ประชาไท | Prachatai3.info |
- ‘สุรชัย’กลับเรือนจำ หลังเข้ารพ. รักษาต่อมลูกหมากโต
- นายกฯ ซีเรียเข้าร่วมฝ่ายต่อต้านรัฐบาลแล้ว
- สำนักข่าวอิศรา: กก.สิทธิฯ มองไฟใต้ ชี้ความมั่นคงต้องมาก่อนหลักนิติธรรม
- ลอบบึ้มชุดคุ้มครองครูรามัน สุคิริน ทหาร ชรบ. เจ็บ
- เปิดตัวหนังสั้น “อยู่ด้วยกัน” ลดตีตราเด็กติดเชื้อเอชไอวี
- แจกหนังสือ 'ประวัติขบวนการประชาธิปไตยเกาหลี' โหลดฟรี
- ตำรวจปากีสถานถูกพักงานหลังเปลือยผู้ต้องหาแห่ประจาน
- เก็บตกเสวนา: บทบาทสถาบันกษัตริย์และภารกิจสองข้อในการปฏิรูปประชาธิปไตย
- กรรมการสิทธิฯ "อินโดนีเซีย" เผยผลสอบการล่าสังหารในยุคซูฮาร์โต
‘สุรชัย’กลับเรือนจำ หลังเข้ารพ. รักษาต่อมลูกหมากโต Posted: 06 Aug 2012 11:31 AM PDT 6 ส.ค.55 นางปราณี ด่านวัฒนานุสรณ์ ภรรยาของนายสุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ (แซ่ด่าน) แจ้งว่า นายสุรชัย ซึ่งเข้ารับการรักษาอาการต่อมลูกหมายโตที่ รพ.ตำรวจตั้งแต่วันที่ 23 ก.ค.ที่ผ่านมา ได้ถูกส่งตัวกลับมายังเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ แล้วในวันนี้ เนื่องจากสามารถถอดท่อที่ต่อไว้เพื่อปัสสาวะเองได้แล้ว แม้จะยังมีอาการแสบอยู่ ส่วนสาเหตุที่ต้องอยู่โรงพยาบาลค่อนข้างนานเพราะต้องทำการรักษาถึง 2 ครั้ง ครั้งแรกดำเนินการแล้วแต่ไม่สำเร็จ ไม่สามารถปัสสาวะเองได้ต้องสอดท่อพิเศษ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายสุรชัยมีอาการค่อนข้างดี หน้าตาแจ่มใส และสามารถพูดคุยได้เป็นปกติ โดยได้กล่าวถึงข่าวคราวการเมืองโดยเฉพาะกรณี ‘เต่านา’ หรือ ม.ล.มิ่งมงคล โสณกุล ที่ขึ้นปกมติชนสุดสัปดาห์กับวาทะเด็ด “รักที่สุดคือในหลวง ห่วงที่สุดคือคนที่รักในหลวงจนเสียสติ” โดยให้กำลังใจว่าเป็นคำกล่าวที่ถูกต้องและเป็นการเตือนสติสังคมไทยได้เป็นอย่างดี ส่วนแรงเสียดทานที่ได้รับก็เป็นเรื่องปกติและเป็นสิ่งคาดเดาได้สำหรับสภาพสังคมไทยปัจจุบัน ด้านนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข ผู้ต้องขังคดี 112 ซึ่งอยู่เรือนจำเดียวกับสุรชัย ระบุว่าอยากให้สุรชัยนอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลจนกว่าจะหายสนิท เนื่องจากเป็นห่วงว่าหากส่งกลับมายังเรือนจำอย่างรวดเร็ว อาจมีอาการติดเชื้อได้เพราะสภาพเรือนจำไม่สะอาดและมีสภาพแออัด ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
นายกฯ ซีเรียเข้าร่วมฝ่ายต่อต้านรัฐบาลแล้ว Posted: 06 Aug 2012 09:46 AM PDT ริอาด ฟาริด ฮิญาบ นายกรัฐมนตรีคนล่าสุดของซีเรี วันที่ 6 ส.ค. 2012 ริอาด ฟาริด ฮิญาบ นายกรัฐมนตรีคนล่าสุดของซีเรี สำนักข่าวอัลจาซีร่า รายงานว่า อดีตนายกรัฐมนตรีที่เพิ่งได้รั "ผมขอประกาศในวันนี้ว่า ผมขอถอนตัวออกจากรัฐบาลที่เป็ เอตรี กล่าวปฏิเสธด้วยว่าริอาดไม่ได้ เอตรี เปิดเผยว่าการย้ายข้างของริอาด มีการเตรียมการอยู่หลายเดือน และกระทำการร่วมกันกับกลุ่ นอกจากนี้อดีตนายกรัฐมนตรียั อย่างไรก็ตาม ริอาดเตือนว่ารัฐบาลซีเรียมี "รัฐบาลพูดภาษาเดียว คือภาษาการนองเลือด" เอตรีกล่าวต่ออัลจาซีร่า ไม่มีทางเลือก ประธานาธิบดี บาชาร์ อัล-อัสซาด ได้แต่งตั้งริอาด เป็นนายกฯ เมื่อวันที่ 23 มิ.ย. ที่ผ่านมาหลังการเลือกตั้ง ส.ส. ในเดือนพ.ย. เอตรีอ้างว่า อดีตนายกฯ ไม่มีทางเลือกเมื่อเขาได้รับแต่ "การถอนตัวของเขามีการวางแผนไว้ "ผมเชื่อว่าเขาเป็นเจ้าหน้าที่ สื่อซีเรียรายงานว่า โอมาร์ กัลลิวานจี ได้รับแต่งตั้งให้เป็นรั ริอาด ฟาริด ฮิญาบ เป็นส่วนหนึ่งของพรรคบาธตั้งแต่ รูลา อามิน นักข่าวอัลจาซีร่ อดีตที่ปรึกษาของประธานาธิบดี ที่มา Syrian prime minister joins opposition, Aljazeera, 06-08-2012 ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
สำนักข่าวอิศรา: กก.สิทธิฯ มองไฟใต้ ชี้ความมั่นคงต้องมาก่อนหลักนิติธรรม Posted: 06 Aug 2012 08:57 AM PDT นักวิชาการ เผยสหประชาชาติติงการใช้กฎอัยการศึก-พ.ร.ก.ฉุกเฉิน แก้ปัญหาชายแดนใต้ ระบุการจำกัดสิทธิต้องชัดเจน พิสูจน์ได้ว่าจำเป็น-มีกม.รองรับ ไม่ได้ทำตามอำเภอใจ วันที่ 6 สิงหาคม คณะอนุกรรมการวิชาการว่าด้วยหลักนิติธรรมสากล ในคณะกรรมการอิสระว่าด้วยการส่งเสริมหลักนิติธรรมแห่งชาติ (ศอ.นธ.) จัดสัมมนาวิชาการ “หลักนิติธรรมระหว่างประเทศเพื่อสิทธิมนุษยชน” ณ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศ.วิทิต มันตาภรณ์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวปาฐกถาพิเศษ “หลักนิติธรรมระหว่างประเทศเพื่อสิทธิมนุษยชน” ตอนหนึ่งว่า หลักนิติธรรม (Rule of Law) ในระดับสากลนั้น หากมีการตีความความหมายอย่างกว้างก็จะครอบคลุมทั้งเรื่องสิทธิทางการเมือง การแสดงออก สิทธิมนุษยชน การขึ้นศาล กฎหมาย สังคม เศรษฐกิจ ความเป็นธรรมและธรรมาภิบาล ซึ่งเมื่อเกิดสหประชาชาติขึ้นก็ทำให้หลักนิติธรรมมีหลักประกันที่แน่ชัดผ่านสนธิสัญญา ข้อตกลงต่างๆ “ในส่วนของประเทศไทยนั้น แม้ปัจจุบันรัฐธรรมนูญปี 2550 เช่น มาตรา 3 จะกำหนดให้การปฏิบัติหน้าที่ของรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล รวมทั้งองค์กรตามรัฐธรรมนูญและหน่วยงานของรัฐต้องเป็นไปตามหลักนิติธรรม ซึ่งถือเป็นเรื่องดี แต่การมองเรื่องสิทธิมนุษยชนจากรัฐธรรมนูญไทยอย่างเดียวนั้นคงไม่เพียงพอ เพราะที่มาของรัฐธรรมนูญไทยส่วนใหญ่มาจากพลังบางอย่าง หรือการใช้ความรุนแรงบางส่วน เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ทำให้อาจมีปัญหาเรื่องหลักสากล การเป็นที่ยอมรับ ดังนั้นเห็นว่า การมองเรื่องหลักนิติธรรมจึงต้องดูกระแสสากลควบคู่ไปด้วย นอกจากนี้เมื่อหลักนิติธรรมเป็นเรื่องของการใช้อำนาจ การตรวจสอบและถ่วงดุล (check and balance) จึงเป็นคานสำคัญในการใช้อำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหารและฝ่ายตุลาการ” ศ.