ประชาไท | Prachatai3.info |
- ASEAN Weekly: วิกฤตในรัฐอาระกัน สู่ความขัดแย้งระหว่างประเทศ
- กัมพูชาเนรเทศผู้ร่วมก่อตั้ง 'ไพเรตเบย์' แล้ว ปลายทางสวีเดน-เพื่อนเชื่อเอี่ยววิกิลีกส์
- จัดบายศรีเอิ้นขวัญ อดีตนักโทษ ม.112
- ทหารพม่าโจมตีทหารไทใหญ่ SSA หลายพื้นที่ในรัฐฉาน
- นักการเมืองแนะรัฐยก ‘นาทวี’ เป็นจังหวัดใหม่ชายแดนใต้
- หลากความเห็น Pat(t)ani Peace Process เมื่อ ‘คนใน’ ต้องเป็น ‘ตัวกลาง’ สร้างสันติภาพ
- นักวาดการ์ตูนอินเดียถูกจับ เหตุภาพเขียนดูหมิ่นรัฐธรรมนูญ
- 'สมาคมผู้ปกครองเคนยา' เล็งขอศาลสั่งเลื่อนสอบ หากครูยังหยุดงานประท้วง
- ทวาย: “ไม่เห็นกระรอก อย่าเพิ่งโก่งหน้าไม้”
- มรดกและความฝันแห่งอัมพวา-เยาวราช
- แก๊งค์หน้ากากเสือแอ็คชั่นกลางอนุสาวรีย์ชัยฯ ค้านเขื่อนแม่วงก์
- จดหมายเปิดผนึก: หยุดขยายเวลาประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินชายแดนใต้
- นักสิทธิฯ เผยคนงานเหมืองแอฟริกาใต้ถูกสังหารหลังยอมจำนนแล้ว
- IndustriALL เตรียมรณรงค์ทั่วโลก ยุติการจ้างงานที่ไม่มั่นคง 7 ต.ค. นี้
- กลุ่มชาวบ้านชี้ 7 เหตุผล ไม่ยอมรับเวทีรับฟังฯ ขยายเหมืองทอง-ผลที่ออกมา
ASEAN Weekly: วิกฤตในรัฐอาระกัน สู่ความขัดแย้งระหว่างประเทศ Posted: 10 Sep 2012 12:31 PM PDT ASEAN Weekly ตอน วิกฤตในรัฐอาระกัน สู่ความขัดแย้งระหว่างประเทศ (คลิกที่นี่เพื่อรับชมแบบ HD) ASEAN Weekly ดำเนินรายการโดยสุลักษณ์ หลำอุบล และดุลยภาค ปรีชารัชช สัปดาห์นี้ติดตามสถานการณ์ความขัดแย้งในรัฐอาระกัน หรือรัฐยะไข่ ของพม่า ซึ่งเกิดจลาจลระหว่างชุมชนชาวโรฮิงยาและชาวยะไข่ตั้งแต่เดือนมิถุนายนที่ผ่านมา โดยที่ขณะนี้ความขัดแย้งซึ่งสะสมมายาวนานดังกล่าวกำลังขยายตัวไปสู่ความขัดแย้งระดับภูมิภาค โดยในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาและในเดือนกันยายนนี้ ตัวแสดงจากภายนอกพม่าจะเริ่มปรากฏตัวและเข้ามามีบทบาทต่อปัญหาในรัฐอาระกันมากขึ้น นับตั้งแต่คณะรัฐมนตรีซาอุดิอาระเบียที่ล่าสุดออกมาประณามรัฐบาลพม่าว่ากดขี่ข่มเหงชาวโรฮิงยาซึ่งเป็นชาวมุสลิม และกษัตริย์อับดุลลาห์แห่งซาอุดิอาระเบียได้บริจาคเงิน 50 ล้านเหรียญสหรัฐเพื่อช่วยเหลือชาวโรฮิงยา แม้รัฐบาลพม่าจะพยายามควบคุมสถานการณ์ มีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนสาเหตุความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในรัฐอาระกัน และคาดหมายว่าจะมีการเปิดเผยผลการสอบสวนในวันที่ 17 กันยายนนี้ และให้กระทรวงการต่างประเทศพม่าชี้แจงนานาชาติว่าความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในรัฐอาระกันไม่ใช่การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ แต่เป็นความขัดแย้งระหว่างชุมชน และมีผู้ทำผิดกฎหมายอาญาก็ตาม แต่ล่าสุดองค์การความร่วมมืออิสลาม (Organisation of Islamic Cooperation หรือ OIC) ซึ่งมีสมาชิก 57 ชาติ ได้ออกมติประณามฝ่ายรัฐบาลพม่าที่กระทำต่อชาวมุสลิมโรฮิงยา และจะนำประเด็นดังกล่าวเข้าสู่ที่ประชุมสมัชชชาใหญ่แห่งองค์การสหประชาชาติเพื่อให้มีการพิจารณา ขณะเดียวกันคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปยังเรียกร้องให้พม่ามอบสัญชาติแก่ชาวโรฮิงยา และสหภาพยุโรปโดยแผนกความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการดูแลพลเมือง ยังบริจาคเงินช่วยเหลือชาวโรฮิงยาและชุมชนอื่นๆ ในบังกลาเทศและพม่า ที่จำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลืออีก 10 ล้านยูโรด้วย ส่วนในอาเซียน องค์กรมุสลิมเอ็นจีโอในมาเลเซียและหลายประเทศได้ได้ระดมสิ่งของเช่นอาหาร ยา น้ำหนักราว 400 ตัน ผ่านโครงการ "Humanitarian Flotilla to Arakan" เพื่อส่งมอบให้กับชาวโรฮิงยาในรัฐอาระกัน ผ่านทางท่าท่าเรือเมืองปีนัง ประเทศมาเลเซีย ไปยังท่าเรือเมืองซิตตะเหว่เมืองหลวงของรัฐอาระกัน ต่อกรณีที่บทบาทของผู้นำฝ่ายค้านอย่างออง ซาน ซูจี ผู้ได้รับรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพ เลือกที่จะไม่กล่าวถึงเรื่องความขัดแย้งดังกล่าวจนดาไลลามะ ผู้นำด้านจิตวิญญาณ ของชาวทิเบตพลัดถิ่นได้เขียนจดหมายถึงออง ซาน ซูจี กรณีความขัดแย้งในรัฐอาระกันนั้น ดุลยภาค ปรีชารัชช กล่าวว่า ความขัดแย้งในรัฐอาระกันสัมพันธ์กับการเลือกตั้งพม่าที่จะเกิดขึ้นในอีก 3 ปีข้าง ซึ่งออง ซาน ซูจี ต้องผนึกฐานเสียงของตนเอาไว้ ขณะที่ประชากรพม่าทั้งในเขตเลือกตั้งของออง ซาน ซูจี และในพื้นที่อื่นมีทัศนะคติที่เกลียดชังชาวโรฮิงยา ดังนั้นหากออง ซาน ซูจี เล่นบทบาทให้ความช่วยเหลือชาวโรฮิงยาก็จะถูกต่อต้าน ทั้งนี้ดุลยภาค ตั้งคำถามถึงฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายค้าน มีความเข้าใจดีพอแค่ไหนเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพของประชาชน ทั้งนี้จะเห็นว่าฝ่ายการเมืองในพม่าเลือกที่จะปรับบทบาททางการเมืองไปตามสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนไป เช่น ออง ซาน ซูจี จู่ๆ ก็เล่นบทจับมือกับอดีตผู้นำในรัฐบาลทหารพม่า เป็นต้น ดังนั้นการปฏิรูปในพม่า และมโนทัศน์ด้านความเป็นธรรมทางสังคมอาจไม่ได้แผ่ซ่านสู่สังคมพม่าอย่างแท้จริง และการเคลื่อนไหวต่อประเด็นเรื่องโรฮิงยาในพม่า อาจมีประเด็นเรื่องการยึดติดกับชาตินิยมและศาสนา และมองชาวโรฮิงยาเป็นคนอื่น นอกจากนี้ปมประวัติศาสตร์แบบชาตินิยมของพม่า และกระบวนการ "ทำให้เป็นพม่า" (Burmanization) ในช่วงรัฐบาลทหารพม่านับตั้งแต่การรัฐประหารของนายพลเนวิน ก็มีผลกีดกันชาติพันธุ์อื่นที่ไม่ใช่พม่าออกจากความเป็นพม่าด้วยเช่นกัน สำหรับแนวโน้มการคลี่คลายความขัดแย้งในรัฐอาระกันนั้น ดุลยภาคประเมินว่า "ชาวยะไข่ในรัฐอาระกันมีความหวาดระแวงชาวโรฮิงยา ทั้งเรื่องปัญหาการใช้ที่ดิน การเพิ่มจำนวนประชากรของชาวโรฮิงยา และความกลัวว่าจะถูกกลืนทางวัฒนธรรมและการรุกรวบพื้นที่ทางยุทธศาสตร์ อย่างไรก็ตามทั้งสองกลุ่มต้องช่วยกันแก้ไข โดยชาวยะไข่ต้องคุยกับชาวโรฮิงยา อย่างไรก็ตามเรื่องนี้มีตัวแปรคือ ชาวยะไข่จะจับมือกับชาวพม่าเพื่อให้อำนาจการต่อรองของกลุ่มตนสูงกว่า ขณะที่โรฮิงยาก็ต้องพึ่งประเทศมุสลิมให้ช่วยสนับสนุน อย่างไรก็ตามประเทศมุสลิมบางประเทศก็มีสายสัมพันธ์กับรัฐบาลพม่า จึงน่ากลัวว่าความขัดแย้งนี้จะเป็นปัญหาตกค้างที่แก้ไม่รู้จบ แต่คนที่น่าสงสารที่สุดคือคนที่ถูกทารุณกรรมหรือเป็นเหยื่อของความรุนแรง ไม่ว่าจะเป็นมุสลิมโรฮิงยา หรือชาวพุทธยะไข่ก็ตาม"
หมายเหตุ: ที่มาของภาพประกอบหน้าแรก: คัดลอกและดัดแปลงจาก http://youtu.be/Ua_pCJxcn6Q
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
กัมพูชาเนรเทศผู้ร่วมก่อตั้ง 'ไพเรตเบย์' แล้ว ปลายทางสวีเดน-เพื่อนเชื่อเอี่ยววิกิลีกส์ Posted: 10 Sep 2012 10:42 AM PDT กัมพูชาเนรเทศผู้ร่วมก่อตั้งไพเรตเบย์มากรุงเทพฯ แล้ว ก่อนส่งตัวต่อไปยังสวีเดน ขณะที่เพื่อนผู้ร่วมก่อตั้งเว็บ เชื่อว่าการจับกุมตัวครั้งนี้เกี่ยวข้องกับการที่วิกิลีกส์ เว็บจอมแฉชื่อดังเคยใช้โฮสต์ของบริษัทเพื่อนเป็นที่เก็บข้อมูล (10 ก.ย.55) สำนักข่าวนิวสกายส์ รายงานว่า ประเทศกัมพูชาได้เนรเทศ Gottfrid Svartholm Warg หรือที่ชาวเน็ตรู้จักกันในชื่อ Anakata หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งเดอะไพเรตเบย์ เว็บไซต์แชร์ไฟล์สัญชาติสวีเดน ออกนอกประเทศแล้ว โดยผู้บังคับการตำรวจประจำสนามบินนานาชาติพนมเปญ ระบุว่า Warg ถูกนำตัวขึ้นเครื่องบินมายังกรุงเทพฯ และจะต่อเครื่องไปยังกรุงสต็อกโฮล์ม สวีเดน ในเช้าวันอังคาร แม้ว่า กัมพูชาจะไม่มีสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนกับสวีเดน แต่โฆษกแห่งชาติของกัมพูชาเคยออกมาให้ข่าวว่า จะเนรเทศ Warg ออกนอกประเทศ โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายคนเข้าเมือง ส่วนปลายทางจะเป็นที่ใดนั้นขึ้นอยู่กับทางสวีเดน ทั้งนี้ มีรายงานด้วยว่า หลังการจับกุม Warg ในกัมพูชา สวีเดนได้ลงนามในข้อตกลงให้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาแก่ประเทศกัมพูชา เป็นเงินเกือบ 18.6 ล้านบาท ด้าน Peter Sunde หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งเว็บเดอะไพเรตเบย์ ทวีตถึงการจับกุมตัวดังกล่าวว่า ไม่เกี่ยวกับเว็บเดอะไพเรตเบย์ โดย Warg ถูกควบคุมตัวไว้ที่สำนักงานต่อต้านการก่อการร้าย กระทรวงมหาดไทย ตามคำสั่งของสวีเดน และว่า เว็บไซต์วิกิลีกส์เคยใช้โฮสต์ของบริษัทของ Warg
อนึ่ง Warg ถูกจับกุมตัวเมื่อวันที่ 30 ส.ค.ที่ผ่านมา ในกรุงพนมเปญ ก่อนหน้านั้น ศาลสวีเดนตัดสินว่าเดอะไพเรตเบย์มีความผิดฐานละเมิดกฎหมายลิขสิทธิ์ และให้จำคุกและปรับ Warg และเพื่อนผู้ร่วมก่อตั้งรวม 4 คน ในวันที่ศาลอุทธรณ์ตัดสิน เขาไม่ได้ศาลโดยให้เหตุผลว่าป่วย ศาลจึงตัดสินจำคุกเขาเป็นเวลา 1 ปีและปรับเป็นเงินราว 34.3 ล้านบาท แต่ในวันที่ต้องมารับโทษเมื่อช่วงต้นปีนี้ เขาไม่ได้ปรากฏตัว
ที่มา: ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
จัดบายศรีเอิ้นขวัญ อดีตนักโทษ ม.112 Posted: 10 Sep 2012 08:50 AM PDT วานนี้(9 ก.ย.55) เวลา 13.00 น. ที่บริเวณบาทวิถี หน้าศาลอาญา รัชดา กลุ่มปฏิญญาหน้าศาล, กลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย, กลุ่มคนวันเสาร์ ไม่เอาเผด็จการ และแนวร่วมเสื้อแดง ประมาณ 400 คน จัดกิจกรรม “บายศรี เอิ้นขวัญ รับเพื่อน 112 กลับสู่เสรี” เพื่อให้กำลังใจ 3 อดีตผู้ต้องขังคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ มาตรา 112 ที่เพิ่งได้รับการปล่อยตัว ประกอบด้วย สุชาติ นาคบางไทร หรือ นายวราวุธ (สงวนนามสกุล) นายสุริยันต์ (สงวนนามสกุล) และนายณัฐ (สงวนนามสกุล) นอกจากพิธีบายศรีแล้ว ยังมีกิจกรรมกล่าวปราศรัยและการแสดงดนตรีให้กำลังใจอีกด้วย ในงานดังกล่าวยังมี นางรสมาลิน หรือ ป้าอุ๊ ภรรยานายอำพล หรือ อากง SMS ผู้ต้องขังคดีหมิ่นพระบรมฯ ที่ถูกตัดสินจำคุก 20 ปี และเสียชีวิตในเรือนจำ พร้อมทั้งนางปราณี ด่านวัฒนานุสรณ์ ภรรยา นายสุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ และนางแต้ม มารดาของนายสุรภักดิ์ (สงวนนามสกุล) ผู้ต้องขังคดีพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์และมาตรา 112 มาร่วมกิจกรรมด้วย ผศ.ดร.สุดา รังกุพันธุ์ ผู้ประสานงานกลุ่มปฏิญญาหน้าศาล เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวถึงเหตุผลในการจัดกิจกรรมครั้งนี้ว่า “เพื่อสร้างขวัญกำลังใจให้เหยื่ออธรรม มาตรา 112 และเปิดโอกาสให้ผู้รักความเป็นธรรมได้ร่วมเยียวยาเหยื่ออธรรมเหล่านี้ เพราะคาดว่าพวกเขาจะไม่ได้รับการเยียวยาจากรัฐบาล เพราะผู้ถูกดำเนินคดีมาตรา 112 นี้ ได้ถูกรัฐบาลแบ่งแยกกีดกันออกจากกลุ่มนักโทษการเมืองและเหยื่อจากการกระทำของรัฐมาตลอด ประชาชนจึงต้องยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือบรรเทาทุกข์พวกเขาด้วยตัวเองไปก่อน” ผู้ประสานงานกลุ่มปฏิญญาหน้าศาลยังย้ำด้วยว่า นอกจากเหยื่ออธรรม มาตรา 112 จะมีขวัญและกำลังใจในการก้าวสู่สังคมนอกเรือนจำแล้ว ทางกลุ่มฯ ยังหวังให้สังคมได้รับรู้ถึงความเชื่อมั่นที่ประชาชนมีต่อผู้ถูกกล่าวหาเหล่านี้ ว่าพวกเขาถูกตัดสินว่าผิดโดยกระบวนการที่ไม่เป็นธรรม เป็นผู้ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งทางการเมืองอันสืบเนื่องจากการรัฐประหาร 19 กันยา 2549 เช่นเดียวกับคดีอื่นๆ ซึ่งต้องได้รับความเป็นธรรมและได้รับการเยียวยาจากรัฐ ภาพบรรยากาศกิจกรรม : ป้าอุ๊ ภรรยานายอำพล หรือ อากง SMS 3 อดีตผู้ต้องขัง ป้าแต้ม มารดาของนายสุรภักดิ์ และ น.ส.จิตรา คชเดช ร่วมผู้ข้อมือ สุชาติ นาคบางไทร อดีตผู้ต้องขัง ม.112 ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
ทหารพม่าโจมตีทหารไทใหญ่ SSA หลายพื้นที่ในรัฐฉาน Posted: 10 Sep 2012 07:38 AM PDT ทหารพม่าบุกโจมตีฐานที่มั่นกองทัพรัฐฉาน SSA ระลอกล่าสุดหลายจุดที่เมืองกึ๋ง เมืองเป็ง ลางเคอ แสนหวี จุดปะทะหนักอยู่ที่เมืองกึ๋ง ทำให้ฝ่ายทหารพม่าสูญเสียนับสิบ ขณะที่ฝ่ายกองทัพรัฐฉานสูญเสียจำนวนหนึ่ง ด้านโฆษกกองทัพรัฐฉานอัดทหารพม่าไม่ทำตามสัญญาหยุดยิงด้วยการลาดตระเวนโดยไม่มีการแจ้งล่วงหน้า ฝ่ายกองทัพรัฐฉานเห็นทหารพม่ามีอาวุธปืนเข้ามาก็จำเป็นต้องโต้ตอบ ทหารกองทัพรัฐฉาน (SSA) ระหว่างพิธีสวนสนามเนื่องในวันกองทัพรัฐฉานครบรอบปีที่ 53 เมื่อ 21 พฤษภาคม 2554 ที่ดอยไตแลง ชายแดนไทย-พม่า ด้านตรงข้าม จ.แม่ฮ่องสอน ล่าสุดสำนักข่าวฉานรายงานว่าทหารพม่าปะทะกับทหารกองทัพรัฐฉานหลายพื้นที่ในรัฐฉาน ทั้งนี้นับตั้งแต่กองทัพรัฐฉานและกองทัพพม่าหยุดยิงในเดือนธันวาคม 2554 เกิดการปะทะระหว่างทั้ง 2 ฝ่ายมาแล้วกว่า 30 ครั้ง (ที่มาของภาพ: ประชาไท/แฟ้มภาพ) รายงานข่าวจากในรัฐฉานแจ้งว่า เมื่อวันที่ 7 ก.ย. ที่ผ่านมา ทหารกองทัพพม่าได้บุกโจมตีฐานที่มั่นแห่งหนึ่งของกองกำลังไทใหญ่ SSA กลุ่มของพล.ท.เจ้ายอดศึก ตรงบริเวณบ้านซาตอ ต.โต่งลาว อ.เมืองกึ๋ง จ.ดอยแหลม รัฐฉานตอนใต้ ส่งผลให้สองฝ่ายเกิดการสู้รบกันอย่างหนักนานเกือบครึ่งวัน โดยเริ่มตั้งแต่ก่อนเที่ยงวัน ผลฝ่ายทหารพม่าซึ่งเป็นฝ่ายบุกเข้าโจมตีเสียชีวิต 10 นาย บาดเจ็บกว่า 30 นาย ขณะที่ฝ่ายทหารไทใหญ่ SSA ซึ่งเป็นฝ่ายตั้งรับมีการสูญเสียจำนวนหนึ่งและสามารถยึดอาวุธปืนกลของทหารพม่าได้ 1 กระบอก กระสุนกว่า 600 นัด ปืนประจำกาย MA อีก 1 กระบอก พร้อมด้วยสัมภาระและเครื่องกระสุนปืนอีกหลายรายการ เจ้าหน้าที่ SSA ปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่เปิดเผยว่า ก่อนหน้ารัฐบาลพม่าและกองกำลังไทใหญ่ SSA ยังไม่ลงนามหยุดยิง ทหาร SSA ที่เคลื่อนไหวในพื้นที่ไม่ได้ตั้งฐานอยู่เป็นที่ หลังจากหยุดยิงกันก็ได้มีการตั้งฐานเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยของทหาร แต่หลังจากมีการตั้งฐานแล้วทางกองทัพพม่าได้เข้าโจมตีทำให้สองฝ่ายเกิดการสู้รบกันอย่างต่อเนื่อง การสู้รบเกิดจากการโจมตีจากฝ่ายทหารพม่าก่อนทุกครั้ง และมีแนวโน้มที่ทหารพม่าจะบุกโจมตีฐานที่มั่นของ SSA ทุกแห่งที่สร้างขึ้นหลังการลงนามหยุดยิง ซึ่งถ้าดูจากการกระทำของทหารพม่าแล้วแสดงให้เห็นว่าเขาไม่ต้องการสันติภาพที่แท้จริง มีรายงานอีกว่า ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมายังได้เกิดสู้รบระหว่างทหารพม่ากับกองกำลังไทใหญ่ SSA อีกหลายจุด เมื่อวันที่ 5 ก.ย. ได้เกิดการสู้รบกันในเขตพื่นที่เมืองปูหลวง อ.เมืองเป็ง ภาคตะวันออกรัฐฉาน โดยทหารพม่าสังกัดกองพันทหารราบเบาที่ 360 ประจำเมืองเป็ง กำลังพลราว 65 นาย นำโดย พ.ต.โจเต่ยะ เข้าโจมตีฐานทหารกองกำลังไทใหญ่ SSA ผลจากการสู้รบฝ่ายทหารพม่าเสียชีวิต 2 นาย บาดเจ็บ 3 นาย ส่วนฝ่าย SSA ไม่มีรายงานการสูญเสีย นอกจากนี้ ล่าสุดเมื่อวันที่ 8 ก.ย. ที่ผ่านมา ทหารพม่าไม่ทราบสังกัด ได้โจมตีทหารกองกำลังไทใหญ่ SSA ขณะลาดตระเวนในพื้นที่เมืองหมอกใหม่ จ.ลางเครือ ในรัฐฉานตอนใต้ แต่ไม่ทราบผลการสูญเสียทั้งสองฝ่าย ขณะเดียวกันมีงานด้วยว่าในพื้นที่เมืองแสนหวี ในรัฐฉานภาคเหนือ ก็เกิดการสู้รบระหว่างทหารพม่าและทหารไทใหญ่ SSA เช่นเดียวกัน ด้าน พ.ต.หลาวแสง โฆษกกองกำลังไทใหญ่ SSA กล่าวว่า เหตุการณ์สู้รบของฝ่ายที่เกิดขึ้นต่อเนื่องเกิดจากทหารพม่าไม่ปฏิบัติตามสัญญาหยุดยิง จะออกลาดตระเวนไม่มีการแจ้งล่วงหน้า ฝ่าย SSA เมื่อเห็นทหารพม่ามีอาวุธปืนเข้าไปหาก็จำเป็นต้องโต้ตอบ ตอนนี้สองฝ่ายลงนามหยุดยิงกันแล้ว แต่หากทหารพม่ายังไม่หยุดการโจมตี การสู้รบสองฝ่ายก็จะดำเนินต่อไป ทหารสองฝ่ายมีปืนเมื่อนำปืนเข้าหากันก็ต้องยิงกัน ทั้งนี้ นับตั้งแต่กองทัพรัฐฉาน หรือ กองกำลังไทใหญ่ SSA ภายใต้การนำของ พล.ท.เจ้ายอดศึก ลงนามหยุดยิงกับรัฐบาลพม่าเมื่อ 2 ธ.ค. 54 ทหารสองฝ่ายได้เกิดการสู้รบกันต่อเนื่องในหลายพื้นที่ของรัฐฉาน จนถึงขณะนี้สองฝ่ายเกิดการสู้รบกันแล้วไม่ต่ำกว่า 30 ครั้ง
ชมภาพ / อ่านข่าวย้อนหลังได้ที่ "คนเครือไท" เป็นศูนย์ข่าวภาคภาษาไทยเครือข่ายสำนักข่าวฉาน (SHAN – Shan Herald Agency for News) สำนักข่าวอิสระของไทยใหญ่ มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารจากเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในรัฐฉาน สหภาพพม่า และตามแนวชายแดนไทย ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับองค์กรการเมือง / การทหารกลุ่มใด สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ shan_th@cm.ksc.co.th หรือ ติดตามอ่านข่าวสารภาคภาษาอังกฤษได้ที่ www.shanland.org ภาคภาษาไทใหญ่ที่ www.mongloi.org และภาคภาษาไทยที่ www.khonkhurtai.org ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
