โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันพุธที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2555

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

สตรีหมายเลขหนึ่งสหรัฐ สุนทรพจน์ตอกย้ำความเชื่ออเมริกันดรีม

Posted: 05 Sep 2012 01:18 PM PDT

มิเชล โอบามา กล่าวปราศรัยในการประชุมใหญ่ของพรรคเดโมแครต ประจำปี 2555 ที่เมืองชาร์ล็อตต์,นอร์ธ แคโรไลนา ย้ำความฝันแบบอเมริกัน ไม่ว่าพื้นฐานจะมาจากไหน แต่สร้างโอกาสได้ด้วยการทำงานหนักและอุทิศตน

วิดีโอคลิปการกล่าวสุนทรพจน์ของมิเชล โอบามา ที่มา: BarackObamadotcom

5 ก.ย. ที่ผ่านมา มิเชล โอบามา สุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งของสหรัฐอเมริกากล่าวเปิดสุนทรพจน์ของเธอโดยระบุว่าช่วงเวลา 4 ปีที่ผ่านมานั้นเธอได้เรียนรู้จากจิตวิญญาณแห่งอเมริกันชนจากหลายหลายอาชีพที่อุทิศตน ไม่ว่าจะเป็นครูในโรงเรียนที่ประสบปัญหาการเงินแต่ยังคงทำหน้าที่สอนแม้จะไม่ได้รับค่าจ้าง นักดับเพลิงที่อุทิศตัวช่วยเหลือผู้ประสบภัย หรือทหารที่สูญเสียดวงตาจากสงครามในอัฟกานิสถาน

เธอระบุว่าคนเหล่านี้ได้สร้างแรงบันดาลใจให้เธอ และเตือนให้เธอได้ระลึกว่าชาวอเมริกันนั้นโชคดีเพียงใด การได้รับใช้ชาวสหรัฐในฐานะสตรีหมายเลขหนึ่งเป็นความภาคภูมิใจของเธอ

สตรีหมายเลขหนึ่งตอกย้ำความเชื่อและความฝันแบบอเมริกันชนโดยเล่าเรื่องราวชีวิตของเธอและโอบามาว่าเป็นชีวิตที่เรียบง่ายเฉกเช่นอเมริกันชนทั่วไป วันเสาร์ดูฟุตบอล วันอาทิตย์ไปเยี่ยมย่า และมีวันออกเดทประจำสัปดาห์ที่โอบามายังใช้รถเก่าๆ แม้จะดำรงตำแหน่งวุฒิสมาชิกแล้วก็ตาม เธอเองรักในวิถีที่เธอและสามีเลี้ยงดูลูกสาวทั้งสองมาเช่นนั้น รวมทั้งรักสามีเธอที่ร่วมกันสร้างรูปแบบชีวิตอันเรียบง่ายนั้นและไม่ต้องการให้อะไรมาเปลี่ยนแปลง

เธอกล่าวว่า ชีวิตของเธอและโอบามานั้นต่างก็เติบโตมาจากครอบครัวชาวอเมริกันที่สามัญธรรมดาเหมือนเช่นครอบครัวชาวอเมริกันอื่นๆ คือไม่ได้เรียกร้องอะไรมาก ไม่ได้ริษยาในความสำเร็จหรือความมีมากกว่าของผู้อื่น วิถีที่เธอได้รับการเลี้ยงดูมา ทำให้เธอเรียนรู้ว่า แม้จะไม่ได้เริ่มต้นด้วยต้นทุนที่สูงมาก แต่ขอเพียงทำงานหนัก ทำในสิ่งที่ควรทำ ก็สามารถสร้างชีวิตในระดับที่พอเหมาะพอดีให้ตัวเองและชีวิตที่ดีกว่าแก่ลูกหลานได้ นี่เป็นสัญญาประชาคมของอเมริกา (American promise) ที่พวกเขาเชื่อมั่น

สตรีหมายเลขหนึ่งกล่าวต่อไปถึงความเชื่อมั่นแห่งวิถีอเมริกัน นั่นคือ การเชื่อมั่นศักดิ์ศรีและความมีคุณธรรม ความสัตย์ซื่อการช่วยเหลือผู้อื่น เชื่อมั่นในความจริง และเธอกล่าวว่าเมื่อบารัก โอบามาเข้าสู่ตำแหน่งประธานาธิบดีนั้น เธอไม่ต้องการให้เขาเปลี่ยนไปจากวิถีเช่นนี้ ถึงวันนี้แม้จะผ่านบททดสอบอันเกินจินตนาการทั้งจากการแข่งขันและความสำเร็จต่างๆ ตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา โอบามาก็ทำให้เห็นว่า การเป็นประธานาธิบดีไม่ทำให้เขาเปลี่ยนไป

มิเชลยกตัวอย่างพื้นฐานที่จะทำให้คนซึ่งมาจากต้นทุนที่แตกต่างได้บรรลุถึงชีวิตที่ดีพอสำหรับแต่ละคนซึ่งโอบามาตัดสินใจดำเนินนโยบายเหล่านี้เช่น ผ่านพ.ร.บ.การจ่ายค่าจ้างที่เท่าเทียมระหว่างหญิง-ชาย, การลดภาษีสำหรับคนทำงานที่มีครอบครัว ลดภาษีธุรกิจขนาดเล็ก  การปฏิรูประบบสาธารณสุข

ในการกล่าวสุนทรพจน์ครั้งนี้ สตรีหมายเลขหนึ่งย้ำถึงโอกาสและความฝันแบบอเมริกันหลายครั้ง นั่นคือ ทุกคนมีโอกาสและประสบความสำเร็จได้หากทำงานหนัก พร้อมเรียกร้องให้สนับสนุนสามีของเธอเป็นประธานาธิบดีอีกสมัยหนึ่ง

“หากชาวนาและช่างสามารถประกาศอิสรภาพจากจักรวรรดิ หากผู้อพยพสามารถจะทิ้งทุกสิ่งไว้เบื้องหลังเพื่อแสวงหาชีวิตที่ดีกว่าบนผืนดินของเรา หากมีผู้หญิงที่ยอมถูกลากเข้าคุกเพราะเรียกร้องสิทธิเลือกตั้ง …หากคนยุคหนึ่งสามารถเอาชนะภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ และแสดงถึงความยิ่งใหญ่ได้เสมอมา หากนักเทศน์คนหนึ่ง (young preacher-หมายถึงมาร์ติน ลูเธอร์ คิง) จะยกเราขึ้นสู่ยอดเขาโดยอาศัยความฝันอันเที่ยงธรรมของเขา และหากอเมริกันชนผู้ภาคภูมิสามารถยืนหยัดเป็นตัวของตัวเองอย่างองอาจบนแท่นบูชาเคียงข้างคนที่เขารัก ฉะนั้นแล้ว ก็มั่นใจได้ว่าเราสามารถจะให้โอกาสแก่ทุกคนอย่างเป็นธรรมตามฝันแบบอเมริกัน"

“เพราะในที่สุดแล้ว เหนือสิ่งอื่นใด นั่นก็คือเรื่องราวของประเทศแห่งนี้ เรื่องราวของความหวังอันไม่สั่นคลอนและการต่อสู้ที่ไม่ย่นระย่อ...."

“เพราะวันนี้ ฉันรู้ได้จากประสบการณ์ว่า หากเราปรารถนาอย่างแท้จริงที่จะสร้างโลกที่ดีกว่าให้แก่ลูกสาวของฉันและรวมถึงลูกชาย-ลูกสาวของพวกเราทั้งหลาย หากเราต้องการที่จะสร้างรากฐานให้กับโอกาสและความใฝ่ฝันของลูกหลานเรา สิ่งที่ดีกว่ารออยู่ตลอดเวลา หากเราพยายามไขว่คว้ามัน ฉะนั้น เราต้องทำงานให้หนักกว่าที่เราเคยทำ รวมตัวกันเข้าอีกครั้งและยืนหยัดร่วมกับชายที่เราเชื่อมั่นเพื่อจะช่วยกันเคลื่อนประเทศนี้ไปข้างหน้า สามีของฉัน, ประธานาธิบดีของพวกเรา, ประธานาธิบดีบารัก โอบามา”

 

 

หมายเหตุ 

1) ในสุนทรพจน์ครั้งนี้ มิเชลโอบามากล่าวถึง “American promise,” ในหลายช่วงตอน ซึ่งโอบามาเคยกล่าวถึงคำนี้ในความหมายที่ว่า ชาวอเมริกันสามารถที่จะบรรลุความใฝ่ฝันในฐานปัจเจกชนของตนได้ด้วยการทำงานหนักและอุทิศตน ขณะเดียวกันก็สามารถจะก้าวไปด้วยกันเสมือนเป็นครอบครัวเดียวกันได้

2) a young preacher นักเทศน์ในที่นี้หมายถึงมาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ นักต่อสู้เพื่อสิทธิพลเมืองและความเท่าเทียมกันทางเชื้อชาติ เจ้าของสุนทรพจน์ "I Have a Dream" ก่อนหน้านี้ ในสุนทรพจน์ของบารัก โอบามา เคยกล่าวถึง "นักเทศน์หนุ่มจากจอร์เจีย" เช่นกัน

 



ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ดูคลิปการกล่าวสุนทรพจน์ http://www.youtube.com/watch?v=STl3u6aGN44&feature=youtu.be


ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

อภิปรายที่ มธ.: การรับรู้เรื่องอาณาบริเวณศึกษาในสังคมไทย

Posted: 05 Sep 2012 01:01 PM PDT

เมื่อวันที่ 3 ก.ย. ที่ห้องปรีดี เกษมทรัพย์ คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ท่านพระจันทร์ มีการประชุมวิชาการอาณาบริเวณศึกษาด้านภูมิภาคอาเซียน ครั้งที่ 2 ประจำปี 2555 โดยช่วงเช้ามีการเสวนาวิชาการหัวข้อ "การรับรู้เรื่องอาณาบริเวณศึกษาในสังคมไทย" วิทยากรประกอบด้วย ผศ.ดร.ยุกติ มุกดาวิจิตร คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผศ.ดร.วิทยา สุจริตธนารักษ์ ศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผศ.ดร.ทวีศักดิ์ เผือกสม คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ดำเนินรายการโดย อ.ดุลยภาค ปรีชารัชช โครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

โดยตอนหนึ่ง ยุกติ มุกดาวิจิตร อาจารย์ประจำคณสังคมวิทยาและมานุษยวิยา ม.ธรรมศาสตร์  เสนอว่า ควรจะเรียกการศึกษาเอเชียวันออกเฉียงใต้ว่า “ประเทศเพื่อนบ้านศึกษา” ซึ่งเป็นสิ่งที่สะท้อนการจัดวางตัวตนของผู้ศึกษาและผู้ถูกศึกษา ซึ่งเดิมนั้นภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษานั้นถูกศึกษาโดยนักวิชาการตะวันตก ขณะที่ปัจจุบันนี้ทิศทางการศึกษาด้านเอเชียะวันออกเฉียงใต้ในสังคมวิชาการตะวันตกนั้นลดลงแล้ว ในทางตรงกันข้ามในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เองเพิ่งเริ่มตื่นตัวดังนั้นแล้วก็ควรเริ่มวางกรอบการศึกษากันเสียใหม่จากมุมมองภายในของประเทศในภูมิกาคนี้เอง

"ชาวอเมริกันชาวยุโรปก็ลดความสนใจในประเด็นบริเวณนี้น้อยลงมาก แต่ที่เรายังสนใจทั้งๆ ที่โลกไม่สนใจเราแล้วก็เพราะมันเป็นบ้านและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็สร้างสิ่งที่เป็นชุมชนมากขึ้น คือ ‘อาเซียน’ ซึ่งต้องมองสองมิติคือองค์กรระหว่างประเทศ กับมิติผู้คน คืออาเซียนรากหญ้าและในอนาคตเราจะต้องสนใจสิ่งเหล่านี้มากขึ้น และหนีไม่พ้นที่จะต้องสร้างเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาในแบบของเราขึ้นมาเอง และเราไม่สามารถจะพึ่งการศึกษาโดยฝรั่งแล้วเพราะเขาสนใจลดลงน้อยมาก และอีกไม่นานสัก 10 ปีก็น่าจะได้เห็นงานศึกษาอาเซียนโดยชาวอาเซียนเอง"

สำหรับรายละเอียดของการเสวนา ประชาไทได้นำเสนอไปแล้วก่อนหน้านี้ (ข่าวที่เกี่ยวข้อง) ในส่วนของวิดีโอบันทึกการเสวนา มีรายละเอียดดังนี้

ส่วนของการอภิปรายโดย ยุกติ มุกดาวิจิตร และทวีศักดิ์ เผือกสม

ส่วนของการอภิปรายโดยวิทยา สุจริตธนารักษ์ และดุลยภาค ปรีชารัชช

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

คุยกับเครือข่ายสิทธิผู้ป่วยแม่เมาะ "กฟผ.ต้องเยียวยาตามที่ศาลสั่งโดยเร็ว"

Posted: 05 Sep 2012 09:46 AM PDT

 

 

สัมภาษณ์ 'มะลิวรรณ นาควิโรจน์' เลขาธิการเครือข่ายสิทธิผู้ป่วยแม่เมาะ  บอกเล่าถึงสถานการณ์การต่อสู้ของชาวบ้าน ว่าได้ร่วมกันต่อสู้เรียกร้องสิทธิกันมาตั้งแต่ปี 2535 จนถึงปัจจุบัน แต่ปัญหาเหล่านี้ถูกเพิกเฉย 

 

‘มะลิวรรณ นาควิโรจน์’ เลขาธิการเครือข่ายสิทธิผู้ป่วยแม่เมาะ ได้บอกเล่าถึงสถานการณ์การต่อสู้ของชาวบ้านแม่เมาะ ว่าได้ร่วมกันต่อสู้เรียกร้องสิทธิกันมาตั้งแต่ปี 2535 จนถึงปัจจุบันนี้ ก็ 20 ปีมาแล้ว แต่ก็ดูเหมือนว่าปัญหาเหล่านี้ถูกเพิกเฉย ยังไม่ได้รับการแก้ไขและเยียวยาแต่อย่างใด

อยากทราบถึงสถานการณ์การต่อสู้ของเครือข่ายสิทธิผู้ป่วยแม่เมาะในตอนนี้เป็นอย่างไรบ้าง ?
เราก็ต่อสู้กันมาตั้งแต่ปี 2535 จนถึงปัจจุบันนี้ ก็ 20 ปีมาแล้ว แต่สิ่งที่ชาวบ้านได้รับก็คือ กี่รัฐบาล กี่นายกรัฐมนตรี กี่ผู้บริหาร กี่ผู้ว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กี่ผู้ว่าราชการจังหวัด กี่นายอำเภอ คนแล้วคนเล่าที่เข้ามา แต่ก็ไม่ได้มีการแก้ไขปัญหาชาวบ้านแม่เมาะได้ ผลที่ได้ก็คือ ทุกๆครั้งที่มีการเจรจา ประชาชนล้วนถูกหลอกทั้งสิ้น หลอกให้ประชุมหลอกให้กลับบ้าน หลอกให้ทะเลาะกัน สรุปว่า ทั้งรัฐ ทั้ง กฟผ.ไม่จริงใจที่จะแก้ปัญหาและไม่ยอมรับผิดชดใช้เยียวยาในเรื่องความผิดพลาดที่ตนเองกำหนดนโยบายขึ้นมาเลย 

ผ่านมาถึงเวลานี้ สมาชิกเครือข่ายสิทธิผู้ป่วยแม่เมาะที่ล้มป่วยและเสียชีวิตไปจำนวนเท่าไหร่แล้ว?
ชาวบ้านที่ล้มป่วยเพราะสารพิษจากเหมืองถ่านหินลิกไนต์ และเสียชีวิตไปมากกว่า 20 คนแล้ว จากทั้งหมด 131 รายที่มีคำพิพากษาให้ กฟผ.ชดใช้ค่าเสียหายทางด้านสุขภาพ

กรณีเรื่องการอพยพชาวบ้านออกจากหมู่บ้านไปอยู่พื้นที่ใหม่รวมไปถึงเรื่องค่าชดเชย มีการเยียวยา แก้ไขได้จริงแท้แค่ไหน และ เจอปัญหา ได้รับผลกระทบอย่างไรบ้าง?
กรณีเรื่องการอพยพชาวบ้าน ในตอนแรก ทาง กฟผ.ได้อพยพชาวบ้านจำนวน 493 ครอบครัวออกจากพื้นที่อาศัยดั้งเดิมตาม มติ คณะรัฐมนตรี 15 มกราคม 2551 แต่ทุกวันนี้พื้นที่ดังกล่าวยังไม่ได้ออกเอกสารสิทธิ์ให้ชุมชนแต่อย่างใด และยังจัดให้ชาวบ้านไปอาศัยอยู่ในพื้นที่ของกรมป่าไม้ ซึ่งต่อเรื่องนี้ได้ทำให้ชาวบ้านทุกคนต่างรู้สึกวิตกกังวล เพราะต่างก็หวั่นกลัวเรื่องการถูกไล่ออกจากพื้นที่อีก

เป็นพื้นที่ป่า เป็นพื้นที่ของกรมป่าไม้ แล้วไปจัดสรรให้ชาวบ้านอยู่ได้อย่างไร?
คือพื้นที่ที่จัดสรรให้ชาวบ้านไปอยู่นั้น เป็นพื้นที่ของกรมป่าไม้ ที่ทาง กฟผ.ได้ทำการเช่าไว้เพื่อรองรับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งเมื่อเราดูตาม มติคณะรัฐมนตรี 15 มกราคม 2551 นั้นได้ระบุไว้ว่าจะออกเป็นเอกสารสิทธิให้ หลังจากอพยพชาวบ้านมาอยู่แล้ว แต่พอชาวบ้าน ลุกขึ้นมาทวงถามสิทธิในเรื่องนี้ ทาง กฟผ.บอกว่าส่งคืนกรมป่าไม้แล้ว พอชาวบ้านไปถามกรมป่าไม้ กรมป่าไม้กลับบอกว่ายังไม่ได้รับ สรุปว่าชาวบ้านเรากำลังโดนหลอกเรื่องเอกสารสิทธิ

สรุปก็คือ การอพยพชาวบ้านมาอยู่ที่แห่งใหม่นั้น พบปัญหาว่ารัฐบาลร่วมกับ กฟผ.ไม่จริงใจที่จะทำตามสัญญาว่าด้วยเรื่องโครงสร้างพื้นฐานที่ยังไม่ดีพอ เช่นท่อระบายน้ำทิ้งไม่มี น้ำประปาที่ขาดคุณภาพดื่มไม่ได้เป็นหิน การติดตามช่วยเหลือ การดำรงชีพ การออกเอกสารสิทธิ์ที่สัญญาว่าจะออกให้ตามมติคณะรัฐมนตรี แต่ปรากฏว่าย้ายชาวบ้านจากพื้นที่เดิมมีเอกสารสิทธิ์ มาอยู่ในพื้นที่ของกรมป่าไม้ที่ กฟผ.เช่ามา จากพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม เวลานี้ชาวบ้านต่างพากันกังวลว่า หากกรมป่าไม้จะเอาพื้นที่คืนชาวบ้านคงต้องอพยพอีก และก็ไม่ได้ใช้สิทธิในเอกสารที่ดินในการทำธุรกรรมอื่นๆ