วิทิต กล่าวต่อว่า ปัจจุบันไทยเป็นภาคีสมาชิกสนธิสัญญา ในเรื่องสิทธิมนุษยชน 7 ฉบับ ได้แก่ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิของพลเมือง พลเรือนและสิทธิทางการเมือง กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิสตรีฯ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กฯ อนุสัญญาว่าด้วยการปฏิบัติที่กีดกั้นทางเชื้อชาติ อนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการกระทำที่เหยียดหยาม และอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการ "นอกจากนั้นยังมีความสนใจในกฎหมายอีก 2 ฉบับคืออนุสัญญาว่าด้วยสิทธิแรงงานต่างด้าว และอนุสัญญาว่าด้วยการห้ามอุ้ม เช่นกรณีคดีนายสมชาย นีละไพจิตร ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างรอการเป็นภาคีอย่างเต็มตัว" ศ.วิทิต กล่าวว่า ทั้งนี้ ผลของการเป็นภาคีคือ ต้องปฏิรูปกฎหมาย นโยบายและการปฏิบัติ เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล รวมทั้งถูกตรวจสอบตรง จากกรรมการของสหประชาชาติ โดยส่งรายงานแห่งชาติเป็นครั้งคราว ซึ่งหากมีคำแนะนำจากกรรมการดังกล่าวก็ควรปฏิบัติตาม “เช่นในส่วนของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิของพลเมือง พลเรือนและสิทธิทางการเมืองนั้น พบว่าคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ ได้ฝากข้อคิดให้กับหลายประเทศ รวมทั้งไทยด้วยว่า การจำกัดสิทธิเสรีภาพในหลายส่วนนั้นสามารถจำกัดได้ แต่ในส่วนที่เป็นสิทธิเด็ดขาดไม่สามารถจำกัดได้เลย เช่น ห้ามทรมาน ห้ามค้าทาส สิทธิในการมีชีวิตไม่ถูกประทุษร้าย ไม่ถูกอุ้ม รวมทั้งการประหารผู้ที่ต่ำกว่าอายุ 18 ปี ขณะที่การประกาศกฎอัยการศึก ในเหตุฉุกเฉินต่างๆนั้น จะต้องมีความโปร่งใส พร้อมทั้งแถลงให้สหประชาชาติได้รับทราบ ซึ่งที่ผ่านมาคาดว่าในประเทศไทยมีการแถลงประกาศใช้กฎหมายดังกล่าวเพียง 1-2 ครั้งเท่านั้นคือในช่วงปีเหตุการณ์ความขัดแย้งช่วงเดือนเม.ย.-พ.ค. ปี 2553 โดยส่วนตัวจึงเห็นว่าต่อไปจะต้องมีการแถลงประกาศใช้ หรือขยายเวลาการใช้กฎหมายดังกล่าว พร้อมทั้งต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าการจำกัดสิทธินั้นมีความจำเป็นจริงๆ มีกฎหมายรองรับ ไม่ใช่เป็นไปตามอำเภอใจของผู้บริหาร ที่สำคัญต้องมีวัตถุประสงค์ตามหลักสากลคือ มุ่งไปสู่ประชาธิปไตยที่ประชาชนมีส่วนร่วม”
“ส่วนที่จะมีการนำพระราชบัญญัติรักษาความมั่นคงแห่งรัฐใหม่ มาใช้แทนกฎอัยการศึก และ พ.ร.ก.ฉุกเฉินนั้น อยากฝากข้อคิด โดยเฉพาะมาตรา 22 เรื่องการกำหนดให้สามารถฝากตัวบุคคลที่ต้องสงสัยเข้าสู่การอบรมได้ แม้จะเป็นไปโดยความยินยอม แต่ผู้ที่ติดแบล็คลิสต์อาจประเมินแล้ว เห็นว่าจำเป็นต้องเลือกเข้าสู่กระบวนการดังกล่าว ทำให้ความยิมยอมไม่ได้เกิดขึ้นอย่างแท้จริง” ศ.วิทิต กล่าว และว่า ทั้งนี้ สำหรับมาตรการในการแก้ปัญหาชายแดนภาคใต้ต่อไปนั้น ตนเห็นว่าการเยียวที่แท้จริงตามหลักนิติธรรมนั้น ต้องเป็นการเยียวยาทางพลเรือน ไม่ใช่การเยียวยาฉุกเฉิน ขณะเดียวกันต้องหาทางออกโดยวิธีทางที่สันติควบคู่ไปกับการมีส่วนรวมของภาคประชาชน แต่ทุกวันนี้ยังไม่เห็นการมีส่วนรวมของภาคประชาชนมากนัก กสม.ชี้ความมั่นคงต้องมาก่อนนิติธรรม “แม้ในรัฐธรรมนูญของไทยจะมีการพูดถึงหลักนิติธรรม แต่ไม่ได้มีการอธิบายในรายละเอียดว่าต้องทำอย่างไร ดังนั้น การปฏิบัติจึงต้องยึดแนวทางของต่างประเทศที่เป็นสากล” ส่วนที่มีการใช้กฎหมาย เช่น พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เพื่อความมั่นคงทางภาคใต้ของไทยนั้น พล.ต.อ.วันชัย กล่าวว่า แม้เรื่องนี้จะกระทบกระทั่งขอบเขตของระบบนิติธรรมอย่างแน่นอน แต่อย่างไรก็ตามเห็นว่าสามารถยกเว้นได้ในบางข้อ เนื่องจากหลักความมั่นคงของรัฐ และสาธารณชนคงต้องมาก่อนหลักนิติธรรม เพราะความมั่นคงถือเป็นของส่วนรวม ถ้าความมั่นคงอยู่ไม่ได้ สาธารณชนอยู่ไม่ได้ หลักนิติธรรมคงอาศัยอยู่ในบ้านที่ไฟไหม้ไม่ได้เช่นกัน ด้าน นายชาญเชาวน์ ไชยานุกิจ รองปลัดกระทรวงยุติธรรม กล่าวว่าในเรื่องหลักนิติธรรม ประเทศไทยต้องไม่ยึดติดกับนิยามที่แคบและตายตัว แต่ต้องเข้าใจพื้นฐาน มีความเป็นธรรมและระบบที่เป็นธรรมทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ซึ่งต้องมีการเชื่อมโยงทั้งในระดับปัจเจก ชุมชน ประชาชาติ “การทำความเข้าใจหลักนิติธรรมในยุคนี้ต้องไม่ตีความแบบเกาะ อย่ามองอะไรแบบเดียว เพราะกฎหมายไม่ใช่เรื่องทางเทคนิคเท่านั้น มีบริบทภายใต้สถานการณ์ที่หลากหลาย สามารถปรับเปลี่ยนได้ โดยเฉพาะในยุคโลกาภิวัตน์ ขณะที่กฎหมายรัฐธรรมนูญ มีความหมายเชิงเนื้อหาที่ดี ในเรื่องนิติธรรม สิทธิมนุษยชน แต่กระบวนการนั้นมีการสงวนไว้ ทำให้ไม่มีบททดลองความพึ่งพอใจของประชาชน ซึ่งเรื่องนี้ประชาชนต้องลุกขึ้นมา อย่าปล่อยให้ภาครัฐเล่นอยู่ข้างเดียว” นายชาญเชาวน์ กล่าวถึงสถานการณ์ในภาคใต้ด้วยว่า นึกแล้วก็ปวดใจพอสมควร มีการพูดพาดพิงจากรองนายกรัฐมนตรีว่าคนของกระทรวงยุติธรรมไม่ได้ลงไปทำงานในจังหวัดภาคใต้เลย ขณะที่ทหารในจังหวัดชายแดนภาคใต้ก็ตั้งคำถามว่าจะเอาหลักนิติธรรมและหลักสิทธิมนุษยชนตรงไหนมาผสมผสานในการทำงาน เมื่อเหล่าทหารต้องแต่งเครื่องแบบมาล่อเป้า ถูกระเบิด “ดังนั้นตรงนี้จึงกลายเป็นประเด็นปัญหา เพราะประชาชนทุกคนต้องการความคุ้มครองความเป็นมนุษย์เช่นกัน แต่การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในบริบทปัญหาชายแดนภาคใต้ ยังมีประเด็นคำถามว่าตกลงจะคุ้มครองใคร และเรื่องนี้ยังไม่ได้ถูกหยิบมาพูดถึง เพราะไม่อยากให้เรื่องภาคใต้ยกระดับเป็นเรื่องระหว่างประเทศ ไม่รู้เพราะอายหรือกลัว แต่ฟังดูเหมือนกับว่าขณะนี้หลักนิติธรรมของไทยขัดกับหลักมาตรฐานสากลอยู่” รองปลัดกระทรวงยุติธรรม กล่าว
