โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันจันทร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

จับตาข้อพิพาทหมู่เกาะแปซิฟิก-ทะเลจีนใต้ ล่าสุดจีนประท้วงญี่ปุ่นลามกว่า 20 เมือง

Posted: 20 Aug 2012 12:18 PM PDT

ภายในครึ่งปีหลังของปี 2555 ข้อพิพาทอธิปไตยเหนือหมู่เกาะในน่านน้ำแปซิฟิกและทะเลจีนใต้กลายเป็นข่าวระดับโลกแล้วอย่างน้อย 3 กรณี และล่าสุด กรณีเกาะเตียวหวีหรือเซนคากุ ที่เป็นข้อพิพาทระหว่างจีนและญี่ปุ่น ทำให้มีการประท้วงแล้วว่า 20 เมืองในจีน

 

 

กรณีเกาะเตียวหยูลุกลาม จีนประท้วงญี่ปุ่นลามกว่า 20 เมือง

เมื่อวันที่ 19 ส.ค. ที่ผ่านมา เรดิโอฟรีเอเชีย รายงานว่า รัฐบาลจีนเปิดทางใก้กับการประท้วงต่อต้านญี่ปุ่น ซึ่งเมือวันอาทิตย์ที่ผ่านมามีการประท้วงใหญ่ตามท้องถนน ต่อต้านกรณีที่มีนักเคลื่อนไหวชาวญี่ปุ่นเข้าไปในพื้นที่เกาะเตียวหยูซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของญี่ปุ่น แต่ถูกอ้างสิทธิเหนือดินแดนโดยจีน

เกาะดังกล่าวนั้นมีภาษาจีนว่า เตียวหยู และมีชื่อเป็นภาษาญี่ปุ่นว่า เซนคากุ

ที่มาของการประท้วงใหญ่เกิดหลังจากที่นักเคลื่อนไหวฝ่ายขวาชาวญี่ปุ่นลองเรือนเข้าไปและปักธงชาติญี่ปุ่นลงบนเกาะดังกล่าวโดยอ้างว่าเพื่อรำลึกถึงชาวญี่ปุ่นที่เสียชีวิตในบริเวณที่ใกล้กับเกาะเตียวหยู/เซนคากุ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่การกระทำดังกล่าวน้นได้สร้างความโกรธเคืองให้กับชาวจีน นำไปสู่การประท้วงและเหตุรุนแรงในกว่า 12 เมือง ก่อนหน้านั้นผู้ว่าการกรุงโตเกียวได้ออกมาประกาศว่า จะซื้อเกาะเตียวหยู/เซนคากุ เพื่อยุติข้อพิพาททั้งหมด

โดยโฆษกกระทรวงการต่างประเทศระบุว่าญี่ปุ่นจะต้องระมัดระวังในการดำเนินการต่อประเด็นดังกล่าวเพื่อไม่ให้กระทบกับความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศ

นักข่าว NHK ของญี่ปุ่นรายงานว่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศของจีน ได้ประท้วงอย่างรุนแรงต่อทูตญี่ปุ่นประจำเมืองจีนแล้ว

เรดิโอฟรีเอเชีย รายงานว่า การประท้วงใหญ่ที่สุดที่เกิดขึ้นวานนี้อยู่ที่เมืองจี่หนาน ซึ่งมีประชาชนกว่า 2,000 คนออกมาประท้วง ขณะที่สำนักข่าวเกียวโดของญี่ปุ่นก็รายงานว่ามีผู้ประท้วงจำนวนกว่า 5,000 คนที่เมืองเซินเจิ้น มณฑลกวางตุ้ง โดยมีการทำลายภัตตาคารญี่ปุ่นและยานพาหนะด้วย

สำหรับสถานที่ที่มีการประท้วงนั้น สงวน คุ้มรุ่งโรจน์ ผู้สื่อข่าวอาวุโสรายงานผ่านเฟซบุ๊กว่าวานนี้ มีชาวจีนออกมาประท้วงญี่ปุ่นทั้งสิ้นมากกว่า 20 เมือง โดยเมืองใหญ่ในจีนที่มีการชุมนุมใหญ่ต่อต้านญี่ปุ่นเมื่อวานนี้ มีดังต่อไปนี้ ปักกิ่ง, เซี่ยงไฮ้, เฉิงตู, หังโจว, กว่างโจว, เซินเจิ้น, ฉางซา, หนานหนิง, ฉางชุน, จี่หนาน, ชิงเต่า, ไท่หยวน, เสิ่นหยาง, ฮาร์บิน, เจิ้งโจว, กุ้ยหยาง, หลินหยี, ซีอาน, ฉางโจว, เวินโจว, ต๋าโจว, หนานชาง, กั้นโจว, เยียนไถ, และอื่นๆ

สำหรับข้อพิพาทเหนือเกาะต่างๆ ในแถบเอเชียตะวันออก มหาสมุทรแปซิฟิก ในปีนี้ มีอย่างน้อย 3 กรณีที่ยังคงยืดเยื้อ คือ

 

กรณีเกาหลี-ญี่ปุ่น: เกาะด็อกโก หรือทาเกชิมา ซึ่งปะทุความขัดแย้งขึ้นมาเนื่องจากประธานาธิบดีอีเมียงบัก แห่งเกาหลีใต้ เดินทางไปเยือนเกาะดังกล่าวซึ่งยังเป็นพื้นที่พิพาทระหว่างเกาหลีใต้และญี่ปุ่นมากว่าทศวรรษแล้ว ส่งผลให้ญี่ปุ่นเรียกเอกอัครราชทูตประจำประเทศเกาหลีใต้กลับประเทศ และทั้ง 2 ประเทศได้เลื่อนการประชุมประจำปีรัฐมนตรีกระทรวงการคลังออกไป

และวันที่ 12 ส.ค. คณะกรรมการโอลิมปิกสากล หรือ "ไอโอซี" มีคำสั่งห้าม พาร์ค จอง-วู นักฟุตบอลทีมชาติเกาหลีใต้ เข้าร่วมพิธีรับเหรียญทองแดง ที่เกาหลีใต้ชนะญี่ปุ่นไป 2-0 เนื่องจากเขาชูป้ายหลังจบเกมเป็นภาษาเกาหลีว่า "ด็อกโด คือ ดินแดนของเรา"

 

จีน-อาเซียน พิพาทอำนาจอธิปไตยเหนือหมู่เกาะสแปรดลีย์ และพื้นที่ทับซ้อนในทะเลจีนใต้ซึ่งหลายชาติในอาเซียนและจีนอ้างกรรมสิทธิ์ มีการประท้วงทั้งในฟิลิปปินส์ เวียดนาม ต่อการที่จีนพยายามจะเข้ามาอ้างอธิปไตยเหนือพื้นที่พิพาทในทะเลจีนใต้

สำหรับจีนนั้น ได้ตั้งจังหวัดใหม่ "ซานชา" ขึ้นช่วงปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา เพื่อเป็นศูนย์กลางบริหารหมู่เกาะ และพื้นที่ในทะเลจีนใต้ทั้งหมดขึ้นต่อมณฑลไหหนานของจีน ในขณะที่ในพื้นที่ทะเลจีนใต้ ยังมีการพิพาทระหว่างจีน และฟิลิปปินส์ เวียดนาม และอีกหลายชาติในอาเซียน

ดุลยภาค ปรีชารัชช อาจารย์ประจำโครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มธ. ให้ความเห็นว่าถือเป็นการหยั่งอิทธิพลลงไปในกลางทะเลจีนใต้ เพื่อตอบโต้รัฐที่ตั้งอยู่รายรอบซึ่งมีข้อพิพาทกันเรื่องการครอบครองทะเลจีนใต้ นอกจากนี้ยังเป็นการผนวกเชิงสัญลักษณ์ โดยนอกจากตั้งถิ่นฐาน การตั้งสิ่งอำนวยความสะดวกทางเศรษฐกิจ และการทหารแล้ว การผนวกการปกครองเกาะในทะเลจีนใต้ให้เป็นจังหวัดหนึ่งของจีน ยังเป็นความพยายามทำให้เรื่องพิพาทในทะเลจีนใต้กลายเป็นกิจการภายใน ขณะที่ในบริเวณดังกล่าวกินพื้นที่เกินชายฝั่งทะเลของจีนไปมาก อย่างไรก็ตามการตัดสินใจดังกล่าว เป็นการตัดสินใจทางการทูตและการทหารที่เสี่ยงเพราะเป็นการสะบั้นความสัมพันธ์กับกลุ่มประเทศอาเซียนโดยเฉพาะกับเวียดนามและฟิลิปปินส์ และจีนอาจต้องเผชิญการที่มหาอำนาจโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาเข้ามาหนุนหลังชาติที่พิพาทกับจีนในทะเลจีนใต้

นอกจากนี้ ทิศทางที่จีนกำลังปรับหลักนิยมทางการทหารใหม่ โดยกองทัพบกจีนเปลี่ยนจากการป้องกันประเทศเป็นพื้นที่มาเป็นสามารถป้องกันประเทศได้ครอบคลุมทั้งหมด กองทัพเรือจากกองเรือชายฝั่งเปลี่ยนเป็นกองเรือที่เดินเรือในทะเลลึกได้มากขึ้น และกองทัพอากาศที่สามารถส่งไปรบนอกชายฝั่งได้ไกลมากขึ้นนั้น เป็นการตอบสมการที่สะท้อนว่าจีนต้องการขยายอำนาจออกสู่ทะเลจีนใต้

 

ที่มา:

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เปิดเผยล่าสุด "คำสั่งรักษาด่านฯ ศอฉ." สั่งการทหาร-ตำรวจหลายหน่วย

Posted: 20 Aug 2012 09:57 AM PDT

ขณะที่ ผบ.ทบ.บอกคำสั่งรักษาด่านฯ ศอฉ. ไม่ใช่เอกสารลับ ท้าสื่ออยากให้เป็นเรื่องก็เอาออกมาเยอะๆ ยันการเผยแพร่เอกสารไม่เป็นการกดดันอะไรทั้งสิ้น แต่อยู่ที่เรื่องอะไรควรไม่ควร ขณะที่ดีเอสไอเตรียมเรียกทหารที่เกี่ยวข้องกับเหตุสลายการชุมนุมเข้าให้ปากคำ 22 ส.ค. นี้

ตามที่เมื่อวันที่ 18 ส.ค. ทีผ่านมา ประชาไท เผยแพร่เอกสาร “สยก.ศอฉ. ที่ กห.0407.45 (สยก.)/130” เรื่อง “ขออนุมัติแนวทางการปฏิบัติในการใช้อาวุธเพื่อ รปภ. ที่ตั้งหน่วยและสถานที่สำคัญ รวมทั้งการปฏิบัติ ณ จุดตรวจ/ด่านตรวจและสายตรวจเคลื่อนที่” ลงวันที่ 17 เม.ย. 53 ลงนามโดย พล.ท.อักษรา เกิดผล หน.สยก.ศอฉ. เสนอ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ซึ่งมีทั้งหมด 5 แผ่น โดยในข้อ 2.5 ระบุว่า “ในกรณีพบความผิดซึ่งหน้าในลักษณะผู้ก่อเหตุใช้อาวุธยิงใส่เจ้าหน้าที่ หรือใช้อาวุธ/วัตถุระเบิดต่อที่ตั้งหน่วยและสถานที่สำคัญที่ ศอฉ. กำหนด ได้กำหนดให้เจ้าหน้าที่สามารถใช้อาวุธยิงผู้ก่อเหตุ เพื่อหยุดยั้งการปฏิบัติได้ แต่หากผู้ก่อเหตุอยู่ปะปนกับผู้ชุมนุมจนอาจทำให้การใช้อาวุธของเจ้าหน้าที่ เป็นอันตรายต่อประชาชนผู้บริสุทธิ์ ให้งดเว้นการปฏิบัติ ยกเว้นในกรณีที่หน่วยได้จัดเตรียมพลแม่นปืน (Marksmanship) ที่มีขีดความสามารถเพียงพอให้ทำการยิงเพื่อหยุดยั้งการก่อเหตุได้ นอกจากนี้หากหน่วยพบเป้าหมายแต่ไม่สามารถทำการยิงได้ เช่น เป้าหมายอยู่ในที่กำบัง ฯลฯ หน่วยสามารถร้องขอการสนับสนุนพลซุ่มยิง (Sniper) จาก ศอฉ. ได้” นั้น (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง)

ต่อมาด้วยการให้สัมภาษณ์เมื่อ 19 ส.ค. 55 ของ พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกกองทัพ (ทบ.) ที่ออกมายอมรับเอกสารดังกล่าวว่าเป็นเอกสารจริง แต่ไม่กังวล และที่ผ่านมาได้อธิบายให้สังคมเข้าใจมาโดยตลอดว่าการปฏิบัติงานของ ศอฉ. ยึดหลักสากลจากเบาไปหาหนัก (อ่านข่าวทีเกี่ยวข้อง)

 

ประยุทธ์บอกคำสั่งรักษาด่าน ศอฉ. ไม่ใช่เอกสารลับ
ท้าสื่ออยากให้เป็นเรื่องก็เอาออกมาเยอะๆ

ล่าสุด วันนี้ (20 ส.ค.) เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ เผยแพร่คำให้สัมภาษณ์ของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีการเปิดเผยเอกสาร “สยก.ศอฉ. ที่ กห.0407.45 (สยก.)/130” ของศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ว่า เอกสารดังกล่าว ไม่ใช่เอกสารลับ แต่อยากให้สื่อระมัดระวังในการนำเสนอในสิ่งที่จะทำให้เป็นเรื่อง แต่ถ้าอยากให้เป็นเรื่องก็เอาออกมาเยอะๆ ไม่เป็นไร

ผู้สื่อข่าวถามว่า การออกมาเผยแพร่เอกสารเป็นการสร้างความกดดันให้ ผบ.ทบ.หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ไม่ได้มากดดันอะไรตนทั้งสิ้น แต่อยู่ที่อะไรควรไม่ควร ไม่อยากจะพูดแล้ว เบื่อ

โดยการท่าทีของ พล.อ.ประยุทธ์ ในวันนี้ถือเป็นการออกมายอมรับเป็นครั้งแรกว่า เอกสาร “สยก.ศอฉ. ที่ กห.0407.45 (สยก.)/130” เป็นเอกสารจริง ขณะที่ก่อนหน้านี้ในการแถลงข่าวของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เมื่อ 16 ส.ค. 55 กล่าวแต่เพียงว่าไม่มีการใช้สไนเปอร์ เป็นเพียงปืนติดลำกล้องเพื่อใช้ระวังป้องกัน ซึ่งในตลาดนัดก็มีขายสำหรับใช้ยิงนก ขณะที่เมื่อก่อนหน้านี้เมื่อ 16 พ.ค. 53 พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษก ศอฉ. ก็ปฏิเสธว่าไม่มีการใช้สไนเปอร์ มีเพียง “พลแม่นปืนระวังป้องกัน” ทำหน้าที่คุ้มครองการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ ที่ปฏิบัติงานอยู่ในพื้นที่ต่ำหรือตามถนนหนทางโดยทั่วไป เจ้าหน้าที่เหล่านี้จะมีหน้าที่ในการตรวจสอบว่ามีบุคคลผู้ใดถืออาวุธหรือจะเข้าทำร้ายเจ้าหน้าที่ และจะใช้การยิงคุ้มครอง (อ่านข่าวย้อนหลัง)

ทั้งนี้เมื่อเดือนมีนาคมปี 2554 คณะกรรมาธิการการทหาร สภาผู้แทนราษฎร ได้นำรายงานบัญชีสรุปรายการเบิกจ่ายกระสุนจากหน่วยคลังแสงสรรพาวุธทหารบก เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ตั้งแต่ 11 มี.ค. 53 จนถึงเสร็จสิ้นการโดยมีการเบิกกระสุนจากคลังแสงทหารบกกว่า 597,500 นัด ส่งคืน 479,577 นัด ใช้ไป 117,923 นัด เผยมีการเบิกกระสุนปืนซุ่มยิง 3,000 นัด ส่งคืน 880 นัด ขณะที่เบิกกระสุนซ้อมเพียง 10,000 นัด ส่งคืน 3,380 นัด (อ่านข่าวย้อนหลัง)

 

เปิดเอกสารใหม่ คำสั่งรักษาด่าน ศอฉ.ฯ
สั่งการไปหลายหน่วยทั้งทหาร-ตำรวจ

ใบปะหน้าของเอกสารที่ กห.0407.45 (สยก.)/130 ลงวันที่ วันที่ 17 เม.ย. 53 “เรื่อง ขออนุมัติแนวทางการปฏิบัติการใช้อาวุธเพื่อ รปภ. ที่ตั้งหน่วยและสถานที่สำคัญ รวมทั้งการปฏิบัติ ณ จุดตรวจ ด่านตรวจ และสายตรวจเคลื่อนที่” เรียน ผอ. ศอฉ. โดย พล.อ. รอง เสธ.ศอฉ. (3) ท้ายเอกสารมีข้อความว่า “อนุมัติตามเสนอในข้อ 4” ลงนามโดย “สุเทพ เทือกสุบรรณ” ในฐานะ ผอ.ศอฉ. และยังมีนายทหารยศนายพล 2 นาย (ไม่สามารถอ่านลายมือชื่อได้) ร่วมลงนามในหนังสือสั่งการด้วย

 