กฟผ.และรัฐจะต้องแก้ไขปัญหาอย่างไรบ้าง?
อันดับแรก กฟผ.ต้องชดเชยเยียวยาชาวบ้านตามที่ศาลสั่งจ่ายโดยเร็วที่สุด กฟผ.ต้องดูแลคุณภาพชีวิตผู้ได้รับผลกระทบเหล่านี้เป็นกรณีพิเศษ โดยไม่อ้างกองทุนพัฒนาไฟฟ้าที่ ชาวบ้านเหล่านี้มีสิทธิ์ที่จะเข้าถึงอยู่แล้ว

ล่าสุด เมื่อวันที่ 22 สิงหาคมที่ผ่านมา ดิฉันได้ไปยื่นหนังสือให้กับกรรมาธิการ(กมธ.)พลังงาน สภาผู้แทนราษฎร ซึ่งได้มีมติ จะลงพื้นที่แม่เมาะ ในวันที่ 7กันยายนนี้ เขาบอกว่าจะเชิญทุกหน่วยงานมาเคลียร์เรื่องการคัดค้านการสร้างโรงไฟฟ้า โดยจะนัดทุกส่วน เช่น สำนักงานกำกับกิจการพลังงาน ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ ผู้ว่า กฟผ. และเครือข่ายสิทธิผู้ป่วยแม่เมาะ ซึ่งทาง กมธ.เอาให้จบเรื่องการเยียวยาจากเงินกองทุนรอบโรงไฟฟ้า

อยากจะสื่ออะไรให้กับสังคมไทยว่า พลังงานถ่านหินนั้นส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิต วิถีชุมชนอย่างไรบ้าง?
ในฐานะที่เป็นตัวแทนของเครือข่ายสิทธิผู้ป่วยแม่เมาะ อยากจะบอกกับสังคมไทยว่า ผลกระทบที่เกิดจากการผลิตกระแสไฟฟ้าจากถ่านหิน อันดับแรก นั้นคือส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งดิน น้ำ ป่า ฝุ่น กลิ่น เสียงแรงสั่นสะเทือน สุขภาพจนถึงวิถีชีวิต วิถีชุมชนที่ต้องล่มสลาย ต้องเปลี่ยนไป 

นอกจากนั้น ป่าไม้จำนวนมาก ต้องถูกตัดทิ้งเป็นบริเวณกว้างเป็นหมื่นกว่าไร่ เพื่อเปิดหน้าดินขุดขนถ่านหินลิกไนต์ขึ้นเป็นเชื้อเพลิงการผลิตกระแสไฟฟ้า ทำให้วิถีชาวบ้านที่เคยเข้าป่าหากินการใช้ป่าเป็นแหล่งอาหารหายไปหมดเลย

และการขุดขนถ่านหินทำให้มลภาวะทางด้านสิ่งแวดล้อมในกระบวนการขุดขนตามมาจากการทำงานของเครื่องจักรขนาดใหญ่ เช่นฝุ่นที่มาจากการเปิดหน้าดิน/กลิ่นที่มาจากการลุกไหม้ของถ่านหิน/เสียงที่ดังมาจากเครื่องจักรลำเลียงดินหินถ่าน ทั้งวันทั้งคืน/แรงสั่นสะเทือนที่มาจากการระเบิดหน้าดินเพื่อนำถ่านหินลิกไนต์ขึ้นมา 

ผลกระทบที่น่ากลัวที่สุด ก็คือ น้ำใต้ดินและน้ำผิวดินปนเปื้อนสารพิษเช่น ซัลเฟส แมงกานิส แคตเมียม ตะกั่วทองแดง และสารหนูที่เกิดจากการสูบน้ำในขุมเหมืองออกทิ้งสู่เส้นทางน้ำสาธารณะ

และผลกระทบสุดท้ายที่ชาวบ้านได้รับ นั่นคือ จำเป็นต้องมีการอพยพชุมชนที่อยู่อาศัยดั้งเดิมในพื้นที่ออกไป เพราะต้องการใช้พื้นที่ในการทำเหมืองทำให้ชุมชนที่คุ้นเคยต้องไปอยู่บนพื้นที่ใหม่ เพื่อนบ้านใหม่ที่ไม่คุ้นเคย และตามมาซึ่งปัญหาด้านการปกครองที่ยุ่งยาก อีกทั้งยังพบว่าพืชผลไม้ยืนต้นต้องเริ่มปลูกใหม่ เช่น ขนุนมะม่วงซึ่งของเก่าออกผลผลิตเก็บกินตามฤดูกาล ต้องมาเริ่มนับต้นกล้าปลูกใหม่ทั้งหมด

ในฐานะที่คุณคัดค้านพลังงานถ่านหินมาโดยตลอด คุณคิดว่าพลังงานทางเลือกอย่างไหนจะดีและเหมาะสมกับประเทศไทยในอนาคต ?
พลังงานไทยในอนาคต ดิฉันคิดว่า มีเพียงสิ่งเดียวที่เหมาะสม คือ แสงแดด ที่เป็นพลังงานที่ทุกบ้านมีใช้อย่างเหลือเฟือและไม่ต้องซื้อตลอดชีวิต อีกทั้งยังไม่ต้องไปรบกวนสิ่งแวดล้อม เช่นดิน น้ำ ป่า อากาศ อันเป็นสาเหตุหลักเชื่อมโยงไปถึงสุขภาพของประชาชนไทยที่ดีตามมาด้วย

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

คุยกับเครือข่ายสิทธิผู้ป่วยแม่เมาะ "กฟผ.ต้องเยียวยาตามที่ศาลสั่งโดยเร็ว"

Posted: 05 Sep 2012 09:45 AM PDT

 

 

สัมภาษณ์ 'มะลิวรรณ นาควิโรจน์' เลขาธิการเครือข่ายสิทธิผู้ป่วยแม่เมาะ  บอกเล่าถึงสถานการณ์การต่อสู้ของชาวบ้าน ว่าได้ร่วมกันต่อสู้เรียกร้องสิทธิกันมาตั้งแต่ปี 2535 จนถึงปัจจุบัน แต่ปัญหาเหล่านี้ถูกเพิกเฉย 

 

‘มะลิวรรณ นาควิโรจน์’ เลขาธิการเครือข่ายสิทธิผู้ป่วยแม่เมาะ ได้บอกเล่าถึงสถานการณ์การต่อสู้ของชาวบ้านแม่เมาะ ว่าได้ร่วมกันต่อสู้เรียกร้องสิทธิกันมาตั้งแต่ปี 2535 จนถึงปัจจุบันนี้ ก็ 20 ปีมาแล้ว แต่ก็ดูเหมือนว่าปัญหาเหล่านี้ถูกเพิกเฉย ยังไม่ได้รับการแก้ไขและเยียวยาแต่อย่างใด

อยากทราบถึงสถานการณ์การต่อสู้ของเครือข่ายสิทธิผู้ป่วยแม่เมาะในตอนนี้เป็นอย่างไรบ้าง ?
เราก็ต่อสู้กันมาตั้งแต่ปี 2535 จนถึงปัจจุบันนี้ ก็ 20 ปีมาแล้ว แต่สิ่งที่ชาวบ้านได้รับก็คือ กี่รัฐบาล กี่นายกรัฐมนตรี กี่ผู้บริหาร กี่ผู้ว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กี่ผู้ว่าราชการจังหวัด กี่นายอำเภอ คนแล้วคนเล่าที่เข้ามา แต่ก็ไม่ได้มีการแก้ไขปัญหาชาวบ้านแม่เมาะได้ ผลที่ได้ก็คือ ทุกๆครั้งที่มีการเจรจา ประชาชนล้วนถูกหลอกทั้งสิ้น หลอกให้ประชุมหลอกให้กลับบ้าน หลอกให้ทะเลาะกัน สรุปว่า ทั้งรัฐ ทั้ง กฟผ.ไม่จริงใจที่จะแก้ปัญหาและไม่ยอมรับผิดชดใช้เยียวยาในเรื่องความผิดพลาดที่ตนเองกำหนดนโยบายขึ้นมาเลย 

ผ่านมาถึงเวลานี้ สมาชิกเครือข่ายสิทธิผู้ป่วยแม่เมาะที่ล้มป่วยและเสียชีวิตไปจำนวนเท่าไหร่แล้ว?
ชาวบ้านที่ล้มป่วยเพราะสารพิษจากเหมืองถ่านหินลิกไนต์ และเสียชีวิตไปมากกว่า 20 คนแล้ว จากทั้งหมด 131 รายที่มีคำพิพากษาให้ กฟผ.ชดใช้ค่าเสียหายทางด้านสุขภาพ

กรณีเรื่องการอพยพชาวบ้านออกจากหมู่บ้านไปอยู่พื้นที่ใหม่รวมไปถึงเรื่องค่าชดเชย มีการเยียวยา แก้ไขได้จริงแท้แค่ไหน และ เจอปัญหา ได้รับผลกระทบอย่างไรบ้าง?
กรณีเรื่องการอพยพชาวบ้าน ในตอนแรก ทาง กฟผ.ได้อพยพชาวบ้านจำนวน 493 ครอบครัวออกจากพื้นที่อาศัยดั้งเดิมตาม มติ คณะรัฐมนตรี 15 มกราคม 2551 แต่ทุกวันนี้พื้นที่ดังกล่าวยังไม่ได้ออกเอกสารสิทธิ์ให้ชุมชนแต่อย่างใด และยังจัดให้ชาวบ้านไปอาศัยอยู่ในพื้นที่ของกรมป่าไม้ ซึ่งต่อเรื่องนี้ได้ทำให้ชาวบ้านทุกคนต่างรู้สึกวิตกกังวล เพราะต่างก็หวั่นกลัวเรื่องการถูกไล่ออกจากพื้นที่อีก

เป็นพื้นที่ป่า เป็นพื้นที่ของกรมป่าไม้ แล้วไปจัดสรรให้ชาวบ้านอยู่ได้อย่างไร?
คือพื้นที่ที่จัดสรรให้ชาวบ้านไปอยู่นั้น เป็นพื้นที่ของกรมป่าไม้ ที่ทาง กฟผ.ได้ทำการเช่าไว้เพื่อรองรับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งเมื่อเราดูตาม มติคณะรัฐมนตรี 15 มกราคม 2551 นั้นได้ระบุไว้ว่าจะออกเป็นเอกสารสิทธิให้ หลังจากอพยพชาวบ้านมาอยู่แล้ว แต่พอชาวบ้าน ลุกขึ้นมาทวงถามสิทธิในเรื่องนี้ ทาง กฟผ.บอกว่าส่งคืนกรมป่าไม้แล้ว พอชาวบ้านไปถามกรมป่าไม้ กรมป่าไม้กลับบอกว่ายังไม่ได้รับ สรุปว่าชาวบ้านเรากำลังโดนหลอกเรื่องเอกสารสิทธิ

สรุปก็คือ การอพยพชาวบ้านมาอยู่ที่แห่งใหม่นั้น พบปัญหาว่ารัฐบาลร่วมกับ กฟผ.ไม่จริงใจที่จะทำตามสัญญาว่าด้วยเรื่องโครงสร้างพื้นฐานที่ยังไม่ดีพอ เช่นท่อระบายน้ำทิ้งไม่มี น้ำประปาที่ขาดคุณภาพดื่มไม่ได้เป็นหิน การติดตามช่วยเหลือ การดำรงชีพ การออกเอกสารสิทธิ์ที่สัญญาว่าจะออกให้ตามมติคณะรัฐมนตรี แต่ปรากฏว่าย้ายชาวบ้านจากพื้นที่เดิมมีเอกสารสิทธิ์ มาอยู่ในพื้นที่ของกรมป่าไม้ที่ กฟผ.เช่ามา จากพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม เวลานี้ชาวบ้านต่างพากันกังวลว่า หากกรมป่าไม้จะเอาพื้นที่คืนชาวบ้านคงต้องอพยพอีก และก็ไม่ได้ใช้สิทธิในเอกสารที่ดินในการทำธุรกรรมอื่นๆ

กฟผ.และรัฐจะต้องแก้ไขปัญหาอย่างไรบ้าง?
อันดับแรก กฟผ.ต้องชดเชยเยียวยาชาวบ้านตามที่ศาลสั่งจ่ายโดยเร็วที่สุด กฟผ.ต้องดูแลคุณภาพชีวิตผู้ได้รับผลกระทบเหล่านี้เป็นกรณีพิเศษ โดยไม่อ้างกองทุนพัฒนาไฟฟ้าที่ ชาวบ้านเหล่านี้มีสิทธิ์ที่จะเข้าถึงอยู่แล้ว

ล่าสุด เมื่อวันที่ 22 สิงหาคมที่ผ่านมา ดิฉันได้ไปยื่นหนังสือให้กับกรรมาธิการ(กมธ.)พลังงาน สภาผู้แทนราษฎร ซึ่งได้มีมติ จะลงพื้นที่แม่เมาะ ในวันที่ 7กันยายนนี้ เขาบอกว่าจะเชิญทุกหน่วยงานมาเคลียร์เรื่องการคัดค้านการสร้างโรงไฟฟ้า โดยจะนัดทุกส่วน เช่น สำนักงานกำกับกิจการพลังงาน ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ ผู้ว่า กฟผ. และเครือข่ายสิทธิผู้ป่วยแม่เมาะ ซึ่งทาง กมธ.เอาให้จบเรื่องการเยียวยาจากเงินกองทุนรอบโรงไฟฟ้า

อยากจะสื่ออะไรให้กับสังคมไทยว่า พลังงานถ่านหินนั้นส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิต วิถีชุมชนอย่างไรบ้าง?
ในฐานะที่เป็นตัวแทนของเครือข่ายสิทธิผู้ป่วยแม่เมาะ อยากจะบอกกับสังคมไทยว่า ผลกระทบที่เกิดจากการผลิตกระแสไฟฟ้าจากถ่านหิน อันดับแรก นั้นคือส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งดิน น้ำ ป่า ฝุ่น กลิ่น เสียงแรงสั่นสะเทือน สุขภาพจนถึงวิถีชีวิต วิถีชุมชนที่ต้องล่มสลาย ต้องเปลี่ยนไป 

นอกจากนั้น ป่าไม้จำนวนมาก ต้องถูกตัดทิ้งเป็นบริเวณกว้างเป็นหมื่นกว่าไร่ เพื่อเปิดหน้าดินขุดขนถ่านหินลิกไนต์ขึ้นเป็นเชื้อเพลิงการผลิตกระแสไฟฟ้า ทำให้วิถีชาวบ้านที่เคยเข้าป่าหากินการใช้ป่าเป็นแหล่งอาหารหายไปหมดเลย

และการขุดขนถ่านหินทำให้มลภาวะทางด้านสิ่งแวดล้อมในกระบวนการขุดขนตามมาจากการทำงานของเครื่องจักรขนาดใหญ่ เช่นฝุ่นที่มาจากการเปิดหน้าดิน/กลิ่นที่มาจากการลุกไหม้ของถ่านหิน/เสียงที่ดังมาจากเครื่องจักรลำเลียงดินหินถ่าน ทั้งวันทั้งคืน/แรงสั่นสะเทือนที่มาจากการระเบิดหน้าดินเพื่อนำถ่านหินลิกไนต์ขึ้นมา 

ผลกระทบที่น่ากลัวที่สุด ก็คือ น้ำใต้ดินและน้ำผิวดินปนเปื้อนสารพิษเช่น ซัลเฟส แมงกานิส แคตเมียม ตะกั่วทองแดง และสารหนูที่เกิดจากการสูบน้ำในขุมเหมืองออกทิ้งสู่เส้นทางน้ำสาธารณะ

และผลกระทบสุดท้ายที่ชาวบ้านได้รับ นั่นคือ จำเป็นต้องมีการอพยพชุมชนที่อยู่อาศัยดั้งเดิมในพื้นที่ออกไป เพราะต้องการใช้พื้นที่ในการทำเหมืองทำให้ชุมชนที่คุ้นเคยต้องไปอยู่บนพื้นที่ใหม่ เพื่อนบ้านใหม่ที่ไม่คุ้นเคย และตามมาซึ่งปัญหาด้านการปกครองที่ยุ่งยาก อีกทั้งยังพบว่าพืชผลไม้ยืนต้นต้องเริ่มปลูกใหม่ เช่น ขนุนมะม่วงซึ่งของเก่าออกผลผลิตเก็บกินตามฤดูกาล ต้องมาเริ่มนับต้นกล้าปลูกใหม่ทั้งหมด

ในฐานะที่คุณคัดค้านพลังงานถ่านหินมาโดยตลอด คุณคิดว่าพลังงานทางเลือกอย่างไหนจะดีและเหมาะสมกับประเทศไทยในอนาคต ?
พลังงานไทยในอนาคต ดิฉันคิดว่า มีเพียงสิ่งเดียวที่เหมาะสม คือ แสงแดด ที่เป็นพลังงานที่ทุกบ้านมีใช้อย่างเหลือเฟือและไม่ต้องซื้อตลอดชีวิต อีกทั้งยังไม่ต้องไปรบกวนสิ่งแวดล้อม เช่นดิน น้ำ ป่า อากาศ อันเป็นสาเหตุหลักเชื่อมโยงไปถึงสุขภาพของประชาชนไทยที่ดีตามมาด้วย

 

สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ: ความกล้าหาญทางจริยธรรม

Posted: 05 Sep 2012 09:33 AM PDT

 
 
 

ในคืนวันที่ 25 สิงหาคม ก่อนพิธีฌาปนกิจศพนายอำพล ตั้งนพคุณ ที่วัดลาดพร้าว สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล อาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ขึ้นกล่าวคำไว้อาลัย โดยกล่าวถึงเรื่อง “Moral Courage" หรือความกล้าหาญทางจริยธรรม ซึ่งเป็นสิ่งที่ขาดแคลนยิ่งนักสำหรับกลุ่มชนชั้นนำในสังคมไทย สมศักดิ์ได้ยกตัวอย่างให้เห็นในประวัติศาสตร์ เช่น กรณีสวรรคตของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ได้มีการกล่าวหาว่า นายปรีดี พนมยงค์ อยู่เบื้องหลัง และมีการจับกุมมหาดเล็ก คือ นายชิต สิงหเสนี นายบุศย์ ปัทมศรินทร์ และนายเฉลียว ปทุมรส และในที่สุด ศาลตัดสินลงโทษประหารชีวิตจำเลยทั้งสามคน ทั้งที่หลักฐานอ่อนมาก และพิสูจน์ความผิดของจำเลยไม่ได้เลย แต่ในบรรดาผู้พิพากษาทั้งหมดสามศาล มีเพียงหลวงปริพันธ์พจนพิสุทธิ์เพียงคนเดียว ที่ยืนยันว่าจำเลยไม่มีความผิดและต้องปล่อยตัว และในที่สุด สังคมไทยใช้เวลามากกว่า 30 ปี จึงเป็นที่ยอมรับกันว่า มหาดเล็กทั้งสามคนเป็นผู้บริสุทธิ์ และนายปรีดีก็ไม่เกี่ยวข้อง การตัดสินที่ผิดพลาดของศาลเช่นนี้ ยังไม่ได้ถูกพิจารณา มีการขอโทษ หรือเปลี่ยนคำตัดสินอย่างเป็นทางการ