|
ลอบบึ้มชุดคุ้มครองครูรามัน สุคิริน ทหาร ชรบ. เจ็บ Posted: 06 Aug 2012 07:44 AM PDT ศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉิน กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ภาค 4 ส่วนหน้า (กอ.รมน. ภาคสี่ สน.) รายงานว่า เมื่อ 6 ส.ค. 2555 เวลา 07.50 น. ได้เกิดเหตุระเบิดขณะที่ทหารจากหน่วยเฉพาะกิจนราธิวาส 35 และชุดรักษาหมู่บ้าน (ชรบ.) ทำการลาดตระเวนเส้นทางเพื่อรักษาความปลอดภัยครูโรงเรียนบ้านน้ำทุเรียน คนร้ายได้จุดชนวนระเบิดซึ่งวางไว้ริมถนนขณะที่เจ้าหน้าที่ ชรบ. จอดรถจักรยานยนต์แล้วเดินมายังจุดที่วางระเบิดไว้ แรงระเบิดทำให้นายอับดุลตอเละ ซูเดาะ อายุ 22 ปี เจ้าหน้าที่ชรบ. ได้รับบาดเจ็บสาหัส 1 นาย ถูกสะเก็ดระเบิดบริเวณล าตัวและแขนซ้ายมีบาดแผลฉีกขาด จากการตรวจสอบเป็นระเบิดแสวงเครื่องที่คนร้ายนำมาวางไว้ที่ริมถนนแบบเร่งด่วน เหตุเกิดที่ริมถนนสาย 4115 บ้านลูโบ๊ะสาเซาะ หมู่ 1 ต.ร่มไทร อ.สุคิริน จ.นราธิวาส กอ.รมน. เชื่อว่าเป็นการกระทำของกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรง เวลา 16.30 น. ของวันเดียวกันคนร้ายไม่ทราบจำนวนลอบวางระเบิดชุดปฏิบัติการลาดตระเวนเส้นทางและรักษาความปลอดภัยครูจากหน่วยเฉพาะกิจยะลา 12 ขณะทหาร 12 นายเดินทางด้วยรถยนต์บรรทุกกลับจากการรักษาความปลอดภัยเส้นทางเพื่อที่จะกลับฐานปฏิบัติการ เป็นเหตุให้พลทหารจักรกฤษณ์ จานศร อายุ 22 ปี ถูกสะเก็ดระเบิดบริเวณใบหู ได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย จากการตรวจสอบพบว่าเป็นระเบิดแสวงเครื่องประกอบรถจักรยานยนต์ไม่ทราบภาชนะบรรจุและการจุดชนวน นำมาจอดไว้บริเวณหน้าธนาคารอิสลาม บ้านรามัน หมู่ที่ 1 ต.กายูบอเกาะ อ.รามัน จ.ยะลา กอ.รมน. เชื่อว่าเป็นการกระทำของกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรง
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
เปิดตัวหนังสั้น “อยู่ด้วยกัน” ลดตีตราเด็กติดเชื้อเอชไอวี Posted: 06 Aug 2012 04:07 AM PDT
(5 ส.ค.55) ที่โรงแรมทาวน์อินทาวน์ กรุงเทพฯ เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทย ร่วมกับมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ เปิดตัวหนังสั้นชุด “อยู่ด้วยกัน” ภายใต้โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กโดยชุมชน (CHILDLIFE) ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกองทุนโลก รอบที่ 10 อภิวัฒน์ กวางแก้ว ประธานเครือข่ายฯ กล่าวว่า เมื่อเร็วๆ นี้ มีเหตุการณ์เกิดขึ้นในภาคอีสาน เด็กอายุ 5 ขวบที่มีเชื้อเอชไอวีไม่ได้เข้าเรียนชั้นอนุบาล เนื่องจากคนในชุมชนกลัวว่าลูกหลานของตัวเองที่เรียนร่วมจะได้รับเชื้อฯ ไปด้วย ไม่เพียงเท่านั้น เดือนมิถุนายนที่ผ่านมา เครือข่ายฯ ได้รับเรื่องร้องเรียนว่ามีการตรวจเลือดนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 ในมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่งในเขตปริมณฑล และเมื่อพบว่านักศึกษามีเชื้อเอชไอวี มหาวิทยาลัยแจ้งผู้ปกครองให้ทราบและก็ให้ย้ายไปเรียนคณะอื่นทันที จนนักศึกษารู้สึกกดดันและต้องออกจากมหาวิทยาลัย ซึ่งเรื่องราวแบบนี้เกิดขึ้นเรื่อยมา เพียงแต่อาจจะไม่ได้ถูกพูดถึงในสังคมวงกว้างมากนัก ทั้งที่เรื่องเหล่านี้ เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างเห็นได้ชัด อภิวัฒน์ กล่าวต่อไปว่า จากสถานการณ์ต่างๆ เหล่านี้ เครือข่ายฯ ได้ผลิตหนังสั้นชุด “อยู่ด้วยกัน” ทั้งสิ้น 29 เรื่อง ผลิตโดยเยาวชน แกนนำผู้ติดเชื้อฯ ซึ่งเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ตรง ร่วมกับอาสาสมัครทำหนัง โดยหนังสั้นชุดนี้สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นสื่อสร้างความเข้าใจให้กับคนในสังคม เพื่อลดการตีตรา และแบ่งแยกเด็ก/เยาวชนที่ได้รับผลกระทบจากเอชไอวี/เอดส์ เด็กเร่ร่อน เด็กที่อยู่ในกระบวนการยุติธรรม รวมถึงเด็กที่ถูกตีตราจากสาเหตุอื่นๆ เพื่อให้เขาเหล่านี้อยู่ร่วมในสังคมได้อย่างปกติสุข และมีคุณภาพชีวิตที่ดี ทั้งนี้ หนังสั้นทั้ง 29 เรื่องจะเผยแพร่ในเคเบิลทีวี ช่อง C–series ทุกวันเสาร์ เวลา 18.30 น. และในช่องเคเบิลทีวีท้องถิ่นทั้ง 29 จังหวัด หรือหากมีผู้สนใจอยากนำหนังสั้นชุดนี้ไปใช้ ก็สามารถติดต่อเข้ามาได้ที่หมายเลข 02-3775065 ด้านนิมิตร์ เทียนอุดม ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ กล่าวเพิ่มเติมว่า แผนงานที่ทำอยู่นั้นเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ระดับประเทศ ที่จะสร้างกลไกหรือพัฒนาให้เกิดคณะทำงานด้านเด็กในชุมชน หรือ CAG (Child action Group) ในพื้นที่ 1,680 ตำบล ใน 29 จังหวัด เพื่อให้ชุมชนเป็นผู้มีบทบาทหลักในการทำงานเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตเด็กในชุมชนของตนเอง ให้เกิดความยั่งยืนในการทำงาน และแก้ปัญหาได้ตรงจุดที่สุด ซึ่งหนังสั้นทั้ง 29 เรื่องนี้จะถูกนำไปใช้ในการทำงานของชุมชนด้วย ผู้อำนวยการฯ กล่าวอีกว่า เรื่องสำคัญคือ ต้องผลักดันให้เกิดการแก้ไขนโยบายที่มีการเลือกปฏิบัติ โดยเฉพาะในหน่วยงานราชการและสถานศึกษาหลายแห่งที่ยังมีการบังคับตรวจเลือดอยู่