ทั้งนี้ นอกจากเอกสาร “สยก.ศอฉ. ที่ กห.0407.45 (สยก.)/130” ที่มีการนำเสนอไปนั้น ประชาไทยังนำเสนอใบปะหน้าของ เอกสารดังกล่าว โดยหน้าเอกสารเรียนไปยัง “ผอ. ศอฉ.” ลงนามโดย “พล.อ. รอง เสธ.ศอฉ. (3)” (ไม่สามารถอ่านลายมือชื่อได้) ลงนามวันที่ 18 เม.ย. 54 โดยในท้ายเอกสารมีข้อความว่า “อนุมัติตามเสนอในข้อ 4” ลงนามโดย “สุเทพ เทือกสุบรรณ” ในฐานะ ผอ.ศอฉ. โดยลงนามวันที่ 18 เม.ย. 53 นอกจากนี้ยังมีนายทหารอีก 2 นาย ลงนามในเอกสารดังกล่าว คือ พล.อ. (ไม่สามารถอ่านลายมือชื่อได้) ระบุตำแหน่งเป็น เสธ.ศอฉ. และ พล.อ. (ไม่สามารถอ่านลายมือชื่อได้) ระบุตำแหน่งเป็น ผช.ผอ.ศอฉ.(3)

เอกสาร  “ส่วนราชการ สยก.ศอฉ.” ที่ “ต่อ กห 0407.45/130” ลงวันที่ 18 เม.ย. 55 ลงนามโดย  พล.ต. ฉัตรเฉลิม เฉลิมสุข รอง หน.สยก.ศอฉ. ทำการแทน หน.สยก.ศอฉ.  เสนอต่อ บช.น. ระบุท้ายหนังสือสั่งการว่า "เพื่อกรุณาทราบ และดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป" โดยท้ายเอกสารระบุการแจกจ่ายไปยังหน่วยงานทหาร-ตำรวจหลายหน่วย

 

และล่าสุดวันนี้ (20 ส.ค.) ผู้สื่อข่าวประชาไท เผยแพร่เอกสาร “ส่วนราชการ สยก.ศอฉ.” ที่ “ต่อ กห 0407.45/130” ลงวันที่ 18 เม.ย. 55 เรื่อง “เรื่อง ขออนุมัติแนวทางการปฏิบัติในการใช้อาวุธ เพื่อ รปภ.ที่ตั้งหน่วย และสถานที่สำคัญ รวมทั้งการปฏิบัติ ณ จุดตรวจ/ด่านตรวจ และสายตรวจเคลื่อนที่” ลงนามโดย พล.ต. ฉัตรเฉลิม เฉลิมสุข รอง หน.สยก.ศอฉ. ทำการแทน หน.สยก.ศอฉ.  เสนอต่อ บช.น. โดยแนบสิ่งที่ส่งมาด้วยคือ “สำเนาหนังสือ สยก.ศอฉ.ลับ - ด่วนมากที่ กห. 0407.45/130 ลง 17 เม.ย. 53” หรือคำสั่งรักษาด่านฯ ศอฉ. ดังกล่าว โดยระบุท้ายหนังสือสั่งการว่า “เพื่อกรุณาทราบ และดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป”

ไม่เพียงแต่ บช.น. เท้านั้น ในท้ายเอกสารระบุถึง “รายการแจกจ่าย” ว่ามีการแจกจ่ายคำสั่งดังกล่าวไปยังหน่วยงานทางทหารทั้งทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ และตำรวจหลายหน่วย ได้แก่ กกล.รส.ทภ.1, ศปก.ตร., บช.น., ศปก.ทอ., ศปก.ทร., พล.ม.2 รอ., นปอ., พล.ร.9, พล.1 รอ., บก.ควบคุม ทภ.2, บก.ควบคุม ทภ.3 และ บก.ควบคุม พล.ป.

 

เตรียมเรียกทหารที่ปฏิบัติการเข้าให้ปากคำที่ดีเอสไอ 22 ส.ค. นี้

ด้านวอยซ์ทีวี รายงานว่า เมื่อวันที่ 20 ส.ค. พ.ต.อ.ประเวศน์ มูลประมุข รองอธิบดี ดีเอสไอและหัวหน้าชุดพนักงานสอบสวนคดีพิเศษร่วมกับพลตำรวจตรีอนุชัย เล็กบำรุง รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล และหัวหน้าชุดสืบสวนชันสูตรพลิกศพกรณีการเสียชีวิตของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติหรือ นปช.ในช่วงเหตุการณ์สลายการชุมนุมช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553 ประชุมร่วมกันเพื่อหารือเกี่ยวกับความคืบหน้าในการรวบรวมหลักฐานเพื่อสรุป สำนวนคดีการเสียชีวิตของแนวร่วม นปช.ทั้ง 98 ศพ โดยมีการเปิดเผยว่าในวันที่ 22 สิงหาคม 2555 คณะทำงานสอบสวนชัณสูตรพลิกศพได้นัดให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานเข้าให้ ข้อมูลกับพนักสอบสวนจำนวน 1 นาย แต่ พ.ต.อ.ประเวศน์ไม่ได้เปิดเผยว่าเจ้าหน้าที่ที่จะเข้าให้การนั้นเป็น พลซุ่มยิงหรือไม่ เปิดเผยเพียงว่าเป็นเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในช่วงเหตุการณ์สลายการชุมนุม ปี 2553 เท่านั้น

นอกจากนี้ ดีเอสไอจะเชิญผู้ชำนาญการด้านอาวุธ 1 คน เข้าสอบปากคำเพื่อขยายผลเพิ่มเติมบางจุด โดยต้องการให้ผู้ชำนาญการด้านอาวุธให้รายละเอียดถึงประเภทของอาวุธ  ตลอดจนอานุภาพอาวุธแต่ละชนิดที่มีภาพปรากฏผ่านสื่อ   โดยผู้ชำนาญคนดังกล่าวมาจากฝ่ายตำรวจซึ่งไม่กังวลว่าจะไม่ได้รับการยอมรับจากฝ่ายทหารเนื่องจากเป็นผู้ชำนาญการที่ได้รับการรับรองจากศาลแล้ว

นอกจากสำนวนการเสียชีวิตที่คาดว่าเกิดจากการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่รัฐและส่งให้ตำรวจดำเนินการจำนวน 22 ราย แล้ว  ดีเอสไอจะส่งสำนวนการสอบสวนการเสียชีวิตที่อาจเกิดจากการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่รัฐเพิ่มอีก 5 รายในจำนวนนี้เป็นกรณีเสียชีวิตที่บริเวณบ่อนไก่ อย่างไรก็ตาม  หลังมีการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบแล้วพบว่ามีพยานที่เป็นญาติผู้เสียชีวิตทยอยให้ข้อมูลมากขึ้น

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เรืองไกร ร้องผู้ตรวจฯ ยื่นตีความ พ.ร.ฎ. เงินประจำตำแหน่งรัฐบุรุษไม่ชอบ รธน.

Posted: 20 Aug 2012 09:22 AM PDT

20 สิงหาคม 2555 มติชนออนไลน์รายงานว่า นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ  อดีต ส.ว. ได้ใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 70 ร้องขอให้ผู้ตรวจการแผ่นดิน ใช้อำนาจหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 245 (1) เสนอเรื่องพร้อมความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัยว่า พระราชกฤษฎีกาเงินประจำตำแหน่งขององคมนตรีและรัฐบุรุษ พ.ศ. 2551 มาตรา 5 มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา 196 หรือไม่ และเป็นอันใช้บังคับมิได้ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 6 หรือไม่

นายเรืองไกร อ้างว่า พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ยกย่องไว้ในฐานะรัฐบุรุษ ตั้งแต่วันที่ 29 สิงหาคม 2531 มาจนถึงปัจจุบัน  

ทั้งนี้ พระราชกฤษฎีกาเงินประจำตำแหน่งขององคมนตรีและรัฐบุรุษ พ.ศ. 2551 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา  เล่ม 125 ตอน 22 เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2551 ซึ่งถ้านับเป็นจำนวนเดือนมาถึงวันที่ในคำร้องนี้จะได้ประมาณ 55 เดือน หากนำเงินประจำตำแหน่งรัฐบุรุษ ตามมาตรา 5 ของพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว ที่กำหนดไว้เป็นเดือนละ 121,950 บาท เท่ากับว่า มีการจ่ายเงินไปแล้วประมาณ 6,707,250 บาท ประกอบกับได้มีการจัดซื้อรถประจำตำแหน่งรัฐบุรุษโดยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จำนวน 1 คัน ราคา 7,350,000 บาท ในปีงบประมาณ 2554  ก็อาจจะเป็นเงินของแผ่นดินที่ไม่มากนัก

นายเรืองไกร อ้างว่า  สำหรับผู้ที่ได้รับพระบรมราชโองการยกย่องไว้ในฐานะรัฐบุรุษ  แต่เมื่อคำว่า “รัฐบุรุษ” ไม่มีการบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ มาตรา 196 บทบัญญัติของกฎหมายตามมาตรา 5 แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินประจำตำแหน่งขององคมนตรีและรัฐบุรุษ พ.ศ. 2551  จึงอาจมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา 196  และอาจเป็นอันใช้บังคับมิได้ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 6

นายเรืองไกร ได้ร้องขอให้ผู้ตรวจการแผ่นดินรับคำร้องนี้ไปดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ในรัฐธรรมนูญ มาตรา 245 (1) ด้วยการเสนอเรื่องพร้อมความเห็นตามคำร้องนี้ให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยโดยไม่ชักช้า

อนึ่งพระราชกฤษฎีกาเงินประจำตำแหน่งขององคมนตรีและรัฐบุรุษ พ.ศ. 2551 ได้ตราโดยคณะรัฐมนตรี ในสมัยที่ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ในขณะเป็นรัฐบาลรักษาการ

 

ที่มา:  มติชนออนไลน์
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
พลเมืองภิวัฒน์ร้องศาลปกครองค้าน พรฎ.เพิ่มเงินองคมนตรีและรัฐบุรุษ
 

 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา

Posted: 20 Aug 2012 07:37 AM PDT

เอกสารดังกล่าว ไม่ใช่เอกสารลับ แต่อยากให้สื่อระมัดระวังในการนำเสนอในสิ่งที่จะทำให้เป็นเรื่อง แต่ถ้าอยากให้เป็นเรื่องก็เอาออกมาเยอะๆไม่เป็นไร

20 ส.ค. 55, กล่าวถึงเอกสาร สยก.ศอฉ. ที่ กห.0407.45 (สยก.)/130 ที่สื่อมวลชนนำไปเผยแพร่

ซีเรีย: วันอีดในสภาพสงครามกลางเมือง

Posted: 20 Aug 2012 06:05 AM PDT

สื่อรัฐบาลเผยแพร่ภาพอัสซาดซึ่งปรากฏตัวต่อหน้าสาธารณชนเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เหตุระเบิดสังหารผู้นำระดับสูงหลายคนในเดือน ก.ค. ขณะที่ ปชช. ไม่กล้าเดินทางไปเยี่ยมสุสานญาติมิตรเนื่องจากกลัวไม่ปลอดภัย

20 ส.ค. 2012 - ประธานาธิบดีบาชาร์ อัล-อัสซาด ของซีเรียปรากฏตัวต่อหน้าสาธารณชนเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เกิดเหตุระเบิดสังหารผู้นำรัดับสูงเมืองเดือน ก.ค. ที่ผ่านมา โดยอัสซาดได้ปรากฏตัวผ่านสื่อโทรทัศน์ของรัฐบาลซีเรีย ในการเข้าร่วมพิธีวันอีด อัลฟีตร์ ที่มัสยิดในกรุงดามาสกัสเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา

The Independent รายงานว่าอัสซาดเข้าร่วมพิธีอีดโดยนั่งขัดสมาธิอยู่ท่ามกลางรัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่ฝ่ายศาสนา ขณะที่บทเทศน์กล่าวถึงซีเรียว่าเป็นเหยื่อของการสมคบคิด ที่มีตัวการเป็นชาติตะวันตก, อิสราเอล และประเทศโลกอาหรับที่ต้องการให้มีการก่อการร้ายในประเทศ
 
ขณะเดียวกันประชาชนชาวซีเรียทั่วประเทศก็ออกมาชุมนุมตามท้องถนนเพื่อเฉลิมฉลองวันอีด ซึ่งเป็นวันสิ้นสุดเทศกาลถือศีลอดหรือรอมฏอน ในปีนี้เป็นปีที่สองแล้วที่พิธีอีดจัดขึ้นท่ามกลางบรรยากาศความขัดแย้งระหว่างฝ่ายต่อต้านกับฝ่ายรัฐบาล ซึ่งทางยูเอ็นบอกว่ามีประชาชนเสียชีวิตจากความขัดแย้งครั้งนี้รวมแล้ว 17,000 คน
 
มีประชาชนบางคนร้องทุกข์ว่าพวกตนไม่สามารถไปเยี่ยมสุสานเพื่อนำดอกไม้ไปให้ผู้ล่วงลับตามประเพณีได้ เนื่องจากเกรงกลัวเรื่องความปลอดภัย
 
กลุ่มสิทธิมนุษยชนในซีเรียบอกว่ามีเด็ก 6 คน เสียชีวิตจากการถูกอาวุธระเบิดจากปืนใหญ่ใกล้บ้าน เหตุเกิดในเมืองมาร์รัท อัล-นูมาน ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเขตอิดลิบที่กลุ่มกบฏควบคุมอยู่
 
นอกจากนี้แล้วยังมีการายงานการโจมตีด้วยอาวุธหนักของรัฐบาลในเมืองรัสทานที่ถูกปิดล้อม และเมืองดิแอร์ อัล-ซอร์
 
กลุ่มคณะกรรมการประสานงานของฝ่ายต่อต้านในซีเรียบอกว่ามีประชาชน 157 รายเสียชีวิต จากสถิติทั่วประเทศในวันนี้ มี 51 รายจากเขตเดราห์ และ 47 รายจากเขตชานเมืองของดามาสกัส
 
ขณะที่ในอเล็ปโปซึ่งมีการสู้รบอย่างหนักระหว่างกบฏกับฝ่ายรัฐบาล ในวันอีดการต่อสู้ก็สงบลงในบางย่านทำให้ผู้อาศัยมีโอกาสออกมาตามหาศพของคนรู้จักและเก็บของใช้ส่วนตัวจากซากบ้านที่ถูกทำลาย แต่ในบ่านอย่าง ซาฟ อัล-ดาวลา และอิซซา ยังคงมีการปะทะกันอย่างหนักหน่วง
 
"มันไม่ใช่วันหยุดเลย" โมฮัมเม็ด รัดวาน อายู 34 ปีกล่าว เขากำลังยืนอยู่ใกล้กับอพาร์ทเมนต์ในย่าน ทาริค อัล-บับ ของเมืองอเล็ปโป ซึ่งถูกโจมตีโดยเครื่องบินเมื่อวันก่อน
 
"ไฟฟ้ามาติดๆ ดับๆ มีเครื่องบินยิงใส่พวกเรา แล้วก็ไม่มีใครมีงานทำ สิ่งที่เราจะทำในวันนี้คือต้องคอยเก็บซากอิฐซากหิน" โมฮัมเม็ดกล่าวถึงสภาพความเป็นอยู่
 
อัสซาดปรากฏตัวในวันอาทิตย์โดยไม่มีรองปธน. ฟารูค อัล-ชารา ตามมากด้วย โดยที่ไม่มีใครทราบว่าเขาหายตัวไปไหน มีกลุ่มต่อต้านรัฐบาลบอกว่าเขาถอนตัว แต่ฝ่ายรัฐบาลปฏิเสธข้อความดังกล่าวและบอกว่าชาราไม่เคยคิดหนีออกจากประเทศ
 
 
ที่มา เรียบเรียงจาก
Assad makes rare public appearance at mosque, Loveday Morris, The Independent, 20-08-2012
 
Eid in Syria marred by fighting, Aljazeera, 20-08-2012
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

อภิสิทธิ์-สุเทพ เลื่อน 15 วัน ขึ้นศาลครั้งแรก คดีสลายการชุมนุมแดง

Posted: 20 Aug 2012 06:00 AM PDT

พรุ่งนี้ 21 ส.ค. 55 เวลาประมาณ 9.00 น. ที่ห้องพิจารณา 909 ศาลอาญา รัชดา จะมีการไต่สวนกรณีการเสียชีวิตของนายพัน คำกอง คนขับแท็กซี่ ชาว จ.ยโสธร ซึ่งถูกยิงบริเวณถนนราชปรารภ ใกล้แอร์พอร์ทลิงค์ ที่เป็นจุดประจำการของทหาร เมื่อหลังเที่ยงคืนวันที่ 14 พ.ค.ต่อกับวันที่ 15 พ.ค.53 จากกรณีที่มีการยิงสกัดรถตู้ที่เข้ามาในพื้นที่ดังกล่าว จะมีการเรียกนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีในช่วงเกิดเหตุและเป็นผู้แต่งตั้งนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ให้เป็นผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน  เป็นผู้กำกับการปฏิบัติการในขณะนั้น เข้าเบิกความต่อศาลตามคำร้องขอต่อศาลของนายโชคชัย อ่างแก้ว ทนายความญาติผู้ตาย

โดยนายโชคชัย อ่างแก้ว เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่าได้มีการส่งหมายเรียกไปแล้ว แต่ต้องดูในวันพรุ่งนี้อีกทีว่านายอภิสิทธิ์ จะมาเบิกความหรือไม่

