม่ อาคารโบสถ์ไม่ใช่แค่อิฐแค่ปูน แต่มันมีหัวใจของผู้สร้างอยู่ในนั้นด้วย ไม่ใช่แค่หัวใจของหมอบริกส์พ่อเลี้ยงตาดุกับนายช่างฮิมกี่ หากมันคือหัวใจของปู่ย่าตายายชาวเชียงรายที่ร่วมกันสร้างสถานที่แห่งนี้เมื่อ ๑๐๐ ปีก่อนนั่นไง
อย่าให้ประวัติศาสตร์หน้าสำคัญฉากหนึ่งของเมืองเชียงรายต้องถูกทำลาย อย่าให้อำนาจตัดสินใจของชนชั้นนำส่วนน้อยคอยควบคุมชะตากรรมของสมบัติส่วนรวม อย่าให้ไพร่รากหญ้าต้องเป็นฝ่ายถูกกระทำซ้ำซาก กับโศกนาฏกรรมที่อำพรางนั้น!
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
‘กบอ.’ เตรียมปล่อยน้ำเข้ากรุงเทพฯ 5 และ 7 ก.ย.นี้ ทดสอบระบบป้องกัน Posted: 29 Aug 2012 06:20 AM PDT ‘ปลอดประสพ’ เผยมั่นใจ ไม่บานปลายทำน้ำท่วมเมืองกรุงแน่นอน วอนประชาชนอย่าตื่นตระหนก ด้าน ‘กทม.’ เฝ้าติดตามใกล้ชิด หวั่นกระทบประชาชน ชี้หากทำเดือดร้อนพร้อมประสานรัฐบาลหยุดดำเนินการทันที น้ำท่วมกรุงเทพฯ ปี 2553 ภาพจากแฟ้มภาพประชาไท วันนี้ (29 ส.ค.55) นายปลอดประสพ สุรัสวดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในฐานะประธานคณะกรรมการการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) เปิดเผยว่า กบอ.มีแผนซ้อมการระบายน้ำ ในพื้นที่กรุงเทพฯ ฝั่งตะวันออกและตะวันตก ในวันที่ 5 ก.ย. และ 7 ก.ย.นี้ เพื่อทดสอบความพร้อมในการรับมือกับน้ำเหนือที่จะลงมากรุงเทพฯ ในเดือนตุลาคมซึ่งถือว่าเป็นการทดลองโมเดลระบบระบายน้ำใหม่ครั้งแรกในพื้นที่จริง ที่มีระบบเซ็นเซอร์ติดตามการไหลของน้ำ การเปิดปิดประตูระบายน้ำอัตโนมัติ เป็นต้น “แผนดังกล่าวจะสร้างประโยชน์ให้ กทม.และสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนในกรุงเทพฯ ว่าน้ำจะไม่ท่วมอีกแน่นอน ซึ่ง กทม.ก็ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี จึงขอให้ประชาชนอย่าตกใจ เพราะน้ำที่จะระบายลงมากรุงเทพฯ มีปริมาณไม่มาก แค่ทดลองระบบและความพร้อมเท่านั้น และคณะกรรมการ กบอ. ก็ได้พิจารณาแล้ว ไม่ใช่ตนตัดสินใจคนเดียว ที่มีคนมาว่าผมไม่มีความรู้ ผมไม่อยากทะเลาะด้วยแล้ว” นายปลอดประสพ กล่าว ด้านนายสัญญา ชีนิมิตร ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ (สนน.) กรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวว่า ตนเองได้ส่งตัวแทนไปร่วมหารือกับรัฐบาลเกี่ยวกับแผนงานดังกล่าว ซึ่งได้รับทราบว่าในวันที่ 5 ก.ย.นี้ จะมีการทดลองปล่อยน้ำมาฝั่งตะวันตก เข้าสู่คลองมหาสวัสดิ์ คลองบางกอกน้อย แม่น้ำเจ้าพระยาและไหลออกแม่น้ำนครชัยศรี และในวันที่ 7 ก.ย.55 จะปล่อยน้ำมาฝั่งตะวันออกไปยังพื้นที่คันกั้นน้ำ (ฟลัดเวย์) และอาจเข้ามาในพื้นที่ชั้นใน บริเวณคลองลาดพร้าวและคลองสองด้วย “ได้รายงานให้ผู้ว่าฯ กทม. และคณะผู้บริหารรับทราบแล้ว ซึ่งก็มีความกังวลว่าจะส่งผลกระทบต่อประชาชนหรือไม่ และได้สั่งการให้ สนน.ติดตามสถานการณ์อบย่างใกล้ชิด หากพบว่าทำให้ประชาชนเดือดร้อน กทม.จะประสานขอให้รัฐบาลหยุดดำเนินการทดลองแผนดังกล่าวทันที” นายสัญญา กล่าว ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ดีเอสไอสอบ 2 พลแม่นปืน คดี 91 ศพ เผยรับยิงจริงแต่เป็นกระสุนยาง Posted: 29 Aug 2012 06:12 AM PDT นายทหารพระธรรมนูญ นำทหารพลแม่นปืน 2 นาย เข้าให้การดีเอสไอ คดี 91 ศพช่วงกระชับพื้นที่ชุมนุมเสื้อแดง ปี 53 สอบเครียด (มีคลิปประกอบ)
2 พลแม่นปืนระวังป้องกัน บนอาคารร้างหน้าสนามมวยลุมพีนี 15 พ.ค.53 ไทยรัฐออนไลน์ รายงานเมื่อเวลา 10.30 น. วันที่ 29 ส.ค. 2555 ว่า นายทหารพระธรรมนูญ กองทัพบก นำสิบเอกศฤงคาร ทวีชีพ และสิบเอกคธารัตน์ เนียบรอด สังกัด ม.พัน 5 ที่ทำหน้าที่พลเฝ้าระวัง บนอาคารร้างหน้าสนามมวยลุมพีนี ในช่วงเหตุการณ์กระชับพื้นที่ของกลุ่มเสื้อแดง เมื่อเดือน พ.ค. 2553 เข้าพบ พ.ต.อ.ประเวศน์ มูลประมุข รองอธิบดี กรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) ในฐานะหัวหน้าพนักงานสอบสวนการเสียชีวิตของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร และประชาชน จำนวน 91 ศพ ในช่วงการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการ โดยมี พล.ต.ต.อนุชัย เล็กบำรุง รองผบช.น.และอัยการฝ่ายคดีพิเศษ สำนักงานอัยการสูงสุด เข้าร่วมสอบสวนในฐานะพนักงานสอบสวนร่วม เพื่อให้การถึงการปฏิบัติหน้าที่ หลังมีการจับภาพขณะที่ทั่งคู่ใช้ปืนยาวติดลำกล้อง เล็งใส่ไปทางชุมชนบ่อนไก่ โดยบรรยากาศการสอบสวนเป็นไปอย่างเคร่งเครียด ขณะที่เดลินิวส์ รายงานด้วยว่า สิบเอกคชารัตน์ แต่งกายในเครื่องแบบทหาร ส่วนสิบเอกศฤงคารซึ่งปลดประจำการไปแล้ว แต่งกายด้วยเสื้อเชิ้ตสีขาว กางเกงยีนส์สีเข้ม โดยพลแม่นปืนทั้ง 2 มีสีหน้าเรียบเฉย ไม่ให้สัมภาษณ์ใดๆ กับสื่อมวลชน และพยายามเดินหลบเลี่ยงกลุ่มผู้สื่อข่าวและช่างภาพ แต่ไม่สามารถหลุดจากวงล้อมของกลุ่มผู้สื่อข่าวได้ ทำให้ถูกรุมติดตามถ่ายภาพจนเจ้าหน้าที่นำตัวแยกเข้าห้องสอบสวน มติชนออนไลน์ รายงานด้วยว่า พ.ต.อ.ประเวศน์ กล่าวว่า ขณะเดียวกันทหารทั้งสองให้ก "ยืนยันเร่งทำสำนวนการสอบสว
คลิป 2 พลแม่นปืนระวังป้องกัน บนอาคารร้างหน้าสนามมวยลุมพีนี 15 พ.ค.53 อนึ่ง หลังมีการเผยแพร่ภาพพลซุ่มยิง เมื่อวันที่ 16 พ.ค. 2553 พ.อ.สรรเสริญ แก้วกําเนิด โฆษก ศอฉ. ได้ออกมาแถลงชี้แจงว่า เขาเป็นเจ้าหน้าที่พลแม่นปืนระวังป้องกัน เป็นชุดเฝ้าระวังเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงาน และจะยิงเมื่อเจอเป้าหมายเท่านั้น ก่อนหน้านี้ (27 ส.ค. 2555) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ส.ส.สุราษฎร์ธานี พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะอดีตผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน(ศอฉ.) ได้เดินทางเข้าพบพนักงานสอบสวนดีเอสไอแล้ว เพื่อให้ปากคำในคดีเดียวกัน ในฐานะพยานฝ่ายการเมืองผู้รับผิดชอบ และตามรายงานข่าวของ ASTVผู้จัดการออนไลน์ นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เปิดเผยว่า เป็นการซักถามเกี่ยวกับการดำเนินการรักษาความไม่สงบ ความเป็นมา และการรู้เห็นในขณะนั้น รวมถึงการตัดสินใจและดำเนินการสลายการชุมนุม แผนที่ อาคารหน้าสนามมวยลุมพีนี คลิปด้านล่างของอาคารร้างหน้าสนามมวยลุมพีนี ซึ่งปรากฏภาพทหารที่บุคลิกคล้ายกับทหารที่ปรากฎในคลิปก่อนหน้า พร้อมมีบทสนทนาซึ่งเป็นการหยอกล้อ และมีการยิงไปยังฝั่งบ่อนไก่ ซึ่งมีประชาชนอยู่บริเวณนั้น ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ความคิดเสรีนิยมกับเสรีภาพในการปฏิบัติตามหลักการทางศาสนา Posted: 29 Aug 2012 06:05 AM PDT