กรณีเรื่องปัญหาจริยธรรมของสังคมยังเห็นได้อีกหลายกรณี เช่น กรณี 6 ตุลาคม พ.ศ.2519 ฝ่ายนักศึกษาถูกกล่าวหาว่า เป็นคอมมิวนิสต์ และหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ถูกเข่นฆ่าสังหารในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จนมีผู้เสียชีวิตหลายสิบคน แต่กลับกลายเป็นว่า ฝ่ายนักศึกษาที่เป็นเหยื่อถูกจับกุมดำเนินคดีอีกนาน 2 ปี โดยที่ฝ่ายฆาตกรที่เข่นฆ่าไม่ถูกดำเนินคดีแต่อย่างใด พอมีการออกกฎหมายนิรโทษกรรม ก็เป็นการนิรโทษกรรมทั้งหมดทุกฝ่าย โดยไม่ต้องพูดกันว่าใครถูกใครผิด และใครจะต้องรับผิดชอบในการสังหารหมู่ประชาชนกลางเมือง
 
กรณีที่เกี่ยวกับการตัดสินที่ผิดพลาดของศาลอีกกรณีหนึ่งก็คือ คดีคุณวีระ มุสิกพงศ์ เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ.2531 ถูกศาลฎีกาตัดสินว่า มีความผิดในกรณีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพตามาตรา 112 ต้องถูกจำคุก 4 ปี ทั้งที่หลักฐานและสภาพแวดล้อมเหตุการณ์ไม่สามารถสรุปให้คุณวีระมีความผิดได้เลย และจนถึงขณะนี้ ก็ยังไม่มีการยอมรับในความผิดพลาดของการตัดสินอย่างเป็นทางการ
 
หลังการรัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ.2549 เราจะพบกรณีที่เกี่ยวข้องกับความกล้าหาญในด้านจริยธรรมอีกหลายเรื่อง ที่เกิดขึ้นแล้วคือ กรณีของคดีคุณอำพน ตั้งนพคุณ หรือ อากง ซึ่งเป็นผู้บริสุทธิ์ แต่ถูกศาลตัดสินจำคุก 20 ปี ในกรณีความผิดตามมาตรา 112 และในที่สุดก็ถึงแก่กรรมในคุก สมศักดิ์ เจียมธีรสกุลได้อธิบายความผิดพลาดในเรื่องนี้ชัดเจนว่า
 
“ในระดับตุลาการที่ตัดสินอากง ตั้งแต่การไม่ให้อากงประกัน ตุลาการต้องรู้แน่ๆ ว่าการไม่ให้ประกันมันผิด เหตุผลที่ว่าอากงอายุ 60 จะหนี เป็นเหตุผลที่ว่าผิดแน่ๆ ถ้าตุลาการไปอ้างเหตุผลแบบนี้ แต่ไม่กล้าจะบอกว่าคนนี้ไม่หนีหรอกแล้วให้ประกัน แล้วการตัดสินศาลก็ยอมรับว่าไม่มีหลักฐานพอที่อากงเป็นคนส่ง SMS ในภาษากฎหมายเขามีศัพท์ว่า "Burden of Proof"  ภาระในการพิสูจน์ไม่ได้อยู่ที่จำเลย ไม่ได้อยู่ที่ตัวโจทย์ ถ้าพิสูจน์ไม่ได้ว่าจำเลยส่งจริง ศาลก็ต้องปล่อยจำเลยไป และกรณีที่ต่อให้อากงยอมรับว่าส่ง SMS จากเครื่องนี้จริง แต่พิสูจน์ไม่ได้ว่าอากงในการกดส่ง ตามหลักภาระในการพิสูจน์ศาลก็ต้องปล่อยอากง แต่ศาลก็ไม่กล้าตัดสิน ในสังคมซึ่งมีความเป็นมนุษย์อยู่ ตุลาการที่นั่งบัลลังก์ไม่อนุมัติประกันอากง เขาต้องรู้แน่ๆ ว่าการไม่อนุมัติให้อากงประกันไม่ถูก เขาต้องรู้แน่ๆ ว่าการตัดสินแบบนี้มันผิดหลักกฎหมายแต่ก็ไม่ให้ประกัน ตัดสินเสร็จก็ไม่ให้ประกัน อ้างเรื่องกลัวหนีอีก นี่คือสิ่งที่ผมไม่มีความกล้าหาญทางคุณธรรม อย่างน้อยควรจะรู้อะไรผิด อะไรถูก”
ในกรณีนี้ ปิยะบุตร แสงกนกคุณ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ได้อธิบายว่า “โศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นกับอากงและครอบครัว ไม่ใช่ปัญหาเรื่องกระบวนการยุติธรรมเท่านั้น ไม่ใช่ปัญหาเรื่องสิทธิในการได้รับการสันนิษฐานว่าเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าศาลพิพากษาเท่านั้น ไม่ใช่ปัญหาเรื่องสิทธิในการได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวเท่านั้น ไม่ใช่ปัญหาเรื่องสิทธิของผู้ถูกจับกุมคุมขังเท่านั้น และไม่ใช่ปัญหาเรื่องมาตรฐานและคุณภาพชีวิตในเรือนจำเท่านั้น แต่โศกนาฏกรรมนี้แสดงให้เห็นถึงอัปลักษณ์ของมาตรา 112 ในทุกมิติ”
 
กรณีของคุณสมยศ พฤกษาเกษมสุข ที่ศาลกำลังจะอ่านคำพิพากษาในเดือนกันยายนนี้ก็เป็นเช่นเดียวกัน คุณสมยศถูกจับกุมในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพตามมาตรา 112 โดยอ้างหลักฐานคือ บทความที่คุณสมยศไม่ได้เป็นผู้เขียน แต่อ้างว่า คุณสมยศต้องมีความผิดเพราะเป็นบรรณาธิการของวารสารนั้น ทั้งที่กฎหมายจดแจ้งการพิมพ์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันระบุว่า บรรณาธิการไม่ต้องรับผิดชอบต่อข้อเขียนในวารสาร เป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้นเอง แต่เมื่อถูกจับกุม ศาลก็อ้างเหตุว่า คุณสมยศจะหลบหนี จึงห้ามการประกันตัว คุณสมยศจึงติดคุกฟรีมานานมากกว่า 1 ปี ทั้งที่เป็นผู้บริสุทธิ์ เพราะผู้พิพากษาขาดความกล้าหาญทางจริยธรรมที่จะบอกว่า คุณสมยศไม่มีความผิด เหตุผลในการห้ามการประกันตัวก็อ้างกันจนเป็นแผ่นเสียงตกร่อง ศาลต้องรู้ดีในหลักการทางนิติศาสตร์สากลว่า ผู้ถูกกล่าวหาถือว่า ยังไม่มีความผิด และโดยหลักการทั่วไปต้องให้ประกันตัว นอกจากว่า จำเลยจะมีส่วนไปยุ่งเกี่ยวกับหลักฐาน ซึ่งในกรณีหลักฐานคือ บทความในวารสาร คุณสมยศคงจะไปแก้ไขทำลายไม่ได้ ยิ่งกว่านั้น ศาลก็ไม่มีความกล้าหาญพอที่จะพิจารณาว่า คุณสมยศไม่เคยประกอบความผิดมาก่อน มีอาชีพที่แน่นอนชัดเจน และยังมั่นใจว่าตนเองไม่ได้ทำความผิด จึงไม่มีเหตุผลอันใดเลยที่คุณสมยศจะหลบหนี กรณีจับคุณสมยศเข้าคุก จึงเป็นเรื่องอัปยศอีกครั้งหนึ่งของวงการตุลาการไทย
 
แต่ที่มากกว่า ไม่มีตุลาการคนใดเลยที่จะประกาศว่า กฎหมายมาตรา 112 ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เป็นผลพวงของการรัฐประหารเมื่อ 6 ตุลาคม พ.ศ.2519 คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินได้ออกประกาศเพิ่มโทษในการกระทำความผิดตามมาตรานี้ หมายความว่า มาตรา 112 ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ จึงไม่เคยผ่านการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งสมัยไหนเลย ถ้าหากคณะตุลาการมีจริยธรรมเพียงพอ ต้องบอกว่า กฎหมายแบบนี้ใช้ไม่ได้ การตัดสินพิจารณาดำเนินคดีตามกฎหมายมาตรานี้ทั้งหมดที่ผ่านเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน เป็นความไม่สิวิไลซ์ทางด้านกฎหมาย
 
สมศักดิ์ เจียมธีรสกุลได้ถามถึงความรับผิดชอบของทุกฝ่ายต่อกรณีการเสียชีวิตของผู้บริสุทธิ์อย่างคุณอำพน โดยชี้ว่าในทุกวงการไม่มีใครมีความกล้าหาญทางจริยธรรมเพียงพอ และความไม่กล้าหาญเช่นนี้เอง ได้ทำลายคุณค่าแห่งความเป็นมนุษย์ของชนชั้นนำในสังคมลงไปด้วย
 
การวิจารณ์ในลักษณะเช่นนี้ เป็นสิ่งที่ถูกต้องอย่างยิ่ง ในด้านหนึ่งก็เป็นการสะท้อนความชั่วร้ายของฝ่ายอำมาตย์ พรรคประชาธิปัตย์ ฝ่ายขบวนการเสื้อเหลือง และศาล ที่ร่วมกันละเมิดสิทธิมนุษยชน ปลุกกระแสคลั่งเจ้า เอาคนบริสุทธิ์เข้าคุก
 
แต่ในอีกด้านหนึ่ง คงจะต้องสะท้อนในด้านของฝ่ายรัฐบาลเพื่อไทยเอง ที่ช่วยเหลือความทุกข์ของคนที่ถูกดำเนินคดีตามมาตรา 112 น้อยเกินไป หรือไม่กล้าพูดว่า กรณีเหล่านี้คือความไม่เป็นธรรม การใช้กฎหมายแบบนี้ไม่ถูกต้อง มักอ้างกันว่าเป็นเรื่องของศาลสถิตยุติธรรม แต่ในกรณีที่ศาลไม่ได้ให้ความเป็นธรรมแก่ประชาชนเช่นนี้ รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็ยังจำนนกับศาลมากเกินไป จนไม่สามารถมีมาตรการใดที่จะนำไปสู่การปฏิรูปศาลได้เลย และในที่สุดประชาชนคนสามัญนั่นเอง ก็จะตกเป็นเหยื่อของความอยุติธรรมที่เกิดขึ้น
 
และนี่คือปัญหาเรื่องความกล้าหาญทางจริยธรรมในสังคมไทย
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

บอร์ดค่าจ้างกลางยืนมติเดิม 300 บ. 70 จว. เริ่ม 1 ม.ค.56

Posted: 05 Sep 2012 08:06 AM PDT

คณะกรรมการค่าจ้างยืนยันปรับขึ้นค่าจ้าง 300 บ.ต่อวันพร้อมกันทั่วประเทศ 1 ม.ค.ปีหน้า และให้คงอัตราค่าจ้างขั้นต่ำไว้ที่วันละ 300 บาท เป็นเวลา 2 ปี ระบุไม่ส่งผลให้เลิกจ้าง-เอสเอ็มอีปรับตัวได้

(5 ก.ย.55) ที่กระทรวงแรงงาน นพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการค่าจ้าง กล่าวหลังประชุมคณะกรรมค่าจ้างว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้ปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาทใน 70 จังหวัดทั่วประเทศวันที่ 1 ม.ค.56 และให้คงอัตราค่าจ้างขั้นต่ำไว้ที่วันละ 300 บาท เป็นเวลา 2 ปี ตั้งแต่ปี 2557-2558 ทั้งนี้ ภายใน 2 สัปดาห์จะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป

นพ.สมเกียรติ กล่าวว่า สาเหตุที่คณะกรรมการค่าจ้างยืนยันมติเดิมเพราะได้ติดตามสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจสังคมและแรงงาน หลังวันที่ 1 เม.ย.55 ที่ได้มีการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำในทุกจังหวัดขึ้นร้อยละ 39.5 โดยมี 7 จังหวัดที่อัตราค่าจ้างปรับเป็นวันละ 300 บาท ได้แก่ กรุงเทพฯ นนทบุรี สมุทรปราการ สมุทรสาคร ปทุมธานี นครปฐม ภูเก็ต พบว่าไม่ส่งผลกระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจ โดยพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ ได้แก่

  1. ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ขยายตัวต่อเนื่องในช่วงไตรมาส 2 ถึงร้อยละ 4.2 สูงกว่าไตรมาสแรกของปีนี้ เนื่องจากประชาชนมีกำลังซื้อเพิ่มขึ้น
  2. ผลกระทบจากการลงทุนของภาคเอกชนพบว่าในรอบ 7 เดือนที่ผ่านมามีนักลงทุนต่างชาติเสนอโครงการขอรับเงินส่งเสริมการลงทุน 829 โครงการ เพิ่มขึ้นร้อยละ 38 เงินลงทุนรวม 3.3 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 62
  3. อัตราเงินเฟ้อในรอบ 7 เดือนที่ผ่านมาปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.92 ต่ำกว่าที่บอร์ดค่าจ้างคาดการณ์ไว้ว่าอยู่ที่ร้อยละ 3.3-3.8
  4. อัตราการว่างงานไม่ได้สูงขึ้น ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ ม.ค.-มิ.ย.55 อยู่ที่อัตราร้อยละ 0.8 ซึ่งถือว่าต่ำ
  5. ส่วนการเลิกจ้างก็ไม่ได้เพิ่มขึ้นโดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานพบว่าสถานประกอบการ 9,098 แห่ง ลูกจ้างกว่า 3.5 แสนคน ตั้งแต่ เม.ย.-มิ.ย.ที่ผ่านมามีการเลิกจ้างเพียง 2 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 0.02 ลูกจ้าง 144 คนคิดเป็นร้อยละ 0.04 ซึ่งเป็นตัวเลขที่ไม่ผิดปกติ
  6. ผลกระทบต่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก (เอสเอ็มอี) ร้อยละ 80 ได้รับผลกระทบ แต่จำนวนนี้ร้อยละ 99 ปรับตัวได้ซึ่งเป็นผลสำรวจจากกระทรวงแรงงานร่วมกับสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยและสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)
  7. ผลกระทบต่อขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระยะสั้นช่วง 7 เดือนที่ผ่านมาผลิตภาพแรงงานมีการปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.7 ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 10 ปีย้อนหลังก่อนมีการปรับขึ้นค่าจ้าง ผลิตภาพแรงงานมีการปรับเพิ่มขึ้นต่ำอยู่ที่ร้อยละ 2-3 เท่านั้น แสดงให้เห็นว่าการปรับขึ้นค่าจ้างครั้งนี้ทำให้ผู้ประกอบการมีการกระตุ้นให้แรงงานปรับการทำงานให้มีประสิทธิภาพ ส่วนระยะกลางทำให้มีการลงทุนด้านเทคโนโลยีการผลิตและการบริหารจัดการมากขึ้น ระยะยาวทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดการลงทุนและการผลิตจากประเทศที่กำลังพัฒนาไปสู่ประเทศที่พัฒนาแล้ว
  8. การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำช่วยลดช่องว่างและความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและกระจายรายได้ที่เป็นธรรม
  9. ทำให้แรงงานมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
  10. ปลัดกระทรวงแรงงาน ยังกล่าวถึงมาตรการรองรับผลกระทบจากการปรับค่าจ้างใน 70 จังหวัด ว่าจะรวบรวมข้อเสนอแนะของผู้ประกอบการต่างๆ โดยเฉพาะธุรกิจเอสเอ็มอี ซึ่งที่ผ่านมามีข้อเสนอต่างๆ เช่น ขยายเวลาลดเงินสมทบประกันสังคมออกไปอีก 1 ปี ขยายเวลาลดภาษีเงินส่วนต่างของค่าจ้างที่ปรับเพิ่มขึ้นที่จะหมด ธ.ค.นี้ จัดตั้งกองทุนเงินกู้จำนวน 1-2 หมื่นล้านให้ธุรกิจเอสเอ็มอี โดยข้อเสนอแต่ละเรื่องก็จะเสนอต่อไปยังกระทรวงที่เป็นเจ้าของเรื่องเพื่อพิจารณาต่อไป รวมทั้งจะรวบรวมมาตรการต่างๆ เสนอเป็นแพคเกจเข้า ครม. ภายใน ธ.ค.นี้ เพื่อให้มาตรการรองรับออกมาทันกับการปรับขึ้นค่าจ้างวันที่ 1 ม.ค.56

ปลัดกระทรวงแรงงาน ยังกล่าวถึงมาตรการรองรับผลกระทบจากการปรับค่าจ้างใน 70 จังหวัด ว่าจะรวบรวมข้อเสนอแนะของผู้ประกอบการต่างๆ โดยเฉพาะธุรกิจเอสเอ็มอี ซึ่งที่ผ่านมามีข้อเสนอต่างๆ เช่น ขยายเวลาลดเงินสมทบประกันสังคมออกไปอีก 1 ปี ขยายเวลาลดภาษีเงินส่วนต่างของค่าจ้างที่ปรับเพิ่มขึ้นที่จะหมด ธ.ค.นี้ จัดตั้งกองทุนเงินกู้จำนวน 1-2 หมื่นล้านให้ธุรกิจเอสเอ็มอี โดยข้อเสนอแต่ละเรื่องก็จะเสนอต่อไปยังกระทรวงที่เป็นเจ้าของเรื่องเพื่อพิจารณาต่อไป รวมทั้งจะรวบรวมมาตรการต่างๆ เสนอเป็นแพคเกจเข้า ครม. ภายใน ธ.ค.นี้ เพื่อให้มาตรการรองรับออกมาทันกับการปรับขึ้นค่าจ้างวันที่ 1 ม.ค.56
 

ที่มา: ศูนย์ข่าวเพื่อชุมชน สำนักข่าวอิศรา
http://www.isranews.org/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7/57-2012-08-12-13-59-01/16184--300-70-1-56-.html

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ห้ามเด็ก “เอากัน” ...ทำได้จริงไหม ผู้ใหญ่

Posted: 05 Sep 2012 06:29 AM PDT

 

ฉันยืนมองโปสเตอร์รณรงค์ โครงการศึกษาสาธารณสุขร่วมใจเทิดไท้องค์ราชัน ลดโรค เพิ่มสุข วัยรุ่นไทย