วันเดียวกัน  เว็บไซต์ข่าวสดรายงานว่า  เวลา 13.00 น. ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ส.ส.สุราษฎร์ธานี พรรคประชาธิปัตย์ อดีตรองนายกฯ ฝ่ายความมั่นคง และอดีตผอ.ศอฉ. ให้สัมภาษณ์หลังการหารือร่วมนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคและฝ่ายกฎหมายของพรรค ว่า ขณะนี้ตนมีคดีความอยู่ศาลหลายคดี เช่น มีหมายศาลให้ไปเป็นพยานในคดีที่มีผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์สลายการชุมนุมชื่อนายพัน คำกอง คนขับแท็กซี่ชาวยโสธร ที่ถูกยิงเสียชีวิตหน้าคอนโดมีเนียม ใกล้สถานีรถไฟฟ้าราชปรารภ เมื่อ 15 พ.ค. 53 ซึ่งเป็น 1 ใน 13 ผู้เสียชีวิตที่กำลังไต่สวนอยู่ในชั้นศาล โดยให้ตนไปให้ปากคำในวันที่ 21 ส.ค.นี้ แต่ตนทำหนังสือขอเลื่อนไปอีก 15 วันเพื่อเตรียมข้อมูล เนื่องจากเพิ่งได้รับหมายเรียกวันที่ 15-16 ส.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการส่งหมายเรียกที่กระชั้นชิด เพราะทนายของผู้เสียหายส่งหมายมาทางไปรษณีย์ แต่ก่อนหน้านั้นออกข่าวไปหลายวันแล้ว ซึ่งขั้นตอนการส่งหมายเรียกตนก็งงเหมือนกัน เพราะปกติศาลจะเป็นผู้ส่งหมายเรียกโดยไม่ต้องให้ทนายโจทก์เป็นผู้ส่ง

 นายสุเทพ กล่าวอีกว่า หมายเรียกดังกล่าวเรียกให้ตนเป็นพยานฝ่ายทนายโจทก์ แต่กลับมีความพยายามเสนอข่าวให้ดูเหมือนว่าตนเป็นจำเลย ในคดีนี้นายอภิสิทธิ์ ได้รับหมายเช่นกัน และได้ส่งหนังสือเลื่อนการให้ปากคำเหมือนกันด้วย แต่ตนไม่ได้คิดว่าจะมีนัยยะอะไร คอยทำใจให้เกลี้ยง ๆ เอาไว้ ไม่ว่าจะเรียกไปให้การด้วยนัยยะอะไรก็แล้วแต่ทั้งพยานโจทก์หรือเป็นโจทก์เอง เราก็จะพูดแต่ในสิ่งที่เรารู้ เห็นและปฏิบัติ

 “เรื่องนี้ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกฯ จะพูดอะไรก็พูดไป แต่ผมยืนหยัดต่อสู้บนพื้นฐานของข้อเท็จจริง โดยไม่ได้หารือกับอดีตศอฉ. รวมถึงพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ.ด้วย เพราะรัฐบาลและร.ต.อ.เฉลิม มีเป้าหมายผมและนายอภิสิทธิ์เท่านั้น จึงไม่ต้องเป็นห่วงกรรมการศอฉ.คนอื่น รวมถึงนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ เพราะเขาย้ายข้างไปแล้ว ส่วนเรื่องนี้จะส่งผลทางจิตวิทยาต่อมวลชนอย่างไรนั้น ถือเป็นเรื่องที่ต้องแยกออกจากกัน แต่ผมเป็นห่วงประชาชน เพราะรัฐบาลพูดข้างเดียว ร.ต.อ.เฉลิมก็พ่นอยู่ข้างเดียว ใส่ร้ายป้ายสีทุกวัน ขอเรียกร้องประชาชนให้เปิดใจฟังเรื่องนี้ เพราะเขาพยายามใส่ร้ายทหาร เพื่อโยนความผิดให้กับผมและนายอภิสิทธิ์ ทั้งที่ผมและนายอภิสิทธิ์ ไม่เคยสั่งการให้มีการฆ่าประชาชน ผมมั่นใจว่าจะสู้ได้ด้วยความจริง” นายสุเทพ กล่าว

 เมื่อถามว่ามักจะมีคำขู่ว่าจะเอานายสุเทพ และนายอภิสิทธิ์ เข้าคุกให้ได้ นายสุเทพ กล่าวว่า ตนไม่กลัว ถ้าต้องติดคุกเพราะเราตั้งใจดีต่อบ้านเมืองก็ให้มันรู้ไป แต่ก็ยอมรับว่าตอนนี้กำลังเข้าสู่การเขียนประวัติศาสตร์ใหม่โดยคนชนะ แต่ไม่มีใครลบความจริงได้ เพราะประชาชนเห็นเรื่องที่เกิดขึ้นทั้งประเทศ มีหลักฐานมากมาย แต่ขณะนี้มีความพยายามไม่พูดถึงชายชุดดำ แต่เป็นเรื่องที่เราต้องพูด ถ้าดีเอสไอจงใจบิดเบือนข้อมูลเพื่อเอาใจรัฐบาลและร.ต.อ.เฉลิม ตนจะดำเนินคดีกับดีเอสไอ 




แผนที่จุดเกิดเหตุ จาก ศปช. http://www.pic2010.org/airportlink/

 

สำหรับการไต่สวนในคดีนี้มีพยานข้ามาเบิกความหลายปากแล้ว โดยเมื่อวันที่ 25 ก.ค.55 ที่ผ่านมา พ.ต.ท.สมิต นันท์นฤมิตร พนักงานสืบสวนสอบสวนคดีนี้ จาก สน.พญาไท ได้มาเบิกความด้วยว่า วันเกิดเหตุ หลังจากที่ผู้ตายนำรถแท็กซี่ไปส่งที่อู่ แล้วเดินกลับที่พัก แต่ไม่สามารถกลับได้จึงไปพักกับพนักงานรักษาความปลอดภัยที่คอนโด Ideo ขณะเกิดเหตุมีเสียงทหารประกาศเตือนรถตู้ของนายสมร ไหมทอง ที่ขับเข้ามาบริเวณนั้นเพื่อไม่ให้เข้ามา หลังจากนั้นมีการยิงสกัดรถตู้ ทำให้นายพันที่อยู่บริเวณนั้นด้วยถูกยิงและเสียชีวิตในเวลาต่อมา ผลการตรวจหัวกระสุนในร่างผู้ตายและนายสมรผู้บาดเจ็บ เป็นกระสุนปืนความเร็วสูง และทหารมีกระสุนชนิดนี้ใช้ พร้อมทั้งในพื้นที่เกิดเหตุอยู่ในการควบคุมของทหาร และจากการตรวจที่เกิดเหตุพบว่าแนวบังเกอร์ทหาร รถตู้นายสมรที่ถูกยิง และบริเวณสำนักงานขายคอนโด Ideao ซึ่งเป็นจุดที่ผู้ตายอยู่เป็นจุดที่แนววิถีตรงกัน พนักงานสืบสวนสอบสวนคดีนี้จึงได้เบิกความต่อศาลถึงการสรุปสำนวนคดีนี้ว่า นายพัน คำกองเสียชีวิตจากการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ทหาร ที่ยิงรถตู้นายสมร ไหมทอง แล้วพลาดไปโดน 

น้องอีซา อายุ 12 ปี ถูกลูกหลงให้เหตุการณ์เดียวกัน
เหตุการณ์เดียวกันนี้นอกจากนายพัน คำกอง ที่บาดแผลกระสุนปืนความเร็วสูงบริเวณต้นแขนทำให้เส้นเลือดแดงฉีกขาดจนทำให้เสียชีวิตแล้ว ยังมี ด.ช.คุณากร ศรีสุวรรณ หรือน้องอีซา อายุ 12 ปี ถูกลูกหลงกระสุนปืนความเร็วสูงบริเวณหลังเสียชีวิต ด้วย จากรายงานข่าวของ ธนานุช สงวนศักดิ์ ผู้สื่อข่าวเนชั่นทีวี ได้รายงานสดจากที่เกิดเหตุผ่านรายการเก็บตกเนชั่น (http://www.youtube.com/watch?v=JBCyoTDdJok )ว่า  “มีการประกาศแล้ว มีการยิงด้วยกระสุนยางแล้ว แต่ว่าคุณสมร (คนขับรถตู้) ก็ยังขับมา ตนอยู่ตรงนั้นตรงที่เกิดเหตุจริงก็ฝ่าฝืนขับเข้ามาชนตรงรั้วลวดหนาม  ก็เลยมีการระดมยิงเข้าไป  คุณสมร  ไหมทอง  ก็เลยได้รับบาดเจ็บ  แต่นอกจากคุณสมรแล้ว ตรงนี้ยังมีเด็กอีก 1 คน ซึ่งไม่ทราบชื่อเสียชีวิตด้วย (ด.ช.คุณากร ศรีสุวรรณ) เพราะถูกลูกหลง เด็กคนนี้จะมานอนเล่นแถวบังเกอร์ของทหาร ช่วงแรกทหารก็มีการไล่ให้กลับไปบ้าน แต่ก็ไม่กลับ พอดีมีการระดมยิงเข้าไปเด็กคนนี้ก็เลยเสียชีวิตด้วย นอกจากเด็กคนนี้แล้วยังมี คุณพัน คำกอง เสียชีวิตด้วย”

บริเวณจุดเกิดเหตุ หน้าสำนักงานขาย คอนโด Ideao :


ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น

 

 

หมายเหตุ มีการเพิ่มเติมเนื้อหาข่าวเวลา 21.00 น.

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

PATANI FORUM:การชุมนุม Bersih สู่การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในมาเลเซีย

Posted: 20 Aug 2012 05:52 AM PDT

 

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา กระแสการเมืองโลกในเกิดปรากฏการณ์ครั้งสำคัญ ประเทศต่างๆ ได้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางด้านการเมือง โดยการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่เกิดขึ้นนั้น ได้เริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงจากแนวราบขึ้นไปสู่ แนวดิ่ง กล่าวคือ ความเปลี่ยนแปลงได้เกิดขึ้นมาจากการลุกฮือจากประชาชน และได้สร้างความเปลี่ยนแปลงให้ผู้นำวางมือจากอำนาจ และเปลี่ยนการปกครองในรูปแบบประชาธิปไตย มีการเลือกตั้งโดยประชาชน และหลายประเทศได้มีผู้นำที่มาจากการรับรองจากเสียงส่วนใหญ่ภายในประเทศ

 
ในกรณีของมาเลเซียก็เช่นเดียวกัน ไม่สามารถหนีพ้นจากปัญหาการชุมนุมที่เกิดขึ้นของประชาชน จากจุดเริ่มต้นของ ปัญหาความไม่เท่าเทียมกันระหว่างเชื้อชาติ รวมถึงการเมืองที่ค่อนข้างไม่เป็นอิสรเสรี การควบคุมสิทธิเสรีภาพในการนำเสนอของสื่อมวลชน การจำกัดการเคลื่อนไหวของพรรคฝ่ายค้าน ได้ส่งผลให้เกิดการเคลื่อนไหวของแนวร่วมฝ่ายค้าน, องค์กรอิสระ, และประชาชนทั่วไป ที่ออกมาเรียกร้อง หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า เดินประชาธิปไตย มีวัตถุประสงค์ให้ทางรัฐบาลปฏิรูปการเลือกตั้งให้มีความเป็นธรรมมากขึ้น
 
           
1.บทนำ
มาเลเซีย 1 ในเพื่อนบ้านใกล้เคียงของประเทศไทย และกล่าวได้ว่ามาเลเซียมีลักษณะร่วมบางอย่างทางชาติพันธุ์ ภาษา ศาสนา ที่มีส่วนเหมือนกับมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย และในช่วงเวลาปี 2007-2012 การเมืองมาเลเซียมีความครุกรุ่น อันเนื่องมาจากความร้อนแรงทางการเมือง โดยที่ประชาชนจำนวนมากได้ให้ความสำคัญทางการเมือง และเริ่มท้าทายอำนาจของพรรคร่วมรัฐบาล หรือ แนวร่วมแห่งชาติ (Barisan National) ที่ครองอำนาจในการบริหารประเทศมาอย่างยาวนาน ตั้งแต่มาเลเซียได้รับเอกราชเมื่อปี ค.ศ. 1957 การเคลื่อนไหวทั้งในและนอกสภาของมาเลเซีย ดูเหมือนว่าเป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในสังคมมาเลเซีย
 
เดิมทีการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง รวมถึงการเคลื่อนไหวทางการเมืองในมาเลเซียนั้น เป็นไปอย่างค่อนข้างจำกัด อย่างไรก็ตามในช่วงระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา กระแสการตื่นตัวทางการเมืองของประชาชนชาวมาเลเซียเริ่มที่จะปรากฏอย่างเด่นชัดยิ่งขึ้นทั้งในรูปแบบของการชุมนุมทางการเมือง และการแสดงออก “ความไม่เห็นด้วย” กับนโยบายและการบริหารงานของรัฐบาลผ่านการลงคะแนนเสียงการเลือกตั้งเมื่อปี ค.ศ. 2008 ที่ผ่านมา
 
การเมืองมาเลเซียยุคแห่งการชำระ และการเคลื่อนไหวของภาคประชาชนในปี2007-8
ในช่วงระหว่างปลายปี 2007 ต่อเนื่องไปถึง 2008 ได้มีการเกิดขึ้นของการประท้วงโดยมีการใช้ชื่อว่า Bersih ซึ่งตามความหมายแล้วมีความหมายว่า สะอาด อย่างไรก็ตาม Bersih ในบริบทนี้หมายถึง ความสะอาดและความยุติธรรมในการเลือกตั้ง สำหรับข้อเรียกร้องของการชุมนุมครั้งแรก มีดังต่อไปนี้
 
1. จัดการทำบัญชีผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งขึ้นใหม่ เพื่อป้องกันการผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งผี
2. ปฏิรูปการลงคะแนนทางไปรษณีย์อย่างโปร่งใส เพื่อให้คนที่ไม่สามารถมาลงคะแนนด้วยตัวเองในวันเลือกตั้ง มีช่องทางในการลงคะแนนเสียง
3. ให้ใช้หมึกที่ลบไม่ออกในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง
4. ให้อิสรเสรีภาพและความเป็นธรรมต่อสื่อมวลชนในการนำเสนอข่าวสารในทุกฝ่าย
 

การเลือกตั้งปี 
2008 ผลสะท้อนต่อการเรียกร้องความยุติธรรมภายในประเทศ
การเลือกตั้งครั้งล่าสุดของมาเลเซียเมื่อปี ค.ศ. 2008 ได้เกิดขึ้นภายหลังจากที่ อับดุลเลาะห์ อะหมัด บาดาวี นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นประกาศยุบสภาในวันที่ 13 ก.พ. 2008 และได้กำหนดให้มีการเลือกตั้งวันที่ 8 มี.ค.2008 นี้นั้นจะเป็นการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (Parliament) ทั่วประเทศเป็นจำนวน 222 ที่นั่ง และเลือกตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งรัฐ (State Assemblies) ใน 12 รัฐ (ยกเว้นรัฐซาราวักที่ได้เลือกตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งรัฐไปแล้วในปี ค.ศ. 2006) เป็นจำนวน 505 ที่นั่ง ซึ่งโดยปกติแล้วตามรัฐธรรมนูญของมาเลเซีย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งรัฐ จะมีวาระเป็นเวลา 5 ปี
 
ก่อนหน้านี้ในสภาผู้แทนมาเลเซียมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งสิ้น 219 ที่นั่ง ทางพรรคร่วมรัฐบาลหรือ แนวร่วมแห่งชาติ (Barisan Nasional) ได้ที่นั่งในสภาทั้งสิ้น 198 โดยที่ พรรค UMNO (United Malays National Organization) แกนนำรัฐบาลมีที่นั่งเป็นจำนวน 109 ที่นั่ง ถือว่าเป็นเสียงที่เกินกึ่งหนึ่งในสภาผู้แทนราษฎร โดยที่พรรคฝ่ายค้าน มีที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรทั้งสิ้น 20 ที่นั่งแบ่งเป็นพรรค Democratic Action Party (DAP) 12 ที่นั่ง พรรค PAS 6 ที่นั่ง (อีก 1 ที่นั่งเป็นของผู้สมัครอิสระ)
 
ในการเลือกตั้งของปี ค.ศ. 2008 ได้ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ต่อการเมืองมาเลเซีย เนื่องด้วยการเลือกตั้งในครั้งนี้ พรรคฝ่ายค้าน หรือ แนวร่วมทางเลือกได้ที่นั่งในสภาเพิ่มขึ้น ทั้งในรูปแบบของสภาผู้แทนราษฎรและสภานิติบัญญัติแห่งรัฐ ในการเลือกตั้งครั้งนี้ยังคงแบ่งออกเป็น 2 ขั้ว คือ Barisan National และ  Barisan Alternatif (แนวร่วมทางเลือก) ซึ่ง Barisan National ประกอบด้วยพรรคการเมืองสำคัญ ได้แก่พรรค UMNO (United Malays National Organization) พรรคสมาคมชาวจีนมาเลเซีย (Malaysian Chinese Association-MCA) , พรรคสภาอินเดียมาเลเซีย (Malaysian Indian Congress - MIC) , พรรคเอกภาพภูมิบุตรอนุรักษนิยม (Parti Pesaka Bumiputera Bersatu - PPBB) , พรรคแห่งชาติซาราวัก (Sarawak National Party- SNP) พรรคเอกภาพประชาชนซาราวัก พรรคซาบาห์ก้าวหน้า และพรรคเสรีประชาธิปไตย
 
