ประชาไท | Prachatai3.info |
- บรรยากาศงานฌาปนกิจศพ 'อากง' 26 สิงหา
- บทกวีในงานคืนความบริสุทธิ์แก่อากง 26 สิงหา 2012
- 'สตีฟ จ็อบส์' ฉบับธรรมกาย กับปัญหาธรรมวินัยและการประยุกต์พุทธธรรม
- คนกระบี่ประกาศศึกลุยต้านโรงไฟฟ้า เดินหน้าค้าน กฟผ.สร้างท่าเรือถ่านหิน
- 1 ปีการทำงานของรัฐบาล ถึงเวลาที่ต้องดำเนินนโยบายการนับรวมทางสังคม (social inclusion)
- สมชาย หอมลออ นั่ง ปธ. AI ต่อ
- เผยคนงานยานยนต์อเมริกันอาจตกงาน 26,500 คน จากข้อตกลงการค้าเสรี TPP
- ปิยบุตร แสงกนกกุล: คำไว้อาลัย 'อากง'
- ประวิตร โรจนพฤกษ์: คำไว้อาลัยอากง SMS ที่ผมไม่เคยรู้จัก
- "สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล" อภิปรายที่วัดลาดพร้าว
บรรยากาศงานฌาปนกิจศพ 'อากง' 26 สิงหา Posted: 26 Aug 2012 08:42 AM PDT 26 ส.ค.55 ที่วัดลาดพร้าว มีงานฌาปนกิจศพนายอำพล หรือ อากง ผู้ต้องขังมาตรา 112 ที่เสียชีวิตระหว่างถูกควบคุมตัว มีประชาชนมาร่วมงานนับพันคน ภายในงานมีการปล่อยนกพิราบ 112 ตัวเพื่อเป็นสัญลักษณ์การปลดปล่อยนักโทษทางการเมือง มีการอ่านบทกวี และกล่าวไว้อาลัยจากตัวแทนประชาชนกลุ่มต่างๆ ทั้งเครือข่ายวิทยุชุมชน, แกนนำ นปช., ตัวแทนกระทรวงยุติธรรม, นักวิชาการ, กวี ฯลฯ ท่ามกลางฝนที่ตกพรำตลอดช่วงบ่าย จากนั้นในเวลาประมาณ 17.00 น.จึงมีการทอดผ้าบังสุกุล ให้ประชาชนวางดอกไม้จันทน์ และดำเนินการฌาปนกิจ ทั้งนี้ ภายในงานมีการแจกหนังสือที่ระลึกงานฌาปนกิจชื่อ รักเอย โดยรสมาลิน (ภรรยา) ชมคลิปและภาพด้านล่าง
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
บทกวีในงานคืนความบริสุทธิ์แก่อากง 26 สิงหา 2012 Posted: 26 Aug 2012 07:27 AM PDT
อิสระภาพหลังคราบเลือดคราบน้ำตา ใครต้องการ ต้อนรับ รอมาถึง เรือนร่างของคนรักเคยคอยคนึง กลายเป็นสิ่งที่มิพึงปรารถนา !
อิสระภาพไม่มาพร้อมลมหายใจ ความยุติธรร ทำไม? ช่างเชื่องช้า เอ้อระเหย...วัน เดือน ปี นาฬิกา เกินสังขารแก่ชราจะรอคอย
ประเทศนี้ ทั้งแนวดิ่ง,แนวระนาบ เสรีภาพหรี่เสมือนแสงหิ่งห้อย ประชาธิปไตย เป็นเงาจันทร์ สะท้อนลอย กลางสระน้ำบึงน้อย มิอาจนับ
ความรักของประชาชนเป็นเช่นไร..? ทุกจังหวะแห่งหัวใจ เต้นขยับ ต้องตรวจสอบ ตีกรอบ กดกระชับ จะถูกจับ !..ถ้าไม่รักใครบางคน
นกพิราบ ร้อยสิบสองชีวิตนี้ เกิดมาพร้อมเสรีตั้งแต่ต้น 1คู่ปีก 1ดวงใจ ไม่จำนน จะต่อสู้ไปจนกว่าคืนเสรี จะต่อสู้ไปจนกว่าคืนเสรี
คืนความยุติธรรมให้กับคนตาย คืนอิสระภาพให้กับคนเป็น ปลดปล่อยนักโทษทางการเมือง คืนพิราบบริสุทธิ์กลับสู่สังคมไทย
ไม้หนึ่ง ก.กุนที กวีราษฎร วัดลาดพร้าว ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
'สตีฟ จ็อบส์' ฉบับธรรมกาย กับปัญหาธรรมวินัยและการประยุกต์พุทธธรรม Posted: 26 Aug 2012 06:51 AM PDT “...หลังจากที่คุณสตีฟ จ็อบส์เสียชีวิตแล้ว เขามีความรู้สึกเหมือนวูบไปแล้วก็ตื่นขึ้นบนเตียงซึ่งตั้งอยู่กลางวิมานอันเป็นที่อยู่อาศัยของเขา...เขารู้สึกตื่นตาตื่นใจ ประหลาดใจกับทุกสิ่งรอบๆ ตัว...อาการเจ็บปวดจากโรคมะเร็งของเขาหายไป เขาดูหนุ่มขึ้น หล่อขึ้น เหมือนมีอายุประมาณ 35 ปี...เตียงที่ใช้นอนเรียบหรูดูดีมีสไตล์ แถมยังลอยได้อีกด้วย...” นี่คือข้อความบางส่วนที่ปรากฏในสารคดีชื่อ “Where is Steve Jobs” เผยแพร่ทางสถานีโทรทัศน์ DMC ของวัดพระธรรมกาย โดยพระเทพญาณมหามุนี (ไชยบูลย์ ธมฺมชโย) เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายบรรยายฉากชีวิตหลังความตายของสตีฟ จ็อบส์ ผู้ก่อตั้งบริษัทแอปเปิล คอมพิวเตอร์ ใจความสำคัญอีกคือ “สตีฟ จ็อบส์ ในขณะที่จะตายนั้น จิตใจมีแต่ความเป็นห่วงบริษัทแอปเปิลในอนาคต จึงทำให้ไปจุติเป็นภุมมะเทวาสายวิทยาธรกึ่งยักษ์มีผิวดำและเขี้ยวเป็นยักษ์ แต่ด้วยผลบุญที่ได้คิดประดิษฐ์สิ่งใหม่ๆ ให้แก่โลก จึงทำให้เขาได้พบมิตรที่ดีบนสวรรค์ และสตีฟ จ็อบส์ จึงตั้งใจบำเพ็ญเพียรเพื่อเข้าถึงธรรมกายต่อไป…” ซึ่งก่อให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ตามมาอย่างกว้างขวาง ผมเองมีความเห็นบางประการต่อไปนี้ ก.ข้อสังเกตบางประการเกี่ยวกับประเด็นพระธรรมวินัย การกระทำผิดวินัยสงฆ์นี้เป็น “ความผิดสำเร็จ” เมื่อพูดออกไป ส่วนกระบวนการสอบสวนเอาผิดโดยคณะสงฆ์เป็นเป็นกรรมวิธีดำเนินการเพื่อสรุปพยานหลักฐานและตัดสินให้ผู้กระทำรับผิดตามที่วินัยบัญญัติไว้ ฉะนั้น แม้คณะสงฆ์จะไม่รู้ หรือละเว้นการดำเนินการ ผู้กระทำย่อมต้องอาบัติไปแล้วตั้งแต่ที่ได้กระทำความผิดสำเร็จ “อุตตริมนุสสธรรม” คือความสามารถพิเศษที่เหนือวิสัยของคนธรรมดาทั่วไป เช่นมีญาณวิเศษหยั่งรู้ภพชาติต่างๆ ได้ กรณีเจ้าอาวาสวัดพรธรรมกายรู้เรื่องชีวิตหลังความตายของสตีฟ จ็อบส์ หากเป็นจริงก็ต้องเป็นเรื่องที่รู้ด้วยญาณวิเศษเท่านั้น ไม่ใช่รู้ด้วยวิธีการอย่างสามัญมนุษย์ที่สามารถตรวจสอบได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ (หรืออย่างเป็นสาธารณะ เหมือนการพิสูจน์น้ำเดือดที่ระดับอุณหภูมิ 100 องศาฯ เป็นต้น) แต่ไม่ว่าท่านจะมีญาณวิเศษจริงหรือไม่ก็ผิดวินัยสงฆ์อยู่ดี ถือถ้าไม่มีจริงก็ต้องอาบัติปาราชิก ถ้ามีจริงก็ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ปัญหาคือ เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายทำนายชีวิตหลังความตายของบุคคลต่างๆ ออกทีวีมาอย่างยาวนาน ซึ่งถ้าท่านรู้ด้วยญาณวิเศษจริงๆ การอวดอุตตริเช่นนั้นก็เป็นการกระทำผิดซ้ำๆ คือ “ต้องอาบัติปาจิตตีย์เป็นอาจิณ” แต่ตามหลักพุทธศาสนานั้นการละเมิดพระธรรมวินัยเป็นอาจิณไม่ใช่คุณสมบัติของพระอริยบุคคลซึ่งต้องมีคุณสมบัติพื้นฐานขั้นต่ำสุดคือ “มีศีลสมบูรณ์” คือไม่ต้องอาบัติ หรือไม่ทำผิดวินัยข้อใดๆ เลย 2. บางคนบอกว่าต้องมีเสรีภาพให้ตีความวินัยสงฆ์เป็นอย่างอื่นได้ แต่ถ้าทำได้เช่นนั้นปัญหาที่ตามมาคือ พระดื่มเหล้า พระมีเมีย ฯลฯ ก็สามารถอ้างเสรีภาพที่จะดีความได้ว่าไม่ผิดวินัยสงฆ์ หรือในทางโลกอาจารย์ที่เรียกร้อง “เซ็กส์แลกเกรด” กับนักศึกษาก็อ้างได้ว่าไม่ผิดจรรยาบรรณเพราะเป็นเสรีภาพ วัดพระธรรมกายนั้นเป็นพุทธนิกายเถรวาทจึงต้องอยู่ภายใต้พระธรรมวินัยของเถรวาท แน่นอนว่า พุทธศาสนาก็มีหลายนิกาย ในญี่ปุ่นบางนิกายพระมีเมียได้ แต่เขาก็มีกฎของเขาต่างหากที่แต่ละนิกายต่างก็ไม่ก้าวก่ายกัน แต่หลักๆ คือนิกายเดียวกันต้องปฏิบัติวินัยสงฆ์แบบเดียวกันที่เรียกว่า “สีลสามัญญตา” แปลว่าเสมอกันโดยศีล เทียบกับทางโลกก็คือมีความเสมอภาคทางกฎหมายนั่นเอง 3. ถามว่าพุทธศาสนาไม่ให้เสรีภาพในการตีความพระธรรมวินัยที่แตกต่างกันเลยหรือ ตอบว่าพุทธศาสนาให้เสรีภาพเช่นนี้มาเป็นพันๆ ปี จนมีการแยกเป็นนิกายต่างๆ เป็นร้อยๆ นิกาย แต่หลายนิกายก็สูญหายไปยังเหลือแต่นิกายใหญ่ๆ เสรีภาพในการตีความต่างกันอย่างสิ้นเชิงนั้นเห็นได้จาก “เสรีภาพในการแยกนิกาย” เช่นนิกาย ก.เห็นว่าพระเสพเมถุน (มีเพศสัมพันธ์) ผิด เมื่อมีคนกลุ่มหนึ่งในนิกายนั้นเสนอว่าพระมีเมียได้ไม่ผิดทำให้เกิดความขัดแย้งกันขึ้น จึงออกไปตั้งนิกายใหม่คือ นิกาย ข. แล้วต่างนิกายก็ต่างอยู่ เหมือนสันติอโศกเมื่อไม่ยอมรับกฎของเถรวาทแบบที่คณะสงฆ์ไทยยึดถือ เขาก็ออกไปตั้งกลุ่มของเขาเองและสอนตามแนวทางของเขาไป เขาก็อยู่ของเขาได้ตราบที่ยังมีผู้ศรัทธาในแนวทางของเขา ฉะนั้น หากมองจากเสรีภาพในการแยกนิกายที่ยึดการตีความคำสอนต่างกันเป็นกรอบการปฏิบัติของนิกายตนเอง พุทธศาสนาก็ไม่ได้ขัดแย้งหลักเสรีภาพในการนับถือศาสนา หรือการตีความคำเสนอทางศาสนา เพียงแต่สมาชิกในแต่ละนิกายไม่สามารถอ้างเสรีภาพที่จะทำผิดกฎของนิกายตนเองได้เท่านั้น ซึ่งนี่เป็นหลักการทั่วไปของทุกสถาบัน หรือทุกองค์กรทางสังคม 4. การปกป้องไม่ให้ดำเนินการไต่สวนทางวินัยสงฆ์กับเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ด้วยข้ออ้างที่ว่า มีพระรูปอื่นๆ แสดงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์จำนวนมาก ทำไมไม่ดำเนินการนั้น ย่อมไม่ต่างอะไรกับการพบว่านายแดงกำลังทำการหลอกลวงต้มตุ๋นประชาชนแต่ไม่ควรดำเนินการใดๆ กับเขาจนกว่าจะไปดำเนินการกับนักต้มตุ๋นคนอื่นๆ ให้ได้ทั้งหมดก่อน ข้ออ้างเช่นนี้จึงไม่สมเหตุสมผล แน่นอนว่าพระรูปอื่นๆ ที่ทำอะไรโจ่งแจ้งในทางอวดอุตตริก็ต้องถูกดำเนินการในมาตรฐานเดียวกัน แต่การที่ยังไม่ได้ดำเนินการ หรือเคยมีการละเลยที่จะดำเนินการ ย่อมไม่ใช่เหตุผลที่จะสรุปได้ว่าไม่ควรเรียกร้องให้ไต่สวนเอาผิดกับเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายที่ละเมิดพระธรรมวินัยเป็นอาจิณ 5. ยิ่งกว่านั้นการออกมาปกป้องว่ามหาเถรสมาคมไม่ควรใช้อำนาจรังแกธรรมกาย ยิ่งเป็นการปกป้องที่ผิดจากข้อเท็จจริง เพราะความสัมพันธ์ของมหาเถรสมาคมกับวัดพระธรรมกายมีลักษณะเอื้อประโยชน์ต่อกันมากกว่าที่จะมีลักษณะเป็นปฏิปักษ์ต่อกันเหมือนในกรณีพระเกษม หรือสันติอโศก ข. ประเด็นการประยุกต์พุทธธรรมจากพระไตรปิฎก แต่สังเกตไหมครับ เวลาที่พวกเราชาวพุทธไปอ่านนิทานอีสปเราเชื่อว่าเป็นเรื่องจริงไหมว่า ช้างพูดได้ ลิงพูดได้ เราอ่านเพื่อหาสาระว่า “นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า...” เหมือนเราอ่านคัมภีร์ภควัตคีตาของฮินดู เราไม่สนใจหรอกว่าตัวละครและเหตุการณ์ในเรื่อง เช่น พระกฤษณะ ร่ายโศลกปลุกใจอรชุนให้ทำหน้าที่กษัตริย์สู้รบนั้น มันเป็นข้อเท็จจริงไหมว่าเทพอวตารกับคนกำลังสนทนากัน แต่เราสนใจเพียงว่าแก่นสาระหรือปรัชญาของโศลกนั้นคืออะไร เหมือนที่อ่านบทสนทนาหรือข้อโต้แย้งต่างๆ ของโสเครตีสที่แต่งโดยเพลโต เราไม่ไปตั้งคำถามว่าตัวละครนั้นๆ ที่โต้เถียงกับโสเครตีสมีจริงหรือไม่ เราสนใจ “เนื้อหา” ที่เขาสนทนาโต้เถียงกันเป็นหลัก คนที่อ่านพระไตรปิฎกโดยเชื่อว่าทุกข้อความในพระไตรปิฎกคือเรื่องจริง ก็เหมือนคนที่อ่านนิทานอีสปโดยคิดว่าเรื่องราวในนิทานคือเรื่องจริงทั้งหมด ก็ต้องถูกมองว่างมงายได้ เพราะเรื่องราวในพระไตรปิฎกมีหลายเรื่องที่พิสูจน์ไม่ได้ในทางวิทยาศาสตร์ เช่น สวรรค์ นรก พรหมโลก กระทั่งราหูอมจันทร์ ในขณะเดียวกันคนที่วิจารณ์ว่า “ตัวพระไตรปิฎกเองงมงาย” ก็อาจกำลัง “มองอย่างงมงาย” อยู่ก็ได้ เพราะคุณกำลังจะมองว่าพระไตรปิฎกคือตำราวิชาการ เหมือนดำราทางรัฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ที่ผ่านกรรมวิธีทางวิชาการแล้ว ฉะนั้น เมื่อเอาเรื่องราวที่บันทึกในพระไตรปิฎกมาเทียบกับเรื่องราวในตำราสมัยใหม่ คุณก็จะพบว่าในพระไตรปิฎกมีเรื่องราวจำนวนมากที่ไม่เป็นวิทยาศาสตร์ แล้วสรุปว่างมงาย แต่จริงๆ แล้วพระไตรปิฎกไม่ใช่ “ตำราทางวิชาการ” มันคือหนังสือประเภทหนึ่ง หนังสือนั้นมีหลายประเภท เช่น ตำราวิชาการ วรรณกรรม วรรณคดี ฯลฯ หนังสือแต่ละประเภทมีประโยชน์ต่างกัน มีวิธีอ่านหรือวิธีหาประโยชน์จากหนังสือนั้นๆ แตกต่างกันไป พระไตรปิฎกอาจอนุโลมเข้าในประเภทของวรรณกรรมหรือวรรณคดี ในความหมายว่าเป็นหนังสือที่ต้องอ่านเอาเนื้อหา คือ “อ่านเอาเนื้อหาธรรมะ” เป็นด้านหลัก เหมือนอ่านภวัตคีตา อ่านบทสนทนาต่างๆของโสเครตีส หรืออ่านนิทานอีสป เป็นต้น เพื่อเอาเนื้อหาสาระ ทีนี้เนื้อหาในพระไตรปิฎกมีสองส่วนหลักๆ คือ (1) ส่วนที่เกี่ยวกับบุคคล เหตุการณ์ สถานที่ ซึ่งบางเรื่องเป็นข้อเท็จจริง บางเรื่องเป็น “เรื่องเล่า” ที่สอดคล้องกับบริบทความเชื่อทางศาสนาในวัฒนธรรมชมพูทวีปที่มีมาก่อนสมัยของพุทธะและร่วมสมัย เช่นชาดกต่างๆ สวรรค์ นรก ฯลฯ (2) ส่วนที่เป็นคำสอนหรือ “ธรรมะ” แยกเป็นสองประเภทหลัก คือ ก.สัจธรรม คือคำสอนเกี่ยวกับข้อเท็จจริงในธรรมชาติ เช่น ไตรลักษณ์ ปฏิจจสมุปบาท อริยสัจสี่ (ข้อเท็จจริงในธรรมชาติเหล่านี้ตรวจสอบได้ เช่นไตรลักษณ์บอกว่าสรรพสิ่งเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เป็นทุกข์หรือมีภาวะขัดแย้งในตัวเอง เป็นอนัตตาหรือไร้ตัวตนที่เป็นอมตะ เป็นสิ่งที่ตรวจสอบได้ หรือเนื้อหาของการเกิดทุกข์ทางใจตามหลักอริยสัจสี่และปฏิจจสมุปบาทก็คล้ายๆ กับทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ หรือ คาร์ล กุลสตาฟ จุง เป็นต้น ฉะนั้น เวลานักคิดด้านพุทธศาสนา เช่น ท่านพุทธทาสบอกว่าพุทธศาสนาเป็นวิทยาศาสตร์ ท่านหมายถึงคำสอน “เฉพาะ” ส่วนที่เกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริงในธรรมชาติที่พิสูจน์ได้ตามหลักการทางวิทยาศาสตร์เท่านั้น) ข.จริยธรรม (หรือศีลธรรม) คือคำสอนส่วนที่เป็นหลักปฏิบัติเพื่อพัฒนาชีวิตตนเองและหลักการอยู่ร่วมกับคนอื่นๆ หรือสังคม ที่สรุปเป็น 3 ส่วนคือ ศีล เป็นหลักการปฏิบัติที่ไม่ละเมิดสิทธิต่างๆ ของบุคคลอื่น สมาธิ เป็นหลักการฝึกสติของตนเอง และ ปัญญา คือหลักพัฒนาปัญญาให้เข้าใจสัจธรรมในธรรมชาติ (ตามข้อ ก.) หรือพูดกว้างๆ ว่าเข้าใจความจริงของโลกและชีวิต เพื่อให้อยู่กับความจริงนั้นได้โดยไม่ก่อทุกข์แก่ตนเองและผู้อื่น หรือในทางบวกก็คือสร้างสรรค์ประโยชน์สุขแก่ตนเอง คนอื่น และสังคม จุดประสงค์หลักของการอ่านพระไตรปิฎกเพื่อให้เข้าใจเนื้อหาของ “ธรรมะ” ใน ก.และ ข. ฝ่ายมหายานเขาจะอ่านพระไตรปิฎกกันแบบนี้ ฉะนั้น เราจะเห็นในคำบรรยาย และข้อเขียนของทะไลลามะ ติช นัท ฮันห์ ไดซากุ อิเคดะ และนักคิดฝ่ายมหายานจำนวนมากที่เขานำเนื้อหาพระไตรปิฎก ก.และ ข. ไป apply (ประยุกต์) กับแนวคิดต่างๆ ทางวิทยาศาสตร์ ทั้งด้านฟิสิกส์ จิตวิทยา รวมทั้งเรื่องปรัชญาจริยศาสตร์ เสรีภาพ ความเสมอภาค ประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน จริยศาสตร์สิ่งแวดล้อม ฯลฯ (นอกจากนี้มหายานอ่านพระไตรปิฎกแล้วมาแต่งพุทธประวัติขึ้นใหม่มีหลายเวอร์ชัน แหละหลายคนแต่ง ติช นัท ฮันห์ ก็แต่งเองอีกสำนวนหนึ่งที่แปลเป็นภาษาไทยในชื่อ “คือเมฆสีขาวทางก้าวเก่าแก่” หรือที่ฝรั่งคนหนึ่งเขียนเรื่อง “ประทีปแห่งเอเชีย” ก็เป็นการแต่งเรื่องพุทธประวัติด้วยสำนวนและมุมมองของเขาเอง ประเด็นคือเขาต้องการสะท้อน “ธรรมะ” ไม่ใช่ยืนยันข้อเท็จจริงเกี่ยวกับบุคคล เหตุการณ์ ฯลฯ เป็นด้านหลัก) ที่ต้องขีดเส้นใต้ไว้เลยคือ มหายานเป็นพุทธศาสนาฝ่ายก้าวหน้าหรือเสรีนิยม การ apply ธรรมะ ก.และ ข. กับแนวคิดหรือองค์ความรู้ร่วมสมัยของพวกเขาจึงเป็นวัฒนธรรม หรือเป็นเรื่องปกติ ไม่มีใครมาคัดค้านว่าไม่ควร apply ว่าพุทธเป็นประชาธิปไตย หรือเป็นวิทยาศาสตร์ ฯลฯ รวมทั้งมีการ apply กับเรื่องบทกวี วรรณกรรม ศิลปะต่างๆ ดังพุทธนิกาบเซนในญี่ปุ่นเป็นต้น (ที่จริงพุทธศาสนาสมัยพุทธกาลที่พูดเรื่องกรรม สวรรค์ นรก ก็คือการ apply คำสอนกับความเชื่อร่วมสมัยนั่นแหละ ไม่มีพุทธเพียวๆ หรือ “พุทธแท้” ที่ไม่มีอะไรเจือปนอยู่จริงหรอก เรื่อง “ตรัสรู้” “นิพพาน” หรือความหลุดพ้น แทบทุกศาสนาของอินเดียก็สอนกัน เพียงแต่แก่นสาระต่างกัน แก่นสาระของพุทธคืออริยสัจจสี่เพราะถือว่าพุทธะตรัสรู้สิ่งนี้ แก่นสาระของศาสนาอื่นๆ ที่พูดเรื่องความหลุดพ้นก็มีรายละเอียดต่างๆ กันไป) มีแต่เถรวาทแบบไทยๆ นี่แหละที่ไม่รู้จะเอายังไงแน่ มั่วสุดๆ การ apply พุทธศาสนากับบริบทของยุคสมัยแทนที่จะเอาธรรมะ ก.และ ข. มา apply กับการยกระดับคุณค่าชีวิตและความเป็นธรรมในสังคมอย่างสมสมัยดังที่มหายานเขาทำกัน กลับไปเอา "“เรื่องเล่า” ส่วนที่ไม่เป็นเหตุเป็นผลพิสูจน์ไม่ได้มา apply ดังกรณี “สตีฟ จ็อบส์ ฉบับธรรมกาย” การแขวนเปลือกหอยแก้กรรมของแม่ชีทศพร และ ฯลฯ ที่ตลกร้ายกว่านั้นกลับมีการยอมรับการ apply แบบธรรมกาย แม่ชีทศพรและ ฯลฯ ได้ แต่ปฏิเสธการ apply แก่นสาระของธรรมะ ก.และ ข. แบบที่พุทธก้าวหน้าเขาทำกัน ดังที่วิจารณ์กันว่าการตีความพุทธศาสนาเป็นประชาธิปไตย เป็นวิทยาศาสตร์นั้นเป็นการสร้างพุทธแท้ขึ้นมา ทำให้มีพุทธแท้ที่เป็นวิทยาศาสตร์ เป็นประชาธิปไตยที่แตะต้องไม่ได้ แต่ข้อเท็จจริงคือการ apply หลักการบางประการตาม ก. และ ข.ว่าเข้ากันได้หรือสนับสนุนกันกับหลักวิทยาศาสตร์หรือประชาธิปไตยนั้นคือการนำหลักการพุทธศาสนาขึ้นมาสู่ “เวทีของเหตุผล” ที่โต้แย้ง ถกเถียง แลกเปลี่ยนกันได้อย่างคนเสมอกัน ดังท่านพุทธทาสจะตีความว่าพุทธศาสนาเป็นธรรมิกประชาธิปไตย เป็นธรรมิกสังคมนิยมเป็นต้น ก็เป็นการตีความจากการใช้เหตุผลของท่าน และท่านก็เปิดให้ทุกคนใช้เหตุผลโต้แย้งได้อย่างคนที่เท่าเทียมกัน แต่การอ้าง “ญาณวิเศษ” แบบเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย (เป็นต้น) ต่างหากที่อยู่พ้นขอบเขตของการใช้เหตุผล เป็นการยกสถานะของตนเองให้เหนือคนธรรมดาทั่วๆ ไป จึงไม่แปลกที่ท่านไม่เคยลงมาแลกเปลี่ยนถกเถียงกับเพื่อนมนุษย์ที่วิพากษ์วิจารณ์ท่านอย่าง “คนเหมือนกัน” ความไม่มีเหตุผลเช่นนี้ต่างหากที่ขัดแย้งกับธรรมชาติของสังคมประชาธิปไตย! ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คนกระบี่ประกาศศึกลุยต้านโรงไฟฟ้า เดินหน้าค้าน กฟผ.สร้างท่าเรือถ่านหิน Posted: 26 Aug 2012 06:43 AM PDT ประมงพื้นบ้านหวั่นเส้นทางเรือแออัด ชี้ร่องน้ำตื้นต้องขุดลอก-ระเบิดหิน กระทบทรัพยากรทะเล จวก กฟผ.หมกเม็ดข้อมูล อัดงบสื่อท้องถิ่นโฆษณาชวนเชื่อ ล็อบบี้ผู้นำชุมชน เมื่อเวลา 09.00 น. น. วันที่ 26 สิงหาคม 2555 ที่หอประชุมโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 2 ตำบลโคกยาง อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ร่วมกับบริษัทแอร์เซฟ จำกัด มหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นเพื่อกำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EIA) สำหรับโครงการท่าเทียบเรือบริเวณโรงไฟฟ้ากระบี่ ตำบลคลองขนาน อำเภอเหนืองคลองโดยมีชาวบ้านจากอำเภอเกาะลันตา อำเภอเหนือคลอง อำเภอคลองคลองท่อม และอำเภอใกล้เคียง จังหวัดกระบี่ ร่วมประมาณ 300 คน โครงการท่าเทียบเรือบริเวณโรงไฟฟ้ากระบี่ ตั้งอยู่ในพื้นที่โรงไฟฟ้าเดิม ตำบลคลองขนาน อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ จัดสร้างขึ้นเพื่อขนถ่ายถ่านหินที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ เข้าสู่โรงไฟฟ้ากระบี่ในโครงการขยายกาลังผลิตไฟฟ้ากระบี่ จะใช้เรือเดินทะลขนาดใหญ่ที่มีอุปกรณ์สำหรับขนถ่ายถ่านหินติดตั้ งใช้งานบนเรือ มีระวางบรรทุกระหว่าง 50,000-100,000 DWT ขนส่งถ่านหินจากท่าเรือต้นทางเช่น อินโดนีเซีย มายัง จุดขนถ่ายถ่านหินกลางทะเล บริเวณเกาะปอ จากนั้นใช้อุปกรณ์บนเรือ คือ crane & grab ทำการขนถ่ายถ่านหินจากระวางเรือใหญ่ลงสู่เรือบาร์จ โดยมีอัตราการขนถ่ายประมาณ 1,200 ตันต่อวัน สำหรับเส้นทางขนส่งถ่านหินของเรือบาร์จ จะเริ่มจากจุดทอดสมอบริเวณเกาะปอ - แหลมหิน – คลัง น้ามันบ้านคลองรั้ว– แหลมกรวด – คลองเพหลา – คลองปกาสัย – ท่าเทียบเรือบริเวณโรงไฟฟ้า ต่อมาเวลา 13.00 น. มีการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นเพื่อกำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EIA) สำหรับโครงการท่าเทียบเรือบริเวณสะพานช้าง ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย โครงการท่าเทียบเรือบริเวณสะพานช้าง ตั้งอยู่ริมคลองเพหลา หมู่ที่ 6 บริเวณบ้านคลองหวายเล็ก ตำบลคลองขนาน อำเภอเหนือคลอง ห่างจากโรงไฟฟ้ากระบี่ ไปทางทิศใต้ประมาณ 8 กิโลเมตร ห่างจากชายฝั่งทะเลประมาณ 15.7 กิโลเมตร จะใช้เรือเดินทะลขนาดใหญ่ที่มีอุปกรณ์สำหรับขนถ่ายถ่านหินติดตั้งใช้งานบนเรือ มีระวางบรรทุกระหว่าง 50,000 – 100,000 DWT ขนส่งถ่านหินจากท่าเรือต้นทาง เช่น อินโดนีเซีย มายังจุดขนถ่ายถ่านหินกลางทะเล บริเวณเกาะปอ จากนั้นใช้อุปกรณ์บนเรือ คือ crane & grab ทำการขนถ่ายถ่านหินจากระวางเรือใหญ่ลงสู่เรือบาร์จ โดยมีอัตราการขนถ่ายประมาณ 1,200 ตันต่อวัน สำหรับเส้นทางขนส่งถ่านหินของเรือบาร์จ จะเริ่มจากจุดทอดสมอบริเวณเกาะปอ - แหลมหิน – คลังน้ำมันบ้านคลองรั้ว – แหลมกรวด – คลองเพหลา – คลองปกาสัย – ท่าเทียบเรือบริเวณสะพานช้าง