เทศนา “สตีฟ จ็อบส์ ฉบับธรรมกาย” กลายเป็นประเด็นถกเถียงในโซเชียลมีเดียอย่างน่าสนใจ ความน่าสนใจไม่ได้อยู่ที่ประเด็นผิดวินัยสงฆ์หรือไม่เท่านั้น ยังมีประเด็นสำคัญไม่น้อยไปกว่ากันคือ ประเด็น “การอ้างอิงแนวคิดเสรีนิยมกับศาสนา” ขอยกตัวอย่างการถกเถียงตามภาพข้างล่างนี้ที่ผมแชร์มาแลกเปลี่ยนความเห็นในเฟซบุ๊กของผมเอง (ขออภัยท่านเจ้าของความเห็นที่จะอ้างถึงต่อไปนี้ บทความนี้ไม่ใช่เพื่อโต้แย้งเป็นการส่วนตัว แต่เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนอย่างเป็นสาธารณะ) ข้อความประกอบภาพบรรยายว่า (ผมตัดส่วนที่อ้างอิงออกแต่คงเนื้อหาตามเดิม) จากกรณีเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายได้เทศน์เรื่องสตีฟ จ๊อบส์ ตายแล้วไปไหนและท่านเจ้าอาวาสอธิบายว่าจ๊อบส์ ณ ขณะนี้ได้เกิดใหม่เป็น “เทพบุตรภุมมเทวาระดับกลางสายวิทยาธรกึ่งยักษ์” ซึ่งถูกกระแสสังคมต่อต้านอย่างมาก และถูกมองว่า “โหน” คนดังมาโปรโมตวัด/สำนัก ของตนเอง Admin เห็นว่าสำนัก/บุคคล ทางศาสนาที่ใช้การตลาดหรือการโหนคนดัง (จะเพื่อวัตถุประสงค์ใดๆ ก็ตาม) เป็นเรื่องที่เห็นกันอยู่ดาษดื่นในปัจจุบัน ดังเช่นกรณี ท่าน ว.วชิรเมธีก็เคยให้สัมภาษณ์แบบ “เจาะธรรมผ่านสตีฟ จ๊อบส์” ในงานเปิดตัวหนังสือเกี่ยวกับสตีฟ จ๊อบส์ (ซึ่งการเชิญคนมีชื่อเสียงมาวันเปิดงานเป็นหนึ่งใน Event ทางการตลาดของสำนักพิมพ์) Admin เห็นว่าการตลาดของสำนัก/บุคคล ทางศาสนา เป็นสิทธิ์เสรีภาพที่จะกระทำได้ โดยเราควรปล่อยให้ “สาธุชน” สาธารณะเป็นผู้ตัดสินกันเองด้วยศรัทธาไม่ควรดึงอำนาจรัฐหรือมาตรการทางกฎหมายใดๆ มาบังคับหรือนิยามว่าความเชื่อแบบใดผิดหรือถูก และหากเราจะต่อต้าน “การตลาดของศาสนา” จากกรณีของธรรมกายแล้ว เช่นนั้นแล้ว การตลาดทางศาสนาของสำนักอื่นๆ ที่อาจจะไม่โด่งดังและอื้อฉาวเท่ากับกรณีธรรมกายเล่า เราจะต้องจัดการธรรมกายเล่า เราจะต้องจัดการในมาตรฐานเดียวกันทั้งหมดหรือไม่ จากภาพและข้อความข้างบนนี้ ผมแสดงความเห็นไปว่า (บังเอิญเพิ่งเจอ) ประเด็นธรรมกายไม่ใช่แค่เสรีภาพในเรื่องทำการตลาดทางศาสนา คือผมเห็นด้วยว่า เราสามารถอ้างแนวคิดเสรีนิยมในกรณีทำการตลาดทางศาสนา เสรีภาพที่จะเชื่อของประชาชน การแยกนิกาย ศาสนาต้องเป็นอิสระจากรัฐ ฯลฯ แต่เราไม่สามารถอ้างแนวคิดเสรีนิยมคัดค้านการใช้วินัยสงฆ์ตรวจสอบการกระทำของพระได้ เช่นถ้าวินัยสงฆ์บัญญัติว่า "ภิกษุดื่มเหล้าต้องอาบัติปาจิตตีย์" เมื่อพบว่ามีพระ ก.ดื่มเหล้าแล้วชาวพุทธอ้างวินัยข้อนี้มาตรวจสอบ ใครจะไปอ้างเสรีนิยมว่าใช้วินัยสงฆ์เอาผิดไม่ได้เพราะการดื่มเหล้าเป็นเสรีภาพ ตราบใดที่พระดื่มเหล้าไม่ไปตีหัวคนอื่นก็ไม่ผิดเป็นต้น นักเสรีนิยมจะไปอ้างแบบนี้ไม่ได้ และมีผู้มาแสดงความเห็นว่า Rittichai Chuwong ถ้าแบบนั้น ก็อ้างเสรีภาพ ละเมิด112 ไม่ได้ ครับ ประเด็นคือศาสนามีสิทธิ์ออกบัญญัติอะไรก็ได้ แต่ถ้าหากเอามาใช้ต้องไม่ขัดกับหลักประชาธิปไตย ถ้าคิดว่าหลักประชาธิปไตย และเรื่องเสรีภาพใหญ่กว่า นะครับ ต่อให้มีบัญญัติเขียนไว้ก่อนหรือหลังกฎหมายหลักของสังคมก็ตาม กฎบัญญัติที่ยึดหลักความเชื่อและยอมรับแค่คนบางกลุ่ม หรือใช้ภายในกลุ่มของตัวเองก็ตาม มันต้องไม่ขัดกับหลักสิทธิมนุษยชนกับหลักประชาธิปไตยด้วย ถ้าวันนึงถ้าจะอ้างกฏความเชื่อของตน แบบนี้ ถ้ามีการออกกฎให้ลงโทษด้วยการเฆี่ยน ตัดมือ ตัดคอ ก็อ้างลงโทษได้ สิครับ หรือถ้าใช้ตรรกะเดียวกัน การที่ครอบครัวจะ ออกกฏภายในครอบครัว ตี ขังลูกก็ย่อมได้ ถ้าลูกทำผิดกฏของครอบครัว โดยไม่สนกฎหมายแห่งรัฐ ไม่ว่ายังไงก็แล้วแต่ ไม่ควรมีบัญญัติแห่งความเชื่อใดเลยในโลก ที่จะอ้างบัญญัติของตนเองเพื่อละเมิดสิทธิของพลเมือง ต้องขอบคุณท่านผู้นี้ที่เข้ามาโต้แย้งผมหลายวัน แต่บางทีผมก็งงๆ ว่า เขากำลังโต้ “ประเด็น” ผม หรือกำลังเสนอ “ประเด็นใหม่” อย่างกรณีนี้ผมพูดถึง “วินัยสงฆ์” ซึ่งจากที่เถียงกันมาหลายวันก็เป็นที่เข้าใจกันว่าผมพูดถึงวินัยสงฆ์เถรวาท 227 ข้อ ที่เป็นพุทธบัญญัติมาแต่สมัยพุทธกาล ผมไม่ได้บอกว่า “ศาสนามีสิทธิ์ออกบัญญัติอะไรก็ได้...” หรือกำลังเห็นชอบกับ “การอ้างบัญญัติใดๆ ทางศาสนาเพื่อละเมิดสิทธิพลเมือง” อะไรทำนองนั้น แต่ประเด็นของผมคือ ผมยืนยันทั้งหลักเสรีนิยมและหลักการของพุทธศาสนา และพยายามแยกแยะให้เห็นว่า เราไม่อาจอ้างแนวคิดเสรีนิยมเพื่อละเมิดเสรีภาพที่แต่ละศาสนาจะปฏิบัติตามหลักการของตนได้ ถ้าการปฏิบัตินั้นๆ ไม่ได้อ้างอิงอำนาจรัฐ (หรืออำนาจเถื่อนใดๆ) ไปจำกัดเสรีภาพคนอื่น เช่น ผมยกตัวอย่างวินัยสงฆ์บัญญัติว่า "ภิกษุดื่มเหล้าต้องอาบัติปาจิตตีย์" เมื่อพบว่ามีพระ ก.ดื่มเหล้าแล้วชาวพุทธอ้างวินัยข้อนี้มาตรวจสอบ ใครจะไปอ้างเสรีนิยมว่าใช้วินัยสงฆ์เอาผิดไม่ได้เพราะการดื่มเหล้าเป็นเสรีภาพ ตราบใดที่พระดื่มเหล้าไม่ไปตีหัวคนอื่นก็ไม่ผิดเป็นต้น นักเสรีนิยมจะไปอ้างแบบนี้ไม่ได้" ซึ่งผมมีเหตุผลดังนี้ คือ ประเด็นที่ 1 วินัยสงฆ์ตามตัวอย่างนี้ไม่ได้ขัดหลักเสรีภาพ หรือพูดให้ตรงที่สุดคือเป็นวินัยสงฆ์ที่พุทธศาสนาเถรวาทให้ “เสรีภาพ” เอาไว้แล้วกว่าสองพันห้าร้อยปีก่อนที่จะมีแนวคิดเสรีนิยมเกิดขึ้นในโลกนี้ เสรีภาพที่ว่านี้คือ ปัจเจกแต่ละคนรู้ล่วงหน้าว่ามีวินัยสงฆ์เถรวาทข้อนี้อยู่ก่อนแล้ว (หรือรู้ว่ามีวินัย 227 ข้อ) จึงสมัครใจมาบวช เมื่อบวชมาแล้วหากเขาเห็นว่าวินัยข้อนี้ (หรือทั้ง 227 ข้อ) ไม่เข้าท่า หรือเขาปฏิบัติไม่ได้ ไม่อยากปฏิบัติตาม พุทธศาสนาก็ให้เสรีภาพที่เขาจะสึกออกมา แต่ถ้าเขาเป็นพระอยู่เขาไม่มีสิทธิ์ที่จะอ้างเสรีภาพว่าดื่มเหล้าไม่ต้องอาบัติปาจิตตีย์ (หรืออวดอุตตริมนุสสธรรมที่ไม่มีในตนไม่ต้องอาบัติปาราชิก ฯลฯ) เปรียบเทียบง่ายๆ คือเมื่อเราสมัครใจเข้าทำงานในหน่วยงานหนึ่ง ต่อมาเราเห็นว่าเราไม่อยากปฏิบัติตามกฎของหน่วยงานนั้น