ทางด้านพรรคร่วมฝ่ายค้าน หรือ แนวร่วมทางเลือก มีพรรคการเมืองประกอบด้วย พรรคอิสลามแห่งมาเลเซีย (Parti Islam Se-Malaysia) พรรคกิจประชาธิปไตย (Democratic Action Party-DAP) พรรคยุติธรรม (Parti Keadidan Rakyat) เป็นต้น
 
ภาพรวมของผลการเลือกตั้งครั้งนี้ จากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวน 222 ที่นั่ง มีผู้ออกมาใช้สิทธิ์เลือกตั้งทั้งสิ้น 7,942,803 คน โดย Barisan National ได้ที่นั่งทั้งสิ้น 140 ที่นั่ง ได้รับเสียงจากการเลือกตั้งทั้งสิ้น 4,081,115 เสียง ทางแนวร่วมพรรคฝ่ายค้านได้ที่นั่งทั้งสิ้น 82 ที่นั่ง มีคะแนนเสียง 3,796,289 เสียง และพรรคอิสระได้รับคะแนนเสียง 65,399 เสียง แต่ไม่มีผู้ได้รับตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
 
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร์ในครั้งนี้จะเห็นได้ว่า คะแนนเสียงจากการเลือกตั้งของพรรคการเมืองทั้งหมด คะแนนเสียงอันดับ 1 เป็นของ UMNO อยู่ที่ 2,381,725 เสียง อย่างไรก็ตามลำดับถัดมาคือ 2,3,4 กลับเป็นของพรรคร่วมฝ่ายค้าน หรือ แนวร่วมทางเลือกโดยมีคะแนนดังต่อไปนี้ พรรค PKR ได้คะแนนเสียง 1,509,080 เสียง พรรค PAS ได้ 1,140,676 เสียง พรรค DAP ได้ 1,118,025 เสียงสำหรับการเลือกตั้ง
 
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งรัฐ มีผู้ออกมาใช้สิทธิ์เลือกตั้งโดยประมาณ 6,988,002 เสียง โดย Barisan National ได้รับที่นั่งในสภาทั้งสิ้น 307 ที่นั่ง พรรคฝ่ายค้านได้คะแนนเสียง 3,320,234 เสียง ได้รับที่นั่งในสภาทั้งสิ้น 196 ที่นั่ง และพรรคอิสระได้คะแนนเสียง 61,238 เสียง ได้ที่นั่ง 2 ที่นั่ง
 
การเคลื่อนไหวครั้งที่ 2
ในวันที่ 9 ก.ค. 2011 ได้มีการจัดชุมนุม Bersih 2.0 ขึ้นมาอีกครั้ง เพื่อตอกย้ำความต้องการเดิม ที่ได้เรียกร้องมาตั้งแต่ครั้งแรก และมีการเพิ่มเติม โดยข้อเรียกร้องของกลุ่มผู้ชุมนุม Bersih 2.0 ได้แก่
1. จัดการทำบัญชีผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งขึ้นใหม่ เพื่อป้องกันการผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งผี
2. ปฏิรูปการลงคะแนนทางไปรษณีย์อย่างโปร่งใส เพื่อให้คนที่ไม่สามารถมาลงคะแนนด้วยตัวเองในวันเลือกตั้ง มีช่องทางในการลงคะแนนเสียง
 3. ให้ใช้หมึกที่ลบไม่ออกในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง
4. กำหนดระยะเวลาให้ผู้ลงสมัครหาเสียงอย่างน้อย 21 วัน เพื่อให้ประชาชนได้รับฟังนโยบายและพิจารณาถี่ถ้วนว่าจะลงคะแนนเสียงให้ใคร จากพรรคใด
5. กำหนดให้สื่อมวลชนทุกแขนงรายงานการเลือกตั้งอย่างตรงไปตรงมา และเสนอข่าวให้ทุกพรรคการเมืองอย่างเท่าเทียมกัน
6. ให้สถาบันสาธารณะ เช่น ตุลาการ อัยการ หน่วยงานต่อต้านการคอร์รัปชันของมาเลเซีย ตำรวจ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งคณะกรรมการการเลือกตั้ง คงความอิสระและเป็นกลางในช่วงการเลือกตั้ง
7. ยุติการคอร์รัปชัน
8. ยุติการเล่นการเมืองแบบสกปรก
 
ทางออกของรัฐบาลมาเลเซีย เพื่อการผ่อนปรนความตึงเครียดที่เกิดขึ้นภายในประเทศ ทางรัฐบาลได้ใช้รัฐสภาในการพิจารณากฎหมายเกี่ยวกับการปฏิรูปการเลือกตั้งหลายฉบับ เพื่อนำพาการเลือกตั้งในครั้งที่ 13 ให้มีความโปร่งใสยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามในส่วนของประชาชนที่ชุมนุมมองว่า การพิจารณากฎหมายเกี่ยวกับการปฏิรูปการเลือกตั้งนั้น ไม่สามารถที่จะแก้ไขปัญหา และยังคงเป็นทางฝ่ายรัฐบาลที่ยังได้เปรียบในการเลือกตั้งครั้งนี้
 
การเคลื่อนไหวครั้งที่ 3  
การเคลื่อนไหวออกมาชุมนุมในทั้งสองครั้ง ไม่ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่ทางผู้ชุมนุมได้วางไว้ ทางกลุ่มผู้ชุมนุมจึงประกาศรวมตัวกันเพื่อชุมนุม Bersih 3.0 ต่อไป ซึ่งได้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2012 และมีการเรียกร้องข้อเสนอต่อทางรัฐบาลอีก 3 ข้อด้วยกันคือ
1. ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งลาออก เนื่องจากเป็นองค์กรที่ไม่มีความรับผิดชอบ และไม่ได้รับความไว้วางใจจากสาธารณชน 
2. ให้ปฏิรูปการเลือกตั้งให้บริสุทธิ์ยุติธรรมก่อนการเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 13 ซึ่งจะมีขึ้นภายในปี 2013
3. ให้เชิญผู้สังเกตการณ์จากต่างชาติเข้ามาร่วมสังเกตการณ์การเลือกตั้งครั้งที่ 13          
 
บทสรุป
ในประวัติศาสตร์การเมืองมาเลเซีย ตั้งแต่การได้รับเอกราชเป็นต้นมา การเมืองถูกทำให้เป็นเรื่องที่ไกลตัวของประชาชน ถึงแม้ว่าจะมีข้อจำกัดในการเคลื่อนไหวทางการเมืองอยู่บ้างเป็นครั้งคราว แต่เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมาจากพื้นฐานความขัดแย้งและความไม่เท่าเทียมระหว่างกลุ่มชาติพันธ์ อย่างไรก็ดีในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา การทำงานของรัฐบาลถูกตั้งคำถามจากประชาชนมากขึ้น กระทั่งได้นำไปสู่ปรากฏการณ์การชุมนุมประท้วงครั้งใหญ่จากประชาชนที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประวัติศาสตร์การเมืองมาเลเซีย
 
ในการเคลื่อนไหวทางการเมืองของประชาชนจำนวนมาก จากเหตุการณ์ในช่วงที่ผ่านมา รวมไปถึงการเลือกตั้งครั้งล่าสุดอาจนำพามาเลเซียไปสู่ทิศทางที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ท้ายที่สุดแล้วการเลือกตั้งในสมัยหน้าจะเป็นตัวชี้วัดสำคัญในการเปลี่ยนแปลงสังคมการเมืองมาเลเซียได้ในที่สุด
 
 
 
ที่มา: PATANI FORUM
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

หนุ่มสาววัยทำงานเลือก สรยุทธ-แก้ว-อภิสิทธิ์-วู้ดดี้-ญาญ่า-บี้ และ อ.นิธิ เป็นบุคคลในดวงใจ

Posted: 20 Aug 2012 05:50 AM PDT

20 ส.ค. 55 ศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ ได้สำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับบุคคลในดวงใจของหนุ่มสาววัยทำงานในกรุงเทพมหานคร โดยเก็บจากกลุ่มตัวอย่างจากหนุ่มสาววัยทำงาน ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครจำนวนทั้งสิ้น 1,332 คน เก็บข้อมูลในวันที่ 17 - 19 สิงหาคม 2555 

ผลสำรวจพบว่า ผู้ประกาศข่าวที่ชื่นชอบ ชื่นชม และเป็นแบบอย่างที่ดีมากที่สุดสามอันดับแรก ได้แก่ สรยุทธ สุทัศนะจินดา ได้คะแนนร้อยละ       23.8 กนก รัตน์วงศ์สกุล 20.4 กิตติ สิงหาปัด 7.1 ส่วนผู้ประกาศข่าวอื่นๆ ที่ปรากฏในการสำรวจได้คะแนน ดังนี้ ฐปณีย์ เอียดศรีไชย ร้อยละ 6.9 ธีระ ธัญไพบูลย์ 6.6 จอม เพชรประดับ 6.5 ภาษิต อภิญญาวาท 5.9 กฤติกา ขอไพบูลย์ 5.9 ปานระพี รพิพันธุ์ 5.0 ณัฎฐา โกมลวาทิน 4.5

นักกีฬา ที่ชื่นชอบ ชื่นชม และเป็นแบบอย่างที่ดี มากที่สุดสามอันดับแรก คือ แก้ว พงษ์ประยูร (นักกีฬามวย) ร้อยละ 18.6 พิมศิริ ศิริแก้ว (นักกีฬายกน้ำหนัก) 17.7 รัชนก อินทนนท์ (นักกีฬาแบดมินตัน) 10.0

นักการเมือง ที่ชื่นชอบ ชื่นชม และเป็นแบบอย่างที่ดี มากที่สุด สามอันดับแรก คือ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ร้อยละ 23.6 ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 15.2 ชวน หลีกภัย  9.2 นักการเมืองอื่นๆ ได้แก่ จตุพร พรหมพันธุ์  8.1 ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์  6.3 เทพไท เสนพงศ์ 6.3 สนธิ บุญยรัตกลิน 6.2 ชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์  6.2 เฉลิม อยู่บำรุง 5.9 ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ 5.1 กรณ์ จาติกวณิช 4.8 พร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ 3.1

พิธีกร ที่ชื่นชอบ ชื่นชม และเป็นแบบอย่างที่ดี มากที่สุด สามอันดับแรก วู้ดดี้ วุฒิธร มิลินทจินดา ร้อยละ 21.8 ปัญญา นิรันดร์กุล 15.0 ตั๊ก มยุรา เศวตศิลา  8.8

ดารา นักแสดง สามอันดับแรก คือ ญาญ่า อุรัสยา เสปอร์บันด์ ร้อยละ 15.9 บอย ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ 14.8 ณเดชน์ คูกิมิยะ 14.7

ส่วนศิลปิน นักร้อง นักดนตรี สามอันดับแรก คือ บี้ เดอะสตาร์ ร้อยละ 20.7 เบิร์ด ธงชัย แมคอินไตย์ 15.5 ซานิ เอเอฟ 10.9

ในการสำรวจครั้งนี้ ยังได้สำรวจนักวิชาการ ที่ผู้ตอบแบบสำรวจชื่นชอบ ชื่นชม และเป็นแบบอย่างที่ดีมากที่สุดสามอันดับแรก ได้แก่ นิธิ เอียวศรีวงศ์  ร้อยละ 20.5 ธีรยุทธ บุญมี 15.5 คณิต ณ นคร 14.7 โดยมีนักวิชาการอื่นๆ ได้แก่ ปริญญา เทวานฤมิตรกุล ร้อยละ 7.9 วรเจตน์ ภาคีรัตน์ 7.7 อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา 7.4 บวรศักดิ์ อุวรรณโณ 6.8 สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ 6.6 นรนิติ เศรษฐบุตร 5.7 สุขุม นวลสกุล 4.1 ไชยันต์ ไชยพร 2.0 เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง  1.1

นายสิงห์ สิงห์ขจร อาจารย์ประจำสาขาวิชาการประชาสัมพันธ์และการสื่อสารองค์การ กล่าวว่า ทางศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ ดำเนินการสำรวจบุคคลในดวงใจของหนุ่มสาววัยทำงาน ซึ่งทำการสำรวจจากบุคคลที่ประชาชนชื่นชอบ ชื่นชม และเป็นแบบอย่างที่ดี และบุคคลจากหลากหลายอาชีพ ดังต่อไปนี้ นักการเมือง ดารานักแสดง นักร้องศิลปิน นักกีฬา ผู้ประกาศข่าว พิธีกร นักวิชาการ โดยผลการสำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์บุคคลในดวงใจ ของหนุ่ม สาววัยทำงานในกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจดังต่อไปนี้

กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีเหตุผลในการเลือกบุคคลในดวงใจที่ ชื่นชอบ ชื่นชม และคิดว่าเป็นแบบอย่างที่ดี คือ มีความรับผิดชอบ ร้อยละ 45.3 มีความเสียสละ มีจิตอาสา   24.2 มีความประพฤติเรียบร้อย 11.9

นายสิงห์ สิงห์ขจร ประธานคณะกรรมการโครงการศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ กล่าวต่ออีกว่า กลุ่มตัวอย่างในการสำรวจครั้งนี้ใช้เกณฑ์ตารางสำเร็จรูปของ Taro Yamane กำหนดว่า ประชากรเกิน 100,000 คน 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

หนุ่มสาววัยทำงานเลือก สรยุทธ-แก้ว-อภิสิทธิ์-วู้ดดี้-ญาญ่า-บี้ และ อ.นิธิ เป็นบุคคลในดวงใจ

Posted: 20 Aug 2012 05:50 AM PDT

20 ส.ค. 55 ศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ ได้สำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับบุคคลในดวงใจของหนุ่มสาววัยทำงานในกรุงเทพมหานคร โดยเก็บจากกลุ่มตัวอย่างจากหนุ่มสาววัยทำงาน ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครจำนวนทั้งสิ้น 1,332 คน เก็บข้อมูลในวันที่ 17 - 19 สิงหาคม 2555 

ผลสำรวจพบว่า ผู้ประกาศข่าวที่ชื่นชอบ ชื่นชม และเป็นแบบอย่างที่ดีมากที่สุดสามอันดับแรก ได้แก่ สรยุทธ สุทัศนะจินดา ได้คะแนนร้อยละ       23.8 กนก รัตน์วงศ์สกุล 20.4 กิตติ สิงหาปัด 7.1 ส่วนผู้ประกาศข่าวอื่นๆ ที่ปรากฏในการสำรวจได้คะแนน ดังนี้ ฐปณีย์ เอียดศรีไชย ร้อยละ 6.9 ธีระ ธัญไพบูลย์ 6.6 จอม เพชรประดับ 6.5 ภาษิต อภิญญาวาท 5.9 กฤติกา ขอไพบูลย์ 5.9 ปานระพี รพิพันธุ์ 5.0 ณัฎฐา โกมลวาทิน 4.5

นักกีฬา ที่ชื่นชอบ ชื่นชม และเป็นแบบอย่างที่ดี มากที่สุดสามอันดับแรก คือ แก้ว พงษ์ประยูร (นักกีฬามวย) ร้อยละ 18.6 พิมศิริ ศิริแก้ว (นักกีฬายกน้ำหนัก) 17.7 รัชนก อินทนนท์ (นักกีฬาแบดมินตัน) 10.0

นักการเมือง ที่ชื่นชอบ ชื่นชม และเป็นแบบอย่างที่ดี มากที่สุด สามอันดับแรก คือ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ร้อยละ 23.6 ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 15.2 ชวน หลีกภัย  9.2 นักการเมืองอื่นๆ ได้แก่ จตุพร พรหมพันธุ์  8.1 ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์  6.3 เทพไท เสนพงศ์ 6.3 สนธิ บุญยรัตกลิน 6.2 ชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์  6.2 เฉลิม อยู่บำรุง 5.9 ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ 5.1 กรณ์ จาติกวณิช 4.8 พร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ 3.1

พิธีกร ที่ชื่นชอบ ชื่นชม และเป็นแบบอย่างที่ดี มากที่สุด สามอันดับแรก วู้ดดี้ วุฒิธร มิลินทจินดา ร้อยละ 21.8 ปัญญา นิรันดร์กุล 15.0 ตั๊ก มยุรา เศวตศิลา  8.8

ดารา นักแสดง สามอันดับแรก คือ ญาญ่า อุรัสยา เสปอร์บันด์ ร้อยละ 15.9 บอย ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ 14.8 ณเดชน์ คูกิมิยะ 14.7

ส่วนศิลปิน นักร้อง นักดนตรี สามอันดับแรก คือ บี้ เดอะสตาร์ ร้อยละ 20.7 เบิร์ด ธงชัย แมคอินไตย์ 15.5 ซานิ เอเอฟ 10.9

ในการสำรวจครั้งนี้ ยังได้สำรวจนักวิชาการ ที่ผู้ตอบแบบสำรวจชื่นชอบ ชื่นชม และเป็นแบบอย่างที่ดีมากที่สุดสามอันดับแรก ได้แก่ นิธิ เอียวศรีวงศ์  ร้อยละ 20.5 ธีรยุทธ บุญมี 15.5 คณิต ณ นคร 14.7 โดยมีนักวิชาการอื่นๆ ได้แก่ ปริญญา เทวานฤมิตรกุล ร้อยละ 7.9 วรเจตน์ ภาคีรัตน์ 7.7 อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา 7.4 บวรศักดิ์ อุวรรณโณ 6.8 สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ 6.6 นรนิติ เศรษฐบุตร 5.7 สุขุม นวลสกุล 4.1 ไชยันต์ ไชยพร 2.0 เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง  1.1