นายชลิต สุโข สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลปกาสัย หมู่ที่ 1 ตำบลปกาสัย กล่าวในเวทีว่า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย มีโครงการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน สร้างท่าเรือถ่านหิน ทั้งที่โรงไฟฟ้าน้ำมันเตา ยังก่อปัญหาให้กับคนปกาสัยยังไม่ได้รับการแก้ไข ตนและชาวบ้านปกาสัยตั้งธงแล้วว่าจะต่อต้านไม่ให้เกิดโรงไฟฟ้าถ่านหินเด็ดขาด แม้ว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยตั้งธงก่อสร้างก็ตาม ตนจะกลับไปเผยแพร่ข้อมูลให้กับชาวบ้านและหาแนวร่วมพื้นที่อื่นๆ ลุกขึ้นต้านให้เป็นขบวนให้จนได้
นายศุภรัตน์ ทองทิพย์ สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลปกาสัย หมู่ที่ 6 ตำบลปกาสัย กล่าวในเวทีว่า ตนคนหนึ่งที่ต้านทั้งโรงไฟฟ้าถ่านหิน โครงการท่าเทียบเรือบริเวณโรงไฟฟ้ากระบี่ และโครงการท่าเทียบเรือบริเวณสะพานช้าง ตั้งอยู่ริมคลองเพหลา หมู่ที่ 6 บริเวณบ้านคลองหวายเล็ก ตำบลคลองขนาน ซึ่งแน่นอนว่าไม่นานนี้จะมีการแตกหักกันระหว่างคนที่สนับสนุน กับต้านแน่นอน นายอดุลย์ ซอบีรีน ชาวบ้านบ้านหัวแหลม ตำบลเกาะลันตาใหญ่ อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ แสดงความเห็นในเวทีว่า ขณะนี้ที่เกาะปอ ตำบลเกาะลันตาใหญ่ มีเรือบรรทุกปูนซีเมนต์ ของบริษัท เอสซีจี ซีเมนต์ จำกัด แออัดอยู่แล้ว หากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย มีการขนถ่ายถ่านหินอีก จะทำให้ปริมาณเรือเพิ่มมากขึ้น อาจทำให้ชาวประมงพื้นบ้านไม่มีอาชีพอีกต่อไป ขนาดเรือบรรทุกปูนซีเมนต์เองยังส่งผลกระทบแล้ว หากเป็นถ่านหินย่อมอันตรายกว่าปูนซีเมนต์อยู่แล้ว ตนและชาวบ้านเกาะปอ แหลมทราย หัวแหลม ไม่เห็นด้วยกับการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน นายพิบูลย์ สาระวารี นักวิชาการอิสระ ที่ปรึกษาองค์กรชุมชนภาคพลเมืองจังหวัดกระบี่ แสดงความเห็นในเวทีว่า ตนได้ติดตามการทำงานของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เกี่ยวกับโรงไฟฟ้าถ่านหิน รวมถึงการรับงานของบริษัทที่ปรึกษา และมหาวิทยาลัย พบข้อพิรุธ คือ มีการโฆษณาชวนเชื่อจากสถานีวิทยุ เชิงข่มขู่ชาวบ้านบอกว่าหากโรงไฟฟ้าถ่านหินไม่ได้สร้างจะไม่มีไฟฟ้าใช้ อีกทั้งการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ไม่เปิดเผยข้อมูลรอบด้านทั้งข้อดี ข้อเสีย แถมยังมีการนำกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำท้องถิ่นไปดูงานที่ประเทศญี่ปุ่นเพื่อล็อบบี้ “เรือขนส่งถ่านหินเดินทางจากอินโดนีเซีย ผ่านเกาะตะรุเตา ทะเลสตูล ทะเลตรัง ผ่านเกาะปอ เกาะยาว แหมกรวด 12 เที่ยวต่อวัน ทางเดินเรือเป็นน้ำตื้นถ้าจะเดินเรือต้องขุดลอก และระเบิดหินโสโครกใต้น้ำ 3 จุด ซึ่งเป็นแหล่งทรัพยากรทะเลของชาวประมงพื้นบ้าน ของชาวบ้านตำบลเกาะศรีบอยา ตำบลตลิ่งชัน นี่ขนาดเรือบรรทุกน้ำมัน เตารั่วยังแก้ไขปัญหาไม่ได้เลย” นายพิบูลย์ กล่าว 0 0 0 รายละเอียดโครงการท่าเทียบเรือบริเวณโรงไฟฟ้า
ต้องดาเนินการตามประกาศดังกล่าว โครงการท่าเทียบเรือบริเวณโรงไฟฟ้าไม่เข้าข่ายเป็นโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม เรื่อง กาหนดประเภท ขนาด และวิธีปฏิบัติสาหรับโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ ที่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชนจะต้องจัดทารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ลงวันที่ 31 สิงหาคม 2553 อย่างไรก็ตาม กฟผ. เล็งเห็นความสาคัญในการดาเนินการศึกษาและวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของชุมชนโดยรอบโครงการจึงมอบหมายให้บริษัท แอร์เซฟ จากัดในฐานะที่ปรึกษา ทาการศึกษาและจัดทารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตามแนวทางสาหรับโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ (EHIA) ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดังกล่าว โดยในการประเมินผลกระทบทางสุขภาพให้ยึดถือตามแนวทางการประเมินผลกระทบทางสุขภาพในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่สานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) กาหนด รายละเอียดโครงการ แหล่งเงินทุน ร่างแนวทางในการดาเนินโครงการ ที่ตั้งและลักษณะโครงการ ท่าเรือมีโครงสร้างแบบ concrete deck on piles มีลักษณะเป็นเสาเข็มตอกฝังลึกจนถึงชั้นดินแข็ง ด้านบนของเสาเข็มจะหล่อคานคอนกรีตเสริมเหล็ก และพื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก แบบหล่อที่คอนกรีตใช้เป็นคอนกรีตที่มีความคงทนต่อการกัดกร่อนสูง มีขนาดกว้าง คูณยาว 29 เมตร คูณ 200 เมตร หรือมีพื้นที่หน้าท่าเรือ 5,800 ตารางเมตร มีระดับพื้นท่าสูงกว่าระดับน้าทะเลปานกลาง +4.0 เมตร รองรับขนาดเรือลำเลียงขนาดเล็กเดินทะเลและภายในลำน้า แบบสามารถขับเคลื่อนได้ด้วยตนเอง (River Sea Going Barges - RSGB) มีขนาด 1,300 ตัน (Dead Weight Tonnage: DWT) กินน้าลึก 2.5 เมตร ความยาวเรือ 85 เมตร และความกว้างเรือ 16 เมตร ความยาวหน้าท่า โครงการออกแบบให้มีความยาวหน้าท่า 200 เมตร และมีความกว้างหน้าท่า 29 เมตร ความลึกหน้าท่า โครงการออกแบบให้มีความลึกหน้าท่าที่ระดับต่ำกว่าระดับน้าลงต่าสุด -3.0 เมตร หรือต่ากว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง -5.50 เมตร (-5.50 ม.รทก.) หลักผูกเรือ ออกแบบตามมาตรฐานการติดตั้งหลักผูกเรือ เพื่อให้สามารถทาการจอดและทาการขนถ่ายได้อย่างต่อเนื่องและปลอดภัย แอ่งจอดเรือและกลับลาเรือ มีขนาด (กว้าง x ยาว) 239 เมตร x 212 เมตร ลึกกว่าระดับน้าทะเลปานกลาง -5.50 เมตร โดยมีเส้นผ่านศูนย์กลางกลับลำเรืออย่างน้อย 2 เท่าของความยาวเรือ ลานกองถ่านหิน ตั้งอยู่ในบริเวณพื้นที่ด้านหลังท่า มีความยาว 480 เมตร กว้าง 265.7 เมตร เนื้อที่รวมประมาณ 127,500 ตารางเมตร มีลักษณะเป็นพื้นบดอัดด้วยแอสฟัลต์ติกคอนกรีต (asphaltic concrete) วางบนพื้นทรายบดอัดแน่นจนสามารถรับน้าหนักได้เพียงพอ การขนส่งถ่านหิน ลักษณะของเรือขนส่งถ่านหิน
มิติหลักของเรือลำเลียงขนาดเล็กหรือเรือบาร์จ (barge)
อุปกรณ์การขนถ่ายถ่านหินจากเรือ เครื่องทำกอง (stacker) ติดตั้งประจาที่กองเก็บถ่านหิน (coal storage area) จะทำงานไปพร้อมกับสายพานลาเลียงประจาที่กองเก็บถ่าน (yard belt conveyor) เครื่องตัก (reclaimer) ติดตั้งประจาที่กองเก็บถ่าน จะทางานไปด้วยกันกับสายพานลำเลียงประจำที่กองเก็บถ่าน เครื่องทำกองและเครื่องตักจะออกแบบให้สามารถปฏิบัติการป้อนถ่านหินจากที่กองเก็บให้แก่ระบบสายพานของโรงไฟฟ้าได้ ภายใต้อัตราความเร็วลมถึง 15 เมตร/วินาที และสามารถต้านทานแรงลม (wind load) ได้ถึง 40 เมตร/วินาที ณ ทุกตาแหน่งของทางวิ่งที่กาหนด สายพานลำเลียงถ่านหิน (coal conveyor) มีการปิดคลุมตามเส้นทางของการลาเลียงและมีอุปกรณ์ระงับการฟุ้งกระจายของฝุ่นถ่านหินตามจุดถ่ายเท (transfer point) ต่างๆ ลานกองเก็บถ่านหิน (coal stockpile) เป็นลานกองที่มีหลังคาคลุม โดยออกแบบให้สามารถเก็บสารองถ่านหินได้ประมาณ 480,000 ตัน หรือสามารถใช้ผลิตไฟฟ้าสาหรับโรงไฟฟ้าถ่านหินขนาดกาลังผลิต 800 เมกะวัตต์ ได้ต่อเนื่อง 60 วัน โดยใช้ระบบสายพานลาเลียงถ่านหินเข้าสู่โรงไฟฟ้า ลานกองเก็บถ่านหินตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของโรงไฟฟ้า มีพื้นที่ประมาณ 100 ไร่ สามารถกองถ่านหินได้จานวน 3 กอง พื้นที่ในส่วนลานกองถ่านหินนี้จะมีระบบฉีดพ่นน้าเพื่อป้องกันฝุ่น รวมทั้งจะมีรั้วกันลม (wind shield) โดยรอบ เพื่อกันลมที่จะเข้ามาปะทะลานกองถ่านหิน นอกจากนี้ พื้นที่ลานกองยังได้ออกแบบให้มีระบบป้องกันการซึมผ่านของน้ำชะจากกองถ่านหินไม่ให้ไหลซึมลงไปยังชั้นดินข้างล่าง โดยการปูพื้นด้วยพลาสติกเอชดีพีอี (high-density polyethylene : HDPE) ซึ่งน้าที่ปนเปื้อนจะได้รับการบาบัดด้วยระบบบาบัดน้าทิ้งเพื่อให้น้าระบายจากโครงการมีดัชนีคุณภาพน้าไม่เกินค่าที่กำหนดตามมาตรฐานและกฎข้อบังคับด้านสิ่งแวดล้อม เครื่องกำจัดฝุ่น (dust suppressants) โครงการออกแบบระบบต่างๆ ให้มีระบบป้องกันการฟุ้งกระจาย (sealing facilities) เป็นอย่างดีและจะติดตั้งอุปกรณ์กาจัดฝุ่นแบบพ่นละอองน้าไว้ในบริเวณที่มีโอกาสเกิดฝุ่นละอองตามบริเวณจุดสาคัญต่างๆ เพื่อลดการฟุ้งกระจายของฝุ่นถ่านหิน
ที่มา-เอกสารประกอบการรับฟังความคิดเห็นการกาหนดขอบเขตและแนวทาง การประเมินผลกระทบสิ่ งแวดล้อมและสุขภาพ (Public Scoping) โครงการท่าเทียบเรือบริเวณโรงไฟฟ้า ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย 0 0 0 โครงการท่าเทียบเรือบริเวณสะพานช้าง