นักการเมืองแนะรัฐยก ‘นาทวี’ เป็นจังหวัดใหม่ชายแดนใต้ Posted: 10 Sep 2012 07:00 AM PDT เวทีนักเมืองชายแดนใต้ แนะรัฐตั้งยกฐานะ ‘นาทวี’ ตั้งเป็นจังหวัด รวม 4 อำเภอชายแดนของสงขลา จี้ ปปง.สอบให้ชัดโรงเรียนศาสนาไหนให้เงินหนุนก่อการร้าย ติงอย่าสร้างบรรยากาศให้ระแวง เสนอรัฐตั้งเกณฑ์ซื้อที่ชายแดนใต้ เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 10 กันยายน 2555 ที่ห้องปาหนัน โรงแรมปาร์ควิว อ.เมือง จ.ยะลา สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล จัดสานเสวนาเพื่อแลกเปลี่ยนปัญหาและทางออกระหว่างนักการเมืองชายแดนภาคใต้ ครั้งที่ 8 เพื่อเดินหน้าสู่สันติสุขที่มั่นคง มีนักการเมืองจากพรรคต่างๆ ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เข้าร่วม 5 คน ได้แก่ นายเด่น โต๊ะมีนา นายนัจมูดดิน อูมา อดีตผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) พรรคมาตุภูมิ นายประเสริฐ พงษ์สุวรรณศิริ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ เป็นต้น จากนั้นเวลา 13.00 น. นายเด่น พร้อมกับนายประเสริฐ เป็นตัวแทนแถลงข้อสรุปจากการสานเสวนา ซึ่งมี 3 ประเด็น ได้แก่ 1.เสนอให้ยกฐานะอำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา เป็นจังหวัดนาทวี โดยรวมอำเภอจะนะ อำเภอเทพา อำเภอสะบ้าย้อย และอำเภอนาทวี ของจังหวัดสงขลา รวมเป็นจังหวัดนาทวี เนื่องจากปัจจุบันอำเภอนาทวี หน่วยงานราชการระดับจังหวัดรองรับอยู่แล้ว เช่น ศาลจังหวัดนาทวี สำนักงานอัยการจังหวัดนาทวี สำนักงานขนส่งจังหวัดนาทวี ราชทัณฑ์จังหวัดนาทวี เป็นต้น 2.เสนอให้สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ตรวจสอบข้อเท็จจริงและสืบสวนเป็นเฉพาะรายสำหรับโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดชายแดนภาคใต้ หากตรวจสอบพบว่านำเงินไปใช้ที่ผิดกฎหมาย “การที่ปปง. แถลงข่าวว่าโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามนำเงินไปใช้ในการก่อการร้ายนั้นจะทำให้เกิดบรรยากาศหวาดระแวงมากว่าที่ทำให้บรรยากาศที่ดี เพราะโรงเรียนเอกสอนศาสนาอิสลามในพื้นที่ส่วนใหญ่ได้รับเงินบริจาคจากทั้งในและต่างประเทศมาใช้ในประโยชน์ในการศึกษา และเกรงว่าจะถูกเพ่งเล็งทั้งๆ ที่ดำเนินงานอย่างถูกต้อง” นายเด่น แถลง ก่อนหน้านี้ พ.ต.อ.สีหนาท ประยูรรัตน์ เลขาธิการ ปปง.เปิดแถลงข่าวในประเด็นดังกล่าว เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2555 ที่สำนักงาน ปปง. กรณี คณะกรรมการ ปปง.มีมติยึดทรัพย์นายอุเซ็ง ปุโรง เจ้าของโรงเรียนอิสลามบูรพา จังหวัดนราธิวาส กับพวก รวม 3 รายการ มูลค่ากว่า 3 ล้านบาท และให้อัยการส่งฟ้องศาล พร้อมกับแถลงว่า กำลังจับตาโรงเรียนปอเนาะและโรงเรียนสอนศาสนา 2-3 แห่ง นำเงินมาใช้ผิดประเภท โดยสนับสนุนกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรง 3.ตามที่รัฐบาลตั้งงบประมาณ 1,200 ล้านบาท สำหรับซื้อและจำนองที่ดิน เพื่อแก้ปัญหาการกว้านซื้อที่ดินในจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น ที่ประชุมเห็นว่า การรับซื้อที่ดินควรมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน เช่น พยายามไม่ให้คนอพยพย้ายถิ่นฐานออกจากพื้นที่ ให้ประชาชนได้รับราคาขายที่ดินที่เป็นธรรม เป็นต้น อีกทั้งรัฐบาลควรตั้งเกณฑ์ที่รัดกุมในการรับซื้อที่ดิน โดยไม่เลือกปฏิบัติทั้งด้านเชื้อชาติและศาสนา อนึ่ง รัฐบาลควรตั้งงบประมาณเพื่อการนี้ให้เพียงพอ
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
หลากความเห็น Pat(t)ani Peace Process เมื่อ ‘คนใน’ ต้องเป็น ‘ตัวกลาง’ สร้างสันติภาพ Posted: 10 Sep 2012 06:52 AM PDT แม้การสนทนาพิเศษ "กระบวนการสันติภาพปาตานีในบริบทอาเซียน" ll Session 9: Special Discussion “Pat(t)ani Peace Process in ASEAN Context” ในการประชุมวิชาการนานาชาติรัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ และสันติศึกษาในบริบทอาเซียน ผ่านไปแล้วหลายวัน ทว่าแรงกระเพื่อมจากงานนี้ ใช่ว่าจะหมดลง เมื่อคนที่อาจเรียกได้ว่าเป็น “คนใน” ต่างออกมาแสดงความเห็นต่อ “พื้นที่กลาง” อันเป็นประเด็นหัวใจของงาน ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2555 ที่ศูนย์ประชุมนานาชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เป็นการแสดงความเห็นในฐานะที่พวกเขาอาจจะต้องออกมาแสดงบทบาทนำในการเป็นตัวกลางที่เป็นคนใน ในการสร้างสันติภาพให้เกิดขึ้นในจังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่ละคนมองกระบวนการนี้อย่างไร พวกเขาคาดหวังกับมันอย่างไร เสียงจากฝ่ายรัฐ “ทุกคนคือพลัง” “แต่การพูดคุยเพื่อสันติภาพนั้น จะมีผลมากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับผู้ปฏิบัติในเชิงนโยบายและเชิงพื้นที่ด้วย” ขณะที่ทหารระดับสูงนายหนึ่ง ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มองว่า ในกระบวนการสันติภาพปาตานี จะทำอย่างไรที่จะนำผู้แสดงทุกภาคส่วนมานั่งคุย ทำความเข้าใจกัน ไม่จำเป็นต้องเป็นคู่ขัดแย้งเสมอไป ทั้งเด็ก ครู โต๊ะอิหม่าม อุสตาซ (ครูสอนศาสนาอิสลาม) พ่อค้า แม่ค้า และทุกคนยอมรับในแนวทางนี้ “ที่สำคัญ Peace Process จะไม่เกิดขึ้นได้เลย ถ้าคนที่ได้รับกระทบจากความไม่สงบไม่ออกมาพูดเอง” นายทหารคนเดิม ระบุ พร้อมกับเสริมว่า Peace Process คือ ทุกคนต้องมารวมพลังกัน ซึ่งแน่นอนว่าคู่ขัดแย้งยังไม่เข้ามาร่วม จึงต้องนำคนที่อยู่แวดล้อมของความขัดแย้งมาคุยกันก่อน จากนั้นก็จะค่อยๆ ดึงเข้ามา นายทหารคนนี้ ให้แง่คิดว่า จะทำอย่างไรที่จะนำความสวยงามให้ไปอยู่ในทีเดียวกับความขัดแย้ง ถ้ายังแยกกันอยู่มันก็ยากที่จะได้มาพูดกัน หลายคนบอกว่า ทหารมาเพื่อให้เกิดความสงบ แต่อีกมุมหนึ่งบอกว่า ทหารมาสร้างความขัดแย้ง ทั้งที่ทหารพยายามที่จะทำทุกอย่างให้ดีขึ้น “ผมเป็นคนอีสาน เห็นคนชายแดนใต้มีความเป็นพี่น้องกันมีมาก พี่น้องต้องลุกขึ้นมาแสดงให้เห็นว่า ผลกระทบจากความไม่สงบเกิดขึ้นกับพวกเราอย่างไร และไม่มีใครที่จะทำให้เกิดสันติภาพได้ นอกจากพวกเราเอง ซึ่งจะใช้เวลานานแค่ไหน ก็อยู่ที่พวกเราเองนั่นแหละ” ทหารคนนี้ บอกว่า พลังในการแก้ปัญหาอยู่ที่คนในพื้นที่ที่จะต้องมาช่วยกัน คนนอกเป็นเพียงผู้จัดกระบวนการเริ่มต้นเท่านั้น แต่พลังมาจากภายใน เช่น ให้กลุ่มนักศึกษาในพื้นที่ขึ้นมามีบทบาทนำและต้องมีกระบวนการอะไรบ้าง เป็นต้น “เส้นทางนี้ยังอีกยาวนานกว่าจะได้สันติภาพ เพราะเป็นปัญหาที่มาจากความรู้สึกที่สะสมมายาวนาน นานเกินกว่าที่จะบอกได้ว่า ก้าวไปเพียงสามก้าวแล้วจะสำเร็จ เพราะฉะนั้นทุกคนต้องอดทน เพราะมันไม่มีทางลัดที่จะนำไปสู่สันติภาพได้เร็วๆ” นโยบายแบบ Top Down แก้ปัญหาไม่ได้ “ที่ผ่านมาการแก้ปัญหา ไม่ว่าจะเป็นด้านรัฐศาสตร์ ด้านวิชาการหรือแม้แต่การระดมความคิดเห็นต่างๆ ส่วนใหญ่มักจะเป็นการมองแบบ Top Down หรือมองจากส่วนอำนาจข้างบนลงมาข้างล่าง จากนั้นมีการออกนโยบายลงมาให้ข้างล่างขับเคลื่อนไปตามที่ผู้บังคับบัญชามอง แต่หากมีเสียงจากข้างล่างสะท้อนขึ้นไป โดยเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมในการสะท้อนความเห็นและความต้องการ อาจจะทำให้คนที่อยู่ข้างบนมองเห็นปัญหาที่ยังมองไม่เห็นหรือปัญหาที่ถูกปิดบังไว้ ก็อาจจะทำให้มีการแก้ปัญหาได้ดีขึ้น แต่จะแก้ปัญหาได้มากน้อยแค่ไหนนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ทว่า วิธีการนี้น่าจะนำไปสู่ความสำเร็จได้มากกว่า ซึ่งปัจจุบัน อำนาจการตัดสินใจส่วนมากอยู่ที่ประชาชน” ร.ต.ท.