นายสิงห์ สิงห์ขจร อาจารย์ประจำสาขาวิชาการประชาสัมพันธ์และการสื่อสารองค์การ กล่าวว่า ทางศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ ดำเนินการสำรวจบุคคลในดวงใจของหนุ่มสาววัยทำงาน ซึ่งทำการสำรวจจากบุคคลที่ประชาชนชื่นชอบ ชื่นชม และเป็นแบบอย่างที่ดี และบุคคลจากหลากหลายอาชีพ ดังต่อไปนี้ นักการเมือง ดารานักแสดง นักร้องศิลปิน นักกีฬา ผู้ประกาศข่าว พิธีกร นักวิชาการ โดยผลการสำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์บุคคลในดวงใจ ของหนุ่ม สาววัยทำงานในกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจดังต่อไปนี้

กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีเหตุผลในการเลือกบุคคลในดวงใจที่ ชื่นชอบ ชื่นชม และคิดว่าเป็นแบบอย่างที่ดี คือ มีความรับผิดชอบ ร้อยละ 45.3 มีความเสียสละ มีจิตอาสา   24.2 มีความประพฤติเรียบร้อย 11.9

นายสิงห์ สิงห์ขจร ประธานคณะกรรมการโครงการศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ กล่าวต่ออีกว่า กลุ่มตัวอย่างในการสำรวจครั้งนี้ใช้เกณฑ์ตารางสำเร็จรูปของ Taro Yamane กำหนดว่า ประชากรเกิน 100,000 คน 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

หนุ่มสาววัยทำงานเลือก สรยุทธ-แก้ว-อภิสิทธิ์-วู้ดดี้-ญาญ่า-บี้ และ อ.นิธิ เป็นบุคคลในดวงใจ

Posted: 20 Aug 2012 05:49 AM PDT

20 ส.ค. 55 ศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ ได้สำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับบุคคลในดวงใจของหนุ่มสาววัยทำงานในกรุงเทพมหานคร โดยเก็บจากกลุ่มตัวอย่างจากหนุ่มสาววัยทำงาน ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครจำนวนทั้งสิ้น 1,332 คน เก็บข้อมูลในวันที่ 17 - 19 สิงหาคม 2555 

ผลสำรวจพบว่า ผู้ประกาศข่าวที่ชื่นชอบ ชื่นชม และเป็นแบบอย่างที่ดีมากที่สุดสามอันดับแรก ได้แก่ สรยุทธ สุทัศนะจินดา ได้คะแนนร้อยละ       23.8 กนก รัตน์วงศ์สกุล 20.4 กิตติ สิงหาปัด 7.1 ส่วนผู้ประกาศข่าวอื่นๆ ที่ปรากฏในการสำรวจได้คะแนน ดังนี้ ฐปณีย์ เอียดศรีไชย ร้อยละ 6.9 ธีระ ธัญไพบูลย์ 6.6 จอม เพชรประดับ 6.5 ภาษิต อภิญญาวาท 5.9 กฤติกา ขอไพบูลย์ 5.9 ปานระพี รพิพันธุ์ 5.0 ณัฎฐา โกมลวาทิน 4.5

นักกีฬา ที่ชื่นชอบ ชื่นชม และเป็นแบบอย่างที่ดี มากที่สุดสามอันดับแรก คือ แก้ว พงษ์ประยูร (นักกีฬามวย) ร้อยละ 18.6 พิมศิริ ศิริแก้ว (นักกีฬายกน้ำหนัก) 17.7 รัชนก อินทนนท์ (นักกีฬาแบดมินตัน) 10.0

นักการเมือง ที่ชื่นชอบ ชื่นชม และเป็นแบบอย่างที่ดี มากที่สุด สามอันดับแรก คือ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ร้อยละ 23.6 ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 15.2 ชวน หลีกภัย  9.2 นักการเมืองอื่นๆ ได้แก่ จตุพร พรหมพันธุ์  8.1 ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์  6.3 เทพไท เสนพงศ์ 6.3 สนธิ บุญยรัตกลิน 6.2 ชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์  6.2 เฉลิม อยู่บำรุง 5.9 ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ 5.1 กรณ์ จาติกวณิช 4.8 พร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ 3.1

พิธีกร ที่ชื่นชอบ ชื่นชม และเป็นแบบอย่างที่ดี มากที่สุด สามอันดับแรก วู้ดดี้ วุฒิธร มิลินทจินดา ร้อยละ 21.8 ปัญญา นิรันดร์กุล 15.0 ตั๊ก มยุรา เศวตศิลา  8.8

ดารา นักแสดง สามอันดับแรก คือ ญาญ่า อุรัสยา เสปอร์บันด์ ร้อยละ 15.9 บอย ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ 14.8 ณเดชน์ คูกิมิยะ 14.7

ส่วนศิลปิน นักร้อง นักดนตรี สามอันดับแรก คือ บี้ เดอะสตาร์ ร้อยละ 20.7 เบิร์ด ธงชัย แมคอินไตย์ 15.5 ซานิ เอเอฟ 10.9

ในการสำรวจครั้งนี้ ยังได้สำรวจนักวิชาการ ที่ผู้ตอบแบบสำรวจชื่นชอบ ชื่นชม และเป็นแบบอย่างที่ดีมากที่สุดสามอันดับแรก ได้แก่ นิธิ เอียวศรีวงศ์  ร้อยละ 20.5 ธีรยุทธ บุญมี 15.5 คณิต ณ นคร 14.7 โดยมีนักวิชาการอื่นๆ ได้แก่ ปริญญา เทวานฤมิตรกุล ร้อยละ 7.9 วรเจตน์ ภาคีรัตน์ 7.7 อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา 7.4 บวรศักดิ์ อุวรรณโณ 6.8 สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ 6.6 นรนิติ เศรษฐบุตร 5.7 สุขุม นวลสกุล 4.1 ไชยันต์ ไชยพร 2.0 เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง  1.1

นายสิงห์ สิงห์ขจร อาจารย์ประจำสาขาวิชาการประชาสัมพันธ์และการสื่อสารองค์การ กล่าวว่า ทางศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ ดำเนินการสำรวจบุคคลในดวงใจของหนุ่มสาววัยทำงาน ซึ่งทำการสำรวจจากบุคคลที่ประชาชนชื่นชอบ ชื่นชม และเป็นแบบอย่างที่ดี และบุคคลจากหลากหลายอาชีพ ดังต่อไปนี้ นักการเมือง ดารานักแสดง นักร้องศิลปิน นักกีฬา ผู้ประกาศข่าว พิธีกร นักวิชาการ โดยผลการสำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์บุคคลในดวงใจ ของหนุ่ม สาววัยทำงานในกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจดังต่อไปนี้

กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีเหตุผลในการเลือกบุคคลในดวงใจที่ ชื่นชอบ ชื่นชม และคิดว่าเป็นแบบอย่างที่ดี คือ มีความรับผิดชอบ ร้อยละ 45.3 มีความเสียสละ มีจิตอาสา   24.2 มีความประพฤติเรียบร้อย 11.9

นายสิงห์ สิงห์ขจร ประธานคณะกรรมการโครงการศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ กล่าวต่ออีกว่า กลุ่มตัวอย่างในการสำรวจครั้งนี้ใช้เกณฑ์ตารางสำเร็จรูปของ Taro Yamane กำหนดว่า ประชากรเกิน 100,000 คน 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

“เวียดนาม” วิตก 11 เขื่อนกั้น “น้ำโขง” ทำลาย ศก.-ความมั่นคงทางอาหาร

Posted: 20 Aug 2012 05:42 AM PDT

 
 
โฮจิมินห์ ซิตี้ – ผู้เชี่ยวชาญจากเวียดนามย้ำ การสร้างเขื่อนแม่น้ำโขงตอนบนจะส่งผลกระทบต่อประชากว่า 60 ล้านคนทั่วทั้งลุ่มน้ำ และนำไปสู่การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพและผลกระทบทางนิเวศวิทยาอื่นๆ จะส่งผลกระทบต่อการเกษตรการเพาะเลี้ยงและวิถีชีวิตของผู้คนในหกประเทศรวมทั้งเวียดนาม
 
โดยเฉพาะในประเทศเวียดนามภาคเกษตรกรรมที่ปากแม่น้ำโขงตอนล่าง นับเป็นปัจจัยด้านเศรษฐกิจสำคัญของประเทศ โดยเฉพาะผลผลติข้าวและอาหารทะเลอาจจะได้รับเสียหายอย่างหนัก
 
ดร.ดาว โตรง ตู (Dao Trong Tu) อดีตสมาชิกของเวียดนามในคณะกรรมการแม่น้ำโขง กล่าวว่า แม่น้ำไหลผ่าน 6 ประเทศ เขื่อนบนแม่น้ำโขงตอนบน จะส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อพื้นที่ลุ่มน้ำโขงทั้งหมด
 
“ประชาชนกว่า 60 ล้านคนอาจได้รับผลกระทบ จากกรณีที่มีการเสนอให้สร้างเขื่อนขนาดใหญ่ 11 แห่งในแม่น้ำโขง” เขื่อนจะทำลายระบบนิเวศของลุ่มน้ำและทำลายความมั่นคงทางอาหารของประชาชนในพื้นที่ตอนล่างแม่น้ำโขง ดร.ตู จึงเสนอว่าให้ “เลื่อนการก่อสร้างเขื่อนแม่น้ำโขงออกไปเป็นระยะเวลาสิบปี เพื่อให้มีการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมที่ถูกต้องและแม่นยำมากขึ้นรวมถึงความเสี่ยงจะเกิดขึ้นอีกด้วย
 
ดร.เล อาน ตวน (Le Anh Tua) จากมหาวิทยาลัยเกินเทอ (Can Tho) คาดการณ์ว่า เขื่อนจะประชาชนกว่า 100,000 คนต้องไร้ที่อยู่อาศัยและถูกอพยพโยกย้าย รวมไปถึงกระแสของแม่น้ำจะเปลี่ยนทิศทางและความอุดมสมบูรณ์จากตะกอนแม่น้ำจะสูญหายกว่าล้านตัน การพังทลายของตลิ่งแม่น้ำก็จะเพิ่มขึ้นเพราะการปิดกั้นการไหลของแม่น้ำ ทรัพยากรประมงก็คงจะสูญหายไปเช่นกัน
 
เหวียน ธิ คาน (Nguy Thi Khanh) จากเครือข่ายแม่น้ำเวียดนามกล่าวว่า ปลากว่า 1,300 ชนิดจะสูญหายไปและการสูญเสียนี้ไม่สามารถชดเชยคืนได้
 
ผู้เชี่ยวชาญยังเตือนว่า ระดับน้ำการขึ้นลงของแม่น้ำได้เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั้งจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและส่งผลลกระทบต่อจีนแผ่นดินใหญ่ ไทย ลาว กัมพูชาและเวียดนาม ทำให้เกิดได้รับความเดือดร้อนทั้งหมดภัยแล้งในปีที่ผ่านมา
 
แดเนียล คิง ผู้อำนวยการฝ่ายกฎหมายนานาชาติ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ องค์กร Earthrights International กล่าวว่า มีความจำเป็นที่จะต้องสร้างความเข้มแข็งระดับภูมิภาคและการปรับปรุงการดำเนินการตามกรอบกฎหมายเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากแม่น้ำโขงแห่งนี้ร่วมกัน
 
นอกจากนี้เขายังกล่าวว่า คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง ควรจะมีการนำเสนอข้อบกพร่องหรือความจำเป็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมต่อเขื่อนทั้ง 11 แห่งในแม่น้ำโขง ก่อนที่จะมีการก่อสร้างเขื่อนใดๆ บนแม่น้ำโขงสายหลัก
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เสื้อแดงแพร่ประท้วงเผาหุ่น ส.ส.ประชาธิปัตย์ อภิปราย "แพร่แห่ระเบิด"

Posted: 20 Aug 2012 03:58 AM PDT

แกนนำเสื้อแดงจังหวัดแพร่ แห่โลงศพและหุ่น ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ที่อภิปรายเสียดสีชาวแพร่ให้เกิดความเสียหาย มาเผาหน้าศาลากลางจังหวัดแพร่

20 ส.ค. 55 - สำนักประชาสัมพันธ์เขต 3 จังหวัดเชียงใหม่รายงานว่าแกนนำเสื้อแดงจาก 8 อำเภอของจังหวัดแพร่ราว 100 คน แห่โลงศพและ หุ่นฟางนายพิเชษฐ์ พันธุ์วิชาติกุล ส.ส.กระบี่ พรรคประชาธิปัตย์ มายังหน้าศาลากลาง จังหวัดแพร่ โดยแกนนำกล่าวแสดงความไม่พอใจที่นายพิเชษฐ์ อภิปรายพระราชบัญญัติ งบประมาณในการสภาผู้แทนราษฎร ในลักษณะเสียดสีชาวจังหวัดแพร่ ซึ่งนายแพทย์ทศพร เสรีรักษ์ อดีต ส.ส.แพร่ พรรคไทยรักไทย ได้กล่าวกับแกนนำเสื้อแดงว่า สิ่งที่ นายพิเชษฐ์พูดถึงคนแพร่ ในสภาผู้แทนราษฎรว่า มีลูกระเบิดตกมาจากฟ้า ชาวแพร่คิดว่า มาจากเทวดา จึงนำไปแห่จนระเบิดตายทั้งเมือง และเป็นที่มาของเมืองแพร่แห่ระเบิด ถือเป็นการกล่าวหาคนแพร่อย่างไม่มีข้อมูลที่ถูกต้อง และนำมาเป็นระฆังอยู่ที่วัด และ ก่อนหน้านี้ได้ทำจดหมายเปิดผนึก ถึงนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ให้ออกมาแสดงความรับผิดชอบและขอโทษชาวแพร่ แต่จนถึงวันนี้ยังเพิกเฉย ซึ่งคนแพร่ และน่าน จะหามาตรการดำเนินการต่อไป จากนั้นแกนนำเปิดโอกาสให้กลุ่มเสื้อแดงที่มา ร่วมประท้วง ระบายอารมณ์กับหุ่นนายพิเชษฐ์ ก่อนที่ช่วยกันเผาหุ่นบริเวณหน้า ศาลากลางจังหวัดแพร่

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

"สุรชัย" ส.ว.สรรหา ชนะ "สุรเดช" ส.ว.ปราจีนบุรี คะแนน 73 ต่อ 69 ได้เป็นรอง ปธ.วุฒิคนที่ 1

Posted: 20 Aug 2012 03:50 AM PDT

20 ส.ค. 55 - มติชนออนไลน์รายงานว่าที่รัฐสภา มีการเลือกรองประธานวุฒิสภา คนที่หนึ่ง แทนตำแหน่งที่ว่าง โดยผลการลงคะแนนลับออกมาดังนี้
 
นายดิเรก ถึงฝั่ง ส.ว.นนทบุรี 20 คะแนน 
นายสุรเดช จิรัฐิติเจริญ ส.ว.ปราจีนบุรี 33 คะแนน 
นายสมัคร เชาวภานันท์ ส.ว.สรรหา 18 คะแนน 
ม.ล.ปรียพรรณ ศรีธวัช ส.ว.สรรหา 4 คะแนน 
นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย ส.ว.สรรหา 35 คะแนน 
นายบุญชัย โชควัฒนา ส.ว.สรรหา 16 คะแนน 
และนายกฤช อาทิตย์แก้ว ส.ว.กำแพงเพชร 16 คะแนน 
 
นายสุรชัยได้คะแนนมากที่สุดแต่ยังไม่เกินกึ่งหนึ่งคือ 72 เสียงจาก 144 เสียง จึงต้องลงคะแนนรอบที่ 2 กับนายสุรเดช เพียง 2 คนเพื่อหาผู้ที่ได้คะแนนมากที่สุด ดำรงตำแหน่งรองประธานวุฒิสภาคนที่ 1 คนใหม่ แต่หากได้รับคะแนนเท่ากันจะต้องใช้การจับสลาก
 
ผลปรากฎว่านายสุรชัยชนะนายสุรเดชด้วยคะแนน 73 ต่อ 69 งดออกเสียง 1 ทำให้นายสุรชัยได้ขึ้นดำรงตำแหน่งรองประธานวุฒิสภาคนที่ 1 คนใหม่
 
ทั้งนี้ มีผู้ลงคะนนลับ 142  และงดออกเสียง 1

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

บทนำรายงาน ศปช. เสียงจากเหยื่อ “ความจริงเพื่อความยุติธรรม”

Posted: 20 Aug 2012 02:17 AM PDT

ความเป็นมาของ ศปช.