ความเป็นมาการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของโครงการ ซึ่งกำหนดให้ท่าเทียบเรือที่รับเรือขนาดตั้งแต่ 500 ตันกรอส หรือความยาวหน้าท่า ตั้งแต่ 100 เมตร หรือมีพื้นที่ท่าเทียบเรือรวม ตั้งแต่ 1,000 ตารางเมตร ขึ้นไป ต้องดำเนินการตามประกาศดังกล่าว โครงการท่าเทียบเรือบริเวณสะพานช้างไม่เข้าข่ายเป็นโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดประเภท ขนาด และวิธีปฏิบัติสำหรับโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ ที่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชนจะต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ลงวันที่ 31 สิงหาคม 2553 อย่างไรก็ตาม กฟผ. เล็งเห็นความสำคัญในการดำเนินการศึกษาและวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของชุมชนโดยรอบโครงการจึงมอบหมายให้บริษัท แอร์เซฟ จำกัดในฐานะที่ปรึกษา ทำการศึกษาและจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตามแนวทางสำหรับโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ (EHIA) ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดังกล่าว โดยในการประเมินผลกระทบทางสุขภาพให้ยึดถือตามแนวทางการประเมินผลกระทบทางสุขภาพในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) กำหนด รายละเอียดโครงการ ทั้งนี้ในการดำเนินการโครงการโรงไฟฟ้าดังกล่าว กฟผ. จำเป็นต้องมีการก่อสร้างท่าเทียบเรือ เพื่อรองรับกระบวนการขนส่งถ่านหินนำเข้าจากต่างประเทศ โครงการท่าเทียบเรือบริเวณสะพานช้างเป็นทางเลือกหนึ่งในการดำเนินการ ของ กฟผ. เพื่อรองรับกระบวนการขนส่งถ่านหินดังกล่าว แหล่งเงินทุน ร่างแนวทางในการดำเนินโครงการ เนื่องจากสภาพภูมิอากาศในพื้นที่ติดชายฝั่งด้านตะวันตก มักได้รับอิทธิพลของลมมรสุมที่พัดมาจากทางทิศตะวันตกช่วงระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงตุลาคม จำนวน 6 เดือนของทุกปี ซึ่งเป็นช่วงที่มีฝนตกชุกและมีความเร็วลมเฉลี่ยค่อนข้างสูง ทำให้ในช่วงเวลาดังกล่าวเป็นอุปสรรคต่อการทำงาน มีผลทำให้งานก่อสร้างดำเนินการช้าลง สำหรับแผนงานของการก่อสร้าง แสดงดังรูปที่ 2 ที่ตั้งและลักษณะโครงการ ที่ตั้งของท่าเทียบเรือบริเวณสะพานช้าง มีข้อดีหลายประการ คือ มีร่องน้ำลึกและกว้างซึ่งเพียงพอสำหรับการปฏิบัติการด้วยเรือลำเลียงขนาดเล็กหรือเรือบาร์จ (barge) ขนาด 3,000 ตัน มีพื้นที่ชายฝั่งบริเวณท่าเทียบเรือเพียงพอสำหรับอาคารสำนักงานปฏิบัติการและลานกองถ่านหิน จากจุดดังกล่าวสามารถวางแนวสายพานลำเลียงถ่านหินไปยังที่ตั้งโรงไฟฟ้าได้ นอกจากนั้นยังเป็นจุดที่ตั้งที่ชุมชนส่วนหนึ่งเป็นผู้เสนอให้ กฟผ. พิจารณาเป็นทางเลือก 1) ขนาดเรือ เรือลำเลียงขนาดเล็กเดินทะเลและภายในลำน้ำ แบบสามารถขับเคลื่อนได้ด้วยตนเอง (River Sea Going Barges - RSGB) มีขนาด 3,000 ตัน (Dead Weight Tonnage: DWT) กินความลึก 3.5 เมตร ความยาวเรือ 85 เมตร และความกว้างเรือ 23 เมตร 2) ความยาวหน้าท่า โครงการออกแบบให้มีความยาวหน้าท่า 215 เมตร และมีความกว้างหน้าท่า 30 เมตร 3) ความลึกหน้าท่า โครงการออกแบบให้มีความลึกหน้าท่าที่ระดับน้ำลงต่ำสุดหรือต่ำกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง -6.50 เมตร (-6.50 ม.รทก.) 4) หลักผูกเรือ ออกแบบตามมาตรฐานการติดตั้งหลักผูกเรือ เพื่อให้สามารถทำการจอดและทำการขนถ่ายได้อย่างต่อเนื่องและปลอดภัย 5) แอ่งจอดเรือและกลับลำเรือ ลึกกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง -6.50 เมตร รทก. โดยมีเส้นผ่านศูนย์กลางกลับลำเรืออย่างน้อย 2 เท่าของความยาวเรือ 6) ลานกองถ่านหิน มีขนาดประมาณ (กว้าง x ยาว) 120 เมตร X 650 เมตร มีพื้นที่รวม 78,000 ตารางเมตร ได้รับการออกแบบให้เป็นระบบกึ่งปิด โดยมีหลังคาคลุมและผนังปิดด้านข้าง มีระบบพ่นน้ำเพื่อควบคุมอุณหภูมิและกำจัดฝุ่น มีระบบระบายอากาศและเก็บดักฝุ่น มีบ่อพักน้ำและตกตะกอนเป็นระบบปิดสามารถนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ได้ การขนส่งถ่านหิน ลักษณะของเรือขนส่งถ่านหิน
มิติหลักของเรือลำเลียงขนาดเล็กหรือเรือบาร์จ (barge)
อุปกรณ์การขนถ่ายถ่านหินจากเรือ 1) เครื่องทำกอง (stacker) ติดตั้งประจำที่กองเก็บถ่านหิน (coal storage area) ทำงานไปพร้อมกับสายพานลำเลียงประจำที่กองเก็บถ่าน (yard belt conveyor) 2) เครื่องตัก (reclaimer) ติดตั้งประจำที่กองเก็บถ่าน จะทำงานไปด้วยกันกับสายพานลำเลียงประจำที่กองเก็บถ่าน เครื่องทำกองและเครื่องตักจะออกแบบให้สามารถปฏิบัติการป้อนถ่านหินจากที่กองเก็บให้แก่ระบบสายพานของโรงไฟฟ้าได้ ภายใต้อัตราความเร็วลมถึง 15 เมตร/วินาที และสามารถต้านทานแรงลม (wind load) ได้ถึง 40 เมตร/วินาที ณ ทุกตำแหน่งของทางวิ่งที่กำหนด 3) สายพานลำเลียงถ่านหิน (coal conveyor) มีการปิดคลุมตามเส้นทางของการลำเลียงและมีอุปกรณ์ระงับการฟุ้งกระจายของฝุ่นถ่านหินตามจุดถ่ายเท (transfer point) ต่างๆ 4) ลานกองเก็บถ่านหิน (coal stockpile) อยู่ในบริเวณพื้นที่ด้านหลังท่าเทียบเรือสะพานช้าง ไว้ใช้ในกรณีฉุกเฉินจำนวน 1 กอง สามารถรองรับถ่านหินได้ 50,000 ตัน มีความยาว 150 เมตร ฐานกว้าง 43.4 เมตร โดยจะมีโรงคลุมกองถ่านยาว 200 เมตร กว้าง 100 เมตร 5) เครื่องกำจัดฝุ่น (dust suppressants) โครงการออกแบบระบบต่างๆ ให้มีระบบป้องกันการฟุ้งกระจาย (sealing facilities) เป็นอย่างดีและจะติดตั้งอุปกรณ์กำจัดฝุ่นแบบพ่นละอองน้ำไว้ในบริเวณที่มีโอกาสเกิดฝุ่นละอองตามบริเวณจุดสำคัญต่างๆ เพื่อลดการฟุ้งกระจายของฝุ่นถ่านหิน
ที่มา-เอกสารประกอบการรับฟังความคิดเห็นการกาหนดขอบเขตและแนวทาง การประเมินผลกระทบสิ่ งแวดล้อมและสุขภาพ (Public Scoping) โครงการท่าเทียบเรือบริเวณสะพานช้าง ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
1 ปีการทำงานของรัฐบาล ถึงเวลาที่ต้องดำเนินนโยบายการนับรวมทางสังคม (social inclusion) Posted: 26 Aug 2012 06:29 AM PDT นโยบายการนับรวมทางสังคม เริ่มใช้ครั้งแรกในประเทศฝรั่งเศส เมื่อราวปี ค.ศ.1974 เพื่อแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำไม่เท่าเทียมกันของการได้รับประโยชน์จากระบบประกันสังคม ที่กันแยกคนบางกลุ่มออกไปไม่ให้ได้รับประโยชน์ ต่อมาในปี 1980 แนวคิดนี้ได้ขยายครอบคลุมไปถึงผู้ที่เสียโอกาสจากภาวะความเจ็บป่วยอ่อนแอ คนชรา เด็กที่ถูกล่วงละเมิด ตลอดจนผู้พิการทุกข์พลภาค (vulnerability) ปัจจุบันแนวคิดการกันแยกออกไปจากสังคม ถูกใช้กับประเทศต่างๆ ในยุโรป เช่น ฝรั่งเศส, อังกฤษ, สกอตแลนด์, นิวซีแลนด์, โรมาเนีย เป็นต้น แนวคิดนี้ใช้เพื่อกำหนดนโยบายให้เกิดความเท่าเทียมกัน เพื่อการนับรวมคนในชาติเข้าด้วยกัน เนื่องจากเห็นว่าความทุกข์ยากลำบาก ขาดแคลน ที่มักนิยมใช้ในประเทศทุนนิยมโดยเฉพาะกลุ่มประเทศที่รับองค์ความรู้จากอเมริกามักจะใช้มโนทัศน์ “ความยากจน” ซึ่งวัดผลที่เกิดขึ้น (output) ในมิติของความขาดแคลนที่ต่ำกว่ามาตรฐาน เช่น ด้านรายได้ การศึกษา การบริการสาธารณสุข ซึ่งไม่ได้บ่งบอกถึงระบบโครงสร้างที่กันแยกคนยากจนออกไปจากการได้รับประโยชน์ในโครงการแก้ปัญหาความยากจน กล่าวอีกนัยหนึ่งการแก้ปัญหาสนใจที่นโยบายและผลที่ตามมา โดยละเลยกระบวนการดำเนินนโยบายที่กันแยกประชาชนออกไป แนวคิดการกันแยกทางสังคมจึงช่วยทำให้รัฐบาลหันกลับมาทบทวนว่า มีคนกลุ่มใดในสังคมที่ไม่ได้รับประโยชน์จากนโยบาย หรือมีนโยบาย มาตรการปฏิบัติใดที่ผลักไสคนให้ออกไปจากพื้นที่ของสิ่งที่เรียกว่า “การพัฒนา” อมาตยา เซน (2000) เห็นว่า ความยากจนทำให้ไม่สามารถเข้าสู่การปฏิสัมพันธ์กับสังคมเพราะความอับอาย และไม่เป็นที่ยอมรับจากคนรอบข้าง ทำให้กันแยกตัวเองออกจากสังคม เมื่อเขาและเธอไม่มีส่วนสัมพันธ์เชื่อมโยงกับสังคม คนเหล่านี้จึงขาดโอกาสจะได้รับผลตอบแทนจากนโยบายทางเศรษฐกิจ เช่น การจ้างงาน การเข้าถึงแหล่งเงินกู้ด้วย ดังนั้นความยากจน การขาดความสามารถในการเข้าถึงทรัพยากร และการถูกกีดกันออกจากสังคมจึงมีส่วนสัมพันธ์กัน สหประชาชาติ (2009) ได้ออกมาเรียกร้องในรายงานสถานการณ์โลกปี 2010 (Report on the World Social Situation 2010) ว่า ถึงเวลาที่รัฐบาลในประเทศต่าง ๆ ต้องทบทวนนโยบายเกี่ยวกับความยากจนใหม่ที่เดิมมักจะวัดความยากจนจากเส้นความยากจน “poverty line” ซึ่งมีข้อจำกัดโดยละเลยการที่คนยากจนถูกกระทำจากโครงสร้าง การเอารัดเอาเปรียบ เลือกปฏิบัติ ซึ่งเป็น ในหลายประเทศการพิจารณาการกันแยกทางสังคม จะประกอบด้วยมิติที่สำคัญได้แก่ 1) การกันแยกออกจากระบบกฎหมาย กล่าวคือมีลักษณะการเลือกปฏิบัติกับคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ประชาชนในชาติไม่ได้เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมด้วยแนวทางปฏิบัติแบบเดียวกัน 2) การกันแยกออกจากระบบเศรษฐกิจ ได้แก่ ภาวะตกงาน เนื่องจากไม่เป็นที่ต้องการ หรือถูกรังเกียจไม่รับเข้าทำงาน การถูกกีดกันไม่ให้เข้าถึงปัจจัยการผลิต หรือแหล่งเงินทุนเพื่อการประกอบอาชีพ 3) การกันแยกออกจากระบบสวัสดิการ หรือการบริการทางสังคม ซึ่งประเทศกำลังพัฒนามักมีความแตกต่างของมาตรฐานคุณภาพการบริการทางสังคมระหว่างพื้นที่ในเขตเมืองและชนบท 4) การกันแยกออกจากระบบครอบครัว และโครงข่ายทางสังคม ชุมชน สถานการณ์นี้มักเกิดขึ้นจากการพัฒนาที่มีความเหลื่อมล้ำสูง ทำให้คนในภาคเกษตรกรรมต้องเคลื่อนย้ายแรงงานเข้ามาทำงานในเมืองตัดขาดจากโครงข่ายทางสังคมเดิม จะเห็นได้ว่ามิติการกันแยกทั้ง 4 ประการข้างต้นเกิดขึ้นในสังคมไทยอย่างเข้มข้น รุนแรง โดยเฉพาะภาคเมืองกับภาคชนบท คนชนบทถูกกันแยกออกจากสังคมในทุกมิติข้างต้น รวมถึงมิติทางวัฒนธรรม ที่สร้างความด้อยกว่าต่ำกว่า ให้กับวัฒนธรรมบ้านนอก พื้นถิ่น แม้ว่าปัจจุบันคนเมืองจะมองชนบทด้วยสายตาที่ชื่นชม แต่ก็เป็นภาพชนบทที่คนเมืองจินตนาการขึ้น เพราะได้เห็นได้สัมผัสจากการอ่านหนังสือ ชวนฝันภาพชีวิตชนบทอันงดงาม เรียบง่าย หรือความสมบูรณ์พร้อมของอาหารและทรัพยากรธรรมชาติที่สวยงามในหนังสือ สารคดี โฆษณา แนะนำเศรษฐกิจพอเพียง เข้าไปท่องเที่ยวตามศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ตลาดร้อยปี หมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม หมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นบรรยากาศจำลองที่สร้างขึ้นเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวที่ต้องการจะเสพความเป็นชนบท ขณะที่วัฒนธรรมการดูถูกดูแคลนคนชนบทยังดำรงอยู่ต่อเนื่อง และมีแนวโน้มที่จะรุนแรงยิ่งขึ้น ต่อไปนี้คือตัวอย่างของคนเมืองที่แสดงความเห็นผ่านเครือข่ายทางสังคม (facebook) ภายหลังพรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตั้ง “กำหนดสิทธิ์ในการเลือกตั้งให้เฉพาะผู้ที่เสียภาษีเงินได้ เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่า...