เราก็ลาออกก็เท่านั้นเอง ไม่ใช่ไปอ้างเสรีภาพที่จะทำผิดกฎ ฉะนั้น หากการมีอยู่ของวินัยสงฆ์ 227 ข้อที่เปิดเสรีภาพให้ปัจเจกบุคคลเลือกได้ดังกล่าวเป็นการละเมิดหลักเสรีนิยม การมีอยู่ของกฎกติกาขององค์กรต่างๆ ในทำนองเดียวกันก็ต้องละเมิดด้วยเช่นกัน ประเด็นที่ 2 สมาชิกขององค์กรหนึ่งๆ ย่อมมีเสรีภาพอ้างอิงกติกาขององค์กรตนเองในการวิจารณ์ ตรวจสอบกันและกันได้ ในกรณีนี้คือชาวพุทธเถรวาทมีเสรีภาพที่จะอ้างอิงวินัยสงฆ์ 227 ข้อ ตั้งคำถาม วิจารณ์ ตรวจสอบ เอาผิดกับการกระทำของพระภิกษุรูปใดๆ ก็ได้ ตั้งแต่พระธรรมดาจนถึงพระสังฆราช เช่น วินัยสงฆ์บัญญัติว่า “ภิกษุอวดอุตตริมนุสสธรรมที่ไม่มีในตนต้องอาบัติปาราชิก ถ้ามีในตนต้องอาบัติปาจิตตีย์” ชาวพุทธไม่ว่าพระหรือฆราวาสสามารถอ้างอิงวินัยข้อนี้ในการตั้งคำถาม วิจารณ์ ตรวจสอบ เรียกร้องหรือดำเนินการเอาผิด (ทางวินัยสงฆ์ ไม่ใช่ทางกฎหมาย) กับพระรูปใดๆ ก็ได้ที่กระทำ หรือมีพฤติกรรมที่น่าสงสัยว่าจะเป็นการละเมิดวินัยข้อดังกล่าว ดังที่ชาวบ้านล้อมจับพระที่นอนกับสีกาในกุฏิแล้วให้คณะสงฆ์ตัดสินให้สึกไป หรือจับพระเมาเหล้าให้สึกไปก็อ้างอิงวินัยข้อนั้นๆ ในการดำเนินการ เรื่องเช่นนี้ดำเนินการกันมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล ไม่เกี่ยวกับว่าพุทธศาสนาจะอยู่ในสังคมเผด็จการหรือสังคมประชาธิปไตย หากต้องอ้างว่าเสรีภาพหรือประชาธิปไตยเป็นหลักการที่ใหญ่กว่าวินัยสงฆ์ การดำเนินการตามวินัยสงฆ์ (ที่ไม่ได้อ้างอิงกฎหมายใดๆ) ต้องรอให้หลักเสรีนิยมเกิดก่อนกระมังพุทธศาสนาจึงจะเกิดขึ้นในโลกได้ หรือว่าพุทธศาสนาต้องเข้ามาสังกัดเสรีนิยมสมัยใหม่ก่อนกระมังจึงจะเป็นศาสนาที่ดีได้ และมีความชอบธรรมที่จะปฏิบัติตาม “หลักการของตนเอง” ได้ อีกประเด็นคือ ถ้าเราอ้างหลักเสรีนิยมว่า “พุทธศาสนาต้องเป็นอิสระจากรัฐ” ก็หมายความว่า คณะสงฆ์ต้องไม่ปกครองกันเองด้วยหลักกฎหมาย หรือไม่ให้รัฐออกกฎหมายใดๆ ที่อาจเอื้อประโยชน์แก่ศาสนาใดศาสนาหนึ่งเนื่องจาก “รัฐต้องเป็นกลางทางศาสนา” และศาสนาใดๆ ก็ไม่อาจอ้างหลักศาสนาของตนมาบัญญัติกฎหมายบังคับให้คนในทุกศาสนาต้องปฏิบัติตาม (เช่นจะมีกฎหมายห้ามขายเหล้าวันพระไม่ได้เป็นต้น) แต่โดยหลักเสรีนิยมนั้น ต้องเคารพเสรีภาพที่แต่ละศาสนาจะปฏิบัติตามความเชื่อ หรือหลักการทางศาสนาของตน เช่นเมื่อไม่ให้คณะสงฆ์ปกครองกันด้วยกฎหมายของรัฐแล้ว ก็ต้องเคารพการที่คณะสงฆ์จะปกครองตนเองด้วยหลักวินัยสงฆ์ด้วย ฉะนั้น เมื่อมีการอ้างวินัยสงฆ์ (ไม่ใช่อ้างกฎหมาย) ในการตรวจสอบเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ไม่มีนักเสรีนิยมที่ไหนในโลกหรอกครับที่จะไปอ้างหลักเสรีนิยมละเมิดเสรีภาพที่สังคมพุทธเขาจะใช้หลักการของเขาตรวจสอบกันเอง (ยกเว้นว่าจะมีการอ้างอิงอำนาจรัฐ หรือใช้อำนาจเถื่อนอื่นใดๆ ไปละเมิดเสรีภาพของเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย) หรือพูดให้เห็นภาพการแยกศาสนาเป็นอิสระจากรัฐก็คือ สังคมการเมืองทางโลกปกครองกันด้วยหลักกฎหมาย สังคมการเมืองของสงฆ์ก็ต้องปกครองกันด้วยหลักธรรมวินัย จะไม่มีการอ้างหลักกฎหมายและหลักธรรมวินัยไปก้าวก่ายกันในนามหรือผ่านกระบวนการใช้อำนาจรัฐ ด้วยเหตุนี้ เมื่อคุณยืนยันให้คณะสงฆ์เป็นอิสระจากรัฐ คุณย่อมต้องเคารพเสรีภาที่คณะสงฆ์จะปกครองกันเองด้วยหลักธรรมวินัยด้วย คุณจึงไม่มีเหตุผลที่จะอ้างหลักเสรีนิยมไปแทรกแซงการตรวจสอบกันด้วยหลักพระธรรมวินัยภายในสังคมสงฆ์ เช่น คุณไม่มีสิทธ์ที่จะไปอ้างว่าวินัยสงฆ์ห้ามพระมีเมีย ห้ามกินข้าวเย็น ห้ามดื่มเหล้าฯลฯ ว่านั่นเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน ด้วยข้ออ้างที่ว่า “เสรีภาพใหญ่สุด” อะไรทำนองนั้น อย่างไรก็ตาม กรณีธรรมกายนั้นมีความซับซ้อนมากอยู่ ในแง่การตีความคำสอนของพุทธศาสนา เช่น ตีความว่านิพพานเป็นอัตตาหรืออนัตตา เรื่องนี้เป็นเสรีภาพในการตีความคำสอน แต่การแสดงออกว่ามี “ญาณวิเศษ” รู้ชีวิตหลังความตายของบุคคลต่างๆ นั้น เป็นการกระทำที่ขัดต่อวินัยสงฆ์ที่เป็นพุทธบัญญัติไม่ใช่เป็นประเด็นเรื่องการตีความคำสอน การอ้าง “เจตนาดี” ว่าต้องการสอน “กฎแห่งกรรม” ก็ยังหนีไม่พ้นที่จะถูกตั้งคำถามได้ว่า ใครก็ตามที่อ้าง “สถานะพิเศษ” เหนือมนุษย์ของตนเอง เราจะเชื่อได้อย่างไรว่าเขาอ้างด้วยเจตนาดีอันบริสุทธิ์เพื่อคนอื่นๆ เท่านั้น ไม่ใช่เพื่อผลประโยชน์ใดๆ ของตัวเขาเอง เหตุผลในการบัญญัติวินัยห้ามอวดอุตริของพุทธะนั้นก็เพื่อป้องกันการอ้างสถานะพิเศษเหนือมนุษย์เพื่อผลประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งของตนเอง หรือพูดอีกอย่างคือแม้แต่คนที่ไม่ใช่พระจะพูดอะไรๆ ก็ต้องเคารพเพื่อนมนุษย์จึงควรมี “จริยธรรมขั้นต่ำสุด” ศีลข้อไม่มุสา หรือในมรรคมีองค์ 8 มีสัมมาวาจาให้พูดความจริง มีประโยชน์ (ความเท็จแม้ได้ประโยชน์ก็ไม่ควรพูด) เป็นต้น หรือกรณีที่มหาเถรสมาคมเป็นองค์กรรับผิดชอบไต่สวนตาม “กรอบวินัยสงฆ์” (ไม่ใช่กฎหมาย) ก็เพราะธรรมกายเป็นพระเถรวาท ขึ้นต่อการปกครองของมหาเถรสมาคม ได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ ภายใต้ระบบการปกครองมหาเถรสมาคม เช่นเจ้าอาวาส รองเจ้าอาวาสได้รับ “สมณศักดิ์” การศึกษานักธรรม บาลีภายในวัดธรรมกายก็เป็นการศึกษาในหลักสูตรและภายใต้อำนาจกำกับดูแลของคณะสงฆ์เป็นต้น เมื่อธรรมกายใช้สิทธิ์รับส่วนที่เป็นประโยชน์ ก็ไม่มีเหตุผลที่จะปฏิเสธการตรวจสอบตามกรอบวินัยสงฆ์โดยองค์กรมหาเถรสมาคม แต่กระนั้น ปัญหาของพุทธศาสนาในบ้านเราก็ยังสลับซับซ้อนมาก สามารถตั้งคำถามได้หลายทาง คำถามจากจุดยืนเสรีนิยมนั้น ว่าโดยหลักการแล้วพุทธศาสนาไม่ได้ปฏิเสธ การทำให้คณะสงฆ์เป็นอิสระจากรัฐไม่ได้สอดคล้องเฉพาะหลักการเสรีนิยมเท่านั้น แต่ยังสอดคล้องกับหลักการพุทธศาสนาแบบพุทธกาลอย่างมีนัยสำคัญด้วย นอกจากนี้พุทธศาสนายังยอมรับเสรีภาพที่จะเชื่อ จะสอน จะแยกนิกาย ไม่ถือว่าการแยกนิกายเป็นความผิดทางกฎหมาย แต่เมื่อเป็นนิกายเดียวกันก็ต้องปฏิบัติตามธรรมวินัยเดียวกันอย่างที่เรียกว่าต้องมีความเห็นร่วมกัน มีอุดมการณ์เดียวกัน เสมอภาคภายใต้หลักธรรมวินัยเดียวกัน ที่พูดเป็นศัพท์ทางพุทธว่ามี “ทิฐิสามัญญตา” และ “สีลสามัญญตา” อันเป็นหัวใจสำคัญในการปกครองตนเองด้วยธรรมวินัยซึ่งนักเสรีนิยมก็ต้องเคารพ (แม้ว่าข้อเท็จจริงอาจไม่ได้เป็นไปตามหลักการนี้ แต่ชาวพุทธเถรวาทก็มีสิทธิ์ที่จะเรียกร้องการปรับปรุงให้เป็นไปตามหลักการนี้ เช่นเดียวกับข้อเท็จจริงสังคมการเมืองยังไม่เป็นประชาธิปไตย ประชาชนก็มีสิทธิเรียกร้องให้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้เป็นไปตามหลักการประชาธิปไตย เป็นต้น) ขณะเดียวกัน หากพระสงฆ์หรือชาวพุทธกลุ่มใดเห็นว่า ตนไม่อาจปฏิบัติตามวินัยสงฆ์เถรวาทได้ ก็มีเสรีภาพจะแยกนิกายออกไป หรือแยกกลุ่มออกไปเหมือนสันติอโศก เป็นต้น หรือในญี่ปุ่นก็มีหลายนิกายบางนิกายพระมีเมียได้ ดื่มเหล้าได้ แต่ทำงานหาเงินเลี้ยงตัวเองไม่บิณฑบาต บางนิกายพระมีเมียไม่ได้ แต่ต่างนิกายก็จะไม่ก้าวก่ายกัน นี่เป็นเสรีภาพที่พุทธศาสนาไม่ห้ามอยู่แล้ว ในอนาคตพุทธศาสนาในไทยอาจเป็นเช่นนั้นก็ได้ ขึ้นอยู่กับว่าสังคมยอมรับหรือไม่ ผมขอทิ้งท้ายด้วยมุมมองที่สะท้อนความซับซ้อนของปัญหาอีกมุมหนึ่งให้ช่วยกันคิดต่อ ดังข้างล่างนี้ Vichak Panich ผมว่า dilemma ของธรรมกาย อยู่ตรงที่ ไม่รู้ว่าธรรมกาย ดำรงตนอยู่ในสถานะไหนในสังคมไทย เป็นพุทธ? ไม่เป็นพุทธ? เป็นเถรวาท? ไม่ใช่เถรวาท? เป็นลัทธินิกาย? หรือไม่ใช่? อยู่ภายใต้คณะสงฆ์? หรือไม่อยู่? การดำรงอยู่ของธรรมกาย เหมาะเหม็งกับภาวะความสับสนทางศรัทธา และความสับสนในโครงสร้างเศรษฐกิจ/การเมืองพอดิบพอดี ผลคือการลอยตัวอยู่ได้อย่างเมาๆ ไม่มีใครกล้าแตะ หรือไม่รู้จะใช้กระบวนการไหนในการแตะ พุทธศาสนาไทยในโลกสมัยใหม่ สับสนอย่างรุนแรง เพราะไม่เคยเรียนรู้ที่จะสัมพันธ์กับสังคมที่กว้างและหลากหลายขนาดนี้ การปรับตัวของพระเถรวาทสมัยใหม่แทนที่จะเคร่งครัดในธรรมวินัยซึ่งแสดงออกถึงความเรียบง่ายเป็นรากฐานและเปิดกว้างทางความคิด กลับตรงกันข้าม คือ แปร่งในธรรมวินัย (พยายาม cool ว่างั้น) แต่ความคิดคับแคบอย่างกะล่อน เพื่อสัมพันธ์กับ "ตลาด" ที่กว้างขึ้นในนามการเผยแผ่ศาสนา จึงเป็นลักษณะขยายอาณาเขตของตัวตน มากกว่าขยายอาณาเขตของใจ ผมมองว่า dilemma ของศาสนาในบ้านเราตอนนี้ จะไม่สามารถแก้ได้ด้วยศาสนาเอง แต่จะแก้ได้ ด้วยการผ่านการเปลี่ยนผ่านทางการเมือง ไปสู่ความเป็นประชาธิปไตย และสังคมโลกวิสัยเต็มตัว พูดง่ายๆ คือ ต้องทำให้ความศักดิ์สิทธิ์พังทลายไปให้ได้ก่อน
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
เสนอ ครม.ผลศึกษา “การจัดการน้ำลุ่มน้ำยม” คน 9 จว.เลือกสร้าง “เขื่อนแก่งเสือเต้น” Posted: 29 Aug 2012 05:01 AM PDT ก.เกษตรฯ รายงานผลศึกษาวิเคราะห์ระบบการจัดการน้ำลุ่มน้ำยม ต่อ ครม.เสนอ 4 ทางเลือก พร้อมระบุผลการประชุม “ทางเลือกในการจัดการลุ่มน้ำยม” พื้นที่ลุ่มน้ำยมบน-ล่าง 9 จังหวัด คน 6,313 หนุนทางเลือก 4 เปิดทางสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น ผู้สื่อข่าวรายงาน การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 28 ส.ค.55 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้รายงานผลการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เรื่อง การวิเคราะห์ระบบการจัดการน้ำลุ่มน้ำยม โดยใช้กระบวนการนโยบายสาธารณะแบบบูรณาการ ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการศึกษาฯ ตามที่เสนอ และให้แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบและนำผลการศึกษาไปเป็นกรอบในการกำหนดแผนงาน โครงการในพื้นที่ลุ่มน้ำยมตามอำนาจหน้าที่ของแต่ละหน่วยงานต่อไป สาระสำคัญของผลการศึกษาวิเคราะห์ระบบการจัดการน้ำลุ่มน้ำยม มี 2 ประเด็น ได้แก่ 1.การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเชิงกลยุทธ์ (Strategic Environmental Assessment: SEA) เป็นกระบวนการในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของนโยบาย แผน เพื่อนำไปสู่การตัดสินใจเชิงนโยบาย โดยจะได้มีการพิจารณาถึงผลกระทบทางลบ ทางบวกจากการดำเนินโครงการต่อมิติสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม โดยมีเป้าหมายอยู่ที่การพัฒนาที่ยั่งยืน ผลการศึกษาสรุปว่า ทางเลือกการจัดการน้ำในลุ่มน้ำยมมีด้วยกัน 4 ทางเลือก ดังนี้ 1.มีการพัฒนาเฉพาะมาตรการไม่ใช้สิ่งก่อสร้างและการปรับปรุงประสิทธิภาพการชลประทาน 2.มีการพัฒนาในมาตรการไม่ใช้สิ่งก่อสร้างและมาตรการใช้สิ่งก่อสร้างการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดกลาง ทั้งอ่างเก็บน้ำและฝาย/ประตูระบายน้ำตามลำน้ำยม รวมถึงการพัฒนาและจัดสรรน้ำโครงการขนาดเล็กในพื้นที่ประสบภัยแล้งซ้ำซาก 3.มีการพัฒนาในมาตรการไม่ใช้สิ่งก่อสร้างและมาตรการใช้สิ่งก่อสร้าง ทั้งโครงการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดกลางและแหล่งน้ำขนาดใหญ่ ได้แก่ เขื่อนแม่น้ำยม และเขื่อนแม่น้ำยมตอนบน และ 4.มีการพัฒนาในมาตรการไม่ใช้สิ่งก่อสร้างและมาตรการใช้สิ่งก่อสร้างทั้งการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดกลางและแหล่งน้ำขนาดใหญ่ ได้แก่ เขื่อนแก่งเสือเต้น นอกจากนั้น การศึกษาได้ระบุด้วยว่า ทางเลือกการพัฒนาโครงการ ตามข้อ 4 เป็นทางเลือกที่มีศักยภาพมากที่สุด โดยมีความยั่งยืนทางด้านสิ่งแวดล้อมเช่นเดียวกับทางเลือกที่ 1, 2, และ 3 ในด้านความยั่งยืนทางด้านเศรษฐกิจ ทางเลือกที่ 4 จะให้ผลประโยชน์สุทธิมากกว่าทางเลือกที่ 3 และทางเลือกที่ 2 ตามลำดับ ประเด็นที่ 2 การใช้นโยบายสาธารณะแบบบูรณาการ เป็นกระบวนการที่ให้ความสำคัญกับผู้ที่มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมอย่างจริงจังในกระบวนการศึกษาวิเคราะห์ระบบการจัดการลุ่มน้ำยม กระทรวงเกษตรฯ ระบุว่า ผลจากการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ “ทางเลือกในการจัดการลุ่มน้ำยม” ครอบคลุมพื้นที่ลุ่มน้ำยมตอนบนและลุ่มน้ำยมตอนล่าง รวม 9 จังหวัด ได้แก่ พะเยา ลำปาง น่าน แพร่ สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร กำแพงเพชร และนครสวรรค์ โดยจัดให้มีการประชุมรวมทั้งหมดจำนวน 9 ครั้ง โดยพื้นที่และกลุ่มประชากรเป้าหมายของการประชุมในพื้นที่ลุ่มน้ำยม