ใบหนึ่งเป็นรูปเด็กผู้หญิงในเครื่องแบบนักเรียนกำลังทำหน้าคล้ายจะสิ้นลม ในมือถืออุปกรณ์ที่ใช้ตรวจครรภ์ มีคำโปรยว่า "คิดให้ดีก่อนทำ"

อีกใบเป็นรูปชายในเครื่องแบบนักเรียนกำลังอุ้มทารกตัวน้อย มีคำโปรยว่า "ผู้ชายเป็นต้นเหตุ ให้ผู้หญิงวัยรุ่นคลอดบุตร เฉลี่ย 15 คนต่อชั่วโมง" และ "ผลจากการเช็คเรตติ้ง มีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน เป็นต้นเหตุให้วัยรุ่นคลอดบุตรเฉลี่ย 15 คนต่อชั่วโมง"

ฉันรู้และเข้าใจว่าโปสเตอร์รณรงค์ชิ้นนี้ ชูปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น


 

แต่อย่างแรกเลยนะ

จากความรู้วิชาชีววิทยาพื้นฐานมากๆ การตั้งครรภ์นั้นเกิดจากอสุจิผสมกับไข่ และไปฝังตัวที่ผนังมดลูก

ดังนั้น หากบอกว่า "ผู้ชาย" และ "การมีเพศสัมพันธ์" เป็นต้นเหตุ สำหรับฉันมันไม่จริงเลย

เราก็เห็นๆ กันอยู่ว่าผู้ชายที่มีเพศสัมพันธ์แล้วไม่ทำให้ผู้หญิงท้องนั้นมีอยู่เป็นล้านๆ คน และการมีเพศสัมพันธ์กันก็ไม่ได้ทำให้ผู้หญิงทุกคนท้องเสมอไป

ประโยคเหล่านี้กระเทือนจิตใจผู้ชายนะที่ไปหาเขาว่าเป็นเหตุเกิดเรื่อง และทำให้วัยรุ่นขยาดต่อคำว่า "มีเพศสัมพันธ์" เพราะมันเป็น "ตัวการร้าย" พร้อมทั้งสั่งสอนว่า ควรคิดให้ดีก่อนที่จะมีเพศสัมพันธ์

แต่ในความเป็นจริง "เพศสัมพันธ์" มันใช่เรื่องที่ต้องใช้ความคิดด้วยหรือ มีใครมาใช้ความคิดเมื่อ "เข้าด้ายเข้าเข็ม" รึเปล่า

แล้วหากคิดได้ว่าไม่ควร แต่อารมณ์มันวิ่งไปไกลกว่าความคิดแล้ว..จะทำอย่างไร

ไม่ว่าผู้ใหญ่หรือวัยรุ่น เพศสัมพันธ์เป็นเรื่องแสนธรรมดาที่ร่างกายเราเรียกร้อง เหมือนที่ท้องเราหิวข้าว โดยเฉพาะในวัยรุ่น ยิ่งเป็นช่วงวัยที่พร้อมจะสืบพันธุ์

ดังนั้น คำว่า "ยังไม่ถึงวัยอันควร" ย่อมใช้ไม่ได้แน่ๆ

เพราะทั้งร่างกายและอารมณ์ของวัยรุ่นมันแสดงออกแล้วว่า "นี่ล่ะ คือช่วงเวลาอันควรของฉัน"

แต่ปัญหาคือ ในสังคมปัจจุบัน มันยังไม่ใช่เวลาจะเลี้ยงลูก แต่คือเวลาที่วัยรุ่นต้องเรียนหนังสือ ในเมื่อเรารู้แล้วว่าผู้หญิงตั้งครรภ์เพราะอะไร ทำไมจึงไม่ป้องกันจากจุดนั้น เมื่อเทคโนโลยีก็ก้าวไปไกล ทำไมจึงไม่สอนให้มีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย โดยใช้ถุงยางอนามัย หรือวิธีอื่นๆ

ทำไมนะ ผู้รณรงค์ไม่ลองพยายามหาวิธีฝังความคิดใส่สมองวัยรุ่นดูบ้างว่า...ต้องใช้ถุงยางอนามัย เมื่อมีเพศสัมพันธ์.. และทำให้ความคิดนั้นฝังไปจนถึงบนเตียง เพราะแก้ปัญหาได้ตรงประเด็นกว่าการพยายามฝังความคิดว่า เพศสัมพันธ์นั้นอันตรายทำให้ผู้หญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อมและต้องคลอดลูกเฉลี่ย 15 คนต่อชั่วโมง

บลา..บลา..บลา..

ยังมีโปสเตอร์อีกใบ เป็นภาพเด็กผู้หญิงยืนมั่นใจอยู่หน้ากระดานดำ พร้อมคำโปรยว่า "ฉันไม่พร้อมมีเพศสัมพันธ์" และต่อไปที่ด้านล่างว่า "กล้าประกาศให้รู้ ชีวิตนี้ไม่มีพลาด วัยรุ่นหญิงในวัยเรียน ต้องกล้าปฏิเสธในการมีเพศสัมพันธ์"

ขอบอกหน่อยนะว่า สิ่งที่เกิดขึ้นในหัวของฉันเมื่อเห็นภาพโปสเตอร์รณรงค์นี้ ซึ่งทำให้การรณรงค์นี้ไม่ได้ผลเลยคือ คำถามว่า "รู้ได้อย่างไรว่าผู้หญิงไม่พร้อมจะมีเพศสัมพันธ์"

ข้อมูลนี้เกิดจากการอนุมานเอาเองของผู้ทำ หรือการสุ่มตัวอย่าง แต่จากประสบการณ์ของฉันคือ

ผู้หญิงบางคนไม่รู้ด้วยซ้ำว่าตัวเองอยากมีเพศสัมพันธ์ แต่เพราะสังคมแวดล้อมและค่านิยมที่สั่งสอน ว่า "ต้องเป็นคนรักนวลสงวนตัว"

..จะซ่าเรื่องไหนก็ต้องไม่ใช่เรื่องเพศ..

ผู้หญิงที่แสดงออกอย่างชัดแจ้งในเรื่องนี้คือผู้หญิงไม่ดี และมีคำด่าสำหรับผู้ที่แสดงออกเรื่องเพศ

อย่างมากมาย ไม่มีใครอยากจะโดนประณามเช่นนั้น จึง "สั่งสอนตัวเองอีกที" ว่าเราไม่ได้มีความต้องการ ทางเพศ ดังนั้น เมื่อมีผู้ชายมาเอ่ยปากขอมีเพศสัมพันธ์ด้วย ก็พยายามจะปฏิเสธ ซึ่งอาจสำเร็จเพราะบางรายผู้ชายอาจหยุด (แต่ในใจผู้หญิงที่ปฏิเสธกลับรู้สึกว่า "ทำไมไม่ดำเนินการต่อ")

บางรายผู้ชายยังพยายามตื๊อต่อไป และผู้หญิงก็ไม่ได้รู้สึกอย่างจริงจังว่า "ต้องปฏิเสธ" อาจเพราะในใจลึกๆ แล้ว ผู้หญิงเองก็มีความต้องการทางเพศเช่นเดียวกัน ดังนั้น การจะให้พูดอย่างเต็มปากเต็มคำออกมาว่า "ฉันไม่พร้อมมีเพศสัมพันธ์" ก็คงเป็นเรื่องยาก

การพยายาม "สะกดจิตผู้หญิงให้ไม่พร้อมมีเพศสัมพันธ์" เป็นผลร้ายต่อตัวผู้หญิงเอง เพราะเมื่อคิดว่า ยังไงเสีย ตนเองก็จะไม่มี จึงไม่เคยมีความรู้เรื่องการป้องกันการตั้งครรภ์ รวมไปถึงความรู้เรื่องอื่นๆ เช่น โรคต่างๆ ที่จะตามมา การรู้จักนับประจำเดือน

เมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน ตกอยู่ในสถานการณ์ที่ต้องมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้เตรียมพร้อม เช่น โดนบังคับ ข่มขืน อยู่ในอารมณ์มึนเมา หรืออยู่กับคนรักและอารมณ์กำลังพาไปโดยไม่รู้สึกอยากปฏิเสธ จึงเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ได้มากกว่าผู้ที่เตรียมพร้อมเสมอ

การออกมารณรงค์ว่า "มีเพศสัมพันธ์ในวัยรุ่นเป็นเรื่องที่ผิดพลาด กลายเป็นตราบาปในชีวิต" ยิ่งเป็นการตอกย้ำค่านิยมให้สังคมเหยียดวัยรุ่นที่มีเพศสัมพันธ์ รังเกียจผู้หญิงที่ท้องในวัยเรียน และทำให้คนที่ตกอยู่ในสถานการณ์เช่นนั้นรู้สึกเหมือน "โดนทั้งแผ่นดินกดทับ" คิดว่าตัวเองทำความผิดรุนแรงและ..ไม่มีค่าอีกต่อไป ทั้งที่เพศสัมพันธ์ไม่ใช่เรื่องอันตราย และไม่ได้เป็นสิ่งต้องห้าม

สิ่งที่อันตรายคือ การศึกษา สื่อ และสังคม ที่ไม่เคยให้ความรู้เรื่องการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย ป้องกันโรคติดต่อและป้องกันการตั้งครรภ์ ทั้งยังซ้ำเติมคนที่พลาดตั้งครรภ์ในวัยเรียน และไม่เคยมีทางออกให้ นอกจาก...ผู้หญิงต้องก้มหน้าเลี้ยงลูกทั้งที่ไม่พร้อม หากคนไหนไปยุติการตั้งครรภ์และถูกจับได้ ก็โดนประณามว่าเป็น "แม่ใจยักษ์"

ฉันก็ไม่เคยหยุดสงสัยซะทีว่า สังคมเราจะทำเรื่องธรรมชาติให้กลายเป็นความผิดราวก่ออาชญากรรมเพื่ออะไร

เหตุใดผู้ใหญ่จึงเอาแต่ต่อต้าน กดเก็บความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ แม้ว่าเทคโนโลยีและความรู้ เรื่องเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัยจะก้าวไปไกลแค่ไหน แต่ค่านิยม การศึกษา และสื่อของสังคมก็ยังคงพูด "เรื่องเดิมๆ" ซึ่งไม่อาจแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างไม่เปลี่ยนแปลงเสียที

อีกอย่างนะ ภาพวัยรุ่นหญิงมัธยมต้นที่นำมาใช้ในโปสเตอร์รณรงค์ชุดนี้ แสดงว่าผู้ทำก็คงรู้แล้วว่า วัยรุ่นเดี๋ยวนี้มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุ 13-14 ปี แต่ลองพลิกเข้าไปดูเนื้อหาการศึกษาระดับมัธยมต้น ในห้องเรียนสิ ยังทำราวกับเด็ก "ไม่รู้อิโหน่อิเหน่อะไร" ไม่เคยมีการสอนเรื่องเพศศึกษาในเชิงป้องกัน การรู้ทันอารมณ์ทางเพศ และความรู้ในเรื่องเหล่านี้ที่เอาไปใช้ได้จริงๆ ในชีวิตด้วยซ้ำ

มีแต่เนื้อหา "สั่ง ห้าม อย่า" เพียงอย่างเดียว ซึ่งไม่สามารถยืนยันว่าจะประสบผลสำเร็จได้เลย ฉันขอรับรอง

ก็ขนาดยืนดูภาพวัยรุ่นชายหน้าตาคมเข้มบนโปสเตอร์นี้ ฉันยังอดคิดในใจไม่ได้ว่า

"แหม่ คัดหน้าตามาซะหล่อโดนใจ อยากรู้จักจัง”

 

หมายเหตุ:
บทความนี้เผยแพร่ครั้งแรกที่ http://www.teenpath.net/content.asp?ID=15575#.UEdPGupsyzA
ภาพประกอบจากเว็บไซต์โครงการศึกษาสาธารณสุขร่วมใจเทิดไท้องค์ราชัน ลดโรค เพิ่มสุข วัยรุ่นไทย  http://www.smartteen.net/

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

พม่าตั้ง 4 กระทรวงใหม่ รองรับการลงทุน-ซีเกมส์-การเจรจาสันติภาพ

Posted: 05 Sep 2012 05:48 AM PDT

โดยประธานาธิบดีเต็ง เส่ง เริ่มปรับคณะรัฐมนตรีใหม่หลายสิบตำแหน่งมาตั้งแต่สัปดาห์ก่อน โดยคาดว่าจะมีการแต่งตั้งรัฐมนตรีได้ทั้งหมดก่อนปิดประชุมสภา หรือภายในศุกร์นี้

เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา (4 ก.ย.) รัฐสภาพม่าได้ลงมติอนุมัติให้ตั้ง 4 กระทรวงใหม่ ขึ้นกับสำนักงานประธานาธิบดีพม่า พร้อมลงมติยุบกระทรวงพัฒนาอุตสาหกรรม และรวมกระทรวงไฟฟ้า 1 และ 2 เข้าเป็นกระทรวงเดียวกัน

โดยหลังการประชุมสภา วุฒิสมาชิกพม่าโฟน มิน อ่อง จากพรรคประชาธิปไตยแห่งชาติใหม่ (NNDP) ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวอิระวดีว่า กระทรวงภายใต้สำนักงานประธานาธิบดีได้เพิ่มจาก 2 กระทรวง เป็น 6 กระทรวง โดย 4 รัฐมนตรีได้แก่ อ่อง มิน, ซอ เถ่ง, หล้า ทุน และ ทิน นาย เถ่ง ได้รับการแต่งตั้งแล้วเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา

ประธานาธิบดีเต็ง เส่ง กล่าวกับรัฐสภาว่า การเพิ่ม 4 กระทรวงใหม่นี้จะช่วยปรับปรุงกระบวนการสันติภาพให้มีประสิทธิภาพ เช่นเดียวกับที่สำนักงานประธานาธิบดีก็มีการอนุมัติกฎหมายเกี่ยวกับการลงทุนโดยตรงของต่างชาติ และเพื่อเป็นการเตรียมจัดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ในปี 2556 และเป็นประธานอาเซียนในปี 2557

ตำแหน่งรัฐมนตรี 9 ตำแหน่งจากทั้งหมด 36 ตำแหน่งยังคงว่างอยู่ แม้ว่ารายชื่อผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีจะได้รับการเสนอไปแล้ว โดยรายชื่อของรัฐมนตรีช่วยว่าการ 8 ตำแหน่งได้รับการเสนอชื่อเพื่อรอแต่งตั้ง พร้อมกับการเสนอชื่อคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน และผู้บัญชาการกองทัพภาคเหนือ พล.อ.ซา ยา อ่อง โดยตำแหน่งที่ว่างอยู่ได้แก่ กระทรวงโยธาธิการ กระทรวงสวัสดิการสังคมและการโยกย้ายถิ่นฐาน กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงการคลังและภาษี กระทรวงแรงงาน กระทรวงการท่องเที่ยว กระทรวงกิจการรถไฟ และกระทรวงเทคโนโลยี

สมาชิกรัฐสภาคนหนึ่งระบุว่า การแต่งตั้งรัฐมนตรีทั้งหมดจะมีการประกาศอย่างเป็นทางการก่อนหมดสมัยประชุมสภา ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นวันศุกร์นี้ (7 ก.ย.)

โดยวุฒิสมาชิกพม่า โฟน มิน อ่อง กล่าวว่า ในการประชุมเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา สามารถยืนยันตำแหน่งของรัฐมนตรีช่วยว่าการได้แล้ว 50 จาก 72 ตำแหน่ง ทั้งนี้ 36 กระทรวงของพม่าจะมีรัฐมนตรีช่วยว่าการ 2 ตำแหน่ง

ขณะเดียวกัน การปรับคณะรัฐมนตรีของประธานาธิบดีเต็ง เส่ง ก็ยังดำเนินต่อไป โดยเต็ง เส่ง ยื่นต่อรัฐสภาเพื่อขอแต่งตั้งผู้อำนวยการสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน และขอแต่งตั้งรัฐมนตรีกลาโหม

โดยในจดหมายของประธานาธิบดีถึงสภาแห่งสหภาพ เต็ง เส่ง ได้ขอตั้ง อดีตรัฐมนตรีกระทรวงกิจการเหมืองแร่ เถ่ง ไถ่ แทนที่ผู้อำนวยการสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินคนเก่า ลุน หม่อง ที่ลาออกจากตำแหน่งเมื่ออาทิตย์ก่อน และเขายังเสนอ พลจัตวาไว ลวิน แทนที่รัฐมนตรีกลาโหม หล้า มิ้น ทั้งนี้ พลจัตวาไว ลวินได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาภาคย่างกุ้งเมื่อเดือนก่อน

ทั้งนี้ข้อเสนอของประธานาธิบดีจะถูกอภิปรายโดยสมาชิกสภาในวันศุกร์นี้

โดยสมาชิกสภาหลายคนกล่าวกับ "อิระวดี" ว่า เบื้องต้นนี้สภาชิกสภามีปฏิกิริยาด้านลบต่อ เถ่ง ไถ่ เนื่องจากความอื้อฉาวเรื่องทุจริตในกระทรวงกิจการเหมืองแร่ ด้านโฟน มิน อ่อง วุฒิสมาชิกพม่ากล่าวว่า ตามที่ระบุในกฎหมาย ผู้ที่คัดค้านการเสนอชื่อดังกล่าวสามารถอภิปรายได้ในวันศุกร์นี้ (7 ก.ย.)