กลุ่มคนเหล่านี้ต้องแบกรับภาระเลี้ยงดูประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ” “เห็นได้ชัดว่า เสียงส่วนใหญ่ของประเทศนี้ คิดแต่เรื่องเงิน คิดแต่เรื่องปากท้องของตัวเองเพียงอย่างเดียว เห็นแก่ตัว ไม่คิดถึงประโยชน์ส่วนรวม และไม่ค่อยคิดอะไรไกลๆ “คิดสั้น” กันทั้งนั้น” “ประชาธิปไตยนั้นเหมาะกับประเทศที่การศึกษาพร้อมแล้วเท่านั้น แต่ไทยแลนด์ยังไม่พร้อม” รัฐบาล นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เข้าบริหารประเทศ นับจากวันที่แถลงนโยบายต่อรัฐสภาในวันที่ 23 สิงหาคม 2554 เป็นเวลา 1 ปี ภายหลังเกิดเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมือง 2 ครั้งในปี 2553 ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิต 92 คน ซึ่ง กฤตยา อาชวนิจกุล กล่าวว่า เป็น“ความตายที่พร่าเลือน” “ ในการชันสูตรพลิกศพ สรุปได้ว่าไม่ได้รับความเอาใจใส่จากแพทย์มากพอในการทำรายงาน การชันสูตรพลิกศพมีความหละหลวม และข้อมูลผิดพลาดจนญาติของผู้เสียชีวิตต้องทำคำร้อง... ที่สำคัญ รายงานเหล่านี้ไม่เผยแพร่สาธารณะ” (ดูประชาไท “ศปช.เปิดฉบับสมบูรณ์รายงานสลายชุมนุม 53 - ฉบับ คอป.กรรมการสิทธิฯ ยังเงียบ”19 สิงหาคม 2555) แม้ว่ารัฐบาลนี้ได้บรรจุเรื่อง การสร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตย เป็นนโยบายเร่งด่วนที่จะดำเนินการในปีแรกเป็น ข้อที่ 1 แต่ภายหลังจากเข้ามาบริหารประเทศครบหนึ่งปีเหตุการณ์ความขัดแย้งยังคงดำรงอยู่อย่างต่อเนื่อง และไม่ปรากฏผลงานเป็นรูปธรรมจากการบริหารประเทศ เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ความรุนแรงของความแตกร้าวทางสังคม (disintegration) สามารถสะท้อนให้เห็นได้จากข้อมูลดังต่อไปนี้ การเลือกปฏิบัติทางกฎหมาย ขณะที่สถานการณ์เกี่ยวกับการดำเนินคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพตามมาตรา 112 แห่งประมวลกฎหมายอาญา และตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มีปริมาณเพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด จนกลายเป็นประเด็นที่สหประชาชาติ องค์การระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน และนานาประเทศให้ความสนใจติดตามอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน คณะอนุกรรมการด้านสิทธิพลเมือง ในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน เปิดเผยว่า นับตั้งแต่ปี 2550 มีการดำเนินคดีอาญา ตามมาตรา 112 เฉลี่ยปีละ 50 ถึง 70 คดี รวมถึงปัจจุบัน มีประมาณ 200 คดีเศษ ทั้งนี้ ไม่รวมคดีที่กรมสอบสวนคดีพิเศษรับไว้พิจารณาโดยตรง และคดีที่อัยการสูงสุดดำเนินการสืบสวนสอบสวนเอง นับแต่ปลายปี พ.ศ.2554 เป็นต้นมา มีการตั้งคณะกรรมการระดับชาติเพื่อตรวจสอบกลั่นกรองเว็บไซต์ ที่มีการนำเสนอข้อมูลที่ดูแล้วน่าจะเข้าข่ายดูหมิ่นสถาบันฯ ทำให้มีการปิดกั้นเว็บไซต์ และส่งเรื่องให้มีการดำเนินคดีประมาณ 12,000 เว็บไซต์ ขณะที่ฝ่ายกองบังคับการสืบสวนสอบสวนคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ให้ข้อมูลว่า ปัจจุบันมีการดำเนินคดี ตาม พ.ร.บ.ฯ คอมพิวเตอร์ฯ มีไม่ถึง 20 คดี นอกนั้นเป็นการเชื่อมโยงการกระทำผิดเข้ากับมาตรา 112 ทั้งสิ้น (ประชาไท, อนุกรรมการสิทธิฯ เผยข้อมูลสถิติคดีหมิ่น แจ้งความปีละ 50-70 คดี, 21 สิงหาคม 2555) คดีลักษณะดังกล่าวมีการปฏิบัติตามกระบวนการยุติธรรมที่รุนแรงเกินกว่าเหตุ ปฏิเสธการให้ประกันตัว และถูกติดตามลงโทษทางสังคมอันมีผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้ต้องสงสัย และครอบครัว ซึ่งแตกต่างจากคดีโดยทั่วไป ความเหลื่อมล้ำการได้รับประโยชน์จากการพัฒนา ธนาคารแห่งประเทศไทย เปิดเผยตัวเลขในบัญชีเงินฝากของคนไทย เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2555 คนไทยมีเงินฝากในธนาคารไม่เกิน 5 หมื่นบาท เป็นจำนวนบัญชีมากที่สุดคือ 69 ล้านบัญชี รองลงมาคือ มีเงินฝากไม่เกิน 1 แสนบาท มีอยู่ 3 ล้าน บัญชี ส่วนเงินฝากเกินกว่า 10 ล้านบาท มี 80,301 บัญชีเท่านั้น ฉะนั้นหากกล่าวอย่างหยาบ ๆ คนไทยส่วนใหญ่มีเงินเก็บไม่ถึง 5 หมื่นบาท สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ระบุว่า คนรวย 20 % แรก มีรายได้สูงกว่าคนยากจน 20 % ที่อยู่ข้างล่างถึง 11.31 เท่า ในปี 2552 GDP ต่อหัวของคนจังหวัดระยองสูงกว่า คนในจังหวัดศรีสะเกษถึง 35 เท่า (ดูเดชรัต สุขกำเนิด และ สุพรรณีศฤงฆาร, เมืองไทยที่ไม่เท่ากัน ประมวลภาพความเหลื่อมล้ำสุดขั้วในเมืองไทยของเรา น.5) หรือแม้แต่น้ำท่วมที่ผ่านมา นิธิ เอียว ศรี วงศ์ เขียนไว้อย่างน่าสนใจใน “การเมืองเรื่อง น้ำ ท่วม” ว่า รัฐบาล “ผลัก น้ำไปยังคนซึ่งความลาดชันของอำนาจต่อรองทางการเมืองต่ำเพราะเขาบอกชัดเจนเลยว่า ต้องผลักน้ำเข้าเรือกสวนไร่นาในภาคกลางเพื่อช่วยกรุงเทพฯ” (ดูหนังสือพิมพ์ มติชนรายวัน, 18 ธันวาคม 2549) สฤณี อาชวานันทกุล เขียนใน “ความเหลื่อมล้ำฉบับพกพา” แบ่งประเภทความเหลื่อมล้ำที่มีอยู่ในสังคมไทยเป็น 8 ด้านคือ ความเหลื่อมล้ำเชิงพื้นที่ ความเหลื่อมล้ำด้านรายได้และทรัพย์สิน ความเหลื่อมล้ำด้านสิทธิและโอกาสในการบริการสาธารณะ ความเหลื่อมล้ำด้านทรัพยากร ความเหลื่อมล้ำด้านโครงสร้างภาษี ความเหลื่อมล้ำด้านสิทธิโอกาสและการมีส่วนร่วมทางการเมือง ความเหลื่อมล้ำด้านสิทธิและโอกาสในการได้รับความยุติธรรม โดยแสดงให้เห็นตัวเลขความเหลื่อมล้ำแต่ละด้านอย่างชัดเจน (ดูสฤณี อาชวานันทกุล, 2554) ตัวเลขความเหลื่อมล้ำไม่เท่าเทียมเหล่านี้มีความสอดคล้องกับตัวเลขครัวเรือนยากจนในชนบทที่มีมากกว่าครัวเรือนยากจนในเขตเมือง โดย ปี 2553 อยู่จำนวนครัวเรือนยากจนในชนบทสูงกว่าครัวเรือนยากจนในเขตเมืองถึง 7 เท่า และกลุ่มคนที่ยากจนที่สุดก็คือ กลุ่มเกษตรกร ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รองลงมาได้เกษตรกรภาคเหนือ (ดูสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, ความยากจนและการกระจายรายได้ กันยายน 2554) หากจะประมวลสถานการณ์เข้าด้วยกันจะเห็นได้ว่า คนที่ตกเป็นเหยื่อของนโยบาย มาตรการต่าง ๆ ของรัฐบาลตลอดหลายทศวรรษของการพัฒนาก็คือ คนชนบท ที่มีส่วนเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับขบวนการเสื้อแดง การกันแยกออกจากการเมือง-สังคม ดังจะเห็นได้จากจดหมายเปิดผนึกของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.)ถึงนายกรัฐมนตรีลงวันที่ 15 กันยายน 2554 เรียกร้องต่อรัฐบาล 4 ข้อ ได้แก่ 2. ดำเนินการอย่างจริงจังเพื่อให้มีการปล่อยชั่วคราวอันเป็นสิทธิพื้นฐานของผู้ต้องหาและจำเลย เพื่อให้ผู้ต้องหาและจำเลยสามารถต่อสู้คดีเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ 3. เนื่องจากผู้ต้องหาและจำเลยมิใช่เป็นผู้ร้ายหรืออาชญากรดังเช่นในคดีอาญาตามปกติ แต่เป็นผู้ที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดอันมีมูลเหตุเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในทางการเมือง หากผู้ต้องหาและจำเลยนั้นไม่ได้รับการปล่อยชั่วคราว รัฐบาลสมควรจัดหาสถานที่ในการควบคุมที่เหมาะสมที่มิใช่เรือนจำปกติเป็นสถานที่ควบคุมผู้ต้องหาและจำเลย ดังเช่นที่เคยใช้กับนักโทษทางการเมืองในอดีต 4. ในระหว่างที่มีการศึกษาถึงแนวทางในการหามาตรการต่างๆ ที่เหมาะสมกับสถานการณ์ความขัดแย้งในประเทศไทยมาใช้ สมควรขอความร่วมมือให้อัยการชะลอการดำเนินคดีอาญาเหล่านี้ไว้ โดยยังไม่พิจารณานำคดีขึ้นสู่ศาล” สิ่งที่สำคัญมากคือ ในด้านหนึ่งที่รัฐดำเนินคดีปราบปรามผู้กระทำผิด แต่ในอีกด้าน รัฐบาลกลับปล่อยให้มีการจัดตั้งหมู่บ้านเสื้อแดงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อานนท์ แสนน่าน ผู้ริเริ่มโครงการหมู่บ้านเสื้อแดงเพื่อประชาธิปไตย แถลงข่าวเตรียมยกระดับหมู่บ้านเสื้อแดง ขึ้นเป็น “สมาพันธ์หมู่บ้านเสื้อแดง เพื่อประชาธิปไตย แห่งประเทศไทย” ทั้งระบุว่าปัจจุบันมีหมู่บ้านเสื้อแดงกว่า 3,000 แห่งทุกภาคของประเทศแล้ว (Voice Tv, เตรียมยกหมู่บ้านเสื้อแดงเป็นสมาพันธ์, 23 กันยายน 2554) “นายอานนท์ ยืนยันว่าจากการได้พูดคุยกับพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ยืนยันว่า ไม่เคยสั่งให้มีการยุบหรือสลายหมู่บ้านเสื้อแดง และต้องการให้หมู่บ้านเสื้อแดงสร้างอาชีพ และรายได้ ให้กับประชาชนภายในหมู่บ้าน ซึ่งหลังจากนี้ จะประสานกับกระทรวงมหาดไทย ยกหมู่บ้านเสื้อแดงขึ้นเป็น หมู่บ้านปลอดยาเสพติด และขึ้นเป็นสมาพันธ์ต่อไป เพื่อให้มีระเบียบและทิศทางเดียวกัน” นอกจากนั้นยังมีข่าวเปิดอำเภอเสื้อแดงขึ้น ในอำเภอประจักษ์ศิลปาคม จังหวัดอุดรธานี และอำเภอจุน จังหวัดพะเยา ยิ่งไปกว่านั้นบุคคลในคณะรัฐมนตรีเดินทางไปเปิดหมู่บ้านเสื้อแดง และกล่าวในพิธีเปิดช่วงหนึ่งว่า“ในการเปิดหมู่บ้านเสื้อแดงเพื่อประชาธิปไตย ต่อไปจะมีการมอบเงินกองทุนให้หมู่บ้านเสื้อแดงฯ หมู่บ้านละ 1 ล้านบาท” (กรุงเทพธุรกิจ, สุชาติโผล่เป็นปธ.