นิยม บอกว่า จากนั้นเป็นหน้าที่ของผู้เข้าร่วมพูดคุยที่จะต้องติดตามว่า ข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอต่างๆ มีใครนำไปปฏิบัติบ้าง แต่ที่ผ่านมาหลายเวทีไม่ค่อยถูกนำไปปฏิบัติเท่าที่ควร ดังนั้นหากเราต้องการให้ข้อเสนอถูกนำไปปฏิบัติได้ ก็ต้องดูว่าข้อเสนอตรงกับสิ่งที่รัฐบาลต้องการหรือไม่ หรือสอดคล้องกับความต้องการของหน่วยงานอื่นใดบ้าง หรือหากรัฐมีแนวคิดหรือวัตถุประสงค์ไม่ตรงตามผู้เข้าร่วม ต่อให้จัดอีกกี่เวทีก็ไม่อยากมีใครเข้าร่วมอีก คาดว่าในประเด็น 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น น่าจะต้องใช้เวลาอีกนาน กว่าที่ความต้องการในระดับนโยบายกับความต้องการของคนส่วนใหญ่ในพื้นที่จะเห็นตรงกัน ทางออกที่แท้จริงจะปรากฏเมื่อทุกคนมาแชร์ ในการอธิบายกระบวนการสันติภาพปัตตานีดังกล่าว ได้สะท้อนให้เห็นว่า ที่ผ่านมากระบวนการเปิดพื้นที่ให้มีการพูดคุยของผู้คน ไม่ว่าจะอยู่ไกลจากพื้นที่หรืออยู่ใกล้หรืออยู่ในพื้นที่ต่อสถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้มันมีน้อยมาก ดังนั้นการเกิดขึ้นของ Pat(t)ani Peace Process จึงมาถูกทางแล้ว “Pat(t)ani Peace Process ไม่ใช่คุยเรื่องเจรจาสันติภาพ ไม่ใช่การเจรจาเรื่องความรุนแรง แต่เป็นการนั่งคุยกันในทุกเรื่อง เป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างกว้างขวาง” นายแพทย์สุภัทร มองอีกว่า ภาครัฐ เช่น ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) หากเห็นว่ากระบวนการนี้สำคัญก็ต้องมาสร้างบรรยากาศและส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่รัฐหรือข้าราชการในพื้นที่มารับรู้เรื่องราวและความเป็นไปของกระบวนการนี้ด้วย เช่น ตำรวจ ทหารควรมาร่วมเวทีในครั้งนี้ด้วย เพราะพวกเขาอาจมีโอกาสได้ร่วมพูดคุยกันน้อย ซึ่งต่างจากภาคประชาสังคมที่มีการคุยกันมากพอสมควร แต่ขณะเดียวกัน การเชื่อมเครือข่ายระหว่างแต่ละภาคส่วน เช่น ภาคประชาสังคมกับภาครัฐ ก็ยังไม่ถูกจัดขึ้นในกระบวนการนี้ อย่างไรก็ตาม นายแพทย์สุภัทร ก็มองว่า ไม่ควรคาดหวังว่ากระบวนการนี้จะเกิดผลอย่างเร็ว เนื่องจากเป็นเรื่องที่ยากและต้องใช้เวลา ไม่ควรกำหนดว่าจะให้สำเร็จภายในเวลา 10 ปี หรือในการพูดคุยเพียง 10 ครั้ง “ไม่สามารถบอกได้ว่าผลลัพธ์ของกระบวนการนี้จะเป็นไปในแนวทางไหน เพราะแต่ละคนมีทางออกที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งทุกทางออกไม่ใช่ทางออกที่แท้จริง เป็นเพียงทางออกในโลกทัศน์ของเราอันจำกัด แต่เมื่อมีการแลกเปลี่ยนกัน ทางออกที่จริงกว่าก็จะออกมา” ตัวอย่างเช่น วันนี้มีข้อเสนอให้มีเขตปกครองตนเอง ซึ่งอาจเป็นทางออก ณ วันนี้ ส่วนจะทำได้จริงหรือไม่นั้นยังไม่ทราบ แต่แน่นอนว่าการให้เสรีภาพ ให้อำนาจในการดูแลตนเองนั้นเป็นสิ่งสำคัญ แต่แค่ไหนยังไม่มีใครตอบได้ ซึ่งการพูดคุยจะนำมาซึ่งคำตอบนั่นเอง” นายแพทย์สุภัทร ทิ้งท้ายว่า เห็นด้วยกับ Pat(t)ani Peace Process อย่างยิ่ง เพราะการจะใช้มาซึ่งสันติภาพนั้น จะต้องทำเป็นกระบวนการ ไม่มีใครสั่งใครและสั่งกันไม่ได้ แต่ต้องช่วยกันทำ และมีสิ่งที่ต้องทำอีกมาก โดยเฉพาะด้านการสื่อสารทั้งกับคนทั่วไปและกับภาครัฐ ต้องส่งสัญญาณว่าทางออกมีหลายทาง “เห็นด้วยกับ Pat(t)ani Peace Process เพราะน่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุดที่จะช่วยลดความรุนแรง ลดการใช้อาวุธ ลดการใช้เงิน ลดความตรึงเครียด ลดความแตกแยก ขณะเดียวกัน รัฐต้องยกเลิกกฎหมายพิเศษที่ใช้ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ทั้งหมด และต้องพัฒนากระบวนการประชาธิปไตยให้เต็มรูปแบบขึ้นในพื้นที่ด้วย เพราะถ้าไม่ทำอย่างนั้นก็ไม่มีอย่างอื่นแล้วที่จะแก้ปัญหาได้” “สันติภาพไม่ได้ผูกขาดอยู่กับรัฐ-ขบวนการ” “ปัจจุบันคู่ขัดแย้งของรัฐไม่ประกาศตัวชัดเจนอย่างที่เป็นมา จึงทำยิ่งแก้ปัญหาไม่ได้ เพราะฉะนั้นกระบวนการสันติภาพนี้ จึงไม่ควรผูกขาดอยู่กับคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ต้องเปิดพื้นที่ให้คนอื่นๆ เข้ามามีส่วนร่วมด้วย เป็นแนวทางเดียวเท่านั้นที่นำไปสู่สันติภาพได้ ตนอยากให้กระบวนการนี้เป็นกระบวนการดึงคนเข้ามาพูดคุยให้มากที่สุด” พลังสันติภาพอยู่ที่ประชาชนตรงกลาง “ยิ่งคนที่อยู่ตรงกลางยิ่งต้องสื่อสารให้เยอะ เราต้องปลุกคนที่ไม่ชอบความรุนแรง ออกมาสื่อสารในการสร้างสันติภาพในพื้นที่ เนื่องจากทุกคนต้องการสันติภาพ และสันติภาพจะเกิดขึ้นไม่ได้เลย หากคนในพื้นที่อยู่เฉยๆ การอยู่เฉยเท่ากับยอมจำนน” นางอัสรา เล่าด้วยว่า ที่ผ่านมาเครือข่ายผู้หญิงภาคประชาสังคมชายแดนใต้เพื่อสันติภาพ พยายามสื่อสารให้เกิดสันติภาพขึ้นในพื้นที่ ผ่านผู้หญิงที่เป็นแม่ที่สูญเสียลูกหรือสามีจากเหตุไม่สงบ ท่ามกลางความไม่สงบผู้หญิงเหล่านี้ต้องพบเจอวิกฤติอะไรบ้าง และการก้าวข้ามความยากลำบากเหล่านั้นได้อย่างไร นางอัสรา มองว่า ความพยายามในการสร้างสันติภาพของเครือข่ายผู้หญิง 2-3 ปีที่ผ่านมา ยังอาจไม่มีพลังมากพอ จึงขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายในพื้นที่มาร่วมกันสร้างสันติภาพให้กลับมาคืนมา เพราะความรุนแรงที่ดำเนินมา 9 ปี มีผู้เสียชีวิตไป 5,000 คนมันมากพอแล้ว “ส่วนจะกำหนดว่า สันติภาพควรมีลักษณะอย่างไรนั้น ทุกฝ่ายต้องมาร่วมกันพูดคุย ไม่เพียงเฉพาะคู่ขัดแย้งเท่านั้นที่จะคุยกัน ทั้งที่ประชาชนอยู่ตรงกลางระหว่างคู่ขัดแย้ง ดังนั้นสันติภาพจะเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อคนที่อยู่ตรงกลางลุกขึ้นมามีมีส่วนร่วมอย่างมีพลัง”
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
นักวาดการ์ตูนอินเดียถูกจับ เหตุภาพเขียนดูหมิ่นรัฐธรรมนูญ Posted: 10 Sep 2012 06:01 AM PDT อาซีม ทรีเวดี นักวาดการ์ตูนชาวอินเดียผู้ร่วมเคลื่อนไหวต่อต้านคอร์รัปชั่นกับอันนา ฮาซาเร ถูกจับกุมในข้อหาปลุกระดม โดยถูกกล่าวหาว่าหมิ่นรัฐธรรมนูญและธงชาติอินเดีย เมื่อวันที่ 10 ก.ย. 55 สำนักข่าวบีบีซีรายงานว่านักวาดการ์ตูนชาวอินเดีย อาซีม ทรีเวดี ถูกจับกุมในข้อหาปลุกระดมและกบฏ เนื่องจากภาพการ์ตูนที่เขาวาดถูกกล่าวหาว่าหมิ่นรัฐธรรมนูญและธงชาติอินเดีย ทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์และไม่พอใจอย่างกว้างขวางในสังคมอินเดีย การจับกุมดังกล่าว เกิดขึ้นหลังจากที่ทนายความจากเมืองมุมไบฟ้องตำรวจ โดยกล่าวหาว่า ทรีเวดีวาดการ์ตูนที่ต่อต้านประเทศชาติ โดยหากทรีเวดีถูกตัดสินว่ามีความผิดจริงในข้อหาปลุกระดม เขาอาจถูกจำคุกสูงสุด 3 ปี ทรีเวดี นักวาดการ์ตูนที่มีส่วนร่วมในการเคลื่อนไหวเพื่อต่อต้านการคอร์รัปชั่นของรัฐบาลอินเดียร่วมกับอันนา ฮาซาเร ขึ้นศาล ณ เมืองมุมไบในวันนี้ (10 ก.ย.) และถูกคุมขังจนถึงวันที่ 24 ก.ย. 55 โดยทรีเวดีเรียกร้องให้รัฐบาลยกฟ้องข้อกล่าวหาที่มีต่อเขาโดยทันที อย่างไรก็ตาม เขายังไม่ได้ตัดสินใจขอยื่นประกันตัว มาร์คานเดย์ คัทจู ประธานสภาสื่อมวลชนแห่งอินเดีย และอดีตผู้พิพากษาศาลฎีกา ให้สัมภาษณ์กับนสพ.เดอะ ฮินดูว่า สิ่งที่นักวาดการ์ตูนได้กระทำลงไป มิใช่ความผิดแม้แต่น้อย และการจับกุมเขาต่างหากที่เป็นเรื่องผิดกฎหมาย "การจับกุมที่ไม่ถูกต้อง เป็นอาชญากรรมตามกฎหมายอาญาของอินเดีย และคนที่จับกุมเขาต่างหาก ที่ควรจะถูกจับกุม" คัทจูกล่าว ราจดีจ ซาร์เดสาย นักข่าวอาวุโสของสถานีโทรทัศน์ CNN-IBN กล่าวว่า เป็นเรื่องที่น่าขัน ในขณะเดียวกันก็อันตรายมาก ที่ผู้คนสามารถใช้คำพูดที่เกลียดชัง (เฮตสปีช) กันได้อย่างปกติ แต่การล้อเลียนและการเสียดสีทางการเมือง กลับนำไปสู่การจับกุมโดยทันที ก่อนหน้านี้ มีการจับกุมนักวาดการ์ตูนในอินเดียแล้วหลายกรณีจากภาพวาดการ์ตูนที่ถูกมองว่าผิดกฎหมาย โดยเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ตำรวจอินเดียได้จับกุมศาสตราจารย์คนหนึ่งในเมืองกัลกัตต้า เนื่องจากถูกกล่าวหาว่าโพสต์ภาพวาดการ์ตูนที่ล้อเลียนผู้ว่าการรัฐเบงกอลตะวันตกบนอินเทอร์เน็ต แต่เขาได้รับการปล่อยตัวในเวลาถัดมา
ที่มา: แปลและเรียบเรียงจาก India cartoonist Aseem Trivedi's arrest sparks outrage ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
'สมาคมผู้ปกครองเคนยา' เล็งขอศาลสั่งเลื่อนสอบ หากครูยังหยุดงานประท้วง Posted: 10 Sep 2012 04:36 AM PDT เข้าสู่อาทิตย์ที่ 2 ของการหยุดงานประท้วงของครูในเคนยาเพื่อเรียกร้องให้ขึ้นค่าจ้าง ด้านผู้ปกครองเล็งขอคำสั่งศาลเลื่อนการสอบระดับชาติซึ่งจะมีขึ้นเร็วๆ นี้ หากการเจรจารัฐ-ครูยังไม่ยุติ ภายใน 2 สัปดาห์