ทั้งนี้ เริ่มมีการปรับคณะรัฐมนตรีพม่ามาตั้งแต่วันจันทร์ที่แล้ว โดยมีการตั้งรัฐมนตรีคนใหม่ 9 ตำแหน่ง และรัฐมนตรีช่วยว่าการคนใหม่อีก 19 ตำแหน่ง

 

ที่มา: แปลจาก Four New Ministries Created in President’s Office By NYEIN NYEIN / THE IRRAWADDY| September 4, 2012

 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สุรพศ ทวีศักดิ์: ปัญหา “ผู้วิเศษ” ลอยนวลเหนือความรับผิดชอบทางศีลธรรมและกฎหมาย

Posted: 05 Sep 2012 03:21 AM PDT

เอาเข้าจริงแล้ว ปัญหาการ “อวดอุตตริมนุสสธรรม” ของพระสงฆ์นิการเถรวาทไทยตามที่เป็นข่าวหรือไม่เป็นข่าวก็ตาม ไม่ใช่เรื่องที่จะสรุปได้ว่าเป็น “เสรีภาพการแสดงออก” ของพระสงฆ์เท่านั้น (เพราะวินัยสงฆ์ห้ามไว้) ไม่ใช่เรื่องที่จะสรุปได้ว่า “อยู่นอกขอบเขตกฎหมาย”โดยสิ้นเชิง (เพราะอาจมีประเด็นทางกฎหมายอยู่ด้วย) ไม่ใช่เป็นเรื่องที่ขึ้นกับ “เสรีภาพที่จะศรัทธาหรือไม่” ของประชาชนเท่านั้น (เพราะมีประเด็นศรัทธาบนพื้นฐานของความ “แฟร์” และ/หรือ “ความรับผิดชอบทางศีลธรรม” ที่พระสงฆ์ต้องเคารพ “ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์” ของประชาชนอยู่ด้วย)

ประเด็นต่างๆ เหล่านี้คือประเด็นปัญหาทางหลักการ “ความรับผิดชอบในทางศีลธรรมและกฎหมาย” ความรับผิดชอบทางศีลธรรมมีสองส่วนหลักๆ คือ ความรับผิดชอบที่อ้างอิง “หลักพระธรรมวินัย” กับความรับผิดชอบที่อ้างอิงหลักการ “เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์” ของประชาชน ส่วนความรับผิดชอบทางกฎหมายก็เป็นความรับผิดชอบในสองสถานะอีกเช่นกัน คือในฐานะที่องค์กรสงฆ์เป็นองค์กรของรัฐ และในฐานที่พระสงฆ์เป็นพลเมืองที่อยู่ภายใต้กฎหมายของรัฐ (ที่เมื่อละเมิดกฎหมายก็ต้องรับผิดทางกฎหมายเป็นต้น)

คำถามคือ โดยหลักการ “ความรับผิดชอบทางศีลธรรมและกฎหมาย” ดังกล่าวนั้น เราจะตอบปัญหา (อย่างน้อย) ต่อไปนี้อย่างไร

1.ถ้าพระอวดอุตตริโดยอ้างว่า ตนบรรลุธรรมขั้นนั้นขั้นนี้ หรือมีคุณวิเศษรู้ชีวิตหลังความตายของบุคคลนั้นบุคคลนี้ จนชาวบ้านหลงศรัทธาแล้วบริจาคเงินเป็นจำนวนมาก (เช่น อาจเป็นหลักล้าน) แล้วต่อมาเขารู้ว่าถูกหลอก โดยอาจจะรู้ว่าตนถูกหลอกได้หลายวิธี เช่น พอเข้าวัดได้ศึกษาหลักพระธรรมวินัยมากขึ้นจึงรู้ว่า พระที่บรรลุธรรมเป็นพระอริยบุคคลตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไปต้องมี “ศีลสมบูรณ์” คือไม่ละเมิดวินัยสงฆ์ แต่เขาพบว่า พระที่อ้างว่าตนบรรลุธรรมมีญาณวิเศษอวดอุตตริอยู่เป็นประจำ เท่ากับละเมิดวินัยสงฆ์เป็นประจำ จึงไม่น่าเชื่อว่า “คุณวิเศษ” ที่อวดนั้นจะเป็นจริง หรือบังเอิญไปเห็นพฤติกรรมบางอย่างของพระที่อ้างว่าเป็นอริยะนั้นมีพฤติกรรมเชิงชู้สาวกับสีกา หรือพบว่าต่อมาพระที่เคยอวดอุตตริว่าตนเป็นพระอริยะมีญาณวิเศษสึกไปพร้อมบัญชีเงินฝากส่วนตัว 100 ล้านบาท เป็นต้น (เรื่องทำนองนี้เป็นไปได้ทั้งนั้น)

คำถามคือ ชาวบ้านที่หลงศรัทธาบริจาคเงินทำบุญไปแล้วเป็นจำนวนมาก แต่มารู้ทีหลังว่าตน “ถูกหลอก” หรือตกเป็น “เหยื่อ” จะสามารถทวงเงินบริจาคคืนได้หรือไม่ เหยื่อจะเรียกร้องความยุติธรรมได้จากใคร องค์กรสงฆ์และรัฐจะตอบปัญหานี้อย่างไร จะตอบเพียงว่า “เป็นเสรีภาพของพระที่จะอวดอุตตริ และเป็นเสรีภาพของชาวบ้านที่จะเชื่อและบริจาคเงิน” เท่านั้นได้หรือไม่

2.เป็นไปได้ว่าการพาดพิงคนในศาสนาอื่นว่าตายแล้วไปเกิดในสวรรค์ชั้นนั้นชั้นนี้ ถ้าญาติๆ ของเขาไม่พอใจ หรือเห็นว่าถูกละเมิด องค์กรสงฆ์และรัฐจะตอบปัญหานี้อย่างไร

ประเด็นนี้ต่างจาก “เรื่องเล่าปรัมปรา” เพราะเรื่องเล่าปรัมปราหมายถึง “เรื่องเล่าต่อๆ กันมา” ที่สังคมรับรู้ร่วมกันว่า “นั่นเป็นเรื่องเล่าต่อๆ กันมา” ในรูปนิทาน หรือตำนานต่างๆ เช่นตำนานพญานาค ตำนานพญาแถน ฯลฯ หรือแม้แต่นิทานชาดก ชาวพุทธก็รับรู้ร่วมกันว่าพุทธะกำลังเล่า “นิทาน” แต่กรณีชีวิตหลังความตายของสตีฟ จ็อบส์ หรือบุคคลอื่นๆ ที่มีชีวิตร่วมสมัยกับเรา ผู้เล่าเรื่องคือ “ต้นเรื่อง” (ไม่ใช่ผู้ถาม) เพราะผู้เล่าเรื่องไม่ได้ฟังต่อจากใครมา หรือเอาเรื่องที่เล่าต่อๆ กันมามาเล่าต่อ จึงมีปัญหาว่าผู้เล่าเรื่องไปรู้ชีวิตหลังความตายของบุคคลต่างๆ ได้อย่างไร และเมื่อไม่มีวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่จะไปรู้เรื่องทำนองนั้นได้ ก็เหลือแต่วิธีรู้ด้วย “ญาณวิเศษ” เท่านั้น ซึ่งทำให้เกิดคำถามตามมาว่า “ผู้เล่าเรื่องกำลังอวดอุตตริผิดวินัยสงฆ์หรือไม่?”

และการอ้างว่ารู้ด้วย “ญาณวิเศษ” นั้น สามารถเป็นข้อแก้ตัวจากการตั้งคำถามเรื่องการ “ละเมิด” ของญาติๆ ของคนต่างศาสนา (เป็นต้น) ได้หรือไม่

3.สังคมประชาธิปไตยสมัยใหม่ยึดหลักการที่ "แฟร์" (fairness) บนฐานของ “ความเท่าเทียม” (equality) เป็นหัวใจสำคัญ (เช่น เป็นหัวใจของหลักนิติรัฐ) แต่การที่พระพูดถึงเรื่องที่สามารถตั้งคำถามได้ทั้งในเชิงว่ามันเป็น "ความจริง" หรือไม่ หรือมัน "ผิดศีลธรรม" หรือไม่ บนฐานของการอ้างอิง "สถานะผู้มีญาณวิเศษเหนือคนธรรมดา" อย่างนี้ถือว่าขัดกับหลักการ "แฟร์" บนพื้นฐานของ "ความเท่าเทียม" หรือไม่ องค์กรสงฆ์หรือสังคมจะมีคำตอบอย่างไร

ผมขอยกตัวอย่างเปรียบเทียบกับกรณีที่อาจารย์สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ชี้ให้เห็นปัญหาของการอ้าง “free speech” เช่นที่บรรดา “คนรักเจ้า” มักอ้างว่าพวกเขามีเสรีภาพที่จะรัก มีเสรีภาพที่จะพูดสรรเสริญบุญคุณ และประโยชน์ต่างๆ ของสถาบันกษัตริย์ แต่ background ของการอ้าง free speech นี้คือ “การที่ฝ่ายเห็นต่างไม่มีเสรีภาพเสนอข้อมูลด้านตรงข้ามได้” ฉะนั้น การอ้างเสรีภาพดังกล่าวจึงไม่ได้อยู่บนหลักของความแฟร์แต่อย่างใด

กรณีของพระที่เล่าเรื่องชีวิตหลังความตายของคนอื่นๆ เป็นฉากๆ แม้จะเล่าโดยอ้างหลัก “เสรีภาพทางความเชื่อ” แต่มันไม่แฟร์ในความหมายว่า เมื่อพระกำลังเล่าชีวิตหลังความตายของนาย ก.เป็นฉากๆ เท่ากับพระกำลังยืนยันว่าตนเองกำลังพูด “ความจริง” (หากยืนยันว่าไม่ใช่ความจริง ก็เท่ากับท่านกำลัง “โกหก”) แต่ความจริงนั้นสามารถรู้ได้จาก “ญาณวิเศษ” ของผู้เล่าคนเดียวเท่านั้น คนอื่นรู้ด้วยไม่ได้ ฉะนั้น มันจึงไม่แฟร์สำหรับคนที่สงสัย ตั้งคำถาม และไม่แฟร์แม้ต่อคนที่เชื่อและบริจาคเงินทำบุญ เพราะผู้ศรัทธาคืออู้แบกรับ “ความเสี่ยง” ต่อการถูกหลอกเต็มๆ (เช่นเมื่อภายหลังรู้ว่าตน “ถูกหลอก” หรือตกเป็น “เหยื่อ” ก็ทำอะไรไม่ได้ นอกจาก “เสียความรู้สึก”)

ฉะนั้น ความไม่แฟร์ที่อ้างอิง “สถานะผู้มีญาณวิเศษเหนือคนธรรมดา” จึงทำให้พระที่อ้างอิงสถานะเช่นนั้น “ได้เปรียบ” ทั้งขึ้นทั้งล่อง คือคนที่ไม่เชื่อก็พิสูจน์หักล้างไม่ได้ คนที่เชื่อก็เสี่ยงที่จะถูกหลอก พระคือผู้ได้ผลประโยชน์จากการที่ไม่มีใครตรวจสอบญาณวิเศษของตนเองได้ และได้ประโยชน์จากความศรัทธาเลื่อมใส และเงินบริจาคทำบุญของประชาชน

และถึงที่สุดแล้ว การอวดอุตตริที่อ้าง “สถานะผู้มีญาณวิเศษเหนือคนธรรมดา” ก็คือสถานะที่ “ลอยนวล” เหนือ “ความรับผิดชอบทั้งทางศีลธรรมและกฎหมาย” และเป็นสถานะที่ถูกใช้สร้างการโฆษณาชวนเชื่อปั่นศรัทธาและผลประโยชน์แบบกินเปล่า เอาเปรียบได้สบายๆ แน่นอน ถ้าสังคมยังยอมรับ “สถานะพิเศษเหนือมนุษย์” ของคนอย่างเราๆ เช่นนี้อยู่ต่อไป สภาพปัญหาดังข้อความข้างล่างนี้ก็จะยังคงอยู่ หรือหนักยิ่งขึ้นต่อไป

quote by Nazario http://www.facebook.com/quotequotequote/posts/479142955442823

คำถามคือ พุทธศาสนาจะตอบปัญหาของสถานะพิเศษดังกล่าวอย่างไร?

มีคำตอบตรงไปตรงมาจากหลักการพุทธศาสนาว่า พุทธศาสนาบัญญัติวินัยสงฆ์ “ห้ามอวดอุตตริมนุสธรรม”เอาไว้ชัดเจนแล้ว ถ้าพระสงฆ์ยึดถือปฏิบัติตามนั้น ปัญหาในข้อ 1-3 (เป็นต้น) ก็ย่อมไม่เกิดขึ้น

ความน่าสนใจคือ พุทธะประเมิน “ค่าทางศีลธรรม” (moral value) ของการละเมิดวินัยสงฆ์ข้อที่ “ห้ามอวดอุตตริมนุสสธรรม” ไว้อย่างไร โปรดดูพุทธพจน์ข้างล่างนี้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม อันไม่มีอยู่ อันไม่เป็นจริง นี้จัดเป็นยอดมหาโจร ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะภิกษุนั้น ฉันก้อนข้าวของชาว แว่นแคว้น ด้วยอาการแห่งคนขโมย

(พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑ บรรทัดที่ ๘๕๒๐ - ๘๖๖๖. หน้าที่ ๓๒๙ - ๓๓๔.
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=1&A=8520&Z=8666&pagebreak=0)

จะเห็นว่า การประเมินค่าทางศีลธรรมของการ “อวดอุตตริมนุสสธรรมที่ไม่มีในตน” ว่าเป็นการกระทำของ “ยอดมหาโจร” เพราะเหตุผลที่ว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นการ “ขโมย” หรือ “คอรํรัป” อาหารการกิน ปัจจัยสี่หรือเงินทองที่ชาวบ้านมอบให้ด้วยศรัทธา และเมื่อพิจารณาที่มาของการบัญญัติวินัยห้ามพระอวดอุตริที่เกิดจากการที่ภิกษุกลุ่มหนึ่งอวดอุตตริเพื่อให้ชาวบ้านเลื่อมใสถวายอาหารและลาภสักการะ ยิ่งเห็นได้ชัดว่า “เหตุผลทางศีลธรรม” ของวินัยสงฆ์ข้อนี้ คือการปฏิเสธ “การอ้างอิงสถานะพิเศษเพื่อเอาเปรียบเพื่อนมนุษย์”

ฉะนั้น การที่พระสงฆ์ละเมิดพระธรรมวินัยด้วยการ “อ้างอิงสถานะพิเศษเพื่อเอาเปรียบเพื่อนมนุษย์” ก็คือ “การใช้ศาสนาหมิ่นศักดิ์ศรีของมนุษย์” เป็นการอ้างสถานะของ “คนดี” หรือ “ผู้บริสุทธิ์” ทางศาสนาในการทำความชั่วโดยการเอาเปรียบเพื่อนมนุษย์อย่างน่าเศร้าใจ เข้าทำนองคำกล่าวข้างล่างนี้

http://thinkexist.com/quotes/like/religion-is-an-insult-to-human-dignity-with-or/410565/2.html และhttp://www.youtube.com/watch?v=Xq1hbqummvA

คำถามต่อองค์กรสงฆ์ อาจแยกเป็นสองคำถาม คือ

1.ในฐานะที่เป็นองค์กรสงฆ์ภายใต้พระธรรมวินัย องค์กรสงฆ์ควรจะดำเนินการอย่างไรในการใช้ “หลักพระธรรมวินัย” ตรวจสอบกันและกัน เพื่อป้องกันแก้ไขไม่ให้พระสงฆ์ละเมิดพระธรรมวินัยด้วยการ “อวดอุตตริมนุสสธรรม” ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อความน่าเชื่อถือของพุทธศาสนาและสถาบันสงฆ์เอง

2.ในฐานะที่องค์กรสงฆ์เป็นองค์กรที่ขึ้นต่อรัฐ (ตั้งแต่เจ้าอาวาสจนถึงพระสังฆราชถือว่าเป็น “เจ้าพนักงานของรัฐ” ตามกฎหมายปกครองสงฆ์) จะแสดงความรับผิดชอบอย่างไรต่อการปล่อยให้มีพระอ้างอิง “สถานะพิเศษ” เพื่อเอาเปรียบเพื่อนมนุษย์อย่างแพร่หลาย

ประเด็นนี้อาจารย์สมศักดิ์เปรียบกับสถาบันทหาร (ประมาณ) ว่า ในฐานะที่ทหารเป็นองค์กรของรัฐและเป็นองค์กรที่มีวินัย มีกฎหมายห้ามยุ่งเกี่ยวกับการเมือง ถ้าทหารออกมาพูดเรื่องการเมืองในระดับเดียวกับนักการเมืองอยู่เรื่อยๆ สังคมควรเรียกร้องให้ตรวจสอบโดยอ้างอิงวินัยทหารและกฎหมายได้ โดยข้อเปรียบเทียบกับองค์กรทหารที่ต้องอยู่ในกรอบวินัยและกฎหมายดังกล่าว ผมจึงชวนให้ตั้งคำถามว่า ในฐานะที่องค์กรสงฆ์เป็นองค์กรของรัฐ ได้งบประมาณจากรัฐ และองค์กรนี้ก็มีวินัยสงฆ์และกฎหมายบังคับอยู่ แต่ปรากฏว่ามีพระสงฆ์มาพูดอวดอุตตริที่ตั้งคำถามได้ว่า ละเมิดวินัยสงฆ์หรือไม่อยู่เป็นประจำ (เหมือนทหารพูดเรื่องการเมืองเป็นประจำ) องค์กรสงฆ์ในฐานะองค์กรของรัฐควรรับผิดชอบอย่างไร

คำถามสุดท้าย เป็นคำถามที่ฝากถึงนักเสรีนิยมในบ้านเราว่า แทนที่จะอ้าง “หลักเสรีนิยม” ว่า “พระที่อวดอุตตริก็มีเสรีภาพในการแสดงออก” และ “ชาวบ้านก็มีเสรีภาพที่จะเชื่อ” เพื่อคัดค้านการใช้ “หลักธรรมวินัย” ตรวจสอบกันเองของคณะสงฆ์นิกายเดียวกัน อยู่ภายใต้หลักธรรมวินัยและกฎหมายฉบับเดียวกัน เป็นองค์กรสงฆ์ที่ขึ้นต่อรัฐเหมือนกัน ซึ่งการอ้างหลักเสรีนิยมเพื่อคัดค้านการที่ชุมชนทางศาสนาใดศาสนาหนึ่ง หรือนิกายใดนิกายหนึ่งเขาจะใช้หลักความเชื่อของเขาตรวจสอบกันเอง ย่อมถูกตั้งคำถามได้ว่า เป็นการอ้างหลักเสรีนิยมที่ขัดแย้งกับหลักเสรีนิยมนั้นเองที่ต้อง “เคารพความแตกต่างทางความเชื่อ” ของศาสนาและนิกายศาสนาต่างๆ หรือไม่

ฉะนั้น โดยการอ้างอิงหลักเสรีนิยม นักเสรีนิยมควรตั้งคำถามต่อองค์กรสงฆ์ในประเด็น “ความรับผิดชอบทางศีลธรรมและกฎหมาย” ตามข้อ 1- 3 ดังกล่าวข้างต้น หรือไม่?