เจ้าหน้าที่สาธารณสุข กล่าวเสริมว่า เราข้ามเส้นความคิดที่ว่า "เป็นเอดส์แล้วตาย" มาแล้ว แต่คำถามคือ แล้วเด็กจะใช้ชีวิตอยู่อย่างไร ถ้าต้องอยู่แบบชั้นพิเศษตลอด คงไม่มีความสุข ด้าน ศุภรัตน์ จิตจำนงค์ แกนนำเยาวชนอาสา กลุ่ม Y-Gent ใน จ.เชียงราย เล่าถึงปัญหาในพื้นที่ว่า พบกรณีที่พยาบาลพยายามโน้มน้าวให้แม่ที่มีเชื้อเอชไอวีซึ่งมาฝากครรภ์ เปลี่ยนมาทำแท้งเสีย โดยตั้งคำถามว่าไม่กลัวว่าลูกจะโดนรังเกียจหรือ ทั้งที่ในความเป็นจริง ลูกที่เกิดจากแม่ที่มีเชื้อฯ ไม่ได้ติดเชื้อจากแม่ทุกคน และปัจจุบันยังมีการรักษาที่ดีขึ้น ทำให้ครอบครัวของแม่ที่มีเชื้อมีความพร้อมในการมีลูกมากขึ้น จากปัญหาดังกล่าว กลุ่มของเธอได้ลงพื้นที่เยี่ยมบ้าน พูดคุยกับแม่ที่ติดเชื้อฯ ถึงความกังวลต่างๆ และทำสื่อรณรงค์ให้ความรู้ว่า แม่ที่ติดเชื้อสามารถมีลูกและมีชีวิตปกติได้ ด้านสมภาร บุญเรือง คณะทำงานด้านเด็กในชุมชน เล่าถึงกรณีที่โรงเรียนไม่อนุญาตให้เด็กที่มีเชื้อเข้าเรียน เนื่องจากถูกผู้ปกครองของเด็กคนอื่นๆ ตั้งเงื่อนไขว่าหากให้เด็กที่มีเชื้อเรียน จะไม่ให้ลูกๆ ของตัวเองมาโรงเรียน หลังจากนั้น มีการนำเรื่องนี้หารือกับผู้บริหารโรงเรียน อปท. และผู้นำชุมชน มีแนวทางร่วมกันว่าให้มีการจัดอบรมคณะครู อสม. และผู้ปกครอง เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกัน สุดใจ ตะภา แกนนำเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ภาคอีสาน แสดงความเห็นว่า กรณีที่ผู้นำชุมชนเสนอให้มีการบอกผลเลือดของผู้ติดเชื้อแก่คนในชุมชน เพื่อให้มีการระวังตัวมากขึ้นและเพื่อความสะดวกในการให้ความช่วยเหลือว่า ไม่ใช่ทางแก้ปัญหา และจะเกิดผลกระทบกับการใช้ชีวิตของผู้ติดเชื้อ หากคนในชุมชนยังไม่ปรับทัศนคติต่อเรื่องเอดส์ มองว่าผู้ติดเชื้อเป็นคนไม่ดีและสำส่อน การอยู่ร่วมกันคงเป็นเรื่องที่ยากมาก
00000
โอกาสเสี่ยงของการรับเชื้อเอชไอวี จะเกิดขึ้นมากน้อยแค่ไหนขึ้นกับปัจจัยอะไรบ้าง ถ้าเราจะเสี่ยงต้องมี 3 องค์ประกอบครบถ้วนคือ b. เชื้อที่จะทำให้ติดต่อได้นอกจากเรื่องปริมาณแล้วเชื้อต้องมีคุณภาพและแข็งแรง c. ต้องเป็นช่องทางที่ทำให้เกิดการสัมผัสส่งต่อเชื้อได้โดยตรง เช่น การใช้เข็มฉีดยาเสพติดร่วมกัน หรือการร่วมเพศ ซึ่งเป็นการส่งต่อเชื้อกันโดยตรงเช่นในกรณีการร่วมเพศ ถ้าฝ่ายชายมีเชื้ออยู่ เชื้ออาจจะผ่านเข้าสู่ร่างกายทางเยื่อบุช่องคลอด หรือถ้าผู้หญิงมีเชื้ออยู่ เชื้ออาจจะผ่านเข้าสู่ร่างกายทางเยื่อบุที่ปลายและเยื่อบุในท่อปัสสาวะขององคชาติ และต้องดูโอกาสความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นจริงด้วย คนส่วนใหญ่จะกังวลกับการติดเชื้อเอชไอวี จากช่องทางที่ไม่มีหรือมีโอกาสเสี่ยงน้อยมากๆ และมักจะไม่เกิดขึ้นในชีวิตของเรา เช่น การช่วยคนประสบอุบัติเหตุ การสัมผัสกับเลือดตามแต่จะสมมติกัน แต่มักจะไม่คิดถึงช่องทางที่ทำให้ติดเอดส์จากวิถีชีวิตและพฤติกรรมทางเพศที่กระทำอยู่เป็นประจำ ทั้งที่มีข้อมูลยืนยันชัดเจนว่ากว่า 80 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ติดเชื้อไวรัสเอชไอวี ติดจากการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้ป้องกัน ที่มา: เว็บไซต์มูลนิธิเข้าถึงเอดส์
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
แจกหนังสือ 'ประวัติขบวนการประชาธิปไตยเกาหลี' โหลดฟรี Posted: 06 Aug 2012 01:32 AM PDT สถาบันศึกษาการพัฒนาประชาธิปไตย แจกหนังสือเขียนโดย ลีเมียงซิก นักกิจกรรมที่อุทิศตนให้กับขบวนการประชาธิปไตยในช่วงปลายทศวรรษที่ 1970-80 แปลโดย กุลชีพ วรพงษ์ สถาบันศึกษาการพัฒนาประชาธิปไตย จัดพิมพ์หนังสือ 'ประวัติขบวนการประชาธิปไตยเกาหลี' The History of the Democratization Movement in Korea ซึ่งเขียนโดย ลีเมียงซิก นักกิจกรรมที่อุทิศตนให้กับขบวนการประชาธิปไตยในช่วงปลายทศวรรษที่ 1970 และช่วงทศวรรษที่ 1980 และได้รับการยกย่องเชิดชูในฐานะที่มีคุณูปการต่อประชาธิปไตยจากเหตุการณ์การลุกขึ้นสู้ของประชาชนกวางจูเมื่อ 18 พฤษภาคม โดยหนังสือเล่มนี้มี นอร์แมน ธอร์ป เป็นบรรณาธิการ และแปลโดย กุลชีพ วรพงษ์ เพื่อเป็นการเผยแพร่ สถาบันศึกษาการพัฒนาประชาธิปไตย เปิดให้ดาวน์โหลดหนังสือเล่มนี้ ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดในรูปไฟล์พีดีเอฟได้บริเวณด้านล่าง 0 0 0 คำนำ แม้จะต้องเผชิญกับความยากลำบากในช่วงสงครามเกาหลี, ความแตกแยกภายในชาติ, และที่ตั้งทางภูมิรัฐศาสตร์ของคาบสมุทรเกาหลีเป็นด่านหน้าของสงครามเย็น แต่ประชาชนเกาหลีก็ได้ต่อสู้อย่างไม่ลดระครั้งแล้วครั้งเล่ากับผู้ปกครองเผด็จการและนำพาประเทศเข้าสู่หนทางประชาธิปไตยได้ในที่สุด ประเทศชาติจะไม่มีวันบรรลุถึงความเป็นประชาธิปไตยและสังคมที่มีพลวัติถ้าหากไม่มีผู้เสียสละอันสูงส่งในบรรดานักต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย และขบวนการต่อต้านเผด็จการที่เกิดขึ้นอย่างไม่ขาดสาย พวกเขาเหล่านั้นได้โค่นล้มรัฐบาลเผด็จการซิงมันรีในระหว่างการปฏิวัติเดือนเมษายน ต่อสู้คัดค้านรัฐบาลปักจุงฮีในประเด็นการเจรจาสงบศึกกับญี่ปุ่น คัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อยืดระยะเวลาการครองตำแหน่งประธานาธิบดี คัดค้านการเข้าควบคุมครอบงำมหาวิทยาลัยโดยผ่านการอบรมวิชาทหาร คัดค้านรัฐธรรมนูญยูชินที่เป็นเผด็จการเบ็ดเสร็จ ขบวนการประชาธิปไตยได้ลุกขึ้นต่อสู้กับเผด็จการทหารในระหว่างการลุกขึ้นสู้ที่เมืองกวางจู และการเคลื่อนไหวระลอกแล้วระลอกเล่าในช่วงทศวรรษที่ 1980 ซึ่งนำมาสู่การลุกขึ้นสู้ในเดือนมิถุนายน ๒๕๓๐ เราอยากจะแบ่งปันประสบการณ์อันยิ่งใหญ่ของการต่อสู้เพื่อสร้างสรรค์ประชาธิปไตยที่อาบด้วยเลือดเนื้อและน้ำตาของคนนับล้านนี้กับเพื่อนมิตรในที่ต่างๆ ทั่วโลก ด้วยหวังว่าจะช่วยเผยแพร่ความทรงจำทางประวัติศาสตร์อันชอบธรรมของเราในหมู่ผู้อุทิศตนใหักับคุณค่าประชาธิปไตยทั่วทุกมุมโลก สำหรับนักประชาธิปไตยเกาหลี เราก็หวังว่านี่จะเป็นรากฐานของการย้อนทบทวนความเป็นมาของตนเอง หนังสือเล่มนี้เขียนขึ้นเพื่อให้ชาวต่างชาติได้เข้าใจง่ายๆ และถูกต้องถึงการเปลี่ยนแปลงไปสู่ประชาธิปไตยของเกาหลี พร้อมกับช่วยให้มองเห็นสภาวะของสังคมและประชาธิปไตยในปัจจุบัน หนังสือเล่มนี้จะฉายภาพให้เห็นถึงความจำเป็นทางประวัติศาสตร์ของการเคลื่อนไหวประชาธิปไตยในเกาหลีโดยลำดับเหตุการณ์ที่เป็นพัฒนาการสำคัญในแต่ละช่วงและข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ที่อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์เหล่านั้น รวมทั้งจะอธิบายถึงทั้งผลสำเร็จและข้อจำกัดของการพัฒนาประชาธิปไตยในช่วงก่อนปี ๒๕๓๐ ตลอดจนความท้าทายในอนาคตที่เผชิญหน้าประชาธิปไตยในเกาหลี เหตุการณ์ร่วมสมัยเหล่านั้นเมื่อได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ จะเป็นบ่อเกิดของการทบทวนสำรวจตน และเป็นพื้นฐานของการก้าวไปข้างหน้า เราหวังว่าหนังสือเล่มนี้จะทำให้ประวัติศาสตร์ขบวนการประชาธิปไตยที่เราภาคภูมิใจ กลายเป็นสมบัติที่มีค่าของมนุษยชาติที่ปรารถนาจะเห็นโลกที่ดีกว่านี้ เราหวังว่า ผู้อ่านทั่วโลกมีจะความสนใจในหนังสือเล่มนี้และให้ความเอาใจใส่อย่างต่อเนื่องในการพัฒนาประชาธิปไตยและสันติภาพของเกาหลี และของโลก สุดท้ายนี้ เราขอส่งความปรารถนาดีและเห็นอกเห็นใจกับผู้ที่กำลังอุทิศตนและเสียสละเพื่อบรรลุซึ่งประชาธิปไตยในที่ต่างๆ ทั่วโลก
เดือนพฤษภาคม 2553
ดาวน์โหลดไฟล์หนังสือที่นี่ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ตำรวจปากีสถานถูกพักงานหลังเปลือยผู้ต้องหาแห่ประจาน Posted: 06 Aug 2012 01:05 AM PDT เจ้าหน้าที่ตำรวจปากี 4 ส.ค. 2012 - สำนักข่าว BBC รายงานว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจปากี พยานผู้เห็นเหตุการณ์เล่าว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจเขตปกครองสินธ์ เมืองกัมบัต ได้บังคับให้ชายและหญิงเดินไปยั มีภาพวีดิโอที่ถ่ายจากโทรศัพท์ หลังจากที่เหตุการณ์ดังกล่าวสร้ ชาห์เซบ จิเลียนี นักข่าว BBC กล่าวว่าเหตุการณ์ทำให้เกิ ภาพในมือถือแสดงให้เห็นฝ่ เมอบาฮาร์ กล่าวว่าเหตุการณ์นี้ทำให้เขารู้สึกเหมือนมีแผลอยู่ลึกๆ เขาได้รับการประกันตัวออกมาได้ แต่ฝ่ายหญิงยังคงถูกขังอยู่ ตำรวจในท้องที่กล่าวว่ ทางเพื่อนบ้านของเมอบาฮาร์ก็ยื ด้านนักกิจกรรมปากีสถานกล่าวให้ เมื่อปีที่แล้ว มีชายหลายคนถูกจับฐานเปลื้องผ้ ที่มา Pakistan police suspended after parading naked couple, BBC, 04-08-2012 ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
เก็บตกเสวนา: บทบาทสถาบันกษัตริย์และภารกิจสองข้อในการปฏิรูปประชาธิปไตย Posted: 06 Aug 2012 12:11 AM PDT 5 ส.ค. ยุกติ มุกดาวิจิตร และ ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ ได้รับเชิญให้เป็นวิทยากรบรรยายในงานโครงการผู้นำ-นำการเปลี่ยนแปลง (Laedership for Change) รุ่นที่ 3 จัดโดย มูลนิธิสัมมาชีพ ณ สมาคมธรรมศาสตร์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เนื้อความดังต่อไปนี้เป็นบันทึกเนื้อหาของวิทยากรทั้งสองท่านในเฟซบุ๊ค หลังจากที่ได้ไปบรรยายในกิจกรรมข้างต้น ประชาไทเห็นว่ามีเนื้อหาน่าสนใจจึงได้นำมมาเผยแพร่ซ้ำอีกครั้ง
ยุกติ มุกดาวิจิตร: บทบาทสถาบันพระมหากษัตริย์ในระบอบการเมืองแบบประชาธิปไตย เมื่อเช้า ไปบรรยายที่สมาคมธรรมศาสตร์ฯ (ซึ่งแค่ให้สถานที่จัด ไม่ได้เป็นผู้จัด) มีวิทยากรร่วมอีก 2 ท่าน (ดูในรูปจากมติชนออนไลน์ครับ) ตอนแรก ผมจั่วหัวว่าจะบรรยายเรื่อง ม. 112 (ส่วนหนึ่งเพราะหลังๆ มานี่ผมมักถูกถามว่าเป็นพวกนิติราษฎร์ด้วยหรือเปล่า ซึ่งผมมักตอบว่า ผมไม่บังอาจเป็นสมาชิกนิติราษฎร์หรอก เพราะไม่ใช่นักนิติศาสตร์ ผมแค่ไปรับใช้เขา ไปร่วมรณรงค์ด้วยกันเท่านั้น) แต่พูดไปพูดมา ต้องแบ่งการบรรยายเป็น 2 รอบ รอบแรก พูดเรื่องการกระจายอำนาจและการกระจายทุน ผมพูดจากงานวิจัยที่กำลังเขียนอยู่ว่า ความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในสังคมไทยในรอบ 20 ปีที่ผ่านมาเป็นดอกผลของประเด็นทางการเมืองในทศวรรษ 2530 คือ ประเด็นการกระจายอำนาจและการกระจายรายได้ ผลคือได้เกิดการกระจายทรัพยากร เงินทุน ลงไปในพื้นที่ต่างๆ มากขึ้น ผู้คนในชนบทเข้าถึงแหล่งทุนได้มากขึ้น ความเปลี่ยนแปลงนี้เกิดตั้งแต่ก่อนการเข้ามาบริหารประเทศของไทยรักไทยด้วยซ้ำ ผลการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือ เราได้กลุ่มคนที่ผมเรียกว่า homegrown entrepreneur เป็นผู้ประกอบการที่โตขึ้นมาจากท้องถิ่น พูดง่ายๆคือ "เจ๊กเริ่มหายไป มีนายทุนน้อยที่เป็นคนท้องถิ่นมากขึ้น" ผลอีกทางคือ เกิดการกระจายอำนาจ เกิดการฝังรากลึกของประชาธิปไตยแบบตัวแทนลงในสังคมไทยรากหญ้า ทำให้การเลือกตั้งมีความหมายสำหรับประชาชน ไม่ใช่เฉพาะการเลือกตั้งระดับชาติ แต่รวมถึงการเลือกตั้งในระดับท้องถิ่น การรัฐประหารปี 2549 พยายามกลับกระบวนการนี้ แต่ไม่สำเร็จ แถมยังต้องตามน้ำรักษาการกระจายทรัพยากรไว้ ทำได้แค่เปลี่ยนชื่อกองทุนต่างๆ และพยายามดึงอำนาจการปกครองท้องถิ่นกลับมา ด้วยการให้ผู้ใหญ่บ้านอยู่ในอำนาจนานขึ้น ให้ ผญบ เลือกกำนัน ตั้งองค์กรสภาชุมชน แล้วก็พักช่วงแรก ระหว่างพัก เริ่มมีเสียงวิจารณ์ว่าผมจะพูดเรื่องสถาบันกษัตริย์จะดีหรือ จะปลอดภัยหรือไม่ ทั้งๆ ที่ผมยังไม่ได้พูดอะไรเลย ลำพังพูดเรื่องข้างต้นให้เข้าใจ นำเอาข้อมูลต่างๆ จากการวิจัยมาเสนอ ก็แทบจะหมดเวลาแล้ว อย่างไรก็ตาม ผู้จัดยืนยันว่าผมสามารถพูดเรื่อง 112 ได้ เพียงแต่ให้ปรับโทนให้เกิดความเข้าใจระหว่างกลุ่มที่เห็นต่างกันหน่อย หลังเบรค ผมพูด 2 ประเด็น หนึ่ง ทำไมบทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์ในการเมืองระบอบประชาธิปไตยจึงขึ้นมาเป็นประเด็นในการเมืองไทยปัจจุบัน สอง สังคมต้องแยกเรื่อง ม. 112 ให้ออกจากเรื่องสีเสื้อ แล้วตอบให้ได้ว่า ทำไม ม. 112 จึงกลายเป็นประเด็นทางสังคมในปัจจุบัน ประเด็นแรก ผมตอบว่า ประเด็นทางการเมืองในสังคมไทยเปลี่ยนไปเรื่อยๆ แต่การเปลี่ยนประเด็นแต่ละสมัยเกี่ยวข้องกับความเปลี่ยนแปลงของสังคม ไม่ใช่อยู่ๆ ใครจะจุดประเด็นขึ้นมาก็เกิดได้ง่ายๆ การที่สังคมไทยปัจจุบันตั้งคำถามถึงบทบาทของสถาบันฯ แสดงว่าบทบาทเท่าที่เคยถูกคาดหวังให้เป็นมา ไม่สอดคล้องกับความต้องการของสังคมปัจจุบันแล้ว (ยาวเหมือนกัน ขอละไว้) ประเด็นที่สอง การที่ ม.112 เป็นประเด็น ไม่ใช่เพราะนักวิชาการจุดขึ้นมา เพราะนักวิชาการหลายกลุ่มพูดเรื่องนี้มานานแล้ว พูดหนักขึ้นหลังรัฐประหารก็จริง แต่ยังไม่เป็นประเด็นอยู่ระยะหนึ่ง แต่เมื่อเกิดการคุกคามสิทธิเสรีภาพด้วยกฎหมายนี้อย่างรุนแรงในระยะหลังรัฐประหาร และรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ในปี 2553 การคุกคามนี้กระจายไปทั่ว ประชาชนเขาตระหนักรู้ได้ ชนชั้นนำในสังคมไทยจำนวนมากตระหนักรู้ เรื่องนี้จึงเป็นประเด็นโดยไม่มีการแบ่งแยกสี แล้วเมื่อเกิดการเคลื่อนไหวของ ครก.112 และนิติราษฎร์ ไปดูคนที่คัดค้านการรณรงค์ คัดค้านการแก้ไขเป็นใคร เป็นนักการเมืองทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน เป็นทักษิณ เป็นพรรคเพื่อไทย นี่ยังไม่ต้องพูดถึงพวกแม่ทัพนายกอง แสดงว่าเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องสี แต่ผมสรุปว่า เป็นการที่ผลประโยชน์ของประชาชนไม่สอดล้องกับการดำรงอยู่ของ ม.112 ในลักษณะที่เป็นอยู่นี้อีกต่อไป ตอนท้าย มีคำถามระดมเข้าใส่ผมมากมาย ล้วนเป็นคำถามสำคัญที่ผมต้องตอบให้ได้ คำถามหนึ่งที่ผมอยากแชร์คือ ถาม: "ทำไมนิติราษฎร์จึงเสนอให้ถอด ม.112 ออกจากหมวดความมั่นคง จะบอกว่าสถาบันพระมหากษัตริย์ไม่สำคัญต่อความมั่นคงหรืออย่างไร" ตอบ: "แน่นอนว่าการคุ้มครององค์พระประมุขของรัฐย่อมสำคัญ แต่กฎหมายในระบอบประชาธิปไตยก็จะต้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนด้วย โจทย์คือ จะถ่วงดุลการคุ้มครองนี้อย่างไร และการถ่วงดุลนี้ นานาชาติเขาทำกันอย่างไร เราจะทำให้ทัดเทียมเขาได้อย่างไร" ขอบคุณผู้จัดที่มีความกล้าหาญให้ผมพูดจนจบ และขอบคุณผู้ร่วมอภิปรายที่ช่วยให้รูปธรรมของปัญหาของ ม.112 ทำให้ประเด็นที่ผมเสนอชัดเจนขึ้น
************************************
ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ : ภารกิจสองข้อของการปฏิรูปประชาธิปไตย มายาคติสี่ข้อที่ต้องฝ่าไปให้ได้
ได้รับเกียรติจากมูลนิธิสัมมาชีพให้ไปคุยเรื่องการปฏิรูปประชาธิปไตย ผมเสนอความเห็นไปว่าโจทย์ใหญ่ของการปฏิรูปประชาธิปไตยตอนนี้มีสองข้อครับ ข้อแรกคือทำให้สถาบันการเมืองประชาธิปไตยมีความเป็นเสรีประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ขึ้น ข้อนี้หมายความถึงการทำให้ทิศทางประชาธิปไตยกลับไปเป็นแบบก่อนปี 2549 คือเอาอำนาจที่มาจากการเลือกตั้งเป็นฐานของอำนาจการเมืองทั้งหมด ลดอำนาจของฝ่ายที่ไมไ่ด้มาจากการเลือกตั้งลง เดินหน้าเรืองกระจายอำนาจ ทำประชาธิปไตยให้เดินตามมาตรฐานขั้นต่ำของเสรีประชาธิปไตยที่อารยะ ข้อสอง ต้องผลักประชาธิปไตยให้ไปไกลว่าปี 2549 ซึ่งในวงนักวิชาการหรือในสังคมก็มีการคิดหาประชาธิปไตยสูตรใหม่ๆ เยอะไปหมด มีเรื่องประชาธิปไตยที่เน้นการมีส่วนร่วม ประชาธิปไตยที่มีฐานจากกลุ่มหรือสมาคมต่างๆ ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ ผมก็เคยเขียนเรื่องประชาธิปไตยกับความเป็นศัตรูหรือ Antagonistic Democracy เอาไว้ อย่าทำเหมือนกับการเมืองแบบก่อน 2549 เป็นความสมบูรณ์และเป้นจุดจบของการปฏิรูปโดยตัวเอง ข้อแรกเข้าใจง่ายเพราะเป็นเรื่องที่ทุกวันนี้คนพูดบ่อย ข้อสองเข้าใจยากหน่อยเพราะยังไม่ค่อยมี่ใครพูดและต้องการเวลาอธิบาย ประเด็นสำคัญที่ผมคุยต่อคือการปฏิรูปประชาธิปไตยต้องไปให้พ้นจากมายาคติสี่ข้อ ข้อแรก มายาคติแรกคือ Democracy without