รายงานของศูนย์ข้อมูลประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุม กรณี เม.ย.-พ.ค.53 (ศปช.) ที่ท่านถืออยู่ในมือนี้ มีจุดเริ่มต้นจากคนหนุ่มสาวกลุ่มเล็ก ๆ กลุ่มหนึ่ง ที่ไม่สามารถทำใจนิ่งเฉยกับเหตุการณ์ความรุนแรงที่รัฐบาลกระทำต่อประชาชนในเหตุการณ์เมษายน-พฤษภาคม 2553 ได้ เป็นการปราบปรามการชุมนุมที่ก่อให้เกิดการสูญเสียชีวิตและบาดเจ็บของประชาชนมากที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองไทยสมัยใหม่ คนหนุ่มสาวกลุ่มนี้จึงได้แปรเปลี่ยนความเจ็บปวดต่อความอยุติธรรมให้เป็นความพยายามที่จะรวบรวมข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ให้ได้มากที่สุด ความพยายามนี้เกิดขึ้นในสภาวการณ์ที่รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ ภายใต้การนำของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ พยายามเบี่ยงเบนความรับผิด (accountability) ของตนเอง ด้วยการประกาศว่ารัฐบาลของเขายึดหลักนิติรัฐ “พร้อมพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตนพร้อม ๆ ไปกับการค้นหาความจริงผ่านกระบวนการยุติธรรม เพื่อให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่ายบนความเสมอภาคที่ทุกคนอยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกัน”[1] ด้วยการตั้งคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ขึ้นมา  โดยมีนายคณิต ณ นคร ดำรงตำแหน่งประธาน คอป.[2]



แต่ตลอดช่วงเวลาที่ประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาล  กระบวนการสืบสวนสอบสวนเพื่อหาตัวผู้กระทำผิดกลับไม่มีความก้าวหน้าอย่างที่ควรจะเป็น แม้อธิบดีดีเอสไอจะแถลงตั้งแต่ปลายปี 2553 ว่ามีคดีผู้เสียชีวิตจำนวนหนึ่งที่มีข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเข้าข่ายน่าเชื่อว่ามีความตายเกิดขึ้นจากการกระทำของเจ้าพนักงาน แต่การส่งมอบคดีไปให้เจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินการชันสูตรพลิกศพตามกฎหมายก็เป็นไปอย่างล่าช้า[3] ไม่มีการตั้งข้อหาใด ๆ กับผู้สั่งการ ไม่มีแม้กระทั่งการดำเนินการให้ศาลสืบสวนการตายในกรณีที่เชื่อว่าเป็นผลจากการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ ในทางตรงกันข้าม ฝ่ายผู้ชุมนุมทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัดถูกจับกุมดำเนินคดีอย่างกว้างขวาง ถูกดำเนินคดีและพิพากษาคดีด้วยข้อหาร้ายแรง  จำนวนมากถูกปฏิเสธสิทธิขั้นพื้นฐานที่จะได้รับการประกันตน 



ในขณะที่ คอป. ก็ตกอยู่ในภาวะคลุมเครือ อิหลักอิเหลื่อ ขัดแย้งในตัวเองระหว่างหน้าที่ของการแสวงหาความจริงกับจุดมุ่งหมายที่ไม่ต้องการชี้ว่า ใครคือผู้กระทำความผิด[4] 

นอกจากนี้ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน (กสม.) อันเป็นองค์กรที่ทำหน้าที่พิทักษ์ปกป้องสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนจากการใช้อำนาจที่เกินขอบเขตของรัฐ ก็ล้มเหลวในการปฏิบัติหน้าที่ของตนโดยสิ้นเชิง  ในระหว่างการล้มตายบาดเจ็บของประชาชนในเมื่อวันที่ 10 เม.ย. และ 19 พ.ค. 2553 กสม.ไม่เคยมีความกล้าหาญที่จะออกมาประณามการใช้กำลังเกินกว่าเหตุของรัฐบาลแม้แต่ครั้งเดียว ซ้ำร้าย เมื่อเดือนกรกฎาคม 2554  ร่างรายงานของ กสม. ที่ว่าด้วยการสลายการชุมนุมคนเสื้อแดงที่ “หลุด” ออกมาหนึ่งวันก่อน กสม.จะแถลงรายงานดังกล่าวชี้ชัดว่า กสม. เลือกที่จะปกป้องอำนาจรัฐ มากกว่าปกป้องประชาชนธรรมดา เพราะสาระของรายงานดังกล่าวมุ่งพิจารณาว่า “การกระทำของผู้ชุมนุมได้ละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือไม่” แทนที่จะตั้งคำถามว่า “การกระทำของรัฐได้ละเมิดสิทธิมนุษยชนของประชาชนหรือไม่” ทั้งๆ ที่ข้อเท็จจริงปรากฏให้เห็นว่าระดับของการใช้กำลังอาวุธและทหารเข้าจัดการกับประชาชนนั้นเทียบกันไม่ได้เลยกับอาวุธที่ผู้ชุมนุมบางส่วนมี  และจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้จำนวนผู้เสียชีวิตของฝ่ายประชาชนสูงกว่าฝ่ายเจ้าหน้าที่อย่างเทียบกันไม่ได้[5]    

ความไม่เชื่อมั่นในความเป็นกลางของ กสม.และ คอป.ว่าจะทำหน้าที่คืนความยุติธรรมให้กับเหยื่อได้อย่างแท้จริง  ทำให้คนหนุ่มสาวกลุ่มนี้นำความตั้งใจดังกล่าวมาพูดคุยแลกเปลี่ยนเพื่อขอความร่วมมือกับนักวิชาการกลุ่มสันติประชาธรรม  ผลของการพูดคุยนี้ได้นำไปสู่การจัดตั้ง ศปช. เพื่อทำหน้าที่เก็บรวบรวมข้อมูลหลักฐานในเหตุการณ์ความรุนแรงให้ได้มากที่สุด ด้วยความหวังว่าในอนาคต เมื่อสังคมไทยมีความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น ข้อมูลเหล่านี้จะมีประโยชน์ต่อการคืนความยุติธรรมให้กับเหยื่อ และนำผู้ที่เกี่ยวข้องมาลงโทษในที่สุด ฉะนั้น ภารกิจของ ศปช. จึงเสมือนการทำงานคู่ขนานไปกับ คอป. ในการเก็บรวบรวมข้อเท็จจริงกรณีการสลายการชุมนุมเม.ย.-พ.ค. 2553 โดยได้มีการเปิดตัว ศปช. ต่อสาธารณะอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2553                

เมื่อได้จุดมุ่งหมายร่วมกัน พวกเราได้ช่วยกันหาเงินบริจาคเพื่อเป็นเงินเดือนสำหรับเจ้าหน้าที่ของ ศปช. และสำหรับการเดินทางเก็บข้อมูลทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด บางช่วงเวลาเจ้าหน้าที่ของ ศปช. มี 5-6 คน บางช่วงมีเพียง 2-3 คน บางคนทำเต็มเวลา บางคนทำครึ่งเวลา ขึ้นกับภาระงานและสภาพการเงินของ ศปช.ในแต่ละช่วงเวลา บางคนแม้จะไม่ได้รับค่าจ้างจาก ศปช. แล้ว แต่ก็ยังทำงานให้ศปช.ต่อไป ส่วนนักวิชาการที่มาช่วยงานของ ศปช.นั้น ไม่มีใครได้รับเงินเดือนค่าจ้างแต่ประการใด  
 

เสียงจากเหยื่อ

ประเด็นสำคัญที่พวกเราเห็นร่วมกันว่า ศปช. จะต้องเก็บรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ไว้ในรายฉบับนี้ได้แก่

(1)       เหตุการณ์ความรุนแรงในจุดต่าง ๆ ที่สำคัญของกรุงเทพฯระหว่างวันที่ 10 เมษายน-19 พฤษภาคม 2553

(2)       รายชื่อของผู้เสียชีวิต ลักษณะและสาเหตุที่ทำให้เสียชีวิต

(3)       การจับกุมคุมขังผู้ชุมนุมทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด ตลอดจนปัญหากระบวนการยุติธรรมที่เกี่ยวเนื่อง

(4)       ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับเหยื่อและครอบครัวของผู้ได้รับผลกระทบ

(5)       วิเคราะห์ขั้นตอน เป้าหมาย วิธีการใช้ความรุนแรงของรัฐว่าเป็นสิ่งที่เกินกว่าเหตุและละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนหรือไม่อย่างไร

(6)       วิเคราะห์การก่อตัวและเป้าหมายของขบวนการคนเสื้อแดง

(7)       รวบรวมพยานหลักฐานที่สำคัญทั้งคำสัมภาษณ์ คลิปวิดิทัศน์ เอกสารราชการ เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้ได้ใช้ประโยชน์ต่อไป  

อย่างไรก็ดี ด้วยข้อจำกัดด้านงบประมาณและกำลังคน ทำให้เราไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลความรุนแรงได้ทุกกรณี เช่น  เราไม่มีรายชื่อทั้งหมดของผู้บาดเจ็บกว่า 2,000 คน เราไม่สามารถให้รายละเอียดของการเสียชีวิตได้ครบทั้ง 94 ราย ประการสำคัญ เมื่อเราไม่ได้เป็นหน่วยงานในสังกัดของรัฐ เราจึงมีข้อจำกัดไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลของหน่วยงานรัฐได้ ดังนั้น ข้อมูลส่วนใหญ่ของ ศปช. มาจากการสัมภาษณ์เหยื่อและพยานที่อยู่ในเหตุการณ์ รายงานข่าว ภาพถ่าย และคลิปวิดิทัศน์ต่าง ๆ แล้วนำจิ๊กซอว์เหล่านี้มาปะติดปะต่อเพื่อให้ประชาชนได้เห็นภาพความรุนแรง ๆ ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น  นอกจากนี้ ศปช. ยังมุ่งรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการจับกุมดำเนินคดีผู้ชุมนุมจำนวนมาก เพื่อชี้ให้เห็นปัญหาความไม่ชอบมาพากลของกระบวนการยุติธรรมที่เกิดขึ้นภายใต้รัฐบาลอภิสิทธิ์ ตลอดจนผลกระทบที่เกิดขึ้นกับผู้ที่ถูกจับกุม ฉะนั้น จึงกล่าวได้ว่าจุดแข็งของรายงานของ ศปช. ก็คือ เป็นรายงานที่สะท้อนเสียงและมุมมองของฝ่ายประชาชนและผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของการปราบปรามประชาชนเมษายน-พฤษภาคม 2553  

 

ใครรุนแรง? ใครทำเกินกว่าเหตุ?

การใช้กำลังทหารสลายการชุมนุมของ นปช. โดยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ระหว่างวันที่ 10 เมษายน และ 19 พฤษภาคม 2553  ถือเป็นการปราบปรามประชาชนที่รุนแรงมากที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย ทั้งในแง่การใช้กำลังทหารของฝ่ายรัฐ ที่มีการระดมกำลังทหารเข้าสู่กรุงเทพฯ ถึงกว่า 60,000 ราย และใช้กระสุนจริงกว่า 117,923 นัด ในจำนวนนี้ เป็นกระสุนสำหรับการซุ่มยิงมากกว่า 2,000 นัด[6] และในแง่ของความสูญเสียต่อชีวิต ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง 94 ราย ในจำนวนนี้เป็นพลเรือน 77 ราย เจ้าหน้าที่รัฐ 10 ราย อาสากู้ชีพ/พยาบาล 5 ราย ผู้สื่อข่าว 2 ราย[7] และผู้บาดเจ็บอีกราว 2,000 ราย

ในขณะที่รัฐบาล อภิสิทธิ์และ ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) พยายามตอกย้ำว่าผู้นำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ปฏิเสธการเจรจาเพื่อยุติปัญหาอย่างสันติวิธี ผู้ชุมนุมมีกองกำลังติดอาวุธ ชายชุดดำเป็นผู้ก่อความรุนแรง และมักพูดราวกับว่าความตายและบาดเจ็บที่เกิดขึ้นล้วนเป็นฝีมือของคนเสื้อแดงฆ่ากันเองเพื่อสร้างสถานการณ์ โดยเฉพาะการตายเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2553 ส่วนรัฐบาลไม่เคยยอมรับว่าตนต้องรับผิดชอบต่อความสูญเสียแม้แต่กรณีเดียว ซ้ำร้ายยังตอกย้ำว่าการชุมนุมของคนเสื้อแดงเท่ากับ “การก่อการร้าย” จนทำให้สังคมเข้าใจว่า ผู้ชุมนุมคนเสื้อแดงส่วนใหญ่เป็นผู้ก่อการร้าย แต่ในทัศนะของ ศปช. ข้อกล่าวหาเหล่านี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับแผนการใช้กำลังเข้าสลายการชุมนุมของ นปช. ในช่วง 14-19 พฤษภาคม 2553 และเต็มไปด้วยความลวงมากมาย กล่าวคือ ·     

  • รัฐบาลสามารถแสดงหลักฐานการปรากฏตัวของชายชุดดำได้แค่ที่สี่แยกคอกวัวในคืนวันที่ 10 เมษายนเท่านั้น แต่ไม่สามารถยืนยันได้ว่าชายชุดดำเกี่ยวข้องกับความรุนแรงในที่อื่น ๆ ประการสำคัญ เมื่อตรวจสอบอย่างละเอียด ศปช.พบว่า การเสียชีวิตและบาดเจ็บของผู้ชุมนุมเมื่อวันที่ 10 เมษายน บริเวณสี่แยกคอกวัว เกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงบ่ายนับแต่รัฐบาลได้เริ่มแผนปฏิบัติการ “ขอคืนพื้นที่” ซึ่งหมายความว่า เกิดขึ้นก่อนที่ชายชุดดำจะปรากฏตัว   (ดูรายละเอียดเรื่องนี้ใน ข้อเท็จจริงการเสียชีวิตวันที่ 10 เมษายน โดยเกษม เพ็ญพินันต์) นอกจากนี้ หากกองกำลังของคนเสื้อแดงมีมากมายจริง ทำไมในการสลายการชุมนุมที่สี่แยกราชประสงค์ระหว่างวันที่ 14-19 พฤษภาคม กลับมีเจ้าหน้าที่เสียชีวิตเพียง 2 ราย[8]
    ·     
  • ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในภาพข่าวและคลิปวิดีโอคือ ผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บไม่ได้มีอาวุธร้ายแรงอยู่ข้างกาย และจากการชันสูตรศพ ก็ไม่พบคราบเขม่าปืนในมือของผู้เสียชีวิตเลย อาวุธที่รัฐบาลบอกว่า “ร้ายแรง” ก็มักประกอบด้วย หนังสติ๊ก ระเบิดขวดที่ทำจากขวดเครื่องดื่มบำรุงกำลัง ท่อนไม้ ซึ่งอาวุธเหล่านี้ไม่สามารถเทียบกับสิ่งที่มีอยู่ในมือทหารได้เลย  คำถามที่รัฐบาลอภิสิทธิ์และกองทัพ ไม่เคยตอบให้กระจ่างเลยก็คือ เมื่อผู้ชุมนุมไม่มีอาวุธ ทำไมพวกเขาจึงต้องถูกยิงจนเสียชีวิตและบาดเจ็บสาหัส คนเหล่านั้นเป็นผู้ก่อการร้ายทั้งหมดใช่หรือไม่  ·
         
  • หากรัฐบาลอภิสิทธิ์มั่นใจเรื่องผู้ก่อการร้ายของตนจริง ๆ  ก็ต้องแสดงติดตามหาหลักฐานให้ได้ว่า ผู้ก่อการร้ายที่ว่านี้คือใคร มีจำนวนเท่าไร และพวกเขามีส่วนต่อการเสียชีวิตและบาดเจ็บรายใดบ้าง ไม่ใช่ใช้วิธีตีขลุมเหมารวมโดยปราศจากหลักฐานและการแยกแยะ โยนทุกเรื่องให้กับผู้ก่อการร้าย ทั้ง ๆ ที่บางเรื่องมีหลักฐานชัดเจนว่าผู้ที่กำลังเล็งปืนเข้าใส่ประชาชนคือทหาร ดังเช่น คลิปภาพทหารบนรถรางรถไฟฟ้าหน้าวัดปทุมวนาราม ที่ปรากฏดาษดื่นในโลกออนไลน์ ·     
  • ประการสำคัญ ต่อให้เป็นความจริงที่ว่าผู้ชุมนุมบางคนพกพาอาวุธ ก็เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐที่จะต้องติดตามจัดการกับผู้มีอาวุธเหล่านั้นโดยตรง แต่ไม่ใช่ใช้ประเด็นนี้เพื่อเป็นข้ออ้างในการยิงเข้าใส่ผู้ชุมนุมที่ปราศจากอาวุธอย่างไม่เลือกหน้า การมีอาวุธของผู้ชุมนุมบางคน ซึ่งก็น่าจะเป็นเพียงส่วนน้อย ไม่ได้ทำให้ผู้ชุมนุมทั้งหมดกลายเป็นผู้ก่อการร้าย  ไม่สามารถเป็นข้ออ้างให้รัฐบาลขนกำลังทหารกว่า 60,000 นาย และกระสุนจริงอีกกว่า 120,000 นัดเพื่อล้อมปราบ-สังหารผู้ชุมนุมได้เลย

แท้ที่จริงยุทธวิธีต่าง ๆ ที่รัฐใช้ในเหตุการณ์นี้ ไม่ได้มีอะไรเกี่ยวข้องกับคำว่า “ขอคืนพื้นที่” และ “กระชับวงล้อม” แม้แต่น้อย ไม่ว่าจะเป็นการใช้กระสุนจริงกว่า 120,000 นัดการใช้กำลังปิดล้อมพื้นที่ชุมนุมทุกด้าน การใช้สไนเปอร์ซุ่มยิงจากที่สูง การซุ่มยิงบนรางรถไฟฟ้าเข้าไปยังวัดปทุมวนาราม แต่เป็นความตั้งใจใช้ปฏิบัติการสงครามในเมืองเพื่อสลายการชุมนุมปราบปรามขบวนการคนเสื้อแดง ไม่ใช่เพื่อการเจรจา แต่เพื่อทำลาย ประการสำคัญ ยุทธการ “กระชับวงล้อม” ราชประสงค์และพื้นที่โดยรอบนี้ ได้เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่วันที่ 14 พฤษภาคม หลายวันก่อนที่การเจรจาจะถูกล้มลงเสียอีก สิ่งเหล่านี้ได้รับการยืนยันอย่างชัดเจนในเอกสารวิเคราะห์ปฏิบัติการดังกล่าวของฝ่ายทหารเอง[9]  

ฉะนั้น ปฏิบัติการ “ขอคืนพื้นที่” ที่ถนนราชดำเนิน และ “กระชับวงล้อม” ที่สี่แยกราชประสงค์ จึงเป็นการใช้อำนาจและกำลังที่เกินกว่าเหตุ ที่มีเจตนาละเมิดสิทธิในชีวิตของประชาชนอย่างชัดเจน การละเมิดนี้ยังลุกลามไปสู่ชีวิตของทั้งเจ้าหน้าที่หน่วยแพทย์อาสาสมัคร ตลอดจนผู้สื่อข่าวทั้งไทยและเทศอีกด้วย[10]  

 

ใครเป็นฝ่ายล้มการเจรจา?