(10 ก.ย.55) การหยุดงานประท้วงของครูประถม-มัธยมในเคนยาเพื่อเรียกร้องให้ขึ้นเงินเดือนและเบี้ยเลี้ยง ตามที่เคยมีการตกลงกันไว้กับรัฐบาลเมื่อปี 2540 ยังดำเนินต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 3 ก.ย.เป็นต้นมา ท่ามกลางกระแสกดดันจากรัฐบาลโดยอ้างสิทธิในการได้รับการศึกษาของเด็กตามรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ ในเคนยา กำลังจะมีการสอบระดับชาติของนักเรียนประถมและมัธยม ในอีกราว 2 เดือนข้างหน้า ด้านศาลแรงงานเคนยาขยายเวลาคำสั่งห้ามนัดหยุดงานออกไปอย่างไม่มีกำหนด และเรียกร้องให้ครูเข้าร่วมหารือเพื่อยุติภาวะชะงักงันดังกล่าว เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (7 ก.ย.) โดยคณะกรรมการพนักงานครูของรัฐร้องต่อศาลให้ขยายคำสั่งว่าการนัดหยุดงานของสหภาพครูนั้นผิดกฎหมาย เพราะยังไม่เคยมีการเปิดโอกาสให้คณะกรรมการกำหนดค่าตอบแทนและเงินเดือนซึ่งตั้งขึ้นเพื่อทบทวนเงินเดือนสำหรับพนักงานรัฐได้ทำงาน รวมถึงระบุด้วยว่า เด็กทุกคนมีสิทธิได้รับการศึกษาตามรัฐธรรมนูญ และการนัดหยุดงานที่ยืดเยื้อนี้ละเมิดสิทธิดังกล่าว ขณะที่สหภาพครูยืนยันว่าได้แจ้งการนัดหยุดงานประท้วงล่วงหน้าตามที่ระบุไว้ในกฎหมายแรงงานสัมพันธ์แล้ว สมาคมผู้ปกครองแห่งชาติเคนยาประกาศเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาว่า จะขอให้ศาลมีคำสั่งเลื่อนการสอบนี้ออกไป หากรัฐบาลยังแก้ปัญหาดังกล่าวไม่ได้ใน 2 สัปดาห์ เนื่องจากมองว่าลูกๆ ของพวกเขายังไม่พร้อม และอยากฝากรัฐมนตรีศึกษาธิการผ่านไปยังรัฐบาลว่า ควรเร่งแก้ปัญหานัดหยุดงานโดยเร็ว ในการร้องขอดังกล่าวจะอ้างคำสั่งศาลเมื่อปี 2545 ซึ่งเหล่าผู้ปกครองได้เคยไปขอคำสั่งศาลหลังจากครูนัดหยุดงานแล้ว 28 วัน โดยคำสั่งศาลดังกล่าวระบุว่า ในอนาคต หากมีการนัดหยุดงานของครูในช่วงที่มีการสอบ ศาลจะใช้อำนาจสั่งหยุดการสอบ Wilson Sossion ประธานสหภาพครูแห่งชาติเคนยา บอกกับสื่อท้องถิ่นว่า รัฐบาลรับจะปรับเงินเดือนครูและค่าเบี้ยเลี้ยงบางส่วน อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่าการเจรจานาน 3 วันเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ยังไม่ได้บทสรุปที่น่าพอใจ การหยุดงานประท้วงจึงจะดำเนินต่อไปเป็นสัปดาห์ที่สอง อนึ่ง ข้อเรียกร้องของสหภาพครู ได้แก่ การเพิ่มค่าเบี้ยเลี้ยงตามที่ระบุไว้ในประกาศที่ 543 เมื่อปี 2540 อาทิ ค่าเช่าบ้าน 50% ค่ารักษาพยาบาล 30% ค่าเดินทาง 10% และค่าเบี้ยเลี้ยงสำหรับผู้ที่อยู่ในพื้นที่ที่ได้รับการประกาศเป็นพื้นที่ทุรกันดาร 30% รวมถึงขอให้เพิ่มเงินเดือนขึ้น 300% ด้วย
Kenya: Parents' Body Wants Exams Pushed Over Strike ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
ทวาย: “ไม่เห็นกระรอก อย่าเพิ่งโก่งหน้าไม้” Posted: 10 Sep 2012 03:13 AM PDT เรื่องการพัฒนาท่าเรือน้ำลึ ตามศักยภาพของท่าเรือน้ำลึ 1. โครงการสาธารณูปโภคที่ว่ 2. โครงการอีกโครงการหนึ่งก็คื 3. กรณีการตั้งนิคมอุ 4. กรณีราคาที่ดินที่พุ่งขึ้นสู 5. การพัฒนาหลักน่าจะอยู่ฝั่งพม่า อันได้แก่ บ่อนการพนัน โรงแรม รีสอร์ต ศูนย์การค้าปลอดภาษี ส่วนฝั่งไทยก็อาจเป็นตลาดสินค้ 6. ในกรณีที่พม่ามีท่าเรือน้ำลึก และมีนิคมอุตสาหกรรมมากมายนั้น เมื่อผลิตสินค้าเสร็จ ก็คงลงเรือไปขายยังต่างประเทศ ไม่จำเป็นต้องผ่านมาส่ 7. อย่างไรก็ตามในขณะนี้ ท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุ หากเทียบอนาคตของบ้านพุน้ำร้
............................ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
มรดกและความฝันแห่งอัมพวา-เยาวราช Posted: 10 Sep 2012 02:37 AM PDT ข้อสังเกตเบื้องต้น สำหรับการจัดการทรัพยากรทางวัฒนธรรมในระดับท้องถิ่น ชื่อบทความเดิม: มรดกและความฝันแห่งอัมพวา-เยาวราช : ข้อสังเกตเบื้องต้น สำหรับการจัดการทรัพยากรทางวัฒนธรรมในระดับท้องถิ่น
ในระยะหลังการตื่นตัวด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรทางวัฒนธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของเมืองเก่า (มรดกทางวัฒนธรรมเมืองและชุมชน) เกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง องค์กรส่วนท้องถิ่นเริ่มเข้ามามีบทบาทในความพยายามจะจัดการทรัพยากรทางวัฒนธรรมของตนเองมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มอาจารย์-นักวิชาการ นักอนุรักษ์ นักรณรงค์ พ่อค้า นักลงทุน นักการเมือง ชาวบ้านร้านตลาด รวมทั้งรัฐบาลท้องถิ่นเองก็ดี ทั้งหมดนั้นล้วนมีกระบวนทัศน์และมุมมองต่อสภาพปัญหาและศักยภาพในพื้นที่ที่ต่างกัน แต่ทุกคนล้วนแล้วแต่มีความต้องการใช้ทรัพยากรทางวัฒนธรรมที่มีอยู่อย่างจำกัดและไม่อาจทดแทนได้ด้วยกันทั้งนั้น ในวันที่เมืองเก่ามีความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว เนื้อของเมืองและอาคารที่เกิดขึ้นมาใหม่โตอย่างไร้ทิศทาง รวมทั้งการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสภาพทางกายภาพเพื่อรองรับการท่องเที่ยว โดยเป็นการเพิ่มประโยชน์ใช้สอยอาคาร (Adaptive reuse) เพื่อให้ตอบสนองสภาพทางเศรษฐกิจและวิถีชิวิตของสังคมร่วมสมัยมากขึ้น ในบางกรณีการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพที่มากเกินพอดี รวมทั้งที่อาจจะไม่เหมาะสมกับสภาพบริบทของพื้นที่ยังเป็นการลดทอนและทำลายคุณค่าของทรัพยากรทางวัฒนธรรมที่มีอยู่ และอย่างที่เลวร้ายที่สุดคือ มันจะไปเปลี่ยนแปลงวิถีชิวิตของผู้คน ซ้ำยังเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว รวมทั้งยังอาจจะขยายวงกว้างไปสู่ผู้คนในชุมชนด้วย คนหนุ่มสาวแทนที่จะเป็นผู้ประกอบการที่คอยเก็บเกี่ยวทรัพยากรที่มีอยู่มาใช้-มาขาย กลับต้องไปเป็นลูกจ้างหางานดีๆทำในเมืองเหลือทิ้งไว้แต่คนแก่กับเด็กน้อยคอยดูแลบ้านเก่าๆที่ไม่มีปัญญาซ่อมแซม ทำให้การใช้ชิวิตอยู่กับเมืองเก่าและสิงแวดล้อมสรรค์สร้างที่มีมาตั้งแต่ดั้งเดิมไม่ง่ายอีกต่อไป การอนุรักษ์เมืองเก่านั้นไม่ใช่การเก็บรักษาอาคารเก่าๆ ที่มีความงามทางประวัติศาสตร์หรือการรักษาวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมไว้ แต่เป็นกระบวนการบริหารจัดการและจัดสรรทรัพยากรทางวัฒนธรรมที่มีอยู่เอาไว้ให้คนในพื้นที่-ในชุมชนได้กินได้ใช้ต่อไปไม่มีวันหมด มีสุขภาวะที่ดี มีเมืองที่น่าอยู่ แน่นอนที่สุดว่าการเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เราไม่สามารถปฏิเศษความต้องการปัจจัยทางด้านเศรฐกิจในสังคมร่วมสมัยได้ แต่การที่จะรักษาความสมดุลขององค์ประกอบดังกล่าวก็ยังเป็นหัวใจสำคัญในการอนุรักษ์และจัดการทรัพยากรทางวัฒนธรรมอีกด้วย มีการพูดถึงระบบกฎหมายที่เข้ามาช่วยในการจัดสรรทรัพยากรทางวัฒนธรรมไม่ว่าจะเป็นกฎหมายผังเมืองที่มีการระบุและความคุมภาพรวมของเมืองอย่างกว้างๆ หรือแม้กระทั่งกฎหมายที่เป็นการควบคุมเพิ่มเติม (overlay control)ระดับรายละเอียดทางกายภาพขอเมืองไม่ว่าจะเป็นเทศบัญญัติหรือประกาศเขตพื้นที่ควบคุมสิ่งแวดล้อมศิลปกรรมที่สามารถออกได้โดยท้องถิ่นเองก็ตาม แต่ในหลายๆพื้นที่มีปัญหาในการจัดการโดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านกายภาพและภูมิทัศน์ของเมืองแม้ว่าจะมีการออกกฎหมายดังกล่าวไว้ด้วย เช่น การก่อสร้างอาคารใหม่ที่ไม่สอดคล้องกับบริบททางวัฒนธรรม องค์ประกอบที่มีคุณค่าไม่ได้รับความสำคัญจนถูกรื้อถอนทำลายรวมไปถึงความไม่เป็นระเบียบเรียบร้อยของป้ายสายไฟ สตรีทเฟอร์นิเจอร์ และการตกแต่งอาคาร สิ่งต่างๆเหล่านี้ล้วนแต่เป็นการทำลายคุณค่าของเมืองเก่าแทบทั้งสิ้นและที่สำคัญที่สุดคือกฎหมายต่างๆเหล่านั้นไม่สามารถรักษาวิถีชิวิตของผู้คนเอาไว้ได้เลย ซึ่งจะเห็นได้ว่าเพียงแค่เครื่องมือทางกฎหมายนั้นยังไม่เพียงพอและบางทีอาจจะไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหาที่ดีที่สุดในเวลานี้ก็เป็นได้ กรณีตลาดน้ำอัมพวาการขาดการบริหารจัดการกับปัญหาและความขัดแย้งที่เกิดขึ้น กรณีตัวอย่างการพัฒนาที่ไม่เหมาะสมที่ตลาดน้ำอัมพวาซึ่งเป็นตัวอย่างของการตั้งถิ่นฐานริมน้ำที่มีการอยู่อาศัยที่เกื้อกูลกันระหว่างวิถีชิวิตการค้าขายริมน้ำและขนัดสวนที่อยู่ด้านหลังอาคารบ้านเรือนริมน้ำรวมทั้งสภาพทางกายภาพเกี่ยวเนื่องอื่นๆ จึงถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้รองรับประโยชน์ดังกล่าว แม้ว่าในยุคที่ตลาดน้ำซบเซาลง ซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของการคมนาคมขนส่ง ผู้คนอาศัยการสัญจรทางบกเสียเป็นส่วนใหญ่ อาคารเรือนแถวริมน้ำดังกล่าวถูกเปลี่ยนประโยชน์ใช้สอยไปเป็นที่พักอาศัยแต่เพียงอย่างเดียวโดยไม่ได้ทำการค้าขายเป็นอันมาก สภาพเรือนแถวริมน้ำก็กลายเป็นห้องเช่าราคาถูกแต่ก็ยังพอรองรับความเป็นอยู่ของผู้คนได้ในระดับหนึ่ง จนกระทั่งวันหนึ่งอัมพวากลับมาเป็นตลาดน้ำที่มีชื่อเสียงอีกครั้ง แต่เรือนแถวริมน้ำดังกล่าวกลับกลายเป็นแค่ฉากในการท่องเที่ยว