Politics คือความคาดหวังว่าประชาธิปไตยจะเต็มไปด้วยทุกสิ่งทีีดีๆ ซึ่งไม่ใช่ ประชาธิปไตยไม่ใช่่จุดจบของทุกอย่าง ประชาธิปไตยคือการเมืองแบบที่แสนเต็มไปด้วยการเมือง เล่นการเมืองกันทั้งนั้น ทุกค่าย ทุกฝ่าย ไม่เว้นสีไหนค่ายไหนกลุ่มไหนชนชั้่นไหน ถ้าจะอยู่ในระบบประชาธิปไตยก็ต้องทนการแก่งแย่งแบบที่ทั้งมีหลักทั้งไม่มีหลักของทุกฝ่ายให้ได้ เลิกคิดได้แล้วว่าประชาธิปไตยจะนำสิ่งดีๆ มาสู่ชีวิตทางการเมือง อธิบายว่ามายาคตินี้เป็นปัญหาอย่างไรไว้นิดหน่อยในงาน จะไม่ขอเล่าในที่นี้ ข้อสอง มายาคติเรื่อง Democracy = Good Governance ซึ่งแพร่หลายมากในกลุ่มนักธุรกิจหรือนักปฏิรูปทัี้งหลาย เรื่องนี้มันเป็น term หรือคำของพวกนักบริหาร Good Governance สำคัญแน่ แต่ประชาธิปไตยเน้นไปที่ทางเลือกและโอกาสในการเข้าถึงทรัพยากร เพราะทางเลือกและโอกาสเข้าถึงทรัพยากรหมายถึงทำให้แต่ละคนแต่ละกลุ่มมีศักยภาพจะเล่นการเมืองได้มากขึ้น ความสามารถในการเล่นการเมืองได้มากขึ้นคือเงื่อนไขให้คนได้ชีวิตแบบที่เขาต้องการ เรื่องนี้สำคัญอย่างไรก็จะเก็บไว้อธิบายในโอกาสถัดไป ข้อสาม ประชาธิปไตยไม่เท่ากับเสรีประชาธิปไตยหรือระบบที่มีการแข่งขันทางการเมืองที่สมบูรณ์ที่สุด ประชาธิปไตยวางอยู่บนความคิดเรื่องความเท่าเทียม เชื่อว่าทุกคนเท่ากัน ทุกกลุ่มเท่ากัน ถึงตอนนี้จะไม่เท่ากัน ก็ต้องสร้างเงื่อนไขหรือระบบให้คนเท่ากันในวันข้างหน้าให้ได้ ประชาธิปไตยต้องการพื้นฐานทางสังคมที่เป็นประชาธิปไตย มีการรวมกลุ่ม กลุ่มแต่ละกลุ่มแตกเป็นกลุ่มย่อยได้กว้างขวาง ไม่จำเป็นว่าชนชั้นหรือเพศเดียวกันต้องเป็นกล่มเดียวกันไปหมดทุกเรื่อง เพราะถ้าทุกคนและทุกกลุ่มเท่ากันก็ไม่มีเหตุให้ใครมีสิทธิในการบอกว่ากลุ่มของชนชั้นหรือเพศหรืออาชีพหรืออัตลักษณ์ต้องมีลักษณะเดียวกันทุกกรณี ข้อสี่ ประชาธิปไตยไม่เกี่ยวอะไรกับการสร้างความปรองดอง ความเป็นเอภาพ ความสามัคคี ความสมานฉันท์ ประชาธิปไตยไม่เกี่ยวกับการทำให้คนรู้สึกว่าเป็นพวกเดียวกัน เป็นสมาชิกของชุมชนเดียวกัน ชาติไม่ต้องเป็นแบบเดียวกัน ศาสนา ค่านิยมอื่นๆ ก็เช่นเดียวกันด้วย แม้กระทั่งการวิจารณ์ค่านิยมต่างๆ ก็ไม่จำเป็นต้องเป็นแบบเดียวกันอย่างไมม่ีเงื่อนไข พูดง่ายๆ คือแดงไม่จำเป็นต้องเหมือนกันทุกเรื่อง เกย์ กลุ่มศาสนา กรรมกร เสื้อหลัง เสรีนิยม ฯลฯ ไม่จำเป็นต้องคิดเหมือนกันหมดในกลุ่มเดียวกัน อธิบายปัญหาของมายาคติข้อนี้ไว้ในงาน จะหาโอกาสเขียนเรื่องนี้ในโอกาสถัดไป สรุปคือผมเสนอว่าในแง่สถาบันการเมือง การปฏิรูปมีโจทย์ใหญ่สองข้อครับ แต่ในแง่ความคิดแล้ว การปฏิรูปถูกล้อมด้วยมายาคติสีข้อซึ่งจะเป็นกรอบของการปฏิรูปอย่างมีนัยยะสำคัญ
ที่มา:
Sirote Klampaiboon (ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์) Fanpage
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:มติชน "สังศิต" ชี้ปชต.ในประเทศไทยแค่ธุรกิจการเมือง แนะสกัดรบ.เสียงข้างมาก-คอรัปชั่น
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
กรรมการสิทธิฯ "อินโดนีเซีย" เผยผลสอบการล่าสังหารในยุคซูฮาร์โต Posted: 05 Aug 2012 03:14 PM PDT หลังสอบสวนมา 3 ปี คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนของอินโดนีเซียนำเสนอรายงานหนากว่า 850 หน้า สอบพยาน 349 ปาก เผยเหตุการณ์การสังหารหมู่ผู้ถูกกล่าวหาว่าเกี่ยวข้องกับพรรคคอมมิวนิสต์อินโดนีเซียในช่วง "ซูฮาร์โต" ขึ้นมามีอำนาจ พร้อมยื่นเรื่องให้อัยการนำไปทำคดี
อดีตประธานาธิบดีซูฮาร์โต (ขวา) ขณะเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีเมื่อเดือนมีนาคมปี พ.ศ. 2511 3 ปีหลังจากที่เขาตอบโต้การรัฐประหารในเหตุการณ์ "30 กันยายน 1965" (พ.ศ. 2508) และทำการรัฐประหารซ้อน ทั้งนี้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนอินโดนีเซียเพิ่งเปิดเผยรายงานเกี่ยวกับเหตุการณ์สังหารหมู่ผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าในช่วงที่ซูฮาร์โตขึ้นมามีอำนาจ หลังทำการสอบสวนมาเป็นเวลา 3 ปี (ที่มาของภาพ: แฟ้มภาพ/วิกิพีเดีย) วรรณกรรมต่อต้านคอมมิวนิสต์ ในยุค "ระเบียบใหม่" สมัยที่ซูฮาร์โตขึ้นมามีอำนาจ (ที่มาของภาพ: แฟ้มภาพ/วิกิพีเดีย)
อินโดนีเซียเผยผลสอบยุคกวาดล้าง "คอมมิวนิสต์" สมัย "ซูฮาร์โต" การกวาดล้างผู้ถูกกล่าวหาว่าเกี่ยวข้องกับพรรคคอมมิวนิสต์อินโดนีเซีย (PKI) จนมีผู้เสียชีวิตหลายแสนคน ในช่วงที่อดีตประธานาธิบดีซูฮาร์โตมีอำนาจนั้น ล่าสุด คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติของอินโดนีเซีย (Komnas HAM) ได้ประกาศผลการสอบสวนเมื่อวันที่ 23 ก.ค. ที่ผ่านมาว่า การสังหารอย่างเป็นระบบต่อผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์อินโดนีเซีย (PKI) ถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนครั้งใหญ่ โดยเหตุการณ์ล่าสังหารดังกล่าว เกิดขึ้นหลัง "เหตุการณ์ 30 กันยายน 1965" (พ.