ได้ครอบคลุมพื้นที่และกลุ่มประชากรเป้าหมายที่มาจากพื้นที่ลุ่มน้ำยมทั้ง 11 ลุ่มน้ำดังกล่าวข้างต้น มีพื้นที่ครอบคลุม 161 ตำบล 31 อำเภอ 10 จังหวัด มีจำนวนผู้เข้าร่วมประชุมถึง 6,313 คน ผลสรุปจากการมีส่วนร่วมในการจัดระดับความสำคัญของทางเลือกในการพัฒนาลุ่มน้ำยมพบว่า ผู้มีส่วนได้เสียส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับทางเลือกที่ 4 รองลงมาได้แก่ ทางเลือกที่ 3 ทางเลือกที่ 2 ทางเลือกที่ 1 ตามลำดับ ยกเว้นกลุ่มองค์กรอิสระที่ให้ความสำคัญกับทางเลือกที่ 4 น้อยที่สุด ทั้งนี้ มีการแจ้งด้วยว่า กระทรวงเกษตรฯ โดยกรมชลประทานได้นำส่งรายงานการศึกษาระบบการจัดการน้ำลุ่มน้ำยมโดยใช้กระบวนการนโยบายสาธารณะแบบบูรณาการไปยังกรมทรัพยากรน้ำ เพื่อนำเสนอคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติพิจารณาให้ความเห็นชอบ ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ตามกรอบความคิด (Conceptual Plan) เพื่อออกแบบก่อสร้างระบบบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืนและระบบแก้ไขปัญหาอุทกภัยของประเทศไทย (TOR) ที่เปิดโอกาสให้เอกชนทั้งในและต่างประเทศมาออกแบบภายใต้เงินงบประมาณเงิน 3.5 แสนล้านบาท ได้มีการกำหนดแผนงานโครงการสร้างอ่างเก็บน้ำอย่างเหมาะสมและยั่งยืนในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำ ซึ่งรวมถึงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำแก่งเสือเต้น ที่มีความจุประมาณ 1,175 ล้าน ลบ.ม.ในพื้นที่ลุ่มน้ำยมด้วย ผลการประชุม กบอ. อนุมัติ 3 โครงการ 769 ล้าน ในวันเดียวกัน (28 ส.ค.55) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการจัดทำโครงการ 3 โครงการ ตามมติผลการประชุมของคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) ครั้งที่ 8/2555 ภายในวงเงิน 769,311,374.85 บาท ตามที่ นายปลอดประสพ สุรัสวดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประธานกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัยเสนอ ประกอบด้วย 1.โครงการป้องกันน้ำท่วมของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียและสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เพื่อก่อสร้างกำแพงเข็มพืดคอนกรีต พนังคันดิน ประตูกั้นน้ำ ที่ประตูทางเข้า – ออก และถนนยกระดับบริเวณทางเข้าหลักร่วมกันของสามสถาบัน2.โครงการประตูน้ำ/สถานีสูบน้ำกึ่งถาวรปากคลองรังสิตประยูรศักดิ์ กรมชลประทาน3.โครงการก่อสร้าง Siphon เพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำบริเวณประตูระบายน้ำบางโฉมศรี กรมชลประทาน ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง สอดคล้องกับยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตของประเทศ ตามที่คณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (กยน.) กำหนด และเพื่อให้การรับสถานการณ์น้ำหลาก ตลอดจนการระบายน้ำ มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยให้มีการระบุหน่วยงานเจ้าของโครงการให้ชัดเจน เพื่อจัดส่งรายละเอียดแบบรูปรายการแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายเงินกู้ ที่สอดคล้องกับแผนงานตามกรอบการใช้จ่ายเงินกู้ฯ ที่เสนอไว้ต่อรัฐสภา ให้สำนักงบประมาณพิจารณาความเหมาะสมของราคา และให้ความเห็นชอบแผนการปฏิบัติงานฯ และจัดสรรวงเงินกู้ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารโครงการและการใช้จ่ายเงินกู้เพื่อการวางระบบบริหารจัดการน้ำ และสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ.2555 ข้อ 15 (1) และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณดังกล่าวตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 10 ก.ค.55 ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ หมายเหตุ: เรียบเรียงจากคลังข้อมูลสำนักข่าวอิศรา
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
นัดพิพากษา คดีสนธิ ลิ้มทองกุล หมิ่นเบื้องสูง 26 ก.ย.นี้ Posted: 29 Aug 2012 03:20 AM PDT
29 ส.ค.55 ที่ห้องพิจารณาคดี 908 ศาลอาญา รัชดา ศาลนัดสืบพยานคดีหมายเลขดำ อ.2066/2553 ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 10 เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายสนธิ ลิ้มทองกุล เป็นจำเลยในความผิดฐานหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ หรือพระราชินี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 กรณีเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2551 จำเลยนำคำปราศรัยของน.ส.ดารณี ชาญเชิงศิลปกุล หรือ ดา ตอร์ปิโด ที่พูดบนเวทีปราศรัยบริเวณสนามหลวง เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2551 มาเผยแพร่ซ้ำที่ปราศรัยบนเวทีของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย บริเวณสะพานมัฆวานรังสรรค์ ขณะที่ดารณีถูกศาลพิพากษาจำคุกแล้ว 15 ปี และถูกควบคุมตัวในเรือนจำมากว่า 4 ปี ขณะนี้อยู่ระหว่างการอุทธรณ์คดี ทั้งนี้ ภายหลังสืบพยานในวันนี้เสร็จสิ้น ศาลนัดฟังคำพิพากษาคดีนี้ ในวันที่ 26 กันยายน นี้ เวลา 09.00 น. นายสุวัตร อภัยภักดิ์ ทนายความ นำพยานเข้าเบิกความ รวม 3 ปาก โดยนายคำนูญ สิทธิสมาน สมาชิกวุฒิสภา หรือ ส.ว.สรรหา เบิกความสรุปว่า การพูดของนายสนธิ ลิ้มทองกุล ไม่ได้มีเจตนากระทำผิดตาม มาตรา 112 แต่ต้องการให้เจ้าหน้าที่บ้านเมืองบังคับใช้กฎหมายตามมาตรา 112 ซึ่งน.ส.ดารณี พูดจาจาบจ้วงและพาดพิงสถาบันเบื้องสูงหลายครั้ง เป็นความผิดซึ่งหน้า หากไม่มีใครจับกุม และถ้าปล่อยให้พูดอยู่เช่นนั้น ก็เท่ากับว่ากฎหมายบ้านเมืองเป็นหมัน นายคำนูญ กล่าวต่อว่า ภายหลังนายสนธิ ถูกพนักงานสอบสวนดำเนินคดี ตนเองเป็นคนที่ใช้ตำแหน่ง สมาชิกวุฒิสภา ประกันตัวให้นายสนธิ ที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล ทั้งนี้เมื่อปี 2548-2549 พบข้อความการหมิ่นประมาทสถาบันเบื้องสูง ปรากฏอยู่ตามเว็บไซด์จำนวนมาก ซึ่งนายสนธิก็ได้พูดในการจัดรายการทางโทรทัศน์รวมทั้งพูดบนเวทีการปราศรัย เรียกร้องให้เจ้าหน้าที่บ้านเมืองดำเนินการอย่างจริงจัง นายจินดา ประดับปัญญาวุฒิ บิดาน.