คุณค่าและความสำคัญไม่ได้ถูกขับเน้นออกมาให้สมกับศักยภาพที่มีอยู่ เนื้อหาสาระของการมีอยู่ของมันถูกรื้อถอดออกมา เหลือไว้แต่เพียงหน้ากากของอาคารที่ถูกแต่งแต้มกันตามสะดวก รวมทั้งประโยชน์ใช้สอยของอาคารก็ยังถูกแทนที่เข้าไปด้วยการใช้งานใหม่ๆ ที่ไม่ได้สะท้อนหรือเกื้อกูลกับทรัพยากรที่มีอยู่ในพื้นที่เลยแม้แต่น้อย แม้ว่ากระแสการอนุรักษ์และฟื้นฟูชุมชนได้ถูกปลุกขึ้นมาในพื้นที่ไม่ต่ำกว่า 10 ปี จากหลากหลายหน่วยงาน หนึ่งในนั้นคือการจัดทำแผนที่มรดกทางวัฒนธรรม ที่มีการระบุอาคารที่มีคุณค่าทางสถาปัตยกรรมที่เป็นตัวแทนของสิ่งแวดล้อมทางศิลปกรรมในพื้นที่ กลุ่มของอาคารเรือนแถวริมน้ำเป็นสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่มีคุณค่ามากพอที่จะเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีชีวิตสำหรับผู้คนในพื้นที่ รวมทั้งยังเป็นแหล่งทรัพยากรทางวัฒนธรรมที่ชาวบ้านชาวชุมชนจะสามารถเก็บเกี่ยวไว้ใช้ในอนาคตต่อไป แต่ก็ยังมีประเด็นการไล่รื้อ รวมทั้งดัดแปลงอาคารบ้านเรือนริมน้ำแบบดั้งเดิมที่แสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์-อัตลักษณ์ของพื้นที่ รวมทั้งมีการปรับเปลี่ยนภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรมทางน้ำให้มารองรับกับการคมนาคมทางบก ไม่ใช่แค่อาคารขนาดใหญ่มหึมาหน้าตาไม่คุ้นที่ปรากฎแก่สายตาผู้คนที่มาเยือนอาคารขนาดเล็กหรือขนาดกลางที่สร้างขึ้นมาใหม่ ล้วนแล้วแต่สร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับวิถีชิวิตของคนในชุมชนแห่งนี้ เส้นขอบฟ้าที่เคยประกอบด้วยสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติอันสมบูรณ์อย่างยอดมะพร้าว ยอดส้มโอ ถูกแทนที่ด้วยอาคารคอนกรีตสูงข่มคุณค่าและความน่ารื่นรมณ์ของสภาพภูมิทัศน์ จนแทบจะไม่เหลือภาพเมืองน่าอยู่เหมือนแต่ก่อนแทนที่ชาวบ้านร้านตลาดจะได้ร่วมไม้ร่วมมือกันบริหารจัดการกับภัยที่กำลังจะคุกคามวิถีชิวิตที่เป็นอยู่ กลับมีผลประโยชน์ทับซ้อน จนเกิดอาการกลืนไม่เข้าคายไม่ออก ทำให้ประเด็นที่จะรักษาคุณค่าของทรัพยากรทางวัฒนธรรมที่นี่มีความหมากหลายและซับซ้อนมากขึ้นอย่างน้อยที่สุดในการจัดการพื้นที่ก็น่าจะประกอบด้วยความเป็นมาตรฐานและการจัดสรรผลประโยชน์ของชุมชนเป็นหลัก สภาพกายภาพของภูมิทัศน์เมืองอัมพวาที่เปลี่ยนไป อาคารน้อยใหญ่หน้าตาประหลาด รวมทั้งการเลือกใช้สีสันและวัสดุอาคารที่ไม่ช่วยส่งเสริมภูมิทัศน์ที่มีคุณค่าของเมืองโดยรวม เส้นขอบฟ้าที่เคยเต็มไปด้วยทิวไม้ในอดีตแทบจะไม่เหลือให้เห็น
กรณีเยาวราชแม้แต่ใจกลางกรุงเทพมหานครเองอย่างย่านเยาวราช ศูนย์กลางทางเศรษฐกิจที่สำคัญอีกทั้งยังเป็นตัวอย่างของการอยู่อาศัยและเป็นตัวแทนของการใช้ชีวิตของหลากหลายวัฒนธรรม พื้นที่แห่งนี้ก็กำลังเผชิญหน้ากับการพัฒนาเมืองอย่างรวดเร็ว หลายๆหย่อมย่านย่อยๆของเยาวราชที่มีความสำคัญในแง่ของการเป็นพื้นที่ทางประวัติศาสตร์กำลังมีประเด็นไล่รื้อเพื่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจเพื่อรองรับการเข้ามาของการคมนาคมขนส่งในรูปแบบใหม่รถไฟฟ้าใต้ดินสายสีน้ำเงินที่กำลังจะพลิกโฉมทั้งเยาวราชและเจริญกรุงให้สภาพเศรษฐกิจของย่านกลับเติบโตอย่างก้าวกระโดดอีกครั้งโดยมีสถานีวัดมังกรซึ่งอยู่แทบจะกึ่งกลางของพื้นที่ ทำหน้าที่เป็นจุดกระจายและขนถ่ายผู้คนจากหลายๆพื้นที่ที่ต่อไปจะต้องเชื่อมต่อกับโครงข่ายการคมนาคมขนส่งระดับชาติอย่างรถไปความเร็วสูงในอนาคต ความท้าทายใหม่ๆเหล่านี้นำพาโอกาสอันดีมาให้ผู้คนที่มีส่วนได้เสียในพื้นที่ แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นการนำพาเศรษฐกิจแบบทุนนิยมสมัยใหม่เข้าไปปะทะกับเศรษฐกิจชุมชนร่วมสมัยที่อาศัยความเป็นหย่อมย่านในการค้าโดยตรง เยาวราชในวันนี้กำลังเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ โดยมีความเป็นอยู่ของหย่อมย่านเป็นเดิมพัน
แม้ว่าสภาพทางกายภาพในพื้นที่เองแล้วไม่ได้มีศักยภาพมากพอในการที่จะถูกขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานก็ตาม แต่ใน แง่ของการอยู่อาศัยรวมทั้งวิถีชีวิตรุ่นต่อรุ่นที่เป็นเครื่องหล่อเลี้ยงและสร้างสรรค์ทรัพยากรทางวัฒนธรรมทำให้เกิดเป็นหย่อมย่านที่มีความมีลักษณะพิเศษเฉพาะตัว (Sense of Place)ซึ่งเป็นตัวแทนของสภาพเศรษฐกิจร่วมสมัย สิ่งต่างๆเหล่านี้เองที่ทำให้เยาวราชเป็นเยาวราช การเจรจาต่อรองถูกเริ่มต้นและจบลงไม่รู้กี่ครั้ง คุณค่าและเนื้อหาเมืองกลับกลายเป็นว่าต้องตั้งอยู่บนฐานของความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจแต่เพียงอย่างเดียว แล้วประเด็นเรื่องการจัดการทรัพยากรทางวัฒนธรรม วิถีชิวิต ผู้คน และความเป็นหย่อมย่านเป็นชุมชน ใครเล่าเขาจะดูแล ก้าวต่อไปของการจัดการทรัพยากรทางวัฒนธรรมในระดับท้องถิ่นในบางพื้นที่ที่มีความเข้มข้นของทรัพยากรทางวัฒนธรรมสูงแต่ก็ยังสามารถบริหารจัดการสภาพทางกายภาพ วิถีชีวิตและเศรษฐกิจชุมชนได้อยู่ไม่ว่าจะเป็นในกรณีของจังหวัดลำปางหรือที่อำเภอเชียงคานเอง ซึ่งจะมีองค์กรหรือกลุ่มบุคคลที่เข้ามาประสานประโยชน์ระหว่างกลุ่มต่างๆ เพื่อการบริหารจัดการและจัดสรรทรัพยากรทางวัฒนธรรมที่มีอยู่ แต่นั่นก็เป็นการเกิดขึ้นโดยความพยายามของปัจเจกบุคคลไม่ได้เกิดขึ้นมาจากระบบของการบริหารจัดการแต่ประการใด ในความเป็นจริงจะพบว่าไม่ง่ายเลยสำหรับการที่จะอธิบายถึงกระบวนทัศน์หลายเรื่องหลากแง่มุมที่ต้องให้คิดคำนึงถึงพร้อมๆกัน ไม่ใช่เพียงแค่เอาประเด็นที่สะเทือนอารมณ์หรือความโรแมนติกนำข้อเท็จจริงที่ต้องเผชิญการทำงานอนุรักษ์ทรัพยากรพวกนี้ต้องมีมาตรฐานของการจัดการที่อ้างอิงได้ซึ่งเป็นงานที่เน้นกระบวนการมากกว่าผลผลิตต้องถกเถียงบนหลักวิชาการ ความถูกต้อง และความชอบธรรมบนสิทธิ์ที่พึงมีพึงได้ ไม่ใช่การต่อต้านการเปลี่ยนแปลงแต่ต้องตั้งคำถามถึงว่าจะเปลี่ยนแปลงอย่างไร ไม่อย่างนั้นแล้วสุดท้ายก็เข้าอีหรอบ คราวนี้กูแพ้มึงชนะอะไรอย่างนั้นสุดท้ายชาวบ้านร้านตลาดก็ไม่ได้อะไรเป็นชิ้นเป็นอัน ถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราจะต้องพูดถึงเรื่องการบริหารจัดการทรัพยากรประเภทนี้อย่างเต็มรูปแบบเสียที การจัดการทรัพยากรที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากลว่าสามารถจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพและรักษาสิทธิ์ของทั้งผู้มีส่วนได้เสียทั้งหมด มีข้อสังเกตประการหนึ่งในอุปสรรคและปัญหาในการจัดการทรัพยากรดังกล่าวในบ้านเราคือ มีองค์ประกอบบางประการในการบริหารจัดการทรัพยากรทางวัฒนธรรมที่ขาดหายไปไม่เหมือนอย่างในหลายๆแหล่งที่มีคุณค่าในระดับสากลนั่นคือการมีอยู่ของผู้จัดการทางวัฒนธรรม(Heritage Manager) ซึ่งเป็นคือผู้ที่คอยประสานประโยชน์ระหว่างกลุ่มต่างๆที่ต้องการใช้ทรัพยากรไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม รวมทั้งจัดสมดุลระหว่างการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจกับทรัพยากรทางวัฒนธรรมที่ยังมีอยู่ เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของชาวบ้านร้านตลาดบนรากฐานของทรัพยากรดังกล่าว กรณีตัวอย่างในต่างประเทศเมืองมรดกโลกภัคตรปูรณ์ ประเทศเนปาลซึ่งเป็นเมืองเล็กๆในประเทศกำลังพัฒนาภาพของเมืองเก่าจากคริสตศตวรรษที่ 15 ถูกฉายซ้ำในปัจจุบัน สภาพทางกายภาพของอาคารและองค์ประกอบต่างๆของเมืองถูกประกอบขึ้นมาด้วยอิฐดินเผาสีแดงที่เป็นวัสดุที่สามารถหาได้ในท้องที่ ตรอกเล็กซอกน้อยตามมุมต่างๆของเมืองถูกรักษาสภาพและสามารถสะท้อนถึงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ผ่านกายภาพที่หลงเหลืออยู่ได้เป็นอย่างดี เมืองเก่าแห่งนี้ถูกขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกโลกในฐานะของการเป็นตัวแทนของหลักฐานที่ยังหลงเหลืออยู่ของซากอารยธรรมในอดีต เป็นแหล่งรวบรวมอาคารและงานสถาปัตยกรรมอันโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาในยุคสมัยหนึ่ง รวมทั้งยังแสดงให้เห็นถึงการอยู่ร่วมกันของความหลากหลายทางศาสนาทั้งของชาวพุทธและชาวฮินดู เหล่านี้เองทำให้เมืองเก่าแห่งนี้มีสภาพไม่ต่างกับการเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ยังมีชิวิตเป็นเมืองที่มีชีวิต
สภาพผู้คนในเมืองมรดกโลกภัคตรปูรณ์ที่อยู่อาศัยร่วมกับทรัพยากรทางวัฒนธรรม โดยมีการท่องเที่ยวเป็นรายได้หลักของเมือง โดยรายได้ดังกล่าวถูกนำไปใช้พัฒนาความเป็นอยู่ของผู้คน