ศ. 2508) ซึ่งเป็นความพยายามทำรัฐประหารของนายทหารระดับกลางล้มรัฐบาลซูการ์โนแต่เกิดล้มเหลว ทำ โดยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนของอินโดนีเซียได้เรียกร้องให้นำตัวเจ้าหน้าที่ของกองทัพซึ่งเกี่ยวข้องกับการกวาดล้างดังกล่าวไปขึ้นศาล นูร์ โคลิส (Nur Kholis) หัวหน้าคณะสอบสวน การรัฐประหารเมื่อปี 2508 กล่าวว่า เจ้าหน้าที่ของรัฐภายใต้ กองอำนวยการเพื่อการฟื้นฟูระเบียบและความสงบเรียบร้อย (Kopkamtib) ของอดีตประธานาธิบดีซูฮาร์โต้ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในช่วงปี 2508 - 2510 และ 2520 - 2522 ควรถูกนำตัวมาขึ้นศาลฐานก่ออาชญากรรมหลายประการ รวมไปถึงข้อหาข่มขืนหมู่ ทรมาน และฆ่า นูร์ โคลิส กล่าวด้วยว่า คณะทำงานของเขาได้รายส่งมอบรายงานที่หนากว่า 850 หน้าให้กับสำนักงานอัยการ (AGO) ของอินโดนีเซีย "เราหวังว่าอัยการจะติดตามรายงานเหล่านี้" ทั้งนี้ในช่วงสอบสวนที่กินเวลา 3 ปี คณะทำงานได้สอบปากคำพยานถึง 349 ปาก นูร์ โคลิสกล่าวว่า ระหว่างปฏิบัติการที่เกิดขึ้นทั่วอินโดนีเซีย เจ้าหน้าที่รัฐได้เจาะจงมุ่งเป้าหมายไปที่พลเรือนผู้บริสุทธิ์ "ผู้เคราะห์ร้ายหลายรายไม่เกี่ยวข้องอะไรกับพรรคคอมมิวนิสต์หรือองค์กภายใต้พรรคคอมมิวนิสต์ เจ้าหน้าที่ของกองทัพได้สร้างเรื่องให้ประชาชนเหล่านี้เกี่ยวข้องกับพรรค" คณะทำงานของนูร์ โคลิส ยังเรียกร้องให้รัฐบาลมีคำขอโทษอย่างเป็นทางการต่อผู้ได้รับผลกระทบและครอบครัวของเขา และการขอโทษควรตามมาด้วยการฟื้นฟู เยียวยา และการชดเชย มูลนิธิวิจัยผู้เคราะห์ร้ายจากการถูกสังหาร (YPKP) กล่าวว่า อดีตประธานาธิบดีซูฮาร์โตเป็นบุคคลที่ต้องรับผิดชอบมากที่สุดในอาชญากรรมนี้ อย่างไรก็ตามข้อเท็จจริงที่ว่าอดีตประธานาธิบดีซูฮาร์โตเสียชีวิตไปแล้ว ไม่ควรที่จะเป็นสิ่งขัดขวางอัยการในการดำเนินการสอบสวนเรื่องนี้ ทั้งนี้มูลนิธิ YPKP ระบุด้วยว่าผู้ก่อการคนอื่นๆ จำนวนมากยังคงมีชีวิตอยู่ ด้านประธานาธิบดีซูซีโล บัมบัง ยูโดโยโน ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวหลังทราบรายงานว่า "สิ่งที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนรายงานมาจะถูกศึกษาโดยอัยการซึ่งถูกคาดหมายว่าจะเป็นผู้รายงานมายังผม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เราต้องการการจัดการที่มีความยุติธรรม มีข้อเท็จจริง เฉียบคม และสร้างสรรค์"
หน้าประวัติศาสตร์นองเลือดฉบับอินโดนีเซีย สำหรับเหตุการณ์ล่าสังหารผู้ที่เกี่ยวข้องและถูกกล่าวหาว่าเกี่ยวข้องกับพรรคคอมมิวนิสต์อินโดนีเซีย (PKI) ดังกล่าว เกิดขึ้นระหว่าง พ.ศ. 2508 - 2509 หลังเหตุการณ์ "30 กันยายน 1965" ซึ่งมีกลุ่มนายทหารระดับกลางได้พยายามทำการรัฐประหาร และทำการลักพาตัวและสังหารนายพล 6 นาย ซึ่งถูกกล่าวหาว่าจัดตั้งกลุ่มต่อต้านซูการ์โน ประธานาธิบดีที่สนับสนุนฝ่ายซ้าย แต่การรัฐประหารดังกล่าวไม่สำเร็จ โดยนายพลซูฮาร์โต ได้นำทหารส่วนใหญ่ของกองทัพอินโดนีเซีย ปราบการรัฐประหารดังกล่าว และมีการกล่าวหาว่านายทหารกลุ่มที่สังหารนายพล 6 นายเป็นฝ่ายสนับสนุนพรรคคอมมิวนิสต์อินโดนีเซีย จากนั้นซูฮาร์โตและกองทัพได้ยึดอำนาจ มีการประกาศ "ระเบียบใหม่" (Orde Baru หรือ New Order) เพื่อกระชับโครงสร้างอำนาจและให้กองทัพเข้ามามีบทบาทในทางการเมือง ทั้งนี้หลังเหตุการณ์ "30 กันยายน 1965" ที่อินโดนีเซีย ประชาชนหลายแสนคน ซึ่งมีผู้คะเนว่าอาจถึง 5 แสนคน ถูกสังหาร โดยพวกเขาเหล่านั้นถูกกล่าวหาว่าเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์อินโดนีเซีย (PKI) และจำนวนมากกว่านั้นถูกขังอยู่ในคุกเป็นเวลาหลายปีโดยไม่มีการตั้งข้อหา โดยมีการดำเนินมาตรการเลือกปฏิบัติเพื่อต่อต้านประชาชนที่เกี่ยวข้องกับพรรคคอมมิวนิสต์อินโดนีเซีย (PKI) ทั้งการห้ามเข้ารับรัฐการ เจ้าหน้าที่กองทัพ ครู หรืออิหม่าม ทั้งนี้อดีตสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์อินโดนีเซียจำนวนมากยังหางานทำได้ยาก เนื่องจากมีการระบุสถานะว่าเป็นอดีตนักโทษการเมืองลงไปในบัตรประชาชน ต่อมาในปี 2547 ศาลรัฐธรรมนูญอินโดนีเซียได้มีคำตัดสินว่าอดีตสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์อินโดนีเซีย (PKI) ได้รับอนุญาตให้ลงสมัครเลือกตั้งได้ และอีกสองปีต่อมารัฐบาลได้ลบสถานะ "อดีตนักโทษการเมือง" ออกจากบัตรประชาชน ทั้งนี้ในช่วงที่ซูฮาร์โตมีอำนาจ ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลตะวันตกโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาเป็นอย่างมาก รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา ดีน รัสค์ (Dean Rusk) เคยกล่าวสนับสนุน "แคมเปญต่อต้านคอมมิวนิสต์" และให้ความมั่นใจแก่ซูฮาร์โตว่า "รัฐบาลสหรัฐอเมริกาเป็นมิตรและชื่นชมในสิ่งที่กองทัพอินโดนีเซียกำลังดำเนินการ" ขณะเดียวกันสหรัฐอเมริกาเองยังได้สนับสนุนกองทัพของซูฮาร์โตโดยจัดหางบประมาณและอาวุธเพื่อต่อต้านคอมมิวนิสต์ด้วย
ที่มา: แปลและเรียบเรียงจาก Komnas HAM declares 1965 purge a gross human rights violation, Margareth S. Aritonang, The Jakarta Post, Mon, July 23 2012, 6:15 PM http://www.thejakartapost.com/news/2012/07/23/komnas-ham-declares-1965-purge-a-gross-human-rights-violation.html Indonesian commission urges trials of military rights abusers, Pacific.scoop, August 2, 20121 comment http://pacific.scoop.co.nz/2012/08/indonesian-commission-urges-trials-of-military-rights-abusers/ Indonesian killings of 1965–1966, Wikipedia, the free encyclopedia http://en.wikipedia.org/wiki/Indonesian_killings_of_1965%E2%80%9366 30 September Movement, Wikipedia, the free encyclopedia http://en.wikipedia.org/wiki/30_September_Movement ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น