ส.อังคณา ประดับปัญญาวุฒิ เบิกความเป็นพยานสรุปว่า ครอบครัวได้เข้าร่วมการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ เพราะมีความรักต่อสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัฐธรรมนูญและความถูกต้อง ต่อมาเมื่อเหตุการณ์สลายการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ ที่หน้ารัฐสภา น.ส.อังคณา ประดับปัญญาวุฒิ ลูกสาวคนโต ถูกยิงด้วยแก๊สน้ำตาเข้าที่ลำตัวบริเวณสีข้าง เสียชีวิตที่รพ.รามาธิบดี ขณะที่ภรรยาของตนเองก็ได้รับบาดเจ็บสาหัส นิ้วเท้าขาดและมีบาดแผลที่ขาทั้งสองข้าง รับรักษาที่ รพ.ศิริราช โดยสมเด็จพระราชินีทรงรับไว้ในพระบรมราชูปถัมป์ ด้านดร.อนันต์ เหล่าเลิศวรกุล อาจารย์คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาศาสตร์ ขึ้นเบิกความเป็นปากสุดท้ายว่า ได้อ่านเนื้อหาถอดเทปคำปราศรัยของนายสนธิแล้ว วิเคราะห์ได้ชัดเจนว่าผู้พูดมีเจตนาที่จะถ่ายทอดคำพูดของ น.ส.ดารณี เพื่อสื่อให้ประชาชนเห็นว่า น.ส.ดารณี มีพฤติกรรมจาบจ้วงเบื้องสูง อันเป็นสาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง ไม่ใช่ลักษณะของนำข้อความดังกล่าวมาพูดโดยตรง เป็นการบอกเล่าและถ่ายทอดข้อเท็จจริงที่ผู้พูดรับรู้มา เพื่อให้ผู้ฟังทราบเนื้อหาสาระของบุคคล ขณะที่วานนี้ (28ส.ค.) พล.ต.จำลอง ศรีเมือง แกนนำพันธมิตรฯ เบิกความเป็นพยานระบุว่า การชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ เป็นการปกป้องและรักษาสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์และการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น พระประมุขซึ่งตลอดการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯไม่เคยมีใครพูดจาจาบจ้วงสถาบัน และพยานก็ไม่ยอมให้ใครมาดูหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ด้วย เพราะพยานถือเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ และหากนายสนธิ จำเลยไม่จงรักภักดีต่อสถาบัน พยานคงจะไม่คบหากับนายสนธิมาจนถึงปัจจุบัน และในการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ เมื่อถึงวาระสำคัญ เช่น 12 ส.ค.และวันที่ 5 ธ.ค.ก็จะจัดกิจกรรมและให้มีการถวายความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวและสมเด็จพระราชินีนาถทุกครั้ง ซึ่งการพูดบนเวทีปราศรัยของนายสนธินั้น เป็นการสรุปคำพูดของน.ส.ดารณี สั้นๆเพียงแค่ 5 บรรทัด เพื่อให้คนฟังทราบ และให้ตำรวจปฏิบัติตามหน้าที่โดยไม่ได้ขยายความแต่อย่างใด โดยเมื่อนายสนธิพูดเสร็จ พยานก็เห็นด้วยว่าเป็นประโยชน์และจะทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเร่งรัดดำเนินคดี กับน.ส.ดารณี ซึ่งพูดจาบจ้วงและหมิ่นเบื้องสูงหลายครั้ง และคาดว่าหากไม่มีการดำเนินคดีใดๆ น.ส.ดารณี ก็คงจะกระทำผิดซ้ำอีก ขณะที่นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ โฆษกพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เบิกความเป็นพยานปากที่ 2 ระบุว่าการพูดปราศรัยของนายสนธิดังกล่าวสืบเนื่องมาจากที่ น.ส.ดารณี แนวร่วม นปช. ปราศรัยที่เวทีสนามหลวงมีเนื้อหาหมิ่นสถาบันเบื้องสูง จึงจำเป็นต้องขึ้นพูดบนเวทีพันธมิตรฯ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินคดีกับ น.ส.ดารณี เพราะก่อนหน้านี้พบว่าน.ส.ดารณีได้ปราศรัยในลักษณะเดียวกันนี้หลายครั้ง แต่ไม่เคยเป็นข่าวว่ามีการดำเนินการใดๆจากเจ้าหน้าที่ตำรวจเลย จนเมื่อนายสนธิได้พูดกับประชาชนให้รับรู้ว่าน.ส.ดารณีกระทำการหมิ่นเบื้อง สูง จึงได้มีการแจ้งความดำเนินคดีกับน.ส.ดารณี และภายหลังศาลมีคำพิพากษาจำคุก ซึ่งเห็นได้ว่านายสนธิไม่ได้มีเจตนาหมิ่นเบื้องสูง เพราะคนที่ได้รับฟังการปราศรัยนั้นไม่ได้คล้อยตามหรือเห็นด้วยกับการกระทำ ของ น.ส.ดารณี แต่แสดงความไม่พอใจกับคำพูดของน.ส.ดารณี และในการปราศรัยครั้งนั้นนายสนธิ ได้ว่ากล่าวน.ส.ดารณีด้วยจึงแสดงให้เห็นเจตนาชัดเจนที่แตกต่างกัน
ที่มา: เว็บไซต์ข่าวสด และเว็บไซต์คมชัดลึก ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ชี้ พ.ร.บ.ควบคุมยาสูบกระทบอาชีพ ชาวไร่เรียกร้องขอเพิ่มโควต้ายาสูบ Posted: 29 Aug 2012 02:56 AM PDT สมาคมผู้บ่มยาสูบชี้ พระราชบัญญัติควบคุมยาสูบกระทบอาชีพอย่างรุนแรง ถึงขั้นหมดอาชีพ วอนภาครัฐทบทวน ด้านกลุ่มชาวไร่ยาสูบแพร่เรียกร้องขอเพิ่มโควต้ายาสูบ 29 ส.ค. 55 - สมาคมผู้บ่มเพาะปลูกและผู้ค้าใบยาสูบในภาคเหนือ พร้อมตัวแทนชาวไร่ ยาสูบภาคเหนือ แสดงความไม่เห็นด้วยกับการร่างพระราชบัญญัติควบคุมการบริโภคยาสูบ โดยระบุว่า ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้หลายประเด็น กระทบต่อชาวไร่ยาสูบซึ่งเป็นต้นน้ำของ ธุรกิจยาสูบ สมาคมฯ มีความเห็นว่าใช้ถ้อยคำที่กว้างและขาดความชัดเจน และให้อำนาจกับ กระทรวงสาธารณสุขในการออกกฎเกณฑ์เพื่อขยายอำนาจกับเจ้าหน้าที่ภายหลัง ซึ่งหลาย กรณีเป็นการจำกัดหรือริดรอนสิทธิ์เสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ ที่ควรผ่านกระบวนการของสภา- ผู้แทนราษฎร โดยเฉพาะข้อห้ามการใช้ส่วนประกอบ ในการผลิตภัณฑ์ยาสูบเช่นน้ำตาล หรือให้ผู้ผลิตแสดงส่วนผสมซึ่งเป็นสูตรเฉพาะของยาสูบแต่ละยี่ห้อ พร้อมทั้งลดพื้นที่ เพาะปลูกยาสูบลงภายในปี 2558-2563 ซึ่งสามารถบีบบังคับ ให้ชาวไร่ยาสูบและผู้บ่ม ถึงขั้นหมดอาชีพ จึงเรียกร้องให้ภาครัฐทบทวนร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว กลุ่มชาวไร่ยาสูบแพร่เรียกร้องขอเพิ่มโควต้ายาสูบ วันเดียวกันนี้ (29 ส.ค. 55) กลุ่มชาวไร่ใบยาสูบอำเภอสองและอำเภอลอง จังหวัดแพร่ กว่า 150 คน นำโดยนายเอนก บุญศัพท์ ชุมนุมบริเวณด้านหน้าสำนักงานยาสูบ เรียกร้องขอความ ชัดเจน เรื่องโรงงานยาสูบ หักโควต้าของชาวไร่ 40.88 เปอร์เซ็นต์ ของชาวไร่สถานีทุ่งน้าว และสถานีร้องกวาง โดยให้คืนโควต้าแก่ชาวไร่ทั้งสองสถานีฯ พร้อมเรียกร้องให้ระงับการ ย้าย นายรณกร ลือราช หัวหน้าสถานีใบยาทุ่งน้าว ซึ่งชาวไร่ยาสูบต้องการให้อยู่ช่วยเหลือ แนะนำในการผลิตใบยาสูบต่อไป นายสมพงษ์ ทาสุวรรณ ผู้จัดการสำนักงานยาสูบแพร่ ได้เชิญตัวแทนชาว ชาวไร่เข้าเจรจา พร้อมชี้แจงแก่ผู้ชุมนุมว่า โควต้ายาสูบถูกลดมาตั้งแต่ปี 2540 แล้ว เนื่อง จากได้รับผลกระทบจากการรณรงค์ต่อต้านการสูบบุหรี่ รวมทั้งการปรับขึ้นภาษีบุหรี่ ทำให้ ยอดขายตก จำเป็นต้องลดโควต้ารับซื้อใบยาสูบจากชาวไร่ยาสูบ พร้อมรับปากจะนำข้อ เสนอเรื่องขอโควต้าของชาวไร่ไปเสนอผู้บริหารระดับสูงพิจารณา ส่วนกรณีคำสั่งย้าย หัวหน้าสถานีใบยาทุ่งน้าว ยังไม่มีคำสั่งแต่ประการใด และถ้าหากมีการย้ายเพื่อไปรับ ตำแหน่งสูงขึ้น ก็น่าจะส่งเสริมเพราะเป็นความเจริญก้าวหน้าของคนทำงาน ที่มาข่าว: สำนักประชาสัมพันธ์เขต 3 จังหวัดเชียงใหม่ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
สมาชิกสภายุโรปเยือนไทย ภาคประชาชนยื่นจดหมายต้านเอฟทีเอ Posted: 29 Aug 2012 02:04 AM PDT
29 ส.ค.55 ภาคประชาสังคมไทยส่งตัวแทนเข้ายื่นจดหมายกับสมาชิกสภายุโรป นายแวร์เนอร์ ลาเกน และคณะที่ได้เดินทางมาเยือนประเทศไทยถึงข้อห่วงใยต่อการทำเอฟทีเอของสหภาพยุโรปที่บังคับให้ประเทศคู่เจรจาต้องยอมรับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่เกินไปกว่ามาตรฐานในองค์การการค้าโลก ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการเข้าถึงยาของประชาชนในประเทศกำลังพัฒนา อีกทั้งยังขัดต่อมติของสภายุโรป จึงขอให้สมาชิกสภายุโรปได้ตรวจสอบการกระทำดังกล่าวอย่างใกล้ชิด รายละเอียดของจดหมายมีดังนี้
29 สิงหาคม 2555
เรียน สมาชิกสภายุโรปที่เดินทางมาเยือนประเทศไทย (นายแวร์เนอร์ ลาเกน)
เรา ในฐานะภาคประชาสังคมที่ทำงานส่งเสริมการเข้าถึงยาในราคาที่เป็นธรรมอย่างถ้วนหน้าในประเทศไทย ขอชื่นชมสภายุโรปที่ตัดสินใจอย่างเด็ดเดี่ยวไม่ยอมรับร่างความตกลงการค้าต่อต้านสินค้าปลอมแปลง (The Anti-counterfeiting Trade Agreement -ACTA) การกระทำดังกล่าวได้ยืนยันให้เห็นถึงเจตจำนงค์ของสภายุโรปที่ให้ความสำคัญกับสิทธิของประชาชนในการมีสุขภาพที่ดี และตระหนักว่าการสาธารณสุขของปวงชนสำคัญกว่าผลประโยชน์การค้า ความตกลง ACTA ที่มีข้อผูกพันที่ขัดขวางการเข้าถึงยาชื่อสามัญที่มีคุณภาพและชอบธรรมของโลก ถือเป็นภัยคุกคามต่อการสาธารณสุข ด้วยข้อจำกัดที่เข้มงวดในข้อตกลงนี้ ยาชื่อสามัญที่จะใช้ช่วยชีวิตประชาชนเสี่ยงที่จะถูกยึดจับที่ท่าขนส่งสินค้าในระหว่างการขนส่งไปยังประเทศปลายทาง เพียงเพราะยาเหล่านั้นถูกต้องสงสัยว่าเป็นเวชภัณฑ์ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาในประเทศกลางทางที่แวะถ่ายสินค้า ถึงแม้ว่ายาเหล่านั้นจะเป็นยาที่มีคุณภาพและปลอดภัย และการคุ้มครองสิทธิบัตรจบสิ้นลงแล้วหรือไม่ได้จดสิทธิบัตรในทั้งในประเทศต้นทางและปลายทางก็ตาม มาตรการยึดจับสินค้าในระหว่างการขนส่ง หรือที่รู้จักในชื่อ “มาตรการ ณ จุดชายแดน” จะสกัดกั้นไม่ให้มีการขนส่งยาชื่อสามัญที่ชอบธรรมและถูกกฎหมายไปยังมือผู้ป่วยนับล้านคนในประเทศกำลังพัฒนาและพัฒนาน้อยที่สุดได้ ซึ่งยาดังกล่าวเป็นยาจำเป็นที่จะช่วยรักษาชีวิตไว้ได้ในราคาที่ไม่แพง ข้อกำหนดในแอ็คต้าเช่นนี้ ถือได้ว่าเป็นมาตรการที่เข้มงวดเกินกว่ามาตรฐานด้านทรัพย์สินทางปัญญาของโลก (ข้อตกลงทริปส์ขององค์การการค้าโลก) และขัดต่อปฎิญญาโดฮาว่าด้วยข้อตกลงทริปส์กับการสาธารณสุขขององค์การการค้าโลกอย่างสิ้นเชิง ถึงแม้ว่าสภายุโรปจะมีมติเป็นเอกฉันท์ปฏิเสธ ร่างความตกลง ACTA เมื่อไม่นานมานี้ก็ตาม เรายังคงมีความกังวลอย่างยิ่งว่าข้อกำหนดในลักษณะเดียวกับมาตรการ ณ จุดชายแดนของ ACTA ได้รวมอยู่ในข้อตกลงเขตการค้าเสรี (หรือ เอฟทีเอ) ที่สหภาพยุโรปกำลังเจรจาหรือจะเปิดการเจรจากับประเทศคู่ค้าเป้าหมาย ซึ่งรวมถึง กลุ่มประเทศอาเซียน อินเดีย และไทย สิ่งที่เลวร้ายไปกว่านั้น ข้อกำหนดอื่นๆ อีกจำนวนมาก ที่เข้มงวดเกินกว่าข้อตกลงทริปส์ หรือที่เรียกว่า “มาตรการทริปส์ผนวก” (เช่น การผูกขาดข้อมูลทางยา การขยายการคุ้มครองสิทธิบัตร การบังคับใช้กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาที่เข้มงวด การผูกขาดข้อมูลทางยาในเรื่องสิ่งบ่งชี้ใหม่ การคุ้มครองการลงทุน ฯลฯ) ได้ถูกกำหนดอยู่ในเนื้อหาข้อตกลงเขตการค้าเสรีของสหภาพยุโรปทั้งสิ้น ข้อกำหนดแบบทริปส์ผนวกเช่นนี้จะกีดกันการแข่งขันของยาชื่อสามัญอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จะขัดขวางไม่ให้ประเทศคู่ค้านำมาตรการคุ้มครองการสาธารณสุขได้โดยปริยาย (ถึงแม้จะไม่ได้ห้ามไม่ให้นำมาใช้) และจะเป็นอุปสรรคทำให้ประชาชนในประเทศกำลังพัฒนาเข้าไม่ถึงยาจำเป็นในที่สุด ด้วยการบีบบังคับให้ประเทศคู่ค้ายอมรับข้อตกลงเขตการค้าเสรีที่มีมาตรการทริปส์ผนวกทั้งทางตรงและทางอ้อม คณะกรรมาธิการยุโรปด้านการค้ากำลังกระทำการในทิศทางที่สวนทางกับมติของสภายุโรปว่าด้วยโรคสำคัญและโรคที่ถูกละเลยในประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งได้มีการแปรมติแล้ว (การแปรมติเลขที่ 2005/2047 (INI)) ในการแปรมติข้อที่ 1 เรียกร้องให้ขยายประเภทของโรคที่ถูกละเลย และเน้นให้คณะกรรมาธิการยุโรปนำการแปรมติข้อนี้ไปปรับใช้ให้ครอบคลุมโรคอื่นๆ นอกเหนือจากเอชไอวี/เอดส์ มาลาเรีย และวัณโรค นอกจากนั้น ในข้อที่ 61 สภายุโรปเรียกร้องให้คณะกรรมาธิการยุโรปและประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป สนับสนุนให้มีการปฏิบัติตามปฏิญญาโดฮาอย่างจริงจังและต่อต้านการกระทำใดๆ ก็ตามของประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลก ที่ละเมิดคำมั่นสัญญาที่ได้ตกลงร่วมกันในปฎิญญาที่เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาและการสาธารณสุขดังกล่าว โดยเฉพาะการกระทำที่ผ่านการเจรจาที่มีข้อผูกพันแบบทริปส์ผนวกในข้อตกลงเขตการค้าเสรีใดๆ ก็ตาม ดังนั้น เราจึงขอเรียกร้องให้สมาชิกของสภายุโรปรักษาเจตจำนงค์ของพวกท่านที่เห็นความสำคัญกับผลประโยชน์ด้านสุขภาพมากกว่าผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ และนำหลักการเดียวกันนี้ไปใช้กับการเจรจาข้อตกลงเขตการค้าเสรี เฉกเช่นเดียวกับที่ทำกับความตกลง ACTA นอกจากนี้ เรายังขอเรียกร้องให้สมาชิกสภายุโรปตรวจสอบและติดตามการเจรจาข้อตกลงเขตการค้าเสรีที่มีเงื่อนไขแบบทริปส์ผนวกต่างๆ ซึ่งขัดแย้งกับมติของสภายุโรปดังที่กล่าวไว้ข้างต้น