เปิดหมู่บ้านเสื้อแดงอุดร, 21 สิงหาคม 2554) แม้ว่าจะมีการออกมาปฏิเสธข่าวดังกล่าวในภายหลัง แต่ความเชื่อมโยงระหว่างหมู่บ้านเสื้อแดง พ.ต.ท.ทักษิณ และรัฐบาลนี้เป็นเรื่องที่ไม่อาจปฏิเสธได้ การเปิดหมู่บ้านเสื้อแดงอย่างต่อเนื่อง และมีเหตุอันเชื่อได้ว่ารัฐให้การสนับสนุนเป็นกรณีพิเศษที่แตกต่างจากหมู่บ้านทั่วไป สะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนว่ารัฐบาลกำลังดำเนินนโยบายกันแยกทางสังคม (social exclusion) ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อฝ่ายใด ขณะที่ในด้านกระบวนการยุติธรรมรัฐปล่อยปละละเลยไม่คุ้มครองให้เป็นไปตามหลักการที่พึงเป็น ทำนองว่าเป็นสิ่งที่รัฐเข้าไปก้าวก่ายแทรกแซงไม่ได้ ปล่อยให้มีการวิพากษ์วิจารณ์ในกลุ่มคนเสื้อแดงเสมือนว่ามีอำนาจบางอย่างเป็น “มือที่มองไม่เห็น” เข้ามาจัดการให้เกิดการกวาดล้างขบวนการคนเสื้อแดง แต่ในอีกด้านรัฐบาลเร่งปลุกเร้าให้มีการจัดตั้งหมู่บ้านเสื้อแดงโดยบุคคลในพรรคเพื่อไทย วิธีแบบนี้ยิ่งจะทำให้คนเสื้อแดง คนชนบท ถูกกันแยกออกไป เป็นที่โกรธแค้นชิงชังต่อฝ่ายตรงข้าม กล่าวคือ คนเหล่านี้กลายเป็นกลุ่มคนที่ไม่รักสถาบัน มีลักษณะบ่อนทำลายสถาบันหลักของชาติ เป็นผู้ก่อการร้าย จำเป็นต้องติดตามจับกุม ไล่ล่าอย่างต่อเนื่อง สถานะของคนเสื้อแดงซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ในชนบท จึงกลายเป็นผู้ถูกผลักออกจากชนชั้นแรงงาน เกษตรกร ให้กลายเป็น “ชนชั้นที่อยู่ใต้ชั้น” (under class) คือไม่อยู่ในชนชั้นของโครงสร้างทางสังคม เป็นพวกนอกเหนือการนับรวมที่จัดพื้นที่ให้อยู่เป็นการเฉพาะ และใช้กฎหมาย ระเบียบแบบแผนพิเศษ ที่ต่างไปจากประชาชนทั่วไป กล่าวถึงที่สุดฐานะความเป็น ชนชั้นที่อยู่ใต้ชั้น ก็คือ ความไม่มีสถานะเป็นพลเมือง แต่เป็นกลุ่มเฉพาะพิเศษที่ถูกกันแยกออก เป็นเสียงที่สังคมไม่รับฟัง เพราะการเคลื่อนไหวเรียกร้องทั้งหมดจะถูกเหมารวมกลายเป็น “การก่อการร้าย” ล้มล้างสถาบัน เมื่อใดก็ตามที่พรรคเพื่อไทยไม่ได้รับเลือกตั้งกลับมาเป็นรัฐบาลหรือถูกรัฐประหารด้วยรูปแบบใด ๆ หมู่บ้านเสื้อแดงที่มีอยู่ทั่วประเทศจะขัดแย้งโดยง่ายกับรัฐบาลที่มาจากฝ่ายตรงข้าม และจะถูกไล่ล่าปราบปราม ควบคุม อย่างเข้มงวด ความรุนแรงจะไม่มีทางจบสิ้นลงได้ ดังนั้นสิ่งที่รัฐบาลดำเนินการมาตลอด 1 ปี นอกจากสถานการณ์ความขัดแย้งจะไม่บรรเทาเบาบางลงแล้ว ยังมีแนวโน้มว่าจะทวีความรุนแรง และฝังรากลึกความขัดแย้งต่อไปในอนาคตอีกยาวนาน วันนี้รัฐบาลไทยจึงควรทบทวนการดำเนินนโยบายการบริหารประเทศ และภาคปฏิบัติของการพัฒนาประเทศว่า ได้ทำให้คนกลุ่มใดในสังคมไทย ถูกกันแยกออกไป ให้มีสถานะที่แตกต่างไปจากคนกลุ่มอื่น ทั้งการถูกเลือกปฏิบัติ การทำให้เป็นผู้เบี่ยงเบน แปลกแยกเป็นชายขอบ เป็นผู้ไร้สิทธิ ไร้เสียง และมีสภาวะต่ำต้อย ด้อยค่า ตกอยู่ในวงจร “เจ็บ จน โง่” จากการนิยามของสังคม ตลอดหลายทศวรรษของการพัฒนา โดยหันมาดำเนินนโยบายการรวมทางสังคม ให้ทุกคนเข้ามามีส่วนในฐานะพลเมืองที่เท่าเทียม ซึ่งการดำเนินการไม่ใช่เพียงการปรับโครงสร้างด้วยการกระจายเงินกองทุนลงไปสู่หมู่บ้าน หรือการพยายามจะออกกฎหมายปรองดองแห่งชาติ ดังเช่นที่เร่งดำเนินการอยู่ แต่ต้องดำเนินการทั้งระบบ ในทุกมิติ ซึ่งมีหลักการสำคัญคือ เปลี่ยนวิธีคิดมุมมองเกี่ยวกับการพัฒนา และความยากจนใหม่ แทนที่จะมองว่าความยากจนเป็นผลผลิตของการด้อยพัฒนา มามองว่าความยากจน และการกันแยกทางสังคมเป็นสิ่งที่ก่อรูปขึ้นพร้อม ๆ กับกระบวนการที่เรียกว่า “การพัฒนา” การปรับโครงสร้างทางสังคมให้มีการกระจายโอกาสและประโยชน์จากการพัฒนาไปถึงคนกลุ่มต่าง ๆ อย่างทั่วถึง เป็นธรรม จำกัด ควบคุมไม่ให้เกิดการเลือกปฏิบัติ ในทุกระดับชั้น ทบทวนมาตรการด้านภาษี การถือครองที่ดิน และระบบสวัสดิการทางสังคม ทั้งระบบ ปฏิรูประบบกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม ที่สำคัญคือการปฏิรูปวัฒนธรรม การดูหมิ่นดูแคลน การกดเหยียด การปฏิบัติที่แตกต่าง ต่อคนจน คนชนบทซึ่งเป็นคนไทยด้วยกัน ที่ฝังรากลึกในสังคมไทยมาเป็นเวลาร่วมร้อยปี
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
Posted: 26 Aug 2012 06:10 AM PDT มติ AI 19 ต่อ 13 เจ้าของวาทะ “ผัวเมียทะเลาะกัน บางทีมันก็ผิดทั้งคู่” นั่งประธานกรรมการองค์การนิรโทษกรรมสากล ต่อสมัยที่ 2 วานนี้ (25 ส.ค.55) ที่บ้านเซเวียร์ ซอยราชวิถี 12 อนุสาวรีย์ชัย สมรภูมิ กรุงเทพฯ องค์การนิรโทษกรรมสากล ประเทศไทย หรือ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย (Amnesty International - AI) ได้มีการจัดประชุมใหญ่สามัญประจำปี (AGM) 2555 และมีการเลือกตั้งประธานกรรมการองค์การนิรโทษกรรมสากล ประจำประเทศไทย ผลการเลือกตั้งได้นายสมชาย หอมลออ เป็นประธานในสมัยที่ 2 ติดต่อกัน จากมติสมาชิก 19 ต่อ 13 เสียง(บัตรเสีย 1) โดยมีวาระละ 2 ปี และมีนายชำนาญ จันทร์เรือง เป็นกรรมการ โดยในการเลือกตั้งดังกล่าว เป็นการเลือก 2 ตำแหน่ง ในตำแหน่งประธาน นอกจากนายสมชาย หอมลออแล้ว ยังมี นายชำนาญ จันทร์เรือง อดีตผู้เชี่ยวชาญด้านคดีปกครอง ศาลปกครอง ร่วมชิงตำแหน่งด้วย โดยชำนาญยืนยันว่าตนสามารถทำงานได้เต็มเวลาตามความต้องการของเอไอ และอยากให้เอไอเป็นที่ต้องการของนักกิจกรรมด้านสิทธิมนุษยชน ขณะที่สมชาย ได้อธิบายในเรื่องของความสามารถในการให้เวลากับเอไอด้วยว่าสามารถประชุมกรรมการและร่วมกิจกรรมต่างๆ ตามสมควร รวมทั้งให้คำแนะนำกับผู้อำนวยการ สมาชิกและกรรมการคนอื่นๆได้ และดีที่แอมเนสตี้ได้รับการรับรองเป็น Structure ซึ่งถือว่าเป็นก้าวย่างที่สำคัญต่อไปคือสร้างความมั่นคงและเติบโตให้แก่องค์กร ซึ่งได้รับความสำเร็จต่อเมือสังคมไทยเข้าใจรับรู้สิทธิมนุษยชนจนทำให้สิทธิมนุษยชนเป็นคุณค่าของสังคม ก่อนหน้านี้นายสมชาย หอมลออ ในฐานคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) และประธานคณะอนุกรรมการตรวจสอบและค้นหาความจริง ได้ให้สัมภาษณ์ “มติชนรายวัน” (สัมภาษณ์พิเศษ โดย พงศ์พิพัฒน์ บัญชานนท์) ฉบับวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2555 ถึงผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีเหตุการณ์สลายการชุมนุมเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553 ซึ่งในบทสัมภาษณ์ดังกล่าวมีข้อความตอนหนึ่งที่นายสมชาย ระบุว่า “ผัวเมียทะเลาะกัน บางทีมันก็ผิดทั้งคู่ แต่อีกฝ่ายมักจะโทษอีกฝ่าย ฉันถูก-คุณผิด โทษว่าอีกฝ่ายเริ่มก่อน ทั้งที่หากเรามาสำรวจตัวเอง ไม่ใช่มัวแต่โยนความผิดให้อีกฝ่าย ผมคิดว่าการปรองดองก็จะง่ายขึ้น” ภาพสมชาย หอมละออ ถูกทำร้ายในวันที่ 6 ต.ค.19 ที่ สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล นำมาโพสต์
จากวาทะ “ผัวเมียทะเลาะกัน บางทีมันก็ผิดทั้งคู่” นั้น ส่งผลให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์โต้จำนวนมาก ซึ่งหนึ่งในจำนวนนั้นคือนายสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้โพสต์ภาพและข้อความในเฟซบุ๊กส่วนตัว เมื่อวันที่ 23 ก.พ. 55 จากกรณีดังกล่าวว่า ภาพ "พี่สมชาย หอมละออ" [คนซ้ายในภาพที่กำลังบาดเจ็บ เลือดอาบ] ในเหตุการณ์ประเภท "ผัวเมียทะเลาะกัน" เมื่อวันที่ 6 ตุลา 19 เช้าวันนั้น "พี่สมชาย" ถูกอันธพาลการเมืองรุมตีปางตาย โชคดีที่รอดชีวิตมากได้ ตามที่แกเล่าให้พวกผมฟังตอนอยู่ในคุกด้วยกัน เช้าวันที่ 6 ตุลา ความจริง แกไม่ได้ค้างคืนในธรรมศาสตร์ แกไปร่วมดูเหตุการณ์จากทางด้านนอกมหาวิทยาลัย แล้วเดินเข้าไปด้วย เดินเข้าไปถึงแค่ตรงแถวหน้าคณะนิติ พวกอันธพาลมันเห็นท่าทางเป็นนักศึกษา นึกว่าเป็น "พวกข้างในธรรมศาสตร์" (ซึ่งจริงๆ พี่สมชาย แกก็ใช่แหละ "ตัวสำคัญ" มากด้วย แต่ผมไม่ขอเล่าในที่นี้ เพียงแต่ว่า วันนั้น ตามที่แกบอก แกไม่ได้อยู่ข้างใน เพียงเดินเข้าไปดูพร้อมๆกับม็อบฝ่ายขวาที่บุกเข้าไป) มันก็เลยรุมทำร้ายเอา ความจริง มีภาพที่แกกำลังถูกรุมตี รุมเตะ ที่ชัดกว่านี้ แต่ผมไม่มีเก็บไว้ หลายคนคงเคยเห็น ภาพตรงด้านข้างตึกคณะนิติ ที่หันออกมาทางประตูใหญ่ ที่มีติดชื่อ "คณะนิติศาสตร์" น่ะ ในภาพ พี่สมชาย กำลังถูกอันธพาล 4-5 คน บางคนถือไม้ รุมเตะ รุมตี เป็นภาพที่มีการเผยแพร่กันมากพอสมควร ทั้งนี้แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เป็นองค์กรอาสาสมัครระหว่างประเทศที่ทำงานเพื่อสิทธิมนุษยชน มีความเป็นกลาง ไม่ขึ้นอยู่กับรัฐบาล การเมือง หรือความเชื่อทางศาสนาใด ๆ และเป็นองค์กรที่ไม่ได้ต่อต้านหรือสนับสนุนรัฐบาลหรือระบบการเมืองใด หากแต่สนใจเหยื่อที่มีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครอง ซึ่งเกี่ยวข้องกับการปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชนเพียงอย่างเดียวเท่านั้น โดยแอมเนสตี้ จะทำงานเพื่อเผยแพร่และสนับสนุนให้เกิดการเคารพสิทธิมนุษยชนที่ปรากฎอยู่ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ทางองค์กรเชื่อว่า สิทธิมนุษยชนมีความเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงและไม่สามารถแบ่งแยกออกจากกันได้ ดังนั้นทุกคนพึงได้รับสิทธินี้โดยชอบธรรมตลอดเวลา รวมทั้งสนับสนุน ให้มีเคารพต่อปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน โดยการเผยแพร่ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนทั้งหมด โดยการปฏิบัติการที่ต่อต้านการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของบุคคลทั้งด้านพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เผยคนงานยานยนต์อเมริกันอาจตกงาน 26,500 คน จากข้อตกลงการค้าเสรี TPP Posted: 26 Aug 2012 04:42 AM PDT