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

คปก.ชงความเห็นร่าง กม.คนพิการ ห่วงสัญญาจ้างเหมาช่วงไม่เป็นธรรม

Posted: 05 Sep 2012 02:54 AM PDT

คปก.ห่วงสัญญาจ้างเหมาช่วงงานไม่เป็นธรรมกับคนพิการ เสนอตัดออกจากมาตรา 35 ร่างกฎหมายคนพิการ

(4 ก.ย.55) นายคณิต ณ นคร ประธานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) ได้ลงนามในหนังสือบันทึกความเห็นและข้อเสนอแนะคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายเรื่อง ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ....เสนอต่อนายกรัฐมนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา ประธานวิปรัฐบาล และประธานวิปฝ่ายค้าน ซึ่งขณะนี้ร่างพ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ... อยู่ระหว่างการจัดทำรายงานสรุปผลการพิจารณาของคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อเสนอให้บรรจุไว้ในระเบียบวาระสภาผู้แทนราษฎร

คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย แสดงความเห็นว่า ควรกำหนดบทบาทให้องค์กรด้านคนพิการหรือองค์กรเอกชนอื่นใด ซึ่งได้รับรองจากคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ สามารถเรียกร้องแทนคนพิการ ให้ความช่วยเหลือ จัดให้มีศูนย์บริการ เสนอแนะต่อหน่วยงานรัฐ ตลอดจนให้กองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการจัดสรรงบประมาณจากกองทุนสนับสนุนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรด้านคนพิการ หรือองค์กรเอกชนในแต่ละท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ

สำหรับกรณีกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ คปก. มีความเห็นว่า ควรจัดตั้งเป็นคณะกรรมการบริหารการลงทุน ที่มีการจัดการบริหารการลงทุนที่มีการบริหารกองทุนที่สอดรับกับการกระจายภารกิจการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรด้านคนพิการหรือองค์กรเอกชน และควรมอบอำนาจให้คณะกรรมการบริหารกองทุนหรือคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการในระดับจังหวัดเป็นผู้พิจารณาอนุมัติงบประมาณเพื่อสนับสนุนได้ตามระเบียบที่คณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติกำหนด โดยไม่ต้องเสนอคำขออนุมัติต่อคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติพิจารณาทุกกรณี

ในแง่การคุ้มครองคนพิการในการทำงานและประกอบอาชีพ คปก.เสนอว่า ในกรณีที่นายจ้าง เจ้าของสถานประกอบการและหน่วยงานรัฐรายใดไม่ประสงค์จะรับคนพิการเข้าทำงาน แต่ประสงค์จะจ่ายเงินเข้ากองทุนฯ หรือให้ความช่วยเหลืออื่นใดแก่คนพิการ ควรได้ความเห็นชอบจากคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการก่อน นอกจากนี้ควรบัญญัติเพิ่มเติมเรื่องการสร้างงานให้แก่องค์กรด้านคนพิการด้วย

อย่างไรก็ตาม เจตนารมณ์ของกฎหมายนี้มีความต้องการเพื่อการสร้างงานให้แก่คนพิการในรูปแบบต่างๆ แต่การมีบทบัญญัติเรื่องจัดจ้างเหมาช่วงงานตามมาตรา 35 นั้น คปก.มีความกังวลว่าในประเด็นปัญหาความไม่เป็นธรรมในสัญญาจัดจ้างเหมาช่วงงานที่อาจจะไม่สร้างความมั่นคงในการทำงานให้กับคนพิการ จึงขอเสนอให้ตัดเรื่องการจัดจ้างเหมาช่วงงานออกจากมาตรา 35 ของพระราชบัญญัติดังกล่าวเพื่อให้สอดคล้องกับการเรียกร้องการปฏิบัติอย่างเป็นธรรมต่อแรงงานในภาพรวมของประเทศและเปิดโอกาสให้นายจ้างได้ใช้ทางเลือกอื่นที่สมเหตุสมผลและมีความเป็นธรรมตามหลักการและเหตุผลของการร่างกฎหมายฉบับนี้

ขณะเดียวกัน คปก.มีความเห็นเพิ่มเติมด้วยว่า คณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติมีอำนาจหน้าที่หนึ่งในการวินิจฉัยและมีคำสั่งเพิกถอนการกระทำหรือห้ามการกระทำที่มีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการ แต่เนื่องจากองค์ประกอบของคณะกรรมการฯ ดังกล่าวมีนายกเป็นประธาน และปลัดกระทรวงต่างๆ เป็นกรรมการทำให้การประชุมของคณะกรรมการฯ ไม่คล่องตัว คปก.เห็นว่าควรกำหนดให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการขจัดการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม เพื่อให้มีอำนาจหน้าที่ในการรับเรื่องร้องเรียน ตรวจสอบ ไกล่เกลี่ย ประนีประนอม วินิจฉัย ติดตามและเสนอแนะการแก้ไขปัญหาการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการ


 

///////////////////////
ดาวน์โหลด
บันทึกความเห็นร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (ฉบับที่..) พ.ศ. …

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

84 นักวิชาการยื่น จม.นายกฯ ค้านข้อสรุปกรมเจรจาฯ ที่ให้ยอมรับทริปส์พลัส เอฟทีเอกับอียู

Posted: 05 Sep 2012 02:51 AM PDT

 

ชี้ข้อสรุปของกรมเจรจาการค้าเป็นการสรุปที่บิดเบือนจากความเป็นจริง และไม่ได้มีการใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องที่มีอยู่ ซึ่งจะชี้นำทิศทางที่ผิดพลาดให้แก่รัฐบาลที่มีนโยบายสำคัญในการลดความเหลื่อมล้ำในระบบสุขภาพ

5 ก.ย.55/กรุงเทพฯ  จากการที่กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ พยายามเร่งให้เกิดการเจรจาเอฟทีเอกับสหภาพยุโรป และได้ทำข้อสรุปเสนอต่อนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีว่า ควรให้ไทยมีท่าทีการเจรจาที่ยืดหยุ่นและยอมรับข้อผูกพันที่มากกว่า TRIPs หรือยอมรับ TRIPs Plus โดยให้เหตุผลว่า การคุ้มครองข้อมูลทดสอบยา (Data Exclusivity) เพิ่มเติม 5 ปี จะไม่มีผลกระทบต่อราคายาในปัจจุบัน และการคุ้มครองข้อมูลทดสอบยา อาจมีผลทำให้ยาสามัญ (Generic drugs) วางตลาดได้ช้าลงแต่ไม่เกิน 5 ปี จึงทำให้ผลกระทบต่อยามีจำกัดนั้น

ผศ.ดร.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี หัวหน้าหน่วยวิจัยเภสัชศาสตร์สังคม คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า นักวิชาการด้านเภสัชศาสตร์ การแพทย์ การสาธารณสุข การพัฒนาสังคม การคุ้มครองผู้บริโภค และการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ทั้งสิ้น 84 คน ได้ทำจดหมายถึงนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี คัดค้านข้อสรุปของกรมเจรจาการค้าฯ ที่ให้ยอมรับทริปส์พลัส หากทำเอฟทีเอกับสหภาพยุโรป

“ข้อสรุปของกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศในฐานะเลขานุการการประชุมระดับสูงเพื่อพิจารณาเตรียมการเปิดการเจรจาการค้าเสรีของไทย เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม ที่ผ่านมาเป็นการสรุปที่บิดเบือนจากความเป็นจริง และไม่ได้มีการใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องที่มีอยู่ ซึ่งจะชี้นำทิศทางที่ผิดพลาดให้แก่รัฐบาลของนายกฯยิ่งลักษณ์ที่มีนโยบายสำคัญในการลดความเหลื่อมล้ำในระบบสุขภาพ

เพราะการคุ้มครองข้อมูลทดสอบยาหรืออีกนัยหนึ่งคือ การผูกขาดข้อมูลการขึ้นทะเบียนตำรับยา (data exclusivity) เป็นการสร้างระบบการผูกขาดทางการตลาดยาขึ้นใหม่ ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็น “สิทธิบัตรอำพราง” เพื่อเพิ่มการผูกขาดของสิทธิบัตรที่มีอยู่เดิม โดยอาจมีระยะเวลาการผูกขาดเพิ่มมากขึ้นถึง 10 ปี  และจากประสบการณ์ในหลายประเทศ เช่น โคลัมเบีย หลังจากที่สหภาพยุโรปบังคับให้มีการผูกขาดข้อมูลยา 10 ปี ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายด้านยาของประเทศเพิ่มขึ้นถึง 340 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (10,200 ล้านบาท) ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิจัยในไทย ที่พบว่า ถ้าปล่อยให้มีการผูกขาดข้อมูลการขึ้นทะเบียนตำรับยาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 (ซึ่งเป็นปีที่ทำการศึกษา) ทำให้ค่าใช้จ่ายด้านยาของไทยในอีกห้าปีข้างหน้า (พ.ศ. 2556)  จะสูงถึง 81,356 ล้านบาทต่อปี

พวกเราในฐานะนักวิชาการด้านเภสัชศาสตร์ การแพทย์ การสาธารณสุข การพัฒนาสังคม การคุ้มครองผู้บริโภค และการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ทั้ง 84 คนจึงได้ทำจดหมายเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรียืนยันที่จะกำหนดไว้ในกรอบการเจรจาเอฟทีเอ ไทย-สหภาพยุโรปที่จะไม่รับข้อเรียกร้องที่เกินไปกว่าความตกลงด้านทรัพย์สินทางปัญญา หรือ ความตกลงทริปส์  ทั้งนี้เป็นไปตามนโยบายแห่งชาติด้านยา พ.ศ. 2554 และยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบยาแห่งชาติ พ.ศ. 2555-2559  และขอให้การเจรจาเอฟทีเอกับสหภาพยุโรปที่จะมีขึ้นรอผลการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติกำลังดำเนินการอยู่ โดยที่ พวกเราพร้อมให้ความสนับสนุนด้านวิชาการแก่รัฐบาล เพื่อให้การเจรจาการค้าระหว่างประเทศได้ผลประโยชน์กับประเทศชาติอย่างสูงสุดและสร้างความยั่งยืนของระบบงบประมาณเพื่อการเข้าถึงยาของประชาชน”

ทั้งนี้จดหมายดังกล่าวได้สำเนาถึงนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี, นายบุญทรง เตริยาภิรมณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และนายวิทยา บูรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขด้วย                           

รายชื่อนักวิชาการถึงนายกรัฐมนตรี คัดค้านข้อสรุปของกรมเจรจาการค้าฯ ต่อการทำเอฟทีเอกับสหภาพยุโรป

 



ลำดับที่

ชื่อ

หน่วยงาน

1

ผศ.ดร.นิยดา  เกียรติยิ่งอังศุลี

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

2

ผศ.ดร.มนุพัศ โลหิตนาวี

มหาวิทยาลัยนเรศวร

3

ดร.ภก.ศราวุฒิ อู่พุฒินันท์

มหาวิทยาลัยนเรศวร

4

ภญ.ดร.อารยา ศรีไพโรจน์

กระทรวงสาธารณสุข

5

ภก.จรัญวิทย์  แซ่พัว

สงขลา

6

อ.ราตรี แมนไธสง

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

7

ภก.ดร..สมศักดิ์ อาภาศรีทองสกุล

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

8

อ.อิสรา จุมมาลี

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

9

ดร.อุษาวดี มาลีวงศ์

กพย.

10

ผศ.ดร.ศิริตรี สุทธจิตต์

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

11

รศ.ดร.พุฒิพงศ์ สัตยวงศ์ทิพย์

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

12

ศ.สุริชัย หวันแก้ว

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

13

รศ.ดร.ฉันทนา บรรพศิริโชติ หวันแก้ว

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

14

รศ.ดร.จิราพร ลิ้มปานานนท์

สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

15

รศ.ดร.วิทยา กุลสมบูรณ์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

16

ผศ.ดร.ยุพดี ศิริสินสุข

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

17

ผศ.ดร.วรรณา ศรีวิริยานุภาพ

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

18

อ.ดร.นฤมล อรุโณทัย

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

19

รศ.นพ.สุธี รัตนมงคลกุล

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

20

ภญ.ศิริพร จิตรประสิทธิ์ศิริ

ฉะเชิงเทรา กระทรวงสาธารณสุข

21

รศ.ดร.นุศราพร เกษสมบูรณ์

มหาวิทยาลัยขอนแก่น

22

ผศ.นพ.ดร.ปัตพงษ์ เกษสมบูรณ์

มหาวิทยาลัยขอนแก่น

23

รศ.ดร.อมรรัตน์ รัตนศิริ

มหาวิทยาลัยขอนแก่น

24

ผศ.สุณี เลิศสินอุดม

มหาวิทยาลัยขอนแก่น

25

นุชรี วงศ์สมุท

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

26

สุภาพรรณ พลังศักดิ์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

27

ศิริพร เจริญศุข

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

28

จิราพร เจียมจิตร

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

29

ศศิวัลย์ พรภักดี

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

30

วรรณิภา คำโคกกรด

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

31

ปาริชาต ชิตกูล

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

32

พิสณฑ์ ทองสง่า

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

33

สุกานดา โสตถิโสภณ

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

34

ชูเกียรติ จันทา

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

35

พิมพ์อัปสร โพธิ์เกษม

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

36

ผศ.ดร.วิบูลย์ วัฒนนามกุล

มหาวิทยาลัยขอนแก่น

37

ผศ รักษวร ใจสะอาด

มหาวิทยาลัยขอนแก่น

38

ดร วรรณี ชัยเฉลิมพงษ์

มหาวิทยาลัยขอนแก่น

39

รศ ดร จุฬาภรณ์ ลิมวัฒนานนท์

มหาวิทยาลัยขอนแก่น

40

รศ ดร สุพล ลิมวัฒนานนท์

มหาวิทยาลัยขอนแก่น

41

รศ ดร วัชรี คุณกิตติ

มหาวิทยาลัยขอนแก่น

42

ผศ ดร มณีรัตน์ รัตนามหัทธนะ

มหาวิทยาลัยขอนแก่น

43

ผศ ทิพาพร กาญจนราช

มหาวิทยาลัยขอนแก่น

44

นิพิฐพนธ์ สีอุปลัด

ขอนแก่น

45

พญ.นงนุช มารินทร์

เชียงราย

46

นพ.ชัยวุฒิ จันดีกระยอม

มหาสารคาม

47

นพ.อภิชัย  ลิมานนท์

มหาสารคาม

48

นพ.กัมปนาท โกวิทางกูร

ร้อยเอ็ด

49

นพ.สุรพงษ์ ผานาค

ขอนแก่น

50

นพ.ปิยวัตร ตุงคโสภา

อุดรธานี

51

นพ.พิสุทธิ์  ศรีอินทร์จันทร์

เลย

52

นพ.นริศ   เพชรบ่อใหญ่   

อำนาจเจริญ

53

นพ.เสกสรรค์ จวงจันทร์

ศรีสะเกษ   

54

นพ.วรวิทย์  เจริญพร

ยโสธร

55

พญ.อมรรัตน์ ปิตะพรหม

อุบลราชธานี

56

นพ.ศาสตรา เข็มบุบผา

บุรีรัมย์

57

นพ.พุทธา สมัดไชย

ชัยภูมิ

58

นพ.เอกรัฐ  จันทร์วันเพ็ญ

นครศรีธรรมราช

59

นพ.บัณฑิต พิทักษ์

มหาสารคาม

60

นพ.ไพรัตน์ สงคราม

มหาสารคาม

61

พญ.พัชรียา  ศรีสุข

มุกดาหาร

62

นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ

ขอนแก่น

63

นางวัชระษา พิทักษ์

มหาสารคาม

64

ภญ.กันต์กมล กิจตรงศิริ   

ยโสธร

65

ภก.องอาจ มณีใหม่               

มหาวิทยาลัยพะเยา

66

ภก.จรัญวิทย์  แซ่พัว             

สงขลา

67

แบงค์  งามอรุณโชติ

ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

68

ชลนภา อนุกูล

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ

69

นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ

สงขลา

70

นพ.สุวัฒน์ วิริยพงษ์สุกิจ

สงขลา

71

ผศ.สายพิณ หัตถีรัตน์

มหาวิทยาลัยมหิดล

72

นพ.วิชช์ เกษมทรัพย์

มหาวิทยาลัยมหิดล

73

ภญ.สรีรโรจน์ สุขกมลสันต์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

74

ภก.ปรุฬห์ รุจนธำรงค์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

75

ภก.ศิวาวุธ มงคล

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

76

ดร.นฤพร สุตัณฑวิบูรณ์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

77

ผศ.ภญ.ดร.กรแก้ว จันทภาษา

มหาวิทยาลัยขอนแก่น

78

ภก.ภาณุโชติ ทองยัง

สมุทรสงคราม

79

ดร.บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์

สถาบันธรรมรัฐเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม

80

ศ.ดร.กาญจน์พิมล ฤทธิเดช

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

81

ผศ.ภญ.ดร.ปิยะรัตน์ นิ่มพิทักพงศ์

มหาวิทยาลัยนเรศวร

82

พญ.วันดี โภคกุล

กระทรวงสาธารณสุข

83

ผศ.ภญ.สำลี ใจดี

 

84

นพ.มงคล ณ สงขลา


 

 

 

AttachmentSize
จดหมายถึงนายกรัฐมนตรี.pdf213.14 KB
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

This posting includes an audio/video/photo media file: Download Now

สภาผู้บริโภคอาเซียนประกาศปฏิญญา SEACC กรุงเทพฯ '1 ประเทศแบน 10 ประเทศแบน'

Posted: 05 Sep 2012 02:39 AM PDT

 

 

เรียกร้องให้คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคอาเซียน และประเทศสมาชิกยกเลิกการใช้แร่ใยหินและขวดนมเด็กที่มีสารบีพีเอเป็นส่วนประกอบเป็นการด่วน และสนับสนุนให้ประเทศไทยมี พ.ร.บ.องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคทันที


รศ.ดร.จิราพร ลิ้มปานานนท์  


5 กันยายน 2555 สภาผู้บริโภคอาเซียน ได้ประกาศ ปฏิญญา SEACC กรุงเทพฯ 2555 เพื่อเรียกร้องให้เกิดความร่วมมือในการทำงานคุ้มครองผู้บริโภคร่วมกันของรัฐบาลในอาเซียน เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กรผู้บริโภค ตัวแทนองค์กรผู้บริโภคต่างยืนยันที่จะร่วมมือกันคุ้มครองผลประโยชน์ ของผู้บริโภคในทุกภาคส่วน และเป็นตัวแทนของผู้บริโภคในกระบวนการตัดสินใจในเรื่องมาตรการและนโยบายที่มีผลกระทบต่อผู้บริโภคในอาเซียนให้มีมตราฐานเดียวกัน

รองศาสตราจารย์ ดร.จิราพร ลิ้มปานานนท์ ประธานกรรมการอำนวยการสภาผู้บริโภคอาเซียน และประธานมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า“ปฎิญญาสภาผู้บริโภคอาเซียน กรุงเทพฯ ๒๕๕๕ ตกลงกันในการร่วมกันแบนสินค้า แอสเบสตอสและ บีพีเอ เช่นเดียวกับที่สิงคโปร์และมาเลเซียได้แบนสำเร็จแล้ว โดยยืนยันให้มีมาตรการอัตโนมัติที่ประเทศหนึ่งแบนสินค้าใด ประเทศอื่นในอาเซียนต้องแบนสินค้านั้นทันที ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีในการร่วมมือกันในครั้งนี้  การประชุมสภาอาเซียนผู้บริโภคนี้ ยังเป็นเวทีการแลกเปลี่ยนความรู้และความร่วมมือระหว่างกัน ดังเช่นที่ปฎิญญาได้ให้การสนับสนุนการเกิดขึ้นขององค์กรอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคในไทย นอกจากนี้ตัวแทนจากประเทศอินโดนีเซีย ก็ให้ความสนใจในประเด็นเรื่องข้อมูลผลกระทบ FTA ของไทย และต้องการศึกษาผลกระทบในอินโดนีเซียเช่นกัน ก็สามารถร่วมมือกันได้ เพื่อหาวิธีร่วมกันในการจัดการปัญหาในระดับอาเซียน ซึ่งเป็นกลไกที่เสริมสร้างความเข้มแข็งให้ผู้บริโภคอย่างเท่าเทียมกัน”