ในแง่ของการจัดการทรัพยากรทางวัฒนธรรม เมืองเก่าแห่งนี้มีตัวกลางที่ทำหน้าที่ประสานประโยชน์ในการจัดการทรัพยากรทางวัฒนธรรมคือ Heritage Section ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ขึ้นกับรัฐบาลท้องถิ่น ซึ่งมีสิทธิ์อันชอบธรรมในการจัดการทรัพยากรของตนเองผ่านกระบวนการกระจายอำนาจตามรัฐธรรมนูญของเนปาล หน่วยงานนี้เองทำหน้าที่ในการบริหารและจัดการกับทรัพยากรทางวัฒนธรรมที่มีอยู่ให้สมดุลกับการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและวิถีชิวิตของเมืองอันเป็นผลมาจากการท่องเที่ยวซึ่งเป็นรายได้หลักของที่นี่ ดอกผลของการบริหารจัดการดังกล่าวได้ถูกทำให้กลายเป็นถนนหนทาง รวมทั้งพัฒนาระบบสาธรณูปโภค-สาธารณูปการให้ผู้คนในเมืองพอจะได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นบนพื้นฐานของทรัพยากรที่มีอยู่ สำหรับในเมืองไทยผู้จัดการทางวัฒนธรรมจะอยู่ตรงไหนของอำนาจเช่นผ่านการเมืองระดับชาติ-ท้องถิ่น, มาในนามองค์กรสาธารณะ, มาในนามของใครได้รับอำนาจอย่างชอบธรรมจากอะไรอยู่ยังไงกับกรมศิลปากร เรื่องนี้คงต้องคุยกันอีกยาว
อ้างอิง:
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
แก๊งค์หน้ากากเสือแอ็คชั่นกลางอนุสาวรีย์ชัยฯ ค้านเขื่อนแม่วงก์ Posted: 10 Sep 2012 02:06 AM PDT นักกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมกว่า 100 คน ร่วมสวมหน้ากากเสือรณรงค์ค้านการสร้างเขื่อนแม่วงก์ พร้อมแสดงคอนเสิร์ต “เงาไม้ใต้น้ำ มหกรรมดนตรีก่อนที่น้ำจะท่วมโลก ก่อนที่ต้นไม้บนโลกจะไปอยู่ใต้น้ำ” เมื่อวันที่ 9 ก.ย.55 เวลา 16.00 น. บริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ นักกิจกรรมนักศึกษาจากกลุ่มใบไม้ กลุ่มสะพานสูง กลุ่มสลึง, กลุ่มลูกชาวบ้าน, Friend for Activist Network(F.A.N) ประมาณ 100 คน ได้ใส่หน้ากากเสือและสัตว์ต่างๆ เดินรณรงค์คัดค้านการสร้างเขื่อนแม่วงก์ พร้อมทั้งเชิญชวนผู้ที่สัญจรไป-มา เข้าร่วมกิจกรรมคอนเสิร์ต “เงาไม้ใต้น้ำ มหกรรมดนตรีก่อนที่น้ำจะท่วมโลก ก่อนที่ต้นไม้บนโลกจะไปอยู่ใต้น้ำ” บริเวณลาน Victory Point เพื่อเตือนภัยให้ชาวโลกรู้ ก่อนมนุษย์จะทำลายธรรมชาติไปมากกว่านี้ โดยนอกจากการแสดงดนตรีแล้ว ในงานยังมีการออกบูธขององค์กรทางสิ่งแวดล้อมหลายองค์กรด้วย นายชัยณรงค์ นกแก้ว หรือ อาร์ม นักกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมจากกลุ่มใบไม้ หนึ่งในผู้ร่วมแอ็คชั่นหน้ากากเสือ เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่า กิจกรรมในวันนี้มาเพื่อเรียกร้องธรรมชาติแทนสัตว์ป่า โดยในกรณีนี้ คือการคัดค้านการสร้างเขื่อนแม่วงก์ที่กำลังจะสร้าง โดยใช้เสือเป็นสัญลักษณ์ เนื่องจากเสือเป็นสัตว์สำคัญของโลก ประเทศเราได้ทำสัญญากับโลกไว้แล้วว่าจะต้องรักษาเสือไว้ ซึ่งพื้นที่บริเวณที่จะสร้างเขื่อนนั้นมีเสืออาศัยอยู่ สำหรับการสร้างเขื่อนแม่วงก์หรือเขื่อนอื่นๆ ในไทยนั้น นายชัยณรงค์ มองว่า ถ้าจะสร้าง น่าจะมองว่าเราได้อะไรบ้างเทียบกับการสูญเสียทรัพยากรไป มันคุ้มหรือไม่ที่เราจะได้มาซึ่งไฟฟ้าแค่ไม่กี่กิโลวัตต์หรือน้ำไม่กี่ล้านลิตร ต้องดูตรงนี้ด้วย ทั้งนี้ คอนเสิร์ต “เงาไม้ใต้น้ำ มหกรรมดนตรีก่อนที่น้ำจะท่วมโลก ก่อนที่ต้นไม้บนโลกจะไปอยู่ใต้น้ำ” ซึ่งจัดโดยกลุ่มที่ร่วมแอ็คชั่นหน้ากากเสือแล้วยังมี Triple H Music, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส .), Thai PBS, มูลนิธิ สืบ นาคะเสถียร, มูลนิธิโกมลคีมทอง และ Gen-V เป็นต้น โดยมีวงดนตรีที่มาร่วมแสดง เช่น วง Paradox วง นั่งเล่น และวงผ้าขาวม้า เป็นต้น
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
จดหมายเปิดผนึก: หยุดขยายเวลาประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินชายแดนใต้ Posted: 10 Sep 2012 01:58 AM PDT จดหมายเปิดผนึก ฉบับที่ 4 เรื่อง พิ สำเนาถึง 1. ประธานสภาผู้แทนราษฎร ตามที่นายกรัฐมนตรีได้มี มูลนิธิผสานวัฒนธรรม และมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม ในฐานะองค์กรพัฒนาเอกชนที่ได้ อีกทั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555ในรายงานข้อสังเกตเชิงสรุ แม้ว่าการเยียวยาจะเป็ ทั้งนี้ มูลนิธิผสานวัฒนธรรม และมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม เห็นว่า รัฐบาลควรยกเลิ 1. การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มี 2. การประกาศขยายระยะเวลาการประกาศ นอกจากนี้ รัฐบาลได้มีการประกาศใช้ 3. บทบัญญัติของพระราชกำหนดฯ ในการให้อำนาจนายกรัฐมนตรี หลักการแบ่งแยกอำนาจ เป็นพื้นฐานที่สำคัญของหลักนิติ มูลนิธิผสานวัฒนธรรมและมูลนิธิ
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
นักสิทธิฯ เผยคนงานเหมืองแอฟริกาใต้ถูกสังหารหลังยอมจำนนแล้ว Posted: 10 Sep 2012 01:44 AM PDT จากคดีการปะทะระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจกับคนงานนัดหยุดงานประท้ เมื่อวันที่ 9 ก.ย. ที่ผ่านมา สำนักข่าวอัลจาซีร่ จากเหตุการณ์เมื่อวันที่ 16 ส.ค. ที่เจ้าหน้าที่ตำรวจเปิดฉากยิ กลุ่ม LRC เปิดเผยว่ามีพยานหลายคนให้ กลุ่มนักสิทธิมนุษยชน LRC กล่าวอีกว่า มีหลักฐานทางนิติวิ คกก.สิทธิฯ แอฟริกาใต้หวั่นปมล้างแค้น อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้มีภาพวีดิโอของเหตุ ก่อนหน้านี้เหตุการณ์นี้ก็เคยมี เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลและเจ้าหน้ แดนนี่ ทีทัส ตัวแทนจากองค์กรคณะกรรมการสิทธิ "นี่ไม่ใช่วิธีการควบคุ ขณะเดียวกันผู้นำสหภาพหลั คนงานเหล่านี้ต้องเผชิญกับเส้ เผยกลุ่มหยุดงานขู่ฆ่า คนที่กลับเข้าทำงาน โดยก่อนหน้านี้มีกลุ่ การเจรจาเรื่องค่าจ้างจะมีขึ้ เมื่อวันศุกร์ (7 ก.ย.) ที่ผ่านมา บริษัทเหมืองแร่ลอนมินบอกว่ามี คนงานเหมืองราว 28,000 คน ของบริษัทเหมืองแร่ลอนมิ ที่มา SA miners 'killed while trying to surrender', Aljazeera, 09-09-2012 ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
IndustriALL เตรียมรณรงค์ทั่วโลก ยุติการจ้างงานที่ไม่มั่นคง 7 ต.ค. นี้ Posted: 10 Sep 2012 12:26 AM PDT 10 ก.ย. 55 - เยอกี้ ไรน่า (Jyrki Raina) เลขาธิการ IndustriALL ส่งจดหมายเชิญองค์กรสมาชิก เคลื่อนไหวในวันที่ 7 ตุลาคม 2555 ซึ่งเป็นวันรณรงค์โลกเพื่อการจ้างงานที่ดี (World Day for Decent Work) โดยมีเนื้อหาดังต่อไปนี้ การรณรงค์ระดับโลกเพื่อการยุติการจ้างงานที่ไม่มั่นคง ที่ประชุมสมัชชาใหญ่เพื่อการก่อตั้ง IndustriALL เมื่อเดือนมิถุนายน 2555 ได้ประกาศเจตนารมณ์ในการร่วมกันปฏิบัติการเพื่อยุติปัญหาการจ้างงานที่ไม่มั่นคง (Precarious Work) ที่ประชุมสมัชชาใหญ่ได้ผ่านมติให้องค์กรสมาชิกทุกองค์กรจัดการชุมนุมในวันที่ 7 ตุลาคม 2555 ซึ่งเป็นวันรณรงค์โลกเพื่อการจ้างงานที่ดี (World Day for Decent Work) การจัดชุมนุมรณรงค์ครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของการรณรงค์ระดับโลกเพื่อยุติปัญหาการจ้างงานที่ไม่มั่นคง ที่ประชุมสมัชชาใหญ่มีมติก่อตั้ง IndustriALL ให้เป็นองค์กรรณรงค์ที่เข้มแข็งและสามารถรวมกล่มเคลื่อนไหวปฏิบัติการร่วมกันเพื่อการต่อสู้ และหนุนช่วยคนงานที่กำลังประสบปัญหาอยู่ทั่วโลก เป็นภาระกิจที่สำคัญอย่างยิ่งยวด ที่องค์กรสมาชิกจะร่วมกันเคลื่อนไหวปฏิบัติการ เพื่อแสดงพลังของขบวนการแรงงาน ในการรณรงค์ครั้งนี้เพื่อยุติปัญหาการจ้างงานที่ไม่มั่นคง 7 ตุลาคม 2555 ตรงกับวันอาทิตย์ ขึ้นอยู่กับองค์กรสมาชิกว่าจะจัดการชุมนุมก่อนวันที่ 7 ตุลาคม หรือหลังวันที่ 7 ตุลาคม การปฏิบัติการร่วมกันครั้งนี้ สามารถจัดขึ้นในรูปแบบการรณรงค์บนท้องถนน ประชุมระดับชาติ ประชุมสื่อมวลชน ประชุมร่วมกับสาธารณชน เดินขบวนใหญ่ การปฏิบัติการในโรงงาน (workplace actions) การเขียนจดหมายรณรงค์ การส่งผู้แทนสหภาพแรงงานไปพบกับรัฐบาลเพื่อประชุมแก้ปัญหาการจ้างงานที่ไม่มั่นคง ทั้งนี้ IndustriALL ได้ส่งไฟล์โปสเตอร์การรณรงค์และเอกสารสำหรับเผยแพร่สื่อมวลชนและสาธารณชน ซึ่งองค์กรสมาชิกในทุกประเทศสามารถนำไปใช้ และสามารถจัดพิมพ์เป็นภาษาท้องถิ่นพร้อม Logo ขององค์กรแรงงานในประเทศไทย ดูตัวอย่างโปสเตอร์ได้ที่ www.industriALL-union.org/STOP-precarious-work