รายงานวิจัยระบุหากญี่ปุ่นเข้าร่วมข้อตกลงเขตการค้าเสรี Trans-Pacific Partnership (TPP) คนงานในอุตสาหกรรมยานยนต์ของสหรัฐอเมริกาอาจจะต้องสูญเสียงานถึง 26,500 ตำแหน่ง (ที่มาภาพ: prlog.org) 26 ส.ค. 55 – จากรายงาน The Effects a U.S. Free Trade Agreement with Japan would have on the U.S. Automotive Industry ของ Center for Automotive Research ที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 21 ส.ค. 55 ที่ผ่านมา พบว่าหากญี่ปุ่นเข้าร่วมข้อตกลงเขตการค้าเสรี Trans-Pacific Partnership (TPP) คนงานในอุตสาหกรรมยานยนต์ของสหรัฐอเมริกาอาจจะต้องสูญเสียงานถึง 26,500 ตำแหน่ง รายงานชิ้นนี้ระบุว่าปริมาณการผลิตรถยนต์ของสหรัฐฯ จะลดลง 65,000 คัน ส่งผลให้คนงานสูญเสียตำแหน่งงานต่างๆ อาทิ ไลน์ผลิต 2,600 ตำแหน่ง, ซัพพลายเออร์ 9,000 ตำแหน่ง และปรับลดในส่วนอื่นๆ อีก 14,900 ตำแหน่ง (รวม 26,500 ตำแหน่ง) ในทางกลับกันญี่ปุ่นจะสามารถส่งออกรถยนต์ได้เพิ่มถึง 6.2% หากเข้าร่วมข้อตกลงนี้ ซึ่งจะมีการยกเว้นภาษี 2.5% ในการนำเข้ารถยนต์ญี่ปุ่น ส่วนบริษัทผลิตรถยนต์ในญี่ปุ่นระบุว่าจะทำให้เกิดการสร้างงานทดแทนในสหรัฐฯ ด้วยการผลิตรถยนต์ที่โรงงานในสหรัฐฯ ถึง 70% ทั้งนี้รายงานฉบับนี้ได้รับการสนับสนุนจากบริษัท Ford บริษัทยานยนต์ยักษ์ใหญ่ของสหรัฐฯ ที่คัดค้านการเข้าร่วม TPP ของญี่ปุ่น โดยในปี 2011 สหรัฐฯ ขาดดุลการค้าในอุตสาหกรรมยานยนต์แก่ญี่ปุ่นถึง 42 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนถึง 67% ของการขาดดุลการค้าทั้งหมดที่สหรัฐฯ ขาดดุลการค้าแก่ญี่ปุ่น อนึ่งข้อตกลงการค้าเสรี TPP นั้นมีจุดกำเนิดเริ่มมาจากการประชุมร่วม 3 ชาติ คือ นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ และชิลี ในปี 2005 ก่อนที่บรูไนจะเข้ามาเป็นสมาชิกในลำดับต่อมา โดยในการประชุม TPP เมื่อปี 2010 สหรัฐฯ ระบุว่าถ้าหากสมาชิก APEC ทั้งหมดเข้าร่วมจะมีปริมาณการค้าร่วมมากถึง 40% ของการค้าโลก และอยู่ระหว่างการเจรจาให้ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ จีน อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และไทยเข้าร่วมด้วย ที่มาบางส่วนจาก: Report: US would lose jobs, auto production if Japan joins trade deal (thehill.com, 21-8-2012) http://en.wikipedia.org/wiki/Trans-Pacific_Strategic_Economic_Partnership ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ปิยบุตร แสงกนกกุล: คำไว้อาลัย 'อากง' Posted: 26 Aug 2012 12:52 AM PDT หมายเหตุ : คำไว้อาลัยของ ปิยบุตร แสงกนกกุล นักวิชาการกลุ่มนิติราษฎร์ กล่าวภายในงานศพของนายอำพล หรือ “อากง” คืนวันที่ 25 ส.ค. ที่วัดลาดพร้าว
โศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นกับอากงและครอบครัว ไม่ใช่ปัญหาเรื่องกระบวนการยุติธรรมเท่านั้น ไม่ใช่ปัญหาเรื่องสิทธิในการได้รับการสันนิษฐานว่าเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าศาลพิพากษาเท่านั้น ไม่ใช่ปัญหาเรื่องสิทธิในการได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวเท่านั้น ไม่ใช่ปัญหาเรื่องสิทธิของผู้ถูกจับกุมคุมขังเท่านั้น และไม่ใช่ปัญหาเรื่องมาตรฐานและคุณภาพชีวิตในเรือนจำเท่านั้น หากพูดว่ากรณีอากงมาจากปัญหาเหล่านี้ และพูดเพียงแค่นี้ จบเพียงเท่านี้ แล้วไม่พูดต่อก็เป็นการจงใจละเลยต้นตอของปัญหาที่สำคัญอย่างยิ่งนั่นคือมาตรา 112 แล้วผลักภาระไปให้คนในกระบวนการยุติธรรมที่อาจจะมีข้อผิดพลาดบกพร่องได้ โศกนาฏกรรมอากงและครอบครัวแสดงให้เห็นถึงอัปลักษณ์ของมาตรา 112 ในทุกมิติ ในแง่ตัวบทกฎหมาย มาตรา 112 มีอัตราโทษที่สูงจนเกินไปเมื่อเทียบกับการกระทำความผิด ไม่มีเหตุยกเว้นความผิด ไม่มีเหตุยกเว้นโทษ ในแง่การบังคับใช้มาตรา 112 การบังคับใช้มาตรา 112 ไม่อนุญาตให้มีการปล่อยตัวชั่วคราว การดำเนินพิจารณาคดีต่อผู้กระทำความผิดหรือผู้ต้องสงสัยว่ากระทำความผิดตามมาตรา 112 นั้นให้ดำเนินการโดยลับ ในแง่อุดมการณ์เบื้องหลังมาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เท่ากับสถาบันกษัตริย์และเท่ากับความมั่นคงของราชอาณาจักร บุคคลที่เป็นเหยื่อของมาตรา 112 จะถูกประทับตรา แปะฉลากให้เสมือนสิ่งซึ่งไม่ใช่มนุษย์ เมื่อไม่ใช่มนุษย์ กฎหมายและสิทธิต่างๆ ที่มนุษย์พึงมีพึงได้หรือเป็นเจ้าของ ก็ไม่ให้นำมาใช้กับบุคคลที่เป็นเหยื่อของมาตรา 112 บุคคลอื่น สาธารณชน หรืออำนาจรัฐ จะปฏิบัติต่อเหยื่อ 112 อย่างไรก็ได้ จะประนาม จะต่อต้าน จะข่มขู่คุกคาม จะจับกุมคุมขัง จะทำร้าย หรือถึงกระทั่งจะเอาชีวิตก็ย่อมได้ เพราะมาตรา 112 ไม่ได้เป็นเพียงมาตรา 112 มาตรา 112 ไม่ได้เป็นเพียงความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา แต่มาตรา 112 เป็นเครื่องมีอที่กำเนิดขึ้นมาเพื่อค้ำจุนอุดมการณ์แบบกษัตริย์นิยม เมื่อโศกนาฏกรรมอากงและครอบครัวเปิดเผยให้เห็นถึงอัปลักษณะของมาตรา 112 แล้ว อัปลักษณะของมาตรา 112 ก็แสดงให้เห็นต่อไปถึงปัญหารากฐานของสังคมไทยในยุคปัจจุบัน นั่นคือ สถาบันกษัตริย์และอุดมการณ์กษัตริย์นิยม หากตำแหน่งแห่งที่ของสถาบันกษัตริย์ไม่เป็นอยู่อย่างทุกวันนี้ หากตำแหน่งแห่งที่ของสถาบันกษัตริย์เป็นเหมือนประเทศในยุโรป หรือในญี่ปุ่น กฎหมายแบบมาตรา 112 ก็จะไม่เป็นแบบนี้ การใช้มาตรา 112 ก็จะไม่เป็นแบบนี้ เหยื่อจากมาตรา 112 ก็จะไม่เกิดขึ้นแบบทุกวันนี้ และโศกนาฏกรรมของอากงและครอบครัวก็คงไม่เกิดขึ้น วันนี้อากงจากไปแล้ว และอีกไม่กี่ชั่วโมงร่างกายของอากงก็จะสูญสลายไป หากว่ากันตามกฎธรรมชาติย่อมมีการเกิดและการตาย หากการตายนั้นมาตามธรรมชาติ มนุษย์ทุกคนก็คงทำใจได้ว่ามันเป็นไปตามกฎอนิจจัง แต่หากการตายในบางครั้งกับถูกยืดระยะเวลาออกไป และการตายในบางครั้งกลับถูกเร่งให้ตายก่อนเวลาอันควร แม้อากงจากไปแล้ว ร่างกายอากงจะไม่หลงเหลืออะไรอีกนอกจากเถ้าถ่าน แต่มาตรา 112 ยังคงอยู่ อัปลักษณะของมาตรา 112 ยังคงอยู่ คำพิพากษาคดีของอากงก็ยังดำรงอยู่ต่อไปเสมือนเป็นอนุสรณ์ ส่วนจะเป็นอนุสรณ์แห่งความดีงาม หรืออนุสรณ์แห่งความเลวร้าย วิญญูชนทุกท่านในที่นี้ย่อมพิจารณากันได้เอง
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ประวิตร โรจนพฤกษ์: คำไว้อาลัยอากง SMS ที่ผมไม่เคยรู้จัก Posted: 26 Aug 2012 12:06 AM PDT วันนี้ผมมาพูดไว้อาลัยในฐานะคนๆ หนึ่งที่ไม่เคยรู้จักหรือพบปะอากงเลย คนเราไม่จำเป็นต้องรู้จักกันเป็นการส่วนตัวเพื่อที่จะรู้สึกเจ็บปวดกับครอบครัวผู้อื่นที่เดือดร้อนและเป็นทุกข์ อากงไม่ใช่ฮีโร่ แต่เป็นเหยื่อของสังคมที่เห็นดีเห็นงามกับกฎหมายอันไม่ชอบธรรมที่ปิดหูปิดตาปิดปากประชาชนและกักขังจองจำผู้ที่แสดงความเห็นต่างด้านลบเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ อย่างไม่พอเพียง ถ้าวันนี้เราไม่ต่อต้าน กฎหมาย ม.112 อากงอาจมิใช่ศพสุดท้ายและครอบครัวอื่นก็อาจต้องหลั่งน้ำตาเหมือนครอบครัวญาติมิตรของอากง ณ ค่ำคืนนี้ เมื่อประมาณสองเดือนที่แล้ว ผมมีโอกาสแลกเปลี่ยนเรื่องกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพกับ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ท่านหนึ่งในวงทานอาหารกับทูตต่างชาติ ส.ส. กทม. ท่านนี้บอกผมกับผู้ร่วมวงอาหารเป็นภาษาอังกฤษว่า ว่าด้วย ม.112 นั้น หากใครมิได้แสดงความเห็นด้านลบเกี่ยวกับสถาบันฯ ต่อสาธารณะ ก็ไม่เดือดร้อน ได้ยินเช่นนั้นผมก็รู้สึกทนไม่ได้ แล้วโต้กลับไปว่า อย่างกรณีอากง แกต้องมาติดคุกจนตายเพียงเพราะถูกตัดสินว่าส่ง SMS หยาบๆ 3-4 ครั้งให้คนๆ เดียว อันได้แก่เลขาส่วนตัวของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น นั่นถือว่าเป็นการแสดงออกต่อสาธารณะหรือ? ถ้าเลขาส่วนตัวนายอภิสิทธิ์จะมีเมตตาเพียงสักเล็กน้อย ก็คงไม่เอาเรื่องนี้ไปแจ้งความ เพราะข้อความไม่ได้ไปขึ้นบนจอช่อง 3 ให้คนอ่านดูกันทั้งประเทศ หากขึ้นจอมือถือเล็กๆ ของตัวแกเท่านั้นเอง (นี่ยังไม่นับรวมข้อถกเถียงที่ว่าตกลงอากงเป็นคนส่ง SMS เหล่านั้นจริงหรือไม่ หรือคำตัดสินของศาลยืนบนพื้นฐานการตรวจสอบว่าอากงกระทำผิดจริงจนปราศจากข้อสงสัยใดๆ จริงหรือไม่) การมาพูดวันนี้ ผมทราบดีว่ามีคนกล่าวหาผมและท่านอื่นที่ได้รับเชิญให้มาพูดในที่นี้ มา ‘หากินกับศพกับความตาย’ ของอากง หากคำเหล่านี้ออกมาจากปากผู้ที่เป็นห่วงเป็นใยอากงจริง ผมคงรับพอฟังได้ แต่ข้อกล่าวหาเหล่านี้หลุดออกมาจากปากของบรรดาคนรักเจ้าอย่างไม่รู้จักพอเพียงที่สนับสนุน ม.112 และหลายคนก็ยังได้เคยแสดงความสะใจกับการติดคุกและการตายของอากง วันนี้พวกเขายังเสแสร้งทำเป็นห่วงผู้ที่เสียชีวิตจากกฎหมายเผด็จการที่พวกเขาสนับสนุนปกป้องอย่างแข็งขัน ผมไม่จำเป็นที่จะต้องรู้จักอากงเป็นการส่วนตัว เพื่อที่จะรับรู้ได้ถึงความเศร้าโศกของคนตระกูลตั้งนพกุล วันใดที่ผู้คนรู้สึกเศร้าและเจ็บปวดได้กับเฉพาะคนที่เรารู้จักหรือสนิทสนม วันนั้นสังคมคงสิ้นหวัง ผมอยากถามในที่นี้ว่าความเมตตาในหมู่ผู้ที่อ้างว่าเทิดทูนบุรุษอันประเสริฐแต่ตรวจสอบและวิพากษ์ไม่ได้ มีหรือไม่กับคนที่เห็นต่างทางการเมือง? แต่ผมคงไม่ได้คำตอบ ณ ที่นี้ในคืนนี้ เพราะพวกเขาคงมิได้สนใจกับการเสียชีวิตของชายแก่ๆ ผู้หนึ่งที่เราเรียกว่า อากง ภายใต้ ‘กฎหมาย’ ที่พวกเขาสนับสนุนปกป้อง ขอให้อากงที่ผมไม่เคยรู้จักไปสู่สุคติ และขอให้อาม่า (ป้าอุ๊) และลูกหลานพบกับความสงบในชีวิตตามเท่าที่พอจะได้ในสังคมที่เสมือนคุกยักษ์ทางความคิดของประชาชนผู้เห็นต่างเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
"สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล" อภิปรายที่วัดลาดพร้าว Posted: 25 Aug 2012 05:18 PM PDT ในคืนก่อนพิธีฌาปนกิจศพนายอำพล หรือ อากง SMS ที่วัดลาดพร้าว ถ.ลาดพร้าว-วังหิน กรุงเทพมหานคร เมื่อคืนวานนี้ (25 ส.ค.) นั้น ในช่วงกลางดึก สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล อาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ขึ้นอภิปรายเป็นเวลา 30 นาที ตอนหนึ่งของการปราศรัย สมศักดิ์ กล่าวถึงเรื่อง การมี "Moral Courage" หริอ "ความกล้าหาญทางคุณธรรม" ซึ่งเป็นเรืองที่รู้ว่าอะไรผิด อะไรถูก โดยไม่เกี่ยวว่าจะมีทัศนะทางการเมิองอย่างไร โดยสมศักดิ์กล่าวถึงคดีกรณีสวรรคตรัชกาลที่ 8 กับกรณีการเสียชีวิตของอากง SMS โดยสมศักดิ์กล่าวว่า ในคดีกรณีสวรรคตดังกล่าวทั้ง 3 ศาล มีบรรดาตุลาการรวม 12-13 คน แต่ไม่มีสักคนกล้าที่จะบอกว่าหลักฐานไม่พอที่จะเอาผิดประหารชีวิต เฉลียว ปทุมรส, ชิต สิงหเสนี และบุศย์ ปัทมศริน ยกเว้นตุลาการคนหนึ่งในชั้นศาลอุทธรณ์ที่กล้าบอกว่าตัดสินประหารชีวิตไม่ได้ จำเลยเหล่านี้ไม่ผิด ที่เหลือไม่มีใครกล้าบอกเลย และกรณีดังกล่าวใช้เวลาถึง 30-40 ปี กว่าจะยอมรับว่าปรีดี พนมยงค์ไม่เกี่ยวข้อง และในคดีนี้ไม่มีทางที่มหาดเล็ก 2 คนจะร่วมมือกับปรีดีในการปลงพระชนม์รัชกาลที่ 8 แต่ตลอด 30-40 ปีมานี้ มีคนใหญ่คนโต มีคนจบมหาวิทยาลัย มีนายกรัฐมนตรีจำนวนมาก แต่ก็ไม่มีใครออกมาพูดว่าเป็นสิ่งไม่ถูกที่ไปประหารชีวิตเขา ไม่ถูกที่ไปไล่เขาออกนอกประเทศ ไม่มีเลย ทุกคนคำนึงถึงฐานะตัวเองหมด แล้วประเทศไทยสังคมไทยเป็นอย่างนี้ตลอด กรณีอากง เป็นเรื่องที่สะเทือนใจมาก เพราะตลอดทั้งกระบวนการแต่ต้นจนจบ หาคนที่กล้าหาญทางคุณธรรมแบบนี้ไม่ได้ ในระดับตุลาการที่ตัดสินอากง ตั้งแต่การไม่ให้อากงประกัน ตุลาการต้องรู้แน่ๆ ว่าการไม่ให้ประกันมันผิด เหตุผลที่ว่าอากงอายุ 60 จะหนี เป็นเหตุผลที่ว่าผิดแน่ๆ ถ้าตุลาการไปอ้างเหตุผลแบบนี้ แต่ไม่กล้าจะบอกว่าคนนี้ไม่หนีหรอกแล้วให้ประกัน แล้วการตัดสินศาลก็ยอมรับว่าไม่มีหลักฐานพอที่อากงเป็นคนส่ง SMS ในภาษากฎหมายเขามีศัพท์ว่า "Burden of Proof" ภาระในการพิสูจน์ไม่ได้อยู่ที่จำเลย ไม่ได้อยู่ที่ตัวโจกท์ ถ้าพิสูจน์ไม่ได้ว่าจำเลยส่งจริง ศาลก็ต้องปล่อยจำเลยไป และกรณีที่ต่อให้อากงยอมรับว่าส่ง SMS จากเครื่องนี้จริง แต่พิสูจน์ไม่ได้ว่าอากงในการกดส่ง ตามหลักภาระในการพิสูจน์ศาลก็ต้องปล่อยอากง แต่ศาลก็ไม่กล้าตัดสิน ในสังคมซึ่งมีความเป็นมนุษย์อยู่ ตุลาการที่นั่งบัลลังก์ไม่อนุมัติประกันอากง เขาต้องรู้แน่ๆ ว่าการไม่อนุมัติให้อากงประกันไม่ถูก เขาต้องรู้แน่ๆ ว่าการตัดสินแบบนี้มันผิดหลักกฎหมายแต่ก็ไม่ให้ประกัน ตัดสินเสร็จก็ไม่ให้ประกัน อ้างเรื่องกลัวหนีอีก นี่คือสิ่งที่ผมไม่มีความกล้าหาญทางคุณธรรม อย่างน้อยควรจะรู้อะไรผิด อะไรถูก ประเด็นที่ผมเสียใจมากกรณีอากงคือ ในทุกวงการไม่มีใครกล้าหาญทางคุณธรรมเพียงพอ แต่คำนึงฐานะตำแหน่งตัวเองตลอด กับฝั่ง นปช. อย่างอาจารย์ธิดา (ถาวรเศรษฐ์) ใช้เวลาถึง 3 สัปดาห์ กว่าจะพูดเรื่องนี้ คือการไม่มี "Moral courage" ที่ผมพูดถึง และไม่เพียงแต่ นปช. รวมทั้งรัฐบาลเอง แม้ในระดับข้อเสนอของนิติราษฎร์จะทำไม่ได้ อย่าว่าแต่ข้อเสนอของผมเลย ซึ่งผมก็ไม่ได้คาดหวังว่าจะทำได้ แต่มันมีระดับที่รัฐบาลทำได้ อย่างกรณีที่ตอนนี้มีนักโทษในคดี ม.112 ประมาณ 10 กว่าคนในเรือนจำใหญ่ และอำนาจในการย้ายนักโทษอยู่ในมือ พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รมต.ยุติธรรม ซึ่งสามารถสั่งการให้กรมราชทัณฑ์ย้ายนักโทษไปอยู่ที่เรือนจำหลักสี่ เซ็นเช้า ย้ายบ่ายได้ทันที แต่จนป่านนี้ทำไมไม่ทำ กรณีอากง เห็นได้ชัด ทุกฝ่ายขี้ขลาดตาขาว เห็นคนแก่อายุ 60 ห้ามประกันซ้ำแล้ว ซ้ำอีก ต้องออกมาพูดแล้วว่าทำไม่ได้มันผิด ด้านกฎหมาย อธิการบดี แต่ทุกคนเงียบกริบหมด ที่สำคัญคือพูดไปแล้วกลัวจะเดือดร้อน เข้าข้างพวกล้มเจ้าบ้าง หรือบางคนกลัวว่าจะเข้าข้างอีกฝ่าย จนอะไรที่เป็นเรื่องความถูกความผิด ที่มันเป็นพื้นฐานง่ายๆ ของความเป็นคนมันหมดไปเลย แล้วทำให้คนแก่คนหนึ่งซึ่งไม่ใช่การเมืองอะไรทั้งสิ้น มาตาย โดยที่ไม่มีโอกาสใช้ชีวิตช่วงสุดท้ายของเขากับครอบครัวเขา ถ้าเสียงนี้จะได้ยินไปถึงทุกคน ทุกฝ่าย เลยทั้งเหลือง ทั้งแดง ทั้งรัฐบาล ทั้ง นปช. ลองถามตัวเองจริงๆ ว่า ตัวเองมีความรับผิดชอบมากน้อยแค่ไหนต่อการตายของอากง และถ้าพูดกันตรงๆ คนดังทั้งหลายแหล่ ที่มีฐานะทั้งหลายแหล่แล้วตลอดเวลาของคดีอากง ทั้งที่รู้ว่าไม่ถูก มันผิดแล้วไม่ทำอะไร ผมว่าทุกคนต้องถามใจตัวเองว่า มีความรับผิดชอบมากน้อยแค่ไหนในทางคุณธรรม ว่าสามารถทำอะไรได้มาก สามารถช่วยอากงในช่วงสุดท้ายของชีวิตได้แต่ไม่ช่วย เพราะคำนึงถึงชื่อเสียงตัวเอง คำนึงถึงฐานะตัวเอง คำนึงถึงการเมืองตัวเอง ผมว่าควรจะมีความละอายแก่ใจตัวเอง พรุ่งนี้เผาอากง ผมอยากให้คนเหล่านี้นอนไม่หลับแล้วคิดถึงความตายของคนแก่คนนี้ แล้วถามตัวเองว่าตลอดเวลาที่ผ่านมาตัวเองควรจะทำได้มากกว่านี้ไหม ฝ่ายรัฐบาลเองก็เหมือนกัน กับคนที่ต้องโทษคดี ม.112 เรื่องง่ายๆ แค่ย้ายคุก มันไม่ยากอะไรเลย ถูกด่าก็ด่าไปสิ แค่นี้มันไม่ทำให้รัฐบาลล้มหรอก ถ้าย้ายคุกแล้วทำให้รัฐบาลล้ม มาจับผมเข้าคุกแทนได้เลย คือมันมีอะไรบางอย่างซึ่งควรจะคำนึง ไม่ใช่คิดแต่การเมืองอย่างเดียว มันเป็นเรื่องคุณธรรมที่คุณควรจะคิดบ้าง แล้วสังคมไทยมันขาดสิ่งนี้มาก ถ้าจะว่าไปแล้ว สิ่งหนึ่งที่เรายืดเยื้อไม่จบ ผมคุยกับคุณนิก (นิก นอสติทซ์ ช่างภาพ) ชาวเยอรมันที่มาทำข่าวบ่อยๆ สิ่งหนึ่งที่น่าเสียใจก็คือว่า ทุกวันนี้ ทุกฝ่ายขาดสิ่งนี้ คือคิดอยากจะเอาชนะทางการเมืองอย่างเดียว หลายอย่างคนเหล่านี้รู้ว่าอะไรถูกอะไรผิด รู้ว่าเป็นอะไร รู้ว่าทางออกเป็นอะไร ทุกคนรู้ว่าถ้าไม่พูดเรื่องสถาบันกษัตริย์ไม่มีทางแก้วิกฤตได้ ใช่ไหม ไม่พูดถึงสถาบันกษัตริย์ต่อวิกฤตการเมืองที่ผ่านมา เรื่องพวกนี้ถ้าไม่พูด ไม่อธิบายกันเต็มที่ ก็แก้วิกฤตไม่ได้ ถามหน่อยว่าคนในวงการเมืองคนไหนไม่รู้บ้างเรื่องนี้ ถามหน่อยว่าบรรณาธิการข่าวที่ไหน หนังสือพิมพ์ทุกฉบับไม่รู้บ้างว่ามีประเด็นนี้อยู่ แล้วเมืองไทยแทนที่จะมานั่งพูดกัน แทนที่ทุกฝ่ายจะมีความกล้าหาญว่า "เนี่ยวิกฤตนี้เกี่ยวข้องกับประเด็นนี้" "มันหลีกเลี่ยงที่จะพูดเรื่องนี้ไม่ได้ แล้วมาตั้งโต๊ะพูดกันตรงไปตรงมา ฯลฯ" มันเหมือนประเทศนี้บางครั้งผมคิดแล้วทั้งเศร้า ทั้งเหนื่อย เรื่องที่มันควรจะแก้ได้โดยใช้สามัญสำนึกของความเป็นมนุษย์ธรรมดา แต่ทุกฝ่ายมันเหมือนกับหายไปไหนหมดไม่รู้ แล้วความหายไปไหนหมดนี้ สุดท้ายคนที่เป็นเหยื่อตลอดเวลาหลายปีที่ผ่านมาก็คือคนตัวเล็กๆ คนธรรมดานี่แหละ ไม่ใช่คนดังๆ ทั้งหลายของทั้ง 2 ฝ่ายหรอก คนอย่างอากง คนที่ตายไป 90 คน 100 คน 20 คนที่อยู่ในคุกคดีทั่วไป คน 10 คนคดี 112 แล้วคนที่มีตำแหน่ง มีฐานะของทุกฝ่าย ในชีวิตประจำวันคุณกินข้าว กินปลา คุณหลับนอนโดยความรู้สึกที่ปล่อยให้ปัญหามันเรื้อรัง แล้วไม่รู้สึกว่าเป็นความรับผิดชอบของคุณในการแก้ ผมหวังว่าทุกคนทุกฝ่าย โดยเฉพาะคนที่อยู่ในอำนาจตอนนี้ รวมถึงอำนาจการเมือง ทางศาล ทางสังคม พวกนักวิชาการ พวกนักหนังสือพิมพ์ จะได้คิดบ้างว่าเราปล่อยภาวะแบบนี้มันเกินไปแล้ว กรณีอากงมันเป็นสุดยอดของความที่ ซึ่งผมว่าคนจะได้สติกันบ้างจากอากง แต่อากงตายมาหลายเดือนทุกอย่างก็กลับเป็นเหมือนเดิมหมด ก็ไม่รู้ว่าถ้าสังคมไทยเป็นอย่างนี้ ทุกฝ่ายไม่มีความกล้าหาญทางคุณธรรมที่จะคุยกันตรงไปตรงมา ต่างฝ่ายต้องคำนึงถึงอย่างนู้นอย่างนี้ รัฐบาลก็กลัวถูกกล่าวหาว่าว่าล้มเจ้า อีกฝ่ายก็กลัวหมดข้ออ้างในการเกาะสถาบันกษัตริย์ ในที่สุดจะลงเอยอย่างไรรู้ไหม ในที่สุดอาจจะลงเอยด้วยนองเลือดอย่างขนานใหญ่ในสังคมไทย แล้วถ้าลงเอยอย่างนั้นความรับผิดชอบมันอยู่กับใคร อันนี้ต้องถามตัวเองทุกคน กรณีอากง ความรู้สึกของผมคือ ทุกฝ่ายมันขาด "ความกล้าหาญทางคุณธรรม" ที่จะทำในสิ่งที่รู้ว่ามันถูก รู้ว่าควรจะทำอะไร แต่ทุกคนไปคำนึงถึงอย่างอื่นหมด ไปคำนึงฐานะ ตำแหน่ง คำนึงถึงการเมืองหมด แล้วไม่กล้าทำ แล้วสุดท้ายคนที่เป็นเหยื่อคือคนแก่ธรรมดาที่สุดท้ายต้องมาตายโดยห่างจากครอบครัว ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น