นางสาวอินดา  สุขมานิวซิงค์ ประธานกรรมการบริหารสภาผู้บริโภคอาเซียน กล่าวต่อว่า “เมื่อค่ำวานนี้มีความยินดีที่ได้มีโอกาสพบตัวแทนรัฐบาลไทยซึ่งดูแลงานคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งตัวแทนรัฐบาลไทยได้ให้สัญญาณที่ดีในเรื่องที่จะทำงานร่วมกันเพื่อคุ้มครองผลประโยชน์ผู้บริโภคร่วมกัน  ไม่ว่าจะเกิดปัญหากับผู้บริโภคในประเทศไหนในภูมิภาคอาเซียน เราทุกคนควรมองว่าเป็นปัญหาร่วมกันไม่ใช่ของประเทศใดประเทศหนึ่ง”

นายเซีย เซ็งชุน ผู้อำนวยการสมาคมผู้บริโภคแห่งสิงค์โปร์ กล่าวว่า “ความร่วมมือระหว่างองค์กร สำคัญมาก เช่น งานประชุมนี้เราก็ได้มีโอกาสแชร์ประสบการณ์ทำให้รู้ว่าเกิดอะไรขึ้นในประเทศไทยไหนบ้างอยากให้มีผู้บริโภคมาร่วมกันมากกว่านี้เวลาที่ออกไปให้ความรู้ผู้บริโภคจะได้รู้ว่าพวกเขาพิทักษ์สิทธิ์ผู้บริโภคกันอย่างไร หรือได้รู้ว่ากฎหมายที่ออกมาเช่น LEMON LAW ของสิงคโปร์ เป็นกฎหมายที่ให้ความคุ้มครองผู้บริโภคจากผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน”

นางสาวโมฮานา ปรียา สหพันธ์องค์กรผู้บริโภคมาเลเซีย กล่าวว่า “เราจะมีการประสานงานระหว่างหน่วยงานรัฐและแลกเปลี่ยนเรื่องการตัดสินใจของหน่วยงานรัฐซึ่งจะทำให้ผู้บริโภคได้เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจต่างๆ เพื่อให้เกิดความเท่าทันในการเท่าทันปัญหาได้อย่างทันสถานการณ์”

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไต่สวนการตาย 10 เมษา ตร.สายสืบคาดกระสุนสังหารฮิโรยูกิมาจากฝั่งทหาร

Posted: 05 Sep 2012 02:31 AM PDT

วานนี้(4 ก.ย.55)ที่ห้องพิจารณา 403 ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลนัดไต่สวนคำร้องชันสูตรพลิกศพเพื่อหาสาเหตุการเสียชีวิต ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ เป็นโจทก์ยื่นคำร้องขอให้ชันสูตรพลิกศพนายฮิโรยูกิ มูราโมโต้(ผู้ตายที่ 1) สัญชาติ ญี่ปุ่น ช่างภาพสำนักข่าวรอยเตอร์ ที่เสียชีวิตขณะปฏิบัติหน้าที่รายงานข่าวการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วม ประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช) ที่หน้าโรงเรียนสตรีวิทยา ถ.ราชดำเนิน เมื่อวันที่ 10 เม.ย.53 รวมทั้ง นายวสันต์ ภู่ทอง(ผู้ตายที่ 2)  อายุ 39 ปี และนายทศชัย เมฆงามฟ้า(ผู้ตายที่ 3) อายุ 44 ปี ที่ถูกยิงเสียชีวิต ในเวลาและบริเวณใกล้เคียงกัน จากการขอคืนพื้นที่ของเจ้าหน้าที่ทหาร

โดยในวันนี้ได้มีประจักษ์พยานในเหตุการณ์ 2 ปากมาเบิกความ คือ ร.ต.ต.ชาตรี อุตสาหรัมย์ (ยศขณะเกิดเหตุคือ ด.ต.) อายุ 52 ปี จากกองบังคับการสืบสวนสอบสวน กองบัญชาการตำรวจนครบาล ในฐานะตำรวจที่ได้รับมอบหมายเข้าไปติดตามและหาข่าวในที่ชุมนุมขณะเกิดเหตุ ส่วนอีกปากคือ นายอุดร วรรณสิงห์ แนวร่วม นปช. มีอาชีพทำนา จากจังหวัดร้อยเอ็ด

ร.ต.ต.ชาตรี เบิกความโดยสรุปได้ว่า วันเกิดเหตุ(10 เม.ย. 53) ได้รับมอบหมายให้ไปติดตามกลุ่มผู้ชุมนุม กลุ่มนักรบพระองค์ดำ ที่ราชประสงค์ ซึ่งกลุ่มนี้เป็นรักษาความปลอดภัยของผู้ชุมนุม และ 18.00 น. กลับไปที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล แล้วออกไปที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เวลา 19.00 น. เศษ ซึ่งขณะนั้นมีการปะทะกันของกลุ่มผู้ชุมนุมระหว่างทหารกับ นปช. หลังจากนั้นทราบว่าบริเวณสี่แยกคอกวัวมีการปะทะกันเช่นกันจึงได้เดินไป และเดินกลับมาที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยอีกครั้ง เมื่อเดินมาถึงร้านแมคโดนัลด์ซึ่งอยู่บริเวณหัวมุมถนนก่อนเลี้ยวเข้าถนนดินสอ โรงเรียนสตรีวิทยา พบว่าบริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย มีการนำศพคลุมธงชาติ 2 ศพ ในขณะนั้นได้ยินเสียงคลายระเบิดและเสียงปืนในลักษณะต่อเนื่อง แต่ไม่ถี่ จากประสบการณ์ เสียงปืนที่ได้ยินเป็นเสียงปืนยาว ส่วนเสียงคลายประทัดเห็นว่าเกิดจากการที่กลุ่ม นปช. ใช้ระเบิดขวดที่ทำจากขวดเครื่องดื่มชูกำลังใส่น้ำมันขว้างไปยังที่ทหารปฏิบัติการอยู่ จากการสังเกตการณ์ไม่พบมีกลุ่ม นปช. ยิงปืนใส่เจ้าหน้าที่ทหาร

ร.ต.ต.ชาตรี เบิกความต่อว่าจากนั้นได้เดินไปฝั่งตรงข้ามโรงเรียนสตรีวิทยาโดยเดินตามกลุ่มผู้ชุมนุมที่มีประมาณ 30 กว่าคน บริเวณนั้นมีรถทหารจอดขวางประมาณ 2 คันในลักษณะป้องกันไม่ให้กลุ่มผู้ชุมนุมเดินผ่านไปได้ ขณะที่กลุ่ม นปช.ขว้างระเบิดขวดข้ามแนวรถที่ขวางนั้น ก็มีเสียงปืนยาวดังจากแนวหลังรถของทหารที่เป็นลักษณะตอบโต้กันไปมา เห็นกลุ่ม นปช. แบกร่างผู้บาดเจ็บย้อนออกมาทางอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย 2 คน โดยร่างผู้บาดเจ็บทั้ง 2 คนนั้นเห็นหน้าแต่ไม่ชัดเจน ส่วนผู้บาดเจ็บถูกยิงด้วยอาวุธปืนที่บริเวณขา ส่วนบริเวณอื่นนั้นจำไม่ได้ ซึ่งคาดว่าน่าจะถูกกระสุนที่ยิงมาจากหลังแนวรถของทหาร หลังจากนั้นพยานได้เดินกลับไปบริเวณฝั่งหน้าโรงเรียนสตรีวิทยา โดยยืนบริเวณบาทวิถีหน้าโรงเรียน ซึ่งขณะนั้นกลุ่ม นปช. ได้เดินผลักดันไปถึงกลางถนนดินสอ พยานเห็นเจ้าหน้าที่แต่งกายทหาร โดยเห็นครั้งละ 1 คน ทหารชะโงกหน้าดูเหตุการณ์อยู่บนบาทวิถีข้างถนน ฝั่งไปทางสะพานวันชาติและถืออาวุธปืนยาวที่ปากกระบอกปืนชี้ขึ้นฟ้า ขณะนั้นมีแสงสว่างจากหลอดไฟหน้าโรงเรียนสตรีวิทยา

ร.ต.ต.ชาตรี ให้ความเห็นว่าเสียงอาวุธปืนยาวนั้นไม่น่าจะออกมาจากทางด้านข้าง แต่เป็นลักษณะที่พุ่งตรงมายัง นปช. หลังจากที่กลุ่ม นปช.ได้เดินผ่านโรงเรียนสตรีวิทยา ได้มีเสียงปืนยาวยิงตอบโต้กลับมาทำให้ กลุ่ม นปช. ต้องถอยร่นกลับที่บริเวณหัวถนนดินสออีกครั้งหนึ่ง ซึ่งขณะนั้นพยานได้ยืนสังเกตการณ์ที่บริเวณบาทวิถีหน้าโรงเรียน ขณะนั้นได้ยินเสียงของหนักกระแทกพื้นห่างจากพยาน 1 เมตร และเห็นชายร่างใหญ่ ทราบภายหลังว่าเป็นนายฮิโรยูกิ มูราโมโต้ ในลักษณะนอนหงาย สะพายกล้องแบบนักข่าว หันมุมกล้องชี้ไปบนท้องฟ้า ร่างนั้นนอนบนบาทวิถีหน้าโรงเรียนสตรีวิทยาศีรษะหันไปทางโรงเรียน ปลายเท้าชี้ไปทางบ้านเลขที่ 149 ที่อยู่ฝั่งตรงข้ามโรงเรียนสตรีวิทยา ในเบื้องต้นจะเข้าไปปฐมพยาบาล แต่เห็นร่างนายฮิโรยูกิมีจุดแดงบริเวณหน้าอกซ้าย จากนั้นจุดแดงดังกล่าวได้ขยายออกและมีเลือดไหล จากประสบการทำงานที่ผ่านมาคิดว่าแผลลักษณะนี้เกิดจากอาวุธปืนที่มีความเร็วสูง และจากประสบการณ์ทำงานของพยาน บริเวณบาดแผลที่หน้าอกด้านซ้าย ถือเป็นจุดที่ผู้ยิงประสงค์ให้ถึงแก่ความตายทันที ซึ่งผู้ยิงจะต้องได้รับการฝึกฝนมาพอสมควร

พยานได้ประคองนายฮิโรยูกิ และตะโกนแจ้งให้ผู้ชุมนุมบริเวณนั้นทราบว่ามีนักข่าวถูกยิง ผู้ชุมนุมได้ช่วยกันแบกร่างนายฮิโรยูกิ ไปที่รถพยาบาล ซึ่งขณะนั้นมีลักษณะตาค้าง แต่พยานไม่ได้ตามไปด้วย ขณะนั้นกลุ่ม นปช.มีการผลักดันตอบโต้อยู่ตลอดเวลา หลังจากนั้นได้ยินเสียงประกาศจากบริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทหารหยุดการปฏิบัติการเนื่องจากมีการตกลงกับฝ่ายผู้บังคับบัญชาทหารแล้ว หลังจากนั้นได้ยินเสียงปืนยาวดังออกมาประปรายบ้าง และพยานได้เดินทางกลับมาที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล อย่างไรก็ตาม ขณะที่ช่วยฮิโรยูกินั้นกางเกงยีนส์ที่ใส่ไปก็ได้เปื้อนเลือดของฮิโรยูกิด้วย และกรมสอบสวนคดีพิเศษได้นำไปตรวจพบว่าตรงกัน จากการสังเกตกลุ่มผู้ชุมนุมไม่มีอาวุธ มีเพียงไม้กับมีดทำครัว หลังวันเกิดเหตุพยานได้กลับไปสำรวจที่เกิดเหตุพบว่า ต้นไม้ เสาไฟฟ้า ตู้โทรศัพท์สาธารณะ ทั้ง 2 ฝั่งมีร่องรอยความเสียหายจากของแข็งกระทบ

พยานปากที่ 2 คือ นายอุดร เบิกความโดยสรุปได้ว่า ในวันเกิดเหตุประมาณ 18.00 น. มีการแจ้งว่าเจ้าหน้าที่ทหารกำลังเข้าปฏิบัติการที่ถนนดินสอและสี่แยกคอกวัว พอทราบข่าวมวลชนก็ไปประจันหน้าทั้ง 2 จุดโดยพยานไปที่บริเวณถนนดินสอเพื่อดูเหตุการณ์ตรงชายขอบอนุสาวรีย์ มีรถหุ้มเกราะและรถถังของทหารจอดเรียงอยู่ประมาณ 6 คันตรงทางเข้าถนนดินสอ โดยมีทหารประจำอยู่หน้ารถถังประมาณ 100 นาย โดยขณะนั้นเจ้าหน้าที่ทหารถือโล่และตะบอง ส่วนแถวหลังจะถือปืนยาว

นายอุดร กล่าว่า ต่อมากลุ่มผู้ชุมนุมได้มีการผลักดันทหารให้ออกจากบริเวณนั้น แต่ทหารได้ยิงแก๊สน้ำตาหลายนัดจากหลังรถถังมาเข้าใส่กลุ่มผู้ชุมนุม จึงทำให้กลุ่มผู้ชุมนุมแตกออก ระหว่างนั้นมีกระแสลมตีแก๊สน้ำตาย้อนกลับไปทางเจ้าหน้าที่ทหารๆ จึงได้ถอยร่นไปทางสะพานวันชาติ ขณะนั้นพยานได้ยินเสียงระเบิดดังขึ้น 2 ครั้งท้ายรถหุ้มเกราะของทหาร โดยพยานยืนอยู่บริเวณทางม้าลายปากถนนดินสอ หน้าโรงเรียนสตรีวิทยา จุดที่ระเบิดลงนั้นห่างจากตัวพยานประมาณ 10 เมตร ทหารก็แตก พากันวิ่งหนีกันไปทางสะพานวันชาติ ส่วนผู้ชุมนุมและพยานก็ได้ตามเข้าไปด้วย

นายอุดร เบิกความอีกว่า พอวิ่งตามไปหน้าโรงเรียนสตรีวิทยา ตรงทางม้าลาย เห็นทหาร 2 นายนอนบาดเจ็บร้องขอความช่อยเหลือบริเวณบาทวิถี ฝั่งตรงข้ามโรงเรียน หลังรถถัง ขณะที่ผู้ชุมนุมกำลังเข้าไปช่วยเหลือได้ยินเสียงปืนดังจากทางแนวทหารจากทางไปสะพานวันชาติ ซึ่งตั้งแนวทั้ง 2 ข้างบาทวิถี ส่วนตรงกลางจะมีรถถังที่ถอยกลับไปกลับมาอยู่ ทหารจ้องเล็งอาวุธปืนมาทางกลุ่มผู้ชุมนุม เหตุที่สามารถเห็นได้เนื่องจากมีแสงสว่างจากหลอดไฟตามถนน ขณะที่มีเสียงปืนจากแนวทหารเข้ามามาก็เห็นประกายไฟซึ่งคาดว่าออกมาจากปลายกระบอกปืนด้วย แนววิถีที่ทหารยิงมานั้นสูงประมาณหน้าอกและศีรษะ โดยขณะนั้นไม่มีประกายไฟมาจากฝั่งโรงเรียนและฝั่งอาคารพาณิชย์ฝั่งตรงข้ามโรงเรียนแต่อย่างใด แล้วมีคนร้องว่า “โดนแล้วๆ” ขณะนั้นตนเองยืนอยู่ตรงทางม้าลายเข้าโรงเรียน ขณะนั้นหันไปดูต้นเสียง เห็นผู้ชายสวมเสื้อสีแดงถือธงแดง ทราบชื่อภายหลังว่านายวสันต์ ภู่ทอง(ผู้ตายที่ 2) ล้มลง หันหัวมาทางโรงเรียน นอนตรงทางม้าลายนั้นบนถนน ส่วนปรายเท้าหันไปทางตรงข้ามโรงเรียน ขณะนั้นเห็นเลือดและมันสมองกลิ้งมาที่พยานยืนห่างไป ห่างไป 3-4 เมตร บาดแผลมีลักษณะกะโหลกศีรษะเปิดด้วย ก่อนที่นายวสันต์จะล้มลงนั้นเห็นโบกธงแดงอยู่บริเวณนั้น

เมื่อเห็นนายวสันต์ (ผู้ตายที่ 2) ล้มลง ตนจึงวิ่งไปหลบที่บริเวณต้นไม้ ต้นที่ 2 หน้าโรงเรียนสตรีวิทยา นับจากประตูโรงเรียนไปทางอนุสาวรีย์ ห่างจากจุดก่อนหน้าประมาณ 6 เมตร ขณะนั้นมีชายแบกกล้องในลักษณะนักข่าวมาถ่ายภาพตรงนั้น เดินอยู่หน้าพยานห่างไปประมาณ 3 เมตร (ทราบภายหลังว่าเป็นนายฮิโรยูกิ ผู้ตายที่ 1) พอเสียงปืนดังขึ้น ชายคนดังกล่าวก็ล้มบริเวณบาทวิถีหน้าโรงเรียน ก่อนที่จะล้มชายคนดังกล่าวหันหน้าไปทางทหาร 2 นายที่นอนเจ็บอยู่ฝั่งตรงข้ามโรงเรียน การล้มเป็นการล้มแบบนอนหงาย โดยกระสุนมาจากแนวทหาร เสียงปืนดังและมีประกายไฟพุ่งมาทางชายที่แบกกล้องแล้วก็ล้มลงในจังหวะเดียวกัน

นายอุดร เบิกความต่อว่าในระหว่างที่จะเข้าไปช่วยนายฮิโรยูกิ ปรากฏเสียงปืนดังขึ้นอีก พยานจึงหลบเข้าที่เดิม ในระหว่างหมอบหลบเห็นชายอีกคนล้มลงอยู่เลยร่างนายวสันต์(ผู้ตายที่ 2 ) เลยไปแนวทหารประมาณ 3 เมตร บนถนนฝั่งตรงข้ามโรงเรียน ทราบชื่อภายหลังว่านายสยาม (เป็นผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์เช่นกัน) และใกล้ตรงที่ทหารบาดเจ็บ 2 นายนั้น ก็มีชายที่ได้รับบาดเจ็บนอนอยู่ตรงนั้นอีกคน ทราบชื่อภายหลังว่านายจรูญ (เป็นผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์เช่นกัน) หลังจากนั้นเนื่องจากเกรงว่าจะไม่ปลอดภัยจึงหาทางวิ่งออกจากบริเวณที่เกิดเหตุมาที่ร้านแมคโดนัลด์