และเพื่อที่ IndustriALL จะเผยแพร่กิจกรรมของขบวนการแรงงานในประเทศไทย ขอให้องค์กรสมาชิกแจ้งมายัง IndustriALL ถึงแผนกิจกรรมการรณรงค์ที่วางไว้สำหรับวันที่ 7 ตุลาคม ทั้งนี้ IndustriALL จะเผยแพร่แผนการรณรงค์ของขบวนการแรงงานในประเทศไทยทาง website เพื่อเป็นตัวอย่างให้กับขบวนการแรงงานในประเทศอื่นๆ ส่งภาพถ่าย รายงานกิจกรรม มายัง press@industriALL-union.org ในปีนี้ IndustriALL เน้นการรณรงค์ที่ปัญหาการจ้างงานผ่านบริษัทเหมาค่าแรงและการจ้างงานผ่านบริษัทเอาท์ซอท ซึ่งได้ทำให้สภาพการจ้างตกตำลง เกิดการแทนที่การจ้างงานแบบประจำด้วยการจ้างงานที่ไม่มั่นคง และบั่นทอนระบบการเจรจาต่อรองร่วม ในวันที่ 2 ตุลาคมนี้ IndustriALL จะเผยแพร่คู่มือสหภาพแรงงานในการทำงานเรื่องปัญหาการจ้างงานเหมาค่าแรง (Agency Work) ทั้งนี้เพื่อให้องค์กรสมาชิกนำข้อมูลดังกล่าวไปใช้ในการทำงานกับรัฐบาลและนายจ้างในการแก้ปัญหาการจ้างงานเหมาค่าแรงซึ่งเป็นการทำลายการจ้างงานที่ดีและเป็นรูปแบบการจ้างงานที่กำลังระบาดอยู่ในทุกวันนี้ การมีส่วนร่วมของขบวนการแรงงานในประเทศไทยมีความสำคัญอย่างยิ่งยวดในการทำให้การรณรงค์ระดับสากลของ IndustriALL เพื่อยุติปัญหาการจ้างงานที่ไม่มั่นคงประสบความสำเร็จ ด้วยการรวมพลังกัน พวกเราจะสามารถยุติปัญหาการจ้างงานที่ไม่มั่นคง ด้วยความสมานฉันท์ เยอกี้ ไรน่า (Jyrki Raina) เลขาธิการ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
กลุ่มชาวบ้านชี้ 7 เหตุผล ไม่ยอมรับเวทีรับฟังฯ ขยายเหมืองทอง-ผลที่ออกมา Posted: 09 Sep 2012 07:49 PM PDT แจงข้อมูลกรรมการรับฟังความคิดเห็นฯ มีส่วนได้ส่วนเสียกับ กพร.และบริษัทเอกชน สถานที่จัดเวทีไม่เหมาะสม ทั้งโรงประกอบโลหกรรมแร่ทองคำสร้างเสร็จ-เดินเครื่องก่อนจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นฯ ขู่ฟ้องศาลปกครองให้เวที เป็นโมฆะ วานนี้ (9 ก.ย.55) กลุ่มพิทักษ์สิ่งแวดล้อมเนินมะปรางและเครือข่ายประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการทำเหมืองแร่ทองคำ 3 จังหวัด-พิจิตร เพชรบูรณ์และพิษณุโลก ทำหนังสือส่งถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ และประธานกรรมการรับฟังความคิดเห็นฯ โครงการขยายโรงประกอบโลหกรรมแร่ทองคำ ของบริษัท อัคราไมนิ่ง จำกัด ไม่ยอมรับการจัดเวทีและผลการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสีย ซึ่งมีขึ้นในวันเดียวกัน (9 ก.ย.55) กลุ่มพิทักษ์สิ่งแวดล้อมเนินมะปรางและเครือข่ายประชาชนฯ ให้เหตุผล 7 ข้อ ดังนี้ 1.กรรมการรับฟังความคิดเห็นฯ มีส่วนได้ส่วนเสียกับ กพร.และบริษัท อัคราไมนิ่ง จำกัด 2.สถานที่จัดประชุมเวทีรับฟังความคิดเห็นฯ จัดที่ จ.เพชรบูรณ์ ทั้งที่พื้นที่การขอขยายกำลังการผลิตตั้งอยู่ฝั่ง จ.พิจิตรใกล้หมู่บ้านเขาหม้อ ซึ่งหากเป็นตามเจตนารมณ์ในการรับฟังประชาชนผู้มีส่วนได้เสีย การจัดเวทีที่เพชรบูรณ์ก็ควรมีเวทีที่ จ.พิจิตร ด้วย 3.การจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นฯ ก่อนที่ กอสส.จะให้ความเห็นประกอบในวันที่ 20 ก.ย.55 ซึ่งไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ ของรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 67 วรรคสอง 4.รายงาน EHIA โครงการขยายโรงประกอบโลหกรรมแร่ทองคำที่นำมาจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นฯ นั้น มีสภาพไม่สมบูรณ์ เพราะไม่มีการประเมินผลกระทบในส่วนของ ‘เหมืองแร่’ แต่ประเมินผลกระทบในส่วนของ ‘โรงประกอบโลหกรรม’ เท่านั้น ทั้งที่จะต้องจัดทำรายงาน EHIA จำนวน 2 ฉบับ คือ ทั้งในส่วนของ ‘EHIA เหมืองแร่’ และ ‘EHIA โรงประกอบโลหกรรม’ 5.โรงประกอบโลหกรรมแร่ทองคำส่วนขยายที่ปรากฏอยู่ในรายงาน EHIA ที่จะนำมาจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นฯ ได้ก่อสร้างเสร็จแล้วและทำการเดินเครื่องเพื่อทำการผลิตแล้ว แต่กลับมาดำเนินการจัดทำรายงาน EHIA จนได้รับความเห็นชอบจาก คชก.และจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นฯ เพื่อที่จะนำไปขอใบอนุญาตตามหลัง เป็นการกระทำที่ขัดต่อหลักธรรมาภิบาลในกฎหมาย 6.บ่อกักเก็บกากแร่ TSF2 ที่ปรากฏอยู่ในรายงาน EHIA ที่จะนำมาจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นฯ ในวันที่ 9 ก.ย.55 ได้ก่อสร้างเสร็จแล้ว เพื่อเตรียมรองรับการผลิต แต่กลับมาดำเนินการจัดทำรายงาน EHIA จนได้รับความเห็นชอบจาก คชก.และจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นฯ 9 ก.ย.55 เพื่อที่จะนำไปขอใบอนุญาตตามหลัง เช่นเดียวกับโรงประกอบโลหกรรมแร่ทองคำส่วนขยาย เป็นการกระทำที่ขัดต่อหลักธรรมาภิบาลในกฎหมายเป็นอย่างยิ่ง อีกทั้ง บ่อกักเก็บกากแร่ TSF2 ได้ถูกระบุเอาไว้ตั้งแต่การจัดทำรายงาน EIA แหล่งชาตรีเหนือ ซึ่งได้รับความเห็นชอบจาก คชก.ไปตั้งแต่วันที่ 12 ก.พ.2550 ว่าจะก่อสร้างบ่อกักเก็บกากแร่ TSF2 ในส่วนของทิศเหนือค่อนไปทางตะวันออกของโครงการเหมืองแร่ทองคำชาตรีเหนือ แต่ได้ย้ายสถานที่มาประชิดติดกับหมู่บ้านเขาดินและหนองระมานทางฝั่งทิศใต้ค่อนตะวันตกของโครงการเหมืองแร่ทองคำชาตรีเหนือ โดยมีเพียงการอนุญาตจากอธิบดี กพร.ฝ่ายเดียวเท่านั้น แต่ขาดการได้รับอนุญาตหรือความเห็นชอบจาก คชก.ทั้งที่เงื่อนไขการผ่านความเห็นชอบรายงาน EIA แหล่งชาตรีเหนือ ของ คชก.ระบุไว้ชัดเจน 7.สัดส่วนผู้เข้าร่วมเวทีตั้งแต่เริ่มกระบวนการจัดทำรายงาน EHIA โรงประกอบโลหกรรมแร่ทองคำส่วนขยาย ที่ต่อเนื่องมาจนถึงเวทีรับฟังความคิดเห็นฯ ในวันที่ 9 ก.ย.55 มีสัดส่วนของประชาชนและผู้มีส่วน ‘ได้และเสีย’ ไม่เท่าเทียมกัน เหตุเนื่องจากว่าบริษัท อัคราไมนิ่ง จำกัด และส่วนราชการในท้องถิ่นได้เกณฑ์ประชาชนผู้สนับสนุนโครงการเข้าร่วมเวทีแต่ละครั้งไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 แต่ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบและมีความคิดเห็นคัดค้านโครงการมีสัดส่วนประกอบอยู่ในเวทีเพียงร้อยละ 10 ถึง 20 ในแต่ละเวทีเท่านั้น ซึ่งเป็นการไม่ยุติธรรม กลุ่มพิทักษ์สิ่งแวดล้อมเนินมะปรางและเครือข่ายประชาชนฯ ระบุด้วยว่า จากเหตุผลที่กล่าวมาทั้งหมด หากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ และประธานกรรมการรับฟังความคิดเห็นฯ เพิกเฉยต่อข้อเรียกร้องดังกล่าว ไม่ว่าเวทีรับฟังความคิดเห็นฯ ในวันที่ 9 ก.ย.55 จะดำเนินการผ่านไปแล้วหรือไม่ก็ตาม กลุ่มพิทักษ์สิ่งแวดล้อมเนินมะปรางและเครือข่ายฯ จะดำเนินการร้องเรียนไปยังสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการและพลเรือน (ก.พ.) เพื่อให้ตรวจสอบจริยธรรมข้าราชการของอธิบดี กพร. ที่ลงนามคำสั่งแต่งตั้งกรรมการรับฟังความคิดเห็นฯ โดย 4 คนที่เป็นนักวิชาการในสถาบันอุดมศึกษามีรายชื่อซ้ำซ้อนเป็นผู้เชี่ยวชาญประจำสำนักบริหารการมีส่วนร่วม สังกัด กพร. ทำงานภายใต้การสั่งการของอธิบดี กพร. อีกตำแหน่งหนึ่งด้วย เพราะเห็นว่ามีเจตนาไม่บริสุทธิ์ยุติธรรม กดขี่ ข่มเหง รังแก เอาเปรียบต่อชาวบ้านที่อาศัยอยู่ใกล้เหมืองแร่และโรงถลุงแร่ทองคำของบริษัทอัคราฯ ที่เสี่ยงต่อการได้รับผลกระทบจากการประกอบกิจการ แทนที่จะตั้งกรรมการที่มีความเป็นกลางมากกว่านี้ และจะทำหนังสือถึงสภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่และจุฬาฯ เพื่อให้สอบสวนตรวจสอบจริยธรรมของนักวิชาการทั้ง 4ด้วย รวมทั้งจะทำหนังสือถึง สสส. ให้สอบสวนตรวจสอบจริยธรรมของหมอกิจจา เรืองไทย ที่มีตำแหน่งหน้าที่หลายบทบาทซ้ำซ้อน ด้านหนึ่งอยู่ในองค์กรขอสัมปทานทำเหมืองแร่อย่างเอสซีจี อีกด้านหนึ่งมีบทบาทเสมือนเป็นนักบุญคนดีอยู่ในองค์กรอย่าง สสส. ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการส่งเสริมและสนับสนุนสร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กรชุมชนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันต่อนโยบายและโครงการการพัฒนาจากภายนอกที่เข้ามาทำลายวิถีชีวิตทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมในชุมชนท้องถิ่น รวมทั้งฟ้องต่อศาลปกครองอีกทางหนึ่งด้วยเพื่อขอให้วินิจฉัยพิพากษาให้การจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นฯ ในวันที่ 9 ก.ย.55 เป็นโมฆะ หากเวทีดังกล่าวดำเนินการผ่านไปแล้ว
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น