ขอแสดงความนับถือ
เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทย คณะกรรมการองค์กรพัฒนาเอกชนด้านเอดส์ มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ มูลนิธิศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์ เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก ชมรมเพื่อนโรคไต เครือข่ายเพื่อนมะเร็ง มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค มูลนิธิเภสัชชนบท กลุ่มศึกษาปัญหายา มูลนิธิชีววิถี มูลนิธิบูรณะนิเวศ มูลนิธิสุขภาพไทย กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (FTA Watch)
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ชาวบ้านเขาบรรทัดขู่ยกพลยึดจุดสำคัญภาคใต้ หากป่าไม้ไม่เลิกรุกโค่นยาง Posted: 29 Aug 2012 02:04 AM PDT ม็อบเทือกขาบรรทัดปิดถนนเพชรเกษม ขีดเส้นตาย 3 วันให้รัฐมนตรีกระทรวงทรัพยากรฯ เจรจา ขู่ไม่เลิกโค่นยาง ยกพลยึดจุดสำคัญภาคใต้ เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 28 สิงหาคม 2555 ที่หน้าที่ทำการเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเทือกเขาบรรทัด ตำบลบ้านนา อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง แนวร่วมปกป้องสิทธิที่ดินทำกินดั้งเดิมริมเทือกเขาบรรทัด ชุมนุมกรณีนโยบายปราบปรามผู้บุกรุกทำลายป่าอนุรักษ์ในภาคใต้ ของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ที่ตัดฟันยางพาราชุมชนดั้งเดิมที่ถูกประกาศทับที่ โดยมีชาวบ้านผู้เดือดร้อนจากจังหวัดพัทลุง ตรัง และนครศรีธรรมราช ร่วมประมาณ 500 คน ท่ามกลางฝนตกหนัก จากนั้น ในเวลา 11.00 น. ชาวบ้านได้เคลื่อนขบวนปิดถนนเพชรเกษม ฝั่งขามาจากจังหวัดพัทลุง 2 ช่องทางจราจร เรียกร้องนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เดินทางมาเจรจากับชาวบ้าน เพื่อหาทางออกกรณีนโยบายปราบปรามผู้บุกรุกทำลายป่าอนุรักษ์ในภาคใต้ ของกรมอุทยานฯ อย่างไรก็ตาม เมื่อแกนนำจากจังหวัดพัทลุง ตรัง และนครศรีธรรมราช ร่วมหารือเพื่อประเมินสถานการณ์ได้มีมติออกมาว่าเรียกร้องให้ผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุงลงมาพบกับชาวบ้าน เพื่อเจรจาหาทางออก โดยขีดเส้นตายว่าต้องมาถึงภายในครึ่งชั่วโมง ไม่เช่นนั้นจะปิดถนนทั้ง 4 ช่องทางจราจร ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ว่าที่ ร.ต.สมโภชน์ สุวรรณรัตน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง ปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าการราชจังหวัดพัทลุง ประสานงานมายังชาวบ้านว่า จะมาพบกับชาวบ้านเพื่อเจรจาหาทางออก แทนนายวิญญู ทองสกุล ผู้ว่าราชการพัทลุง ซึ่งปฏิบัติภารกิจอยู่ที่กรุงเทพมหานคร แต่จนกระทั้งเวลา 15.30 น.รองผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง ยังเดินทางมาไม่ถึงชาวบ้านจึงปิดถนนทั้ง 4 ช่องทาง ทำให้การจราจรติดขัดอย่างหนัก ต่อมาเวลา 16.00 น. ชาวบ้านได้เปิด 2 ช่องทางจราจรเพื่อให้ว่าที่ ร.ต.สมโภชน์ ซึ่งรถติดอยู่ให้เดินทางมาพบกับชาวบ้าน และเมื่อเดินทางมาถึงก็ได้มีการเปิดห้องเจรจาภายในที่ทำการเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเทือกเขาบรรทัด โดยมีเจ้าหน้าที่กรมอุทยานฯ ตำรวจ นักการเมืองท้องถิ่น และแกนนำชาวบ้านจากจังหวัดพัทลุง ตรัง และนครศรีธรรมราช 14 คนร่วมพูดคุย ผลการเจรจา รองผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุงรับปากที่จะทำตามข้อเรียกร้องของแนวร่วมปกป้องสิทธิที่ดินทำกินดั้งเดิมริมเทือกเขาบรรทัด โดยจะทำหนังสือไปยังปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในวันที่ 29 สิงหาคม 2555 นี้ ให้ส่งเรื่องถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อหาทางออกร่วมกันแก้ปัญหาเรื่องการตัดฟันยางพาราในที่ดินทำกินเดิม ในจังหวัดพัทลุง ตรัง และนครศรีธรรมราช โดยให้ตัวแทนแนวร่วมฯ ไปรับสำเนาหนังสือ ทั้งนี้ ในระหว่างที่ยังไม่เจรจากับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ข้อเรียกร้องที่จะให้ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องชะลอการดำเนินการตัดฟันยางพาราของชาวบ้าน จนกว่าจะหาทางออกในการแก้ปัญหาร่วมกันนั้นว่าที่ ว่าที่ ร.ต.สมโภชน์ ไม่รับปาก นายอานนท์ สีเพ็ญ ตัวแทนแนวร่วมปกป้องสิทธิที่ดินทำกินดั้งเดิมริมเทือกเขาบรรทัด กล่าวในการเจรจาว่า ทำอย่างไรให้ชาวบ้านมีหลักประกันว่าชาวบ้านจะไม่ถูกเจ้าหน้าที่อุทยานฯ ฟันยาง โดยขอให้หัวหน้าอุทยานแห่งชาติเขาปู่-เขาย่า และหัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเทือกเขาบรรทัดลงนามร่วมกัน ว่าที่ ร.ต.สมโภชน์ จึงได้ลงนามร่วมกับนายอานนท์ สีเพ็ญ ตัวแทนแนวร่วมปกป้องสิทธิที่ดินทำกินดั้งเดิมริมเทือกเขาบรรทัด นายประยุทธ ชุมเรียง ผู้อำนวยการส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 6 (สงขลา) พันตำรวจเอกวีระชัย เสฏฐปัญโญ ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง นายประภักดิ์ ชูทิพย์ สมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพัทลุง เขตอำเภอศรีนครินทร์ ซึ่งเป็นที่พอใจของชาวบ้าน จากนั้นว่าที่ร้อยตรีสมโภชน์ ได้พูดกับชาวบ้านที่หน้าเวทีปราศรัย แล้วเดินทางกลับ นายสายัญ ทองสม อดีตผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 4 ตำบลละมอ อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง ปราศรัยว่า หากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไม่ลงมาเจรจากับชาวบ้านภายใน 3 วัน หรือในระหว่างที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไม่ลงมาเจรจา หากเจ้าหน้าที่อุทยานฯ บุกฟันยางพาราชาวบ้านแนวร่วมปกป้องสิทธิที่ดินทำกินดั้งเดิมริมเทือกเขาบรรทัดจะปิดสถานที่สำคัญในภาคใต้ เวลา 19.30 น. แนวร่วมปกป้องสิทธิที่ดินทำกินดั้งเดิมริมเทือกเขาบรรทัดสลายการชุมนม ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
Posted: 29 Aug 2012 02:01 AM PDT |
You are subscribed to email updates from ประชาไท To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น