นายอุดร ยืนยันอีกด้วยว่าในกลุ่มของตนเองแม้ใส่เสื้อคลุมดำบ้าง แต่ที่ชุมนุมชายชุดดำที่ติดอาวุธปืนนั้นไม่มี ในวันเกิดเหตุเวลาประมาณ 21.00 น. ได้ยินเสียงประกาศจากสะพานวันชาติสั่งให้เจ้าหน้าที่ยุติการยิง เจ้าหน้าที่ทหารจึงได้ถอย

 

สำหรับคดีนี้จะมีการไต่สวนครั้งต่อไปวันที่ 5 ต.ค.55

 

แผนที่หน้าโรงเรียนสตรีวิทยา :

 


ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ชำนาญ จันทร์เรือง: 'รักเอย' วรรณกรรมชีวิตที่สั่นสะเทือนวงการยุติธรรมไทย

Posted: 05 Sep 2012 02:10 AM PDT

หนังสืออนุสรณ์งานศพของคนตัวเล็กๆ “นายอำพล ตั้งนพกุล หรือ อากง” ที่เขียนด้วยหัวใจที่แหลกสลายโดย “ป้าอุ๊ หรือนางรสมาลิน ตั้งนพกุล” ที่แจกเมื่อวันที่  26 สิงหาคม 2555 ที่ผ่านมา ได้สร้างความสะเทือนใจแก่ผู้อ่านเป็นอย่างยิ่ง ที่เหนืออื่นใดก็คือการสร้างความสั่นสะเทือนต่อมุมมองของผู้คนที่มีต่อวงการยุติธรรมไทยในผลของคำพิพากษา การปฏิบัติต่อนักโทษและการไม่ได้รับสิทธิประกันตัวจนต้องตายในคุกว่าทุกคนเสมอกันในเบื้องหน้าของกฎหมาย(equal before the law)ตามหลักนิติธรรม(Rule of Law)แล้วล่ะหรือ

เขียนโดยผู้เขียนที่จบเพียง ป.4
“เมื่อมีน้องเยอะ ฉันเป็นลูกคนโตก็ต้องช่วยครอบครัว ได้เรียนหนังสือก็แค่ ป.4 ทั้งๆที่น่าจะเรียนได้เพราะพ่อเป็นทหาร แต่ก็ไม่ได้เรียนเพราะต้องออกมาช่วยดูน้อง”

“ฉันยังเป็นคนชอบอ่านหนังสือ กระดาษหรือถุงขนมอะไรฉันก็อ่านของฉันหมด คือมันชอบ”

“ตอนที่อาปอ(อากง)ยังไม่โดนจับ เรื่องการเมืองอะไรเหล่านี้ไม่ได้อยู่ไกล้ฉันเลย ฉันไกลจากเรื่องพวกนี้มาก ด้วยความสัตย์จริง ฉันไม่มีเวลา ฉันมีภาระเยอะ ต้องทำมาหากิน ต้องคิดว่ามีทางไหนที่จะทำมาค้าขายอะไร วันนี้ขาดทุนหรือกำไร แต่ละวันยังมีอะไรเหลืออยู่บ้าง อะไรบ้างที่ต้องซื้อเพิ่ม หลานก็ต้องไปโรงเรียน แค่นี้ก็ไม่มีสมองไปคิดเรื่องอื่นแล้ว”

อากงสีอะไร
“เขาไปดูมาหมดทั้งเสื้อเหลืองเสื้อแดง ผ้าโพกหัวของเหลืองก็มีมา ไปดูเสื้อแดงก็มีของแดงมา...แล้วจะให้ฉันสรุปว่าอย่างไร”

เหตุการณ์วันที่ถูกจับ

“ครั้งแรกวันที่เขามาจับอาปอ เช้ามืดวันที่ 3 สิงหาคม 2553”

“...ฉันเดินเข้าไปบอกอาปอที่ยังนอนอยู่บนที่นอน “พวกเขามาหาลื้อ” อาปอรีบลุกขึ้นหาเสื้อมาใส่ หน้าตาเขางงๆเหมือนกัน

ตอนอาปอกำลังเปลี่ยนเสื้อผ้า พวกตำรวจเข้าไปค้นบ้าน ห้องเช่าของฉันเล็กมาก ข้างหลังไม่มีประตู มีแต่หน้าต่างกับมุ้งลวด พวกเขาเข้าค้นทุกซอกทุกมุม นักข่าวก็ตามเข้าไปถ่ายรูป เดินเหยียบไปบนที่นอน ถ่ายรูปไปทั่วห้อง ถ่ายรูปหลานๆของฉันที่ร้องไห้กันระงม สภาพตอนนั้นคือข้าวของในห้องถูกค้นกระจุยกระเจิงไปหมด”

เมื่อศาลมีคำพิพากษา
“จนวันที่ 23 พฤศจิกายน 2554 ศาลตัดสินจำคุกเขา 20 ปี”

“ฉันเหมือนคนเสียสติไปเลย กลับมาบ้านเจียวไข่ให้หลานกินยังมัวแต่คิดจนน้ำมันท่วม ต้องรีบยกกระทะลง ลืมไปหมดว่าต้องใช้ผ้าขี้ริ้วจับ มือพองเป็นแผลตั้งเยอะ ความรู้สึกตอนนั้นมันทั้งคับแค้น ทั้งรู้สึกเหมือนเคว้งคว้างไปหมด ฉันเลยเขียนถึงความทรงจำนี้ จะไม่มีวันลืมความรู้สึกนั้น”

“อาปอเข้าไปในคุกเที่ยวนี้ ญาติสนิทของเราเสียไปสามคน คนสนิททั้งนั้น ทั้งแม่ยายคือแม่ของฉัน น้องชายฉัน และแม่ของเขา แม่ของเขาซึ่งป่วยบ่อยๆ มาเสียชีวิตหลังจากที่เขาไปอยู่ในนั้นได้ประมาณครึ่งปี ต่อมาน้องชายฉันก็ป่วยตาย พอครบร้อยวันน้องชาย แม่ของฉันก็มาเสียไปด้วยโรคชรา”

อากงปลงไม่ตก
“ตอนที่...โฆษกศาลมาเขียนบทความหลังจากคำพิพากษาอาปอว่า  “อากงปลงไม่ตก” โอ คำนี้ทำฉันสติแตกไปเลย ใครปลงได้ยี่สิบปี ใครจะปลงได้ คนไม่ได้ทำจะปลงได้ยังไง”

เยี่ยมครั้งสุดท้าย
“จนไปเยี่ยมครั้งสุดท้าย วันพฤหัสที่ 3 พฤษภา(2555) นั่นเป็นครั้งสุดท้ายของฉันกับเขา”

“พอหมดเวลายี่สิบนาที เขายืนโบกมือให้ รอให้เราไปก่อน ไอ้เราก็อยากจะมองให้เขาเข้าไปก่อน เขาก็ไม่ยอมเข้าไป ยืนโบกมืออยู่ตรงนั้น เราก็ได้แต่อือๆๆคือเราไม่เคยตะโกนพูดกัน จะส่งมือแล้วก็มองกันด้วยสายตา เพราะไอ้การตะโกนพูดกันหรืออะไรมันอายเขา เราอายุมากกันแล้ว พอเห็นว่ายังไงเขาก็ไม่เดินเข้าไป เราก็กลัวเจ้าหน้าที่เขาจะว่า เลยต้องหันหลังให้แล้วเดินออกมาก่อน พอหันไปอีกที เขาก็เดินเข้าไปแล้ว

นั้นนะฉันไม่รู้เลยว่าจะเป็นครั้งสุดท้ายของเรา”

ตายในคุก
“วันที่ไปดูศพ ฉันแค้นจนอยากจะระเบิด อยากจะพูดอะไร แต่ว่ามีอีกใจหนึ่ง—ฉันอาจไม่ใช่คนกล้าขนาดนั้นก็ได้เพราะฉันยังมีห่วงอีกเยอะ แต่ฉันก็พูดกับทนายหรือใครนี่แหละว่า “หมาซักตัวหนึ่งมันยังเลือกที่ตายได้ สมมติอยู่ตรงกองทรายร้อนๆมันยังกระเสือกกระสนไปหาที่ร่มได้ แต่อาปออยู่ในกรงขังตอนนั้น มันไม่มีที่ไป นอกจากจะเลือกที่นอนตายไม่ได้แล้ว ยังทำอะไรไม่ได้แม้แต่เวลาหิว” “

ผลที่ตามมา
“...ความตายของอาปอเหมือนจะบอกว่าให้ดูแลคนอื่นๆด้วย ฉันคิดอย่างนั้นจริงๆ คนอื่นเขาไม่ใช่คนหรือ คดีอื่นๆเขาก็คน

ฉันก็อยากบอกไว้ตรงนี้ และฉันคิดว่าไม่ผิด

ฉันขอออกเสียงแรงๆเลยว่า วันนี้อากงหลุดพ้นแล้ว ไม่รู้จะเรียกร้องอะไรเพื่ออากงได้แล้ว

แต่ถ้าการตายของเขามันเหมือนจะทำให้เกิดความยุติธรรมขึ้นมาใหม่ที่ดีกว่าเก่า ที่ดีกว่าที่ทำกับอากง ฉันก็อยากเรียกร้องให้แก่คนที่ยังอยู่ในเรือนจำให้มันเกิดความยุติธรรมขึ้นในสังคมไทย ในสังคมของผู้ที่อยู่ในเรือนจำ ทุกคดีให้มองผู้ต้องหาว่ายังเป็นคนอยู่

ที่สามีฉันเสียชีวิตคือก็เป็นนักโทษ แล้วนักโทษไม่ใช่คนหรือ ถึงจะไม่รู้จักหิว รู้จักปวด รู้จักอะไร”

อากงจะกระทำความผิดจริงหรือไม่ไม่มีใครรู้นอกจากอากงที่เสียชีวิตไปแล้วในสภาพน่าอนาถในเรือนจำ แต่อากงได้ยืนยันอยู่เสมอว่าตนเองส่งเอสเอ็มเอสไม่เป็น

ณ บัดนี้  “รักเอย”ที่เขียนขึ้นโดยคนจบการศึกษาเพียง ป.4 ของ “ป้าอุ๊”และ ความตายของ  “อากง”ได้สร้างความสั่นสะเทือนแก่วงการยุติธรรมไทยขึ้นแล้วอย่างมหาศาล

ช่างเป็นวรรณกรรมที่งดงามและเป็นความตายที่ยิ่งใหญ่ของคนตัวเล็กๆโดยแท้

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ศาสวัต บุญศรี: เมื่อหนังตัวอย่างบอกเรื่องมากเกินไป

Posted: 05 Sep 2012 12:07 AM PDT

ตั้งแต่เด็ก ผมเองเป็นคนที่ชอบเข้าโรงภาพยนตร์ก่อนหนังฉายตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อจะได้ไม่พลาดตัวอย่างหนังที่ฉายให้ดูก่อน ยิ่งช่วงมัธยมที่มีโรงหนังประจำจังหวัดแค่โรงเดียว หนังตัวอย่างกลายเป็นแหล่งความรู้เพียงไม่กี่แหล่งที่ทำให้เรารู้จักหนังเรื่องต่าง ๆ (และบ่อยครั้งหนังเหล่านั้นมันก็ไม่เข้า)

หนังตัวอย่างทำหน้าที่หลากหลาย แต่โดยอุดมคติของมันคือการปลุกความอยากให้คนดูเสียเงินไปชมภาพยนตร์เรื่องนั้น ๆ ดังนั้นตัวอย่างหนังจึงมักตัดต่อเอาภาพที่เป็นจุดขายมาร้อยกันเป็นเรื่องราวสั้น ๆ เพื่อบอกกล่าวว่ามีเรื่องราวอย่างไร ใครเป็นตัวเอก เป็นหนังแนวรัก บู๊ล้างผลาญ หรือหนังผีกระตุกขวัญ ก็ว่ากันไป

การผลิตตัวอย่างหนังนั้นไม่มีสูตรตายตัว ขึ้นอยู่กับไอเดียคนทำว่าต้องการเลือกเอาห้วงอารมณ์ไหนในหนังมาเล่าเป็นพิเศษ มีการวิเคราะห์กันว่าหนังตัวอย่างที่ดีจะต้องบอกให้คนดูเรื่องราวในระดับหนึ่ง มีภาพไฮไลท์ไคลแมกซ์ในเรื่องสลับกับบทบรรยายเรื่องเก๋ ๆ เท่ ๆ ซึ่งทุกท่านคงคุ้นชินกันดี แต่อย่างที่กล่าวไว้ตอนแรกว่านี่ไม่ใช่สูตรสำเร็จ หนังตัวอย่างหลายเรื่องก็ฉีกตัวเองไปไกล บ้างก็พาไปดูเบื้องหลังบ้าง ใน Dogville ของ Lars Von Trier มีการสร้างห้องพิเศษและกล้องตั้งไว้เพื่อให้นักแสดงมาระบายความในใจ จากนั้นผู้กำกับก็เอาภาพในห้องลับนั้นมาตัดเป็นตัวอย่างหนัง (แบบนี้ก็มีด้วย) หรือ Turin Horse ของ Bela Tarr ก็มีเพียงม้าวิ่งและตะเกียงที่จุดอยู่เท่านั้น (ซึ่งไม่ได้บอกเรื่องราวอะไรเลย)

ช่วงนี้ค่ายหนังฮอลลีวูดหลาย ๆ เรื่องเกิดภาวะกลัวคนดูไม่เข้ามาชมหนังในโรงกัน จึงเกิดสไตล์เทรนด์ใหม่ ๆ ที่นำเสนอตัวอย่างหนังกันยาวเป็นพิเศษ แถมยังสร้างเป็นเรื่องราวคล้าย ๆ หนังสั้น โดยอาจจะเป็นช่วงซีนหนึ่งในหนังเรื่องนั้น ๆ ที่สำคัญไม่ได้ออกมาแค่ตอนเดียว บางเรื่องมาเป็นซีรีย์ ครั้งหนึ่งผมเองเข้าไปชมหนังในโรงแล้วมีตัวอย่างของภาพยนตร์ John Carter ฉายหลังจากเพลงสรรเสริญพระบารมีจบ ตัวอย่างหนังที่ว่าเป็นฉากที่จอห์น คาร์เตอร์ไปโผล่ยังดาวอื่น และกองกำลังทหารไปพบจึงเกิดการต่อสู้กัน ซึ่งเบ็ดเสร็จเวลาไปเกือบสิบนาที ทำเอาผมเองเกิดหวั่นว่าตนเองเข้าโรงผิดหรือเปล่า แต่พอจบซีนนั้นเรื่องก็เฉลยว่าเป็นตัวอย่างหนัง

กรณีคลาสสิคเกิดขึ้นกับ The Amazing Spider-man หนังรีบู๊ทภาคแรก ทางมาร์เวลและโคลัมเบีย พิคเจอร์ส อาจจะหวั่น ๆ ว่าการรีบู๊ทหนัง (เอาภาคแรกมาทำใหม่ในระยะเวลาทิ้งช่วงไม่ถึงสิบปี) จะเรียกกระแสให้คนมาดูได้น้อยเพราะคนยังจำสิ่งที่เกิดขึ้นในหนังภาคแรกได้ ทางทีมงานโปรโมตเลยวางแผนจัดการตัดต่อตัวอย่างหนังออกมาหลายเวอร์ชั่นเป็นเรื่องเป็นราว อาทิฉากสไปเดอร์แมนต่อสู้กับเหล่าร้าย ฯลฯ โดยแต่ละฉากก็มีความยาวประมาณ 3-4 นาที โดยถือหลักการยิ่งเห็นมากก็ยิ่งตื่นเต้นอยากดูในโรงเพราะจะได้ยิ่งฟิน แต่กลายเป็นว่ามีเรื่องตลกเกิดขึ้น (ซึ่งผมเองไม่แน่ใจว่าจริงไหม) คือมีคนเอาตัวอย่างหนังหลากหลายเวอร์ชั่นเหล่านี้มาตัดต่อรวมกันเพื่อบอกว่านี่คือบทสรุปทั้งหมดของหนัง คุณไม่ต้องเข้าไปดูให้เสียเวลาหรอก ดูเวอร์ชั่นตัดต่อรวมกันนี่ก็เข้าใจเนื้อเรื่องทุกอย่างแล้ว

ล่าสุดเกิดขึ้นกับเรื่อง Ted หนังตลกปากร้ายมุกเสียดสีเจ็บ ๆ ใครได้ดูตัวอย่างเรื่องนี้ต่างเห็นเป็นเสียงเดียวกันว่ากรูจะต้องไม่พลาด เพราะในตัวอย่างหนัง เจ้าเท็ด หมีซีจีพูดได้ช่างมีลีลากวนโอ๊ยและมุกกวนประสาทเรียกเสียงหัวเราะจนกลิ้งกันไปเลย ตัวอย่างหนังเองก็ออกมาหลายเวอร์ชั่นทั้งตามความยาวมาตรฐานไปจนถึงเป็นซีนสั้น ๆ ประมาณสองสามนาที (เช่นตรงที่เท็ดร่ายชื่อสาว ๆ ออกมาเป็นกระบุง เป็นต้น)

พอเข้าไปดูกลับกลายเป็นว่ามุกสำคัญ ฮา ๆ ที่กลายเป็นหมัดเด็ดจนเราขำกลิ้งมันดันไปอยู่ในตัวอย่างเสียเกือบหมดแล้วนี่สิ เลยเกิดภาวะ ‘รู้หมดแล้ว’ และ ‘ขำไปหมดแล้ว’ ซึ่งตรงนี้ผมว่าเป็นปัญหามากเพราะหากเราเข้าไปเจอสิ่งที่เราเคยเห็นมาก่อนในตัวอย่างหนัง ความผิดหวังย่อมตามมาอย่างช่วยไม่ได้ โอกาสในการบอกต่อของคนดูก็คงไม่มากนัก กรณีแบบนี้คล้าย ๆ กับหนังตลกไทยหลาย ๆ เรื่องที่ตัดต่อเอามุกตลกเข้าไปในหนังโดยหวังลักษณะตีหัวเข้าบ้าน มุกตลกในเรื่องกับในตัวอย่างมีไม่ต่างกัน คนดูเลยผิดหวังกันไป

เรื่องนี้คงต้องศึกษากันในระยะยาวอีกสักหน่อยดูว่าแผนการตลาดเน้นตัวอย่างหนังที่หลากหลายเวอร์ชั่นและเล่าเรื่องยาวรวมถึงเปิดเผยเรื่องมากกว่าปกตินี้ได้ผลมากน้อยเพียงใด (John Carter รายได้เจ๊ง ส่วน The Amazing Spider-man และ Ted ได้รายได้ที่น่าพึงพอใจ) ซึ่งอีกปีสองปีข้างหน้าเราอาจจะได้เห็นเทรนด์ของการผลิตตัวอย่างหนังใหม่ ๆ ออกมาเรียกน้ำย่อยคนดูกันว่าหน้าตาจะเป็นอย่างไร แต่ที่สำคัญยังไงก็กระตุ้นให้เรากระเป๋าฉีกกันอีกเป็นแน่

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น