หลังจากที่การเจรจาระหว่างรัฐบาลกับ นปช.ในปลายเดือนมีนาคม 2553 สิ้นสุดลง โดยไม่สามารถหาข้อยุติใด ๆ ได้ ในด้านหนึ่งรัฐบาลอภิสิทธิ์พยายามแสดงภาพว่า ตนพร้อมจะเจรจาแก้ปัญหาด้วยสันติวิธี แต่อยู่ ๆ ในบ่ายวันที่ 10 เมษายน 2553 รัฐบาลก็ส่งกำลังทหารและอาวุธหนักเข้าปฏิบัติการ “ขอคืนพื้นที่” บนถนนราชดำเนินโดยไม่มีการเตือนล่วงหน้า จนทำให้มีผู้เสียชีวิต 26 ราย (ประชาชน 20 คน ทหาร 5 คน ผู้สื่อข่าวญี่ปุ่น 1 คน) ทั้ง ๆ ที่ก่อนหน้านั้น รัฐบาลได้เรียกร้องให้ นปช.ยุบการชุมนุมที่ราชประสงค์และให้ชุมนุมบนถนนราชดำเนินเท่านั้น ความสูญเสียเมื่อวันที่ 10 เมษายน ได้กลายเป็นแรงกดดันที่ทำให้นายอภิสิทธิ์จำต้องแสดงท่าทีประนีประนอม และประกาศว่ารัฐบาลของตนยินดียุบสภา และจัดให้มีการเลือกตั้งในวันที่  14 พฤศจิกายน โดยให้นปช. ต้องสลายการชุมนุมในทันที แต่ นปช.ปฏิเสธที่จะสลายการชุมนุมในทันที เพราะมวลชนจำนวนมากยังโกรธแค้นต่อความรุนแรงของรัฐเมื่อวันที่ 10 เมษายน และต้องการให้นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ในฐานะผู้อำนวยการ ศอฉ. เข้ามอบตัวต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ  เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์วันที่ 10 เมษายน ไม่ใช่มอบตัวต่อดีเอสไอ ซึ่งถูกมองว่าเป็นพวกเดียวกันกับรัฐบาลมากเกินไป ข้อเรียกร้องนี้กลับไม่ได้รับการตอบรับจากรับบาล จึงทำให้การชุมนุมต้องยืดเยื้อออกไป ส่งผลให้ภาพพจน์ของนปช. กลายเป็นฝ่ายที่ดื้อดึง บิดพลิ้ว ไม่ยอมทำตามข้อตกลง สื่อมวลชนกระแสหลักพากันโจมตีว่า นปช. ต้องการให้เกิดการแตกหัก  พร้อมเอามวลชนเข้าแลก  และเมื่อรัฐบาลเห็นว่า นปช.กำลังตกเป็นฝ่ายเพลี่ยงพล้ำในทางการเมือง สูญเสียความชอบธรรมในสายตาสาธารณชน (โดยมีสื่อกระแสหลักเป็นตัวหนุนช่วย) รัฐบาลจึงฉวยโอกาสนี้ยุติการเจรจาที่กำลังดำเนินอยู่ และระดมกำลังทหารเข้าสู่กรุงเทพฯเพื่อสลายการชุมนุมอย่างรุนแรงในที่สุด                

อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ ศอฉ.ได้เริ่มยุทธการ “กระชับวงล้อม” จนมีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตไปจำนวนมากแล้วนั้น สมาชิกวุฒิสภากลุ่มหนึ่งนำโดยนายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา ได้เสนอตัวเข้ามาเป็นตัวกลางในการเจรจาระหว่างรัฐบาลกับ นปช. กระทั่งในคืนวันที่ 18 พฤษภาคม กลุ่ม ส.ว.ได้ไปประชุมกับแกนนำ นปช. และแถลงร่วมกันบนเวทีการชุมนุมที่ประประสงค์ว่า แกนนำ นปช. เห็นชอบกับข้อเสนอของ ส.ว. และจะให้นายประสพสุขประสานงานไปยังรัฐบาล ทว่าวันรุ่งขึ้น รัฐบาลเลือกที่จะเดินหน้าสลายการชุมนุมขั้นเด็ดขาด โดยรัฐบาลอภิสิทธิ์อ้างว่าการเจรจากับ นปช.ล้มเหลว เพราะ นปช. ปฏิเสธไม่ยอมสลายการชุมนุม อ้างว่าการเจรจากับ นปช.ล้มเหลว เพราะ นปช.ปฏิเสธไม่ยอมสลายการชุมนุม แต่ปากคำของผู้นำการเจรจา พลเอกเลิศรัตน์ รัตนวานิช สมาชิกวุฒิสภา ระบุรัฐบาลไม่ยินยอมยุติแผนการสลายการชุมนุม เพราะได้วางแผนสลายการชุมนุมอย่างเป็นขั้นตอนไว้แล้ว[11]    สอดคล้องกับบทสรุปความสำเร็จในยุทธการสลายการชุมนุมของทหารที่ว่า รัฐบาลมีนโยบายชัดเจนตั้งแต่ต้นว่าจะใช้มาตรการทางทหารเพื่อยุติการชุมนุม ไม่ใช่เพื่อเจรจา โดยนายกรัฐมนตรีได้สั่งการในที่ประชุม ศอฉ. เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม ให้ทหารเริ่มมีปฏิบัติการตามแผนที่วางไว้[12]  

 

รัฐละเมิดขั้นตอนการสลายการชุมนุมอย่างสิ้นเชิง

ตามหลักสากลได้กำหนดว่า การใช้กำลังและอาวุธของเจ้าหน้าที่รัฐต้องมีสัดส่วนที่เหมาะสมกับความรุนแรงของสถานการณ์  การใช้กำลังและอาวุธจะต้องเริ่มจากเบาไปหาหนัก โดยใช้อาวุธที่ไม่เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต (non-lethal weapons) ในการควบคุมฝูงชนก่อน เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง และลดความสูญเสียและบาดเจ็บ  การใช้อาวุธสังหารต้องเป็นทางเลือกสุดท้ายและใช้ได้เพื่อป้องกันตนเองและปกป้องชีวิตผู้อื่นเท่านั้น นอกจากนั้นหากมีผู้ใดได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต หน่วยแพทย์ต้องสามารถเข้าไปช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงที 

แม้ว่า ศอฉ. ได้ประกาศว่ารัฐได้ใช้ 7 ขั้นตอนเพื่อสลายการชุมนุมบริเวณสี่แยกคอกวัวในวันที่ 10 เมษายน โดยเริ่มจากเบาไปหาหนักตั้งแต่แสดงกำลัง, ใช้โล่ดัน, ฉีดน้ำ, ใช้เครื่องขยายเสียงกำลังส่งสูง, ใช้แก๊สน้ำตา, ใช้กระบอง และใช้กระสุนยาง  แต่ในทางปฏิบัติ ตั้งแต่ช่วงบ่ายของวันที่ 10 เมษายน หรือก่อนที่ “ชายชุดดำ” จะปรากฏตัวในช่วงหัวค่ำเพื่อยิงต่อสู้กับฝ่ายทหาร  ก็มีผู้ชุมนุมที่ได้รับบาดเจ็บสาหัสจากการถูกยิงด้วยกระสุนยางและกระสุนจริงบริเวณจุดสำคัญหลายราย  แม้ว่า ศอฉ. ได้ประกาศเกณฑ์การใช้กระสุนจริงไว้ใน 3 กรณี คือ

1.เพื่อยิงข่มขวัญขึ้นฟ้า

2.เพื่อยิงต่อเป้าหมายเมื่อสามารถตรวจสอบได้ว่ามีกลุ่มก่อการร้าย หรือกลุ่มผู้ชุมนุมคนหนึ่งคนใดที่ถืออาวุธร้ายแรง อาวุธสงคราม ลูกระเบิดที่จะสามารถทำร้ายเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ และประชาชนผู้บริสุทธิ์

3.ยิงเพื่อป้องกันชีวิตของเจ้าหน้าที่เมื่อจะถูกทำร้ายถึงแก่ชีวิตและไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงเป็นอย่างอื่นได้

แต่ลักษณะของการเสียชีวิตและบาดแผลของผู้เสียชีวิตฝ่ายประชาชนพบว่า ส่วนใหญ่เสียชีวิตจากกระสุนปืน   ขณะที่มาก กว่าครึ่งพบบาดแผลบริเวณช่วงบนของลำตัว อาทิ ใบหน้า ศีรษะ หน้าอก ท้อง ปอด และลำคอ ข้อมูลบาดแผลและสาเหตุการเสียชีวิตดังกล่าว ไม่เพียงชี้ว่าปฏิบัติการทางทหารนี้ไม่ได้ดำเนินการตามกฎการใช้กำลัง 3 ข้อของ ศอฉ. แต่ยังส่อให้เห็นว่าการยิงของเจ้าหน้าที่เป็นการยิงที่มุ่งปลิดชีวิตของประชาชนด้วย นอกจากนี้ ยังมีหลักฐานที่ชี้ว่าเจ้าหน้าที่หน่วยกู้ชีพได้ตกเป็นเป้ายิงของเจ้าหน้าที่รัฐ ทั้งๆที่พวกเขาแสดงตนชัดเจนว่าไม่มีอาวุธและเป็นอาสาสมัครกู้ชีพ  

 

กระบวนการ(ไม่)ยุติธรรมหลังสลายการชุมนุม        

ในช่วงบ่ายถึงค่ำของวันที่ 19 พฤษภาคม ได้มีการจับกุมและควบคุมตัวผู้ชุมนุมด้วยวิธีการรุนแรง เช่น มัดมือไพล่หลัง จับให้นอนคว่ำ มัดมือมัดเท้า ผูกตา ทำร้ายร่างกายผู้ถูกจับกุมขณะทำการจับกุม ตลอดจนมีการจับกุมพระภิกษุสงฆ์มัดมือไพล่หลัง และถูกบริภาษด้วยคำหยาบคาย เป็นต้น        

การจับกุมและดำเนินคดีผู้ชุมนุมทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัดจำนวนมากชี้ให้เห็นถึงปัญหาความไร้หลักนิติธรรมของกระบวนการยุติธรรมของไทยที่น่าละอายอย่างยิ่ง กล่าวคือ

หลายกรณี เจ้าหน้าทีสั่งฟ้องโดยอาศัยเพียงภาพถ่ายในบริเวณที่ชุมนุม โดยไม่มีหลักฐานอื่นที่ชี้ว่า  ผู้ถูกจับกุมได้กระทำผิดจริงหรือไม่ เช่น กรณี ดาบตำรวจ สันติเวช ภูตรี ไปตามหาลูกสาวและตำรวจถ่ายภาพไว้ ต่อมา ตำรวจสั่งฟ้องโดยอาศัยเพียงแค่ภาพถ่าย ทำให้เขาถูกต้นสังกัดตั้งคณะกรรมการสอบสวนว่ากระทำความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง หรือกรณีเผาศาลากลางในต่างจังหวัด ประชาชนจำนวนมากถูกกล่าวหาจากเจ้าหน้าที่ตำรวจและตกเป็นจำเลย เพียงเพราะมีภาพถ่ายอยู่ในเหตุการณ์ชุมนุมเท่านั้น

ผู้ชุมนุมจำนวนมากถูกฟ้องข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน อันเป็นคดีที่มีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน ๒ ปี ดังนั้น หากจำเลยรับสารภาพ ศาลก็มักอาศัยเพียงคำรับสารภาพของจำเลย โดยไม่ต้องสืบพยาน-หลักฐานประกอบคำรับสารภาพ และมักตัดสินภายในวันเดียว ปัญหาคือ  การที่ผู้ต้องหาเลือกรับสารภาพอย่างรวดเร็ว มีหลายสาเหตุด้วยกันคือ บางรายถูกข่มขู่และซ้อมทรมาน บางรายหลังจากถูกขังอยู่หลายวันก็ยังไม่มีโอกาสได้พบญาติหรือปรึกษาทนายความ บางรายตำรวจจูงใจว่า หากรับสารภาพ ศาลก็จะรอลงอาญาเพราะโทษไม่สูง บางรายถูกบังคับให้เซ็นเอกสารในการจับกุมและสอบสวนโดยไม่มีโอกาสได้อ่านเอกสารหรืออ่านไม่ออก เช่น ในคดีเผาศาลากลางมุกดาหาร เป็นต้น

นอกจากนี้ ในคดีที่ยังไม่เด็ดขาด จำเลยขอประกันตัวหลายครั้ง แต่ศาลก็ไม่ให้ประกันตัว แม้จำเลยจะได้รับความช่วยเหลือเรื่องเงินประกันจากกองทุนยุติธรรม และวงเงินในการประกันตัวก็สูงมาก ศาลมักอ้างว่าคดีอัตราโทษสูง หากให้ประกันตัวเกรงว่าจะหลบหนี ซึ่งการที่ศาลไม่ให้ประกัน ทำให้ผู้ชุมนุมหลายคนถูกคุมขังเป็นเวลานาน ทั้งๆ ที่ไม่มีความผิด หรือถูกขังเกินโทษของตน ซ้ำร้ายแม้ในกรณีที่ศาลสั่งยกฟ้องจำเลย แต่ศาลกลับมีคำสั่งให้ขังจำเลยไว้ในระหว่างที่อัยการอุทธรณ์[13]  

 

ความจริงคือหนทางสู่ความยุติธรรม

ไม่นานหลังการปราบปรามการชุมนุมคนเสื้อแดง เสียงเรียกร้องให้มีการสมานฉันท์ สามัคคี ปรองดองก็ดังกระหึ่มขึ้น เสียงร้องเหล่านี้มักแฝงมากับการบอกให้ประชาชนช่วยกัน“ทำให้สังคมก้าวไปข้างหน้า” “ห้นหน้ามาคืนดีกัน” “เลิกแบ่งสีแบ่งฝ่าย” ซึ่งแท้ที่จริงก็คือการบอกให้ผู้ถูกกระทำ “ลืม เงียบเฉย และยอมจำนน” ต่อความอยุติธรรมนั่นเอง ซึ่งเหตุการณ์ทำนองนี้เป็นสิ่งที่ผู้มีอำนาจและปัญญาชนที่สนับสนุนพวกเขากระทำบ่อยครั้งในอดีต ดังจะเห็นว่าความรุนแรงทางการเมืองหลายครั้งหลายหนในประเทศไทย จบลงด้วยการนิรโทษกรรมให้กับผู้อยู่เบื้องหลังการปราบปรามประชาชน เปลี่ยนอาชญากรรมของรัฐต่อประชาชน ให้กลายเป็นสิ่งที่ถูกต้องตามกฎหมาย     

ความเงียบและการยอมจำนนของเหยื่อ จึงเป็นด้านมืดของวัฒนธรรมการเมืองไทยที่บูชา “ความมั่นคง” “ความสามัคคี” “ความปรองดอง”  แต่ดูถูกเหยียบย่ำสิทธิ เสรีภาพ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้ถูกกระทำ เป็นวัฒนธรรมการเมืองที่ช่วยกันโอบอุ้มประเพณีของการปล่อยให้ผู้กระทำผิดที่มีอำนาจลอยนวล (culture of impunity) เป็นภาวะด้านชาและมืดบอดต่อความเจ็บปวดของคนร่วมสังคมเดียวกัน  เป็นสิ่งที่ดำรงอยู่จนแทบจะเป็นเนื้อเดียวกันกับจิตวิญญาณของการเป็นพลเมืองไทยที่ดี ที่ถูกกล่อมเกลาด้วยวาทกรรมรักชาติตลอดมา

ในขณะที่ปัญญาชนในสังคมมักหยิบยืมแนวคิด ทฤษฎี วาทกรรมจากตะวันตกเพื่อแสดงถึงความทันสมัยของตนเอง แต่เมื่อต้องรับมือกับปัญหาความรุนแรงและความอยุติธรรมภายในสังคมไทยที่มีสาเหตุมาจากกลุ่มอำนาจเดิม ที่ไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่ฐานอำนาจอยู่ที่เสียงส่วนใหญ่ของประชาชน พวกเขากลับไม่สามารถเรียนรู้บทเรียนใด ๆ จากสังคมภายนอกได้เลย แม้แต่ คอป. ที่ยืมเอาแนวคิดเรื่องการแสวงหาความจริง ในฐานะที่เป็นด้านที่แยกไม่ได้จากการแสวงหาความยุติธรรม ก็ดูจะรับเอามาแต่ส่วนที่เป็นวาทศิลป์ มากกว่าจะรับเอาแก่นสารของแนวคิดดังกล่าวมาผลักดันให้เป็นจริง ขณะที่พวกเขาไม่สามารถปฏิเสธได้ว่า สังคมต้องรับรู้ “ความจริง” และรื้อฟื้น “ความยุติธรรม” ให้กับเหยื่อ แต่ดูเหมือนพวกเขาก็ไม่สามารถสลัดหลุดออกจากความปรองดองแบบไทย ๆ ที่มุ่งปกป้องสถาบันอำนาจในสังคมเป็นสำคัญ 

หากเราหันไปดูสังคมอื่นที่เคยประสบกับความรุนแรงทางการเมืองโดยรัฐ เช่น แอฟริกาใต้ อาร์เจนตินา ชิลี ฯลฯ การสร้างความปรองดองล้วนต้องเดินควบคู่ไปกับการคืนความยุติธรรมให้กับเหยื่อ อย่างน้อยที่สุด ความยุติธรรมขั้นพื้นฐานที่จะต้องมีให้ได้ คือ การเปิดเผยความจริงว่าใครคือผู้กระทำและอยู่เบื้องหลังอาชญากรรมต่อประชาชน  ในสังคมเหล่านี้ ความจริง และความยุติธรรมดูจะเป็นคุณค่าที่มีความสำคัญมากกว่าการปรองดอง ความสามัคคี ความสงบสุขและความมั่นคงของรัฐ เพราะพวกเขาเชื่อว่า หนทางเดียวที่จะป้องกันไม่ให้การละเมิดสิทธิในชีวิตของประชาชนอย่างรุนแรงโดยอำนาจรัฐเกิดขึ้นอีก ก็ด้วยการเรียนรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นในอดีต ใครคือผู้สั่งการ ใครคือผู้สมรู้ร่วมคิดก่ออาชญากรรมต่อเพื่อนร่วมแผนของตน อุดมการณ์แบบไหนที่ทำให้ผู้มีอำนาจสามารถระดมคนชาติเดียวกันให้ช่วยกันสังหารคนอีกกลุ่มหนึ่งได้อย่างเลือดเย็น โครงสร้างทางอำนาจหรือระบบราชการหรือระบบกฎหมายแบบใด ที่อนุญาตให้ผู้สั่งการเชื่อว่าพวกเขาจะสามารถรอดพ้นจากการรับผิดได้ ใครบ้างที่จะต้องถูกลงโทษ  ฯลฯ ประเด็นเหล่านี้คือหัวใจสำคัญที่ทำให้ประชาชนในประเทศอื่น ๆ เห็นความสำคัญของการแสวงหาความจริง และร่วมกันต่อสู้เพื่อคืนความยุติธรรมให้กับเหยื่อให้ได้ แม้ว่าเขาเหล่านั้นจะต้องเสี่ยงภัยและใช้เวลาต่อสู้กับอำนาจเผด็จการอย่างเนิ่นนานก็ตาม  

แต่ในกรณีของไทย เสียงเรียกร้องให้มีความปรองดองนั้นดังกระหึ่ม ขณะที่เสียงเตือนให้สังคมต้องมุ่งไปที่การแสวงหาความจริงและนำผู้กระทำผิดมาลงโทษ กลับอ่อนแอกระปลกกระเปลี้ย สำหรับสังคมไทย ความจริงและความยุติธรรมไม่ใช่สิ่งที่มีความสำคัญแม้แต่น้อย ฝ่ายที่มีอำนาจรัฐและบรรดาปัญญาชนที่ช่วยปกป้องอำนาจเหล่านี้ต่างช่วยกัน “มอมยา” ให้ผู้คนในสังคมคล้อยตามไปกับการปล่อยให้ผู้กระทำผิดลอยนวล โดยไม่ต้องคิดมากว่า เหตุการณ์อาชญากรรมโดยรัฐจะกลับมาทำร้ายประชาชนในอนาคตซ้ำแล้วซ้ำเล่าอีกหรือไม่ เราอยู่กับปัจจุบันเสียจนไม่ยี่หระกับอนาคตของตนเอง ไม่หยี่หระต่ออนาคตของสังคมไทย ไม่หยี่หระกับโศกนาฏกรรมที่เราทิ้งไว้ให้กับของคนรุ่นหลัง

ฉะนั้น ความพยายามของคนกลุ่มหนึ่งในนามของ ศปช. ที่ท่านถืออยู่ในมือนี้ จึงเกิดขึ้นด้วยความหวังว่า สักวันหนึ่ง หากผู้คนในสังคมนี้ไม่กลายเป็นโรคความจำเลอะเลือนทางการเมืองไปหมดเสียก่อน เราจะสามารถสถาปนาความจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ปราบปราบประชาชนในเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553 และนำผู้ที่เกี่ยวข้องมารับผิดได้ในที่สุด เรามีความหวังว่าข้อมูลที่เรารวบรวมขึ้นมานี้จะมีประโยชน์ต่อกระบวนการยุติธรรมในอนาคตได้บ้าง  

รายงานฉบับนี้จึงเป็นเสมือนคำประกาศของ ศปช. ต่อสังคมไทยว่า  วัฒนธรรมแห่งการปล่อยให้ผู้กระทำผิดที่มีอำนาจลอยนวล และการเหยียบย่ำสิทธิในชีวิตและความเป็นคนจะต้องยุติลงในสังคมไทยเสียที ถึงเวลาที่คนรุ่นใหม่จะต้องช่วยกันรื้อถอนวัฒนธรรมการเมืองอันน่ารังเกียจที่ครอบงำสังคมไทยนี้ ศปช. ขอประกาศว่า ความจริงและความยุติธรรมมีความสำคัญมากกว่าความปรองดองอันหลอกลวงฉาบฉวย ความจริงและความยุติธรรมมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการสร้างสังคมใหม่ ที่คุณค่าและศักดิ์ศรีของประชาชนทุกชนชั้นต้องได้รับการเคารพและปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน   

 

ณ จุดหนึ่งบนแผ่นดินที่เปื้อนเลือด

กรกฎาคม 2555         


[1] เป็นข้อความจากเฟซบุ๊คของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ “จากใจอภิสิทธิ์ถึงคนไทยทั้งประเทศ 6 ตอนนิรโทษกรรมกับ 91 ศพ”, เขียนเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2011 สืบค้นจาก https://www.facebook.com/note.php?note_id=218400991534000 (วันที่ 20 มิถุนายน 2555).

[2] คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2553 เห็นชอบในหลักการให้มี คอป. และมีมติเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2553 เห็นชอบให้ออกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติพ.ศ. 2553

[3] แม้ว่าคดีผู้เสีชีวิตจากเหตุการณ์เมษา-พฤษภา 53 จะอยู่ในความรับผิดชอบของดีเอสไอ แต่เมื่อสืบสวนสอบสวนแล้วเชื่อได้ว่า ความตายเกิดขึ้นจากการกระทำของเจ้าพนักงาน ซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ ดีเอสไอจะต้องส่งสำนวนการสอบสวนไปยังพนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ที่พบศพนั้น เพื่อดำเนินการชันสูตรพลิกศพ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 150, เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลใหม่ในกลางปี 2554 แล้ว คดีผู้เสียชีวิตจึงเริ่มมีความก้าวหน้า กระทั่งมีหลายคดีที่กระบวนการไปถึงขั้นไต่สวนการตายในชั้นศาลอยู่ในขระนี้

[4] คอป.ระบุไว้ในหลักการ ปรัชญา และแนวคิด” ในการดำเนินงานของตนชัดเจนว่า “คอป.ไม่ใช่องค์กรด้านตุลาการหรือกระบวนการยุติธรรมที่ถูกแต่งต้งขึ้นมาเพื่อตัดสินคดี หรือชี้ว่าใครถูกใครผิด สมควรต้องถูกลงโทษตามกฎหมายหรือไม่” ดู “รายงานความคืบหน้าคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ครั้งที่ 1 (17 กรกฎาคม 2553-16 มกราคม 2554). เผยแพร่เดือนเมษายน 2554, หน้า 4.

[5] ดูรายละเอียดและข้อวิจารณ์ใน “อนุกรรมการสิทธิฯ ส่งบันทึกถึง “อมรา พงศาพิชญ์” แนะพิจารณาร่างรายงานกสม.ให้รอบคอบก่อนเผยแพร่”, ประชาไท. วันที่ 9 กรกฎาคม 2554 สืบค้นจาก  http://prachatai.com/journal/2011/07/35945 (วันที่ 20 มิถุนายน 2555).  

[6] เป็นข้อมูลที่ พ.ต.ท. สมชาย เพศประเสริฐ สส.พรรคเพื่อไทย และประธานคณะกรรมาธิการการทหาร สภาผู้แทนราษฎร นำมาแถลงเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2554 ที่รัฐสภา ดู “จตุพรดวลเทือก แดงเดือดชุมนุมวันนี้ครึ่งแสน,” ข่าวสด. วันที่ 19 มีนาคม 2554: รายงานพิเศษเรื่อง “ตรวจพลหลังศึกอภิปรายกระสุน-เสื้อแดง-แตงโม,” มติชนสุดสัปดาห์, ปีที่ 31 ฉบับที่ 1597 (25-31 มีนาคม 2554) หน้า 14, 16; “ตัวเลขเป๊ะๆ หลุดมาได้อย่างไร” เสียงบ่นจากพล.อ.ดาว์พงษ์ กรณียอดเบิกจ่ายกระสุน ‘พฤษภามหาโหด’, มติชนออนไลน์, 25 มีนาคม 2554. สืบค้นจาก  http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1301039135&grpid=no&catid&subcatid

[7] ตัวเลขการเสียชีวิตดังกล่าวมาจากฐานข้อมูลของ ศปช. ณ เดือนกรกฎาคม 2555 โดยนับเฉพาะความสูญเสียช่วงเวลาตั้งแต่ นปช.เคลื่อนขบวนเข้าสู่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 12 มีนาคม จนถึง 19 พฤษภาคม 2553 และรวมถึงผู้ที่ได้รับบาดเจ็บสาหัสจากช่วงเวลาดังกล่าว แต่มาเสียชีวิตในภายหลังด้วย ทั้งนี้ ศปช.นับกรณีการเสียชีวิตของ พลตรีขัตติยะ สวัสดิผล ว่าเป็นการตายของพลเรือน เนื่องจากเป็นผู้ร่วมชุมนุมคนหนึ่ง  

[8] ได้แก่ จ.ส.อ.พงศ์ชลิต ทิพยานนทกาญจน์ ถูกยิงบริเวณสีลม-ศาลาแดง วันที่ 17 พฤษภาคม 2553 และส.อ. อนุสิทธิ์ จันทร์แสนตอ ถูกระเบิดที่ถนนสารสิน วันที่ 19 พฤษภาคม 2553.โดยจากรายงานขาวระบุว่าถูกยิงจากทหารที่คุมพื้นที่อยู่ในบริเวณ และ ส.อ.อนุสิทธิ์ จันทร์แสนตอ ถูกสะเก็ดระเบิดข้างสวนลุมพินี เมื่อเช้าวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 ดูรายงานข่าวกรณี จ.อ.อ.พงษ์ชลิตใน “ทหารยิงทหารตายเจ็บที่สีลม”, ข่าวสด. วันที่ 18 พฤษภาคม 2553; “ระทึกม็อบตอบโต้ รถน้ำมันขวางถนน”, ไทยรัฐ, วันที่ 18 พฤษภาคม 2553.

[9] หัวหน้าควง “บทเรียนยุทธการกระชับวงล้อม พื้นที่ราชประสงค์ 14-19 พฤษภาคม พ.ศ. 2553”, เสนาธิปัตย์. ปีที่ 59 ฉบับที่ 3 (กันยายน-ธันวาคม 2553).

[10] ดูรายละเอียดเรื่องนี้ในบท “ข้อเท็จจริงการเสียชีวิตและความรุนแรง เมษา 53” และ “ข้อเท็จจริงการเสียชีวิตและความรุนแรง พฤษภา 53” และ และรายงานของผู้สื่อข่าวไร้พรมแดน Thailand License to Kill. 8 July 2010  ในภาคผนวก

[11] “รัฐบาลจ่อสลาย เลิศรัตน์รับล้มแผนเจรจา”, ไทยรัฐออนไลน์. วันที่ 19 พฤษภาคม 2553. www.thairath.co.th/content/pol/83901.

[12] หัวหน้าควง, “บทเรียนยุทธการกระชับวงล้อม พื้นที่ราชประสงค์ 14-19 พฤษภาคม พ.ศ.2553, หน้า 58.

[13] เช่น คดีที่รู้จักกันในชื่อ “ผู้หญิงยิง ฮ.” โดยเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2554 ศาลจังหวัดพระโขนงยกฟ้องทุกข้อหาต่อ นางนฤมล วรุณรุ่งโรจน์, สุรชัย นิลโสภา ,ชาตรี ศรีจินดา  หลังจากได้คุมขังพวกเขาเป็นเวลา 15 เดือน แต่ศาลกลับมีคำสั่งให้คุมขังพวกเขาไว้ก่อนในระหว่างที่รออัยการออุทธรณ์คดี  ดู “ศาลยกฟ้องทุกข้อหา! คดีผู้หญิงยิง ฮ.แต่ยังไม่ปล่อยตัว หลังขังไปแล้ว15เดือน” ประชาไท. วันที่ 11 สิงหาคม 2554 สืบค้นจาก http://prachatai.com/journal/2011/08/36629  (20 มิถุนายน 2555). 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เทคะแนน นายก อบจ.ภูเก็ต เป็นกรรมการสุขภาพแห่งชาติ

Posted: 20 Aug 2012 02:04 AM PDT

“ไพบูลย์ อุปัติศฤงค์” นายก อบจ.ภูเก็ตได้รับเลือกตั้งเป็นกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ด้วยมติเอกฉันท์ 28 คะแนน พร้อมเป็นตัวแทน อบจ. ในการเสนอแนะนโยบายด้านสุขภาพ

 
รศ.ดร.ดรุณี รุจกรกานต์ ประธานกรรมการสรรหาคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) เปิดเผยว่า หลังจากที่กรรมการสุขภาพแห่งชาติที่มาจากผู้แทนนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ได้หมดวาระลงเมื่อวันที่ 19 เมษายนที่ผ่านมา คณะกรรมการสรรหากรรมการสุขภาพแห่งชาติจึงจัดให้มีการเลือกนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด เพื่อให้ได้ผู้แทน 1 ท่านเป็นกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
 
จากการเปิดโอกาสให้นายก อบจ. ทั้ง 76 จังหวัดได้มีโอกาสเลือกนายก อบจ. สำหรับเป็นตัวแทนกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ปรากฏว่ามีนายก อบจ. ใช้สิทธิ์ในการเลือกทั้งหมด 50 อบจ. โดยมี อบจ. ที่ส่งบัตรลงคะแนนช้ากว่ากำหนดคือภายในวันที่ 8 สิงหาคม 2555 จำนวน 6 แห่ง คงเหลือบัตรลงคะแนนที่จะใช้ในการนับคะแนน 44 แห่ง และเป็นบัตรเสีย 4 ใบ
 
ผลการนับคะแนนการสรรหากรรมการสุขภาพแห่งชาติ ที่มาจากผู้แทนนายก อบจ. ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่งกรรมการสุขภาพแห่งชาติได้แก่ นายไพบูลย์ อุปัติศฤงค์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต โดยได้รับคะแนนทั้งสิ้น 28 คะแนน
 
บทบาทหน้าที่ของ คสช. ที่มาจาก อบจ.จะมีการทำงานเช่นเดียวกับคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ตามกฎหมายมาตรา 25 ของ พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ มีหน้าที่ในการให้ข้อเสนอแนะด้านนโยบายสุขภาพ เป็นหนึ่งในองค์ประกอบของคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งมีทั้งหมด 39 คน ที่มาจากทั้งกลุ่มที่มาโดยตำแหน่งคือรัฐมนตรีกระทรวงต่างๆ สภาที่ปรึกษา กลุ่มวิชาการ กลุ่มภาคประชาชน และตัวแทนที่มาจากท้องถิ่นมี 4 คน ซึ่งประกอบไปด้วยตัวแทนที่มาจากผู้ว่ากรุงเทพมหานครและนายกเมืองพัทยา 1 คน อบจ. 1 คน เทศบาล 1 คน และ อบต. 1 คน
 
“นายกอบจ.จะมีส่วนร่วมในการนำความคิดเห็นจากท้องถิ่นเข้ามากำหนดเป็นนโยบายของประเทศ รวมทั้งนำนโยบายกลับไปปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมในท้องถิ่นด้วย ที่ผ่านมาการทำงานของกรรมการสุขภาพแห่งชาติที่มาจากท้องถิ่นมีผลสำเร็จที่เห็นได้อย่างเป็นรูปธรรมบ้าง แม้จะยังไม่ใช่ทั้งหมด เพราะเป็นช่วงเริ่มต้นของการทำงาน และการเปลี่ยนแปลงผู้แทนที่มาจากท้องถิ่นเมื่อหมดวาระการทำงาน ก็ยังเป็นอุปสรรคที่ทำให้การทำงานขาดความต่อเนื่อง” รศ.ดร.ดรุณี กล่าว
 
สำหรับนายไพบูลย์ อุปัติศฤงค์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต เคยดำรงตำแหน่งอดีตสมาชิกสภาจังหวัดภูเก็ต ก่อนจะได้รับคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ตเป็นสมัยที่ 2 เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2555
 
นอกจากนี้ในวันที่ 22 สิงหาคม 2555 จะมีการคัดเลือกกรรมการสุขภาพที่เป็นตัวแทนมาจากผู้ว่ากรุงเทพมหานครและนายกเมืองพัทยา จำนวน 1 ท่านที่หมดวาระลง โดยจะมีการประชุมและร่วมตกลงกันอีกครั้งในวันดังกล่าว
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น